The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การพัฒนาหลักสูตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by natthakarnsk, 2022-04-14 05:45:41

การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

2.4 กรอบแนวคิดการจัดการศึกษาในเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ
2.4.1 การเรียนรู้แนวคิดและลักษณะสังคมไทยอย่างวิเคราะห์วิจารณ์
2.4.2 การเข้าใจวัฒนธรรมอาเซียนและวัฒนธรรมตะวันตกในเรื่องที่มาและผลกระทบ
2.4.3 การรู้จักตนเองพร้อมมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งของและนวัตกรรม
2.4.4 การตามทันกระบวนการผลิตใหม่และสามารถผลิตเองได้อย่างกว้างขวาง
2.4.5 การเข้าใจผู้อื่น และรู้วิธีการในการน าการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน
2.4.6 การออกแบบและร่วมพัฒนาทิศทางของสังคมที่เหมาะสมได้
2.4.7 มีความเข้มแข็งในจริยธรรม ความรับผิดชอบและความดีงาม
การพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21
ซึ่ ง ร ะ บ บ ก า ร ศึ ก ษ า จ ะ เ ป็ น ปั จ จั ย ที่ เ อื้ อ อำ น ว ย ต่ อ ค ว า ม สำ เ ร็ จ ข อ ง ก า ร ดำ ร ง ชี วิ ต ใ น ศ ต ว ร ร ษ ที่
21 และดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นของบทนี้ว่า ในระบบการจัดการศึกษาที่จะถ่ายทอดแนวคิด
หลักการ สาระสำคัญของเนื้อหา คุณลักษณะของโลก สังคม บุคคล รวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ
ของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมและโลกภายใต้ความ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
จากสรุปแนวคิดของท่านพระธรรมปิฎกดังกล่าว อาจสังเคราะห์เป็นแนวทาง ในการพัฒนา
หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ได้ดังนี้

1. ด้านการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ควรคำนึงถึง
การกำหนดกรอบของโครงสร้างเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ประกอบทางการศึกษา 3 ด้าน ที่เรียกว่า
ไตรสิกขา ประกอบด้วยเนื้อหา ทางด้านการปฏิบัติ (พฤติกรรม) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (จิตใจ)
และด้านสาระความรู้ (ปัญญา)

2. ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ ในการนำหลักสูตรไปสู่การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นการ
สร้างความเข้าใจถึงการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่หลากหลายทั้งที่เอื้ออำนวยและ
ไม่เอื้ออำนวย เพื่อสร้างพลเมืองที่มีความแข็งแกร่ง อดทน อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้เกิดการ
แข่งขันในสังคมและในระดับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายให้เกิดความดีงามแก่ชีวิต และ
มี สั น ติ สุ ข ต่ อ ส่ ว น ร ว ม

จากพระราชดำรัสข้างต้น หากวิเคราะห์ตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรแล้ว จะสะท้อนให้
เห็นแนวพระราชดำริใน 2 ด้านใหญ่ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรและการสอนได้ดังนี้

1. ด้านการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรและการกำหนด
เนื้อหาสาระความรู้ ควรประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ความรู้ทางวิชาการ ทักษะการคิด และ
คุณธรรม โดยความรู้นั้น ๆ ประกอบด้วย ความรู้ทางวิชาการความรู้ ปฏิบัติการ และความรู้คิด
อ่านตามเหตุผล ความเป็นจริง ทั้งนี้สาระทั้ง 3 ส่วนจะต้องนำมาบูรณาการกัน และมีความสมดุล
ทั้ ง ด้ า น ท ฤ ษ ฎี แ ล ะ ก า ร ป ฏิ บั ติ

2. ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ ในการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน การที่จะถ่ายทอดสาระ
ค ว า ม รู้ ไ ป ยั ง ผู้ เ รี ย น นั้ น ค ว ร เ น้ น ก ร ะ บ ว น ก า ร เ รี ย น รู้ ที่ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ปั ญ ญ า

แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางการศึกษา
1.1 กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกและสังคมไทย ในยุคที่กระแสโลกาภิวัตน์

กำลังมีอิทธิพลอย่างมากในสังคมโลกและสังคมไทย อาจมีผลกระทบต่อการดำรงความเป็นไทย
แ ล ะ เ ป็ น ค น ใ น ยุ ค โ ล ก า ภิ วั ต น์ ไ ด้ ด้ ว ย

1.2 ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมความ
ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม จะมีอิทธิพลต่อชีวิตความ
เป็นอยู่ และทำให้สังคมไทยเป็นสังคมข่าวสาร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิด
พฤติกรรม และค่านิยมสากลในด้านต่าง ๆ

2. การเสริมสร้างปัจจัยเพื่อการแข่งขันในระดับโลก ในสภาวะโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้นานา
ประเทศต้องเสริมสร้างความพร้อมที่จะเผชิญกับ การแข่งขันในทุกทางเพื่อให้คงอยู่ได้ในสังคม
โลก ประกอบด้วย

2.1 การสร้างคุณภาพของประชากรและกำลังคน
2.2 การสร้างขีดความสามารถในการจัดการ
2.3 การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์เพียงพอในการตัดสินใจ
2.4 การมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถพึ่งตนเองได้

3. แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
ควรมีแนวโน้มในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรที่เอื้ออำนวยให้เกิด การพัฒนาการศึกษา

ดั ง นี้
3.1 การศึกษาจะต้องเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
3.2 การศึกษาเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
3.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาค่านิยม

แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตของ ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
การศึกษาควรมุ่งสร้างสรรค์พัฒนาคน ผ่านทางการยกระดับอุดมการณ์ทางการศึกษาของ

ประชาชนใน 3 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาเพื่ออัตตา คือ การศึกษาเล่าเรียนวิชาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ

ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ
ขั้นที่ 2 การศึกษาเพื่อชีวา คือ การศึกษาที่มุ่งสร้างลักษณะชีวิตที่ดีงาม และคนที่สมบูรณ์

แบบ ตั้งมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม จริยธรรม และมีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง
ขั้นที่ 3 การศึกษาเพื่อปวงชน คือ การศึกษาเพื่อยกระดับจิตใจผู้เรียนให้สูงขึ้น ปลด

ปล่อยความเห็นแก่ตัวเสียสละ และสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น
จากทัศนะของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ดังกล่าวข้างต้น หากวิเคราะห์ตามแนวทาง การ

พัฒนาหลักสูตรแล้วจะสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรควรมีจุดเน้นดังนี้
1. ด้านการสร้างและปรับปรุงหลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตร ควรมีจุดหมาย เนื้อหา

สาระ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้คนมีลักษณะ
“คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และ ประยุกต์ใช้เป็น”

2. ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ ในด้านการนำหลักสูตรไปใช้ในการสอน ต้องบริหารจัดการให้
หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นหลักสูตรในลักษณะ “ปวงชน” กล่าวคือ ให้โอกาสและความเสมอ
ภาคในการเข้ารับการศึกษา ได้ตามความสามารถและศักยภาพของแต่ละคน เพื่อนำความรู้ที่ได้
รั บ ไ ป พั ฒ น า ต น แ ล ะ สั ง ค ม

ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21
1. ในด้านการสร้างและ/หรือการปรับปรุงหลักสูตร
หากพิจารณาบริบทของโลกในศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบันอาจคาดการณ์ได้ว่าหลักสูตรในอนาคตควรเป็น
“หลักสูตรระยะสั้นและจบเร็ว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มาก รวดเร็วและลงทุนน้อย” โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การสร้างและปรับปรุงหลักสูตร

1.1 ปัจจัยพื้นฐานในการสร้างและปรับปรุงหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
1.2 คุณลักษณะที่ต้องการเน้นให้เกิดในผู้เรียน เพื่อให้สอดรับกับบริบทของไทยและบริบทของโลกใน
ศตวรรษที่ 21 อย่างผสมกลมกลืนกัน ทั้งในด้านอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก
2. ในด้านการบริหารจัดการหลักสูตร
ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอดความรู้ จัดเก็บความรู้ และสื่อสารความรู้ โดย
คำนึงถึงความแตกต่างขององค์ความรู้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ในด้านการประเมินหลักสูตร กรอบแนวคิดในการประเมินหลักสูตรควรอยู่ภายใต้ขอบเขตการประเมิน 3 ด้าน
3.1 การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านความรู้ที่ได้รับ
3.2 การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านทักษะที่เกิดขึ้น
3.3การประเมินหลักสูตรในขอบเขตด้านคุณลักษณะเฉพาะหรือคุณลักษณะชีวิตที่ต้องการเน้น

การพัฒนาหลักสู ตร

THE END
THANK YOU FOR YOU ATTENTION


Click to View FlipBook Version