The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunnawut70549, 2022-03-24 04:20:24

SWO-148- นวดไทย 16-11-61

SWO-148- นวดไทย 16-11-61

Keywords: นวดไทย

มรดกภูมิปัญญาทางวฒั นธรรม

01 ������ 16-11-61.indd 1 11/23/18 10:14 AM

2 11/16/18 11:34 AM

01 ������ 13-11-61.indd 2

คำาปรารภ

การนวดไทย เป็นศาสตร์และศิลป์ในการดูแลรักษาสุขภาพและบ�าบัดโรคแขนงหนึ่ง
ของการแพทย์แผนไทยท่ีมีการพัฒนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิถีปฏิบัติและการสืบทอด
ที่เก่ียวเน่ืองกับพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิม ซ่ึงให้ความส�าคัญกับคุณพระรัตนตรัย
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และครูบาอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามาแต่บรรพกาล แสดงให้เห็นถึงการสงเคราะห์
และช่วยเหลือเกื้อกูลกันยามเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นการพ่ึงตนเอง
ทางด้านสุขภาพ ท้ังยังมีส่วนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล มีประโยชน์ต่อสุขภาวะ
ของบุคคล ครอบครวั และชุมชน การนวดไทยจงึ เปน็ ผลผลติ ทางวฒั นธรรมที่เปน็ มรดกภูมปิ ัญญา
อันล้า� ค่าอยา่ งหนึ่งของชาตไิ ทย และเป็นท่ีประจักษใ์ นสังคมโลก

ปัจจุบันการนวดไทยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพตนเองในการสาธารณสุข
มูลฐานของประเทศภายใต้ระบบบริการสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ มีการประยุกต์
การนวดไทยไปใช้ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ช่วยสร้างอาชีพและรายได้จากธุรกิจบริการ
ในทุกระดับ เปน็ ทีย่ อมรบั ท้ังในและต่างประเทศ โดยการนวดไทยได้เผยแพรไ่ ปสชู่ าวต่างประเทศ
ทั้งในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง มีชาวต่างประเทศสนใจมาเรียนการนวดไทย
เพิ่มจ�านวนมากข้ึนทุกปี กล่าวได้ว่า นวดไทย ไม่เพียงแค่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ กระทรวงวัฒนธรรมหวังเป็น
อย่างย่ิงว่าการนวดไทยจะเป็นหนึ่งในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ช่วยพัฒนาสังคมไทย
และสังคมโลกในดา้ นการดูแลรกั ษาสุขภาพแบบยัง่ ยนื

(นายวรี ะ โรจน์พจนรตั น์)
รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงวัฒนธรรม

3

01 ������ 13-11-61.indd 3 11/16/18 11:34 AM

4 11/16/18 11:34 AM

01 ������ 13-11-61.indd 4

คำานำา

การนวดไทยนอกจากเป็นศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสุขภาพและบ�าบัดความเจ็บป่วย
ทสี่ ะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ภมู ปิ ญั ญาทางวฒั นธรรมของคนไทยแลว้ ยงั เปน็ สว่ นหนง่ึ ของระบบคณุ คา่ ดงั้ เดมิ
ของสังคมไทยที่ยังคงได้รับการสืบทอดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
ปัจจุบันมีการน�านวดไทยไปใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางในระบบบริการสุขภาพของประเทศ
สามารถบ�าบัดอาการปวดและฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและพิการที่เกี่ยวข้องกับ
การเคลอ่ื นไหวรา่ งกาย โดยมคี ่าใช้จา่ ยนอ้ ยและประชาชนสามารถฝึกฝนชว่ ยเหลอื กันเองได้

หนังสือเล่มน้ีจัดท�าข้ึนเพ่ือรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของการนวดไทย
เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ เน้ือหาจะเร่ิมด้วยการน�าเสนอรากฐาน
ความเปน็ มาของการนวดไทยในอดีตจนถึงปจั จบุ ัน ทมี่ กี ารฟืน้ ฟูพฒั นาการนวดไทยข้นึ มาจนทา� ให้
การนวดไทยกลับมาได้รับการยอมรับท้ังทางสังคมและกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง นอกจากน้ันยังมี
เร่ืองราวเก่ียวกับระบบคุณค่าด้ังเดิมของการนวดไทย รากฐานความเช่ือ จริยธรรม และความรู้
ทเ่ี กย่ี วกบั การนวดไทย รวมถงึ บทบาทหนา้ ทท่ี างสงั คม ความหมาย และคณุ คา่ ของการนวดไทยดว้ ย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในหนังสือเล่มนี้จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ
เกี่ยวกับรากฐานทางปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ ตลอดจนบทบาทหน้าที่
และความหมายในมิติทางสังคมวัฒนธรรมของการนวดไทยซ่ึงด�ารงอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน
และช่วยหนนุ เสริมให้เกดิ การสืบทอดส่ิงทมี่ ีคณุ ค่านอ้ี ย่างตอ่ เน่ือง

(นางพิมพร์ วี วฒั นวรางกูร)
อธบิ ดีกรมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม

5

01 ������ 13-11-61.indd 5 11/16/18 11:34 AM

สารบญั

๑ ๒

ประวตั ิความเป็นมา ขบวนการฟืน้ ฟกู ารนวดไทย

01 ������ 13-11-61.indd 6 11/16/18 11:34 AM

๓ ๔

รากฐานความเชื่อ หน้าทท่ี างสงั คม
จรยิ ธรรม และความรู้ ความหมาย และคุณคา่

01 ������ 13-11-61.indd 7 11/16/18 11:34 AM

01 ������ 13-11-61.indd 8 11/16/18 11:34 AM



01 ������ 13-11-61.indd 9 11/16/18 11:34 AM

01 ������ 13-11-61.indd 10 11/16/18 11:35 AM

ประวัตคิ วามเปน็ มา

การนวดกอ่ นประวตั ิศาสตรไ์ ทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ และที่เข้ามาสู่
การนวดเปน็ สว่ นหนง่ึ ของการแพทยด์ ง้ั เดมิ ดนิ แดนแถบนอี้ กี หลายระลอกพรอ้ มกบั พระพทุ ธ
ศาสนาและศาสนาพราหมณ์ การหล่อหลอม
ที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหน่ึงไปสู่คนอีกรุ่นหน่ึง ให้เกิดการแพทย์ในสุวรรณภูมิมีท่ีมาจาก
ต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน สันนิษฐานว่าเป็น หลายทาง เชน่ มาพรอ้ มกบั นกั บวช พอ่ คา้ วาณชิ ย์
การแพทย์ท่ีผสมผสานระหว่างความรู้ท้องถ่ิน การอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ
กับการแพทย์ท่ีเข้ามาพร้อมกับการเผยแผ่ และการกวาดต้อนผู้คนจากการศึกสงคราม
พระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพระโสณะและ เปน็ ตน้
พระอุตรเถระ พระสมณทูตท่ีพระเจ้าอโศก
มหาราชส่งมาประกาศพระธรรมในสุวรรณภูมิ

11

01 ������ 13-11-61.indd 11 11/16/18 11:35 AM



จากการศึกษาเปรียบเทียบองค์ความรู้ (prana) และพลงั กณุ ฑลนิ ี (kundalini) ไหลผา่ น ฤๅษดี ดั ตน
ของการนวดไทยกับการแพทย์แผนดั้งเดิมอื่น ตามทฤษฎขี องโยคะอนิ เดยี ทา่ ฤๅษดี ดั ตนบางทา่ วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม
พบวา่ ชื่อของเส้นประธานสบิ ของการนวดไทย มีส่วนคล้ายคลึงกับอาสนะของโยคะ ท�าให้ (วดั โพธ)์ิ
สามเสน้ แรก คือ อทิ า (Ida) ปงิ คลา (Pingala) สนั นษิ ฐานว่าศาสตร์การนวดไทยน่าจะมที ีม่ าท่ี
และสุษุมนา (Sushumna) มีช่ือเช่นเดียวกับ สมั พนั ธเ์ กย่ี วขอ้ งกบั โยคศาสตร์ แตม่ พี ฒั นาการ
ชื่อนาฑี (nadi) หลักซึ่งเป็นช่องท่ีลมปราณ ทแ่ี ตกตา่ งกนั ไปตามบรบิ ททางสงั คมวฒั นธรรม

12

01 ������ 13-11-61.indd 12 11/16/18 11:35 AM

◀ ท่ีแตกต่างกัน การนวดไทยมีความเป็นศาสตร์
◀ และศิลป์ท่ีมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่าง
จากโยคะ เพราะเน้นไปท่ีการกดจุด การนวด
ภาพบน ภาพล่าง การดัด การดึง การใช้ความร้อน - ความเย็น
ภาพแกะสลักนูนตาํ่ บนทับหลัง ภาพแกะสลกั นนู ตา่ํ บา้ นแขด้ ่อน การใช้ตวั ยาสมุนไพรเพื่อทาถนู วด อบ ประคบ
ของปราสาทสระกําแพงใหญ่ อําเภอนํ้ายืน จงั หวัดอบุ ลราชธานี รวมท้ังการใช้พลังจากสมาธิจิตในการกระท�า
อาํ เภออทุ ุมพรพิสัย จังหวดั ศรสี ะเกษ ต่อจุดต่าง ๆ บนร่างกายตามทฤษฎีเส้นเพื่อ
เป็นภาพแกะสลกั บนทบั หลัง ให้เกิดประสิทธิผลในการท�าให้ลมและเลือด
รปู พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ท่ไี หลเวยี นตดิ ขดั ในเส้นกลบั มาเป็นปกติ
โดยมพี ระชายา คือพระลกั ษมี
และพระภูมีเทวถี วายการนวด (ยงศกั ด,ิ์ ๒๕๕๙ : ๓)
ห ลั ก ฐ า น ที่ เ กี่ ย ว กั บ ก า ร น ว ด ก ่ อ น
01 ������ 16-11-61.indd 13 ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ์ ไ ท ย มี จ� า น ว น ไ ม ่ ม า ก นั ก
ในยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๕)
มหี ลกั ฐานเกยี่ วกบั การนวดปรากฏอยหู่ ลายแหง่
เช่น ที่ทับหลังของปราสาทสระก�าแพงใหญ่
อ�าเภออุทุมพรพิสัย จังหวดั ศรีสะเกษ เปน็ ภาพ
สลกั หินนารายณ์บรรทมสนิ ธ์ุ มีพระลกั ษมีและ
พระภูมีเทวีถวายการนวด และภาพสลักหิน
นารายณ์บรรทมสินธุ์ ข้างล�าธาร บ้านแข้ด่อน
อ�าเภอน�้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี ที่มี
พระลักษมีถวายการนวด เป็นต้น แม้หลัก
ฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงน้ีจะมีไม่มากนัก
แต่สันนิษฐานว่าการนวดปรากฏอยู่ในวิถีชีวิต
ของผู้คนทั้งในระดับสามัญชนและผู้ปกครอง
แว่นแคว้นอาณาจักรในดนิ แดนสวุ รรณภูมิ

13

11/19/18 1:28 PM

Iu d e a

การนวดในประวัติศาสตรไ์ ทย ◀
การนวดสบื ทอดอยใู่ นวถิ ชี มุ ชนมายาวนาน
ในราชส�านัก คือ กรมแพทยา โรงพระโอสถ ภาพวาดกรงุ ศรอี ยธุ ยา
แต่ไม่มีปรากฏบันทึกในเอกสารนอกจาก กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมยาตา กรมหมอ โดยศลิ ปนิ ชาวดทั ช์
การบอกเล่าสืบต่อกันมา หลักฐานเกี่ยวกับ วรรณโรค เฉพาะกรมหมอนวดได้ระบุว่า ปี พ.ศ. ๒๑๙๓
การนวดในประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกของ มีหลวงราชรักษาเป็นเจ้ากรมหมอนวดขวา ▶
ราชส�านัก เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาใน หลวงราโชเปน็ เจา้ กรมหมอนวดซา้ ย ขนุ ภกั ดอี งค์ บนั ทกึ การนวดในสยาม
รชั สมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถเปน็ ตน้ มา เปน็ ปลดั กรมขวา ขนุ องครกั ษาเปน็ ปลดั กรมซา้ ย โดยมองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร์
มีหมอท่ีมีบรรดาศักดิ์รองลงมา ได้แก่
ยคุ กรงุ ศรอี ยธุ ยา หมื่นแก้ววรเลิศ หมื่นวาโยวาต หม่ืนวาโยนาศ
๑) สมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ หมน่ื วาโยไชย และยงั มขี นุ ในกรม หมน่ื ในกรม
ในท�าเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายทหาร พนั ในกรม พนั หมอ และนายพะโรง
และพลเรือน ซ่ึงตราข้ึนในรัชสมัยน้ีเม่ือปี
พ.ศ.๑๙๙๘ ระบวุ า่ มกี รมทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การแพทย์ (หอสมดุ แหง่ ชาต,ิ ๒๕๑๕ : ๒๖๒ - ๒๖๔)

14

01 ������ 13-11-61.indd 14 11/16/18 11:35 AM

หลักฐานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า การยอมรับ ๒) สมยั สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช
สถานภาพของหมอผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้าน ใ น ส มั ย นี้ มี ก า ร ร ว บ ร ว ม ต� า รั บ ย า ไ ว ้
การนวดมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว หลายขนาน สว่ นใหญเ่ ปน็ ยาทบี่ รรดาหมอหลวง
แ ล ะ เ มื่ อ เ ป รี ย บ เ ที ย บ ก ร ม ห ม อ น ว ด กั บ ใช้ถวายการรักษาและได้ผลดีมาแล้ว ซ่ึงต่อมา
กรมแพทยาพบว่า เจ้ากรมหมอนวดมีศักดินา มีการจัดพิมพ์และให้ชื่อว่า “ต�าราพระโอสถ
เทา่ กบั เจา้ กรมแพทยาหนา้ และหลงั ซงึ่ แสดงวา่ พระนารายณ”์ ซงึ่ มตี า� รบั ยาทใี่ ชส้ า� หรบั การนวด
หมอนวดกับหมอยาเป็นหมอคนละประเภทกัน หลายขนาน เช่น พระอังคบพระเส้น ท�าให้
และมศี กั ดศ์ิ รที ดั เทยี มกนั การแบง่ สว่ นราชการ เสน้ ทต่ี งึ ใหห้ ยอ่ นลง ยาทาพระเสน้ ทาแกเ้ สน้
เป็นกรมหมอแบบนี้น่าจะสืบเนื่องมาตลอด ทผี่ ดิ ปกติ แกล้ มอมั พาต ลมปตั ฆาฏกลอ่ น ตะครวิ
ในยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ จับโปง แก้เม่ือยขบท้ังปวง น้�ามันภาลาธิไตล
มายกเลิกในสมัยรัชกาลท่ี ๖ ซึ่งจะได้กล่าวถึง แก้เส้นอันทพฤกให้หย่อน แก้ฟกบวมเป็น
ตอ่ ไป กอ้ นแขง็ นา�้ มนั มหาปไลยกลั ป์ แกเ้ สน้ อนั ทพฤก
และกล่อนลม ที่ท�าให้มือเท้าตาย ง่อยเพลีย
(นายเพชรปัญญาปรุงถวาย) ข้ีผ้ึงบ้ีพระเส้น
แก้เส้นอันแข็งนั้นให้หย่อน (พระสิทธิสารปรุง
ถวาย) เปน็ ตน้ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, ๒๕๒๒)
นอกจากน้ี ยังปรากฏหลักฐานจาก
การบนั ทกึ ของ มงซเิ ออร์ เดอลาลแู บร์ ซงึ่ เขา้ มา
ในกรงุ สยามเมอื่ ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ และ
เขียนบรรยายเกี่ยวกับกรุงสยามไว้ (บันทึกนี้
ตอ่ มาเรยี กวา่ จดหมายเหตลุ าลแู บร)์ มขี อ้ ความ
ทกี่ ลา่ วถงึ การนวดสมยั นน้ั ไวด้ ว้ ย ดงั นี้
ในกรงุ สยามนน้ั ถา้ ใครปว่ ยไขล้ ง กจ็ ะเรม่ิ
ใหย้ ดื เสน้ ยดื สาย โดยใหผ้ มู้ คี วามชาํ นาญในทางน้ี
ขนึ้ ไปแลว้ ใชเ้ ทา้ เหยยี บ กลา่ วกนั วา่ หญงิ มคี รรภ์
กม็ กั ใชเ้ ดก็ เหยยี บเพอื่ ใหค้ ลอดบตุ รงา่ ย
(มองซเิ ออร์ เดอ ลาลแู บร,์ ๒๕๔๘ : ๑๙๕)

15

01 ������ 13-11-61.indd 15 11/16/18 11:35 AM

๓) สมยั สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ ยคุ กรงุ ธนบรุ ี ◀
พบหลักฐานจากพระราชพงศาวดารว่า ในยุคน้ีผู้คนที่หลงเหลือจากศึกสงคราม
เมื่อคร้ังแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เร่ิมกลับไปยังกรุงเก่าเพ่ือขุดหาทรัพย์สมบัติ กรงุ ศรอี ยธุ ยาถกู เผาทาํ ลาย
พ.ศ. ๒๓๐๑ พระองค์ทรงพระประชวรหนัก ทฝี่ งั ไว้ ซึ่งนา่ จะมตี �ารบั ตา� ราบางส่วนหลงเหลอื ครง้ั เสยี กรงุ ครง้ั ท่ี ๒
หมอนวดไดถ้ วายงานนวดอยา่ งใกลช้ ดิ ดงั ความ มาให้ฟื้นฟูในภายหลัง แต่ด้วยกรุงเก่าเสียหาย ▶
ทวี่ า่ ย่อยยับ ไม่สามารถบูรณะให้เป็นบ้านเมือง วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม
วันหนึ่งถึงเพลาเท่ียงแล้วห้าบาทบรรทม ได้ดังเดิม ผู้คนจึงต้องท้ิงถ่ินฐานไปอาศัยอยู่ (วดั โพธ)์ิ
ต่ืนจะเสด็จไปลงพระบังคน หลวงราชรักษา ในที่แห่งใหม่ ในช่วงเริ่มตั้งราชธานีใหม่จึงยัง
หลวงราโช หมอนวดพยงุ พระองคใ์ หท้ รงยนื ขนึ้ ขาดแคลนหมอและตา� รบั ตา� ราตา่ งๆ เปน็ เหตใุ ห้
พระวาตะปะทะ พระเนตรวิกลกลับช้อนข้ึน มผี เู้ สาะหาตา� รามาศกึ ษาหาความรเู้ พอ่ื เปน็ หมอ
หายพระทัยดังดั่งเสียงกรน พระหัตถ์คว้าจับ รกั ษาตนเองและครอบครวั
หลกั ชยั มใิ ครจ่ ะถกู หมอนวดทง้ั สองใหเ้ อนองค์
บรรทม แลว้ ถวายอยงู่ านนวดแกพ้ ระวาตะ
จากหลักฐานดังกล่าว ส.พลายน้อย
ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ ตง้ั ขอ้ สงั เกตวา่ หมอนวดไดอ้ ยู่
ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
มากกวา่ หมอยา (ส.พลายนอ้ ย, ๒๕๔๔ : ๑๓๕)
เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาท�าลายในคร้ัง
เสียกรุงคร้ังที่ ๒ ต�ารับต�าราต่าง ๆ น่าจะถูก
เผาทา� ลายไปเปน็ จา� นวนมาก บางสว่ นถกู นา� ไป
ฝังดินพร้อมกับทรัพย์สมบัติมีค่าอ่ืน ๆ ผู้คน
มีท้ังล้มตายและถูกกวาดต้อนไปพม่า ท่ีเหลือ
แตกกระสานซา่ นเซน็ หลบหนภี ยั สงคราม ทา� ให้
การสืบทอดความรู้ทางการแพทย์หยุดชะงัก
ไปดว้ ย ความรู้การนวดในคมั ภรี ต์ า� ราสว่ นหน่ึง
สญู หายไปในชว่ งเวลานี้

16

01 ������ 13-11-61.indd 16 11/16/18 11:35 AM

ยคุ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๑
เม่ือล่วงเข้าสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังการปราบดาภิเษกขึ้นเสวย
ซ่ึงเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูบูรณะประเทศ ราชสมบตั ิ ทรงสรา้ งพระบรมมหาราชวงั ขนึ้ ใหม่
และสรรพวทิ ยาการต่าง ๆ นอกจากการสืบต่อ และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์
แบบแผนการบริหารราชการแผ่นดินจาก ข้ึนเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า
กรุงศรีอยุธยาโดยยังคงกรมหมอต่าง ๆ วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาวาส และโปรดเกลา้ ฯ
ในราชส�านักไว้แล้ว พระมหากษัตริย์ไทย ให้รวบรวมต�ารายาและฤๅษีดัดตนเป็นครั้งแรก
ยังทรงให้ความส�าคัญกับการฟื้นฟูวิชาการนวด ไว้เป็นทานตามศาลาราย และมีอักษรจารึก
ดว้ ยเชน่ กนั ดงั นี้ ติดไว้กับรูปฤๅษีบอกวิธีการดัดและแก้โรค
ของแตล่ ะทา่

ในสมัยน้ี มีเรื่องราวเก่ียวกับพระยา
วิชยาธิบดี เจ้าเมืองจันทบูร นามเดิม กล่อม
เดิมเป็นชาวพระนครศรีอยุธยา เม่ือเสียกรุง
ท่านและครอบครัวพลัดพรากจากญาติพ่ีน้อง
มาอาศัยอยู่ที่กรุงธนบุรี เมื่อลูกเมียเจ็บไข้
หาหมอรักษายาก ท่านจึงเสาะหาคัมภีร์แพทย์
มาเรียนด้วยตนเองอยู่ ๗ ปี ท่านพบว่าคัมภีร์
แพทย์ยากแก่การจดจ�า จึงแต่งต�าราแพทย์
เป็นกาพย์กลอน เพอ่ื ใหจ้ ดจ�าไดง้ า่ ยขน้ึ ตอ่ มา
มีผู้ช�าระแก้ไขและร้อยกรองเน้ือหาเพิ่มเติม
จัดตีพิมพ์เป็นหนังสือช่ือ “ต�าราโรคนิทาน
คา� ฉันท์ ๑๑” เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ หนังสอื เลม่ น้ี
เปน็ ทรี่ จู้ กั กนั แพรห่ ลายในปจั จบุ นั เนอื้ หาในตา� รา
เล่มนี้ มีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงเส้นประธานสิบ
และการนวดเพื่อแก้โรคที่เกิดจากเส้นดังกล่าว
ผดิ ปกติ

17

01 ������ 13-11-61.indd 17 11/16/18 11:35 AM

รชั กาลที่ ๒ ◀
พ.ศ. ๒๓๖๔ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้า
ลกู ยาเธอ กรมหมนื่ เจษฎาบดนิ ทร์ เปน็ ผคู้ วบคมุ รปู ฤๅษดี ดั ตนบอกวธิ แี กโ้ รค
การปฏิสังขรณ์วัดจอมทอง ในการนี้ทรงให้ ของแตล่ ะทา่
จารกึ ตา� รายา ตา� รานวด และตา� ราวางปลงิ บน ◀
แผน่ ศลิ า แลว้ ถวายเปน็ พระอารามหลวง ไดร้ บั ตาํ รายาวดั โพธ์ิ
พระราชทานนามวา่ วดั ราชโอรสาราม ▶
รชั กาลที่ ๓ แผน่ จารกึ และรปู ปน้ั ฤๅษดี ดั ตน
พ.ศ. ๒๓๗๕ พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม
เจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมล (วดั โพธ)์ิ พ.ศ. ๒๕๖๑
มงั คลาราม(วดั โพธ)์ิ อกี ครง้ั โดยมพี ระราชประสงค์
พิเศษอย่างหนึ่งคือ จะให้เป็นแหล่งเล่าเรียน 11/16/18 11:35 AM
วชิ าความรขู้ องมหาชน ไมเ่ ลอื กชนั้ บรรดาศกั ด์ิ
จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหร้ วบรวมเลอื กสรร
ตา� รบั ตา� ราตา่ งๆ แลว้ จารกึ บนแผน่ ศลิ าประดบั
ไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนฯ เฉพาะความรู้
ด้านการแพทย์ โปรดเกล้าฯ ให้สืบเสาะหา
ต�ารายา ต�าราแพทย์ตามพระราชาคณะ
ขา้ ราชการ ตลอดจนราษฎรมาจารกึ บนแผน่ ศลิ า
จารึกดังกล่าวมี ๔ หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่ วิชา
ฤๅษีดัดตน เวชศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ
แผนนวด เฉพาะแผนนวดมีจ�านวน ๖๐ ภาพ
(โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ,
๒๕๓๗) แผนนวดจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักฐานองค์ความรู้
การนวดไทยทมี่ คี วามสมบรู ณค์ รบถว้ นมากทส่ี ดุ
ในปัจจบุ ัน
18

01 ������ 13-11-61.indd 18

01 ������ 13-11-61.indd 19 19

11/16/18 11:35 AM

รชั กาลที่ ๔ ถ้าท่านผู้ใดจะต้องการหมอนวดหมอยาไปไว้ใช้
หลักฐานทางเอกสารในสมัยน้ี พบว่า สําหรับวังสําหรับบ้านทีเดียว ก็กราบบังคมทูล
มีข้าราชการในฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล พระกรณุ าจะพระราชทานใหจ้ ะไดท้ รงทราบวา่
ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อยทู่ นี่ นั้ ๆ (ชาญวทิ ย,์ ๒๕๔๗ : ๗๘)
หรอื ขา้ ราชการฝา่ ยวงั หนา้ ทเ่ี กย่ี วกบั การแพทยไ์ ทย
ได้แก่ ข้าราชการในกรมหมอ กรมหมอยา จากประกาศนี้แสดงว่า มีความต้องการ
กรมหมอนวด กรมหมอกุมาร กรมหมอยาตา ใช้งานหมอนวดหมอยาเป็นจ�านวนมาก และ
หมอฝร่ัง เฉพาะกรมหมอนวด ได้ระบุว่า มีผู้เบียดบังเวลาของหมอนวดหมอยาซ่ึงเป็น
พระวรวงศร์ กั ษาเปน็ จางวาง หลวงสมั พาหแพทย์ หมอหลวงไปใช้ท่ีวังหรือบ้านเพ่ือการส่วนตัว
เป็นปลัดจางวาง หลวงสัมพาหภักดี เป็นปลัด พระองค์จึงทรงประกาศให้ผู้ที่ต้องการใช้งาน
จางวาง หลวงประสาทวิจิตร เป็นเจ้ากรมซ้าย หมอนวดหมอยา กราบบังคมทูลเพ่ือให้ทรง
หลวงประสิทธิหัตถา เป็นเจ้ากรมขวา พระกรณุ าพระราชทานให้ จะไดร้ วู้ า่ หมอไปอยู่
ขนุ วาตาพนิ าศ เปน็ ปลดั กรมขวา ขนุ ศรสี มั พาห ทา� การ ณ ทใี่ ด
เปน็ ปลดั กรมซา้ ย (ทาํ เนยี บนามภาคที่ ๒ ตาํ รา
ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวรสถาน
มงคล, ๒๔๖๒: ๑๕ - ๑๗)

นอกจากน้ี ยังพบหลักฐานในประชุม
ประกาศรัชกาลท่ี ๔ ซึ่งเป็นประกาศว่าด้วย
ละครผู้หญิงแลเรื่องหมอเร่ืองช่าง มีข้อความ
ตอนหนงึ่ วา่

ขอ้ หนงึ่ หมอยาหมอนวดมคี นจะตอ้ งการ
ไว้ใช้อยู่ด้วยกันทุกแห่ง แต่หมอหลวงนั้น
ถา้ ทา่ นผใู้ ดจะตอ้ งการไวใ้ ชท้ ว่ี งั ทบ่ี า้ น กอ็ ยา่ ให้
เอาบงั ไวเ้ งยี บๆ ราชการหลวงกไ็ มม่ ารบั ราชการ
ถงึ คราวเบยี้ หวดั กม็ ารบั เอาไปเปลา่ ๆ การหลวง
ก็ไม่ได้ใช้ มิใช่ว่าในหลวงจะทรงหวงแหน
หมอนวดหมอยากห็ ามไิ ด้ กใ็ ชอ้ ยดู่ ว้ ยกนั ตอ่ ไป

20

01 ������ 13-11-61.indd 20 11/16/18 11:35 AM

◀ รชั กาลที่ ๕ การเรยี นการสอนของโรงเรยี นแพทยด์ ว้ ย แตไ่ ม่
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โปรดเกลา้ ฯ ใหช้ า� ระ ประสบความส�าเร็จมากนัก และอาจมีการเลิก
ซา้ ย สอบสวนคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น สอนไปกลางคนั
การนวดของชนช้ันสูง ให้ถูกต้อง แล้วให้จารลงสมุดไทย ต่อมารวม
ในสยาม พ.ศ. ๒๔๓๗ เรยี กวา่ “ตา� ราเวชศาสตรฉ์ บบั หลวง รชั กาลท่ี ๕” ปรากฏหลกั ฐานภาพถา่ ยในสมยั รชั กาลที่ ๕
ขวา ประกอบด้วย ๑๕ คัมภีร์ ซึ่งมีคัมภีร์แผนนวด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นภาพถ่ายการนวด
พระภกิ ษุ อยดู่ ว้ ย เวชศาสตรฉ์ บบั หลวงเปน็ ทม่ี าของตา� รา ชนชนั้ สงู ของสยาม (ภาพบนซา้ ย) และภาพถา่ ย
วัดพระปรางคเ์ หลือง แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ท่ีเป็นต�าราหลักใน เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้น
เมอื งพยุหครี ี การศึกษาเล่าเรียนของแพทย์แผนไทยในยุค เมอื งนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ มพี ระภกิ ษุ
ถวายการนวด ปัจจุบนั วัดพระปรางค์เหลือง เมืองพยุหคีรี ถวาย
เหยียบเหลก็ แดง ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ การนวดเหยียบเหล็กแดงแก่พระองค์ (ภาพ
แกร่ ชั กาลที่ ๕ มกี ารเรยี นการสอนวชิ าแพทยไ์ ทยทรี่ าชแพทยาลยั บนขวา) ทั้งสองภาพน้ีแสดงให้เห็นว่ามีการใช้
ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศ การนวดไทยทั้งในหมู่ชนชั้นสูงและในชุมชน
◀ มกี ารสอนวชิ าหมอนวดเปน็ สว่ นหนงึ่ ของหลกั สตู ร ทอ้ งถนิ่ ของสยามประเทศในสมยั นนั้
ตาํ ราเวชศาสตร์
ฉบบั หลวง รชั กาลท่ี ๕

21

01 ������ 13-11-61.indd 21 11/16/18 11:35 AM

รชั กาลที่ ๖ และให้การนวดเป็นสาขาหนึ่งของผู้ประกอบ
มกี ารยกเลกิ กรมแพทยห์ ลวงในราชสา� นกั โรคศิลปะแผนโบราณ กฎเสนาบดีฉบับน้ี
ในตน้ รชั กาล หมอหลวงตอ้ งออกจากราชการ ยงั กา� หนดขอ้ จา� กดั ของการประกอบโรคศลิ ปะ
มาประกอบอาชพี สว่ นตวั (สยามแพทยศ์ าสตร์ แผนโบราณสาขาการนวดไวว้ า่ หา้ มนวดคนปว่ ย
นเุ คราะห,์ ๒๔๘๘: ข) ตอ่ มาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เว้นแต่จะกระท�าโดยความยินยอมของแพทย์
มี ก า ร ย ก เ ลิ ก ก า ร เ รี ย น วิ ช า แ พ ท ย ์ ไ ท ย แผนปจั จบุ นั ชนั้ ๑ (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๗๒)
ในโรงเรยี นแพทยาลยั และในปี พ.ศ. ๒๔๖๖
โปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ราพระราชบญั ญตั กิ ารแพทย์ จากกฎเสนาบดีดังกล่าว ท�าให้มีการ
พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ซึ่งเป็นกฎหมาย ข้ึนทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ
ควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เกดิ ขนึ้ เปน็ ครงั้ แรก ปรากฏหลกั ฐานจากสถติ ิ
ของสยามฉบับแรก กฎหมายฉบับนี้นิยาม ผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๔๗๗ พบว่า
การนวดเป็นส่วนหนึ่งของโรคศิลปะไว้ด้วย มีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขา
(ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๖๖) การเปลยี่ นแปลง หมอนวด จา� นวน ๒๙๕ คน (พชิ าญ, ๒๕๐๙:
ส�าคัญท่ีเกิดข้ึนในช่วงน้ีเป็นผลกระทบจาก ๓๔)
การพฒั นาประเทศเขา้ สยู่ คุ สมยั ใหม่ ดว้ ยการ
รับเอาระบบการแพทย์ของประเทศตะวันตก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มกี ารกอ่ ตงั้ “สมาคม
มาใช้แทนท่ีระบบการแพทย์แผนด้ังเดิม แพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย”
ทสี่ บื ทอดมาหลายรอ้ ยปี เพื่อเป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ในหมู่สมาชิก มีหมอใหญ่ สีตะวาทิน เป็น
รชั กาลที่ ๗ นายกสมาคมฯ คนแรก กิจกรรมหลักของ
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ มกี ารออกกฎเสนาบดี สมาคมคือ การจัดให้มีการสอนวิชาเวชกรรม
แบ่งประเภทผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นแผน แผนโบราณ เภสัชกรรมแผนโบราณ และ
ปจั จบุ นั และแผนโบราณ โดยระบวุ า่ “ประเภท การนวดแผนโบราณขึ้น เพื่อสอบเป็น
แผนโบราณคอื ผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะโดยอาศยั ผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะ ในการสอนวชิ าการนวด
ความสังเกตความช�านาญอันได้บอกเล่า แผนโบราณของสมาคมใช้เวลาเรียนชั้นต้น
สืบต่อกันมาเป็นท่ีต้ังหรืออาศัยต�าราอันมีมา ๖ เดอื น ชนั้ ปลาย ๑ ปี ๖ เดอื น (สมาคมแพทย์
แตโ่ บราณ มไิ ดด้ า� เนนิ ไปในทางวทิ ยาศาสตร”์ แผนโบราณแหง่ ประเทศไทย, ๒๕๑๐)

22

01 ������ 13-11-61.indd 22 11/16/18 11:35 AM

01 ������ 13-11-61.indd 23 23

11/16/18 11:35 AM

24 11/16/18 11:35 AM

01 ������ 13-11-61.indd 24

รชั กาลที่ ๘ รชั กาลที่ ๙ - ๑๐
มี ก า ร ต ร า พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ค ว บ คุ ม การก�าหนดให้การแพทย์ด้ังเดิมเป็น
การประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช ๒๔๗๙ การประกอบโรคศลิ ปะแผนโบราณทไ่ี มส่ ามารถ
กฎหมายฉบับน้ีก�าหนดให้การประกอบโรค น�าความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้พัฒนาได้
ศิลปะแผนโบราณมีเพียงสาขาเวชกรรม ทา� ใหเ้ กดิ ผลกระทบหลายประการ โดยเฉพาะ
เภสัชกรรม และการผดุงครรภ์เท่านั้น การนวดไทยซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด
(ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๘๐) ไมม่ สี าขาการนวด เพราะไมม่ สี ถานภาพทางกฎหมายใดๆหลงเหลอื
ดังเช่นกฎหมายเดิม เท่ากับว่าการนวด อยู่เลย หมอนวดไทยในยุคน้ันมีสภาพเป็น
ได้สูญเสียสถานภาพทางกฎหมายนับต้ังแต่ หมอเถื่อนท่ีต้องปฏิบัติงานหลบ ๆ ซ่อน ๆ
นน้ั เปน็ ตน้ มา ทา� ใหห้ มอนวดไทยจา� นวนมาก เพอ่ื ใหร้ อดพน้ จากการตรวจจบั ของเจา้ หนา้ ท่ี
กลายเป็นหมอเถ่ือน เพราะไม่มีใบอนุญาต บา้ นเมอื ง ความเสอ่ื มโทรมยง่ิ ปรากฏรนุ แรงขน้ึ
ประกอบโรคศลิ ปะ ในช่วงสงครามเวียดนาม (ค.ศ. ๑๙๕๕ -
๑๙๗๕) เมอื่ มกี ารตงั้ ฐานทพั ของชาตติ ะวนั ตก
ในเมืองใหญ่ของประเทศ ซึ่งท�าให้ธุรกิจ
บรกิ ารตา่ ง ๆ เฟอ่ื งฟเู ปน็ ดอกเหด็ โดยเฉพาะ
แหล่งธุรกิจบันเทิงและสถานอาบอบนวด
ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเริงรมย์ส�าหรับทหาร
ในชว่ งพกั ผอ่ นจากสนามรบ มกี ารนา� การนวด
แผนโบราณไปใช้ในสถานบริการ หมอนวด
เปน็ อาชพี ของหญงิ สาวผใู้ หบ้ รกิ ารนวด ซง่ึ มกั มี
บริการทางเพศแอบแฝงอยู่ด้วย ภาพลักษณ์
ของการนวดในสังคมไทยผูกพันกับบริการ
ทางเพศนบั แตน่ นั้ เปน็ ตน้ มา

01 ������ 13-11-61.indd 25 25

11/16/18 11:35 AM

01 ������ 13-11-61.indd 26 11/16/18 11:35 AM



01 ������ 13-11-61.indd 27 11/16/18 11:36 AM

28 11/16/18 11:36 AM

01 ������ 13-11-61.indd 28

ขบวนการฟน้ื ฟูการนวดไทย

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ องคก์ รภาคประชาสงั คม ของ “หมอนวดไทย” และ “หมอนวดพนื้ บา้ น”
ซง่ึ นา� โดยกลมุ่ ศกึ ษาปญั หายา มลู นธิ สิ าธารณสขุ ให้มีการแลกเปล่ียน เรียนรู้ รวมกลุ่มก่อต้ัง
กบั การพฒั นา มลู นธิ หิ มอชาวบา้ น และสมาคม องค์กรรับผิดชอบในการพัฒนาการนวดไทย
แพทย์แผนโบราณต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงาน ใหเ้ ป็นทย่ี อมรบั ทัง้ ทางดา้ นสังคมและกฎหมาย
ราชการที่เกี่ยวข้องได้ก่อตั้ง “โครงการฟื้นฟู ๓) พัฒนาวิชาการนวดไทย (ในระดับวิชาชีพ)
การนวดไทย” ข้ึน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีระเบียบ
๑) เผยแพร่ให้ประชาชนใช้การนวดไทยเพื่อ แบบแผน สามารถร่วมกับฝ่ายการแพทย์
บ�าบัดอาการปวดเมื่อยและส่งเสริมสุขภาพ แผนปัจจุบันในการพัฒนาระบบสาธารณสุข
ให้กับตนเองและคนใกล้ชิด ลดการใช้ยา ของชาติได้ ผลส�าเร็จท่ีเกิดข้ึนจากโครงการนี้
แก้ปวดแผนปัจจุบันที่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพ สรปุ ไดด้ งั ตอ่ ไปนี้
๒) เสริมศักยภาพ จริยธรรม และบทบาท

01 ������ 13-11-61.indd 29 29

11/16/18 11:36 AM

ลดการใชย้ าแกป้ วดเกนิ จา� เปน็ ดว้ ยนวดไทย ท่ีมีความสามารถในการฝึกสอนการนวดไทย
การด�าเนินงานในช่วงแรกของโครงการน้ี ขนั้ พนื้ ฐาน (หลกั สตู ร ๒ - ๓ วนั ) แกป่ ระชาชน
ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ รว่ มกบั การใชส้ อ่ื ตา่ ง ๆ
มุ่งไปท่ีการจัดการความรู้ด้านการนวดไทย ทง้ั หนงั สอื คมู่ อื และวดิ โี อเทป และการเผยแพร่
ใหส้ ามารถนา� ไปใชใ้ นการบา� บดั อาการปวดเมอื่ ย ทางสื่อมวลชน ท�าให้การนวดไทยได้รับ
แทนการใชย้ าแกป้ วดเกนิ จา� เปน็ ซง่ึ เปน็ สาเหตุ การยอมรบั ใหเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของงานสาธารณสขุ
ท�าให้เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานจ�านวนมาก มลู ฐานของประเทศไทย ในทศวรรษ ๒๕๓๐ -
ได้รับผลข้างเคียงจากยาจนเกิดโรคกระเพาะ ๒๕๔๐ มผี ผู้ า่ นการอบรมหลกั สตู รการนวดไทย
เป็นแผล บางรายถึงข้ันกระเพาะทะลุ ในระดบั สาธารณสขุ มลู ฐานรวมทง้ั สน้ิ ประมาณ
จากการทต่ี อ้ งใชย้ าแกป้ วดเปน็ ประจา� มกี ารรณรงค์ ๘,๐๐๐ คน ในระดับชุมชน มีชุมชน มีกลุ่ม
เผยแพรแ่ ละฝกึ อบรมการนวดไทยแกป่ ระชาชน ผู้สนใจจัดบริการนวดเพ่ือการพ่ึงตนเองของ
อยา่ งกวา้ งขวางทว่ั ประเทศ โดยมกี ารฝกึ อบรม ชมุ ชนเปน็ จา� นวนมากเชน่ กนั
หมอนวดไทยอาสาสมัครเพื่อให้เป็นวิทยากร

30

01 ������ 13-11-61.indd 30 11/16/18 11:36 AM

เสรมิ ศักยภาพหมอนวดไทยและสงั คายนา คร้ังแรกของประเทศ มีการประมวลแบบแผน
องคค์ วามรู้ วิธีการปฏิบัติตามองค์ความรู้ดั้งเดิม เพ่ือใช้
ในการสอนแกห่ มอนวดไทยรนุ่ ใหม่ มกี ารจดั ทา�
โ ค ร ง ก า ร ฟ ื ้ น ฟู ก า ร น ว ด ไ ท ย ยั ง ใ ห ้ ต�าราการนวดไทย ซ่ึงแสดงจุดนวด แนวนวด
ความสา� คญั กบั การพฒั นาความรคู้ วามสามารถ และวิธีการนวดท่ีชัดเจน โดยหมอนวดไทยผู้มี
ของหมอนวดไทย โดยจดั การฝกึ อบรมเสรมิ ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งจดั ทา� ขอ้ ตกลงจรยิ ธรรม
ด้านกายวิภาคศาสตร์ สรรี วิทยา และการตรวจ แห่งวิชาชีพการนวดไทย มีการจัดพิธีไหว้ครู
ประเมิน ซึ่งไม่มีอยู่ในหลักสูตรการเรียน เพ่ือทบทวนจริยธรรมและให้ค�าสัตย์ปฏิญาณ
แบบด้ังเดิม เพื่อให้รู้ข้อควรระวังและข้อห้าม เป็นประจ�าทุกปี ต่อมาหมอนวดไทยเหล่าน้ี
ในการนวด และรจู้ กั ใชก้ ารนวดทมี่ คี วามปลอดภยั ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายในสมาพันธ์แพทย์
ตอ่ ผปู้ ว่ ย มกี ารแลกเปลยี่ นความรปู้ ระสบการณ์ แผนไทยแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กร
และสงั คายนาความรใู้ นหมหู่ มอผมู้ ปี ระสบการณ์ ประสานงานด้านการแพทย์แผนไทยที่ก่อตั้ง
จากสา� นกั ตา่ ง ๆ โดยเฉพาะการสงั คายนาทฤษฎี โ ด ย ภ า ค ป ร ะ ช า สั ง ค ม แ ล ะ มี บ ท บ า ท
เส้นประธานสิบตามคัมภีร์ต�าราด้ังเดิมเป็น ในการเรียกร้องและผลักดันให้มีการแก้ไข
กฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับการแพทย์แผนไทย
ในเวลาต่อมา

ความตื่นตัวในการฟื้นฟูการนวดไทย
ในช่วงทศวรรษ ๒๕๓๐ ส่งผลต่อการนวดไทย
ในภูมิภาคและท้องถิ่นเช่นกัน ในภาคเหนือ
และภาคอีสาน มีการรวบรวมหมอพื้นบ้าน
เพอ่ื จดั การและสงั คายนาองคค์ วามรกู้ ารนวดไทย
ลา้ นนาและการนวดไทยอสี าน โดยผปู้ ฏบิ ตั งิ าน
ในองค์กรภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา
ในทอ้ งถ่นิ ชมุ ชนท้องถ่นิ และหน่วยงานภาครฐั
ความตื่นตัวท่ีเกิดขึ้นทั่วประเทศนี้ ท�าให้
มกี ารสง่ เสรมิ การใชก้ ารนวดไทยในทอ้ งถน่ิ ตา่ ง ๆ
อยา่ งทไ่ี มเ่ คยเกดิ ขน้ึ มากอ่ น

31

01 ������ 13-11-61.indd 31 11/16/18 11:36 AM

สรา้ งความยอมรบั ในระบบบรกิ ารสขุ ภาพ 11/16/18 11:36 AM
ในปีพ.ศ.๒๕๓๐โครงการฟน้ื ฟกู ารนวดไทย

ได้ริเริ่มขยายบทบาทของการนวดไทยในระบบ
บริการสุขภาพภาครัฐ เร่ิมจากการศึกษาวิจัย
ประสิทธิผลของการนวดไทยในการบ�าบัด
อาการปวดในโรงพยาบาลของรฐั และการวจิ ยั
เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารเพอ่ื พฒั นาการนวดไทยเขา้ สรู่ ะบบ
สุขภาพในระดับอ�าเภอ มีการพัฒนาหลักสูตร
การฝกึ อบรมครฝู กึ การนวดไทยในทอ้ งถนิ่ รว่ มกบั
โรงพยาบาลชมุ ชนหลายแหง่ ตอ่ มาครฝู กึ เหลา่ นี้
เป็นก�าลังส�าคัญในการฝึกสอนการนวดให้แก่
ชาวบ้านและเป็นหมอนวดในท้องถ่ิน บางคน
ได้ท�าหน้าท่ีเป็นผู้ให้บริการนวดในโรงพยาบาล
ชุมชน ความส�าเร็จเหล่าน้ีกระตุ้นให้เกิด
การพัฒนาผู้ให้บริการนวดไทยในระบบบริการ
สาธารณสุขของรัฐอย่างกว้างขวางมากข้ึน
ซึ่งต่อมาโครงการฟื้นฟูการนวดไทยได้พัฒนา
หลกั สตู รการนวดไทยขน้ั กลาง (หลกั สตู ร ๓ เดอื น)
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการผู้ให้บริการ
นวดไทยในโรงพยาบาล ตอ่ มาหลกั สตู รนไ้ี ดร้ บั
การพฒั นาไปเปน็ หลกั สตู รผชู้ ว่ ยแพทยแ์ ผนไทย
(๓๓๐ ช่ัวโมง) ซ่ึงรับรองโดยคณะกรรมการ
วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยตามกฎหมาย
วา่ ดว้ ยการประกอบโรคศลิ ปะและสภาการแพทย์
แผนไทยตามกฎหมายวา่ ดว้ ยวชิ าชพี การแพทย์
แผนไทยในปจั จบุ นั
32

01 ������ 13-11-61.indd 32

สรา้ งความยอมรบั ทางกฎหมาย ผู้ที่จะสามารถปฏิบัติการนวดแผนโบราณได้
การท�างานใกล้ชิดกับหมอนวดไทย โดยถูกกฎหมายต้องเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
แผนโบราณ สาขาเวชกรรมเท่าน้ัน ท�าให้
ท�าให้โครงการฟื้นฟูการนวดไทยรับรู้ปัญหา หมอนวดไทยท่ีปฏิบัติงานอยู่ตามส�านักต่าง ๆ
ในทางกฎหมายวา่ การนวดไทยไมม่ สี ถานภาพ มีสภาพเป็นหมอเถ่ือน เพราะส่วนใหญ่ไม่มี
ทางกฎหมาย เพราะถูกยกเลิกไม่มีการกล่าว ใบอนญุ าตเปน็ ผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะแผนโบราณ
ถึงอีกในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบ สาขาเวชกรรม ปญั หาสถานภาพทางกฎหมายนี้
โรคศลิ ปะ พ.ศ.๒๔๗๙ มกี ารตคี วามขอ้ กฎหมาย ทา� ใหใ้ นปีพ.ศ.๒๕๓๐ โครงการฟน้ื ฟกู ารนวดไทย
ในขณะนนั้ วา่ การนวดไทยเปน็ การนวดแผนโบราณ

33

01 ������ 13-11-61.indd 33 11/16/18 11:36 AM

ทา� หนงั สอื เรยี กรอ้ งใหก้ ระทรวงสาธารณสขุ แกไ้ ข 11/16/18 11:36 AM
กฎหมายควบคมุ การประกอบโรคศลิ ปะ โดยเพม่ิ
การนวดไทยให้เปน็ สาขาหนง่ึ ของการประกอบ
โรคศิลปะแผนไทย แต่ไม่ประสบความส�าเร็จ
ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๕๓๖ โครงการฟน้ื ฟกู ารนวดไทย
รว่ มกบั สมาพนั ธแ์ พทยแ์ ผนไทยแหง่ ประเทศไทย
ได้ท�าหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เสนอให้
แกไ้ ขรา่ งพระราชบญั ญตั กิ ารประกอบโรคศลิ ปะ
ซ่ึงอยู่ในข้ันการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ
โดยเสนอให้เปลี่ยนค�าว่า “แผนโบราณ” เป็น
“แผนไทย” และแก้ไขนิยามของการประกอบ
โรคศลิ ปะแผนไทยใหส้ ามารถนา� ความรทู้ างดา้ น
วิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบได้ รวมทั้งเสนอให้
เพม่ิ สาขาการนวดไทยในการประกอบโรคศลิ ปะ
แผนไทย ในครั้งนั้นสมาพันธ์แพทย์แผนไทย
แห่งประเทศไทยได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการ
การสาธารณสขุ สภาผแู้ ทนราษฎรจดั การสมั มนา
การแพทย์แผนไทยขึ้นท่ีรัฐสภา มีการระดม
แพทย์แผนไทยและหมอนวดไทยเข้าร่วม
การสัมมนา ๕๒๐ คน มีการตั้งคณะท�างาน
เ พ่ื อ แ ก ้ ไ ข ร ่ า ง พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ดั ง ก ล ่ า ว
ในหลายประเดน็ ตามขอ้ เรยี กรอ้ งจากการสมั มนา
แต่ความพยายามในครั้งน้ันก็ยังไม่ประสบ
ความส�าเร็จ เพราะกระทรวงสาธารณสุข
ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ
ของคณะกรรมาธกิ ารฯ
34

01 ������ 13-11-61.indd 34

การเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย ประเมินความรู้หมอนวดไทยผู้มีประสบการณ์
เพื่อให้การนวดไทยเป็นการประกอบโรคศิลปะ เพ่ือขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็น
สาขาหน่ึงของการแพทย์แผนไทยประสบความ ผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย
ส�าเร็จหลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ประเภทการนวดไทย โดยด�าเนินการรุ่นแรก
การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเปิด ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ประกอบโรคศิลปะ
โอกาสให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเภทการนวดไทยที่มาจากหมอนวดไทย
สามารถออกประกาศเพ่ิมเติมประเภทของ ผมู้ ปี ระสบการณเ์ หลา่ น้ี ตอ่ มาไดร้ บั การรบั รอง
การแพทย์แผนไทยได้ตามค�าแนะน�าของ ใหเ้ ปน็ ครผู รู้ บั มอบศษิ ย์ ซงึ่ มสี ทิ ธใิ นการถา่ ยทอด
คณะกรรมการ ภายหลังการผลักดันของ ความรู้แก่ผู้ท่ีประสงค์จะขอสอบข้ึนทะเบียน
คณะกรรมการวชิ าชพี สาขาการแพทยแ์ ผนไทย เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทการนวดไทย
ชดุ แรก ซงึ่ มเี ลขาธกิ ารสมาพนั ธแ์ พทยแ์ ผนไทย รนุ่ ใหมต่ อ่ ไป
แห่งประเทศไทยเป็นหน่ึงในกรรมการวิชาชีพ
ทมี่ าจากการเลอื กตงั้ ทา� ใหใ้ นวนั ที่ ๑ กมุ ภาพนั ธ์ การด�าเนินการเรียกร้อง ผลักดัน และ
๒๕๔๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขับเคล่ือนให้การนวดไทยมีสถานภาพทาง
(นายกร ทพั พะรงั ส)ี ลงนามในประกาศกระทรวง กฎหมายและเกิดผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา
สาธารณสุข เรื่องเพิ่มประเภทการนวดไทย การแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทยดังท่ี
ในสาขาการแพทยแ์ ผนไทย มผี ลบงั คบั ใชว้ นั ท่ี ๒๔ กล่าวมาเป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานถึง
กนั ยายน ๒๕๔๔ โดยใหน้ ยิ ามวา่ “การนวดไทย ๑๕ ปี ความส�าเร็จนี้เกิดข้ึนได้เพราะมี
หมายความว่า การตรวจประเมินการวินิจฉัย การทา� งานจดั การความรเู้ พอื่ ใหส้ ามารถนา� มาใช้
การบา� บดั การปอ้ งกนั โรค การสง่ เสรมิ และการ ประโยชน์ได้จริงในระบบสุขภาพของประเทศ
ฟื้นฟูสุขภาพด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ มกี ารพฒั นากา� ลงั คนเพอื่ รองรบั บทบาทในระบบ
การจบั การดดั การดงึ การประคบ การอบ หรอื บริการสาธารณสุข มีการพิสูจน์ประสิทธิผล
วธิ กี ารอนื่ ตามศลิ ปะการนวดไทย หรอื การใชย้ า ของการนวดไทยในเชิงประจักษ์ มีการทา� งาน
ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ด้วยกรรมวิธี เคล่ือนไหวให้เกิดความยอมรับทางสังคมผ่าน
การแพทยแ์ ผนไทย” ส่ือสารมวลชนและการท�างานร่วมกับชุมชน
และโรงพยาบาลในระดับท้องถิ่น และการมี
ภายหลงั มปี ระกาศดงั กลา่ ว คณะกรรมการ เครือข่ายท่ีท�างานขับเคล่ือนทางการเมือง
วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยได้ด�าเนินการ อยา่ งมยี ทุ ธศาสตรแ์ ละมคี วามตอ่ เนอื่ ง

35

01 ������ 13-11-61.indd 35 11/16/18 11:36 AM

การพฒั นาในภาครฐั และภาคธรุ กจิ บรกิ าร 11/16/18 11:36 AM
สขุ ภาพ

ภายหลงั ทม่ี ปี ระกาศกระทรวงสาธารณสขุ
เรอ่ื งเพม่ิ ประเภทการนวดไทยในสาขาการแพทย์
แผนไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ภาครฐั มคี วามตนื่ ตวั
ท่ีจะส่งเสริมการนวดไทยในสองทิศทางคือ
การส่งเสริมการบริการนวดไทยในโรงพยาบาล
ของรัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และการสง่ เสรมิ การนวดในธรุ กจิ บรกิ ารสขุ ภาพ
ดงั นี้
การบรกิ ารนวดไทย
ในระบบหลกั ประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติ

นับต้ังแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา
การบรกิ ารนวดไทยไดร้ บั การสง่ เสรมิ อยา่ งจรงิ จงั
ในระบบหลกั ประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติซงึ่ ครอบคลมุ
ร้อยละ ๗๕ ของประชากรในประเทศ โดยมี
พฒั นาการทนี่ า่ สนใจ ดงั นี้

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สา� นกั งานหลกั ประกนั
สขุ ภาพแหง่ ชาติ (สปสช.) ได้เรม่ิ พฒั นาการให้
บรกิ ารการแพทยแ์ ผนไทยในระบบหลกั ประกนั
สุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากเห็นว่าจะท�าให้
ประชาชนมที างเลอื กมากขน้ึ ในการบา� บดั รกั ษา
และสอดคลอ้ งกบั นโยบายของรฐั บาลทจ่ี ะฟน้ื ฟู
พฒั นาการแพทยแ์ ผนไทยใหม้ บี ทบาทในระบบ
บริการสาธารณสุขของประเทศ ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการหลกั ประกนั สขุ ภาพ
แห่งชาติมีมติเห็นชอบในหลักการในการจัด
36

01 ������ 13-11-61.indd 36

บรกิ ารการแพทยแ์ ผนไทยในระบบหลกั ประกนั ประกนั คณุ ภาพบรกิ ารโดยพฒั นา“แนวเวชปฏบิ ตั ิ
สุขภาพถ้วนหน้า โดยเน้นการนวดไทยเพื่อ ด้านการนวดไทยเพ่ือฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์
การรักษาและฟื้นฟูสภาพ จากมติดังกล่าว อมั พาต” และ “แนวเวชปฏบิ ตั ดิ า้ นการนวดไทย
ส� า นั ก ง า น ห ลั ก ป ร ะ กั น สุ ข ภ า พ แ ห ่ ง ช า ติ เพื่อลดอาการปวด” รวมทั้งพัฒนามาตรฐาน
ไ ด ้ ด� า เ นิ น ก า ร ป รั บ ร า ค า ก า ร บ ริ ก า ร ด ้ า น สถานบริการการแพทย์แผนไทยท่ีเข้าร่วม
การนวดไทยให้สอดคล้องกับต้นทุนการบริการ ในการบรกิ าร
และพฒั นามาตรฐานการใหบ้ รกิ ารและมาตรฐาน
หน่วยบริการการแพทย์แผนไทย รวมถึงระบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหน่วยบริการท่ีให้
บริการการนวดไทยในโรงพยาบาลทุกระดับ

37

01 ������ 13-11-61.indd 37 11/16/18 11:36 AM

ท้ังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลท่ัวไป สถาบันหรือสถานพยาบาลที่คณะกรรมการ
โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริม วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยให้การรับรอง
สขุ ภาพตา� บล รวมทงั้ สนิ้ ประมาณ ๑,๒๐๐ แหง่ โดยอยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยมผี ใู้ หบ้ รกิ ารเปน็ ผปู้ ระกอบวชิ าชพี การแพทย์ การแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพ
แผนไทย ผปู้ ระกอบวชิ าชพี การแพทยแ์ ผนไทย การแพทยแ์ ผนไทยประยกุ ต์
ประยกุ ต์ หรอื เปน็ ผชู้ ว่ ยแพทยแ์ ผนไทยซง่ึ ผา่ น
การอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยจาก ต่อมา สปสช. ได้พัฒนาแนวทาง
การสนับสนุนโดยจัดต้ังเป็น “กองทุนพัฒนา

38

01 ������ 13-11-61.indd 38 11/16/18 11:36 AM

ระบบการแพทยแ์ ผนไทย” ขนึ้ กองทนุ นม้ี วี งเงนิ หนว่ ยบรกิ ารและบรกิ ารเชงิ รกุ ในชมุ ชน บรกิ าร
งบประมาณ ๒๘๗ ลา้ นบาท ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์
และเพมิ่ เปน็ ๕๒๕ ลา้ นบาท ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ แผนไทย (นวด อบ ประคบ ทบั หมอ้ เกลอื แนะนา�
โดยสิทธิประโยชน์ในการรับบริการการแพทย์ การดูแลหลังคลอด) และการสั่งจ่ายยาจาก
แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สมนุ ไพรในบญั ชยี าหลกั แหง่ ชาติ
ครอบคลมุ ถงึ บรกิ ารนวด ประคบ อบสมนุ ไพร
เพื่อการรักษาและฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วยใน การจดั บรกิ ารการแพทยแ์ ผนไทยในระบบ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการขยายตัว
อย่างมาก ผู้รับบริการการนวดไทยมีจ�านวน
เพมิ่ ขนึ้ จาก ๓๑๓,๓๕๒ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็น ๑,๒๘๒,๑๗๐ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
หรือเพ่ิมขึ้นประมาณ ๔ เท่า รายงานของ
ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๙ พบว่ามีหน่วยบริการสาธารณสุข
ของรัฐให้บริการด้านการนวดไทยและประคบ
สมุนไพร จ�านวน ๖,๒๗๒ แห่ง มีประชาชน
มาใชบ้ รกิ าร จา� นวน ๑,๘๕๗,๔๓๐ คน คดิ เปน็
จ�านวนครั้งที่ใช้บริการ ๔,๖๔๘,๙๔๔ ครั้ง
(ยงศกั ด,ิ์ ๒๕๕๙)

ความส�าเร็จในการส่งเสริมการบริการ
นวดไทยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ส ่ ว น ห น่ึ ง เ ป ็ น เ พ ร า ะ ผู ้ ท่ี มี ส ่ ว น ส� า คั ญ ใ น
การผลกั ดนั โครงการน้ี คอื ผบู้ รหิ ารของ สปสช.
ซงึ่ เปน็ ผทู้ เี่ คยเขา้ รว่ มในโครงการวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ตั ิ
การเพื่อพัฒนาการนวดไทยเข้าสู่ระบบสุขภาพ
ในระดับอ�าเภอซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง
โครงการฟน้ื ฟกู ารนวดไทยกบั โรงพยาบาลชมุ ชน
บางแหง่ ในยคุ ทศวรรษ ๒๕๓๐

39

01 ������ 13-11-61.indd 39 11/16/18 11:36 AM

บรกิ ารนวดในธรุ กจิ บรกิ ารสขุ ภาพ อุปสรรคต่าง ๆ และส่งเสริมพัฒนาการส่งออก
จากการทธี่ รุ กจิ นวดแผนโบราณไทยไดร้ บั ธรุ กจิ นวดแผนไทย

การประเมินว่าเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีศักยภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีประกาศ
และได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศ ในปี กระทรวงสาธารณสขุ เรอื่ ง กา� หนดสถานทเี่ พอื่
พ.ศ. ๒๕๔๒ ทปี่ ระชมุ คณะรฐั มนตรดี า้ นเศรษฐกจิ สขุ ภาพหรอื เพอื่ เสรมิ สวย มาตรฐานของสถานที่
จึงเห็นชอบให้มีการเร่งรัดการส่งออกธุรกิจ การบริการ ผใู้ ห้บรกิ าร หลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการ
บริการท่ีมีศักยภาพเพ่ือน�ารายได้เข้าสู่ประเทศ ตรวจสอบ เพอ่ื การรบั รองใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐาน
โดยกรมส่งเสริมการส่งออกได้ตั้งคณะท�างาน ส�าหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพ่ือเสริมสวย
ธรุ กจิ นวดแผนไทยขน้ึ มาชดุ หนง่ึ เพอ่ื แกไ้ ขปญั หา ตามพระราชบญั ญตั สิ ถานบรกิ าร พ.ศ. ๒๕๐๙

40

01 ������ 13-11-61.indd 40 11/16/18 11:36 AM

01 ������ 13-11-61.indd 41 (แกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ฉบบั ที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๖) ซงึ่ ตอ่ มา
มีการยกเลิกและออกประกาศฉบับใหม่ ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศฉบบั นก้ี า� หนดใหม้ ี “กจิ การ
นวดเพอื่ สขุ ภาพ” ซง่ึ หมายความถงึ การประกอบ
กิจการนวด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ
ผอ่ นคลายกลา้ มเนอื้ ความเมอื่ ยลา้ ความเครยี ด
ดว้ ยวธิ กี ารกด การคลงึ การบบี การจบั การดดั
การดงึ การประคบ การอบ หรอื โดยวธิ กี ารอน่ื ใด
ตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพ่ือสุขภาพ
ทงั้ นตี้ อ้ งไมม่ สี ถานทอี่ าบนา�้ โดยมผี ใู้ หบ้ รกิ าร

การปรากฏข้ึนของการนวดเพ่ือสุขภาพ
เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน
สาขาอาชพี พนกั งานนวดไทย ซง่ึ เปน็ ความรว่ มมอื
ระหว่างกระทรวงแรงงานและกระทรวง
สาธารณสุข มีรูปธรรมที่เกิดขึ้นคือ มีประกาศ
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
เร่ือง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา
อาชพี พนกั งานนวดไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ ซงึ่ กา� หนด
มาตรฐานเปน็ ๓ ระดบั คอื ระดบั ๑ เปน็ ผมู้ ี
ความรู้ความสามารถในการนวดไทยเพ่ือ
ผอ่ นคลาย ระดบั ๒ เปน็ ผมู้ คี วามรคู้ วามสามารถ
ในการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย บรรเทาอาการ
ปวดเมื่อยทั่วไปได้อย่างน้อย ๑๐ อาการ
ระดับ ๓ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการ
นวดไทยเพอ่ื ผอ่ นคลาย บรรเทาอาการปวดเมอื่ ย
ทวั่ ไป สามารถวนิ จิ ฉยั บา� บดั รกั ษาโรคตามทฤษฎี
การแพทยแ์ ผนไทย (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๕๕๒)

41

11/16/18 11:36 AM

ส่วนกระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนา ข้อมูลของส�านักงานส่งเสริมธุรกิจบริการ
มาตรฐานแรงงานด้านการนวดไทย โดยการ กรมส่งเสริมการส่งออกพบว่า จ�านวนสถาน
พัฒนาหลักสูตรด้านการนวดไทยและธุรกิจ ประกอบการสปา จ�าแนกตามลักษณะการให้
สุขภาพ จัดท�าเป็นหลักสูตรกลาง จ�านวน บริการ ณ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มีกิจการนวด
๖ หลักสูตร ท่ีเก่ียวข้องกับการนวดไทยและ เพอื่ สขุ ภาพทงั้ สนิ้ ๙๒๕ แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๖๔
การแพทยแ์ ผนไทยมี ๓ หลกั สตู ร คอื หลกั สตู ร ของกิจการสปาและบริการสุขภาพท้ังหมด
นวดไทยเพื่อสุขภาพ ๘๐ ชั่วโมง หลักสูตร แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความเฟอ่ื งฟขู องธรุ กจิ บรกิ ารนวด
นวดไทยเพอื่ สขุ ภาพ ๑๕๐ ชวั่ โมง และหลกั สตู ร เพื่อสุขภาพ หลังจากท่ีได้รับการส่งเสริมจาก
การดแู ลสขุ ภาพและความงามของสตรเี รือนไฟ ภาครฐั อยา่ งเตม็ ที่
๑๕๐ ชวั่ โมง

42

01 ������ 13-11-61.indd 42 11/16/18 11:36 AM

01 ������ 13-11-61.indd 43 ในชว่ ง พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๗ ภาครฐั ยงั คง
มงุ่ สง่ เสรมิ ให้ “นวดแผนไทยกา้ วสเู่ ศรษฐกจิ ใหม”่
โดยใหค้ วามสนใจกบั กลมุ่ เปา้ หมายใหมเ่ พม่ิ ขน้ึ
อนั ไดแ้ ก่ ตลาดนกั ทอ่ งเทย่ี วคณุ ภาพระดบั บนทมี่ ี
กา� ลงั ซอื้ สงู เหน็ ไดจ้ ากในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ รฐั บาล
มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็น “ศูนย์กลาง
สขุ ภาพของเอเชยี ” มกี ารจดั ทา� แผนยทุ ธศาสตร์
การพฒั นาใหป้ ระเทศไทยเปน็ ศนู ยก์ ลางสขุ ภาพ
นานาชาติ ฉบับท่ี ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๑)
และตอ่ มาไดผ้ ลกั ดนั แผนยทุ ธศาสตรฯ์ ฉบบั ที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๗) โดยก�าหนดให้บริการ
แพทยแ์ ผนไทยและการแพทยท์ างเลอื ก รวมถงึ
บริการส่งเสริมสุขภาพ ซ่ึงมีการนวดแผนไทย
รวมอยู่ เปน็ แหลง่ นา� รายไดห้ ลกั เขา้ สปู่ ระเทศ

การสง่ เสรมิ สถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพ
มคี วามชดั เจนยง่ิ ขน้ึ เมอื่ มกี ารตราพระราชบญั ญตั ิ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
พระราชบญั ญตั ฉิ บบั นกี้ า� หนดใหก้ จิ การนวดเพอ่ื
สุขภาพหรือเพื่อการเสริมสวยเป็นบริการหนึ่ง
ของสถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพ ซง่ึ ตอ้ งขอรบั
อนุญาตด�าเนินกิจการกับกรมสนับสนุนบริการ
สขุ ภาพ และกา� หนดคณุ สมบตั ปิ ระการหนง่ึ ของ
ผใู้ หบ้ รกิ ารวา่ ไดร้ บั วฒุ บิ ตั รหรอื ประกาศนยี บตั ร
ด้านการบริการเพื่อสุขภาพที่ได้รับการรับรอง
จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซ่ึงจะก�าหนด
ในกฎกระทรวงตอ่ ไป

43

11/16/18 11:37 AM

01 ������ 13-11-61.indd 44 11/16/18 11:37 AM



01 ������ 13-11-61.indd 45 11/16/18 11:37 AM

01 ������ 13-11-61.indd 46 11/16/18 11:37 AM

รากฐานความเช่อื จรยิ ธรรม และความรู้

รากฐานความเช่อื และจริยธรรม สมั มาสมั พทุ ธเจา้ รวมถงึ พระมหาเถระ และฤๅษี
การนวดไทยเปน็ สาขาหนงึ่ ของการบา� บดั หลายตน ทา่ นเหลา่ นเ้ี ปน็ ผปู้ ระสทิ ธป์ิ ระสาทวชิ า
คน้ พบสรรพคณุ ของวา่ นยาตา่ ง ๆ รวมทง้ั รจนา
เยยี วยาของการแพทยแ์ ผนไทยซง่ึ เปน็ การแพทย์ คัมภีร์เพื่อเป็นหลักในการเรียนรู้และปฏิบัติ
ด้ังเดิมของชนชาติไทย ครูบาอาจารย์แพทย์ สบื ตอ่ กนั มา จงึ ถอื วา่ เปน็ บรู พาจารยห์ รอื ตน้ ธาร
แผนไทยไดถ้ า่ ยทอดสบื ตอ่ กนั มาวา่ การแพทย์ แหง่ ความรขู้ องการแพทยแ์ ผนไทย
แผนไทยสืบทอดมาจากบรมครูชีวกโกมารภัจ
จ์ ซ่ึงเป็นแพทย์ประจ�าพระองค์สมเด็จพระ

01 ������ 13-11-61.indd 47 47

11/16/18 11:37 AM

จากการสืบค้นในคัมภีร์ต�าราการแพทย์ พระอาจารยฤ์ ๅษตี า่ ง ๆ ไดแ้ ก่ พระฤๅษอี มรสทิ ธดิ าบส
แ ผ น ไ ท ย ท่ี เ ป ็ น ท่ี ย อ ม รั บ ใ น ป ั จ จุ บั น พ บ ว ่ า พระฤๅษนี ารอด พระฤๅษสี ชั นาลยั พระฤๅษตี าววั
ในพระคมั ภรี ป์ ฐมจนิ ดา (พษิ ณปุ ระสาทเวช, ๒๔๕๑: พระฤๅษีตาไฟ พระฤๅษีกัศยะปะ พระฤๅษีสิงขะ
๘๕) ไดก้ ลา่ วถงึ พระมหาเถระผมู้ สี มญาวา่ ตา� แย พระฤๅษีประลัยโกฏ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ซึ่งแต่ง
ซง่ึ พระอาจารยช์ วี กโกมารภจั จไ์ ดส้ ดบั ความรเู้ กยี่ วกบั โดยพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร
ลักษณะครรภ์วาระก�าเนิด แล้วน�ามาร้อยกรอง ในสมัยรัชกาลท่ี ๑ เริ่มต้นคัมภีร์ด้วยการบูชา
เรยี บเรยี งเปน็ เนอ้ื หาสว่ นหนง่ึ ในพระคมั ภรี ป์ ฐมจนิ ดา พระรตั นตรยั สงิ่ ศกั ดสิ์ ทิ ธแิ์ ละครบู าอาจารยแ์ พทย์
(ช่ือของพระมหาเถรต�าแยน้ีเองท่ีท�าให้ต่อมา (พษิ ณปุ ระสาทเวช, ๒๔๕๑: ๓) เชน่ เดยี วกบั ทพี่ บ
ภายหลงั ผคู้ นมกั เรยี กหมอทที่ า� คลอดวา่ หมอตา� แย) ในค�ากล่าวไหว้ครูแพทย์แผนไทย การกล่าวถึงนี้
ในค�ากล่าวไหว้ครูของแพทย์แผนไทย (สมาคม มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ระลกึ ถงึ พระคณุ ของพระรตั นตรยั
แพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย, ๒๕๑๐) ส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ และครูบาอาจารย์ ก่อนจะท�ากิจ
มกั อาราธนาพระมหาเถรตา� แยมาเปน็ ประธานในพธิ ี ต่าง ๆ เพื่ออ�านวยอวยชัยให้ประสบความส�าเร็จ
พรอ้ มดว้ ยพระอาจารยโ์ รคามฤตนิ ทร์ พระอาจารย์ ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปนี้
ฤทธิยาธร พระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ และ

48

01 ������ 13-11-61.indd 48 11/16/18 11:37 AM

ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ
อน่ึงข้าอัญชลี พระฤๅษี ผู้ทรงญาณ แปดองค์เธอมีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา
ไหวค้ ณุ อศิ วเรศ ทงั้ พรหมเมศ ทกุ ชน้ั ฟา้ สาปสรรค์ ซง่ึ หวา้ นยา ประทานทว่ั โลก
ธาตรี ไหวค้ รกู มุ ารภจั ผเู้ จนจดั ในคมั ภรี ์ เวชศาสตรบรรดา มใี หท้ านทว่ั แกน่ รชน
ไหวค้ รผู สู้ งั่ สอน แตป่ างกอ่ นเจรญิ ผล ลว่ งลนุ พิ พานดล สาํ เรจ็ กจิ ประสทิ ธพิ์ ร

(พษิ ณปุ ระสาทเวช, ๒๔๕๑: ๓)

คาํ ถวายอญั เชญิ ผศู้ กั ดสิ์ ทิ ธิ์
ขา้ พเจา้ (ออกนามผปู้ ระกอบพธิ )ี ขอประณตศริ ะนอ้ มพรอ้ มดว้ ยกายวาจาใจ
ระลึกสักการะ พระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า
คณุ พระสงั ฆเจา้ ปน่ิ เกลา้ แหง่ ไตรสรณคม คณุ ทา้ วพกาพรหม ทา้ วทกั ษาประชาบดี
เทวะเมธแี พทยอ์ ศั วนิ องคเ์ ทพบดนิ ทรอ์ ศิ วรสทิ ธศิ กั ดิ์ ทวยเทพารกั ษท์ กุ สถาน
คุณพระอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณท่านบิดามารดา และผู้มีอุปการะคุณอนันต์
ขอเชิญมาชุมนุมโดยญาณจิต เพ่ือสถิตย์เป็นองค์สักขีพยาน ในพิธีการเคารพ
แพทยอ์ าจารยไ์ ทย ตามนยั จารตี โบราณ ณ กาลบดั นี้

คาํ ถวายอาราธนาพระอาจารยเ์ จา้
ขา้ พเจา้ ขออาราธนาพระอาจารยเ์ จา้ อนั มที า่ นมหาเถรตาํ แย จงมาเปน็
ประธาน พร้อมด้วย พระอาจารย์ฤทธิยาธร พระอาจารย์ฤๅษีอมรสิทธิดาบส
พระฤๅษนี ารต พระฤๅษสี ชั นาลยั พระฤๅษตี าววั พระฤๅษตี าไฟ พระฤๅษกี ศั ยปะ
พระฤๅษสี งิ ขะ พระฤๅษปี ระลยั โกฏ พระอาจารยโ์ รคามฤตนิ ทร์ พระอาจารย์
ชวี ะกะโกมารภจั จ์ อาจารย.์ ....(ออกนามอาจารยโ์ ดยตรงของทา่ น) และอาจารย์
ทางแพทยศ์ าสตรท์ กุ สาขา ขออาราธนามารบั สงั เวยกระยาบวช อนั มเี ครอื่ งหอม
จุลจันทน์ บายศรี ภัตตะพลี พฤกษะพลาหาร ขอน้อมถวายอาจารย์ทุกทิศา
ซง่ึ ประสทิ ธเ์ิ วชศาสตรว์ ทิ ยา ขา้ พเจา้ จาํ นงเจตนา จกั สกั การะบชู าเปน็ ประจาํ
ทกุ ปี อนั เปน็ คารวะเวชพธิ ี ตามประเพณขี องแพทยไ์ ทยแตโ่ บราณกาล
(สมาคมแพทยแ์ ผนโบราณแหง่ ประเทศไทย, ๒๕๑๐: ช - ซ)

01 ������ 13-11-61.indd 49 49

11/16/18 11:37 AM

นอกจากนี้ ยังพบว่าในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ การแพทยแ์ ผนไทยและการนวดไทยดว้ ย ทส่ี า� คญั
สว่ นทวี่ า่ ดว้ ยจรรยาแพทย์ ตา� ราเวชศกึ ษาในหวั ขอ้ คอื ๑) หลกั ทฤษฎธี าตุ ซงึ่ เปน็ หลกั ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั
“แพทยาลังการ ว่าด้วยคุณธรรมอันเป็นเครื่อง ธาตุซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่ง
ประดบั ของหมอ” และพระคมั ภรี ว์ รโยคสาร สว่ นที่ โดยในส่ิงมีชีวิตปรากฏอยู่ในมหาภูตรูป อันได้แก่
เกยี่ วกบั คณุ สมบตั ขิ องแพทยท์ ดี่ แี ละจรรยาแพทย์ ปถวี (ธาตดุ นิ ) อาโป (ธาตนุ า�้ ) เตโช (ธาตไุ ฟ) วาโย
ไดก้ ลา่ วถงึ คณุ ธรรมตา่ ง ๆ ทผี่ เู้ ปน็ แพทยพ์ งึ ยดึ ถอื (ธาตลุ ม) ๒) หลกั ไตรลกั ษณ์ คอื หลกั ความจรงิ ของ
และความประพฤติท่ีควรงดเว้น เพราะจะน�ามา สรรพส่ิงที่มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ อนิจจัง
ซึ่งความเสื่อมเสีย คุณธรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ คอื ไมเ่ ทยี่ ง เปลยี่ นแปลงอยตู่ ลอดเวลา ทกุ ขงั คอื
เป็นข้อธรรมค�าสอนในพุทธศาสนา ที่ส�าคัญคือ ทนอยไู่ ดย้ าก อนตั ตา คอื ไมใ่ ชต่ วั ไมใ่ ชต่ น ๓) หลกั
อกุศลเจตสิก ๑๔ ประการ ตามที่กล่าวไว้ใน อทิ ปั ปจั จยตา คอื หลกั ความจรงิ วา่ ดว้ ยการเกดิ ขนึ้
พระอภธิ รรมปฎิ ก (ยงศกั ดแิ์ ละรวงทพิ ย,์ ๒๕๖๐) และตั้งอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย
หนนุ เนอื่ งใหเ้ กดิ ขน้ึ ความรแู้ ละหลกั ธรรมเหลา่ นี้
พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นรากฐาน เป็นรากฐานของทฤษฎีการแพทย์แผนไทยและ
ทางความเชอื่ และใหห้ ลกั ธรรมเพอื่ เปน็ กรอบของ การนวดไทย
ความประพฤตอิ นั ดงี ามของแพทยแ์ ลว้ ยงั ใหค้ วามรู้
และหลักธรรมที่เป็นรากฐานขององค์ความรู้

50

01 ������ 13-11-61.indd 50 11/16/18 11:37 AM


Click to View FlipBook Version