The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือ การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน Competency-Based Learning : CBL

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by crupook, 2022-12-04 04:18:29

คู่มือ Competency-Based Learning : CBL

คู่มือ การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน Competency-Based Learning : CBL

47

ลักษณะของการเรยี นรู้แบบยึดสมรรถนะเปน็ ฐาน Everett
Baughman

Jones
Konkoth

Henri Johnson and Nepal

Tahir

1. เน้นที่ความเชี่ยวชาญในผลลัพธ์ที่สามารถวดั ไดข้ องนกั เรียน √ √

2. นักเรยี นแสดงความเช่ียวชาญในแต่ละสมรรถนะก่อนทจ่ี ะไป √√

ศึกษาสมรรถนะตอ่ ไป

3. สื่อและเนื้อหาทส่ี อนเชื่อมโยงกบั ผลลัพธ์หรือความ √ √√

เชีย่ วชาญของกลุ่มทกั ษะที่มีการกำหนดไวล้ ว่ งหนา้

4. การวัดประเมินผลนน้ั มีความสำคญั และเป็นประสบการณ์ √

การเรยี นรใู้ นเชงิ บวกสำหรบั นกั เรียน

5. นกั เรียนไดร้ บั การสนับสนุนทแี่ ตกต่างกัน ในเวลาที่เหมาะสม √ √ √ √

มที รพั ยากรในการเรียนรูท้ ่จี ำเป็นในการกา้ วไปสู่เปา้ หมาย

6. ไมม่ ขี ้อจำกัดเรอื่ งช่วั โมงเรยี นเพื่อใชใ้ นการนบั หนว่ ยกิต √

7. ไมจ่ ำกัดเรอ่ื งเวลา และสถานที่ในการเรยี นรู้ นกั เรียน √ √√√ √

สามารถเรียนแต่ละวชิ าให้ผ่านเรว็ หรอื ชา้ ได้ นกั เรยี นแตล่ ะ

คนกา้ วไปตามจังหวะของตนเอง

8. กระบวนการเรียนรู้และการประเมนิ ผลท่ีวดั ได้ √

9. นกั เรียนมแี ผนรา่ งที่มคี วามชัดเจนและมีเคร่ืองมือที่จำเป็นใน √

การกา้ วไปสู่เปา้ หมายอยา่ งรวดเรว็

10.ผเู้ ข้าร่วมทุกคนในกระบวนการเรียนรูม้ ีความเขา้ ใจใน √

เปา้ หมายและผลลัพธข์ องการเรยี นรู้

48

ลกั ษณะของการเรยี นรแู้ บบยึดสมรรถนะเป็นฐาน Everett
Baughman

Jones
Konkoth

Henri Johnson and Nepal

Tahir

11.นกั เรียนแต่ละคนก้าวหนา้ ตามสมรรถนะและความสนใจของ √ √

ตนเอง

12.เนน้ นักเรียนเปน็ ศนู ย์กลางของการเรยี นรู้ √ √√√

13. กระบวนการเรียนรู้และการประเมนิ ผลทชี่ ัดเจน โปร่งใส วัดได้ √

14.ให้อำนาจแก่นักเรยี นในการทน่ี ักเรียนจะแสดงให้เหน็ ถงึ √ √

ความสำเรจ็ สมบรู ณข์ องสมรรถนะของตน

15. ผฝู้ กึ สอนหรือท่ีปรกึ ษาจะแนะนำนกั เรยี นผา่ นการเรยี นรแู้ ละ √

การสนทนา ตงั้ คำถามปลายเปดิ และนำนักเรยี นไปยงั

แหล่งข้อมลู ต่างๆ ซ่ึงมีความหลากหลาย

16. เมือ่ ใช้เครดติ หรอื หน่วยกติ เปน็ หน่วยในการวดั นักเรียนจะ √

ไดร้ บั เครดิตหรอื หน่วยกิตเมื่อนักเรยี นแสดงใหเ้ ห็นวา่ ได้

บรรลทุ ักษะในกล่มุ สมรรถนะบางอย่างในรายวิชาหรือ

สาขาวิชา

17. วธิ ีการประเมินมีความโปร่งใสและมีจดุ ประสงค์ บรรลุถึง √

ความร้แู ละมีความเขา้ ใจ ทกั ษะดา้ นการปฏบิ ัติ และ

สมรรถนะทางด้านความอารมณซ์ ง่ึ จะไดร้ บั การประเมนิ

อย่างเปน็ ระบบโดยมีมาตรฐานทช่ี ัดเจน

18. จุดประสงค์ท่ีชัดเจนและสามารถวดั ผลได้ โดยไดแ้ จง้ ให้ √

นกั เรยี นทราบอย่างชัดเจน

19. การประเมนิ นักเรียนเก่ยี วกับสมรรถนะที่วัดได้ ซ่ึง √

หมายความว่าความเช่ียวชาญ ไมเ่ พยี งอาศัยความเข้าใจใน

เชิงทฤษฎีหรือเชิงแนวคิดของเนื้อหาเท่าน้ัน แต่ยงั รวมถงึ

ความสามารถในการนำความรูท้ ่ไี ด้รับมาประยกุ ตใ์ ชใ้ น

สภาพแวดล้อมในการปฏิบตั ิจริงดว้ ย

49

จากนานาทศั นะเก่ียวกับลักษณะของการเรยี นรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน ดังกล่าวข้างต้น
ท่านเห็นว่า มีแนวคิด (Concept) หรือมีองค์ประกอบ (Element) อะไรที่อธิบายถึงลักษณะดังกล่าว
ไดอ้ ย่างกระชบั และชดั เจน

50

เอกสารอา้ งองิ
Baughman, J.A. (2012). Student professional development: competency-based

learning and assessment in an undergraduate industrial technology course.
Doctoral Dissertation, Industrial and Agricultural Technology Biorenewable
Resources and Technology, Iowa state University.
https://doi.org/10.29140/jaltcall.v15n1.156
Everett, D.P. (2019). Competency-based education systems: Are they effective?.
Doctoral Dissertation, Education In Organizational Leadership, Pepperdine
University.
Henri, M., Johnson, M.D., & Nepal, B. (2017, November 22). A Review of Competency-
Based Learning: Tools, Assessments, and Recommendations. Journal of
Engineering Education, 106(4), 607-638. https://doi.org/10.1002/jee.20180.
Retrieved August 3, 2021 from
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/jee.20180
Jones, K.A. (2014). Building competence: A case study in competency-based
Education. Doctoral Dissertation, College of Education, University of
Washington.
Konkoth, S. (2015). Impact of competency-based education and assessment on
program outcomes. Doctoral Dissertation, Department of Administrative and
Instructional Leadership, St. John’s University.
Tahir, S. (2020, October 9). Competency-based learning: A Long-term teaching
strategy for online and hybrid learning. Retrieved September 1, 2021 from
https://globalonlineacademy.org/insights/articles/competency-based-learning-
a-long-term-strategy-for-online-and-hybrid-learning

51

(ปกของคู่มอื แตล่ ะชุด)

คู่มือประกอบโครงการพัฒนาเพ่ือการเรยี นรู้ของครู
ชุดท่ี 4

52

หลังจากการศกึ ษาคมู่ ือชุดนี้แล้ว ท่านมีพฒั นาการดา้ นพุทธิพสิ ัย (Cognitive Domain) ซ่ึง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจาํ แนกพฤติกรรมในขอบเขตน้ีออกเปน็ 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดังน้ี

1) บอกคุณสมบัติ จับคู่ เขียนลำดับ อธิบาย บรรยาย ขีดเส้นใต้ จำแนก หรือระบุ อุปสรรค
และวิธกี ารเอาชนะอปุ สรรคในการเรยี นรแู้ บบยดึ สมรรถนะเป็นฐานได้

2) แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรปุ ความ ยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง หรือเรียบ
เรยี ง อุปสรรคและวิธกี ารเอาชนะอปุ สรรคในการเรียนรูแ้ บบยดึ สมรรถนะเป็นฐานได้

3) แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือปรับปรุง
อุปสรรคและวิธกี ารเอาชนะอุปสรรคในการเรยี นรแู้ บบยดึ สมรรถนะเป็นฐานได้

4) แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกต่าง หรือบอกเหตุผล อุปสรรคและวิธีการ
เอาชนะอุปสรรคในการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานได้

5) วัดผล เปรยี บเทยี บ ตีค่า ลงความเหน็ วิจารณ์ อปุ สรรคและวิธกี ารเอาชนะอุปสรรคในการ
เรยี นรูแ้ บบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐานได้

6) รวบรวม ออกแบบ จัดระเบียบ สร้าง ประดิษฐ์ หรือวางหลักการ อุปสรรคและวิธีการ
เอาชนะอปุ สรรคในการเรยี นรแู้ บบยดึ สมรรถนะเป็นฐานได้

53

1) โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับอุปสรรคและวิธีการเอาชนะอุปสรรคในการเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเปน็ ฐาน จากทัศนะทีน่ ำมากล่าวถงึ แตล่ ะทัศนะ

2) หลงั จากการศกึ ษาเน้ือหาแตล่ ะทศั นะ โปรดทบทวนความเขา้ ใจจากคำถามท้ายเนื้อหาของ
แตล่ ะทัศนะ

3) หากท่านต้องการศึกษารายละเอียดของอุปสรรคและวิธีการเอาชนะอุปสรรคจากแต่ละ
ทัศนะที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลิก” ดูได้จากเว็บไซต์นำเสนอไว้ท้ายเนื้อหา
ของแตล่ ะทศั นะ

Gibson (2013) เปน็ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเรยี นรู้ Emporia State University ได้
กล่าวถึง การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน : ความท้าทายและอุปสรรค 4 ข้อ ว่า การเรียนรู้แบบ
ยดึ สมรรถนะเปน็ ฐาน วธิ ีการศึกษานี้มคี วามเป็นไปได้ท่ีจะมคี วามขัดแย้งกับระบบการนบั หน่วยช่ัวโมง
เรียนแบบหน่วยคาร์เนกี้และตัวบ่งชี้การศึกษาในเวลาอื่นเป็นฐาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นมาตรฐานสำหรับ
สร้างแผนการสอน และวัดผลการเรียนรู้ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1900 อย่างไรก็ตาม กระบวนการเสริมสร้าง
การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย แบบ
ดั้งเดิมน้ันก็ได้นำมาพิจารณาร่วมดว้ ย ในบทความนี้ได้กำหนดความท้าทายที่มีความสำคัญท่ีสุด 5 ข้อ
ซึ่งขัดขวางการนำการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานไปใช้ในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับ
กว้าง

1. การทำใหก้ ารประเมินคา่ เปน็ มาตรฐาน
Ralph Wolff ประธานสมาคมโรงเรียนและวิทยาลัยตะวันตกกล่าวว่า สถาบันต่างๆ จะต้อง
ปกป้องตนเองจากการสร้างกลไกในการกำหนดความเป็นมาตรฐานในการแสดงสมรรถนะ Wolff ซ่ึง
เป็นผู้เขา้ ร่วมในการอภิปรายของ Center for American Progress คร้ังล่าสุด ไดร้ ะบุวา่ การกำหนด
ความเป็นมาตรฐานในวิธีการของเราในการประเมินสมรรถนะ "... จะไม่พัฒนาพื้นฐานในการวัดผล
การเรียนรู้และผลลัพธ์ของนักเรียน" ธรรมชาติของการจัดการเรียนรู้แบบใชส้ มรรถนะเป็นฐานหรือที่

54

เรียกว่าการเรียนรู้เฉพาะบุคคลน้ันเปน็ สิ่งท่ีเห็นไดช้ ดั โดยเป็นการเรียนรู้ที่ไม่คำนึงถึงเวลา พื้นที่ และ
เส้นทางสคู่ วามสำเรจ็

แต่นักเรียนแต่ละคนควรที่จะมีการวัดประเมินผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกันทุกครั้งหรือไม่ มี
โอกาสที่นักเรียนจะได้แสดงความสามารถหรือความเชี่ยวชาญในบางเรื่องโดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ท่ี
เป็นมาตรฐานหรือไม่ นอกจากนี้ ใครเป็นคนกำหนดผลลัพธ์เหล่านั้น ซึ่งสามารถหรือควรจะทำให้
แตกต่างกันออกไปในแต่ละสถาบัน ความพยายามจากองค์กรต่างๆ เช่น สมาคมเพื่อการกำกับดูแล
และพัฒนาหลักสูตรได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการจัดการข้อกังวลเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น
โรงเรยี นบางแหง่ มสี ่ือการสอนที่ตรงกับส่ิงที่นักเรียนต้องการในการพฒั นา กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องก้าว
ขา้ มจากระดบั K-12 ไปสูร่ ะดับวทิ ยาลัยและมหาวทิ ยาลยั

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ความพยายามในการบุกเบิกในโรงเรยี นชน้ั อนุบาล เช่น ในแผนกการศกึ ษาชน้ั อุดมศึกษาของ
รัฐแอสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นถึงแบบจำลองการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานเปน็
แนวทางที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการศึกษาและด้านการปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แผนการศึกษาด้าน
วิชาการที่ต้องใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอาจใช้เวลาในการยอมรับแผนงานการเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเป็นฐานได้ช้า ซง่ึ แยกออกจากการศึกษาแบบจำนวนรายช่ัวโมงต่อสัปดาหซ์ ่ึงสามารถสังเกต
ได้ ประกอบกับเร่ืองที่น่ากังวลนี้ ใบอนุญาตเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ หน่วยงานด้าน
กฎระเบียบและหน่วยงานที่ได้รับการรับรองหลายแห่งยังคงกำหนดให้การเก็บหน่วยกิตมาคู่กับการ
สอบ แผนนี้ได้รับการสนบั สนุนอย่างมากจากคณะกรรมการใบอนญุ าตซงึ่ ปรับตวั ได้ชา้
เพื่อแก้ไขข้อกังวลนี้ สถาบันบางแห่งได้ใช้แผนแบบ 'ย้อนกลับ' ในโครงการความสามารถใน
แบบของสถาบัน โดยจับคู่หน่วยกิตแบบดั้งเดิมกับการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความ
สมรรถนะ แม้ว่าสิ่งนี้จะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลรู้สึกพึงพอใจ แต่ก็ยังคงผูกมัดการเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเปน็ ฐานกบั การเรยี นแบบหน่วยกิต
3. ความช่วยเหลอื ทางการเงิน
ปีที่แล้ว Eduardo Ochoa ผู้ช่วยเลขาธิการ แผนกการศึกษาหลังชั้นมัธยมศึกษา ระบุว่า
แม้ว่าการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานน่าจะประสบความสำเร็จในเรื่องการลดต้นทุนการศึกษา
ของนักเรียน แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับรูปแบบความช่วยเหลือทางการเงินของเราจะเป็นแบบใด
เมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้แพร่ออกไป จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ ความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบ าล
กลางสว่ นใหญผ่ กู มัดรดั กมุ กับการเรียนรปู แบบหนว่ ยกติ
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม กระทรวงศึกษาธิการส่งสัญญาณว่าขณะนี้วิทยาลัยต่างๆ
สามารถสมัครขอรับความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลกลางสำหรับรูปแบบการเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเป็นฐานและการวัดประเมินโดยตรง ตอนนี้ปัญหาสำหรับภาควิชากลายเป็นวิธีการป้องกัน

55

การฉ้อโกงโดยยังคงให้เงินทุนที่จำเป็นแก่นักเรียนเพื่อเข้าร่วมในรูปแบบการเรียนที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม
เหล่านี้

4. การรับรู้และความเขา้ ใจในวงกวา้ ง
การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน หรือ CBL ยังคงเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ค่อนข้างใหม่
เมื่อบัณฑิตจบใหม่เริ่มเข้าและเป็นที่รู้จักในตลาดงาน พวกเขามักได้รับการต้อนรับจากนายจ้างที่มี
ความสงสัยและไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนหรือสถาบันที่มอบปริญญา นอกจากน้ี
นายจา้ งจำนวนมากยังยึดติดและเขม้ งวดกบั การจ้างนกั ศึกษาทจี่ บมาจากรปู แบบการเรียนแบบด้ังเดิม
และมเี กรดเฉลย่ี ให้สามารถพิจารณาได้ ขอ้ คดิ เห็นจากนกั เรียนซ่งึ เข้าแผนการเรยี นรู้แบบยดึ สมรรถนะ
เป็นฐานท่ีกำลังเข้าสู่ตลาดงานก็มกั สนบั สนนุ ความสงสัยน้ี
อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณความพยายามจากมูลนิธิ Lumina ที่ได้พัฒนาประวัติคุณวุฒิ
ปริญญา ซึ่งสร้างอนุกรมวิธานร่วมกันสำหรับคณะ ผู้บริหาร นายจ้าง และผู้กำหนดนโยบาย ซ่ึง
ประกอบด้วยสถาบันมากกว่า 200 แห่ง โครงสร้างการทำงานนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจวา่
อะไรคือรูปแบบ "สมรรถนะเป็นฐาน" สำหรับการเรียนรู้[7] กระนั้น การ 'ปลด' หลักสูตรดั้งเดิมจาก
หลกั สูตรของโรงเรียนและการสำเร็จการศึกษาแบบใช้เกรดอาจยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญท่ีสุดต่อการ
ยอมรบั ในวงกวา้ ง[8] อันที่จริง กระแสต่อต้านทีใ่ หญท่ ี่สดุ อาจมาจากนอกสถานศึกษา
ประเด็นสุดทา้ ย
อุปสรรคที่มากมายเหล่านี้เป็นเรื่องของระบบราชการที่มากพิธีรีตรองและด้านการวางแผน
เมอ่ื ขบวนการปฏิรูปด้านการศึกษาก้าวหนา้ จนถึงข้นั ถอนราก ซึง่ ทำใหอ้ ุปสรรคที่ได้กลา่ วข้างต้นน่าจะ
บรรเทาลงได้ แต่จริงๆแล้ว ทุกองค์กรกำลังพยายามเพื่อที่จะแก้ไขปัญหากับความท้าทายเหล่านี้ เช่น
องคก์ ร Lumina และ The Center for American Progress กำลังช่วยในจำแนกขอ้ มลู และทำความ
เข้าใจ CBL ผ่านการส่งเสริมและการเปดิ เผยส่สู ังคม

56

หากทา่ นตอ้ งการศกึ ษาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดูไดจ้ ากเว็บไซตข์ า้ งลา่ งน้ี
https://evolllution.com/opinions/competency-based-learning-challenges-
impediments/

Hart (2018) เป็นผู้บริหารและนักเขียนประจำที่ Truth in American Education ได้
กล่าวถึง 5 ปัญหาในการเปลี่ยนไปสู่การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน ไว้ว่า Tom Vander Ark
อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิ Gates ได้เขียนบทความในนิตยสาร Forbes ที่เชื่อมโยงทั้งการศึกษาแบบยดึ
สมรรถนะเป็นฐาน (CBE) และการเรยี นรูท้ ีส่ นับสนนุ ศักยภาพบคุ คล (การเรียนรู้เฉพาะบุคคล)

นี่เป็นข้อความที่คัดมาจากแหล่งอื่น : แนวคิดสำคัญสองประการเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง
ไปสู่รปู แบบการศึกษาแบบยดึ สมรรถนะเป็นฐานในการศึกษาอย่างเป็นทางการ

ประการแรก นักเรียนควรแสดงสิ่งที่พวกเขารู้ ไม่ใช้เรื่องการส่งงานและได้รับคะแนน หรือ
การเข้าเรียนในชั้นเรียน แต่เป็นการแสดงให้เห็นในหลาย ๆ ด้านว่าพวกเขามีความรู้ ทักษะ และ

57

ความสามารถที่มีความสำคัญ การประเมินในระบบที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานจะรายงานทั้งการเรียนรู้
ของนักเรียนและการพจิ ารณาลงความเหน็ ของครใู นเร่ืองความเหน็ ในดา้ นความชำนาญ

ประการที่สอง นักเรียนควรก้าวไปข้างหน้าเมื่อพร้อม หลังจากที่นักเรียนได้แสดงให้เห็นถึง
ความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ในแนวคิดที่สำคัญซึ่งสร้างแท่นฐานสำหรับการเรียนรู้ในอนาคต
สำหรับระบบที่จะส่งเสริมผลลัพธ์ที่เที่ยงธรรม สิ่งสำคัญคือนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนในเวลาท่ี
เหมาะสมและการสนับสนุนท่ีแตกตา่ งให้สอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้ของแตล่ ะคน ความ
มุ่งมั่นที่จะ "ก้าวต่อไปเมื่อพร้อม" ช่วยป้องกันผู้เรียนที่จะก้าวต่อไปในระดับต่อทั้ง ๆ ที่พื้นฐานยังไม่
แน่นพอ ซึ่งพนื้ ฐานทีย่ งั ไม่แน่นพอจะกีดกันไม่ให้ผู้เรียนบรรลคุ วามรูแ้ ละทกั ษะในระดบั ท่ีสูงขน้ึ

Vander Ark ตั้งข้อสังเกตว่า "สิ่งสำคัญคือสมรรถนะไม่ใช่รายการตรวจสอบทักษะในระดับ
ตำ่ "

ทัง้ หมดนน้ั เยยี่ มและดี แต่ปัญหาของวิธีการน้ีมีมากกว่านั้น ปัญหา 5 ข้อดังต่อไปน้ีคือส่ิงท่ีผุด
ขนึ้ มาในใจ ในขณะอา่ นบทความของเขา

ข้อแรก Vander Ark แนะนำวา่ CBE ไมใ่ ชเ่ รื่องใหมท่ ่ไี มเ่ คยมกี ารทดลองใชม้ าก่อน CBE เป็น
เพยี งการนำเอา การศึกษาแบบยดึ ผลลัพธ์เป็นฐาน (OBE) มาประกอบใหม่ ซง่ึ เปน็ รูปแบบการศึกษาที่
ไดร้ ับความนิยมและเป็นที่ตอ้ งการในชวั่ ระยะหนึง่ ของผู้ปกครองในชว่ งปี 1900

ข้อสอง สรุปสาระสำคัญเรื่องการศึกษาให้เหลือเพียงรายการวัดสมรรถนะจะลดจำนวน
นักเรียนที่ได้รู้ถึงความรู้จริงๆ ลง ไม่ใช่เพิ่มจำนวนนักเรียนขึ้น ซึ่ง CBE เป็นศัตรูของการศึกษาที่ให้
ความรู้หลากหลายดา้ น และ CBE จะทำใหพ้ ลาดส่ิงใดไป สงิ่ ที่ไม่ได้รบั การประเมินจะกลายเป็นเรื่องที่
ยอมรับได้ที่จะไม่เอาเข้ามารวมในการประเมิน ใครเป็นคนตัดสินใจว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นในระบบนี้
ไม่ใช่คนสอน ฉันร้สู ึกไมก่ ังวลเม่ือคิดว่าวิธีการน้ีจะสง่ ผลเสียต่อความสามารถของนักเรยี นในการเข้าใจ
วรรณกรรมคลาสสกิ หรอื ความเขา้ ใจของหนา้ ที่พลเมือง

ข้อสาม สมรรถนะเป็นเป้าหมายเดียวสำหรับนักเรียนหรือไม่ ฉันคิดว่าถ้าคุณต้องการสรุป
สาระสำคัญเรื่องการศกึ ษาให้เหลือแค่ทักษะการเรียนรู้แทนทีจ่ ะได้มาซ่ึงความรู้ แต่สำหรับผู้ปกครอง
สว่ นใหญ่มันนา่ จะเป็นเพียง "สมรรถนะหรือความสามารถ" ซึ่งไม่นา่ จะเปน็ สิง่ ท่ีผูป้ กครองตอ้ งการทส่ี ดุ

ข้อสี่ Vander Ark ยืนยันว่าการประเมินเป็นเพียงการวัดทีแ่ ท้จริงว่านักเรียนมีความสามารถ
หรอื ไม่ หากน่ไี มใ่ ช่เร่ืองจริงฉนั คงอภิปรายตอ่

ข้อห้า การเรียนรู้ที่สนับสนุนศักยภาพบุคคลในแบบที่ Vander Ark ส่งเสริม สามารถทำได้
โดยการนั่งให้เด็กๆ อยู่หน้าคอมพิวเตอร์เพื่อสอน ครูก็ไม่ต้องสอนอีกต่อไป แต่จะเป็นผู้อำนวยความ
สะดวกแทน ปัญหามีอยู่ทุกประเภทในการให้เด็กนั่งอยู่หน้าจอทั้งวัน ตั้งแต่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมท่ี
จำกัดไปจนถึงช่วงเวลาทค่ี งความสนใจก็ลดลงเชน่ เดียวกัน

58

หากทา่ นต้องการศึกษาจากตน้ ฉบบั ภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดูไดจ้ ากเว็บไซตข์ ้างล่างน้ี
https://truthinamericaneducation.com/education-reform/five-problems-competency-
based-education/

Lynch (2019) เป็นนักกิจกรรมและอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ คณะจิตวิทยา และคณะสห
วิทยาการ ที่มหาวิทยาลัย Virginia Union ได้กล่าวถึง 4 ประเด็นที่การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็น
ฐานต้องก้าวข้ามให้ได้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน และได้กลาย
มาเป็นกระแสที่กำลังเติบโต (เติบโตอย่างช้า ๆ ) ในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากแผนซึ่งเป็นนวัตกรรม
เพื่อการเรยี นรขู้ องนักเรยี น การศกึ ษาแบบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐานเป็นรปู แบบแผนท่เี น้นการเรียนรู้ด้วย
ตนเองซึ่งมักจะรวมถึงการใช้เทคโนโลยี นักศึกษาต้องมีความเชี่ยวชาญและแสดงให้เห็นถึง
ความสามารถในการทำงานและทักษะต่างๆ เพื่อผ่านหลักสูตรและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานเป็นหลักสูตรทางเลือกแทนหลักสูตรแบบเดมิ ไม่ว่าจะเรียนแบบ

59

ตัวต่อตัวหรือแบบออนไลน์ ซึ่งนักเรียนจะใช้เวลาในขอบเขตทีก่ ำหนดโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ไดเ้ กรดท่ี
ผ่านเกณฑ์และชัว่ โมงหน่วยกติ ทนี่ ำไปใชใ้ นการสำเร็จการศึกษา

สำหรับความเป็นไปได้ทั้งหมด การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานจะไม่กลายเป็นรูปแบบ
การศึกษาทีใ่ ช้งานได้จริง จนกว่าจะเอาก้าวข้ามจนไร้ข้อบกพร่องและปัญหาตา่ งๆ ได้

1. ขาดการรับรองและการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงิน แม้ว่าจะไม่มีใครปฏิเสธความ
แปลกใหม่ แต่นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีรูปแบบการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานจะไม่มี
สิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน สาเหตุหลักมาจากกระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐอเมริกาไม่มี
ระบบสำหรับการประเมินโครงสร้างข้อมูลประจำตัวของรูปแบบการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน
ประเดน็ สำคัญคือมหาวิทยาลยั ทมี่ ีการศึกษาแบบยดึ สมรรถนะเป็นฐานนั้นยากต่อการไดร้ บั การรับรอง
และคงการรับรองคณุ ภาพไว้ ซงึ่ หมายความว่าจะไมม่ ีความชว่ ยเหลอื ทางการเงินสำหรับนักศึกษา

2. ความเท่าเทียมกัน องค์ประกอบเฉพาะของการศกึ ษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานมีลักษณะ
เป็นอัตวิสัย ซึ่งทำให้มีที่ว่างสำหรับอคติ การแบ่งแยก และเลือกปฏิบัติ การที่จะเอาชนะอคติจาก
ประวัติศาสตร์ระบบการศึกษาและตระหนักถึงความเท่าเทียมทางการศึกษานั้นจะทำได้อย่างไร ?
นอกจากนี้ CBE ยังเพิ่มช่องวา่ งความสำเรจ็ โดยดูเหมือนทำให้นักเรียนล้มเหลว ตัวอย่างเชน่ นักเรียน
ที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีพื้นฐานทางการศึกษาที่ไม่ค่อยดีนักมักจะไม่ประสบความสำเร็จในระบบที่เน้น
การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก ซึ่งพวกเขาถูกปล่อยให้อยู่กับแผนการของตนเองและถูกคาดหวังให้
ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ พวกเขาต้องการทรัพยากรของสถาบันและการสนับสนุนเพื่อให้ประสบ
ความสำเร็จ

3.ความเป็นเลศิ การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเปน็ ฐานจำเป็นต้องแสดงให้เหน็ ถึงความมุ่งม่ันสู่
ความเป็นเลิศอย่างแน่วแน่ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงของการศึกษารูปแบบ CBE นี้จะมี
ความเข้มงวดและคุณภาพที่มีความเที่ยงตรงและยุติธรรมโดยทั่วถึงเท่ากันหมด มันเป็นไปตาม
เป้าหมายนีไ้ ดอ้ ย่างไร? หากไมเ่ ป็นอยา่ งนั้น คาดวา่ มันนา่ จะดำเนนิ ไปแบบปานกลางคือไม่ดีและไม่แย่
จนในทีส่ ุดก็สามารถทนทานต่อแนวโน้มดา้ นการศกึ ษาท่ีเป็นที่นยิ มชมชอบและแบบอื่นๆ

4. การเฝ้าดู ระบบการศึกษาของอเมริกามักไม่มีความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้
วิธีการใหม่อย่าง CBE ที่ได้รับการปฏบิ ัติเหมือนเป็นวิธีการท่ีคล้ายแฟช่ันในชัว่ ระยะหนึ่งซึ่งไดผ้ า่ นพน้
ไปและจะเสื่อมความนิยมจนหายไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ผู้คนนั้นระมัดระวังในเรื่องการ
เปล่ียนแปลง โดยเฉพาะอยา่ งย่ิง รูปแบบการศกึ ษาในปัจจุบนั ก็สามารถทำงานไดเ้ ป็นอยา่ งดี นักศกึ ษา
ก็เปลี่ยนเป็นแรงงานด้วยความราบรื่นและต่อเนื่อง และภาคธุรกิจไม่ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนที่สำคัญใดๆ
เกีย่ วกับคณุ ภาพของพนักงาน

60
กลา่ วโดยสรุป การศึกษาแบบยึดสมรรถนะเปน็ ฐานจะต้องแก้ไขปัญหาท่ีมองเหน็ อย่างชัดเจน
และปญั หาก่อนทร่ี ูปแบบการศึกษานี้จะได้รับการพจิ ารณาใหเ้ ป็นรูปแบบการศึกษาทางเลือกท่ีเป็นไป
ไดข้ องรูปแบบการศึกษาระดบั อดุ มศึกษาแบบดง้ั เดิม

หากท่านตอ้ งการศึกษาจากต้นฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเวบ็ ไซต์ข้างลา่ งนี้
https://www.theedadvocate.org/4-issues-that-competency-based-education-must-
overcome/

61

จากทัศนะของ Gibson (2013), Lynch (2019) และ Hart (2018) สรุปได้ว่าอุปสรรคของ
การพัฒนาการเรียนรูแ้ บบยึดสมรรถนะเปน็ ฐาน และวธิ ีการเพอื่ เอาชนะอปุ สรรคมีดงั นี้

1. การจดั การเรียนรู้
การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานครู มีหน้าที่สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถ
พื้นฐานและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง การใช้ชีวิตในสังคม
โดยบทบาทที่สำคัญของครูมี 3 ด้าน ได้แก่ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และกระบวนกร ในการ
จัดการเรียนรู้นักเรียนควรก้าวไปข้างหน้าเมื่อพร้อม หลังจากที่นักเรียนได้แสดงให้เห็นถึงความ
เชี่ยวชาญและความรอบรู้ นักเรียนควรจะได้รับการสนับสนุนในเวลาที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่
แตกต่างให้สอดคล้องกับความต้องการในการเรียนรู้ของแต่ละคน นักเรียนที่มีความพร้อมสามารถใช้
คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนที่ไม่มีความพร้อม
สมควรได้รับการสนบั สนุนด้านใดบา้ ง
วิธีการเอาชนะอุปสรรคข้อนี้ คือ ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน
เนอ่ื งจากบทบาทของครูไม่ได้เนน้ หนักไปที่การนำเสนอเน้ือหามากนัก ครจู ึงมีเวลาท่ีอิสระในการสอน
จริงๆ ครูสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์และทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักเรียนแต่ละคน ครู
เป็นผู้สนบั สนุนและใหค้ ำแนะนำเปน็ รายบุคคล เพอ่ื ชว่ ยกำหนดเสน้ ทางการเรยี นรขู้ องนักเรียน
ในทุกกระบวนการ นักเรียนมีโอกาสที่จะทำการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ เมื่อใด
ท่ไี หน และอยา่ งไร การจัดลำดบั ความสำคัญของความเห็นและทางเลือกของนักเรยี น เชน่ การเรียนรู้
โดยยึดโครงงานเปน็ ฐาน การเรยี นรู้โดยยึดการสอบถามเป็นฐาน การเรยี นร้จู ากประสบการณ์ เป็นต้น
เป็นแนวทางท่ใี ช้อำนาจจากทางเลือก บทบาทของครูท่ตี ้องทำในการเรยี นรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน
คือการทำให้แน่ใจว่าไม่ว่านักเรียนจะเลือกทำงานอะไร พวกเขาจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความ
เชี่ยวชาญในการเรยี นรู้เปา้ หมายไดอ้ ยา่ งแท้จริง

62

2. การประเมนิ ผลการเรียนรู้
ในการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ไม่คำนึงถึงเวลา พื้นที่ และ
เส้นทางสู่ความสำเร็จ ดังนั้นนักเรียนแต่ละคนควรที่จะมีการวัดประเมินผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
เน่ืองจากนักเรียนจะต้องแสดงความสามารถหรือความเชยี่ วชาญในบางเร่ืองโดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ท่ี
เป็นมาตรฐาน นักเรียนควรแสดงสิ่งที่พวกเขารู้ ไม่ใช้เรื่องการส่งงานและได้รับคะแนน หรือการเข้า
เรยี นในชั้นเรียน แต่เปน็ การแสดงใหเ้ ห็นในหลาย ๆ ดา้ นวา่ พวกเขามีความรู้ ทักษะ และความสามารถ
ทม่ี ีความสำคัญ การประเมินในระบบทีย่ ึดสมรรถนะเปน็ ฐานจะรายงานทง้ั การเรยี นร้ขู องนักเรียนและ
การพิจารณาลงความเห็นของครูในเรื่องความเห็นในด้านความชำนาญ ทำให้การกำหนดความเป็น
มาตรฐานการประเมินสมรรถนะทำได้ยาก
วิธีการเอาชนะอุปสรรคข้อนี้ คือ ใช้การประเมินที่หลากหลายแต่ต้องมีเอกสารหลักฐานการ
ประเมินที่มีเกณฑ์การประเมินโดยละเอียด เช่น แฟ้มสะสมผลงานแบบดิจิตอล รายงานผลการ
ปฏิบัติงานของนักเรียนที่สังเกตได้ งานที่มอบหมายทางคอมพิวเตอร์หรือออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้การ
เรยี นรแู้ บบยึดสมรรถนะเปน็ ฐาน เกณฑ์การให้คะแนนถูกใช้เป็นเคร่อื งมือสื่อสาร ไมใ่ ช่แค่เครื่องมือใน
การประเมินเท่านั้น เพื่อให้นักเรียนได้มีการตัดสินใจท่ีมีความสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
เรียนรู้ นักเรียนต้องเข้าใจสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ และสามารถจัดเป้าหมายเหล่านั้นให้
สอดคล้องกับงานที่ทำ รูบริกเป็นวิธีจัดระเบียบและแนะนำเป้าหมายการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่า
คำแนะนำหรือข้อมูลย้อนกลับมีความเฉพาะเจาะจงและสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเชื่อมโยงการ
สนทนาระหว่างครูกับนักเรียนเข้ากับเป้าหมายที่ชัดเจน นักเรียนที่เข้าใจและแม้กระทั่งมีส่วนร่วมใน
การกำหนดเป้าหมายของตนเองสามารถขบั เคลื่อนการเรียนรู้ของตนเองได้โดยร่วมออกแบบแผนการ
เรยี นรู้ส่วนบุคคลและแสวงหาประสบการณก์ ารเรยี นร้ทู ่ีสำคญั ต่อตนเอง

63

จากนานาทัศนะเกีย่ วกับอุปสรรคและวิธีการเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาการเรียนรู้แบบ
ยึดสมรรถนะเป็นฐาน ดังกล่าวข้างต้น ท่านเห็นว่า มีแนวคิด (Concept) หรือมีองค์ประกอบ
(Element) อะไรท่ีอธบิ ายถงึ อปุ สรรคและวธิ ีการเอาชนะอุปสรรคดงั กลา่ วไดอ้ ย่างกระชบั และชดั เจน

64

เอกสารอา้ งอิง

Gibson, R. (2013, August 2). Competency-based learning: Four challenges and
impediments. Retrieved August 10, 2021 from
https://evolllution.com/opinions/competency-based-learning-challenges-
impediments/

Hart, S. V. (2018, May 22). Five problems with shifting to competency based
education. Retrieved august 14, 2021 from
https://truthinamericaneducation.com/education-reform/five-problems-
competency-based-education/

Lynch, M. (2019, April 30). 4 Issues that competency based education must
overcome. Retrieved august 13, 2021 from https://www.theedadvocate.org/4-
issues-that-competency-based-education-must-overcome/

65

(ปกของคู่มอื แตล่ ะชุด)

คู่มือประกอบโครงการพัฒนาเพ่ือการเรยี นรู้ของครู
ชุดท่ี 5

66

หลงั จากการศกึ ษาคมู่ ือชุดน้ีแลว้ ทา่ นมีพฒั นาการดา้ นพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ซ่ึง
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางสมองหรือสติปัญญาตาม The Revised
Taxonomy (2001) ของ Benjamin S. Bloom โดยจําแนกพฤตกิ รรมในขอบเขตนี้ออกเป็น 6 ระดับ
เรียงจากพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนน้อยไปหามาก หรือจากทักษะการคิดขั้นต่ำกว่าไปหาทักษะการคิด
ขั้นสูงกว่า ดังนี้ คือ ความจำ (Remembering) ความเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้
(Applying) การวิเคราะห์ (Analyzing) การประเมิน (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ดงั น้ี

1) บอกคุณสมบัติ จับคู่ เขียนลำดับ อธิบาย บรรยาย ขีดเส้นใต้ จำแนก หรือระบุ แนว
ทางการพัฒนาการเรยี นรแู้ บบยดึ สมรรถนะเป็นฐานได้

2) แปลความหมาย อธิบาย ขยายความ สรุปความ ยกตัวอย่าง บอกความแตกต่าง หรือ
เรยี บเรียง แนวทางการพัฒนาการเรียนรแู้ บบยึดสมรรถนะเป็นฐานได้

3) แก้ปัญหา สาธิต ทำนาย เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ เปลี่ยนแปลง คำนวณ หรือปรับปรุง
แนวทางการพฒั นาการเรยี นรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานได้

4) แยกแยะ จัดประเภท จำแนกให้เห็นความแตกต่าง หรือบอกเหตุผล แนวทางการ
พัฒนาการเรียนรแู้ บบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐานได้

5) วัดผล เปรียบเทียบ ตีค่า ลงความเห็น วิจารณ์ แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเปน็ ฐานได้

6) รวบรวม ออกแบบ จดั ระเบยี บ สรา้ ง ประดษิ ฐ์ หรือวางหลกั การ แนวทางการพฒั นาการ
เรียนร้แู บบยึดสมรรถนะเปน็ ฐานได้

67

1) โปรดศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน
จากทศั นะทีน่ ำมากล่าวถึงแต่ละทัศนะ

2) หลงั จากการศกึ ษาเนือ้ หาแต่ละทัศนะ โปรดทบทวนความเขา้ ใจจากคำถามทา้ ยเนื้อหา
ของแตล่ ะทศั นะ

3) หากท่านต้องการศึกษารายละเอียดของแนวการพัฒนาจากแต่ละทัศนะที่เป็นต้นฉบับ
ภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ด้จากเว็บไซต์นำเสนอไว้ทา้ ยเน้ือหาของแต่ละทัศนะ

O’Sullivan and Bruce (2014) ได้กล่าวถึง การสอนและการเรียนรู้ในการศึกษาแบบยึด
สมรรถนะเป็นฐาน (Teaching and Learning in Competency-Based Education) ว่า สมรรถนะ
ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันสามส่วน: องค์ประกอบความรู้ (ส่วนความเข้าใจ)
องค์ประกอบทางพฤติกรรม (องค์ประกอบทั้งหมดของพฤติกรรมที่เปิดเผย) และองค์ประกอบด้าน
คุณค่า (รวมถึงค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติ) กลยุทธ์การสอนและการเรียนรู้จำเป็นต้องจับคู่กั บ
เนื้อหาและขอบเขตท่เี หมาะสมในการเรยี นรู้ การเรยี นรแู้ บบยึดสมรรถนะจะเน้นทสี่ ภาพแวดล้อมการ
เรียนรู้ที่ทรงพลังหรือสมบูรณ์ ซึ่งช่วยให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ความหมาย

สิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาแบบยึดสมรรถนะคือการเรียนรู้แบบยึดการปฏิบัติเป็น ฐาน
จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลโดยตรงและโอกาสมากมายสำหรับผู้เรียนในการแสดงสมรรถนะของตน
ในทางปฏบิ ตั ใิ นช่วงระยะเวลาหนงึ่ จดุ ประสงคข์ องสมรรถนะตอ้ งรวมถึงผลลัพธ์ เกณฑ์ มาตรฐานการ
ปฏบิ ัติงาน เงอ่ื นไขท่ีเป็นรปู ธรรม วัดผลได้ และมีความเกย่ี วข้อง

การศกึ ษาแบบยึดสมรรถนะที่นำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธภิ าพสามารถปรบั ปรุงคุณภาพและ
มีความสม่ำเสมอ ลดต้นทุน ลดเวลาที่จำเป็นในการสำเร็จการศึกษา และให้การวัดผลการเรียนรู้ของ
นักเรยี นอย่างแทจ้ รงิ

จำเปน็ ตอ้ ง :

68

1. วัดการเรียนรู้ของนักเรียนมากกว่าเวลา (Measure Student Learning Rather
than Time)

2. ใช้พลังของเทคโนโลยีในการสอนและการเรียนรู้ (Harness the Power of
Technology for Teaching and Learning) การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางช่วยให้
สามารถปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สำหรับนักเรียนแต่ละคนได้เป็นรายบุคคล เนื่องจากนักเรียนแต่ละคน
เรียนรู้ในจังหวะและความเร็วที่ต่างกันและมาเรียนที่วิทยาลัยโดยรู้สิ่งที่แตกต่างกัน นี่จึงเป็น
ขอ้ กำหนดขน้ั พนื้ ฐานของการศึกษาแบบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐาน

3. เปลี่ยนพื้นฐานบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ผู้สอน (Fundamentally Change the
Faculty Role) เมื่อคณาจารย์ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอน โดยจัดชั้นเรียนตามจำนวนสัปดาห์ท่ี
กำหนด การสอนจะดำเนินการตามความเร็วและจังหวะการสอนของอาจารย์ สำหรับนักเรียนส่วน
ใหญ่ นอี่ าจจะเป็นก้าวท่ีผิด นกั เรยี นบางคนจะต้องไปอยา่ งช้าๆ หรอื คนอื่นสามารถเคล่ือนท่ีได้เร็วขึ้น
การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเปลี่ยนบทบาทของคณาจารย์จาก "นักปราชญ์บนเวที" เป็น "ผู้นำทาง
ด้านข้าง" คณาจารย์ทำงานร่วมกับนักศึกษา แนะแนวการเรียนรู้ ตอบคำถาม นำการอภิปราย และ
ชว่ ยเหลือนกั ศึกษาในการสังเคราะห์และประยุกต์ใชค้ วามรู้

4. กำหนดสมรรถนะและพัฒนาการประเมินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ (Define
Competencies and Develop Valid, Reliable Assessments) หลกั ฐานพ้ืนฐานของการศึกษา
แบบยึดสมรรถนะคือเรากำหนดสิง่ ท่ีนกั เรียนควรรแู้ ละสามารถทำได้ และพวกเขาสำเรจ็ การศึกษาเม่ือ
พวกเขาไดแ้ สดงสมรรถนะของตน นี่หมายถงึ การกำหนดสมรรถนะอยา่ งชัดเจน

ผคู้ นเรียนร้ใู นความเร็วและจังหวะที่แตกต่างกันและด้วยวธิ ีการทแ่ี ตกต่างกัน ดังนัน้ การสาธิต
หรือกิจกรรมจำนวนหนึ่งอาจเพียงพอสำหรับผู้เรียนคนหนึ่งที่จะแสดงสมรรถนะ ในขณะเดียวกัน
ระดับทักษะเดียวกันของทักษะนี้กับอีกคนหนึ่งจะต้องใช้เวลามากขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้
เดียวกัน ความเข้าใจในผ้เู รียนและความต้องการของผู้เรียนเปน็ เหตผุ ลหลักว่าทำไมการศึกษาแบบยึด
สมรรถนะเปน็ ฐานอาจรวมถึงการสังเกตโดยตรงของการสาธิตสมรรถนะเมอื่ เวลาผ่านไป และคำจำกัด
ความและการจำแนกผลลพั ธก์ ารเรียนรู้และจุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ที่ชัดเจน

69

หากทา่ นตอ้ งการศึกษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดูไดจ้ ากเว็บไซตข์ ้างลา่ งน้ี
https://www.researchgate.net/publication/269810124_Teaching_and_Learning_in_Co
mpetency_Based_Education

Schwartz (2015) เป็นนกั ขา่ วที่อยู่ในซานฟรานซสิ โก เธอทำงานทีว่ ทิ ยสุ าธารณะ KPCC ใน
แอลเอ และรายงานออกอากาศและออนไลน์สำหรับ KQED ตั้งแต่ปี 2010 กล่าวถึง การเรียนรู้แบบ
ยึดสมรรถนะเป็นฐาน (Competency base learning) ว่า มันไม่ใช่แบบนีอ้ ีกต่อไป ถ้าเด็กจะใช้เวลา
สิบสองปีในโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้ได้เพียงพอเพื่อประสบความสำเร็จในการศึกษาระดับอุดมศึกษา
หรืออาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหานี้นักการศึกษาบางคนกำลังใช้มาตรการที่มีความชัดเจนเพื่อช่วยนักเรียน
ตามประเพณีทั่วไปชั้นเรียนมุ่งไปข้างหน้าครอบคลุมหลักสูตรตามกำหนดเวลา นักเรียนได้รับเนื้อหา
การสอนเดียวกันในจังหวะเดียวกัน หากนักเรียนล้มเหลวในการเรียนรู้ทักษะ นักเรียนก็ต้องยอมรับ
ผลลัพธน์ นั้ และย้ายไปยงั หัวข้อถัดไปพร้อมกบั สว่ นทเี่ หลือของชน้ั เรียน

70

ในทางกลับกันการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานยืนหยัดในการเรียนรู้เกี่ยวกับความ
เชีย่ วชาญและใหเ้ วลานักเรียนในการเรียนรู้ นกั เรียนไม่ได้เดนิ ผ่านพน้ ความล้มเหลวในอดีต มีความท้า
ทายเกี่ยวกับวิธีการนีเ้ ช่นกัน แต่มันก็เป็นการยอมรับอย่างช้า ๆ และมีมานานพอที่จะพัฒนาแนวทาง
ปฏิบัติที่ดีที่สุด เขตการศึกษาที่ประสบความสำเร็จกับรุ่นนี้วางรากฐานอย่างรอบคอบเพื่อการ
เปลี่ยนแปลงพื้นฐานนี้จากแบบจำลองการศึกษาแบบดั้งเดิม พวกเขายังออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่
สนบั สนุนรูปแบบการเรียนรูน้ ี้และได้เรยี นรู้บทเรียนท่ยี ง่ิ ใหญใ่ นระหว่างการดำเนินการ

การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานที่มักเรียกว่าการเรียนรู้ความเชี่ยวชาญ โดยแกนกลาง
ของการเรยี นรู้น้ีเกยี่ วขอ้ งกับองคป์ ระกอบหา้ ประการ:

1. นักเรียนก้าวหน้าได้ก็ต่อเมือ่ พวกเขามคี วามเชี่ยวชาญในเนื้อหรือและทกั ษะ ไม่ใช่เพราะ
พวกเขาได้เกรด C หรือ D

2. ความชดั เจนและโปรง่ ใสเรอ่ื งนักเรียนมสี ิทธิอำนาจในการเรยี นรู้และช่วยนักการศึกษาให้
ปรบั ปรุงการเรียนการสอนท่ดี ีขนึ้ ตามความตอ้ งการของแตล่ ะบุคคล

3. การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การพิจารณาข้ัน
สุดท้ายในแตล่ ะครัง้ ตอนที่นกั เรียนไมม่ ีความหวงั ทจี่ ะเปล่ยี นแปลงผลลัพธ์

4. นักการศึกษาให้การสนับสนุนในเวลาที่เหมาะสม โดยมักจะสนับสนุนทุกวันในส่วนใด
ส่วนหนึง่ ของเนื้อหาทจ่ี ำเป็น

5. นักเรียนจะต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถถ่ายโอนความรู้ของพวกเขาไปยังบริบท
ใหม่ โดยประยุกต์ใช้ทักษะในความท้าทายที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งมักหมายถึง
การพัฒนานิสัยการเรยี นร้ทู ีย่ าวนานของชีวติ

71

หากทา่ นตอ้ งการศึกษาจากต้นฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ ้างลา่ งนี้
https://www.kqed.org/mindshift/41061/steps-to-help-schools-transform-to-
competency-based-learning

Cornelius (2017) เป็นผู้ช่วยผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Edmentum กล่าวว่า การเรียนแบบ
ยึดสมรรถนะเป็นฐาน (CBL) กำลังไดร้ ับความนยิ มอย่างรวดเรว็ ในฐานะวธิ ีการท่ีมีประสทิ ธิภาพในการ
ปรบั การเรียนรใู้ หเ้ ปน็ ส่วนบคุ คล ประเมนิ ความเขา้ ใจของนกั เรยี นไดด้ ีขึ้น และจัดการกับความท้าทาย
ของช่องว่างความรู้ของนักเรียน รัฐและเขตต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังดำเนินการตาม
ความคิดริเริ่มที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน และด้วยผลลัพธ์ที่คาดหวัง โรงเรียนหรือเขตการศึกษาของคุณ
กำลงั พิจารณาทจี่ ะเปลี่ยนแปลงหรอื ไม่ นคี่ ือ 6 เร่ืองน่ารเู้ ก่ียวกับ CBL

1. CBL ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ไม่ใช่เวลา (CBL is Based on Skill Mastery, not
Time)

ตามธรรมเนียมประเพณี ระบบการศึกษาของเราใช้แนวทางโดยยึดเวลาเป็นฐาน นักเรียน
ก้าวหน้าไปตามระดับชั้นตามอายุและ "เวลานั่ง" ในห้องเรียน และการสอนจะปล่อยตามกำหนดเวลา
อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีการที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน นักเรียนจะก้าวหน้าต่อไปด้วยการสอนหลังจากที่
พวกเขาได้แสดงให้เหน็ ความเช่ียวชาญในแนวคิดปัจจบุ ันแล้วเท่านน้ั พวกเขาได้รบั อนุญาตให้ก้าวหน้า
ในอัตราการเรียนรขู้ องตนเอง และสร้างความรู้พ้นื ฐานทีจ่ ำเปน็ ต่อการประสบความสำเร็จ

2. CBL สนบั สนุนแนวทางสว่ นบคุ คล (CBL Encourages a Personalized Approach)
ดว้ ยการม่งุ เน้นในการเรียนตามจังหวะตนเองและเช่ียวชาญ การเรียนร้แู บบยึดสมรรถนะเป็น
ฐานจึงช่วยเสริมการเรียนรู้ส่วนบุคคลโดยเนื้อแท้ โดยขอให้นักการศึกษาหันความสนใจออกจาก
แผนการสอนและตารางการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ และเปลี่ยนวิธีคิดของตนเป็นแนวทางที่เน้นนักเรียนเป็น
ศูนยก์ ลาง โดยพจิ ารณาจากความรู้ รูปแบบการเรียนรู้ และความกา้ วหนา้ ของผู้เรียนแต่ละคน
3. CBL ลดช่องว่างการเรียนรู้เป็นอย่างมาก (CBL Significantly Reduces Learning
Gaps)
เมอ่ื ส่งการสอนตามกำหนดเวลา นกั เรียนอาจเส่ียงต่อการขาดเน้ือหาบางอยา่ ง พวกเขาอาจมี
ปัญหากับแนวคิดหรือทักษะบางอย่าง เพียงเพราะถูกบังคับให้ต้องดำเนินการตามหลักสูตรก่อนที่จะ

72

บรรลุความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดช่องว่างความรู้ที่ขัดขวางการเรียนรู้หัวข้อที่ตามมา ซึ่ง
ท้ายที่สุดจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดีและอุปสรรค การเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นไปที่ผู้เชี่ยวชาญ
แนวทางทีย่ ึดสมรรถนะเปน็ ฐานช่วยขจัดความเสีย่ งนไ้ี ด้มาก นกั เรียนจะก้าวไปข้างหนา้ ต่อเมื่อพวกเขา
แสดงความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับแนวคิดปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าพวกเขาพร้อมสำหรับ
ความสำเร็จในบทเรยี นตอ่ ไป

4. การประเมินแบบ CBL ทำให้นักเรียนต้องใช้ความรู้ (CBL Assessments Require
Students to Apply Knowledge)

การแสดงความเชี่ยวชาญด้านทักษะเป็นมากกว่าการเติมเต็มในกรอบตัวเลือกแบบเลือก
คำตอบที่ถูกต้อง ด้วยแนวทางยึดสมรรถนะเป็นฐาน การประเมินจะเน้นไปที่การใช้สมรรถนะมากขึ้น
พวกเขาจะจัดส่งเมื่อนักเรียนพร้อมและพยายามให้ทางเลือกแก่นักเรียนในการแสดงความเข้าใจใน
ขอบเขตสูงสดุ ซ่งึ อาจผา่ นงานวิจัย การนำเสนอ โครงการ หรือการประเมินที่ใชป้ ระโยชนจ์ ากประเภท
รายการที่ปรับปรุงด้วยเทคโนโลยีมากขึ้น ผลที่ได้คือนักเรียนมีประสบการณ์ในการประเมินที่ยดื หยุ่น
มากข้ึน และนักการศึกษาจะไดร้ บั ข้อมูลความรูแ้ ละความคบื หน้าอยา่ งละเอียดและละเอยี ดย่งิ ข้ึน

5. CBL เตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ความสำเร็จนอกห้องเรียน (CBL Prepares
Students for Success Beyond the Classroom)

การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเปน็ ฐานเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเแปลเกณฑ์มาตรฐานเป็นทักษะที่
แสดงให้เห็น ซึ่งเป็นกลยุทธท์ ่ียอดเยี่ยมสำหรบั วิทยาลัยแบบรวมและการเตรียมอาชีพเข้าในห้องเรียน
นกั เรยี นมอี ำนาจในการเปน็ เจ้าของการเรยี นรู้ สำรวจความสนใจ และสรา้ งทักษะทีช่ ัดเจน นำไปใช้ได้
และถา่ ยทอดได้ ซง่ึ จะเปน็ ประโยชน์ตอ่ พวกเขานอกหอ้ งเรยี นเชน่ กนั

6. CBL ใ ช ้ เ ท ค โ น โ ล ย ี ใ ห ้ เ ก ิ ด ป ร ะ โ ย ช น ์ ส ู ง ส ุ ด (CBL Maximizes the Use of
Technology)

เพื่อตอบสนองความคาดหวังส่วนบุคคลของแนวทางแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานสำหรับ
นักเรียนทกุ คนอยา่ งแท้จรงิ เทคโนโลยีสามารถเปน็ เคร่อื งมอื ทีม่ ีประสทิ ธิภาพ นักการศกึ ษาสามารถใช้
ประโยชน์จากหลักสูตรออนไลน์เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับเนื้อหาที่ต้องการในจังหวะที่เหมาะสม ใน
เวลาเดียวกัน เครื่องมือประเมินผลออนไลน์สามารถช่วยนักการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์
ความก้าวหน้าของนักเรียนเพื่อทำการตัดสินใจด้านการเรียนการสอนแบบ ณ เวลาจริง เราได้
ออกแบบทางแก้ปัญหาการเรียนรู้รายบุคคลแบบใหม่ของ Edmentum เพื่อสนับสนุนแนวทาง CBL
โดยให้คำแนะนำที่ตรงเป้าหมายซึ่งขับเคลื่อนโดยการประเมินการวินิจฉัยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
เพอื่ ให้นกั เรยี นควบคมุ เส้นทางการศึกษาของตนเองได้ดียิง่ ข้นึ

73

หากทา่ นตอ้ งการศึกษาจากตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดูไดจ้ ากเว็บไซตข์ า้ งลา่ งน้ี
https://blog.edmentum.com/competency-based-learning-6 - things-educators-should-
know

74

Lerner (2017) เป็นรองผู้อำนวยการ American Youth Policy Forum กล่าวว่า ไม่มี
แนวทาง "หนึ่งเดียวที่เหมาะกับทุกคน" ในการสร้างและรักษาหลักสูตร CBE คุณภาพสูง แต่ก็มี
บทเรยี นบางสว่ นทจ่ี ะแบง่ ปนั ในบทความน้ี ครูและผ้บู ริหารจากโรงเรียนท่ีถูกมองว่าเป็นผเู้ ร่ิมใช้ CBE
ในระยะแรกจะแบ่งปันนโยบายและกลยทุ ธร์ ะดบั โรงเรียนทีส่ ำคญั ทค่ี วรพิจารณาเมื่อดำเนนิ การ CBE

1. กำหนดวิสัยทศั น์ (Set A Vision)
“ส่ิงทส่ี ำคญั ทสี่ ุดคือการมีวสิ ัยทัศน์ ไม่มีวธิ ใี ดทจ่ี ะทำส่งิ ต่าง ๆ ได้โดยขาดมัน ดังน้ันคุณต้องมี
ชุดของหลักการที่จะทำงานด้วยเพื่อให้พวกเขากลายเป็นผู้นำแนวทาง ตัวกรองสำหรับการตัดสินใจ
ใดๆ ทีค่ ณุ ทำ”—Courtney Belolan, Teacher and Teaching Coach, RSU 2 (Maine)
การเปลี่ยนแปลงสู่ CBL อาจจะเป็นเรื่องใหม่อันน่าตกตะลึงสำหรับผู้นำ ครู นักเรียน และ
ครอบครวั การปรบั และสร้างวิสัยทศั นช์ ว่ ยยดึ กระบวนการเปลี่ยนผา่ นไปสู่ผลลัพธ์ทีต่ ้องการ ในข้ันต้น
สิ่งสำคัญคือต้องตัดสินใจเลือกชุดเป้าหมายร่วมกัน จากนั้นจึงใช้เวลาสร้างภาษากลางสำหรับการวัด
และเป้าหมาย ครูและครูใหญ่ที่สัมภาษณ์สังเกตว่าการเปลี่ยนไปใช้ CBE ของโรงเรียนเป็นไปตาม
เป้าหมาย ความคาดหวงั และกระบวนการท่ีโปรง่ ใสซงึ่ พฒั นาขนึ้ ผา่ นกระบวนการกำหนดวิสัยทศั น์
สำหรับ Kevin Erickson อาจารย์ใหญ่ที่ KM Perform (รัฐวิสคอนซิน) กระบวนการกำหนด
วิสัยทัศนข์ องโรงเรียนของเขาเร่ิมต้นด้วยการพัฒนาความเข้าใจร่วมกนั เก่ยี วกับสมรรถนะของนักเรียน
ในชุมชนโรงเรียนท้ังหมด ครูมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมรรถนะของนักเรยี น และเมื่อได้รับการพัฒนา
แล้ว Erickson ได้แบ่งปันสมรรถนะเหล่านี้กับชุมชนโรงเรียนในวงกว้าง (นักเรียน ผู้ปกครอง และ
สมาชิกในชุมชนที่สนใจอื่นๆ) การมีสมรรถนะที่เป็นรูปธรรมของนักเรียนเป็นเป้าหมายในระดับ
นักเรียนเพื่อความเชี่ยวชาญโดยเป็นรากฐานที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ความเข้าใจ และ
การยอมรบั ของชุมชนในวงกวา้ งสำหรับการเปลี่ยนไปใช้ CBE ของโรงเรียน
2. สนับสนุนโครงสร้างที่ครูทำงานร่วมกัน (Support a Collaborative Teacher
Structure)
“ครูต้องทำงานร่วมกัน ครูเหล่านั้นจะต้องรับผิดชอบซึ่งกันและกัน และมันมีแต่จะทำให้ดี
ข้นึ ” —Brian Stack, Principal, Sanborn Regional High School (New Hampshire)
ในการเปลี่ยนไปใช้ CBE โรงเรียนมัธยม Sanborn Regional High School มุ่งมั่นที่จะใช้
รูปแบบชุมชนการเรียนรู้แบบมืออาชีพ (PLC) ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกันของครูอย่างเข้มข้นเพื่อ

75

ปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน PLC เสนอแนวทางที่มีโครงสร้างสำหรับการสำรวจและการนำ
หลักสูตรทย่ี ึดสมรรถนะและแบบจำลองความคดิ เห็นจากเพ่ือนมาใช้ รปู แบบนีใ้ ห้โอกาสทเ่ี ป็นรปู ธรรม
สำหรบั ครใู นการสนบั สนุนและแนะนำซงึ่ กันและกนั ในขณะท่ีพวกเขาเปลย่ี นห้องเรยี นและรปู แบบการ
สอนเพ่อื สนับสนุน CBE “[PLC] เปน็ แรงผลักดันใหเ้ รา มนั ทำหนา้ ทเี่ ป็นกระดูกสันหลังของสิ่งท่ีเราได้
ทำมามากมายและทำต่อไปเพราะไม่มีครูคนใดของเราต้องทำคนเดยี ว” Stack ได้กล่าวไว้ “ครขู องเรา
ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีมทำงานร่วมกัน ทั้งหมดเป็นไปตามโมเดล PLC ซึ่งเน้นการเรียนรู้ของ
นักเรียนมากเกินไป” Stack แบ่งปันว่า ครูสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการ
พัฒนาการประเมินประสทิ ธภิ าพในเชงิ โครงสร้าง และให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์เมื่อเปรียบเทียบ
ผลลพั ธใ์ นห้องเรยี นโดยผ่าน PLC

Courtney Belolan ครูและผู้ฝึกสอน RSU 2 (Maine) มองเห็นคุณค่าในการสื่อสารกับ
นักการศึกษาที่มีความคิดเหมือนกัน และจะพบว่าการมีเครือข่ายเพื่อนร่วมงานที่พร้อมมากขึ้น ไม่ว่า
จะในอาคารหรือในเขต: “มันเป็นประโยชน์ ดูเหมือนจะใช้เวลากับมันมาก ดังนั้นหากมีวิธีที่ดีกว่าใน
การเชื่อมต่อทั้งหมดนี้ตอนแปดปีที่แล้ว ฉันคงจะทำมากกว่านี้และเร็วขึ้นมาก” ประสบการณ์ของ
Belolan ในการเปลีย่ นไปใช้ CBE โดยลำพัง เขาไดเ้ นน้ ยำ้ ถึงคณุ ค่าของการสรา้ งเครือข่ายครูที่ให้การ
สนับสนุนซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับครูที่จะได้รับการสนับสนุนและมีความรับผิดชอบต่อกันและ
กัน

3. พัฒนานักเรียนให้เป็นผู้เรียนแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน (Develop Students as
Competency-Based Learners)

“ตอ้ งเน้นนกั เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นผ้เู รียน และคณุ ไมส่ ามารถออ่ นข้อกับเรอื่ งท้ังหมดได้”
—Brian Stack, Principal, Sanborn Regional High School (New Hampshire)
นักเรียนจะรู้สึกสบายใจกับ CBE ได้นั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของนักเรียน “นักเรียนที่รักษา
ความมนั่ ใจในความรสู้ กึ สงสยั ไดด้ ีกวา่ ” Belolan ได้กล่าวไว้ “นกั เรยี นท่ีไมก่ ลวั จะเข้าใจวา่ การเรยี นรู้
หมายถึงการทำผิดพลาด และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความสมบูรณ์แบบจะดีกว่า” Belolan เชื่อว่าการ
เรียนรู้ในห้องเรียนโดยยึดเป็นฐานมักเกี่ยวข้องกับคำตอบที่ "ถูกต้อง" หลายข้อ และการแก้ปัญหา
อย่างสร้างสรรค์และความต่อเนื่องเป็นคุณลักษณะสำคัญของนักเรียนในการประสบความสำเร็จใน
CBE และ Belolan สงั เกตวา่ นักเรยี นทป่ี รบั ตวั เข้ากับ CBE ไดเ้ ร็วท่ีสุดมคี วามเตม็ ใจที่จะอยากรู้อยาก
เห็นและลองส่ิงใหม่ ๆ ถึงกระนั้น เธอเชื่อว่าคณุ สามารถพัฒนาความม่ันใจนี้ให้กบั นักเรียนทุกคนผา่ น
การมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ รวมถึงการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความคาดหวัง
ระดบั นักเรียนในห้องเรยี นทีย่ ดึ สมรรถนะเป็นฐาน
การเปลี่ยนไปใช้ระบบที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป สำหรับนักเรียนที่
Sanborn Regional High School ใน Kingston รัฐนิวแฮมป์เชียร์ นักเรียนบางคนประสบปัญหาใน

76

การเปลี่ยนไปใช้แบบจำลองที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน “นั่นเป็นเรื่องค่อนข้างยากในตอนที่เราเริ่มต้น
พวกเขาได้รับการศึกษาในรูปแบบเดียว และทันใดนั้น เรากำลังเปลี่ยนกฎในเกมที่พวกเขาเล่นอยู่
(เปลี่ยนรูปแบบการเรียน)” Brian Stack อาจารย์ใหญ่ของ Sanborn กล่าว อย่างไรก็ตาม พื้นฐาน
หรือรากฐานมาจากการกำหนดวิสัยทัศน์และชุมชนมืออาชีพที่สนับสนุนครูซึ่งช่วยให้ Stack และครู
ของเขาเอาชนะหลุมพรางในการนำระบบใหม่ไปใช้และสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน “เราทำได้ดีใน
การวางแผนว่าส่ิงนจ้ี ะได้ผล” Stack กล่าวไว้

หากท่านตอ้ งการศึกษาจากต้นฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลิก” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ า้ งล่างนี้
https://ccrscenter.org/blog/ask-experts-teachers-and-principals

Thoeming (2017) เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาและเป็นผู้เขียนเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา
ให้กับ D2L’s technology ได้กล่าวถึง บทบาทของครูในห้องเรียนแบบที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานส่วน
บคุ คล 5 วธิ ี (New to Competency-Based Learning? Five Ways to Assess It) ดังน้ี

1. การประเมินระหว่างเรียน -สิ่งที่เกิดขึ้นตามเวลาจริง (Formative Assessments—
Happening in Real Time)

77

CBE นำนักเรียนสู่การเดินทางในการแสดงความรู้ ช่วยเตรียมความพร้อมในการเผชิญโลก
และงานที่รอพวกเขาอยู่ เมื่อครูใช้การประเมินระหว่างเรียนเพื่อวัดความรู้นั้น ครูจะรวบรวมข้อมูลท่ี
จำเป็นเพื่อปรับการสอนและการเรียนรู้ตามความจำเป็น การประเมินระหว่างเรียนสนับสนุน
การศึกษาโดยยึดสมรรถนะเป็นฐานโดยทำให้แน่ใจว่าครูเข้าใจความต้องการของนักเรียน เพื่อให้
สามารถปรับเปลี่ยนการสอนให้ตอบโจทย์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้ มอบหมายงานให้นักเรียนส่งเรียงความ
วิดีโอ เช่น เปิดโอกาสใหค้ รูได้ประเมินถึงความเขา้ ใจของนักเรียนในหัวข้อน้ันๆ จากนั้นครูสามารถให้
ข้อเสนอแนะ ณ ขณะนนั้ แก่นกั เรยี น ซึ่งจะชว่ ยนกั เรยี นในการระบถุ งึ ด้านใดทพ่ี วกเขาตอ้ งปรับปรงุ

2. แฟ้มผลงานดิจิตัล -สิ่งประดิษฐ์แห่งการเรียนรู้ (Digital Portfolios—Artifacts of
Learning)

แฟ้มผลงานดิจิทัลสนับสนุนแนวทางการสร้างแฟ้มผลงานโดยกระตุ้นให้นักเรียนรวบรวม
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแบ่งปันกับทั้งเพื่อนและครู นักเรียนอาจไปทัศนศึกษาโดยใช้โทรศัพท์เพื่อ
ถา่ ยภาพทส่ี นบั สนนุ หวั ข้อการศึกษา แฟม้ ผลงานยังเนน้ ถงึ ความก้าวหน้าตามธรรมชาตขิ องการเรียนรู้
อีกดว้ ย ตวั อย่างเชน่ น้องใหมข่ องโรงเรียนมธั ยมปลายอาจทำโครงการการเรียนรู้ดว้ ยการบรกิ ารสังคม
ที่คงอยู่ไปจนสำเร็จการศึกษา ผลงานของเขาจะเน้นย้ำถึงการพัฒนาโครงการ การแก้ไข และความ
สมบูรณข์ องโครงการเพ่ือเป็นหลักฐานการเรียนรู้ การประเมินระหว่างเรยี นประเภทน้ีช่วยให้นักเรียน
สามารถแสดงให้เห็นถงึ ความเชย่ี วชาญอย่างแทจ้ ริง โดยให้พื้นทีส่ ำหรับพวกเขาในการไตร่ตรองสิ่งกีด
ขวางและวิธที ่ีพวกเขาก้าวผา่ นอุปสรรค

3. การประเมินเพ่อื สรุปผลการเรียนรู้ – เล็งขอ้ มูล (Summative Assessments—Data
Points)

การประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้เป็นการประเมินในลักษณะที่แตกต่างจากการประเมิน
ระหว่างเรียน โดยเกิดขึ้นหลังจากการสอนเสร็จส้ินและวัดความเชี่ยวชาญในทักษะหรือสมรรถนะ
ผลลัพธ์ของพวกเขาสามารถชี้นำความพยายามของนักเรียนในการเรียนรู้ในภายหลัง เมื่อฉันสอน
ภาษาองั กฤษในระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย ฉนั ใชผ้ ลการประเมินเพ่ือสรุปผลการเรยี นรู้เป็นส่วนหนึ่ง
ของข้อมูลในการพดู คุยกับนกั เรียน ยกตัวอย่างเชน่ ถ้าการสอบแสดงใหเ้ ห็นวา่ นักเรียนมีปญั หาหัวข้อ
ที่ระบุ ฉันก็จะมาพูดคุยเรื่องข้อมูลที่เตรียมด้วยกลยุทธ์การเรียนรู้ และเราจะร่วมกันพัฒนาแผนเพ่ือ
แกไ้ ข

4. การประเมินตามสภาพจริง -การเรียนรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Authentic
Assessments—Real World Learning)

การประเมินที่ตามสภาพจริงนั้นเจาะจงให้เป็นการประเมินแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางและ
มุ่งเน้นไปที่สถานการณ์ในชีวติ จริง—การปฏิบัติงาน ดำเนินการทดลอง ออกแบบ และสร้างโครงการ

78

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่านักศึกษาที่มีส่วนร่วมในประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับโลก
แห่งความเป็นจริงจะมคี วามได้เปรยี บเม่อื เขา้ เรียนในวทิ ยาลยั หรือเรมิ่ ประกอบอาชีพ

การประเมินที่ตามสภาพจริงในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอาจเกี่ยวข้องกับโครงงานข้าม
หลักสูตร เช่น การออกแบบสวนของชุมชน นักเรียนจะวัดพื้นที่ คำนวณจำนวนเมล็ดที่ต้องการ และ
พจิ ารณาว่าพชื ชนดิ ใดจะเตบิ โตไดด้ ีทสี่ ุดในบรเิ วณนั้น ในโรงเรยี นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนอาจ
ได้รบั งานออกแบบอาคารโดยใช้ทักษะด้านซอฟตแ์ วรใ์ นการร่าง ด้านคณติ ศาสตร์ และด้านฟิสิกส์เพ่ือ
สรา้ งผลงานขั้นสุดทา้ ย

5. บทบาทของเทคโนโลยี -ใหส้ ทิ ธิอำนาจและการเปลยี่ นแปลง (Technology’s Role—
Empower and Innovate)

ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม รูปแบบการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐานอนุญาตให้นักเรียน
สามารถควบคุมการเรียนรู้ของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือเงื่อนไขการเปิดของ Brightspace
ชว่ ยให้ครูสามารถระบรุ ะดับของความเช่ยี วชาญในทักษะท่ีจำเปน็ กอ่ นทน่ี กั เรียนแต่ละคนจะก้าวไปสู่
เนือ้ หาระดบั ถดั ไปได้

เครื่องมือในรูปแบบดิจิทัลยังชว่ ยให้เกดิ ความคิดสร้างสรรคแ์ ละนวตั กรรมที่ฝังอยู่ในแนวทาง
CBE ที่ Chinn Elementary ในรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา นักเรียนใช้เครื่องมือ Video Note ของ D2L
เพ่อื มสี ว่ นรว่ มในโครงการวจิ ยั ไดอ้ ย่างเต็มทม่ี ากขนึ้ นกั เรียนคน้ คว้าเกยี่ วกบั สัตว์ โดยเขยี นและอธิบาย
ด้วยหนังสือของตัวเอง จากนั้นจึงทำวิดีโอเกี่ยวกับโครงงานท่ีเสร็จแล้ว Matt Carlson ผู้อำนวยความ
สะดวกด้านเทคโนโลยีการสอนของโรงเรียนกล่าวว่า "นักเรียนรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่จะบันทึกวิดีโอ
ดว้ ยตวั เองและกระตอื รอื รน้ ที่จะดูบันทกึ ของพวกเขาเม่ือถ่ายเสรจ็ "

79

หากท่านต้องการศึกษาจากตน้ ฉบบั ภาษาอังกฤษ โปรด “คลกิ ” ดูได้จากเวบ็ ไซต์ข้างล่างนี้
https://www.edsurge.com/news/2017-05-22-new-to-competency-based-learning-here-
re-five-ways-to-assess-it

Kuhlmann (2018) เ ป ็ น Senior Manager of Communications ข อ ง Knowledge
Works ซ่ึงเปน็ องค์กรสนับสนุนการดำเนินการเรยี นรู้ตามความสามารถ ได้กลา่ วถึง บทบาทของครูใน
ห้องเรียนแบบที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานส่วนบุคคล (The Role of the Teacher in a Personalized,
Competency-Based Classroom) ว่า ครูมีความสำคัญมากกว่าที่เคยในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
ส่วนบุคคลที่การสรา้ งความสัมพันธ์และความไวว้ างใจเป็นรากฐานสำหรบั ทกุ ส่ิงทเ่ี กิดขึน้ ในห้องเรียน

ในห้องเรียนที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานส่วนบุคคล ครูจะย้ายไปมาระหว่างกลุ่มของผู้เรียน เพ่ือ
อำนวยความสะดวกในการอภิปราย ช่วยให้นักเรียนสำรวจและกำหนดเป้าหมาย หรืออาจมีส่วนร่วม
ในการสอนโดยตรงมากขึ้นกับนักเรียนสองสามคนในแต่ละครั้ง ห้องเรียนของพวกเขาอาจมีที่นั่งท่ี
เปลี่ยนแปลงได้ไมย่ ึดตดิ กับทีแ่ ละนักเรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเก่ียวกับวิธกี ารเรยี นรู้และสถานท่ี
ท่ีพวกเขาเรยี นรู้ พวกเขาอาจทำงานอย่างอสิ ระหรือจัดกลุม่ โดยข้ึนอยกู่ ับสิ่งท่ีพวกเขากำลงั ทำอยู่

80

ในทางเดียวกัน ครูสนับสนุนให้นักเรียนกล้าเสี่ยงและลองสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะ
ล้มเหลว พวกเขาได้รับความรว่ มมือในการสนับสนนุ จากผู้นำชุมชนหรือท้องถ่ินโดยส่งเสริมวัฒนธรรม
ในโรงเรียน และทกุ คนทำงานร่วมกันทกุ ขัน้ ตอน

เนื่องจากห้องเรียนนี้ดูแตกต่างกันมาก ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำโรงเรียน และสมาชิกใน
ชุมชน ซึ่งหลายคนยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วน
บุคคลท่มี ีลักษณะอยา่ งไร

ห้องเรียนที่มีครูผู้สอนเป็นศนู ย์กลางกบั นกั เรียนเปน็ ศูนย์กลางมีความแตกต่างกันอย่างไร
(What’s the Difference Between Teacher-Centered and Student-Centered
Classrooms?)

ในห้องเรียนแบบดั้งเดิมที่มีครูเป็นศูนย์กลาง ครูจะถามคำถามและนักเรียนตอบ ครูจะเลือก
สิ่งที่นักเรียนจะทำและทำเมื่อใด และให้การสอนโดยตรงแก่ทั้งชั้นเรียนในคราวเดียว แต่ในทาง
กลับกัน ห้องเรียนที่เน้นนักเรยี นเปน็ ศูนย์กลางและเป็นส่วนบุคคล ครูจะทำงานร่วมกับนักเรียนโดยมี
แหล่งข้อมูลและการสนับสนุนที่นักเรียนต้องการ เพื่อรับความเสี่ยงและแนวทางการปฏิบัติของ
นักเรยี น

ตัวอย่างเช่น ในบทเรียนการอ่านเขียนรู้หนังสือ ครูอาจทำงานกับนักเรียนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งการ
ประเมินแสดงให้เห็นวา่ พวกเขาต้องการการสนับสนุนในด้านทกั ษะเดียวกัน ในขณะทนี่ กั เรียนคนอื่นๆ
ทำงานผ่านฐานการเรียนรู้ด้วยงานที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ของพวกเขา นักเรียนจะ
ได้รับประโยชน์จากงานที่เหมาะสมกับแต่ละคนและการเรียนรู้ที่ตรงเป้าหมาย ซึ่งเริ่มต้นจากที่ที่
นักเรียนอยู่ ประเมินทักษะและความรู้ที่มีอยู่อย่างเป็นรูปเป็นร่าง ตอบสนองซึ่งความต้องการและ
ความสนใจของนักเรียน

“ถ้าคุณถาม [นักเรียนของฉัน] ว่าพวกเขากำลังทำอะไรในการอ่านเขียนรู้หนังสือ พวกเขา
สามารถพดู ได้วา่ 'ฉนั กำลงั เรียนเร่ืองพยางค์อยู่' หรอื 'ฉนั ไม่เรยี นเร่อื งตัวอักษรอีกต่อไปเพราะฉันเรียน
และจำได้แล้ว'” กล่าวโดย Marie Roy ครูอนุบาลที่โรงเรียนประถมศึกษา Henry L. Cottrell ใน
RSU 2 ใน Monmouth รฐั เมน สหรัฐอเมริกา “พวกเขารูด้ ีว่าจะคาดหวังถงึ อะไร และพวกเขาต้องอยู่
ท่ไี หน และพวกเขาต้องการอุปกรณ์เครื่องมือจากท่ีใด เพ่ือให้พวกเขาสามารถเคลื่อนผ่านเป้าหมายไป
ได้ด้วยวิธแี ละจงั หวะของตนเอง”

การจัดการห้องเรียนในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานส่วน
บ ุ ค ค ล ม ี ล ั ก ษ ณ ะ อ ย ่ า ง ไ ร (What Does Classroom Management Look Like in a
Personalized, Competency-Based Environment?)

แนวคิดที่นักเรียนเลือกวิธีการเรียนรู้ วิธีที่พวกเขาแสดงสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้คุณเห็น ทำงานด้วย
ตัวเองหรือจัดกลุ่มและจัดกลุ่มใหม่ตลอดทั้งวัน อาจฟังดูไม่เป็นระเบียบสำหรับครู แต่นักเรียนที่รู้สึก

81

ไวว้ างใจและมีความเปน็ เจ้าของในการเรยี นรนู้ ้ันเปน็ นักเรยี นทม่ี ุ่งมน่ั และมีประสิทธิผลมากกวา่ ผเู้ รียน
ยังมีโอกาสมากมายที่จะฝึกฝนทักษะทางสังคมและอารมณ์ที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาใน
อนาคตเมื่อพวกเขาสามารถรับรู้ถึงบทบาทของตนเองในการเพิ่มคุณค่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ครู
ยงั คงรบั ผดิ ชอบตอ่ ชั้นเรียน แตเ่ มอื่ นกั เรยี นสรา้ งชมุ ชนร่วมกนั ตัดสินใจเกย่ี วกับกฎของห้องเรียนและ
ระเบียบการท่คี ลา้ ยคลงึ กัน พวกเขายดึ ถอื ภาระความรับผดิ ชอบรว่ มกนั

ในห้องเรียนชั้นประถมศึกษา นักเรียนอาจตัดสินใจในชั้นเรียนเกีย่ วกับวิธีการจัดการเรื่องสื่อ
การเรียนการสอนท่ีเหมาะสม ในขณะที่ผเู้ รยี นสูงวัยอาจตัดสนิ ใจวา่ จะตอ้ งแกไ้ ขงานมอบหมายนานแค่
ไหน กฎเหล่านี้ยังคงมอี ยู่ – แต่กฎเหล่านี้ได้รับการตัดสินและบังคับใช้โดยชุมชน โดยสร้างหน่วยงาน
ของนักเรยี นและความเปน็ เจ้าของ

Hillary Weiser ครูอนุบาลที่โรงเรียนประถมศึกษา Navin ในเขตโรงเรียน Marysville
Exempted Village School ใน Marysville รัฐโอไฮโอ กล่าวว่า “ฉันอยากจะรับผิดชอบห้องเรียน
ของฉันจริงๆ แต่ฉันได้เรียนรู้ที่จะให้เด็กๆ ควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง และฉันไม่มีปัญหาเรื่องวินัย
เด็กในปีนี้ และฉันไม่คิดว่ามันเป็นสิ่งท่ีฉันทำลงไป ห้องเรียนนี้เป็นของพวกเขา และพวกเขาเป็น
เจ้าของสิง่ ทเี่ กดิ ขึน้ ในห้องน้ี”

การเรียนรู้ส่วนบุคคลคือการที่ครูผู้สอนสร้างแผนการสอนส่วนบุคคลสำหรับนักเรียนทุก
คนหรอื ไม่? (Does Personalized Learning Mean Teachers Create Personalized Lesson
Plans for Every Student?)

การปรับการเรยี นรู้ให้เป็นแบบบุคคลไม่ไดห้ มายถงึ การเขียนแผนการสอน 30 แบบทแี่ ตกต่าง
กันสำหรับนักเรียน 30 คน แต่เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเข้าใจในตัวเองในฐานะผู้เรียนและมอบงาน
บางอย่างให้กับนักเรียนเอง ความชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวังในการเรียนรู้ยังเป็นกุญแจสำคัญใน
ห้องเรียนที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานเฉพาะบุคคลด้วย หากนักเรียนตระหนักถึงเป้าหมายการเรียนรู้ของ
ตนเองและส่ิงทพี่ วกเขาตอ้ งทำเพื่อแสดงความเชย่ี วชาญหรือความรอบรู้ การเรยี นรกู้ ็ไมใ่ ช่เรอื่ งลึกลบั

ตัวอย่างเช่น ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ครูอาจแบ่งเป้าหมายการเรียนรู้ที่นักเรียนแต่ละคน
จะต้องพบในตอนต้นของหน่วยการเรียนรู้ และทำงานร่วมกับนักเรียนแต่ละคนเพื่อออกแบบการ
ประเมินที่ช่วยให้พวกเขาแสดงความเชี่ยวชาญได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเอกสารหรือรายงาน การ
นำเสนอ การทดสอบ หรืออยา่ งอน่ื

ครูสนับสนุนความต้องการเฉพาะบุคคลของนักเรียนแต่ละคนอย่างไร ? (How Do
Teachers Support each Student’s Individual Needs?)

ในการปรับการเรียนรู้ให้เป็นแบบบุคคลอย่างแท้จริง ครูต้องมีการสนับสนุนและเสรีภาพท่ี
จำเป็นในการทำความเข้าใจและสนับสนุนเด็กแต่ละคนแบบองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใน
ครอบครัวที่มีลักษณะเฉพาะ วัฒนธรรมที่แตกต่างจากของแต่ละคน ความยากจนหรือความบอบช้ำ

82

ทางจิตใจ ครูต้องมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของนักเรียนในรูปแบบที่สร้างสรรค์
และเหมาะสม

ครูหลายคนใช้สมุดบันทึกข้อมูลกับนักเรียนเพื่อให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายและ
ติดตามความคืบหน้า สมุดบันทึกยังสามารถรวมโปรไฟล์หรือประวัติของผู้เรียน ซึ่งนักเรียนกำหนด
เปา้ หมายและไตร่ตรองถึงวธิ ีการเรียนรู้ท่ดี ีที่สดุ “ฉนั เรยี นรู้ข้อเท็จจรงิ ทางคณิตศาสตร์ของฉัน เมื่อฉัน
ใช้บัตรคำศัพท์หรือทำงานกับคู่หูหรือ ? ” “ฉันต้องทำอะไรเพื่อให้งานนี้ออกมาดีที่สุด” การใช้สมุด
บันทึกข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดยังสามารถสนับสนุนวัฒนธรรมชั้นเรียนที่ส่งเสริมกรอบความคิด
แบบเติบโต: การเข้าหางานและทักษะใหม่ๆ เป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโตมากกว่าการสมมติ
ทักษะทีก่ ำหนดไว้ลว่ งหน้า

เม่อื ปรับการเรียนรู้ให้เป็นสว่ นบุคคล จะมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและระบบที่จำเป็น
ทั่วทั้งชุมชนสู่การเรียนรู้ที่นำแนวปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันมาสู่แสงสว่างและทำให้มี ศักยภาพที่จะให้
อำนาจแก่ครูในการดำเนินการและทำให้ความไม่เท่าเทียมกันเหล่านัน้ ลดน้อยลง ซึ่งนี่อาจต้องทำให้มี
การสนทนาที่ลำบากกับครูแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ การสนทนาเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กแต่ละคน
ให้ดี

“เราเสนอการประชมุ หลังเลิกเรยี นสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเพ่ิมเติม และรู้สึก
คับข้องใจเมื่อนักเรียนรู้ว่าเราต้องการความช่วยเหลือแต่ที่ไม่การช่วยเหลือนั้นไม่มาถึง ” กล่าวโดย
Abbie Forbus ผู้อำนวยการด้านการสอนและการเรียนรู้ของ KnowledgeWorks และอดีต
ผู้อำนวยการด้านวัฒนธรรมของ Lindsay Unified School District ใน Lindsay รัฐแคลิฟอร์เนีย
“แตเ่ ม่อื เราถามนักเรียน เราแปลกใจทีร่ ูว้ า่ เพราะพ่อแม่ของพวกเขาหลายคนเปน็ แรงงานต่างด้าวหรือ
อพยพมาซ่งึ ต้องไปทำงานชว่ งหลังเลิกเรียน นกั เรยี นเหล่านจี้ ึงต้องกลับบ้านเพ่ือดูแลพ่ีน้อง ดังนั้นการ
ประชุมหลังเลิกเรียนจึงไม่ประสบผลกับพวกเขา ดังนั้นเราจึงต้องหาวิธีทำงานนอกเวลาในวันเรียน
ปกติ หากเราหยุดและถามผู้เรียนก่อนว่าพวกเขาต้องการอะไร เราจะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อ
หาทางออกทีด่ ีท่สี ุดตงั้ แตเ่ รม่ิ แรกได้”

การประเมินผลทำงานอย่างไร? ครูจะตัดสินอย่างไรว่านักเรียนได้แสดงให้เห็นถึงความ
เชี่ยวชาญ? (How Will Assessments Work? How Will Teachers Determine if a Student
Has Demonstrated Mastery?)

แม้ว่าการประเมินแบบสรุปผลช่วงสิ้นปียังคงเป็นสิ่งที่จริงสำหรับโรงเรียน แต่ครูใน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลจะต้องสบายใจกับการประเมินนักเรียนซ่ึง
ตรึงจุดประสงค์การเรียนให้สอดคล้องกับการสอนอย่างใกล้ชิด ผลลัพธ์ที่ได้จึงสามารถแปลเป็นการ
สนับสนุนสำหรับนักเรียนได้อย่างรวดเร็ว การประเมินเชิงโครงสร้างยังทำให้กระบวนการประเมิน
ความกา้ วหน้าไปได้อย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะดูเหมือนการลงโทษ การประเมนิ กลายเป็นจุดสัมผัส

83

ปกติสำหรับทั้งครูและนักเรียนเพื่อรับทราบสิ่งที่พวกเขารู้และสิ่งที่พวกเขายังไม่รู้ หลังจากการ
ประเมิน นักเรียนยงั สามารถสร้างผังการเตบิ โตของตนเองและกำหนดเป้าหมายการเรยี นรู้ของตนเอง
กำหนดสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสิ่งที่พวกเขาต้องการให้ครูทำ โดยพวกเขาเป็น
เจ้าของการเรียนรู้

“ฉันต้องมงุ่ เน้นไปที่สิ่งทีเ่ ด็กๆ รู้จรงิ ๆ และส่งิ ท่ีพวกเขาไม่รู้ และสิง่ ท่ฉี นั สามารถทำได้เพ่ือพา
พวกเขาได้รู้” กล่าวโดย Brooke Young ครูสอนคณิตศาสตร์ที่ Marysville Early College High
School ในเขตการศึกษาที่ได้รับการยกเว้นของ Marysville ใน Marysville รัฐโอไฮโอ เธออธิบาย
โครงงานลา่ สุดทนี่ กั เรียนของเธอทำเพ่อื แสดงความเข้าใจเกยี่ วกับฟังก์ชันกำลังสอง ซ่งึ นักเรียนของเธอ
เลือกที่จะทำโครงงานวิดีโอแทนการทดสอบ ซึ่ง Young ตระหนักดีถึงความหลงใหลของนักเรียนใน
ด้านการสร้างผลิตวิดีโอและไอที และแม้ว่าเธอจะไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว แต่เธอก็
จัดเตรียมองค์ประกอบท่ีจำเป็นสำหรับนักเรียนของเธอในการเรียนรู้สง่ิ ท่ีมีความหมายสำหรับพวกเขา
และยังคงให้โอกาสในการแสดงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ “ฉันบอกพวกเขาว่า 'ฉันจะเสี่ยงกับคุณ' เราจะ
ร่วมมอื กนั ทำมันด้วยกัน” Young กลา่ ว

การเรยี นร้เู ฉพาะบคุ คลเปลี่ยนแปลงลักษณะของการพัฒนาดา้ นวิชาชีพได้อย่างไร (How
Does Personalized Learning Change the Nature of Professional Development?)

การทบทวนเรื่องการพัฒนาด้านวิชาชีพประจำปีเพื่อสนับสนุนความเชื่อมั่นของครูอย่าง
ชัดเจนและการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเรียนรู้ส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ นักการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้
รับการฝึกอบรมเก่ียวกับกลยุทธ์การเรียนรู้ที่ปรบั ให้เหมาะกับแต่ละบคุ คล แต่รู้สึกตืน่ เต้นกบั โอกาสที่
จะมีอิสระมากขึ้นในการพบปะกับนักเรียนในที่ท่ีพวกเขาอยู่ การเติบโตทางความคิดและการสบายใจ
กบั ความล้มเหลวซ่ึงเป็นส่วนหนงึ่ ของกระบวนการเรียนรูค้ ือสง่ิ ที่ครตู ้องปลูกฝังในขณะทีป่ ฏิสัมพันธ์กับ
นักเรียน และมันสามารถเป็นไปได้ด้วยการรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนแบบเดียวกันจากผู้นำท้องถิ่น
และผู้บริหาร ครูต้องรู้สึกว่าพวกเขาได้รับความไว้วางใจและหากพวกเขาลองสิ่งใหม่ ๆ แล้วไม่ได้ผล
พวกเขาสามารถทบทวนและปรับเปล่ียนได้

จากท่ีกลา่ วมาผ้วู ิจยั สรปุ ข้อแนะนำเพือ่ การพฒั นาการเรยี นรแู้ บบยึดสมรรถนะเป็นฐาน ดงั นี้
1) ห้องเรียนที่มีนักเรยี นเป็นศูนย์กลาง นักเรียนจะได้รบั ประโยชนจ์ ากงานการเรียนรู้ที่ตรง

เป้าหมายและเป็นรายบคุ คล ประเมินทักษะและความรู้ที่มีอยู่อย่างเป็นรูปเป็นร่าง และ
ตอบสนองความต้องการและความสนใจของนกั เรยี น
2) การจัดการห้องเรียนในสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานส่วน
บุคคลนั้น ทำให้นักเรียนที่รู้สึกไว้วางใจและมีความเป็นเจ้าของในการเรียนรู้นั้นเป็น
นักเรยี นที่มุ่งมัน่ และมปี ระสิทธผิ ลมากกวา่

84

3) การปรับการเรียนรู้ให้เป็นส่วนบุคคล คือ การปลูกฝังให้นักเรียนเข้าใจในตัวเองในฐานะ
ผเู้ รยี นและมอบงานบางอยา่ งใหก้ บั นักเรียน

4) ครูมคี วามยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการของนกั เรยี นในรปู แบบทีส่ รา้ งสรรค์และ
เหมาะสม

5) การประเมินนักเรียนซึ่งตรึงจุดประสงค์การเรียนให้สอดคล้องกับการสอนอย่างใกล้ชิด
ผลลัพธ์ทไ่ี ด้จึงสามารถแปลเป็นการสนบั สนนุ สำหรบั นักเรียนไดอ้ ยา่ งรวดเร็ว

6) ครูปลูกฝังในขณะที่ปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนว่า การเติบโตทางความคิดและการสบายใจ
กับความลม้ เหลวซึง่ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรยี นรู้

หากท่านต้องการศกึ ษาจากตน้ ฉบับภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ดจ้ ากเว็บไซต์ขา้ งล่างน้ี
https://knowledgeworks.org/resources/role-teacher-personalized-competency-based-
classroom/

85

Bates (2019) เปน็ ศาสตราจารย์ดา้ นการวิจัยทางส่ือทางการศึกษา และเป็นเจ้าของบริษัทท่ี
ปรึกษาให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในแคนาดา สหรัฐอเมริกา และยุโรป ได้กล่าวถึง การออกแบบ
วางแผนการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็น ว่า มันมีหลากหลายแนวคิด แต่ตัวอย่างแนวคิดของ
Western Governor แสดงให้เหน็ ถงึ ขนั้ ตอนสำคัญหลายขน้ั ตอน

1. การกำหนดสมรรถนะ (Defining Competencies)
คุณลกั ษณะสว่ นใหญข่ องโปรแกรมทเี่ น้นสมรรถนะเปน็ ฐานเป็นความรว่ มมือระหว่างนายจ้าง
และนกั การศกึ ษาในการระบุสมรรถนะท่จี ำเป็น อย่างน้อยกใ็ นระดับสูง ทักษะบางอย่างท่รี ะบุไว้ในบท
ที่ 1 เช่น การแก้ปัญหาหรือการคิดเชิงวิพากษ์ อาจถือได้ว่าอยู่ในระดับสูง แต่การเรียนรู้แบบยึด
สมรรถนะเป็นฐานมีความพยายามที่จะย่อยเป้าหมายที่เป็นนามธรรมหรือมีความคลุมเครือให้เป็น
สมรรถนะทีค่ วามเฉพาะและสามารถวดั ได้
ตัวอย่างเช่น ที่ Western Governors University (WGU) ในแต่ละระดับปริญญา ชุดของ
สมรรถนะระดับสูงจะถูกกำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย จากนั้นทีมงานของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านใน
สาขาวิชาที่ทำข้อสัญญาข้อตกลงจะใช้สมรรถนะประมาณสิบหรือสมรรถนะที่มีระดับสูงซึ่งสำหรับ
คุณสมบัติเฉพาะและแบ่งออกเป็น 30 ความสามารถเฉพาะ ซึ่งสร้างหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนา
ความเชี่ยวชาญของสมรรถนะแต่ละอย่าง สมรรถนะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้สำเร็จ การศึกษาควรจะรู้ในท่ี
ทำงานและในฐานะผู้เชี่ยวชาญในอาชีพที่เลือก การประเมินได้รับการออกแบบและวางแผนมา
โดยเฉพาะเพื่อประเมินความเชี่ยวชาญของแต่ละสมรรถนะ ด้วยเหตุนี้ นักเรียนจึงได้รับการประเมิน
แบบ ผ่าน/ไม่ผ่าน ภายหลังจากการประเมนิ จะได้รับปริญญาเมื่อความสามารถท่ีระบุครบทั้ง 30 ข้อ
สำเร็จลุลว่ ง
การกำหนดสมรรถนะที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและนายจ้างในลักษณะที่มี
ความกา้ วหนา้ (โดยสมรรถนะหนงึ่ น้นั สรา้ งขึ้นจากสมรรถนะก่อนหน้าและนำไปสสู่ มรรถนะที่ก้าวหน้า
ยง่ิ ขน้ึ ) และสอดคล้องกัน (โดยท่ีผลรวมของสมรรถนะท้ังหมดจะทำใหน้ ักเรียนท่จี บการศึกษามีความรู้
และทักษะที่จำเปน็ ในด้านธุรกิจหรือวิชาชีพ) ซึง่ อาจเปน็ ส่วนท่ีสำคัญทีส่ ุดและยากที่สุดของการเรียนรู้
แบบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐาน

86

2. การออกแบบหลักสตู รและแผนการเรียน (Course and Program Design)
ที่ Western Governors University หรือ WGU หลักสูตรต่างๆ ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านภายในมหาวิทยาลัยโดยเลือกหลักสูตรออนไลน์ที่มีอยู่จากบุคคลภายนอกและ/หรือ
แหล่งข้อมูล เช่น e-textbook ผา่ นสัญญากับผ้จู ัดพิมพ์ ใชท้ รัพยากรทางการศึกษาทเี่ ปิดกว้างมากขึ้น
WGU ไม่ได้ใช้ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ แต่เป็นประตูทางเข้าทีอ่ อกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับแต่
ละหลักสูตร หนังสอื เรยี นอิเลก็ ทรอนิกสม์ ีให้สำหรับนักเรียนโดยไม่มคี ่าใช้จา่ ยเพ่ิมเติมสำหรับนักเรียน
ผ่านสัญญาระหวา่ ง WGU และผู้จัดพิมพ์ หลักสูตรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรบั นักเรียนที่โดยไม่มีวชิ า
เลือก นักเรียนจะเข้ารับการศึกษาเป็นรายเดือนและดำเนินการตามสมรรถะแต่ละอย่างตาม
ความสามารถและความเร็วในการเรยี นรู้ของตนเอง
นักเรียนที่มีสมรรถนะอยู่แล้วสามารถผ่านโปรแกรมการเรียนรู้อย่างรวดเร็วได้สองวิธี: การ
โอนหน่วยกิตจากปริญญาก่อนหน้าในสาขาที่เหมาะสม (เช่น การศึกษาทั่วไป, การเขียน); หรือทำ
ข้อสอบเม่ือรู้สึกว่าพร้อม
3. การสนับสนุนผเู้ รียน (Learner Support)
การสนับสนุนผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน ปัจจุบัน WGU มีคณาจารย์
ประมาณ 750 คนทที่ ำหน้าท่ีเป็นท่ีปรึกษา โดยทปี่ รกึ ษามีสองประเภท: ทป่ี รึกษาของ 'นกั เรียน' และ
ท่ีปรึกษาดา้ น 'หลักสูตร' ครูท่ปี รกึ ษาของนกั เรียนที่มคี ุณสมบตั ิตามสาขาวชิ า ปกติแล้วจะอยู่ในระดับ
ปริญญาโท จะติดต่อกับนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียนใน
การปฏิบัติตามหลักสูตร และครูที่ปรึกษาเป็นผู้ติดต่อหลักสำหรับนักศึกษา ครูที่ปรึกษาของนักเรียน
รับผดิ ชอบนกั เรยี นประมาณ 85 คน นกั เรยี นเร่ิมตน้ รว่ มกับท่ีปรึกษาต้ังแต่วันแรกและอยู่กับท่ีปรึกษา
จนสำเร็จการศึกษา ครูที่ปรึกษาของนักเรียนช่วยนักเรียนในการกำหนดและรักษาจังหวะและ
ความเรว็ ในการเรยี นทเ่ี หมาะสมและก้าวเข้ามาด้วยความชว่ ยเหลือเมื่อนกั เรยี นเผชญิ กับความลำบาก
ครูที่ปรึกษาหลักสูตรมีคุณสมบัติสูงกว่าปกติโดยมักมีปริญญาเอก และจะให้การสนับสนุน
เพิ่มเติมสำหรับนักเรียนเมื่อจำเป็น ครูที่ปรึกษาด้านหลักสูตรจะพร้อมรับผิดชอบนักเรียนในจำนวน
คร้งั ละ 200-400 โดยขึ้นอยกู่ ับข้อกำหนดของวชิ า
นักเรียนสามารถติดต่อครูที่ปรึกษาของนักเรียนหรือครูที่ปรึกษาด้านหลักสูตรได้ตลอดเวลา
(เข้าถึงได้ไม่ จำกัด) และที่ปรึกษาจะต้องจัดการกับการโทรของนักเรียนภายในหนึ่งวันทำการ ครูที่ป
ปรึกษาทำงานเต็มเวลาแต่เวลาทำงานนั้นมีความยืดหยุ่นได้ โดยปกติทำงานที่บ้าน ครูที่ปรึกษาจะ
ได้รับค่าตอบแทนที่ดีพอสมควร และได้รับการฝึกอบรมอย่างกว้างขวางและครอบคลุมในการให้
คำปรกึ ษา

87

4. การประเมนิ (Assessment)
WGU ใชเ้ อกสารที่เปน็ ลายลกั ษณ์อักษร, พอรต์ โฟลโิ อ (แฟม้ สะสมผลงาน), โครงการ, ผลการ
ปฏิบัติงานของนักเรียนที่สังเกตได้ และงานที่มอบหมายทางคอมพิวเตอร์ตามความเหมาะสม พร้อม
เกณฑ์การให้คะแนนโดยละเอียด การประเมินจะถูกส่งทางออนไลน์ และหากพวกเขาต้องการการ
ประเมินโดยเจ้าหนา้ ท่ี ผู้ให้เกรดทีม่ ีคุณสมบัติ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านท่ีไดร้ ับการฝึกอบรมจาก WGU
ในด้านการประเมิน) จะได้รับการสุ่มเลือกให้ประเมินงานโดยให้เครื่องหมายว่างานนั้น ผ่าน/ไม่ผ่าน
หากนักเรียนสอบไม่ผ่าน ผู้ประเมินหรือผู้ให้คะแนนจะให้ข้อเสนอแนะหรือข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ
ประเด็นท่ีนักเรยี นไมไ่ ด้แสดงความสามารถ โดยนักเรียนสามารถส่งใหมไ่ ด้หากจำเป็น
นักเรียนจะต้องสอบทั้งแบบเตรียมสอบ (แบบประเมินล่วงหน้า) และแบบสอบสรุป
(แบบทดสอบ) WGU ได้ใช้การคุมสอบในรูปแบบออนไลน์มากขึน้ ทำให้นักเรยี นสามารถทำขอ้ สอบท่ี
บ้านได้ภายใต้วิดีโอทัศน์นิเทศน์ โดยใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนที่
ลงทะเบียนกำลังสอบอยู่ โดยเนื้อหาความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การสอนและสุขภาพ ผลงานหรือการ
ปฏิบัตขิ องนกั เรียนจะได้รบั การประเมินโดยผ้เู ชย่ี วชาญ (ครู พยาบาล)

หากทา่ นตอ้ งการศึกษาจากตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ดจ้ ากเวบ็ ไซต์ขา้ งล่างน้ี
https://opentextbc.ca/teachinginadigitalage/

88

Hudson (2019) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้และการออกแบบ Global Online
Academy ได้กล่าวถึง พื้นฐาน 7 อย่างสำหรับห้องเรียนที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน (Seven Building
Blocks of a Competency-Based Classroom) ไว้ว่า การมุ่งไปสู่การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็น
ฐาน (Competency-Based Learning : CBL) เป็นการเคลื่อนไหวไปสู่การมุ่งเน้นที่ลึกยิ่งขึ้นในด้าน
ความเชยี่ วชาญและการปรบั ให้เปน็ บุคคลในโรงเรยี น CBL ควรปรับใหเ้ ขา้ กับความต้องการของชุมชน
เฉพาะ: สรา้ งความมน่ั ใจว่านกั เรยี นได้แสดงทกั ษะที่เก่ยี วข้องอย่างแทจ้ ริง โดยหลกั ฐานของการเรียนรู้
สามารถมีได้หลายรูปแบบ ยังมีองค์ประกอบทัว่ ไปในโรงเรียนและห้องเรียนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิง่ ในการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้

ในท้ายทีส่ ดุ การนำ CBL มาใชอ้ ยา่ งเตม็ ท่จี ะต้องเปน็ ความพยายามของทั้งโรงเรียน แตเ่ ราได้
เห็นครูเป็นผู้นำ CBL จากห้องเรียน นำร่องแนวคิดและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ให้ข้อมูลใหม่ๆและการเข้าใจ
อย่างถ่องแท้ ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ชมุ ชนของพวกเขาทำการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
มากขึ้น สำหรับครูที่สนใจจะเริ่มต้น เราขอเสนอพื้นฐาน 7 อย่าง (Seven Building Blocks) สำหรับ
ห้องเรียนทีย่ ึดสมรรถนะเป็นฐาน

1. เป้าหมายของการเรยี นรู้แบบยดึ สมรรถนะเปน็ ฐาน (Competency-Based Learning
Targets)

CBL เร่มิ ต้นด้วยความเขา้ ใจท่ชี ดั เจนในทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องประสบความสำเร็จในการ
เรียนในวิทยาลัย อาชีพการงาน และชีวิต แม้ว่าการใช้งาน CBL อย่างเต็มรูปแบบจะทำให้นักการ
ศึกษาทุกคนในโรงเรียนทำงานจากโครงสร้างสมรรถนะเดียวกัน ครูแต่ละคนสามารถใช้แนวทางยึด
ทักษะเป็นฐานได้โดยการอธิบายและวางแผนเกี่ยวกับสมรรถนะท่ีพัฒนาขึ้นในหอ้ งเรียนของตนเอง ที่
GOA ครูของเราใช้ความสามารถหลักของเราเป็นแบบอย่างสำหรับการกำหนดหลักสูตรสมรรถนะ
เฉพาะ ซึ่งช่วยให้นักเรียนกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จำเป็น เราเริ่มต้นด้วย
คำถามที่ว่า “การคิดและทำอย่างผู้เช่ียวชาญในสาขานี้หมายความว่าอย่างไร” โดยการระบุเป้าหมาย
ในลกั ษณะนี้ ครูจะส่อื สารชีแ้ จงว่าการเรยี นร้มู ีความเกี่ยวข้องและต้องแสดงใหเ้ หน็ ในลักษณะท่ีสังเกต
ได้จริงและน่าเชื่อถือ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างจากหลักสูตรของนักเรียนเรื่อง Climate Change and
Global Inequality สำหรับคำแนะนำโดยละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูต่อที่ How to Write a
Competency: Six Steps for Educators.

89

2. นทิ รรศการการเรียนรู้ (Exhibitions of Learning)
โอกาสท่ีนักเรยี นจะได้แสดงและแก้ต่างเรื่องการเรยี นรเู้ ป็นพน้ื ฐานของประสบการณก์ ารเรียน
แบบ CBL นิทรรศการเหลา่ นี้ซึ่งมักจะจัดต่อหน้าผู้ชมที่มากกว่าครูหรือในชัน้ เรยี น สามารถใช้เป็นงาน
ฉลองการเรียนรู้แบบสรุปผล ซึ่งนักเรียนมีความรับผิดชอบในการอธิบายว่างานที่พวกเขาทำนั้นเป็น
หลกั ฐานของส่ิงท่ีพวกเขาไดเ้ รยี นรู้ นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบเพื่อพฒั นาการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ด้วยสมรรถนะทางสหวิทยาการที่จำเป็น เช่น การสื่อสาร การจัดระเบียบ และการสะท้อนอภิปัญญา
หนังสือยอดเยี่ยมเกี่ยวกับผู้นำการเรียนรู้ของตนเองเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า การนำเสนอเนื้องเรื่อง ดู
ตัวอย่างท่ีนี่
3. การสะท้อนอภิปัญญา (Metacognitive Reflection)
นักเรียนควรมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันใน "กระบวนการคิดที่เกี่ยวกับการคิด" เพื่อให้แน่ใจว่า
พวกเขาอยู่ในตำแหน่งท่ีดีในการถ่ายโอนการเรียนรู้ ในชั้นเรียนที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน ซึ่งนักเรียน
อาจกำลังไลต่ ามเส้นทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกันหรือสร้างงานทนี่ ่าสนใจและหลากหลายผ่านโครงงาน
การฝึกงาน หรือประสบการณอ์ ื่นๆ การประเมินตนเองของนักเรียนผ่านการสะทอ้ นอภิปญั ญาถือเปน็
หลักฐานสำคัญของการเรียนรู้ การสะท้อนสามารถมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่เทคนิคตั๋วออกไปจนถึง
การประเมินตนเองด้วยการเล่าเรื่อง การประชุมที่นำโดยนักเรียน ไปจนถึงนิทรรศการการเรียนรู้
นอกจากนี้ การยอมรับสมรรถนะที่ไม่เกี่ยวกับการรับรู้ของ CBL เช่น การตระหนักรู้ในตนเองและ
ความสามารถในการปรับตัว ต้องการให้เราฝังการสะท้อนความคิดอภิปัญญาในประสบการณ์การ
เรียนรู้เพื่อให้แน่ใจว่าเราให้ความช่วยเหลือนักเรียนพัฒนาทักษะเหล่านั้นอย่างยุติธรรมและเห็นอก
เห็นใจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ ความสามารถที่ไม่เกี่ยวกับการรับรู้มีความสำคัญ: เราควร
ว ัดผ ลอย่างไ ร (Noncognitive Competencies Are Important: How Should We Measure
Them?)
4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolios)
ผลงานของนักเรียนคือแกนกลางของ CBL และแฟ้มสะสมผลงานไม่ได้เป็นเพียงการจัด
แสดงผลงานของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นบทสรุปของการเติบโตตามหลักฐานที่มีอยู่ อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อม CBL แฟ้มสะสมผลงานเป็นโอกาสสำหรับนักเรียนที่จะเป็นผู้นำ
ในการดูแลผลการเรยี นรู้ของตน โดยไม่ได้รวบรวมเฉพาะผลิตผลขัน้ สดุ ท้ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแบบ
ร่าง คำติชม และการสะท้อนที่เผยให้เห็นงานและความคิดที่นำไปสู่การสร้างผลิตผลขั้นสุดท้าย
เหล่านั้น การนำเสนอผลงานสามารถเป็นรากฐานสำหรับการจัดนิทรรศการการเรยี นรู้ สำหรับข้อมูล
เพิ่มเติม โปรดดูต่อท่ี ประโยชน์ 4 ข้อของการใช้แฟ้มสะสมกระบวนการของผลงานนักเรียน (Four
Advantages of Using Student Process Portfolios)

90

5. การประเมนิ ใหม่ (Reassessment)
ตามที่องค์กรวิจัย iNACOL ระบุไว้อย่างชัดเจนในระบบที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน "นักเรียน
ก้าวหน้าไปตามความเชี่ยวชาญที่แสดงให้เห็น ไม่ใช่เวลาที่นั่งเรียน" ความมุ่งมั่นต่อ CBL คือความ
มุ่งมนั่ ในการประเมินใหม่หรือปประเมินซำ้ โดยใหโ้ อกาสนักเรียนหลายคร้ังในการแสดงให้เห็นว่าพวก
เขาบรรลเุ ปา้ หมายในการเรียนรู้ และตระหนักว่านักเรียนต้องใช้เวลาและการปฏิบัติท่ีแตกต่างกันเพื่อ
ฝึกฝนทักษะที่แตกต่างกัน นโยบายการประเมินซ้ำมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับนโยบายการให้
คะแนน และเป็นเรื่องที่คุ้มค่าที่ครูจะทำความคุ้นเคยกับนักวิจัยเช่น Thomas Guskey และ Joe
Feldman ขณะที่พวกเขาตัดสินใจว่านักเรียนจะสามารถดำเนินการประเมินซ้ำในหลักสูตรของตนได้
อย่างไรและมากน้อยเพียงใด สำหรับตัวอย่างของนโยบายการประเมินใหม่ทั่วทั้งโรงเรียนที่สามารถ
ปรับให้เข้ากับห้องเรียนแต่ละห้องได้ โปรดดูที่ การประเมินซ้ำและการสอบใหม่: ส่วนที่จำเป็นของ
นโยบายการให้เกรดทั่วทั้งโรงเรียน (Reassessments and Retakes: a Necessary Part of a
School-Wide Grading Policy)
6. เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics)
ในห้องเรียนท่ียึดสมรรถนะเป็นฐาน เกณฑ์การให้คะแนนถูกใช้เป็นเครื่องมอื สื่อสาร ไม่ใช่แค่
เครื่องมือในการประเมินเท่านั้น เพื่อให้นักเรียนได้มการตัดสินใจที่มีความสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ พวกเขาต้องเข้าใจสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ และสามารถจัดเป้าหมาย
เหล่านั้นให้สอดคล้องกับงานที่ทำ รูบริกเป็นวิธีจัดระเบียบและแนะนำเป้าหมายการเรียนรู้ เพื่อให้
แน่ใจวา่ คำแนะนำหรือข้อมูลยอ้ นกลับมีความเฉพาะเจาะจงและสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเชื่อมโยง
การสนทนาระหว่างครูกับนักเรียนเขา้ กับเป้าหมายท่ีชัดเจน นักเรยี นทเ่ี ข้าใจและแม้กระทั่งมีส่วนร่วม
ในการกำหนดเป้าหมายของตนเองสามารถขับเคลื่อนการเรียนรู้ของตนเองได้โดยร่วมออกแบบ
แผนการเรียนรู้ส่วนบุคคลและแสวงหาประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญต่อพวกเขา สำหรับข้อมูล
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับ CBL โปรดดูต่อที่ วิธีการออกแบบการ
ประเมินตามสมรรถนะ (How to Design a Competency-Based Assessment)
7. ความเห็นและทางเลือกของนกั เรียน (Student Voice and Choice)
นี่คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของห้องเรียนที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน ในทุกขั้นตอนของ
กระบวนการ CBL นักเรียนมโี อกาสทจ่ี ะทำการตัดสินใจทส่ี ำคัญเก่ียวกบั สง่ิ ท่ีพวกเขาเรียนรู้ เม่ือใด ที่
ไหน และอย่างไร การจัดลำดับความสำคัญของความเห็นและทางเลือกของนักเรียนหมายถึงการ
ออกแบบการประเมินที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานที่สำคัญต่อพวกเขา การ
เรียนรู้โดยยึดโครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้โดยยึดการสอบถามเป็นฐาน และการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ (รวมถึงวิธีอื่นๆ) เป็นแนวทางที่ใช้อำนาจจากทางเลือก แต่การเคลื่อนไหว ขั้นพื้นฐาน
สำคัญที่ครูต้องทำในห้องเรียนโดยยึดสมรรถนะเป็นฐานคือการทำให้แน่ใจว่าไม่ว่านักเรียนจะเลือก

91

ทำงานอะไร พวกเขาจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความเชีย่ วชาญในการเรียนรู้เปา้ หมายไดอ้ ย่างแท้จรงิ
ซง่ึ อาจต้องมกี ารทบทวนบทบาทของครแู ละนักเรียนในห้องเรียน

การศึกษาโดยยึดสมรรถนะเป็นฐานเป็นมากกว่าแค่จังหวะหรือความเร็วในการศึกษาที่มี
ความยืดหย่นุ แต่ยังเกี่ยวกบั การออกแบบการเรียนรเู้ พื่อสร้างความสำเร็จของนักเรยี น

มนั เก่ยี วกับการออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะท่ีช่วยใหน้ ักเรียนก้าวไปขา้ งหน้าเมื่อพร้อมและ
ให้เวลาพเิ ศษเพม่ิ เตมิ และชว่ ยเหลอื ผู้ที่ไม่พรอ้ ม

อยา่ งไรก็ตาม ฉนั แนใ่ จวา่ ฉันไดร้ ะบุประเดน็ ทส่ี ำคญั อยา่ งหนึง่ ไว้อยา่ งชัดเจนแล้ว
แม้ว่าอาจถูกเข้าใจผิดได้ แต่บทบาทของครูไม่ได้มีความสำคัญน้อยกว่าในรูปแบบยึด
สมรรถนะเปน็ ฐาน มันตา่ งกนั แค่ถา้ มีอะไรสำคญั กว่าแคน่ น้ั
ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยึดสมรรถนะเป็นฐาน นักเรียนพึ่งพาครูของตนน้อยลงในการ
นำเสนอเนื้อหาจริง แต่พวกเขาต้องพึ่งพาครูของตนมากขึ้นในเรื่องการสนับสนุนและคำแนะนำเป็น
รายบคุ คล เน่ืองจากสง่ิ เหล่านชี้ ่วยกำหนดเส้นทางการเรียนรขู้ องนักเรียน
ในสภาพแวดลอ้ มการเรยี นร้ทู ีย่ ึดสมรรถนะเป็นฐาน เนือ่ งจากบทบาทของครไู ม่ไดเ้ น้นหนักไป
ที่การนำเสนอเนื้อหามากนัก พวกเขาจึงมีเวลาที่อิสระในการสอนจริงๆ ครูสามารถมุ่งเน้นไปที่การ
สรา้ งความสมั พนั ธ์และทำงานอยา่ งใกลช้ ิดกบั นกั เรียนแต่ละคน ซึง่ เปน็ ส่งิ ทคี่ รูทำได้ดีท่ีสดุ
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ปีการศึกษาอื่นที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากมาย การพยายามและ
กลับไปสู่ "ความปกติ" อาจไม่สมเหตุสมผล บางทีความจำเป็นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการ
เรยี นรทู้ างไกลอาจทำให้เรามโี อกาสมองการสอนและการเรียนร้แู ตกต่างออกไป
Hudson (2020) ไดก้ ล่าวถึง กลยทุ ธ์หกประการสำหรับการเรยี นรู้แบบออนไลน์ซึง่ สนับสนุน
CBL (Six Strategies for Using Online Learning to Support CBL) ว่า เมื่อออกแบบให้ดี พื้นที่
การเรียนรู้ออนไลนจ์ ะเติมเตม็ ประสบการณ์และทำให้ประสบการณ์ CBL มีชีวติ ชีวา ดา้ นลา่ งน้ีเป็นกล
ยุทธ์หกประการที่เราใช้ GOA ซึ่งพิจารณาแล้วคุ้มค่ากับโรงเรียนที่รวมการเรียนรู้ออนไลน์เข้าสู่
โปรแกรมของพวกเขา
1. ทำการตดั สินใจโดยเคลอื่ นตามเปา้ หมาย (Make Goal-Driven Decisions)
ประสบการณ์การเรียนที่มีคุณภาพสูงต้องการความตั้งใจในระดับสูง ไม่ว่าจะอยู่ใน
สิ่งแวดล้อมแบบไหน ใน CBL โรงเรียนตั้งทักษะทีย่ ่ังยืนและโอนได้ซึง่ เป็นเปา้ หมายของประสบการณ์
การเรียนรู้ ความคาดหวังคือการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร การเรียนการสอน และโปรแกรมที่ทำใน
การแสวงหาทักษะเหล่านี้ ท่ีสำคัญทกั ษะเหลา่ นีอ้ ยเู่ หนอื สาขาเดียวและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เดียว
แทนที่จะเป็นการจัดเรียงเนื้อหาหรือห้องเรียนสมรรถนะเป็นฐาน จินตนาการว่าการเรียนรู้ใดจะมี
ลกั ษณะแบบไหนในบริบทท่ีแตกต่างกันหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรบิ ทในโลกจรงิ

92

การนำสมรรถนะมาสู่ระบบออนไลน์ แสดงวา่ คณุ กำลังใช้ความคิดและตั้งใจว่าต้องการให้การ
เรียนรู้ออนไลน์ตอบสนองเป้าหมายการเรียนรู้โดยรวมของโรงเรยี นอยา่ งไร ดังที่เรามักพูดกันที่ GOA
การสอนควรผลักดันเทคโนโลยี ไม่ใช่สิ่งที่ตรงข้ามกัน พิจารณาสมรรถนะหลักหกประการของ GOA
ด้านลา่ ง คำถามทีเ่ ราถามครูของเรา: คณุ จะออกแบบหลักสตู รของคุณอย่างไร - ไมว่ า่ จะเป็นหัวข้อใด
ก็ตาม - เพือ่ ให้นกั เรียนพัฒนาทกั ษะเหลา่ นี้

2. มุ่งเน้นไปที่การดูแลจัดการและการสร้าง—ไม่ใช่แค่การซึมซับเนื้อหา (Focus on
Curation and Creation—not just Absorption—of Content)

ใน CBL เนื้อหาเป็นวิธีการไม่ใช่จุดจบ ตัวเลือกเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียนรู้นั้นขับเคลื่อนโดย
การปรับให้เข้ากับสมรรถนะที่นักเรียนจำเป็นต้องพัฒนา เนื่องจากมันให้การเข้าถึงเนื้อหาที่มากมาย
มหาศาลบนอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ออนไลน์จึงเป็นโอกาสสำหรับนักเรียนในการพัฒนาสมรรถนะใน
การดแู ลจัดการและการสร้างเน้ือหา แทนทีจ่ ะใหน้ ักเรียนทุกคนซึมซับเนื้อหาเดียวกันในเวลาเดียวกัน
และในระดับเดียวกัน พวกเขาสามารถพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่จำเป็นโดยการระบุ
ประเมนิ และแบ่งปนั เนอื้ หาคุณภาพสูงดว้ ยตนเอง นอกจากนี้ นักเรียนสามารถฝึกทักษะการคิดข้ันสูง
ไดโ้ ดยการเอามาผสมใหม่ คิดใหม่ และนำเนอ้ื หาทีค่ ัดสรรมาสูส่ ่งิ ประดิษฐ์ใหม่ (เรยี นรเู้ พ่มิ เตมิ เกีย่ วกับ
วธิ กี ารคิดใหม่เกย่ี วกบั บทบาทของเน้อื หา)

3. ปรับแต่งความเร็วด้วยการเรียนรู้ในเวลาต่างกัน (Personalize Pace with
Asynchronous Learning)

คำถามที่ว่าเนื้อหาใดและมากน้อยเพียงใดที่นักเรียนจำเป็นต้องซึมซับทำให้เกิดคำถาม
เกยี่ วกับความเรว็ และจงั หวะในการเรยี นอย่างหลีกเลย่ี งไม่ได้ ด้วยการใช้การเรียนรู้ออนไลนโ์ ดยมีเวลา
ต่างกันโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการอนุญาตให้นักเรียนเรียนรู้ตามจังหวะความเร็วของตนเอ งและ
สรา้ งสรรค์ผลงานท่ีดที ี่สุด เราสามารถสนับสนุนการเรยี นรู้แบบยดึ สมรรถนะเป็นฐาน (เรียนรู้เพิ่มเติม
เก่ยี วกับวิธีทโ่ี รงเรียนพัฒนากำหนดการแบบเวลาเดยี วกนั และเวลาตา่ งกนั ในช่วงโควิด-19)

แทนที่จะต้องอาศัยเวลาในการส่งเนื้อหาแบบเวลาเดียวกัน ให้สร้างรายการของเนื้อหา ท่ี
นักเรียนสามารถสำรวจได้ตามสะดวก โดยรายการเหล่านี้ประกอบด้วยเนื้อหาที่คุณ (และบางทีอาจ
เป็นนักเรียน) ที่ดูแลและสร้าง ทำให้รายการเหล่านี้มีหลายรูปแบบ: ควรมีรายการให้นักเรียนอ่าน ดู
และฟงั นกั เรยี นจะมีความยืดหย่นุ มากข้นึ ในการทบทวนเนอ้ื หาหลายครง้ั หากต้องการ

การสร้างบทสนทนาในเวลาต่างกัน ที่ GOA เราต้องการใช้เวลาเดียวกันสำหรับการเชื่อมต่อ
และการสนทนา แต่การรวมการสนทนาแบบเวลาต่างกันช่วยให้นกั เรียนสามารถไตร่ตรองเก่ียวกับการ
กระตุ้น การหยุดชั่วคราว การเขียน และแบ่งปันความคิดได้มากขึ้นตามจังหวะของตนเอง สิ่งนี้มี
ประโยชน์อย่างยิ่งกับนักเรียนท่ีมีความจำเป็นหรือต้องการเวลาในการดำเนนิ การและ/หรอื ผู้ที่อาจไม่

93

ค่อยโต้ตอบในการสนทนาแบบเวลาเดียวกัน การสนทนาออนไลน์แบบเวลาต่างกันยังเป็นแบบ
มัลติมเี ดียหรอื สื่อบันเทิงอกี ดว้ ย: นักเรยี นสามารถแสดงความคดิ เหน็ ผา่ นข้อความ เสียง หรือวิดีโอได้

อนุญาตให้ทำการประเมนิ ระหว่างเรียนได้หลายครัง้ โดยคิดวา่ การประเมนิ ระหว่างเรียนเป็น
การฝึกฝน เครื่องมือออนไลน์เหมือนแบบทดสอบคุณลักษณะแของระบบบริหารจัดการการเรียนรู้
(LMS), Quizlet และ EdPuzzle ช่วยให้ครูสามารถฝังการประเมินระหว่างทางในประสบการณ์
ออนไลน์ การประเมินที่ตรวจสอบความเข้าใจ และมักจะให้ข้อเสนอแนะแบบอัตโนมัติแก่นักเรียน
ในทันที การสื่อสารอย่างชัดเจนกับนักเรียนว่าพวกเขาสามารถทำการประเมินเหล่านี้ได้หลายคร้ัง
(และหากคุณให้คะแนนการประเมนิ ระหว่างเรียน ความพยายามอย่างดีท่ีสุดของพวกเขาคือคะแนนท่ี
คุณบันทึกไว้) จะเป็นการลดเดิมพันและสร้างนิสัยของผู้เรียนในการมองว่าการประเมินระหว่างเรียน
เป็นการฝกึ ฝนไปสู่ความเช่ยี วชาญ

4. เพ่มิ หนว่ ยงานของนักเรียน (Increase Student Agency)
เมื่อสอนออนไลน์ คุณไม่ได้รับประโยชน์จากผู้ชมที่นั่งอยู่กับที่: นักเรียนของคุณมักจะเข้าสู่
ระบบในเวลาที่ต่างกันและจากที่ที่ต่างกัน (อาจถึงแม้จะอยู่ในเขตเวลาที่ต่างกัน!) การขับเคลื่อนแบบ
ใหม่นี้ต้องการการเปลีย่ นแปลงในบทบาทของครู จากการนำชั้นเรียนไปสู่การเสรมิ พลังให้นักเรียนแต่
ละคนมีบทบาทอย่างแข็งขันในการเรียนรู้ของตนเอง กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของนักเรียนที่ท ำงานที่
GOA คือต้องกังวลน้อยลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดและความรับผิดชอบของนักเรียน และใช้
เวลามากขึ้นในการออกแบบวางแผนการสร้างโอกาสให้นักเรียนทำการตัดสินใจที่สำคัญซึ่งเป็นส่วน
หนง่ึ ของกระบวนการเรยี นรู้ วิธีบางอย่างในการทำเช่นนี:้
อนุญาตให้นักเรียนเปน็ ผู้จัดการในโครงการของตนเอง การจัดการโครงการต้องใช้ทักษะการ
เรียนรู้ที่มีความเกี่ยวข้องสูงจำนวนมาก สมมติว่าคุณมีเวลาสองสัปดาห์ในการเรียนหน่วยหนึ่งทาง
ออนไลน์ แทนที่จะบอกให้นักเรียนวางแผนแบบวันต่อวันสำหรับหน่วยนั้น ลองให้พวกเขาออกแบบ
จังหวะและความเร็วในการเรียนของตนเอง รับรู้ว่าพวกเขารู้กำหนดตารางและบริบทของตนเองดี
และสามารถกำหนดและสื่อสารว่าพวกเขาจะทำงานภายหน้าให้เสร็จได้อย่างไรโดยใช้ค่าทางสถิติ
กว้างๆ ทกี่ ำหนดโดยคณุ (เรยี นรเู้ พม่ิ เติมเกยี่ วกับการออกแบบโครงการออนไลนค์ ุณภาพสงู )
ยกระดับเพื่อนและการประเมินตนเอง การให้ การรับ และการประมวลผลคำแนะนำหรือ
ขอ้ มูลย้อนกลับเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรยี นรู้ตลอดชีวิต จงึ เป็นประโยชนต์ ่อทัง้ นักเรียนและครู
ในการใช้เวลาในการฝึกผลตอบรับคำแนะนำหรือข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนฝูงและทักษะการประเมิน
ตนเองให้มปี ระสทิ ธิภาพ ออนไลน์ ใช้ประโยชน์จากขอ้ กำหนดท่ีมีคุณภาพสงู ทง้ั แบบเวลาเดียวกันและ
ต่างเวลากันซึ่งทำงานได้ดี การอธิบายตนเองอย่างง่ายๆ สามารถเป็นเครื่องมือประเมินที่มี
ประสิทธิภาพและทำงานต่างเวลาได้อยา่ งสวยงาม การมีส่วนร่วมของนกั เรียนในฐานะคู่หูในการตอบ

94

รับจะผลักดันให้พวกเขามีส่วนรว่ มอย่างลึกซึ้งย่ิงขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้
ทกั ษะเหลา่ น้ี (เรียนรูเ้ พิม่ เตมิ เก่ียวกับคำตชิ มและการประเมนิ ตนเองในการเรยี นรู้ออนไลน์)

เผยแพร่แต่อย่าส่ง สภาพแวดล้อมออนไลน์เอื้อต่อการเชื่อมต่อนักเรียนกับผู้ชมที่แท้จริง
แทนที่จะให้นักเรียนส่งงานมอบหมายให้คุณทำการประเมิน ให้ขอให้พวกเขาแบ่งปันงานในพื้นที่
อภิปรายแบบต่างเวลากันหรือในการสนทนาพร้อมกันเพือ่ ให้พวกเขาสามารถสอนและรับคำติชมจาก
เพื่อนฝูงได้ เชิญผู้เชี่ยวชาญ ครอบครัว หรือสมาชิกในชุมชนมาทบทวนงานของนักเรียน สร้างพื้นท่ี
ออนไลน์ที่แสดงผลงานของนักเรียนและเชิญผู้เยี่ยมชมเข้าร่วม การประชุม Catalyst Conference
ของ GOA เปน็ ตัวอยา่ งของสงิ่ นี้ ผู้ฟงั ทจี่ รงิ ใจเหล่านี้สามารถกระตุ้นใหน้ ักเรียนค้นหาความหมายและ
จุดประสงคใ์ นการทำงานให้ดีท่ีสดุ

5. คิดใหมเ่ กย่ี วกับเวลาและพ้ืนท่ี (Reimagine Time and Space)
การเปลี่ยนความคิดที่สำคัญ: “การเรียนรู้ออนไลน์” ไม่ได้หมายความว่านักเรียนจะจ้องมอง
คอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถใช้พื้นท่ีออนไลน์เพื่อให้นักเรยี นเชื่อมต่อกับครแู ละเพื่อนฝูงได้
เนื่องจากพวกเขามีประสบการณ์ในโลกภายนอกโรงเรียน การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะตระหนักดีว่า
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนที่มีที่เรียนจริง นักเรียนที่เรียนออนไลน์สามารถดำเนิน
โครงการ การฝึกงาน การวิจัย หรือประสบการณ์อื่นๆ ในชุมชนท้องถิ่นของตน (และอื่น ๆ ) และใช้
เทคโนโลยีเพื่อจัดทำเอกสาร ไตร่ตรอง และแบ่งปันประสบการณ์เหล่านั้นกับครูและ เพื่อนร่วมช้ัน
หากนกั เรยี นมีแล็ปทอ็ ปหรืออุปกรณเ์ คล่ือนที่ พวกเขาสามารถเขา้ เรยี นกบั ครูและเพื่อนร่วมช้ันได้จาก
ทุกทดี่ ้วยการเชือ่ มต่ออนิ เทอรเ์ น็ต พวกเขาสามารถพัฒนาความสัมพนั ธ์กับพ่ีเล้ียงและผ้เู ช่ียวชาญจาก
นอกโรงเรยี น (เรยี นรูเ้ พมิ่ เตมิ เกี่ยวกับการทบทวนเวลาและสถานท่ีในโรงเรยี น)
6. จัดลำดับความสำคัญของความสัมพันธ์และความเสมอภาค (Prioritize
Relationships and Equity)
วิกฤตการณ์โควิด-19 ได้เปิดเผยความจริงที่สำคัญสองประการเกี่ยวกับการศึกษา: 1)
นักเรยี นตอ้ งการรสู้ กึ เช่อื มโยงกับชุมชน และ 2) เรายงั ดำเนินการไม่มากพอเพ่ือให้แน่ใจวา่ นักเรียนทุก
คนมีทรพั ยากรและการสนับสนุนท่จี ำเป็นในการเรยี นรู้อย่างมปี ระสิทธิภาพทางออนไลน์ ส่ิงสำคัญคือ
ตอ้ งจำไว้ว่าการเรยี นรู้แบบยึดสมรรถนะเริ่มต้นจากการเคล่ือนไหวอย่างเท่าเทียม: โรงเรียนของรัฐท่ีมี
นวัตกรรม เช่น Boston Day and Evening Academy และ Big Picture Learning นำ CBL มาใช้
เป็นวิธีต่อสู้กบั ความไม่เท่าเทียมกันอยา่ งเป็นระบบในการศึกษาของอเมริกาและเฉลมิ ฉลองความเป็น
เอกลกั ษณข์ องผเู้ รยี นแต่ละคน
เพื่อให้การเรียนรู้ออนไลน์สนับสนุน CBL เราต้องใช้กลยุทธ์ ระบบ และเครื่องมือที่ช่วยให้มี
การสื่อสารและการเชื่อมต่อออนไลน์คุณภาพสูงระหว่างครูและนักเรียน และผู้เรียนทุกคนต้องมีสิ่งท่ี
พวกเขาต้องการเพื่อรักษาความสัมพันธ์เหล่านั้นและเพื่อเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ไม่สามารถใช้กลยุทธ์ใด

95
ข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เว้นแต่ว่าเราได้ใส่ใจลงแรงในการรู้ว่านักเรียนของเราเป็นใคร
เป้าหมายของพวกเขาคืออะไร และพวกเขาตอ้ งการอะไรเพ่ือใหบ้ รรลเุ ปา้ หมาย

หากท่านตอ้ งการศกึ ษาจากตน้ ฉบบั ภาษาองั กฤษ โปรด “คลกิ ” ดไู ด้จากเวบ็ ไซต์ขา้ งลา่ งน้ี
Hudson (2019) : https://medium.com/@ejhudson/seven-building-blocks-of-a-
competency-based-classroom-4eccd77952c
Hudson (2020) : https://globalonlineacademy.org/insights/articles/how-to-use-online-
learning-to-support-competency-based-learninng

96

Green and Harrington (2020) โดย Green เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยของMichigan
Virtual Learning Research Institute ส่วน Harrington เป็นนักวิจยั และที่ปรึกษาการศกึ ษาของรัฐ
ได้กล่าวถึงการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน ว่า แนวทางที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานที่แท้จริงต้องการ
การเปลี่ยนแปลงท่ีลึกซ้ึงและกว้างขวาง ดังน้ี

1. การปรับเปล่ียนกระบวนทัศน์ – การเปลี่ยนผ่านไปสูก่ ารสอนดว้ ยความก้าวหนา้ แบบ
สมรรถนะเป็นฐานอาจทำให้คุณต้องทำลายกระบวนทัศนข์ องคณุ เองเก่ียวกับส่ิงท่ีคุณรู้และเชื่อวา่
เป็นการศึกษา (Paradigm Shift - Transitioning to Teaching with Competency-Based
Progression May Require You to Break Your Own Paradigm of What You Know and
Believe Education to Be.)

รูปแบบการศึกษาที่ฉันโตมานั้นไม่ได้เป็นการศึกษาแบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน มันเป็น
การศกึ ษาซ่ึงขึ้นอยูก่ ับเวลาที่นั่งในชัน้ เรียน เรากา้ วหน้าผ่านบทเรียนและหนว่ ยตา่ งๆ พร้อมกัน

โปรแกรมการเตรียมตัวครูที่ฉันสอบผ่านไม่ได้ยึดสมรรถนะเป็นฐานเช่นกัน ฉันได้เรียนรู้วิธี
ออกแบบบทเรยี นและการประเมนิ —วิธคี ดิ แบบตายตัวแบบ "สอน จำ ทดสอบ"

ดังนั้นฉันจึงไม่แปลกใจที่ครูหลายคนรวมทั้งตัวฉันเองไม่รู้ว่าจะสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบที่
ยดึ ความเชย่ี วชาญเป็นฐานอย่างไร

เมื่อมองย้อนกลับไป ฉันได้เรียนรู้วิธีการเป็นครูที่ดีในแง่ของเนื้อหาและครอบคลุมเนื้อหา
อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ฉันหวังว่าฉันจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีออกแบบโอกาสใน
การเรียนรู้ที่จะทำให้มั่นใจว่านักเรียนทุกคนของฉันไม่เพียงแต่เรียนรู้เนื้อหาเท่านั้น แต่ยังมีความ
ยดื หย่นุ ในการดำเนินการตามจงั หวะของตนเองและดว้ ยการสนับสนนุ ทพี่ วกเขาต้องการเฉพาะ

การเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐานอาจต้องการการเปลี่ยนแปลงถึงรากลึกของกรอบ
ความคิดและค่านยิ มของเรา เม่อื เราพิจารณาสิง่ ที่เราร้เู กีย่ วกับการศกึ ษาและสิง่ ทเี่ ราเชือ่ ว่าควรเปน็

2. โอกาส – ในช่วงเวลาที่สิ่งต่างๆ ในการศึกษาเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม – เป็น
เวลาที่สมบูรณ์แบบในการทดลองกับการเรียนรู้แบบยึดสมรรถนะเป็นฐาน (Opportunities -
During a Time Where Things in Education are Anything but Traditional—is the
Perfect Time to Experiment with Competency-Based Learning.)


Click to View FlipBook Version