The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Research and development of preventive and therapeutic strategies for nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Positive Person มนุษย์คิดบวก, 2022-09-16 04:34:37

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับคั่งไขมัน ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในประชาชนชาวไทย

Research and development of preventive and therapeutic strategies for nonalcoholic fatty liver disease in Thai population

ศาสตราจารย์ นายแพทย์พูลชัย จรัสเจริญวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords: fatty liver disease

การค้นหาปัจจยั ทางพันธกุ รรมและเมทาบอลิกท่ีเก่ยี วข้องกับพยาธกิ �ำ เนิด
ของโรคตบั คง่ั ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

15. Cusi K. Role of obesity and lipotoxicity in the development of nonalcoholic steatohepatitis:
pathophysiology and clinical implications. Gastroenterology. 2012;142:711-25 e6.

16. Donnelly KL, Smith CI, Schwarzenberg SJ, Jessurun J, Boldt MD, Parks EJ. Sources of fatty
acids stored in liver and secreted via lipoproteins in patients with nonalcoholic fatty liver
disease. J Clin Invest. 2005;115:1343-51.

17. Paradies G, Paradies V, Ruggiero FM, Petrosillo G. Oxidative stress, cardiolipin and mitochondrial
dysfunction in nonalcoholic fatty liver disease. World J Gastroenterol. 2014;20:14205-18.

18. Anstee QM, Day CP. The genetics of NAFLD. Nat Rev Gastroenterol Hepatol. 2013;10:645-55.
19. Anstee QM, Day CP. The Genetics of Nonalcoholic Fatty Liver Disease Spotlight on PNPLA3

and TM6SF2. Semin Liver Dis. 2015;35:270-90.
20. Anstee QM, Seth D, Day CP. Genetic Factors That Affect Risk of Alcoholic and Nonalcoholic

Fatty Liver Disease. Gastroenterology. 2016;150:1728-44 e7.
21. Romeo S, Kozlitina J, Xing C, et al. Genetic variation in PNPLA3 confers susceptibility to

nonalcoholic fatty liver disease. Nature genetics. 2008;40:1461-5.
22. Kozlitina J, Smagris E, Stender S, Nordestgaard BG, Zhou HH, Tybjaerg-Hansen A, et al.

Exome-wide association study identifies a TM6SF2 variant that confers susceptibility to
nonalcoholic fatty liver disease. Nature genetics. 2014;46:352-6.
23. Krawczyk M, Rau M, Schattenberg JM, et al. Combined effects of the TM6SF2 rs58542926,
PNPLA3 rs738409 and MBOAT7rs641738 variants on NAFLD severity: multicentre biopsy-based
study. J Lipid Research. 2016;58:247-55.
24. Akuta N, Kawamura Y, Arase Y, et al. Relationships between Genetic Variations of PNPLA3,
TM6SF2 and Histological Features of Nonalcoholic Fatty Liver Disease in Japan. Gut and liver.
2016;10:437-45.
25. Vilar-Gomez E,Sookoian S, Pirola CJ, et al. ADH1B*2 Is Associated With Reduced Severity
of Nonalcoholic Fatty Liver Disease in Adults, Independent of Alcohol Consumption.
Gastroenterology 2020;159:929-43.
26. Sookoian S, Pirola CJ. Meta-analysis of the influence of I148M variant of patatin-like
phospholipase domain containing 3 gene (PNPLA3) on the susceptibility and histological
severity of nonalcoholic fatty liver disease. Hepatology. 2011;53:1883-94.
27. Pirola CJ, Sookoian S. The Dual and Opposite Role of theTM6SF2-rs58542926 Variant in
Protecting Against Cardiovascular Disease and Conferring Risk for Nonalcoholic Fatty Liver:
A Meta-analysis. Hepatology. 2015;2015:6.
28. Liu YL, Reeves HL, Burt AD, et al. TM6SF2 rs58542926 influences hepatic fibrosis progression
in patients with non-alcoholic fatty liver disease. Nature communications. 2014;5:4309.
29. Zhou Y, Llaurado G, Oresic M, Hyötylainen T, Orho-Melander M, Yki-Jarvinen H. Circulating
triacylglycerol signatures and insulin sensitivity in NAFLD associated with the E167K variant
in TM6SF2. Hepatology. 2015;62:657-63.
30. Buch S, Stickel F, Trepo E, et al. A genome-wide association study confirms PNPLA3 and
identifies TM6SF2 and MBOAT7 as risk loci for alcohol-related cirrhosis. Nature genetics.
2015;47:1443-8.

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 91

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษา
โรคตับคัง่ ไขมันทีไ่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย
31. Thabet K, Asimakopoulos A, Shojaei M, et al. MBOAT7 rs641738 increases risk of liver inflammation

and transition to fibrosis in chronic hepatitis C. Nature communications. 2016;7:12757.
32. Mancina RM, Dongiovanni P, Petta S, et al. The MBOAT7-TMC4 Variant rs641738 Increases Risk

of Nonalcoholic Fatty Liver Disease in Individuals of European Descent. Gastroenterology.
2016;150:1219-30 e6.
33. Luukkonen PK, Zhou Y, Hyotylainen T, et al. The MBOAT7 variant rs641738 alters hepatic
phosphatidylinositols and increases severity of non-alcoholic fatty liver disease in humans.
J Hepatol. 2016;65:1263-5.
34. Santoro N, Zhang CK, Zhao H, et al. Variant in the glucokinase regulatory protein (GCKR) gene
is associated with fatty liver in obese children and aldolescents. Hepatology 2012; 55:781-9.
35. Petta S, Valenti L, Marchesini G, et al. PNPLA3 GG Genotype and Carotid Atherosclerosis in
Patients with Non-Alcoholic Fatty Liver Disease. PLOS ONE 2013;8: e74089
36. Posadas-Sánchez R, López-Uribe ÁR, Posadas-Romero C, et al, Association of the I148M/PNPLA3
(rs738409) polymorphism with premature coronary artery disease, fatty liver, and insulin
resistance in type 2 diabetic patients and healthy controls. The GEA study. Immunobiology
2016:222:960-6.
37. Xia MF, Ling Y, Bian H, et al, I148M variant of PNPLA3 increases the susceptibility to non-alcoholic
fatty liver disease caused by obesity and metabolic disorders, Aliment. PharmacolTher
2016:43:631e642.
38. Dongiovanni P, Petta S, Maglio C, et al. Transmembrane 6 Superfamily Member 2 Gene
Variant Disentangles Nonalcoholic Steatohepatitis From Cardiovascular Disease.Hepatology
2015:61:506-14.
39. Shibata M, Kihara Y, Taguchi M, Tashiro M, Otsuki M. Nonalcoholic fatty liver disease is a risk
factor for type 2 diabetes in middleaged Japanese men. Diabetes Care. 2007: 30:2940-4.
40. Targher G, Bertolini L, Padovani R, et al. Prevalence of nonalcoholic fatty liver disease and
its association with cardiovascular disease among type 2 diabetic patients. Diabetes Care
2007:30:12121218.
41. Targher G, Bertolini L, Rodella S, et al. Non-alcoholic fatty liver disease is independently associated
with an increased prevalence of chronic kidney disease and proliferative/laser-treated
retinopathy in type 2 diabetic patients. Diabetologia 2008: 51, 444-50.
42. Adams LA, Waters OR, Knuiman MW, Elliott RR, Olynyk JK. NAFLD as a risk factor for the
development of diabetes and the metabolic syndrome: an eleven-year follow-up study.
Am J Gastroenterol. 2009:104, 861-867. doi: 10.1038/ajg.2009.67.
43. Abul-Husn NS, Cheng X, Li AH, et al. A protein-truncating HSD17B13 variant and protection
from chronic liver disease. N Engl J Med 2018;378:1096-106.
44. Yang J, Trépo E, Nahon P, et al. PNPLA3 and TM6SF2 variants as risk factors of hepatocellular
carcinoma across various etiologies and severity of underlying liver diseases. Int J Cancer
2019;144:533-44.

9 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การค้นหาปัจจยั ทางพันธุกรรมและเมทาบอลกิ ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับพยาธกิ �ำ เนิด
ของโรคตบั คั่งไขมันท่ีไมไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์

45. Yang J, Trépo E, Nahon P, et al. A 17-beta-hydroxysteroid dehydrogenase 13 variant
protects from hepatocellular carcinoma development in alcoholic liver disease. Hepatology
2019;70:231-40.

46. Gellert-Kristensen H, Nordestgaard BG, Tybjærg-Hansen A, Stender S. High risk of fatty liver
disease amplifies the alanine transaminase-lowering effect of a HSD17B13 variant. Hepatology
2020;71:56-66.

47. Stickel F, Buch S, Nischalke HD, et al. Genetic variants in PNPLA3 and TM6SF2 predispose to
the development of hepatocellular carcinoma in individuals with alcohol-related cirrhosis.
Am J Gastroenterol 2018;113:1475-83.

48. Stickel F, Buch S, Lau K, et al. Genetic variation in the PNPLA3 gene is associated with alcoholic
liver injury in Caucasians. Hepatology 2011;53:86-95.

49. Donati B, Dongiovanni P, Romeo S, et al. MBOAT7 rs641738 variant and hepatocellular carcinoma
in non-cirrhotic individuals. Sci Rep. 2017;7:4492.

50. Martin K, Hatab A, Athwal VS, Jokl E, Piper Hanley K. Genetic Contribution to Non-alcoholic
Fatty Liver Disease and Prognostic Implications. Curr Diab Rep. 2021;21:8.

51. Nishioji K, Mochizuki N, Kobayashi M, et al. The impact of PNPLA3 rs738409 genetic polymorphism
and weight gain ≥10 kg after age 20 on non-alcoholic fatty liver disease in non-obese Japanese
individuals. PLoS One. 2015;10:e0140427.

52. Honda Y, Yoneda M, Kessoku T, et al. Characteristics of non-obese non-alcoholic fatty liver
disease: effect of genetic and environmental factors. Hepatol Res. 2016;46:1011-8.

53. Niriella MA, Kasturiratne A, Pathmeswaran A, et al. Lean nonalcoholic fatty liver disease
(lean NAFLD): characteristics, metabolic outcomes and risk factors from a 7-year prospective,
community cohort study from Sri Lanka. Hepatol Int. 2019;13:314-22.

54. Chung GE, Lee Y, Yim JY, et al. Genetic polymorphisms of PNPLA3 and SAMM50 are associated
with nonalcoholic fatty liver disease in a Korean population. Gut Liver. 2017;12:316-23.

55. Lee SS, Byoun YS, Jeong SH, et al. Role of the PNPLA3 I148M polymorphism in nonalcoholic
fatty liver disease and fibrosis in Korea. Dig Dis Sci. 2014;59:2967-74.

56. Santoro N, Kursawe R, D’Adamo E, et al. A common variant in the patatin-like phospholipase
3 gene (PNPLA3) is associated with fatty liver disease in obese children and adolescents.
Hepatology. 2010;52:1281-90.

57. Grandone A, Cozzolino D, Marzuillo P, et al. TM6SF2 Glu167Lys polymorphism is associated
with low levels of LDL-cholesterol and increased liver injury in obese children. Pediatr Obes.
2016;11:115-9.

58. Mahdessian H, Taxiarchis A, Popov S, et al. TM6SF2 is a regulator of liver fat metabolism
influencing triglyceride secretion and hepatic lipid droplet content. Proc Natl Acad Sci U S
A. 2014;111:8913-8.

59. Goffredo M, Caprio S, Feldstein AE, et al. Role of TM6SF2 rs58542926 in the pathogenesis of
nonalcoholic pediatric fatty liver disease: a multiethnic study. Hepatology. 2016;63:117-25.

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 93

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตบั คั่งไขมนั ท่ไี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
60. Anstee QM, Darlay R, Cockell S, et al; EPoS Consortium Investigators. Genome-wide association

study of non-alcoholic fatty liver and steatohepatitis in a histologically characterised cohort.
J Hepatol. 2020;73:505-15.
61. Sookoian S, Flichman D, Garaycoechea ME, et al. Lack of evidence supporting a role of
TMC4-rs641738 missense variant-MBOAT7- intergenic downstream variant-in the susceptibility
to nonalcoholic fatty liver disease. Sci Rep. 2018;8:5097.
62. Raimondo A, Rees MG, Gloyn AL. Glucokinase regulatory protein: complexity at the crossroads
of triglyceride and glucose metabolism. Curr Opin Lipidol. 2015;26:88-95.
63. Vaxillaire M, Cavalcanti-Proenca C, Dechaume A, et al. The common P446L polymorphism in
GCKR inversely modulates fasting glucose and triglyceride levels and reduces type 2 diabetes
risk in the DESIR prospective general French population. Diabetes. 2008;57:2253-7.
64. Santoro N, Zhang CK, Zhao H, et al. Variant in the glucokinase regulatory protein (GCKR) gene is
associated with fatty liver in obese children and adolescents. Hepatology. 2012;55(3):781-9.
65. Petta S, Miele L, Bugianesi E, et al. Glucokinase regulatory protein gene polymorphism affects
liver fibrosis in non-alcoholic fatty liver disease. PLoS One. 2014;9:e87523.
66. Speliotes EK, Yerges-Armstrong LM, Wu J, et al. Genome-wide association analysis identifies
variants associated with nonalcoholic fatty liver disease that have distinct effects on metabolic
traits. PLoS Genet. 2011;7:e1001324.
67. Zain SM, Mohamed Z, Mohamed R. Common variant in the glucokinase regulatory gene
rs780094 and risk of nonalcoholic fatty liver disease: a meta-analysis. J Gastroenterol Hepatol.
2015;30:21-7.
68. Fernandes Silva L, Vangipurapu J, Kuulasmaa T, Laakso M. An intronic variant in the GCKR
gene is associated with multiple lipids. Sci Rep. 2019;9:10240.
69. Ling Y, Li X, Gu Q, Chen H, Lu D, Gao X. Associations of common polymorphisms in GCKR
with type 2 diabetes and related traits in a Han Chinese population: a case-control study.
BMC Med Genet. 2011;12:66.

9 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การค้นหาปัจจยั ทางพันธุกรรมและเมทาบอลิกทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั พยาธิก�ำ เนดิ
ของโรคตบั คั่งไขมันท่ไี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ภาคผนวก

สรุปผลงานวิจัย (ส�ำหรับประชาสมั พันธ์)
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ได้กลายมาเป็นโรคตับเร้ือรังที่พบบ่อยท่ีสุดท่ัวโลก
โดยมีโรคอ้วนเป็นปัจจัยส�ำคัญที่เร่งท�ำให้เกิดโรคตับชนิดน้ี ซ่ึงการค้นหาผู้ป่วยโรคตับค่ังไขมัน
ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ตั้งแต่ในระยะแรกของโรค จะช่วยท�ำให้การรักษาด้วยการเปล่ียนแปลง
พฤติกรรมในชีวิตประจ�ำวันและการรักษาด้วยยาเพ่ือป้องกันการลุกลามของโรคมีประสิทธิภาพดี
ย่ิงข้ึน อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีเครื่องมือท่ีมีความแม่นย�ำในการพยากรณ์การด�ำเนินโรค
แต่ Genome-wide association study ได้แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมหลายอย่าง
ท่ีเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์และส่งออกไขมันออกจากเซลล์ตับมีความเก่ียวข้องกับ
การเกิดโรคตับชนิดนี้ โดยพบภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของ PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7
และ GCKR มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จนเกิดพังผืดตับ
ตับแข็ง และมะเร็งตับ ในชาวตะวันตก แต่ยังไม่มีการศึกษาทางพันธุกรรมเกี่ยวกับภาวะพหุสัณฐาน
พันธุกรรมของยีนเหล่าน้ีในประชาชนชาวไทย รวมท้ังการประเมินภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรมของยีน
เหล่านี้ในภาพรวมของ the gene risk score มาก่อน

การศึกษาปัจจัยทางพันธุกรรมท่ีมีความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD และความรุนแรงของโรคตับ
จะช่วยท�ำให้เข้าใจถึงกลไกท่ีท�ำให้ประชากรแต่ละเชื้อชาติมีการด�ำเนินโรคตับแตกต่างกันอย่างไร การ
ศึกษาคร้ังนี้ได้ท�ำการสุ่มตัวอย่างเลือดจากการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย จ�ำนวน 4,055 ราย
พบว่าประชาชนท่ีเป็น NAFLD มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 30.6±4.6 กก./เมตร2 ร้อยละ 93.4 ของกลุ่ม
ประชาชนน้ีมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับโรคอ้วน และร้อยละ 89.9 มีปัญหาโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็น
สัดส่วนท่ีสูงกว่าประชาชนที่ไม่เป็นโรคตับชนิดน้ี ประมาณสามในส่ีของประชาชนที่เป็นโรคตับ
คั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ มีกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก โดยเฉพาะลักษณะทางคลินิกของ
ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และภาวะไขมันเฮชดีแอล
ในเลือดต่�ำ พบได้บ่อยกว่าประชาชนท่ีไม่เป็นโรคตับชนิดนี้ ซ่ึงผลการตรวจภาวะพหุสัณฐานพันธุกรรม
ของยีนต่างๆ พบว่า PNPLA3, TM6SF2, MBOAT7 และ GCKR รวมทั้ง the gene risk score
ไม่พบความความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเกิด NAFLD และความรุนแรงของโรคตับ แต่อาจมีผลทางอ้อม
ผ่านกลไกที่มีผลควบคุม กระบวนการสังเคราะห์และส่งออกไตรกลีเซอร์ไรด์และน้�ำตาลกลูโคส
จากเซลล์ตับ ส่งเสริมให้เกิดภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ซ่ึงเป็น
ความผิดปกติทางเมทาบอลิกที่ส�ำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
และเร่งการด�ำเนินโรคจนมีพังผืดตับระยะรุนแรง ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปล่ียน
พฤติกรรมในการด�ำรงชีวิตในรูปแบบที่ดีต่อสุขภาพ น่าจะช่วยบรรเทาหรือก�ำจัดโรคร่วมทาง
เมทาบอลิก โดยเฉพาะโรคเบาหวานให้ดีข้ึน ซึ่งเป็นแนวทางส�ำคัญท่ีจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ และความรุนแรงของโรคตับชนิดน้ี เพื่อป้องกัน
ประชาชนชาวไทยไม่เป็นโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในวัยท�ำงาน และรักษาผู้ป่วย
โรคตับเร้ือรังชนิดน้ีไม่ให้มีการด�ำเนินโรครุนแรงก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 95

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตบั ค่ังไขมนั ทไ่ี มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

สรุปผลงานวิจัย

การศึกษาคร้ังนี้ได้ท�ำการสุ่มตัวอย่างเลือดจากการส�ำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทย
จ�ำนวน 4,055 ราย พบประชาชนเป็น NAFLD จ�ำนวน 985 ราย ซึ่งผลวิเคราะห์
ทางพันธุกรรมของ PNPLA3 rs738409, TM6SF2 rs58542926, MBOAT7 rs641738
และ GCKR rs1260326 รวมทั้ง the gene risk score ไม่พบว่าภาวะพหุสัณฐาน
พันธุกรรมของยีนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับ NAFLD และความรุนแรงของโรคโดยตรง
แต่อาจมีผลทางอ้อมผ่านกลไกที่มีผลควบคุมกระบวนการสังเคราะห์และส่งออก
ไตรกลีเซอร์ไรด์และน้�ำตาลกลูโคสจากเซลล์ตับ

9 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การคน้ หาปัจจัยทางพนั ธกุ รรมและเมทาบอลกิ ที่เก่ียวข้องกับพยาธิก�ำ เนดิ
ของโรคตบั ค่งั ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

สรปุ งานวจิ ยั การคน้ หาปจั จยั ทางพนั ธกุ รรมและเมทาบอลกิ ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั พยาธกิ ำ� เนดิ
ของโรคตับคง่ั ไขมันทีไ่ มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์

Identification of genetics and metabolic factors involving in
the pathogenesis of nonalcoholic fatty liver disease

The National Health Examination Survey of 4,055 adults

6.3% of 985 adults with NAFLD had advanced fibrosis
TM6SF2 E>K genotype with type 2 DM

GCKR C>T genotype with hypertriglyceridemia

The risk allele frequency Normal Liver NAFLD
PNPLA3 rs738409 (0.290) Advanced fibrosis
TM6SF2 rs58542926 (0.129)
MBOAT7 rs641738 (0.303) No significant
GCKR rs1260326 (0.358) association

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 97

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตบั คัง่ ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

9 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษา

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผูป้ ่วยโรคตบั ค่งั ไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

Dietary pattern and physical activity of patients
with nonalcoholic fatty liver disease

Research and development of preventive and therapeutic strategies for 99

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION

การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผ้ปู ่วยโรคตบั คงั่ ไขมันทีไ่ มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์
Dietary pattern and physical activity of patients
with nonalcoholic fatty liver disease

บทคดั ย่อภาษาไทย

ความสำ� คัญและทีม่ าของปัญหาการวจิ ยั
ภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยท่ีปรับเปลี่ยนได้ ซ่ึงมีบทบาทส�ำคัญในการป้องกันหรือชะลอการเกิด
โรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ งานวิจัยท่ีผ่านมามุ่งศึกษาสารอาหารหลักแต่ละชนิด
ต่อการเกิดโรค โดยไม่ได้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารในภาพรวม
วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั
ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์กับรูปแบบการบริโภคอาหาร
ระเบียบวิธวี จิ ยั
ผู้วิจัยท�ำการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนชาวไทยอายุ 18 ปีข้ึนไป จ�ำนวน 18,468 ราย ท่ีมาเข้าร่วม
การส�ำรวจสุขภาพประเทศไทย โดยใช้ fatty liver index ในการวินิจฉัยโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้
เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนท่ีดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินระดับเส่ียงและไม่มีโรคตับชนิดอื่น เก็บข้อมูล
การบริโภคอาหารในชีวิตประจ�ำวันโดยใช้แบบสอบถามความถ่ีในการบริโภคอาหารที่เคยมี
การทดสอบความถูกต้องมาก่อน แล้วจึงน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเพ่ือจัดกลุ่มรูปแบบ
หลักในการบริโภคอาหาร

1 0 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกิจกรรมทางกาย
ของผูป้ ่วยโรคตบั คัง่ ไขมันทไ่ี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ผลการวจิ ัย
การวิเคราะห์ชนิดอาหารสามารถจัดรูปแบบการบริโภคอาหารได้ 4 กลุ่ม คือ “high-calorie dietary
pattern”, “healthy dietary pattern”, “protein dietary pattern” และ “traditional
dietary pattern” และพบว่าประชาชนที่มีคะแนน healthy dietary pattern อยู่ในกลุ่มสูงสุด
หน่ึงในสาม มีความเส่ียงต่�ำต่อการเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ เม่ือเปรียบเทียบกับ
ประชาชนในกลุ่มต่�ำสุดหน่ึงในสาม ประชาชนท่ีมีคะแนน high-calorie dietary pattern อยู่ในกลุ่ม
สูงสุดหนึ่งในสาม มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ เมื่อเปรียบเทียบ
กบั ประชาชนในกลมุ่ ตำ่� สดุ หนงึ่ ในสาม การวเิ คราะหส์ ถติ ทิ ค่ี วบคมุ ตวั แปรกวนตา่ ง ๆ พบวา่ “high-calorie
dietary pattern” มีผลส่งเสริมให้เกิดโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในขณะท่ี
“healthy dietary pattern” มีความสัมพันธ์ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภคอาหารรูปแบบ “traditional dietary pattern”
ปริมาณมากมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตับชนิดนี้บ่อยข้ึน ผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายน้อย
เม่ือบริโภค “high-calorie dietary pattern” และ “traditional dietary pattern” มีโอกาส
เป็นโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์มากขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายอย่างมาก
ถ้าบริโภค “healthy dietary pattern” จะลดโอกาสเป็นโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ขอ้ เสนอแนะทไ่ี ด้จากการวจิ ยั
การศึกษาคร้ังน้ีบ่งช้ีว่าการบริโภคอาหารรูปแบบ “healthy dietary pattern” และ “high-calorie
dietary pattern” อาจมีความเก่ียวข้องกับการเกิดโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ซึ่งสามารถน�ำผลการศึกษาไปสร้างแนวทางการส่งเสริมสุขภาพเพ่ือป้องกันการเกิดโรคตับชนิดน้ีต่อไป
คำ� ส�ำคญั
รูปแบบการบริโภคอาหาร, กิจกรรมทางกาย, โรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์,
การวิเคราะห์ปัจจัย

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 101

การวิจยั และพฒั นาแนวทางการป้องกนั และรกั ษา
โรคตับคง่ั ไขมนั ทไ่ี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

บทคดั ย่อภาษาองั กฤษ

Background:
Nutrition is a modifiable risk factor that plays an essential role in preventing or
delaying the onset of nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD). Previous studies have
focused on individual macronutrients, which do not consider combinations of food
consumed. Therefore, we aimed to investigate the relationship between NAFLD and
major dietary patterns.
Methods:
We analyzed data from 18,468 adults in the Thai National Health Examination Survey.
NAFLD was defined using a fatty liver index in participants without significant alcohol
intake or other liver diseases. Regular dietary intake over the preceding year was
assessed using a validated semi-quantitative food frequency questionnaire. Major
dietary patterns were determined by exploratory factor analysis.
Results:
Four dietary patterns, including “high-calorie dietary pattern”, “healthy dietary
pattern”, “protein dietary pattern”, and “traditional dietary pattern” were identifed.
Subjects in the highest tertile of healthy dietary pattern scores had a lower odds
ratio for NAFLD than those in the lowest tertile. Compared with those in the lowest
tertile, people in the highest tertile of “high-calorie dietary pattern” scores had greater
odds for NAFLD. After adjusting for potential confounding factors, “high-calorie
dietary pattern” significantly positively affected NAFLD occurrence. In contrast,
a “healthy dietary pattern” was associated with a decreased risk of NAFLD. Furthermore,
higher consumption of the “traditional dietary pattern” was significantly associated
with NAFLD. Among women with low physical activity, higher consumption of the
“high-calorie dietary pattern” and “traditional dietary pattern” was significantly
associated with NAFLD. Whereas “healthy dietary pattern” was associated with
decreased NAFLD risk among women with high physical activity.

1 0 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผู้ป่วยโรคตับคง่ั ไขมันท่ไี มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์

Conclusion:
This study indicated that healthy and high-calorie dietary patterns might be associated
with NAFLD risk. The results can be used to develop interventions to promote healthy
eating to prevent NAFLD.
Keywords:
Dietary patterns, Physical activity, Nonalcoholic fatty liver disease, Factor analysis

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 103

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษา
โรคตบั คั่งไขมนั ที่ไมไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

บทน�ำ

ผลการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายในปี พ.ศ. 2552 พบคนไทยอายุ 15 ปีข้ึน
ไปมากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน�้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษ
ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยมีความชุกของ
โรคอ้วนสูงสุดเป็นล�ำดับท่ี 3 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียและสิงค์โปร์ รวมทั้ง
ยังพบว่าประชาชนไทยมีน้�ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์หรือโรคอ้วนเพ่ิมมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ซึ่งภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยส�ำคัญ ท�ำให้ตรวจพบการเพ่ิมขึ้นของอุบัติการณ์โรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้
เกิดจากแอลกอฮอล์ ท่ีเรียกว่า nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) ซ่ึงหมายถึง
โรคตับคั่งไขมันในผู้หญิงที่ด่ืมแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยกว่า 140 กรัมต่อสัปดาห์ หรือผู้ชายที่ด่ืม
แอลกอฮอล์น้อยกว่า 210 กรัมต่อสัปดาห์ การส�ำรวจประชาชนไทยในภาคอีสานจ�ำนวน 34,709 ราย
ด้วยเคร่ืองอัลตราซาวนด์พบโรคตับค่ังไขมัน มากถึงร้อยละ 21.9 ที่ส�ำคัญ คือ ผู้ที่มีโรคตับค่ังไขมัน
ชนิดน้ี อาจเกิดการอักเสบภายในเนื้อตับอย่างเร้ือรัง (nonalcoholic steatohepatitis, NASH)
ซ่ึงผู้ป่วยบางรายมีการด�ำเนินโรคเกิดพังผืดสะสมในตับระยะรุนแรง (advanced fibrosis) จนเกิด
ตับแข็ง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันเลือดสูงในระบบไหลเวียนเลือดด�ำพอร์ตัล
(portal hypertension) รวมท้ังผู้ป่วยบางรายเกิดมะเร็งตับปฐมภูมิ (primary liver cancer) เหล่านี้
เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร รวมทั้งจากศึกษาต่าง ๆ
ได้แสดงให้เห็นว่า NAFLD มีพยาธิก�ำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance)
ซ่ึงมีลักษณะทางคลินิกของโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) โดยมีโรคร่วมคือ โรคอ้วน
(obesity) เบาหวาน (diabetes mellitus) ความดันโลหิตสูง (hypertension) และระดับไขมัน
ในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) เป็นต้น โดยภาวะเหล่านี้เป็นปัจจัยเส่ียงส�ำคัญต่อการเกิด
โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาส�ำคัญในเวชปฏิบัติ โดยแนวทางการรักษา NAFLD
ในปัจจุบันมีหลักฐานชัดเจนว่าการลดน้�ำหนักตัว โดยการควบคุมการรับประทานอาหารร่วมกับ
การออกก�ำลังกาย สามารถท�ำให้การสะสมของไขมัน รวมทั้งทั้งการอักเสบและการสะสมของ
งผืดในเน้ือตับลดลง และยังช่วยท�ำให้ภาวะทางเมทาบอลิกต่าง ๆ (metabolic profiles) ได้แก่
ระดับน้�ำตาลและไขมันในเลือดดีขึ้น รวมท้ังการท�ำงานของฮอร์โมนอินซูลินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป็นต้น

1 0 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผ้ปู ่วยโรคตับคง่ั ไขมันที่ไม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์

ปัจจัยส�ำคัญอย่างหน่ึงที่ท�ำให้เกิด NAFLD เกี่ยวข้องกับการรับประทานท่ีมีปริมาณแคลอรี่
มากเกินความต้องการในแต่ละวันจนท�ำให้เกิดการสะสมของไขมันในเนื้อเย่ือชนิดต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม
ผู้ป่วยโรคอ้วนจ�ำนวนหน่ึงเท่าน้ันมีการสะสมของไขมันภายในเนื้อตับมากผิดปกติจนเกิด NAFLD
และผู้ป่วย NAFLD บางรายมีดัชนีมวลกาย (body mass index) อยู่ในระดับปกติ จากการศึกษา
เบื้องต้นท่ีผ่านมาพบว่ารูปแบบการบริโภคอาหาร (dietary pattern) บางประเภทอาจเป็นสาเหตุ
ส�ำคัญท�ำให้เกิด NAFLD ในผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งในปัจจุบันพบว่ารูปแบบการบริโภคอาหารของประชากร
ในหลายประเทศได้เปลี่ยนไปจากในอดีต โดยการรับประทานอาหารท่ีให้พลังงานสูงและมีสัดส่วนมา
จากสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรทและไขมันเป็นส่วนใหญ่ ซ่ึงมักพบในอาหารจานด่วน (fast-food)
ที่มีส่วนประกอบของเนื้อแดงจากสัตว์ใหญ่ (red meat) รวมท้ังเคร่ืองด่ืมน้�ำอัดลมและน�้ำผลไม้
ชนิดต่าง ๆ ที่มีน�้ำตาลในปริมาณสูงเป็นลักษณะอาหารของชาวตะวันตก (Western dietary pattern)
การศึกษาในบุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ของทีมผู้วิจัย พบว่าบุคคลท่ีรับประทาน
ใยอาหารและบริโภคโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม สามารถลดความเส่ียงต่อการเกิดโรคตับ NAFLD
ดังน้ันการรับประทานอาหารมังสวิรัติที่มีโปรตีนเพียงพอ อาจช่วยป้องกันหรือใช้ในการรักษาผู้ป่วย
NAFLD ซ่ึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป และจากข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่ารูปแบบของอาหารน่าจะมี
ความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการบริโภคอาหาร รวมท้ัง
พฤติกรรมการออกก�ำลังกายและกิจกรรมทางกาย ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรต่อการเกิด NAFLD
ในประชาชนไทย จะเป็นข้อมูลส�ำคัญเพ่ือใช้ในการหาแนวทางการรักษา NAFLD ที่เหมาะสม
ส�ำหรับผู้ป่วยชาวไทยต่อไป ท�ำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดในขณะน้ี
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีผลงานวิจัยเชิงระบบและการจัดการความรู้เพ่ือพัฒนาระบบสวัสดิการสังคม
และระบบบริการสุขภาพ (การบริการสังคม การประกันสังคม การช่วยเหลือทางสังคม และการส่งเสริม
หุ้นส่วนทางสังคม) ในภาพรวมของประเทศและระดับพื้นท่ีต่อไป

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 105

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตับคั่งไขมนั ทีไ่ มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ทบทวนวรรณกรรมทเี่ ก่ยี วขอ้ ง

โรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ได้กลายเป็นหน่ึงในสาเหตุของโรคตับเรื้อรังที่
พบเพิ่มมากข้ึนอย่างต่อเน่ืองท่ัวโลก พบความชุกของโรคตับชนิดน้ีร้อยละ 20-30 จนถึงร้อยละ 50
ในบางกลุ่มประชากร(1-3) โดยในชาวเอเชียน้ันพบ NAFLD ได้ถึงร้อยละ 27(3) เนื่องจากลักษณะ
การใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันท่ีพบว่าเป็นรูปแบบ sedentary lifestyle มากขึ้นและนิสัย
การบริโภคที่เปล่ียนแปลงไป ท�ำให้พบโรคอ้วนและกลุ่มโรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
มากย่ิงขึ้นในประชากรท่ัวไป ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิด NAFLD(3-4) จนอาจเรียกได้ว่า
NAFLD เป็นลักษณะทางคลินิกอย่างหนึ่งของ metabolic syndrome ในขณะเดียวกันโรคหัวใจและ
หลอดเลือดก็อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะทางคลินิกในอวัยวะอื่น ๆ ในผู้ป่วย NAFLD ได้เช่นกัน(5-6)
ซึ่งจากความสัมพันธ์ที่กล่าวมาก็ท�ำให้พบผู้ป่วย NAFLD เสียชีวิตจากตับแข็ง รวมทั้งโรคหัวใจและ
หลอดเลือด โดยความเสี่ยงที่ผู้ป่วย NAFLD จะเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าวเพิ่มสูงข้ึนในผู้ป่วย NAFLD
ที่ตรวจพบพังผืดสะสมในตับระดับรุนแรง (advanced fibrosis)(7)
การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและองค์ประกอบของอาหารท่ีผู้ป่วย NAFLD รับประทานในชีวิตประจ�ำ
วัน ช่วยท�ำให้เข้าใจถึงพยาธิก�ำเนิดของโรคตับชนิดน้ีในแต่ละกลุ่มประชากรซ่ึงมีวิถีชีวิตท่ีแตกต่างกัน
โดยพบว่าการรับประทานท่ีมีกรดไขมันไม่อ่ิมตัวกลุ่ม polyunsaturated fatty acids (PUFA) ท�ำให้มี
การเปลี่ยนแปลงภายในตับผ่านหลากหลายกลไก ได้แก่ กระตุ้น peroxisome proliferator-activated
receptor alpha, ส่งเสริมกระบวนการ fatty acids oxidation(8) ลดการควบคุม sterol regulatory
element binding protein-1 ลดกระบวนการ lipogenesis(9) รวมทั้งลดการผลิตสารต่าง ๆ
ในกระบวนการอักเสบ ได้แก่ interleukin-6 และ tumor necrosis factor-alpha(10,11) ซึ่งผล
จากการวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับผลของ Omega-3 PUFA ในผู้ป่วย NAFLD
บ่งช้ีว่าการรับประทาน Omega-3 PUFA เสริม อาจช่วยลดไขมันสะสมในตับที่ประเมินโดยการตรวจ
ภาพรังสีวินิจฉัยหรือการตรวจทางพยาธิวิทยาของเน้ือตับ(12) อย่างไรก็ตามงานวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม
มีกลุ่มควบคุมได้แสดงผลท่ีขัดแย้งจาการศึกษาท่ีผ่านมา โดยงานวิจัยทางคลินิกท่ีให้ผู้ป่วย NAFLD
รับประทาน Omega-3 PUFA เป็นเวลานาน 1 ปี ไม่พบความแตกต่างทางพยาธิสภาพในเน้ือตับ
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยท่ีรับประทานยาหลอก แม้ว่ากลุ่มผู้ป่วยท่ีรับประทาน Omega-3 PUFA
จะพบปริมาณไขมันที่สะสมภายในตับลดลง โดยประเมินด้วยภาพสะท้อนคล่ืนรังสีแม่เหล็ก(13)
นอกจากน้ียังมีงานวิจัยสหสถาบันแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม ให้ผู้ป่วย NASH รับประทาน
ethyl-eicosapentanoic acid เป็นเวลานาน 12 เดือน ก็ไม่พบประโยชน์จากสารน้ีท่ีจะช่วยให้
พยาธิสภาพของเนื้อตับดีขึ้น(14) จากหลักฐานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารอาหาร
ชนิดน้ี สามารถลดการสะสมไขมันภายในตับ เมื่อประเมินด้วยภาพรังสีวินิจฉัย แต่ไม่ช่วยท�ำให้เกิด
การเปล่ียนแปลงทางพยาธิสภาพของเนื้อตับดีขึ้น จึงไม่แนะน�ำให้มีการรับประทาน PUFA เสริม
ในผู้ป่วย NAFLD

1 0 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผปู้ ว่ ยโรคตับค่งั ไขมันท่ไี ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์

การรับประทานคาร์โบไฮเดรต อาจท�ำให้โรคตับชนิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงข้ึน การวิเคราะห์
ข้อมูลจากการศึกษา Framingham Heart พบการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้�ำตาลเพิ่มความหวาน
มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบไขมันสะสมในตับเม่ือประเมินด้วยภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(15)
นอกจากน้ียังพบว่าการบริโภคน�้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณสูง มีความสัมพันธ์กับการตรวจเลือด
พบสารบ่งชี้การสะสมของพังผืดในตับเพิ่มข้ึน(16) อย่างไรก็ตามการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
และการวิเคราะห์อภิมาน พบว่าการรับประทานอาหารท่ีมีแคลอรี่มาจากน�้ำตาลฟรุกโตสทดแทน
คารโ์ บไฮเดรตแหลง่ อนื่ ไมส่ ง่ ผลทำ� ใหเ้ กดิ NAFLD(17) ขอ้ มลู เหลา่ นแี้ สดงใหเ้ หน็ วา่ การศกึ ษาถงึ ผลกระทบ
การรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตปริมาณต�่ำในผู้ป่วย NAFLD ยังไม่ได้
ข้อสรุปที่ชัดเจน การศึกษาวิจัยแบบสุ่มในผู้ป่วยโรคอ้วน จ�ำนวน 170 ราย ให้รับประทานอาหารท่ีมี
แคลอรี่ต�่ำโดยมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตในปริมาณต่�ำ เปรียบเทียบอาหารท่ีมีไขมันต�่ำ เป็นเวลา
6 เดือน พบน้�ำหนักตัวลดลง หรือ ปริมาณไขมันท่ีสะสมในตับเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกันระหว่าง
อาหารท้ังสองประเภท(18) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบในผู้ป่วย 56 ราย
ที่ได้รับการตรวจชิ้นเน้ือตับยืนยันการวินิจฉัย NAFLD พบว่าการรับประทานอาหารไขมันต่�ำ
หรือ คาร์โบไฮเดรตต�่ำร่วมกับการออกก�ำลังกาย ช่วยท�ำให้การเปล่ียนแปลงทางพยาธิสภาพภายใน
เนื้อตับมีปริมาณไขมันและการอักเสบลดลงไม่แตกต่างกัน(19) ซึ่งผลจากการศึกษาเหล่านี้ยังไม่ได้
ข้อสรุปท่ีชัดเจนว่าปริมาณไขมันภายในตับท่ีลดลงน้ันเก่ียวข้องกับการลดน�้ำหนักหรือการลดลง
ของสารอาหารจ�ำเพาะบางประเภท จึงต้องท�ำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบต่อไป
อาหารท่ีมีสัดส่วนโปรตีนในปริมาณสูง มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้�ำหนักตัวให้อยู่คงตัวได้ดีข้ึน(20)
จึงอาจมีประโยชน์กับผู้ป่วย NAFLD การศึกษาติดตามผู้ป่วยจ�ำนวน 37 ราย ที่ถูกสุ่มให้รับประทาน
อาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งได้มาจากพืช หรือเนื้อสัตว์โดยมีปริมาณแคลอร่ีในอาหารเท่ากับท่ีควรได้
ในแต่ละวันตามปกติ เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีปริมาณไขมันสะสมในตับลดลงระหว่าง
ร้อยละ 36-48 เม่ือประเมินด้วยการตรวจเสียงสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(21) โดยการลดลงดังกล่าว
แปรผันตรงกับการเปลี่ยนแปลงของน�้ำหนักตัว รวมทั้งผู้ป่วยท้ังสองกลุ่มมีผลตรวจเลือดบ่งชี้ภาวะ
ด้ืออินซูลินและการอักเสบทั่วร่างกายลดลง(21) นอกจากนี้ยังมีอีกการศึกษาหน่ึงที่ติดตามผู้ป่วย
NAFLD จ�ำนวน 60 ราย ที่รับประทานอาหารแคลอร่ีต่�ำแต่มีใยอาหารและปริมาณโปรตีนท่ีสูง พบว่า
ปริมาณไขมันท่ีสะสมในตับลดลงอย่างชัดเจนเมื่อท�ำการตรวจประเมินด้วย transient elastography
รวมทั้งความหยืดหยุ่นของเน้ือตับท่ีบ่งชี้พังผืดสะสมในตับ ซีร่ัม gamma-glutamyl transpeptidase
และไขมันในเลือดลดลงอย่างชัดเจน(22) อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพ่ิมเติ่มเพ่ือประเมิน
การรับประทานอาหารโปรตีนสูงในระยะยาวว่ามีผลอย่างไรกับผู้ป่วย NAFLD
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมางานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารรูปแบบ
Mediterranean ซึ่งอุดมไปด้วย monounsaturated fatty acids และ PUFA รวมทั้ง aromatic
compound ได้แก่ polyphenols น่าจะมีประโยชน์กับผู้ป่วย NAFLD(47) ซึ่งแนวทางการรักษา
NAFLD โดยสมาคมโรคตับและเบาหวานของกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปได้แนะน�ำให้การรับประทาน
อาหารแบบ Mediterranean เป็นทางเลือกท่ีดีส�ำหรับผู้ป่วย NAFLD(23) การศึกษาผู้ป่วยชาวสเปน

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 107

การวิจยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษา
โรคตับคั่งไขมันที่ไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

จ�ำนวน 82 ราย ที่ได้รับการตรวจช้ินเนื้อตับยืนยันการวินิจฉัย NAFLD พบว่าผู้ป่วยท่ีรับประทาน
อาหารแบบ Mediterranean อย่างต่อเน่ืองมีความเสี่ยงต่อการเกิด NASH น้อยลง(24) ซ่ีงผลจาก
การวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาในผู้ป่วยชาวกรีกที่รับประทานอาหารชนิดน้ี(25) พบว่า
มีความเสี่ยงต่อการเกิด NASH น้อยลงถึงร้อยละ 36 การศึกษาแบบสุ่มและมีการสลับกลุ่มรับ
ประทานอาหารแบบ Mediterranean ที่มีปริมาณไขมันต่�ำเป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ ในผู้ป่วย 12 ราย
ที่การตรวจพยาธิสภาพยืนยันการวินิจฉัย NAFLD ได้แสดงให้เห็นว่าความไวของอินซูลินดีขึ้น
ร่วมกับปริมาณไขมันที่สะสมภายในตับลดลง ประเมินโดยภาพสะท้อนคล่ืนรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า(26)
สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยแบบสุ่มในผู้ป่วยจ�ำนวน 98 ราย ให้รับประทานอาหารแบบ Mediterranean
เป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าไขมันท่ีสะสมภายในตับลดลง ประเมินโดยการตรวจอัลตราซาวนด์(27)
แม้ว่าผลจากการศึกษาเหล่าน้ี จะแสดงให้เห็นประโยชน์ของการรับประทานอาหารแบบ
Mediterranean ในผู้ป่วย NAFLD แต่ยังคงต้องศึกษาติดตามผู้ป่วยจ�ำนวนมากว่ามีผลอย่างไร
ทางคลินิก รวมท้ังสามารถช่วยท�ำให้การเปล่ียนแปลงพยาธิสภาพในเนื้อตับให้ดีข้ึนได้อย่างไร
หลักฐานจากงานวิจัยต่าง ๆ บ่งชี้ว่าการลดน้�ำหนักตัวอย่างน้อยร้อยละ 5 สามารถท�ำให้ NAFLD
ดีข้ีน และถ้าสามารถท�ำให้น�้ำหนักตัวลดลงได้ร้อยละ 7-10 จะส่งผลช่วยท�ำให้ NASH และพังผืด
ภายในตับดีข้ึน การรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตลดลง หรือ การรับประทานอาหาร
รูปแบบ Mediterranean เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่มีประสิทธิภาพช่วยลดปริมาณ
แคลอร่ีในอาหาร และท�ำให้เกิดการเปล่ียนแปลงภายในตับท่ีดีข้ึน อย่างไรก็ตามต้องท�ำการศึกษา
ถึงการรับประอาหารรูปแบบต่าง ๆ ในประชาชนชาวไทยว่ามีลักษณะอย่างไรท่ีส่งเสริมท�ำให้เกิด
NAFLD และรูปแบบการบริโภคอาหารอย่างไรที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคตับชนิดนี้ ซ่ึงผลจาก
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะได้ข้อมูลส�ำคัญในการให้ค�ำแนะน�ำเพ่ือการป้องกันและรักษา NAFLD
เพ่ือเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุโดยปราศจากโรคนี้
กิจวัตรประจ�ำวันและการออกก�ำลังกายเป็นสิ่งส�ำคัญในการป้องกันการเกิด NAFLD และ
การรักษาผู้ป่วยโรคน้ี เน่ืองจากการออกก�ำลังกายส่งผลลดปริมาณกรดไขมันอิสระที่เข้าสู่ตับ
ช่วยลดการสะสมของไขมันภายในตับ(28) การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise)
มีผลกระตุ้นการย่อยสลายไขมันในร่างกาย โดยเร่งการท�ำงาน uncoupling protein 1 และ
peroxisome proliferator-activated receptor-gamma pathway ซ่ึงช่วยลดการสะสม
ไขมันภายในตับ(29) รวมทั้งการออกก�ำลังกายส่งผลให้ระดับ Adipokine มีการเปลี่ยนแปลงในทาง
ที่ดีข้ึน โดยเฉพาะการออกก�ำลังกายแบบแรงต้าน (resistance exercise) ส่งผลให้ type II muscle
fiber เพ่ิมขึ้น ซ่ึงช่วยปรับเปลี่ยนระดับ myokine และกระตุ้น glucose transporter 4 ส่งผลให้
เนื้อเย่ือตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น(29) การศึกษาท่ีผ่านมายังพบว่าประชากรท่ีเดินออกก�ำลังกาย
อยา่ งสมำ่� เสมอ โดยมกี ารก้าวเดินในแต่ละวนั มากกวา่ 10,000 ขนึ้ ไป มีความเส่ยี งต่อการเกิดโรค NAFLD
น้อยกว่าบุคคลที่ไม่ค่อยลุกเดิน ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้เวลากับการน่ังท�ำงานในแต่ละวัน

1 0 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผปู้ ่วยโรคตับค่งั ไขมันทีไ่ ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ข้อมูลเก่ียวกับความถี่ ระยะเวลา และความหนักของการออกก�ำลังกาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต
ประจ�ำวันเพ่ือช่วยท�ำให้ผู้ป่วย NAFLD ดีข้ึนนั้นยังมีไม่มากนัก การวิเคราะห์ข้อมูลของอาสาสมัคร
ท่ีอยู่ในโครงการวิจัย Framingham Heart ซ่ึงออกก�ำลังกายในระดับปานกลางถึงอย่างหนัก
เป็นเวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ พบมีไขมันสะสมภายในตับน้อยเม่ือประเมินด้วยเอกซเรย์
คอมพิวเตอร์(30) อีกการศึกษาหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการออกก�ำลังกายท่ีมีความหนักระดับปานกลาง
ถึงอย่างหนัก เป็นเวลาอย่างน้อย 250 นาทีต่อสัปดาห์ ช่วยท�ำให้ไขมันสะสมภายในตับและดัชนี
บ่งชี้การอักเสบเปล่ียนแปลงได้มากท่ีสุด(31) แต่ข้อมูลก็ยังไม่ชัดเจนว่าการออกก�ำลังกายที่หนักข้ึน
จะเพิ่มประโยชน์ในการลดปริมาณไขมันภายในตับ มากกว่าการออกก�ำลังกายระดับปานกลาง
ได้อย่างไร การศึกษาแบบสุ่มให้ผู้ป่วย NAFLD จ�ำนวน 48 ราย ที่ออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค
ในระดับความหนักน้อยถึงมาก ระดับหนัก และระดับหนักมาก ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ
ไขมันภายในตับ(32) สอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มแบบควบคุมที่แสดงให้เห็นว่า
การออกก�ำลังกายอย่างหนักมากไม่ได้มีผลช่วยลดการสะสมไขมันภายในตับที่ประเมินโดย
ภาพสะท้อนคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ดีกว่าการออกก�ำลังกายในระดับปานกลางเป็นระยะเวลา
12 เดือน(33) อย่างไรก็ตามการศึกษาเหล่าน้ีติดตามผู้เข้าร่วมโครงการที่ออกก�ำลังกายในระยะสั้น
เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากชีวิตประจ�ำวัน ดังนั้นจึงมีการศึกษาติดตามผู้ป่วย NAFLD ที่วินิจฉัยโรค
โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ พบว่าการออกก�ำลังกายเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาอย่างน้อย
10 นาที พบ NAFLD หายไป ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ติดตามผู้ป่วย(34)
ข้อสรุปจากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นบ่งช้ีว่าพฤติกรรมการบริโภค และกิจกรรมทางกายซึ่งรวมถึง
การออกก�ำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ มีผลต่อการเกิด NAFLD ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบ
การบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกายในประชาชนไทยที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ว่ามีผลอย่าง
ไรต่อการเกิด NAFLD จะช่วยให้เข้าใจวิถีชีวิตท่ีส่งผลต่อการด�ำเนินโรคของ NAFLD และน�ำไปสู่
การให้ค�ำแนะน�ำส�ำหรับการป้องกันและการดูแลรักษา NAFLD ซึ่งก�ำลังเป็นโรคเจ็บป่วยส�ำคัญ
ที่ท�ำให้ประชาชนไทย เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 109

การวิจยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตบั คัง่ ไขมนั ท่ไี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

ระเบียบวธิ ดี �ำเนินการวิจัย

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษา NAFLD ในประชาชนชาวไทย เพ่ือให้ได้ผลงาน
วิจัยเชิงระบบจากชุมชุนท่ัวประเทศโดยตรง ซึ่งจะน�ำไปสู่การจัดการความรู้เกี่ยวกับโรคตับชนิดน้ี
เพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและระบบบริการสุขภาพ ส�ำหรับผู้ป่วย NAFLD ในภาพรวม
ของประเทศและระดับพื้นท่ี ผ่านการศึกษาในโครงการวิจัยน้ี ที่มุ่งส�ำรวจสุขภาพของประชากรไทย
อย่างเป็นระบบให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยร่วมกับส�ำนักงานส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ท�ำการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย (Thai
National Health Examination Survey) ในกลุ่มตัวอย่างท่ีได้จากการสุ่ม (multi-stage random
sampling) จากประชากรไทยท่ีอาศัยใน 20 จังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพฯ ท่ีมีอายุต้ังแต่ 18 ปี
ข้ึนไป ท�ำการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยของภาคต่าง ๆ
1) เก็บข้อมูลการรับประทานอาหาร โดยประเมินชนิดอาหารตามที่รับประทานในหมวดต่าง ๆ
2) เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการส�ำรวจการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากร โดยการส�ำรวจ

การบริโภคเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล์ใช้แบบสอบถามท่ีปรับจากแบบขององค์การอนามัยโลก
โครงการ STEP survey ซึ่งมีการถามการดื่มเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ใน 12 เดือนท่ีผ่านมา การดื่มใน
30 วันท่ีผ่านมา และปริมาณที่ด่ืมหน่วยเป็นด่ืมมาตรฐานใน 30 วันท่ีผ่านมา สามารถค�ำนวณ
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ด่ืมต่อวันใน 30 วันที่ผ่านมา และการดื่มอย่างหนักใน 30 วันที่ผ่านมา
น�ำมาจัดกลุ่มความเส่ียงของการบริโภคแอลกอฮอล์ตามปริมาณน้�ำหนัก ethanol ท่ีด่ืม
3) เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบ ได้แก่ การสูบบุหรี่ในปัจจุบัน และการสูบเป็นประจ�ำ
อายุท่ีเริ่มสูบบุหร่ีจ�ำนวนบุหรี่ท่ีสูบต่อวัน การเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น
4) เก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายท่ีมีการใช้พลังงาน
การสำ� รวจสขุ ภาพประชาชนไทยครง้ั นใี้ ชแ้ บบสอบถาม Global Physical Activity Questionnaire
(GPAQ) version 2 และมีการถามความหนักเบาของการใช้แรงกาย (intensity) โดยแบ่ง
ความหนักเบา เป็นกิจกรรมอย่างหนัก และกิจกรรมปานกลาง ระยะเวลาท่ีมีกิจกรรมเป็นนาที
ต่อวัน และความถ่ีของการมีกิจกรรมเป็นวันต่อสัปดาห์
5) เก็บข้อมูลเก่ียวกับโรคประจ�ำตัวต่าง ๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมัน
ในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง รวมท้ังประวัติโรคต่าง ๆ ท่ีได้รับ
การวินิจฉัยจากแพทย์
6) ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการตรวจชั่งน�้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบเอวและสะโพก และวัดความดัน
โลหิต โดยบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูล
7) ตรวจเลือด ได้แก่ complete blood count, fasting plasma glucose, HbA1C, total
cholesterol, triglyceride, HDL-C, LDL-C, blood urea nitrogen, creatinine, และ liver
enzymes (SGOT, SGPT, alkaline phosphatase, gamma-glutamyl transpeptidase,
total bilirubin, albumin, globulin)
8) น�ำผลตรวจเลือดและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยไปค�ำนวณตามระบบคะแนนเพื่อการวินิจฉัย
NAFLD คือ fatty liver index

1 1 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผู้ป่วยโรคตบั คั่งไขมันทไี่ ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

9) น�ำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์รูปแบบการบริโภคอาหารและกิจกรรมประจ�ำวัน ต่อการเกิด NAFLD
ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งน้ีเก่ียวกับพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายของประชาชนไทย
ต่อการเกิด NAFLD จะเป็นข้อมูลส�ำคัญเพื่อใช้ในการวางแนวทางการรักษาและป้องกัน
โรค NAFLD ท่ีมีเหมาะสมส�ำหรับประชาชนชาวไทยต่อไป

การประเมินชนดิ อาหารตามทร่ี ับประทานในหมวดต่าง ๆ

ข้อมูลการรับประทานอาหารจะถูกประเมินโดยพยาบาลที่ผ่านการอบรมด้านโภชนาการ ที่ไม่ทราบ
ลักษณะทางคลินิกของผู้เข้าร่วมวิจัย เพื่อประเมินชนิดอาหารตามท่ีรับประทานในแต่ละวัน ดังแสดง
ในตาราง ซ่ึงข้อมูลอาหารท่ีรับประทานดังกล่าวจะถูกประเมินเป็นรูปแบบอาหาร (dietary pattern)
ตามสัดส่วนหลักในอาหารตาม food factor score

Food groups Food items

Meat Lean pork/beef, chicken/duck without skin
Fatty meat Meat with fat, chicken/duck with skin, streaky pork
Processed meat with high fat Processed meat high in fat, that is, sausage, Thai style
sausage, Chinese sausage, sour sausage, bacon, ham,
Processed meat with high salt Vietnamese ham
Processed meat high in salt, that is, meat floss, salted
Fish fish, salted sun-dried beef/pork/fish
Shellfish and squid Fresh-water fish, salt-water fish, and so forth
Crustacean and mollusk seafood, that is, shrimp, crab,
Animal organ squid, clam, and so forth
Egg Liver, blood jelly, intestine, gizzard, and so forth
Beans Egg
Beans and its products, that is, mung bean, soybean,
Rice peanut, tofu, Kaset protein
Wheat Polished rice
Fried food Whole wheat, whole grain bread
Fried pork, fried chicken, friend banana, friend potato,
Food with coconut milk fried meat ball, fish cake, and so forth
Any dishes cooked with coconut milk, that is, spicy curry
with coconut milk, green beef curry with coconut milk,
and so forth

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 111

การวจิ ยั และพฒั นาแนวทางการป้องกันและรักษา
โรคตับค่งั ไขมันท่ีไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

Food groups Food items

Fermented fish/soybean Condiment of fermented fish, southern style fish sauce,
Thai style fermented soybean, and so forth
Friuts Fresh fruits, that is, orange, banana, guava, ripe papaya,
pineapple, longan, watermelon, sugar apple, grapes,
Milk rambutan
Soy milk Milk
Beverage Soy milk
Vegetables Soda beverage
Chinese kale, cauliflower, cabbage, ivy gourd, sponge
gourd, Thai water morning glory, green onion

การประเมินและการแปลผลระบบคะแนนท่ใี ช้ในการวินจิ ฉัย NAFLD

น�ำผลตรวจเลือดและลักษณะทางคลินิกต่าง ๆ ของผู้ป่วยมาค�ำนวณตามระบบคะแนนเพื่อวินิจฉัย
NAFLD คือ fatty liver index ตามสูตรท่ีแสดงในตารางดังนี้

ระบบคะแนน สตู รคำ�นวณ ปจั จัย (หนว่ ย) เกณฑก์ ารวนิ ิจฉัย เอกสารอ้างอิง

Fatty liver (e(0.953 * Loge(TG) + 0.139 * BMI + 0.718 BMI (kg/m2) ≥60 ในการ Bedogni et.
index )/(1* Loge(GGT) + 0.053 * (WC)-15.745) WC (cm) วินิจฉัยภาวะไขมนั al., 2006(21)
+ e(0.953 * Loge(TG) + 0.139 * BMI + TG (mmol/L) คง่ั ในตับ
)0.718 * Loge(GGT) + 0.053 * (WC)-15.745) GGT (U/L)
* 100

BMI, body mass index; GGT, gamma glutamyl-transpeptidase; TG, triglyceride; WC, waist circumference

ผ้รู ่วมวจิ ยั /อาสาสมัคร
การค�ำนวณขนาดตัวอยา่ ง
การศึกษานี้ใช้ตัวอย่างประชากรที่ได้มาจากการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยใช้แผนแบบการเลือก
ตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิสี่ขั้น (stratified four-stage sampling) ซึ่งเป็นแผนแบบการเลือกตัวอย่าง
แบบใช้ความน่าจะเป็น โดยมีกรุงเทพมหานคร และภาคจ�ำนวน 4 ภาคเป็นสตราตัม และในแต่ละ
สตราตัม ได้ท�ำการแบ่งออกเป็น 12 สตราตัมย่อย ตามลักษณะการปกครองของกรมการปกครอง
(คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล) กลุ่มอายุ และเพศ ยกเว้นกรุงเทพมหานครจะแบ่งออก
เป็น 6 สตราตัมย่อย ตามกลุ่มอายุ และเพศ ได้จ�ำนวนสตราตัมย่อยรวมท้ังสิ้น 27 สตราตัมย่อย
ซ่ึงการก�ำหนดขนาดตัวอย่างเพื่อให้สามารถน�ำเสนอผลได้ทุกสตราตัม ได้ก�ำหนดขนาดตัวอย่าง
ในแต่ละสตราตัมอย่างอิสระต่อกัน และท�ำการค�ำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมส�ำหรับการประมาณ
ค่าสัดส่วนประชากร โดยใช้สูตรการค�ำนวณขนาดตัวอย่างดังนี้

1 1 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผปู้ ่วยโรคตบั ค่ังไขมนั ท่ีไมไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์

n= k2r(1-r) x 1 x ƒ ;E = E’r
E2 response rate

โดยที่ n = ขนาดตัวอย่าง
k = ค่าคงท่ีของระดับความเชื่อมั่นท่ี 1 - α
r = สัดส่วนตัวช้ีวัดส�ำคัญที่ต้องการศึกษา
E = ขนาดของความคลาดเคล่ือน (margin of error)
E’ = ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ (relative margin of error)
Response rate = อัตราการให้ความร่วมมือ
ƒ = ค่าคงท่ีส�ำหรับการปรับขนาดตัวอย่างกรณีใช้แผนแบบการเลือกตัวอย่างหลายขั้น

(sample design effect)
ดังน้ัน เน่ืองจากโครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรม
ทางกาย ที่มีความส�ำคัญต่อการเกิด NAFLD ในประชากรไทย เน่ืองจากประชาชนชาวไทยในแต่ละ
ภูมิภาคมีวัฒนธรรมการบริโภคและกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวันตามขนบธรรมเนียมท่ีหลากหลาย
ซ่ึงอาจมีผลต่อการเกิด NAFLD และการด�ำเนินโรคตับท่ีแตกต่างกัน ดังนั้นโครงการวิจัยน้ี
จะใช้ข้อมูลท่ีได้จากการส�ำรวจประชากรอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย
จ�ำนวน 18,588 ราย

เกณฑ์การคัดเลอื กผรู้ ่วมวจิ ยั /อาสาสมคั ร

1. ประชาชนที่มีถ่ินฐานประจ�ำในพื้นท่ีตามแบบแผนการคัดเลือกตัวอย่างในการส�ำรวจ
2. ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 18 ปี

เกณฑก์ ารคัดออกผรู้ ่วมวจิ ยั /อาสาสมัคร

1. ประชานที่ไม่สามารถให้ข้อมูล การตรวจสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภค กิจกรรมทางกาย และ
การตรวจเลือดประเมินสุขภาพ

2. ประชาชนท่ีไม่ประสงค์เข้าร่วมการส�ำรวจสุขภาพ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 113

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตับค่งั ไขมันทีไ่ ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

การวิเคราะหผ์ ลการวจิ ยั
ผลลัพธ์หลกั ของการศึกษา
• ความสัมพันธ์ของรูปแบบการบริโภคอาหาร (dietary pattern) กับการเกิด NAFLD ในประชาชน

ชาวไทย

ผลลัพธ์รองของการศึกษา

• ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกาย (physical activity) ร่วมกับรูปแบบการบริโภคอาหาร
กับการเกิด NAFLD ในประชาชนชาวไทย

สถติ ิท่ีใช้ในการด�ำเนินงานวิจัย

• ท�ำการวิเคราะห์สถิติด้วยโปรแกรม STATA version 14.0 (StataCorp LP, College Station,
Texas, USA)

• การวิเคราะห์ทางสถิติมีการถ่วงน้�ำหนัก (weight) ข้อมูลประชากรเพื่อน�ำเสนอผลการส�ำรวจ
ประชากรในรูปแบบที่มีการสุ่มตัวอย่างที่ซับซ้อน (complex sampling design)

• น�ำเสนอข้อมูลต่อเนื่อง (continuous variables) ท่ีมีการแจกแจงแบบปกติน�ำเสนอ
เป็นค่าเฉล่ียและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และน�ำเสนอค่ามัธยฐานและค่าที่ร้อยละ 25 และ 75
ถ้ามีการแจกแจงข้อมูลแบบไม่ปกติ

• น�ำเสนอข้อมูลแจงนับ (categorical variables) น�ำเสนอเป็นความถ่ีและร้อยละ
• ใช้สถิติ Chi-square test หรือ Fisher exact test ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย

เชิงคุณภาพ
• ใช้สถิติ Student t-test หรือ Mann-Whitney U-test ในการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณ

ระหว่างกลุ่ม
• ใช้สถิติ logistic regression analysis เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการบริโภคอาหาร

ร่วมกับกิจกรรมทางกาย ต่อการเป็น NAFLD โดยควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวกวนต่อผล
การศึกษานำ� เสนอความสมั พนั ธ์ในรปู แบบ odds ratio (OR) และ 95% confidence interval (CI)

1 1 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกิจกรรมทางกาย
ของผู้ป่วยโรคตับคัง่ ไขมนั ท่ไี มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ผลการวจิ ัย

ขอ้ มูลการส�ำรวจประชากรไทย
การส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งน้ี เพื่อการวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษาโรคตับ
ค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย ได้ด�ำเนินการร่วมกับแผนงานส�ำรวจสุขภาพ
ประชาชนไทย ส�ำนักงานวิจัย เพ่ือการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
โดยความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์หลักของการส�ำรวจฯ
คือ แสดงความชุกของโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์และปัจจัยเส่ียงทางสุขภาพที่สำ� คัญ
ในระดับประเทศ ตัวอย่าง multi-stage random sampling จากประชากรไทย ที่อาศัยใน 20 จังหวัด
ทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร ในประชากรอายุ 18 ปี ข้ึนไป จ�ำนวน 18,588 ราย ด�ำเนินการ
เก็บข้อมูลภาคสนาม เม่ือตุลาคม 2563 ถึง มิถุนายน 2564 ผลการส�ำรวจได้ผู้เข้าร่วม การศึกษาตอบ
แบบสอบถามเกย่ี วกบั พฤตกิ รรมการบรโิ ภคอาหาร จำ� นวน 18,468 ราย คดิ เปน็ อตั ราตอบกลบั รอ้ ยละ 99.4
ผลการส�ำรวจมี ดังน้ี

พฤตกิ รรมสุขภาพ

การดมื่ เครื่องด่ืมแอลกอฮอล์ (Alcohol consumption)

ความชุกของการด่ืมเคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป การดื่มใน รอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 45.3 (ชายร้อยละ 60.7 หญิงร้อยละ 31.0) การดื่มในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ 33.6
(ชายร้อยละ 49.4 หญิงร้อยละ 18.9) การด่ืมปริมาณแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงปานกลางข้ึนไป ใน 30 วัน
ท่ีผ่านมา (ชาย ≥41 กรัม /วัน) เพศชาย ร้อยละ 27.5 ส่วนในเพศหญิง (≥21 กรัม/วัน) ร้อยละ 6.5
ผู้ชายท่ีอาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตฯ ด่ืมในระดับเส่ียงปานกลางขึ้นไปเท่าเทียมกัน (ร้อยละ 15.4
และ ร้อยละ 17.2 ตามล�ำดับ) ส�ำหรับผู้หญิงนอกเขตเทศบาลมีความชุกการดื่มระดับเสี่ยงปานกลาง
เท่าเทียมกับในเขตฯ (ร้อยละ 6.6 และ 6.3 ตามล�ำดับ) ความชุกของการด่ืมเครื่องด่ืมแอลกอฮอล์
ในระดบั ติดสรุ า (alcohol dependence) ของการสำ� รวจครง้ั นี้ มีร้อยละ 0.78 (ชายร้อยละ 1.5 และ
หญิงร้อยละ 0.1)

การสบู บุหร่ี (Smoking)

ความชุกของการสูบบุหร่ีในประชากรไทยอายุ 18 ปีข้ึนไป สูบในปัจจุบันร้อยละ 19.4 (ชายร้อยละ 37.3
และหญิงร้อยละ 2.9) การสูบเป็นประจ�ำตามกลุ่มอายุในเพศชาย ความชุกเร่ิมตั้งแต่ร้อยละ 22.4
ในกลุ่มอายุ 18-29 ปี และเพิ่มข้ึนตามอายุ สูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 32.6 ความชุก ลดลง
เม่ืออายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าร้อยละ 16.4 ของผู้สูงอายุชายยังคงสูบบุหรี่อยู่ ส่วนในเพศหญิง
ความชุกของการสูบบุหร่ีสูง ในผู้สูงอายุ โดยสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี (ร้อยละ 31.7)

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 115

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตบั ค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
ภาวะอ้วน (Obesity)

ความชุกของภาวะอ้วน (BMI ≥25 กก./เมตร2) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 44.9
(ชายร้อยละ 40.3 และ หญิงร้อยละ 49.2) ความชุกในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ (ในชาย
ร้อยละ 44.8 และ 37.9 ในหญิงร้อยละ 50.5 และ 48.5 ตามล�ำดับ) โดยผู้ชายและผู้หญิง
ในภาคกลาง มีสัดส่วนสูงสุด (ในผู้ชายร้อยละ 48.3 และผู้หญิงร้อยละ 53.3)
ความชกุ ของภาวะอว้ นลงพุง (รอบเอว ≥90 ซม. ในชาย และ ≥80 ซม. ในหญิง) มรี อ้ ยละ 29.3 ในผชู้ าย
และร้อยละ 53.1 ในผหู้ ญงิ ความชุกในเขตเทศบาล (ชายรอ้ ยละ 36.1 และหญิงร้อยละ 57.5) สงู กวา่
นอกเขตเทศบาล (ชายรอ้ ยละ 25.7 และหญงิ รอ้ ยละ 50.5) โดยผชู้ ายและผหู้ ญงิ ในกรงุ เทพฯ มสี ดั สว่ นสงู สดุ

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

ความชุกของโรคเบาหวาน (เคยไดร้ ับการวนิ จิ ฉยั เปน็ เบาหวาน หรอื ระดับพลาสมากลูโคส ≥126 มก./ดล.
หรือ HbA1C ≥6.5%) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 16.0 ความชุกในผู้หญิงสูงกว่า
ในผู้ชาย (ร้อยละ 17.1 และ 14.8 ตามล�ำดับ) ความชุกต่�ำสุดในคนอายุน้อยและเพิ่มข้ึนตามอายุ
ที่สูงข้ึนและสูงท่ีสุดในกลุ่มอายุ 60-69 ปี ในผู้ชาย (ร้อยละ 25.8) และในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ผู้หญิง
(ร้อยละ 31.9) จากน้ันความชุกลดลงเม่ืออายุมากข้ึน ความชุกของเพศชายท่ีอาศัยในเขตเทศบาล
สูงกว่านอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 17.9 และร้อยละ 13.2 ตามล�ำดับ) ในขณะที่เพศหญิงที่อาศัยอยู่ใน
เขตเทศบาลเท่าเทียมกับนอกเขต (ร้อยละ 17.2 และร้อยละ 17.1 ตามล�ำดับ) เม่ือพิจารณาตามภาค
ผู้ชายในกรุงเทพฯมีความชุกสูงที่สุด (ร้อยละ 20.5) รองลงมาคือ ภาคกลาง (ร้อยละ 18.2) ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ (ร้อยละ 13.9) ภาคเหนือ (ร้อยละ 12.4) และภาคใต้ (ร้อยละ 10.1) ตามล�ำดับ
สว่ นในผหู้ ญงิ พบวา่ กรงุ เทพฯมคี วามชกุ สงู สดุ เชน่ กนั (รอ้ ยละ 20.0) รองลงมาคอื ภาคกลาง (รอ้ ยละ 18.3)
ภาคเหนือ (ร้อยละ 17.6) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 17.3) และภาคใต้ (ร้อยละ 11.7)

โรคความดนั โลหิตสูง (Hypertension)

ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง (ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน หรือตรวจวัด
ความดันโลหิตพบระดับ systolic blood pressure ≥130 มม.ปรอท และหรือ diastolic blood
pressure ≥85 มม.ปรอท) ในประชากรอายุ 18 ปีข้ึนไป มีร้อยละ 36.9 (ผู้ชายร้อยละ 42.1 และ
ผู้หญิงร้อยละ 32.1) โดยความชุกของโรคต�่ำสุดในกลุ่มอายุ 18-29 ปี ร้อยละ 13.1 (ผู้ชายร้อยละ 21.7
และผู้หญิงร้อยละ 4.0) จากน้ันเพ่ิมขึ้นตามอายุและสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีข้ึนไป (ผู้ชายร้อยละ 73.1
และผู้หญิงร้อยละ 74.0) ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลและนอกเขตฯ ใกล้เคียงกัน
(ร้อยละ 35.8 และร้อยละ 37.6 ตามล�ำดับ) ภาคเหนือมีความชุกสูงท่ีสุด ร้อยละ 39.2 (ผู้ชายร้อยละ
44.2 และผู้หญิงร้อยละ 34.7) รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 37.9) ภาคกลาง
(ร้อยละ 37.8) กรุงเทพฯ (ร้อยละ 34.0) และภาคใต้ (ร้อยละ 31.8)

1 1 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผปู้ ว่ ยโรคตบั คง่ั ไขมนั ทไ่ี ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

ภาวะไขมันในเลือดผดิ ปกติ (Dyslipidemia)

ความชกุ ของภาวะไขมนั คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) ≥ 200 มก./ดล. ในประชากรไทยอายุ
18 ปขี นึ้ ไปมรี อ้ ยละ 58.8 ความชกุ ในผหู้ ญงิ สงู กวา่ ในผชู้ าย (รอ้ ยละ 61.2 และ 56.3 ตามลำ� ดบั ) ความชกุ
เพิม่ ข้ึนตามอายุทเ่ี พิม่ ขนึ้ และสงู สุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี รอ้ ยละ 65.1 จากน้นั ความชุกลดลง ซึง่ ผ้ชู าย
มีความชุกสงู สดุ อยใู่ นกลุม่ อายุ 30-44 ปี ร้อยละ 63.8 และผหู้ ญงิ มีความชกุ สงู สุดอยู่ในกลุม่ อายุ 45-59 ปี
ร้อยละ 70.9 โดยในเขตเทศบาลมีความชุกสูงกว่านอกเขตฯ (ร้อยละ 64.1 และ 55.9 ตามล�ำดับ)
เม่ือพิจารณาตามภูมิภาคพบว่าประชาชนท่ีอยู่ภาคใต้และกรุงเทพฯ มีความชุกของภาวะไขมัน
คอเลสเตอรอลรวม ≥200 มก./ดล. สงู ทส่ี ดุ (ร้อยละ 67.1 และ 67.9 ตามล�ำดบั ) รองลงมาคอื ภาคกลาง
(ร้อยละ 62.5) ภาคเหนือ (รอ้ ยละ 58.0) และภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื (ร้อยละ 50.5) ตามล�ำดับ
ความชุกของภาวะไขมนั ไตรกลเี ซอร์ไรด์ (triglyceride) ≥150 มก./ดล. ในประชากรไทยอายุ 18 ปขี ้นึ ไป
มรี อ้ ยละ 38.0 ความชุกในผชู้ ายสงู กว่าในผู้หญิง (ร้อยละ 43.6 และ 32.8 ตามล�ำดบั ) ความชกุ เพมิ่ ขึน้
ตามอายุท่เี พ่มิ ข้ึนและสงู สดุ ในกล่มุ อายุ 45-59 ปี รอ้ ยละ 42.2 จากนัน้ ความชุกลดลง ซึ่งผู้ชายมีความชุก
สูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 48.3 และผู้หญิงมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี
ร้อยละ 41.7 โดยในเขตเทศบาลมีความชกุ ใกลเ้ คียงกบั นอกเขตฯ (รอ้ ยละ 35.8 และ 39.1 ตามล�ำดับ)
เมอ่ื พจิ ารณาตามภมู ภิ าคพบวา่ คนทอ่ี ยภู่ าคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื มคี วามชกุ ของภาวะไขมนั ไตรกลเี ซอรไ์ รด์
≥150 มก./ดล. สูงท่ีสุด 44.7 (ผู้ชายร้อยละ 51.2 และผู้หญิงร้อยละ 38.4) รองลงมาคือ ภาคเหนือ
(รอ้ ยละ 37.8) กรงุ เทพฯ (รอ้ ยละ 36.6) ภาคกลาง (ร้อยละ 34.3) และภาคใต้ (รอ้ ยละ 29.6) ตามล�ำดบั
ความชุกของภาวะไขมันเฮชดีแอลคอเลสเตอรอลต่�ำ (HDL-cholesterol <40 มก./ดล.ในผู้ชาย และ
<50 มก./ดล. ในผู้หญิง) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 26.6 ความชุกในผู้หญิงสูงกว่า
ในผู้ชาย (ร้อยละ 32.9 และ 19.7 ตามล�ำดับ) ความชุกเพิ่มข้ึนตามอายุที่เพ่ิมข้ึนและสูงสุดในกลุ่มอายุ
80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 30.0 จากนั้นความชุกลดลง ซึ่งผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 30-44 ปี
ร้อยละ 21.4 และผู้หญิงมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 80 ปีข้ึนไป ร้อยละ 38.9 ในเขตเทศบาล
มีความชุกต�่ำกว่านอกเขตฯ (ร้อยละ 23.0 และร้อยละ 28.6 ตามล�ำดับ) เม่ือพิจารณาตามภูมิภาค
พบว่าประชาชนที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกของภาวะไขมันเฮชดีแอลคอเลสเตอรอลต่�ำ
สูงที่สุดร้อยละ 32.8 (ผู้ชายร้อยละ 23.8 และผู้หญิงร้อยละ 41.5) รองลงมาคือ ภาคเหนือ (ร้อยละ 26.6)
ภาคใต้ (ร้อยละ 23.4) ภาคกลาง (ร้อยละ 22.5) และกรุงเทพฯ (ร้อยละ 20.6) ตามล�ำดับ

กลมุ่ โรคอว้ นลงพงุ (Metabolic syndrome)

ความชุกของกลุ่มโรคอ้วนลงพุงในประชากรไทยอายุ 18 ปีข้ึนไปเท่ากับร้อยละ 27.6 (ผู้ชายร้อยละ 25.4
และผู้หญิงร้อยละ 29.6) ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพ่ิมขึ้นและสูงสุดในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 41.8
จากนั้นความชุกลดลง ซึ่งผู้ชายมีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 33.1 และผู้หญิง
มีความชุกสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 48.6 เช่นกัน โดยที่ความชุกในเขตเทศบาลสูง
กว่านอกเขตฯ (ร้อยละ 28.4 และ 27.2 ตามล�ำดับ) และพบความชุกในกรุงเทพฯ และภาคกลาง
สูงสุด (ร้อยละ 30.8 และ 29.7 ตามล�ำดับ) รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 27.1)
ภาคเหนือ (ร้อยละ 27.0) และภาคใต้ (ร้อยละ 23.3) ตามล�ำดับ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 117

การวจิ ยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกันและรกั ษา
โรคตบั ค่งั ไขมนั ที่ไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

กิจกรรมทางกาย (Physical activity)

สดั สว่ นของประชาชนไทยอายุ 18 ปขี น้ึ ไป ทม่ี กี จิ กรรมทางกายไมเ่ พยี งพอมรี อ้ ยละ 30.9 (ชายรอ้ ยละ 29.4
และ หญิงร้อยละ 32.3) การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีมากในกลุ่มผู้สูงอายุ พบร้อยละ 43.6
ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี และมากท่ีสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 60.0 สัดส่วนของคนในเขต
เทศบาลที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอมีมากกว่าคนนอกเขตฯ (ร้อยละ 35.9 และ 28.2 ตามล�ำดับ)
เม่ือพิจารณาตามภูมิภาคพบว่า คนที่อยู่ภาคใต้ มีความชุกของการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
สูงท่ีสุดร้อยละ 59.5 (ผู้ชายร้อยละ 58.0 และผู้หญิงร้อยละ 60.9) รองลงมาคือ กรุงเทพฯ (37.7)
ภาคเหนือ (29.7) ภาคกลาง (25.9) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (22.1) ตามล�ำดับ แต่มีข้อสังเกตุว่า
การให้ข้อมูลการออกแรงกายของผู้ตอบอาจประเมินตนเองว่ามีกิจกรรมทางกายสูงกว่าความเป็นจริง
อาจท�ำให้สัดส่วนของคนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอมากกว่าความเป็นจริง

โรคตับคัง่ ไขมันทีไ่ ม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver disease)

ความชุกของโรคตับคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (fatty liver index ≥60 บ่งชี้ภาวะตับ
คั่งไขมัน ร่วมกับการด่ืมแอลกอฮอล์ระดับเสี่ยงต�่ำหรือไม่ด่ืมเลยในรอบ 1 ปีท่ีผ่านมา และตรวจไม่พบ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี) ในประชากรไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 19.7 (ผู้ชาย
ร้อยละ 20.9 และผูห้ ญงิ รอ้ ยละ 18.6) ดงั แสดงในตารางท่ี 3.1 โดยความชกุ ของโรคในกลุม่ อายุ 18-29 ปี
ร้อยละ 17.2 จากน้ันเพิ่มขึ้นตามอายุและสูงสุดในกลุ่มอายุ 45-59 ปี ร้อยละ 22.9 (ผู้ชายร้อยละ 25.5
และผู้หญิงร้อยละ 20.5) จากน้ันความชุกลดลงและต�่ำสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีข้ึนไป เหลือร้อยละ 9.6
ความชุกของโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตฯ และพบ
ความชุกในภาคกลางและกรุงเทพฯสูงสุด (ร้อยละ 22.2 และ 22.8 ตามล�ำดับ) รองลงมาคือ ภาคใต้
(ร้อยละ 19.3) ภาคเหนือ (ร้อยละ 18.4) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 17.8) ตามล�ำดับ

ประชาชนที่ตรวจพบโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จ�ำนวน 3371 คน ได้ถูกประเมินความ
รุนแรงของโรคตับ ด้วย NAFLD fibrosis score >0.675 หรือ Fibrosis-4 score >2.67 บ่งช้ีภาวะ
พงั ผืดตบั ระดับรุนแรง (advanced fibrosis) มีความชกุ ร้อยละ 3.8 และ 1.84 ตามล�ำดับ โดยการตรวจ
ท้ังสองชนิดให้การวินิจฉัยพังผืดตับระยะรุนแรงรวมกันเท่ากับร้อยละ 4.37 (ผู้ชายร้อยละ 3.68 และ
ผู้หญงิ รอ้ ยละ 5.09) โดยความชกุ ของโรคในกลุม่ อายุ 18-29 ปี ร้อยละ 0.7 จากน้นั เพิ่มข้ึนตามอายุและ
สงู สุดในกลุม่ อายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 40.1 ความชกุ ในเขตเทศบาลสูงกวา่ นอกเขตฯ (ร้อยละ 5.25 และ
3.8 ตามลำ� ดับ) และพบความชุกในกรุงเทพฯสูงสดุ (รอ้ ยละ 6.40) รองลงมาคอื ภาคกลาง (ร้อยละ 5.23)
ภาคเหนอื (รอ้ ยละ 5.31) ภาคใต้ (ร้อยละ 4.16) และภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 2.33) ตามลำ� ดับ

ข้อมูลทางคลินิกและผลการตรวจเลือดของประชาชนชาวไทยท่ีเป็นโรคตับค่ังไขมัน
ทไี่ ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

ประชาชนท่ตี รวจพบ NAFLD ประมาณเกือบคร่ึงหนึง่ เป็นเพศหญิง และมีอายเุ ฉลีย่ 46.7±14.4ปี ซ่งึ อายุ
นอ้ ยกวา่ ประชาชนทไ่ี มเ่ ปน็ โรคตบั ชนดิ นี้ และประชาชนโรคตบั ชนดิ นรี้ อ้ ยละ 60.9 อาศยั อยใู่ นเขตเทศบาล
รอ้ ยละ 42-44 ของประชาชนทเ่ี ปน็ NAFLD มกี ารศกึ ษาระดบั ประถมศกึ ษาหรอื มธั ยมศกึ ษาหรอื เทยี บเทา่
และมดี ัชนีความมั่งคั่ง (Wealth Index) สงู กว่าประชาชนทไี่ มเ่ ป็น NAFLD ดงั แสดงในตารางท่ี 3.1
1 1 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผปู้ ่วยโรคตบั คั่งไขมนั ทไี่ มไ่ ด้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ตารางที่ 3.1 ขอ้ มลู ประชาชนชาวไทยทเ่ี ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชนทไ่ี มเ่ ปน็ NAFLD

ลกั ษณะของประชาชน Total cohort NAFLD Non-NAFLD P value

จำ�นวน, ราย 18,468 3,371 15,097 < 0.001
อายุ, ปี (คา่ เบยี่ งเบนมาตรฐาน) 47.5 (16.1) 46.7 (14.4) 47.7 (16.5) 0.063
เพศ, ราย (%) 0.010
7,639 (48.1) 1,387 (51.1) 6,252 (47.3)
ชาย 10,829 (51.9) 1,984 (48.9) 8,845 (52.7) 0.001
0.110
หญงิ 2,363 (9.2) 501 (10.8) 1,862 (8.8)
ภูมิภาค, ราย (%) 4,111 (26.2) 895 (29.4) 3,216 (25.3) 0.016
3,828 (18.0) 615 (16.8) 3,213 (18.3)
กรงุ เทพมหานคร 4,373 (33.2) 686 (29.9) 3,687 (34.1)
3,793 (13.4) 674 (13.1) 3,119 (13.5)
ภาคกลาง
10,431 (35.9) 1,990 (39.1) 8,441 (35.1)
ภาคเหนือ 8,036 (64.1) 1,381 (60.9) 6,655 (64.9)

ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ 9,561 (45.2) 1,709 (44.2) 7,852 (45.5)
6,194 (40.5) 1,220 (42.9) 4,974 (49.7)
ภาคใต้ 1,936 (11.1) 310 (10.1) 1,626 (11.3)
ภูมิล�ำ เนา, ราย (%) 688 (3.2) 112 (2.8) 576 (3.2)

เขตเทศบาล 3,338 (20.4) 563 (18.1) 2,775 (21.0)
3,292 (21.2) 533 (19.4) 2,759 (21.7)
เขตนอกเทศบาล 3,331 (18.5) 627 (18.8) 2,704 (18.5)
ระดับการศกึ ษา, ราย (%) 3,773 (19.7) 728 (20.8) 3,045 (19.4)
3,838 (20.2) 749 (22.9) 3,089 (19.5)
ประถมศึกษา

มธั ยมศึกษาและวิชาชพี

มหาวทิ ยาลยั หรือสงู กว่า

อืน่ ๆ
Wealth index, ราย (%)
Q1

Q2

Q3

Q4

Q5

ประชาชนท่ีตรวจพบ NAFLD มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 30.7±4.9 กก./เมตร2 ซ่ึงร้อยละ 92.2 ของกลุ่ม
ประชาชนนี้มีดัชนีมวลกายอยใู่ นระดบั โรคอ้วน และร้อยละ 85.9 มปี ัญหาโรคอว้ นลงพงุ และมกี ิจกรรม
ทางกายน้อยกว่า แต่มีพฤติกรรมไม่สูบบุหรี่หรือหยุดสูบบุหร่ีแล้วในสัดส่วนที่มากกว่าประชาชนที่ไม่เป็น
NAFLD รวมท้ังประชาชนที่เป็น NAFLD มีลักษณะทางคลินิกของ Metabolic syndrome ได้แก่
ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และภาวะไขมัน
เฮชดแี อลในเลือดต�่ำ เป็นต้น ในสัดส่วนที่สงู กวา่ ประชาชนที่ไม่เปน็ NAFLD ดังแสดงในตารางท่ี 3.2

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 119

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตับคัง่ ไขมันทไ่ี ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

ตารางท่ี 3.2 ลักษณะทางคลินกิ ของประชาชนไทยท่เี ป็น NAFLD เปรยี บเทยี บกับประชาชน
ทีไ่ ม่เป็น NAFLD

ลกั ษณะของประชาชน Total cohort NAFLD Non-NAFLD P value

จ�ำ นวน, ราย 18,468 3,371 15,097 < 0.001
ดัชนีมวลกาย, กก./เมตร2 24.9 (4.9) 30.7 (4.9) 23.5 (3.8)
(ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน)
ระดับดัชนีมวลกาย, ราย (%) 1,202 (6.3) 6 (0.2) 1,196 (7.8) < 0.001
5,772 (31.0) 61 (2.8) 5,711 (37.9)
<18.5 กก./เมตร2 3,339 (17.7) 175 (4.8) 3,164 (20.9) < 0.001
8,125 (44.9) 3,129 (92.2) 4,996 (50.0) 0.011
18.5 ถึง <23 กก./เมตร2 8,431 (41.7) 3,046 (85.9) 5,385 (30.8)
0.013
23 ถึง <25 กก./เมตร2 6,508 (31.0) 1,281 (34.5) 5,227 (30.1)
11,960 (69.0) 2,090 (65.6) 9,870 (69.9) < 0.001
>25 กก./เมตร2 < 0.001
Central obesity, ราย (%) 12,547 (64.6) 2,398 (65.3) 10,149 (64.4) < 0.001
กิจกรรมทางกาย, ราย (%) 3,073 (16.0) 564 (18.2) 2,509 (15.5) < 0.001
2,848 (19.4) 409 (16.4) 2,439 (20.2) < 0.001
ระดับน้อย 5,590 (27.6) 2,203 (60.8) 3,387 (19.4)
3,497 (16.0) 1,141 (28.9) 2,356 (12.8)
ระดับปานกลางถึงมาก 7,860 (36.9) 1,707 (45.9) 6,153 (34.7)
การสบู บุหร่ี, ราย (%) 6,568 (37.9) 2,200 (67.2) 4,368 (30.7)
4,756 (26.6) 1,443 (44.1) 3,313 (22.2)
ไม่เคยสบู

หยดุ สบู

สบู ประจำ�
Metabolic syndrome, ราย (%)
Diabetes mellitus, ราย (%)
Hypertension, ราย (%)
Hypertriglyceridemia, ราย (%)
Low HDL-C, ราย (%)

การตรวจเลือดวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ดังแสดงในตารางท่ี 3.3 ได้แสดงให้เห็นว่าประชาชน
ท่ีเป็น NAFLD มี hemoglobin และ platelet รวมท้ังระดับซีรั่ม aminotransferase, alkaline
phosphatase, gamma-glutamyl transpeptidase, albumin และ globulin และระดับพลาสมา
glucose, HbA1C, cholesterol, triglyceride และ LDL-cholesterol สูงกว่าประชาชนท่ีไม่เป็น
NAFLD แต่ประชาชนที่เป็น NAFLD มีระดับซีรั่ม total bilirubin และ HDL-cholesterol ต่�ำกว่า
ประชาชนที่ไม่เป็นโรคตับชนิดนี้ โดยท่ีไม่มีความแตกต่างของระดับซีร่ัม creatinine และ blood
urea nitrogen ระหว่างประชาชนสองกลุ่มน้ี

1 2 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผ้ปู ่วยโรคตบั ค่งั ไขมนั ท่ไี ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์

ตารางท่ี 3.3 ตรวจวเิ คราะหเ์ ลอื ดของประชาชนไทยทเ่ี ปน็ NAFLD เปรยี บเทยี บกบั ประชาชน
ทีไ่ ม่เปน็ NAFLD

ลักษณะของประชาชน Total cohort NAFLD Non-NAFLD P value

Hemoglobin, กรมั /ดล. 13.7 (1.7) 14.0 (1.6) 13.6 (1.7) < 0.001
Platelet, x 109 /มล. 280.8 (79.5) 290.9 (73.1) 278.3 (80.8) < 0.001
Blood urea nitrogen, กรัม/ดล. 12.7 (4.6) 12.9 (4.8) 12.7 (4.6) 0.063
Creatinine, กรัม/ดล. 0.85X (0.37) 0.87 (0.43) 0.84 (0.35) 0.102
Liver biochemical test
26 (22-32) 28 (23-36) 26 (22-32) < 0.001
AST, ยนู ติ /มล. 22 (16-30) < 0.001
23 (16-33) 31 (21-47) 79 (66-94) < 0.001
ALT, ยนู ติ /มล. 26 (18-41) < 0.001
79 (66-95) 83 (69-100) 0.57 (0.34) < 0.001
Alkaline phosphatase, ยูนติ /มล. 4.1 (0.3) < 0.001
29 (19-48) 48 (32-78) 3.7 (0.5) < 0.001
GGT, ยนู ิต/มล. 96.6 (33.9) < 0.001
0.56 (0.33) 0.53 (0.30) 5.7 (1.1) < 0.001
Total bilirubin, มก./ดล. 209 (181-239) < 0.001
4.2 (0.3) 4.2 (0.3) 114 (85-159) < 0.001
Albumin, กรัม/ดล. 125 (102-151) < 0.001
3.7 (0.5) 3.8 (0.4) 55 (46-65) < 0.001
Globulin, กรมั /ดล.
Glucose, กรมั /ดล. 99.4 (37.3) 110.5 (47.4)
HbA1C, %
Cholesterol, กรัม/ดล. 5.9 (1.2) 6.3 (1.5)
Triglyceride, กรัม/ดล.
LDL-cholesterol, กรมั /ดล. 211 (182-241) 219 (189-250)
HDL-cholesterol, กรมั /ดล.
124 (89-176) 180 (134-249)

103 (126-152) 133 (107-159)

53 (45-63) 47 (40-55)

พฤตกิ รรมการกนิ อาหาร

อาหารเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อชีวิตและภาวะสุขภาพ ซ่ึงอาจน�ำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคตับ
ค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร ได้แก่
ปริมาณอาหารและประเภทของอาหารท่ีบริโภค ซ่ึงเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการเลือกประเภทอาหาร
องค์ประกอบของอาหาร วิธีการประกอบอาหาร การเลือกแหล่งอาหารต่าง ๆ มีความเก่ียวข้องกับ
การเกิดโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ดังนั้นการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทยในคร้ังนี้
ได้ท�ำการส�ำรวจเก่ียวกับพฤติกรรมการบริโภค โดยสัมภาษณ์เก่ียวกับพฤติกรรมการบริโภค จ�ำนวนม้ือ
และการเลือกแหล่งอาหาร ด้วยแบบสัมภาษณ์ความถี่ในการบริโภคอาหาร (food frequency
questionnaire) ส�ำหรบั กลมุ่ วัยแรงงานอายุ 18-59 ปี และกลมุ่ ผสู้ งู อายุ 60 ปีข้นึ ไป เพือ่ ทำ� การสำ� รวจ
พฤติกรรมการรับประทานอาหารของประชาชนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ว่ามีรูปแบบอาหารไทย
อย่างไรท่ีสัมพันธ์กับการตรวจพบโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 121

การวิจยั และพฒั นาแนวทางการปอ้ งกนั และรกั ษา
โรคตับค่ังไขมนั ท่ีไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ตารางที่ 3.4 Factor analysis ของ Thai Food Scale Items Factor

Items Factor 1 Factor 2 Factor 3 Factor 4

Fermented fish/soybean 0.662 0.626 0.729 0.645
Processed meat with 0.602 0.580 0.659 0.525
high fat 0.554 0.485 0.364
Processed meat with 0.533 0.400
high salt 0.392
Beverage 0.527
Animal organ 0.496
Food with coconut milk 0.454
Fruit 0.444
Shellfish and squid 0.356
Fried food 0.336
Soy milk
Beans
Milk
Wheat
Rice
Meat
Fatty meat
Egg
Fish
Chili sauce/dip
Vegetable

ข้อมูลการรับประทานจาก food frequency questionnaire ได้ถูกจัดกลุ่มอาหารเป็น 20 กลุ่ม
ตามองค์ประกอบหลักของสารอาหาร ซ่ึงเคยมีการศึกษาถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเร้ือรังต่าง ๆ
โดยเฉพาะโรคหลอดเลอื ดหวั ใจ พยาบาลทไี่ ดร้ บั การอบรมจะทำ� การสมั ภาษณต์ อ่ หนา้ ประชาชนทเี่ ขา้ รว่ ม
การส�ำรวจสุขภาพ โดยให้ดูรูปอาหารในหมวดต่าง ๆ และภาพความถี่ของการรับประทานอาหารเพ่ือ
รวบรวมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของประชาชนชาวไทย หมวดหมู่อาหารที่รับประทาน ได้แก่
meat, fatty meat, processed meat with high fat, processed meat with high salt, fish,
shellfish and squid, animal organ, egg, beans, rice, wheat, fried food, food with coconut
milk, fermented fish/soybean, chili sauce/dip, fruit, milk, soymilk, beverage และ vegetable
แลว้ นำ� ขอ้ มลู อาหารจากการสมั ภาษณม์ าวเิ คราะหด์ ว้ ย factor analysis เพอื่ จดั รปู แบบอาหาร (dietary

1 2 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผูป้ ่วยโรคตบั คั่งไขมันท่ไี มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์

pattern) โดยใช้หลักการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก เพื่อท�ำการสร้าง factor score ส�ำหรับประชาชน
แต่ละรายที่ให้ข้อมลู อาหาร โดยใช้ orthogonal transformed ดว้ ยวิธี Varimax และถา้ eigenvalue
มากกว่า 1.5 ใน scree plot ซึ่งตรงต�ำแหน่งความชันของกราฟจะใช้ในการคัดเลือกหมวดอาหาร
เข้ารูปแบบอาหารแต่ละชนิด รวมท้ัง factor score ส�ำหรับรูปแบบอาหารแต่ละชนิด จะถูกค�ำนวณ
ให้ประชาชนแต่ละราย ด้วยวิธีดังกล่าวการวิเคราะห์ผลได้จัดรูปแบบอาหารได้เป็น 4 แบบ ซึ่งมี factors
ส�ำหรับอาหารแต่ละหมวด ดังแสดงในตารางที่ 3.4
ในบรรดารูปแบบอาหารตาม factors ท้ัง 4 กลุ่ม พบว่ารูปแบบอาหารกลุ่มที่ 1 มีค่า variance
เท่ากับร้อยละ 18.6 และมี initial eigenvalue เท่ากับ 3.537 ในขณะที่รูปแบบอาหารกลุ่มที่ 4 มีค่า
variance เท่ากับร้อยละ 6.163 และมี initial eigenvalue เท่ากับ 1.171 โดยท่ีมีค่า cumulative
variance และ rotation sums ของ squared loadings ที่ร้อยละ 39.870 โดยท่ีรูปแบบอาหาร
ตาม Factor 1 ประกอบด้วยอาหาร 9 หมวด เรียกว่า “High-calorie dietary pattern”, รูปแบบ
อาหารตาม Factor 2 ประกอบด้วยอาหาร 5 หมวด เรียกว่า “Healthy dietary pattern”,
รูปแบบอาหารตาม Factor 3 ประกอบด้วยอาหาร 4 หมวด เรียกว่า “Protein dietary pattern”
และ รูปแบบอาหารตาม Factor 4 ประกอบด้วยอาหาร 3 หมวด เรียกว่า “Traditional dietary
pattern” ดังแสดงในตารางที่ 3.4
ประชาชนชาวไทยที่เป็นและไม่เป็น NAFLD มีคะแนน food factors แบ่งเป็น 3 กลุ่ม (tertile)
ในการรับประทานอาหารตามรูปแบบ “High-calorie dietary pattern”, “Healthy dietary pattern”,
“Protein dietary pattern” และ “Traditional dietary pattern” ดังแสดงในตารางท่ี 3.5

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 123

การวจิ ยั และพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตบั ค่ังไขมันท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ตารางท่ี 3.5 คะแนนของ food items สำ� หรับรปู แบบอาหาร 4 ประเภท ของประชาชนท่ี
เป็นและไม่เปน็ NAFLD

Domain No. of Range The NAFLD cohort The non-NAFLD cohort
items score (n = 3371) (n = 15097)

range total N (%) range total N (%)

High-calorie dietary pattern 9 8-63 9-52 18468 3371 (19.7) 8-63 18468 15097 (80.3)

Tertile 1: <17 5343 884 (16.7) 5343 4459 (83.3)

Tertile 2: 17-22 7317 1359 (20.2) 7317 5958 (79.8)

Tertile 3: >22 5808 1128 (21.2) 5808 4680 (78.8)

Healthy dietary pattern 5 5-35 5-34 18468 3371 (19.7) 5-35 18468 15097 (80.3)

Tertile 1: <12 5916 1074 (21.1) 5916 4842 (78.9)

Tertile 2: 12-16 7130 1300 (19.8) 7130 5830 (80.2)

Tertile 3: >16 5422 997 (18.5) 5422 4425 (81.5)

Protein dietary pattern 3 3-21 1-21 18442 3362 (19.7) 1-21 18442 15080 (80.3)

Tertile 1: <10 4244 781 (17.7) 4244 3463 (82.3)

Tertile 2: 10-13 10365 1873 (20.2) 10365 8492 (79.8)

Tertile 3: >13 3833 708 (20.6) 3833 3125 (79.4)

Traditional dietary pattern 3 0-31 2-31 18468 3371 (19.7) 0-31 18468 15097 (80.3)

Tertile 1: <9.4 5960 1067 (18.6) 5960 4893 (81.4)

Tertile 2: 9.4-11.5 6285 1169 (19.7) 6285 5116 (80.3)

Tertile 3: >11.5 6223 1135 (21.0) 6223 5088 (79.0)

การวิเคราะห์รูปแบบอาหารท่ีมีความสัมพันธ์กับ NAFLD ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย logistic
regression model (ตารางท่ี 3.6) ได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารรูปแบบ “High-claorie
dietary pattern” ซึง่ มอี งค์ประกอบอาหาร fermented fish/soybean, processed meat with high
fat, processed meat with high salt, animal organ, food with coconut milk, shellfish and
squid,friedfood,fruitและbeverageเพม่ิ ความเสยี่ งตอ่ การเกดิ NAFLDตามปรมิ าณการรบั ประทานอาหาร
ที่เป็นองค์ประกอบของรูปแบบอาหารชนิดน้ี อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ รูปแบบ “dose-response
relationship” ด้วยการวิเคราะห์ univariate analysis ดังแสดงในตารางที่ 3.6 ซึ่งรูปแบบอาหาร
ชนดิ นมี้ แี คลอรสี่ งู ทปี่ ระกอบไปดว้ ยไขมนั โปรตนี นำ�้ ตาลจากเครอื่ งดม่ื และผลไม้ รวมทง้ั เกลอื ปรมิ าณมาก
ในการปรงุ อาหาร อย่างไรก็ตามการวเิ คราะห์ multivariate analysis ควบคุมตวั แปรต่าง ๆ ได้แก่ อายุ
เพศ ภมู ลิ �ำเนา อาศยั อยใู่ นเขตเทศบาล ระดับการศกึ ษา ดชั นีความมั่งค่งั กจิ กรรมทางกาย และพฤตกิ รรม
การสูบบุหรี่ พบว่าการบริโภค High-calorie dietary pattern เพ่ิมความเส่ียงต่อการเป็น NAFLD
ตามการรับประทานอาหารกลุม่ นีท้ ่ีมากข้ึน ซึ่งความเสย่ี งสูงข้นึ อยา่ งมนี ยั สำ� คัญทางสถิติในกลมุ่ tertile 2

1 2 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผูป้ ่วยโรคตบั คั่งไขมนั ทีไ่ ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์

ตารางท่ี 3.6 การวิเคราะห์รูปแบบอาหารท่มี คี วามสัมพนั ธ์กบั NAFLD ในประชาชนชาวไทย

Univariate analysis Multivariate analysis*

Domain Factors Unadjusted OR P value Adjusted OR P value
(95% CI) (95% CI)

High-calorie dietary pattern

Tertile 1: <17 Reference Reference

Tertile 2: 17-22 1.26 (1.14-1.39) < 0.001 1.21 (1.08-1.34) 0.002

Tertile 3: >22 1.34 (1.03-1.75) 0.032 1.24 (0.95-1.61) 0.104

Healthy dietary pattern

Tertile 1: <12 Reference Reference

Tertile 2: 12-16 0.93 (0.77-1.11) 0.382 0.86 (0.69-1.08) 0.187

Tertile 3: >16 0.85 (0.71-1.01) 0.064 0.73 (0.58-0.92) 0.010

Protein dietary pattern

Tertile 1: <10 Reference Reference

Tertile 2: 10-13 1.18 (0.94-1.47) 0.139 1.13 (0.93-1.39) 0.212

Tertile 3: >13 1.21 (0.92-1.58) 0.157 1.15 (0.88-1.49) 0.291

Traditional dietary pattern

Tertile 1: <9.4 Reference Reference

Tertile 2: 9.4-11.5 1.07 (0.91-1.26) 0.389 1.12 (0.96-1.32) 0.149

Tertile 3: >11.5 1.16 (1.01-1.35) 0.047 1.27 (1.07-1.51) 0.008

* Multivariate model was adjusted for age, sex, region, urban, education, wealth index, physical activity, and smoking

การรับประทานอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” ซึ่งประกอบด้วยอาหาร soy milk, beans,
milk, wheat และ rice พบว่าสามารถช่วยลดความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD ได้ร้อยละ 27 ในประชาชน
ท่ีบริโภคอาหารรูปแบบนี้ในปริมาณ tertile 3 เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่บริโภคปริมาณ tertile 1
อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์แบบ multivariate analysis ดังแสดงในตารางท่ี 3.6
ซึ่งการวิเคราะห์ในลักษณะเดียวกันก็พบว่าการบริโภคอาหารรูปแบบ “Traditional dietary pattern”
ในปริมาณ tertile 3 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD ถึงร้อยละ 27 เมื่อเปรียบเทียบกับ
การรับประทานอาหารรูปแบบน้ีในปริมาณ tertile 1 อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ โดยที่การรับประทาน
อาหารรูปแบบ “Protein dietary pattern” ที่มากข้ึนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD
เมื่อเปรยี บเทยี บกบั การบริโภคอาหารรูปแบบนใ้ี นปริมาณน้อย แต่ยงั ไมแ่ ตกตา่ งอยา่ งมีนยั สำ� คัญทางสถิติ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 125

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกันและรักษา
โรคตบั คง่ั ไขมันทไ่ี ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

1 2 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for
ตารางที่ 3.7 การวเิ คราะห์ Multivariate regression analysis เพ่ือศกึ ษารูปแบบอาหารท่ีมีความสัมพันธ์กับการเกิด NAFLD ในประชาชน
ชาวไทยตามกลมุ่ เพศชายและหญิงทมี่ ีระดบั กจิ กรรมทางกายตา่ ง ๆ

Male Female

Domain Factors Low physical P value High physical P value Low physical P value High physical P value
activity activity activity activity
0.079
High-calorie dietary pattern Reference 0.155
1.15 (0.85-1.54)
Tertile 1: <17 Reference Reference 1.44 (1.06-1.97) Reference 0.042
0.348 1.26 (0.97-1.63) 0.015
Tertile 2: 17-22 1.43 (0.92-2.23) 0.107 1.07 (0.79-1.45) 0.647 Reference 0.022 1.24 (0.92-1.67)
1.16 (0.76-1.77) 0.898
Tertile 3: >22 1.45 (0.75-2.83) 0.257 1.07 (0.76-1.51) 0.695 1.08 (0.71-1.65) 0.445

Healthy dietary pattern Reference 0.722
1.13 (0.89-1.43) 0.124
Tertile 1: <12 Reference Reference 1.27 (0.93-1.73) Reference
0.465 0.77 (0.60-0.99)
Tertile 2: 12-16 0.65 (0.34-1.25) 0.186 0.93 (0.65-1.34) 0.689 Reference 0.706 0.60 (0.40-0.90)
1.42 (1.05-1.93)
Tertile 3: >16 0.67 (0.38-1.20) 0.167 0.79 (0.55-1.15) 0.211 1.67 (1.14-2.46)

Protein dietary pattern

Tertile 1: <10 Reference Reference Reference
0.278 0.98 (0.75-1.29)
Tertile 2: 10-13 1.33 (0.89-2.00) 0.154 1.27 (0.80-2.01) 0.303 0.123 1.18 (0.76-1.85)

Tertile 3: >13 1.26 (0.79-2.00) 0.321 1.08 (0.64-1.82) 0.766

Traditional dietary pattern

Tertile 1: <9.4 Reference Reference Reference
0.024 0.96 (0.76-1.20)
Tertile 2: 9.4-11.5 0.94 (0.58-1.53) 0.802 1.26 (0.94-1.69) 0.118 0.012 1.17 (0.95-1.43)

Tertile 3: >11.5 1.20 (0.77-1.87) 0.397 1.20 (0.84-1.71) 0.298

* Multivariate model was adjusted for age, region, urban, education, wealth index, and smoking

การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของผ้ปู ว่ ยโรคตับค่งั ไขมันทไ่ี ม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

ความสัมพันธ์ของรูปแบบการรับประทานอาหารกับการเกิด NAFLD อาจเก่ียวข้องกับระดับ
กิจกรรมทางกายท่ีแตกต่างกันของประชากรไทยแต่ละเพศ ซ่ึงการวิเคราะห์ multivariate logistic
regression analysis ได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของรูปแบบอาหารต่าง ๆ ต่อการเกิด NAFLD
มีอิทธพลชัดเจนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติในผู้หญิงท่ีมีกิจกรรมทางกายที่แตกต่างกัน โดยพบว่า
การบริโภคอาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern” หรือ “Traditional dietary pattern”
จะเพิ่มความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD ร้อยละ 42-67 ในผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายต�่ำ ในขณะท่ี
ผู้หญิงท่ีรับประทานอาหารรูปแบบ “Heathy dietary pattern” จะลดความเสี่ยงต่อการเกิด
NAFLD ร้อยละ 23-40 ในรูปแบบ “dose-response relationship” เม่ือมีกิจกรรมทางกายใน
ชีวิตประจ�ำวันอย่างเพียงพอ โดยผู้ชายที่มีกิจกรรมทางกายระดับต่าง ๆ และบริโภคอาหารรูปแบบ
เดียวกัน พบมีความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD ในลักษณะเดียวกันแต่ยังไม่ชัดเจนอย่างมีนัยส�ำคัญ
ทางสถิติ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 127

การวจิ ยั และพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตับคั่งไขมันทีไ่ มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอลใ์ นประชาชนชาวไทย

อภปิ รายและวจิ ารณผ์ ล

งานวิจัยนี้ท�ำการศึกษารูปแบบการบริโภคอาหารในประชาชนชาวไทยท่ีเป็น NAFLD ซึ่งมีอายุ
มากกว่า 18 ปีข้ึนไป พบว่าการรับประทานอาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern”
ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์แปรรูปท่ีมีไขมันสูงหรือเกลือปริมาณมาก อาหารทอดหรือปรุงด้วย
น้�ำมะพร้าว ปลาหมึก หอย เครื่องในสัตว์ ผลไม้ และน้�ำอัดลม เพ่ืมความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD
ในประชาชนชาวไทย โดยไม่ขึ้นกับอายุ เพศ ดัชนีมวลกาย การสูบบุหรี่ กิจกรรมทางกาย และเศรษฐานะ
ข้อมูลดังกล่าวนี้บ่งช้ีว่ารูปแบบการบริโภคเน้ือสัตว์ที่มีไขมัน ร่วมกับน�้ำตาลจากผลไม้และน�้ำอัดลม
จะเพิ่มความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD สนับสนุนการศึกษาก่อนหน้าน้ีโดย Ritchiev และคณะ(35)
ที่พบรูปแบบการรับประทานอาหารในลักษณะเดียวกันส่งเสริมให้เกิด NAFLD นอกจากนี้ยังมีรายงาน
วิจัยในผู้ใหญ่จ�ำนวน 375 ราย โดย Zelber-Sagi และคณะ(36) ได้แสดงให้เห็นว่าการบริโภคน้�ำอัดลม
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD เน่ืองจากเคร่ืองดื่มเหล่านี้ให้พลังงานสูงและมีน�้ำตาลปริมาณ
มาก โดยเฉพาะน้�ำตาลฟรุกโตส ซึ่งการบริโภคน�้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณมากต่อเนื่อง จะส่งเสริม
ให้เกิดภาวะด้ืออินซูลินและกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะ
ไขมันในเลือดผิดปกติ(37, 38) นอกจากน้ียังพบว่าการเพิ่มของน้�ำตาลในเลือดขึ้นอย่างรวดเร็วจะ
ส่งเสริมให้เกิดการสร้างไขมันภายในเซลล์ตับที่เรียกว่า “de-novo lipogenesis”(39) โดยที่การ
ศึกษาในสัตว์ทดลอง(40) และในมนุษย์(41) ได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มี glycemic
index สูง จะเร่งกระบวนการสะสมไขมันภายในเซลล์ตับ ก่อให้เกิดภาวะตับค่ังไขมัน รวมท้ังการรับ
ประทานอาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern” ซึ่งมีส่วนประกอบของ saturated และ
trans fatty acids ในปริมาณมาก จะส่งเสริมให้เกิดไขมันสะสมในตับด้วยเช่นกัน จากการดูดซึม
chylomicron ท่ีมาจากการรับประทานอาหารรูปแบบท่ีมีไขมันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก
นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบอาหารกลุ่มน้ีมีเกลือในปริมาณมาก ซึ่งมีหลักฐานจากงานวิจัยก่อนนี้
ที่บ่งชี้ว่าการบริโภคอาหารท่ีมีส่วนผสมเกลือปริมาณมากจะส่งเสริมให้เกิด NAFLD(42)
ประชาชนท่ีบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” มีความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD
ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่บริโภคอาหารรูปแบบนี้ในปริมาณน้อย ซ่ึงการรับประทานอาหาร
แบบ “Healthy dietary pattern” จะบริโภคข้าว ถ่ัว ผลิตภัณฑ์แป้งสาลี และนม เป็นองค์ประกอบหลัก
โดยที่รูปแบบการบริโภคนี้ มีองค์ประกอบหลักของอาหารคล้ายกับอาหารมังสวิรัติ (vegetarian
diet) ที่ประกอบด้วยผัก ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม และชีส เป็นต้น ข้อมูลจากการส�ำรวจ
ประชากรไทยได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern”
จะลดความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD อย่างชัดเจนในผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
และยังพบว่าการบริโภคเน้ือสัตว์และไข่เป็นองค์ประกอบหลักของอาหาร ท่ีเรียกว่าเป็นรูปแบบ
“Protein dietary pattern” เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD ในประชาชนชาวไทย แต่ยัง
ไม่เห็นความสัมพันธ์อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ โดยอาหารรูปแบบนี้มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลัก
ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD(43) แต่ก็เป็นโปรตีนท่ีมาจากเนื้อแดงซ่ึงอุดมไปด้วยไขมัน

1 2 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผู้ปว่ ยโรคตบั ค่ังไขมนั ท่ไี มไ่ ดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์

จึงเพ่ิมความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางเมทาบอลิกต่าง ๆ ได้แก่ โรคอ้วน และภาวะไขมัน
ในเลือดผิดปกติ ซึ่งมีผลส่งเสริมให้เกิดการสะสมของไขมันภายในเซลล์ตับ(43) โดยท่ีรูปแบบ
การบริโภคอาหารชนิดนี้อาจมีผลต่อการเกิด NAFLD ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลซ่ึงมีพฤติกรรม
ในชีวิตประจ�ำวันท่ีหลากหลาย อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาหารรูปแบบน้ี
ต่อการเกิด NAFLD ในผู้ชายและผู้หญิงที่มีระดับกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่พบความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD
เพิ่มข้ึนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ
การบริโภคอาหารรูปแบบ “Traditional dietary pattern” มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและ
ประเทศ โดยข้ึนกับชนิดอาหารที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในแต่ละท้องถิ่น การศึกษาโดย Esmaeillzadeh
และคณะ(44) ได้แสดงให้เห็นว่า “Traditional dietary pattern” ในประเทศอิหร่าน ซึ่งบริโภคธัญพืช
ถ่ัวเปลือกอ่อน มะเขือเทศ น้�ำซุป และน้�ำชาซ่ึงอุดมไปด้วย polyphenol ท่ีอาจช่วยลดความเส่ียง
ต่อการเป็น NAFLD(45) แต่อีกการศึกษาหนึ่งจากประเทศอิหร่าน โดย Mohammadifard และคณะ(46)
ได้รายงานอาหารรูปแบบ “Traditional dietary pattern” ท่ีมีการบริโภคชนิดอาหารที่แตกต่างกัน
ออกไป โดยมีการรับประทานมะเขือเทศ ถั่ว เน้ือแดง ไข่ และผลไม้อบแห้ง เป็นองค์ประกอบหลัก
ของอาหาร ซึ่งการส�ำรวจประชาชนชาวไทยพบว่า “Traditional dietary pattern” ที่ถูกจัดกลุ่ม
อาหารโดยการวิเคราะห์ factor-loading analysis พบมีองค์ประกอบของอาหารแตกต่างจาก
การบริโภคอาหารของชาวอิหร่าน โดยรูปแบบอาหารไทยด้ังเดิมจะเป็นการบริโภคปลา พืชผัก
และน�้ำพริก ซ่ึงการบริโภคอาหารรูปแบบน้ีของคนไทยจากการส�ำรวจสุขภาพคร้ังนี้ กลับพบว่า
“Traditional dietary pattern” เพ่ิมความเส่ียงต่อการเป็น NAFLD เมื่อวิเคราะห์โดยค�ำนึงถึง
ปัจจัยทางอายุ ระดับการศึกษา การสูบบุหร่ี และดัชนีความม่ังค่ังของประชาชน โดยที่ความสัมพันธ์
ของการบริโภคอาหารรูปแบบนี้ต่อการส่งเสริมให้เกิด NAFLD มีความชัดเจนมากข้ึนในผู้หญิง
ท่ีมีกิจกรรมทางกายน้อย ซ่ึงเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจมากว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวน้ีเกิดจาก
เหตุผลใด เนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นว่าการบริโภคผักปริมาณมาก ซ่ึงอุดมไปด้วย
วิตามินต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD(47, 48)
และการรับประทานพืชผักปริมาณมากจะเป็นแหล่งของใยอาหารท่ีมีผลช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด
ภาวะดื้ออินซูลิน และ NAFLD(48) รวมท้ังการรับประทานเน้ือปลา ซ่ึงอุดมไปด้วย polyunsaturated
fatty acids (Omega 3) มีคุณสมบัติช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดและมีบทบาทป้องกัน
การเกิด NAFLD(49, 50) ซ่ึงอาหารรูปแบบน้ีน่าจะมีคุณสมบัติคล้ายกับการบริโภคอาหารของชาวยุโรป
ที่เรียกว่า “Mediterranean diet” ซ่ึงเป็นการบริโภค พืชผัก ถ่ัวเปลือกแข็ง ผลไม้สด ปลา รวมทั้ง
การบริโภคสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ท่ีท�ำมาจากนม olive oil และการด่ืมไวน์แดงในปริมาณปานกลาง แต่
รับประทานเน้ือแดง ไข่ ขนมหวานและอาหารแปรรูปในปริมาณน้อย(51) มีผลช่วยป้องกันการเกิด
NAFLD(52-54) ดังนั้นความสัมพันธ์ของการรับประทานอาหารรูปแบบ “Traditional dietary pattern”
ต่อการเป็น NAFLD ในการส�ำรวจครั้งนี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมร่วมอ่ืน ๆ ของประชาชนท่ีบริโภค
อาหารแบบนี้ หรือปริมาณแคลอรี่ในอาหารต่อวันท่ีมาก ซ่ึงการส�ำรวจน้ีไม่ได้มีการเก็บข้อมูลพลังงาน
ที่ได้จากการบริโภคมาวิเคราะห์ร่วมด้วย

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 129

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรกั ษา
โรคตับค่งั ไขมนั ที่ไม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

กิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยส�ำคัญในการป้องกันการเกิด NAFLD โดยการศึกษาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็น
ว่าประชาชนที่มีกิจกรรมการเดินอย่างสม่�ำเสมอในปริมาณท่ีเหมาสม มีความเส่ียงต่อการเกิดโรค
NAFLD น้อยกว่าบุคคลท่ีไม่ค่อยลุกเดิน ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้เวลากับการน่ังเฉย ๆ ในแต่ละวัน เน่ืองจาก
การเคลื่อนไหวกล้ามเน้ือมีผลช่วยลดปริมาณกรดไขมันอิสระที่เข้าสู่ตับ ช่วยลดการสะสมของ
ไขมันภายในตับ(28) รวมท้ังการเคลื่อนไหวกล้ามเน้ือลายเป็นรูปแบบอย่างต่อเนื่องในรูปแบบ
การออกก�ำลังกาย มีผลกระตุ้นการย่อยสลายไขมันในร่างกายช่วยลดการสะสมไขมันภายในตับ(29)
และยังส่งผลให้ระดับ adipokine มีการเปล่ียนแปลงในทางที่ดีข้ึน โดยช่วยปรับเปล่ียนระดับ
myokine และกระตุ้น glucose transporter 4 ส่งผลให้เนื้อเยื่อตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีข้ึน(29)
ซ่ึงการวิจัยคร้ังน้ีได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ
เม่ือบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” จะช่วยลดความเส่ียงต่อการเกิด NAFLD
ได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายน้อย จะส่งเสริมให้เกิด NAFLD ถ้าบริโภค
อาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern” หรือ “Traditional dietary pattern” ข้อมูลเหล่าน้ี
บ่งชี้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจ�ำวัน ร่วมกับการปรับรูปแบบอาหารท่ีบริโภคในชีวิต
ประจ�ำวัน น่าจะเป็นค�ำแนะน�ำที่ส�ำคัญในการป้องกันและดูแลรักษาประชาชนชาวไทยที่เป็น NAFLD
ข้อจ�ำกัดของงานวิจัยน้ีท่ีควรต้องค�ำนึงถึง ได้แก่ รูปแบบอาหารได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการบริโภค
อาหารโดยไม่ได้ประเมินพลังงานท่ีได้รับในแต่ละวัน (total daily energy) และสารอาหารหลัก
(macronutrient) และท่ีส�ำคัญข้อมูลการรับประทานอาหารได้มาจากแบบสอบถามความถ่ีของ
การรับประทานอาหารตามหมวดหมู่ (food frequency questionnare) น้ีเป็นการประเมิน
โภชนาการแบบนามธรรมของปริมาณอาหารท่ีบริโภคตามกรอบเวลาที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังต้อง
ค�ำนึงว่าการบริโภคอาหารรูปแบบต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับความหลากหลายของแต่ละบุคคล เช่น
อายุ กิจกรรมทางกายในชีวิตประจ�ำวัน การสูบบุหร่ี สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่บ่งชี้ด้วยระดับ
การศึกษาและความมั่งคั่ง ซ่ึงในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบอาหารและการเป็น
NAFLD ในงานวิจัยครั้งนี้ได้ถูกควบคุมด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามผลการศึกษายังมีโอกาส
เบ่ียงเบนไปจากอิทธิผลของปัจจัยเหล่านี้ได้ รวมทั้งรูปแบบการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional
design) ในคร้ังน้ี ยังไม่สามารถให้ข้อสรุปท่ีแน่ชัดถึงผลของการรับประทานอาหารต่อการเกิด NAFLD
แต่ช่วยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการบริโภคอาหารรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจส่งผลท�ำให้เกิด NAFLD
ซึ่งต้องมีการศึกษาในรูปแบบ prospective cohort study เพ่ือให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากข้ึน

1 3 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผ้ปู ว่ ยโรคตับคง่ั ไขมันทีไ่ มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์

สรปุ ผลการวิจยั และขอ้ เสนอแนะ

ข้อมูลจากการส�ำรวจสุขภาพของประชาชนชาวไทยในคร้ังนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า NAFLD ก�ำลังเป็น
ปัญหาทางสุขภาพของประเทศไทย โดยพบว่าเกือบถึงหน่ึงในห้าของประชาชนชาวไทยท่ีเป็น NAFLD
ซ่ึงพบความชุกสูงสุดในวัยท�ำงานอายุ 45-59 ปี ก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งโรคตับเร้ือรังชนิดน้ี
เป็นภัยเงียบท่ีไม่แสดงอาการทางคลินิก เม่ือเกิดภาวะตับอักเสบเร้ือรังจะท�ำให้ประชาชนเกิดพังผืดตับ
ระยะรุนแรงเม่ือเข้าสู่สังคมสูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป รวมท้ังยังพบว่าประชาชนที่เป็น NAFLD
มีโรคไม่ติดต่อเร้ือรังท่ีส�ำคัญ คือ โรคอ้วน ร่วมกับลักษณะทางคลินิกของ Metabolic syndrome
ได้แก่ ภาวะอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และ
ภาวะไขมันเฮชดีแอลในเลือดต่�ำ ซึ่งเป็นลักษณะทางคลินิกของภาวะด้ืออินซูลินท่ีจะช่วยส่งเสริมให้
ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีกิจกรรมทางกายระดับน้อย เมื่อรับประทานอาหารรูปแบบ
“High-calorie dietary pattern” ซึ่งมีแคลอรี่สูงท่ีประกอบไปด้วยเน้ือสัตว์แปรรูปท่ีมีส่วนประกอบ
ของไขมันและเกลือปริมาณมาก ร่วมกับการบริโภคน้�ำตาลจากน้�ำอัดลมและผลไม้ จะส่งเสริมให้บุคคล
กลุ่มดังกล่าวเกิด NAFLD ในขณะท่ีผู้หญิงซึ่งมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ เมื่อรับประทานอาหาร
รปู แบบ “Healthy dietary pattern” ซง่ึ บรโิ ภคถวั่ ขา้ ว ผลติ ภณั ฑจ์ ากแปง้ สาลี และนม จะมคี วามเสย่ี ง
ต่อการเกิด NAFLD น้อยลง
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับเปล่ียนพฤติกรรมท่ีส่งเสริมให้ประชาชนที่เป็น NAFLD มีกิจกรรม
ทางกาย หรือออกก�ำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น ร่วมกับการรับประทานอาหารท่ีดีต่อสุขภาพ
เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์ของเปลี่ยนแปลงการด�ำรงชีวิตดังกล่าว ว่าจะมีผลในการรักษา NAFLD
รวมทั้งโรคร่วมไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคอ้วน และ Metabolic syndrome อย่างไร จะท�ำให้
เกิดองค์ความรู้ส�ำคัญในการให้ค�ำแนะน�ำเพื่อป้องกันและรักษาประชาชนชาวไทยท่ีเป็น NAFLD
ในวัยท�ำงาน ไม่เกิดโรคตับเร้ือรังระยะรุนแรง ก่อนท่ีประชาชนกลุ่มนี้จะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 131

การวจิ ยั และพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรักษา
โรคตับคัง่ ไขมันทไ่ี มไ่ ดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

บรรณานกุ รม

1. Younossi Z, Anstee QM, Marietti M, et al. Global burden of NAFLD and NASH: trends,
predictions, risk factors and prevention. Nat Rev Gastroenterol Hepatol. 2018;15(1):11-20.

2. Petta, S, Di Marco, V, Pipitone, RM, et al. Prevalence and severity of nonalcoholic fatty liver
disease by transient elastography: Genetic and metabolic risk factors in a general population.
Liver Int. 2018;38:2060-68.

3. Younossi ZM, Koenig AB, Abdelatif D, et al. Global epidemiology of nonalcoholic fatty liver
disease-Meta-analytic assessment of prevalence, incidence, and outcomes. Hepatology
2016;64:73-84.

4. Lim HW, Bernstein DE. Risk factors for the development of nonalcoholic fatty liver disease/
nonalcoholic steatohepatitis, including genetics. Clin Liver Dis. 2018;22:39-575.

5. Adams LA, Anstee QM, Tilg H, et al. Non-alcoholic fatty liver disease and its relationship with
cardiovascular disease and other extrahepatic diseases. Gut 2017;66:1138-53.

6. Targher, G.; Lonardo, A.; Byrne, C.D. Nonalcoholic fatty liver disease and chronic vascular
complications of diabetes mellitus. Nat. Rev. Endocrinol. 2018;14:99-114.

7. Unalp-Arida A, Ruhl CE. Liver fat scores predict liver disease mortality in the United States
population. Aliment Pharmacol Ther. 2018;48:1003-16.

8. Arendt BM, Comelli EM, Ma DW, et al. Altered hepatic gene expression in nonalcoholic
fatty liver disease is associated with lower hepatic n-3 and n-6 polyunsaturated fatty acids.
Hepatology 2015;61:1565-78.

9. Takeuchi Y, Yahagi N, Izumida Y, et al. Polyunsaturated fatty acids selectively suppress sterol
regulatory element-binding protein-1 through proteolytic processing and autoloop regulatory
circuit. J Biol Chem 2010;285:11681-91.

10. Zelber-Sagi S, Salomone F, Mlynarsky L. The Mediterranean dietary pattern as the diet of
choice for non-alcoholic fatty liver disease: Evidence and plausible mechanisms. Liver Int
2017;37:936-49.

11. Anania C, Perla FM, Olivero F, Pacifico L, Chiesa C. Mediterranean diet and nonalcoholic fatty
liver disease. World J Gastroenterol 2018;24:2083-94.

12. Parker HM, Johnson NA, Burdon CA, Cohn JS, O’Connor HT, George J. Omega-3 supplementation
and non-alcoholic fatty liver disease: a systematic review and meta-analysis. J Hepatol
2012;56:944-51.

13. Argo CK, Patrie JT, Lackner C, et al. Effects of n-3 fish oil on metabolic and histological parameters
in NASH: a double-blind, randomized, placebo-controlled trial. J Hepatol 2015;62:190-7.

14. Sanyal AJ, Abdelmalek MF, Suzuki A, Cummings OW, Chojkier M, Group E-AS. No significant
effects of ethyl-eicosapentanoic acid on histologic features of nonalcoholic steatohepatitis
in a phase 2 trial. Gastroenterology 2014;147:377-84 e1.

1 3 2 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบรโิ ภคและกิจกรรมทางกาย
ของผปู้ ่วยโรคตับค่ังไขมนั ทไี่ ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์
15. Ma J, Fox CS, Jacques PF, et al. Sugar-sweetened beverage, diet soda, and fatty liver disease
in the Framingham Heart Study cohorts. J Hepatol 2015;63:462-9.
16. Abdelmalek MF, Suzuki A, Guy C, et al. Increased fructose consumption is associated with
fibrosis severity in patients with nonalcoholic fatty liver disease. Hepatology 2010;51:1961-71.
17. Chiu S, Sievenpiper JL, de Souza RJ, et al. Effect of fructose on markers of non-alcoholic
fatty liver disease (NAFLD): a systematic review and meta-analysis of controlled feeding trials.
Eur J Clin Nutr 2014;68:416-23.
18. Haufe S, Engeli S, Kast P, et al. Randomized comparison of reduced fat and reduced
carbohydrate hypocaloric diets on intrahepatic fat in overweight and obese human subjects.
Hepatology 2011;53:1504-14.
19. Eckard C, Cole R, Lockwood J, et al. Prospective histopathologic evaluation of lifestyle
modification in nonalcoholic fatty liver disease: a randomized trial. Therap Adv Gastroenterol
2013;6:249-59.
20. Larsen TM, Dalskov SM, van Baak M, et al. Diets with high or low protein content and glycemic
index for weight-loss maintenance. N Engl J Med 2010;363:2102-13.
21. Markova M, Pivovarova O, Hornemann S, et al. Isocaloric Diets High in Animal or Plant Protein
Reduce Liver Fat and Inflammation in Individuals With Type 2 Diabetes. Gastroenterology
2017;152:571-85 e8.
22. Arslanow A, Teutsch M, Walle H, Grunhage F, Lammert F, Stokes CS. Short-Term Hypocaloric
High-Fiber and High-Protein Diet Improves Hepatic Steatosis Assessed by Controlled
Attenuation Parameter. Clin Transl Gastroenterol 2016;7:e176.
23. European Association for the Study of the L, European Association for the Study of D,
European Association for the Study of O. EASL-EASD-EASO Clinical Practice Guidelines for the
Management of Non-Alcoholic Fatty Liver Disease. Obes Facts 2016;9:65-90.
24. Aller R, Izaola O, de la Fuente B, De Luis Roman DA. Mediterranean Diet Is Associated with
Liver Histology in Patients with Non Alcoholic Fatty Liver Disease. Nutr Hosp 2015;32:2518-24.
25. Kontogianni MD, Tileli N, Margariti A, et al. Adherence to the Mediterranean diet is associated
with the severity of non-alcoholic fatty liver disease. Clin Nutr 2014;33:678-83.
26. Ryan MC, Itsiopoulos C, Thodis T, et al. The Mediterranean diet improves hepatic steatosis and
insulin sensitivity in individuals with non-alcoholic fatty liver disease. J Hepatol 2013;59:138-43.
27. Misciagna G, Del Pilar Diaz M, Caramia DV, et al. Effect of a Low Glycemic Index Mediterranean
Diet on Non-Alcoholic Fatty Liver Disease. A Randomized Controlled Clinici Trial. J Nutr
Health Aging 2017;21:404-12.
28. Marchesini G, Petta S, Dalle Grave R. Diet, weight loss, and liver health in nonalcoholic fatty
liver disease: Pathophysiology, evidence, and practice. Hepatology 2016;63:2032-43.
29. Guo R, Liong EC, So KF, Fung ML, Tipoe GL. Beneficial mechanisms of aerobic exercise on
hepatic lipid metabolism in non-alcoholic fatty liver disease. Hepatobiliary Pancreat Dis Int
2015;14:139-44.

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 133

การวิจยั และพฒั นาแนวทางการป้องกันและรกั ษา
โรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ไดเ้ กดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย
30. Hashida R, Kawaguchi T, Bekki M, et al. Aerobic vs. resistance exercise in non-alcoholic fatty

liver disease: A systematic review. J Hepatol 2017;66:142-52.
31. Oh S, Shida T, Yamagishi K, et al. Moderate to vigorous physical activity volume is an important

factor for managing nonalcoholic fatty liver disease: a retrospective study. Hepatology
2015;61:1205-15.
32. Keating SE, Hackett DA, Parker HM, et al. Effect of aerobic exercise training dose on liver fat
and visceral adiposity. J Hepatol 2015;63:174-82.
33. Klein EA, Thompson IM, Jr., Tangen CM, et al. Vitamin E and the risk of prostate cancer: the
Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT). JAMA 2011;306:1549-56.
34. Sung KC, Ryu S, Lee JY, Kim JY, Wild SH, Byrne CD. Effect of exercise on the development
of new fatty liver and the resolution of existing fatty liver. J Hepatol 2016;65:791-7.
35. Ritchie LD, Spector P, Stevens MJ, Schmidt MM, Schreiber GB, StriegelMoore RH, Wang M-C,
Crawford PB. Dietary patterns in adolescence are related to adiposity in young adulthood
in black and white females. J Nutr. 2007;137(2):399-406.
36. Zelber-Sagi S, Ivancovsky-Wajcman D, Isakov NF, Webb M, Orenstein D, Shibolet O, Kariv R.
High red and processed meat consumption is associated with non-alcoholic fatty liver disease
and insulin resistance. J Hepatol. 2018;68(6):1239-46.
37. Oddy WH, Herbison CE, Jacoby P, Ambrosini GL, O’sullivan TA, Ayonrinde OT, Olynyk JK,
Black LJ, Beilin LJ, Mori TA. The Western dietary pattern is prospectively associated with
nonalcoholic fatty liver disease in adolescence. Am J Gastroenterol. 2013;108(5):778.
38. Liu S, Willett WC, Stampfer MJ, Hu FB, Franz M, Sampson L, Hennekens CH, Manson JE. A
prospective study of dietary glycemic load, carbohydrate intake, and risk of coronary heart
disease in US women. Am J Clin Nutr. 2000;71(6):1455-61.
39. Schwarz J-M, Linfoot P, Dare D, Aghajanian K. Hepatic de novo lipogenesis in normoinsulinemic
and hyperinsulinemic subjects consuming high-fat, low-carbohydrate and low-fat,
high-carbohydrate isoenergetic diets. Am J Clin Nutr. 2003;77(1):43-50.
40. Scribner KB, Pawlak DB, Ludwig DS. Hepatic steatosis and increased adiposity in mice consuming
rapidly vs slowly absorbed carbohydrate. Obesity. 2007;15(9):2190-9.
41. Valtuena S, Pellegrini N, Ardigo D, Del Rio D, Numeroso F, Scazzina F, Monti L, Zavaroni I,
Brighenti F. Dietary glycemic index and liver steatosis. Am J Clin Nutr. 2006;84(1):136-42.
42. Shen X, Jin C, Wu Y, Zhang Y, Wang X, Huang W, Li J, Wu S, Gao X. Prospective study of
perceived dietary salt intake and the risk of non-alcoholic fatty liver disease. J Hum Nutr
Diet. 2019;32(6):802-9.
43. Parra-Vargas M, Rodriguez-Echevarria R, Jimenez-Chillaron JC. Nutritional Approaches for the
Management of Nonalcoholic Fatty Liver Disease: An Evidence-Based Review. Nutrients. 2020
Dec 17;12(12):3860. doi: 10.3390/nu12123860.
44. Esmaeillzadeh A, Azadbakht L, Khoshfetrat MR, Kimiagar M. Major dietary patterns, general
and central adiposity among Tehrani female teachers. Health Syst Res. 2011;6(4):676-89.

1 3 4 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผปู้ ่วยโรคตบั ค่งั ไขมันท่ไี ม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์
45. Masterjohn C, Bruno RS. Therapeutic potential of green tea in nonalcoholic fatty liver disease.
Nutr Rev. 2012;70(1):41-56
46. Mohammadifard N, Sarrafzadegan N, Nouri F, Sajjadi F, Alikhasi H, Maghroun M, Kelishadi R,
Iraji F, Rahmati M. Using factor analysis to identify dietary patterns in Iranian adults: Isfahan
Healthy Heart Program. Int J Public Health. 2012;57(1):235-41.
47. Harrison SA, Torgerson S, Hayashi P, Ward J, Schenker S. Vitamin E and vitamin C treatment
improves fbrosis in patients with nonalcoholic steatohepatitis. Am J Gastroenterol.
2003;98(11):2485-90.
48. Musso G, Gambino R, De Michieli F, Cassader M, Rizzetto M, Durazzo M, Fagà E, Silli B, Pagano G.
Dietary habits and their relations to insulin resistance and postprandial lipemia in nonalcoholic
steatohepatitis. Hepatology. 2003;37(4):909-16.
49. Tanaka N, Sano K, Horiuchi A, Tanaka E, Kiyosawa K, Aoyama T. Highly purifed eicosapentaenoic
acid treatment improves nonalcoholic steatohepatitis. J Clin Gastroenterol. 2008;42(4):413-8.
50. Kris-Etherton PM, Pearson TA, Wan Y, Hargrove RL, Moriarty K, Fishell V, Etherton TD.
High-monounsaturated fatty acid diets lower both plasma cholesterol and triacylglycerol
concentrations. Am J Clin Nutr. 1999;70(6):1009-15.
51. Hołowko-Ziółek J, Cięszczyk P, Biliński J, Basak GW, Stachowska E. What model of nutrition
can be recommended to people ending their professional sports career? An analysis of
the Mediterranean diet and the CRON diet in the context of former athletes. Nutrients.
2020;12(12):3604.
52. Kouvari M, Boutari C, Chrysohoou C, Fragkopoulou E, Antonopoulou S, Tousoulis D, Pitsavos C,
Panagiotakos DB, Mantzoros CS. Mediterranean diet is inversely associated with steatosis
and fbrosis and decreases ten-year diabetes and cardiovascular risk in NAFLD subjects:
Results from the ATTICA prospective cohort study. Clin Nutr. 2020. S0261-5614(20)30605-1.
53. Kaliora AC, Gioxari A, Kalafati IP, Diolintzi A, Kokkinos A, Dedoussis GV. The efectiveness of
Mediterranean diet in nonalcoholic fatty liver disease clinical course: an intervention study.
J Med Food. 2019;22(7):729-40.
54. Abenavoli L, Greco M, Milic N, Accattato F, Foti D, Gulletta E, Luzza F. Efect of Mediterranean
diet and antioxidant formulation in non-alcoholic fatty liver disease: a randomized study.
Nutrients. 2017;9(8):870.

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 135

การวจิ ัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรกั ษา
โรคตับค่ังไขมนั ท่ีไม่ได้เกดิ จากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

ภาคผนวก

สรุปผลงานวิจัย (สำ� หรบั ประชาสมั พนั ธ์)
ข้อมูลจากการส�ำรวจสุขภาพของประชาชนชาวไทยในคร้ังน้ี ได้แสดงให้เห็นว่าโรคตับค่ังไขมัน
ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ก�ำลังเป็นปัญหาทางสุขภาพของประเทศไทย โดยพบว่าเกือบถึงหน่ึงในห้า
ของประชาชนชาวไทยตรวจพบว่าเป็นโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ซึ่งพบความชุก
สูงสุดในวัยท�ำงานอายุ 45-59 ปี ก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โรคตับเร้ือรังชนิดนี้เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดง
อาการทางคลินิก เมื่อเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังจะท�ำให้ประชาชนเกิดพังผืดตับระยะรุนแรงเม่ือเข้าสู่
สังคมสูงวัย รวมทั้งยังพบว่าประชาชนที่เป็นโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ มีโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรังท่ีส�ำคัญ คือ โรคอ้วน ร่วมกับลักษณะทางคลินิกของกลุ่มโรคทางเมทาบอลิก ได้แก่ ภาวะอ้วน
ลงพุง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง และภาวะไขมันเฮชดีแอล
ในเลือดต�่ำ ซ่ึงเป็นลักษณะทางคลินิกของภาวะด้ืออินซูลินที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทย
เม่ือรับประทานอาหารลักษณะ “High-calorie dietary pattern” ซึ่งมีแคลอรี่สูงและประกอบ
ไปด้วยเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีไขมันสูงหรือเกลือปริมาณมาก น�ำมาทอดหรือปรุงด้วยน้�ำมะพร้าว
รวมท้ังการบริโภคน้�ำตาลจากผลไม้และน้�ำอัดลม จะส่งเสริมให้เกิดโรคตับคั่งไขมันท่ีไม่ได้เกิดจาก
แอลกอฮอล์ ในขณะที่การบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” โดยบริโภคข้าว
ถั่ว ผลิตภัณฑ์แป้งสาลี และนม เป็นองค์ประกอบหลักของอาหาร ซึ่งคล้ายกับอาหารมังสวิรัติ
สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้อย่างชัดเจน
กิจกรรมทางกายเป็นปัจจัยส�ำคัญในการป้องกันการเกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
โดยการศึกษาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนท่ีมีกิจกรรมการเดินอย่างสม�่ำเสมอในปริมาณ
ที่เหมาสม มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้น้อยกว่าบุคคลที่ไม่ค่อยลุกเดิน ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้เวลา
กับการน่ังเฉย ๆ ในแต่ละวัน ซึ่งการวิจัยคร้ังน้ีได้แสดงให้เห็นว่าประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิง
ท่ีมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ เม่ือบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” จะ
ช่วยลดความเส่ียงต่อการเกิดโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ได้อย่างชัดเจน ในขณะที่
ประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายน้อย จะส่งเสริมให้เกิดโรคตับค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ถ้าบริโภคอาหารรูปแบบ “High-calorie dietary pattern” ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าการปรับเปลี่ยน
กิจกรรมทางกาย ร่วมกับการปรับรูปแบบอาหารที่บริโภคในชีวิตประจ�ำวัน น่าจะเป็นค�ำแนะน�ำ
ที่ส�ำคัญในการป้องกันและดูแลรักษาประชาชนชาวไทยในวัยท�ำงานท่ีเป็นโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้
เกิดจากแอลกอฮอล์ เพ่ือป้องกันการเกิดโรคตับเรื้อรังระยะรุนแรงก่อนท่ีประชาชนเหล่านี้จะเข้าสู่
สังคมผู้สูงวัยในอนาคต

1 3 6 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การบริโภคและกจิ กรรมทางกาย
ของผู้ปว่ ยโรคตบั ค่ังไขมันท่ีไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

สรปุ ผลงานวิจัย

การเก็บข้อมูลเก่ียวกับกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในประชาชน
ชาวไทยท่ีเข้าร่วมการตรวจสุขภาพ จ�ำนวน 18,468 คน พบว่าการบริโภคอาหารรูปแบบ
“High-calorie dietary pattern” ซึ่งมีแคลอร่ีสูงท่ีประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์แปรรูป
มีไขมันและเกลือปริมาณมาก ร่วมกับน้�ำตาลจากน้�ำอัดลมและผลไม้ จะส่งเสริมให้เกิด
NAFLD ในขณะท่ีการบริโภคอาหารรูปแบบ “Healthy dietary pattern” ประกอบด้วย
ถั่ว ข้าว ผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี และนม สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD
ในประชาชนไทยท่ีมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION 137

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการป้องกนั และรักษา
โรคตับคั่งไขมันทไ่ี ม่ไดเ้ กิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

สรุปงานวิจัย การบริโภคและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคตับค่ังไขมันที่ไม่ได้
เกดิ จากแอลกอฮอล์

Dietary pattern and physical activity of
patients with nonalcoholic fatty liver disease
The National Health Examination Survey of 18,468 adults

Prevalence of NAFLD is 19.7% (Male 20.9%, Female 18.6%)

High-calorie Nofna-tatylcloivheorlic Healthy Liver Healthy
dietary pattern Fat cells dietary pattern

Low physical High physical
activity activity

Increased riskof NAFLD Decreased risk of NAFLD

Liver cells

1 3 8 Research and development of preventive and therapeutic strategies for

การวิจัยและพัฒนา
แนวทางการป้องกันและรักษา

Index

Research and development of preventive and therapeutic strategies for 139

NONALCOHOLIC FATTY LIVER DISEASE IN THAI POPULATION

การวิจัยและพัฒนาแนวทางการปอ้ งกนั และรกั ษา
โรคตับคงั่ ไขมนั ทีไ่ มไ่ ด้เกิดจากแอลกอฮอล์ในประชาชนชาวไทย

A

Adipokine 108, 130
Advanced fibrosis 8, 10, 18-23, 43-47, 49, 53, 64-66, 78, 85, 104, 106, 118
Aerobic exercise 108
Albumin 27, 28, 41, 46, 70, 71, 78, 110, 120, 121
Alcohol consumption 32, 115
Alcohol dependence 32, 115
Alkaline phosphatase 27, 41, 46, 70, 78, 110
Aminotransferase 22, 41, 46, 78, 120
APRI 22
Atherosclerosis 21, 68, 69

BARD 22 B
Bilirubin 27, 41, 46, 70, 78, 110, 120, 121
Blood pressure 33, 116
Blood urea nitrogen 27, 41, 46, 70, 78, 110, 121
Body mass index 11, 18, 28, 71, 105, 112

Central obesity 18, 40, 42, 45, 47, 77, 120 C
Cholesterol 27, 34, 41, 46, 70, 78, 110, 117, 120, 121
Controlled attenuation parameter 28, 29, 43
Creatinine 27, 41, 46, 70, 78, 110, 120, 121

De-novo lipogenesis 128 D
DNA extraction 71
Dose-response relationship 127
Dyslipidemia 10, 20, 34, 66, 104, 117

Enumeration area 24, 26 E

F

Factor analysis 102, 122
Fast-food 11, 105
Fatty acids 106, 107, 128, 129
Fatty liver index 8, 16, 18, 22, 28, 35, 49-51, 62, 64, 70, 71, 88, 100, 102, 110, 112, 118
Fibrosis-4 score 3, 6, 8, 16, 17, 28, 43, 49, 51, 57, 62, 64, 70, 78, 118
Food factor score 111
Food frequency questionnaire 8, 102, 122

G

Gamma-glutamyl transpeptidase 27, 41, 70, 78, 107, 110, 120
GCKR 8, 11, 62-65, 67-73, 75, 79-84, 86-88
Genetic Polymorphism 8, 64, 66
Genetic risk score 3, 62-64
Genome wide association study 10
Globulin 27, 41, 46, 70, 78, 110, 120, 121
Glucokinase regulator 11, 65, 67
Gluconeogenesis 21
Glucose 27, 41, 46, 70, 78, 108, 110, 120, 121
Glycogen synthesis 21

1 4 0 Research and development of preventive and therapeutic strategies for


Click to View FlipBook Version