The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sonthaya, 2024-04-22 09:13:00

Ebook 2_เมษายน

Ebook 2_เมษายน

Research & Report in Health Sciences Publication of Research & Report Publication: www.BCNNV.ac.th


วิทวิยาลัยลัพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตรัน์วน์ชิรชิะ และ๖๘๑ ถนนรามอินอิทรา กม. ๑๒ เขตคัโทรศัพศัท์ ๐๒-๕๔๐-๖๕วิทวิยาลัยลัพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตรัน์วน์ชิรชิะ และสมาบทความทางวิชวิาการ ผ่าผ่นเว้บว้ ไซต์วิต์ทวิยาลัยลัพยาบาลบ(Open Access) มีวัมีตวัถุประสงค์เค์พื่อ พื่ เผยแพร่ผร่ลงานทางวิชวิาการเกี่ย กี่ วกับสาขาวิทวิยาศาสตร์สุร์สุขภาพ เพื่อ พื่ แลกเปลี่ย ลี่ นองค์คค์วามรู้บทความที่ไที่ ด้รัด้บรัการเผยแพร่จร่ะต้อต้งผ่าผ่นการประเมินมิแเมื่อ มื่ ผู้เผู้ขียขีนได้กด้ารแก้ไก้ขตามคำ แนะนำ ของผู้ทผู้ รงคุณคุวุฒิวุระยะเวลา ผู้เผู้ขียขีนจะได้รัด้บรัหนังนัสือรับรัรองการเผยแพร่จร่ากวิทวิยาลัยลัBCNNV RESEARCH& Rเกี่ยวกับ publications หนังสือรับรัรองเว็ปว็


สมาคมศิษศิย์เย์ก่าก่พยาบาลและผดุงดุครรภ์นภ์พรัตรัน์วน์ชิรชิะ คันคันายาว กรุงรุเทพฯ ๑๐๒๓๐ ๕๐๐ ต่อต่๒๔๕๓ าคมศิษศิย์เย์ก่าก่พยาบาลและผดุงดุครรภ์ นพรัตรัน์วน์ชิรชิะ ได้จัด้ดจั ให้มีห้กมีารเผยแพร่ รมราชชนนี นพรัตรัน์วน์ชิรชิะ (www.bcnnv.ac.th) ที่ส ที่ ามารถเข้าข้ถึงแบบเปิดปิ บการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข หรือรืสาขาอื่น อื่ ๆที่เ ที่ กี่ย กี่ วข้อข้งกับกั รู้ และเพื่อ พื่ ส่งเสริมริความก้าก้วหน้าน้ทางวิชวิาชีพชี ละรับรัรองคุณคุภาพโดยผู้ทผู้ รงคุณคุวุฒิวุฒิ(Peer reviewer) ในสาขาที่เ ที่ กี่ย กี่ วข้อข้ง ฒิเฒิรียรีบร้อร้ยแล้วล้สามารถเผยแพร่ผ่ร่าผ่น website ได้ทัด้นทัทีโทีดยไม่ต้ม่อต้งรอรอบ ยลัฯ หลังลัการเผยแพร่เร่สร็จร็สิ้น REPORT PUBLICATION ป ไซต์ คำ แนะนำ สำ หรับรัผู้เขียน/ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ร์


BCNNV RESEARCH &เกี่ยกี่เจ้า จ้ ของ: วิทวิยาลัยลัพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตรัน์ว น์ ชิรชิะ และติดติต่อ ต่ : ๖๘๑ ถนนรามอินอิทรา กม. ๑๒ เขตคันคันายาว กรุง รุ เทพฯบรรณาธิกธิาร: ดร.สนธยา มณีรั ณี ตรัน์ email: [email protected] โทรศัพศัท์/ท์ Line ID ๐๘-๑๗ผู้ช่ว ช่ ยบรรณาธิกธิาร: ดร.นิตติยติา น้อยศรีภู รีมิ ภู ที่ปที่ รึก รึ ษา: ผศ.ดร.อติญติา ศรเกษตรรินริทร์ รองคณบดีค ดี ณะพยดร. สุชีว ชี า วิชัวิยชักุล กุ ผู้อำ นวยการวิทวิยาลัยลัพยาบ


& REPORT PUBLICATION ย วกับ กั ะสมาคมศิษศิย์เ ย์ ก่า ก่ พยาบาล และผดุง ดุ ครรภ์น ภ์ พรัตรัน์ว น์ ชิรชิะ ฯ ๑๐๒๓๐ โทรศัพศัท์ ๐๒-๕๔๐-๖๕๐๐ ต่อ ต่ ๒๔๕๘ ๑-๙๕๔๐๔ ยาบาลศาสตร์ สถาบันบัพระบรมราชชนก บาลบรมราชชนนี นพรัตรัน์วชิรชิะ


1 คําแนะนําสำหรับผู้เขียน Focus and Scope BCNNV Research & Report Publication การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านเว้บไซต์ (Open Access) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาลและสาธารณสุข สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทาง วิชาการและวิชาชีพ ต้นฉบับที่รับพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของวารสารฉบับอื่น บทความที่เผยแพร่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง Peer Review Process การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านเว้บไซต์ (Open Access) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ มี กระบวนการตรวจคุณภาพสอบของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดย กระบวนการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ โดยที่ผู้พิจารณาบทความ (Peer - review) จะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและ ผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาเช่นกัน (Double blind) และบทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏใน BCNNV Research & Report Publication ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป เกณฑ์การพิจารณาผลงานเพื่อลงเผยแพร่ ขั้นตอนการพิจารณา 1. บทความจะได้รับการพิจารณาเบื้องต้น ยืนยันการได้รับบทความโดยกองบรรณาธิการภายใน 1 สัปดาห์ นับจาก วันที่ส่งข้อมูลเข้า email: [email protected] (หากไม่ได้รับการยืนยันภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่ส่งผลงาน กรุณาติดต่อกองบรรณาธิการเพื่อตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการส่งผลงาน) 2. หลังจากผ่านการพิจารณาเบื้องต้น กองบรรณาธิการจะนำบทความส่ง ให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาเนื้อหาและ ตรวจสอบคุณภาพทางวิชาการภายใน 1 สัปดาห์ 3. กองบรรณาธิการจะส่งบทความพร้อมข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ ของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งบทความกลับไปยังกองบรรณาธิการอีกครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์


2 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เขียน 1. จัดเตรียมต้นฉบับให้มีความถูกต้องเป็นไปตามคำแนะนำและรูปแบบที่กำหนด ซึ่งถือเป็นการยอมรับใน ข้อกำหนดและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพอื่น ๆ โดยทั่วไปตามความเหมาะสม 2. รับผิดชอบต่อการทำให้ผลงานวิชาการของตนที่ลงเผยแพร่ เป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับมาตรฐานทาง จริยธรรมและคุณภาพทางวิชาการ ทั้งในเชิงจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 3. มีหน้าที่รับผิดชอบต่อข้อมูล ข้อค้นพบ และข้อคิดเห็นทางวิชาการใด ๆ ที่ปรากฏในผลงานที่เผยแพร่แล้ว เป็น ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนภายใต้บริบทจำกัดของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ของตนแต่เพียงผู้เดียว กอง บรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยต่อข้อคิดเห็นดังกล่าว การเผยแพร่ ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาที่: www.bcnnv.ac.th Contact ดร.สนธยา มณีรัตน์ บรรณาธิการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 โทร 0817195404 email: [email protected] ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อติญาณ์ ศรเกษตริน คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ดร.สุชีวา วิชัยกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ นายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ


3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 1. ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2. ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ นายกสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 3. ดร.พรทิพย์ สุขดิศัย นักวิชาการอิสระ 4. อาจารย์พรรณภา เรืองกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 5. ดร.นิตติยา น้อยศรีภูมิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 6. นางเปรมฤดี ทิพย์ชิต โรงพยาบาลศูนย์มะเร็งสุราษฎร์ธานี 7. นางอรพินทร์ วาณิชย์เจริญ โรงพยาบาลเกาะสมุย 8. นางสาวสุมล มันทะกะ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี 9. ผศ. ดร.รุ่งนภา จันทรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 1.0 ดร.ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 11. ดร. กุลธิดา พานิชกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพฯ 12. ดร.ปัทมา บุญช่วยเหลือ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เอกสารที่จะต้องนำส่ง 1. ต้นฉบับบทความ ไฟล์เวิร์ด ตามแบบฟอร์ม 2. สำเนารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (กรณีผลงานวิจัย) หรือ หนังสือ อนุมัติการดำเนินการศึกษาผู้ป่วย (กรณีศึกษา) 3. แบบฟอร์มการเผยแพร่เอกสาร (ไฟล์ Pdf หรือ ไฟล์ภาพ) 4. ส่งเอกสารทั้งหมด มาที่ [email protected] ติดต่อ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถนนรามอินทรา กม 12 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม 10230 โทรศัพท์ 02-540-6500 ต่อ 2453 Email: [email protected], Website: www.bcnnv.ac.th https://rrp.bcnnv.ac.th/


4


1 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH คําแนะนําการส่งบทความเพื่อเผยแพร่ออนไลน์แบบ Open Access ผ่านเว็บไซต์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ (BCNNV Research & Report Publication) กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ และสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลและผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ ขอเชิญบุคลากรด้านสุขภาพ และ ผู้สนใจที่ต้องการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เตรียมพร้อมพัฒนาผลงานทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สงบทความวิจัย บทความทางวิชาการ และรายงานกรณีศึกษาด้านการ พยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาและดานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของในสาขาวิทยาศาสตรสุขภาพเพื่อเผยแพร่ ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ แบบเปิด (Open Access) ผู้อ่าน สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผลงานจะเผยแพร่ได้ทันทีเมื่อกระบวนการตรวจประเมินคุณภาพโดยกอง บรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรอง ทั้งนี้ผลงานที่สงมาใหพิจารณาเพื่อเผยแพร่ต้องไมเคยตีพิมพ หรืออยูในระหวางพิจารณาตีพิมพในวารสารอื่น โดยกองบรรณาธิการฯขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและ แก้ไขต้นฉบับ ประเภทของผลงานทางวิชาการที่รับ 1. รายงานการวิจัย 2. บทความวิชาการ/บทวิเคราะห์ วิจารณ์ 3. รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน หลักเกณฑ์ในการเผยแพร่ 1. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน 2. ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารอื่น 3. เนื้อหาในต้นฉบับควรเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้นโดยผู้เขียนเองไม่ได้ลอกเลียนหรือ ตัด ทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ ปราศจากการอ้างอิงที่ เหมาะสม 4. ผู้เขียนต้องเขียนต้นฉบับตามรูปแบบของต้นฉบับตามข้อกําหนดในระเบียบการส่งต้นฉบับ 5.ผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามข้อเสนอแนะของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) แล้ว 6. กองบรรณาธิการได้ทําการตรวจสอบความถูกต้องก่อนเผยแพร่ 7. ผู้เขียนจะได้รับหนังสือรับรองการเผยแพร่เมื่อการเผยแพร่เสร็จสิ้น


2 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH 8. ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดบทความที่เผยแพร่ และหนังสือรับรองเว้บไซต์ ได้ที่ www.bcvnv.ac.th 9. ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในความถูกต้องของเนื้อความและข้อมูลที่ส่งเผยแพร่ รวมถึงรายการ อ้างอิงที่ใช้ กระบวนการเผยแพร่ มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication ประกาศรับต้นฉบับ 2. ผู้เขียนดาวโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนด 3. ผู้เขียนส่งบทความตามรูปแบบที่กำหนด แนบแบบฟอร์มการขอเผยแพร่ และสำเนาเอกสาร รับรองจริยธรรมการวิจัย (กรณีเป็นบทความวิจัย) หรือบันทึกข้อความการได้รับอนุญาตให้ศึกษาผู้ป่วยราย กรณี (กรณีเป็นรายงานกรณีศึกษา) ส่งไฟล์ข้อมูลมาที่ email: [email protected] (แนบไฟล์ wordเฉพาะ บทความ) 4. กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication ตรวจสอบความสมบูรณ์และ ถูกต้องของต้นฉบับ และแจ้งให้ผู้เขียนโอนค่าธรรมเนียมเผยแพร่ 5. กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication จัดส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อ่าน ประเมินต้นฉบับ จํานวน 2 ท่านต่อต้นฉบับ 6. กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication จัดส่งต้นฉบับให้ผู้เขียนแก้ไข ปรับปรุงตามผลการอ่านประเมิน ของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) 7. กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication ตรวจสอบความถูกต้อง และ ดำเนินการเผยแพร่ผ่านเว้บไซต์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ และส่งหนังสือรับรองการ เผยแพร่ให้ผู้เขียนทางไปรษณีย์ 8. ผู้เขียนดาวน์โหลดบทความที่เผยแพร่ และหนังสือรับรองเว้บไซต์ได้ที่ www.bcnnv.ac.th: BCNNV Research & Report Publication คําแนะนําในการเตรียมต้นฉบับ 1. ใช้กระดาษขนาด A4 เว้นระยะขอบ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) ทั้ง 4 ด้าน ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 และใช้ตัวเลข อารบิก โดยแต่ละวลีประโยคเว้นระยะห่าง 1 เคาะ (single space) การกั้นหน้าใช้แบบกั้นซ้าย ต้นฉบับ มีความยาว 10-15 หน้า 2. ข้อความแสดงประเภทผลงานวิชาการ พิมพ์ตัวหนา ขนาด 16 อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ที่มุม บนด้านซ้ายของหน้า 3. ชื่อเรื่อง พิมพ์ตัวหนา ขนาด 18 อยู่ตรงกลางของหน้า 4. ชื่อ-ชื่อสกุลผู้เขียน ชื่อย่อวุฒิการศึกษาสูงสุดและสาขา (สาขาอยู่ในวงเล็บ) พิมพ์ตัวบาง ขนาด


3 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH 14 จัดรูปแบบชิดขวา พร้อมใส่ตัวเลขยกท้ายวงเล็บปิด เช่น หากมีผู้แต่ง 3 คน ใส่เลข 1, 2 และ 3 ตามลําดับผู้แต่ง ส่วนตําแหน่งทางวิชาการและสถานที่ ปฏิบัติงานของผู้เขียน พิมพ์ตัวบาง ขนาด 14 จัดรูปแบบชิดขวาต่อจากชื่อผู้เขียน พร้อมใส่ตัวเลขยกที่ต้นบรรทัด สําหรับผู้แต่งที่เป็น ผู้เขียนหลัก (corresponding author) ให้ใส่ดอกจันต่อจากตัวเลข ระบุอีเมล์สําหรับติดต่อ 5. หากมีภาพ แผนภาพ แผนภูมิ (กราฟ) หรือตาราง เพื่อประกอบเนื้อหาควรจัดตําแหน่งให้ เหมาะสมกับเนื้อหา โดยใส่ หมายเลขกํากับภาพ แผนภาพ แผนภูมิ และตาราง ตามลําดับ ให้ครบถ้วน ทั้งนี้ หากมีตัวอักษรในภาพ แผนภาพ และแผนภูมิ ให้ใช้ขนาด 8-14 ส่วนในตารางให้ใช้ขนาด 14-16 สําหรับ ลักษณะและขนาดของเส้น ใช้เส้นทึบ (หรือเส้นประในบางกรณี) ขนาดปกติ ใน ตารางใช้เฉพาะเส้นแนวนอน 6. ใส่เลขหน้ากํากับที่มุมบนด้านขวา 7. การใช้ภาษาเขียน มีแนวทางดังนี้ 7.1 คําเดียว เช่น ชื่อตัวแปรที่ศึกษา ต้องเขียนให้เหมือนกันในทุกแห่ง 7.2 คําภาษาไทยที่จําเป็นต้องมีคําภาษาอังกฤษกํากับด้วย เช่น คําว่า การพยาบาลข้าม วัฒนธรรม ให้ใส่คํา ภาษาอังกฤษในวงเล็บ โดยใส่เฉพาะเมื่อกล่าวถึงครั้งแรก (ต้นฉบับที่เป็นรายงานการวิจัย ให้เริ่มตั้งแต่หัวข้อความเป็นมาและ ความสําคัญของปัญหา) ดังนั้น การเขียนครั้งแรกจึงต้องเขียนว่า การ พยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing) ส่วนการ เขียนครั้งต่อ ๆ มา เขียนเพียงว่า การพยาบาล ข้ามวัฒนธรรม ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีที่ต้องการเน้นอีกครั้ง 7.3 คําภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ส่วนชื่อเรื่องและชื่อเฉพาะอักษรตัวแรกของแต่ละคํา ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นคําบุพบท คําสันธาน และคํานําหน้านาม 7.4 คําภาษาอังกฤษที่เป็นชื่อสารต่าง ๆ เช่น cortisol, adrenaline ให้เขียนทับศัพท์เป็น ภาษาไทยโดยใส่คําภาษาอังกฤษในวงเล็บเฉพาะเมื่อกล่าวถึงครั้งแรก ตัวอย่าง เช่น การเขียนครั้งแรกว่า คอร์ติ ซอล (cortisol) อะดรีนาลีน (adrenaline) ส่วน การเขียนครั้งต่อไป ใช้เพียงคำว่า คอร์ติซอล อะดรีนาลีน 7.5 ชื่อผู้แต่งที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้เขียนเป็นภาษานั้น ๆ ตามเดิม ไม่ต้องเขียนเป็น ภาษาไทย ยกเว้นในการเขียนเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ให้เขียนเป็น ภาษาไทย เช่น คูเตอร์-ริชาร์ดสัน ครอนบาช คําแนะนําในการเขียนต้นฉบับแต่ละประเภท 1. รายงานการวิจัย 1.1 บทคัดย่อ แบ่งออกเป็น 3 ย่อหน้า โดยย่อหน้าแรกเขียนเกี่ยวกับรูปแบบการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยโดยสรุป กลุ่มตัวอย่าง (ระบุว่า เป็นใครและจํานวน) เครื่องมือวิจัย ระบุชื่อเครื่องมือและ ค่าความเชื่อมั่น) การเก็บรวบรวมข้อมูล (ระบุว่า ดําเนินการเมื่อใด) และการวิเคราะห์ข้อมูล


4 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH (ระบุชื่อสถิติที่ใช้) ย่อหน้าที่ 2 เขียนเกี่ยวกับผลการวิจัยที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย/ สมมติฐานการวิจัย และ ย่อหน้าที่ 3 เขียนเกี่ยวกับข้อเสนอแนะที่สําคัญในการนําผลการวิจัยไปใช้ 1.2 คําสําคัญ (Keywords) อยู่ใต้บทคัดย่อจํานวน 2-5 คํา โดยแต่ละคําเว้นระยะห่าง 2 เคาะ 1.3 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา เขียนตามหลักการเขียนรายงานการวิจัยทั่วไป เช่น ความจำเป็น และเหตุผลของการศึกษา ช่องว่างขององค์ความรู้ สถิติที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ของการศึกษา ฯลฯ 1.4 วัตถุประสงค์การวิจัยเขียนเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยระบุเป็นข้อ ๆ 1.5 สมมติฐานการวิจัย (หากมี) ระบุเป็นข้อ ๆ 1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย เขียนคําบรรยายที่กระชับ เข้าใจง่าย หรือเป็นภาพเชื่อมโยงตัว แปร 1.7 วิธีดําเนินการวิจัย 1.7.1 ประเภทของการวิจัย ระบุภาษาอังกฤษในวงเล็บด้วย 1.7.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เขียนเกี่ยวกับประชากร เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่าง เกณฑ์การยุติการเข้า ร่วมการวิจัย (โดยเฉพาะการวิจัยเชิงทดลอง เชิงพัฒนาและเชิงปฏิบัติการ) การ กําหนดขนาดตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง 1.7.3 เครื่องมือการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองเขียนเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ก่อนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองให้ระบุที่มารายละเอียดของ กิจกรรมแต่ละครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ สื่อที่ใช้ และการ ตรวจสอบคุณภาพ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลให้ระบุที่มา จํานวนข้อ ลักษณะคําตอบ เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การแปลผลคะแนน และการ ตรวจสอบคุณภาพ 1.7.4 การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 ข้อ คือ 1) การได้รับการพิจารณา เห็นชอบจากคณะกรรมการ พิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยระบุว่าเป็นคณะกรรมการของสถาบันใด พร้อมระบุเลขที่และวันที่รับรอง และ 2) การชี้แจง วัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และสิทธิ ในการถอนตัวจากการวิจัยรวมทั้งการแจ้งว่าข้อมูลจะได้รับการเก็บรักษา เป็นความลับและนํามาใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เท่านั้น โดยจะนําเสนอข้อมูลในภาพรวม 1.7.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล เขียนแบบบรรยายความ หากเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (ใช้หัวข้อ การดําเนินการ ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล) เขียนเป็นข้อ ๆ ตามขั้นตอน ทั้งนี้ งานวิจัยทุกประเภท ให้ระบุว่ามีการพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง 1.7.6 การวิเคราะห์ข้อมูล เขียนข้อมูลแต่ละส่วนพร้อมระบุชื่อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ หาก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ให้ระบุจํานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมตลอดการวิจัยด้วย ส่วนการวิจัย


5 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH เชิงพรรณนา ให้ระบุจํานวนและร้อยละของ แบบสอบถามที่ได้รับคืนด้วย 1.8 ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไป เขียนแบบบรรยาย ส่วนข้อมูลที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย/สมมติฐานการวิจัย เขียนแบบ บรรยายแล้วตามด้วยตาราง สําหรับตารางให้สร้างตารางที่มีแถวเท่ากับจํานวนแถวของข้อมูลที่ต้องการ นําเสนอ (เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลอยู่ผิดแถว) หากตารางยาวเกิน 1 หน้า ให้ใส่ชื่อตารางเดิม และระบุคําว่า ต่อ ในวงเล็บ ส่วนในตาราง จัดตัวเลขให้หลักหน่วย ตรงกันและใช้ทศนิยม 2 ตําแหน่ง ยกเว้นค่า t, Z, r, F และ p ใช้ทศนิยม 3 ตําแหน่ง โดยไม่ต้องมีเลข 0 หน้าจุด ส่วนคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สัญลักษณ์ M และ SD ตามลําดับ สําหรับค่า p ให้ใส่ค่าจริง (หากได้ค่า .000 ให้ใส่ว่า < .001) โดย ไม่ต้องใส่ดอกจัน ท้ายตัวเลข รวมทั้งไม่ต้องใส่ดอกจันและ p ใต้ตาราง (ยกเว้นในกรณีที่จําเป็น) เนื้อความที่บรรยายระดับ นัยสําคัญ ทางสถิติให้ระบุว่า p < .05, p < 01. หรือ p < .001 สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เมื่อบรรยาย ความแต่ละประเด็นแล้ว ให้ระบุคําพูดที่สอดคล้องซึ่งได้จากผู้ให้ข้อมูลในเครื่องหมายคําพูด (“.....”) โดยพิมพ์ เครื่องหมายคําพูดและคําพูดนั้น ๆ แบบตัวเอียง จากนั้น ระบุอักษรย่อนามสมมติของผู้ให้ข้อมูลในวงเล็บ ต่อท้ายเครื่องหมายคําพูด โดยพิมพ์แบบตัวตรง 1.9 การอภิปรายผลการวิจัย การเขียนเกี่ยวกับงานวิจัยที่สอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยที่ได้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็น ด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม 1.10 ข้อเสนอแนะ การนําผลการวิจัยไปใช้ และการทําวิจัยครั้งต่อไป หากมีมากกว่า 1 ประเด็น ให้ระบุเป็น ข้อ ๆ แสดงให้เห็นถึงการนําผลไปใช้ประโยชน์และการให้ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยในอนาคต 1.11 เอกสารอ้างอิง (ดังรายละเอียดต่อไป) หมายเหตุ: การวิจัยเชิงทดลอง หากมีทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ให้เขียนถึงกลุ่มทดลองก่อนกลุ่มควบคุม ในทุกแห่ง 2. บทความวิชาการ 2.1 บทคัดย่อ เขียน 1 ย่อหน้า ความยาว 10-16 บรรทัด ประกอบด้วย 1) การเกริ่นนําเกี่ยวกับ เรื่องที่เขียน 2) การเน้น ประเด็นที่เป็นแก่นสําคัญของเนื้อหา และ 3) การสรุปสิ่งสําคัญที่เชื่อมโยงถึงแนว ทางการปฏิบัติและประโยชน์ที่จะได้รับ 2.2 คําสําคัญ (Keywords) อยู่ใต้บทคัดย่อ จํานวน 2-5 คํา โดยแต่ละคําเว้นระยะห่าง 2 เคาะ 2.3 บทนํา เขียน 1 ย่อหน้าความยาว ½ - 1 หน้ากระดาษ เขียนเนื้อความที่จูงใจผู้อ่านให้สนใจใน บทความเรื่องนั้น โดย เนื้อความประกอบด้วยความสําคัญของเรื่องที่เขียน วัตถุประสงค์ของการเขียน ขอบเขต ของเรื่องที่เขียน (ระบุหัวข้อหลักที่เขียน) และประโยชน์ที่จะได้รับ


6 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH 2.4 เนื้อหา กําหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองให้เหมาะสม ชัดเจน และครอบคลุมเรื่องที่เขียน รวมทั้ง เรียงลําดับหัวข้อให้เหมาะสม ส่วนเนื้อหาต้องมีการวิเคราะห์/วิพากษ์ตามหลักวิชาการอย่างน่าเชื่อถือ มีการ อ้างอิงแหล่งข้อมูล ทั้งนี้ การเรียบเรียง เนื้อหายึดหลักความถูกต้อง มีความต่อเนื่อง กลมกลืน โดยมีการใช้ ภาษาทางการและเข้าใจง่าย 2.5 สรุป เขียน 1 ย่อหน้า ความยาว 10-14 บรรทัด เป็นการสรุปประเด็นสําคัญของบทความ ซึ่ง เขียนได้หลายวิธีคือ 1) การย่อความ เป็นการย่อเนื้อหาทั้งหมดที่นําเสนอ 2) การบอกผลลัพธ์ว่า สิ่งนําเสนอมี ความสําคัญอย่างไร จะนําไปใช้อย่างไร หรือ จะทําให้เกิดสิ่งใดต่อไป และ 3) การตั้งคําถามหรือให้ประเด็นทิ้ง ท้าย เพื่อให้ผู้อ่านไปแสวงหาความรู้หรือพัฒนาในเรื่องนั้น ๆ ต่อไป 2.6 เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงให้ใช้ระบบ APA Style (American Psychological Association) 2.6.1 ให้เริ่มต้นด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วย เอกสารภาษาต่างประเทศ 2.6.2 หากผู้เขียนมีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อ 3 คนแรกแล้วตามด้วย และคณะ หรือ et al. ตัวอย่าง การเขียนเอกสารอ้างอิง หนังสือ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สํานักพิมพ์. วารสาร ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่พิมพ์(ฉบับที่พิมพ์), เลข หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. หนังสือพิมพ์ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน. (ปีเดือน วันที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า แรก-หน้าสุดท้าย. วิทยานิพนธ์ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. เมืองที่พิมพ์: สถานศึกษา. รายงานการประชุม ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเอกสารรวมเรื่องที่ได้จากรายงานการ ประชุม. วันเดือนปีที่จัด. สถานที่จัด. สํานักพิมพ์. เลขหนา้. สื่ออินเตอร์เน็ต ชื่อ – นามสกุลผู้เผยแพร่. (ปีเดือน วันที่อ้างอิง). ชื่อเรื่อง. จํานวนหน้า. แหล่งที่มา URL : http://. การอ้างอิงภาษาอังกฤษใช้เช่นเดียวกับภาษาไทย 2.7 กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยสําเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี เพียงสั้นๆ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) การส่งต้นฉบับ ผู้เขียนส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกําหนดของรูปแบบที่กำหนด พร้อมเอกสารแนบ ตามที่ระบุไว้ ทาง e-mail: [email protected] สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 081-719-5404, 0-2540-6500 ต่อ 2458


7 กองบรรณาธิการ BCNNV Research & Report Publication: www.bcnnv.ac.th วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ & สมาคมศิษย์เก่าพยาบาล และผดุงครรภ์นพรัตน์วชิระ BCNNV RESEARCH & REPORT PUBLICATION: WWW.BCNNV.AC.TH 3. รายงานกรณีศึกษา 3.1 บทคัดย่อภาษาไทย ไม่เกิน 1 หน้า ประกอบด้วย ที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ รูปแบบการศึกษา (เป็นการ วิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและการนําผลการศึกษาไปใช้) สรุป และคําสําคัญ จํานวน 2-5 คํา โดยแต่ละ คําเว้นระยะห่าง 2 เคาะ 3.2 บทนํา แสดงให้เห็นความสำคัญและเหตุผลของการศึกษารายกรณี และความจำเป็นของของ การศึกษา และการให้การพยาบาล 3.3 วัตถุประสงค์ เป็นวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เฉพาะการศึกษาครั้งนี้ ไม่กว้างเกินไป และมีความ เป็นไปได้ วัดผลได้ 3.4 วิธีดําเนินการศึกษา ระบุขั้นตอนของการศึกษา 3.5 พยาธิสภาพการรักษาและการพยาบาลที่สําคัญ แสดงสาระสําคัญตั้งแต่แรกรับจนจําหน่าย 3.6 ผลการศึกษา เขียนเกริ่นนําในสาระสําคัญ และเปรียบเทียบผลการศึกษาในตาราง แสดงการ เปรียบเทียบผู้ป่วย 2 รายด้วยการอภิปรายผล ตามระยะเพื่อการพยาบาลที่ครอบคลุมตั้งแต่แรกรับจนจําหน่าย โดยมีหัวข้อดังนี้ 1. ระยะวิกฤต 2. พยาธิสภาพอาการและอาการแสดง 3. การรักษา 4. ปัญหาทางการ พยาบาล และ 5. การพยาบาลตามปัญหาสําคัญสําคัญ (แรกรับจนถึง จําหน่าย) 3.7 สรุปและข้อเสนอแนะ แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา การนำไปใช้ประโยชน์ และ แนวการศึกษาหรือการพยาบาลในอนาคต


รายชื่อบทความที่ได้รับการเผยแพร่ 1. บัณฑิต พลแก้ง. (2567). การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัด ชัยภูมิ. BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ที่ 05/02/2567 เผยแพร่: 3 เมษายน 2567. 1-14. 2. จิตติมา ส่องสว่าง. (2567). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ที่ 06/02/2567 เผยแพร่: 20 เมษายน 2567. 1-16. 3. นฤมล พูดเพราะ. (2567). ผลการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ ที่ 07/02/2567 เผยแพร่: 20 เมษายน 2567. 1-17. 4. วีรวรรณ แซ่หุ่น. (2567). ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ที่ 08/02/2567 เผยแพร่: 22 เมษายน 2567. 1-15. 5. สุภดีต้อยมาเมือง. (2567). ผลของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย. BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ที่ 09/02/2567 เผยแพร่: 22 เมษายน 2567. 1-14. 6. กัลยา สิทธิศักดิ์. (2567). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัด กรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย.BCNNV Research & Report Publication วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ: www.bcnnv.ac.th. เผยแพร่ที่ 10/02/2567 เผยแพร่: 23 เมษายน 2567. 1-16.


1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จังหวัดชัยภูมิ บัณฑิต พลแก้ง, นักวิชาการสาธารณสุข (สม.) กลุ่มงานแผนงานและยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแผนยุทธศาสตร์โดย ใช้กระบวนการคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือในการกำกับ และประเมินผล กลุ่ม ตัวอย่างเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 168 คน ร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ สร้างกรอบยุทธศาสตร์ด้วยเครื่องมือ Strategic foresight, 7s Model และ PESTEL ออกแบบกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix และพัฒนาเครื่องมือกำกับ ประเมินผล ด้วยโปรแกรม FINTECH และ Project tracking ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี ข้อมูลเชิงปริมาณ รวบรวมโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยสถิติ independent t-test, simple linear regression และ correlationข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมโดยการ สังเกตการณ์และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และกำหนดความอิ่มตัวของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่าการออกแบบแผนยุทธศาสตร์ด้วยกระบวนการคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ ได้กรอบยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1) ระบบบริการและการควบคุมโรค 2) ระบบบริหารด้านสาธารณสุข 3) บทบาทของท้องถิ่นและเครือข่าย และ 4) การพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แม่บท ในแง่ของระบบหลักที่ต้องการพัฒนาและทิศทางในอนาคต และจากการประเมินการมีส่วนร่วมและ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมีทิศทางบวก (ร้อยละ 38.9 และ 38.2 ตามลำดับ) และมีความพึงพอใจจากโปรแกรมกำกับ และประเมินผล ในระดับมาก (Mean = 3.74, sd.=0.86) อย่างไรก็ ตาม ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์ยังมีบางข้อที่ต้องปรับปรุง เช่น อัตรามารดาตาย การ พัฒนาการสมวัยของเด็กปฐมวัย เป็นต้น การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ อาจสะท้อนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับ แผนแม่บท รวมถึงการใช้เทคนิคแบบใหม่อาจเป็นที่ยอมรับ อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานที่ยังไม่สะท้อนถึง ผลสัมฤทธิ์ อาจต้องพัฒนากลยุทธ์ที่หลากหลายในการควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผล และการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรให้เท่าทันเทคโนโลยีในอนาคต คำสำคัญ: แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ การคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ โปรแกรมควบคุมกำกับ รายงานการวิจัย


2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การจัดการเชิงกลยุทธ์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ยุคโมเสส ซุนหวู กรีก กษัตริย์อาร์เธอร์ และเริ่มใช้ ในด้านการทหาร ในยุคล่าอาณานิคม สงครามกลางเมืองในอเมริกา และสงครามโลกทั้งสองครั้ง จนเข้าสู่ สาขาวิชาในช่วงทศวรรษที่ 20 (Bracker, J., 1980) หลังจากนั้น สาขาวิชาการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ได้พัฒนา ต่อยอดทางด้านธุรกิจ Harvard Policy Model หรือ SWOT นับเป็นแบบจำลองในการวางแผนกลยุทธ์ในยุค แรก ๆ (Hu, Q., Kapucu, N., & O’Byrne, L., 2014) จนกระทั่งถึงเครื่องมือแบบ Balance Scorecard และ Building Block ใน ปี ค.ศ.1990 นับได้ว่าการวางแผนยุทธศาสตร์ มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ในยุค แห่งการชิงความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ (Woyzbun, n.d.) ซึ่งการจัดการด้านสุขภาพ เป็นสาขาหนึ่งที่การ วางแผนยุทธศาสตร์ได้ถูกนำมาใช้ จากเหตุผล นโยบายด้านสุขภาพเป็นประเด็นที่นักการเมือง ประชาชน และ สื่อมวลชนให้ความสนใจ อันเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสุขภาพ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 รวมถึงการไม่เท่าเทียมกันด้านสถานะสุขภาพและการเข้าถึงการดูแลที่ไม่เท่าเทียม กันในแต่ละประเทศ (Arunanondchai, J., Fink, C., 2006) นโยบายด้านสุขภาพจึงมุ่งเน้นวิสัยทัศน์ในอนาคต โดยใช้บทเรียนในอดีตเป็นประสบการณ์ในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (Stahl, T. et al., 2009) ซึ่ง ประเทศไทยเอง ยังมีความจำเป็นต้องใช้การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมในระดับโลก ภูมิภาค และภายในประเทศ (ศุภกิจ ศิริลักษณ์, 2554) แผนยุทธศาสตร์สุขภาพแม่บท ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขซึ่งเน้น กลยุทธ์สำคัญช่วงละ 5 ปี เพื่อเป็น 1 ใน 3 ด้านสุขภาพของเอเชีย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แปลง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ และเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานในกำกับได้ดำเนินตามแนวทาง (สำนักงาน นโยบายและยุทธศาสตร์, 2559) โดยยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความเป็นเลิศด้าน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภค 2) บริการเป็นเลิศ 3) บุคลากรเป็นเลิศ และ 4) บริหารเป็น เลิศด้วยธรรมาภิบาล (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, 2561) ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ในระดับจังหวัด มีการดำเนินงาน และการใช้เครื่องมือที่ หลากหลายวิธี เช่น SWOT ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน หรือวงจร Deming ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 7s Model ในการวิเคราะห์ภายใน และ PESTEL ในการวิเคราะห์ภายนอก หรือ TOWS Matrix ในการออกแบบ กลยุทธ์ หรือ CIPP Model ในการประเมินผล (Patel, P.M., Deshpande, V.A., 2017) แต่การใช้เครื่องมือ การคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์ (Hines, A., 2008) ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ชัยภูมิได้ทดลองใช้ประยุกต์ให้เข้ากับความไม่แน่นอนของสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ทั้งการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างและการระบาดของโรคอุบัติใหม่ รวมถึงภัยสุขภาพจากสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่าการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ในพื้นที่ ส่วนใหญ่ยังมีความ อ่อนด้อยเรื่องการควบคุม กำกับ และประเมินผล งานวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาต่อยอดด้วยการพัฒนา โปรแกรมควบคุม กำกับ ติดตาม ด้านแผนงาน/โครงการ และงบประมาณ รวมถึงมีการประเมินความร่วมมือ ความคิดเห็น ของการพัฒนาแนวทางการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และความพึงพอใจของการใช้


3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 เครื่องมือดังกล่าว ซึ่งคาดหวังว่า กระบวนการดังกล่าวจะช่วยยกระดับการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ระดับพื้นที่ วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแผนยุทธศาสตร์ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การคาดการณ์อนาคตเชิง ยุทธศาสตร์(Strategic foresight) 2. เพื่อพัฒนากระบวนการ และเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดทำแผน ยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดชัยภูมิ กรอบแนวคิดในการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้กรอบแนวคิดตามวงจรของ Kemmis, S & McTaggart ซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผน เพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 2) การลงมือปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตการณ์ และ 4) การสะท้อนกลับที่ ร่วมจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรอบยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ 2 ยุทธศาสตร์หลัก คือ ยุทธศาสตร์ชาติ (ด้านสุขภาพ) ระยะ 20 ปี และยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ชาติและนำมาพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์สุขภาพระดับจังหวัด ประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ 1) แผนพัฒนาโครงสร้างสถานบริการ 2) แผนพัฒนาสนับสนุนทรัพยากร และ 3) แผนด้านการพัฒนาคุณภาพ บริการ โดยใช้เครื่องมือในการจัดทำ ได้แก่ Strategic Foresight, SWOT Analysis, 7s Model, PESTEL และ TOWN Matrix และสุดท้ายเน้นกระบวนการติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น โปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ออนไลน์ SMS Program หรือโปรแกรมติดตามงบประมาณ Fintech รวมถึง โปรแกรมกำกับติดตามแผนงาน/โครงการ Project Tracking (รูปภาพที่ 1) รูปภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกตการณ์ การสะท้อนกลับ กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพ - แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี - แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข -แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัด เนื้อหา - แผนพัฒนาโครงสร้าง - สถานบริการ - แผนสนับสนุนทรัพยากร - แผนพัฒนาคุณภาพบริการ กลวิธี - ประชุมเชิงปฏิบัติการ - จัดทำคู่มือ - แผนปฏิบัติการพื้นที่ ความสอดคล้อง -KPI กระทรวง - แผนงาน/โครงการ - งบประมาณ กระบวนการบริหารแผน - การสร้างฉากทัศน์ - การเชื่อมโยงฉากทัศน์เข้ากับแผน - การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร - ผลการดำเนินงาน - ผลการใช้จ่ายงบประมาณ การพัฒนาเครื่องมือติดตามประเมินผล KPI งบประมาณ - การนิเทศติดตามงาน - การติดตาม กำกับการส่งรายงาน - การสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์ม 1.Project Tracking 2.Fintech


4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้วงจรของ Kemmis, S & McTaggart ซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผนเพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 2) การลงมือปฏิบัติตามแผน 3) การ สังเกตการณ์ และ 4) การสะท้อนกลับ ทั้งนี้ มีการใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) โดย การวางแผน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative study) ส่วนการสังเกตการณ์ ใช้วิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative study) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ คัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับจังหวัดและอำเภอ ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือ ผู้เกี่ยวข้องของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชัยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน และสำนักงานสาธารณสุข อำเภอ รวมทั้งสิ้น 168 คน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้บริหารระดับสูง จำนวน 8 คน และใช้กลุ่มเป้าหมาย 168 คน ในการแบ่งกลุ่มตามประเด็นที่ได้จัดเตรียมไว้ แล้วทำ Focus group โดยมีประเด็นในการพิจารณาแต่ ละกลุ่ม คือ 1) ท่านวิเคราะห์อนาคตที่คาดว่าจะเกิดใน 10 ปีข้างหน้าอย่างไร รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพ 2) มุมมองของท่าน อยากให้ระบบสุขภาพเป็นอย่างไร 3) ท่านมีวิธีการใด ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนภาวะสุขภาพ ตามที่คาดหวัง และ 4) หากจะดำเนินการให้สำเร็จ ต้องทำอย่างไรบ้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นเองโดยการทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อ 2) แบบประเมินกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ จำนวน 42 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) สภาวะ แวดล้อม 2) ปัจจัย 3) กระบวนการจัดทำแผน และ 4) ผลผลิต 3) แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 9 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมกำกับ ประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ แบบประเมิน 2, 3 และ 4 เป็นแบบ rating scale 5 ระดับ คือ 5 คะแนน มีการปฏิบัติตรงกับสภาพ ความเป็นจริงมากที่สุด ส่วน 1 คะแนน มีการปฏิบัติตรงกับสภาพความเป็นจริงน้อยที่สุด ในการแปลผล ทำโดย การหาคะแนนค่าเฉลี่ยและจัดกลุ่ม คะแนน 1.00 – 2.33 ประเมินผลอยู่ในระดับน้อย, 2.34 – 3.66 แปลผลอยู่ใน ระดับปานกลาง และ 3.67 – 5.00 แปลผลอยู่ในระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการณ์ เป็นข้อคำถามแบบไม่มีโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์


5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 2. ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 3. ทำเรื่องขออนุมัติจัดเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย 4. ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บจากแบบสอบถาม และทำการบันทึกในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Excel) โดยมีการแปลงรหัสคำให้เป็นตัวเลข เช่น เพศชาย = 1 เพศหญิง = 0 เป็นต้น และทำคำอธิบายแยก ไว้ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกต ทำการบันทึกในแบบสัมภาษณ์และแบบ สังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูลดังกล่าวลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน หรือค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยสถิติ independent t-test, simple linear regression และ correlation ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และกำหนดความอิ่มตัวของข้อมูล การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากสำนักงานจริยธรรมวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์โรงพยาบาลชัยภูมิ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ COE No.007/2567, REC No.007/2567 วันที่รับรอง 19 มกราคม 2567 โดย ผู้วิจัยรับรองการเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ และจะเปิดเผยข้อมูลในภาพรวมด้วยเหตุผลทางวิชาการเท่านั้น โดยข้อมูลการวิจัยจะเก็บข้อมูลเฉพาะข้อคำตอบ โดยจะไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้วิจัยไว้ในรูปแบบใดๆหรือ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์หรือลักษณะบุคคล ผลการวิจัย ผลการวิจัยนำเสนอตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. การพัฒนารูปแบบการบริหารแผนยุทธศาสตร์ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การคาดการณ์อนาคตเชิง ยุทธศาสตร์ (Strategic foresight) จากการทบทวนสถานการณ์ การวางแผนยุทธศาสตร์จังหวัดชัยภูมิในปีที่ผ่านมา และการมอง แนวโน้มทิศทางในอนาคตที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์แม่บท โดยความเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งให้กรอบในการอธิบายทิศทางสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า ในประเด็น 1) เทคโนโลยี ที่จะ นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงอนาคตสังคม Digital 2) สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเพิ่มขึ้น รวมถึงโรคอุบัติ ใหม่จากสภาพแวดล้อม 3) กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงระบบบริการ ซึ่งอาจมีการกระจายอำนาจด้านระบบ บริการ และ 4) สังคมเมือง และสังคมผู้สูงอายุ เมื่อได้นำประเด็นดังกล่าวไปวิเคราะห์เชื่อมโยงกับแผน ยุทธศาสตร์แม่บท และประเด็นการพิจารณา 4 เรื่อง คือ 1) การวิเคราะห์อนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 10 ปี ข้างหน้า รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพ 2) ระบบสุขภาพในอนาคต 3) วิธีการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนภาวะ สุขภาพตามที่คาดหวัง และ 4) วิธีการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการวางแผนยุทธศาสตร์ จำนวน 168 คน ได้กรอบยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านระบบบริการ และการควบคุมโรค


6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 2) ยุทธศาสตร์ระบบบริหารด้านสาธารณสุขที่คาดหวัง 3) ยุทธศาสตร์ด้านบทบาทท้องถิ่นและเครือข่าย 4) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้ทำการแบ่งกลุ่มกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และวิเคราะห์ กลยุทธ์ด้วยเครื่องมือ 7s Model PESTEL และ TOWS Matrix ผลจากการดำเนินการดังกล่าว ได้แผน ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในแต่ละยุทธศาสตร์ ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และกลยุทธ์ในระยะเวลา 3 ปี แผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ ระยะเวลา ดำเนินการ แผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ ระยะเวลา ดำเนินการ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการและการควบคุมโรค ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 1.สนับสนุนระบบการดูแล รักษา ส่งต่อและ ควบคุมโรคด้วยเทคโนโลยี √ √ √ 1.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพของท้องถิ่น และ ภาคีเครือข่าย √ 2.ส่งเสริมการบริหารจัดการร่วมกับภาคีเครือข่าย √ 2.บูรณาการจัดการทรัพยากร ภายใต้กฎหมายร่วม √ √ √ 3.ส่งเสริมกลไกการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพด้าน สิ่งแวดล้อมและกัญชาทางการแพทย์ √ 3.สร้างเสริมสมรรถนะบุคลากรและภาคีเครือข่าย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล √ √ √ 4.พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบคลุม √ √ √ 4.พัฒนาองค์กร/นวัตกรรมด้วยงานวิจัยและ นวัตกรรมสุขภาพ √ √ √ 5.พัฒนาระบบติดตามประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ √ √ √ 5.สร้างระบบการดูแลสุขภาพรองรับโครงสร้าง ประชากรที่เปลี่ยนแปลง √ √ √ 6.สนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขผ่านกลไก พชจ./พชอ./พชต., ศปจ./ศปอ./ศปต. √ 6.สร้างระบบการดูแลสุขภาพรองรับสภาวะการณ์ เปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม √ √ √ 7.สนับสนุนเครือข่ายบริการผู้สูงอายุ √ √ √ 7.พัฒนาระบบสารสนเทศ AI, Plat Form ระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ √ √ √ 8.พัฒนาระบบโครงสร้างการบริการสาธารณสุข √ √ √ 8.สร้างค่านิยมระหว่างองค์กร และภาคีเครือข่าย √ √ √ 9.พัฒนาศักยภาพบุคลาการในการบริหารจัดการ และองค์ความรู้ √ √ √ 9.การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ √ √ √ 10.จัดการภัยคุกคามจากเทคโนโลยีสารสนเทศ √ √ √ 11.ส่งเสริมองค์กรภาคีเครือข่ายสร้างสุข √ √ √ ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารงานด้านสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยี และสารสนเทศ 1.สนับสนุนการสร้างแรงจูงในให้กับบุคลากร √ 1.พัฒนา Server แบบ HCI สมรรถนะสูง √ 2.เร่งรัดพัฒนาทักษะบุคลากรให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลง √ √ √ 2.พัฒนาระบบ Lake Data ให้ได้มาตรฐานความ มั่นคงปลอดภัย √ √ 3.เร่งรัดพัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี √ 3.พัฒนาแอพลิเคชั่น และเทคโนโลยีเพื่อให้เกิด Digital Health Service √ √ 4.ปรับภารกิจให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ √ √ √ 4.ยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีสมรรถนะสูง √ √ 5.พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดขั้นตอนในการ ปฏิบัติงาน √ √ √ 5.พัฒนาบุคลากรด้าน Digital Health Service √ √ 6.สนับสนุนการเข้าถึงระบบบริการโดยใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย √ √ √ 6.พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อตอบสนอง Health Service √ 7.สนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย √ √ √ 7.พัฒนา Application ให้ง่ายต่อผู้ใช้ √ 8.ส่งเสริมระบบกำกับติดตามโดยใช้ระบบ √ √ √ 8.พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความเชี่ยวชาญด้าน √


7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 เทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน Cyber Security 9.เร่งรัดกำกับติดตามการปฏิบัติตามนโยบาย กระทรวงสาธารณสุข √ √ √ 9.สร้างนวัตกรรมด้าน Digital Health Service √ 10.พัฒนาหน่วยงานตามมาตรฐาน EMS √ √ √ 10.พัฒนามาตรฐาน HAIT ของหน่วยบริการ √ การพัฒนากระบวนการ และเครื่องมือในการกำกับ ควบคุม และประเมินผล การพัฒนาโปรแกรมในการติดตามกำกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ แผนงาน/โครงการ ตาม ยุทธศาสตร์ ได้แก่ Project tracking program รวมถึงโปรแกรมกำกับติดตามงบประมาณในการดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ FINTECH program ซึ่งสามารถใช้งานในระบบออนไลน์ ดังรูปภาพที่ 2 รูปภาพที่ 2 แผนผังวงจรการพัฒนาโปรแกรมกำกับติดตาม แผนงาน/โครงการ และงบประมาณ การติดตามและประเมินผล ในขั้นตอนนี้ ได้ทำการประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ และความคิดเห็นต่อ กระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมควบคุม กำกับ ติดตาม เช่น Project ผังวงจร Project tracking program ผังวงจร FINTECH program


8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 tracking และ FINTECH 1.การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง 168 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.5 รองลงมาเป็นกลุ่มแพทย์/ทันตแพทย์/พยาบาล ร้อยละ 24.4 และมีการบรรจุเป็นข้าราชการร้อยละ 82.7 มีอายุเฉลี่ย 43.51 ปี (sd.=9.56) และมีหน้าที่ โดยตรงในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ร้อยละ 75.6 (95% CI: 68.4, 81.9) ระเวลามัธยฐานใน การปฏิบัติงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (min = 0, max = 30) ระยะเวลาการปฏิบัติงานพัฒนาแผน ยุทธศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับอายุ และระยะเวลาการปฏิบัติงานในวิชาชีพ (corr. = 0.55, 0.51) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวม พบว่า มีส่วนร่วมในระดับมาก ร้อยละ 38.9 รองลงมา มีความส่วนร่วมในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.8 และมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด ร้อย ละ 16.7 และมีส่วนร่วมในระดับน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 1.4 รูปภาพที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวม 2. ความคิดเห็นในกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ในส่วนของความคิดเห็นในกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ในระดับจังหวัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) ความคิดเห็นด้านสภาวะแวดล้อมในการบริหารแผนยุทธศาสตร์ 2) ความคิดเห็น ด้านปัจจัยในการบริหารยุทธศาสตร์ 3) ความคิดเห็นด้านกระบวนการในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และ 4) ความคิดเห็นด้านผลผลิตของการบริหารแผนยุทธศาสตร์ พบว่า ความคิดเห็นทั้ง 4 ด้านดังกล่าว มีมุมมองใน ทิศทางที่เห็นด้วยในระดับมาก และปานกลางเป็นส่วนใหญ่ โดยความคิดเห็นระดับน้อย และน้อยที่สุด มี สัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย ดังรูปภาพที่ 4 3. ความพึงพอใจต่อโปรแกรมควบคุม กำกับ ติดตาม การวัดความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เช่น Project tracking และ FINTECH พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในภาพรวม 3.74 คะแนน (sd.=0.86) ขณะที่ คะแนนรายข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.68 – 3.81 คะแนน และเมื่อพิจารณาสัดส่วนตามระดับความพึงพอใจแต่ ละข้อ จะพบว่า ความถี่สะสมส่วนใหญ่ตกอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก มีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 41.7 ถึง 53.6 รองลงมามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง มีสัดส่วนระหว่าง ร้อยละ 17.3 ถึง 30.3 แสดงดังตารางที่ 2


9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 รูปภาพที่ 4 ความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ 4 ด้าน ตารางที่ 2 ระดับความพึงพอใจในการทดลองเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ หัวข้อ ระดับความพึงพอใจ (จำนวน/ร้อยละ) Mean (sd.) แปลผล น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด 1.ความเหมาะสมของเมนูการใช้งาน 4(2.4) 8(4.8) 45(26.8) 80(47.6) 31(18.4) 3.75(0.89) มาก 2.ความถูกต้องของการประมวลผล 4(2.4) 8(4.8) 50(29.8) 73(43.4) 33(19.6) 3.73(0.91) มาก 3.ความรวดเร็วในการตอบสนองของระบบ 4(2.4) 8(4.8) 51(30.3) 70(41.7) 35(20.8) 3.73(0.92) มาก 4.ความเหมาะสมของขั้นตอนการบันทึกผล 4(2.4) 12(7.1) 40(23.8) 80(47.6) 32(19.1) 3.74(0.93) มาก 5.ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลพื้นฐาน 4(2.4) 10(5.9) 36(21.4) 87(51.8) 31(18.4) 3.78(0.80) มาก 6.การจัดการความปลอดภัยและกำหนดสิทธิ์เข้าถึง 4(2.4) 12(7.1) 29(17.3) 90(53.6) 33(19.6) 3.81(0.92) มาก 7.การใช้งานระบบ 4(2.4) 10(5.9) 38(22.6) 89(53.0) 27(16.1) 3.74(0.88) มาก 8.ความง่ายของการใช้งานระบบ 4(2.4) 8(4.8) 50(29.8) 81(48.2) 25(14.8) 3.68(0.87) มาก 9.โปรแกรมช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น 4(2.4) 12(7.1) 39(23.2) 82(48.8) 31(18.5) 3.74(0.92) มาก 10.โปรแกรมช่วยลดปริมาณการใช้กระดาษ 4(2.4) 10(5.9) 41(24.4) 75(44.6) 38(22.6) 3.79(0.94) มาก 11.การเผยแพร่ข้อมูลเชิงสถิติจากการรายงาน 4(2.4) 14(8.3) 38(22.6) 80(47.6) 32(19.1) 3.73(0.95) มาก 12.สะดวกต่อผู้บริหารในการกำกับ ติดตาม 4(2.4) 14(8.3) 39(23.2) 82(48.8) 29(17.3) 3.70(0.93) มาก 13.ช่วยลดระยะเวลาในการกำกับ ติดตาม 4(2.4) 14(8.3) 39(23.2) 86(51.2) 25(14.9) 3.68(0.91) มาก 14.มีฐานข้อมูลกลางสำหรับหน่วยงาน 4(2.4) 12(7.1) 41(24.4) 81(48.2) 30(17.9) 3.72(0.92) มาก ผลรวม 4(1.5) 22(8.2) 79(29.4) 117(43.5) 47(17.4) 3.74(0.86) มาก จากการดำเนินงานพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และนำไปใช้ ได้ทดสอบผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดของกระทรวง สาธารณสุข ใน ปี พ.ศ.2566 พบว่า ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70.3 โดยตัวชี้วัดด้านบุคลากรเป็นเลิศ ผ่านเกณฑ์ สูงสุด คือร้อยละ 100.0 รองลงมาคือด้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 83.3 ส่วนด้านที่ ผ่านเกณฑ์น้อยที่สุด คือ ด้านบริการเป็นเลิศ ร้อยละ 64.3 ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่สำคัญที่ผ่านเกณฑ์ มี 14 เรื่อง เช่น Wellness plan, HA ขั้นที่ 3, นโยบาย EMS เป็นต้น ส่วนตัวชี้วัดที่เป็นโอกาสพัฒนา มี 18 เรื่อง เช่น


10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 อัตราส่วนการตายของมารดา, เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย, การตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน เป็นต้น (รูปภาพที่ 5) รูปภาพที่ 5 ผลการประเมินตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข อภิปรายผล จากผลวิจัย ที่พบว่าแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขระดับจังหวัดมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ แม่บท โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์มีทัศนะเชิงบวกในกระบวนการ ดำเนินการ ทั้งด้านการมีส่วนร่วม ความคิดเห็น และความพึงพอใจในดิจิตัลแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อติดตาม กำกับ การจัดทำแผนงาน/โครงการ และงบประมาณ และผลจากการประเมินตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ยังมีบางข้อที่ผ่านเกณฑ์ในระดับต่ำ ซึ่งผู้วิจัยมีประเด็นในการอภิปราย ดังนี้ ความเชื่อมโยงของแผนยุทธศาสตร์ เนื่องจากมีการกำหนดกรอบและแนวทางในการดำเนินงานด้วยแผนยุทธศาสตร์แม่บท ซึ่งได้แก่ แผน ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข และแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยแผน ยุทธศาสตร์แม่บทดังกล่าว จะเป็นการออกแบบยุทธศาสตร์ไว้แบบกว้าง ๆ เพื่อให้พื้นที่สามารถปรับและ ประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ได้ ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดส่วนใหญ่จึงมีความสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์แม่บท ซึ่งมียุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ 4 ด้าน เป็นตัวกำกับ (รติยา วิภักดิ์, เสถียรพงษ์ ศิวินา และ กุศลาสัย สุราอามาตย์, 2563; สมจิตร เดชาเสถียร, เจษฎา สุราวรรณ์, พชรพร ครองยุทธ และปัทมา ล้อ พงศ์พานิชย์, 2562; ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ, 2561) ทั้งนี้ งานวิจัยนี้มีการเพิ่มเติมเครื่องมือ เครื่องมือ เช่น การคาดการณ์อนาคตเชิงยุทธศาสตร์เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งจากการทบทวน วรรณกรรม ยังไม่มีรายงานใดที่ใช้กระบวนการดังกล่าวในการพัฒนาแนวทางการบริหารแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นดังกล่าวจึงนับว่าเป็นเรื่องใหม่ การประเมินผลกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ แบ่งการประเมิน 2 ขั้นตอน คือ การประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข


11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 และการประเมินผลการมีส่วนร่วม และความคิดเห็น โดยการประเมินผลสำเร็จตามตัวชี้วัดของจังหวัดชัยภูมิ ยังคงอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 70.1) โดยเฉพาะในเรื่องของยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ ซึ่งบรรลุร้อยละ 100 และที่ต้องปรับปรุง คือ ยุทธศาสตร์ด้านการบริการเป็นเลิศ ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 64.3 และหากเปรียบเทียบกับ จังหวัดใกล้เคียงซึ่งอยู่ในเขตสุขภาพที่ 9 เช่น จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีการบรรลุตัวชี้วัดถึงร้อยละ 93.0 (จตุรงค์ ปานใหม่, 2564) จึงมองว่า ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดด้านสุขภาพของจังหวัดชัยภูมิ ถึงแม้จะผ่านเกณฑ์ แต่ยังด้อยกว่าพื้นที่ข้างเคียง ทั้งนี้ อาจเนื่องด้วยเหตุผลที่หลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างบุคลากรที่ยังมี ความขาดแคลนในบางพื้นที่ เนื่องจากห่างไกลและกันดาร รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ เนื่องจากยังมีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการกระจายข้อมูลทางด้านสุขภาพอาจ ยังไม่ดีพอ และเมื่อพิจารณาถึงการบรรลุตัวชี้วัดด้านบริการย่อย เช่น อัตราการเสียชีวิตของมารดา รวมถึง อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด ที่ยังบรรลุเป้าหมายในปริมาณต่ำ อาจเนื่องด้วยระบบฐานข้อมูลในการ ติดตาม เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานของกลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาด้านการ เข้าถึงบริการ หรือสภาวะสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาการเว้น ระยะห่าง หรือขาดการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์จะดำเนินการอย่าง รัดกุม หรือครอบคลุมเพียงใดก็ตาม หัวใจสำคัญของการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดให้เป็นไปตามแผน ยุทธศาสตร์ คือ การควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผล (ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ, 2561; พิมพาพร เชื้อบางแก้ว, 2565) การประเมินผลการมีส่วนร่วม ซึ่งผลวิจัยระบุว่าบุคลากรส่วนใหญ่ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์สาธารณสุข คือ นักวิชาการสาธารณสุข ทั้งนี้ เป็นบทบาทหลักของการดำเนินการ ส่วนผู้บริหาร หรือแพทย์ ส่วนใหญ่จะพิจารณา กลั่นกรองในระยะสุดท้าย ก่อนนำไปสู่แผนปฏิบัติ สอดคล้องกับรายงานวิจัย ของ ภาวนา อำนวยตระกูล (2566) ที่วิเคราะห์บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการพัฒนาแผน ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในระดับมาก ถึงปานกลาง ในทุก ๆ ด้าน รวมถึงมี ความคิดเห็นในทิศทางบวกในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขระดับจังหวัด สอดคล้องกับรายงานวิจัย ของ สำราญ เจริญผล (2564) และพิมพาพร เชื้อบางแก้ว (2565) การพัฒนาเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และมี ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระบบออนไลน์เป็น เครื่องมือหนึ่งของการพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผน ดำเนินการ และปรับปรุงยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรม Strategic Management System (SMS) เป็นหนึ่งในโปรแกรมควบคุม กำกับ การใช้ งบประมาณ ที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข พัฒนาโดยกระทรวงสาธารณสุข และปรากฏใน งานวิจัยบางชิ้นในการนำมาพัฒนาแผนยุทธศาสตร์มีการอ้างอิงเครื่องมือดังกล่าว (สันติ ทวยมีฤทธิ์, 2563) ขณะที่จังหวัดชัยภูมิ ได้มีการพัฒนาต่อยอดเครื่องมือดังกล่าว เป็นโปรแกรม FINTECH และโปรแกรม Project tracking ซึ่งใช้ในการควบคุม กำกับ ติดตาม ด้านงบประมาณ และด้านแผนงาน/โครงการ ตามการบริหาร


12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ทั้งนี้ การต่อยอดได้จากการวิเคราะห์จุดอ่อนของโปรแกรมก่อนหน้านี้ แล้ว ประยุกต์ให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับใช้ได้มากกว่า และจากการทบทวนวรรณกรรม ยังไม่พบรายงานวิจัยใดที่มีการพัฒนาโปรแกรมลักษณะดังกล่าว ขึ้นมาใช้ในการควบคุม กำกับ กิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์เลย จึงนับได้ว่า งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่ ได้มีการพัฒนาโปรแกรมในระบบออนไลน์โดยต่อยอดจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ออกแบบไว้ ให้ เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้ โปรแกรม FINTECH และ Project tracking มีส่วนช่วยในการควบคุม กำกับ การเบิกจ่ายงบประมาณ ตามแผนงาน/โครงการ ตามกลยุทธ์แผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ให้เป็นไปตาม เป้าหมาย ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูล และติดตามผลการดำเนินงานได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้โปรแกรมยังมีความพึง พอใจในระดับมาก บ่งบอกถึงการยอมรับในตัวเครื่องมือ (สันติ ทวยมีฤทธิ์, 2563) อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าว คือ ยังไม่ได้มีการประเมินประสิทธิผลในแง่ ของความทันเวลา ความครบถ้วนของแผนงาน/โครงการที่ส่ง รวมถึงการสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ในการบรรลุ ตัวชี้วัดของโปรแกรม ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาในระยะต่อไป ข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. เนื่องจากผลงานบางตัวชี้วัดยังต่ำกว่าเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการติดตามและ ประเมินผลที่ครอบคลุมทุกมิติ และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรายงานผลที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย 2. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานบางตัว อาจไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ หรือมีความซ้ำซ้อนกันในต่าง ยุทธศาสตร์ ควรมีการทบทวนให้เกิดความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ในพื้นที่ 3. การใช้เทคโนโลยีหรือแนวทางใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรในแง่ของความ ทันสมัย และลดทรัพยากร อย่างไรก็ตาม หากบุคลากรในองค์กรยังมีศักยภาพไม่ถึงในการใช้เทคโนโลยีหรือ แนวทางใหม่นั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ จึงควรมีการประชุมชี้แจง หรือการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรในการรองรับการใช้เทคโนโลยีหรือแนวทางใหม่นั้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการประเมินเป็นระยะ เพื่อพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ 4. โปรแกรมกำกับ ติดตาม ด้านงบประมาณ และแผนงาน/โครงการที่พัฒนาต่อยอด ควรได้รับการ ประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ต่อไป เอกสารอ้างอิง กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี จตุรงค์ ปานใหม่. (2564). การพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ


13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมา, 7(1), 222 – 236. พิมพาพร เชื้อบางแก้ว. (2565). การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 81 – 99. สันติ ทวยมีฤทธิ์. (2563). การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(33), 52 – 70. สมจิตร เดชาเสถียร, เจษฎา สุราวรรณ์, พชรพร ครองยุทธ และปัทมา ล้อพงศ์พานิชย์. (2562). การประเมินแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2562. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 1(2), 159 – 169. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). สำนักงานปลัดกระทรวงฯ กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี. สำราญ เจริญผล. (2564). รูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560 – 2564 ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4 – 5, 40(1), 113 – 124. ภาวนา อำนวยตระกูล. (2566). ระดับการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เขตสุขภาพที่ 12. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 7(13), 82 – 97. ศุภกิจ ศิริลักษณ์. (2554). ข้อเสนอบทบาทและโครงสร้างหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข ในการ กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ. ศศิธร ศรีแก้ว และสุดารัตน์ ลิจุติภูมิ. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 14(2), 3 – 12. รติยา วิภักดิ์, เสถียรพงษ์ ศิวินา และ กุศลาสัย สุราอามาตย์. (2563). รูปแบบการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของเครือข่ายสุขภาพอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(3), 149 – 161. Arunanondchai, J., Fink, C. (2006). Trade in health services in the ASEAN region. Health Promot Int, 21 Suppl 1, 59-66. doi: 10.1093/heapro/dal052. Barker, K. (1996). The Health care policy process. London: SAGE Publications Inc. Hines, A. (2008). Thinking About the Future: Guidelines for Strategic Foresight. Management Forum Series 2007 - 2007, 1 – 8. Hu, Q., Kapucu, N., & O’Byrne, L. (2014). Strategic Planning for Community-Based Small Nonprofit Organization: Implementation, Benefit and Challenges. The


14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 05/02/2567 วันที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2567 Journal of Applied Management and Entrepreneurship, 19(1), 83 – 101. Patel, P.M., Deshpande, V.A. (2017). Application of Plan-Do-Check-Act Cycle For Quality And Productivity Improvement – A Review. IJRASER, 5(1), 197 – 201. Stahl, T., Wismar, M., Ollila, E., Lathinen, E., Leppo, K. (2009). Health in all policies Prospects and potentials. Copenhagen: Ministry of Social Affairs and HealthFinland, WHO European Observatory on Health Systems and Policies; 2006. Available from URL: http://www.euro.who.int/document/e89260.pdf Accessed: August 14. Woyzbun, R. P. (n.d.). The Evolution of Strategic Planning. The Marketing Works, 1 – 8. Retrieved March 22, 2017, from http://www.the-marketing-works.com/pdf/planning.pdf.


1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จิตติมา ส่องสว่าง, ป.พย., (สาขาพยาบาลศาสตร์) หอผู้ป่วยหญิง, โรงพยาบาลทองผาภูมิ บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง 2) ผลการให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง และ 3) เปรียบเทียบผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง ก่อนและหลังใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตาม คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง ประกอบด้วย 1) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง 2) ประชุมและอบรม เชิงปฏิบัติการ 3) แผนการนิเทศการพยาบาลของหัวหน้าหน่วยงาน และ 4) คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูล การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงจากเวชระเบียน แบบทดสอบความรู้และแบบประเมิน การปฏิบัติการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอ นบาคภาพรวมทุกฉบับที่ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและและใช้สถิติการวิจัยแบบศึกษา เปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการใช้รูปแบบ (One group, Pre-Post Test) ผลวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า (1) อัตราการเสียชีวิตจากภาวะติด เชื้อในกระแสโลหิตช็อกลดลงจากร้อยละ 5.26 ลงมาที่ร้อยละ 2.11 (2) อัตราการส่งต่อหลังรับไว้นอน โรงพยาบาลจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลงจากร้อยละ 24.21 ลงมาที่ร้อยละ 14.74 ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ดีขึ้นตามเป้าหมาย สอดคล้องกับผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) หลังใช้รูปแบบฯ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ เพื่อ สนับสนุนความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงได้ คำสำคัญ: รูปแบบการพยาบาล ติดเชื้อในกระแสโลหิต ระยะรุนแรง พยาบาลวิชาชีพ รายงานการวิจัย


2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การติดเชื้อในกระแสโลหิต (Sepsis) เป็นภาวะผิดปกติจากการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ที่เกิด จากการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดการกระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย หากการติดเชื้อเกิดความรุนแรงจะ พัฒนาจนนำไปสู่ระบบอวัยวะต่างๆล้มเหลวและเสียชีวิตได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าในปี ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา มีผู้ป่วย 48.9 ล้านรายและมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ 11 ล้านรายทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นเกือบ ร้อยละ 20 ของการเสียชีวิตทั่วโลก(World Health Organization, 2017) รวมถึงประเทศไทยพบผู้ป่วยที่ติด เชื้อในกระแสเลือดประมาณ 1,750,000 ต่อปี เสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของผู้ป่วยโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยแนวโน้มสถิติการเสียชีวิตยังสูงขึ้นต่อเนื่อง ถือว่าเป็นสำคัญทางสาธารณสุขไทย จากสถิติในช่วง ปีงบประมาณ 2562-2566 พบอัตราการตายของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community acquired ในระดับประเทศเท่ากับ 32.37, 32.47, 33.71, 35.24 และ 30.5 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข , 2566) สะท้อนแม้จะมีความก้าวหน้าในการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตมากยิ่งขึ้น เช่น มียาต้านจุลชีพ ที่ดี มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต แต่อัตราตายของผู้ป่วยภาวะติดเชื้อใน กระแสโลหิตกลับยังสูงขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นความสูญเสียอย่างมากมายและนับเป็นปัญหาสำคัญของระบบ สาธารณสุขไทย รวมถึงภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในโรงพยาบาลทองผาภูมิมีสถานการณ์รับผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิต (เฉพาะ severe sepsis และ septic shock) ที่ไว้รักษาในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 จำนวนที่ 58 คนต่อปี และในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 99 คนต่อปีสำหรับปี พ.ศ. 2566 มี จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตไว้รักษาในโรงพยาบาล (เฉพาะ severe sepsis และ septic shock) จำนวน 95 คนจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปรวม 55 คน รองลงมาอายุ 35-59 ปีจำนวน 27 คน จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น พบว่ามีเป็นการติดเชื้อจากชุมชนร้อยละ 96.9 มีโรคประจำตัว 91 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 33.9 เป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิตมากที่สุดร้อยละ 49.4 รองลงมาเป็น การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจร้อยละ 32.8 ตรวจพบเชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียแกรมลบร้อยละ 55.7 ผู้ป่วยมี Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) มากกว่าร้อยละ 50–70 มีภาวะช็อกตั้งแต่แรกรับ ร้อยละ 87.37 มีภาวะ Lactate > 8 มล./ดล. ร้อยละ 71.1 มีภาวะหายใจล้มเหลวร้อยละ 11.58 มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 จำเป็นที่ต้องมี การศึกษาสภาพปัญหาและหาแนวทางปรับปรุงตามสาเหตุที่ชัดเจนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว จากการศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้นอนโรงพยาบาล ทองผาภูมิ ปี พ.ศ. 2566 พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ทั้งหมด 95 ราย ได้รับยาต้านจุลชีพ ภายใน 1 ชั่วโมงหลังวินิจฉัยร้อยละ 70.4 ผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคร้อยละ 41.2 ได้รับ สารน้ำใน 3 ชั่วโมงแรก 30 มล./กก. ร้อยละ 45.2 ได้รับยาพยุงความดันร้อยละ 46.5 อัตราเสียชีวิตโดยรวม ร้อยละ 37.5 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ได้แก่ อายุ มากกว่า70 ปีมีเชื้อขึ้นในสิ่งส่งตรวจ อื่นนอกจากในเลือด ได้รับยาต้านจุลชีพที่ไม่ครอบคลุมเชื้อ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีภาวะช็อกแรกรับ และหลังรับไว้รักษาตามลำดับ เนื่องจากพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินผู้ป่วย เฝ้าระวัง


3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ผู้ป่วย และให้การพยาบาลผู้ป่วยต้องครอบคลุมปัญหาและความต้องการเร่งด่วนของผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้ง การประเมินระดับความรุนแรงและการประเมินซ้ำที่ทันเวลา จึงจำเป็นที่ต้องพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง สำหรับพยาบาลชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่รับผู้ป่วยไว้นอนในโรงพยาบาลมากที่สุด ประกอบกับผู้ศึกษาเป็น หัวหน้าหน่วยงาน จึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงขึ้นเพื่อให้ มั่นใจว่าพยาบาลชีพที่ปฏิบัติงานสามารถให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดการใช้ กระบวนการพยาบาล และจากหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้สรุปการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงที่สำคัญ ได้ดังนี้ 1) การประเมินภาวะ การติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการใช้แบบประเมินระดับความ รุนแรง การตรวจระดับแลคเตทในเลือด 2) การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนเริ่มให้ยาต้านจุลชีพ (Srivisai,& Onseng, 2017) 3) การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าไปในร่างกายด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ตามมาตรฐานป้องกันการติดเชื้อ 4) การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำครอบคลุมเชื้อที่สงสัยเร็วที่สุด ภายใน 1ชั่วโมง หลังการวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง เป็นไปตามแผนการรักษาของ แพทย์ 5) การให้สารน้ำอย่างเพียงพอเมื่อต้องให้สารน้ำอย่างต่อเนื่อง พยาบาลติดตามปริมาณเลือดที่ออกจาก หัวใจเป็นระยะๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย 6) การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกัน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการได้รับสารน้ำในปริมาณมากและรวดเร็ว การประเมินภาวะน้ำเกิน 7) การให้ยา กระตุ้นการบีบหลอดเลือดหลังจาก Fluid Resuscitation เพื่อให้ได้ MAP ≥ 65 มิลลิเมตรปรอท ให้ยาด้วย ความระมัดระวัง ติดตามสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจทุกครั้ง 8) การติดตามและประเมินปริมาณปัสสาวะ ทุก 1 ชั่วโมง เฝ้าระวังภาวะไตวายและรายงานแพทย์เมื่อปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr. 9) การ พยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนตามความเหมาะสม ติดตามและปรับการให้ออกซิเจนเป็นระยะๆ เพื่อให้ O2 Saturation Room Air > 95% 10) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและควรควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในระหว่าง 80-150 มก/ดล. 11) การดูแลความสุขสบายและป้องกันโอกาสเกิดอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้น เช่น การเช็ดตัวลดไข้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ ป้องกันการพลัดตกหกล้ม การเกิด extravasation เป็นต้น 12) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติเป็นระยะๆ อย่างเพียงพอทั้งโรค สาเหตุของการ เกิดโรค การรักษาของแพทย์และการพยาบาลรวมทั้งเหตุผลในการให้การพยาบาล ผู้วิจัยในฐานะหัวหน้าหอผู้ป่วยหญิงได้เลือกกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อใน กระแสโลหิตชนิดรุนแรงที่มารับไว้นอนในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรีถูก กำหนดให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายคุณภาพและการสาธารณสุขชายแดนตะวันตกชั้นนำ ขนาด 90 เตียง ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในอำเภอทองผาภูมิและรับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลลูกข่าย 3 แห่งของ จังหวัดกาญจนบุรี ให้บริการด้านการรักษาทั่วไปและโรคเฉพาะทางในสาขาอายุรกรรม เป็นแม่ข่ายรับส่งต่อ จากโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงด้วย จึงมีจำนวนผู้ป่วยที่รับไว้นอนได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวการณ์ติดเชื้อ


4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ในกระแสโลหิตระยะรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 54.74 เป็นเพศหญิง ผู้วิจัยจึงมีความตั้งใจที่จะพัฒนา รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรีโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็มทั้ง 3 ระยะในการพัฒนารูปแบบการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง โดยระยะที่ 1 การพยาบาลเพื่อการทดแทนทั้งหมด เนื่องจากระยะนี้ มีอาการและสภาวะที่รุนแรง ความสามารถในการตอบสนองของร่างกายถูกทำลายไปแล้วจากติดเชื้อในกระแส โลหิตระยะรุนแรง การรักษามุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการอย่างรวดเร็วและการป้องกันภาวะที่ติดเชื้อมากขึ้น เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ระยะที่ 2 การพยาบาลเพื่อทดแทนบางส่วน เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มฟื้นตัวจาก การป่วย อาการของโรคเริ่มลดลง และระบบภูมิคุ้มกันเริ่มทำงานใหม่เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว การรักษาใน ระยะนี้มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนร่างกายให้กลับมาสู่สภาพปกติ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา เช่น การให้โปรตีน และพลังงานในอาหารอย่างเพียงพอ และระยะที่ 3 ร่างกายยังคงมีความอ่อนแอจากการ ป่วย จำเป็นต้องให้การพยาบาลเพื่อการสนับสนุนและให้ความรู้ มุ่งเน้นไปที่การป้องกันภาวะแทรกซ้อน และ การสนับสนุนร่างกายให้ฟื้นคืนสู่สภาพปกติให้ทำได้เร็วที่สุด เช่น การให้บริการกายภาพบำบัดและการ สนับสนุนทางด้านโภชนาการ ดังนั้น รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงโดย ประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็มทั้ง 3 ระยะนั้น จะช่วยให้พยาบาลวิชาชีพมีแนวทางปฏิบัติที่ เป็นมาตรฐานเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลที่หอผู้ป่วยหญิง ปฏิบัติได้ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วย หญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีด้านเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการ และด้านผู้ป่วย ก่อนและหลัง ใช้รูปแบบ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอ ผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีระหว่างก่อนและหลังใช้รูปแบบ สมมติฐานการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัย ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัย ดังนี้ 1. หลังใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติในหอผู้ป่วยหญิง ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้รูปแบบฯ ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง 2.การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ 3. การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์ 4. การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ 5.การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ 6.การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง


5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 7. การให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด 8. การติดตามและประเมินปริมาณปัสสาวะ 9. การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน 10. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ 11. การดูแลความสุขสบายและป้องกันโอกาสเกิดอันตราย 12.การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ 2. หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ด้านอัตราการทรุดลงจนต้องส่งต่อและอัตราการเสียชีวิต ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้รูปแบบ กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัย ครั้งนี้ใช้กระบวนการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม ทั้ง 3 ระยะ คือ 1) ระยะทดแทนทั้งหมด 2) ระยะทดแทนบางส่วน และ 3) ระยะการพยาบาลแบบสนับสนุนและ ให้ความรู้ และเน้นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต สรุปการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการ ติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงที่สำคัญ 12 ประเด็น เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา สรุปได้ดังแผนภาพที่ 1 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม แนวทางการการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ชนิดรุนแรงตามทฤษฎีระบบการพยาบาลของโอเร็ม 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพยาบาลเพื่อการทดแทนทั้งหมด ประกอบด้วย - การประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง - การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ - การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์ - การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ -การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ - การให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด ระยะที่ 2 การพยาบาลเพื่อทดแทนบางส่วน ประกอบด้วย - การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง - การติดตามและประเมินปริมาณปัสสาวะ - การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน - ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ระยะที่ 3 การพยาบาลเพื่อการสนับสนุนและให้ความรู้ ประกอบด้วย - การดูแลความสุขสบายและป้องกันโอกาสเกิดอันตราย - การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ดูแลแบบเดิม และดูแลในรูปแบบใหม่ ผลลัพธ์ด้านเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ผลคะแนนการ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ระยะรุนแรง ดังนี้ 1. ระดับความรู้ 2. ระดับการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ดูแลแบบเดิม และดูแลในรูปแบบใหม่ ผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง ประกอบด้วย - อัตราการทรุดลงจนต้องส่งต่อ - อัตราการเสียชีวิต ภาพที่1 กรอบแนวคิดในการวิจัย


6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประเภทของการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน-หลังการใช้รูปแบบ (Pretest– posttest one group design) 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน (โรงพยาบาลทองผาภูมิ, 2566) และเวชระเบียนผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงจำนวน 95 ฉบับ (โรงพยาบาลทองผาภูมิ, 2566) กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง มี เกณฑ์การคัดเลือก (inclusion criteria) ดังนี้ 1) มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 2) ปฏิบัติงานดูแล ผู้ป่วยโดยตรงตามเวร 8 ชั่วโมง 3) ไม่อยู่ในระหว่างการอบรมระยะสั้นหรือลาศึกษาต่อ และ 4) ยินดีให้ข้อมูล การวิจัยโดยการตอบแบบสอบถาม และจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง (สถิติโรงพยาบาลเลา ขวัญ, 2567) จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 คน (ก่อนใช้รูปแบบฯ 30 คน และหลังใช้รูปแบบฯ 30 คน) 3. เครื่องมือการวิจัย 3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 1.1) แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงตามทฤษฎี ระบบการพยาบาลของโอเร็ม 3 ระยะ พร้อมรวบรวมเพื่อจัดทำคู่มือ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพยาบาลเพื่อการทดแทนทั้งหมด ประกอบด้วย การประเมินภาวะติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์การบริหารยา ต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ-การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ การให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด ระยะที่ 2 การพยาบาลเพื่อทดแทนบางส่วน ประกอบด้วย การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง การติดตามและประเมินปริมาณปัสสาวะ การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ สารอาหารที่เพียงพอ ระยะที่ 3 การพยาบาลเพื่อการสนับสนุนและให้ความรู้ประกอบด้วย การดูแลความสุข สบายและป้องกันโอกาสเกิดอันตราย และการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ 1.2) จัดทำคู่มือ จัดระบบการเรียนรู้สำหรับพยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอ ผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิผ่านสื่อโซเชียล (QR code) และเอกสารที่จัดทำไว้ที่หน่วยงานหอผู้ป่วย หญิง 1.3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง


7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพของหอ ผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ กลุ่มตัวอย่างกลับไปปฏิบัติงานให้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ชนิดรุนแรงตามที่กำหนดไว้ ดำเนินการตามแผนการให้คำปรึกษา ระบบขอคำปรึกษาจากพยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์มากกว่า แบบพบปรึกษากันเฉพาะกลุ่มครั้งละ 2 ชม. รวม 3 ครั้ง/สัปดาห์ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ มีการบันทึกจัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์ 1.4) ประเมินความรู้ผ่านแบบทดสอบความรู้ 1.5) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้/เรียนรู้ระหว่างพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิโดย Focus group โดยการอบรมและพูดคุยแบบไม่เป็นทางการในการทำงาน ทุกวัน ต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นชุดของแบบสอบถาม (questionnaire) ที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นจากการศึกษาเอกสารทางวิชาการ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ถามเกี่ยวกับลักษณะข้อมูลทั่วไปของ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อายุการทำงาน การอบรมที่เกี่ยวกับ การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (2) แบบเก็บข้อมูลการปฏิบัติการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง ได้แก่ ผลการประเมินตนเองถึงระดับการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง ของพยาบาลวชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 24 ข้อ เป็นแบบตรวจสอบการปฏิบัติว่า พบ/ไม่พบการปฏิบัติ และการปฏิบัติว่า ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง (3) แบบวัดความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ได้แก่ ระดับความรู้การปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ของพยาบาลวชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 14 ข้อ แบบ เลือกตอบมี 4 ตัวเลือก (4) แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย จำนวน 9 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ การวินิจฉัยแรกรับ คะแนนความรุนแรงของความเจ็บป่วย โรค ประจำตัว และตำแหน่งที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ ส่วนที่ 2 ข้อมูลกระบวนการและผลลัพธ์ผู้ป่วย ประกอบด้วย 1) การวินิจฉัยโรครวดเร็วและถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง 2) การเจาะเลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic 3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย 4) ผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซีภายใน 1 ชั่วโมง 5) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงาน แพทย์ทันเวลา 6) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว 7) การเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต 8) การส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า


8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือการวิจัยนี้ ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (index of item – objective congruence: IOC) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน อายุรแพทย์ พยาบาลประจำการ เชี่ยวชาญในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง และอาจารย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญจาก วิทยาลัยพยาบาล โดยมีค่าระหว่าง 0.87 – 1.00 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขไปทดลองใช้กับพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 30 คน วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบวัดเกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง มีค่าภาพรวมทุกฉบับที่ 0.95 4. การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กาญจนบุรีรับรองเมื่อวันที่ 10 เดือน มกราคม 2567 หมายเลข EC.No. 51/2566 ผู้วิจัยชี้แจงผู้เข้าร่วม โครงการให้ทราบถึงสิทธิการตอบรับหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมในการวิจัย หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อคำถามใดไม่ สะดวกใจที่จะตอบ กลุ่มตัวอย่างมีอิสระที่จะไม่ตอบคำถาม ทั้งสามารถยุติการให้ความร่วมมือในขั้นตอนใดของ การวิจัยก็ได้และขอข้อมูลกลับคืนได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและสามารถสอบถามข้อข้องใจกับผู้วิจัย ได้ ให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยความสมัครใจและในการตอบแบบสอบถามจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ ยินยอมเข้าร่วมโครงการ การรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลและการทำลายข้อมูลเมื่อสิ้นสุดการวิจัยโดยวิธีเข้า เครื่องทำลายเอกสารภายใน 1 ปี หลังจากได้รับการอนุมัติผลงาน เผยแพร่ผลการวิจัยในภาพรวมและการ นำเสนอในเชิงวิชาการ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการหลังได้รับหนังสือรับรองโครงการวิจัยตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดทำหนังสือจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ถึงฝ่ายการ พยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลทองผาภูมิ เพื่อขออนุเคราะห์ในการดำเนินการวิจัยและเก็บ รวบรวมข้อมูล และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 2) ทำหนังสือหรือติดต่อส่วนตัวเพื่อขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างที่จะดำเนินการวิจัยและ นัดหมาย เพื่อการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูล โดยผู้วิจัย 3) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพโดยตรง และศึกษาผล การพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิดรุนแรงหลังได้รับ การอนุมัติจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ผู้วิจัยทำหนังสือขอเข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วยตามมาตรฐานงานเวช ระเบียนของโรงพยาบาลทองผาภูมิ) ทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 4) ก่อนที่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจะตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจะชี้แจงวัตถุประสงค์ของการ


9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 เข้าร่วมการวิจัย และให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพได้อ่านเอกสารชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน และเซ็นใบ ยินยอมการให้ข้อมูลและการเข้าร่วมกิจกรรม หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อสงสัยในการตอบ ผู้วิจัยจะให้คำแนะนำจน เป็นที่เข้าใจ แบบสอบถามที่ตอบเสร็จจะรับคืนในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นระยะก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 5) ดำเนินการตามรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้น 6) ใช้เวลาในดำเนินการวิจัยตั้งแต่เริ่มศึกษาจนนำรูปแบบไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง รวม ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลรวม 12 สัปดาห์หลังผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 7) ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และความสมบูรณ์ของแบบสอบถามและแบบเก็บ ข้อมูลเพื่อเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป 6. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์แล้วเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ตาม ระเบียบ วิธีทางสถิติโดยมีการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนการนำมาวิเคราะห์โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอ ผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีที่ดำเนินการตามรูปแบบเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการติดตามและทำการวัดความรู้ตามแผนการศึกษาวิจัยหลังเสร็จสิ้นโครงการ ใช้เวลาในการตอบ แบบสอบถามที่ 20-30 นาทีผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ตั้งไว้ พร้อมทำการ วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) ผู้วิจัยทำการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) โดยการทดสอบข้อมูลว่ามีการแจก แจงเป็นโค้งปกติ (Normality) หรือไม่ ด้วยการทดสอบจากสถิติ Kolmogorov-Smirnov test พบว่าข้อมูลมี การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Sig = .100) 2) ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ถามเกี่ยวกับลักษณะข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงาน จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อายุการทำงาน การอบรมที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 3) ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว การวินิจฉัยแรกรับ เวลาเกิดอาการ เวลา ถึงหน่วยงานอุบัติตุฉุกเฉิน เวลาซักประวัติ/ประเมินแรกรับ เวลาแพทย์ตรวจวินิจฉัย สั่งการรักษา เวลารับไว้ใน หอผู้ป่วยหญิง เวลาได้รับการรักษาตามคำสั่งแพทย์ ประกอบด้วย การเจาะเลือด การให้ยา การให้สารน้ำ การ ประเมินประเมินซ้ำ การเฝ้าระวังตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 8 ข้อ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจก แจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 4) เปรียบเทียบคะแนนความรู้และระดับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ระยะรุนแรง กลุ่มตัวอย่าง ก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง


10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยระยะนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง การใช้รูปแบบ (One group, Pre-Post Test) 5) ศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอ ผู้ป่วย หญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีด้านผู้ป่วย ระยะนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง การใช้รูปแบบ (One group, Pre-Post Test) เปรียบเทียบผลลัพธ์จากการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง ประกอบด้วย 1) การวินิจฉัยโรครวดเร็วและถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง 2) การเจาะ เลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic 3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง หลังได้รับการวินิจฉัย 4) ผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซีภายใน 1 ชั่วโมง 5) ผู้ป่วยได้รับ การประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันเวลา 6) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว 7) การเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต 8) การส่งต่อโรงพยาบาล ที่มีศักยภาพสูงกว่า ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเพศหญิงและจบการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 100 มีอายุเฉลี่ย 32 ปีอายุมากที่สุด 47 ปีอายุน้อยที่สุด24 ปีส่วนใหญ่อายุระหว่าง25-35 ปีร้อยละ66.67 ประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วย หญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เฉลี่ยที่9.80 ปีประสบการณ์การทำงานมากที่สุด24 ปีและน้อย ที่สุดที่1 ปี ได้รับการอบรมที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตร้อยละ60 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยหญิง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ ค่าเฉลี่ยคะแนนคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยหญิง หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มสูงกว่าก่อนการเข้าก่อนการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05) รายละเอียดดังตาราง 1 ตาราง 1 เปรียบเทียบ คะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละ คะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรงก่อน-หลังการใช้รูปแบบ (n=15) แบบทดสอบความรู้ ก่อนการใช้ รูปแบบ หลังการใช้ รูปแบบ t pvalue จำนวน (ร้อยละ) จำนวน (ร้อยละ) การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง (14 ข้อ) 9.22 (61.47) 14.11 (94.07) 11.049 <.001*** ***p < .001


11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ จากเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรง จำนวน 60 ฉบับก่อน-หลังการการใช้รูปแบบ ดลองอย่างละ 30 ฉบับ พบว่า ปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .01, p< .001) ทุกด้าน รายละเอียดดังตาราง 2 ตาราง 2 เปรียบเทียบ จำนวน ร้อยละ ผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรงของพยาบาลวิชาชีพ จากเวชระเบียนผู้ป่วย 2 กลุ่มก่อน-หลังการใช้รูปแบบ (pre-test=30), (post-test =30) ผลการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ จากเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ก่อนการใช้ รูปแบบ (pre-test=30) หลังการใช้ รูปแบบ (post-test =30) จำนวน (ร้อยละ) จำนวน (ร้อยละ) t p-value (1) การประเมินภาวะ Sepsis และความรุนแรง 6 (21.60) 25 (83.78) 2.705 .010** (2) การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ 8 (27.00) 26 (86.49) 2.928 .006** (3) การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์ 10 (32.40) 25 (83.78) 5.334 <.001*** (4) การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ 8 (27.00) 22 (72.97) 5.532 <.001*** (5) การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ 6 (21.60) 27 (91.89) 8.222 <.001*** (6) การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการรายงานแพทย์ 6 (21.60) 28 (94.59) 7.924 <.001*** (7) การให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด 8 (27.00) 21 (70.27) 3.819 <.001*** (8) การติดตามและประเมินปริมาณปัสสาวะ 10 (32.40) 19 (64.86) 3.402 .002** (9) การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน 10 (32.40) 25 (83.78) 5.334 <.001*** (10) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ 8 (27.00) 22 (72.97) 5.532 <.001*** (11) การดูแลความสุขสบายและป้องกันโอกาสเกิดอันตราย 6 (21.60) 27 (91.89) 8.222 <.001*** (12) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ 8 (27.00) 28 (94.59) 8.423 <.001*** **p < .01, ***p < .001 4. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย จากเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ เปรียบเทียบกระบวนการและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยก่อน-หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีสรุปได้ ดังนี้(1) อัตราการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตช็อกลดลงจากร้อยละ 5.26 ลงมาที่ร้อยละ 2.11 (2)


12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 อัตราการส่งต่อหลังรับไว้นอนโรงพยาบาลจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลงจากร้อยละ 24.21 ลงมาที่ร้อย ละ 14.74 ผลลัพธ์ด้านกระบวนการดีขึ้นตามเป้าหมาย เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน รายละเอียดดังดังตาราง 3 ตาราง 3 เปรียบเทียบจำนวน ร้อยละผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง จาก เวชระเบียนผู้ป่วย 2 กลุ่มก่อน-หลังการใช้รูปแบบ (pre-test=30), (post-test =30) ผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ก่อนการใช้รูปแบบ (pre-test) หลังการใช้รูปแบบ (post-test) จำนวน (ร้อยละ) จำนวน (ร้อยละ) 1. การวินิจฉัยโรครวดเร็วและถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง 3 (10.81) 28 (94.59) 2. การเจาะเลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic 3 (10.81) 27 (91.89) 3. ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย 24 (81.08) 26 (86.49) 4. ผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซีภายใน 1 ชั่วโมง 22 (72.97) 27 (91.89) 5. ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันเวลา 2 (8.11) 25 (83.78) 6. ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะ หายใจล้มเหลว 1 (2.70) 29 (97.30) 7. การเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต 2 (5.26) 1 (2.11) 8. การส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า 7 (24.21) 4 (14.74) อภิปรายผล การอภิปรายผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยตามสมมุติฐานการวิจัย ดังนี้ สมมุติฐานการวิจัยที่ 1 หลังใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอ ผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยหญิง ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้ รูปแบบ เป็นดังนี้ 1. ผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติใน หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้รูปแบบ อธิบายได้ว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วย หญิงได้เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่า 1.1 ความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความรู้เพิ่มสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .001) อธิบายได้ว่า เมื่อพยาบาลได้รับรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ แล้ว สามารถมีความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต


13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ระยะรุนแรงฯ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการประเมินภาวะ Sepsis และความรุนแรง การเจาะเลือดเพื่อเพาะ เชื้อ การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ การให้สารน้ำอย่าง เพียงพอ การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการรายงานแพทย์ และการให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด สอดคล้องกับการศึกษาการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อกระแสเลือดในหอ ผู้ป่วยโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราช (รัตนา มั่นคง, อุไรรักษ์ ผาชา และอินทิรา ภูสง่า, 2566) โดยรูปแบบ การปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้คัดกรองและประเมินภาวะติดเชื้อกระแส เลือด การประเมินติดตามอาการต่อเนื่อง การปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลตามเงื่อนไขค่าคะแนน SOS Score การปฏิบัติตามชุดการรักษา (Sepsis Bundles) และการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแส เลือด หอผู้ป่วย อายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน (สมพร รอดจินดา และสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, 2563) รูปแบบ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ประกอบด้วย 1) การคัดกรองและวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสเลือดให้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยเร็ว 2) การบริหารอัตรากำลัง ทีมพยาบาลแบบผสานอัตรากำลัง 3) การอบรมเชิง ปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยแก่ทีมสหวิชาชีพ 4) การจัดทำคู่มือและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการ พยาบาล และ 5) การกำหนดระบบติดตาม กำกับ การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลของทีมสหวิชาชีพ 1.2 พยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .01, p< .001) ทุกด้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) การประเมินภาวะ Sepsis และความรุนแรง (t = 2.705, p < 0.01) (2) การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ(t = 2.928, p < 0.01) (3) การดูแลใส่หรือถอดสายสวนหรืออุปกรณ์(t = 5.334, p < 0.001) (4) การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ (t = 5.532, p < 0.001) (5) การให้สารน้ำอย่าง เพียงพอ (t = 8.222, p < 0.001) (6) การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการรายงานแพทย์ (t = 7.924, p < 0.001) (7) การให้ยากระตุ้นการบีบหลอดเลือด (t = 3.819, p < 0.001) (8) การติดตามและประเมิน ปริมาณปัสสาวะ (t = 3.402, p < 0.01) (9) การพยาบาลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน (t = 5.334, p < 0.001) (10) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ (t = 5.532, p < 0.001) (11) การดูแลความสุขสบายและ ป้องกันโอกาสเกิดอันตราย (t = 8.222, p < 0.001) (12) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ(t = 8.423, p < 0.001) อธิบายได้ว่า การปฏิบัติการพยาบาลที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง คือ การประเมินภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและความรุนแรง หลังแพทย์วินิจฉัยโรครวดเร็วและถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้การเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ การบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ การให้สารน้ำอย่าง เพียงพอ และการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง และการรายงานแพทย์ที่ทันเวลา จากผลการวิจัยที่พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นหลังได้รับรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่เพิ่มมากขึ้น คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินโดยใช้ sos score และรายงานแพทย์ทันเวลา สามารถลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต และลดการส่งต่อ


14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะ หายใจล้มเหลวมากขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรง พยาบาลสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลตั้งแต่แรกรับ เร่งด่วน ระยะต่อเนื่องจากการ ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยมีความดันโลหิตเฉลี่ยในหลอดเลือดแดง (mean arterial pressure; MAP) ≥65 mmHg ในชั่วโมงที่ 1, 6 ร้อยละ 92, 98 ตามลำดับ ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังวินิจฉัยร้อย ละ 90 แรกรับได้รับการประเมิน sos score ทุกราย และซ้ำทุก 2 ช.ม. ร้อยละ 80 พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ ระดับสูงในการคัดกรองผู้ป่วยร้อยละ 85.19 (ลัดดา จามพัฒน์, 2563) สมมุติฐานที่ 2 หลังใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง หอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ด้านอัตราการทรุดลงจนต้องส่งต่อและอัตราการเสียชีวิต ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้รูปแบบ เป็นดังนี้ 1. ผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงด้านอัตราการทรุดลงจนต้องส่ง ต่อและอัตราการเสียชีวิต ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะก่อนนำใช้รูปแบบ อธิบายได้ว่า รูปแบบการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงฯ ที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้น โดยผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า 1.1 อัตราการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตช็อกลดลงจากร้อยละ 5.26 ลงมาที่ร้อยละ 2.11 และอัตราการส่งต่อหลังรับไว้นอนโรงพยาบาลจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลงจากร้อยละ 24.21 ลงมาที่ร้อยละ 14.74 สอดคล้องกับการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส เลือด โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีพบว่า หลังการใช้ปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยติดเชื้อใน กระเเสเลือด มีอัตราการเสียชีวิตลดลงคิดร้อยละ 0.35 อัตราการได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการ วินิจฉัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 91.23 อัตราได้รับการตรวจเพาะเชื้อในเลือดก่อนได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 45 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.15 อัตราการได้รับสารน้ำอย่างรวดเร็วใน 30 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.28 อัตราการเกิด ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง เช่น ไตวายเฉียบพลันรุนแรง (serum creatinine > 5.0) ร้อยละ 0.78 การ หายใจล้มเหลวร้อยละ 1.23 (สุกมล วงศ์คูณ, 2566) 1.2 ผลลัพธ์ด้านกระบวนการดีขึ้นตามเป้าหมาย เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ดังนี้ (1) การวินิจฉัยโรครวดเร็ว และถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.81 เป็นร้อยละ 94.59 (2) การเจาะเลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.81 เป็นร้อยละ 91.89 (3) ผู้ป่วย ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังได้รับการวินิจฉัย เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.08 เป็นร้อยละ 86.49 (4) ผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซีภายใน 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.97 เป็นร้อยละ 91.89 (5) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันเวลา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.11 เป็นร้อยละ 83.78 และ (6) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจ ล้มเหลว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.70 เป็นร้อยละ 97.30 ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแส โลหิตช็อกลดลงจากร้อยละ 5.26 ลงมาที่ร้อยละ 2.11 และอัตราการส่งต่อหลังรับไว้นอนโรงพยาบาลจากภาวะ


15 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ติดเชื้อในกระแสโลหิตลดลงจากร้อยละ 24.21 ลงมาที่ร้อยละ 14.74 สอดคล้องกับการศึกษาการได้รับการ ดูแลตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยการติดตามประเมินระบบไหลเวียน โลหิตโดยการติดตามสัญญาณชีพ และการวัด CVPและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างใกล้ชิดโดยพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นและมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลดลง (Boyd et al, 2011), (Chen et al, 2011) และ (Malvin et al, 2016) และผลการศึกษาการให้ยาปฏิชีวนะที่ช้าลงไปทุก ๆ 1 ชั่วโมงจะ เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตมากขึ้นร้อยละ 8 (Kumar.et al, 2006) ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ผู้บริหารการพยาบาลควรบรรจุรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง ของพยาบาลวิชาชีพ ไว้ในแผนและกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งในรูปแบบการอบรม คู่มือ เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่หลากหลาย ช่องทางให้ได้ต่อเนื่องต่อไป เนื่องจากการส่งเสริมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงนั้นเป็น ความรู้เฉพาะและเน้นทักษะความสามารถเชิงลึก 2. หัวหน้าหน่วยงานจำเป็นต้องสนับสนุนด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ให้มากขึ้น เนื่องจาก ผลการวิจัยนี้ มีความชัดเจนว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง มีผลต่อคะแนน ความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรงของพยาบาลวิชาชีพ เพิ่มมากขึ้นหลังเข้าร่วม กิจกรรม ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรพัฒนาเครื่องมือที่ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ตามบริบท องค์กรเพื่อการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ที่มีผลต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตทุกราย นอกเหนือจากการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะ รุนแรงของพยาบาลวิชาชีพ กับกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง


16 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 06/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อมูลอัตราตายจากภาวะ Sepsis. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2/ กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญา ภาบุญโย ประการ, & พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. (2560). ผลลัพธ์ของการพัฒนาการ ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 34(3), 222-236. จินตนา ภาวะ ดี. (2566). การ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลปลาปากจังหวัด นครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(2), 648-659. ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, & อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. (2564). การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตขอ โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะ เกษ, 1(2), 40-52. รัตนา มั่นคง, อุไรรักษ์ ผาชา, อินทิรา ภูสง่า. (2566). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มี ภาวะ ติดเชื้อกระแสเลือดในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพชุมชน, 8(2), 397-408. เวียงพิงค์ ทวีพูน. (2566). ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม. (อินเตอร์เน็ท) PowerPoint Presentation (bru.ac.th) สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2566. ลัดดา จามพัฒน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และการศึกษา, 3(2), 56-66. สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดหอ ผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 30(1), 120-134. สุกมล วงศ์คูณ. (2566). ประสิทธิผลการพัฒนาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาล ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 62-71. Kumar, A., Roberts, D., Wood, K. E., Light, B., Parrillo, J. E., Sharma, S., .& Cheang, M. (2006). Duration of hypotension before initiation of effective antimicrobial therapy is the critical determinant of survival in human septic shock. Critical care medicine, 34(6), 1589-1596. World Health Organization. Sepsis. [Internet]. [Cited 2023 September 15]. Available from:URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis


1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ผลการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี นฤมล พูดเพราะ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเลาขวัญ บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิต และ 3) เปรียบเทียบผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ก่อนและ หลังใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 10 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ซึ่งผ่านการ ตรวจสอบหาความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.86 และ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและสถิติกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One group, Pre-Post Test) ผลวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังทดลอง พบว่า (1) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้แบบคัด กรองความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและรายงานแพทย์ (2) ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะ เชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันทีหลังการวินิจฉัย ของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะ ช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว และ (5) บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวร อย่างต่อเนื่อง ตามเป้าหมายเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01, p< .001) และพยาบาลวิชาชีพมี ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หลังการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตฯ ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต อย่างมีคุณภาพได้ คำสำคัญ: รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ ติดเชื้อในกระแสโลหิต การปฏิบัติการพยาบาล รายงานการวิจัย


Click to View FlipBook Version