The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Research and development of preventive and therapeutic strategies for nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Positive Person มนุษย์คิดบวก, 2022-09-16 04:34:37

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับคั่งไขมัน ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในประชาชนชาวไทย

Research and development of preventive and therapeutic strategies for nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords: fatty liver disease

การวิจัยและพัฒนา

Research and development of preventive and therapeutic strategies for

nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตับคงั่ ไขมนั ท่ไี ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ข้อมลู ทางบรรณานกุ รม

พูลชัย จรัสเจริญวิทยา

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรกั ษาโรคตบั คง่ั ไขมนั ทไี่ มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ ในประชาชนชาวไทย
Research and development of preventive and therapeutic strategies for nonalcoholic fatty
liver disease in Thai population

กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบ้ิล, พิมพ์คร้ังที่ 1 สิงหาคม 2565. 152 หน้า.
ISBN 978-616-593-947-8

หนังสือ: การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ในประชาชนชาวไทย
Researchanddevelopmentofpreventiveandtherapeuticstrategiesfornonalcoholicfatty
liver disease in Thai population

บรรณาธิการ: พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
พิมพ์คร้ังที่ 1 สิงหาคม 2565 จ�ำนวน 200 เล่ม

สงวนลิขสทิ ธิ์ ตามพระราชบญั ญตั กิ ารพิมพ์
หา้ มมิใหท้ �ำซ้ำ� หรือลอกเลียนแบบโดยไม่ไดร้ บั อนญุ าต

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย: พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
ท่ีอยู่: สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ตึกหอพักพยาบาล 3 ช้ัน 2 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2
ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทร: 02-419-7281-3 ต่อ 113-115

ออกแบบ และพมิ พ์ที่: บรษิ ทั พรน้ิ ทเ์ อเบล้ิ จำ�กดั เลขที่ 285 ซอยพฒั นาการ 53 แขวงพฒั นาการ
เขตสวนหลวง กทม. 10250 สอบถามสนิ คา้ และบรกิ าร 094-559-2965​

สงวนลขิ สทิ ธใ์ิ นประเทศไทยตาม พ.ร.บ. ลขิ สทิ ธิ์ พ.ศ. 2558 หา้ มคดั ลอก ลอกเลยี น ดดั แปลง ทำ�ซำ้�
จดั พมิ พ์ หรือกระทำ�อน่ื ใด โดยวธิ ีการใด ๆ ในรปู แบบใด ๆ ไม่วา่ สว่ นหน่ึงส่วนใดของหนังสอื เลม่ นี้
เพอ่ื เผยแพรใ่ นสอื่ ทกุ ประเภท หรอื เพอ่ื วตั ถปุ ระสงคใ์ ดๆ นอกจากจะไดร้ บั อนญุ าต มเิ ชน่ นน้ั จะถอื วา่
ละเมดิ ลขิ สทิ ธิ์ และถกู ดำ�เนนิ คดกี ารตามกฎหมายตอ่ ไป

I I Research and development of preventive and therapeutic strategies for

กติ ตกิ รรมประกาศ

คณะผู้ด�ำเนินการวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกัน และรักษาโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย ขอขอบพระคุณบุคคลท่ีเป็นตัวอย่างของการส�ำรวจภาวะสุขภาพครั้งนี้
ที่ได้สละเวลาให้ข้อมูลในการส�ำรวจคร้ังนี้เป็นอย่างยิ่ง แผนงานและโครงการวิจัยน้ีได้รับทุนอุดหนุน
การวิจยั และนวัตกรรมจากสำ� นักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ความชว่ ยเหลอื
และความร่วมมือจากส�ำนักงานสถิติแห่งชาติ ในการก�ำหนดขนาดตัวอย่าง จัดท�ำกรอบตัวอย่าง และ
การสุ่มตัวอย่างประชากร ขอขอบพระคุณบุคคลส�ำคัญที่ช่วยสนับสนุนการด�ำเนินงาน ศาสตราจารย์
นายแพทย์วิชัย เอกพลากร และคณะผู้ด�ำเนินการวิจัยโครงการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรศักด์ิ ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัย
วิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์นายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักด์ิ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสาวิตรี อัษณางค์กรชัย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์นายแพทย์ปัตพงษ์
เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์นรีมาลย์
นีละไพจิตร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ
ผู้ที่ให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือที่ท�ำให้การด�ำเนินงานส�ำรวจคร้ังนี้ส�ำเร็จลุล่วง และขออภัย
ผู้มีพระคุณ นักวิชาการ และผู้สนับสนุนอีกหลายท่านที่ไม่ได้ระบุชื่อในท่ีนี้

ศาสตราจารย์นายแพทย์พูลชัย จรัสเจริญวิทยา

บรรณาธิการและหัวหน้าคณะผู้วิจัย

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION III

สารบญั เรอ่ื ง

1. บทสรปุ ผู้บรหิ าร 2

2. การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก 5
แอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
6
บทคดั ยอ่ ภาษาไทย 8
บทคัดยอ่ ภาษาองั กฤษ 10
บทนำ� 13
สรุปแผนงานวจิ ัย 14
สรปุ ภาพรวมของแผนงานวิจัย
15
3. ระบาดวิทยาของโรคตับคั่งไขมนั ทไ่ี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย
16
บทคดั ยอ่ ภาษาไทย 18
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 20
บทนำ� 21
ทบทวนวรรณกรรมท่เี ก่ียวขอ้ ง 24
ระเบยี บวิธดี ำ�เนินการวิจัย 32
ผลการวจิ ยั 49
อภิปรายและวิจารณ์ผล 53
สรุปผลการวิจยั และข้อเสนอแนะ 54
บรรณานุกรม 57
ภาคผนวก

I V Research and development of preventive and therapeutic strategies for

4. การค้นหาปัจจัยทางพันธุกรรมและเมทาบอลิกท่ีเกี่ยวข้องกับพยาธิกำ�เนิดของโรคตับ 61
คั่งไขมนั ที่ไม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์
62
บทคดั ย่อภาษาไทย 64
บทคดั ยอ่ ภาษาองั กฤษ 66
บทนำ� 68
ทบทวนวรรณกรรมทเี่ ก่ยี วขอ้ ง 70
ระเบียบวธิ ดี ำ�เนินการวจิ ยั 75
ผลการวจิ ัย 86
อภิปรายและวจิ ารณ์ผล 89
สรุปผลการวจิ ัยและข้อเสนอแนะ 90
บรรณานกุ รม 95
ภาคผนวก
99
5. การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกายของผู้ปว่ ยโรคตบั คัง่ ไขมันทไ่ี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์
100
บทคัดย่อภาษาไทย 102
บทคดั ยอ่ ภาษาองั กฤษ 104
บทนำ� 106
ทบทวนวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 110
ระเบียบวธิ ดี ำ�เนนิ การวิจยั 115
ผลการวจิ ยั 128
อภิปรายและวิจารณ์ผล 131
สรปุ ผลการวจิ ยั และข้อเสนอแนะ 132
บรรณานุกรม 136
ภาคผนวก
139
Index

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION V

สารบญั ตาราง

ตารางที่ 1.1 ผลสำ� รวจความชุกของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยตามกลุม่ อายุและเพศ 36

ตารางที่ 1.2 ผลส�ำรวจความชุกของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยแบ่งตามเพศในภูมภิ าคตา่ ง ๆ 37

ตารางท่ี 1.3 ผลส�ำรวจความชกุ ของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยแบง่ ตามจังหวดั ในแตล่ ะภมู ภิ าค 38

ตารางที่ 1.4 ข้อมลู ประชาชนชาวไทยทีเ่ ปน็ NAFLD เปรียบเทยี บกบั ประชาชนท่ีไมเ่ ปน็ NAFLD 39

ตารางที่ 1.5 ลกั ษณะทางคลนิ กิ ของประชาชนทเี่ ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไี่ มเ่ ปน็ NAFLD 40

ตารางที่ 1.6 ตรวจวเิ คราะหเ์ ลอื ดของประชาชนทเี่ ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไ่ี มเ่ ปน็ NAFLD 41

ตารางที่ 1.7 ลกั ษณะทางคลนิ กิ ของประชาชนชาวไทยทม่ี คี วามสมั พนั ธก์ บั การตรวจพบเปน็ NAFLD 42
วิเคราะห์ดว้ ย multivariate logistic regression analysis

ตารางที่ 1.8 ขอ้ มลู ประชาชนชาวไทยทเี่ ปน็ NAFLD รว่ มกบั มหี รอื ไมม่ พี งั ผดื ตบั ระดบั รงุ แรง (advanced fibrosis) 44
ตารางท่ี 1.9 ลักษณะทางคลนิ ิกของประชาชนชาวไทยทีเ่ ปน็ NAFLD รว่ มกบั มีหรือไม่มพี ังผดื ตบั ระดับรุนแรง 45

ตารางท่ี 1.10 ตรวจวิเคราะห์เลือดของประชาชนชาวไทยทีเ่ ปน็ NAFLD ร่วมกบั มีหรอื ไม่มพี ังผืดตบั ระดบั รุงแรง 46

ตารางท่ี 1.11 ลักษณะทางคลินิกของประชาชนชาวไทยท่ีมีความสัมพันธ์กับการตรวจพบพังผืดตับระดับรุนแรง 47
(advancedfibrosis)ในประชาชนทเี่ ปน็ NAFLDวเิ คราะหด์ ว้ ยmultivariatelogisticregressionanalysis

ตารางท่ี 2.1 ขอ้ มูลจากการสุ่มตรวจทางพันธุกรรมของประชาชนชาวไทยท่ีเปน็ NAFLD และไม่เปน็ NAFLD 76

ตารางท่ี 2.2 ลกั ษณะทางคลนิ กิ ของประชาชนชาวไทยจากการสำ� รวจสขุ ภาพทเี่ ปน็ NAFLD และไมเ่ ปน็ NAFLD 77

ตารางที่ 2.3 ตรวจวเิ คราะหเ์ ลอื ดของประชาชนชาวไทยทจี่ ากการสำ� รวจสขุ ภาพเปน็ NAFLD และไมเ่ ปน็ NAFLD 78

ตารางท่ี 2.4 ความชุกของภาวะพหุสณั ฐานพันธกุ รรมในประชาชนชาวไทยทเี่ ป็น NAFLD และไม่เป็น NAFLD 79

ตารางที่ 2.5 ความสมั พันธ์ของภาวะพหสุ ณั ฐานพนั ธุกรรมกับการเปน็ NAFLD ในประชาชนชาวไทย 80

ตารางที่ 2.6 ความสมั พนั ธข์ องภาวะพหสุ ณั ฐานพนั ธกุ รรมกบั ภาวะไขมนั ไตรกลเี ซอรไ์ รดใ์ นเลอื ดสงู และเบาหวาน 81
ชนดิ ทีส่ องในประชาชนชาวไทย

ตารางท่ี 2.7 ความสมั พันธข์ อง gene risk score กบั การเป็น NAFLD ในประชาชนชาวไทย 83

ตารางที่ 2.8 ความสมั พนั ธข์ องภาวะพหสุ ณั ฐานพนั ธกุ รรมกบั NAFLD ระยะทเ่ี กดิ พงั ผดื ตบั รนุ แรงในประชากรไทย 84

ตารางท่ี 2.9 ความสมั พันธข์ อง gene risk score กับ NAFLD ระยะทเ่ี กดิ พังผดื ตับรนุ แรงในประชาชนชาวไทย 85

ตารางท่ี 3.1 ข้อมลู ประชาชนชาวไทยทีเ่ ปน็ NAFLD เปรียบเทียบกบั ประชาชนทีไ่ ม่เป็น NAFLD 119

ตารางท่ี 3.2 ลกั ษณะทางคลนิ กิ ของประชาชนชาวไทยทเ่ี ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไี่ มเ่ ปน็ NAFLD 120

ตารางท่ี 3.3 ตรวจวเิ คราะหเ์ ลอื ดของประชาชนชาวไทยทเี่ ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไี่ มเ่ ปน็ NAFLD 121

ตารางท่ี 3.4 Factor analysis ของ Thai Food Scale Items Factor 122

ตารางที่ 3.5 คะแนนของ food items สำ� หรบั รปู แบบอาหาร 4 ประเภท ของประชาชนทเ่ี ปน็ และไมเ่ ปน็ NAFLD 124

ตารางที่ 3.6 การวิเคราะหร์ ูปแบบอาหารทม่ี ีความสัมพนั ธก์ ับ NAFLD ในประชาชนชาวไทย 125

ตารางท่ี 3.7 การวเิ คราะห์ Multivariate regression analysis เพื่อศกึ ษารปู แบบอาหารท่มี คี วามสมั พันธ์กบั 126
การเกิด NAFLD ในประชาชนชาวไทยตามกลุ่มเพศชายและหญิงท่ีมีระดับกจิ กรรมทางกายตา่ ง ๆ

V I Research and development of preventive and therapeutic strategies for

สารบัญภาพ (List of Illustration)

สรปุ งานวิจยั ระบาดวิทยาของโรคตับคั่งไขมันทไี่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย 59
รปู ท่ี 2.1
รูปท่ี 2.2 ความชกุ ของ NAFLD ในประชากรทมี่ ี Gene risk score ตา่ ง ๆ 82
สรปุ งานวจิ ยั
ความชกุ ของ NAFLD ระยะทเ่ี กดิ พงั ผดื ตบั รนุ แรง ในประชากรทม่ี ี Gene risk score ตา่ ง ๆ 85
สรุปงานวจิ ัย
การคน้ หาปจั จยั ทางพนั ธุกรรมและเมทาบอลิกท่เี ก่ียวข้องกบั พยาธิกำ� เนดิ ของโรคตับ 97
คั่งไขมนั ทไี่ ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

การบริโภคและกจิ กรรมทางกายของผู้ปว่ ยโรคตับคงั่ ไขมันที่ไม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ 138

ค�ำอธบิ ายสัญลักษณ์และค�ำย่อทใ่ี ช้ในการวิจัย

CI Confidence interval
GCKR Glucokinase regulator
GWAS Genome wide association study
MBOAT7 Membrane bound O-acyltransferase domain containing 7
MRI Magnetic resonance imaging
NAFLD Nonalcoholic fatty liver disease
NASH Nonalcoholic steatohepatitis
OR Odds ratio
PNPLA3 Palatin-like phospholipase domain-containing 3
SNP Single nucleotide polymorphism
TM6SF2 Transmembrane 6-superfamily member 2

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION VII

รายนามผูว้ จิ ยั

หวั หน้าแผนงานและหวั หน้าโครงการวิจยั

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พูลชยั จรัสเจริญวิทยา
สาขาโรคระบบทางเดนิ อาหาร ภาควชิ าอายรุ ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิรริ าชพยาบาล
มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล

ผรู้ ว่ มวจิ ัย

นายแพทย์ ชนินทร์ ลิม่ วงศ์
สาขาวชิ าเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายรุ ศาสตร์ คณะแพทยศาสตรศ์ ริ ิราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหดิ ล

ผูร้ ว่ มวิจยั

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นนทลี เผ่าสวสั ดิ์
สาขาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควชิ าอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิรริ าชพยาบาล
มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล

ท่ปี รึกษาและผรู้ ่วมวจิ ัย

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วชิ ยั เอกพลากร
ภาควิชาเวชศาสตรช์ ุมชน คณะแพทยศาสตร์รามาธบิ ดี
มหาวิทยาลยั มหดิ ล

V I I I Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษา

บทสรุปผ้บู รหิ าร

Research and development of preventive and therapeutic strategies for 1

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION

บทสรปุ ผู้บริหาร

สรุปโครงการวิจยั

ความส�ำคัญและท่ีมาของปญั หาการวจิ ัย
ข้อมูลสุขภาพได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยมีน�้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนเพ่ิมมากข้ึน
ในช่วงทศวรรษท่ีผ่านมา ส่งเสริมให้เกิดโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์มากข้ึน โรคตับเรื้อรัง
ชนิดนี้มีการด�ำเนินโรคต่อเนื่องจนเกิดตับแข็งได้ในที่สุด และมักเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
แทรกซ้อนได้บ่อย เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตเป็นปัญหาทางสาธารณสุข
ดังน้ันการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยเพื่อศึกษาระบาดวิทยาของโรคตับชนิดน้ี จะเป็นข้อมูล
ส�ำคัญเพ่ือใช้ในการวางแนวทางการรักษาและป้องกันโรคตับชนิดน้ีแต่เน่ิน ๆ
วัตถปุ ระสงค์การวจิ ยั
ด้วยความส�ำคัญของโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ที่ก�ำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยดังท่ี
กล่าวมา โครงการการวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย ได้ด�ำเนินงานผ่านโครงการวิจัยย่อย 3 เร่ือง เพื่อศึกษา
1) ความชุกของโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และประเมินความรุนแรงของโรคตับ

ชนิดน้ีในประชาชนชาวไทย
2) ลักษณะทางพันธุกรรม และปัจจัยทางเมทาบอลิกในประชาชนชาวไทย ที่มีความสัมพันธ์กับ

การตรวจพบโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี และ
3) พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและกิจวัตรประจ�ำวัน ของประชาชนชาวไทยที่มีความสัมพันธ์

กับการตรวจพบโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

บทสรุปผู้บริหาร

ระเบียบวิธีวจิ ัย
ส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยโดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบความน่าจะเป็น ในประชากรที่อาศัย
อยู่ในกรุงเทพมหานคร และ 20 จังหวัด จาก 4 ภูมิภาค เข้ารับการตรวจร่างกายและเจาะเก็บตัวอย่าง
เลือด เพ่ือน�ำไปวิเคราะห์ fatty liver index เพื่อใช้วินิจฉัยโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
แล้วจึงท�ำการตรวจประเมินพังผืดตับด้วย NAFLD fibrosis score หรือ Fibrosis-4 score น�ำเลือด
ไปทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อหาภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7
และ GCKR ท�ำการสัมภาษณ์ประชาชนเพ่ือเก็บข้อมูลเก่ียวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
และกิจกรรมทางกาย
ผลการวิจยั
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 18 ปีข้ึนไป จ�ำนวน 18,588 ราย พบความชุก
ของโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ร้อยละ 19.7 ซ่ึงพบในเพศชายร้อยละ 20.9 และ
เพศหญิงร้อยละ 18.6 และพบความชุกสูงถึงร้อยละ 43.5 ในบุคคลท่ีมีกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก
และร้อยละ 35.6 ในบุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน โดยมีอายุ เพศ กิจกรรมทางกาย การสูบบุหร่ี
น�้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันเฮชดีเอลคลอเลสเตอรอลในเลือดต่�ำ เป็นปัจจัยท่ีมีความเก่ียวข้อง
กับการเป็นโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ โดยประชาชนท่ีเป็นโรคตับชนิดนี้ ตรวจพบ
พังผืดตับระดับรุนแรง ร้อยละ 4.37 ซ่ึงพบในเพศชายร้อยละ 3.68 และเพศหญิงร้อยละ 5.09
เมื่อตรวจประเมินด้วย NAFLD fibrosis score >0.675 หรือ Fibrosis-4 score >2.67 และ
ยังพบว่าอายุ ดัชนีมวลกาย เบาหวาน และภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยง
ส�ำคัญต่อการเกิดพังผืดตับระยะรุนแรง
การตรวจเลือดวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของประชาชนท่ีเข้าร่วมการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย
จ�ำนวน 4,055 ราย ที่มีอายุเฉล่ีย 55.9±11.7 ปี และเป็นเพศหญิงร้อยละ 54.7 พบบุคคลที่เป็น
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์จ�ำนวน 985 ราย มีลักษณะทางคลินิกของโรคอ้วน
ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวานชนิดที่สอง ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และภาวะไขมัน
เฮชดีแอลคลอเลสเตอรอลในเลือดต่�ำ เมื่อเปรียเทียบกับประชาชนท่ีไม่เป็นโรคตับชนิดน้ี
การประเมินด้วย Hardy-Weinberg equilibrium พบความถี่ของภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรม
ของยีน PNPLA3 rs738409 (G), TM6SF2 rs58542926 (K), MBOAT7 rs641738 (T) และ
GCKR rs1260326 (T) เท่ากับ 0.290, 0.129, 0.303 และ 0.358 ตามล�ำดับ ซึ่งการวิเคราะห์
ทางสถิติพบว่าภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7 และ GCKR
ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์และความรุนแรงของโรคตับ
ชนิดน้ี รวมท้ังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวกับ the genetic risk score เช่นเดียวกัน แต่กลับ
พบว่า GCKR TT genotype มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และ
TM6SF2 KK genotype มีความเกี่ยวข้องกับการตรวจพบโรคเบาหวานชนิดท่ีสอง

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 3

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกันและรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมันท่ไี ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

การวิเคราะห์ชนิดอาหารสามารถจัดรูปแบบการบริโภคอาหารได้ 4 กลุ่ม คือ “high-calorie
dietary pattern”, “healthy dietary pattern”, “protein dietary pattern” และ “traditional
dietary pattern” โดยพบว่า “high-calorie dietary pattern” มีผลส่งเสริมให้เกิดโรคตับ
คั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในขณะที่ “healthy dietary pattern” มีความสัมพันธ์
ลดความเส่ียงต่อการเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภค
อาหารรูปแบบ “traditional dietary pattern” ปริมาณมากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตับ
ชนิดนี้บ่อยขึ้น ผู้หญิงท่ีมีกิจกรรมทางกายน้อย เม่ือบริโภค “high-calorie dietary pattern”
และ”traditional dietary pattern” มีโอกาสเป็นโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
มากขึ้น ในขณะท่ีผู้หญิงท่ีมีกิจกรรมทางกายในระดับสูง ถ้าบริโภค “healthy dietary pattern”
จะลดโอกาสเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ขอ้ เสนอแนะที่ได้จากการวจิ ัย
ข้อมูลจากการส�ำรวจสุขภาพของประชาชนชาวไทยในคร้ังนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าโรคตับคั่งไขมัน
ท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ก�ำลังเป็นปัญหาทางสุขภาพของประเทศไทย โดยพบว่าเกือบถึง
หน่ึงในห้าของประชาชนชาวไทยเป็นโรคตับชนิดน้ี ซ่ึงพบความชุกสูงสุดในวัยท�ำงานอายุ 45-
59 ปี ท้ังเพศชายและเพศหญิง ก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย รวมท้ังยังพบว่าประชาชนท่ีเป็นโรคตับ
คั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ มักมีโรคร่วมไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคอ้วน ร่วมกับลักษณะ
ทางคลินิกของกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก ได้แก่ ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และไขมันเฮชดีแอลในเลือดต่�ำ ซ่ึงเป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อ
การเกิดโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และเป็นตัวเร่งการด�ำเนินโรคท�ำให้มีตับอักเสบ
เร้ือรังจนเกิดพังผืดสะสมในตับระดับรุนแรง ข้อมูลเหล่านี้บ่งช้ีว่าการให้ความรู้กับประชาชน
ให้หันมารับประทานอาหารท่ีดีต่อสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ในชีวิตประจ�ำวัน โดยเพ่ิมกิจกรรมทางกายและการออกก�ำลังกาย วัตถุประสงค์เพื่อลดน้�ำหนักตัว
ซึ่งจะช่วยบรรเทาหรือก�ำจัดโรคร่วมทางเมทาบอลิกต่าง ๆ ส่งผลลดความเส่ียงต่อการเกิดโรคตับ
คั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์และความรุนแรงของโรคตับชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตามยัง
ต้องท�ำการศึกษาวิจัยเพ่ิมเติมเกี่ยวกับเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค รวมท้ังการรักษาและป้องกัน
ท่ีมีประสิทธิภาพ ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย เพ่ือใช้เป็นกลยุทธส�ำคัญ
ในการป้องกันและรักษาโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ซ่ึงก�ำลังกลายเป็นปัญหาส�ำคัญ
ทางสุขภาพของประชาชนชาวไทยที่ก�ำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต

4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษา

การวจิ ัยและพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมนั ที่ไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์
ในประชาชนชาวไทย

Research and development of preventive and
therapeutic strategies for nonalcoholic fatty

liver disease in Thai population

Research and development of preventive and therapeutic strategies for 5

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับค่ังไขมัน
ท่ไี ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
Research and development of preventive and therapeutic
strategies for nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

บทคดั ย่อภาษาไทย

ความสำ� คญั และทีม่ าของปัญหาการวิจัย
โรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์เป็นปัญหาท่ัวไปทางสุขภาพท่ีพบทั่วโลก อย่างไรก็ตาม
ข้อมูลเก่ียวกับระบาดวิทยา ปัจจัยเส่ียงทางพันธุกรรมและพฤติกรรมในชีวิตประจ�ำวันต่อการเกิด
โรคตับชนิดน้ียังมีเพียงเล็กน้อย
วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั
ผู้วิจัยจึงท�ำการศึกษาความชุกและปัจจัยเส่ียงต่างๆ ต่อการเกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
ระเบยี บวิธวี จิ ยั
การส�ำรวจตัวอย่างคร้ังน้ีได้ใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิส่ีขั้น ซึ่งเป็นแผนแบบ
การเลือกตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย โดยใช้ fatty liver index
เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ แล้วจึงท�ำการตรวจประเมินพังผืดตับ
ด้วย NAFLD fibrosis score หรือ Fibrosis-4 score ท�ำการรวบรวมตัวอย่างเลือดจากประชาชน
จ�ำนวน 4,055 ราย ไปตรวจวิเคราะห์หาภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3 (rs738409),
TM6SF2 (rs58542926), MBOAT7 (rs641738) และ GCKR (rs1260326)
ผลการวิจยั
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 18 ปีข้ึนไป จ�ำนวน 18,588 ราย พบความชุก
ของโรคตับชนิดนี้ร้อยละ 19.7 ซ่ึงร้อยละ 4.37 ของประชาชนท่ีมีโรคตับชนิดนี้ตรวจพบพังผืดตับ
ระดับรุนแรง ภาวะผิดปกติทางเมทาบอลิกเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการเป็นโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิด
จากแอลกอฮอล์ โดยมีโรคอ้วนและเบาหวานชนิดที่สอง ปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อการเกิดพังผืดตับระยะ
รุนแรง การตรวจวิเคราะห์เลือดหาภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7
และ GCKR ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์และความรุนแรง

6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวจิ ยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษาโรคตับค่ังไขมนั
ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ของโรคตับชนิดนี้ การบริโภคอาหาร "high-calorie dietary pattern" และ "traditional dietary
pattern" เก่ียวข้องกับการเกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในผู้หญิงท่ีมีกิจกรรม
ทางกายน้อย ในขณะท่ีการบริโภคอาหารรูปแบบ "healthy dietary pattern" จะลดโอกาสเป็น
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในผู้หญิงท่ีมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
ขอ้ เสนอแนะทไี่ ด้จากการวจิ ยั
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยคร้ังนี้พบความชุกของโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ร้อยละ 19.7 โดยมีโรคอ้วนและลักษณะทางคลินิกของกลุ่มโรคทางเมทาบอลิกเป็นปัจจัยส่งเสริม
ต่อการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคตับ ภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีนไม่มีความสัมพันธ์
กับการเกิดและความรุนแรงของโรคตับชนิดนี้ในประชาชนชาวไทย อย่างไรก็ตามพบว่าการบริโภค
อาหารรูปแบบจ�ำเพาะอาจมีความเก่ียวข้องกับการเกิดโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ข้อมูลจากการศึกษาน้ีช่วยแสดงถึงปัญหาของโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในระดับ
ประเทศ ซ่ึงจะช่วยในการให้ค�ำแนะน�ำกับประชาชนกลุ่มเส่ียงให้ปรับเปล่ียนการด�ำรงชีวิตประจ�ำวัน
เพ่ือป้องกันการเกิดโรคตับเร้ือรังชนิดน้ีท่ีก�ำลังเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย
คำ� สำ� คญั
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์, ความชุก, ปัจจัยทางพันธุกรรม, รูปแบบการบริโภค
อาหาร, ประชาชนทั่วไป, ประเทศไทย

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 7

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรกั ษา
โรคตบั คงั่ ไขมันท่ีไมไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

บทคดั ยอ่ ภาษาองั กฤษ

Background:
Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) is a global public health issue. However,
data on the epidemiology, genetic predisposition, and lifestyle behaviors with NAFLD
are limited. We prospectively assessed the prevalence and risk factors of NAFLD in
the Thai population.
Methods:
We conducted the National Health Examination Survey, a nationally
representative survey that employs a complex multistage, stratified strategy to sample
the Thai civilian, non-institutionalized population. In persons who did not consume
alcohol significantly and have other liver diseases, a fatty liver index was used to
screen for NAFLD, and the NAFLD fibrosis score and fibrosis-4 score were used to
determine advanced liver fibrosis. Blood samples were taken from 4,055 participants
to determine PNPLA3 (rs738409), TM6SF2 (rs58542926), MBOAT7 (rs641738), and GCKR
(rs1260326) polymorphisms. A validated semi-quantitative food frequency questionnaire
was used to assess regular dietary intake over the preceding year. Exploratory factor
analysis was used to identify major dietary patterns.
Results:
Between 2020 and 2021, 18,588 participants with a mean age of 53.3±17.0 years
and 41.4% male were enrolled. NAFLD was found in 19.7% of the cohort, with
4.37% of them having advanced fibrosis. The factors that were independently
associated with NAFLD were features of metabolic syndrome, whereas obesity and
type 2 diabetes were related to advanced fibrosis. There was no significant association
between the genetic polymorphisms of PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7, and GCKR with
NAFLD and advanced fibrosis. Higher consumption of the "high-calorie dietary
pattern" and "traditional dietary pattern" was significantly associated with NAFLD
among women with low physical activity. A "healthy dietary pattern" was related
with a lower incidence of NAFLD among women with high physical activity.

8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรักษาโรคตบั คัง่ ไขมัน
ท่ีไมไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

Conclusion:
The prevalence of NAFLD in a representative sample of the general Thai population
is 19.7%, with obesity and features of metabolic syndrome as important contributors.
Genetic variants were not associated with the development and severity
of Thai adults with NAFLD, however specific dietary patterns might be linked to
NAFLD risk. These data provide information on the burden of NAFLD at a population
level and might be used for risk-based counseling and prevention to address the
rising prevalence of NAFLD in the Thai general population.
Keywords:
Nonalcoholic fatty liver disease, Prevalence, Genetic Polymorphism, Dietary pattern,
General population, Thailand

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 9

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมนั ที่ไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

บทนำ�

ผลการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี พ.ศ. 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปีข้ึนไป
มากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน�้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มข้ึนสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษ
ท่ีผ่านมา (ปีพ.ศ. 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็น
อันดับ 3 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียและสิงค์โปร์ รวมทั้งยังพบว่าประชาชน
ไทยมีน้�ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนเพ่ิมมากข้ึนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งภาวะดังกล่าว
เป็นปัจจัยส�ำคัญท�ำให้ตรวจพบการเพ่ิมขึ้นของอุบัติการณ์โรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
หรือท่ีเรียกว่า nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) ซึ่งหมายถึง โรคตับค่ังไขมันในผู้หญิง
ที่ด่ืมแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยกว่า 140 กรัมต่อสัปดาห์ หรือผู้ชายท่ีดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า 210 กรัม
ต่อสัปดาห์ การส�ำรวจประชาชนไทยในภาคอีสานจ�ำนวน 34,709 คน ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์
พบโรคตับค่ังไขมัน มากถึงร้อยละ 21.9 ที่ส�ำคัญ คือ ผู้ท่ีมีโรคตับค่ังไขมันชนิดน้ี อาจเกิดการอักเสบ
ภายในเน้ือตับอย่างเรื้อรัง (nonalcoholic steatohepatitis, NASH) ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมี
การด�ำเนินโรคเกิดพังผืดสะสมในตับระยะรุนแรง (advanced fibrosis) จนเกิดภาวะตับแข็ง และ
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันเลือดสูงในระบบพอร์ตัล (portal hypertension) รวมท้ังผู้ป่วย
บางรายเกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ (primary liver cancer) เหล่านี้เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ
และเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร รวมท้ังการศึกษาต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่า NAFLD มีพยาธิก�ำเนิด
และการด�ำเนินโรคเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) โดยมีลักษณะ
ทางคลินิกของโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) ซ่ึงเป็นกลุ่มโรคท่ีไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-
communicable disease) ได้แก่ โรคอ้วน (obesity) เบาหวาน (diabetes mellitus) ความดัน
โลหิตสูง (hypertension) และไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) โดยภาวะเหล่าน้ีเป็นปัจจัย
เส่ียงส�ำคัญต่อการเกิด NAFLD และส่งผลให้โรคตับมีการด�ำเนินโรคเกิดตับแข็งได้เร็วข้ึน รวมท้ัง
ยังส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแทรกซ้อนได้บ่อย ซึ่งเป็นปัญหาส�ำคัญในเวชปฏิบัติดังนั้น
การส�ำรวจสุขภาพเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระบาดวิทยาของ NAFLD ในประชาชนชาวไทย จะเป็น
ข้อมูลส�ำคัญเพ่ือใช้ในการวางแนวทางการค้นหา NAFLD เพื่อน�ำไปสู่การรักษาโรคตับชนิดนี้แต่เน่ิน ๆ
อย่างเหมาะสมต่อไป
การศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นบทบาทของปัจจัยทางพันธุกรรมท่ีถ่ายทอดได้ในผู้ป่วย NAFLD
ท้ังในวัยเด็กและผู้ใหญ่ โดยพบการกระจุกรวมตัวของโรคกลุ่มท่ีมีภาวะด้ืออินซูลินในญาติสายตรง
ล�ำดับท่ีหน่ึงเพ่ิมข้ึน พบความเส่ียงต่อการเกิดพังผืดตับระดับรุนแรง (advanced fibrosis) ในญาติ
สายตรงล�ำดับท่ีหน่ึงของผู้ป่วย NAFLD เพ่ิมขึ้น รวมทั้งพบความสัมพันธ์ของพันธุกรรมร่วมใน
ครอบครัวผู้ป่วย NAFLD โดยภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมในลักษณะความแตกต่างของเบสเพียง
ต�ำแหน่งเดียวในยีน (single nucleotide polymorphism) หรือเรียกย่อว่า SNP เป็นลักษณะ
ทางพันธุกรรมท่ีส�ำคัญต่อการเกิดภาวะไขมันค่ังในตับและพังผืดในตับของผู้ป่วย NAFLD โดย SNP
ที่มีรายงานจาก genome wide association study (GWAS) ว่ามีความสัมพันธ์กับ NAFLD
ท่ีส�ำคัญ มีดังน้ี

1 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษาโรคตับคงั่ ไขมัน
ท่ีไมไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

1. Palatin-like phospholipase domain-containing 3 I148M polymorphism (PNPLA3
p.I148M) rs738409 พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไขมันสะสมในตับและการเกิดพังผืดในตับ
เพ่ิมขึ้น และยังมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคที่มากกว่า โดยท�ำให้เกิดภาวะตับอักเสบ
(NASH) ได้บ่อยกว่า

2. Transmembrane 6-superfamily member 2 E167K polymorphism (TM6SF2 p.E167K)
rs58542926 พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สะสม
ในตับมากข้ึน

3. Membrane bound O-acyltransferase domain containing 7 polymorphism (MBOAT7)
rs641738 พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD และความรุนแรงพังผืดท่ีเกิดข้ึนในตับ

4. Glucokinase regulator (GCKR) rs1260326 พบมีความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD ซ่ึง GCKR
เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างไขมันข้ึนใหม่ในเนื้อเย่ือ (de novo lipogenesis) ผ่านการควบคุม
กระบวนการน�ำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ตับและมีผลต่อกระบวนการ β-oxidation ในไมโทคอนเดรีย
เพ่ือเผาผลาญกรดไขมันอิสระ ส่งผลท�ำให้เกิดไขมันสะสมในตับ

การศึกษาเก่ียวกับภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3 rs738409, TM6SF2 rs58542926,
MBOAT7 rs641738 และ GCKR rs1260326 ในผู้ป่วย NAFLD จะน�ำไปสู่การพัฒนาเป็นเคร่ืองมือ
หน่ึงในการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาประชาชนท่ีเส่ียงต่อการเกิดโรคตับชนิดน้ี และช่วยบ่งช้ีผู้ป่วย
NAFLD ท่ีมีความเสี่ยงสูงต่อการด�ำเนินโรคอย่างรุนแรง เพื่อท่ีแพทย์สามารถให้การรักษาแม่นย�ำ
(precision medicine) ให้ตรงกับลักษณะพันธุกรรมท่ีก่อให้เกิด NAFLD ตามวิถีชีวิตและส่ิงแวดล้อม
เฉพาะรายบุคคลต่อไป
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมส�ำคัญอย่างหนึ่งท่ีท�ำให้เกิด NAFLD เก่ียวข้องกับการรับประทานท่ีมีปริมาณ
แคลอรี่มากเกินความต้องการในแต่ละวันจนท�ำให้เกิดการสะสมของไขมันในเน้ือเยื่อชนิดต่างๆ
อย่างไรก็ตามบุคคลท่ีมีโรคอ้วนจ�ำนวนหนึ่งเท่านั้นมีการสะสมของไขมันภายในเน้ือตับมากผิดปกติ
จนเกิด NAFLD และผู้ป่วย NAFLD บางรายมีดัชนีมวลกาย (body mass index) อยู่ในระดับปกติ
จากการศึกษาเบ้ืองต้นที่ผ่านมาพบว่ารูปแบบการบริโภคอาหาร (dietary pattern) บางประเภท
อาจเป็นสาเหตุส�ำคัญท�ำให้เกิด NAFLD ในผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันพบว่ารูปแบบการบริโภคอาหาร
ของประชากรในหลายประเทศได้เปล่ียนไปจากในอดีต โดยการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง
และมีสัดส่วนมาจากสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรทและไขมันเป็นส่วนใหญ่ ซ่ึงมักพบในอาหารจานด่วน
(fast-food) ที่มีส่วนประกอบของเน้ือแดงจากสัตว์ใหญ่ (red meat) รวมท้ังเคร่ืองดื่มน้�ำอัดลม
และน�้ำผลไม้ชนิดต่างๆท่ีมีน�้ำตาลในปริมาณสูงเป็นลักษณะอาหารของชาวตะวันตก (Western dietary
pattern) การศึกษาในประชาชนชาวไทยวยั ทำ� งาน พบวา่ บคุ คลทรี่ บั ประทานใยอาหารและบรโิ ภคโปรตนี
ในปรมิ าณทเ่ี หมาะสม สามารถลดความเสยี่ งต่อการเกิดโรคตับ NAFLD และอาจน�ำมาใช้ในการรักษา
ผู้ป่วย NAFLD ซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ดังน้ันการศึกษาเก่ียวกับรูปแบบการบริโภคอาหาร
รวมท้ังพฤติกรรมการออกก�ำลังกายและกิจกรรมทางกาย ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรต่อการเกิด
NAFLD ในประชาชนไทย จะเป็นข้อมูลส�ำคัญเพ่ือใช้ในการป้องกันและการรักษา NAFLD อย่างเหมาะ
สมส�ำหรับผู้ป่วยชาวไทยต่อไป ท�ำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดในขณะนี้

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 11

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษา
โรคตับคัง่ ไขมนั ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีผลงานวิจัยเชิงระบบและการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม
และระบบบริการสุขภาพ (การบริการสังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม และการส่งเสริม
หุ้นส่วนทางสังคม) ในภาพรวมของประเทศและระดับพ้ืนท่ีต่อไป
ด้วยความส�ำคัญของ NAFLD ที่ก�ำลังเกิดข้ึนในสังคมไทยดังที่กล่าวมา โครงการการวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
ได้ด�ำเนินงานผ่านโครงการวิจัย 3 เร่ือง ดังนี้

โครงการวิจัย ระบาดวิทยาของโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของ NAFLD และประเมินความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี
ในประชาชนชาวไทย
โครงการวิจัย การค้นหาปัจจัยทางพันธุกรรมและเมทาบอลิกท่ีเก่ียวข้องกับพยาธิก�ำเนิดของ
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
วัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม และปัจจัยทางเมทาบอลิกในประชาชนชาวไทย
ที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบ NAFLD และความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี
โครงการวิจัย การบริโภคและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและกิจวัตรประจ�ำวัน ของประชาชน
ชาวไทยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบ NAFLD

1 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวจิ ัยและพฒั นาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษาโรคตับค่ังไขมนั
ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

สรุปแผนงานวจิ ยั

การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป จ�ำนวน 18,588 ราย พบความชุก
ของโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ร้อยละ 19.7 ซึ่งพบในเพศชายได้บ่อยกว่า เพศหญิง
และมีความชุกสูงสุดในประชาชนกลุ่มอายุ 45-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล โดยเฉพาะประชาชน
ท่ีอยู่ในภาคกลาง ซึ่งบุคคลท่ีตรวจพบว่าเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ มีกิจกรรม
ทางกายในระดับน้อย และโรคความผิดปกติทางเมทาบอลิกต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วนและเบาหวาน
ซึ่งพบเป็นปัจจัยเส่ียงส�ำคัญต่อการเกิดโรคตับเร้ือรังชนิดนี้ ดังน้ันจึงพบโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ได้บ่อยในบุคคลที่มีโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนท่ีเป็นโรคตับ
ชนิดน้ี จะตรวจพบพังผืดตับระดับรุนแรง ร้อยละ 4.37 ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกท่ีเด่นชัดของภาวะดื้อ
อินซูลิน คือ โรคเบาหวานชนิดที่สอง เป็นปัจจัยส่งเสริมส�ำคัญที่ท�ำให้โรคตับมีการด�ำเนินโรครุนแรงขึ้น
การศึกษาปัจจัยทางพันธุกรรม จะช่วยท�ำให้เข้าใจถึงพยาธิก�ำเนิดของโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิด
จากแอลกอฮอล์ในประชากรไทย ซ่ึงการสุ่มตัวอย่างเลือดจากการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย
จ�ำนวน 4,055 ราย มาทดสอบทางพันธุกรรม พบว่าภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน PNPLA3,
TM6SF2, MBOAT7 และ GCKR ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเกิดและความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี
แต่อาจมีผลทางอ้อมผ่านกลไกที่มีผลควบคุม กระบวนการสังเคราะห์และส่งออกไตรกลีเซอร์ไรด์
และน�้ำตาลกลูโคสจากเซลล์ตับ ส่งเสริมให้เกิดภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และโรคเบาหวาน
ชนิดท่ีสอง ซ่ึงเป็นความผิดปกติทางเมทาบอลิกส�ำคัญท่ีส่งเสริมให้เกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ และเร่งการด�ำเนินโรคจนมีพังผืดตับระยะรุนแรง
กิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารเป็นปัจจัยส�ำคัญในต่อการเกิดโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ ซึ่งข้อมูลจากการส�ำรวจประชาชนชาวไทยได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิง
ที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ เมื่อบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern”
ซ่ึงประกอบไปด้วยข้าว ถั่ว ผลิตภัณฑ์แป้งสาลี และนม เป็นองค์ประกอบหลักของอาหาร สามารถลด
ความเส่ียงต่อการเกิดโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ประชาชน
ที่มีกิจกรรมทางกายน้อย ร่วมกับการบริโภคอาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern” ซึ่งมี
แคลอร่ีสูงและประกอบไปด้วยเน้ือสัตว์แปรรูปที่มีไขมันสูงหรือเกลือปริมาณมาก รวมท้ังการบริโภค
น้�ำตาลจากผลไม้และน�้ำอัดลม จะส่งเสริมให้เกิดโรคตับเรื้อรังชนิดนี้
ปัจจุบัน เมื่อมียารักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบท่ีมีประสิทธิภาพดี และ
มาตรการควบคุมการบริโภคแอกอฮอล์ของภาครัฐและความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาชน
พบว่าสามารถช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาทางสุขภาพจากโรคตับเร้ือรังจากการติดเชื้อไวรัสและ
การบริโภคแอลกอฮอล์ได้ ในขณะท่ีวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปล่ียนไปส่งเสริมให้เกิดโรคอ้วนและ
ภาวะทางเมทาบอลิกต่าง ๆ มากข้ึน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมท�ำให้เกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ ท่ีได้กลายมาเป็นโรคตับเรื้อรังท่ีส�ำคัญในประชาชนชาวไทย ข้อมูลจากแผนงานวิจัยคร้ังน้ี
ได้แสดงให้เห็นพฤติกรรมในชีวิตประจ�ำวัน เป็นสาเหตุส�ำคัญต่อการเกิดโรคตับชนิดน้ี ซ่ึงต้องท�ำ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 13

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรกั ษา
โรคตับคง่ั ไขมันทไ่ี ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

การศึกษาวิจัยเพ่ิมเติมเกี่ยวกับเคร่ืองมือในการวินิจฉัยโรค รวมท้ังการรักษาและป้องกันท่ีมี
ประสิทธิภาพ ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย เพื่อใช้เป็นกลยุทธส�ำคัญในการป้องกัน
และรักษาโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ซ่ึงก�ำลังกลายเป็นปัญหาส�ำคัญทางสุขภาพ
ของประชาชนชาวไทยที่ก�ำลังเข้าสสู่ ังคมผสู้ ูงวัย

สรุปภาพรวมของแผนงานวิจัย

การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป เพ่ือศึกษาถึงความชุก
ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมท่ีมีผลต่อการเกิดและความรุนแรงของโรค
ตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้ให้ข้อมูลที่บ่งช้ีว่าการส่งเสริมประชาชนปรับ
เปล่ียนพฤติกรรม ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ร่วมกับปรับการบริโภคอาหารท่ี
ดีต่อสุขภาพ เพ่ือบรรเทาหรือก�ำจัดโรคร่วมทางเมทาบอลิกต่าง ๆ จะเป็นกลยุทธส�ำคัญ
ในการป้องกันและรักษาโรคตับเร้ือรังชนิดนี้ในประชาชนชาวไทยวัยท�ำงาน เพ่ือบรรเทา
ปัญหาทางสุขภาพก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต

1 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษา

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคัง่ ไขมนั ทไ่ี ม่ไดเ้ กดิ จาก
แอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

Epidemiology of nonalcoholic
fatty liver disease in Thai population

Research and development of preventive and therapeutic strategies for 15

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคัง่ ไขมันทีไ่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ใน
ประชาชนชาวไทย
Epidemiology of nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

บทคัดยอ่ ภาษาไทย

ความส�ำคญั และทม่ี าของปัญหาการวจิ ยั
โรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์เป็นปัญหาทั่วไปทางสุขภาพที่พบทั่วโลก แม้กระน้ัน
ข้อมูลเก่ียวกับความชุกและปัจจัยเส่ียงต่อโรคตับชนิดนี้ในประชากรท่ัวไปยังมีเพียงเล็กน้อย
วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัย
ผู้วิจัยจึงท�ำการศึกษาความชุกและความรุนแรงของโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ในประชาชนชาวไทย
ระเบียบวธิ วี ิจัย
การส�ำรวจตัวอย่างครั้งนี้ได้ใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิสี่ขั้น ซ่ึงเป็นแผนแบบการเลือก
ตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นในการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย และใช้ fatty liver index
เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ แล้วจึงท�ำการตรวจประเมิน
พังผืดตับด้วยการค�ำนวณ NAFLD fibrosis score หรือ Fibrosis-4 score
ผลการวจิ ัย
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยท่ีมีอายุมากกว่า 18 ปีข้ึนไป จ�ำนวน 18,588 ราย พบความชุก
ของโรคตับชนิดน้ีร้อยละ 19.7 ซ่ึงพบในเพศชายร้อยละ 20.9 และเพศหญิงร้อยละ 18.6 และพบ
ความชุกสูงถึงร้อยละ 43.5 ในบุคคลที่มีกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก และร้อยละ 35.6 ในบุคคลท่ีเป็น
โรคเบาหวาน โดยมอี ายุ เพศ กจิ กรรมทางกาย การสบู บหุ รี่ นำ�้ หนกั ตวั เกนิ หรอื โรคอว้ น ภาวะอว้ นลงพงุ
ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือสูง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันเฮชดีเอล

1 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวิทยาของโรคตับค่งั ไขมันทีไ่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

คลอเลสเตอรอลในเลือดต�่ำ เป็นปัจจัยท่ีมีความเก่ียวข้องกับการเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ โดยประชาชนที่เป็นโรคตับชนิดนี้ ตรวจพบพังผืดตับระดับรุนแรง ร้อยละ 4.37 ซ่ึงพบ
ในเพศชายรอ้ ยละ 3.68 และเพศหญงิ รอ้ ยละ 5.09 เมอ่ื ตรวจประเมนิ ดว้ ย NAFLD fibrosis score >0.675
หรอื Fibrosis-4 score >2.67 และยงั พบวา่ อายุ ดชั นมี วลกาย เบาหวาน และภาวะไขมนั ไตรกลเี ซอรไ์ รด์
ในเลอื สงู เปน็ ปจั จยั เสย่ี งสำ� คญั ตอ่ การเกดิ พงั ผดื ตบั ระยะรนุ แรง
ข้อเสนอแนะทไี่ ดจ้ ากการวจิ ัย
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยครั้งน้ีพบความชุกของโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ร้อยละ 19.7 และประชาชนท่ีเป็นโรคตับชนิดนี้ร้อยละ 4.37 มีพังผืดตับระยะรุนแรง โดยมี
โรคอ้วนและลักษณะทางคลินิกของกลุ่มโรคทางเมทาบอลิกเป็นปัจจัยส่งเสริมต่อการเกิดโรค
และความรุนแรงของโรคตับชนิดนี้ ข้อมูลจากการศึกษานี้ช่วยแสดงถึงปัญหาของโรคตับคั่งไขมัน
ท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในระดับประเทศ ซึ่งจะช่วยในการให้ค�ำแนะน�ำกับประชาชนกลุ่มเส่ียง
ให้ปรับเปล่ียนการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันเพ่ือป้องกันการเกิดโรคตับเร้ือรังชนิดน้ีที่ก�ำลังเพ่ิมมากข้ึน
ในสังคมไทย
คำ� สำ� คัญ
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์, พังผืดตับระยะรุนแรง, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, ประชาชน
ทั่วไป, ประเทศไทย

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 17

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตบั คัง่ ไขมันที่ไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

บทคดั ยอ่ ภาษาอังกฤษ

Background:
Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) is a public health problem worldwide.
However, data on the estimated prevalence and risk factors of NAFLD and
advanced fibrosis in the general population are scarce. We prospectively assessed
the prevalence and severity of NAFLD in the Thai population.
Methods:
We conducted the Thai National Health Examination Survey (NHES), which is
a nationally representative survey that employs a complex multistage, stratified
strategy to sample the Thai civilian, non-institutionalized population. Screening for
NAFLD was performed using a fatty liver index in participants without significant
alcohol intake and other liver diseases, and the NAFLD fibrosis score and fibrosis-4
score were used to determine advanced liver fibrosis. The analysis considered
the complex survey design since all estimates were weighted according to the inverse
probability of being sampled based on the registered Thai population.
Results:
A total of 18,588 participants with a mean age of 53.3±17.0 years and 41.4% male
were enrolled in the NHES between 2020 and 2021. The prevalence of NAFLD
was 19.7%, with a prevalence of 20.9% in men and 18.6% in women. NAFLD was
present in 43.5% of subjects with metabolic syndrome and 35.6% of diabetic
participants. Using the logistic regression analysis, factors independently associated
with NAFLD were age, sex, physical activity, cigarette smoking, overweight/obesity,
central obesity, hypertriglyceridemia, diabetes, hypertension, and low HDL-C.
The prevalence of advanced fibrosis in the NAFLD cohort was 4.37%, with
a prevalence of 3.68% in men and 5.09% in women. In a multivariable analysis,
independent factors associated with advanced fibrosis were age, body mass index,
diabetes, and hypertriglyceridemia.

1 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวิทยาของโรคตับคง่ั ไขมนั ที่ไม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

Conclusion:
In a representative sample of the general Thai population, the prevalence of
NAFLD is 19.7%, while the prevalence of advanced fibrosis among the NAFLD cohort
is 4.37%. Among the risk factors contributing to the presence and severity of NAFLD,
we identified obesity and features of metabolic syndrome as relevant contributors.
These data inform the burden of NAFLD at a population-based level and could be
used for risk-based counseling and prevention to address the increasing prevalence
of chronic liver disease.
Keywords:
Nonalcoholic fatty liver disease, Advanced fibrosis, Prevalence, Risk factor, General
population, Thailand

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 19

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตับค่ังไขมนั ทไ่ี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

บทน�ำ

ผลการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี พ.ศ. 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปี
ขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน�้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับในช่วง
2 ทศวรรษท่ีผ่านมา (ปีพ.ศ. 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทย
อ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 3 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน โดยรองจากมาเลเซียและสิงค์โปร์
รวมท้ังยังพบว่าประชาชนไทยมีน�้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษ
ท่ีผ่านมา ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยส�ำคัญท�ำให้ตรวจพบการเพิ่มข้ึนของอุบัติการณ์โรคตับ
คั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ หรือท่ีเรียกว่า nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)
ซ่ึงหมายถึง โรคตับค่ังไขมันในผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยกว่า 140 กรัมต่อสัปดาห์ หรือ
ผู้ชายที่ด่ืมแอลกอฮอล์น้อยกว่า 210 กรัมต่อสัปดาห์
การส�ำรวจประชาชนไทยในภาคอีสานจ�ำนวน 34,709 คน ด้วยเคร่ืองอัลตราซาวนด์พบโรคตับ
ค่ังไขมัน มากถึงร้อยละ 21.9 ที่ส�ำคัญ คือ ผู้ท่ีมีโรคตับค่ังไขมันชนิดนี้ อาจเกิดการอักเสบภายใน
เนื้อตับอย่างเร้ือรัง (nonalcoholic steatohepatitis, NASH) ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายมีการด�ำเนินโรค
จนเกิดพังผืดสะสมในตับระยะรุนแรง (advanced fibrosis) เข้าสู่ภาวะตับแข็ง และอาจเกิดภาวะ
แทรกซ้อนจากความดันเลือดสูงในระบบพอร์ตัล (portal hypertension) รวมท้ังผู้ป่วยบางราย
เกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ (primary liver cancer) เหล่าน้ีเป็นสาเหตุท�ำให้เกิดภาวะทุพพลภาพ
และเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร รวมท้ังการศึกษาต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่า NAFLD มีพยาธิก�ำเนิด
และการด�ำเนินโรคเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะด้ืออินซูลิน (insulin resistance) โดยมีลักษณะ
ทางคลินิกของกลุ่มโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเร้ือรัง
(non-communicable disease) ได้แก่ โรคอ้วน (obesity) เบาหวาน (diabetes mellitus)
ความดันโลหิตสูง (hypertension) และไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) โดยภาวะเหล่านี้
เป็นปัจจัยเสี่ยงส�ำคัญต่อการเกิด NAFLD และส่งผลให้โรคตับมีการด�ำเนินโรคเกิดตับแข็งได้เร็วขึ้น
รวมท้ังยังก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแทรกซ้อนได้บ่อย ซึ่งเป็นปัญหาส�ำคัญในเวชปฏิบัติ
ดังน้ันการส�ำรวจเพื่อเก็บข้อมูลเก่ียวกับระบาดวิทยาของ NAFLD ในประชาชนชาวไทย จะเป็น
ข้อมูลส�ำคัญเพ่ือใช้ในการวางแนวทางการค้นหา NAFLD เพ่ือน�ำไปสู่การรักษาโรคตับชนิดนี้
รวมทั้งโรคร่วมอื่นแต่เน่ิน ๆ ส�ำหรับผู้ป่วยชาวไทยอย่างเหมาะสมต่อไป รวมท้ังเพื่อท�ำให้เกิด
การใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดในขณะน้ีให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีผลงานวิจัย
เชิงระบบและการจัดการความรู้เพ่ือพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและระบบบริการสุขภาพ
(การบริการสังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม และการส่งเสริมหุ้นส่วนทางสังคม)
ในภาพรวมของประเทศและระดับพื้นท่ีต่อไป ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา
อุบัติการณ์ของโรค NAFLD และประเมินความรุนแรงของโรคตับชนิดนี้ในประชาชนชาวไทย และ
ศึกษาหาความชุกของ NAFLD และพังผืดตับระยะรุนแรง เม่ือตรวจด้วย transient elastography
ในประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศึกษาลักษณะทางคลินิกของประชาชนไทย
ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด NAFLD และพังผืดตับระยะรุนแรง

2 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวิทยาของโรคตับคั่งไขมนั ที่ไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวขอ้ ง

โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากการด่ืมแอลกอฮอล์ ถือเป็นหน่ึงในสาเหตุของโรคตับเรื้อรังท่ีพบได้บ่อย
และเป็นภาวะท่ีมีความชุกเพ่ิมมากข้ึนเร่ือยๆ ทั่วโลกโดยพบมากข้ึนจากร้อยละ 20-30 จนถึง
ร้อยละ 50 ในบางการศึกษาและกลุ่มประชากร(1-3) โดยในชาวเอเชียน้ันพบได้ถึงร้อยละ 27(3)
เน่ืองจากลักษณะการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันที่พบว่าเป็นรูปแบบ Sedentary lifestyle
มากขึ้นและนิสัยการบริโภคท่ีเปล่ียนแปลงไป ท�ำให้พบโรคอ้วน และ Metabolic syndrome
มากย่ิงข้ึนในประชากรท่ัวไป ซ่ึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิด NAFLD(3-4) จนอาจเรียกได้ว่า
NAFLD เป็นอาการแสดงทางคลินิกอย่างหน่ึงของ Metabolic syndrome ในขณะเดียวกัน
โรคหัวใจและหลอดเลือดท่ีมักพบร่วมด้วย สามารถเรียกได้ว่าเป็นลักษณะทางคลินิกในอวัยวะอ่ืน ๆ
ในผู้ป่วย NAFLD ได้เช่นกัน(5-6) ซ่ึงจากความสัมพันธ์ท่ีกล่าวมาก็ท�ำให้พบผู้ป่วย NAFLD เสียชีวิต
จากตับแข็ง รวมท้ังโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยความเส่ียงท่ีผู้ป่วย NAFLD จะเสียชีวิตจาก
เหตุดังกล่าวจะเพ่ิมสูงขึ้นในผู้ป่วยที่ตรวจพบพังผืดสะสมในตับระดับรุนแรง (advanced fibrosis)(7)
NAFLD นอกจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรคอ้วนแล้ว ยังพบว่าโรคเบาหวานชนิดที่สองก็เป็น
ปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญต่อการเกิด NAFLD ด้วยเช่นกัน(4) โดยพบว่าผู้ป่วย NAFLD จะตรวจพบเบาหวาน
ชนิดที่สองประมาณร้อยละ 22.5(3) ในทางกลับกันพบว่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดท่ีสองตรวจพบ
NAFLD สูงถึงร้อยละ 50-80 รวมท้ัง advanced fibrosis ก็พบได้บ่อยในผู้ป่วย NAFLD ที่เป็น
เบาหวานชนิดที่สอง โดยพบร้อยละ 20(8-10) เนื่องจากตับมีหน้าท่ีส�ำคัญเกี่ยวกับการเผาผลาญ
น้�ำตาลและไขมันในร่างกาย ผ่านกระบวนการทางชีวภาพต่าง ๆ ได้แก่ gluconeogenesis,
glycogen synthesis และ lipolysis เป็นต้น ดังนั้นตับจึงเป็นอวัยวะที่มีความเกี่ยวข้องกับ
การเกิดภาวะด้ืออินซูลิน (insulin resistance) ในร่างกาย จนก่อให้เกิด NAFLD และเบาหวาน
ชนิดท่ีสองในที่สุด(6,11) รวมท้ังยังพบว่าการเผาผลาญน�้ำตาลและไขมันที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้ป่วย
NAFLD ส่งผลท�ำให้มีการเพ่ิมขึ้นของสาร proinflammatory cytokines เช่น tumor necrosis
factor-alpha และ interleukin-6 ในเน้ือเย่ือไขมันก่อให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกายส่งเสริมให้เกิด
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ (atherosclerosis) ท่ัวร่างกาย จนมีลักษณะทางคลินิกของโรคหัวใจ
และหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคตับชนิดน้ี(5-6) ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงบ่งช้ีว่าการตรวจพบ NAFLD และ
advanced fibrosis จะเป็นดัชนีส�ำคัญทางคลินิก ที่ช่วยบ่งช้ีว่าผู้ป่วย NAFLD รายใดมีความเส่ียง
ที่จะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ซึ่งควรจะได้รับการดูแลรักษาโรคอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไข
ความผิดปกติทางพยาธิสรีรวิทยาท่ีมีผลต่อการด�ำเนินโรค อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล
ระบาดวิทยามากพอที่จะให้ข้อสรุปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหา NAFLD ในประชาชน
ชาวไทยว่าควรมีแนวทางอย่างไร โดยยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาท่ีสามารถให้ข้อสรุปว่าวิธี
การตรวจหรือเคร่ืองมือใดที่เหมาะสมส�ำหรับการตรวจคัดกรองโรค ท่ีมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
สาธารณสุข

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 21

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตบั คั่งไขมันท่ไี มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

เคร่ืองมือมาตรฐานในการวินิจฉัย NAFLD และใช้ประเมินความรุนแรงของพังผืดในตับ คือ
การตรวจช้ินเน้ือตับ (liver biopsy) เพ่ือตรวจประเมินทางพยาธิวิทยา แต่เป็นวิธีการที่ไม่สามารถ
น�ำมาใช้ตรวจประชาชนทั่วไปได้ เนื่องจากการตรวจน้ีมีความเส่ียงท่ีจะเกิดภาวะแทรกซ้อน
และต้องท�ำหัตถการโดยแพทย์ท่ีมีความช�ำนาญเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการพัฒนาวิธีอื่น ๆ
ที่ปลอดภัย เพ่ือน�ำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค NAFLD และใช้ประเมินความรุนแรงของพังผืดตับ
โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย งานวิจัยเก่ียวกับการตรวจภาพรังสีวินิจฉัยในผู้ป่วยโรคนี้
พบว่าการตรวจเสียงสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging, MRI) เทคนิค
magnetic resonance spectrometry, MRI-PDFF และ MRI elastography สามารถท�ำนาย
ความรุนแรงของไขมันและพังผืดท่ีเกิดขึ้นในตับได้แม่นย�ำใกล้เคียงกับการตรวจช้ินเน้ือตับเพ่ือตรวจ
ทางพยาธิวิทยา(12) แต่การตรวจด้วย MRI เหล่านี้มีข้อจ�ำกัด คือ ไม่สามารถตรวจวิธีนี้ได้โดยทั่วไป
และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์
ท่ีเรียกว่า transient elastography ได้แสดงให้เห็นว่าการตรวจวิธีน้ีสามารถให้การวินิจฉัย NAFLD
และ advanced fibrosis ได้ใกล้เคียงกับการตรวจชื้นเนื้อตับทางพยาธิวิทยา(13-15) และมีความแม่นย�ำ
ใกล้เคียงกับการตรวจด้วยเทคนิค MRI(16, 17) อย่างไรก็ตามการตรวจวิธีนี้ต้องใช้เครื่องตรวจที่มี
ราคาแพงและมีให้บริการตรวจในโรงพยาบาลตติยภูมิบางแห่งเท่านั้น จึงยังไม่สามารถน�ำมาใช้
ตรวจคัดกรองในประชากรเป้าหมายจ�ำนวนมากได้
การตรวจเลือดประเมินการท�ำงานของตับในผู้ป่วย NAFLD พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 75 มีระดับเอนไซม์
(enzyme) ตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยมักตรวจพบระดับซีรั่ม gamma glutamyltransferase และ
aminotransferase สูงกว่าปกติเพียงเล็กน้อย จึงไม่สามารถใช้การตรวจเลือดวัดระดับเอนไซม์ตับ
เพียงอย่างเดียวในการค้นหา NAFLD และประเมินความรุนแรงของพังผืดในตับได้ แต่ปัจจุบัน
มีการน�ำผลตรวจเลือดและลักษณะทางคลินิกต่าง ๆ มาสร้างเป็นระบบการค�ำนวณคะแนน (scoring
system) เพ่ือใช้ในการวินิจฉัย NAFLD ได้แก่ fatty liver index, lipid accumulation product
และ hepatic steatosis index เป็นต้น(18) และมีระบบการค�ำนวณส�ำหรับประเมินความรุนแรง
ของพังผืดที่เกิดขึ้นในตับ ได้แก่ NAFLD fibrosis score, Fibrosis-4, APRI และ BARD score
เป็นต้น(19) โดยการศึกษาต่าง ๆ พบว่าระบบคะแนนเหล่าน้ีสามารถใช้คาดการณ์ภาวะไขมันคั่งในตับ
และพังผืดในตับได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะ NAFLD fibrosis score และ Fibrosis-4 ในการท�ำนาย
พังผืดตับระดับ advanced fibrosis(15, 18-20) ที่ส�ำคัญระบบคะแนนบางอย่างสามารถใช้บ่งช้ีโอกาส
ท่ีผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคตับได้อีกด้วย(7) ซึ่งระบบการค�ำนวณคะแนนเหล่านี้สามารถใช้ได้
อย่างสะดวก ปลอดภัย และราคาถูก เหมาะสมกับการใช้ตรวจประชากรจ�ำนวนมาก เนื่องจาก
ระบบคะแนนเหล่านี้ใช้เพียงข้อมูลทางคลินิกและการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเบ้ืองต้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามระบบคะแนนเหล่านี้มีความแม่นย�ำน้อยกว่าการตรวจด้วยเทคนิคทางภาพรังสีวินิจฉัย
ชนิดต่าง ๆ

2 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคง่ั ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ดังนั้นการตรวจคัดกรองหา NAFLD และประเมินความรุนแรงของพังผืดในตับโดยเฉพาะ advanced
fibrosis ในประชากรท่ัวไทยด้วยเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความชุกของโรคที่แตก
ต่างกัน ซ่ึงปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาประเมินด้วย scoring systems และ transient elastography
ในการค้นหา NAFLD และประเมินความรุนแรงของพังผืดตับในประชาชนทั่วไปรวมทั้งในประเทศไทย
มาก่อน รวมทั้งยังไม่ทราบว่าประชากรท่ัวไปกลุ่มใดท่ีมีความเส่ียงสูงต่อการตรวจคัดกรองพบ NAFLD
ร่วมกับพบ advanced fibrosis การศึกษาเพื่อค้นหาความชุก ลักษณะทางคลินิก และลักษณะ
ทางห้องปฏิบัติการ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD และ advanced fibrosis จะเป็นข้อมูล
ส�ำคัญ ช่วยท�ำให้เราสามารถจัดล�ำดับความเร่งด่วนว่าประชากรที่มีลักษณะทางคลินิกแบบใด
ควรได้รับการตรวจค้นหา NAFLD ท่ีมีโรคตับในระยะรุนแรงแล้ว เนื่องจากประชากรที่มีโรคตับ
ดังกล่าวมีความเสี่ยงท่ีจะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ซ่ึงควรจะได้รับการรักษาต้ังแต่เนิ่น ๆ อย่างเหมาะสม
เพื่อลดผลแทรกซ้อนที่จะเกิดข้ึนกับผู้ป่วยในอนาคต รวมท้ังข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้จะน�ำไปสู่
การเลือกใช้การตรวจท่ีเหมาะสมเพื่อคัดกรองหา NAFLD และ advanced fibrosis ในประชากร
ท่ัวไป รวมทั้งจัดล�ำดับให้ประชากรที่มีความเส่ียงสูงต่อการเกิด NAFLD และ advanced fibrosis
ควรได้รับการตรวจแต่เน่ิน ๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 23

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกันและรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ระเบยี บวิธีด�ำเนินการวิจัย

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษา NAFLD ในประชาชนชาวไทย เพ่ือให้ได้ผลงาน
วิจัยเชิงระบบจากชุมชุนท่ัวประเทศโดยตรง ซึ่งจะน�ำไปสู่การจัดการความรู้เก่ียวกับโรคตับชนิดน้ี
เพ่ือพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและระบบบริการสุขภาพ ส�ำหรับผู้ป่วย NAFLD ในภาพรวมของ
ประเทศและระดับพ้ืนที่ ผ่านการศึกษาในโครงการวิจัยนี้ ซ่ึงท�ำการส�ำรวจสุขภาพของประชากร
ไทยอย่างเป็นระบบให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยร่วมกับส�ำนักงานส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ท�ำการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย (Thai
National Health Examination Survey) ในกลุ่มตัวอย่างท่ีได้จากการสุ่ม (multi-stage random
sampling) จากประชากรไทยท่ีอาศัยใน 20 จังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร ท�ำการ
เก็บข้อมูลภาคสนามโดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยของภาคต่าง ๆ เพื่อให้
เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ครอบคลุมหน่วยตัวอย่างของโครงการ
การส�ำรวจตัวอย่างคร้ังน้ีได้ใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งช้ันภูมิสี่ขั้น (stratified four-stage
sampling) ซ่ึงเป็นแผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (probability sampling)
โดยมีกรุงเทพมหานคร และภาคจ�ำนวน 4 ภาคเป็นสตราตัม จังหวัดในแต่ละภาคเป็นหน่วยตัวอย่าง
ขั้นที่หน่ึง อ�ำเภอเป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง เขตแจงนับ (enumeration area) เป็นหน่วยตัวอย่าง
ข้ันที่สาม และประชากรไทยในช่วงอายุต่าง ๆ เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นสุดท้าย (eligible sampling
unit) การส�ำรวจในครั้งน้ีจะส�ำรวจประชากรใน 2 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มอายุ 18-59 ปี และกลุ่ม
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซ่ึงน�ำไปสู่การศึกษาเก่ียวกับ NAFLD ในประชากรไทยท่ีก�ำลังก้าวเข้าสู่
สังคมสูงวัย เพ่ือให้ได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
การจดั ชัน้ ภูมิ หรือการจัดสตราตมั
แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งช้ันภูมิ ได้พัฒนามาส�ำหรับประชากรบางประเภทท่ีประกอบด้วย
หน่วยตัวอย่างท่ีมีลักษณะแตกต่างกัน ซ่ึงสามารถแยกออกได้หลายประเภท โดยความแปรปรวน
ของประชากรกลุ่มน้ีจะมีค่าสูง ดังนั้นก่อนท่ีจะมีการเลือกตัวอย่างจะต้องมีการแบ่งประชากร
ออกเป็นส่วน ๆ โดยในแต่ละส่วนจะประกอบด้วย หน่วยตัวอย่างท่ีมีลักษณะท่ีคล้ายคลึงกัน
ซ่ึงสามารถเลือกตัวอย่างได้อย่างท่ัวถึงและมีประสิทธิภาพสูง โดยแผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบนี้
เรียกว่าแผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งช้ันภูมิ (stratified sampling) นอกจากนี้แผนการเลือก
ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ยังสามารถวัดค่าที่แสดงลักษณะบางประการของประชากรในแต่ละชั้นภูมิ
ให้มีความแม่นย�ำสูงได้ และยังสามารถใช้ในการบริการจัดการการส�ำรวจได้ เช่น การส�ำรวจตัวอย่าง
จากทุกภาคท่ัวประเทศ การใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งช้ันภูมิจะท�ำให้การบริหารจัดการ
การแบ่งงาน และการควบคุมงานนั้นมีความสะดวกมากขึ้น โดยในการส�ำรวจคร้ังนี้ ได้ก�ำหนดให้

2 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับค่งั ไขมนั ท่ีไมไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

กรุงเทพมหานครและภาคจ�ำนวน 4 ภาค เป็นสตราตัม รวมท้ังส้ิน 5 สตราตัม และในแต่ละ
สตราตัม ได้ท�ำการแบ่งออกเป็น 12 สตราตัมย่อย ตามลักษณะการปกครองของกรมการปกครอง
(คือ ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล) กลุ่มอายุ และเพศ ได้จ�ำนวนสตราตัมย่อยรวมทั้งส้ิน
27 สตราตัมย่อย

การเลือกหน่วยตวั อยา่ งข้นั ทีห่ น่งึ (primary sampling selection)

หน่วยตัวอย่างข้ันท่ีหน่ึง : จังหวัด
กรอบตัวอย่างขั้นที่หน่ึง : บัญชีรายช่ือจังหวัดในแต่ละภาค โดยเรียงตามลักษณะภูมิศาสตร์
การเลือกหน่วยตัวอย่างข้ันท่ีหน่ึง : ในแต่ละภาค หรือสตราตัม ท�ำการเลือกจังหวัดตัวอย่าง
อย่างอิสระต่อกัน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ได้จ�ำนวนจังหวัดตัวอย่าง
ทั้งส้ิน 21 จังหวัด ซ่ึงกระจายไปในแต่ละสตราตัม

จ�ำนวนและรายชอื่ จงั หวดั ตัวอยา่ ง จ�ำแนกตามสตราตมั

สตราตมั จำ�นวน จังหวดั ตวั อย่าง รายชอื่ จงั หวัดตัวอยา่ ง

กรุงเทพมหานคร 1 ไมม่ กี ารเลือกจงั หวดั ตวั อย่าง
กลาง (ยกเวน้ กทม.) 5 นครปฐม สมุทรปราการ ลพบรุ ี นครนายก ระยอง
เหนอื 5 เชยี งใหม่ ลำ�พนู แพร่ กำ�แพงเพชร พิษณุโลก
ตะวนั ออกเฉียงเหนอื 5 ขอนแกน่ บรุ ีรัมย์ อุบลราชธานี บึงกาฬ เลย
ใต้ 5 สงขลา สรุ าษฎรธ์ านี กระบ่ี พทั ลงุ ยะลา
รวมทั่วประเทศ 21

การเลอื กหนว่ ยตัวอยา่ งขัน้ ที่สอง (secondary sampling selection)

หน่วยตัวอย่างขั้นท่ีสอง : อ�ำเภอ
กรอบตัวอย่างขั้นท่ีสอง : บัญชีรายชื่ออ�ำเภอในแต่ละจังหวัดตัวอย่าง โดยเรียงตามลักษณะภูมิศาสตร์
การเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง : ในแต่ละจังหวัดตัวอย่าง ได้ท�ำการเลือกอ�ำเภอตัวอย่างอย่างอิสระ
ต่อกัน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ โดยใช้ความน่าจะเป็นเป็นสัดส่วนกับขนาด (probability
proportional to size systematic sampling) ได้จ�ำนวนอ�ำเภอตัวอย่างท้ังสิ้น 72 อ�ำเภอ ยกเว้น
กรุงเทพมหานคร ไม่มีการเลือกเขตตัวอย่าง

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 25

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตับคั่งไขมันท่ีไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

จ�ำนวนอำ� เภอตวั อยา่ ง จ�ำแนกตามจงั หวดั

ภาค จงั หวดั จำ�นวนอำ�เภอ ภาค จังหวดั จำ�นวนอำ�เภอ
ตวั อยา่ ง ตวั อยา่ ง
กรงุ เทพมหานคร - ตะวันออกเฉยี ง ขอนแกน่
กลาง นครปฐม - เหนอื บุรรี มั ย์ 5
3 อุบลราชธานี 5
สมุทรปราการ 3 ใต้ บึงกาฬ 5
ลพบุรี 4 เลย 3
นครนายก 3 รวมท่วั ประเทศ สงขลา 4
ระยอง 3 สุราษฎรธ์ านี 4
เหนือ เชยี งใหม่ 4 กระบี่ 4
ลำ�พูน 3 พทั ลงุ 3
แพร่ 3 ยะลา 4
กำ�แพงเพชร 4 2
พิษณุโลก 3 72

การเลือกหน่วยตวั อย่างขั้นทีส่ าม (tertiary sampling selection)

หน่วยตัวอย่างข้ันที่สอง : เขตแจงนับ (Enumeration area)
กรอบตัวอย่างขั้นที่สาม : บัญชีรายชื่อเขตแจงนับในกรุงเทพมหานคร และแต่ละอ�ำเภอตัวอย่าง
การเลือกหน่วยตัวอย่างข้ันที่สาม : ในกรุงเทพมหานคร และแต่ละอ�ำเภอตัวอย่าง ท�ำการเลือกเขต
แจงนับ ตัวอย่างอย่างอิสระต่อกัน ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ โดยใช้ความน่าจะเป็นเป็นสัดส่วน
กับขนาด (probability proportional to size systematic sampling) ได้จ�ำนวนเขตแจงนับ
ตัวอย่างทั้งสิ้น 540 เขตแจงนับ ซึ่งกระจายไปในแต่ละสตราตัมและสตราตัมย่อย

จ�ำนวนเขตแจงนบั ตัวอย่าง จ�ำแนกตามสตราตมั และสตราตัมย่อย

สตราตัม จำ�นวนเขตแจงนบั ตัวอยา่ ง

กรงุ เทพมหานคร รวม ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
กลาง (ยกเว้น กทม.)
เหนอื 60 60 -
ตะวันออกเฉยี งเหนือ
ใต้ 120 60 60
รวมทัว่ ประเทศ
120 60 60

120 60 60

120 60 60

540 300 240

2 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคั่งไขมันทีไ่ มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

การเลือกหนว่ ยตวั อย่างข้นั สุดท้าย (eligible sampling selection)

หน่วยตัวอย่างขั้นท่ีสอง : ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยมีสัดส่วนประชากรช่วงอายุ
18-59 ปี ร้อยละ 60 และประชากรท่ีมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 40)
กรอบตัวอย่างข้ันสุดท้าย : บัญชีรายช่ือครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือนท่ีมีอายุต้ังแต่ 18 ปีข้ึนไป
ในแต่ละเขตแจงนับตัวอย่าง
การเลือกหน่วยตัวอย่างข้ันสุดท้าย : ในแต่ละเขตแจงนับตัวอย่าง ท�ำการเลือกคนตัวอย่าง จ�ำแนก
ตามกลุ่มอายุและเพศ อย่างอิสระต่อกัน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic
sampling) ได้จ�ำนวนประชาชนตัวอย่างท้ังสิ้น 18,400 คน ซ่ึงกระจายไปในแต่ละสตราตัม

จ�ำนวนประชาชนตวั อยา่ ง จำ� แนกตามสตราตมั และสตราตัมยอ่ ย

สตราตมั จำ�นวนประชากรตวั อย่าง

กรุงเทพมหานคร รวม อายุ 18-59 ปี อายุ 60 ปขี น้ึ ไป
กลาง (ยกเวน้ กทม.)
เหนอื 2,000 1,200 800
ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ 4,100
ใต้ 4,100 2,500 1,600
รวมทัว่ ประเทศ 4,100
4,100 2,500 1,600
18,400
2,500 1,600

2,500 1,600

11,200 7,200

การส�ำรวจสภาวะสุขภาพเพ่ือค้นหาโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชน
ชาวไทย

1) การส�ำรวจพฤติกรรมสุขภาพดังน้ี ได้แก่ การสูบบุหร่ี การดื่มเครื่องด่ืมแอลกอฮอล์ กิจกรรม
ทางกาย พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ยาและอาหารเสริม ในประชากรเหล่านี้

2) เก็บข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจ�ำตัวต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมัน
ในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งประวัติโรคต่าง ๆ
ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

3) ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการตรวจช่ังน้�ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบเอวและสะโพก และวัด
ความดันโลหิต โดยบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูล

4) ตรวจเลือด ได้แก่ complete blood count, fasting plasma glucose, HbA1C, total
cholesterol, triglyceride, HDL-C, LDL-C, blood urea nitrogen, creatinine, และ liver
enzymes (SGOT, SGPT, alkaline phosphatase, gamma-glutamyl transpeptidase,
total bilirubin, albumin, globulin) เป็นต้น

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 27

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรกั ษา
โรคตับค่ังไขมนั ทไ่ี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

5) เก็บข้อมูลเก่ียวกับการตรวจวัดความยืดหยุ่นของเน้ือตับ (liver stiffness measurement)
และ controlled attenuation parameter (CAP) ด้วยเครื่อง transient elastography
เพ่ือประเมินความรุนแรงของพังผืดตับและไขมันที่สะสมในตับตามล�ำดับโดยท�ำการตรวจ
ในประชากรท่ีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่าน้ัน

6) น�ำผลตรวจเลือดและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยไปค�ำนวณตามระบบคะแนนเพ่ือการวินิจฉัย
NAFLD คือ fatty liver index และค�ำนวณตามระบบส�ำหรับประเมินความรุนแรงของพังผืด
ในตับ คือ NAFLD fibrosis score และ Fibrosis-4 score เป็นต้น

7) น�ำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามหลักสถิติหาความชุกของโรค NAFLD และระดับความรุนแรง
ของพังผืดตับในประชากรกลุ่มต่าง ๆ รวมท้ังศึกษาหาปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กับการตรวจพบ
โรคตับชนิดนี้

ผลจากการส�ำรวจคร้ังน้ี จะได้ข้อมูลส�ำคัญระดับชาติเกี่ยวกับคนไทยท่ีมีโรค NAFLD และผู้ป่วย
โรคตับชนิดน้ีในระยะรุนแรง แล้วท�ำการวิเคราะห์หาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด
NAFLD และความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี เพื่อให้ค�ำแนะน�ำการปรับเปล่ียนพฤติกรรมให้เหมาะสม
ส�ำหรับการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วย NAFLD ในประเทศไทยต่อไป

การประเมนิ และการแปลผลระบบคะแนนทใ่ี ชใ้ นการวินิจฉัย NAFLD

น�ำผลตรวจเลือดและลักษณะทางคลินิกต่างๆของผู้ป่วยมาค�ำนวณตามระบบคะแนนเพ่ือวินิจฉัย
NAFLD ที่เรียกว่า fatty liver index ตามสูตรที่แสดงในตารางดังน้ี

ระบบคะแนน สูตรคำ�นวณ ปจั จัย (หนว่ ย) เกณฑ์การวนิ จิ ฉยั เอกสารอ้างองิ

Fatty liver (e(0.953 * Loge(TG) + 0.139 * BMI + 0.718 BMI (kg/m2) ≥60 ในการ Bedogni et.
index )/(1* Loge(GGT) + 0.053 * (WC)-15.745) WC (cm) วนิ ิจฉยั ภาวะไขมัน al., 2006(18)
+ e(0.953 * Loge(TG) + 0.139 * BMI + TG (mmol/L) คงั่ ในตับ
)0.718 * Loge(GGT) + 0.053 * (WC)-15.745) GGT (U/L)
* 100

BMI, body mass index; GGT, gamma glutamyl-transpeptidase; TG, triglyceride; WC, waist circumference

การแปลผลระบบคะแนนท่ีใช้ประเมินความรุนแรงของโรคตับ NAFLD ตามเกณฑ์ระดับ
พังผดื ในตบั

ระบบคะแนนท่ีน�ำมาใช้ประเมินความรุนแรงของโรคตับตามเกณฑ์ระดับพังผืดในตับ ดังต่อไปนี้
1) ระบบ NAFLD fibrosis score(19) มีสูตรค�ำนวณดังนี้ คือ -1.675 + 0.037 x อายุ (ปี) + 0.094

x body mass index + 1.13 x hyperglycemia หรือเบาหวาน (มี = 1, ไม่มี = 0) + 0.99 x
AST/ALT ratio - 0.013 x platelet (x109/L) - 0.66 x albumin (กรัม/ดล.)
2) ระบบ FIB-4 score(20) ค�ำนวณตามสูตรดังน้ี คือ อายุ (ปี) x AST (U/L)/platelet (x109/L) x
√ALT (U/L)

2 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคัง่ ไขมนั ท่ีไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
การตรวจและแปลผล Transient elastography ในการวินิฉยั NAFLD และความรนุ แรง
ของโรคตบั

Transient elastography เป็นเคร่ืองมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณไขมันในตับ และพังผืดตับ
ซึ่งในงานวิจัยนี้จะทําการตรวจโดยผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรมและได้ใบรับรองตามมาตรฐานการตวจ
ซึ่งการตรวจวัดนี้ทําได้โดยให้ผู้ป่วยงดน�้ำงดอาหารอย่างน้อย 3 ช่ัวโมง นอนราบ และใช้หัว
probe M ความถี่ 3.5 เมกาเฮริตซ์ ในกรณีที่ตรวจวัดไม่ได้ จะเปล่ียนไปใช้ probe XL ความถ่ี 2.5
เมกาเฮริตซ์ วางบริเวณช่องซี่โครงด้านขวาต�ำแหน่งจุดตัดของเส้นลากกลางรักแร้ขวาและเส้นลาก
จากกระดูกลิ้นปี่ ท�ำการวัดอย่างน้อย 10 คร้ัง โดยให้มีอัตราความสําเร็จ อย่างน้อยร้อยละ 60
และค่า Interquatile range (IQR) ไม่เกินร้อยละ 30 ซึ่งรายงานเป็นค่ามัธยฐาน(13) โดยมีข้อมูล 2 ส่วน
ดังน้ี
1. Controlled attenuation parameter (CAP) ในการวินิจฉัยภาวะตับคั่งไขมัน(14) ดังน้ี
CAP น้อยกว่า 288 dB/m บ่งช้ีว่าไม่มีภาวะตับคั่งไขมัน (steatosis)
CAP มากกว่าหรือเท่ากับ 288 dB/m บ่งชี้ว่ามีภาวะตับคั่งไขมัน
2. ความยืดหยุ่นของตับ (liver stiffness) บ่งชี้ความรุนแรงของโรคตับตามระบบประเมิน

ความรุนแรงของพังผืดในตับตามระบบ METAVIR แบ่งได้เป็น 4 ระดับดังนี้
Fibrosis stage 0-1 วัดค่าตรวจ <7.9 kPa
Fibrosis stage 2 วัดค่าตรวจ 7.9-9.6 kPa
Fibrosis stage 3 วัดค่าตรวจ 9.7-12.4 kPa
Fibrosis stage 4 วัดค่าตรวจ ≥12.5 kPa
ผู้รว่ มวิจัย/อาสาสมัคร

การคำ� นวณขนาดตวั อยา่ ง

การส�ำรวจตัวอย่างครั้งนี้จะใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งช้ันภูมิสี่ขั้น (stratified
four-stage sampling) ซ่ึงเป็นแผนแบบการเลือกตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น โดยมี
กรุงเทพมหานคร และภาคจ�ำนวน 4 ภาคเป็นสตราตัม และในแต่ละสตราตัม ได้ท�ำการแบ่งออกเป็น
12 สตราตัมย่อย ตามลักษณะการปกครองของกรมการปกครอง (คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขต
เทศบาล) กลุ่มอายุ และเพศ ยกเว้นกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 6 สตราตัมย่อย ตามกลุ่มอายุ
และเพศ ได้จ�ำนวนสตราตัมย่อยรวมทั้งส้ิน 27 สตราตัมย่อย ซ่ึงการก�ำหนดขนาดตัวอย่าง
เพ่ือให้สามารถน�ำเสนอผลได้ทุกสตราตัม ได้ก�ำหนดขนาดตัวอย่างในแต่ละสตราตัมอย่างอิสระต่อกัน
และท�ำการค�ำนวณขนาดตัวอย่างท่ีเหมาะสมส�ำหรับการประมาณค่าสัดส่วนประชากร โดยใช้สูตร
การค�ำนวณขนาดตัวอย่างดังนี้

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 29

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษา
โรคตับค่ังไขมนั ทีไ่ ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

n= k2r(1-r) x 1 x ƒ ;E = E’r
E2 response rate

โดยที่ n = ขนาดตัวอย่าง
k = ค่าคงท่ีของระดับความเชื่อม่ันท่ี 1 - α
r = สัดส่วนตัวช้ีวัดส�ำคัญที่ต้องการศึกษา
E = ขนาดของความคลาดเคล่ือน (margin of error)
E’ = ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ (relative margin of error)
Response rate = อัตราการให้ความร่วมมือ
ƒ = ค่าคงที่ส�ำหรับการปรับขนาดตัวอย่างกรณีใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างหลายขั้น
(sample design effect)
ดังน้ันโครงการนี้มีขนาดตัวอย่างประชากรท่ีส�ำรวจอายุมากกว่า 18 ปีข้ึนไป จ�ำนวนประมาณ
18,400 ราย

เกณฑก์ ารคัดเลอื กผ้รู ว่ มวิจยั /อาสาสมัคร

1. ประชาชนท่ีมีถ่ินฐานประจ�ำในพ้ืนที่ตามแบบแผนการคัดเลือกตัวอย่างในการส�ำรวจ
2. ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

เกณฑก์ ารคดั ออกผู้ร่วมวิจยั /อาสาสมัคร

1. ประชานท่ีไม่สามารถให้ข้อมูล การตรวจสุขภาพ และการตรวจเลือดประเมินสุขภาพ
2. ประชาชนท่ีไม่ประสงค์เข้าร่วมการส�ำรวจสุขภาพ

3 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับค่ังไขมนั ท่ไี ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

การวิเคราะห์ผลการวจิ ยั

ผลลพั ธห์ ลักของการศึกษา
1. ความชุกและความรุนแรงของโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในประชาชน

ชาวไทย
ผลลัพธ์รองของการศึกษา
1. ความชุกของโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากการด่ืมแอลกอฮอล์และพังผืดตับระยะรุนแรง

เมื่อตรวจคัดกรองด้วย transient elastography ในประชาชนท่ีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
2. ลักษณะทางคลินิกของประชาชนไทยท่ีมีความเส่ียงสูงต่อการตรวจพบโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้

เกิดจากการด่ืมแอลกอฮอล์และพังผืดตับระยะรุนแรง
สถติ ทิ ี่ใชใ้ นการด�ำเนินงานวิจยั
• ท�ำการวิเคราะห์สถิติด้วยโปรแกรม STATA version 14.0 (StataCorp LP, College Station,

Texas, USA)
• การวิเคราะห์ทางสถิติมีการถ่วงน้�ำหนัก (weight) ข้อมูลประชากรเพื่อน�ำเสนอผลการส�ำรวจ

ประชากรในรูปแบบท่ีมีการสุ่มตัวอย่างท่ีซับซ้อน (complex sampling design)
• น�ำเสนอข้อมูลต่อเน่ือง (continuous variables) ท่ีมีการแจกแจงแบบปกติน�ำเสนอเป็น

ค่าเฉล่ีย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และน�ำเสนอค่ามัธยฐานและค่าท่ีร้อยละ 25 และ 75
ถ้ามีการแจกแจงข้อมูลแบบไม่ปกติ
• น�ำเสนอข้อมูลแจงนับ (categorical variables) น�ำเสนอเป็นความถี่และร้อยละ
• ใช้สถิติ Chi-square test หรือ Fisher exact test ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
เชิงคุณภาพ
• ใช้สถิติ Student t-test หรือ Mann-Whitney U-test ในการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ
ระหว่างกลุ่ม
• ใช้สถิติ logistic regression analysis เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลแจงนับ
(NAFLD และความรุนแรงของพังผืดตับระยะรุนแรง) กับปัจจัยทางคลินิก โดยควบคุมปัจจัยต่าง ๆ
ท่ีอาจเป็นตัวกวนต่อผลการศึกษา น�ำเสนอความสัมพันธ์ในรูปแบบ odds ratio (OR) และ 95%
confidence interval (CI)

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 31

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมนั ทไ่ี ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

ผลการวจิ ัย

ขอ้ มลู การสำ� รวจประชากรไทย
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้ เพ่ือการวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษา
โรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย ได้ด�ำเนินการร่วมกับแผนงาน
ส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย ส�ำนักงานวิจัย เพ่ือการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข โดยความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์หลัก
ของการส�ำรวจฯ คือ แสดงความชุกของ NAFLD และปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ส�ำคัญในระดับประเทศ
ตัวอย่าง multi-stage random sampling จากประชากรไทย ที่อาศัยใน 20 จังหวัดท่ัวประเทศ
และกรุงเทพมหานคร ในประชากรอายุ 18 ปี ข้ึนไป จ�ำนวน 18,588 ราย ด�ำเนินการเก็บข้อมูล
ภาคสนาม เมื่อตุลาคม 2563 ถึง มิถุนายน 2564 ผลการส�ำรวจมี ดังน้ี
พฤตกิ รรมสุขภาพ
การดื่มเครอ่ื งดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol consumption)
ความชุกของการบริโภคเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป การด่ืมใน รอบ 1 ปี
ที่ผ่านมา ร้อยละ 45.3 (ชายร้อยละ 60.7 หญิงร้อยละ 31.0) การด่ืมในรอบ 30 วันท่ีผ่านมา
ร้อยละ 33.6 (ชายร้อยละ 49.4 หญิงร้อยละ 18.9) การดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยง
ปานกลางข้ึนไป ใน 30 วันท่ีผ่านมา (ชาย ≥41 กรัม /วัน) เพศชาย ร้อยละ 27.5 ส่วนในเพศหญิง
(≥21 กรัม/วัน) ร้อยละ 6.5 ผู้ชายที่อาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตฯ ด่ืมในระดับเส่ียงปานกลาง
ขึ้นไปเท่าเทียมกัน (ร้อยละ 15.4 และ ร้อยละ 17.2 ตามล�ำดับ) ส�ำหรับผู้หญิงนอกเขตเทศบาล
มีความชุกการด่ืมระดับเสี่ยงปานกลางเท่าเทียมกับในเขตฯ (ร้อยละ 6.6 และ 6.3 ตามล�ำดับ)
ความชกุ ของการดม่ื เครอื่ งดม่ื แอลกอฮอลใ์ นระดบั ตดิ สรุ า (alcohol dependence) ของการสำ� รวจ ครง้ั นี้
มีร้อยละ 0.78 (ชายร้อยละ 1.5 และหญิงร้อยละ 0.1)
การสบู บุหรี่ (Smoking)
ความชุกของการสูบบุหร่ีในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป สูบในปัจจุบันร้อยละ 19.4 (ชายร้อยละ
37.3 และหญิง ร้อยละ 2.9) การสูบเป็นประจ�ำตามกลุ่มอายุในเพศชาย ความชุกเริ่มต้ังแต่
ร้อยละ 22.4 ในกลุ่มอายุ 18-29 ปี และเพิ่มข้ึนตามอายุ สูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ
32.6 ความชุก ลดลงเมื่ออายุมากข้ึน อย่างไรก็ตามพบว่าร้อยละ 16.4 ของผู้สูงอายุชายยังคง
สูบบุหรี่อยู่ ส่วนในเพศหญิงความชุกของการสูบบุหรี่สูง ในผู้สูงอายุ โดยสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี
(ร้อยละ 31.7)

3 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคั่งไขมนั ทีไ่ ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย
ภาวะอ้วน (Obesity)

ความชุกของภาวะอ้วน (BMI ≥25 กก./เมตร2) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 44.9
(ชายร้อยละ 40.3 และ หญิงร้อยละ 49.2) ความชุกในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ (ในชาย
ร้อยละ 44.8 และ 37.9 ในหญิงร้อยละ 50.5 และ 48.5 ตามล�ำดับ) โดยผู้ชายและผู้หญิง
ในภาคกลาง มีสัดส่วนสูงสุด (ในผู้ชายร้อยละ 48.3 และผู้หญิงร้อยละ 53.3)
ความชุกของภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอว ≥90 ซม. ในชาย และ ≥80 ซม. ในหญิง) มีร้อยละ 29.3
ในผู้ชาย และร้อยละ 53.1 ในผู้หญิง ความชุกในเขตเทศบาล (ชายร้อยละ 36.1 และหญิง
ร้อยละ 57.5) สูงกว่านอกเขตเทศบาล (ชายร้อยละ 25.7 และหญิงร้อยละ 50.5) โดยผู้ชาย
และผู้หญิงในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนสูงสุด

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

ความชุกของโรคเบาหวาน (เคยได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน หรือระดับพลาสมากลูโคส
≥126 มก./ดล. หรือ HbA1C ≥6.5%) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 16.0 ความชุก
ในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 17.1 และ 14.8 ตามล�ำดับ) ความชุกต่�ำสุดในคนอายุน้อย
และเพ่ิมข้ึนตามอายุที่สูงขึ้นและสูงท่ีสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี ในผู้ชาย (ร้อยละ 25.8) และ
ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ผู้หญิง (ร้อยละ 31.9) จากนั้นความชุกลดลงเม่ืออายุมากข้ึน ความชุกของ
เพศชายท่ีอาศัยในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 17.9 และร้อยละ 13.2 ตามล�ำดับ)
ในขณะที่เพศหญิงท่ีอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเท่าเทียมกับนอกเขต (ร้อยละ 17.2 และร้อยละ 17.1
ตามล�ำดับ) เม่ือพิจารณาตามภาค ผู้ชายในกรุงเทพฯมีความชุกสูงท่ีสุด (ร้อยละ 20.5) รองลงมาคือ
ภาคกลาง (ร้อยละ 18.2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 13.9) ภาคเหนือ (ร้อยละ 12.4)
และภาคใต้ (ร้อยละ 10.1) ตามล�ำดับ ส่วนในผู้หญิงพบว่า กรุงเทพฯมีความชุกสูงสุดเช่นกัน
(ร้อยละ 20.0) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 18.3) ภาคเหนือ (ร้อยละ 17.6) ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ (ร้อยละ 17.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 11.7)

โรคความดนั โลหิตสงู (Hypertension)

ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง (ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน หรือตรวจวัด
ความดันโลหิตพบระดับ systolic blood pressure ≥130 มม.ปรอท และหรือ diastolic blood
pressure ≥85 มม.ปรอท) ในประชากรอายุ 18 ปีข้ึนไป มีร้อยละ 36.9 (ผู้ชายร้อยละ 42.1
และผู้หญิงร้อยละ 32.1) โดยความชุกของโรคต�่ำสุดในกลุ่มอายุ 18-29 ปี ร้อยละ 13.1 (ผู้ชาย
ร้อยละ 21.7 และผู้หญิงร้อยละ 4.0) จากน้ันเพ่ิมข้ึนตามอายุและสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป
(ผู้ชายร้อยละ 73.1 และผู้หญิงร้อยละ 74.0) ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาล
และนอกเขตฯใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 35.8 และร้อยละ 37.6 ตามล�ำดับ) ภาคเหนือมีความชุกสูงท่ีสุด
ร้อยละ 39.2 (ผู้ชายร้อยละ 44.2 และผู้หญิงร้อยละ 34.7) รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ร้อยละ 37.9) ภาคกลาง (ร้อยละ 37.8) กรุงเทพฯ (ร้อยละ 34.0) และภาคใต้ (ร้อยละ 31.8)

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 33

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการปอ้ งกันและรักษา
โรคตบั ค่งั ไขมันท่ไี ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
ภาวะไขมันในเลอื ดผดิ ปกติ (Dyslipidemia)

ความชุกของภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ≥ 200 มก./ดล. ในประชากร
ไทยอายุ 18 ปี ขึ้นไปมีร้อยละ 58.8 ความชุกในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 61.2 และ 56.3
ตามล�ำดับ) ความชุกเพิ่มข้ึนตามอายุที่เพิ่มข้ึนและสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 65.1 จากน้ัน
ความชุกลดลง ซึ่งผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 30-44 ปี ร้อยละ 63.8 และผู้หญิงมีความ
ชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 70.9 โดยในเขตเทศบาลมีความชุกสูงกว่านอกเขตฯ
(ร้อยละ 64.1 และ 55.9 ตามล�ำดับ) เม่ือพิจารณาตามภูมิภาคพบว่าประชาชนท่ีอยู่ภาคใต้
และกรุงเทพฯ มีความชุกของภาวะไขมันคอเลสเตอรอลรวม ≥200 มก./ดล. สูงที่สุด (ร้อยละ 67.1
และ 67.9 ตามล�ำดับ) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 62.5) ภาคเหนือ (ร้อยละ 58.0) และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 50.5) ตามล�ำดับ
ความชุกของภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) ≥150 มก./ดล. ในประชากรไทยอายุ 18 ปี
ข้ึนไปมีร้อยละ 38.0 ความชุกในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง (ร้อยละ 43.6 และ 32.8 ตามล�ำดับ)
ความชุกเพิ่มข้ึนตามอายุท่ีเพ่ิมขึ้นและสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 42.2 จากนั้นความชุก
ลดลง ซ่ึงผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 48.3 และผู้หญิงมีความชุก
สูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 41.7 โดยในเขตเทศบาลมีความชุกใกล้เคียงกับนอกเขตฯ
(ร้อยละ 35.8 และ 39.1 ตามล�ำดับ) เม่ือพิจารณาตามภูมิภาคพบว่า คนท่ีอยู่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ มีความชุกของภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ≥150 มก./ดล. สูงท่ีสุด 44.7 (ผู้ชาย
ร้อยละ 51.2 และผู้หญิงร้อยละ 38.4) รองลงมาคือ ภาคเหนือ (ร้อยละ 37.8) กรุงเทพฯ
(ร้อยละ 36.6) ภาคกลาง (ร้อยละ 34.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 29.6) ตามล�ำดับ
ความชุกของภาวะไขมันเฮชดีแอลคอเลสเตอรอลต่�ำ (HDL-cholesterol <40 มก./ดล.ในผู้ชาย
และ <50 มก./ดล. ในผู้หญิง) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีข้ึนไปมีร้อยละ 26.6 ความชุกในผู้หญิง
สูงกว่าในผู้ชาย (ร้อยละ 32.9 และ 19.7 ตามล�ำดับ) ความชุกเพิ่มข้ึนตามอายุท่ีเพ่ิมข้ึนและสูงสุด
ในกลุ่มอายุ 80 ปีข้ึนไป ร้อยละ 30.0 จากน้ันความชุกลดลง ซ่ึงผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ใน
กลุ่มอายุ 30-44 ปี ร้อยละ 21.4 และผู้หญิงมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 38.9 ในเขตเทศบาลมีความชุกต�่ำกว่านอกเขตฯ (ร้อยละ 23.0 และร้อยละ 28.6 ตามล�ำดับ)
เมื่อพิจารณาตามภูมิภาคพบว่าประชาชนที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกของภาวะไขมัน
เฮชดีแอลคอเลสเตอรอลต่�ำ สูงที่สุดร้อยละ 32.8 (ผู้ชายร้อยละ 23.8 และผู้หญิงร้อยละ 41.5)
รองลงมาคือ ภาคเหนือ (ร้อยละ 26.6) ภาคใต้ (ร้อยละ 23.4) ภาคกลาง (ร้อยละ 22.5) และกรุงเทพฯ
(ร้อยละ 20.6) ตามล�ำดับ

3 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวทิ ยาของโรคตับคง่ั ไขมันทีไ่ มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย
กลุม่ โรคอว้ นลงพงุ (Metabolic syndrome)

ความชุกของกลุ่มโรคอ้วนลงพุงในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 27.6 (ผู้ชายร้อยละ
25.4 และผู้หญิงร้อยละ 29.6) ความชุกเพ่ิมข้ึนตามอายุที่เพิ่มขึ้นและสูงสุดในกลุ่มอายุ 70-79 ปี
ร้อยละ 41.8 จากน้ันความชุกลดลง ซึ่งผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 33.1
และผู้หญิงมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 48.6 เช่นกัน โดยที่ความชุกในเขตเทศบาล
สูงกว่านอกเขตฯ (ร้อยละ 28.4 และ 27.2 ตามล�ำดับ) และพบความชุกในกรุงเทพฯและภาคกลาง
สูงสุด (ร้อยละ 30.8 และ 29.7 ตามล�ำดับ) รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 27.1)
ภาคเหนือ (ร้อยละ 27.0) และภาคใต้ (ร้อยละ 23.3) ตามล�ำดับ

กจิ กรรมทางกาย (Physical activity)

สัดส่วนของประชาชนไทยอายุ 18 ปีข้ึนไป ท่ีมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีร้อยละ 30.9 (ชายร้อยละ
29.4 และหญิงร้อยละ 32.3) การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีมากในกลุ่มผู้สูงอายุ พบร้อยละ 43.6
ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี และมากท่ีสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 60.0 สัดส่วนของคนในเขต
เทศบาลที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีมากกว่าคนนอกเขตฯ (ร้อยละ 35.9 และ 28.2 ตามล�ำดับ)
เม่ือพิจารณาตามภูมิภาคพบว่า ประชาชนท่ีอาศัยอยู่ในภาคใต้ มีความชุกของการมีกิจกรรม
ทางกายไม่เพียงพอสูงท่ีสุดร้อยละ 59.5 (ผู้ชายร้อยละ 58.0 และผู้หญิงร้อยละ 60.9) รองลงมาคือ
กรุงเทพฯ (ร้อยละ 37.7) ภาคเหนือ (ร้อยละ 29.7) ภาคกลาง (ร้อยละ 25.9) และภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ (ร้อยละ 22.1) ตามล�ำดับ แต่มีข้อสังเกตุว่าการให้ข้อมูลการออกแรงกายของผู้ตอบ
อาจประเมินตนเองว่ามีกิจกรรมทางกายสูงกว่าความเป็นจริง อาจท�ำให้สัดส่วนของคนที่มีกิจกรรม
ทางกายเพียงพอมากกว่าความเป็นจริง

โรคตบั คงั่ ไขมนั ทไ่ี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver disease)

ความชุกของ NAFLD (fatty liver index ≥60 บ่งช้ีภาวะตับคั่งไขมัน ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์
ระดับเสี่ยงต�่ำหรือไม่ดื่มเลยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี)
ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 19.7 (ผู้ชายร้อยละ 20.9 และผู้หญิงร้อยละ 18.6)
ดังแสดงในตารางท่ี 1.1 โดยความชุกของโรคในกลุ่มอายุ 18-29 ปี ร้อยละ 17.2 จากนั้นเพ่ิมขึ้น
ตามอายุและสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 22.9 (ผู้ชายร้อยละ 25.5 และผู้หญิงร้อยละ 20.5)
จากนั้นความชุกลดลงและต่�ำสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีข้ึนไป เหลือร้อยละ 9.6
ความชุกของ NAFLD ในประชาชนที่เป็น Metabolic syndrome เท่ากับร้อยละ 43.5 และพบ
ความชุกของ NAFLD ในประชาชนที่มีกลุ่มโรคร่วมน้ี ดังต่อไปนี้ ภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 40.7,
เบาหวาน ร้อยละ 35.6, ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 24.5, ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
ร้อยละ 34.9 และภาวะไขมันเฮชดีแอลในเลือดต�่ำ ร้อยละ 32.7

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 35

การวิจยั และพฒั นาแนวทางการป้องกันและรักษา
โรคตบั ค่ังไขมันทไี่ ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

ตารางที่ 1.1 ผลสำ� รวจความชกุ ของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยตามกลุ่มอายแุ ละเพศ

อายุ เพศ ประชากรสำ�รวจ ประชากร NAFLD ความชกุ ของ NAFLD
จำ�นวน ราย จำ�นวน ราย ร้อยละ
18-29 ปี ทัง้ หมด
30-44 ปี เพศชาย 2,253 380 17.2
45-59 ปี เพศหญงิ 994 192 17.8
60-69 ปี ทั้งหมด 1,259 188 16.6
70-79 ปี เพศชาย 3,369 721 21.7
80+ ปี เพศหญิง 1,372 347 24.1
ทุกกล่มุ อายุ ทั้งหมด 1,997 374 19.6
เพศชาย 4,867 1,072 22.9
เพศหญงิ 1,780 427 25.5
ท้งั หมด 3,087 645 20.5
เพศชาย 4,986 818 15.1
เพศหญิง 2,151 274 12.3
ท้งั หมด 2,835 544 17.2
เพศชาย 2,229 304 13.7
เพศหญงิ 989 113 10.8
ทง้ั หมด 1,240 191 16.0
เพศชาย 798 77 9.6
เพศหญิง 368 34 10.6
ทัง้ หมด 434 43 8.8
เพศชาย 18,502 3,372 19.7
เพศหญิง 7,654 1,387 20.9
10,848 1,985 18.6

ความชุกของ NAFLD ในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ และพบความชุกในภาคกลางและ
กรุงเทพฯ สูงสุด (ร้อยละ 22.2 และ 22.8 ตามล�ำดับ) รองลงมาคือ ภาคใต้ (ร้อยละ 19.3) ภาคเหนือ
(ร้อยละ 18.4) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 17.8) ตามล�ำดับ ดังแสดงในตารางท่ี 1.2

3 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวิทยาของโรคตับค่งั ไขมนั ทไ่ี ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ตารางท่ี 1.2 ผลส�ำรวจความชุกของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยแบง่ ตามเพศในภูมิภาค
ตา่ ง ๆ

ภมู ิภาค เพศ ประชากรสำ�รวจ ประชากร NAFLD ความชกุ ของ NAFLD
จำ�นวน ราย จำ�นวน ราย ร้อยละ
กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด
ภาคกลาง เพศชาย 2,378 501 22.8
ภาคเหนอื เพศหญิง 702 160 25.7
ทั้งหมด 1,676 341 20.5
ภาคตะวนั ออก เพศชาย 4,123 895 22.2
เฉียงเหนอื เพศหญิง 1,664 343 21.7
ภาคใต้ ท้งั หมด 2,459 552 22.7
ทกุ ภูมภิ าค เพศชาย 3,831 615 18.4
เพศหญิง 1,763 285 20.5
ทั้งหมด 2,068 330 16.5
เพศชาย 4,375 687 17.8
เพศหญิง 1,968 341 19.9
ทงั้ หมด 2,407 346 15.7
เพศชาย 3,795 674 19.3
เพศหญิง 1,557 258 19.6
ทั้งหมด 2,238 416 18.9
เพศชาย 18,502 3,372 19.7
เพศหญงิ 7,654 1,387 20.9
10,848 1,985 18.6

ตารางที่ 1.3 แสดง ผลส�ำรวจความชุกของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยแบ่งตามจังหวัดในแต่ละ
ภูมิภาค โดยพบว่า NAFLD มีความชุกสูงสุดในจังหวัดสมุทรปราการ ร้อยละ 27.5 รองลงมาคือ
นครนายก (ร้อยละ 23.9) กรุงเทพฯ (ร้อยละ 22.8) ก�ำแพงเพชร (ร้อยละ 22.8) ระยอง (ร้อยละ
22.0) และสุราษฎร์ธานี (ร้อยละ 20.1) ตามล�ำดับ ซึ่งมีความชุกสูงกว่าค่าเฉล่ียของประเทศ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 37

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรกั ษา
โรคตบั ค่ังไขมันทไี่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ตารางที่ 1.3 ผลสำ� รวจความชุกของ NAFLD ในประชาชนชาวไทยแบ่งตามจังหวดั ในแต่ละ
ภมู ภิ าค

ภูมภิ าค ประชากรสำ�รวจ ประชากร NAFLD ความชกุ ของ NAFLD
จำ�นวน ราย จำ�นวน ราย รอ้ ยละ
กรงุ เทพมหานคร
ภาคกลาง 2,378 501 22.8
4,123 895 22.2
นครปฐม 760 143 19.4
สมทุ รปราการ 1,089 272 27.5
ลพบรุ ี 688 122 18.0
นครนายก 651 161 23.9
ระยอง 935 197 22.0
ภาคเหนอื 3,831 615 18.4
เชียงใหม่ 596 92 18.7
ลำ�พนู 1,014 142 15.7
แพร่ 866 139 17.9
กำ�แพงเพชร 590 120 22.8
พิษณุโลก 765 122 17.9
ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื 4,375 687 17.8
ขอนแกน่ 846 139 19.7
บรุ รี ัมย์ 1,217 189 17.6
อบุ ลราชธานี 865 135 18.2
บงึ กาฬ 833 134 16.2
เลย 614 90 15.6
ภาคใต้ 3,795 674 19.3
สงขลา 1,840 345 19.9
สรุ าษฎรธ์ านี 918 166 20.1
กระบ่ี 376 73 18.2
พัทลุง 425 58 15.4
ยะลา 236 32 16.4
ทกุ ภมู ภิ าค 18,502 3,372 19.7

3 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

ระบาดวิทยาของโรคตับคง่ั ไขมนั ทีไ่ มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ข้อมูลทางคลินิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของประชาชนชาวไทยท่ีเป็น
โรคตับค่งั ไขมนั ท่ไี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ตารางท่ี 1.4 ขอ้ มลู ประชาชนชาวไทยทเี่ ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไ่ี มเ่ ปน็ NAFLD

ลกั ษณะของประชาชน ประชาชนทเ่ี ป็น ประชาชนทไี่ มเ่ ปน็ P value
NAFLD NAFLD
จ�ำ นวน, ราย < 0.001
อาย,ุ ปี (คา่ เบย่ี งเบนมาตรฐาน) 3,372 15,310 0.007
เพศ, ราย (%) 46.7 (14.4) 47.7 (16.5) 0.011

ชาย 1,387 (51.1) 6,267 (47.4) < 0.001
หญงิ 1,985 (48.9) 8,863 (52.6) 0.107
ภมู ิภาค, ราย (%)
กรงุ เทพมหานคร 501 (10.8) 1,877 (8.9) 0.016
ภาคกลาง 895 (29.4) 3,228 (25.3)
ภาคเหนือ 615 (16.8) 3, 216 (18.3)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 687 (29.9) 3,688 (34.0)
ภาคใต้ 674 (13.1) 3,121 (13.5)
ภูมลิ ำ�เนา, ราย (%)
เขตเทศบาล 1,991 (39.1) 8,453 (35.1)
นอกเขตเทศบาล 1,381 (60.9) 6,659 (64.9)
ระดบั การศกึ ษา, ราย (%)
ประถมศกึ ษา 1,709 (44.2) 7,856 (45.5)
มัธยมศึกษาและวิชาชีพ 1,221 (42.9) 4,977 (40.0)
มหาวิทยาลัยหรอื สงู กวา่ 310 (10.1) 1,628 (11.3)
อืน่ ๆ 112 (2.8) 576 (3.2)
Wealth index, ราย (%)
Q1 564 (18.2) 2,776 (21.0)
Q2 533 (19.4) 2,759 (21.7)
Q3 627 (18.8) 2,709 (18.5)
Q4 728 (20.8) 3,051 (19.4)
Q5 749 (22.9) 3,090 (19.5)

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 39

การวิจัยและพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตับคั่งไขมนั ทไ่ี มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ตารางที่ 1.5 ลักษณะทางคลินิกของประชาชนที่เป็น NAFLD เปรียบเทียบกับประชาชน
ที่ไมเ่ ปน็ NAFLD

ลกั ษณะของประชาชน ประชาชนทีเ่ ปน็ ประชาชนทไ่ี ม่เป็น P value
NAFLD NAFLD
จ�ำ นวน, ราย < 0.001
ดชั นีมวลกาย, กก./เมตร2 3,372 15,310 < 0.001
(คา่ เบี่ยงเบนมาตรฐาน)
ระดบั ดัชนมี วลกาย, ราย (%) 30.7 (4.9) 23.5 (3.8) < 0.001
0.011
<18.5 กก./เมตร2 6 (0.2) 1,197 (7.9) 0.013
18.5 ถึง <23 กก./เมตร2 61 (2.8) 5,714 (37.9)
23 ถงึ <25 กก./เมตร2 175 (4.8) 3,165 (20.9) < 0.001
>25 กก./เมตร2 3,130 (92.2) 5,005 (33.3) < 0.001
Central obesity, ราย (%) 3,047 (85.9) 5,393 (30.8) < 0.001
กิจกรรมทางกาย, ราย (%) < 0.001
ระดบั นอ้ ย 1,281 (34.5) 5,230 (30.1) < 0.001
ระดับปานกลางถึงมาก 2,091 (65.5) 9,900 (69.9)
การสูบบหุ ร่ี, ราย (%)
ไม่เคยสบู 2,399 (65.4) 10,179 (64.4)
หยดุ สบู 564 (18.2) 2,509 (15.5)
สบู ประจำ� 409 (16.4) 2,442 (20.1)
Metabolic syndrome, ราย (%) 2,204 (60.8) 3,393 (19.4)
Diabetes mellitus, ราย (%) 1,141 (28.9) 2,363 (12.8)
Hypertension, ราย (%) 1,707 (45.9) 6,160 (34.7)
Hypertriglyceridemia, ราย (%) 2,201 (67.2) 4,380 (30.8)
Low HDL-C, ราย (%) 1,444 (44.1) 3,324 (22.3)

ประชาชนที่ตรวจพบ NAFLD มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 30.7±4.9 กก./เมตร2 ซึ่งร้อยละ 92.2 ของกลุ่ม
ประชาชนน้ีมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับโรคอ้วน และมีกิจกรรมทางกายน้อยกว่า แต่มีพฤติกรรม
ไม่สูบบุหร่ีหรือหยุดสูบบุหรี่แล้วในสัดส่วนท่ีมากกว่าประชาชนที่ไม่เป็นโรคตับชนิดน้ี รวมทั้งประชาชน
ท่ีเป็น NAFLD มีลักษณะทางคลินิกของ Metabolic syndrome ได้แก่ ภาวะอ้วนลงพุง (ร้อยละ
85.9) เบาหวาน (ร้อยละ 28.9) ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 45.9) ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์
ในเลือดสูง (ร้อยละ 67.2) และภาวะไขมันเฮชดีแอลในเลือดต่�ำ (ร้อยละ 44.1) ในสัดส่วนที่สูงกว่า
ประชาชนที่ไม่เป็น NAFLD ดังแสดงในตารางท่ี 1.5

4 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for


Click to View FlipBook Version