The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by armynco2665, 2022-07-11 09:09:48

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

วิชาการแพทย์ฉุกเฉิน,การเสนารักษ์ และการช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธีขั้นพื้นฐาน

- 45 -

3.3 แมงกะพรุน
อาการหลังถูกพิษของแมงกะพรุนอาการปวดแสบ ปวดร้อนผิวหนังบริเวณที่ถูกพิษ

ของแมงกะพรุน ผวิ หนงั เกดิ อาการคนั เป็นผืน่ บวมแดง ร้อน เปน็ รอยแดงหรอื ไหม้
การปฐมพยาบาลในเบื้องตน้ ในชว่ งกอ่ นไปโรงพยาบาล
- ห้ามใชน้ ิว้ ดึงออกหรอื ใช้วตั ถุใดๆ ขูดออกเดด็ ขาด
- ใช้นำ้ ส้มสายชูบา้ น ซ่ึงมีฤทธิ์เป็นกรดออ่ นๆ ราดไปทแ่ี ผล
- ถา้ ไม่มีนำ้ ส้มสายชใู ห้ลา้ งดว้ ยน้ำทะเล
- ไม่ใชน้ ้ำร้อนประคบ เพราะจะทำให้เสน้ เลอื ดขยายตวั กระจายพิษง่ายขน้ึ
- หา้ มขัดถูบริเวณทถ่ี กู แมงกะพรุน
- ใชผ้ กั บ้งุ ทะเลพอกท่แี ผล
- รีบนำสง่ โรงพยาบาลโดยดว่ น
3.4 งูกดั ประเภทของงู จำแนกตามพษิ ต่อระบบของร่างกาย
- พิษต่อประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง : ทำให้ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ หนังตาตก พูดไม่ชัด

กลืนลำบาก และที่สำคัญทำใหห้ ยดุ หายใจได้
- พิษต่อโลหติ เช่น งูแมวเซา งูกะปะ และ งูเขียวหางไหม้ : ทำให้เลือดออกตามทีต่ ่าง ๆ เช่น

ผิวหนัง ปสั สาวะเปน็ เลอื ด อาเจยี นเปน็ เลอื ด เป็นตน้
- พิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล : ทำอันตรายต่อเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ

มาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง การประเมินในเบือ้ งต้น พิจารณาว่าเป็นงูพิษกัดหรือไม่ ถ้าใช่ เป็นงูพิษชนิดใดหรือพิษต่อ
ระบบใด และจำเปน็ ตอ้ งให้เซรมุ่ ต้านพิษงูหรือไม่ ถามเกยี่ วกับลกั ษณะงูทีก่ ัด พื้นท่ที ีถ่ กู กดั ซักอาการตามระบบ การ
รักษาเบื้องต้นก่อนมาถึงโรงพยาบาล และประวัติการแพ้ ตรวจสัญญาณชีพ และร่างกาย เน้นตรวจแผล และหา
รอยเขยี้ ว ตรวจระบบประสาท กล้ามเน้ือ และระบบโลหิต

การดลู ักษณะของงู ถ้านำมาด้วย *ระวังถกู งกู ัด กรณงี ูทีต่ ายไม่นาน ยังสามารถงบั และปล่อยพิษได้
อยู่ เนอ่ื งจากยังมีระบบประสาทอัตโนมัติ และไม่ควรจบั ซากงดู ว้ ยมือเปล่า การปฐมพยาบาลในเบื้องตน้ ในช่วงก่อน
ถงึ โรงพยาบาล

- ลา้ งแผลด้วยน้ำสะอาด
- ใชผ้ ้าสะอาดกดแผลโดยตรงเพือ่ หา้ มเลือด
- พยายามไม่เคลื่อนไหวรา่ งกาย โดยเฉพาะอวัยวะส่วนท่ีถกู กดั ใหอ้ ยู่น่งิ ๆใหม้ ากทส่ี ุด
- วางอวัยวะสว่ นนนั้ ให้ต่ำกวา่ หรือระดบั เดยี วกับหัวใจ
- ทำ Pressure immobilization (การพันรอบแผลด้วยผ้ารัดยางยืดพร้อมไม้ดาม) กรณีถ้ามี
อปุ กรณ์ และผูท้ ำรู้จักวิธกี ารทถี่ ูกตอ้ ง
- ให้ยาแก้ปวดได้

- 46 -

- รีบพาไปโรงพยาบาลใหเ้ ร็วทีส่ ดุ
ขอ้ ควรระวงั

1. อาการของพษิ งเู กดิ ไดต้ งั้ แต่ 15-30 นาที หลงั ถกู กดั หรือ อาจนานถึง 16 ชม. จงึ ต้องเฝ้าสังเกต
อาการอย่างตอ่ เนอื่ ง

- พิษตอ่ ระบบประสาท สังเกตอาการอย่างน้อย 24 ชม. หลังถูกกดั
- พิษต่อระบบโลหติ สงั เกตอาการอย่างน้อย 3 วัน หลงั ถูกกดั
2. การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากม้า อาจแพ้ได้ จึงควรฉีดต่อเมื่อมีอาการของพิษงู
เทา่ นัน้ (ยกเวน้ งทู ับสมิงคลา งูสามเหล่ียมกดั ใหเ้ ซรมุ่ ได้เลย)
3. ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม ไม่ควรใช้ไฟหรือของร้อนจี้แผล ไม่ควรนำ
สมุนไพรมาปดิ แผล
4. ห้ามใชย้ าที่มีฤทธ์แิ อลกอฮอล์ ยาระงบั ประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า
5. ไม่ควรทำการขนั ชะเนาะ การศึกษา ไม่พบวา่ มีประโยชน์
- การชันชะเนาะที่แน่นเกินไป ทำให้ผลการรักษาเลวลง เกิดภาวะเนื้อตาย จากการขาดเลือด
หรือทำใหบ้ วม และเลือดออกบรเิ วณแผลมากขน้ึ ข้อบ่งชีข้ องการใหเ้ ซรมุ่ ตา้ นพษิ งู พิษตอ่ ระบบประสาท
- กล้ามเนอ้ื อ่อนแรง
- สงสัยถกู งูทับสมิงคลา หรอื งูสามเหล่ียมกดั (ไม่ต้องรอให้มอี าการก่อน) พษิ ตอ่ ระบบโลหติ
- มอี าการเลือดออกผิดปกติตามระบบ
- ปริมาณเกลด็ เลือดน้อยกวา่ 50,000 ต่อมม.3
- PT มากกวา่ 15 วนิ าที หรอื INR มากกว่า 1.2
- 20 min-WBCT ไมม่ ีการเข็งตัวของเลอื ด หรอื VCT มากกว่า 20 นาที
- เกิด Compartmental syndrome
เซรุ่มต้านพษิ งู โดยแพทย์จะเปน็ ผู้พจิ ารณาในการสั่งใช้เซร่มุ ต้านพษิ งู
- ผลิตจากเซรุ่มมา้ โดยสถานเสาวภา สภากาชาดไทย
- เซรมุ่ ตา้ นพิษงเู ฉพาะชนิดทั้ง 7 ชนิด
- เซรุม่ ต้านพิษงชู นิดรวม 2 ชนดิ (พษิ ต่อระบบประสาท และ พษิ ต่อระบบโลหติ )
- ควรติดตามดูปฏิกิริยาต่อการให้เซรุ่มด้วย ได้แก่ อาการคัน ผื่น การหายใจ ความดันโลหิต
อัตราการเต้นของหัวใจ อย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ชม. การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัยใน
สถานการณ์ปัจจุบันภาวะภัยพิบัติหรือสาธารณภัย ทั้งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และจากธรรมชาติ เมื่อเกิด
เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะมีผู้ประสบภัยจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ประกอบกับทรัพยากรทางการแพทย์ ณ เขตนั้นมักจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วยปริมาณมาก ดังนั้นการจัดการบริหาร
ทรัพยากรทม่ี ี ประสทิ ธภิ าพ จงึ เปน็ ปัจจัยสำคญั ตอ่ ความสำเรจ็ ในการช่วยเหลือผู้ป่วย

- 47 -

Command and control (การควบคุมกับสถานการณ)์
วัตถุประสงค์

1. ตระหนกั ถงึ ความสำคัญของการจัดการบรหิ ารทรัพยากรที่มีอยู่อยา่ งจำกดั ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพ
2. เข้าใจหลักการบริหารจัดการในภาวะสาธารณภัยตาม (Major Incident Medical
Management System (MIMMS)
3. ทราบถึงข้อผิดพลาดที่มักพบในการบริการจดั การในภาวะสาธารณภัย แนวทางปฏิบัติหลักการ
สำคัญคือการบริหารทรัพยากรคน เวชภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ส่วนการรักษาผู้ป่วยนั้นจะเกิดขึ้นตามมาอย่าง
มีประสทิ ธิภาพตามสถานการณ์นน้ั ๆ เมื่อมกี ารบรหิ ารจัดการที่ดีแลว้ หลักการบริหารจดั การในภาวะสาธารณภัยใน
ที่นี้ จะยกระบบ MIMMS มากล่าวซึ่งมีหลักการ คือ CSCATTT Command and Control Safety Communication
Assessment Triage Treatment Transport ดงั นี้
1. Command and control (การควบคุมกับสถานการณ์) จัดเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการ
สาธารณภัย เนื่องจากการควบคุมทรัพยากรอย่างมีระบบจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นผู้นำหรือกลุ่มผู้นำ
จะต้องรับทราบสถานการณ์ท่จี ะต้องจดั การเป็นอย่างดี โดยรับข้อมูลจากศนู ย์สั่งการ และจากผ้ทู อ่ี ย่ใู นเหตุการณ์จาก
บุคลากรทางด้านสาธารณภัยที่มาถึงก่อน ถ้าไม่มีต้องสอบถามจากคนที่เห็นเหตุการณ์ หลังจากนั้นต้องนำข้อมูลท่ี
ได้มาประมวลถึงความรนุ แรงของเหตุการณ์ ประมาณการถึงทรัพยากรและแผนทต่ี ้องใช้ ตอ่ จากนนั้ ต้องนำข้อมูลมา
ประชาสมั พันธผ์ ู้รว่ มงาน เพอื่ ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงาน ร่วมกันได้การก้ันอาณาเขตการ
ปฏิบตั งิ านชั้นนอกและช้ันในอยา่ งเครง่ ครดั จะทำใหจ้ ะกัน้ อาณาเขตอย่างไร
1.1 เขตปฏบิ ตั กิ ารชนั้ นอก คือ เขตที่ก้ันประชาชนโดยรอบและผูไ้ มเ่ กยี่ วขอ้ งออกจากเขตปฏิบตั กิ าร
เพื่อลดความสบั สนและทำงานไดส้ ะดวก
1.2 เขตปฏบิ ตั กิ ารช้นั ใน คอื เขตทก่ี ้นั บุคลากรทางสาธารณภัยออกจากจุดเกดิ เหตุในรัศมีท่ีพ้นจาก
อันตรายท่อี าจเกิดจาก เหตกุ ารณน์ ้นั จะกัน้ รศั มเี ท่าไรขึ้นอยกู่ บั สถานการณท์ ่วั ไป เขตชั้นในจะกั้นประมาณ 100 ฟุต
(33 เมตร) จากจุดเกิดเหตุ แต่กรณีที่เหตุการณ์รุนแรงเท่านั้นจะกั้นห่างตามความเหมาะสม โดยเฉพาะในกรณี
สารเคมีรวั่ ไหลต้องกน้ั ระยะห่างตาม Emergency Response Guide book
1.3 การกัน้ อาณาเขตในกรณีสารเคมจี ะแบ่งพื้นทดี่ ังนี้

- เขตปนเป้ือน คือ จุดเกิดเหตุ ยังมีการปนเป้อื นและรัว่ ไหลของสารเคมี
- เขตล้างตวั คอื พ้ืนทจ่ี ดั เตรียมสำหรับการล้างสารเคมที ปี่ นเปอ้ื นมากบั ผู้ป่วย
- เขตปฏบิ ัติการ คอื พ้นื ทปี่ ฏบิ ตั กิ ารคัดแยกรกั ษาพยาบาล

- 48 -

1.4 ทางเข้าออกในแต่ละช้ันเขต ต้องมีเจ้าหน้าที่ Safety คอยควบคุมการเข้าออกของบุคลากรวา่
เหมาะสม หรือไม่ เน่ืองจากผ้ปู ฏบิ ัติการในแต่ละเขตพ้นื ที่ ต้องสวมชุดป้องกันสารเคมีตามระดับความรุนแรงของพ้ืนท่ี
และ เหตุการณ์ที่เผชิญ ทางเข้าและทางออกควรแยกกันการตั้งพื้นที่ปฏิบัติการควรอยู่เหนือลมและบนพื้นที่สูงกวา่
ระดับจดุ เกิดเหตหุ รืออยา่ งใดอยา่ งหน่งึ ตามความอำนวยของพน้ื ท่ี

1. พื้นที่คดั แยก จะมีการจดั ตั้งกรณที ี่ เจ้าหน้าทีค่ ัดแยกไม่สามารถเข้าไปในเขตช้ันในได้ มักจะ
อยู่ใกลก้ ับ ทางเขา้ ออกของเขตชน้ั ใน

2. จุดรกั ษาพยาบาล
3. พ้ืนท่ีตามระดบั ความรนุ แรงของการคัดแยก

- พืน้ ท่ผี ปู้ ่วยหนกั (สแี ดง) ควรตั้งในพ้ืนท่ที ่สี ะดวกในการเขา้ ถึงจุดนำส่งแต่ ไมห่ ่างจากจุดคัด
แยกมากเกนิ ไป

- พ้ืนทผี่ ้ปู ่วยบาดเจ็บปานกลาง (สเี หลือง) ตงั้ ใกลพ้ ้นื ทสี่ แี ดง
- พื้นที่ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) เป็นผู้ป่วยที่ไม่ต้องการการ รักษาเร่งด่วน ณ จุดเกิด
เหตุ สามารถนำส่งโรงพยาบาลได้เลย ดังนั้นในบางสถานการณ์อาจไม่มกี ารตัง้ ส่วนนี้แต่จะนำส่งโดยรถพยาบาลข้ัน
พื้นฐานเมื่อพร้อมจดุ นำส่ง ตั้งอยู่ใกล้จุดรกั ษาพยาบาล อยู่ในบรเิ วณที่รถพยาบาลเข้าถึงได้ จุดจอดรถ อาจอยู่นอก
หรือในเขตปฏิบัติการ แตต่ ้องมกี ารจัดการจราจรให้เปน็ ทางเดียวไมม่ สี ิ่งกดี ขวางจราจรและเข้าถึงจุด - ส่งไดง้ า่ ย
2. Safety ผู้นำหรือผู้ที่รับผิดชอบหน้าที่นี้ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่
ผู้ปฏิบัติงานและผู้บาดเจ็บรวมถึง การดูแลเรื่องความเหมาะสมของการแต่งกายชุดป้องกันตนเองให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์น้นั ๆ และพนื้ ทเ่ี ขตปฏบิ ตั กิ ารท่จี ะเข้าไปปฏิบัติการ
3. Communication เจ้าหน้าที่สื่อสารมีหน้าที่สื่อสารกับหน่วยงานภายนอกและภายใน
เหตุการณ์ตามคำสั่งของผู้นำเพื่อลดความสับสนในการใช้ช่องสัญญาน และความคับคั่งของการใช้ช่องสัญญาน
รูปแบบการสื่อสารที่ไมผ่ ่านเจ้าหน้าที่สื่อสารจะอนุญาตให้เจ้าหนา้ ที่รักษาพยาบาลประสานตรงกับเจ้าหน้าที่นำส่ง
และเจ้าหน้าทนี่ ำส่งประสานตรงกับเจ้าหนา้ ที่จุดจอดรถเท่าน้ันการรายงานสถานการณ์ไปยงั ศนู ย์สอ่ื สารยึดหลักการ
METHANE M = ภัยหมู่ : เป็นอุบัติภัยหมู่หรือไม่ E = รู้จุด : เหตุเกิดที่ไหน T = รู้เหตุ : เหตุอะไร เช่น อุบัติเหตุ
จราจรเพลิงไหม้ ดินถลม่ H = เภทภยั : เป็นเหตุทมี่ ีอนั ตรายหรอื ไม่ A = ไปพบ : ทมี สนบั สนุนจะตอ้ งใช้เสน้ ทางไหน
ทีป่ ลอดภยั ในการเขา้ สนับสนนุ N = ผปู้ ระสบ : มผี ู้บาดเจบ็ ประมาณเท่าไร E = ครบชว่ ย : ทีมสนบั สนุนในเหตุแล้ว
เท่าไรและต้องการเพมิ่ เทา่ ไร
4. Assessment การประเมินสถานการณ์ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น และมีการประเมิน
อยา่ งต่อเนอื่ ง เน่อื งจากเหตุการณ์มักจะเปลยี่ นแปลงไดเ้ สมอบทบาทในการประเมนิ ทรัพยากร จะเดน่ ชัดในบทบาท
ของผู้นำและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วน เพื่อจะจัดสรรทรัพยากรที่มีและขอเพิ่มทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกได้โดย
ส่วนมากจะมกี ารโยกย้ายทรัพยากรท่ปี ฏิบัติการสำเรจ็ แลว้ ไปชว่ ยในส่วนทยี่ งั มกี ารปฏิบัตกิ ารอยู่ เชน่ เจ้าหน้าที่ส่วน
คัดแยกเมือ่ คัดแยกผู้บาดเจบ็ หมดแลว้ ก็จะถูกมอบหมายใหไ้ ปชว่ ยสว่ นรกั ษาพยาบาลต่อไป

- 49 -

5. Triage มีแนวทางการประเมินแยกผู้บาดเจ็บเล็กน้อยและค้นหาผู้ป่วยหนักด้วย MASS triage
ดังน้ี

M = Movable A = Assessment S = Sieve S = Sort
5.1 ใครสามารถเดนิ ไดใ้ หไ้ ปยังจดุ สีเขยี ว ----- เขียว
5.2 ใครตอ้ งการความชว่ ยเหลือให้ยกมือข้นึ ----- เหลอื ง
5.3 ไปคดั แยกผบู้ าดเจ็บทไี่ มย่ กมือเพือ่ คัดแยกแดงหรอื ดำ หากไมห่ ายใจ----ดำ
การดูแลเบอ้ื งตน้ ผู้ประสพภยั ทางนำ้ (การช่วยเหลอื ผจู้ มนำ้ )
จมนำ้ (Drowning) หมายถึง การตายเนอ่ื งจากการสำลักนำ้ ท่ีจมเขา้ ไปในปอดทำใหถ้ งึ แกช่ วี ติ ได้
อาการและอาการแสดง โดยท่ัวไป เม่ือนำผู้จมนำ้ ขน้ึ มาจากน้ำ มักจะพบวา่ มีฟองนำ้ ลายรอบบรเิ วณริมฝปี ากและรู
จมูก หายใจชา้ ลง ชพี จรเบาคลำไม่ชัดเจน ซดี หมดสติ การช่วยเหลอื ผู้จมนำ้ ขณะจมให้เข้าฝ่ัง
วธิ ที ่ี 1 ใชว้ ธิ ีดึงเข้าหาฝง่ั โดยการกอดไขวห้ นา้ อก วิธีการน้ผี ้ชู ่วยเหลือตอ้ งเขา้ ดา้ นหลงั ผู้จมน้ำ ใช้มือ
ข้างนึง่ พาดบ่าไหลด่ ้านหลังไขว้ทะแยงหน้าอก จบั ข้างลำตัวด้านตรงข้ามผจู้ มนำ้ มอื อกี ข้างใชว้ ่ายเข้าหาฝั่งในขณะท่ี
พยุงตัวผ้จู มนำ้ เขา้ หาฝง่ั ต้องใหใ้ บหน้า โดยเฉพาะปากและจมกู ผู้จมน้ำอยู่พ้นเหนือผวิ นำ้

ภาพวิธีดงึ เข้าหาฝัง่ โดยการกอดไขว้หนา้ อก

วิธที ี่ 2 วิธดี ึงเขา้ หาฝง่ั ด้วยวธิ จี ับคาง วธิ ีนี้ผู้ชว่ ยเหลอื เข้าทางดา้ นหลงั ของผ้จู มน้ำ ใชม้ อื ทง้ั 2 ข้าง
จบั ขากรรไกรทัง้ 2 ขา้ งของผู้จมน้ำ แลว้ ใชเ้ ท้าตนี ้ำช่วยพยุงเข้าหาฝ่ัง และพยายามให้ใบหน้าของ
ผ้จู มนำ้ ลอยเหนอื ผิวนำ้

- 50 -

ภาพวิธีดงึ เข้าหาฝง่ั ดว้ ยวธิ ีจบั คาง
วิธที ี่ 3 วิธดี ึงเข้าหาฝ่งั ด้วยวิธีจบั ผม ผู้ชว่ ยเหลอื เขา้ ด้านหลังผ้จู มนำ้ ใชม้ ือข้างหนึง่ จบั ผมผูจ้ มน้ำไว้ให้
แน่น แล้วใช้มืออีกขา้ งวา่ ยพยงุ ตัวเข้าหาฝ่งั โดยที่ปากและจมูกผู้จมน้ำลอยเหนอื ผิวนำ้ วิธเี หมาะสำหรบั ผทู้ ่ีด้ินมาก
หรือ พยายามกอดรัดผู้ชว่ ยเหลอื

ภาพวธิ ดี งึ เขา้ หาฝั่งดว้ ยวธิ จี ับผม
การปฐมพยาบาล

1. รบี ตรวจสอบการหายใจและการเตน้ ของหวั ใจ ถ้าไม่มกี ารหายใจหรอื หวั ใจไม่เต้น ใหช้ ่วยหายใจ
และกระตุน้ การเต้นของหัวใจภายนอก (CPR)รายละเอียดจะกลา่ วในบทต่อไป

2. ไมค่ วรเสยี เวลากบั การพยายามเอานำ้ ออกจากปอดหรอื กระเพาะอาหารในระหวา่ ง CPR อาจจะจดั
ให้ผู้จมน้ำนอนในท่าศรี ษะต่ำ ประมาณ 15 องศา ปลายเทา้ สูงเลก็ นอ้ ย

2.1 กรณีมีนำ้ ในกระเพาะมาก ทำให้ลำบากในการ CPR อาจตอ้ งเอาน้ำออกจากกระเพาะ โดย
จดั ให้นอนตะแคงตัว แลว้ กดทอ้ งให้ดันมาทางด้านยอดอก น้ำกจ็ ะออกจากกระเพาะอาหาร

2.2 ถา้ ต้องการเอาน้ำออกจากปอด อาจจัดให้นอนคว่ำตะแคงหน้าไปดา้ นใดด้านหนง่ึ กม้ ตวั ลงใช้
มอื ท้ัง 2 ขา้ งจับบริเวณชายโครงทง้ั สองข้างของผู้จมน้ำยกขึ้นและลง นำ้ จะออกจากปากและจมูก แตก่ ็ไมค่ วร
เสียเวลากบั สง่ิ ดงั กล่าวมากนกั

3. กรณีผู้จมน้ำมีประวตั ิการจมน้ำเน่ืองจากการกระโดดน้ำ หรือ เล่นกระดานโต้คลื่น การช่วยเหลอื
ต้องระวังเรื่องกระดูกหัก โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้จมน้ำ โดยเมื่อนำผู้จมน้ำถึงน้ำตื้นพอที่ผู้ช่วยเหลือจะยืนได้
สะดวกแลว้ ให้ใช้ไม้กระดานแขง็ สอดใตน้ ำ้ รองรบั ตวั ผู้จมนำ้ ใชผ้ ้ารดั ตัวผู้จมนำ้ ให้ติดกบั ไม้ไว้

- 51 -

4. ให้ความอบอนุ่ กับรา่ งกายผ้จู มนำ้ โดยใช้ผ้าคลมุ ตัวไว
5. นำส่งโรงพยาบาลในกรณีอาการไมด่ ี

คำถามทา้ ยบท

1. หลักสำคญั ของการประเมนิ สถานการณ์ คอื ?
2. ความมงุ่ หมายการประเมินสภาพทว่ั ไปของการเจบ็ ป่วย คือ ?
3. ความมงุ่ หมายของการประเมินความรู้สกึ ตวั คือ ?
4. ความม่งุ หมายของการประเมินทางเดนิ หายใจ (airway) คอื ?
5. ความมุ่งหมายของการประเมนิ การหายใจ (breathing)
6. ความมงุ่ หมายของการประเมินการไหลเวยี นโลหติ (circulation)
7. การแกไ้ ขผทู้ ่ีมีภาวะทางเดินหวั ใจอุดตนั กระทำ
8.อาการของกลุ่มอาการโรคหลอดเลอื ดเลยี้ งหวั ใจตบี (acute coronary syndrome) คือ?
9. ภาวะชอ็ ค หมายถึง ?
10. งูชนดิ ใดบา้ งทม่ี ีพิษต่อระบบประสาท ?

- 52 -

บทที่ 4

การช่วยฟ้นื คนื ชีพขนั้ พนื้ ฐาน

คนปกติมีชีวิตอยู่ได้ด้วยระบบสำคัญ 2 ระบบ คือ ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
ระบบหายใจมีปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่จะทำงานโดยหายใจเอาอากาศจากอากาศภายนอกที่มีออกซิเจนสูงประมาณ
21% ผ่านจมูกและหลอดลมเข้าไปในปอดแล้วหายใจเอาอากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นจากในปอดผ่าน
หลอดลมและจมูกออกมาสภู่ ายนอก

ระบบไหลเวียนโลหิตมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญทำงานโดยหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่รับออกซิเจนจาก
ปอดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ลำตัว แขนขา แล้วรับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากการ
ทำงานของเซลล์มาทปี่ อดเพ่อื ใหร้ ะบบหายใจนำออกนอกรา่ งกายโดยการหายใจออก

ภาวะหยุดหายใจเกิดขึน้ ไดจ้ ากหลายเหตุเช่น สิ่งแปลกปลอมอุดก้ันทางเดินหายใจ จมน้ำ สูดดมควัน
เข้าไปมากได้รับยาเกินขนาด ไฟฟ้าดูด อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ ได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ฟ้าผ่า
เป็นตน้

ภาวะหวั ใจหยดุ เตน้ หมายถงึ ภาวะที่การไหลเวยี นโลหติ หยุดการทำงานลงอย่างสนิ้ เชิง ซ่ึงจะแสดง
อาการให้ทราบ เช่น หมดสติ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีอาการไอ ไม่มีชีพจร ไม่หายใจ ตามปกติภาวะหวั ใจหยุดเต้น
เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายอย่างเช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือที่เรียกกันว่า
หวั ใจวายหรอื อาจเกดิ ขน้ึ ตามหลงั ภาวะหยดุ หายใจ

คนที่หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นหากมีใครสักคนรีบทำการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life
Support) ตามหลักการที่ถูกต้องกจ็ ะทำใหเ้ กดิ การแลกเปลี่ยนออกซเิ จนทีป่ อดและมกี ารไหลเวียนนำออกซเิ จนไป
เลีย้ งสมองเพยี งพอท่ีจะทำให้สมองยังทำงานตอ่ ไปได้ โดยไม่เกดิ ภาวะสมองตายกจ็ ะทำให้มีโอกาสที่จะกลับฟ้ืนขึ้นมา
มีชีวิตปกติได้ ทั้งนี้การช่วยฟืน้ คนื ชีพข้ันพ้ืนฐานนัน้ จะสง่ ผลดี จะต้องทำภายใน 4 นาทีแรกที่หยุดหายใจและหัวใจ
หยุดเต้น ซึ่งขนั้ ตอนการชว่ ยเหลอื ได้ถูกรวบรวมจดั เป็นกลมุ่ และลำดบั ขน้ั ตอนการช่วยเหลือ เป็น chain of survival
ดังนี้

- 53 -

ห่วงโซข่ องการรอดชวี ิตนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital chain of survival)
1. วนิ จิ ฉัยภาวะหัวใจหยดุ เต้นใหเ้ ร็ว และตามทีมชว่ ยชีวิตให้ไดใ้ นระยะเวลาทร่ี วดเรว็
2. เรมิ่ ทำการชว่ ยชวี ติ โดยการนวดหวั ใจ
3. ทำการช็อคไฟฟา้ ตามข้อบง่ ชี้อยา่ งรวดเร็ว
4. ทำการช่วยชีวิตขั้นสูงอยา่ งมีประสิทธิภาพ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหลังจากหัวใจหยุดเต้นอยา่ ง

เหมาะสม
ขนั้ ตอนการชว่ ยฟน้ื คนื ชพี ขน้ั พืน้ ฐาน

กอ่ นทำการประเมนิ และช่วยเหลอื ผู้ปว่ ยฉกุ เฉนิ จะต้องประเมินความปลอดภัยของสภาพแวดล้อม
และสถานทเี่ กดิ เหตุ ตอ้ งปลอดภยั ทง้ั ต่อผ้ชู ่วยเหลอื และผ้ปู ่วยฉุกเฉิน โดยมลี ำดับและขัน้ ตอนการปฏิบัติ ดงั น้ี

- 54 -

1. ประเมนิ ผปู้ ่วยฉกุ เฉินและเรียกขอความชว่ ยเหลอื อยา่ งทนั ทว่ งที กรณผี ู้พบเหตุเป็นประชาชน
ทั่วไป เมื่อสถานการณ์ปลอดภัยแล้ว เข้าทำการประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย (Level of consciousness)
โดยการเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงดังๆ ร่วมกับ การปลุกบริเวณไหล่ผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองหรือไม่ หากพบว่า
ผปู้ ่วยไม่มีการตอบสนองใดๆ ใหเ้ ร่ิมตามทีมชว่ ยเหลอื และทำการช่วยชีวิตผู้ป่วยทันที สำหรบั บุคลากรทางการแพทย์
นอกจากประเมินดังกล่าวแล้ว อาจต้องพจิ ารณาว่าผู้ป่วยไม่หายใจ หรือหายใจผิดปกตริ ว่ มดว้ ยหรือไม่ ซึ่งจะตอ้ งใช้
เวลาไม่นาน หากผปู้ ว่ ยไม่ตอบสนองร่วมกับไมห่ ายใจหรือหายใจผดิ ปกติ ใหถ้ ือว่ามีภาวะ cardiac arrest ให้ตามทีม
ชว่ ยเหลือพร้อมขอเคร่อื งกระตุกไฟฟ้าหวั ใจอัตโนมัติ (AED)

2. คลำชีพจร สำหรับประชาชนทั่วไป ไม่แนะนำให้ทำให้คลำชีพจร กล่าวคือ เมื่อประเมินพบว่า
ผู้ป่วยไม่ตอบสนองไม่หายใจหรือหายใจเฮือกให้ทำการกดหน้าอกทันที พร้อมตามทีมช่วยเหลือ และให้ทำการกด
หน้าอกไปเร่ือยๆ จนกวา่ ทมี ชว่ ยชวี ติ มาถึงและทำการดูแลต่อ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ใหค้ ลำชีพจรท่ีบริเวณ
ลำคอ (carotid pulse) และตรวจการหายใจไปพร้อมกัน โดยใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที หากผู้ประเมินไม่มั่นใจว่า
ผูป้ ่วยมชี พี จรหรือไม่ ให้ทำการกดหน้าอกในทันที

3. ทำการกดหน้าอก หลังการคลำชีพจรตามขั้นตอนที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยไม่มีชีพจร ให้ทำการกด
หน้าอกทนั ที ดงั น้ี

1. จดั ผ้ปู ว่ ยใหอ้ ยูใ่ นท่านอนหงายบนพื้นผิวทแี่ ข็งในสถานท่ปี ลอดภัย
2. ผชู้ ว่ ยเหลอื คุกเขา่ อยทู่ างดา้ นขา้ งของผู้ปว่ ย
3. วางส้นมือข้างหนึ่ง บริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างหนึ่งทาบหรือ
ประสานลงไป แล้วออกแรงกดหน้าอก ให้แขนดึง ตรงในลักษณะตั้งฉากกับลำตัวผู้ป่วย ซึ่งการกดหน้าอกให้มี
ประสิทธิภาพนั้น จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของความดนั ภายในช่องทรวงอกและเพิ่มแรงดันที่หัวใจโดยตรง ส่งผลทำให้
เกดิ การไหลเวียนโลหิตและขนส่งออกซิเจนไปยังบรเิ วณกลา้ มเน้ือหัวใจและสมอง

- 55 -

การกดหน้าอกทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพ จะทำให้เพมิ่ การไหลเวียนโลหติ ในขณะทำการชว่ ยฟ้นื คนื ชีพ ดังน้ี
3.1 การกดหน้าอกต้องแรงและเร็ว โดยกดหน้าอกให้ลึก 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 2.4 นิ้ว

(6 เซนตเิ มตร) กดอยา่ งต่อเน่อื งทอ่ี ตั ราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาทใี ห้หนา้ อกคืนตัว (fully chest recoil) ปลอ่ ยให้มีการ
ขยายของทรวงอกกลบั คืนจนสดุ เพื่อใหห้ วั ใจรับเลอื ดสำหรับการสูบฉีดคร้ังต่อไป ซึ่งพบวา่ การกดหน้าอกที่ไม่ปล่อย
ให้ทรวงอกกลับคืนจนสดุ จะทำให้เกดิ การเพ่มิ ขึ้นของแรงดนั ในทรวงอกสง่ ผลใหล้ ดปรมิ าณเลือดทีไ่ ปเล้ียงกล้ามเนื้อ
หวั ใจสมองและหลอดเลอื ดสว่ นต่างๆ ของรา่ งกาย

3.2 รบกวนการกดหนา้ อกให้น้อยทส่ี ุด โดยสามารถหยดุ การกดหน้าอกได้ไม่เกนิ 10 วนิ าที ในกรณี
ต่อไปนี้ - การคลำชีพจร

- ชอ็ กไฟฟ้า
3.3 ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้งในผู้ใหญ่ จนกว่าจะมีการใสอ่ ปุ กรณ์
เปิดทางเดินหายใจขนั้ สงู เช่น ทอ่ ช่วยหายใจ หลังจากใส่ท่อชว่ ยหายใจเรยี บร้อยแล้วใหเ้ ปลยี่ นวิธกี ารช่วยหายใจ เปน็
ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุก 6 วินาที (10 ครั้ง/นาที) โดยไม่ต้องสัมพันธ์กับการกดหน้าอกควรเพิ่มความระมัดระวังการ
รบกวนการกดหน้าอกและหลีกเลีย่ งการชว่ ยหายใจทีม่ ากเกินไป
กรณีมผี ู้ชว่ ยเหลือ 2 คน แนะนำใหม้ ีการสลับหน้าที่ในการกดหน้าอกทกุ 2 นาที หรือหลังจากครบ
5 รอบของการกดหน้าอกตอ่ การชว่ ยหายใจ ในอัตรา 30:2
4. เปิดทางเดินหายใจ ทำการเปิดทางเดินหายใจ โดยวิธี Head Tilt-Chin Lift หรือวิธี Jaw
thrust
5. ช่วยหายใจ จุดประสงค์หลักในการช่วยหายใจคอื เพ่ือรักษาระดับออกซเิ จนให้เพยี งพอและขับ
ก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ออก ในผปู้ ่วยทมี่ ีภาวะหวั ใจหยุดเต้น มีวิธใี นการชว่ ยหายใจ ดงั นี้

- 56 -

5.1. การชว่ ยหายใจดว้ ยวิธี Mouth to Mask

การช่วยหายใจแบบ Mouth to Mask

วธิ ีปฏิบตั ใิ นการชว่ ยหายใจแบบ Mouth to Mask โดยการใช้ Pocket mask
1. ครอบหน้ากาก (Mask) ลงบนปากและจมูก โดยให้สันจมูกเป็น guide เลือกขนาดให้พอเหมาะ

เพือ่ ปอ้ งกันลมร่วั ขณะเปา่ ชว่ ยหายใจ
2. ปอ้ งกันลมรั่วออกโดยใชโ้ คนนวิ้ หวั แมม่ อื ประกบ 2 ดา้ น แล้วกดลงไปท่ีขอบของ Mask ใหแ้ นน่
3. ใชน้ ว้ิ ชว้ี างบนขอบของ Mask ที่ครอบอยู่บนคาง ส่วนนว้ิ อนื่ ๆ เกีย่ วกระดูกขากรรไกรท้ัง 2 ข้าง

ยกขากรรไกรลา่ งขน้ึ แลว้ จดั ใหศ้ ีรษะแหงนไปด้านหลัง
4. ช่วยหายใจโดยการเป่าลมผ่านทางหน้ากากจนหนา้ อกผู้ป่วยยกขนึ้ ใชเ้ วลาประมาณ 1 วนิ าที รอ

จนหน้าอกยุบลงและเป่าปากอกี 1 คร้ัง หากมกี ารอดุ ตนั ทางเดินหายใจ จะไม่สามารถเป่าลมเข้าไปได้ ต้องทำทางเดินหายใจ
ให้โลง่ ก่อน

วิธีตรวจสอบวา่ ลมทีเ่ ป่าเพียงพอหรือไม่ โดยให้สังเกตการขยับขึ้นลงของทรวงอก ขณะทำการเป่า
หากมีการขยบั ข้ึนลงของทรวงอกแสดงว่าปริมาตรอากาศท่ีเขา้ ไปเพยี งพอ ซง่ึ การชว่ ยหายใจท่ีมากเกนิ ไป อาจทำให้
เกดิ ผลเสียไดก้ ลา่ ว คอื ทำให้กระเพาะอาหารมกี ารโป่งพองมากข้นึ จากอากาศที่ชว่ ยหายใจเขา้ ไป และอาจเกดิ อาการ
สูดสำลกั เศษอาหารเข้าสู่ปอดได้ และท่สี ำคญั คือทำใหค้ วามดันในชอ่ งอกเพิม่ ขน้ึ ปรมิ าณเลือดท่ีจะไหลกลบั เข้ามายัง
หัวใจลดลง ส่งผลให้เลือดทีจ่ ะถกู บีบออกจากหวั ใจไปยงั อวยั วะต่างๆ ลดลงตามไปดว้ ย

5.2. การช่วยหายใจด้วย Self Inflating Bag เป็นวิธีการช่วยหายใจที่บุคลากรทางการแพทย์หรอื
เจ้าหน้าทกี่ ชู้ ีพใชช้ ่วยหายใจบ่อย

- 57 -

แสดงส่วนประกอบตา่ งของ Self Inflating Bag
การใช้ Self Inflating Bag
กรณผี ้ชู ว่ ยเหลอื คนเดียว

1. ผู้ทำการชว่ ยหายใจอยูเ่ หนือศรี ษะผ้ปู ่วย
2. เปิดทางเดนิ หายใจดว้ ยวธิ ี jaw thrust กรณผี ปู้ ว่ ยมอี าการบาดเจ็บบรเิ วณกระดูกต้นคอ
หรือ head tilt – chin lift กรณไี มม่ กี ารบาดเจบ็ ทีก่ ระดูกตน้ คอ
3. ครอบ Mask บนปากและจมกู ผูป้ ่วยโดยใหส้ ่วนแหลมอยู่ดา้ นจมูก
4. วางหวั แม่มือและน้ิวช้รี อบ mask ดา้ นบนนว้ิ ท่ีเหลือยกขากรรไกรล่างข้นึ เปน็ รปู ตัว
EC clamp technique
5. มอื ขา้ งท่ีเหลอื บีบ Self Inflating Bag ชา้ ๆ คร้งั ละ 1 วนิ าที ควรสงั เกตการเคล่อื นไหวของ
ทรวงอก (chest rise) ขณะชว่ ยหายใจ
กรณีผชู้ ว่ ยเหลือ 2 คน
1. ผู้ชว่ ยเหลือคนที่ 1 ใชม้ ือทง้ั สองข้างจับ mask โดยใชห้ วั วางหวั แม่มอื และนว้ิ ชร้ี อบ mask
ด้านบนนิ้วท่ีเหลือยกขากรรไกรล่างขน้ึ เปน็ รปู ตัว EC clamp technique
2. ผู้ช่วยเหลอื คนท่ี 2 บีบ Self Inflating Bag โดยใชม้ อื ท้ังสองข้างบีบ bag ช้าๆ คร้งั ละ 1 วินาที
ควรสังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก (chest rise) ขณะชว่ ยหายใจ
ข้อควรระวงั กรณบี ีบ Self Inflating Bag แลว้ หน้าอกไม่ขยับข้ึนลงตามจงั หวะการบบี Self Inflating Bag
- ถา้ สังเกตเห็นหน้าทอ้ งขยับขึ้นลง โดยทท่ี รวงอกไมข่ ยับให้ตรวจสอบการเปิดทางเดินหายใจ
หรือการยกขากรรไกรล่าง
- ตรวจสอบการอดุ ก้นั ทางเดินหายใจ
- กรณที ่ีมลี มร่ัวออกข้าง Mask ขณะบีบ Self Inflating Bag ให้ตรวจสอบการจบั Mask
ใหม่วา่ แนบสนิทกบั หนา้ ผู้ปว่ ยหรือยงั

- 58 -

- อาจใช้ Oropharyngeal airway รว่ มดว้ ย
- อาจเปลี่ยนมาใช้ Pocket mask
กรณสี งสยั วา่ มอี าการบาดเจบ็ ท่ีกระดกู คอ เชน่ การตกจากที่สงู หรอื อบุ ัติเหตจุ ราจร ผู้ช่วยเหลือต้อง
ตรึงศีรษะผู้ป่วยให้อยู่กับท่ี (immobilization) หรือใส่ Cervical Hard collarและเปิดทางเดินหายใจแบบ jaw
thrust

แสดง เทคนคิ การจับ Self Inflating Bag
6. ทำการช็อกไฟฟ้าด้วยเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ (Automated External
Defibrillation :AED)

ชนดิ ของ Automated External Defibrillation
1. Fully autometed เป็นเครื่อง Defibrillator ที่ทำงานโดยไม่ต้องควบคุม โดยผู้ใช้เพียงแต่เปิด

สวทิ ซเ์ ทา่ นน้ั ก็สามารถใชง้ านได้ทันที
2. Semi-automated เป็นเครื่อง defibrillator ที่ใช้เสียงสังเคราะห์จากคอมพิวเตอร์ในการ

แนะนำ ตามท่ไี ดว้ ิเคราะห์จงั หวะการเตน้ ของหัวใจผ้ปู ว่ ย

- 59 -

ขน้ั ตอนการใช้เคร่ืองช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมตั ิ (Automated External Defibrillator: AED)
ขั้นตอนการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล (universal

steps ) ใหป้ ฏิบัตติ าม 4 ข้ันตอน ดังต่อไปนี้
1. เปิดสวทิ ซเ์ คร่ือง AED (Power on the AED) ซ่ึงอาจเป็นการเปดิ ฝาเครอื่ งหรือกดปุ่มเปิดสวิทซ์

on แล้วแต่รนุ่ ของเครื่อง AED หลังจากน้นั จะมคี ำสัง่ ใช้เครือ่ งในข้ันตอนต่อๆ ไป ซ่ึงสามารถทำตามคำสงั่ ท่ไี ด้มีการตั้ง
โปรแกรมไว้ในเคร่อื งได้

2. ติดแผ่นช็อกไฟฟ้า (Attach AED pads) บนผนังทรวงอกผู้ป่วย ขณะที่เพื่อนในทีมทำการ CPR
ผู้ปว่ ยอยา่ งต่อเน่ือง

- แผ่นช็อกจะมีสติ๊กเกอร์ติดอยู่ ใหล้ อกสติก๊ เกอรอ์ อกแลว้ ติดแผน่ บนผวิ ทรวงอกผ้ปู ่วย
- ตำแหน่งในการติดแผ่น แผ่นแรกติดบนหน้าอกด้านขวาบน แผน่ ทส่ี องติดบริเวณด้านข้างซ้ายใต้
ราวนม
- ตอ่ สายแผ่นชอ็ กไฟฟ้าเขา้ กบั เครอื่ ง AED

1. รอให้เครื่องทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ (“clear”and analyze the rhythm)
หากจำเป็นต้องทำการช็อคไฟฟ้า เครื่องจะสัง่ ให้ทุกคนถอย ออกห่างจากผู้ปว่ ย และเตรียมทำการช็อคเครือ่ งจะทำ
การประจุไฟฟ้าเองโดยอัตโนมัติทำการกดช็อค (shock) เมื่อเครื่องมือวิเคราะห์ และแนะนำให้ทำการช็อค
(แสดงว่าเป็น shockable rhythm)

2. จะมีสัญญาณไฟกระพริบตรงปุ่ม “shock” ซึ่งจะแสดงถึงพร้อมสำหรับการช็อคให้ผู้ทำการ
ช่วยเหลือกดปุ่ม “Shock” เพ่อื ปลอ่ ยพลงั งานสูผ่ ้ปู ว่ ยหลงั การกดช็อคไฟฟ้าให้กลับมาทำการกดหน้าอกตอ่ ทันที

- 60 -

- กรณีทีเ่ ครอ่ื งวเิ คราะหว์ ่าไมต่ ้องชอ็ คไฟฟา้ ใหเ้ ร่มิ ทำการกดหน้าอกต่อทนั ที (แสดงว่าเป็น
non shockable rhythm)

- หลงั ทำ CPR ครบ 5 รอบ หรือประมาณ 2 นาที ในชว่ งเวลาทีก่ ลับมาประเมนิ ผู้ป่วย เคร่ืองจะ
ทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจซ้ำโดยอตั โนมัติ หากเครื่องให้ชอ็ กไฟฟ้า ก็ให้กลับมาทำตามขั้นตอนที่ 3
และ 4 หากไมต่ ้องช็อคไฟฟา้ ใหเ้ ริ่มทำ CPR ทันที
ขอ้ ควรระวังในการใช้ pads

1. กรณผี ปู้ ่วยมีขนหน้าอกหนาให้ลองแปะแผน่ ชอ็ กไฟฟา้ แลว้ กดใหแ้ นน่ ท่ีสดุ แตห่ ากเคร่ืองเตอื นว่า
“shock pads” หรือ “shock electrodes” ใหร้ บี ดงึ แผน่ ออกแลว้ โกนขนหน้าอกบางสว่ นแล้วแปะแผ่นใหม่ให้แนบ
ผวิ หนงั ผปู้ ว่ ย แตถ่ า้ เคร่อื งยังเตอื นอยู่ อาจตอ้ งโกนขนหนา้ อกเพิ่มและพจิ ารณาเปล่ียนแผน่ ช็อกไฟฟ้าอนั ใหม่ ถ้าบน
แผ่นมขี นผปู้ ว่ ยตดิ อยู่

2. กรณผี ้ปู ว่ ยอยูใ่ นนำ้ ใหน้ ำผปู้ ่วยขึ้นจากน้ำ เช็ดตวั ผู้ป่วยให้แห้งโดยเฉพาะบรเิ วณหน้าอก ก่อนทำ
การแปะแผ่น AED เนอื่ งจากน้ำเปน็ ตัวนำไฟฟา้ ท่ดี ี จงึ ห้ามใช้ AED ในนำ้ แตถ่ ้าผู้ปว่ ยนอนอยบู่ นหิมะ บนทราย หรือ
โคลนท่ีช้นื แฉะหรือบรเิ วณท่มี นี ำ้ ขงั เลก็ น้อย อาจใช้ AEDหลงั จากเชด็ หน้าอกให้แหง้ อยา่ งรวดเร็ว

3. กรณีที่ผู้ป่วยมีการฝังเครือ่ งช็อกไฟฟ้าหัวใจ (ICD) หรือ เครื่องกระตุ้นหวั ใจ (pacemaker) ควร
หลกี เล่ยี งการติด pads ลงบนตำแหนง่ ของเครอื่ งทฝ่ี ัง

4.กรณีผู้ป่วยมีแผ่น transdermal medication patch เช่น nitroglycerin patch อยู่ก่อนให้ดึง
patch ออกใชผ้ า้ เชด็ ทำความสะอาด และแปะแผ่นช็อก AED อย่างรวดเร็ว
การจัดทา่ พักฟน้ื (Recovery Position)

ภายหลังทำการช่วยฟื้นคืนชีพแล้ว หากประเมินพบว่าผู้ป่วยกลับมามีชีพจร และหายใจเองได้ ใน
ผู้ปว่ ยฉกุ เฉินท่ไี ม่ได้มสี าเหตุจากอบุ ัติเหตุ ใหจ้ ัดท่าทา่ พกั ฟน้ื โดยมขี น้ั ตอนการปฏิบตั ดิ งั น้ี
ขนั้ ตอนปฏบิ ัติในการจดั ทา่ พกั ฟนื้

1. ยกแขนผ้ปู ่วยด้านใกล้ตวั ผ้ชู ว่ ยเหลือขึ้นวางเหนือศีรษะผปู้ ่วย ให้งอแขนอยู่ในลกั ษณะต้ังฉาก
2. ผชู้ ว่ ยเหลือใช้มือข้างทีอ่ ยู่ด้านศรี ษะผปู้ ว่ ย จับบรเิ วณไหล่ผปู้ ว่ ยดา้ นไกลตัว มืออกี ข้างจับบริเวณ
เข่าของผู้ปว่ ยแล้วไขวข้ าข้างใกล้ตวั

- 61 -

3. ออกแรงดึงผู้ป่วยเข้าหาตัวผูช้ ่วยเหลือ โดยให้ศีรษะ ลำตัว และไหล่ของผู้ป่วยจะต้องเคลื่อนไป
พร้อมกนั โดยไมบ่ ิดหรอื เอยี้ วตัว

4. เม่อื พลกิ ตัวผปู้ ่วยแลว้ ขาด้านลา่ งของผ้ปู ่วยอยใู่ นลักษณะเหยียดตรง ขาด้านบนอยู่ในลักษณะงอ
เขา่ และใหจ้ ัดศีรษะให้อยูต่ รงกลางมากท่สี ุด

5. จดั วางมือผปู้ ่วยข้างทอี่ ยดู่ ้านบนไว้ข้างๆใบหน้า ใหฝ้ ่ามืออยบู่ ริเวณปากและแก้มของผูป้ ่วย

แสดง การจัดทา่ พกั ฟื้น ให้ทำการผายปอด : ผายปอด 1 ครั้ง ทุก 5-6 วนิ าที
ข้นั ตอนวธิ ีการชว่ ยชีวติ ขั้นพืน้ ฐานสำหรบั ภาวะหวั ใจหยดุ ทำงานในผูใ้ หญ่ หรอื ผายปอดประมาณ 10-12 คร้ังต่อนาที

ตรวจสอบความปลอดภัยของ - แจ้งระบบตอบรบั ฉกุ เฉนิ (ถา้ ยังไมไ่ ด้
สถานทเี่ กดิ เหตุ กระทำ) หลงั จาก 2 นาที

เฝา้ ระวังจนกระท่ัง ผู้ปว่ ยไมต่ อบสนองตะโกนเพ่ือขอความชว่ ยเหลือท่ีอยู่บรเิ วณใกล้เคยี งแจง้ ระบบตอบ - ทำให้การผายปดิ ต่อไป; ตรวจสอบ
หนว่ ยก้ภู ัยฉกุ เฉินมาถึง รบั ฉกุ เฉนิ ผ่านทางโทรศพั ทม์ ือถือ (ถา้ เหมาะสม) จดั หาเครื่องกระตุ้นหัวใจดว้ ยไฟฟา้ การเต้นของชีพจรทุก 2 นาที ถ้าไม่
จากภายนอกร่างกายแบบอตั โนมัตแิ ละอุปกรณฉ์ ุกเฉิน ( หรือส่งคนอ่ืนไปกระทำแทน พบชพี จรทุก 2 นาที ถา้ ไมพ่ บชพี จร
ใหเ้ ริ่มทำการนวดหวั ใจผายปอดกู้ชพี
) (ไปยังกรอบ “การนวดหวั ใจผายปอด
ก้ชู พี ”)
มกี ารหายใจปกติ มชี พี จร ไม่มกี ารหายใจตามปกติมชี พี จร
- ถ้าเป็นไปได้ว่าอาจเกดิ จากสารสกัด
มองหาการไม่หายใจ หรือมีเพียงการหายใจเฮือก และตรวจ จากฝนิ่ ให้ยานาโลโซนถา้ มีพรอ้ มใช้
ชพี จร ( ทำไปพร้อม ๆ กนั ) พบชีพจร อยา่ งแนน่ อน รสู้ กึ ได้ งานตามข้อกำหนด

ภายใน 10 วนิ าทีหรอื ไม่

- 62 - โดยขณะนใี้ นทุกสถานการณ์ ระบบ
ตอบรับฉกุ เฉนิ หรือระบบสำรองจะ
ไมห่ ายใจ หรอื มีเพยี งการหายใจเฮอื กไม่มีชีพจร ได้รับแจง้ เหตุแลว้ และได้รบั
เคร่ืองกระตุ้นหัวใจดว้ ยไฟฟา้ จาก
การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ ภายนอกร่างกายแบบอัตโนมัติและ
เรม่ิ ต้นรอบของกด 30 คร้งั และผายปอด 2 ครัง้ ใช้ อุปกรณ์ฉุกเฉินแล้ว หรือคนอนื่ กำลัง
เคร่ืองกระตุ้นหวั ใจดว้ ยไฟฟ้าจากภายนอกร่างกายแบบ นำอปุ กรณ์เหล่านน้ั มา

อัตโนมัตทิ ันทีเมื่อได้รับมา

เครื่องกระตนุ้ หวั ใจดว้ ยไฟฟ้าจากภายนอก
รา่ งกายแบบอตั โนมตั ิมาถึง

ไดส้ ามารถกระตุ้นด้วยไฟฟา้ ได้ ไมไ่ ด้ไม่สามารถกระต้นุ ด้วยไฟฟ้าได้

ตรวจจงั หวะชีพจร จงั หวะชีพจรท่ี
สามารถกระตุน้ ด้วยไฟฟ้าหรอื ไม่

ชอ็ ค 1 ครงั้ ทำกำรนวดหวั ใจผำยปอดกชู้ พี ตอ่ ทนั ที เป็นเวลำ ทำกำรนวดหวั ใจผำยปอดกชู้ ีพตอ่ ทนั ทเี ป็นเวลำประมำณ
ประมำณ 2 นำที (จนกระท่งั เคร่อื งกระตนุ้ หวั ใจดว้ ยไฟฟำ้ 2 นำที (จนกระท่งั เครอ่ื งกระตนุ้ หวั ใจดว้ ยไฟฟำ้ อตั โนมตั ิ
จำกภำยนอกรำ่ งกำยแบบอตั โนมตั ิแจง้ ว่ำพรอ้ มท่ีจะ แจง้ ว่ำพรอ้ มทีจ่ ะใหต้ รวจสอบจงั หวะชีพจร )ทำต่อไป
ตรวจสอบจงั หวะชีพจร ) ทำตอ่ ไปจนกวำ่ ผใู้ หก้ ำรชว่ ยชีวิตขนั้ จนกวำ่ ผใู้ หก้ ำรชว่ ยชีวิตขนั้ สงู มำดแู ลตอ่ หรอื ผปู้ ่วยเริ่ม
สงู มำดแู ลต่อหรือผปู้ ่วยเร่ิมเคล่ือนไหว เคลอื่ นไหวแลว้

คำถามท้ายบท

1. ระบบท่ีเปน็ สาเหตุท่ีทำเสยี ชวี ติ อย่างกะทนั หันมกี ี่ระบบ คือ ?

2. ภาวะหัวใจหยุดเต้น หมายถงึ ?

3. สมองทนต่อการขาดเลอื ดได้ไม่เกินกน่ี าที ?

4. ข้นั ตอนการชว่ ยฟืน้ คนื ชีพมีอะไรบ้าง ?

5. อตั ราการกดนวดหัวใจตอ่ การเป่าปากคือ ?

6. การกดหน้าอกตอ้ งแรงและเร็ว โดยกดหนา้ อกใหล้ กึ เท่าใด ?

7. การกดนวดหวั ใจอย่างต่อเน่ืองทีอ่ ตั ราเรว็ เท่าใด ?
8. ข้นั ตอนการใช้เคร่ืองชอ็ กไฟฟา้ หวั ใจแบบอัตโนมตั ิคือ ?
9. จะทำประเมนิ ผู้ป่วยหลังทำ CPR ครบ กร่ี อบ ?
10. ขั้นตอนปฏบิ ตั ิในการจดั ทา่ พักฟ้ืนมอี ะไรบ้าง ?

- 63 -

บทท่ี 5

การเสนารักษ์

หลักการเวชกรรมปอ้ งกัน
การเวชกรรมปอ้ งกนั (Preventive Medicine) เป็นศาสตรแ์ ละศิลป์ของการป้องกันโรค คือการทำ

ให้ชวี ติ ยืนยาวดว้ ยการส่งเสริมสุขภาพกาย สขุ ภาพจติ ให้ดำรงชวี ติ อย่ไู ด้อย่างมปี ระสิทธิภาพคำว่าเวชกรรมป้องกัน
มีความหมายเช่นเดยี วกับคำวา่ สาธารณสุข (Public Health) หลกั การเวชกรรมป้องกัน
ปจั จัยที่ทำใหเ้ กิดโรคมี ๓ องคป์ ระกอบ

1. คน (Host) แต่ละบุคคลจะแตกต่างกนั ไป
2. ส่ิงท่ีทำใหเ้ กดิ โรค (Agent) ไดแ้ ก่เชอื้ โรคต่าง ๆ สารพิษ ปัจจัยทางกายภาพต่างๆ
3. สิ่งแวดลอ้ ม (Environment) หมายถงึ สภาพแวดล้อมทีก่ อ่ โรค
การปอ้ งกนั โรค หมายถึง การปอ้ งกนั โรคทคี่ รอบคลุมมาตรการต่างๆ ซง่ึ มิได้เพยี งการปอ้ งกนั ไม่ให้
เกิดโรค เช่น การลดปจั จยั เส่ียง แต่หมายรวมถงึ การยบั ย้งั มิให้โรคลุกลามและลดความรุนแรงของโรคท่เี กิดข้นึ
หลกั การการป้องกนั โรคที่สำคัญ คือ การป้องกนั โรคด้วยตนเอง หมายถงึ การกระทำหรอื ไม่กระทำ
บางสิ่งบางอย่างของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ใหต้ นเองและคนอื่นๆ เกิดเจ็บป่วยหรือการเกิดโรคขึน้ รวมทั้งการป้องกัน
การระบาดของโรคท่อี าจ เกิดข้นึ ในชมุ ชนด้วย ส่ิงทสี่ ำคัญทสี่ ุดในประเดน็ น้ีคือ การเสริมสร้างสขุ ภาพเพ่ือการป้องกัน
โรคการปอ้ งกันโรคระดับบคุ คลมีวธิ กี ารปฏิบตั ิดงั น้ี
- ดแู ลรกั ษาสขุ ภาพให้สขุ ภาพแขง็ แรงออกกำลงั กายอย่างสมำ่ เสมอ กนิ อาหารทมี่ ีคุณประโยชน์
อยา่ งเพยี งพอ นอนหลบั พกั ผ่อนใหเ้ พยี งพอ และลดการสูบบหุ ร่ี
- ลา้ งมือดว้ ยสบแู่ ละทำใหส้ ะอาดอยู่เสมอ และใช้ช้อนกลางเม่ือรบั ประทานอาหารร่วมกบั ผู้อื่น
- หลกี เล่ยี งการเดินทางในประเทศ หรอื พน้ื ทีท่ ่ีมีการระบาดของโรคน้ี
- ถ้าจำเป็นต้องเดินทางในประเทศหรอื ทท่ี ม่ี กี ารระบาดของโรคนี้ เมือ่ กลับมาจะต้องผ่าน
กระบวนการตรวจคดั กรอง
หลกั การควบคมุ และป้องกนั โรคแบ่งระดับของการป้องกันโรคออกเป็น 3 ระดบั คือ
1. การปอ้ งกนั แบบปฐมภมู ิ ลดปัจจยั เสี่ยง การสร้างเสรมิ สขุ ภาพ การให้ยาปอ้ งกนั ล่วงหน้า การฉีด
วคั ซีน การปรบั สภาพแวดล้อม การควบคมุ พาหะนำโรค การกำจัดพาหะนำโรค
2. การปอ้ งกนั แบบทตุ ิยภมู ิ การวนิ จิ ฉยั ต้งั แต่แรกเร่ิม การให้การรกั ษาอย่างทันท่วงที
3. การปอ้ งกันตติยภมู ิ การจำกัดความพกิ าร หลกั การฟ้ืนฟสู มรรถภาพ

- 64 -

การพิทกั ษ์สขุ ภาพกำลังรบ
การพทิ กั ษส์ ุขภาพกำลงั รบ คอื ระบบการสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพในการปฏบิ ตั ิการทาง ทหารทกุ

รูปแบบต้ังแต่ยามปกติ จนถงึ ยามสงคราม ซ่งึ การพทิ ักษ์ 7 สุขภาพกำลงั รบ ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
1.ความพร้อมดา้ นสุขภาพของกำลังพล
2. การปอ้ งกันไม่ให้เกิดผู้ปว่ ยเจ็บ
3. การดูแลจัดการผู้ปว่ ยเจบ็
เสาหลกั ท่มี ีความเกี่ยวข้องกบั งานเวชกรรมป้องกนั จะเป็นเสาหลักที่ 1 และ 2 ท่ีเก่ียวขอ้ งกับการ

เตรียม ความพร้อมดา้ นสขุ ภาพกำลงั พล และ การป้องกนั ไม่ใหเ้ กดิ ผูป้ ่วยเจบ็
การพทิ ักษ์สขุ ภาพกำลงั รบ

เน้นความพร้อมของกำลงั พลเป็นหลัก เพราะความพร้อมของกำลงั พลเป็น พนื้ ฐานท่ที ำให้เกิดความ
มั่นใจที่จะทำให้บรรลุภารกิจ ควรทำให้กำลังพลมีความ พร้อมด้านสุขภาพเริ่มตั้งแต่การเข้ามาบรรจุในกองทัพบก
และดำเนินการต่อเนื่อง ไปจนกระท่ังเกษยี ณอายุราชการ โดยทั้งนีเ้ น้นท่คี วามสมบูรณ์ทางร่างกายและ จิตใจ ความ
ปลอดภัยในการทำงาน และ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี - ต้องทำใหก้ ำลังพลมีความแข็งแกร่งในการรบ การสนับสนุน
บริการสขุ ภาพท่ดี ี จะช่วยส่งเสรมิ ให้เกิดการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ ลดความต้องการการดแู ลรกั ษา ทางด้านสุขภาพ
ทหาร ทหารทแี่ ขง็ แรงสมบรู ณ์มีความพร้อมทางด้านร่างกาย มี แนวโน้มทจ่ี ะได้รบั บาดเจบ็ น้อยลง และทนต่อสภาวะ
ความเครียดไดด้ ี
โภชนาการ

- เป็นหนงึ่ ในองค์ประกอบทีท่ ำให้กำลงั พลมคี วามพร้อม การดูแลร่างกายให้แขง็ แรงจึงมคี วามสำคัญ
ในการเตรยี มความพรอ้ มของภารกิจ การดูแลรา่ งกายใหด้ ีดว้ ยโภชนาการที่ดจี ึงหมายถึงการบรโิ ภคอาหารเพ่ือให้ได้
ปริมาณและคณุ ภาพ

- หลกั สำคัญของอาหารสำหรับทหารและมีหลกั พิจารณา ประการสำคัญ คอื
ก. เป็นอาหารทใ่ี หส้ ารอาหารสำคัญ จำเป็นและเพยี งพอทจ่ี ะทำใหร้ ่างกายเกดิ ความแข็งแรง
ข. เป็นอาหารที่ใหพ้ ลังงานเพียงพอ แก่ความตอ้ งการของรา่ งกาย
จิตวญิ ญาณท่ดี แี ละมสี ขุ ภาพจติ ดี จะครอบคุลมถงึ ความรู้สึกนกึ คิด พฤติกรรม สังคม จติ วญิ ญาณ
ซ่งึ ทหารจะไดร้ บั การฝกึ ฝนใหม้ คี วามแข็งแกรง่ ทางดา้ นจิตใจ ความรูส้ ึกนกึ คิด
- การฝกึ ฝนอย่างตอ่ เนอ่ื งสมำ่ เสมอจะทำให้ทหารมที ักษะในการเผชญิ กับปญั หา สามารถมีสมาธิ
กบั ภารกิจท่ีได้รับมอบหมายเพ่ือปฏิบตั ภิ ารกจิ ให้สำเร็จได้
- สงิ่ เหล่านีจ้ ะเกิดข้ึนได้กด็ ้วยการฝกึ ฝนเรยี นรู้อย่ตู ลอดเวลา เชน่ การทำสมาธิ การเลน่ โยคะ หรือ
การฝกึ จิตในด้านต่าง ๆ การเรยี นรู้จากบคุ คลอืน่ ๆ เปน็ ตน้
-ทำให้เกิดทกั ษะในการพฒั นาตนเอง การเผชิญกบั ความเครยี ดและการมีความสามารถในการ
แกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ได้

- 65 -

สภาพแวดลอ้ ม
- จะครอบคลุมถึงบุคคล ครอบครัว ชุมชน และ สังคม ที่ล้อมรอบอยู่ ตลอดจนงานอาชีวอนามัย

และสิง่ แวดล้อมทเี่ กอื้ กูลท่ที ำให้กำลังพล ครอบครวั และชุมชนมีความปลอดภัย
- การสร้างสภาวะที่เกื้อกูลเช่นนี้ต้องมีการระบุ การควบคุม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัส

กับอันตราย การเฝ้าระวังเป็นมาตรการด้านเวชกรรมป้องกันและการเฝ้าระวังทางการแพทย์เพือ่ ทำให้สามารถพบ
ส่งิ ผดิ ปกติไดต้ ั้งแตช่ ว่ งแรก ๆ สรปุ การเตรยี มความพร้อมด้านสุขภาพในเสาหลกั แรก

- จะเป็นการช่วยทำให้กำลังพลมีสุขภาพที่พร้อมทั้งรา่ งกาย จิตใจ ตลอดจนมีขวัญและกำลังใจใน
การปฏิบตั หิ นา้ ทใ่ี หส้ ำเร็จลลุ ่วงได้

- มีการประเมินอย่างต่อเนอ่ื ง
- มกี ารพัฒนาใหด้ ขี นึ้ ตลอดเวลา
- มีการรายงานผลความพร้อมทางการแพทย์อยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการ มีสุขภาพที่ดี
พร้อม และ ป้องกันความเจ็บป่วย ที่อาจจะกระทบกับความสมบูรณ์พร้อมรบของกองกำลัง เสาหลักที่สองของ
การพิทกั ษส์ ขุ ภาพกำลงั รบ“การปอ้ งกนั ไม่ให้เกิดผูป้ ่วยเจ็บ” มคี วามเชื่อมโยงกับภัยคุกคามทางการแพทย์ที่เกิดจาก
การรบและมิใช่การรบภัยคุกคามจากการรบทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการรบ(Battle injury) ซึ่งขึ้นกับชนิดของ
อาวุธประเภทของการสรู้ บ
- ภัยคุกคามที่มิใช่เกิดจากการรบทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วย (Disease non-battle injury)
ทำให้การรบด้อยประสิทธิภาพลงได้ ดังนั้นการมีมาตรการปอ้ งกันภัยคุกคามทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ จะทำให้
กำลงั พลปลอดโรค ปลอดภยั ไมเ่ จบ็ ปว่ ย และ คงประสิทธภิ าพในการรบไวไ้ ด้
มาตรการด้านเวชกรรมป้องกัน ต้องดำเนินงานในทกุ ห้วงของการปฏิบัติการระหว่างการระดมพล
ก่อนออกปฏิบัติการ (pre-deployment phase) ระหว่างปฏิบัติการ (deployment phase) และหลังปฏิบัติการ
(post-deployment phase) ซึ่งต้องครอบคลุมเรื่อง การสุขาภิบาล สุขศาสตร์ส่วนบุคคล การควบคุมแมลงพาหะ
นำโรค การสร้างเสริมสุขภาพ การให้ยาป้องกันล่วงหน้า (chemoprophylaxis) การฉีดวัคซีน การวินิจฉัยโรค
ตั้งแต่แรกของการรักษาอย่างทันท่วงที การฟื้นฟูสภาพ การจำกัดความพิการ สิ่งเหล่านี้มีการกำหนดเป็นคำส่ัง
หรอื แนวทางให้ปฏบิ ตั ิตามอย่างเครง่ ครดั
การพทิ ักษ์สุขภาพกำลงั รบ
ก. การสขุ าภบิ าลทหาร
การสุขาภบิ าล คือ วธิ กี ารท่ีกองทพั จะผดุงรกั ษาไวซ้ ึง่ สขุ ภาพอันสมบูรณ์ของทหาร และ ป้องกันการ
แพร่ระบาดของโรค เพ่ือใหม้ กี ำลงั พลมคี วามแขง็ แรงทั้งทางร่างกายและจติ ใจ พร้อมท่ีจะปฏบิ ัตหิ นา้ ที่หรอื ทำการสู้
รบได้มากท่ีสุด

- 66 -

ข. หนา้ ที่รับผดิ ชอบ
1. ผู้บังคบั หน่วย เป็นผ้รู ับผดิ ชอบโดยตรงในการจัดการสุขาภิบาลในหน่วยและกำหนดเขตพร้อม
แบง่ มอบความรับผิดชอบใหห้ นว่ ยขึ้นตรง โดยการแนะนำจากเจ้าหนา้ ท่ีเหลา่ ทหารแพทย์ของหนว่ ย
2. ทหารทุกช้นั ยศจะตอ้ งได้รับการอบรมให้ร้ถู ึงหลกั การสุขาภิบาล และมีหนา้ ท่ปี ฏิบัตใิ ห้ถูกตอ้ ง
ตามหลักเกณฑ์ทกี่ ำหนดไวอ้ ย่างเครง่ ครัด
3. ผบู้ ังคับบญั ชาทหารทกุ ระดบั ช้นั ต้องให้ความร่วมมอื กับเจ้าหนา้ ที่เหลา่ ทหารแพทยท์ ำการอบรม
ช้ีแจงใหท้ หารทกุ นายในความบังคบั บญั ชาของตน ให้มคี วามรแู้ ละเขา้ ใจ เรอ่ื ง การสุขาภบิ าลในหน่วยและสุขศาสตร์
ส่วนบุคคลพร้อมท้งั กำกับดแู ลควบคมุ ใหท้ หารปฏบิ ตั ิตาม อยา่ งเคร่งครดั
4. ผ้บู ังคบั หนว่ ยแพทย์ มหี นา้ ทจี่ ัดทำและเสนอแผนการปฏิบัติงาน ให้ผบู้ งั คับหน่วยทหาร พร้อมทั้ง
ให้คำแนะนำ เรื่อง การสุขาภิบาลในหน่วย ได้แก่ การตรวจคุณภาพน้ำอุปโภคและบริโภค วิธีการกำจัดขยะและสิง่
ปฏิกูล การป้องกันและควบคุมโรค การปลูกภูมิคุ้มกันโรค การอบรมสุขศาสตร์ส่วนบุคคล การกำจัดหนูและแมลง
พาหะนำโรค แนะนำในเรื่องการออกคำสั่งหรือระเบียบการสุขาภิบาล และเป็นผู้ตรวจพร้อมทั้งรายงานผลให้
ผบู้ งั คบั หน่วยทหารทราบทกุ คร้ัง หากท่มี ีขอ้ บกพรอ่ งต้องรบี แกไ้ ขทนั ที
5. เจ้าหน้าที่เหล่าทหารพลาธิการของหน่วย มีหน้าที่รับผิดชอบ การเลี้ยงดูทหาร การอบรม
เจ้าหน้าท่สี ทู กรรม การซักรดี การกำจัดเหา และการแจกจ่ายสิง่ อุปกรณ์ เชน่ เคร่ืองแต่งกาย รองเทา้ ถุงเทา้ เครื่อง
นอนใหเ้ พียงพอแกก่ ำลงั พลของหน่วย
6. เจ้าหน้าที่เหล่าทหารช่าง หรือเจ้าหน้าที่เหล่าทหารยุทธโยธาของหน่วย มีหน้าที่รับผิดชอบ
ดำเนินการก่อสร้าง ซ่อมแซม สำนักงาน อาคารโรงนอน ส้วม ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม โรงเลี้ยง โรงประกอบอาหาร
และระบบสาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้า ประปา ของหน่วยให้ถกู ต้องตามหลกั สขุ ลักษณะของกระทรวงสาธารณสุข
ค. แนวทางปฏิบตั ิ ท่ตี ัง้ หน่วยและสถานทรี่ าชการ

ก. ผ้บู ังคับหนว่ ยทหาร ต้องแบง่ เขตสุขาภบิ าลในท่ตี ง้ั หน่วย ให้หนว่ ยข้นึ ตรง เพอ่ื รับผดิ ชอบใน
การดูแลรกั ษาความสะอาดพืน้ ที่ใหเ้ ป็นระเบียบเรียบร้อย

ข. สำรวจพ้นื ทพี่ ร้อมจัดการถม และทำทางระบายนำ้ ภายในบริเวณท่ตี ั้งของหน่วย
เพ่ือไมใ่ ห้มนี ำ้ ขังกอ่ ให้เกิดความสกปรก เป็นแหลง่ เพาะพันธย์ งุ และแมลงพาหะนำโรคต่างๆ ได้

ค. การกำจดั ขยะ มีรายละเอียดการดำเนินการดงั นี้ แนวทางปฏบิ ัติ ในท่ตี ง้ั หน่วยและสถานท่ี
ราชการ

ผบู้ ังคับหน่วยทหาร ต้องแบ่งเขตสุขาภบิ าลในท่ตี ั้งหน่วยใหห้ นว่ ยข้ึนตรงเพอื่ รับผดิ ชอบในการ
ดูแลรกั ษาความสะอาดพื้นท่ใี หเ้ ปน็ ระเบียบ สำรวจพน้ื ทพ่ี รอ้ มจัดการถม และทำทางระบายน้ำเพ่อื ไม่ใหม้ ีน้ำขัง
สกปรก เป็นแหล่งเพาะพนั ธย์ งุ และแมลงพาหะนำโรค

การกำจัดขยะ ด้วยหลกั 5 R - Reduce, Reuse, Repair, Reject, Recycle
แสงสวา่ ง เพยี งพอ

- 67 -

ความร้อน
เสียง ไมด่ ังรบกวน เกินกว่าที่กำหนด
บริการน้ำ อปุ โภคบรโิ ภคที่เพียงพอ
โรงเลีย้ งและโรงประกอบอาหาร มีการตรวจตราอยูเ่ สมอ
สว้ ม มจี ำนวนเพยี งพอตามสดั ส่วน
ทล่ี า้ งหน้าและทอี่ าบนา้ เพยี งพอ
ครวั และทเี่ กบ็ ของ เรยี บรอ้ ย สะอาด
การป้องกันอคั คภี ัย มกี ารติดต้ังอุปกรณ์ ทำทางฉุกเฉิน
แนวทางปฏิบตั ดิ ้านเวชกรรมป้องกนั ของหนว่ ยในปฏิบัติราชการสนาม
การปฏบิ ตั ริ าชการนอกทีต่ ้ังปกติ สภาพแวดล้อมตา่ งๆ อาทิ สภาพภมู ิอากาศ ภูมิประเทศ แหล่งน้ำ
รวมถึงสถานการณ์การรบ หรือภารกิจที่ได้รับมอบที่มีความยากลำบาก รวมถึงสถานการณ์ทางการยุทธที่อาจ
เปล่ียนแปลงไดเ้ สมอ และขีดจำกดั ดา้ นทรพั ยากรต่างๆ อาจมคี วามจำเปน็ ตอ้ งมีการยา้ ยท่ตี ้งั บ่อยๆ จากข้อจำกดั และ
บริบทดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านเวชกรรมปอ้ งกันได้ อย่างไรก็ตามหากมีการเตรียมการที่ดี
รวมถงึ สามารถนำความรดู้ ้านเวชกรรมป้องกนั ไปประยกุ ตใ์ ช้ตามสถานการณ์ กส็ ามารถทำให้การดำเนินการดังกล่าว
สมั ฤทธผิ์ ลได้เชน่ กนั
แนวทางในการดำเนินการด้านเวชกรรมปอ้ งกนั กำหนดไว้ 3 หว้ ง คอื กอ่ นระหว่าง และหลงั ปฏิบตั ิราชการ
1. แนวทางปฏบิ ัติด้านเวชกรรมปอ้ งกันก่อนปฏบิ ัตริ าชการสนาม
ก. ผู้บังคบั หนว่ ยและผู้บังคบั บัญชาตามระดับชั้นจะตอ้ งมีทศั นคตทิ ่ดี แี ละเลง็ เหน็ ความสำคัญตอ่ การ
ดูแลสุขภาพของกำลังพล รวมถึงการเขม้ งวดตอ่ กำลงั พลในการปฏบิ ตั ติ ามมาตรการเวชกรรมปอ้ งกนั
ข. กำลังพลจะตอ้ งมีความพรอ้ มของสุขภาพรา่ งกายและจิตใจ ดงั นัน้ กำลังพลทุกนายก่อนออก
ปฏบิ ัตริ าชการสนาม
ควรต้องไดร้ บั การสำรวจและประเมินภาวะสุขภาพ ดงั นี้

- การทดสอบสมรรถภาพรา่ งกาย ตามเกณฑม์ าตรฐานของกองทัพบก :
- การสำรวจภาวะสุขภาพ
- การประเมนิ ภาวะสุขภาพจิต
ค. ต้องมกี ารจัดทำข่าวกรองทางการแพทย์ (Medical Intelligence) อยา่ งงา่ ย ตามหัวข้อท่ีปรากฏ
ด้านล่างนี้ เพื่อให้เป็นตวั กำหนดแนวทาง และมาตรการทางเวชกรรมป้องกันสำหรับหน่วยจะได้ถือปฏิบัติในขณะท่ี
ปฏบิ ตั ริ าชการสนาม นำไปสกู่ ารจดั ทำแผนด้านเวชกรรมป้องกนั ซึ่งจะทำให้หน่วยและหนว่ ยสายแพทยท์ ี่ออกปฏิบัติ
ราชการสนามสามารถวางแผนเตรียมการ เบิกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ทางเวชกรรมป้องกัน รวมถึงการ
ป้องกันและควบคุมโรคในสนาม การเตรียมการด้านสุขาภิบาล (รายละเอียดตาม คำสั่งกองทัพบกที่เกี่ยวข้อง)
หัวขอ้ ในการจัดทำข่าวกรองทางการแพทยใ์ นพืน้ ทปี่ ฏบิ ัติการ ได้แก่

- 68 -

- สภาพภูมปิ ระเทศและภมู อิ ากาศของพนื้ ทป่ี ฏิบตั ิการ
- โรคระบาดหรือโรคประจำถนิ่
- แหล่งนำ้ /สุขาภิบาล
- พชื หรอื สัตวม์ พี ษิ พาหะนำโรคท่ีสำคญั
- ยทุ โธปกรณ์และแนวความคิดในการใช้กำลังของฝา่ ยตรงขา้ ม
- ทรัพยากรทางการแพทยใ์ นพน้ื ท่ีปฏิบตั กิ าร
- การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านการแพทยท์ อี่ าจเกดิ กับกำลังพล
ง. การตรวจภูมิประเทศ ควรจัดให้มกี ารตรวจภูมิประเทศเพื่อเลอื กทีต่ ้ังหน่วย ถา้ สามารถกระทำได้
และควรนำเจ้าหน้าทีส่ ายแพทย์รว่ มเดนิ ทางไปดว้ ยเพ่ือให้คำแนะนำดา้ นเวชกรรมป้องกนั โดยการเลือกท่ีตั้งควรให้
เปน็ ไปตามหลักสุขาภิบาลใหม้ ากที่สุดเทา่ ที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้จะตอ้ งสอดคลอ้ งกับแผนทางยทุ ธวธิ ี ไม่เป็นอปุ สรรคต่อ
การดำเนนิ กลยทุ ธ์
จ. การตรวจความพร้อมรบ ควรมีการกำหนดรายการสิ่งอุปกรณ์และมาตรการต่างๆ ที่ต้องปฏิบตั ิ
สำหรับกำลังพล เพื่อให้มีความพร้อมในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางด้านการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อออก
ปฏิบัติราชการสนาม เช่น การชุบมุ้ง การได้รับยาทากันป้องกันแมลง การเบิกรับยาและสิ่งอุปกรณ์ทางเวชกรรม
ป้องกัน ผลการประเมินสขุ ภาวะทางรา่ งกายและจิตใจของกำลงั พล รวมถงึ การประเมินความรใู้ นการป้องกนั โรค การ
สุขาภบิ าลและมาตรการตา่ ง ๆ ทก่ี ำหนด ควรมีการจดั ทำค่มู อื อยา่ งง่ายๆ เพอ่ื ให้กำลงั พลเอาไว้อา่ น เพือ่ ทีจ่ ะสามารถ
ดแู ลและปอ้ งกันตนเองจากภยั คกุ คามทางการแพทยท์ อ่ี าจเกดิ ข้ึนได้
ฉ. กำลังพลทุกนายควรได้รับวัคซีนที่จำเป็นในการป้องกันโรคที่มีการระบาดในพื้นที่ปฏิบัติการ
หรือโรคประจำถิ่น ทั้งนี้กำลังพลทุกนายต้องไดร้ ับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก ( Diphtheria -Tetanus
Toxoid : dT) เข็มที่ 1 ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6
เดือน ทั้งน้ี ทหารกองประจำการทกุ นายควรจะไดร้ บั วัคซนี ครบตามเกณฑ์ ตามประกาศกรมแพทยท์ หารบก เมอื่ แรก
เข้าเปน็ ทหารกองประจำการ
ช. เตรียมการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขทัง้ ของหน่วยทหารและหน่วยงานสาธารณสุข
อื่น ๆ ในพ้นื ที่ รวมถึงโรงพยาบาลกองทพั บกและกรมแพทยท์ หารบก หากมีความจำเปน็ ต้องขอรับการสนบั สนุน
2. แนวทางปฏิบตั ิด้านเวชกรรมปอ้ งกนั ระหวา่ งปฏิบัตริ าชการสนาม (Deployment)
เจ้าหน้าที่สายแพทย์จะต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติประจำของหน่วยในเรื่องเวชกรรมป้องกัน โดย
พิจารณาจากข่าวกรองทางการแพทย์ ข้อมูลทางระบาดวิทยาและภัยคุกคามทางการแพทย์ที่ไดจ้ ัดทำไว้และจะตอ้ ง
ถูกพัฒนาอยู่เสมอ จะต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปทั้งสถานการณ์ทางยุทธวิธีและ
สถานการณ์ทางการแพทย์ เฝ้าระวังโรคติดตอ่ และภัยคุกคามทางการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้น หากพบกำลังพลเจบ็ ป่วย
หรือได้รับอนั ตรายจากภยั คุกคามทางการแพทย์จะต้องรบี เข้าดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุ และปรับแนวทางการ

- 69 -

ปฏิบัติและมาตรการเวชกรรมป้องกนั ให้มคี วามเหมาะสมทันตอ่ สถานการณ์ทันที หากเกินขดี ความสามารถให้ร้องขอ
การสนับสนุนจากหน่วยงานในพ้ืนที่หรอื หนว่ ยเหนือ

การสำรวจภาวะสขุ ภาพของรา่ งกายและสุขภาพจิต จะตอ้ งกระทำตามวงรอบท่ีได้วางไว้ในแผนด้าน
เวชกรรมป้องกนั หากมีความจำเป็นทางยุทธวธิ ี หรอื ปัจจัยท่อี าจส่งผลกระทบให้รีบดำเนินการสำรวจวเิ คราะห์ภาวะ
ดังกล่าวทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้สามารถแนวทางการปฏิบัติและมาตรการเวชกรรมป้องกันให้มี ความ
เหมาะสม และจะต้องประสานงานการดำเนินการด้านเวชกรรมป้องกันกับหนว่ ยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวขอ้ งใน
พ้ืนที่อยเู่ สมอ การสุขาภบิ าลในสนามเนอ่ื งจากในราชการสนาม ทหารออกไปปฏบิ ัตหิ นา้ ทใ่ี นราชการสงครามหรือทำ
การฝึกนอกที่ตั้งสภาพการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมย่อมมีความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่นที่จะต้องเผชิญกับภัย
คุกคามต่อสุขภาพของทหาร เพื่อเป็นการทำให้ทหารมีสุขภาพสมบูรณ์ไม่เจ็บป่วยพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ผลดี
เตม็ ที่มีแนวทางดงั น้ี

1. การเลอื กทต่ี ้ัง ผูบ้ งั คับหน่วย มหี น้าทีร่ ับผิดชอบในการเลือกท่ตี ้งั
ก. หลักในการเลือกท่ีตั้ง ตอ้ งใหไ้ ดผ้ ลดีทั้งในทางยุทธวธิ ี และการสุขาภบิ าล ควรพยายามเลอื ก

ให้เปน็ ไปตามหลกั สุขาภิบาลใหม้ ากทสี่ ดุ เท่าท่ีสถานการณท์ หารจะอำนวยให้ เมื่อไมข่ ัดตอ่ หลกั ยทุ ธวิธคี วรเลือกทตี่ ้งั
ตามลกั ษณะตอ่ ไปน้ี

1. ความปลอดภัยจากสถานการณร์ บ และ มีการกำบังซ่อนพราง
2. สะดวกในเรื่องน้ำและ อืน่ ๆ
3. ถกู ลกั ษณะสขุ าภบิ าล
4. ให้ความสขุ สบายแก่ทหาร
ข. ลกั ษณะท่ีตั้งที่พึงปรารถนา
1. มีพน้ื ที่กวา้ งขวางพอสำหรับจัดทีพ่ ัก กระโจม โรงเล้ยี ง ส้วม สนามฝึกและ อ่ืนๆ
2. เปน็ เนินลาดเล็กน้อย ระบายน้ำได้สะดวก
3. ดนิ แนน่ แตซ่ มึ งา่ ย (ดินทราย) และควรมหี ญ้าปกคลุม ลกั ษณะเชน่ น้จี ะปอ้ งกนั หลุมโคลน
ในฤดูฝนและฝ่นุ ในฤดรู อ้ น
4. มีตน้ ไม้ชว่ ยกนั แดดลม
5. มถี นนและเสน้ ทางคมนาคมสะดวก
ค. ลกั ษณะที่ต้งั ท่ีไม่พงึ ปรารถนา
1. ที่ล่มุ ท้องลำธารที่แห้ง
2. ทต่ี ดิ เหนียว ดนิ ร่วน หรือดินทมี่ ีฝนุ่ มาก
3. ทล่ี าดชัน
4. หา่ งจากหมบู่ ้านชาวพน้ื เมอื งน้อยกว่า 1 กโิ ลเมตร

- 70 -

2. การเขา้ ทพี่ กั

ก. จดั ที่พกั หรอื กระโจมให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทไดด้ ี ไมอ่ บั และแออัด

ข. มีรอ่ งระบายนำ้ รอบทกุ กระโจม และท่ีพัก

ค. ในเวลากลางวนั ให้ม้วนผา้ ข้างกระโจมหรอื เปิดทพี่ กั ให้แสงแดดสอ่ งถึง

ง. มีภาชนะหรอื หลุมทงิ้ ขยะในบรเิ วณทีพ่ กั และจัดการฝงั หรือเผาทุกวัน

จ. ทำเครอ่ื งหมายท่ตี ง้ั ส้วม ทถ่ี า่ ยปัสสาวะและน้ำด่มื ให้ทหารทราบและกวดขันการปฏบิ ัติให้

ถูกตอ้ ง

ฉ. ตรวจรา่ งกายเมอ่ื มผี ู้ใดเจบ็ ป่วยส่งใหแ้ พทย์รกั ษา

ช. ผบู้ งั คับหน่วยต้องออกคำสั่งหรอื ระเบียบปฏิบัติประจำในเรอ่ื งการสุขาภบิ าลเพื่อเป็นแนว

ทางการปฏบิ ัตสิ ำหรับหน่วยของตน

3. การบริการน้ำ

ก. ความต้องการนำ้ วันหนึ่งทหารคนหน่ึงตอ้ งการน้ำเฉล่ยี แลว้ ดังนี้

1) ในคา่ ยพกั กงึ่ ถาวร 20 – 40 แกลลอน (90.6 – 181.2 ลติ ร)

2) ในคา่ ยที่พกั ชว่ั คราว 15 แกลลอน (67.95 ลติ ร)

3) ในค่ายที่พักแรมหรอื ในการเดนิ ทาง 2 แกลลอน (9.06 ลติ ร)

4) ในระหว่างปฏบิ ตั กิ ารรบ

- เกณฑ์ปกติ 1 แกลลอน (4.53 ลติ ร)

- เกณฑต์ ่ำ (ไม่นานเกิน 3 วนั ) 1/2 แกลลอน (2.26 ลติ ร)

- สำหรับสัตวว์ นั หนึง่ ต้องการนำ้ 5 – 10 แกลลอน (22.65 – 45.3 ลิตร )

4. สว้ ม หลักปฏบิ ัติในการสร้างสว้ ม เม่อื เขา้ ทีพ่ ักต้องสร้างส้วมทนั ที แมจ้ ะพกั เพียงคืนเดยี วให้สว้ ม

อยดู่ ้านใต้ลมของท่ีพกั มีจำนวนส้วม รอ้ ยละ 8 ของกำลังพลสว้ มต้องกนั แมลงวนั ได้ ส้วมควรอยหู่ ่างจากโรงครัวอย่าง

นอ้ ย 300 ฟตุ หา่ งจากทพี่ ักและแหลง่ นำ้ อยา่ งน้อย 100 ฟุต ต้องอยู่ต่ำกว่าระดับแหล่งนำ้ ต้องขดุ ร่องระบายน้ำไว้

รอบส้วมและอย่าระบายไปสแู่ หล่งนำ้ ไมค่ วรขดุ สว้ มถึงระดบั น้ำใต้ดินไม่ควรขดุ ส้วมในท่ีดินเหนยี ว ควรขุดในดินที่

น้ำซึมไดส้ ะดวกควรใชผ้ ้ากระโจมหรอื กงิ่ ไม้ใบกั้นฝาโดยรอบ ในค่ายพักกง่ึ ถาวรควรมีหลังคาควรมโี คมไฟไวท้ ี่ส้วม

นอกจากสถานการณไ์ มอ่ ำนวยเมือ่ ระดับอจุ จาระเหลือ 1 ฟุต จะเตม็ หลุมหรือจะเคล่ือนย้ายต่อไปใหก้ ลบสว้ มด้วยดิน

พูนสูงจากระดับพ้นื ดนิ 1 1/2 ฟตุ

5. ท่ถี า่ ยปัสสาวะ

ก. ในการพกั ประจำ ชม. และ “พกั นาน” กำหนดท่ใี หท้ หารถ่ายปัสสาวะ อยา่ ปล่อยให้ทหาร

ถ่ายปัสสาวะตามใจชอบ

- 71 -

ข. ในการ “พักแรม” ไม่เกิน 3 วนั ใหข้ ดุ ร่องปัสสาวะยาว 10 ฟตุ กวา้ ง 3 ฟุต ลึก 6 นิว้ พรวน
ดนิ ร่อง ใหห้ ลวมๆ ลกึ ลงไปอกี 6 นิว้ กองดินท่ขี ุดไวร้ อบปากร่องเพอื่ ใชก้ ลบเมื่อจะเคลื่อนย้ายต่อไป รอ่ งแบบนใ้ี ชไ้ ด้
สำหรบั ทหาร 200 คน

ค. ในการ “พกั แรม” เกิน 3 วัน ใหใ้ ช้ท่ีถ่ายปัสสาวะซึมโดยขุดหลมุ ขนาด 4 x 4 x 4 ฟุต แล้วใช้
กรวดอิฐ หรือหนิ ย่อยใสใ่ ห้เตม็ หลมุ ใช้กระบอกไมไ้ ผ่หรอื กรวยโลหะฝงั ตามมมุ ทง้ั 4 ของหลมุ ทถี่ ่ายปสั สาวะแบบนี้
ใชไ้ ดส้ ำหรบั ทหาร 200 คน

6. ท่ีล้างหน้าและท่อี าบน้ำ
ก. ทลี่ า้ งหนา้ และทอ่ี าบน้ำ
ข. สรา้ งทีล่ ้างหนา้ ยาว 10 ฟุต สำหรับทหาร 100 คน
ค. สร้างทอี่ าบน้ำอย่างน้อย 3 ท่ี สำหรับทหาร 100 คน

7. โรงเลีย้ งและโรงประกอบอาหาร
ก. ใหต้ งั้ ห่างจากส้วม หา่ งกันอย่างนอ้ ย 300 ฟุต
ข. ขุดหลมุ ทิ้งเศษอาหาร 1 หลมุ ต่อทหาร 200 คน ขนาดกว้างด้านละ 4 ฟุต ลกึ 4 ฟตุ ใช้ดิน

กลบ หนาอยา่ งน้อย 2 น้ิว ทกุ วนั
ค. สร้างหลมุ ซมึ สำหรบั กำจดั นำ้ ล้างผัก อาหารและภาชนะเครื่องใช้
ง. กลบหลมุ ท้งิ สิง่ ปฏกิ ูลให้เรียบรอ้ ยก่อนเคลอ่ื นย้ายทกุ คร้ัง

8. สขุ ศาสตร์ส่วนบคุ คล
ก. ใหย้ ึดถอื แนวปฏบิ ัตเิ กีย่ วกบั สขุ ศาสตร์สว่ นบคุ คลตามคำสง่ั กองทพั บก (คำส่ังเร่ือง ชี้แจงการ

ปฏิบตั ิการสุขาภิบาลในทต่ี ั้งปกติ ตามคำสัง่ กองทัพบก 2248/2561)
ข. ใหก้ วดขนั การปฏิบัติเกี่ยวกับสุขศาสตรส์ ว่ นบุคคลของหนว่ ยทหารอย่างเคร่งครดั

9. การปอ้ งกนั และควบคมุ โรคตดิ ตอ่
ก. ใหผ้ ู้บงั คับหนว่ ยเอาใจใสแ่ ละกวดขันการปฏบิ ัติการสุขาภบิ าลในหน่วยและเขตรบั ผดิ ชอบ

ของตนโดยเครง่ ครัด ทั้งน้ีโดยอาศยั ความร่วมมือและคำแนะนำจากเจ้าหน้าทเ่ี หลา่ ทหารแพทย์
ข. ทหารทกุ คนก่อนออกเดินทางไปปฏิบัติหน้าทใ่ี นสนาม ต้องไดร้ บั การปลูกภูมคิ มุ้ กันโรคโดย

ครบถว้ นและถูกตอ้ งตามประกาศของกรมแพทยท์ หารบกทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
ค. แพทย์ใหญ่มีหนา้ ท่พี ิจารณาเสนอแผนการและใหค้ ำแนะนำแก่ ผบ.หนว่ ยในเร่ืองการปอ้ งกัน

และควบคุมโรคตดิ ตอ่ เพ่ือให้ผู้บงั คับหนว่ ยออกเป็นคำสง่ั หรอื คำแนะนำการปอ้ งกันและควบคมุ โรคติดตอ่ สำหรับ
หน่วยนน้ั ๆ

10. การเคลอื่ นย้าย
ก. ตอ้ งตรวจการสขุ าภิบาลในบรเิ วณทีพ่ ักให้เรียบร้อยกอ่ นท่ีจะเคล่อื นย้าย กลบส้วมหลมุ ทิ้งสงิ่

ปฏิกลู ให้เรยี บร้อย

- 72 -

ข. การเคลอื่ นย้ายทางธรุ การไม่ว่าดว้ ยการเดินเทา้ หรอื ด้วยยานพาหนะกต็ าม ให้ถือหลักต่อไปนี้
1) ให้ทหารได้รบั การบริการอาหารและน้ำสะอาด ปรุงสกุ ใหม่ๆ มสี ารอาหารครบ 5 หมู่

และมจี ำนวนเพยี งพอแกค่ วามตอ้ ง
2) จดั รูปขบวนในระหว่างเคลอ่ื นที่ให้ทหารได้รับการถา่ ยเทอากาศดี เชน่ การเวน้ ระยะ

ระหว่างตับ การสบั เปล่ยี นขบวนหลังพักแตล่ ะคร้งั
3) ในการพักประจำ ชม. และพกั นานตอ้ งจัดการสขุ าภบิ าลเรือ่ งสว้ ม ทีถ่ า่ ยปัสสาวะ ทท่ี ้ิง

เศษอาหารและปฏิกลู อ่นื ๆ ใหถ้ ูกตอ้ งเรยี บรอ้ ย เพราะเสน้ ทางนีจ้ ะตอ้ งใชส้ ำหรับหนว่ ยทหารอืน่ ๆ ที่ตดิ ตามมาข้าง
หลงั

4) ปฏิบตั ติ ามสุขศาสตร์แหง่ การเดินทางให้ถกู ต้อง เช่น การระวงั รักษาเท้า และอ่ืนๆ
3. แนวทางปฏบิ ตั ิด้านเวชกรรมป้องกันหลงั ปฏบิ ัตริ าชการสนาม (Post - Deployment)

ก. เมื่อกลับจากการปฏิบัตริ าชการสนาม กำลงั พลจะต้องไดร้ ับการตดิ ตามและประเมินสขุ ภาวะ
ทางการรา่ งกายและจิตใจ และเปรียบเทียบกบั ขอ้ มลู ที่ได้ ก่อนออกปฏบิ ัติการ

ข. ติดตามความเจบ็ ปว่ ยหรือการตดิ โรคตา่ งๆ ทอ่ี าจจะยังไมแ่ สดงอาการ ซ่งึ ระยะเวลาการติดตาม
ข้นึ อย่ใู นระยะฟักตวั ของโรคนนั้ ๆ รวมถงึ การกลับเปน็ ซำ้ ของโรคดังกลา่ ว เชน่ โรคมาลาเรีย เท้าชา้ ง เป็นตน้

ค. นำผลความสญู เสียทไี่ มไ่ ด้เกิดจากการรบมาทำการวเิ คราะห์ เพอ่ื ประเมนิ มาตรการทางเวชกรรม
ป้องกนั ที่ไดก้ ำหนดไว้ วา่ มคี วามเหมาะสมหรือไมป่ ระการใด ควรมีข้อปรับปรุงอย่างไร แล้วรายงานให้ กรมแพทย์
ทหารบกทราบเพ่อื พจิ ารณาปรบั ปรงุ แกไ้ ขและพฒั นามาตรการทางเวชกรรมป้องกัน ประกาศ ระเบียบ คำสั่งท่ี
เกย่ี วข้องตอ่ ไป

ทั้งนีแ้ นวทางการดำเนนิ การเวชกรรมปอ้ งกนั ในสนามให้ถือปฏบิ ัติตาม คำสง่ั กองทัพบก ประกาศ
หรือคู่มือของกรมแพทยท์ หารบกท่เี กยี่ วขอ้ งเป็นแนวทางในการดำเนนิ การได้ การสร้างภูมคิ มุ้ กันโรคสำหรบั กำลังพล
กองทพั บกทปี่ ฏบิ ัติงานตามปกติ (ไม่ได้ปฏิบตั ริ าชการสนามในพ้นื ทเ่ี สย่ี ง) มแี นวทางในการเสริมสรา้ งภมู คิ ุ้มกัน ดังน้ี

1. ประเภทของกำลงั พลจัดแบ่งความเหมาะสมในการพิจารณาเสริมสรา้ งภูมคิ มุ้ กนั โรค
ก. กำลงั พลกองทพั บกทุกนาย ควรได้รับวัคซีนรวมปอ้ งกันคอตบี และบาดทะยกั
ข. พลทหารกองประจำการ ควรได้รับวัคซีนรวมป้องกันคอตีบและบาดทะยัก นอกจากนี้พล

ทหารกองประจำการควรไดร้ ับวคั ซีนปอ้ งกันโรคไข้หวดั ใหญ่ตามฤดกู าล เนอื่ งจากทผี่ า่ นมามีอุบตั ิการณ์การระบาดใน
หว้ งการฝึกทหารใหม่สงู เป็นประจำเกือบทุกผลัดปี ถึงแมว้ คั ซนี ป้องกนั ไข้หวัดใหญ่จะยงั ไม่ได้บรรจุอยู่ในแผนการให้
ภูมิคุ้มกันในทหารใหม่ ตามหลังฉีดให้แก่กำลังพลแล้วมีไข้ ควรหยุดพักการฝึกหรือออกกำลังกายเป็นการชั่วคราว
จนกวา่ ไข้จะลดลงเป็นปกติ

ค. นกั เรียนทหาร ควรได้รับวัคซนี รวมป้องกันคอตบี และบาดทะยัก การสร้างภูมคิ มุ้ กันสำหรับ
กำลงั พลกองทัพบก

- 73 -

2. กำลงั พลที่ควรไดร้ ับภมู ิคมุ้ กันโรคในบางกรณี
ก. เมื่อมีการระบาดของโรคติดต่อบางโรค หรือ ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการระบาด

ของโรคติดตอ่ บางโรค เช่น ในพื้นท่ีทีม่ กี ารระบาดของโรคไข้สมองอกั เสบ กำลังพลกค็ วรได้รับวคั ซนี ป้องกัน โรคไข้
สมองอกั เสบ เป็นต้น

ข. เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่มีโอกาสสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือใกล้ชิดผู้ป่วยควร
ไดร้ บั วัคซนี ปอ้ งกันโรคตบั อักเสบ บี และ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวดั ใหญต่ ามฤดูกาล

3. การเสรมิ สรา้ งภูมิคุ้มกันให้แก่กำลังพลใหถ้ ือปฏิบัติตามคำแนะนำ ประกาศ คำสง่ั ของกรมแพทย์
ทหารบกทเี่ ก่ยี วข้อง การปอ้ งกนั การบาดเจบ็ จากการฝกึ

3.1 การฝึกจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ระเบียบปฏิบัติประจำ แนวสอนหรือคู่มือในการฝึก
อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรือ่ งทเี่ กีย่ วขอ้ งกับความปลอดภยั ในการฝึก

3.2 ควรมีการตรวจร่างกายและคัดแยกกลุ่มเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการฝึก โรคประจำตัว
โดยควรทำการแยกกลุ่มในการฝึกตามแต่ลักษณะ ข้อจำกดั ของแต่ละบุคคล เพ่อื ลดความเส่ยี งจากการบาดเจ็บ และ
เปน็ การเสริมสรา้ งสมรรถภาพของร่างกายอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ไมเ่ กดิ การบาดเจบ็

3.3 การฝึกหรือออกกำลังกายควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหมเพื่อให้ร่างกายและ
กลา้ มเนือ้ คอ่ ยๆปรับตัว ไมเ่ กิดการบาดเจบ็ โดยเฉพาะอย่างย่งิ ในการฝึกทหารใหม่ พึงระลึกไวเ้ สมอว่า ทหารใหม่ท่ี
ผ่านการตรวจเลือกเขา้ มารับราชการบางนาย ไม่เคยกับการออกกำลังกายหนักมาก่อน ทำให้ร่างกายต้องใชเ้ วลาใน
การปรบั ตัว

3.4 การฝกึ ปฏิบัติในทา่ การปฏิบัตติ ่างๆ ต้องเปน็ ไปตามแบบฝึกที่ถกู ตอ้ ง ไม่ควรส่ังให้ปฏิบัติท่า
การออกกำลังกายครั้งละมากๆ ควรทำทีละน้อยและให้มีการพักกล้ามเนื้อ แล้วจึงให้ทำเพิ่มจะเป็นการลดการ
บาดเจ็บของกลา้ มเน้อื กระดกู และขอ้ ได้

3.5 การเสริมอาหารประเภทโปรตีน เชน่ ไข่ เนือ้ สตั ว์ จะชว่ ยเสริมความแขง็ แรงของกล้ามเน้อื
3.6 ควรมกี ารอบอุ่นร่างกาย กอ่ นการออกกำลงั กายหรือทำการฝึกในท่าที่ตอ้ งใช้ความแข็งแรง
ของกล้ามเน้ือในการปฏบิ ตั ิ และควรมยี ดื เหยยี ดกล้ามเนื้อหลังการฝึกหรอื ออกกำลงั กาย
3.7 การฝึกการหายใจที่ถูกวิธี เช่น การออกกำลังกายหรือออกแรงควรทำในขณะหายใจออก
เพื่อลดแรงดันในช่องท้อง ป้องกันการเกิดการออกกำลงั แบบเบ่ง ลดความเสี่ยงต่อหัวใจ ลดการปวดหลังจากหมอน
รองกระดกู เคลอื่ น การหายใจต้องหายใจเข้าทางจมูกเปน็ หลัก ทางปากเลก็ น้อย เวลาหายใจออกให้หายใจออกทาง
ทางปากเป็นหลัก

- 74 -

โรคลมแดด (Heatstroke) คือ ภาวะทร่ี ่างกายมีอณุ หภูมิสูงเกนิ ไป เกิดจากการสมั ผัสกับอากาศที่

ร้อนจัดหรือการออกกำลังกายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ตามปกติ โดยอาการอาจ

เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอณุ หภูมิเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะ

อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาล่าช้าอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิด

ภาวะแทรกซ้อนท่รี ุนแรงและอาจเปน็ อันตรายแก่ชวี ิตได้

การบาดเจ็บจากความรอ้ น รูปแบบการบาดเจ็บจากความร้อน

ผดผื่นคันจากความรอ้ น (Prickly heat) การบวมแดด (Heat edema)

ลมแดด (Heat syncope ) ตะครวิ แดด (Heat cramps)

การเกร็งแดด (Heat tetany ) ฮที เอก็ ซอสชน่ั (Heat exhaustion)

โรคลมร้อน ( Heat stroke )

อาการของโรคลมรอ้ น

อาการของโรคลมแดดเกดิ ขึน้ ไดใ้ นทนั ทีโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือน และอาการทีเ่ กิดขึน้ จะแตกต่างกัน

ออกไปแต่ละบุคคล โดยอาการทพ่ี บได้บอ่ ย ไดแ้ ก่ อณุ หภมู ิในรา่ งกายเพิม่ สงู ข้นึ ถึง 40 องศาเซลเซียสขน้ึ ไป ร่างกาย

ไม่ขับเหงื่อออกแม้จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูง ผิวหนังแดง เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงผิวหนงั ของผู้ป่วยจะ

แห้งและรอ้ น แตก่ รณีทเ่ี ป็นโรคลมแดดจากการออกกำลังกายผิวอาจมคี วามช้ืนอยู่บ้างเปน็ ตะครวิ หรือกลา้ มเน้ืออ่อน

แรงหายใจถ่ีและต้ืน หัวใจเต้นเร็ว มีอาการปวดศรี ษะตุบ ๆ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชกั วิงเวียนศีรษะ มึนงง หน้า

มืด หรือเป็นลมหมดสติ มีสภาพจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สับสนมึนงง กระสับกระส่าย หงุดหงิด

พดู ไมช่ ัด มอี าการเพ้อ หรือไมส่ ามารถทรงตวั ได้

สาเหตุของโรคลมร้อน สาเหตุที่สำคัญของโรคลมรอ้ น แบง่ เปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่

1. การอยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทมี่ อี ุณหภมู สิ งู เมือ่ ตอ้ งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมสิ งู หรืออยู่กลาง

แดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้อุณหภูมใิ นรา่ งกายเพมิ่ สงู ข้นึ และไม่สามารถระบายความร้อนออกไปไดต้ ามปกติ เชน่ เมอ่ื

ต้องอยู่ในสภาพอากาศทร่ี ้อนและช้ืนเป็นเวลา 2 หรือ 3 วันติดตอ่ กัน มักจะเกดิ ขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยท่ีเป็น

โรคเรื้อรังการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก เมื่อออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมาก

โดยเฉพาะเมอื่ ทำกิจกรรมในสถานท่ีทมี่ ีอากาศร้อนจัดมกั เป็นเหตุทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อย่างไรก็ตาม โรคลมแดด

ประเภทนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน ปัจจัยอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคลมแดดในแต่ละประเภท

ข้างตน้

2. สวมใส่เส้ือผ้ามากชิน้ เกนิ ไป เสอ้ื ผา้ ระบายความร้อนได้ไม่ดแี ละมีสีเข้ม ดืม่ เครือ่ งด่ืมแอลกอฮอล์

ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายขาดประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ

ไมม่ ีนำ้ ทดแทนจากการเสียเหง่ือ ไมว่ ่าใครกเ็ ป็นโรคลมแดดได้ แตจ่ ะมีความเส่ียงเพ่มิ ขน้ึ หากมปี ัจจัยดังต่อไปน้ี เด็ก

เลก็ และผสู้ งู อายุ 65 ปี ข้นึ ไป เนอื่ งจากประสทิ ธิภาพในการรบั มือกบั อุณหภมู ขิ องร่างกายขนึ้ อยกู่ บั ความแข็งแรงของ

ระบบประสาทส่วนกลางในร่างกาย ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อมลง หรือเด็กเล็กที่ประสาท

- 75 -

ส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายน้อย
นอกจากนั้นทั้ง 2 กลุ่มอายุดังกล่าว ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะร่างกายขาดน้ำได้ง่าย ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เป็น
โรคลมแดดได้มากขนึ้ ผู้ทม่ี ีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคเกย่ี วกับหัวใจและปอด ผปู้ ่วยท่ีมีภาวะร่างกาย
ขาดน้ำ เช่น ผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากเป็นระยะ
เวลานาน เชน่ ทหาร นกั กฬี า หรอื ผทู้ ี่ใช้แรงในการทำงาน ผ้ทู ร่ี า่ งกายขาดน้ำ อย่ใู นสถานท่ีทีอ่ ากาศถ่ายเทไมส่ ะดวก
หรือสวมใส่เสื้อผ้าคับและระบายอากาศไดไ้ ม่ดี การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแก้แพ้ เบต้า บล็อกเกอร์
ยารกั ษาโรคทางจติ หรือยาเสพติด การเปลย่ี นแปลงอณุ หภูมทิ ่ีสงู ข้ึนอยา่ งรวดเรว็ เช่น คลื่นความร้อน (Heat Wave)
ในช่วงต้นฤดูร้อน หรือเดินทางไปยังภูมิประเทศที่มีอากาศร้อน ไม่มีเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพ
อากาศร้อนจดั สามารถใช้พัดลมช่วยได้แต่อยา่ งไรก็ตาม เครอื่ งปรับอากาศจะมีประสิทธิภาพในการช่วยให้อุณหภูมิ
เย็นลงและลดความชื้นได้ดกี ว่า
การวนิ จิ ฉยั โรคลมร้อน

โดยปกตแิ พทยจ์ ะวนิ ิจฉัยโรคลมร้อนได้ทนั ที เพราะมอี าการทแ่ี สดงชดั เจน อย่างไรก็ตาม การตรวจ
ในห้องปฏบิ ตั ิการจะชว่ ยยนื ยนั การวนิ ิจฉัย แยกสาเหตุ และช่วยประเมนิ ความเสยี หายของอวัยวะในร่างกายได้ โดย
แพทย์อาจทดสอบดังต่อไปนี้ ตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนอื้ เพ่ือตรวจสอบความเสียหายของกล้ามเนื้อที่ได้รับ
ผลกระทบจากโรคลมร้อน เช่น ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) ตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบความ
เสียหายของประสาทสว่ นกลาง ด้วยการดูระดับโพแทสเซียมและโซเดียม หรอื ปรมิ าณก๊าซและของเสยี ในเลือด ตรวจ
ปัสสาวะ เพอื่ ดสู ขี องปัสสาวะ เมอ่ื รา่ งกายมีอุณหภูมิสงู มกั มีปัสสาวะสีเขม้ หรือตรวจสอบการทำงานของไต ซึ่งอาจ
ไดร้ ับผลกระทบจากโรคลมร้อน เอกซเรย์ (X-Ray) หรือการตรวจจากการดูภาพอวัยวะภายใน เพอื่ ตรวจสอบความ
เสยี หายของอวยั วะภายในท่ีได้รับผลกระทบจากโรคลมแดด
การรกั ษาโรคลมรอ้ น

การรักษาโรคลมร้อนข้ึนอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือ
ในทนั ที เพอ่ื ป้องกันไม่ให้เกดิ ความเสียหายตอ่ สมองและอวัยวะทีส่ ำคัญในร่างกาย ดว้ ยการทำให้อุณหภูมิในร่างกาย
ลดลงเป็นปกติโดยเรว็ เบื้องตน้ กอ่ นนำส่งโรงพยาบาล คนรอบข้างอาจช่วยเหลือผูป้ ่วยได้โดยการนำตัวไปไวใ้ นที่ร่ม
หรอื สถานท่ที ีม่ ีเครอื่ งปรบั อากาศ ถอดหรือคลายเสอ้ื ผา้ ท่ีคับแน่นออก และประคบดว้ ยความเย็น วธิ ีการรักษาเพอื่ ให้
อณุ หภูมใิ นร่างกายลดลง ไดแ้ ก่ ให้ผปู้ ว่ ยอาบนำ้ เยน็ หรือแช่ตวั ลงไปในน้ำเย็น เป็นวิธีทีจ่ ะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกาย
ลดลงไดอ้ ย่างรวดเร็ว แพทย์บางท่านจะใช้เทคนิคการระเหย โดยใชน้ ้ำเยน็ ชโลมตามผวิ หนังของผู้ป่วยและใช้พัดลม
เป่าใหเ้ กดิ การระเหย ซงึ่ เป็นอีกวิธที ่ีจะชว่ ยให้รา่ งกายเย็นลง ใช้แพค็ นำ้ แขง็ ประคบไปทบ่ี รเิ วณรกั แร้ ขาหนีบ คอและ
หลัง เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีเส้นเลือดที่ใกล้กับชั้นผิวหนังอยู่จำนวนมาก วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้
เป็นอย่างดี พยายามทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงมาที่ประมาณ 38.3-38.8 องศาเซลเซียส โดยคอยเฝ้าดูด้วย
เทอร์มอมิเตอร์ ในขณะที่ยังคงใช้วิธีรักษาเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ควรให้ดื่มน้ำเย็นที่ไม่มี
ส่วนผสมของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์วิธีการรักษาเพื่อทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิด

- 76 -

อาการหนาวส่ัน ซ่ึงจะทำใหผ้ ูป้ ว่ ยมอี ุณหภมู ิในรา่ งกายเพิม่ ขึน้ แตท่ ำใหว้ ธิ ีการรกั ษาโรคลมแดดมีประสิทธิภาพลดลง
แพทย์จงึ อาจใหผ้ ู้ปว่ ยใช้ยาทีช่ ่วยใหก้ ลา้ มเนือ้ คลายตัวลง เช่น ยาเบนโซไดอะซปี นี (Benzodiazepine) เพื่อบรรเทา
อาการหนาวส่นั แพทยอ์ าจใหน้ ำ้ เกลอื หรือเกลือแรส่ ำหรบั ผู้ป่วยทีม่ ีภาวะขาดนำ้
ภาวะแทรกซ้อนโรคลมร้อน

โรคลมรอ้ นทำให้เกดิ ภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยขึ้นอยูก่ บั ระยะเวลาท่ีเกดิ อาการและหากได้รับ
การชว่ ยเหลือล่าช้า อาจทำใหเ้ กิดความเสียหายตอ่ สมองหรอื อวัยวะที่สำคัญอืน่ ๆ ของรา่ งกาย เชน่ ไตวายหรือหัวใจ
วาย และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ นอกจากนน้ั หากไม่ไดร้ ับการรักษาอยา่ งทนั ทว่ งทหี รือรักษาได้ไม่
ดีพอ อาจทำใหเ้ กิดอนั ตรายถงึ ชวี ิตได้
การปอ้ งกนั โรคลมร้อน

วธิ ที สี่ ำคญั ท่สี ุดเพอ่ื ปอ้ งกนั การเกิดโรคลมร้อน คอื การหลกี เล่ียงไมใ่ ห้ร่างกายขาดน้ำและหลีกเลี่ยง
การออกกำลงั กายหรอื ทำกจิ กรรมท่ใี ชก้ ำลงั มาก โดยเฉพาะในสถานที่ท่ีมีอากาศร้อนและชนื้ แตห่ ากจำเป็นก็ควรด่ืม
น้ำสะอาดใหม้ าก และหลกี เลีย่ งเคร่ืองดื่มท่มี คี าเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำใหเ้ กดิ ภาวะร่างกายขาดน้ำ คอย
ดูการแจ้งเตือนการเกิดคล่ืนความร้อน (Heat Wave) ในช่วงฤดรู ้อน เพ่อื ที่จะไดห้ ลกี เลีย่ งหรอื เตรยี มตวั ป้องกัน หาก
จำเปน็ ต้องออกไปกลางแจง้ ตอ้ งปกปอ้ งตนเองจากแสงแดด ด้วยการสวมใส่เส้อื ผา้ ที่สบายระบายอากาศได้ดี สีอ่อน
หรอื สวมหมวกปีกกว้าง รวมไปถงึ ใช้ครีมกันแดดทม่ี ีค่าปอ้ งกนั แสงแดด (SPF) 15 ข้ึนไป หลกี เลย่ี งออกไปกลางแจ้ง
ในช่วงที่มอี ากาศรอ้ น เวลาประมาณ 11.00-15.00 น. ของแต่ละวนั แต่หากจำเปน็ ใหพ้ ยายามอยู่ในทรี่ ่มและเตรียม
อปุ กรณ์ปอ้ งกนั แสงแดดใหพ้ รอ้ ม หากตอ้ งเดินทางไปยงั ประเทศท่ีมอี ากาศร้อน ใหร้ ะมดั ระวังในช่วงวันแรกๆ เพราะ
ร่างกายกำลังปรับตวั กับอุณหภูมิท่ีสูงข้ึน รับประทานอาหารที่มีฤทธ์ิเย็น เช่น สลัดและผลไม้ ใช้น้ำพรมตามผิวหนัง
และเสื้อผ้า หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ วางไว้ที่คอ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย หมั่นสังเกตพฤติกรรมการ
ปัสสาวะของตนเอง หากไม่ค่อยถ่ายหรือปัสสาวะมีสีเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ควรดื่มน้ำให้มาก จัดการ
สภาพแวดล้อมหรือที่พักอาศัยให้เย็นสบาย เช่น การปิดหน้าต่างหรือผ้าม่านบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด หรือหาก
ต้องการนอนหลับพักผ่อน ควรไปอยู่ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม นอกจากนั้น ควรปิดไฟหรือ
เครอื่ งใช้ไฟฟ้าทไี่ ม่จำเป็น เพราะเปน็ แหล่งกำเนิดความร้อน และการปลูกต้นไม้และวางอ่างน้ำไว้บริเวณที่พักอาศัย
จะชว่ ยใหอ้ ณุ หภูมิเยน็ ลงได้ ระวงั อย่าใหเ้ ดก็ ผ้สู งู อายุและผูท้ มี่ โี รคประจำตวั อยู่ในรถท่ีจอดเอาไว้ โดยเฉพาะหากจอด
เอาไว้กลางแดด เพราะภายใน 10 นาที อุณหภมู ใิ นรถจะเพิ่มข้ึนมากว่า 6 องศาเซลเซียส ซ่ึงมอี ันตรายมาก ควรเฝ้า
ระวังผูส้ ูงอายุ เดก็ เล็ก และผทู้ ี่มีโรคประจำตวั เพราะเปน็ กลุ่มเสยี่ งทจ่ี ะเกิดโรคลมแดดได้มาก ผู้ทใ่ี ช้ยาบางชนิดหรือ
เป็นโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาเมื่อต้องเจอกับอากาศร้อน ควรหลีกเลี่ยงอากาศร้อนและหากมีสัญญาณ
ของอาการที่ผิดปกติ ควรรีบหาทางรักษาหรือทำให้รา่ งกายเย็นลงโดยเร็ว และหากจำเป็นต้องทำกจิ กรรมหรือแข่ง
กีฬาที่อยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือกลางแจ้ง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีบริการทางการแพทย์เตรียมพร้อมอยู่
หลีกเลีย่ งการออกกำลงั กายอย่างหกั โหม ควรออกกำลงั กายอย่างพอเหมาะ พร้อมกบั ดืม่ น้ำในปริมาณมาก

- 77 -

คำถามทา้ ยบท

1. การเวชกรรมปอ้ งกนั คือ ?
2. ปจั จัยท่ที ำใหเ้ กิดโรคมีอะไรบ้าง ?
3. การพทิ ักษ์สขุ ภาพกำลังรบ คอื ?
4. แนวทางปฏบิ ตั ิดา้ นเวชกรรมปอ้ งกนั ระหว่างปฏิบตั ริ าชการสนามมีอะไรบา้ ง ?
5. ส้วมควรอยูห่ า่ งจากโรงครัวอย่างนอ้ ยเทา่ ใด ?
6. ส้วมควรหา่ งจากท่พี ักและแหลง่ นำ้ อย่างนอ้ ยเทา่ ใด ?
7. ท่ถี า่ ยปสั สาวะ“พกั แรม” ไมเ่ กิน ๓ วนั ใหข้ ุดร่องปัสสาวะขนาดเทา่ ใด ?
8. รูปแบบการบาดเจบ็ จากความร้อนมีอะไรบา้ ง ?
9. สาเหตุของโรคลมรอ้ นคือ ?
10. อาการของโรค ลมร้อนคอื ?

- 78 -

บทท่ี 6

การใช้ยาเบอื้ งตน้

ความรูท้ ่ัวไป
ประเภทของยา อาจแบง่ ตามชนดิ ที่มีลักษณะหรอื ข้อกำหนดต่างๆ
แบ่งตามการผลิตยา ซงึ่ แบง่ ไดเ้ ปน็ 2 ชนิดคอื

1. ยาสำเร็จรูป ได้แก่ ยาที่มีบริษัทต่างๆ ได้ผลิตขึ้นและจดทะเบียนไว้กับทางราชการยาพวกนี้มี
ลกั ษณะตา่ งๆ กัน เช่น ยาเมด็ ยาน้ำหรือ ยาฉีด เปน็ การสะดวกแก่แพทยท์ ีจ่ ะส่ังใช้

2. ยาผสม คือยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคล การผสมยาพวกนี้มีตาม
โรงพยาบาล หรอื สถานพยาบาลใหญๆ่ ท่ีมเี ภสัชกรปฏบิ ตั งิ านเป็นประจำ
แบง่ ตาม พ.ร.บ. ควบคมุ ยา ซ่งึ แบง่ ย่อยออกไดเ้ ป็น 3 ชนิด คอื

1. ยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ประชาชนทั่วไปหาซึ่งตามร้านขายยาทั่วไป
โดยไมต่ อ้ งมีใบส่ังแพทย์มกั ใชก้ บั โรคท่ไี ม่รนุ แรงมากนัก ไมจ่ ำเป็นต้องใหแ้ พทยต์ รวจ เช่น ปวดศรี ษะ ท้องอดื เปน็ ต้น
แตห่ ากอาการเหลา่ นี้ไม่หายควรปรกึ ษาแพทย์

2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรปู ทีใ่ ช้ในการบำบัดรกั ษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมี
ท้ังคณุ และโทษ การใชต้ อ้ งระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำใหเ้ กิดอันตรายแก่ผู้ใชไ้ ด้เสมอ กระทรวง สาธารณสุขจึง
ไดก้ ำหนดใหเ้ ปน็ ยาอันตราย เชน่ ยาปฏชิ วี นะ

3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถงึ ยาทม่ี ีอนั ตรายมาก ฤทธิข์ องยาทสี่ ำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็น
ยาเสพติดให้โทษ ถา้ กนิ เขา้ ไปนานจะเกดิ การตดิ ยา เชน่ ยานอนหลบั ประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อม
ประสาทบางชนิด
การดฉู ลากและเอกสารกำกับยา

ตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผน
ปัจจุบัน ต้องจัดให้มีฉลาก ตามที่ขึ้นทะเบียนตำรบั ยาไว้ ปิดไว้ที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาหรือฉลากและ เอกสาร
กำกับยาโดยแสดงรายละเอยี ดดังน้ี

1. ชอื่ ยา (ชอ่ื การค้า)
2. เลขทะเบียนตำรับยา มักจะมีคำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา สำหรับเลข
ทะเบยี นยานเี้ ป็นสิง่ บ่งบอกว่ายาน้นั ไดข้ ้นึ ทะเบียนถกู ตอ้ ง ไม่ไดล้ กั ลอบนำเขา้ จากต่างประเทศ
3. ปรมิ าณหรอื ขนาดบรรจขุ องยา เช่น ยาเม็ดจะต้องแจง้ ขนาดบรรจุไวใ้ นฉลากดว้ ยวา่ ยานน้ั บรรจุ
ก่ีเม็ด
4. เลขที่ หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรอื วเิ คราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No.,
Cont.No., Batch No., หรอื L, C, L/C, B/C แลว้ ตามด้วยเลขแสดงครงั้ ทีผ่ ลิต

- 79 -

5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิต จังหวัดที่ตั้ง สถานที่ผลิตยาด้วยใน
กรณีเป็นยาที่ผลิตในต่างประเทศ นำเข้าหรือสั่งเขา้ มา ต้องมีชื่อเมืองและประเทศที่ต้ังสถานที่ผลิตยาพร้อมทั้ง ช่ือ
ของผู้นำเขา้ หรือส่ังเข้ามาและจังหวดั ที่ต้องสถานทน่ี ำเข้าหรือส่ังยาน้ันๆ

6. วันเดือนปีที่ผลิตยา มักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg. date แล้วตามด้วย วันเดือนปีท่ี
ผลิตหากยาน้ันผลิตมานานเกนิ ๕ ปี ก็ไม่ควรนำมารับประทานส่วนยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ จะมีการระบุวนั ท่ี
หมดอายุ โดยมีคำย่อ ว่า Exp. Date ซงึ่ ยอ่ มาจาก Expiration Date แล้วตามดว้ ยวันเดือนปยี าน้นั หมดอายุ หรือใช้
คำว่า use before

7. คำว่า “ยาอันตราย”,“ยาควบคุมพเิ ศษ”,“ยาใช้เฉพาะที”่ หรือ “ยาใช้ภายนอก” แล้วแต่กรณี
วา่ ยาน้ันเปน็ ยาอนั ตราย ยาควบคมุ พเิ ศษ ยาใช้เฉพาะที่ หรอื ยาใชภ้ ายนอก ซงึ่ จะเขยี นดว้ ยอักษรสีแดงอา่ นไดช้ ดั เจน

8. วิธีใช้และคำเตือน การจัดให้มีคำเตือนไว้บนฉลากและเอกสารกำกับยานั้น ใช้สำหรับยาที่
รัฐมนตรีประกาศหรือในกรณกี ฎหมายบงั คับ
รูปแบบยา

1. ยาเม็ดธรรมดาไม่ได้เคลือบ เป็นยาเม็ดที่อาจมีรูปร่างกลมเหลี่ยม หรืออื่นๆ มีขนาดต่างๆ กัน
ผวิ หนา้ ของเม็ดยาอาจเรยี บหรือนูน ส่วนใหญเ่ มื่อรับประทานต้องกลนื ทั้งเม็ด มีบางชนิดท่ีต้องเคี้ยวก่อนกลืน ถ้าไม่
ระบวุ ่าต้องเคยี้ วโดยทั่วไปใหก้ ลืนยาทง้ั เม็ดพรอ้ มน้ำ บางชนิดอาจใช้อมใต้ลิ้น หา้ มเคย้ี วหรอื กลืน เปน็ ต้น

2. ยาเมด็ เคลือบ เป็นยาเมด็ ทน่ี ำมาเคลอื บโดยมีจดุ มงุ่ หมายต่างๆ กนั เช่น เพอ่ื ป้องกันไม่ให้ยาช้ืน
หรอื เพอื่ กลบรสของยา หรอื เคลือบเปน็ สๆี เพ่ือให้เปน็ เอกลกั ษณ์ของผลิตภัณฑ์ของตนเอง ผใู้ ช้ยาจงึ ไมค่ วรจำสีของ
เม็ดยาเป็นสำคัญ เพราะยาเมด็ ทม่ี ตี วั ยาสำคญั ชนิดเดียวกัน อาจเคลือบสีหรือทำเปน็ รูปแบบของเม็ดยาต่างกนั ได้ ยา
เม็ดบางชนดิ เคลือบดว้ ยวสั ดุเพ่ือให้เม็ดยาแตกตวั ในลำไส้เล็ก เมื่อรับประทานให้กลืนยาทั้งเมด็ ห้ามเคี้ยวก่อนกลนื
หรอื รบั ประทานพร้อมกบั ยาลดกรดหรือนม

3. ยาเม็ดหรือยาแคปซูลออกฤทธิน์ านหรือชนิดควบคุมการปลดปล่อยตวั ยา เป็นรูปแบบยาเตรยี ม
ที่มีความถี่ของการใช้ยาลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของยาเม็ดหรือยาแคปซูลธรรมดา เพื่อให้เกิดความร่วมมือใน
การใชย้ าของผูป้ ่วยหรอื ผลในการรกั ษาเพิม่ ขึ้นอยา่ งมีนยั สำคญั โดยทว่ั ไปจะบอกให้ทราบวา่ เปน็ ยาออกฤทธิ์นานหรือ
ควบคุมการปลดปล่อยของตัวยา เช่น Adalat CR (CR = controlled release, หรือ ใช้ค าย่อ SR = sustained
release )

4. ยาแคปซูล เป็นยาที่บรรจุในหลอดแคปซูลที่ทำด้วยเจลาตินหลอดแคปซูลมีทั้งชนิดแขง็ และน่มิ
วธิ รี บั ประทานยาแคปซูล ให้กลนื แคปซลู ทง้ั เม็ดพรอ้ มน้ำโดยไมต่ อ้ งเค้ียวยาหรือถอดเปลือกแคปซลู ออก

- 80 -

5. ยาผง มีท้งั ชนดิ รบั ประทานและยาใชภ้ ายนอก ยาผงชนดิ รับประทานโดยทัว่ ไปให้ละลายน้ำก่อน
รบั ประทาน ไมค่ วรเทใส่ปากในลักษณะผงแห้งแล้วด่ืมน้ำตาม เพราะอาจทำให้เกิดการอดุ ตันในหลอดอาหารได้ หาก
เปน็ ยาผงโรยแผล เวลาใชต้ ้องระวงั อยา่ ให้ผงปลวิ เขา้ ปาก จมกู หรือตา เม่อื ใชเ้ สรจ็ แลว้ ต้องลา้ งมือให้ สะอาด

6. ยาอม เปน็ เม็ดยาทมี่ ลี ักษณะแขง็ ใช้อมในปากโดยไม่ต้องเคีย้ วเพ่ือให้ตัวยาออกฤทธ์ิในปากหรือ
ลำคอ

7. ยาเหน็บ เป็นยาที่ทำในรูปแบบของแขง็ มีรูปร่าง ขนาดต่าง ๆ กัน มีวิธีใช้เฉพาะที่ โดยใช้สอด
เข้าช่องต่าง ๆ ของรา่ งกาย เช่น ทวารหนกั ชอ่ งคลอด ส่วนใหญแ่ ลว้ ต้องการใหอ้ อกฤทธ์เิ ฉพาะท่ี มีบางชนดิ ตอ้ งการ
ใหต้ ัวยาถกู ดูดซึมเขา้ สกู่ ระแสเลือด ไปออกฤทธทิ์ อ่ี นื่ ได้

8. ยาน้ำใส เป็นยาน้ำที่มีตัวละลายแล้วได้ยาสำเร็จรปู ใส มีทั้งที่ใช้รับประทาน ยาฉีด ยาหยอดตา
เป็นต้น

9. ยาน้ำแขวนตะกอน เปน็ ยาน้ำท่ปี รุงข้ึนจากตวั ยาท่ีละลายในน้ำไม่ดีนัก หรอื ไมล่ ะลาย ต้องอาศัย
สารอื่นช่วยให้ตัวยาซึ่งเป็นของแข็งกระจายตัวแขวนลอยอยู่ในน้ำกระสายได้ ตัวอย่างเช่น ยาลดกรด ยาน้ำ แขวน
ตะกอนประเภทยาปฏชิ ีวนะที่ใชร้ บั ประทาน แต่มียาปฏิชีวนะบางชนิดมีความคงตัวไม่ดนี ักเม่ืออยู่ในน้ำ ต้องเตรียม
เป็นยาผงแหง้ ก่อนใช้จึงค่อยเติมน้ำเขย่าให้เขา้ กนั ยาใช้ภายนอกที่ละลายน้ำได้น้อย เช่น ตัวยาที่ใช้ สำหรับ ตา หู
และยาฉดี บางชนิดจะเตรียมในรปู แบบยาน้ำแขวนตะกอนแต่ผงยาต้องมีขนาดเล็กมาก ยาคาลา ไมน์โลชนั่ กจ็ ัดอยู่ใน
รูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน

10. ยาน้ำผสม เป็นยาน้ำสำหรับรับประทานทีม่ ีตะกอนของตัวยากระจายตัวอยู่ในน้ำกระสายเมื่อ
ตงั้ ไวต้ วั ยาจะตกตะกอนแยกชน้ั ก่อนรินยาตอ้ งเขย่าขวดกอ่ น ตวั อยา่ งเช่น ยาธาตนุ ้ำแดง ยาแก้ไอน้ำดำ เป็นตน้

11. ยาครีม เป็นยาอิมัลชันชนิดกึ่งแข็ง เนื้อยาจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่ายาขี้ผึ้ง เนื้อครีมทาแผ่
กระจายบนผวิ หนังได้ง่าย และมกั ล้างน้ำออกง่ายกว่ายาข้ีผึ้ง ตัวอยา่ งเชน่ ฮรี ูดอยด์ครมี สเตยี รอยด์ครีม เคาน์เตอร์
เพนครมี

12. ยาเจล เป็นยากึ่งแข็งที่เนื้อยามีลักษณะใส ไม่เป็นมัน และล้างหน้าออกง่าย ตัวอย่างเช่น
ฮีรู ดอยด์เจล
คำแนะนำพิเศษท่ีน่าสนใจ

ควรกินยานีก้ อ่ นอาหาร ปกตแิ นะนำใหก้ ินยาก่อนอาหารประมาณคร่งึ – 1 ช่วั โมง (ระยะเวลาก่อน
อาหาร ครง่ึ – 1 ชวั่ โมง หรอื หลังอาหาร 2 ชว่ั โมง เป็นชว่ งเวลาทก่ี ระเพาะอาหารวา่ ง) ยาท่ใี ห้กินก่อนอาหารมักเป็น
ยาทีม่ ี ข้อจำกัด หากกนิ ลงไปแลว้ มีอาหารร่วมอยูด่ ว้ ยในกระเพาะอาหารจะลดการดดู ซมึ ของยา ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้
ไมด่ เี ทา่ ที่ควรหรอื ไมไ่ ดผ้ ลเลย ได้แก่ ยารกั ษาโรคติดต่อเชอ้ื บางชนิด เชน่ แอมพิซิลลนิ จงึ ตอ้ งแนะนำให้กนิ ตอนทอ้ ง
ว่าง นอกจากนั้นยาที่ใช้ป้องกันการคลื่นไสอ้ าเจยี น เช่น เมโทโคลปราไมด์ ต้องกินก่อนอาหาร 30 นาที จึงจะได้ผล
เตม็ ท่แี ละปอ้ งกันอาการคล่ืนไสอ้ าเจยี นหลังจากผู้ปว่ ยกนิ อาหารได้

- 81 -

ควรกินยานี้หลังอาหารทันที ยาที่แนะนำให้รับประทานหลังอาหารทันทีจะเป็นยาที่มีฤทธิ์ระคาย
เคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนถ้ากินตอนท้องว่าง ยาเหล่านี้ได้แก่ แอสไพริน ยารักษาโรค
ปวดข้อบางชนิด การกิน ยาหลังอาหารทันที จะช่วยลดอาการคลื่นไส้ลงได้ และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ
อาหาร จากยาเหลา่ นี้ ดว้ ย

ควรกนิ ยานี้หลงั อาหาร 1-2 ชวั่ โมง เชน่ ยาลดกรด สำหรบั ผปู้ ว่ ยท่ีตรวจพบวา่ เป็นแผลในกระเพาะ
อาหาร แพทย์มักสั่งให้กินหลัง อาหาร 1-2 ชั่วโมง ก็เนื่องจากพบว่าระดับของกรดในกระเพาะอาหารจะมีปริมาณ
สูงสดุ ในช่วง 1-2 ชว่ั โมง หลงั อาหารนอกจากนี้แพทย์ยังส่ังใหก้ ินยาลดกรดกอ่ นนอนด้วย เพราะในชว่ งกลางคนื จะมี
การหลัง่ กรดใน กระเพาะอาหารออกมามากเช่นกัน

กินยานี้ควรดื่มน้ำมากๆ อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้อาเจียนมาก
นอกจากควรกนิ ยาหลงั อาหารทันทีแลว้ ยังตอ้ งดมื่ น้ำมากๆ ด้วยเพอ่ื ลดผลขา้ งเคยี งของยา อีกกรณีหนง่ึ คอื เปน็ ยาที่
ตกตะกอนในไต ได้ง่าย จงึ ต้องด่ืมน้ำตามมากๆ ยาพวกนีไ้ ดแ้ ก่ ยาพวกซัลฟา

กินยานี้แล้วอาจง่วงนอน กินยานี้แล้วอาจง่วงนอนจะต้องระวังเมื่อขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับ
เครื่องจักรกล ยาประเภทนี้มัน เป็นยาแก้แพ้สำหรับผื่นคัน ลมพิษ (เช่น ไฮดรอกไซซิน) หรือยาที่ใช้ลดน้ำมูก (เช่น
คลอเฟนนิรามนี บรอมเฟนนริ ามนี ) ยาป้องกันการเมารถ เมาเรอื เม่ือกนิ เขา้ ไปจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วง
นอน เนื่องจากยา เหล่านี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขีย่ านยนต์ หรือทำงานเกี่ยวกับ
เครื่องจักรกล ยาที่มีผลกดระบบประสาทโดยตรง ได้แก่ ยาคลายเครียด (เช่น ไดอะซีแพม) ยานอนหลับก็ต้องมีคำ
เตือนนี้ เช่นกัน และที่สำคัญการกินยาที่มีผลต่อระบบประสาทเหล่านี้ ควรต้องงดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ ยาดองต่างๆ โดยเดด็ ขาด

ควรกนิ ยานต้ี ิดต่อกนั ทุกวันจนยาหมด ยาบางชนดิ เปน็ ยาที่บรรเทาอาการ เม่ือหายแล้วหรืออาการ
ดขี น้ึ ก็หยดุ ยาได้ แต่ยารกั ษาโรคติด เชอ้ื เชน่ แอมพซิ ลิ ลนิ เตตรา้ ซยั คลิน อีริโทรมยั ซนิ จำเป็นต้องกินยาเพ่ือรักษา
โรคอย่างต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง จะนานแค่ไหนขึ้นกับชนิดความรุนแรงของโรค ซึ่งแพทย์หรือเภสัชกรจะเป็นผู้
พิจารณาและกำหนดให้ เชน่ ต้อง กนิ ยาตดิ ตอ่ กัน 7-10 วัน เพ่อื ใหแ้ น่ใจว่ายาได้ไปทำลายเชอ้ื ท่ีก่อโรคหมดส้ินแล้ว
ไม่หลงเหลือที่จะกระตุ้นการ ดื้อยาได้ คำแนะนำการกินยาเป็นชว่ งระยะเวลาติดต่อกันนี้ ยังอาจพบในโรคบางชนดิ
เช่น โรคข้ออักเสบเรื้อรัง บางชนิดหรือโรคแผลในทางเดินอาหาร ซึ่งอาจต้องกินยาอย่างต่อเน่ืองนานถงึ 6 สัปดาห์
จงึ จะสามารถทำให้ แผลในกระเพาะอาหารหรอื ลำไสส้ มานได้เปน็ ปกติ หากไม่ทำตามแนะนำนกี้ ็อาจจะต้องกลับเป็น
แผลซ้ำอีกได้

เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน ได้แก่ ยาลดกรดชนิดเม็ด จะมีคำแนะนำให้เคี้ยวยาให้ละเอียดก่อน
กลืน ทั้งนี้ เพื่อหวังผลให้ยาที่ ถูกเคี้ยวแล้วนั้น กระจายตัวในส่วนของทางเดินอาหารได้อย่างทั่วถึง ท ำให้ได้
ผลการรกั ษาทีด่ ที ส่ี ุด สำหรับยา ลดกรด ชนิดน้ำขาวนัน้ ควรเขยา่ ขวดกอ่ นรนิ ยารับประทานเพื่อใหย้ าในขวดกระจาย
ตัวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ ได้ตัวยาในปริมาณที่ถูกต้อง การกินยาให้ถูกโรคและถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ
เภสชั กร จะทำใหก้ าร รกั ษาโรคของตัวท่านเป็นไปอย่างสัมฤทธผ์ิ ลมากท่สี ุด ใบสงั่ ยา

- 82 -

คำถามทา้ ยบท
1. การแบง่ ยาตามการผลิต แบ่งได้กี่ชนดิ อะไรบา้ ง ?
2. แบ่งตาม พ.ร.บ. ควบคมุ ยา ซง่ึ แบง่ ย่อยออกไดเ้ ป็น ก่ีชนิด อะไรบา้ ง ?
3. เอกสารกำกบั ยาโดยแสดงรายละเอียดประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
4. รปู แบบของยามีก่ีชนดิ อะไรบา้ ง ?
5. ยาก่อนอาหารก่อนอาหารควรกนิ อยา่ งไร ?
6. ยาชนดิ ใด ควรกินยาหลงั อาหารทนั ที ?
7. ยาปฏิชวี นะต้องกนิ ตดิ ตอ่ กนั อยา่ งนอ้ ยกว่ี นั ?
8. Expivation หมายถึงอะไร?
9. สาเหตสุ ำคัญที่ต้องกินยาปฏิชีวนะให้ครบกำหนดวนั เพราะอะไร?
10. เหตุผลสำคญั ท่ีต้องเคีย้ วยาใหล้ ะเอียดกอ่ นกลนื เพราะอะไร?

- 83 -

บทท่ี 7

การชว่ ยชวี ิตเชงิ ยุทธวิธีขนั้ พื้นฐาน

การดแู ลผู้บาดเจบ็ ทางยุทธวิธีิ

การดูแลผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธี (Tactical Combat Casualty Care, TCCC) ทำให้ผู้บาดเจ็บใน

สนามรบ มีโอกาสรอดชีวติ มากข้นึ ซงึ่ แบง่ ออกเป็นไดเ้ ปน็ 3 ระยะทส่ี ำคัญคือ การดูแลระหวา่ งการปะทะ การดแู ลใน

พื้นท่หี ลังการปะทะ และการสง่ กลบั ทางยทุ ธวธิ ี

การพัฒนาบรกิ ารแพทย์ในสนาม มีหลากหลายวิธี เช่น การพัฒนาสิ่งอุปกรณ์ป้องกันตน การดูแล

ผู้บาดเจบ็ ทางยุทธวธิ ีการส่งกลับใหเ้ ร็วขนึ้ และฝึกฝนทกั ษะนายสิบพยาบาล ฯลฯ

ความแตกต่างของการดูแลกอ่ นถงึ รพ. ระหว่างทหารกบั พลเรือน

1. การดูแลภายใตก้ ารปะทะ

2. สภาพแวดลอ้ มทเ่ี ลวรา้ ย

3. ลกั ษณะความแตกต่างทางระบาดวิทยาของบาดแผล

4. เครื่องมอื อุปกรณท์ ีจ่ ำกัด

5. ความตอ้ งการทางยุทธวิธี

6. ระยะเวลาการส่งไปยังสถานพยาบาลทยี่ าวนาน

7. การฝกึ และประสบการณข์ องนายสบิ พยาบาล

ความสำคัญของผู้ให้ความช่วยเหลือคนแรก พบว่าประมาณ ร้อยละ 90 ของการเสียชีวติ ในสนาม

รบเกิดขึ้นก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะไปถึงสถานพยาบาลชีวิตของผู้บาดเจ็บอยู่ในมือของบุคคลแรกที่เข้าไปให้ความ

ช่วยเหลือ เช่น นายสิบพยาบาล นายสิบกู้ชีพ หรือ แม้แต่กำลังพลเหล่าอื่นๆ ที่ไม่ใช่เหล่าแพทย์ การจัดการดูแล

ผู้บาดเจ็บ ถ้าผู้บาดเจ็บถูกนำส่งไปยัง รพ.พลเรือน หรือ ศูนย์ดูแลผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ที่ใช้

เทคโนโลยที ท่ี นั สมยั ท่ีสุด และ ทำงานภายใต้เงือ่ นไขท่ีสามารถควบคุมไดอ้ ยู่ในพ้ืนทป่ี ลอดภัย ถ้าเปน็ การบาดเจ็บใน

สถานการณ์ทางยทุ ธวิธี จะเกิดอะไรขึ้น? ควรต้องคำนงึ ถงึ ส่ิงใดบ้าง

การดูแลผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธีจะช่วยนำทางให้เรารู้ว่าเราควรจะทำอย่างไร นอกจากนี้ การดูแล

ผบู้ าดเจ็บทางยุทธวิธียังชว่ ยทำให้เกิดส่ิงที่เรยี กว่า “การแพทย์ดี ดว้ ยเทคนคิ วธิ กี ารที่ด”ี พบว่าประมาณ ร้อยละ 90

ของการเสยี ชวี ิตในสนามรบเกิดขนึ้ กอ่ นทผ่ี ู้บาดเจ็บจะไปถึง สถานพยาบาล การเสียชวี ิตสว่ นใหญ่เหล่าน้ไี ม่สามารถท่ี

จะป้องกันได้ ตัวอย่างเช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่าง รุนแรง การบาดเจ็บที่ร่างกายอย่างรุนแรง เป็นต้น ซึ่งการ

เสียชวี ิตในการรบจากบาดแผลประเภทตา่ งๆ มดี ังนี้

- แผลทะลุทศี่ ีรษะ ร้อยละ 31

- บาดแผลฉกรรจท์ ลี่ ำตัว รอ้ ยละ 25

- บาดเจบ็ ท่ตี อ้ งผา่ ตดั ร้อยละ 10

- 84 -

- การตกเลอื ดจากบาดแผลที่แขน/ขา ร้อยละ 9

- แผลอวัยวะฉกี ขาดจากการระเบิด ร้อยละ 7

- แรงดันในช่องเยื่อห้มุ ปอด รอ้ ยละ 4

- ปัญหาทางเดนิ หายใจ ร้อยละ 2

- เสยี ชีวติ จากบาดแผลจากการติดเช้ือและอาการช็อกแทรกซ้อน รอ้ ยละ 12

ผู้บาดเจ็บประมาณ ร้อยละ 15 ที่สามารถรอดชีวิตได้ ถ้าได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมเช่น

การห้ามเลือด การลดแรงดันในช่องเยื่อหุ้มปอดและ การเปิดทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการทำให้เสียชีวิตใน

สนามรบอันดบั 1, 2 และ 3 ตามลำดบั นายสบิ ก้ชู พี (Combat lifesaver) มหี น้าทหี่ ลกั คอื การรบ สว่ นการทำหน้าที่

เป็นผชู้ ่วยเหลือชีวิต เปน็ หนา้ ทรี่ อง ควรใหก้ ารรักษาพยาบาลก็ตอ่ เมือ่ การรักษาพยาบาลน้นั ไมก่ อ่ ให้เกิดอันตรายต่อ

ภารกิจหลัก เป้าหมายของการช่วยเหลือชีวิตด้วยหลักการการดูแลผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธี คือปฏิบัติภารกิจที่หน่วย

มอบหมายให้สำเร็จลุล่วงแล้วจึงทำการช่วยเหลือการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ให้มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม

การเข้าชว่ ย ณ ตอนไหนโดยใครให้ผบู้ งั คับชดุ หรอื ผูบ้ ังคับบญั ชาสูงกว่าเป็นผสู้ ง่ั การ

การดแู ลผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธี (Tactical Combat Casualty Care) แบ่งเป็น 3 ระยะคอื

1. ดแู ลระหว่างการปะทะ (Care Under Fire)

2. การดแู ลในพนื้ ทหี่ ลงั การปะทะ (Tactical Field Care)

3. การส่งกลับทางยุทธวธิ ี (Tactical Evacuation Care)

ในบทเรียนนี้มุ่งเน้นในการประเมินผู้บาดเจ็บในสถานการณแ์ รกที่เน้นการดูแลระหว่างการปะทะ

และรจู้ ักวธิ กี ารห้ามเลือดในสนามรบด้วยสายยางรดั ห้ามเลือดได้อยา่ งถกู ตอ้ ง

การดแู ลระหว่างการปะทะ (CARE UNDER FIRE)

วตั ถุประสงค์ที่ควรทราบ สามารถดูแลผู้บาดเจ็บระหว่างการปะทะ (Care under fire) ในระยะนี้ส่ิง

ทค่ี วร เน้นย้ำได้แก่ เน้นการยิงโต้ตอบ การห้ามเลือดด้วยสายยางรัดห้ามเลือดในสถานการณ์นีท้ ้ังผู้เข้าช่วยเหลือ และ

ผ้บู าดเจ็บยังอยู่ภายใต้การโจมตีของข้าศึก ซึง่ อย่ใู นภาวะอนั ตราย และอย่ใู นระยะประชิด การรกั ษาพยาบาลที่สามารถ

จะทำได้นัน้ จำกดั มาก

แนวทางการดูแลผู้บาดเจบ็ ระหว่างการปะทะ

1. รวมอำนาจการยงิ ให้เหนือกว่าข้าศกึ เน้น ความปลอดภัยของเราก่อนเป็นลำดับแรก

2. เข้าชว่ ยเหลือผบู้ าดเจ็บเมอ่ื สถานการณ์ปลอดภยั

3. เคลื่อนย้ายผูบ้ าดเจ็บเข้าสู่ทีก่ ำบังและให้ผู้บาดเจบ็ ทำการช่วยเหลือตัวเองกอ่ น (Self aid) หาก

สามารถชว่ ยเหลอื ตัวเองได้ และใหท้ ำการรบต่อไป

4. หลกี เลีย่ งการทำใหม้ ผี ู้บาดเจบ็ เพิ่มเตมิ จากการถกู ซุ่มยงิ หรือสะเกด็ ระเบิด

- 85 -

5. ป้องกันการเสยี ชวี ติ จากการเสียเลือดทันทที ีท่ ำได้
- ใชส้ ายยางรัดหา้ มเลอื ดทำการห้ามเลอื ดในบรเิ วณท่ีถกู ตอ้ งอย่างถูกวิธี
- ใชส้ ายยางรัดห้ามเลือดรัดต้นแขนหรือต้นขาเหนือบริเวณท่ีมีเลือดออกทับไปบนเส้ือผ้าให้แน่น

พอ และเคลือ่ นย้ายผบู้ าดเจ็บเขา้ ทก่ี ำบงั
6. เน้นการทำภารกิจให้สำเร็จและทำการดูแลผู้บาดเจ็บภายใต้การยิงเมื่อปลอดภัยการดูแล

ผ้บู าดเจบ็ อาจจะไม่ใชส่ งิ่ ทด่ี ที สี่ ุดในการปฏบิ ตั ิภารกจิ แต่การดแู ลผู้บาดเจบ็ ควรขึ้นอยูก่ ับสถานการณท์ ่เี กดิ ข้ึน
7. ถ้ายังมีการยิงเกิดข้นึ อยจู่ ะยังไม่ทำการเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจบ็ ในบริเวณท่มี ีอนั ตราย (Killing

zone) สถานการณ์ปลอดภยั
8. ยงิ ตอบโต้ข้าศกึ ดว้ ยอำนาจการยงิ ท่ีเหนือกว่าจะช่วยลดความเสยี่ งของทีมที่จะเข้าไป ช่วยเหลือ

ผ้บู าดเจ็บเพ่ือไม่ใหม้ ีผบู้ าดเจ็บเพ่ิมขึ้น
9. อำนาจการยิงเกิดจากการช่วยกันของทีมที่จะเข้าช่วยและตัวผู้บาดเจ็บเอง เพื่อให้เกิด อำนาจ

การยงิ ทเ่ี หนือกว่า “ยาทดที่ ่ีสหุ ดในสนามรบคอื อำนาจการยงทิ ี่เหนอื กว่า”
การเคล่ือนย้ายผบู้ าดเจบ็ เขา้ ทกี่ ำบัง

ถา้ ผู้บาดเจ็บสามารถเคลอื่ นท่ีเองได้ ใหเ้ คลื่อนท่เี ข้าทีก่ ำบงั เองโดยให้ระวงั การยิงจากฝ่ายข้าศึก แต่
ถ้าหากว่าผู้บาดเจ็บไม่สามารถเคลื่อนที่เองได้หรือไม่รู้สึกตัว การเข้าช่วยเหลือจะต้องรอก่อนจนกว่าสถานการณ์
จะปลอดภยั แนวทางการเคลือ่ นย้ายผูบ้ าดเจ็บถา้ จำเป็นตอ้ งเคล่ือนยา้ ยผู้บาดเจ็บระหวา่ งการปะทะใหพ้ ิจารณา ดงั นี้

- หาท่กี ำบงั ที่ใกล้ทีส่ ุด
- วธิ ีการทีด่ ที ี่สดุ ในการเคลือ่ นทเ่ี ขา้ สู่ท่ีกำบัง
- ความเส่ยี งของทีมที่จะเขา้ ทำการชว่ ยเหลอื
- ประเมินความคุม้ ค่าในการเข้าช่วยเหลือ
- ระยะทางในการเข้าทกี่ ำบงั
- วิธีทีด่ ที ี่สุดคอื การตอบโตด้ ว้ ยอำนาจการยงิ ทีเ่ หนอื กว่า
การเคล่ือนยา้ ยเข้าสทู่ ่ีกำบงั ดว้ ยการลากดว้ ยบคุ คลคนเดยี ว
- ใชเ้ มื่อสถานการณป์ ลอดภยั ใช้เคลือ่ นย้ายในระยะทางสั้นๆ
- ผู้เข้าทำการช่วยเหลือจึงเขา้ หาผบู้ าดเจ็บด้วยความระมัดระวงั
- ใช้มือข้างถนดั ถืออาวธุ ปืนเพอ่ื ระวงั ป้องกัน
- ใช้มือขา้ งไม่ถนดั จับเส้อื /คอเสอ้ื /สายโยงบา่ /เสอ้ื เกราะของผ้บู าดเจบ็ เพอื่ ใชใ้ นการเคลอ่ื นย้าย
- ขณะเคลือ่ นยา้ ยผ้บู าดเจ็บเข้าท่ีกำบัง จะต้องทำการระวงั ป้องกันจากการยิงของขา้ ศกึ ไปดว้ ย
ขอ้ ดี : สามารถถอื อาวุธได้, ใช้คนชว่ ยเหลอื คนเดียว
ข้อเสยี : เคลอ่ื นที่ไดช้ ้า, ผู้บาดเจบ็ ต้องถูกลากอาจอยู่ในท่าทไ่ี ม่เหมาะสม อาจจะทำให้ผบู้ าดเจ็บได้รับบาดเจ็บเพิ่ม
มากขน้ึ ในภมู ิประเทศท่ขี รุขระ

- 86 -

การเคล่ือนยา้ ยเขา้ สทู่ กี่ ำบัง ดว้ ยการลากด้วยบุคคลคนบุคคลสองคน
- เมือ่ สถานการณป์ ลอดภัย
- ผ้เู ขา้ ทำการชว่ ยเหลอื จึงเข้าหาผูบ้ าดเจ็บดว้ ยความระมดั ระวัง
- ผชู้ ว่ ยเหลอื คนหนง่ึ ใชม้ อื ขา้ งถนัดถอื อาวธุ ปืนเพอ่ื ระวงั ปอ้ งกนั
- ใชม้ อื ข้างไมถ่ นดั จบั เส้อื /คอเสือ้ /สายโยงเป/้ เสือ้ เกราะของผ้บู าดเจ็บเพอ่ื ใช้ในการเคล่ือนยา้ ย
- ขณะเคลอื่ นย้ายผู้บาดเจบ็ เข้าท่ีกำบังผู้ช่วยเหลือคนที่ถอื ปืนจะตอ้ งทำการระวงั ปอ้ งกนั จากการยงิ

ของข้าศกึ ไปดว้ ย
- การลากควรลากไปตามแนวยาวของลำตวั ของผบู้ าดเจ็บ
- การลากดว้ ยวิธีการนสี้ ามารถใช้ในสถานทีท่ ีเ่ ป็นอาคาร การลากลงบนั ไดในน้ำระดบั ต้ืนๆได้

ข้อดี : เคลอ่ื นท่ีเขา้ สู่ทกี่ ำบังได้เรว็ กวา่ แบบคนเดยี ว
ข้อเสีย : ใช้ทีมเขา้ ช่วยเหลือมีความเสีย่ งเพม่ิ ขึ้น
ลำดับความเร่งด่วนของการปฐมพยาบาล ในระหว่างการปะทะ

- รบี ทำการห้ามเลือด บริเวณท่มี ีเลือดออกจำนวนมาก
- การเสียเลอื ดปริมาณมากจากบาดแผลท่ีแขน - ขาเปน็ สำเหตุของการเสยี ชีวติ ที่สามารถป้องกันได้
และเปน็ สาเหตทุ ี่พบบ่อยท่สี ุด
- ทหารมากกว่า 2,500 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบในสงครามเวยี ดนาม เสียชีวิตจากเลือด
ไหลออกทแี่ ขน
- ขา จำนวนมาก เกดิ ภาวะช็อค และเสียชวี ิต
- ควรรีบทำการหา้ มเลือดที่ทำใหเ้ กดิ ความเสย่ี งต่อการเสียชีวติ ในระหว่างการปะทะ
- ถ้ามีเสน้ เลอื ดใหญบ่ รเิ วณต้นขาฉกี ขาด ผบู้ าดเจบ็ จะเสียชีวติ ภายในเวลาเพยี งสามนาทเี ทา่ นัน้
การห้ามเลือดระหวา่ งการปะทะ
ทหารทุกนายที่ออกปฏิบัติภารกิจต้องมีความรู้ในการป้องกันการเสียเลือด ควรมีสายยางรัด
ห้าม เลือดประจำกายต้องทำการฝึกและรู้วิธีการใช้อย่างถูกต้อง และสามารถห้ามเลือดได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือ
ตวั เองในเบอ้ื งตน้ (self-aid) การเสียเลือดที่พบได้บ่อยคอื บริเวณ แขน-ขา ถา้ พบการบาดเจบ็ ต่อเส้นเลอื ดขนาดใหญ่
ต้องทำให้ เลือดหยดุ ไหลโดยเร็วท่ีสุดเพราะสามารถทำให้เกดิ ภาวะชอ็ คได้
การสงั เกตเุ ลอื ดทอ่ี อกจากบาดแผล
1. เลือดที่ออกจากเส้นเลือดแดง มีสีแดงสดไหลแรงพุ่งออกตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ถ้าเจอ
เลือดออกลักษณะนี้ใหร้ บี ใชส้ ายยางรดั หา้ มเลอื ดทนั ที
2. เลอื ดท่อี อกจากเส้นเลือดดำ มีสีแดงคล้ำไหลออกมาเร่ือย ๆ ไหลไม่แรง
3. เลือดทอ่ี อกจากเส้นเลอื ดฝอย มีสแี ดงคล้ำไหลซึมออกมาชา้ ๆ

- 87 -

วธิ ีการห้ามเลอื ดระหวา่ งการปะทะ
ควรใช้สายยางรดั ห้ามเลือดเป็นอปุ กรณ์ชน้ิ แรก ในการหา้ มเลือดระหว่างการปะทะ สายยางรัดห้าม

เลือดใช้ได้กบั การตกเลือดทีแ่ ขนขา แขนขาขาด ถกู ระเบิด บาดแผลฉกรรจ์ การใชส้ ายยางรดั ห้ามเลือด ตอ้ งรดั ให้สูง
ที่สุดจนเกือบชิดรักแร้หรือ ขาหนีบ และขันให้แน่นจนเลือดหยุดไหล (ให้สูงและแน่นพอ: High and Tight)
ที่จะทำให้เลือดหยุดได้ หรือคลำชีพจรส่วนปลาย (ต่ำกว่าสายยางรัดห้ามเลือด) ไม่ได้ การใช้สายยาง รัดห้ามเลือด
ควรใชก้ อ่ นท่ผี บู้ าดเจบ็ จะเสียเลอื ดมากจนเกดิ อาการชอ็ ค
วธิ กี ารใชส้ ายรัดห้ามเลือด

1. ยืดสายยางรัดออกให้มากที่สุด แล้วพันรัดที่บริเวณต้นแขนหรือต้นขาข้างทีไ่ ดร้ บั บาดเจ็บพัน 2
รอบรัดลงบนเสื้อผา้ โดยไมต่ อ้ งตัดเส้อื ผา้ ออก ผูกเงือ่ นตายให้แนน่ ทีส่ ุด

2. ในกรณีที่ใช้สายยางรัดเส้นที่ 1 แล้วเลือดยังไม่หยุดไหล ให้ใช้สายยางรัดห้ามเลือดอันที่ 2 รัด
เหนือสายรดั เสน้ ที่ 1 ขึน้ มา พัน 2 รอบ ห้ามถอดเสน้ แรกออก ใชผ้ า้ แตง่ แผลปดิ บาดแผลและพันใหแ้ น่น

3. ห้ามคลายสายยางรัดออกโดยเด็ดขาดจนกว่าจะถึงมือแพทย์ เขียนตัว T (Tourniquet) ไว้ท่ี
หน้าผากผู้บาดเจ็บด้วยปากกาหรือ ใช้เลือดของผู้บาดเจ็บเขียนถ้าทำได้ หากทำไม่ได้ให้เปิดบริเวณที่ใช้สายรัด
หา้ มเลือดใหเ้ หน็ ชดั เจน

4. บนั ทึกเวลารัดสายยางฯไว้ในบัตรบันทึกผูป้ ว่ ยเจบ็ หรอื บริเวณที่ที่เจา้ หน้าท่ีแพทย์สามารถมองเห็น
ได้ง่าย
สรปุ ประเด็นสำคญั ระหว่างการปะทะ

1. ทำการยงิ ตอบโต้ เพอ่ื ขม่ ขา้ ศึกใหไ้ ด้
2. แนะนำให้พลรบและ คนท่ีบาดเจบ็ ให้ทำการยิงตอ่ สูต้ ่อไป
3. บอกให้ผู้บาดเจ็บเขา้ ทกี่ ำบงั บอกใหผ้ ู้บาดเจ็บทำการห้ามเลือดด้วยตนเอง ถา้ เปน็ ไปได้
4. ป้องกันไม่ใหม้ ีการบาดเจบ็ เพ่ิมเติม
5. นำผู้บาดเจบ็ ออกจากยานพาหนะ อาคารทีก่ ำลังลกุ ไหม้ โดยเรว็ ท่ีสุด
6. การลากด้วยบคุ คลสองคน จะชว่ ยผู้บาดเจบ็ ได้รวดเรว็ กว่า แตม่ คี วามเสีย่ งมากกว่า
7. การเปดิ ทางเดินหายใจไม่ควรทำในระยะนี้แต่ควรทำในระยะถัดไปทก่ี ารปะทะส้นิ สุดลง
8. ควรรีบทำการห้ามเลือดให้ได้เร็วที่สุด การใช้สายยางรัดห้ามเลือดเป็นสิ่งสำคัญในการช่วย
รกั ษาชวี ิต ควรรดั สายยางรดั หา้ มเลอื ดกอ่ นที่ผบู้ าดเจ็บจะเสยี เลือดมากจนทำใหเ้ กิดอาการช็อค
9. ตำแหน่งทร่ี ดั สายยาง ควรรดั บริเวณต้นแขน-ตน้ ขา ขา้ งทไี่ ดร้ บั บาดเจบ็
การดใู นพ้นื ที่หลงั การปะทะ (Tactical Field Care)
วัตถุประสงค์ที่ควรทราบ : สามารถอธิบายขั้นตอนการดูแลในพ้นื ที่หลังการปะทะ (Tactical Field
Care) เน้นการห้ามเลือดเพ่ิมเติมด้วยผา้ แต่งแผล และอุปกรณห์ ้ามเลือดอื่น ๆ การเปิดทางเดินหายใจ การดูแลการ
หายใจและบาดแผลทรวงอก การประเมินระดับการรู้สติ การประเมินอาการผู้บาดเจ็บเป็นสถานการณ์เมื่อผู้เข้า

- 88 -

ช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บไม่อยู่ในระหว่างการปะทะ การดูแลในระยะนี้มีเป้าหมาย คือผู้เข้าช่วยเหลือสามารถดูแล
ผู้บาดเจบ็ ปฐมพยาบาลบาดแผลทีไ่ ม่เปน็ อนั ตรายถึงชวี ิตในกรณีที่พบ ผู้บาดเจ็บท่มี ีอาการ เพ้อ สับสน หวาดระแวง
ซมึ มอี าการจิตประสาทจากการรบ หรอื มีความผดิ ปกติทางดา้ น จิตใจ ควรรบี ปลดอาวธุ ทนั ที
แนวทางการปฏิบตั ติ ัวเพ่อื ความปลอดภยั ณ ที่เกิดเหตุ (Scene safety)

1. สวมถุงมือทกุ คร้งั ทที่ ำการประเมนิ อาการผ้บู าดเจ็บ
2. ตรวจสอบความปลอดภัยของสถานการณ์ เพ่อื ความปลอดภัยของผูช้ ว่ ยเหลอื และผ้บู าดเจบ็
3. รายงานสถานการณ์ใหผ้ บู้ งั คบั บญั ชารบั ทราบ
4. ทำการประเมินผบู้ าดเจบ็ ตรวจระดับการมีสตดิ ว้ ยหลัก AVPU
- A Alert (ตื่น)ผู้บาดเจ็บตื่นตัวสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใครอยู่ที่ไหนรู้
วันทแี่ ละอื่นๆ
- V Verbal (เรียกตน่ื ) ผ้บู าดเจ็บไม่ต่ืนตัวแต่มกี ารตอบสนองต่อเสียงเรยี ก และทำตาม คำสัง่ ได้
- P Pain (เจบ็ ตื่น) ผ้บู าดเจ็บมีการตอบสนองเมอ่ื ถูกกระตุ้นดว้ ยความเจบ็ ปวด
- U unresponsive (ไม่ตื่น) ผู้บาดเจ็บไม่มีการตอบสนอง หรือ หมดสติ หากผู้บาดเจ็บมีระดับ
ความรู้สตทิ ่ตี ำ่ กว่า A - Alert ใหป้ ลดอาวุธเคร่อื งกระสนุ และวัตถรุ ะเบดิ ทั้งหมดทันที
แนวทางการประเมินผบู้ าดเจ็บ
ควรประเมินอาการสำคญั และส่งิ ท่ีบ่งบอกอาการที่จะเป็นสาเหตแุ ห่งการเสยี ชีวิต ถามผ้บู าดเจ็บว่า
เกิดอะไรขึ้น เกิดอย่างไร มีบาดเจ็บที่ไหนหรือไม่ เหตุเกิดเมื่อใด ลงบันทึกเป็นคำพูดของผู้บาดเจ็บ ถามข้อมูล
เบอ้ื งต้น ชื่อ และอายุ และอื่น ๆ
1. การตรวจรา่ งกายอยา่ งรวดเรว็ ทำการประเมนิ รา่ งกายทุกสว่ นครา่ วๆโดย

- ต้องตรวจสอบบาดแผลทร่ี ัดหา้ มเลือดไว้ว่าเลอื ดหยุดหรือไม่
- ประเมินดบู าดแผลและปรมิ าณการเสยี เลอื ด ดูทางเข้า-ออกของบาดแผล
- ตรวจหาบาดแผลทม่ี เี ลือดออกมากเพม่ิ เติม ดูเลือดท่เี ปียกชุ่มบนเส้อื ผา้
2. การประเมนิ เบ้อื งต้นเร่มิ ดว้ ย:
- ทำการหา้ มเลอื ด ถา้ ยังมีเลือดไหลออก ให้ทำการหา้ มเลอื ดให้ได้
- หลงั จากนั้นให้ประเมนิ ตามหลัก ABC

A – Airway การดูทางเดินหายใจ
B – Breathing ดูการหายใจ
C – Circulation การไหลเวยี นของเลือด

- 89 -

3. ประเมินทางเดนิ หายใจและการหายใจ
- ตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในชอ่ งปาก เชน่ เลอื ด เสมหะ อาเจียน ฟนั ปลอม พร้อมทั้งนำออกเพอื่

ไมใ่ ห้อดุ กั้นทางเดินหายใจ
- ถา้ มองเห็นถงึ จะทำการใชน้ ว้ิ ลว้ งออก
- Head-tilt/Chin-lift method ไมค่ วรใส่ head-tilt
- Look – ดูการเคลือ่ นไหวของอกและท้อง
- Listen – ฟงั เสยี งหายใจ
- Feel – รู้สึกถึงลมหายใจทมี่ ากระทบแกม้
4. ดูการหายใจ:
- ดูการขยับของทรวงอกทั้งสองขา้ งว่าเท่ากนั หรอื ไม่ โดยควรเปิดเสื้อผ้าออกเพื่อเห็นชัดเจน

และสำรวจบาดแผลได้
- ถ้ามีบาดแผลเปดิ ที่ชอ่ งอกและมกี ารหายใจลำบาก ใหห้ ยุดทำการประเมนิ ก่อนแลว้ รบี ปิด

บาดแผล
** ถ้าผ้บู าดเจ็บไมห่ ายใจ ไม่มีชพี จร จะไม่ทำการชว่ ยฟืน้ คนื ชีพ หรือปมั้ หวั ใจ ผูบ้ าดเจ็บคนนั้น **

การรกั ษาพยาบาลในระยะ Tactical Field Care
การประเมนิ ตามลำดับ คอื A B C D

A - Airway ตรวจการอุดกัน้ ทางเดินหายใจ และแกไ้ ข
B - Breathing ประเมนิ และรักษาการบาดเจบ็ ทที่ รวงอก
C - Circulation ตรวจสอบการมีเลือดไหล หรอื ตรวจรอยรซมึ แล้วแกไ้ ขเพิม่ เติม
D - Disability ตรวจและแก้ไขภาวะกระดูกหัก
การเปิดทางเดินหายใจ เป็นวิธีพื้นฐานที่ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย สามารถเปิดทางเดิน
หายใจช่วยผู้ป่วยได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อุปกรณ์ไม่พร้อม เช่น ในสถานท่ี
เกดิ เหตใุ นรถพยาบาล นอกจากนย้ี งั เป็นขนั้ ตอนแรกในการเร่มิ กชู้ พี ข้นั พน้ื ฐาน (Basic life support) ถา้ ผู้บาดเจบ็ ไม่
หายใจ ต้องทำใหก้ ารหายใจกลบั คืนเรว็ ท่ีสดุ เท่าทจี่ ะทำได้ ดงั นัน้ ผ้ชู ่วยเหลอื และ ผู้บาดเจ็บตอ้ งอยู่ในที่ปลอดภัยจาก
การพื้นทกี่ ารยิงตอ่ สกู้ อ่ นทำการแก้ปัญหาการหายใจ ถ้ายงั อยู่ในพ้นื ทก่ี ารปะทะตอ้ งรีบทำการเคลอื่ นย้ายตัวเองและ
ผู้บาดเจ็บไปยงั พืน้ ที่ปลอดภัยเพือ่ สามารถทำการช่วยให้ผูบ้ าดเจ็บให้หายใจได้ปกตติ ่อไปการเปดิ ทางเดินหายใจท่ดี ี
เป็นการป้องกนั การเสยี ชีวิตที่ทำได้เปน็ อันดับ 3 สามารถรอไดจ้ น สถานการณ์ปลอดภยั ถา้ ยังอยู่ภายใต้การยิงจะยัง
ไม่ทำการเปิดทางเดินหายใจ ลิ้น เป็นอวัยวะที่จะไปอุดทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดพบว่า เมื่อหมดสติ จะทำให้
กลา้ มเนอ้ื ล้นิ หยอ่ นตัวทำให้ลนิ้ เลือ่ นไปดา้ นหลังอดุ ทางเดินหายใจ

- 90 -

ขัน้ ตอนการปฏิบตั ิในระยะ Tactical Field Care เม่อื ถึงทป่ี ลอดภัย มดี ังนี้
1. การตรวจสอบการตอบสนองของผู้บาดเจ็บ ถ้าพบว่าผู้บาดเจ็บไม่ได้สติ ให้ทำการตรวจการ

ตอบสนองของผู้บาดเจ็บด้วยการถามเสียงดังๆ แต่ช้าว่า “คุณเป็นอะไรไหม” และจับตัวเขย่าเบาๆ หรือจับที่ ไหล่
ผู้บาดเจบ็ ถา้ ผบู้ าดเจบ็ ไมม่ กี ารตอบสนอง ต้องจดั ทา่ นอนผู้บาดเจ็บและทำการเปดิ ชอ่ งทางเดนิ หายใจ

2. การจัดท่าผู้บาดเจบ็ การจดั ท่ากอ่ นเริ่มเปิดทางเดินหายใจ ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนราบบนพ้ืน แข็ง
ในท่านอนหงายมือของผูป้ ว่ ยอย่ขู า้ งลำตวั ถา้ ผู้บาดเจบ็ ไมน่ อนหงาย ให้จัดทา่ นอนหงายดว้ ยวิธีการต่อไปน้ี

2.1 คุกเข่าขา้ งๆ ผู้บาดเจ็บ
2.2 ยกแขนผู้บาดเจบ็ ขา้ งทีใ่ กล้ที่สุดขึน้ เหนอื ศรี ษะเขาเอง
2.3 จับขาทัง้ สองของผบู้ าดเจ็บใหช้ ิดกนั และเหยยี ดใหต้ รงหรอื เกือบตรง
2.4 ใชม้ อื ขา้ งหนึ่งสอดเขา้ ใตศ้ ีรษะและคอของผบู้ าดเจบ็
2.5 ใชม้ อื ขา้ งทีว่ ่างขา้ มด้านหลงั ของผบู้ าดเจ็บไปจบั ใต้ทอ่ นแขนของเขา (ใหห้ ่างจากบริเวณขอ้ พบั )
2.6 ดึงชา้ ๆ และสม่ำเสมอเข้าหาตวั ตอ้ งรักษาระดบั ศรี ษะและคอให้อย่แู นวเดยี ว กับลำตัว
2.7 หมุนตวั ผู้บาดเจ็บใหเ้ ป็นเหมอื นวัตถชุ ิ้นเดยี วไปพร้อมกนั ศีรษะและคอ เพม่ิ รูป (Lock roll)
2.8 หลงั จากจดั ให้ผบู้ าดเจ็บนอนหงายแลว้ จดั ให้แขนทัง้ สองอยขู่ า้ งลำตวั
หมายเหตุ
- วิธกี ารพลิกตัวผู้บาดเจ็บนีเ้ พื่อลดการบาดเจ็บทอี่ าจกอ่ ใหเ้ กิดกบั กระดูกสันหลงั ในกรณที ีผ่ ู้บาดเจ็บ
ไดร้ ับบาดเจ็บที่ศรี ษะ คอและหลงั
- หากสงสยั ว่าผู้บาดเจบ็ มอี าการบาดเจบ็ บริเวณลำคอ ให้ใส่เฝอื กดามคอ
การเปิดชอ่ งทางเดินหายใจผู้บาดเจบ็
เมื่อผู้บาดเจบ็ หมดสติ กล้ามเนือ้ ทกุ ส่วนจะคลายตัวซ่ึงจะมผี ลทำให้ลิ้นเล่ือนตัวลงไปดา้ นหลังและ
อุดตันช่องทางเดินหายใจ การเปิดช่องทางเดินหายใจอาจช่วยทำให้ผู้บาดเจ็บสามารถหายใจได้ด้วยตัวเองอีกครั้ง
วิธีการเปิดช่องทางเดินหายใจมี 2 วิธี คือ การกดหน้าผาก/ยกคาง และการยกกราม ถ้าคาดว่าผู้บาดเจ็บได้รับ
บาดเจบ็ ทคี่ อหรือกระดกู สันหลงั ใหใ้ ชว้ ิธกี ารงา้ งขากรรไกร
หมายเหตุ
1. แมว้ ่าผู้บาดเจ็บจะยังหายใจได้ การจัดทา่ ทดี่ กี จ็ ะชว่ ยให้เขาหายใจไดส้ ะดวกขึน้
2. ถ้าพบเห็นสิ่งแปลกปลอมในช่องปากผู้บาดเจ็บ (เช่น เลือด เสมหะ วัตถุแปลกปลอม ฟันหลุด
วัสดแุ ข็งๆ เศษอาหาร ฯลฯ) ให้ใช้นวิ้ มือล้วงออกโดยเร็วทีส่ ุดเท่าท่ีจะทำได้ เพ่อื ทำให้ทางเดนิ หายใจโลง่

- 91 -

การกดหน้าผาก/เชยคาง (Head tilt-Chin lift)
การกดหน้าผาก/เชยคาง (Head tilt-Chin lift) ปฏิบัติโดยผู้ช่วยเหลือใช้มือข้างหนึ่งจับ หน้าผาก

ผู้ป่วย และมืออกี ขา้ งประคองคอดา้ นหลังของผู้บาดเจ็บ จัดให้ศีรษะของผู้ป่วยอยูใ่ นท่าเงยหน้า เล็กน้อย (Sniffing
position) เม่ืออยูใ่ นท่าทเี่ หมาะสมแล้ว มอื ขา้ งท่ีจบั หนา้ ผากกดศีรษะของผู้ปว่ ยไวเ้ บาๆ เพ่อื ไมใ่ หข้ ยบั จากน้ันใช้มือ
อกี ข้างหนึ่งจับใต้ปลายคางผูป้ ว่ ยยกข้นึ ในแนวตั้งฉากกบั พนื้ โดยระวังไม่ให้กดเน้อื สว่ นใต้คางมากเกินไป

การทำ Head tilt-chin lift น้ีเหมาะสำหรับในผปู้ ่วยทม่ี ่ันใจว่าไมม่ ีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง
บริเวณคอ เนื่องจากการจับผู้บาดเจบ็ เงยหน้าในผู้ปว่ ยทีม่ กี ารบาดเจบ็ กระดูกตน้ คออยู่แล้วจะทำให้มีการขยับ ของ
กระดกู ตน้ คอและเกดิ การบาดเจ็บเพ่ิมขึ้นได้
การยกกราม (Jaw-thrust)

ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าผู้บาดเจ็บมีการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ วิธีนี้ผู้ช่วยเหลือต้องอยู่ทางด้าน บน
ศีรษะของผูป้ ่วย จากน้นั ใชม้ ือทัง้ สองข้างจับบริเวณมุมของกราม (Angle of mandible) และยกกรามของผู้ป่วยข้ึน
พร้อมๆ กบั ใชน้ ้ิวหวั แม่มอื อยู่บริเวณปลายคางของผู้ป่วย เพ่ือช่วยเปดิ ปากผูป้ ว่ ย
การจดั ท่าผู้บาดเจบ็ ให้อยู่ในท่าพักฟื้น

ท่าพักฟนื้ ช่วยให้เลือดและน้ำมกู และน้ำลายไหลออกจากรูจมกู และปากผู้บาดเจ็บและไม่ ย้อนกลับ
เข้าไปปดิ กน้ั ชอ่ งทางเดนิ หายใจ วธิ ีการจดั ทางพักฟนื้ ทำดังนี้

- น่งั คุกเข่าขา้ งๆ ผูป้ ่วยทำ head tilt chin lift เหยยี ดขาผู้ป่วยให้ตรง จบั แขน ดา้ นใกล้ตัวงอและ
หงายมอื ขน้ึ

- จับแขนด้านไกลตัวข้ามหนา้ อกมาวางมือไวท้ ี่แก้มอกี ข้างหนึง่
- ใช้แขนอกี ข้างหนงึ่ จบั ขาไว้ ดงึ พลิกตวั ผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาดา้ นที่ผปู้ ฏิบตั ิอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ใน
ท่าตะแคง
- จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และ จัดขาให้งอ
เล็กนอ้ ย
แผลเปิดทรวงอก (Open pneumothorax)
บาดแผลที่หน้าอก ทำให้เกิดการดูดลมเข้าไปในช่องอกบาดแผลทำหน้าที่เหมือนลิ้น (one way
valve) เมื่อลมผ่านเข้าไปแล้ว แต่ในระหว่างท่ีหายใจออก ลมนั้นไม่สามารถออกจากช่องอกได้ในระหว่างที่ หายใจ
ออก และกลับไปเพิ่มความดันในช่องอก ทำให้ปอดยุบแฟบลง แผลเปิดบริเวณหน้าอกสามารถเกิดได้จากการที่
กระสนุ ใบมีดของมีคม หรือวตั ถอุ นื่ ๆ ทะลเุ ข้าไปใน ช่องอก หากไม่แนใ่ จวา่ แผลนนั้ ทะลุเข้าไปถงึ ชอ่ งอกหรอื ไม่ ก็ให้
ทำการรักษาบาดแผลเหมือนกบั ว่าแผลนั้นเปน็ แผลเปิดทรวงอก อาการและอาการแสดงของบาดแผลเปิดทรวงอก
ได้แก่

- 92 -

1. เสียงดูดหรือเสียงฟู่ ดังมาจากบาดแผลบริเวณหน้าอก (เมื่อผู้บาดเจ็บที่มีแผลเปิดบริเวณช่อง
หายใจเข้า อากาศก็จะผ่านเข้าและออกบริเวณบาดแผล บางครั้งอากาศจะทำให้เกิด “เสียงดูด” เพราะเสียงที่ ดัง
เช่นนี้ บางคร้ังเราจึงเรียกแผลเปดิ บรเิ วณหนา้ อกวา่ “แผลดูดทรวงอก”

2. ผู้บาดเจ็บไอเปน็ เลือด
3. เลอื ดเป็นฟองไหลออกมาจากแผลบริเวณหน้าอก (อากาศทเี่ ขา้ และออกจากแผลบรเิ วณหน้าอก
ทำให้เลือดที่ออกจากบาดแผลเปน็ ฟอง)
4. หายใจได้สน้ั ๆ หรอื หายใจลำบาก
5. ชอ่ งอกไม่พองขนึ้ ตามปกติขณะที่ผู้บาดเจ็บหายใจเข้า (ผูบ้ าดเจบ็ อาจมกี ระดูกซี่โครงหลายชิ้นที่
แตกหกั ซง่ึ เปน็ ผลมาจากหน้าอกถูกกระแทก)
6. มีอาการเจบ็ ท่ีบริเวณไหลห่ รือบริเวณหน้าอก โดยจะเจ็บปวดขน้ึ เรอ่ื ยๆ เวลาหายใจ
7. ริมฝปี ากเขยี วคล้ำ มีอาการหน้าซีด
8. สญั ญาณของอาการชอ็ ก เช่น หวั ใจเตน้ เร็วและออ่ น
การตรวจสอบแผลเปิดบริเวณหนา้ อก
ตรวจสอบทั้งแผลเข้าและแผลออก ดูว่ามีกองเลือดอยู่ข้างหลังของผู้บาดเจ็บหรือไม่ โดยการใชม้ อื
ลบู เพอ่ื สัมผสั บาดแผล
1. หากมีแผลเปิดบริเวณหน้าอกมากกว่าหนึ่งแผล ให้รักษาแผลที่มีอาการหนักกว่าก่อน
(มเี ลอื ดออกมากกวา่ หรือ แผลทม่ี ีลักษณะอากาศผา่ นเขา้ ออก)
2. หากผู้บาดเจ็บมีแผลเปิดบริเวณหน้าอกอยู่ด้านหนา้ หนึ่งแผลและอยู่ด้านหลังอีก หนึ่งแผลและ
แผลทั้งสองส่งผลตอ่ ปอด ให้ใชก้ ารทำแผลแบบติดเทปสามด้านบนวัสดุกนั อากาศเข้าบริเวณแผล ด้านหนา้ สว่ นแผล
ด้านหลังใหใ้ ช้การติดเทปบนวัสดุกันอากาศทงั้ สีด่ า้ น
การดูแลเบอ้ื งตน้ ดว้ ยการปิดแผลเปิดบริเวณหน้าอก
เนื่องจากอากาศสามารถผ่านเข้าผ้าพันแผลทั่วไปได้ ดั้งนั้นจึงต้องพยายามปิดบาดแผล โดย
การใช้ พลาสตกิ หรอื วสั ดทุ อี่ ากาศไม่สามารถซึมผ่านได้ชนิดอื่น เพอ่ื ป้องกนั ไม่ใหอ้ ากาศเข้าไปในช่องอกและ ทำให้
ปอดยุบตัว เช่น ใช้ซองพลาสติกของผ้าแต่งแผลสนาม หรือซองพลาสติกของห่อชุดทำแผลฉุกเฉินมาปิดแผลได้
ขน้ั ตอนต่อไปเปน็ ข้นั ตอนในการนำเอาซองผ้าแต่งแผลสนามมาใช้ในการปดิ แผล
1. การเตรียมซองพลาสติก เปิดซองด้านหนึ่งออก เอาผ้าทำแผลด้านใน (ผ้าทำแผลที่ ถูกกระดาษ
ห่อไว้) แยกออกไว้ตา่ งหากตัดขอบซองจนได้เป็นแผ่นพลาสติกหนึง่ ชิ้นแผ่นพลาสติกนี้เองที่จะ นำมาใช้ปิดแผลเพ่ือ
กันอากาศเข้า หากมีทั้งแผลเข้าและแผลออกอาจตัดแผ่นพลาสติกเป็นสองชิ้นเพื่อปิดแผล ทั้งสองด้านหากแผลไม่
ใหญเ่ กินไป ขอบของแผน่ พลาสติกแตล่ ะดา้ นควรเลยขอบของปากแผลมาอย่างนอ้ ย ขา้ งละสองนิว้
2. ให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกบอกให้ผู้บาดเจ็บหายใจออกและกลั้นหายใจเอาไว้เพื่อไล่ อากาศออก
จากแผล ถา้ อากาศออกมาได้มากผู้บาดเจบ็ ก็จะสามารถหายใจได้ดีขึน้ หลังจากที่ปิดบาดแผลแลว้ หากผู้บาดเจ็บหมด

- 93 -

สติหรือไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้รีบปิดบาดแผลหลังจากทีผ่ ู้บาดเจบ็ หายใจออกจนสุด แล้ว ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะ
หายใจเข้าครั้งต่อไปการทำแผลด้วยผ้าแต่งแผลและผ้าพันแผลจะช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุปิดแผลกันอากาศเข้าเกิด
ความเสียหายและยังชว่ ยกดบาดแผลเอาไว้เอาผ้าแต่งแผลออกจากหอ่ เอาผ้าแต่งแผลด้านสขี าววางลงบนพลาสตกิ
ปอ้ งกนั อากาศเขา้ กดบาดแผลไวเ้ พือ่ ไม่ใหแ้ ผน่ พลาสตกิ เล่ือนออกจากแผล
ข้อควรระวัง:

หากมีวัตถุยื่นออกมาจากแผลบริเวณหน้าอก อย่าพยายามดึงวัตถุนั้นออกวางวัสดุเพื่อป้องกัน
อากาศเขา้ รอบๆ วตั ถุทย่ี ื่นออกมานัน้ เพ่อื พยายามไมใ่ หอ้ ากาศเข้าบาดแผลเท่าท่ีจะทำได้ ใช้ ผา้ พันแผลปิดทับผ้าทำ
แผลนน้ั ไว้เพอื่ ไมใ่ ห้เลอ่ื นหลุด หา้ มเอาผ้าพันแผลพันวัตถนุ นั้ เดด็ ขาด

- ใช้ผ้าพันแผลปิดทับผ้าทำแผลเพื่อไม่ให้เลื่อนหลุด ถ้าผู้บาดเจ็บพอจะช่วยได้ ให้ผู้บาดเจ็บจับ
ผา้ พนั แผลไว้ในขณะทีพ่ นั ผ้าแตถ่ ้าผูบ้ าดเจ็บช่วยไม่ไดต้ ้องใช้มือหนงึ่ กดผ้าทำแผลไว้แล้วพยายามพนั ผ้า

- จับปลายขา้ งหน่ึงของผ้าพันแผลแล้วสอดเข้าไปขา้ งหลงั ดึงปลายขึ้นมาปดิ ทับผ้าทำแผล
- เอาปลายผา้ พนั แผลอกี ขา้ งหนงึ่ สอดเข้าไปอีกด้านแล้วดงึ ขน้ึ มาปดิ ทับผ้าพันแผล
- ดึงปลายท้ังสองข้างให้แน่นแลว้ มัดดว้ ยเงอื่ นตายตรงกงึ่ กลางของผา้ ทำแผล เง่ือนน้ีจะช่วยกดแผล
ไว้อีกทางเพื่อช่วยไม่ให้อากาศเข้าแผลผ้าพันแผลไม่ควรรัดแน่นเกินไปจนผู้บาดเจ็บหายใจไม่ออก การจัดตำแหน่ง
ผบู้ าดเจ็บท่ีทำแผลเปิดบริเวณหน้าอกเรยี บร้อยแลว้ ให้ผูบ้ าดเจ็บนอนตะแคงโดยให้ข้างท่ีมีแผลอยู่ติดพื้น แรงกดลง
กบั พื้นทำหน้าท่ีเหมือนการเข้าเฝือกข้างท่ีบาดเจ็บและช่วยลดความเจ็บปวด (การใหผ้ ้บู าดเจ็บนอนตะแคงเอาข้างที่
ไม่บาดเจบ็ ลงกบั พ้ืนอาจทำใหห้ ายใจลำบาก)
การหา้ มเลอื ดในพ้ืนทหี่ ลังการปะทะ
วิธีการห้ามเลือดเพิ่มเติมในระยะนี้ ได้แก่ การขันชะเนาะแบบแสวงเครื่อง การกดโดยตรงท่ี
บาดแผล การใชผ้ า้ แตง่ แผลการใช้ผ้าม้วนแบบยืดได้ และการใชผ้ ้าสามเหลี่ยม วธิ กี ารใชข้ ันชะเนาะแบบแสวงเครื่อง
สามารถประกอบขึ้น จากวัสดุที่ยดื หยุ่นมคี วามแข็งแรง เช่นผ้าก๊อซ ผ้ามัสลิน หรือเสื้อผ้าควรมคี วามกว้างประมาณ
สองนิ้วใช้ร่วมกับวตั ถุแข็งเปน็ แท่ง
ข้ันตอนในการปฏิบตั กิ ารใช้ขนั ชะเนาะแบบแสวงเครอื่ ง
1. ใชผ้ า้ สามเหล่ยี มทำเป็นผา้ คราวาท (Cravat) หรือวัสดทุ ใี่ ชค้ วรมคี วามกว้างไม่น้อย กวา่ 2 น้ิว ไม่
ควรใช้หวาย เชือก ลวดหรือวัสดทุ มี่ ีขนาดเล็ก เพราะอาจบาด/ตดั เน้ือได้
2. วางขันชะเนาะแบบแสวงเคร่ืองที่บริเวณต้นแขนตน้ ขา
3. ผกู 1 เง่ือน
4. วางไม้ท่จี ะใชใ้ นการขนั ชะเนาะลงไป
5. ผูกเงอื่ นอกี หนึง่ ครัง้ รอบๆ ไม้ทใี่ ชใ้ นการขันชะเนาะ
6. หมุนแท่งขันจนกระท่ังขันชะเนาะแบบแสวงเครือ่ งแนน่ และเลือดแดงสดๆหยุดไหลและคลำชีพ
จรไม่ได้

- 94 -

7. ผูกยึดปลายไม้ด้วยเงื่อนตายเพื่อไม่ให้ไม้คลายหมุนกลับ ใช้ผ้าแต่งแผลปิดแผลน ำส่งแพทย์
โดยเรว็ ที่สุด

8. บรเิ วณขนั ชะเนาะไม่ควรใหอ้ ะไรมาบดบงั สายตาเพอ่ื ให้สังเกตได้ง่าย
9. ทำเครื่องหมายตัว T (Tourniquet) บนหน้าผากผู้บาดเจ็บ ถ้าไม่มีอะไรเขียนใช้เลือดของ
ผบู้ าดเจ็บเขียน
10. จดเวลาที่ทำการขนั ชะเนาะ รวมไปถึงการจบั ชพี จรและการหายใจ
11. ควรเก็บและสง่ แขน/ขา/ชิน้ สว่ นที่ขาดไปกับผู้บาดเจบ็ อยา่ ใหผ้ ูบ้ าดเจ็บเหน็ การกดโดยตรงที่
บาดแผลวิธีการนี้เปน็ วธิ ที ่ไี ดผ้ ลดี ถ้าเปน็ แผลเลก็ น้อย มีขน้ั ตอนการปฏิบตั ิคือให้ใชน้ ้ิวมอื ทีส่ ะอาด หรือผ้าสะอาดวาง
และกดโดยตรงบนบาดแผลจนกวา่ เลอื ดจะหยุดไหล เปน็ การบีบปลาย หลอดเลือด ท่ีฉกี ขาดให้เขา้ มาหากนั และเปน็
การอดุ หลอดเลือดไม่ใหเ้ ลือดไหลออกมา/ชะลอให้เลือดไหลช้า เมอื่ เลือดออกนอกหลอดเลอื ดจะแขง็ ตัวภายใน 3-5
นาที ใช้เวลาในการกดประมาณ 5-10 นาที เลือดจะหยดุ เมอื่ เลอื ดหยุดให้ใช้ผ้าแต่งแผลปิด/พนั ดว้ ยผ้าพันแผลแล้ว
รีบทำการส่งกลับทางการแพทย์
การสง่ กลบั ผบู้ าดเจบ็ ทางยุทธวิธ(ี Combat Casualty Evacuation Care)
วัตถุประสงค์ที่ควรทราบสามารถอธิบายและปฏิบัติการส่งกลับผู้บาดเจ็บทางยุทธวิธี การลำเลียง
ด้วยมือ การใช้เปลแสวงเครื่องและการคัดแยกผู้บาดเจ็บได้ถูกตอ้ งการเตรยี มผู้บาดเจ็บให้พร้อมสำหรับการส่งกลับ
ทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นการส่งกลับโดยพาหนะทาง การแพทย์ (MEDEVAC) และมีเจ้าหน้าที่เหล่าแพทยด์ ูแล
หรือการส่งกลบั โดยไม่ใชพ้ าหนะทางการแพทย์ (CASEVAC) หากการสง่ กลับนนั้ เป็นผู้บาดเจ็บที่หมดสติและเดินทาง
โดยพาหนะท่ีไมใ่ ช่ทางการแพทย์ ผู้ชว่ ยชีวติ ทาง ยุทธวธิ ีอาจต้องไปกับผู้บาดเจบ็ ขึ้นอย่กู บั การส่ังการของผู้นำหน่วย
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผู้ช่วยชีวิตทางยุทธวิธี ต้องเฝ้าดูระดับการรู้สึกตัวทางเดินหายใจ การหายใจ การเสียเลือดของ
ผู้บาดเจ็บอยูต่ ลอดการเดินทาง และ อาจต้องให้การดูแลรักษาเพิ่มเติม เช่น การดูแลทางเดนิ หายใจ การให้สารน้ำ
และการรักษาอุณหภมู ริ า่ งกาย การประเมินอาการกระดูกหัก การตรวจชีพจร การใหย้ า การดแู ลแผลไฟไหม้ ฯลฯ
การลำเลยี งผู้บาดเจบ็
การลำเลียงผู้บาดเจ็บด้วยการใช้มือเปล่าจะต้องมีความระมัดระวังอย่างมากการอุ้มด้วยท่าที่
ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับการบาดเจ็บมากขึ้น ควรกระทำอย่างเป็นระบบ ในทุกขั้นตอนของ
การเคลอื่ นย้ายการยกหรือการเคล่อื นท่ีผบู้ าดเจ็บตอ้ งทำดว้ ยความนุ่มนวลใหม้ ากท่ีสุดเท่าที่จะเปน็ ไปได้ ผู้บาดเจบ็ ไม่
ควรจะถูกเคลื่อนย้ายก่อนที่จะมีการประเมินอาการ และ ต้องให้การปฐมพยาบาลก่อน (การช่วยตัวเองเพื่อนช่วย
เพื่อนพลรบช่วยชีวิต) และการให้การรักษาพยาบาลอย่างฉุกเฉนิ จากนายสิบพยาบาลมาตรการในการช่วยชีวิต จะ
กระทำก่อนที่จะมีการส่งกลับ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน จะมีการประเมิน ประเภทของการบาดเจ็บก่อนที่จะทำการ
เคลอื่ นย้าย โดยมกี ารตรวจสิ่งต่างๆ ดงั นี้
- การหา้ มเลอื ด
- การเปิดทางเดินหายใจ


Click to View FlipBook Version