The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเล่มนี้ ได้รวบรวมจากกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้รับรายงานการลงโทษทางวินัยจากหน่วยงานการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่รายงานมายัง ก.ค.ศ. โดยผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2557- 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า การนำไปใช้อ้างอิงหรือเป็นกรณีเทียบเคียงประกอบการพิจารณาโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา นิติกรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา <br><br>อนึ่ง กรณีตัวอย่างในคู่มือเล่มนี้ ชื่อบุคคลต่าง ๆ ในกรณีตัวอย่างที่ปรากฏเป็นชื่อสมมุติทั้งสิ้น ส่วนระดับโทษเดิมเป็นโทษที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งไว้ หากเหมาะสมแก่กรณีความผิดแล้ว ก.ค.ศ. จะมี มติรับทราบ หากยังไม่เหมาะสมก็จะมีมติให้เปลี่ยนแปลงโทษให้เหมาะสมต่อไป <br><br>สำนักงาน ก.ค.ศ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สํานักงาน ก.ค.ศ., 2024-03-13 22:54:03

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557- 2564

คู่มือกรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเล่มนี้ ได้รวบรวมจากกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้รับรายงานการลงโทษทางวินัยจากหน่วยงานการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่รายงานมายัง ก.ค.ศ. โดยผ่านการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ. 2557- 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า การนำไปใช้อ้างอิงหรือเป็นกรณีเทียบเคียงประกอบการพิจารณาโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเผยแพร่แก่หน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา นิติกรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา <br><br>อนึ่ง กรณีตัวอย่างในคู่มือเล่มนี้ ชื่อบุคคลต่าง ๆ ในกรณีตัวอย่างที่ปรากฏเป็นชื่อสมมุติทั้งสิ้น ส่วนระดับโทษเดิมเป็นโทษที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งไว้ หากเหมาะสมแก่กรณีความผิดแล้ว ก.ค.ศ. จะมี มติรับทราบ หากยังไม่เหมาะสมก็จะมีมติให้เปลี่ยนแปลงโทษให้เหมาะสมต่อไป <br><br>สำนักงาน ก.ค.ศ. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี

๔๗ รายที่ 1-234/2560 ชื่อ นายหลิวตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เสพสุราในเวลาราชการ มีอาการมึนเมาจนไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายหลิวดื่มสุราจนมึนเมา เมื่อเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่โรงเรียน ก็มีกลิ่นสุรา และดื่มสุราในเวลาราชการ บางวันจะออกนอกโรงเรียนไปดื่มสุราแล้วไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย บางครั้งมีอาการมึนเมาสุรา พูดเสียงดังไม่สุภาพต่อเพื่อนร่วมงาน และในวันที่โรงเรียนจัดกิจกรรมวันแม่ นายหลิวมีอาการเมาสุรา ปัสสาวะรดแปลงดอกไม้ รดแปลงผักสวนครัว ต่อหน้าข้าราชการครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มาร่วมงาน บางวันมีอาการมึนเมา หลับในห้องเรียน และไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 10 กุมภาพันธ์ 2558 โดยไม่ได้ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาโดยไม่ทราบสาเหตุ มาตรา 87 วรรคสอง และ 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โทษ ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มติ เพิ่มโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้นเป็นปลดออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560


๔๘ กรณีเกี่ยวกับการเสพสุราและยาเสพติด รายที่ 1-0021/2561 ชื่อ นายสิน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา กระทำการผิดวินัยในเรื่อง มียาเสพติดให้โทษประเภทหนึ่ง (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เสพยาเสพติดให้โทษประเภทหนึ่ง (ยาบ้า) โดยวิธีการใช้ไฟเผาแล้วสูดดมไอควันเข้าสู่ร่างกาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสินถูกเจ้าพนักงานจับกุมพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน ยาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 17 เม็ด และส่งตรวจพบสารเสพติด จึงนำตัวนายสินส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ศาลพิพากษา จำคุก 7 ปี 12 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กระทง ละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 12 เดือน มาตรา 94 วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก กระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสพยาเสพติดหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 1/๒๕61 เมื่อวันที่ 26 มกราคม ๒๕61


๔๙ กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราและยาเสพติด รายที่ 1-085/2561 ชื่อ นายป้อง ตำแหน่งครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง กระทำผิดอาญาฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายป้องได้เก็บธนบัตรใบละ 20 บาท 2-3 ใบ มีลักษณะพับครึ่ง โดยมีข้าว เหนียวติดแน่นไว้ เมื่อกลับถึงบ้านพักจึงทำการแกะเงินแล้วพบว่าภายในมีซองพลาสติกบรรจุยาเม็ดสีส้ม จำนวน 10 เม็ด และเศษชิ้นหนึ่งมีกลิ่นคล้ายช็อกโกแลต จึงได้ทดลองชิมเศษยาในซองปรากฏว่าเม็ดยา ดังกล่าวคือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ซึ่งเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 จึงนำยาดังกล่าวไปมอบให้นายปัญญา บิดาของตนอดีตรอง สว.สส. สถานีตำรวจ เพื่อที่จะนำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ปรากฏว่านายปัญญา ติดธุระจึงไม่ได้นำยาในซองไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจตามที่ตั้งใจ ต่อมาวันที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลาประมาณ 05.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าทำการตรวจค้นบ้านพักของนายปัญญา ซึ่งนายป้องได้เข้าพัก ค้างคืนกับบิดาในวันนั้นด้วย ผลการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบเมทแอมเฟตามีน จำนวน 10 เม็ด อยู่ในซองพลาสติกดังกล่าว จึงทำการจับกุมนายป้อง ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินทางตามกฎหมาย นายป้อง ได้รับสารภาพว่ามียาเสพติดไว้ในครอบครองทั้งชั้นสอบสวน และชั้นการพิจารณาของศาล และศาลมีคำพิพากษา ให้ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ปรับ 30,000 บาทจำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คุมความประพฤติจำเลย มีกำหนด 1 ปี ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 เดือน ต่อครั้ง ภายใน 1 ปี ทำงานบริการสังคม 20 ชั่วโมง คดีถึงที่สุด มาตรา 94 วรรคสอง, วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กรณีเสพยาเสพติด โทษ ปลดออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561


๕๐ กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราและยาเสพติด รายที่ 1-139/2561 ชื่อ นางสมใจ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย นางสมใจ มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยผิดกฎหมายประกอบกับนางสมใจได้ให้การรับสารภาพต่อศาล และศาลจังหวัดพิพากษาจำคุก 10 ปี6 เดือน โดยไม่รอลงอาญาคดีถึงที่สุด มาตรา 94 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด โทษ ไล่ออก มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 9/2561 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561


๕๑ กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราและยาเสพติด รายที่ 1-1017/2562 ชื่อ นายลี ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ถูกจับกุมพร้อมของกลาง คือยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาไอซ์) และอาวุธปืน และถูกควบคุมตัวฝากขังที่เรือนจำ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายลีถูกฟ้องเป็นคดีอาญาว่า มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ชนิดวัตถุสีขาว 1 ถุง น้ำหนักสุทธิ 23.96 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 22.371 กรัม ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย และพกพาอาวุธปืนพกออโตเมติกขนาด 9 มม. LUGER จำนวน 1 กระบอก ซองกระสุนปืน 1 อัน กระสุนปืนพกออโตเมติกขนาด 9 มม. จำนวน 11 นัด ติดตัวไปตามถนนสาธารณะท้องที่ โดยไม่ได้รับ ใบอนุญาต นายลีให้การรับสารภาพและไม่สืบพยาน คดีถึงที่สุด ศาลพิพากษาให้จำคุก 25 ปี และปรับ 1,501,000 บาท มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562


๕๒ กรณีความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราและยาเสพติด รายที่ 1-037/2563 ชื่อ นายสร ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง จำหน่ายและมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 1,100 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ข้อเท็จจริงได้ความว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ให้สายลับโทรศัพท์สั่งซื้อยาบ้ามาจากนายสร นายสรแจ้งกับสายลับว่าจะให้นายแบงค์ บุตรชาย ติดต่อมาเพื่อนัดหมายส่งยาบ้ากันอีกครั้ง ต่อมานายแบงค์ โทรศัพท์มาหาสายลับว่า ให้นำค่ายาบ้าจำนวน 4,500 บาท มาวางไว้บริเวณโคนเสาไฟฟ้าข้างกองฟางริมถนน สาธารณะทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งเป็นจุดที่สายลับกับผู้ต้องหาทราบกันเพราะเคยส่งยาบ้าบริเวณนั้นเป็นประจำ ต่อมา สายลับแจ้งว่าได้รับยาบ้าที่นายแบงค์นำมาวางไว้แล้ว ตำรวจได้เห็นนายแบงค์ขับขี่รถจักรยานยนต์ กลับไปที่บ้านของนายสร เมื่อไปถึงพบนายสรกับนายแบงค์อยู่ภายในบ้าน ผลการตรวจค้นพบธนบัตร ที่ใช้ในการล่อซื้อยาบ้า ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าเสื้อของนายสร จึงได้ทำการตรวจยึด เมื่อนำสำเนาธนบัตรที่ใช้ ในการล่อซื้อมาเปรียบเทียบกับธนบัตรที่ตรวจยึดได้จากนายสร ปรากฏว่ามีหมายเลขและตัวอักษรตรงกัน ทุกฉบับ ซึ่งนายสรก็ได้ยอมรับว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่พวกตนได้มาจากการนำยาบ้ามาจำหน่ายให้กับ สายลับ มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณีกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ไล่ออก มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 2/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2563


๕๓ กรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รายที่ ๑-๒๐๖/๒๕๖๓ ชื่อ นายดำ ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่องฟถูกจับดำเนินคดีอาญาข้อหามียาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายดำถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒ ต่อมาศาล ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่านายดำกระทำความผิดอาญา ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท ๑ จำนวน ๓๔๘ เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว หรือยาไอซ์ จำนวน ๑ ซอง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันมีน้ำต้มพืชกระท่อมอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ จำนวน ๑ กระติก ปริมาณ ๑,๐๐๐ มิลลิลิตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ โดยใช้ไฟลนให้เกิดควันเข้าสู่ร่างกาย มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ จำนวน ๑ เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ลงโทษจำคุก ๑๑ ปี ๓ เดือน และปรับ ๖๐๒,๕๐๐ บาท กรณีเป็นความผิด ที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามข้อ ๒ (๑) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้บังคับบัญชาจึงงดสอบสวน มาตรา ๙๔ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กระทำการอันได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และเสพยาเสพติด โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓


๕๔ กรณีความผิดเกี่ยวกับยาเสพสุราและเสพยาเสพติด รายที่ 1-222/2564 ชื่อ นายโอม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรจังหวัด จับกุมพร้อมของกลาง ดังนี้ 1) ยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (ยาบ้า) จำนวน ๔0๔ เม็ด ๒) ยาเสพติดให้โทษ ประเภท ๑ (ยาไอซ์) จำนวน ๑.๑๙ กรัม ๓) ลูกระเบิดขว้างชนิดเคมี รบกวนประสาทแบบ CS (แก๊สน้ำตา) จำนวน ๑ ลูก และ 4) โทรศัพท์มือถือ จำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับการติดต่อซื้อขายยาเสพติด โดยถูกควบคุมหรือขัง เป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา เป็นเวลาติดต่อกันเกิน ๑๕ วัน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เวลาประมาณ 14.00 นาฬิกา นายโอม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมพร้อมของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (ยาบ้า) จำนวน ๔0๔ เม็ด ยาเสพติดให้โทษ ประเภท ๑ (ยาไอซ์)จำนวน ๑.๑๙ กรัม ลูกระเบิดขว้างชนิดเคมี รบกวนประสาทแบบ CS (แก๊สน้ำตา) จำนวน ๑ ลูก และโทรศัพท์มือถือ จำนวน ๑ เครื่อง ใช้สำหรับการติดต่อซื้อขายยาเสพติด โดยนายโอม ให้การรับสารภาพในชั้น สอบสวนโดยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับกุมตัวตลอดมา และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก ๑๓ ปี และปรับ 900,00๐ บาท และการที่นายโอม ถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับกุมตัวตลอดมา ในประเด็นการขาด ราชการของนายโอม ติดตอในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกวาสิบหาวัน จึงมีเหตุผลอันสมควร และมิใช่ พฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ มาตรา 94 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564


๕๕ กรณีความผิดประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการเสพยาเสพติด รายที่ 1-260/2564 ชื่อ นายมานะ ตำแหน่งครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กระทำความผิดในเรื่อง ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 3 เดือน ฐานความผิดเสพเมทแอมเฟตามีน และฐานความผิดมีเมทแอมเฟตมีนในครอบครอง ซึ่งศาลมีหมายจับนายมานะ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา ซึ่งนายมานะ มิได้ประกันตัวออกมาต่อสู้คดีแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายมานะถูกเจ้าหน้าตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน 1 ถุง จึงจับกุม นายมานะแล้วควบคุมตัวไปยังสถานีตำรวจ พนักงานสอบสวนส่งยาเสพติดดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์ ปรากฏว่าเป็นเมทแอมเฟตามีน น้ำหนัก 4.510 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 4.231 กรัม ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาว่า นายมานะมีความผิดแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง มาตรา 57 มาตรา 67 และมาตรา 91 ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองพิพากษาลงโทษให้จำคุก 2 ปี 3 เดือน ซึ่งนายมานะถูกจำคุก โดยที่นายมานะไม่ได้ประกันตัวออกมาสู้คดีแต่อย่างใด มาตรา 94 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสพยาเสพติดหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด โทษ ปลดออก มติ รับทราบโทษปลดออก ประชุมครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564


๕๖ กรณีความผิดฐานประพฤติชั่วยาเสพติด รายที่ 1-093/2565 ชื่อ นายขำ ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับชำนาญงาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยฝ่าฝืนกฎหมาย (จำนวน 172 เม็ด) และเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) โดยผิดกฎหมาย ตามรายงานผลการตรวจสอบสารเสพติดในปัสสาวะของโรงพยาบาล ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลาประมาณ ๑๘.00 น. เจ้าพนักงานได้ร่วมกัน ทำการจับกุมตัวนายขำพร้อมด้วยของกลาง เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า จำนวน ๑๗๒ เม็ด ส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดี โดยกล่าวหาว่า นายขำกระทำผิดฐาน “มียาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) ไว้ในความครอบครอง เพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนกฎหมายและเสพยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ (เมทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า) โดยฝ่าฝืนกฎหมาย” และได้ตรวจปัสสาวะของนายขำ พบสารเมทแอมเฟตามีนเจือปนในปัสสาวะ จึงจับกุมตัวส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี ซึ่งนายขำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม ว่ามียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าผืนกฎหมาย จำนวน 172 เม็ด และเสพ ยาเสพติด ให้โทษ ประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) โดยคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัด นายขำได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ ต่อคณะกรรมการ สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงว่า “ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง” และได้รับสารภาพเป็นหนังสือ ต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน และได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ มาตรา 94 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี เสพยาเสพติด และสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด โทษ ปลดออกจากราชการ มติ ให้เพิ่มโทษ จากโทษปลดออกจากราชการ เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565


๕๗ 4. กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ ๑-๐๘๘/๒๕๕๘ ชื่อ นายประกอบ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง เรียกรับเงินจากผู้ผ่านการคัดเลือกขึ้นบัญชีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายประกอบได้โทรศัพท์ไปหานายสมานและนายทำนองผู้ผ่านการคัดเลือกขึ้นบัญชี ในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๒ ราย โดยเสนอตัวให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลดังกล่าว ให้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการอบรมพัฒนาก่อนบรรจุแต่งตั้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลเจ้านาย รายละ ๕๐,๐๐๐ บาท โดยนายประกอบได้โทรศัพท์ติดต่อทวงถาม จากนายสมานหลายครั้ง และได้ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารเพื่อให้นายสมานโอนเงินให้ การที่นายประกอบเรียกรับเงินจากนายสมาน แม้นายสมานจะมิได้จ่ายเงินตามที่นายประกอบเรียกรับก็ถือได้ว่า การกระทำของนายประกอบเป็นความผิดสำเร็จแล้ว มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี กระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น มติ เพิ่มโทษจากโทษลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558


๕๘ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-138/2558 ชื่อ นายสมปองตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่อง ใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหลอกลวง แอบอ้างว่าได้โควตา ครูผู้ช่วยมาสามารถฝากเข้าเป็นครูผู้ช่วยได้ แต่ต้องนำเงินมาวางก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้บรรจุ และในครั้งหลังได้หลอกลวงเอาเงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ได้ยึดบัญชีและสมุดเงินฝากไว้ และเบิกเงินมาใช้ จนหมดและก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสมปองทำการเรียกรับเงินจากญาติของนางสาวพร โดยกล่าวอ้างว่า สามารถช่วยเหลือให้นางสาวพร เข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วยได้ จนญาติของนางสาวพรหลงเชื่อทำการ โอนเงินให้กับนายสมปอง ๒ ครั้ง ๆ ละ ๕๐,๐๐๐ บาท มีเอกสารหลักฐานการโอนเงินชัดเจน ภายหลังเมื่อไม่สามารถ จะช่วยเหลือนางสาวพรได้จึงได้ทำการโอนเงินคืนให้กับญาติของนางสาวพรจนครบถ้วน นอกจากนั้นนายสมปอง รู้ว่านางสาวพรได้รับเงินกู้ตามโครงการ ช.พ.ค. จากธนาคารออมสิน จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จึงบีบบังคับให้ นางสาวพรมอบบัญชีเงินฝากและบัตร ATM ให้ตนไว้ โดยกล่าวอ้างว่าเก็บไว้เพื่อใช้จ่าย ในการสอบบรรจุผู้ช่วย จนนางสาวพรหลงเชื่อจำใจมอบบัญชีเงินฝากพร้อมบัตร ATM ให้นายสมปองไป ภายหลัง นายสมปองแอบไปถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากจนหมด มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มติ เพิ่มโทษจากโทษลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558


๕๙ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-174/2559 ชื่อ นางทองใบ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง เรียกรับเงินจากผู้เสนอผลงานในการประเมินครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางทองใบ เป็นคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ ได้ให้นางหาญ ช่วยติดต่อกับนางขาว ผู้เสนอผลงาน พร้อมกับบอกว่า หากจะให้ผลงานของตนผ่านการประเมินให้โทรศัพท์ ไปตามเบอร์ที่ให้ไว้และนางขาว ก็โทรศัพท์ไปตามเบอร์ที่นางหาญ ให้ไว้ นางทองใบ รับสายแล้วมีการพูดคุย โต้ตอบเรื่องผลงานทางวิชาการที่นางขาว ส่งประเมินได้อย่างถูกต้อง ท้ายการสนทนานางทองใบ บอกว่า หากจะให้ผลงานทางวิชาการผ่านจะต้องจ่าย 16 (หมายถึง 160,000 บาท) หากผลงานทางวิชาการได้รับ การปรับปรุงจะต้องจ่าย 8 (หมายถึง 80,000 บาท) นางขาว ได้ต่อรองราคา แต่ได้รับการปฏิเสธ ต่อมานางทองใบ ได้โทรศัพท์ติดต่อกับนางขาว เพื่อขอทราบคำตอบ นางขาว จึงได้ขอเลขที่บัญชีธนาคาร เพื่อจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร แต่นางขาว ไม่โอนเงินให้ จนกระทั่งประกาศผลการประเมิน ปรากฏว่าผลงาน ทางวิชาการของนางขาว ไม่ผ่านการประเมิน นางขาว จึงทดลองโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากดังกล่าว จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 100 บาท แล้วนางขาว ก็นำสลิปการโอนเงินไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ เป็นหลักฐาน จากการตรวจสอบหมายเลขบัญชีดังกล่าวพบว่าเป็นบัญชีเงินฝากของนายมณีซึ่งเป็นน้องชายของ นางทองใบ แม้นางขาว จะไม่หลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีตามที่นางทองใบ แจ้งไว้ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว มาตรา มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มติ เพิ่มโทษจากโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 9/2559 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559


๖๐ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-212/2559 ชื่อ นายเกษม ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง หลอกลวงผู้อื่นหลายรายว่าจะช่วยให้สอบบรรจุในตำแหน่งครูผู้ช่วยได้ โดยอ้างว่ามีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ในเขตและอยู่ระดับกระทรวง มีช่องทางที่จะช่วยให้สอบได้โดยต้องจ่ายเงิน ฅให้ก่อนคนละ 500,000 บาท ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายเกษม ได้เรียกรับเงินจากนางใจ และนางน้อย คนละ 500,000 บาท จริง โดยหลอกลวงว่าสามารถช่วยให้เข้ารับราชการเป็นครูได้ โดยทำเป็นสัญญากู้ยืมระบุจำนวนเงินดังกล่าว ต่อมาปรากฏว่า นางใจ และนางน้อย สอบไม่ได้ จึงเรียกร้องเงินจากนายเกษม คืน แต่นายเกษม ไม่สามารถ คืนให้ได้ จนมีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีต่อศาล ต่อมาศาล จังหวัด มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ๒๒๘๐/๒๕๕๗ ว่า นายเกษม มีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๓๔๑ ให้ลงโทษจำคุก ๑ ปี และให้คืนเงินแก่ผู้เสียหาย และศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาถึงที่สุด มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษจากโทษปลดออกจากราชการ เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 10/2559 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559


๖๑ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-257/2560 ชื่อ นางวิ ตำแหน่งครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง เรียกรับเงินจากนายสุข จำนวน 250,000 บาท ผู้สมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูในตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้สามารถสอบผ่านได้รับการบรรจุ แต่งตั้ง ถูกศาลพิพากษาจำคุก คดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางวิเรียกรับเงิน จำนวน 250,000 บาท จากนายสุข ผู้สมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย ให้สามารถสอบผ่าน ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก 6 เดือน มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 8/2560 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560


๖๒ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-125/2562 ชื่อนายสยาม ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เมื่อปี พ.ศ. 2555 - 2556 นายสยามได้เรียกรับเงินจากนางปลื้ม และนางหนิงจำนวน ๓๑๐,๐๐๐ บาท โดยสัญญาว่าจะช่วยเหลือให้นางหนิงซึ่งเป็นบุตรของนางปลื้มสอบบรรจุ และแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเปิดสอบได้ จนทำให้นางปลื้ม และนางหนิงหลงเชื่อและยอมมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้กับนายสยาม แต่เมื่อประกาศผล การสอบแล้วปรากฏว่านางหนิงไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้ช่วยดังคำกล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสยามเคยไปถามนางปลื้มว่า อยากให้บุตรสาวบรรจุเป็นข้าราชการครูหรือไม่ ถ้าอยากได้ต้องเอาเงินไปให้ จำนวน ๔๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมาปี ๒๕๕๕ นายสยามบอกนางปลื้มว่า จะมีการสอบครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หลังจากนั้น เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ ได้มีประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รับสมัครครูผู้ช่วย นายสยาม จึงได้โทรศัพท์ไปสอบถามนางปลื้มว่า เงินพร้อมหรือยัง ต่อมาวันที่ ๑0 มกราคม ๒๕๕๖ นายสยามได้โทรศัพท์ นัดนางปลื้มให้นำเงินไปจ่ายก่อนวันเข้าสอบที่ร้านอาหารแห่งนึง เมื่อไปถึงร้านอาหาร นางหนิงจึงยกถุงเงินส่งให้ นายสยาม เป็นธนบัตรฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท จำนวน ๓๑๐,๐๐๐ บาท หลังจากนั้นนางปลื้มกับนางหนิง ก็เดินทางกลับ โดยไม่ได้เขียนสัญญาใด ๆ ไว้ซึ่งต่อมาวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ประกาศผลการสอบปรากฏว่า นางหนิงสอบผ่านการคัดเลือกแต่ไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย นางปลื้มจึงได้ทวงถามเงินคืน นายสยามได้จ่ายคืนให้ จำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท หลังจากนั้น นางปลื้มได้ทวงถามเงินที่เหลือคืนอีกหลายครั้ง นายสยามจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๖ ไว้เป็นหลักฐาน ตรงกับวันที่รับเงินไป จำนวน ๓๑๐,๐๐๐ บาท หลังจากนั้นนางปลื้มได้ทวง ถามอีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ไม่รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษจากโทษปลดออกเป็นโทษไล่ออก ประชุมครั้งที่ 7/2562 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562


๖๓ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-319/2563 ชื่อ นายแสด ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ได้หลอกบุคคลอื่นว่า สามารถช่วยเหลือให้เข้าทำงานเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการคนละ 200,000 บาท ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2560 นายแสดได้หลอกลวงผู้เสียหายหลายราย โดยอ้างว่าสามารถนำผู้เสียหายเข้าทำงานเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ได้ แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายคนละ 200,000 บาท โดยจ่ายเป็นค่าดำเนินการครั้งแรก จำนวน 100,000 บาท และจ่ายหลังจากได้ทำงานแล้วอีกจำนวน 100,000 บาท ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้มอบเงินให้นายแสดไปคนละ 100,000 บาท เมื่อนายแสดได้รับเงินแล้วได้กล่าวว่า จะได้ทำงาน ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการเปิดรับสมัครแต่ประการใด ผู้เสียหาย จึงทวงเงินคืน แต่นายแสดก็บ่ายเบี่ยงมาตลอดและสุดท้ายก็ไม่ได้รับเงินคืน ผู้เสียหายจึงไปแจ้งความ ที่สถานีตำรวจเพื่อเอาผิดแก่นายแสด มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษจากโทษปลดออกจากราชการเป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563


๖๔ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน รายที่ 1-081/2565 ชื่อ นายขาว ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทําผิดวินัยในเรื่อง ประพฤติตนไม่เหมาะสม โดยเรียกรับเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายขาวได้มีการพูดคุยกับนางสาวงาม ผ่าน Messenger ว่า รู้จักกับเพื่อน ที่สามารถฝากให้นางสาวงาม เข้าทำงานในตำแหน่งครูพี่เลี้ยงเด็กได้ โดยจะต้องจ่ายเงิน จำนวน 90,000 บาท ซึ่งนางสาวงามก็หลงเชื่อและได้โอนเงินเข้าบัญชีของนายขาวจำนวน 50,000 บาท และให้เป็นเงินสดอีก 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 90,000 บาท โดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินกันเพื่อเป็นประกันการรับเข้าทำงาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน นางสาวงาม ก็ไม่ได้เข้าทำงาน ในตำแหน่งครูพี่เลี้ยง จึงได้ทำการทวงเงินดังกล่าวคืน ซึ่งนางสาวงามได้รับเงินคืน มาเพียง 25,000 บาท นางสาวงามจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนนายขาว ต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด โดยนายขาว ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาว่า ข้อความที่คุยกันผ่าน Messsenger เป็นการคุยกันเรื่อง การกู้ยืมเงินซึ่งจะนำเอาไปใช้ เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอ้อย แต่จากการตรวจสอบเห็นได้ว่า มีการพูดคุยกันถึงเรื่อง การเรียกรับเงินเพื่อที่จะ ฝากให้นางสาวงาม เข้าทำงานจริง โดยมีจำนวนเงินที่เรียกรับคือ 90,000 บาท มาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกจากราชการ มติ ให้เพิ่มโทษ จากโทษปลดออกจากราชการ เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565


๖๕ 5. กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-101/2557 ชื่อ นายพรรษาตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณของ โรงเรียนไม่เป็นไปตามระเบียบและมีพฤติการณ์เบิกจ่ายเงินส่อไปในทางทุจริต ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายพรรษา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ดำเนินการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณของโรงเรียนไม่เป็นไปตามระเบียบ และมีพฤติการณ์เบิกจ่ายเงินส่อไปในทางทุจริต ได้กระทำการแก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขในใบเบิกถอนเงินเกินจำนวนที่จะต้องจ่ายจริง เพื่อนำไปเบิกถอนเงินจาก ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชีโรงเรียน รวม ๕ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ เมื่อวันที่ ๑๐/๐๓/๒๕๕๓ ค่าใช้จ่าย ๙,๕๓๐ บาท แก้ไข เพิ่มเติมตัวเลขเป็น ๓๙,๕๓๐ บาท ครั้งที่ ๒ ค่าไฟฟ้า ๑,๑๖๑.๒๗ บาท เมื่อวันที่ ๐๑/๐๔/๒๕๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขเป็น ๗๑,๑๖๑.๒๗ บาท ครั้งที่ ๓ ค่าอบรมครู ๓,๕๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๐๙/๐๔/๒๕๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขเป็น ๔๓,๕๐๐ บาท ครั้งที่ ๔ ประชุมกรรมการสถานศึกษา ๑,๔๘๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๙/๐๔/๒๕๕๓ แก้ไขเพิ่มเติม ตัวเลขเป็น๓๑,๔๘๐ บาท ครั้งที่ ๕ ค่าไฟฟ้า ๖๔๘.๗๘ บาท เมื่อวันที่ ๒๗/๐๔/๒๕๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขเป็น ๔๐,๖๔๘.๗๘ บาท ประกอบกับเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ นายพรรษา และนายมีบุญ ลงนามร่วมเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ประจำปี ๒๕๕๓ จำนวน ๙๒,๐๙๐ บาท โดยไปเบิกร่วมกันและจ่ายให้ ผู้ปกครองนักเรียน ๘๕,๐๖๕ บาท คงเหลือ ๗,๐๒๕ บาท นายพรรษา ถือไว้ด้วยตนเองโดยที่นายมีบุญ ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ และวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้ร่วมกันเบิกค่าวัสดุร้านรวยดีจำนวน ๕๓,๓๐๗ บาท ซึ่งนายพรรษา รับผิดชอบจะนำไปชำระที่ร้านรวยดีด้วยตนเอง แต่นายพรรษา ก็มิได้ชำระเงินและเก็บเงินไว้กับ ตนเอง โดยที่นายมีบุญ ไม่ทราบและไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ จากการกระทำของนายพรรษา ดังกล่าวทำให้ราชการ เสียหายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๗๐,๓๓๒ บาท มาตรา 84 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษจากโทษปลดออกจากราชการเป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 8/2557 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557


๖๖ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๑๐๑/๒๕๕๗ ชื่อ นายโชค ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่องฟเบิกจ่ายเงินงบประมาณของโรงเรียนไม่เป็นไปตามระเบียบ และมีพฤติการณ์เบิกจ่ายเงินส่อไปในทางทุจริต ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายโชคได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขในใบเบิกถอนเงินเกินจำนวนที่จะต้องจ่ายจริง แล้วนำไปเบิกถอนเงินจากธนาคารกรุงไทย จำนวน ๕ ครั้ง ดังนี้ คือ ครั้งที่ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขโครงการเข้า ค่ายพักแรมลูกเสือ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ จากเงินจำนวน ๙,๕๓๐ บาท เป็นเงินจำนวน ๓๙,๕๓๐ บาท ครั้งที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขค่าไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ จากเงินจำนวน ๑,๑๖๑.๒๗ บาท เป็นเงิน จ ำ น ว น ๗ ๑ , ๑ ๖ ๑ . ๒ ๗ บ า ท ค ร ั ้ ง ท ี ่ ๓ แ ก ้ ไข เ พ ิ ่ ม เ ต ิ ม ต ั ว เ ล ข ค ่ า อ บ ร ม ค ร ู เ ม ื ่ อ ว ั น ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ จากเงินจำนวน ๓,๕๐๐ บาท เป็นเงินจำนวน ๓๕,๕๐๐ บาท ครั้งที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลข เงินประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ จากเงินจำนวน ๑,๔๘๐ บาท เป็นเงิน จำนวน ๓๑,๔๘๐ บาท และครั้งที่ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมตัวเลขค่าไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ จากเงิน จำนวน ๖๔๘.๗๘ บาท เป็นเงินจำนวน ๔๐,๖๔๘.๗๘ บาท นอกจากนี้ในวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓ นายโชคยังไปเบิกถอนเงินค่าใช้จ่ายโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ ประจำปี ๒๕๕๓ จำนวน ๙๒,๐๙๐ บาท แล้วนำไปจ่ายให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๘๕,๐๖๕ บาท คงเหลือเงิน ๗,๐๒๕ บาท ถือไว้ที่ตนเอง และในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้เบิกถอนเงินจำนวน ๕๓,๓๐๗ บาท เพื่อไปจ่ายค่าวัสดุให้แก่ร้านวัสดุ การศึกษา แต่นายโชคไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวไปจ่ายค่าวัสดุกลับเก็บเงินไว้ที่ตนเอง และนำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายส่วนตัว รวมเป็นเงินที่ราชการได้รับความเสียหายทั้งสิ้น ๒๗๐,๓๓๒ บาท ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ นายโชคได้นำเงินมาคืนให้แก่โรงเรียน จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ได้นำเงินมาคืนอีกจำนวน ๗๐,๓๓๒ บาท จนครบจำนวนที่ได้นำเงินไป เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย นายโชคก็ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ สอบสวน มาตรา ๘๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ (๓) โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษ จากโทษปลดออกจากราชการ เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗


๖๗ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๑๓๙/๒๕๕๗ ชื่อ นางจิตร ตำแหน่งครูผู้ช่วย วิทยาลัยชุมชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่งานการเงินและบัญชี ได้ถอนเงินจากบัญชี เงินงบประมาณแล้วไม่นำฝากเข้าบัญชีเงินนอกงบประมาณ และไม่นำเงินเก็บรักษาไว้ที่ตู้เก็บรักษาเงิน (ตู้เซฟ) ของวิทยาลัยชุมชน แล้วเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตน ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙ วิทยาลัยชุมชนได้ทำสัญญาจ้างนางจิตร เป็นพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี ๓ ปฏิบัติหน้าที่งานการเงิน และบัญชี ต่อมาได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย และได้ปฏิบัติหน้าที่งานการเงินต่อเนื่องเรื่อยมา นางจิตรได้เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินงบประมาณแล้วไม่นำฝากเข้าบัญชีเงินนอกงบประมาณ และไม่ได้นำเงินเก็บรักษาไว้ที่ตู้เก็บรักษาเงิน (ตู้เซฟ) ของวิทยาลัยชุมชน หลายครั้ง ดังนี้ คือ ครั้งที่ ๑ นำเช็คไปขึ้นเงินงบประมาณที่ธนาคารกรุงไทย เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๑๑,๐๙๖ บาท ครั้งที่ ๒ นำเช็คไปขึ้นเงินงบประมาณที่ธนาคารกรุงไทย เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๓๒,๑๕๖ บาท และครั้งที่ ๓ นำเช็คไปขึ้นเงินงบประมาณที่ธนาคารกรุงไทย เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ จำนวน ๑๕,๔๖๐ บาท โดยไม่นำเงิน เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย (บัญชีเงินนอกงบประมาณ) ต่อมาเมื่อวิทยาลัยชุมชนได้ทำการตรวจสอบ นางจิตรจึงได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืน มาตรา ๘๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗


๖๘ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๑๕๓/๒๕๕๗ ชื่อ นายสุข ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง ให้ข้าราชการที่รับผิดชอบโครงการจัดทำระบบป้องกันความปลอดภัย บนเครือข่ายโรงเรียน ตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา ๒๕๓๓ จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท ทำสัญญายืมเงินดังกล่าว จากโรงเรียน มามอบให้แก่ตน เป็นเหตุให้โครงการนั้นไม่อาจดำเนินการได้ตามแผน ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสุขได้เรียกนายดอน ซึ่งเป็นครูผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำระบบป้องกัน ความปลอดภัยบนเครือข่ายโรงเรียน ตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา ๒๕๓๓ จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท เข้าไปพบ แล้วสั่งให้นายดอนยืมเงินโครงการดังกล่าวมาให้ตน เพื่อจะนำไปใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค สัปดาห์หน้าจะนำเงิน มาคืน นายดอนจึงเขียนใบยืมเงินทดรองราชการ จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท ส่งให้เจ้าหน้าที่การเงิน และในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เจ้าหน้าที่การเงินก็ได้ไปเบิกเงินจากธนาคารกรุงไทย จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท มามอบให้แก่นายดอน แต่นายดอนบอกว่ายืมเงินดังกล่าวให้นายสุข ให้ไปมอบให้นายสุข เจ้าหน้าที่การเงินจึงได้นำเงิน ไปมอบให้แก่นายสุข ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เจ้าหน้าที่การเงินเห็นว่านายดอนไม่ล้างหนี้เงินที่ยืมไปดังกล่าว เป็นเวลานาน จึงทวงถาม และนายดอนได้ปฏิเสธว่าตนไม่ได้รับเงินไป ต่อมาในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ นายสุขได้นำเงินจำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท มาคืน โดยนายสุขอ้างว่านำเงินมาคืนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หน่วย ตรวจสอบภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อไม่ให้ทางราชการเสียหาย พฤติการณ์ของนายสุข ที่ให้นายดอนยืมเงินทดรองราชการมาให้ตน จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ราชการของตนในฐานะผู้บังคับบัญชา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อยืมเงินราชการจำนวนดังกล่าว โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าได้นำไปใช้จ่าย เพื่อประโยชน์ของทางราชการ แต่กลับเป็นประโยชน์ส่วนตัว และเป็นเหตุให้โครงการจัดทำระบบป้องกัน ความปลอดภัยบนเครือข่ายโรงเรียน ไม่อาจดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา ๒๕๓๓ มาตรา ๘๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โทษ ยุติเรื่อง มติ ไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗


๖๙ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-157/2558 ชื่อ นางสาวฉัตร ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่อง ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเลขบัญชีเงินฝากของผู้ขอเบิกเป็นเลขบัญชีเงินฝากของตนเอง และเบิกเงินเกินจำนวนเงินที่มีผู้ขอเบิกเข้าบัญชีเงินฝากของตนเอง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสาวฉัตรได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าเช่าบ้าน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเลขที่บัญชีเงินฝากของผู้ขอเบิก เป็นเลขบัญชีเงินฝากของตนเอง เพื่อให้ธนาคารโอนเงินตามที่ผู้ขอเบิกได้รับอนุมัติ เข้าบัญชีเงินฝากของตนเอง และยังได้เบิกเงินเกินจำนวนเงินที่มีผู้ขอเบิกอีกจำนวนหนึ่งเข้าบัญชีเงินฝากของตนเองจำนวนหลายฎีกา เมื่อถูกทวงถามนางสาวฉัตรจึงได้นำเงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าเช่าบ้านรวมเป็นเงิน ๑๐๑,๙๕๒ บาท คืนให้กับผู้ขอเบิกและทางราชการ ตามที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคได้สืบสวนตรวจสอบสรุป รายละเอียดตามฎีกา มาตรา ๘๔ วรรคสาม และมาตรา ๘๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริต ต่อหน้าที่ราชการ กรณีจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล โทษ ตัดเงินเดือน ๕% เป็นเวลา ๑ เดือน มติ เพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือน ๕% เป็นเวลา ๑ เดือน เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 8/2558 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2558


๗๐ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-023/2559 ชื่อ นายปูตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญ การพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง บริหารงานการเงินและพัสดุไม่มีความโปร่งใส ซึ่งมีการเบิกเงิน ทั้งเงินอุดหนุนและเงินโครงการอาหารกลางวัน เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 1,453,654 บาท โดยไม่มีเอกสาร หลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายปูได้นำเอาสมุดเงินฝากธนาคาร ชื่อบัญชีเงินอุดหนุนอื่น และสมุดเงินฝาก ธนาคาร ชื่อบัญชีเงินโครงการอาหารกลางวัน มาถือไว้กับตนเอง และได้ตกลงกับธนาคารว่า ในการเบิกเงินแต่ละครั้ง ให้มีลายมือชื่อของกรรมการเบิกเงินจำนวน 2 ใน 3 จึงจะสามารถเบิกเงินได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงพบว่า ในการเบิกเงินแต่ละครั้ง นายปูจะเป็นคนดำเนินการเองทั้งหมด ส่วนครูที่เป็นกรรมการเบิกเงินเพียงแต่ลง ลายมือชื่อในใบเบิกเงินของธนาคารเท่านั้น ซึ่งในใบเบิกเงินที่นายปูนำมาให้กรรมการเบิกเงินลงลายมือชื่อ บางครั้งก็ระบุจำนวนเงินที่จะเบิกบางครั้งก็ไม่ระบุ และนายปูก็จะกรอกจำนวนเงินที่จะเบิกเองภายหลัง โดยจะเก็บเงิน สดที่เบิกมาไว้กับตนเอง ไม่มีการเก็บรักษาเงินตามระเบียบของทางราชการ จากนั้นนายปูจะดำเนินการ ทุกอย่างเอง โดยที่ข้าราชการครูทุกคนในโรงเรียนไม่ทราบรายละเอียด และไม่มีส่วนร่วมกับการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการในแต่ละครั้งไม่ปรากฏหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่มีการเบิกออกมาว่าได้ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างอะไรบ้าง หรือได้ดำเนินการใช้จ่ายเงินเป็นค่าอะไรบ้าง และมียอดเงินคงเหลืออยู่เท่าใดเพราะนายปูไม่ได้ จัดทำบัญชีเงินสดและทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณไว้ อีกทั้งในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ของโรงเรียน นายปูไม่เคยนำเสนอแผนงานประจำปีของโครงการต่าง ๆ ในแต่ละปีแผนการใช้งบประมาณ ประจำปี เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการนายปู จะเป็นคนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเองทั้งหมดและการดำเนินการก็ไม่เป็นขั้นเป็นตอน ไม่มีเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน ไม่มีเอกสารหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้างที่สามารถตรวจสอบได้ เพราะว่าไม่เคยมอบเอกสารหลักฐานการจัดซื้อ จัดจ้างและเอกสารการเบิกจ่ายเงิน ให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อดำเนินการจัดทำเอกสารให้ ถูกต้องตามระเบียบ มาตรา 84 วรรคสาม 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่ มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อ หรือขาดการเอาใจใส่ ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559


๗๑ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชี ทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-126/2562 ชื่อนายดำรงค์ ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 6 เป็นผู้รับเอกสาร และรับเงินนำฝากคลังของโรงเรียนต่าง ๆ พร้อมทั้งได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมิได้นำเงินดังกล่าว เข้าระบบบัญชีแต่เก็บเงินสดไว้กับตัวเอง ยอดเงินบางรายการสูญหาย และมีการหยิบยืมเงินไปใช้ก่อนไม่จัดทำ เอกสารหลักฐานการลงรายการในทะเบียนคุมตามระเบียบของทางราชการให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน จำนวน 7 รายการ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายดำรงค์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 6 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการรับเงิน นำส่งเงิน เก็บรักษาสำเนาใบเสร็จรับเงิน จัดทำรายละเอียด การรับ-ส่งเงินด้านรับและจ่าย พร้อมรวบรวมหลักฐานการรับส่งเงินมอบผู้จัดทำบัญชี โดยปรากฏว่าระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2550 – 21 พฤศจิกายน 2550 นายดำรงค์ได้รับเอกสารและรับเงินนำฝากคลังของโรงเรียนต่าง ๆ จำนวน 7 รายการ แต่มิได้นำเงินส่งเข้าระบบแต่อย่างไร ทั้งยังไม่ได้จัดทำเอกสารหลักฐานการลงรายการ ในทะเบียนคุม (ฝาก - ถอน) เป็นเหตุให้ต่อมาโรงเรียนได้มีหนังสือขอถอนเงินประกันสัญญาค่าจ้างเหมา ครูต่างประเทศที่นำฝากไว้จำนวน 26,760 บาท แต่ปรากฏว่า นายดำรงไม่สามารถหาเงินมาคืนให้ทางโรงเรียนได้ จึงเป็นเหตุให้ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้นายดำรงค์ชี้แจงเป็นหนังสือ และเป็นเหตุให้ทราบว่ามีเงินจำนวน 7 รายการ นายดำรงค์ยังมิได้นำเงินเข้าระบบ GFMIS ตามระเบียบแต่อย่างไร ต่อมานายดำรงได้นำส่งเงินมาคืน โดยนำส่งเงินรายการที่ 2 – 7 คืนในวันที่ 11 มกราคม 2551 จำนวน 99,256 บาท และนำส่งเงิน รายการที่ 1 คืนในวันที่ 24 มกราคม 2551 จำนวน 18,140 บาท มาตรา 84 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โทษ ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน มติ เพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เป็นโทษไล่ออก ประชุมครั้งที่ 7/2562 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562


๗๒ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-154/2562 ชื่อนางสาวสนิท ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เป็นเจ้าหน้าที่รักษาทรัพย์สิน แต่ได้เบียดบังทรัพย์ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 41 เครื่อง Tablet ยี่ห้อ Samsung พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 เครื่อง และ Tablet ยี่ห้อ Apple พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 เครื่อง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสาวสนิทได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และได้รับมอบหมายงานพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และให้ปฏิบัติหน้าที่พัสดุกลุ่มบริหารงานฯ/งาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่งตั้งให้นางสาวสนิทมีอำนาจ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จัดซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ และควบคุมดูแล และเก็บรักษาครุภัณฑ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ปลอดภัย พร้อมที่จะใช้งาน ได้และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย แต่กลับอาศัยอำนาจหน้าที่ในการเก็บรักษาครุภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลและนำเอา คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้สำหรับการเรียนการสอน จำนวน 41 เครื่อง ไปจำนำหรือขายฝาก ทั้งยังนำเอา Tablet ยี่ห้อ Samsung รุ่น Galaxy Tab จำนวน 2 เครื่อง Tablet ยี่ห้อ Apple Ipad จำนวน 1 เครื่องรวม ทั้งหมด 44 เครื่อง เป็นเงินประมาณ 880,000 บาท ที่นางสาวสนิทเป็นผู้ดูแลและผู้ยืมใช้พัสดุไปจำนำ และขายฝาก มาตรา 84 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562


๗๓ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-040/2562 ชื่อนางแอบ ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง รับเงินสนับสนุนการศึกษาจากผู้ปกครองนักเรียนแล้วไม่ออกใบเสร็จรับเงิน ให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนทุกคนและไม่นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโรงเรียนให้ครบตามจำนวนที่ได้รับมา ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนอนุบาลหมีน้อย มีโครงการส่งเสริมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโรงเรียนได้ขอรับเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลรายละ 1,000 บาท และจากผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษารายละ 600 บาท โรงเรียนจะมีหนังสือแจ้งผู้ปกครองนักเรียนทุกคน โดยในหนังสือจะกำหนดวันเวลาให้มีการส่งมอบเงิน แต่ในทางปฏิบัติโรงเรียนไม่ได้เคร่งครัดว่า จะต้องปฏิบัติ ตามหนังสือแจ้ง จึงมีการนำเงินมาส่งอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งวิธีการส่งมอบเงินสนับสนุนนั้น ผู้ปกครองบางคนนำเงินไปส่ง มอบที่โรงเรียนด้วยตัวเอง บางคนก็ฝากบุตรซึ่งเป็นนักเรียนนำไปมอบให้ครูประจำชั้นของตน โดยครูประจำชั้น เป็นผู้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ปกครองนักเรียนและนำเงินไปมอบให้แก่นางแอบซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานเบิกจ่าย งบประมาณและเงินสวัสดิการครู/บุคลากร โรงเรียนอนุบาลหมีน้อย ประกอบกับนางแอบ ให้การรับว่า เป็นผู้เก็บ รวบรวมเงินสนับสนุนและออกใบเสร็จรับเงินในโครงการดังกล่าวแล้วให้ครูประจำชั้น นำใบเสร็จรับเงิน ไปมอบให้แก่ผู้ปกครองนักเรียน หากถือตามจำนวนนักเรียนแล้ว โรงเรียนควรจะเก็บเงินได้ทั้งหมด 1,160,800 บาท ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้เป็นค่าจ้างวิทยากรชาวต่างชาติตลอดปีการศึกษา 2558 แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจำนวนเงินที่ได้รับมาที่แท้จริง เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้บังคับให้ผู้ปกครองนักเรียนทุกคน ต้องให้การสนับสนุนและพยานบางคนผู้เป็นครูประจำชั้นให้การว่า เมื่อครบกำหนดเวลาส่งมอบเงินตนก็นำเงิน ที่ได้รับมามอบให้นางแอบและมิได้ติดตามทวงถามจากผู้ปกครองนักเรียนที่ยังไม่ได้จ่ายเงิน ดังนั้นจึงต้องถือ ตามใบเสร็จรับเงินที่นางแอบออกให้กับผู้ปกครองนักเรียน ประกอบกับพยานผู้เป็นครูประจำชั้นต่างได้ให้การ สอดคล้องกันว่า นางแอบได้ออกใบเสร็จรับเงินให้เท่ากับจำนวนเงินที่ได้รับมาปรากฏเงินที่ได้รับมาทั้งสิ้น 1,094,200 บาท โดยระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม 2558 นางแอบได้นำเงินสนับสนุนที่ได้รับ จากผู้ปกครองนักเรียนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นจำนวน 613,200 บาท โดยจำนวนเงินที่นำเข้าบัญชีเงินฝาก ของโรงเรียนนั้น ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ได้รับมาจากผู้ปกครองนักเรียน ทำให้มีเงินที่ไม่ได้นำเข้าบัญชีเงินฝากของ โรงเรียนสะสมอยู่กับตัวนางแอบรวมเป็นเงินทั้งหมด 481,000 บาท มาตรา 84 วรรคสาม และ 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษปลดออกจากราชการเป็นไล่ออก ประชุมครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562


๗๔ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชี ทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-183/2563 ชื่อ นายมานะ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารเรียน โดยปรับลด รายการประกอบการก่อสร้างและรายการครุภัณฑ์แต่ไม่ลดวงเงิน เป็นเหตุให้โรงเรียนได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายมานะได้ใช้อํานาจหน้าที่ดําเนินการอนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา โดยจัดทําบันทึกข้อตกลงเงื่อนไขการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จ้างก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๓๑๘ ล/๕๕ - ก โรงเรียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวเป็นการปรับลดงานจ้างโดยไม่ปรับลดวงเงิน การก่อสร้าง ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการหลายรายการ เป็นเหตุให้คณะกรรมการตรวจ การจ้างได้คัดค้านและลาออกจากการเป็นกรรมการตรวจการจ้าง ประกอบกับนายมานะยอมรับว่า ห้างหุ้นส่วน จํากัด ซ เป็นผู้จัดทําบันทึกข้อตกลงเงื่อนไขการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ จ้างก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๓๑๘ ล/๕๕ มาให้นายมานะลงนาม มาตรา ๘๔ วรรคสาม มาตรา ๘๕ วรรคสอง และมาตรา 9๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบมติคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 234 กรณี ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลอันเป็นเหตุให้เกิด ความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และกรณีกระทําการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออก มติ เพิ่มโทษเป็นโทษไล่ออก ประชุมครั้งที่ 5/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563


๗๕ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเรียกรับเงิน ทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-381/2563 และรายที่ 1-382/2563 1. นายมานะ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2. นางสาวสุ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยประมาทเลินเล่อและขาดการเอาใจใส่ ไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ จนเป็นเหตุให้ลูกจ้างชั่วคราว กระทำการทุจริตเงินของโรงเรียน ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ข้อเท็จจริงได้ความว่า เอกสารทางการเงินและบัญชีของโรงเรียน มีความบกพร่องและไม่ถูกต้อง หลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นการลงบัญชีเงินสด รายงานเงินคงเหลือประจำวัน และใบเสร็จรับเงินรายได้สถานศึกษา ที่มีเอกสารหลายฉบับไม่ถูกต้อง โดยมีการออกใบเสร็จรับเงินของโรงเรียน แต่ไม่มีหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชี ของโรงเรียน และไม่มีเอกสารหลักฐานให้คณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ในการตรวจสอบยังพบว่ามีหลักฐานบางส่วน ไม่ถูกต้อง เช่น ทะเบียนรับเงินรายได้สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2555 ได้มีการจัดทำ ขึ้นมาใหม่ทั้งเล่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าทะเบียนคุมดังกล่าวหายไป, ใบเสร็จรับเงินบางเล่มมีหลักฐาน การใช้แต่ไม่มีการลงต้นขั้วเล่ม แต่ปรากฏหลักฐานการใช้ใบเสร็จในทะเบียนคุมการรับเงินรายได้สถานศึกษา และไม่นำเงินเข้าโรงเรียนเป็นเงิน 159,500 บาท, ทะเบียนคุมรายได้สถานศึกษามีร่องรอยลงไว้เป็นหลักฐาน ว่านักเรียนชำระค่าเทอมแล้วแต่ถูกลบออก และไม่นำเงินเข้าโรงเรียน เป็นเงิน 361,430 บาท ทะเบียนคุม รายรับรายจ่ายของสถานศึกษาที่ระบุว่านักเรียนบางรายค้างค่าเล่าเรียน ทั้งที่ความจริงนักเรียนได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว แต่ไม่มีการนำหลักฐานลงสมุด หรือมีใบเสร็จรับเงินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 บางเล่มที่ถูกใช้ ไปแล้ว แต่มีการนำกลับมาใช้อีกโดยลงวันที่ย้อนหลัง โรงเรียนจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และได้ความว่า นางสาวศรี ลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติหน้าที่งานการเงินและบัญชีของโรงเรียน ได้กระทำการทุจริตเงินของโรงเรียน โดยได้รับเงินมาแล้ว แต่ไม่นำส่งเข้าระบบและบันทึกรายจ่ายในบัญชีเงินสดของโรงเรียน แต่ไม่พบหลักฐานการจ่าย เป็นเหตุทำให้ โรงเรียนได้รับความเสียหาย เป็นเงินจำนวน 1,310,369.85 บาท จึงได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับนางสาวศรีต่อไป และในขณะที่เกิดเหตุนางสาวศรี ลูกจ้างชั่วคราว ที่ปฏิบัติหน้าที่งานการเงิน อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของนางสาวสุ ซึ่งได้รับมอบหมาย จากผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้างานการเงินบัญชีของโรงเรียน และนายมานะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนรับผิดชอบกลุ่มบริหารงบประมาณ ควบคุมบังคับบัญชาในชั้นเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง การที่นางสาวสุและนายมานะ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีของโรงเรียน ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะของความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือกระทำการ ทุจริตได้ จึงต้องมีการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของบุคลากรในงานการเงินและบัญชีอย่างใกล้ชิด การที่ นางสาวสุและนายมานะปล่อยปละละเลยไม่กำกับดูแล ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของ นางสาวศรีอย่างใกล้ชิด จนเป็นเหตุให้นางสาวศรีอาศัยโอกาสกระทำการทุจริตเบียดบังเงินของทางโรงเรียน เป็นเหตุทำให้บัญชีของโรงเรียนมีเงินขาดบัญชี เป็นเงินจำนวน 1,310,369.85 บาท แม้ข้อเท็จจริงจากการ สอบสวนจะไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง หรือชี้ให้เห็นว่านางสาวสุและนายมานะ ได้รับ ประโยชน์หรือมีส่วนร่วมกับการทุจริตของนางสาวศรี แต่พฤติการณ์เป็นเหตุทำให้ราชการได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง


๗๖ มาตรา 85 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อและขาดการเอาใจใส่ไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง โทษ ปลดออกทั้งสองราย มติ รับทราบทั้งสองราย ประชุมครั้งที่ 10/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563


๗๗ กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีทุจริตหน้าที่ราชการ รายที่ 1-391/2563 และรายที่ 1-392/2563 ชื่อ นายสันต์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ และนายเอก รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ร่วมกันบริหารงานการเงินงบประมาณของโรงเรียนส่อไปในทางทุจริต ต่อหน้าที่ราชการ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุ ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสันต์และนายเอกร่วมกันเบิกถอนเงินราชการไม่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ กล่าวคือ นายสันต์อาศัยอำนาจและหน้าที่ในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อ ในใบถอนเงินที่ยังไม่กรอกข้อความแล้วไปรับเงินจากธนาคารเพียงผู้เดียว เมื่อรับเงินมาแล้วกลับเก็บรักษาเงิน และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารไว้กับตน รวมทั้งนำไปใช้จ่ายเอง อันเป็นเหตุให้นายสันต์ยักยอกเงินเบียดบังเงิน อุดหนุนทั่วไปและเงินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จำนวน 338,497.70 บาท และ 114,000 บาท รวมทั้งสิ้น 452,497.70 บาท อันเป็นเหตุให้เงินราชการและนอกงบประมาณ ขาดบัญชีไปจำนวน 452,497.70 บาท เมื่อถูกทวงถามกลับบ่ายเบี่ยงเรื่อยมา จนเจ้าหน้าที่การเงินไม่สามารถ บันทึกตามระเบียบของทางราชการและส่งมอบเอกสารให้ผู้บริหารสถานศึกษาคนใหม่ได้ นายสันต์และนายเอกร่วมกันบริหารเงินโครงการอาหารกลางวันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของโครงการและส่อไปในทางทุจริต กล่าวคือ เครดิตสินค้ากับร้านค้าแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเป็นค่าอาหารสด – แห้ง เพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน และสินค้าอื่น ๆ ที่มิได้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ อาทิ น้ำอัดลม กาแฟกระป๋อง สุรา โซดา น้ำแข็ง บัตรเติมเงินโทรศัพท์ ค่าน้ำมันรถ ค่าไฟฟ้าบ้านพักครูของโรงเรียน ค่าไฟฟ้าบ้านพักของนายเอก นายสันต์ นายเอก และนางสุรี ร่วมกันบริหารเงินอาหารกลางวัน CCF ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของโครงการและไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ กล่าวคือ รับเงินอาหารกลางวัน CCF จังหวัด โดยโอน ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน 26,100 บาท และต่อมา ได้เบิกถอนเงินในรูป คณะกรรมการทั้งจำนวน แล้วนำไปซื้อหนังสือและอุปกรณ์การเรียน โดยมีเพียงใบส่งของ ซึ่งไม่ระบุวันที่ และลายมือชื่อผู้รับของ มาตรา 84 วรรคสอง วรรคสาม มาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ประกอบกับ มติ คณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ ว 234 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536 กรณี กรณีอาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ การนำเงินที่ทุจริตไป แล้วมาคืน หรือมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะลดหย่อนผ่อนโทษลงเป็นปลดออกจากราชการได้ โทษ ลดขั้นเงินเดือน คนละ 1 ขั้น มติ ให้เพิ่มโทษเป็นโทษไล่ออกทั้งสองราย ประชุมครั้งที่ 10/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563


๗๘ 6. กรณีความผิดที่เกี่ยวกับพัสดุ กรณีความผิดเกี่ยวกับพัสดุรายที่ 1-45/2560ชื่อ นายแอสตัน ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน การศึกษาตามอัธยาศัย กระทำผิดวินัยในเรื่อง มีพฤติกรรมเบิกจ่ายเงินส่อไปในทางทุจริต ข้อเท็จจริงได้ความว่า กรณีการแบ่งซื้อแบ่งจ้างเพื่อให้วงเงินเปลี่ยนจากวิธีสอบราคา เป็นวิธีตกลงราคา นายแอสตัน ได้จัดซื้อวัสดุเพื่อปรับปรุงอาคาร ครั้งแรกในวันที่ 20 ธันวาคม 2550 เป็นแผงกันห้อง พาติชั่น มู่ลี่ ม่าน จำนวน 95,200 บาท และการซื้อครั้งที่ 2 ในวันที่ 3 มกราคม 2551 เป็นการซื้อเสาจับ และขาเหล็ก จำนวน 7,800 บาท ทั้งที่การซื้อแผงกันห้องพาติชั่น เป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งเป็นชุดเดียวกัน โดยมีเสาจับและขาเหล็ก ไม่ต้องแยกใบเสร็จเป็น 2 ใบเสร็จ แต่ไม่ปรากฎเจตนาทุจริตที่จะแบ่งซื้อแบ่งจ้าง และมีการดำเนินการจริง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ กรณีซื้อสื่อการเรียนการสอน นายแอสตันได้ซื้อสื่อการเรียนการสอนจากผู้ขาย 3 ราย รวมเป็นเงิน 117,923.90 บาท โดยไม่ได้นำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการศึกษาแต่ประการใด ทั้งในการซื้อ ก็ไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ ไม่มีการส่งมอบหนังสือมาที่ศูนย์ให้คำปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีจัดทำรายงานการเดินทางไปราชการ และเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการซ้ำซ้อนหรือเป็นเท็จ ทำให้ราชการเสียหาย นายแอสตันทำเรื่องไปราชการและขออนุมัติเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการซ้ำซ้อน จำนวน ๑ ครั้ง เป็นเงินจำนวน 11,170 บาท เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเท็จ จำนวน ๑ ครั้ง เป็นเงิน จำนวน 4,420 บาท และ 7,400 บาท กรณีปลอมลายมือชื่อพนักงานขับรถยนต์ไปรับน้ำมันเชื้อเพลิง และสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเท็จ ทำให้ทางราชการเสียหาย นายแอสตันได้ปลอมลายมือชื่อพนักงานขับรถยนต์จำนวน ๔ คน ลงในใบสั่งจ่าย น้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 22 ใบ เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว มาตรา 85 วรรคหนึ่ง 84 วรรคสาม และมาตรา 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และกรณีกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน มติ เพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 3 เดือน เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ ๑0 กุมภาพันธ์ 2560


๗๙ กรณีความผิดเกี่ยวกับพัสดุ รายที่ 1-117/2561 ชื่อ นายสุเทพ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้ลงลายมือชื่อตรวจรับเครื่องดนตรีว่าถูกต้องครบถ้วนทั้งที่ทางร้านดนตรีไทย ส่งมอบครุภัณฑ์เครื่องดนตรีไทยไม่ครบยังขาดอังกะลุ 1 รายการ 3 ชุด จำนวน 42 ตับ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสุเทพมีความประมาทเลินเล่อขาดความเอาใจใส่ ไม่ระมัดระวัง ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ที่ลงลายมือชื่อตรวจรับเครื่องดนตรีไทย โดยไม่ตรวจนับให้ครบทุกรายการ แต่เนื่องจากร้านดนตรีไทยได้ส่งมอบอังกะลุง จำนวน 3 ชุด ให้กับโรงเรียน และชดใช้ค่าปรับที่ส่งมอบอังกะลุงล่าช้า เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบกับมิได้มีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับร้านดนตรีไทย และไม่เคยกระทำความผิดวินัย มาก่อน มาตรา 85 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี กรณีไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ โทษ ภาคทัณฑ์ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561


๘๐ 7. กรณีความผิดที่เกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๐๒๑/๒๕๕๗ ชื่อ นายสาม ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายสามไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยไม่ทราบสาเหตุเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ได้ยื่นใบลาป่วย ลากิจหรือแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบแต่อย่างใด และยังเมาสุรา ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ได้เจ็บป่วย และได้ละทิ้งหน้าที่ราชการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่กลับมาปฏิบัติ หน้าที่ราชการอีกเลย มาตรา กรณีต้องด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง ตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ (๒) พฤติการณ์เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๘๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอัน สมควร โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


๘๑ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-136/2557 ชื่อ นายภูมิภาค ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สำนักงาน ส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทำผิดวินัยในเรื่อง ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 จนถึงวันที่ 22 มกราคม 2555 โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และได้กลับมาปฏิบัติราชการในภายหลัง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายภูมิภาคไม่มาปฏิบัติราชการที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย ในระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2554 และในเดือนธันวาคม 2554 และในเดือนมกราคม 2555 ตามเอกสารสมุดลงเวลาการปฏิบัติราชการ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยว่า นายภูมิภาคไม่มาลงชื่อปฏิบัติราชการแต่อย่างใด และในวันที่ 24 มกราคม 2555 ได้มีหนังสือ ให้ข้าราชการครูมาช่วยราชการเป็นการชั่วคราว โดยให้นายภูมิภาคไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่สำนักงานแห่งหนึ่งตั้งแต่ วันที่ 30 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยนายภูมิภาคได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งในวันที่ 25 มกราคม 2555 และได้ยื่นใบลากิจตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 27 มกราคม 2555 มีกำหนด 3 วัน ซึ่งมีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้อนุญาต หลังจากนั้นได้เดินทางไปยังสำนักงานแห่งหนึ่งตามคำสั่งช่วยราชการ มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โทษ ปลดออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557


๘๒ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๐๐๘/๒๕๕๗ ชื่อ นายอำนาจตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระหว่างวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายอำนาจไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการที่โรงเรียน ระหว่างวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดยยื่นใบลาป่วยพร้อมใบรับรองแพทย์ให้พักผ่อนระหว่างวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ รวม ๑ เดือน แต่ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุญาตการลาในระหว่างวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ไม่อนุญาตวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ กรณีจึงถือว่านายอำนาจขาดราชการระหว่างวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ รวม ๑๔ วัน มาตรา ๘7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โทษ ลดขั้นเงินเดือน ๑ ขั้น มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558


๘๓ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ ๑-๐๐๕/๒๕๕๗ ชื่อ นางพิสมัย ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวัน ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางพิสมัยไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ ๑๔–๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยอ้างว่า “ตนได้กู้ยืมเงินนอกระบบมาทำธุรกิจล๊อตเตอรี่ ต่อมาถูกโกงจึงไม่สามารถ นำเงินส่งให้แก่เจ้าหนี้ ทำให้มีคนโทรศัพท์มาขู่ทำให้ตนกลัวจึงจำเป็นต้องหยุดงาน” ซึ่งจากการตรวจสอบ พยานหลักฐานปรากฏว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ นางพิสมัยได้ลาเป็นระยะ ๆ เรื่อยมา จนครั้งสุดท้าย ได้ยื่นใบลากิจ ตั้งแต่วันที่ ๘–๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยอ้างเหตุผลว่าเดินทางไปจังหวัดเพื่อติดตาม เรื่องประกันภัยรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตเพียง ๔ วัน คือ วันที่ ๘–๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอนุญาตการลาจึงถือว่านางพิสมัยไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔ จนปิดภาคเรียน คือ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ รวม ๑๘ วัน อย่างไรก็ดีแม้นางพิสมัยจะละทิ้งหน้าที่ราชการ เกินกว่าสิบห้าวัน แต่ถือว่ามีเหตุผลที่สมควรแก่การรับฟังได้ว่าบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะเช่นนั้นจะพึงมี มาตรา ๘7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โทษ ตัดเงินเดือน ๕% เป็นเวลา ๑ เดือน มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558


๘๔ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-056/2559 ชื่อ นายวัน ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายวันได้ละทิ้งหน้าที่ราชการไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2558 รวมเป็นเวลา 129 วัน ต่อมานายวันได้กลับมาลงชื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2558 มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผล อันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โทษ ปลดออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559


๘๕ กรณีความผิดเกี่ยวกับกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงละทิ้ง รายที่ 1-234/2562 ชื่อ นายหลิว ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง เสพสุราในเวลาราชการ มีอาการมึนเมาจนไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายหลิวดื่มสุราจนมึนเมา เมื่อเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่โรงเรียน ก็มีกลิ่นสุรา และดื่มสุราในเวลาราชการ บางวันจะออกนอกโรงเรียนไปดื่มสุราแล้วไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย บางครั้งมีอาการมึนเมาสุรา พูดเสียงดังไม่สุภาพต่อเพื่อนร่วมงาน และในวันที่โรงเรียนจัดกิจกรรมวันแม่ นายหลิวมีอาการเมาสุรา ปัสสาวะรดแปลงดอกไม้ รดแปลงผักสวนครัว ต่อหน้าข้าราชการครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มาร่วมงาน บางวันมีอาการมึนเมา หลับในห้องเรียน และไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 10 กุมภาพันธ์ 2558 โดยไม่ได้ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาโดยไม่ทราบสาเหตุ มาตรา 87 วรรคสอง และ 94 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และกระทำการอันได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษ ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น มติ เพิ่มโทษลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้นเป็นปลดออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560


๘๖ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่1-062/2561 ชื่อ นางเมษา ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ระดับชำนาญการ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่ทราบสาเหตุ และทำให้งานราชการ เสียหายอย่างร้ายแรง ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางเมษามีพฤติการณ์ ขาดงาน และละทิ้งหน้าที่ในช่วงบ่ายอยู่เป็นประจำ และไม่ยื่นใบลาตามระเบียบ ทำให้งานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติในเรื่อง การดำเนินงานตามโครงการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เกิดความล่าช้าไม่บรรลุเป้าหมาย เป็นเหตุให้นักเรียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเข้าข่ายเป็นผู้มีสิทธิ์ในการได้รับเงินตามโครงการดังกล่าวเสียสิทธิ์ไม่ได้กู้เงินในโครงการกองทุนให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาประจำปี 2560 จนเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง นางเมษาได้ชี้แจงข้อกล่าวหาว่า มีปัญหาครอบครัว ทั้งปัญหาหนี้สินและมีบุตร 3 คน ที่ต้องดูแล และมีสามีซึ่งเป็นชาวต่างชาติซึ่งสูงอายุนั้น ไม่อาจรับฟังได้ มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โทษ ปลดออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561


๘๗ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-065/2561 ชื่อ นายจักร ตำแหน่งครู คศ.1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระทำผิด วินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายจักร ไม่ได้มาลงเวลาปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2559 จำนวน 121 วัน ผู้บังคับบัญชาให้การว่าได้สั่งการให้หน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล ไปติดตามสอบถามทางโทรศัพท์ ปรากฏว่ามารดาของนายจักรเป็นคนรับโทรศัพท์แต่สื่อสารกันไม่เข้าใจ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลและเพื่อนครูจึงเดินทางไปพบนายจักรที่บ้าน เมื่อพบนายจักรก็ได้มีการพูดคุยกัน สอบถามถึงสาเหตุที่ไม่มาปฏิบัติราชการที่โรงเรียน นายจักรพูดว่า “จะมาบอกให้ผมออกจากราชการใช่ไหม” และพูดว่า “ออก ก็ออก”พร้อมทั้งพูดว่าตนเองได้ขายรถยนต์ ขายรถจักรยานยนต์ และขายทรัพย์สินส่วนตัว ไปหมดแล้วไม่มีเงินและพาหนะที่จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่โรงเรียน มาตรา ๘๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โทษ ปลดออกจากราชการ มติ เพิ่มโทษ จากโทษปลดออกจากราชการ เป็นโทษไล่ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561


๘๘ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-187/2563 ชื่อ นางสาวกันยมาศ ตำแหน่งครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ไม่มาปฏิบัติราชการ จำนวน 19 ครั้ง รวม 80 วัน ไม่ติดต่อกัน และขาดราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่าสิบห้าวัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสาวกันยมาศไม่ได้ลงลายมือชื่อปฏิบัติราชการโดยไม่ได้นำส่งใบลา หรือไม่ได้นำส่งใบรับรองแพทย์ ตามระเบียบการลา รวมทั้งหมด 251 วัน โดยนางสาวกันยามาศไม่มาปฏิบัติ หน้าที่ราชการ ไม่ติดต่อกันและติดต่อกันแต่ไม่เกินสิบห้าวันจำนวน 7 ครั้ง เป็นเวลา 86 วัน และไม่มาปฏิบัติ หน้าที่ราชการติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันรวม 4 ครั้ง เป็นเวลา 165 วัน โดยนางสาวกันยมาศ ลาป่วยเนื่องจาก มีปัญหาด้านสุขภาพ แพทย์ให้ความเห็นไว้ตามใบรับรองแพทย์ว่ามีอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เป็นต้น ประกอบกับถ้อยคำให้การของพี่ชายของ นางสาวกันยมาศ ที่ให้การว่านางสาวกันยมาศ มีอาการป่วยเป็นไบโพลาร์ โดยช่วงที่มีอาการป่วยหนัก ต้องรักษาด้วยไฟฟ้า ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ มาตรา 87 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอัน สมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โทษ ปลดออก มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 5/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563


๘๙ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-003/2564 ชื่อ นายเต่าตนุตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทำความผิดในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แล้วกลับมาปฏิบัติราชการอีก ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายเต่าตนุไม่มาปฏิบัติราชการโดยไม่ทราบสาเหตุ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2559 รวมทั้งหมด 17 วัน ติดต่อกันในคราวเดียวกัน แล้วกลับปฏิบัติงานอีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 โดยนายเต่าตนุได้สแกนลายนิ้วมือในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องคอมพิวเตอร์) ตามปกติ แต่ไม่ได้บอกเหตุผลแห่งการไม่มาปฏิบัติราชการแต่อย่างใด และเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2560 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อนุญาตให้นายเต่าตนุ ลาออกจากราชการด้วยเหตุเจ็บป่วย ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2560 มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โทษ ปลดออกราชการ มติ รับทราบโทษปลดออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564


๙๐ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-031/2564 ชื่อ นายไก่ฟ้า ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระทำความผิดในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายไก่ฟ้าละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่าสิบห้าวัน ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2561 แต่เหตุที่นายไก่ฟ้าละทิ้งหน้าที่ราชการนั้น เนื่องจาก นายไก่ฟ้าเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเฉียบพลัน โดยมีประวัติการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลจิต และมีใบแสดงความเห็น ของแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเวช ถือได้ว่านายไก่ฟ้าละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่าสิบห้าวัน โดยมีเหตุอันสมควร มาตรา 111 วรรคหนึ่งประกอบวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โทษ ให้ออกจากราชการ กรณี เป็นการเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ และเป็นผู้ที่หย่อน ความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ มติ รับทราบการสั่งให้ออกจากราชการ ประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564


๙๑ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-116/2564 ชื่อนายหนุ่ม ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลากว่าเกินสิบห้าวัน โดยไม่มี เหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายหนุ่ม ได้ทำหนังสือยื่นความประสงค์ขอลาออกจากราชการลงวันที่ 29 เมษายน 2562โดยขอให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2562 โดยนายหนุ่ม ได้นำหนังสือ ขอลาออกไปวางไว้บนโต๊ะผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงปิดภาคเรียน จึงไม่มีใครพบเห็น หนังสือขอลาออกดังกล่าว จนวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน จึงได้พบเห็นหนังสือดังกล่าว แต่นายหนุ่มไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ เมื่อการลาออกยังไม่ได้รับการอนุญาต นายหนุ่ม ย่อมยังคงสถานะเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และยังมีหน้าที่ราชการที่ต้องปฏิบัติอยู่ มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564


๙๒ กรณีความผิดเกี่ยวกับการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ รายที่ 1-228/2564 ชื่อ นางสาวน้อย ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่าสิบห้าวัน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ นางสาวน้อย ได้ขาดราชการตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2563 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 234 วัน และไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย (นับถึงวันประชุม กศจ.) ประกอบกับ คณะกรรมการสอบสวนที่ได้ทำการสอบปากคำผู้อำนวยการสถานศึกษา และนางใหญ่ มารดาของนางน้อย ได้ความในทำนองเดียวกันว่านางสาวน้อย ได้หายไปจากโรงเรียน ไม่ทราบว่าหายไปไหน และไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งปัจจุบันไม่กลับไปปฏิบัติราชการอีกเลย มาตรา 87 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร โทษ ไล่ออกจากราชการ มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564


๙๓ 8. กรณีความผิดฐานประพฤติชั่ว กรณีความผิดฐานประพฤติชั่ว รายที่ ๑-๑๓๔/๒๕๕๗ ชื่อ นายวัน ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง ทำร้ายร่างกายข้าราชการครูด้วยกัน โดยการชกต่อยและเตะจนได้รับบาดเจ็บ ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่าย พักแรมลูกเสือ โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ลูกเสือเนตรนารีได้เดินทางออกจากโรงเรียน ผ่านกิจกรรม ฐานต่าง ๆ ในระหว่างทาง ต่อมาเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. นายศักดิ์และคณะครูของโรงเรียนได้มาพร้อมกันที่ หน้าค่ายลูกเสือ เพื่อรอรับลูกเสือเนตรนารีที่กำลังทยอยเดินทางไกลมาถึง ระหว่างนั้นนายวันได้ขับรถยนต์ มาอย่างรวดเร็วเข้ามาจอดที่หน้าค่ายลูกเสือแล้วเดินไปหานายศักดิ์ จากนั้นกระชากเสื้อและชกต่อยนายศักดิ์จนล้มลง แล้วเตะกระทืบอีกหลายครั้งโดยไม่ฟังเสียงร้องของนายศักดิ์ จากนั้นได้ลากตัวนายศักดิ์ไปที่รถยนต์ของตน แต่นางจันทร์เพื่อนครูโรงเรียนเดียวกันได้ขัดขวางไว้ไม่ให้นายวันเปิดประตูรถ เพราะเห็นอาวุธปืนอยู่ในรถ นายวันจึงลากนายศักดิ์อ้อมไปทางท้ายรถ นางจันทร์อาศัยจังหวะนั้นเอาปืนที่อยู่ในรถไปให้เจ้าหน้าที่ ในค่ายลูกเสือเก็บไว้ เมื่อเหตุการณ์สงบลง นายวันได้มาขอปืนคืน แต่นางจันทร์เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจให้มารับปืนแทน ต่อมานายศักดิ์ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่นายวัน ได้ขอขมาและทำบันทึกตกลงเป็นหนังสือกับนายศักดิ์ เพื่อไม่ให้เอาความกับตน นายศักดิ์จึงได้ถอนคำร้องทุกข์ ในชั้นสืบสวนข้อเท็จจริง นายวันได้ให้การรับสารภาพต่อคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงว่าได้ทำร้ายร่างกาย นายศักดิ์จริง เนื่องจากบันดาลโทสะเพราะเหตุนายศักดิ์ได้เคยดูหมิ่นตน มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม ไม่สุภาพเรียบร้อยและไม่รักษา ความสามัคคีระหว่างข้าราชการด้วยกัน และกรณีไม่รักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว โทษ ภาคทัณฑ์ มติ เพิ่มโทษ จากโทษภาคทัณฑ์ เป็นโทษตัดเงินเดือน ๕% เป็นเวลา ๒ เดือน และให้ติดตาม ความประพฤติเป็นเวลา ๑ ปี ประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗


๙๔ กรณีความผิดฐานประพฤติชั่ว รายที่ 1-156/2557 ชื่อ นางรุ่งฤดีตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ใช้คำพูดไม่สุภาพขณะสอนนักเรียนและกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านแล้วไม่ชำระ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจนถูกร้องเรียน จึงได้ทำสัญญาประนอมหนี้กับกองทุนทั้งสามกองทุนโดยยืนยันว่า จะชำระหนี้แต่เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ก็ไม่ยอมชำระหนี้ตามที่ได้ทำสัญญาไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางรุ่งฤดีแสดงพฤติกรรมไม่สุภาพเรียบร้อยและใช้คำพูดที่ไม่สุภาพกับนักเรียน กู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านเป็นจำนวนเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งในสัญญามีกำหนดชำระ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ นางรุ่งฤดีก็ไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนดสัญญา คณะกรรมการกองทุนได้มีการติดตามทวงถามหลายครั้ง นางรุ่งฤดี ก็บ่ายเบี่ยงไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวของนางรุ่งฤดีเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ผู้เรียนชุมชน และสังคม มาตรา 94 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2๕๔๗ กรณี ไม่ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและไม่สุภาพเรียบร้อย และกรณีไม่รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว โทษ ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557


๙๕ กรณีความผิดประพฤติตนไม่เป็นแบบอย่างที่ดี รายที่ ๑-๑๕๖/๒๕๕๗ ชื่อ นางสิม ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา กระทำความผิดวินัยในเรื่อง ใช้คำพูดไม่สุภาพขณะสอนนักเรียน และกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านแล้ว ไม่ชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จนถูกร้องเรียน จึงได้ทำสัญญาประนอมหนี้กับกองทุนหมู่บ้าน โดยยืนยันว่า จะชำระหนี้ แต่เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ก็ไม่ยอมชำระหนี้ตามที่ได้สัญญาไว้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางสิมแสดงพฤติกรรมไม่สุภาพเรียบร้อยและใช้คำพูดที่ไม่สุภาพขณะสอนนักเรียน นอกจากนี้นางสิมยังไปกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท แต่เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ แล้วก็ไม่ยอมชำระหนี้คืน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านไปติดตามทวงถามหลายครั้ง นางสิมก็บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญา มาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณี ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนและไม่สุภาพเรียบร้อย และกรณีไม่รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว โทษ ตัดเงินเดือน ๕% เป็นเวลา ๒ เดือน มติ รับทราบ ประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗


๙๖ กรณีความผิดฐานประพฤติชั่ว รายที่ 1-049/2559 ชื่อ นายบิน ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทำผิดวินัยในเรื่อง ใช้กำลังทำร้ายร่างกายนักเรียน ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในขณะที่นายบินกำลังปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ นายบินได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย เด็กชายวิน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเตะที่ซี่โครง 1 ครั้ง เตะบริเวณขา 1 ครั้ง เนื่องจากเด็กชายวิน เอามือไปแหย่ที่แขนของนายบิน ทำนองล้อเล่น เป็นเหตุให้เด็กชายวินได้รับบาดเจ็บโดยพนักงานสอบสวน ได้เปรียบเทียบปรับ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 88 วรรคหนึ่ง และ 94 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กรณี ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา, ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม และไม่รักษาชื่อเสียง และเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว โทษ ภาคทัณฑ์ มติ เพิ่มโทษจากโทษภาคทัณฑ์เป็นโทษตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน ประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559


Click to View FlipBook Version