The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by armynco2665, 2022-07-11 09:09:48

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

1

จ่ายยืม

วชิ า การแพทย์ฉกุ เฉนิ ,การเสนารักษ์ และ
การช่วยชีวิตเชิงยทุ ธวธิ ี ข้ันพื้นฐาน

สำหรับนกั เรยี นนายสบิ ทหารบก
หลักสูตรศึกษา ณ รร.นส.ทบ. 1 ปี

หมายเลข ชกท.111
กองการศกึ ษา โรงเรยี นนายสิบทหารบก

ค่ายโยธนิ ศกึ ษามหามงกฎุ
พ.ศ. 2564

2

คำนำ

โรงเรยี นนายสิบทหารบก เปน็ สถาบันการศกึ ษาของกองทพั บก มหี น้าท่ใี หก้ ารฝกึ ศกึ ษาแก่นักเรียน
นายสิบทหารบก เพื่อผลิตกำลังพลนายทหารชั้นประทวนของกองทัพบกที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีสมรรถนะและขีด
ความสามารถตามความตอ้ งการของกองทพั บก

โรงเรียนนายสบิ ทหารบก ไดด้ ำเนินการจัดทำคู่มือการสอนหลกั สูตรนกั เรียนนายสิบทหารบก เพื่อ
ใช้เปน็ เอกสารประกอบการจัดการศกึ ษาหลักสูตรนักเรียนนายสิบทหารบก ซง่ึ การดำเนนิ การดังกล่าว โรงเรียนนาย
สิบทหารบกได้ทำการรวบรวมรายละเอียดเนื้อหาวิชาจากตำรา คู่มือการฝึก และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มา
ปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรนักเรียนนายสิบทหารบก เพื่อให้การจัดการฝึก
ศกึ ษาหลักสูตรนายสิบทหารบกเป็นไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ย มคี ณุ ภาพมาตรฐาน

โรงเรียนนายสบิ ทหารบก หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการสอนหลักสตู รนักเรียนนายสิบทหารบก จะ
เป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายสิบทหารบก ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายและ
ตอบสนองนโยบายการศึกษาของกองทพั บกต่อไป

พนั เอก
(ประเสรฐิ สนุ ันท์ชัยกุล)

ผูอ้ ำนวยการกองการศึกษาโรงเรยี นนายสิบทหารบก

3

ปรชั ญา

จงรกั ภักดี มีความรู้ อยู่ในระเบยี บวินยั คณุ ธรรม ลักษณะผู้นำเด่น

วสิ ยั ทัศน์

โรงเรยี นนายสบิ ทหารบก เปน็ องคก์ รที่มคี วามม่ันคงในการผลติ นายทหารประทวนให้กับกองทัพบก
ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ ประสิทธิผล โดยมุง่ เนน้ มาตรฐานความรู้ คู่วินยั อกี ท้งั มีเกียรติ ศักดศ์ิ รี
เปน็ ที่ยอมรบั ของหนว่ ยงานในกองทัพบก บคุ ลากร และหนว่ ยงานภายนอก

4

สารบญั

บทท่ี หนา้

บทที่ 1 ความรทู้ ั่วไปเกี่ยวกบั ร่างกายมนษุ ย์

1. วตั ถุประสงค์………………………………………………………………………….…………………………………..1

2. คำจำกัดความ…………………………………………………….………………………….…………………………..1

3. การจัดระบบของร่างกาย (Organization of the body)……………………………..………………...2

4. เน้ือเย่อื (Tissue)………………………………………………………………………………………………………..3

5. หน้าท่ขี องระบบไหลเวียนโลหิต……………………………………………………………………………………6

6. ระบบหายใจ (THE RESPIRATORY SYSTEM)…………………………………………………………….13

คำถามท้ายบทท่ี 1 21

บทที่ 2 สญั ญาณชพี

1. วตั ถุประสงค์…………………………………………………………………………………………………………….22

2. อุณหภูมขิ องรา่ งกาย (Body Temperature)……………………………………………………………….23

3. การวดั ความดนั โลหติ (Blood Pressure)…………………………………………………………………….28

คำถามทา้ ยบทท่ี 2 29

บทที่ 3 การดแู ลเบื้องต้นในผปู้ ่วยฉุกเฉิน

1. การประเมนิ สถานการณ์ (scene size up)………………………………………..…………………………30

2. การประเมนิ เบื้องตน้ (primary assessment)………………………………………….………………….33

3. การประเมินขน้ั ทส่ี อง (secondary assessment)…………………………………….………………….38

4. การดแู ลเบื้องตน้ ผปู้ ระสพภยั ทางน้ำ (การชว่ ยเหลอื ผู้จมน้ำ)…..……………………………………...49

คำถามท้ายบทท่ี 3 51

บทท่ี 4 การชว่ ยฟ้นื คนื ชีพขน้ั พืน้ ฐาน

1. การชว่ ยฟน้ื คนื ชีพขน้ั พน้ื ฐาน…………………………………………………………………………………….....52

2. ข้นั ตอนการชว่ ยฟน้ื คนื ชีพขนั้ พ้ืนฐาน……………………………………………………………………….…...53

3. วธิ ีปฏิบัตใิ นการชว่ ยหายใจแบบ Mouth to Mask โดยการใช้ Pocket mask……………….….56

4. ขั้นตอนวธิ กี ารชว่ ยชวี ิตขั้นพื้นฐานสำหรบั ภาวะหัวใจหยดุ ทำงานในผูใ้ หญ่…………………….……61

คำถามท้ายบทท่ี 4 62

5

สารบญั

บทท่ี หนา้

บทที่ 5 การเสนารกั ษ์

1. หลกั การเวชกรรมป้องกัน……………………………………………………………..…………….……………….63

2. การพทิ กั ษ์สุขภาพกำลังรบ……………………………………………………………………..…….……………..64

3. การบาดเจ็บจากความร้อน……………………………………………………………………..…….……………..74

คำถามทา้ ยบทที่ 5 77

บทที่ 6 การใช้ยาเบือ้ งต้น

1. ความรูท้ ั่วไปเร่อื งยา………………………………………………..………………………………….…..….………….78

2. รปู แบบยา…………………………………………….…………………..…………………………….…..……………….79

คำถามทา้ ยบทที่ 6 82

บทท่ี 7 การช่วยชีวิตเชงิ ยุทธวธิ ีข้นั พ้ืนฐาน

1. การดแู ลผ้บู าดเจ็บทางยุทธวิธี (Tactical Combat Casualty Care, TCCC)………….……..…….83

2. ความแตกตา่ งของการดูแลกอ่ นถงึ รพ. ระหวา่ งทหารกับพลเรอื น…………………………….…..……83

3. การดแู ลระหว่างการปะทะ (CARE UNDER FIRE)…………………………………..………………….……84

4. การดูในพื้นท่ีหลงั การปะทะ (Tactical Field Care)……………………………….…………….….………87

5. การสง่ กลบั ผูบ้ าดเจ็บทางยุทธวธิ ี(Combat Casualty Evacuation Care)…………………….…...94

คำถามท้ายบทที่ 7 95

บทที่ 8 เนื้อหาเพิม่ เติมท่มี กี ารปรบั ปรุงตามแถลงหลักสตู ร ประจำปกี ารศกึ ษา 64

1. การช่วยเหลอื เบื้องต้นผทู้ ถี่ กู ความรอ้ นจากเปลวระเบิด.............................................................96

2. การดูแลเบ้อื งต้นในผู้ป่วยฉกุ เฉนิ และโรคติดเช้อื อบุ ตั ิใหม.่ ......................................................103

3. โรคภูมแิ พ.้ ................................................................................................................................112

คำถามทา้ ยบทท่ี 8 118

เอกสารอ้างอิง..............................................................................................................................................119

คณะผู้จัดทำ.................................................................................................................................................120



-1-

บทท่ี 1

ความรทู้ ่ัวไปเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์

วตั ถุประสงค์ เมื่อนักเรียนเรยี นบทนแ้ี ล้วจะสามารถ
1. บอกความหมายของกายวิภาคศาสตรแ์ ละสรีรวิทยาได้ถูกตอ้ ง
2. บอกความหมายของศัพทต์ า่ งๆ ทเี่ ก่ยี วขอ้ งกับวชิ ากายวภิ าคศาสตร์และสรรี วิทยาได้ โดยสงั เขป
3. อธบิ ายการจัดระบบของรา่ งกายได้ถูกต้อง
4. อธบิ ายโครงสร้างและหนา้ ท่ขี องเซลล์ เนอื้ เย่อื อวยั วะตา่ งๆ ของร่างกายได้ถูกตอ้ ง

คำจำกดั ความ
กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) คือวิชาที่กล่าวถึงส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบเป็นรูปร่างลักษณะร่างกาย

ของมนุษย์ หรือสัตว์ รวมทั้งตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ ว่าอยู่ส่วนไหนของร่างกาย และส่วนต่างๆ เหล่านี้
มีความสมั พันธก์ นั อยา่ งไรบ้างวชิ านี้ แบ่งออกเป็นแขนงใหญ่ๆ ไดด้ งั น.้ี

1. การศึกษาวิชาที่ว่าด้วยอวัยวะและส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งเรามองเป็นได้ด้วยตาเปล่า
(Gross Anatomy or Macroscopie Anatomy)

2. การศึกษาที่ว่าด้วย อวัยวะหรือส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายซึ่ง ไม่สามารถมองเป็นด้วยตาเปล่า
ตอ้ งใชเ้ ครื่องมอื พเิ ศษคอื กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ทงั้ นี้เพอื่ จะได้เห็นสว่ นประกอบตา่ งๆ เหลา่ นัน้ ได้ละเอียด
ย่งิ ข้ึน (Microscopie)

3. เปน็ การศึกษาระบบประสาททง้ั เห็นดว้ ยตาเปลา่ และเหน็ ด้วยกล้องจลุ ทัศน์ (Neuro Anatomy)
4. เป็นการศกึ ษาโครงสร้างของสัตว์เพือ่ เปรียบเทียบกบั โครงสรา้ งของมนษุ ย์ (Comparative Anatomy)
สรีรวิทยา (Physiology) คือ วิชาที่กล่าวถึงหน้าที่ของอวัยวะและส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย
ว่าอวัยวะเหลา่ นน้ั ทำหนา้ ที่อย่างไรบ้าง และมคี วามสมั พนั ธ์กบั อวยั วะอนื่ ๆ อยา่ งไร
สรุปแล้ว วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษยแ์ ตกต่างกัน
ก็แต่ว่าวิชากายวิภาคศาสตร์ศึกษาถึงลักษณะรูปร่าง (Structure) และตำแหน่งที่ตั้งของชิ้นส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สว่ นวิชาสรีรวทิ ยาน้ันศกึ ษาถึงหนา้ ที่ (Activity) ของอวัยวะและส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายวา่ อวยั วะเหลา่ น้ันทำ
หน้าที่อย่างไรบ้าง และมีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ อย่างไรตามที่ได้กล่าวแล้วว่า วิชาทั้ง 2 อย่างนี้ ว่าด้วย
ส่วนประกอบขึ้นเป็นรปู ร่างลักษณะของร่างกาย และหน้าที่ในแต่ละส่วนของรา่ งกาย ในระหว่างที่ร่างกายเปน็ ปกติ
อยใู่ นทางรปู ร่างและหนา้ ท่ี สว่ นการเจ็บปว่ ย หรือพิการ ซึ่งอาจเรยี กวา่ เปน็ โรคนน้ั เปน็ ผลจากการเปลี่ยนจากสภาพ
ปกติของร่างกายในหน้าที่หรือส่วนประกอบที่ประกอบให้เป็นรูปร่างลักษณะ ทำให้ทราบถึงสิ่งผิดปกติ
ที่เกิดขึ้นนั้น และจะได้หาทางแก้ไข เพื่อให้ลักษณะสภาพและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น กลับสู่สภาพ
และหน้าที่ปกติ หรือเกือบเป็นปกติเท่าที่จะทำได้ โดยใช้หลักวิชาอื่นๆ เข้ามาช่วย ผู้รักษาเป็นแพทย์หรือผู้ให้

-2-

การพยาบาลดแู ลจำเปน็ ต้องรู้ส่วนที่ประกอบขนึ้ เป็นร่างกาย พร้อมทง้ั ลักษณะและหน้าท่กี ารทำงานของร่างกายทุก
ส่วนใหถ้ กู ต้อง
การจดั ระบบของร่างกาย (Organization of the body)

รา่ ยกายมนษุ ยป์ ระกอบไปดว้ ยสง่ิ ท่มี ีชวี ิตที่เล็กท่ีสุด คอื เซลล์ ซง่ึ ทำหนา้ ท่ีเปรยี บเทยี บได้ คล้ายกับ
ร่างกาย เช่น amoeba เป็นสัตว์เซลล์เดียวนับเป็นหน่วยชีวิตที่เล็กที่สุดเมื่อเซลล์หลายๆ เซลล์มารวมกัน และ
มีหน้าทีช่ นดิ เดียวกนั มีเส้นโลหิตประสาทมาเลีย้ งกลมุ่ ของเซลลเ์ หล่าน้ีเรยี กวา่ เนอ้ื เย่อื (Tissue)

เนื้อเยื่อ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมกันจะกลายเป็นอวยั วะ (Organ) ทำหน้าที่เฉพาะของอวัยวะน้นั ๆ
และจะต้องรวมกับอวัยวะอื่นๆ ด้วยอวัยวะหลายๆ อวัยวะ มารวมกันเพือ่ ร่วมทำหน้าท่ีอย่างเดียวกนั เรียกว่าระบบ
(System) เพราะฉะนัน้ จะเห็นได้ว่าการจดั ระเบยี บของรา่ งกายกำเนดิ จากหนว่ ยทเี่ ล็กทีส่ ดุ ดงั นี้

Cell - - - - > tissue - - - - > organs - - - - > system - - - - > body as a whole
เซลล์ (The Cells)

เซลล์ คือ สิ่งที่มีชีวิตซึ่งประกอบขึ้นเป็นรากฐานของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดสิ่งที่มีชีวิต หมายถึง
โครงสร้างตา่ งๆ ซ่ึงสามารถจะเปลยี่ นแปลงอาหารเพ่ือการดำรงชพี การหายใจ มีการสังเคราะห์ เพื่อจะให้ชีวิตดำรง
อยู่ไดป้ ระกอบทัง้ มีการสบื พันธ์ุและพัฒนา เพอ่ื ให้เขา้ กับสภาพแวดลอ้ มทุกๆ สิ่งท่มี ีชีวิตจะต้องมีความสามารถที่จะ
เผาผลาญ (metabolite) และยังชพี ของตนเอง
สว่ นประกอบของเซลล์

เซลล์ประกอบขึน้ ดว้ ย 2 สว่ นใหญๆ่ คือ ไซโตพลาสซมึ (cytoplasm) และสว่ นนิวเคลียส
(nucleus)

ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) เซลล์ห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ถัดจากเยื่อหุ้ม
เซลล์เขา้ ไป เรยี กไซโตพลาสซึม (cytoplasm) ซ่งึ ประกอบดว้ ยหน่วยงานเลก็ ๆ อย่ภู ายในไซโตพลาสซึม ไดแ้ ก่ ไมโต
คอนเดรีย (mitochondria) (ถ้าเป็นเซลลข์ องพชื กจ็ ะมี chloroplasts) ซี่งเปรียบเทียบเสมอื นท่ีผลติ พลังงานของทุก
สิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ (power plant) เซนโทรโซม (centrosome) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic
reticulum) กอลไจบอดี้ (golgi bodies) ไรโบโซม (ribosome) ไรโซโซม (lysosome)

ไมโตคอนเดีย (Mitochondria) มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากสารเคมีในอาหารการ
สันดาบ และการหายใจของเซลล์ เพือ่ ใหเ้ ปน็ พลงั งานท่เี ซลล์จะได้ใช้ในการเผาผลาญ และดำรงชวี ติ อยู่ เซนโทรโซม
และเซนทริโอล (Centrosome & Kinetosome) เซนโทรโซมประกอบด้วยเซนทริโอล 2 อัน รูปร่างเป็นแท่ง
ทรงกระบอก มบี ทบาทสำคญั เก่ยี วกบั การแบง่ ตัวของโครโมโซม (chromosome)

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (Endoplasmic reticulum) ลักษณะเป็นท่อติดต่อกันเป็นร่างแหภายใน
เป็นท่อของเหลวมี (Ribosome) เกาะติดอยู่ผนังด้านนอก มีหน้าที่ในการหลั่งโปรตีนสู่เซลล์ภายนอกหลั่งไหลปิด
(lipid) และขนสง่ กลูโคสไปยังตำแหน่งทีส่ ร้างกลัยโคเจน

-3-

กอลไจบอดี้ (Golgi bodies) มีลักษณะเป็นท่อติดต่อโดยตรงกับ endoplasmic reticulum มี
หน้าที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการหลั่งสารที่ผลิตในเซลล์ออกสู่นอกเซลล์ และเป็นที่เก็บของสารที่ถูกสังเคราะห์ ไว้
ชั่วคราว

ไรโบโซม (Ribosome) เป็น granule เล็กๆ มี RNA (Ribose Nucleic Acid) อยู่มากมายซึ่งเป็น
วัตถุท่ีช่วยในการสร้างโปรตีนบางชนิด ไรโซโซม (Lysosome) เป็นถุงเล็ก ซึ่งภายในถุงนี้จะมีพวกน้ำย่อยต่างๆ
ซึง่ สามารถยอ่ ยวตั ถทุ ีเ่ ซลล์ถกู กลืนเข้าไปในตัวของมันหน้าที่ของ Lysosome โดยเฉพาะก็คือทำหนา้ ท่เี ป็นระบบย่อย
อาหารของเซลลน์ น่ั เอง

Nucleus นิวเคลียส เป็นหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของหน่วยงานอื่นภายในเซลล์การแบ่ง
เซลล์ และการนำพันธุ์กรรมไปสู่การเกิดตัวอ่อนนิวเคลียสประกอบด้วย นิวคลีโอลัส (nucleolus) และนิวคลีโอ
พาลาสึม ซึ่งประกอบด้วยโครมาตนิ (chromatin) เปน็ สว่ นใหญ่ ซง่ึ เปน็ ทีอ่ ยู่ของโครโมโซม คือ DNA (deoxyribose
Nucleic Acid) ซึง่ เป็นสารถา่ ยทอดทางกรรมพนั ธุ์

เนอ้ื เยอื่ (Tissue) หมายถงึ กลุ่มเซลล์ท่ีมีตน้ กำเนิดจากแหล่งเดียวกนั และมีรูปรา่ งเฉพาะพิเศษลง
ไป เพอ่ื ใหเ้ หมาะกับการทำงานร่วมกนั เม่ือหลายๆ Tissue มาทำงานร่วมกนั ก็จะกลายเป็นอวยั วะ (Organ) จากน้ัน
หลายๆ อวยั วะทำงานร่วมกันเรียกวา่ ระบบ (System)
เน้อื เยอ่ื ในรา่ งกายของมนุษยแ์ บ่งออกได้ 4 ชนดิ คอื

1. เนื้อเย่ือบผุ ิว (Epithelial tissue) เปน็ กลมุ่ เซลลท์ เี่ ปล่ยี นมาจากทง้ั 3 Germ layer
2. เน้อื เย่อื เกีย่ วพนั (Connective tissue) เป็นกลุ่มเซลล์ท่เี ปลย่ี นมาจาก Mesoderm
3. เนื้อเยอื่ กลา้ มเน้อื (Muscle tussue) เปน็ กลุ่มเซลล์ทเ่ี ปลี่ยนมาจาก Mesoderm เชน่ กนั
4. เนือ้ เยอ่ื ประสาท (Nervous tissue) เปน็ กลมุ่ เซลล์ทเี่ ปลยี่ นมาจาก Ectoderm
หลังจากถูกผสมแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายจนในท่ีสดุ เกิดเป็นเนื้อ 3 ช้ัน
ชนั้ นอกสุด เรยี ก เอกโตเดิรม์ (Ectoderm)
ช้ันกลาง เรยี ก มโี ซเดริ ์ม (Mesoderm)
ชนั้ ในสดุ เรยี ก เอนโดเดริ ม์ (Endoderm)
นอกจากน้นั เซลล์ในแต่ละชั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกระจายออกไปเปน็ ช้ินสว่ นตา่ งๆ ของร่างกาย
เนื้อเยื่อต่างๆ ที่กำเนิดมาจากชั้นนอก (Ectoderm) จะเป็นส่วนที่หุ้มห่อร่างกายผิวหนังส่วนนอกเล็บ ผม ต่อเหง่ือ
เยื่อบุผิว รวมทั้งเยื่อบภุ ายในช่องปาก จมูก เคลือบฟัน (Enamel) และระบบประสาทก็ เกิดจากเอกโตเดิร์มเหมอื น
กัน เนื้อชั้นกลาง (Mesoderm) เจริญเป็นกล้ามเนื้อ กระดูกไขมัน และอวัยวะ ภายใน รวมทั้งระบบการไหลเวียน
ของโลหติ ส่วนชนั้ ในสดุ (Endoderm) ทำให้เกดิ สว่ นประกอบของ ทางเดินอาหารและทางผา่ นของอากาศ

-4-

รา่ งกายมนษุ ยแ์ บ่งออกได้ 9 ระบบ คอื
1. ระบบโครงร่างหรือระบบกระดูก (skeletal system) มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย

ประกอบด้วย
- โครงกระดกู (bone)
- กระดูกออ่ น (cartilage)
- เอน็ และเยื่อขึงตา่ ง ๆ (tendon, ligament)

2. ระบบกล้ามเนือ้ (muscular system) ประกอบด้วย
- กล้ามเนอ้ื ลาย (striated muscle)
- กลา้ มเนื้อเรียบ (smooth muscle)
- กล้ามเนอ้ื หัวใจ (cardiac muscle)

3. ระบบประสาท (nervous system) มีหน้าที่รับความรู้สึกเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก
ประกอบด้วย

- สมอง (brain)
- ไขสนั หลัง (Spinal cord)
- กลุ่มเซลลป์ ระสาท (ganglia)
- เส้นใยประสาท (nerve fiber)
4. ระบบการไหลเวียน (circular system) มีหน้าที่นำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ประกอบด้วย
- หวั ใจ (heart)
- เสน้ โลหติ (blood vessels)
- ของเหลวในรา่ งกาย (tissue fluid)
- ตอ่ มนำ้ เหลอื ง (lymph glands)
- เส้นน้ำเหลอื ง (Iymph vessels)
5. ระบบการหายใจ (respiratory system) มีหน้าท่หี ายใจรบั O2 และถา่ ย CO2 ประกอบด้วย
- ปอด (lungs)
- หลอดคอ (pharynx)
- หลอดเสยี ง (larynx)
- หลอดลม (trachea)
- หลอดลมแยก (bronchi)

-5-

6. ระบบการย่อยอาหาร (Digestive system) มีหน้าท่ียอ่ ยอาหารแล้วซึมเขา้ สู่โลหิต เพื่อไปเล้ยี ง
ส่วนตา่ งๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย

- หลอดอาหาร (esophagus)
- กระเพาะอาหาร (stomach)
- ลำไส้ (intestine)
- อวัยวะช่วยในการย่อยอาหาร (accessory organs) เช่น ต่อมน้ำลาย (salivary glands)
ตบั ออ่ น (pancreas), ตับ (liver)
7. ระบบการขบั ถ่าย (excretory system) มหี น้าทีข่ ับของเสยี ออกจากรา่ งกาย ประกอบด้วย
- ท่อไต (kidney)
- ท่อไต (ureter)
- กระเพาะปสั สาวะ (urinary bladder)
- ทอ่ ปสั สาวะ (urethra)
8. ระบบต่อมไม่มีท่อ (endocrine glands system) มีหน้าที่สร้าง Hormone เพื่อไปช่วยการ
ทำงานของเซลล์ต่างๆ ระบบนี้ ประกอบดว้ ยหลายตอ่ ม เช่น
- Pineal body
- Pituitary gland
- Thyroid gland
- Parathyroid gland
- Adrenal gland
- Conal gland
9. ระบบการสืบพันธุ์ (Reproductive system) มีหน้าที่ในการสืบพันธุ์และสร้าง Hormone
อวัยวะในเพศหญิง ประกอบด้วย
- มดลูก (uterus)
- รงั ไข่ (ovary)
- ช่องคลอด (Vagina)
ในเพศชาย ประกอบด้วย
- Testis
- Spermatic duct
- Penis, etc

-6-

ระบบทเ่ี ป็นสาเหตุทีท่ ำให้เสียชีวติ อย่างกะทนั หันมี 2 ระบบคอื
ระบบการไหลเวียนโลหติ (THE CIRCULATORY SYSTEM) ระบบหายใจ (THE RESPIRATORY SYSTEM)

ระบบการไหลเวียนโลหิต คือ ระบบการขนส่งของร่างกาย โดยนำอาหารออกซิเจน น้ำ และสิ่งท่ี
จำเปน็ ไปส่งให้ทุกๆ เซลลใ์ นร่างกาย และนำเอาของเสีย (Waste Products) ออกจากเซลล์ไปยงั สว่ นของ ร่างกายซง่ึ
มีหนา้ ท่ขี ับออก
ระบบการไหลเวียนโลหิตประกอบด้วย

1. ระบบหัวใจและเส้นโลหิต (Cardio-Vascular System) ประกอบด้วยโลหิต (Blood) เส้นเลือด
(Vesseles) และหัวใจ (Heart)

2. ระบบเหลอื ง (Lymphatic System) ประกอบด้วยน้ำเหลือง (Lymph) หลอดน้ำเหลอื ง
(Lymphaticduct) และต่อมน้ำเหลอื ง (Lymph node)
หน้าท่ขี องระบบไหลเวียนโลหติ

1. ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายเพราะในเลือดมี “เม็ดเลือดขาว” (WhiteCells) หรือ
White Corpuscles หรอื Leucocytes ซงึ่ มีอำนาจที่จะกนิ หรือทำลายแบคทีเรียได้ถ้าเกิดมีบาดแผล หรือมีเชื้อโรค
เขา้ ไปที่บริเวณใดก็ตามเม็ดเลือดขาวน้จี ะมาลอ้ มรอบเช้อื โรคน้ันไวเ้ พ่อื ทำลายหรอื กินเชือ้ โรคที่บริเวณน้นั ถ้าหากการ
ทำลายน้นั ไดผ้ ลดี ก็จะไม่มีการอกั เสบเกิดขึ้น แต่ถ้าหากการทำลายนน้ั ได้ ผลชา้ เพราะเช้ือโรคมีมาก เน้ือตรงบริเวณ
นัน้ จะถูกทำลาย พรอ้ มทัง้ มีการตายของแบคทเี รียและเม็ดเลือดขาวก็จะเกิดการอักเสบ (Inflammation) และเป็น
หนองลักษณะของการอักเสบ คอื ปวด บวม แดง ร้อน ถ้าเมด็ เลือดขาวสไู้ มไ่ ด้ การอักเสบก็จะลุกลามต่อไป แต่ถ้า
ตอ่ สู้ไดก้ ารอักเสบกจ็ ะหยุดย้ัง และแผลก็จะค่อยๆ หายไป

2. ช่วยในการซ่อมแซมเน้ือเยื่อถูกทำลายไป โดยช่วยกินหรือขนเศษของเนื้อเยื่อที่เหลืออยู่และไม่
เป็นประโยชน์แล้ว ให้พน้ จากบรเิ วณทอ่ี กั เสบนั้น

3. นำออกซิเจนที่จำเป็นตอ่ ร่างกายไปยงั เน้ือเยื่อต่างๆ โดยในเลือดมเี ม็ดเลือดแดง Red Cells หรือ
Corpuscles หรือ Erythrocytes)

4. นำ Carbon Dioxide จากส่วนตา่ งๆ ของร่างกายไปยังปอด
5. นำอาหารที่ย่อยแล้ว ไวตามิน ฮอร์โมน และสารเคนมีไปยังอวัยวะอื่น ๆ และยังรับจากอวัยวะ
ขบั ออกทางผิวหนังไต ปอด
6. เปน็ ตัวนำภูมคิ มุ้ กนั (Immunity) ไปให้รา่ งกายเพอื่ พรอ้ มที่จะต่อสู้กบั เชอ้ื โรค
7. ชว่ ยควบคุมความรอ้ นของรา่ งกาย

-7-

เลอื ด (Blood)
มีคุณสมบัติเป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ ภายในร่างกาย นำอาหาร และ

ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำของเสียออก โดยการไหลเวียนภายในระบบเส้นเลือด (Vascular
System) ด้วยแรงบีบตัวของหัวใจลักษณะของเลือดจะมีสีแดง เหลว และ เหนียว มีกลิ่นคาว รสกร่อย จะมีสีแดง
เมื่อรวมตัวกบั ออกซิเจนและจะมีสแี ดงคล้ำเม่ือรวมตวั กับคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนของเลือดในผูใ้ หญจ่ ะมีเลือดอยู่
ในร่างกายประมาณ 1/14 ของน้ำหนักร่างกาย หรือประมาณ 7 - 8 % ของน้ำหนักของร่างกายหรือโดยทั่วไป
ประมาณ 5 ลติ ร
สว่ นประกอบของเลอื ด เลอื ดจะประกอบด้วย

1. ส่วนทีม่ ีลักษณะเป็นเซลล์ (Cell หรอื Corpuscles) มอี ยู่ประมาณร้อยละ 45 ของโลหิต ทงั้ หมด
2. ส่วนที่เป็นน้ำหรอื ของเหลวเรยี ก Plasma (นำ้ เลอื ด) มีอยู่ประมาณร้อยละ 55 ของโลหิตท้ังหมด
เมด็ เลอื ด (Blood Corpuscles) มอี ยู่ 3 ชนดิ คอื
1. เมด็ เลอื ดแดง (Red Blood Cell = R.B.C.) ซ่ึงจะมอี ยู่ประมาณ 4.5 – 5.0 ลา้ น/ลบ.มม.
2. เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell = W.B.C.) ซึ่งรวมทั้ง Lymphocytes (เม็ดน้ำเหลือง) ด้วย
จะมีอยปู่ ระมาณ 7,000 - 9,000 ลบ.มม.
3. เกล็ดโลหิต (Blood Platelets หรือ Thrombocytes) ซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 250,000/ลบ.มม.
ถึง 350,000/ลบ.มม.
เม็ดเลือดแดง (RED BLOOD CELLS)
เม็ดเลือดแดงมีลักษณะเป็นเซลล์กลมแบนตรงกลางเว้าเข้าหากันทั้งสองข้าง (Biconcave Dise)
แต่ละเซลล์มีขนาดเท่าๆ กัน มีความยืดหยุ่นตัวสามารถรีตัว บิด หรืองอตัวได้ดี เม็ดเลือดแดงถูกสร้างจาก
ไขกระดกู (Bone Marow) ซ่ึงแตล่ ะแห่งมีความสามารถในการสรา้ งไม่เท่ากนั ที่มีประสทิ ธิภาพในการสรา้ งเม็ดเลือด
แดง ซ่ึงได้แก่ ไขกระดูกบรเิ วณกระดกู หนา้ อก (Sternum) กระดกู ซีโ่ ครง (Ribs) และ กระดกู สันหลัง (Vertebrae)
ภายในเมด็ เลอื ดแดงจะมีวัตถุสีชนิดหน่ึง เรยี กวา่ Hemoglobin (Hb) ซึ่งประกอบด้วยเหล็กโปรตีน
และให้สแี ดงแกเ่ ลอื ดคนปกติจะมฮี ีโมโกลบินโดยเฉลย่ี ประมาณ 10 - 16 กรมั ตอ่ เลอื ด 100 มลิ ลลิ ติ ร เมด็ เลือดแดง
จะมีอายปุระมาณ 4 เดือน และถูกทำลายโดยม้าม (Spleen) และตับเหล็กจะถูกเก็บ และนำไปใช้สร้าง
Hemoglobin สำหรับเม็ดโลหิตใหม่อีก Hemoglobin ที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็น Bilepigment ถูกขับออกทาง
ตับเปน็ น้ำดี (Bile) ผา่ นเขา้ ไปในลำไส้ และออกมาพรอ้ มกับอจุ จาระ
หน้าที่สำคญั ของเม็ดเลือดแดง ไดแ้ ก่
1. ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายโดยปกติประมาณ 97 เปอร์เซ็นต์ของ
ออกซเิ จนท่รี ับจากปดิ จะถกู ลำเลียงในเลือด โดยการจบั ตวั กบั ฮีโมโกลบนิ ในเลือดแดงส่วนอกี 3 เปอร์เซน็ ต์จะละลาย
อยูใ่ นพลาสมา

-8-

2. ลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาวะปกติ คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหายใจของ
เนื้อเยื่อเมื่อแพร่เข้ามาในเลือดแล้วจะถูกลำเลียง โดยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์จะละลายอยู่ในพลาสมา และจับกับ
ฮีโมโกลบิน ไหลเวยี นมาขบั ออกทีป่ อด อีก 90 เปอรเ์ ซน็ ต์ จะเขา้ ไปทำปฏกิ ริ ิยากบั น้ำในเม็ดเลอื ดแดง
เมด็ เลอื ดขาว (WHITE BLOOD CELLS)

เมด็ เลือดขาวมีขนาดต่างๆ กนั แล้วแตช่ นดิ โดยมากมขี นาดใหญ่กวา่ เม็ดเลอื ดแดง แต่มีจำนวนน้อย
กวา่ มากในผใู้ หญต่ ามปกติจะมจี ำนวน 5,000 - 9,000/ลบ.มม.

เมด็ เลอื ดขาวจะมจี ำนวนเพมิ่ มากขึน้ เมอ่ื มกี ารอักเสบของอวัยวะใดกต็ าม หรืออาจจะเป็นโรคของ
เม็ดเลือดเองก็ตาม และจำนวนเม็ดเลือดขาวอาจจะต่ำกว่าปกติได้ในโรคบางโรค เช่น ไทฟอยด์ วัณโรค มาเลเรีย
ชนดิ ของเม็ดเลือดขาว แบง่ ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. พวกแกรนูโลไซด์ (Granulocytes) ภายในไซโตพลาสซึมจะมีอนุภาคเล็ก ๆ เรียกว่าแกรนูล
(Granules) อยเู่ ตม็ เซลล์ มี 3 ชนดิ ไดแ้ ก่

- นวิ โทรฟลิ (Neutrophils)
- อโี อซโิ นฟิล (Eosinophils)
- เบโซฟลิ (Basophils)
2. อะแกรนูโลไซด์ (Agranulocytes) ภายในไซโตพลาสซึมมีลักษณะใส ไม่พบแกรนูลเลยแบ่ง
ออกเป็น 2 ชนดิ คือ
- ลมิ โฟไซด ์ (Lymphocytes)
- โมโนไซด ์ (Monocytes)
หนา้ ทขี่ องเม็ดเลอื ดขาว
ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ฉะนั้นการติดเชื้อจำเป็น สาเหตุที่ทำให้จำนวน
เม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น เม็ดเลือดขาวจะทำลายเชื่อโรคและสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีการ 2 แบบ คือการสร้าง
แอนตบิ อดี (Antibody) แล้วปล่อยออกมาทำลายเชือ้ โรคและดว้ ยวธิ ฟี าโกไซโตซีส (Phagocytosis) เปน็ การทำลาย
เชื้อโรคและสง่ิ แปลกปลอมที่คล้ายกับการกินอาหารของตวั อะมีบา ต่อส้เู ชื้อโรคในขบวนการอกั เสบ (Inflammation)
การสรา้ งเมด็ เลอื ดขาว
ร่างกายมีอวัยวะทีม่ ีหน้าที่สรา้ งเม็ดเลอื ดขาวหลายแหง่ คือ เม็ดเลือดขาวประเภทแกรนูโลไซต์ถูก
สรา้ งขนึ้ ท่ีไขกระดกู (Bone Marrow) เมด็ เลือดขาวประเภทอะแกรนโู ลไซต์ถูกสร้างท่ีตอ่ มน้ำเหลืองม้าม ต่อมไทมัส
ทอนซลิ และบางส่วนสร้างจากไขกระดกู
ปริมาณเม็ดเลือดขาวทั้งหมดเปล่ียนแปลงได้ตามอายุเพศ และสภาวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กรณี
ร่างกายมีการติดเชื้อจำนวนเม็ดเลือดขาวจึงอาจมีปริมาณสูงหรือต่ำได้เม็ดเลือดขาวจะมีอายุอยู่ได้ไม่แน่นอน
ประมาณ 3 วนั

-9-

เกล็ดเลือด (Blood platelets or thrombocytes)
มีลกัษณะเป็น Granules เล็กๆ อยู่เป็นกลุ่มมีรูปร่างหลายแบบไม่มี Nucleus ย้อมติดสีด่าง คือ

น้ำเงิน ม่วง จะเห็นอยู่เป็นหย่อมๆ แทรกอยู่ระหว่างเม็ดเลือดแดง ตามปกติจะมีจำนวนประมาณ 200,000 -
300,000 เซลล์/ลบ.มม. ถ้าปรมิ าณเกลือต่ำลง เรยี กทรอมโบไซโตพิเนีย (Thrombocytopeni) ทำใหเ้ ลือดออกเป็น
จ้ำๆ ตามตัวเกลด็ เลอื ดถกู สรา้ งจากไขกระดูก (Bone marrow) มอี ายุการทำงาน ประมาณ 3 - 4 วนั

หน้าที่ของเกล็ดเลือด ช่วยทำให้เลือดมีการแข็งตัวได้ (Clotting of blood หรือ Coagulation)
ซ่ึงเปน็ กลไกอนั หนง่ึ ที่ปอ้ งกนั การเสยี เลือดออกจากร่างกายขณะทมี่ ีบาดแผล
นำ้ เลือด (Blood Plasma)

หมายถึงส่วนประกอบที่เหลือทั้งหมดของเลือด นอกจากส่วนที่เป็นเม็ดเลือด มีลักษณะเป็น
ของเหลวใส ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนในภาวะปกติมีฤทธิ์เป็นด่างเล็กน้อย คือ มี pH ประมาณ 7.35 - 7.45
เนื่องจากเปน็ ของเหลวที่มีหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ ภายในร่างกาย พลาสมาจึงประกอบดว้ ยสารมากมายหลายชนดิ
ส่วนประกอบทสี่ ำคญั ของพลาสมา ได้แก่

1. น้ำ เปน็ สารทพี่ บมากทสี่ ดุ คอื ปริมาณร้อยละ 90 - 93 ของพลาสมาทัง้ หมด
2. โปรตีน เป็นสารที่พบมากรองจากน้ำเลือด 100 ลกู บาศก์เซนติเมตร จะมีโปรตนี ประมาณ 5.7 –
8.0 กรัมโปรตนี ท่พี บในพลาสมามหี ลายชนดิ แบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื

2.1 อัลบูมิน (Albumin) เป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก พบประมาณร้อยละ 55 ของโปรตีน
ท้งั หมดในพลาสมา มหี นา้ ทสี่ ำคญั คือ

- รักษาสมดุลของน้ำในการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อ โดยการรักษาระดับ
Colloid Osmotic Pressure ของเลือดไว้

- มีสว่ นชว่ ยรกั ษาสมดลุ ของความเป็นกรดด่างภายในรา่ งกาย
- การลำเลียงสารบางชนดิ เชน่ ฮอรโ์ มน
2.2 โกลบลู นิ (Globulin) เป็นโปรตีนท่มี โี มเลกลุ ขนาดใหญ่พบประมาณร้อยละ 45 ของ โปรตนี
ทั้งหมดในพลาสมา ไฟบริโนเจน (Fibrinogen) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข็งตัวของเลือด จัดเป็นโกลบูลิน
ชนดิ หน่ึงโกลบลู ิน แบง่ ออกเป็น 3 ชนดิ คอื
2.2.1 แอลพาโกลบลู นิ (Alpha globulin)
2.2.2 เบตาโกลบูลิน (Beta globulin)
ทั้ง 2 ชนิด มีหน้าที่สำคัญในการขนส่งสารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ไขมัน และฮอร์โมน โดยการจับตัว
กับโมเลกุลของสารดังกล่าว และบางตวั จะทำหนา้ ทเ่ี ป็นโปรตนี ทีเ่ ก่ยี วกบั การแข็งตัวของเลือด
2.2.3 แกมมาโกลบูลิน (Gamma globulin) เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกัน
(Antibodies) สำหรบั ทำลายเชื้อโรคและสิง่ แปลกปลอมที่เข้าสรู่ า่ งกาย

- 10 -

3. สารอาหารที่ดูดซึมจากทางเดินอาหาร เพื่อลำเลียงไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ได้แก่
กรดอะมโิ น น้ำตาลกลูโคส กรดไขมัน และกลเี ซอรอล

4. เกลือแร่ชนิดต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างโปรโตปลาสซึม และเป็นตัวที่จะรักษาความเป็น
ด่างอ่อนของร่างกายไว้ คือ pH 7.4 ประกอบด้วย โซเดียม โพแทสเซียมคลอไรด์ แคลเซียม ฯลฯ เกลือ แร่เหล่าน้ี
สว่ นใหญอ่ ยู่ในสภาพทเี่ ป็นไอออน (Ion) เกลือแร่ทพี่ บวา่ มีปรมิ าณมากทีส่ ุด คอื โซเดียม

5. ก๊าซที่เกยี่ วข้องกับการหายใจ คือ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซเิ จนมเี พียงสว่ นน้อย
ที่อยู่ในพลาสมา ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพของออกซิเฮโมโกลบิน (Oxy-hemoglobin) ในเม็ดเลือดแดง
แตค่ ารบ์ อนไดออกไซด์ สว่ นใหญถ่ ูกเปลย่ี นใหอ้ ยูใ่ นสภาพของอนมุ ูลไบคารบ์ อเนต (HCO3) ใน พลาสมา

6. ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึม ซึ่งนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์และกรดแลกติก
(Lactic acid) ที่เกิดจากการหายใจแล้ว ยังมีของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (Nitrogenous waste) ที่เกิด
จากการสลายตัวของโปรตนี และกรดอะมโิ น เชน่ ยูเรีย (Urea) แอมโมเนยี (Ammonia) และกรดยูริก (Uric acid)

7. ฮอรโ์ มนต่างๆ ทสี่ ร้างจากตอ่ มไรท้ ่อ
เส้นเลอื ด (BLOOD VESSELS) เส้นเลอื ดแบ่งออกได้เปน็ 3 ชนิด คือ

ก. เส้นเลอื ดแดง ข. เสน้ เลอื ดดำ ค. เสน้ เลอื ดฝอย (Copillary)
เสน้ เลือดแดง (ARTERY)

หมายความถึงเส้นเลอื ด ซึ่งนำเลือดออกจากหัวใจไปยังสว่ นตา่ งๆ ของร่างกายเส้นเลือดดำ (Vein)
หมายความถึงเส้นเลือดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปสู่หัวใจ เส้นเลือดฝอย (CAPILLARY) หมายถึงเส้นเลือดขนาด
เลก็ มาก มองดว้ ยตาเปลา่ ไม่เหน็ และแทรกอยูต่ ามเน้อื เยอ่ื ของร่างกาย
การไหลเวียนของเลือด

การไหลเวียนของเลือดภายในร่างกาย เป็นระบบวงจรปดิ (Closed circulatomy system) โดยมี
หัวใจเป็นอวัยวะสูบฉีดเลือด จากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้วก็ไหลวนกลับเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดด ำ
ซึ่งจะมีเส้นประสาทมาเลี้ยง และเส้นประสาทเหล่านี้จะมีศูนย์ควบคุมอยู่ที่สมองเรียกว่า Vasomotor nerve
ซึ่งจะทำใหมก่ ารตีบตัวเล็กลงของเสน้ เลอื ด (Vasoconstrictor) และมีการขยายตัวของ เส้นเลือด (Vasodilator)
เสน้ เลือดแดง (Artery)

เริ่มต้นด้วย Aorta เป็น Artery ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายจะตั้งต้นจากหัวใจโดยออกจาก Left
Ventricle ทอดขึ้นไปบนเล็กน้อย แล้วจะโค้งลงข้างล่างผ่านทรวงอกทอดตามกระดูกสันหลังทะลุ Diaphragm ลง
ไปสู่ช่องท้อง และจะไปสิ้นสุดลงที่ Lumbar vertebrae อันที่ 4 โดยแยกออกเป็น 2 แขนงใหญ่ (Common iliac
arteries) เพื่อให้แขนงไปเล้ยี งอวยั วะสบื พนั ธุ์และขาทัง้ สองข้างดังน้ัน จงึ แบง่ Aorta ออกเป็นส่วนๆ ดังน้ี

1. Ascending aorta
2. Arch of aorta or aortic arch
3. Descending aorta

- 11 -

PRESSURE POINTS (จดุ ทีจ่ ะคลำชพี จรได)้

มีหลายจดุ ดว้ ยกันท่ีเราสามารถคลำชพี จรไดน้ ้ัน จดุ ทค่ี ลำชีพจรได้ มีดงั นี้ คือ

1. Facial artery คลำได้ทีใ่ กลม้ ุมขากรรไกรล่าง

2. Temporal artery คลำได้ท่ี หน้ารูหู

3. Common carotid artery คลำได้ที่ขา้ งลกู กระเดือก

4. Brachial artery คลำไดท้ ก่ี ง่ึ กลางแขนทอ่ นบนด้านใน

5. Radial artery คลำได้ทีข่ อ้ มอื ทางดา้ นหวั แม่มอื

6. Femoral artery ได้ที่ inguinal ligament (บริเวณขาหนีบ)

7. Dorsal is pedis artery คลำไดท้ ี่หลงั เท้า ด้านหัวแมม่ อื

หวั ใจ (HEART)

หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะกล้ามเนื้ออยู่ระหว่างปอดทั้งสองข้างอยู่ในทรวงอก หลังกระดูกอก

(Sternum) 3 เศษ 1 ส่วน 2 น้ิวฟตุ ปลายหรอื ยอดของหัวใจอยทู่ างดา้ นล่างเหนอื Diaphragm มาทางซ้าย

สว่ นประกอบของหัวใจ หวั ใจแบง่ ออกเป็น 4 ห้อง

ห้องบน (atrium) ขวาและซ้าย 2 ห้อง เรียกชื่อว่า Right และ Left atrium ห้องล่าง (Ventricle)

ขวาและซ้าย 2 ห้อง เรียกชื่อว่า Right และ Left ventricle Atrium จะมีผนังบางและ Ventricle จะมีผนังหนา

และจะมีรูเปดิ ติดต่อกันระหว่าง Atrium และ Ventricle ทช่ี อ่ งเปดิ น้ีจะมีลนิ้ (Valve) สำหรบั คอยปิดและเปิดได้จะ

เปิดต่อเมื่อเลือดไหลจาก Atrium ไปสู่ Ventricle และจะเปิดเมื่อเลือดถูกบีบให้ไหลออกไปนอกหัวใจ ทั้งนี้ ก็

เพื่อที่จะไม่ให้เลือดไหล ย้อนกลับเข้าสู่ Atrium ได้ หัวใจจะอยู่ในระดับซี่โครงคู่ที่ 2-5 ยอด หรือปลายของหัวใจ

เรียกว่า Apex และหัวใจจะมีถุงหุ้มอยู่ซึ่งเรียกว่า Pericardium หรือ Pericardial sac ซึ่งในถุงนี้จะมีของเหลว

(fluid) อย่เู ลก็ นอ้ ยสำหรบั ทำหน้าทหี่ ลอ่ ลนื่

ผนังของหวั ใจแบง่ ออกได้เป็น 3 ชน้ั คือ

1. เพอริคาร์เดียม (Pericardium) เป็นชั้นนอกเกิดจากชั้นในของเยื่อหุ้มหัวใจ ทำหน้าที่

ป้องกันภายนอก

2. ไมโอคาร์เดียม (Myocardium) เป็นชั้นกล้ามเนื้อชั้นนี้จะมีความหนายิ่งขึ้นอยู่กับแต่ละ

ห้องของหัวใจ

3. เอนโดคาร์เดียม (Endocardium) เป็นชั้นที่บุอยู่ข้างในเป็นเยื่อบางๆ คล้ายชั้นนอกแต่มีผิว

เรยี บกวา่

การไหลเวียนของเลือดในหวั ใจ

เลือดซึ่งมาตามเส้นเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย (ยกเว้นที่มาจากปอด) จะไหลเข้าสู่ Right

atrium โดยทาง Superior vena cava และ inferior vena cava และเลอื ดจาก Right atrium จะไหลเขา้ สู่ Right

ventricle เมือ่ Atrium บีบตัว เลอื ดจะไหลผา่ นลิน้ หวั ใจ (Valve) ซึ่งเรียกวา่ Atrio – Ventricular หรือ Tricuspid

- 12 -

valve (ลิ้นเป็น 3 แฉก) จาก Right ventricle เลือดจะไหลไปตาม Pulmonary artery ไปสู่ปอดโดยผ่านลิ้นที่
เรียกว่า Pulmonary valve หลังจากถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ และรับเอาออกซิเจนจากปอดแล้วเลือดก็จะไหล
จากปอดมาทาง Pulmonary veins เข้าสู่ Left atrium และจาก Left atrium เลือดจะไหลเข้าสู่ Left ventricle
โดยผ่านลิ้นที่เรียกว่า Mitral valve หรือ Bicuspid valve ซึ่งเป็นลิ้นที่มีสองแฉกจาก Left ventricle เลือดจะไหล
เขา้ สู่ Left aorta โดยผา่ น valve ทีเ่ รียกวา่ Aortic valve ไปเลยี้ งสว่ น ตา่ งๆ ของรา่ งกาย
หนา้ ที่ของหวั ใจ

ช่วยในการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อของหัวใจ
เป็นจังหวะๆ สม่ำเสมอและคงที่ด้วย (Regular rhythmic contraction)
การเตน้ ของหวั ใจ (Heart beat)

หมายถึง การเต้นของหวั ใจเป็นจังหวะโดยสม่ำเสมออาจจะเต้นเร็วหรือช้าไดข้ ึ้นอยู่กับอารมณ์การ
ออกกำลังกายการใช้ยาและอืน่ ๆ การเตน้ ของหวั ใจเกิดขน้ึ ไดเ้ องโดยอตั โนมัติ เนอื่ งจากมีกลุ่มเซลล์ พิเศษที่สามารถ
สร้างคลน่ื ไฟฟา้ เกดิ ขึน้ คลน่ื ไฟฟา้ นจี้ ะแผก่ ระจายไปขัว้ หัวใจ ทำให้กล้ามเน้ือหวั ใจหดตวั หรือเต้นเป็นจงั หวะตอ่ กนั ไป
อัตราการเต้นของหวั ใจ (Heart rate)

หมายความถึง จำนวนการเต้นของหัวใจต่อหนึ่งนาทีในเด็ก การเต้นของหัวใจจะเร็วกว่าในผู้ใหญ่
โดยปกติหัวใจของผู้ใหญ่จะเต้นประมาณ 80-100 ครั้งต่อนาที เสียงที่เกิดจากการเต้นของหัวใจ (Heart sound)
หมายความถึง เสียงของหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเต้นของหัวใจ ถ้าใช้หูไปแนบฟังดูที่หน้าอก หรือใช้เครื่องฟังท่ี
บริเวณหัวใจก็จะไดย้ ินเสยี งเป็น ๒ เสียง คือเสยี งดัง Lubb – Dup

Lubb เป็นเสยี งทเี่ กิดจากการปดิ ของ Mitral และ Tricuspid valve
Dup เปน็ เสียงท่เี กิดจากการปดิ ของ Pulmonary และ Aortic valve
การวดั ความดนั เลอื ด (Blood pressure)
เครื่องมือที่ใช้วัด เรียกว่า (Sphygmomanometer และ Stethoscope) มาตราท่ีวัดนี้อ่านเป็น
millimeter mercury เขียน mm.Hg. เราอาจจะประมาณความดันได้จากอายุคือ Age + 100 = B.P. ผลแตกต่าง
ระหว่าง Systolic pressure และ Diastolic pressure เรียกว่า Pulse pressure คือ Systolic pressure –
Diastolic pressure ปกติอยู่ระหว่าง 25 - 40 mm.Hg. ตามปกติ เด็กอายุที่ต่ำกว่า ขวบ Systolic pressure =
100 mm.Hg. ผู้ใหญ่อายรุ ะหวา่ ง 20 - 30 ปี Systolic pressure = 100 - 200 mm.Hg. ผู้ใหญอ่ ายรุ ะหวา่ ง 30 -
50 ปี Systolic pressure = 125 - 140 mm.Hg. ผู้ใหญ่อายรุ ะหว่าง 50 ปีขึ้นไป Systolic pressure = 140 - 150
mm.Hg.
ชพี จร (Pulse)
ทุกครง้ั ท่ี Ventricle บบี ตัวจะดันเลอื ดเข้าสู่ Aorta และออกไปตาม Arteries ต่าง ๆ จะเปน็ จงั หวะ
คลา้ ยลกู คล่นื เรียกวา่ ชีพจร หรอื Pulse

- 13 -

อตั ราการเต้นของชพี จร (Pulse rate)
หมายความถึงการเต้นของชีพจรต่อหนึ่งนาทีตามปกติ ชีพจรของผู้ใหญ่ จะเต้นประมาณ 80-100 คร้ัง

ต่อ ๑ นาที ในเดก็ อายุ 6 - 10 ขวบ ชพี จร 80 - 100 ครงั้ /นาที ในเดก็ อ่อน (infant) ชพี จร 100 - 110 คร้ัง/นาที
เดก็ ในครรภ ์(Fetus) ชพี จร 130 - 160 คร้งั /นาที
ระบบหายใจ (THE RESPIRATORY SYSTEM) จุดประสงค์ เมอื่ นกั เรียน เรียนจบบทนแี้ ลว้ จะสามารถ

1. อธบิ ายหน้าท่ีกลไกการทำงานของระบบหายใจได้ถกู ตอ้ ง
2. บอกสว่ นประกอบของทางเดินหายใจใหถ้ ูกตอ้ ง
3. ระบุหน้าท่ขี องสว่ นประกอบ ของอวยั วะของทางเดนิ หายใจได้
4. บอกตำแหน่งของอวัยวะของระบบหายใจได้
5. บอกความหมายของศัพทเ์ ก่ียวขอ้ งกับการหายใจได้ถกู ตอ้ งระบบหายใจคือระบบทป่ี ระกอบด้วย
อวัยวะตา่ งๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งและประกอบเป็นอวัยวะ และทางเดินหายใจ เพือ่ ท่จี ะทำให้มีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยเฉพาะ
ก็คือ คารบ์ อนไดออกไซด์ กบั ออกซเิ จนซง่ึ อยู่ในรา่ งกายของคนเรากับบรรยากาศภายนอก
หนา้ ที่ของระบบการหายใจ
1. แลกเปลีย่ นออกซิเจน และคารบ์ อนไดออกไซด์ ระหวา่ งปอดกับบรรยากาศภายนอก
2. ชว่ ยถา่ ยเทไอน้ำของรา่ งกาย เปน็ การรกั ษาความรอ้ นในรา่ งกายใหอ้ ยู่ในระดับปกตดิ ว้ ย
3. ชว่ ยในการขับถ่ายสารเคมีบางชนิด เชน่ Ether, Paraldehyde
4. ช่วยในการทำใหเ้ กดิ เสยี ง
5. ชว่ ยในการรับรู้กลน่ิ ถ่ายทอดไปสสู่ มอง โดยเฉพาะท่ีจมูก จะมีประสาทรับรูก้ ล่ิน
การหายใจแบง่ ออกเปน็ 2 ตอน คอื
1. การหายใจแบบภายนอก (External Respiration) คอื การดดู ซมึ เอาออกซเิ จนจากอากาศเข้าไป
ในเลือด และถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ จากเลือดมาสบู่ รรยากาศ ซงึ่ การถา่ ยเทนีจ้ ะอยทู่ ีป่ อด
2. การหายใจแบบภายใน (Internal หรือ Tissue Respiration) คือ การถ่ายเทออกซเิ จนจากเลือด
ดำไป ยงั ทชิ ชูของร่างกาย การถ่ายเทนี้จะเกิดท่ผี นงั ของเส้นเลือดฝอย (Blood capillaries)
ทางเดนิ หายใจ (Air Passage) ประกอบดว้ ยอวยั วะเหล่าน้ี คอื
1. จมกู (Nose)
2. คอหอย (Pharynx)
3. กล่องเสยี ง (Larynx)
4. หลอดลม (Trachea)
5. หลอดลมขัว้ ปอด (Bronchi)
6. หลอดลมในปอด (Bronchioles)
7. ถุงลมในปอด (Alveoli)

- 14 -

1. จมูก (NOSE)
ประกอบด้วย รูจมูกเรียกวา่ Nostrils 2 รู และมีโพรงจมูก (Nasal Cavities) 2 โพรง ซึ่งมี Nasal

Septum กั้นอยู่เป็นสันจมูก Nasal septum นี้จะมีสว่ นหน้าเป็นกระดูกอ่อน ส่วนหลังเป็น Nasal Bone พื้นล่าง
ของโพรง จมูกก็คือ Palatine Bone และ Maxillary Bone ภายในช่องจมูกจะบุด้วย Mucous membrane
ภายนอกจมูกจะคลุมด้วยผิวหนังภายในจมูกจะมีขนจมูก (Cillia) ช่วยในการกรองอากาศ และที่ Mucous
membrane ของช่องจมูกนี้จะมีประสาทรับกลิ่นมาจากสมองคือ Olfactory nerve (ประสาทสมองคู่ที่หนึ่ง) มา
เล้ยี ง เพ่ือจะรบั ความรสู้ กึ กล่ิน ผนังด้านในของจมูกมีหลอดเลอื ดดำประสานกันเปน็ ตาขา่ ยและจะทำให้อากาศที่ผ่าน
เข้าในนั้นมี ความอบอุ่นบริเวณนี้เองอาจทำให้เลือดออกง่ายเรียกว่า เลือดกำเดา (Epitaxis) ที่โพรงจมูกจะมีทาง
ติดต่อกบั Sinus หรอื Air Sinus ของโพรงกระดกู ใกล้เคียงมาเปิดคอื

- Maxillary Sinus จากโหนกแก้ม
- Frontal Sinus จากหน้าผาก
- Ethmoidal Sinus จากด้ังจมูก
- Sphenoidal Sinus จาก Spheno-ethmoidal recess
หนา้ ท่ขี องจมูก
1. เปน็ ทางผ่านของอากาศไปสปู่ อด และเปน็ ทางผ่านจากปอดมาสู่ภายนอก
2. รับกลิน่
3. ทำให้เสียงชดั ข้นึ
4. ทำให้อากาศอบอุน่ และชุ่มชื้นก่อนจะเขา้ ไปถึงปอด
5. กรองฝุ่นละอองจากอากาศก่อนที่จะเข้าไปถึงปอด
ที่จมูกยังมีท่อจากหัวตาลงมาเปิดที่จมูกท่อนั้นเรียกว่า Naso - lacrimal duct ซึ่งถ้าหากน้ำตา
ท่วมทน้ ลูกตากจ็ ะไหลลงตามท่อนีส้ ู่จมกู
2. คอหอย (PHARYNX)
คอหอยเป็นส่วนที่อยู่ติดต่อกับช่องปาก และช่องจมูกนอกจากจะเป็นทางผ่านของอาหารแล้ว ยัง
เปน็ ทางผา่ นหรอื ทางเดินของอากาศท่เี ข้าออกได้ มีรูปร่างคล้ายๆ กรวย ปลายบนกว้าง ปลายลา่ งแคบกลายไปเป็น
หลอดอาหาร กรวยอาหารนีแ้ บง่ เป็นสว่ นๆ คือ
- ส่วนที่ติดต่อกับจมูก เรียกว่า Naso-pharynx เป็นส่วนที่กว้างอยู่หลังช่องจมกู ที่ผนังด้านข้างมี
ช่องเปดิ ของ Eustachian tube จากหูสว่ นกลางด้านหลังมี Pharyngcal tonsil อยู่
- ส่วนท่ตี ดิ ตอ่ กับทางปาก เรยี กวา่ Oro-pharynx เป็นทางผา่ นของน้ำ อากาศ และอาหาร เป็นสว่ น
ต่อจาก Naso-plarynx โดยเริ่มจากเพดานอ่อนไปถึงโคนลิ้น เป็นส่วนที่มีทอนซิล (Palatine Tonsils อยู่ 2 ข้าง
ของคอ

- 15 -

- ส่วนที่ติดต่อกับกระบอกเสียง เรียกว่า Laryngopharynx เป็นส่วนล่างสุดของคอหอยอยู่หลัง
กลอ่ งเสียงเร่ิมจากกระดกู โคนลน้ิ จนถงึ ส่วนต้นของหลอดอาหารหลอดคอสว่ นนีจ้ ะเปน็ ทางผา่ นของอาหารอย่างเดยี ว
3. กลอ่ งเสียง (LARYNX)

เป็นอวัยวะพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางเดินของอากาศเวลาหายใจ เป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียงด้วย
กล่อง เสียงอยู่ระดับบริเวณกลางคอ คือบริเวณลูกกระเดือก อยู่ทางด้านหน้าของหลอดอาหาร ในระดับกระดูก
สันหลัง ส่วนคอ อันที่ 4 - 5 - 6 กล่องเสียงประกอบด้วยกระดูก 9 ชิ้น ซึ่งยึดติดต่อกันด้วยเอ็น (Ligament)
และกล้ามเนื้อ
4. หลอดลม (TRACHEA OR WIND PIPE)

ยาวประมาณ 4 เศษ 1 สว่ น 2 นวิ้ ฟุต มเี ส้นผา่ ศูนยก์ ลาง ประมาณ 1 นวิ้ ฟุต (ในผู้ใหญ)่ จะอยู่หน้า
หลอด อาหารบนจะติดต่อกับกระดูก Cricoid cartilage ในระดับกระดูกสันหลังส่วนคออนั ที่ 6 ปลายล่างจะอยู่ใน
ระดับ กระดูกสันหลังส่วนอก อันที่ 5 แล้วจะแยกออกไปเป็นหลอดลมและปอดทั้งสองข้าง ส่วนประกอบของ
Trachea ประกอบด้วยวงแหวนกระดูกอ่อนรูปตวั C ซ่งึ ส่วนโคง้ ของตวั C จะอยู่ ขา้ งหน้า ปลายด้านหลังจะยึดด้วย
fibrous tissue ยึดให้ติดต่อกัน และจำนวนวงแหวนนี้จะมีประมาณ 16 - 20 ชิ้น การที่มีกระดูกอ่อนรูปวงแหวนน้ี
กเ็ พื่อทีจ่ ะป้องกันมิใหห้ ลอดลมแฟบได้ง่ายและทำให้อากาศถ่ายเทได้ สะดวกท้งั กล่องเสยี งและหลอดลมภายในจะบุ
ด้วยเยื่อ Mucous membrane และมีขน (Cilia) ติดอยู่ ซึ่งจะขับ Mucous ออกมาคอยดักฝุ่นละออง หรือสิ่งซึ่ง
หายใจปนไปกบั อากาศเอาไว้
5. หลอดลมขั้วปอด (BRONCHUS)

มีสองหลอดขวาและซ้าย ซ่ึงแยกออกมาจากหลอดลม (Trachea) ในระดับกระดูกสันหลังส่วนอก
อันที่ 5 Bronchus ข้างขวาจะสั้นกว่าและตรงกว่าขา้ งซ้าย ดังนั้น สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคต่างๆ จะตกเข้าไปใน
ปอด ข้างขวาได้ง่าย Bronchus มีส่วนประกอบเหมือนกับหลอดลม แต่ขนาดเล็กกว่าและผนังค่อยบางลงไปทุกท่ี
จนถึงขนาด เล็กซงึ่ อยู่ในปอด และไมม่ กี ระดกู อ่อนเหลืออยู่ Bronchus ซึ่งแยกแขนงเลก็ ๆ ลงไปเรียก Bronchioles
จากช่อง ปลายของ Bronchioles เล็ก เป็นส่วนไมม่ ีกระดูกอ่อน เรียก Terminal bronchioles Bronchioles จะ
แยกแขนงออกไปอีก คล้ายกิ่งไม้ ไปสุดสิ้นที่ Air cells หรือ Alveoli (ถุงลม) ซึ่งเป็นที่ แลกเปลี่ยนอากาศ
ทัง้ นี้เพราะที่ Air cells มเี สน้ เลือดฝอยมาเล้ยี ง
6. ปอด (LUNGS)

ปอดเป็นอวยั วะสำหรับหายใจ ต้งั อยูใ่ นช่องอก และเป็นส่วนท่อี ากาศจากภายนอกเข้ามาสัมผัสกับ
เลอื ดท่ี หลอดเลอื ดฝอย โดยท่ีผนงั ของถุงลมกน้ั อยู่ ปอดมีปรมิ าตรประมาณสองในสามของช่องอกรูปร่างโค้งเว้าเข้า
กับ รูปร่างของช่องอก และเข้ากับอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ปอดข้างขวามี 3 กลีบ (Lobe) ซึ่งสั้นกว่าปอดซ้าย
เนื่องจากตับดันกระบังลม (Diaphragm) ข้างขวาให้ขึ้นมาสูงกว่าด้านซ้าย แต่ปอดกลีบซ้ายแคบกว่า มี 2 กลีบ
(Lobe) เนื่องจากมีหัวใจแทรกอยู่ เนื้อเยื่อที่กั้นระหว่างปอดทั้งสองข้างและหัวใจเรียกว่า Mediastinum ปอดมี
คุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี ปอดทั้งสองข้างติดต่อถึงกันด้วย Bronchus ภายในปอดมีหลอดเลือดแดง และดำ

- 16 -

เส้นประสาท และท่อน้ำเหลืองผ่านเข้าและออก ปอดแต่ละข้างถูกหุ้มด้วยเย่ือหุ้มปอด (Pleura) เป็นเย่ือบางๆ สอง
ชั้น ชั้นในติดกับผนังของปอดเรียกว่า Viscerral pleura ชั้นนอกติดกับผนังของช่องอกเรียกว่า Parietal pleura
เย่ือหมุ้ ปอดทั้งสองช้นั ติดต่อกนั เป็นผืนเดียวระหว่าง ชั้นท้งั สองมีของเหลวใสๆ (Pleural fluid) เคลือบอยู่ แรงดึงผิว
ของของเหลวที่เคลือบอยู่น้ีช่วยใหเ้ ยื่อหุ้มปอดทั้ง สองมีแนวโน้มที่เข้ามาติดกันตลอดเวลา ทำให้ปอดและทรวงอก
เคลื่อนที่ไปด้วยการอักเสบของเยื่อหุ้มปอดเรียกว่า Pleurisy ซึ่งถ้า Fluid ออกมาอยู่ในช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
เรียก Pleurisy with effusion และถ้ามีหนองอยู่ด้วยเรียก Empyema นอกจากปอดจะแยกออกเป็นกลีบแล้ว
ภายในปอดยังแยกออกเปน็ กลีบเลก็ ๆ ซึง่ เรียกวา่ Lobule ลงไปอกี โดยอาศัย Bronchioles ใน Lobule อนั หน่ึง ก็
จะมี Bronchioles อันหนึ่ง ถงุ ลม (Alveolus) มีจำนวนมากข้นึ
สรรี ะของการหายใจ (Physiology of Respiration)

การหายใจแบ่งออกไดเ้ ปน็ 2 พวกด้วยกัน โดยอาศัยการใชห้ ลกั การแลกเปล่ยี นแก๊ส
1. การหายใจแบบภายนอก (External respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่าง
สภาพแวดล้อมและ กระแสเลอื ด โดยอาศยั การแพร่ (Diffusion) ซง่ึ เกดิ ขน้ึ ท่อี วยั วะแลกเปลีย่ นแก๊ส
2. การหายใจแบบภายในหรือการหายใจระดั บเซลล์ (internal respiration or cellular
respiration) เปน็ การ แลกเปลยี่ นแก๊สระหว่างกระแสเลือดและเซลล์ของร่างกาย ซ่งึ เปน็ กระบวนการนำเอา O2 ท่ี
หายใจเข้าไปทำปฏิกิริยากับอาหารจนได้พลังงานและ CO2 ออกมาเขา้ สู่เม็ดเลือดในหลอดเลือดฝอยท่ีรวมอยู่รอบๆ
ถุงลม จนกว่าออกซิเจนภายในหลอดเลือดจะมากกว่าออกซิเจนที่เหลืออยู่ในปอด การแพร่จึงจะหยุด และเลือดใน
หลอดเลือดฝอยก็ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซดอ์ อกมายังอากาศในถุงลมจนกระทง่ั CO2 ในหลอดเลือดและในปอด
เท่ากัน วธิ ีการนเี้ รียกว่า การแลกเปลี่ยนแก๊ส (Gas exchange) ต่อจากนั้นอากาศในถงุ ลมที่มี CO2 อยูจ่ ะแพรอ่ อก
ทางท่อเดิมที่อากาศเข้ามาการนำอากาศเข้าไปนั้นเรียกว่า การหายใจเข้า (Inspiration) ส่วนอากาศที่เข้าไปเรียก
อากาศหายใจเข้า (Inspired air) และการที่นำอากาศออกไปเรียก การหายใจออก (Expiration) ส่วนอากาศ ที่
ออกมาเรียก อากาศหายใจออก (Expired air) และการที่นำอากาศออกไปเรียก การหายใจออก (Expiration) สว่ น
อากาศท่อี อกมาเรยี ก อากาศหายใจออก (Expired air) การหายใจเขา้ ออกน้รี วมเรยี กว่า การหายใจ
ส่วนประกอบของอากาศหายใจ
อากาศหายใจเข้า (Inspired air) มีส่วนประกอบการสำคัญ คือ ออกซิเจน ไนโตรเจน น้ำ และ
คาร์บอนไดออกไซด์(เล็กน้อย) นอกจากนี้ ยังมีอาร์กอนและคริบทอนอยู่น้อยมาก ซึ่งไม่มีความสำคัญต่อร่างกาย
อากาศหายใจเข้าจะมีส่วนประกอบคงที่เสมอ แม้ว่าจะอยู่ที่ระดับน้ำทะเลหรืออยู่ระดับสูง อากาศหายใจออก
(Expired air) มสี ว่ นประกอบเปล่ียนแปลงไปได้แล้วแต่ความลึกความถี่ของการหายใจ และแม้จะหายใจแต่ละคร้ังก็
แตกตา่ งกันได้
อากาศในถงุ ลม (Alveolar air) มีส่วนประกอบคอ่ นข้างคงท่ี โดยอาศัยกลไกการควบคุมการหายใจ
(ดงั แสดงในตารางหนา้ ท่ี 17)

- 17 -

ตารางแสดงส่วนประกอบของอากาศหายใจเข้า อากาศหายใจออก และอากาศในถุงลมขณะพักท่ี
ระดบั น้ำทะเล (คิดเปน็ ร้อยละ)

ไนโตรเจน ออกซเิ จน คารบ์ อนไดออกไซด์

อากาศหายใจเข้า 79.02 20.94 0.04

อากาศหายใจออก 79.2 16.3 4.5

อากาศในถงุ ลม 80.4 14.0 5.6

กลไกของการหายใจ (Mechanism of resoiration)
การหายใจ (Breathing) ประกอบด้วยการหายใจเข้า (inspiration) และการหายใจออก

(Expiration) การสูดลมหายใจเข้าออกของคนอาศัยการทำงานของกระบังลม (Diaphragm) และกล้ามเนื้อทีย่ ดึ อยู่
ระหว่างกระดูกซี่โครง (intercostal muscle) ตามปกติแล้วกล้ามเนื้อทั้งสองแห่งนี้จะร่วมกันทำงานในการหายใจ
เข้าออกแต่ละครั้ง การหดตัวของกะบังลมทำให้เกิดการหายใจส่วนท้อง (Abdominal bresthing) และการหดตัว
ของกลา้ มเนื้อทีย่ ดึ ระหว่างกระดูกซีโ่ ครงทำให้เกดิ การหายใจสว่ นอก (Chest breathing)
การหายใจเข้า (Inspiration)

เป็นการทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่องอกเป็นช่องปิด ซึ่งไม่มีทางติดต่อกับอากาศ
ภายนอก ดังนั้น การเพิ่มปริมาตรจงึ ทำให้ความดันภายในปอด (Inteapulmonary pressure) ลดลง จนมคี ่าต่ำกว่า
ความดัน บรรยากาศ ผลท่เี กิดขน้ึ คอื อากาศจากภายนอกซ่งึ สงู กว่าจะเคล่ือนที่ผ่านส่วนต่างๆ ของทางผ่านอากาศไป
จนถงึ ถงุ ลมปอด สำหรบั การทำให้ชอ่ งอกมีปริมาตรเพมิ่ มากขนึ้ นน้ั เกดิ จาก

1. การหดตัวของกะบังลม ทำใหส้ ว่ นโคง้ ของกะบังลมลดต่ำลงประมาณ 1.2 ซม.
2. กลา้ มเนอ้ื ระหว่างกระดกู ซโ่ี ครงแถบนอก (External intercostal muscle) จะหดตัวร่วมกบั การ
คลายตัวของกล้ามเนื้อแถบใน (Internal intercostal muscle) ดึงกระดูกซี่โครง (Ribs) และกระดูกหน้าอก
(Sternum) ให้ยกตัวสูงขึ้นและกางออก
การหายใจออก (Expiration)
ในระหวา่ งท่ีมกี ารหายใจเข้าปอดจะขยาย เนื่องจากถูกบรรจุด้วยอากาศเพ่มิ มากขนึ้ ส่วนการหายใจ
ออก นนั้ เกิดข้ึนจาก
1. การคลายตัวของกะบังลม ทำให้อวยั วะภายในช่องทอ้ งดันกะบงั ลมให้กลบั มีความโค้งมากข้นึ เป็น
รปู โดม เช่นเดยี วกบั สภาพปกติ
2. การคลายตัวของกล้ามเนอื้ ทย่ี ดึ ระหว่างกระดกู ซ่ีโครงแถบนอก (External intercostal muscle)
ทำให้กระดูกซี่โครง (Ribs) และกระดูกหน้าอก (Sternum) หุบเข้าและหดตัวลงมาอยู่ในตำแหน่งเดิม การ
เปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนีม้ ีผลทำให้ปริมาตรของอกลดลง และทำให้ปอดหดตัวเนื่องจากแรงยืดหด (Elasticity) ของ
ปอดเองรว่ มกบั การกดจากน้ำหนักของผนงั ชอ่ งอกขับอากาศท่ีหายใจไวใหเ้ คล่ือนท่ีออกจากปอดระหว่างการหายใจ

- 18 -

แตล่ ะคร้ังอากาศภายนอกปอดจะมีความดนั เทา่ กบั บรรยากาศภายนอกเสมอในช่วงเริม่ ตน้ ของการหายใจเข้าการขาย
ตัวของช่องอกจะทำให้ความดันของอากาศภายในปอดต่ำลงกว่าความดันของ บรรยากาศประมาณ
2 - 3 มิลลิลิตรปรอท ซ่ึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการจากภายนอกเคลื่อนเข้าสูป่ อดแต่ในช่วงสิน้ สุดของการหายใจเขา้
อากาศท่เี พิ่มมากขึ้นจะทำให้ความดนั ภายในปอดกลับมาเท่ากบั ความดนั ของ บรรยากาศและในชว่ งเริ่มต้นของการ
หายใจออก การหดตัวของปอดจะกดอากาศที่อยู่ภายในให้มีความดันสูง กว่าบรรยากาศประมาณ 2 - 3 มิลลิลิตร
ปรอท ซึ่งทำให้อากาศเคลื่อนที่ออกจากปอดจนความดัน ของอากาศ ภายในปอดลด กลับมาเท่ากับ
ความดันบรรยากาศในช่วงสิ้นสุดของการหายใจออก แต่ถ้ามีอากาศเข้าไปอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ( Intrapleural
cavity) เชน่ จากการถูกแทงทะลุทีป่ อดซึ่งทำให้ชอ่ งเย่ือหุ้มปอดทะลุตดิ ตอ่ กบั ภายนอกได้ ทำใหค้ วามดันในช่องเย่ือ
หมุ้ ปอดจะมคี ่าเทา่ กบั ความดันของบรรยากาศ ซ่งึ ทำให้ปอดแฟบตลอดเวลา และไม่สามารถเปลย่ี นแปลงความดันใน
ช่องเยื่อหุ้มปอดได้ทำให้ หายใจไม่ได้ภาวะนี้เรียกว่า Pneumothorax (ลมในช่องอก) แต่ถ้ามีเลือดตกอยู่ภายใน
เรียกว่า Hemothorax สำหรับเด็กในครรภ์ปอดจะไม่ทำงาน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยผ่านรก (Placenta)
เม่อื คลอดแลว้ ร่างกายและผวิ หนงั ได้รบั การกระต้นุ จากการสัมผัสอากาศรอบ ๆ ตวั และสิ่งแวดลอ้ ม พร้อมกับมีการ
ลอกตัวของรกทำให้การแลกเปลย่ี นแก๊สระหว่างแม่และลูกถูกจัดขาด ดังน้นั จงึ ทำใหม้ ีการคง่ั ของ CO2 ในเลอื ดของ
ทารกมาก CO2 จะไปกระตุ้นศนู ย์ควบคุมการหายใจท่ี Medulla oblongata ทารกจะหายใจเข้ากอ่ น
อตั ราการหายใจ (Respiration rate)

อตั ราการหายใจของคนนน้ั ในตอนเพิ่งคลอดจะเร็วมากประมาณ 40 - 70 ครง้ั ต่อนาที แต่เม่ืออายุ
เพ่มิ ขน้ึ การหายใจลดลง เพราะในช่วงแรกรา่ งกายมกี ารเจริญเติบโต ทำให้มกี ารใช้ O2 สูง พบว่าเด็กอายุ 1 ปี อัตรา
การ หายใจจะเป็น 35 - 40 ครั้งต่อนาที อายุ 5 ปีประมาณ 25 ครั้งต่อนาที อายุ 10 ปีประมาณ 20 ครั้งต่อนาที
และอายุ 25 ปขี ้ึนไปประมาณ 16 - 18 คร้งั ตอ่ นาที
การควบคุมการหายใจ (Control of Respiration)

การหายใจท่ีเกิดเปน็ จังหวะเข้าและออกสลับกัน ตลอดจนความถี่และความลกึ ของการหายใจที่จะ
เปลี่ยนแปลงไปนั้นขึ้นอยู่กับการทำงานของศูนย์ควบคุมการหายใจ (Respiratory center) การควบคุมการหายใจ
แยกออกเปน็ 2 พวกใหญ่ๆ คอื

1. การควบคุมทางประสาท ซ่งึ เป็นส่วนสำคญั ทส่ี ุดทท่ี ำให้มกี ารหายใจอยู่ได้ การควบคมุ การหายใจ
นี้ประกอบด้วยศนู ย์หายใจ

2. การควบคุมทางเคมี สารเคมีที่สำคัญ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไอโดรเจนไอออนใน
เลือด และสารน้ำของร่างกาย ควบคุมทั้งสองทางนี้มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพราะศูนย์
ควบคุมการหายใจ (Respiratory center) อยู่ในบรเิ วณส่วนสมองที่เรียกว่า Medulla oblongata และ Pons จาก
การทดลองพบว่า บริเวณ Medulla มีกลุ่มประสาท 2 กลุ่ม อยู่แต่ละข้างของเมดุลลา คือ ศูนย์การหายใจเข้า
(Inspiration center) ซึ่งสามารถสร้างคลื่นประสาทไดเ้ องแล้วสง่ ไปตามใบประสาทสู่ไขสันหลัง จากน้ันจึงแยกไปยงั
กล้ามเนื้อหายใจ เข้า ได้แก่ กล้ามเนื้อแถบนอกของช่องซี่โครง (External intercostal muscle) และกะบังลม

- 19 -

(Diaphragm) ทำให้ หดตัว เกิดการหายใจเข้า บริเวณใกล้เคียงนี้จะมีศูนย์หายใจอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ค่อนไปทาง
ดา้ นบนของศูนยห์ ายใจเขา้ เลก็ นอ้ ย เมื่อ กลุ่มประสาทในศูนย์น้ีถูกกระตุ้นจะได้ผลตรงกันขามกับศนู ย์หายใจเข้า เรา
เรียกว่า ศูนย์หายใจออก (Expiratory center) การส่งคลื่นประสาทออกจากศูนย์หายใจออกนี้เกิดขึ้นไม่
พร้อมกัน และมีผลยับยั้งการทำงานซึ่งกันและกัน การประสานงานกันของศูนย์ทั้งสองนี้เป็นตัวสำคัญที่ทำให้การ
หายใจเกิดเป็นจังหวะติดต่ออยู่ลอดไปได้ แต่กลไกการทำงานที่แน่นอนของศูนย์ทั้งสองนี้ไม่ทราบแน่ชัด นอกจาก
ศนู ย์หายใจเข้าและออกใน Medulla ซงึ่ เปน็ ตัวการสำคัญทส่ี ดุ ของสมองในการควบคุมการหายใจแลว้ ยงั มีศูนย์อน่ื ที่
อยู่ใน Pons มีสว่ นสำคญั ในการควบคุมจงั หวะการหายใจเข้าและออกใหม้ ลี กั ษณะทีส่ ม่ำเสมอดขี น้ึ
การควบคมุ ทอี่ ยู่ใต้อำนาจจติ

การหายใจนอกจากจะเกิดขึน้ และเปลีย่ นแปลงไปโดยอัตโนมัติ ภายใต้การควบคุมของศูนยห์ ายใจ
ใน Pons และ Medulla แล้วเรายังสามารถบังคับให้อยู่ใต้อำนาจจิตใจได้เช่นกัน โดยสามารถบังคับทั้งจังหวะ
ความถี่ และความลึกของการหายใจได้ แต่บังคับได้เพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น เช่นเมื่อกลั้นหายใจ CO2 ในเลือดจะ
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสูงถึงระดับหนึ่งที่มันกระตุ้นศูนย์หายใจได้มากจนสมองส่วนบนบังคับศูนย์หายใจไว้ไม่อยู่
การหายใจก็เกิดตามมาโดยอัตโนมัติ
ลกั ษณะของการหายใจ (Breathing Patterns)

ลกั ษณะและจังหวะการหายใจถกู ควบคุมโดยศูนย์ควบคุมท่ีสมอง แตก่ ็มีแฟกเตอร์อ่ืนๆ อีกมากมาย
ที่มี อิทธิพลต่อศูนย์ควบคุมนี้ โดยอาจมีผลต่อความถี่และความลึกของการหายใจ ทำให้รูปแบบของการหายใจต่าง
ไปจากปกติ แบง่ ออกได้หลายแบบ และมชี ือ่ เรยี กต่างๆ กัน

1. Eupnea คอื ลกั ษณะของการหายใจปกติ
2. Apnea หมายถงึ การหยุดหายใจในช่วงหายใจออก (การหายใจออกนนั้ กินเวลายาวนาน)
3. Apneusis หมายถึงการหยุดหายใจในช่วงหายใจเข้า (การหายใจเขา้ กนิ เวลายาวนาน)
4. Dyspnea หมายถงึ การหายใจที่เป็นไปด้วยความลำบากจนรู้สกึ วา่ ต้องใช้ความพยายามช่วยในการ
หายใจ
5. Hyperpnea หมายถึงการหายใจท่เี พิม่ จากปกติ โดยอาจเพม่ิ ความถ่ีหรือความลึกของการหายใจ
หรอื เพ่ิมทัง้ สองอยา่ งพรอ้ มกัน
6. Periodic หมายถึงการหายใจที่ไมส่ ม่ำเสมอ โดยมีจังหวะท่ชี ้าและเร็วสลับกัน หรือหยุดเปน็ พักๆ
ได้แก่ Cheyne strokes breathing คือ การหายใจเป็นช่วง Breathing แต่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นและค่อยๆ ลดลง
การหายใจชนดิ นี้ในภาวะปกติเกิดข้ึนไดย้ ากอาจทำให้เกิดไดโ้ ดยการหายใจแรงๆกอ่ น แต่มักจะเกดิ เพยี ง 2 – 3 ช่วง
แล้วก็หายไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดอยู่นานๆ คือ ความเร็วที่เลือดไหลไปยังสมองน้อยลง และอากาศหายใจมี
O2 น้อยเกนิ ไปภาวะที่พบบอ่ ยคอื หวั ใจวาย
7. Sighing การถอนหายใจใหญ่ เกิดจากการหายใจเข้าลกึ และชา้ จากน้ันก็หายใจออกทันที

- 20 -

8. Yowning การหาว เป็นการหายใจเข้าและลึก เกิดจากการคั่งของ CO2 ในเลือดมากกว่าปกติ
และ ร่างกายตอ้ งการ O2 เพ่ิมขึ้น การหายใจเขา้ ยาวและลึกน้ีกเ็ พ่อื จะไดส้ ูด O2 เข้าไปในปอดได้เตม็ ที่

9. Hiccough การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวกระตก ทำให้มีการหายใจเข้าทันที และ Glottis
ปิดทันทีทำให้ลมไปดันแลว้ เกิดเสียงขึ้นการสะอกี มกั จะเกดิ การระคายเคืองทก่ี ระเพาะอาหาร

10. Sobbing การสะอ้นื เกิดในเวลาหายใจเขาขณะที่ Glottis ปดิ ลมจะไม่เขา้ ปอด
11. Coughing การไอเป็นการหายใจเข้าลึกและยาว ทำให้อากาศเข้าเต็มปอด ต่อมา Glottis ปิด
และการหายใจออกอย่างแรง ซงึ่ จะไปดันให้ Glottis เปิดเปน็ พักๆ
12. Sneezing การจาม คอื การหายใจเข้าลกึ และตอ่ มาหายใจออกทนั ทีและเร็ว ความผดิ ปกติของ
การหายใจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับแก๊สในร่างกาย Hypoxia หมายถึงภาวะที่ร่างกายได้รับ O2 ไม่เพียงพอ
สำหรับเนือ้ เยื่อตา่ งๆ ท่จี ะทำงานไดอ้ ยา่ งปกติ Hypoxia มักใช้แทนค่าว่า Anoxia (Anoxia หมายถึง เนอ้ื เยือ่ ไปได้รับ
O2 เลย)
ลกั ษณะการเกดิ Hypoxia แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
ก. Hypoxia (Anoxic anoxia) เป็นภาวะที่ O2 ในเลือดแดงต่ำกว่าปกติอาจเกิดจากปริมาณ O2
ในอากาศภายนอกและในปอดลดลง หรอื เนื้อเย่อื ของปอดผดิ ปกติทำ ให้ O2 จากปอดแพร่เขา้ สู่เลือดไดน้ อ้ ยลง
ข. Anemic hypoxia (Anemic anoxia) เป็นภาวะที่ O2 ในเลือดยังปกติ แต่ปริมาณฮีโมโกบินลด
นอ้ ยลง เช่น ในราย Anemia หรอื เฮโมโกบินไม่สามารถจับ O2 ไดเ้ ท่าปกติ ดงั ในกรณีพษิ จากคาร์บอนมอนออกไซด์
(CO) ทำใหป้ รมิ าณ O2 ในเลือดแดงต่ำ เนือ้ เยอ่ื ไดร้ ับ O2 ไมเ่ พียงพอ

- 21 -

คำถามท้ายบท
1. ความหมายของกายวิภาคศาสตรแ์ ละสรีรวทิ ยาคอื ?
2. ความหมายกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) คอื ?
3. ความหมายสรีรวิทยา (Physiology) คอื ?
4. ระบบตา่ ง ๆในรา่ งกายมนษุ ย์มกี ีร่ ะบบ อะไรบ้าง?
5. โครงสรา้ งและหนา้ ทข่ี องเซลล์ คือ?
6. หน้าท่ขี องระบบไหลเวียนโลหติ คอื ?
7. สว่ นประกอบและหน้าทข่ี องเลอื ด?
8. หนา้ ท่ีของระบบน้ำเหลอื งคอื ?
9. หน้าท่ีของระบบการหายใจ คือ?
10. ทางเดินหายใจ (Air Passage) ประกอบดว้ ย อะไร?

- 22 -

บทที่ 2

สัญญาณชีพ (Vital signs)

ขอบเขตการสอน
1. ความสำคัญของสญั ญาณชพี
2. องค์ประกอบของสญั ญาณชพี
3. อุปกรณ์ทใี่ ช้ในการวดั สญั ญาณชพี
4. วิธีการวัด/การแปลผล

วตั ถปุ ระสงค์ เพอื่ ให้ผู้เรียนสามารถ
1. เขา้ ใจความหมาย และความสำคญั ของสญั ญาณชีพ
2. ทราบคา่ ปกติ และแปลผลสัญญาณชพี เบื้องต้นได้
สัญญาณชพี มคี วามสำคัญอยา่ งย่งิ ค่าของสัญญาณชีพจะช่วยในการประเมนิ การเปล่ยี นแปลงภาวะ

สขุ ภาพ และสามารถนำมาเป็นข้อมูลพ้ืนฐาน ในการประเมนิ ภาวะสุขภาพได้ สญั ญาณชีพ ประกอบด้วย อุณหภมู ิของ
ร่างกาย ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต

อณุ หภมู ริ า่ งกาย หมายถงึ ความแตกตา่ งระหว่างความร้อนท่ีร่างกายผลิตข้ึน กับปรมิ าณการสูญเสีย
ความร้อนไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีกระบวนการควบคุมโดยไฮโปธาลามัส (hypothalamus) มีหน่วยเป็นองศา
เซลเซยี ส หรอื องศาฟาเรนไฮต์

ชีพจร หมายถึง จังหวะการหดรัดตวั และคลายตัวของหลอดเลอื ดแดงกระทบไปยังผนังหลอดเลือด
แดงซึง่ สมั พนั ธก์ บั เลือดท่ีออกจากหัวใจตามแรงส่งท่ีออกมาจากหัวใจห้องล่างซา้ ยโดยนับจำนวนสมั ผัสกระทบภายใน
1 นาที เป็นอัตราการเต้นของชีพจร (pulse rate) มีหน่วยเป็นครั้งต่อนาที ทั้งนี้ควรสังเกต และบันทึกจังหวะ
(Rhythm) ความแรง (strength) รูปแบบการเต้น (pattern)

อัตราการหายใจ หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกาย
ระหว่างเซลล์ กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกดิ ขึ้นโดยอัตโนมัติ และอยู่นอกอำนาจจิตใจ การประเมินอตั ราการหายใจด้วยการ
นับจำนวนคร้ัง (rate) ความลึก (depth) และจงั หวะ (rhythm)

ความดนั โลหติ หมายถึง แรงดนั ของเลอื ดทเี่ กิดจากการบีบตวั ของหวั ใจห้องลา่ งซา้ ย ทำให้มีปริมาณ
เลือดเขา้ สู่ Aorta กระทบกับผนงั หลอดเลอื ดแดง เกดิ เปน็ ความดนั สูงสดุ คือ ความดนั ซีสโทลกิ (systolic pressure)
และความดนั ต่ำสูดขณะหวั ใจคลายตัว คือ ความดัน ไดแอสโทลกิ (diastolic pressure) มหี นว่ ยเปน็ มลิ ลิเมตรปรอท
(millimeters of mercury : mmHg)

- 23 -

อณุ หภูมิของรา่ งกาย (Body Temperature)
เคร่ืองมอื ทีใ่ ช้วัดอุณหภมู ริ า่ งกาย

1. ปรอท (Clinical Thermometer)
- ชนดิ ท่ีใชว้ ัดทางปาก และรักแร้

- ชนิดที่ใชว้ ดั ทางทวารหนัก

2. เครอ่ื งวดั อณุ หภูมขิ องร่างกายชนิดอื่นๆ เชน่
- เคร่ืองวดั อณุ หภูมทิ างหู/หนา้ ผาก

- 24 -

- เครอื่ งวดั อณุ หภมู แิ บบอนิ ฟาเรด

- แผ่นวดั อุณหภูมิลักษณะคล้ายแผ่นฟลิ ์มบางๆ สดี ำ

การวัดอุณหภมู ิของรา่ งกาย ทน่ี ิยมวดั ได้ 3 ทาง คอื
1. ทางปาก
- เปน็ วิธสี ะดวกนิยมใชม้ ากทีส่ ดุ และค่าที่ได้ใหผ้ ลใกล้เคยี งกบั อุณหภมู ิของรา่ งกาย
- การวัดทางปากใชก้ บั ผู้ใหญ่และเดก็ ที่มอี ายมุ ากกวา่ 6 ปี
- ห้ามใช้ในผปู้ ่วยท่ีหมดสติวกิ ลจริต ผู้ป่วยท่ีหอบ ไอบ่อย ผ้ทู ่ีต้องหายใจทางปาก ปากเป่ือยเป็น

แผลหรือผ่าตดั ทางปาก
- ไมค่ วรวัดในผูป้ ว่ ยท่เี พงิ่ ดื่มน้ำ รับประทานอาหารท่รี ้อน เยน็ จดั หรอื สบู บหุ ร่ี
- วดั นาน 2 – 3 นาที

2. ทางรกั แร้
- ไดค้ า่ ไมค่ ่อยเท่ียงตรง ไม่นยิ ม นอกจากรายทีไ่ ม่สามารถวดั ทางปากได้ การวัดทางรักแร้

จะได้ค่าตำ่ กว่าวัดทางปาก
- วัดนาน 5 นาที

- 25 -

3. ทางทวารหนัก
- ใช้วดั ในทารกและเด็กเลก็ หรือผปู้ ่วยทห่ี มดสติ ค่าท่ไี ด้จะสูงกว่าวดั ทางปาก ประมาณ

0.5 องศาเซลเซยี ส ( ํ C )
- ไม่ควรใชใ้ นผูป้ ่วยทเี่ ปน็ โรคหรือผา่ ตัดเกยี่ วกบั ทวารหนักหรือภาวะทอ้ งรว่ งอย่างแรง
- วดั นาน 1 – 2 นาที

ชพี จร (Pulse) ตำแหนง่ ในการจับชีพจร
1. Temporal ขมับ
2. Carotid ขา้ งคอ
3. Apical ยอดของหัวใจ
4. Brachial ข้อพับแขน
5. Radial ข้อมือด้านนิว้ หวั แมม่ อื เปน็ ตำแหน่งทีน่ ิยมจับชีพจร
6. Femoral ขาหนีบ
7. Popliteal ขอ้ พบั ใตห้ วั เข่า
8. Dorsalis Pedis หลงั เท้า
9. Posterior Tibialis ตาต่มุ

- 26 -

สง่ิ ท่ีต้องสงั เกตในขณะจบั ชีพจร
1. อัตราความเร็วของชีพจร (Rate)

อตั ราชีพจร ทารกแรกเกิด120 ครั้งตอ่ นาที
อายุ 1 ปี 110 ครั้งต่อนาที
อายุ 5 ปี 95 ครั้งต่อนาที
อายุ 10 ปี 85 ครงั้ ตอ่ นาที
วัยร่นุ 80 ครง้ั ตอ่ นาที
ผใู้ หญ่ 75 ครัง้ ต่อนาที

โดยปกติ ผู้ใหญ่จะมชี พี จรเตน้ 60-100 คร้งั /นาที แต่ผู้ทสี่ ุขภาพแขง็ แรง หรือนกั กฬี ามักมีชีพจรต่ำ
โดยอาจมีอตั ราการเตน้ ของหวั ใจขณะพกั อยู่ทเี่ พียง 40-60 คร้งั /นาที ในผู้ใหญ่ถ้าชีพจรเร็วกวา่ 100 ครั้งต่อนาทีถือ
ว่าเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) โดยอาจทำให้มีอาการใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย อ่อนล้า เวียนศีรษะ รู้สึกหวิว หรือ
เป็นลมหมดสติได้ หากมีอาการร้ายแรงอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน หัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้
ถ้าชีพจรเต้นช้ากวา่ 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าช้าผิดปกติ (Bradycardia) ซึ่งอาจก่อให้เกิดปญั หาสุขภาพได้ โดยเฉพาะ
หากหัวใจเต้นช้า จนไมส่ ามารถสบู ฉดี เลอื ด และนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ตามรา่ งกายได้อย่างเพียงพอ

- 27 -

ซ่ึงอาจทำใหม้ อี าการ เชน่ ร้สู กึ เหนือ่ ย อ่อนเพลีย เหนอ่ื ยเร็วเมอื่ ออกกำลังกาย วงิ เวยี นศีรษะ สบั สนมึนงง ไมม่ สี มาธิ
หายใจไม่สุด ใจสั่น เป็นลม วูบ หากมีอาการร้ายแรงอาจทำให้ความดันโลหิตผิดปกติ เป็นลมบ่อย หัวใจวาย หรือ
หวั ใจหยดุ เตน้ ได้

2. จังหวะชีพจร (Pulse rhythm) ปกติจังหวะของชีพจรจะสม่ำเสมอ แต่ละช่วงห่างเท่ากัน ถ้า
จังหวะไม่สม่ำเสมอ เรียกวา่ arrhythmia

3. ปรมิ าตรชีพจร (Pulse volume) หมายถึง ความแรงของเลอื ดในหลอดเลือดแดงที่มากระทบมือ
แต่ละคร้ังในภาวะปกติความแรงของชพี จรจะเทา่ กัน

4. ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดแดงปกติผนังของหลอดเลือดแดง จะตรง และเรียบ มีความ
ยืดหยุ่นดี
การนบั การหายใจ ( Respiration )

การหายใจ คือ การนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายการ
หายใจ มี 2 ขัน้ ตอน ได้แก่

1. การหายใจเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดกับอากาศ
ภายนอก

1.1 การสดู เอาอากาศเข้าไปในถงุ ลมของปอด เรียกว่า การหายใจเข้า (Inspiration)
1.2 การไลอ่ ากาศออกจากปอด เรียกว่า การหายใจออก (Expiration)
2. การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ซง่ึ อยูใ่ นเลอื ดกับเซลล์ของเน้ือเย่ือต่างๆ
ในร่างกาย โดยเซลล์ของร่างกายจะจับเอาออกซิเจนจากเลือดและถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับเลือด อัตราการ
เคลื่อนไหวของอากาศเข้าปอดนี้ เรียกว่า การระบายอากาศ (Ventilation) ซึ่งอาจหายใจเร็วและลึกผิดปกติ
(Hyperventilation) หรือหายใจตื้นมาก (Hypoventilation) การหายใจเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติโดยมีศูนย์
ควบคุมการหายใจอยู่ท่ีสว่ นท้ายของสมอง (Medulla Oblongata) แต่อยา่ งไรกต็ ามระยะเวลาและความลึกของการ
หายใจบางขณะก็สามารถถูกควบคุมโดยอำนาจจิตใจได้เป็นพักๆ เช่น ได้รับอิทธิพลจากความเจ็บป่วย การ
เปล่ียนแปลงของอารมณห์ รือสภาวะแวดล้อมอาจมผี ลทำใหห้ ายใจตื้นหรือลกึ กว่าปกติได้ ดงั นน้ั การหายใจจึงไม่ควร
ให้ผปู้ ว่ ยรตู้ ัว

- 28 -

การวัดความดนั โลหติ (Blood Pressure)
ความดันโลหิต (Blood Pressure) หมายถึง ความดันของเลือดที่กระทบกับผนังของหลอดเลือด

แดง มี 2 อย่าง คือ
1. ความดันซีสโทลิก (Systolic Pressure) เป็นคา่ ความดนั สูงสดุ ทีเ่ กดิ จากหวั ใจหอ้ งลา่ งซา้ ยบีบตัว
2. ความดันไดแอสโทลิก (Diastolic Pressure) เปน็ ค่าความดนั ต่ำสุดท่เี กิดขึน้ ขณะหัวใจห้องล่าง

ซา้ ยคลายตวั
ความดนั ชพี จร (Pulse Pressure) คือ ค่าความแตกตา่ งระหวา่ งค่าความดนั ซีสโทลกิ และความดัน

ไดแอสโทลิก การวัดความดันโลหิตเป็นการวัดการทำงานของหัวใจและแรงต้านทานส่วนปลายของหลอดเลือด
ซึ่งจะมีหนว่ ยเปน็ มลิ ลิเมตรปรอท (mmHg) เช่น คา่ ความดันโลหติ 120/80 มม.ปรอท หมายถงึ ค่าความดันซีสโทลิก
120 มม.ปรอท คา่ ความดันไดแอสโทลิก 80 มม.ปรอท ความดันชพี จร 40 มม.ปรอท คา่ ปกตคิ วามดนั โลหติ

- เดก็ แรกเกิด ความดนั ซสิ โทลกิ ประมาณ 20 - 60 มม.ปรอท
- 3 เดอื น ความดันซิสโทลิก ประมาณ 80 มม.ปรอท ส่วนค่าความดันไดแอสโทลิกยังไม่
แนน่ อน
- 16 ปขี ึ้นไป ความดนั โลหติ ไมค่ วรสงู และตำ่ กวา่ คา่ เฉล่ีย ดังน้ี
ความดนั ซสี โทลิก ประมาณ 90 - 140 มม.ปรอท
ความดันไดแอสโทลิก ประมาณ 60 - 90 มม.ปรอท

- 29 -

เครือ่ งวดั ความดันโลหติ (Sphygmomanometer) มหี ลายชนิด ไดแ้ ก่

คำถามท้ายบท
1. สญั ญาณชพี หมายถงึ ?
2. อุณหภูมิร่างกาย หมายถึง ?
3. ชพี จร หมายถงึ ?
4.อตั ราการหายใจ หมายถึง ?
5.ความดนั โลหติ หมายถึง ?
6.อณุ หภูมแิ กนของร่างกายปกติคอื ?
7.คา่ ปกติของชพี จรในวัยผู้ใหญ่คือ ?
8.อตั ราการหายใจในวยั ผู้ใหญ่ปกตคิ อื ?
9.ความดันโลหติ ในวัยผู้ใหญ่ปกตคิ ือ ?
10.ชพี จรสามาตรวจพบได้ตำแหน่งใดบ้าง ?

- 30 -

บทท่ี 3

การดแู ลเบื้องต้นในผปู้ ว่ ยฉุกเฉิน

การประเมินสถานการณ์(scene size up)
วตั ถปุ ระสงค์

1. มคี วามรูค้ วามเขา้ ใจ เหน็ ความสำคัญของการประเมนิ สถานการณ์
2. เขา้ ใจในหลักการประเมินสถานการณ์
การประเมนิ สถานการณ์ เป็นขน้ั ตอนแรกในการปฏิบัตกิ ารฉุกเฉนิ ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยจะเร่ิม
ตั้งแต่ได้รับข้อมลู ใหอ้ อกปฏิบัตกิ ารฉุกเฉิน ระหว่างการเดินทางไปจุดเกิดเหตุ จนกระทั่งถึงที่เกดิ เหตุ และเมื่อมาถงึ
ณ จุดเกิดเหตุ ก่อนการเริ่มเข้าไปในที่เกดิ เหตุ ผู้ปฏิบัติการที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉนิ ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะ
เป็นเหตกุ ารณใ์ ดก็ตาม ทง้ั ในภาวะฉกุ เฉินท่ัวไปและในภาวะภยั พิบัติ ซง่ึ ผปู้ ฏิบตั ิการจะต้องพิจารณาดูว่ามีส่ิงใดบ้าง
ทจี่ ะก่อให้เกดิ อนั ตรายต่อตนเอง ต่อผู้รว่ มงาน และผ้อู ยใู่ นเหตกุ ารณ์หรือผู้ปว่ ยผู้ปฏบิ ัติการต้องตระหนักว่า “หากผู้
ปฏิบัติการเกิดการบาดเจ็บหรอื เสยี ชวี ิต ตัวผู้ปฏิบัติการคนนน้ั ก็จะไมม่ ปี ระโยชนส์ ำหรับผู้เจบ็ ปว่ ยฉุกเฉนิ ”
หลักสำคัญของการประเมนิ สถานการณ์
1. การใช้อปุ กรณป์ อ้ งกนั ตนเอง (body substance isolation : BSI)
2. การประเมินความปลอดภัยของสถานท่เี กดิ เหตุ (scene safety)
3. การประเมินกลไกการบาดเจ็บหรอื เจ็บป่วย (mechanism of injury: MOI or nature of illness:
NOI)
4. การประเมนิ จำนวนผู้เจ็บป่วยฉกุ เฉิน (number of patient)
5. การขอแหลง่ สนับสนุนเพิ่มเติม (additional resources)
การใช้อุปกรณป์ อ้ งกันตนเอง (body substance isolation: BSI)
ผู้ปฏิบัติการควรปฏิบัติตนตามมาตรฐานการป้องกันตนเอง(standard precaution) ตามสภาพ
ผู้ป่วยฉุกเฉิน ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เพียงพอและเหมาะสม สำหรับแต่ละสถานการณ์ เช่น หน้ากาก กาวน์
แว่นตา ถุงมือ รองเทา้ บูต๊ เปน็ ตน้ รวมทง้ั ผูป้ ฏิบตั ิการควรจะตอ้ งทราบแนวทางในการใชอ้ ปุ กรณป์ อ้ งกนั ตนเองแต่ละ
ชนิด ดังน้ี
1. การป้องกนั การแพร่กระจายเชอื้

1.1 ลา้ งมือ/สุขอนามยั สว่ นบคุ คล
1.2 การทำความสะอาด และการทำลายเชื้อหลงั การใชอ้ ุปกรณ์
2. การใชอ้ ุปกรณ์ในการปอ้ งกันการสัมผัสสารคัดหลั่ง
2.1 ป้องกนั ดวงตา โดยการสวมแวน่ ตา

- 31 -

2.2 ถงุ มอื ถงุ มือนบั ว่าเป็นอุปกรณก์ ารปอ้ งกันตนเองหลกั ทผี่ ูป้ ฏบิ ตั กิ ารควรจะตอ้ งใช้ในทุก ๆ
ปฏิบัตกิ าร และควรเปลย่ี นทกุ คร้ังเมือ่ จะสัมผัสผู้ปว่ ยรายอืน่

2.3 กาวน์ หรอื ผ้ายางกนั เป้ือน ใชใ้ นกรณที ่มี กี ารกระเดน็ เป้อื นมากๆ เช่น บาดแผลจากอุบัตเิ หตุ
รนุ แรง การคลอดบุตร เปลี่ยนเมอื่ มคี วามจำเป็น

2.4 ผ้าปิดปาก – จมูก (mask) ใช้ในกรณีที่อาจมีการกระเด็นของเลือด หรือสารคัดหลั่ง หรือ
กรณสี งสัยว่าผปู้ ว่ ยมกี ารติดเชื้อของโรคทต่ี ิดตอ่ ทางลมหายใจ
การประเมนิ ความปลอดภยั ของสถานท่ีเกดิ เหตุ (scene safety)

ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติการทุกคนต้องตระหนักและพึงปฏิบัติ
เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อภาวะอันตรายจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อตัว
ผู้ช่วยเหลือ ถ้าประเมินสถานการณ์แล้วพบว่าไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ ผู้ปฏิบัติการก็ไม่ควรเสี่ยงเข้าไปใน
สถานการณ์นั้นๆ ทั้งนี้เพื่อการป้องกันไม่ให้ผู้ช่วยเหลือได้รับอันตราย รวมทั้งการป้องกันไมใ่ ห้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
ได้รับอันตราย และถ้าประเมินสถานการณ์แล้ว พบว่า ที่เกิดเหตุไม่มีความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติการไม่ควรจะเข้าไป
ในที่นั้นๆ พร้อมทั้งหาแนวทางในการทำให้สถานการณ์นั้นมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือ
ผูเ้ จบ็ ปว่ ยฉกุ เฉินได้ สถานการณค์ วามปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุเป็นพลวตั (dynamic) ทสี่ ามารถเปล่ียนแปลงได้
ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องมีการประเมินอยู่ตลอดเวลา มีสติ อยู่ทุกขณะ เพื่อที่จะสามารถแก้ไข
ปญั หาเฉพาะหน้าได้อยา่ งทนั ทว่ งที เม่อื มีการเปลย่ี นแปลงในสถานการณ์นนั้ ๆ โดยไมใ่ ห้ตนเอง ผ้รู ่วมทีม ตลอดจนผู้
อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้ป่วย ไม่ให้ได้รับอันตรายเพิ่ม สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อทำให้สถานการณ์ปลอดภัย
ในสถานการณ์ตา่ งๆ เชน่
กรณอี บุ ัตเิ หตจุ ราจร

1. เมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุจราจร ให้สังเกตสิ่งที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตจากสถานการณ์
อุบัติเหตุจราจร เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟ เสาไฟ ไฟไหม้ ระเบิด วัตถุอันตราย สภาพการจราจร สภาพถนนจุดท่ี
เกดิ เหตุ

2. ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาล หน่วยกู้ภัย ตำรวจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯลฯในกรณี
ท่ีสถานการณร์ ุนแรงเกินความสามารถทจ่ี ะกระทำได้เอง
กรณวี ัตถุอันตรายหรอื สารเคมี

1. เมือ่ สงสยั วา่ เหตกุ ารณ์นัน้ เป็นเหตุการณท์ ี่เกิดจากวัตถุอนั ตราย ก่อนเขา้ ไป ณ จุดเกิดเหตุ ส่ิงท่ี
พงึ ปฏิบัติตอ้ งพยายามหาขอ้ มลู ว่าวัตถอุ นั ตรายนัน้ คืออะไร และจะทำใหเ้ กดิ อันตรายตอ่ ผู้ช่วยเหลอื อยา่ งไร

2. ประสานงานให้มีผเู้ ชี่ยวชาญเร่ืองวตั ถุอันตรายโดยเฉพาะเข้าควบคุมสถานการณ์

- 32 -

กรณกี ารทำร้ายรา่ งกาย/จลาจล
1. ประสานเจา้ หนา้ ที่ตำรวจควบคมุ สถานการณ์น้ันใหไ้ ด้กอ่ นท่ีจะเข้าไปใหก้ ารดแู ลรักษา
2. การปฏิบัติงานในสถานการณ์อาชญากรรม ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเหตุการณ์ ยกเว้นในเรื่องการ

ดูแลรกั ษาผปู้ ่วยเทา่ น้นั และการเก็บรักษาหลกั ฐานพยานตา่ ง ๆ
การประเมินกลไกการบาดเจ็บหรือการป่วยฉุกเฉิน (mechanism of injury: MOI or nature of illness:
NOI)

การประเมินกลไกการบาดเจ็บหรือการป่วยมีความสำคัญสำหรับการวางแผนการเข้าช่วยเหลือ
ผปู้ ่วยได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผปู้ ฏบิ ัติการสามารถค้นหาปัญหาของผปู้ ่วยไดง้ ่ายและรวดเรว็ ย่งิ ข้นึ ส่งผลให้การดูแล
ผ้ปู ่วยเปน็ ไปอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากขนึ้
กรณีปว่ ยฉุกเฉนิ จากอบุ ตั เิ หตุ

เป็นการพิจารณาถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บเพื่อพยากรณ์อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บและ
วางแผนให้การชว่ ยเหลือ โดยพิจารณาจากความรุนแรงของเหตุการณใ์ นสถานทเี่ กิดเหตุ เช่น สภาพของรถ ลักษณะ
การชน ความเร็วของรถขอ้ มลู สภาพของผบู้ าดเจ็บ เชน่ ระดบั ความรสู้ ึกตวั ในเหตุการณ์นัน้ มผี เู้ สียชีวติ หรือไม่ หรือมี
ผบู้ าดเจบ็ ติดภายในหรอื กระเดน็ ออกนอกรถหรือไม่

การประเมินกลไกการบาดเจ็บ (mechanism of injury: MOI) สามารถประเมินได้โดยการ
สอบถามจากผู้ปว่ ยครอบครวั หรือผู้เหน็ เหตกุ ารณ์ ซึ่งข้อมลู ทไี่ ดจ้ ากการประเมินกลไกการบาดเจ็บ จะทำให้ผู้ปฏบิ ัติ
การสามารถคาดการณ์ไดว้ ่าการบาดเจบ็ ในครง้ั นี้ สง่ ผลกระทบตอ่ การทำหน้าที่ของอวยั วะสว่ นต่างๆ อยา่ งไร
กรณปี ว่ ยฉกุ เฉนิ ทไี่ มใ่ ชจ่ ากอุบตั ิเหตุ

เปน็ การพิจารณาจากขอ้ มลู อาการของผูป้ ว่ ยฉุกเฉนิ (nature of illness: NOI) ผู้ปฏบิ ตั กิ ารสามารถ
สอบถามลักษณะอาการการป่วยฉุกเฉินจากครอบครัว หรือญาติ โดยข้อมูลเบ้ืองต้นบางส่วนได้จากศูนย์รับแจ้งเหตุ
และสั่งการ ก่อนมาถึงที่เกิดเหตุแล้ว เช่น “รับแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก”
หรือ “เป็นผู้ป่วยหมดสติ ปลุกไม่ตื่น”เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติการสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการซกั ถามข้อมูลเพิม่ เติมจากผปู้ ่วยหรือญาติ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ได้ในเบ้อื งต้นว่าการปว่ ยฉุกเฉินของผู้ป่วย
รายน้ี น่าจะเก่ียวขอ้ งกบั ระบบใดของร่างกายหรือโรคอะไรได้บา้ ง เพือ่ ทีจ่ ะวางแผนการช่วยเหลอื ได้อย่างเหมาะสม
ตอ่ ไป
การประเมินจำนวนผู้ป่วยฉกุ เฉนิ (number of patients)

เป็นการประเมินดูว่าในเหตุการณ์นั้นมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวนเท่าใด จำเป็นต้องใช้แผน
อุบัติเหตหุ ม่หู รอื ปฏิบัติการด้านสาธารณภัยหรอื ไม่ เพื่อวางแผนการชว่ ยเหลอื และขอกำลงั สนบั สนนุ
การขอแหลง่ สนบั สนนุ เพ่ิมเติม(additional resources)

พิจารณาว่าในเหตุการณ์ครั้งนั้น จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือก่อนจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรอื ไม่ เช่น หนว่ ยดบั เพลิง เจ้าหนา้ ที่ตำรวจมูลนธิ ิ กภู้ ยั ต่างๆ หรือชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดบั สูง เปน็ ตน้

- 33 -

การประเมนิ ผปู้ ่วยฉุกเฉิน (assessment)
การประเมนิ ผู้ป่วยฉกุ เฉิน เปน็ บทบาทสำคัญมากของผปู้ ฏิบัติการ ทีจ่ ะต้องทำการประเมินผู้ป่วยใน

ทุกครั้งที่ออกปฏิบัติการฉุกเฉิน ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉิน อาจเป็นผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือเป็นผู้ป่วยทีมีการ
เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง ทั้งนี้ หลังการประเมนิ ผู้ปว่ ยแล้ว ผู้ปฏิบัติการจะต้องสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วย
ฉุกเฉินรายน้ัน ๆ มีความรุนแรงของการเจบ็ ปว่ ยมากหรือน้อย จะต้องใช้การประเมินแบบใดจงึ จะเหมาะสม เพื่อให้
ผู้ปว่ ยได้รบั การดแู ลท่ีมีประสทิ ธภิ าพสงู สุด
การประเมนิ เบือ้ งต้น (primary assessment)

การประเมินเบื้องต้น เป็นการประเมินสภาพผู้ป่วยฉกุ เฉิน ที่ผู้ปฏิบัติการจะต้องกระทำเป็นลำดับ
แรก หลังจากประเมินสถานการณ์แล้วว่ามีความปลอดภัยเพียงพอในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งการประเมิน
เบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุต้องใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติการ ภายใต้การตัดสินใจที่รวดเร็ว เพ่ือ
ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด โดยใช้เวลาในการประเมินไม่เกิน 30 วินาที เพื่อค้นหาปัญหา
เรง่ ด่วนทเี่ ปน็ ภาวะคุกคามตอ่ ชีวิต (life threatening) โดยมขี ้นั ตอนในการประเมิน ดงั น้ี

1. การประเมนิ สภาพทั่วไปของการเจ็บปว่ ย (general impression)
2. การประเมนิ ความรู้สึกตัว (level of consciousness : LOC)
3. การประเมินทางเดนิ หายใจ (airway)
4. การประเมินการหายใจ (breathing)
5. การประเมินการไหลเวียนโลหติ (circulation)
การประเมนิ สภาพทวั่ ไปการเจ็บปว่ ย (general impression)
เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมทอ่ี ยู่รอบๆ ตวั ผู้ป่วย และอาการสำคัญของผู้ป่วย โดยใช้การสังเกต
อยา่ งรวดเรว็ แยกใหช้ ดั เจนวา่ เป็นการเจ็บปว่ ยด้วยโรคทัว่ ไปหรือได้รับบาดเจ็บ ถ้าแยกไมไ่ ดห้ รอื ไม่แนใ่ จให้การดูแล
เหมือนผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ ผู้ประเมินทำการประเมินด้วยการสังเกตก่อนการเข้าไปสัมผัสตัวผู้ปว่ ยโดยให้ได้ขอ้ มูล
สำคัญที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ สภาพผู้ป่วยที่ไปพบ อยู่ในสภาพอย่างไร มีวัตถุหรือกลิ่นที่ผิดปกติอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ
หรือไม่ เพศ และอายขุ องผู้ป่วยโดยประมาณ

- 34 -

การประเมินความรู้สกึ ตัว (level of consciousness : LOC)
ถ้าในขั้นตอนของการการประเมินสภาพทั่วไปการเจ็บป่วย พบว่า ผู้ป่วยนอนแน่นิ่งอยู่ หากเป็น

ผปู้ ่วยท่ไี ดร้ ับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรอื ไมร่ ้สู กึ ตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ก่อนทำการประเมนิ ระดับความรู้สึกตัว ให้ยึด
ตรงึ กระดกู สนั หลงั ส่วนคอ (c-spine protection) ให้อยกู่ บั ทไี่ วก้ ่อนเสมอก่อนทำการช่วยเหลืออยา่ งอ่นื ตอ่ ไป ก่อน
ทำการประเมินผู้ปว่ ยทกุ คร้งั ผปู้ ฏิบัตกิ ารตอ้ งแนะนำตวั วา่ เปน็ ใคร มาจากหน่วยงานใด และจะมาทำการช่วยเหลือ
ผู้ป่วย แล้วจึงทำการประเมินความรู้สึกตัวตามลำดับ โดยใช้หลักการประเมินระดับคามรู้สึกตัวที่ใช้ได้ง่ายและ
สามารถตรวจได้อย่างรวดเรว็ ได้แก่ จำแนกระดับความรู้สึกตวั เป็น A-V-P-U ดังน้ีมดี งั นี้

- A= Alert รู้สึกตวั ดี
- V= Response to verbal stimuli ตอบสนองต่อเสยี งเรียก
- P= Response to painful stimuli ตอบสนองตอ่ ความเจบ็ ปวด
- U= unresponsive ไมร่ สู้ กึ ตวั
หมายเหตุ ในการประเมินระดับความรูส้ ึกตวั ของผู้ป่วย ถ้าประเมินพบว่า ผู้ป่วยไม่มกี ารตอบสนอง
ไม่หายใจหรือหายใจเฮอื ก ให้เร่มิ ปฏบิ ตั ติ ามขนั้ ตอนการชว่ ยฟืน้ คืนชีพเลย
การประเมินทางเดนิ หายใจ (airway)
เป็นการประเมินผู้ป่วย เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น และต้องช่วยชีวิตแบบฉุกเฉิน
หรือไม่ถ้าผปู้ ว่ ยท่ีไมม่ ีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้น แสดงว่าอาจมีภาวะอุดกน้ั ทางเดนิ หายใจ
1. ถ้าผู้ป่วยพดู คยุ ได้/รอ้ งไหไ้ ด้ แสดงวา่ ไม่น่าจะมีปญั หาภาวะทางเดินหายใจอดุ ก้ัน
2. ถ้ามีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เปิดทางเดินหายใจ ด้วยวิธี manual airway maneuver เพื่อ
ป้องกนั ล้ินอดุ กัน้ ทางเดินหายใจ

- ใช้วิธี Head tilt-chin lift ในผ้ปู ว่ ยฉกุ เฉนิ ท่วั ไป

- 35 -

ภาพแสดง การเปดิ ทางเดินหายใจดว้ ยวิธี Head tilt-chin lift
- ใช้วธิ ี Jaw thrust หรอื Chin lift ในผ้ปู ว่ ยอุบตั ิเหตุ

ภาพแสดง การเปิดทางเดินหายใจ ด้วยวิธี Jaw thrust
3. ดแู ลทางเดนิ หายใจให้โล่ง ถ้าทางเดินหายใจไม่โลง่ ควรตอ้ งทำทางเดนิ หายใจใหโ้ ล่งทนั ที ก่อนทำ
การประเมนิ การหายใจตอ่ ไป เชน่ ดดู เสมหะ
การประเมินการหายใจ (breathing)
เป็นการประเมนิ ว่าผ้ปู ว่ ยหายใจได้หรือไม่ และถา้ หายใจได้ ลกั ษณะการหายใจเป็นอย่างไร (หายใจ
เร็ว หายใจช้า หรือไม่หายใจ) โดยการดูและสังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก ไม่มีภาวะเขียวที่ริมฝีปากปลายมอื
ปลายเท้าผู้ป่วยพูดได้เป็นประโยค หากประเมินพบว่ามีลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ ให้ทำการช่วยเหลือ
ที่เหมาะสม เชน่ การใหอ้ อกซเิ จน หรอื การใช้ self- inflating bag เปน็ ต้น

- 36 -

การประเมินการไหลเวียนโลหิต (circulation) เป็นการประเมินเพื่อดูความเพียงพอของปริมาณเลือดในระบบ
ไหลเวยี น โดยการประเมนิ ดงั น้ี

1. ตรวจชีพจร โดยคลำชีพจรที่คอ (carotid pulse) และข้อมือ เปรียบเทียบกัน เพื่อประเมิน
ภาวะช็อคจากการสญู เสียเลอื ด และประมาณการค่าความดันโลหิตซิสโตลคิ (systolic Blood pressure) ดังนี้

- คลำชพี จรไดท้ ี่คอ ประมาณคา่ systolic BP ประมาณ 60 มิลลเิ มตรปรอท
- คลำชีพจรไดท้ ข่ี าหนบี ประมาณค่า systolic BP ประมาณ 70 มลิ ลเิ มตรปรอท
- คลำชพี จรได้ทขี่ อ้ มอื ประมาณค่า systolic BP ประมาณ 80 มลิ ลิเมตรปรอท

- 37 -

grเ
2. ประเมนิ ผิวหนงั โดยดูสผี ิว อุณหภูมิ ความชื้น เช่น ภาวะเหง่ือออก ตวั เย็นช้นื แหง้ หรอื ร้อน สี
ผิวซีด หรอื เขยี วคลำ้
3. ตรวจการคืนกลับของเลือดในหลอดเลือดฝอย (capillary refill) ในผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยการกด
บริเวณเล็บของผู้ป่วยฉุกเฉนิ แล้วปล่อย ถ้ามีการไหลกลับภายใน 2 วนิ าที ถือวา่ ปกติ แตถ่ า้ นานกวา่ 2 วนิ าที ถือว่า
ผดิ ปกติ

4. ประเมินจุดเลือดออกมาก (major bleeding) โดยการดูตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้าอย่างรวดเร็วว่า
มีตำแหน่งใดของร่างกายท่ีมเี ลอื ดออกจำนวนมาก ทอ่ี าจทำให้ผู้ปว่ ยอาจเสยี ชีวิตได้ และสงั เกตเสอ้ื ผ้าภายนอกว่ามีส่วนใด
ทช่ี มุ่ เลอื ด ถา้ พบวา่ ตำแหน่งใดมีเลอื ดออกมากๆ ใหท้ ำการหา้ มเลือดไวก้ อ่ น

- 38 -

ข้อมูลที่ผู้ปฏิบัติการได้จากการประเมินเบื้องต้นนี้ หากพบว่ามีความผิดปกติและเกนิ ศักยภาพของ
พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ให้แจ้งขอรับการสนับสนุนการจากชุดปฏิบัติการในระดับที่สูงกว่ามาทำการช่วยเหลือ
ผปู้ ว่ ยต่อไป เชน่ ผู้ป่วยไม่รู้สกึ ตัว หรอื ประเมินพบว่ามปี ัญหาเก่ียวกับทางเดนิ หายใจ การหายใจ และการไหลเวียน

การประเมนิ เบื้องตน้ เปน็ การประเมนิ ท่จี ะต้องปฏิบตั ิกับผปู้ ว่ ยฉกุ เฉินทกุ ราย โดยมขี ้ันตอนในการ
ปฏิบตั ิ ดงั ท่กี ล่าวมา แต่มเี หตผุ ลสำคัญ 3 ประการ ทีจ่ ะตอ้ งหยดุ การประเมินเบือ้ งตน้ ช่ัวคราว ได้แก่

1. หัวใจหยดุ เตน้ (cardiac arrest)
2. ทางเดนิ หายใจอุดกน้ั (airway obstruction)
3. สถานที่เกิดเหตุไม่ปลอดภยั (scene unsafety)
ภาวะคกุ คามชีวติ (life threatening)
การประเมินเบือ้ งตน้ สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ว่าจะมีสาเหตุจากอุบตั ิเหตหุ รือป่วยฉุกเฉนิ มีแนวทาง
การปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่ในผู้เจ็บปว่ ยฉุกเฉินที่มีประวตั ิชดั เจนว่าไม่ได้เกิดจากอุบัตเิ หตุ อาจไม่ต้องทำการยึดตรงึ
ศีรษะก็ได้ และเมื่อผู้ปฏิบัติการทำการประเมนิ เบื้องต้นแลว้ ก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าผู้ปว่ ยนัน้ มีการบาดเจ็บหรอื
เจ็บป่วยที่รนุ แรงมากหรือไม่ หากพบว่าเป็นผู้บาดเจ็บรุนแรง (severe injury) หรือเป็นผู้เจ็บป่วยทีไ่ ม่ทราบประวัติ
แน่นอนหรอื ไมร่ สู้ ึกตัว จำเปน็ จะต้องรบี ทำการเคลอื่ นยา้ ยนำผู้ปว่ ยสง่ โรงพยาบาล ใหร้ บี รายงานศนู ยร์ ับแจง้ เหตุและ
สั่งการ และทำการประเมินตามระบบอย่างรวดเร็ว (rapid scan assessment) แต่ถ้าข้อมูลที่ได้จากการประเมิน
เบื้องต้นพบว่าถ้าเป็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยไม่มีปัญหาคุกคามต่อชีวิต
หรือถ้าเป็นผปู้ ว่ ยฉุกเฉนิ ท่สี ามารถบอกอาการการเจ็บป่วยได้วา่ มีปัญหาบรเิ วณใด กใ็ ห้ทำการประเมนิ เฉพาะตำแหนง่
ทเ่ี ปน็ ปัญหา (focused assessment) ซึ่งจะกลา่ วต่อไป
การประเมนิ ขน้ั ที่สอง (secondary assessment)
ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุหรือผู้ป่วยฉุกเฉินทางอายุรกรรม การที่จะสามารถตัดสิน
ว่าผู้ป่วยฉุกเฉินรายนั้นๆ เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีระดับความฉุกเฉินเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรง ต้องอาศัย ข้อมูลจาก
การประเมินเบื้องต้น (primary assessment) ดังนั้น หลังจากประเมินสถานการณ์ว่ามีความปลอดภัยเพียง
พอที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว ต้องทำการประเมินเบื้องต้นก่อนเสมอ ก่อนที่จะให้การช่วยเหลือ
อื่นๆ ต่อไป และหลังจากที่ได้ทำการประเมินเบื้องต้นแล้ว และแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตที่เป็นปัญหา
เร่งด่วนแล้ว ขั้นตอนการปฏิบัติในการประเมินผู้ป่วยต่อไป คือ การทำการประเมินขั้นที่สอง (secondary
Assessment) ซ่ึง มีลักษณะการปฏิบัติในการประเมิน 2 รูปแบบ ท้ังน้ี ขึ้นอยู่กับสภาพและอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน
ที่ได้ข้อมูลจากผลการประเมินเบื้องต้น (primary assessment) คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่คงที่
และกลุ่มผู้ป่วยท่ีมีอาการคงท่ี
การซักประวตั ิ (History taking)
หลักการในการซกั ประวตั ิผู้บาดเจ็บ ควรยดึ หลกั ท่ีสามารถปฏิบตั ิได้ง่าย โดยใชเ้ วลานอ้ ยและเข้าใจ
ไดง้ า่ ย โดยทั่วไปใช้หลัก SAMPLE ในการซักประวตั ิผู้บาดเจ็บ ดงั นี้

- 39 -

S (signs and symptoms) คือ อาการและอาการแสดงทผ่ี ูบ้ าดเจบ็ บอกกล่าว
A (allergy) คอื ประวตั ิการแพย้ า อาหาร หรือสง่ิ อนื่
M (medication) คือ ประวัติการใชย้ า หรือ ยาทใี่ ช้อยปู่ ระจำ
P (past pertinent history) คอื ประวตั ิการเจ็บป่วยในอดีต
L (last meal) คือ อาหาร เคร่อื งดม่ื ทีผ่ ูบ้ าดเจ็บได้รับครั้งลา่ สดุ ก่อนเกดิ การบาดเจ็บ
E (events leading to present illness) คอื เหตุการณ์สำคญั ก่อนการเกิดเหตทุ ่ีนำมาสกู่ ารบาดเจบ็ คร้ังนี้
สำหรับหลักการในการซักประวตั ผิ ปู้ ว่ ยทางอายุรกรรม
การประเมนิ มุง่ สว่ นสำคัญ (focused assessment)

การประเมนิ มุ่งสว่ นสำคญั เปน็ การประเมนิ ข้ันที่สองที่ใช้สำหรบั การประเมนิ ผปู้ ่วยฉกุ เฉนิ ท่ีมีอาการ
คงที่ (stable) ไม่มีปัญหาคุกคามต่อชีวิต กล่าวคือหลังจากการประเมินเบื้องต้น (primary assessment) พบว่า
ผู้ป่วยมีอาการคงที่ ไม่มีปัญหาคุกคามต่อชีวิต ไม่มีปัญหาเรื่อง ทางเดินหายใจ การหายใจหรือระบบการไหลเวียน
รวมทัง้ ระบบประสาท สามารถใชก้ ารประเมนิ ม่งุ สว่ นสำคัญ (focused assessment) ในการประเมนิ โดยไม่ต้องทำ
การประเมินตามระบบอยา่ งรวดเร็ว (rapid scan assessment) และอาจพิจารณาทำการประเมินตามระบบอยา่ ง
ละเอียด (detailed assessment) เพื่อค้นหาความผดิ ปกติเพิ่มเติมได้ ในผู้ป่วยฉุกเฉนิ จากอุบัตเิ หตุ ก็จะเป็นกลุ่มที่
หลังการประเมินเบื้องต้นพบว่า มีการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย (Minor injury) ซึ่งผู้บาดเจ็บในกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้อง
ตรวจประเมินให้ครบทกุ ระบบ สามารถประเมินเฉพาะตำแหนง่ ที่ผู้บาดเจบ็ มีอาการ เน้นที่ส่วนของร่างกายที่ได้รับ
บาดเจ็บ (focused assessment) แต่ในกลมุ่ ผปู้ ่วยฉุกเฉินทางอายุรกรรม การประเมนิ มุ่งส่วนสำคัญ มคี วามสำคัญ
มาก เนอ่ื งจากการประเมนิ มงุ่ ส่วนสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มน้ี จะเนน้ เรือ่ งการซกั ประวัตแิ ละจากการตรวจประเมินในส่วน
ท่ีมีอาการเกีย่ วข้องกับการเจบ็ ป่วยฉุกเฉนิ และตามอาการที่ผ้ปู ่วยบอก หากสามารถซักประวัติและประเมินในส่วนท่ี
มีอาการให้ไดข้ ้อมลู ทมี่ คี วามครอบคลุม จะเปน็ ประโยชน์อย่างย่งิ ในการวางแผนการดูแลผู้ปว่ ยต่อไป
การประเมินซำ้ และประเมนิ ต่อเนื่อง (Reassessment &Ongoing assessment)

เป็นการประเมินเพื่อติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นระยะๆ
หลังจากที่ได้ทำการประเมินเบื้องต้น และทำการแก้ไขภาวะคุกคามชีวิตในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งการประเมิน
ประสิทธิภาพการดูแลที่ได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นไปแล้ว ซึ่งจะทำการประเมิน ในขณะการลำเลียงผู้ป่วยเพื่อ
นำส่งโรงพยาบาล หรอื ระหว่างรอชุดปฏิบตั ิการฉกุ เฉนิ ในระดับท่ีสูงกว่า โดยผ้ปู ฏิบัตกิ ารจะตอ้ งทำการประเมินเป็น
ระยะๆ ตามสภาพความรนุ แรงของผู้ป่วยแตล่ ะราย ดงั นี้

1. ผู้ป่วยที่มีการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากหรือบาดเจ็บสาหัส ควรมีการประเมินผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ทุก 5 นาที จนกระทั่งนำผู้ปว่ ยมาถึงโรงพยาบาลหรือจนกวา่ ชุดปฏิบัติการฉกุ เฉินระดับสงู จะมาถึง และรับผูป้ ว่ ยไป
ดูแลตอ่

2. ผปู้ ่วยทม่ี ีอาการการเจ็บปว่ ยทมี่ ีความรนุ แรงในระดับปานกลาง ควรมกี ารประเมินอย่างต่อเนื่อง
ทกุ 15 นาที จนกระท่ังนำผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล

- 40 -

3. ผ้ปู ่วยที่มีอาการการเจ็บป่วยทม่ี ีความรนุ แรงเพยี งเลก็ นอ้ ย ควรมีการประเมินสภาพอย่างต่อเน่ือง
อย่างน้อยทุก 30 นาที จนกระทั่งนำผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล (ถ้ามีการนำส่งโรงพยาบาล) ในการประเมินผู้ป่วย
ฉุกเฉินซ้ำ เป็นระยะๆ นี้ ผู้ปฏิบัติการจะตอ้ งทำการบันทึกผลการประเมิน ในแบบบันทึกรายงานด้วย เพื่อประเมิน
การเปลีย่ นแปลงอาการของผปู้ ่วย และเปน็ ขอ้ มลู สำคัญสามารถใชเ้ ปน็ ข้อมลู ประกอบการวางแผนการรักษาพยาบาล
ต่อไป เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล สิ่งสำคัญทีผ่ ู้ปฏบิ ัติการจะต้องทำการประเมินซ้ำอย่างต่อเนือ่ ง เพื่อเฝ้าระวงั การ
เปลย่ี นแปลงอาการของผู้ป่วยมดี ังนี้
1. การตดิ ตามประเมินอาการการเปลย่ี นแปลงของผปู้ ่วยเปน็ ระยะ (monitoring &reassessment) คือ

1.1 ระดับความรู้สกึ ตัว หรอื สญั ญาณทางประสาทและสมอง
1.2 ทางเดนิ หายใจ โลง่ สะดวกดีหรอื ไม่
1.3 การตรวจวดั สญั ญาณชพี ได้แก่ การประเมินหายใจเปน็ อย่างไร หายใจชา้ หายใจเร็ว หรอื
ผดิ ปกติอย่างอ่ืนหรือไม่ การประเมินการเต้นของชีพจร ทั้งอตั ราและจังหวะการเตน้ ของชพี จร ความแรง เบา รวมทั้ง
การวัดความดนั โลหิต (ถ้าสามารถวดั ได้)
1.4 การเปล่ียนแปลงอืน่ ๆ ทสี่ ังเกตได้ ขณะให้การดแู ลผปู้ ว่ ย
2. การตรวจดปู ระสิทธภิ าพของการรักษาพยาบาลเม่อื แรกรับ ไดแ้ ก่
2.1 การเปดิ ทางเดินหายใจ และการชว่ ยการหายใจ มคี วามเหมาะสม ถูกตอ้ ง และมปี ระสิทธิภาพ
หรือไม่ เช่น การจัดทา่ เปิดทางเดนิ หายใจ การใหอ้ อกซิเจนเพียงพอหรือไม่
2.2 การหา้ มเลือด มีประสิทธิภาพหรือไม่ สามารถหยดุ เลือดไดห้ รือไม่ หรือมจี ุดเลอื ดออก
บรเิ วณอน่ื ของร่างกายอีกหรอื ไม่ วิธีการหา้ มเลือดเหมาะสมหรือไม่
2.3 การดามส่วนที่ควรระมัดระวังการเคลอ่ื นไหว หรือส่วนที่มกี ระดกู หัก เช่น ผูบ้ าดเจ็บท่ีไม่
รู้สึกตัวได้รับการใส่อุปกรณ์ดามคอหรือไม่ มีบริเวณใดที่มีอาการบวมผิดรูปบ้าง ได้รับการดาม และใช้อุปกรณ์
การดามทเี่ หมาะสมกบั อวัยวะน้นั ๆ หรอื ไม่
2.4 ประเมินและตรวจร่างกายซ้ำในตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือได้รับบาดเจ็บในระหว่างการ
นำส่ง นอกจากจะต้องทำการประเมินผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องดังกล่าวแล้ว ถ้ายังไม่ได้ทำการซักประวัติผู้ป่วย หรือได้
ประวัติยงั ไมค่ รบถ้วน กส็ ามารถซกั ประวตั เิ พ่มิ เติมได้ ในขณะนำส่ง

- 41 -

การดูแลเบอ้ื งต้นในผู้ปว่ ยฉุกเฉิน ระบบหวั ใจและหลอดเลอื ด
หัวใจ ประกอบด้วยโพรงกล้ามเนือ้ ขนาดเท่ากำปั้นมือมี 4 ห้อง ทำหน้าที่คล้ายเครื่องสูบน้ำ คือ รับ

เลือดจากปอด แลว้ สบู ฉีดเลือดแดง ซ่ึงจะนำออกซิเจน สารอาหาร เกลือแร่ ไปเลย้ี งท่วั รา่ งกาย
กล้ามเนือ้ หัวใจ อาศยั พลงั งานออกซิเจน สารอาหาร เกลือแร่ จากเลอื ดท่ีหล่อเล้ียงจากหลอดเลือดที่

ชอ่ื วา่ หลอดเลอื ดแดงโคโรนารี (Coronary artery) และหลอดเลือดดำโคโรนารี (Coronary vein)
1. ภาวะฉุกเฉนิ ทางหัวใจ และทีห่ ลอดเลอื ดพบบ่อย ได้แก่

1.1 ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina) และกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
(Acute coronary syndrome)

1.2 ภาวะชอ็ ค
1.3 ภาวะหัวใจวายหรอื หวั ใจล้มเหลว
1.4 ความดนั โลหติ สงู วิกฤต
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina) และกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ (acute
coronary syndrome) ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจ ได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่
เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีท่มี าเลยี้ งกลา้ มเน้อื หัวใจตีบแคบ ทำใหก้ ล้ามเนื้อหัวใจเกดิ การขาดเลือด ทำ
ให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดเลี้ยงหวั ใจตีบ (acute coronary syndrome) ซึ่งถือเป็นภาวะที่
ฉกุ เฉินเกิดจากหลอดเลอื ดแดงโคโรนารีทมี่ าเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตบี แคบมากขึน้ อีก กจ็ ะทำใหก้ ล้ามเนอื้ หัวใจขาดเลือด
รุนแรงข้ึน หรือถ้าหากหลอดเลือดแดงโคโรนารีนี้ตบี แคบจนถึงข้ันอุดตัน ก็จะทำให้กลา้ มเน้ือหวั ใจตาย ซึ่งเป็นสาเหตุ
ทำใหห้ ัวใจหยดุ เต้นเฉียบพลนั ได้ ซึ่งประกอบดว้ ย ภาวะกลา้ มเนอื้ หัวใจขาดเลือดทีม่ ากขน้ึ คอื Unstable angina และ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย คือ ST-elevated myocardial infarction และ Non- ST elevated myocardial
infarction ซ่งึ อาการของกล่มุ อาการโรคหลอดเลอื ดเลี้ยงหวั ใจตบี (acute coronary syndrome) ได้แก่
- เจ็บหนา้ อก
- เหงื่อแตก ตัวเย็น
- หายใจลำบาก
- กระวนกระวาย
- คลนื่ ไส้อาเจียน
- อาจพบชพี จรเต้นไม่เป็นปกติ
- อาจพบความดนั โลหิตตำ่
- อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina) และจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
เฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) ตา่ งกนั อย่างไร
- ลกั ษณะอาการเจบ็ หน้าอกจากกล้ามเนอ้ื หวั ใจขาดเลือด (Angina) ได้แก่ อาการเจบ็ แนน่ หรือ
อึดอดั บริเวณหน้าอก หรอื ปวดเมอื่ ยหวั ไหล่ หรือปวดกราม หรือจกุ บริเวณลนิ้ ป่ี มกั จะเปน็ มากข้ึนขณะออกกําลัง

- 42 -

ซ่งึ อาการเจ็บเคน้ หนา้ อก ซง่ึ เปน็ ลักษณะเฉพาะของโรคหวั ใจขาดเลือด คือ อาการเจบ็ หนักๆ เหมือนมอี ะไรมาทับ
หรือรัดบริเวณกลางหน้าอกอาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้างโดยเฉพาะข้างซ้าย
เปน็ มากขณะออกกําลังเป็นนานครัง้ ละ 2-3 นาทีเม่อื นง่ั พัก หรอื อมยา nitroglycerin อาการจะทุเลาลง

- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจ
ไดร้ ับเลอื ดไปเล้ียงไม่เพยี งพอจนทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้จึงปรากฏอาการเจบ็ หน้าอกตามมาอาการคล้าย
กลา้ มเน้ือหวั ใจขาดเลอื ด (Angina) แตร่ นุ แรงกวา่ อาการเจ็บหนา้ อกมกั เปน็ นานมากกว่า 20 นาที นอกจากนี้ยังมี
อาการ เหงือ่ แตกตัวเย็น คล่นื ไส้ อาเจยี น หายใจลำบาก เหง่ือออก อาจมีอาการหนา้ มดื เปน็ ลม อาการเจบ็ หน้าอก
ไม่สัมพันธก์ ับการออกกำลัง อาการอาจเกดิ ขึน้ ขณะพักผ่อน
ภาวะชอ็ ค

ภาวะชอ็ ค หมายถึง ภาวะท่ีเลอื ดไปเลี้ยงเนอื้ เยือ่ สว่ นต่างๆ ของรา่ งกายไมเ่ พยี งพอ ลกั ษณะแรก
ของภาวะชอ็ ค คอื กระวนกระวาย เครียด หวั ใจและชพี จรเตน้ เรว็ ขึ้น ตอ่ มาอาจมีอาการซีด หรือเขียวคลำ้ หัวใจ
และชพี จรเต้นเร็ว กระวนกระวาย หรือซึม คล่นื ไส้อาเจยี น หายใจเรว็ ต้นื เหง่ือออก มือเทา้ เย็น ตรวจร่างกายจะ
พบวา่ มชี พี จรแผว่ เบา และความดนั โลหิตต่ำ
ภาวะหัวใจวายหรอื หัวใจลม้ เหลว

ภาวะท่ีกลา้ มเนอ้ื หัวใจบบี ตัวได้ลดลง ทำใหม้ ีเลือดค่งั คา้ งในหัวใจและปอด ทำใหผ้ ้ปู ่วยมีอาการเหนอ่ื ย
หอบ นอนราบ - ไมไ่ ด้ บวม แน่นหน้าอก
ความดนั โลหติ สูงวิกฤต

คา่ ของความดันโลหติ ในคน ท่ีถอื ว่าสงู กว่าปกติ คอื มากกวา่ 140/90 มลิ ลเิ มตรปรอท
ในกรณที ่ีความดันโลหติ สงู มาก แตไ่ ม่พบอาการและอาการแสดงท่ีผิดปกติของอวัยวะใด ๆ จึงไม่ถอื เป็นข้อบ่งชี้ในการ
ลดความดันโลหิตอยา่ งรีบด่วน อย่างไรก็ตามผูป้ ว่ ยกลุ่มนี้ควรรีบไปโรงพยาบาลเพ่ือประเมินอาการและสภาพรา่ งกาย
และควรได้รบั การประเมินเชน่ เดียวกับผู้ป่วยความดันโลหิตสงู ทว่ั ๆ ไป และในกรณที ค่ี วามดนั โลหิตสูงเกนิ ค่าปกติมาก
ๆ กอ็ าจทำใหเ้ กิดภาวะอันตรายฉกุ เฉนิ ได้ ซึง่ ความดนั โลหิตสูงทถ่ี ือได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉนิ ควรรีบทำการรักษาโดยด่วน
ไดแ้ ก่ ภาวะดงั ต่อไปน้ี

1. ความดนั เลือดสงู วิกฤต (Hypertensive Crisis) ซึ่งแบ่งออกเปน็
- Hypertensive emergencies เป็นภาวะท่ีมีความดนั โลหิตสงู มากท่พี บร่วมกับอวยั วะต่าง ๆ ถูก

ทำลายอย่างเฉียบพลัน อันเป็นผลมาจากความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วนด้วยยาลดความดัน
โลหิตชนดิ ฉีด

- Hypertensive urgencies เป็นภาวะที่ความดันโลหิตสูงมากในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติของโรค
ดังตอ่ ไปนี้ ไดแ้ ก่ ภาวะหวั ใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลอื ดสมอง และภาวะไตเส่อื ม เนือ่ งจากผู้ปว่ ยกลุ่มนี้มี
โอกาสสูงทจี่ ะเกดิ อนั ตรายจากภาวะความดนั โลหิตสงู มาก ควรไดร้ บั การรกั ษาอยา่ งรวดเร็ว ภายในเวลาเปน็ ชวั่ โมงหรือ
1 วัน แต่ไมร่ ีบดว่ นเทา่ ในภาวะ Hypertensive emergencies

- 43 -

2. Accelerated-malignant hypertensionเป็นภาวะความดันโลหิตสูงมากร่วมกับการตรวจพบ
ความผิดปกติที่จอประสาทตา (retinal exudates, hemorrhage) และ/หรือ ขั้วประสาทตาบวม (papilledema)
ผู้ป่วยกลุ่มนอ้ี าจมอี าการและอาการแสดงในระบบอน่ื ๆ ร่วมดว้ ยอันเปน็ ผลมาจากความดนั โลหิตทีส่ ูงมาก ทำให้เกดิ การ
เปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดขนาดเล็ก ในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ตามัว สับสน ชัก
หรอื โคม่า ไตวาย

3. Hypertensive encephalopathy เป็นภาวะความดันโลหิตสูงมากจนทำให้เกิดอาการทางระบบ
ประสาท ได้แก่ ปวดศรี ษะ หรือมีการเปล่ียนแปลงของการรู้สติ และอาการทางระบบประสาทเหล่านี้จะต้องดีขึ้นอย่าง
รวดเรว็ หรือหายไป เมื่อความดนั โลหติ ลดลง
2. การจดั การและการปฐมพยาบาลเบือ้ งตน้ ในภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจ

2.1 กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว (หมดสติ) คลำชีพจรไม่ได้ แสดงถึงว่าหัวใจหยุดเต้นให้ทำการช่วยชีวิต
ขัน้ พน้ื ฐานดว้ ยการกดหน้าอก (CPR) และใชเ้ ครือ่ งกระตุน้ หวั ใจด้วยไฟฟ้าชนดิ อัตโนมัติ (AED) (หากมอี ปุ กรณ์พร้อมใช้
อยู่ในที่เกดิ เหตุ) ประเมินผลการช่วยชีวิตข้ันพ้ืนฐานด้วยการกดหนา้ อก (CPR) ให้ออกซิเจน และเคลื่อนยา้ ยผูป้ ่วยไป
โรงพยาบาลอย่างถกู ต้องต่อไป “ประเด็นสำคัญของการใช้เครื่องกระตุ้นหวั ใจด้วยไฟฟ้าชนดิ อัตโนมัติ (AED) คอื ใช้เม่ือ
ผปู้ ่วยไม่รสู้ กึ ตวั และไมม่ ีชีพจร” และหลังจากชอ็ คแล้ว ใหร้ ีบตรวจชีพจรว่ามีหรือไม่

2.2 กรณีผปู้ ว่ ยรู้ประวัตวิ า่ เปน็ โรคหัวใจ และยังรู้สกึ ตัวอยู่
- ให้ประเมินผ้ปู ่วยขน้ั ตน้
- ซักประวัตทิ เี่ กีย่ วข้อง และตรวจร่างกาย และวดั สัญญาณชีพ
- จัดทา่ ผ้ปู ว่ ยใหอ้ ยใู่ นท่าท่ีสบาย ควรเป็นทา่ ศรี ษะสงู (Fowler’s position)

- ด้านระบบหัวใจ หากผ้ปู ว่ ยบอกมอี าการเจบ็ หนา้ อกดว้ ย ซงึ่ สงสัยวา่ น่าจะเปน็ โรคหัวใจ
- ให้ออกซิเจน
- จดั ท่าใหน้ อนศีรษะสูง กึง่ น่ัง ก่ึงนอน
- จำกดั กิจกรรมเพ่อื ลดการทำงานของหวั ใจ
- ใหผ้ ู้ปว่ ยรวบรวมยาทร่ี บั ประทานอยู่ เพื่อใหเ้ จา้ หนา้ ทก่ี ูภ้ ยั หรอื เจา้ หนา้ ท่ฉี ุกเฉินดู
- รีบนำผปู้ ว่ ยสง่ โรงพยาบาลต่อไป
- การถามประวัตกิ ารรกั ษา
ในกรณีถ้าเคยได้รับยา ไนโตรกลีเซอร์รีน (Nitroglycerine) อมใต้ลิ้น และยังมียานี้ติดตัวอยู่
หากความดนั โลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) มากกว่า 100 mmHg ก็สามารถใหย้ าอมใตล้ นิ้ ได้

- 44 -

3. การดูแลเบือ้ งตน้ ในผูป้ ่วยฉกุ เฉิน ในผ้ทู ีไ่ ด้รบั พษิ จากสตั ว์
3.1 สตั ว์พวกผ้ึง แตน ตอ่ ผ้งึ มีเหล็กในอย่สู ว่ นปลายลำตวั จะปลอ่ ยน้ำพิษออกมา ถา้ ยังไม่ดึงเหล็ก

ในออกกลา้ มเนอ้ื จะหดตัวตอ่ ไปอีก 2-3 นาที ทำใหเ้ หลก็ ในฝังตวั ลกึ อีก และน้ำพษิ จะถกู ปลอ่ ยเขา้ ไปเพมิ่ มากขนึ้
อาการหลังถกู แมลงตอ่ ย แบง่ ไดเ้ ป็น 3 กลมุ่ คือ

- อาการแพ้แบบชนิดรุนแรง Anaphylaxis เป็นปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงทีส่ ุด เป็นอันตรายถึงชีวติ
ได้ ควรรีบนำสง่ โรงพยาบาล เกิดข้ึนไดใ้ นคนทีม่ ีประวตั แิ พ้แมลงมากอ่ น หรอื ไม่มีก็ได้

- อาการเฉพาะที่ ไดแ้ ก่ ปวด บวม แดง ร้อน บรเิ วณทถ่ี กู ต่อย
- พษิ ตามระบบ

ระบบโลหิต เช่น intravascular hemolysis, generalized hemorrhage
ระบบกล้ามเน้อื เช่น เซลลก์ ล้ามเนือ้ ตาย
ระบบทางเดนิ ปสั สาวะ เช่น ปัสสาวะมสี แี ดงหรือสีนำ้ ปลา ไตวาย
ระบบทางเดินหายใจ เช่น เลอื ดออกในปอด
ระบบประสาท มีอาการไข้ ปวดขอ้ ต่อมน้ำเหลืองโต
การปฐมพยาบาลเบ้ืองตน้
- ใหร้ ีบเอาเหล็กในออก
- ล้างบริเวณที่ถกู ต่อยดว้ ยน้ำและสบู่ เช็ดให้แหง้ แล้วทาดว้ ยนำ้ ยาฆ่าเชอ้ื
- ถ้ามอี าการปวดมาก ก็ประคบดว้ ยนำ้ เย็น
- ใหย้ าแก้แพ้ antihistamine และยาแกป้ วด รบั ประทาน
- ถ้าแพ้พษิ จะมีอาการรุนแรงหายใจไม่ออก ความดันโลหติ ตำ่ ลงและชอ็ ค รบี ไปพบแพทยท์ ันที
3.2 ตะขาบ แมงปอ่ ง
อาการหลงั ถูกตะขาบกัด แมงป่องตอ่ ย โดยทว่ั ไปพษิ จากตะขาบ แมงปอ่ ง ไมร่ นุ แรงถึงกับทำให้
เสียชีวิต ความรุนแรงขึ้นกับขนาดตะขาบที่กัด ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมแดง ร้อน ชา ตรงบริเวณที่ถูกกัด
ในบางรายอาจมีอาการแพ้ หรือกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ และอาจมี
การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด ในบางรายอาจมีปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงแบบ anaphylaxis
ต่อพิษได้ เช่น มีอาการหน้าบวม หอบเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ในช่วงก่อน
ไปโรงพยาบาล
- ทำความสะอาดแผลดว้ ยนำ้ สะอาด
- ไปโรงพยาบาล
- สงั เกตอาการแพ้ท่ีรนุ แรง เช่น บวมที่ใบหน้า หายใจลำบาก แนน่ หนา้ อก
- การใหย้ าแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และยาฆา่ เชอ้ื
- การพิจารณาให้วัคซนี กนั บาดทะยกั


Click to View FlipBook Version