2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ องค์การอนามัยโลกได้รายงานการ เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตเนื่องจากภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุข ที่สำคัญของทั่วโลก โดยพบว่าปี พ.ศ.2560 มีผู้เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตทั่วโลกจำนวน 11 ล้าน ราย (กระทรวงสาธารณสุข, 2562) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นับเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขของ โลก โดยมีการประมาณการไว้ว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตถึง 750,000 คน ต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและมีภาวะล้มเหลวของอวัยวะภายใน (sepsis) จะมีอัตราเสียชีวิต ร้อยละ 25-30 และผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (septic shock) จะมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 40- 70 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนอัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 อยู่ที่ร้อยละ 32.03 ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต คือ การได้รับการวินิจฉัยล่าช้า การ ได้รับการรักษานอกหอผู้ป่วยวิกฤต การเริ่มให้ยาปฏิชีวนะช้ากว่า 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย (กระทรวง สาธารณสุข, 2562) สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อรักษา ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นมาตรฐานสากลล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 25552 และทางสมาคมบำบัดวิกฤตแห่ง ประเทศไทยได้ออกแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิดรุนแรง และมี ภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ (severe sepsis and septic shock) ในปีพ.ศ. 2558 โดยทั้ง 2 แนวทาง มีหลักการสำคัญ คือ 1) การสร้างกลไกในการค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น (early recognition) 2) การ รักษาการติดเชื้อและการฟื้นฟูระบบไหลเวียนอย่างรวดเร็วร่วมกับประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ (early infection control, early resuscitation, and organ support) 3) การทำงานเป็นทีมสหสาขา วิชาชีพ การประสานงานและการเฝ้าติดตาม กำกับให้มีการดำเนินการตามข้อกำหนดแนวทางการรักษาที่ สำคัญอย่างครบถ้วนทันเวลา ดังนั้นในบทบาทของผู้บริหารพยาบาลประจำหอผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการออกแบบ การนิเทศพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตให้มีประสิทธิภาพตาม แนวทางดังกล่าว โรงพยาบาลเลาขวัญเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ให้บริการผู้ป่วยที่รับไว้รักษาใน โรงพยาบาลทุกประเภทจำนวน 34 เตียง จำแนกเป็นเตียงสามัญ 34 เตียง พิเศษ 6 ห้องรวมทั้งผู้ป่วยที่มีความ จำเป็นต้องแยกโรค จำนวนพยาบาลวิชาชีพ 11 คน จัดอัตรากำลังแต่ละเวร ดังนี้เวรเช้า-บ่าย-ดึก เป็น 5, 4 และ 2 คน จากรายงานสถานการณ์การรักษาผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตในโรงพยาบาลเลาขวัญ ปีพ.ศ. 2561-2565 พบอัตราเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ2.27 เป็นร้อยละ 4.34 จากการทบทวนเวชระเบียน พบว่า ผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิดรุนแรง และมีภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ (severe sepsis and septic shock) นอกจากนี้พบว่าได้รับสารน้ำ ไม่ได้ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้สูงถึงร้อยละ 72.72 ในปี พ.ศ. 2565 ผลการทบทวนเวชระเบียนเบื้องต้นปี พ.ศ. 2566 พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตไว้รักษาในโรงพยาบาล 65 คน เป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 จำนวน 42 คน และอายุระหว่าง 19- 59 ปีจำนวน 23 คน วันนอนเฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 4.79 วัน จากการ ทบทวนเวชระเบียนพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นการติดเชื้อสูงสุดด้วยโรคปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ โรคอุจจาระร่วง และการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 17, 11, 6 และ 6 คนตามลำดับ ผล การนิเทศการปฏิบัติงานภายในหอผู้ป่วยที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหลังเข้ารับการรักษาใน ระยะ 24 ชั่วโมงแรก มีอาการทรุดลงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (Septic shock) ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลัน และผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกจากการ ติดเชื้อในกระแสโลหิต มีระบบหายใจล้มเหลวจาก Acute respiratory distress syndrome (ARDS) ซึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเหล่านี้ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ในที่สุด ผลทบทวนเวชระเบียนโดยสุ่ม ประเมินจากบันทึกทางการพยาบาล พบว่า ไม่มีการบันทึกข้อมูลการใช้เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของโรค เพื่อการพยากรณ์โรค ทำให้พยาบาลวิชาชีพขาดการส่งต่อข้อมูลความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วย และจากการ สุ่มสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพ พบว่า ไม่ทราบว่าต้องคาดการณ์เหตุการณ์การดำเนินของโรค และไม่ทราบว่า ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสำคัญของโรคและมีความรุนแรงอย่างไร และที่ผ่านมาหน่วยงานหอผู้ป่วยยัง ขาดรูปแบบการนิเทศการพยาบาลที่ชัดเจน โดยเฉพาะการนิเทศเฉพาะโรค จำเป็นที่ต้องพัฒนารูปแบบการ นิเทศการพยาบาลสำหรับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยของโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีเพื่อให้มั่นใจ ว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานมีความรู้และความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่าง ปลอดภัย ผลการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่นิยมใช้ คือ รูปแบบการนิเทศ ของพร็อคเตอร์ (Proctor, 2001) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้นิเทศใช้หลักการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ช่วยเหลือให้ผู้ปฏิบัติงาน พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ทางคลินิกเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ในการ ให้บริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ ซึ่งกระบวนการนิเทศของพร็อคเตอร์ ประกอบด้วย 1) การนิเทศตาม มาตรฐาน (normative clinical supervision) โดยการประชุมเชิงเนื้อหา (content conference) เกี่ยวกับ แนวทางการดูแลผู้ป่วยและเปิดโอกาสให้ทีมพยาบาล ร่วมอภิปรายเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำแนวทางฯ ลงสู่การปฏิบัติ 2) การนิเทศเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ (formative clinical supervision) โดยการสอน แนะ (coaching) พยาบาลรายบุคคล 3) การนิเทศเพื่อธำรงรักษา (restorative clinical supervision) ประกอบด้วยการให้คำปรึกษา (counselling) พยาบาลรายบุคคล และการประชุมปรึกษาการพยาบาล (nursing care conference) ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารหอผู้ป่วยมีหน้าที่กำกับติดตามและควบคุมคุณภาพการพยาบาลของพยาบาล วิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ดี มีแนวทางในการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิตที่ชัดเจน ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้ มีทักษะและสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงเห็นความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ
4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยใช้รูปแบบของการนิเทศทางคลินิกตาม แนวคิดของพร็อคเตอร์ที่เน้นการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของผู้รับการนิเทศ เพื่อพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและผู้ป่วยปลอดภัย วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาล เลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 3. เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี สมมติฐานการวิจัย 1. หลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ มีทักษะและสามารถ ปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตได้ดีกว่าก่อนทดลอง 2. หลังทดลองใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ด้านผู้ป่วย ดีกว่าก่อนทดลอง กรอบแนวคิดในการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพร็อคเตอร์ ประกอบด้วย 1) การนิเทศตาม มาตรฐาน (normative clinical supervision) โดยการประชุมเชิงเนื้อหา (content conference) เกี่ยวกับ แนวทางการดูแลผู้ป่วยและเปิดโอกาสให้ทีมพยาบาลร่วมอภิปรายเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำแนวทางฯ ลงสู่การปฏิบัติ2) การนิเทศเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ (formative clinical supervision) โดยการสอน แนะ (coaching) พยาบาลรายบุคคล และ 3) การนิเทศเพื่อธำรงรักษา (restorative clinical supervision) ประกอบด้วย การให้คำปรึกษา (counselling) พยาบาลรายบุคคล และการประชุมปรึกษาการพยาบาล (nursing care conference) เพื่อให้เกิดความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่กำหนด เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา สรุปได้ดังแผนภาพที่ 1
5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ภาพที่1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่ 1: ศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา ระยะที่ 2: ร่างและพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 3: ดำเนินการใช้และประเมินผล รูปแบบฯ 1.สำรวจสภาพปัญหาการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิต 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต และข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพประจำหอ ผู้ป่วยโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 3 การปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิต - การประเมิน (assessment) - การประเมินซ้ำ (reassessment) - การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง - การพยุงระบบไหลเวียนโลหิตภายใน 6 ชั่วโมง 4. รูปแบบการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิด ของพร็อคเตอร์ ร่วมกับกิจกรรมพยาบาลมี 3 กิจกรรม ดังนี้ 4.1 Pre conference เตรียมความพร้อม : การให้ความรู้แนวทางการปฏิบัติการ การดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตเตรียมสู่การปฏิบัติ ตามมาตรฐาน (Normative) 4.2 Nursing care ให้การพยาบาล : การ ประเมินติดตาม และการปฏิบัติมาตรฐาน (normative) ให้ความรู้/เพิ่มทักษะโดย สาธิต การปฏิบัติ (formative) การสนับสนุนให้ กำลังใจ (restorative) 4.3 Post conference การสรุปกิจกรรม : การสนับสนุน/สะท้อนความรู้สึก (restorative) และการให้ความรู้ส่วนที่ขาด (formative) 5. ข้อคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพและสหวิชาชีพ เกี่ยวกับปัญหาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิต และแนวทางแก้ไขปัญหาประเด็น - การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิต ตรวจสอบจากการปฏิบัติและการบันทึก เวชระเบียน รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับ การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ ในกระแสโลหิต ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรี โดยความร่วมมือของ แพทย์ และสมาชิกในทีมสหวิชาชีพ โดยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และเน้นแนวคิดหลัก ต่อไปนี้ 1. การเพิ่มความรู้การพยาบาลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิตของพยาบาล วิชาชีพ ประกอบด้วย 3 ด้าน - ด้านประเมินและการคัดกรองผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิต - ด้านการประเมินสภาวะการ เจ็บป่วย - ด้านการเฝ้าระวังติดตามอาการ ผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 2. การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลเลา ขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วย - ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันที - ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะ เชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการ วินิจฉัย - ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันทีหลังการวินิจฉัยของ แพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่ง เพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ - ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการ ภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะ หายใจล้มเหลว มีการติดตามการ เปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ - บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่ง ต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่างต่อเนื่อง 1. ทดลองใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนามาจากระยะ ที่ 2 กับพยาบาลวิชาชีพในกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คนเป็นเวลา 4 สัปดาห์ 2. ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ โดย เปรียบเทียบตัวแปรต่อไปนี้ ระหว่างก่อนหลังการทดลอง ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1 ผลลัพธ์ด้านพยาบาล ได้แก่ ความรู้ ความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิต ดังนี้ - ด้านการประเมินและคัดกรอง - ด้านการประเมินสภาวะการเจ็บป่วย - ด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 2.2 ผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยติดเชื้อ ในกระแสโลหิต - ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันเวลา - ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อน ให้ยาปฏิชีวนะ - ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง หลังได้รับการวินิจฉัย - ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะ ช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว
6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประเภทของการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ศึกษาแบบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest– posttest one group design) 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและดูแลผู้ป่วยโดยตรงทุกคนรวม 10 คน (โรงพยาบาลเลาขวัญ, 2566) กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและดูแลผู้ป่วยโดยตรงทุกคน รวม 10 คน โดยการสุ่ม แบบเจาะจง มีเกณฑ์การคัดเลือก (inclusion criteria)ดังนี้ 1) มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและ ดูแลผู้ป่วยโดยตรง 2) ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง/วัน 3) ไม่อยู่ในระหว่างการอบรมระยะ สั้นหรือลาศึกษาต่อ และ 4) ยินดีให้ข้อมูลการวิจัยโดยการตอบแบบสอบถาม 3. เครื่องมือการวิจัย 3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีดำเนินกิจกรรมการนิเทศ ทางการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการนิเทศการพยาบาลตามแนวคิดของพรอคเตอร์ (Proctor,2001) เพื่อให้การ นิเทศการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตของหัวหน้าหอผู้ป่วยและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเข้า มามีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงานมุ่งสู่ผลลัพธ์ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต อย่างมีคุณภาพ ระยะเวลาในการทำกิจกรรมทั้งหมด 8 สัปดาห์โดยมีรายละเอียดกิจกรรมสำหรับกลุ่มทดลอง ดังนี้ 1) การนิเทศตามหลักสมานฉันท์ (Restorative clinical supervision) ประกอบด้วย กิจกรรม การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต การให้ คำปรึกษา และร่วมการแก้ปัญหา โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1.1) การวางแผนการนิเทศใช้เวลา 30 นาที ในการดำเนินกิจกรรมประชุมปรึกษาทางการ พยาบาลเปิดโอกาสให้ผู้ทำการนิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมกันวางแผนการนิเทศที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสโลหิต การปฏิบัติงานก่อนทำการนิเทศ เช่น กำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการนิเทศ ระยะเวลา สถานที่ หรือรูปแบบการนิเทศ เนื่องจากการนิเทศตามแผนเดิมหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นผู้กำหนดหัวข้อในการ นิเทศ ตามนโยบายเกี่ยวกับการทบทวนระบบสำคัญต่างๆ เช่น การสื่อสาร ความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม การติดเชื้อ และการพัฒนาระบบยา โดยหัวหน้าเป็นผู้กล่าวเน้นย้ำ และถ่ายทอดนโยบายเพื่อนำสู่การปฏิบัติ การติดตาม รูปแบบการนิเทศทางคลินิกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิด หัวหน้าหอ
7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ผู้ป่วยเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศเป็นผู้เสนอหัวข้อที่เป็นปัญหาและร่วมกันวางแผนนำสู่การปฏิบัติบรรยากาศใน การนิเทศผ่อนคลาย และมีผู้ร่วมนำเสนอความคิดเห็นมากขึ้น 1.2) ในระหว่างการทำกิจกรรมประชุมปรึกษาทางการพยาบาล ผู้ทำการนิเทศชี้แจง วัตถุประสงค์ทำความเข้าใจร่วมกันและค้นหาปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลในแต่ละด้าน เช่น ปัญหาที่ พบในการปฏิบัติการพยาบาลในด้าน (1) การประเมินและการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (2) การ ประเมินสภาวะการเจ็บป่วย (3) การเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดย (3.1) ผู้ป่วย ได้รับการประเมินโดยใช้แบบคัดกรองความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตและรายงานแพทย์ทันที (3.2) ผู้ป่วยได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3.3) ผู้ป่วยได้รับยา ปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันทีหลังการวินิจฉัยของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว มีการติดตามการ เปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ และ (5) บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่างต่อเนื่อง โดยผู้รับการนิเทศสามารถซักถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ผู้นิเทศจะให้ คำปรึกษา แนะแนวทางในการปฏิบัติและร่วมกันแก้ปัญหาช่วยให้ลดข้อขัดแย้งระหว่างการนิเทศ ทำให้ บรรยากาศการนิเทศผ่อนคลายและเป็นกันเอง 2) การนิเทศตามแบบแผน (Formative clinical supervision) เป็นการกำหนดแบบ แผนการ นิเทศ ดังนี้ 2.1) กิจกรรมนิเทศโดยการประชุมปรึกษาการพยาบาล 2.1.1) หัวหน้าหอผู้ป่วย (1) กำหนดพยาบาลผู้รับการนิเทศ (2) ชี้แจงหัวข้อการ ปฏิบัติการพยาบาลในด้านที่ต้องการประเมินแก่พยาบาลผู้รับการนิเทศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการนิเทศการ พยาบาล และ (3) กำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่ควรเกิน 30 นาที 2.1.2) พยาบาลผู้รับการนิเทศ (1) ทบทวนแนวทางที่หน่วยงานกำหนดหรือแนวทางที่ เคยปฏิบัติ(2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และ (3) นำเสนอข้อมูลรวมถึงการแสดงตัวอย่างปัญหา ที่เคยพบ ระหว่างการนิเทศสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ หัวหน้าหอผู้ป่วยสรุป ประเด็นความรู้เพื่อสนับสนุนความรู้ความเข้าใจให้แก่พยาบาลวิชาชีพ 2.1.3) หัวหน้าหอผู้ป่วยในบทบาทผู้นิเทศจะสอดแทรกกิจกรรมการสอนแนะ การให้ คำปรึกษา การแก้ปัญหาแก่ผู้รับการนิเทศ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์ปัญหา และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ในกรณีพบปัญหาหรือขาดความมั่นใจในการตัดสินใจ หัวหน้า หอผู้ป่วยจะให้คำแนะนำและร่วมลงมือปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้รับการนิเทศ 2.2) กิจกรรมการเยี่ยมตรวจบุคลากร ก่อนการเยี่ยมตรวจบุคลากรเพื่อนิเทศการพยาบาล จะมี กิจกรรมการประชุมปรึกษาการพยาบาลเกี่ยวกับด้านการปฏิบัติงานที่จะทำการนิเทศเพื่อให้ผู้นิเทศมีโอกาส
8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 สร้างสัมพันธภาพที่ดี บรรยากาศที่ดี โดยการพูดคุยเป็นกันเอง ท่าทีเป็นมิตรและสอนแนะระหว่างการนิเทศ ผู้ นิเทศใช้กิจกรรมการนิเทศทางการพยาบาล โดยการสังเกตการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ การมีส่วนร่วม ในการปฏิบัติงานและสอนแนะขณะปฏิบัติงานได้ทันที ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 30 นาที 2.3) กิจกรรมการสอนแนะ และการให้คำปรึกษา ผู้นิเทศจะสอดแทรกกิจกรรมการสอน แนะในระหว่างการนิเทศทางการพยาบาล การเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล และการเยี่ยมตรวจบุคลากร การ ประชุมปรึกษาการพยาบาลรายกลุ่มโดยการเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันวิเคราะห์และค้นหา ปัญหาอุปสรรค ผู้นิเทศจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ชี้ให้เห็นการปฏิบัติการพยาบาลที่ถูกต้องแก่ผู้รับ การนิเทศได้ทันที ช่วยให้พยาบาลสามารถวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของตนเองได้และร่วมกันกำหนดแนว ทางแก้ไขต่อไป 3) การนิเทศตามมาตรฐาน (Normative clinical supervision) ใช้ระยะเวลาในการ ทำ กิจกรรม 20 นาที เพื่อติดตามการปฏิบัติการพยาบาลพร้อมทั้งให้ข้อมูลสะท้อนกลับพยาบาล รายบุคคล เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล มีการบันทึกผลการประเมินและการสะท้อนกลับเป็นลายลักษณ์อักษร มี ขั้นตอน ดังนี้ 3.1) ผู้ทำการนิเทศชี้แจงวัตถุประสงค์ก่อนการนิเทศ สอนแนะ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเชิง บวก ชี้ให้เห็นข้อดีและโอกาสพัฒนา เปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศแสดงความคิดเห็น 3.2) ผู้ทำการนิเทศและผู้รับการนิเทศ ร่วมกันสรุปการนิเทศ เปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศแสดง ความคิดเห็นปัญหาที่พบและแนวทางปรับปรุงแก้ไข 3.3) ผู้นิเทศ สรุปการนิเทศรายบุคคล โดยผู้รับการนิเทศต้องรับทราบเรื่องที่ถูกประเมิน โดย การสรุปด้วยวาจาภายหลังการนิเทศทางการพยาบาลเสร็จสิ้น ผู้นิเทศสรุปการนิเทศบันทึกเฉพาะประเด็น สำคัญที่ได้จากการนิเทศในแบบบันทึกที่กำหนดไว้ จากนั้นให้ผู้รับการนิเทศอ่านแบบบันทึกและพิจารณาหาก เห็นด้วยให้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน หรือสามารถทวนสอบได้ในกรณีมีข้อสงสัย 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นชุดของแบบสอบถาม (questionnaire) ที่ผู้วิจัยได้ พัฒนาขึ้น มี 4 ส่วน ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ การวินิจฉัย แรกรับ ผลประเมินความรุนแรงของความเจ็บป่วยโดยใช้แบบคัดกรองความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแส โลหิต (Search out Severity Score (SOS score)) โดยคะแนนยิ่งสูง หมายถึง ความรุนแรงของการเจ็บป่วยสูงขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น ดังนี้โรคประจำตัว และตำแหน่งที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ (2) แบบบันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแส โลหิต ดังนี้ (1) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันที (2) ผู้ป่วยได้รับการเจาะ เลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันที หลังการวินิจฉัยของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวัง
9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 และจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ (3) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงานที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ประสบการณ์การอบรมด้านการ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (4) แบบประเมินความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ดังนี้ 1) การประเมินและ การคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต 2) การประเมินสภาวะการเจ็บป่วย 3) การเฝ้าระวังติดตามอาการ ผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือการวิจัยนี้ ได้รับความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พิจารณาความสอดคล้อง ระหว่างคำถามกับคำนิยามหรือกรอบทฤษฎีและวิเคราะห์ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา ( Content validity index: CVI) ประกอบด้วย อายุรแพทย์ พยาบาลประจำการเชี่ยวชาญในการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแส โลหิตระยะรุนแรง และอาจารย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยพยาบาล โดยมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) 0.80 นำรูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี และแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขไป ทดลองใช้ (Try out) กับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีบริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 30 คน วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบวัด เกี่ยวกับความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตระยะรุนแรง มีค่าเท่ากับ 0.86 และ 0.85 ตามลำดับ 4. การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กาญจนบุรีรับรองเมื่อวันที่ 5 เดือน มกราคม 2567 หมายเลข EC.No. 46/2566 ผู้วิจัยชี้แจงผู้เข้าร่วม โครงการให้ทราบถึงสิทธิการตอบรับหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมในการวิจัย หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อคำถามใดไม่ สะดวกใจที่จะตอบ กลุ่มตัวอย่างมีอิสระที่จะไม่ตอบคำถาม ทั้งสามารถยุติการให้ความร่วมมือในขั้นตอนใดของ การวิจัยก็ได้และขอข้อมูลกลับคืนได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและสามารถสอบถามข้อข้องใจกับผู้วิจัย ได้ ให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยความสมัครใจและในการตอบแบบสอบถามจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ ยินยอมเข้าร่วมโครงการ การรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลและการทำลายข้อมูลเมื่อสิ้นสุดการวิจัยโดยวิธีเข้า เครื่องทำลายเอกสารภายใน 1 ปี หลังจากได้รับการอนุมัติผลงาน เผยแพร่ผลการวิจัยในภาพรวมและการ นำเสนอในเชิงวิชาการ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการหลังได้รับหนังสือรับรองโครงการวิจัยตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสำนักงาน
10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดทำหนังสือจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ถึงฝ่ายการ พยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลเลาขวัญ เพื่อขออนุเคราะห์ในการดำเนินการวิจัยและเก็บ รวบรวมข้อมูล และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 2) ทำหนังสือหรือติดต่อส่วนตัวเพื่อขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างที่จะดำเนินการวิจัยและ นัดหมาย เพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัย 3) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลในระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และระยะที่ 3 ทดลองใช้ รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง 4) ก่อนที่กลุ่มตัวอย่างในแต่ละระยะของการวิจัยจะตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจะชี้แจง วัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมการวิจัย และให้กลุ่มตัวอย่างอ่านเอกสารชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน และเซ็นใบยินยอม การให้ข้อมูลและการเข้าร่วมกิจกรรม (ในระยะที่ 3) หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อสงสัยในการตอบ ผู้วิจัยจะให้ คำแนะนำจนเป็นที่เข้าใจ แบบสอบถามที่ตอบเสร็จจะรับคืนในวันเดียวกัน ในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะการ ทดลองใช้รูปแบบ การตอบแบบสอบถามของกลุ่มทดลองทำก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ โดยผู้วิจัย ดำเนินการกับกลุ่มทดลองทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ 5) ดำเนินการตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น 6) ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลรวม 8 สัปดาห์หลังผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์ 7) ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และความสมบูรณ์ของแบบสอบถามและแบบเก็บ ข้อมูลเพื่อเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป 6. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์แล้วเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ตาม ระเบียบวิธีทางสถิติโดยมีการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนการนำมา วิเคราะห์โดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร่วมกับ สถิติอ้างอิง (inferential statistics) และข้อมูลในเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) แล้วสรุปการค้นพบตามประเด็นที่ศึกษาจากการจัดกิจกรรมตามแผนการวิจัย ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ ดังนี้ ระยะที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ระดับ การศึกษา อาชีพ การวินิจฉัยแรกรับ คะแนนความรุนแรงของความเจ็บป่วย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 2. ผลการบันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแส
11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 โลหิต ดังนี้ (1) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันที (2) ผู้ป่วยได้รับการเจาะ เลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันที หลังการวินิจฉัยของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวัง และจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ และ (5) บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล ระยะที่ 3: ทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ระดับ การศึกษา อาชีพ การวินิจฉัยแรกรับ คะแนนความรุนแรงของความเจ็บป่วย และข้อมูลทั่วไปของพยาบาล วิชาชีพ ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงานที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีประสบการณ์การอบรมด้านการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะ ของข้อมูล 2. ผู้วิจัยทำการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) โดยการทดสอบข้อมูลว่ามีการแจกแจง เป็นโค้งปกติ (Normality) หรือไม่ ด้วยการทดสอบจากสถิติ Kolmogorov-Smirnov test พบว่าข้อมูลมีการ แจกแจงแบบโค้งปกติ (Sig = .100) 3. ผลวัดความรู้กลุ่มทดลอง เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ดังนี้ 1) การ ประเมินและการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต 2) การประเมินสภาวะการเจ็บป่วย 3) การเฝ้าระวัง ติดตามอาการผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 4. ผลการบันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแส โลหิต ดังนี้ (1) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันที (2) ผู้ป่วยได้รับการเจาะ เลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันที หลังการวินิจฉัยของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวัง และจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ และ (5) บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 5. เปรียบเทียบผลวัดความรู้กลุ่มทดลองเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต และ ผลลัพธ์กระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ในกลุ่มทดลอง ระยะก่อนทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล ระยะนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi –
12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 Experimental study) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One group, Pre-Post Test) ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงร้อยละ 100 มีอายุ ระหว่าง 31-40 ปีมากที่สุดร้อยละ 41.67 รองลงมา คือ อายุ 21-30 ปีร้อยละ 33.33 โดยมีอายุเฉลี่ย 34.8 ปี อายุน้อยสุด 28 ปี สูงสุด 42 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีอายุการทำงานในตำแหน่ง งานในปัจจุบันที่ 1-5 ปีที่ร้อยละ 56.2 รองลงมาที่6-10 ปี ร้อยละ 31.67 และมีอายุการทำงานในตำแหน่งงาน ปัจจุบันมากที่สุด 23 ปี น้อยที่สุด 3 ปี โดยผู้ตอบแบบสอบถาม ได้เข้ารับการอบรมที่เกี่ยวกับการอบรมด้านการ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ร้อยละ 20.83 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต หลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ของพร็อคเตอร์ฯ พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อค เตอร์ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .05) รายละเอียดดังตาราง 1 ตาราง 1 เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ก่อน-หลังการทดลอง รายด้าน ก่อน-หลังการทดลอง (n=10) ความรู้การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ก่อนทดลอง หลังทดลอง xˉ (SD) xˉ (SD) t p-value ด้านประเมินและการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต 2.58 (0.50) 4.06 (0.55) 18.756 .020* ด้านการประเมินสภาวะการเจ็บป่วย 4.23 (0.33) 8.82 (0.68) 11.888 .018* การเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ป่วย 3.05 (0.49) 4.29 (0.38) 14.363 .011* *p < .05 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์กระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติด เชื้อในกระแสโลหิต ดังนี้ (1) ผู้ป่วยได้รับการประเมินโดยใช้ SOS score และรายงานแพทย์ทันที (2) ผู้ป่วย ได้รับการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเมื่อได้รับการวินิจฉัย (3) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงทันทีหลังการวินิจฉัยของแพทย์ และหลังการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ (4) ผู้ป่วยได้รับการ เฝ้าระวังและจัดการภาวะช็อก/ไตวายเฉียบพลัน/ภาวะหายใจล้มเหลว มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ และ (5) บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่างต่อเนื่อง ก่อนและหลังการ ใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ สรุปผลลัพธ์ด้านกระบวนการดีขึ้นตามเป้าหมาย เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน รายละเอียดดังดังตาราง 2
13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ตาราง 2 เปรียบเทียบจำนวน ร้อยละ ผลลัพธ์กระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติด เชื้อในกระแสโลหิต จากเวชระเบียนผู้ป่วย ก่อน-หลังการทดลอง (n1=30), (n2=30) ผลลัพธ์กระบวนการดูแลและผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่ม อาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ก่อนทดลอง (n1) หลังทดลอง (n2) จำนวน (ร้อยละ) จำนวน (ร้อยละ) t pvalue 1. ประเมินผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่ามีภาวะ Sepsis 9 (30.0) 27 (92.5) -8.062 .001*** 2. Hemoculture 2 specimen พร้อมกันจากแขนคนละข้าง 17 (57.5) 28 (95.0) -4.837 .001*** 3. ให้ยาปฏิชีวนะหลังวินิจฉัยและ Hemoculture ภายใน 1 ชั่วโมงแรก 24 (80.0) 29 (97.5) -2.876 .006** 9. ประเมินสัญญาณชีพและ SOS score ผู้ป่วยซ้ำอีกครั้งภายใน 1 ชั่วโมงในกรณีวินิจฉัย septic shock 16 (52.5) 30 (100) -5.940 .001*** 10. ประเมิน SOS Score แรกรับที่หน่วยงานทุกครั้ง 17 (57.5) 30 (100) -5.369 .001*** 11. ประเมิน SOS Score หลังทำการรักษาภาวะ Septic shock ใน 1 ชม.แรก 14 (47.5) 30 (100) -6.565 .001*** 12. กรณี SOS Score คะแนน 0-1 ทำการประเมิน V/S ทุก 4 ชม. และประเมิน SOS Score เวรละครั้ง 13 (45.0) 30 (100) -6.904 .001*** 13. กรณี SOS Score คะแนน 2-3 ทำการประเมิน V/S,I/O ทุก 4 ชั่วโมง และประเมิน SOS Score ทุก 4 ชั่วโมง 11 (37.5) 30 (100) -8.062 .001*** 14. กรณี SOS Score คะแนน > 4 ทำการประเมิน V/S,I/O ทุก 15-30 นาที และปฏิบัติดังนี้ - รายงานแพทย์ทันที - พิจารณาย้ายผู้ป่วยมาอยู่ในบริเวณที่สามารถดูแลได้ อย่างใกล้ชิด - ประเมิน SOS Score ทุก 1 ชั่วโมง 11 (37.5) 30 (100) -8.062 .001*** - ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยแย่ลง เช่น Severe sepsis, Septic shock. Acute MI เป็นต้น 16. MAP < 65 mmHg หรือ SOS score เพิ่มขึ้น > 4 ให้แจ้ง แพทย์รับทราบและทำการเฝ้าระวังใกล้ชิด 17 (57.5) 30 (100) -5.649 .001*** 17. เฝ้าระวังการหายใจและภาวะออกซิเจนในเลือดโดยรักษา ให้อยู่ในระดับมากกว่า 95% 16 (52.5) 30 (100) -5.940 .001*** 18. ติดตามปริมาณปัสสาวะอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง กรณีน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr ให้รีบแจ้งแพทย์เพื่อดำเนินการหาสาเหตุและรักษา 14 (47.5) 30 (100) -6.565 .001*** 19. บันทึกกิจกรรมการพยาบาลและส่งต่อข้อมูลระหว่างเวรอย่าง ต่อเนื่อง 11 (37.5) 30 (100) -8.062 .001*** **p < .01, ***p< .001
14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 อภิปรายผล การอภิปรายผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยตามสมมุติฐานการวิจัย ดังนี้ 1. เปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ด้านผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการ นิเทศของพร็อคเตอร์ฯ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ ส่งผลให้กระบวนการดูแลและ ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตดีขึ้น ดังนี้ 1) ผลลัพธ์ด้านพยาบาลวิชาชีพ สามารถทำการดักจับอาการเปลี่ยนแปลง (early detection) การ เจาะเลือดเพาะเชื้อ 2 ขวด ก่อนให้ยาต้านจุลชีพ การได้รับยาต้านจุลชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังแพทย์มีคำสั่งการ รักษาตามแนวปฏิบัติและ adequate tissue perfusion ภายใน 6 ชั่วโมง สูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบการ นิเทศของพร็อคเตอร์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01, p< .001) อธิบายได้ว่า การได้รับการนิเทศ ได้รับ การสอนแนะนำ และได้รับคำปรึกษา ทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้และเข้าใจความสำคัญของการปฏิบัติตาม แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต การมีความรู้ความเข้าใจจะช่วยเสริมพลังและ สนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติการพยาบาลที่มีมาตรฐาน (Dellinger RP, LevyMM, RhodesA, AnnaneD, GerlachH, OpalSM, et al., 2012) ทำให้การดักจับอาการเปลี่ยนแปลง (early detection) การเจาะเลือด เพาะเชื้อ 2 ขวด ก่อนให้ยาต้านจุลชีพ การได้รับยาต้านจุลชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังแพทย์มีคำสั่งการรักษาเพิ่ม สูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ เมื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา ได้อย่างรวดเร็ว ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ ตามเกณฑ์เป้าหมายของแนวปฏิบัติการดูแล รักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตการไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น ปริมาณปัสสาวะ ออกเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมี adequate tissue perfusion ภายใน 6 ชม. เพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน ซึ่งสอดคล้อง กับการศึกษารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สามารถทำให้คะแนนความรู้ของ พยาบาลหลังใช้รูปแบบสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก (เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์และคณะ, 2554) และ (จริยา พันธุ์วิทยากูล และ จิราพร มณีพราย, 2561) 2) ผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยก่อน-หลังการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า (1) การประเมินผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่ามีภาวะ Sepsis เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 92.5 (2) การ ได้รับ Antibiotic ภายใน 1 ชม. เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 97.5 (3) การประเมิน SOS Score หลังทำการรักษาภาวะ Septic shock เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 47.5เป็นร้อยละ 100 (4) การเฝ้าระวังการ หายใจและภาวะออกซิเจนในเลือดโดยรักษาให้อยู่ในระดับมากกว่า 95% เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 52.5 เป็น ร้อยละ 100 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้านการปฏิบัติตามกระบวนการและระดับคะแนนความรู้เกี่ยวกับ การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สอดคล้องการศึกษาการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วย ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง พบว่า หลังพัฒนาระบบผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความรุนแรงของอวัยวะ
15 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 ล้มเหลว (SOFA Score) เมื่อครบ 24 ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มก่อนพัฒนาระบบ อีกทั้งสัดส่วนการพ้นจากภาวะช็อก ภายใน 6 ชั่วโมง สัดส่วนการดักจับอาการของ Severe Sepsis ได้ทันเวลา และสัดส่วนการได้รับยาปฏิชีวนะ ภายใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัยสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยก่อนพัฒนาระบบ (วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, 2557) ซึ่ง การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รวดเร็วขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาการพัฒนาแนวทางการ พยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต พบว่า หลังปรับปรุงระบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้แบบ ประเมิน SOFA สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตสามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 17.1 โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง และไม่พบภาวะน้ำเกินภายหลัง ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาแนวทางสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการดูแล ผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รวดเร็วขึ้น (สาธร ธรรมเนียมอินทร์, 2561) 2. เปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์กับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสโลหิตในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ด้านพยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้รับการนิเทศ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า คะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแส โลหิตของพยาบาลวิชาชีพ ที่เป็นผู้รับการนิเทศต่อการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วย หลังการพัฒนารูปแบบการ นิเทศของพร็อคเตอร์ฯ ดีกว่าก่อนการพัฒนา อธิบายได้ว่า เมื่อหัวหน้าหอผู้ป่วยได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติการ นิเทศ รวมทั้งได้รับความรู้จากการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของกลุ่มอาการติดเชื้อใน กระแสเลือด แนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่การประเมินสภาพอาการ อาการแสดง และการพยาบาล ช่วยให้มีความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น (จีราพรรณ อันบุรี, 2555) นอกจากนี้หัวหน้าหอ ผู้ป่วยยังได้มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทของผู้นิเทศ ทำให้เข้าใจหลักการ นิเทศ มีแนวทางและเครื่องมือการนิเทศที่ชัดเจน รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อค เตอร์ฯ ทำให้สามารถดำเนินการนิเทศ ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพมีความรู้และให้การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการ ติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้เพิ่มมากขึ้น (กรรณิกา อำพนธ์และคณะ, 2560) ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพมีคะแนน ความรู้การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตหลังการใช้รูปแบบมีคะแนนเพิ่มสูงกว่าก่อนการใช้ สอดคล้องกับการศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ ทำให้ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นมี ความรู้และทักษะการนิเทศสูงขึ้น (ผ่องศรี สุวรรณพายัพ, 2556) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ผู้บริหารทางการพยาบาลควรกำหนดแผนการนิเทศให้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาความรู้ของ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล 2. ผู้บริหารทางการพยาบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาผู้นิเทศเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยด้วยการนิเทศที่มีประสิทธิภาพสูง 3. ผู้บริหารทางการพยาบาลควรเพิ่มบทบาทการนิเทศของหัวหน้างานหน่วยงานเพื่อยกระดับคุณภาพ
16 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 การดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย 4. องค์กรพยาบาลควรมีการศึกษาผลลัพธ์ของการนิเทศในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นพร้อม ติดตามประเมินผลการนิเทศให้มีความต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาถึงความต้องการของพยาบาลวิชาชีพที่รับการนิเทศ ให้มีความ ชัดเจนว่าเป็นเรื่องใด เพื่อนำไปใช้เป็นปัจจัยนำเข้าในการพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตต่อไป 2. ควรพัฒนารูปแบบการนิเทศของพร็อคเตอร์ฯ ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่ม อาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ให้เป็นข้อมูลต่อยอดในสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป 3. ควรมีการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อให้มั่นใจว่ารูปแบบการนิเทศ ของพร็อคเตอร์ฯ ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต ส่งผลต่อ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยได้สูงมากขึ้น 4. ควรศึกษาระยะยาว 6 เดือน และระยะ 1 ปี เพื่อทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศ ของพร็อคเตอร์ฯต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต และการลด อัตราการเสียชีวิต เอกสารอ้างอิง กองการพยาบาล. กระทรวงสาธารณสุข. (2551). การพัฒนาศักยภาพผู้นำด้านการพยาบาลในการควบคุมดูแล การพยาบาล. กรุงเทพ: สามเจริญพาณิชย์. กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. เล่มแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2562 (2562). [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://bie.moph.go.th/einsreport/ คมกฤช สุทธิฉันท์, มยุรี พิทักษ์ศิลป์, สมจิต พฤกษะริตานนท์,วัลลภ ใจดี. (2561). ผลลัพธ์ของการใช้เกณฑ์ การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การ ประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทราในผู้ป่วยติดเชื้อที่โรงพยาบาลบางปะ กง. บูรพาเวชสาร, 5(1), 13-26 ชิโนรส วงค์ธิดา. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพจากการใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในการคัดกรองผู้ป่วยติด เชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(2), 39-50. ผ่องใส ฮึกเหิม. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ และ ฉุกเฉิน (กรณี ศึกษา 2 ราย เปรียบเทียบ กัน). วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 263-274.
17 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน 2567 พรรณี ยอดญาติไทย, นิโลบล ทิพย์ฤาตรี, อรรถวุฒิ พรมรัตน์, กำทร ดานา. (2023). การพัฒนาแนวทางการคัด กรองและการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะช็อคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลยางสีสุ ราช. วารสาร สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม ศึกษา, 8(3), 167-177. พรรณี ชูศรี, อิสราภรณ์ปัญญา, ปิยะเนตร ปานเกิด. (2565). การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อใน กระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก. วารสาร การ พยาบาลสุขภาพ และ สาธารณสุข, 1(2), 12-27. พิกุลทอง ลุนสำโรง. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic Shock): กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาและสิ่งแวดล้อม ศึกษา, 5(4), 209-221. รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, รัชนี นามจันทรา. (2562). การ พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิด รุนแรง. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 30(2), 193-209. ศุภา เพ็งเลา. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลโพ ธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 39(4), 698-712. อรรถยา อมรพรหมภักดี, ฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ, อมราพร สุรการ. (2563). การนิเทศทางการพยาบาล:การ ทบทวนแบบกำหนดขอบเขต. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 30(3), 144- 157. Bone RC, Balk RA, Cerra FB, Dellinger RP, Fein AM, Knaus WA, Schein RM, Sibbald WJ. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. The ACCP/SCCM Consensus Conference Committee. American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine. Chest. 1992 Jun;101(6):1644-55. doi: 10.1378/chest.101.6.1644. PMID: 1303622. Bridges EJ, Dukes S. Cardiovascular aspects of septic shock: pathophysiology, monitoring, and treatment. Crit Care Nurse. 2005 Apr;25(2):14-6, 18-20, 22-4 passim; quiz 41-2. PMID: 15871533.
1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี วีรวรรณ แซ่หุ่น, ป.พย. หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี บทคัดย่อ การวิจัยแบบศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการใช้รูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้และแบบ ประเมินการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ผ่านการตรวจสอบหาความเชื่อมั่นโดย วิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยหา KR20 ของแบบวัดความรู้ได้ค่าที่ 0.76 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบ ประเมินการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้ค่าที่ และ 0.89 ดำเนินการเก็บข้อมูลก่อนหลังใช้รูปแบบ วัดผลความรู้และประเมินการพยาบาลผู้ป่วยและเก็บข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนโดยตัวผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและและใช้สถิติการวิจัยแบบศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง ใช้รูปแบบ (One group, Pre-Post Test) ผลวิจัย พบว่าผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยหลังการใช้รูปแบบฯ เป็นไปตามค่าเป้าหมายเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อน การใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) เพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมงได้ร้อยละ 100 2) เพิ่มอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการได้ร้อยละ 76.23 และ 3) อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษาได้ร้อยละ 98.98 และมีค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้และการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของพยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน สูงเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย และเพิ่มขึ้นก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วย ได้รับการดูแลที่ปลอดภัยแลผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย คำสำคัญ: รูปแบบการพยาบาล โรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน อุบัติเหตุฉุกเฉิน รายงานการวิจัย
2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เกิดจากการมีก้อนเลือดเล็กๆ ไปอุดตันหลอดเลือดสมองทำ ให้สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้เกิดการตายของเซลล์ประสาท ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและ พิการ (Lindsay et al., 2019) โรคหลอดเลือดสมองตีบตันพบประมาณร้อยละ 80 ของโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งหมด โรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ (Berger JS. et al. (2019).) ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบตันเพิ่มขึ้นจากสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ ดีขึ้น จนโรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้กลายเป็นสาเหตุการตายลำดับที่สองและเป็นสาเหตุสำคัญของความ พิการ อัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันพบได้ประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี (Feigin VL. et al. (2022) ในประเทศไทยพบอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคนพบสูงขึ้นทุกปีมากกว่า โรคเบาหวานและโรคหัวใจขาดเลือด 1.5-20 เท่า เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในเพศหญิงและอันดับสี่ใน เพศชายรองจากอุบัติเหตุ หัวใจและมะเร็ง ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณร้อยละ26-50 มี ความพิการหลงเหลืออยู่ (Teng J, et al., 2003) ผลกระทบต่อการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ซึ่ง ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายด้านการรักษาในโรงพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการรักษาต่อเนื่อง นอกจากนี้ พบว่า ค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 70 เป็นค่ารักษาในรูปแบบผู้ป่วยใน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยระดับ รุนแรงหรือคะแนน National Institutes of Health Stroke Scale [NIHSS] > 20 (Jauch EC, Saver JL, Adams P, Bruno., 2013). ในปีพ.ศ. 2564-2566 พบว่าจังหวัดกาญจนบุรีมีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 2,501, 2,567 และ3,124 รายตามลำดับ พบอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองในภาพรวมร้อยละ 8.04, 9.54 และ 8.61ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันปีพ.ศ. 2564-2566 จำนวน 1,665, 1,646 และ 2,036 รายตามลำดับ มีอัตราการเสียชีวิตด้วยหลอดเลือดสมองตีบตันร้อยละ 3.24, 4.62 และ 4.32 ตามลำดับ (Health Data Center, 2021) โดยโรงพยาบาลเลาขวัญซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ในจังหวัด กาญจนบุรี สามารถให้บริการผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกประเภทได้ที่จำนวน 46 เตียง โดยปีพ.ศ. 2564-2566 มีสถิติผู้รับบริการในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีผู้ป่วยโรคฉุกเฉิน 5 อันดับแรกที่สำคัญ ได้แก่ โรค หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน, บาดเจ็บที่ ศีรษะ, เบาหวานและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาการชักจากไข้สูง ซึ่งผู้ป่วยมาใช้บริการด้วยโรคหลอดเลือด สมองในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ปีพ.ศ. 2564-2566 จำนวน 120, 130 และ 131 รายตามลำดับ (โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี, 2566) จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองมีจำนวนมากขึ้น และจากการศึกษาผลลัพธ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ติดตามไม่ผ่านเป้าหมายในปี พ.ศ. 2564-2566 ดังนี้ อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการ (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 50) ทำได้เพียงร้อยละ 46.66, 46.15 และ 30.53 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีอัตรา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาที หลังเข้ารับการรักษา (ในผู้ป่วย Fast track) (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 80) ทำได้เพียงร้อยละ 67.92, 65.00 และ 77.50 ตามลำดับ และอัตราการรอด
3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ80) ทำได้ร้อยละ 99.19, 100.00 และ 99.23 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน??ยังมีโอกาสพัฒนา คุณภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะส่งเสริมการเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการเพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับการส่งต่อภายในเวลาที่กำหนดและได้รับการดูแลที่ทันเวลา เพิ่มโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่าผู้ป่วยมารับบริการล่าช้า ได้รับการ ส่งต่อล่าช้า ปัจจัยหนึ่งเกิดจากความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเตือนของโรค และผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีโรค ประจำตัวและหยุดยาเอง มีการขาดนัด การรักษาจึงไม่ต่อเนื่อง และปัจจัยด้านการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ยังไม่ครอบคลุม แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ ยังไม่สามารถจัดบุคลากรที่สามารถช่วยคัดกรอง ผู้ป่วยที่รับบริการได้ทันเวลา เนื่องจากบางเวลามีผู้ป่วยฉุกเฉินซ้ำซ้อนเข้ามารับบริการในช่วงเวลาเดียวกัน ผล ดำเนินการที่ผ่านมาสรุปพบปัญหาที่ควรพัฒนาระบบ ดังนี้ 1) ความล่าช้าในการส่งต่อผู้ป่วยซึ่งมีสาเหตุจากการ ขาดสมรรถนะของพยาบาลวิชชีพในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินด้านการประเมิน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและ การส่งต่อล่าช้า 2) ความล่าช้าในการพยาบาลผู้ป่วยที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ประกอบด้วย ด้านกระบวนการ ปรึกษาแพทย์ กระบวนการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง และกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายส่งต่อ และ 3) ปัจจัยหนึ่งด้านผู้ป่วยเรื่องความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่ต้องรีบมาโรงพยาบาลตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มมีอาการ ซึ่ง ปัจจัยสำคัญที่จะลดอัตราการตายและความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน คือ การ รักษาที่รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา และได้รับยาละลายลิ่มเลือดเร็วที่สุด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นด้านการพัฒนา รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้และมีสมรรถนะ โดยกำหนดเป้าหมายปี 2567 ได้แก่ 1) เพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง ให้ได้ร้อยละ 100 2) เพิ่มอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลัง เกิดอาการให้มากกว่าร้อยละ 50 และ 3) อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อ ภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษา (ในผู้ป่วย fast track) ให้มากกว่าร้อยละ 80 ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้บริหารหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้ตระหนักถึงปัญหาด้านการพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ดังกล่าว จึงมีการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน เพื่อ พัฒนาความรู้และสมรรถนะของพยาบาลในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพผู้ป่วยมีความปลอดภัย โดยประยุกต์ใช้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันสำหรับพยาบาล (สถาบันประสาทวิทยา, 2558) วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านกระบวนการ และด้านผู้ป่วย ก่อนและหลัง
4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างก่อนและหลัง สมมติฐานการวิจัย 1. หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลา ขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีพยาบาลวิชาชีพมีความรู้และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน ได้ดีกว่าก่อนทดลอง 2. หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลา ขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีผลลัพธ์ด้านกระบวนการ และด้านผู้ป่วย ได้ดีกว่าก่อนทดลอง กรอบแนวคิดในการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) เน้นการ ประยุกต์ใช้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาล (สถาบันประสาทวิทยา, 2558) ในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีและแผนการนิเทศทางคลินิก โดยมีกรอบแนวคิดในการศึกษา สรุปได้ดังภาพที่ 1 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 1. จัดทำหัวข้อการสอนการพยาบาลฯ 2. การอบรมการพยาบาลฯ 3. แผนนิเทศการพยาบาลฯ 4. คู่มือรูปแบบการพยาบาลฯ ผลลัพธ์ด้านพยาบาลและกระบวนการ: 1) ระดับความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ 2) ระดับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงาน อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรี แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี (สถาบัน ประสาทวิทยา, 2558) ประกอบด้วย 1) การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team 2) การคัดกรองผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track 3) การประเมินและการวินิจฉัย 4) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง (Specific treatment) 5) การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล 6) การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยัง โรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงตามที่กำหนด ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย: 1) เพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมงให้ได้ ร้อยละ 100 2) เพิ่มอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน เข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการให้มากกว่า ร้อยละ 50 3) อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการ รักษา (ในผู้ป่วย Fast track) ให้มากกว่าร้อยละ 80 ภาพที่1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประเภทของการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ กลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one group Pretest– posttest design) 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน (สถิติโรงพยาบาลเลาขวัญ, 2566) จำนวน 131 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง มีเกณฑ์การ คัดเลือก (inclusion criteria) ดังนี้ 1) มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและดูแลผู้ป่วยโดยตรง 2) ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโดยตรงตามเวร 8 ชั่วโมง 3) ไม่อยู่ในระหว่างการอบรมระยะสั้นหรือลาศึกษาต่อ และ 4) ยินดีให้ข้อมูลการวิจัยโดยการตอบแบบสอบถาม และจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (สถิติ โรงพยาบาลเลาขวัญ, 2567) จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 คน (ก่อนใช้ รูปแบบฯ 30 คน และหลังใช้รูปแบบฯ 30 คน) 3. เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วย 1) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองระยะเฉียบพลัน 6 เรื่องได้แก่การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team, การคัดกรอง ผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track, การประเมินและการวินิจฉัย, การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง, การ เตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล, การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ ศักยภาพสูงตามที่กำหนด 2) การพัฒนาความรู้และความสามารถของพยาบาล 3) การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันและการส่งต่อและ 4) แผนนิเทศ โดยมีรายละเอียดกิจกรรม สำหรับกลุ่มทดลอง ดังนี้ 1) การสอนการพยาบาลฯ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (สถาบันประสาทวิทยา, 2558) ทบทวนร่วมกับแพทย์และสหวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 1) การประสานผ่าน 1669 เพื่อ ตัดสินใจ Activate Team 2) การคัดกรองผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track 2) การประเมินและการวินิจฉัย 3) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง (Specific treatment) 4) การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่าง โรงพยาบาล 5) การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงตามที่กำหนด 2) การอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพและมีการกำหนดบทบาท หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างกลับไปปฏิบัติงานให้การพยาบาลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันตามที่กำหนดไว้ดำเนินการให้คำปรึกษา ระบบขอคำปรึกษาจากพยาบาล
6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 วิชาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า แบบพบปรึกษากันเฉพาะกลุ่ม ครั้งละ 2 ชม. ทุกวันจันทร์รวม 3 ครั้ง ดำเนิน กิจกรรมต่างๆ มีการบันทึกจัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์ 3) ทำการนิเทศการดำเนินการตามรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน แต่ละองค์ประกอบใช้ระยะเวลา 1-6 สัปดาห์ ระยะเวลาในการทำกิจกรรมทั้งหมด 8 สัปดาห์ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 ประชุมปรึกษาทางการพยาบาลโดยเน้นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ การเข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ชี้แจงวัตถุประสงค์ และแจ้งตาราง การนิเทศ หลังจากนั้นมีการทบทวนทำความเข้าใจร่วมกัน โดยเน้นให้ผู้รับการนิเทศ แสดงความคิดเห็น ค้นหา ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่ผ่านมาโดยผู้นิเทศให้ คำปรึกษา และร่วมหาแนวทางแก้ไข จากนั้นสรุปข้อตกลงร่วมกันใช้เวลา 30 นาที หลังจากนั้นทำการนิเทศตาม แผนประจำสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 2-3 ทำการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับสาระสำคัญ และการสอนแนะ ให้ผู้นิเทศสรุป ปัญหาการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อธิบายแนวทางการแก้ปัญหา แสดงทางเลือกให้ผู้รับการนิเทศได้มี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ผู้นิเทศมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับในการปฏิบัติการพยาบาล ทั้งในส่วนที่ถูกต้องแล้วและในส่วนที่ ควรเพิ่มเติม และร่วมกันอภิปรายสรุปผลการนิเทศในสัปดาห์ที่ 2 โดยมีพยาบาลที่เข้าร่วม 15 คน ประชุมกลุ่ม ครั้งละไม่เกิน 45 นาที หลังจากนั้นทำการนิเทศตามแผนประจำสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 3-8 ผู้นิเทศทำการเยี่ยมตรวจบุคลากรและการประเมินผลการนิเทศ โดยผู้นิเทศเยี่ยม ตรวจบุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศแต่ละคน โดยแจ้งวัตถุประสงค์ก่อนการ เยี่ยมตรวจ มีการสังเกตและการสัมภาษณ์การปฏิบัติการพยาบาล การตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล โดย เน้นให้ผู้รับการนิเทศมีการซักถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อประเมินและทำ ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย ร่วมกันวางแผนการดูแลผู้ป่วยให้ สอดคล้องกับปัญหาระหว่างการนิเทศ หลังจากนั้นจะสรุปผลการเยี่ยมตรวจบุคลากร ให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ ผู้รับการนิเทศในส่วนที่ปฏิบัติได้ดี พร้อมทั้งชี้แนะให้ข้อมูลในส่วนที่ควรปรับปรุง ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ร่วมกันประเมินผลการนิเทศวิเคราะห์และสรุปปัญหาที่พบ ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เมื่อได้ข้อตกลงร่วมกันมี การจดบันทึกการนิเทศไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในการเยี่ยมตรวจแต่ละครั้ง ไม่เกิน 20-30 นาที หลังจากนั้นทำ การนิเทศตามแผนประจำสัปดาห์ 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นชุดของแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มี4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ อายุ การศึกษา อายุการทำงาน การ อบรมที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 2) แบบเก็บข้อมูลการปฏิบัติการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน ได้แก่ การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน หน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีได้แก่1) การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team 2) การคัดกรองผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track 2) การประเมินและการวินิจฉัย 3) การพยาบาลเบื้องต้นและ เฉพาะเจาะจง (Specific treatment) 4) การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล 5) การเตรียม ผู้ป่วยและประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงตามที่กำหนด 3) แบบวัดความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ได้แก่ ระดับความรู้ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 4) แบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ได้แก่ 1) การรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง 2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการ และ 3) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษา (ในผู้ป่วย Fast track) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือวิจัย ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ โดยตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย อายุรแพทย์ พยาบาลประจำการเชี่ยวชาญในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน และอาจารย์พยาบาล พิจารณาความสอดคล้องระหว่างคำถามกับคำนิยามหรือกรอบ ทฤษฎีและวิเคราะห์ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index: CVI) โดยมีค่าดัชนีความตรงตาม เนื้อหา 0.85 นำรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน และแบบสอบถามที่ปรับปรุง แก้ไขไปทดลองใช้ (Try out) กับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่มี บริบทใกล้เคียงกัน จำนวน 30 คน ผ่านการตรวจสอบหาความเชื่อมั่นโดยวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยหา KR20 ของแบบวัดความรู้ได้ค่าที่ 0.76 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบประเมินการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันได้ค่าที่ และ 0.89 4. การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กาญจนบุรีรับรองเมื่อวันที่ 5 เดือน มกราคม 2567 หมายเลข EC.No. 49/2566 ผู้วิจัยชี้แจงผู้เข้าร่วม โครงการให้ทราบถึงสิทธิการตอบรับหรือปฏิเสธในการเข้าร่วมในการวิจัย หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อคำถามใดไม่ สะดวกใจที่จะตอบ กลุ่มตัวอย่างมีอิสระที่จะไม่ตอบคำถาม ทั้งสามารถยุติการให้ความร่วมมือในขั้นตอนใดของ การวิจัยก็ได้และขอข้อมูลกลับคืนได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องบอกเหตุผลและสามารถสอบถามข้อข้องใจกับผู้วิจัย ได้ ให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยความสมัครใจและในการตอบแบบสอบถามจะไม่มีการเปิดเผยชื่อ
8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 การรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูลและการทำลายข้อมูลเมื่อสิ้นสุดการวิจัยโดยวิธีเข้าเครื่องทำลายเอกสาร ภายใน 1 ปี หลังจากได้รับการอนุมัติผลงาน เผยแพร่ผลการวิจัยในภาพรวมและการนำเสนอในเชิงวิชาการ 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการหลังได้รับหนังสือรับรองโครงการวิจัยตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดทำหนังสือจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ถึงฝ่ายการ พยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโรงพยาบาลเลาขวัญ เพื่อขออนุเคราะห์ในการดำเนินการวิจัยและเก็บ รวบรวมข้อมูล และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 2) ทำหนังสือหรือติดต่อส่วนตัวเพื่อขอความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างที่จะดำเนินการวิจัยและ นัดหมาย เพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัย 3) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลใน การทดลองใช้รูปแบบฯ กับกลุ่มตัวอย่าง 4) ผู้วิจัยจะชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมการวิจัย และให้กลุ่มตัวอย่างอ่านเอกสารชี้แจง ให้เข้าใจชัดเจน และเซ็นใบยินยอมการให้ข้อมูลและการเข้าร่วมกิจกรรม หากกลุ่มตัวอย่างมีข้อสงสัยในการ ตอบ ผู้วิจัยจะให้คำแนะนำจนเป็นที่เข้าใจ แบบสอบถามที่ตอบเสร็จจะรับคืนในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นระยะการ ทดลองใช้รูปแบบฯ การตอบแบบสอบถามของกลุ่มทดลองทำก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ โดยผู้วิจัย ดำเนินการกับกลุ่มทดลองทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ 5) ดำเนินการตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น 6) ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลรวม 8 สัปดาห์หลังผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์ 7) ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และความสมบูรณ์ของแบบสอบถามและแบบเก็บ ข้อมูลเพื่อเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป 6. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์แล้วเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ตาม ระเบียบ วิธีทางสถิติโดยมีการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนการนำมาวิเคราะห์โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีที่ดำเนินการตามรูปแบบเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการ ติดตามและทำการวัดความรู้ตามแผนการศึกษาวิจัยหลังเสร็จสิ้นโครงการ ใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามที่ 20-30 นาทีผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ตั้งไว้ พร้อมทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดย
9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 1) ผู้วิจัยทำการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) โดยการทดสอบข้อมูลว่ามีการแจก แจงเป็นโค้งปกติ (Normality) หรือไม่ ด้วยการทดสอบจากสถิติ Kolmogorov-Smirnov test พบว่าข้อมูลมี การแจกแจงแบบโค้งปกติ (Sig = .100) 2) ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ถามเกี่ยวกับลักษณะข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงาน ได้แก่ อายุ การศึกษา อายุการทำงาน การอบรมที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลันโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 3) ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว การวินิจฉัย แรกรับ เวลาเกิดอาการ เวลาถึงหน่วยงานอุบติตุฉุกเฉิน เวลาซักประวัติ/ประเมินแรกรับ เวลาแพทย์ตรวจ วินิจฉัย สั่งการรักษา เวลาส่งต่อ เวลาถึงโรงพยาบาลข่าย จำนวน 14 ข้อ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การ แจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของข้อมูล 4) เปรียบเทียบคะแนนความรู้และระดับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ก่อนกับหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาล เลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี โดยระยะนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi -Experimental study) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One group, Pre-Post Test) 5) ศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีด้านผู้ป่วย ระยะนี้ใช้ระเบียบวิธีแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One group, Pre-Post Test) เปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน หลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม. หลังเกิดอาการ และอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลัง เข้ารับการรักษา (ในผู้ป่วย Fast track) ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นเพศหญิงร้อยละ 100 และจบการศึกษา ระดับปริญญาตรีร้อยละ 100 มีอายุเฉลี่ย 35.83 ปี อายุน้อยที่สุดที่ 23 ปีและอายุมากที่สุดที่ 50 ปี ส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 27-31 ปีร้อยละ 43.32 ประสบการณ์การทำงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินเฉลี่ยที่ 6 ปี ประสบการณ์ การทำงานมากที่สุด 24 ปี และน้อยที่สุดที่ 2 ปี เข้ารับการอบรมที่เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันร้อยละ 67.10 2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ
10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน หลังการใช้รูปแบบ ฯ พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) รายละเอียดดังตาราง 1 ตาราง 1 เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน ก่อน-หลังการทดลอง (n=15) ความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน ̅ SD t p-value ก่อนการใช้รูปแบบการพยาบาล 5.39 4.38 -3.253 0.035* หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล 11.52 3.32 *p < .05 3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน ได้แก่ 1) การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team 2) การคัดกรองผู้ป่วย เข้าระบบ Fast Track 3) การประเมินและการวินิจฉัย 4) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง (Specific treatment) 5) การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล 6) การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อ ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงตามที่กำหนด สรุปผลลัพธ์ด้านกระบวนการดีขึ้นตามเป้าหมาย เพิ่มมาก ขึ้นทุกด้าน รายละเอียดดังดังตาราง 2 ตาราง 2 เปรียบเทียบจำนวน ร้อยละ ผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน จากเวชระเบียนผู้ป่วย ก่อน-หลังการทดลอง (n1=30), (n2=30) ผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน ก่อนทดลอง (n1) หลังทดลอง (n2) t pvalue ̅ (SD) ̅ (SD) 1. การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team 0.73 (0.41) 1.00 (0.00) -4.338 <.001 ** 2. การคัดกรองผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track 0.91 (0.34) 1.00 (0.00) -3.191 .002** 3. การประเมินและการวินิจฉัย 0.82 (0.37) 1.00 (0.00) -2.597 .011* 4. การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง 0.64 (0.40) 0.97 (0.17) -3.191 .002** 5. การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล 0.73 (0.41) 1.00 (0.00) -4.338 .000*** 6. การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อ 0.64 (0.40) 0.97 (0.17) -3.191 .002** *p < .05, **p < .01, ***p< .001 4. การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย จากเวชระเบียนผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ เปรียบเทียบกระบวนการและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ สรุปได้ดังนี้(1) อัตราการ รอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 64.12 เป็น ร้อยละ 100 (2) อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลัง
11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 เกิดอาการ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.21เป็น ร้อยละ 76.23 และ (3) อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษา (ในผู้ป่วย Fast track) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.87 เป็นร้อยละ 98.98 ดังรายละเอียดในตาราง 3 ตาราง 3 เปรียบเทียบจำนวน ร้อยละผลการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน จากเวชระเบียนผู้ป่วย ก่อน-หลังการทดลอง ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย (n1=30), (n2=30) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน ก่อนทดลอง (n1) หลังทดลอง (n2) ร้อยละ ร้อยละ 1. อัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังการ ส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมง 64.12 100 2. อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการ 32.21 76.23 3. อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายใน เวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษา 62.87 98.98 อภิปรายผล การอภิปรายผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้อภิปรายผลการวิจัยตามสมมุติฐานการวิจัย ดังนี้ 1. หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลา ขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีพยาบาลวิชาชีพมีความรู้และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน ได้ดีกว่าก่อนทดลอง สรุปได้ดังนี้ ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีพบว่าพยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินมีคะแนนความรู้และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน เพิ่มสูงขึ้นก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอภิปรายได้ว่า การพัฒนาความรู้ ของพยาบาลวิชาชีพร่วมกับการนิเทศการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันตามรูปแบบ ส่งผลต่อความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันเพิ่มขึ้น อีกทั้งพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน เฉลี่ยที่ 6 ปี มีประสบการณ์การทำงานมากที่สุดถึง 24 ปี และร้อยละ 67.10 ได้เข้ารับการอบรมที่เกี่ยวกับการ พยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน สอดคล้องกับผลของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งการเตรียมความรู้ในการจัดการภาวะเร่งด่วน และการปฏิบัติการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต ผลการประเมิน พบว่า ความรู้และความสามารถการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ผู้บริหารทางการ พยาบาลจึงควรนำผลการวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด
12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 เลือดสมองต่อไป (วรลักษณ์ เต็มรัตน์, 2565) 2. หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลา ขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีผลลัพธ์ด้านกระบวนการ และด้านผู้ป่วย ได้ดีกว่าก่อนทดลอง สรุปได้ดังนี้ เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านกระบวนการและด้านผู้ป่วย หลังทดลองใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีอภิปรายได้ว่า รูปแบบการพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้ส่งเสริมความรู้และการพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันให้แก่พยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็น แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ประกอบด้วย 1) การประสานผ่าน 1669 เพื่อตัดสินใจ Activate Team 2) การคัดกรองผู้ป่วยเข้าระบบ Fast Track 3) การประเมินและการวินิจฉัย 4) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง (Specific treatment) 5) การเตรียมตัวผู้ป่วยและส่งต่อระหว่าง โรงพยาบาล 6) การเตรียมผู้ป่วยและประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงตามที่กำหนดผลลัพธ์ ด้านกระบวนการและด้านผู้ป่วย เพิ่มสูงขึ้นหลังใช้รูปแบบ ดังนี้ เพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันหลังการส่งต่อภายใน 48 ชั่วโมงได้ร้อยละ 100 เพิ่มอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลันเข้าถึงบริการภายใน 4.5 ชม.หลังเกิดอาการได้ร้อยละ 76.23 และอัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษาได้ร้อยละ 98.98 โดยเฉพาะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันได้รับการส่งต่อภายในเวลา 30 นาทีหลังเข้ารับการรักษา สอดคล้อง กับหลายการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งมีรายงานการศึกษาตั้งแต่ร้อยละ 21-50 (Sekoranja L, et al., 2009) ซึ่งเป้าหมายสำหรับการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง คือได้รับการรักษาได้เร็วที่สุดเพื่อช่วยลด อัตราความพิการและอัตราการตายได้ และการรอดชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันดีขึ้นในปี2015 เมื่อเทียบกับปี1991 ขณะที่การรอดชีวิตหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกไม่เปลี่ยนแปลง (Waziry R, et al., 2020). ดังนั้นการวินิจฉัยระยะของโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้อง รวมทั้งการรักษาอย่างรวดเร็วอาจส่งผลให้ อัตรารอดชีวิตเพิ่มสูงขึ้น การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับอาการและการจัดการกับอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และเพิ่มขีดความสามารถในการค้นหาผู้ปวยกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการพัฒนาบทบาทการให้บริการการแพทย์ ฉุกเฉิน สอดคล้องกับการวิจัยก่อนหน้าที่พบว่า ผู้ป่วยสามารถใช้โทรศัพท์ในการโทรเบอร์ฉุกเฉินได้มีโอกาสที่ จะเข้ามารับการรักษาได้ทันเวลา (Zhou et al., 2017; Soto-Cámara et al., 2019; Wang et al., 2021) ช่วยลดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจนกระทั่งได้รับการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Hsieh et al., 2014) การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการจัดการขั้นต้นที่ดีที่สุดในกลุ่ม ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งการมีระบบการส่งต่อจากชุมชนที่ดี(Zhou et al., 2017) ในขณะที่บุคคลที่ ไม่ได้โทรเบอร์ฉุกเฉินมีแนวโน้มที่จะเข้ารับการรักษาล่าช้า (Rakchue & Poonphol, 2019)
13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ผู้บริหารการพยาบาลควรนำรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีที่พัฒนานี้มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกราย และครอบคลุมพยาบาลวิชาชีพที่มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัด กาญจนบุรีทุกคน 2. หัวหน้าหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินควรติดตามผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีผ่านการ นิเทศและเทียบเคียงกับ ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาการมาโรงพยาบาล ของผู้ป่วยเมื่อมีอาการ และลดระยะเวลาการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล ได้ดีเพียงใดต่อไป 3. หัวหน้าหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินควรนำแนวทางตามรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ไปประยุกต์ใช้ใน กระบวนการนิเทศเพิ่มมากขึ้น ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรทำวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลัน โรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีเปรียบเทียบผลการลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาวัน นอน ลดภาวะแทรกซ้อน เอกสารอ้างอิง รายงานประจำปีโรงพยาบาลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. (2566) วรลักษณ์ เต็มรัตน์. (2565). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการภาวะเร่งด่วนของ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง. (วิทยานิพนธ์) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สถาบันประสาทวิทยา, (2558) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาล ทั่วไป, กรุงเทพมหานคร Berger JS, Peterson E, Lalibert ÉF, Germain G, Lejeune D, Schein J, et al. (2019). Risk of Ischemic Stroke in Patients Newly Diagnosed with Heart Failure: Focus on Patients without Atrial Fibrillation. Journal of Cardiac Failure, 25(6),436-47. Feigin VL, Brainin M, Norrving B, Martins S, Sacco RL, Hacke W, et al. (2022). World Stroke Organization (WSO): Global stroke fact sheet 2022. Int J Stroke,17(1), 18-29.
14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 Health Data Center, Ministry of Public Health. [internet]. 2017 [cited 2023 Aug 15]; Available from https://kkhdc.moph.go.Th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd 28180eed7d1cfe0155e11. Hsieh, M., Tang, S., Chiang, W., Huang, K., Chang, A. M., Ko, P. C., Tsai, L., Jeng, J., & Ma, M. H. (2014). Utilization of emergency medical service increase’s chance of thrombolytic therapy in patients with acute ischemic stroke. Journal of the Formosan Medical Association, 113(11), 813-819. Jauch EC, Saver JL, Adams P, Bruno. (2013). Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke. Stroke, 44, 870-947 Lindsay MP, Norrving B, Sacco RL, Brainin M, Havke W, Martins S, et al. (2019). World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2019. International Journal of Stroke,14(8), 806-17. Rakchue, P., & Poonphol, S. (2019). Factor influencing pre-hospital delay among acute ischemic stroke patients inRajavithi hospital. Journal of Thai Stroke Society, 18(1), 5-13. Sekoranja L, Griesser AC, Wagner G, Njamhshi AK, Temperli P, Herrmann FR, et al. (2009). Factors Influencing Emergency Delays in Acute Stroke Management. Swiss Med Wkly,139, 393-399. Soto-Cámara, R., González-Santos, J., González-Bernal, J., Martín-Santidrian, A., Cubo, E., & Trejo-Gabriel-Galán, J. M. (2019). Factors associated with shortening of prehospital delay among patients with acute ischemic stroke. Journal of Clinical Medicine, 8(10), Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6832968/pdf/jcm08-01712.pdf Teng J, Mayo NE, Latimer E, Hanley J, Wood-Dauphinee S, Cote R., et al. (2003). Costs and caregiver consequences of early supported discharge for stroke patients. Stroke, 34, 528-36. Waziry R, Heshmatollah A, Bos D, Chibnik LB, Ikram MA, Hofman A, et al. (2020). Time trends insurvival following first hemorrhagic or ischemic stroke between 1991 and 2015 in the Rotterdam Study. Stroke, 51(3), 824-9. Zhou, Y., Yang, T., Gong, Y., Li, W., Chen, Y., Li, J., Wang, M., Yin, X., Hu, B., & Lu, Z. (2017). Prehospital delay after acute ischemic stroke in central urban China: Prevalence and risk
15 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่08/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 factors. Molecular Neurobiology, 54(4), 3007-3016. Wang, R., Wang, Z., Yang, D., Wang, J., Gou, C., Zhang, Y., Zian, L., & Wang, Q. (2021). Early hospital arrival after acute ischemic stroke is associated with family members’ knowledge about stroke. Frontiers in Neurology, 12, Article 652321.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8187751/
1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กัลยา สิทธิศักดิ์, (พย.บ.) กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย บทคัดย่อ การศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรี ในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เป็นสตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน ในปีพ.ศ.2566 จำนวน 55 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย1) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถาม ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.79 และตรวจสอบหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ ค่า 0.76 และ 2) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการใช้กระบวนการกลุ่ม ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของ คะแนนความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการใช้กระบวนการกลุ่ม โดยใช้สถิติ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่ม ตัวอย่างก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรีพบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=4.26, p=<.001) ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนน ทัศนคติใน การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05(t=10.15, p=<.001) และค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนพฤติกรรมในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t=4.16, p=<.001) แสดงให้เห็นผลของการใช้ กระบวนการกลุ่ม ทำให้สตรีสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธีส่งผลให้เข้ารับการ รักษาได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มแรกช่วยทำให้การรักษาได้ผลดี และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้มากขึ้น และมี ประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากการพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับขนาดของก้อน และระยะเวลาที่ตรวจพบ คำสำคัญ: กระบวนการกลุ่ม แรงจูงใจ มะเร็งเต้านม รายงานการวิจัย
2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา มะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบของเพศหญิง เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิง ในระยะแรกของ การเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านม เป็นภัยเงียบใกล้ตัว (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2566) ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั่วโลกมากถึง 2.1 ล้านคน และมีการตาย จำนวน 549,782 ราย สอดคล้องกับรายงานของกระทรวงสาธารณสุขปี2566ใน ประเทศไทย ที่พบว่า มะเร็งที่เกิดในมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในเพศหญิง โดยมีจำนวน มากถึง 38,559 ราย โดยช่วงอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 19,776 ราย รองลงมา ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และ อายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย เนื่องจาก จากข้อมูล ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของสตรีทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ เพราะเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในสตรีและผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ในระยะลุกลาม เนื่องจากไม่มีความรู้ในการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2563) จากสถานการณ์โรคมะเร็งเต้านมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลในปี พ.ศ.2563 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 18,000 ราย และในปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ จำนวน 37,000 ราย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริง แต่มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เช่น อายุที่มากขึ้น การมีประวัติโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งอื่น ๆ ใน ครอบครัว ประวัติการมีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุน้อย การหมดประจำเดือนตอนอายุมาก ประวัติการไม่ เคยมีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี การรับประทานยาเสริมฮอร์โมนในสตรีวัยหมด ประจำเดือน เป็นต้น (พัชรภรณ์ ทองวัชระ และอนงนาฏ เรืองดำ, 2554) และจากผลการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการเกิดมะเร็งเต้านมในสตรีไทยที่อายุน้อยกว่า 45 ปีพบว่าปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งเต้านม คือ ค่าดัชนีมวล กายเกินมาตรฐาน ญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านม มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุมาก มีประวัติรับประทาน ยาคุมกำเนิด ได้รับควันบุหรี่มือสอง และการมีกิจกรรมทางกายน้อย เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ถึง 3 เท่า (รังษีนพดล โถทอง และคณะ, 2558) ซึ่งโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีความรุนแรงใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการ รักษาสูง ถึงแม้จะยังไม่มีการป้องกันจากสาเหตุที่แท้จริง แต่การปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมก็เป็น การกระทำที่ลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยป้องกัน อันได้แก่ การรับ ประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออก กำลังกาย การงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ซึ่งถ้าพบมะเร็งเต้า นม ในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ (วรางคณา จันทรสุข และคณะ, 2558) โดยการคัดกรอง มะเร็งเต้านมทำได้โดยการตรวจคัดกรอง 3 วิธีคือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือ บุคลากร และการตรวจโดยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่องจะช่วยให้คลำพบก้อนขนาดเล็กที่เต้านมได้จะส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ เนื่องจากการพยากรณ์
3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 โรคขึ้นอยู่กับขนาดของก้อน และระยะเวลาที่ตรวจพบ (ภรณี เหล่าอิทธิและนภา ปริญญานิติกูล, 2559) จังหวัดเลยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 131 คน และอำเภอเชียงคาน มีข้อมูลจำนวนผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านม ตั้งแต่ ปี2564-2566 ดังนี้6, 11 และ 10 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่าพบผู้ป่วยมีแนวโน้มจำนวน เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง พบว่าปี2566 มีผลงานอยู่ที่ร้อยละ 91.67 ซึ่ง ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดอยู่ที่ร้อยละ 80 แต่ก็ยังพบว่า ผลงานการคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยตนเองต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลงานอยู่ที่ร้อยละ79.70 ดังนั้นควรที่จะ มีการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองของสตรีในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน (ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ, 2566) จากการสำรวจและการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลเชียงคาน พบว่าสตรีที่อายุ 30 ปีขึ้นไปของอำเภอเชียงคานยังขาด ความรู้ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี(โรงพยาบาลเชียงคาน, 2566) ในการดำเนินการแต่ก่อนเป็นการให้สุขศึกษารายบุคคลแก่สตรีที่อายุ 30 ปีขึ้นไปของอำเภอเชียงคาน พบว่า กลุ่มนี้ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม จากการทบทวนวรรณกรรมการส่งเสริมสุขภาพสตรี การให้ ความรู้และกระบวนการในการส่งเสริมพฤติกรรมที่จะส่งผลต่อการให้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ พบว่ามี หลากหลายวิธีได้แก่ กระบวนการกลุ่ม โดยตั้งแต่ดำเนินการงานและมีการจัดอบรมกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการ คัดกรองมะเร็งเต้านมยังไม่มีการนำกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการดำเนินการ จากการศึกษาการใช้กระบวนการ กลุ่ม พบว่า การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัด กรองมะเร็งเต้านมของสตรีจังหวัดนครราชสีมา ในกระบวนการศึกษาได้มีการนำกระบวนการกลุ่ม ผล การศึกษา พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองกลุ่มตัวอย่างมี คะแนนการรับรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูง การรับรูความรุนแรงเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูง การรับรูประโยชนและอุปสรรคของการตรวจเต้า นมด้วยตนเองอยูในระดับสูงจำนวน 93 คนคิดเป็นร้อยละ 93.0 และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 87.0 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคาเฉลี่ยคะแนนความรูการรับรู ความรุนแรงการรับรูประโยชนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเปรียบเทียบหลังเข้า ร่วมโปรแกรมพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนน เฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ธณัศมณฑ์ภาณุพรพงษ์, 2564) ดังนั้น ถ้ามีการใช้กระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัด กรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองจะส่งผลให้สตรีที่ได้เข้าร่วมกระบวการกลุ่มสามารถตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี และหากพบอาการผิดปกติจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองสตรีที่ได้ เข้าร่วมกระบวนการกลุ่มจะสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติและเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วในระยะแรกส่งผลให้ การรักษามีประสิทธิภาพ เนื่องจากการพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับขนาดของก้อน และระยะเวลาที่ตรวจพบ ใน ฐานะผู้วิจัยเป็นผู้รับผิดชอบงานการส่งเสริมสุขภาพสตรีจึงได้มีการนำการใช้
4 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจมาใช้ในการดำเนินการศึกษาในครั้งนี้โดยมีการบรรยาย สาธิต และการ ทดลองฝึกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการพูดให้กำลังใจ และแรงจูงใจ จำนวน 4 ครั้ง โดย ระยะห่าง ครั้งละ 1 สัปดาห์รวมใช้เวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของธณัศมณฑ์ภาณุ พรพงษ์(2564) ใช้โปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของ สตรีเป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ด้านความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการตรวจคัด กรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วย ตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สมมติฐานการวิจัย หลังการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง ของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยเลย กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรี แตกต่างจากก่อนการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในอำเภอเชียงคานจังหวัดเลย กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง ประกอบด้วย - การบรรยาย สาธิต และการทดลองฝึกปฏิบัติ - การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - การพูดให้กำลังใจ และแรงจูงใจ ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริม พฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เบื้องต้นด้วยตนเอง 1. ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม 2. ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม 3. พฤติกรรมการคัดกรองมะเร็งเต้านม เบื้องต้นด้วยตนเอง
5 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Design) ดำเนินการแบบกลุ่มเดียว วัด ก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest – posttest design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ สตรีที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลเชียงคาน ปี 2566 จำนวน 2,433 คน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกดังนี้ เกณฑ์คัดเข้า 1) เป็นสตรีที่อายุ30 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน ปี 2566 2) รู้สึกตัวดีสามารถสื่อสารได้ไม่อยู่ในคดีความ 3) ยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัยและลงชื่อหรือลงลายนิ้วมือในแบบแสดงความยินยอมเข้า ร่วมการวิจัย 4) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผลพบว่า ไม่เป็นโรคมะเร็งเต้านม เกณฑ์คัดออก 1) ไม่สะดวกในการเข้าร่วมโครงการวิจัยและตอบคำถามแบบสอบถามจนสิ้นสุดทุกข้อมูลได้ 2) ไม่สามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการวิจัยได้ทุกกิจกรรม การคำนวณขนาดตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรในการคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยกลุ่ม ตัวอย่างหนึ่งกลุ่ม ต้องการหาค่าเฉลี่ยสองค่าเปรียบเทียบกัน และไม่เป็นอิสระกัน (Dependent group) โดย วัดก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของสตรีอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรจากสตรีที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล เชียงคาน ปี 2566 จำนวน 2,433 คน มีขนาดตัวอย่างดังสูตรต่อไปนี้(นิคม ถนอมเสียง, 2561) สูตร โดยกำหนดให้ n คือ ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้ z / 2 คือ ค่าสถิติของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน ได้จากการเปิดตาราง Standard Normal Distribution (Z Distribution) เมื่อกำหนด ความผิดพลาด เท่ากับ กรณีกำหนด = 0.05 ค่า z / 2 = 1.96 z คือ ค่าสถิติของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน เมื่อกำหนด β = 0.1
6 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 z = 1.28 คือ ความแปรปรวน คือ ค่าความต่างของผลในการวิจัย แทนค่าสูตรได้ดังนี้ z / 2 คือ เมื่อกำหนด ความผิดพลาดเท่ากับ α กรณีกำหนด α = 0.05 ค่า z / 2 = 1.96 z คือ ค่าสถิติของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐาน เมื่อกำหนด β = 0.1 ค่าz = 1.28 คือ ความแปรปรวน โดยผู้วิจัยได้กำหนดค่าความแปรปรวน เท่ากับ 11.9 ซึ่งเป็น ผลความรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังเขาร่วมโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีจังหวัดนครราชสีมา (ธณัศมณฑ์ภาณุพรพงษ์, 2564) คือ ค่าความต่างของผลในการวิจัยเท่ากับ 5.20 ซึ่งเป็นผลการศึกษาซึ่งเป็น ผลต่างของค่าเฉลี่คะแนนความรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนและหลังเขาร่วม โปรแกรมสรางเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริม พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีจังหวัดนครราชสีมา (ธณัศมณฑ์ ภาณุพรพงษ์, 2564) แทนค่าสูตร n = 54.97 ได้จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจากการคำนวณ 55 คน ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเพื่อไม่ให้เกิดอคติในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากการสุ่มหมู่บ้านในตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 3 หมู่บ้าน จากนั้นนำรายชื่อสตรีที่อายุ 30 ปี ขึ้นไปมาเรียงแล้วเว้นห่าง 2 ช่วง จนครบจำนวนที่กำหนด โดยหมู่บ้านที่ 1 จำนวน 18 คน หมู่บ้านที่ 2 จำนวน 18 คน และหมู่บ้านที่ 3 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 1. แบบสอบถามเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ n = (1.96+1.28)2 x 11.902 5.202
7 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ การมีบุตร การคุมกำเนิด การตรวจพบมะเร็งในญาติ การได้รับการฝึกอบรมตรวจเต้านม และ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งเต้านม มีคำถามทั้งหมด 10 ข้อ ส่วนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม คำถามเกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งเต้านม มี คำถามทั้งหมด 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนน ระดับความรู้ คะแนน ตอบถูก 1 คะแนน ตอบผิด 0 คะแนน เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากการวัดความรู้มีดังต่อไปนี้ ค่าเฉลี่ย 7.00 – 10.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เต้านมในระดับมาก ค่าเฉลี่ย4.00 – 6.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เต้านมในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย0.00 – 3.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง เต้านมในระดับน้อย ส่วนที่ 3 ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของ ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม มีคำถามทั้งหมด 10 ข้อ รูปแบบการประเมินโดย ประยุกต์ใช้แบบวัดทัศนคติของลิเคิร์ท (Likert Scale) มาตราส่วนการประเมิน 3 ระดับ คะแนนเต็ม 30 คะแนน ข้อคำถามมีความหมายเชิงบวก และเชิงลบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนนทัศนคติความหมายเชิงบวก คือ ระดับทัศนคติ คะแนน เห็นด้วย 3 คะแนน ไม่แน่ใจ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วย 1 คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนทัศนคติความหมายเชิงลบ คือ ระดับทัศนคติ คะแนน เห็นด้วย 1 คะแนน ไม่แน่ใจ 2 คะแนน ไม่เห็นด้วย 3 คะแนน
8 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากการวัดทัศนคติการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม มีดังต่อไปนี้ ค่าเฉลี่ย 24.00 – 30.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีทัศนคติเชิงบวกในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 17.00 – 23.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีทัศนคติเชิงบวกในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 10.00 – 16.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีทัศนคติเชิงบวกในระดับต่ำ ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง เป็นคำถาม เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม คำถามทั้งหมด 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยมีเกณฑ์ การให้คะแนนดังนี้ เกณฑ์การให้คะแนนพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้านมในเชิงบวก คือ การปฏิบัติ คะแนน ปฏิบัติ 1 คะแนน ไม่ปฏิบัติ 0 คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้านมในเชิงลบ คือ การปฏิบัติ คะแนน ปฏิบัติ 0 คะแนน ไม่ปฏิบัติ 1 คะแนน เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่ได้จากการวัดพฤติกรรมในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม มี ดังต่อไปนี้ ค่าเฉลี่ย 6.00 – 10.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีพฤติกรรมเชิงบวกในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.00 – 6.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีพฤติกรรมเชิงบวกในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 0.00 – 3.00 คะแนน หมายถึง ผู้ตอบมีพฤติกรรมเชิงบวกในระดับต่ำ การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง ของสตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประยุกต์ใช้แนวคิดของธณัศมณฑ์ภาณุพรพงษ์(2564) ใช้โปรแกรม สร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีเป็นแนวทางในการ ดำเนินการซึ่งผู้วิจัยได้ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ หมายถึง กิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพสตรี ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการแบบกลุ่มให้แก่กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง โดยระยะห่าง ครั้งละ 1 สัปดาห์รวมใช้เวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์โดย ให้กลุ่มตัวอย่างได้ระบุปัญหาในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และร่วมกันหาวิธีการแก้ไขในปัญหาที่พบเจอซึ่งใน กิจกรรมทั้ง 4 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างจะมีกิจกรรม ดังนี้1)ระดม ความคิดเห็น โดยการหาสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง เต้านมร่วมกัน 2) ระบุปัญหาที่พบเจอในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง 3) เลือกวิธีการใน
9 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง 4) สรุปผลในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วย ตนเอง และ 5) นำวิธีการมาปฏิบัติกลุ่มตัวอย่างจะทำกิจกรรมดังกล่าวทุกครั้งโดยครั้งที่ 2, 3 และ 4 จะเพิ่ม หัวข้อในการจัดกิจกรรมกลุ่ม คือ ปัญหาที่พบในการนำไปปฏิบัติเพื่อจะให้กลุ่มตัวอย่างปรับวิธีการที่เหมาะสม ที่สุดในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง สื่อ/อุปกรณ์การให้ความรู้ได้แก่แผ่นพับเรื่องโรคมะเร็งเต้าม และโปสเตอร์เรื่องโรคมะเร็งเต้าม โดย ใช้ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของ สตรีในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยดำเนินการจำนวน 4 ครั้ง โดยระยะห่าง ครั้งละ 1 สัปดาห์รวมใช้เวลา ทั้งหมด 4 สัปดาห์ดังนี้ O1 X1 X2 X3 X4 O2 O1 และ O2 หมายถึง การเก็บรวบรวมขอมูลก่อนและหลังเข้าร่วมการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อ ส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีในกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม X1 หมายถึง การจัดกิจกรรมสุขศึกษาครั้งที่1 โดยจัดกิจกรรมกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพเพื่อใหเกิด ความคุ้นเคยและไววางใจมีการบรรยายจากวิทยากรในการสร้างความรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจ เต้านมด้วยตนเอง X2 หมายถึงการจัดกิจกรรมสุขศึกษาครั้งที่2 โดยจัดกิจกรรมในการสร้างความรูเกี่ยวกับการตรวจเต้า นมด้วยตนเอง X3 หมายถึงการจัดกิจกรรมสุขศึกษาครั้งที่3 โดยจัดกิจกรรมในการสร้างความรูเกี่ยวกับการตรวจเต้า นมด้วยตนเอง X4 หมายถึงการจัดกิจกรรมสุขศึกษาครั้งที่4 โดยจัดกิจกรรมในการสร้างความรูเกี่ยวกับการตรวจเต้า นมด้วยตนเอง ก่อนการดำเนินการ 1.ศึกษาสภาพปัญหา พร้อมกับตั้งเป้าหมายของการดำเนินการ กำหนดวิธีการดำเนินการ 2. ให้กลุ่มตัวอย่างแบบสอบถามเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีก่อนการใช้กระบวนการ กลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรี สัปดาห์ที่ 1 1. ชี้แจงกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับวัตถุประสงคและขั้นตอนในการวิจัย 2. การจัดกิจกรรมใหความรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3. จัดกลุม กลุ่มละ 18 คนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณและเรียนรูร่วมกันตัวแทนกลุ่ม
10 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 ตัวอย่างแต่ละกลุมสรุปความคิดรวบยอด 4. ระดม ความคิดเห็น โดยการหาสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมร่วมกัน 5. ระบุปัญหาที่พบเจอในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง 6. เลือกวิธีการในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง 7. ผู้วิจัยสรุปภาพรวมการเรียนรูกิจกรรมครั้งที่ 1 และนัดทำกิจกรรมครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 2 1. อบรมให้ความรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมของสตรีอายุตั้งแต่ 30 – 70 ปี 2. การรับรูความรุนแรงเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมที่มีผลมาจากการไม่ตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยใช้แนวคิดของเพนเดอร์เข้ามาเป็นแนวทางในการดำเนินการ 3. การรับรูประโยชนของการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยมีการบรรยายจากวิทยากรใช้ แนวคิดของเพนเดอร์เข้ามาเป็นแนวทางในการดำเนินการ 4. จัดกลุม กลุ่มละ 18 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 จำนวน 18 คน, กลุ่มที่ 2 จำนวน 18 คน และกลุ่ม ที่ 3 จำนวน 19 คน แต่ละกลุ่มจะดำเนินการห่างกัน 1 วัน รวมใช้เวลา 3 วัน จัดกิจกรรมที่ห้องประชุม โรงพยาบาลเชียงคาน โดยได้เชิญคณะวิทยากรภายในโรงพยาบาลเป็นผู้ให้ความรู้จำนวน 3 คน ได้แก่ แพทย์ที่ ดูแลเรื่องโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 1 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบงานมะเร็งเต้านม จำนวน 1 คน และพยาบาลที่ ผ่านหารอบรมการจัดกระบวนการกลุ่ม จำนวน 1 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูกัน ตัวแทนกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุมสรุปความคิดรวบยอดและวิทยากรสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีการ ตั้งเป้าหมายในการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์และกิจกรรมการใหสัญญาใจผู้วิจัยสรุปภาพรวมการเรียน รูกิจกรรมครั้งที่ 3 สัปดาห์ที่ 3 1. กลุ่มตัวอย่างฝกตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์และประเมินผลของการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์ 2. ผู้วิจัยจัดกิจกรรมเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจาหนาที่สาธารณสุข บุคคลใน ครอบครัวและเพื่อนร่วมกิจกรรมนอกจากนี้ 3. กลุ่มตัวอย่างร่วมกันประเมินผลความถูกตองของการตรวจเต้านมและการลงบันทึกการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองบอกถึงประโยชนปญหาและอุปสรรคในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและ มีการเสริมแรงทางบวกโดยใหรางวัลแกสมาชิกที่มีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการประเมิน ลักษณะของความผิดปกติของเต้านมได้ถูกตองและสม่ำเสมอ 4. จัดกลุม กลุ่มละ 18 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูกันตัวแทน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุมสรุปความคิดรวบยอดและวิทยากรสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีการตั้งเป้าหมาย ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์และกิจกรรมการใหสัญญาใจ ผู้วิจัยสรุปภาพรวมการเรียนรูกิจกรรม ครั้งที่ 4
11 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 สัปดาห์ที่ 4 1. กลุ่มตัวอย่างฝกตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์และประเมินผลของการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์ 2. ผู้วิจัยจัดกิจกรรมเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจาหนาที่สาธารณสุข บุคคลใน ครอบครัวและเพื่อนร่วมกิจกรรมนอกจากนี้ 3. กลุ่มตัวอย่างร่วมกันประเมินผลความถูกตองของการตรวจเต้านมและการลงบันทึกการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองบอกถึงประโยชนปญหาและอุปสรรคในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและ มีการเสริมแรงทางบวกโดยใหรางวัลแกสมาชิกที่มีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและการประเมิน ลักษณะของความผิดปกติของเต้านมได้ถูกตองและสม่ำเสมอ 4. จัดกลุ่ม กลุ่มละ 18 คน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูกันตัวแทน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุมสรุปความคิดรวบยอดและวิทยากรสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีการตั้งเป้าหมาย ในการตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกสัปดาห์และกิจกรรมการใหสัญญาใจผูวิจัยสรุปภาพรวมการเรียนรู้ หลังการดำเนินการ ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของสตรีหลังการใช้กระบวนการ กลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรี การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ยินยอมเข้า ร่วมในการศึกษาครั้งนี้โดยได้รับอนุญาตทำการศึกษาจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย เลขที่ 0081/2566 โดยยึดหลัก 3 ประการ คือหลักความเคารพในตัวบุคคล (Respect For Person) หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย (Beneficence) หลักยุติธรรม (Justice) ซึ่งจะ คำนึงถึงการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์การให้คำยินยอมโดยได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเป็นอิสระในการ ตัดสินใจ การเคารพในการเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ กล่าวคือผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บข้อมูลโดยจะต้องให้ ข้อมูลและชี้แจงแก่กลุ่มตัวอย่างอย่างชัดเจน ถูกต้อง และให้อิสระในการตัดสินใจในการ เข้าร่วมการวิจัย โดย ไม่มีการบังคับหรือทำให้เกิดความเกรงใจ และการตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัย และข้อมูลที่ได้ผู้วิจัยจะเก็บรักษา ข้อมูลเป็น ความลับ จะเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะภาพรวม ไม่ระบุถึงตัวบุคคล โดยผู้วิจัยมีมาตรการในการ รักษาความลับ โดยในแบบสัมภาษณ์จะไม่มีการระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หรือข้อมูลต่างๆ ที่จะสามารถสื่อถึงตัว บุคคลได้ผู้วิจัย จะระบุเพียงรหัสชุดของแบบสัมภาษณ์เท่านั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจะดำเนินการหลังจากได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว ผู้วิจัย เก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1. ผู้วิจัยนำหนังสือขอความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงคาน เพื่อ ขออนุญาตและขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการวิจัย และขอความร่วมมือในการดำเนินการวิจัยกับ
12 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 สาธารณสุขอำเภอเชียงคาน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 3. ผู้วิจัยลงไปยังพื้นที่เพื่อเข้าพบกลุ่มตัวอย่างและสร้างสัมพันธภาพโดยการแนะนำตนเอง ชี้แจง วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย และสิทธิของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับระหว่างการทำการ วิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างสามารถสอบถามผู้วิจัยได้ตลอดการอธิบาย ผู้วิจัยจะไม่เปิดเผยชื่อของกลุ่มตัวอย่างโดยจะ ใช้รหัสแทนในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในภาพรวมเท่านั้น หากกลุ่มตัวอย่างยินดีร่วมมือใน การทำวิจัยให้ลงชื่อแบบใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัย หลังจากนั้นผู้วิจัยจึงขอนัดวันเวลาในการสอบถามตาม แบบสอบถาม 4. สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่โรงพยาบาลเชียงคานตามที่ได้นัดหมาย 5. ดำเนินการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วย ตนเองของสตรีให้แก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง โดยระยะห่างครั้งละ 1 สัปดาห์หลังจาก นั้น อีก 1 สัปดาห์ผู้วิจัยจะดำเนินการประเมินผล โดยแบบสอบถามหลังการได้รับการใช้กระบวนการกลุ่ม ร่วมกับแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีซึ่งในการ ดำเนินการทั้ง 4 ครั้งมีกลุ่มตัวอย่างเข่าร่วมจำนวน 55 คนครบทุกครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้หลังจากผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว ได้ ตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล และการตรวจสอบความสอดคล้อง จากนั้นได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และนำเสนอรวมทั้งสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตาม วัตถุประสงค์การวิจัย ตามลำดับ ดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด 3. วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมก่อนและหลังการได้รับ โปรแกรมการใช้กระบวนการกลุ่ม โดยใช้สถิติPaired sample t-test ผลการวิจัย ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 55 คน อายุเฉลี่ย 37.23 ปี (SD=4.87) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 50.90 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 70.90 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 47.27 มีรายได้ต่อเดือน จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 78.18 รายได้เฉลี่ย 9265.34 บาท (SD=137.98) มีบุตรแล้ว ร้อยละ 65.45 มีการคุมกำเนิด ร้อยละ 70.90 ไม่มีประวัติพบก้อนในเต้านม หรือป่วยเป็นมะเร็งของญาติ
13 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 ร้อยละ 81.82 ไม่เคยฝึกอบรมตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 58.18 ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการ ป้องกันมะเร็งเต้านม ร้อยละ 52.73 ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการ ทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนใช้กระบวนการกลุ่มฯ เท่ากับ 4.28 และหลังใช้กระบวนการกลุ่มฯ เท่ากับ 8.54 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) แสดงดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการ ทดลอง(n=55) คะแนน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Median Min-Max Paired t-test p-value ก่อน 4.28 1.32 2.42 0-6 -4.26 <0.001 หลัง 8.54 3.27 7.21 3-10 ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง ทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนใช้กระบวนการกลุ่มฯ เท่ากับ 14.63 และหลังใช้กระบวนการกลุ่มฯ เท่ากับ 24.78 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่ามัธยฐานของคะแนนทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลอง (n=55) คะแนน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Median Min-Max Paired t-test p-value ก่อน 14.63 8.53 15.67 6-27 -10.15 <0.001 หลัง 24.78 6.22 23.42 15-30 ค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนพฤติกรรมการคัดกรองมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง การทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมก่อนการทดลอง เท่ากับ 4.71 หลัง การทดลอง เท่ากับ 8.87 แเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลต่างของคะแนนพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้า นมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัด กรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่ เกินร้อยละ 5 (p-value <0.05) ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่ามัธยฐานของคะแนนพฤติกรรมการคัดกรอง
14 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 มะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรี(n=55) คะแนน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน Median Min-Max Paired t-test p-value ก่อน 4.71 2.42 3.65 1-10 -4.16 <0.001 หลัง 4.71 3.64 5.12 3-10 อภิปรายผล ในการศึกษาครั้งนี้ผลต่างของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้า นม และพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้านมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับ แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีพบว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ทัศนคติ เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นหลังใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับ แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรอง ผลการศึกษาครั้งนี้อภิปรายได้ว่าซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ของจารุณีแก้วอุบล (2561) ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็ง เต้านมของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย ภายหลังการทดลองและระยะติดตาม ผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การรับรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .001) แต่พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมใกล้เคียงกัน ระหว่างก่อน-หลังการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ (p > .05) อภิปรายผลได้ว่าการส่งเสริมความรู้ และ พฤติกรรมในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองสามาถส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างทักษะการตรวจเต้านมด้วย ตนเองอย่างถูกวิธีนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการศึกษาของน้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และ นวรัตน์ โกมลวิภาต (2561) ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ นักศึกษาหญิงที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนการรับรู้หลัง เข้าร่วม โปรแกรม 1 ปีเพิ่มขี้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่1). ความรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เช่น ความรุนแรงของโรคมะเร็งในระยะต่างๆ 2) ความเชื่อด้าน สุขภาพ เช่น โอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ประโยชน์ของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง3) การรับรู้ความสามารถ ในการตรวจ เต้านมด้วยตนเอง และ 4) ความถูกต้องในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อภิปรายได้ว่าก่อนมีการ ใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีกลุ่ม ตัวอย่างมีความรู้ในระดับปานกลาง แต่หลังการส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วย ตนเองของสตรีกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมในระดับมาก ทัศนคติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม
15 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 เชิงบวกในระดับสูง และพฤติกรรมของการคัดกรองมะเร็งเต้านมเชิงบวกในระดับสูง และสอดคล้องกับ การศึกษาของธณัศมณฑ์ภาณุพรพงษ์ (2564) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจ เต้านมด้วยตนเองในการคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบวาภายหลังเข้าร่วม โปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรับรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้า นมและการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 83.0 การรับรูความ รุนแรงเมื่อเป็นโรคมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 73.0 การรับรูประโยชนและอุปสรรคของการ ตรวจเต้านมด้วยตนเองอยูในระดับสูงจำนวน 93 คนคิดเป็นร้อยละ 93.0 และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วย ตนเองอยูในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 87.0 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู การรับรูความรุนแรงการรับรูประโยชนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเปรียบเทียบ หลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งการจัดกิจกรรมกระตุ้นเตือน การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่พัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มทำให้ ข้อเสนอแนะ 1. การดำเนินการใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมเบื้องต้นด้วยตนเองของสตรีควรสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง และระยะเวลาในการดำเนินการ มากกว่า 3 เดือน 2. ควรมีกลุ่มเปรียบเทียบในการวิจัยเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง 3. ควรมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานวิจัยให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการศึกษา เพราะการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาในชุมชนชนบท เอกสารอ้างอิง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). กรมอนามัย เผยหญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านมสูงสุด แนะควรตรวจ เต้านมด้วยตนเองทุกเดือน. ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://multimedia.anamai. moph.go.th/news/140366/ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. ค้น เมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297.
16 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่10/02/2567 วันที่เผยแพร่ 23 เมษายน 2567 จารุณีแก้วอุบล. (2561). ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้า นมของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 78-99. ธณัศมณฑ์ภาณุพรพงษ์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองใน การคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 7(1),140-157. นิคม ถนอมเสียง. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2566, จาก https://home.kku. ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, และนวรัตน์ โกมลวิภาต. (2561). ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารถ ตนเองและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการตรวจ เต้านมด้วยตนเอง. สมาคมสาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 7(1), 57-70. พัชรภรณ์ ทองวัชระ และอนงนาฏ เรืองดำ. (2554). ปัจจัยสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก http://hocc.medicine.psu.ac.th/. ภรณี เหล่าอิทธิ, และนภา ปริญญานิติกูล. (2559). มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกันและแนวทางการ ตรวจคัดกรอง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 60(5):497-507. โรงพยาบาลเชียงคาน. (2566). มะเร็งเต้านม. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์) รังษีนพดล โถทอง, วิศิษฎ์ ฉวีพจน์กำจร, ปรารถนา สถิตวิภาวี, และศุภชัย ปิติกุลตัง. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงไทยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 972-9. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. (2566). ข้อมูลด้านโรคมะเร็งเต้านม. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://lei.hdc.moph.go.th วรางคณา จันทรสุข, ดุสิต สุจิรารัตน์, อรุณรักษ์ คูเปอร์ มีใย, และอาคม ชัยวีระวัฒนะ. (2558). การศึกษา ปัจจัย ในการพยากรณ์และการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 1807-13.
1 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ผลของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย สุภดี ต้อยมาเมือง, พย.บ. กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย บทคัดย่อ การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผล ของการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว ในด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเชียง คาน จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอขรา ชีวายืนยาว ด้านการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ได้รับการประเมินคุณภาพทุกชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของผลของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวของกลุ่ม ตัวอย่างก่อนและหลังดำเนินการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุโดยใช้สถิติPaired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุ มีผลดังนี้ 1) การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ย 10.36±0.86 วินาทีซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าหรือ เท่ากับ 12 วินาทีจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และใช้เวลามากกว่า 12 วินาทีจำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 20.00 2). ความพึงพอใจต่อแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 90 และ3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการดำเนินการใช้แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว พบว่ามี ค่าเฉลี่ยแตกต่างเท่ากับ 4.88 วินาที ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.001) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรนำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาวในด้านการ เคลื่อนไหวของผู้สูงอายุไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านการเคลื่อนไหวเพื่อให้ผู้สูงอายุมี การเคลื่อนได้ด้วยตนเองได้อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุในพื้นที่ คำสำคัญ : แผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว การเคลื่อนไหว, ผู้สูงอายุ รายงานการวิจัย
2 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปี 2565 มีประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก 1,000 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 แต่ภูมิภาคอาเซียน พบว่า มีผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 11 และประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ จำนวนมากถึง 12,000,000 คน คิดเป็นร้อยละ 19.00 แสดงว่าประเทศไทยจัดอยู่ในสังคมผู้สังคมผู้สูงอายุแรกเริ่ม (Aging Society) (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2565) โดยมีการคาดว่าในปี 2576 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับ สุดยอด” (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, 2564)จากการ สำรวจด้านการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีการพลัดตกหกล้ม เฉลี่ยถึงวันละ 140 ครั้ง เสียชีวิตวัน ละ 2 คน การหกล้มทำให้บาดเจ็บรุนแรง โดยสะโพกหักมากถึง ปีละ 3 พันคน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้หลาย คนจากที่เคยทำกิจกรรมต่างๆ ได้ก็ต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สำหรับสถานที่เกิดเหตุมักเกิด ภายนอกบ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากการ ลื่น สะดุด ก้าวพลาดบนพื้นระดับเดียวกัน ร้อยละ 66 และตกหรือล้มจาก บันไดหรือขั้นบันได ร้อยละ 5.6 (สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2564) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจคือ การลดลงของจำนวนประชากรโดยรวม เพราะจากข้อมูลของสหประชาชาติได้ประมาณการณ์ว่า จำนวนประชากรของไทยจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2593 จะลดลงถึง 61.7 ล้านคน และ สัดส่วนของประชากรในวัยแรงงานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลิต และผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จะเริ่มลดลง โดยปัญหาท้าทายที่สำคัญยิ่งของการเป็นสังคมผู้สูงอายุก็คือจะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี(อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร, 2560) ในด้านสุขภาพผู้สูงอายุจะพบโรคผู้สูงอายุที่เป็นกันมากและพบได้บ่อย เนื่องจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในวัยทำงานที่สะสมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดโรคเรื้อรังขึ้นมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เป็นต้น ผลกระทบ ต่อร่างกายของผู้สูงอายุจากปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุจะทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลง ป่วยเป็นอัมพาต พิการ หากขาดการดูแลสุขภาพที่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดโรคต่างๆ ตามมานอกจากจะทำให้เสีย สุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้วเนื่องจากโรคเหล่านี้มักเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายสิ่งที่ทำได้ก็เพียง ประคับประคองไม่ให้อาการของโรคเรื้อรังหนักมากขึ้นคือต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรังไปจนกว่าจะถึงวาระ สุดท้ายซึ่งผู้สูงอายุบางคนที่ปรับตัวไม่ได้ก็เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้การป้องกันโรคในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุแล้วการแก้ไขปัญหาจะเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุกเพราะหากในวัยทำงานได้สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ ดีในวัยสูงอายุก็จะมีสุขภาพที่ดีไปตามวัยคือเป็นแค่โรคชราที่เกิดจากอายุที่ล่วงเลยไปตามวัยไม่มีโรคเรื้อรัง เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วและมีโรคเรื้อรังเกิดขึ้นจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุเพื่อประคับประคองสุขภาพอย่าให้แย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ วัยผู้สูงอายุก็ด้วยจุดประสงค์เดียวกันนั่นเอง (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2564)
3 BCNNV Research& Report Publication www.bcnnv.ac.th BCNNV R&R PUBLICATION วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ WWW.BCNNV.AC.TH รหัสการเผยแพร่ 07/02/2567 วันที่เผยแพร่ 22 เมษายน 2567 การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำ วัน ผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวที่ดีจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย โดยจะสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วย ตนเองได้ และสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ด้วย ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเสริมสร้างและพัฒนาการเคลื่อนไหว ร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้ด้วยการมีกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายที่เพียงพอเหมาะสม มีประโยชน์ ดังนี้1) ทำให้หัวใจและปอดแข็งแรง สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงการหกล้มได้ด้วย 2) ช่วยชะลอหรือลด ภาวะโรคประจำตัว 3) ช่วยลดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และ4) เพิ่มโอกาส การเข้าร่วมสังคมของผู้สูงอายุ ดังนั้น การมีกิจกรรมทางกายและการเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอเหมาะสมมี ความสำคัญมากๆ ต่อการเคลื่อนไหวใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ โดยในปี พ.ศ. 2563 นี้ องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำแนะนำให้มีกิจกรรมทางกายและการเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุไว้ดังนี้ ผู้สูงอายุควรมีกิจกรรมทางกายที่ระดับเหนื่อยปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อย 150 - 300 นาที ต่อสัปดาห์หรือ โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 30 นาที ได้แก่ กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมยามว่าง และควรที่ จะมีการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรง ควบคู่กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ซึ่ง จะส่งผลทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรกิจกรรมทางกายแบบ ผสมผสาน ระหว่างการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ การทรงตัว และ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อย่าง น้อย 3 วันต่อสัปดาห์ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพและ เป็นการฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มได้ (สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2564) จังหวัดเลยมีผู้สูงอายุ (ประชาชนที่อายุ60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 20.00 จากประชากรทั้งหมดซึ่งถือได้ว่า จังหวัดเลยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งอำเภอเชียงคานมีผู้สูงอายุร้อยละ 16.00 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าอำเภอเชียงคานได้เป็นสังคมผู้สูงอายุระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่ง ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเชียงคาน จังหวัดเลย ปี2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,182 คน โดยพบ ผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 2,032 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 22 คน และผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 26 คน (ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ, 2566) สำหรับประเทศไทย รัฐบาลประกาศให้“สังคมผู้สูงอายุ เป็นวาระแห่งชาติ” ตั้งแต่ ปี2561 และ มีการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุมผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงที่มีมากขึ้น เน้นการเสริมทักษะใหม่แก่แรงงานผู้สูงอายุออกแบบการทำงานให้ยืดหยุ่นและ สร้างแรงจูงใจให้นายจ้างจ้างงานผู้สูงอายุจัดทำแผนบูรณาการด้านสุขภาพ และดูแลสุขภาพระยะยาวที่ บ้านและในชุมชนตามระดับความจำเป็น (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2564) แผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวา ยืนยาว หรือ Wellness Plan ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มี สุขภาพที่ดีสามารถพึ่งพิงตนเองได้และลดอัตราการเกิดผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง และติดบ้านลง ผู้วิจัยจึงได้นำแผน ส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว มาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยเน้นในด้านการเคลื่อนไหวของ ผู้สูงอายุเพราะอำเภอเชียงคานผู้สูงอายุในกลุ่มที่ติดบ้าน และติดเตียงจะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งในการ