E-book จัด จั ทำ โดย ใบงานวิวิชวิวิาศิศิศิลศิปะวัวัฒ วั ฒ วั นธรรมไทย เพื่พื่ พื่ อ พื่พื่ อ พื่ การท่ท่ ท่ อ ท่ องเที่ที่ ที่ ย ที่ ยว รหัสหั 63115242111 สาขาวิชวิาภาษาอังกฤษ คณะครุศรุาสตร์ นางสาวปณัด ณั ดา เรือ รื รัก รั ษ์
ใบงานที่1 จงบอกอายุสมัยของหลักฐานทางโบราณคดีในจังหวัดสกลนครและเรียงตามลำ ดับก่อน-หลัง เสมาหิน ที่ดอนหินหลัก บ้านนาตาล อ.เต่างอย -อยู่ในช่วงยุคสมัยทวารวดี พ.ศ.1500 -ประมาณ 1,000 ปี ปราสาทบ้านขอม(กู่พันนา) อ.สว่างแดนดิน - สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม - อายุ 765 ปี วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง อ.เมืองสกลนคร -สร้างในสมัย"ศิลปะขอมปาปวน”ตรงกับแผ่นดิน ของพระเจ้าอุทัยอาทิตย์วรมัน ที่ 2(ระหว่างพ.ศ. 1593 — 1609) -อายุประมาณ900 - 1,000ปี วัดพระพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมืองสกลนคร - ราวพุทธศตวรรษที่ 16 -17 - อายุประมาณ 900 ปี ภาพสลักผาหิน ถ้ำ ผาลาย ภูผายนต์ -สมัยก่อนประวัติศาสตร์ -มีอายุราว 3,500 ปีมาแล้ว
ใบงานที่ 2(2.1) จิตรกรรมฝาผนัง Mural Painting จงหาภาพจิตรกรรมฝาผนังดังต่อไปนี้ 1.ภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ด้านหน้าหรือตรงข้ามพระประธาน(เหนือขอบประตู) 2. ภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสร็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ด้านหลังพระประธาน) ภาพที่2 จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์พระ อุโบสถ วัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ ผนังหุ้มกลองด้านหลัง (ผนังด้านหลังพระประธาน) นิยมเขียนภาพไตรภูมิ ซึ่งเป็นภาพจำ ลอง ของจักรวาลตามความคิดของ คนโบราณ บางแห่งอาจเขียนภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไป เทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ และตอนเสด็จ ลงจากสวรรค์ช้ันดาวดึงส์พร้อมทั้งเปิดโลกทั้งสาม คือ สวรรค์ โลกมนุษย์และนรกภูมิให้เห็นทั่วถึงกัน เป็นสัญลักษณ์ที่มีความ หมายแฝงว่าพระพุทธเจ้าทรงหันหลัง ให้กับการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ของสัตว์โลกทั้งปวง มุ่งแสวงหาสัจธรรม เพ่ือสั่งสอนให้สัตว์ โลกทั้งหลายหลดุพ้นจากความทุกข์ อ้างอิง : : https://he02.tci-thaijo.org ภาพที่ 1 : ภาพมารผจญศิลปะอยุธยา วัดใหม่เทพนิมิต ที่มา : วัดใหม่เทพนิมิต (2526) ผนังหุ้มกลองด้านหน้า (ผนังตรงข้ามพระประธาน) เหนือขอบประตู นิยมเขียนภาพพุทธ ประวัติตอนมารผจญเต็มท้ัง ผนัง เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายแฝงว่าพระพุทธเจ้าทรงเอาชนะพญามารซึ่ง เปรียบได้กับการท่ีพระองค์สามารถละ กิเลสทั้งปวงจนสามารถตรัสรู้ค้นพบสัจธรรมอันเป็นหนทางหลุดพ้น จากความทุกข์ท้ังปวง ตัวอย่างเช่นภาพมารผจญ ใน อุโบสถ วัดใหม่เทพนิมิต ความตอนหน่ึงว่า ตรงเหนือภาพมารผจญบนสุด จะมีเส้นหยักของสินเทาเหนือสีแดงฉานของ สีดินแดง เป็นรูปเทวดาในท่ากาลังหวั่นไหว ต่ืนตระหนก อย่างน่ากลัว ฉัตรล้มระเนระนาด พ้ืนฟ้าระบายด้วยสีม่วง อ่อนๆ บนช่องว่างจะมีดอกไม้ และ ใบไม้ร่วง เป็นลักษณะศิลปะอยุธยาชัดเจน อ้างอิง : https://fineart.msu.ac.th
3. ภาพเทพชุมนุม (ด้านข้างเหนือขอบหน้าต่างทั้งสองข้าง) ภาพที่ 3(ซ้าย) : ภาพเทพชุมนุม วัดดุสิดาราม (ขวา) : ภาพเทพชุมนุม วัดใหม่เทพนิมิต ที่มา (ซ้าย) : วัดดุสิดาราม (2526) ที่มา (ขวา) : วัดใหม่เทพนิมิต (2526) ผนังด้านข้างพระประธานท้ัง 2 ด้าน ต้ังแต่เหนือขอบหน้าต่างข้ึนไปจนถึงเพดานซึ่งรวมเรียกว่า“คอสอง”นิยมเขียนภาพเทพ ชุมนุม เป็นรูปเทวดา อสูร ครุฑ นาค นั่งเรียงเป็นแถว แบ่งเป็นชั้น ทุกภาพ ต่างประนมมือหันหน้าเข้าหาพระประธาน รวมถึงหมู่ วิทยาธร ฤาษี คนธรรพ์ถือช่อดอกไม้ทิพย์ซึ่งจิตรกร นิยมวาด ไว้บริเวณคอสองตอนบนสุดใกล้กับเพดานและใช้เส้นสินเทารูปหยัก ฟันปลาเป็นเส้นแบ่งจากภาพ เทพชุมนุม เป็นสัญลักษณ์ท่ีมีความหมายแฝงว่าหมู่เทพ ท้ังปวงทุกชั้นฟ้าต่างมาชุมนุมกันเพื่อฟัง ธรรมจาก พระพุทธเจ้าโดยใช้พระประธานเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ อ้างอิง : https://fineart.msu.ac.th 4. ภาพระหว่างช่องหน้าต่างภาพเป็นเรื่องราวที่จบในช่องเดียวกัน เช่นทศชาติชาดกช่องละ 1 ตอน ภาพที่ 4 จิตรกรรมฝาผนัง (ซ้าย) : เรื่องพระมหาชนก (ขวา) : เรื่องเวสสันดรชาดก ที่มา : วัดช่องนนทรี (2525) ผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ผนังส่วนนี้มีพื้นท่ีกว้างพอประมาณเรียกว่า“ห้องพ้ืนผนัง”ส่วนมาก จิตรกรนิยมเขียน ภาพเป็นเร่ืองท่ีจบในตอนเดียวกัน แล้วแต่ว่า จะหยิบยกเรื่องตอนใดมาวาด แต่มักเป็น ตอนสาคัญท่ีรู้จักกันทั่วไป อย่างผนังด้านข้างทั้งสองภายในพระอุโบสถวัดช่องนนทรี แบ่งเป็นด้านละ 5 ช่อง ค่ันด้วยลายรักร้อย ซึ่งภายในช่อง ยังคั่นเร่ืองราวย่อด้วนเส้นสินเทาเป็นหยักๆ เขียนเป็นภาพชาดก เวียน อุตราวัฏ คือจากพระหัตถ์ซ้ายของพระประธาน เริ่มด้วย พระเตมีย์, พระชนก, พระสุวรรณสาม, พระเนมี ราช, พระมโหสถ ส่วนด้านขวาของพระประธาน จากหลังมา ข้างหน้าเขียนเร่ือง พระภูริทัตต์, พระจันท กุมาร, พระนาทร, พระวิทธูร, พระเวสสันดร อ้างอิง : https://fineart.msu.ac.th
5. ภาพทวารบาล บานประตูหรือหน้าต่าง ภาพที่ 5 (ซ้าย) : ทวารบาล วัดไชยทิศ พื้นหลังระบายสีขาวแบบศิลปะอยุธยา (ขวา) : เซ่ียวกาง วัดใหม่เทพนิมิต ท่ีมา (ซ้าย) : วัดไชยทิศ (2534) ที่มา (ขวา) : วัดใหม่เทพนิมิต (2526) บานประตู – หน้าต่าง โดยท่ัวไปนิยมทาเป็นภาพเทวดาถืออาวุธยืนบนแท่นมียักษ์แบกหรือยืน บนหลังสัตว์พา หนะซ่ึงรวมเรียกว่า“ทวารบาล”มีหลายรูปแบบ เช่น เทวดาถือศร เทวดาแบกพระขรรค์ ท้ัง แบบไทยประเพณีหรือ แบบไทยปนจีนที่เรียกว่า“เซ่ียวกาง” โดยอาจทาเป็นภาพเขียนระบายสี ลายรดน้า หรือไม้แกะสลักก็ได้ บางแห่งอาจ ทาลวดลาย ให้มีความหมายสัมพันธ์กับสถานที่ก็ได้ เช่นบานประตู – หน้าต่าง ของวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ทา เป็น ลายรดน้ารูประฆัง เป็นต้น อ้างอิง : https://fineart.msu.ac.th
ใบงานที่ 2(2.2) ประติมากรรม Sculpture ยกตัวอย่างประติมากรรม ดังต่อไปนี้ 1.งานปั้น วีนัส เดอมิโล (VENUS DE MILO) สถานที่ : พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (Louvre Museum, Paris, France) ประติมากร : สันนิฐานว่าเป็น Alexandros of Antioch ประติมากรชาวกรีก ปี : อยู่ระหว่าง 130 – 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นที่เชื่อกันว่ารูปปั้นวีนัส เดอมิโลถูกค้นพบเมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีค.ศ. 1820 โดยเกษตรกรที่มีชื่อว่า Yorgos Kentrotas เขาได้ค้นพพชิ้นส่วนของรูปปั้นวีนัสแถวๆเกาะภูเขาไฟมิลอส ประติมากรรมชิ้นนี้ได้ถูกยกให้เป็นของ ขวัญแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ก่อนจะถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ต่อไป ก่อนที่จะจัดแสดงอย่างใน ทุกวันนี้ วีนัส เดอมิโลได้ถูกขนานนามว่าเป็นแอโฟรไดท์แห่งมิลอส วีนัส เดอมิโลคิดว่าเป็นตัวแทนของเทพีแอ มโฟรไดท์ ผู้ซึ่งเป็นเทพีกรีกโบราณแห่งความรัก เทพีแห่งความสุข และเทพีแห่งผู้ให้กำ เนิด ซึ่งในขณะเดียวกัน เทพีแอมโฟรไดท์แห่งโรมันก็มีความคล้ายคลึงกันกับเทพีวีนัสแห่งกรีกเช่นเดียวกัน มีความเชื่อว่ารูปปั้นนี้ถูกปั้น โดย Alexandros of Antioch ประติมากรในยุคสมัยสมัยเฮลเลนิสต์ รูปปั้นมีส่วนที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ทุกวันนี้ คือแขนที่หายไปทั้งสองข้างของวีนัส เดอมิโล และมีการเล่าต่อกันมาว่าเดิมทีรูปปั้นวีนัส เดอมิโลนั้นเต็มไปด้วย เครื่องประดับมากมาย เช่น สร้อยข้อมือ, ต่างหู และผ้าคาดศีรษะ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ได้หายสาปสูญไปเป็น เวลานานแล้ว รูปปั้นวีนัส เดอมิโลมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นรูปปั้นที่โด่งดังและโดดเด่นที่สุดในยุคประติมากรรม กรีกโบราณ อ้างอิง : http://realmetro.com
2. งานแกะสลัก ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำ ทุกปีในช่วงเทศกาลวัน ออกพรรษาและถือปฏิบัติสืบทอดกันมานาน จนกลายเป็นประเพณีประจำ จังหวัดสกลนคร จากความเชื่อ ความศรัทธาผสานกับภูมิปัญญาของชาวสกลนคร สร้างสรรค์ความวิจิตรงดงามของปราสาทผึ้งได้อย่าง ตระการตา การประดิษฐ์ปราสาทผึ้งของชาวสกลนคร แต่เดิมเป็นการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งแบบโบราณ หรือเรียกว่า “ต้นผึ้ง” โดยการเอากาบของต้นกล้วยมาทำ เป็นโครง แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ แล้วตกแต่งด้วยดอกผึ้ง ได้อย่างงดงาม ซึ่งต่อมามีการพัฒนาและประยุกต์ ผสมผสานการแกะสลักดอกผึ้งและประติมากรรมบน แผ่นเทียน ทำ ให้เกิดเป็นปราสาทผึ้งแบบประยุกต์ที่มีขนาดใหญ่งดงามด้วยลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงและมี เรื่องราวที่เกิดจากความร่วมแรงและร่วมใจของชุมชนต่างๆ ในเมืองสกลนคร และยังคงอนุรักษ์ทั้งการ ประดิษฐ์ปราสาทผึ้งโบราณและการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งประยุกต์ อ้างอิง : https://www.mahatsachan.com/travel-tips/travel-sakon/8505
3. งานหล่อ แมนเนเกน พิส เด็กชายกำ ลังปัสสาวะ (MANNEKEN PIS) สถานที่ : พิพิธภัณฑ์แห่งกรุงบรัซเซลส์, กรุงบรัซเซลส์, ประเทศเบลเยี่ยม Museum of the City of Brussels, Belgium ประติมากร : เจอโรม ดูเกสนอย Jerome Duquesnoy ปี : 1619 ชื่อของประติมากรรมชิ้นนี้มีชื่อว่า‘เด็กชายกำ ลังปัสสาวะ’หรือ‘เด็กยืนฉี่’เป็นประติมากรรมเงินหล่อ ขนาดเล็ก หล่อเป็นรูปเด็กชายเปลือยที่กำ ลังยืนปัสสาวะใส่อ่างน้ำ พุ ประติมากรรมชิ้นนี้ตั้งอยู่ที่ใจกลาง เมืองบรัซเซลส์ ประติมากรรมเด็กชายกำ ลังยืนปัสสาวะนี้ได้ถูกพิจารณาให้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำ เมืองบรัซเซลส์ และเริ่มได้รับความสำ คัญเมื่อปลายยุคศตวรรษที่ 17 ก่อนจะค่อยๆเพิ่มความนิยมขึ้นมา เรื่อยๆ ปัจจุบันรูปหล่อเงินของเด็กชายกำ ลังปัสสาวะได้ถูกลอกเลียนขึ้นใหม่ในปี 1965 ส่วนของจริง นั้นตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงบรัซเซลส์ อ้างอิง : http://realmetro.com
4. ประติมากรรมนูนต่ำ บานประตูสลักไม้รูปเซี่ยวกางเหยียบสิงห์ ประติมากรรมนูนต่ำ วัดนางชีโชติการาม กรุงเทพมหานคร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ประติมากรรมรูปเคารพ ที่คนไทยสร้างขึ้น เพื่อเคารพบูชา มักทำ เป็นรูปคน เช่น เทวรูป พระพุทธรูป หรือรูปสัญลักษณ์ เช่น ใบเสมา ธรรมจักร และกวางหมอบ และรอยพระพุทธบาท ประติมากรรมรูปคนถือเป็นประติมากรรมที่สำ คัญที่สุด เพราะสะท้อนความเชื่อ และ ความผูกพันระหว่างสังคมไทยกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง มีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงปัจจุบัน อ้างอิง : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/58240/-artfin-art-
ประติมากรรมนูนสูงประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานครหล่อด้วยปูนซีเมนต์ขาว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ประติมากรรมตกแต่ง เป็นประติมากรรมที่ใช้ตกแต่งศิลปสถาน และศิลปวัตถุต่างๆ ให้เกิดคุณค่าทางความงาม และ วัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ที่เราพบมาก ได้แก่ การแกะสลักลวดลายต่างๆ ลงบนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ตู้ โต๊ะ ตั่ง เตียง ถ้วย ชาม ฯลฯ และการประดับสถานที่ต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ปราสาทราชวัง ด้วยลายปูนปั้น และรูปปั้นต่างๆ ประติมากรรมของไทย นอกจากจะสะท้อนแบบแผนทางวัฒนธรรมแล้ว ยังสะท้อนความเชื่อต่างๆ อีกด้วย เช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต์ต่างๆ ใน วัด นับว่าสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาในเรื่องไตรภูมิ นอกจากนั้นประติมากรรมบางอย่าง มีวัตถุประสงค์ที่จะเล่าเรื่อง หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้ชมได้ทราบด้วย เช่น ประติมากรรมแกะสลักแผ่นหินอ่อน เรื่องรามเกียรติ์ ประดับพระอุโบสถ วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประติมากรรมปูนปั้น เรื่องทศชาติ ประดับหน้าพระอุโบสถวัดไลย์ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น อ้างอิง : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/58240/-artfin-art5. ประติมากรรมนูนสูง
ครุฑยุดนาครับไขรา ประติมากรรมลอยตัว ประดับยอดปราสาทพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ประติมากรรมสมัย รัตนโกสินทร์ การสร้างประติมากรรมนี้ ผู้สร้างจะต้องคำ นึงถึงองค์ประกอบทางศิลปะหลายประการ เพื่อช่วยให้ผลงานมีความงดงาม และสามารถ สร้างความรู้สึกต่างๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ชม เช่น การใช้เส้นที่คดโค้งหรืออ่อนช้อย ความกลมกลึง ความมันวาว ความนูนและความเรียบ เกลี้ยงของพื้นผิว สามารถกระตุ้นความรู้สึกละเอียดอ่อนของผู้ชม สื่อให้รู้ถึงความอิ่มเอิบ และความสมบูรณ์พูนสุข แสงและเงาที่ สะท้อนได้ฉาก และมุมที่พอเหมาะ ช่วยสร้างบรรยากาศให้ได้ความรู้สึกที่ต้องการ การสร้างและจัดงานประติมากรรมให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อม เช่น เหมาะกับขนาดของสถานที่ ฐานที่ตั้ง และวัสดุอื่นๆ สามารถช่วยให้ประติมากรรมนั้นดูเด่น เป็นสง่า น่าเคารพ และน่านับถือ นอกจากนั้นการเลือกใช้วัสดุ และเทคนิคการประดับตกแต่งที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เกิดความวิจิตรงดงาม เพิ่ม คุณค่างานประติมากรรมไทยขึ้นด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การสร้างงานประติมากรรมแต่ละชิ้น ต้องใช้ความสามารถของช่างทางด้าน ศิลปะอย่างมาก อ้างอิง : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/58240/-artfin-art-
ใบงานที่ 2(2.3) สถาปัตยกรรม Architecture ให้นักศึกษาเลือก สถาปัตยกรรมเพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ (ศาสนสถาน) จํานวน 3 แห่ง (ไม่ ซ้ำ กัน) ประกอบด้วย 1. วัด ในศาสนาพุทธ โบสถ์ ในศาสนาคริสต์ มัสยิด ในศาสนาอิลาม 2. ให้นักศึกษาศึกษาความเป็นมาและองค์ประกอบในแต่ละแห่ง พร้อมภาพประกอบ และอ้างอิง วัด ในศาสนาพุทธ วัดร่องขุ่น ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยสร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่ มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตา ผสานวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจก และจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ความงดงามของอุโบสถสีขาวประดับด้วยกระจกสีเงินแวววาว และลวดลายปูนปั้นอัน วิจิตรเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามประณีตที่เห็นแล้วต้องตะลึง อ้างอิง : https://www.paiduaykan.com/travel
โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล เป็นโบสถ์สีขาวขนาดใหญ่ออกแบบและสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่รูปทรงคล้าย เรือ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำ บลท่าแร่ อำ เภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการอพยพมาจากประเทศเวียดนามใน ราวปี 2427 มาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้านท่าแร่แห่งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุคหลังสงครามอินโดจีน ซึ่งชุมชนท่าแร่เป็นชุมชนคาทอลิกที่เก่าแก่มีอายุกว่าร้อยปี และถือว่าเป็นชุมชนชาวคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ อ้างอิง : http://happytime1184.blogspot.com/2017/08/blog-post_16.html โบสถ์ ในศาสนาคริสต์
ถ้าถามถึงมัสยิดที่สวยที่สุดในประเทศไทย ก็ต้องเป็น มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี อย่างแน่นอน ที่นี่เปรียบ เสมือนศูนย์รวมจิตใจและแรงศรัทธาของชาวปัตตานี อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมอันงดงาม ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก ทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ส่วนด้านหน้าก็มีสระน้ำ ขนาดใหญ่ เสริม องค์ประกอบให้มัสยิดดูเด่นสง่ามากยิ่งขึ้น จนทำ ให้ที่นี่ถูกขนานนามให้เป็น"ทัชมาฮาลเมืองไทย"เลยทีเดียว อ้างอิง : https://travel.trueid.net/detail/8kOrr1qJeLrZ มัสยิด ในศาสนาอิลาม
ใบงานที่ 2 (2.4) ศิลปะพื้นบ้าน Tolk art ใบงาน (งานเดี่ยว) * ให้ นศ เลือก ศิลปะพื้นบ้าน ตามประเภท 9 ประเด็น ใน 4 ภาค ที่คิดว่า ว้าว!!! น่าตื่นตา ตื่นใจ - บันทึกลงในสมุด ภาพประกอบ ข้อมูล วัตถุประสงค์ เหตุผล และอ้างอิง ตัวอย่างงานศิลปะพื้นบ้านภาคเหนือ 1.การถักทอ เช่น งานผ้า ผ้าไหมลายเพชร silk in the "phet" (diamond) pattern จังหวัดกำ แพงเพชร ในจังหวัดกำ แพงเพชร ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสานมีพื้นฐานความรู้การทอผ้ามาจากบรรพบุรุษผ้าที่ทอเป็นผ้า ไหมมัดหมี่ ผ้าขาวม้าไหม ผ้าขาวม้าโทเร และผ้ามัดหมี่โทเร นอกจากนี้ ยังมีการทอผ้าพื้นและผ้าฝ้าย อาทิ ลายดอกปีบ และทอ ผ้าไหมที่บ้านหนองนกชุม อำ เภอทรายทองวัฒนาที่บ้านลานไผ่ อำ เภอพรานกระต่าย และที่ตำ บลหินดาต อำ เภอปางศิลาทอง มี กลุ่มหัตถกรรมผ้าไท ทอผ้าไหมลายเพชร เป็นต้น อ้างอิง : http://www.openbase.in.th/node/10723 เปี้ยด เป็นภาชนะท้องถิ่นภาคเหนือ สานด้วยตอกไม้ไผ่คล้ายกระบุงของภาคกลาง แต่เตี้ยและป้อมกว่า ปากกลม ก้นสอบ เข้าหากันเป็นสี่เหลี่ยม มีหูสำ หรับหาบ มักทำ เป็นคู่ๆ สำ หรับหาบเมล็ดถั่ว งา และพืชผลต่างๆ มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีขอบที่ปาก เรียก เปี้ยดอ้อบ ชนิดไม่มีขอบที่ปากเรียก เปี้ยดแบนโดยทั่วไปเปี้ยดแบ่งออกเป็นสามขนาด คือ เปี้ยดหลวง ขนาดใหญ่ใช้หาบ ข้าวเปลือก จุ 3 ถัง เปี้ยดฮาม ขนาดกลางจุ 2 ถัง และเปี้ยดน้อย ขนาดจุ 1 ถัง ใช้ใส่ของเล็กๆ น้อย อ้างอิง : https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=206 2.การจักสาน เช่น งานหนัง
3.การปั้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วยสันกำ แพงผลิตจากเตาเผาโบราณ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นเดียวกับเครื่องถ้วยสุโขทัยและสวรรคโลก พบที่ ตำ บลออนใต้ อำ เภอสันกำ แพง จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้ศึกษาเพื่อคำ นวณอายุของเตา สันกำ แพง ปรากฏว่าอายุตรงกับราชวงศ์ต้าหมิงของจีน รวมทั้งลักษณะลวดลายก็มีความคล้ายคลึงกัน อ้างอิง : https://www.matichonweekly.com/column/article_148335 4. การแกะสลัก เช่น งานไม้ งานแกะสลักไม้ฉำ ฉา หัตถกรรมล้านนา ปัจจุบันการแกะสลักไม้ยังคงเป็นกิจกรรมที่มีชื่อเสียงของเมืองเชียงใหม่และจังหวัดใกล้ เคียง แม้ว่างานแกะสลักของเชียงใหม่รุ่นใหม่นี้จะแตกต่างไปจากงานของล้านนาดั่งเดิมก็ตาม ช่วงระยะเวลา 20 – 30 ปีที่ผ่าน มา ชีวิตและวัฒนธรรมของคนล้านนามีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมมาก และนอกจากนี้หากจะเอ่ยถึงงานไม้ แกะสลักในยุค 10-20 ปีหลังเป็นต้นมานี้ จะนิยมใช้ไม้ฉำ ฉาซึ่งถือว่าเป็นไม้ใหญ่ที่หาได้ง่าย มีเนื้อไม้ที่ค่อนข้างเรียบเนียน และโทนของไม้ออกแนวเข้ากับงานหัตถกรรมไทยแบบดั้งเดิม เหมาะกับการแกะสลักและนำ มาทำ เป็นงานไม้ต่างๆ ที่แสดงถึง รากเหง้าของงานหัตถกรรมในแบบอื่นๆ อีกเช่นงานเกมส์ไม้ งานแจกันไม้มะม่วง งานกล่องหรือภาชนะบรรจุแบบไม้ไทย ฯลฯ อ้างอิง : https://www.smartbomcrafts.biz/article/
5.การวาด เช่น งานกระดาษ ร่มบ่อสร้าง อ.สันกำ แพง จ.เชียงใหม่ เป็นร่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวบ่อสร้าง เกิดจากพระที่มีภูมิลำ เนาที่บ้านบ่อสร้าง ธุดงค์ไปประเทศพม่าและนำ วิธีการทำ ร่มมาเผยแพร่ และในภาคเหนือมีต้นปอกะสาเป็นจํานวนมาก เหมาะสําหรับมา ทําร่ม โดยมีการวาดลวดลายที่สวยงาม อ่อนช้อย ซึ่งแสดงความเป็นเอกลักษณ์ ของภาคเหนือลงบนตัวร่ม อ้างอิง : ศิลปะพื้นบ้านภาคเหนือ - ดาวน์โหลดหนังสือ | 1-6 หน้า | AnyFlip 6. นาฏศิลป์(ฟ้อน รำ ) ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำ ประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบ อากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มาจาก ครูพลอยศรี สรรพ ศรี ทั้งนี้ ครูพลอยศรีได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ซึ่งคุณบัว เรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มาจากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง อ้างอิง : http://www.banramthai.com/html/fon_saomai.html
7.การละเล่น วิธีเล่น โอกาส เล่นตากระโดด สถานที่เล่น กลางแจ้ง และควรเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ๆ อุปกรณ์ ก้อนหิน หรือกระเบื้อง จำ นวนผู้เล่น ๔ คนขึ้นไป ๑. ขีดช่องสำ หรับกระโดดเป็น ๖ ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ ๓ ที่ ๕ สำ หรับที่พัก และกลับ หลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด ๘ ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด ๒. ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำ หนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน ๓. โยนเบี้ยลงช่องที่ ๑ แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ ๑ เข้าไปยังช่องที่ ๒ แล้วกระโดด ๒ ขา เข้าไปในช่องที่ ๓ และ ๔ ให้ เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ ๓ อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ ๔ จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ ตาม ลำ ดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ ๕ สองขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ ขาเดียวที่ช่องที่ ๒ และ ช่องที่ ๑ พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ ๑ จากนั้นก็กระโดดออกมา ๔. ถ้าเกิดเล่นช่องที่ ๑ แล้วก็เล่นช่องที่ ๒ โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ ๒ แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ ๑ ข้ามช่องที่ ๒ ไป ยืน ๒ ขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วหันตัวกลับทำ อย่างเดียวกับตา แรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมด แล้วจะได้บ้าน ๑ หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป อ้างอิง : http://www.openbase.in.th/node/7899
8.ดนตรีและการขับร้อง กลองสะบัดชัยโบราณ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ใช้ตีเมื่อยามออกศึกสงคราม เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำ ลัง ใจให้กับทหารในการต่อสู้ ปัจจุบันจะเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้าน ลีลาการตีกลองจะมีลักษณะเร้าใจ โลดโผน ใช้อวัยวะต่าง ๆในร่างกาย เช่น ศอก, เข่า, ศีรษะ ใช้ประกอบในการตีกลองสะบัดชัยโบราณ อ้างอิง : https://www.lovethailand.org/travel/th/1-เชียงใหม่/15660-ประเพณีภาคเหนือ-และวัฒนธรรมภาค เหนือ.html 9.วรรณกรรม (งานเขียน นิทาน) นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ลานนางคอย จ.แพร่ ถ้ำ ผานางเป็นถ้ำ สวยงามอยู่ในจังหวัดแพร่ ปากถ้ำ อยู่ภูเขาสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร มีบันไดไต่เลียบเลี้ยววกขึ้นไป จนสุดทาง บันไดเป็นดินและหิน มีลานกว้างเป็นที่นั่งพัก ก่อนจะเข้าสู่ถ้ำ ด้านขวามือเป็นซอกเขา มีทางขึ้นไปไม่สูง ข้างบน มีลานหินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นั่ง เรียกกันว่า ลานนางคอย เรื่องถ้ำ ผานางและลานนางคอยมีอยู่ว่า ครั้นอาณาจักรแสนหวียัง เจริญรุ่งเรือง เจ้าผู้ครองนครมีราชธิดาผู้สิริโฉมงดงามมาก นามว่านางอรัญญนี วันหนึ่งนางเสด็จประพาสโดยเรือพระที่นั่ง เกิดมีพายุใหญ่พัดกระหน่ำ มา ทำ ให้เรือพระที่นั่งพลิกคว่ำ นางอรัญญนีพลัดตกลงในน้ำ ฝีพายหนุ่มคนหนึ่งได้กระโดลงไป ช่วยชีวิตนางไว้ได้ ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองคนก็ได้ลอบติดต่อรักใคร่กันโดยปิดบังไม่ให้พระราชบิดาของนางล่วงรู้ จนนางอรัญญ นีตั้งครรภ์ขึ้น พระราชบิดาของนางกริ้วมาก สั่งให้โบยนางและกักขังไว้ แต่คนรักของนางก็ได้ลอบเข้าไปหาถึงในที่คุมขัง และพานางหลบหนีไป เมื่อเจ้าครองนครทรงทราบก็สั่งให้ทหารออกติดตามคนทั้งสอง ทหารขี่ม้าทันทั้งสองคนที่ซอกเขาแห่ง หนึ่ง และยิงธนูไปหมายจะเอาชีวิตชายหนุ่ม แต่ธนูพลาดไปถูกนางอรัญญนีได้รับบาดเจ็บสาหัส สามีของนางจึงพานาง เข้าไปหลบซ่อนอยู่ในถ้ำ นางอรัญญนีรู้ตัวว่า คงไม่รอดชีวิต จึงขอร้องให้สามีหนีเอาตัวรอดโดยให้สัญญาว่าจะรออยู่ที่ถ้ำ แห่ง นี้ตลอดไป ชายหนุ่มจึงจำ ใจต้องจากไปตามคำ ขอร้องของนาง ส่วนนางอรัญญนีก็นั่งมองดูสามีควบม้าหนีห่างไปจนลับตา และสิ้นใจตายอยู่ในถ้ำ แห่งนั้น ลานที่นางนั่งดูสามีควบม้าจากไปนั้น ต่อมาเรียกว่า ลานนางคอย ส่วนถ้ำ แห่งนั้นก็ได้ชื่อว่า ถ้ำ ผานาง อ้างอิง : https://culture55520936.wordpress.com/2015/03/01
ตัวอย่างงานศิลปะพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.การถักทอ เช่น งานผ้า ผ้าย้อมคราม เป็นหนึ่งในสินค้าขึ้นชื่อ หรือ เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของสกลนครโดยแท้ ชาวบ้านในสกลนครจะรวมกลุ่มกันจัดทำ ผ้าย้อมคราม ซึ่งถือเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการนำ เอาต้นครามซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว แช่หรือหมักเอาสีของต้นคราม ซึ่งมีสีน้ำ เงินเข้ม จากนั้นก็นำ เอาผ้าฝ้าย มาทำ การย้อมสีคราม จนได้ตามความต้องการ แล้วนำ ไปตาก จนแห้ง แล้วล้างน้ำ จากนั้น จึงนำ ผ้านั้นไปทอด้วยมือ จนเป็นผ้าทอที่สวยงาม อ้างอิง : http://i-san.tourismthailand.org/7061/ 2.การจักสาน เช่น งานหนัง กระติบข้าว คือ ภาชนะที่เอาไว้ใช้ในการเก็บอาหารและข้าวเหนียวที่นึ่งเสร็จแล้ว เป็นของที่มีประจำ บ้านของคนทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน)มายาวนาน ใช้สำ หรับบรรจุข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วหรือใช้เก็บเมล็ดพันธุ์พืช หรือจะใช้ เป็นเครื่องประดับในครัวเรือนหรือประดับสถานที่ต่างๆก็ได้ กระติบข้าวเป็นเครื่องจักสานที่ทำ จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน ต้นคล้า หรือ จากต้นพืชที่มีลักษณะยาวเรียว อ้างอิง : https://esan108.com
3.การปั้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน หมู่บ้านทำ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนในอำ เภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่นมานานกว่าร้อยปี ปัจจุบันนอกจากเป็นทั้งแหล่งผลิตและจำ หน่ายเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ยัง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่สำ คัญแห่งหนึ่งในภาคอีสาน อ้างอิง : https://thaitextile.org/th/insign/detail.180.1.0.html 4. การแกะสลัก เช่น งานไม้ พระไม้อีสาน ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำ โขง ซึ่งแผ่ขยายข้ามมายังฝั่งไทย พระไม้ใน อีสานเริ่มแรกน่าจะเกิดขึ้นภายหลังการปกครองของพระเจ้าฟ้างุ้ม และน่าจะเริ่มจากการทำ พระพุทธรูปประทับยืน เลียนแบบพระบาง ต่อมาศิลปะการสร้างพระไม้ได้ถ่ายทอดสู่สามัญชน แต่เนื่องจากพระไม้ประทับยืนค่อนข้างทำ ยาก และไม่เหมาะสำ หรับช่างพื้นบ้าน ช่างพื้นบ้านจึงสร้างพระไม้แบบประทับนั่งปางต่างๆ แทน ในภาคอีสาน จึงพบเห็นพระไม้แบบประทับนั่งมากกว่าแบบประทับยืน อ้างอิง : https://www.isangate.com/new/32-art-culture/knowledge/531-pra-mai-isan.html
5.การวาด เช่น งานกระดาษ ฮูปแต้มคือจิตกรรมฝาผนังแบบอีสานที่อยู่บนสิม วิหาร หรือหอไตร ภาพวาดส่วนใหญ่บอกเล่าตำ นานทางพุทธศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชาวบ้าน และธรรมชาติ สีสันของภาพต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ บริเวณใกล้เวียดนาม เช่น จังหวัดหนองคาย สีจะจัดจ้าน โทนส้มเหลือง ส่วนอีสานกลางมักเป็นสีน้ำ เงิน สีฟ้า สีเขียว และสีน้ำ ตาล โดยช่างท้อง ถิ่นแต่ละที่จะมีสูตรผสมสีของตัวเอง มีส่วนผสม เช่น คราม ยางต้นรัก หรือสีสังเคราะห์จากเวียดนาม อ้างอิง : https://readthecloud.co/local-hooptam/ 6. นาฏศิลป์(ฟ้อน รำ ) เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำ นาน พญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำ นาน"ท้าวผาแดง – นาง ไอ่คำ” ซึ่งปราชญ์ชาวอีสาน ได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม การเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็น ประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำ บั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถน บนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้ เคียง เพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำ เป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำ เป็นบั้งไฟ และ จุดในพิธีขอฝนต่อไป การเซิ้งบั้งไฟนั้นอาจจะเป็นผู้หญิงล้วน ชายล้วน หรือมีการสลับชายหญิงก็ได้ ท่าฟ้อนในการแห่ บั้งไฟนั้นมีหลายท่า ท่าฟ้อนของตำ บลด่าน มีอยู่ด้วยกัน ๓ คือ ท่าไหว้ครู ท่ารำ เซิ้ง ท่าบูชาเทวดาอารักษ์ อ้างอิง : https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=971&filename=index
7.การละเล่น ตีนเลียน ( จ.ศรีสะเกษ) ตีนเลียน ทำ จากไม้กระดานรูปวงกลมซึ่งมีรัศมีประมาณ 8-12 นิ้ว โดยจะเจาะรูตรงกลาง แล้ว ใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตรผ่าครึ่งยาว 12 นิ้ว เพื่อเชื่อมกับรูกระดานด้วยการตอกตะปู หรือไม้แข็งเป็นเพลา อาจจะ สลักขัดไว้ให้แน่นเพื่อไม่ให้หลุดออกมาก็ได้ ปกติจะนิยมเล่นตีนเลียนในช่วงสงกรานต์หรือประเพณีอื่นๆ เพื่อเป็นการ สร้างความสนุกสนาน ในการเล่นนั้น ผู้เล่นจะยืนเรียงกันโดยใช้ไม้ไผ่ด้านปลายวางที่บ่า เมื่อได้ยินสัญญาณบอกให้ เริ่มวิ่ง ผู้เล่นจะต้องดันตีนเลียนให้วิ่งออกไป เพื่อให้ถึงเส้นชัยก่อนเป็นคนแรก โดยจะกำ หนดระยะทางไว้ที่ 50-100 เมตร อ้างอิง : https://sites.google.com/site/chaipipatbsseang09/hma-keb-1 8.ดนตรีและการขับร้อง หมอลำ กลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำ ชายหญิง สองคนลำ สลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน การลำ มีทั้งลำ เรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำ เรื่องต่อกลอนลำ ทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำ จะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหัก ล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำ จะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิง รัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำ ชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบัน ได้ วิวัฒนการมาเป็นหมอลำ ซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมใน ปัจจุบัน อ้างอิง : https://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/view/12439
9.วรรณกรรม (งานเขียน นิทาน) ผญา หรือ ผะหยา เป็นคำ กลอนหรือคำ ปรัชญาของลาวในและคนไทยภาคอีสานโบราณ ซึ่งภาษาสืบทอดมาจากภาษา ของอาณาจักรล้านช้างและปัจจุบันการเล่นผญายังหลงเหลือในหมอลำ กลอนแบบอีสาน คำ ว่าผญามีความหมายในกลุ่ม เดียวกับปัญญาและปรัชญาบางครั้งสามารถใช้แทนกันได้ ซึ่งผญาป็นคำ ร้อยกรองที่คล้องจอง มีสัมผัสระหว่างข้อความ ไม่เข้มงวดและไม่มีฉันทลักษณ์กำ หนดไว้อย่างชัดเจน แต่เวลาพูดจะมีการเน้นคำ หนักเบาเพื่อให้ผู้ฟังมีความ เพลิดเพลินและสารถจดจำ ได้ง่าย เรื่องที่ถูกแต่งเป็นผญามีหลายเรื่องเช่น คำ สอนทางศาสนา เรื่องราวในชีวิตประจำ วัน การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว และการละเล่นของเด็ก เป็นต้น อ้างอิง : https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%8D%E0%B8%B2
ผ้าไทยวนถือเป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิมอีกแขนงหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น มีลักษณะและเอกลักษณ์พิเศษ เฉพาะตัว ผู้หญิงไทยวนทอผ้าได้หลายเทคนิคแต่ที่มีชื่อเสียงมาก คือ การใช้เทคนิคจกในการตกแต่งตีนซิ่นหรือส่วนเชิง ผ้าซิ่น ที่เรียกว่า ซิ่นตีนจก หัวซิ่นนั้นนิยมเป็นผ้าพื้นสีขาวและแดงต่อกัน ส่วนตัวซิ่นนิยมทอเป็นลายขวาง เรียกว่า ซิ่น ตา ส่วนตีนซิ่นมีทั้งที่เป็นผ้าพื้นสำ หรับใช้ในชีวิตประจำ วันและซิ่นตีนจกที่ทอด้วยเทคนิคจกสำ หรับโอกาสพิเศษ ลวดลายตีนจกของชาวไทยวนมีลักษณะเป็นลายเรขาคณิต ดอกไม้ใบไม้ และนกหรือหงส์ มีลายหลักเป็นลายสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนต่อกันที่เรียกว่า ลายโคม และลายประกอบเป็นลายขนาดเล็ก 2 - 3 แถวอยู่บนและล่างลายโคม ครึ่งล่าง ของตีนจกเป็นผ้าพื้นสีแดง ผ้าซิ่นตีนจกส่วนใหญ่ทอด้วยฝ้าย อาจมีไหมและเส้นใยโลหะตกแต่งประกอบ ลวดลายของ ตีนจกที่พบในแต่ละแห่งจะมีทั้งลักษณะร่วมในโครงสร้างที่บ่งบอกว่าเป็นตีนจกของชาวไทยวนแต่ก็มีลักษณะเฉพาะที่ สามารถจำ แนกได้ว่าเป็นตีนจกของถิ่นใดด้วยกลุ่มสีที่ใช้ ช่องไฟ และลวดลายประกอบ เช่น ตีนจกแบบแม่แจ่มมักมีสี เหลืองเป็นส่วนใหญ่ หรือลำ ปางจะมีช่องไฟกว้างและสีขรึม ส่วนตีนจกจาก อ.คูบัวเเละดอนแร่ในราชบุรีมักจกด้วยเส้นใย สีแดงและดำ แน่นเต็มพื้นที่จนมองไม่เห็นผ้าพื้น เป็นต้น ปัจจุบันชาวไทยวนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ เนื่องจากการถูกกวาดต้อนในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น อุตรดิตถ์ สระบุรี และราชบุรี อ้างอิง : https://www.bot.or.th/Thai/MuseumAndLearningCenter/BOTMuseum/Northern/Pages/TYuan.aspx ตัวอย่างงานศิลปะพื้นบ้านภาคกลาง 1.การถักทอ เช่น งานผ้า
2.การจักสาน เช่น งานหนัง งอบใบลาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานจักสานงอบนับว่าเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ ทำ ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพของชาวไทยโดยตรง ฉะนั้นงอบจึงนับว่าเป็นงานที่ควบคู่กับการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมจนถึงปัจจจุบัน ศิลปะการทำ งอบต้องใช้ความชำ นิชำ นาญ และความประณีตละเอียดอ่อนเป็นอย่างสูงไม่แพ้งาน จักสานประเภทอื่น ๆ สำ หรับการทำ งอบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็นับได้ว่าเป็นที่นิยมและทำ กันเป็นอาชีพอย่างกว้าง ขวาง แหล่งผลิตงอบที่สำ คัญที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เห็นจะไม่มีที่ใดผลิตได้มาตราฐานเท่ากับอำ เภอบางปะหัน ชาวบางปะหันประกอบอาชีพนี้กันมากจึงถือได้ว่าอาชีพทำ งอบมีความสำ คัญทางเศรษฐกิจของชาวบางปะหันเป็นอย่างมาก อ้างอิง: http://www.geocities.ws/nfeay2001/bph.html 3.การปั้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา โอ่งมังกร มีลักษณะเป็นลวดลายมังกรจากตำ รารอบโอ่งมีทั้งแบบที่วาดด้วยสีหรือปั้นขึ้นรูปนูนต่ำ ออกจากผิวโอ่ง ขนาดความสูงส่วนใหญ่ประมาณ 0.5 เมตรถึง 1.5 เมตร เดิมทีเป็นสินค้าที่ต้องนำ เข้าจากทางประเทศจีนแต่ภาย หลังได้มีการทดลองทำ ขึ้นภายในประเทศเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้โอ่งมังกรภายในประเทศและแก้ ปัญหาการนำ เข้าสินค้าจากจีนที่เป็นไปด้วยความลำ บากในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โอ่งมังกรที่ผลิตใน ไทยช่วงเริ่มแรกนั้นดำ เนินการผลิตโดยพ่อค้าชาวจีนคือนายฮง แซ่เตี่ยและนายจือเหม็ง แซ่อึ้งซึ่งรวมหุ้นกันเป็นเงิน จำ นวน 3,000 บาทตั้งโรงงานผลิตขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดราชบุรีเนื่องจากพบว่าดินที่จังหวัดราชบุรีที่มี สีแดงสามารถใช้ปั้นโอ่งได้ อ้างอิง :https://th.m.wikipedia.org/wiki
4. การแกะสลัก เช่น งานไม้ การแกะสลักผักและผลไม้เป็นงานฝีมือที่เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณ แต่จะเริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่ ปรากฏชัด แต่มีหลักฐานที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งได้บรรยายถึงพระราชพิธี จองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน 12 รัชสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคม ลอยโคม นาง นพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวง โดยเลือกผกาเกสรสี ต่างๆ ประดับเป็นรูปดอกไม้ ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย แล้วนำ ผลพฤกษาลดาชาติ มาแกะจำ หลักเป็นรูปมยุระคณานก วิหกหงส์ ให้จับจิกเกสรบุปผชาติ อยู่ตามกลีบดอกกระมุทเป็นระเบียบเรียบร้อย วิจิตรไปด้วยสีย้อม สดส่าง ควรจะทอด ทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียน ธูป และประทีปน้ำ มันแปรียง เจือด้วยไขข้อพระโค (กรมศิลปากร นางนพมาศหรือ ตำ รับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ 2514 : หน้า 97 -98 ) อ้างอิง : https://www.supermumth.com/2020/08/blog-post_8.html 5.การวาด เช่น งานกระดาษ จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เขียนขึ้นในราวปี พ.ศ.2338 ซึ่งเป็นยุคสร้างบ้านแปงเมือง อพยพผู้คน จากฝั่งธนบุรีมายังบางกอก แม้แต่ช่างเขียนก็เป็นช่างที่ตกค้างมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ภาพเขียนที่นี้จึงถือเป็นยุคฟื้นฟู งานจิตรกรรมไทยประเพณีที่สำ คัญแห่งหนึ่ง ภาพเขียนออกถึงการสร้างสรรค์ใหม่แต่แฝงไว้ด้วยคตินิยมสมัยเก่า เนื่องจากภาพเขียนของไทยนี้เป็นการเขียนแบบปูนแห้งไม่คงทนเช่นการเขียนแบบปูนเปียกอย่างในยุโรป แต่ก็ได้รับ การบูรณะอย่างต่อเนื่องในยุคหลัง สันนิษฐานว่าเขียนซ่อมมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงปรากฏเทคนิคการเขียนแบบ ตะวันตกปะปนอยู่ในภาพ นับว่าคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างน่าสนใจ อ้างอิง : https://www.silpa-mag.com/culture/article_9136
6. นาฏศิลป์(ฟ้อน รำ ) รำ วง เป็นการแสดงเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงของคนในสังคม มักจะเป็นการเล่นสลับกับการเต้นรำ เนื่องจากผู้เล่น ออกเป็นคู่ชายหญิงอยู่แล้ว. มีการรำ เป็นวงประกอบเพลงร้องที่มีจังหวะสนุกสนาน เนื้อร้องใช้ถ้อยคำ ที่จดจำ ได้ง่าย และ มักจะร้องซ้ำ ไปซ้ำ มา เพื่อให้ผู้เล่นร้องได้ด้วย. รำ วงเป็นการเล่นที่พัฒนามาจากการเล่นรำ โทน ซึ่งเป็นการเล่นพื้น เมืองมาแต่เดิม. ลักษณะการเล่นเดิมนั้น ใช้เพียงโทนประกอบการปรบมือให้จังหวะเพลง การร่ายรำ ไม่มีท่าทางที่ กำ หนดอย่างใด จนมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการปลอบขวัญประชาชนไม่ให้กังวลหวาดกลัวและเป็นทุกข์กับภัยสงครามจึงให้ประชาชนเล่นรำ วงกัน มีการเพิ่ม ดนตรีให้ไพเราะน่าฟังขึ้น แต่งเพลงร้องขึ้นใหม่ รวมทั้งให้กรมศิลปากรกำ หนดท่ารำ ให้สวยงาม เป็น รำ วงมาตรฐาน เข้ากับเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เช่น เพลงงามแสงเดือน บูชานักรบ อ้างอิง :http://legacy.orst.go.th/?knowledges
หมากเก็บเป็นการเล่นพื้นบ้านของไทย นิยมเล่นในภาคกลาง โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง อายุราว ๘ – ๑๔ ปี เชื่อว่ามีการ เล่นหมากเก็บมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นหมากเก็บจะใช้วัสดุ ก้อนหิน กะเทาะให้ค่อนข้างกลม ลบเหลี่ยม เพื่อไม่ ให้เจ็บมือ ใช้ก้อนหินจำ นวน ๕ ก้อน ขนาดหัวแม่มือ เล่นได้ ๓ – ๕ คน วิธีการเล่นหมากเก็บนั้น ใครจะได้เล่นก่อน ขึ้นอยู่กับฝีมือในการขึ้นร้าน ให้ได้ลูกหมากจำ นวนมาก โดยหงายมือถือลูกหมากแล้วโยนขึ้น พร้อมกับพลิกเอาหลังมือรับ แล้วพลิกกลับเอาหน้ามือรับทุกคนที่เล่น จะขึ้นร้านให้ได้ลูกหมากมากที่สุด เป็นผู้เล่นก่อน โดยเริ่มเล่นจากหมากหนึ่ง ผู้ เล่นจะโยนอีตัวขึ้นไปบนอากาศแล้วโปรยลูกหมากอีก ๔ ลูก ลงบนพื้น จากนั้นจะโยนอีตัวขึ้น แล้วเก็บลูกหมากทีละตัวจน ครบ ๔ ลูก ขึ้นหมากสอง จะโยนอีตัวขึ้นแล้วรีบวางลูกหมาก อีก ๔ ลูก ให้เป็นคู่ละสอง แล้วโยนอีตัวพร้อมกับเก็บลูก หมากทีละสองลูก ขึ้นหมากสามจนถึงหมากสี่ หมากอีจุ๊บ หมากอีเขี่ย ถ้าระหว่างเล่นพลาดเมื่อใด ให้คนอื่นเล่นต่อ ใครถึง หมากสุดท้ายก่อนเป็นผู้ชนะ ให้ขึ้นร้านแล้วเขกเข่าผู้แพ้ การเล่นหมากเก็บเป็นการฝึกทักษะในการขึ้นร้าน ถ้ามืออ่อนก็จะรับหมากได้มาก เป็นการฝึกการโยน อีตัวและเก็บลูก หมาก โดยคาดคะเนจังหวะความสูงของอีตัว กับการเก็บลูกหมาก ให้สามารถรับได้ทันท่วงที ปัจจุบันยังมีเด็กหญิงเล่นกัน อยู่ในชนบท แต่อาจะมีการเปลี่ยนจากลูกหมากเป็นก้านธูปหรือตะเกียบก็ได้ อ้างอิง : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-sports-games-and-martial-arts/261- sport/406--m-s 7.การละเล่น
8.ดนตรีและการขับร้อง ฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำ ตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่าย หญิง ฝ่ายละประมาณ 2-3 คน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำ หน้าที่เป็นลูกคู่ เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่มีทั้งเรื่อง ทางโลก ทางธรรม ชิงชู้ และมักจะมีถ้อยคำ ที่มีความหมายสองแง่สองง่าม การแสดง เพลงฉ่อยจะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ แต่จะใช้การตบมือเป็นจังหวะแทน และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลง ฉ่อยคือ ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำ ว่า“เอ่ ชา เอ้ชา ชา ชาชาชา หน่อยแม่”ตัวอย่างเช่น (แม่เพลง) เอ่ง เงอ เงย… เรา กันหนาเรามาพากันหนี ก็ไปมั่งไปมีมีถมไป เรารักกันหนอมาขึ้นหอลงโรง กุศลไม่ส่งละมันก็ต้องฉิบหาย เอาพระสงฆ์ มาเป็นองค์ประธาน สวดเจ็ดตำ นานพระก็เหนื่อยแทบตาย พี่มารักน้องคำ หนึ่งก็พาสองคำ ก็พา ของฉันไม่ได้ราคาสอง ไพ ของฉันราคานะเป็นหมื่นหนอเป็นแสน ของฉันไม่ใช่แหวนหนอจะมาสวมใส่ พี่จะเอาเงินมาดองจะเอาทองมาให้ ถ้าพี่จะเอาอีแปะจนใจน้องจะแกะให้ไม่ได้ พ่อแม่น้องเลี้ยงน้องมายาก เขาจะกินขันหมากน้องให้ได้ (ให้ได้) ถ้ารัก น้องจริงจะให้มาสู่ขอกะพ่อแม่ ถ้าพี่ชายมารักแลก็เฉยไป ถ้ารักน้องจริงก็อย่าทิ้งน้องนะ ขอให้คุณพระช่วยเป็น ประธานให้ (ลูกคู่รับ) เอ่ ชา เอ๊ ช้า ชา ฉ่า ชา นอย แม่ เอย เพลงฉ่อยมีการแสดงอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาค กลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ้างอิง : https://th.m.wikipedia.org/wiki 9.วรรณกรรม (งานเขียน นิทาน) นิทานพื้นบ้านไทยเรื่องพิกุลทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลาง ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน เพลิดเพลิน และให้แง่คิดที่ดี จึงเป็นนิทานสอนใจ เป็นนิทานก่อนนนอน และเป็นนิทานเด็ก ไว้สอนเด็กได้ในเรื่องการทำ ความดี ด้วยบอกเล่า ผ่านนิทานพื้นบ้านของไทยเรา อ้างอิง : https://www.u-thong.ac.th/web1/new2019/data2019/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%
ตัวอย่างงานศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ 1.การถักทอ เช่น งานผ้า ผ้าไหมพุมเรียง มีลักษณะเด่นที่ต่างจากผ้าไหมของภาคอื่นๆ คือ การทอยกดอกด้วยไหมและดิ้น โดยมีผ้าทอยกที่มีชื่อ เสียงคือ ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกดอกถมเกสร และผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ทอในสมัยก่อน ได้แก่ หูก จึง เรียกการทอผ้าว่าทอหูก ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของหญิง ทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมที่ต้องเตรียมไว้ให้ครอบครัว ผ้าที่ทอในช่วง นั้นแบ่งออกเป็นผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำ วันและผ้าที่ใช้ในงานและพิธีต่างๆ ซึ่งผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำ วันส่วนใหญ่ใช้ผ้าฝ้าย ทอเพื่อความทนทาน สำ หรับผ้าที่ใช้ในงานและพิธีการต่างๆ จะทอด้วยไหมหรือผ้าฝ้ายแกมไหม มีลวดลายทอดอกสวยงาม ใช้นุ่งเข้าเฝ้าหรือนุ่งในงานนักขัตฤกษ์ งานบุญ งานแต่งงาน และงานสำ คัญต่างๆ อ้างอิง : https://www.suratpao.go.th/otop/detail/5/data.html 2.การจักสาน เช่น งานหนัง เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นเครื่องจักสานประเภทหนึ่ง ที่สานด้วยย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเฟิร์น หรือ เถาวัลย์ชนิด หนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า“ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลำ ต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนำ มา จักสานเป็น ภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ แหล่งผลิตที่สำ คัญ ของเครื่องจักสานย่านลิเภาอยู่ที่บ้านหมน ตำ บลท่าเรือ อำ เภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช และกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างอาชีพ สร้างราย ได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงทำ ให้เศรษฐกิจของภูมิภาคดีขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่เป็นหัตถกรรมชั้นสูง และมี ราคาค่อนข้างแพง ประวัติความเป็นมาและที่อยู่ของย่านลิเภา เครื่องจักสานย่านลิเภา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาว ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง ในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีกำ เนิดจากการ จักสานย่านลิเภา เป็นข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่มีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี จนกระทั่งเป็นที่รู้จักของ คนเมืองเหลวง เมื่อเจ้านายจากหัวเมืองใต้ นำ ขึ้นมาถวายในราชสำ นัก และเผยแพร่ในหมู่เจ้านาย มาตั้งแต่สมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์ อ้างอิง : https://netpracharat.com/News/NewsCm/Detail.aspx?id=7500
3.การปั้น เช่น เครื่องปั้นดินเผา กุณฑี จากแหล่งบ้านปะโอ จังหวัดสงขลา หรือกาน้ำ รูปร่างกลม คอคอดสั้น ปากผาย มีพวย ที่ก้นมีเชิง สำ หรับให้ตั้งกับ พื้นได้ ที่ปากของกุณฑีบางใบ ทำ ขอบหยัก เพื่อความสวยงาม การตกแต่งที่ตัวภาชนะมีหลายแบบ เช่น เซาะร่องเนื้อ ภาชนะเป็นลวดลาย เขียนสีแดงเป็น เส้นรอบตัวภาชนะ ที่พวยนั้นนอกจากทำ เป็นรูป กรวยแหลมแล้ว บางใบยังทำ เป็น รูปต่างๆ เช่น รูปเขาสัตว์ เป็นต้น อ้างอิง : https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=21&chap=5&page=t21-5- infodetail04.html 4. การแกะสลัก เช่น งานไม้ การแกะหนัง เป็นงานหัตถกรรมที่สืบมาแต่อดีตควบคู่กับการเล่นหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา เป็นแหล่งที่มีการทำ หัตถกรรมประเภทนี้มากที่สุด แต่เดิมการแกะหนังจะทำ เฉพาะรูป สำ หรับเชิดในการเล่นหนัง ตะลุงเท่านั้น ต่อมาในระยะหลังมีผู้คิดนำ เอารูปหนังตะลุง นำ มาขายเป็นสินค้นที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ และ มีการคิดแกะเป็นรูปจับและรูปหนังใหญ่ เพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งฝาผนัง อาคารบ้านเรือน อ้างอิง : https://sites.google.com/site/hnangtalungnkhrsrithrrmrach/kar-kaea-hnang-talung
5.การวาด เช่น งานกระดาษ ลวดลายบนเรือกอและ การเขียนลวดลายบนลำ เรือด้วยการผสานลายไทย ลายมลายู และลายชวาให้กลมกลืนและลงตัว อย่างต่อเนื่องกันตลอดทั้งลำ เรือโดยฝีมือและจินตนาการของจิตรกรพื้นบ้าน มีสัดส่วนของลายไทยอยู่มากที่สุด ลายที่ นิยมเขียนกันมากได้แก่ ลายกนก ลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายหัวพญานาค และลายหัวนกในวรรณคดี เช่น บุหรงซีงอ หรือสิงหปักษี (ตัวเป็นสิงห์ หัวเป็นนกคาบปลา) ไว้ที่หัวเรือ ด้วยเชื่อว่ามีฤทธิ์มากและดำ น้ำ เก่ง จึงเป็นที่นิยมของชาว เรือ ความสวยงามและโดดเด่นของลวดลายบนลำ เรือ ได้รับการยกย่องจนเป็นที่เลื่องลือว่าวิจิตรดั่งเทวามารังสรรค์ อ้างอิง : http://article.culture.go.th/index.php/blog/3-column-layout-4/207-2020-05-27-09-44- 03 6. นาฏศิลป์(ฟ้อน รำ ) โนรา เป็นการร่ายรำ ตามแบบฉบับของชาวปักษ์ใต้ มีการขับร้องประกอบดนตรี อันได้แก่ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตระ ซึ่งเป็นต้นฉบับในการเล่นละครชาตรีมาแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้รู้บางคนกล่าวว่าการรำ โนราน่าจะเป็นวัฒนธรรมของอินเดียมาแต่เดิม แล้วแพร่หลายเข้าสู่ชวา มลายู ในช่วงที่อาณาจักรศรีวิชัยกำ ลังรุ่งเรือง ถ้าพิจารณาดูท่ารำ แม่บทของโนราชาตรี จะเห็นได้ว่าหลายท่าคล้ายกับ"ท่ากรณะ" ในคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์และ คล้ายกันมากกับท่ารำ ในแผ่นศิลาจำ หลักที่ บุโรพุธโธ ในเกาะชวาภาคกลาง นอกจากนั้นวิธีการเล่นของหุ่นละคร ชาตรี ยังคล้ายคลึงกับละครประเภทหนึ่งของอินเดีย ซึ่งเล่นอยู่ตามแคว้นเบงกอลในสมัยโบราณที่เรียกว่า"ยาตรา" ก็ได้ จากหลักฐานนี้พอจะยืนยันได้ว่า โนรา เป็นอารยธรรมของอินเดียภาคใต้ที่เข้ามาทางแหลมมลายูและภาคใต้ ของไทย อ้างอิง : https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=508&filename=index
การเล่นฉับโผงของภาคใต้ อุปกรณ์และวิธีการเล่นฉับโผงของภาคใต้(ชิบโป้ง) อุปกรณ์ ๑. กระบอกชิบโป้ง ๒. ลูกพลาหรือกระดาษชุบน้ำ ทำ เป็นเม็ดกลม ๓. ไม้ไผ่เพื่อทำ กระบอกชิบโป้ง ๔. ไม้ไผ่เหลาให้เป็นอันกลมเพื่อเป็นไส้กระบอกชิบโป้ง วิธีการเล่น ๑. ให้เอากระสุนที่เตรียมไว้ใส่กระบอก ๒. ใช้ไม้กระทุ้งไปให้กระสุนอยู่ราว ๆ เกือบสุดปลายกระบอกครั้งละ ๑-๒ เม็ด ๓. เมื่ออัดกระสุนแน่นดีแล้วให้ใช้ไม้กระทุ้งไปโดนคู่ต่อสู้โดยแบ่งสมาชิกออกเป็น ๒ ฝ่ายเท่า ๆ กัน และตกลงกันว่า ฝ่ายใดจะเป็นโจร และฝ่ายใดจะเป็นตำ รวจ โอกาสหรือเวลาที่เล่น : ได้ทุกเวลา แต่ต้องดูโอกาสและความเหมาะสม คุณค่า/แนวคิด/สาระ ๑. การเล่นเพื่อความสนุกสนาน ๒. เป็นการละเล่นที่รู้จักนำ วัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยที่อุปกรณ์ในการเล่นไม่ต้องซื้อ ๓. เป็นการฝึกความแม่นยำ ทั้งสายตาว่องไว และมือที่มั่นคง ต้องประสานกัน ๔. เป็นพื้นฐานของการฝึกให้รักการกีฬา ยิงธนู ยิงปืน อ้างอิง : https://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=18131 7.การละเล่น
เพลงบอกเป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณ จัดเป็นปฏิภาณกวีคือผู้ทอกเพลงบอกจะต้องใช้ ไหวพริบและปฏิภาณ ซึ่งการใช้คารมที่ออกมาเป็นบทกลอนเพื่อชมสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือโต้ตอบกัน เพลงบอกจะเล่นและ ร้องกันอย่างแพร่หลายในบริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง ซึ่งบทกลอนของเพลงบอกจะมีความโดดเด่นทาง ด้านฉันทลักษณ์มาก ซึ่งนักวิชาการกล่าวกันว่ามีความแตกต่างจากเพลงพื้นบ้านภาคใต้อื่น ๆ และไม่ตรงกับบทร้อย กรองไทยประเภทใดเลย (ภัทราดี ภูชฎาภิรมณ์, ๒๕๕๔, หน้า ๕๙) ซึ่งจะนิยมเล่นกันในวันตรุษสงกรานต์ เพื่อ เป็นการป่าวประกาศให้ชาวบ้านได้รู้โดยทั่วกันว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว หรือใช้เป็นการบอกเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกงานบุญกุศล เพราะในสมัยโบราณคนที่รู้หนังสืออ่านออกเขียนได้มีน้อย เอกสารการพิมพ์ก็ไม่แพร่หลายมาก นัก รายละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่หรือเปลี่ยนศักราช หรือการประกาศสงกรานต์ประจำ ปี เพลงบอกคือการสื่อสารที่ สำ คัญยิ่งประการหนึ่ง เพลงบอกจึงเป็นการบอกข่าวของชาวบ้านไปทุกละแวกให้ทราบว่าใกล้ถึงปีใหม่แล้ว หรือเป็นการ บอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกข่าวเชิญไปทำ บุญตามเหตุการณ์ ต่าง ๆ เรียกได้ว่าเพลงบอกเป็นความเชื่อทาง วัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งของชาวใต้ ซึ่งคู่กับชาวบ้านมานานตั้งแต่โบราณ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน อ้างอิง : https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/c7f436bf 8.ดนตรีและการขับร้อง
วันคาร เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ประเภทนิทานประโลมโลก เพื่อสวดอ่านในยามว่าง และรู้จักแพร่หลายในท้องถิ่น ภาคใต้ โดยเฉพาะนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา วันคารคำ กาพย์ยังมีเนื้อเรื่องคล้ายกับพุทโทคำ กาพย์ หรือ เจ้าพุทโท วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ และวรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง วันคารมีโครงเรื่องคล้ายกับชื่อเรื่องปลาแดกปลา สมอ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน และชื่อวรรณกรรมกลุ่มชนชาติไทหลายกลุ่ม ดังที่ประคอง นิมมานเหมินท์เสนอไว้ใน “ไขคำ แก้วคำ แพง พินิจวรรณกรรมไทย-ไท” ชื่อวรรณกรรมดังกล่าวได้แก่ เรื่องปลาแดกปลาสมอของชาวไทดำ เวียดนาม เรื่องท้าวกำ พร้าปลาแดกปลาสมอ วรรณกรรมลาว และมีชื่ออื่นอีกคือ บุษบาปลาแดก; บุษบาชาดก เรื่องอะลองปลาส้ม วรรณกรรมไทยเขิน เมืองเชียงตุง สหภาพพม่า เรื่องอะลองปลาส้ม วรรณกรรมไทเหนือเขตปกครองตนเองใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อสังเกตคือวรรณกรรมชื่อดังกล่าวมาจากชาดกคือฉบับของลาวและอีสาน เดิมเป็นฉบับใบลาน จารด้วยอักษรตัวธรรม ส่วนกลอนสวดเรื่องพุทโธ ภาคกลาง และเจ้าพุทโธ ภาคใต้ ผู้แต่งอ้างว่ามาจากชาดกเช่นกัน (ชาดก นอกนิบาต) ส่วนของกลุ่มชาวไทอื่นๆ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ อ้างอิง : http://ich.culture.go.th/index.php/en/ich/folk-literature/252-folk/394-ean-karn 9.วรรณกรรม (งานเขียน นิทาน)
การละเล่นภาคเหนือ ม้าจกคอก
การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรีย รี ก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่า ว่ อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ อุปกรณ์และวิธี วิธี เล่น จำ นวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป อุปกรณ์ ๑. ไม้กลมขนาดกำ รอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำ นวน ๒ ท่อน ๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำ นวน ๒ ท่อน สถานที่เล่น เล่นบริเริวณที่เป็นลานกว้า ว้ ง วิธี วิธี การเล่น ๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำ หรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำ หรับเป็นผู้เต้น ๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่าว่งคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำ สัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่าว่งที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้ สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าว่ครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรีย รี กว่าว่ ม้าขำ คอก หรือ รื ม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้นในระหว่าว่งคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือ รื เวลาที่เล่น การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวัน วั ขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา จุดประสงค์ การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำ ให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมี มนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การละเล่นภาคกลาง ตี่จับ
อุปกรณ์ เชือกหรือ รื อะไรก็ได้ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน วิธี วิธี การเล่น การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้ เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่าๆกัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่า ว่ ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่ม ริ่ ข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง”ตี่”ไม่ให้ขาดเสียง และวิ่งวิ่เอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ในขณะร้อง “ตี่” นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง “ตี่” ไว้ ถ้าคนร้อง “ตี่” เห็นว่า ว่ จะสู้ไม่ได้หรือ รื จะต้องถอน หายใจ ต้องรีบ รี ถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง”ตี่” หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เ ว้ป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง “ตี่” แตะตัวฝ่ายรับได้คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง”ตี่”ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกัน รุกคนละครั้ง จนกว่า ว่ จะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือ รื เวลาที่เล่น สามารถเล่นได้ทุกเมื่อ หรือ รื เล่นแข่งขันในงานกิจกรรมต่างๆ คุณค่า การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำ ลัง ฝึกความว่อ ว่ งไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน
การละเล่นภาคอีสาน แข่งเรือบก
อุปกรณ์และวิธี วิธี การเล่น ไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้ วิธี วิธี การเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กั ว้ กั บกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือ รื จับ ไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรีย รี งจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้น ชัยก่อนถือว่า ว่ ชนะ โอกาสหรือ รื เวลาที่เล่น ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์ จุดประสงค์ นอกจากจะเป็นการออกกำ ลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือ รื บกจะเล่น กันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำ ไหลผ่าน
ชักกะเย่อ การละเล่นภาคใต้
อุปกรณ์และวิธี วิธี เล่น เชือกเส้นใหญ่ๆ ๑ เส้น สำ หรับจับดึงกัน วิธี วิธี เล่น จัด คนเล่นออกเป็น ๒ พวก ให้มีกำ ลังพอๆ กัน เมื่อแบ่งพวกเสร็จแล้ว ให้ไปอยู่คนละข้างของไม้หรือ รื เชือกนั้น ให้ คนหัวแถวจับก่อนข้างละคน นอกนั้นให้จับเอวกันตลอดทั้งสองข้าง เมื่อ ให้สัญญาณแล้วต่างฝ่ายก็ลงไปข้างหลังทุกคนระเบียบการตัดสิน ใช้ตัดสินกันเองหรือ รืให้มีผู้ตัดสิน ๑ คน ยืน ตรงกลางให้สัญญาณและตัดสินได้ เพื่อให้รู้แน่ว่าฝ่ายใดแพ้ชนะจะปักธง ไว้ตรงกลางก็ได้ ฝ่ายใดถูกดึงเลยเขตได้หมดตั้งแต่หนึ่งศอกขึ้นไปนับเป็นแพ้ เมื่อแพ้แล้วไม่มีปรับให้ร้องรำ อย่างใด เลย โอกาสที่เล่น เล่นแข่งขันในงานกิจกรรมต่างๆ หรือ รืในเทศกาลพิเศษ คุณค่า เพื่อออกกำ ลังและรับความรื่น รื่ เริง ริ เมื่อแพ้ชนะกันเท่านั้น
http://www.prapayneethai.com/ม้าจกคอก https://www.siamsporttalk.com/ตี่จับ https://pacharida.wordpress.com/ชักกะเย่อ http://www.prapayneethai.com/แข่งเรือ รื บก ขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกในกลุ่ม นางสาวปณัดดา เรือ รื ริรั ริรั กษ์ 63115242111 นางสาวจักภัทร ภูอ่าว 63115242112 นาางสาววรรณวิส วิ า ชัชวาลย์ปรีช รี า 63115242113 คณะครุศาสตร์ สาขาวิช วิ าภาษาอังกฤษ
Table of contents 01 02 ความสำ คัญและลักษณะทางสถาปัตยกรรม ที่ตั้ง 03 ประวัติความเป็นมา 04 กิจกรรมท่องเที่ยว