7) ประเพณีของอิสลาม ประเพณีการเกิด เป็นการจัดเครื่องบูชาหมอประกอบด้วย หมากพลู ยาเส้น และเงินตามสมควรเพื่อจัดทำ พิธี สู่ขวัญเด็กเกิดใหม่ การคลอดเมื่อถึงกำ หนดคลอด ประเพณีแต่ งงาน ภาษาอาหรับ เรียกว่า นิกะห์ เป็นการทำ พิธีแต่งงานตามหลักเกณฑ์ และข้อบังคับของศาสนา อิสลามเห็นสมควร ฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง เรียกว่า มาโซะมีเดาะ มีการตกลงระหว่างผู้ใหญ่ ทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับสินสอดทองหมั้น และกำ หนดวันหมั้นขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้อัลเลาะห์ให้พรแก่คู่บ่าวสาว จบแล้วอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้าบ่าวว่าตามหลักศาสนานั้นผู้เป็นสามีต้องเลี้ยงดูภรรยา และอยู่ ร่วมกันตามหน้าที่ของสามีภรรยา จากนั้นมีการลงชื่อโต๊ะอิหม่ามเจ้าบ่าวเจ้าสาวบิดาฝ่ายหญิง และพยานในหนังสือสำคัญ เป็นหลักฐานเป็นอันเสร็จพิธี ประเพณีการเข้ าสุหนัต เป็นการปฏิบัติตามนบี ที่ได้เคยทำ มา หมายถึง เข้าอิสลามหรือพิธีขลิบหนังปลาย อวัยวะเพศชาย การเข้าสุหนัตชายมักจะทำการเข้าสุหนัตในระหว่างอายุ 1 ขวบ ถึงอายุ 15 ขวบ หญิงจะเข้าสุหนัตตั้งแต่ คลอดใหม่ ๆ จนอายุไม่เกิน 2 ขวบ ภาพที่ 2.25 แผนที่วัฒนธรรมชาติพันธุ์มุสลิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ภาพที่ 2.26 มัสยิดปากีสถานนครสวรรค์ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 39
4. ชาติพันธุ์ญวน ชาวเวียดนามใช้เวลายาวนานในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยและกระจายกันอาศัยอยู่เกือบทั่วประเทศไทย คือ นับตั้งแต่ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยอยุธยาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัตนโกสินทร์ จำ นวนชาวเวียดนามได้เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่สำ คัญกลุ่มหนึ่งของประเทศ ก่อนสมัย กรุงรัตนโกสินทร์นั้นไม่อาจทราบรายละเอียดเรื่องของการเข้ามาในไทยของชาวเวียดนามมากนัก แม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เองก็ค้นคว้าได้แต่เฉพาะหลักฐานเกี่ยวกับชาวเวียดนามที่เข้ามาเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เท่านั้น ณ ที่นี้จึงจะศึกษาและจำ แนก ประเภทชาวเวียดนามด้วยการพิจารณากลุ่มชาวเวียดนามที่สำคัญ ที่พำ นักตามแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ในกรุงเทพฯ จันทบุรี ระยอง ชลบุรี อยุธยา กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม และพิจารณาจากสาเหตุที่ทำ ให้ ชาวเวียดนามเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ประกอบกับลักษณะการเดินทางมาเท่านั้น สาเหตุที่ชาวเวียดนามเข้ามาในประเทศไทย การที่ชาวเวียดนามต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ ส่วนใหญ่อพยพเพื่อลี้ภัยทางการเมืองและการเบียดเบียนศาสนา อีกทั้งถูกกวาดต้อนเข้ามา ในฐานะเชลยศึกสงคราม ทั้งสองประการแตกต่างกัน ประการแรกชาวเวียดนามมาด้วยความสมัครใจแบบหนีร้อนมาพึ่งเย็น แต่ประการหลังนั้นโดยทั่วไปถูกบังคับเข้ามา ชาวเวียดนามสมัครใจเข้ามาในประเทศไทยเพราะไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีเสถียรภาพ อุดมสมบูรณ์และเป็นที่อาศัยอยู่อย่างสงบสุขได้ สำ หรับพวกเวียดนามลี้ภัยนั้นไม่มีทางเลือกอื่นใดที่ดีกว่า จะเดินทางมาทางตะวันตกเข้ามายังดินแดนไทยเพราะทางตะวันออกของเวียดนามเป็นทะเลจีนใต้ การอพยพเข้ามาเพื่อ ลี้ภัยทางการเมืองและศาสนา ถึงไม่สามารถกำ หนดได้อย่างแน่ชัดว่าชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) กษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา มีหมู่บ้านชาวเวียดนามตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านชาวต่างชาติประเทศอื่น ๆ ในอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกเวียดนาม อาศัยในกรุงศรีอยุธยา เป็นชาวโคชินจีนเป็นส่วนมาก หมู่บ้านชาวเวียดนามเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ค่ายชาว โคชินไชน่า” ทั้งนี้เป็นไปได้ว่าชาวโคชินจีนสามารถเดินทางมากรุงศรีอยุธยาได้โดยทางทะเล ซึ่งสะดวกกว่าพวกเวียดนามจากอันนัมหรือ ตังเกี๋ยที่ต้องเดินทางบก ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้มีชาวเวียดนามพากันเดินทางมาจากอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินจีน ทั้งทางบกและทางเรือมาอาศัยยังอยุธยาและจันทบุรี และส่วนน้อยเดินทางไปยังพิษณุโลก มะริด ตะนาวศรี การเดินทางไป ยังมะริดและตะนาวศรีนั้น บาทหลวงชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำ เข้ามาเพื่อฝึกสอนศาสนาและพร้อมกันนั้นก็ได้ลี้ภัยทางศาสนาด้วย สาเหตุที่ชาวเวียดนามต้องลี้ภัยเข้ามาในสมัยนี้เป็นเพราะในเวียดนามเกิดการสู้รบชิงอำ นาจระหว่างตระกูลตรินท์ ซึ่งปกครอง อยู่ในตังเกี๋ยและตอนเหนือของอันนัม กับตระกูลเหงียน ซึ่งปกครองอันนัมตอนใต้และโคชินจีนในเวลาต่อมา การสู้รบ กินเวลากว่าครึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2163 - 2217) นอกจากนั้นพวกเวียดนามยังต้องลี้ภัยศาสนาด้วย เพราะทั้งสองตระกูลมีนโยบายกดขี่ข่มเหง พวกที่นับถือคริสต์ศาสนา หมายถึง บาทหลวงนักสอนศาสนาชาวตะวันตกและ พวกเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา สำ หรับประเทศไทยในขณะนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระราโชบายส่งเสริม การค้าขายและการเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศทรงให้เสรีภาพทางการค้าและทรงมีขันติธรรมทางศาสนา จึงดึงดูดให้ชาวต่างประเทศเข้ามาและพักอาศัยเป็นอันมากดังที่ ซีโมน เดอ ลา ลูแบร์ (Simone De la Loubere) ราชทูต ฝรั่งเศสในคณะทูตชุดที่ 2 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2230 กล่าวไว้ในจดหมายเหตุ ของเขาว่า “ชาวต่างประเทศมีจำนวนมาก อพยพมาจากบ้านเมืองต่าง ๆ โผเข้ากรุงสยามแต่กาลก่อน เพราะข้อที่มี ความชอบธรรม มีอิสระ ค้าขายได้ตามชอบใจมีผู้บอกเล่าว่า มหานครสยามมีมนุษย์ต่างชาติมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งทำมาหากินเลี้ยงชีพอยู่ถึง 40 ภาษา” ชาวต่างชาติที่ตั้งภูมิลำ เนาในกรุงศรีอยุธยาได้รับ “ความชอบธรรมที่จะเลี้ยงชีพ อยู่ตามยถาสุขได้ตามธรรมเนียมของตน สุดแท้แต่จะศรัทธาสักการะบูชาศาสนาไหนได้โดยสมัคร” 40 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2
นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แก่ผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยพระราชทานที่ดินให้ได้อาศัยอยู่ เป็นหมวดหมู่ตามพรรคพวกของชาติตน ที่ดินพระราชทานอยู่รอบนอกเขตพระนครห่างจากชุมชนที่อาศัยของชาวสยาม หมู่บ้านชาวต่างชาติ ได้แก่ ชาวโปรตุเกส จีน มลายู ญี่ปุ่น ฮอลันดา และเวียดนาม เป็นต้น หมู่บ้านชาวต่างชาติมักเรียกกัน ในหมู่คนไทยว่า “บ้าน” แต่ชาวต่างชาติเองเรียกว่า “ค่าย” การที่ชาวเวียดนามอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยานี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรงคุณธรรมดังกล่าว ชาวเวียดนามจึงพากันเข้ามาเพื่อหวังผลกำ ไรทางการค้าด้วย อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมาเมื่อได้เกิดการจลาจลสู้รบเพื่อชิงราชบังลังก์ใน พ.ศ. 2231 จึงทำ ให้ชาวเวียดนามจำ นวนหนึ่งอพยพ ออกจากกรุงศรีอยุธยาไป ต่อมาตลอดสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 - 2310) ไทยได้หันไปดำ เนินนโยบายไม่คบค้า กับชาวตะวันตกเช่นแต่ก่อน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2241 - 2251) เป็นต้นมา พระองค์ทรงชิงชัง ชาวตะวันตกโดยเฉพาชาวฝรั่งเศสและพวกที่นับถือคริสต์ศาสนาอย่างรุนแรง จนถึงกับมีการทารุณกรรมเพราะระแวงว่า จะเป็นผู้นำอันตรายมาคุกคามเอกราชของประเทศ แม้ว่าในปลายรัชกาลพระองค์จะทรงลดหย่อนความรุนแรงและทรง เมตตาให้ชาวเวียดนามได้อยู่อาศัยในที่เดิมและปฏิบัติกิจทางศาสนาได้ตามใจชอบก็ตาม ความสงบสุขที่เคยมีจึงถูกกำจัด ให้น้อยลงกว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งนี้ เนื่องจากชาวเวียดนามมีความสัมพันธ์กับบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติที่ ไทยระแวงว่าจะทำ ให้เกิดอันตรายได้ จำ นวนชาวเวียดนามที่ยังคงสมัครอยู่ในกรุงศรีอยุธยาจึงเหลือน้อยมากและที่เหลือ เป็นพวกที่ศรัทธาในศาสนาอย่างจริงจังเท่านั้น และอาจกล่าวได้ว่าชาวเวียดนามในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพวกที่ลี้ภัย ทางการเมืองและศาสนามากกว่าจะเข้ามาเพราะเห็นแก่ความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยเป็นจำ นวนมากและหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ในกรุงเทพฯ จันทบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเวียดนามในกรุงเทพฯ ได้อาศัยอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน เป็นกลุ่ม ๆ ที่สำคัญ คือ บ้านญวนพาหุรัด (ตำ บลบ้านหม้อ ถนนพาหุรัด) บ้านญวน ตำ บลบางโพ และบ้านญวน ตำ บล สามเสน เวียดนามพวกแรกที่เข้ามาเป็นพวกที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และได้รับพระราชทาน ที่นอกฝั่งพระนครทางตะวันออก คือ แถวถนนพาหุรัดในปัจจุบันให้เป็นที่อยู่อาศัย เรียกว่า บ้านญวนพาหุรัด เวียดนาม พวกนี้ ได้แก่ องเชียงชุน พระอนุชากษัตริย์เมืองเว้และบริวารซึ่งลี้ภัยทางการเมืองจากพวกกบฏไตเซินใน พ.ศ. 2321 (บ้างว่า พ.ศ. 2319) มาจากเมืองบันทายมาศหรือฮาเตียน หลักฐานระบุว่าต่อมาองเชียงชุนต้องพระราชอาญาประหารชีวิต พร้อมกับบริวารเพราะคิดหนีกลับเวียดนาม (บ้างว่าเป็นเพราะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน เข้าพระทัยว่า องเชียงชุนขโมยเพชรกลืนไว้ในท้อง ในพงศาวดารญวนกล่าวว่า องเชียงชุนถูกประหารเนื่องจากมีสลัดเวียดนามปล้นเรือ สินค้าไทยทำ ให้ทรงพิโรธ ประกอบกับที่พวกเขมรฟ้องร้องว่าองเชียงชุนเป็นไส้ศึกเวียดนาม) จำ นวนชาวเวียดนามที่ถูก ประหารชีวิตกับองเชียงชุนระบุไว้ว่ามี 54 คน ที่เหลือซึ่งไม่ปรากฏจำ นวนนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเนรเทศออกไป อยู่นอกเขตพระนครหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ชาวเวียดนามเหล่านี้กลับมาอยู่ในกรุงเทพฯ เช่นเดิม พร้อมทั้งทรงอุดหนุนพระราชทานเงินทอง เสื้อผ้า เสบียงอาหาร และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เดิม คือ ที่หนองระโหน ตำ บลบ้านหม้อ ถนนพาหุรัดในปัจจุบัน และที่ตำ บลบางโพ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2325 - 2352) องเชียงสือ หรือ เหงียนฟุกอันท์ เจ้าเมืองไซ่ง่อน นัดดาขององเชียงชุนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพร้อมข้าบริวารและทหารเวียดนาม โดยลี้ภัยกบฏไตเซิน มาเช่นกัน พำ นักอยู่ที่เกาะกระบือใน พ.ศ. 2324 พระยาชลบุรีลาดตระเวนพบเข้าจึงได้นำ มาเข้าเฝ้าใน พ.ศ. 2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกรุณาต่อองเชียงสืออย่างจริงจัง โปรดฯ ให้พำ นักอยู่กับบริวารที่ ใต้บ้านต้นสำ โรง ตำ บลคอกกระบือ (คอกควาย) ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา (ปากคลองผดุงกรุงเกษม) ทรงชุบเลี้ยง ํ เทียบเท่าเจ้าเขมร คือ พระราชทานเบี้ยหัวหวัดเงินปี ปีละ 5 ตำลึง เครื่องยศอันมีพานหมาก คนโท กลดคันสั้น บริวารญาติวงศ์ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 41
42 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 ที่ติดตามมาก็ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเช่นกัน และชุบเลี้ยงพวกเวียดนามข้าราชการให้ขึ้นกรมต่าง ๆ นอกจากนั้นทรงมี พระบรมราชโองการมายังเจ้าเมือง กรมการเมืองสมุทรปราการให้ปล่อยพวกเวียดนามที่เป็นพรรคพวกองเชียงสือเข้าออก ทำ มาหากินในท้องทะเลได้โดยสะดวก ในคราวที่ลี้ภัยมาครั้งแรกบริวารที่ติดตามมายังกรุงเทพฯ มีประมาณ 20 คน ต่อมา พวกเวียดนามที่สนับสนุนพระองค์ได้พากันทยอยเดินทางจากเวียดนามเข้ามาในไทย ส่วนมากพักอยู่แค่จันทบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงส่งกองทัพไปช่วยองเชียงสือสู้รบปราบปรามกบฏไตเซินในเวียดนาม สองครั้ง (พ.ศ. 2326 และ พ.ศ. 2327) (ในหลักฐานเวียดนามว่าช่วยครั้งเดียว) ปรากฏว่าพ่ายแพ้มาทั้งสองครั้งนั้น มีทหาร เวียดนามในกองทัพขององเชียงสือได้ติดตามองเชียงสือกลับมายังกรุงเทพฯ อีก ในครั้งนี้เป็นขุนนางและนายทหาร 28 คน เป็นทหารและกลาสีชั้นนายพลราว 200 คน มากับเรือสำ เภา 5 ลำ นอกจากนั้นพวกเวียดนามที่สวามิภักดิ์ต่อตระกูลเหงียน ก็ได้แตกซ่านเซ็นหลบซ่อนพวกไตเซินและพาครอบครัวลี้ภัยเข้ามาในเขตสยาม โดยเฉพาะพวกเวียดนามแคว้นโคชินจีน อาจประมาณจำ นวนได้ราวพันคน เมื่อจำ นวนเพิ่มมากขึ้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้า ให้องเชียงสือย้ายไปพำ นัก ณ ตำ บลโคกหลวง ชาวเวียดนามจำ นวนพันคนนี้ดูเหมือนว่าจะมากเกินไปและไม่น่าเป็นไปได้ แต่พงศาวดารญวนระบุว่า หลังจากที่เข้ามาในกรุงเทพฯ อีกครั้ง บรรดานายทหารที่ซ่องสุม ผู้คนอยู่นอกอาณาเขตสยาม มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณเมืองบันทายมาศ ได้เข้ามาติดต่อกับองเชียงสืออยู่เนือง ๆ ระหว่างนี้ทหารเวียดนามอีกประมาณ 600 คนเศษ ซึ่งนำ โดยลาวังกุน ทหารเอกขององเชียงสือได้พากันลงเรือเข้ามากรุงเทพฯ องเชียงสือไม่ได้พำ นักอยู่ในไทย อย่างเปล่าประโยชน์ ได้ตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยถวายขนิษฐภคินี เป็นข้าบาทบริจาริกา และอาสานำ กองกำ ลังทหารเวียดนามเข้าร่วมทำ สงครามกับพม่า ใน พ.ศ. 2329 โดยทำ หน้าที่ เป็นทัพหน้าจนได้รับชัยชนะ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าจำ นวนชาวเวียดนามขององเชียงสือน่าจะมีถึงพันคนได้ ใน พ.ศ. 2330 องเชียงสือช่วยปราบปรามกบฏแขกมลายู โดยใช้ให้ทหารเวียดนามต่อเรือรบสิบลำสำ หรับคอยท่ากบฏที่เกาะช้าง และให้ เลวังกุนนำกำลังช่วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาถปราบปรามจนสำ เร็จอีก อย่างไรก็ดีใน พ.ศ. 2330 องเชียงสือลอบหนีจากกรุงเทพฯ ไป โดยเรือ 4 ลํา พวกที่ติดตามไปมีแต่ญาติวงศ์และบริวารที่ใกล้ชิดซื่อสัตย์ประมาณ 150 คน ภายหลังแม้จะมีคนเวียดนามติดตามองเชียงสือออกไปช่วยรบในเวียดนามอีก จำ นวนคนเวียดนามบริวารองเชียงสือ คงเหลืออยู่ในสยามอีกเป็นจำ นวนมาก มีคนเวียดนามจำ นวนมากไม่เต็มใจที่จะกลับเวียดนามเพื่อไปสู้รบ เลือกที่จะอยู่ใน สยามต่อไป ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเวียดนามเริ่มชินกับชีวิตที่สงบสุขในกรุงเทพฯ การกลับไปเวียดนามเป็นการเสี่ยงชีวิต เพราะความหวังที่จะเอาชนะนั้นดูเลื่อนลอยเต็มที่ นอกจากนั้นพวกเวียดนามเหล่านี้เป็นทหารมาตัวเปล่าและได้แต่งงาน เป็นครอบครัวตั้งหลักแหล่งกับคนไทยในกรุงเทพฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงย้าย พวกเวียดนามเหล่านี้จากคอกกระบือมารวมอาศัยที่ตำ บลบางโพ เนื่องจากสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ ทรงขัดเคืองพระทัยพวกเวียดนามเป็นอย่างมากที่องเชียงสือลอบหนีไป หลังจากที่องเชียงสือจากไปไม่นานนัก เหงียนวินท์ดึก (Nguyen Huynh Duc) แม่ทัพญวนผู้เคยคุมทัพทางใต้ขององเชียงสือได้พ่ายแพ้พวกไตเซินใน พ.ศ. 2326 ลี้ภัยเข้ามาใน สยามโดยผ่านทางลาวพร้อมกับนำกำลังคนราว 5,000 คน เข้ามาถึงกรุงเทพฯ ด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงชักชวนให้เหงียนวินท์ดึกทำ ราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อเขายืนยันที่จะตามออกไปช่วยองเชียงสือ จึงทรง พระกรุณาจัดหาเรือเสาเรือใบให้ไป แต่เหงียนวินท์ดึกจำต้องทิ้งพวกเวียดนามที่แสดงความจำ นงจะอยู่ต่อไปในกรุงเทพฯ ไว้ เป็นที่เชื่อว่าราว 2 ใน 3 หรือจำ นวน 1,000 - 2,000 คน ตกลงใจเลือกอยู่ในกรุงเทพฯ พวกเวียดนามเหล่านี้ตั้งบ้านเรือน รวมกับพวกญวนบางโพ ส่วนพวกที่นับถือคริสต์ศาสนาอยู่ที่สามเสน พวกเวียดนามที่ตกค้างในกรุงเทพฯ รับราชการทหาร ในกองทัพสยาม โดยรับยศเทียบเท่ายศฝ่ายเวียดนามทงดุงเกียน (Thong Dung Gian) และโฮเดืองดัก (Ho Duong Dac) นายทหารเวียดนามได้รับเลือกเป็นหัวหน้าหมู่บ้านและผู้บังคับกองทหารขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 43 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - 2411) ได้มีคนเวียดนามลี้ภัยการเมืองและศาสนา อาศัยอยู่ในสยามเป็นจำ นวนมากและนับเป็นครั้งแรกในรัชกาลนี้ ที่สยามได้แสดงความเอาใจใส่เรื่องการลี้ภัยของคนเวียดนาม และกระตือรือร้นเตรียมรับเหตุการณ์ที่จะมีการลี้ภัยขึ้นอย่าง จริงจัง โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินดีรับ เอาชาวเวียดนามเอาไว้ในประเทศโดยมีพระบรมราชโองการว่า “...พวกญวนเข้ารีตที่เมืองเว้ เมืองโจดก และไซ่ง่อน มีมาก ตลอดขึ้นมาถึงเมืองโจด ลำนํ้า (เข้าใจว่าเป็นเมืองล่านำหรือ แง่อาน - ผู้เขียน) เมืองตังเกี๋ย เมืองกวางบิ่ง ต่อเขตแดน แขวงเมืองพวน แลหัวเมืองลาวฟากโขงตะวันออก ถ้าญวน เข้ารีตทนฝีมือญวนไม่ได้ คงพาครอบครัวหลบหนีมาทาง เมืองมหาไชย เมืองพวนกับเมืองหลวงพระบาง หนองคาย นครพนม เขตแดนติดต่อกัน ให้เจ้าเมืองหลวงพระบาง พระพนมนครา ปุริก พระประทุมเทวาภิบาลท้าวเพี้ยมีปัญญา คุมไพร่ออกลาดตระเวนพบปะญวนเข้ารีตแตกหนีมาก็ให้ พูดจาชักชวนเข้ามาไว้ในเมืองหลวงพระบาง เมืองหนองคาย เมืองนครพนมให้ได้จงมาก...” พวกเวียดนามลี้ภัยทางศาสนา ส่วนมากอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม เดินทางโดย ทางเรือเลียบมาทางชายฝั่งเขมรมายังบริเวณชายฝั่งตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ของสยามและได้กระจายกันอยู่เป็นกลุ่มตามเมือง สำคัญ เช่น จันทบุรี ขลุง ตราด ระยอง ชลบุรี สมุทรสงคราม ส่วนพวกที่เข้ามาตามลำ นํ้าเจ้าพระยาได้ขึ้นบกที่กรุงเทพฯ อยุธยา และนครสวรรค์ (ปากนํ้าโพ) จำ นวนผู้ลี้ภัยคราวนี้ มีประมาณ 5,000 คน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกเวียดนามที่ลี้ภัยทางการเมือง และพวกที่ลี้ภัยศาสนา เดินทางเข้ามาโดยผ่านทางอาณาจักรลาวและมาอยู่ในบริเวณ ริมฝั่งแม่นํ้าโขง พวกเวียดนามที่มาจากเมืองในเขตอันนัม ตอนเหนือ เช่น เมืองแทงห์หัว (Thanh Hua) เง่ห์อาน (Nghe An) และฮาติงฮ์ (Ha Tinh) มักมาอาศัยบนฝั่งซ้าย และฝั่งขวาของแม่นํ้าโขง พวกเวียดนามหลายร้อยคนได้อาศัย อยู่ที่เมืองท่าอุเทน ไชยบุรี หนองคาย นครพนม พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้ปกครอง หัวเมืองลาว จัดลาดตระเวนเกลี้ยกล่อมพวกเวียดนามลี้ภัย ที่เดินทางเข้ามาทางเขตลาวให้เข้ามาอยู่ในเขตสยามให้ได้มาก เช่นกัน อย่างไรก็ตามพวกเวียดนามที่เกลี้ยกล่อมมานั้น เป็นพวกเวียดนามที่หนีความอดอยากมาทั้งสิ้น ด้วยเนื่องจาก เกิดภัยแล้งในเวียดนามเป็นเวลานาน การเกลี้ยกล่อมดำ เนิน มาจนถึง พ.ศ. 2405 ปรากฏว่าได้คนเวียดนามเป็นจำ นวน 133 คน โปรดเกล้าให้ทำ มาหากินอยู่ในเขตเมืองนครพนม และสกลนคร ชาวเวียดนามที่ต้องลี้ภัยทางศาสนามายังสยามนั้น เนื่องจากการที่พระจักรพรรดิมินมางทรงนำ นโยบายการ กดขี่ข่มเหงพวกที่นับถือคริสต์ศาสนากลับมาใช้อีก ทรงออก พระราชกฤษฎีกาจนถึงขั้นประหัดประหารพวกที่นับถือ คริสต์ศาสนาโดยทั่วไปใน พ.ศ. 2377 อย่างไรก็ดีในสมัย พระจักรพรรดิมินมาง การข่มเหงพวกที่นับถือคริสต์ศาสนา ไม่เด็ดขาดรุนแรงเท่ากับในรัชกาลต่อมา คือ สมัยพระจักรพรรดิ ตือดึ๊ก (พ.ศ. 2391 - 2426) พระจักรพรรดิตือดึ๊กทรงใช้ นโยบายนี้ตอบโต้การแทรกแซงทางการเมืองการปกครอง เวียดนามของพวกบาทหลวง และนักสอนศาสนาชาวตะวันตก โดยให้ทำ ลายชีวิตและหมู่บ้านพวกเวียดนามที่นับถือคริสต์ ศาสนา ชาวเวียดนามเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาหลายพันคน ถูกประหารชีวิต เมื่อฝรั่งเศสใช้กำลังบุกเมืองท่าตูราน (ดานัง) เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2401 และรุกรานจนได้เข้าครอบครอง แคว้นโคชินจีนนั้น พระจักรพรรดิทรงเข้าพระทัยว่าพวก เวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนาสนับสนุนพวกฝรั่งเศส จึงทรง กดขี่กระทำการทารุณกรรมพวกเวียดนามเหล่านี้รุนแรงขึ้น “...ญวนได้ตั้งค่าย คอยจับญวนเข้ารีตฝรั่ง ที่ด่าน มีไม้กางเขนเป็นรูปพระของฝรั่ง ถ้าผู้ใดมาถึงด่านไม่ข้ามไม้ กางเขน ญวนจับว่าเข้ารีต ถ้าผู้ใดข้ามไปนายด่านปล่อยตัวไป ญวนจับได้ญวนเข้ารีตฝรั่งแล้วให้เฆี่ยน ถ้ามีพวกญวนเข้ารีต ตั้งแต่เมืองป่าศักตลอดจนมาจนถึงเมืองโจดก พากันสะดุ้งตื่น หลบหนี...เดี๋ยวนี้ญวนคิดกำจัดญวนเข้ารีตบันดาอยู่ในเขต แดนเมืองญวนทุกบ้านเมือง...” อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสเริ่มบุกเวียดนาม โดยยึดเมืองตูรานและเวียดนาม สู้รบกับฝรั่งเศสและพ่ายแพ้ จนต้องตกอยู่ในฐานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2427 ทำ ให้มีเวียดนามหลบหนีลี้ภัยสงครามเข้ามาอาศัยในสยาม เป็นจำ นวนมาก โดยเฉพาะเวียดนามที่หลบหนีการปกครอง ของฝรั่งเศสและพวกชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศส ซึ่งได้กลายเป็น ปัญหาสำ หรับสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
ประวัติการอพยพของญวนในนครสวรรค์ สําหรับชาติพันธุ์ญวนที่อพยพเข้ามาที่ปากนํ้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไม่มีบันทึกหลักฐานปรากฏที่แน่นอน เพียงแต่ ปรากฏข้อมูลจากการบอกเล่าว่า กลุ่มชาติพันธุ์ญวนกลุ่มหนึ่งที่นับถือศาสนาคริสต์ได้มีการรวมตัวและขยายกลุ่มมากขึ้น ได้มาจับจองที่ดินทางด้านฝั่งต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาบริเวณแม่นํ้าปิง และแม่นํ้าน่าน ในอดีตฤดูฝนแม่นํ้ามีกระแสไหลเชี่ยว ทำ ให้ตัดขาดบริเวณที่ดินดังกล่าวจนกลายเป็นเกาะซึ่งเกาะดังกล่าวจึงได้เรียกกันต่อ ๆ มาว่า “เกาะญวน” ซึ่งกลุ่มญวนนี้ ได้สร้างบ้านเรือนบริเวณริมน้าดังกล่าวโดยอาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ ในขณะนั้นมีประมาณ 80 หลังคาเรือน และในเวลาต่อมา ํ ในหน้านํ้าหลากเกาะญวนนี้ได้เกิดปัญหานํ้าท่วมเป็นประจํากลุ่มคนดังกล่าวได้ตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นฐานพร้อมไปตั้ง โบสถ์คริสต์ไปอยู่ที่หลังโรงเรียนวันทามารีย์ หรือโรงเรียนเซนโยเซฟในปัจจุบัน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบัน จุดเริ่มเกิดจากการพยายามของพระสังฆราช ปัลเลอกัว (ค.ศ. 1843) และพระสังฆราชดือปองค์ แห่งกรุงเทพฯ ที่จะขยายแพร่ธรรมไปทางทิศเหนือของประเทศสยาม เป้าหมายอยู่ที่เมืองเชียงใหม่แต่มีอุปสรรคมากมาย พระสังฆราช หลุยส์เวย์ (ค.ศ. 1877) สังเกตเห็นว่าที่จะไปถึงเชียงใหม่โดยตรงคงเป็นการยากลำ บากจึงได้ตั้งกลุ่มคริสตชนเป็นระยะ ๆ ขึ้นไป โดยยึดเอาแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นเส้นทางจึงจะสำ เร็จ โดยจากการสำ รวจกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มบ้านแป้ง ต่อมาคือ กลุ่มปากนํ้าโพ กลุ่มพิษณุโลก โดยคุณพ่ออันเดรพลอย และกลุ่มเชียงใหม่โดยคุณพ่อมิราแบล์ (MIRABEL) สําหรับคริสตชนกลุ่มแรกที่ย้ายมาอยู่ปากน้าโพนั้น ทราบเพียงแต่ว่าได้มีคริสตชนเชื้อสายญวนย้ายมาอยู่ที่ปากน ํ ้าโพํ กลุ่มหนึ่ง พอถึงปี ค.ศ. 1888 สมัยพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 พระคุณเจ้าเวย์ได้มีคำ สั่งให้คุณพ่อเจ้าวัดบ้านแป้ง คุณพ่ออีฟแก๊งตรึก มาเยี่ยมเยียนคริสตชนที่นี่เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นหกปีต่อมา (ค.ศ. 1894) การรวมกลุ่มของคริสตชน เข้มแข็งขึ้นคุณพ่อจึงได้ซื้อที่ดินริมฝั่งต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาซึ่งเป็นบริเวณที่แม่นํ้าปิง และแม่นํ้าน่านบรรจบกัน ต่อมาพื้นที่ บริเวณนี้มีกระแสนํ้าไหลเชี่ยวกราดมากในฤดูฝนทำ ให้นํ้าตัดขาดบริเวณที่ดินกลายเป็นเกาะกลางนํ้า ซึ่งเรียกกันมาติดปาก ชาวปากนํ้าโพว่า “เกาะญวน” (เกาะญวนนี้เองถูกสายนํ้าพัดหายไปในที่สุด) กลุ่มคริสตชนปากนํ้าโพ เป็นคริสตชนกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นที่ “เกาะญวน” กลางแม่นํ้าเจ้าพระยา เริ่มจากคริสตชน ประมาณ 10 ครอบครัว ในปี ค.ศ. 1895 สมัยของคุณพ่อแก๊งตริกผู้ที่มีความสามารถในการสร้างวัด ได้สร้างวัดน้อยที่ บนเกาะญวนขึ้นพร้อมกับโรงเรียนอีก 2 หลัง ทั้งหมดทำด้วยไม้ คุณพ่อได้เป็นเจ้าอาวาส 2 วัด คือ วัดบ้านแป้ง และปากน้าโพํ พร้อมกัน ต่อมาในสมัยคุณพ่อเทโอฟันท่านเห็นว่า “เกาะญวน” เป็นที่ตั้งของวัดหลังแรกถูกนํ้าเซาะจนเนื้อที่ของเกาะ ลดน้อยลงท่านจึงย้ายวัดขึ้นมาอยู่ในตัวเมือง บริเวณที่ตั้งอาสนวิหารนักบุญอันนาปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 1945) จนในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1967 กรุงโรมได้ประกาศจัดตั้งสังฆมณฑลนครสวรรค์ออกจากสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และได้แต่งตั้งพระคุณเจ้า มีแชล ลังเยร์ เป็นพระสังฆราชปกครอง พระคุณเจ้าลังเยร์ได้สร้างวัดหลังใหม่แทนวัดหลังเก่าที่ทรุดโทรมเป็นวัดอาสนวิหาร ชื่อว่า อาสนวิหารนักบุญอันนาในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นวัดหลังที่ 4 จนถึงปัจจุบัน (ศิริชาญ เอียงผาสุก สัมภาษณ์อ้างถึงใน สุชาติ แสงทอง, 2558) 44 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 ข้อมูลอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ญวน 1) ประวัติศาสตร์ ท้ องถิ่นของคนญวนที่เกาะญวน ในอดีตชุมชนญวนมีอาชีพทำ นาและการประมงเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการเข้ารับราชการทหาร รับจ้างต่อเรือ ปลูกบ้าน และอาชีพช่างไม้ ปัจจุบันคนในชุมชนนิยมประกอบอาชีพค้าขายอาหาร และสินค้าสำ หรับอุปโภคบริโภค เนื่องจาก บริเวณชุมชนใกล้กับสถานศึกษาจึงมีอาหารขายเป็นจำ นวนมาก อดีตเมื่อ 40 - 50 ปีที่ผ่านมา การแต่งงานในชุมชนญวน
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 45 2) พิธีกรรมทางศาสนา พิธีกรรมได้ลดบทบาทความสำคัญลงดังเช่น ในอดีตต้องสวดมนต์พร้อมกันตอนตี 5 แต่ปัจจุบันต่างคนต่างทำ งาน การสวดมนต์จึงไม่เคร่งครัดอย่างอดีต ใครจะสวดเมื่อใดก็ได้ การสวดมนต์ก่อนนอนจึงน้อยลงเนื่องจากครอบครัวต้อง ประกอบอาชีพ และในบางครั้งต้องทำ งานเลิกดึก การนับถือศาสนาของเด็กรุ่นใหม่เคร่งครัดน้อยลง เนื่องจากมีการแข่งขัน ด้านการศึกษามากขึ้น ผู้ปกครองจึงสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรโดยการให้บุตรได้เรียนพิเศษในวันเสาร์อาทิตย์ จึงไม่มีโอกาส ได้ประกอบศาสนกิจ นอกจากนี้ในครอบครัวที่ไม่ประสบผลสำ เร็จจะเข้าโบสถ์น้อยลงเพราะส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย แต่จะส่งบุตรหลานไปเรียนคำสอนทางศาสนาเนื่องจากอยากให้เด็กได้มีกิจกรรม และเป็นการปลูกฝังทางศาสนาไปในตัว เรื่องความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนมีความสนิทสนมกันน้อยลง เพราะต่างคนต่างทำ งานเพื่อยังชีพ คนที่สนิทกันในชุมชน จะมีเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ หรือสนิทสนมกันเพราะเป็นเครือญาติกันเท่านั้น นอกจากนี้คนในชุมชนจะเป็นคนดั้งเดิมน้อยลง เพราะมีคนนอกเข้ามาเช่าบ้านของชาวคริสต์ที่มีสิทธิในการถือครองที่ดินซึ่งย้ายออกไปอยู่นอกชุมชน และปล่อยบ้านให้เช่า มากขึ้น และคนที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นคนไทยพุทธมากกว่าชาวคริสต์ ความเป็นมาของประเทศและพัฒนาการของวัฒนธรรม เวียดนาม เวียดนามเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนเยื้องไปทางทิศตะวันออกของไทย คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก เวียดนามในนามอนัม และญวน คำว่า เวียดนาม เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งเกิดสงครามเวียดนามในปี พ.ศ. 2504 นักวิจัยชาว เวียดนาม และชาวต่างชาติต่างมีความเห็นในเรื่องต้นกำ เนิดของชนชาติเวียดนามแตกต่างกันไป บางท่านให้ความเห็นว่า ชาวเวียดนามเป็นชาวพื้นเมือง หรือมีพื้นเพมาจากเมืองจีน บ้างว่ามีการสืบสายตระกูลมาจากชนเผ่าหลากเวียดซึ่งอพยพ มาจากฝั่งทะเลมณฑลฝูเจี้ยนของจีน มักจะเกิดจากการเห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมากกว่าแต่ปัจจุบันผู้ใหญ่จะให้อิสระแก่หนุ่มสาวในการเลือกคู่ครอง ในอดีตฝ่ายชายจะเป็นใหญ่และมีบทบาทมากกว่า ฝ่ายหญิงมีบทบาทในบ้าน คือ ดูแลบ้านทำ งานบ้าน บริหารค่าใช้จ่าย และอบรมสั่งสอนลูก แต่ปัจจุบันฝ่ายชายยกย่องให้เกียรติภรรยามากขึ้น สามีภรรยามีความเสมอภาคกัน คือ สามีจะรับฟัง ความคิดเห็นของภรรยา และทั้งสามีภรรยาช่วยกันตัดสินใจในทุกเรื่อง การใช้อำ นาจของหัวหน้าครอบครัวเป็นไปในลักษณะ ประนีประนอม โครงสร้างของครอบครัวญวนในอดีตเป็นครอบครัวขยาย ภาพที่ 2.27 ชุมชนคนญวน
ภาพที่ 2.28 โบสถ์คริสต์ของกลุ่มคนญวน กลุ่มชาติพันธุ์ญวน ได้ร่วมสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนโดยการกำ หนดแผนที่การท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนญวนไว้ในเชิงแผนที่ทางกายภาพ ดังนี้ ภาพที่ 2.29 แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ญวน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 46 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 47 5. ชาติพันธุ์จีน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกลุ่มคนชาติต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางด้าน ชาติพันธุ์เดินทางเข้ามาติดต่อ และสร้างความสัมพันธ์กันเป็นระยะเวลายาวนานดังที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กล่าวว่า ดินแดนที่ เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ประกอบด้วยคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์จากดินแดนที่แตกต่างกัน มีทั้งคนที่อยู่แต่เดิมในดินแดนนี้ และกลุ่มคนที่อพยพมาอยู่ใหม่ซึ่งมาจากดินแดนภายนอก โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นดินแดนไทยเป็นกึ่งกลางของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทวีปที่ถูกขนาบข้างด้วยมหาสมุทร 2 แห่ง คือ มหาสมุทรอินเดียที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกและ มหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเส้นทางการค้าทางทะเล และเส้นทางการค้าทางบก ระหว่างดินแดนต่าง ๆ ในบริเวณอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอยู่ในเวียดนามเหนือ และอ่าวเมาะตะมะซึ่งเป็นพื้นนํ้าส่วนหนึ่งของทะเล อันดามันทางตอนใต้ของประเทศพม่า ดังนั้นจึงต้องมีการเดินทาง ๆ บกผ่านมาทางลาวเข้าสู่แม่นํ้าโขง และผ่านลงมาทาง แม่นํ้าน่าน แม่นํ้ายม และแม่นํ้าปิง ออกทะเลอันดามันบริเวณอ่าวเมาะตะมะ เส้นทางการค้าทางบกนี้จึงมีการค้นพบ หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความสำคัญเพิ่มขึ้น เมื่ออินเดียต้องการควบคุมเส้นทางการค้าทาง ทะเลเพื่อมาติดต่อค้าขายกับจีนโดยผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนจีนเองก็ต้องการนำสินค้าไปค้าขายกับประเทศอินเดีย เปอร์เซีย และตะวันออกกลางที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถที่จะเดินทางอ้อมช่องแคบมะละกาได้ เนื่องจากความสามารถในเดินเรือยังมีไม่มาก อีกทั้งบริเวณช่องแคบดังกล่าวมีคลื่นลมแรง และมีโจรสลัดชุกชุม จึงต้องอาศัย ดินแดนไทยในบริเวณที่เรียกว่า “คาบสมุทรแหลมทอง” เป็นจุดในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า จึงเกิดเป็นการพบกัน ครึ่งทางระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกในบริเวณดังกล่าว ความสำคัญของดินแดนไทยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำ ให้มีกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ เดินทาง เข้ามาในดินแดนไทยเพื่อจุดประสงค์ทางด้านการค้า และเพื่อแสวงหาโอกาสและชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ กลุ่มชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เดินทางเข้ามาทำ การค้าและตั้งรกรากอยู่ในดินแดนไทยเป็นจำ นวนมากมาตั้งแต่ก่อนสมัย สุโขทัยหรือเมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้วจากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ และมีจำ นวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสมัยอยุธยา และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพื่อหนีความอดอยาก ความยากจน รวมทั้งหนีความวุ่นวาย ทางการเมืองภายในของประเทศจีนเอง สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ลังกา มอญ จีน มลายู และอิหร่าน โดยมีหลักฐานของสยามจากบันทึกของจีน สมัยจักรพรรดิหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุบไลข่าน) ระบุว่า อาณาจักรเสียนหรือ สุโขทัย (เสียนก๊ก) สมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ส่งทูตไปติดต่อกับจีนรวม 4 ครั้ง ส่วนจีนส่งมา 3 ครั้ง ใน พ.ศ. 1836, 1837, 1838 (ทูตจีนส่งมาทั้งหมด 4 ครั้ง แต่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 1825 นั้นมาไม่ถึงสุโขทัยเพราะคณะทูตจีนถูกพวกจามจับกุมและ ประหารเสียก่อน) ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเรือสำ เภาจากจีนจะมาจอดที่สุราษฏร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมจะพัดกลับทางเรือจะกลับเมืองจีน สินค้าไทยที่ส่งไปจีนสมัยนั้น คือ ของป่า หนังสัตว์ ไม้สัก ไม้ฝาง และข้าว ส่วนสินค้าเข้าจากจีน คือ ผ้าแพร ผ้าไหมและภาชนะเคลือบดินเผา (สุชาติ แสงทอง, 2557) แต่ชุมชนชาวจีนในขณะนั้นคงมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก (William G.Skinner, 1962 : 7 อ้างถึงใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2529) สมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาได้พัฒนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และปรับสภาพเป็นบ้านเมือง ในพุทธศตวรรษที่ 16 - 19 โดยมีรัฐสุพรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางด้านตะวันตก (บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน) และรัฐละโว้ เป็นศูนย์กลางด้านตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา (บริเวณ จ.ลพบุรี ปัจจุบัน) ต่อมามีการตั้งเมืองขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 1893 ํ พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
มีพ่อค้าจากนานาชาติโดยใช้เรือเดินทะเลเข้ามาติดต่อค้าขาย และมีเมืองสำคัญในอาณาจักรอยุธยา เมืองลูกหลวงหรือ เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) สุพรรณบุรี นครนายก พระประแดง หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ราชบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ ไชยา พัทลุง นครราชสีมา ชลบุรี และหัวเมืองประเทศราช 16 หัวเมือง ได้แก่ มะละกา สงขลา จันทบูน (จันทบุรี) ชวา หลวงพระบาง เมาะลำ เลิง ตะนาวศรี ทวาย เมาะตะมะ นครศรีธรรมราช พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก พิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร และเมืองพิชัย (อุตรดิตถ์) ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยนี้ ถือได้ว่ามีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับนานาชาติมากขึ้น ทั้งกับ ชาวยุโรป (โปรตุเกส ฝรั่งเศสและฮอลันดา) อาหรับ อินเดีย และจีน ที่เป็นความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ (หรือเรียกว่า ระบบจิ้มก้อง) จิ้มก้อง หมายถึง การเจริญทางพระราชไมตรีด้วยการถวายเครื่องราชบรรณาการ จิ้มก้อง เป็นคำ จาก ภาษาจีน จิ้ม แปลว่า ให้, ก้อง แปลว่า ของกำ นัล ในการทำการค้ากับจีนในสมัยโบราณพ่อค้ามักจะนำของกำ นัลไปให้ เพื่อขอความสะดวกในการทำ มาค้าขาย แต่จีนมักถือว่า ผู้ที่มาจิ้มก้องเป็นผู้ที่มาสวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น เมื่อมีของกำ นัล มาให้ นอกจากจีนจะให้ความสะดวกในการค้าแล้วพระเจ้ากรุงจีนยังตอบแทนด้วยของกำ นัลอย่างมากมายด้วย พ่อค้าไทย จึงนิยมไปจิ้มก้อง สาเหตุที่คนจีนเดินทางมายังภูมิภาคนี้ คือ เพื่อเดินทางมาหาทำ เลทางการค้าขายพร้อมปักหลักตั้งถิ่นฐาน และ อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะความยากจนและความวุ่นวายทางการเมืองของจีน โดยชาวจีนที่ตั้งถิ่นฐานในราชอาณาจักรอยุธยานั้น ส่วนใหญ่มาจากมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยนที่เข้ามาในสมัยอยุธยาตอนปลาย (วิลเลียม สกินเนอร์, 2529 : 36) โดยมา ประกอบอาชีพพ่อค้าและรับราชการในราชสำ นักในการดูแลการค้าของกรมท่าในกรมพระคลัง โดยมีการตั้งหัวหน้าชาวจีน คือ หลวงโชฎึกราชเศรษฐี เป็นเจ้ากรมท่าซ้ายทำ หน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าชาวจีน นอกจากนี้ชาวจีนยังรับราชการในตำแหน่ง อื่น ๆ อีก เช่น นายอากรบ่อนเบี้ย สมัยธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีชาวจีนอพยพเข้ามาในดินแดนไทย อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะชาวจีนแต้จิ๋ว สาเหตุเป็นเพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีเชื้อสายชาวจีนแต้จิ๋ว พระองค์จึงทรงมี พระมหากรุณาธิคุณกับชาวจีนที่พูดภาษาเดียวกับพระองค์ และทรงส่งเสริมให้ชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากในราชอาณาจักรไทย มากขึ้น และต่อเนื่องมาจนกระทั่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพที่ 2.31 ภาพโดยศิลปินได้ดัดแปลง ให้ทรงเครื่องทรงแบบพระมหากษัตริย์ไทย เมื่อ พ.ศ. 2530 ภาพที่ 2.30 ภาพตามจินตนาการ ในความฝันของคุณยายทองปาน เมื่อ พ.ศ. 2447 (รัชกาลที่ 1) พระองค์มีพระราชดำริ ให้สร้างราชธานีใหม่ ตรงแหลม ที่ยื่นออกไปในแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่ง ตะวันออก แต่เนื่องด้วยบริเวณนั้น มีชาวจีนที่อาศัยอยู่มาแต่เดิม พระองค์จึงโปรดให้พระยาเศรษฐี และชาวจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไป จนถึงคลองวัดสามเพ็ง ซึ่งปัจจุบันนี้ คือ บริเวณสำ เพ็งเป็นชุมชนชาวจีน ที่อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นและ เป็นย่านสำ คัญทางเศรษฐกิจและ วัฒนธรรมจีนที่มีความโดดเด่นและ น่าสนใจศึกษาแห่งหนึ่ง 48 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2
และต่อเนื่องมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงให้ความสำคัญกับการ ค้าขายกับชาวจีน ต่อมาถึงรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคทองแห่งการค้าสำ เภา โดยอาศัย ชาวจีนเป็นผู้ดำ เนินการค้า และรับใช้ราชสำ นักผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร ทำ ให้การค้ามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เมื่อจีนแพ้ในสงครามฝิ่นที่ทำกับอังกฤษถึง 2 ครั้ง มีผลทำ ให้จีนต้องยอมเปิดเมืองท่าเพื่อค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น อีกทั้งในช่วงเวลานี้ยังมีการยกเลิกคำ สั่งห้ามชาวจีนออกนอกประเทศ ทำ ให้การส่งแรงงานจีนไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ ถูกกฎหมาย ส่งผลให้ชาวจีนแต้จิ๋ว และชาวจีนแคะอพยพมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ไทยมีการเจรจาทำสนธิสัญญาเบาว์ริง กับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 ข้อตกลงของสนธิสัญญาดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ มาเป็นเศรษฐกิจเพื่อการค้า ชาวจีนจึงกลายเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในการเป็นพ่อค้าคนกลางติดต่อกับต่างชาติในช่วงเวลา นี้ได้เป็นอย่างดี ต่อมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นสมัยที่ไทยมีการปฏิรูปประเทศ ทุกด้าน ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในช่วงเวลานี้ชาวจีนสามารถปรับตัวโดยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเอง จากธุรกิจใหม่โดยเฉพาะการค้าข้าว อีกทั้งผลจากการปฏิรูปประเทศทำ ให้มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือที่จำ เป็นต้องอาศัย แรงงานจากชาวจีนเป็นผู้สร้างทางรถไฟ เมื่อสร้างเสร็จชาวจีนเหล่านี้มักตั้งหลักแหล่งเพื่อทำกินตามเส้นทางที่รถไฟผ่าน เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำ ปาง และเชียงใหม่ เป็นต้น ชาวจีนยังหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 การอพยพของชาวจีน เข้ามาในช่วงเวลาหลังจากนี้ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เฉพาะเมืองหลวงอีกต่อไป การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนที่กระจายไปยังทั่วทุกภาค ของประเทศไทย ทำ ให้มีชุมชนชาวจีนกระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งภาคตะวันออกภาคเหนือและภาคใต้ สำ หรับชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพอยู่ในดินแดนไทยนั้นสามารถแบ่งออกได้ 5 กลุ่มภาษา โดยเรียงลำดับ ตามจำ นวนชาวจีนที่อยู่ในไทยจากมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด ดังนี้ 1) ชาวจีนแต้จิ๋ว 2) ชาวจีนฮากกา (แคะ) 3) ชาวจีน ไหหลำ 4) ชาวจีนกวางตุ้ง และ 5) ชาวจีนฮกเกี้ยน ทั้งนี้ ในกลุ่มคนจีนทั้งหมดที่อพยพเข้ามาอยู่ในนครสวรรค์นั้น ชาวจีนไหหลำ ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำ เภอ เก้าเลี้ยว และตำ บลบ้านมะเกลือ อำ เภอเมืองนครสวรรค์ ก่อนกลุ่มอื่น ต่อมาชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวจีนฮากกา (แคะ) และชาวจีน กวางตุ้งจึงเริ่มอพยพตามมา สำ หรับชาวจีนฮกเกี้ยนพบว่าเป็นกลุ่มครอบครัวชาวจีนที่มีจำ นวนน้อยมากในปัจจุบัน และ ขาดผู้ให้ข้อมูลเฉพาะด้านที่เหมาะสมด้วย นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่ติดแม่นํ้า ดังนั้นในอดีตการค้าขายสินค้าของนครสวรรค์จึงอาศัยทางนํ้าเป็นหลัก พ่อค้าชาวจีนมีบทบาทในการทำ หน้าที่เป็นคนกลางเพื่อนำสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นสินค้าจากกรุงเทพมหานคร สินค้าสำ เร็จรูป จากต่างประเทศมาขายในนครสวรรค์และอำ เภอต่าง ๆ และนำผลผลิตทางการเกษตร ของป่า และของพื้นเมือง ล่องแม่นํ้า เจ้าพระยาไปขายที่กรุงเทพมหานคร พ่อค้าชาวจีนเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเรือของตนซึ่งจอดอยู่ในลำ นํ้าเจ้าพระยา ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการติดต่อทำการค้าและขนส่งสินค้าลงมากรุงเทพมหานคร การขยายตัวทางการค้าทำ ให้ชาวจีนหลั่งไหล เข้ามาขายแรงงาน และประกอบการค้าต่าง ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์มากขึ้น โดยเฉพาะนับตั้งแต่ภายหลังการทำสนธิสัญญา เบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา นอกจากนี้ เมื่อจังหวัดนครสวรรค์ ได้ย้ายศูนย์กลางการค้าจากฝั่งตะวันออก คือ ฝั่งแม่น้าน่านมายังฝั่งตะวันตกของแม่น ํ ้าเจ้าพระยา หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า ํ “ตลาดปากนํ้าโพ” นั้น บริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นบริเวณที่คนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่กันเป็นจำ นวนมากในปัจจุบัน (ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร ใน สุชาติ แสงทอง, 2558) นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 49
ประวัติการอพยพของญวนในนครสวรรค์ 1) ลักษณะที่อยู่ อาศัย ลักษณะการสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กระจัดกระจายอยู่ทั่ว ทุกอำ เภอในจังหวัดนครสวรรค์ แต่เดิมมีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวติดกัน และครอบครัวจะเป็นครอบครัวใหญ่มีญาติพี่น้อง อยู่รวมกัน ปัจจุบันคนจีนในจังหวัดนครสวรรค์จะกระจัดกระจายอยู่ในแหล่งชุมชนที่เจริญอยู่เกือบทุกอำ เภอ แหล่งที่อยู่ของ คนไทยเชื้อสายจีน ได้แก่ ตลาดในตัวเมือง หรือตัวอำ เภอที่มีการค้าขาย เนื่องจากนิยมสร้างบ้านเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ยังใช้เป็นร้านค้า ห้างร้าน บริษัท เพื่อประกอบอาชีพค้าขายทำ ธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกบ้าน ซึ่งมักจะเป็นบ้านปูนและห้ามสร้างประตูตรงกันถือว่าไม่ดี เพราะจะไม่นิยมสร้างที่ประตูตรงกันเนื่องจากทำ ให้ลมพัดแรง เกินไป เนื่องจากบ้านเรือนปัจจุบันค่อนข้างกระจัดกระจายหลายแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดกลุ่มเพื่อให้ เยี่ยมชมสำ หรับการท่องเที่ยวได้ แต่สามารถจัดโซนหรือบริเวณท่องเที่ยวในลักษณะการเดินชมตลาดหรือเลือกซื้อสินค้า จากร้านค้าต่าง ๆ ตามความสนใจได้ เช่น ตลาดปากนํ้าโพ ตลาดชุมแสง ตลาดตาคลี ตลาดลาดยาว และตลาดเก้าเลี้ยว เป็นต้น 2) ภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาของคนจีนมีทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนเป็นของตนเอง ด้านภาษาพูดของคนจีนอดีตจะสามารถแบ่ง ออกตามสำ เนียงกลุ่มภาษาได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ไหหลำ กวางตุ้ง ฮากกา (แคะ) และฮกเกี้ยน (ปัจจุบันเหลือ ครอบครัวรุ่นลูกหลานที่มีจำ นวนน้อยมากและขาดผู้ให้ข้อมูลเฉพาะด้าน) แต่เนื่องจากคนจีนมักประกอบอาชีพค้าขายกับ คนจีนแต้จิ๋ว ที่เป็นจีนส่วนใหญ่ในแต่ละชุมชนจึงต้องใช้ภาษาจีนแต้จิ๋วเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเป็นหลัก ในอดีตมักจะไม่ค่อยใช้ ภาษาไทยในการพูดคุย แต่ในสมัยปัจจุบันใช้ภาษาไทยเป็นภาษาในการสื่อสารและในการค้า ภาษาจีนกลุ่มสำ เนียงต่าง ๆ นั้น ที่เป็นภาษาดั้งเดิมของแต่ละกลุ่มนั้นจะมีแต่ผู้อาวุโสที่ยังใช้พูดสื่อสารกันบ้างในบางกรณี เช่น พูดกับคนในครอบครัวหรือ เมื่อเจอคนจีนที่มีเชื้อสายเดียวกัน ภาษาเขียนของคนจีน ใช้ตัวอักษรภาษาจีนแบบเดียวกันทั้งหมด แต่จะออกเสียงต่างกันตามสำ เนียงกลุ่มภาษา ต่าง ๆ ปัจจุบันคนรุ่นลูกรุ่นหลานมักไม่ได้ใช้ภาษาจีนในการสื่อสารตามกลุ่มภาษา แต่จะมีการส่งเสริมให้ลูกหลานได้เรียน ภาษาจีนกลาง ในปัจจุบันที่เปิดสอนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่โรงเรียนสอนภาษาจีนในนครสวรรค์ เพื่อให้ มีความรู้ด้านภาษาจีน สามารถใช้ติดต่อสื่อสารประกอบธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ ภาพที่ 2.32 ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนจีนในอดีตและปัจจุบันยังคงมีให้เห็นอยู่ 50 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2
3) ประเพณีและพิธีกรรม คนจีนมีประเพณีและวัฒนธรรมเทศกาลต่าง ๆ ที่ยึดถือปฏิบัติและยังคงมีการอนุรักษ์ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ประเพณีวันเช็งเม้ง ประเพณีวันสารทจีน และประเพณีวันตรุษจีน ซึ่งประเพณีตรุษจีนและประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพของจังหวัด นครสวรรค์ เป็นช่วงเทศกาลงานประเพณีที่มีชื่อเสียงมาก และสามารถทำ รายได้ให้กับจังหวัดนครสรรค์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวันตรุษจีนนับเป็นวันพิเศษและมีความสำ คัญอย่างยิ่งสำ หรับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยจีน และเป็นประเพณีที่มีการสืบทอด และสืบสานปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาลนานกว่าสองพันปีล่วงมาแล้ว วันตรุษจีนถือว่าเป็นวันที่สมาชิกครอบครัวไม่ว่าจะไป ประกอบธุรกิจการงานอยู่ที่ไหนห่างไกลบ้านเพียงไร หากอยู่ในจังหวัดหรือประเทศเดียวกันบรรดาสมาชิกในครอบครัว เหล่านั้นจะกลับบ้านมาพบปะหน้ากันอย่างพร้อมเพียงกัน เนื่องจากประเพณีวันตรุษจีนถือว่าเป็นวันปีใหม่ตามปฏิทินจีน จึงถือว่าเป็นงานรื่นเริง และงานมงคล ที่จะต้องมีการเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษจีนซึ่งในโอกาสวันสำคัญนี้จะมีทั้งงานรื่นเริง และงานประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ และความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ งานประเพณี ตรุษจีน และงานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ ซึ่งเป็นประเพณีนี้ค่อนข้างมีความเข้มแข็งของกลุ่มชนที่สามารถแสดง ให้เห็นถึงความเชื่อ และศรัทธาต่อองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ในศาลเจ้าที่ประชาชนเคารพนับถือ ประกอบกับระบบการบริหารจัดการ และการรวมกลุ่มขององค์กร และร้านค้าต่าง ๆ มาทำ งานร่วมกันผ่านการจัดการในรูปแบบคณะกรรมการดำ เนินงาน ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ 4) อาหาร ประจำ ท้องถิ่นของคนจีนที่โดดเด่นมีอยู่ 8 กลุ่มด้วยกัน คือ อาหารซานตง อาหารเสฉวน อาหารกวางตุ้ง อาหารเจียงซู อาหารเจ้อเจียง อาหารฮกเกี้ยน อาหารหูหนาน และอาหารอานฮุน อาหารจีน ในกลุ่มอาหารท้องถิ่นทั้ง 8 ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เป่ยจิงข่าวยา (เป็ดปักกิ่ง), ฝัวเที่ยวเฉียง (พระกระโดดกำ แพง), กงเป่าจีติง (ไก่ผัดเผ็ด), โค่วโจวจึ (ขาหมูนึ่งซีอิ้ว), หลงจิ่งซยาเหริน (ผัดกุ้งแช่ชาหลงจิ่ง), หมาผอโต้วฝุ (ผัดเผ็ดเต้าหู้คุณยาย), ซีหูชู่อี่ว์ (ปลาซีหูเปรี้ยวหวาน), ซยาเหรินหนิวหลิ่ว (ผัดกุ้งกับเนื้อวัวแผ่น), และซ่วนโร่วหั่วกัว (เนื้อจิ้มจุ่มหม้อไฟ) เป็นต้น ภาพที่ 2.31 (ซ้าย) ข้าวหน้าเป็ด จากร้านแหลกี่ อาหารจีนกวางตุ้ง ภาพที่ 2.32 (กลาง) บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงน้ำ� จากร้านแหลกี่ อาหารจีนกวางตุ้ง ภาพที่ 2.33 (ขวา) ปอเปี๊ยะ เป็นเมนูทานเล่นทั่วไป จากร้านแหลกี่ อาหารจีนกวางตุ้ง ที่มาภาพ : http://journey-trip-review.blogspot.com/2014/06/blog-post_14.html นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 51
◆ บทสรุป ◆ 52 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 2 จากประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และความหลากหลายของชาติพันธุ์ในพื้นที่นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชน ต้นแม่นํ้าเจ้าพระยาอาจกล่าวได้ว่า บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มีชัยภูมิที่เหมาะสมของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน และ ตั้งชุมชน โดยมีปัจจัยเอื้อหลายประการทั้งสภาพภูมิศาสตร์ ทำ เลที่ตั้งที่เหมาะสม มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวก และเชื่อมต่อไปยังภาคต่าง ๆ ได้ มีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งพื้นที่ปลูกข้าว และพืชไร่ พืชเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ ที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ มีคุณค่า และความหมายต่อคนในท้องถิ่นที่ยังคงมีการอนุรักษ์สืบสานประเพณี และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมี การผสมผสานทางวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องลงตัว และนี่จึงเป็นตำ นานประวัติศาสตร์ที่สวยงามอีกแห่ง ที่แสดงให้เห็นชีวิตผู้คนบนต้นนํ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ สังคมไทยมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มายาวนานมีกลุ่มคนชนชาติต่าง ๆ ที่แตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ มาติดต่อสัมพันธ์กันตลอดเวลาอันยาวนาน ดังที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้อธิบายเรื่องราวทางสังคม และวัฒนธรรมของ ดินแดน และผู้คนบริเวณสุวรรณภูมิ ที่สืบเนื่องเป็นสยามถึงประเทศไทย ในหนังสือแผนที่ประวัติศาสตร์ และแผนที่ วัฒนธรรมของ (สยาม) ประเทศไทยว่าตะวันตก ตะวันออก พบกันที่สุวรรณภูมิบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิ ที่เป็นดินแดนคาบสมุทร (ของประเทศไทย) จึงกลายเป็นจุดเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกกับมหาสมุทร แปซิฟิกทางตะวันออก ส่งผลให้มีผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จากตะวันตก และตะวันออก เข้ามาตั้งหลักแหล่งทั้งถาวร และ ชั่วคราว บริเวณที่เป็นประเทศไทยไม่ขาดสายมีการประสมประสานทั้งทางเผ่าพันธุ์ และทางสังคมวัฒนธรรมกลายเป็น บรรพชน หรือต้นแบบของคนไทยทุกวันนี้ อารยธรรมจากตะวันตกที่ผ่านมาทางอินเดีย เช่น ศาสนา อักษร วรรณคดี และอาหารการกิน (ข้าวเจ้า) จะเริ่มแพร่หลายอย่างช้า ๆ ให้หัวหน้าคนพื้นเมืองใช้เป็นเครื่องมือ (เทคโนโลยี) ทาง การปกครอง รวบรวมผู้คนและชุมชนบ้านเมืองที่มีมาก่อน ค่อย ๆ เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นรัฐน้อยใหญ่กระจัดกระจาย ทั่วสุวรรณภูมิ ต่อไปข้างหน้าอารยธรรมจากตะวันออกจากจีนฮั่นทางภาคเหนือและ “เจ๊ก” ภาคใต้ของจีน เช่น ภาษาพูด เครื่องมือทอผ้า เครื่องมือโลหะ อาหารการกิน (ผัก) คลุกคลี เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนพื้นเมืองทั่วไป ผลของการเคลื่อนไหวทางการค้าของโลกแผ่กว้าง ทำ ให้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์เคลื่อนย้ายไปมา อย่างขนานใหญ่ตามเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก - ทางทะเล โดยเฉพาะทางที่ราบลุ่มนํ้าเจ้าพระยา และชายฝั่งทะเล อันดามันกับทะเลจีน ชุมชนเก่าเติบโตขึ้นแต่ก็มีชุมชนเกิดขึ้นใหม่บนเส้นทางคมนาคม เช่น ภาคเหนือ มีชุมชนใหญ่ขึ้น ทางลุ่มนํ้าปิง (บ้านวังไฮจังหวัดลำ พูน) ลุ่มนํ้าวัง (ประตูผาจังหวัดลำ ปาง) ภาคกลาง ชุมชนใหญ่ถลุงเหล็กเกิดขึ้นใน ลุ่มนํ้าน่าน (ทุ่งยั้งคลองโพ จังหวัดอุตรดิตถ์) ลุ่มนํ้ายม (บ้านด่านลานหอยจังหวัดสุโขทัย) โดยเฉพาะทางที่ราบลุ่ม แม่นํ้าเจ้าพระยามีกระจายเต็มไปทุกลุ่มนํ้า บริเวณดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สุวรรณภูมิ” ที่แปลว่า แผ่นดินทอง ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทองคำ ที่มีค่า มีพืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ มีสัตว์นานาชนิดรวมทั้ง มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลายดึงดูดให้ผู้คนที่เป็นพ่อค้าต่างถิ่นเดินทางเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในดินแดนนี้ เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเอง ผลของการเคลื่อนย้ายของคนภายนอกเข้ามาตั้งหลักแหล่ง บริเวณลุ่มนํ้าเจ้าพระยา ทำ ให้ประชากรเพิ่มขึ้นมีความหลากหลายของกลุ่มชน หลายชาติพันธุ์ จากตอนใต้ของจีน เข้าสู่ลุ่มแม่นํ้าโขงและเข้าสู่ลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาอีกด้วย
ตอนที ่ ตอนที 2 ่ 3 ขนบธรรมเนียมประเพณีทีสำ�คัญ่ในจังหวัดนครสวรรค์ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 53 ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เป็นมรดกเก่าแก่ที่สืบทอดมาเป็นเวลานาน มีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีปรากฏชัดเจน วิถีชีวิตของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และเนื่องจากประชากรของชาวจังหวัดนครสวรรค์มีหลายเชื้อชาติ ประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอด จึงมีแบบอย่างตามเชื้อชาตินั้น ๆ และนำ มาผสมกลมกลืนกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดนครสวรรค์ที่น่าสนใจ มีดังนี้ ◆ ตำนานวันตรุษจีน ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัย โบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้าย และน่ากลัวมากตัวหนึ่งเรียกว่า “เหนียน” ออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษ และอนุญาตให้ลงมา จากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียนจะออก มาทำ ร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสม เสบียงอาหาร และกับข้าวจำ นวนหนึ่ง ไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนคํ่าของวันที่ 30 เดือน 12 ชาวบ้านจะปิดประตู และหน้าต่างไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับเหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้า เป็นวันแรม 1 ค่า เดือน 1 เมื่อเหนียน ํ กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนจะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกันที่โชคดีไม่ได้ถูกเหนียนทำร้าย ต่อมาพบว่าเหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อเหนียนมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกัน เมื่อเหนียนได้ยินเสียงแส้ ดังเปรี้ยงปร้างจึงตกใจเผ่นหนีไป เมื่อเหนียนไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งเห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของ ครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้นทำ ให้เหนียนตกใจ และเผ่นหนีไปอีก เมื่อเหนียนมาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่า เหนียนไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำ ให้เหนียนต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมาผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่าเหนียนจะดุร้ายแต่เหนียนกลัวสีแดง เสียงดัง และไฟ ทำ ให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัดเหนียนได้โดยไม่ยากนัก ภาพที่ 3.1 ภาพเหนียนในตำ�นาน 1. เทศกาลตรุษจีน
เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างนำ กระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดงพร้อมกับจุดประทัด และตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อเหนียนมาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือน 54 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือ วันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่ รายละเอียด ดังนี้ 1) วันจ่าย หรือตื่อเส็ก คือ วันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้ และ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนคํ่าจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว 2) วันไหว้คือ วันสิ้นปีจะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ ตอนเช้ามืดจะ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ เครื่องไหว้ คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ ห้าชนิด) เหล้า นํ้าชา และกระดาษเงินกระดาษทอง ตอนสายจะ ไป๊เป้บ๊อ คือ การไหว้บรรพบุรุษพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึง แก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษ เพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่เซ่นไหว้ไป เพื่อความเป็นสิริมงคล และถือเป็น เวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะมีการแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกัน ตอนบ่ายจะ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเครื่องไหว้จะเป็นพวก ขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมนํ้าตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัด เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย และเพื่อความเป็นศิริมงคล 3) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเที่ยว หรือวันถือ คือ วันที่ 1 ของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ชาวจีนจะถือ ธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพร และอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ และ ผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “กา” ซึ่งไปพร้อมกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่า วันถือ คือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถึงบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้ ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพร และพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น มีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไปและไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้วผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่าง สนุกสนาน ต่อมาวันดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่มีแต่ความสุขที่เรียกกันว่า “ตรุษจีน” วันเกิดเจ้ าพ่ อเทพารักษ์ พิธีกรรม และกิจกรรมในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ และเจ้าแม่ทับทิม ในวันฉลองวันเกิดเจ้าพ่อเทพารักษ์ จะมีการตั้งโต๊ะ และชุดไหว้เจ้าพ่อเทพารักษ์ โดยชุดไหว้จะมีเนื้อสัตว์ ทั้งปลา หมู ไก่ ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าว นํ้าชา เหล้า พร้อมทั้งจะมี คณะกรรมการดำเนินงานของศาลเจ้ามาร่วมประกอบพิธีกรรม โดยผู้เข้าร่วมงานจะนำของไหว้ต่าง ๆ มาถวายเจ้าพ่อ และ ร่วมรับประทานอาหารกลางวันเป็นโต๊ะจีนที่ทางศาลเจ้าจัดไว้ นอกจากนี้ ในวันงานดังกล่าวจะมีพิธีกรรมการประทับร่างทรงของเทพเจ้าต่างๆ เช่น องค์เจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าพ่อกวนอู และเจ้าแม่สวรรค์หรือเจ้าแม่ทับทิมอีกด้วย โดยจะมีการทำ ฮู้ และนํ้ามนต์ ตลอดจนให้ผู้มีจิตศรัทธามารับฮู้และประทับตราประจำ ประองค์ที่หน้าผากให้กับ คณะลูกศิษย์หรือผู้ที่มาร่วมงานในวันนี้ด้วย
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 55 ภาพที่ 3.2 ภาพงานฉลองวันเกิดเจ้าพ่อเทพารักษ์ • เทศกาลรำ ลึกถึงผู้ล่วงลับและเทศกาลเชงเม้ง เมื่อถึงช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ทั้งคนไทย คนจีน มีพิธีกรรมหรือกิจกรรมที่ต้องรำลึกถึงญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว คนไทยเชื้อสายจีนในสังคมไทยมีคตินิยมเซ่นไหว้ในเทศกาลเชงเม้ง ในขณะที่คนไทยจะมีเทศกาล ทำ บุญสงกรานต์ในช่วงกลางๆ เดือนเมษายนเช่นกัน แต่เดิมสงกรานต์จะเป็นงานปีใหม่ไทย จะมีการรดน้าขอพรญาติผู้ใหญ่ ํ นอกจากนี้ก็มีพิธีบังสกุลอุทิศส่วนกุศลให้ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ พี่ น้องที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน แสดงว่าในแต่ละปี มนุษย์ย่อมมีวาระสำคัญที่จะรำลึกถึงผู้ล่วงลับ ซึ่งคนไทยทางใต้มีงานประเพณี เรียกว่า ชิงเปรต ในงานบุญสารทเดือนสิบ สำ หรับเทศกาลเชงเม้งของจีนจะมีรูปแบบพิธีกรรมต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่มีคติความเชื่อในการรำ ลึกถึงผู้วายชนม์นั้น เป็นแนวทางเดียวกัน และที่น่าสนใจ คือ จะทำ ในช่วงคาบเกี่ยวของเดือนเมษายนเช่นกัน ภาพที่ 3.3 สุสานจีน จังหวัดนครสวรรค์
ซิงหมิง หรือเชงเม้ง เป็นชื่อของสารท (1 ปีมี 24 สารท) “เชง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หมายถึง สว่าง รวมกันแล้วหมายถึง “ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์” สารทเชงเม้ง หรือเชงเม้ง เริ่มต้นประมาณ วันที่ 5 เมษายน - 20 เมษายน ของทุกปี ในฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็นเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่นของประเทศจีน มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “สารทเชงเม้ง” ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ยหรือฮวงจุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญู ต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ ประเพณีนี้สืบทอดมายาวนานเป็นพันปี โดยขุนนางสมัยราชวงศ์โจว โจวกงนีตั้น เป็นผู้กำ หนดพิธีการจัดงานศพ ในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณ ค.ศ. 618 พระราชพิธีเซ่นไหว้สุสานอดีตกษัตริย์ โดยได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์ อักษร ปีหนึ่งกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเชงเม้ง และประมาณปลายปี คาดว่าน่าจะเป็นช่วงตังโจ่ย 56 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 ภาพที่ 3.4 กิจกรรมวันเชงเม้งในสุสานจีน จังหวัดนครสวรรค์ ประโยชน์ของการไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเชงเม้ง 1) เพื่อรำ�ลึกถึงคุณความดีที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำ�ไว้ ได้ดูแลเรา ลำ�บากเพื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำ�เนินชีวิต “เราสบายเพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษนั้นลำ บาก” 2) เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล โดยทั่วไปการไหว้ที่ดีที่สุดต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน คือ วันและเวลา เดียวกัน ทำ�ให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไปได้มาพบปะสังสรรค์กันพร้อมหน้ากัน เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุด ศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็นวันรวมญาติ 3) เป็นกรอบดำ เนินชีวิตและสอนลูกหลานทุกคนว่า “พ่อแม่ตายแล้วยังกำหนดชะตาชีวิต ลูกหลาน” เป็นแบบอย่างในการดำ เนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการี และลูกหลานควร ปฏิบัติตาม 4) เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน
วันเกิดเจ้ าแม่ สวรรค์ ภาพที่ 3.5 งานฉลองวันเกิดเจ้าแม่สวรรค์ • เทศกาลไหว้ ขนมจ้ างหรือเทศกาลไหว้ ขนมบ๊ะจ่ าง ตํานานเทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) หรือเทศกาลตวนอู่ หรือเทศกาลตวงโหงว ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่คุกง้วน หรือซีว์หยวน หรือชีหยวน (QuYuan (278 - 340 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้าเสียชีวิต เล่าว่าในสมัยเลียดก๊กมีบุคคลหนึ่ง นามว่า ซีหยวน ํ เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รวมทั้งรู้จักหลักการบริหารปกครอง เป็นอย่างดี ชีหยวนเป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฉู่ ชีหยวนได้รับราชการเป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋อง เป็นที่ปรึกษา และดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชีหยวนเป็นขุนนาง ที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถอันสูงยิ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอันมาก ภาพที่ 3.6 ขนมบ๊ะจ่าง นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 57 พิธีกรรม และกิจกรรมในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ และเจ้าแม่ทับทิม ในวันฉลองวันเกิดเจ้าแม่สวรรค์นั้น จะมีการ ตั้งโต๊ะ และชุดไหว้เจ้าแม่ โดยชุดไหว้จะมีเนื้อสัตว์ทั้งปลา หมู ไก่ ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าว นํ้าชา เหล้า พร้อมทั้งจะมี คณะกรรมการดำ เนินงานของศาลเจ้ามาร่วมประกอบพิธีกรรม โดยผู้เข้าร่วมงานจะนำของไหว้ต่าง ๆ มาถวายเจ้าพ่อ และร่วมประทานอาหารกลางวันเป็นโต๊ะจีนที่ทางศาลเจ้าจัดไว้ นอกจากนี้ ในวันงานดังกล่าวจะมีพิธีกรรมการประทับร่างทรงของเจ้าแม่สวรรค์อีกด้วย โดยจะมีการทำ ฮู้ และนํ้ามนต์ ตลอดจนให้ผู้มีจิตศรัทธามารับรู้ และประทับตราประจำ ประองค์ ที่หน้าผากให้กับคณะลูกศิษย์ หรือผู้ที่มาร่วมงานในวันนี้ด้วย
เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชีหยวน ด้วยความที่ชีหยวนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรงทำ งานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำ งานของชีหยวนเป็นไปเพื่อการขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชีหยวนต่าง ๆ นา ๆ จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง ชีหยวนรู้สึก ทุกข์ระทมตรมใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า “หลีเซา” หมายถึง ความเศร้าโศก จนต่อมาพระเจ้าฉู่หวายอ๋องถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคตในแคว้นฉิน รัชทายาทของฉู่หวายอ๋องจึงได้ขึ้นครอง ราชย์บัลลังก์แทน หลังจากที่กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุด จึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชีหยวนออกจากแคว้นฉู่ไป ชีหยวนเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่นํ้าเปาะล่อกัง (บางตำ ราว่าเป็นแม่นํ้าแยงซีเกียง) ชีหยวนจึงได้ตัดสินใจกระโดดนํ้าตายในวันขึ้น 5 คํ่า เดือน 5 นั้นเอง พวกชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชีหยวน พวกเขาต่างก็รักและอาลัยในตัวของชีหยวน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหา ศพของชีหยวน ในขณะที่ค้นหาศพ พวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่นํ้าด้วย นัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์นํ้ามากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชีหยวน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชีหยวนชาวบ้านจะนำ เอาอาหารไป โปรยลงแม่นํ้าเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำ มาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณ เหล่าชาวบ้านที่นำ เอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำ ไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่น ถูกเหล่าสัตว์นํ้ากินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์นํ้าอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำ ให้นำอาหารเหล่านั้น ห่อด้วยใบไผ่หรือใบจาก ก่อนนำ ไปโยนลงนํ้า เพื่อที่เหล่าสัตว์นํ้าจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป หลังจากนั้น ในปีต่อมาชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนํา คือ นำ อาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงนํ้าเพื่อเซ่น ให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่า คราวนี้ได้กินมากหน่อยแต่ก็ยังคงโดนสัตว์นํ้าแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำ ราญจึงได้ถามซีหยวนว่าควรทำ เช่นไรดี ซีหยวน จึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่นํ้าให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์นํ้าทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็น เครื่องเซ่นของพญามังกรจะได้ไม่กล้าเข้ามากิน วันเกิดเจ้ าพ่ อกวนอู ภาพที่ 3.7 งานฉลองวันเกิดเจ้าพ่อกวนอู 58 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3
เทศกาลสารทจีน เป็นเทศกาลกึ่งปีของชาวจีน ภายหลังเทศกาลตรุษจีนมาได้ 6 เดือน ชาวจีนที่ทำ งาน มาหนักตลอด 6 เดือน ในสมัยอดีต จึงได้จัดเทศกาลนี้ขึ้น เพื่อทำ บุญทำ ทาน โดยสอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ทุก 6 เดือน นรกในปรโลกจะเปิดให้วิญญาณได้ออกมารับ ส่วนบุญส่วนกุศลของมนุษย์เป็นเวลา 1 เดือน วันสารทจีน จึงเป็นวันที่ชาวจีนรำ ลึกถึงชาวจีนที่เสียชีวิตแล้วไม่มีญาติ มากราบไหว้ ประกอบกับชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองจีนหมด ชาวจีนในเมืองไทยที่เป็นมิตรสหายบ้าง เป็นคนชาติเดียว กันบ้าง จึงเน้นการจัดเทศกาลสารทจีนเป็นพิเศษ เพราะ นอกจากจะได้พักผ่อนตามเทศกาลแล้วยังได้ทำ บุญทำ ทาน โดยการเทกระจาด วันสารทจีน คือ วันที่ 15 ค่า เดือน 7 ตามปฏิทินจีน ํ โดยจะมีการเซ่นไหว้ชาวจีนที่เสียชีวิตไปอย่างไร้ญาติ และ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยจะแยกการเซ่นไหว้ออกจากกัน คือ ชาวจีนจะเซ่นไหว้บรรพบุรุษของตนก่อน มีการตั้งโต๊ะ ส่วนการเซ่นไหว้วิญญาณที่ไม่มีญาตินั้น จะมีการเซ่นไหว้ใน บริเวณริมแม่น้า หรือทางสามแพร่ง โดยจัดอาหารเป็นชาม ๆ ํ พร้อมด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง หรือบางครอบครัว จะตั้งไว้บนพื้นใกล้กับประตูบ้าน และต้องจุดธูปไว้ในชาม ทุกใบ หรือทุกชิ้นของประเภทอาหาร การเซ่นไหว้ปกติ ทำกันในตอนใกล้เคียงประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นเก็บอาหารบนโต๊ะบูชาบรรพบุรุษมารับประทาน ร่วมกันระหว่างพี่น้อง ส่วนอาหารที่พื้นให้เป็นทานไป สําหรับการทิ้งกระจาดนั้นเป็นวิธีการทำ บุญทำ ทาน ของคนจีนต่อคนยากจน โดยนำ การช่วยเหลือคนจนมา ผนวกกับคติความเชื่อเรื่องที่ว่าปรโลกจะปล่อยวิญญาณมา สู่โลกมนุษย์ในเดือน 7 ดังนั้นการเทกระจาดจึงจัดได้ตั้งแต่ • วันสารทจีนและเทศกาลเทกระจาด (ทิ้งกระจาด) 15 ค่า เดือน 7 ถึง 15 ค ํ ่า เดือน 8 ตามคติว่า ในแต่ละปี ํ ประตูผีจะเปิดออก เพื่อปลดปล่อยวิญญาณให้มาเยี่ยมญาติ พี่น้องที่โลกมนุษย์ คนจีนทั่วไปจึงทำ บุญอุทิศส่วนกุศลให้ วิญญาณที่ไม่มีญาติ ทำ บุญให้ หรือที่เรียกว่า วิญญาณ เร่ร่อน วิญญาณพเนจร (ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกหอเฮียตี๋) ในพิธีทิ้งกระจาดจึงมีพิธีสวดมนต์อุทิศให้ และมีอาหาร เซ่นไหว้วิญญาณเร่ร่อนเหล่านี้ โดยมูลนิธิหรือสมาคมจีน จะจัดเจ้าหน้าที่ออกไปเรี่ยไรเงินจากชาวจีนด้วยวิธีติดใบ เรี่ยไรไว้ที่กระจาดใบเล็ก ๆ แล้วแจกกระจาดเหล่านี้ไปตาม บ้านเรือนชาวจีน เพื่อนำ เงินบริจาคมาซื้อเครื่องเซ่น ทั้งอาหารสด และแห้ง แล้วจะมีการตั้งโต๊ะที่กลางแจ้ง หน้าศาลเจ้า ประกาศอุทิศเครื่องเซ่นเหล่านั้นแก่บรรดา วิญญาณที่ไร้ญาติ ต่อจากนั้นจึงนำ อาหารมาจัดเป็นชุด ทำ ฉลากกำ หนดไว้ในแต่ละชุด แล้วนำ ฉลากติดไว้ใน กระจาดใบเล็ก ๆ ทิ้งให้กับคนยากจนที่มาคอยรับ และนำ ไปขึ้นของบริจาคตามฉลากนั้น ๆ กิจกรรม และพิธีกรรมในงานสารทจีน และงาน ทิ้งกระจาด ณ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ และเจ้าแม่ทับทิม บริเวณด้านล่างของศาลเจ้า บริเวณด้านหน้าทางขึ้นศาลเจ้า ถูกจัดสถานที่ให้เป็นพื้นที่จุดรับถึงบริจาค และบริเวณด้าน ข้างของศาลเจ้าถูกจัดให้เป็นจุดการลงทะเบียนรับบัตรคิว เพื่อรับบริจาคสิ่งของ และมีการจัดโซนในการรับถังบริจาค ทาน แบ่งเป็นจุดรับของสำ หรับอายุ 80 ปีขึ้นไป และจุดรับ ของประชาชนทั่วไป ขณะที่ไปสังเกตการณ์นั้นเป็นเรื่องของ การรับบัตรคิว โดยผู้ประสงค์จะรับบริจาคสิ่งของนั้นจะต้อง มาขึ้นทะเบียนทางคณะกรรมการฯ บริเวณข้างศาลเจ้า และต้องแสดงทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน พร้อมกับ รับบัตรคิว นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 59 พิธีกรรมและกิจกรรมในศาลเจ้าในวันฉลองวันเกิดเจ้าพ่อกวนอูนั้น จะมีการตั้งโต๊ะ และ ชุดไหว้เจ้า โดยชุดไหว้จะมีเนื้อสัตว์ ทั้งปลา หมู ไก่ ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าว และนํ้าชา พร้อมทั้งจะมี คณะกรรมการดำ เนินงานของศาลเจ้ามาร่วมประกอบพิธีกรรม โดยผู้เข้าร่วมงานจะนำของไหว้ต่างๆ มาถวายเจ้าพ่อกวนอู หลังจากเสร็จพิธีจะมีการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน โดยจะมีพิธีกรรม การประทับร่างทรงของเจ้าพ่อกวนอูอีกด้วย โดยจะมีการทำ ฮู้ และนํ้ามนต์ และแจกกระดาษ ที่ประทับตราประจำ พระองค์ นอกจากนี้ร่างประทับยังประทับตราที่หน้าผากให้กับคณะลูกศิษย์หรือผู้ที่มาร่วมงานด้วย
60 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 ภาพที่ 3.9 การแสดงงิ้ว 1) บริเวณด้านบนของศาลเจ้า ทุกปีก่อนเริ่มพิธีกรรมจะมีคณะงิ้วที่แสดงอยู่ที่ หน้าศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่หน้าผา มาทำ การแสดงหนึ่งฉาก หรือหนึ่งเรื่อง ต่อหน้าเทพเจ้าในศาลแห่งนี้ ในภาษาจีน ไหหลํา จะเรียกว่า บ่วยบ้วนเตีย โดยจะเป็นการนำคณะงิ้ว มาไหว้อวยพร หรือคารวะให้กับเจ้าพ่อเทพารักษ์ก่อนที่จะ เริ่มประกอบพิธีกรรมต่างๆ ภาพที่ 3.8 ประชาชนที่มารอรับแจกทานในงานสารทจีนและทิ้งกระจาด หลังจากที่คณะงิ้วแสดงจบ จะเข้าสู่ช่วงของการประกอบพิธีกรรมการไหว้เจ้าในงานสารทจีน และงาน ทิ้งกระจาดของศาลเจ้า โดยมีคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม และคณะเถ่านั้งร่วมประกอบพิธีกรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธีจะสวมใส่ชุดจีนสีชมพู และสีฟ้า โดยมีจุดที่ประกอบพิธีในบริเวณด้านหน้าทางเข้าศาลเจ้า (ด้านซ้ายมือ) เมื่อหันหน้าเข้าตัวอาคาร ซึ่งจะพบว่ามีการจัดโต๊ะไหว้ และมีของไหว้ต่าง ๆ จำ นวน 3 โต๊ะ ได้แก่ 1) โต๊ะชุดไหว้ยมทูต หน้าประตูทางเข้าศาล (ด้านซ้าย) 2) โต๊ะไหว้วิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้ว และ 3) โต๊ะไหว้ เทพยดาฟ้าดิน นอกจากนี้ บริเวณหัวมุมด้านซ้ายสุดนั้นจะเป็นจุดสำ หรับวางกระจาด และสิ่งของบริจาคต่าง ๆ ที่ใช้ในงานประเพณีทิ้งกระจาด เป็นจุดสำ หรับวางสิ่งของที่คนมาร่วมทำ บุญ และบริจาค โดยมีภาชนะใส่ของเป็นกระจาดตั้งวางไว้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์สำคัญในงานประเพณีทิ้งกระจาดลักษณะแบบดั้งเดิมไว้ ภาพที่ 3.10 ของไหว้ข้าวปลาอาหาร (ตาเต) ภาษาจีนไหหลำ� ภาพที่ 3.11 ชุดอาหารแห้ง ผลไม้ บะหมี่สำ�เร็จรูป ข้าว และเกลือ ขี้ไต้ ผักบุ้ง (ทั้งสดและต้ม) เสื้อผ้าใส่กระดาษแบบดั้งเดิม
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 61 1) ตำนานประเพณีไหว้พระจันทร์ (เทพธิดาฉางเอ๋อ) เมื่อ 4,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยราชวงศ์เซี้ยของจีน ท้องฟ้ามีพระอาทิตย์ 10 ดวง ส่องแสงลงมาเผาผลาญโลก มนุษย์จนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ฮ่องเต้ในสมัยนั้นจึงได้ประกาศหาผู้ที่มีความสามารถมาทำลายพระอาทิตย์ เพื่อลดความร้อน และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ทุกข์ยาก ต่อมามีนักแม่นธนูมือฉมังนายหนึ่ง นามว่า “โฮวอี้” ได้มาอาสาสมัครทำ งานชิ้นนี้ โฮ้วอี้สามารถยิงดวงอาทิตย์ตกลงมา 9 ดวง เหลือไว้เพียงหนึ่งดวงเพื่อให้เกิดความสมดุล ของโลกเหมือนในปัจจุบันนี้ เมื่อโฮ้วอี้ทำการสำ เร็จฮ่องเต้ก็ปูนบำ เหน็จรางวัลให้โดยแต่งตั้งให้เขาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน และ • เทศกาลไหว้ พระจันทร์ภาษาจีนเรียกวันไหว้พระจันทร์ว่า จงชิว (ตงชิว) ที่มาของคำ ว่า จงชิว นี้คือ เดือนแปดตามปฏิทินจันทรคติ ตกอยู่ช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง (เดือนเจ็ด และเดือนแปดอยู่ในฤดูใบไม้ร่วง หนึ่งฤดูแบ่งเป็น เมิ่งจ้งจี้) ดังนั้นก็เลยเรียกว่า จงชิว ประกอบกับวันขึ้นสิบห้าคํ่าเดือนแปดก็ตกอยู่ในช่วงกลางของเวลาที่เรียกว่า จ้งชิว นี้ จึงเรียกเทศกาลดังกล่าวว่า จงชิว ด้วย ในคืนวันไหว้พระจันทร์ดวงจันทร์สว่าง และกลม ถือว่าสวยที่สุด ผู้คนถือว่า ดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของ ความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลแห่งความกลมเกลียว” เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลดี เป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวข้องกับตำ นาน เรื่องดวงจันทร์ของชาวจีนอย่างแนบแน่น เช่น เรื่องฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์ ถือว่า เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมาก วันไหว้พระจันทร์เป็นการไหว้ครั้งที่ ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า ตงชิวโจ่ย การไหว้พระจันทร์ของ คนจีน เป็นที่รู้จักกันดีกว่าเทศกาลไหว้อื่น ๆ เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม และมีของไหว้ที่เป็น แบบเฉพาะ เช่น มีขนมไหว้พระจันทร์ มีต้นอ้อย โคมไฟ อีกทั้งเทศกาลนี้เป็นอุบายในการปลดแอกชาติจีนออกจาก การปกครองของพวกมองโกล วันไหว้พระจันทร์ ถือเป็นวันสารท เพราะตรงกับวันกลางเดือน คือ วันที่ 15 ถ้าเป็นตรุษจะเป็นวันที่ 1 ของเดือน ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน และถือเป็นวันกลางเดือน ของเดือนกลางฤดูใบไม้ร่วงด้วยว่า ประเทศจีนนั้นแบ่งวันเวลา เป็น 4 ฤดูกาล ฤดูหนึ่งมี 3 ดวง คือ ชุง แห่ ชิว ตั้ง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูฝน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ตามลำดับ ขนมที่ทำ มา เป็นพิเศษในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ก็คือ ขนมเปี๊ยะก้อนใหญ่พิเศษ ไส้หนา มีขนมโก๋เกสีขาว ขนมโก๋สอดไส้ ขนมโก๋สีเหลือง เมื่อไหว้เสร็จก็แบ่งกันรับประทานในครอบครัว 2) พิธีกรรมที่สำคัญในงานประเพณีทิ้งกระจาด นอกจากนี้ยังมีการจัดเตรียมอาหารคาวหวาน และผลไม้ใส่ในกระด้ง เพื่อเข้าไปวางไว้ในบริเวณที่เป็นทางสามแพร่ง เพื่อเป็นการเซ่นไหว้ และเชิญวิญญาณผู้ล่วงลับที่ไร้ญาติที่เสียชีวิตในบริเวณนั้น ถือว่าเป็นเส้นทางบก และบริเวณริมแม่นํ้า เจ้าพระยา จะเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณผู้ล่วงลับที่ไร้ญาติที่เสียชีวิตในทางนํ้ามารับของเซ่นไหว้ต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งในการไหว้ ยมทูตนั้น พิธีกรได้ให้คณะกรรมการผู้ประกอบพิธีกรรมได้ตั้งจิตอธิษฐานบอกกล่าวให้ยมบาลได้เปิดโลกทุกขุม การเปิดโลก ทั้งหมด เพื่อให้วิญญาณได้มารับของเซ่นไหว้ในพิธีกรรมงานทิ้งกระจาด กิจกรรมต่อมา คือ พิธีทิ้งกระจาด โดยมีการจัดชุดอาหารแห้งใส่กระจาดชุดเล็ก ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามธรรมเนียม ประเพณีดั้งเดิมไว้ เพื่ออนุรักษ์สืบสานให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ โดยจะมีตัวแทนจากคณะกรรมการศาลเจ้า และคณะเก่า ที่มาร่วมแจกทาน โยนทานสิ่งของต่าง ๆ ให้กับผู้มารอรับบริจาคทานเป็นจำ นวนมากในบริเวณด้านล่างของอาคารศาลเจ้า ในวันสุดท้ายของเทศกาลสารทจีนนั้น ทางศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม ได้กำ หนด จัดการส่งวิญญาณผู้ล่วงลับไร้ญาตินั้นกลับสู่ยมโลกในตอนเย็นของวันสารทจีน จะมีการประกอบ พิธีกรรม และมอบเสื้อผ้าชุดใหม่สำ หรับให้วิญญาณผู้ล่วงลับ และวิญญาณไร้ญาติต่าง ๆ เพื่อใส่กลับ ไปยังยมโลก โดยจะมีการจุดธูปรอบ ๆ ศาลเจ้า เพื่อนำส่งวิญญาณต่าง ๆ กลับสู่ยมโลก
สามารถทำ อะไรก็ได้เหมือนกับการได้รับดาบอาญาสิทธิ์พร้อมกันนี้ได้มอบหญิงงามให้เป็นภรรยาหนึ่งคน หญิงงามผู้นี้ มีนามว่า “ฉางเอ๋อ” ครั้นเวลาล่วงผ่านไป โฮ้วอี้ได้รับยาวิเศษจากเจ้าแม่อวงบ้อ ยานี้มีสรรพคุณทำ ให้อายุยืนยาว และสามารถเหาะเหิน เดินอากาศได้ ตอนที่ยามาถึงบ้านโฮ้วอี้ไม่อยู่ นางฉางเอ๋อผู้เป็นภรรยาได้รับยานี้ไว้ และนางคิดว่าถ้าให้โฮ้วอี้กินยานี้แล้ว ทำ ให้อายุยืน ก็จะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนอีกเป็นจำ นวนมาก เนื่องจากตั้งแต่โฮ้วอี้ได้รับสิทธิพิเศษจากฮ่องเต้แล้ว เมื่อมีผู้ใดขัดใจก็จะฆ่าทิ้งด้วยความกลัวว่าผู้คนจะตายกันมากขึ้นนางฉางเอ๋อจึงตัดสินใจกินยาเสียเอง เมื่อกินยาแล้วก็กลัว สามีจะรู้ และฆ่านาง นางจึงได้วิ่งหนีไป ในขณะที่วิ่งไปนั้นยาวิเศษออกฤทธิ์ทำ ให้นางเหาะได้ นางฉางเอ๋อจึงเหาะหนีไป อยู่บนดวงจันทร์ชาวบ้านที่เห็นนางเหาะไปอยู่บนดวงจันทร์ก็กลัวนางจะอดอยาก และด้วยความระลึกถึงความดีของนาง จึงจัดของเซ่นไหว้ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการไหว้พระจันทร์เป็นประจำ ทุกปีในคืนวันเพ็ญ เดือนแปดของจีน หรือวันสารทตงชิว เพื่อเซ่นไหว้เทพธิดาฉางเอ๋อ เพื่อให้ประทานความสุขความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารแก่มวลมนุษย์ สําหรับโต๊ะไหว้พระจันทร์นั้น คนจีนมักจะใช้โต๊ะกลม ขนมเปี๊ยะ หรือของที่ตั้งไหว้มักจะเป็นรูปทรงกลม เชื่อกันว่า จะเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ความกลมเกลียว ดอกไม้ ดอกเบญจมาศ ส่องประกายสีเหลืองอร่าม และเป็นดอกไม้ ตามฤดูกาลของจีน โต๊ะแต่ละโต๊ะ มีต้นอ้อย 2 ต้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรือง และความหวาน ส่วนโคมไฟ ให้แสงสว่าง ที่ขาดไม่ได้ คือ เครื่องสำอางสำ หรับเทพธิดาแห่งดวงจันทร์“ฉางเอ๋อ” ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าเทพธิดาฉางเอ๋อ ยังสถิตอยู่บนดวงจันทร์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการกู้ชาติของชนชาวจีนอีกด้วย ในช่วงปี พ.ศ. 1822 ชาวมองโกล ภายใต้การนําของกุบไลข่าน (หลานปู่ของ เจงกีสข่าน) ได้รุกรานเข้าสู่แผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ซ้อง สามารถโค่นล้ม และ ยึดครองประเทศจีนได้ จากนั้นได้สถาปนาก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นปกครองประเทศจีนในช่วงปี พ.ศ. 1823 - 1911 ช่วง ปลายราชวงศ์หยวน รัชสมัยของพระเจ้าหยวนซุ่นตี้เกิดความวุ่นวาย และภัยพิบัติขึ้นมากมาย ราชสำ นักอ่อนแอจึงทำ ให้ มีชาวจีนหลายกลุ่มคิดก่อการกบฏเพื่อกอบกู้แผ่นดินจีน แต่ว่าทางการออกคําสั่งห้ามชุมนุมกันจึงยากที่จะรวมกลุ่ม เพื่อปรึกษาแผนการ และระดมพล ในตอนนั้นมีนักยุทธศาสตร์การศึกชื่อ หลิวป๋ออุน ชาวมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นที่ปรึกษา ของกลุ่มกบฏที่นำ โดย จูหยวนจาง ได้คิดแผนการรวบรวมพลให้ก่อการขึ้นพร้อมกัน เนื่องจากชาวมองโกลนั้นไม่นิยม กินขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ ดังนั้นจึงอาศัยช่วงโอกาสนี้ทําขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ที่มีไส้หนาแล้วสอดไส้กระดาษที่เขียน ข้อความไว้ว่า “15 คํ่า เดือน 8 สังหารมองโกล” นำออกแจกจ่ายให้กับชาวจีนทั้งหลาย เมื่อถึงคืนวันไหว้พระจันทร์ กลุ่มชาวจีนทั้งหลายก็ลงมือก่อการขึ้นโดยพร้อมเพรียงกัน และสามารถโค่นล้ม ราชวงศ์หยวนลงได้ จูหยวนจางได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ก่อตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น (พ.ศ. 1911 - 2187) นับจากนั้น เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ที่มีการไหว้ขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์จึงเป็นงานฉลองระดับชาติ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น 2) การตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ การตั้งโต๊ะพิธีไหว้ดวงจันทร์ มักจะหันโต๊ะพิธีเข้าหาดวงจันทร์ บนโต๊ะพิธีที่นิยมกันนั้นจะประกอบด้วย อาหารเจ (ไม่มีเนื้อสัตว์ทุกชนิด) เนื่องจากอิทธิพล ของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เชื่อกันว่าพระจันทร์มีพระโพธิสัตว์ “จันทรประภา โพธิสัตว์” ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่สถิตอยู่บนดวงจันทร์ อาหารเจที่นิยมนำ มาไหว้นั้น นิยมนำ มาไหว้เป็นอาหารเจแห้ง 5 ชนิด ได้แก่ วุ้นเส้น เห็ดหูหนู (ขาวหรือดำก็ได้) ดอกไม้จีน ฟองเต้าหู และเห็ดหอม นอกจากนี้ก็จะมีการนำผลไม้ และขนมมาไหว้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งที่ได้รับความนิยมมาก คือ ขนมไหว้พระจันทร์ของคนกวางตุ้ง ที่มีไส้เยอะ ชิ้นใหญ่ บางอันมีไข่เค็ม ซึ่งมีรสชาติอร่อย ภายหลังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ จีน ซึ่งในสมัยก่อนนั้นขนมไหว้พระจันทร์จะทำ ขึ้นมาจากผลิตผลทาง การเกษตรของ ครอบครัว เช่น แป้งข้าวเหนียว ถั่ว งา ฯลฯ 62 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 63 ภาพที่ 3.12 การตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ที่จัดขึ้นภายในศาลเจ้าแม่หน้าผา ส่วนผลไม้นิยมใช้ ส้มโอ ซึ่งเป็นผลผลิตในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ และนิยมใช้เผือกทั้งหัวมาไหว้ มีเรื่องเล่าว่า การใช้เผือกทั้งหัวนั้น เกิดขึ้นภายหลังราชวงศ์หยวนที่เป็น คนเผ่ามองโกล ปกครองชาวฮั่น ซึ่งราชวงศ์หยวนนั้นเกรง ว่าชาวฮั่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของจีนจะคิดต่อต้านมองโกล จึงติดประกาศห้ามชุมนุม แต่ในโอกาสเซ่นไหว้พระจันทร์นี้ ชาวฮั่นได้ใช้วิธีนัดหมายโดยสอดกระดาษไว้ข้างในขนมไหว้ พระจันทร์มีข้อความทำ นองว่า ให้นำ หัวทหารมองโกล เซ่นไหว้ดวงวิญญาณวีรชน ซึ่งคำ ว่าเผือกนั้น ในภาษาจีน จะออกเสียงคล้ายคำ ว่าหู ซึ่งแปลว่า ชนเผ่าเร่ร่อน หรือ ชาวมองโกลนั่นเอง จึงมีความนิยมนำ เผือกมาไหว้ทั้งหัวแทน ศีรษะของทหารชาวมองโกลด้วย นอกจากผลไม้แล้ว ก็จะมีเครื่องไหว้ต่าง ๆ ได้แก่ ธูป เทียน กระถางธูป กระดาษไหว้พระจันทร์ กระดาษเงิน กระดาษทอง ซึ่งบางบ้านนำ มาทำ เป็นโคมไฟ กระดาษเงินกระดาษทอง และมักนิยมใช้แผ่นป้ายที่เขียนตัวหนังสือจีนว่า “ตงชิว” ในภาษาแต้จิ๋ว หรือ “จงซิว” ในภาษาจีนกลางแปลว่า ไหว้พระจันทร์ด้วย ปัจจุบันนี้ในเมืองไทยมีขายเครื่องไหว้ และเครื่องไหว้ต่าง ๆ ที่เยาวราช ซึ่งในช่วงนี้เริ่มวางขาย และมีการจับจ่ายซื้อเครื่องไหว้พระจันทร์กันมากที่สุด สามารถ จัดโต๊ะไหว้พระอย่างง่าย ๆ ได้ โดยใช้ขนม และผลไม้เป็นหลัก โดยฝ่ายหญิงนั้นนิยมนำแป้ง และเครื่องประทินโฉมต่าง ๆ มาวางบนโต๊ะพิธี เพื่อขอพลังแห่งดวงจันทร์ซึ่งถือว่าเป็นพลังที่ช่วยให้สวยงาม พิธีกรรมและการเตรียมของตั้งโต๊ะไหว้ พระจันทร์ 1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้เจ้าปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมโก๋ และขนมเปี๊ยะ 2. ของไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้บรรพบุรุษปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้ พระจันทร์ ขนมโก๋ ขนมเปี๊ยะ และผลไม้ไหว้ พิเศษ เช่น ส้มโอผลใหญ่ 3. ของไหว้เจ้าแม่ในตอนคํ่า - ของคาว อาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น ดอกไม้จีน เห็ดหูหนู เห็ดหอม และฟองเต้าหู - ขนมไหว้ ขนมไหว้พระจันทร์ไส้อะไรก็ได้ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะ ไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็งจึงเป็นของชอ คือ มีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ต้องไหว้อาหารเจ - ขนมโก๋ มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว โก๋เหลือง โก๋เช้ง และขนมโก๋อ่อน แบบต่าง ๆ - ผลไม้ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอผลใหญ่ ๆ - เครื่องดื่ม ใช้ชานํ้า หรือชาใบ หรือมีทั้งสองแบบ - กระดาษเงิน ค้อซี กอจี๊ ในวันไหว้พระจันทร์ ตามประเพณีจีนของชาวจีนที่นครสวรรค์จะถือโอกาสในวันนี้เป็นวันที่จะคัดเลือกผู้ที่จะมา เป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ในงานตรุษจีนปากนํ้าโพของนครสวรรค์ การที่ได้เป็นตัวแทนขององค์เจ้าแม่กวนอิมนั้น ถือว่า ได้รับเกียรติอย่างสูง
64 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 คุณสมบัติผู้เข้ ารับการคัดเลือกองค์ สมมติเจ้ าแม่ กวนอิม มีดังนี้ 1. เป็นสาวพรหมจรรย์ 2. เป็นลูกหลานชาวนครสวรรค์โดยกำ เนิด 3. มีอายุระหว่าง 15 - 24 ปี ส่วนสูงตั้งแต่ 158 เซนติเมตรขึ้นไป 4. มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับคณะกรรมการจัดงานฯ ในการประชาสัมพันธ์งานอย่างต่อเนื่อง 5. มีความพร้อมที่จะถือศีลกินเจ ก่อนวันเข้าร่วมกิจกรรมการคัดเลือกองค์สมมุติฯ อย่างน้อย 5 วัน 6. ไม่เป็นผู้ที่เคยได้รับคัดเลือกเป็นองค์สมมุติฯ มาก่อน 7. มีคำ รับรองความประพฤติจากผู้ปกครองหรือสถาบัน 8. หลังจากได้รับคัดเลือกเป็นองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมแล้ว ห้ามไปประกวดในงานต่าง ๆ อีก จนกว่าจะหมดวาระ หน้าที่ในงานเทศกาลตรุษจีนประจำ ปี 9. ในระหว่างที่เป็นองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง หรือวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการฯ หากไม่ปฏิบัติตาม หรือประพฤติไม่เหมาะสม ทางคณะกรรมการจะปลดออกทันที 10. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม ต้องถือศีลกินเจจนสิ้นสุดเทศกาลตรุษจีน 11. ผู้ทำการจัดฟัน ยินดีถอดชุดดัดฟันในขณะเข้าร่วมทุกกิจกรรม การคัดเลือกองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมนั้นมีหลายขั้นตอน โดยทำการคัดเลือกจนเหลือ 10 คนสุดท้าย แล้วจึงนำ มา ให้เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ที่จะได้รับเกียรตินี้ การเสี่ยงทายนี้เรียกว่า “ปั่วะปวย” จัดขึ้นในศาลเจ้าแม่ทับทิม ในวันไหว้ พระจันทร์โดยทำการโยน นิ้ว (ไม้สีแดงรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านหนึ่งเรียบ ด้านหนึ่งโค้งมี 2 ชิ้น หน้าตาเหมือนกัน ประกบกัน ได้เหมือนขนมครก) โดยทำการโยน 3 ครั้ง หากผลออกมา 3 ครั้งไม่เหมือนกัน (ควํ่า + ควํ่า, หงาย + หงาย, ควํ่า + หงาย) แสดงว่าเจ้าแม่ได้เลือกคนนั้น และเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะเข้าร่วมในพิธีไหว้พระจันทร์ของศาลเจ้าแม่หน้าผา วันเกิดเจ้ าแม่ ทับทิม ภาพที่ 3.13 งานฉลองวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม
ขนมอี๋นี้ทำ�มาจากแป้งข้าวเจ้า เมื่อปั้นเป็น ลูกนำ�มารับประทานจะอยู่ท้องได้ดี ในช่วงนี้อากาศ หนาว ยิ่งตอนกลางคืนอากาศยิ่งหนาว หากกินอาหาร ที่ไม่อยู่ท้อง จะทำ�ให้รู้สึกหิวแล้วตื่นบ่อย ๆ ลมหนาว จะมาจากทิศเหนือทำ�ให้คนทั่วไประลึกว่า อากาศ หนาวเย็นแล้ว คนจีนจึงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในช่วงเดือนนี้ เพื่อให้คุ้มครองสัตว์เลี้ยง แล้วพืชผลทางการเกษตร ให้เพาะปลูกได้ดี และขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้ง ทำ�ให้รับรู้ว่ากำ�ลังจะหมดไปอีกปีหนึ่งแล้วอายุมาก ขึ้นโตขึ้น ส่วนคนที่ยังดวงไม่ดีถ้าไหว้เจ้าวันนี้ก็จะหมด เคราะห์จะได้พบกับปีใหม่ที่ดี บางแห่งเอาขนมไปใช้ในพิธีแต่งงาน โดยให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกินเพื่อเป็นสิริมงคล อายุมั่น ขวัญยืน สามัคคีกลมเกลียว ในสมัยโบราณเมื่อถึงวันเทศกาล ตังโจ่ย คนจีนต่างให้ความสำคัญไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะเป็น วันใกล้สิ้นปี ต่างเตรียมการฉลองวันสิ้นปี และวันตรุษจีน ดั่งเช่นที่เมือง โซวจิว ชาวเมืองต่างตื่นกันแต่เช้า รีบไปไหว้เจ้าที่ ศาลเจ้ายังเก๊กเซี่ยถ่วงเบี่ย (ศาลเจ้าหลักเมือง) ร้านค้าต่างหยุดกิจการ ชาวเมืองต่างพร้อมใจกันร่วมฉลอง ดังเช่น วันตรุษจีน มีคำกล่าวขวัญกันว่า ตังโจ่ยท่วงจื้อ นี่โจ๊ยกอ แปลว่า ตังโจ่ย ฉลองขนม ท่วงจื้อ (เป็นขนมทรงกลมชนิดหนึ่ง) ตรุษจีน ฉลองขนมกอ (ขนมโก๋) นี่เป็นธรรมเนียมทำ ขนมกินกันตามสารท แต่ตามพิธีการของคนจีนส่วนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ • เทศกาลไหว้ ขนมบัวลอย ก่อนถึงวันตรุษจีนนี้ ก็จะมีเทศกาล ตังจี่ (ตังโจ่ย) หรือที่เรียกกันว่า สารท ขนมอี๋ (ขนมบัวลอย) ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคมของทุกปี เริ่มเปลี่ยนสารทตั้งแต่เวลา 1.27 นาฬิกา วันตังโจ่ย มีความสําคัญคือ กล่าวกันว่า ในวันเริ่มตังโจ่ยนี้ พระอาทิตย์อยู่ทางทิศใต้สุดขั้ว เงาของพระอาทิตย์ยาวที่สุดในสมัยโบราณจึงเรียกวันนี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) เป็นหลักการ โคจรของพระอาทิตย์ในแต่ละปี ภายหลังสารท ชิวฮุง (ปีนี้ตรงกับวันที่ 24 กันยายน) พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนลงสู่ทางทิศใต้ ถึงเส้นแวงที่ 23 องศา 26 ลิปดา 59 พิลิปดา ดังนั้น ทางขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ ดิน ฟ้า ภูมิอากาศย่อมมีความ แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แสงแดดยามกลางวันนั้นสั้น แสงมืดแห่งยามราตรีนั้นยาว แต่ที่ทางขั้วโลกใต้นั้นกลับตรงกันข้าม วันตังโจ่ย เป็นวันที่พระอาทิตย์อยู่ทางขั้วใต้สุด ๆ ดังนั้น วันตังจี่ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นํ้าจี่ (สุดใต้) และเมื่อผ่านวันตังโจ่ย ล่วงไปแล้ว พระอาทิตย์ก็จะเริ่มโคจรตามปกติสู่ทางด้านทิศเหนือ วันเวลายามกลางวันก็จะเริ่มต้นยาวขึ้นตามลำดับ วันตังโจ่ยจึงถือเป็นวันตายตัวของวันที่ 22 หรือวันที่ 23 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยะคติสากล แต่ปฏิทินจีนได้ใช้หลัก ตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีน วันตังโจ่ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี ภาพที่ 3.14 ขนมอี๋หรือขนมบัวลอย นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 65 พิธีกรรม และกิจกรรมในศาลเจ้า ในวันฉลองวันเกิดเจ้าแม่ทับทิมนั้น จะมีการตั้งโต๊ะ และชุดไหว้เจ้า โดยชุดไหว้จะมีเนื้อสัตว์ทั้งปลา หมู ไก่ ผลไม้ต่าง ๆ รวมทั้ง ข้าว และนํ้าชา พร้อมทั้ง จะมีคณะกรรมการดำเนินงานของศาลเจ้ามาร่วมประกอบพิธีกรรม โดยผู้เข้าร่วมงานจะนำของไหว้ ต่างๆ มาถวายเจ้าแม่ และร่วมประทานอาหารกลางวัน เป็นโต๊ะจีนที่ทางศาลเจ้าจัดไว้ ซึ่งถือว่าเป็น กิจกรรมทำบุญบริจาค เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมของศาลเจ้า โดยจะมีพิธีกรรมการประทับร่างทรง ของเจ้าแม่ทับทิม จะมีการทำฮู้แจก และแจกของที่คนนำ มาทำ บุญถวายเจ้าแม่ โดยมีผู้ร่วมงานเป็นจำ นวนมาก ร่างประทับ จะแจกฮู้ และประทับตราประจำ พระองค์ที่หน้าผากให้กับคณะลูกศิษย์ หรือผู้ที่มาร่วมงาน
66 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 • เทศกาลง่ วนเซียว (หยวนเซียว) เทศกาลง่วนเซียว (หยวนเซียว) ถือเป็นวันฉลองรับฤดูกาลเพาะปลูก และขอพรจากเบื้องต้นให้ประทานความอุดม สมบูรณ์ และฝนฟ้ามาให้ตลอดฤดูเพาะปลูกที่จะมาถึง เนื่องจากชาวจีนในอดีตส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ฝนจึง มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่มาก หากปีใดฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ข้าว ปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นสายฝนจึง เปรียบเสมือนเส้นชีวิตของชาวจีน เนื่องจากชีวิตของชาวจีนต้องขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ดังกล่าว จึงมีการเซ่นไหว้ บูชา เทพเจ้าต่าง ๆ และบรรพบุรุษ เช่น การเซ่นไหว้ศาลเจ้า “เที่ยงกง” ซึ่งถือเป็นเทพแห่งฟ้าผู้ควบคุมโชคชะตาของบุคคล และกาลอากาศทั้งมวล เทศกาลง่วนเชียว (หยวนเซียว) จัดเป็นงานใหญ่ระดับชุมชนที่ทุกครอบครัวจะต้องเข้าประกอบพิธี ในปฏิทินจีน มักจะกำ หนดกันว่าเป็นต้นฤดูฝน หรือช่วงที่ฝนเริ่มตก โดยมีกำ หนดเวลา คือ วันที่ 15 ของเดือนที่ 5 ถือได้ว่าเป็นการสร้าง ความมั่นใจ และเรียกขวัญได้ดีจากงานรื่นเริงที่ทำกันในวันดังกล่าว เมื่อถึงวันที่ 15 ของเดือนที่ 1 ชาวจีนจะตระเตรียมของเซ่นไหว้ไปศาลเจ้าในชุมชนของตน ถือเป็นการเซ่นไหว้ ในระดับชุมชน และเตรียมของเซ่นไหว้เจ้า และบรรพบุรุษของตนที่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นการเซ่นไหว้ในระดับครอบครัว โดยเซ่นไหว้ที่ศาลเจ้าก่อน แล้วจึงกลับมาเซ่นไหว้เจ้า และบรรพบุรุษที่บ้าน สำ หรับศาลเจ้าแต่ละแห่งจะจัดให้มีการละเล่น ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้าโพ เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องใน ํ โอกาสฉลองวันตรุษจีนโดยจัดในวันขึ้น 4 ค่า เดือนอ้ายของทุกปี ในงานจะมีการแห่มังกรทองซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ ํ บันดาลคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์ จึงแห่แหนเพื่อแสดงความกตัญญู มีการเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ตามศาลเจ้าต่าง ๆ มาร่วมขบวน โดยริ้วขบวนจะประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมของคนจีนเชื้อสายต่าง ๆ อาทิ ขบวนธง ขบวนสิงโต ขบวนเอ็งกอ ฯลฯ ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดนครสวรรค์ 2. ประเพณีแห่ เจ้ าพ่ อเจ้ าแม่ ปากนํ้าโพ ในวันตังโจ่ยนี้ คนจีนทางภาคเหนือมักกินเกี๊ยวนํ้า ส่วนคนจีนทางภาคใต้มักกินขนมท่วงจื้อ ตามธรรมเนียมของคนจีน ทางภาคใต้ ขนมท่วงจื้อ ซึ่งเป็นขนมรูปเม็ดทรงกลมได้ถูกพัฒนามาเป็นขนมอี๋ (ขนมบัวลอย) ดังเช่นที่เห็น ๆ คนจีนส่วนใหญ่ กินกันในประเทศไทยเพราะว่า ขนมอี๋ (บัวลอย) รูปเม็ดทรงกลม คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อกินขนมชนิดนี้ตอนเทศกาล วันตังโจ่ย จะทำ ให้บุคคลในครอบครัวต่างสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียวกันยิ่ง ๆ ขึ้น แม้ในวันพิธี มงคลที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ขนมอี๋ ย่อมเป็นที่ขาดเสียมิได้ สารทการไหว้ด้วยขนมบัวลอย จะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงไหว้ในบ้าน หรือนอกบ้านก็ได้ แต่ตามหลักจีนโบราณจะตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงนอกบ้านโดยต้องตั้งเครื่องบวงสรวงไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในบ้านก่อน จึงมาตั้งไหว้กลางแจ้งนอกบ้าน โดยอาจจุดธูป 3 ดอก 5 ดอก 10 ดอก งานรื่นเริง มีทั้งภาพยนตร์ การเชิดสิงโต - มังกร และอื่น ๆ รวมทั้งการออกร้านเพื่อหาเงินบำ รุง กิจการของศาลเจ้า ช่วงเย็นจะมีการชุมนุมกันเพื่อที่จะประมูลสิงโตนํ้าตาลกลับมาบ้านของตนเอง สิงโตนํ้าตาลถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความแคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ แล้วยังถือเป็นความ สมบูรณ์ที่จะได้รับเสมือนความหวานของนํ้าตาลที่หล่อเป็นรูปสิงโต ส่วนรายได้จากการประมูล จะนำ ไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงาน และเครื่องบูชาต่าง ๆ ของศาลเจ้า
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 67 ภาพที่ 3.15 ประเพณีตรุษจีนและแห่เจ้าปากน้ำ�โพ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2562 กำ�เนิดประเพณีการแห่ เจ้ าพ่ อเจ้ าแม่ ปากน้ำ�โพ การแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ เป็นประเพณีที่กล่าวเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปฏิบัติสืบเนื่อง กันมา การแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากนํ้าโพ เริ่มครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสของชาวไหหนำ คุณเตียงตุ่น แช่ภู่ ว่าการแห่เจ้ามีมาก่อนที่จะเกิดโรคระบาด โดยสมัยก่อนแห่ทางนํ้าใช้เวลาในการแห่ 2 วัน โดยอัญเชิญ รูปจำลองเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าพ่อกวนอู - เจ้าแม่ทับทิม ประทับบนเกี้ยว แล้วนำลงเรือบรรทุกข้าว หรือเรือบรรทุกไม้ ล่องไป ทางตลาดใต้ บ้านตากุ๋ยแล้วอัญเชิญกลับศาล วันที่สองจะทำการแห่ขึ้นไปทางเหนือทางสถานีรถไฟ ขบวนแห่จะมีเฉพาะองค์ เจ้าและพะโหล่ว ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางบกสะดวกจึงได้อัญเชิญออกแห่รอบตลาดปากนํ้าโพ และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ของชาวไหหนำ คือ การเชิดเสือพะโหล่ว สาวงามถือโบ้ยโบ้ (อาวุธเจ้า) ไซกี่ (ธง) และมาร่วมในขบวน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 - 2462 เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาด ทำให้ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุ เพราะการแพทย์ การสาธารณสุขสมัยนั้นยังไม่เจริญเท่าที่ควร ชาวบ้านต้องพึ่งพาหมอตามบ้าน หรือซินแสจีน แต่ก็ไม่สามารถ ยับยั้งโรคระบาดได้ ส่วนใหญ่หันไปพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในครั้งนั้นเจ้าพ่อแควใหญ่ (เจ้าพ่อเทพารักษ์) ได้ประทับทรงทำพิธีรักษา โรคด้วยการเขียน “ยันต์กระดาษ” หรือเรียกว่า “ฮู้” ให้ติดตัว หรือปิดไว้หน้าบ้าน และได้นำฮู้เผาไฟเพื่อทำนํ้ามนต์ให้ประชาชน ดื่มกิน และประพรมรอบตลาด บริเวณใดที่ได้ทำพิธีแล้วก็จะใช้ผ้าแดงกั้นไว้ให้ประชาชนผ่านไปมาเส้นทางนี้ได้ เป็นผลให้การ ระบาดของโรคหมดไป ความศักดิ์สิทธิ์จากปากต่อปากที่เล่าขาน และแรงศรัทธา จึงทำให้มีผู้คนศรัทธามากราบไหว้เพิ่มขึ้นทุกปี จากแรงศรัทธานี้ทำให้ทั้งชาวไทย ชาวจีนกวางตุ้ง ชาวจีนแคะ และชาวจีนแต้จิ๋ว ได้เข้ามาร่วมในขบวนแห่ โดยนำเอา ศิลปะของตนเข้าร่วมในขบวนแห่ เช่น ขบวนสิงโต ขบวนมังกร ขบวนเอ็งกอ ขบวนล่อโก๊ว ฯลฯ และใน พ.ศ. 2510 ชาวไหหนำ ได้นำศิลปะการรำถ้วยเข้ามาในขบวนแห่ และได้จัดเป็นประเพณีที่ได้ถือปฏิบัตินับแต่นั้นมา และตามบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ได้จัดโต๊ะรับเจ้าทั่วตลาดปากนํ้าโพ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อกิจการ และครอบครัว สําหรับวันที่ใช้แห่ในช่วงที่มีแต่ชาวไหหนำนั้นขึ้นอยู่กับองค์เจ้าพ่อกำหนด แต่เมื่อมีหลายกลุ่มภาษามาร่วมในขบวนแห่ คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม แควใหญ่ จึงขอต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์กำหนดวันที่แน่นอน ซึ่งในครั้งนั้นได้ กำหนดวันขึ้น 4 คํ่า เดือนอ้ายของจีน (คือ วันที่ 4 โดยให้เริ่มนับวันที่กำหนดเป็นวันตรุษจีนตามปฏิทิน เป็นวันที่ 1) โดยถือเป็น ประเพณีที่ได้สืบทอด และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครสวรรค์นับแต่นั้นมาจนทุกวันนี้ ในอดีตขบวนแห่ของชาวไหหนำจะเลือกลูกหลานไหหนำเข้ามาร่วมในขบวนแห่ โดยทางคณะกรรมการจะนำส้มพร้อม ผ้าเช็ดหน้า และซองอั่งเปาไปมอบให้ที่บ้าน เพื่อให้เข้าร่วมแห่และคนในครอบครัวนั้น ๆ จะรู้สึกปลื้มใจที่ได้เข้าร่วมในขบวนแห่ โดยถ้าถูกเลือกให้ถือธงหรือโบ้ยโบ้ บิดามารดาบ้านนั้น ๆ จะตัดเสื้อผ้าชุดใหม่ แต่งตัวให้ลูกสาวอย่างสวยงาม ปัจจุบันประเพณีการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่เทศกาลตรุษจีนได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครสวรรค์เป็นอย่างมาก ซึ่งรูปแบบ การจัดงานได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย โดยได้คัดเลือกชาวตลาดปากนํ้าโพเข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดงาน หรือ ที่เรียกว่าคณะกรรมการกลาง (เถ่านั้ง) โดยการจัดงานในปัจจุบันจะจัดงานในภาคกลางคืนถึง 12 คืน โดยในงานจะจัดให้มี อุปรากรจีนทั้งไหหนํา และแต้จิ๋ว การจัดขบวนแห่ก็ได้จัดให้มีขบวนแห่กลางคืนมีแสงสีที่สวยงาม ซึ่งการแห่กลางคืนนี้ถือได้ว่า เป็นการล้างตลาดก่อนที่วันรุ่งขึ้นจะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ออกแห่รอบตลาดปากนํ้าโพ
68 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 ภาพที่ 3.15 ประเพณีตรุษจีนและแห่เจ้าปากน้ำ�โพ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2562 ชาวตลาดปากนํ้าโพ ทั้งชาวไทย ชาวจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนแคะ จึงได้ร่วมกับจีนไหหลำจัดการละเล่นของ แต่ละกลุ่มภาษาจึงได้ร่วมกันอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่อยู่ในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ มาแห่รอบตลาดเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ชีวิต และครอบครัวของชาวตลาดปากนํ้าโพเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 1 คํ่า เดือน 1 ของจีน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกคน ในช่วงเทศกาลตรุษจีน และได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ทุกองค์ แห่ทางนํ้าแล้วขึ้นบกแห่รอบตลาดปากนํ้าโพ จนในปัจจุบัน เปลี่ยนมาแห่ทางบกเพียงอย่างเดียว ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จนกลายเป็น ประเพณีสืบทอดกันมากกว่า 100 ปี เพื่อแสดงการขอบคุณเทพเจ้า และเพื่อความเป็นสิริมงคล ความเจริญก้าวหน้า ในด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอำนวยอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็นแหล่งทำกิน ในพิธีจะมี ขบวนแห่มากมาย อาทิเช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ พะบู๊ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม และนางฟ้า ขบวนองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น “งานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ” ในสมัยเริ่มแรกนั้น มีวัตถุประสงค์ในการที่จะนำองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ แห่ไปในเส้นทางต่าง ๆ ในเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการะขอพรให้ปัดเป่าทุกข์ภัย เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่เมือง และ ชาวเมืองปากนํ้าโพ แต่สมัยต่อมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดงาน และชาวตลาดปากนํ้าโพเห็นว่า งานแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากนํ้าโพนี้อยู่ในช่วงของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นบรรยากาศของการเฉลิมฉลอง ดังนั้นจึงต้องการให้มีการจัด ขบวนการแสดงต่าง ๆ ในขบวนแห่มากขึ้น และต่อมาจึงได้เกิดการผสมผสานทั้งพิธีกรรมความเชื่อขององค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ และขบวนการแสดงต่าง ๆ เกิดเป็นความรู้สึกที่มีเพื่อทั้งความเป็นสิริมงคล และเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ในช่วงเทศกาล ตรุษจีนของชาวปากนํ้าโพอีกด้วย ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้น เป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อความเป็นสิริมงคล การแห่เจ้านี้เริ่มทำครั้งแรกใน พ.ศ. 2475 และได้ปฏิบัติ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวนครสวรรค์ โดยในพิธีแห่จะมี 2 รอบ คือ รอบกลางคืนในวันชิวซา (วันที่ 3 เดือน 1 ตามปฏิทินของจีน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. ไปจนถึง เวลา 22.00 น. สำหรับรอบกลางวัน ในวันชิวสี่ (วันที่ 4 เดือน 1 ตามปฏิทินของจีน) ในขบวนแห่รอบเมืองประกอบไปด้วย ขบวนแห่มังกรทอง ซึ่งชาวจีนถือว่า เป็นเทพเจ้าที่บันดาลคุณประโยชน์อย่างมากแก่มวลมนุษย์ จึงถือได้ว่าเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ และมีการสืบทอดกัน มายาวนาน เพื่อแสดงความกตัญญู โดยมีการเชิดชู และนำเจ้าพ่อเจ้าแม่ในศาลเจ้าออกมาร่วมขบวนแห่ไปตามถนนต่าง ๆ ในตัวเมืองนครสวรรค์
พิธีกรรมและขั้นตอนที่สำ คัญในงานประเพณีแห่ เจ้ าพ่ อเจ้ าแม่ ปากน้ำ โพ 1. พิธีการโยนไม้ เสี่ยงทาย (ปั่วะปวย) ศาลเจ้ าพ่ อเทพารักษ์ - เจ้ าแม่ ทับทิม ซึ่งลักษณะของไม้เสี่ยงทาย (ปั่วะปวย) ทั้ง 3 ครั้ง ที่ออก คือ ควํ่าทั้ง 2 อัน เรียกว่า “เอียม” หงายทั้ง 2 อัน เรียกว่า “อย่าง” ควํ่า 1 อัน และหงาย 1 อัน เรียกว่า “เตี๋ย” อนึ่ง ในกรณีทั่วไป ผู้ที่มาสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่ และขอพร โดยการโยนไม้เสี่ยงทายให้อธิษฐาน และ กำ หนดให้ไม้เสี่ยงทายออกอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับการ อธิษฐาน และกำ หนดของผู้ขอพร ยกเว้นการเสี่ยงทาย ขนมมงคล ในงานวันคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อเจ้าแม่ ไม้เสี่ยงทาย จะต้องออก “ควํ่า 1 อัน และหงาย 1 อัน” หรือที่เรียกว่า “เตี๋ย” เท่านั้น ธรรมเนียมของการโยนไม้เสี่ยงทาย (ปั่วะปวย) ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ - เจ้าแม่ทับทิม การโยนไม้เสี่ยงทายเพื่อขออนุญาตจากองค์เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ ในการที่จะประกอบพิธีที่สำคัญ คือ พิธี อัญเชิญลงจากแท่นที่ประทับ เพื่อนำออกแห่ในเทศกาลตรุษจีน พิธีขออนุญาตเปลี่ยนเครื่องทรง และ ลุยไฟ พิธีการขออนุญาตเป็นเจ้าภาพงานคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อเจ้าแม่ หรือพิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่คณะกรรมการไม่สามารถจะตัดสินใจได้ โดยผู้ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการ ในการโยนไม้เสี่ยงทาย จะต้องเป็นประธาน หรือผู้อาวุโสของศาลเจ้าฯ เท่านั้น โดยก่อนที่จะโยนไม้เสี่ยงทาย จะต้องจุด ธูปสักการะองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ที่แท่นสักการะของเจ้าพ่อเทพารักษ์ ยกเว้นพิธีการขออนุญาตเป็นเจ้าภาพงานคล้ายวันเกิด เจ้าพ่อเจ้าแม่ ให้ทำ พิธีหน้าแท่นสักการะขององค์เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ ที่จะขออนุญาตเป็นเจ้าภาพ และจะต้องโยนไม้เสี่ยงทาย ขึ้นเหนือศีรษะ 3 ครั้ง โดยทั้ง 3 ครั้ง จะออกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ จึงจะถือว่าได้รับอนุญาตจากองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ ภาพที่ 3.18 การเสี่ยงทาย หงายทั้ง 2 อัน เรียกว่า “อย่าง” นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 69 ภาพที่ 3.19 การเสี่ยงทาย คว่ำ� 1 อัน และหงาย 1 อัน เรียกว่า “เตี๋ย” ภาพที่ 3.17 การเสี่ยงทาย คว่ำ�ทั้ง 2 อัน เรียกว่า “เอียม”
70 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 2. การทำ พิธีอัญเชิญป้ายเจ้ าพ่ อเจ้ าแม่ ไปไว้ ณ ศาลเจ้ าชั่วคราว (สถานที่จัดงานเทศกาลตรุษจีนปากนํ้าโพ) 07.30 น. ที่ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ และเจ้าแม่ทับทิม มีผู้คนเดินทางมาร่วมพิธีที่ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ และเจ้าแม่ ทับทิม (ศาลเจ้าแควใหญ่) เป็นจำ นวนมากทั้งคณะสิงโต และผู้ร่วมขบวนบางคนเดินทางมายังศาลเจ้าตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 น. ผู้คนส่วนใหญ่สวมเสื้อสีแดงเดินทางมาเพื่อสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่ และร่วมพิธีกรรมประทับทรง และพิธีอัญเชิญ ป้ายเทพเจ้าไปไว้ ณ ศาลเจ้าชั่วคราวในตลาดบริเวณจัดงานเทศกาลตรุษจีนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลเจ้า เพื่อให้ประชาชน ได้เดินทางมาสักการบูชาได้โดยสะดวก ในช่วงเทศกาลตรุษจีน และจะนำกลับมายังศาลเจ้าเมื่อสิ้นสุดเทศกาลตรุษจีน 08.30 น. ร่างทรงเจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม หรือเจ้าแม่สวรรค์ โดยร่างทรงทุกองค์จะมีอาการ อาเจียน โก่งคอ หลับตา ตัวสั่น ผู้ดูแลเริ่มเข้ามาช่วยกันถอดนาฬิกา แว่นตา ที่ร่างทรงสวมใส่มาด้วย ท่ามกลางเสียงผ่างที่ ตีดังกังวานอยู่ตลอดเวลา ร่างทรงเจ้าพ่อเจ้าแม่ทุกร่างยังคงมีอาการอาเจียน และตัวสันอยู่ตลอดเวลา จากนั้นร่างทรง เริ่มกระโดด พร้อมยกมือ หมุนตัว กึ่งวิ่งกึ่งกระโดดไปรอบ ๆ บริเวณ จากนั้นร่างทรงไปยังโต๊ะวางป้ายชื่อเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ทาง หลังจากร่างทรง ทำ ฮู้เสร็จแล้ว ร่างทรงได้นำ ฮู้มาเผาไฟ ร่างทรง นำฮู้ที่กำลังติดไฟถือไว้บน ถังนํ้า พร้อม กับว่าคาถา ดวงตาเพ่งมองไปบนแท่นที่ประทับองค์เจ้าพ่อ เทพารักษ์ แล้วหย่อนไหม้นั้นลงในถังนํ้า จากนั้นร่างทรง นำ พู่กันจุ่มลงไปที่เถ้าในกระถางปักธูป ตักเถ้าใส่ลงไปใน ถังนํ้านั้น จากนั้นเขียนอะไรบางอย่างเขียนเสร็จร่างทรงนำ ตราประจำ องค์เจ้าพ่อเทพารักษ์ประทับตราลงที่นํ้าในถัง นํ้าแล้วร่างทรงนำดาบที่ตอนแรกใช้เชือดลิ้นมาจุ่มแล้วกวน ในถังนํ้าพร้อมกับว่าคาถาเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการทำ นํ้ามนต์ ศาลได้นำ มาทำ ความสะอาดล่วงหน้าก่อนถึงพิธีในวันนี้แล้ว ด้วยนํ้าชา ร่างทรงแต่ละองค์จะกระโดดหมุนตัวเคลื่อนไปยัง แท่นบูชาแต่ละองค์ แล้วกระโดดหมุนตัวไปยังแท่นบูชา จากนั้นผู้ดูแลร่างทรงทุกองค์จะช่วยกันเปลี่ยนเครื่องทรง ให้กับร่างทรง เครื่องทรงประกอบด้วย เสื้อ กางเกงขาก๊วย ผ้าคาดศีรษะ ผ้าคาดเอว ซึ่งเครื่องทรงทุกชิ้นล้วนแต่มีสีแดงสด ตลอดระยะเวลาที่ผู้ดูแลช่วยกันเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับร่างทรงนั้น ร่างทรงยังคงมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา มีเหงื่อออกมารอบปาก ดวงตาแข็งกร้าว กำ มือแน่นเกร็ง ต่อต้านผู้ดูแล หลังเปลี่ยน เครื่องทรงเป็นที่เรียบร้อย ผู้ดูแลจะหยิบดาบที่มีคมทั้งสองด้านให้กับร่างทรง ผู้ดูแลอีกคนยื่นถ้วยนํ้าให้กับร่างทรง ร่างทรง มือหนึ่งถือดาบ อีกมือรับถ้วยนํ้า จากนั้นร่างทรงอมนํ้าแล้วพ่นไปที่ดาบ 3 ครั้ง จากนั้นร่างทรงใช้ 2 มือจับดาบที่ปลาย ทั้ง 3 ด้าน แล้วเริ่มการเชือดลิ้น โดยดาบในมือเถือไปที่ลิ้นของตนนับสิบครั้ง จนมีเลือดไหลออกมา ร่างทรงถ่มเลือดลง ในจานใส่ผ้าหมึกสีแดงแล้วทำการเชือดลิ้นต่อจนมีเลือดไหลออกมาอีกอย่างไม่แสดงอาการเจ็บปวดใด ๆ ในช่วงที่ทำ พิธี ภาพที่ 3.20 ร่างทรงเจ้าพ่อเทพารักษ์ขณะเริ่มประทับทรง หลังจากนั้น ร่างทรงนำฮู้ที่ได้ทำ ไว้มาเผาไฟแล้ววางบนข้าวสารที่เตรียมไว้ในถาด จากนั้นจึงทำการหยิบกระดาษ มาเผาไฟ แล้วโยนไปที่เก้าอี้ตะปู จากนั้นนำข้าวสารเสกขว้างไปด้านหน้า แล้วทำการประพรมนํ้ามนต์ให้กับผู้ดูแล หลังจาก นั้นร่างทรงใช้มือตบที่แท่นบูชาเจ้าพ่อเทพารักษ์แล้วกระโดดขึ้นไปนั่งบนนั้น จากนั้นร่างทรงนำตราประจำองค์เจ้าพ่อ เจ้าแม่ จุ่มหมึกสีแดงในจานผ้าหมึก เจิมหน้าผากผู้มาร่วมพิธีที่ต่อแถวเดินเข้ามากันอย่างไม่ขาดสาย ภาพที่ 3.21 ร่างทรงเจ้าพ่อกวนอู ขณะประทับทรงเถือลิ้นทำ�ฮู้และน้ำ�มนต์
แล้วนำ เทียนใส่เข้าไปในปากมังกร พร้อมว่าคาถา แล้วนำ เอาเทียนทั้งหมดนั้นใส่เข้าไปในปากของ ตนเองอีกครั้งหนึ่ง จนไฟดับแล้วพ่นเทียนทั้งกำ นั้นออกมาจากปาก ร่างทรงเจ้าพ่อสามตานำดาบออกมาเชือดลิ้นตนเองแล้วใช้ลิ้นที่ชุ่มนํ้าเลือดนั้นเจิมในปาก มังกร เขา ตา และหนวดมังกร นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 71 ภาพที่ 3.22 ร่างทรงเจิมตราประทับประจำ�องค์ที่หน้าผาก และแจกฮู้ให้กับผู้มาร่วมพิธี เมื่อร่างทรงเจิมหน้าผากผู้มาร่วมพิธีได้ระยะหนึ่ง ร่างทรงเจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าพ่อสามตา เดินไปทำ พิธีเปิดตามังกร โดยร่างทรงเป็นผู้ประกอบ พิธีกรรม เริ่มโดยร่างทรงนำ พู่กันจุ่มหมึกสีแดงเขียนที่ หัวมังกร และเจิมลงบนจุดต่าง ๆ เช่น ตา หู ปาก จากนั้น ร่างทรงนำฮู้เผาไฟวนรอบ ๆ หัวมังกร ตามังกร แล้วนำ ตราประจำองค์เจ้าพ่อจุ่มหมึกสีแดงแล้วลูบบริเวณหนวด มังกรแล้วนำ พู่กันเขียนที่หางมังกร นำ ตราประจำ องค์ เจ้าพ่อมาประทับลงบนหนวดมังกร แล้วพรมนํ้ามนต์ จากนั้นร่างทรงเจ้าพ่อเดินไปเจิมกงบ่ายด้วยพู่กันจุ่มหมึกสีแดงทุกอัน แล้วร่างทรงนำคณะกรรมการศาลเจ้า มาที่แท่นประทับของเจ้าพ่อเจ้าแม่ แล้วดึงธูปดอกใหญ่จากกระถางยื่นให้คณะกรรมการศาล คนละ 1 ดอก จากนั้น ร่างทรงเจ้าพ่อลงไปเจิมรถที่จอดอยู่ด้านล่างของศาล ซึ่งมีทั้งรถที่เข้าร่วมขบวนน่ากงบ่ายย้ายไปไว้ ณ ศาลเจ้าชั่วคราว (รถที่ร่วมขบวนจะผูกด้วยผ้าสีแดง หรือสีชมพู) และรถของผู้ศรัทธาที่มาร่วมพิธี โดยการนำ พู่กันจุ่มหมึกสีแดงมาเขียน ที่หน้ารถ จากนั้นตราประจำองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ประทับลงไปที่หน้ารถพรมนํ้ามนต์ และขว้างข้าวสารเสก จากนั้นคณะกรรมการศาลนำกงบ่าย และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ธง กงหล่วนฯ ลงมาจากศาล ขึ้นรถแล้ววนรอบ ศาลเจ้า 3 รอบ ก่อนเดินทางออกจากศาลไปยังศาลเจ้าชั่วคราว 10.38 น. ขบวนเดินทางมาถึงศาลเจ้าชั่วคราวที่ตั้งอยู่ด้านหน้าบริเวณสมาคมไหหนำ นครสวรรค์ มีการนำกงบ่าย มาวางในศาลเจ้าชั่วคราว และนำของอื่น ๆ อาทิเช่น ธง ศาสตราวุธ มาไว้ที่ศาลเจ้าชั่วคราวแห่งนี้ด้วย ร่างทรงเจ้าพ่อ ภาพที่ 3.23 พิธีเบิกเนตรสิงโตกว๋องสิวโดยร่างทรงเจ้าพ่อสามตา เทพารักษ์ ทำ พิธีอยู่ภายในศาล ร่างทรง เจ้าพ่อกวนอู ทำ พิธีอยู่ที่ประตูทางเข้าศาล ร่างทรงเจ้าแม่ทับทิม ประทับอยู่เก้าอี้ทาง ซ้ายมือของของศาล และร่างทรงเจ้าพ่อ สามตาทำ พิธีอยู่ฝั่งตรงข้ามร่างทรงเจ้าพ่อ กวนอู 10.50 น. ขบวนมังกรเดินทาง มาถึง มังกรทำความเคารพร่างทรงเจ้าพ่อ สามตา ร่างทรงเจ้าพ่อสามตานำ เทียน สีแดง 9 เล่ม มาจุดแล้วถือไว้ในปากมังกร พร้อมกับว่าคาถา แล้วเอาเทียนทั้งหมดนั้น ใส่เข้าไปในปากของตนเองเพื่อให้เทียนดับ จากนั้นนำ เทียนทั้งหมดไปจุดไฟอีกครั้ง
72 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 3. พิธีการเชิญองค์ เจ้ าพ่ อเจ้ าแม่ ไปไว้ ณ ศาลเจ้ าชั่วคราว (สถานที่จัดงานเทศกาลตรุษจีนปากน้ำ โพ) พิธีกรรมสำ�คัญในประเพณีตรุษจีนปากนํ้าโพ คือ การแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพในวันชิวสี่ เป็นรอบ แห่กลางวัน (วันที่ 4 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน) วัตถุประสงค์เพื่อสร้างศรัทธาของชาวตลาดปากนํ้าโพ โดยจะมีการเชิญองค์ เจ้าพ่อเจ้าแม่จากศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม (ศาลเจ้าแควใหญ่) มาร่วมขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพร่วมกับ องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ศาลเจ้าหน้าผา ในขบวนแห่ที่จะแห่ไปตามถนนสายต่าง ๆ ในตลาดปากนํ้าโพ โดยจะประกอบพิธีภายใน ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม ในเวลาประมาณ 04.55 น. มีลำ�ดับขั้นตอนของพิธีกรรม ดังนี้ 1) การทํา “ฮู้” และนํ้ามนต์โดยจะมีการประทับร่างทรงเจ้าพ่อเจ้าแม่ ได้แก่ เจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่ทับทิม - เจ้าแม่สวรรค์ และเจ้าพ่อสามตาตามลำ�ดับ เมื่อมีการประทับร่างเสร็จแล้วจะมีพี่เลี้ยงช่วยกันเปลี่ยนเสื้อผ้า ให้ร่างทรงด้วยเครื่องทรงสีแดงร่างทรงแต่ละองค์ใช้มีดเฉือนลิ้น และป้ายเลือดจากลิ้นลงบนกระดาษฟาง สีเหลืองพร้อมกับ การประทับตราประจำ�ตัว (ร่างทรงแต่ละคนจะประทับตราประจำ�ตัวตามเจ้าที่ประทับตน) จากนั้นนำ�พู่กันแต้มหมึกสีแดง จากจานใส่ผ้าหมึก ลากลงบนกระดาษฟางแผ่นเดิม ซึ่งขั้นตอนการทำ�นี้เรียกว่าการทํา "ฮู้" ร่างทรงนำ�ไปเผาไฟ และ วนรอบ ๆ ในถังนํ้าที่เตรียมไว้พร้อมว่าคาถาขณะที่ฮู้กำ�ลังไหม้ (ทำ�นํ้ามนต์) อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ มีด กระดาษ ฟาง พู่กัน จาน ผ้าหมึกสีแดง ถังนํ้า เครื่องดนตรี (ผ่าง) 2) การไล่วิญญาณ เพื่อชําระล้างสิ่งสกปรก และป้องกันไม่ให้วิญญาณอื่นเข้ามาสถิตในขณะประกอบพิธีกรรม โดยเริ่มที่ร่างทรงพรมนํ้ามนต์ และชัดข้าวสารที่เกี่ยวหลัง จากนั้นร่างทรงเชือดไก่ใช้เลือดไก่ป้ายที่แท่นประทับเจ้าพ่อเจ้าแม่ และเกี้ยว ต่อจากนั้นคณะกรรมการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ และบริวารประทับในเกี้ยว อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ นํ้ามนต์ ข้าวสาร ไก่หนุ่ม มีด เกี้ยว เครื่องดนตรี (ผ่าง) 3) การนั่งเก้าอี้ตะปูซึ่งเป็นขั้นตอนพิธีกรรมที่จัดขึ้นในเวลาประมาณ 05.30 - 06.00 น. เริ่มจากร่างทรง แต่ละองค์ถือมีด และธงเดินไปนั่งบนเก้าอี้ตะปูซึ่งรองด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง และขย่มตัวอย่างแรงบนเก้าอี้ตะปู ตัวนั้น หลังจากนั้นขบวนของแต่ละองค์เริ่มเดินออกจากศาลเจ้า และเริ่มตั้งขบวนของแต่ละองค์ร่างทรง และขบวนเกี้ยว เวียนรอบศาลเจ้า 3 รอบ เวียนจากซ้ายไปขวาโดยร่างทรงจะทำ�พิธีเจิมหน้าผากและพรมนํ้ามนต์ให้กับประชาชนผู้มีจิต ศรัทธา หรือผู้ร่วมในขบวนแห่ อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ เก้าอี้ ตะปู กระดาษเงิน กระดาษทอง เครื่องดนตรี (ผ่าง) จาน ผ้าหมึก สีแดง นํ้ามนต์ ตราประทับเจ้าพ่อแต่ละองค์ ➢ 3.1 พิธีการแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ พิธีจัดขึ้นในระหว่างเวลาประมาณ 07.30 - 19.30 น. โดยจะมีพิธีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพไปตาม ถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อปัดรังควานขจัดความชั่วร้ายออกไปจากบ้าน หรือร้านค้าเพื่อความเป็น สิริมงคล โดยเริ่มจากการอัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่จากศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิมจากศาลเจ้าแควใหญ่ไปตามถนน เพื่อข้ามสะพานเดชาติวงศ์มายังจุดเริ่มต้น การตั้งขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ ณ บริเวณสี่แยกไฟแดง แยกสะพาน เดชาติวงศ์ โดยจะจัดรูปขบวนองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพร่วมกับองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่จากศาลเจ้าแม่หน้าผา ➢ 3.2 พิธีกรรม และขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ เจ้าของบ้าน เจ้าของร้านค้าที่ตั้งโต๊ะไหว้เจ้า หรือรับเจ้า จะเริ่มจุดธูปเทียนเมื่อขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ มาถึง โดยร่างทรงลงจากเก้าอี้ตะปูมาทำ�พิธีให้กับบ้าน หรือบริษัทร้านค้าที่จัดโต๊ะไหว้เจ้า ร่างทรงทำ�พิธีที่โต๊ะไหว้ด้วยการ เขียนฮู้ และใช้ถ้วยครอบข้าวสารแล้วทำ�การตั้งกงหล่วน เมื่อสามารถตั้งกงหล่วนได้ ร่างทรงจะพรมนา้ํ มนต์ และขัดข้าวสาร หลังจากนั้นเจ้าของบ้าน หรือบริษัทร้านค้าจุดประทัดเป็นอันเสร็จพิธี ร่างทรงขึ้นนั่งบนเก้าอี้ตะปู ย้ายไปทำ�พิธีให้กับบ้าน หรือบริษัทร้านค้าหลังต่อไป
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 73 ภาพที่ 3.24 โต๊ะรับเจ้า ร้านค้าในตลาดปากน้ำ�โพ จัดโต๊ะของไหว้รับเข้าวันแห่รอบตลาด อุปกรณ์ที่ใช้ โต๊ะบูชาตามบ้าน กระดาษฟาง พู่กัน ผ้าหมึก สีแดง ตราประทับเจ้าพ่อ ข้าวสาร นํ้ามนต์ กงหล่วน ขบวนเกี้ยวเจ้าพ่อ เจ้าแม่ และขบวนต่าง ๆ เก้าอี้ตะปู เครื่องดนตรี (ผ่าง) บรรดาร้านค้าทั้งหลาย ถือว่าเป็นมงคลที่จัดตั้งโต๊ะเครื่อง เซ่นไหว้รอรับเจ้า และขบวนต่าง ๆ ผ่านร้านของตนเอง และถือว่าเป็น วันแรกของการทำการค้าขายในปีใหม่ โดยจะมีการประกวดแข่งขันเรื่อง การจัดโต๊ะรับเจ้าของร้านค้าต่าง ๆ ในตลาดอีกด้วย นอกจากขบวนของ เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพแล้วนั้น จะมีขบวนมังกรทอง หรือขบวนสิงโตของ คณะต่าง ๆ ที่จะเข้ามาร่วมเชิด หรือแสดงในบริเวณที่ตั้งโต๊ะไหว้ หรือ รับเจ้านั้นด้วย ซึ่งขบวนเหล่านี้ถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่มาอวยพรปีใหม่ใน การทำ มาค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของห้างร้านบริษัทต่าง ๆ และลูกจ้างพนักงานต่าง ๆ ซึ่งจะมี การให้แต๊ะเอียกับคณะต่าง ๆ ที่เข้ามาแสดง หรืออวยพรให้กับร้านค้า ห้างร้าน บริษัทต่าง ๆ ถือว่าเป็นการบริจาคทำ บุญ ให้กับคณะสิงโต หรือคณะมังกร รวมทั้งคณะดนตรีล่อโก้วต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมในขบวนแห่เจ้า ขบวนแห่ในเทศกาลตรุษจีนปากนํ้าโพรอบแห่กลางวันนั้นถือว่าเป็นกิจกรรมที่ชาวปากนํ้าโพให้ความสำ คัญ มากที่สุด โดยจะเริ่มแห่กันตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00 น. ไปตามถนนสายต่าง ๆ รอบตลาดปากนํ้าโพ และไปสิ้นสุดที่ ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาในเวลาประมาณ 19.00 น. ขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ ส่วนใหญ่จะมีการนำ เสนอเรื่องราวตำ นาน และความเชื่อของชาวจีนรวมทั้ง การละเล่นพื้นบ้านของชาวจีนมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ตั้งแต่ขบวนแรกถึงขบวนสุดท้าย มีความยาว ประมาณ 3 - 4 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขบวนแห่ในเทศกาลตรุษจีนปากนํ้าโพ จังหวัด นครสวรรค์ ➢ 3.3 พิธีการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่กลับศาลเจ้า การอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่จากศาลชั่วคราวกลับมายังศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม (ศาลเจ้า แควใหญ่) วัตถุประสงค์เพื่อสร้างศรัทธาต่อองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากนํ้าโพ พิธีจะเริ่มขึ้นเวลา 09.00 - 11.00 น. มีพิธีกรรม และขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ เจ้าพ่อเจ้าแม่เข้าประทับร่างทรง (เจ้าพ่อเทพารักษ์, เจ้าพ่อกวนอู, เจ้าแม่ทับทิม - เจ้าแม่สวรรค์ และ เจ้าพ่อสามตาตามลำดับ) โดยจะมีพี่เลี้ยงช่วยกันเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ร่างทรงด้วยเครื่องทรงสีแดง หลังจากนั้นร่างทรงใช้มีด เฉือนลิ้นและป้ายเลือดจากลิ้นลงบนกระดาษฟางสีเหลืองจะประทับตราประจำตัว (ขั้นตอนเหมือนกับการทำฮู้ และน้ามนต์ ํ ในพิธีเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่มาตั้งที่ศาลเจ้าชั่วคราว) ในระหว่างการทำ พิธีจะมีผู้ศรัทธานำ รถยนต์มาให้ร่างทรงประพรม นํ้ามนต์ซัดข้าวสารเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชน และผู้ศรัทธา เมื่อเสร็จแล้วจะมีการตั้งขบวนรถร่างทรง และเกี้ยว ของแต่ละองค์เพื่อเคลื่อนขบวนกลับไปศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ เจ้าแม่ทับทิม เมื่อถึงบริเวณศาลเจ้าจะให้ขบวนเวียนรอบ ศาลเจ้า 3 รอบ จากขวาไปซ้าย และให้คณะกรรมการหามเกี้ยว และเก้าอี้ตะปู, กระถางธูป, กงหล่วน ข้ามกองไฟก่อนที่จะ อัญเชิญองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่แต่ละองค์ขึ้นบนศาลเจ้า และวางรูปเคารพที่แท่นประทับเครื่องทรงเจ้าพ่อชุดแดง โดยที่ร่างทรง จะทำ พิธีกรรมเชือดลิ้นเพื่อทำ ฮู้ และนํ้ามนต์จากนั้นร่างทรงนั่งเก้าอี้ตะปูแจกฮู้ให้กับประชาชนและ ผู้ศรัทธาในศาลเจ้า และลำ ดับสุดท้าย คือ เจ้าพ่อเจ้าแม่ออกจากร่างทรง โดยมีผู้ดูแลศาลเจ้าจัด เตรียมอาหารเซ่นไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ มีด ตราประทับเจ้าพ่อ กระดาษฟาง ถังนํ้า ข้าวสาร รถยนต์ ผู้ศรัทธา เกี้ยว กงหล่วน กระถางธูป กระดาษเงิน กระดาษทอง ธูป เครื่องดนตรี (ผ่าง)
ประเพณีการแข่งเรือยาว เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปีในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยวัดที่ตั้งอยู่บริเวณ ริมฝังแม่นํ้าเจ้าพระยาจะจัดรวมกับงานประจำ ปีของวัด เช่น งานปิดทองไหว้พระวัดจอมคีรีนาคพรต งานประจำ ปีของ วัดเกาะหงษ์ เป็นต้น ในงานจะมีการนำ เรือจากสถานที่ต่าง ๆ มาทำการแข่งขันกัน ปัจจุบันการแข่งเรือของชาวจังหวัด 3. ประเพณีการแข่ งเรือยาว ภาพที่ 3.25 ประเพณีการแข่งเรือยาว จังหวันครสวรรค์ นครสวรรค์ จะจัดที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และเป็นการแข่งขัน เพื่อชิงรางวัล ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปีวัดที่อยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ในเขตอำ เภอเมือง และอำ เภอโกรกพระ จะมีงานปิดทองไหว้พระ และ ร่วมกันจัดให้มีการแข่งเรือยาวขึ้นเป็นประจำ ทุกปี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ วัดเกาะหงษ์ ตําบลตะเคียนเลื่อน อำ เภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การแข่ง เรือจะสนุกสนาน และครึกครื้นด้วยเสียงเชียร์ของกองเชียร์ต่าง ๆ เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคี และความสามารถของ ฝีพายที่นำ เรือเข้าแข่งขัน เรือที่เข้าแข่งจะมีความยาวประมาณ 30 เมตร ระยะทางในการแข่งขัน ประมาณ 500 - 600 เมตร จำ นวนฝีพาย 30 - 50 คน ลักษณะของเรือส่วนมากจะมีผ้าแพรสีต่าง ๆ และพวงมาลัยคล้องไว้ที่หัวเรือ ในขณะที่เรือได้ลง ทำการแข่งขันอยู่นั้น ก็จะได้มีการร้องเพลงพื้นบ้าน เพื่อเป็นการให้กำลังใจฝีพายที่ลงทำการแข่งขัน ความสำคัญของประเพณีแข่งเรือ คือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสงานแข่งเรือซึ่งเป็นงานประจำ ปีปิดทอง ไหว้พระของเขาบวชนาค (วัดจอมคีรีนาคพรต) ช่วงเดือน 11 โดยขบวนเสด็จประพาสต้นขาล่อง ในพระราชหัตเลขาทรง กล่าวว่า จอดที่หน้าวัดเขา ซึ่งราษฎรมาประชุมกันอยู่ที่นั้น นํ้าท่วมสะพานหมดไม่มีที่ยืนต้องจอดเรืออยู่ แต่ราษฎรแข่งเรือ กันสนุกสนานมาก การแข่งเรือที่นี้ มาแต่เช้าแข่งเรือกันทอดหนึ่งแล้วขึ้นไหว้พระแล้วกลับลงมาแข่งเรืออีก นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณยิ่ง จึงสรุปได้ว่าประเพณีการแข่งเรือจังหวัดนครสวรรค์นั้นมีความสำคัญยิ่งประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสานให้คงอยู่สืบไป ปัจจุบันการแข่งเรือได้พัฒนา คือ มีการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ณ สนามแข่งเรือริมนํ้าหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ทำ ให้มีเรือสมัครเข้าทำการแข่งขันเป็นจำ นวนมาก มาจากหลายจังหวัดในปี 2548 จังหวัดกำ หนดให้มีการแข่งขันเรือตะเข้ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ 74 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 งานประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีของชาวไทยที่มีมาช้านาน และมี การสืบทอดต่อกันมา เป็นการขอขมาต่อแม่พระคงคาซึ่งถือปฏิบัติกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ประเพณีลอยกระทงของชุมชนหน้าผา จังหวัดนครสวรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากที่อื่นก็คือ การลอยกระทงสายโดยกระทงจะทำ มาจากกะลามะพร้าว และการลอยกระทงจะลอยพร้อม ๆ กันไป ทำ ให้เป็นสายอยู่กลางแม่นํ้าซึ่งมีความสวยงามมาก เป็นการกำ เนิดของ กระทงสาย หรือกะลาสาย กะลาสี ในจังหวัดนครสวรรค์ 4. ประเพณีลอยกระทงสาย สยามบรมราชกุมารีขึ้นมา ซึ่งเรือตะเข้นี้จะแข่งกันในเวลากลางคืน นับเป็นปีแรกที่มีการจัดแข่งเรือ ตะเข้ เพื่อชิงเงินรางวัลกันในสนามเดียวกันนี้ซึ่งเกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น คนชมมากขึ้น นอกจากนี้ในงานประเพณีแข่งเรือยังมีงานแสดงมหกรรมสินค้า และมีสวนสนุก ฯลฯ ให้เที่ยวชมกัน อีกด้วยสร้างความสนุกเพลิดเพลิน และยิ่งใหญ่ของงาน ส่วนในวันตัดสินการแข่งขันเรือจะทำ การถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์เป็นประจำ ทุกปี
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 75 ภาพที่ 3.26 ชาวปากน้ำ�โพทำ�กระทงกะลา สืบทอดงานลอยกระทงกะลาสาย - กะลาสี ภาพที่ 3.27 ประเพณีสงกรานต์บ้านเขาทอง ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ประเพณีสงกรานต์บ้านเขาทอง เป็นประเพณีของชาว ตำ บลเขาทอง อำ เภอพยุหะคีรี ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชาวไทย เชื้อสายมอญอาศัยอยู่เป็นจำ นวนมาก ในงานสงกรานต์บ้านเขาทองจะมีประเพณีการจับข้อมือสาว มีการละเล่น และ 5. ประเพณีสงกรานต์ บ้ านเขาทอง การแสดงพื้นบ้านที่หลากหลาย อาทิ เช่น รำ พิษฐานรำช้าเจ้าโลม เต้นกำ รำ เคียว เข้านางสุ่มฯลฯ เป็นต้น ปัจจุบันงานสงกรานต์บ้านเขาทอง ยังคงจัดสืบทอดต่อกันมาจนกลาย เป็นประเพณีสำ คัญของจังหวัด นครสวรรค์ ประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบต่อกัน มีมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา เป็นการลอยเพื่อความสนุกสนานภายในครอบครัวมาก สืบเนื่องมาจากสมัยที่ปากนํ้าโพเป็นแหล่งชุมชนพ่อค้าไม้ที่ล่องมา จากทางเหนือ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ทำ ให้ชาวปากนํ้าโพ และจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี ร่วมกันขอขมาพระแม่คงคา ณ สายนํ้าปิง แห่งบริเวณชุมชนหน้าผานี้ งานประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี วัฒนธรรมทางสายนํ้าความผูกพันธ์ทางสายนํ้า ณ สายนํ้าปิง ในปีนี้เทศบาลนครนครสวรรค์ร่วมกับชาวชุมชนหน้าผา และ ชาวชุมชนในเขตเทศบาลอีก 66 ชุมชน กำ หนดจัดงานประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 คํ่า เดือน 12 ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่หน้าผา เป็นการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และสวยงาม กิจกรรมในช่วงกลางคืนเป็น การลอยกระทง กะลาสาย กะลาสี ที่ลอยเต็มแม่นํ้าปิง เป็นกระทงที่ทำ มาจากกะลามะพร้าว ในการลอยกระทงจะลอย พร้อม ๆ กัน ทำ ให้เป็นสายอยู่กลางแม่นํ้าซึ่งมีความสวยงาม รวมถึงยังมีการแสดงบนเวที การประกวดนางนพมาศ และ ถนนตลอดทั้งสายมีผู้คนอย่างหนาแน่นในคํ่าคืนลอยกระทง เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี พร้อมทั้งส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ประเพณีลอยกระทงสาย เป็นประเพณีของชุมชนบ้านหน้าผา อำ เภอเมืองนครสวรรค์ เมื่อใกล้วันที่จะมีพิธีลอยกระทงสาย ชาวบ้านหน้าผาจะนำกะลาที่เก็บสะสมไว้ตลอดทั้งปีมาทำความสะอาด และตกแต่ง ด้วยกระดาษสี ทำ เทียนวางไว้กลางกะลาไม่ใส่ดอกไม้ และธูป เทียนเหมือนกระทงทั่วไป เมื่อถึง วันเพ็ญขึ้น 15 คํ่า เดือน 12 เวลา 18.00 น. ถึง 24.00 น. ชาวบ้านหน้าผาจะนำ กระทงกะลา ที่ได้เตรียมไว้จำ นวนนับพันใบมาจุดเทียนแล้วปล่อยกระทงกะลาลงในแม่นํ้าเจ้าพระยา โดยเริ่มตั้งแต่ บริเวณหน้าศาลเจ้าแม่หน้าผา อำ เภอเมืองนครสวรรค์
76 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 ประชาชนชาวตำ บลเขาทองทั้ง 12 หมู่บ้าน ได้ร่วมกันจัดงานประเพณีจับข้อมือสาว เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นงานประเพณีเก่าแก่ของหมูบ้าน และเป็นงานประเพณีแห่งเดียวในประเทศไทย โดยมีนายอำ เภอพยุหะคีรี เป็น ประธานเปิดงาน ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักสุดสนุกสนาน เนื่องจาก 1 ปี จะมีการจัดงานดังกล่าว 1 ครั้ง ส่วนกิจกรรม ภายในงาน นอกจากจะมีการเดินจับข้อมือกันแล้ว ประวัติประเพณีจับข้อมือสาวนี้ ยังมีการร้อง รำ ทำ เพลง การเล่นเพลง พื้นบ้าน เพลงข้าเจ้าโลม ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชาย - หญิง ซึ่งมีเนื้อเพลงที่ไพเราะ และท่ารำ ที่สวยงาม ที่ชาวตำ บลเขาทองได้อนุรักษ์ไว้ด้วย ขณะที่ความเป็นมาของงานประเพณีจับข้อมือสาวนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่รายหนึ่งเปิดเผยว่า ถึงเชื่อกันว่าสมัยก่อน หนุ่มสาวที่รักใคร่ชอบพอกัน จะถือโอกาสนี้บอกรักสาวที่ชอบ โดยยึดถือประเพณีสงกรานต์นี้จับข้อมือของสาวที่ตนชอบ เพื่อเป็นการบอกว่าตนเองนั้นชอบพอสาวคนนี้อยู่ หากสาวเจ้ามีท่าทีว่ามีใจ ก็จะมีการพาผู้ใหญ่เข้าไปสู่ขอกันต่อไป แต่ การจับข้อมือสาวนั้น สามารถจับได้ภายในวัดเท่านั้น ออกนอกวัดไม่สามารถจับได้ อย่างไรก็ตาม งานประเพณีดังกล่าวประชาชนในพื้นที่ ต.เขาทอง ได้มีการร่วมกันจัดงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ติดต่อกันมาไม่ตํ่ากว่า 100 ปีแล้ว และจะมีการจัดงานพิธีนี้ไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดกัน แต่ภาพที่เห็น อาจะมีแต่หนุ่มสาววัยกลางคนที่จับข้อมือกันเท่านั้น เพราะวัยรุ่นในพื้นที่ไม่กล้าที่จะแสดงออกบอกรักกันเหมือนเมื่อก่อน เนื่องจากทุกวันนี้วัฒนธรรมได้เปลี่ยนไปมาก ข้าวแช่บางมะฝ่อ คือ อาหารทำขึ้นมาถวายพระสงฆ์ เลี้ยงญาติพี่น้องที่มารวมกันในช่วงสงกรานต์ หรือรับประทาน ในชีวิตประในวัน ชาวบ้านบางมะฝ่อทำสืบเนื่องมาโดยย่า ยาย สอนหลาน แม่สอนลูก ต่อเนื่องกันมา แต่ปัจจุบันเหลือน้อย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทำอย่างพิถีพิถันเริ่มจากเลือกข้าวสารชนิดที่ดีที่สุดที่จะหาได้ หุงให้ค่อนข้างสวย คือ เม็ดข้าว ไม่สุกเกิน แล้วนำ มาล้าง หรือขัดในกระบาย หรือตะกร้า เพื่อให้น้าผ่านได้ ล้าง หรือขัดด้วยน ํ ้าสะอาด สมัยก่อนใช้น ํ ้าฝนล้าง ํ ให้เหลือแต่เม็ดข้าวเกลี้ยง ๆ เนื้อข้าวที่สุกมากเกินไปจะหลุดออกไปกับนํ้าแล้วนำ ไปใส่ในตะกร้าโปร่ง ๆ เพื่อให้นํ้าสะเด็ด ก็คือ ข้าวแห้งไม่มีนํ้า นำ ไปรับประทานได้ หรือจะนำ ไปนึ่งเพื่อไม่บูดง่าย ในสมัยก่อนนำ นํ้าใส่โอ่งดิน หรือคนโทดินของ ชาวเชียงใหม่นํ้าจะเย็นสนิท สมัยนี้ใช้นํ้าแข็งแทน นำ นํ้าใส่ดอกมะลิ (ปลูกที่บ้าน) อบ หรือแช่ในภาชนะที่มีฝาปิด 1 คืน แล้วนำ น้าที่อบดอกมะลิมาใส่ข้าวที่ล้างไว้ ใส่น ํ ้าแข็งรับประทานกับอาหารข้าวแช่ เวลาทานต้องตักอาหารข้าวแช่รับประทาน ํ ก่อนแล้วตามด้วยข้าวแช่นํ้าดอกมะลิ ประวัติความเป็นมา ประเพณีงานบุญข้าวแช่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 หรือต้นรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณร้อยกว่าปี ไทยได้กวาดต้อนเชลยมอญมาจากหงสาวดี ต่อมาตั้งบ้านเรือนที่เมืองประทุมวัน (จังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบัน) อยู่มาวันหนึ่งพระยาประทุมได้ท่องเที่ยวมาท่าเรือผ่านตำ บลบางมะฝ่อ บรรยากาศร่มรื่นสวยงามจึงจอดเรือขึ้น มาเที่ยวพักผ่อน และได้พบกับสาวงามบางมะฝ่อ ชื่อนางสาวพิณ พรพิทักษ์ ได้รักชอบกันจะสู่ขอไปเป็นสนมที่เมืองประทุม 6. ประเพณีงานบุญขาวแช้ ่ ทั้งนี้ สำ หรับประวัติของชาวบ้าน ต.เขาทอง มีสืบเชื้อสายมานานกว่า 350 ปี ปัจจุบัน มีจำ นวนประชากร 6,000 กว่าคน ดั้งเดิมชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรม มีเชื้อสายมอญจึงสืบสาน ประเพณีสงกรานต์ที่ไม่เหมือนใคร และยังคงมีกลิ่นไอของขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ ทุกประการ
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 77 นางสาวพลอย ซึ่งเป็นน้องสาวตามไปอยู่ด้วย ต่อมาพระยาประชุมเสียชีวิตคุณยายพิณ คุณยายพลอย ได้กลับมาอยู่ที่บ้าน ใกล้กับวัดบางมะฝ่อ ทางด้านทิศใต้ซึ่งเป็นต้นตระกูลทองพิทักษ์ ต่อมาคุณยายพิณ คุณยายพลอยได้บวชชีปฏิบัติธรรมที่ วัดบางมะฝ่อ มีหลวงพ่ออ่อนเป็นเจ้าอาวาส พอช่วงเดือนเมษายนอากาศร้อน แม่ชีพิณ แม่ชีพลอย ได้ทำกับข้าวแช่ซึ่งเอา แบบอย่างมาจากมอญ ถวายหลวงพ่ออ่อน หลวงพ่ออ่อนชอบข้าวแช่มาก ฉันท์แล้วชื่นใจมากเหมาะกับฤดูกาล จึงชักชวน ให้ชาวบ้านทำ มาถวายพระในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ประกอบกับชาวบ้านบางมะฝ่อชอบสะสมของเก่า สังคโลก เบญจจรงค์ (ด้วยกระเบื้องใส่ของคาว) กังใส (ถ้วยแก้วใส่ของหวาน) นำ มาใส่อาหารข้าวแช่เป็นสำ รับสวยงาม ใส่สาแหรก หาบไปวัด ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีที่ดี และสวยงามของชาวบ้านบางมะฝ่อ ปัจจุบันจะมีงานในวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี และวันที่ 13 เมษายนจะมีการนำ กระดูกของบรรพบุรุษไปตั้งรวมกันที่ศาลาวัดบางมะฝ่อ กลางคืนมีมหรสพฉลอง เช้ามีขบวนแห่สำ รับข้าวแช่ของแต่ละหมู่บ้าน จัดตกแต่งขบวนอย่างสวยงาม ทำ ให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่บ้าน เวลา 11.00 น. ถวายข้าวแช่แด่พระสงฆ์ และจะมีเทศ 1 กัณฑ์ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ บริเวณวัดเลี้ยงข้าวแช่ฟรีทุกคน ภาพที่ 3.28 งานบุญเลี้ยงข้าวแช่ วัดบางมะฝ่อ ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ประเพณีข้าวแช่บางมะฝ่อ จะจัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี ที่วัดบ่งมะฝ่อ ตำ บลบางมะฝ่อ อำ เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจัดโดยสำ นักงานเทศบาลตำ บลบางมะฝ่อ พอถึงวันงานชาวบ้านบางมะฝ่อ ก็จะนำ สำ รับข้าวแช่ ใส่สาแหรกหาบไปวัด ซึ่งสำ รับที่นำ มาใส่อาหารข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสังคโลก เบญจรงค์ (ถ้วยกระเบื้องใส่ของคาว) สืบเนื่องมาจากชาวบ้านบางมะฝ่อ ชอบสะสมของเก่า ส่วนอาหารข้าวแช่มีหลายอย่าง เช่น ผักกาดเค็มผัด กระเทียมดองผัด ปลาเกลือผัด หมูผัดหวาน กะปิทอด พริกหยวกสอดไส้ ยำกุ้งแห้ง ยำ ไข่เค็ม และยำกุนเชียง ประเพณีข้าวแช่บางมะฝ่อนั้น เป็นประเพณีอันเก่าแก่ซึ่งมีมานานประมาณร้อยกว่าปี ในการจัดงานแต่ละครั้ง ถือ เป็นการรวมญาติของชาวบ้านบางมะฝ่อเพราะงานจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำ ให้ชาวบ้านและญาติพี่น้องได้มี โอกาสมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตาและได้รดนํ้าดำ หัวขอพรจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติผู้ใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคล บ้านบางมะฝ่อเป็นหมู่บ้านชนบทเล็ก ๆ ของอำ เภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ เป็นชาวสวน เมื่อว่างมาจากทำสวนจะหันมาทำ จักสาน แต่เมื่อเวลาที่มีการจัดกิจกรรมประเพณีในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันที่ 14 เมษายนของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีข้าวแช่ ชาวบ้านทุกคนจะพร้อมใจร่วมกันจัด กิจกรรมด้วยความสามัคคีทำ ให้งานประเพณีข้าวแช่บางมะฝ่อมีการสืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน เป็นระยะเวลาร้อยกว่าปี ในปัจจุบันการจัดงานประเพณีข้าวแช่ยังคงมีการจัดงานอยู่อย่างต่อเนื่อง ในทุก ๆ ปี และมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการประกวดสำ รับข้าวแช่ ประกวดเทพี ข้าวแช่ ประกวดก่อเจดีย์ทราย
78 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 อําเภอตากฟ้าได้ถือปฏิบัติประเพณีบุญสลากภัตนี้มาในทุก ๆ วัด ตั้งแต่หลายสิบปีมาแล้ว คือ “บุญสลากภัต” โดยเฉพาะที่วัดตากฟ้าได้งดตามประเพณีมาเป็นประจำ ทุกปี ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ. 2537 พระเทพปัญญาภรณ์ (ริด ริตเวที ป.ธ.9, กศ.ม.) หรือ เจ้าคุณริด เจ้าอาวาสวัดตากฟ้าพระอารามหลวง รองเจ้าคณะภาค 4 ท่านได้กำ หนดให้ถ้าอำ เภอตากฟ้าจัดงาน ประเพณีบุญสลากภัตให้ตรงกับวันวิสาขบูชา จะอยู่ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี และได้ปรับปรุงพัฒนาประเพณี บุญสลากภัตให้แปลก และยิ่งใหญ่ขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งท่านได้เป็นผู้ริเริ่มสนับสนุนและส่งเสริมให้มีประเพณีบุญสลากภัตเป็น ประเพณีประจำอำ เภอตากฟ้ามาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีคณะสภาวัฒนธรรมอำ เภอตากฟ้าเป็นผู้ประสานงานให้และได้รับ ความร่วมมือจากชาวตากฟ้าทุกคน กิจกรรมในงานประเพณีบุญสลากภัตของอำ เภอตากฟ้า ที่ว่าแปลกกว่าที่อื่น ได้แก่ 1. การประกวดสำ รับสลากภัต 2. การประกวดเทพีสลากภัต 3. การประกวดขบวนแห่สลากภัต จึงทำ ให้ประเพณีบุญสลากภัตเป็นประเพณีบุญใหญ่ ของอำ เภอตากฟ้าและเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลาย รูปแบบการจัดประเพณีวัฒนธรรมให้ คงไว้ ที่ว่ าแปลกกว่ าที่อื่น ได้ แก่ 1. การประกวดสำ รับสลากภัตซึ่งจะมีการกำ หนดรูปแบบของสำ หรับสลากภัต เพื่อให้มีความสวยงาม และ เพียรพอสำ หรับจำ นวนพระภิกษุ โดยจะมีการกำ หนดรูปแบบดังนี้ ต้องมีคานหางหงส์สาแหรก และกระจาด ต้องมีอาหาร คาว 4 อย่าง และอาหารหวาน 4 อย่างต้องมีคนโทนํ้า (อาจจะเป็นทองเหลืองหรือเหยือกแก้ว) โดยจะมีการลอยดอกมะลิ หรือหยดนํ้ายาอุทัยทิพย์และต้องมีภาชนะตักนํ้าด้วย ที่สำคัญคือ เจ้าของสำ รับจะแต่งชุดไทยหรือชุดพื้นบ้าน 2. การประกวดเทพีสลากภัตเป็นกิจกรรมที่เริ่มเข้ามาให้งานใหญ่ขึ้น การประกวดจะเหมือนกับการประกวด นางงามทั่วไป คือ มีการเดิน การแสดงความสามารถทางวัฒนธรรม และจะไม่กำ หนดสถานภาพของผู้เข้าประกวด คือ อาจจะเป็นโสด ม่าย หรือสมรสแล้วก็ได้ 3. การประกวดขบวนแห่สลากภัต เป็นกิจกรรมที่เสริมเข้ามาอีกกิจกรรมหนึ่งโดยจะกำ หนดรูปแบบขบวนใน เหมือนกันทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรม สำ หรับรูปแบบของขบวนแห่สลากภัตในแต่ละขบวนมีดังนี้ มีรถตกแต่งเรื่องราว พุทธประวัติ1 คัน บนรถต้องมีหญิงสาวแต่งชุดไทย 1 คน สำ รับสลากภัต 1 สำ หรับ มีผู้หาบสำ รับอย่างน้อย 10 คนขึ้นไป (แต่งชุดไทย) มีขบวนเถิดเทิงได้และมีผู้เข้าร่วมขบวนแต่งชุดไทยอย่างน้อย 30 คน 7. ประเพณีบุญสลากภัต ภาพที่ 3.29 ประเพณีการทำ�บุญสลากภัตวัดตากฟ้าพระอารามหลวง
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 79 นอกจากนั้นยังจัดให้มีขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ และหาบสลากภัตตอนเช้าของวันวิสาขบูชาทุก ๆ ปี มีการ จัดขบวนของแต่ละหน่วยงาน และทุกตำ บลเข้าร่วมในขบวนแห่สลากภัตของอำ เภอตากฟ้า โดยจะตั้งต้นขบวนที่สนาม หน้าเทศบาลตำ บลตากฟ้า แล้วแห่มาตามถนนพหลโยธินผ่านหน้านิคมสร้างตนเอง ตากฟ้า ตลาดตากฟ้าที่ว่าการ อำ เภอตากฟ้า แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าไปยังวัดตากฟ้าพระอารามหลวงไปประจำ ที่ ๆ จัดไว้ให้สำ หรับถวายสำ รับสลากภัตที่ ศาลาการเปรียญวัดตากฟ้า สําหรับสีสันวัฒนธรรมประเพณีบุญสลากภัตวัดตากฟ้านั้น จะเห็นได้จากผู้คนที่เข้ามาร่วมงานจะแต่งกายด้วยชุด ไทยประยุกต์นุ่งผ้าไทยผ้าไหม และผ้าทอพื้นบ้านสวยงามเรียบร้อย น่ามอง มีการออกร้านรำวงย้อนยุค นำอาหารคาวหวาน ที่หาทาน และหาดูยากมาแจกให้ทาน ในงานมีการแสดงศิลปะของศิลปินพื้นบ้าน และศิลปินแนวหน้าระดับประเทศมา ร่วมบุญ พรั่งพร้อมด้วยมหากุศลจากการได้ถวายสลากภัตพระภิกษุสามเณรหลายร้อยรูป ด้วยเหตุที่วัดตากฟ้าพระอาราม หลวงแห่งนี้ เป็นวัดที่จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียนตลอดปีกว่าสามร้อยรูป อัตลักษณ์ ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ประพฤติปฏิบัติกันสืบมาจนถึงปัจจุบันโดยแบ่ งออกเป็น 3 ด้ าน ดังต่ อไปนี้ 1. ด้ านการแต่ งกาย การแต่งกายชุดไทยเป็นสำคัญทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ส่วนการแต่งกายชุดไทยก็จะมีความ หลากหลายกันออกไป ตามแต่ละชุมชนหน่วยงานจะกำ หนดหรือตกลงกัน 2. ด้ านหาบสลากภัต สำ หรับการหาบสลากภัต จะมีการประดับตกแต่งสวยงาม หลากหลายลวดลายด้วยวัสดุ จากธรรมชาติ เช่น ประดิษฐ์หาบสลากภัตเป็นรูปพญานาค รูปหงส์ รูปนกยูง เป็นต้น 3. ด้ านสำหรับอาหารคาว - หวาน สำ หรับอาหารคาว - หวาน ที่ทำ ให้สำ หรับสลากภัตมาถวายพระภิกษุ สามเณรนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นอาหารพื้นบ้านประเภทแกงเรียง นํ้าพริกปลาทู นํ้าพริกกะปิ ต้มยํา เป็นต้น ของหวาน ประเภทข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวสังขยา ขนมบัวลอย ขนมปลากิม เป็นต้น ผลไม้ เช่น เงาะ แตงโม ส้มองุ่น มะม่วง เป็นต้น ปัจจุบันการจัดงานประเพณีบุญสลากภัตวัดตากฟ้าพระอารามหลวงจัดเป็นงานประเพณีบุญใหญ่ประจำอำ เภอ ตากฟ้า ซึ่งถือเป็นประเพณีบุญที่ทำ ให้หลาย ๆ จังหวัดรู้จักอำ เภอตากฟ้ามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงอำ เภอตากฟ้า หลาย ๆ ท่านต้องพูดถึงประเพณีบุญสลากภัต เนื่องจากรูปแบบ และกระบวนการจัดงานที่หลากหลายไม่ซํ้ากันในแต่ละปี ที่มีการจัดงานโดยพระเทพปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดตากฟ้าพระอารามหลวง รองเจ้าคณะภาค 4 ที่ได้มีการปรับเปลี่ยน รูปแบบการจัดงานทุกปีให้มีการนำ เอาวัฒนธรรมทั้งในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามาเป็นกิจกรรมใน การ จัดงานหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกปี ซึ่งทำ ให้งานที่ออกมามีความน่าสนใจเป็นที่ประทับใจถูกใจของ ผู้เข้ามาร่วมงานเป็นมาร่วมงานเป็นอย่างมาก ซึ่ งแสดงให้เห็นถึงความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ควรแก่การอนุรักษ์เผยแพร่ และสืบทอดกัน ต่อ ๆ ไปตั้งอยู่ในหลักของคำว่าวิถีไทยวิถีธรรมวิถีพุทธอย่างแท้จริง
80 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 งานประเพณีบุญกำ ฟ้า บ้านวังรอ จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวที่บ้านวังรอ ตำ บลวังมหากร อำ เภอท่าตะโก จังหวัด นครสวรรค์ มักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 3 งานบุญกำ ฟ้าเป็นประเพณีโบราณของชาวไทพวนและไทโซ่ง ซึ่งเป็น ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านวังรอ ชาวพวน และโซ่งมีความเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และผี โดยเฉพาะ “ผีฟ้า” จึงมีงานทำ บุญ ประจำ ปีด้วยมีความเชื่อถือว่าจะนำความสุข และความอุดมสมบูรณ์มาสู่ชุมชน 8. ประเพณีบุญกําฟ้ า บ้ านวังรอ ประเพณีบุญกําฟ้า เป็นประเพณีโบราณของชนเชื้อสายพวน ณ บ้านวังรอ หมู่บ้านวังรอ ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ จัดขึ้นในราวเดือน 3 ของทุกปี มี 3 ระยะ คือ (1) วันพิธีกําฟ้า กำ หนดในวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 3 ก่อนวัน พิธีกําฟ้า 1 วัน เป็นวันสุกดิบ ชาวบ้านทั้งหมดจะมารวมกันที่ศาลา การเปรียญของวัด จัดเรียงข้าวปลาอาหารสำ หรับถวายพระในวัน รุ่งขึ้น มีข้าวหลาม ข้าวจี่ เป็นของสำคัญในพิธีกำ ฟ้า โดยเป็นการนำ เอาข้าวใหม่มาทำ เป็นของบูชาผีฟ้าในวันกําฟ้า ชาวบ้านจะมารวม กันที่วัด แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าชุดสวยที่สุด มีการตักบาตรในตอนเช้า ภาพที่ 3.30 ประเพณีบุญกำ�ฟ้า บ้านวังรอ ต.วังมหากร อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ และหลังจากถวายของพระเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำข้าวหลามและข้าวจี่ รวมทั้งอาหารอื่น ๆ มาใส่กระทงแล้วนำ ไปวาง ที่ทางสามแพร่ง เป็นการถวายผีฟ้า (2) วันกําฟ้าครึ่งมื้อ คือ วันขึ้น 15 คํ่า เดือน 3 จะยังคงงดทำ งานครึ่งวันเช้า (3) วันกําฟ้านอนหงาย คือ วันแรม 2 คํ่า เดือน 3 ต้องงดทำ งานทุกอย่างในช่วงเวลาก่อนกินข้าวเช้า ในวันกําฟ้านี้ ชาวบ้านเชื่อว่าจะมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลก ๆ และมีเสียงฟ้าร้องมาทางทิศใดแปลว่า จะให้นํ้าทางทิศนํ้านั้น และ ยังเชื่อว่าวันกําฟ้า กบไม่มีปาก นกไม่มีตูด ชาวพวนมีตำ ราเสี่ยงทาย ดังนี้ ฟ้าร้องทางทิศเหนือ นํ้าจะมากในปีนั้น ฟ้าร้องทางทิศใต้ ปีนั้นนํ้าพอดี พอใช้ได้ ฟ้าร้องทางตะวันออก นํ้าสมบูรณ์ ฟ้าร้องทางตะวันตก ปีนั้นนํ้าจะน้อยที่สุด เมื่อมีการทำ นายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วก็เสร็จพิธีกําฟ้า
◀ บทสรุป ▶ นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 3 81 จังหวัดนครสวรรค์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีทั้งแหล่งท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่มากมายในทุกอำ เภอ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้เข้ามา ท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะทำ รายได้ให้กับชาวนครสวรรค์อีกทางหนึ่ง ถ้าหากมีการปรับปรุง พัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้อีกมากมาย เนื่องจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ตลอดจน เรื่องราววิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของคนที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณ จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่อดีตกาลย้อนหลังกลับไปถึง 3,500 ปี หรือ อาจจะเก่าแก่กว่านั้น จนเกิดอารยธรรมที่เป็นจุดเด่นของศิลปะโบราณ ของจังหวัดนครสวรรค์ นั่นคือ ศิลปะทวารวดี ที่ปรากฏอยู่ทั่วทั้งจังหวัด นครสวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานเมืองบนโคกไม้เดน ดงแม่นางเมือง เมืองจันเสน เมืองดอนคา หรือเมืองเวสาลี เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความ สวยงามของความหลากหลายทางวัฒนธรรม จนทำ ให้เกิดความผสมผสาน ทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องอาหารการกิน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ด้วย เหตุผลนี้ จึงให้ความสำ คัญกับการนำ มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัด นครสวรรค์มาทำ ให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เป็นมรดกเก่าแก่ที่สืบทอดมาเป็นเวลานาน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีปรากฏชัดเจน วิถีชีวิตของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และเนื่องจากประชากรจังหวัด นครสวรรค์มีหลายเชื้อชาติ ประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอด จึงมีแบบอย่าง ตามเชื้อชาตินั้น ๆ และนำ มาผสมกลมกลืนกันเป็นประเพณี และ วัฒนธรรมของจังหวัดที่น่าสนใจ อันได้แก่ เทศกาลตรุษจีน ประเพณีแห่ เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้าโพ ประเพณีการแข่งเรือยาว ประเพณีลอยกระทงสาย ํ ประเพณีสงกรานต์บ้านเขาทอง ประเพณีงานบุญข้าวแช่ ประเพณีบุญ สลากภัต ประเพณีบุญกำ ฟ้า บ้านวังรอ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละเทศกาล หรือแต่ละประเพณีได้สืบสาน สืบทอด และปฏิบัติจัดกิจกรรมต่าง ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้
ตอนที ่ ตอนที 2 ่ 4 แหล่งท่องเทียวในจังหวัดนครสวรรค์ ่ จังหวัดนครสวรรค์ มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี มีบันทึกในศิลาจารึกของสุโขทัย เรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำศึกสงครามภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น จังหวัดนครสวรรค์ในที่สุด แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองปากนํ้าโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า จังหวัดนครสวรรค์เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้ง ของกลุ่มชนชาวจีนที่เข้ามาทำการค้าขายระหว่างประเทศ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคกลาง และภาคเหนือจึงเป็น “ประตูสู่ภาคเหนือ” และ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของภาคเหนือตอนล่าง และยังมีความสำคัญตรงที่เป็นจุดบรรจบกันของแม่นํ้า สายสำคัญๆ หรือที่รู้จักกันในนาม “ปากนํ้าโพ” แม่น้าปิง วัง ยม และน่านไหลมาบรรจบกันที่นี่กลายเป็นต้นกำ ํ เนิด ของแม่นํ้าเจ้าพระยา แม่นํ้าสายสำ คัญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของบึงนํ้าจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ บึงบอระเพ็ด ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณพืช ฝูงนกนานาชนิด และยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาอีกนับร้อยชนิด เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ทั้งหมด 9,597 ตารางกิโลเมตร จังหวัดนครสวรรค์มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายรูปแบบ ทั้งวัดวาอาราม โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ จึงขอนำ เสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และศาสนา แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ดังนี้ ➢ พระจุฬามหาเจดีย์ ตั้งอยู่บนเขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ สร้างตรงฐาน พระเจดีย์เก่า ซึ่งสร้างในสมัยศตวรรษที่ 19 ปลายกรุง สุโขทัยอายุ 600 ปีมาแล้ว โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโก) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ และแนะนำ ให้สร้างพระจุฬามหาเจดีย์ไว้บนยอดเขา ภายในองค์พระเจดีย์ชั้น 4 มีพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญ ของประเทศไทยไว้ให้สักการะบูชา 4 องค์ คือ พระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระพุทธชินราช จำ ลอง พระพุทธโสธรจำ ลอง และพระพุทธรูปหล่อ หลวงพ่อวัดไร่ขิง และภายในโดมเจดีย์ มีภาพจิตรกรรม ฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย 1. ท่องเทียวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา ่ 82 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 ภาพที่ 4.1 พระจุฬามหาเจดีย์
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 83 ➢ วัดคีรีวงศ์ ➢ วัดจอมคีรีนาคพรต ตั้งอยู่ที่บ้านเขาบวชนาค หมู่ 4 ตำ บลนครสวรรค์ออก อำ เภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร วัดอยู่ ริมฝั่งแม่น้าเจ้าพระยาก่อนข้ามสะพานเดชาติวงศ์เข้าสู่ตัวเมือง เดิมเป็นวัดโบราณ เรียกว่า ํ “วัดลั่นทม” บ้าง “วัดเขา” บ้าง “วัดเขานครสวรรค์” บ้าง ปัจจุบันใช้ชื่อว่า “วัดจอมคีรีนาคพรต” แต่คนทั่วไปยังคงเรียกว่าวัดเขาบวชนาค หรือเรียกย่อ ๆ ว่า “วัดเขา” บริเวณวัดแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง เป็นที่ตั้งโรงอุโบสถ วิหาร มณฑป และเจดีย์ ◉ ชั้น 1 ด้านหน้าเป็นที่จุดธูปเทียนบูชา ◉ ชั้น 2 จัดแสดงรูปหล่อเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของพระชื่อดังหลายองค์เช่น รอยพระพุทธบาทจำลอง 12 ราศี พระพุฒาจารย์โตวัดระฆัง หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ หลวงพ่อสดวัดปากน้าเป็นต้น เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้เพื่อความ ํ เป็นสิริมงคล และมีวัตถุมงคลที่ทางวัดจัดสร้างวางไว้ภายในตู้ให้ผู้ที่สนใจสามารถเช่าบูชาได้ ◉ ชั้น 3 ประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญของเมืองไทย อาทิ พระแก้วมรกต พระพุทธชินราช พระพุทธ โสธรพระพุทธรูปวัดไร่ขิง เป็นต้น ทั้งยังมีการทำ บุญถวายสังฆทานทางด้านในด้วย ◉ ชั้น 4 เป็นชั้นบนสุดขององค์เจดีย์ ภายในโดมปรากฏภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติที่งดงาม มาก ตรงกลางประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้บนแท่นเจดีย์องค์เล็กให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา ทางด้านนอกมีรูป เหมือนหลวงพ่อมหาบุญรอด ซึ่งเป็นพระที่สร้างพระจุฬามณีเจดีย์แห่งนี้ พร้อมกับประวัติของท่านให้ผู้คนได้กราบไหว้ ชั้น 4 ขององค์เจดีย์สามารถมองเห็นวิวของเมืองนครสวรรค์ได้ในมุมกว้าง ภาพที่ 4.2 พระศรีสรรเพชญ์ พระประธานในโบสถ์ อีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งศาลาการเปรียญ และกุฏิ ภายในวัดยังมีโบสถ์เก่าแก่ที่ชาวบ้าน เรียกว่า “โบสถ์เทวดาสร้าง” ลักษณะเป็นรูปศาลาโถง ไม่มีผนังทั้งสี่ด้าน ทรงแบบโบราณ เครื่องบน เป็นไม้สักล้วน มุงกระเบื้อง มีพาไลโดยรอบ โบสถ์หลังนี้มีเรื่องเล่าต่อ กันมาว่า เมื่อเริ่มสร้างได้ติดตั้งเสาพร้อมเครื่องบนให้เป็นรูปโครงของ อุโบสถ ตกกลางคืนได้ยินเสียงมโหรีปี่พาทย์ มีเสียงอึกทึกครึมโครม และแสงสว่างไปทั่วบริเวณยอดเขา ชาวบ้านต่างพากันแปลกใจจึง พากันไปดู ปรากฏว่างานที่ทำ ไว้นั้นสำ เร็จหมด และไม่ปรากฏว่ามีใคร เข้าไปทำ เลยแม้แต่คนเดียว จึงเรียกกันว่า “โบสถ์เทวดาสร้าง” และ ยังมีเรื่องเล่าถึงการจุคนเข้าไปในโบสถ์ที่ไม่ว่าเท่าไหร่ก็ มิอาจเต็มเสียที ตั้งอยู่บริเวณถนนมาตุลี และถนนดาวดึงส์ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ พื้นที่ ของวัดมีทั้งบริเวณเขาและที่ราบ 280 ไร่ สร้างขึ้นสมัยปลายกรุงสุโขทัยแล้วถูกปล่อยร้างอยู่กลาง ป่าเขา จนมีพระธุดงค์แสวงบุญมาพบเมื่อ พ.ศ. 2504 ปัจจุบันเป็นสำ นักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด นครสวรรค์ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยพระอุโบสถ สมเด็จพระพุทธโคดมจำลอง ศาลาพุทธานุภาพ วิหารหลวงพ่อโต และพระจุฬามณีเจดีย์ที่สร้างขึ้นตรงฐานเจดีย์เก่า ซึ่งสร้างในสมัยศตวรรษที่ 19 ช่วงปลายของกรุงสุโขทัย โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโก) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ และแนะนำ ให้สร้างพระจุฬามณีเจดีย์ไว้ บนยอดเขา ส่วนขององค์พระจุฬามณีเจดีย์เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขา ด้านในเจดีย์มีทั้งหมด 4 ชั้น แต่ละชั้น จัดแสดงต่างกันไป ดังนี้
84 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 ➢ วัดเกรียงไกรกลาง ➢ วัดศรีสวรรค์ สังฆาราม สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2174 เดิมมีชื่อเรียกกันต่าง ๆ คือ วัดเชียงกาย หรือวัดเชียงกราย หรือวัดเชียงไกร ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นวัดปากนํ้า และวัดใหญ่ เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรเห็นนํ้าท่วมพื้นที่บริเวณวัดจึงพระราชทานนามว่า วัดคงคาราม ต่อมาวัดได้เปลี่ยนเรียกตามชื่อของตำ บล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม หรือวัดถือนํ้า ตั้งอยู่ที่บ้านถือนํ้า หมู่ที่ 2 ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างประมาณ พ.ศ. 2350 แต่เดิมเป็นวัดที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นสถานที่ประกอบพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยาของทาง ราชการในจังหวัดนครสวรรค์ประจำทุกปี ต่อมาได้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นจึงได้ย้ายไปประกอบพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา ที่ศาลหลักเมืองแทน ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดศรีสวรรค์สังฆารามแต่ชาวจังหวัดนครสวรรค์ก็ยังคงเรียกว่า “วัดถือนํ้า” อยู่จนถึงปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถหลังเก่าประดิษฐานพระประธานอายุราว 100 ปีเศษ นอกจากนี้ได้พบบุษบก ซึ่งเชื่อว่า คือ เกรียงไกร ปัจจุบันตำ บลเกรียงไกรมีวัดเพิ่มขึ้นอีก 2 วัด ดังนั้น วัดเกรียงไกรจึงต้องมีคำว่า ใต้ - กลาง - เหนือ ต่อท้ายชื่อ ภายในวัด มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ในวิหาร ศิลปะสมัย สุโขทัย มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปว่าเมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำ นาจลง และมีสงครามอยู่เป็นประจํา ชาวสุโขทัยได้นำ พระพุทธรูปล่องแพมา ตามลำ นํ้าจนมาถึงปากนํ้าเกรียงไกร แพได้จมลงจึงนำ พระพุทธรูปขึ้น และโบกปูนทับเพื่อให้ปลอดภัยจากสงครามจนกระทั่ง พ.ศ. 2147 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ชาวบ้านได้สร้างวัดนี้ขึ้นตรงที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป และนำ พระพุทธรูปซ่อนไว้ในผนังพระอุโบสถเพื่อป้องกัน ภาพที่ 4.3 พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย เรื่องนี้เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสนครสวรรค์ และได้ทรงนำ ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปในโบสถ์เทวดาสร้างนี้แต่ก็ไม่เต็ม นอกจากนี้ภายในวัดยังมีรอย พระพุทธบาทจำลอง และประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ์เป็นพระประธานในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็น พระพุทธธัญดร ปางลีลายกพระหัตถ์ขวาแบบศิลปะทวารวดี ในเดือน 12 ของทุกปี จะมีงานวัดเขา ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการ และปิดทองรอยพระพุทธบาทจำ ลอง ซึ่งนอกจากจะมีงานสมโภชน์แล้วยังมี การแข่งขันเรือยาวด้วย ภัยสงคราม และเมื่อ พ.ศ. 2511 ได้มีการซ่อมผนังพระอุโบสถจึงพบแต่พระพุทธรูปปูนธรรมดา นานวันเข้าปูนกะเทาะออก จึงทราบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำ งดงาม ทั้งยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่ภายใน และจิตรกรรมฝาผนังเป็น ภาพพุทธชาติชาดก ส่วนบริเวณหน้าวัดยังมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำ นวนมาก รวมทั้งมีฟาร์มจระเข้แบบปล่อยตามธรรมชาติ ของเอกชนอีกด้วย ตามปกติวิหารเก่าจะเปิดให้เข้าชมในช่วงเทศกาลเท่านั้น สำ หรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมช่วงนอก เทศกาลสามารถแจ้งทางวัดให้เปิดเข้าชมได้ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 225 สายนครสวรรค์ - ชุมแสง ระยะทาง 10 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 2 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปถึงตัววัด รวมระยะทาง 12 กิโลเมตร จากตัวเมือง หรือเช่าเรือจากท่านํ้าเจ้าพระยาล่องมาตามลำ น้าน่านขึ้นที่ท่าน ํ ้าวัดเกรียงไกร ํ กลาง โดยวัดตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำ บลเกรียงไกร ริมฝั่งแม่น้าน่าน ํ
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 85 เป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ของใช้โบราณอยู่ภายในเจดีย์กาญจนาภิเษก ภาพที่ 4.4 พระอุโบสถภายในวัดวัดศรีสวรรค์สังฆาราม ➢ ศาลาที่ประทับ ร.5 หน้ าวัดเขื่อนแดง ตั้งอยู่ที่บ้านท่าตากุ๋ย (ตลาดใต้) หมู่ 1 ตำ บลนครสวรรค์ตก อำ เภอเมือง เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนต้น ราว พ.ศ. 1925 เหตุการสร้างวัดเล่าต่อกันมาว่ามีคหบดีตระกูลหนึ่งมีภรรยา 2 คน ต่างคนต่างก็มีบุตรชาย เมื่ออายุ ครบบวชก็ได้สร้างวัด ภรรยาคนหนึ่งสร้างวัดชื่อ “วัดฉิมพลียางโทน” อยู่ทางทิศใต้ ส่วนอีกคนหนึ่งสร้าง “วัดเขื่อนแดง” หรือ “วัดศรีสุวรรณ” ในปัจจุบัน อีกชื่อหนึ่งของวัดนี้เรียกว่า “วัดตะแลงแกง” ด้วย เคยเป็นที่กักขัง และประหารนักโทษ แต่เดิมวัดร้างทรุดโทรมก่อนจะบูรณะขึ้นใหม่ เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2485 โดยทหารอาศัยวัดศรีสุวรรณ เป็นที่ตั้งกองบัญชาการยุทธภูมิชั่วคราว หน้าวัดมีศาลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นเมืองนครสวรรค์ วันที่ 29 สิงหาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) พระองค์ประทับที่ศาลาหน้าวัดแห่งนี้ เพื่อพิจารณาคดีตามคำ ปรึกษาของศาลทหาร ให้ประหารชีวิตอ้ายวิม ซึ่งเป็นพลทหารที่ได้ฆ่านายสิบตายเนื่องจากเป็น 50 ปี และเมื่อ พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสอง พระองค์ (ในขณะนั้น) ได้เสด็จพระราชดำ เนินมาทรงตัด ลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่ นับว่าเป็นสิริมงคลแก่ชาว จังหวัดนครสวรรค์อย่างยิ่ง การเดินทางมายังวัด ใช้ ทางหลวงหมายเลข 32 สายเอเชีย เลี้ยวซ้ายไปทางค่ายจิรประวัติ ไปตามทางหลวงหมายเลข 3001 ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากตัวเมือง โดยมีป้ายบอกตลอดทาง เวลารักษาราชการเสด็จพระราชดำ เนิน และทำ ผิด พระราชกำ หนดกฎหมายข้อบังคับของค่ายทหาร ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ถ้าลดหย่อนโทษจะเป็นเยี่ยงอย่าง วัดเขื่อนแดงนี้เคยเป็นค่ายนครสวรรค์เก่า ต่อมาค่ายทหารนครสวรรค์เดิมถูกย้ายไปฝั่งตะวันออก ของแม่นํ้าเจ้าพระยาแทน ใช้ชื่อว่า “ค่ายจิรประวัติ” เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถ ด้านการทหาร และทรงเป็น เสนาธิการทหารบกคนแรก ภาพที่ 4.5 ศาลาที่ประทับ ร.5 ตั้งอยู่หน้าวัดเขื่อนแดง
86 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 ➢ วัดวรนาถบรรพต ➢ วัดนครสวรรค์ ภาพที่ 4.6 ศาสนสถานภายในวัดวรนาถบรรพต ภาพที่ 4.7 ศาสนสถานภายในวัดนครสวรรค์ เดิมชื่อว่า วัดหัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัย สุโขทัยตอนปลาย ทางราชการได้เคยใช้สถานที่ของวัดนี้ประกอบพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา ก่อนเปลี่ยน ชื่อจากวัดหัวเมืองเป็นวัดนครสวรรค์ วัดหัวเมืองมีชื่ออีกชื่อหนึ่ง คือ วัดโพธิลังการาม เพราะมีผู้นำ ต้นโพธิ์จากประเทศศรีลังกามาปลูกไว้ที่หน้าวัด บริเวณริมแม่นํ้าเจ้าพระยา 4 ต้น และมีเจดีย์ใหญ่ เดิมชื่อวัดกบหรือวัดเขากบ เป็นวัด เก่าแก่ของนครสวรรค์ตั้งอยู่บนยอดเขา และ เชิงเขากบ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1962 สมัย สุโขทัยเป็นราชธานี ผู้สร้าง คือ พญาบาลเมือง สร้างเพื่ออุทิศแด่พญารามผู้น้อง ช่วงหนึ่ง วัดเคยถูกทิ้งร้างปกคลุมด้วยป่าไผ่ และต้นไม้ วันหนึ่งหลวงพ่อทองได้ธุดงค์มาจากจังหวัด อุตรดิตถ์เห็นความสงบร่มเย็น จึงได้ปักกลด ณ ที่แห่งนี้ จนชาวบ้านในพื้นที่มาพบเข้าก็เกิด เลื่อมใสศรัทธาจึงพร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ให้หลวงพ่อทองจำ พรรษาวัดนี้ และช่วยกัน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ บริเวณวัดวรนาถ บรรพต มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ใหญ่ ที่สร้างสมัยสุโขทัย วิหารที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทอง พระพุทธไสยาสน์ ยาวประมาณ 10 วาเศษ อุโบสถหลังเก่าที่มีรูปปั้นตากบ - ยายเขียด ที่หลวงพ่อทองสร้างอยู่ด้านหน้า ส่วนบนยอดเขากบที่เป็น ส่วนหนึ่งของวัดก็มีปูชนียวัตถุที่สำคัญเช่นกัน คือ รอยพระพุทธบาทจำลองสมัยสุโขทัยประดิษฐานอยู่ ในวิหาร เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปหินปางนาคปรกสมัยเชียงแสน อยู่ใกล้ต้นโพธิ์ที่ปลูก ปัจจุบันทั้งเจดีย์และต้นโพธิ์ไม่ปรากฏ ให้เห็นแล้ว ภายในบริเวณวัดปรากฏโบสถ์หลังเดิมเป็นที่ ประดิษฐานหลวงพ่อศรีสวรรค์ พระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพ สักการะของชาวนครสวรรค์ และยังมีวิหารอันเป็นที่ ประดิษฐานพระสองพี่น้อง “พระผู้ให้อภัยยิ่ง” หรือ “พระหันหลังให้กัน” หันหน้าไปทางทิศตะวันออกองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่ง หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระพุทธรูป เก่าแก่มีประวัติว่าพม่าสร้างไว้เป็นอนุสรณ์เมื่อยก ทัพมาถึง เมืองนครสวรรค์ การหันหลังให้กันอาจหมายถึงการให้อภัย ไม่จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไป วัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ตรง ถนนสวรรค์วิถี ปากซอย 27 รั้วเดียวกับมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย
นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 87 ➢ วัดเกาะหงษ์ ภาพที่ 4.8 ศาสนสถานภายในวัดเกาะหงษ์ เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2336 ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ชุมชนเดิม บริเวณวัดเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายมอญ ภายในบริเวณวัดยังคงเหลือสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ วิหาร (โบสถ์เก่า) ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนปลายถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านในปรากฏ ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุมหลายองค์เขียนต่อเนื่องกันไปแบบงานจิตรกรรมสมัยอยุธยา ฝีมือช่างหลวง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นทางเหนือและทรงแวะวัดเกาะหงษ์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปนมัสการพระประธานในอุโบสถ และทอดพระเนตรเห็นพระสังกัจจายน์แบบยืนแล้ว พอพระทัยเป็นอันมาก จึงทรงขออัญเชิญไปและ พระราชทานพระราชทรัพย์จำ นวน 1 ชั่ง (80 บาท) เพื่อให้จัดสร้างใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งก็คือ องค์ปัจจุบัน และเนื่องจากชุมชนเดิม และปัจจุบันยังคงมีเชื้อสาย คนมอญอยู่ จึงได้มีการอนุรักษ์การละเล่นแบบโบราณ อาทิ การเล่นสะบ้า ลูกช่วง มอญซ่อนผ้า รวมถึงงาน ประเพณีต่าง ๆ เช่น งานประเพณีแข่งเรือ งานปิดทองไหว้พระ งานประเพณีสงกรานต์ อีกทั้งวัดเกาะหงษ์ยังมีชื่อเสียง ด้านการรักษาโรคด้วยวิธีการเหยียบฉ่า ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำ นวนมากในปัจจุบัน การเดินทางใช้เส้นทางสาย นครสวรรค์ - อำ เภอโกรกพระ ระยะทาง 6 กิโลเมตร วัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 7 กิโลเมตร ระหว่างทาง มีร้านค้าชุมชนขายผลไม้ตามฤดูกาล ➢ วัดศรีอุทุมพร วัดศรีอุทุมพร หรือวัดวังเดื่อ หรือวัดหลวงพ่อจ้อย เป็นสถานที่ที่ชาว นครสวรรค์ให้ความเคารพศรัทธา และมี หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร สร้างขึ้นเป็นวัด นับตั้งแต่ พ.ศ. 2485 โดยมีพระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ดำ เนินการ และปกครองวัด มาตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัด ชาวบ้านมักจะ ภาพที่ 4.9 ศาสนสถานภายในวัดและรูปหล่อหลวงพ่อจ้อย เรียกว่า “วัดวังเดื่อ” ตามชื่อบ้านมาแต่เดิม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 พื้นที่ที่ตั้งวัด นั้นเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมเป็นที่นา และมีหมู่บ้านล้อมรอบ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2593 ศาลาการเปรียญ กว้าง 22 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 กุฏิสงฆ์จำ นวน 4 หลัง ต่อมา พระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้ซื้อที่ดินของ น.ส.สุพรรณี - น.ส.ราตรี เกษวิริยะการ เพิ่มอีก 6 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2539 ได้รับโฉนดที่ดิน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ได้มีการจัดสร้างอาคารเสนาเสนะต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย
88 นครสวรรค์ศึกษา ตอนที่ 4 ภาพที่ 4.10 องค์พระปรางค์สีเหลือง ➢ วัดพระปรางค์ เหลือง วัดโบราณที่ตั้งอยู่ใกล้กับโบราณสถานเมืองบนอันเป็น หัวเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ยังปรากฏร่องรอยคูเมืองโบราณ ติดต่ออยู่ด้านทิศเหนือของวัด โดยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้คำ นวณอายุจากปูชนียสถานโบราณไว้ว่า มีอายุกว่า 230 ปี และถูกสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2305 สมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย บ่งบอกได้ว่าวัดพระปรางค์เหลือง เคยเป็นชุมชน รวมทั้งแหล่งอารยธรรมมาตั้งแต่โบราณ และอดีตยังเป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ถึง 3 ครั้ง ในการเสด็จประพาสต้นทางภาคเหนือ เมื่อพระองค์ เสด็จมาถึงวัดพระปรางค์เหลือง ครั้งที่ 1 เมื่อ ร.ศ. 120 ตรงกับ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 เวลาราว 4 โมงเย็น ได้ทอด พระเนตรพระอุโบสถและกุฏิฝีมือช่างชาวจีน และทรงสนพระทัย ในการเหยียบฉ่าของหมอจีน การเสด็จครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ ร.ศ. 125 ตรงกับวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ครั้งนั้นพระครู พยุหานุสาสก์ (เงิน) ได้ลงมาคอยอยู่ที่แพรับเสด็จ โดยมีราษฎรนับหลายพันคนรอรับเสด็จด้วย ครั้งนั้นหลวงพ่อเงินได้มี โอกาสรดนํ้ามนต์ถวาย ตามประวัติศาสตร์นับเป็นพระสงฆ์เพียงรูปเดียวที่ได้รดนํ้ามนต์ถวาย และเสด็จครั้งที่ 3 เมื่อ ร.ศ. 127 ตรงกับ พ.ศ. 2451 พระองค์ท่านเสด็จฯ โดยรถไฟจากสถานีบางปะอินถึงสถานีปากนํ้าโพ (นครสวรรค์) จากนั้น เสด็จฯ โดยเรือชะล่า (ขุดจากซุงทั้งต้น) มายังวัดพระปรางค์เหลือง คราวนั้นพระองค์เสด็จผ่านไปยังคลองมะขามเฒ่าเพื่อ เสด็จฯ ต่อไปยังสุพรรณบุรีสร้างความปลาบปลื้มแก่ชาวเมืองพยุหะคีรีมาก วัดพระปรางค์เหลืองยังปรากฏโบราณสถานที่ สำคัญ คือ องค์พระปรางค์เหลือง โดยปรางค์องค์เดิมมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นเจดีย์องค์เก่าอยู่ในพื้นที่โบราณสถานเมืองบน สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) และมีการบูรณะในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันพระปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นพูนอิฐ และดินสูงเหมือนเนินเขาเตี้ย มีความเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใครแตะต้องไม่ได้ ส่วนองค์พระปรางค์ปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2541 องค์พระปรางค์เหลืองที่สร้างใหม่เป็นปรางค์ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมนํ้าเจ้าพระยาสีขาวทั้งองค์ สูงประมาณ 29 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูงสามชั้น เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ตอนปลาย โดยจำ ลองแบบมาจากเจดีย์องค์เก่าข้างโบสถ์ ส่วนกลางขององค์พระปรางค์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ เหตุที่สร้างไม่ครอบองค์เดิมไว้ด้วยต้องการอนุรักษ์ให้กับคนรุ่นหลังได้ดู รวมทั้งศึกษา ศิลปะ และความเป็นมาของพระปรางค์องค์เก่า ทิศตะวันตกขององค์พระปรางค์เป็นวิหารหลังเก่า สันนิษฐานว่าสร้าง พร้อมกับวัด ลักษณะเดิมมีผนังทำ อยู่ด้านเดียว และแคบ หลวงพ่อเงินจึงสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ภายในวัด ภายในวิหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” และนิยมเรียกวิหารตามชื่อพระพุทธรูป หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีแกนองค์ถึงเศียรเป็นไม้ ก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านให้ความ เคารพนับถือมาเป็นเวลานาน หน้าบรรณของวิหารประดับตกแต่งด้วยถ้วยชามสังคโลกของเก่า และใหม่ นับว่าเป็น การตกแต่งที่แปลกกว่าที่อื่น ๆ ภายในวัดยังมีสิ่งของสำคัญหลายชิ้น อาทิ เก๋งเรือพระราชทาน ซึ่งเป็นเก๋งเรือที่หลวงพ่อเงิน ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวได้พระราชทาน สัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูพยุหานุสาสน์ ตัวเก๋งเรือทำด้วยไม้สักทองนอกจากเก๋งเรือพระราชทาน แล้วก็ยังมีโซ่คล้องช้างพระราชทาน โดยวัดพระปรางค์เหลืองตั้งอยู่ติดริมน้าเจ้าพระยา ตำ ํ บลท่าน้าอ้อย ํ อำ เภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์