The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sonthaya, 2024-04-22 09:13:00

Ebook 2_เมษายน

Ebook 2_เมษายน

4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 แผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาวจะมีกิจกรรม โดยให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านในกลุ่มวัยก่อน ผู้สูงอายุ (Pre-aging) อายุระหว่าง 45-59 ปีเป็นพี่เลี้ยงจับคู่กับผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว ร่างกาย จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการศึกษาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุควรที่จะมีผู้สนับสนุนหรือ การจับคู่กันในการทำกิจกรรมซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ดี ขึ้น เช่น การศึกษาของเรณุวัฒน์โคตรพัฒน์,รังสรรค์สิงหเลิศ และณรงค์ฤทธิ์โสภา (2564) ซึ่งได้ศึกษา รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 5 กิจกรรมที่ ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กิจกรรมบริหารกายและจิต กิจกรรมให้ความรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรม ตรวจสุขภาพ และกิจกรรมเยี่ยมบ้าน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของลำไพ สุวรรณสาร และอรุณรัตน์ สู่หนอง บัว (2565) ได้ศึกษาผู้สูงอายุสุขภาพดี: ในมุมมองความสุข 5 มิติพบว่า การสร้างสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ เป้าหมายหลัก คือ “ผู้สูงอายุสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยมี6 ประเด็นที่ต้องการ ดำเนินการ ประกอบด้วย 1) การเคลื่อนไหว 2) โภชนาการ3) สิ่งแวดล้อม 4) สุขภาพช่องปาก 5) สมองดี และ 6) มีความสุขทั้ง 5 มิติซึ่งผู้วิจัยได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ดังนี้ กิจกรรมบริหารกาย กิจกรรม เยี่ยมบ้าน และการเคลื่อนไหว โดยได้นำมาประยุกต์กับแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมาใช้ในบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุในชุมชน รวมถึงภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถ นำไปใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในระดับพื้นที่ให้กับกลุ่ม ผู้สูงอายุซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน ต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวของกลุ่มตัวอย่างก่อนและ หลังดำเนินการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาล เชียงคาน จังหวัดเลย สมมติฐานการวิจัย หลังการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และพฤติกรรมที่ดีขึ้น จากก่อนการแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว


5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการ ทดลอง (One group pretest – posttest design) ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย ปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 2,182 คน มีเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ดังนี้ เกณฑ์คัดเข้า 1) เป็นผู้สูงอายุโดยมีอายุ60 -70 ปี 2) สามารถพูด เขียน และอ่านหนังสือได้ 3) เป็นผู้สูงอายุที่จัดอยู่ในกลุ่มติดสังคม โดยประเมินจากแบบประเมินความสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) ซึ่งได้คะแนนระหว่าง 12 – 20 คะแนน แผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวา ยืนยาว มีองค์ประกอบด้านการ ส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเอง ด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ดำเนินการจำนวน 3 เดือน ดังนี้ - การอบรม/ประชุมด้านการส่งเสริม สุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนว ทางด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ เน้นกิจกรรมบริหารกาย - ทำแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว เฉพาะรายบุคคล - ป ฏ ิ บ ั ต ิ ต า ม แ ผ น Individual Wellness Plan - กิจกรรมเยี่ยมบ้าน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่ เพื่อนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในชุมชน การลดความเสี่ยงต่อ การหกล้ม 1.ข้อมูลทั่วไป - เพศ - อายุ - การอยู่อาศัย 2.ระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหว (ทดสอบโดย TUG -Test) ระยะเวลาที่ใช้ในการ เคลื่อนไหว ( ท ด ส อ บ โ ด ย TUG - Test)


6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 เกณฑ์คัดออก 1) ไม่สามารถจะเข้าร่วมการวิจัยได้จนสิ้นสุดโครงการวิจัย เช่น ต้องได้ย้ายที่อยู่อาศัย มีการ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในโครงการวิจัยจนสิ้นสุด โครงการได้เป็นต้น 2) ไม่ยินยอมที่จะเข้าร่วมโครงการวิจัย 3) กลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่รุนแรงเป็นอันตรายในการทำกิจกรรมในการวิจัย ได้แก่กลุ่มที่เป็น โรคหัวใจและยังมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่กลุ่มที่มีค่าความดันโลหิต มากกว่า 200/100, โรคกระดูกพรุน, โรคข้อ เข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน โดยใช้เกณฑ์จากการวินิจฉัยโรคของแพทย์ประจำโรงพยาบาล เชียงคานในการเข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ การคำนวณขนาดตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรในการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยวัดก่อนและหลัง การใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัด เลย ปี 2566 จำนวนทั้งสิ้น 2,182 คน มีขนาดตัวอย่างดังสูตรต่อไปนี้ (นิคม ถนอมเสียง, 2561) สูตร n = (∝−) 2 2 2 แทนค่าสูตรได้ดังนี้ จากงานวิจัยของวลัยนารี พรมลา และจีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์(2561) ศึกษาผลของโปรแกรมการ ส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานีพ.ศ. 2564 พบว่า ความต่างของค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรม เท่ากับ 2.39 และค่าความต่างของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.30 ซึ่งเป็นผลการศึกษาของคะแนนพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งนำค่าดังกล่าวมาแทนค่าในสูตรได้ ดังนี้ แทนค่าสูตร n = (1.96−0.84) 22.392 0.302 n = 79.61 ได้จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจากการคำนวณ จำนวนกลุ่มละ 80 คน กลุ่มตัวอย่าง เลือกจากกลุ่มประชากรเป้ามาย โดยเลือกสุ่มตัวย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ดังนี้ ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย โดยนำรายชื่อที่ คัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก มาจับฉลากรายชื่อให้เหลือ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือกำกับการทดลอง และเครื่องมือทดลอง เครื่องมือกำกับการทดลอง ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่


7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 1. แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย เพศ อายุระดับการศึกษาสูงสุดการอยู่อาศัย และ อาชีพ มีคำถามทั้งหมด 5 ข้อ 2. แบบประเมินการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test : TUG) เกณฑ์การประเมิน : ใช้เวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 วินาทีถือว่า ปกติ/ไม่มีความ เสี่ยงต่อการหกล้ม ใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีถือว่า มีความเสี่ยงต่อการหกล้มปกติ 3. แบบประเมินความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่1 ความพึงพอใจ เกี่ยวกับแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหว ของผู้สูงอายุมีคำถามทั้งหมด 6 ข้อ การวัดระดับความพึงพอใจ ใช้มาตรา ลิเคิร์ท สเกล ซึ่งลักษณะคำถามมีคำตอบให้ เลือก 5 ระดับ คือ ความพึงพอใจน้อยที่สุดความพึงพอใจน้อยความพึงพอใจปานกลาง ความพึงพอใจมาก ความพึงพอใจมากที่สุด (Rensis and Likert, 1967) ผู้วิจัยได้กำหนดระดับคะแนนและระดับค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ระดับความพึงพอใจ ระดับคะแนน มากที่สุด 5 มาก 4 ปานกลาง 3 น้อย 2 น้อยที่สุด 1 การวัดค่าคะแนนระดับความพึงพอใจ สามารถหาได้จากนำผลรวมของคะแนนในแต่ ละกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด นำมาหาค่าเฉลี่ยและแปลความหมายค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ โดยกำหนดระดับ ความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งมีคะแนนในแต่ละระดับชั้น แบ่งออกได้เป็นช่วง ๆ ดังนั้น ในแต่ละระดับจะ มีคะแนนอันตรภาคชั้น (Class Interval) ดังนี้ พิสัย (Range) = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด จำนวนชั้น = 5 – 1 5 = 0.8 จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว สามารถกำหนดช่วงค่าเฉลี่ยการให้ความพึงพอใจ เพื่อ วิเคราะห์ผลแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังต่อไปนี้ คะแนนเฉลี่ย ความหมายของค่าคะแนนเฉลี่ย


8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 4.21 - 5.00 มากที่สุด 3.41 - 4.20 มาก 2.61 - 3.40 ปานกลาง 1.81 - 2.60 น้อย 1.00 - 1.80 น้อยที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้นำเสนอในรูปแบบของตาราง ประกอบคำ บรรยาย ส่วนที่ 2 ปัญหา/ข้อเสนอแนะ เครื่องมือทดลอง เป็นแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ด้าน สุขภาพ (Health Literacy) แก่ผู้สูงอายุและคนทุกกลุ่มวัย ขั้นตอนการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2564) ก่อนจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan ผู้สูงอายุจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ขั้นตอนของ Wellness Plan เป็นอันดับแรก โดยใน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ เครื่องมือ คือ การทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test : TUG) 1. เข้าสู่กระบวนการ ด้วยความสมัครใจ และได้รับการอบรม/ประชุม มีเนื้อหาดังนี้ การหก ล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงของการหกล้ม และการป้องกันการหกล้มเพื่อให้เข้าถึงข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทางด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ 2. ประเมินตนเองตามแนวทางการประเมินเพื่อรับรู้สถานการณ์สุขภาพ และความเสี่ยงด้าน สุขภาพ ได้แก่ การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ เครื่องมือ คือ การทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test: TUG) 3. จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan เป็นแผนเฉพาะ รายเพื่อพัฒนา ทักษะ กาย ใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพดีในด้านการความเสี่ยงต่อการ หกล้ม ซึ่งในการเคลื่อนไหวออกแรงของผู้สูงอายุต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ในการส่งเสริมสุขภาพทุกส่วน ของร่างกายให้แข็งแรงดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ความเครียด มีความสมดุลคล่องแคล่ว อ่อนตัว และการเคลื่อนไหว ได้มากที่สุด ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งทางสังคม และ เศรษฐกิจ สามารถดำรงชีวิตอยู่กับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข มีกิจกรรมทางกายและการเคลื่อนไหวร่างกายที่ เพียงพอเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุดังนี้ 1. ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายที่ระดับเหนื่อยปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อย 150 - 300 นาที ต่อสัปดาห์หรือโดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 30 นาทีได้แก่ กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น การ ทำงานบ้าน ทำสวน ทำไร่ล้างรถ การเดินทางด้วยการเดิน ปั่นจักรยาน เดินขึ้นบันได และกิจกรรมยามว่าง เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬา เดินเร็ว ปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะๆ เต้นแอโรบิก เต้นบาสโลบ


9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 2. การบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรง ควบคู่กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่าง น้อย 2 วันต่อสัปดาห์ซึ่งจะส่งผลทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ กลุ่มกล้ามเนื้อที่ควร บริหารให้แข็งแรง ได้แก่ต้นขา สะโพก ลำตัว หลัง หัวไหล่ และแชนโดยบริหารท่าต่างๆ 12 - 15 ครั้งนับเป็น 1 ชุด บริหาร 2 - 3 ชุด และพักระหว่าง ชุด 1 นาที ส่วนการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ยืดเหยียดจนรู้สึกตึง แล้ว คงค้างไว้ 15 วินาที 3. ผู้สูงอายุควรกิจกรรมทางกายแบบผสมผสาน ระหว่างการเคลื่อนไหวรูปแบบ ต่างๆ การทรงตัว และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ได้แก่ เต้นบาสโลบ เต้น แอโรบิก ฟ้อนรำ รำวง กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและ เป็นการฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 1. อุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที ประกอบด้วย 1.1 การเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆเช่น การเดิน หรือย่ำเท้าอยู่กับที่ 1.2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 2. ช่วงออกกำลังกาย 15-20 นาที ประกอบด้วย 2.1 การฝึกการทรงตัว 2.2 การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2.3 การเสริมสร้างของหัวใจและปอดให้แข็งแรง เช่น การเดิน เต้น ฟ้อนรำ วิ่ง เหยาะๆ 3. การคลายอุ่น 5-10 นาที ประกอบด้วย 3.1 การเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ เช่น การเดิน หรือย่ำเท้าอยู่กับที่ 3.2 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ตามลำดับ 4. นำแผน Individual Wellness Plan สู่การปฏิบัติจริง โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ แกนนำผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรม เป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผน โดยพี่เลี้ยงจะเป็นผู้สอนและ แนะนำให้ทำกิจกรรมตามแผนในครั้งแรก จนกว่าจะสามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และจะมีการประมิน การทำตามแผนทุกๆ 2 สัปดาห์โดยพี่เลี้ยงออกเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินการดำเนินการตามแผน และมีการ ปรับเปลี่ยนแผนตามความสามารถการเคลื่อนไหวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องดำเนินการตามแผนทุก วัน นอกจากนี้ทางพี่เลี้ยงจะมีการพาเต้นแอโรบิก5 วันต่อสัปดาห์ที่โรงพยาบาลเชียงคาน หากกลุ่มตัวอย่าง สะดวกสามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมได้(ในกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่ดี) การดำเนินการตามแผนจะมีการ ดำเนินการ จำนวน 2 เดือน 5. ขั้นตอนการประเมินหลังจากปฏิบัติตามแผนแล้ว ประเมินภาวะสุขภาพตนเอง หรือ ประเมินร่วมกับเจ้าหน้าที่


10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 6. ปรับปรุงพัฒนาแผน ทุกๆ 2 สัปดาห์โดยพี่เลี้ยงออกเยี่ยมบ้าน และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ บรรลุตามเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพดี 7. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อแก่เพื่อนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้ที่สนใจ ใน ทุกๆ 1 เดือน 8. เสร็จสิ้นกระบวนการ และควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพดีมี คุณภาพชีวิตที่ดี การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ยินยอมเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ โดยได้รับอนุญาตทำการศึกษาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย เลขที่0053/2566 ซึ่งยึดหลัก 3 ประการ คือหลักความเคารพในตัวบุคคล (Respect For Person) หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย (Beneficence) และหลักยุติธรรม (Justice) จะมีการพิทักษ์สิทธิกลุ่ม ตัวอย่างตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง การตอบแบบสอบถาม และการดำเนินการวิจัยโดยไม่มีการ ระบุตัวตนของกลุ่มตัวอย่างแต่จะมีเพียงรหัสที่ผู้วิจัยแต่งขึ้นในการนำเสนอข้อมูล และผู้วิจัยจะทำลายเอกสาร ทั้งหมดทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอน ดังนี้ 1. นำหนังสือขออนุญาตดำเนินการวิจัยถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงคาน เพื่อชี้แจง วัตถุประสงค์และรวบรวมข้อมูล 2. พบกลุ่มตัวอย่างที่โรงพยาบาลเชียงคาน จำนวน 2 ครั้ง แบบรายกลุ่ม และที่บ้านของ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 ครั้ง แบบรายบุคคล เพื่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อชี้แจงจุดประสงค์การ ทำการศึกษาค้นคว้า รายละเอียดของการทำการศึกษาค้นคว้า วิธีการเก็บข้อมูล รวมถึงการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 3. ผู้วิจัยขอความร่วมมือให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โดยใช้เครื่องมือ คือ การทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test: TUG) ใช้ระยะเวลาประมาณคนละ 10 นาที พร้อมทั้งนัดหมาย วัน เวลา ในการดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว 4. วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ เพื่อประเมินกลุ่มตัวอย่างรายบุคคลให้เหมาะสมกับ แผนที่จะดำเนินการ 5. ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว โดยมีเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข หรือแกนนำผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรม เป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามแผน โดยพี่เลี้ยงจะ เป็นผู้สอนและแนะนำให้ทำกิจกรรมตามแผนในครั้งแรก จนกว่าจะสามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และ จะมีการประมินการทำตามแผนทุกๆ 2 สัปดาห์โดยพี่เลี้ยงออกเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินการดำเนินการตามแผน และมีการปรับเปลี่ยนแผนตามความสามารถการเคลื่อนไหวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องดำเนินการ ตามแผนทุกวัน นอกจากนี้ทางพี่เลี้ยงจะมีการนำเต้นแอโรบิก 5 วันต่อสัปดาห์ที่โรงพยาบาลเชียงคาน หาก


11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างสะดวกสามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมได้ (ในกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่ดี) การดำเนินการตามแผนจะมี การดำเนินการ จำนวน 2 เดือน 6. ภายหลัง 2 เดือนประเมินผลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินความพึงพอใจต่อแผน ส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ และให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โดยใช้เครื่องมือ คือ การทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ ใช้ระยะเวลาประมาณคนละ 20 นาที 7. ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์เพื่อนำไปจัดระเบียบ ลงรหัส และวิเคราะห์ ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จากนั้น ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณ และนำเสนอรวมทั้งสรุปผลการวิเคราะห์ ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ตามลำดับ ดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การประเมินการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. วิเคราะห์ความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. วิเคราะห์ความแตกต่างแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุและการอยู่อาศัย การ ประเมินการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังดำเนินการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพ ดีชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย โดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 80 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.00 เพศชาย ร้อยละ 35.00 อายุ เฉลี่ย 64.32 (SD=5.31) (Max=70,Min=60) จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย(ต้น/ปลาย) ร้อย ละ 58.75 อาศัยอยู่กับบุตรหลาน ร้อยละ 48.75 และไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 71.25 2. การเปรียบเทียบการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับก่อนและหลังการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอ ชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ แสดงดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1


12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 การดำเนินการ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Media n Min-Max Paired t-test p-value ก่อน 15.24 0.63 13.34 9-20 2.13 <0.001 หลัง 10.36 0.86 9.13 8-18 จากตารางที่1 พบว่า ค่าเฉลี่ยเวลาในการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test : TUG) ก่อนการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเท่ากับ 15.24±0.63 วินาทีซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 วินาทีจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และใช้ เวลามากกว่า 12 วินาทีจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 และหลังการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเท่ากับ 10.36±0.86 วินาที ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 วินาทีจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 และความต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการ ดำเนินการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value <0.05) ความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ อยู่ ในระดับมาก จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ความพึงพอใจโดยภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ย 4.46 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.95 ซึ่งแปลผลว่าอยู่ในระดับความพึงพอใจระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริม สุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ เจ้าหน้าที่สามารถอธิบายแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ได้ดี เข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้จริง รองลงมาคือ กิจกรรมต่างๆในการดำเนินการของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอ ชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุมีความเหมาะสม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการ ดำเนินการของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุที่ครบถ้วน อภิปรายผล การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนต่างๆ ผู้วิจัยนำมา อภิปรายผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ดังนี้ การทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ (Timed Up and Go test : TUG) พบว่าหลังการใช้แผนส่งเสริม สุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ จำนวน 3 เดือน เท่ากับ 10.36±0.86 วินาที ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 วินาทีจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ซึ่งอภิปรายได้ว่าการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืน ยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น เพราะเป็นแผนที่ส่งเสริม ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ทำความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ กลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ เพื่อการ


13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 นำข้อมูลไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกให้บริการรายบุคคลได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการศึกษา ของวรวุฒิ ชมภูพาน และคณะ (2564) ได้ศึกษาการออกกำลังกายด้วยท่าศิลปะพื้นบ้านอีสานต่อการทรงตัว ของผู้สูงอายุในชุมชน พบว่ากลุ่มทดลองมีการทรงตัวซึ่งทดสอบด้วยวิธีลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับเร็วขึ้น 2.09 วินาที (95%CI = 0.89 - 3.30) และยังพบว่าการทดสอบการเอื้อมมือที่เพิ่มมากขึ้น 4.98 เซนติเมตร (95%CI = 3.70 - 6.25) แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีการออก กำลังกายด้วยท่าศิลปะพื้นบ้านอีสานต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุซึ่งอภิปรายได้ว่าการส่งเสริมกิจกรรมด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น และสอดคล้องกับการศึกษาของมณฑิ ชา เจนพานิชทรัพย์และคณะ (2566) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัย รูปแบบการจัดบริการที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า “Buriram Elderly Seamless Care Model” ใน ผู้สูงอายุกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี เพิ่มการจัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคในชมรมผู้สูงอายุซึ่งการศึกษานี้ได้มีการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว โดยด้านการ เคลื่อนไหวใช้กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหว นอกจากการส่งเสริมโดยใช้แผน ส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวแล้ว จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ เพราะถ้า สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดแต่ละคน ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุก็จะลดปัญหา ต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดความมั่นใจในการเคลื่อนไหว ลดความพิการอันเป็นผลจากการ ขาดการ เคลื่อนไหวหรืออุบัติเหตุ และลดภาระของผู้ดูแลอีกด้วย (กลุ่มพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุและ เครือข่าย สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย, 2565) ดังนั้นควรมีการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวา ยืนยาว ร่วมกับการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุภายในชุมชน เพื่อแนะนำการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ ผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ควรประเมินผู้สูงอายุก่อนออกกำลังกาย ว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวและ ขณะออกกำลังกายหากผู้สูงอายุมีอาการวิงเวียนศีรษะ ไม่สามารถยืนทรงตัวได้ ให้หยุดการปฏิบัติทันท 2. ควรหลีกเลี่ยงผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพตลอดเวลาในการดำเนินการต้องดำเนินการ อย่างรอบคอบ และควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ 3. การดำเนินการทดสอบ ลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ ต้องป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุระหว่าง ดำเนินการ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ในการดำเนินการวิจัยควรมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานวิจัยให้เหมาะสมในพื้นที่ในการศึกษา เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในชุมชนชนบท


14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 2. ควรมีการศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วันสูงอายุ และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการ เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 3. ควรมีการศึกษาการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ ด้านโภชนาการ และด้านจิตใจ เพื่อหาความสัมพันธ์กันของแต่ละด้าน เอกสารอ้างอิง กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย. เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/466 กร มกิจการผู้สูง อายุ. (2565) . ส ถิติผู้สูง อายุ. เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159 มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์และคณะ. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่9, 17(1), 255-271. เรณุวัฒน์โคตรพัฒน์, รังสรรค์สิงหเลิศ, และณรงค์ฤทธิ์ โสภา. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3),166-174. ลำไพ สุวรรณสาร, และอรุณรัตน์ สู่หนองบัว. (2565). ผู้สูงอายุสุขภาพดี: ในมุมมองความสุข 5มิติ. วารสาร พยาบาลและสาธารณสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 1(1), 28-34 วลัยนารี พรมลา, และจีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุใน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 59-67. วรวุฒิชมภูพาน และคณะ. (2564). การออกกำลังกายด้วยท่าศิลปะพื้นบ้านอีสานต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ ในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(3), 71-82. นิคม ถนอมเสียง. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://home.kku.ac.th/nikom/516201 _sample_size_nk2561.pdf สำนักอนามัยผู้สูงอายุกรมอนามัย. (2565). คู่มือแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว. เข้าถึง เมื่อ 18 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จากhttps://eh.anamai.moph.go.th/th อาภรณ์ชีวะเกรียงไกร. (2560). ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก http:/www.bangkokbiz news.com/blog/detail/


Click to View FlipBook Version