The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาหลักสูตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by natthakarnsk, 2022-04-14 05:45:41

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสู ตร

เสนอ
ผศ.ดร.ภิญญาพัชญ์ ปลากัดทอง

จัดทำโดย
นางสาวณัฐการต์ แสงแก้ว
รหัสนักศึกษา 6321105014

การพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 2
พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร

บทที่ 2 พื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร

พื้ น ฐ า น ด้ า น ป รั ช ญ า ก า ร ศึ ก ษ า
ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ป รั ช ญ า
คำว่า ปรัชญา ตรงกับในภาษาอังกฤษว่า PHILOSOPHY แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้

และความจริง ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า “PHILOSOPHIA” ส่วนในเชิงวิชาการ ปรัชญา
หมายถึง การศึกษาหาความจริงหรือแก่นแท้ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลก และจักรวาลอย่างมีระบบ
แ ล ะ มี ร ะ เ บี ย บ แ บ บ แ ผ น
ปรัชญามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหรือการพัฒนาหลักสูตรมาก ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรจะใช้
ปรัชญาช่วยในการกำหนดจุดประสงค์ ในการจัดหลักสูตรและการจัดการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามี
ค ว า ม เ ชื่ อ ห รื อ ยึ ด ถื อ ป รั ช ญ า ใ ด

การจัดหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาต่าง ๆ
1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (ESSENTIALISM)

ข้อสังเกตในการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้ปรัชญาสารัตถนิยม (ESSENTIALISM) มีดังนี้
1. กระบวนการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทางจิต ซึ่งประกอบด้วยญาณและแรงบันดาลใจ
2. มุ่งพัฒนาให้จิตของผู้เรียนให้เป็นจิตที่สมบูรณ์
3. สาระสำคัญของความรู้ คือ วิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความรู้ปัจจุบัน ซึ่งเน้น

ป ริ ม า ณ ค ว า ม รู้ เ ป็ น สำ คั ญ
4. การเรียนการสอนมุ่งเน้นที่จะฝึกการอ่าน การเขียน การคิดเลข

2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (PERENIALISM)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม มีดังนี้
1. มีแนวความคิด และความเชื่อใกล้เคียงกับปรัชญาสารัตถนิยม แต่ยึดหลักความศรัทธาเป็น

หลักการเบื้องต้นของความมีเหตุผลของมนุษย์ และที่มาของความรู้
2. จุดมุ่งหมายของการศึกษามุ่งที่จะเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ทำให้การอ่าน

การเขียน การคิดเลข มีความสำคัญในระดับประถมศึกษา

3. ปรัชญาการศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม (PROGRESSIVISM)
ข้อสังเกตในการพัฒนาหลักสูตร ตามแนวปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม มีดังนี้
1. ประสบการณ์ของมนุษย์เป็นพื้นฐานของความรู้ มนุษย์เรียนรู้สภาพการณ์ของทุกสิ่งใน

โลกนี้ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ผู้เรียนรู้ว่า คิด
อ ย่ า ง ไ ร

2. กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างไร เน้นการคิดอย่างไร มากกว่าคิดอะไร
กระบวนการศึกษาเน้นกระบวนการของกลุ่ม (GROUP PROCESS) และมาตรฐานของกลุ่ม
(GROUP NORMS)

3. โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม และฝึกวิถีทางแบบประชาธิปไตย มีเสรีภาพภายใต้กฎ
เ ก ณ ฑ์ ข อ ง ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย
4. ปรัชญาการศึกษาสาขาปฏิรูปนิยม (RECONSTRUCTIONISM)

การสอนจะไม่เน้นการถ่ายทอดวิชาความรู้ โดยการบรรยายของผู้สอนมากเหมือนหลักสูตรใน
ปรัชญาสารนิยม แต่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสำรวจความสนใจความต้องการของตนเอง และสนอง
ความสนใจด้วยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเน้นการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาของสังคม พร้อมทั้งหาข้อเสนอแนะ และแนวทางใน
ก า ร ป ฏิ รู ป สั ง ค ม ด้ ว ย
5. ปรัชญาสาขาอัตถิภาวนิยมหรือปรัชญาสวภาพนิยม (EXISTENTIALISM)

ข้อสังเกตการพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม มีดังนี้
1. เน้นเอกัตบุคคลเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างส่วนบุคคลจึงทำให้แนวคิดที่จะส่งเสริม

ใ ห้ ผู้ เ รี ย น มี ค ว า ม รู้ สึ ก ว่ า ต น เ อ ง ป ร ะ ส บ ค ว า ม สำ เ ร็ จ
2. มุ่งส่งเสริมผู้เรียนใน 4 ประการคือ การพัฒนาตนเอง อิสรภาพ การเลือก และความรับ

ผิ ด ช อ บ
6. ปรัชญาวิเคราะห์ (PHILOSOPHICAL ANALYSIS)

ปรัชญาวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์ถึงแนวความคิดทางปรัชญาที่มีอยู่แล้ว เพื่อหาเหตุผล
สำหรับสนับสนุน แนวความคิดที่เพิ่งเกิดใหม่ เนื่องจากปรัชญาสาขานี้เป็นแนวคิดใหม่ ดังนั้น
ค ว า ม เ ข้ า ใ จ เ กี่ ย ว กั บ แ น ว คิ ด นี้ จึ ง ยั ง ไ ม่ แ พ ร่ ห ล า ย นั ก

2. พื้นฐานด้านจิตวิทยา
พื้ น ฐ า น เ กี่ ย ว กั บ จิ ต วิ ท ย า พั ฒ น า ก า ร พั ฒ น า
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบระเบียบ ทั้งในด้านรูปร่าง ขนาด และโครงสร้าง

ตลอดจนคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงซึ่งได้รับอิทธิพล
จากวุฒิภาวะการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมนี้ เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างร่างกายและจิตใจ นอกจาก
ห ลั ก สู ต ร จ ะ มี ส่ ว น ข อ ง อ ง ค์ ค ว า ม รู้ ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ พั ฒ น า ก า ร ข อ ง ม นุ ษ ย์ ซึ่ ง จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ ผู้ เ รี ย น มี ค ว า ม
เข้าใจตนเอง เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์แล้ว องค์ความรู้เหล่านี้ยังมีประโยชน์ในแง่ที่สามารถนำ
ไ ป ใ ช้ กั บ ผู้ เ รี ย น ห รื อ ศึ ก ษ า
ผู้เรียน เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของผู้
เ รี ย น

การพัฒนาหลักสูตรควรนำพื้นฐานทางพัฒนาการ 5 ด้านมาใช้ คือ 1) พื้นฐานทางชีววิทยาของ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) วุฒิภาวะทางกาย 3) พัฒนาการและสัมฤทธิผลทางสติปัญญา 4)
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และ 5) พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม

พื้ น ฐ า น เ กี่ ย ว กั บ จิ ต วิ ท ย า ก า ร เ รี ย น รู้
นักจิตวิทยาหลายคนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์และสัตว์ ทำให้เกิดทฤษฎี

การเรียนรู้หลายทฤษฎี บุคคลเหล่านั้น ได้แก่ ธอร์นไดค์ พาฟลอฟ กัทรีสกินเนอร์ เพียเจต์ ฯลฯ
นักจิตวิทยาเหล่านี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป จึงสามารถจัดกลุ่มของผู้ที่
ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม
นิยม(BEHAVIORISM THEORIES) และจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (COGNITIVE
THEORIES)
3. ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม

อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลัง และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
ของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยหน้าที่ดัง
กล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึงปรารถนา เพราะ
ฉ ะ นั้ น ห ลั ก สู ต ร ที่ จ ะ นำ ไ ป ส อ น อ นุ ช น เ ห ล่ า นั้ น จึ ง ต้ อ ง มี ค ว า ม เ กี่ ย ว ข้ อ ง สั ม พั น ธ์ กั บ สั ง ค ม อ ย่ า ง แ ย ก ไ ม่
ออก และโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรม มักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่
เสมอ ประเด็นที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้ 1. โครงสร้างของสังคม 2. ค่านิยมและความเชื่อของคนใน
สังคม 3. ธรรมชาติของคนในสังคม 4. การชี้นำสังคมในอนาคต 5. การคำนึงถึงความหลากหลาย
ของคนและวัฒนธรรมในสังคม 6. ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม
4. ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ

ก า ร ศึ ก ษ า เ ป็ น เ ค รื่ อ ง มื อ สำ คั ญ ใ น ก า ร พั ฒ น า ค น ซึ่ ง เ ป็ น ส่ ว น ป ร ะ ก อ บ ที่ สำ คั ญ ที่ สุ ด ใ น ทุ ก ร ะ บ บ
เศรษฐกิจ เพราะระบบเศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้าได้เพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนในสังคมนั้น
การพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ 1. การเต
รียมกำลังคน 2. การพัฒนาอาชีพ 3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม 4. การพัฒนา
คุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทย 5. การลงทุนทางการศึกษา
5. ข้อมูลพื้นฐานด้านการเมืองการปกครอง

การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดี
ให้แก่สังคมให้อยู่ในระบบการปกครองของประเทศชาติ ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีสิทธิ์หน้าที่
และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร และควรแสดงแนวคิดและปฏิบัติตนอย่างไร หลักสูตรของ
ประเทศต่าง ๆ จึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันใน
สังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสันติสุข
6. ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม

สภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของสังคม เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องศึกษา
สังคมไทยปัจจุบันกำลังประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสภาพ
สังคม ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมือง ซึ่งการจะแก้ปัญหาเหล่านี้มีทั้งระยะสั้นและระยะ
ยาว และการแก้ปัญหาอาจทำได้ชั่วคราวหรืออย่างถาวร การจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาแล้วนำมาสร้างเป็นหลักสูตร

7. ข้อมูลพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การจัดการศึกษาควรให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบจาก

ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งให้เขาได้รับข้อมูลต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
เพื่อให้เขาสามารถเลือกตัดสินใจ ใช้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้นนักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษา
ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต เพื่อที่
จะได้พัฒนาหลักสูตร เพื่อพัฒนาคนให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างเหมาะสม ในสังคมที่
เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ไ ป
8. ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพของสังคมในอนาคต

จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความเจริญก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยมีแนว
โน้มที่จะพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่หลากหลาย
สาขา จากสภาพการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป
9. ข้อมูลพื้นฐานจากบุคคลภายนอก และนักวิชาการสาขาต่าง ๆ

ข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น จ า ก บุ ค ค ล ภ า ย น อ ก เ ป็ น ข้ อ มู ล ที่ สำ คั ญ อี ก ส่ ว น ห นึ่ ง ที่ จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ ข้ อ มู ล ใ น ก า ร พั ฒ น า
หลักสูตรสามารถครอบคลุมความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างกว้างขวาง ข้อมูลดังกล่าว
ได้แก่ ข้อมูลจากนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ นักการศึกษา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้
ผลผลิตของการจัดการศึกษาคือ สถานประกอบการที่ผู้จบการศึกษาเข้าไปสู่ หรืออาจจะเรียก
ข้ อ มู ล จ า ก ส ถ า น ป ร ะ ก อ บ ก า ร
10. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม

การที่ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรเก่า เนื่องจากในการพัฒนาหลักสูตรนั้น เราต้องตั้งต้นจาก
สิ่งที่เรามีอยู่หรือใช้อยู่ จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ก็เพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรที่ใช้อยู่นั้นดี
หรือไม่อย่างไร อะไรที่ดีอยู่แล้ว มีอะไรที่บกพร่อง ล้าสมัย หรือไม่สามารถสนองความต้องการ
ของผู้เรียนและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จุดเด่น จุดด้อย ข้อดี ข้อบกพร่องขององค์ประกอบต่าง ๆ
ของหลักสูตรทั้งในแง่ของประสิทธิภาพของการนำไปใช้ รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง

11. พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้
การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเกี่ยวข้องกับความรู้ ไม่ว่าการนำความรู้มาบรรจุไว้ในหลักสูตร หรือ

การจัดหมวดหมู่ความรู้ให้เหมาะสม เพราะฉะนั้นนักพัฒนาหลักสูตร จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับแนวคิดของความรู้ โครงสร้างของความรู้ หรือโครงสร้างของสมองกับ
พัฒนาการทางด้านความรู้ และแบบฉบับของการสร้างความรู้ความเข้าใจ เพราะข้อมูลดังกล่าวมี
ผลต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรหรือการจัดทำหลักสูตร
ก็ ต า ม

แ น ว คิ ด เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม รู้
1. ความรู้ คือ วิชาหรือสาขาที่เกิดจากการประมวลข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ เข้าเป็นหมวดหมู่
อย่างเป็นระเบียบตามแนวคิดนี้เชื่อว่าความรู้ต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ค้นพบ ได้เรียนรู้หรือได้รวบรวม
ขึ้ น ใ ห ม่
2. ความรู้ คือ ผลที่เกิดจากประสบการณ์ ตามแนวคิดนี้เชื่อว่า ความรู้ไม่ใช่วิชา เพราะวิชาถ้า
อยู่โดยลำพังจะไม่เกิดอะไรขึ้น แต่ความรู้เป็นผลจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับหรือผู้เรียนได้มี
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนขึ้น
3. ความรู้ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างวิชากับสาขาวิชาต่าง ๆ กับประสบการณ์
ตามแนวคิดนี้เป็นการรวมสองแนวคิดข้างต้นเข้าด้วยกัน เพราะเห็นว่าทางเนื้อหาวิชาและ
ประสบการณ์ต่าง ๆ ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการออกแบบหลักสูตร ซึ่งแนวคิดนี้ช่วยในการ
อ อ ก แ บ บ แ ล ะ พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ม า ก โ ด ย เ ฉ พ า ะ ใ น ก า ร แ ก้ ปั ญ ห า ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง ร ะ ห ว่ า ง บุ ค ค ล

การพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 4
การสร้างหลักสูตร

บทที่ 4 การสร้างหลักสูตร

การสร้างหรือจัดทำหลักสูตรนั้น ต้องพิจารณาทบทวนถึงแนวคิดของนักการศึกษาต่าง ๆ ที่
ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายแนวทางด้วยกัน แต่ถ้าหากพิจารณาเฉพาะเจาะจงลง
ไปในส่วนที่เป็นการสร้างหลักสูตรแล้วจะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนสำคัญ ๆ ในการสร้างหลักสูตร 10
ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

นักพัฒนาหลักสูตรจะกำหนดองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร ได้แก่ จุดหมาย เนื้อหาสาระ
ประสบการณ์เรียนรู้ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และบรรจุเป้าหมายที่กำหนด
นั้น นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ และสัมพันธ์กับการศึกษานั้น ๆ

การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน อาจกระทำได้หลากหลายวิธีซึ่งในที่นี้จะนำเสนอวิธีการ
ไว้ 2 ประการ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินความจำเป็น มีสาระสำคัญ
ส รุ ป ไ ด้ ดั ง นี้

1. การวิเคราะห์สถานการณ์ (SITUATIONAL ANALYSIS) ในการประมวลข้อมูลพื้นฐาน
เพื่อการสร้างหลักสูตร อาจเริ่มตันด้วยการตรวจสอบสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยวิเคราะห์
จ า ก อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ข อ ง ส ถ า น ก า ร ณ์ ดั ง ต่ อ ไ ป นี้

1.1 องค์ประกอบภายนอก ประกอบด้วย
1.1.1 นโยบายและเป้าหมายของการจัดการศึกษา
1.1.2 การเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
1.1.3 แนวโน้มของเนื้อหาวิชาที่เปลี่ยนแปลงไป
1.1.4 แหล่งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เช่น งบประมาณ แหล่งวิทยาการต่าง ๆ

เ ป็ น ต้ น
1.2 องค์ประกอบภายใน ประกอบด้วย
1.2.1 ผู้เรียน เช่น พัฒนาการของผู้เรียน พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นต้น
1.2.2 ผู้สอน เช่น ความสนใจของผู้สอน ความคาดหวังของผู้สอน เป็นต้น
1.2.3 บรรยากาศภายในสถานศึกษา เช่น จำนวนผู้สอนในสถานศึกษา เป็นต้น

2. การประเมินความจำเป็น (NEED ASSESSMENT) ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้ง
ข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยจะต้องกระทำอย่างเป็นทางการ โดยมีสิ่งที่ต้องดำเนินการ
ส รุ ป ไ ด้ ดั ง นี้

2.1 การกำหนดแหล่งข้อมูล กลุ่มบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความจำเป็น
ได้แก่ บุคคลต่อไปนี้พ่อแม่และประชาชนทั่วไป กลุ่มนักการศึกษา นักการเมืองและผู้มีอำนาจ
หน้าที่ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ชำนาญการด้านสังคม นายจ้าง องค์กรแรงงาน ผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ผู้
ที่ไม่สำเร็จการศึกษาและองค์กรในชุมชน เป็นต้น

2.2 วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความจำเป็น นักพัฒนาหลักสูตรสามารถดำเนินการ
เก็บรวบรวมข้อมูลได้ใน 2 ลักษณะ คือ

2.2.1 การประเมินความจำเป็นอย่างเป็นทางการ การรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมิน
ความจำเป็นอย่างเป็นทางการเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา วิธีการที่หลากหลาย อาทิ

2.2.1.1 แบบสอบถาม
2.2.1.2 การสัมภาษณ์
2.2.1.3 การรับฟังจากสาธารณะการรับฟังข้อมูลจากชุมชน
2.2.1.4 การวิเคราะห์ดัชนีทางสังคม
2.2.1.5 การสังเกต
2.2.1.6 การระดมพลังสมอง
2.2.2 การประเมินความจำเป็นในลักษณะเฉพาะกิจ เนื่องจากการประเมินความจำเป็น
อย่างเป็นทางการเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก นักพัฒนาหลักสูตรจึงหลีก
เ ลี่ ย ง วิ ธี ก า ร ดั ง ก ล่ า ว แ ล ะ หั น ม า ใ ช้ วิ ธี ก า ร ค้ น ห า แ ล ะ ร ะ บุ ปั ญ ห า เ ฉ พ า ะ แ ท น

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องดำเนินการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่

สำคัญขั้นตอนหนึ่ง เพราะจุดหมายของหลักสูตรจะบอกถึงสิ่งที่มุ่งหวังจะให้เกิดแก่ผู้เรียนว่าจะให้
ผู้เรียนมีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใด รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำหนด
เนื้อหาสาระกิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลหลักสูตร

1. หลักการในการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร ในการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร มี
ห ลั ก ก า ร สำ คั ญ ที่ ค ว ร ยึ ด ถื อ ดั ง ต่ อ ไ ป นี้

1.1 สอดคล้องกับปรัชญาหรืออุดมการณ์ของสังคม ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จุดหมายที่กำหนดขึ้นจึงต้อง
สนับสนุนแนวความคิดประชาธิปไตย ได้แก่ อิสรภาพ ความเสมอภาค สิทธิและหน้าที่ เป็นต้น

1.2 สอดคล้องและส่งเสริมค่านิยมของสังคม ตัวอย่างเช่น ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณความ
อ่อนน้อมถ่อมตน ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น

1.3 สนองความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นนักพัฒนา
หลักสูตรจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้ง ว่าความต้องการที่แท้จริงของสังคมคืออะไร และมี
ส ภ า พ ปั ญ ห า อ ะ ไ ร

1.4 สนองความต้องการของผู้เรียน
1.5 สอดคล้องและส่งเสริมจุดหมายของหลักสูตรในระดับอื่น
1.6 สามารถนำไปปฏิบัติได้ กล่าวคือ การกำหนดจุดหมายต้องมีความชัดเจน เพื่อมิให้เกิด
ก า ร ไ ข ว้ เ ข ว ใ น ก า ร ตี ค ว า ม แ ล ะ นำ ไ ป ป ฏิ บั ติ
1.7 มีความสมดุลระหว่างความต้องการของผู้เรียนและสังคม
1.8 มีความสมดุลระหว่างความรู้และทักษะ หรือระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ
1.9 มีความสำคัญหรือมีคุณค่าต่อผู้เรียน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1.10 ใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัดไม่คลุมเครือและง่ายต่อการเข้าใจรวมทั้งมีความต่อเนื่อง
กั น ทุ ก ข้ อ
1.11 ต้องมีการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านสติปัญญา ทักษะ และเจตคติอย่างเหมาะสม และ
เ ป็ น เ ห ตุ เ ป็ น ผ ล ซึ่ ง กั น แ ล ะ กั น
1.12 ตั้งอยู่บนรากฐานของความจริง จุดหมายของหลักสูตรนอกจากจะสามารถนำไป
ป ฏิ บั ติ ไ ด้ แ ล้ ว ยั ง ต้ อ ง ตั้ ง อ ยู่ บ น ร า ก ฐ า น ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น จ ริ ง ด้ ว ย
1.13 มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ตามความต้องการของสังคม และผู้
เ รี ย น ที่ เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ไ ป ด้ ว ย

2. หลักในการร่างจุดหมายของหลักสูตร จุดหมายของหลักสูตรนับเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ป ร ะ ก า ร แ ร ก ที่ ชี้ ใ ห้ นั ก พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ไ ด้ ดำ เ นิ น ก า ร ต า ม ขั้ น ต อ น ข อ ง ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง
การกำหนดจุดหมายของหลักสูตรจึงควรคำนึงถึงหลักการในการร่างจุดหมายที่เหมาะสม เพื่อให้
จุดหมายของหลักสูตรมีความชัดเจน ครอบคลุม และปฏิบัติได้ซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงถึงหลักสูตรทั้ง
ฉ บั บ ด้ ว ย

3. วิธีการในการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร เป็น
หน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวควรคำนึงถึงเกณฑ์และหลัก
การในการร่างจุดหมายของหลักสูตรดังได้กล่าวแล้ว ส่วนในด้านของวิธีการในการกำหนดจุด
ห ม า ย ห ลั ก สู ต ร นั้ น มี ห ล า ก ห ล า ย วิ ธี

3.1 วิธีศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของสังคม และผู้เรียนในทุกด้าน
3.2 วิธีประชุมพิจารณาจุดหมายที่มีอยู่ก่อนแล้ว
3.3 วิธีประชุมอภิปรายทางวิชาการ
3.4 วิธีการประชุมที่เน้นการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาคำตอบโดยตรง

ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร
หลังจากที่ได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการกำหนด รูปแบบและ

โครงสร้างของหลักสูตร ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเนื่องจากรูปแบบและโครงสร้างของ
หลักสูตรเป็นองค์ประกอบที่เป็นเค้าโครงของหลักสูตร กล่าวคือรูปแบบและ โครงสร้างของ
หลักสูตรที่กำหนดขึ้นจะต้องสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตร นั่นคือทำให้จุดหมายของ
หลักสูตรลงสู่การปฏิบัติจริงได้ นอกจากนี้รูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตรจะเป็นตัวกำหนด
ลักษณะของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน
แ ล ะ วิ ธี ก า ร วั ด แ ล ะ ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร เ รี ย น รู้

1. แนวความคิดในการออกแบบหลักสูตร หลักสูตรมีหลายรูปแบบโดยมีชื่อเรียกเฉพาะเพื่อ
แสดงเอกลักษณ์ของหลักสูตรรูปแบบนั้น ๆ เช่น หลักสูตรรายวิชา หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หลักสูตร
หมวดวิชา หลักสูตรแกน เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของหลักสูตรแต่ละแบบแล้ว จะ
พ บ ว่ า มี แ น ว คิ ด ใ น ก า ร อ อ ก แ บ บ ข อ ง แ ต่ ล ะ ห ลั ก สู ต ร ต่ า ง กั น

1.1 แนวความคิดที่ยึดวิชาหรือสาขาวิชาเป็นหลัก (DESIGNS FOCUSED ON
DISCIPLINES AND SUBJECTS)

1.2 แนวความคิดที่ยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคมเป็นหลัก (DESIGNS FOCUSED ON
SOCIAL ACTIVITIES AND PROBLEMS)

1.3 แนวความคิดที่ยึดความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก (DESIGNS
FOCUSED ON INDIVIDUAL NEEDS AND INTERESTS)

1.4 แนวความคิดที่ยึดความสามารถเฉพาะของผู้เรียนเป็นหลัก (DESIGNS FOCUSED
ON SPECIFIC COMPETENCIES)

1.5 แนวความคิดที่ยึดทักษะในกระบวนการเรียนรู้เป็นหลัก (DESIGNS FOCUSED ON
PROCESS SKILLS)

1.6 แนวความคิดที่ยึดหลักการผสมผสานทั้งในด้านกระบวนการและความรู้ (DESIGNS
FOCUSED ON INTEGRATION OF KNOWLEDGE AND PROCESS)

2. โครงสร้างของหลักสูตร
โครงสร้างของหลักสูตร หมายถึง แผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชาหรือกลุ่ม
ประสบการณ์ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนในแต่ละภาคเรียน และในแต่ละปีการศึกษา ตั้งแต่ภาคเรียน
แ ร ก จ น ถึ ง ภ า ค เ รี ย น สุ ด ท้ า ย
ระบบการจัดโครงสร้างของหลักสูตร โดยทั่วๆ ไป จ าแนกออกได้เป็น 2 ระบบ คือ

2.1 ระบบรายปี
ระบบรายปีเป็นระบบที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม มีหลักการจัดระบบโครงสร้าง สรุปได้ดังนี้

2.1.1 ให้ผู้เรียนได้เรียนวิชาที่กำหนดทุกภาคเรียน
2.1.2 จัดเนื้อหาวิชาเรียงตามลำดับก่อนหลังเพื่อกำหนดลงในแต่ละภาคเรียน
2.1.3 จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา
2.1.4 สัดส่วนจำนวนชั่วโมงในการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ขึ้นอยู่กับความสำคัญอง
วิชา และปริมาณของเนื้อหา
2.1.5 ลักษณะของโครงสร้างหลักสูตร ปรากฏในรูปของการแจกแจงจำนวนชั่วโมงเรียน
ข อ ง แ ต่ ล ะ วิ ช า ใ น ห นึ่ ง สั ป ด า ห์

2.2 ระบบหน่วยกิต
ระบบนี้เริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมูลนิธิคาร์เนกี เป็นระบบที่
พยายามจะสร้างความมั่นใจคุณภาพของการศึกษาโดยกำหนดจำนวนชั่วโมงที่เรียน ทั้งในและ
นอกห้องเรียนขึ้นเป็นหน่วย เรียกว่า “หน่วยกิต (CARNEGIE UNIT OF INSTRUCTION)”
โดยใน ปี พ.ศ. 2521 ได้นำระบบนี้มาใช้ในการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ด้วยการปรับปรุงเรียก
เป็น “หน่วยการเรียน” แทนคำว่า หน่วยกิต ในการจัดโครงสร้างของหลักสูตรระบบหน่วยกิต มี
วิธีการที่ซับซ้อนกว่าระบบรายปี โดยมีขั้นตอน ดังนี้

2.2.1 กำหนดจำนวนหน่วยกิตที่จะต้องเรียนจนจบหลักสูตร
2.2.2 กำหนดอัตราส่วนน้ำหนักของคุณค่าหรือความสำคัญของแต่ละวิชา
2.2.3 คำนวณจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาที่ผู้เรียนจะต้องเรียนจนจบหลักสูตร
2.2.4 จัดทำโครงสร้างโดยแจกแจงจำนวนหน่วยกิตที่จะต้องเรียนในแต่ละ ภาคเรียน

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดจุดประสงค์ของวิชา
ส่วนการกำหนดเนื้อหาสาระในแต่ละวิชานั้น จำเป็นต้องกำหนดจุดประสงค์ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง

ก่อนเพื่อให้การกำหนดเนื้อหาสาระนั้นทำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงที่จะส่งผลให้
ผ ล ผ ลิ ต ข อ ง ห ลั ก สู ต ร เ ป็ น ไ ป ต า ม จุ ด ห ม า ย ข อ ง ห ลั ก สู ต ร ที่ กำ ห น ด ไ ว้

1. ความจำเป็นในการจำแนกประเภทจุดประสงค์
1.1 ช่วยในการวิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์
1.2 ช่วยให้เกิดความคิดและเข้าใจถึงการส่งเสริมผู้เรียนให้มีการพัฒนาในทุกด้าน
1.3 เพื่อใช้เป็นกรอบในการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของผู้เรียน
1.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเปรียบเทียบหลักสูตรหรือวิชาที่จัดสอน
1.5 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรายงานความก้าวหน้าของผู้เรียน

2. การจำแนกประเภทของจุดประสงค์
จุดประสงค์ที่จำแนกจะต้องครอบคลุมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนทุกด้าน คือ ร่างกาย
อารมณ์และสังคม ผู้ที่ริเริ่มงานในด้านนี้คือ เบนจามิน บลูมและคณะ(BENJAMIN BLOOM, ET
AL.) โดยบลูมใช้คำว่า “พิสัย (DOMAIN)” เพื่อกล่าวถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ 3 ด้าน

ได้แก่ พุทธิพิสัย (COGNITIVE DOMAIN) จิตพิสัย (AFFECTIVE DOMAIN) และทักษะพิสัย
(PSYCHOMOTOR DOMAIN)

3. โครงสร้างความสัมพันธ์ของระบบจุดประสงค์
จากการวิเคราะห์ระบบจุดประสงค์ที่จำแนกเป็น 3 พิสัย ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และ
ทักษะพิสัย ทำให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามใน
การกำหนดจุดประสงค์อาจมีข้อบกพร่องได้ ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์ที่ต้องการเน้นในพิสัยหนึ่ง
อาจไม่สัมพันธ์กับอีกพิสัยหนึ่ง หรืออาจมีการเน้นจุดประสงค์ของพิสัยหนึ่งมากเกินไปหรือน้อย
เ กิ น ไ ป ทำ ใ ห้ พั ฒ น า ก า ร ที่ ต้ อ ง ก า ร ใ ห้ เ กิ ด แ ก่ ผู้ เ รี ย น ข า ด ค ว า ม ส ม ดุ ล ย์ ไ ป ไ ด้

ขั้นตอนที่ 5 การเลือกเนื้อหาวิชา
การเลือกเนื้อหาวิชาเป็นขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรที่สืบเนื่องมาจากการกำหนด จุด

ประสงค์ของวิชา ขั้นตอนการเลือกเนื้อหาวิชาเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการกำหนดสิ่งที่ผู้เรียน ได้
เ รี ย น รู้ แ ล ะ เ ป็ น สื่ อ ที่ จ ะ พ า ผู้ เ รี ย น ไ ป สู่ จุ ด ห ม า ย ที่ กำ ห น ด ไ ว้ ด้ ว ย เ ห ตุ นี้ นั ก พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร จ ะ ต้ อ ง
ทำความเข้าใจในเบื้องต้นในเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ ความหมายของเนื้อหา ประเภทของเนื้อหาหลัก
เกณฑ์ในการเลือกเนื้อหา วิธีการเลือกเนื้อหา และการจัดเนื้อหา

ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
ต้ อ ง กำ ห น ด จุ ด ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง ก า ร เ รี ย น รู้ เ พื่ อ กำ ห น ด แ น ว ท า ง ใ น ก า ร จั ด กิ จ ก ร ร ม ก า ร เ รี ย น ก า ร

สอนให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ความสำคัญของจุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้มีความสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.1 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในจุดประสงค์ของวิชา (SUBJECT OBJECTIVES)
1.2 ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบขอบข่ายในบทเรียนนั้น ๆ
1.3 ช่วยให้สะดวกในการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
1.4 ช่วยให้เกิดความชัดเจนในการประเมินประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนในบท

เรียนนั้น ๆ
2. หลักในการจัดทำจุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3

ส่วน ดังนี้
2.1 ข้อความที่แสดงพฤติกรรมของผู้เรียน
2.2 สถานการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องกระทำ
2.2.1 วัสดุอุปกรณ์อะไรที่จะนำมาใช้เพื่อการกระทำนั้น ๆ
2.2.2 การกระทำนั้น ๆ จะสำเร็จได้ด้วยวิธีใด
2.2.3 ระยะเวลาที่ควรจะกระทำจนสำเร็จผล
2.2.4 สถานที่หรือตำแหน่งที่ต้องการกระทำการ
2.3 เกณฑ์ในการวัดหรือประเมินระดับการกระทำ

ขั้นตอนที่ 7 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
ผู้ เ รี ย น จ ะ เ รี ย น เ นื้ อ ห า วิ ช า ไ ด้ ก็ จำ เ ป็ น ต้ อ ง อ า ศั ย ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ก า ร เ รี ย น รู้ ข ณ ะ เ ดี ย ว กั น ก า ร จั ด

ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ก า ร เ รี ย น รู้ จ ะ นำ ไ ป สู่ เ นื้ อ ห า ที่ ต้ อ ง ก า ร ด้ ว ย เ ช่ น กั น
1. ความหมายของประสบการณ์การเรียนรู้
ประสบการณ์การเรียนรู้นั้นมิได้พิจารณาในแง่ของกิจกรรม แต่พิจารณาในแง่ “ปฏิสัมพันธ์

ระหว่างผู้เรียนกับกิจกรรมนั้น ๆ ” กล่าวคือเมื่อเกิดปฏิสัมพันธ์ขึ้นพฤติกรรมของผู้เรียนจะเปลี่ยน
ไปและเกิดการเรียนรู้ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

2. ประเภทของประสบการณ์การเรียนรู้ ออกเป็นได้ 2 แนวทาง สรุปได้ดังนี้
2.1 ประสบการณ์เรียนรู้ที่แบ่งโดยแนวทางกว้าง ๆ จำแนกประสบการณ์การเรียนรู้ออก
เป็น 2 ประเภท คือ ประสบการณ์ตรง , ประสบการณ์รอง
2.2 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่แบ่งโดยยึดถือจุดประสงค์การเรียนรู้จำแนกเป็น 4 ประเภท

2.1.1 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะในการคิด
2.1.2 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดข้อเท็จจริง
2.1.3 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาทัศนคติทางสังคม
2.1.4 ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาความสนใจ
3. ลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี สรุปได้ดังนี้
3.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน
3.2 สนองความต้องการของผู้เรียน
3.3 มีความหมายต่อผู้เรียน
3.4 เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
3.5 สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้เรียน
3.6 ส่งเสริมนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้แก่ผู้เรียน
3.7 ส่งเสริมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว
3.8 มีความหลากหลายและทันสมัย
3.9 เป็นประสบการณ์ที่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3.10 สามารถจัดให้ผู้เรียนได้
4. หลักในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4.1 ต้องมีการวางแผนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (PLAN)
4.2 มีความต่อเนื่องของประสบการณ์การเรียนรู้ (CONTINUITY)
4.3 มีการจัดลำดับขั้นตอนของการจัดประสบการณ์ (SEQUENCE) โ
4.4 การบูรณาการประสบการณ์การเรียนรู้ (INTEGRATION)
4.5 ส่งเสริมพัฒนาการเดิม (PROMOTION)

ขั้นตอนที่ 8 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
จำ เ ป็ น ต้ อ ง กำ ห น ด กิ จ ก ร ร ม ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ใ ห้ เ ห ม า ะ ส ม เ พื่ อ ใ ห้ ผู้ เ รี ย น ผู้ ส อ น ไ ด้ ป ฏิ บั ติ อั น จ ะ

ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและกิจกรรมนั้น ๆ
1. ความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ทั้งนี้เพราะกิจกรรมทั้งของ

ผู้สอนและผู้เรียนที่เหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างแท้จริง
1.1 กิจกรรมช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน
1.2 กิจกรรมจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ
1.3 กิจกรรมจะช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
1.4 กิจกรรมจะช่วยปลูกฝังความรับผิดชอบ
1.5 กิจกรรมจะช่วยปลูกฝังและส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1.6 กิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนได้มีความเคลื่อนไหว
1.7 กิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนได้รู้สึกสนุกสนาน
1.8 กิจกรรมจะช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.9 กิจกรรมช่วยขยายความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวาง
1.10 กิจกรรมจะช่วยส่งเสริมความงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
1.11 กิจกรรมจะช่วยส่งเสริมทักษะ
1.12 กิจกรรมจะช่วยส่งเสริมปลูกฝังเจตคติที่ดี
1.13 กิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักทำงานเป็นหมู่
1.14 กิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจบทเรียน
1.15 กิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งในความงามของเรื่องต่าง ๆ
ผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ สอดคล้องกับวัยสติปัญญา

ความสามารถของผู้เรียน เนื้อหาของบทเรียน และประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้ โดย
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่าง เคร่งครัด

2. หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ด้วยความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน จึงควรคำนึงถึงหลักการดังนี้

2.1 จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
2.2 จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน
2.3 จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาวิชา
2.4 จัดกิจกรรมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
2.5 จัดกิจกรรมให้สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
2.6 จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียน
2.7 จัดกิจกรรมให้มีลำดับขั้นตอนที่น่าสนใจ โดยใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย โดยใช้
สื่ อ ก า ร ส อ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม
2.8 จัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม
2.9 จัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการที่ท้าทายความคิดความสามารถของผู้เรียน
2.10 จัดกิจกรรมแล้วต้องมีการวัดผลการใช้กิจกรรมทุกครั้ง
3. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
3.1 กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนเป็น
ศูนย์กลางของการปฏิบัติกิจกรรม ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนการสอนมากกว่าผู้เรียนโดย
เริ่มจากเป็นผู้วางแผน ผู้ถ่ายทอดความรู้ และผู้นำปฏิบัติกิจกรรม การเรียนการสอนในชั้นเรียน
เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้เรียนมีโอกาสร่วมกิจกรรมบ้างภายใต้การนำของผู้สอน
3.2 กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเป็นสำคัญ เป็นกิจกรรมที่ผู้
ส อ น เ ปิ ด โ อ ก า ส ใ ห้ ผู้ เ รี ย น มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น อ ย่ า ง แ ท้ จ ริ ง
4. ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
อาจมีขั้นตอนในการสอนนั้น ๆ ที่แตกต่างกันไป แต่เมื่อจัดกลุ่มของขั้นตอนเหล่านั้นจะมีขั้น
ตอนที่เป็นกลุ่มคล้ายคลึงกันอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
(ขั้นสอน) และ 3) ขั้นสรุปและวัดผล

ขั้นตอนที่ 9 การประเมินผลการเรียนรู้
ในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรได้กำหนดจุดหมาย รูปแบบโครงสร้างของ

หลักสูตร จุดประสงค์ของวิชา เนื้อหาวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอนไว้แล้ว และเมื่อนำไปทดลองใช้ก็จำเป็นที่จะต้องประเมินผลการจัดการ
เรียนการสอน เพื่อประเมินการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้

1. ความหมายของการประเมินผลการเรียนรู้
ในการประเมินผลมักมีผู้เข้าใจสับสนไปว่าเป็นเรื่องเดียวกับการวัดผล ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า
ในการประเมินผลต้องมีการวัดผลควบคู่กันไปด้วย และมักกล่าวอย่างต่อเนื่องว่า “วัดผลประเมิน
ผล” ดังนั้น จะได้นำเสนอนิยามความหมายของคำที่เกี่ยวข้องได้แก่ การวัดผล การประเมินค่า
และการประเมินผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนของการประเมินผลการเรียนรู้
ในการประเมินผลการเรียนรู้ควรดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้ผลที่
ได้มีความเชื่อถือได้ ซึ่งโดยทั่วไปขั้นตอนของการประเมินผลการเรียนรู้แบ่งออกได้เป็น 5 ขั้น คือ
1) การกำหนดจุดประสงค์ของการประเมินผล 2) การเลือกเครื่องมือสำหรับวัดสิ่งที่ต้องการ
ประเมิน 3) การวัดผลการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือที่ได้เลือกไว้ 4) การเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับ
มาตรฐานที่กำหนดไว้ และ 5) การประเมินผล
3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้
ใ น ก า ร วั ด ผ ล จำ เ ป็ น ต้ อ ง ใ ช้ เ ค รื่ อ ง มื อ ห ล า ย อ ย่ า ง เ พื่ อ ใ ห้ ส อ ด ค ล้ อ ง เ ห ม า ะ ส ม กั บ จุ ด ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง
การประเมินผลที่ตั้งไว้ ดังนั้น ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือวัดผลต่าง ๆ
ที่เลือกนำมาใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการตัดสินผลการประเมินในครั้งนั้น ๆ

3.1 ลักษณะของเครื่องมือวัดผลที่ดี
เป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักวิจัยและวัดผลว่า เครื่องมือวัดผลที่ดีนั้น ต้องมีลักษณะสำคัญ 3
ประการ คือ ความเที่ยง (RELIABILITY) ความแม่นตรง (VALIDITY) และใช้งานได้สะดวก
(USABILITY)

3.2 ประเภทของเครื่องมือวัดผล
เครื่องมือสำหรับวัดผลมีหลายชนิด ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องศึกษาเครื่องมือเหล่านั้น โดยคำนึงถึง
จุดประสงค์ในการใช้เครื่องมือนั้น พร้อมทั้งใช้แนวทางในการพิจารณาคุณลักษณะของเครื่องมือที่
ดี สำหรับเครื่องมือวัดผลนั้นได้มีการแบ่งประเภทของเครื่องมือ ออกเป็น 3 ประเภทตามวิธีการ
ใช้ ดังนี้ 1) ประเภทที่ใช้เทคนิคการทดสอบ (TESTING TECHNIQUES) ได้แก่ แบบทดสอบผล
สัมฤทธิ์การทดสอบเพื่อวินิจฉัยสถานภาพ การทดสอบเชาวน์ปัญญา แบบทดสอบความถนัด
เป็นต้น 2) ประเภทที่ใช้เทคนิคการสังเกตพิจารณา (OBSERVATIONAL TECHNIQUES) ได้แก่
การทดสอบแบบมาตรประมาณค่าการทดสอบด้วยบันทึกเรื่องราว การทดสอบด้วย การตรวจ
สอบรายการ แบบทดสอบด้วยเทคนิคสังคมมิติ เป็นต้น และ 3) ประเภทที่ใช้เทคนิคการรายงาน
(SELF - REPORTING TECHNIQUES) ได้แก่ การสัมภาษณ์การใช้แบบสอบถาม

ขั้นตอนที่ 10 การจัดทำวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่สำคัญมากประการหนึ่งคือ การจัดทำวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้

หลักสูตรที่จัดทำขึ้นพร้อมที่จะนำไปทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้จริงต่อไป สำหรับในที่นี้
จ ะ นำ เ ส น อ ส า ร ะ ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ก า ร จั ด ทำ วั ส ดุ ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ สื่ อ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น

1. นิยามความหมายของวัสดุหลักสูตร
วัสดุหลักสูตร หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาทิ การทำความเข้าใจหลักสูตร ช่วยในการสอน ในการประเมิน การบริหารงานหลักสูตร และ
ก า ร นิ เ ท ศ ก า ร ศึ ก ษ า
2. นิยามความหมายของสื่อการเรียนการสอน
หมายถึง ตัวกลางที่เป็นทั้งวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการ เทคโนโลยี รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่
นำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตามจุด
ป ร ะ ส ง ค์ ก า ร เ รี ย น รู้ แ ล ะ ต า ม จุ ด ห ม า ย ข อ ง ห ลั ก สู ต ร
3. ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ประเภทวัสดุได้แก่ 2) ประเภท
อุปกรณ์ 3) ประเภทระบบ

4. หลักในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
ใ น ก า ร เ ลื อ ก สื่ อ เ พื่ อ นำ ม า ใ ช้ ใ น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ไ ด้ อ ย่ า ง เ ห ม า ะ ส ม แ ล ะ มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ
นั้น อาภรณ์ ใจเที่ยง และจริยา เหนียนเฉลย ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนไว้
สรุปได้นี้ 1) ต้องตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) ต้องเหมาะสมกับวัยและพื้นฐาน
ประสบการณ์ของผู้เรียน 3) ต้องเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน 4) ต้องเหมาะสมทั้งในด้านค่าใช้
จ่ายและการปฏิบัติและ 5) ต้องจัดหาได้ง่าย
5. หลักในการใช้สื่อการเรียนการสอน
ก า ร นำ สื่ อ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ม า ใ ช้ เ พื่ อ อำ น ว ย ป ร ะ โ ย ช น์ ใ ห้ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น บ ร ร ลุ ต า ม จุ ด
ประสงค์นั้น มีปัจจัยหลายประการ อาทิ การเลือกสื่อที่จะนำมาสอนได้ถูกต้องเหมาะสมตามหลัก
เกณฑ์ในการเลือกสื่อดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนี้วิธีการใช้สื่อที่ถูกต้องก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญมาก
ประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการใช้สื่ออาจกระทำในโอกาสและจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อนำ
เข้าสู่บทเรียน เพื่อเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อขยายความรู้เดิม และเพื่อสนับสนุนการนำความรู้ ไปใช้
เป็นต้น ดังนั้นการใช้สื่อจึงต้องอาศัยการฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะในการใช้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมี
หลักในการใช้สื่อที่จะนำเสนอเป็นแนวทางกว้าง ๆ ดังนี้

5.1 ขั้นที่ 1 ตรวจสอบ
5.2 ขั้นที่ 2 เตรียมสื่อ
5.3 ขั้นที่ 3 แนะนำสื่อ
5.4 ขั้นที่ 4 ใช้สื่อ
5.5 ขั้นที่ 5 ประเมินผลการใช้สื่อ

เมื่อได้ดำเนินการครบทั้ง 10 ขั้นตอนแล้ว จะได้หลักสูตรที่อาจเรียกได้ว่า “หลักสูตร
ต้นแบบ” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีองค์ประกอบของหลักสูตรที่ครบถ้วน ที่พร้อมจะนำไปทดลองใช้เพื่อ
การปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภายหลังจากนั้นจึงนำหลักสูตรนี้ไปสู่กระบวนการนำไปใช้
ปฏิบัติจริง และกระบวนการประเมินหลักสูตรต่อไป

การพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 6
การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร

1. ความหมายของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตร คือ กระบวนการในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่าหลักสูตร

นั้น ๆ มีประสิทธิภาพอย่างไร เมื่อนำไปใช้แล้วบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีอะไรที่ต้อง
แ ก้ ไ ข เ พื่ อ นำ ผ ล ที่ ไ ด้ ม า ใ ช้ ใ ห้ เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ใ น ก า ร ตั ด สิ น ใ จ ห า ท า ง เ ลื อ ก ที่ ดี ก ว่ า ต่ อ ไ ป
2. ความจำเป็นของการประเมินหลักสูตร

เมื่อนำหลักสูตรไปใช้จริงอาจจะพบปัญหาข้อบกพร่องและอุปสรรคอีกได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการ
ประเมินหลักสูตรหลังการใช้เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงสิ่งที่เป็นปัญหา ข้อบกพร่อง และอุปสรรค
เหล่านั้น และทำให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่ดีต่อไป
3. จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตร มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1. หาคุณค่าของหลักสูตร : หลักสูตรนั้นสนองจุดมุ่งหมายของหลักสูตรไว้หรือไม่ และ

ส น อ ง ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง สั ง ค ม เ พี ย ง ใ ด
2. ตัดสินเกี่ยวกับรูปแบบ การสอนและการบริหารหลักสูตร : การวางเค้าโครงและรูปแบบ

ของหลักสูตร การสอนตามหลักสูตร และการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้อง
ห รื อ ไ ม่

3. วัดคุณภาพผลผลิต : ผู้ที่เรียนจบตามหลักสูตรมีคุณภาพเพียงใด
4. ปรับปรุงหลักสูตร : หลักสูตรมีข้อบกพร่องทั้งหมดอะไรบ้าง และระหว่างการด าเนิน
การใช้หลักสูตรมีปัญหาอุปสรรคในแต่ละส่วนของหลักสูตรอะไรบ้าง นำข้อมูลที่ได้จากการ
ประเมินมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร หรือพิจารณาว่าควรจะใช้หลักสูตรต่อไปอีกหรือไม่
4. ขอบเขตของการประเมินหลักสูตร
ในการประเมินหลักสูตรจะต้องประเมินให้ครบทั้งระบบของหลักสูตร ประกอบด้วย
1. การประเมินเอกสารหลักสูตร
2. การประเมินระบบของหลักสูตร
3. การประเมินผลผลิต

5. กระบวนการประเมินหลักสูตร มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผนการประเมินหลักสูตร
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
4. การรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล

6. ปัญหาในการประเมินหลักสูตร
ใ น ก า ร ป ร ะ เ มิ น ห ลั ก สู ต ร จึ ง มั ก พ บ กั บ ปั ญ ห า ใ น แ ต่ ล ะ ขั้ น ต อ น ห รื อ แ ต่ ล ะ ก ร ะ บ ว น ก า ร ที่ แ ต ก

ต่างกันไป ปัญหาที่มักพบโดยทั่วไปในการประเมินหลักสูตรมีดังนี้
1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร
2. ปัญหาด้านเวลา
3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมิน
4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล
5. ปัญหาด้านวิธีการประเมิน ก
6. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
7. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
8. ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน

7. รูปแบบการประเมินหลักสูตร
รู ป แ บ บ ก า ร ป ร ะ เ มิ น ห ลั ก สู ต ร นั้ น ไ ด้ มี นั ก วิ ช า ก า ร ด้ า น ห ลั ก สู ต ร ไ ด้ คิ ด ไ ว้ ห ล า ย รู ป แ บ บ ดั ง

ตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งผู้ประเมินหลักสูตรจะเลือกใช้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการประเมิน
ห ลั ก สู ต ร ใ น แ ต่ ล ะ ค รั้ ง ไ ด้

แบบที่ 1: รูปแบบการประเมินความสอดคล้อง-ผลที่เกิดขึ้นของสเต้ก (THE STAKE
CONGRUENCE-CONTINGENCY MODEL) ให้ตีตารางแบ่งออกเป็น 12 ช่องโดยแต่ละช่องจะ
สามารถกรอกข้อมูลเข้าไปได้ ข้อมูลในแต่ละช่องจะแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องของสิ่งที่
ต้องการประเมินผลและในขณะเดียวกัน จะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ตัวแปรต่าง ๆ ที่มี
อิ ท ธิ พ ล ต่ อ ก า ร บ ริ ห า ร ง า น ห ลั ก สู ต ร

แบบที่ 2: รูปแบบบการประเมินหลักสูตรของไฟ เดลตา คัปปา หรือรูปแบบซิป (THE PHI
DELTA KAPPA COMMITTEE MODEL OR CIPP MODEL) รูปแบบคล้ายคลึงกับรูปแบบแรกใน
แ ง่ ที่ เ น้ น เ กี่ ย ว กั บ ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ห า ค ว า ม สั ม พั น ธ์ แ ล ะ ค ว า ม ส อ ด ค ล้ อ ง ข อ ง สิ่ ง ที่ บ ร ร จุ อ ยู่ ใ น ห ลั ก สู ต ร
แต่แบบที่ 2 นี้ ให้หัวข้อที่ต่างไปจากแบบที่ 1 เล็กน้อย

แบบที่ 3: รูปแบบการประเมินความไม่สอดคล้องของโพรวัส (PROVUS’S DISCREPANCY
EVALUATION MODEL) นับว่าให้ความสะดวกแก่ผู้ประเมินหลายประการ ผู้ประเมินผลสามารถ
ที่จะหยิบยกข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง เช่น การสอนแต่ละเรื่อง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งมาประเมิน
โดยเฉพาะ โดยดำเนินการตามกระบวนการข้างต้น หรือจะประเมินทั้ง 5 ด้าน คือ การประเมิน
การออกแบบ (DESIGN) การประเมินการจัดทำ (INSTALLATION) การประเมินกระบวนการ
(PROCESS) การประเมินผลผลิต (PRODUCT) และการประเมินงบประมาณที่ใช้ไป (COST)
โ ด ย เ ป รี ย บ เ ที ย บ กั บ ม า ต ร ฐ า น

แบบที่ 4: รูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรมของเคิร์ก แพททริค โดยให้ประเมิน 4 ระดับ
1. ประเมินปฏิกิริยาของผู้เรียน (REACTION OF STUDENTS)
2. ประเมินการเรียนรู้ (LEARNING)
3. ประเมินพฤติกรรม (BEHAVIOR)
4. ประเมินผลลัพธ์ (RESULTS)

8. การปรับปรุงหลักสูตร
ตัวชี้วัดที่สำคัญคือคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งสะท้อนถึงกระบวนการในการหล่อหลอมและการ

สร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่มีความหมาย ตลอดถึงการนำไปใช้ในอนาคตอย่างเกิดประโยชน์และ
เจริญงอกงาม ในโลกของอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความต้องการของมนุษย์ที่
เพิ่มมากขึ้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดและปรับปรุงหลักสูตรให้
มีความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและศตวรรษที่ 21 ซึ่งการจัดการศึกษาในศตวรรษที่
21 ต้องคำนึงถึงการพัฒนาให้ประชากรของโลกมีความสามารถในการแข่งขัน โดยความสำเร็จ
ของประชากรที่เกิดขึ้นมีปัจจัยมาจากการมีความรู้และทักษะที่สำคัญ และมีการจัดการศึกษา
ที่มุ่งผสมผสานวิชาแกนกับแนวคิดสำคัญต่าง ๆ ของศตวรรษที่ 21 และทักษะต่าง ๆ เพื่อเตรียม
ค ว า ม พ ร้ อ ม ใ ห้ ผู้ เ รี ย น ก่ อ น อ อ ก ไ ป สู่ โ ล ก ข อ ง ก า ร ทำ ง า น

กา รพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 7
การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

เ ป็ น ก ร ะ บ ว น ก า ร ที่ มี เ ป้ า ห ม า ย ที่ สำ คั ญ เ พื่ อ ใ ห้ ไ ด้ ห ลั ก สู ต ร ที่ นำ ม า ใ ช้ ใ น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น ก า ร
ส อ น ใ น ส ถ า น ศึ ก ษ า อ ย่ า ง มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ แ ล ะ ป ร ะ สิ ท ธิ ผ ล สู ง คื อ ผู้ เ รี ย น เ กิ ด ก า ร เ รี ย น รู้ อ ย่ า ง เ ต็ ม
ศักยภาพตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้ที่รับผิดชอบในการออกแบบและการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา มีประเด็นที่สำคัญดังนี้
1. การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

หมายถึง การออกแบบหลักสูตรที่สถานศึกษาหรือโรงเรียนพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพ
ท้องถิ่นและธรรมชาติของผู้เรียนในสถานศึกษานั้น ๆ โดยมีโครงสร้างของหลักสูตรที่เป็นไปตาม
ข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้อง
เรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. แนวโน้มของหลักสูตรสำหรับพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

จากแนวคิดสำคัญของการพัฒนาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกระบวนการทางการ
ศึกษา ซึ่งเครื่องมือสำคัญของการจัดการศึกษา คือ หลักสูตร โดยนัยดังกล่าวนี้การจัดหลักสูตรจึง
ต้องให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและเป้าหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในขณะนั้น ใน
ปัจจุบันนี้คือศตวรรษที่ 21 ซึ่งคนในศตวรรษที่ 21 นี้จะต้องมีทักษะที่สำคัญและแตกต่างจากใน
อดีตที่ผ่านมาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 กำหนดไว้ว่า บุคคลต้องมีทักษะอย่างน้อย
4 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านความรู้ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ
ทั ก ษ ะ ด้ า น ชี วิ ต แ ล ะ อ า ชี พ

การพัฒนาให้เกิดทักษะทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าว ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยวิธีการเรียน
รู้ 3RX7C ซึ่ง 3R คือ READING (อ่านออก), (W)RITING (เขียนได้), และ (A)RITHEMETICS
(คิดเลขเป็น) และ 7C ได้แก่CRITICAL THINKING AND PROBLEM SOLVING (ทักษะด้านการ
คิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) CREATIVITY AND INNOVATION (ทักษะ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) CROSS-CULTURALUNDERSTANDING

(ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) COLLABORATION,
TEAMWORK AND LEADERSHIP (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ)
COMMUNICATIONS, INFORMATION, AND MEDIA LITERACY (ทักษะด้านการสื่อสาร
สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) COMPUTING AND ICT LITERACY (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) CAREER AND LEARNING SKILLS (ทักษะอาชีพ และ
ทั ก ษ ะ ก า ร เ รี ย น รู้ )
3. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีขั้นตอนการพัฒนา
หลักสูตร ดังนี้

1. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ 1) ประวัติและปรัชญาการศึกษา 2) สังคม
และวัฒนธรรม 3) ความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน 4) ทฤษฏีการเรียนรู้ 5) ธรรมชาติของเนื้อหาสาระ 6)
ความต้องการของสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง และ 7) ข้อมูลของสถานศึกษา เป็นต้น

2. ประชุมชี้แจงคณะผู้บริหารและคณะครูในสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตร
3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยมีขั้นตอนสำคัญ
ดั ง นี้

3.1 แจกเอกสารที่สำคัญ 1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระ
ภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3) มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3.2 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถานศึกษาร่วมกัน
3.3 แบ่งกลุ่มตามสาระการเรียนรู้แต่ละระดับชั้น และดำเนินการ
3.4 เขียนคำอธิบายรายวิชา ให้พิจารณาคำสำคัญจากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
โดยเขียนให้ครบ 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ (KNOWLEDGE – K) 2) ด้านทักษะ/กระบวนการ
(PROCESS-P) 3) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ATTRIBUTE- A)

การพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 8
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และหลักสูตรสถานศึกษา

1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีหลักการสำคัญ ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ

แ ล ะ คุ ณ ลั ก ษ ณ ะ อั น พึ ง ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง ผู้ เ รี ย น ไ ว้ เ ป็ น เ ป้ า ห ม า ย ข อ ง ก า ร จั ด ก ร ะ บ ว น ก า ร เ รี ย น รู้ ทุ ก ก ลุ่ ม
สาระการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมาย

2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี
ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ครูผู้สอนมองเห็นผลคาดหวังที่ต้องพัฒนาการเรียนรู้ของผู้
เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญของแต่ละชั้นปี และต่อเนื่องจนจบการศึกษา
ขั้ น พื้ น ฐ า น

3. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้เอง มีส่วนร่วมในการสร้าง
ผลการเรียนรู้ที่มีความหมายแก่ตนเอง ผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เน้นประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดแก่ผู้เรียน และคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาผู้เรียนจนเต็มศักยภาพตามความถนัด และความสนใจเป็น
ร า ย บุ ค ล

4. การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีจะ
ต้องใช้กระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
กระบวนการคิด กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการทางสังคม กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการพัฒนาค่านิยม กระบวนการบูรณาการ ฯลฯ กระบวนการที่ผู้
สอนต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจนบรรลุมาตรฐาน การเรียนรู้ของ
ห ลั ก สู ต ร อ ย่ า ง มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ

5. ผู้สอนต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยผู้
เรียน แล้วจึงเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ แหล่งเรียนรู้ เครื่องมือ และวิธีการวัดและ
ประเมินผลที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
แ ล ะ เ ต็ ม ต า ม ศั ก ย ภ า พ ข อ ง ผู้ เ รี ย น แ ต่ ล ะ ค น

กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดส่วนประกอบสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย สมรรถนะส าคัญของผู้เรียน คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการวัดประเมินผล
ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเป็นระบบ ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ
ก า ร เ รี ย น รู้ ต ล อ ด ชี วิ ต

วิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลัง
ของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็น
พลเมืองไทย และพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขมีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา หรือต่อการ
ประกอบอาชีพ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ คุณลักษณะอันพึงประสงค์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี
ความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้1) รักชาติศาสน์ กษัตริย์2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มี
วินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการท างาน 7) รักความเป็นไทย และ 8) มี
จิ ต ส า ธ า ร ณ ะ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน จำนวน 5 ข้อ ได้แก่
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนรู้และสามารถทำอะไรได้ตามที่กำหนดไว้
มาตรฐานการเรียนรู้มี 2 ประเภท ได้แก่

1) มาตรฐานวิชาการ (ACADEMIC STANDARD) เป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเข้าใจอย่างลึก
ซึ้ ง แ ล ะ ส า ม า ร ถ ทำ ไ ด้ ใ น ช่ ว ง เ ว ล า ที่ กำ ห น ด

2) มาตรฐานการปฏิบัติ (PERFORMANCE STANDARD) เป็นผลการปฏิบัติหรือระดับ
ค ว า ม ส า ม า ร ถ ที่ ผู้ เ รี ย น จ ะ ต้ อ ง แ ส ด ง อ อ ก

ตัวชี้วัด มีลักษณะการเขียนที่ประกอบด้วยคำกริยา และประเด็นของสาระหลัก โดยระบุสิ่งที่
ผู้เรียนต้องรู้และปฏิบัติได้รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งต้องมี
ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและเป็นรูปธรรม รวมทั้งนำไปใช้
กำหนดเนื้อหาสาระการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำหรับการวัด
ประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

ห ลั ก ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น รู้
1. ยึดหลักผู้เรียนมีความสำคัญ เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
2. จัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย

เ ห ม า ะ ส ม กั บ ผู้ เ รี ย น ร า ย บุ ค ค ล
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ใช้วิธีการ กิจกรรมสื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมิน

ผ ล ที่ เ ห ม า ะ ส ม กั บ ผู้ เ รี ย น
สื่อการเรียนรู้ เป็นตัวกลางสำหรับส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่าง

มีประสิทธิภาพ การใช้สื่อการเรียนรู้จะต้องเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและรูป
แ บ บ ก า ร เ รี ย น รู้ ที่ ห ล า ก ห ล า ย ข อ ง ผู้ เ รี ย น แ ต่ ล ะ ค น

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มี 4 ระดับ ได้แก่
1. การประเมินระดับชั้นเรียน เป็นการและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้

เ น้ น ก า ร วั ด แ ล ะ ป ร ะ เ มิ น ผ ล ต า ม ส ภ า พ จ ริ ง
2. การประเมินระดับสถานศึกษา เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายปี รายภาค

รวมทั้งการอ่าน วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามาตรฐานการ

เ รี ย น รู้ เ พื่ อ ใ ช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น สำ ห รั บ ก า ร พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ก า ร ศึ ก ษ า ข อ ง เ ข ต พื้ น ที่ ก า ร ศึ ก ษ า
4. การประเมินระดับชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการ

เรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่3 ชั้นประถมศึกษาปีที่6
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 เข้ารับการประเมิน

ก า ร ตั ด สิ น ผ ล ก า ร เ รี ย น
1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
2. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การพิจารณาเลื่อนชั้น ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็น

ว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้น
ได้ แต่หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับ
ชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะ
แ ล ะ ค ว า ม รู้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ข อ ง ผู้ เ รี ย น เ ป็ น สำ คั ญ

ก า ร เ ที ย บ โ อ น ผ ล ก า ร เ รี ย น
การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน หรือต้นภาคเรียนที่

สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษา
ต่อเนื่อง ในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย 1 ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับการเทียบโอน
ควรกำหนด รายวิชา จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 เริ่มใช้ในโรงเรียน
ต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อมในปีการศึกษา 2552 และเริ่มใช้ในโรงเรียน
ทั่วไปในปีการศึกษา 2553 ตัวอย่างความแตกต่างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 กับหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551





2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ผลจากการศึกษาพบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีข้อดี

เช่น กำหนดเป้าหมายการพัฒนาไว้ชัดเจนมีความยืดหยุ่นเพียงพอให้สถานศึกษาบริหารจัดการ
ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า ไ ด้ สำ ห รั บ ปั ญ ห า ที่ พ บ ส่ ว น ใ ห ญ่ เ กิ ด จ า ก ก า ร นำ ห ลั ก สู ต ร แ ก น ก ล า ง ก า ร ศึ ก ษ า
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาและในห้องเรียน นอกจากนี้การศึกษา
ข้อมูลทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560 – 2564) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยจัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20
ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศและเป้าหมายของการพัฒนาที่
ยั่งยืน รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไปสู่ประเทศ 4.0 ซึ่งยุทธศาสตร์ชาตินี้ประกอบด้วย 6
ยุทธศาสตร์ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถ
ในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้าน การ
สร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโต
บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา
ร ะ บ บ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ภ า ค รั ฐ

เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนา
แ ล้ ว ด้ ว ย ก า ร พั ฒ น า ต า ม ห ลั ก ป รั ช ญ า ข อ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ เ พี ย ง ป ร ะ เ ด็ น ที่ สำ คั ญ เ พื่ อ แ ป ล ง แ ผ น ไ ป สู่ ก า ร
ป ฏิ บั ติ ใ ห้ เ กิ ด ผ ล สั ม ฤ ท ธิ์ ไ ด้ อ ย่ า ง แ ท้ จ ริ ง ต า ม ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ก า ร พั ฒ น า แ ล ะ เ ส ริ ม ส ร้ า ง ศั ก ย ภ า พ ค น คื อ
ก า ร เ ต รี ย ม ค ว า ม พ ร้ อ ม ด้ า น กำ ลั ง ค น แ ล ะ ก า ร เ ส ริ ม ส ร้ า ง ศั ก ย ภ า พ ข อ ง ป ร ะ ช า ก ร ใ น ทุ ก ช่ ว ง วั ย มุ่ ง เ น้ น
ก า ร ย ก ร ะ ดั บ คุ ณ ภ า พ ทุ น ม นุ ษ ย์ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ

จากข้างต้นสรุปได้ว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ดังนี้

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการปรับปรุง คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาฯ
ในสาระภูมิศาสตร์ ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีการย้ายสาระที่ 2
การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาเป็นสาระที่
4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยังคงมีรายวิชาพื้นฐานและเพิ่ม
เติมเหมือนเดิม แต่ในส่วนของรายวิชาเพิ่มเติม มีการกำหนดผลการเรียนรู้ในหลักสูตร ให้มีความ
ชั ด เ จ น แ ล ะ ง่ า ย สำ ห รั บ ก า ร นำ ไ ป ใ ช้ ม า ก ยิ่ ง ขึ้ น

3. การจัดรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรและการปรับหลักสูตรสถานศึกษา ยังคงมี
รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมเหมือนเดิม แต่ต้องมีการเปิดรายวิชาใหม่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีการย้ายสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมา
เป็นสาระที่ 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐาน ว 4.1 การ
ออกแบบและเทคโนโลยี และ มาตรฐาน ว 4.2 วิทยาการคำนวณ โดยเฉพาะวิชาคอมพิวเตอร์
เดิม ที่จะต้องเปลี่ยนรหัสวิชาจาก "ง" มาเป็น "ว"

จากข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 มีการปรับปรุงข้อมูลในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้พัฒนา
ศักยภาพของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และการปรับปรุงดังกล่าว จึงมีผล
ทำ ใ ห้ มี ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ใ น ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า ด้ ว ย

3. หลักสูตรสถานศึกษา
ส ถ า น ศึ ก ษ า เ ป็ น ห น่ ว ย ง า น ที่ จั ด ก า ร ศึ ก ษ า เ ป็ น แ ห ล่ ง ข อ ง ก า ร แ ส ว ง ห า ค ว า ม รู้ จึ ง ต้ อ ง มี ห ลั ก สู ต ร

เป็นของตนเอง คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้าน
หลักสูตรสถานศึกษา จึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่น ๆ ที่สถานศึกษา
แ ต่ ล ะ แ ห่ ง ว า ง แ ผ น เ พื่ อ พั ฒ น า ผู้ เ รี ย น ซึ่ ง เ กิ ด จ า ก ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ข อ ง บุ ค ล า ก ร แ ล ะ ผู้ เ กี่ ย ว ข้ อ ง ทั้ ง
ภ า ย ใ น แ ล ะ ภ า ย น อ ก ส ถ า น ศึ ก ษ า

ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า เ ป็ น แ บ บ แ ผ น ห รื อ แ น ว ท า ง ห รื อ ข้ อ กำ ห น ด ข อ ง ก า ร จั ด ก า ร ที่ จ ะ พั ฒ น า ใ ห้
ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึง
ร ะ ดั บ ขั้ น ข อ ง ม ว ล ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ที่ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ก า ร เ รี ย น รู้ ส ะ ส ม ซึ่ ง จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ ผู้ เ รี ย น นำ ค ว า ม รู้ ไ ป สู่ ก า ร
ปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน
สังคม และโลกอย่างมีความสุข

สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน
ส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็น
สมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ รวมทั้งทำหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการ
ข อ ง ผู้ เ รี ย น

มณนิภา ชุติบุตร (2538: 5) ได้เสนอแนวทางการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดทำ
ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า ดั ง นี้

1. เน้นการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจวิธีคิดและความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. นำกระบวนการหรือแนวคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. นำกระบวนการคิดของภูมิปัญญาชาวบ้านมาเสริมสร้างกับแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
4. สร้างกระบวนการคิด หลายมุมโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระแล้วเชื่อมโยงกับ
ชี วิ ต จ ริ ง
5. ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และสนองความต้องการของ
สังคมที่ใช้หลักสูตรนั้น ๆ โดยเหตุนี้ หลักสูตรที่สร้างขึ้นมุ่งหมายในการใช้ในชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่ง
โดยเฉพาะ ก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้มากที่สุด ท้องถิ่นและชุมชนมี
สภาพที่แตกต่างกัน เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วการจะทำหลักสูตรระดับชาติไปใช้กับ
ท้องถิ่นก็ไม่ทันกับความเจริญของเทคโนโลยี สถานศึกษาจึงต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเอง
จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ที่ สำ คั ญ ข อ ง ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า
1. หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีความสุข
2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม สังคม และ
วั ฒ น ธ ร ร ม
วิชัย วงษ์ใหญ่ หลักสูตรสถานศึกษาที่ดีต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุก
ด้านของสถานศึกษา ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3)
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4) จุดหมาย 5) โครงสร้าง 6) คำอธิบายรายวิชา 7) หน่วยการ
เรียนรู้ 8) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 9) ระเบียบการวัดและประเมินผล และ 10) คณะกรรมการ
บ ริ ห า ร ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า

ปั จ จั ย สำ คั ญ ที่ มี ผ ล ต่ อ ค ว า ม สำ เ ร็ จ ข อ ง ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า
1. ความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง
3. การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรสถานศึกษามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ควรต้องได้รับการประเมินและปรับปรุง
หลักสูตรสถานศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น วางแผนปรับปรุงหรือจัดทำหลักสูตรใหม่ จัดหา
และจัดสรรงบประมาณ เป็นต้น เพื่อให้การจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษามีประสิทธิภาพ
แ ล ะ ป ร ะ สิ ท ธิ ผ ล สู ง สุ ด

การพัฒนาหลักสู ตร

บทที่ 9
ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร

ในศตวรรษที่ 21

ปั ญ ห า ใ น ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร
ปั ญ ห า ใ น ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ใ น ภ า พ ร ว ม นั้ น จึ ง มั ก มี ปั ญ ห า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใ น ก ร ะ บ ว น ก า ร พั ฒ น า

หลักสูตรดังกล่าว ซี่งสามารถสรุปได้เป็น 4 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่
1. ปัญหาด้านงบประมาณ
ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร มี ก า ร จั ด เ ต รี ย ม ง บ ป ร ะ ม า ณ สำ ห รั บ ก า ร ดำ เ นิ น ง า น ที่ ไ ม่ เ พี ย ง พ อ สำ ห รั บ

การดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
1.1 งบประมาณสำหรับการวิจัย
1.2 งบประมาณสำหรับการอบรมครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.3 งบประมาณสำหรับการทดลองใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและทั่วถึง
1.4 งบประมาณสำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแบบเรียน

2. ปัญหาด้านบุคลากร
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา ขาดความรู้

ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
2.1 ครูผู้สอนไม่ทราบหรือไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ปรับปรุง และ

เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ห ลั ก สู ต ร
2.2 ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนอาจไม่เห็นด้วยกับการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร

3. ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์
ในการพัฒนาหลักสูตรย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไก

ในการจัดการเรียนการสอน จึงจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเพิ่มขึ้นหรือหลาก
หลายมากขึ้น ซึ่งในสภาพความเป็นจริงแล้วหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนอาจไม่
ส า ม า ร ถ ผ ลิ ต ใ ห้ พ อ เ พี ย ง ต่ อ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร

4. ปัญหาด้านการบริหารจัดการ
4.1 ผู้บริหารขาดความรับผิดชอบ ขาดการติดต่อประสานงานที่ดี
4.2 ผู้บริหารขาดความริเริ่มในการปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น
4.3 ผู้บริหารไม่สืบทอดเจตนารมณ์ของการพัฒนาหลักสูตร
4.4 ผู้บริหารมีความยึดมั่นในความเคยชินดั้งเดิม และมักปฏิเสธเปลี่ยนแปลง

ภาพรวมของศตวรรษที่ 21 กับแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร
“การพัฒนาหลักสูตร” นับเป็นกลไกสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา
ด้วยเหตุนี้นักปกครอง นักคิด รวมทั้งนักการศึกษาต่างได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับแนวทางการ
พัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง สมควรที่จะได้นำไปปรับประยุกต์เป็น
แ น ว ท า ง ใ น ก า ร พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ต่ อ ไ ป
แนวคิดหลักของศตวรรษที่ 21

1. มุมมองโลกในศตวรรษที่ 21
ผู้คนที่จะอยู่ในโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน โดย

เฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศจำเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์หลายศาสตร์ ต้อง
มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ ทั้ ง ใ น ด้ า น เ ป็ น ผู้ ผ ลิ ต แ ล ะ ผู้ บ ริ โ ภ ค มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร อ ยู่ ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น ด้ ว ย ก า ร
ปรับตัวให้อยู่บนพื้นฐาน การเข้าใจตนเอง และรับรู้ถึงความต่างทั้งแนวคิดและการปฏิบัติของ
บุคคลรอบข้าง สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมโลกโดยรับผิดชอบร่วมกันต่อสิ่งแวดล้อมและการ
ใช้พลังงานร่วมกัน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างมี
ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ เ พื่ อ ค ว า ม เ จ ริ ญ ร่ ว ม กั น ข อ ง ทั้ ง ต น เ อ ง แ ล ะ เ ค รื อ ข่ า ย ข อ ง ป ร ะ ช า ค ม โ ล ก

2. มุมมองเกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21
2.1 ทักษะทางด้านเทคโนโลยี (COMPUTING AND ICT LITERACY)
2.2 ความสนใจใคร่รู้และมีจินตนาการ (CURIOSITY AND IMAGINATION)
2.3 การคิดวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (CRITICAL THINKING AND PROBLEM

SOLVING)
2.4 ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม (CREATING AND INNOVATION)
2.5 ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือกัน (COMMUNICATION AND COLLABORATION)
2.6 การคิดในเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ (CORPORATE AND

ENTREPRENEURIAL SPIRIT)
2.7 ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก (CROSS-CULTURAL &

AWARENESS)

แนวคิดการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
1. ความคาดหวังของสังคมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เป็นยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัด ลักษณะการเจริญเติบโตและการ

เปลี่ยนแปลงมีลักษณะที่เป็นการก้าวกระโดดในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและ
ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นที่ระบบการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีสมรรถภาพสูงสุด ใน
ก า ร ดำ ร ง ชี วิ ต

1.1 การรู้พื้นฐานในยุคดิจิตัล (DIGITAL-AGE LITERACY)
1.2 การคิดเชิงประดิษฐ์สร้างสรรค์ (INVENTIVE THINKING)
1.3 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (EFFECTIVE COMMUNICATION)
1.4 ประสิทธิภาพการผลิตในระดับสูง (HIGH PRODUCTIVITY)
2. กรอบความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21
2.1 กรอบความคิดแนวการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของภาคีเพื่อ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21
- จิตสำนึกต่อโลก
- ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
- ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
- ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
- ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
- ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
- การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
- ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
- ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
- ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
ทักษะชีวิตและการทำงาน
- ความยึดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
- ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
- ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
- การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด
- ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21
- มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
- หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
- การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
- สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

2.2 กรอบแนวคิดการจัดการศึกษาเรียนรู้ที่ครบวงจร และผลลัพธ์
สำหรับทักษะการเรียน 6 ประการ ประกอบด้วย
2.2.1 ทักษะการเรียนรู้จากการทำจริง ปฏิบัติจริง
2.2.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.2.3 ทักษะในการสร้างความรู้
2.2.4 ทักษะการเรียนรู้จากภายใน
2.2.5 ทักษะการจัดการ
2.2.6 ทักษะการจัดการความรู้

2.3 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาพการศึกษาไทยในอนาคต
ภาพอนาคตการศึกษาไทยที่พึงประสงค์ ดังนี้

2.3.1 มุ่งพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีความรู้ ทักษะ สติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์
ก า ร ป รั บ ตั ว เ พื่ อ อ ยู่ ร่ ว ม ใ น สั ง ค ม ไ ด้ อ ย่ า ง มี ค ว า ม สุ ข

2.3.2 มุ่งเน้นการพัฒนามันสมองและสติปัญญาของมนุษย์
2.3.3 ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสมองและสติปัญญา
2.3.4 ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2.3.5 ส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกของ
ก า ร แ ข่ ง ขั น ไ ด้ อ ย่ า ง รู้ เ ท่ า ทั น แ ล ะ มี ค ว า ม สุ ข
2.3.6 ก่อให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสาธารณะ
2.3.7 ส่งเสริมความเป็นผู้มีคุณธรรม โดยมีหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนและ
ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล จ ะ ต้ อ ง เ น้ น ทั้ ง ค ว า ม รู้ แ ล ะ คุ ณ ธ ร ร ม ค ว บ คู่ กั น ไ ป อ ย่ า ง บู ร ณ า ก า ร
2.3.8 ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.3.9 เป็นกลไกก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
2.3.10 เปิดโอกาสให้คนทุกหมู่เหล่า ทุกเพศวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนาได้ศึกษา
2.3.11 ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้อย่างทั่วถึง
2.3.12 สถานศึกษามีการแข่งขันกันเชิงคุณภาพ
2.3.13 บทบาทการจัดการศึกษาของรัฐลดลงและบทบาทขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
แ ล ะ เ อ ก ช น เ พิ่ ม ม า ก ขึ้ น
2.3.14 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้ามามีส่วนส่งเสริม
ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ม า ก ขึ้ น
2.3.15 ผู้สูงวัยจะได้รับการเตรียมการด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
2.3.16 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีวิสัยทัศน์ ความรู้ คุณธรรม ทักษะ
แ ล ะ เ จ ต ค ติ ที่ ดี ต่ อ ก า ร ศึ ก ษ า
2.3.17 ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความรู้และผ่านการขัดเลาสติปัญญาตามช่วงวัย


Click to View FlipBook Version