วจิ ยั ในช้นั เรยี น
เร่อื ง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสาคัญ
ของนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่านจบั ใจความสาคญั
นายสเุ มธ เขียวโสภา
ตาแหน่ง ครู คศ.๑
โรงเรยี นเทศบาล ๓ (เทศบาลสงเคราะห์)
สังกัดเทศบาลเมอื งราชบุร ี อาเภอเมืองราชบุร ี จังหวัดราชบรุ ี
กระทรวงมหาดไทย
ชอื่ เร่อื ง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอา่ นจับใจความสำคญั
ผู้รายงาน นายสุเมธ เขยี วโสภา
ปที ่ีศกึ ษา 2564
บทคดั ย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
สำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเทศบาล 3
(เทศบาลสงเคราะห)์ สังกดั เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบรุ ี ทเ่ี รียนอยใู่ นภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา
2564 จำนวน 30 คน ซง่ึ ได้มาโดยการสมุ่ แบบกลมุ่ (Cluster Random Sampling) โดยใชห้ อ้ งเรียน
เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่าน
จับใจความสำคัญ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ี่ 1 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 1
และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1 ทมี่ ตี อ่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
ผลการผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มีค่าเท่ากับ 81.47/81.67
แสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 1
ท่กี ำหนดไว้
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติทรี่ ะดับ .05 ซงึ่ สอดคลอ้ งกับสมมติฐานการศึกษา
ขอ้ ที่ 2 ท่กี ำหนดไว้
ก
กติ ตกิ รรมประกาศ
การศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความกรุณาและความอนุเคราะห์จากนายอัศวิน คงเพ็ชรศักดิ์
ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) นางสาวเบญญาณิช กิจเต่ง
ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) และนางสาวเสาวณีย์ โพธิ์เต็ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบแกไ้ ขข้อบกพรอ่ งของเคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษา
ขอขอบพระคุณผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ที่ให้
ความอนุเคราะห์ในการทดลองใช้เครื่องมือ ขอขอบคุณพี่ ๆ น้อง ๆ ที่คอยให้คำปรึกษา
ความช่วยเหลือ คำแนะนำและเป็นกำลังใจเสมอมา จนทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ผู้ศึกษาขอขอบพระคณุ มา ณ โอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณบิดาและมารดาอันเป็นทีร่ ักและเคารพสูงสดุ ในชีวติ ผู้ให้กำเนิดและ
เป็นครูคนแรกที่คอยอบรมสั่งสอน ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต รวมทั้งให้การสนับสนุนและ
เป็นกำลังใจอย่างดียิ่งแก่ผู้ศึกษา คุณค่าและคุณประโยชน์ที่เกิดจากการศึกษาเล่มนี้ ผู้ศึกษาขอมอบ
แดบ่ ุพการผี มู้ อบชีวติ และครูอาจารยท์ ุกท่านทเี่ ป็นผปู้ ระสิทธป์ิ ระสาทวชิ าความรแู้ กผ่ ู้ศกึ ษา
ข
สารบญั
................................................................................................................................................ หนา้
บทคดั ย่อภาษาไทย ............................................................................................................................... ก
กิตตกิ รรมประกาศ ................................................................................................................................ ข
สารบัญตาราง........................................................................................................................................ จ
สารบญั แผนภมู ิ ..................................................................................................................................... ช
บทท่ี
1 บทนำ......................................................................................................................................... 1
ความเป็นมาและความสำคญั ของการศึกษา.......................................................................... 1
กรอบแนวคิดท่ีใชใ้ นการศึกษา............................................................................................ 5
คำถามการศึกษา ................................................................................................................ 7
วัตถุประสงค์ของการศึกษา................................................................................................. 7
สมมติฐานของการศึกษา..................................................................................................... 7
ขอบเขตของการศกึ ษา........................................................................................................ 8
นิยามศัพทเ์ ฉพาะ ............................................................................................................... 9
ประโยชนท์ ไี่ ดร้ ับ ................................................................................................................ 9
2 วรรณกรรมทเ่ี กีย่ วขอ้ ง................................................................................................................ 10
หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห)์ ............................................ 11
เอกสารเกี่ยวกบั การอ่าน ................................................................................................... 13
ความหมายของการอา่ น............................................................................................. 13
จุดมงุ่ หมายของการอ่าน............................................................................................. 13
ความสำคญั ของการอ่าน ............................................................................................ 16
ความหมายของการอ่านจบั ใจความสำคญั .................................................................. 20
จดุ ม่งุ หมายของการอ่านจบั ใจความสำคญั .................................................................. 20
ความสำคญั ของการอ่านจับใจความสำคญั ................................................................. 22
ขัน้ ตอนในการอา่ นจบั ใจความสำคญั .......................................................................... 23
การประเมินผลการอ่านจับใจความสำคญั .................................................................. 25
แบบฝกึ ทักษะ..................................................................................................................... 26
ความหมายของแบบฝึกทักษะ.................................................................................... 26
ความสำคญั ของแบบฝึกทักษะ ................................................................................... 27
ลักษณะของแบบฝึกทกั ษะที่ดี .................................................................................... 27
หลักการสร้างแบบฝึกทกั ษะท่ีดี.................................................................................. 29
ประโยชนข์ องแบบฝึกทักษะ....................................................................................... 30
งานวจิ ัยท่ีเกี่ยวข้อง............................................................................................................. 31
งานวิจยั ในประเทศ .................................................................................................... 31
งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ .................................................................................................. 34
ค
บทท่ี..........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................หน้า
3 วธิ ดี ำเนินการศกึ ษา..................................................................................................................... 36
ขน้ั ตอนการศึกษา............................................................................................................... 36
ขั้นตอนท่ี 1 ขนั้ เตรียมการศึกษา ............................................................................... 37
ข้นั ตอนท่ี 2 ขน้ั สร้างและหาคุณภาพเคร่ืองมอื .......................................................... 38
ขน้ั ตอนท่ี 3 ขั้นดำเนินการศึกษา............................................................................... 45
ขัน้ ตอนท่ี 4 ขน้ั วเิ คราะห์ข้อมูล ................................................................................. 48
4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ................................................................................................................ 51
ตอนที่ 1 ผลการสรา้ งและหาประสทิ ธิภาพของแบบฝึกทักษะ..........................................
การอา่ นจับใจความสำคัญ สำหรบั นกั เรยี นชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1......................
ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์ 80/80................................................................. 51
ตอนท่ี 2 ผลการเปรียบเทยี บความสามารถในการอา่ นจับใจความสำคัญก่อนเรียน...…....
และหลังเรยี นของนกั เรยี นช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ............................................... 54
ตอนท่ี 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจสำหรับนกั เรยี นชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ………..…….….
ท่มี ตี ่อการจัดการเรยี นรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคญั ........... 56
5 สรปุ ผลการศกึ ษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ........................................................................ 60
สรุปผลการศึกษา................................................................................................................ 60
อภปิ รายผล ........................................................................................................................ 61
ข้อเสนอแนะ....................................................................................................................... 64
ขอ้ เสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้........................................................................ 64
ขอ้ เสนอแนะในการศกึ ษาครง้ั ต่อไป ............................................................................ 64
รายการอ้างองิ ....................................................................................................................................... 65
ภาคผนวก ............................................................................................................................................. 69
ภาคผนวก ก รายชอื่ ผเู้ ชย่ี วชาญตรวจสอบเคร่อื งมือการศกึ ษา ............................................ 70
ภาคผนวก ข หนังสอื ขอเชญิ เป็นผ้ตู รวจเครื่องมือการศึกษา................................................ 72
ภาคผนวก ค ขอ้ มลู แสดงความสอดคลอ้ งของเครื่องมือ....................................................... 77
ภาคผนวก ง ตัวอยา่ งแผนการจดั การเรยี นรู้การอ่านจับใจความสำคัญ ........................... .. 91
ประวตั ผิ ู้ศึกษา…………………………........................................................................................................ 104
ง
สารบัญตาราง
ตารางท่ี............................................................................................................................................... หนา้
1 คะแนนการอ่านจบั ใจความสำคัญของนักเรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ......................................
ปกี ารศกึ ษา 2560-2562 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)............................
สังกัดเทศบาลเมอื งราชบุรี จงั หวดั ราชบุรี................................................................... 3
2 หนว่ ยการเรียนรู้กลุม่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรยี นที่ 2 ............. 12
3 การกำหนดเน้ือหาในการทดลอง ........................................................................................... 38
4 ประสทิ ธิภาพของแบบฝึกทักษะแบบรายบุคคล..................................................................... 52
5 ประสทิ ธภิ าพของแบบฝึกทักษะแบบกลมุ่ ย่อย....................................................................... 53
6 ประสิทธภิ าพของแบบฝึกทักษะแบบภาคสนาม..................................................................... 54
7 ผลการเปรยี บเทยี บความสามารถในการอา่ นจับใจความสำคัญก่อนและหลงั เรยี น
ของนักเรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1.......................................................................................... 55
8 ผลการศกึ ษาความพงึ พอใจโดยภาพรวมสำหรับนกั เรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ่ี 1........................
ท่ีมตี ่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทกั ษะ.............................................................. 56
9 แสดงคะแนนเฉลีย่ สว่ นเบยี่ งเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจของนักเรียน...............................
ช้ันมัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ทมี่ ีต่อการจัดการเรยี นรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ..............................
ด้านการจัดกจิ กรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทกั ษะ ................................................... 57
10 แสดงคะแนนเฉล่ีย ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจของนักเรียน...............................
ช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ท่มี ีตอ่ การจดั การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ..............................
ดา้ นบรรยากาศในการจดั กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะ.............................. 58
11 แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน ความพึงพอใจของนักเรยี น...............................
ชนั้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ..............................
ดา้ นเนอื้ หาและรูปแบบของแบบฝกึ ทักษะ.................................................................. 59
12 ค่าดชั นคี วามสอดคลอ้ งที่ไดจ้ ากการประเมนิ ความเทย่ี งตรงเชิงเน้อื หาของแบบฝึกทักษะ.......
การอ่านจบั ใจความสำคญั โดยใช้แบบฝึกทกั ษะของผเู้ ชย่ี วชาญ จำนวน 3 คน ............ 78
13 คา่ ดชั นีความสอดคล้องท่ไี ด้จากการประเมนิ แบบสอบถามความพงึ พอใจของนักเรยี น...........
ช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1 ทม่ี ีตอ่ การจดั การเรยี นรู้โดยใช้แบบฝึกทกั ษะ.............................
การอ่านจบั ใจความสำคัญ ของผเู้ ชีย่ วชาญจำนวน 3 คน ......................................... 79
14 ผลการวิเคราะห์คา่ ความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวดั ความสามารถ…....…
ในการอา่ นจับใจความสำคัญของนักเรยี น จำนวน 30 ขอ้ ......................................... 81
จ
สารบญั ตาราง (ต่อ)
ตารางที่ .................................................................................................................................... หนา้
15 ผลการวเิ คราะหค์ ่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกและค่าความเช่ือม่นั ของแบบทดสอบ....
วดั ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนกั เรยี นชั้นมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1......... 82
16 แสดงผลการหาประสทิ ธภิ าพรายบคุ คล................................................................................. 83
17 แสดงผลการหาประสทิ ธิภาพกลุ่มยอ่ ย.................................................................................... 84
18 แสดงผลการหาประสิทธิภาพภาคสนาม ................................................................................ 85
19 คะแนนวัดความสามารถในการอา่ นจบั ใจความสำคัญระหว่างเรยี นและหลังเรยี น..................
ของนักเรยี นท่เี ป็นกล่มุ ทดลอง จำนวน 30 คน....................................................... 88
20 แสดงคะแนนเปรียบเทยี บความสามารถในการอา่ นจับใจความสำคญั ก่อนและหลงั เรยี น....... 90
ฉ
สารบัญแผนภูมิ
แผนภมู ิที่ หนา้
1 กรอบแนวคิดทใ่ี ชใ้ นการศึกษา............................................................................................... 7
2 แสดงแบบแผนการทดลองแบบการทดลองขั้นพนื้ ฐาน........................................................... 36
3 สรปุ ขั้นตอนการสรา้ งแผนการจดั การเรียนรู้และแบบฝึกทักษะ ............................................. 42
4 สรปุ ขน้ั ตอนการสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจบั ใจความสำคัญ................... 43
5 สรุปขน้ั ตอนการสรา้ งแบบสอบถามความพงึ พอใจสำหรับนักเรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปีที่ 1.........
ท่มี ีตอ่ การจดั การเรียนรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะการอา่ นจับใจความสำคญั ...................... 45
6 สรุปข้ันตอนที่ 3 ขั้นดำเนินการศกึ ษา.................................................................................... 47
ช
1
บทท่ี 1
บทนาํ
ความเปน็ มาและความสําคัญของปญั หา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร สร้างมิตรภาพ ความสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ
ช่วยให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสุข ภาษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการเรียนอย่างยิ่ง ปัจจุบัน
มีการปรับเปลี่ยนให้ผู้เรียนมีสมรรถวิสัยในการสื่อสาร สามารถใช้ทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาและสื่อความรู้ ข้อมูล ความบันเทงิ ภาษาไทย
มีความสําคญั อย่างยิ่งในฐานะทีเ่ ป็นภาษาประจําชาติ เปน็ สมบตั ิทางวัฒนธรรมท่ีเสริมสรา้ งใหเ้ กิดความเข้าใจ
อันดีต่อกัน อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความคิดให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสังคม ดังที่กระทรวงศึกษาธิการ (2552: 1) ได้กล่าวไว้ว่า ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพข องคนในชาติ
ให้มคี วามเปน็ ไทย เปน็ เครอื่ งมือในการ ติดต่อสอ่ื สารเพ่ือสร้างความเขา้ ใจและความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน
ทําให้สามารถประกอบกิจ ธุรการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข
และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนา
ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ตลอดจนนําไปใช้ในการพัฒนา อาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดง
ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้
อนรุ กั ษ์และสืบสานให้คงอยูค่ ู่ชาตไิ ทยตลอดไป
จากความสําคัญของภาษาไทยที่กล่าวมาข้างต้นกระทรวงศึกษาธิการจึงกําหนดวิชา
ภาษาไทยเป็น 1 ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยวิชาภาษาไทยที่ต้องจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกฝนทักษะทั้ง 4 คือ
การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเหล่านี้จนเกิดความชํานาญ
และสามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ 2552: 1) ทักษะที่สําคัญที่สุด
ในการเรยี นรูแ้ ละการถ่ายทอดทางภาษา อกี ทงั้ เปน็ เคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ คือทักษะการอ่าน
ดังที่ สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545: 2) ได้กล่าวว่า การอ่านเป็นเครื่องมือสําคัญที่ใช้ในการเสาะแสวงหา
ความรู้ การรแู้ ละใช้วิธีการอ่านทีถ่ กู ต้องจึงเป็นส่งิ ท่จี าํ เป็นสําหรบั ผู้อ่านทุกคน การร้จู ักฝกึ ฝนอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านที่ดี ทั้งยังช่วยให้เกิดความชํานาญและมีความรู้กว้างขวางด้วย
ซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (2546: 25) ที่กล่าวถึงการอ่านว่า การอ่านเป็นทักษะสําคัญ
ที่เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การนําไปใช้ในการดํารงชีวิต การอ่านเป็นเสมือน
กุญแจที่จะไขไปสู่ความกระจ่างในเรื่องราวเหตุการณ์หรือปัญหานานาประการ เป็นทักษะที่จะช่วย
ปรับคน ปรับขยายประสบการณ์ ทั้งยังช่วยให้สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้าง
ความเพลิดเพลนิ จากการอ่านไดอ้ ีกดว้ ย การอ่านเปน็ ทกั ษะของการรับสารและเปน็ ทกั ษะทีส่ าํ คัญ
2
ในการแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร
ที่มีเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การอ่านจึงเป็นทักษะที่จําเป็นในการนํามาใช้
เพื่อให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของสภาพวิทยาการ
ไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ
การอ่านประเภทหนึ่งที่มีความสําคัญและเป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิด
ความเข้าใจในเนื้อหาและรู้ถึงสาระสําคัญของเนื้อหาความรู้ต่าง ๆ นั้นได้เป็นอย่างดี คือ การอ่าน
จับใจความ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (2552: 2) ได้กล่าวถึง การอ่านจับใจความว่าการอ่านจบั ใจความ
เป็นทักษะที่ใช้ในชีวิตประจําวันทั้งในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ รวมทั้งการใช้เวลาว่างก็ใช้
การอ่านจับใจความเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสารที่อ่านจึงมีทั้งสารวิชาการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ
และสาระบันเทิงที่ให้ความสนุกสนานคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการอ่านสารประเภทใดก่อนที่ผู้อ่าน
จะเริ่มเข้าสู่รายละเอียดของเนื้อเรื่อง มักจะค้นหาคําสําคัญ ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเป็นอันดับแรก
เพราะคําสําคัญจะช่วยให้ผู้อ่านคาดเดาเรื่องราว ได้ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดต่อไป สุจริต เพียรชอบ
และสายใจ อินทรัมพรรย์ (2543: 45) ที่ได้กล่าวถึงการอ่านจับใจความสําคัญว่า ถ้านักเรียนมีทักษะ
การอ่านจับใจความอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนก็จะเป็นผู้รอบรู้ สามารถแสวงหาความรู้จากการอ่าน
ไดอ้ ยา่ งมากมาย สามารถนําความร้ทู ี่ได้จากการอา่ นไปใช้ในการพดู และการเขียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยให้ความสําคัญกับการอ่านและการอ่านจับใจความสําคัญ โดยกําหนดเรื่องการอ่าน
ไว้ในหลกั สูตร เปน็ สาระท่ี 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสรา้ งความรู้และความคิด
เพื่อนําไปใช้ ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดําเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน (กระทรวงศึกษาธิการ,
กรมวิชาการ. 2552: 7) ส่วนการอ่านจับใจความสําคัญได้ระบุไว้ในคุณภาพผู้เรียนเมื่อจบช้ั น
มัธยมศึกษาปีท่ี 3 ว่าอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้ ความคิด จากเรื่อง
ทอี่ ่านไปตัดสนิ ใจแก้ปัญหาในการดำเนินชวี ิตได้ (กระทรวงศึกษาธกิ าร, 2552: 5)
ถงึ แมว้ า่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กลุม่ สาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ได้ให้ความสําคัญกับการอ่านและการอ่านจับใจความสําคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
แต่นักเรียนยังมีปัญหาเรื่องการอ่านโดยเฉพาะการอ่านจับใจความสําคัญ ดังเห็นได้จากผลคะแนน
การอ่านจับใจความสําคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 3
(เทศบาลสงเคราะห์) จงั หวดั ราชบุรี
3
ตารางท่ี 1 คะแนนการอ่านจับใจความสำคญั ของนักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1
ปกี ารศกึ ษา 2561-2563 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห)์ สังกัดเทศบาล
เมอื งราชบุรี จงั หวัดราชบรุ ี
ปกี ารศึกษา จำนวน 0-13 คะแนน ร้อยละ 14-20 คะแนน ร้อยละ
นักเรยี น (0%-69%) (คน) 70% ข้ึนไป (คน)
2561 75 50 66.67 25 33.33
2562 69 47 68.12 22 31.88
2563 78 51 65.38 27 34.62
ที่มา: โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี,
งานทะเบียนวัดผล, สรุปผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศกึ ษา 2561-2563.
ผลคะแนนการอ่านจับใจความสําคัญดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าจํานวนนักเรียน
ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 มีจํานวนมากกว่านักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 สรุปได้ว่า นักเรียน
มีปัญหาด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ขาดนิสัยรักการอ่าน ไม่ชอบอ่าน ไม่ชอบแสวงหาความรู้
เพิ่มเติม ซึ่งการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ นั้น นักเรียนต้องใช้ทักษะการอ่าน โดยเฉพาะทักษะการอ่าน
จบั ใจความสาํ คัญท่ถี ือวา่ เปน็ ทกั ษะที่สําคัญและมีความจาํ เป็นอย่างย่ิงต่อนักเรยี น ท่ีจะชว่ ยใหน้ ักเรียน
เข้าใจเรื่องที่อ่าน สามารถสรุปประเด็นได้ ซึ่งสอดคล้องกับ วันวิดา กิจเจา (2557: 4) ได้กล่าวไว้ว่า
นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน ไม่มีนิสัยรักการอ่าน ไม่ชอบการอ่านไม่ชอบแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ซึ่งในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ นั้น นักเรียนต้องใช้ทักษะการอ่าน โดยเฉพาะทักษะการอ่าน
จบั ใจความสำคัญท่ีถือว่าเปน็ ทกั ษะท่สี ำคัญและมคี วามจำเปน็ อย่างย่ิงต่อนักเรยี น ที่จะชว่ ยให้นกั เรียน
เข้าใจเรอื่ งท่อี า่ น สามารถสรุปประเด็นได้
จากปญั หาการอ่านจบั ใจความสาํ คัญดังกลา่ วข้างต้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารท่ีเกี่ยวข้อง
กับการจัดการเรยี นการสอนท่ีจะนาํ มาแก้ปัญหาการอ่านจบั ใจความสาํ คัญ อาทิ การใช้แบบฝกึ ทกั ษะ
ผู้ศึกษาได้ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำแบบฝึกทักษะมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งช่วยทำให้นักเรียนได้ฝึกฝนซ้ำ ๆ และนำความรู้จากการเรียนมาใช้ สามารถทบทวนความรู้
จากการเรียน การใช้แบบฝึกทักษะซึ่งเป็นสื่อที่จะทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น และกระตุ้น
ใหน้ กั เรยี นเกดิ ความสนใจในบทเรียนมากยงิ่ ขนึ้ แบบฝกึ ทกั ษะเป็นส่ือการเรียนการสอนที่สร้างข้ึนเพ่ือ
พัฒนาและเสริมสร้างประสบการณ์ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและผู้เรียนเรียนรู้
จากการกระทำจริงจึงทำให้จดจำสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้
เกิดแรงจูงใจและสามารถตรวจสอบผลการเรียน ทำให้ทราบความก้าวหน้าและข้อบกพร่องอันส่งผล
ต่อทัศนคติและประสิทธิภาพในการเรียนรูไ้ ด้อย่างดี (ขนิษฐา แสงภักดี, 2540) ผู้ศึกษาจึงนำแบบฝกึ
ทักษะ มาเป็นเครื่องมือในการสอน เพราะแบบฝึกนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะ
ทางภาษาให้ได้ผลดี ดังที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกทักษะไว้ดังนี้
Davies (Davies, อ้างถึงในกาญจนา คุณารักษ์, 2539: 45) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้าง
แบบฝึกทักษะว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าเป็นการสอนในลักษณะของการให้ความรู้แล้ว
ควรจะมเี วลาสำหรบั การฝึกทักษะประมาณรอ้ ยละ 25 ของเวลาทงั้ หมด แต่ถ้าเป็นการสอนเพ่ือให้เกิด
4
ทักษะนั้นเวลาของการฝึกทักษะในส่วนน้ี ควรใช้เวลาประมาณร้อยละ 60 ของเวลาทั้งหมด
ส่วน Petty (1963 : 269) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นส่วนเพิ่มเติม
หรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะเป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก
ช่วยส่งเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหวา่ งบุคคล เพราะการให้นักเรียน
ทำแบบฝึกที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง จะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านจิตใจมาก
จากการวิจัย ของสมพงษ์ ศรีพยาต (2553) กล่าวว่า ชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่งผลให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าร้อยละ 80
ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีความคงทนในการจำไม่แตกต่างกัน และนักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีในความยาก
ง่ายของเนื้อหาและรปู แบบของชุดแบบฝึก และสอดคล้องกบั รังษิมา สรุ ยิ ารังสรรค์ (2555: 80) พบวา่
ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังการใช้แบบฝกึ สูงกวา่ ก่อนใชแ้ บบฝึก อยา่ งมีนยั สำคัญทางสถิติท่รี ะดับ 0.01
แบบฝกึ ทกั ษะมปี ระโยชนใ์ นการจัดการเรียนการสอนหลายประการ ช่วยให้การเรยี นการ
สอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาและหลักเกณฑ์ทางภาษาที่ซับซ้อน ช่วยส่งเสริม
การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามความสนใจ ผู้เรียนสามารถ
ทบทวนความรู้โดยการทำแบบฝึกทักษะด้วยตนเอง รวมถึงพัฒนาในการอ่านจับใจความสำคัญของ
นักเรยี นใหด้ ีข้นึ อีกดว้ ยจึงควรนำแบบฝกึ ทักษะมาใชป้ ระกอบกับการจดั การเรียนรู้
แม้ว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจะให้ความสำคัญเรื่องการอ่าน และ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและพยายามจัดการเรียนการสอน
ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ แต่ปรากฏว่าการอ่านจับใจความสำคัญที่ผ่านมา นักเรียนส่วนใหญ่
มีความสามารถอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผ้ศู ึกษาจึงค้นหาปญั หาและสาเหตโุ ดยไดส้ อบถามครูกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย จากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 คน
(สัมภาษณ์) (เสาวณีย์ โพธิ์เต็ง, นภัสชา ศรีเสนพิลา, ปราณี จันทร์เกิน. 2 กรกฎาคม 2564)
ต่างกล่าวว่านักเรียนส่วนใหญ่ ไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องเรียนวิชาภาษาไทย
โดยเฉพาะสาระที่ 1 การอา่ น นกั เรยี นเบอ่ื หน่ายและร้สู ึกวา่ การอ่านจบั ใจความสำคัญเป็นเร่ืองที่ยาก
นอกจากนี้วิธีการสอนของครูไม่เร้าความสนใจ ไม่มีสื่อกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียน ซึ่งนักเรียน
ต้องมีพื้นฐานความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ จากระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามตัวชี้วัดและ
สาระการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระบุให้
นักเรียนเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการเรียนขั้นสูง
ตอ่ ไป ตลอดจนนำไปใชใ้ นการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาติ (O-NET) ของนกั เรียนชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาพบว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
ทักษะเป็นสื่อทางการศึกษาที่มีคุณค่าทางการเรียนการสอนหลายประการ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครู
ดำเนินการสอนไปตามลำดับขั้นตอน ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาหรือประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น ผู้เรียนมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองช่วยเสริมการศึกษารายบุคคล ผู้เรียนได้เรียน
ตามความสนใจตามเวลาและโอกาสที่อำนวย แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีความสำคัญ
ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยทบทวนความรู้ ฝึกกระทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ
5
เกิดแรงจูงใจและสามารถตรวจสอบผลการเรียน ทำให้ทราบความก้าวหน้าและข้อบกพร่อง
ของนกั เรียน สามารถใชไ้ ดท้ ัง้ ในชนั้ เรยี นและทบ่ี ้าน (เสาวณยี ์ โพธ์เิ ตง็ , 2557: 42)
จากแนวคิดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและปัญหาการจัดการเรียนรู้ ทำให้มองภาพรวมได้ว่า
การสอนโดยใชแ้ บบฝึกทกั ษะ ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญเพ่มิ ขึ้น ดังนั้น
ผู้ศึกษาจงึ สนใจที่จะจดั การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเพือ่ พัฒนาความสามารถในการอ่านจบั ใจความ
สำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้สูงขึ้น รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
สาระการอ่านตอ่ ไป
กรอบแนวคิดท่ีใช้ในการศึกษา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ครูผู้สอน
ควรพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้น่าสนใจ ให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ อยากลองทำ จึงควรนำ
เทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่ศึกษาจากงานวิจัยมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับใช้
ในการศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
กับแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างแบบฝึกทักษะเข้าช่วยเพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถ
ของนักเรยี นตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมท่ีกลา่ วว่า ทฤษฎกี ารเรยี นรู้กลมุ่ พฤตกิ รรมนยิ ม เน้นการเรียนรู้
ทีเ่ กดิ ข้ึนโดยการเช่ือมโยงระหว่างส่งิ เรา้ (Stimulus- คอื สงิ่ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง
(Response- ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
อันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเองและหลักของการเรียนรู้
เกิดขึ้นจากการทำพฤติกรรม ถ้าปรากฏว่าหลังจากทำพฤติกรรมหนึ่งพฤติกรรมใดแล้วเกิดผลดี
หรือเป็นที่พอใจต่อผู้กระทำเขาก็จะปฏิบัติซำ้ อีกจนเป็นนิสยั (สุรพล พะยอมแย้ม, 2544: 70) จึงเป็น
แนวทางในการพัฒนาแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพเพ่ือชว่ ยปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนการสอน
วิชาภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังที่ กิตติคุณ รัตนเดชกำจาย (2542)
ได้กล่าวถงึ ทฤษฎกี ารเรยี นรู้ ของ ธอรน์ ไดค์ และสกินเนอร์ (Thorndike and Skinner) ดังนี้
ธอรน์ ไดค์ (Thorndike) ไดต้ งั้ กฎการเรียนรูข้ น้ึ 3 กฎ ในการสรา้ งแบบฝกึ ทักษะ ได้แก่
1. กฎแห่งผล (LawofEffect) มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
จะดยี งิ่ ข้ึนเม่อื ผเู้ รียนแนใ่ จว่าพฤติกรรมการตอบสนองของตนถูกต้อง การให้รางวัลจะชว่ ยส่งเสริมการ
แสดงพฤตกิ รรมนัน้ ๆ อกี
2. กฎแห่งการฝึกหัด (LawofExercise) มีใจความว่าการมีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่งจะทำให้พฤติกรรมนั้น ๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การฝึกหัดท่ีมกี ารควบคุมท่ีดีจะส่งเสริมต่อผล
การเรยี นรู้
3. กฎแห่งความพรอ้ ม (Law of Readiness) มใี จความวา่ เม่อื มคี วามพรอ้ มที่ตอบสนอง
หรือแสดงพฤติกรรมใด ๆ ถ้ามีโอกาสได้กระทำ ย่อมเป็นที่พอใจ แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะตอบสนองหรือ
แสดงพฤตกิ รรมการบังคบั ให้ย่อมกระทำใหเ้ กดิ ความไม่พอใจ
6
นอกจากทฤษฎีการเรยี นรูข้ อง ธอร์นไดค์ (Thorndike) แล้วยงั มีแนวคิดของนักจิตวิทยา
ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะคือ แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติม
ดังน้ี
1. การเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขให้ปฏิบัติ (Operant Conditioning) ตามแนวทฤษฎี
การเรียนรู้ที่อธิบายว่าพฤติกรรมจะมีอัตราความเข้มข้นตามการตอบสนองสูงขึ้นเมื่อได้รับ
การเสริมแรง (Reinforcement)
2. กระบวนการเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง กระบวนการที่นำมาใช้เพื่อการเพิ่ม
หรือลดการตอบสนองในกระบวนการเสริมแรงนั้นจะมีการใช้ตัวเสริมแรง (Reinforce) เช่น คำชมเชย
รางวัล ท่เี ป็นวัตถุ สญั ลักษณ์ หรือสิทธพิ เิ ศษต่าง ๆ ตลอดจนให้รู้ผลการกระทำของตนเอง
3. การให้การเสริมแรงทันทีทันใด (ImmediateReinforcement) หมายถึง มีการกำหนด
ให้มีการเสริมแรงอย่างทันทีทันใดที่มีการตอบสนอง เช่น เมื่อนักเรียนตอบ ครูให้การเสริมแรงทันที
ทันใดวา่ คำตอบของนักเรยี นนัน้ ถูกหรอื ผดิ การรีรอการเสริมแรงจะทำใหเ้ รียนรลู้ ่าชา้ ไป
ผู้ศึกษาได้นำแนวทางการสรา้ งแบบฝึกทักษะที่ดเี ป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแบบฝกึ
ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนำหลักทฤษฎีการเรียนรู้
ของธอร์นไดค์และสกินเนอร์ (Thorndike and Skinner) มาปรับใช้โดยนำหลักการเรียนรู้ของการสร้าง
แบบฝึกทักษะเพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ โดยผู้ศึกษาสร้างแบบทักษะตามที่สุนันทา สุนทรประเสริฐ
(2543) ได้เสนอไว้ว่า ควรเริ่มจากวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ศึกษารายละเอียดในหลักสูตรเพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์และกิจกรรม พิจารณาแนวทาง
การแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ปัญหา โดยการสร้างแบบฝึกทักษะและเลือกเนื้อหาที่จะสร้าง
แบบฝึกทักษะเรื่องใดบ้างนั้นให้กำหนดเป็นโครงเรือ่ ง ต่อจากนั้นศึกษารูปแบบของการสร้างแบบฝกึ ทักษะ
จากเอกสารแบบฝึกทักษะต่าง ๆ มีการออกแบบแบบฝึกทักษะให้มีรูปแบบที่หลากหลายน่าสนใจ
เพื่อดึงดูดความสนใจนักเรยี น ลงมือสร้างแบบฝกึ ทักษะ ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ต่อจากนั้นนำไป
ทดลองใชแ้ ลว้ บนั ทึกผลเพื่อนำมาปรบั ปรุงแก้ไขสว่ นที่บกพร่อง ปรบั ปรงุ จนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
ทต่ี ัง้ ไว้
ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาโดยทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
กอ่ นเรยี น จากนัน้ จดั การเรียนรโู้ ดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วชิ าภาษาไทยพ้ืนฐาน
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่
บทเรียน 2) ขั้นสอน โดยให้นักเรียนนำความรู้มาใช้ในการทำแบบฝึกทักษะเพื่อทบทวนความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย โดยนักเรียนมีโอกาสได้ฝึกซ้ำ ๆ จนเกิดความชำนาญ
3) ขั้นสรุป จากนั้นทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียน โดยคาดว่า
หลงั การจัดการเรียนรู้นักเรยี นจะมีความสามารถในการอ่านจบั ใจความสำคญั หลังเรียนสูงกว่ากอ่ นเรียน
จะเหน็ ไดว้ ่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะช่วยให้นกั เรียนไดฝ้ ึกฝนทักษะการคิด
วิเคราะห์จากตัวอย่างจนสร้างองคค์ วามรู้ดว้ ยตนเอง และนำองค์ความรู้มาใช้ในการทำแบบฝกึ ทักษะ
เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน เพื่อเป็นการประเมินว่านักเรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนได้ถูกต้อง
นักเรียนมีโอกาสฝึกซ้ำ ๆ จนเกิดความชำนาญ ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงนำการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถ
7
ในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้ศึกษาได้กำหนดขั้นตอนในการจัด
การเรยี นรู้เปน็ กรอบแนวคิดในการศกึ ษาดังแผนภูมิท่ี 1
ตัวแปรต้น (Independent Variable) ตวั แปรตาม (Dependent Variables)
การจัดการเรยี นรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะ ความสามารถ
การอา่ นจับใจความสำคัญ ในการอ่านจับใจความสำคญั
ของนักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้แบบฝึกทกั ษะ
การอ่านจบั ใจความสำคัญ
ความพงึ พอใจของนกั เรยี น
ทมี่ ีต่อการจดั การเรยี นรู้
โดยใช้แบบฝกึ ทักษะ
การอา่ นจบั ใจความสำคัญ
แผนภมู ทิ ่ี 1 กรอบแนวคิดท่ีใช้ในการศึกษา
คำถามการศกึ ษา
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มปี ระสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หรอื ไม่
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใชแ้ บบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคญั หลังเรยี นสงู กว่าก่อนเรยี นหรือไม่
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใชแ้ บบฝกึ ทกั ษะการอา่ นจบั ใจความสำคัญ อยูใ่ นระดับใด
วตั ถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับ
นกั เรียนชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 1 ให้มีประสิทธภิ าพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังเรียน
ของนกั เรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 โดยใชแ้ บบฝกึ ทกั ษะการอา่ นจับใจความสำคญั
3. เพือ่ ศกึ ษาความพงึ พอใจของนักเรียนชนั้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 1 ทีม่ ตี อ่ การจดั การเรียนรู้โดย
ใชแ้ บบฝึกทกั ษะการอา่ นจับใจความสำคัญ
สมมติฐานของการศกึ ษา
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
8
2. ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอา่ นจับใจความสำคัญ
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ อย่ใู นระดบั มาก
ขอบเขตของการศึกษา
1. ขอบเขตดา้ นประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
เทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 95 คน โดยทุกห้องเรียนจัดนักเรียน
แบบคละความสามารถ
1.2 กลมุ่ ตวั อย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564 จำนวน 30 คน ซ่งึ ได้มาโดยการสุ่มแบบกล่มุ (Cluster Random
Sampling) โดยใชห้ ้องเรียนเปน็ หนว่ ยสมุ่
2. ขอบเขตด้านเนอ้ื หา
เนื้อหาที่นำมาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการทดลอง ผู้ศึกษาคัดเลือกเนื้อหา
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาไทย สาระ
ที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปญั หาในการดำเนินชีวติ และมนี ิสยั รกั การอ่าน ท 1.1 ม 1/2 จับใจความสำคัญจากเรอื่ งทอ่ี ่าน
3. ตัวแปรท่ศี ึกษา
3.1 ตัวแปรตน้ (Independent Variable)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับ
นักเรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables)
3.2.1 ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ่ี 1
3.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัด
การเรียนรูโ้ ดยใช้แบบฝกึ ทกั ษะการอา่ นจับใจความสำคัญ
4. ระยะเวลา
ทำการทดลองสอนในภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศกึ ษา 2564 โดยใชเ้ วลาในช่วั โมงการเรียน
วชิ าภาษาไทยสัปดาห์ละ 3 ช่วั โมง ชั่วโมงละ 60 นาที ระยะเวลา 10 ชว่ั โมง (ไมร่ วมเวลาทดสอบก่อน
เรยี นและหลงั เรียน)
9
นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้ศึกษาจึงได้นิยามศัพท์เฉพาะในการศึกษา
ไว้ดงั นี้
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยนำตัวอย่างการอ่านจับใจความสำคัญที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์แล้วพิจารณา
กำหนดเปน็ ขอ้ สรปุ หลักการ หรอื กฎเกณฑ์ โดยให้ผู้เรยี นทำแบบฝึกทักษะท่ีผู้ศกึ ษาสรา้ งขนึ้
2. การพัฒนาความสามารถ หมายถึง ความรู้ความเขา้ ใจของนักเรยี น ซึ่งวัดได้จากการทำ
แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบชนิด
เลือกตอบ 4 ตัวเลอื ก จำนวน 30 ข้อ
3. ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบฝึกทกั ษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อนำไปใช้แล้วทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุ
วตั ถปุ ระสงค์ของการศกึ ษาทก่ี ำหนดตามเกณฑ์ 80/80 ดงั น้ี
80 ตัวแรก (E1) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการอ่าน
จับใจความสำคัญระหว่างเรียนของผู้เรียน ที่ได้จากการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ โดยคิดเป็น
คา่ เฉลีย่ ไม่ตำ่ กวา่ รอ้ ยละ 80
80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการอ่าน
จับใจความสำคัญหลังเรียนของผู้เรียน ที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน
จับใจความสำคัญหลังเรยี น โดยคดิ เป็นค่าเฉลย่ี ไม่ตำ่ กว่าร้อยละ 80
4. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดชอบของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
ซึง่ ประเมนิ ไดจ้ ากแบบสอบถามความพึงพอใจท่ีผู้ศกึ ษาสรา้ งข้ึน
ประโยชน์ท่ไี ดร้ ับ
1. ได้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ทจี่ ะนำไปพัฒนาการเรยี นการสอนในกลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย
2. ได้แนวทางในการสอนอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชว่ ยในการจดั การเรยี นการสอนให้แกผ่ ้เู รยี น
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจที่ดีเกี่ยวกับการสอนโดยใช้แบบฝึก
ทกั ษะเพอ่ื พัฒนาทกั ษะการอา่ นจบั ใจความสำคัญ ในสาระที่ 1 การอ่าน
4. นำผลการศึกษาไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและสามารถ
ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาในชนั้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ 1 ได้
10
บทที่ 2
วรรณกรรมทีเ่ กย่ี วข้อง
การศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ งตามลำดับดงั น้ี
1. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมือง
ราชบุรี จังหวดั ราชบุรี
1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
1.2 ตวั ชีว้ ดั และสาระการเรยี นร้แู กนกลาง
1.3 พันธกิจและเป้าหมายโรงเรยี นเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
1.4 โครงสร้างเวลาเรียน โรงเรยี นเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
2. เอกสารเกีย่ วกับการอา่ นและการอา่ นจับใจความสำคัญ
2.1 ความหมายของการอา่ น
2.2 จดุ มุง่ หมายของการอ่าน
2.3 ความสำคญั ของการอา่ น
2.4 ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
2.5 จดุ มุ่งหมายของการอ่านจบั ใจความสำคัญ
2.6 ความสำคัญของการอา่ นจับใจความสำคญั
2.7 ขนั้ ตอนในการอ่านจับใจความสำคัญ
2.8 การประเมินผลการอา่ นจับใจความสำคญั
3. แบบฝึกทกั ษะ
3.1 ความหมายของแบบฝึกทักษะ
3.2 ความสำคญั ของแบบฝึกทักษะ
3.3 ลักษณะของแบบฝึกทกั ษะท่ีดี
3.4 หลกั การสรา้ งแบบฝึกทักษะท่ีดี
3.5 ประโยชน์ของแบบฝกึ ทักษะ
4. งานวิจัยทีเ่ กย่ี วข้อง
4.1 งานวิจยั ในประเทศ
4.2 งานวิจยั ต่างประเทศ
10
11
1. หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี
จงั หวัดราชบุรี
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) เป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี
จังหวัดราชบุรี จัดการศึกษาในระบบ ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3
โดยใช้หลักสูตรปฐมวัยศึกษา พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551
ปรชั ญา
ท.3 คือบ้านของเรา สะอาดเช้าตลอดเย็น แมน้ ใครได้มาเหน็ บง่ แน่ชดั วดั ความเจรญิ
วิสยั ทัศน์
“บริหารงานเป็นระบบ ส่งเสริมเทคโนโลยี เรียนดีมีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการ
เรียนรู้ สร้างสมั พนั ธ์ชมุ ชน”
พันธกจิ
1. พฒั นาคณุ ภาพของผ้เู รยี น
2. ส่งเสริมและพฒั นาวชิ าการ
3. พฒั นางานอาคารสถานท่แี ละส่งิ แวดล้อม
4. ชุมชนเข้ามามีส่วนรว่ มในการจัดการศกึ ษา
เป้าหมายของหลักสตู รสถานศกึ ษา
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและธรรมชาติ มีคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษา
2. นกั เรยี นมคี ุณธรรมจริยธรรม
3. สรา้ งและพัฒนาแหล่งการเรยี นรู้
4. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
การจัดหน่วยการเรยี นรู้
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ไว้ท้งั หมด 9 หน่วยการเรยี นรู้ รวมเวลา 60 ชวั่ โมง และนำมาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางเป็นหลักในการสร้างกระบวนการจัดการเรียนการสอน
โดยเนื้อหาเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญกำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 7 โดยมีรายละเอียด
ดงั ตารางท่ี 2
12
ตารางท่ี 2 หน่วยการเรียนรู้กลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย ชน้ั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 1 ภาคเรยี นท่ี 2
หน่วยการเรยี นรู้ สาระการเรยี นรู้ เวลา/จำนวนช่ัวโมง
หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1 เสยี งและอักษรไทย 6
หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 2 ชนดิ ของคำ 8
หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 3 การสรา้ งคำในภาษาไทย 6
หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 4 ภาษาเพอ่ื การสือ่ สาร 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การพฒั นาทักษะการฟงั และดู 3
หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 6 การพัฒนาทักษะการพดู 6
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 7 การพฒั นาทักษะการอา่ น 10
หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 8 การพัฒนาทกั ษะการเขยี น 10
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 9 ภูมิปัญญาทางภาษา 6
ทดสอบปลายภาคเรียน 2
60
รวม
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาให้หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การพัฒนาทักษะการอ่าน
เร่ืองการอา่ นจบั ใจความสำคญั จำนวน 10 ชวั่ โมง
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1
สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยในระดบั ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน
ท 1.1 ใชก้ ระบวนการอ่านสรา้ งความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
และมีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ท่ี 7 การพัฒนาทักษะการอ่าน เรื่องการอ่านจบั ใจความสำคญั
ครูผู้สอนต้องจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตรงตามตัวชี้วัด และสามารถนำสาระ
การเรียนรู้แกนกลางมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาหลักสูตร จากนั้นเลือก
เนื้อหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องตรงตามตัวช้ีวัดในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สาระท่ี 1 การอ่าน ท 1.1 ม. 1/2 จบั ใจความสำคญั จากเรือ่ งท่ีอา่ น
13
2. เอกสารเกีย่ วกบั การอ่าน
2.1 ความหมายของการอา่ น
การอ่านเป็นการใช้กระบวนการคิด การตัดสินใจ การใช้เหตุผล การแสวงหาความรู้
ซึ่งมี นักการศึกษาให้ความหมายของการอ่านไว้ ดังที่ กรมวิชาการ (2546: 89) ได้ระบุไว้ว่า การอ่าน
หมายถงึ การรับรเู้ ร่ืองราวภาษาทป่ี รากฏอยู่ในวสั ดุสงิ่ พิมพ์ รับรเู้ ร่อื งราวทผ่ี เู้ ขียนต้องการส่ือสารมาถึง
ผู้อ่านและก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (2545: 9) ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า การอ่าน หมายถึงการแปล
ความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด แล้วนำความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ ตัวอักษรที่ใช้
ในการอ่านเป็นเพียงเครื่องหมายแทนคำพูดและคำพูดก็เป็นเพียงเสียงซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายแทน
ความคิดหรือของจริง นอกจากนี้ สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545: 10) ได้ให้ความหมายของการอ่าน
ไว้ว่า คือ การทำความความเข้าใจความหมายของคํา กลุ่มคำ ประโยค ข้อความและเรื่องราวของสาร
ซึ่งผู้อ่านสามารถบอกความหมายได้ รวมถึงทิวตั ถ์ มณีโชติ (2549: 62) ได้ให้ความหมายของการอ่าน
ว่า หมายถึง ความสามารถในการรับรู้สาระ ข้อมูล โดยผ่านการอ่าน เริ่มจากสามารถอ่านคำและ
ประโยคได้ถูกต้อง จำ เข้าใจ และวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน ประเมินความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของ
สิง่ ทอ่ี า่ น
จากความหมายของการอ่านดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การอ่าน หมายถึง การแปล
ความหมายจากตัวอักษรเพื่อรับรูค้ วามหมายของเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถวิเคราะห์
และประเมินความถูกต้องของเร่ืองราวท่ีอา่ นได้
2.2 จดุ มุ่งหมายของการอ่าน
การอ่านที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายในการอ่านว่าต้องการรู้สิ่งใด หากมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
จะทำให้การอ่านเป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการอ่านไว้
ดังนี้
กัลยา สหชาติโกสีห์ และคณะ (2545: 4) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายในการอ่านมี 4 ประการ
ดงั น้ี
1. อ่านเพื่อการค้นคว้าหรือการศึกษาหาความรู้ เช่น การอ่านหนังสือเรียน ตำรา
วชิ าการ ตา่ ง ๆ เปน็ ต้น
2. อ่านเพื่อทราบข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือหาคำตอบในสิ่งที่เราสงสัย เช่น การอ่าน
ฉลากการใช้ยา การอา่ นประกาศแจ้งความตา่ ง ๆ การอา่ นหนังสอื พิมพ์ เป็นตน้
3. อ่านเพื่อความบันเทิงและจรรโลงใจ เช่น การอ่านนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี อ่านบทเพลง
กวนี ิพนธ์ เป็นตน้
4. อ่านเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาอาชีพ เป็นการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้และใช้
พฒั นาการงานอาชพี ของตนเอง เช่น เกษตรกรอ่านตำราเพาะเหด็ แม่ครวั อ่านตำราทำอาหาร แมบ่ า้ น
อ่านหนังสอื แมบ่ ้านทนั สมัย
14
กานตม์ ณี ศกั ดิเ์ จรญิ (2546: 90 - 92) ได้กลา่ วถงึ ความมุ่งหมายในการอา่ นไวด้ ังนี้
1. อ่านเพื่อความรู้ คนเราต้องการให้ความรู้ของตนงอกเงยขยายขอบเขตออกไปจากที่มี
อยู่เดิม ต้องการรู้ในสิ่งที่เป็นปัญหาไม่เข้าใจต่าง ๆ การอ่านจึงเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการ
แขนงตา่ ง ๆ เพ่ือการประกอบอาชีพ เพือ่ ใหเ้ ปน็ สมาชิกทดี่ ีของสังคม โดยไมจ่ ำเป็นต้องเป็นนักปราชญ์
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เพื่อเข้าใจผู้อื่น เข้าใจตนเองดีขึ้น เพื่อความเป็นไปในโลกสถานที่ ท่ีห่างไกล
คนที่แปลกเผ่าแปลกพันธุ์และวฒั นธรรมท่ีต่างออกไป เพื่อเข้าใจเกีย่ วกบั สิ่งแวดล้อมและใช้ประโยชน์
จากสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรงุ สภาพแวดล้อมความเป็นอยูข่ องตนและเพื่อทราบ ข่าวความเคลื่อนไหว
ของสังคมทตี่ นอยู่
2. อ่านเพื่อให้เกิดความคิด การอ่านวัสดุสิ่งพิมพ์ที่แสดงทรรศนะ ได้แก่ บทความ
บทวิจารณ์ วิจัยต่าง ๆ จะช่วยให้ทรรศนะของผู้อ่านกว้างขวางขึ้น การอ่านในลักษณะนี้เป็นการอ่าน
เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดที่สำคัญ การจัดลำดับขั้นแนวความคิดของผู้เขียน พิจารณาเหตุผลและ
แรงจงู ใจในการเขียนเร่ืองน้นั ๆ ขน้ึ เปน็ การปลกู ฝงั นสิ ยั การรบั ฟังความคิดเห็นของผอู้ ่นื
3. อ่านเพื่อความบันเทิง สภาวะแวดล้อมมีอิทธิพลต่อจิตใจ อารมณ์และร่างกาย
ของมนุษย์เป็นอันมาก บางครั้งก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย การอ่านหนังสือที่เนื้อหาสาระไม่เป็นวิชาการ
นักจะช่วยให้เกิดความบันเทิงควบคู่ไปกับความรู้ ความคิด ได้มีความสุขกับความไพเราะของภาษาได้
หวั เราะ ได้สนุก เป็นการผอ่ นคลายอารมณต์ ึงเครยี ด
4. การอ่านเพื่อสนองความต้องการอื่น ๆ มนุษย์เรามีความต้องการตามธรรมชาติ
คือ ต้องการความมั่นคงในชีวิต ต้องการการยอมรับเข้ากลุ่มเพื่อน การมีหน้ามีตาได้รับความนับถือ
ในสังคม ต้องการความสำเร็จในชีวิต ซึ่งในชีวิตจริงทุกคนจะสมปรารถนาไม่ทุกประการ การอ่าน
จะชว่ ยชดเชยให้ได้ การอาศยั หนงั สอื เพอ่ื แนวทางในการแก้ปญั หาของตน เพอื่ สรา้ งบุคลกิ ภาพ ขยายขอบเขต
ของความสนใจในสิง่ ใหม่ หางานอดิเรกใหม่ ๆ เตรียมตัวหาเหตุผลสนับสนุนแนวคิดหรือข้อเสนอแนะ
ของตนหรือหาข้อโต้แย้งที่มีเหตุผล เพื่อแสดงความคิดเห็น คัดค้านเพื่อสนองอารมณ์บางอย่าง
ในขณะนั้นหรือสร้างสภาพอารมณ์ท่ีต้องการ บางคร้ังก็อยากรู้เรื่องใหม่แนวทางใหม่เพื่อเข้าใจตนเอง
และปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กับวิธกี ารดำรงชวี ติ
การุณนันทน์ รัตนแสนวงษ์ (2548: 27 - 28) กล่าวถึง จุดมุ่งหมายการอ่านว่าแต่ละคน
ย่อมมจี ุดมงุ่ หมายทแี่ ตกตา่ งกันหลายประการ ดังนี้
1. อ่านเพื่อความรู้ ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในอันที่จะช่วยให้มนุษย์
มีความรู้ ในเรื่องที่ตนไม่เคยรู้มาก่อน การได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัว ก่อให้เกิดความอยากรู้
อยากเห็นของตน ความร้ทู ไี่ ดจ้ ากการอ่านอาจเปน็ ความรู้ทัว่ ไป ความรเู้ ฉพาะด้าน ข้อมูลทางวิชาการ
เปน็ ตน้
2. อ่านเพื่อรับข่าวสารข้อเท็จจริง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องการรับรู้ความเป็นไป
ต่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้นในสังคมเพื่อจะได้ปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม การอ่าน
ทต่ี อบสนองจดุ มงุ่ หมายน้ี เช่น การอ่านประกาศ การอา่ นหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
15
3. อ่านเพื่อศึกษาค้นคว้า เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์ใช้ในการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจ
ในศิลปะ วิทยาการแขนงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาและความรอบรู้ให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
เชน่ การอา่ นตำรา บทความทางวชิ าการ วิทยานพิ นธ์ เปน็ ต้น
4. อ่านเพือ่ ความก้าวหน้าในอาชีพ มนษุ ย์ต้องการความเจรญิ ก้าวหนา้ ในหน้าท่ีการงาน
มนุษย์จึงพยายามขวนขวายหาความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงาน การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาและ
อุปสรรคตา่ ง ๆ ทเี่ กดิ ข้ึนในการทำงานหรอื เพือ่ วางแผนการทำงานในอนาคตกต็ าม
5. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการอ่านที่ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปดูหรือไปฟัง
ให้เสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นและได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินเจริญใจ เป็นการอ่าน
เพอ่ื พกั ผ่อนหย่อนใจ แต่ในขณะเดียวกันก็จะได้รบั ความรู้ไปด้วย การอ่านชนดิ นไ้ี ด้แกห่ นังสือประเภท
นวนิยาย เรอ่ื งสัน้ การ์ตนู หนงั สือตลก สมบัติ จำปาเงนิ
สำเนยี ง มณีกาญจน์ (2550: 3) กลา่ วถึงจดุ มงุ่ หมายของการอา่ นไวด้ งั น้ี
1. อา่ นเพือ่ ใหร้ ู้
2. อา่ นเพอื่ ความสนุกสนานบันเทิงหรอื เพลิดเพลิน
3. อ่านเพ่ือใหเ้ ปน็ ทย่ี อมรบั ในสังคม อา่ นเพือ่ ให้รู้ อาจแบง่ ออกเป็น
3.1 เพื่อหาคำตอบในสิ่งที่ต้องการ ได้แก่ การอ่านคำแนะนำ อ่านเพื่อตอบปัญหา
ซง่ึ ยงั ข้องใจ
3.2 อ่านเพือ่ ศกึ ษาหาความรเู้ รื่องราวตา่ ง ๆ ทงั้ โดยย่อและโดยละเอียด
3.3 อา่ นเพ่ือตอ้ งการข่าวสาร ขอ้ เทจ็ จริง
3.4 อ่านเพื่อศึกษาค้นคว้าเป็นพิเศษ เพื่อต้องการประโยชน์เรื่องใดเรื่องหน่ึง
โดยเฉพาะหรอื เพ่อื ทำตำรบั ตำราท่วั ไป
3.5 อ่านเพื่อหาข้อมูลประมวลเขา้ เอามาทำวิจัยเผยแพร่ในหมู่นักวิชาการอนั จะเป็น
ประโยชน์แก่ชาตสิ ว่ นรวม
อ่านเพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจให้เกิดความเพลิดเพลินเป็นการพักผ่อน
คลายความเครง่ เครยี ดจากงานประจำ ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทบนั เทิงคดี นวนิยาย เรื่องสั้นหรือ
เรอ่ื งระดับถึงขนาดเป็นวรรณกรรมและวรรณคดีต่าง ๆ
อ่านเพื่อสังคมหรือให้สังคมยอมรับ เรื่องนี้เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า คนรัก
หนังสือหรือผู้รักการอ่านเป็นคนที่น่าคบ อาจเข้ากับคนต่างชั้นต่างระดับได้ง่ายยิ่งเป็นคนที่มีความรู้
จริง ๆ จากการอ่านการฟังและไม่มีนิสัยเลวร้ายอย่างอื่นอยู่ในกมลสันดานแล้วยิ่งเป็นที่นิยมเข้าไหน
เข้าได้ ไม่มีใครรังเกียจ การสนใจอ่าน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวจะทำให้มีความรู้กว้างขวาง
มีทัศนะทันสมัย คุยกับใคร ๆ ก็รู้เรื่อง อาจแสดงความคิดเห็นให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นคนที่มีคุณค่า
ต่อหมคู่ ณะและตอ่ สงั คม ทงั้ สงั คมเฉพาะกลุม่ และสงั คมในประชาชาตอิ ีกด้วย
จากจุดมุ่งหมายของการอ่านดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การอ่านมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา
หาความรู้ ให้มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงต่อจิตใจและอารมณ์
16
รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการทำงาน โดยพัฒนาอาชีพ ตลอดจนเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารและ
ขอ้ เทจ็ จริงต่าง ๆ ทเี่ กิดขน้ึ
2.3 ความสำคัญของการอา่ น
การอ่านนอกจากเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ แล้ว การอ่านยังเป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาความรู้ ทำให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ ซ่ึงมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านไว้
ดังน้ี
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545: 10) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านว่า การอ่าน
เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการเสาะแสวงหาความรู้และการใช้วิธีอ่านที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับผู้อ่านทุกคน การรู้จักฝึกฝนอ่านอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้ผู้อ่านมีพื้นฐานในการอ่านที่ดี
ทั้งจะช่วยให้เกิดความชำนาญและมคี วามรู้กว้างขวางด้วย ดังนั้นการที่นักเรียนจะเป็นผู้อ่านที่ดีจึงขึ้นอย่กู บั
สภาพแวดล้อมที่ครูเป็นผู้จัดเตรียมให้ อีกทั้งยังต้องผสมผสานกับความสนใจของผู้อ่านเพื่อเป็น
แรงจงู ใจทชี่ ่วยให้นักเรียนไดอ้ ่านอยา่ งสมำ่ เสมอ
สนทิ สัตโยภาส (2545: 93 - 94) กลา่ วถงึ ความสำคัญของการอา่ นไว้ดงั นี้
1. การอ่านช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้ มีความรอบรู้ไม่แคบอยู่เฉพาะเรื่องยิ่งถ้าได้อ่าน
หนังสือพิมพ์ วารสารหรือนิตยสารอยู่เป็นประจำแล้ว ก็จะทำให้ผู้อ่านเป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์
รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก เมื่อเข้าวงสนทนากับใครก็จะร่วมวงสนทนาได้เข้าใจ
และเข้าสงั คมไดโ้ ดยไม่ขดั เขนิ
2. การอ่านจะช่วยพัฒนาความคิดและยกระดับสติปัญญาให้สูงขึ้นเพราะเมื่ออ่านมาก
ย่อมรู้มากเมื่อมีความรู้มากย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาที่แหลมคม ฉลาดปราดเปรื่องและอาจถึงข้ัน
เช่ยี วชาญในเรอื่ งทสี่ นใจและตดิ ตามอา่ นกไ็ ด้
3. การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญของการศึกษา เพราะไม่ว่านักเรียน นักศึกษาจะเรียน
วชิ าใด ลว้ นต้องอาศยั การอา่ นช่วยศกึ ษาคน้ ควา้ ดว้ ยตนเองเพิ่มเตมิ จากการเรยี นในชนั้ เรยี นทั้งส้นิ
4. การอ่านช่วยให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ เพราะการประกอบอาชีพทุกอาชีพย่อม
อาศัย ความรู้ความสามารถ ความชำนาญในการทำงาน ถ้าบุคคลใดพยายามแสวงหาความรู้
ความสามารถ ใส่ตนใหท้ นั สมัยและสอดคล้องกับวิทยาการใหม่ ๆ อยู่เสมอ ย่อมมคี วามเจริญก้าวหน้า
ในอาชพี มากกวา่ ผู้ที่ ไมพ่ ัฒนาตนเองและวิธีการสำคัญประการหน่ึงท่ีจะได้ความรู้ ประสบการณ์และ
ความสามารถในวทิ ยาการ ใหม่ ๆ กค็ ือ “การอ่าน”
5. การอ่านช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้ดีได้ ด้วยเหตุที่มีหนังสือในกลุ่มที่มีเนื้อหา
ซึ่งเกี่ยวกับการวางตน การพูดจา การเข้าสังคม การแต่งกาย ตลอดจนการแนะนำการปฏิบัติตน
ไปในทางที่เหมาะสมและทันสมัยมีอยู่มากมาย ถ้าผู้อ่านได้นำข้อแนะเหล่านั้นมาทดลองปฏิบัติตาม
ก็จะทำให้บุคลิกภาพเปล่ยี นแปลงไปในทางทีด่ ีได้
6. การอ่านช่วยแก้ปัญหาในใจได้เพราะปัญหาที่เราประสบในชีวิตประจำวัน
อาจมวี ิธีแก้ไขในหนังสือท่ีอา่ นกจ็ ะสามารถนำมาประยุกต์แก้ปัญหาของเราได้ เช่น ปัญหาชีวิต ปัญหา
สขุ ภาพ ปัญหาการประกอบอาชีพ
17
7. การอ่านทำให้เกิดความจรรโลงใจ ได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนานช่วยให้จิตใจ
ได้พักผ่อนหลังจากที่ได้เคร่งเครียดกับงานมา ถ้าได้อ่านเรื่องเบาสมอง เรื่องชวนหัวหรืองานเขียน
ประเภทบนั เทงิ คดกี ็จะคลายลงได้
8. การอ่านช่วยให้เราใช้เวลาอย่างมีคุณค่าหรือเรียกว่า “การอ่านช่วยฆ่าเวลาให้มีค่า
แทนทจ่ี ะใชเ้ วลาไปในทางไร้ค่า ไม่ถูกไมค่ วรดว้ ย
ไพพรรณ อนิ ทนิล (2546: 7-9) ให้ความสำคญั ของการอา่ นไว้ว่า
1. การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในปัจจุบันในชีวิตประจำวันเรา
จะต้องอาศัยการอ่านเพื่อการดำรงชีวิตแทบทุกเรื่อง เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้สินค้า เครื่องอุปกรณ์
อุปโภคบริโภค ตลอดจนยารักษาโรค ทุกคนต้องรู้จักอ่านวิธีใช้วันหมดอายุหรือแม้แต่การไปติ ดต่อ
กับหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือออก จึงจะสามารถไปติดต่อหน่วยงานที่ต้องการ
ได้ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการอ่านเป็นทักษะเบื้องต้นที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นที่จะต้องใช้ในการดำรงชีวิต
ในปัจจุบัน
2. การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ การเรียนวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นใน
ห้องเรียนนอกห้องเรียน ลว้ นแต่ใชก้ ารอ่านเปน็ สือ่ ในการเรียนรูท้ ้งั ส้ิน
3. การอา่ นเป็นสื่อสำคัญในการพฒั นาและแก้ปัญหาสงั คม การอ่านหนงั สือจะทำให้เกิด
การพฒั นาความคดิ สตปิ ญั ญา จรยิ ธรรม ศีลธรรม และเชาวน์ปญั ญาได้เปน็ อย่างดีและรจู้ ักนำ ความรู้
ทไ่ี ด้จากการอ่านมาพฒั นาตนเองทั้งด้านสติปัญญา และจติ ใจ ผลทต่ี ามคือทำให้สามารถ กระทำตนให้
เปน็ ประโยชน์ แกส่ ังคม แก่ส่วนรวม สามารถวินจิ ฉัยความถูกตอ้ งของเร่ืองราวตา่ ง ๆ ไดอ้ ย่างฉับไว
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสําราญ (2547: 91) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่าน
ดงั ตอ่ ไปน้ี
1. การอ่านทำให้ผู้อ่านได้รับสาระความรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเป็นผู้ที่ทันต่อทัน
ความคิด ความก้าวหน้าของโลกได้เช่นเดียวกับการรับสารจากส่ือชนิดต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์และ
สอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์อื่น ๆ
2. หนังสือเป็นสื่อทีด่ ีที่สุด ใช้ง่ายที่สุดและมีราคาถูกท่ีสุดท่ีบุคคลทั่วไปใชเ้ พื่อศึกษาหา
ความรู้และความเพลิดเพลิน
3. การอ่านหนังสือเป็นการฝึกให้สมองได้คิดและเกิดสมาธิด้วย ฉะนั้นหากมีการฝึก
อย่างต่อเนอื่ งจะทำใหท้ กั ษะด้านนีพ้ ัฒนาและเกดิ ผลสมั ฤทธ์ิสงู
4. ผู้อ่านหนังสือสามารถสร้างความคิดและจินตนาการได้เอง ในขณะที่สื่ออย่างอื่น
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ จะจำกัดความคิดของผู้อ่านมากกว่า ฉะนั้นการอ่านหนังสือจึงทำให้ผู้อ่าน
มี อิสระทางความคดิ ไดด้ ีกวา่ การใชส้ ื่อชนิดอนื่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2547 7 - 8) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการอ่านไว้
ดงั นี้
1. จะช่วยสร้างความคิดให้เกิดขึ้นกับผู้อ่าน ทั้งน้ี เพราะสารแต่ละประเภท ผู้เขียน
ไดส้ อดแทรกเร่ืองราวต่าง ๆ ทตี่ อ้ งการนำเสนอให้ผู้อ่านรู้จัก นอกจากนัน้ ยงั ไดส้ อดแทรกความคิดเห็น
18
ของผู้เขียนลงไปในเนื้อหา นอกจากจะได้รับความรู้และความคิดของผู้เขียนแล้วยังทำให้ผู้อ่าน
เกดิ ความคิดใหม่เป็นของตนเองโดยอาศัยแนวทางความคิดของผู้เขียนเปน็ พื้นฐาน
2. จะชว่ ยสง่ เสรมิ และพัฒนาความรู้ให้กับผอู้ า่ น สารแตล่ ะประเภทจะสอดแทรกความรู้
ที่แตกต่างกัน บางเรื่องอาจเกี่ยวข้องกับการเรียน บางเรื่องอาจเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน รวมทั้งอาจมี
ความรใู้ หมท่ ่ีชว่ ยให้ผู้อ่านเปน็ ผู้รอบรู้ทันต่อเหตุการณท์ ่ีเกิดข้ึนในสังคมท่ีอยู่ใกล้ตัวหรือสังคมท่ีอยู่ไกล
ออกไปล้วนแล้วแต่มคี วามสำคญั ด้วยกนั ทั้งสนิ้
3. จะช่วยทำให้เกิดทักษะการสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่าน กล่าวคือข้อมูลที่ปรากฏ
ในสารมักจะกระจัดกระจาย ดังนั้น การอ่านจะช่วยให้ผู้อ่านจัดข้อมูลเป็นหมู่พวกแล้วสรปุ แต่ละพวก
ใหเ้ หลอื แตแ่ ก่นหรอื แนวคดิ เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์ตอ่ ไป
4. จะช่วยทำให้เข้าใจสังคม เพราะสารแต่ละยุคสมัยเปรียบเสมือนเป็นตัวแทน
ของสังคม ดงั นั้นการอ่านจงึ มคี ุณคา่ ทช่ี ่วยทำให้เห็นฉากของสังคมในอดตี ปัจจบุ ัน และรวมถึงอนาคต
ซึ่งต้องการบุคคลที่มีความสามารถมาช่วยตัดสินความถูกต้องในเหตุการณ์เหล่านั้น ทั้งนี้โดยอาศัย
ขอ้ มลู ทไี่ ด้จากการอา่ นเป็นพนื้ ฐานในการตัดสนิ น่ันเอง
5. จะช่วยให้เห็นรูปแบบของสารประเภทต่าง ๆ สารแต่ละประเภทย่อมมีรูปแบบ
ของการนำเสนอที่แตกต่างกัน เช่น การนำเสนอสารวิชาการให้ความรู้ย่อมมีรูปแบบของการนำเสนอ
ท่ีแตกต่างจากสาระบันเทิงซึ่งมีรูปแบบของการนำเสนอที่แตกตา่ งออกไป การอ่านสารหลายประเภท
ย่อมเหน็ ขอ้ ที่แตกตา่ งกนั อนั จะนำไปสู่การพฒั นาอัตราเร็วในการอา่ นใหส้ ูงข้ึน
ลาวัณย์ สังขพันธานนท์ และคณะ (2549: 16-17) ได้สรุป ความสำคัญของการอ่านไว้
ดงั น้ี
1. การอ่านช่วยให้เขา้ ใจชีวิตมากยิ่งขน้ึ การศึกษาชวี ิตหลายแบบจากหนังสือนับว่าเป็น
การเรียนรู้ชีวิตทางอ้อม เนื่องจากในชีวิตจริงมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงของชีวิตเพื่อนมนุษย์
ได้ทั้งหมด ดังนั้นการอ่านจึงเป็นการช่วยให้เราได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตของผู้อื่นที่ถ่ายทอดมา
เปน็ ตัวอกั ษร ทำให้นำเรื่องราวชีวิตของผู้อ่นื มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชวี ิตของตัวเองและช่วยให้
มคี วามเข้าใจชวี ติ มากขึน้
2. การอ่านชว่ ยให้เราเปน็ คนรอบรู้ เปน็ คนทนั สมัยทันโลกและเหตกุ ารณ์ เพราะหนงั สือ
คือการบันทึกเรือ่ งราวของอดีต ปัจจุบัน และบางเรื่องยังเป็นการทำนายอนาคตด้วยเร่ืองราวท่ีบันทึก
อดีตไว้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ประเพณี สภาพสังคมเศรษฐกิจ ศาสนาและการเมือง
ดังนั้นการอ่านเรื่องราวเหล่านี้ผ่านตัวหนังสือจึงเปรียบเสมือนการเรียนรู้สภาพสังคมและวิถีชีวิต
ของคนในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี การรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะทำให้
ผู้อ่านมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็น
การเปิดโลกทัศน์ด้านการเรียนรู้และสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิตทำให้ผู้อ่านเผชิญสถานการณ์
ใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นใจส่วนการอ่านเรื่องราวที่เป็นปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร เหตุการณ์หรือ
สถานการณ์ความเคลื่อนไหวของสังคม รวมทั้งความรู้วิทยาการในแขนงต่าง ๆ ก็ช่วยทำให้เรา
เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรียกได้ว่าเป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ เพราะการรับรู้สถานการณ์ ความเคลื่อนไหว
ในสงั คมปัจจบุ ัน ผนวกกับการมีข้อมูลข่าวสารบางอย่าง ยอ่ มช่วยใหก้ ารตัดสนิ ใจ เกี่ยวกบั สถานการณ์
19
ในอนาคตมีประสิทธิภาพและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ความรู้ที่ได้มาจากการอ่านดังกล่าว
ยังช่วยให้บุคคลมีความเฉลียวฉลาดในการโต้ตอบได้หรือการหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนเองได้
เป็นอยา่ งดี
3. การอ่านช่วยให้เป็นคนที่มวี ิสัยทัศน์และความคดิ กว้างไกลมีเหตผุ ลเนื่องจากหนังสือ
หรือวรรณกรรมสว่ นใหญ่เปน็ การบนั ทึกทัศนคติและแนวความคดิ ของผู้เขียนไวด้ งั นัน้ การรับรู้แนวคิด
ของผู้เขียนในประเดน็ ต่าง ๆ จงึ เปน็ การชว่ ยขยายความคดิ ของเราให้กวา้ งขวางมากยิง่ ข้ึน ทำให้ผู้อ่าน
เป็นคนท่ีมวี ิสัยทศั น์กวา้ งไกล รู้จกั ใชเ้ หตผุ ลประกอบการคดิ และตัดสนิ ใจ
4. การอ่านเป็นการใช้เวลาวา่ งใหเ้ กิดประโยชน์ เปน็ การตอบสนองความต้องการความอยากรู้
อยากเห็นของมนุษย์และยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านบางคนใช้กิจกรรมการอ่าน
เป็นงานอดิเรก นอกจากนกี้ ารรับรขู้ อ้ มลู ขา่ วสารบางอย่างยงั เป็นการเพิม่ รสชาติให้กับชีวติ ทำใหไ้ ด้รบั
รู้ในสิ่งที่อยากรู้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเร้าความสนใจเพราะผู้อ่านสามารถเลือกอ่านหนังสือ
ท่เี หมาะสมกบั อารมณ์และความต้องการของตนเองได้ อนั จะเป็นเครอ่ื งมือท่ที ำให้เราไดร้ ับความสุขใจ
และสร้างความพงึ พอใจในการอาศัยอยใู่ นโลก
5. การอ่านช่วยพัฒนาตนเอง เพราะวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดของการอ่านคือการ
นำความรู้ที่ได้มาประมวลผลเป็นความคิดรวบยอดซึ่งองค์ความรู้หรือปัญญาที่บังเกิดจากการอ่านจะ
ช่วยยกระดับความคดิ จิตใจและภูมปิ ญั ญาของผู้อ่านให้สงู ยงิ่ ขน้ึ
6. การอ่านช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการวัดความเจริญ
ก้าวหน้าของประเทศ คือ จำนวนผู้อ่านหนังสือออก อีกทั้งในการกำหนดยุทธศาสตร์และสร้าง
แผนพัฒนาประเทศ ย่อมต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสัมพันธ์ (Communication
Media) ซ่ึงการอ่านจะเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลของประชากรในประเทศ
การอา่ นเปน็ สง่ิ ที่ช่วยให้ประชากรของแต่ละประเทศเกิดการเรยี นรู้และปรบั ตวั ให้เข้ากบั ความเจริญก้าวหน้า
ในวิชาการทุกแขนง ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้แก่ประชากรในประเทศ จึงเป็นแนวทาง
สำคัญในการพัฒนาคนและเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาบ้านเมือง ดังคำกล่าว
ของกลิ เลท (Gillete, 1987: 51) นักวชิ าการด้านบรรณารักษศาสตรท์ ่กี ลา่ วไว้วา่ “หากการพัฒนาเป็น
เรอื และการไมร่ ู้หนังสือเป็นสมอแล้ว เรอื จะแลน่ ไปไดอ้ ย่างไรหากสมอยังคงทอดอย”ู่
7. การอ่านช่วยสะท้อนสภาพสังคม หนังสือหรือวรรณกรรมเป็นผลงานที่เกิดจาก
ความรู้ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขยี น ในการสร้างผลงานขึ้นมานักเรียนยอ่ มได้รบั
อิทธิพลทางทัศนคติและความคิดจากสภาพสังคมและวัฒนธรรมในยุคสมัยของผู้เขียนเอง ดังนั้น
หนังสือจึงมิได้เป็นเฉพาะสื่อที่นำเสนอสาระความรู้ ประสบการณ์ตลอดจนความคิดเห็นและความบันเทิง
แก่ผู้อ่านเท่านั้น แต่หนังสือยังเปรียบได้กับกระจกเงาที่สะท้อนสภาพความเป็นไปของสังคมในด้าน
ตา่ ง ๆ อกี ด้วย
จากความสำคัญของการอ่านดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหา
ความรู้ ช่วยให้ผู้อ่านได้มีความรอบรู้ทันเหตุการณ์ สามารถพัฒนาระบบการคิดให้มีศักยภาพมากข้ึน
อกี ทั้งสามารถนำข้อมลู ท่ีไดจ้ ากการอ่านมาประยุกตใ์ ช้เพ่ือแกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ท่ีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
20
รวมถึงการอ่านช่วยสะท้อนสภาพสังคมทำให้เข้าใจสังคมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
จรรโลงใจและใช้เวลาวา่ งใหเ้ กดิ ประโยชนอ์ กี ด้วย
2.4 ความหมายของการอ่านจบั ใจความสำคญั
การอ่านจับใจความเป็นทักษะที่มีความสำคัญในการเรียนเพราะเป็นทักษะพื้นฐาน
ในการแสวงหาความรู้ ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของการอ่านจับใจความไว้
ดังที่ ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2545: 11) สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545: 8) แววมยุรา เหมือนนิล
(2541: 12) และกรมวิชาการ (2546: 188) ได้กล่าวในทิศทางเดียวกันถึงความหมายของการอ่าน
จับใจความสำคัญว่าการอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึง การอ่านท่ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อสรุปใจความ
สำคัญ ค้นหาสาระของเรือ่ งที่เป็นส่วนใจความสำคญั และส่วนขยายใจความสำคัญของเรือ่ ง โดยต้องมี
การฝึกฝนและผู้อ่าน ต้องทำความเข้าใจความหมายและใช้ความคิดเห็นส่วนตน ช่วยตัดสินใจ
ในการเลือกใจความสำคัญ พร้อมทั้งสามารถลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ในขณะที่
จุไรรตั น์ ลักษณะศริ ิ และบาหยัน อมิ่ สำราญ (2547: 42) กลา่ วถึงความหมายของการอ่านจับใจความ
วา่ การอ่านจับใจความหมายถงึ การจับประเด็นหลักหรือสาระสำคัญของเร่ืองที่อ่านว่าผู้เขียนต้องการ
ส่งสารหรือให้ข้อคิดเห็นอะไรเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ (2542: 45) ที่ได้
กล่าวถึงความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญไว้ว่าการอ่านจับใจความสำคัญ หมายถึงการอ่าน
ให้เข้าใจเนื้อเรื่อง จับใจความสำคัญและสามารถสรุปได้ สามารถตอบคำถามพร้อมกับนำความรู้ที่ได้
ไปใช้ประโยชน์
จากความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าการอ่าน
จับใจความสำคัญ หมายถึง พฤติกรรมการอ่านของนักเรยี นที่สามารถสรุปสาระสำคัญของเรื่องท่อี ่าน
ลำดับเหตุการณ์ที่เกดิ ข้นึ ในเรอื่ ง ตอบคำถามจากเร่ืองท่ีอ่านพร้อมทั้งบอกขอ้ คดิ ของเรอ่ื งท่ีอ่านได้
2.5 จดุ มุ่งหมายของการอา่ นจับใจความสำคญั
การอ่านจับใจความสำคัญมีจุดมุ่งหมายหลายประการ ดังที่มีนักการศึกษาได้กล่าวถึง
จดุ มงุ่ หมายของการอา่ นจบั ใจความสำคญั ไวด้ ังน้ี
วรรณี โสมประยูร (2544: 128) ไดก้ ล่าวถึงจดุ มุ่งหมายของการอ่านจับใจความไวด้ งั น้ี
1. สามารถอ่านไดเ้ ร็วและจบั ใจความไดด้ ี
2. สามารถเพ่ิมพูนความชำนาญในการอา่ นและมสี มาธใิ นการอา่ น
3. สามารถนำสงิ่ ท่ไี ดจ้ ากการอ่านไปใช้ประโยชนใ์ นชวี ติ ประจำวนั
4. สามารถนำการอา่ นไปใช้ในการปรบั ปรงุ การดำเนนิ ชีวติ อย่างมีประสทิ ธิภาพ
5. สามารถบอกประโยชน์ของการอา่ นและรักการอ่านหนังสอื
6. สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักหาความหมายของคำศัพท์ โดยใช้หนังสืออ้างอิงจากพจนานุกรม
หรอื ปทานกุ รม
7. สามารถส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ในสิ่งแวดล้อมและสนใจปัญหาและเหตุการณ์
ประจำวัน โดยการอา่ น
21
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (2545: 42) ได้กลา่ วถึงจุดมงุ่ หมายของการอ่านจับใจความไวด้ ังนี้
1. ใหเ้ ขา้ ใจความท่อี ่านไดด้ ี
2. ให้มีนิสัยท่ดี ใี นการอา่ น
3. ให้มวี จิ ารณญาณในการอา่ น
4. ใหม้ คี วามรกั ความสนใจในการอา่ นอยา่ งกว้างขวางและสม่ำเสมอ
5. ส่งเสริมให้อ่านได้รวดเร็ว
กระทรวงศึกษาธิการ (2545ข: 189) กลา่ วถงึ จุดม่งุ หมายในการอา่ นจบั ใจความไวด้ ังนี้
1. เพื่อให้รู้จักใจความสำคัญของเรื่องว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องของใคร ทำอะไร ที่ไหน
เม่อื ไร อย่างไร
2. เพื่อนำใจความสำคญั ไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นให้เขา้ ใจ
3. เพ่อื สรุปเนื้อเรอ่ื งท่ไี ด้อา่ นนัน้ เอาไปใช้ประโยชนใ์ นการอ่านต่อไป
ศิริพร ลิ้มตระการ (2547: 99 - 100) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความ
สำคญั ดงั น้ี
1. ผู้อ่านจับใจความมุ่งอ่านรายละเอียดของเนื้อเรื่องโดยไม่คำนึงถึงอัตราความเร็ว
ในการอ่านเป็นการอ่านอย่างละเอียดเพื่อจะได้ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญซึ่งผู้อ่านมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
รายละเอียดของเรอื่ งไปใช้ประโยชน์ หรอื อา่ นเพอ่ื ความเพลิดเพลิน
2. ผู้อ่านจับใจความมุ่งอ่านเรื่องเพื่อเสริมความมั่นใจให้กับตนเองเป็นการอ่านที่ผู้อ่าน
เคยมีความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อนแล้วแต่ลืมรายละเอียดจึงต้องอ่านอีกครั้ง ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่าน
ละเอยี ดทกุ ตอนแต่จะอา่ นจบั ใจความอย่างคร่าว ๆ เพอ่ื ให้ระลกึ ได้เปน็ การทบทวนเน้อื เร่อื งเพื่อให้เกิด
ความม่ันใจ
3. ผู้อ่านจับใจความมุ่งทำความคุ้นเคยกับคำศพั ท์ใหม่ ๆ โดยใช้เนื้อหาของเรื่องเป็นสอ่ื
การอา่ นจึงมักใหก้ ารสำรวจและตรวจสอบซึ่งการอ่านลักษณะน้ีผู้อ่านมกั นำไปใช้ประโยชน์ในการอ่าน
จับใจความเรอ่ื งที่เปน็ วชิ าการระดบั สงู
4. ผู้อ่านจับใจความมุ่งอ่านเพื่อพัฒนาความคิดให้กว้างไกลเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้อง
อ่านอย่างละเอียดเพื่อพัฒนาข้อมูลให้สอดคล้องกับที่เป้าหมายกำหนด เช่นการอ่านโดยใช้วิธีการ
คาดคะเนตามแนววิธีวิทยาศาสตร์ ซง่ึ ลกั ษณะนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการอ่าน
จบั ใจความแลว้ วเิ คราะห์ สงั เคราะห์และประเมนิ คา่ ตอ่ ไป
5. ผู้อ่านจับใจความมุ่งเน้นอัตราความเร็วในการอ่านเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องการจับ
ใจความสำคญั ของเรือ่ งในเวลาทจ่ี ำกัดและต้องการให้ได้เนื้อเร่ืองมากท่สี ดุ
6. ผู้อ่านจับใจความมุ่งอ่านเพื่อศึกษาเนื้อหาของเรื่องที่ตนไม่เคยมีพื้นฐานความรู้
มาก่อน เป็นการอ่านที่ผู้อ่านมันใช้วิธีการอ่านจับใจความในลักษณะสำรวจและตรวจสอบ คือ ในข้ัน
สำรวจจะใช้วิธีกวาดสายตาดูเนื้อหาครา่ ว ๆ และข้นั สำรวจดว้ ยการอ่านอย่างละเอียดอกี คร้ังหนึ่ง
สรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ คือให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้
อย่างรวดเร็ว เข้าใจในเนื้อความที่อ่านได้เป็นอย่างดี รวมถึงส่งเสริมให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และคุ้นเคย
22
กับคำศัพท์ใหม่ ๆ ตลอดจนเพื่อพัฒนาความคิดของผู้อ่านให้ก้าวไกลและสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่าน
ไปใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ให้เกดิ ประโยชนต์ อ่ ไป
2.6 ความสำคญั ของการอ่านจับใจความสำคญั
ทักษะการอ่านจับใจความเปน็ ทักษะท่มี ีความสำคญั เพราะหากนักเรียนมีพื้นฐานที่ดีแล้ว
สามารถใช้เป็นเคร่ืองมือในการแสวงหาความรู้ได้เปน็ อยา่ งดี ซง่ึ มนี กั การศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญ
ของการอา่ นจบั ใจความสำคัญ ดงั นี้
บันลือ พฤกษะวัน (2543: 13) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความมีความจำเป็นอย่างย่ิง
ในการอ่านทั่ว ๆ ไป การอ่านที่ถูกวิธีจะช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนและเกิด
ความเขา้ ใจเรื่องท่จี ะอา่ นทำใหไ้ ดร้ ับความคดิ ความบนั เทงิ
สมบัติ มหารส (2544: 47) ได้กล่าวว่าการอ่านจับใจความทำให้คนมีความฉลาดรอบรู้
และจะเป็นนักปราชญ์ได้ในอนาคต รวมถึงยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความพร้อมพัฒนานิสัยและ
ทกั ษะความรูใ้ ห้นกั เรียนทุกคน
ศิวพร โกศิยะกุล (2546: 13) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญ
วา่ การอา่ นจบั ใจความสำคญั เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ทำให้ได้รูจ้ กั โลกท่กี ว้างข้ึนชว่ ยในการ
ปรับตัวให้ทนั ตอ่ การเปลย่ี นแปลงทางด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ (2547: 42) กล่าวถึงความสำคัญของการอ่าน
จับใจความว่า การอ่านจับใจมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ยุคปัจจบุ ันซึง่ เป็นยุคขอ้ มูลข่าวสาร เพราะการอ่านและการฟังจะทำให้ผู้คนได้รับขา่ วสารข้อมูลความรู้
และได้รับทราบความเคลื่อนไหวตลอดจนข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม นอกจากนี้การอ่าน
ยังสามารถพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย ผู้รับสารจะได้รับประโยชน์จากการอ่าน
อย่างเต็มที่ ถ้าผู้รับสารสามารถรับสารที่ผู้ส่งสารส่งให้อ่านอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กระบวนการ
สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้รับสารสามารถรับสารจากเรื่องที่อ่านได้ก็คือการจับใจความ ฉะนั้นการจับใจความ
จงึ นบั เปน็ หัวใจของการอ่าน
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์ (2545: 159 - 162) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่าน
จับใจความสำคัญว่า การอ่านจับใจความมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาด้วยการพัฒนา
ความรขู้ องตนเอง พฒั นาเศรษฐกจิ ดว้ ยการนำความรูม้ าพฒั นาอาชีพและระบบการใช้จ่าย การพัฒนา
ดา้ นสงั คมดว้ ยการนำความรู้มาพฒั นาคุณภาพชวี ติ ในครอบครวั
เบญจรัตน์ ปิ่นเวหา (2549: 29) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านจับใจความไว้ว่า
การอ่านจับใจความเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องและได้รับความรู้จากเนื้อเรื่อง
ท่ีอ่าน จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งความรู้และความบันเทิงในการที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถพัฒนาทักษะ
ทางภาษาได้เป็นอย่างดี เพื่อใช้การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ไปใช้ในวิชาอื่น ๆ และ
ชวี ติ ประจำวนั ได้
จากความสำคัญของการอ่านจับใจความสำคัญดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าการอ่าน
จับใจความสำคัญเป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการอ่านเนื้อเรื่อง
23
ใหเ้ ข้าใจและถือว่าเป็นหัวใจของการอ่านทั่ว ๆ ไป รวมถงึ เปน็ เคร่ืองมือท่ีใช้ในการแสวงหาความรู้เพ่ือ
พฒั นาตนเองในดา้ นต่าง ๆ ใหม้ ีคณุ ภาพชีวิตที่ดขี น้ึ
2.7 ข้ันตอนในการอา่ นจับใจความสำคัญ
มนี ักการศึกษาไดก้ ล่าวถึงขนั้ ตอนในการอา่ นจบั ใจความสำคญั ไว้ดังน้ี
แววมยุรา เหมือนนิล (2541: 26) ได้แนะวิธีปฏิบัติในการอ่านจับใจความให้เข้าใจง่าย
และรวดเรว็ ดงั น้ี
1. สำรวจส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าว ๆ เพราะส่วนประกอบของหนังสือ เช่น
ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจงการใช้หนังสือก็มีส่วนทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือได้อย่าง
กว้างขวาง
2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน การกำหนดเป้าหมายในการอ่านหนงั สอื ทุกคร้งั
ว่าเราจะอา่ นเพ่ืออะไร
3. มีความสามารถทางภาษา คือต้องเข้าใจความหมายของคำศัพท์เป็นเบื้องต้นก่อน
หากไมเ่ ขา้ ใจความหมายของคำย่อมไม่สามารถจบั ใจความไดเ้ ลย
4. มีประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ย่อมทำให้เข้าใจและจับใจความ
เร่ืองทอ่ี ่านง่ายขน้ึ
5. ความเข้าใจลักษณะของหนังสือ หนังสือแต่ละประเภทมีรูปแบบการแต่งและ
เปา้ หมายของเรื่องแตกต่างกัน เช่น สารคดี ตำรา มุ่งใหค้ วามรู้หรือความคดิ แกผ่ ู้อ่านมากกว่าอย่างอื่น
ลักษณะรูปแบบของหนังสือ ตลอดจนต้องมีจุดมุ่งหมายในการอ่าน ซึ่งครูควรแนะนำแนวปฏิบัติในการอ่าน
กอ่ นเสมอ
นอกจากนี้ แววมยุรา เหมือนนิล (2541: 25-26) ยังได้กล่าวถึงกลวิธีการอ่านจับใจความ
สำคัญสรุปไดว้ า่ การอ่านจบั ใจความสำคญั เรื่องใดเรอื่ งหน่ึง ควรเรมิ่ ต้นจากการอ่านจับใจความสำคัญ
ในแต่ละย่อหน้าให้ได้ถูกต้องก่อนเพราะข้อความตอนหนึ่งหรือย่อหน้าหนึ่งแม้มีใจความหลายอย่าง
แต่จะมีใจความสำคัญที่สุดในย่อหน้าเดียวเพียงใจความเดียว ถ้าเรื่องมีหลายประเดน็ เมื่อนำประเด็น
สำคัญในแต่ละย่อหน้ามาพิจารณาร่วมกันแล้ว จะทำให้สามารถจับแก่นเรื่องหรือแนวความคิดสำคัญ
ทสี่ ุดของเรื่องทั้งหมดได้ง่ายขนึ้ ใจความสำคัญในแต่ละย่อหนา้ หมายถึงข้อความที่มีสาระคลุมข้อความ
อน่ื ๆ ในย่อหน้าน้นั ไวห้ มดใจความสำคญั ในแตล่ ะย่อหนา้ ส่วนมากมักจะอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง
ของย่อหนา้
สปุ ราณี พัดทอง (2543: 66-67) กลา่ วถงึ ขน้ั ตอนการอ่านจบั ใจความไว้ดงั น้ี
1. อ่านเรื่องที่ต้องการอ่านจับใจความสำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่องเพราะชื่อเรื่อง
มักสอดคลอ้ งกับเรื่อง โดยอา่ นต้งั แต่ตน้ จนจบเพื่อใหเ้ ห็นเนื้อหาส่วนรวม แล้วตอบคำถามให้ได้ว่าเร่ือง
ที่อ่านเป็นเรื่องอะไร ใครทำอะไรที่ใด เมื่อไร อย่างไร ทำไมจึงทำและได้ผลอย่างไร โดยสังเกตลำ ดับ
และความสมั พันธ์ของเน้อื เร่อื งซึ่งทำใหเ้ ร่ืองดำเนนิ ไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมไปดว้ ย
2. พิจารณาหาใจความสำคัญจากแต่ละย่อหน้าโดยหน่ึงย่อหน้าต้องมีใจความสำคัญ
เพยี งใจความเดยี ว
24
3. นำใจความสำคัญของเรื่องที่จับมาได้ทั้งหมดมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องสละสลวย
โดยรักษาเนือ้ ความเดมิ ไวจ้ ะไดใ้ จความสำคัญของทัง้ เร่อื ง
4. เม่ือเรยี บเรียงเสรจ็ แลว้ ควรทบทวนว่าเน้ือความต่อเน่ืองกนั ดหี รือไม่มีใจความสำคัญ
ครบถ้วนหรอื ไม่
บันลือ พฤกษะวัน (2545: 128-129) ได้กล่าวถงึ ขนั้ ตอนการอ่านเพ่ือจบั ใจความสำคัญว่า
1. ฝึกอา่ นแบบคร่าว ๆ เพื่อเปน็ การสำรวจหาส่ิงที่สนใจหรือสิง่ ท่ตี ้องการ
1.1 ให้อ่านเรื่องราวอย่างรวดเร็ว โดยอ่านข้าม ๆ ลวก ๆ ไปก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเรื่องนั้น
มขี อบเขตหรือกล่าวถึงอะไร
1.2 ให้อ่านเฉพาะหัวข้อย่อย หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งให้ละเอียด เพื่อทราบทัศนะ
ขอ้ เสนอแนะเจตนาของผู้แต่ง โดยมากจะเสนอแนะใหอ้ ่านคำนำหรืออารัมภบท
1.3 อา่ นท้งั เร่อื งเพ่อื ประเมนิ ดูวา่ เร่ืองน้นั ใหป้ ระโยชน์ทางใด มีจุดเด่นตรงไหน
1.4 อ่านแล้วพิจารณาตรวจสอบเรื่องราวโดยส่วนรวมว่าเป็นเรื่องยากหรือเรื่องง่าย
เหมาะกบั วยั ของผ้เู รียนทจ่ี ะใชค้ วามคิดของตนประเมินได้เพียงใด
1.5 หากเป็นบทประพันธ์ร้อยกรอง ลองอ่านสัก 2-3 หน้า เพื่อดูว่ามีคุณค่าน่าสนใจ
มากน้อยเพียงใด ไพเราะหรือไม่ เทคนิคการอ่านแบบคร่าว ๆ เป็นการอ่านโดยใช้การกวาดสายตา
อยา่ งเรว็ เพื่อค้นหาสง่ิ ท่ตี นสนใจ ปมเรือ่ ง จดุ เด่น หรือส่งิ ทีผ่ อู้ า่ นตดิ ใจ หรอื ฉุกคิด
2. ฝึกอา่ นเพอ่ื เก็บใจความสำคญั เปน็ เปน็ วิธีการท่ีจะนำไปสู่การยอ่ ความ
2.1 เมอื่ ให้ผู้เรียนอา่ นนทิ านแล้วเล่าเรื่องย่อ เร่ืองราวความเป็นมาและใจความย่อว่า
อย่างไร
2.2 ครูต้ังคำถามให้สอดคล้องกับประเด็นสำคัญของเรื่องที่กล่าวไว้แล้ว เช่น ใคร
กบั ใคร พฤตกิ รรมเป็นอย่างไร อน่ื ๆ
2.3 การตรวจคำตอบ ครูจำเป็นต้องเน้นให้ตอบปัญหาให้ตรงประเด็นในการฝึก
ในหอ้ งเรยี นให้ชดั เจน เปน็ ส่วนหน่ึงของความพรอ้ มในการอ่านในใจ
3. นำผลของคำตอบหรือการตั้งชื่อเรื่องมาอภิปราย ตรวจสอบโดยการอ่านออกเสียง
เพื่อใหฟ้ ังแลว้ ตอบคำถามหรอื บอกช่ือเรื่องใหถ้ ูกต้อง
4. ให้ผู้เรียนนำผลของคำตอบในข้อ 3 มาตรวจสอบว่าชื่อเรื่องนั้นตรงกับประโยคใด
หรือประโยคบอกชื่อเรื่อง หรือประโยคใดบอกใจความสำคัญของอนุเฉทที่อ่าน ให้ผู้เรียนขีดเส้นใต้
ทปี่ ระโยคบอกใจความนั้น ๆ
5. เรียงประโยคบอกใจความแต่ละอนุเฉทตามลำดับ โดยเพิ่มคำเชื่อมและเกลาภาษา
ใหไ้ ด้ความตอ่ เนอื่ ง อาจสลบั ตอนกไ็ ด้ถ้าได้ความดีกวา่
6. อา่ นทบทวนโดยการอา่ นออกเสียงเพ่ือใช้การฟังตรวจสอบใจความสำคัญเรื่องย่อนั้น
โดยกลุ่ม หากเป็นงานรายบุคคลใหใ้ ช้การอ่านในใจตรวจสอบเอง
7. กำหนดการตั้งชื่อเรื่องบอกแหล่งที่มาของเรื่องให้ชัดเจน รวมทั้งผู้เขียนหรือ
สำนกั พิมพ์แลว้ แตก่ รณี
25
จากขั้นตอนในการอ่านจับใจความสำคัญดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าการอ่านจับใจความ
สำคัญผู้อ่านต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน ทำความเข้าใจลักษณะของหนังสือว่าจัดอยู่ใน
ประเภทใด ตลอดจนต้องใช้ความสามารถทางภาษาในด้านการแปลความหมายของคำ ประโยคและ
ขอ้ ความตา่ ง ๆ อยา่ งถูกต้องรวดเรว็ โดยใชป้ ระสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาประกอบ
2.8 การประเมินผลการอา่ นจับใจความสำคัญ
นักการศึกษา ได้กลา่ วถึงการประเมนิ ผลการอ่านจบั ใจความสำคัญไว้ดงั นี้
แฮริส ( Harris 1969: 235-23, อ้างถึงใน ณัฐณิชา บุญสุข 2546: 16) ให้ทรรศนะว่า
การทดสอบความเขา้ ในการอ่านควรให้ครอบคลมุ ความสามารถในการอ่าน 3 ดา้ น ดังนี้
1. ด้านภาษาและสัญลักษณ์ คือ ความสามารถในการเข้าใจความหมายส่วนใหญ่ของ
คำที่ปรากฏในบทอ่าน รู้จักการเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท เข้าใจระบบคำ และโครงสร้าง
ประโยค เข้าใจขอ้ ความยาว ๆ และเข้าใจสัญลกั ษณ์ทางภาษา เช่น เคร่อื งหมายตา่ ง ๆ
2. ด้านความคิด คือสามารถระบุจุดประสงค์ของผู้เขียน ความคิดสำคัญของข้อความ
ทอ่ี ่านสามารถเขา้ ใจความคดิ ย่อยทมี่ าสนบั สนุน สามารถสรปุ และอนมุ านความจากส่งิ ทีอ่ ่านได้
3. ด้านอารมณ์และลีลาของเนื้อหาที่อ่าน คือ สามารถบอกถึงทัศนคติของผู้เขียน
ต่อเร่ืองที่อ่านและต่อผูอ้ ่านได้ สามารถระบุวธิ ีและแนวการเขยี นของผเู้ ขยี นได้
ฮัฟเนอร์และจอลลี (IHafner and Jolly 1974: 87-88, อ้างถึงใน ณัฐณิชา บุญสุข
2546: 16 - 17) ได้สรุปการประเมนิ ความเข้าใจในการอา่ นไว้ดงั นี้
1. ตอบคำถามเกยี่ วกับข้อเท็จจรงิ และรายละเอยี ดต่าง ๆ จากเรอ่ื งทีอ่ า่ นได้
2. เขา้ ใจคำชี้แจง สามารถปฏบิ ัตติ ามคำช้ีแจงหรอื คำแนะนำทีเ่ ขยี นอธบิ ายไวไ้ ด้ถูกต้อง
3. จดจำและสามารถบรรยายส่ิงท่อี ่านเปน็ คำพดู ออกมาได้
4. ลำดบั เหตกุ ารณ์ของเรื่องทอี่ า่ นได้อย่างถูกต้อง
5. แยกไดว้ า่ รายละเอียดตอนไหนสำคญั ตอนไหนไมส่ ำคญั
6. บอกได้วา่ ตวั อย่างหรือคำอธบิ ายตา่ ง ๆ มคี วามสมั พนั ธก์ ับเน้อื เรือ่ งตอนใด อยา่ งไร
7. บอกได้ว่าประโยคใดเปน็ ประโยคแสดงเน้อื ความสำคญั หรือใจความสำคัญของเร่ือง
8. บอกได้ว่าเนื้อหาที่อ่านมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อยา่ งไร
9. แสดงขอ้ สรปุ ของข้อความทีอ่ ่านไดอ้ ย่างถกู ต้อง
การอ่านจับใจความสำคัญเป็นกระบวนการอ่านเพื่อทำความเข้าใจความหมาย
ของข้อความหรือเนื้อเรื่องเพื่อระบุเรื่องที่อ่านว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร ใคร
ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ส่วนประกอบของเรื่องและจัดลำดับเหตุการณ์ของเรื่องได้ ดังน้ัน
การประเมินผลการอ่านจับใจความจำเป็นต้องประเมินผลความเข้าใจในการอ่านของผู้เรียนด้วยการประเมิน
ความสามารถในการอ่านจบั ใจความ กระทำไดห้ ลายวิธีการจะใช้วิธีใดข้ึนอยู่กับจดุ มุง่ หมายเป็นสำคัญ
ทน่ี ยิ มใช้มี 2 วิธี (จเี รียง บญุ สม 2545: 26, อา้ งถึงใน ศิริวรรณ วณชิ วัฒนวรชยั 2547: 32) คอื
26
1. แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้มาตรฐาน (Standardizzed Test) ข้อสอบนี้นำไปให้
นักเรียนทำเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านกับเกณฑ์ปกติ (Norm) แบบทดสอบน้ี
ประกอบด้วยข้อความเป็นตอน ๆ หรือเรื่องสั้น ๆ ให้นักเรียนอ่านแล้วเลือกคำตอบ เรียงจากเรื่อง
ง่าย ๆ ไปหาเรื่องยาก จำกัดเวลานักเรียนจะได้คะแนนตามความสามารถความเข้าใจในการอ่านแบบ
สอบ คะแนนจะออกมาในรูปคะแนนดิบ (Raw Score) เปอร์เซ็นไทล์ (Percentile) หรือระดับ
(Grade-Equivament)
2. แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ชนิดอิงเกณฑ์ (Criterion- Referenced Test)
ลักษณะของแบบทดสอบนี้คล้ายกับแบบทดสอบแรกคือมีข้อความเป็นตอน ๆ หรือเรื่องสั้น ๆ ให้
นักเรียนอ่านและเลือกตอบ แต่ไม่เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านกับเกณฑ์ปกติหรือนักเรียน
กลุ่มอื่น คะแนนของนักเรียนขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์การอ่าน เกณฑ์นี้ถือว่านักเรียนมีความสำเร็จ
อยรู่ ะหวา่ งเกณฑร์ ้อยละ 80 – 90
สรุปได้ว่าการประเมินผลการอ่านจับใจความสำคัญมี 2 วิธี คือ ใช้แบบทดสอบวัดผล
การเรียนรู้มาตรฐาน (Standardized Test) หรือแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ชนิดอิงเกณฑ์
(CriterionReferenced Test) ซ่ึงการประเมนิ ผลควรครอบคลุมความสามารถในการอ่าน 3 ดา้ น คอื
1. ดา้ นภาษาและสญั ลักษณ์
2. ดา้ นความคดิ
3. ดา้ นอารมณ์และลลี าของเนื้อหาทอ่ี ่าน
ผู้ ศ ึ ก ษ า ไ ด ้ เ ล ื อ ก ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น ผ ล ก า ร อ ่ า น จ ั บ ใ จ ค ว า มส ำ คั ญ โ ด ย ใ ช ้ แ บ บ ท ด ส อบ วั ด
ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญชนิดอิงเกณฑ์ (Criterion- Referenced Test) เพราะ
แบบทดสอบท่ีใช้ไม่เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านกับเกณฑ์ปกติและนักเรียนกลุ่มอื่น รวมถึง
คะแนนของนักเรียนจะขนึ้ อยกู่ บั ผลทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน
3. แบบฝกึ ทักษะ
แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ฝึกให้
นักเรยี นไดท้ ำซำ้ บ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ ซ่ึงทำให้นักเรยี นเกิดการเรยี นรู้ในเรื่องต่าง ๆ การสร้าง
แบบฝึกทักษะที่จะนำเสนอต่อไปนี้ประกอบด้วย ความหมายของแบบฝึกทักษะ ความสำคัญของ
แบบฝึกทักษะ ลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ดี หลักการสร้างแบบฝึกทักษะและประโยชน์ของ
แบบฝึกทกั ษะ
3.1 ความหมายของแบบฝึกทกั ษะ
ความหมายของแบบฝึกทักษะได้มีผู้ให้ความหมายของแบบฝึกทักษะไว้หลายท่าน ดังนี้
พจนานกุ รมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน (2556: 687) ให้ความหมายของแบบฝึกทักษะไว้ว่า
แบบฝึกทักษะหรือแบบฝึกหัด หมายถึง แบบตัวอย่างปัญหาหรอื คำส่ังท่ีต้ังขึน้ เพื่อให้นักเรียนฝึกตอบ
เปน็ ต้น
27
อัจฉรา ชีวพันธ์ (2531: 48) กล่าวว่า แบบฝึกทักษะ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเสริม
ความเข้าใจ และเสริมเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วน ที่ช่วยให้นักเรียนได้ปฏิบัติและนำเอาความรู้ไปใช้ได้
อย่างแมน่ ยำ ถกู ต้อง คลอ่ งแคล่ว
สนุ นั ทา สนุ ทรประเสริฐ (2543:1-2) กลา่ วว่า แบบฝึกทักษะเป็นสื่อท่ีใช้ในการฝึกทักษะ
การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาการปฏิบัติของนักเรียน นิยมใช้ในกลุ่มภาษาไทย คณิตศาสตร์
วทิ ยาศาสตร์ การงานและพ้นื ฐานอาชีพ
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับความหมายของแบบฝึกทักษะสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะ
เปน็ เคร่ืองมอื ประกอบการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ท่ีสร้างขนึ้ เพ่ือช่วยให้ผเู้ รียนเกดิ การพัฒนาการเรียนรู้
จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ทบทวนเนื้อหาหลังจากเรียนจบบทเรียนแล้วจนเกิดความเข้าใจ
ความชำนาญและความแม่นยำจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ประกอบด้วย คู่มือครู
แบบฝกึ ทกั ษะ และแบบทดสอบหลงั เรยี น
3.2 ความสำคญั ของแบบฝกึ ทกั ษะ
การสอนอ่านจับใจความสำคัญเป็นการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ทราบหลักการอ่าน
จับใจความสำคัญ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง ผู้เรียนต้องฝึกฝน
อย่างสม่ำเสมอ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ แบบฝึกทักษะเป็นส่วนที่เพิ่มหรือเสรมิ
จากบทเรียนใช้เป็นอุปกรณ์การสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน จะช่วยให้
ทราบพัฒนาการและเห็นถึงข้อบกพร่องในการใช้ภาษาของนักเรียน ซึ่งสามารถหาทางแก้ไขได้ทันที
ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน สำหรับความสำคัญของแบบฝึกทักษะได้มีผู้กล่าวถึง
ความสำคญั ของแบบฝกึ ทกั ษะไว้หลายท่าน ดงั น้ี
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2543: 1-2) กล่าวว่า แบบฝึกหัดเป็นสื่อการสอนที่ทำขึ้นเพื่อ
ฝึกฝนทักษะของนักเรียนหลังจากที่เรียนเนื้อหาไปแล้ว ช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาดีข้ึน
ทำให้นักเรียนมีโอกาสนำความรู้ทีไ่ ด้เรยี นแล้วมาฝกึ ซ้ำให้เกิดความเข้าใจย่ิงขึ้น และเป็นสื่อการเรยี น
ให้ผเู้ รียนได้ฝกึ ปฏิบัติ
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับความสำคัญของแบบฝึกทักษะสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะเป็นสื่อ
การเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยทบทวนความรู้ ฝึกกระทำ
ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ เกิดแรงจูงใจและสามารถตรวจสอบผลการเรียน ทำให้ทราบ
ความกา้ วหนา้ และข้อบกพรอ่ งของนักเรยี น สามารถใชไ้ ดท้ ั้งในชน้ั เรยี นและท่ีบา้ น
3.3 ลกั ษณะของแบบฝึกทักษะท่ีดี
การจัดทำแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความให้บรรลุ
ตามวัตถปุ ระสงค์น้ันตอ้ งเหมาะสมสอดคล้องกับผู้เรยี นทีจ่ ะฝึกด้วย สำหรบั ลักษณะของแบบฝึกทักษะ
ทดี่ ีไดม้ ผี ้กู ล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ดไี วห้ ลายทา่ น ดังน้ี
28
วรรณ แกว้ แพรก (2526: 33-38) กล่าวถงึ แบบฝกึ ทักษะท่ีดวี ่ามีลกั ษณะดังนี้
1. เนื้อหาที่จะนำมาควรเป็นเนื้อหาในบทเรียนหรือสอดคล้องสัมพันธ์กับบทเรียนทั้งที่
เปน็ คำ ประโยค ขอ้ ความ เน้อื เรอื่ ง และเนื้อหาตรงตามหลักสูตรทกี่ ำหนด
2. มีหลายแบบหลายลกั ษณะ เพื่อไม่ใหเ้ บ่อื และเปน็ การท้าทายให้อยากทำ
3. ต้องช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำ 3 ประการคือ รู้คำเพิ่มข้ึน
เขา้ ใจความหมายของคำดขี ้ึน และมคี วามสามารถในการใชค้ ำสงู ข้ึนตามระดับชน้ั ของนกั เรยี น
4. ต้องส่งเสริมใหน้ ักเรยี นใชค้ วามคดิ โดยอาศยั ความรู้ ความเข้าใจเดมิ เปน็ พืน้ ฐาน
5. ต้องไม่มีลกั ษณะอยา่ งข้อสอบโดยทวั่ ไป ทีม่ ุง่ วัดความรู้และความเข้าใจเพียงอย่างเดียว
แตต่ ้องมลี กั ษณะเร้าความสนใจ ยัว่ ยแุ ละจงู ใจใหน้ กั เรยี นคดิ พิจารณาและได้ศึกษาจนเกดิ ความรู้ความ
เขา้ ใจในทกั ษะและสามารถใชค้ ำได้สงู ขนึ้
อญั ชลี แจ่มเจรญิ (2526: 45) กล่าวว่า แบบฝกึ ทกั ษะท่ีดมี ลี กั ษณะดงั นี้
1. ควรใช้หลักจติ วทิ ยาและกระบวนการเรียนรขู้ องนกั เรยี น
2. ควรสรา้ งขึ้นเพือ่ สิ่งท่จี ะสอนและเก่ยี วข้องกบั นักเรียน
3. คำพูดและเนื้อหาควรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่นักเรียนพบเห็น
อยู่แล้ว
4. สิ่งที่ฝึกแต่ละครั้ง ควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ และเข้าใจง่ายไม่น่าเบื่อ และที่สำคัญจะ
กระต้นุ ใหเ้ ดก็ ไดส้ นใจใครฝ่ ึก
ดวงเดอื น ออ่ นน่วม และคณะ (2536: 37) กล่าวว่า ลักษณะท่ีดีของแบบฝกึ ทกั ษะไว้ดังน้ี
1. ต้องมีความชัดเจนทั้งคำสั่งและวิธีทำ คำสั่งหรือตัวอย่างแสดงวิธีทำที่ใช้ไม่ควรยาว
เกินไปเพราะจะทำให้เข้าใจยาก ควรปรับปรุงให้ง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถ
ศึกษาด้วยตนเองไดเ้ ม่อื ตอ้ งการ
2. แบบฝึกที่ดีควรมีความหมายต่อนักเรียน และตรงตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
คอื ลงทุนน้อย ใชไ้ ดน้ านและทนั สมัยอยูเ่ สมอ
3. ภาษาและภาพท่ีใชใ้ นแบบฝกึ ควรเหมาะสมกบั วัย และพื้นฐานความรู้ของนกั เรียน
4. แบบฝึกที่ดีควรแยกเป็นเรื่อง ๆ แต่ละเรื่องไม่ควรยาวเกินไป แต่ควรมีกิจกรรม
หลายรปู แบบเพือ่ เรา้ ให้นกั เรยี นเกิดความสนใจ และเพือ่ ฝกึ ทกั ษะใดทกั ษะหน่ึงจนเกิดความชำนาญ
5. แบบฝึกที่ดีควรมีทั้งแบบกำหนดคำตอบให้และแบบให้ตอบโดยเสรี การเลือกใช้คำ
ข้อความหรือรูปภาพควรเป็นสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยและตรงกับความสนใจของนักเรียน เพื่อให้แบบฝึก
ที่สร้างขึ้นมาก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และพอใจแก่นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเรียนรู้
ท่ีวา่ เด็กมกั จะเรียนรูไ้ ดอ้ ยา่ งรวดเร็วในการกระทำท่ีก่อใหเ้ กิดความพงึ พอใจ
6. แบบฝึกที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ให้รู้จักค้นคว้า รวบรวม
สิ่งที่พบเห็นบ่อย ๆ หรือที่ตัวเองเคยใช้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องนั้น ๆ มากยิ่งขึ้น และจะรู้จักนำ
29
ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง มีหลักเกณฑ์และมองเห็นว่าสิ่งที่เขาได้ฝึกฝนนั้นมี
ความหมายตอ่ เขาตลอดไป
7. แบบฝึกที่ดีควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคน
มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความต้องการ ความสนใจ ความพร้อมของระดับสติปัญญา
และประสบการณ์ เป็นต้น ฉะนั้นการจัดทำแบบฝึกแต่ละเรื่องควรจัดทำให้มากพอ และมีทุกระดับ
ตั้งแต่ง่าย ปานกลาง จนถึงระดับค่อนข้างยาก เพื่อว่าทั้งนักเรียนเก่ง ปานกลางและอ่อน จะได้เลือก
ทำไดต้ ามความสามารถ ทั้งน้ีเพ่อื ใหผ้ เู้ รยี นทุกคนประสบความสำเร็จในการทำแบบฝึก
8. แบบฝึกที่ดีควรสามารถเร้าความสนใจของนักเรียนทุกคน ได้ตั้งแต่หน้าแรกจึงถึง
หน้าสุดท้าย
9. แบบฝึกที่ดีควรได้รับการปรับปรุง แก้ไข ควบคู่กันไปกับหนังสือแบบเรียนอยู่เสมอ
และควรใชไ้ ด้ดีท้งั ในห้องเรยี นและนอกห้องเรียน
10. แบบฝึกที่ดีควรเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการประเมิน และจำแนกความเจริญ
งอกงามของนักเรยี นไดด้ ว้ ย
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับลักษณะของแบบฝึกทักษะที่ดีสรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะที่ดี
เป็นการสร้างเครื่องมอื เพื่อพัฒนาการเรียนรูข้ องผู้เรียนส่งเสรมิ ให้ผู้เรียนมกี ารพัฒนาตนเอง มีเนื้อหา
รปู แบบน่าสนใจ เหมาะสมกับระดับและวัยของผ้เู รยี น จงู ใจผเู้ รยี นและเป็นไปตามลำดบั ความยากง่าย
3.4 หลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดี
การสร้างแบบฝึกทกั ษะให้มีประสิทธิภาพนนั้ จำเปน็ อย่างยิ่งทีจ่ ะต้องมีความเขา้ ใจและได้
เรียนรู้ถึงขั้นตอนการสร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและสนใจ
ที่จะทำแบบฝึกทักษะ หลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดีได้มีผู้หลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดีไว้
หลายคน ดังนี้
วรรณ แก้วแพรก (2526) พรรณี ชูทัย (2528) ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ (2536)
และสุนนั ทา สุนทรประเสรฐิ (2543) ได้กลา่ วถงึ หลกั การสรา้ งแบบฝึกทักษะท่ีดีไว้อย่างสอดคล้องกัน
สรุปได้ดงั นี้
1. ศึกษาปัญหาและความต้องการ โดยศึกษาจากการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
และผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียน หากเป็นไปไดค้ วรศกึ ษาความต่อเนอื่ งของปัญหาในทุกระดับช้ัน
2. วิเคราะห์เนื้อหาหรือทักษะที่เป็นปัญหาออกเป็นเนื้อหาหรือทักษะย่อย ๆ เพื่อใช้
ในการสร้างแบบทดสอบ และแบบฝึกทักษะ
3. พิจารณาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะ เช่น จะนำ
ชุดแบบฝึกทักษะไปใชอ้ ย่างไร ในแต่ละกจิ กรรมจะประกอบด้วยอะไรบา้ ง
30
4. การสร้างแบบทดสอบ ควรแบ่งเป็นแบบทดสอบเชิงสำรวจ แบบทดสอบเพื่อวินิจฉยั
ข้อบกพร่อง แบบทดสอบความก้าวหน้าเฉพาะเรื่อง เฉพาะตอน แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจะต้อง
สอดคล้องกบั เนอ้ื หา
5. สร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อใช้พัฒนาการเรียนรู้แต่ละสาระการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม
จะมีคำถามให้นักเรียนตอบ การกำหนดรูปแบบ ขนาดของกิจกรรมในแบบฝึกทักษะพิจารณาตาม
ความเหมาะสม
6. นำแบบฝึกทักษะไปทดลองใชเ้ พือ่ หาข้อบกพร่องของแบบฝึกทักษะและคุณภาพของ
แบบฝกึ
8. ปรบั ปรงุ แกไ้ ข
9. รวบรวมเปน็ เล่ม จดั ทำคำช้แี จง คมู่ ือการใช้ สารบัญ เพ่อื เป็นประโยชน์ต่อไป
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับหลักการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดีสรุปได้ว่า หลักในการสร้าง
แบบฝกึ ทักษะทดี่ ี คือ ขนั้ แรกควรกำหนดวัตถุประสงค์ก่อน จากนัน้ จงึ ศึกษาเกี่ยวกบั เนอ้ื หาท่ีจะนำมา
สร้างแบบฝึกทักษะแล้วทำการกำหนดขั้นตอนในการสร้างแบบฝึกทักษะ โดยต้องศึกษา
ในรายละเอียดที่เกี่ยวกับปัญหาในการเรียนการสอน หลักจิตวิทยาในการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา
ลักษณะของ แบบฝึกทักษะและการวางโครงเรื่อง สุดท้ายจึงกำหนดรูปแบบของการฝึกให้สัมพันธ์
กบั โครงเรือ่ ง
3.5 ประโยชนข์ องแบบฝกึ ทกั ษะ
แบบฝึกทักษะจัดเป็นสื่อการสอนที่มีประโยชน์ต่อครูผู้สอนและนักเรียน ทั้งในด้าน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนการสอนซ่อมเสริมที่จะทำให้เด็กมีทักษะในการใช้ภาษา
เพราะการฝึกฝนจะทำให้เกิดความชำนาญ ความแม่นยำ มีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มพูนขึ้น สำหรับ
ประโยชนข์ องแบบฝกึ ทกั ษะไดม้ ีผ้กู ลา่ วถงึ ประโยชน์ของแบบฝึกทกั ษะไว้หลายท่าน ดังน้ี
วรรณ แก้วแพรก (2526) พรรณี ชูทัย (2528) ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ (2536)
และสนุ ันทา สุนทรประเสริฐ (2543) ได้กล่าวถึงประโยชนข์ องแบบฝึกทกั ษะไว้อยา่ งสอดคล้องกันสรุป
ไดด้ ังนี้
1. แบบฝึกทักษะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยลดภาระของครู สามารถใช้สอนเสริมจาก
บทเรียน
2. แบบฝึกทักษะช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากนักเรียนแต่ละคน
มีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถ
ของตน จะช่วยใหน้ กั เรยี นประสบความสำเรจ็ ในดา้ นจิตใจมากขนึ้
3. แบบฝึกทักษะช่วยเสริมให้ความรู้และทักษะทางภาษาคงทน โดยฝึกทันทีหลังจาก
นกั เรียนไดเ้ รยี นรูใ้ นเรอ่ื งน้ัน ๆ ฝึกซ้ำหลาย ๆ ครัง้
4. แบบฝึกทกั ษะใชเ้ ป็นเคร่ืองมือวัดผลการเรยี นหลังบทเรียนแตล่ ะคร้งั
31
5. แบบฝกึ ทกั ษะทีจ่ ัดทำเป็นรูปเล่มสามารถเก็บรักษาไวใ้ ช้ทบทวนด้วยตนเองได้
6. การให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะช่วยให้มองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน
ได้ชดั เจน ซึ่งจะชว่ ยใหค้ รดู ำเนินการปรบั ปรงุ แกไ้ ขปัญหาน้ัน ๆ ได้ทันทว่ งที
7. แบบฝึกทักษะที่ดีจัดทำขึ้นนอกเหนือจากเรื่องที่อยู่ในหนังสือเรียน จะช่วยให้เด็กได้
ฝึกอย่างเตม็ ที่
8. แบบฝึกทักษะที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อยแล้วจะช่วยครูประหยัดทั้งแรงงานและเวลา
ในการเตรียมสร้างแบบฝึกทักษะอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาลอกแบบฝึกทักษะจาก
ตำราเรยี น ทำใหม้ โี อกาสฝกึ ฝนทกั ษะต่าง ๆ มากข้นึ
9. แบบฝึกทักษะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะการจัดพิมพ์ที่เป็นรูปเล่มที่แน่นอนย่อม
ลงทุนต่ำกว่าที่จะพิมพ์ลงในไขทุกครั้งและนักเรียนสามารถบันทึกและมองเห็นความก้าวหน้าของ
ตนเองไดอ้ ยา่ งมีระบบ
จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับประโยชน์ของแบบฝึกทักษะสรุปได้ว่า ประโยชน์ของแบบฝึก
ทักษะควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยา พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กต้องมีจุดหมายที่แน่นอนว่าจะฝึก
ด้านใด เนื้อหาในแบบฝึกต้องไม่ยากเกินไป มีคำชี้แจงที่สั้น ๆ เข้าใจง่ายเหมาะสมกับวัย ความสนใจ
และความสามารถของผู้เรียนจะทำใหผ้ ู้เรียนได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าจากการฝึก การใช้แบบฝึกทักษะ
ประกอบการเรียนการสอนนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวครูและนักเรียนทำให้การเรียนการสอ น
มีประสิทธิภาพมากขน้ึ
4. งานวิจัยทเี่ กี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
สมพงษ์ ศรีพยาต (2553) ศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่องการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับคะแนนร้อยละ 80 เพื่อศึกษา
ความคงทนของความรู้ทางการเรียนภาษาไทยเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา
ปีที่ 1 เพื่อศึกษาความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้เรื่องการเขียน
สะกดคำ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำ แบบฝึก
เรื่องการเขยี นสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธเิ์ รือ่ งการเขยี นสะกดคำ และแบบสัมภาษณ์นักเรยี น
ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.90/86.75 แสดงว่าแบบฝึกการเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์
แบบฝึกการเรียนสะกดคำส่งผลให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าร้อยละ 80
32
ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ความคงทนทางการเรียนภาษาไทยเรื่องการเขียนสะกดคำของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนโดยชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ มีความคงทนในการจำไม่แตกต่างกัน
และนกั เรยี นมคี วามคดิ เหน็ ทีด่ ีในความยากง่ายของเนื้อหาและรปู แบบของชดุ แบบฝกึ
แสงระวี ประจวบวัน (2553) ศึกษาเรื่องการพัฒนาทักษะการเขียนความเรียง โดยใช้
แบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการแผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนความเรียง สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนด้านทักษะการเขยี นความเรยี ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้
แบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการแผนที่ความคิด และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัด
การเรยี นรูโ้ ดยใช้แบบฝกึ ทกั ษะที่ใชว้ ธิ ีการแผนท่ีความคิด กล่มุ ตวั อยา่ งไดแ้ ก่นกั เรียนช้ันประถมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนละเอียดอุปถัมภ์ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนที่ใช้แผนที่ความคิด แบบฝึกทักษะการเขียนความเรียง แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนความเรียง และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัด
การเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการเขียนความเรียงมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ
80.31/82.11 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียนความเรียง
สำหรับนกั เรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ 1 แตกต่างกันอยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติทีร่ ะดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การเขียนความเรยี งทใี่ ช้วธิ ีการแผนท่ีความคิด สำหรับนกั เรยี นชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 6 อยู่ในระดับมาก
รังษิมา สุริยารังสรรค์ (2555: 78-79) ศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ
พัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัด
เพชรบุรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูล
ท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อ
แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนปริยัติ
รงั สรรค์ อำเภอเมือง จงั หวดั เพชรบุรี จำนวน 53 คน เคร่อื งมือท่ีใช้ในการวจิ ัยได้แก่ แบบฝึกการอ่าน
จบั ใจความสำหรับนักเรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 1 โดยใชข้ ้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี แผนการจัดการ
เรยี นรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอา่ นจบั ใจความ และแบบสอบถามความคิดเหน็ ของนักเรียน
ที่มตี ่อแบบฝึกการอา่ นจับใจความโดยใชข้ ้อมูลท้องถนิ่ จงั หวดั เพชรบุรี
33
ผลการวิจัยพบวา่ 1) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝกึ การอ่านจับใจความ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี พบว่า แบบฝึกการอ่าน
จบั ใจความมีประสิทธิภาพเท่ากบั 83.26/82.50 2) ผลสัมฤทธ์กิ ารอา่ นจับใจความโดยใชข้ ้อมูลทอ้ งถิ่น
จังหวัดเพชรบุรสี ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการใชแ้ บบฝึกสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกอย่างมี
นัยสำคญั ทางสถติ ิท่รี ะดบั 0.01 และ 3) ผลการศกึ ษาความคดิ เห็นของนักเรียนทม่ี ีต่อการเรียนโดยใช้
แบบฝึกการอ่านจับใจความสำหรับนกั เรยี นช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวดั เพชรบุรี
ในภาพรวมนักเรียนเห็นดว้ ยระดบั มากทีส่ ดุ
ไชยวัฒน์ อารีโรจน์ (2557: 100- 101) ศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูด
รายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนา
แบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดรายงานการศึกษา
ค้นคว้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษา
ค้นคว้ากับเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิสุทธรังสี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ที่กำลังศึกษาใน
ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2556 จำนวน 45 คน เครื่องมอื ท่ีใชใ้ นการวิจัยคร้ังน้ีประกอบด้วย 1) แบบ
ฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการ
เรยี นรแู้ บบ Backward Design เรอ่ื งการพดู รายงานการศึกษาค้นคว้า 3) แบบประเมนิ ความสามารถ
ด้านการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก
ทักษะการพดู รายงานการศกึ ษาค้นคว้า
ผลการวิจัยพบวา่ 1) แบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชนั้
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.24/ 85.46 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
แสดงว่าแบบฝกึ ทักษะพดู รายงานการศึกษาคน้ คว้ามีประสิทธิภาพท่ยี อมรับได้ตามสมมติฐานของการ
วิจัยข้อที่ 1 2) ความสามารถด้านการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้ามีค่าเทา่ กบั รอ้ ยละ 85.46 สูงกว่าเกณฑ์
การประเมินร้อยละ 80 อย่างมีนยั สำคัญทางสถติ ิท่ีระดับ .05 ซงึ่ สอดคลอ้ งกับสมมติฐานของการวิจัย
ข้อที่ 2 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการพูด
รายงานการศึกษาคน้ ควา้ ท่ีผ้วู ิจัยสรา้ งข้ึนโดยภาพรวมมคี ่าเฉล่ียเท่ากับ 4.79 สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐาน
เท่ากับ 0.47 แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นต่อแบบฝึกทักษะการพูดรายงาน
การศกึ ษาค้นควา้ อยใู่ นระดับมากทีส่ ดุ
34
4.2 งานวจิ ัยตา่ งประเทศ
Bibi (2002) ได้ทำการศึกษาประสิทธิผลการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่เรียน
โดยความช่วยเหลือของครูในการใชต้ ำราและการเรียนโดยการใช้กจิ กรรมกลุ่มเพื่อศึกษาว่าทั้งสองวิธี
วิธใี ดมีผลกระทบด้านบวกต่อผลสมั ฤทธ์ิของนักเรยี นในระดับประถมศึกษาและมธั ยมศึกษาในประเทศ
ปากีสถาน ในด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนและความคงทนในการเรียนรู้ในเรื่องการใช้
โครงสร้างทางภาษาและการนำไปใช้ โดยการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนหญิงชั้นปีที่ 6
และปีที่ 9 จากเมืองเดลา อิสเมล คาน ที่ได้รับการสุ่มอย่างง่าย โดยแต่ละชั้นมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ครูผู้สอนของทั้งสองห้องมีความคล้ายคลึงกันในด้านคุณวุฒิการศึกษา
อายุ การอบรม ประสบการณ์ในการสอน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ชื่อเสียงในโรงเรียน
การทดลองเป็นแบบ Pretest–posttest Equivalent Design มีการทดสอบก่อนเรียนทำการทดลอง
สอนชั้นปีที่ 6 จำนวน 6 บทและชั้นปีที่ 9 จำนวน 5 บท ใช้เวลาในการทดลองประมาณ 1 เดือน
กลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบอุปนัย กลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบนิรนัย ผลการศึกษาพบว่า
กิจกรรมกลุม่ มผี ลตอ่ การพฒั นาทักษะการเขียน การพดู การอา่ นและการฟัง ความคงทนในการเรียนรู้
การใช้โครงสร้างทางภาษาการนำกฎไวยากรณ์ไปใช้ ทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
นกั เรยี นมที ัศนคตทิ างบวกต่อกิจกรรมกลมุ่
Clanton (2002) ได้ศึกษาถึงผลของวิธีการตัดอักษรตามวิธีสะกดคำ โดยให้นักเรียน
ทำแบบฝึกชนิดที่ลบอักษรออกจากคำ แล้วให้นักเรียนเติมอักษรที่หายไปทำการทดลอง 3 สัปดาห์
สัปดาห์ละ 4 แบบฝึก โดยทดลองกับนักเรียน ระดับ 6 และ 7 จำนวน 194 คน ผลการวิจัยพบว่า
คะแนนการทดสอบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนกลุ่มทดลองหลังการฝึกสงู
กวา่ กอ่ นการฝกึ
Schwendinger (2002) ได้ศึกษาผลการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 จำนวน 503 คน โดยใช้แบบฝึกที่รูปภาพเหมือนของจริง แบบเขียนตามคำบอกและ
แบบทดสอบการเขียนสะกดคำ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกที่มีรูปภาพเหมือน
ของจรงิ มผี ลสัมฤทธ์ทิ างการเขยี นสะกดคำสูงกว่านกั เรียนที่เรียนโดยไม่ไดใ้ ช้รปู ภาพเหมอื นจริง
Curtis (2006) ได้ศึกษาผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้นวัตกรรมในการสอน
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนที่เรียนวิชาพีชคณิตเป็นวิชาพื้นฐานของ
ครศุ าสตร์ จากแบบรายงานในระดับประเทศที่มีการเปล่ยี นแปลงการสอนเปน็ รูปแบบ K-12 ในชุมชน
ที่มีความจำเปน็ ก่อน โดยกล่มุ หน่ึงใหเ้ รยี นโดยใชว้ ธิ สี อนแบบอปุ นัย ส่วนอีกกล่มุ หนงึ่ ใหเ้ รยี นโดยใช้วิธี
สอนแบบปกติ เมื่อสอบถามนักเรียนในเรื่อง เจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์พบว่า นักเรียนที่ใช้วิธี
การเรียนแบบปกติจะมีความวิตกกังวล ขาดแรงจูงใจในการเรียนมากกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอน
แบบอุปนัยและเมื่อจบภาคเรียนจะแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม โดยมีเกณฑ์การแบ่งจากการดู
35
ระดับผลการเรียนและพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ปรากฏว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอน
แบบอุปนัยจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงกว่าและมีความสนุกสนานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
มากกว่านกั เรยี นทเ่ี รยี นด้วยวธิ ีปกติ
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกทักษะเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาความสามารถพัฒนา ความสามารถในการอ่านจับ
ใจความสำคัญของนักเรียนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะนั้นเป็นกิจกรรม
ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการลงมือกระทำเองจนกระทั่งเกิดความรู้ใหม่ขึ้น ใช้การเชื่อมโยง ตัวอย่าง วิเคราะห์
และมีการสรุปเป็นหลักการ มีความสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังน้ัน
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะจึงเป็นนวัตกรรมที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ของการเรียนการสอนให้สูงข้ึน
36
บทที่ 3
วิธีดำเนนิ การศกึ ษา
การศึกษาเรื่องการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน
ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 โดยใชแ้ บบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ มวี ตั ถปุ ระสงค์เพื่อ 1) สร้างและ
หาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะารอ่านจับใจความสำคัญ
และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนกั เรียนชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 1 ทีม่ ีตอ่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นการวิจัยแบบแผนการทดลองขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental
Design) แบบหนึ่งกลุ่ม สอบก่อนและสอบหลัง (One Group Pretest- Posttest Design) (มาเรียม
นลิ พันธ,ุ์ 2555: 144) ซึ่งมแี บบแผนการทดลอง ดงั แผนภมู ทิ ี่ 2
T1 X T2
แผนภูมทิ ่ี 2 แสดงแบบแผนการทดลองแบบการทดลองขั้นพนื้ ฐาน
เม่อื T1 แทน การทดสอบก่อนทำการทดลอง (Pre-test)
X แทน การทดลองโดยใชก้ ิจกรรมการเรยี นรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะ
การอ่านจบั ใจความสำคัญ
T2 แทน การทดสอบหลงั การทดลอง (Post-test)
ขัน้ ตอนการศกึ ษา
ขั้นตอนที่ 1 ข้ันเตรียมการศึกษา
1. ศึกษาข้อมลู เบอ้ื งต้น
2. ประชากรและกลุม่ ตวั อย่าง
3. ตัวแปรทใี่ ชใ้ นการศกึ ษา
ขั้นตอนที่ 2 ข้นั สร้างและหาคณุ ภาพเครอ่ื งมอื
1. เครื่องมอื ท่ีใชใ้ นการทดลอง
2. การสร้างและหาคณุ ภาพเครื่องมอื
ข้นั ตอนท่ี 3 ข้ันดำเนนิ การศึกษา
1. ขนั้ กอ่ นทดลอง
2. ข้นั ทดลอง
3. ขั้นหลงั การทดลอง
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นวิเคราะห์ขอ้ มูล
โดยมีรายละเอียดดังนี้
36
37
ขน้ั ตอนที่ 1 ขั้นเตรยี มการศึกษา
1. ศกึ ษาข้อมูลเบือ้ งตน้
1.1 ศกึ ษาเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ ทางการศึกษาที่เกีย่ วกับนโยบายทางการศึกษา
ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 เอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกทักษะ และการอ่าน
จบั ใจความสำคญั
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ระดับชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1
1.3 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ทีเ่ ก่ยี วกับการสร้างแบบฝึกทักษะ
1.4 นำขอ้ มลู ที่ได้จากข้อ 1-3 มาวเิ คราะห์ เพอ่ื กำหนดเปน็ โครงสร้างของเคร่ืองมือ
และขอบเขตของเนอื้ หา เพอ่ื สรา้ งแผนการจัดการเรยี นรู้ แบบฝึกทกั ษะ และแบบทดสอบ
2. ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง
2.1 ประชากร
ประชากรทใ่ี ช้ในการศึกษาครงั้ นี้ ไดแ้ ก่ นักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียน
เทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่ในภาคเรียน
ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 95 คน โดยทุกห้องเรียนจัดนักเรียน
แบบคละความสามารถ
2.2 กลมุ่ ตวั อยา่ ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่
ในภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งไดม้ าโดยการสุ่มแบบกล่มุ (Cluster Random
Sampling) โดยใชห้ ้องเรียนเป็นหนว่ ยส่มุ
3. ตวั แปรทศ่ี กึ ษา
3.1 ตวั แปรตน้ (Independent Variable)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับ
นักเรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables)
3.2.1 ความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ี่ 1
3.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัด
การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทกั ษะการอ่านจับใจความสำคัญ
38
ขน้ั ตอนที่ 2 ข้ันสรา้ งและหาคุณภาพเครอ่ื งมือ
1. เคร่อื งมือท่ีใชใ้ นการทดลอง
1.1 แผนการจดั การเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
1.2 แบบฝกึ ทักษะการอา่ นจบั ใจความสำคญั
1.3 แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
1.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัด
การเรยี นรู้โดยใช้แบบฝกึ ทักษะการอ่านจับใจความสำคญั
2. การสร้างเคร่ืองมือ
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอา่ นจับใจความสำคัญ ผู้ศึกษาได้สร้างแผนการ
จดั การเรียนรูต้ ามขัน้ ตอนดงั นี้
2.1.1 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จากหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551
2.1.2 ศกึ ษาหลักการสอน วธิ ีการสอน เพอ่ื ใชก้ ับนักเรยี นในกล่มุ ตวั อย่าง
2.1.3 วิเคราะห์เนื้อหาและตัวชี้วัด จากสาระที่ 1 การอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยเพ่อื เขียนจดุ ประสงค์การเรยี นรสู้ ำหรับนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 1
2.1.4 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งมีแผนการจัดเรียนรู้ 10 แผน รวม 10 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียด
ตามตารางที่ 3
ตารางท่ี 3 การกำหนดเนื้อหาในการทดลอง
รายการ เน้อื หา เวลา/ชวั่ โมง
ทดสอบก่อนเรยี น 1
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 1 สนกุ สนานกับนทิ าน 1 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 สนกุ สนานกับนิทาน 2 1
แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 3 เริงสราญบทเพลง 1 1
แผนการจัดการเรยี นรู้ที่ 4 เริงสราญบทเพลง 2 1
แผนการจดั การเรียนรู้ท่ี 5 ครื้นเครงสารคดี 1 1
แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 6 คร้ืนเครงสารคดี 2 1
แผนการจดั การเรยี นรู้ที่ 7 เปรมปรีดิ์เรื่องส้ัน 1 1
แผนการจดั การเรียนรู้ที่ 8 เปรมปรีด์ิเรอื่ งสัน้ 2 1
แผนการจดั การเรยี นรู้ท่ี 9 สุขสันต์กับโฆษณา 1 1
แผนการจัดการเรยี นรู้ท่ี 10 สุขสนั ต์กบั โฆษณา 2 1
ทดสอบหลงั เรยี น 1
39
ซึ่งมสี ว่ นประกอบของแผนการจดั การเรยี นรดู้ ังนี้
1. สาระสำคญั
2. จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้
3. คุณลกั ษณะทีต่ ้องการพัฒนา/คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์
4. สาระการเรยี นรู้/เน้ือหา
5. การจดั กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ร่วมกบั แบบฝกึ ทกั ษะการอ่านจับใจความสำคัญ
6. ส่อื การเรียนการสอน
7. การวดั ผลและการประเมินผล
2.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ่ี 1/1 และชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1/2 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ทไ่ี ม่ใชก่ ลมุ่ ตัวอยา่ ง
2.1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้เปน็ เคร่ืองมือในการศกึ ษา
2.2 แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ผู้ศึกษาได้สร้างแบบฝึกทักษะ
การอ่านจบั ใจความสำคญั ตามข้นั ตอนดังนี้
2.2.1 ศกึ ษาแนวคิด ทฤษฎแี ละงานวจิ ัยท่ีเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะ
2.2.2 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 1 และตัวชวี้ ดั
2.2.3 ศึกษาเอกสารการสร้างแบบฝึกทักษะ วิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยและตัวช้วี ดั
2.2.4 กำหนดจุดประสงค์ของแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้น สำหรับนักเรียน
ช้ันมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ดงั นี้
1. เพอื่ ใหน้ กั เรยี นตอบคำถามเกย่ี วกบั เรือ่ งได้
2. เพ่ือใหน้ ักเรียนสรปุ ใจความสำคญั ของเรอื่ งได้
2.2.5 ศึกษาแบบแผนและแนวทางการจัดสร้างแบบฝึกทักษะ จากหนังสือ
แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ นำมาประยุกต์ ออกแบบสร้างแบบฝึกทักษะ ทั้งนี้ผู้ศึกษาสร้าง
แบบฝึกทักษะจำนวน 5 เลม่ ดงั นี้
1. เล่มที่ 1 เรอ่ื งการอ่านจับใจความนทิ าน
2. เลม่ ท่ี 2 เรอ่ื งการอา่ นจบั ใจความบทเพลง
3. เล่มที่ 3 เรอื่ งการอา่ นจบั ใจความสำคัญสารคดี
4. เลม่ ที่ 4 เรื่องการอ่านจบั ใจความเร่ืองสนั้
5. เลม่ ท่ี 5 เรอ่ื งการอ่านจับใจความสำคัญบทโฆษณา
2.2.6 นำแบบฝกึ ทกั ษะท่ีสรา้ งขึน้ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตรวจสอบความถูกต้องของ
เนื้อหา (Content Validity) และมาปรับปรุงแก้ไข ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง
40
เนื้อหาและจุดประสงค์ของแบบฝึกทักษะ (Index of Item Objective Congruence: IOC) โดยให้
ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสถิติและการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และผู้เชี่ยวชาญ
ด้านแบบฝึกทักษะ พิจารณาและใหค้ ะแนนดังนี้
+1 แนใ่ จวา่ แบบฝึกทักษะสอดคล้องกบั จดุ ประสงค์การเรียนรู้
0 ไมแ่ นใ่ จวา่ แบบฝกึ ทกั ษะสอดคล้องกบั จุดประสงค์การเรยี นรู้
-1 แนใ่ จวา่ แบบฝึกทกั ษะไม่สอดคลอ้ งกับจดุ ประสงค์การเรยี นรู้
ซ่งึ ดัชนีความสอดคล้องมีค่าเฉล่ียเทา่ กับ .5 ขึน้ ไป จึงจะถือว่าแบบฝกึ ทกั ษะมีคณุ ภาพ
ท ั ้ ง น ี ้ ผ ล ก า ร ว ิ เ ค ร า ะ ห ์ ค ่ า ด ั ช นี ค ว า ม ส อ ด ค ล ้ อ ง ร ะ ห ว ่ า ง เ น ื ้ อ ห า แ ล ะ จ ุ ด ป ร ะ ส ง ค์
ของแบบฝกึ ทกั ษะของผเู้ ช่ียวชาญ 3 คน มคี ่าเท่ากบั 1.00 (ดรู ายละเอยี ดในภาคผนวก ค: 80)
2.2.7 นำแบบฝึกทักษะซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพ ไปหาประสิทธิภาพ E1/E2
กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห)์ เป็น 3 กลุม่ โดยใชใ้ นขั้นการนำไปใช้ คือ
1. การหาประสิทธิภาพรายบุคคล (IndividualTryout) ผู้ศึกษานำแบบฝึกทักษะ
ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาล 3
(เทศบาลสงเคราะห์) ที่ไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อนและไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
จากนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 4 หรือ 3 จำนวน 1 คน ผลการเรียนระดับ 2 จำนวน 1 คน และ
ผลการเรียนระดับ 1 จำนวน 1 คน กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) นำผลที่ได้มาหา
ขอ้ บกพร่องของแบบฝึกทักษะและปรบั ปรุงแก้ไขต่อไป
2. การหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มยอ่ ย (Small group Tryout) ผู้ศึกษา
นำแบบฝึกทักษะที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปทดลองกับนักเรียนจำนวน 9 คน โรงเรียนเทศบาล 3
(เทศบาลสงเคราะห์) ที่ไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อนและไม่ใช่กลุ่มเดิม โดยการเลือกแบบเจาะจง
จากนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 4 หรือ 3 จำนวน 3 คน ผลการเรียนระดับ 2 จำนวน 3 คน
ผลการเรียนระดับ 1 จำนวน 3 คน กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) เพื่อหาข้อบกพร่อง
ของแบบฝกึ ทกั ษะแล้วนำไปปรบั ปรงุ แก้ไขอกี ครง้ั
3. การหาประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Try Out) โดยนำ
แบบฝึกทกั ษะท่ีไดร้ ับการปรับปรุงแก้ไขแลว้ ไปทดลองกบั นักเรยี นจำนวน 53 คน โรงเรียนเทศบาล 3
(เทศบาลสงเคราะห์) ที่ไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อนและไม่ใช่กลุ่มเดิม โดยการเลือกแบบเจาะจง
จากนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 4 หรือ 3 จำนวน 16 คน ผลการเรียนระดับ 2 จำนวน 24 คน
ผลการเรียนระดับ 1 จำนวน 13 คน กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) จากนั้นนำแบบฝึกทักษะ
ที่ไดร้ บั การปรบั ปรงุ แก้ไขไปใช้กบั กลุ่มตวั อย่างต่อไป
2.2.8 ผู้ศึกษานำแบบฝึกทักษะซึ่งได้รับการตรวจสอบประสิทธิภาพแล้ว
ตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอน ข้างต้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3
41
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) จำนวน 30 คน โดยใช้
ในขัน้ การนำไปใช้ เพ่อื พิสูจน์สมมติฐานการศกึ ษาและเพ่ือตอบวัตถุประสงคก์ ารศึกษา
ขัน้ ตอนการสรา้ งแผนการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะดงั แผนภูมิที่ 3
ศกึ ษาหลักสตู รกลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาไทย ช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1
จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551
ศกึ ษาหลักการสอน วิธีการสอน และการสร้างแบบฝกึ ทักษะ
วิเคราะหเ์ น้อื หาและตัวช้วี ดั จากสาระที่ 1 การอ่าน กลุม่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย
เพ่ือเขียนจดุ ประสงคก์ ารเรียนรสู้ ำหรับนักเรยี นชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 1
เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน แผนละ 1 ชวั่ โมง และสรา้ งแบบฝกึ ทักษะ
จำนวน 5 เลม่
เสนอแผนการจัดการเรยี นรู้และแบบฝึกทักษะต่อผเู้ ชยี่ วชาญ จำนวน 3 คน เพ่ือตรวจสอบ
ความถูกต้องด้านภาษา ด้านแบบฝึกทักษะ และดา้ นการวัดและประเมินผลหาคา่ IOC
ปรบั ปรงุ แผนการจดั การเรียนรู้ และแบบฝึกทักษะตามคำแนะนำของผู้เช่ียวชาญ
นำแผนการจัดการเรยี นรู้และแบบฝกึ ทักษะไปทดลองใช้กบั นกั เรียน
ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1/1 และชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี 1/2 โรงเรยี นเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์)
ทีไ่ ม่ใช่กลมุ่ ตวั อย่าง
เพอ่ื หาประสทิ ธภิ าพ E1/E2 กลุ่มรายบุคคล กลมุ่ ย่อย และกลุ่มภาคสนาม
นำแผนการจดั การเรยี นรู้และแบบฝึกทักษะไปใช้เป็นเคร่อื งมือในการศึกษา
แผนภมู ิที่ 3 สรปุ ขนั้ ตอนการสรา้ งแผนการจัดการเรยี นรู้ และแบบฝึกทักษะ
2.3 แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้ศึกษาได้สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
ตามขน้ั ตอนดงั น้ี
2.3.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย ช้นั มธั ยมศึกษาปที ี่ 1
2.3.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธีการสร้างเครื่องมือวัดความสามารถ
ในการอ่านจบั ใจความสำคัญ วิเคราะหเ์ นื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
42
2.3.3 สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร (Test Blueprint) โดยศึกษาจากเนื้อหา
และจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งข้อคำถามสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และครอบคลุมเนื้อหา
ในแบบฝึกทักษะและแผนการจดั การเรียนรทู้ ก่ี ำหนดไว้
2.3.4 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
ฉบับร่าง เปน็ แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบบั รวม 60 ข้อ
5. เสนอแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจบั ใจความสำคญั ใหผ้ ู้เชย่ี วชาญ 3 คน
ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบทดสอบ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและ
ประเมินผลการศึกษา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ความสอดคล้อง
ของแบบทดสอบกับตัวชี้วัด เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC (Index of Item Objective
Congruence : IOC) โดยใชเ้ กณฑ์กำหนดความคิดเหน็ ดังนี้
+1 แนใ่ จวา่ ขอ้ คำถามมีความสอดคล้องกับตัวช้ีวัด
0 ไม่แน่ใจว่าคำถามนนั้ สอดคลอ้ งกับตัวชว้ี ัดหรือไม่
-1 แนใ่ จว่าข้อคำถามไมส่ อดคลอ้ งกับตัวชี้วดั
ซงึ่ ดชั นีความสอดคล้องมีค่าเฉลี่ยเทา่ กับ .5 ขึ้นไป จึงจะถอื ว่าแบบทดสอบมีคุณภาพ
ผลของการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าเท่ากับ 1.00 แสดงให้เห็นว่า
แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญมีความถูกต้องมีความเที่ยงตรง สามารถ
ใชไ้ ด้
7. คัดเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ .5 ขึ้นไปและปรับปรุงแก้ไขแล้วจำนวน 30 ข้อ
ไปทดลอง (Try Out) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือกับนักเรียนที่เคยเรียนเนื้อหานี้มาแล้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 75 คน ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียน
เทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) ทไี่ มใ่ ช่กลุม่ ตัวอย่าง
8. ตรวจคำตอบแบบทดสอบข้อที่ถูกต้องให้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบผิดได้ 0 คะแนน
ข้อท่ไี มไ่ ด้ทำและขอ้ ที่ตอบมากกวา่ 1 คำตอบ ให้ 0 คะแนน
9. นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์รายข้อ โดยตรวจคะแนนของแบบประเมินมาหา
ความยากง่าย (p) และหาค่าอำนาจจำแนก (r) เป็นรายข้อ (Item Analysis) โดยเลือกข้อสอบ
ที่มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง .20-.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) ที่มีค่าตั้งแต่ .20 ขึ้นไป
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538: 217-218) คัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่าย (p)
ตั้งแต่ .20-.80 ขึ้นไป และอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .20 ขึ้นไป จำนวน 30 ข้อ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่ม
ตัวอยา่ งตอ่ ไป
ผู้ศึกษาได้คัดเลือกแบบทดสอบเพื่อใช้ในการศึกษาครั้งนี้โดยพิจารณา คัดเลือก
แบบทดสอบทม่ี ีผลของการทดสอบค่าความยากงา่ ย (p) ของแบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับ
ใจความสำคัญ มีเกณฑ์อยูร่ ะหว่าง 0.60 -0.88 และคา่ อำนาจจำแนก (r) มีเกณฑอ์ ยรู่ ะหวา่ ง 0.21- 0.79 ซึ่งถือได้ว่า
แบบทดสอบได้คณุ ภาพตามเกณฑ์ (ดูรายละเอียดในภาคผนวกค: 81) สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และ