The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jeabt0205, 2022-05-04 03:17:49

E-book R_D

E-book R_D

1

1

วิจยั และพฒั นา

(Research and Development)

เพื่อประยกุ ตใ์ ชใ้ นงานดา้ นสาธารณสขุ

สารบญั 2

บทที่ 1 ความหมายและผลลพั ธ์ของการวจิ ัยและพัฒนา หน้า
บทท่ี 2 จุดเริม่ ตน้ ในการทำวิจยั และพฒั นา 1
บทท่ี 3 การกำหนดคำถาม ช่ือเรอ่ื ง และวตั ถปุ ระสงคใ์ นการวจิ ัยและพัฒนา 4
บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการกำหนดกรอบแนวคดิ 10
13
เพ่ือประกอบการทำวจิ ยั และพัฒนา
บทที่ 5 ขอบเขตของการวิจัยและพฒั นา 22
บทที่ 6 นยิ ามศัพท์ในการวจิ ยั และพัฒนา 28
บทท่ี 7 ประโยชนท์ ี่คาดว่าจะไดร้ ับจากการทำวจิ ยั และพัฒนา 31
บทที่ 8 ข้นั ตอน และกระบวนการของการวจิ ัยและพฒั นา 33
บทที่ 9 เครือ่ งมอื ในการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ในการวิจัยและพัฒนา 69
บทท่ี 10 การเก็บรวบรวมขอ้ มูลและการวเิ คราะห์ขอ้ มลู 74
บทที่ 11 องค์ประกอบในการทำรายงานการวจิ ัยและพฒั นา 75

1

บทที่ 1
ความหมายและผลลัพธ์ของการวิจัยและพัฒนา

การวิจยั และพฒั นา ประกอบด้วย 2 คำ คอื วจิ ยั (Research) และพัฒนา (development)
ดังน้ันจงึ ต้องมาทำความเข้าใจความหมายของ 2 คำนี้ใหช้ ัดเจนกอ่ นดงั น้ี

1.1 ความหมายของการวิจัย (Research)
การวจิ ัยมีความหมายมาจากคำ 2 คำ คอื RE + SEARCH ซง่ึ แปลว่า การค้นหาซ้ำแลว้ ซำ้ อีก
หากจะแปลความหมายให้ยาวขึ้น การวิจัย คือ กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบ

ปญั หาทม่ี อี ย่อู ย่างมีระบบ และมีวตั ถุประสงค์ทีแ่ นน่ อน โดยอาศยั กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดย
การเข้าถึงความจริงนัน้ ต้องอาศัยการวิจัย การอาศัยเพียงความเชื่อ ความคิดเห็น และเหตุผลเท่าน้นั
ไม่พอ

เช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีทารกคลอดน้ำหนักน้อยในอัตราที่สูงมาก แล้ววันหนึ่ง รพ.แห่งน้ี
ต้องรับการนิเทศงาน แล้วมีคำถามจากผู้นิเทศว่า อัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยที่นี่เป็นอย่างไร
บุคลากรในโรงพยาบาลคงพอตอบได้คร่าวๆ หากมีการเก็บข้อมูลไว้บ้าง ว่าในปีงบประมาณที่ผ่านมา
หรือปีงบประมาณนี้ มีอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อยู่ที่ ร้อยละ ... แต่หากเมื่อมีการ
ถามคำถามต่อว่า การที่ทารกคลอดออกมาน้ำหนักน้อยเกิดจากสาเหตุอะไร? หากบุคลากร รพ.แห่งน้ี
ตอบว่า น่าจะเป็นเพราะเหตุโน้นเหตุนี้ ก็คงต้องมาชั่งน้ำหนักกันว่าจะเชื่อถือได้ แค่ไหน นี่ก็เป็น
เหตุผลตวั อย่างทีแ่ สดงใหเ้ ห็นถงึ สาเหตุทเ่ี ราตอ้ งทำวจิ ัย เพราะจะได้คำตอบท่ชี ดั เจนกว่าการคิดเอาเอง

ซ่งึ หากมาดูขน้ั ตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จะประกอบดว้ ย 7 ขั้นตอน ดงั น้ี

1. ตระหนกั ถึงปญั หา

2. กำหนดขอบเขตของปัญหา
3. กำหนดสมมตฐิ าน
4. กำหนดเทคนิคการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
5. รวบรวมข้อมลู
6. วิเคราะห์ขอ้ มูล
7. สรุปผล

2

จะเห็นได้ว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการตระหนักถึงปัญหา ดังน้ัน
ผู้ทำการวิจัยจึงต้องรู้ว่า ปัญหาที่เราทำอยู่นั้นคืออะไร ต้องการหาคำตอบเรื่องอะไรมาพัฒนางานใน
ส่วนใดของเรา ผู้เขียนจะไม่ใช้คำว่าการค้นหาปัญหา เพราะการค้นหาจะทำให้เราเหมือนมองพุ่งสิ่งท่ี
ทำงานอยู่ว่าเป็นปัญหา แต่ให้ใช้คำว่าตระหนักจะดีกว่า เพราะหากตระหนักก็จะมองหาแนวทางใน
การแกไ้ ขปญั หาตอ่ ไป

มีตัวอยา่ งทีเ่ ห็นไดช้ ัดถงึ ความสำคญั ของการทำวจิ ัย เปน็ งานวิจยั ของสมศรี โพธปิ์ ระสทิ ธิ์
และจารุพร จันทาศรี (2561) ได้รับผิดชอบงานให้ดูแลคลินิกอดบุหรี่ จากการทำงานของเขาพบว่า
การใช้วิธีการเดิมๆ คอื การใหส้ ขุ ศึกษา แนะนำการอดบหุ ร่ีด้วยวธิ กี ารใหอ้ มลกู อมบา้ ง แนะนำใหท้ ำใจ
ให้แน่วแน่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้การเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น แต่มาวันหนึ่งเขาได้ไปอบรมด้านการแพทย์แผน
ไทยที่เป็นการนวดกดจุดที่บริเวณเท้าเพื่อลดความอยากของคนที่สูบบุหรี่ จุดเริ่มต้นของเขามาด้วย
ความตระหนักถึงปัญหาการวิจัยว่ามีวิธีการไหนอีกบ้างไหมที่จะช่วยคนสูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้ จึงนำ
วิธีการนวดกดจุดมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน แต่ต้องพิสูจน์ด้วยกระบวนการวิจัยก่อนว่าวิธีการนี้จะ
ได้ผลดีกว่าวิธีเดิมหรือไม่ และวิธีการน้ีจะสามารถช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้หรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการ
เป็นทางเลือกสำหรับการดำเนินงานในคลินิกอดบุหรี่ ผลการวิจัยออกมาว่า วิธีการนวดกดจุดบริเวณ
เท้าเป็นเวลา 2 เดือน สามารถช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งให้ผลดีกว่าการดำเนินการเดิมท่ีเขาทำอยู่ เขา
จงึ นำวิธกี ารนเ้ี ป็นแนวทางการดำเนนิ งานแกไ้ ขปัญหาของเขามาจนปัจจบุ นั

1.2 ความหมายของการพัฒนา (development)
การพฒั นา คือการทำให้เกิดการเปล่ยี นแปลงหรือการดำเนินการเพอื่ ทำให้ดขี ้นึ

ดังนนั้ ความหมายของการวิจัยและพฒั นา (Research and development : R&D)
คือ งานวจิ ยั ทม่ี ุง่ เนน้ นำผลงานวจิ ัยไปใชป้ ระโยชน์ไดโ้ ดยตรง อยา่ งเป็นรปู ธรรม เห็นผลที่ชดั เจน
ในการพฒั นาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ซ่ึงงานวจิ ัยและพัฒนาเป็นการวิจยั ลักษณะหน่ึงที่มปี ระโยชนอ์ ย่างย่ิงต่อการพฒั นางาน พัฒนา
วิชาชีพ หรือการพัฒนาวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยในปัจจุบันองค์กรจำนวนมากได้พยายามส่งเสริมให้
บุคลากรในสงั กัดมีความรู้ความสามารถด้านการวจิ ัยและพฒั นา โดยเชื่อวา่ การวจิ ยั และพัฒนาจะช่วย
ใหไ้ ด้ทางเลือกหรอื วิธีการใหมๆ่ ทจี่ ะชว่ ยใหก้ ารปฏบิ ตั งิ านมีประสทิ ธภิ าพเพิ่มมากขนึ้ เป็นลำดับ

3

1.3 ผลลัพธ์ของการวิจยั และพัฒนา
ผลลพั ธข์ องการวิจัยและพฒั นา ย่อมเกดิ ส่ิงต่างๆ อย่างใดอย่างหน่ึงต่อไปน้ี
1. นวัตกรรมประเภทวตั ถทุ ่ีเปน็ ชิน้ อนั ซ่งึ อาจเป็นประเภท วสั ดุ/อปุ กรณ/์ ชนิ้ งาน เชน่ รถยนต์

คอมพิวเตอร์ ชดุ การสอน ส่ือการสอน ชดุ กิจกรรมเสรมิ ความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เปน็ ตน้
2. นวตั กรรมประเภททเ่ี ปน็ รปู แบบ /วธิ กี าร/ กระบวนการ/ระบบปฏบิ ัติการ อาทิ รปู แบบการ

สอน วธิ ีการสอน รปู แบบการบริหารจดั การ ระบบการทำงาน เปน็ ต้น
ผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยและพัฒนา คุณค่าของงานจะอยู่ที่ “สิ่งประดิษฐ์/ผลงาน

เป็นชิ้นเป็นอันที่สร้างขึ้น” หรือ “วิธีการ/รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ” ที่พัฒนาขึ้น
ผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณค่ามาก คือ กรณีที่สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการที่ “ดูดี มีคุณค่า
ใชง้ านได้อยา่ งดี มีประสทิ ธภิ าพ”

4

บทที่ 2
จุดเรมิ่ ต้นในการทำวจิ ยั และพัฒนา

2.1 การเตรยี มตัวในการทำ
สำหรับนักวิจัยมือใหม่ หรือรวมทั้งนักวิจัยที่เคยมีประสบการณ์การทำวิจัยมาแล้วก็ตาม หาก

จะประสบความสำเร็จในการทำวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง นั้นจะต้องมีการเตรียมตัว
ตอ่ ไปนี้

2.1.1 กำหนดเปา้ หมายในการทำวิจัย
การทำวิจัยครั้งนี้ จะทำไปเพื่ออะไร เพราะหากเรามีเป้าหมายอะไรสักอย่าง จะทำให้

เราจดจ่อที่จะทำสิ่งนั้น เช่น ผู้วิจัยพบปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) ใน
ผู้ป่วยที่สวนคาสายสวนปัสสาวะ จึงกำหนดเป้าหมายในการทำวิจัยไว้ว่า ต้องการลดการติดเชื้อน้ัน
เมื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้ผู้วิจัยมามองที่สาเหตุของปัญหาว่าเกิดมาจากสิ่งใด และใคร
เป็นผู้เกี่ยวข้องที่จะทำให้ปัญหาที่มีหมดไปได้ ตัวอย่างเช่นงานวิจัยของ บุญพา ทรงจิ๋ว และวาสนา
เลี่ยมยองใย (2561) ดงั น้ี

ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด มีความจำเป็นที่จะต้องสวนคาสายสวนปัสสาวะเป็น
เวลานาน บางรายไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะอุจจาระได้ หรือได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องสวมใส่
ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปหรือผ้ารองกันเปื้อนไว้เพื่อความสะดวกของผู้ดูแลและผู้ป่วยเอง ซึ่งอาจพบว่า
เมื่อผู้ป่วยถ่ายอุจจาระแล้วไม่ได้ทำความสะอาดโดยทันทีไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการ
ปนเปื้อนของอุจจาระเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย Escherichia
coli (E. coli) อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิเช่น เกิดการติดเชื้อซ้ำ เกิดความ
เสียหายต่อไตอย่างถาวร อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) โดยเฉพาะในกรณีที่ติด
เชอื้ บรเิ วณไต (urosepsis) ซ่ึงมีอันตรายถงึ แก่ชีวิต

ญาตขิ องผปู้ ว่ ยท่ีสวนคาสายสวนปัสสาวะ เป็นบุคคลท่ีทำหน้าท่ีดแู ลผู้ป่วยโดยตรงเรื่อง
นี้ จะต้องมีความรู้ในการดูแลและเลือกใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูป และมีความสามารถในการดูแล
ผู้ปว่ ยทค่ี าสายสวนปัสสาวะในผู้ปว่ ยท่ีใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูป เพอ่ื ปอ้ งกันการเกิดการติดเช้ือ ผู้วิจัย
จึงมีการพัฒนาโปรแกรมการเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะใน
ผู้ป่วยที่ใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูป โดยโปรแกรมจะบอกตั้งแต่การเลือกใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปท่ี
เหมาะสม ขัน้ ตอนการสวมใสผ่ ้าอ้อมผูใ้ หญส่ ำเร็จรปู ที่ถกู ต้อง และขน้ั ตอนการดแู ลรกั ษาความสะอาด
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้ป่วยที่สวนคาสายสวนปัสสาวะ ประกอบด้วยการบรรยายและการใช้วิดีโอ

5

สาธิต รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้และมีความสามารถในการดูแลและ
เลือกใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ หากญาติ/ผู้ดูแลเกิดความรู้ และ
ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยก็จะนำไปปฏิบัติกับคนป่วยได้อย่างถูกต้อง และลดการติดเช้ือ
แบคทเี รยี Escherichia coli (E. coli) ในผ้ปู ว่ ยที่สวนคาสายสวนปัสสาวะได้ ซง่ึ เป็นเป้าหมายท่ีผู้วิจัย
ได้กำหนดไว้ตัง้ แต่ต้น

2.1.2 เตรียมจิตใจทมี่ งุ่ มั่นในการทำงาน เพ่อื ให้งานสำเรจ็
ผู้วิจัยต้องตั้งมั่นกับตัวเองเลยว่า ฉันจะต้องทำสำเร็จ ไม่พยายามที่จะชักนำความคิด

ตนเองว่าเราไม่สามารถทำได้ เพราะความคิดนั้นจะนำพาให้เราปฏิบัติเช่นนั้นต่อไป หมั่นให้กำลังใจ
ตนเองแบบสมำ่ เสมอ พดู คุยกับคนทีท่ ำงานวจิ ัยสำเรจ็ เพ่ือจะได้รบั แรงบันดาลใจจากเขา

2.1.3 บริหารจัดการเวลาได้
สำหรับข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะงานวิจัยจะต้องมีความทันสมัยในการเผยแพร่

ข้อมูล หากผู้วิจัยปล่อยเวลาผ่านนานเกินไป การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยให้ทันการณ์จะน้อยลง
หลักการทำงานวิจัย คอื ควรทำประจำ สม่ำเสมอ ไม่ควรเรง่ รดั ทำในเวลาเพียงไม่กวี่ ัน เพราะการทำที่
สม่ำเสมอด้วยการอ่าน การวิเคราะห์ สังเคราะห์ จะทำให้เราได้ตัวแปรที่ตกผลึกออกมา สำหรับคนที่
เรม่ิ ต้นทำงานวจิ ัยแนะนำใหใ้ ชเ้ วลากับงานวจิ ัยประมาณวนั ละ 1-2 ชัว่ โมง โดยการอ่านแนวคิด ทฤษฎี
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเขียนประเด็นงานออกมาจะทำให้เราได้เห็นแนวทางการหาคำตอบที่เรา
ต้องการ และที่สำคัญหากอ่านมากๆ จะทำให้เห็นว่า งานวิจัยที่มีการทำที่ผ่านมายังขาดช่องว่างที่จะ
หาคำตอบอะไรอีกบ้าง และงานที่เราทำอยู่นั้นจะหาคำตอบตรงส่วนไหน ได้อย่างไร มีความแตกต่าง
กับงานวจิ ัยท่ีได้ทำไปแล้วอยา่ งไร จะทำให้ไดอ้ งคค์ วามรู้ใหม่ และตอ่ ยอดองคค์ วามรู้เดมิ ได้

หลายคนประสบปัญหาการทำงานวิจัยไม่สำเร็จ เพราะภาระงานมาก มีสิ่งที่ผู้เขียน
แนะนำคือ ให้ทำงานวิจัยเป็นทีม แบ่งภาระหน้าที่ช่วยเหลือกันไป หากคนใดคนหนึ่งติดงานก็ยังมีคน
อน่ื ท่ีจะทำหนา้ ท่ตี อ่ ไปได้ และจากประสบการณ์การสอนทผ่ี ่านมาพบว่า การทำงานวิจยั เป็นทีมจะทำ
ใหง้ านวิจยั สำเรจ็ มากกวา่ ทำเด่ยี ว

หากผู้วิจัยทราบว่าจะต้องใช้ผลงานวิจัยช่วงไหน ก็มาวางแผนการทำงานวิจัยให้
สามารถใช้ผลจากงานวิจัยไดท้ ันว่า จะทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างกรอบความคดิ เขียนโครงร่างการ
วิจัย ผ่านจริยธรรมการวิจัย เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลช่วงไหน บางคนต้องมีการพิจารณา

6

ช่วงเวลาสำหรับการเผยแพรง่ านวิจัยด้วย เพราะหากผู้วิจยั ไมไ่ ด้วางแผนตรงนแ้ี ล้วจะทำให้งานวิจัยไม่
สำเรจ็ หรืออาจสำเร็จไม่ตรงตามเวลาท่ีกำหนด

2.2 วิเคราะหจ์ ุดท่มี ี จุดที่ขาด จุดทีต่ ้องการพัฒนา
โดยทำการวิเคราะหว์ ่า รูปแบบ แนวทาง ระบบเก่า เป็นอย่างไร? และรูปแบบ แนวทาง

ระบบใหมจ่ ะ ควรเป็นอยา่ งไร ?
ขอยกตัวอย่างงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วย

หายใจโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม” ของ สำลี คิมนารักษ์ (2562) ผู้วิจัยไดท้ ำการวิเคราะห์จุดที่มี จุดที่ขาด จุดที่
ตอ้ งการพัฒนาในการทำวจิ ัย ดังนี้

โรงพยาบาลนครปฐม เป็นโรงพยาบาลขนาด 722 เตียง ให้บริการในระดับตติยภูมิและศูนย์
ความเชี่ยวชาญ 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์ทารกแรกเกิด ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์มะเร็งและศูนย์
ปลูกถ่ายอวัยวะ มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จุดเน้นในการพฒั นาคอื ความปลอดภัยผูป้ ่วยและ
ผู้ให้บริการ มีห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) จำนวน 5 ห้อง ได้แก่ 1) ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2) ห้อง
ผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาทและสมอง 3) ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก 4) ห้อง
ผู้ป่วยหนักอายุรกรรม และ 5) ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรคหัวใจ จัดอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพต่อ
ผู้ป่วยเท่ากับ 1:2 มีผู้ป่วยวิกฤตต้องใส่ท่อช่วยหายใจรวมทั้งใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 90 จำนวน
เตียงผู้ป่วยหนักมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งต้องรับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญ จัด
อัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพต่อผู้ป่วยเท่ากับ 1:10 -12 ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่าง
ต่อเนื่อง พบอุบัติการณ์ความเสี่ยงจากการเกิด UE จำนวน 118 และ 111 ครั้ง ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
กลบั ซำ้ จำนวน 7 และ 9 ครงั้ ในปี 2557 และ 2558

จากการวิเคราะห์สาเหตุการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ( Unplanned
Endotracheal Extubation: UE) ในผู้ปว่ ยใส่ทอ่ ช่วยหายใจ โรงพยาบาลนครปฐม พบว่า

ด้านผู้ป่วย เกิดจากระดับความรู้สึกตัวดีแต่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจำเป็นต้องใส่ท่อช่วย
หายใจและเคร่อื งช่วยหายใจ มนี ้ำลายในช่องปากมาก ปริมาณเสมหะในทอ่ ช่วยหายใจมาก รู้สกึ มกี ้อน
ติดอย่ใู นลำคอ กลืนนำ้ ลายไม่ลง เจบ็ คอ พดู ไม่ได้ พูดไมม่ ีเสียง หวิ นำ้ ปวดเมอื่ ยอยากลกุ นงั่ บางรายมี
ภาวะสับสนแต่มีข้อจำกัดในการไดร้ ับยาช่วยให้อาการสบั สนลดลง ได้รับการผูกมัดตลอดเวลาท่ีใส่ท่อ
ช่วยหายใจ

7

ด้านบุคลากร มีผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยต้องดูแลผู้ป่วยวิกฤตเจ็บป่วยรุนแรง
และมีความซับซ้อน อัตรากำลังไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยทำให้ไม่สามารถอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยได้ตลอดเวลา
ในปี 2558 ไดจ้ ัดชมุ ชนนกั ปฏิบตั ิ ครงั้ ที่ 1 ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชพี จากห้องผ้ปู ว่ ยหนกั หอผู้ป่วย
สามญั และหอผู้ป่วยพิเศษ ซึ่งเป็นหนว่ ยงานทดี่ ูแลผปู้ ่วยใสท่ ่อช่วยหายใจ รว่ มกันกำหนดวิธีปฏิบัติการ
พยาบาลเพ่ือปอ้ งกัน UE ประกอบด้วย 1) การอธิบายเหตุผลของการใสท่ อ่ ชว่ ยหายใจ 2) การประเมิน
ความเสี่ยงเกิด UE โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Motor Activity Assessment
Scale: MAAS) 3) การดูแลผู้ป่วยขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ประกอบด้วยการดูดเสมหะและการดแู ลช่อง
ปาก 4) การประเมินความปวดและการจัดการความปวด แต่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์และเครื่องมือท่ี
ใช้ในการประเมินความปวด 5) การประเมินความพร้อมถอดท่อช่วยหายใจใช้ตามดุลพินิจของแพทย์
และทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติแก่ผู้ปฏิบัติ หัวหน้าหอผู้ป่วยและหัวหน้าหน่วยงาน นำวิธีปฏิบัติสู่การ
ปฏิบัติจริง ในปี 2559 และ 2560 พบอุบัติการณ์การเกิด UE จำนวน 207 และ119 ครั้ง ต้องใส่ท่อ
ชว่ ยหายใจกลบั ซำ้ จำนวน 25 และ 3 คร้ัง

ในปี 2560 ได้จัดประชุมทบทวนวิธีปฏิบัติการพยาบาลครั้งที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุการเกิด UE
พบว่า

ด้านอปุ กรณเ์ คร่อื งมอื มีคณุ ภาพไมเ่ หมาะสมกบั การใช้งาน ประสานงานกบั ผ้รู ับผดิ ชอบในการ
จัดหาอุปกรณ์เคร่อื งมอื ทม่ี คี ุณภาพเหมาะสมมาใช้งาน

ด้านการดูแลรักษา การหย่าเครื่องช่วยหายใจยังไม่มีแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่
ชัดเจน ใชว้ ธิ ีประสานงานกบั แพทย์เจา้ ของไข้พจิ ารณาถอดทอ่ ช่วยหายใจเม่อื พรอ้ ม

ด้านบุคลากร ผู้ปฏิบัติยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีปฏิบัติที่วางไว้จึงทำความเข้าใจในแต่ละข้อของวิธี
ปฏิบัติและเพิ่มการกำกับติดตามโดยหัวหน้างาน ด้านอัตรากำลังที่ไม่เพยี งพอในหอผู้ปว่ ยสามัญซึ่งจดั
อัตราพยาบาลต่อผู้ป่วยเทา่ กับ 1:8 -12 กล่มุ การพยาบาลวางแผนร่วมกับกลุ่มงานอายุรกรรมนำเสนอ
ผ้บู ริหารเปิดบริการหอผปู้ ว่ ยกึง่ วิกฤตอายรุ กรรมจำนวน 2 หอ จำนวน 20 เตียงในปี 2560 และ 2561
จัดอัตรากำลังพยาบาลต่อผู้ป่วยเท่ากับ 1:4 ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยวิกฤตที่อยู่ในหอผู้ป่วยสามัญลงได้
อย่างมาก แต่ก็ยังพบอุบัติการณ์การเกิด UE ในห้องผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต 1.86 – 20.16
ต่อ 1000 วันใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจ และตอ้ งใสท่ อ่ ช่วยหายใจกลบั ซ้ำรอ้ ยละ 8-33

ด้านผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุเกิดจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
ได้ตรงประเด็น ถูกจำกัดการเคล่ือนไหวไดร้ ับการมูกมดั ร่างกายตลอดเวลา มีภาวะกระสับกระส่ายแต่
มีข้อจำกดั ในการได้รบั ยาหย่อนคลายกล้ามเน้ือ

8

ด้านกระบวนการ ไม่มีแนวทางในการประเมินและการจัดการ รวมถึงยังไม่มีแนวทางการหย่า
เครื่องช่วยหายใจที่ชัดเจน ซึ่งผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 หลังเกิด UE ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลับซ้ำ
ทั้งนี้จากวิธีการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้อยู่ยังไมม่ ีความชัดเจน ยังไม่เป็นปัจจุบนั และยังไม่ครอบคลุม
ปจั จัยท่มี ผี ลตอ่ การเกิด UE

ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทบทวนเอกสาร ตำราวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาแนว
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ในผู้ป่วยวิกฤตใส่ท่อช่วยหายใจ งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม และมีความสนใจในการนำแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วย
หายใจโดยไม่ได้วางแผนนี้ไปใช้เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน
การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ
การดูแลผู้ปว่ ยเพือ่ ป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนอย่างเหมาะสมกับบริบทและบรรลุ
เปา้ หมายตามจดุ เน้นของโรงพยาบาลคอื ความปลอดภยั ของผปู้ ่วย

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหาต่างๆ ผ้วู จิ ยั นำมาส่กู ารสรปุ ได้ดังนี้

วิธีปฏิบัตกิ ารพยาบาลเดิม เป็นวิธีปฏบิ ัติการพยาบาลท่ีเกิดจากการตกลงร่วมกันของ
ชมุ ชนนกั ปฏิบัติ ปี 2558 ประกอบด้วย

1. การอธิบายเหตผุ ลของการใส่ทอ่ ช่วยหายใจ
2. การประเมินความเสี่ยงเกิด UE โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหว
(Motor Activity Assessment Scale: MAAS)
3. การดแู ลผ้ปู ว่ ยขณะใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจด้วยการดดู เสมหะและการดูแลชอ่ งปาก
4. การประเมินความปวดและการจัดการความปวดแตไ่ ม่ไดม้ ีการกำหนดเกณฑ์ชดั เจน
5. การประเมินความพรอ้ มถอดท่อช่วยหายใจตามดลุ พนิ ิจของแพทย์

แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดUE ที่ต้องการให้เกิดขึ้น เป็นแนว
ปฏบิ ตั กิ ารพยาบาลเพ่ือปอ้ งกนั UE ทีผ่ ู้วจิ ยั และทมี พัฒนาขึน้ จากการศึกษาเอกสาร ตำราวิชาการและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางปากร่วมกับการทบทวน
วิธปี ฏบิ ตั ิการพยาบาลเดมิ นำมาจดั ระบบเพ่ือความชัดเจนในการนำไปใช้ ประกอบด้วย 3 หมวด ดงั น้ี

หมวดท่ี 1 การปฏบิ ตั กิ ารพยาบาล (nursing intervention: I) ประกอบดว้ ย
1.1 การสง่ เสริมการสอ่ื สารในผปู้ ว่ ยใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจ
1.2 การยึดตรึงท่อชว่ ยหายใจ

9

1.3 การดูดเสมหะและการดแู ลชอ่ งปาก
1.4 การผกู ยดึ ร่างกายอย่างเหมาะสม
หมวดที่ 2 การเฝ้าระวงั อยา่ งใกล้ชดิ (close-up monitoring: C) ประกอบด้วย
2.1 การประเมนิ ระดับความรสู้ กึ ตัวและพฤติกรรมการเคลอื่ นไหวร่างกาย
2.2 การประเมนิ และการจัดการความปวด
2.3 การประเมินและการจัดการภาวะกระสับกระสา่ ย ภาวะง่วงซึม และภาวะ
สับสนเฉียบพลนั
2.4 การประเมินความพร้อมในการหย่าเครอ่ื งช่วยหายใจ
หมวดท่ี 3 ประกอบด้วย
3.1 การกำกบั ติดตาม ประเมินผลการใชแ้ นวปฏิบตั กิ ารพยาบาล

10

บทที่ 3
การกำหนดคำถาม ชือ่ เร่ือง และวตั ถุประสงคใ์ นการวจิ ัยและพัฒนา

สำหรับการกำหนดเรื่องในการทำวิจัย ต้องมีความสอดรับกับปัญหาของการทำวิจัย โดย
ขั้นตอนแรกของการวิจัย คือ การตอบคำถามว่าเราจะทำการวิจัยเรื่องอะไร โดยอาจถามว่าคืออะไร
เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะปัญหาการวิจัยยิ่งมีความชัดเจน ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการ
ออกแบบการวจิ ัย ซ่ึงทมี่ าของปัญหาการวจิ ัยมาจาก

1. ทฤษฎีต่างๆ
2. ประสบการณ์สว่ นตัว
3. งานเขยี นทางวิชาการ
4. การตดิ ต่อกับผรู้ ูผ้ เู้ ชยี่ วชาญ
5. งานวิจัยทีท่ ำไวแ้ ล้ว
6. องค์กรหรือหนว่ ยงานท่ีตอ้ งการใช้ผลวจิ ัย

โดยการกำหนดคำถามการวิจัย จะเป็นการถามเกยี่ วกบั วธิ กี ารจัดการกบั ปัญหาและ
คำถามที่เป็นผลจากการนำวิธีการจัดการกับปัญหานั้นไปใช้ ดังนั้นสิ่งแรกที่ผู้วิจัยต้องพิจารณาให้
ชัดเจนก่อนคือ ปัญหาในการทำงานของผูว้ จิ ยั คืออะไร เช่น

- การตกเลือดหลังคลอด
- การติดเชื้อในกระแสโลหติ ของผ้ปู ว่ ย
- การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ไดว้ างแผนของผปู้ ว่ ย
- การหกลม้ ในผูส้ ูงอายุ
- เดก็ วยั เรียนมภี าวะอ้วน
- เดก็ 0-5 ปี มีพัฒนาการไม่สมวัย
- ฯลฯ
เมอื่ มีความชัดเจนในประเด็นปัญหาการวิจยั แลว้ ก็จะนำมาสกู่ ารตงั้ คำถามการวิจยั ในการ
นำมาส่กู ารคน้ หาคำตอบต่อไป ดังตัวอยา่ ง

11

ตวั อยา่ งคำถามการวจิ ัย เร่อื ง “รปู แบบการแก้ไขปญั หาโรคอว้ นในเดก็ วัยเรียน 6-15 ปี โดยใช้
กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคเี ครือข่าย” ของ นชั ชา ทัตตานนท์ (2563) กำหนดว่า

1. รูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรยี น 6-15 ปี โดยใชก้ ระบวนการมีส่วนรว่ มของ
ภาคเี ครือขา่ ยเปน็ อย่างไร

2. ผลลพั ธจ์ ากการนำรูปแบบการแกไ้ ขปัญหาโรคอว้ นในเด็กวยั เรียน 6-15 ปีโดยใช้
กระบวนการมสี ว่ นร่วมของภาคีเครอื ข่าย ไปใชใ้ นพื้นทีเ่ ปน็ อยา่ งไร

ตัวอยา่ งคำถามงานวจิ ยั เรอ่ื ง “การพฒั นาแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพื่อปอ้ งกนั การถอดทอ่ ชว่ ย
หายใจโดยไม่ได้วางแผน (Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม” ของ สำลี คิมนารกั ษ์ (2562) กำหนดว่า

1. แนวปฏบิ ัติการพยาบาลเพ่ือปอ้ งกันการเกิด UE งานหอ้ งผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาล
นครปฐม เปน็ อย่างไร

2. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผูป้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม เปน็ อย่างไร

ส่วนการกำหนดชื่อเรื่องในการวิจัยก็ต้องสอดคล้องกับคำถามในการวิจัยนั้น ใช้คำที่มี
ความหมายชัดเจน เขียนให้กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ ระบุให้รู้ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน เช่น จาก 2
ตัวอยา่ งข้างตน้ จะนำมาซึง่ การกำหนดช่ือเร่อื งในการทำวิจัย ดังน้ี

1. รปู แบบการแกไ้ ขปญั หาโรคอว้ นในเด็กวัยเรยี น 6-15 ปี โดยใชก้ ระบวนการมีส่วนรว่ มของ
ภาคีเครอื ขา่ ย

2. การพัฒนาแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพ่อื ปอ้ งกนั การถอดท่อชว่ ยหายใจโดยไมไ่ ดว้ างแผน
(Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานหอ้ งผ้ปู ว่ ยหนัก โรงพยาบาล
นครปฐม

สำหรับวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ก็ต้องมีความสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยและชื่อเรื่องใน
การทำวจิ ยั ซ่ึงหลักในการกำหนดวตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัยมีดังน้ี

1. สอดรับกับประเด็นปัญหาที่ศึกษา ดังได้กล่าวไปแล้วว่า ปัญหาจะเป็นตัวกำหนดคำถามใน
การคน้ หาคำตอบ ว่าผู้วจิ ยั ทำไปเพอ่ื อะไร

12

2. วัตถุประสงค์ทุกข้อต้องสามารถศึกษาได้ ให้คำนึงไว้ว่า การเขียนผลการวิเคราะห์ (โดย
ปกติจะอยู่บทที่ 4) จะต้องเป็นการวิเคราะห์ตอบตามวัตถุประสงค์เป็นหลัก ดังนั้นทุกขอ้ ต้องสามารถ
หาคำตอบได้

3. สน้ั กะทดั รดั ใช้ภาษาทง่ี ่าย ไม่ใสค่ ำบางคำเข้าไปแล้วย่งุ ยากในการแปลความเพมิ่
4. เขียนในรูปประโยคบอกเล่า
5. สามารถเขยี นในรูปการเปรียบเทียบหรือรูปของความสมั พันธ์
6. เขียนรวมหรือแยกเป็นขอ้ ๆ กไ็ ด้
7. เรยี งตามลำดับความสำคญั หรือลำดบั การเกดิ
8. ห้ามเขียนตามประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพราะประโยชน์ที่ได้รบั เป็นสิ่งที่จะเกิดหลังจาก
ทีผ่ วู้ ิจัยได้ผลการวเิ คราะหต์ อบตามวัตถปุ ระสงคแ์ ลว้ นำผลการวิจัยไปใชแ้ ลว้ จะเกิดประโยชน์ด้านไหน
แกใ่ ครบ้าง
จาก 2 ตัวอย่างขา้ งต้น จะนำมากำหนดวตั ถปุ ระสงคใ์ นการวจิ ยั ได้ดงั น้ี

วัตถุประสงค์การวจิ ัยเร่ืองท่ี 1
1. เพือ่ พัฒนารูปแบบการแกไ้ ขปญั หาโรคอว้ นในเดก็ วยั เรียน 6-15 ปีโดยใชก้ ระบวนการ

มสี ่วนรว่ มของภาคเี ครือขา่ ย
2. เพอื่ ศกึ ษาผลลพั ธจ์ ากการนำรูปแบบการแกไ้ ขปัญหาโรคอว้ นในเด็กวยั เรียน 6-15 ปี

โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือขา่ ย ทไ่ี ปใช้ในพน้ื ท่จี ริง

วตั ถุประสงคก์ ารวิจยั เรอ่ื งที่ 2
1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม
2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งาน
หอ้ งผปู้ ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

13

บทท่ี 4
การทบทวนวรรณกรรมและการกำหนดกรอบแนวคดิ

เพ่อื ประกอบการทำวิจัยและพัฒนา

4.1 การทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนวรรณกรรม คือการอ่านทบทวนทั้งแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ

เพอื่ ให้เขา้ ใจในประเดน็ สภาพปญั หา ตลอดจนสง่ิ ทต่ี อ้ งการหาคำตอบ เพอ่ื ตอบวัตถุประสงคท์ ผ่ี วู้ ิจัยได้
กำหนดไว้ เช่น พื้นที่มีปัญหาผู้สูงอายุหกล้ม ผู้วิจัยต้องมีการทบทวนวรรณกรรมให้เห็นถึงแนวคิด
เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผลเสียของการหกล้ม สถานการณ์การหกล้มในที่ต่างๆ ก็จะทำให้เข้าใจสภาพ
ปัญหา หากผู้วิจัยได้ทบทวนในประเด็นปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม ก็จะทำให้ผู้วิจัยสามารถสรุปถึงสาเหตุ
ของการหกล้มได้

แต่หากผู้วิจัยทำการทบทวนวรรณกรรมไปถึง วิธีการที่จะใช้แก้ปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ
นโยบายในการป้องกันการหกล้ม จะทำให้ผู้วิจัยสามารถสร้างเป็นโปรแกรม หรือแนวทางในการ
ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุต่อไป แต่การจะหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้น ผู้วิจัยต้องทราบสาเหตุที่แน่
ชัดก่อนจึงจะจดั การปญั หานนั้ ได้

การทบทวนวรรณกรรม ในปัจจุบันมีหลาย website ที่จะช่วยให้ผู้วิจัยทำการสืบค้นหา
งานวจิ ยั ได้ไม่ยากนัก ยกตวั อยา่ งเช่น

https://www.proquest.com/, https://eric.ed.gov/
https://www.sciencedirect.com/, https://scholar.google.co.th/,
https://www.scopus.com/freelookup/form/author.uri,
https://www.springer.com/gp/, https://journals.sagepub.com/
https://www.proquest.com/ ฯลฯ

วธิ ที ีเ่ ขา้ ใจง่ายท่ีสุดคือ การนำคำสำคัญ (keyword) มาเข้าสู่การคีย์ค้นหา เพราะคําสําคัญ คือ
คําที่แสดงเนื้อหาสําคัญของนิพนธ์ที่จะใช้เป็นคําหลักในการสืบค้นสารนิพนธ์เรื่องนั้นๆ ปกติจะ
ประกอบด้วยตัวแปรที่เป็นสภาพปัญหา กลุ่มประชากรที่ศึกษา วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ หรืออาจทำ
การสืบค้นโดยผแู้ ต่งก็ได้

14

หากนักวิจัยมือใหม่ต้องการวิธีการสืบค้นที่ง่าย สะดวก และไม่เสียค่าใช้จ่าย อาจใช้ google
โดยใส่ keyword เข้าไปใช้ได้ทัง้ ภาษาไทย หรือภาษาองั กฤษ แล้วพิมพต์ ่อด้วยคำว่า งานวิจัย หรือบทความ
งานวิจัย ก็ย่อมได้ สำหรับการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องควรเป็นการ
ทบทวนจากต้นฉบบั จริง การอ้างองิ พ.ศ. หรือ ค.ศ. จงึ สามารถเก่าได้ตามการคิดค้นแนวคิด ทฤษฎนี น้ั
แต่สำหรับการทบทวนเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องไม่นานเกินไป คือ ไม่ควรเกิน5 ปี เพราะเวลา
ผา่ นไป 1 ปี ข้อคน้ พบใหมๆ่ กจ็ ะเกดิ ขน้ึ ตลอดเวลา

การทบทวนวรรณกรรมในการวิจยั และพฒั นา อย่าลมื ว่า เราทบทวนเพ่อื ใหไ้ ด้คำตอบจากส่ิงที่
เราได้ต้งั คำถามไว้ เชน่ ได้รปู แบบ ได้แนวทาง ได้ระบบใหม่ๆ เป็นต้น ดงั นนั้ การกำหนดหัวข้อหรือ
ประเด็นในการทบทวนวรรณกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีการทำงานอย่างมีเป้าหมายมาก
ยง่ิ ข้นึ

4.2 ตัวอยา่ งการทบทวนวรรณกรรมในการวจิ ยั และพัฒนา

ตัวอย่างท่ี 1

การทบทวนวรรณกรรมในการวจิ ยั เรือ่ ง “รูปแบบการแก้ไขปญั หาโรคอว้ นในเด็กวยั เรียน 6-15
ปี โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ
แนวคดิ ทฤษฎี และผลงานวิจยั ทีเ่ กยี่ วข้องมาประกอบการวิจยั ดังน้ี

1. สถานการณท์ างระบาดวทิ ยาของโรคอว้ นในเดก็ วยั เรียน
2. แนวคดิ และทฤษฎเี กีย่ วกับโรคอว้ น

- สาเหตุของโรคอว้ นในเดก็ วยั เรยี น 6-15 ปี
- ผลเสยี ของโรคอ้วนในเด็ก
- เกณฑก์ ารวินจิ ฉัยโรคอว้ นในเดก็ วยั เรยี น
- แนวทางการดูแลรกั ษาโรคอ้วนในเดก็ วัยเรียนในประเทศไทย
- แนวทางการป้องกันโรคอ้วนในเดก็ วัยเรียน
3. แนวคิดทฤษฎที ี่นำมาใช้ในแกไ้ ขปัญหาโรคอว้ น
- แนวคิดของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคอ้วนใน
เด็กวัยเรยี น
- โมเดลเชงิ นิเวศวิทยาสงั คม (social ecological model)
- ทฤษฎีการมสี ว่ นรว่ ม

15

4. บทบาทของภาคีเครือข่ายในการมสี ว่ นรว่ มแกไ้ ขปญั หาโรคอ้วนในเด็กวยั เรยี น
5. งานวจิ ัยทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

สำหรับการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อ สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคอ้วนในเด็กวัย
เรียน เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหา และสถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ตลอดจนผู้วิจัย
สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ต้องกำหนดเป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา จุดที่มี จุดที่ขาด เพื่อจะได้
นำไปสกู่ ารหาวิธกี ารในการแกไ้ ขปัญหาต่อไป

สำหรับการทบทวนวรรณกรรมในหัวขอ้ แนวคิดและทฤษฎีเก่ียวกบั โรคอ้วน แนวคิดทฤษฎีที่
นำมาใชใ้ นแก้ไขปัญหาโรคอ้วน บทบาทของภาคีเครือขา่ ยในการมสี ่วนร่วมแกไ้ ขปัญหาโรคอ้วนในเด็ก
วัยเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้วิจัย เข้าใจจุดที่มี จุดที่ขาดได้ชัดเจนขึ้น ตลอดจน
สามารถกำหนดแนวคิด/ทฤษฎีฐานรากในการแก้ไขปัญหานั้น ขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย
และกรอบแนวคิดในการทำวิจัยได้

ในการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยควรเขียนสรุปตอนท้ายย่อหน้าว่าได้อะไรจากสิ่งที่อ่าน
ทบทวนไป

เชน่ จากการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อทีผ่ ่านมาสรปุ ได้ว่า โรคอ้วนในเดก็ วัยเรยี นเปน็ ปัญหา
ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีขนาดปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกรวมทั้งใน
ประเทศไทย ก่อใหเ้ กดิ ผลเสียกบั เด็กวัยเรยี นทง้ั ดา้ นผลการเรียน สุขภาพรา่ งกายและจติ ใจ

โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย แต่สาเหตุหลักมัก
เกิดจากปัจจัยภายนอก อันเนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่างการได้รับพลังงานจากอาหารท่ี
รับประทานกับการเผาผลาญพลังงานจากกิจกรรมทางกาย เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้นกับเด็กวัยเรียน
เป็นระยะเวลานานก็จะเกดิ การสะสมของไขมนั ตามส่วนต่างๆ ของรา่ งกายจนเกิดเป็นโรคอ้วนขน้ึ การ
ดูแลรักษาโรคนี้ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นหลักโดยเน้นปรับสมดุลโภชนาการ การมี
กิจกรรมทางกายที่เพียงพอและการปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม รวมไปถึงมีระบบการติดตามเด็ก
นักเรียนที่ดีเพอ่ื ใหเ้ กดิ ความตอ่ เนื่อง

การจะทำเชน่ นีไ้ ดต้ ้องอาศยั ความรว่ มมอื ของภาคเี ครือขา่ ยทีเ่ กีย่ วขอ้ งโดยตรงกับเดก็ อันไดแ้ ก่
บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและบุคลากรทางสาธารณสุขเข้ามาร่วมกนั แก้ไขปัญหา ซึ่งจาก
การทบทวนวรรณกรรมพบว่า การใหค้ วามรู้แก่เดก็ นักเรียนเพียงอย่างเดยี วเพื่อหวงั ผลลัพธ์ให้เกิดการ

16

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นได้ผลไม่ดีนัก จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เข้า
มาใชด้ ้วย

ผวู้ ิจัยได้นำเอาความรู้ความเข้าใจเก่ียวกบั โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนและทฤษฎตี ่างๆ มาเพ่ือสร้าง
รปู แบบการแกไ้ ขปญั หาโดยมาประยกุ ตใ์ ช้กับโมเดลเชงิ นเิ วศวทิ ยาสงั คม (social ecological model)
และทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการดำเนินงานจะยึดหลักเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเปน็
ศูนย์กลางและมีภาคีเครือขา่ ยที่เกีย่ วขอ้ งโดยตรงกับเด็กนกั เรียนมาเป็นผูส้ นับสนุน อันได้แก่บุคลากร
ในโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและบุคลากรทางสาธารณสุข มุ่งเน้นประเด็นการแก้ไขไปท่ี 3 ประเด็น
หลักคือการปรับโภชนาการ การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การแก้ไข
ปญั หานีเ้ ป็นไปตามความต้องการของเดก็ นักเรียน สอดคล้องกบั บริบทของพ้ืนทีแ่ ละมีความยั่งยืนของ
การดำเนินงาน

โดยกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน 6-15 ปี
โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” เป็นการใช้ภาคีเครือข่ายอันได้แก่บุคลากรใน
โรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและบุคลากรสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัย
เรียน โดยให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีการแก้ปัญหาในหลายระดับตั้งแต่สิ่งแวดล้อมเข้ามาจนถึง
ระดับบุคคล มุ่งเน้นประเด็นเรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัยและเพิ่มกิจกรรมทางกายในเดก็
วัยเรียน 6-15 ปี ผ้วู ิจัยจึงไดก้ ำหนดกรอบแนวคดิ หลังจากทไ่ี ดท้ ำการทบทวนวรรณกรรมดงั นี้

17

ตวั อย่างท่ี 2
การทบทวนวรรณกรรมในการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการ
เกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม” ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจยั ท่เี กยี่ วข้องมาประกอบการวจิ ยั ดงั น้ี

1. แนวคิด ทฤษฎี เก่ียวกบั การปฏบิ ตั กิ ารพยาบาลเพอื่ ปอ้ งกันการถอดทอ่ ชว่ ยหายใจโดย
ไม่ไดว้ างแผน ในผู้ป่วยวกิ ฤตใสท่ อ่ ช่วยหายใจ

1.1 ความหมายการถอดท่อช่วยหายใจโดยไมไ่ ด้วางแผน
1.2 ปจั จยั ทม่ี ีผลตอ่ การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ไดว้ างแผน
1.3 ผลกระทบจากการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ไดว้ างแผน
1.4 แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้
วางแผน
2. สถานการณก์ ารดแู ลผปู้ ่วยใสท่ อ่ ช่วยหายใจในงานหอ้ งผปู้ ่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม
3. แนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพอื่ การปอ้ งกนั การถอดทอ่ ชว่ ยหายใจโดยไมไ่ ดว้ างแผน
4. งานวิจัยทเ่ี กี่ยวข้อง

18

สำหรบั การทบทวนวรรณกรรมในหวั ขอ้ สถานการณก์ ารดูแลผ้ปู ว่ ยใสท่ ่อช่วยหายใจใน
งานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม เพื่อให้เข้าใจสภาพปัญหา และสถานการณ์ของปัญหาใน
ปัจจบุ นั ทีเ่ กิดขึน้ ตลอดจนผวู้ จิ ยั สามารถวเิ คราะหส์ งิ่ ทีต่ อ้ งกำหนดเป็นเป้าหมายในการแกไ้ ขปัญหา
จุดที่มี จดุ ทีข่ าด เพ่อื จะได้นำไปสู่การหาวิธีการในการแกไ้ ขปัญหาต่อไป

สำหรับการทบทวนวรรณกรรมในหวั ข้อ แนวคิด ทฤษฎี เก่ียวกบั การปฏิบตั กิ ารพยาบาล
เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ในผู้ป่วยวิกฤตใสท่ ่อช่วยหายใจ แนวปฏิบัติการ
พยาบาลเพื่อการป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้
ผวู้ จิ ยั เขา้ ใจจุดท่มี ี จุดท่ขี าดได้ชดั เจนข้นึ ตลอดจนสามารถกำหนดแนวคิด/ทฤษฎฐี านรากในการ
แก้ไขปญั หาน้ัน ข้นั ตอนในการดำเนินงานวิจัย และกรอบแนวคิดในการทำวจิ ัยได้

โดยกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง “แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผปู้ ่วยหนัก” ผวู้ จิ ัยกำหนดดงั น้ี

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิด UE และศึกษาประสิทธิผลของการใชแ้ นวปฏิบัติการพยาบาลเพ่ือปอ้ งกนั การเกดิ
UE งานหอ้ งผู้ปว่ ยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม โดยใชก้ รอบแนวคิดการวจิ ยั ดงั นี้

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ใช้กรอบแนวคิดท่ี
ได้มาจาก

ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณแ์ละปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด UE โดยการวิเคราะห์
สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ประกอบด้วย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด UE ทั้งด้านผู้ป่วย ด้าน
การดูแลรักษา และด้านบคุ ลากร ผลกระทบจากการเกดิ UE และแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลที่ใช้ในการดูแล
ผ้ปู ่วยใสท่ อ่ ช่วยหายใจ ในงานหอ้ งผ้ปู ว่ ยหนัก (ผูใ้ หญ่) และหอผ้ปู ว่ ยกึ่งวกิ ฤตอายุรกรรม และทบทวน
วรรณกรรม ตำราวิชาการ งานวิจัยท่ีเก่ยี วขอ้ ง ในประเด็นปัจจยั ทม่ี ผี ลต่อการเกิด UE และนำมาใช้ใน
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพ่อื กำหนดประเด็นสำคญั นำสู่การพฒั นาแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล

ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม โดยใช้

1. แนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติ
ทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรีย ( NHMRC,1998)
ประกอบดว้ ย 6 ขน้ั ตอนคือ 1) กำหนดประเด็นและขอบเขตของปัญหาจากการศึกษาสถานการณ์การ
ดูแลผ้ปู ว่ ยวิกฤตใส่ท่อชว่ ยหายใจ งานหอ้ งผู้ปว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม 2) กำหนดทีมพัฒนาแนว

19

ปฏิบัติการพยาบาล 3) กำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายและผลลัพธ์ 4) สืบค้นและประเมินคุณค่า
หลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาล 6) ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของ
แนวปฏิบัตกิ ารพยาบาล

2. แนวคิดวิธีการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติสำหรับการวิจัยและประเมินผล
(Appraisal of Guideline for Research and Evaluation II: AGREE II) ฉบบั ภาษาไทย ประกอบดว้ ย
6 หมวด ไดแ้ ก่ หมวดที่ 1 ขอบเขตและวตั ถปุ ระสงคร์ วม หมวดท่ี 2 การมีส่วนรว่ มของผมู้ ีสว่ นได้ส่วน
เสยี หมวดที่ 3 ความเข้มงวดของข้ันตอนการจดั ทำ หมวดที่ 4 ความชดั เจนในการนำเสนอ หมวดที่ 5
การนำไปใช้ หมวดท่ี 6 ความเปน็ อิสระของบรรณาธกิ าร การให้คะแนนทงั้ หมดใชร้ ะบบ 1-7 คะแนน
1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมาก คะแนน 7 หมายถึง เห็นด้วยเป็นอย่างมาก และการประเมิน
แนวทางปฏิบัติในภาพรวม ได้แก่ การให้คะแนนภาพรวมด้านคุณภาพของแนวทางปฏิบัติ การให้
คะแนนใช้ระบบ 1-7 เช่นเดียวกับองค์ประกอบทั้ง 6 หมวด และข้อแนะนำให้ใช้แนวทางปฏิบัติ มี 3
ขอ้ แนะนำคือ ใช่ ใชโ่ ดยมกี ารแก้ไข และไม่

ระยะที่ 3 การนำไปใช้และประเมินผลแนวปฏบิ ัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิด UE งาน
ห้องผปู้ ว่ ยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม โดยใช้แนวคดิ ตามกรอบแนวคดิ ของสภาวิจยั ทางการแพทย์และ
สุขภาพแห่งชาตปิ ระเทศออสเตรเลยี (NHRMC) ดังน้ี

1. เผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลสู่ผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิด UE เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการปฏิบัติการพยาบาล
และฉบับย่อเพื่อใช้ขณะปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งดำเนินการ
ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเปา้ หมายรับรู้แนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลท่ีได้รับการพัฒนาเสรจ็ แลว้ และผ่านการ
ตรวจสอบจากผูเ้ ชย่ี วชาญ

2. นำแนวปฏิบัติการพยาบาลสู่การปฏิบตั จิ ริง โดยการประชุมแบบมีส่วนร่วมผ่านการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการและการติดตามผลการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ปฏิบัติในกลุ่มเป้าหมายท่ี
กำหนด คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) และหอผู้ป่วยกึง่ วิกฤตอายุรกรรม
ในเดือนพฤษภาคม 2562

3. ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล โดยการประเมิน 1) ผลลัพธ์ด้าน
กระบวนการ ได้แก่ ประเมินความยาก-ง่ายในการนำไปใช้ ความสามารถในการนำไปใช้ ปัญหา
อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้และความพึงพอใจในการนำไปใช้ 2) ประเมินผลลัพธ์ดา้ นผู้ป่วย

20

ได้แก่ จำนวนอุบัติการณ์การเกิด UE และระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจ หลังจากนั้นนำผลลัพธ์การ
ประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและจัดทำเปน็ รปู เลม่ เพื่อนำไปใชใ้ นการปฏิบตั งิ านจริงตอ่ ไป

ขั้นตอนที่ 2 การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐมที่ปรบั ปรุงแล้วไปใช้จรงิ ในหน่วยงาน

ระยะที่ 4 การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพ่ือป้องกันการเกิด UE ที่ปรับปรุงแล้วไปใชจ้ ริงใน
หน่วยงาน โดยใช้แนวคิดตามกรอบแนวคิดของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศ
ออสเตรเลีย (NHRMC) ในเรื่องการประกันคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อให้เกิดคุณภาพการดูแลที่ดียิ่งขึ้นและสามารถอยู่ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยประจำวันได้ โดยการ
เปรียบเทียบข้อมูลผลลัพธ์ของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE กับผลท่ี
เกิดขึ้นจริงตามปกติ ได้แก่ 1) จำนวนอุบัติการณ์การเกิด UE 2) ระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจระหว่าง
กลุ่มก่อนใช้และหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม

ดงั แสดงตามภาพ

21

ข้นั ตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาลเพ่อื ป้องกนั การเกิด UE (ร่าง) แนวทางปฏิบตั ิการ
พยาบาลเพื่อป้องกนั การเกดิ
ระยะที่ 1 วิเคราะหส์ ถานการณ์และปัจจัยที่มผี ลตอ่ การถอดท่อช่วยหายใจ UE งานห้องผปู้ ่วยหนัก
โดยไม่ได้วางแผน 1.ปัจจัยด้านผู้ป่วย 2. ปัจจัยด้านการดูแลรักษา โรงพยาบาลนครปฐม
3.ปัจจัยดา้ นบุคลากร 4. ปัจจัยดา้ นแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาล
ผลลัพธด์ า้ นผปู้ ว่ ย
ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง - จำนวนการเกิดอุบัตกิ ารณ์
ผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม 1. ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาตำรา UEลดลง
เอกสารวิชาการ และงานวิจัย 2. พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล (ตาม - ระยะเวลาการใสท่ ่อชว่ ย
กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์ หายใจลดลง
และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย, NHMRC,1998) 6 ขั้นตอน
1) กำหนดประเด็นและขอบเขตของปัญหา 2) กำหนดทีมพัฒนาแนว
ปฏิบัตกิ ารพยาบาล 3) กำหนดวัตถปุ ระสงค์ กล่มุ เปา้ หมายและผลลพั ธ์ 4)
สืบค้นและประเมินคุณค่าหลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ยกร่างแนวปฏิบัติการ
พยาบาล 6) ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของแนวปฏิบัติการ
พยาบาล

ระยะที่ 3 การนำไปใช้และประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการ
เกิด UE งานห้องผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม (ตามกรอบแนวคิดการพัฒนา
แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศ
ออสเตรเลีย, NHMRC,1998) 1. ทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้รับการ
พัฒนาในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม 2. ประเมินผลการนำใช้
แนวปฏิบัติการพยาบาล 1) ผลลัพธ์ด้านกระบวนการ ได้แก่ การประเมินความ
ยาก-ง่ายในการนำไปใช้ ความสามารถในการนำไปใช้ ปัญหา อุปสรรคและ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ และความพึงพอใจในการนำไปใช้ 2) ผลลัพธ์ด้าน
ผู้ปว่ ยได้แก่ จำนวนอุบตั ิการณ์การเกดิ UE และระยะเวลาใส่ท่อช่วยหายใจ

ขัน้ ตอนที่ 2 การนำแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพอ่ื ปอ้ งกันการเกดิ UE งานห้อง
ผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐมท่ปี รบั ปรงุ แล้วไปใชจ้ ริงในหน่วยงาน

ระยะท่ี 4 การนำแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ท่ีปรับปรุงแล้ว
ไปใช้จริงในหน่วยงาน (ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของ
สภาวจิ ัยทางการแพทย์และสุขภาพแหง่ ชาตปิ ระเทศออสเตรเลีย, NHMRC,1998)

ประสทิ ธผิ ลของการใชแ้ นวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพอ่ื ปอ้ งกันการเกดิ UE งานหอ้ งผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม

22

บทท่ี 5
ขอบเขตของการวจิ ยั และพัฒนา

การวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีขอบเขต เพราะผู้วิจัยไม่สามารถทำการวิจัยได้อย่างครบถ้วน โดย
กำหนดขอบเขตในการศึกษากับใคร และศึกษาแง่มุมใด ซึ่งในการวิจัยและพัฒนามีการกำหนด
ขอบเขตการวิจัย ดงั น้ี

1. การวจิ ยั คร้งั นี้เป็นการพฒั นา.... กำหนดขอบเขตการวิจยั โดยแบง่ ขั้นตอนการวิจัยออกเป็น
ก่ีขั้นตอน รวมก่ีระยะ พร้อมทั้งบอกกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินงาน (ส่วนนี้ต้องเขียนให้ไปด้วยกันกับท่ี
เขียนในบทที่ 3)

2. ขอบเขตด้านเนอ้ื หา : รูปแบบ/แนวทาง/ระบบ...ทพ่ี ัฒนาข้นึ อาศัยแนวคดิ /ทฤษฎใี ด เป็น
รากฐาน

3. การประเมนิ ผลลพั ธ์ของรูปแบบ/แนวทาง/ระบบ...ท่พี ัฒนาขนึ้ มกี ารประเมนิ ผลดงั นี้.....
(สว่ นนี้ตอ้ งเขยี นใหส้ อดคลอ้ งกบั ท่นี ำไปเขียนบทท่ี 3)

4. ขอบเขตดา้ นสถานท่ี : การวิจัยคร้งั นเี้ ปน็ การพัฒนา.... ดำเนินการที่.....
5. ขอบเขตดา้ นระยะเวลา : แต่ละขัน้ ตอน ทำท่ีเวลาชว่ งใด

ตัวอย่างที่ 1
งานวิจยั เรอ่ื ง “รูปแบบการแกไ้ ขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรยี น 6-15 ปี โดยใช้

กระบวนการมีสว่ นรว่ มของภาคเี ครอื ข่าย” ของ นัชชา ทัตตานนท์ (2563) กำหนดขอบเขตในการทำ
วิจยั ดังน้ี

1. รูปแบบการแกไ้ ขปัญหาโรคอ้วนในเดก็ วยั เรยี น 6-15 ปี โดยใชก้ ระบวนการมีส่วนร่วมของ
ภาคีเครือข่ายอันได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรทางสาธารณสุข มุ่งเน้น
ประเดน็ การส่งเสริมให้มโี ภชนาการท่เี หมาะสมในเด็กวยั เรียนและการสนับสนนุ ใหม้ ีกิจกรรมทางกายท่ี
เพิ่มมากขึ้น โดยได้อาศัยทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสังคม (social ecological model) และทฤษฎีการมี
ส่วนร่วมมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กนักเรียนเพื่อลดปัญหาโรคอ้วน โดยมีรายละเอียด
ดงั น้ี

1) วิเคราะหแ์ ละเข้าใจปญั หาร่วมกนั กบั ภาคีเครือข่าย ในเร่อื งแนวคดิ ทฤษฎกี ารเกดิ โรค

23

อ้วนในเด็กวยั เรยี น ผลกระทบท่จี ะเกิดกับเด็ก รวมไปถงึ แนวทางแกไ้ ขปญั หาโดยใช้กระบวนการมสี ่วน
รว่ ม

2) การวางแผนงานและจัดสรรบทบาทหนา้ ทใี่ ห้กบั แตล่ ะภาคเี ครือข่ายร่วมดำเนินการ
โดยเนน้ 3 ประเดน็ หลักคือการปรบั โภชนาการ การสง่ เสริมกิจกรรมทางกายและจดั การส่งิ แวดลอ้ มให้
เหมาะสม

3) นำเอาทฤษฎที างนเิ วศวทิ ยาสงั คม (social ecological model) และทฤษฎีการมสี ่วน
ร่วมซึง่ เป็นทฤษฎีการแก้ไขปัญหาเชิงพฤติกรรมสังคมท่ีได้รับการยอมรับ เข้ามาช่วยในการปรับเปลี่ยน
พฤตกิ รรมของนกั เรยี นกลุ่มเป้าหมาย

4) ผสานการทำงานเข้ากบั โครงการโรงเรยี นส่งเสรมิ สุขภาพทม่ี ีอยู่เดมิ ใหม้ ีความเข้มแขง็
และเนน้ ประเดน็ การแก้ไขปัญหาโรคอว้ นในเด็กวยั เรียนมากขึ้น

5) มีการตดิ ตามผลลัพธก์ ารดำเนินงาน รวมถึงการนำผลที่ได้มาอภปิ รายรว่ มกับภาคี
เครอื ขา่ ยเพ่ือปรับปรุงการทำงานให้ดียงิ่ ขน้ึ

6) เน้นการดำเนนิ การตามข้ันตอนการมีสว่ นร่วมโดยภาคเี ครือข่ายต่างๆ ดงั นี้

• โรงเรียน
1) ผูอ้ ำนวยการ วิเคราะห์ปญั หา กำหนดนโยบายดา้ นการส่งเสริมสขุ ภาพใน
โรงเรียน รว่ มกนั วางแผนและตดิ ตามผลงาน
2) ครู ทำหน้าทีร่ ่วมกนั วิเคราะหป์ ัญหา วางแผน ดำเนนิ งาน ตดิ ตามและรว่ มกัน
อภปิ รายผล
3) ร้านคา้ ในโรงเรียน รว่ มดำเนินงาน ปรับปรุงคุณภาพอาหารและสนิ คา้ ภายใน
โรงเรยี นให้เออื้ ต่อการส่งเสริมสขุ ภาพเดก็ นักเรยี น

• ครอบครวั ทำหน้าท่รี ่วมกันวิเคราะหป์ ญั หา วางแผน ดำเนินงาน รวมถึงการดูแล
เดก็ นักเรียนขณะอยู่ที่บา้ น เชน่ การจัดหาอาหารที่เหมาะสม และกระตุ้นกิจกรรม
ทางกายของเด็กนักเรยี น เป็นตน้

• ชมุ ชน ทำหน้าที่ร่วมกันวเิ คราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนนิ งาน รว่ มประสานงานกับ
รา้ นคา้ รอบโรงเรียนและในชมุ ชนใหจ้ ัดหาสนิ คา้ หรืออาหารทด่ี ตี อ่ สุขภาพ รวมไป
ถึงการจัดหาสถานท่สี ำหรับออกกำลงั กายให้กบั เด็กนกั เรยี น

• บุคลากรสาธารณสขุ ทำหนา้ ท่ีถ่ายทอดองคค์ วามร้ดู ้านการส่งเสรมิ สุขภาพและ
ป้องกันการเกดิ โรคอ้วนในเด็กให้แกเ่ ด็กนักเรยี นและภาคเี ครือขา่ ย รว่ มกัน

24

วเิ คราะหป์ ัญหา วางแผน ดำเนนิ งาน ตดิ ตามผล รวมถงึ การเป็นตวั กลาง
ประสานงานกบั แต่ละภาคีเครอื ขา่ ย

2. รปู แบบการแก้ไขปญั หาโรคอว้ นในเดก็ วยั เรียน 6-15 ปี โดยใช้กระบวนการมีส่วนรว่ ม
ภาคเี ครอื ข่ายมีการประเมินผลดังนี้

1) ผลลัพธ์หลัก (primary outcome) พิจารณาจากค่าเฉลยี่ ของดัชนมี วลกายหรอื คา่
น้ำหนกั ต่อสว่ นสงู (weight for height) ทีล่ ดลงเปรียบเทยี บกอ่ นและหลงั เขา้ โครงการ
ของเดก็ นักเรียน

2) ผลลพั ธ์รอง (secondary outcome) พิจารณาจากคะแนนพฤติกรรมปอ้ งกนั โรคอว้ น
เปรยี บเทยี บก่อนและหลังเขา้ โครงการ รวมถึงศึกษาคะแนนความพึงพอใจของภาคี
เครือข่ายทเ่ี ก่ยี วข้องหลงั เขา้ รว่ มโครงการ

3. ผ้วู ิจัยได้เลือกโรงเรยี นอนบุ าลวดั เพลง อำเภอวัดเพลง จงั หวดั ราชบุรเี ป็นพื้นทที่ ำการศึกษา
โดยทำการสุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียน 1 ห้องเรียน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการแก้ไข
ปัญหาโรคอ้วนในวยั เรยี นโดยใชก้ ระบวนการมีส่วนรว่ มของภาคเี ครือข่าย ก่อนและหลงั เข้าโครงการ

ตัวอย่างท่ี 2
“การพฒั นาแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพื่อปอ้ งกนั การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน

(Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม” ของ
สำลี คมิ นารกั ษ์ (2562) กำหนดขอบเขตในการทำวจิ ยั ดังนี้

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผ้ปู ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม และศึกษาประสิทธผิ ลของการใช้แนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลเพอื่ ป้องกัน
การเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม กำหนดขอบเขตการวิจัยโดยแบ่งขั้นตอนการ
วจิ ัยออกเปน็ 2 ขนั้ ตอน รวม 4 ระยะ ดังนี้

25

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม ประกอบดว้ ย 3 ระยะ ได้แก่

ระยะท่ี 1 วเิ คราะหส์ ถานการณ์การเกดิ UE งานห้องผปู้ ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม
ระยะท่ี 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม
ระยะที่ 3 การนำไปใช้และประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งาน
หอ้ งผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE
งานห้องผปู้ ่วยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม ประกอบดว้ ย 1 ระยะ ไดแ้ ก่
ระยะที่ 4 นำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม ทปี่ รับปรุงแลว้ ไปใช้จรงิ ในหน่วยงาน

1. ขอบเขตดา้ นประชากรและกล่มุ ตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผปู้ ว่ ยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม มีประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง ได้แก่
ระยะที่ 3 : การนำไปใชแ้ ละประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพอื่ ป้องกันการเกิด UE งาน
หอ้ งผูป้ ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

ประชากร แบง่ เปน็ 2 กลมุ่ คอื
1. พยาบาลวชิ าชีพท่ีปฏิบตั ิงานในโรงพยาบาลนครปฐม
2. ผ้ปู ่วยทเ่ี ข้ารับการรกั ษาในโรงพยาบาลนครปฐม

กลมุ่ ตวั อย่าง แบ่งเป็น 2 กลมุ่ คือ
1. พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) และหอผู้ป่วยกึ่ง
วิกฤต อายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม ในเดือนพฤษภาคม 2562 จำนวน
90 คน
2. ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางปากที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก
(ผู้ใหญ่) และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม เดือน
พฤษภาคม 2562 จำนวน 70 คน

26

ขนั้ ตอนท่ี 2 การศึกษาประสิทธผิ ลของการใช้แนวปฏบิ ัติการพยาบาลเพ่ือปอ้ งกันการเกิด
UE งานหอ้ งผ้ปู ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม มปี ระชากรและกล่มุ ตวั อย่าง ดังนี้

ระยะที่ 4 : การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม ทปี่ รับปรงุ แล้วไปใชจ้ รงิ ในหนว่ ยงาน

ประชากร คอื ผูป้ ว่ ยทเ่ี ขา้ รับการรกั ษาในโรงพยาบาลนครปฐม
กล่มุ ตวั อยา่ ง คอื ผู้ป่วยท่เี ขา้ รบั การรกั ษาในงานผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม และ
ได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงเดือนมิถุนายน
2562 ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ดงั นี้

กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รบั การดแู ลโดยใช้วิธปี ฏิบัติการพยาบาลตามปกติ
ด้วยวิธีปฏิบัติการพยาบาลเดิม (กลุ่มการพยาบาลพัฒนาขึ้น 2558) ที่เข้ารับการรักษาในงานห้อง
ผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม โดยการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในระหว่างเดือน
พฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2561 จำนวน 70 ราย

กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพ่ือ
ป้องกันการเกิด UE ที่ปรับปรุงแล้วก่อนนำไปใช้จริงในหน่วยงาน และนำไปใช้ในผู้ป่วยใส่ท่อช่วย
หายใจทางปากท่ีเข้ารับการรกั ษาในงานหอ้ งผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม ในเดือนมิถนุ ายน 2562
จำนวน 70 ราย

2. ขอบเขตดา้ นสถานที่
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE และ

ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ในห้องผู้ป่วยหนัก
(ผูใ้ หญ)่ และหอผปู้ ่วยก่ึงวกิ ฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 7 หอผู้ป่วย ประกอบด้วย

หอ้ งผูป้ ่วยหนัก (ผใู้ หญ่) จำนวน 5 หอผปู้ ว่ ย ได้แก่
1) ห้องผู้ป่วยหนักศลั ยกรรม
2) หอ้ งผู้ปว่ ยหนกั ศลั ยกรรมประสาทและสมอง
3) หอ้ งผปู้ ว่ ยหนกั ศลั ยกรรมหวั ใจและทรวงอก
4) หอ้ งผปู้ ว่ ยหนกั อายุรกรรม
5) ห้องผปู้ ว่ ยหนักอายุรกรรมโรคหวั ใจ

หอผู้ปว่ ยกงึ่ วกิ ฤต จำนวน 2 หอผปู้ ว่ ย ไดแ้ ก่

27

1) หอผู้ป่วยกง่ึ วกิ ฤตอายุรกรรมชาย
2) หอผปู้ ่วยกึง่ วกิ ฤตอายุรกรรมหญงิ

3. ขอบเขตดา้ นระยะเวลา
ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง

ผู้ปว่ ยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม
ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาล

นครปฐม ในเดือนตุลาคม 2561
ระยะที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง

ผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม โดยพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึง
เดอื นเมษายน 2562

ระยะที่ 3 การนำไปใช้และประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการ
เกิด UE งานห้องผ้ปู ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม ในเดอื นพฤษภาคม 2562

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน
การเกิด UE งานห้องผ้ปู ่วยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

ระยะที่ 4 นำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผู้ป่วยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม ทปี่ รับปรุงแลว้ ไปใช้จริงในหน่วยงาน ในเดือนมถิ ุนายน 2562

ขนั้ ตอนการวจิ ัย ระยะเวลาดำเนนินการ พ.ค. ม.ิ ย.
2561 2562
ขั้นตอนที่ 1: การพฒั นาแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาล
ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณแ์ ละปัจจัยการเกดิ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย.
ระยะที่ 2 พฒั นาแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล
ระยะที่ 3 การนำไปใช้และประเมินผลแนวปฏบิ ัติ
ขนั้ ตอนที่ 2: การนำแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลท่ี
ปรับปรุงแลว้ ไปใช้จริง
ระยะท่ี 4 การนำแนวปฏบิ ัติทป่ี รบั ปรงุ แลว้ ไปใช้จริง

28

บทท่ี 6
นยิ ามศพั ท์ในการวจิ ยั และพฒั นา

เป็นการให้ความหมายของคำบางคำที่ใช้ในรายงานการวิจัยให้เฉพาะเจาะจงในประเด็นที่
เกยี่ วขอ้ งกับการวจิ ยั เพ่อื ให้ผวู้ ิจัยและผูอ้ า่ นมีความเขา้ ใจตรงกนั

การนิยามศพั ทจ์ ะเปน็ การนิยามตัวแปรท่ใี ช้ในการวิจัย คำท่ไี มไ่ ดม้ คี วามหมายสากลท่ีคนท่ัวไป
เข้าใจ และต้องเขยี นให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้เปน็ ประโยชน์ช่วยนิยามตัวแปรให้ชัดเจน
เขา้ ใจตรงกันและเปน็ ประโยชน์ในการนำมาสร้างเคร่ืองมอื การวจิ ัย

ในการทำวจิ ัยและพัฒนา ควรมีการนยิ ามทค่ี รอบคลุมดังน้ี
1. นยิ ามตัวแปรตาม (ตัวแปรทีเ่ ปน็ ประเด็นปญั หา) หมายถงึ ....
2. รูปแบบ/แนวทาง /ระบบ หมายถงึ ..... มอี งคป์ ระกอบ/ข้นั ตอนการดำเนินงาน.........
3. วธิ กี าร/การปฏบิ ัตแิ บบเดมิ หมายถงึ .....
4. ประสิทธผิ ลของรูปแบบ/แนวทาง /ระบบ..... หมายถงึ ....

ตัวอย่าง งานวจิ ยั เรื่อง “การพัฒนาแนวปฏบิ ตั กิ ารพยาบาลเพอ่ื ป้องกันการถอดทอ่ ช่วยหายใจ
โดยไม่ได้วางแผน (Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานหอ้ งผ้ปู ่วยหนกั โรงพยาบาล
นครปฐม” มกี ารนิยามศพั ท์ดังน้ี

การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (unplanned extubation: UE) หมายถึง การ
ถอดท่อช่วยหายใจก่อนถึงเวลากำหนดจากการที่ผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจออกเอง (self extubation:
SE) หรือจากการปฏิบัติกิจกรรมการรักษาพยาบาลของบุคลากรทีมสุขภาพโดยความไม่ตั้งใจ
(accidental extubation: AE)

แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดUE หมายถึง แนวปฏิบัติการพยาบาลเพ่ือ
ป้องกัน UE ที่ผู้วิจัยและทีมพัฒนาขึ้นจากการศึกษาเอกสาร ตำราวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ครอบคลุม ปัจจัยเสี่ยงการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางปากร่วมกับการทบทวนวิธีปฏิบัติการ
พยาบาลเดิม นำมาจดั ระบบเพ่อื ความชัดเจนในการนำไปใช้ ประกอบด้วย 3 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 การปฏิบัติการพยาบาล (nursing intervention: I) ประกอบดว้ ย
1.1 การส่งเสรมิ การสือ่ สารในผปู้ ว่ ยใส่ทอ่ ช่วยหายใจ
1.2 การยึดตรงึ ท่อช่วยหายใจ

29

1.3 การดดู เสมหะและการดูแลชอ่ งปาก
1.4 การผูกยึดรา่ งกายอย่างเหมาะสม
หมวดที่ 2 การเฝา้ ระวงั อย่างใกลช้ ดิ (close-up monitoring: C) ประกอบด้วย
2.1 การประเมนิ ระดับความรสู้ กึ ตวั และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย
2.2 การประเมินและการจัดการความปวด
2.3 การประเมินและการจัดการภาวะกระสับกระสา่ ย ภาวะง่วงซึม และภาวะ
สบั สนเฉียบพลนั
2.4 การประเมนิ ความพรอ้ มในการหยา่ เครื่องช่วยหายใจ
หมวดท่ี 3 ประกอบด้วย
3.1 การกำกับ ตดิ ตาม ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล
วิธีปฏิบัติการพยาบาลเดิม หมายถึง วิธีปฏิบัติการพยาบาลที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของ
ชมุ ชนนักปฏบิ ัติ ปี 2558 ประกอบดว้ ย
1. การอธบิ ายเหตุผลของการใสท่ อ่ ชว่ ยหายใจ
2. การประเมินความเสี่ยงเกิด UE โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหว
(Motor Activity Assessment Scale: MAAS)
3. การดูแลผู้ป่วยขณะใส่ทอ่ ช่วยหายใจดว้ ยการดดู เสมหะและการดแู ลช่องปาก
4. การประเมินความปวดและการจดั การความปวดแต่ไมไ่ ด้มกี ารกำหนดเกณฑช์ ัดเจน
5. การประเมินความพร้อมถอดท่อช่วยหายใจตามดลุ พินิจของแพทย์
งานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม หมายถึง หอผู้ป่วยที่รับดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติใน
โรงพยาบาลนครปฐม ประกอบด้วย ห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) จำนวน 5 หอผู้ป่วย จัดอัตรากำลัง
พยาบาลต่อผู้ป่วยเท่ากับ 1:2 และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรมจำนวน 2 หอผู้ป่วย จัดอัตรากำลัง
พยาบาลต่อผปู้ ว่ ยเท่ากับ 1:4
หอ้ งผู้ปว่ ยหนัก (ผใู้ หญ่) จำนวน 5 หอผูป้ ่วย ไดแ้ ก่
1. ห้องผูป้ ว่ ยหนักศลั ยกรรม
2. หอ้ งผ้ปู ว่ ยหนกั ศัลยกรรมประสาทและสมอง
3. หอ้ งผู้ป่วยหนักศลั ยกรรมหัวใจและทรวงอก
4. ห้องผปู้ ่วยหนกั อายุรกรรม
5. หอ้ งผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรคหัวใจ
หอผ้ปู ่วยกง่ึ วิกฤตอายรุ กรรมจำนวน 2 หอผู้ป่วย ไดแ้ ก่

30

1. หอผูป้ ว่ ยกึง่ วกิ ฤตอายุรกรรมหญงิ
2. หอผู้ปว่ ยกงึ่ วกิ ฤตอายรุ กรรมชาย
ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE หมายถึง ผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบการดูแลผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางปากโดยการนำแนวปฏิบัติการ
พยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงานกับการดูแลผู้ป่วยด้วยวิธี
ปฏิบัติการพยาบาลเดิม งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม กำหนดผลลัพธ์คือจำนวนการเกิด
อุบตั ิการณ์ UE และระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ
จำนวนการเกิดอุบัติการณ์ UE หมายถึง การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจออกจากตำแหน่ง
ของกล่องเสียง เกิดจากการดึงของผู้ปว่ ยเองทัง้ ต้ังใจและไม่ตัง้ ใจหรอื เกิดจากอบุ ัติเหตุขณะปฏิบัติงาน
ของบุคลากรทีมสุขภาพในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม ในช่วงเวลาที่ศึกษานับจำนวนเป็น
ครั้ง
ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่การเริ่มใส่ท่อช่วยหายใจทางปากถึง
ถอดทอ่ ช่วยหายใจออกหรือเปลยี่ นช่องทางการใสท่ ่อชว่ ยหายใจนับจำนวนเป็นวัน

31

บทท่ี 7
ประโยชนท์ ี่คาดว่าจะไดร้ บั จากการทำวจิ ัยและพฒั นา

เปน็ สว่ นท่ีผูว้ ิจัยคาดหวังว่างานวิจยั นนั้ จะเป็นประโยชน์ในดา้ นใดบ้าง ไม่ใช่การเขียนล้อไปกับ
วตั ถปุ ระสงค์

ประโยชน์ที่คาดวา่ จะได้รับนี้ ผ้เู ขยี นถอื วา่ เป็นหัวใจสำคญั ของงานเขียนเร่ืองน้ีเลย เพราะงาน
จะถูกนำไปใช้หรือไม่ ก็ต้องตอบประโยชน์ที่ต้องการได้ เพราะหากเรารู้ว่าเราต้องการใช้ประโยชน์
อะไรจากคำตอบของงานวิจัยทีท่ ำ จะทำใหเ้ ราตั้งเปา้ หมายของการนำผลการวิจยั ท่ไี ดไ้ ปใชใ้ หบ้ รรลผุ ล

ตัวอยา่ ง 1
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการภายใต้

แผนงานสร้างสุขภาพของสำนกั งานสาธารณสขุ จังหวัด” กำหนดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไวด้ ังน้ี
การวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบการประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการภายใต้

แผนงานสร้างสุขภาพของสำนกั งานสาธารณสุขจังหวัด ซง่ึ
1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไดใ้ ชเ้ พ่ือเปน็ แนวทางใหผ้ รู้ ับผิดชอบงานสร้างสขุ ภาพใน

ระดบั จังหวัด ระดับอำเภอ และระดบั ตำบลไดท้ ำการประเมินการดำเนินงานโครงการของตนเองและมี
การปรับปรุง แก้ไขการดำเนนิ งานโครงการอยา่ งต่อเนือ่ งก่อนที่โครงการจะสิ้นสดุ ลง

2. เป็นแนวทางให้ผรู้ บั ผิดชอบงานสร้างสุขภาพระดบั จังหวดั ใชใ้ นการกำกับ/นเิ ทศงาน เพื่อ
สนบั สนนุ พฒั นาผู้รับผดิ ชอบงานสร้างสุขภาพระดบั อำเภอและระดบั ตำบล

3. เปน็ แนวทางให้ผรู้ ับผดิ ชอบงานสร้างสุขภาพระดับอำเภอไดใ้ ชก้ ำกบั งานเพ่ือสนบั สนนุ
การดำเนนิ งานโครงการสร้างสขุ ภาพในระดบั ตำบล

อันจะทำใหผ้ ลการดำเนนิ งานโครงการสรา้ งสุขภาพทั้งในระดับจงั หวดั ระดับอำเภอ และระดับ
ตำบลบรรลุวตั ถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดเม่ือสน้ิ สุดการดำเนินงานโครงการ และสามารถทำให้ผล
การดำเนินงานสร้างสุขภาพในภาพรวมของจังหวัดบรรลุเป้าหมายตามแผนงานสร้างสุขภาพที่
สำนกั งานสาธารณสขุ จังหวัดกำหนดไว้ได้

32

ตัวอยา่ งท่ี 2
งานวจิ ัยเร่ือง “การพฒั นาแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้

วางแผน (Unplanned Endotracheal Extubation: UE) งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาล
นครปฐม” กำหนดประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะไดร้ บั ไวด้ ังนี้

1. ผู้ป่วยวิกฤตใส่ท่อช่วยหายใจในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม ได้รับการดูแล
ตามแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาลเพ่ือปอ้ งกันการเกิด UE

2. พยาบาลวิชาชีพมแี นวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพ่ือป้องกนั การเกิด UE ซ่ึงไดม้ าจากหลักฐานเชิง
ประจักษ์ที่มีความทันสมัย มีทิศทางและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่าง
ปลอดภยั

3. หอผปู้ ่วยอ่ืนหรือโรงพยาบาลอื่นๆ ท่ีมผี ้ปู ว่ ยใส่ทอ่ ช่วยหายใจทางปากและมีบริบทใกล้เคียง
กับกลุ่มเปา้ หมายสามารถนำแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลเพอื่ ปอ้ งกนั การเกดิ UE ไปใชไ้ ด้

33

บทท่ี 8
ขนั้ ตอน และกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา

กระบวนการวิจัยและพัฒนา อาจเริ่มด้วยระบบของการวิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจน แล้ว
เข้าสู่ระยะของการพัฒนาทางเลือก หรือวิธีการใหม่ๆ ซึ่งระยะของการพัฒนาทางเลือกจะมีขั้นตอน
คล้ายคลึงกับการวิจัยโดยทั่วไป แต่เป็นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมให้ได้มาตรฐานก่อนที่จะทำการ
ทดลองใชใ้ นสภาพจริง เพือ่ ตรวจสอบคณุ ภาพของนวตั กรรม ลักษณะขั้นตอนในการดำเนนิ การดงั นี้

1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทเี่ ก่ียวขอ้ งกับนวัตกรรม (Review literature)
2. สร้างตน้ ฉบับนวตั กรรม (D1 = Development ครงั้ ท่ี 1)
3. ตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุม่ ตวั อยา่ งขนาดเลก็
(R1 =Research ครั้งที่ 1)
4. ปรับปรงุ ต้นฉบับ (D2)
5. ทดลองใชใ้ นกลุม่ ตัวอย่างทีม่ ีขนาดใหญ่ขน้ึ (R2)
6. ดำเนินการจนได้ต้นแบบนวัตกรรมท่มี คี ณุ ภาพตามเกณฑท์ ่กี ำหนด

34

ในการออกแบบวิจัย จะต้องกำหนดวตั ถุประสงค์เฉพาะของการวจิ ัยอยา่ งชดั เจน หรอื ประเด็น
ที่มุ่งศึกษา กำหนดแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้ข้อมูลในการวิจัยหรือทดลองนวัตกรรม กำหนดแนวทางการ
เก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมอื ที่ใช้ และกำหนดแนวทางการวิเคราะห์หรือตัดสนิ คุณภาพนวัตกรรม
ซึ่งทุกรายการดังกล่าวนี้ ควรจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และเป็นที่รับทราบตรงกันระหว่างกลุ่ม
ผเู้ กย่ี วข้องตา่ งๆ

35

หลักการกำหนดขั้นตอนในการวิจัย ควรได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมถึงขั้นตอนในการทำ
วิจัยและพัฒนา และควรกำหนดข้ันตอนใหส้ ามารถตอบวัตถุประสงค์ในการวจิ ัยได้ ตัวอย่างเชน่

ตวั อย่างงานวิจยั เร่อื งท่ี 1
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม

สำหรับผู้สงู อายุ ดา้ นการดูแลสุขภาพจิต” ผูว้ ิจยั ได้ กำหนดวัตถปุ ระสงคใ์ นการทำวิจัยไว้ดงั น้ี
1. เพื่อพฒั นารปู แบบการเสริมสรา้ งการเรียนรูอ้ ยา่ งสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผสู้ ูงอายุ

ด้านการดแู ลสุขภาพจิต
2. เพ่อื ประเมนิ ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรอู้ ย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม

สำหรับผู้สูงอายดุ ้านการดูแลสขุ ภาพจติ

จึงได้กำหนดขัน้ ตอนกระบวนการของการวิจัยและพฒั นา ดงั นี้
การวจิ ัยครั้งนี้ ผู้วิจยั ใช้รปู แบบการวจิ ยั และพฒั นา (Research and Development : R&D)
ประกอบดว้ ย 2 ขัน้ ตอนหลกั เพื่อตอบวตั ถุประสงคข์ องการวิจัย คอื

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองคร์ วมสำหรับผู้สูงอายุด้าน
การดแู ลสขุ ภาพจติ ดำเนนิ งานตามลำดบั ดงั น้ี

ศึกษาเอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับทกั ษะการเรยี นรอู้ ย่างสรา้ งสรรค์แบบองค์รวมของ
ผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพจิต และงานวิจัยที่ผนวกรวมแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการให้กับผู้สูงอายุ
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความต้องการความรู้ของผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
สามารถกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านการดูแล
สุขภาพจติ ของผูส้ ูงอายุ ไดด้ งั น้ี

1. การส่งเสริมทักษะในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เช่น กิจกรรมการปรับตัวทางด้านจิตใจและ
สังคม

2. การสง่ เสรมิ ทกั ษะในการเขา้ รว่ มกจิ กรรมในสังคม เช่น กจิ กรรมเสรมิ สร้างทักษะการมี
ปฏิสัมพนั ธก์ บั ผอู้ ื่น

3. การส่งเสรมิ ทกั ษะในการเปน็ ผู้ถา่ ยทอดความรู้ใหส้ งั คม เชน่ การเปน็ ท่ปี รึกษา วทิ ยากร
บรรยาย การทำงานอาสาสมคั ร เปน็ ตน้

4. การส่งเสริมทักษะเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น กิจกรรม
สง่ เสรมิ ความร้เู กี่ยวกบั ชมุ ชนและสภาพแวดล้อมรอบตัว เพื่อเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทีเ่ กดิ ขึ้นในสงั คม

36

5. การสง่ เสริมทักษะความรู้ท่พี ฒั นาตนให้ดีขนึ้ กวา่ เดมิ เชน่ กิจกรรมเชิงศาสนา

ตอ่ ดว้ ยทำการศึกษาข้อมูลสภาพการเรียนรู้ของผู้สูงอายดุ ้านการดูแลสขุ ภาพจิตโดยการพูดคุย
กับประธานชมรมผู้สูงอายุ และการจัดสนทนากลุ่มย่อยเพ่ือศึกษาสภาพการเรียนรูแ้ ละความต้องการใน
การเรียนรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ณ เทศบาลตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
กับประธานชมรมผู้สูงอายุ และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับจังหวัด
เจ้าหน้าที่เทศบาล พัฒนาชุมชน จำนวน 15 คน เพื่อกำหนดรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่าง
สร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพจิต โดยรูปแบบประกอบด้วย 1)
องค์ประกอบหลัก เน้นการพูดคุยในประเด็น ความภาคภูมิใจในตนเอง การสื่อสารสร้างสัมพันธภาพ
การคิดบวก การควบคุมอารมณ์ และการจัดการกับความเครียด 2) องค์ประกอบเสริม เน้นการทำ
กิจกรรมในเรื่อง กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมจิตอาสา และกิจกรรมการบริหาร
สมอง เพ่อื ใหผ้ สู้ ูงอายมุ ีความสขุ 5 มิติ คอื สขุ สบาย สุขสนุก สขุ สง่า สขุ สวา่ ง และสขุ สงบ และนำมาร่าง
เปน็ กจิ กรรมการดำเนินงานในแตล่ ะสปั ดาหจ์ ำนวน 5 สัปดาห์

จากนัน้ ผูว้ ิจัยนำรปู แบบการเสริมสรา้ งการเรยี นรูอ้ ย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ
ด้านการดูแลสุขภาพจิตที่ได้สร้างขึ้นทำการตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
และด้านสาธารณสุข จำนวน 5 คนและทำการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะ และนำร่าง
รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสุขภาพจิ ต
จากการให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวฒุ ิแล้ว นำเสนอต่อชุมชน อันประกอบด้วยประธานชมรมผูส้ ูงอายุ
และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าท่สี าธารณสุขระดับจังหวดั เจ้าหนา้ ท่ีเทศบาล พัฒนาชุมชน
จำนวน 15 คน เพอื่ ทำการปรบั ปรงุ แก้ไขให้เหมาะสมกบั บรบิ ทของพ้นื ท่ีก่อนท่ีจะนำไปทดลองใช้จริง

การประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับ
ผ้สู ูงอายุด้านการดูแลสขุ ภาพจติ ดำเนินงาน ดังนี้

ผู้วิจัยขออนุญาตต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรีในการใช้พื้นที่ทำวิจัย และ
ประสานงานกับประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สาธารณสุข
อำเภอบ้านโป่ง และผูร้ ับผิดชอบงานผู้สูงอายุของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี เพื่อชี้แจงให้ทราบ
วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ตลอดจนแนวทางการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการ
เรยี นรูอ้ ย่างสร้างสรรค์แบบองคร์ วมสำหรบั ผู้สูงอายดุ ้านการดูแลสขุ ภาพจิต

37

จากนัน้ ทำการทดลองใช้รปู แบบการเสริมสร้างการเรียนรูอ้ ย่างสร้างสรรคแ์ บบองคร์ วมสำหรับ
ผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพจิต ในพื้นที่ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ทั้งสิ้น 5 คร้ัง
คือ วันที่ 17, 24, 31 สิงหาคม และ 7, 14 กันยายน 2558 ดำเนินการโดยการจัดทำกิจกรรมโครงการ
“สขุ ภาพจติ ดที เ่ี บิกไพร” ในแตล่ ะคร้ัง/วัน และทำการประเมินผลการใช้รูปแบบการเสรมิ สร้างการเรียนรู้
อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุด้านการดแู ลสุขภาพจิตจากการทดลองใช้รูปแบบนั้น โดย
กลุ่มที่ศึกษาในการทดลองใช้รูปแบบ คือ ผู้สูงอายุในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่มีความสมัครใจเข้าร่วม
โครงการจำนวน 34 คน ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบไม่มีการออกจากโครงการในระหว่าง
ดำเนินการวิจัย หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมครั้งที่ 5 ได้ทำการพัฒนารูปแบบหลังเสร็จสิ้นการทดลองใช้อีก
ครั้ง เพื่อให้ได้รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุด้านการ
ดแู ลสขุ ภาพจิตท่พี ร้อมเผยแพรต่ ่อไป

สำหรับการประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม
สำหรับผู้สูงอายุด้านการดูแลสุขภาพจิตจากการทดลองใช้รูปแบบ ทำการประเมิน 1) สุขภาพจิตของ
ผสู้ ูงอายุก่อนและหลงั เขา้ ร่วมโครงการ 2) การเรยี นรู้วธิ ีการดูแลสุขภาพจิตของผ้สู ูงอายจุ ากการเข้าร่วม
กิจกรรมของโครงการและ 3) ความเห็นต่อการดำเนนิ งานโครงการ

ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์ (Thai Geriatric Mental
Health Assessment (T-GMHA-56) และแบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเครื่องมือการ
ประเมินดังกล่าวได้มีการตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา และด้านสาธารณสุข
จำนวน 5 คน ก่อนนำไปทำการประเมิน โดย

เกณฑ์ปกติที่ใช้ในการแปลผลภาวะสุขภาพจติ เพื่อประเมินสขุ ภาพจิตผู้สูงอายุ

กำหนดไว้ดงั น้ี (คะแนนเต็ม 224 คะแนน)

182-224 คะแนน หมายถึง สขุ ภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป

160-181 คะแนน หมายถงึ สขุ ภาพจติ เท่ากับคนท่ัวไป

159 คะแนนหรอื นอ้ ยกว่า หมายถึง สุขภาพจิตตำ่ กว่าคนทว่ั ไป

สว่ นการประเมินการเรียนร้วู ิธีการดูแลสขุ ภาพจิตของผ้สู งู อายุ และประเมินผลการดำเนนิ งาน
โครงการ ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้เกณฑ์อันตรภาคชั้นของ Best (1970) โดยมี
เกณฑก์ ารแปลความหมาย ดังนี้

38

คะแนนเฉลย่ี 3.26-4.00 หมายถงึ มีการเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพจิต/มคี วามคดิ เห็นวา่
คะแนนเฉล่ยี 2.51-3.25 หมายถึง โครงการมคี วามเหมาะสมมากทส่ี ดุ
คะแนนเฉลยี่ 1.76-2.50 หมายถงึ มีการเรียนร้วู ิธีการดูแลสขุ ภาพจติ /มีความคดิ เหน็ วา่
คะแนนเฉล่ีย 1.00-1.75 หมายถงึ โครงการมีความเหมาะสมมาก
มกี ารเรียนรวู้ ธิ ีการดแู ลสขุ ภาพจิต/มคี วามคิดเห็นว่า
โครงการมคี วามเหมาะสมนอ้ ย
มีการเรียนรู้วธิ ีการดูแลสุขภาพจติ /มคี วามคิดเหน็ ว่า
โครงการมีความเหมาะสมนอ้ ยทสี่ ุด

ตวั อย่างงานวิจัยเรอื่ งท่ี 2
งานวิจยั เร่ือง “การพฒั นาแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลเพื่อป้องกันการเกดิ UE งานห้องผู้ป่วยหนัก

โรงพยาบาลนครปฐม” ผ้วู ิจยั กำหนดวัตถปุ ระสงคใ์ นการทำวิจยั ไว้ดงั น้ี
1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม
2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งาน
หอ้ งผปู้ ่วยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้วิจัยเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาสรุปได้ว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อป้องกันการเกิด UE ต้องได้รับการพัฒนาขึ้นจากการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence
Based Practice: EBP) อย่างเป็นระบบและนำมาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมการดูแล
ผู้ป่วย ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เริ่มต้นจากการกำหนดประเด็นสำคัญท่ี
หน่วยงานเห็นพ้องต้องกันว่าต้องปรับปรุงคุณภาพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งประเด็นสำคัญนั้น
ได้มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานของหน่วยงาน มีการมอบหมายผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เปน็ ทมี รว่ มพัฒนา ต้ังวตั ถปุ ระสงค์ เปา้ หมาย ขอบเขตการพัฒนาทีช่ ัดเจนสอดคลอ้ งกับกลุ่มเป้าหมาย
จัดทำเป็นฉบับยกร่างและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
และมกี ารประเมินผลการใช้แนวปฏบิ ตั ินน้ั เพอ่ื นำผลมาปรบั ปรุงก่อนนำไปใชจ้ ริงอย่างเหมาะสม

39

จงึ นำมาสขู่ ้นั ตอนในการดำเนนิ การวิจัย ดังน้ี

การวจิ ยั คร้งั น้ผี ้วู จิ ยั เลอื กขั้นตอนการพฒั นาแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาลตามกรอบแนวคิดของ
สภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (NHRMC) ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวจิ ยั
และพฒั นา (Research and Development: R&D) กำหนดการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดงั น้ี

ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม ประกอบดว้ ยวิธดี ำเนินการวิจยั 3 ระยะ ได้แก่

ระยะท่ี 1 วิธีดำเนินการวเิ คราะห์สถานการณ์การเกดิ UE งานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม
ระยะท่ี 2 วิธีดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง
ผปู้ ่วยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม
ระยะท่ี 3 วิธีดำเนินการนำไปใชแ้ ละประเมินผลการใช้แนวปฏิบตั ิการพยาบาลเพ่ือป้องกนั การเกิด
UE งานห้องผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งาน
ห้องผปู้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม มี 1 ระยะ คอื
ระยะที่ 4 วิธีดำเนินการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม ทีป่ รับปรุงแล้วไปใชจ้ รงิ ในหนว่ ยงาน
ซึ่งได้แสดงรายละเอยี ด ดังภาพ

40

ขน้ั ตอนท่ี 1 การพัฒนาแนวปฏิบตั ิการพยาบาลเพื่อปอ้ งกันการเกดิ UE งานห้องผู้ปว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

ระยะที่ 1 วิเคราะหส์ ถานการณ์ R1 1. สถานการณ์การดแู ลผู้ปว่ ยวกิ ฤตใส่ท่อช่วยหายใจ
การเกิด UE งานห้องผ้ปู ว่ ยหนกั 2. ปจั จยั เส่ยี งต่อการเกิดUEท้ังด้านผู้ป่วยด้านการดแู ลรกั ษาและด้านบคุ ลากร

โรงพยาบาลนครปฐม 3. ผลกระทบจากการเกิด UE

4. แนวปฏิบัติการพยาบาลท่ีใช้ในการดูแลผปู้ ว่ ยใสท่ ่อชว่ ยหายใจ

ผลลพั ธ์ ประเด็นสำคัญในการพัฒนาแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาล: อบุ ัติการณ์ UE

ระยะท่ี 2 พฒั นาแนวปฏิบตั ิการ พฒั นาจากการทบทวนวรรณกรรม ตำราวิชาการ งานวิจัยท่ีเกย่ี วขอ้ งในหวั ขอ้

พยาบาลเพือ่ ป้องกันการเกิด UE 1. ปจั จัยที่มผี ลต่อการถอดทอ่ ช่วยหายใจโดยไมไ่ ดว้ างแผน

งานหอ้ งผู้ป่วยหนกั โรงพยาบาล 2. ผลกระทบจากการถอดทอ่ ช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน

นครปฐม 3. แนวคิดการปฏบิ ตั ิการพยาบาลเพ่ือการป้องกนั การเกดิ UE

นำเข้ากระบวนตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสภาวิจัย

ทางการแพทย์และสขุ ภาพแหง่ ชาติประเทศออสเตรยี (NHMRC,1998)

1. กำหนดปญั หาและขอบเขตของปัญหา

2. กำหนดทมี พัฒนาแนวทางปฏิบัตกิ ารพยาบาล

3. กำหนดวตั ถุประสงค์ กลมุ่ เปา้ หมาย และผลลัพธ์

4. ดำเนนิ การสืบค้นและประเมินคุณคา่ หลักฐานเชงิ ประจกั ษ์

5. ยกรา่ งแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาล

6. นำยกร่างแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลใหผ้ ูเ้ ช่ยี วชาญพฒั นาตรวจสอบ

ผลลัพธ์ ยกร่างแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพ่อื ป้องกนั การเกิด UE

ระยะที่ 3 การนำไปใชแ้ ละ 1. นำข้อเสนอแนะจากผูเ้ ช่ียวชาญมาปรับปรุง
ประเมนิ ผลแนวปฏิบตั กิ าร
D1 2. นำแนวปฏบิ ัติการพยาบาลไปทดลองใชจ้ ริงในพืน้ ท่ศี กึ ษา

1 ผลลัพธ์ แนวปฏบิ ตั ิการพยาบาลและค่มู อื การใช้แนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลฯ
1. ทดลองใชแ้ นวปฏิบตั กิ ารพยาบาลเพ่อื ป้องกนั การเกดิ UE

R2 2. ประเมนิ ผลการทดลองใชแ้ นวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล

พยาบาลที่เพื่อปอ้ งกนั การเกิด 2 ผลลพั ธด์ ้านกระบวนการ
UE งานห้องผปู้ ่วยหนกั 1. ความยาก-ง่ายในการนำไปใช้ ความสามารถในการนำไปใช้ ปัญหา อุปสรรค

โรงพยาบาลนครปฐม และข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

2. ความพึงพอใจของผใู้ ช้แนวปฏิบัติการพยาบาล

ผลลัพธ์ด้านผปู้ ว่ ย

1. จำนวนอบุ ตั กิ ารณ์การเกิด UE 2. ระยะเวลาการใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจ

1. ปรับปรุงแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาลจากผลการทดลองใช้

D2 2. จดั ทำเปน็ รปู เล่ม 3. นำไปใช้ปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลจริง

2 ผลลัพธ์ แนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลทไ่ี ดร้ บั การปรับปรงุ กอ่ นนำไปใชจ้ รงิ ในหน่วยงาน
ขั้นตอนที่ 2 การศกึ ษาประสิทธผิ ลของการใชแ้ นวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลเพอ่ื ปอ้ งกันการเกิด UE งานห้องผปู้ ่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม

ระยะที่ 4 การนำแนวปฏบิ ัติ 1. นำแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพื่อปอ้ งกันการเกิดUEทีป่ รบั ปรุงแล้วไปใชใ้ นหนว่ ยงาน

การพยาบาลเพอื่ ป้องกัน R3 2. ศกึ ษาประสิทธิผลของการใชแ้ นวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพือ่ ป้องกนั การเกิด UE
การเกดิ UE งานหอ้ งผูป้ ่วยหนกั ผลลัพธ์ดา้ นผ้ปู ว่ ย

โรงพยาบาลนครปฐม ทปี่ รบั ปรุง 1. จำนวนอบุ ัตกิ ารณก์ ารเกิด UE

แลว้ ไปใช้จรงิ ในหนว่ ยงาน 2. ระยะเวลาใส่ทอ่ ชว่ ยหายใจ

D3 1. นำผลลัพธ์จากการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงใน
หน่วยงานมาปรับปรุง

2. จดั ทำเป็นรปู เลม่ เพ่ือนำไปเผยแพร่ใชใ้ นการปฏบิ ัติจรงิ ต่อไป

ผลลัพธ์ แนวปฏิบตั ิการพยาบาลเพอื่ ปอ้ งกันการเกิด UE ฉบบั สมบรู ณพ์ ร้อมเผยแพร่

41

โดยแต่ละระยะมกี ารดำเนนิ การและรายละเอยี ด ดังต่อไปนี้

ขน้ั ตอนท่ี 1 การพฒั นา... ประกอบดว้ ยวธิ ีดำเนนิ การวจิ ยั 3 ระยะ ได้แก่
ระยะท่ี 1 ดำเนนิ การวเิ คราะหส์ ถานการณก์ ารเกิดปญั หา .... วันท่ี.......
1. ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับปัจจัยสาเหตุของการเกิดปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากปัญหา

นั้น โดยอาจเป็นการศึกษา ทบทวนวรรณกรรม หรือพร้อมทำงานวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่เป็นการหาปัจจัยสาเหตุของ
ปญั หาก็ได้

ผลจากการทบทวนวรรณกรรม พบวา่ ปัจจัยสาเหตขุ องการเกดิ ปญั หา ได้แก่.........
(ตรงนีส้ ำคัญมาก หากเราจะแกไ้ ขปัญหาอะไรกแ็ ลว้ แต่ เราตอ้ งทราบสาเหตทุ ่ีชดั เจนของปัญหา
นั้น)

2. วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดปัญหาในพืน้ ที่ตามปัจจัยที่ได้ทำการศึกษาในหัวข้อก่อนหน้า
ผวู้ จิ ัยอาจใช้วธิ กี ารจดั ประชุมทบทวน หรอื อาจใชก้ าร focusgroupกไ็ ด้ เพ่ือพิจารณาอุบตั ิการณ์การเกิดปัญหา
รวมท้งั ประเด็นที่เปน็ สาเหตุ (ตามปจั จยั ที่ไดศ้ ึกษาในหัวข้อก่อนหน้า) ตลอดจนผลกระทบทเ่ี กดิ ข้ึน

ผลจากการวิเคราะหส์ ถานการณ์การเกิดปัญหาในพื้นท่ี พบว่า .......
(ตรงนีจ้ ะทำใหไ้ ดว้ ่า จากสาเหตุของปญั หาทไ่ี ดจ้ ากการทบทวนวรรณกรรมในหัวขอ้ ที่ 1 เมื่อมา
ทำการวิเคราะหส์ ถานการณ์จะทำใหท้ ราบว่า พ้นื ทข่ี องเรามกี ารจดั การแกไ้ ขปญั หาจุดใดบ้าง และจุดใดที่ยังขาดการ
แก้ไขปัญหาอยู่ แสดงว่าจุดที่ขาดนั้นต้องดำเนินการแก้ไข ซึ่งต้องอาศัยแนวคิด/ทฤษฎีฐานรากมาเป็นจุดในการ
แกไ้ ขปญั หานัน้ เพราะเม่อื เรามฐี านในการแก้ไขปัญหาทคี่ รอบคลุมก็จะนำไปสูแ่ นวโนม้ ของการจดั การปัญหาทีด่ ี)

ผลลัพธ์ สาเหตุของปญั หาท่เี กิด เพอ่ื นำไปสกู่ ารพัฒนาหาแนวทางแกไ้ ข แบ่งเปน็
ก่ีด้าน ได้แก่

1. ปัจจยั ดา้ น.....
2. ปัจจัยดา้ น....
ฯลฯ

42

ตวั อยา่ งขั้นตอนท่ี 1 การพฒั นา... ระยะท่ี 1 ทีผ่ ูว้ ิจัยได้เขียนไว้ ดงั นี้

ระยะที่ 1 วิธีดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์การเกิด UE งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาล
นครปฐม การวจิ ัยในระยะน้ดี ำเนินการเสรจ็ แล้วในเดอื นตลุ าคม 2561

1. ผู้วิจัย จัดประชุมทบทวนอุบัติการณ์การเกิด UE ในหน่วยงานร่วมกับหัวหน้าห้อง
ผูป้ ่วยหนัก (ผใู้ หญ่) หวั หนา้ หอผปู้ ว่ ยกึง่ วกิ ฤตอายุรกรรม และผูป้ ฏิบตั ิงาน โดยการวิเคราะหร์ ากเหง้า (RootCause
Analysis: RCA) รวบรวมประเด็นปัญหาสาเหตุ ผลลัพธ์จากการเกิด UE และแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ UE ในปี
2561 โดยพบอัตราการเกดิ 1.86 – 20.16 /1,000 วนั ใส่ทอ่ ช่วยหายใจและต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลบั ซ้ำถงึ ร้อยละ 8-
33

ผลลพั ธ์ การวิเคราะห์รากเหงา้ (Root Cause Analysis: RCA) อบุ ตั กิ ารณก์ ารเกิด UE

2. ผู้วิจยั หวั หนา้ หอ้ งผู้ปว่ ยหนกั (ผู้ใหญ่)และหัวหน้าหอผู้ป่วยกึง่ วกิ ฤตอายรุ กรรมประชมุ รว่ มกนั
โดยนำผลที่ได้จากการประชุมทบทวนอุบัติการณ์การเกิด UE ในแต่ละหน่วยงานมาจัดกลุ่มประเด็นสำคัญเพื่อ
วางแผนพัฒนาคุณภาพการปฏบิ ตั ิการพยาบาลใหเ้ กดิ ความปลอดภยั ตอ่ ผูป้ ว่ ย

ผลลัพธ์ จากการวเิ คราะห์สถานการณ์การดแู ลผูป้ ่วยใสท่ อ่ ชว่ ยหายใจในงานหอ้ งผ้ปู ่วยหนัก
โรงพยาบาลนครปฐม นำมาจัดกลุ่มประเด็นปัญหาตามปจั จัยท่ีมผี ลตอ่ การเกดิ UE แบ่งเปน็ 4 ด้าน ได้แก่

43

1. ปัจจัยด้านผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความวิกฤตรุนแรง กลุ่มโรค
เรื้อรงั มีภาวะการหายใจลม้ เหลว ระบบไหลเวียนไมค่ งท่ี ตอ้ งไดร้ ับการใส่ทอ่ ช่วยหายใจ ซงึ่ ผ้ปู ว่ ยเหล่านี้ส่วนมากจะ
มีระดบั ความร้สู ึกตัวทดี่ ี และส่วนใหญ่เป็นกลมุ่ ผู้สงู อายุ

2. ปัจจัยด้านการดูแลรักษา การเจ็บป่วยวิกฤตหรือเป็นโรคเรื้อรังมีระบบการหายใจล้มเหลว
ร่วมกับต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นอุปสรรคต่อการสือ่ สารทำให้ได้รับการตอบสนองที่ไม่ตรงความต้องการมีความไม่
สุขสบายที่เกิดจากความปวด ในภาวะกระสับกระส่ายหรือภาวะสับสนเฉียบพลัน มีข้อจำกัดในการได้รับยาหย่อน
คลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาทรวมถึงยาแก้ปวดด้วย มีการผูกยึดร่างกายตลอดเวลา และได้รับการหย่า
เครอ่ื งชว่ ยหายใจชา้ ในกลุม่ ผปู้ ว่ ยทีพ่ ร้อมหย่าเครอื่ งช่วยหายใจ

3. ปัจจัยด้านบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานมีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี เกือบร้อยละ 50 การ
จดั อตั รากำลังพยาบาลตอ่ ผูป้ ว่ ยมากกวา่ 1:3 ทำให้ไม่สามารถเฝา้ ระวังผ้ปู ่วยใกลช้ ิดได้ วธิ ปี ฏบิ ตั ิป้องกนั UE เดิมท่ี
มีอยู่นำไปใช้น้อย ผู้ปฏิบัติเข้าใจไม่ตรงกัน การสื่อสารวิธีปฏิบัติไม่ทั่วถึงผู้ปฏิบัติงานและการกำกับติดตามให้
ปฏบิ ัติตามวธิ ปี ฏิบัติยังไมต่ ่อเนื่อง

4. ปัจจัยด้านแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE ซึ่งวิธีปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันการเกิด UE เดิมยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นข้อมูลสนับสนุน และยังไม่ครอบคลุมทกุ ปัจจัยท่ีมีผลต่อ
การเกิด UE ขาดแนวปฏิบัติเรื่องการประเมินและการจัดการความปวด ภาวะสับสน ง่วงซึมและภาวะสับสน
เฉยี บพลนั การประเมนิ ความพรอ้ มในการหย่าเคร่ืองช่วยหายใจ รวมทัง้ ยงั ไม่ไดร้ ับการปรับปรงุ ใหเ้ ป็นปัจจุบนั

ระยะที่ 2 ดำเนนิ การพฒั นา..........
1. ผู้วิจัยได้พัฒนา......ตามกรอบแนวคิด......ของ........ (ตรงนี้ ต้องแสดงแนวคิด/ทฤษฎีฐานรากที่จะ

นำมาสู่การแก้ไขปญั หา)
ประกอบดว้ ย ... ขนั้ ตอน ดงั น้ี ..... (มรี ายละเอยี ดอย่างไร ใส่ใหล้ ะเอยี ด)
2. ผู้วิจัยได้ทำการร่างยกร่าง.... (ดังภาคผนวกท่ี...) ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบความเหมาะสม

และความเปน็ ไปไดใ้ นการใชง้ าน (ตามแบบประเมินสำหรับผเู้ ชีย่ วชาญดงั ภาคผนวกที่....)
ผเู้ ช่ียวชาญในการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการใชง้ าน...ประกอบด้วย...
ผลการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการใช้งานจากผเู้ ช่ียวชาญพบวา่ ......
และได้นำมาสูก่ ารแกไ้ ข....ในประเดน็ .....
ผลลัพธ์ รา่ ง...... ประกอบดว้ ยสาระสำคญั ..... หมวด ดงั น้ี
ผู้วจิ ัยดำเนนิ การจัดพิมพเ์ ป็นรูปเลม่ ฉบบั สมบรู ณ์และฉบบั ยอ่ เพ่อื สะดวกต่อการเขา้ ถึงก่อนนำไป

ทดลองใชจ้ ริง (รายละเอยี ดตามภาคผนวก.......)

44

ตวั อยา่ งขัน้ ตอนท่ี 1 การพัฒนา... ในระยะที่ 2 ทผ่ี ู้วจิ ยั ไดเ้ ขยี นไว้ ดังน้ี

ระยะท่ี 2 วธิ ีดำเนนิ การพัฒนาแนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาลเพือ่ ปอ้ งกันการเกดิ UEงานห้อง
ผปู้ ว่ ยหนกั โรงพยาบาลนครปฐม

1. ผู้วิจยั ไดพ้ ฒั นาแนวปฏบิ ตั กิ ารพยาบาลตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัตทิ างคลนิ ิกของสภา
วิจัยทางการแพทยแ์ ละสขุ ภาพแห่งชาตปิ ระเทศออสเตรีย (NHMRC,1998) ประกอบดว้ ย 6 ขัน้ ตอน ดงั นี้

1.1 กำหนดประเดน็ และขอบเขตของปัญหา โดยปรึกษารว่ มกบั หัวหนา้ หอ้ งผู้ปว่ ยหนัก (ผู้ใหญ)่ และ
หัวหนา้ หอผู้ปว่ ยกง่ึ วิกฤตอายรุ กรรม โดยพิจารณาจากประเดน็ ปัญหาทเ่ี กดิ ขนึ้ จากการปฏิบตั กิ ารพยาบาลที่มีความ
เสี่ยงสูง (highrisk) มีจำนวนอุบัติการณ์มาก (high volume) มีความหลากหลายของการปฏิบัติการพยาบาล (high
variation) ในองค์กรเดยี วกนั และมผี ลลัพธท์ เ่ี กิดอนั ตรายสงู ต่อผูป้ ่าย

ผลลัพธ์
- กำหนดประเด็นสำคัญของปญั หาคอื การเกดิ อุบัติการณ์ UE งานห้องผูป้ ่วยหนกั โรงพยาบาล
นครปฐม
- ขอบเขตของปญั หา พบการเกดิ UE ในผูป้ ว่ ยใสท่ อ่ ชว่ ยหายใจทางปากที่เข้ารับการรกั ษาใน
ห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลนครปฐมตามการวิเคราะห์สถานการณ์การ
ดูแลผปู้ ว่ ยใสท่ ่อช่วยหายใจในงานห้องผูป้ ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม

1.2 กำหนดทีมพัฒนาแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาล โดยพิจารณาจากประสบการณก์ ารทำงานและความ
สมัครใจ

ผลลัพธ์ หลังประสานงานกับบุคลากรเป็นรายบุคคลเพื่อปรึกษาและเชิญร่วมเป็นทีมพัฒนา
แนวปฏบิ ัติการพยาบาลไดร้ บั การตอบรบั ดว้ ยความสมัครใจ ประกอบด้วยหัวหน้าห้องผ้หู นกั ศัลยกรรมประสาทและ
สมอง หัวหน้าห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก หัวหน้าห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรคหัวใจ ห้อง
ผปู้ ว่ ยหนักอายุรกรรม หัวหน้าหอผปู้ ว่ ยกง่ึ วกิ ฤตอายุรกรรมหญิงหัวหน้าหอผ้ปู ว่ ยกึ่งวกิ ฤตอายุรกรรมชาย พยาบาล
วิชาชีพผู้ปฏิบัติงานประจำห้องผูป้ ่วยหนักศัลยกรรรมประสาทและสมองและหัวหน้าห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมซง่ึ
เปน็ ผวู้ จิ ัย รวมจำนวนท้ังส้นิ 8 คน

45

1.3 กำหนดวตั ถุประสงค์ กลมุ่ เปา้ หมายและผลลัพธท์ างการพยาบาลโดยประสานร่วมกบั ทีมพัฒนา
แนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล ในข้อ 2

ผลลัพธ์ ได้วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย
- เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน งาน

ห้องผูป้ ว่ ยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม
- เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิด UE งานห้อง

ผ้ปู ่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม
กลุ่มเป้าหมาย แบง่ เป็น 2 กล่มุ ดังนี้
- ผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานห้องผู้ป่วยหนัก

(ผู้ใหญ)่ และหอผูป้ ว่ ยกึง่ วกิ ฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 90 คน
- ผ้ปู ว่ ยที่ใสท่ อ่ ช่วยหายใจทางปากและเขา้ รับการรักษาในห้องผปู้ ่วยหนัก (ผใู้ หญ่) และหอผปู้ ่วย

ก่ึงวิกฤตอายรุ กรรม โรงพยาบาลนครปฐม มีอายมุ ากวา่ หรือเทา่ กับ 15 ปี ทงั้ เพศชายและหญงิ
ผลลัพธท์ างการพยาบาล
- ผลลพั ธด์ า้ นกระบวนการ ประกอบด้วย การประเมินผลความยาก-งา่ ยในการนำแนวปฏบิ ตั กิ าร
พยาบาลไปใช้ ความสามารถในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการนำแนว
ปฏบิ ัติการพยาบาลไปใช้ และความพึงพอใจของผใู้ ช้แนวปฏบิ ัตกิ ารพยาบาล
- ผลลัพธ์ด้านผปู้ ่วย ประกอบด้วย จำนวนอบุ ตั ิการณก์ ารเกดิ UE และระยะเวลาใสท่ อ่ ช่วย
หายใจ

1.4 สืบคน้ และประเมนิ คณุ ค่าหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยกำหนดคำสำคัญในการสบื ค้นหลักฐานเชิง
ประจักษ์ แหล่งและวิธีการสืบค้นคัดเลือกวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการป้องกันการเกดิ UEประเมินคุณค่าหลักฐาน
เชงิ ประจักษ์ โดยพจิ ารณาใน 4 ประเดน็ หลัก ประกอบด้วย

1) กำหนดคำสำคัญในการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาล
ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดการถอดทอ่ ช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนการดูดเสมหะการดูแลช่องปาก การจัดการความ
ปวด การจัดการภาวะกระสับกระส่าย ภาวะง่วงซึมและภาวะสับสนเฉียบพลัน clinicalnursingpracticeguideline,
unplannedextubation,riskof factor,painmanagement,criticallyillpatient,communicationtool,physical
restraint, suction, oral care , evidence based practice.

46

2) ชนิดของหลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นงานวิจัย เอกสารวิชาการ ตำราวิชาการ และ
ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2561 และ ค.ศ. 2003-2018 สืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็คโทรนิกส์
ได้แก่ PubMed, Google Scholar, Thai jo และการสบื คน้ ด้วยมอื

3) จดั ระดับความนา่ เชื่อถอื ของหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์ ตามหลักการของสภาการวจิ ัยทาง
การแพทย์และสุขภาพแห่งชาตปิ ระเทศออสเตรเลยี

4) จัดระดับข้อเสนอแนะในการนำแนวปฏิบัติไปใช้โดยใช้เกณฑ์การประเมิน
ขอ้ เสนอแนะในการนำไปใช้ของสถาบนั โจแอนนาบรกิ ส์

ผลลพั ธ์
หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้รับการคัดเลือกและประเมินคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวน
28 เรือ่ ง เป็นหลกั ฐานเชงิ ประจักษร์ ะดับ ระดับ I เกรด A จำนวน 6 เรอ่ื ง ระดบั II-1 เกรด B จำนวน 1 เร่ือง ระดับ II-
2 เกรด A จำนวน 9 เรอ่ื ง ระดบั II-2เกรด B จำนวน 2 เร่ือง ระดับ IV เกรด A จำนวน 9 เร่ือง ระดบั IV เกรด B จำนวน
1 เรือ่ ง รายละเอียดการสังเคราะหง์ านวิจัย เอกสารวิชาการ ตำราวชิ าการ แสดงในภาคผนวก…. )

1.5 ยกรา่ งแนวปฏิบตั กิ ารพยาบาล โดยผู้วจิ ยั และทมี พัฒนาแนวปฏบิ ตั ิการพยาบาล ดำเนนิ การ
รวบรวมข้อสรุปจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้รับการคัดเลือกและประเมินคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์
จากนั้นสังเคราะห์งานวิจัย จำแนกตามการประเมินคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์และการประเมินข้อเสนอแนะ
ในการนำสูก่ ารปฏิบัติ และทำการยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาลเพอื่ ปอ้ งกนั การเกิด UE

ผลลัพธ์
รา่ งแนวปฏบิ ัติการพยาบาลเพอื่ ป้องกนั การเกิด UE ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 หมวด ดงั นี้
หมวดที่ 1 การปฏิบตั กิ ารพยาบาล (nursing intervention: I) ได้แก่
- การส่งเสริมการสื่อสารในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (II-2B,II-2A,IVB,II-1B) ปรับปรุงจากวิธี
ปฏิบตั เิ ดิม และเพม่ิ หลักฐานเชงิ ประจักษใ์ ห้มคี วามชัดเจน
- การยึดตรึงท่อช่วยหายใจ เป็นวิธีปฏิบัติที่ใช้อยู่เดิม เพิ่มการปรับปรุงวัสดุยึดตรึงท่อช่วย
หายใจใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพ โดยใชพ้ ลาสเตอรช์ นดิ กนั นำ้ (Multi pore)
- การดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจและการดูแลช่องปากขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ปรับปรุงจากวิธี
ปฏบิ ตั แิ ละเพ่มิ หลกั ฐานเชงิ ประจักษท์ ชี่ ดั เจน (การดดู เสมหะในทอ่ ช่วยหายใจ (IA,II-2B และ
การดูแลชอ่ งปากขณะใสท่ ่อช่วยหายใจIVA)
- การผูกยดึ รา่ งกายอย่างปลอดภยั (II-2B,II-2A,II-2A,IVA) ปรบั ปรุงจากวธิ ปี ฏบิ ตั ิเดิม และเพิ่ม
หลักฐานเชงิ ประจกั ษ์ท่ชี ดั เจน

47

หมวดที่ 2 การเฝา้ ระวังอย่างใกลช้ ิด (close up monitoring: C) ได้แก่

- การประเมนิ ระดับความรู้สกึ ตัวและพฤตกิ รรมการเคลื่อนไหว(II-2B,II-2A,II-2A) ปรับปรุงจาก
วธิ ปี ฏิบัตเิ ดิม และเพิ่มหลกั ฐานเชงิ ประจักษท์ ีช่ ัดเจน

- การประเมนิ และจดั การความปวด(II-2A,IVA)เพิม่ ความชดั เจนของเครอื่ งมอื ท่ีใชใ้ นการประเมนิ
ความปวด โดยใช้หลักฐานเชงิ ประจักษ์ และจดั ทำแนวทางปฏบิ ัตทิ ่ชี ดั เจน

- การประเมินและการจัดการภาวะกระสับกระสา่ ยภาวะง่วงซึมและภาวะสับสนเฉยี บพลัน(IVA)
จดั ทำแนวทางปฏิบัติท่ชี ัดเจนโดยใช้หลักฐานเชิงประจกั ษ์

- การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ(II-2B,II-2A) จัดทำแนวทางปฏิบัติท่ี
ชัดเจนโดยใช้หลกั ฐานเชงิ ประจักษ์

หมวดที่ 3 การนำไปใช้ใหเ้ กิดประโยชน์ (utilizing: U) (II-2A IVA) จัดทำแนวทางปฏิบตั ทิ ่ชี ดั เจน
โดยใช้หลักฐานเชงิ ประจกั ษ์ รายละเอยี ดแต่ละหมวดดงั แสดงในภาคผนวก ……..

1.6 ตรวจสอบความตรงและความเท่ยี งของแนวปฏิบัติการพยาบาล ดำเนนิ การดังนี้

1) การตรวจสอบความตรงเชงิ เน้ือหา โดยนำยกรา่ งแนวปฏิบัตกิ ารพยาบาลเพอื่ ปอ้ งกนั UE ใน
งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ:

อาจารย์พยาบาล จำนวน 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษา: วิสัญญีแพทย์ อนุสาขาเวชบำบัดวิกฤต จำนวน 1
ท่าน และผเู้ ชย่ี วชาญดา้ นปฏบิ ตั ิการพยาบาลผู้ป่วยวกิ ฤต:ผูป้ ฏิบัตกิ ารพยาบาลข้ันสงู ดา้ นการพยาบาลอายุรศาสตร์

และศัลยศาสตร์จำนวน 1 ท่าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้วิธีการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติสำหรับการ
วิจัยและประเมินผล (Appraisalof GuidelineforResearchandEvaluationI: AGREEI) ฉบับภาษาไทย
ประกอบด้วย6 หมวด รวม 23 ข้อ การให้คะแนนทัง้ หมดใชร้ ะบบ1-7 คะแนน1 หมายถึงไม่เห็นด้วยเป็นอยา่ งมาก

คะแนน 7 หมายถงึ เหน็ ด้วยเปน็ อยา่ งมาก คะแนนคุณภาพคำนวณจากคะแนนรายหมวดแต่ละหมวด จากสตู ร

ระดับคะแนนของหมวด = คะแนนท่ีได้ – คะแนนต่ำสุดทเ่ี ป็นไปได้ × 1
คะแนนสูงสดุ ทเ่ี ป็นไปได้−คะแนนตำ่ สุดท่ีเป็นไปได้

การแปลความหมายคะแนนของแตล่ ะหมวด ไมไ่ ดม้ ีการกำหนดคะแนนตำ่ สุดและสูงสุดของแต่ละหมวดหรือ

รูปแบบของคะแนนแตล่ ะหมวดให้ผู้ใชพ้ ิจารณาตัดสินใจโดยคำนึงถงึ บรบิ ททนี่ ำAGREEI มาใช้ หลงั จากประเมินทง้ั

6 หมวดเสร็จสิ้นแล้ว จะทำการประเมินภาพรวมแนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 2 ข้อ เพื่อตัดสินใจคุณภาพของ

แนวทางปฏิบัติ และการแนะนำให้นำแนวทางปฏิบัติไปใช้หรือไม่ โดยข้อท่ี 1 การให้คะแนนภาพรวมด้านคุณภาพ

ของแนวทางปฏบิ ัติ การใหค้ ะแนนใชร้ ะบบ1-7คะแนน1 หมายถงึ คุณภาพต่ำสุดเท่าทเ่ี ป็นไปได้ คะแนน7หมายถงึ


Click to View FlipBook Version