The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 112ธนพล แสนตุ้ย, 2024-01-16 10:52:40

วิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ

วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ

42 3.4.2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลทางการศึกษาในเรื่อง การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย วิธีสร้างแบบทดสอบ และการเขียนข้อสอบตามกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย 3.4.2.2 วิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้การอ่านจับ ใจความด้วยเทคนิค KWL Plus ร่วมด้วยแผนผังความคิดเรื่อง การอ่านจับใจความ จากนั้นสร้าง ตารางวิเคราะห์ข้อสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 3.4.2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เป็นแบบทดสอบ ปรนัย โดยการเลือกตอบ (Multiple choice) 4 ตัวเลือก โดยวัดผลการเรียนรู้ 4 ด้าน ตามแนวคิด ของคอล์ฟ เฟอร์ (Klo fer, 1971) คือ 1) ด้านความรู้ความจำ 2) ด้านความเข้าใจ 3) ด้านการนำ ความรู้ ไปใช้ จำนวน 20 ข้อ 3.4.2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับ ใจความ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย และการวัด การประเมินผลเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of item objective congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์การเรียนรู้โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ ละท่านพิจารณาตรวจสอบให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น –1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบทดสอบ มีความไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกัน จากนั้นนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบ โดยดัชนี ความ สอดคล้องขององค์ประกอบ ที่มีค่า IOC ที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 3.4.2.6 ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับ ใจความ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่จัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิค KWL Plus ร่วมด้วยแผนผัง ความคิดแล้วนำคะแนนการทดสอบ มาวิเคราะห์ หาความยากง่าย (p) และอำนาจจำแนก (r) เป็นรายข้อ โดยมีความยากง่ายระหว่าง 0.21 – 0.75 และอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 – 0.65 3.4.2.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ ที่คัดเลือกไว้มา วิเคราะห์ หาความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยคำนวณจากสูตร KR - 20 โดยพิจารณาค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ ตั้งแต่ 0.72 3.4.2.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับ ใจความ ที่หาคุณภาพเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป 3.4.3 แบบประเมินทักษะการอ่าน เรื่อง การอ่านจับใจความ ประเมินค่า 3 ระดับ โดยใช้เกณฑ์การประเมิน (Rubric Score) จำนวน 1 ฉบับ ตามขั้นตอนดังนี้


43 3.4.3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวัดประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ และการวัดประเมินทักษะการอ่าน เรื่อง การอ่าน จับใจความ และวิธีสร้างแบบประเมินพฤติการเรียนรู้ 3.4.3.2 สร้างแบบประเมินคุณภาพเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ซึ่งคำหนด ค่าระดับออกเป็นดังนี้ 5 หมายถึง คุณภาพดีมาก 4 หมายถึง คุณภาพดี 3 หมายถึง คุณภาพปานกลาง 2 หมายถึง ต้องปรับปรุง 1 หมาย ใช้ไม่ได้ 3.4.3.3 นำแบบทดสอบการประเมินทักษะการเขียน เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยและการวัดการประเมินผลเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบประเมินทักษะการเขียนย่อความโดยพิจารณาจากค่าดัชนี ความสอดคล้อง (Index of item objective congruence: IOC) ระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์ การเรียนรู้โดยให้ ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านพิจารณาตรวจสอบให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบประเมิน มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบประเมิน มีความเหมาะสม และสอดคล้องกัน ให้คะแนนเป็น –1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบของแบบประเมิน มีความไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกัน จากนั้นนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมิน โดยดัชนีความ สอดคล้องขององค์ประกอบ ที่มีค่า IOC ที่ใช้ได้มีค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 3.4.3.4 ปรับปรุงแก้ไขประเมินทักษะการอ่าน เรื่อง การอ่านจับใจความ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 คน แล้วนำแบบประเมินมาหาคุณภาพ 3.4.3.5 หาคุณภาพของการประเมินทักษะการอ่าน เรื่อง การอ่านจับใจความ เป็นรายข้อโดยหาค่าจำแนนโดยวิธี (Item Total Correlation หรือ t-test) พบว่าได้ข้อที่เข้าเกณฑ์ ที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.73 – 0.78 3.4.3.6 นำแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนที่คัดเลือกไว้มาหาค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ (หรือรายด้าน) ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient)ตามวิธีของคอร์น บาค (Cronbach) พบว่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบประเมินเท่ากับ 0.86 3.4.3.7 นำแบบประเมินทักษะการอ่านที่หาคุณภาพเรียบร้อยแล้วไปพิมพ์เป็นฉบับ จริงเพื่อนำไปเก็บข้อมูลกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป


44 3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล จัดการเรียนรู้การเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดเรื่อง การอ่านจับ ใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 3.5.1 ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระ การเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3.5.2 ศึกษาวิธีสร้างและเขียนแบบทดสอบประเภทเลือกตอบจากหนังสือการวัดผล การศึกษาของ สมนึก ภัททิยธนี (2549: 202-232) 3.5.3 ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนเพื่อขอความร่วมมือในการศึกษาและ ทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ 3.5.4 สุ่มเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 3.5.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความและประเมินความ สอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) 3.5.6 สร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ คัดเลือกคุณภาพ มีค่า IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 3.5.7 นำไปใช้จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดเรื่อง เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.5.8 จัดกรรมการเรียนรู้โดยการชี้แจงกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดเรื่อง การอ่านจับใจความ เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 3.5.9 ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 3.5.10 ดำเนินการจัดกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเป็นผู้ออกแบบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เอง ใช้เวลา 6 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดเรื่อง เรื่อง การอ่านจับใจความ และแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุด/แผน รวม 6 ชั่วโมง โดยระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอน และผู้ช่วยผู้วิจัยจะทำการสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะ การการอ่านจับใจความของนักเรียนไปด้วย 3.5.11 หาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดเรื่อง E1/E2 3.5.12 นำคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบ ประเมิน ทักษะการอ่านจับใจความ มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน


45 3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง การอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.6.1 หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง การอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 ด้วยค่าประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของ ผลลัพธ์ (E1/E2) 3.6.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับ ใจความ ก่อนเรียนและหลังเรียนมาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แล้วนำคะแนนมาทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test Dependent Sample (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 165-167) 3.6.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจ เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้แบบประเมินความสามารถในเข้าใจ หลังเรียนมาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วนำคะแนนมาทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test for One Sample (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 165-167) เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 3.6.4 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ KW – CAI ใช้สูตร การหาค่าตามสูตร KW - CAI หาคำประสิทธิภาพของบทเรียน CAI (กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. 2538: 11 - 13) 3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 3.7.1 สถิติพื้นฐาน 3.7.1.1 ร้อยละ (Percentage) มีสูตรคำนวณดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 : 29) p = f N × 100 เมื่อ p แทน ร้อยละ f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด


46 3.7.1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) มีสูตรคำนวณ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 : 29 ̅ = Σx N เมื่อ ̅ แทน ค่าเฉลี่ย Σ̅ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม 3.7.1.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มีสูตรคำนวณ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ, 2553 :123) ..= (√NΣx 2−(Σx) 2 N (N−1) เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Σ̅ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด X แทน คะแนนแต่ละตัว N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม 3.7.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ 3.7.2.1 การหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) ของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน ความสามารถในการอ่านจับใจความ โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 220-221) IOC= Σ R N เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับ เนื้อหา หรือระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ Σ R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด


47 3.7.2.2 การหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม โดยใช้สูตรดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 195) = R N = Ru−Rl f เมื่อ P แทน ค่าความยาก R แทน ค่าอำนาจจำแนก R แทน จำนวนผู้ตอบถูกทั้งหมด (Ru + Rl) N แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ (ซึ่งเท่ากับ 2f) f แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ Ru แทน จำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบข้อนั้นถูก Rl แทน จำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบข้อนั้นถูก 3.7.2.3 การหาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบวัดวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ ค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตร KR-20 ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 223) kR − 20 ∶ rtt = n n − 1 [1 − ∑ pd s 2 ] เมื่อ rtt แทนค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ n แทนค่า จำนวนข้อของแบบทดสอบทั้งฉบับ P แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบถูกในข้อนั้น q แทนค่า อัตราส่วนของผู้ตอบผิดในข้อนั้น s 2 แทนค่า ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ 3.7.2.4 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบประเมินความสามารถในการเข้าใจในการ อ่านจับใจความ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ตามวิธีของ ครอนบาค (Cronbach) ใช้สูตร ดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี, 2558 : 225-226) ∝ = n n − 1 [1 − Σsi 2 s 2 ] เมื่อ ∝ แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด/แบบประเมิน n แทน จำนวนข้อของแบบวัด/แบบประเมินทั้งฉบับ Σsi 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ s 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ


48 3.7.3 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน 3.7.3.1 การเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจบทเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ ใช้สูตรคำนวณหาค่า t-test แบบ One Samples (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 165-167) t = x̅− μ √n s เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤต เพื่อ ทราบนัยสำคัญ ̅ แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง n แทน จำนวนคะแนนในแต่ละกลุ่ม S แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แทน ค่าเฉลี่ยของประชากร 3.7.3.2 การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้สูตรคำนวณหาค่า t-test แบบ Dependent Samples (บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 68) t = ΣD √ NΣD2 − (ΣD) 2 (N − 1) เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่จะใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตเพื่อ ทราบนัยสำคัญ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่ แทน ผลรวม df แทน ความเป็นอิสระมีค่าเท่ากับ N – 1 3.7.4 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดย วิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus เรื่อง การอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 3.7.4.1 หาค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 75/75 การหาค่า E1 และ E2 ใช้สูตรดังนี้ (เผชิญ กิจระการ, 2544 : 49)


49 E1 = Σx N A × 100 เมื่อ E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการ Σ̅ แทน คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรือ แบบทดสอบ ย่อยทุกชุดรวมกัน A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชุดรวมกัน N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด หรือ E2 = Σx N B × 100 เมื่อ E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ Σ̅ แทน คะแนนรวมของแบบแบบทดสอบหลังเรียน B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 75 ตัวแรก หมายถึง E1 ค่าร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบระหว่าง เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนด้วยเทคนิค KWL Plus เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 75 ตัวที่สอง หมายถึง E2 ค่าร้อยละของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลัง เรียนด้วยแบบทดสอบ เรื่อง การอ่านจับใจความ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75 7.4.2 การหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ (E.I) ใช้สูตรดังนี้(เผชิญ กิจระการ, 2544 : 49) เรียนดัชนีประสิทธิผล = คะแนนรวมจากแบบทดสอบหลังเรียน – คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อน ผลคูณของคะแนนเต็มกับจำนวนคน – คะแนนรวมจากแบบทดสอบก่อนเรียน


50 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในการแปลความหมายและเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้อง ตลอดจนการสื่อความหมายของ ข้อมูลที่ตรงกัน ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ n แทน จำนวนนักเรียน X̅ แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (Mean) S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) df แทน ระดับชั้นความเป็นอิสระ (Degree of freedom) MD แทน ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนระหว่างการทดสอบหลังเรียน กับการทดสอบก่อนเรียน S.D.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่างของคะแนนระหว่างการ ทดสอบหลังเรียนกับการทดสอบก่อนเรียน E1 แทน ประสิทธิภาพของกระบวนการที่ได้จากการประเมินพฤติกรรมกลุ่ม ประเมินผลงานนักเรียน และการทดสอบย่อยของแต่ละแผน E2 แทน ประสิทธิภาพของผลลัพธ์จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนทุกคน % แทน ร้อยละ t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าวิกฤตจากการแจกแจงแบบที (t-distribution) P แทน ความน่าจะเป็นสำหรับบอกนัยสำคัญทางสถิติ * แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ** แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


51 4.2 ลำดับขั้นตอนในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ลำดับขั้นตอนในเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus ร่วมด้วยแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ E1/ E2 ตามเกณฑ์ 75/75 ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมด้วยแผนผังความคิด 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 รายการประเมิน จำนวน นักเรียน คะแนน เต็ม คะแนน รวม คะแนน เฉลี่ย ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 กระบวนการระหว่างเรียน (E1) 40 50 1,876 40.78 75.04 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (E2) 40 20 752 18.80 75.2 ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อการ พัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 จากตารางที่ 2 พบว่าการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75.04/75.2 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75/75 ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทยของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ดังตารางที่ 3


52 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที(t) และระดับนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (n = 40) การทดลอง ̅ S.D MD . . t Sig.(2-tailed) ก่อนเรียน 7.13 1.99 7.40 2.64 18.17* 0.000 หลังเรียน 18.80 0.84 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t) และระดับนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผัความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากตารางที่ 3 พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.13 คะแนน และ 18.80 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ทำให้ความสามารถด้านการจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อการเรียนของนักเรียน ทำให้ นักเรียนมีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


53 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัด กิจกรรม การเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ การศึกษาผลการวิเคราะห์การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ในรายวิชาภาษาไทย สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. สรุปผล 2. อภิปรายผล 3. ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1.เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 75.04/75.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ สำคัญของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 5.2 อภิปรายผล 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75.04/75.2 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75/75 ทั้งนี้เพราะการจัดการ เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ผู้วิจัยได้จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิค


54 KWL - Plus ร่วมด้วยแผนผังความคิด โดยจัดทำแผนที่มีกระบวนการสร้างตามขั้นตอนการสร้าง อย่างเป็นระบบและวิธีการสอนที่เหมาะสม กล่าวคือได้ศึกษาเอกสารคู่มือการจัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ได้ศึกษาวิเคราะห์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รวมถึงได้ศึกษาแนวทางการเขียน แผนการจัดการเรียนรู้ ลงมือสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แล้วนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญและคุณครูพี่เลี้ยงเพื่อปรับปรุงแก้ไข ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนนั้นจะช่วยฝึก อ่านจับใจความเป็นการฝึกปฏิบัติแบบกลุ่มและการฝึกปฏิบัติรายบุคคลโดยจัดกลุ่มฝึกปฏิบัติแบบ คละความสามารถของผู้เรียน ประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง ปานกลางและอ่อนพบว่าการฝึกปฏิบัติ แบบกลุ่มช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนอ่านได้ดีขึ้น คนที่เก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิก ในกลุ่มจะร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนในกลุ่ม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิธีคิดและแนว ทางการปฏิบัติ และเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เป็นเทคนิคที่มีกิจกรรมที่ฝึกให้ นักเรียนได้อ่าน ได้คิดค้นหาคำตอบตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้นให้ นักเรียนได้มีการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ดังนี้ 1) ขั้นกิจกรรมก่อนการอ่าน K (What you know) นักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน 2) ขั้นกิจกรรมระหว่างการอ่าน W (What you want to know) นักเรียนต้องการ จะรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน 3) ขั้นกิจกรรมหลังการอ่าน L (What you have learned) นักเรียนได้เรียนรู้ อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน 4) ขั้นการสร้างแผนภาพความคิด Plus (Mapping) การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด เป็นกระบวนการสอนที่ เน้นทักษะการอ่านและทักษะการคิด สามารถตรวจสอบความคิด และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการ คิดของตนเองได้ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนรู้จัก ยอมรับและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่น ส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าใจในสิ่งที่อ่านเพิ่มมากขึ้น และนักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียบเรียง ภาษาของตนเอง ที่มาจากความเข้าใจ ทำให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้และสามารถอ่านจับใจความ สำคัญจากการทำกิจกรรม การสรุปความเป็นแผนภาพความคิด ทำให้นักเรียนสามารถเรียงลำดับ เหตุการณ์ เรียงลำดับ ข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน และนักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่อ่านดีขึ้น สามารถ มองเห็นรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ตลอดจนช่วยให้นักเรียนสามารถแยกแยะเนื้อเรื่องได้อย่างเป็น ระบบ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของณัฐภัทร ปันปิน. (2559). กล่าวว่า การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความจากการจัดกิจกรรมการเรียนการอ่านโดยใช้เทคนิค KWL – Plus เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและมีจุดมุ่งหมายในการ อ่านให้นักเรียนฝึกคิดอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงในแต่ละขั้นตอน โดยใช้เทคนิค KWL – Plus แล้วเพิ่มเติมการสรุปสาระสำคัญทำแผนผังมโนทัศน์หรือแผนผังความคิด เพื่อสรุปความคิดรวบยอด ของนักเรียน มีส่วนช่วยพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการ พัฒนาทักษะย่อยในการอ่านจับใจความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ


55 2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ สำคัญ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL – Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนส่งผลต่อการเรียน ของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถด้าน การอ่านที่ดีขึ้น การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย สามารถแก้ไขปัญหา และสามารถพัฒนา ความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินู ทิศได้ ทำให้นักเรียนมีความสามารถในด้านการอ่านจับใจความอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของกรอบแนวคิดที่ผู้วิจัยตั้งไว้โดยเริ่มจากนักเรียนเกิดกระบวนการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเกิดจากการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิม ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การประมวล ความรู้ จากการศึกษาตัวบทอ่าน และการสรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จึงนำมาสู่ความสามารถในการ อ่านจับใจความสำคัญ ทำให้ความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนพัฒนาไป ในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของณัฐวดี ปิ่นวิลัย. (2563). กล่าวว่า จากการนำ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus มาใช้ในการแก้ปัญหาการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้บทอ่านที่แตกต่างกัน ได้แก่ บทอ่านประเภทนิทาน บทอ่านประเภทบทความ และบทอ่านประเภทเรื่องสั้นรวมถึงการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลัง เรียนเกี่ยวกับการจับใจความประเภทต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความสามารถในการจับใจความสำคัญให้ดี ยิ่งขึ้น และผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 60 นวัตกรรมสามารถพัฒนาความสามารถของนักเรียนได้ ตามองค์ประกอบความสามารถที่กำหนด และมาลินี สุทธิเวช. (2561). กล่าวว่าการนำนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาความสามารถด้าน การอ่านจับใจความของนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสอดคล้องกับวิจัย ของรินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. (2557). ที่กล่าวว่า ความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมี นัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL - Plus เป็นการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ให้นักเรียนฝึกกระตุ้นความคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนเพื่อเป็น การเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ โดยมีกรอบและแนวทางให้นักเรียนเชื่อมโยงเนื้อหาเป็น ลำดับขั้นตอน 5.3 ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้


56 5.3.1 ข้อเสนอแนะเพื่อนำวิจัยไปใช้ 5.3.1.1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ KWL - Plus ร่วมกับแผนผัง ความคิด ครูควรมีบทบาทในทุกขั้นตอน ไม่ควรปล่อยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเพียงลำพัง ครูควรเริ่มฝึกนักเรียนตั้งแต่การบันทึกข้อมูลลงในตาราง KWL ให้ถูกต้องและเป็นระบบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเขียน ตลอดจนครูต้องมีการเน้นย้ำถึงวิธีการเขียนที่ถูกต้องการสะกดคำ และรวมไปถึงการใช้ภาษา 5.3.1.2 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ด้วยรูปแบบ KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้ ของผู้เรียน ผู้สอนต้องมีการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง หากครูไม่สามารถส่งเสริมหรือสนับสนุนนักเรียนที่มีปัญหา จะส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจในการเรียน และจะทำให้การจัดการเรียน การสอนไม่ประสบผลสำเร็จ 5.3.1.3 ครูควรมีการศึกษาขั้นตอนในการอ่านแต่ละขั้นให้เข้าใจ รวมไปถึงมีการ วางแผนการสอนอย่างละเอียด เพื่อบริหารเวลาแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสม เพื่อจะทำให้การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5.3.1.4 การเลือกบทอ่านที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรม ไม่ควรเลือกบทอ่าน ที่มีเนื้อหายากเกินไป ควรเลือกบทอ่านที่น่าสนใจและเป็นบทอ่านที่เกี่ยวกับความรู้รอบตัว เนื่องจาก จะทำให้นักเรียนสามารถตั้งคำถามและเชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่ได้ง่ามากขึ้น และจะช่วย ให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ 5.3.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 5.3.2.1 ควรมีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus ร่วมกับ แผนผังความคิด โดยเลือกเนื้อหาที่เป็นปัญหาในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เช่น การอ่านเชิงวิเคราะห์ วรรณคดีไทย และวรรณกรรมพื้นบ้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอน มากที่สุด 5.3.2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาการอ่านของนักเรียนโดยใช้เทคนิค KWL - Plus ร่วมกับแผนผังความคิด หรือวิธีการสอนรูปแบบอื่นๆ เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


57 บรรณานุกรม กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย บูรพา. กรรภิรมย์ แก้ววัน. (2563). ผลการใช้ชุดการสอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้การ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับ แผนผังความคิด (Mind Mapping) วิชา ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. วารสารมนุษยสังคมสาร คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 19(1). กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กาญจนา นาคสกุล. (2539). บทบาทของภาษากับการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว. วารสาร สุโขทัยธรรมาธิราช, 9(1), 33-37. จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร. จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2558). ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธี สอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์. จุฬารัตน์ เหล่าไพโรจน์จารี. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โดยใช้ การสอนแบบ KWL-Plus ร่วมกับแผนภาพความคิด (Mind Mapping). วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย. จุฬารัตน์ อินทร์อุดม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ชฎารัตน์ ภูทางนา และ อุดมลักษณ์ ระพีแสง. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับ ใจความสำคัญโดย วิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล เมืองขลุง 1 (บุรวิทยาคาร). วารสารวิชาการสังคมผู้ สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา 2562. 1(9). สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/.pdf.


58 บรรณานุกรม(ต่อ) ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุทส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี. ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. (2545). คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญชั้นมัธยมศึกษา แนวคิดและวิธีปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม. กุงเทพฯ: บริษัท จูนพับลิซชิ่ง จำกัด. ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และ พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และ พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการ เรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ชลบุรี มหาวิทยาลัย บูรพา. ณัฐวดี ปิ่นวิลัย. (2563). การแก้ปัญหาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ KWL Plus ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยนออฟอาร์ค. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ณัฐวดี ปิ่นวิลัย. (2563). การแกปญหาการอานจับใจความโดยใชเทคนิคการเรียนรูKWL Plus ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนโยนออฟอารค. วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้ เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดวงพร เฟื่องฟู. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W1H เพื่อ ส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุสาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์. ทักษพร เหมือนโพธิ์ (2561). การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 4W1H ส่งเสริมการ อ่าน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุสาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. นภดล มนตรี. (2561). คู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับ ลิชชิ่ง.


59 บรรณานุกรม(ต่อ) น้ำผึ้ง มีนิล. (2545) ผลของการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกในการเรียนการสอนวิชาโครงงาน วิทยาศาสตร์กับคุณภาพชีวิต ที่มีต่อการใช้ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ ความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นุชนาถ สอนส่ง. (2549). การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง บรรยากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริ ยาสาส์น. บุญสนอง วิเศษสาธร. (2562). ผลการสอนโดยใช้แผนผังความคิดที่มีต่อทักษะและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษา. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(3). เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาE1/E2 . วารสารการ วัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51. พัชรินทร์ บุตรสันเทียะ. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด Task Based Learning ร่วมกับ คำถามของบลูม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). การอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหิศร นันตโลหิต. (2550). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน และความสามารถทางการ เขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน โดยใช้ผังมโนทัศน์ กับการ สอนตามแบบปกติ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาลินี สุทธิเวช. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสรุปความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร. มาลินี สุทธิเวช. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสรุปความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. มิ่งขวัญ สุขสบาย (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและ การเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.


60 บรรณานุกรม(ต่อ) มิ่งขวัญ สุขสบาย. (2561). ประสิทธิภาพจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนา ความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(4). เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2540). หลักการวัดผลและการสร้างข้อสอบ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิจัย การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รัตน์ติยา ใช้สอย. (2565). การจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังความคิด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ลักขณา โททอง. (2561). เรื่องการพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังความคิดประกอบแบบฝึกทักษะ. ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย, 7(2). วราภรณ์ พรมอินทร์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ Collaborative strategic reading. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา. วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). นิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. วัชรา เล่าเรียนและคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับ คุณภาพการศึกษา สาหรับศตวรรษที่21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. มหาสารคม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม วิไลวัลย์ สวัสดิวงศ์. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สถาบันภาษาไทย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ. (2560). เทคนิคการอ่านเชิงวิชาการ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย นเรศวร. สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ. (2560). เทคนิคการอ่านเชิงวิชาการ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย นเรศวร. สมบูรณ์ ตันยะ. (2545). การประเมินทางการศึกษา. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น. สมพร เชื้อพันธ์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กับ การจัดการเรียนการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.


61 บรรณานุกรม(ต่อ) สมพร แพ่งพิพัฒน์. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนา พานิช. สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. สายชล โชติธนากิจ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้วิธีการ สอน อ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย บูรพา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จาก https://www.bic.moe.go.th/images/ . สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สุดา มากบุญ. (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ กลุ่มสร้างเสริม ประสบการณ์ ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยการใช้ชุดปฏิบัติ กิจกรรมจากสื่อประสม. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ถ่ายเอกสาร. สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ. (2557). การสร้างเครื่องมือวัดผลทางการเรียน. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2566, สืบค้นจาก http://www.mathayom9.go.th/ achiev-1.pdf. สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2546). ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สุมาลี ระคำภา. (2553). ศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดจากการอ่านและการเขียนโดย ใช้แผนภาพความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องพ่อของ แผ่นดิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(1), 51. สุเมธ ทุนกิจใจ. (2561). การสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ เทคนิคแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. สุวิทย์ มูลคำ. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.


62 บรรณานุกรม(ต่อ) อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.


๖๓ ภาคผนวก


๖๔ ภาคผนวก ก แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินคุณภาพ


๖๕ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สุภาษิตพระร่วง เวลา 17 ชั่วโมง เรื่อง อ่านจับใจความได้ เข้าใจข่าว เวลา 1 ชั่วโมง ผู้สอน นายธนพล แสนตุ้ย โรงเรียนสตรีราชินูทิศ วันที่สอน ม.1/9 วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 – 11.15 น. ม.1/11 วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 12.10 – 13.05 น. ม.1/14 วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 – 11.15 น. 1. สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ม.๑/2 จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน ม.1/9 มีมารยาทในการอ่าน 2. สาระสำคัญ การอ่านจับใจความ เป็นทักษะการอ่านที่ผู้อ่านต้องเข้าใจเนื้อเรื่อง จุดมุ่งหมายของเรื่องว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วนำเรื่องที่อ่านมาสรุปรวบรวมหรือเรียบเรียงข้อความให้เป็น สำนวนภาษาของตนเอง การศึกษาเรื่องการจับใจความจะทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการอ่านจับ ใจความและสามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 การอ่านจับใจความ 3.2 หลักการอ่านจับใจความ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 ด้านความรู้ (K) นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการอ่านจับใจความ 4.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P) นักเรียนสามารถอ่านจับใจความได้ 4.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอ่านจับใจความ


๖๖ 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เฉพาะที่เกิดในแผนการจัดการเรียนรู้นี้) 5.1 ความสามารถในการสื่อสาร 5.2 ความสามารถในการคิด 5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.๑ ใฝ่เรียนรู้ 6.2 มุ่งมั่นในการทำงาน 7.จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ 21 (3R 8C 2L) 7.1 L-1 Learning (ทักษะการเรียนรู้) 7.2 C-1 Critical thinking and problem solving คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิด อย่างมีวิจารณญาณอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ปัญหาได้ 7.3 C-4 Collaboration teamwork and leadership คือ ความสามารถในการร่วมมือ กันทำงานเป็นทีม และมีภาวะความเป็นผู้นำ 8.การบรูณาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ - ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 9.ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน/ร่องรอยแสดงความรู้) 9.1 ตารางตอบคำถาม KWL 9.2 แผนผังความคิด (Mind Map) 10. กิจกรรมการเรียนรู้ (KWL - Plus) ขั้นนำ 10.1 นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาว่าในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีวิธีการอ่านเนื้อ เรื่อง หรือเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เช่น อ่านข่าว อ่านบทความ ฯลฯ เพื่อให้ได้ความรู้ ข้อมูลหรือ สาระสำคัญต่างๆ ของเรื่องเหล่านั้น จากนั้นนักเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับการอ่านจับใจความ ตามขั้นตอนการเรียน รู้แบบ KWL - Plus 10.2 นักเรียนรับฟังการชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ และ การอธิบายความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญตามจุดประสงค์ที่นักเรียนจะต้องมี ความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. บอกขั้นตอนการอ่านจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ 2. จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านได้ 3. บอกความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้


๖๗ 4. บอกจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้ 5. สรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ 10.3 นักเรียนศึกษาใบความรูเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ หลังจากนั้นร่วมกัน อภิปรายและสรุปความรูจากการอานใบความรู้ และรับฟังครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการและ วิธีการอ่านจับใจความสำคัญ เช่น การอ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏตามย่อหน้า การตั้งคำถาม เพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ ขั้นสอน ขั้นที่ 1 ขั้นกิจกรรมก่อนการอ่าน K (What you know) 10.4 นักเรียนรับตาราง KWL - Plus จากครู นักเรียนรับฟังครูอธิบายขั้นตอนของ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus การเขียนบันทึกลงในตาราง KWL - Plus โดย อธิบายตามตาราง ทีละช่อง ช่อง K นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ รู้แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง W นักเรียนต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ ต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง L นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ได้ เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่าน ให้นักเรียนเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านจากแผนภาพความคิด โดยสรุปเป็นสำนวนภาษาของตนเอง 10.5 นักเรียนร่วมกันสังเกตรูป “นกเงือก” นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับรูปที่ครูนำมาให้สังเกตอย่างไรบ้าง ให้นักเรียนคิดและแสดงความคิดเห็น นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ครูเขียนบนกระดานบันทึกข้อความลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง K ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมระหว่างการอ่าน W (What we want to know) 10.6 ครูแจกบทความให้นักเรียนจากนั้นนักเรียนตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการรู้จาก บทความเรื่อง “นกเงือก” และให้บันทึกคำถามลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง W (What we want to know) การตั้งคำถามครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามต่างๆ เช่น คำถามเกี่ยวกับ ประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่อง ใจความสำคัญว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของเรื่อง และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และความต้องการที่นักเรียนอยากจะรู้เรื่องต่างๆ จากบทความเรื่อง “นกเงือก” 10.7 นักเรียนตั้งคำถามจากบทความเรื่อง “นกเงือก” และหาคำตอบจากคำถาม ที่ตั้งไว้ในช่อง W ถ้านักเรียนอ่านพบข้อมูลใหม่ ๆ นักเรียนสามารถตั้งคำถามเพิ่มเติมในช่อง W ได้ ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมหลังการอ่าน L (What you have learned) 10.8 นักเรียนบันทึกคำตอบที่ได้จากการตั้งคำถาม ลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง L


๖๘ 10.9 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดจากการอ่านจาก บทความเรื่อง “นกเงือก” เพื่อตรวจสอบคำตอบอีกครั้งหนึ่ง ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างแผนภาพความคิด (Mapping) 10.10 ครูอธิบายการสร้างแผนภาพความคิดตามรูปแบบต่างๆ เช่น แบบก้างปลา แบบต้นไม้แบบแผนภูมิเป็นต้น 10.11 นักเรียนนำข้อมูลจากใบงาน KWL - Plus มาเรียบเรียงข้อมูลและสรุปข้อมูล เป็นแผนผังความคิด ครูกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใส่หัวข้อเรื่อง ความหมาย ข้อคิด วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่องที่อ่านในการเขียนแผนภาพความคิด เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์พร้อมทั้ง ระบายสีและตกแต่งให้สวยงามตามความคิดของแต่ละกลุ่ม 10.12 ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอการสรุปใจความสำคัญจากบทความเรื่อง “นกเงือก” ขั้นสรุป 10.13 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียน โดยให้นักเรียนบอกข้อดีของการจัดการ เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus 11. การจัดบรรยากาศเชิงบวก 11.1 เริ่มด้วยการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อให้พร้อมต่อการเรียน 11.2 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนแบบเป็นกันเอง ยิ้มแย้ม ไม่กดดัน 12. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ 12.1 ตาราง KWL Plus 12.2 แผนผังความคิดในรูปแบบต่างๆ 12.3 บทความเรื่อง “นกเงือก” 12.4 ภาพนกเงือก 13. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความเข้าใจในหลักการ อ่านจับใจความ (K) ตรวจผลงานของ นักเรียน ตาราง KWL Plus ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนสามารถอ่าน จับใจความ ได้ (P) ตรวจผลงานของ นักเรียน แบบประเมิน ผลงานนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอ่าน จับใจความ (A) การตอบคำถาม คำถาม ระดับคุณภาพระดับดี ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์


๖๙ 14. บันทึกผลหลังจัดกิจกรรมเรียนรู้ ๑.ผลการจัดการเรียนการสอน ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................ ..... ............................................................................................................................................................. ..................................................................................................................... ........................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................ ................................. .................................................................................................................................................... ......... ๒.ปัญหา/อุปสรรค ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ๓.ขั้นเสนอแนะและแนวทางแก้ปัญหา ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ................................................................................................................... .......................................... ลงชื่อ........................................................ผู้สอน (นายธนพล แสนตุ้ย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๗๐ ๔.ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางสกาวรัตน์ เขาวงศ์ทอง) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............ ๕. ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางจุฬาลักษณ์ บุญไชย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๗๑ ๖. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ลงชื่อ.................................................................. (...................................................................) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๗๒ 15.สื่อการสอน-แบบบันทึก KWL


๗๓ -ใบงานแผนผังความคิด


๗๔ -บทความเรื่อง “นกเงือก” “นกเงือก” ถือเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบ เพราะเมื่อมีคู่แล้วมัน จะอยู่คู่กันจนกว่าตัวใดตัวหนึ่งตายจากไป ตัวที่เหลืออยู่ก็จะใช้เวลาทาใจครองตัวเป็นโสดอยู่สักระยะ แล้วอาจจับคู่ใหม่ หากวันใดนกเงือกตัวผู้ถูกทาร้ายไม่ว่าด้วย ผู้ล่าจากธรรมชาติอย่างหมาใน หมีขอ หรือจากการล่าด้วยน้ามือมนุษย์ คู่ของมันอาจต้องดับสลายไป หากตัวเมียอยู่ในช่วงสลัดขนไม่สามารถ ออกไปหาอาหารได้ ชีวิตน้อยๆ ที่เพิ่งลืมตาดูโลกไม่นานก็สูญสิ้นไปด้วย เช่นกัน


๗๕ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สุภาษิตพระร่วง เวลา 17 ชั่วโมง เรื่อง อ่านจับใจความได้ เข้าใจข่าว เวลา 1 ชั่วโมง ผู้สอน นายธนพล แสนตุ้ย โรงเรียนสตรีราชินูทิศ วันที่สอน ม.1/9 วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 14.00 – 14.55 น. ม.1/11 วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 – 11.15 น. ม.1/14 วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 09.25 – 10.20 น. 1. สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ม.๑/2 จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน ม.1/9 มีมารยาทในการอ่าน 2. สาระสำคัญ การอ่านจับใจความ เป็นทักษะการอ่านที่ผู้อ่านต้องเข้าใจเนื้อเรื่อง จุดมุ่งหมายของเรื่องว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วนำเรื่องที่อ่านมาสรุปรวบรวมหรือเรียบเรียงข้อความให้เป็น สำนวนภาษาของตนเอง การศึกษาเรื่องการจับใจความจะทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการอ่านจับ ใจความและสามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 การอ่านจับใจความ 3.2 ความหมายและองค์ประกอบของข่าว 3.3 ประเภทของข่าว 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 ด้านความรู้ (K) นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน 4.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P) นักเรียนสามารถอ่านจับใจความได้ 4.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) นักเรียนมีมารยาทในการอ่าน


๗๖ 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เฉพาะที่เกิดในแผนการจัดการเรียนรู้นี้) 5.1 ความสามารถในการสื่อสาร 5.2 ความสามารถในการคิด 5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.๑ ใฝ่เรียนรู้ 6.2 มุ่งมั่นในการทำงาน 7.จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ 21 (3R 8C 2L) 7.1 L-1 Learning (ทักษะการเรียนรู้) 7.2 C-1 Critical thinking and problem solving คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิด อย่างมีวิจารณญาณอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ปัญหาได้ 7.3 C-4 Collaboration teamwork and leadership คือ ความสามารถในการร่วมมือ กันทำงานเป็นทีม และมีภาวะความเป็นผู้นำ 8.การบรูณาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ - ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 9.ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน/ร่องรอยแสดงความรู้) 9.1 ตารางตอบคำถาม KWL 9.2 แผนผังความคิด (Mind Map) 10. กิจกรรมการเรียนรู้ (KWL - Plus) ขั้นนำ 10.1 นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาว่าในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีวิธีการอ่านเนื้อ เรื่องหรือเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เช่น อ่านข่าว อ่านบทความ ฯลฯ เพื่อให้ได้ความรู้ ข้อมูลหรือ สาระสำคัญต่างๆ ของเรื่องเหล่านั้น จากนั้นนักเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับการอ่านจับใจความ ตามขั้นตอนการเรียน รู้แบบ KWL - Plus 10.2 นักเรียนรับฟังการชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ และการอธิบายความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญตามจุดประสงค์ที่นักเรียนจะต้องมี ความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. บอกขั้นตอนการอ่านจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ 2. จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านได้


๗๗ 3. บอกความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ 4. บอกจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้ 5. สรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ 10.3 นักเรียนรับฟังครูอธิบายหลักการและวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ เช่น การ อ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏตามย่อหน้า การตั้งคำถาม เป็นต้น 10.4 นักเรียนรับฟังครูอธิบายเกี่ยวกับความหมายของข่าว องค์ประกอบและ ประเภท ของข่าว 10.5 นักเรียนรับฟังครูอธิบายขั้นตอนของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus การเขียนบันทึกลงในตาราง KWL Plus โดยอธิบายตามตารางทีละช่อง ช่อง K นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ รู้แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง W นักเรียนต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ ต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง L นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ได้ เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่าน ให้นักเรียนเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านจากแผนภาพความคิด โดยสรุปเป็นสำนวนภาษาของตนเอง ขั้นสอน ขั้นที่ 1 ขั้นกิจกรรมก่อนการอ่าน K (What you know) 10.6 นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม จำนวนเท่าๆ กัน จากนั้นนักเรียนแต่ละ กลุ่มรับตาราง KWL - Plus จากครู 10.7 ครูนำรูป “ปอด” แสดงบนกระดาน จากนั้นนักเรียนและครูร่วมกันสนทนาว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับรูปภาพที่ครูนำมาอย่างไรบ้าง นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด โดยการพูดอภิปรายแสดงความคิดเห็น นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับรูปภาพที่ครูนำมาแสดงบน กระดานและบันทึกข้อความลงในใบงาน KWL Plus ในช่อง K ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมระหว่างการอ่าน W (What we want to know) 10.8 นักเรียนแต่ละกลุ่มรับบทความจากครูจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้ง คำถามในสิ่งที่ต้องการรู้จากข่าวเรื่อง “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควร มองข้าม” และให้บันทึกคำถามลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง W (What we want to know) การตั้งคำถามครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามต่างๆ เช่น คำถามเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจาก เรื่อง ใจความสำคัญว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของเรื่อง และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และความต้องการที่ นักเรียนอยากจะรู้เรื่องต่างๆ จากข่าวเรื่อง “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ภัยร้ายเงียบที่ ไม่ควรมองข้าม”


๗๘ 10.9 นักเรียนร่วมกันอ่านข่าวเรื่อง “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ ภัยร้ายเงียบที่ ไม่ควรมองข้าม” แล้วนักเรียนหาคำตอบจากคำถามที่ตั้งไว้ในช่อง W ถ้านักเรียนอ่านพบข้อมูลใหม่ ๆ นักเรียนสามารถตั้งคำถามเพิ่มเติมในช่อง W ได้ ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมหลังการอ่าน L (What you have learned) 10.10 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกคำตอบที่ได้จากการตั้งคำถาม ลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง L 10.11 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดจากการอ่านข่าวเรื่อง “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม” เพื่อตรวจสอบคำตอบอีกครั้ง หนึ่ง ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างแผนภาพความคิด (Mapping) 10.12 นักเรียนฟังครูอธิบายการสร้างแผนภาพความคิดตามรูปแบบต่างๆ เช่น แบบก้างปลา แบบต้นไม้ แบบแผนภูมิ เป็นต้น 10.13 นักเรียนนำข้อมูลจากใบงาน KWL - Plus มาเรียบเรียงข้อมูลและสรุป ข้อมูลเป็นแผนผังความคิด ครูกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใส่หัวข้อเรื่อง ความหมาย ข้อคิด วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่องที่อ่านในการเขียนแผนภาพความคิด เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ พร้อมทั้งระบายสีและ ตกแต่งให้สวยงามตามความคิดของแต่ละกลุ่ม 10.14 นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปใจความสำคัญจากข่าวเรื่อง “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงได้ ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม” ขั้นสรุป 10.15 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียน โดยให้นักเรียนบอกข้อดีของการจัดการ เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus 11. การจัดบรรยากาศเชิงบวก 11.1 เริ่มด้วยการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อให้พร้อมต่อการเรียน 11.2 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนแบบเป็นกันเอง ยิ้มแย้ม ไม่กดดัน 12. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ 12.1 ตาราง KWL Plus 12.2 แผนผังความคิดในรูปแบบต่างๆ 12.3 ข่าว “มะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม”


๗๙ 13. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความเข้าใจและ สามารถตั้งคำถามจากเรื่องที่ อ่านได้(K) ตรวจผลงานของ นักเรียน ตาราง KWL Plus ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนสามารถจับใจความ จากข่าวที่อ่านได้(P) ตรวจผลงานของ นักเรียน แบบประเมิน ผลงาน นักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนมีมารยาทในการอ่าน (A) สังเกตพฤติกรรมการ เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม แบบสังเกต พฤติกรรม ระดับคุณภาพระดับดี ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์


๘๐ 14. บันทึกผลหลังจัดกิจกรรมเรียนรู้ ๑.ผลการจัดการเรียนการสอน ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................. ................ ................................................................................................................... .......................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................ . ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................... .............................................. ............................................................................................................................................................. ................................................................................................ ............................................................. ๒.ปัญหา/อุปสรรค ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................................................... .......................... ......................................................................................................... .................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ๓.ขั้นเสนอแนะและแนวทางแก้ปัญหา ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................................... .......................................... ลงชื่อ........................................................ผู้สอน (นายธนพล แสนตุ้ย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๘๑ ๔.ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางสกาวรัตน์ เขาวงศ์ทอง) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............ ๕. ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางจุฬาลักษณ์ บุญไชย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๘๒ ๖. ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ลงชื่อ.................................................................. (...................................................................) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๘๓ 16.สื่อการสอน-แบบบันทึก KWL


๘๔ -ใบงานแผนผังความคิด


๘๕ -ข่าว “มะเร็งปอด” ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม โรคมะเร็ง เป็นภัยร้ายสุขภาพ และยังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุก ประเทศ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย โรคมะเร็ง จัดเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต มาเป็นอันดับ 1 ของคนไทย มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี “มะเร็งปอด” ซึ่งถือเป็นภัยร้าย ซ่อนเงียบที่อยู่ใกล้ตัว และยังถูกจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศ ไทย นายแพทย์ผดุงเกียรติ ตั้งพิรุฬห์ธรรม ศัลแพทย์ทรวงอกด้านผ่าตัดส่องกล้องปอด โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพวัฒโนสถ ระบุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าความเสี่ยงหลัก ๆ ของมะเร็ง ปอด คือ บุหรี่ ยิ่งเราสูบบุหรี่มากขึ้นโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปอดร่วมกับอย่างอื่นด้วย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ก็จะเป็นได้มากขึ้น แต่หลัง ๆ เราก็จะเจอว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ก็ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้เหมือนกัน ถ้าเราสามารถเจอคนไข้ในระยะที่ 1 โอกาสหายขาดสูง มากถึง 80% ขึ้นไป ถ้าเจอในระยะที่ 2 ก็จะค่อยๆ ลดลงมา 60% ระยะที่ 3 เหลือ 30% แต่ถ้าเจอในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะอันตรายของมะเร็งปอดแล้ว เนื่องจากระยะแรกๆ จะไม่ ค่อยมีอาการบ่งบอก หลายคนก็เลยไม่ค่อยได้สังเกตุ ส่วนใหญ่คนไข้เกือบครึ่ง จะเจอในระยะ ที่ 4 แล้ว ทำให้โอกาสหายขาดน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลยดังนั้นการตรวจคัดกรองสุขภาพ มีความสำคัญมาก ซึ่งปัจจุบันการคัดกรองมะเร็งปอด เราแนะนำด้วยการทำ Low-dose CT (Low-dose Computed Tomography) คือ การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดแบบรังสีต่ำ การทำ Low-dose CT หนึ่งครั้งเทียบได้กับการเอกซเรย์ปอดประมาณสัก 10-20 ครั้ง แล้วแต่การเซ็ตของแต่ละโรงพยาบาลว่าเป็นอย่าไร ซึ่งการทำ Low-dose CT จะสร้างภาพ สามมิติ ทำให้เราสามารถเห็นจุดในปอดได้เล็กมาก เล็กขนาดประมาณ 1 - 3 มิลลิเมตร ก็ เริ่มเห็นได้แล้ว แต่ถ้าเทียบกับเอกซเรย์ปอดที่ทำๆ กันอยู่นั้นจะเป็นการคัดกรองแบบหยาบ ๆ ก็จะเห็นก้อนได้อย่างเล็กที่สุดประมาณสัก 1-2 เซนติเมตรขึ้นไป เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่การ คัดกรองที่ดีที่สุด เพราะว่าระยะที่ดีที่สุดคือ เจอระยะแรกๆ คือเจอตอนก้อนมะเร็งต่ำกว่า 1 เซนติเมตร และไม่มีการลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่น ๆ จะมีโอกาสหายได้มากถึง 92% ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง การคัดกรอง มะเร็งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะรู้เร็วรักษาเร็วช่วยยับยั้งก่อนลุกลาม ที่มา : ข่าวทั่วไป https://www.ryt9.com/s/prg/3325607


๘๖ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สุภาษิตพระร่วง เวลา 17 ชั่วโมง เรื่อง อ่านจับใจความได้ เข้าใจบทความ เวลา 1 ชั่วโมง ผู้สอน นายธนพล แสนตุ้ย โรงเรียนสตรีราชินูทิศ วันที่สอน ม.1/9 วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 14.00 – 14.55 น. ม.1/11 วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 – 11.15 น. ม.1/14 วันที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 10.20 – 11.15 น. 1. สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด ม.๑/2 จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน ม.1/9 มีมารยาทในการอ่าน 2. สาระสำคัญ การอ่านจับใจความ เป็นทักษะการอ่านที่ผู้อ่านต้องเข้าใจเนื้อเรื่อง จุดมุ่งหมายของเรื่องว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วนำเรื่องที่อ่านมาสรุปรวบรวมหรือเรียบเรียงข้อความให้เป็น สำนวนภาษาของตนเอง การศึกษาเรื่องการจับใจความจะทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการอ่านจับ ใจความและสามารถจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ 3. สาระการเรียนรู้ -การอ่านจับใจความ 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 4.1 ด้านความรู้ (K) นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ 4.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P) นักเรียนสามารถจับใจความจากบทความที่อ่านได้ 4.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอ่านจับใจความ


๘๗ 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เฉพาะที่เกิดในแผนการจัดการเรียนรู้นี้) 5.1 ความสามารถในการสื่อสาร 5.2 ความสามารถในการคิด 5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6.คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.๑ ใฝ่เรียนรู้ 6.2 มุ่งมั่นในการทำงาน 7.จุดเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียน ความสามารถและทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ 21 (3R 8C 2L) 7.1 L-1 Learning (ทักษะการเรียนรู้) 7.2 C-1 Critical thinking and problem solving คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิด อย่างมีวิจารณญาณอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ปัญหาได้ 7.3 C-4 Collaboration teamwork and leadership คือ ความสามารถในการร่วมมือ กันทำงานเป็นทีม และมีภาวะความเป็นผู้นำ 8.การบรูณาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ - ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม 9.ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน/ร่องรอยแสดงความรู้) 9.1 ตารางตอบคำถาม KWL 9.2 แผนผังความคิด (Mind Map) 10. กิจกรรมการเรียนรู้ (KWL - Plus) ขั้นนำ 10.1 นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาว่าในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีวิธีการอ่านเนื้อ เรื่อง หรือเรื่องราวต่างๆ อย่างไร เช่น อ่านข่าว อ่านบทความ ฯลฯ เพื่อให้ได้ความรู้ ข้อมูลหรือ สาระสำคัญต่างๆ ของเรื่องเหล่านั้น จากนั้นนักเรียนเตรียมความพร้อมสำหรับการอ่านจับใจความ ตามขั้นตอนการเรียน รู้แบบ KWL - Plus 10.2 นักเรียนรับฟังการชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความ และ การอธิบายความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความสำคัญตามจุดประสงค์ที่นักเรียนจะต้องมี ความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. บอกขั้นตอนการอ่านจับใจความของเรื่องที่อ่านได้ 2. จัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านได้


๘๘ 3. บอกความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ 4. บอกจุดมุ่งหมายของผู้เขียนได้ 5. สรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ 10.3 นักเรียนรับฟังครูอธิบายหลักการและวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ เช่น การ อ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏตามย่อหน้า การตั้งคำถาม เป็นต้น 10.4 นักเรียนรับฟังครูอธิบายขั้นตอนของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL- Plus การเขียนบันทึกลงในตาราง KWL Plus โดยอธิบายตามตารางทีละช่อง ช่อง K นักเรียนมีความรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ รู้แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง W นักเรียนต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ ต้องการรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ช่อง L นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่ได้ เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่าน ให้นักเรียนเขียนแผนภาพความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ให้นักเรียนเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านจากแผนภาพความคิด โดยสรุปเป็นสำนวนภาษาของตนเอง ขั้นสอน ขั้นที่ 1 ขั้นกิจกรรมก่อนการอ่าน K (What you know) 10.5 นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม จำนวนเท่าๆ กัน จากนั้นนักเรียนแต่ละ กลุ่มรับตาราง KWL - Plus จากครู 10.7 ครูเขียนคำว่า “แอปพลิเคชัน” บนกระดาน จากนั้นนักเรียนและครูร่วมกัน สนทนาว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องที่ครูเขียนอย่างไร ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดม ความคิด โดยการพูดอภิปรายแสดงความคิดเห็น นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ครูเขียน บนกระดานบันทึกข้อความลงในใบงาน KWL - Plus ในช่อง K ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมระหว่างการอ่าน W (What we want to know) 10.8 นักเรียนแต่ละกลุ่มรับบทความจากครูจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันตั้ง คำถามในสิ่งที่ต้องการรู้จากบทความเรื่อง “อะไรก็แอป” และให้บันทึกคำถามลงในใบงาน KWL Plus ในช่อง W (What we want to know) การตั้งคำถามครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามต่าง ๆ เช่น คำถามเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่อง ใจความสำคัญว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของเรื่อง และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และความต้องการที่นักเรียนอยากจะรู้เรื่องต่าง ๆ จากเรื่อง “อะไรก็แอป” 10.9 นักเรียนร่วมกันอ่านอ่านบทความเรื่อง “อะไรก็แอป” แล้วนักเรียนหาคำตอบ จากคำถามที่ตั้งไว้ในช่อง W ถ้านักเรียนอ่านพบข้อมูลใหม่ ๆ นักเรียนสามารถตั้งคำถามเพิ่มเติมใน ช่อง W ได้ ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมหลังการอ่าน L (What you have learned) 10.10 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกคำตอบที่ได้จากการตั้งคำถาม ลงในใบงาน KWL - Plusในช่อง L


๘๙ 10.11 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดจากการอ่านเรื่อง “อะไรก็แอป” เพื่อตรวจสอบคำตอบอีกครั้งหนึ่ง ขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างแผนภาพความคิด (Mapping) 10.12 นักเรียนฟังครูอธิบายการสร้างแผนภาพความคิดตามรูปแบบต่างๆ เช่น แบบก้างปลา แบบต้นไม้ แบบแผนภูมิ เป็นต้น 10.13 นักเรียนนำข้อมูลจากใบงาน KWL - Plus มาเรียบเรียงข้อมูลและสรุป ข้อมูลเป็นแผนผังความคิด ครูกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มใส่หัวข้อเรื่อง ความหมาย ข้อคิด วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่ได้รับจากเรื่องที่อ่านในการเขียนแผนภาพความคิด เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ พร้อมทั้งระบายสีและ ตกแต่งให้สวยงามตามความคิดของแต่ละกลุ่ม 10.14 นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปใจความสำคัญจากเรื่อง “อะไรก็แอป” ขั้นสรุป 10.15 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปบทเรียน โดยให้นักเรียนบอกข้อดีของการจัดการ เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL - Plus 11. การจัดบรรยากาศเชิงบวก 11.1 เริ่มด้วยการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเพื่อให้พร้อมต่อการเรียน 11.2 สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนแบบเป็นกันเอง ยิ้มแย้ม ไม่กดดัน 12. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ 12.1 ตาราง KWL Plus 12.2 แผนผังความคิดในรูปแบบต่างๆ 12.3 บทความ “อะไรก็แอป” 13. การวัดและประเมินผล จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความเข้าใจและ สามารถตั้งคำถามจากเรื่องที่ อ่านได้(K) ตรวจผลงาน ของนักเรียน ตาราง KWL Plus ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนสามารถจับใจความจาก บทความที่อ่านได้(P) ตรวจผลงาน ของนักเรียน แบบประเมิน ผลงานนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป นักเรียนบอกประโยชน์ของการ อ่านจับใจความ (A) การตอบคำถาม คำถาม ระดับคุณภาพระดับดีขึ้น ไปถือว่าผ่านเกณฑ์


๙๐ 14. บันทึกผลหลังจัดกิจกรรมเรียนรู้ ๑.ผลการจัดการเรียนการสอน ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ........................................................................................................................... .................................. ............................................................................................................... .............................................. ............................................................................................................................................................. ................................................................................................ ............................................................. .................................................................................................................................... ......................... ๒.ปัญหา/อุปสรรค ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................ . ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ๓.ขั้นเสนอแนะและแนวทางแก้ปัญหา ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ .................................................................................................................................................... ......... .......................................................................................................................... ................................... ................................................................................................................... .......................................... ลงชื่อ........................................................ผู้สอน (นายธนพล แสนตุ้ย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


๙๑ ๔.ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางสกาวรัตน์ เขาวงศ์ทอง) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............ ๕. ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาไทย ............................................................................................................................. ................................ ................................................................................................... .......................................................... ............................................................................................................................. ................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................ ........................................................................................................................................................... .. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ลงชื่อ.................................................................. (นางจุฬาลักษณ์ บุญไชย) วันที่..............เดือน...........................พ.ศ............


Click to View FlipBook Version