The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ รักษ์มณี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sakdithach.ch, 2021-09-17 16:23:00

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ รักษ์มณี

สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศิลป

เน่อื งในโอกาสเกษียณอายงุ าน
“รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี”

30 กนั ยายน 2564

ชอื่ หนังสือ: สมญานามเกยี รตกิ อ้ งวรรณศิลป์

จดั พิมพโ์ ดย: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

บรรณาธิการ: ผศ.ดร.บญุ เลศิ วิวรรณ์

ขอ้ มูลทางบรรณานกุ รมของสำนักหอสมุดแหง่ ชาติ
พมิ พ์คร้ังที่ 1 กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อนิ เตอร์คอร์ปอเรชนั่ , 2564__140 หนา้ .
ISBN : 978-616-586-421-3
สงวนลิขสทิ ธิ์ หา้ มคัดลอก จัดพิมพ์ หรือทำซ้ำรวมทั้งดัดแปลงเป็นสือ่ อน่ื ๆ ก่อนได้รบั อนญุ าต

พมิ พค์ ร้งั ท่ี 1: กันยายน พ.ศ.2564

สำนกั พมิ พ:์ PROTEXTS.COM
บริษัท แดเนก็ ซ์ อนิ เตอร์คอร์ปอเรชัน่ จำกัด
99/164 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลกั ส่ี กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศพั ท์ 02-575-1791-3 โทรสาร 02-575-1791-3 ต่อ 16
Website:www.Protexts.com E-mail:[email protected]
Line ID: protextsFacebook:www.facebook.com/protexts

บทบรรณาธกิ าร

หนังสือที่ระลึก “สมญานาม เกียรติกองวรรณศิลป” ฉบับนี้ เปนหนังสือที่มีจุดประสงคเ ชิดชู
เกียรติอาจารยผูมีบทบาทสำคัญตั้งแตอดีต-ปจจุบันในภาควิชาภาษาไทย ตลอดระยะเวลา 26 ป
ในการปฏิบัติงานของ “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ในโอกาสที่จะเกษียณอายุงาน
ปงบประมาณ 2564 (30 กนั ยายน 2564) โดยความดำรขิ อง “รองศาสตราจารย ดร.วิไลศกั ด์ิ กง่ิ คำ”
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎบี ณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร พรอมทั้งคณะผูบ ริหาร
คณาจารย นิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา อีกทั้งนิสิตเกาภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร นำโดย “ผูชวยศาสตราจารย ดร.บุญเลิศ วิวรรณ”
ไดพ รอมใจกันจัดทำขึน้ เปน “วรรณกรรมบูชา” แด “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รกั ษมณ”ี

เนื้อหาสาระในหนังสือ “สมญานาม เกียรติกองวรรณศิลป” นี้ ประกอบดวยสวนประกอบ
3 สวน ไดแก สวนที่ 1 คือ “ปฐมบท” กลาวถึงประวัติสวนตัว ผลงานทางวิชาการ การเปนอาจารย
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ และภาพกิจกรรมของ “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” สวนที่ 2
คือ “มัชฌิมบท” จะไดกลาวถึงถอยคำ “นานาทรรศนะ” ของคณะผูบริหาร คณาจารย นิสิตปจจุบัน
และนิสิตเกา ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร ที่ไดพรรณนาลิขิตเพื่อสดุดีและอนุสรณแด
“รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี” และสว นท่ี 3 คือ “ปจ ฉมิ บท” เปนการรวบรวมบทความ
วจิ ัย และบทความวิชาการของคณาจารย นักวชิ าการ และมวลศิษยานศุ ษิ ย

การจัดทำหนังสือ “สมญานาม เกียรติกองวรรณศิลป” นี้ คณะบรรณาธิการไดตั้งชื่อหนังสอื
โดยขออนุญาตใชสวนหนึ่งของนาม “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ซึ่งเปนที่ประจักษ
ในแวดวงวชิ าการดาน “ภาษาวรรณศิลป” จงึ มีชอ่ื หนังสือดังกลา ว โดยไดร ับงบประมาณในการจัดทำ
จากโครงการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และโครงการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
ภาษาไทย โดยมี “รองศาสตราจารย ดร.โกวิทย พิมพวง” และ “รองศาสตราจารย ดร.วิไลศักด์ิ
กิ่งคำ” เปนประธานตามลำดับ อีกทั้งการจัดเรียบเรียงเนื้อหาและรูปเลมในครั้งนี้ นิสิตเกา
ภาควิชาภาษาไทย คือ “นายปฏิภาณ วิเศษวัชร, นางสาวชุติกาญจน ภูระหงษ และนายธรรมรัตน
อินทรปาน” ซึ่งเปนบณั ฑิตจากหลักสูตรศลิ ปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ไดมีสวนรวมในคณะ
บรรณาธิการและสรา งสรรคหนังสอื ที่ระลกึ ฉบบั นี้ จนสำเร็จลุลวงไดดว ยดี จึงขอขอบพระคุณทุกทาน
ไว ณ โอกาสนี้ หวังเปนอยางยิ่งวา หนงั สือที่ระลกึ ในโอกาสเกษียณอายุงานฉบบั นี้ จะเปนศูนยรวมให
เราไดระลึกถึงพระคุณของแมพิมพ นามวา “รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี” ตลอดไป

คณะบรรณาธิการ

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : ข

สุนทรพจี

จากคณบดีคณะมนุษยศาสตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร
“รองศาสตราจารย ดร.กิตมิ า อนิ ทรมั พรรย”

“รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี” เปน ผูทที่ ำคุณประโยชนใหแกคณะมนุษยศาสตร
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ตลอดมา โดยเฉพาะดานการอนุรักษภาษาไทยและการประพันธ
บทอาศิรวาทเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริยและพระบรมวงศานุวงศทุกพระองค ตามที่ไดรับ
มอบหมาย

โดยสวนตัวแลวดิฉันไดรับความเมตตาและความอนุเคราะหจาก “รองศาสตราจารย
ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ในดานการประพันธบทกลอนเพื่อรำลึกถึงบุพการีที่เคารพรักถึง 3 วาระ
ตั้งแตครั้งการจัดทำอนุสาวรียคุณปู “ศาสตราจารยบุญ อินทรัมพรรย” งานรำลึกพระคุณคุณยาย
“คุณหญิงเล่ือน เทพหสั ดิน ณ อยุธยา” และคุณแม “รองศาสตราจารยวลัย อนิ ทรมั พรรย” ผูลวงลับ
ทำใหรูสกึ ซาบซงึ้ ใจเปนอยางย่ิงทกุ ครงั้ ท่ีนึกถงึ

ในวาระที่ “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” เกษียณอายุงานในปงบประมาณ
2564 นี้ ดิฉัน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ชวยปกปองคุมครองให
“รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเขมแข็ง มีความสุข
แวดลอ มดว ยญาติมิตรและศษิ ยร กั ตลอดไป

Ùǰ ǰđîęČĂÜĔîēĂÖćÿđÖþĊ÷èĂć÷Üč ćîǰøĂÜýćÿêøćÝćø÷ǰŤ éø ÿöđÖĊ÷øêĉǰǰøĆÖþŤöèĊ

สารบัญ หนา

บทบรรณาธิการ................................................................................................. ก
สนุ ทรพจี จากคณบดคี ณะมนษุ ยศาสตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร................. ข
สารบัญ............................................................................................................. ค

ปฐมบท : ประวัติ ผลงาน กจิ กรรม หนาที่...................................................... 1
ประวัตกิ ารศกึ ษา........................................................................................ 2
ภาระหนา ท่ใี นภาควชิ าภาษาไทย................................................................ 2
งานบรกิ ารสังคม......................................................................................... 2
ความเช่ยี วชาญ........................................................................................... 2
ผลงานวิชาการดา นหนังสอื /ตำรา............................................................... 3
ผลงานวิชาการดานบทความท่มี ีการตพี มิ พใ นวารสารระดบั ชาต.ิ ............... 3
วนั วานของการปฏิบัตงิ านดานแมพ มิ พ....................................................... 5
วิทยานิพนธในตำแหนงอาจารยท ีป่ รึกษาหลัก............................................ 7
พจนานสุ รณ โดย รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี..................... 18

มชั ฌมิ บท : นานาทรรศนะ................................................................................. 23
รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี กับพัฒนาการของภาควิชา
ภาษาไทยในความทรงจำของขาพเจา โดย รองศาสตราจารย 24
ดร.วิไลศักด์ิ กิง่ คำ......................................................................................
28
สุนทรพจี สดุดีครูวรรณศิลป โดย ผูชวยศาสตราจารย ดร.บุญเลิศ 32
วิวรรณ........................................................................................................ 36
ความทรงจำใตรมนนทรี โดย ผูชว ยศาสตราจารย ดร.รชั ดา ลาภใหญ..... 37
สมญานามเกียรติกองวรรณศลิ ป อาจารยมณฑา วริ ยิ างกูร...................... 38
อาจารยท ปี่ รึกษาวทิ ยานพิ นธของฉนั นางสาวทิพยว รรณ สสี นั ............... 39
แมพิมพผใู ห นางสาวสุธาทิพย แหงบญุ ..................................................... 41
ครผู ูไมเปน สองรองใคร นางสาววนิ ิตา ปราบภยั ..................................... 42
จากใจศิษย ถึงอาจารย เรอื อากาศโทหญิง ชลนิสา สภุ าวรรณพงศ ......... 43
ครภู าษาไทยท่ีขาพเจาไมเคยลมื นายธนสิทธ์ิ อำพินธ ............................. 44
จากใจศิษย ถึงอาจารย นางสาวธนิยา นันตสคุ นธ....................................
นานาทรรศนะ แด รศ.ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี ภสั รว รญิ ญ เอยี่ มสอาด.

เนื่องในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : ง

สารบัญ (ตอ ) หนา

นานาทรรศนะ วาระเกษียณกาล รองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ 45
รกั ษม ณี นางสาวจฬุ ารตั น ชัยพิทักษ ......................................................... 46
สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป นพาวรรณ ใจสขุ ……………………………
เลา-เรียน-รู จาก รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี 47
นางวิภาวี ฝา ยเทศ ..................................................................................... 49
รกั ครูครบั “รศ.ดร. สมเกียรติ รักษมณ”ี นายเจษฎายุทธ ประรวมพนั ธ.. 50
สมเกียรติ สมคณุ คา สมคำวา ครูของครู นายมหินทร สวุ รรณระ............
นานาทรรศนะเกี่ยวกับ รองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ รักษมณี 51
นางสาวปารชิ าต ชมชื่น.............................................................................. 52
นานาทัศนะตอ อาจารยสมเกียรติ รักษม ณี นางสาวทพิ วรรณ อินวนั นา.. 53
นานาทรรศนะแด รศ.ดร.สมเกียรติ รักษม ณี นายยุทธพงษ หอมขจร....... 54
55
นานาทรรศนะแด รศ.ดร.สมเกยี รติ รักษมณี นางสาวจนั ทรพ ร รตั นวาณชิ ยกลุ 56
นานาทรรศนะตอ อาจารยส มเกียรติ รกั ษมณี หทัยรัตน สิงหสถิต............ 57
นานาทรรศนะแด รศ.ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี นายปรัชญา ทองแพ ........ 59
นานาทรรศนะ นายจริ ัฐ กองแกว ............................................................. 60
เรียนอาจารยสมเกียรตทิ เ่ี คารพ Miss Lisha Yan ................................... 61
นานาทรรศนะ นางสาวทศพร ยอแซ ...................................................... 62
นานาทัศนะตออาจารยส มเกยี รติ รกั ษมณี Miss He Qian (แพร) .........
ครคู อื ผใู ห นายรฐั เขตต หริ ัญ ................................................................. 63

ปจฉิมบท : บทความวิชาการ แดอาจารยดา นวรรณศลิ ป.................................. 65
บทความเรื่อง “ผลงานอาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธสาขาวิชา
ภาษาไทยของรองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รกั ษมณี” โดย อาจารย 79
ดร.สุรยี ร ัตน บำรุงสุข.................................................................................
บทความเรื่อง “การเปรียบเทียบหนาที่และความหมายของคำในสมัย
สุโขทัยกับปจจุบัน” โดย นายวาภัช ตันติเวชวุฒิกุล, นายศักดิธัช
ฉ ม า ม ห ั ท ธ น า , Miss Yuhua Fang, Miss Zhou Xianmei, แ ล ะ
ผศ.ดร.บุญเลิศ ววิ รรณ................................................................................

Ýǰ ǰđîęČĂÜĔîēĂÖćÿđÖþĊ÷èĂć÷Üč ćîǰøĂÜýćÿêøćÝćø÷Ťǰéø ÿöđÖ÷Ċ øêĉǰǰøĆÖþŤöèĊ

สารบัญ (ตอ) หนา

บทความเรื่อง “อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัย : วัฒนธรรมและประเพณี 93
ตนแบบสูปจจุบัน” โดย นางสาวปาณิศา ธรรมชาติ, นางสาว
พิมปาณัสม อารยาพันธ, Miss Dao Jiangwen และ ผศ.ดร.บุญเลิศ 105
ววิ รรณ........................................................................................................ 123
บทความเรื่อง “อักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6: รูปแบบความ 131
เหมือน และความตา งจากลายสอื ไทและอักษรอริยกะ” ณัฐกจิ ศศธิ รฉาย 139

ธนภัค ไชยแพทย และMiss CHUNYAN LI.................................................................

บทความเรื่อง “เที่ยวบานดอนคา คุยเรื่องภาษาลาววียง : บันทึก
ประสบการณจากการลงพ้ืนที่ นางสาวสมปอง สิมมา.............................
บทความเรื่อง “การศึกษาการใชคำเรียกขานของคนสามระดับอายุ
ชาวลาวเวยี งที่ ตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”
นางสาวเนมิ อนุ ากรสวัสด์ิ.........................................................................

บรรณานุกรม.....................................................................................................

เนื่องในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : ฉ



ปฐมบท

(ประวตั ิ ผลงาน กจิ กรรม หนาท)่ี

เนือ่ งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 1

“รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี”

ประวตั ิการศึกษา
x Doctor of Philosophy (Ph.D. Social Science), Magadh University, India, 2561
x ปริญญาศกึ ษาศาสตรดษุ ฎบี ณั ฑติ (ศษ.ด. หลกั สตู รและการสอน), มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร, 2554
x ปริญญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต (ศศ.ม. การสอนภาษาไทย), มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร, 2528

x ปรญิ ญาการศกึ ษาศาสตรบณั ฑติ (กศ.บ. ภาษาไทย), มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ มหาสารคาม, 2522

ภาระหนาท่ีในภาควิชาภาษาไทย

x อาจารยผรู ับผดิ ชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพือ่ การส่ือสารสำหรับชาวตางประเทศ (ศศ.บ.)

x อาจารยประจำหลักสตู รปรชั ญาดุษฎบี ณั ฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (ปร.ด.)
x อาจารยประจำหลักสตู รศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (ศศ.ม.)
x อาจารยประจำหลักสตู รศิลปศาสตรบณั ฑติ สาขาวชิ าภาษาไทย (ศศ.บ.)
x คณะกรรมการฝา ยบณั ฑติ ศึกษา วจิ ัย และนวัตกรรม ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร

งานบริการสงั คม

x ผทู รงคณุ วุฒิตรวจผลงานวชิ าการ
x นายกสมาคมนักกลอนแหงประเทศไทย พ.ศ. 2561-2562
x นายกสมาคมนกั กลอนแหงประเทศไทย พ.ศ. 2563-ปจ จุบัน
ความเชีย่ วชาญ

ภาษาไทย, วรรณคดีไทย, เรื่องสั้นและนวนิยาย, การสอนภาษาไทย, การสอนภาไทย
ในฐานะภาษาตางประเทศ, ภาษาและวัฒนธรรมไทย, สังคมศาสตร (เนนไทยศึกษา), คติชนวิทยา
(เนนภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื )

2 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

ผลงานวิชาการดา นหนงั สือ/ตำรา

สมเกียรติ รักษมณี (บรรณาธิการ). 2549. หกสิบปกระเดื่องหลา ประเลงสวรรค. กรุงเทพฯ :
ภาควิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร.

สมเกยี รติ รกั ษมณี. 2551. ภาษาวรรณศลิ ป. กรงุ เทพฯ : สายน้ำใจ.

สมเกียรติ รักษมณี. 2558. การแตงนวนิยาย (Novel Writing). นนทบุรี : สัมปชัญญะ.
สมเกยี รติ รักษมณ.ี 2562. รักนะ...ภาษาไทย. กรงุ เทพฯ : แรบบทิ 4 พร้ินท จำกดั .

ผลงานวิชาการดานบทความที่มีการตพี ิมพใ นวารสารระดับชาติ

จักรพงษ เอี่ยมสอาด, สมเกียรติ รักษมณี และรุจิรา เสงเนตร. 2561. “การศึกษากลวิธีการใช
ภาษาไทยในไลทโนเวล.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย. 13, 1
(มกราคม-มิถุนายน): 23-32.

เมา ไห จง, สมเกียรติ รกั ษม ณี และบุญเลศิ ววิ รรณ. 2561. “การศกึ ษาเปรียบเทียบคำเรียกผีและการ
ตั้งชื่อผีในวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีของไทยกับจีน.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภฎั เชยี งราย. 11, 1 (มกราคม-เมษายน): 99-111.

ชัยวัฒน ไชยสุข และสมเกียรติ รักษมณี. 2559. “กลวิธีการใชภาษาและภาพสะทอนสังคมใน
วรรณกรรมบันเทิงคดี ของมกุฏอรฤดี.” วารสารวิชาการรมยสาร. 14, 1 (มกราคม-
เมษายน): 55-64.

บุณยเสนอ ตรีวิเศษ และสมเกียรติ รักษมณี. 2559. “พลังภาษาสรางอัตลักษณในวาทกรรมของ
เสกสรรค ประเสริฐกุล.” วารสารมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. 13, 2 (พฤษภาคม-
สิงหาคม): 57-106.

มณฑกาญจน สิทธิสาร และสมเกียรติ รักษมณี. 2558. “การศึกษาราชาศัพทในหนังสือ ‘สาสน
สมเดจ็ ’.” รมยสาร. 13, 1 (มกราคม-เมษายน): 163-174.

ทิพวรรณ สีสัน, สมเกียรติ รักษมณี และ บุญเลิศ วิวรรณ. 2564. “เพลงพื้นบานในจังหวัด
กำแพงเพชร : กลวิธีการใชคำและภาพพจน.” สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและ
สังคมศาสตร (สทมส.). 27,1 (มกราคม-มีนาคม): 190-203.

เน่อื งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 3

วินิตา ปราบภัย, บุญเลิศ วิวรรณ และสมเกียรติ รักษมณี. 2563. “สารคดีเชิงทองเที่ยววิถีไทยในอนุ
สาร อสท. : การพรรณนาความทีส่ งเสริมการทองเท่ียว.” วารสารมนุษยศาสตรสังคมศาสตร
ปริทศั น. 8, 1 (มกราคม-มถิ นุ ายน): 42-52.

สมเกียรติ รักษมณี. 2552. "พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานแก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร : การวิเคราะหเนื้อหาและกลวิธที างภาษา", Kasetsart Journal
(Social Sciences) (วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร สาขาสังคมศาสตร), ปที่ 30, ฉบับที่ 1,
พฤษภาคม - สงิ หาคม 2009, หนา 101-112.

สุธาทพิ ย แหงบญุ , สมเกยี รติ รกั ษมณี และรจุ ริ า เสงเนตร. 2563. "ความเปรียบสตรีในนวนิยายของ
กฤษณา อโศกสิน", สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร, ปที่ 26, ฉบับที่ 4,
ตุลาคม - ธันวาคม 2020, หนา 223-239.

นลินี อำพินธ และสมเกียรติ รักษมณี. 2557. "ชื่อบานนามเมืองจังหวัดบุรีรัมย: กรณีศึกษาอำเภอ
พุทไธสง นาโพธิ์ และบานใหมไชยพจน", รมยสาร, ปที่ 12, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม - ธันวาคม
2014, หนา 75-89.

ปย ะวตั ิ วังซา ย, สมเกยี รติ รักษม ณ.ี 2557. "สภาพการใชศ ัพทคำเมืองในพื้นทีภ่ าคเหนือตอนบนของ
ประเทศไทย: ตัวแปรวงศัพท", วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, ปที่ 5, ฉบับที่ 2,
กรกฎาคม - ธันวาคม 2014, หนา 83-106.

สมเกียรติ รักษมณี และมธุรส จงชัยกิจ. 2555. "การพัฒนาฐานความรูภาษาไทยในฐานะ
ภาษาตางประเทศ", วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ปที่ 9, ฉบับที่ 40,
มกราคม - มิถนุ ายน 2012, หนา 147-149

สมเกียรติ รักษมณี, บุญเหลือ ใจมโน, รุจิรา เส็งเนตร, สุพัตรา อินทนะ, และสมาน แกวเรือง, 2555.
"การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร", วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, ปที่ 5, ฉบับที่ 10,
ธนั วาคม 2011 - พฤษภาคม 2012, หนา 31-51

4 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

วนั วานของการปฏิบัติงานดานแมพมิ พ

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 5

6 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

วทิ ยานพิ นธใ นตำแหนงอาจารยทป่ี รกึ ษาหลกั
หลกั สตู รศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ
หลกั สตู รปรัชญาดุษฎบี ัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทย
(ต้ังแต พ.ศ. 2557- 2562)

เนอื่ งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 7

นลนิ ี อำพนิ ธ 2557: ชอ่ื บานนามเมืองจังหวัดบรุ ีรมั ย: กรณีศกึ ษาอำเภอพุทไธสง นาโพธิ์
และบา นใหมไ ชยพจน ปรญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย
ภาควชิ าภาษาไทยอาจารยท ่ีปรกึ ษาวิทยานพิ นธหลัก: ผชู วยศาสตราจารยสมเกียรติ
รกั ษม ณ,ี ศษ.ด. 298 หนา

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาที่มาและความหมายของชื่อหมูบาน กลวิธีการตั้งชื่อ
หมูบา น การเปลยี่ นแปลงการตั้งชื่อหมบู าน และอตั ลกั ษณทองถิ่นท่สี ะทอนผานชื่อหมูบาน ในอำเภอ
พุทไธสง นาโพธ์ิ และบานใหมไชยพจน จังหวดั บุรรี ัมย

ประชากรที่ใชในการวิจัย คือ ชื่อหมูบานในอำเภอพุทไธสง นาโพธิ์ และบานใหมไชยพจน
จังหวัดบุรีรัมย ผูวิจัยศึกษาขอมูลจากชื่อหมูบานทั้งหมด ที่ปรากฏในทำเนียบทองที่ของอำเภอ
พทุ ไธสงนาโพธิ์ และบานใหมไ ชยพจน จังหวดั บุรีรมั ย รวมจำนวน 188 ช่ือ

ผลการวิจัยมีดังตอไปนี้ 1) การศึกษาที่มาและความหมายของชื่อหมูบาน ชื่อหมูบานใน
อำเภอพุทไธสง นาโพธิ์ และบานใหมไชยพจน จังหวัดบุรีรัมย พบที่มาของชื่อหมูบานรวมทั้งหมด 12
ประเภท มากที่สุด คือ ลักษณะภูมิประเทศ รองลงมา คือ พรรณไม ตำนานหรือเรื่องเลา ทิศ ที่ต้ัง
สถานที่ถิ่นฐานเดิม ความเขาใจผิดของทางราชการหรือคนรุนหลัง สัตว ขนาด วัตถุ คติความเช่ือ
บุคคล และอาชีพ ตามลำดับ 2) การศึกษากลวิธีการตั้งชื่อหมูบานในอำเภอพุทไธสง นาโพธิ์ และ
บานใหมไชยพจน จังหวัดบุรีรัมย พบกลวิธี การตั้งชื่อหมูบาน 2 แบบ มากที่สุด คือ การใชคำ
ภาษาไทย ไดแก การประสมคำ และการใชคำมูล รองลงมา คือ การใชคำยืม ไดแก คำยืมภาษาเขมร
และคำยืมภาษาบาลสี นั สกฤต ตามลำดับ 3) การศกึ ษาการเปล่ียนแปลงการตั้งชื่อหมูบาน ช่ือหมูบาน
ในอำเภอพุทไธสง นาโพธิ์ และบานใหมไชยพจน จังหวัดบุรีรัมย พบการเปลี่ยนแปลงการตั้งช่ือ
หมูบา น 3 ลกั ษณะ มากท่ีสดุ คือ การเปล่ียนไปเปน ชื่อใหม รองลงมา คือ การเปล่ยี นแปลงศพั ท และ
การเปลี่ยนแปลงเสียง ตามลำดับ 4) การศึกษาอัตลักษณทองถิ่นที่สะทอนผานชื่อหมูบานในอำเภอ
พุทไธสง นาโพธิ์ และบานใหมไชยพจน พบวา มีความสัมพันธกับอัตลักษณทองถ่ิน 11 ประเภท มาก
ทส่ี ุด คอื ลกั ษณะภูมิประเทศ รองลงมา คอื ความหลากหลายของ พชื พรรณ การตั้งถิน่ ฐานใกลแหลง
น้ำ การบอกทิศทาง ที่ตั้ง หรือแสดงลักษณะเดนของหมูบาน ความเขาใจผิดของทางราชการหรือ
คนรุนหลัง รองรอยอารยธรรมโบราณ ความหลากหลายของสัตว ความสำคัญของพื้นที่ปา ความเชื่อ
ความเปน สริ ิมงคล ความสำคัญของบุคคล และอาชพี ตามลำดับ

8 : “สมญานาม เกยี รตกิ องวรรณศิลป”

ปย ะวัติ วังซาย 2557: สภาพการใชศพั ทคำเมืองในเขตอำเภอเมอื งของจงั หวดั ภาคเหนอื
ตอนบนปรญิ ญาปรัชญาดษุ ฎีบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย ภาควชิ าภาษาไทย
อาจารยทป่ี รึกษาวิทยานิพนธหลัก: ผชู ว ยศาสตราจารยสมเกียรติ รกั ษมณี, ศษ.ด. 341
หนา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาสภาพการใชศัพทคำเมืองในเขตอำเภอเมืองของ
จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตามความแตกตางดานหมวดคำและวงศัพท และตามความแตกตางของ
ผูพูดในสังคมดานเพศ วัย และถิ่นที่อยู เก็บขอมูลโดยการนำหนวยอรรถที่คัดเลือกไวจำนวน 259
หนวยอรรถไปสัมภาษณผูบอกภาษาที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑที่กำหนด จำนวน 144 คน จากน้ัน
จงึ นำขอ มูลท่ไี ดมาวเิ คราะหส ภาพการใชศัพทค ำเมืองตามตวั แปรตาง ๆ

เม่อื พิจารณาตามความแตกตางดา นหมวดคำและวงศัพท พบวา ดา นหมวดคำ หมวดคำอ่นื ๆ
มีสภาพการใชศัพทคำเมืองอยูในระดับ มาก คิดเปนรอยละ 87.21 รองลงมาคือ หมวดคำกริยา และ
หมวดคำนาม มีสภาพการใชศ ัพทคำเมืองอยูในระดับ คอ นขางมาก คดิ เปนรอยละ 76.10 และ 64.22
ตามลำดับ ดานวงศัพท วงศัพทที่ใชเปนคำขยาย วงศัพทที่ใชเปนคำเชื่อมและคำเสริม และ วงศัพท
เกี่ยวกับสภาพและการประสบ มีสภาพการใชศัพทคำเมืองอยูในระดับ มาก คิดเปนรอยละ 87.66
86.23 และ 85.28 ตามลำดบั วงศพั ทเก่ียวกับคน วงศพั ทเ กี่ยวกับอาการ วงศพั ทเกย่ี วกับพชื วงศัพท
เกย่ี วกับวนั เวลา ธรรมชาติ สถานท่ี และสิ่งปลกู สรา ง และวงศัพทเก่ียวกบั สัตว มีสภาพการใชศัพทคำ
เมืองอยูในระดับ คอนขางมาก คิดเปนรอยละ 71.00 68.97 68.21 64.95 และ 64.53 ตามลำดับ
และวงศัพทเก่ียวกบั สิ่งของเคร่ืองใช มสี ภาพการใชศัพทคำเมืองอยูในระดบั ปานกลาง คิดเปนรอยละ
54.91

เมื่อพิจารณาตามความแตกตางของผูพูดในสังคมดานเพศ วัย และถิ่นที่อยู พบวา ดานเพศ
ผูบอกภาษา เพศชายกับเพศหญิง มีสภาพการใชศัพทคำเมืองอยูในระดับเดียวกัน คือ คอนขางมาก
คิดเปน เพศชายรอยละ 69.80 เพศหญิงรอยละ 69.36 ดานวัย ผูบอกภาษา วัยสูงอายุ และ วัย
กลางคน มสี ภาพการใชค ำเมอื งอยูในระดบั เดยี วกนั คอื คอนขางมาก คิดเปน วัยสงู อายุรอ ยละ 79.11
วัยกลางคนรอ ยละ 73.33 สว นผูบ อกภาษา วยั หนมุ สาว มีสภาพการใชคำเมืองอยูในระดับ ปานกลาง
คิดเปนรอยละ 56.29 ดานถิ่นที่อยู ผูบอกภาษาทั้ง 8 จังหวัดมีสภาพการใชศัพทคำเมืองอยูในระดับ
เดยี วกัน คอื คอ นขา งมาก คดิ เปน เชยี งใหมรอยละ 74.77 ลำพนู รอ ยละ 74.56 พะเยารอยละ 71.36
เชยี งรายรอ ยละ 71.17 แพรร อยละ 68.60 ลำปางรอยละ 66.13 นา นรอ ยละ 65.59 และแมฮ อ งสอน
รอ ยละ 64.44

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 9

มณฑกาญจน สิทธิสาร 2557: การศกึ ษาราชาศพั ทในหนังสอื “สาสน สมเดจ็ ”
ปริญญาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย
อาจารยที่ปรกึ ษาวทิ ยานิพนธห ลกั : ผูชวยศาสตราจารยส มเกยี รติ รักษมณี, ศษ.ด. 345
หนา

วิทยานิพนธนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาการสรางและการใชคำราชาศัพทที่ปรากฏในหนังสือ
สาสน สมเดจ็ และเปรียบเทียบการใชค ำราชาศัพทในหนงั สอื สาสน สมเด็จกับการใชคำราชาศัพทในสมัย
อยุธยาและการใชราชาศัพทในสมัยปจจุบัน โดยการเก็บขอมูลราชาศัพทจากหนังสือสาสนสมเด็ จ
จำนวน 26 เลม รวบรวมราชาศัพท้ังหมดได 1,962 คำแลวนำมาวเิ คราะหข อ มูลเพื่อหาขอสรปุ

ผลการวจิ ยั พบวา ดานการสรา งคำราชาศัพททีป่ รากฏในหนังสือสาสน สมเด็จ พบวิธีการสราง
คำราชาศัพท 4 วิธี ไดแก 1) สรางโดยการประสมคำระหวางคำยืมกับคำไทย 2) สรางโดยการประสม
คำระหวางคำไทยกับคำไทย 3) สรางโดยการประสมคำระหวางคำไทยกับคำยืม และ 4) สรางจาก
การยืมคำภาษาอื่นทั้งคำ ดานการใชคำราชาศัพทที่ปรากฏในหนังสือสาสนสมเด็จ พบการใชราชา
ศัพทจำแนกตามหนาที่ของคำได 4 ชนิด ไดแก นามราชาศัพท สรรพยามราชาศัพท กริยาราชาศัพท
และลักษณนามราชาศัพท ดังนี้ การใชนามราชาศัพทในหนังสือสาสนสมเด็จ พบวามีการใชแบง
ออกเปน 3 ลักษณะ ไดแก 1) นามราชาศัพทที่เปนราชาศัพทในตัว 2) นามราชาศัพทที่ตองใชคำอื่น
มาประกอบ 3) นามราชาศัพทที่เปนชื่อเฉพาะบุคคล การใชสรรนามราชาศัพท แบงออกเปน 3
ลักษณะ ไดแก 1) สรรนามบุรุษที่ 1 2) สรรพนามบุรุษที่ 2 และ 3) สรรพนามบุรุษที่ 3 การใชกริยา
ราชาศัพท พบวามี 8 ลักษณะ ไดแก 1) กริยาราชาศัพทที่เปนกริยาราชาศัพทในตัว 2) การใชคำวา
ทรง นำหนาคำกริยาธรรมดาและนามราชาศัพทเพื่อทำใหเปนกริยาราชาศัพท และ 3) การใชคำวา
เสด็จ นำหนาคำกริยาธรรมดาและนำหนาราชาศัพทเพื่อทำใหเปนกริยาราชาศัพท เปนตน การใช
ลักษณนามราชาศัพท พบวา มีการใชแบงออกเปน 2 ลักษณะ คือ 1) การใชลักษณนามหลังคำบอก
จำนวนนับ และ 2) การใชลกั ษณนามหนา คำบอกจำนวนนบั

ดานการเปรยี บเทยี บการใชค ำราชาศัพทใ นหนงั สอื สาสน สมเด็จกับการใชคำราชาศัพทในสมัย
อยุธยา พบวา มกี ารใชร าชาศพั ทท ่ีเหมือนกัน จำนวน 301 คำ คดิ เปนรอยละ 15.35 และแตกตางกัน
จำนวน 1,662 คำ คิดเปนรอ ยละ 84.63 การใชค ำราชาศัพทในหนังสือสาสนสมเด็จกับการใชคำราชา
ศัพทในสมัยปจจุบัน พบวา มีการใชราชาศัพทที่เหมือนกัน จำนวน 1,385 คำ คิดเปนรอยละ 70.60
และแตกตางกับ จำนวน 577 คำ คดิ เปนรอยละ 29.40 เม่อื เปรยี บเทียบทัง้ 3 แหลง ขอ มลู คือ การใช
คำราชาศัพทในหนังสือสาสนสมเด็จกับในสมัยอยุธยา และในสมัยปจจุบัน พบวามีการใชราชาศัพท
ที่เหมือนกันทั้ง 3 แหลงขอมูลจำนวน 236 คำ คิดเปนรอยละ 12.03 และแตกตางกัน จำนวน 1,726
คำ คดิ เปน รอยละ 87.9

10 : “สมญานาม เกยี รตกิ องวรรณศลิ ป”

ชัยวัฒน ไชยสุข 2558: กลวิธกี ารใชภาษาและภาพสะทอ นสงั คมในวรรณกรรมบนั เทงิ คดี
ของมกุฎ อรฤดี ปริญญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย
ภาควชิ าภาษาไทย อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธห ลัก: ผชู วยศาสตราจารย สมเกียรติ
รักษมณี, ศษ.ด. 402 หนา

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษากลวิธีการใชภาษาไทยและภาพสะทอนสังคมไทยใน
วรรณกรรมบันเทิงคดีของ มกุฎ อรฤดี ขอมูลที่ใชในการวิจัย คือ วรรณกรรมบันเทิงคดีของ มกุฎ
อรฤดี 15 เลม ผวู จิ ยั ไดใชว ธิ กี ารวิจยั เอกสาร และนำเสนอขอ มูลแบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบวา 1) กลวิธีการใชภาษา ดานการใชคำ พบการใชคำ 11 ชนิด ไดแก คำมี
ความหมายโดยนัย คำแสดงอารมณ คำมีศักดิ์ คำเฉพาะกลุม คำภาษาปาก คำภาษาถิ่น คำภาษา
ตางประเทศ คำยอ การซ้ำคำ การหลากคำ และ คำแสดงภาพ โดยพบคำภาษาปากมากที่สุด
คำภาษาตางประเทศรองลงมา ดานการใชประโยค พบการใชประโยคสั้น ประโยคยาว และประโยคที่
มีลักษณะแปลกออกไปจากธรรมดา โดยพบประโยคสั้นเปนสวนใหญ ดานการใชสำนวน พบการใช
สำนวนเพื่อยนยอขอความ เพื่อขยายความ เพื่อแทนคำที่ไมตองการกลาวตรง ๆ และเพื่อเพิ่ม
ความสละสลวยของถอยคำ โดยพบการใชสำนวนเพื่อยนยอขอความมากที่สุด ดานกลวิธีการใช
ภาพพจน พบการใชภาพพจน 19 ชนดิ ไดแ ก อุปมา อุปลักษณ สัญลักษณ บุคลาธิษฐาน สมมติภาวะ
อติพจน อวพจน อุปนิเษท นามนัย สัมพจนัย อุปมานิทัศน การอางถึง การแฝงนัย ปฏิพจน
ปฏิทรรศน แนวเทียบ สัทพจน ปฏิปุจฉา และ อาวัตพากย โดยพบอุปมามากที่สุด พบสัทพจน
รองลงมา 2) ภาพสะทอ นสงั คมไทย ดา นครอบครวั พบภาพสะทอ นทเ่ี กยี่ วของกับความรกั ความผูกพัน
ในครอบครัวและภาพสะทอนปญหาครอบครัว ดานการศึกษาพบภาพสะทอนที่เกี่ยวของกับครู
นักเรียน ผูปกครองและสังคม ดานเศรษฐกิจพบภาพสะทอนเศรษฐกิจระดับบุคคลและชุมชน
ดานสทิ ธมิ นษุ ยชนพบภาพสะทอ นการเคารพสทิ ธิมนุษยชนและการละเมิดสิทธมิ นษุ ยชน

เนือ่ งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 11

บุณยเ สนอ ตรวี เิ ศษ 2559: พลงั ภาษาในวาทกรรมของเสกสรร ประเสริฐกลุ
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาภาษาไทย ภาควชิ าภาษาไทย
อาจารยทปี่ รึกษาวิทยานิพนธห ลกั : ผูชวยศาสตราจารยสมเกยี รติ รกั ษมณี, ศษ.ด.
349 หนา

การวิจัยนี้เปนการวิจัยเชิงคณุ ภาพ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาพลังภาษาในการสรางอัตลักษณ
และพลังภาษาในการสรางพลังอำนาจ ในงานเขียนของเสกสรร ประเสริฐกุล จำนวน 43 เลม
ตามแนวคดิ วาทกรรมวเิ คราะหเชิงวิพากษ ผลการวิจยั มดี ังน้ี

พลังภาษาในการสรางอัตลักษณ พบวา พลังภาษาที่เสกสรร ประเสริฐกุล ใชสรางอัตลักษณ
นั้น เกิดจากกลวิธีทางภาษา 11 แบบ ดังนี้ การเลือกใชคำศัพท การใชปฏิทรรศน การใชถอยคำนัย
ผกผนั การใชค ำคม การใชอ ปุ ลกั ษณ การใชค ำถามเชงิ วาทศลิ ป การใชค ำแสดงการประเมินคา การใช
คำแสดงทัศนภาวะ การใชประโยคเหตุผล การใชการซ้ำกระสวนประโยค และการใชสัมพันธบท
พลังภาษาเหลานี้สื่อสารผานชุดวาทกรรม จำนวน 12 ชุดวาทกรรม ไดแก วาทกรรมเกี่ยวกับชีวิต
วาทกรรมเกี่ยวกับเสรีภาพ วาทกรรมวีรบุรุษ วาทกรรมศักดิ์ศรีความเปนมนุษย วาทกรรมเกี่ยวกับ
คุณธรรม วาทกรรมความเปนชาย วาทกรรมความพายแพ วาทกรรมการศึกษาและการเรียนรู
วาทกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ วาทกรรมจิตวิญญาณ วาทกรรมพุทธศาสนา และวาทกรรมนักเขียน
วาทกรรมดังกลาวประกอบสรางอัตลักษณของเสกสรร ประเสริฐกุล 14 ประการ ไดแก ผูแสวงหา
ความหมายของชีวิต ผูมีสำนึกขบถ ผูปรารถนาชีวิตอิสระ ผูยึดอุดมการณเพื่อสังคม ผูรักศักดิ์ศรี
ความเปนมนุษย ผูยึดอุดมการณผูชายเปนใหญ ผูมีอุดมการณเพื่อชนชั้นลาง ผูมีสำนึกทางสังคมและ
การเมือง ผูแสวงหาทางจิตวิญญาณ นักสูชีวิตที่ไมยอมพายแพ นักวิชาการภาคปฏิบัติ ปญญาชน
นักมนุษยนิยม และสามัญชนผรู ักธรรมชาติ

พลังภาษาในการสรางพลังอำนาจ พบวา พลังภาษาที่เสกสรร ประเสริฐกุล ใชสรางพลัง
อำนาจน้ันเกดิ จากกลวธิ ีทางภาษา 11 แบบ ดังน้ี การเลือกใชค ำศัพท การใชปฏิทรรศน การใชถอยคำ
นัยผกผัน การใชคำคม การใชอุปลักษณ การใชคำถามเชิงวาทศิลป การใชคำแสดงการประเมินคา
การใชค ำแสดงทศั นภาวะ การใชป ระโยคเหตุผล การใชการซ้ำกระสวนประโยค และการใชสัมพนั ธบท
พลงั ภาษาเหลานส้ี ่ือสารผานชุดวาทกรรม จำนวน 9 ชุดวาทกรรม ไดแ ก วาทกรรมชาติและความเปน
ไทย วาทกรรมเศรษฐกิจการเมือง วาทกรรมประชาธิปไตย วาทกรรมทุนนิยมโลกาภิวัตน วาทกรรม
ความจน วาทกรรมการแยงชิง วาทกรรมคนดี วาทกรรมวัฒนธรรม และวาทกรรมมหาวิทยาลัย
วาทกรรมดังกลาวแสดงพลังอำนาจ 5 ประการ ไดแก การวิพากษ การโตแยงวาทกรรมกระแสหลัก
การเปด เผยความไมช อบธรรม การขัดขนื ประทวงตอ อำนาจและโครงสรา งอำนาจ และการช้นี ำสังคม

12 : “สมญานาม เกียรตกิ องวรรณศลิ ป”

จกั รพงษ เอ่ียมสอาด 2560: ไลทโนเวล กสวิธกี ารสรางสรรศกับการสงอิทธิพลตอ
การแตงนวนิยายไทย ปรญิ ญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย
ภาควชิ าภาษาไทย อาจารยท่ปี รกึ ษาวิทยานพิ นธห ลกั : รองศาสตราจารยส มเกียรติ
รักษมณี, ศษ.ด. 122 หนา

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาไลทโนเวลโดยแบงการศึกษาเปน องคประกอบของ
การประพันธ ไดแก การศึกษาโครงเรื่อง มุมมอง ตัวละคร ฉาก และ แนวคิด และ กลวิธีทางภาษา
โดยผูวิจัยได ศึกษากลวิธีการใชภาษา หลังจากไดผลวิจัยแลวจึงนำกลวิธีการประพันธไปศึกษากลุม
ตัวอยางนิยายไทย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของไลทโนเวลที่มีตอนวนิยายไทย ทั้งในดาน
การประพนั ธ และ อทิ ธพิ ลดา นอืน่ ๆ ทไ่ี ลทโนเวลมตี อ นวนยิ ายไทย

ผลการศึกษาปรากฏฎวา ไลทไนเวลมีการเปดเรื่องดวยความรวดเร็วโดยการกระตุน
ความสนใจของผูอานเพื่อไมใหผูอานเบื่อหนาย และปดเรื่องอยางมีความสุข ไลทโนเวลมักใชมุมมอง
ทั้งแบบคนเขียนอยูในเรื่องและนอกเรื่องตามแนวทางเรื่องที่วางไว และมีการนำเสนอตัวละคร
แบบตรงเพื่อใหผูอานเขาใจลักษณะและบุคลิกตัวละครไดทันที ฉาก เวลา และ สถานทข่ี องไลทโนเวล
มกั เกิดข้นึ ในชว งเวลาปจจุบัน และมีแนวคิดเปน สากลเพื่อใหผูอานเขาใจแนวคิดไดทันที ในดานกลวิธี
การสรางคำพบวา ไลทโนเวลนิยมสรางคำ 8 ลักษณะไดแก คาแสดงอารมณคำเลียนเสียงธรรมชาติ
คำเฉพาะกลุม คำสแลง คำภาษาตลาด คำภาษาตางประเทศ คำยอและ คาเลียนเสียงพูด และ
โดยสวนการใชภาพพจนนั้นพบสี่ลักษณะ ไดแก ภาพพจนอุปมา ภาพพจนสัญลักษณ ภาพพจน
อตพิ จน และภาพพจนก ารอา งถงึ

จากงานวจิ ัยนีแ้ สดงใหเหน็ วา นวนิยายไทยไดรบั อทิ ธิพลมาจากไลทโ นเวลในดา นการปดเรื่อง
นวนิยายไทยนิยมปดเรื่องดวยวิธีสุขนิยมและมักใชการคั่นเลมจบแตละเรื่องเพื่อใหผูอานไดติดตาม
ตอไป อีกทั้งยังไดรับอิทธิพลอื่น ๆ อาทิ การใชภาพปกการตูนและมีภาพประกอบดานใน การทำ
รูปเลม และ แนวเรอ่ื งที่ไดอทิ ธิพลมาคอ นขา งมาก เปน ตน

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 13

วิทยา ปน แกว 2560: การวิเคราะหก ลวิธที างภาษาและแนวคดิ การดำเนินชวี ติ ในโคลง
สภุ าษิตในพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลาเจา อยูหัว ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาไทย) สาขาวชิ าภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย อาจารยทีป่ รกึ ษาวทิ ยานพิ นธหลัก:
รองศาสตราจารยส มเกียรติ รกั ษมณี, ศษ.ด. 226 หนา

งานวิจยั นี้มีวตั ถปุ ระสงคเ พื่อศึกษากลวิธที างภาษาและแนวคิดการดำเนนิ ชีวิตในโคลงสุภาษิต
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ขอมูลที่ใชในการวิจัย คือ หนังสือชุดวรรณกรรมภาษติ
และคำสอน ประชุมโคลงสุภาษิตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหวั ผูวิจัยไดใชวิธีการวจิ ัย
เอกสาร และนำเสนอขอมูลแบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบวา 1) กลวิธีการใชภาษาดานการใชคำพบการใชคำทั้งหมด 9 ลักษณะ ไดแก
คำนามธรรม การซ้ำคำ คำที่มีความหมายใกลกัน คำมีศักดิ์ คำที่มีความหมายตรงกันขาม
การหลากคำ การใชคำซ้ำ คำรูปธรรม คำต่ำ โดยพบการใชคำนามธรรมมากที่สุด รองลงมาไดแก
การซ้ำคำ ดานกลวิธีการใชภาพพจนพบการใชภาพพจนทั้งหมด 14 ลักษณะ ไดแก อุปมา สัมพจนัย
อุปมานิทัศน อุปลักษณ ปฏิปุจฉา แนวเทียบ สัญลักษณ อติพจน การอางถึง ปฏิทรรศน อวพจน
อาวัตพากย สัทพจน และสมมติภาวะ โดยพบการใชอุปมามากที่สุด รอลงมาไดแก อุปมานิทัศน
2) แนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต พบแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการทำงาน
และการประกอบอาชีพ แนวคิดเกี่ยวกับการครองเรือน และแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน โดยพบ
แนวคิดเกี่ยวกับชีวิตประจำวันมากที่สุด และพบแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานและการประกอบอาชีพ
รองลงมา

14 : “สมญานาม เกียรตกิ องวรรณศลิ ป”

Maohai Zhong 2561: การศึกษาเปรียบเทยี บคำเรยี กผแี ละการตง้ั ชอ่ื ผีในวัฒนธรรม
ความเชอ่ื เรอ่ื งผีของไทยกับจีน ปริญญาศิลปศาสตรมทาบัณฑิต (ภาษาไทย) สาขาวิชา
ภาษาไทย ภาควชิ าภาษาไทย อาจารยท ี่ปรกึ ษาวิทยานิพนธหลกั : รองศาสตราจารย
สมเกยี รติ รกั ษมณ,ี ศษ.ด. 190 หนา

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำเรียกผีและการตั้งชื่อผีในภาษาไทยกับ
ภาษาจีนและเพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมไทยกับจีน ขอมูลที่ใชในการวิจัย คือ เอกสาร
ประกอบดวยเอกสารภาษาไทย และ ภาษาจีน ผูวิจัยไดใชการวิจัยเอกสาร และนำเสนอขอมูลแบบ
พรรณนา

ผลการวิจัยพบวา 1) การวิเคราะหที่มาและความหมายของชื่อผีไทย พบวาคำเรียกผีจำแนก
ตามที่มาของคำเรียกได 9 ประเภท ไดแก ลักษณะรูปราง สถานที่ สาเหตุการตาย ความเชื่อ ตำนาน
หรือเรื่องเลา เชื้อสายและชาติพันธุ ภาษาตางประเทศ เสียงรอง และ สถานที่กับลักษณะรูปราง
ทั้งนี้คำเรียกผีที่มีที่มาจากตำนานหรือเรื่องเลามีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ ผีที่มาจากสถานที่
ดานกลวิธีการตั้งชื่อผีไทย พบการใชคำมูล การประสมคำ และ การใชคำยืม โดยพบการประสมคำ
มากที่สุด รองลงมาคือการใชคำยืม 2) การวิเคราะหท่ีมาและความหมายของช่ือผจี ีน พบวาคำเรียกผี
จำแนกตามที่มาของคำเรียกได 5 ประเภท ไดแก ลักษณะรูปราง สถานที่ สาเหตุการตาย ความเชื่อ
ตำนานหรือเรื่องเลา โดยคำเรียกผีที่มีที่มาจากลักษณะรูปรางมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือมีที่มา
จากตำนานหรือเรื่องเลา ดานกลวิธีการตั้งชื่อผีจีน พบการใชคำมูล และ การประสมคำ โดยพบ
การประสมคำมากกวาการใชคำมูล 3) การวิเคราะหความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมไทย พบความเชื่อ
8 ประการ ไดแก ผีมีฤทธิ์และอำนาจอยูเหนือคน ผีสามารถใหคุณหรือใหโทษแกคนได ผีตองมีที่อยู
อาศัย ผีตองกินอาหาร ผีสามารถควบคมุ พฤติกรรมของคนได ผีมีลักขณะรูปรา งนาเกลียดนากลัว ผีมี
ชนชั้น และ คนสามารถแตะตองผีได 4) การวิเคราะหความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมจีน พบความเชื่อ
8 ประการเชนเดียวกัน ไดแก ผีมีฤทธิ์และอำนาจอยูเหนือคน ผีสามารถใหคุณหรือใหโทษแกคนได
ผีตองมีที่อยูอาศัย ผีตองกินอาหาร สามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได ผีมีลักษณะรูปรางนาเกลียด
นากลัว ผมี ีชนชน้ั และ คนสามารถแตะตอ งผไี ด

เน่ืองในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 15

ทพิ ยวรรณ สีสนั 2562: กลวธิ ีการใชภาษาและภาพสะทอนวัฒนธรรมจากเพลงพ้นื บาน
ทปี่ รากฏในจังหวดั กำแพงเพชร ปรญิ ญาศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ (ภาษาไทย)
สาขาวชิ าภาษาไทย ภาควชิ าภาษาไทย อาจารยทปี่ รกึ ษาวทิ ยานิพนธหลกั :
รองศาสตราจารยส มเกียรติ รกั ษมณี, ศษ.ด. 269 หนา
การวิจัยคร้งั นี้มวี ัตถุประสงคเ พอื่ ศึกษากลวิธีการใชภาษาจากเพลงพ้ืนบา นทป่ี รากฏในจังหวัด
กำแพงเพชร และศึกษาภาพสะทอนวัฒนธรรมจากเพลงพื้นบานที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชร
จำนวน 209 เพลง โดยศึกษากลวิธีการใชภาษาดานการใชคำ การใชภาพพจน และภาพสะทอน
วฒั นธรรมจังหวดั กำแพงเพชร ไดแ ก ภาพสะทอนคา นิยม ความเช่ือ ประเพณี และการดำเนินชีวติ
ผลการวิจัยพบวา 1) กลวิธีการใชภาษาในเพลงพื้นบานที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชร
ดานการใชคำ 8 ลักษณะ คือ คำปากหรือคำตลาด คำเลียนเสียงพูด คำราชาศัพท คำยอ และคำตัด
คำที่แสดงอัตลักษณจังหวัดกำแพงเพชร คำแสดงอารมณ คำต่ำหรือคำหยาบ และคำภาษาถ่ิน
ดานการใชภาพพจนในเพลงพื้นบานที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชร พบการใชภาพพจน 10 ชนิด
ไดแก อุปมา สัทพจน การอางถึง อุปลักษณ อติพจน บุคลาธิษฐาน ปฏิพจน สัญลักษณ อาวัตพากษ
และนามนัย 2) ดานภาพสะทอนวัฒนธรรมในเพลงพื้นบานที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชร พบภาพ
สะทอน 4 ดา น ไดแ ก ภาพสะทอ นดา นคา นยิ ม ดา นความเช่อื ดา นประเพณี และดา นการดำเนินชวี ิต

16 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

สุธาทพิ ย แหงบญุ 2562: ความเปรียบสตรีในนวนิยายของกฤษณา อโศกสนิ
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ (ภาษาไทย) สาขาวชิ าภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย
อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธหลัก: รองศาสตราจารยสมเกียรติ รักษมณี , ศษ.ด.
229 หนา

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความเปรียบสตรีในนวนิยายของกฤษ ณา อโศกสิน
และเพื่อศึกษาแนวคดิ เก่ียวกบั สตรีจากความเปรียบที่ปรากฏในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน ขอมูล
ที่ใชในการวิจัย คือ นวนิยายนามปากกากฤษณา อโศกสิน จำนวน 64 เรื่อง ผูวิจัยไดใชวิธีการวิจัย
เอกสารและนำเสนอขอมลู แบบพรรณนาวเิ คราะห

ผลการวิจยั พบวา 1) ความเปรยี บสตรีในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน มีท้ังหมด 5 ลักษณะ
คือ ความเปรียบแบบอุปมา พบ 17 รูป ไดแก อุปมาสตรีกับพรรณไม สัตว เครื่องประดับ ธรรมชาติ
บทบาทอยางใดอยางหนึ่ง เครื่องใช ของเลน ศิลปะ เครื่องดนตรี พลังงาน เด็ก ขนม เครื่องปรุงรส
มนุษยและอมนุษยเพศหญิง สินคา แพรพรรณ และแรธาตุ ความเปรียบแบบอุปลักษณ พบ 11 รูป
ไดแก อุปลักษณสตรีเปนพรรณไม สัตว เครื่องประดับ ธรรมชาติ มนุษยและอมนุษยเพศหญิง สินคา
หนังสือ เครื่องใช ยารักษาโรค น้ำอมฤต และเครื่องบริโภค ความเปรียบแบบสัญลักษณ พบ 7 รูป
ไดแ ก สญั ลักษณใ นรปู พรรณไม สตั ว เคร่อื งประดับ ธรรมชาติ มนษุ ยแ ละอมนุษยเพศหญงิ แพรพรรณ
และสินคา ความเปรียบแบบการอางถึง พบ 3 รูป ไดแก การอางถึงตัวละครในวรรณกรรม สำนวน
และบทประพันธ บางตอนในวรรณกรรม ความเปรียบแบบสัมพจนัยพบการเปรียบ 2 รูป ไดแก
เปรียบสตรีกับสวนตาง ๆ ของรางกาย เปรียบสตรีกับวิญญาณ 2) แนวคิดเกี่ยวกับสตรีจากความ
เปรียบที่ปรากฏในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน พบทั้งหมด 4 ดาน คือ ดานลักษณะทางกาย ไดแก
รูปรางหนาตา กิริยาทาทาง และการพูดจา ดานลักษณะนิสัย ไดแก นิสัยสวนตัว นิสัยตอสังคม
ดานความสัมพันธกับครอบครัวและสังคม ไดแก บุคคลในครอบครัว บุคคลในสังคม ดานคตินิยม
ในการดำเนนิ ชวี ิต ไดแก ครอบครัว การศึกษา และอาชพี

เนอ่ื งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 17

“พจนานสุ รณ”

โดย รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี
ภาควชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร

สายน้ำทีผ่ า นไปไมย อ นกลับ เวลาลบั ผา นไปไมคนื หลัง
ธรรมดาของชวี ติ อนจิ จัง ส่ิงท่ียงั คือผลงานผานเวลา

เมื่อเราเดินทางผานเวลามาจนถึงจุดเปลี่ยนก็ไมมีใครจะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงนั้นไวได
และเมื่อมาถึงวันนี้ก็เปนเวลาของผมบางที่จะตองอำลาสถานีที่ไดพักพิงมาเปนระยะเวลาอันยาวนาน
ที่ทำงานก็เปรียบไดกับสถานีแหงหนึ่งที่เมื่อรถไฟขบวนหนึ่งเดินทางมาถึง และหยุดอยูชั่วระยะเวลา
หนึ่งแลวก็ตองจากไปเปนเชนเดียวกันนี้ทุกขบวน จึงไมใชเรื่องแปลกอะไร สิ่งที่เหลือไวก็จะมีเพียง
ผลงานบางสวนกับความทรงจำดี ๆ การเปลี่ยนแปลงที่กลาวตอนตนนั้นเกิดขึ้นกับผมถึง 3 ครั้ง
คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ออกนอกระบบราชการตามระบบที่เปลี่ยนไปของมหาวิทยาลัย
คร้ังที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 เกษียณอายุการทำงานเม่ือครบ 60 ป (นับตามระบบราชการ)
และครง้ั ท่ี 3 ท่กี ำลงั จะเกดิ ขนึ้ นี้ คือ วนั ที่ 1 ตลุ าคม 2564 เกษียณอายกุ ารทำงานจรงิ หลังจากที่ไดรับ
การตอสัญญาจางมา 4 ป (ที่จริงควรตอได 5 ป แตไดรับคำบอกเลาวาเมื่อมหาวิทยาลัยออกนอก
ระบบแลวไดปรับเวลาเกษียณอายุการทำงานตามอายุจริง จึงใหเกษียณในปนี้เนื่องจากวันเกิดอยูใน
เดอื นตุลาคม)

อันที่จริงขอเขียนนี้เมื่อขึ้นตนเปนกลอนก็คิดวาจะเขียนกลอนใหยาวเปนเรื่องเปนราวไปเลย
แตก็จะไดอีกอารมณหนึ่งซึ่งจะขาดรายละเอียดและตางไปจากเจตนาที่จะเขียนตามหัวขอ
“พจนานุสรณ” ที่ทานผูชวยศาสตราจารย ดร.บุญเลิศ วิวรรณ ไดกรุณาคิดคำสวย ๆ ให ถาจะแปล
เอาความตามตัววา “ถอยคำอันเปนที่ระลึก” ก็นาจะไมถูกระเบียบภาษาเทา ใดนัก เห็นทีจะตองแปล
ใหไดตามเจตนาวา “เครื่องระลึกอันเกิดจากถอยคำ” ก็นาจะเขาที ดังนั้นตอไปนี้จึงจะขอกลาวถึง
ความทรงจำวาไดทำอะไรไวบางในระหวางทีม่ ารับราชการและปฏิบัติหนาท่ีอยู ณ ภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร สถานที่ทำงานอันเปนที่รักแหงนี้ ตั้งแตวันที่
21 มิถุนายน 2538 ภารกิจบางประการอาจไมเกี่ยวของกับเกษตรศาสตรโดยตรง แตทั้งหมดที่นำมา
กลาวถึงลวนเปนผลตอสวนรวมหรือเนือ่ งมาจากการปฏิบัติงานเพื่อสวนรวมทั้งสิ้น วันเวลาที่กลาวถึง
หากจำไดจ ะบอกตรงหากจำไมไ ดจ ะบอกวนั เวลาทใี่ กลเ คยี ง

18 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

ประมาณป 2539 เปนคณะผูแทนประเทศไทยรวมกับอาจารยแพทยจากคณะแพทยศาสตร
ศิริราชพยาบาล และเจาหนาที่สำนักงานโครงการความรวมมือระหวางประเทศ ปจจุบันเปนกรม
ความรวมมือระหวางประเทศ ไปสอบสัมภาษณนักศึกษาจาก สปป.ลาว ณ นครเวียงจันทน
เพื่อคดั เลอื กผรู ับทุนรฐั บาลไทยมาศกึ ษาตอในระดับปริญญาโทและปรญิ ญาเอกในประเทศไทย

ประมาณป 2540 เปนผูแทนของภาควิชาภาษาไทยเขาประชุมรวมกับคณาจารย
จากสาขาวิชาตาง ๆ ทั้งมหาวิทยาลัยเพื่อจัดทำโครงการวิชาบูรณาการ การประชุมนี้เปนการประชุม
ครั้งท่ี 2 จดั ข้ึน ณ โรงแรมมารวย ถนนพหลโยธิน การประชมุ ครง้ั แรกน้นั มอี าจารยบ าหยนั อิ่มสำราญ
เปนผูแทนภาควิชาเขาประชุม แตภายหลังทานไดยายไปดำรงตำแหนง ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จึงนับไดวา เปนคนแรกของบรรดาอาจารยท่ีทำงานอยูที่ มก. ณ เวลานั้นที่มีสวนเริม่ ตน จัดทำรายวชิ า
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หลังจากนั้นการประชุมครั้งที่ 3 จึงเปนการประชุมปฏิบัติการเพื่อสราง
รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ณ โรงแรมแหงหนึ่งที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี การประชุม
ครั้งน้ีมีคณาจารยจากภาควิชาภาษาไทยราว 5 - 6 ทานเขาประชุมและผมก็เปนหนึ่งในจำนวนนั้น
จนรายวชิ าสำเร็จลงดว ยดี มีหนังสอื เรียนทีเ่ ปนมาตรฐาน

ป 2542 มก.สรางอาคารศูนยเรียนรวม 3 เสร็จ แตทำทางเดินเทาไมรอบตัวอาคาร นิสิตตอง
ลงมาเดนิ บนถนนที่รถยนตผานไปมาอาจเกดิ อนั ตรายได จึงไดท ำบนั ทึกถึงกองยานพาหนะและอาคาร
สถานที่ เมื่อเจาหนาที่ไดมาวางอิฐทำทางเดินเทาเปนสวนตอขยายแลวไดแจงใหทราบวาเปนผลจาก
การท่ไี ดทำบันทึกขอไปน้นั

ประมาณป 2542 ไดเปนผูเสนอแนวคิดในที่ประชุมภาควิชาเพื่อจัดทำหลักสูตรปริญญาโท
ที่ประชุมเหน็ ดวยจึงไดแตง ตั้งใหเปนคณะทำงาน แตเนื่องจากยังไมมีตำแหนงทางวิชาการและยงั ไมมี
คุณวุฒิปริญญาเอก จึงไดเปนคณะทำงานเพียงในระยะเริ่มตน ภายหลังหลักสูตรปริญญาโท
ไดเปด สอนในป 2547

ป 2544 - 2546 เปนกรรมการสภาขาราชการ ในตำแหนงประธานฝายประชาสัมพันธ
และรองประธานสภา คนที่ 1 ทำหนาทตี่ าง ๆ เพ่ือประโยชนของบคุ ลากร และไดผ ลกั ดนั ใหข า ราชการ
สาย ค กลับมามีสทิ ธ์ใิ นการออกเสยี งอกี คร้งั หนึ่ง

ป 2547 มีโอกาสไดไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหราชอาณาจักรกับคณะนิสิตปริญญาเอก
สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร ทำใหไดเห็นไดรูและนำแนวคิดมาใชในการพัฒนา
การเรยี นการสอน

เนื่องในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 19

ประมาณป 2544 - 2547 ไดเปนคณะทำงานจัดทำหนังสือเรียนภาษาจีนใหแกโรงเรียน
วังไกลกังวล ถวายเปนพระราชกุศลแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ทั้งนี้ไดเปนผูดูแลในสวนที่เปน
ภาษาไทย ถกเถียงและอภิปรายรวมกับผูทรงคุณวุฒิภาษาจีนที่เปนคนไทยเพื่อวิเคราะห ขัดเกลา
ภาษาออกมาใหเหมาะสม โดยมีศาสตราจารยชาวจีนเปนผูเรียบเรียงภาษาจีนขึ้นมากอน โครงการนี้
ดำเนินการโดยหอการคาไทยจนี ตามคำรอ งขอของรองเลขาธิการพระราชวงั (นายขวญั แกว วชั โรทัย)
จากนนั้ ทำใหป ระมาณป 2547 คณะทำงานนี้ไดรบั เชญิ จากรฐั บาลจีนผานสถานทูตจนี ประจำประเทศ
ไทยไปทศั นศกึ ษาการสอนภาษาจีนในมหาวิทยาลัย ณ กรงุ ปกกิ่ง และนครเซีย่ งไฮ

ป 2547 เปนผูจัดกิจกรรมอภิปรายทางวิชาการดานภาษาไทยบนเวที ณ อาคาร เค.ยู.โฮม
ในการประชุมวิชาการของภาควิชาภาษาไทย ในโอกาสครบรอบหนึ่งทศวรรษของภาควิชาภาษาไทย
รวมกับคณาจารยในภาควิชา กิจกรรมนี้ไดเชิญผูใชภาษาไทยและผูมีชื่อเสียงหลายทานมารวม
อภิปราย ผลของกิจกรรมคร้ังนี้ทำใหภาควชิ าภาษาไทยไดจัดกจิ กรรมวชิ าการทำนองเดียวกันสืบเน่ือง
ตอมาอีกหลายครั้ง จนภาควิชาเปนที่รูจักกวางขวางยิ่งขึ้นในบรรดาครูอาจารยและนักวิชาการ
ทางภาษาไทย นอกจากนี้ในกิจกรรมครั้งนี้ไดทำหนาที่เปนบรรณาธิการจัดพิมพหนังสือ “ส่ือ
ภาษาไทย” ไวเ ปน ท่ีระลึก

ป 2548 เปนหัวหนาโครงการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
และทำหนาที่ประธานหลักสูตรระหวางป 2549 - 2553 นับเปนชวงเริ่มตนของการเริ่มใชระบบ
กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิอดุ มศึกษา แตก ารบังคบั ใชย ังไมส มบรู ณเหมือนปจ จุบนั

ป 2549 ภาควิชาจัดกิจกรรมประชุมวิชาการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว
ในโอกาส 60 ปทรงครองราชย ไดเปนผูจัดอภิปรายทางวิชาการดานภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ไดรับ
ความสนใจจากครูอาจารย นิสิตนักศึกษา และนักวิชาการเปนจำนวนมาก ในครั้งนี้ก็ไดทำหนาที่
บรรณาธิการจัดพิมพหนังสือ “หกสิบปกระเดื่องหลา ประเลงสวรรค” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเปน
ทร่ี ะลึก

ป 2550 เปนอาจารยรับเชิญ (Visiting Professor) ไปสอนภาษาไทยใหแกนักศึกษาเกาหลี
ทเี่ รยี นวิชาเอกภาษาไทย ณ มหาวทิ ยาลัยปซู านภาษาและกจิ การตา งประเทศ เปนเวลา 1 ปก ารศึกษา
ทำใหเกิดความรวมมือระหวางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรกับมหาวิทยาลัยในตางประเทศ ทำใหรูสึก
ภมู ใิ จเสมือนเปน ทูตการศกึ ษาและวฒั นธรรม ทำใหเกดิ การแลกเปลยี่ นระหวา งกัน

20 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

ป 2551 มีโอกาสไดรับทุนจากภาควิชาภาษาไทย โดย รองศาสตราจารย ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
หัวหนาภาควิชาในขณะนั้น ไดอนุมัติใหไปศึกษาดูงานในฐานะอาจารยแลกเปลี่ยน ระหวาง
มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร กับ University of Tennessee ประเทศสหรัฐอเมรกิ า ไดท ำหนาทผ่ี แู ทน
ของ มก.ในการเชือ่ มสัมพันธต ามขอตกลงระหวางมหาวิทยาลัย

ประมาณป 2547 ไดรับมอบหมายจากภาควิชาใหเปนผูจัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวตางประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) แตในระหวาง
ดำเนินการยังไมแลวเสร็จก็ไดเดินทางไปเปนอาจารยรับเชิญที่ประเทศเกาหลีใตในป 2550 ครั้งกลับ
มาแลวในป 2551 ไดจัดทำตอจนเปน ผลสำเร็จ ไดรับอนุมัติใหใชเ ปนหลักสูตรใหมในป 2551 และได
เปดสอนตามหลักสูตรในป 2552 นับวาเปนชื่อเสียงแกภาควิชาและมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร
นานาชาติในสาขาวชิ าภาษาไทยอยางแทจริง กลาวคือ เปนหลักสตู รทเี่ ขยี นขนึ้ ใหมโ ดยเพง เล็งท่ีผเู รียน
เปนสำคัญ มิใชหลักสูตรที่จำลองมาจากหลักสูตรภาษาไทยสำหรับคนไทย และเปนหนึ่งในเพียง
ไมกี่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรโดยตรงเชนนี้ และไดเปดสอนสืบมาจนถึงปจจุบันโดยมีการพัฒนา
ตามรอบปโดยลำดับ

ป 2557 ไดรับการเชิดชูเกียรติจากคุรุสภาใหเปนครูภาษาไทยดีเดนประจำป 2556
(ระดบั อดุ มศกึ ษา) รับเข็มเชดิ ชเู กียรติ สธ. เปนการสรางช่ือเสียงใหแ กตนเองและมหาวทิ ยาลัย

ป 2559 เม่อื พระบาทสมเดจ็ พระเจาอยูหัวภมู ิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ไดเปนผูรอยกรอง
คำประพันธที่ถายทอดออกมาจากใจแทนใจชาวเกษตรศาสตรและคนไทยทุกคน แสดงความอาลัย
ตอการเสด็จสูสวรรคาลัยของพระองค โดยไดรับมอบหมายจากอธิการบดีผานรองศาสตราจารย
ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ รองอธิการบดี รวมถึงบทรอยกรองถวายกอนวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ในป 2560 บทรอยกรองดังกลาวไดนำไปขับประกอบการบรรเลงดนตรีเพื่อเปนการถวาย
พระเกียรติยศอยางยิ่งใหญ นอกจากนี้ไดประพันธบทรอยกรองเฉลิมพระเกียรติอื่น ๆ ตามมาอีก
เปน จำนวนมาก

ป 2562 ไดรับเชิญจากมหาวิทยาลัย Putra Jaya Malaysia ใหเปนวิทยากรฝกอบรม
การสอนภาษาไทยเปนภาษาตางประเทศใหแกครูสอนภาษาไทยในมาเลเซีย โดยการสนับสนุน
ของสถานทตู ไทย ณ กรุงกวั ลาลัมเปอร

ป 2562 ไดรับเชิญจากรัฐบาลทองถิ่นสวนการปกครองเหนียนหยาง เมืองเจียงโหยว มณฑล
เสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะผูแทนกวีไทยไปอานบทกวีแลกเปลี่ยนกับกวีจีน ในงาน
เทศกาลวัฒนธรรม เจียงโหยว หลไ่ี ป

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 21

นอกจากนี้ไดเปนวิทยากรอบรมใหความรูตาง ๆ เกี่ยวกับภาษาไทย และการสอนภาษาไทย
ในฐานะภาษาตางประเทศอีกเปนจำนวนมาก ทั้งที่จัดในนามภาควิชาและไดรับเชิญจาก
สถาบันการศึกษาตาง ๆ กิจกรรมตาง ๆ ของภาควิชา รวมทั้งจุดกำเนิดของกิจกรรมกอนที่จะมาเปน
“บานภาษาไทย” ที่สืบเนื่องมาจนถึงปจจุบัน จึงขอรำพันไวใหเปนพจนานุสรณ ณ ที่ตรงนี้เพื่อที่จะ
ไดเ ปนทีจ่ ดจำแกต นเอง และแบงปนแกค รูอาจารย เพ่อื นรวมงาน มิตร ศิษยและบริวารตอไป

ทายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณคณบดีคณะมนุษยศาสตร รองศาสตราจารย ดร.กิติมา
อินทรัมพรรย รองคณบดี คณาจารยและบุคลากรผูมีสวนเกี่ยวของ ขอบคุณรองศาสตราจารย
ดร.บุญยงค เกศเทศ ครูของผม รองศาสตราจารย ดร.บุณยเสนอ ตรีวิเศษ ศิษยของผม ที่ไดมารวม
เสวนาวิชาการในวันจัดกิจกรรม ขอขอบคุณหัวหนาภาควิชาภาษาไทย ดร.รุจิรา เสงเนตร อาจารย
ผูใหญในภาควิชา รองศาสตราจารย ดร.วิไลศักดิ์ กิ่งคำ ผูเปนกำลังสำคัญในการจัดทำหนังสือน้ี
ผูชวยศาสตราจารย ดร.บุญเลิศ วิวรรณ คณาจารยทุกทานในภาควิชาภาษาไทย ที่มีสวนรวม
ในการจดั ทำหนังสือนี้ รวมทง้ั จดั กิจกรรมอันเปนเกียรติใหแกผมในโอกาสอันสำคัญนี้ ขอขอบคุณศิษย
ทุกคนทั้งปริญญาเอก โท ตรี ที่ไดมีสวนรวมเขียนบทความ ขอเขียนตาง ๆ และรวมกิจกรรม อื่น ๆ
ในกิจกรรมอันเปนมงคลใหแกผมในครั้งนี้ ขอพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไดโปรดคุมครองและ
อภบิ าลทกุ ทา นใหมีแตความสขุ ความเจรญิ สบื ไป

22 : “สมญานาม เกียรติกองวรรณศลิ ป”

มชั ฌิมบท

(นานาทรรศนะ)

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 23

รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี กับพัฒนาการของภาควิชาภาษาไทย
ในความทรงจำของขา พเจา

รองศาสตราจารย ดร.วไิ ลศักดิ์ กงิ่ คำ

วันท่ี 30 กันยายน 2564 เปนวันที่ภาควิชาภาษาไทยจะมีบุคลากรที่ทรงคุณคาทางภาษา
วรรณศิลปเกษียณอายุงานที่ทานทุมเทใหภาควิชามาเปนเวลาเกือบ 30 ป ทานนั้นคือ
รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษม ณี ของพวกเรา

ผมมีโอกาสทำงานรวมกับทาน รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี ในภาควิชานาจะมากกวาอาจารย
ทานอื่น ๆ ผมทำในฐานะเพื่อนรวมงาน และผูบริหาร ชวงแรกทานอาจารยยายมาอยูกับภาควิชาเรา
ชวงนั้นทานอาจารยไดรับมอบหมายใหดูแลบานภาษาไทยซึ่งถือวาเปนจุดเริ่มตนการดำเนินการ
กิจกรรมของนิสิตที่เกี่ยวกับภาษาไทย ทานอาจารยไดดูแลนิสิตเปนอยา งดใี นชวงนัน้ ถาจำไมผิดนาจะ
เปนชวงเวลาอาจารย ผศ.ดร.เมธาวี ยุทธพงษธาดา และ อ.ดร.สุรีรัตน บำรุงสุข เรียนอยูชั้นปที่ 4
ในรวมอยูในชุมนุมบานภาษาไทย ชวงนี้นิสิตมีผลงานทางวิชาการออกมาใหเห็นอยูจำนวนมาก
โ ด ย เ ฉ พ า ะ ก า ร เ ข ี ย น เ ร ื ่ อ ง ส ั ้ น ท ี ่ ท  า น อ า จ า ร ย  เ ป  น ผ ู  ส อ น แ ล ะ ส  ง เ ส ร ิ ม ใ ห  น ิ ส ิ ต ส ร  า ง ผ ล ง า น ไ ด
หลายเร่ืองดว ยกัน

ในชวงผมปฏิบัติหนาที่เปนหัวหนาภาควิชาภาษาไทยในป พ.ศ. 2546-2552 ในชวงน้ัน
ภาควิชาภาษาไทยมีอายุครบรอบ 10 ป ใน พ.ศ. 2547 พวกเราไดจัดงานทางวิชาการโดยเรียนเชิญ
ทานศาสตราจารย ดร.วิษณุ เครอื งาม รองนายกรัฐมนตรี มาเปน ประธานเปดงานและบรรยายพิเศษ
ในหัวขอ "สงเสริมภาษาไทย เทิดไท 72 พรรษา มหาราชินี" ผมไดมอบหมายให รศ.ดร.สมเกียรติ
รกั ษมณี เปน บรรณาธิการพมิ พหนังสือ สื่อภาษาไทย ท่รี ะลกึ ครบรอบหน่งึ ทศวรรษภาควชิ าภาษาไทย
ทานไดทำหนาที่ทำงานไดอยางดียิ่งทำใหหนังสือที่ระลึกออกมาสวยงามและมีคุณคาทางวิชาการ
เพราะมีบทความทค่ี ณาจารยใ นภาควชิ าเขยี นตพี มิ พเปนจำนวนมาก

ในป พ.ศ. 2550 ผมไดสงทานไปปฏิบัติหนาที่สอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยปูซานภาษาและ
กิจการตางประเทศ ประเทศสาธารณเกาหลีเปนเวลา 1 ป กอนอื่นขอเลาความเปนมาความสัมพันธ
ระหวางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรกับมหาวิทยาลัยปูซานภาษาและกิจการตางประเทศ ในป
พ.ศ. 2540 ผมไดร บั ทนุ จากทบวงมหาวิทยาลยั ไปดงู านการสอนภาษาไทยในมหาวทิ ยาลยั ตา งประเทศ
เปนทุนพัฒนาอาจารยที่รัฐบาลสนับสนุนผมทำโครงการขอทุนผานทานอาจารยอรรณพ อุบลแยม
หัวหนาภาควิชาภาษาไทยสมัยนั้น ทานสนับสนุนเรียนรับรองใหจนไดทุนไปดูงานดังกลาว

24 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

การตัดสินใจครั้งนี้วาจะไปที่ไหนดี มีใหเลือกประเทศจีน และเทศญี่ปุน ประเทศเกาหลี
ประเทศออสเตรเลีย ไดเขียนจดหมายถึงมหาวิทยาลัยตาง ๆ เพื่อขอไปดูงานการสอนภาษาไทย
ปรากฏวามหาวิทยาลัยปูซานภาษาและกิจการตางประเทศโดยศาสตราจารย ดร.อัน ยง ซัน
ตอบจดหมายกลับมายนิ ดีรับใหไปดูงานท่ีน้ันเปนเวลา 6 เดือน หลังจากน้ันมหาวิทยาลัยอ่ืน ๆ ก็ตอบ
จดหมายมาและตอบกลับไปพรอมขอบคุณและขอเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลี จึงไดมีโอกาสรูจัก
คณาจารยที่ปูซานและนำมาสูการทำขอตกลงแลกเปลี่ยนทางวิชาการตั้งแตป พ.ศ. 2544 เปนตนมา
และไดสงอาจารยอรพิน ศรัทธา ไปเปนคนแรก จากนั้นก็ไดสงอาจารยแลกเปลี่ยนทางวิชาการไป
มีอาจารย ดร.สุรีรัตน บำรุงสุข รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี รศ.ดร.โกวิทย พิมพวง ผศ.ดร.เมธาวี
ยุทธพงษธาดา อ.ดร.รุจิรา เสงเนตร อ.สกลสุภา ทองนอย ผมสงทาน รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี
ไปสอนที่นั้นพวกเราผูบริหารคณะสมัยนัน้ มีทาน ผศ.ดร.นงนุช ศรีอัษฎาพร เปนคณบดีพรอมหัวหนา
ภาควิชาไปสรางความสันพันธตอ AOU แลกเปลี่ยนทางวิชาการตอจนถึงปจจุบันถือโอกาสไปเยี่ยม
ทานดวยในวันที่ 12-15 กนั ยายน 2550 ทาน รศ.ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี ไดต อ นรบั พวกเราเปน อยางดี
พรอมอำนวยความสะดวกใหค ณะของพวกเราทกุ อยา ง

ในชวงรอยตอการบริหารหัวหนาวิชาภาษาไทยกับตำแหนงคณบดีคณะมนุษยศาสตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรผมไดมอบหมายใหทานอาจารยเขียนหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
สำหรับชาวตางประเทศ อันที่จริงแลวชวงผมเปนหัวหนาวิชาภาษาไทยไดทำเรื่องอนุมัติใหทานไป
ศึกษาระดับปริญญาเอกที่คณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรซึ่งมีหลายคนไมเห็นดวย
แตผมมองอีกมุมหนง่ึ คือภาควิชาเรามีคณาจารยทม่ี ีความรูค วามสามารถในศาสตรภ าษาไทยเปนอยาง
ดียิ่ง แตเมื่อไรที่ลงมือเขียนหลักสูตรที่ปรับปรุงมักมีปญหา เนื่องจากเราไมมีอาจารยที่เขาใจศาสตร
ในการทำหลักสูตร จึงเห็นดวยใหทานอาจารยไปตอปริญญาเอกที่คณะศึกษาศาสตร และมอบหมาย
งานใหทานเขียนหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวตางประเทศจนสำเร็จเปนรูปเลมไดใช
และปรบั ปรุงใหสมบูรณในปจจบุ ันนีถ้ อื วา เปนผลงานของทา นอาจารยอกี ชนิ้ หน่งึ

ในชวงผมดำรงตำแหนง รองอธิการบดีเฉลิมพระเกยี รติ จังหวดั สกลนคร ไดม อบหมายใหทาน
อาจารยชวยหลายอยางโดยเฉพาะการแตงคำประพันธสดุดีบุคคลสำคัญของประเทศทานไมเคย
ปฏิเสธและทำงานใหทุกอยางออกมาเปนอยางดียิ่ง ชวงผมไปดำรงตำแหนงที่จังหวัดสกลนครได
เชิญทานไปดูงานที่วิทยาเขตโดยเดินทางรวมกับรองศาสตราจารย ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ นายกสภา
มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตรใ นสมยั นัน้ โดยใหทา นชวยการเรียบเรยี งขอมลู ผลงานในชวงผมบริหารงาน
ที่นั้น งานอีกสวนหนึ่งที่สำคัญคือการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับงานพระบรมศพรัชกาลที่ 9 วิทยาเขต
จัดพิมพหนังสือทานอาจารยไดแตงคำประพันธใหตีพิมพลงในหนังสือไดรับคำชมจากชาวสกลนครวา
แตงคำประพันธไดด มี าก ๆ

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 25

จริง ๆ แลวอยากจะเลาถึงการทำหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวตางประเทศ
ในเบื้องตนผมมอบหมายใหทาน รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี เขียนเนื้อหาและรายวิชาทั้งหมด และรีบ
ทำใหเสร็จโดยเร็วเพราะมีผูประสานงานจากประเทศจีนมาติดตอขอสงเขามาเรียนระดับปริญญาตรี
ที่ภาควิชาภาษาไทยจำนวนมากในหวงเวลานั้นผมเปนผูบริหารในตำแหนงคณบดีคณะมนุษยศาสตร
จึงทำงานไดบรรลุเปาหมายสามารถเปดหลักสตู รนีไ้ ดและมีนิสิตมาเรยี นจำนวนมากเราไดผลิตบัณฑิต
จบไปหลายรุน และหลักสูตรนี้ไดรับการยอมรับวาเปนหลักสูตรนานาชาติสมบูรณแบบที่สุดเพราะ
มีนานาชาติมาเรยี นหลายประเทศดวยกัน ความสำเร็จตรงน้ีนอ ยคนที่จะทราบวาเราสำเร็จไดอยางไร
ผมกลาวตลอดเวลาเปนผบู รหิ ารในตำแหนงใด ๆ กต็ ามวา ตำแหนง สรา งตำนาน ความสำเร็จน้ีเพราะ
อาจารยส มเกยี รติชวยผม

รายวิชาที่เปดในหลักสูตรเราเนนการใชทักษะทั้ง 4 ดาน คือ ทักษะการอาน ทักษะฟง
ทักษะการพดู และทกั ษะการเขียน เน้ือหาก็แบง เปน การอาน ฟง พดู และเขยี น เบอ้ื งตน ระดับกลาง
และ ระดับสูง ซึ่งการเรียนภาษาโดยทั่วไปก็อาศัยหลักนี้ทั้งหมด ทำใหเนื้อหาที่ผูเรียนเรียนครบ
ทั้ง 4 ระดับแลวจะสามารถสื่อสารภาษาไทยได จากนั้นจะใหเรียนเนื้อหาทางดานวัฒนธรรมและ
สงั คมไทย เนนการเรียนทำใหดูและทำใหเปน ผลผลติ บณั ฑติ รนุ แรก ๆ บณั ฑติ จบไปแลวนำความรูไป
ประกอบอาชีพไดป ระสบผลสำเรจ็ บางคนก็ศึกษาตอระดบั บัณฑติ ศึกษาของภาควิชาภาษาไทย

นอกจากการทำหลักสูตรภาษาไทยเพ่ือการสารสำหรับชาวตางประเทศแลว รศ.ดร.สมเกียรติ
รักษมณี ไดชวยผมจัดทำวารสารวิชาการของภาควิชาภาษาไทยในชวงการขออนุมัติโครงการจัดทำ
วารสารตองผานการกลั่นกรองจากกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตรไมนอยกวา 5 ครั้ง และผาน
การพิจารณากลับไปกลับมาระหวางหัวหนาภาควิชาภาษาไทยกับคณบดีคณะมนุษยศาสตรจ ำนวน
29 ครั้ง ทุกคนคิดวาหัวหนาวิชาภาษาไทยคงทิ้งโครงการนี้แลว แตหารูไหมวาสิ่งใดท่ียาก ถาเกิด
ประโยชนตอสวนรวมไมใชสวนตัว สิ่งนั้นผมจะตอสูจนถึงที่สุดเพราะชวงนั้นหลักสูตรปริญญาโท
ภาษาไทยมีบัณฑิตจบจำนวนมากแตหาที่ตีพิมพบทความของบัณฑติ ลำบาก ผมในฐานะดูแลหลักสูตร
และบัณฑิต ถาไมมีคนจบจะมผี ลทางดานจิตวิทยาอยา งมากและเสียหายตอหลักสตู ร การตอสูเพื่อให
เกดิ ประโยชนตอ สว นรวมจงึ เปนหลักบรหิ ารประจำตวั ผม กลาวมายืดยาวจะเก่ียวของกับทานอาจารย
สมเกียรติตรงไหน ตอบตรง ๆ เกี่ยวของมากเพราะทานเปนผูชวยตั้งแตเริ่มตนโดยเปนบรรณาธิการ
ประจำวารสารจนเราสามารถทำใหโ ครงการไดรับอนุมัติใหดำเนินการ และตอไมมาถึง รศ.ดร.โกวิทย
พิมพวง มารับชวงตอชวงทานอาจารยสมเกียรติไปปฏิบัติราชการแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่ประเทศ
สาธารณรฐั เกาหลี

26 : “สมญานาม เกียรติกอ งวรรณศลิ ป”

ผลงานทานที่มีตอภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัย ดังที่กลาวเปนผลงานความเปนปราชญ
ทางภาษาวรรณศิลปน ับวาภาควชิ าเรามีทานชว ยเปนหลกั ในการสอนนสิ ิตใหไดม ีองคความรูในเรือ่ งน้ี
ในชวงทานไดตออายุการทำงานทานไดมาเปนกรรมการดำเนินงานโครงการปริญญาเอกภาษาไทย
ภาคพิเศษและรับผดิ ชอบสอนงานวิชาการวเิ คราะหข ้ันสงู ภาษาไทยทส่ี ะทอนสังคมและวฒั นธรรมไทย
ทานไดเชิญวิทยากรผูเช่ียวชาญในศาสตรตาง ๆ ที่สัมพันธกับเนื้อหามาบรรยายโดยใชทนุ สว นตัวเปน
คาตอบแทนวิทยากร สวนนี้ถือวาเปนการเสียสละเพื่อการศึกษาอยางยิ่ง นิสิตไดรับความรูและนำไป
พัฒนาตอยอดไดห ัวขอวิทยานิพนธ นอกเหนือจากน้ันไดชว ยกนั หาทางชว ยนิสิตปริญญาเอกท่ียังสอบ
ภาษาอังกฤษไมผานตามเกณฑการจบหลักสูตรโดยการจัดใหนิสิตลงเรียนภาษาอังกฤษสามารถสอบ
ผา นไดด ว ยดีทุกคน เปน ผลงานท่ีทา นอาจารยไ ดชว ยกนั พัฒนาภาควชิ าภาษาไทย

ชวงเวลาเปนกรรมการดำเนินงานโครงการภาคพิเศษปริญญาเอก สาขาภาษาไทย คือชวง
วันที่ 1 มิถุนายน 2562 - 30 พฤษภาคม 2564 เปนเวลา 2 ป คณะกรรมการไดดำเนินการบริหาร
เพื่อใหโครงการดำเนินไปดวยดี เนื่องจากจำนวนนิสิตลดลงเพราะผลสอบภาษาอังกฤษไมผานเกณฑ
มาตรฐานของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร จึงทำใหนิสิตระดับปริญญาเอกมีจำนวน
นอย คณะกรรมการไดกำหนดหลักบริการโดยยึดหลักการวา การสรางบัณฑิตที่มีคุณภาพใหไปรับใช
ประเทศชาติได 1 คนถอื เปนสรา งบคุ ลากรทางการศึกษาท่ียิ่งใหญ จงึ ไมใสใจจำนวนคนเรียนมากหนัก
ในขณะเดียวกันลดคาตอบแทนคณะกรรมการที่เคยรับจำนวนเต็มมาตั้งแตกรรมการชุดเริ่มตน
เหลอื รับคร่ึงหนึ่ง และลดคา สอนจากช่ัวโมงละ 3000 บาท เหลือ 500 บาท จึงทำใหโครงการสามารถ
ดำเนนิ งานไดอยางมีประสิทธภิ าพท่ีกลาวมาทั้งหมดเปนผลงานท่ีพวกเราชวยกันพัฒนาใหหลักสูตรไป
ไดเปน อยางดี ขอขอบคณุ ทานอาจารยท ่มี สี วนชว ยดนั อยางเตม็ ท่ี

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 27

สนุ ทรพจี สดุดคี รูวรรณศิลป

โดย ผชู ว ยศาสตราจารย ดร.บญุ เลิศ วิวรรณ

ทาทางเขมขรึมและจริงจังตอการทำงาน และการสอน แตในขณะเดียวกันก็มีอารมณขัน
อยางที่เราไมคาดคิด เปนผูที่มีความเชี่ยวชาญดานกาพย กลอน โคลง ฉันท วรรณกรรม วรรณคดี
นวนิยาย เรื่องสั้น และชอบทานอาหารอีสาน นั่นคือ “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี”
ปราชญดานภาษาวรรณศิลปของภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
ปจ จบุ ัน คือ “นายกสมาคมนกั กลอน แหง ประเทศไทย”

ในชวงที่ขาพเจาไดมาปฏิบัติงานบรรจุเปนอาจารยใหม ๆ ที่ภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ป พ.ศ. 2555 นั้น ทานอาจารย ดร.สุพัตรา
อินทนะ รองหัวหนาภาควิชาภาษาไทยในขณะนั้น ไดพาขาพเจาใหไปทำความรูจักทานอาจารย
เริ่มแรกเดิมทีนั้น ขาพเจาก็เรียนตามตรงวา รูสึกกลัวทานอาจารยมาก ดวยบุคลิกที่ทานเปนอาจารย
ผูใหญ จรงิ จัง เครงขรึม ดังทีก่ ลาวขา งตน ทำใหขา พเจารูส ึกวาทา น “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ
รักษมณี” เปนผูที่มีความนาเกรงขามมาก อาจจะเขาถึงยาก ดวยตัวขาพเจาเองทั้งอายุ
และประสบการณในการทำงานคอนขางนอย แตสิ่งหนึ่งที่ขาพเจาคิดเสมอวา ทานอาจารยเปนผูมี
ความรูดานภาษาวรรณศิลป การอยูใกลบัณฑิต อยางนอยก็จะไดซึมซับศาสตรดานวรรณศิลป
จากบณั ฑติ อยบู าง ไมม ากก็นอ ย หากเรามคี วามออ นนอ มถอ มตน

จากนน้ั เปนตน มา การทข่ี าพเจาใชความออนนอมถอมตน สนองงานทาน “รองศาสตราจารย
ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ในบางโอกาส ทำใหขาพเจาพอรูวาจะปฏิบัติตัวอยางไรตอทานอาจารย
ชองวางระหวางอาจารยผูใหญกับอาจารยนอย ๆ เริ่มหายลงไปคอนขางมาก และขาพเจาไดเรียนรู
ศาสตรดานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตางประเทศ เพิ่มเติมมากขึ้นจากการรวมจัดกิจกรรม
ในลกั ษณะนี้กับทา นอาจารย จำไดวา ประมาณ 2 ครง้ั และการสนองงานดา นอ่นื ๆ ท่ีไดคอยชวยเหลือ
ทา น นอกเหนอื จากน้ี การไดม าซ่ึงศาสตรดานภาษาวรรณศิลป ขาพเจา ยอมรับวา สวนหน่ึงไดมาจาก
องคความรูของทาน “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” เชน การคุมวิทยานิพนธใหกับนสิ ติ
รวมกัน ซึ่งขาพเจาถือวา เปนเกียรติสำหรับตัวเองมาก ๆ แมองคความรูดานวรรณศิลปที่มีอยู
จะเทียบไมไดถึงครึ่งหนึ่งของทานอาจารย แตก็คิดวามาก สำหรับตัวขาพเจาที่จำเปนตองเติมเต็ม
ดานภาษาวรรณศิลป ซึ่งขาพเจาถือวาอยูใกลชิดทานอาจารยแลวไดประโยชนมาก ๆ แมบางคร้ัง
ลกั ษณะการแนะนำของทา นอาจารย คลายการตำหนิหรอื การดุ แตขาพเจา คิดวา น่ีคอื บคุ ลิกภาพของ

28 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

ครูโบราณที่มีลักษณะประมาณนี้ คนที่ไมเคยอาจจะโกรธทาน แตสำหรับตัวขาพเจาคิดวาทานกำลัง
สอนเรา เหมือนที่อยางที่เจาคุณหลวงปูที่วัดชนะสงครามราชวรวิหารเคยสอนขาพเจา ทำใหจิตของ
ขา พเจา ไมร ูสกึ โกรธ ทกุ อยางจงึ ผา นมาได

ในฐานะที่ขาพเจา อาจจะเรียกไดวาเปนรุนนอง หรือรุนลูกของทาน “รองศาสตราจารย
ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ตองขอกลาววา ขอขอบคุณทานอาจารยมาก ๆ ที่คอยบอก คอยสอน
คอยตำหนิ คอยแนะนำใหขาพเจาไดแข็งแกรงและไดขอคิดพรอมทั้งแนวคิดการทำงานในหลาย ๆ
เรื่องอยางที่ไมรูตัว ในโอกาสที่ทาน “รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ตองเกษียณอายุ
งานนี้ ขาพเจารูสึกเสียดายที่อาจารยผูใหญแกรงกลาทางดานวรรณศิลป อาจจะมีกิจกรรมรวมกับ
ภาควิชาภาษาไทยนอยลง แตในทางตรงกันขาม ทานอาจารยก็คงจะมีความสุขและหายเหนื่อย
พรอมทั้งจะไดมีเวลาในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทานอาจารยอยากทำ ในนามของรุนนอง รุนลูก
จึงขออาราธนาคุณแหงพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ไดชวยปกปกษรักษา
ใหท านอาจารย มสี ขุ ภาพแข็งแรงตลอดไป สวัสดคี รับ

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 29

สุนทรพจีปูชนยี าจารย

สุขสนั ต ศรสี อ งหลา สำราญ ถวนนา
วนั เกดิ หกสิบกาล ผอ งแผว
รองศาสตราจารย กลาวขาน ชาญเชย่ี ว วรรณศลิ ป
ดร. ยอดปราชญแ ลว อกุ กฤตวชิ าการ

สม ญานามเอยอา ง ปญ ญา เลอ่ื งลอื
เกียรติ ศัพทข จรไกล แซซ อง
รกั ษ ศาสตรภาษาไทย โคลงกาพย กลอนกานท
มณี ยอดนามพรอง คา ลำ้ ปชู นีย

สขุ สนั ตว ันเกิด แด รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รกั ษมณี
เม่ือวันท่ี 16 ตลุ าคม พ.ศ. 2560

ประพนั ธโ ดย ผูชว ยศาสตราจารย ดร.บญุ เลศิ วิวรรณ
คณะมนษุ ยศาสตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร

30 : “สมญานาม เกียรติกอ งวรรณศลิ ป”

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 31

ความทรงจำใตรม นนทรี

ผูชว ยศาสตราจารย ดร.รัชดา ลาภใหญ
ศษิ ยเการะดบั ดุษฎีบัณฑิตรนุ ท่ี 4

เมื่อป พ.ศ. 2553 ดิฉันไดมีโอกาสเขาศึกษาตอระดับดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยรัฐบาล
แหงหนึ่งยานบางเขน มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับตน ๆ ของประเทศไทย เกาแก มีพระพิรุณ
ทรงนาคเปนสัญลักษณ และมีตนนนทรีเปนตนไมประจำของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแหงนี้
คอื มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร ภาควชิ าทด่ี ฉิ นั ไดเ ขามาศึกษาตอ คอื ภาควชิ าภาษาไทย ดิฉันกังวลใจ
บางเล็กนอยเพราะดิฉันมิใชศิษยเกาทั้งระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิตของที่นี่ จึงรูสึกหวั่นใจวา
บรรยากาศการเรียนจะเปนเชนไร คณาจารยที่นี่จะเมตตาดูแลศิษยตางสำนักอยางดิฉันมากนอย
เพียงใดแตความประหวั่นพรน่ั พรงึ ท่ีปกคลุมอยูภายในจิตใจก็คอย ๆ จางหายไปเมื่อไดเขามาสัมผัสกับ
ชีวิตใตรมนนทรี ที่นี่สรางความทรงจำอันมีคามากมายเกินกวาระยะเวลา 4 ปที่ไดมีโอกาสเปนนิสิต
ในสถานท่ีทรงคณุ คา แหงน้ี

งานปฐมนิเทศเปนงานแรกที่ดิฉันไดพบคณาจารยภาควิชาภาษาไทยทุกทาน แตละทานดู
ทรงภูมิรู เปนผูทรงคุณวุฒิทุกทาน หลังจากนั้นก็ไดมีโอกาสพบอาจารยแตละทานมากขึ้น ๆ เมื่อได
ไปเรียน และไปสงงานที่ภาควิชาภาษาไทย หนึ่งในอาจารยที่ดิฉันพบอยางสม่ำเสมอ คือ
รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี ภายนอกอาจารยดูเงียบขรึม ไมคอยยิ้ม จริงจัง นิสิต
หลายคนกลัวและไมคอยกลาสนทนากับทานมากนัก ดฉิ นั กเ็ ปน หนง่ึ ในนั้นท่ีรูสึกเกรงและกลัวทานอยู
ไมนอย ภายหลังไดมีโอกาสสนทนากับทานหลายครั้งจึงไดทราบวาสิ่งที่เห็นหาใชสิ่งที่เปนจริงไม
ทานใจดี พูดคุยดวยเสมอเมื่อพบกัน เกิดความประทับใจเล็ก ๆ หลายอยางถึงแมจะไมเคยเรียน
กับทานเลย ดิฉันขอนำความประทับใจนั้นมาบันทึกเปนตัวหนังสือเพื่อระลึกและเชิดชูเกียรติในวัน
เกษยี ณอายขุ องทา น

ความประทับใจแรกของดิฉัน คือ ดิฉันพบวา รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี
เปนผูทรงคุณวุฒิดานภาษาไทยอยางแทจริง ทานมีความรู ความสามารถที่ลึกซึ้งหลากหลายดาน
เชน วรรณคดีไทย การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตางประเทศ ภาษาและวัฒนธรรมไทย คติชน
วิทยา ฯลฯ ดิฉันเคยมีโอกาสเปนกรรมการตัดสินการประกวดสวดมนตหมูทำนองสรภัญญะฯ
และการประกวดพูดสุนทรพจนเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศของกระทรวงวัฒนธรรม
พรอมกับทาน พบวาทานสามารถตัดสินการประกวดไดอยางยอดเยี่ยม เนนความยุติธรรม
ความถูกตอ งของเนื้อหาและกฎเกณฑที่ประกวดเปนหลัก มิใชเนน ความถูกใจของตนเองและผูเขารวม

32 : “สมญานาม เกียรติกอ งวรรณศลิ ป”

กิจกรรม เชน ตอนประกวดสวดมนตหมูทำนองสรภัญญะฯ เกิดกรณีที่โรงเรียนแหงหนึ่งสวดมนต
เกินกวาบทที่กำหนดแตโรงเรียนนี้มีความโดดเดนในการสวดมนตมากทั้งทวงทำนอง พลังเสียง
ความพรอมเพรียง สามารถชนะทุกโรงเรียนไดทันที รวมทั้งผูเขารวมกิจกรรมคนอื่น ๆ ตางก็พึงพอใจ
การประกวดของโรงเรียนนี้ ตางปรบมือเสียงกึกกองเมื่อสวดมนตหมูทำนองสรภัญญะฯ จบ แตทาน
ยึดถือ “ถูกตอง” มิใช “ถูกใจ” ทานจึงหารือกับคณะกรรมการวาจำเปนตองตัดคะแนนเพราะผิด
หลักเกณฑที่กำหนดซึ่งคณะกรรมการตางก็เห็นพองกับทานและทานสามารถอธิบายใหผูเขาแขงขัน
เขาใจไดวาพวกเขามีขอผิดพลาดใด ควรปรับปรุงแกไขอยางไร นอกจากนี้ทานสามารถแยกแยะโคลง
ฉันท กาพย และกลอน ที่ผูเขาแขงขันแตละโรงเรียนนำเสนอในวันประกวดสวดมนตหมูทำนอง
สรภัญญะฯ ไดอยางแมนยำ เชน เกิดกรณีที่โรงเรียนแหงหนึ่งแตงอินทรวิเชียรฉันทเพื่อเทิดทูน
พระเกยี รติสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนีพนั ปหลวง โดยมบี างสวนที่
ไมถูกตองและยาวกวาปรกติ จึงมีขอผิดพลาดมาก ทานสามารถวิเคราะหไดทันทีวาเปนฉันท
ประเภทใดอธบิ ายไดวาไมถ ูกตองเชนไร เหตใุ ดจงึ ไมควรแตง ในลักษณะท่ีนำมาประกวดซง่ึ นับเปนขอดี
ท่ีทำใหโรงเรียนน้ันไดแงคิดเพ่ือนำไปปรบั ใชในการแขงขันครั้งอ่ืน ๆ ตอไป นอกจากยึดถือ “ถูกตอง”
ไมมุงเนน “ถูกใจ” เปนหลักและมีความแมนยำในเรื่องวิชาการแลว ทานยังมีภาวะผูนำ มีสติ แกไข
ปญ หาไดอ ยางฉบั ไวและมีเมตตาธรรมสงู เชน ในการประกวดพูดสุนทรพจนเ ฉลมิ พระเกยี รติพระบรม
ราชจักรีวงศ มีนิสิตคนหนึ่งตื่นเวทีเนื่องจากมีผูเขาฟงมากและมีการถายทอดสดของกระทรวง
วฒั นธรรมประกอบกัน จึงทำใหนสิ ิตคนดังกลาวพูดไปไดระยะหนง่ึ กล็ ืมบทและไมส ามารถพูดตอไดอีก
ทา นเหน็ ดงั นั้นจึงรีบแกไขสถานการณเพ่ือไมใหผูเขาประกวดเกิดความเครียด และไมใหเกิดความเงียบ
งันที่นานเกินไปในหองประชุม ทานจึงพูดคุยกับนิสิตคนดังกลาวหนาเวทีประกวดนั้นทันทีโดยพูดคุย
เรื่องอื่น ๆ ที่มิใชการประกวดเพื่อใหผูเขาประกวดคอย ๆ ผอนคลาย ทานคอย ๆ พูดนำในประเด็น
ตาง ๆ ทนี่ สิ ิตจะโยงไปสูเน้ือหาท่ีจะนำเสนอตอได ทานมไิ ดต ำหนิผูเ ขาประกวดแมแตน อยแตพยายาม
ชวยเหลือ ใหกำลังใจนิสิตอยางเต็มความสามารถเทาที่ครูคนหนึ่งจะทำได มิใชในฐานะกรรมการ
ตัดสินการประกวด แตทำในฐานะครผู เู มตตาศษิ ย

ความประทบั ใจอยางทีส่ องของดิฉัน คอื ดฉิ นั พบวา รองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รกั ษมณี
เปนผูเชี่ยวชาญในเรื่องการทำวิจัยอยางแทจริง ดิฉันสังเกตไดวาทุกครั้งที่มีการสอบหัวขอ
สอบรายงานความกาวหนา และสอบปองกันวิทยานิพนธของนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตนั้น ดิฉันจะเห็น
ทา นเขารว มฟงทุกครั้งถึงแมว า จะไมใชน สิ ิตในทีป่ รกึ ษาของทาน ดิฉันกเ็ ปน หน่ึงในนนั้ เชน กนั ท่ที านเขา
ฟงการนำเสนอดวยทุกครัง้ โดยปรกติแลว นิสิตก็จะรูสึกกังวล หนักใจ และเครียด เมื่อตองเขาสอบใน
แตละครั้งอยูแลวแตเมื่อทราบวาทานเขาฟงดวย ดิฉันก็เริ่มรูสึกปนปวนในทองคลายสำนวนฝรั่ง
ที่เรียกวา butterfly in my stomach เพราะดิฉันทราบถึงมาตรฐานทางวิชาการที่แมนยำและเนน

เนื่องในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 33

ความถูกตองของงานวิจัยเปนหลักของทาน ตลอดระยะเวลาในการนำเสนองาน ดิฉันก็จะไดรับ
คำแนะนำ ขอเสนอแนะ และจุดบกพรองของทั้งคณะกรรมการที่ใหความอนุเคราะหมาสอบใหดิฉัน
และจากทา นดว ย ทำใหท ราบวาทา นตง้ั ใจฟงงานของนสิ ิตตลอดระยะเวลาการนำเสนอเพราะสามารถ
แจกแจงขอผิดพลาด สวนที่ไมสัมพันธ ไมเกี่ยวของกันกับงานที่ทำได อธิบายหลักการและทฤษฎี
ตาง ๆ ที่เกี่ยวของหรือสอดคลองกับงานวิจัยของนิสิตเพื่อใหนิสิตนำไปเพิ่มเติมในเนื้อหา
ของวิทยานิพนธเพื่อความสมบูรณของงาน ทานไมเคยตำหนิแตจะใหขอคิดเห็นที่เปนประโยชน
และสามารถนำไปเพิ่มเติมหรือปรับปรุงในวิทยานิพนธได เพื่อนของดิฉันคนหนึ่งช่ือ
ผูชวยศาสตราจารย บุณยเสนอ ตรีวิเศษ (ตำแหนงทางวิชาการในขณะนั้น ปจจุบันเปนรอง
ศาสตราจารย ดร.) เปนนิสิตในทีป่ รึกษาของทา น พีบ่ ณุ ยเสนอเลา วา ทา นตรวจงานละเอียดมาก แมแ ต
ผิดคำเดยี ว ทานกไ็ มใ หผา น สอบถามความกา วหนาของงานตลอดเวลา นดั พบนิสิตอยา งสม่ำเสมอโดย
จะไมปลอยใหนิสิตมาเรงทำวิทยานิพนธตอนใกลหมดเวลาเพราะทานเกรงนิสิตของทานจะพนสภาพ
ดังน้นั ทา นจงึ ย้ำในเร่ืองวินัยของการสง งานตลอดเวลา ดฉิ นั จงึ มกั พบพบ่ี ณุ ยเสนอนำงานมาสงทานเปน
ประจำ และไดพูดคุยกันตลอดระยะเวลาในการทำวิทยานิพนธ จึงทำใหทราบวาวิทยานิพนธของพ่ี
บุณยเสนอมคี วามกาวหนาทุกคร้งั แตล ะคร้งั ที่พบ พ่บี ุณยเสนอจะตรวจทานงานของตนเองหลายรอบ
มากเพื่อไมใหมีขอผิดพลาดทั้งภาษาและทฤษฎีตาง ๆ ที่นำมากลาวอางไว และไปหองสมุดเพื่อหา
หนังสืออานเพิ่มเติมตลอดเวลา ภายหลังจึงทราบวาทานใหขอเสนอแนะและใหการบานพี่บุณยเสนอ
หาขอมูลเพิ่มเติมเพื่อทำใหวิทยานิพนธสมบูรณมากที่สุด ความละเอียดในการใชภาษาของทาน
ประกอบกับการใสใจนิสิตของทานในทุกดา น บม เพาะใหน สิ ติ ในทีป่ รกึ ษาของทานในวันน้ัน กลายเปน
ผูใชภาษาไทยดีเดน ประจำป พ.ศ. 2564 ในวันนี้ รองศาสตราจารย ดร.บุณยเสนอ ตรีวิเศษ นิสิตใน
ที่ปรึกษาของทานไดรับคัดเลือกจากกรมสงเสริมวัฒนธรรมใหเปนผูใชภาษาไทยดีเดน ประจำป
พ.ศ. 2564 นำความภาคภมู ิใจมายังภาควชิ าภาษาไทย มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตรเปนอยางย่งิ

ความประทบั ใจอยางท่ีสามของดิฉนั คอื ดิฉนั พบวา รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี
เปนครูผูหวงใยศิษยอยางสม่ำเสมอ ผานมานาน 8 ปแลวที่ดิฉันจบการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต
และไดมีโอกาสกลับไปทำหนาที่บรรยายเร่ืองราวในอดีตใหนอ ง ๆ ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต
ไดเขาใจวิถีชีวิต การเรียน การทำวิทยานิพนธ การเขียนบทความ และนำเสนองานในการประชุม
วิชาการรวมทั้งบอกเลาเรื่องราวการเดินทางที่นาประทับใจของนิสิตทุกรุน คือ ประสบการณ
การเดินทางไปเก็บขอมูลที่หมูบานชาวไตพาเก ประเทศอินเดีย อีกทั้งไดบอกเลาเรื่องราวที่นอยคน
อาจไมทราบขอดีและคุณประโยชนของการเรียนภาษาไทย คือ ปจจุบันชาวตางชาติสนใจเรียน
ภาษาไทยมากทั้งการเรียนระยะสั้นและการเรียนระยะยาว จึงทำใหความตองการครูสอนภาษาไทย
มีอัตราสูงมากขึ้น เชน ดิฉันเองไดรับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยรังสิตใหเขามาดูแลและทำงานกับ

34 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

ชาวตางชาติหลังจากจบการศึกษาไปแลว ไดใชความรูดานภาษาไทยอยางเต็มที่ในการทำงานครั้งน้ี
และไดพฒั นาภาษาองั กฤษไปในขณะเดียวกนั ดิฉนั จำไดอยา งแมน ยำวาทานเขา รวมฟงดิฉันและเพ่ือน
ๆ บรรยาย เมื่อจบการบรรยายแลวไดมีโอกาสสนทนากับทาน ทานถามวา “เราอยูรังสิตใชไหม
งานเยอะหรือเปลา เด็กจนี มีมาเรียนมากไหม เหนอื่ ยไหมละ” วินาทนี ้ัน ดิฉนั รสู กึ ดีใจอยางบอกไมถูก
8 ปท ผี่ านไป ทา นยงั จำดฉิ นั ได จำไดแมกระทั่งดิฉันทำงานอยทู ี่มหาวทิ ยาลัยรังสิต แมจะเปนเพียงบท
สนทนาสั้น ๆ แตแฝงไวดวยความหวงใยศิษยวาทำงานมากมาย คงจะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน
พรอมทั้งใหขอเสนอแนะดิฉันในเรื่องของการดูแลนักศึกษาตางชาติวาควรปฏิบัติเชนไร ควรวางแผน
การเรียนการสอนอยางไร ทำใหดิฉันรูสึกซาบซึ้งใจวาครูก็ยังคงเปนครเู ชนเดิม ถึงแมจะจบการศึกษา
ไปนานเพียงใด ครูก็ยังคงมีคำแนะนำที่ดี มีความหวงใย ความผูกพันกันระหวางครูกับศิษยยังคง
แนบแนนอยูเสมอ รวมถึงเพื่อน ๆ คนอื่นที่มารวมบรรยายพรอมกับดิฉันอีก 2 คน ทานก็สนทนา
อยางเปนกันเอง ถามสารทุกขสุขดิบ ความกาวหนาในงานของแตละคนพรอมใหคำแนะนำ
และขอคิดเห็นที่สามารถนำไปใชประโยชนกับงานไดจ ริง ดิฉันรูสึกวาครูของเรามิไดใ หความรูก ับศษิ ย
เพียงอยางเดียวแตบอกเลาประสบการณ เสนอแนะสิ่งที่มีประโยชน ใหทางสวางกับศิษยในการนำ
ขอ เสนอแนะและความรูต า ง ๆ ไปประกอบอาชีพตอไปในอนาคตไดอ ีกดวย

ที่กลาวมานั้น นับเปนเพียงสวนเล็กนอยที่ดิฉันสัมผัสไดจากการไดพบ สนทนากับทานตลอด
ระยะเวลา 4 ป ที่ศึกษาอยูในระดับดุษฎีบัณฑิต ณ สถานที่ทรงคุณคาแหงนี้ และดิฉันคาดวานาจะมี
อีกมากมายหลายสว นทีด่ ิฉันนาจะสัมผสั ไดหากไดเรียนกับทานบา งหรือเปนนิสิตในที่ปรึกษาของทาน
ถึงแมจะเปนสวนเล็ก ๆ ที่สัมผัสไดแตสำหรับดิฉันถือวามันคือความยิง่ ใหญและมีคาสำหรับดิฉันที่ครู
ทานหนึ่งมอบใหศิษยคนนี้เพื่อเปนแบบอยางในการประกอบอาชีพครู อาชีพอันทรงเกียรติ ไมวาจะ
เปนการยึดถือความถูกตอง ไมยึดความถูกใจ การเปนนักวิจัยที่ดี ทราบหลักเกณฑและทฤษฎีตาง ๆ
อยางแมนยำหรือ การมีเมตตา หวงหาอาทรตอศิษยทุกคน ถึงแมวาทานจะเกษียณอายุราชการ
และอาจไมไดพบทานอีก แตค วามดงี ามของทานในแงมุมตาง ๆ ทีไ่ ดสัมผสั และความประทับใจที่มีตอ
ทา นในหลาย ๆ เรอ่ื งจะยงั คงวนเวยี นอยูใ นความทรงจำใตรม นนทรขี องดฉิ นั ตลอดไป

เนอ่ื งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 35

สมญานามเกยี รตกิ องวรรณศิลป

อาจารยม ณฑา วริ ิยางกรู
ประธานหลกั สูตรครุศาสตรบัณฑติ สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ
นสิ ติ หลักสตู รศลิ ปศาสตรบณั ฑิต สาขาภาษาไทย รหสั 45
นสิ ติ หลักสูตรปรัชญาดษุ ฎีบณั ฑิต สาขาภาษาไทย รหัส 62

เมื่อป พ.ศ. 2545 นิสิตมีโอกาสไดศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะมนุษยศาสตร สาขาวิชา
ภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ขณะที่ศึกษาในระดับชั้นปที่ 1 มีโอกาสไดเรียนวิชาภาษาเพ่ือ
การสื่อสารจากทานอาจารยสมเกียรติ รักษมณี รูสึกประทับใจอยางมาก ทานเปนคุณครูที่ใสใจและ
ทุมเทใหกับการสอนอยางมาก ทำใหนิสิตรูสึกมีความสุขกับการเรียนอยางมาก และในป พ.ศ. 2562
นิสิตมีโอกาสไดศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร นับเปน
ความโชคดีอยางมหาศาลที่มีโอกาสไดเรียนกับทานอาจารยสมเกียรติ รักษมณี อีกครั้ง ทานไดชี้แนะ
แนวทางในการศึกษาวิเคราะหวรรณคดีและวรรณกรรม โดยใชหลักและทฤษฎีตาง ๆ อันเปน
ประโยชนตอการทำวิจัย อีกทั้งทานยังเมตตาเชิญวิทยากรผูมีความรูความเชี่ยวชาญมาบรรยายให
ความรูกับนิสิต นับเปนโอกาสอันดีที่นิสิตมีโอกาสไดเรียนรูจากวิทยากรผูมีความเชี่ยวชาญในศาสตร
ตาง ๆ ทั้งทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะหเชิงวิพากษ ทฤษฎีจิตวิทยาเพ่ือ
การศึกษาวรรณกรรม และแนวคิดสญั วิทยาและมายาคติ นับเปนการเพิ่มพูนความรูอันเปนประโยชน
ตอ การทำวจิ ัยอยา งมาก

ในวาระเกษียณอายุงานของรองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี อาจารยผูประสิทธ์ิ
ประสาทความรูและมีคุณูปการตอวงการวรรณศิลป นิสิตขอกราบขอบพระคุณในความเมตตา
ที่อาจารยมีตอนิสิตเสมอมา นิสิตจะนำความรูที่อาจารยถายทอดไปประยุกตใชในการเรียนการสอน
และการทำวิจัย เพื่อสรางคุณประโยชนใหกับประเทศชาติ ทายที่สุดนี้ขอกราบอาราธนาส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ
ทั่วสากลโลกโปรดดลบันดาลใหอาจารยมีความสุขทั้งกายและใจ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง
เปน หลกั ชัยหลกั ใจใหนสิ ติ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรสบื ไป

36 : “สมญานาม เกยี รติกองวรรณศลิ ป”

อาจารยทปี่ รึกษาวิทยานิพนธข องฉนั

นางสาวทิพยวรรณ สีสัน
อาจารยโ ปรแกรมวชิ าภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อีกไมนานหนอก็ถึงเวลาสิ้นสดุ ของราชการดวยการเกษียณอายุ ดวยการบรรลุผลการทำงาน
ทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรของ “รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี” บุคลากรที่มีคุณคา
ของมหาวทิ ยาลยั อาจารยผเู ปนทีร่ กั และเคารพยิ่งของขาพเจา ผใู หแสงสวางแหง ปญ ญาแกล ูกศิษย

รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี ไดใหการอบรมสั่งสอนขาพเจาเปนอยางดีเสมอมา ทั้งยังใหความ
รักความหวงใยมาตลอดเวลาที่ขาพเจาไดเปนลูกศิษยของอาจารย ทำใหขาพเจารูสึกดีใจและ
ประทับใจมากท่ีไดเปนลูกศิษยของอาจารย ขาพเจา ไดความรจู ากอาจารยห ลายประการโดยเฉพาะใน
ศาสตรวิชาความรูดานภาษาไทย ทั้งยังไดเรียนรู ไดแนวคิด ไดเห็นการปฏิบัติงานของอาจารยดวย
ความมุงมน่ั อยางเตม็ ที่ ซงึ่ เปน แบบอยา งทีด่ แี กข า พเจา แกลกู ศิษยทุกคนและบุคคลท่ัวไปดวย

ในโอกาสเกษียณอายุราชการของ “รศ.ดร.สมเกียรติ รักษมณี” ครั้งนี้ ขาพเจาขอแสดง
ความยินดกี ับอาจารยท ป่ี ระสบความสำเรจ็ ในชีวติ ของการทำงานอยา งสมบรู ณด ว ยความภาคภูมิจนถึง
วันเกษียณ และจะไดพักผอนทั้งกายและใจในชีวิตหลังเกษียณ ขอใหอาจารยมีแตความสุข สุขภาพ
รา งกายแขง็ แรง พบเจอแตส ่ิงดี ๆ ตลอดไปคะ

แดครผู ูเ กษียณ
มุทิตาจติ ศิษยแ ดครูฉัน
ผสู รา งสรรคสั่งสอนใหเกิดผล
ยกวิญญาณความเปนครูในใจตน
ศิษยทุกคนหลุดพน อวิชา
จกั จดจำคำสอนดมี คี วามหมาย
จนชีพวายจกั จำมแิ ปรผนั
พระคุณครูผูหวังดีมีอนันต
ชั่วชีวันไมลืมครูผูสอนมา
ขออญั เชญิ คุณพระศรีท่ีเรืองฤทธิ์
เนรมติ พรชยั ใหร ักษา
อญั เชญิ องคเผาพงศเ ทวดา
นอ มพรมาแดครู...สมเกยี รติเทอญ

เนอื่ งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 37

แมพมิ พผ ูให

นางสาวสุธาทพิ ย แหงบญุ
อาจารยโ ปรแกรมวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลยั ราชภฏั กำแพงเพชร

เมื่อถึงเดือนกันยายนของทุกป จะมีอาจารยและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
เกษียณอายุราชการ ปนี้ก็เชนเดียวกัน เดือนกันยายนจึงเปนเสมือนหนาหนังสือที่ถูกบันทึกดวย
ความรกั ความภูมิใจ และความผูกพนั ไวใ นความทรงจำ “รศ.ดร.สมเกยี รติ รักษม ณ”ี อาจารยผ ูซ่งึ เปน
ทีร่ กั และเคารพยง่ิ ของขาพเจาคือหนึง่ ในบุคลากรทางการศึกษาผทู รงคุณคาสรางสรรคผลงานใหเปนที่
ประจักษจนถึงวาระแหงการเกษียณอายรุ าชการ

ขาพเจาเชื่อวาเวลาไมนอยกวาครึ่งหนึ่งของชีวิตขาราชการคือการเดินทางบนเสนทางท่ี
ยาวนานตอเนื่อง ที่ทำใหแตละคนมีประสบการณมากมาย พบทั้งความสำเร็จและอุปสรรคที่ตอง
เรยี นรแู ละปรับตัว การกาวเดินบนเสนทางสายน้ี อาจไมใ ชเรอ่ื งยากนัก แตการประคับประคองตนเอง
ใหเดินไปอยา งสงา งามและมีศักด์ิศรกี ็ไมใชเ รื่องงาย ตอ งอาศยั ความตัง้ ใจจรงิ ความพากเพียรพยายาม
และคณุ ลักษณะอ่นื ๆ อกี มากมายหลายประการ

ตลอดระยะเวลาที่ขา พเจาเปนลูกศิษยของ รศ.ดร.สมเกียรติ รกั ษม ณี ทำใหขาพเจาไดเรียนรู
และซึมซับแนวคิด ความละเอียดรอบคอบ ความมุงมั่นทุมเทใหกับการปฏิบัติงานอยางเต็มกำลัง
ความสามารถ ไดเห็นอาจารยปฏิบัติหนาที่ใหกับมหาวิทยาลัยดวยความวิริยะอุตสาหะ เหมาะสมกับ
การเปนบุคลากรทีม่ ีคุณคา ของมหาวทิ ยาลัย ผลงานของอาจารยจึงเปนที่ประจกั ษและเปนแบบอยาง
ที่ดีแกลูกศิษยและบุคคลทั่วไป มากไปกวานั้นขาพเจาไดสัมผัสความเปน “ครู” ที่มีจิตวิญญาณของ
การใหไ มเส่ือมคลาย

อาจารยของศิษยทานนี้เปนดุจดั่งดวงประทีปของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรในฐานะเปน
ผูบกุ เบกิ และวางรากฐานในศาสตรสาขาวชิ าภาษาไทย ใหมีความเจริญกาวหนา จนถึงปจจุบัน ไดสราง
บัณฑิตที่มีคุณภาพออกรับใชสูสังคมทองถิ่นจากรุนสูรุน จนลูกศิษยมีความเจริญกาวหนาในชีวิต
สามารถประกอบสมั มาอาชีพเล้ยี งดูแลตนเอง ครอบครัวไดเปนอยา งดี

ในโอกาสเกษียณอายุราชการของคณาจารยและบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
ปพทุ ธศกั ราช 2564 นี้ ขอแสดงความยินดกี ับอาจารยท ่ีกา วเดินถงึ หลักชยั แหง ชีวิตการทำงานไดอยาง
สมบูรณและสมความภาคภูมิ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรยั และสิ่งศักด์ิสิทธิท์ ั้งหลาย ไดโปรดอำนวย
พรใหอาจารยมีความสุข ทั้งใจ และกาย มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ แข็งแรง สมความมุงม่ัน
ปรารถนาทกุ ประการ

38 : “สมญานาม เกยี รตกิ องวรรณศลิ ป”

ครผู ูไ มเ ปนสองรองใคร

นางสาววินิตา ปราบภัย
ครรู บั เงินเดือนอนั ดับ คศ.1
โรงเรียนประชาอทุ ิศ (จนั ทาบอนสุ รณ)สำนกั งานเขตดอนเมือง กรงุ เทพมหานคร

สวัสดีคะวันนี้ก็ไดมีโอกาสมากลาวความรูสึกถึงทานรองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี
ซง่ึ ทานเปน คณาจารยในวิชาเอกภาษาไทย การดำรงอยขู องทานนนั่ ยาวนานแลวท่ีเกษตรศาสตรแหงนี้
จวบจนถึงวาระเกษียณอายุราชการ ดิฉันซึ่งเปนนิสิตเกาที่จบไปเมื่อป พ.ศ. 2563 ก็ไดรับเกียรติ
จากทานอาจารยอยางมากมายหลายเรื่อง ทั้งการสอนวิชาคติชนใหกับดิฉันและเพื่อน ๆ
การเปนอาจารยที่ปรึกษารองงานวิทยานิพนธ การเปนกรรมการในการสอบตาง ๆ เชน การสอบ
วิพากย การสอบปากเปลาขั้นสุดทาย เปนตน ตั้งแตเขามาเรียนที่คณะมนุษยศาสตร วิชาเอก
ภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ก็ไดพบกับคณาจารยมากมายหลายทาน แตละทานเปน
ดร. ที่มีประสบการณและความเกงสมตัว หนึ่งในนั้นคือทานรองศาสตราจารย ดร.สมเกียรติ รักษมณี
ท่มี ักสอนใหน ิสิตเรยี นรนู อกตำราอยา งกวางขวาง ซง่ึ จะกลายเปนความรทู ่ีคงทนถาวร และอาจารยได
พาพวกเราไปเรยี นรปู ระสบการณจริง โดยพาพวกเราไปท่ีหมบู า นไทยทรงดำ

เมื่อไปถึงวันแรก เกิดเหตุการณไมคาดคิด คือคนขับรถตกทอน้ำบาดเจ็บ ขับรถไมได สิ่งท่ี
ทานอาจารยค ดิ เวลานน้ั คอื ทานอาจารยจะขบั รถเองเพ่ือพานสิ ิตไปสูความมุง หมายทต่ี งั้ ไว แตไ มไดขับ
เพราะคนขับรถพาคนมาเปลี่ยนเพื่อขับแทนเขา ดังนั้นเราจึงไดเห็นความตั้งใจของทานอาจารยที่จะ
นำพาศิษยไปสูจุดมุงหมายเพื่อเรียนรูในโลกกวา ง ทานอาจารยพาเราเรียนรูสิ่งตาง ๆ จนครบและพา
พวกเรากลับ “ไทยทรงดำ” จงึ เปน ส่ิงทจ่ี ำไดและติดตราตรึงใจพวกเราวาคร้ังหนึ่งทานอาจารยเคยพา
พวกเราไป หลังจากนั้นดิฉันก็ลงเรียนวิชาตาง ๆ มากมาย จนหางหายจากทานอาจารยไป จนมาพบ
และใกลชิดทา นอาจารยอกี ครัง้

ในหนาที่อาจารยท ีป่ รึกษารองวิทยานิพนธ อาจารยอาจไมคอยจ้ำจ้ีจำ้ ไชมากนกั เพราะดฉิ ันรู
วาอาจารยใหเกียรติทานผูชวยศาสตราจารย ดร.บุญเลิศ วิวรรณ เนื่องจากเปนอาจารยที่ปรึกษา
วิทยานิพนธหลัก ที่ดิฉันทราบการวางตัวของทานอาจารยเนื่องจากไดยินทานพูดกับทานอาจารยบุญ
เลิศวา จะขอเปนคนดูหลังสุด ทำใหดิฉันเห็นถึงการวางตัวของทานที่ถึงแมจะเปนผูใหญกวาแตก็ให
เกียรติผูอื่นเสมอ เราไดรวมกันทำวิจัยกันมาเหมือนปนขึ้นภูเขาสูงชัน และใกลถึงยอดเขาในวันที่รอง
ศาสตราจารย ดร.นติ ยา แกว คลั ณา ไดม าสอบวิพากย วันนั้นทานอาจารยนิตยาคดิ วาดิฉันเปนเด็กเรง
จบ ซึ่งจริง ๆ แลวดิฉันจบกอนคนอื่น ทำใหทานอาจารยตองมาอธิบายกันวาเขาไมใชเด็กเรงจบจน

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 39

อาจารยน ิตยาไดว พิ ากยวจิ ยั ของดฉิ นั ซึ่งเปน เรื่องปกติทดี่ ิฉนั ทำใจวา ตองแก และแกห ลายหนา โดยให
เปลีย่ นรูปแบบการพรรณนาเปนอีกแบบ

วันน้นั อาจารยสมเกยี รตมิ โี อกาสไดพ ดู ทา นก็พดู ตดิ ตลก ทำใหดิฉนั คลายเครยี ดลงมาก จนถึง
วนั สอบปากเปลาขั้นสดุ ทาย ทา นอาจารยสมเกยี รตทิ านเปด วจิ ัยของดิฉนั ดูกอนใคร เพราะทกุ คนยังไม
มา ดิฉนั ก็ออ นกรรมการสอบนิดหน่ึง เลยถามวา อาจารยจ ะรับกาแฟไหมคะ แลวดิฉันก็เดนิ ไปชงกาแฟ
ใหทานอาจารยสมเกียรติ ระหวางนั้นทานก็เปดดูและใหกำลังใจวา “หนูเขียนดีขึ้นเยอะเลย เกงมาก
เลย เกงมาก ๆ” แตทานก็เปดแลวก็พับ แลวก็พับ ฮา ๆ ๆ ๆ พับเยอะอยูเหมือนกัน เมื่อเขาหอง
ประชุม ทานอาจารยนิตยาไดมาสอบปากเปลาขั้นสุดทายอีกครั้ง ดวยความที่ทานเปนอาจารยของ
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร วจิ ยั จะตองมีคุณภาพระดับสูงมาก ทา นจึงพับ ๆ ๆ และใหแกอีก แตวันน้ัน
เมื่อทานอาจารยสมเกียรติมีโอกาสไดพูด ทานก็บอกวา “รูสึกภูมิใจ ดีใจ ที่เขาทำไดดีขึ้น ไมคิดวาจะ
เขียนพรรณนาไดด ีขึ้นขนาดน้ี” เหมอื นทานกำลังทำใหท า นอาจารยน ิตยาโอนออดลง

ดิฉันรูสึกวาทานอาจารยสมเกียรติกำลังชวยลูกศิษยอีกครั้ง และเมื่อถึงวันสุดทายที่ดิฉัน
เตรียมเอกสารเซ็นเรียนจบเอกสารสุดทาย นำไปใหทานอาจารยสมเกียรติเซ็น ทานอาจารยพูดกับ
ดิฉันวา “หนูเกงมากเลยรูไหม หนูจบคนที่สองของรุน ไมธรรมดา เกงมาก” เปนอีกครั้งที่อาจารย
สมเกียรติใหก ำลงั ใจดฉิ นั ซ่งึ เปน ครง้ั สุดทาย เพราะหลังจากน้นั ดฉิ ันกเ็ รียนจบ และวันนีท้ านอาจารยก็
จะอำลาชีวิตราชการแลว บางคนรวมทั้งตัวดิฉันเคยมองวาทานเปนอาจารยท่ีดุ ก็เปนธรรมดาของคน
เปนอาจารย แตท ่ีดฉิ นั เห็นมากกวา น้ันคือขางใน ภายในของทานที่จติ ใจดีเยี่ยมตามท่ีดิฉนั ไดเคยสัมผัส
ตามที่กลาวเลามาทั้งหมด ในโอกาสที่ทานอาจารยจะเกษียณอายุราชการ ลูกศิษยคนนี้ก็ขอใหทาน
อาจารยมีความสุขนะคะ รองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ รักษมณี จะอยูในความทรงจำของศิษย
ตลอดไปคะ

40 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

จากใจศิษย ถึงอาจารย

เรอื อากาศโทหญิง ชลนสิ า สภุ าวรรณพงศ
ศษิ ยเกา คณะมนุษยศาสตร ภาควชิ าภาษไทย รนุ ท่ี 16

ศิษยเ กา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร รนุ ท่ี 70
ปจจบุ ัน ดำรงตำแหนงนักบินประจำหมวดบินที่ 4 ฝา ยยทุ ธการ ฝูงบนิ 601

และ นายทหารนิรภัย กองบินท่ี 6 กองทัพอากาศ

อาจารยสมเกียรติ รักษมณี เปนอาจารยทานหนึ่งที่เช่ือไดวา จะอยูในความทรงจำของหนู
และนิสิตอกี หลาย ๆ คน ดว ยภาพของความเมตตา อาจารยจะเรยี กแทนนิสติ วา “หน”ู และเรยี กแทน
ตนเองวา “ครู” ทำใหนสิ ิตเกดิ ความรูสึกเปนกันเอง และกลาทีจ่ ะพูดคุย สอบถาม แสดงความคิดเห็น
ในการเรียน หรือปรึกษาปญหาในการเรียนกับอาจารยไดอยางมั่นใจ และเปนที่ยกยองใน
ความสามารถดานการประพันธ เปนตนแบบในการทำงานหลายดาน โดยเฉพาะการธำรงไวซึ่ง
ศลิ ปวฒั นธรรมอนั ดี

ในโอกาสนี้ หนูจึงอยากเปนตัวแทนในการขอบคุณอาจารย สำหรับความทุมเท ความเมตตา
ตลอดจนการถายทอดประสบการณผานการสอนในทุกครั้ง อันเปนสวนสำคัญที่ชวยใหหนูประสบ
ความสำเร็จ อยางเชน ในรายวิชาภาษาวรรณศิลป ซึ่งเปนวิชาที่วาดวยคุณคาทางวรรณศิลปของ
วรรณคดีไทย อาจารยย งั สอดแทรกความรูตา ง ๆ ท่มี าจากประสบการณของอาจารย นอกจากจะชวย
ใหเกิดความสนุกสนานแลว ยังชวยใหนิสิตเกิดขุมปญญาและเกิดความตระหนักถึงคุณคาความเปน
ไทยไดอยางลึกซึ้ง รูถึงความเกี่ยวของกันระหวางภาษาและวัฒนธรรม ทำใหตอมาหนูสามารถนำ
ความรูเหลานั้นไปนำเสนอตอคนตางวัฒนธรรม เชน ชาวตางชาติที่ไดรวมงานกัน ทำใหพวกเขาเกิด
ความเขา ใจ และสนใจในวฒั นธรรมไทยยง่ิ ขนึ้

สุดทายน้ี ดวยความเคารพตออาจารย หนูขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โปรดดลบันดาลให
อาจารยมีสุขภาพที่แข็งแรง ไดมีชวงเวลาหลังเกษียณที่มีแตความสุข และสิ่งที่ดีงาม หนูจะขอจดจำ
ประสบการณและคำสอนของอาจารยท่ีไดอบรมสัง่ สอนพวกหนมู าอยางดีไวต ลอดไปคะ

เนือ่ งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 41


Click to View FlipBook Version