The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ รักษ์มณี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sakdithach.ch, 2021-09-17 16:23:00

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์

หนังสือสมญานามเกียรติก้องวรรณศิลป์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ รักษ์มณี

92 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

อักษรไทยสมัยกรงุ สโุ ขทยั : วฒั นธรรมและประเพณีตน แบบสูป จ จบุ ัน1

ปาณิศา ธรรมชาติ
พิมปาณสั ม อารยาพนั ธ

DAO JIANGWEN2
บุญเลศิ ววิ รรณ3

บทคัดยอ

บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของวัฒนธรรม
และประเพณีที่ปรากฏผานอักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัย โดยใชเกณฑการแบงประเภทของวัฒนธรรม
ออกเปน 5 สาขาตามยูเนสโก และศึกษาจากจารึกสมัยสุโขทัยทั้ง 2 สมัย คือ ลายสือไทยสมัยพอขุน
รามคำแหงและอักษรไทยสมยั พระมหาธรรมราชาลไิ ทย โดยคดั เลือกจากหนงั สือ “จารกึ สมัยสุโขทัย”
จำนวน 7 หลัก ผลการวิจัยพบวา มีวัฒนธรรมและประเพณีไทยที่ปรากฏผานอักษรสมัยกรุงสุโขทัย
สามารถแบงไดเปน 3 ดาน คือ วัฒนธรรมดานมนุษยศาสตร วัฒนธรรมดานศิลปะ และวัฒนธรรม
ดานคหกรรมศลิ ป วัฒนธรรมและประเพณีเหลา นี้ถือเปนมรดกทางวัฒนธรรมที่มมี าต้ังแตสมัยสุโขทัย
และเปน ตนแบบใหกับวัฒนธรรมและประเพณไี ทยในปจจุบนั

Abstract

This article aims to study the meaning, role, importance of culture and
traditions that appear through Thai characters in the Sukhothai period by using the
criteria to classify the culture into 5 branches according to UNESCO. Moreover, study
from the inscriptions of the Sukhothai period, both periods, Thai characters in the
period of King Ramkhamhaeng And Thai characters during the period of Phra Maha
Thammaracha by selecting from books "Inscriptions in the Sukhothai period", 7 digits.
The research found that there are Thai cultures and traditions that appear through the
Sukhothai period, which can be divided into 3 areas: culture, humanities, arts and

1 บทความน้ีเปนสว นหน่ึงของรายวชิ า 01361512 ววิ ัฒนาการของอกั ขรวธิ ีไทยและภาษาไทย (Evolution of Thai Language)
หลักสตู รศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย (หลักสตู รปรับปรงุ พ.ศ. 2561) คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร
2 นสิ ิตปริญญาโท หลักสูตรศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร
3 ที่ปรกึ ษาวิจยั ผชู ว ยศาสตราจารย ดร. ประจำภาควชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร

เนือ่ งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 93

home economics. These cultures and traditions are considered cultural heritage that
has existed since the Sukhothai period and are the prototype for Thai culture and
traditions today.

บทนำ
“ลายสือไทย” เปนจุดกำเนิดของภาษาไทยที่ใชบันทึกประวัติศาสตรความเจริญรุงเรืองของ

อาณาจักรสุโขทัยซึ่งเปนอาณาจักรแรกของคนไทย สุจิตต วงษเทศ (2548: 34) ไดกลาวถึง
การกำเนิดอักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยไววา ตัวอักษรจากชมพูทวีปที่แพรเขามาสูดินแดนอุษาคเนย
เปนรุน แรก ๆ เทา ทีพ่ บในจารึกของทกุ แควนหรือทกุ รัฐของภูมภิ าคนี้ รปู แบบทไี่ ดร ับความนิยมยกยอง
มากที่สุดเปนตัวอักษรที่วิวัฒนาการมาจาก “อักษรพราหมี” เมื่อราวหลัง พ.ศ. 700 แตนิยมเรียกชื่อ
วา “อักษรปลลวะ” ตามชื่อราชวงศปลลวะ มีอำนาจครองดินแดนภาคใตของชมพูทวีปในสมัยน้ัน
อักษรชนิดนี้ จะวิวัฒนาการตอไปเปนรูปอักษรที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ อักษรทวารวดี อักษรมอญ
โบราณ อักษรขอมโบราณ ในที่สุดก็สงผลใหเกิดวิวัฒนาการเปน “อักษรไทยสมัยสุโขทัย” อักษรไทย
ที่ปรากฏในศิลาจารึกไดสะทอนเรื่องราวของวัฒนธรรมและประเพณีท่ีเกิดจากภูมิปญญาของคนไทย
ภูมิปญญาเหลานี้ไดพัฒนาหลอหลอมจนเปนตนแบบใหกับสังคมไทยในปจจุบัน อาจกลาวไดวา
อักษรไทยนั้นเปนวัฒนธรรมที่บงบอกถึงเอกลักษณความเปนไทย ทั้งในดานภาษา วัฒนธรรม
และประเพณีซ่งึ เปน ส่งิ ทีค่ นในสังคมรว มกันสรา งสรรคแ ละสบื ทอดตอ กันจากรุน สูรุน

งามพิศ สัตยสงวน (2553 อางใน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, 2550) ไดอธิบายวา
“วัฒนธรรม หมายถึง ผลผลิตโดยรวมของแตละบุคคล กลุม หรือสังคม รวมทั้งเทคโนโลยี ศิลปะ
วิทยาศาสตร และระบบคุณธรรม รวมทั้งพฤติกรรมที่สะทอนสติปญญาโดยบงบอกถึงความแตกตาง
ของพฤติกรรมมนุษย วัฒนธรรมยังหมายรวมถึงกระบวนการเรียนรูที่เกิดขึ้นทามกลางความสัมพันธ
ในรูปแบบตาง ๆ” จากคำอธิบายดังกลาวนี้ สามารถนำมาวิเคราะหวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัย
ที่ยังคงดำรงอยูจนถึงปจจุบันและแสดงใหเห็นถึงกระบวนการรักษาผลผลิตโดยรวมจนมีการนำมาใช
เปนสุภาษิตคำพังเพยวา “ในน้ำมีปลา ในนามีขาว” ซึ่งเปนขอความสวนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ 1
ความวา

“...เมื่อชั่วพอขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีขาว เจาเมืองบเอาจกอบ
ในไพร ลูทางเพ่ือนจูงวัวไปคาข่ีมา ไปขาย ใครจักใครคาชา ง คา ใครจกั ใครคา มา คา ใครจักใครค าเงือน
คาทอง คา ไพรฟาหนา ใส…”

90 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

ประโยคดังกลาวนส้ี ะทอ นใหเหน็ ถึงวฒั นธรรมของคนไทยในเร่ืองเสรภี าพทางการคา และเปน
การบอกเลาเรื่องราวความอุดมสมบูรณในเมืองสุโขทัย ภาษาและวัฒนธรรมที่ปรากฏนั้นลวน
เปนสวนหนึ่งของอารยธรรมไทย เปนกระจกสะทอนความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนไทย
ในอดีต ตลอดจนผสมผสานความหลากหลายที่รับเอามาจากอิทธิพลภายนอกเขามาใชใน
การดำเนินชวี ติ ดวยเหตุนี้ผูวิจัยจึงเล็งเห็นประโยชนในการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมท่ีปรากฏในศิลา
จารึกสมัยกรงุ สุโขทัย

การศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีของสังคมไทยในอดีตผานตัวอักษรซึ่งเปนวัจนภาษานั้น
เปนส่ิงที่นาสนใจอยางยิ่งในการคนหาจุดเริ่มตนทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผูวิจัยจึงสนใจ
ศึกษา “อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัย: วัฒนธรรมและประเพณีตนแบบสูปจจุบัน” โดยมีจุดมุงหมาย
เพื่อศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีที่ปรากฏผานอักษรไทย
สมัยสุโขทัยทั้ง 2 สมัย คือ ลายสือไทยสมัยพอขุนรามคำแหงและอักษรไทยสมัยพระมหาธรรมราชา
ลไิ ทย เพอื่ แสดงใหเห็นถึงวัฒนธรรมตน ฉบบั ที่มคี วามสมั พนั ธตอสงั คมไทยตง้ั แตอดีตจนถงึ ปจจุบัน

การศึกษานี้มีประโยชนตอการตระหนักรูคุณคาของอดีตที่ถายทอดผานตัวภาษาและ
การอนุรักษมรดกทางวัฒนธรรมเหลานี้ใหดำรงอยูคูสังคมไทยตอไป เพื่อใหคนรุนหลังไดซาบซึ้งและ
ภาคภูมิใจในความเปน ไทยทีบ่ รรพชนรุนหลังสบื ตอกนั มา

วัตถปุ ระสงคของการศึกษา
เพื่อศึกษาความหมาย บทบาท และความสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีที่ปรากฏผาน

อักษรไทยสมยั กรุงสโุ ขทยั

ขอบเขตการศกึ ษา
การศึกษาครั้งนี้เปนการศึกษาถึงความหมาย บทบาท ความสำคัญของวัฒนธรรม

โดยใชเกณฑการแบงประเภทของวัฒนธรรมออกเปน 5 สาขาตามยูเนสโก (สำนักงานปลัดกระทรวง
วัฒนธรรม, 2550) ที่ปรากฏผานอักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยทั้ง 2 สมัย คือ ลายสือไทยสมัย
พอขุนรามคำแหงและอักษรไทยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย โดยคัดเลือกจากหนังสือ “จารึกสมัย
สุโขทัย” (กรมศิลปากร, 2526) จำนวน 7 หลัก ดังตอ ไปน้ี

1. ลายสอื ไทในศลิ าจารกึ หลักท่ี 1 พ.ศ. 1826
2. จารกึ วดั บางสนกุ จังหวดั แพร พ.ศ. 1882

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 91

3. ศิลาจารกึ วดั ศรชี ุม จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 1900
4. ศิลาจารึกนครชุม จงั หวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 1900
5. จารกึ วดั เขากบ จังหวดั นครสวรรค พ.ศ. 1900
6. จารึกวัดเขาสุมนกฏู จังหวัดสโุ ขทัย พ.ศ. 1904
7. จารกึ วัดพระยืน จังหวัดลำพูน พ.ศ. 1913

ผลการวิจัย
จากการศึกษาลายสือไทสมัยพอขุนรามคำแหงและอักษรไทยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย

ที่ปรากฏบนศิลาจารึกสมัยกรุงสุโขทัย พบวามีวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยที่ไดรับ
การถายทอดผานตัวอักษร สามารถแบงไดเปน 3 ดาน คือ วัฒนธรรมดานมนุษยศาสตร วัฒนธรรม
ดานศลิ ปะ และวัฒนธรรมดานคหกรรมศลิ ป มีรายละเอยี ดดงั ตอไปน้ี

1. วัฒนธรรมดานมนุษยศาสตร ผลการวิจัยไดพบวา วัฒนธรรมดานนี้เปนวัฒนธรรมที่พบ
มากที่สุดและมีวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี กฎหมาย
และศาสนา ดังนี้

1.1 รปู แบบการปกครอง

ในรัชสมัยของพอขุนรามคำแหง ไดใชรูปแบบการปกครองพอปกครองลกู (Patriarchal
Family) (ลำจุล ฮวบเจริญ, 2550) สันนิษฐานไดวาประชากรในเมืองสุโขทัยมีจำนวนไมมากนัก
จึงใชระบอบการปกครองที่ผูปกครองสามารถดูแลประชาชนไดอยางใกลชิด ตอมาในรัชสมัย
ของพระมหาธรรมราชาลิไทย พระองคทรงปกครองดวยทศพิธราชธรรมและธรรมราชา
(วินยั พงศศ รเี พยี ร, 2558) ดงั ปรากฏในตัวอยา งประโยคตอไปนี้

“...ในปากประตูมีกะดงิ่ อนั ณึ่งแขวนไวห ้นั ไพรฟาหนาปก กลางบานกลางเมือง มีถอยมีความ
เจบ็ ทองของใจ มันกลาวถึงเจาเถิงขนุ บไ ร ไปลน่ั กะดง่ิ อนั ทา นแขวนไว...”

(ศิลาจารึกหลักท่ี 1 ดา น 1 / บ.32-35)

“...หลายจงิ สนมตขึ้นช่ือศรสี รู ยพงศร ามมหาธรมั ราชาธิราชเสวยราชชอบดว ยทสพิทธราชธรัม...”
(ศิลาจารกึ วัดปามะมว งภาษาไทย หลักที่ 1 ดาน 1 / บ.13-15)

92 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

1.2 พระมหากษตั รยิ มหี นาที่สัง่ สอนคุณธรรมและจรยิ ธรรมแกคนในสังคม

“ธรรมราชา” หมายถึง “ผูทำใหฝูงชนเบิกบานใจดวยธรรมะ” คุณลักษณะเชนน้ี
ปรากฏมาตั้งแตสมัยกรุงสุโขทัย ดังจะเห็นไดจากศิลาจารึกในสมัยพอขุนรามคำแหงและสมัย
พระมหาธรรมราชาลิไทย นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงใช “พระบรมราโชวาท” เปนสวน
หน่งึ ของการปกครองเพ่ือสั่งสอนและใหพรแกบรรดาเจาเมืองและเหลาเชื้อพระวงศ (ตรงใจ หุตางกูร,
2558) และพระองคจำเปนตองกลอมเกลาใหประชาชนอยูในศีลธรรม เพื่อใหการปกครองแบบ
ธรรมราชามปี ระสทิ ธผิ ล ดงั ปรากฏในตัวอยางประโยคตอไปน้ี

“...พอขุนรามพระรามคำแหงนั้น หาเปนทาวเปนพระยาแกไทยทั้งหลาย หาเปนครู
อาจารยส่ังสอนไทยทง้ั หลายใหรบู ญุ รูธรรมแท...”

(ศลิ าจารกึ หลักที่ 1 ดา น 4 / บ.11-14)
“ใหด เู ยือ่ งดงั สองคนพ่ีนอ งรักกันน้ี จงเปนบุญคุณยศปรากฏแกโลกทง้ั หลาย”

(จารกึ วดั เขากบ ดาน 1 / บ.18-19)

1.3 พระมหากษตั ริยทรงเปน “อัครศาสนปู ถัมภก”

การเปนอัครศาสนูปถัมภกถือเปนจารีตที่พระมหากษัตริยยังคงสืบทอดตอกันมาตั้งแต
สมัยกรุงสุโขทัย พอขุนรามคำแหงทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนกลายเปนศาสนากระแสหลัก
ของสังคมไทยในสมยั นั้นและเปนศาสนาประจำชาติในปจ จุบัน ความเลอ่ื มใสศรทั ธาไดแพรหลายเขาสู
สังคมในทุกระดับ ตอมาในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย พระองคทรงอุปถัมภทั้งศาสนาพุทธและ
ศาสนาพราหมณท ี่ไดรับอิทธพิ ลมาจากขอมโบราณ ดงั ปรากฏในตัวอยางประโยคตอ ไปนี้

“...1207 ศกปกุน ใหขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็ กระทำบูชาบำเรอแกพระธาตุ ไดเดือน
หกวัน จึง่ เอาลงฝง ในกลางเมอื งศรสี ัชชนาลยั กอ พระเจดียเหนือหกเขา จึ่งแลว...”

(ศลิ าจารกึ หลักที่ 1 ดา น 4 / บ.4-7)

“...จึงไปรับพระมหาเถรเปนเจาอญั เชิญเขามาในพระพีหาร โอยทานเวนท้งั กุฎสี ถานอาวาสน้ี
แกพระมหาเถรเปนเจานั้นแลวจึงบำเรอแกพระมหาเถรเปนเจาแลฝูงสงฆทั้งหลายดวยจตุปจจัยอัน
ควรดฝี งู อั-…”

(จารกึ วัดพระยืน ดา น 1 / บ.27-30)

เนอ่ื งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 93

1.4 การเกบ็ ภาษี

การเก็บภาษีที่ปรากฏในปจจุบันนั้น เปนวัฒนธรรมที่เปนสากลและมีมาอยางยาวนาน
ตั้งแตสมัยสุโขทัย การเก็บภาษีมีจุดประสงคเพื่อเก็บเงินจากประชาชนมาใชในการบำรุงประเทศ
ในรัชสมัยของพอขุนรามคำแหงไดเริ่มมีการเก็บภาษี แตไมเขมงวดมากนัก โดยเก็บภาษีนำเขาสินคา
ตรงปากประตูเขาเมืองทั้งทางบกและทางน้ำ ตอมาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทยยังคง
สืบทอดวฒั นธรรมนี้ พระองคไ มขูดรดี ภาษจี ากประชาชน เพอ่ื ใหป ระชาชนทำมาหากนิ ไดอยางสะดวก
ดงั ปรากฏในตัวอยา งประโยคตอไปน้ี

“...เจา เมอื งบเ อาจกอบในไพรล ูทางเพ่ึอน จูงววั ไปคา ขี่มาไปขาย...”
(ศลิ าจารึกหลักที่ 1 ดา น 1 / บ.19-20)

“(เมอื่ ช่ัวพระยาธรรม)มิกราชน้ัน บา นเมอื งอยูเขสม รอ...แตง ใหฃ นุ พ่ีฃุนนองลูกหลาน...
ไพรฟา ขา ไท ข่เี รือไปคา ข่ีมา ไป(ขาย)...”

(จารกึ นครชมุ ดาน 2 / บ.30-32)

1.5 เสรีภาพทางการคา

ในสมัยพอขุนรามคำแหง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอยางมากในการคาขาย การเปด
เสรีภาพทางการคาเปนสิ่งที่ชวยสงเสริมใหเกิดการไหลเวียนทางเศรษฐกิจของกรุงสุโขทัย
โดยที่พระมหากษัตริยไมไดเขมงวดกับการเก็บภาษีมากนัก และใหอิสระกับประชาชนในดาน
การคาขายอยางเต็มท่ีโดยไมมีกฎเกณฑและเสนแบงระหวางประเทศ ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอไปนี้

“...ใครจกั ใครค าชา ง คา ใครจักใครค ามา คา ใครจักใครค าเงอื นคาทอง คา...”
(ศิลาจารกึ หลักท่ี 1 ดาน 1 / บ.20-21)

1.6 กฎหมายมรดก

พอขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางรากฐานทางกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เอาไวตั้งแตสมัยสุโขทัย ซึ่งเปนการจัดการมรดกที่ตกทอดมาสูลูกหลานโดยไมตองเสียภาษีมรดก
ดังเชนปจจุบัน ลักษณะกฎหมายเชนนี้ไดสืบตอมาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยดวยเชนกัน
ดงั ปรากฏในตัวอยา งประโยคตอไปน้ี

94 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

“...ไพรฟ าหนาใส ลูกเจา ลูกขนุ ผใู ดแล ลมตายหายกวา เหยาเรือนพอเชื้อเส้ือคำมัน ชาง
ขอ ลกู เมยี เยียขาว ไพรฟา ขา ไท ปา หมากปา พลพู อเช้ือมันไวแ กลกู มนั สน้ิ ...”

(ศิลาจารึกหลกั ท่ี 1 ดาน 1 / บ.21-24)
“...ไพรฟ าขา ไทยลูกเจา ลูกขนุ ผูใด...ไดข ้ำเอาเหยานาวเอาเรือนเขา พอตายใหไวแกลกู พตี่ าย
ใหไ วแกนอง...”

(จารกึ นครชมุ ดา น 2 / บ.43-45)

1.7 พระราชพธิ รี าชาภิเษก

ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชลิไทยปรากฏหลักฐานพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเปน
พระราชพิธีสำคัญที่แสดงถึงฐานะและภาวะความเปนผูปกครองประเทศโดยสมบูรณ พระราชพิธีน้ี
แสดงใหเห็นถึงแนวคิดวาพระมหากษัตริยจะตองเปนผูที่ไดรับการยอมรับและการแสดงความเคารพ
นับถือจากผูปกครองในเมืองตา ง ๆ ในเวลานั้น (สุภาพรรณ ณ บางชาง, 2535) ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอไปนี้

“...ศกั ราช 1279 ประกา เดอื นแปดออกหาค่ำ วนั ศุกรหนไทยกดั เลาบูรพผลคุณีนักษัตร
เมื่อยามอันสถาปนานั้น เปนหกค่ำแลพระยาลือไทยราช ผูเปนลกู พระยาเลอไทยเปนหลานแกพ ระยา
รามราช เมอ่ื ไดเ สวยราชยใ นเมืองศรีสชั ชนาลัยสุโขไทยไดร าชาภิเษกอันฝงู ทา วพระยาท้ังหลายอันเปน
มิตรสหายอันมีในสี่ทิศนี้แตงกระยาดงวายของฝากหมากปลามาไหวอันยัดยัญอภิเษกเปนทาวเปน
พระยาจงึ ข้นึ ช่ือศรีสุริยพงศม หาธรรมราชาธริ าช...”

(จารึกนครชมุ ดา น 1 / บ.1-7)

1.8 ประเพณีเทศนม หาชาติ

ในสมัยกรุงสุโขทัยมีธรรมเนียมประเพณีการเสนอและการสดับธรรมในโอกาสวันสำคญั
ทางพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทั้งในไตรภูมิพระรวงและในศิลาจารึกนครชุม แสดงใหเห็นวา
ชาวเมืองสุโขทัยรูจักคุนเคยกับการเทศนมหาชาติมานานแลว โดยเฉพาะการอานการเทศนมหาชาติ
จะไดรับความนิยมมากที่สุด จนกลายเปนงานประเพณีประจำปเรียกวา “ประเพณีเทศนมหาชาติ”
เปนสิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเปนแบบแผนขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี
ในลักษณะการแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา (ประสงค รายณสุข, 2559) ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอไปน้ี

เนอ่ื งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 95

“อนั หน่งึ โสดนับแตป สถาปนาพระมหาธาตุน้ีไปเม่ือหนา ไดเ กา สิบเกา ปเ ถิงในปกุนอันวา
พระปฎ กไตรน้จี ักหายแล หาคนจกั รแู ทแ ลมิไดเลยยังมีคนรูคันสเล็กสนอยไซร ธรรมเทศนาอันเปนตน
วาพระมหาชาติหาคนสวดแลมิไดเลยธรรมชาดกอันอื่นไซรมีตนหาปลายมิไดมีปลายหาตนมิได เลย
จำพวกพระอภิธรรม...”

(จารึกนครชมุ ดา น 1 / บ.34-38)

1.9 ประเพณีทอดกฐนิ

ในสมัยสุโขทัยการทอดกฐินนั้นถือกันวาเปนประเพณีที่สำคัญ ทำใหไดบุญกุศลรวมถึง
ปรับเปลี่ยนชีวิตที่คร่ำเครงอยูในเรื่องการทำมาหากิน มาเปนชีวิตใหมที่สดชื่นรื่นเริงนับวา
เปนประเพณีที่มีคาควรแกชีวิตของคนจึงไดปฏิบัติสืบตอกันมาไมขาดสาย จากหลักฐานแสดงใหเห็น
ความสำคญั ของการทอดกฐินซ่งึ เปนประเพณีทมี่ ีมาตั้งแตสมยั พอขนุ รามคำแหง ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอ ไปนี้

“...เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณึ่งจิ่งแลว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก
มพี นมดอกไม มีหมอนนงั่ หมอนโนน บริพากฐิน โอยทานแบป แ ลวญบิ ลา น ไปสดู ญัตกิ ฐนิ เถิง อรัญญิก
พูน...”

(ศิลาจารกึ หลักท่ี 1 ดา น 2 / บ.13-17)

1.10 ประเพณกี ารบวช

ประเพณีการบวชเปนวิธีการสืบตอพระพุทธศาสนา คนไทยไดถือเรื่องการบวช
เปนหนาที่สำคัญในชวี ิตและยึดถือมาจนถงึ ปจจุบัน จากหลักฐานที่ปรากฏเรื่องการบวชเปนพระภิกษุ
และสามเณรในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย แสดงใหเห็นวาการบวชเกิดจากความศรัทธาที่มีตอ
พระพุทธศาสนา และยังถือตามคตินิยมเพื่อสั่งสมบุญบารมีใหไดเกิดในสมัยพระศรีอริยเมตไตรย
อกี ดวย วิธปี ฏิบตั ใิ นการบวชไมไ ดตางจากในปจจบุ ันมากนัก เพียงแตในอดตี สามารถบวชหลังการออก
พรรษาได (สภุ าพรรณ ณ บางชาง, 2535) ดังปรากฏในตวั อยางประโยคตอไปน้ี

“...เมื่อออกพรรษา ลุแรม 8 ค่ำ วันพุธ ปุนรรพสุฤกษ เมื่อตะวันเย็น พระบาทกัมรเตงอัญศรี
สรู ยพงศร ามมหาธรรมราชาธิราช ก็สมาทานศลี เปนดาบสเพศ เบือ้ งหนาพระพทุ ธรปู ทองคำ

96 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

อันประดิษฐานบนราชมนเทียร ที่เสด็จนมัสการบูชาทุกวันแลจึงอาราธนามหาสามีสังฆราช
เถรานุเถร ภิกษุสงฆทั้งผอง ขน้ึ บนปราสาทราชมนเทยี รทอง จงึ บวชเปน สามเณร...”

(จารึกวัดปา มะมวงภาษาเขมร ดา น 2 / บ.37-43)

1.11 ประเพณีลอยกระทงเผาเทยี นเลน ไฟ

ประเพณีลอยกระทงสืบตอกันยาวนานตั้งแตสมัยสุโขทัย ในสมัยพอขุนรามคำแหง
ซึ่งมีการเรียกประเพณีลอยกระทงวา “พิธีจองเปรียง” หรือ “การลอยพระประทีป” และมี
การกลาวถึงการเฉลิมฉลองกันในเมือง มพี ธิ ีเฉลิมฉลองกนั อยา งใหญโต ผูคนมากมายหล่ังไหลมาเท่ียว
ชมงานโดยเฉพาะจะมีการ “เผาเทียนเลนไฟ” นับเปนประเพณีรื่นเริงที่ใหญที่สุดในกรุงสุโขทัย
(เอกวุฒิ วงศม าลัย, 2554) ดงั ปรากฏในตวั อยางประโยคตอ ไปนี้

“...เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรยอมคนเสียดกันเขามาดูทานเผาเทียน ทานเลนไฟ
เมอื งสุโขทยั นีม้ ีดังจักแตก ”

(ศิลาจารึกหลักท่ี 1 ดา น 2 / บ.21-22)

1.12 ผีธรรมชาต/ิ ผภี มู สิ ถาน

ในสมยั สุโขทัยเชอื่ ในพลังเหนือธรรมชาติทสี่ ถติ อยูตามภูมิสถานตาง ๆ วาสามารถใหคุณ
ใหโทษแกผูค นได พลงั เหลานี้ถกู สรา งดวยกระบวนการบคุ ลาธษิ ฐานใหมตี วั ตนขน้ึ มา โดยแสดงออกมา
ในรูปของผี ซึ่งในบรรดาผีทั้งหลาย “ผีภูเขา” ดูมีความโดดเดนและสำคัญเปนพิเศษ และในสุโขทัย
มีความเช่ือเร่ือง “ผีพระขพุง” ซึ่งเชอื่ วา เปนวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู ณ เขาหลวง ทำหนาท่ีคุมครอง
บา นเมือง (วิราวรรณ สมพงษเจรญิ , 2550) ดังปรากฏในตัวอยางประโยคตอ ไปน้ี

“มีพระขพุง ผีเทพดา ในเขาอันน้ัน เปนใหญกวา ทุกผีในเมอื งน้ี ขุนผูใดถือเมืองสุโขทัยน้แี ล
ไหวด พี ลถี กู เมอื งนเี้ ทย่ี ง เมอื งนด้ี ี ผไิ หวบดี พลบี ถ ูก ผีในเขา อ้ันบค มุ บเกรง”

(ศิลาจารึกหลกั ที่ 1 ดาน 3 / บ.6-10)

1.13 การแสดงความกตัญู

ความเชื่อเรื่องความกตัญูเปนความเชื่อของสังคมสุโขทัยที่มีความสำคัญโดยเฉพาะ
การตอบแทนบุญคุณของผูมีพระคุณ จะเห็นไดจากพอขุนรามคำแหงทรงบำรุงบำเรอพระบิดา

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 97

พระมารดา และพระเชษฐา ดวยเนื้อ ปลา ผลไมรสเปรี้ยวและหวาน ชาง สตรีขั้นสูง เงินและทอง
(วริ าวรรณ สมพงษเจรญิ , 2550) ดังปรากฏในตัวอยา งประโยคตอไปนี้

“เม่ือชั่วพอกู กบู ำเรอแกพอกู กบู ำเรอแกแมกู กไู ดตัวเนื้อตวั ปลา กเู อามาแกพอกู กูไดหมาก
สมหมากหวาน อันใดกินอรอยกินดี กูเอามาแกพอกู กูไปตีหนังวังชางได กูเอามาแกพอกู กูไปท
บานทเมือง ไดชางไดงวงไดปวไดนาง ไดเงือนไดทองกูเอามาเวนแกพอกู พอกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอ
แกพ ่กี ู ดัง่ บำเรอแกพ อก”ู

(ศลิ าจารึกหลักท่ี 1 ดาน 1 / บ.11-17)

1.14 ความเชือ่ ทางพระพทุ ธศาสนา

ในสมัยกรุงสุโขทัยเกิดการผสมผสานความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องกรรมและบุญ
ความเชอ่ื เร่ืองการเวียนวายตายเกิด และความเชือ่ เร่ืองการนิพพาน ในสมัยของพอขุนรามคำแหงและ
พระมหาธรรมราชาลิไทยนั้น ประชาชนมีความเลือ่ มใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเปนอยางมาก และมี
อิทธพิ ลตอ วถิ ีชีวิตดว ย ดังปรากฏในตัวอยางประโยคตอไปนี้

“เรงกระทำบุญธรรมในศาสนาพระพุทธ เมื่อยังมีเทาวัน ชั่วเราบัดนี้มีบุญหนักหนา จึงจัก
ไดมาเกิดทันศาสนาพระเปนเจาไซรจุงทั้งหลายหมั่นกระทำบูชาพระสถูป เจดีย พระศรีมหาโพธิอัน
เสมอดังตน พระเจาเรา ผิผูใดไดปรารถนาดวยใจศรัทธาดังอั้นซือ จักปรารถนาไปเกิดในเมืองฟา…
ตลอด”

(จารกึ นครชมุ ดาน 1 / บ.57-60)

2. วัฒนธรรมดานศิลปะ ผลการวิจัยพบวา มีวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่องภาษา ดนตรีและ
การขบั รอ ง ปฏมิ ากรรม และสถาปตยกรรม ดงั นี้

2.1 พระปรชี าสามารถดา น “อกั ษรศาสตร”

ในป พ.ศ. 1826 คนไทยไดมีตัวอักษรใชเปนของตัวเองซึ่งเกิดจากพระอัจฉริยภาพของ
พอขุนรามคำแหง พระองคทรงประดิษฐ “ลายสือไท” ขึ้นเพื่อใชเปนอักษรประจำราชอาณาจักรและ
เพอ่ื สรางอสิ รภาพจากการปกครองของขอม สวนการอกั ษรศาสตรใ นสมัยพระมหาธรรมราชาลไิ ทยน้ัน
ไดมีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงระบบตัวอักษรไทย โดยกลับไปใชอักขรวิธีเหมือนอักษรตนแบบ
คือ อักขรวิธีแบบขอมโบราณและมอญโบราณ แตก็ยังรับเอารูปแบบบางอยางของลายสือไทยมาใช

98 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

และใชเปนอักษรราชการแทนลายสือไทย (บุญเลิศ วิวรรณ, 2562) ดังปรากฏในตัวอยางประโยค
ตอ ไปน้ี

“เมื่อกอนลายสือไทยนี้บมี 1205 ศก ปมะแม พอขุนรามคำแหงหาใครใจในใจ แลใส
ลายสือไทยน้ี ลายสอื ไทยนจ้ี ึง่ มเี พื่อ ขุนผูน ั้นใสไว”

(ศิลาจารกึ หลกั ท่ี 1 ดาน 4 / บ. 8-11)

2.2 การเรียกพระนามพระเจา แผนดนิ

วัฒนธรรมการเรียกพระนามพระเจาแผนดินมีมาตัง้ แตสมัยกรุงสุโขทัย ในชวงแรกจะใช
คำวา “พอขุน” แปลวา พอผูยิ่งใหญ เปนคำนำหนาพระนามของพระเจาแผนดินที่แสดงใหเห็นถึง
รปู แบบการปกครองในสมยั นัน้ สวนเจานายท่มี ีบรรดาศักดิ์สงู ใชคำเรยี กวา “พระ” (ลำจลุ ฮวบเจริญ,
2550) ตอมาในรัชกาลที่ 4-6 ของกรุงสุโขทัย การเรียกพระนามพระเจาแผนดินไดเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิม คอื ขน้ึ ตน ดวยคำวา “พญา” หรือ “พระยา” แปลวา ผูเปนใหญ สะทอ นใหเ ห็นความสัมพันธ
ของผปู กครองกับผูถูกปกครองที่เปลี่ยนไป คำเรียกจึงเปนวฒั นธรรมอยา งหน่ึงที่สมั พนั ธกับ “อำนาจ”
ของผปู กครองทเ่ี พิม่ มากขึ้นในแตละยุคสมยั ดงั ปรากฏในตัวอยางประโยคตอไปน้ี

“พอ ขุนรามคำแหง ลูกพอขุนศรอี นิ ทราทติ ยเปนน ขนุ ในเมอื งศรสี ัชชนาลยั สุโขทยั ...”
(ศิลาจารกึ หลกั ที่ 1 ดาน 4 / บ.1-2)

“...พอ กจู งึ ขนึ้ ชอ่ื กชู ่อื พระรามคำแหง เพ่อื กูพุงชางขนุ สามชน...”
(ศลิ าจารกึ หลัก 1 ดาน 1 / บ.9-10)

“...เมื่อยามอันสถาปนานั้น เปนหกค่ำแลพระยาลือไทยราช ผูเปนลูกพระยาเลอไทยเปน
หลานแกพระยารามราชเม่ือได. ..”

(จารึกนครชมุ ดาน 1 / บ.2-3)

2.3 การสถาปนาพระบรมธาตเุ จดียและพระบรมสารรี ิกธาตุ

พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศไดเขามามีอิทธิพลตอการประพฤติปฏิบัติโดยเฉพาะ
ธรรมเนียมของพระมหากษัตริยที่มักจะสรางพระพุทธเจดีย ซึ่งรับเอาแบบแผนการสรางตามคติ
ของลังกามาใช รวมทั้งการสรางพระเจดียบรรจุพระบรมธาตุและการปลูกตนพระศรีมหาโพธิ์ที่เมือง

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 99

นครชุมในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย พ.ศ. 1890 ประเพณีนี้ไดสืบทอดมาจนถึงสมัย
กรุงรตั นโกสนิ ทร (ลำจุล ฮวบเจริญ, 2550) ดังปรากฏในตวั อยางประโยคตอ ไปน้ี

“...จึงข้นึ ชื่อศรีสรุ ิยพงศมหาธรรมราชาธิราช หากเอาพระศรรี ตั นมหาธาตุอนั น้ีมาสถาปนาใน
เมอื งนครชมุ นีป้ น น้ั พระมหาธาตุอันนใี้ ชพ ระมหาธาตุอันสามานยคือพระธาตุแทจรงิ แล เอาลุกแตลังกา
ทวีปพูนมาดายทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจาเราเสด็จอยูใตตนและผจญพลขุนมาราธิ ราชได
ปราบแกสัพพัญุตญาณเปนพระพุทธ มาปลูกเบื้องหลงั พระมหาธาตุนี้ผูใดไดไหวน บกระทำบชู าพระ
ศรรี ตั นมหาธาตแุ ลพ ระศรมี หาโพธนิ ้วี าไซรมีผลอานิสงสพ ร่ำเสมอดังไดนบตนพระเปน เจา...”

(จารกึ นครชุม ดา น 1 / บ.7-14)

2.4 การสรางพระพุทธรปู

ในสมัยกรุงสุโขทัยเริ่มมีการนับถือพระพุทธรูปและนิยมสรางพระพุทธรูปหลากหลาย
ขนาด ไมวาจะเปนขนาดใหญ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และมีการนิยมทำตามพุทธอิริยาบถตาง ๆ
ตอมาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ไดเกิดแบบอยางการสรางพระพุทธรูปสุโขทัยขึ้น เชน
พระพุทธชนิ ราช และพระพุทธชนิ สีห เปนตน (ลำจุล ฮวบเจรญิ , 2550) ดังปรากฏในตัวอยางประโยค
ตอ ไปน้ี

“...มีพระพทุ ธรปู ทอง มพี ระอฏั ฐารศ มพี ระพุทธรปู มีพระพทุ ธรูปอันใหญ
มีพระพทุ ธรูปอันราม...”

(ศิลาจารกึ หลักที่ 1 ดา น 2 / บ.24-26)

“...เมื่อออกพระพรรษา กระทำมหาทานฉลองพระสำริด ซึ่งหลอใหมีขนาดเทาตน
พระพทุ ธเจา ประดิษฐานไวก ลางเมืองสโุ ขทยั น.้ี ..”

(จารึกวดั ปามะมว งภาษาเขมร ดาน 2 / บ.30-32)

2.5 การสถาปนารอยพระพุทธบาท

ในสมัยกรุงสุโขทัย คตกิ ารสรางรอยพระพุทธบาทเริ่มมีขน้ึ ใน พ.ศ. 1900 สมัยพระมหา-
ธรรมราชาลิไทย ซึ่งเปนชวงเวลาที่สุโขทัยรับเอาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศเขามา จึงรับเอาคติการ
จำลองรอยพระพุทธบาทจากลังกามาดวย (ณัฐพล อยูรุงเรืองศักดิ์, 2558) ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอ ไปน้ี

100 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

“...หมทลา ประดสิ ถาไวดวยพระบาทลักษณห้นั (พระบาทลักษ) ณน้ันไสร พระยาธรรม
มกิ ราชใหพิมพเอารอยตนี ...(พระเป)นเจาถึงสิงหล อนั เหยียบเหนอื จอมเจาส(ุ มนกฏู บรรพตป) ระมาณ
เทาใด เอามาพิมพไว จงคนทั้งห(ลาย)...แท...อนั หนึ่งประดิษฐานไวในเมืองศรีสัชนาลัย เหนือจอมเขา
... อันหนึ่งประดิษฐานไวในเมืองสุโขทัย เหนือจอมสุมนกูฏ อันหนึ่งประดิษฐานไวในเมืองบางพาน
เหนอื จอมเขานางทอง อันหน่งึ ประดษิ ฐานไวเ หนือจอมเขาทปี่ ากพระบาง จารึกก็ยงั ไวดวยทกุ แหง”

(จารกึ นครชุม ดาน 2 / บ.51-58)

2.6 ดนตรแี ละการขับรอง
จากศิลาจารึกในสมัยกรุงสุโขทัย พบวาการเลนดนตรีและการขับรองในสมัยนั้นไมมี
ขอจำกัดในการเลน โดยปรากฏการเลนดนตรีและการขับรองในงานประเพณีทอดกฐิน และ
เคร่อื งดนตรที ีใ่ ชเ ลนคือ กลอง และ พิณ ดังปรากฏในตัวอยา งประโยคตอ ไปนี้

“...ดบํ งคํกลองดว ยเสียงพาดเสยี งพณี เสียงเลื้อเสยี งขบั ใครจักมักเลน เลน ใครจกั มกั หัว
หัว ใครจกั มกั เลอื้ น เลอ้ื น..”

(ศิลาจารกึ หลักท่ี 1 ดานที่ 2 / บ.18-20)

3. วัฒนธรรมดานคหกรรมศิลป ผลการวิจัยพบวา มีวัฒนธรรมที่ปรากฏในเรื่อง
การประกอบอาชีพท้ังดานเกษตรกรรมและการคาขาย และเรอื่ งความอุดมสมบูรณของอาหารการกิน
ในเมืองสโุ ขทัย ดังน้ี

3.1 การประกอบอาชพี เกษตรกรรม

ชาวเมืองสุโขทัยมีชีวิตที่เรียบงาย ถิ่นที่อยูอาศัยในแตละชุมชนจะมีบานที่ทำดวยไม
หลังเล็กหลังใหญตามฐานะ บานจะปลูกอยูในที่ดินที่มีบริเวณบาน และทุกบานจะปลูกพืชผักทุก ๆ
ชนิดที่กินได ชาวเมืองสุโขทัยจึงมีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม มีการทำนา ทำไร ทำสวน พืชที่ปลูก
ไดแก ขาว นอกจากนั้นปลูกไมยืนตน เชน มะมวง มะขาม มะพราว หมาก พลู เปนตน ดังปรากฏ
ในตัวอยา งประโยคตอไปน้ี

“...มีปาหมากปา พลู มีไร มนี า มถี ่นิ ถาน มีบา นใหญบานเลก็ มีปา มวงมีปาขาม ดูงาม...”

(ศิลาจารกึ หลกั ท่ี 1 ดา น 3 / บ.1)

เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 101

3.2 การประกอบอาชพี คาขาย

พระมหากษัตริยในสมัยกรุงสุโขทัยไดใหอิสรภาพแกประชาชนในการคาขาย ทำให
ประชาชนสามารถประกอบอาชีพคาขายไดโดยไมตองเสียภาษี และสามารถนำสินคาไปขายได
ทงั้ ในเมอื งและนอกเมอื ง ทำใหป ระชาชนสามารถดำรงชวี ิตไดอ ยา งมีความสขุ นอกจากนีส้ ินคา ที่นำไป
ขายนั้นมักจะเปนสินคาทางการเกษตรและสัตวขนาดใหญ เชน วัว มา และควาย เปนตน ดังปรากฏ
ในตวั อยางประโยคตอ ไปน้ี

“...เจาเมืองบเอาจกอบในไพร ลูทางเพื่อนจูงวัวไปคาขี่มาไปขาย ใครจักใครคาชาง คา
ใครจักใครคามา คา ใครจกั ใครคา เงือนคา ทอง คา ไพรฟาหนาใส…”

(ศิลาจารกึ หลักท่ี 1 ดา น 1 / บ.20–21)

3.3 ความอุดมสมบรู ณของอาหาร

สภาพบานเมืองในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น มีความอุดมสมบูรณของทรัพยากร
ทางธรรมชาติ ซึ่งใหผลิตผลเปนพืชพรรณธัญญาหารและเนื้อสัตวตาง ๆ แหลงน้ำในเมืองสุโขทัยนั้น
ใชสำหรับดื่มกินและเปนแหลงอาหารชั้นดีอีกดวย นอกจากนี้พื้นที่สวนใหญของเมืองเปนที่ราบลุม
ซึ่งเหมาะแกการเพาะปลูก โดยเฉพาะ “ขาว” ซึ่งเปนอาหารหลักของไทย ดังปรากฏในตัวอยาง
ประโยคตอ ไปน้ี

“...เมอื่ ช่ัวพอ ขนุ รามคำแหง เมอื งสุโขทยั นี้ดี ในนำ้ มีปลา ในนามขี าว...”

(ศิลาจารกึ หลักที่ 1 ดาน 1 / บ. 18-19)

สรปุ
จากการศึกษาวัฒนธรรมที่ปรากฏผานอักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยนั้น จะเห็นไดวาวัฒนธรรม

ในอดีตเปนรากฐานทางสังคมที่สำคัญในการประกอบสรางความเปนไทยใหมั่นคงแข็งแรง วัฒนธรรม
ที่ปรากฏทั้ง 3 ดาน ทั้งดานมนุษยศาสตร ดานศิลปะ และดานคหกรรมศิลป ลวนเปนมรดก
ทางวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแตสมัยสุโขทัย ซึ่งเปนอาณาจักรแรกของ “ไทย” และเปนตนแบบใหกับ
วัฒนธรรมและประเพณีไทยในปจจุบัน ถึงแมว าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมจะสงผลตอ
การดำเนินชีวิต และทำใหวัฒนธรรมบางอยางสูญหายไปหรือเกิดวัฒนธรรมใหมขึ้นมาแทนที่ แตหาก
คนไทยตระหนักรูถึงคุณคาและชวยกันอนุรักษวัฒนธรรมและประเพณีไทยอันเปนเอกลักษณ
ประจำชาติ เปน สมบตั ิลำ้ คาของมวลมนษุ ย วฒั นธรรมไทยท่ดี ีงามเหลานีก้ ็จะยังคงดำรงอยูส บื ไป

102 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

เอกสารอางอิง
กรมศิลปากร. 2526. จารึกสมัยสโุ ขทยั . กรุงเทพมหานคร: กรมศลิ ปากร.
ตรงใจ หุตางกรู และคณะ. 2558. มรดกความทรงจำแหงเมืองศรีสัชนาลัยสโุ ขทัย: ประมวลจารึก

สมยั พระยาลิไทย. กรงุ เทพมหานคร: ศูนยม านุษยวทิ ยาสิรินธร (องคก ารมหาชน).
บุญเลิศ วิวรรณ. 2562. วิวัฒนาการอักขรวิธีไทยและภาษาไทย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
ประสงค รายณสุข. 2559. วารสาร มจร พุทธปญญาปริทรรศน ปที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม –

สงิ หาคม 2559). กรงุ เทพมหานคร: โรงพมิ พมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย.
ลำจุล ฮวบเจริญ. 2550. เกร็ดพงศาวดารกรุงสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: The Knowledge

Center.
วิราวรรณ สมพงษเจริญ. 2550. คติความเชื่อของคนไทยสมัยสุโขทัย พ.ศ. 1726-2006.

วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร. กรุงเทพมหานคร:
มหาวทิ ยาลักศลิ ปากร.
สุจติ ต วงษเ ทศ. 2548. อกั ษรไทยมาจากไหน. กรงุ เทพมหานคร: สำนักพิมพมติชน.
สุภาพรรณ ณ บางชาง. 2535. ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวการปฏิบัติในสมัย
สุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลยั .
สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. 2552. แผนแมบทวัฒนธรรมแหงชาติ พ.ศ.2550-2559.
กรุงเทพมหานคร: สำนกั นโยบายยุทธศาสตร สำนักงานปลัดกระทรวงวฒั นธรรม.
เอกวุฒิ วงศมาลัย. 2554. "แผนดินพระรวง" แสงทองแรกของชนชาติไทยในอุษาคเนย.
กรงุ เทพมหานคร: สำนักพิมพยิปซี

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 103

104 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

อักขรวธิ ีแบบใหมส มัยรชั กาลท่ี 6: รปู แบบ ความอน และความตา ง
จากลายสือไทและอักษรอรยิ กะ

King Rama VI’s Vowel Shapes and New Writing System:
Pattern Similarity and Sifference from Lai Sue Thai and Ariyaka.

ณัฐกิจ ศศิธรฉาย
ธนภัค ไชยแพทย

CHUNYAN LI

บทคดั ยอ
บทความวิชาการนี้เปนการศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกตางของอักขรวิธี

แบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 กับลายสือไทและอักษรอริยกะ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษารูปแบบอักษร
ลายสือไท อักษรอริยกะ และอักขรวิธีแบบใหม พรอมทั้งศึกษาความเหมือนและความตางระหวาง
ลายสือไท อกั ษรอริยกะ และอักขรวิธีแบบใหมส มยั รชั กาลท่ี 6

ผลการศึกษารูปแบบอักษรพบวา อักษรลายสือไทเปนอักษรที่ไดรับอิทธิพลจากอักษรมอญและ
ขอมโบราณ ซึ่งทั้ง 2 อักษรมีตนกำเนิดมาจากอักษรปลลวะและอักษรหลังปลลวะ มีการใชทั้งพยัญชนะ
39 รูป สระจม 20 รปู สระลอย 1 รปู วรรณยกุ ต 2 รปู เครอ่ื งหมาย 3 รูป และตวั เลข 6 รปู อกั ษรอริยกะ
ประดิษฐขึ้นเพื่อใชเขียนภาษาบาลีในหมูพระสงฆนิกายธรรมยุต มีพยัญชนะและสระเทากับภาษาบาลี
ประกอบไปดวย พยัญชนะ 33 รูป สระ 8 รูป อักษรอักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 มีพยัญชนะครบท้ัง
44 รปู และรปู สณั ฐานเหมือนปจจุบนั เชน เดยี วกับวรรณยุกต ขณะทีส่ ระมี 25 รูป คอื อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู
เอ แอ เอาะ ออ เออะ เออ โอ เอีย เอือ อัว ฤ  ฦ  อำ ไอ เอา ดานอักขรวิธีพบวาอักขรวิธีแบบใหม
สมัยรัชกาลที่ 6 มีความเหมือนกับอักขรวิธีลายสือไทและอักขรวิธีอริยกะในดานสระและพยัญชนะ
กลาวคือ มีการวางสระและพยัญชนะไวบนบรรทัดเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบการใชสระลอยเชนเดียวกัน
อีกดวย ขณะที่ดานความแตกตางพบวามีความตางทั้งในดานของตำแหนงของการวางสระจม กลาวคือ
อกั ขรวธิ ีแบบใหมส มยั รชั กาลท่ี 6 และอักษรอริยกะ มกี ารวางตำแหนง ของสระจมอยูขางหลังพยัญชนะตน
แตในลายสือไทจะสามารถวางไวทั้งขางหนาและขางหลังพยัญชนะตน ในดานของวรรณยุกตและ
เครื่องหมาย ที่นอกจากจะพบการใชวรรณยุกตในจำนวนที่แตกตางกันแลว ยังพบวาอักษรอริยกะไมพบ
การใชวรรณยุกตอ ีกดว ย
คำสำคญั : ลายสอื ไท, อรยิ กะ, อกั ขรวธิ แี บบใหมสมยั รชั กาลท่ี 6

เนอ่ื งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 105

Abstract
This academic article is a comparative study of the similarities and differences of

the King Rama VI’s Vowel Shapes and New Writing System with Lai Sue Thai and Ariyaka,
with the purpose to study Lai Sue Thai, Ariyaka and Vowel Shapes, and study the
similarities and differences between Lai Sue Thai, Ariyaka and King Rama VI’s Vowel Shapes.
The scope of this study was about King’s Rama VI’s Vowel Shapes, Ariyaka and Lai Sue
Thai by collecting the data from related documents and analyzing comparative data.

The findings indicated that Lai Sue Thai was influenced by Old Mon and Khom
scripts. In which both scripts originated from the Pallava script and Later Pallava script. The
use of consonants, dependent vowel symbols, independent vowel symbols, tones,
number and marks. Ariyaka was invented for Pali language among the Dhammayuttika
Nikaya monks, there were consonants and vowels same as Pali; 33 consonants, 8 vowel
symbols. King Rama VI’s Vowel Shapes and New Writing Sytem had all 44 consonants same
as the present tone, while there were 25 vowels

In King Rama VI’s Shapes and New Writing System was similar to Lai Sue Thai and
Ariyaka in terms of vowels and consonants. On the other was found out that there were
differences in the form of compound words. The position of the vowels including tones
and marks.
Keyword: Lai Sue Thai, Ariyaka, King Rama VI’s Vowel Shapes and New Writing System

บทนำ
วันจรัตน เดชวิลัย (2563: 73) ภาษาเปนเครื่องมือที่มนุษยใชสื่อสารในสังคม ยอมมี

การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่อมิติของสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ก็ยอมสงผลใหภาษา
มีการเคลื่อนไหวและแปรเปลี่ยนไปตามสังคมเชนกัน ดวยเหตุนี้บทบาทของภาษานอกจากเปนเครื่องมือ
ที่ใชในการส่ือสารแลวยังสามารถสะทอนใหเห็นถึงการเปล่ียนแปลงของระบบความคิดและวิถีชวี ิตของคน
ในสังคมไดเปนอยางดี ชนชาติไทยเปนชนชาติทีม่ ีภาษาเปนเครื่องมือในการบันทึกเรื่องราวตาง ๆ มาเปน
ระยะเวลาชานาน โดยมีหลักฐานที่เปนขอสนับสนุนวาคนไทยมีการประดิษฐอักษรข้ึนใชเอง ในป
พุทธศักราช 1826 ซึ่งพอขุนรามคำแหงมหาราชเปนผูประดิษฐขึ้นและมีการใชตอเนื่องยาวนานมาเปน
ระยะเวลาหลายรอยปแ ลว

106 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

ก า ร เ ป ล ี ่ ย น แ ป ล ง ท า ง ภ า ษ า ถ ื อ เ ป  น เ ร ื ่ อ ง ธ ร ร ม ช า ต ิ ใ น ภ า ษ า ท ี ่ ย ั ง ม ี ก า ร ใ ช  ง า น อ ยู
เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้เปนเครื่องหมายแสดงวา ภาษาเหลานั้นยังมีการใชงานและไมเปนภาษา
ที่ตายแลว กลาวคือ หากภาษาใดภาษาหนึ่งไมมีการเปลี่ยนแปลงเลย ทั้งในดานเสียง การเขียนคำ และ
ความหมายของคำ ใหนับวาภาษานัน้ เปน ภาษาทสี่ ญู หายไปตามกาลเวลาและเปน ภาษาที่ไมมผี ูใชงานแลว

กาญจนา นาคสกุล (2526: 1) กลาววา ภาษายอมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ลักษณะ
การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจมีทั้งในดานเสียง การเขียนคำและความหมายของคำ ตัวอักษรเปนเครื่องมือ
ในการบันทึกภาษา ถาการบันทึกนั้นถายทอดภาษาออกมาไดตรง เมื่อภาษาเปลี่ยนไปตามกาลสมัย
ดวยเหตุประการใดก็ตาม การบันทึกนั้นยอมจะแตกตางกันไปดวย การศึกษาอักษรและอักขรวิธีตางสมัย
จะทำใหท ราบถงึ การเปลีย่ นแปลงของภาษาจากสมัยหน่ึงไปสูอีกสมยั หน่ึงได

ภาษาไทยเปนภาษาที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา มีวัฒนาการไปตามยุคสมัย ซึ่งผูศึกษา
ไดตั้งขอสังเกตวา การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยนั้น มีปจจัยสำคัญมาจากผูนำของไทยในแตละยุคสมัย
ไมวาจะเปนผูนำท่ีเปนพระมหากษัตริย ราชวงศ หรือผูนำทางการเมือง ตลอดจนนักปราชญในแตละ
ยุคสมัย ลวนเปน ผูนำท่ีมีบทบาทสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยท้ังส้ิน แตการยอมรับการใชนั้น
ขึ้นอยูกับประชาชนวาจะเขาใจและรับเอาภาษาที่เปลี่ยนแปลงนั้นไปใชหรือไม หากประชาชนยินยอมรับ
ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปใชนั้น ภาษาก็จะมีวิวัฒนาการไปอีกรูปแบบหนึ่ง แตหากไมยินยอมใชภาษา
ที่เปลี่ยนแปลง ภาษานั้นก็จะสูญหายไปในที่สุด หรือเรียกวาไมไดยอมรับการใชงานอยางแพรหลาย
ซึ่งเหตุผลของการไมยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางภาษานั้นอาจเกิดไดจากหลายปจจัย เชน
การเปลี่ยนแปลงทางภาษารูปแบบใหมยากกวาของเดิมที่มีการใชงาน หรือภาษาที่เปลี่ยนแปลงนั้นมี
ของเดมิ ทีด่ ีกวาอยูแลวก็จะไมเกดิ การยอมรับการใชง านดวย

ผูศึกษาจึงเขียนบทความนี้ เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดานอักขรวิธีไทย
ในอักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 กับอักขรวิธีอริยกะและลายสือไท วามีความเหมือนหรือ
ตางกันอยางไร โดยในการศึกษาครั้งนี้ผูศึกษาไดคนควาจากแหลงขอมูลอิเล็กทรอนิกสเปนสำคั ญ
เนื่องจากสถานการณของการแพรระบาดไวรัสโควิด-19 ทำใหแหลงขอมูลปดใหบริการเปนจำนวนมาก
และมีระยะเวลานาน แตถึงกระนั้นผูศึกษาก็ไดตระหนักถึงความถูกตองของเนื้อหาและความครบถวน
ในประเดน็ ท่ีตอ งการจะศึกษาเปน สำคัญ

วตั ถปุ ระสงคข องการศึกษา

1. เพ่ือศกึ ษารปู แบบอักษรลายสือไท อกั ษรอริยกะ และอกั ขรวธิ ีแบบใหม
2. เพื่อศึกษาความเหมือนและความตางระหวางลายสือไท อักษรอริยกะและอักขรวิธีแบบใหม

สมยั รชั กาลที่ 6

เนื่องในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 107

ประโยชนท ีค่ าดวาจะไดร ับ
1. ทำใหท ราบรปู แบบอกั ษรลายสอื ไท อักษรอรยิ กะ และอักขรวิธแี บบใหม
2. ทำใหทราบความเหมือนและความตางระหวางอักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 กับอักขรวิธี
ลายสือไท

ขอบเขตของการศกึ ษา
1. อกั ขรวิธีแบบใหมส มยั รชั กาลท่ี 6
2. อกั ษรและอกั ขรวิธอี รยิ กะ
3. อักษรและอกั ขรวิธลี ายสือไท

ผลการศกึ ษา
บทความเรื่องอักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6: รูปแบบ ความเหมือน และความตางจาก

อักษรลายสือไทและอักษรอริยกะ มุงเนนศกึ ษาใน 2 ประเด็น คือ 1. รูปแบบอักษรลายสือไท อกั ษรอรยิ กะ
และอักขรวิธีแบบใหม และ 2. ความเหมือนและความตางระหวางอักษรลายสือไท อักษรอริยกะและ
อกั ขรวธิ ีแบบใหมสมัยรชั กาลที่ 6 ซึง่ ไดผลการศึกษาออกมาดงั น้ี

1. รปู แบบอกั ษรลายสือไท อักษรอริยกะ และอักขรวธิ ีแบบใหม
1.1 รูปแบบอักษรลายสือไท
อักษรลายสือไทเปนอักษรที่มีการสันนิษฐานวาไดรับอิทธิพลจากอักษรมอญและขอมโบราณ

ซึ่งทั้ง 2 อักษรนี้มีตนกำเนิดมาจากอักษรปลลวะและอักษรหลังปลลวะ นักวิชาการดานอักขรวิทยาไดลง
ความเห็นวาการที่พอขุนรามคำแหงประดิษฐลายสือไทขึ้นใชใน พ.ศ. 1826 เปนการดัดแปลงจากอักษร
พราหมี อกั ษรปลลวะ อักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ

1.1.1 พยัญชนะในอกั ษรลายสอื ไท มีทง้ั ส้ิน 39 รูป ไดแ ก

108 : “สมญานาม เกยี รติกองวรรณศิลป”

1.1.2 สระในลายสือไท
จากการศึกษาสระในอักษรลายสือไท พบวามีการใชสระทั้งในรูปแบบสระลอยและสระจม
โดยในสระลอยพบ 1 รูป คือ สระอี และสระจมพบ 20 รปู ไดแก

เนือ่ งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 109

1.1.3 วรรณยุกตอักษรลายสอื ไท
จากการศึกษาพบวาในลายสือไทมีเสียงวรรณยุกตเพิ่มขึ้นมาใชในภาษาอยางที่ไมเคย
มีมากอน สันนิษฐานวาพอขุนรามคำแหงประดิษฐเสียงวรรณยุกตขึ้นใชเพื่อแทนเสียงสูงและเสียงต่ำ
ในภาษา โดยวรรณยุกตใ นลายสือไทพบท้ังส้ิน 2 รปู ไดแ ก วรรณยุกตเ อก (อ) และวรรณยุกตโท (อ)

1.1.4 ตวั เลขในลายสอื ไท พบทั้งส้ิน 6 ตัว ไดแ ก

1.1.5 เครือ่ งหมายในอักษรลายสือไท พบท้งั ส้ิน 3 รปู ไดแ ก

110 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

1.2 รูปแบบอกั ษรอริยกะ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 4 ประมาณป พ.ศ. 2390

มีการประดิษฐอักษรขึ้นมาชุดหนึ่ง ลักษณะคลายอักษรโรมันของชาวตะวันตก โดยมีชื่อเรียกวา
“อกั ษรอริยกะ” ซง่ึ หมายถึง “อักษรของผูเจริญ” รัชกาลที่ 4 มพี ระราชประสงคในการประดิษฐขึ้นเพื่อใช
เขียนภาษาบาลีในหมูพระสงฆธรรมยุต ซึ่งแตเดิมมีการใชอักษรขอมที่มีความยุงยากในเรื่องของอักขรวิธี
โดยทรงประดิษฐพยัญชนะ และสระใหเทากับภาษาบาลี ประกอบไปดวยพยัญชนะ 33 รูป สระ 8 รูป
ไดแก

1.2.1 พยญั ชนะในอักษรอรยิ กะ
พบพยัญชนะ 33 รูป เทากับภาษาบาลี ไดแก ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ

ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห ฬ อํ โดยพยัญชนะทั้ง 33 ตัวนี้มีรูปสัณฐานคลายอักษรโรมันที่สลับหนา
สลับหลัง ดงั น้ี

เนือ่ งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 111

1.2.2 สระในอักษรอริยกะ
พบสระเพียง 8 รูป ซึ่งเทากับภาษาบาลี ไดแก อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โดยมีรูปสัณฐาน

คลายอักษรโรมันทีส่ ลบั หนาสลับหลัง ดงั นี้

1.3 รปู แบบอกั ษรอกั ขรวธิ ีแบบใหมสมัยรชั กาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวรัชกาลที่ 6 รูปสัณฐานของพยัญชนะและวรรณยุกต
ยังคงเหมือนอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทรตั้งแตยุคตน มีลักษณะตั้งตรง ดูเปนระบบระเบียบ มีความขึงขัง
อยูในตวั พยัญชนะของพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลาเจา อยหู วั รชั กาลท่ี 6 มคี รบทง้ั 44 รูป ไดแ ก ก ข ฃ
ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ และ
วรรณยุกตในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6 มีครบทั้ง 4 รูปเชนกัน คือ วรรณยุกต
เอก (  ) วรรณยุกตโท (  ) วรรณยุกตตรี (  ) และวรรณยุกตจัตวา (  ) สวนสระนั้น พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รชั กาลที่ 6 ไดท รงประดษิ ฐส ระแบบใหมใ น พ.ศ. 2460 โดยใชร ปู แบบของอักษร
อริยกะและอักษรไทยสมัยพอขุนรามคำแหงเปนตนแบบ เพื่อใหมีรูปสัณฐานเหมาะแกการวางบนบรรทัด
เดียวกันกับพยัญชนะ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.3.1 สระในอักษรอกั ขรวิธแี บบใหมส มัยรชั กาลท่ี 6
สระในอักขรวิธีแบบใหมสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6

มี 25 ตวั คือ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอ แอ เอาะ ออ เออะ เออ โอ เอยี เอือ อัว ฤ  ฦ  อำ ไอ เอา ดังนี้

112 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศิลป”

เน่อื งในโอกาสเกษียณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 113

2. ความเหมอื นและความตางของอกั ขรวธิ ีแบบใหมส มยั รชั กาลที่ 6 กับอักษรอริยกะและลายสือไท

2.1 ความเหมือนระหวา งอักขรวิธแี บบใหมสมัยรชั กาลที่ 6 กับลายสือไท

2.1.1 การวางพยญั ชนะและสระไวบ นบรรทัดเดยี วกนั ดังตัวอยา งตอ ไปนี้

อักขรวธิ ลี ายสอื ไท อกั ขรวธิ แี บบใหม อกั ขรวธิ ีปจจบุ นั
ตวว ตวั
กนน กัน

2.1.2 การเขียนสระไอ สระใอ จะมีความสงู เทากันกับพยญั ชนะ ดังตวั อยางตอไปนี้

อักขรวิธลี ายสือไท อกั ขรวธิ ีแบบใหม อักขรวิธปี จ จบุ นั
ใช ใช

ใหม ใหม

2.1.3 พบวา มีการใชส ระลอยเชน เดียวกันในทั้ง 2 อักขรวิธี ดังตวั อยา งตอไปนี้
อกั ขรวธิ ีลายสือไท อกั ขรวธิ แี บบใหม อกั ขรวิธีปจจบุ นั
อิน,อินทร

2.1.4 พบวา ไมมกี ารใชเ ครอ่ื งหมายไมไ ตค เู หมอื นกัน ดังตัวอยางตอไปน้ี

อักขรวธิ ีลายสอื ไท อกั ขรวธิ แี บบใหม อกั ขรวธิ ปี จ จบุ ัน
เปน เปน

2.2 ความแตกตา งระหวางอักขรวิธแี บบใหมสมัยรชั กาลท่ี 6 กับลายสอื ไท
2.2.1 พยัญชนะที่ทำหนาที่อักษรนำในอักขรวิธีแบบใหมจะใสเครื่องหมายจุดใต
พยญั ชนะเม่ือไมตองออกเสียง ขณะทใี่ นอกั ขรวธิ ีลายสือไทสามารถเขียนพยัญชนะ
ตามปกติ ดงั ตวั อยางตอ ไปนี้

อกั ขรวธิ ลี ายสือไท อักขรวิธีแบบใหม อักขรวิธีปจจบุ ัน

อยาง อยา ง

114 : “สมญานาม เกียรตกิ องวรรณศลิ ป”

2.2.2 พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกันในอักขรวิธีแบบใหมจะกำหนดใหวางสระไวหลัง
พยัญชนะเสมอและถาไมตองการออกเสียงกล้ำกันใหแทรกสระไวระหวาง
พยัญชนะนั้น ขณะท่อี กั ขรวิธลี ายสือไทพบวาพยัญชนะท่ีออกเสียงกล้ำกันจะเขียน
ติดกันเสมอ ดังตวั อยางตอ ไปนี้

อักขรวิธีลายสือไท อักขรวิธแี บบใหม อกั ขรวิธปี จ จุบนั

ประ ประ

บราลี บราลี

2.2.3 การวางตำแหนงของสระในอักขรวิธีแบบใหมจะวางไวหลังพยัญชนะเสมอ
ขณะที่อักขรวิธีลายสือไทมีการวางสระไวทั้งดานหนาและดานหลัง ดังตัวอยาง
ตอ ไปนี้

อักขรวิธลี ายสือไท อักขรวิธแี บบใหม อกั ขรวิธปี จ จบุ นั

เปน เปน

ใช ใช

ใหม ใหม

2.2.4 สระประสมในอักขรวิธีแบบใหมถูกรวมเขาเปนตัวเดียวกัน ขณะที่อักขรวิธี
ลายสือไทมีการเขียนสระประสมหลายรูปแบบไมมีกฎเกณฑตายตัว ดังตัวอยาง
ตอ ไปน้ี

อักขรวธิ ีลายสอื ไท อักขรวธิ ีปจ จบุ ัน

เสอื้

เมอื ง

เบ้ีย

อกั ขรวิธแี บบใหม อกั ขรวธิ ีปจ จุบนั

เหมอื น

เชือ้ เชิญ

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 115

2.2.5 อักขรวิธีแบบใหมและลายสือไทมีการใชสระลอยเหมือนกันแตมีความแตกตาง
ในดานจำนวนสระลอยที่พบ โดยในอักขรวิธีแบบใหมพบสระลอย 3 เสียง คือ อิ
อะ และอา แตในลายสือไทพบเสียง อี เพียงเสียงเดียวที่เปนสระลอย ดังตัวอยาง
ตอ ไปน้ี
อักขรวธิ ีลายสอื ไท อักขรวิธีแบบใหม อักขรวิธีปจจบุ นั
อนิ ,อินทร
อกั ขรวิธีลายสอื ไท อกั ขรวธิ ีแบบใหม อักขรวิธปี จจบุ ัน
อมร อมร
อดด อัด

2.2.6 อกั ขรวธิ แี บบใหมม ีการใชเ ครื่องหมายแทนไมห ันอากาศแบบใหม ขณะท่ีลายสือไท
ยังไมพบการใชเ คร่ืองหมายดังกลา ว ดงั ตวั อยา งตอไปน้ี
อกั ขรวิธลี ายสอื ไท อักขรวิธแี บบใหม อักขรวิธปี จจบุ ัน
ทยย ทัย,ไทย
ตนน ตนั

2.2.7 วรรณยุกตในอักขรวิธีแบบใหมพบการใชทั้ง รูปเอก รูปโท รูปตรี และรูปจัตวา
เชนเดียวกันกับในปจจุบัน ซึ่งแตกตางกับลายสือไทที่พบการใชแครูปเอกและ
รูปโทเทานั้น อีกทั้งรูปสัณฐานของวรรณยุกตก็ยังแตกตางกันดวย ดังตัวอยาง
ตอไปนี้
วรรณยุกตในอักขรวธิ ีแบบใหม

วรรณยุกตในลายสอื ไท

116 : “สมญานาม เกียรตกิ อ งวรรณศลิ ป”

3.3 ความเหมือนระหวางอักขรวิธีแบบใหมสมยั รชั กาลท่ี 6 กับอรยิ กะ

เนื่องดวยอักขรวิธีแบบใหมของรัชกาลที่ 6 บางตัวอักษรไดรับอิทธิพลในดานของรูปแบบ
จากอักษรอริยกะในการสรางสระ ซึง่ จากการศึกษาพบวา ไมเ พยี งแตในดานของรูปแบบที่ไดรับอิทธิพลมา
จากอักษรอริยกะ เทานั้น แตในดานอักขรวิธีก็พบความเหมือนระหวางอักษรอริยกะกับอักขรวิธีแบบใหม
ของรชั กาลที่ 6 ดังจะกลาวพรอมยกตวั อยา งตอ ไปน้ี

3.3.1 วางพยัญชนะสระไวบนบรรทัดเดียวกัน โดยสระจะอยูหลังพยัญชนะตน ดัง

ตวั อยางตอ ไปนี้

อักษรอริยกะ อกั ษรอกั ขรวธิ แี บบใหม อกั ษรไทยปจจบุ นั

dAnaM ทน ง ทานัง

kic ก จ กิจ

3.3.2 การประสมพยัญชนะและสระจะใชเกณฑการออกเสยี งเปนสำคัญ คำใดออกเสียง
สระใด กจ็ ะใสร ูปสระน้ันดวย ดังตวั อยางตอ ไปนี้

อกั ษรอริยกะ อกั ษรอักขรวธิ แี บบใหม อักษรไทยปจจุบนั

sarana สรณะ
namo น ม นโม

3.3.3 มีการใชสระลอย กลาวคือ คำที่มีการออกเสียงสระขึ้นตน ใหใชรูปสระนั้น ๆ ขึ้นตน
คำได ดังตัวอยา งตอไปนี้

อักษรอรยิ กะ อกั ษรอักขรวธิ ีแบบใหม อกั ษรไทยปจจุบนั

arahato รหต อรหโต/อะระหะโต
iminA มน อมิ นิ า

3.3.4 พยัญชนะใดไมมสี ระตามหลัง พยญั ชนะน้ันคือตัวสะกด ดังตวั อยา งตอไปน้ี

อกั ษรอริยกะ อกั ษรอักขรวธิ แี บบใหม อกั ษรไทยปจ จุบนั

dip ท ป ทปี
sammA ส มม สัมมา

เนือ่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 117

3.3.5 คำใดทมี่ กี ารใชนิคหิตใหอ อกเสยี งเปน “อัง” ดงั ตัวอยางตอไปนี้

อักษรอริยกะ อกั ษรอกั ขรวิธแี บบใหม อกั ษรไทยปจจุบัน

dAnaM ท นํ ทานํ/ทานัง
saraNaM ส ร ณํ สรณ/ํ สะระณัง

3.3.6 ใชสระอะ แทนไมห นั อากาศ ( ั ) ดังตวั อยางตอ ไปนี้ ดงั ตัวอยางตอ ไปนี้

อักษรอรยิ กะ อักษรอักขรวธิ ีแบบใหม อกั ษรไทยปจจุบัน
sampadA ส มป ท สัมปะทา
tatiyampi ต ต ย มป ตะติยมั ป

3.4 ความแตกตา งระหวางอักขรวธิ แี บบใหมสมัยรชั กาลท่ี 6 กบั อรยิ กะ

เนื่องดวยอักษรอริยกะนั้น ถูกประดิษฐขึ้นเพื่อใชในการเขียนแทนภาษาบาลี ในหมูพระสงฆ
ธรรมยุต เทานั้น ไมไดมีการนำมาใชเขียนหนังสือราชการ หรือประกาศใหบุคคลทั่วไปไดใช จึงทำให
หลักการเขียนยอมตางจากอักขรวิธีแบบใหม ของรัชกาลที่ 6 ที่มีจุดประสงคจะประกาศใชโดยทั่วไป
โดยจะกลาวพรอ มยกตัวอยางตอ ไปน้ี

3.4.1 อักขรวิธีแบบใหม พบการใชทั้งสระเดี่ยวและสระประสม ขณะเดียวกันอักขรวิธี
อรยิ กะพบเพียงการใชส ระเดย่ี วเทา นั้น ดงั ตัวอยา งตอไปน้ี

การใชสระเด่ียวของอกั ษรอรยิ กะ การใชสระเดย่ี วและประสมของอักขรวิธแี บบใหม

sIlena (สเี ลนะ) ก ด (กัด), ช ช ญ (เชื้อเชิญ)

3.4.2 อักขรวิธีแบบใหม พบการใชวรรณยุกต และตัวเลข ในขณะที่อักขรวิธีอริยกะไมพบ
การใช ดังตวั อยา งตอไปนี้

วรรณยุกต ของอกั ษรอกั ขรวธิ ีแบบใหม (เอก) (โท) (ตร)ี (จตั วา)

ตัวเลข ของอักษรอักขรวิธแี บบใหม

3.4.3 อักขรวิธีแบบใหม พบการใชการใชนิคหิต ประกอบกับสระอา (า) เพื่อใหเสียง
ออกเปน “อำ” ในขณะท่ีอักขรวธิ อี ริยกะไมพบการใช ดังตวั อยางตอ ไปน้ี

118 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

การใชการใชน ิคหติ ของอกั ษรอรยิ กะ การใชการใชน คิ หติ ของอักขรวธิ แี บบใหม

samkaY (สำคัญ) สํ ค ญ (สำคัญ)

3.4.4 อักขรวิธีแบบใหม พบการใชวิสรรชนีย (ะ) ในการทำใหเสียงสระอื่นสั้นลง ในขณะที่
อกั ขรวธิ อี ริยกะไมพบการใช ดงั ตวั อยา งตอไปนี้

การใชวสิ รรชนยี  (ะ) ของอกั ษรอักขรวธิ ีแบบใหม เชน จํ พ ะ (จำเพาะ), หม ะ (เหมาะ)

3.4.5 อักขรวิธีแบบใหม พบการใช “เปยยาลยอ” (apostrophe) หลังพยัญชนะตน
ที่ตองการใหออกเสียง “ออ” ในขณะที่อักขรวิธีอริยกะไมพบการใช ดังตัวอยาง
ตอไปนี้

การใช“เปยยาลยอ” (apostrophe) ของอักษรอักขรวิธีแบบใหม เชน ท’ร ม น (ทรมาน),
บ’พ ตร (บพติ ร)

3.4.6 อักขรวิธีแบบใหม พบการใช “อนุสวาระ” ในการบอกใหทราบวาอักษรใดตองอาน
กล้ำกับอกี ตัวหนึ่ง ในขณะทอี่ ักขรวิธีอรยิ กะไมพบการใช ดังตวั อยางตอไปน้ี

การใช “อนุสวาระ” ของอักษรอักขรวิธีแบบใหม เชน สํว ก ข ต (สวากขาโต), ฟ รํม
(forme), สกํ (ask)

3.4.7 อักขรวิธีแบบใหม พบการใช “ทัณฑฆาต” (–) หรือ “ฆาฏะประกาศ” บนและลาง
พยญั ชนะทีไ่ มตองการใหออกเสยี งในขณะที่อักขรวิธีอริยกะไมพบการใช ดังตัวอยาง
ตอไปน้ี

การใช “ทัณฑฆาต” (–) หรือ “ฆาฏะประกาศ” ของอักษรอักขรวิธีแบบใหม เชน พรหฺม,
สามารถฺ , สาสน

สรปุ ผลการศกึ ษา

จากรูปแบบอักษรลายสือไท อริยกะ และอักขรวิธีแบบใหม ผูศึกษาพบวาอักษรลายสือไท
มีพยัญชนะ 39 รูป สระลอย 1 รูป สระจม 20 รูป วรรณยุกต 2 รูป ตัวเลข 6 รูป และเครื่องหมาย 3 รูป
อักษรอริยกะมีพยัญชนะ 33 รูป และสระ 8 รูป สวนอักษรอักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 น้ัน
มีพยัญชนะ 44 รูป และสระ 25 รูป ซึ่งแตละอักษรมีรูปสัณฐานแตกตางกัน ถึงแมจะเปนอักษร
ตวั เดยี วกันกต็ าม

เนือ่ งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 119

นอกจากนี้ ผศู กึ ษายงั ไดศึกษาเปรยี บเทยี บความเหมือนและความแตกตา งของอักขรวธิ ีแบบใหม
สมัยรัชกาลที่ 6 กับอริยกะและลายสือไท พบวาในดานความเหมือนระหวางอักขรวธิ แี บบใหมสมัยรัชกาล
ที่ 6 กบั ลายสอื ไท เหมอื นกนั ตรงท่ีการวางพยญั ชนะและสระไวบนบรรทดั เดยี วกนั การเขยี นสระไอ สระใอ
จะมีความสูงเทากันกับพยัญชนะ มีการใชสระลอยเชนเดียวกันในทั้ง 2 อักขรวิธี และไมมีการใช
เครื่องหมายไมไตคูเหมือนกันทั้ง 2 อักขรวิธี สวนในดานความแตกตางระหวางอักขรวิธีแบบใหมสมัย
รชั กาลที่ 6 กับลายสือไท ผศู ึกษาพบวา พยัญชนะทท่ี ำหนา ท่อี กั ษรนำในอักขรวธิ แี บบใหมจะใสเ คร่ืองหมาย
จุดใตพยัญชนะเมื่อไมตองการออกเสียง ขณะที่ในอักขรวิธีลายสือไทสามารถเขียนพยัญชนะตามปกติ
และพยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกันในอักขรวิธีแบบใหมจะกำหนดใหวางสระไวหลังพยัญชนะเสมอและ
ถาไมตองการออกเสียงกล้ำกัน ใหแทรกสระไวระหวางพยัญชนะ แตอักขรวิธีลายสือไทพบวาพยัญชนะ
ที่ออกเสียงกล้ำกันจะเขียนติดกันเสมอ สวนในเรื่องของสระ แมจะพบวาอักขรวิธีแบบใหมและลายสือไท
มีการใชสระลอยเหมือนกัน แตมีความแตกตางในดานจำนวนสระลอยที่พบ โดยในอักขรวิธีแบบใหม
พบสระลอย 3 เสียง คือเสียงสระ อิ อะ และอา แตในลายสือไทพบเสียงสระอี เพียงเสียงเดียวที่เปน
สระลอย และการวางตำแหนงของสระในอักขรวิธีแบบใหมจะวางไวหลังพยัญชนะเสมอ แตอักขรวิธี
ลายสือไทมีการวางสระไวดานหนาและดานหลัง และสระประสมในอักขรวิธีแบบใหมถูกรวมเขาเปน
ตัวเดียวกัน แตอักขรวิธีลายสือไทมีการเขียนสระประสมหลายรูปแบบ ไมมีกฎเกณฑตายตัว
และในเรื่องของการใชเครื่องหมาย อักขรวิธีแบบใหมมีการใชเครื่องหมายแทนไมหนั อากาศ แตลายสือไท
ยงั ไมพบการใชเครื่องหมายดงั กลาว สว นในเร่อื งของการใชว รรณยุกต ในอักขรวธิ แี บบใหมพบการใชทั้งรูป
เอก รูปโท รูปตรี และรูปจัตวา เชนเดียวกันกับในปจจุบัน ซึ่งแตกตางกับลายสือไทที่พบการใชแครูปเอก
และรูปโทเทานน้ั อกี ทงั้ รูปสณั ฐานของวรรณยุกตก ย็ งั แตกตา งกนั ดว ย

ในดานความเหมือนระหวางอักขรวธิ ีแบบใหมสมยั รชั กาลท่ี 6 กบั อรยิ กะ ผูศ กึ ษาพบวาอักขรวิธี
ทัง้ 2 น้วี างพยญั ชนะสระไวบนบรรทัดเดียวกนั โดยสระจะอยหู ลังพยญั ชนะตน และการประสมพยัญชนะ
และสระจะใชเ กณฑก ารออกเสียงเปน สำคัญ คำใดออกเสยี งสระใด กจ็ ะใสร ปู สระนน้ั ดว ย มีการใชส ระลอย
ทั้ง 2 อักขรวิธี กลาวคือ คำที่มีการออกเสียงสระขึ้นตน ใหใชรูปสระนั้น ๆ ขึ้นตนคำได พยัญชนะใดของ
ทั้งสองอักขรวิธีที่ไมมีสระตามหลัง พยัญชนะนั้นคือตัวสะกด สวนในดานของการใชเครื่องหมาย คำใดที่มี
การใชนิคหิต ใหออกเสียงเปน “อัง” และใชสระอะแทนไมหันอากาศ( ั ) ขณะที่ความแตกตางระหวาง
อักขรวิธีแบบใหมสมัยรัชกาลที่ 6 กับอริยกะ ผูศึกษาพบวาอักขรวิธีแบบใหม พบการใชทั้งสระเดี่ยวและ
สระประสม แตอักขรวธิ ีอริยกะพบเพียงการใชส ระเด่ียวเทานนั้ ในดานของวรรณยุกตและตัวเลข อักขรวิธี

120 : “สมญานาม เกียรติกอ งวรรณศิลป”

แบบใหมพบวามีการใชวรรณยุกตและตัวเลข สวนอักขรวิธีอริยกะไมพบการใช และในดานการใช
เครื่องหมาย พบวาอักขรวิธีแบบใหมมีการใชวิสรรชนยี ในการทำเสียงสระอ่ืนใหสั้นลง แตอักขรวิธีอริยกะ
ไมพบการใช อักขรวิธีแบบใหมยังพบการใช “เปยยาลยอ”หลังพยัญชนะตนที่ตองการใหออกเสียง “ออ”
แตอักขรวิธีอริยกะไมพบการใช อักขรวิธีแบบใหม พบการใช “อนุสวาระ”ในการบอกใหทราบวาอักษรใด
ตองอานกล้ำกับอีกตัวหนึ่ง แตอักขรวิธีอริยกะไมพบการใช และอักขรวิธีแบบใหมยังพบการใช
“ทัณฑฆาต”( ) หรือ “ฆาฏะประกาศ”บนและลางพยัญชนะที่ไมตองการใหออกเสียง แตอักขรวิธีอริยกะ
ไมพ บการใช

อยางไรก็ตาม จากการศึกษาเปรียบเทียบขางตนนี้ สะทอนเห็นวาผูนำในแตละยุคสมัย
เปนปจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางภาษา อันจะเห็นไดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบภาษาในแต
ละยุคนั้น มีจุดเริ่มตนจากผูนำในชวงเวลานั้น ๆ แตถึงกระนั้นในแงของการใชภาษา ผูใชก็ยัง มีบทบาท
สำคัญอยูมากที่จะรับเอารูปแบบภาษาน้ันไปใชหรือไม ซง่ึ จะเห็นไดวาในอักขรวิธีอริยกะและอักขรวิธีแบบ
ใหมไมเ ปน ที่ยอมรับใชกันอยา งแพรห ลาย จึงถูกยกเลิกใชไปในท่สี ดุ

เอกสารอา งอิง
วิยะดา ตานี. (2554). การเชื่อมโยงความในจารึกสุโขทัย. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

คณะโบราณคดี สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควชิ าภาษาตะวนั ออก มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร
บญุ เลิศ วิวรรณ . 2563. วิวฒั นาการของอักขรวิธไี ทย. กรงุ เทพ:แดเนก็ ซ อนิ เตอรคอรปอเรช่ัน
พิริยะ ไกรฤกษ. 2532. จารึกพอขุนรามคำแหง การวิเคราะหเชิงประวัติศาสตรศิลปะ. กรุงเทพ:

อมรนิ ทรพ รน้ิ ตงิ้ กรุป
อนันต ทรงวิทยา. 2524. ลักษณะอักษรและอกั ขรวธิ ีในจารึกสมัยสุโขทัย. Dissertation, ศิลปากร.
องิ อร สุพันธุวณชิ . 2527. วิวัฒนาการอักษรและอกั ขรวิธไี ทย : รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพ: โครงการ

เผยแพรผ ลงานวิจยั ฝายวจิ ัย จฬุ าลงกรณม หาวิทยาลัย.

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 121

122 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

เท่ียวบา นดอนคา คยุ เรอื่ งภาษาลาวเวียง: บนั ทกึ ประสบการณจ ากการลงพื้นท่ี4

นางสาวสมปอง สิมมา5

การเรียนในรายวิชาการวิเคราะหขั้นสูงภาษาสะทอนสังคมและวัฒนธรรมไทย ภาคตน/2561
ในความรับผิดชอบของรองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ รักษมณี นั้น อาจารยไดม อบหมายใหเลือกศึกษา
และวิเคราะหภาษาที่ยังมีการใชในประเทศไทยภาษาใดภาษาหนึ่งในแงการสะทอนสังคมและวัฒนธรรม
จากการคน ควาขอมูลเบ้อื งตน พบวาภาษาถิ่นลาวเวียงจดั เปน ภาษาถิ่นยอยภาษาหน่ึงท่ีมีการใชอยูในหลาย
พื้นทใี่ นประเทศไทยรวมท้ังในอำเภออทู อง จังหวัดสุพรรณบรุ ี จึงไดเลอื กศกึ ษาภาษาถิ่นลาวเวยี ง โดยเลอื ก
พนื้ ทศี่ กึ ษาคือกลุมชาตพิ ันธุล าวเวยี งบานดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออูท อง จังหวัดสุพรรณบรุ ี

ในรายงานผลการดำเนินงาน ประจำป 2560 องคการบริหารสวนตำบลดอนคา6 ไดกลาวถึง
ความเปนมาของกลุมชาติพันธุลาวเวียงในตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไววา กลุมชาติ
พันธุลาวเวียงอพยพมาอยูตั้งแตในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ซึ่งปจจุบันยังคงใชภาษาถิ่นลาวเวียง
ในการสื่อสารกันในชุมชนประชากรในตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีสวนใหญประกอบ
อาชีพเกษตรกรรม ทำไร ทำนา ซึ่งเปนวิถีชีวิตดั้งเดิมตั้งแตอดีตและยังคงสืบทอดมาถึงปจจุบัน ซึ่งจาก
การสัมภาษณและพูดคุยกับผูบอกภาษา7 พบวาส่ิงที่นาสนใจอยางหนึ่งในภาษาลาวเวียง คือ คำเรียก
เครื่องมือเครื่องใชในการประกอบอาชีพและวิถีชีวิตประจำวันทั่วไป โดยคำเรียกเครื่องมือเครื่องใชภาษา
ถิ่นลาวเวียง มีทั้งที่แตกตางจากภาษาไทยมาตรฐานโดยสิ้นเชิง คำที่คลายคลึง คำที่ใชเหมือนกัน และคำ
ที่ยังไมพบวาในภาษาไทยมาตรฐานเรียกอยางไร รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใชที่เคยใชในวิถีชีวิตดั้งเดิม
จึงมีทั้งที่ยังใชอยูและไมไดใชแลวในปจจุบัน ทำใหคิดวาหากไมมีการรักษาไวยอมมีโอกาสสูญหายไปจาก

4 บันทึกประสบการณจากการลงพื้นที่ศึกษาภาษาลาวเวียงในรายวิชาการวิเคราะหขั้นสูงภาษาสะทอนสังคมและวัฒนธรรมไทย ภาค
ตน/2561 ในความรับผิดชอบของรองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ รักษมณี ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
5 นสิ ติ ระดับปริญญาเอก สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
6 สื่อประชาสัมพันธกิจกรรมและขอมูลขาวสาร องคการบริการสวนตำบลดอนคา. (2560). รายงานผลการดำเนินงานประจำป 2560
องคก ารบรหิ ารสวนตำบลดอนคา. สุพรรณบรุ :ี องคก ารบรกิ ารสว นตำบลดอนคา
7 ผูบอกภาษาลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ไดแก คุณทองศรี หงษเวียงจันทน คุณบุญรอด หงษเวียงจันทน
ชาวบา นบานดอนคา และคณุ กานตชนติ จำวเิ ศษ นักวเิ คราะหน โยบายและแผน องคก ารบริหารสว นตำบลดอนคา อำเภออูท อง จังหวัด
สุพรรณบุรี

เน่ืองในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษมณี : 123

วัฒนธรรมชาติพันธุลาวเวียงทั้งในดานวัตถุและภาษา ดังนั้น บันทึกนี้จึงเปนเสี้ยวหนึ่งของการบันทึก
ประสบการณจากการลงพ้ืนทแ่ี ละภาษาลาวเวียงบางคำทีน่ าสนใจในดานที่สะทอนใหเห็นโลกทัศน วิถีชีวิต
และวฒั นธรรมของกลุมชาตพิ นั ธลุ าวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี

คำเรียกเคร่อื งมอื เคร่อื งใชในภาษาลาวเวียง8 บางคำในการลงพน้ื ที่เกบ็ ขอมูลดงั กลาวไดส ะทอนให
เห็นถึงโลกทัศน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุมชาติพันธุลาวเวียงผานภาษาที่เปนคำเรียกเครื่องมือ
เครอ่ื งใชซง่ึ ขอบนั ทกึ ไวบ างคำ ดงั นี้

“คกมอง” / “คกมอ ง” มองตา งจาก “ครกกระเด่อื ง”

ภาษาไทยมาตรฐานเรียกครกชนิดนี้วา ครกกระเดื่อง คำวา ครก9 หมายถึง เครื่องใชที่มีลักษณะ
อยางหลุมสำหรับตำหรือโขลกดวยสาก, เครื่องใชที่ทำดวยไมทั้งทอนขนาดใหญ ยาวประมาณ 70
เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกใหเปนหลุมลึก สำหรับตำหรือซอมขาวเปนตนดวยสากหรือตะลุมพุก เรียกวา
ครกซอ มมอื , ถา ใชตำดว ยกระเดื่อง เรียกวา ครกกระเดอ่ื ง

ภาษาลาวเวียงเรียกครกกระเดื่องวา “คกมอง” หรอื “คกมอง” ซ่งึ สะทอนถึงมมุ มองตอครกชนิด
นี้ตางกัน ภาษาไทยมาตรฐานเรียกตามวิธีการใชงาน คือ เปนครกท่ีใชตำขาวโดยใชปลายเทาเหยียบ
กระเด่อื งใหส ากกระดกข้ึนลง

ในภาษาลาวเวยี ง คำวา “มอง” หมายถึง บริเวณที่เปนเว้ิงหรอื หลุมยุบลงไปหรือหมายถึง ที่ เชน
มองนั่น มองนี่ คือ ที่นั่น ที่นี่ ผูบอกภาษาไดอธิบายเพิ่มเติมวาที่เรียกวา คกมองหรือคกมอง เพราะเรียก
ตามลักษณะหลุมครกที่ยุบลงไป สะทอนถึงมุมมองชาวลาวเวียงท่ีเรียกชือ่ ตามลกั ษณะของครกที่เปนหลุม
ลงมา ไมไดเรียกตามวิธีการใชงาน ซึ่งคกมองหรือคกมองนี้จะใชตำขาวเปลือกใหเปน ขาวสาร โดยกอนนำ
ขาวเปลือกมาตำจะใชสีสีขาวกะเทาะเปลือกขาวใหแตกและเอาเศษหญา เศษฟางออกจากขาวเปลือก
เสียกอ น ตอมาไดปรับเปลย่ี นจากครกกระเด่ืองมาเปนครกและสากดา มยาวใชมือจบั สากตำขาวแทนเพราะ
ครกกระเดื่องใชพ ้นื ทเี่ ปนบริเวณกวาง

8 คำเรียกเคร่ืองมือเคร่ืองใชในภาษาลาวเวียงในบันทึกน้ี คือภาษาลาวเวียง บานดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสพุ รรณบุรี
ทไี่ ดจากการสัมภาษณผบู อกภาษาดงั ที่แจง ไวข างตน
9 พจนานกุ รมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2554: ออนไลน) https://dictionary.orst.go.th/

124 : “สมญานาม เกยี รติกองวรรณศลิ ป”

“ของปากกาง” และ “ของลอย” ใชสอยตามความเหมาะสม
ของ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (2554: ออนไลน) ใหความหมายไววา ของ
(น.) หมายถึง เครื่องจักสานสำหรับใสปลา ปู เปนตน รูปคลายตะกราปากแคบอยางคอหมอดิน กน
ส่ีเหลย่ี มจตั รุ สั มขี นาดตาง ๆ
ในวิถีชีวิตชาวลาวเวียง ของ ก็มีหลายขนาด ของที่นิยมใช คือ ของปากกลาง การออกเสียงใน
ภาษาลาวเวียงจะเรียกวา “ของปากกาง” (ของปากกลาง) ลักษณะเปนของที่มีขนาดกลาง สานดวยไมไผ
ลูกไมใหญ จะนำติดตัวลงน้ำเวลาหาปลา โดยอาจสะพายหรือผูกติดเอว เชน ถาไปวางขายดักปลาจะใช
ขอ งปากกลางติดตัวลงนำ้ ไปดวย สว นของอกี ชนิดท่นี ิยม คือ ของเปด

ของเปด ภาษาลาวเวียงจะเรียกวา “ของเปด” หรือ “ของลอย” สานดวยไมไผ รูปรางคลายเปด
มีคองอนขึ้นเล็กนอยและมีฝาปด ใชสำหรับใสสัตวน้ำ เวลาหาปลา เชน หวานแห จะเอาลงน้ำไปดวยโดย
ผูกเชือกที่ของแลวผูกโยงติดกับเอว โดยใชตนโน (ตนโสน) หรือไมไผผูกที่กนของเพื่อใหของลอยน้ำ
จึงเรยี กวา ขอ งลอย ดวย

จะเหน็ ไดวา ชาวลาวเวียงไดส รางเครื่องมือเครื่องใชใหเหมาะสมตามวตั ถุประสงคการใช และมีภูมิ
ปญญาทองถิ่นนำวัสดุธรรมชาติมาใชประโยชนไดอยางหลากหลาย เชน ตนโสน ซึ่งเปนพืชที่หาไดงายใน
อดีตลำตน เปน ไมเ นอื้ ออน นำ้ หนักเบา จงึ นำมาผกู ตดิ กับกนของเปด ใหลอยนำ้ ได

เนื่องในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษม ณี : 125

“กะตา ฮวง” มองเหมอื นรวงขา ว

กะตา ฮวง ในภาษาลาวเวียงหรอื ตะกราหวิ้ ในภาษาไทยมาตรฐาน เปนภาชนะใชสอยทว่ั ไปสำหรับ
ใสข า วของ อาหาร หรอื ส่งิ ของตาง ๆ ใชไ ดท ้งั การหิ้ว หาบ และคอนดว ยไมคาน ทำใหใชไดสะดวกเพราะ
มีหหู ้วิ เปนภาชนะจกั สานปากกวาง นำ้ หนกั เบา จึงเปน เคร่ืองใชสำหรับใสสง่ิ ของตา ง ๆ ท่ีขาดไมไดส ำหรับ
วถิ ชี ีวิตในอดีต

คำวา “ฮวง” ในภาษาถิ่นลาวเวียง แปลวา รวง พวง ชอ เชน ฮวงเขา (รวงขาว) ฮวงเผิ่ง (รวงผึ้ง)
ไมไผที่เหลาแลวสอดเขาไปในภาชนะ ถาสอดเขาตะกรา เรียก ฮวงกะตา (รวงตะกรา) สอดเขากะออมตัก
น้ำ เรียก ฮวงคุ ดังนั้น ชาวลาวเวียงจึงเรียกตะกราหิ้ววา “กะตาฮวง” ตามลักษณะที่หิ้วของตะกราที่โคง
แบบรวงขาว (ฮวงขาว) สะทอนใหเห็นถึงอาชีพหลัก คือ การทำนา การเห็นลักษณะโคงของที่หิ้วเหมือน
รวงขาว แสดงใหเห็นถึงการอยูใกลชิดกับธรรมชาติจึงนำมาเรียกเปนชื่อเครื่องใชในชีวิตประจำวันตาม
ลกั ษณะทเี่ ห็น

126 : “สมญานาม เกียรติกองวรรณศิลป”

“เขงิ ” “กะดง” วตั ถุประสงคใชส อยตางกนั

เขงิ
ภาษาลาวเวียงเรียกเคร่ืองจักสานชนิดน้ีวา เขิง ในภาษาไทยมาตรฐานเรียก ตะแกรง สำหรับชาว
ลาวเวียงเครื่องใชชนิดนีจ้ ะใชสำหรับชอนปลา (ภาษาลาวเวียงเรียกวา แขงปลาหรือสอนปลา) ใชลางปลา
แทนกระชังหรือตะแกรง ใชตากปลา ตากของกินตาง ๆ ที่ตองการใหแหงเร็ว เชน ตากหัวปลาเพราะพ้ืน
“เขิง” มีตาถ่ี ๆ ชว ยระบายอากาศไดด ี เปนเครอื่ งใชส ารพัดประโยชนเชน กัน

กระดง
กะดง หรือกระดง ในภาษาไทยมาตรฐาน เปนเครื่องจักสานทรงกลม แบน กวาง มีขอบถักดวย
หวายเพื่อเสริมความแข็งแรง พื้นกระดงสานติดกันสนิท ใชสำหรับฝดขาวหรือเมล็ดพืช เพื่อแยกส่ิง
แปลกปลอม เศษฟาง ละอองฝุน เศษหญาออก และใชตากสิ่งของตาง ๆ ที่ไมตองการใหแหงมากหรือเรว็
เหมอื นตากดวยเขงิ
เขิงและกะดง เปนเครื่องใชมีลักษณะคลายคลึงกัน แตภูมิปญญาทองถิ่นชาวลาวเวียงไดปรับให
พื้นเขิงกับกะดงมีความแตกตางกันตามวัตถุประสงคใชสอย สะทอนใหเห็นถึงความพิถีพิถันและรูจัก
ปรับปรงุ เคร่ืองมือเครอื่ งใชใ หใชไ ดเหมาะสมตามความตอ งการ

เนอ่ื งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 127

“กะเบยี น” ในคำผญาสอนไวอยาไดลมื ตัวตน

กะเบียน คอื ภาชนะทสี่ านดว ยไมไผ มลี กั ษณะคลายกะดง เรียกกะเบยี นกะดง หรือกะดงกะเบียน
ก็ไดมีผญากลาวไววา “อยางวา คันไดกินลาบกอยอยาลืมแจวแพวผัก ไดกินพาเงินพาคำอยาลืมกะเบียน
ฮาง” ในภาษาอีสาน กะเบียน คือ ถาดสำหรับทำขาวเหนียวที่นึ่งสุกแลวใหเย็นกอนที่จะเก็บเขาภาชนะ
บรรจุ

ผญานี้ชาวลาวเวียงไดมีการจดจำสืบทอดมาเชนกัน หากพิจารณาจากถอยคำในผญา แสดงวา
กะเบยี นคือเคร่ืองใชที่ใชร องภาชนะใสอาหารดว ย กะเบียนมีลกั ษณะคลายกระดง แตจ ะมขี อบปากสูงกวา
และมีฐานรองเตี้ย ๆ คลายขันโตก ความหมายในผญา แปลวา หากไดรับประทานอาหารดี ๆ อยาง ลาบ
กอย ซึ่งเปนอาหารท่ีทำจากเนื้อสัตว ถือเปนอาหารชนั้ ดีแลวอยา ลมื อาหารธรรมดาอยา งน้ำพริก ผัก ที่เคย
กิน หากไดร ับประทานอาหารบนภาชนะแพง ๆ ทำจากเงินและทองคำ (เปนการเปรียบเปรย) แลว อยาลืม
ภาชนะเกา ๆ ผุพังที่เคยใช ซึ่งความหมายโดยนัยของผญานีค้ ือ การสอนไมใหล มื ตัว เมื่อยามสุขสบายไดด ี
แลว อยาลืมความอดยากหรือความลำบากทีผ่ านมา สะทอ นใหเห็นวาชาวลาวเวียงน้ันพยายามไมลืมตัวตน
ท่เี คยยากลำบากมาในอดตี ดว ยการเตอื นตวั เองผา นผญานนั่ เอง

คำเรียกเครื่องมือเครื่องใชเหลาน้ีไดใหเห็นสะทอนโลกทัศน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของกลุมชาติ
พันธุลาวเวียง กลาวคือเครื่องมือเครื่องใชในวิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุมชาติพันธุลาวเวียง สวนใหญทำมาจาก
วัสดุธรรมชาติที่หาไดในทองถิ่น เชน ไมไผ หวาย เปนตน การเรียกชื่อเครื่องมือเครื่องใชเหลานั้นก็จะ
สอดคลองกับลักษณะเดน ประโยชนใชสอย และลักษณะตามธรรมชาติ สะทอนถึงมุมมองที่เกิดจากการ
ประกอบอาชีพ การอยูใกลชิดกับธรรมชาติและความคิดสรางสรรคในการทำสิ่งของเครื่องใชใหเหมาะสม
ตามประโยชนใ ชสอย

นอกจากน้ียังพบคำเรียกเครื่องมือเครื่องใชภาษาถิ่นลาวเวียงหลายคำที่คลายคลึงกับภาษาไทย
มาตรฐาน สวนใหญพบวาเปนการออกเสียงแตกตางกันเล็กนอยในดาน เสียงพยัญชนะตน คำควบกล้ำ
และเสียงวรรณยกุ ต เชน กะโซ/ คนั โซ, โชงโลง, กะโปง / กะโหลง, เกยี น/เกวยี น, ขอ ง/ขอ ง, กะบุง/กระบงุ ,
กะดง/กระดง, กะจาด/กระจาด เปนตน จะสังเกตไดวาคำภาษาลาวเวียงมักจะไมมีคำควบกล้ำ และเสียง
วรรณยุกตจะเปนเสียงต่ำกวาภาษาไทยมาตรฐาน

128 : “สมญานาม เกยี รติกองวรรณศิลป”

บางคำยังไมพบการใชใ นภาษาไทยมาตรฐาน ไดแก คำวา ของถอบกลา กะเบียน กะทา รวมทั้งมี
คำทีม่ าจากภาษาตา งประเทศ คอื ภาษาจีน ซง่ึ ใชคำเดียวกับภาษาไทยมาตรฐานคือคำวา บงุ ก๋ี แสดงใหเห็น
วา ชาตพิ นั ธลุ าวเวียงมกี ารติดตอกับชาติพันธอุ น่ื ท่ใี ชภ าษาตางกนั และเลอื กรบั คำภาษาอ่นื มาใชเชนกัน

ภาษาเปน มรดกทางวัฒนธรรมทีส่ ำคญั ของแตละสังคม เปน เครือ่ งมอื ถายทอดวัฒนธรรมสาขาตาง
ๆ ใหสืบทอดตอไปไมมีที่สิ้นสุด เพราะหากไมมีภาษายอมไมสามารถที่จะสื่อความหมายกันใหเขาใจ การ
สบื ทอดวฒั นธรรมก็จะเปนไปไมได โดยเฉพาะอยางยง่ิ วัฒนธรรมทองถิ่นท่ีบางคร้ังมีเพียงคนในทองถิ่นท่ีใช
ภาษาถน่ิ เทา นั้นจึงจะเขา ใจวัฒนธรรมเหลาน้นั ดงั น้ัน ไมเพียงแตภาษามาตรฐานเทา นัน้ ท่ีมีความสำคัญตอ
การสืบทอดวัฒนธรรม ภาษาถน่ิ กม็ คี วามสำคัญมากเชน กนั

การเรียนในรายวิชาการวิเคราะหขั้นสูงภาษาสะทอนสังคมและวัฒนธรรมไทยและการไดลงพื้นท่ี
สัมภาษณพูดคุยกับผูบอกภาษาโดยตรงในความรับผิดชอบของรองศาสตราจารย ดร. สมเกียรติ รักษมณี
น้ันไดเสริมสรา งประสบการณใหผเู รยี นไดสัมผัสการใชภาษาถ่ินทยี่ ังมีการใชอยูในปจจบุ ันทามกลางกระแส
การเขามาของภาษาและวัฒนธรรมอื่น ๆ จากทั่วโลก ไดเรียนรูและเขาใจโลกทัศนและวัฒนธรรมผาน
ภาษาจากผูบอกภาษาโดยตรงซึ่งเปนประสบการณและการไดรับความรูที่ประโยชนอยางยิ่งตอการเรียน
ภาษาไทยและการวิเคราะหภาษาไทยในดานภาษาที่สะทอนสังคมและวัฒนธรรมไทย และการวิเคราะห
ภาษาไทยในดา นอน่ื ๆ ตอ ไป

เนือ่ งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รกั ษม ณี : 129

130 : “สมญานาม เกยี รตกิ อ งวรรณศลิ ป”

การศกึ ษาการใชคำเรียกขานของคนสามระดับอายชุ าวลาวเวยี ง ทตี่ ำบลดอนคา
อำเภออทู อง จังหวดั สุพรรณบรุ ี

นางสาวเนมิ อนุ ากรสวสั ด์ิ

บทนำ

ประชากรทอี่ าศยั อยใู นประเทศไทยปจ จบุ ันมีทงั้ ประชากรท่ีอาศัยอยมู าแตด้ังเดิม และประชากรที่
อพยพมาจากถิ่นอื่น ประชากรท่ีอาศยั อยูมาแตด้ังเดิม เชน มอญ เขมร จาม (สจุ ติ ต วงษเทศ, 2527) สวน
ประชากรที่อพยพมาจากถ่ินอืน่ เชน กะเหรี่ยง กยู โยย มลาบรี ลาวเวียง ลาวครัง่ ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ

ชาวลาวเวียงมีประวัติการอพยพเขามาตั้งถิ่นฐานในชวงกอนและตนรัตนโกสินทร คือในสมัยกรุง
ธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 1 และโดยเฉพาะอยางยิ่งสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2369 หลังจากปราบกบฏเจาอนุวงศ
จงึ เกิดการยา ยถนิ่ ฐานของชาวลาวคร้งั ใหญ โดยพระบาทสมเด็จพระน่งั เกลาเจาอยูห วั รชั กาลท่ี 3 ใหก วาด
ตอ นชาวลาวเวียงจนั ทน ลาวภูครัง ลาวพวน และลาวกลมุ ตา ง ๆ มาหลายครง้ั แตไ มป รากฏในบันทึกฯ วา
ใหต งั้ ถนิ่ ฐานท่ใี ด โดยเชอื่ วานา จะตัง้ ถนิ่ ฐานอยูในบริเวณที่ชาวลาวอยอู าศัยมากอ นแลว เชน สระบุรี ชลบรุ ี
นครชัยศรี สพุ รรณบรุ ี เปน ตน (ฉันทสั เพียรธรรม, 2559)

จากการศึกษาของนักภาษาศาสตรพบวาในจังหวัดสุพรรณบุรีปจจุบัน นอกจากจะมีผูพูดภาษา
ไทยกลางแลว ยังมีผูพูดภาษาอื่น ๆ อีก 9 ภาษา ไดแก ภาษาไทยยวน (คำเมือง) ภาษาโซง ภาษาพวน
ภาษาลาวอีสาน ภาษาลาวแงว ภาษาลาวเวียง ภาษาเขมร ภาษาอุกอง (กวอง) ภาษากะเหรี่ยงโป
(Premsrirat et al., 2004. อา งถงึ ใน สวุ ัฒนา เลีย่ มประวตั ิ, 2560)

ชาวลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังคงธำรงอัตลักษณทางสังคม
วัฒนธรรมของตนเองไวอยางเขมแข็ง อาทิ การพูดภาษาลาว การจัดงานประเพณี การละเลน การเลน
ดนตรี ฯลฯ (วรรณพร บุญญาสถติ , ฉนั ทัส เพียรธรรม และเทพธดิ า ศลิ ปรรเลง, 2560)

คำเรียกขานเปนหมวดคำที่นักภาษาศาสตรใ หความสนใจมาโดยตลอด ดังเชนที่งานวิจัยของมีชัย
เอี่ยมจินดา (2534) พบวาการใชคำบุรุษสรรพนามสะทอนใหเห็นวาปจจัยทางสังคม อาทิ เพศ ความเปน
ทางการ สถานภาพทางสังคม ความสุภาพ ความสนิทสนม เขามามีบทบาทในการพิจารณาใชคำ
นอกจากนี้ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย และอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ (2531) กลาววาการใชคำเรียกขานนั้นจะ

เนอื่ งในโอกาสเกษยี ณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 131

แปรเปลี่ยนไปตามตัวแปรตาง ๆ ทางสังคม ทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม เมื่อสังคมเปลี่ยนคำเรียก
ขานนั้นจะแปรเปลี่ยนแปลงไปดวย ปจจัยสังคมดังกลาว เชน สถานการณการใชภาษา อันไดแก
ความสัมพนั ธข องผพู ดู และผูฟ ง เร่ืองท่พี ดู และกาลเทศะ

คำเรยี กขานจึงสะทอ นใหเห็นลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของผูพดู อยา งลึกซ้ึง ละเอียดออน
และความหมายแฝงนั้น ยังแสดงใหเห็นถึงความเปนตัวตนของผูพูดวามีความสุภาพ ออนนอม และให
เกียรติผูร ว มสนทนา รวมทัง้ การใหความสำคัญกับเพศชายและหญงิ ซ่งึ นับไดวาเปน วฒั นธรรมอยา งหนึ่งใน
การใชภาษา

ผศู ึกษาจึงสนใจศกึ ษาการเปลย่ี นแปลงคำเรียกขานของคนสามระดบั อายุทีต่ ำบลดอนคา อำเภออู
ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากภาษาของคนตางวัยเปนเครื่องบงชี้ความเปลี่ยนแปลงของภาษา ดังนั้น
การศึกษานี้จึงจะทำใหเห็นความแตกตางหลากหลายและการแปรของการใชคำสรรพนาม รวมถึงคว าม
เปลี่ยนแปลงมโนทัศนในแงตาง ๆ ของชาวลาวเวียงตางระดับอายุที่ตำบลดอนคาอำเภออูทอง จังหวัด
สุพรรณบรุ อี ีกดวย

วัตถปุ ระสงคข องการศึกษา

1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการใชคำเรียกขานของชาวลาวเวียงที่ตำบลดอนคา
อำเภออูทอง จงั หวดั สุพรรณบรุ ี

2. เพื่อศึกษาภาพสะทอนลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใชคำ
เรียกขาน

ประโยชนท ่คี าดวา จะไดรบั

1. ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงการใชค ำเรยี กขานของตำบลดอนคา อำเภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบรุ ี
2. ทราบถงึ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมทีส่ มั พันธก ับการใชคำเรียกขาน

นิยามศพั ทเฉพาะ

1. ชวงอายุที่ 1 หมายถึง ชาวลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีที่อายุ
ระหวาง 10 – 20 ป

132 : “สมญานาม เกยี รติกอ งวรรณศลิ ป”

2. ชวงอายุที่ 2 หมายถึง ชาวลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีที่อายุ
ระหวาง 30 – 40 ป

3. ชวงอายุที่ 3 หมายถึง ชาวลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีที่อายุ
ระหวาง 50 – 60 ป

วธิ ีดำเนนิ การวิจัย

1. ข้ันเก็บรวบรวมขอ มลู

1.1 คนควา แนวคิด ทฤษฎี และศึกษาเอกสารงานวิจัยทเ่ี กยี่ วขอ งกบั คำบรุ ษุ สรรพนาม
1.2 คนควา ศึกษาเอกสารทีเ่ กย่ี วขอ งกับภาษาลาวเวยี ง
1.3 เก็บรวบรวมขอมูลการใชการใชคำบุรุษสรรพนามที่ตำบลดอนคา อำเภออูทอง
จงั หวดั สุพรรณบุรี โดยใชแ บบสอบถาม

2. ข้ันวิเคราะหข อ มูล

2.1 นำขอมูลคำเรียกขานที่ไดมาวิเคราะหลักษณะการใชและการเปล่ียนแปลงการใชคำ
บรุ ุษสรรพนาม

2.2 อธบิ ายถึงความสัมพนั ธของคำเรียกขานในแงภ าษากบั สงั คมและวัฒนธรรม

3. ขนั้ สรุป

3.1 เขียนสรุปผลการศกึ ษาโดยใชวิธีพรรณนาวิเคราะห
3.2 อภปิ รายผลการศึกษา
3.3 ขอ เสนอแนะ

ผลการศกึ ษา
หมวดหมูค ำเรยี กขาน

จากการศึกษาคำเรยี กขานภาษาลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสพุ รรณบุรี ท่ีผูพูดใช
เรียกผูที่พูดดวยพบวาทัง้ 3 ชวงอายุ นิยมใชคำเรียกญาติในการเรียกขานมากท่ีสดุ รองลงมาคือ คำสรรพ
นาม เหมอื นกันท้ัง 3 ชวงอายุ

เน่อื งในโอกาสเกษียณอายุงาน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 133

จากการศึกษาจะเห็นไดวาคำเรียกขานภาษาลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
อยูในชวงของการแปร โดยความใกลเคียงของการใชคำเรียกขานระหวางกลุมอายุที่ 2 และ 3 มีมากกวา
กลุมที่ 1 การใชค ำเรยี กขานของกลุมอายุที่ 2 และ 3 มลี ักษณะเปนภาษาลาวเวียงดัง้ เดิม สวนคำเรยี กขาน
ของกลมุ ชวงอายทุ ่ี 1 ใกลเ คยี งกบั ภาษาไทยมาตรฐาน

ปจ จยั สำคญั ที่มีผลตอการเลือกใชคำเรยี กขานท้งั คำเรียกขานที่ใชแ ทนตัวผูพดู และคำเรียกขานท่ี
ใชเรียกผูฟงของทั้ง 3 ชวงอายุมีแนวโนมไปในทิศทางเดียวกัน คือทุกกลุมอายุใชคำเรียกขานพระสงฆทุก
อายเุ หมอื นกนั หากบคุ คลใดมีตำแหนงหนาทใ่ี นสังคมนิยมเรียกดว ยตำแหนง และแทนตัวเองดวยคำสุภาพ
และใหเกียรติ โดยไมคำนึงถึงอายุวาจะมากหรือนอยกวาตน และหากบุคคลที่สนทนาดวยไมไดเปน
พระสงฆหรือผูมีตำแหนงหนาที่ในสังคมจะใชคำเรียกญาติในการเรียกขานเสมอ หากเปนสนทนากับเพศ
ชายที่อายุมากกวาตนไมมากจะเรียกคูสนทนาวา เอื้อย (พี่สาว) อาย (พี่ชาย) หรือพี่ แตหากผูที่สนทนา
ดวยอายุมากกวาหลายปจะเรียกคูสนทนาเพศชายวา ลุง และคูสนทนาวา ปา และหากคูสนทนาอายุนอ ย
กวาตน เพศชายจะเรียกแทนตัวเองวา อาย หรือพี่ เพศหญิงจะเรียกแทนตัวเองวา เอื้อย หรือพี่ โดยคำ
แทนตัวเองวาพซี่ ง่ึ เปน ภาษาไทยมาตรฐานน้ันจะพบเฉพาะกลมุ ชว งอายุที่ 1 เทานั้น

จรัญวิไล จรูญโรจน (2559) กลาววาการที่คนรุนอายุตาง ๆ ใชภาษาไมเหมือนกัน แสดงวาภาษา
อยใู นชวงเปลี่ยนแปลง เราเรยี กการเปลี่ยนแปลงเชนนี้วา การเปลยี่ นแปลงท่ีกำลังดำเนินอยู ซึ่งสอดคลอง
กับอมรา ประสทิ ธิร์ ฐั สินธุ (2556) ทกี่ ลาววา การแปรในภาษาของคนท่ีตางวัยกันสามารถใชเปนเครื่องบงช้ี
ความเปลี่ยนแปลงของภาษาได โดยเฉพาะภาษาของคนรุนอายุมากที่สุดกับรุนอายุนอยที่สุด เมื่อคนรุน
อายุมากที่สุดตายไปหมดชุมชนแลว รูปแบบของภาษาของเขาก็จะถูกเลิกใชไปดวย เหลือแตภาษาของคน
รุนอายุนอ ย

จากขอความขางตนจึงอาจพยากรณไดวาภาษาลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัด
สุพรรณบุรี อยูในชวงของการแปร และชาวลาวเวียงตำบลดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีมี
แนวโนม จะเลือกใชค ำเรียกขานตามอยางของภาษาไทยมาตรฐานมากข้นึ ในอนาคต

รูปแบบของคำเรยี กขาน
การศกึ ษารูปแบบของคำเรยี กขานพบวา มี 2 รปู แบบ ไดแ ก สว นประกอบเดย่ี ว และสว นประกอบ

สองสวน รปู แบบคำเรียกขานทผี่ ูพดู ใชแ ทนตวั เองพบรูปแบบเดยี วคือสวนประกอบเดี่ยว 3 รูปแบบ ดงั นี้

แบบท่ี 1 คำเรยี กญาติ เชน พ่ี อาย เอือ้ ย ลงุ ปา
แบบท่ี 2 คำสรรพนาม เชน กู ขอ ย เรา ผม หนู

134 : “สมญานาม เกียรติกองวรรณศลิ ป”

แบบท่ี 3 ชอ่ื เชน วิ นา โอต เกรซ ยุน
สวนรูปแบบคำเรียกขานที่ผูพูดใชเรียกผูที่พูดดวยมี 2 รูปแบบ ไดแก สวนประกอบเดี่ยว และ
สว นประกอบสองสว น สว นประกอบเดยี่ วพบ 5 รปู แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 คำเรยี กญาติ เชน ลงุ ปา อาย เอื้อย พ่ี
แบบที่ 2 คำสรรพนาม เชน มึง นาย เธอ เจา หนู
แบบท่ี 3 ชอื่ เชน แสง นวล ปอนด เพญ็ พลอย
แบบที่ 4 คำแทนคำนาม เชน นาง สาว ทา ว หลา
แบบที่ 5 คำเรียกสถานภาพ เชน แมช ี หมอ ม ผูใหญ อาจารย

สว นประกอบสองสวน พบ 4 รูปแบบ ดังน้ี
แบบท่ี 1 คำนำหนา + ช่ือ เชน อีน่ าง ไอป อ
แบบที่ 2 คำนำหนา + คำเรยี กญาติ เชน หลวงพ่ี หลวงพอ หลวงลุง
แบบที่ 3 สถานภาพ + ชอื่ เชน เณรเดียร อาจารยวิ ผูใหญสมบูรณ
แบบที่ 4 คำเรยี กญาติ + ช่อื เชน พีเ่ ออ้ื ย ปาสง ลุงทองศรี

การศึกษารูปแบบของคำเรียกขานผูพูดใชเรียกผูที่พูดดวยพบวา มีการใชสวนประกอบสองสวน
มากกวา สวนประกอบเดีย่ ว

สะทอ นลักษณะทางสงั คมและวฒั นธรรมทีเ่ กดิ จากการเปลยี่ นแปลงการใชค ำเรียกขาน
การศึกษาสะทอนลักษณะทางสังคมและวฒั นธรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใชคำเรียกขาน

พบวามีทั้งลักษณะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่ยังไมเปลี่ยนแปลง
โดยลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ การเลือกใชภาษา จะพบวากลุมคนที่อายุนอย
กวา จะใชภาษาทล่ี เู ขาสูภาษาไทยมาตรฐาน และมีแนวโนม ทจ่ี ะเพม่ิ มากขน้ึ เร่ือย ๆ

สวนลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่ยังไมเปลี่ยนแปลง ไดแก ระบบอาวุโส ระบบเครือญาติ
ระบบความเชื่อ ทัศนคติ และความสัมพันธระหวางบุคคล แมคำเรียกขานของแตละกลุมอายุมีความ

เน่ืองในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 135

เปล่ียนแปลงไป แตระบบความคดิ ของชาวลาวเวยี งที่ บา นดอนคา อำเภออูทอง จงั หวัดสุพรรณบุรียังคงไม
คอยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก สิ่งที่ชาวลาวเวียง บานดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีใหความ
เคารพสูงสุด คือ พระสงฆ ลำดับถัดมาคือผูที่มีตำแหนงและอำนาจ และยังคงใชคำรียกญาติในการเรียก
ผูสูงวัยกวาเหมือนกันทุกกลุมอายุ แมวาคำเรียกของกลุมอายุนอยกวา อาจลูเ ขาสูภาษาไทยมาตรฐานมาก
ขนึ้ กต็ าม

อภิปรายผล

1. สาเหตุทีท่ ำใหคำเรยี กขานท่ีใชแทนตวั ผูพูด และคำเรยี กขานที่ใชเ รียกผูฟงของท้ัง 3 ชวงอายุมี
แนวโนมไปในทิศทางเดียวกัน คือทุกกลุมอายุใชคำเรียกขานพระสงฆทุกอายุเหมือนกัน สันนิษฐานไดวา
สงั คมของชาวลาวเวียง ทต่ี ำบลดอนคา อำเภออทู องจังหวดั สุพรรณบุรี เปน ชมุ ชนท่ีนบั ถอื พุทธศาสนาเปน
ศาสนาหลัก และยังมีความเชื่อและศรทั ธาในศาสนาพุทธอยา งเขมขน

2. สาเหตุที่คนในชุมชนนิยมเรียกขานบุคคลที่ตำแหนงหนาที่ในสังคมดวยตำแหนง และแทน
ตัวเองดวยคำสุภาพและใหเกียรติ โดยไมคำนึงถึงอายุวาจะมากหรือนอยกวาตน แสดงใหเห็นวาชาวลาว
เวยี งท่ีตำบลดอนคา อำเภออูท องจังหวัดสพุ รรณบรุ ี เคารพยกยอ งอาชพี ราชการ

3. สาเหตุที่คนในชุมชนนิยมเรียกขาดกันดวยคำเรีกญาติ แสดงใหเห็นถึงความสัมพันธของคนใน
สังคมมีความรสู ึกรักใครผกู พนั ธก นั เหมือนญาติพน่ี อ ง แมไ มไ ดรวมสายเลือดกนั ก็ตาม

4. ภาษาลาวเวียงบานดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อยูในชวงของการแปร และชาว
ลาวเวียงบานดอนคา อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรีมีแนวโนมจะเลือกใชคำเรียกขานตามอยางของ
ภาษาไทยมาตรฐานมากข้นึ ในอนาคต

เอกสารอางอิง

กำชยั ทองหลอ . (2543). หลักภาษาไทย. พระนครฯ: รวมสาสน .
จรัญวิไล จรูญโรจน, ม.ร.ว. (2559). ภาษาในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ

มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร.
ฉันทัส เพียรธรรม. (2559). การสังเคราะหองคความรูประวัติการอพยพ ภูมิวัฒนธรรม และอัตลักษณ

ชุมชนลาวเวียงในภูมิภาคตางๆ ของไทย กรณีศึกษา 5 ชุมชนในจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี
ปราจีนบุรี สระบุรี และกรงุ เทพมหานคร. สถาบนั วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

136 : “สมญานาม เกยี รตกิ องวรรณศิลป”

ดรุณี ประกอบแสง. (2542). การใชคำเรียกขานในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี.
วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.

ภูมิใจ บัณฑุชัย. (2549). คำเรียกขาน คำบุรุษสรรพนามที่ 1 และคำบุรุษสรรพนามที่ 2 ของผูขายใน
หางสรรพสินคา. วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตรประยุกต
คณะมนษุ ยศาสตร มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร.

มีชัย เอี่ยมจินดา. (2534). วิวัฒนาการของระบบคำบุรุษสรรพนามตั้งแตสมัยสุโขทัย - สมัยปจจุบัน.
วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร คณะศิลปศาสตร
มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร.

รังสรรค จันตะ. (2535). การศึกษาคำเรียกขานในภาษาถิ่นเชียงใหมตามแนวภาษาศาสตรเชิงสังคม.
วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมลานนา คณะศิลป-
ศาสตร มหาวิทยาลยั เชียงใหม.

วรรณพร บุญญาสถิต, ฉันทัส เพียรธรรม และเทพธิดา ศิลปรรเลง. (2560). พัฒนาการทางประวัติศาสตร
ของกลุมชาติพันธุลาวเวียง อำเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา.
11(1), 26-38.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท. (2529). “ขอสังเกตบางประการเกี่ยวกับการแสดงความสุภาพในภาษาไทย
กรุงเทพฯ”. ภาษากับสังคมไทย. รายงานการสัมมนาวาดวยภาษาไทยเนื่องในการเฉลิมฉลอง
700 ป ลายสือไทย.

สิริอมร หวลหอม. (2559). คำเรียกขานในภาษาไทพวนตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด
สุโขทัย. วิทยานิพนธปริญญาอกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร คณะอักษรศาสตร
จฬุ าลงกรณม หาวทิ ยาลัย.

สุจิตต วงษเทศ. (2527). คนไทยไมไดมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: เจาพระยา. วิทยานิพนธปริญญาอักษร-
ศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ าภาษาศาสตร คณะอกั ษรศาสตร จฬุ าลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุชาดา เจียพงษ. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทย 4 ถิ่น.
วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวทิ ยาลยั .

เน่อื งในโอกาสเกษยี ณอายงุ าน รองศาสตราจารย ดร.สมเกยี รติ รักษมณี : 137


Click to View FlipBook Version