The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือ "นครสวรรค์ศึกษา" พุทธศักราช ๒๕๖๒

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by artsandculturensru, 2023-11-14 21:59:56

นครสวรรค์ศึกษา

หนังสือ "นครสวรรค์ศึกษา" พุทธศักราช ๒๕๖๒

ชื่ อหนังสือ นครสวรรค์ศึกษา พิมพ์ครั้ งแรก พุทธศักราช 2562 จำ นวน 4,000 เล่ม ISBN 978-616-8094-10-5 ที่ ปรึกษา ผศ.ดร.บัญญัติชำ นาญกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ รศ.วุฒิชัย ประภากิตติรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดร.ประจักร์รอดอาวุธ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผศ.ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง คณบดีคณะครุศาสตร์ ศ.เกียรติคุณ ดร.อรรถ นันทจักร์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม ดร.ประกอบ สาระวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นางจุไรวรรณ โพธิ์ แก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นายสมศักดิ์อรุณสุรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นายสันติคุณาวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม บรรณาธิการ นายภาสกร วรอาจ ผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม กองบรรณาธิการ รศ.พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์ รองผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นายธีรพร พรหมมาศ รองผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวชุณษิตา นาคภพ รองผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม ผศ.ดร.เพียงพิศ ชะโกทอง ผู้ช่วยผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ผศ.ดร.เยาวเรศ ภักดีจิตร หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ดร.อาภากร โพธิ์ ดง อาจารย์ประจำ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จัดพิมพ์และสงวนสิทธิ์ โดย สำ นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 398 หมู่ 9 ถนนสวรรค์วิถีตำ บลนครสวรรค์ตก อำ เภอเมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์60000 พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำ กัด วิสุทธิ์ การพิมพ์1969 1/39 ถนนสวรรค์วิถีตำ บลปากนํ ้ าโพ อำ เภอเมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์60000


คำ�นำ� สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นหน่วยงานหลักใน การขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายสำ�คัญในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงการบูรณาการ งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ โดย การมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ชุมชนและสังคม ดังนั้น หนังสือ “นครสวรรค์ศึกษา” จึงเป็นบทเรียนวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สำ�นักศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้จัดทำ�ขึ้นเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็น ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ อันจะสะท้อนถึงความเป็นมาของเมืองสี่แควได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สภาวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำ�นักงานเขตพื้นที่ มัธยมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และปราชญ์ท้องถิ่น โดยมีการเรียบเรียงข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมของ จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักวิชาการ เพื่อนำ�ไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนของผู้เรียนใน ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์อีกด้วย สำ�นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ สำ�หรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์และความร่วมมือในการดำ�เนินงานด้านการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ให้กลายเป็นองค์ความรู้ และได้รับ การถ่ายทอดสู่เยาวชนให้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม จนเกิดจิตสำ�นึกในการอนุรักษ์คุณค่า เหล่านี้ให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของนครสวรรค์ต่อไป นายภาสกร วรอาจ ผู้อำ นวยการสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์


คำ�นิยม การทำ นุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการสืบสาน และการสร้างองค์ความรู้ ทางด้านวัฒนธรรมนับเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมอบหมาย ให้สำ นักศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการบูรณาการงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับการจัดการ การเรียนรู้การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน และชุมชน ในท้องถิ่นนครสวรรค์ หนังสือบทเรียนวัฒนธรรมท้องถิ่น “นครสวรรค์ศึกษา” นี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมและ เผยแพร่ข้อมูล ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้เป็นประโยชน์สำ หรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งสำ หรับการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา ข้อมูลเหล่านี้มาจากการสังเคราะห์และเรียบเรียงเนื้อหาจากคณาจารย์ของสาขาวิชา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ซึ่งประกอบไปด้วย 4 บทเรียน ได้แก่ ประวัติความเป็นมา กลุ่มชาติพันธุ์ ขนบธรรมเนียมและประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด นครสวรรค์ การนำ เสนอในรูปแบบของบทเรียนนี้ นับเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งการผสมผสาน การให้ความรู้ทางวิชาการควบคู่กับคำ ว่าศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นไปตามพันธกิจของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และแสวงหาองค์ความรู้อย่างมีส่วนร่วม ตลอดจนการบูรณาการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ท้ายนี้ ในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณ บุคลากรของสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม และคณาจารย์สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ร่วมถึงเครือข่ายความร่วมมือทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้ทุ่มเท แรงกายแรงใจในการนำ เสนองานวัฒนธรรมให้เป็นผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทเรียนวัฒนธรรม ท้องถิ่น "นครสวรรค์ศึกษา" อันจะทำ ให้เยาวชนและชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจในคุณค่าของ วัฒนธรรมท้องถิ่น จนก่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของตน และ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมเหล่านี้ให้คนรุ่นหลังต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ ชำ นาญกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์


คำ�นิยม พันธกิจด้านศิลปะและวัฒนธรรม ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์ โดยมหาวิทยาลัยร่วมกับสำ นักศิลปะและวัฒนธรรมได้ดำ เนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และสร้างความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก มหาวิทยาลัยด้วยดีตลอดมา การจัดทำ หนังสือบทเรียนวัฒนธรรมท้องถิ่น “นครสวรรค์ศึกษา” ในครั้งนี้ จึงนับเป็นการการบูรณาการงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน และ การบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการดำ เนินการเพื่อรวบรวมและเผยแพร่ วัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป ขอขอบคุณสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ยังคงทำ หน้าที่ เป็นหน่วยงานสำคัญในการสร้างความภาคภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นในแก่ชาวนครสวรรค์ หนังสือ “นครสวรรค์ศึกษา” นี้ จะเป็นการสร้างองค์ความรู้ในเชิงวิชาการทางวัฒนธรรมที่ถูกต้อง และมีคุณค่ายิ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนครสวรรค์ร่วมกัน ทั้งยัง สอดคล้องกับพันธกิจทางด้านการทำ นุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอีกด้วย รองศาสตราจารย์วุฒิชัย ประภากิตติรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา


คำ�นิยม การบูรณาการด้านการเรียนการสอน ร่วมกับการดำ เนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในแนวทางการทำ งานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยสำ นักศิลปะและ วัฒนธรรมเป็นหน่วยงานสำ คัญในการสร้างงานทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่สำ คัญของ ท้องถิ่นนครสวรรค์ ทั้งนี้ สำ นักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการการเผยแพร่วัฒนธรรมเหล่านี้ไปยัง เยาวชนและบุคคลทั่วไปผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มาโดยตลอด ทั้งการจัดอบรม สัมมนา หรือ การจัดการประชุม เพื่อนำ เสนองานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม การจัดทำ หนังสือบทเรียนวัฒนธรรมท้องถิ่น “นครสวรรค์ศึกษา” จึงนับเป็นแนวคิดที่ดีอีกครั้งหนึ่งในการ นำ เสนอวัฒนธรรมท้องถิ่นไปยังเยาวชนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งถือเป็นกลุ่มบุคคล ที่มีส่วนสำคัญในการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นนครสวรรค์ให้คงอยู่สืบไป ขอขอบคุณสำ นักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสาขาวิชา สังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ที่ได้รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมอันเป็นประโยชน์ และให้ความสำคัญ ต่อการบูรณาการงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน ซึ่งทำ ให้เกิดการพัฒนา ผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำ เนินงานของมหาวิทยาลัย ดร.ประจักร์ รอดอาวุธ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ


คำ�นิยม วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่สามารถแสดงออกได้ในรูปของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ในชุมชนที่จำ เป็น ต้องอนุรักษ์ รักษาไว้ให้กับชุมชนและสังคม หนังสือ “นครสวรรค์ศึกษา” นี้ ถือเป็นการอนุรักษ์ ธำ รงรักษา ที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ขอขอบคุณสำ นักศิลปวัฒนธรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ และหน่วยงานภายนอกที่ได้เรียบเรียง หนังสือ “นครสวรรค์ศึกษา” ซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับ การเรียนการสอนอีกด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง คณบดีคณะครุศาสตร์


สารบัญ ตอนที่ 1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์ 1 ที่มาของชื่อและความหมายของคำว่า “นครสวรรค์” 1 นครสวรรค์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3 นครสวรรค์ในยุคต้นประวัติศาสตร์ (ยุคทวารวดี) 4 นครสวรรค์ในยุคสมัยสุโขทัย 7 นครสวรรค์ในยุคสมัยอยุธยา 8 นครสวรรค์ในยุคสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ 10 นครสวรรค์ในยุคสมัยปัจจุบัน 12 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครสวรรค์ 12 บทสรุป ตอนที่ 1 16 ตอนที่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ 17 พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ 18 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของคน กลุ่มคน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ 20 ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในจังหวัดนครสวรรค์ 21 ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ 21 ลาวพวนหรือไทยพวน 25 ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพวนหรือไทยพวน 26 ชาติพันธุ์มอญ 27 การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 28 ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย 28 ประวัติการอพยพของมอญในนครสวรรค์ 29 ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมอญ ที่ยังคงหลงเหลือ 30 ชาติพันธุ์มุสลิม 32 กลุ่มมุสลิมที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย 33 มุสลิมในจังหวัดนครสวรรค์ 35 ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม 37 ชาติพันธุ์ญวน 40 ประวัติการอพยพของญวนในนครสวรรค์ 44 ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ญวน 44 ชาติพันธุ์จีน 47 ประวัติการอพยพของญวนในนครสวรรค์ 50 บทสรุป ตอนที่ 2 52


สารบัญ ตอนที่ 3 ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำ คัญในจังหวัดนครสวรรค์ 53 เทศกาลตรุษจีน 53 วันเกิดเจ้าพ่อเทพารักษ์ 54 เทศกาลรำลึกถึงผู้ล่วงลับและเทศกาลเชงเม้ง 55 วันเกิดเจ้าแม่สวรรค์ 57 เทศกาลไหว้ขนมจ้างหรือ (เทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่าง) 57 วันเกิดเจ้าพ่อกวนอู 58 วันสารทจีนและเทศกาลเทกระจาด (ทิ้งกระจาด) 59 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 61 วันเกิดเจ้าแม่ทับทิม 64 เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย 65 เทศกาลง่วนเซียว (หยวนเซียว) 66 ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ 66 พิธีกรรมและขั้นตอนที่สำคัญในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนนํ้าโพ 67 พิธีการโยนไม้เสี่ยงทาย (ปั่วะปวย) ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม 69 การทำ พิธีอัญเชิญป้ายเจ้าพ่อเจ้าแม่ไปไว้ณ ศาลเจ้าชั่วคราว 70 พิธีการเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ไปไว้ณ ศาลเจ้าชั่วคราว 72 ประเพณีการแข่งเรือยาว 74 ประเพณีลอยกระทงสาย 74 ประเพณีสงกรานต์บ้านเขาทอง 75 ประเพณีงานบุญข้าวแช่ 76 ประเพณีบุญสลากภัต 78 ประเพณีบุญกำ ฟ้า บ้านวังรอ 80 บทสรุป ตอนที่ 3 81 ตอนที่ 4 แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ 82 - ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา 82 พระจุฬามหาเจดีย์ 82 วัดคีรีวงศ์ 83 วัดจอมคีรีนาคพรต 83 วัดเกรียงไกรกลาง 84 วัดศรีสวรรค์สังฆาราม 84 ศาลาที่ประทับ ร.5 หน้าวัดเขื่อนแดง 85 วัดวรนาถบรรพต 86 วัดนครสวรรค์ 86 วัดเกาะหงษ์ 87


สารบัญ วัดศรีอุทุมพร 87 วัดพระปรางค์เหลือง 88 วัดเกยไชยเหนือ 89 วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ 89 รอยพระพุทธบาท 90 วัดหนองกลับ 90 วัดช่องแค 91 ถํ้าบ่อยา 91 วัดถํ้าพรสวรรค์ 92 พุทธศาสนสถานหลวงพ่อดำ 92 - ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 92 ต้นแม่นํ้าเจ้าพระยา 92 อุทยานสวรรค์ 93 บึงบอระเพ็ด 94 เขาหน่อ - เขาแก้ว 95 วนอุทยานถํ้าเพชร - ถํ้าทอง 96 เขาพระ - เขาสูง 97 นํ้าตกวังนํ้าวิ่ง 97 ป่าไพศาลี 98 อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 98 ทุ่งหินเทิน 99 - ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม 99 ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม 99 สะพานเดชาติวงศ์ 100 หอชมเมืองนครสวรรค์ 101 หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ 101 ศูนย์แสดงเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ 102 เมืองโบราณโคกไม้เดน 103 ชุมชนชาวไทยทรงดำบ้านไผ่สิงห์ 103 เมืองเก่าเวสาลี 104 แหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ประสาท 104 ย่านเก่าชุมแสง "สะพานหิรัญนฤมิตร" 105 พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ 105 เมืองโบราณจันเสนและพิพิธภัณฑ์จันเสน 106 เมืองธานยบุรี(ดงแม่นางเมือง) 106 บทสรุป ตอนที่ 4 108 บรรณานุกรม


ตอนที ่ 1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ระหว่าง ตอนล่างของภาคเหนือและตอนบน ของภาคกลาง มีพื้นที่ด้านเหนือติดกับ จังหวัดพิจิตรและกำ แพงเพชร ด้านใต้ ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาทและอุทัยธานี ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์ และลพบุรี ส่วนด้านตะวันตกติดกับ จังหวัดตาก เป็นจังหวัดที่มีความสำ คัญ ทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของ ประเทศไทย ภาพที่ 1.1 ต้นแม่น้ำ�เจ้าพระยา (ปากน้ำ�โพ) อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ นครสวรรค์ เป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำ แหง โดยเรียกว่า “เมืองพระบาง” ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายรอบราชธานี จึงมี ความสำคัญในการป้องกันศึกสงครามมาจนกระทั่งถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อไปเป็น “ชอนตะวัน” เนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้า เจ้าพระยา ทำ ให้แสงตะวันส่องเข้าหน้าเมือง ต่อมาเมื่อย้ายตัวเมืองมาอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้า เจ้าพระยา จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “นครสวรรค์” ซึ่งแปลว่า ดินแดนหรือบ้านเมืองแห่งความสุขสมบูรณ์ ราวเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ นอกจากนี้ นครสวรรค์ยังมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองปากนํ้าโพ” ซึ่งเป็นชื่อที่ ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไป โดยเป็นบริเวณแควน่าน (แม่นํ้าน่านกับแม่นํ้ายม) และแควปิง (แม่นํ้าปิงกับ แม่นํ้าวัง) ไหลมาสบรวมกันเป็นแม่นํ้าเจ้าพระยา ที่ มาของชื่ อและความหมายของคำ ว่า “นครสวรรค์” ภาพที่ 1.2 จุดที่แม่นํ้าสี่สายไหลมารวมกัน คือ ปิง วัง ยม น่าน ตรงกลางเป็นเกาะยม เราเรียกตรงนี้ว่า ปากนํ้าโพ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 1


2 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 ส่วนที่เรียกว่าปากนํ้าโพนั้น มีข้อสันนิษฐาน จากนักคิดและนักวิชาการท้องถิ่นอยู่ 3 ประการ คือ • ประการแรก สันนิษฐานว่าในบริเวณปาก แม่นํ้าจากสายแม่น้าปิงมารวมกับสายแม่น ํ ้าน่าน ซึ่งตรง ํ กับบริเวณที่มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ที่ริมตลิ่งใกล้วัดโพธาราม ประชาชนจึงเรียกกันว่า “ปากแม่นํ้าโพธิ์” ต่อมาค่อย ๆ กร่อนกลายมาเป็น “ปากนํ้าโพ” มาจนถึงปัจจุบัน • ประการที่สอง รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง (2557) ได้นำ เสนอความคิดในเวทีประชุมสัมมนาวิจัย ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของลุ่มนํ้าเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2557 ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ สรุปไว้ว่า น่าจะเป็นการตั้งชื่อ ตามสภาพภูมิศาสตร์ของบ้านของเมือง ที่มีปากนํ้า หรือปากแม่นํ้าไหลมารวมกันตรงบริเวณวัดโพธาราม จึงเรียกกันต่อ ๆ มาว่า “ปากนํ้าวัดโพธาราม” และ พัฒนาเปลี่ยนมาเป็น “ปากนํ้าวัดโพ” และเรียกขาน สืบต่อกันมาว่า “ปากนํ้าโพ” ในที่สุด • ประการสุดท้าย นัทธี พุคยาภรณ์ สภา วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ได้กล่าวแสดงความคิดเห็น และตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อและที่มาของคำ ว่า “ปากนํ้าโพ” ไว้ในเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความเข้าใจและ วางแผนงานโครงการสร้างผลผลิตและนวัตกรรมทาง วัฒนธรรมชุมชนต้นแม่นํ้าเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 6 - 7 ธันวาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับ (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2551) ไว้ว่า ชื่อบริเวณ ที่เป็นปากนํ้าที่เรียกว่า “ปากนํ้าโพ” นั้น คำ ว่า “โพ” มาจากชื่อคลองโพที่อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ไหลมา ลงแม่นํ้าน่าน เลยเรียกแม่นํ้าน่านสายที่ไหลมาตั้งแต่ จังหวัดอุตรดิตถ์จนถึงนครสวรรค์ว่า “แม่นํ้าโพ” แล้ว จึงเรียกตรงปากนํ้าน่านว่า “ปากนํ้าโพ” โดยไม่ได้ เพี้ยนมาจากคำว่า “โผล่” หรือ “ต้นโพธิ์” ตามที่เคยมี ผู้พยายามตีความอธิบายก่อนแล้ว กล่าวคือ นครสวรรค์ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ตอน บนของที่ราบภาคกลางเป็นดินแดนที่มีความสำ คัญและ มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน โดยปรากฏชื่อเรียกในหลายชื่อ อาทิ ปากนํ้าโพ เมือง พระบาง และเมืองชอนตะวัน ลักษณะภูมิประเทศของ นครสวรรค์คล้ายแอ่งกระทะโดยพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด เป็นแอ่งที่ต่านํ ้าท่วมถึง ส่วนพื้นที่บริเวณขอบทางตะวันออก ํ และทางตะวันตกมีระดับสูงขึ้น และด้วยสาเหตุที่พื้นที่ ตอนกลางของนครสวรรค์เป็นแอ่งต่า จึงเป็นที่รองรับแม่น ํ ้าํ หลายสายที่ไหลมารวมกัน อีกทั้งนครสวรรค์ยังเป็นจังหวัด ที่เป็นต้นกำ เนิดของแม่นํ้าที่สำ คัญที่สุดในประเทศไทย คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา รวมทั้งมีบึงบอระเพ็ดซึ่งเป็นบึงที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ นครสวรรค์เป็นดินแดนที่มีแม่น้าสำ ํ คัญหลายสาย คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าปิง และแม่นํ้าน่าน ส่งผลให้ มีผู้คนเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น อีกทั้งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำ ให้ทราบว่านครสวรรค์เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็น ชุมชนเมืองในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ ซึ่งมีพัฒนาการและ ความเจริญมาเป็นลำดับ ภาพที่ 1.3 ภาพจำ�ลองแม่น้ำ�สี่สายที่ไหลมารวมกันตรงปากน้ำ�โพ สายน้ำ� ฝั่งซ้ายจะเป็นแม่น้ำ� ปิง กับ วัง ส่วนฝั่งขวาเป็นแม่น้ำ�ยมและน่าน ความเจริญก็จะอยู่บริเวณนี้ เพราะเป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้า ไปที่ต่าง ๆ ระหว่างภาคเหนือกับภาคกลาง


นครสวรรค์ เป็นเมืองที่มีหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการ อันต่อเนื่องที่แสนจะยาวนานย้อนหลังกลับไปถึงยุคก่อน ประวัติศาสตร์ หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปี (จากหลักฐานทาง โบราณคดีของกรมศิลปากร) ซึ่งอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งจังหวัด นครสวรรค์ โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนเล็ก ๆ มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ หาของป่า และมีความเชื่อเรื่อง ชีวิตหลัง ความตาย ที่เชื่อว่า คนที่ตายไม่ได้ตายจริง แต่เปลี่ยนสถานที่อยู่ จึงมีพิธีฝังศพแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ เช่น พบว่า บางพื้นที่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการฝังศพคนตาย 2 ครั้ง โดยฝังครั้งแรก แล้วขุดขึ้นมาเอากระดูกไปใส่หม้อสีดำฝังรวมกับ ของใช้อีกครั้ง แต่ส่วนภูมิภาคอื่นรวมทั้งจังหวัดนครสวรรค์จะเป็น การฝังครั้งเดียว สิ่งที่ฝังไปกับศพนั้นมีภาชนะ เครื่องประดับ ประเภทรูปภาพหิน ไม่ว่าจะเป็นอะเกต หรือคาร์เนเลียน รวมทั้ง ของมีค่าอื่น ๆ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงฐานะรวมถึงการได้พบ เครื่องมือในการทำ เกษตรถูกฝังร่วมกับโครงกระดูกตามหลุมศพ โบราณที่พบอยู่มากมายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เช่น บ้าน หนองใหญ่ บ้านลำ พยนต์ บ้านพุนิมิต อำ เภอตากฟ้า บ้านใหม่ ชัยมงคล อำ เภอตาคลี เป็นต้น พบว่า มีการทำ เครื่องปั้นดินเผา และทอผ้าใส่เองอีกด้วย พบเครื่องมือขึ้นรูปภาชนะดินเผาที่ เรียกว่า หินดุ (จะใช้ดุนภายในภาชนะและใช้ไม้ตีภาชนะให้ขึ้นรูป ด้านนอก) ส่วนการทอผ้ามีการพบ แวดินเผา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ช่วยปั่นด้ายนั่นเอง ต่อมามีวิวัฒนาการมาเป็นการใช้โลหะในการ ทำ เครื่องมือใช้โลหะที่ใช้ในช่วงแรก คือ สำ ริด และเหล็กตาม ลำ ดับ เพราะพบตะกรันเหล็กที่เหลือจากการถลุงเหล็กที่บ้าน จันเสน อำ เภอตาคลี หรือที่บ้านหนองใหญ่ อำ เภอตากฟ้า สังคมเริ่มขยายขึ้นเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้น อาจจะเป็นการแบ่งงานกันทำตามเพศและวัย มีความเชื่อในเรื่อง ต่าง ๆ เพราะพบภาชนะดินเผารูปวัวซึ่งพบที่บ้านพุนิมิต บ้าน หนองใหญ่ อำ เภอตากฟ้า และบ้านใหม่ไชยมงคลที่อำ เภอตาคลี นครสวรรค์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งจะคล้ายกับที่พบที่บ้านพุน้อย อำ เภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นที่น่าสังเกตว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้มักจะตั้งอยู่ บริเวณที่ดอนใกล้แหล่งนํ้าที่มีนํ้าซึมนํ้าซับ เช่น บ้านพุช้างล้วง บ้านใหม่ชัยมงคล บ้านจันเสน อำ เภอตาคลี บ้านพุวิเศษ บ้านพุนิมิตร บ้านลำ พยนต์ บ้านคลองใหม่ บ้านสระเกตุโมรี บ้านพุนกยูง บ้านเขาชายธง อำ เภอตากฟ้า บ้านพุซาง บ้านพุวิเศษ บ้านซับกระโดน อำ เภอพยุหะคีรี เป็นต้น ชุมชน เหล่านี้ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวแต่มีการติดต่อ และสร้างความ สัมพันธ์กัน รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นข้างเคียง หรือชุมชนชายฝั่งทะเล เพราะพบเครื่องประดับที่ทำ จากหิน มีค่า เช่น คาร์เนเลี่ยน อะเกต และลูกปัดแก้ว ที่พบมากใน ยุคโลหะตอนปลายของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ ยังพบ หลักฐานการอพยพย้ายถิ่นไป เพราะหลักฐานในพื้นที่บางแห่ง โดยเฉพาะที่แหล่งโบราณคดีทุกแห่งที่อำ เภอตากฟ้า รวมถึง ที่บ้านใหม่ชัยมงคล อำ เภอตาคลี จะพบหลักฐานโบราณวัตถุ ที่มีมาถึงยุคโลหะตอนปลายแล้วหยุดอยู่แค่นั้นโดยไม่พบ หลักฐาน ในยุคต่อมายุคทวารวดี ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า เส้นทางนํ้าเปลี่ยนเพราะชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีความ ผูกพันกับน้า ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การเกษตร การอุปโภค ํ บริโภค หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ (ยุคทวารวดี) ท่านผู้อ่านที่อยากจะเข้าไปชมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่ง โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อำ เภอที่พบแหล่งโบราณคดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์มากที่สุด คือ อำ เภอตากฟ้า (27 แห่ง) รองลงมา คือ อำ เภอตาคลี (25 แห่ง) เข้าไปชมในช่วงที่ไม่มี การทำ เว้นว่างจากการเกษตร คือ ช่วงเดือนมกราคม เนื่องจากโบราณคดีเหล่านี้จะอยู่บนพื้นที่ทำ กินของชาวบ้าน ที่มีการปลูกอ้อย ฝ้าย หรือข้าวโพด ซึ่งบางพื้นที่โบราณวัตถุ ถูกฝังไม่ลึกจึงถูกเครื่องมือเกษตรทำความเสียหายเป็นจำ นวน มาก นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 3 นครสวรรค์ เป็นเมืองที่มีหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการอันต่อเนื่องยาวนาน ย้อนหลัง กลับไปถึงยุคก่อน ประวัติศาสตร์หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปี จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการขุดพบ กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด นครสวรรค์ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ คือ ประวัติศาสตร์ของเมืองนครสวรรค์ในยุคสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่ ยุคก่อนประวิติศาสตร์ ยุคต้นประวัติศาสตร์ (ยุคทวารวดี) สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และ สมัยปัจจุบัน ประกอบด้วย


หลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นหลายแห่งในจังหวัดนครสวรรค์ ชี้ให้เห็นร่องรอยของการเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 2,700 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว บางแห่งอาจไกลถึง 3,500 ถึง 4,500 ปี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีทั้งแหล่งนํ้า พื้นที่ราบ และพื้นที่แบบลอนลูกคลื่น เหมาะแก่การทำ เกษตรกรรม ซึ่งพบหลักฐานได้ ในแหล่งโบราณคดีที่บ้านจันเสน บ้านใหม่ชัยมงคล ในอำ เภอตาคลี บ้านหนองใหญ่ บ้านพุนิมิต บ้านซับตะเคียน ในอำ เภอ ตากฟ้า เป็นต้น นอกจากการทำ เกษตรกรรมแล้ว ยังมีการถลุงโลหะและหล่อสำ ริดเพื่อทำ เครื่องมือ เครื่องใช้ เนื่องจาก มีแหล่งโลหะที่สำคัญ คือ ทองแดง และเหล็ก ในบริเวณเนินเขารอบ ๆ เขาแม่เหล็กในอำ เภอพยุหะคีรี 4 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 นอกจากนี้ แหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล ตำ บลสร้อยทอง อำ เภอตาคลี บ้านพุขมน บ้านพูช้างล้วง บ้านจันเสน ในอำ เภอตาคลี บ้านหนองใหญ่ บ้านพุนิมิต บ้านซับตะเคียน ในอำ เภอตากฟ้า แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ โดยโบราณวัตถุที่ขุดพบมีหลายประเภทส่วนใหญ่เป็นเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่อง ประดับที่ทำด้วยหินขัดดินเผาเปลือกหอยทะเลสำ ริด และเหล็ก บางแห่งมีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยทวารวดี ตำ บลจันเสน อำ เภอตาคลี เป็นต้น ภาพที่ 1.4 ควายดินเผาสิ่งของที่อุทิศใน หลุมศพของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล ภาพที่ 1.6 แม่พิมพ์ขวานสำ�ริด พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านหนองใหญ่ ภาพที่ 1.5 โครงกระดูกมนุษย์ในยุคเหล็ก ที่แหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล ชุมชนในยุคต้นประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีระบบโครงสร้างทางสังคมและ วัฒนธรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียเข้ามาปรุงแต่ง จนเป็นวัฒนธรรมทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 16) ดังหลักฐานการสร้างบ้านเมืองที่มีคูนํ้าคันดินล้อมรอบ มีวัด หรือศาสนาเป็นศูนย์กลางของชุมชนแทนแหล่งฝังศพหรือป่าช้า เนื่องจากมีประเพณีการเผาศพแทนการฝังศพ มีศาสนา คือ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งหยั่งรากลึกในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนทวารวดี จังหวัดนครสวรรค์อย่างแยกกันไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ สถาปัตยกรรม ซึ่งเรียกว่า ศิลปะทวารวดี มีการใช้ตัวอักษร ซึ่งอักษรที่มีใช้ในชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ขณะนั้น คือ อักษรปัลลวะ ที่มีอิทธิพลต่อการกำ เนิดตัวอักษรอื่นในดินแดนแถบนี้ อักษรรุ่นแรกหรือเก่าแก่ที่สุดจริง ๆ คือ อักษรพรหมี แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ใช้จดบันทึก จะพบจากจารึกโวคาญ ประเทศเวียดนามใต้สู้อักษรปัลลวะไม่ได้ ที่เป็นพื้นฐานอักษรขอมโบราณ อักษรขอม อักษรธรรมลานนา อักษรธรรมอีสาน ส่วนอักษรเก่าที่สุดที่พบในจังหวัด นครสวรรค์ในยุคต้นประวัติศาสตร์ (ยุคทวารวดี)


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 5 นครสวรรค์ คือ อักษรหลังปัลลวะที่จารึกที่สถูปโบราณที่เมืองทัพชุมพล ใช้จารึกคาถาเย ธัมมา หรือหัวใจพระพุทธศาสนา หรืออริยสัจ 4 ส่วนระบบชนชั้นการปกครองจะมีกษัตริย์ ปุโรหิต ขุนนาง และชนชั้นถูกปกครอง ชุมชนยุคนี้ยังต้องพึ่งพาอาศัย แม่น้าลำ ํ คลองเหมือนเดิม จึงต้องอยู่ใกล้แม่น้าเพื่อความสะดวกในการคมนาคม จากหลักฐานแผนที่ทางอากาศ ประกอบกับ ํ หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า มีชุมชนทวารวดีจำ นวนมากกระจายตามอำ เภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ เช่น จันเสน อำ เภอตาคลี ดงแม่นางเมือง อำ เภอบรรพตพิสัย เมืองทัพชุมพล อำ เภอเมืองนครสวรรค์ เมืองเวสาลี อำ เภอไพศาลี เมืองดอนคา เมืองโพประสาท เขาตีคลี อำ เภอท่าตะโก เมืองบน - โคกไม้เดน อำ เภอพยุหะคีรี เป็นต้น สมัยทวารวดี เหล่านี้ ได้ถูกดำ เนินการทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำ ให้ได้พบร่องรอยลักษณะเมืองคูนํ้าคันดินคันหิน ทั้งแบบ ชั้นเดียวหรือสองชั้น สระนํ้า ตลอดจนโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ลักษณะของชุมชนโบราณเหล่านี้ ตลอดจนโบราณ สถาน โบราณวัตถุ ที่พบในเมืองเหล่านี้ล้วนคล้ายคลึงหรือ มีลักษณะร่วมยุคสมัยกับเมืองอู่ทอง เมืองศรีเทพ เป็นต้น และเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่รับอิทธิพล จากคัมภีร์สันสกฤต เช่น เจดีย์ที่กลุ่มโบราณสถานโคกไม้เดน ที่เมืองบน ซึ่งมีลวดลายรูปลักษณ์ปูนปั้นที่ฐานเจดีย์เป็นภาพ เล่าเรื่องชาดก ในพระพุทธศาสนาคล้ายกับเจดีย์จุลประโทน ที่จังหวัดนครปฐมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุ เช่น ตะเกียงโรมัน ทำด้วยดินเผา ตุ๊กตาดินเผารูปเด็ก รูปคนจูงลิง รูปนางยักษ์ สีหารีติ พระพิมพ์ดินเผา กำ ไลสำ ริด ลูกปัด หินสี ฯลฯ ที่มี ลักษณะเหมือนกับที่พบที่อู่ทอง โดยเฉพาะดงแม่นางเมือง จัดว่าเป็นเมืองที่สำ คัญ ทางประวัติศาสตร์มากที่สุด เมืองหนึ่ง และปัจจุบันกำ ลังดำ เนินการทางโบราณคดี โดยชุมชนร่วมกับกรมศิลปากร ในการสำ รวจขุดค้น แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง จากการสำ รวจพบว่า เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กินเนื้อที่หลายตำ บล เพราะพบ โบราณวัตถุกระจัดกระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ที่โบราณวัตถุของดงแม่นางเมืองถูกคนที่ไม่เห็นคุณค่าของ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ได้ลักลอบขุดไปขาย เป็นจำ นวนมาก จึงควรช่วยกันดูแลรักษาโบราณสถาน แห่งนี้ ให้เป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดนครสวรรค์ ในฐานะเป็นเมืองที่มีอารยธรรมมาตั้งแต่อดีต สถูปดินเผาทัพชุมพลที่จารึกคาถาเย ธัมมา ◉ คาถาเย ธัมมา ◉ “เย ธัมมา เหตุ ปัพพวา เตสัง เหตุง ตถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มหาสมโณ” • คำ แปล • “พระมหาสมณเจ้าทรงมีพระวาทะอย่างนี้คือ ตรัสธรรมที่มีเหตุเป็นแดนเกิด อนึ่ง ตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น ตรัสความดับของธรรมเหล่านั้น และตรัสอุบายเป็นเหตุดับ (ของธรรมเหล่านั้น)”


นอกจากจะพบโบราณสถานมากกว่าเมืองอื่น ๆ แล้ว ยังพบศิลาจารึก ซึ่งบอกศักราชที่แน่นอนต่างจากจารึก สมัยทวารวดีอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยมีศักราชกำ กับ ทำ ให้ต้อง อาศัยรูปแบบทางศิลปกรรมหรือรูปแบบอักษรที่ใช้ในการ จารึกมากำ หนดช่วงเวลา สิ่ งที่น่าสังเกตของดินแดนนครสวรรค์ในสมัย ทวารวดีนี้ คือ คนในชุมชนมีการติดต่อจากภายนอกหรือ มีการค้าขายทางไกลในระดับสูงพอสมควร เห็นได้จากงาน ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวโยงกับอินเดีย ตลอดจน ศิลปะวัตถุประเภทลูกปัด เครื่องประดับหินสี และแก้วที่มา จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากอินเดีย เพราะพบหลักฐานว่า อินเดียนอกจากจะเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่มีชื่อเสียงมาก คือ ลูกปัดคาร์เนเลี่ยน และลูกปัดอะเกต นำ มาตกแต่งด้วย สีขาวเป็นลาย หรือแบบฝังเส้นสี (etched) ซึ่งมีมาตั้งแต่ 4,000 ปี มาแล้ว และพบในช่วงหลัง ๆ ที่ประเทศไทย หลายแห่ง เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านดอนตา เพชร จังหวัดกาญจนบุรี หรือที่จันเสนโคกไม้เดน จังหวัด นครสวรรค์ ที่มีอายุ 2,000 ปีมาแล้ว จึงทำ ให้สันนิษฐาน ได้ว่าอาจจะเป็นอินเดียที่เป็นเมืองท่าในการนำลูกปัดสีต่าง ๆ เข้ามายังประเทศไทย อาจจะเป็นเมืองอริกาเมดุ (Arikamedu) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียใต้ นอกจากประเทศไทยแล้ว อินเดียยังติดต่อค้าขายกับประเทศอิตาลี อิหร่าน และจีน เพราะลูกปัดของอินเดียได้รับความนิยมมาก จากการค้าขาย ของอินเดียกับประเทศดังกล่าว อินเดียนำสินค้าจากประเทศ เหล่านั้นกลับมาที่อินเดีย ส่งไปขายต่อยังประเทศไทย หรือประเทศใกล้เคียง เช่น ตะเกียงโรมันที่พบที่จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ หรือพบที่เมืองบนโคกไม้เดน จังหวัด นครสวรรค์ จึงทำ ให้จังหวัดนครสวรรค์ปรากฏบทบาทและ ความสำคัญขึ้นมาในฐานะเป็นรัฐกึ่งกลาง เชื่อมทิศตะวันตก กับทิศตะวันออก เพราะนครสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของดินแดน หรือทวารวดีภาคกลาง ที่เป็นจุดส่งต่ออารยธรรมอินเดียไปสู่ เวียดนามภาคกลางและเขมรในปัจจุบัน นอกจากนี้จังหวัด นครสวรรค์ ยังมีความสัมพันธ์กับดินแดนภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ดังจะเห็นได้จากการวางแผนมีคูนํ้าคันดินรอบ 2 ชั้น ที่เมืองบนโคกไม้เดน เมืองดงแม่นางเมือง และ เมืองทัพชุมพล ซึ่งคล้ายกับเมืองสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมืองแอม จังหวัดขอนแก่น บ้านตาดทอง จังหวัดยโสธร เป็นต้น และยังมีหลักฐานยืนยันความเกี่ยวข้องกัน เช่น ใบเสมาหินที่ปักอยู่รอบเนินศาสนสถานที่ดงแม่นางเมือง ซึ่งแพร่หลายในศาสนสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นกัน และยังได้พบหลักฐานที่บ่งบอกถึงอารยธรรมของที่ จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงยุคทวารวดีนั่นก็คือ หลวงพ่อศิลา พบที่เขาตีคลี อำ เภอท่าตะโกเป็นพระพุทธรูป 2 องค์ ปางนาคปรก จากการตรวจสอบพบว่า มีศิลปะขอมแบบ บาปวน ราวพุทธศตวรรษที่ 16 และพระปางที่พบในเมือง เวสาลี อำ เภอไพศาลี ที่มีศิลปะขอมอยู่ท่ามกลาง โบราณสถานสมัยทวารวดีและอยุธยาและพระนาคปรก ที่พบบนเขากบ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองที่รับเอา อารยธรรมขอมเข้ามา อาจจะในลักษณะการรับเอาศิลปะ ขอมเข้ามาแต่มิได้หมายถึงการเป็นเมืองขึ้นเสมอไป จากการเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็น สิ่งดึงดูดให้ผู้คนจากที่ต่าง ๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณนี้ และมีการติดต่อสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ วัฒนธรรมกับชุมชนภายนอกในแหล่งต่าง ๆ เกิดเป็นสังคม ขนาดใหญ่ มีการรวมตัวกันเป็นบ้านเมือง หรือแคว้นเล็ก ๆ ที่มีเจ้าเมืองปกครอง สภาพสังคมเริ่มมีความซับซ้อน มีประชากรมากและมีความแตกต่างในเรื่องชนชั้นและฐานะ ของบุคคล เพื่อขจัดความขัดแย้ง ผู้นำการปกครองจึงเลือก ที่จะรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรม พื้นเมือง ทำ ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นที่เรียกกันว่า วัฒนธรรมทวารวดี(ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 - 16) ดังหลักฐานการสร้างบ้านเมืองที่มีคูนํ้าและคันดินล้อมรอบ มีวัดหรือศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของชุมชนแทนป่าช้า หรือแหล่งฝังศพ เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจาก มีการเผาศพแทนการฝังศพ มีศาสนา คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งฝังรากลึกในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของ ชุมชน มีการใช้ตัวอักษร ที่เรียกว่า “อักษรปัลลวะ” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำ เนิดอักษรอื่น ๆ ในดินแดนแถบนี้ จากการสำ รวจโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศประกอบกับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พบชุมชน โบราณในยุคทวารวดีมากกว่า 20 เมือง โดยกระจาย อยู่ตามอำ เภอต่าง ๆ เช่น เมืองจันเสนในอำ เภอตาคลี เมืองบนในอำ เภอพยุหะคีรี เมืองทัพชุมพลในอำ เภอเมือง นครสวรรค์ เมืองดอนคา เมืองหัวถนน ในอำ เภอท่าตะโก 6 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1


และเมืองดงแม่นางเมืองในอำ เภอบรรพตพิสัย เป็นต้น สิ่งที่น่าสังเกตของดินแดนนครสวรรค์ในยุคทวาราวดีนี้ คือ เป็นชุมชนที่มีการติดต่อกับภายนอกหรือมีการค้าทางไกล ทำ ให้นครสวรรค์ปรากฏบทบาทและความสำคัญขึ้นในฐานะเป็น “รัฐกึ่งกลาง” เชื่อมระหว่างทิศตะวันตกกับทิศตะวันออก นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 7 ภาพที่ 1.7 ใบเสมาแกะสลักเป็นรูป พระพุทธเจ้าเคียงข้างด้วยพระอินทร์และ พระพรหม พบที่ ดงแม่นางเมือง ภาพที่ 1.8 ตุ๊กตาดินเผา รูปคนจูงลิง พบที่จันเสน ภาพที่ 1.9 เครื่องประดับ ทำ�จากเปลือกหอยทะเล ที่แหล่งโบราณคดี บ้านใหม่ชัยมงคล เมื่อเข้าสู่ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18 - 20) เมืองดง แม่นางเมือง เมืองที่มีความเป็นมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ได้หมดความสำคัญลง บทบาทและความสำคัญของนครสวรรค์ ที่เคยมีมาในอดีตได้ย้ายไปที่เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลาง วัฒนธรรมขอมในภาคกลางของประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ อารยธรรมขอมในภาคกลางของประเทศไทยได้ครอบงำ บริเวณ ภาคกลางของประเทศไทย กลับไม่ปรากฏหลักฐานทางโบราณ วัตถุร่วมกับศิลปะขอมที่จังหวัดนครสวรรค์ในช่วงยุคสุโขทัยนี้เลย ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดนครสวรรค์ในช่วงนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ มีลักษณะเดียวกับที่พบในกรุพระ ปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ เป็นลักษณะ ของรัฐสยาม (ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นยุคแห่ง การเปลี่ยนแปลงแผ่มาสู่อารยธรรมไทย) ในสมัยสุโขทัยนี้ นครสวรรค์ได้ปรากฏชื่อ เมืองพระบาง ขึ้นมาแทนดงแม่นาง เมืองที่เสื่อมไป ดังจะเห็นจากศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลักที่เอ่ยถึง เมืองพระบางในฐานะเมืองสำ คัญทางใต้อาณาจักรสุโขทัย เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงอาณาเขตอันกว้างขวางในสมัย พ่อขุนรามคำแหง และเมืองสำคัญทางใต้ว่า “เบื้องหัวนอนรอด คนที พระบาง แพรก สุวรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเล สมุทร เป็นที่แล้ว” นครสวรรค์ในยุคสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 8 กล่าวถึงเรื่องราวในสมัยพระมหา ธรรมราชาลิไทยเมื่อครั้งที่พระองค์พาไพร่พลจากเมืองต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักร อันได้แก่ “สระหลวง สองแคว ปากยม พระบาง ชากังราว สุพรรณภาว พระชุม” มานมัสการพระ พุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ สุโขทัย เป็นต้น แสดงว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองที่สำคัญ เป็นเมืองที่คุมกำ ลังและเป็นเมืองหน้าด่าน ของสุโขทัยที่คอยกันหัวเมืองทางใต้ (บริเวณแม่นํ้าเจ้าพระยา) ที่จะขึ้นมายังสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธบาท 4 แห่ง ของพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งหนึ่งในจำ นวนนั้น คือ “พระบาทเหนือจอมเขาที่ปากพระบาง” ซึ่งยังคงประดิษฐาน อยู่บนยอดเขาแห่งนั้นหรือเรียกว่า “เขากบ” ในปัจจุบันนั้นเอง นอกจากจะเป็นหน้าด่านคอยกันหัวเมืองทางใต้แล้ว นครสวรรค์ยังเป็นทางผ่านในการขยายอำ นาจ ของสุโขทัย เข้าสู่ลุ่มแม่นํ้าป่าสักทางเขตเมืองศรีเทพขึ้นไป ฉะนั้นในสมัย สุโขทัยนี้ นครสวรรค์จะปรากฏตัวในฐานะ “รัฐกึ่งกลาง” ที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นกว่าสมัยทวารวดี แต่จะเป็นกึ่งกลางระหว่าง ทิศเหนือกับทิศใต้ มากกว่าทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือคือ “สุโขทัย”


ภาพที่ 1.10 พ่อขุนรามคำ�แหง มหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทย ในสมัยสุโขทัยนี้ เมืองนครสวรรค์ได้ปรากฏ ชื่อ “เมืองพระบาง” ขึ้นมาแทนที่ดงแม่นางเมืองที่ เสื่อมไป ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก ที่เอ่ยถึงเมืองนครสวรรค์ในฐานะเมืองสำคัญทางใต้ ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองที่คุมกำ ลังและเป็น เมืองหน้าด่านของสุโขทัยที่คอยกันหัวเมืองทางใต้ ที่จะขึ้นมายังสุโขทัย และยังเป็นเมืองทางผ่าน ในการขยายอำ นาจของสุโขทัยเข้าสู่ลุ่มแม่นํ้าป่าสัก ทางเขตเมืองศรีเทพขึ้นไป ฉะนั้นในสมัยสุโขทัยนี้ เมืองนครสวรรค์จะปรากฏตัวในฐานะ “รัฐกึ่งกลาง” ที่เห็นได้ชัดขึ้นกว่ายุคทวารวดี แต่จะเป็นกึ่งกลาง ในทิศเหนือกับทิศใต้ มากกว่าทิศตะวันตกกับ ทิศตะวันออก โดยหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ คือ สุโขทัย 8 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 เมื่อราชวงค์สุพรรณบุรีมีชัยชนะเหนืออาณาจักรสุโขทัยแล้ว เมืองพระบางได้ตกอยู่ในอำ นาจของอยุธยา ซึ่งในสมัย อยุธยานี้เมืองพระบาง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองนครสวรรค์” และปรากฏบทบาทในฐานะเมืองยุทธศาสตร์สำคัญที่เรียกว่า “เมืองประชุมพล” แต่เป็นเมืองประชุมพลที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายพม่ามากกว่าไทย การที่พม่าเลือกนครสวรรค์เป็น เมืองประชุมพล เนื่องจากเมืองนครสวรรค์มีลักษณะพิเศษในทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดรวมของเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและ ทางนํ้าสะดวกต่อการลำ เลียงพลและยุทธสัมภาระต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็มีเส้นทางตัดไปยังเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ เมืองนครสวรรค์ยังอยู่ในชัยภูมิที่สำ คัญ เพราะหากยึดเมืองนครสวรรค์ไว้ได้ จะทำ ให้พม่าได้เปรียบสามารถบีบบังคับ ให้อยุธยาต้องตั้งรับข้าศึกที่เมืองหลวง หลังสงคราม พ.ศ. 2129 ที่พม่าประสบความปราชัย พม่าได้เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ตามเดิมประกอบกับทางอยุธยาได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์การตั้งรับพม่าใหม่ หลังจากได้เห็นข้อเสียเปรียบ ในการใช้เมืองหลวงเป็นสถานที่รับศึก เมืองนครสวรรค์จึงมิได้เป็น “เมืองประชุมพล” เช่นแต่ก่อน ต่อมาเมื่ออยุธยาขึ้นมามีอำ นาจ โดยเฉพาะเมื่อราชวงศ์สุพรรณภูมิมีชัยชนะเหนืออาณาจักรสุโขทัยแล้ว นครสวรรค์กลายเป็น “รัฐกึ่งกลาง” ในอาณาจักรอยุธยา โดยหันหน้าเข้าบ้านไปทางทิศใต้ คือ อยุธยา ดังจะเห็นได้ว่า ศิลาจารึกกล่าวถึงอาณาเขตของสุโขทัยภายหลังรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยนั้นจะไม่พูดถึง “เมืองพระบาง” เลย เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 43 แสดงว่า เมืองพระบางไม่ได้ขึ้นกับสุโขทัยอีกต่อไป แต่ได้ตกอยู่ใต้อำ นาจของอยุธยาแล้ว นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 1912 เมื่อเกิดการจลาจลแย่งชิงราชอำ นาจในอาณาจักรสุโขทัยโดยสมเด็จพระอินทรราชาธิราชได้ทรงยกกองทัพ จากอยุธยาขึ้นไปตั้งทัพคุมเชิงอยู่ที่เมืองพระบาง ซึ่งเป็นเมืองปลายเขตแดนของอยุธยา และมีผลให้พระยาบาลเมือง พระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองพิษณุโลก และให้พระยารามไปครองเมืองสุโขทัย นครสวรรค์ในยุคสมัยอยุธยา


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 9 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของนครสรรค์ตั้งแต่แรก คือ การเป็นรัฐกึ่งกลางสมัยทวารวดี สุโขทัยและอยุธยา เรื่อยมา เพราะมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้นครสวรรค์อยู่ในฐานะดังกล่าว ก็คือ สภาพภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ในตอนกลางจังหวัดเเละนครสวรรค์ยังเป็นที่รวมของแม่นํ้าที่ปากนํ้าโพ ทำ ให้เป็นศูนย์กลางสินค้าต่าง ๆ ที่ส่งมาจาก ภาคเหนือโดยแม่น้าปิง แม่น ํ ้ายม แม่น ํ ้าน่าน รวมทั้งจากแม่น ํ ้าป่าสักจะมารวมกันที่นครสวรรค์ที่เป็นชุมทางสินค้าที่รับสินค้า ํ จากเมืองที่อยู่ตอนต้นแม่น้า แล้วส่งผ่านแม่น ํ ้าเจ้าพระยาออกไปยังเมืองต่าง ๆ ตลอดจนต่างประเทศ เช่น มลายู อินโดนีเซีย ํ และฟิลิปปินส์ ในสมัยอยุธยานี้ นอกจากจะเป็น “ชุมทางสินค้า” แล้ว นครสวรรค์ยังปรากฏบทบาทในฐานะเมืองยุทธศาสตร์ สำคัญที่เรียกว่า “เมืองประชุมพล” ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน กับการเกิดสงครามระหว่างอยุธยากับพม่า ตามเส้นทาง ที่พม่ายกกองทัพเข้ามาตามตำ บลระแหง แขวงเมืองตาก ลงมาทางเมืองกำ แพงเพชรถึงนครสวรรค์ แต่เป็นเมือง ประชุมพลที่เอื้อประโยชน์ให้กับพม่ามากกว่าไทย ปรากฏ ให้เห็นครั้งแรกในคราวสงครามช้างเผือก พ.ศ. 2106 ซึ่งเป็นสงครามครั้งแรกที่พม่ายกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งระบุว่า ทัพพม่า “ประชุมพล ณ นครสวรรค์” โดยมี ทัพของเชียงใหม่ซึ่ง “ตั้งต่อเรือกระจังเหลาคาอยู่ ณ เมือง กำแพงเพชร... ยกทัพเรือพบเรือลำเลียงลงมาบรรจบทัพ หลวง ณ เมืองนครสวรรค์” และนับจากสงครามช้างเผือก เป็นต้นมา นครสวรรค์ได้ถูกพม่าใช้เป็นเมืองประชุมพลอย่าง ต่อเนื่องโดยเฉพาะในคราวสงครามครั้งสำ คัญ ๆ เช่น สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 และสงครามครั้ง พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงล้อมกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2129 ทั้งนี้เพราะว่าเส้นทางจากเมืองเมาะตะมะที่เข้ามาทางด่าน แม่ละเมาตัดเข้าตำ บลระแหง แขวงเมืองตาก แม้ว่าจะเป็น เส้นทางทุรกันดารแต่ก็เป็นเส้นทางที่ตัดเข้าสู่หัวเมืองสำคัญ เช่น กำแพงเพชรและนครสวรรค์ อีกทั้งเป็นเส้นทางที่สะดวก ต่อการเดินทัพทั้งทางบกและทางนํ้า ซึ่งตามพงศาวดารพม่า ระบุว่า ระยะเดินทัพจากกรุงหงสาวดีถึงนครสวรรค์จะเป็น เวลาทั้งสิ้น 47 วัน การที่พม่าเลือกเมืองนครสวรรค์เป็น เมืองประชุมพล เนื่องจากเมืองนครสวรรค์ มีลักษณะพิเศษ ในทางยุทธศาสตร์เหนือเมืองอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นจุดรวม ของเส้นทางการคมนาคมทั้งทางบกและทางนํ้า จึงสะดวก ต่อการลำ เลียงไพร่พลและยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีเส้นทางตัดไปยังพื้นที่หรือเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้เมืองนครสวรรค์โดยตัวของมันเอง ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการยึดเมืองนครสวรรค์ได้ ย่อมทำ ให้พม่าสามารถใช้ข้อได้เปรียบที่เหนือกว่ากรุงศรี อยุธยาบีบบังคับให้อยุธยาต้องดำ เนินยุทธศาสตร์การตั้งรับ ตามที่พม่าต้องการ คือ การตั้งรับในเมืองหลวง อย่างไร ก็ตามอายุการเป็นเมืองประชุมพลของนครสวรรค์นั้น ค่อนข้างสั้น คือ ประมาณ 23 ปี (พ.ศ. 2106 - 2129) ทั้งนี้เนื่องจากหลังสงครามปี พ.ศ. 2129 ซึ่งพม่าประสบ ความล้มเหลวและบอบชํ้าจนต้องปราชัยไปแล้ว พม่าได้ เปลี่ยนเส้นทางเข้าสู่ไทย โดยหันกลับไปใช้เส้นทางด่าน เจดีย์สามองค์ เป็นเหตุให้เมืองนครสวรรค์หมดโอกาส ที่จะเป็นเมืองประชุมพลดังแต่ก่อน ประกอบกับทาง อยุธยาได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์การตั้งรับพม่าใหม่ หลังจาก ได้เห็นข้อเสียเปรียบในการใช้เมืองหลวงเป็นสถานที่รับศึก ดังนั้น นับจากปี พ.ศ. 2129 เป็นต้นมา ทางอยุธยาจะ ยกทัพไปตั้งรับพม่ายังชัยภูมิที่เหมาะสม เช่น สุพรรณบุรี (สมัยสมเด็จพระนเรศวร) และกาญจนบุรี (สมัยสมเด็จ พระนารายณ์) เป็นต้น


นครสวรรค์ในยุคสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ 10 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 ต่อมาในสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แม้ว่าพม่ายังคงพยายามเดินทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมาอยู่ แต่จากเงื่อนไขการตั้งรับของฝ่ายไทย ซึ่งขึ้นไปตั้งรับศึกเหนือเมืองนครสวรรค์ ทำ ให้ นครสวรรค์หมดโอกาสที่จะเป็นเมืองประชุมพล ต่อไป ฐานะและความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ ในทางยุทธศาสตร์จึงเป็นเพียงเมืองส่งกำลังบำ รุง ทัพหลวงที่ขึ้นไปตั้งรับทัพพม่าในเขตหัวเมือง ทางเหนือ เช่น ที่จังหวัดพิษณุโลก ลำ ปาง และ เชียงใหม่ ดังปรากฏหลักฐานในคราวศึกอะแซ หวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้า ตากสินทรงใช้นครสวรรค์เป็นเมืองคอยระวังทาง ลำ เลียง และระวังข้าศึกที่จะยกลงมาทางแม่น้าปิง ในครั้งนั้นได้โปรดให้พระยาราชาเศรษฐีคุมกองทัพจีนจำ ํ นวน 3,000 คน ตั้งอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ กล่าวได้ว่า ความสำคัญของเมืองนครสวรรค์ในทางยุทธศาสตร์ในสมัยหลังนี้ มีความสำคัญแค่เป็น เมืองพักทัพ หรือเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการป้องกันข้าศึกทางเหนือเท่านั้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ นครสวรรค์จะเป็น “รัฐกึ่งกลาง” ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการทำสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งก่อให้เกิดการค้าในระบบทุนนิยม ภาพที่ 1.11 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ภาพที่ 1.12 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือเสรีนิยมนั้น นครสวรรค์กลายเป็นแหล่งรวมสินค้าที่สำ คัญ โดยเฉพาะข้าวและไม้สัก ซึ่งล่องมาจากภาคเหนือ เพื่อส่งต่อไปยัง กรุงเทพมหานคร ภาพความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของ นครสวรรค์ ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งนี้ จะเห็นได้ชัดจากการ ที่บ้านเมืองทางฝั่งตะวันออก คือ ฝั่งแม่นํ้าน่าน (แควใหญ่) เจริญ รุ่งเรืองขึ้น (ก่อนที่จะย้ายมาทางฝั่งตะวันตก เช่น ปัจจุบัน) มีโรงสี เหนือ โรงสีใต้ มีตลาด บริษัทค้าไม้อีสต์เอเชียติก บริษัทแม่เงา ห้างไม้มิสหลุยส์ มีโรงเลื่อย มีโรงนํ้าแข็ง และโกดังสินค้าต่าง ๆ มากมาย ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมความเจริญนี้ คือ ข้าว ซึ่งส่งมาลง ที่แม่นํ้าน่านเป็นจำ นวนมาก โดยอาศัยการขนส่งทางเรือยนต์ เป็นหลัก และตามมาด้วยทางรถไฟในสมัยรัชกาลที่ 5 การขยายตัว ทางการค้าดังกล่าวทำ ให้มีชาวจีนหลั่งไหลเข้ามาขายแรงงานและ ประกอบการต่าง ๆ ในนครสวรรค์มากขึ้น คนจีนเหล่านี้เป็นส่วน สำคัญในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของนครสวรรค์ในฐานะ “รัฐกึ่งกลาง”


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 11 ซึ่ งต่อมาได้ย้ายศูนย์มาฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้ย้ายตัวเมืองมาตั้ง ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้า ประมาณกันว่าในปี พ.ศ. 2447 มีชาวจีนในนครสวรรค์ถึง 6,000 คน ในขณะที่ภาคกลาง (ไม่รวม กรุงเทพฯ) มีคนจีนอยู่ประมาณ 10,000 คน กล่าวได้ว่าคนจีนเหล่านี้ซึ่งเป็นพวกแต้จิ๋วและไหหลำ เป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญ ของนครสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการค้ารายใหญ่หรือรายย่อย การค้าของนครสวรรค์เจริญถึงขีดสุดในสมัยรัชกาลที่ 6 และต้นรัชกาลที่ 7 บริเวณปากน้าโพมีสภาพเป็นชุมทางการค้า เป็นที่ชุมนุมของเรือข้าวที่ใหญ่ที่สุดนอกจากกรุงเทพมหานคร ํ ไม้สักจากทางภาคเหนือล่องลงมาเป็นจำ นวนหมื่น ๆ แสน ๆ ท่อน มารวมกันที่นครสวรรค์ก่อนที่จะแยกไปตามที่ต่าง ๆ บรรดาพ่อค้าจากทั่วสารทิศ โดยเฉพาะพ่อค้าจากกรุงเทพมหานครจะมาชุมนุมกันที่นครสวรรค์ เพื่อเลือกซื้อสินค้า โดยมี ศูนย์กลางที่นครสวรรค์ 3 แห่ง คือ 1. ตลาดลาว อยู่บริเวณทางใต้ของโรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ ถึงโรงนํ้าแข็งจะมีคนไทยภาคเหนือ นำสินค้ามาขาย ชาวนครสวรรค์เรียกว่า “ลาว” จึงเรียกว่า “ตลาดลาว” สินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ หวาย ชัน นํ้ามันยาง สีเสียด เปลือกไม้ นํ้าผึ้ง ฯลฯ ขากลับจะบรรทุกข้าวและเกลือกลับ นอกจากพวกลาวแล้วยังมีชาวมอญนำโอ่งมาขาย อีกด้วย 2. ตลาดสะพานดํา อยู่ทางใต้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างอำเภอ ต่าง ๆ ของนครสวรรค์ สินค้าที่นำมา คือ ข้าว สัตว์ป่า และของป่า เช่น หวาย สีเสียด เป็นต้น 3. ตลาดท่าซุด อยู่ริมคลองบางประมุง ตำบลท่าซุด เป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของนครสวรรค์กับจังหวัดรอบ ๆ เช่น พิจิตร ตาก กำแพงเพชร ฯลฯ พ่อค้าชาวจีนจะมาซื้อข้าวนำล่องลงไปกรุงเทพมหานคร โดยใช้เรือกระแชงใหญ่ ภาพที่ 1.13 การสร้างทางรถไฟสายเหนือสู่เชียงใหม่ ต่อมาเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า ในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ประกอบกับการขยายเส้นทางรถไฟ ไปถึงเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2465 และภายหลัง สงครามโลก ครั้งที่ 2 ได้มีการสร้างสถานีรถไฟขึ้น ที่ตำ บลหนองปลิง คือ สถานีรถไฟนครสวรรค์ใน ปัจจุบัน ทำ ให้ความสำ คัญของแควใหญ่และ การใช้เส้นทางนํ้าลดลง ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการ ใช้เส้นทางรถยนต์และการเปิดสะพานเดชาติวงศ์ ในปี พ.ศ. 2493 ทำ ให้นครสวรรค์คลายความ สำคัญลงกลายเป็นเมืองผ่านเพราะสินค้าต่าง ๆ จากภาคเหนือ ไม่ต้องมารวมกันที่นครสวรรค์อีกต่อไป แต่สามารถผ่านเลยไปยังภูมิภาคอื่นหรือเข้ากรุงเทพมหานครได้ อย่างสะดวก และโดยเฉพาะยิ่งการขยายถนนและทำถนนสายเอเชียสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว นครสวรรค์จึงยิ่งลด ความสำ คัญในลักษณะชุมทางการค้าลง การซื้อขายแบบเดิมและความคึกคักของพ่อค้ามาชุมนุมเพื่อเลือกสินค้าต่าง ๆ ได้หมดไป อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนจีนที่มีฐานะในนครสวรรค์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของนครสวรรค์ ก็สามารถพัฒนาตนเองให้เข้าระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการสะสมทุนจากการค้ารูปแบบต่าง ๆ การเป็น พ่อค้าคนกลาง การเป็นนายทุนเงินกู้ กลายเป็นเจ้าของทุนทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม การธนาคาร และบริษัทเงินทุน ปัจจุบันการรวมทุนเหล่านั้นได้นำ ไปสู่ความยิ่งใหญ่ของนายทุนไม่กี่ราย


12 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 จากการที่นครสวรรค์มีคนจีนเข้ามาประกอบกิจการค้าขายอยู่เป็นจำ นวนมาก จึงได้นำขนบธรรมเนียมประเพณีที่ เป็นของชาวจีนเข้ามาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ศาลเจ้าหน้าผา และศาลเจ้าเทพารักษ์ เนื่องจากการเดินทางของชาว จีนในสมัยก่อน ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ หรือใช้คุ้มครองเวลาเดินทาง นอกจากนั้นยังมีประเพณีของชาวจีน เช่น ประเพณี แห่เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน การเชิดมังกร การเชิดสิงโต เป็นต้น ซึ่งนำ มายึดถือปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีหนึ่งของ จังหวัดนครสวรรค์มาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันนครสวรรค์ยังคงมีสภาพเป็นเมืองธุรกิจการค้า ซึ่งได้ขยายตัวเมืองเลียบขนานกับลำ นํ้าเจ้าพระยา จากย่านตลาด เก่าถนนริมแม่นํ้าถึงถนนพหลโยธิน สถานที่ราชการ และสถาบัน การศึกษาหลายแห่ง ได้แยกออกมาจากย่านธุรกิจการค้าของ ตัวเมืองมาตั้งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ การคมนาคม นอกจาก มีถนนพหลโยธินที่เชื่อมต่อกับภาคเหนือแล้ว ยังมีถนนสาย นครสวรรค์ - พิษณุโลก ที่ใช้ติดต่อกับภาคเหนือได้อีกทางหนึ่ง ทำ ให้เมืองนครสวรรค์มีความสำ คัญในฐานะประตูสู่ภาคเหนือ และเป็นศูนย์กลางในการส่งผักและผลไม้จากภาคเหนือไปสู่ ภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีผู้คนเดินทางผ่านเข้าออก หรือเข้ามา ประกอบธุรกิจจำ นวนมาก มีห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อ ในรูปแบบใหม่กระจายอยู่ทั่วไปในย่านการค้าเดิม ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของชุมชน ถึงแม้ว่านครสวรรค์จะไม่มีสภาพการค้าแบบล่องซุง ล่องแพ จากภาคเหนือเหมือนเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้วมาและจะไม่มี โอกาสได้เห็นอีกแล้ว แต่นครสวรรค์ยังคงเป็นเมืองที่คึกคักด้วย ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้มาประกอบธุรกิจหรือมาเยี่ยมเยียน ตลอดจน นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในสถาบันการศึกษาที่นครสวรรค์ เนื่องจากนครสวรรค์ถือเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาจังหวัดหนึ่ง นครสวรรค์ในยุคสมัยปัจจุบัน เพราะมีสถาบันทางการศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ วิทยาลัยอาชีวศึกษา นครสวรรค์ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ ฯลฯ ตลอดจน ห้างสรรพสินค้าทั้งเล็กและใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า Big C โลตัส ห้างแฟร์รี่แลนด์ ห้างวิถีเทพ แม็คโคร เดอะวอล์ค ซึ่งตั้งอยู่กลางใจเมืองอีกด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้น คงจะพอทราบประวัติ ความเป็นมาของนครสวรรค์ตั้งแต่อดีต คือ สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัย ธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยปัจจุบัน ที่พอจะเป็นการ เริ่มต้นการนำ ท่านผู้อ่านเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่มี ความเกี่ยวโยงกับยุคสมัยของนครสวรรค์ เพราะแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมของนครสวรรค์เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะนำ แหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นมาจัดยุคสมัย ตามที่กำ หนดขึ้นมา เพื่อให้ได้เข้าใจประวัติความเป็นมา การตั้งถิ่นฐาน กลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีและวัฒนธรรมและ ข้อมูลพื้นฐานในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติในลำดับต่อไป ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครสวรรค์ ◆ คำ�ขวัญจังหวัดนครสวรรค์ ◆ “เมืองสี่ แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากนํ้ าโพ”


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 13 ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกเสลา ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นเสลา สัญลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ สภาพภูมิศาสตร์ ◆ ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดนครสวรรค์อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง หรือภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศเหนือโดยทางรถยนต์เป็นระยะทาง 237 กิโลเมตร ทางรถไฟเป็นระยะทาง 250 กิโลเมตร จังหวัดนครสวรรค์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง 8 จังหวัด ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดพิจิตร และกำ�แพงเพชร ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรีอุทัยธานีชัยนาท และสิงห์บุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดตาก ◆ ขนาดและรูปร่าง จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ประมาณ 9,597,677 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,998,548 ไร่ เปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย นครสวรรค์เป็นจังหวัดขนาดกลาง รูปร่างของจังหวัดนครสวรรค์มีลักษณะเป็นแนวยาวจากด้านทิศ ตะวันตกไปยังทิศตะวันออก มีรูปร่างคล้าย ๆ ผีเสื้อกางปีก


14 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 แผนที่ จังหวัดนครสวรรค์ ◆ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอยู่ในเขต อำ เภอเมือง นครสวรรค์ อำ เภอบรรพตพิสัย อำ เภอชุมแสง อำ เภอท่าตะโก อำ เภอโกรกพระ และอำ เภอพยุหะคีรี มีแม่นํ้าสายสำคัญ คือ แม่นํ้าปิง แม่นํ้ายม และแม่นํ้าน่าน ไหลมารวมกันเป็นแม่นํ้าเจ้าพระยา ไหลผ่านช่วงกลางของจังหวัด แม่นํ้าดังกล่าวได้แบ่ง พื้นที่ของจังหวัดออกเป็นด้านตะวันออก และตะวันตก และมีเพียง 6 อำ เภอที่ตั้งอยู่บนแม่นํ้าสายหลัก สภาพภูมิประเทศ ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดในเขตอำ เภอลาดยาว อำ เภอแม่วงก์ อำ เภอแม่เปิน และอำ เภอชุมตาบง มีภูเขาสลับ ซับซ้อน และเป็นป่าทึบ ภูมิประเทศด้านทิศตะวันออก เขตอำ เภอหนองบัว อำ เภอไพศาลี อำ เภอตากฟ้า และอำ เภอตาคลี มีลักษณะพื้นที่เป็นแบบลอนลูกคลื่น ยกตัวขึ้นจากตอนกลางของจังหวัด สูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลาง 50 - 150 เมตร ◆ ภูมิอากาศ จังหวัดนครสวรรค์มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งที่เห็นเด่นชัด ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคมได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กับปริมาณ นํ้าฝนในแต่ละปี หากปีใดปริมาณนํ้าฝนมีมากกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี จะเกิดปัญหานํ้าท่วม ถ้าปริมาณฝนตํ่ากว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี จะประสบปัญหาฝนแล้ง ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดที่มีลักษณะคล้ายท้องกระทะ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.7 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ สูงสุด เฉลี่ย 34.4 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิตํ่าสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส


◆ การคมนาคม การคมนาคมและการขนส่งที่สำคัญในจังหวัดนครสวรรค์ คือ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางนํ้า ทางอากาศ และการ สื่อสารและโทรคมนาคม ◆ การคมนาคมทางรถยนต์ จังหวัดนครสวรรค์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินสายเอเชีย 239 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่เป็น ประตูสู่ภาคเหนือ การเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ มีความสะดวกมาก โดยมีเส้นทางสายหลักติดต่อระหว่างจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ 1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (พหลโยธิน) 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 (บางปะอิน - นครสวรรค์) 3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 11 (อินทร์บุรี - เขาทราย) 4. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 117 5. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 225 (นครสวรรค์ - ชัยภูมิ) ◆ การคมนาคมทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงนครสวรรค์ระยะทาง 250 กิโลเมตร มีเส้นทางรถไฟผ่านอำ เภอต่าง ๆ ดังนี้ อำ�เภอตาคลี มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น - เที่ยวล่อง วันละ 11 ขบวน อำ�เภอเมือง มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น - เที่ยวล่อง วันละ 16 ขบวน อำ�เภอชุมแสง มีขบวนรถผ่านเที่ยวขึ้น - เที่ยวล่อง วันละ 11 ขบวน ◆ การคมนาคมทางนํ้า กรมเจ้าท่าได้สร้างท่าเรือที่เกาะบางปรอง อำ เภอเมืองนครสวรรค์ในปี พ.ศ. 2528 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติที่รัฐมีนโยบายด้านการพัฒนาการขนส่งทางนํ้า เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายประหยัดนํ้ามันเชื้อเพลิง โดยได้ขุดลอกร่องนํ้าจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ และจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงอำ เภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร และจัดสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางนํ้าขึ้นในทั้งสองพื้นที่ แต่การคมนาคมทางนํ้าโดยใช้เส้นทางและท่าเรือดังกล่าว ไม่เป็นที่นิยม ◆ การคมนาคมทางอากาศ จังหวัดนครสวรรค์ไม่มีสนามบินพาณิชย์ มีแต่สนามบินของทหารอากาศกองบิน 4 อยู่ที่อำ เภอตาคลี และ สนามบินเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่อำ เภอเมืองนครสวรรค์ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 15


16 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 1 ◉ บทสรุป ◉ นครสวรรค์เป็นเมืองโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีปรากฏชื่อใน ศิลาจารึกเรียกว่า “เมืองพระบาง” เป็นเมืองหน้าด่านสำ คัญในการทำ ศึกสงครามมาทุกสมัย ตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตัวเมืองดั้งเดิมตั้งแต่อยู่ในที่ตอนบริเวณเชิงเขาขาด (เขาฤาษี) จรดวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) ยังมีเชิงเทินดินเป็นแนวปรากฏอยู่ เมืองพระบางต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองชอนตะวัน” เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา และหันหน้าเมืองไปทางแม่นํ้า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ทำ ให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าหน้าเมืองตลอดเวลา แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “เมืองนครสวรรค์” เพื่อเป็นศุภนิมิตอันดี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนำ พระพุทธรูปชื่อ “พระบาง” ไปคืน ให้เมืองเวียงจันทน์ แต่ติดศึกพม่าต้องเอาพระพุทธรูป “พระบาง” มาค้างไว้ที่เมืองนี้ ต่อมาไทยรบทัพจับศึก กับพม่า และปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือที่แข็งเมือง ยกมาตีกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงเทพฯ กองทัพไทยได้ยก เคลื่อนที่ขึ้นมาเลือกนครสวรรค์ (ที่เคยเป็นโรงทหารเก่าหลังโรงเหล้าเดี๋ยวนี้) เป็นที่ตั้งทัพหลวงแล้วดัดแปลง ขุดคูประตูหอรบ จากตะวันตกตลาดสะพานดำ ไปบ้านสันคูไปถึงทุ่งสันคู เดี๋ยวนี้ยังปรากฏแนวคูอยู่ เมื่อข้าศึก ยกลงมาจากทุ่งหนองเบน หนองสังข์ สลกบาตร และตะวันออกเฉียงใต้ของลาดยาวมาเหนือทุ่งสันคู เมื่อฤดูแล้ง เป็นที่ดอนขาดนํ้า ถ้าฝนตกนํ้าก็หลากเข้ามาอย่างแรงท่วมข้าศึก ไทยยกทัพตีตลบหลังพม่าวิ่งหนีผ่านช่องเขานี้ จึงได้ชื่อว่า “เขาช่องขาด” มาจนบัดนี้ นครสวรรค์ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า “ปากนํ้าโพ” โดยปรากฏเรียกกันมาแต่ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ในคราวที่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมัย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กองทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกไปรับทัพข้าศึกที่ปากนํ้าโพ แต่ต้านทัพข้าศึกไม่ไหว จึงล่าถอยกลับไป ที่ มาของคำว่า “ปากนํ้าโพ” สันนิษฐานได้ 2 ประการ คือ อาจมาจากคำว่า “ปากนํ้าโผล่” เพราะเป็น ที่ปากนํ้าแคว ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่นํ้าเจ้าพระยา หรืออีกประการหนึ่งคือมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ อยู่ตรงปากน้า ในบริเวณวัดโพธิ์ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูในปัจจุบันจึงเรียกกันว่า ํ “ปากนํ้าโพธิ์” ก็อาจเป็นได้ เนื่องจากเมืองนครสวรรค์เป็นหัวเมืองชั้นตรี ซึ่งปรากฏอยู่ตามกฎหมายเก่าในสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระเอกาทศรถ ราว พ.ศ. 2100 ว่าด้วยเรื่องดวงตราประทับหนังสือที่ให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงใช้ในราชการ ดังนั้น เมืองนครสวรรค์จึงมิได้มีบทบาทที่ถูกกล่าวถึงไว้ในประวัติศาสตร์สำคัญของไทยเท่าใดนัก


นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนขอบของที่ราบภาคกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ และมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งอยู่ระหว่างตอนล่างของภาคเหนือและตอนบนของ ภาคกลางมีพื้นที่ด้านเหนือติดกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์สามารถแบ่งตามช่วงสมัยต่าง ๆ ได้พอสังเขป ดังนี้ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 17 ตอนที ่ ตอนที 2 ่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ นครสวรรค์ เป็นเมืองที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นราชธานีโดยปรากฏชื่อครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำ แหง โดยเรียกว่า “เมืองพระบาง” เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายรอบราชธานี จึงมีความสำคัญ ในการป้องกันศึกสงครามจนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “ชอนตะวัน” เนื่องจากตัวเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา ทำ ให้แสง ตะวันส่องเข้าหน้าเมือง ต่อมาเมื่อย้ายตัวเมืองมาอยู่ ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “นครสวรรค์” ซึ่งแปลว่า ดินแดนหรือบ้านเมืองแห่ง ความสุขสมบูรณ์ ราวเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ นอกจากนี้ นครสวรรค์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองปากนํ้าโพ” ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันโดยทั่วไปตามลักษณะ ทางกายภาพของพื้นที่โดยเป็นบริเวณมีแม่นํ้าสายสำคัญ ได้แก่ แควน่าน (แม่นํ้าน่านกับแม่นํ้ายม) และแควปิง (แม่นํ้าปิงกับแม่นํ้าวัง) ไหลมาสบรวมกันจากแม่นํ้า 4 สาย มาเป็นต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาแม่นํ้าสายสำคัญของ ประเทศไทย นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ชัยภูมิเหมาะสมและเป็น จุดที่สำคัญในทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่ง เนื่องจากมีแม่นํ้า เจ้าพระยาเป็นแม่นํ้าสายหลักที่สำ คัญต่อการดำ รงชีวิต ของผู้คนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การอุปโภคบริโภค และการใช้ในเกษตรกรรม และ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ของพืชและสัตว์นานาชนิดตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีคนหรือ กลุ่มคนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์มาอาศัย ตั้งถิ่นฐานและ ประกอบอาชีพ จนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน หรือแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ข้อมูลจากงานวิจัยของ สุชาติ แสงทอง พบว่า มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามา อาศัยและตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยกลุ่มคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทย จีน ญวน มุสลิม ลาว และมอญ คนเหล่านี้มีตัวตนมีเรื่องราว การเดินทางอพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพ จากคำ บอกเล่าความทรงจา และบันทึกการเดินทางต่าง ๆ ํ ที่สามารถค้นคว้าได้นานสะท้อนภาพของการดำ รงอยู่ ของสังคมชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่แม้จะมีความแตกต่างในโลกทัศน์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนา แต่ทว่าคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้นสามารถ ที่จะผสมผสานและหลอมรวมความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้อยู่ร่วมกันอย่าง เหมาะสมลงตัว (สุชาติ แสงทอง, 2557) พื้ นที่ต้นนํ้าเจ้าพระยาในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ชีวิตดำ รงอยู่ บนพื้นที่ดังกล่าวมีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตประเพณีที่ แตกต่างกันไป บนฐานความคิดความเชื่อของแต่ละกลุ่มคน


นครสวรรค์ เป็นพื้นที่ที่มีแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นแม่นํ้าสายหลักที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนใน หลาย ๆ ด้าน ทั้งการคมนาคมขนส่งการอุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่ความ อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพของพืช และสัตว์นานาชนิดตลอดจนเป็นพื้นที่ ที่มีคนหรือกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์มาอาศัยตั้งถิ่นฐาน และประกอบอาชีพจนเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน หรือแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ข้อมูลจากงานวิจัยของสุชาติ แสงทอง พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในจังหวัดนครสวรรค์ประกอบด้วยไทย จีน ญวน ลาว มอญ และมุสลิม 18 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจากการศึกษาพบกลุ่มชาติพันธุ์จำ นวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์จีน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไทยทรงดำ ) กลุ่มชาติพันธุ์ญวน กลุ่มชาติพันธุ์มอญ กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยท้องถิ่น ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นกระจัดกระจายอาศัยอยู่ทั่วไปภายใต้ บริบทวิถีความเป็นชุมชนของคนต้นแม่นํ้า และอาศัย สายนํ้ามีการดำ รงชีวิตอยู่ของพวกเขา จากการศึกษา พบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ 1) กลุ่มชาติพันธุ์จีนตั้งถิ่นฐานในทุกอำ เภอของ จังหวัดนครสวรรค์ 2) กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไทยทรงดำ ) ตั้งถิ่นฐานที่ตำ บลฆะมัง อำ เภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 3) กลุ่มชาติพันธุ์ญวน ตั้งถิ่นฐานที่อำ เภอเมืองจังหวัด นครสวรรค์ 4) กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ตั้งถิ่นฐานที่ตำ บล บ้านแก่ง อำ เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 5) กลุ่มชาติพันธุ์ มุสลิม ตั้งถิ่นฐานที่อำ เภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ 6) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยท้องถิ่น ที่เน้นวิถีการ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เน้นผูกพันความเป็นวิถีพุทธ ตั้งถิ่นฐานในทุกอำ เภอ แต่ที่เด่นชัดสะท้อนความเป็น กลุ่มชนที่ชัดเจน คือ ตำ บลเขาทอง อำ เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ (สุชาติ แสงทอง, 2557) ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้ง 6 กลุ่ม พบประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแต่ละ กลุ่มชน ได้แก่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในเรื่องการ อพยพย้ายถิ่นฐาน ภาษาพูดและภาษาเขียน ประเพณี พิธีกรรม อาหารการกิน ศิลปะและวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนการแต่งกาย เป็นต้น สิ่งที่ปรากฏในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีความหลากหลาย แตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน หรือกลุ่มคนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเชื่อมโยงหาปัจจัย ที่สำคัญที่มีผลต่อการเลือกทำ เลที่ตั้งชุมชนหรือบ้านเรือน ซึ่งทำ ให้พบว่าปัจจัยสำ คัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง กายภาพโดยทำ เลที่ตั้ง (Site and situation) และ สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural environment) จะมีส่วนสำ คัญต่อการตั้งถิ่นฐานการเจริญเติบโต และ ความอยู่รอดของชุมชนที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ บริเวณที่มีลมฟ้าอากาศเหมาะสมและดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเกษตรกรรมและมีแม่นํ้าสายหลักสาย สำคัญ ๆ ถึง 4 สาย ที่มารวมกันเป็นต้นแม่นํ้าเจ้าพระยา เพื่อไหลเชื่อมต่อไปจังหวัดต่าง ๆ จนถึงกรุงเทพฯ เมื่อไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้า มาสนับสนุน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พื้นที่ชุมชนต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับ ความสนใจของคนหรือกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในจังหวัดเป็นจำ นวนมาก (สุชาติ แสงทอง, 2557)


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 19 พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม นับว่าเป็นการดำ รงอยู่ของสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มากมายซึ่งมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ มิติ อาทิความแตกต่างในวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และศาสนาเป็นต้น แต่ที่น่าสนใจชุมชนต่าง ๆ นั้นสามารถดำ รงอยู่ร่วมกันอย่างเหมาะสมลงตัวจากปรากฏการณ์ ลักษณะเช่นนี้ ทำ ให้เห็นภาพสะท้อนทางสังคมที่บ่งบอกถึงความพยายามในการเชื่อมประสานของกลุ่มชนรวมถึงภาพ การปรับตัวของชุมชนในมิติต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องซึ่งกระบวนการดังกล่าวมักมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนชุมชน และสังคมดังกล่าวให้เกิดความสมดุล ความเป็นชุมชนไทยพื้นถิ่นที่ตั้งบ้านเรือน และอยู่อาศัยในจังหวัดนครสวรรค์ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่และ เป็นการยากที่จะกำ หนดอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะหรือนิยามตัวตนของไทยพื้นถิ่น เพียงแต่กลุ่มคนไทยพื้นถิ่นเป็นกลุ่มคน สำ คัญอีกกลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตและประเพณีทางพุทธศาสนา และวัฒนธรรมข้าว ต่อมาเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน และตั้งบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์จึงเกิดการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อทางศาสนา และนำ ไปสู่การหลอมรวมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของผู้คน และกลุ่มคนต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลาของยุคสมัย เสน่ห์ของการดำ รงอยู่ร่วมกันทางสังคมมักมีปัจจัย หลาย ๆ อย่าง ที่คอยเชื่อมประสานให้คนแต่ละกลุ่ม สามารถยอมรับในการมองถึงความแตกต่างในเชิงวัฒนธรรม ของผู้คน ความเชื่อ ประเพณี รวมถึงความแตกต่างสถาบัน ทางสังคมต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในชุมชนคน ต้นนํ้าจึงเป็น สิ่งจำ เป็นที่ไม่ควรละเลย ความพยายามสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ของผู้คน ที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้นถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งปัจจัย ดังกล่าวอาจได้แก่ วิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเชื่อศาสนา ประเพณีและอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏในเชิงสังคม โดยทั่ว ๆ ไปจะพบเห็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน ที่อยู่ร่วมกันบางครั้งมีข้ออ้างเกี่ยวกับระบบความคิดที่ขัดแย้งกันระบบความเชื่อรวมถึงศาสนาที่แตกต่างกันตลอดจน ขนบธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมลงตัวซึ่งกันและกันเป็นต้น จากปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อน ของความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในทางกลับกันจึงจำ เป็นต้องหากระบวนการและ วิธีการต่าง ๆ ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับในความแตกต่าง ซึ่งอาจเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การรอมชอมทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เชื่อว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถส่งผลต่อการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนในสังคมได้ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์นั้น มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และช่วงเวลาของการอพยพเข้ามาแตกต่างกันตามวาระต่าง ๆ ที่สามารถสืบค้นข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ และ จากประวัติศาสตร์บอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังสามารถบอกเล่าให้ข้อมูลได้เป็นการเล่าเรื่องผ่านประวัติความเป็นมาของการ อพยพสู่ประเทศไทย และการตั้งถิ่นฐานของแต่ละกลุ่มคนในจังหวัดนครสวรรค์ลักษณะ และรูปแบบการตั้งถิ่นฐานประเพณี พิธีกรรมการประกอบอาชีพของชุมชนที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้ ภาพที่ 2.1 พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนคนนครสวรรค์ของกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มาอยู่รวมกันกับคนไทยพื้นถิ่น


20 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของคน กลุ่มคน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ มีปัจจัยที่สำ�คัญอยู่ 3 ประการ คือ 1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ถือเป็นปัจจัยที่กำ�หนดความเหมาะสมของการเป็นถิ่นที่อยู่สำ�หรับตั้งบ้านเรือน หรือชุมชนเบื้องต้น ซึ่งอาจพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน ได้แก่ สภาพอากาศ แหล่งนา้ํ ที่สำ�คัญ โดยมีแม่นา้ํ สายสำ�คัญ คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา รวมทั้งแควนํ้าปิง และแควนํ้าน่าน สภาพพื้นที่ที่ดอนและที่กำ�บังภัย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มักเกิดคู่กับการตั้งถิ่นฐาน และมีอิทธิพลต่อการขยายตัวเป็นเมือง ต่อไปในอนาคต ได้แก่ การอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ ด้วยสภาพพื้นที่ราบลุ่มแม่นํ้าสลับภูเขา เหมาะสมกับการประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ทั้งการทำ�นา และการทำ�พืชไร่ นอกจากนี้ยังเป็นบริเวณศูนย์กลางของการคมนาคมที่มีความ สะดวกเหมาะ การเดินทางมีเชื่อมเส้นทางระหว่างภาคกลาง และภาคเหนือรวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ บริเวณที่ตั้งแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ 3. ปัจจัยทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน หรือกลุ่ม ชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อทัศนะในการเลือกทำ�เลที่ตั้งที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนี้การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนหรือ กลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละบริเวณยังขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือ ความต้องการของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มไทย พวน กลุ่มไทยทรงดา หรือลาวโซ่ง มักตั้งชุมชนอยู่ในชนบท ํ ต้องการแหล่งนํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ดินที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตร ที่ดินปราศจากนํ้าท่วมถึงเพื่อตั้ง บ้านเรือนแต่สำ หรับกลุ่มคนมุสลิมหรือคนจีนนั้นมักจะ รวมตัวกันตั้งบ้านเรือนกันในตลาด หรือชุมชนในเขตเมือง ภาพที่ 2.2 สภาพบ้านเรือนของกลุ่มคนจีนที่อาศัยในตลาด ที่มาอยู่รวมกันกับคนไทยพื้นถิ่น ภาพที่ 2.3 การประกอบอาชีพค้าขายของชาวมุสลิม ที่อาศัยในจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวกเพื่อหาทำ เลที่ตั้งที่เหมาะสม กับการประกอบอาชีพค้าขาย ทำ ธุรกิจห้างร้านรวมทั้ง การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วในการเข้าร่วมประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาเดินทางสะดวก เพื่อมาประกอบพิธี ในมัสยิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน หรือการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อ และศรัทธาต่อศาลเจ้าของกลุ่มคนไทย เชื้อสายจีน เป็นต้น


ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจังหวัดนครสวรรค์ 1. ชาติพันธุ์ลาว 1.1. ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ กลุ่มชาวลาวโซ่ง ไทยทรงดำ หรือไทดำอาศัยอยู่ทั่วไป ตั้งแต่บริเวณมณฑลกวางสี ยูนนาน และตั้งเกี่ย ไทดำ อพยพเข้าสู่ไทยสมัยธนบุรี เนื่องจากถูกกวาดต้อนมาจากสงครามพร้อมกับพวกลาวเวียงจันทน์ที่เมืองม่วย และเมืองแถงห์ (สมทรง บุรุษพัฒน์, 2524) ลาวเวียงจันทน์เข้ามาอยู่บริเวณจังหวัดสระบุรี ราชบุรี และจันทบุรี ส่วนไทดำอยู่บริเวณจังหวัด เพชรบุรี จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ทำ ให้สันนิษฐานได้ว่าชาวไทยทรงดำ ใต้พยายามเคลื่อนย้ายถิ่นฐานกลับไปยังถิ่นฐาน บ้านเกิดเดิม คือ เมืองแถง และบางกลุ่มไม่ต้องการอพยพกลับถิ่นฐานเดิมแต่ต้องการหาหลักแหล่งเพื่อทำกินใหม่ จึงได้มี การอพยพขึ้นไปทางเหนือของประเทศไทย จึงทำ ให้มีการตั้งชุมชนและบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัด นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และชัยนาท เป็นต้น ซึ่ งจังหวัดนครสวรรค์มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไทยทรงดำ ) ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ในอำ เภอต่าง ๆ ดังนี้ อำ เภอชุมแสง อำ เภอหนองบัว อำ เภอไพศาลี อำ เภอเก้าเลี้ยว และอำ เภอท่าตะโก เป็นต้น นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 21 1) ลักษณะที่อยู่อาศัยและความเป็นอยู่ ลาวโซ่งหรือไทยทรงดํา มักมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ กล่าวคือ สร้างบ้านเรือนในที่ราบเป็นแบบใต้ถุนสูง ดำ รงชีพ ด้วยการทำ ไร่ ทำ นา ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ส่วนทางด้านศิลปหัตถกรรมผู้ชายนิยมทำ เครื่องจักสานผู้หญิงนิยมเย็บปัก ถักร้อย อาชีพและอาหาร การประกอบอาชีพส่วนมาก คือ การทำ นาข้าวทั้งในที่ลุ่ม และทำ ไร่บนเชิงเขา สัตว์พาหนะ ที่ใช้สอย คือ กระบือมีตำ นานเล่าขานกันว่าแถนเป็นผู้ส่งควายให้มาเป็นสัตว์ใช้สอยช่วยมนุษย์ทำ มาหากิน ดังนั้นอาหาร ของไทยดำส่วนมากเป็นประเภทผักต่าง ๆ ชาวไทยทรงดำ รู้จักวิธีถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินนาน ๆ มีหลายอย่างด้วยกัน การถนอมอาหารประเภทการดองหรือการหมัก เช่น ดองผักเสี้ยน ดองยอดกุม ดองหน่อไม้ เป็นต้น สำ หรับข้าวที่ใช้รับประทาน ทุกวัน แต่เดิมจะเป็นข้าวเหนียวส่วนปัจจุบันจะเหมือนชาวไทย คือ รับประทานข้าวเจ้า 2) ภาษาประเพณีและความเชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำแห่งชุมชนคนต้นนํ้าเจ้าพระยา ตั้งอยู่ที่ ตำ บลฆะมัง อำ เภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ สำ หรับวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ โดยทั่วไปยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของกลุ่มสืบต่อมา ได้แก่ ความเชื่อ ภาษาพูด ภาษาเขียนไว้เช่นเดิม และยังคงยึดมั่นในประเพณีพิธีกรรม เช่น พิธีแบ่งขวัญเรียกขวัญ และพิธีเสนเรือน โดยมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมกลุ่มไทยทรงดำ และข้อมูลเกี่ยวกับชาวลาวโซ่งจากตำ บลฆะมัง อำ เภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ในทุก ๆ ปี ตามคำขวัญประจำตำ บลฆะมังที่ว่า “เหนือสุดนครสวรรค์แหล่งสร้างสรรค์เกษตรกรรมไทยทรงดำ ลือชื่อเลื่องลือประเพณีพระดีหลวงพ่อปั้น” ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวโซ่งหรือไทยทรงดํ า


ปัจจุบันพบว่า ชาวโซ่งจากตำ บลฆะมัง หรือไทยทรงดํา หรือไทดํา หรือลาวโซ่งเป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มี ถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่นํ้าดํา และลุ่มแม่นํ้าแดงในประเทศเวียดนามบริเวณภาคเหนือ และต่อมา ได้มีการอพยพสู่ประเทศไทยในแต่ละช่วงสมัย เพื่อเข้ามาหาแหล่งทำกินและตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมีศาลเจ้าพ่อธรรมยาที่เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยทรงดำ และชาวไทยในหมู่บ้านให้ความเคารพและนับถือ 3) การแต่งกาย เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวไทยทรงดํา คือ การแต่งกาย ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขาสั้นปลายแคบเรียวยาว ปิดเข่า นุ่งแบบกางเกงจีน เรียกว่า “ส้วงขาเต้น” หรือ “ส้วงก้อม” ใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอกปลายแขนปล่อยกว้าง ขนาดข้อมือผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลายตัวเสื้อเย็บเข้ารูปทรงกระสอบหน้าอกผายคอตั้ง เรียกว่า เสื้อชอน ส่วนผู้หญิงในชีวิตประจำวันจะนุ่งผ้าถุงพื้นดำ ประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นสีดำ ไม่มีลวดลายกว้างประมาณ 12 นิ้ว เป็นชิ้นทั้งผืน ชิ้นที่ 2 เป็นชิ้นสีดำสลับลายสีขาว ชิ้นที่ 3 กว้างประมาณ 1 ฟุต มีลวดลายสีขาวสองสามริ้ว เย็บติด เป็นตีนซิ่น ถ้าสามีตายต้องเลาะตีนชิ้นนี้ออกเพื่อไว้ทุกข์ ส่วนเสื้อใช้แขนยาวทรงกระบอกตัวเสื้อเย็บเข้าตัว คอตั้งผ่าอกตลอด ติดกระดุมเงินถี่ เรียกว่า เสื้อก้อม บางทีจะใช้ผ้าคาดอก เรียกว่า ผ้าเบี่ยวปักลวดลายไว้ที่ชายทั้งสอง ชายหญิงที่แต่งงานแล้ว จะใช้ผ้าเบี่ยวสีดํา หรือครามแก่ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีแต่งงาน ลาวโซ่งจะแต่งชุดใหญ่ เรียกว่า เสื้อยีตัดเย็บด้วยผ้าฝ้าย ย้อมคราม มี 2 ด้าน เสื้อฮีของชายยาวคลุมสะโพกคอกลม กันรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดงแล้วเดินด้วยเส้นทับด้วยผ้าไหมสีอื่น ตรงคอด้านข้างติดกระดุมแบบคล้อง 1 เม็ดผ่าตลอดตั้งแต่กระดุมป้ายทบมาทางด้านข้างแขนเสื้อ เป็นแขนกระบอกยาว ปลายแคบ ชายเสื้อจะปักด้วยผ้าไหมสีต่าง ๆ พร้อมติดกระจกชิ้นเล็ก ๆ ด้านข้างผ่าตั้งแต่ปลายเสื้อจนถึงเอวปักตกแต่ง อย่างงดงามส่วนของผู้หญิงตัวเสื้อใหญ่ และยาวกว่ามาก คอแหลมลึกไม่ผ่าหน้าแขนเสื้อแคบเป็นแขนกระบอกใส่นุ่งกับผ้าถุง 4) อาหาร อาหารของชาวไทยทรงดำ ส่วนมากเป็นประเภทผักต่าง ๆ ที่หาได้ทั่วไป เช่น ตามรั้วข้างบ้าน ตามลำ คลอง หนองน้าประเภทยอดพืชผัก เช่น ยอดกระถิน ยอดกุม ยอดตำ ํ ลึง ยอดมะแว้ง ยอดสะเดา ยอดมะระ ยอดฟักทอง ส่วนผลไม้ ได้แก่ มะม่วง มะละกอ แตงไทย พืชผักดังกล่าวใช้เป็นอาหารสำ หรับจิ้มแจ่ว เช่น แจ่วเอือดด้าน แจ่วปลาร้า ฯลฯ ส่วนที่ นำ ไปประกอบเป็นอาหาร หรือส่วนผสมของอาหารประเภทอื่น ๆ ได้แก่ อาหารประเภทแกงหรืออาหารประเภทพล่า เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีอาหารหวานไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หรือขนมที่ใส่นํ้ากะทิ เช่น สลิ่ม และลอดช่อง 22 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 ภาพที่ 2.4 การแต่งกายของไทยทรงดำ� (ซ้าย) ชาย (ขวา) หญิง


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 23 5) การรักษาโรค ชาวไทยทรงดำ ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่ จะทำ การรักษาโรคโดยหมอพื้นบ้านเป็นผู้รักษา และมีการใช้ สมุนไพรควบคู่ไปกับการทำ พิธี เพื่อให้ผีบ้านผีเรือนช่วยรักษาตลอดจนมีการรักษาโดยใช้น้ามนต์ การรักษาโรคในปัจจุบัน ํ ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำจะเป็นไปตามความเจริญของสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ถ้าบุคคลที่มีเงินตรามากพอ หรือ บุคคลชั้นสูงจะเข้ารับการรักษาจากสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล กล่าวคือ สังคมของไทยทรงดำจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ท้าว หรือกลุ่มชนชั้นสูง เป็นการสืบสกุลจากเจ้านายผู้ปกครองในแคว้นสิบสองปันนา อีกกลุ่มเป็นชนผู้น้อย หรือ ผู้สืบสกุลของประชาชนหรือคนทั่วไป 6) การประกอบอาชีพของชาวไทยทรงดำ การประกอบอาชีพหลัก คือ การทำ นาข้าวทั้งในที่ลุ่ม และทำ ไร่บนเชิงเขา การหาปลาตามหนองน้า สัตว์พาหนะ ํ ที่ใช้สอย คือ ควาย มีตำ นานเล่าขานกันว่าแถนเป็นผู้ส่งควายให้มาเป็นสัตว์ใช้สอยช่วยมนุษย์ทำ มาหากิน ดังนั้น ควายจึง มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ มาแต่โบราณกาล ซึ่งเป็นที่มาของคำ ว่า “ขอกุด” อันเป็นเครื่องบ่งบอก เอกลักษณ์แห่งความมุ่งมั่น ความอดทนต่อสู้ ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์อันเกิดจากมีควายคอยช่วยเหลือ ภาพที่ 2.5 อาหารไทยทรงดำ� แกงเห็ดใส่ผักหวานป่า ภาพที่ 2.6 หมู่บ้านไททรงดำ�


24 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 สถานที่สำคัญในหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดํา มีแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนที่สามารถจะให้นักท่องเที่ยว เยี่ยมชมได้ต่อไปนี้เริ่มจากการสักการะเจ้าพ่อธรรมยาที่คนไทยที่วัดฆะมัง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยทรงดำ นับถือ ถือเป็น การขออนุญาตการเข้ากราบและขอพรได้ให้ประสบแต่ความโชคดี ซึ่งคนไทยทรงดำ นับถือเป็นเจ้าที่เจ้าทาง ปกปักรักษา บ้านเมืองและชุมชน ภายในวัดจะมีรูปหล่อหลวงพ่อที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ หลวงพ่อปั้น ภาพที่ 2.7 ศาลเจ้าพ่อธรรมยา ภาพที่ 2.8 ศาลาหลวงพ่อปั้น ภาพที่ 2.9 ศาลาหลวงพ่ออิน ภาพที่ 2.10 พิพิธภัณฑ์บ้านไทดำ� ตำ�บลฆะมัง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ สถานที่สำ คัญอีกแหล่งหนึ่งที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่แสดงให้เห็น อัตลักษณ์ของชุมชน ตลอดจนประวัติศาสตร์ของกลุ่มไทยทรงดำ ได้ คือ พิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีการดำ เนินชีวิตและเครื่องมือ ทำ มาหากิน เป็นต้น


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 25 1. ลาวพวนหรือไทยพวน พวน (Phuen, Puen) เป็นคำ ที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกินบริเวณลุ่มแม่นํ้าพวนด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำ ไร่ไถนา ชาวพวนได้ถูกกวาดต้อน และอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลายสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อเมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้าลำ ํคลอง ประวัติความเป็นมาของการอพยพของชาวไทยพวนนั้นเชื่อกันว่าอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประมาณปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ และหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่าหัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำ ม่วน เมืองคำ เกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง (ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวน และลาวโซ่งมาไว้ที่ เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไป ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310) เช่น เมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา และการอพยพในระยะที่สองในราวปี พ.ศ. 2535 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไททรงดำ ) ได้พยายามสะท้อน ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม แม้ว่าวิถีชีวิตในวันนี้ ของลาวโซ่งจะไม่ได้ใส่ชุดดำ เหมือนเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่ชุมชนลาวโซ่งได้แสดงออกมาในเรื่องของสถานที่ สำคัญทางประวัติศาสตร์ของกลุ่ม โดยมุ่งเน้นการเสนอ ภาพอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่ ซึ่งได้เชื่อมโยงชุมชนที่ตนอาศัย เจ้าพ่อธรรมยาที่ตนนับถือ วัดฆะมังที่เปรียบเสมือน วัดประจำ ชุมชนที่มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์มากมาย รวมถึงพิพิธภัณฑ์บ้านไทดำ ที่แสดงวิถีชีวิตการทำ มา หากินของพวกเขา กลุ่มลาวโซ่งได้เชื่อมโยงพื้นที่ทาง กายภาพที่เกิดจากต้นทุนทางสังคม เพื่ออธิบายถึง อัตลักษณ์ พร้อมทั้งนำ เสนอตัวอย่างอาหารการกิน ส่วนใหญ่มีส่วนผสมของปลาร้า เช่น แกงไข่ผำ แกงบอน และแกงหน่อไม้ เป็นต้น ศิลปะการแสดงดั้งเดิมของ กลุ่มลาวโซ่งที่ถูกถ่ายทอดผ่านการเรียนรู้เข้าสู่โรงเรียน วัดฆะมังเพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางศิลปะและ วัฒนธรรมของชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง ได้ร่วมสะท้อนความเป็น อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนโดยการกำ หนด แผนที่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมซึ่งได้สร้างรูปแบบ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนลาวโซ่งไว้ในเชิง แผนที่ทางกายภาพ ดังภาพที่ 2.12 ภาพที่ 2.11 แม่น้ำ�ปิงไหลผ่านในพื้นที่หมู่บ้านไททรงดำ� ภาพที่ 2.12 แผนที่แหล่งข้อมูลชาติพันธุ์ไททรงดำ� (ลาวโซ่ง) ต.ฆะมัง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์


1) ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ลักษณะบ้านเรือนที่โดดเด่นของชาวไทยพวน คือ มีลักษณะเป็นเรือนจั่วแฝดมีการวางทิศทางเรือนแบบขวาง ตะวันวางตำแหน่งห้อง และเสาแฮกอยู่ทางทิศตะวันออกพร้อมมีประเพณีปฏิบัติว่า “ห้ามเงาของเรือนทับยัง” และ “ห้าม เงาของยังทับเรือน” ความเชื่อเหล่านี้จะพบความสัมพันธ์เชื่อมโยงเกี่ยวกับการระบายอากาศ และแสงแดดที่ตกถึงยัง ในปัจจุบัน การสร้างบ้านเรือนได้มีการปรับเปลี่ยน และปรับตัวตามภาวะทางเศรษฐกิจด้วย คือ ปรับตัวให้มีการก่อสร้าง ง่ายกว่าเดิม และราคาถูกกว่าเดิมโดยเริ่มมีการปรับเป็นเรือนจั่วเดี่ยวในผังพื้นเดิมของเรือนไทยพวน (อรศิริ ปาณินท์, 2550) 2) ประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ ชาวไทยพวนยังรักษาวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมไว้ คือ ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา และวิถีชีวิตความเชื่อ เรื่องผี ผีฟ้าแถน ผีบ้านผีเรือน ผีบรรพบุรุษ ตลอดจนผีที่เร่ร่อนไม่มีญาติที่ชาวไทยพวนต้องทำ บุญเกื้อกูลเพื่อที่จะได้ไม่มา รบกวนชีวิตของชาวบ้านบรรดาผีต่าง ๆ ของชาวไทยพวนนี้ มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตตั้งแต่ระดับบริบทซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม ข้อมูลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพวนหรือไทยพวน เมืองแถง และเมืองพวน แข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัว ลาวทรงดำ (ลาวโซ่ง) และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรี และจันทบุรี ด้วยต่อมาในระยะที่สามราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏ ต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพขึ้นไปปราบกบฏและได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำ เภอกบินทร์บุรี อำ เภอประจันตคาม จังหวัด ปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพัน ในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านานชาวไทยพวนจะพูด ภาษาไทยพวน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำ เนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียงที่มีสำ เนียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (อรศิริ ปาณินท์, 2550) ที่ ตั้งของชุมชนไทยพวนในจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ชุมชนไทยพวน บ้านวังรอ ตำ บลวังมหากร อำ เภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งประมาณ 50 ปี โดยเป็นชาวบ้านไทยพวนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านมะขามล้ม อำ เภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สาเหตุเนื่องจากต้องการ แสวงหาที่ทำกินใหม่ ผลผลิตจากการทำ นาไม่เพียงพอจึงอพยพ มาตั้งหลักแหล่งใหม่ การย้ายถิ่นครั้งนั้นเดินทางมาเป็นกลุ่มใหญ่ ล่องเรือมาตามแม่นํ้าท่าจีนจากบางสี่แล้วล่องต่อมาตามคลอง แยกสายต่าง ๆ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 วัน มีชาวบ้านขุด บุกเบิกมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านวังรอก่อน พบว่าที่ดินบริเวณ บ้านวังรอมีความอุดมสมบูรณ์ และราคาถูกมีพื้นที่แวดล้อม ด้วยป่า และมีลำคลองหลายสายผ่านมีสัตว์นํ้านานาชนิด ภาพที่ 2.13 การแต่งกายในงานบุญของคนไทยพวน 26 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2


ธรรมชาติจนถึงระดับใกล้ตัว ดังนั้น หมู่บ้านไทยพวนจะมีการตั้งศาลผีปู่ตา และพิธีทำ บุญผีปู่ตาศาล ผีทุ่งศาล ผีบ้าน ผีนํ้า นอกจากนั้นยังมีศาลพระภูมิซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับตัวเรือน ศาลพระภูมิส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้บ้านจนถือว่าเป็นองค์ประกอบของเรือน อย่างหนึ่งด้วย พิธีตั้งศาลปู่ตาของบ้านวังรอ เป็นศาลที่อยู่หัวมุมถนนปากทางเข้าหมู่บ้าน บริเวณที่ตั้งศาลมีต้นไม้ร่มรื่นปราบ พื้นดินหน้าศาลไว้เรียบเอาไว้ เผื่อเวลาทำ พิธีไหว้ศาลลานหน้าบ้าน จะยกศาลใหม่ จะทำ พิธีจัดเตรียมพื้นที่ จัดเตรียมศาล ช่วยกันแบกหามศาลมาไว้ เมื่อได้ฤกษ์บริเวณหน้าศาลจะตั้งเครื่องเซ่นไหว้ตามแต่สมควร ส่วนใหญ่จะเป็นหัวหมู ไก่ บายศรี ขนมถ้วยฟู ขนมต้ม ไข่ต้ม ไข่เค็ม ตอกไม้ เหล้าขาว เครื่องเซ่นไหว้วางบนเสื่อหน้าที่ตั้งศาล มีผู้เฒ่าของหมู่บ้านเป็นประธาน เมื่อได้ฤกษ์ก็หามศาล และขุดหลุมเอาศาลตั้ง เซ่นไหว้ ผู้เฒ่าทำ พิธีรำดาบถวายเครื่องเซ่น เอาเครื่องเซ่นวางบนใบตอง ตามเสาทั้ง 4 ไหว้ทำ พิธีแล้วเอาเหล้าขาว และขนมแจกผู้ร่วมพิธีเชิญ คนทรงเพื่อผ่านเจ้าจํ้าทำ พิธีทรงและเชิญเจ้า (ตาปู่) เข้าสถิตย์ยังศาล จุดธูป 9 ดอก ไหว้ศาลผู้เฒ่าพรมนํ้ามนต์ และอวยพรผู้ร่วมพิธีเอาเครื่องเซ่นไหว้เข้าในศาล ถวายมาลัย และเชิญผู้เฒ่า และคนทรงกลับเป็นอันเสร็จพิธี ชาวไทยพวนยังคงรักษาประเพณีบุญกำ ฟ้าเป็นประเพณีโบราณของชนเชื้อสายพวนซึ่งจะจัดขึ้นในราว 3 เดือน ของทุกปี มี 3 ระยะ คือ (1) วันพิธีกำ�ฟ้า กำ หนดในวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 3 ก่อนวันพิธีกำ ฟ้า 1 วัน เป็นวันสุกดิบชาวบ้านทั้งหมด จะมารวมกันที่ศาลาการเปรียญของวัด จัดเรียงข้าวปลาอาหารสำ หรับถวายพระในวันรุ่งขึ้น มีข้าวหลาม ข้าวจี่เป็นของ สำคัญในพิธีกำ ฟ้า โดยเป็นการนำ เอาข้าวใหม่มาทำ เป็นของบูชาผีฟ้าในวันกำ ฟ้า ชาวบ้านจะมารวมกันที่วัดแต่งตัวด้วย เสื้อผ้าชุดสวยที่สุด มีการตักบาตรในตอนเช้า และหลังจากถวายของพระเสร็จแล้วชาวบ้านจะนำ ข้าวหลาม และข้าวจี่ รวมทั้งอาหารอื่น ๆ มาใส่กระทงแล้วนำ ไปวางที่ทางสามแพ่งเป็นการถวายผีฟ้า (2) วันกำ�ฟ้าครึ่งมื้อ คือ วันขึ้น 15 คํ่า เดือน 3 จะยังคงงดทำ งานครึ่งวันเช้า (3) วันกำ�ฟ้านอนหงาย คือ วันแรม 2 คํ่า เดือน 3 ต้องงดทำ งานทุกอย่างในช่วงเวลาก่อนกินข้าวเช้าในวัน กำ ฟ้านี้ชาวบ้านเชื่อว่าจะมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลก ๆ และมีเสียงฟ้าร้องมาทางทิศใต้ แปลว่า จะให้นํ้าทาง ทิศนํ้านั้นและยังเชื่อว่าวันกำ ฟ้า กบไม่มีปาก นกไม่มีตูด ชาวพวนมีตำ ราเสี่ยงทาย ดังนี้ - ฟ้าร้องทางทิศเหนือ นํ้าจะมากในปีนั้น - ฟ้าร้องทางทิศใต้ ปีนั้นนํ้าพอดีพอใช้ได้ - ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก นํ้าจะน้อย - ฟ้าร้องทางตะวันออก นํ้าสมบูรณ์ดีมาก 2. ชาติพันธุ์มอญ มอญ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งอาศัยอยู่เป็นกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ในประเทศพม่าและประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยมอญเรียกตัวเองว่า “มอญ” (Mon) พม่าเรียกชนชาติมอญว่า “ตะเลง” (Talaing) ไทยเรียกชนชาติมอญ หรือ ตะเลง ในสมัยโบราณชาวตะวันตกเรียกชนชาติมอญว่า “เพกวน” (Paguan) ซึ่งปัจจุบันชื่อนี้เลิกใช้ไปแล้ว ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ของชนชาติมอญซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ “รามัญ” (Raman) มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่งตามพงศาวดารพม่า กล่าวว่า “มอญ” เป็นชาติแรก ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่ามาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล ชาวมอญเป็นพวกที่มีเชื้อสายอยู่ในกลุ่มมอญ - เขมร และบางทีอาจจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียเข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มนํ้าสาละวิน และ สะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารจีน และอินเดีย เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 27


28 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 บริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานของมอญ มักตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศพม่าตอนล่างตามบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่นํ้า อิระวดีที่เมืองสะเทิม ทวันเท ทะละ และหงสาวดี เป็นที่ยอมรับกันว่ามอญเป็นชนชาติที่รักความสงบ และสร้างสมอารยธรรม ความเจริญต่าง ๆ ไว้มากมายทั้งด้านวัฒนธรรมศาสนา และการค้า มอญมิได้เตรียมตัวเพื่อการสงครามเลย อาณาจักรมอญ จึงพ่ายแพ้และตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าในปี พ.ศ. 1600 จะเห็นได้ว่าอาณาจักรมอญที่อยู่ในพม่ามีอายุยืนยาวนาน กว่าประเทศไทย เมื่อพม่ามีชัยชนะเหนือมอญพระเจ้าอนิรุธจึงรวบรวมกวาดต้อนทั้งนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ต่าง ๆ รวมทั้ง ตัวหนังสือมอญซึ่งนำ ไปดัดแปลงเป็นตัวหนังสือพม่าและยังยอมรับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอื่น ๆ ของมอญไปอีกด้วย การอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย การเข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยนั้น นับได้ว่าชาวมอญเข้ามาอยู่ในฐานะเป็นที่ต้องการของพระมหากษัตริย์ไทย ทุกพระองค์ เกือบทุกครั้งที่มีครอบครัวมอญอพยพเข้าสู่ประเทศไทยพระมหากษัตริย์ไทย จะโปรดเกล้าฯ ให้คนไปรับครอบครัว มอญพระราชทานที่ให้ตั้งบ้านเรือน และที่ทำกินพระราชทานข้าวของเครื่องใช้ที่จำ เป็นทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้มีหัวหน้าผู้ดูแล ว่ากล่าว เป็นคนเชื้อชาติมอญด้วยกันอีกด้วย การอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งมีบันทึกไว้เป็นทางการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2127 คือ หลังจากที่สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง อาจมีการอพยพมาก่อนหน้านี้บ้างเป็นบางครั้งคราวแต่ไม่มีการบันทึก เป็นหลักฐาน ทั้งจำ นวนคนที่อพยพมายังคงไม่มากนัก และไม่รู้ว่าไปตั้งหลักแหล่งที่ไหน การอพยพในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ อพยพเข้ามาครั้งใหญ่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การที่มอญ อพยพเข้ามาครั้งนี้ เนื่องจากทนการกดขี่ข่มเหงของพม่าไม่ได้ เพราะพระเจ้าปดุงได้เกณฑ์แรงงานคนทั้งในเมืองพม่ารามัญ ตลอดจนเมืองประเทศราชต่าง ๆ ให้ไปสร้างพระมหาธาตุที่เมืองเมกันทำ ให้ผู้คนไม่มีเวลาทำ มาหากิน ทั้งพม่าที่ได้รับการแต่งตั้ง ไปปกครองเมาะตะมะก็ข่มเหง และเบียดเบียนชาวมอญ แต่ชาวมอญก็ไม่มีกำ ลังพอจะต่อสู้ได้ในปี พ.ศ. 2358 ชาวเมือง โดยมีสถึงสอดเบาเป็นหัวหน้าจึงพร้อมใจกันเป็นกบฏที่เมืองเมาะตะมะจับพม่าฆ่าเสียแล้วพากันอพยพเข้ามายังประเทศไทย ชาวมอญที่อพยพเข้ามาด้วยกันหลายทาง ทั้งทางด้านเมืองตาก เมืองอุทัยธานี และทางด่านเจดีย์สามองค์ แขวงเมือง กาญจนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นไปรับครอบครัวมอญ ที่เมืองนนทบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎออกไปรับครอบครัวมอญที่เมืองกาญจนบุรี โดยมีเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นผู้ใหญ่กำกับไปด้วย ส่วนทางเมืองตากได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนในแขวงปทุมธานี เมืองนนทบุรี และเมืองนคร เขื่อนขันธ์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมิงสอดเบาเป็นพระยารัตนจักร บรรดาหัวหน้านายรามัญอื่น ๆ ที่มียศอยู่เดิมก็โปรดเกล้าฯ เป็นพระยาทั้งสิ้น การอพยพครั้งย่อย ๆ อีกครั้งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2367 ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) คุมกองทัพรามัญไปรับครอบครัวมอญมาจากเมืองมอญ ทั้งนี้ เพราะชาวมอญที่อยู่ในกรุงเทพฯ ได้เรียนเสนาบดีขึ้นมาว่า พม่าที่ทำ ศึกอยู่กับอังกฤษจะทำ ให้ญาติพี่น้องที่อยู่อาศัย ยังเมืองมอญต้องลำ บาก ครอบครัวมอญที่โปรดเกล้าฯ ให้ได้รับมาครั้งนี้ได้ให้ไปอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์โดยมีเส้นทางที่เดินทาง อพยพเข้าสู่ประเทศไทย 3 ทาง คือ ทางเหนือ เข้ามาทางเมืองตากหรือระแหงทางด่านแม่ละเมา ทางใต้ เข้ามาทางเมือง กาญจนบุรีทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้ามาทางอุทัยธานีซึ่งอยู่ระหว่างสองทางแรก


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 29 บริเวณที่จัดให้เป็นที่อยู่ของชาวมอญส่วนใหญ่จะอยู่ริมแม่นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่นํ้าทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ และตามลำ นํ้าแม่กลอง มอญที่อพยพเข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชานเมืองพระนครและบริเวณ ที่ติดต่อกับนนทบุรี มาถึงสมัยกรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้มอญที่เข้ามาไปอยู่ที่ปากเกร็ดแขวงเมืองนนทบุรี และที่สามโคก แขวงเมืองปทุมธานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้มีการสร้างป้อมขึ้นที่ปากลัดแล้วจึงกำ หนดให้เป็น เมืองอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า “เมืองนครเขื่อนขันธ์” โดยรวมเอาเนื้อที่บางส่วนของแขวงเมืองสมุทรปราการ และแขวงเมือง กรุงเทพมหานครเข้าด้วยกัน และได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวมอญจากเมืองปทุมธานีซึ่งเป็นพวกพระยาเจ่งบางส่วน ไปไว้ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์นี้ และโปรดเกล้าฯ ตั้งพระยาราม (สมิงทอมา) บุตรพระยาโยธาขึ้นเป็นพระยานครเขื่อนขันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดีศรีสงครามผู้รักษาเมือง ส่วนมอญที่เข้ามาหลังสุดโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ บ้างปทุมธานี บ้างนนทบุรี บ้างเพราะฉะนั้น บริเวณที่มีชาวมอญอยู่เป็นจำ นวนมาก คือ ปากเกร็ด นนทบุรี สามโคก ปทุมธานี และปากลัด หรือนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งปัจจุบันรู้จักในนามของอำ เภอพระประแดง อีกบริเวณหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำ คัญของชาวมอญ คือ บริเวณสองฝั่งแม่นํ้าแม่กลองตั้งแต่อำ เภอบ้านโป่ง อำ เภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี รวมทั้งในจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งชาวมอญที่อพยพมาจากพม่า และ ขยายตัวจากกรุงเทพฯ ลงมาตามลำ น้าถึงแม่น ํ ้าท่าจีน และแม่น ํ ้าแม่กลอง การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น ํ ้าแม่กลองนี้ ํ จึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ (สุภรณ์ โอเจริญ, 2528) จากข้อมูลการบอกเล่า ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ปรากฏว่ายังมีชาวมอญ ที่ลำ พูน และเชียงใหม่ซึ่งคนเมืองจะเรียกว่า “เม็ง” อยู่ที่บ้านหนองดู่ ตำ บลบ้านเรือน อำ เภอป่าซาง จังหวัดลำ พูน และที่บ้าน หนองครอบ บ้านกอโชค ตำ บลแม่ก๊ะ อำ เภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และเรายังอาจจะพบชาวมอญ ที่อยู่กันหนาแน่น ได้ในอีกหลาย ๆ จังหวัด เช่น ที่ตามลำ นํ้ามหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งชาวมอญที่มาอยู่ที่นี่นั้นเริ่มต้นด้วยการมาเป็น คนขุดคลองที่จังหวัดลพบุรี และอุทัยธานีซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของการอพยพเข้าสู่ประเทศไทยจากประเทศพม่า นอกจากนี้ ยังอาจจะพบชาวมอญอยู่กันกระจัดกระจายในหลายพื้นที่และจังหวัดต่าง ๆ เช่น ธนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ และปราจีนบุรี ประวัติการอพยพของมอญในนครสวรรค์ ชาวมอญที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์นี้ มีวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อที่คล้ายคลึงกับชนชาติอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ แต่วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของมอญได้รับอิทธิพลจากประเพณี วัฒนธรรมไทย จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ยังคงมีความเป็น ประเพณีและวัฒนธรรมมอญไว้บ้าง ในปัจจุบันนี้มอญที่อาศัยอยู่ในจังหวัด นครสวรรค์ อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายตามอำ เภอต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ตำ บลเขาทอง อำ เภอพยุหะคีรี, ตำ บลบ้านแก่ง อำ เภอเมืองนครสวรรค์, ตำ บลตะเคียนเลื่อน อำ เภอเมืองนครสวรรค์ และตำ บลบางมะฝ่อ อำ เภอ โกรกพระ และมีประเพณีที่สำคัญ ๆ ที่ชาวมอญร่วมกันอนุรักษ์ และมีการ จัดประเพณีขึ้นตามโอกาส และเวลาที่เหมาะสมขึ้นเป็นประจำ ทุกปี ภาพที่ 2.14 หงส์ เป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ


30 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 บ้านมอญในจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านตามความเป็นมาในอดีต ซึ่งจากคำ บอกเล่าได้อธิบายไว้ว่า ชุมชนมอญเดิมที่เข้ามาตั้งรกรากมีอยู่ 4 ครอบครัว ซึ่งได้อพยพมาจากอำ เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในครั้งนั้นที่อพยพมา ภาพที่ 2.15 การประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาของมอญบ้านแก่ง โดยการล่องเรือมาตามแม่นํ้าเจ้าพระยาได้หยุดแวะพักที่บริเวณ ตำบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเค้า ได้พบแหล่งดินเหนียวที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปั้นเครื่องใช้ ไม้สอยในครัวเรือน โดยปกติชาวมอญจะมีความสามารถในการ ปั้นโอ่ง ปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ ในครั้งนั้นชาวมอญ ที่อพยพมาได้ตัดสินใจตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ณ ที่นี้มาจนถึง ปัจจุบันซึ่งต้นตระกูลของชาวบ้านมอญจะมีตระกูลสำคัญอยู่ 4 ตระกูล คือ ตระกูลเลี้ยงสุข ตระกูลช่างปั้น ตระกูลเรื่องบุญ และตระกูลแก้วสุทธิ (เป้า เลี้ยงสุข สัมภาษณ์อ้างถึงใน สุชาติ แสงทอง, 2558) 1) ที่อยู่ อาศัยดั้งเดิม ลักษณะบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยมอญจะเป็นเรือนลักษณะใต้ถุนสูง ชั้นเดียว ปลูกในลักษณะให้มีชานเรือน หรือนอกชานติดต่อกันเป็นแนวยาวหรือเรียกว่า “เรือนแถว” โดยที่เรือนของพ่อแม่จะอยู่ตรงกลาง และต่อเรือนออกทาง ปีกซ้าย และปีกขวาเป็นของบุตรหลาน เรือนบางหลังเป็นแถวยาวหลายสิบเมตรอยู่ติดกันสี่ถึงห้าครัวเรือน 2) ประเพณีดั้งเดิม ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเลี้ยงผีเรือน ประเพณีรำ ผี ประเพณีล้างเท้าพระ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ของเด็ก ประเพณีการแข่งขันเรือยาว การแต่งงาน การไว้ผมจุกและผมเปียของเด็กชาวมอญทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ทุกคนจะต้องเอาไว้หมด การบวช การแต่งกายไปวัดตามเทศกาลต่าง ๆ ผู้หญิงจะแต่งกายที่สวยงาม คือ นุ่งผ้าไหม ใส่เสื้อ และมีผ้าสไบทับ ผมจะเกล้าเป็นมวยทัดดอกไม้ พิธีงานศพสังคมของชาวมอญ ชาวมอญจะมีความเคร่งครัดในขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เป็นสังคมที่รักความสงบสะอาด บ้านเรือนตั้งอยู่เป็นหมู่เหล่า มีการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน 3) ความเชื่อและพิธีกรรม ชาวมอญหรือชาวไทยเชื้อสายมอญทุกคนเชื่อว่า “ถ้าผู้ใดได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ตั้งแต่ต้นจนจบจะได้อานิสงส์และกุศลที่ยิ่งใหญ่” ดังนั้น จึงเกิดประเพณีของชาวไทยเชื้อสายมอญมาตั้งแต่โบราณ ความเชื่อของคนมอญมี 39 ข้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นหนักในเรื่องของการทำ บุญเข้าวัด และการแต่งกายอย่างเหมาะสม 4) การละเล่ นของมอญดั้งเดิม การเล่นสะบ้า ทะแยมอญ ใช้ดนตรีปี่พาทย์มอญและวงเครื่องสายประกอบ ชาวมอญนำ มาเล่นในงานพิธีต่าง ๆ โดยมีการขับร้องเครื่องดนตรีประกอบการเล่น 5 อย่าง คือ ซอสามสาย ขลุ่ย จะเข้ กลองเล็กสองหน้า ฉิ่ง ผู้เล่นจะร้องรำ โต้ตอบกันด้วยเรื่องต่าง ๆ เป็นภาษามอญตามที่นิยมกัน หรือตามความประสงค์ของเจ้าภาพ เช่น เรื่องทศชาติชาดกธรรม สอนใจวัฒนธรรมสิบสองเดือน และเพลงเกี้ยวพาราสี เป็นต้น ทำ นองเดียวกันกับเล่นลำตัดของไทยนั่นเอง จึงมีชาวมอญ บางคนเรียกทะแยมอญว่า ลำตัดมอญ ข้อมูลอัตลักษณทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมอญที่ยังคงหลงเหลือ ์


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 31 ภาพที่ 2.16 การละเล่นทะแยมอญ ภาพที่ 2.17 การแสดงวงปี่พาทย์มอญ 5) การแต่ งกายดั้งเดิม การแต่งกายของชายชาวมอญสวมเกลิด หมายถึง ผ้านุ่ง ส่วนผ้าผืนยาวที่นั่งเวลาออกงานสำ คัญ เรียกว่า เกลิดฮะเหลิ่น แปลว่า ผ้านุ่งยาว (ลอยชาย) ส่วนเสื้อเป็นเสื้อคอกลมผ่าอกตลอด แขนกระบอก มีกระดุมผ้าหรือเชือกผูก เข้ากัน สมัยก่อนนิยมโพกศีรษะต่อมาตัดสั้นแบบสมัยนิยม การแต่งกายของหญิงมอญสวมหนิ่น คล้ายผ้านุ่งของผู้ชายแต่ลาย ของผู้หญิงละเอียดสวยงามกว่า และวิธีการนุ่งต่างกัน สวมเสื้อตัวในคอกลมแขนกุดตัวสั้นแค่เอวเล็กพอดีตัวสีสด สวมทับด้วย เสื้อแขนยาวทรงกระบอกเป็นผ้าลูกไม้เนื้อบางสีอ่อนมองเห็นเสื้อตัวใน ถ้ายังสาวอยู่แขนเสื้อจะยาวถึงข้อมือ หากมีครอบครัว แล้วจะเป็นแขนสามส่วน หญิงมอญนิยมเกล้าผมมวยค่อนตํ่าลงมาทางด้านหลัง 6) อาหาร ข้าวแช่ อาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญที่บ้านบางมะฝ่อ ตำ บลบางมะฝ่อ อำ เภอโกรกพระ จังหวัด นครสวรรค์ เป็นอาหารหวานที่นิยมรับประทานกันในเทศกาลสงกรานต์ของมอญ ถือว่าเป็นประเพณีกินข้าวแช่ที่ได้รับ สืบทอดต่อกันมา และได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีนี้โดยทางจังหวัด และท้องถิ่นร่วมกันจัดงานประเพณีกินข้าวแช่ในวัน สงกรานต์ของทุกปี ประชาชนจะต้องทำข้าวแช่มาถวายพระเพราะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวด้วย 7) ภาษา ภาษามอญ อยู่ในสายโมดิกซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลมอญ เขมร ภาษาต่าง ๆ ในตระกูลมอญนี้อยู่ในตระกูลภาษา ออสโตรเอาเรียติก ภาษามอญนั้นยังเป็นภาษาที่ใช้อยู่ในหมู่บ้าน และชุมชนของชาวมอญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้อาวุโสเท่านั้น ในอดีตนั้นใช้ภาษามอญในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่ปัจจุบันนี้รุ่นลูกรุ่นหลานของคนมอญได้รับ อิทธิพลจากภาษาไทยจึงใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คนมอญในอดีตนั้นมีภาษาเขียนตัวเขียนเป็นของตัวเอง แต่ปัจจุบันนั้นได้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาเขียนขึ้นมา ในกลุ่มชุมชนคนมอญบางแห่ง เช่น ที่ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หรืออำ เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ชาติพันธุ์มอญได้พยายามสะท้อนต้นทุนทางสังคม และวัฒนธรรม โดยแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาในเรื่อง ของสถานที่สำ คัญทางประวัติศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการเสนอภาพอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่ ซึ่งได้เชื่อมโยงชุมชนที่ตนอาศัย การประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา (บ้านมอญ) อาหารการกิน (ข้าวแช่) วัดเขาดินใต้ที่เปรียบเสมือนวัดประจำชุมชนที่มี เรื่องราวในประวัติศาสตร์มากมาย เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้น รวมถึงยังมีเกจิดัง หลวงพ่อเฮง ที่เป็นตำ นานพระภิกษุแห่งต้นแม่นํ้าเจ้าพระยา ตลอดจนพิพิธภัณฑ์บ้านมอญที่แสดงวิถีชีวิตการทำ มาหากิน ของชุมชน


32 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์มอญ ได้ ร่วมสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนโดยการ กำ หนดแผนที่การท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างรูปแบบการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน มอญไว้ในเชิงแผนที่ทางกายภาพ ดังนี้ ภาพที่ 2.18 แผนที่แหล่งข้อมูลชาติพันธุ์มอญ ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 3. ชาติพันธุ์มุสลิม ประเทศไทย หรือสยามประเทศสมัยก่อน มีการค้าขายติดต่อประเทศโลกอิสลามมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยด้วยซํ้า แต่ในช่วงนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เมื่อสมัยสุโขทัยหลักฐานได้บันทึกว่ามีชนชาติที่ เก่งกาจทางด้านการเดินเรือเข้ามาบรรทุกสินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศตน และในขณะนั้นก็ไม่ได้มีรายงานว่าเป็น ชาวยุโรป เพราะฉะนั้นจึงได้คาดกันว่าเป็นชาวมุสลิม ซึ่งเป็นพ่อค้าจากเปอร์เซียที่เข้ามาติดต่อซื้อขาย ต่อมาในสมัยอยุธยาการติดต่อในลักษณะเช่นนี้ยังคงมีอยู่ กรมศิลปากรได้ขุดพบเจดีย์ที่วัดราชบูรณะซึ่งเป็น สิ่งก่อสร้างในสมัยพระเจ้าสามพระยา ราวพุทธศักราช 1961 - 1962 นับเป็นสมัยแรกเริ่มของกรุงศรีอยุธยาและได้พบ เหรียญทองคำ ที่ทำขึ้นในแคชเมียร์ ซึ่งเหรียญทองคำ นั้นตรงกับรัชสมัยอิสลามชื่อว่า “พระเจ้าไซนูลอาบีดีน” แสดงให้เห็น ว่า ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างแน่ชัด และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี่เอง มีหลักฐานที่แน่นอนว่าชาวมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยา และได้ตั้งเมืองเป็นหลักแหล่งขึ้นมาตามจดหมายเหตุ เรียกคนมุสลิมนี้ว่า “แขกเทศ” ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สะพานประตูจีนด้านตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงหลัง วัดนางมุก และลงไปที่ท่ากาหยีซึ่งเป็นชื่อท่านํ้าหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กล่าวมานี้เป็นบริเวณที่มุสลิมตั้งบ้านอยู่ โดยเฉพาะในกำแพงเมือง และนอกกำแพงเมืองออกไปยังมีปลายประตูจีนฟากตะวันตกจนถึงตำ บลที่เรียกว่าตะไกรน้อย ฝั่งตะวันตก ซึ่งทำ ไร่นาด้วยตัวเอง นับได้ว่าพี่น้องมุสลิมในสมัยก่อนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้มาจน กระทั่งปัจจุบันนี้ว่า กระตีทองหรือว่ากระตีเจ้าเซ็น ชื่อเจ้าเซ็นนี้มาจากชาวแขก “ฮุสเซ็น” นับถือศาสนาอิสลามนิกาย ชีอะห์ โดยพบว่ามีซากสุเหร่าหรือมัสยิด และตอนนี้ยังคงมีอยู่ คาดว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านเมืองดั้งเดิมของผู้นับถือ ศาสนาอิสลามซึ่งมาค้าขาย และมาตั้งรกรากอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา แขกพวกนี้มาจากประเทศอาหรับบ้างส่วนใหญ่ คาดว่ามาจากเปอร์เซีย หรืออิหร่านและกลายมาเป็นคนไทย ในสมัยกรุงสุโขทัย สยามก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปจนถึงใต้แหลมมลายู มีรายงานว่าผู้คนในสมัยนั้นมีผู้นับถือศาสนา อิสลามอยู่แล้ว ทั้งผู้เป็นใหญ่และขุนนางในกรุงสุโขทัย และไม่ถือเป็นข้อแตกต่าง โดยอยู่รวมกันได้อย่างสันติสุขเป็นเวลา หลายร้อยปี ไม่เคยมีข้อบาดหมางระหว่างศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลามเลย เป็นความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน ระหว่างไทยพุทธ และไทยมุสลิมในการบริหารบ้านเมืองต่อต้านอริราชศัตรูมาด้วยกันนับเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย ทุกพระองค์ ทุกราชวงศ์ ที่ได้ทรงอุปถัมภ์คํ้าชูแก่ศาสนาอิสลามมาโดยตลอด


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 33 ส่วนทางตอนใต้ของประเทศไทยคาดกันว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ส่วนเมืองปัตตานี ซึ่งตกอยู่ภายใต้อำ นาจของสยามประเทศตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมืองเอกทางตอนใต้ของสยาม คือ นครศรีธรรมราช โดยเขต ปกครองของนครศรีธรรมราชได้กินพื้นที่ไปจนสุดปลายแหลมมลายู สิงคโปร์ มะละกา เป็นเมืองประเทศราชของไทยทั้งหมด วิธีการปกครองในสมัยนั้นส่วนมากไม่ได้ส่งคนเข้าไปปกครองมีแต่ให้เมืองประเทศราชเหล่านี้ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง 3 ปีต่อครั้ง เป็นการสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้ จึงนับว่าเมืองปัตตานีขึ้นอยู่กับประเทศไทย อยู่ในความดูแลของนครศรีธรรมราช ในฐานะเมือง ประเทศราช ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเหมือนประเทศอื่น ๆ เช่น เขมร เป็นต้น ดังนั้นในกรุงสุโขทัยจึงมีชาวมาเลย์ มาเป็นประชากรของสยามประเทศในขณะนั้นด้วย ในประเทศไทยจึงได้มีมุสลิมหลายกลุ่มที่อพยพเข้ามา กลุ่มมุสลิมที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย —• กลุ่ มที่ 1 เป็นมุสลิมกลุ่ มที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย มีบรรพบุรุษมาจากชาวมลายู ในหนังสือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยมุสลิมของอาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด ได้กล่าวว่า เนื่องจากชนพื้นเมืองทางตอนใต้ในสมัยก่อนนับถือศาสนาอิสลามอยู่แล้ว ในสมัยสุโขทัยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ที่เกิด การแข็งเมืองไม่ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ฉะนั้นรัชกาลที่ 1 จึงทรงโปรดให้กรมพระราชวังยกทัพไปปราบพม่าทางตอนใต้ และเลยไปตีเมืองปัตตานีทำ ให้ชาวมุสลิมบางส่วนถูกกวาดต้อนเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ถ้าหากเป็นเชื้อพระวงศ์ของทาง ปัตตานีจะมาอยู่ที่สี่แยกบ้านแขก ส่วนชาวเมืองทั่วไปจะอยู่ตามแถบถนนตกบ้านอูฐประตูนํ้าสามแยกท่าไข่ หรือถ้ามา ไม่ถึงกรุงเทพจะไปอยู่แถบจังหวัดเพชรบุรี นครนายก ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันได้ขยายตัวออกไปอยู่แถบจังหวัดชลบุรี บางส่วนที่มาเป็นเชลยได้แยกไปอยู่หลายแห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นแถวชานกรุง เช่น ธนบุรี ทุ่งครุ พระประแดง บางคอแหลม มหานาค พระโขนง คลองตัน มีนบุรี หนองจอก และจะมีอยู่แถบอำ เภอท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรีอีกด้วย วัตถุประสงค์ใน การเอาเชลยปัตตานีขึ้นมาด้วยก็เพื่อต้องการเพิ่มพลังพลเมือง เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการก่อสร้างกรุงเทพฯ ยังไม่มีความมั่นคงนัก พลเมืองมีไม่มากพอต่อความต้องการของบ้านเมือง และต้องประสบปัญหาภัยสงครามอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้นมีการอพยพเชลยชาวปัตตานีถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2329 และปี พ.ศ. 2334 เพื่อต้องการให้กำลังพลเพิ่มขึ้นในเมืองหลวง และให้ปัตตานีนั้นมีกำลังน้อยลงเพื่อไม่ให้ ทำสงครามก่อกบฏต่อไทยอีก สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดความไม่สงบอีก ทำ ให้มุสลิมจาก ไทรบุรี ปัตตานีถูกกวาดต้อนขึ้นมาบริเวณนครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงอีกครั้ง ทำ ให้มุสลิมกระจัดกระจาย อยู่บริเวณภาคกลาง เป็นผลสืบเนื่องมาจากสงคราม และการสู้รบตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น —• กลุ่ มที่ 2 มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวอาหรับเปอร์เซีย คนอาหรับเปอร์เซียส่วนมากชำ นาญการเดินเรือ ทำ มาค้าขาย จนมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทยในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ทางตอนใต้ได้มีการไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้นชาวมุสลิมในทางภาคใต้จึงมีบรรพบุรุษที่มาจาก อาหรับเปอร์เซีย ที่มีทั้งนิกายสุหนี่และนิกายชีอะห์ สำ หรับนิกายชีอะห์นั้นส่วนหนึ่งเผยแพร่สู่ประเทศไทยโดยชาวอิหร่าน ที่มาทำการค้าขาย ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์อยู่จำ นวนหนึ่ง ที่มีอยู่มากคือในแถบเจริญพาศน์ กรุงเทพ มหานคร และอิทธิพลอย่างหนึ่งของบรรดาชาวเปอร์เซียที่มาอยู่ คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในศิลาจารึกมีบอกว่า มีตลาด ประสาน หมายถึง ตลาดขายของแห้ง นักวิชาการหลายท่านเชื่อกันว่ามาจาก “บาซา” หรือตลาดบาซานั่นเอง เมื่อสมัย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163 มีเชคอะหมัดได้เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพาณิชย์ ช่วยปรับปรุงงานราชการ


ด้านกรมท่าขวาและได้เป็นจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าเข้าออก ดูแลเรือและการระหว่างประเทศ ดูแลกิจการ งานศาสนาอิสลามในประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมมาตลอดจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ จะพบว่ามีผู้คนเข้ารับราชการในสมัยนั้นเป็นมุสลิมสายเปอร์เซียทั้งหมด ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังที่กล่าวมาแล้วว่า ที่เรียกว่า “แขกเทศ” หรือ “แขกแพ” เพราะนิยมสร้างแพตามริมฝั่งแม่นํ้าเพื่อทำการค้าขาย เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากแขกแพเป็นนักเดินเรือ ลูกหลานสุลต่านสุไลมานจึงมีชาติตระกูลดีเพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการกันหลายสกุล เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้กับชาวพม่า ชาวมุสลิมที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ยังคงใช้แพเป็นที่ค้าขายและใช้มัสยิดบางกอกใหญ่หรือ มัสยิดต้นสนเป็นที่ประกอบศาสนกิจ ปัจจุบันชาวมุสลิมเปอร์เซียกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่แถวมัสยิดผดุงธรรม ซอยกุฎีจีน และเจริญพาศน์แถวฝั่งธนบุรี —• กลุ่ มที่ 3 เป็นมุสลิมที่มีเชื้อสายมาจากชวา โดยที่อินโดนีเซียได้มีการพบชามสังคโลก ซึ่งอยู่ในลักษณะที่สมบูรณ์มากกว่าอยู่ที่เมืองไทยมาก เพราะที่เมืองไทย ส่วนมากที่พบนั้นเป็นเครื่องสังคโลกที่เผาแล้วคุณภาพไม่ดีจึงไม่ได้ส่งออก ที่ส่งออกนั้นจะไปพบที่ต่างประเทศซึ่งคุณภาพดี กว่ากันมาก คาดกันว่าชาวชวาที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้ปรากฏขึ้นมาใน ประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และหลังจากนั้นไม่ถูกกล่าวขานอีกเลย โดยคาดว่าน่าจะถูก กลืนไปกับกลุ่มเชื้อสายมาเลย์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการกล่าวว่ามีชาวชวาเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือใบและเรือกลไฟ โดยเข้า มาเพื่อการทำมาหากิน ค้าขาย ซึ่งอัตราค่าจ้างของชนชั้นแรงงานในไทยขณะนั้นสูงกว่าชาวชวาถึง 3 เท่าและรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสที่ชวาด้วย เมื่อสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวชวาได้เดินทางเข้ามาตั้งแหล่งในประเทศไทยด้วยความสมัครใจ และในระหว่างสงครามโลกชาวอินโดนีเซียก็ถูกญี่ปุ่น เกณฑ์มาสร้างรถไฟสายมรณะ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามเศรษฐกิจ และสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้ การปกครองของฮอลันดา ชาวชวาจึงได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในแถบชนะสงคราม บางขุนพรหม สามเสน ดุสิต นางเลิ้ง ปทุมวัน บ้านทวาย สาทร บางรัก สำราญราษฎร์ สามยอด พาหุรัด และป้อมปราบศัตรูพ่ายเป็นต้น ชาวชวาเหล่านี้ก็ได้หนีทัพ บางกลุ่มก็ไม่ได้กลับประเทศ อยู่ที่เมืองไทยต่อและบางส่วนก็ได้อพยพออกนอกประเทศ เนื่องจากปัญหาการเมือง —• กลุ่ มที่ 4 มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากจาม หรือเขมร ในอดีต จามมีประเทศเป็นของตัวเอง ปัจจุบันเป็นเผ่าพันธุ์ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อขาดแคลนทหาร ได้มีทหารอาสามาแทนทหารไทยมาจากจาม กัมพูชาที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกกันว่า “แขกครัว” เพราะอพยพกันมา เป็นครอบครัว สาเหตุที่เข้ามาเนื่องจากถูกเวียดนามรุกราน เมื่ออาณาจักรจามปาพ่ายแพ้ให้กับเวียดนามชาวจามส่วนหนึ่ง จึงหลบออกมาจากประเทศ และเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกชาวจามบางคนได้ถูกจับเป็นเชลยด้วย บางคนจึงเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่ คลองแสนแสบที่เรียกว่า เจริญผล ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจามส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาตามพระยาอภัยภูเบศร์ ซึ่งเป็นผู้ สำเร็จราชการเมืองเขมรในขณะนั้นและอพยพมาพร้อมกับท่านและตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณบ้านครัว ตั้งแต่เจริญผลตรง สนามกีฬาแห่งชาติไปแถวอุรุพงษ์ ส่วนแหล่งอื่นก็มีที่ถนนเจริญนคร อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด และบางส่วนที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี —• กลุ่ มที่ 5 กลุ่ มมุสลิมที่มีเชื้อสายมาจากเอเชียใต้ มีหลักฐานกล่าวว่า สมัยอยุธยามีชาวอินเดียที่เข้ามาค้าขายแล้วเกิดความมั่งคั่งจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการทำ สนธิสัญญากับมหาอำนาจต่าง ๆ มีมุสลิมจากอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถานมาตั้งถิ่นฐานในไทยมากขึ้น โดยยึดถืออาชีพ ค้าขาย เมื่อมาอยู่ในเมืองไทยจึงขอเป็นคนในบังคับต่างชาติเพื่อจะได้ประกอบอาชีพสะดวกขึ้นเพราะมหาอำนาจได้ทำสนธิ สัญญาไว้กับไทยทำให้คนเหล่านี้ได้ไปตั้งถิ่นฐานในแหล่งสำคัญ อาทิ บางรักราชวงศ์ เยาวราช วรจักร สีลม พวกมุสลิม ที่มาจากเอเชียใต้เหล่านี้นิยมสร้างเรือนในแถบที่มีมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่แล้วที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง อาทิ ในแถบเขต สัมพันธวงศ์ วัดตึก ฝั่งธนบุรี เป็นต้น และบางท่านได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองด้วย 34 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 35 —• กลุ่ มที่ 6 กลุ่ มเป็นมุสลิมที่มาจากเชื้อสายจีน ชาวจีนได้เข้ามาประเทศไทยทางภาคเหนือที่ติด กับไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงราย ลำ ปาง ลำ พูน แม่ฮ่องสอน และที่อื่น ๆ และมักจะเรียกมุสลิมเหล่านี้ว่า “มุสลิมจีนฮ่อ” ซึ่งอพยพมาจากจีนทางตอนใต้ หรือยูนนาน หลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง นายพลเจียง ไคเชค ต้องอพยพรัฐบาลของตนไปอยู่เกาะไต้หวัน และเมื่อจีน ถูกยึดครองโดยเหมา เจ๋อตุง กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป และ ไม่อนุญาตให้นับถือศาสนาใดเลย มีกองพลที่ 93 ซึ่งตั้งอยู่ ทางตอนใต้เป็นทหารของจีน ก๊กมินตั๋งเป็นมุสลิมไม่อาจอยู่ ในประเทศจีนได้อีกต่อไป จึงย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่แถว อำ เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทหารจีนจากกองพล 93 ส่วนมากเป็นมุสลิม เช่นเดียวกับจีนฮ่อที่อยู่เมืองไทย มาช้านานแล้ว และได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบภาคเหนือ เช่น มุสลิมที่ปาย แม่ฮ่องสอน ภาพที่ 2.19 มุสลิมจีนฮ้อ หมู่บ้านกองพล 93 ภาพที่ 2.20 เมืองเมกกะ เป็นสถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของชาวมุสลิม มุสลิมในจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อประมาณ 100 ปีเศษที่ผ่านมา ได้มีมุสลิมชาวปาทานครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกในครอบครัว 4 - 5 คน เดินทางมา จากกรุงเทพมหานคร ได้มาตั้งรกรากที่ตำ บลปากนํ้าโพบริเวณด้านหลังอำ เภอเมืองปัจจุบัน โดยประกอบอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ และฆ่าโคกระบือจำ หน่ายในเขตอำ เภอเมืองนครสวรรค์ ต่อมาได้มีมุสลิมชาวปาทานอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาอยู่ ในจังหวัดนครสวรรค์อีกหลายครอบครัว และในเวลานั้นตลาดปากนํ้าโพการค้าขายดีมากมีเรือแพผ่านไปมาหนาแน่น


36 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 บริษัทค้าไม้ซุงของฝรั่งมีมาตั้งทั้ง 2 ฝั่งแม่นํ้า ดังนั้นมุสลิมปาทานจึงเข้าทำ งานกับบริษัทฝรั่งโดยเป็นหัวหน้าคนงานวัดไม้ซุง และเป็นยามตูบริษัท และแพซุงที่พักอยู่ที่ท่านํ้าในระยะนั้นได้มีมุสลิมเชื้อสายมลายูจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอพยพ ขึ้นมาอยู่เป็นหลักแหล่งอีก 2 - 3 ครอบครัว โดยอยู่บนเรือนแพในแม่น้าน่านหน้าวัดตะแบกปัจจุบัน โดยมีอาชีพทำ ํ เทียนหอม สำ หรับอบขนมเทียนสีผึ้ง และนํ้าอบไทยสีผึ้งสำ หรับสีปากจำ หน่าย ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏพบเห็น ส่วนมุสลิมชาวบังกลาเทศที่จังหวัดตากได้อพยพลงมาตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกับมุสลิมปาทาน 2 - 3 ครอบครัว โดยยึดอาชีพขายโรตีกับนํ้าชาเป็นร้านเล็ก ๆ ในเขตอำ เภอเมืองนครสวรรค์ ในระยะเวลานั้นได้มีมุสลิมชาวอินเดียเดินทาง ขึ้นมาจากกรุงเทพมหานครได้เปิดห้างขายผ้าที่ใหญ่โตของจังหวัดนี้ (ตั้งอยู่ที่ห้างนาฬิกาเมืองไทยปัจจุบัน) อีกหนึ่งครอบครัว ภาพที่ 2.21 นายกมล หนุ่มรักชาติ อีหม่ามประจำ มัสยิดปากีสถานนครสวรรค์ คนเก่าคนแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดรู้จักมุสลิมชาวอินเดียผู้นี้ดี ในนาม “นายห้างมูซายี” ได้เลิกกิจการไปในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกลับไปกรุงเทพมหานคร ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2457 ได้มีมุสลิม ชาวปาทานหลายครอบครัวจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาทำ มาหากินใน จังหวัดนครสวรรค์เพิ่มขึ้น เพราะเป็นทำ เลที่เหมาะสมแก่การค้าขาย และเลี้ยงปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะเดินทางขึ้นมาจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดตาก จังหวัดตากนั้นเป็นประตูที่มุสลิม ปาทานเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยมากจังหวัดหนึ่งในระยะเวลานั้น จังหวัดนครสวรรค์มีมุสลิมทำ มาหากินอยู่ประมาณ 7 - 8 ครอบครัว ประชากรมุสลิมประมาณ 10 - 18 คน ผู้อาวุโสจึงได้ปรึกษากันเพื่อหา วิธีที่จะสร้างสถานที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้า (มัสยิด) และจัดซื้อที่ดินเป็น สุสานขึ้นพี่น้องมุสลิมทุกครอบครัวได้เสียสละเงินตามแต่กำ ลังทรัพย์ ของแต่ละครอบครัวเพื่อซื้อที่ดินเพื่อสร้างเป็นมัสยิด และสุสาน เมื่อซื้อ ที่ดินได้เรียบร้อยแล้วจึงก่อสร้างมัสยิดขึ้นเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงที่ดิน 71 ตารางวา (ตั้งอยู่ในที่ที่มัสยิดปากีสถานนครสวรรค์ตั้งอยู่ ณ ปัจจุบันนี้) ส่วนสุสานนั้นมีเนื้อที่ 2 ไร่ กับ 2 งานเศษ ภาพที่ 2.22 มัสยิดชุมชนมุสลิมดอยวารี จังหวัดเชียงราย


นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 37 ปัจจุบันสุสานนี้อยู่ด้านหลังโรงแรมสตาร์อินน์ ถนนดาวดึงส์ มัสยิดเรือนไม้นั้นเวลานั้นไม่ได้จดทะเบียนกับทาง ราชการ พ.ศ. 2500 (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) มุสลิมในจังหวัดมีจำ นวนเพิ่มขึ้นประกอบกับมีมุสลิมเชื้อสายมลายูบังกลาเทศ พาครอบครัวเข้ามาทำ มาหากินในจังหวัดนครสวรรค์อีกหลายครอบครัว เพราะเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ทำ มาหากินง่าย เหมาะแก่การค้าขาย จึงปักหลักอยู่ ณ จังหวัดนี้ตลอดมา ตัวอาคารไม้มัสยิดเริ่มคับแคบต่อการนมัสการ (ละหมาด) ต่อ พระองค์อัลลอฮ์ในวันศุกร์และวันอีดทั้ง 2 วัน (คือวันสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนและวันเชือดสัตว์พลี) ดังนั้น ผู้มีอาวุโสได้ปรึกษากันและมีความเห็นให้สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้น ณ ที่เดิมเป็นอาคารคอนกรีตทันสมัยสวยงามบรรจุผู้เข้า มาทำ พิธีละหมาด (นมัสการ) ได้ประมาณ 250 คน โดยให้ชื่อว่า มัสยิดปากีสถานนครสวรรค์ ได้จดทะเบียนกับอำ เภอเมือง นครสวรรค์ถูกต้อง ทำการเปิดป้ายมัสยิดโดยท่านจุฬาต่วน สุวรรณศาสตร์ ซึ่งเป็นจุฬาราชมนตรีในขณะนั้น (พ.ศ. 2503) ปัจจุบันเปิดให้สัปบุรุษของมัสยิดและผู้เดินทางผ่านไปมาเข้าทำ การละหมาดได้ตลอดทั้งวัน 5 เวลา ทุกวัน ส่วนวันศุกร์มีละหมาดและมีการบรรยายธรรมเป็นภาษาไทย ส่วนคุตบะฮ์นั้นอ่านเป็นภาษาอาหรับทั้ง 2 ตอนตามแบบอย่าง ของท่านศาสดามุหัมมัด คอลฯ เวลานี้ทางมัสยิดได้รับบริจาคที่ดินประมาณ 2 ไร่อยู่ห่างจากมัสยิดประมาณ 3 กิโลเมตร ทางถนนสายไปจังหวัดพิษณุโลกตรงข้ามโรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม มีอาคารสำ หรับห้องสอนด้านศาสนา และจัดอบรม เยาวชนในภาคฤดูร้อน มุสลิมในจังหวัดนครสวรรค์มีประมาณ 85 ครอบครัว มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม 1,216 คน กระจายอยู่ ในอำ เภอต่าง ๆ ของจังหวัด แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอำ เภอเมืองนครสวรรค์ ชาวมุสลิมจะเดินทางมาร่วมกันทำละหมาด วันศุกร์ และวันสำคัญทางศาสนาที่มัสยิดปากีสถานนครสวรรค์เป็นประจํา คือ วันซีดละศีลอดหรือวันสิ้นสุดการถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน และวันอีดกุรบาน คือ วันเชือดสัตว์พลี ภาพที่ 2.23 การละมาดของชาวมุสลิมนครสวรรค์ในพิธีกรรมตรุษอีติลอัฎฮา (สัตว์พลี) ภาพที่ 2.24 วันอีติลอัฎฮา หรือวันเชือดสัตว์ที่ใช้ในการเชือดพลี ได้แก่ อูฐ วัว หรือแพะ โดยการแจกจ่ายเนื้อเพื่อเป็นทานแก่ญาติมิตร เมื่อ 24 ก.ย. 2558 ข้อมูลอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม 1) การแต่ งกายของมุสลิมและมุสลิมะฮฺ ในอิสลาม วัตถุประสงค์สำคัญของการแต่งกาย คือ การปกปิดสิ่งพึงละอายของร่างกายโดยเฉพาะร่างกายของ ผู้หญิง ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือนร่างเพศหญิงกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้ชายซึ่งจะก่อให้เกิด ความเสียหายขึ้นมาในสังคม


2) การละเล่ น การละเล่น และการรื่นเริงนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่มนุษย์มานานแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อผ่อนความเครียดให้ลดลงจากงานการ ประจำ วันที่ผ่านมา แต่กระนั้นเองย่อมมีขอบเขตซึ่งอิสลามได้มีกล่าวไว้เช่นกัน การละเล่นที่เป็นที่อนุญาตมีหลายประการ ตั้งแต่อดีตมา แต่ในปัจจุบันได้สูญหายไปและยังไม่ได้ฟื้นฟูนำกลับมาเล่น เช่น (1) แข่งอูฐ (2) แข่งม้า (รอซูลุลลอฮฺ มีม้าฝีเท้าดีที่ชนะการแข่งขันอยู่เสมอ) (3) แข่งวิ่ง คือ (ท่านรอซูลุลลอฮฺ วิ่งแข่งกับภรรยาของท่าน คือ ท่านหญิงอาอิชะฮรอฎิยัลลอฮุอันฮา) (4) ยิงธนู (หะดีษรายงานโดยญะมาอะฮอิมามทั้งห้า) ทั้งนี้การละเล่นดังกล่าวไม่พบเห็นแล้วในปัจจุบัน 3) ความเชื่อของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าที่ไม่มีสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ มีเอกลักษณ์เป็นพิเศษเพียงพระองค์เดียวผู้ซึ่งไม่มี พระบุตรหรือบริวารและไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสักการบูชานอกจากพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น 4) อาหารอิสลาม อาหารอิสลามจะต้องเป็นอาหารฮาลาล คือ อาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์นั้น จะต้องเป็นเนื้อฮาลาล และไม่เจือปนสิ่งฮะรอม เช่น เหล้า หรือไขมัน หมู เป็นต้น เนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ ฮาลาลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่านการเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลาม 5) ลักษณะการสร้ างที่อยู่ อาศัย บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวไทยมุสลิมเป็นแบบบ้านทั่ว ๆ ไป แต่จะมีสัญลักษณ์เป็นรูปดาว - เดืยน หรือโดมอยู่ที่ หน้าบ้าน ประตูหน้าบ้าน หรือรั้วบ้าน เนื่องจากดาว - เดือน เป็นตัวกำ หนดการนับวันเวลาของชาวไทยมุสลิม การออกแบบ รูปทรงหลังคาให้ลาดเอียงมากเพื่อระบายนํ้าฝนจากหลังคา การใช้ตอม่อ หรือฐานเสาแทนที่จะฝังเสาเรือนลงไปในดิน ตัวเรือนจึงนิยมมีบันไดไว้ทั้งทางขึ้นหน้าบ้าน และทางขึ้นครัว โดยทั่วไปผู้ชายจะใช้บันไดหน้า ส่วนผู้หญิงจะใช้บันไดหลังบ้าน รวมทั้งเป็นการไม่รบกวนแขกในการเดินผ่านไปมาอีกด้วย ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือ การสร้างเรือนโดยการผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อนแล้วจึงนำส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อต้องการย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น ๆ ตัวเรือนก็สามารถแยกออกได้เป็นส่วน ๆ เสาเรือนจะไม่ฝังลงดิน แต่จะเชื่อมต่อกับตอม่อ หรือฐานเสาเพื่อป้องกันปลวกเนื่องจากมีความชื้นสูงมาก 6) ดนตรีในอิสลาม การตีกลอง และเครื่องเล่นดนตรีที่คล้าย ๆ กันย่อมเป็นสิ่งมุบาห์ (อนุมัติ) การฟังเพลงที่มีเครื่องดนตรีขับร้องนั้น เป็นสิ่งที่มุบาห์ ตราบใดที่ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอารมณ์ (มีเนื้อหาที่ทำ ) ให้หลงผิด เกี้ยวพาราสี ตลกทะลึ่ง พร้อมด้วยมี การดื่มสุราเมรัย มีการเต้นรำ และก่อให้เกิดการกระทำความชั่ว หรือนำ เสียงเพลงไปเป็นสื่อให้กับสิ่งที่ฮะรอม ทำ ให้ตกอยู่ ในสิ่งที่ถูกตำ หนิต่าง ๆ หรือทำ ให้ละเลยจากภาระหน้าที่จำ เป็น สําหรับเสียงตีกลอง หรือเสียงดนตรีที่เป็นสายนั้น ไม่พบว่ามีหลักฐานมาอนุญาต และมาห้ามเลยไม่ว่าจะ เป็นหะดิษที่ซออิห หรือไม่ชอฮิ ก็ไม่ได้ระบุไว้เลย และบรรดาผู้ที่กล่าวฮะรอมที่ได้ทำการรายงานในการห้ามนั้นไม่ได้รับ การยืนยันที่ซออิห จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ช๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเลย และบรรดาบุคคลยุคก่อนถือว่าอนุญาตให้ฟัง เครื่องดนตรีได้ เนื่องจากไม่มีหลักการของศาสนามาระบุห้าม และระบุอนุญาตเพราะหลักเดิมแล้วสรรพสิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องมุบาห์ 38 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2


Click to View FlipBook Version