วชิ า ประวตั ศิ าสตรก์ ารสงคราม
สำหรับนกั เรียนนายสิบทหารบก
หลักสตู รศกึ ษา ณ รร.นส.ทบ. 1 ปี
หมายเลข ชกท.111
กองการศึกษา โรงเรียนนายสบิ ทหารบก
คา่ ยโยธินศึกษามหามงกุฎ
คำนำ
คู่มือการสอนเล่มนี้จัดทำขึ้น เพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนนายสิบทหารบก รายวิชา
ประวัตศิ าสตร์การสงคราม ซง่ึ ในเนื้อหาจะประกอบดว้ ยประวัตศิ าสตร์การสงครามไทยและประวตั ิศาสตร์การสงคราม
สากล เพื่อให้นักเรียนนายสิบทหารบกมีความรู้เรื่องภูมิหลังความเป็นมาของประวัติศาสตร์การสงครามไทย และ
ประวัติศาสตร์การสงครามสากล ที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติ และเพื่อให้นักเรียนสิบทหารบก
สามารถวิเคราะห์ เข้าใจมูลเหตุของสงครามวิธีการต่อสู้เพื่อชัยชนะ ปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลว โดยนำ
บทเรยี นมาประยุกต์ใช้ ในการปฏิบตั ิตริ าชการในอนาคต และสร้างเสรมิ ให้เกิดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ให้อนชุ นคนรนุ่ หลังนำมาเปน็ อุทาหรณเ์ ตือนสตถิ งึ ประวตั ิความเปน็ มาพฒั นาการและวรี กรรม ในด้านตา่ งๆ อนั จะเป็น
การสรา้ งจิตสำนึกใหน้ ักเรียนนายสิบทหารบกเกิดความภาคภูมิใจเกิดความรักความหวงแหนในความเปน็ ชาตไิ ทย ซ่ึง
ถือได้ว่าเป็นการสร้างความพร้อมด้านกำลังพล ด้วยการปลูกฝังและสรา้ งเสริมอดุ มการณ์ความรักชาติให้กับนักเรยี น
นายสบิ ทหารบกได้อีกทางหน่ึง
กองการศึกษา โรงเรียนนายสิบทหารบก หวังเป็นอย่างย่ิงวา่ คู่มือการสอน วิชาประวัติศาสตร์การ
สงคราม ทจี่ ัดพมิ พข์ น้ึ นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าตอ่ ไป หากเหน็ ว่าเร่อื งใดทป่ี รากฏในหนงั สือเล่มน้ีสมควรมี
การปรบั ปรงุ แก้ไขด้วยประการใดๆ กรุณาแจง้ ใหท้ ราบต่อไป
กองการศกึ ษา
โรงเรยี นนายสิบทหารบก
1
สารบญั
บทที่ หนา้
บทที่ 1 ประวัตศิ าสตร์การสงครามไทย
ความเปน็ มาของชนชาตไิ ทยและการทหารยคุ ต่าง ๆ........................................................................................... 1
หลกั การรบและการสงครามในอดีตของไทย........................................................................................................ 2
การทหารของไทยกอ่ นสมัยกรงุ สุโขทยั .............................................................................................................. 11
การทหารสมัยกรุงสโุ ขทัย .................................................................................................................................12
การทหารสมยั กรงุ อยธุ ยา...................................................................................................................................12
การทหารสมัยกรุงธนบุรี ...................................................................................................................................13
การทหารสมัยกรงุ รัตนโกสินทร์ ........................................................................................................................ 14
สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งท่ี 1 และการกู้อิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ........................... 18
สงครามคราวเสียกรงุ ศรอี ยธุ ยา คร้งั ที่ 2 และการกอู้ ิสรภาพของสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช ...................... 30
คำถามทา้ ยบท…………………………………………………………………………………………………………………………………….56
บทที่ 2 ประวัตศิ าสตรก์ ารสงครามสากล
การสงครามในสมยั พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช.......................................................................................... 57
การสงครามในสมยั เจงกีสขา่ น.......................................................................................................................... 60
การสงครามในสมัยสมัยโปเลยี น โบนาปาร์ต ..................................................................................................... 64
คำถามทา้ ยบท……..…………………………………………………………………………………………………………………………….75
บทที่ 3 สงครามโลก คร้ังที่ 1
แผนการสงคราม................................................................................................................................................ 76
การยุทธหลกั ในยุโรป ......................................................................................................................................... 77
การยทุ ธรอง....................................................................................................................................................... 78
การรกุ ของฝ่ายพันธมติ ร .................................................................................................................................... 79
การใช้ไอพิษและรถถงั ........................................................................................................................................ 82
การทำสงครามในเขตหลัง.................................................................................................................................. 83
บทเรียนจากสงคราม ......................................................................................................................................... 83
คำถามท้ายบท……………………………………………………………………………….……………………………………………………85
2
บทท่ี 4 สงครามโลก คร้ังที่ 2
ยุทธศาสตรข์ องฮิตเลอร์ .................................................................................................................................... 86
นโยบายของฝ่ายพันธมิตร.................................................................................................................................. 87
การบกุ ยโุ รปของฝ่ายอกั ษะ................................................................................................................................ 88
การยทุ ธในแอฟริกา ........................................................................................................................................... 89
การรุกโตต้ อบของฝ่ายพันธมติ ร......................................................................................................................... 91
คำถามทา้ ยบท…………………………………………………………………………………………..………………………………………..95
บทที่ 5 กรณีพิพาทระหว่าง ไทย อนิ โดจีน และฝรัง่ เศส
สาเหตขุ องสงคราม ........................................................................................................................................... 96
การรบด้านอีสาน .............................................................................................................................................. 97
การรบดา้ นพายพั ............................................................................................................................................... 98
การรบด้านบรู พา ............................................................................................................................................... 99
ยุทธนาวีเกาะช้าง ............................................................................................................................................. 100
ผลของสงคราม ................................................................................................................................................101
บทเรยี นจากการรบ ........................................................................................................................................101
คำถามทา้ ยบท……………………………………………………………………………………………………………………….………….102
บทที่ 6 สงครามมหาเอเชยี บรู พา
สาเหตุของการสงคราม .................................................................................................................................... 103
การเตรียมการ ................................................................................................................................................103
ลักษณะภมู ิประเทศและเสน้ ทางทางคมนาคม ................................................................................................104
แผนการยุทธ ,การดำเนนิ กลยุทธ์ ...................................................................................................................105
บทเรยี นจากการรบ ........................................................................................................................................109
คำถามท้ายบท………………………………… ……………………………………………..……………….…………….……………….112
บทท่ี 7 สงครามเกาหลี
ความสำคญั ทางยุทธศาสตรข์ องเกาหลี, ลักษณะภูมิประเทศโดยทัว่ ไป ...........................................................113
กำลังและแผนของทั้งสองฝ่าย เกาหลีเหนอื ,ใต้................................................................................................115
การปฎิบตั กิ ารรบ.............................................................................................................................................108
การรบท่ีสำคญั ,การรบรอบเมืองปซู าน ............................................................................................................116
การเจาะวงล้อมทหี่ ัวหาดปซู าน .......................................................................................................................122
การแทรกแซงของจนี คอมมวิ นิสต์....................................................................................................................124
การบุกเกาหลีใต้ครั้งท่ี 2 ของเกาหลเี หนอื ......................................................................................................125
3
การรุกเข้าหาสามเหลยี่ มหลกั ...........................................................................................................................125
ผลของการรบ .................................................................................................................................................127
บทเรยี นจากการรบ ........................................................................................................................................129
คำถามทา้ ยบท……………………………………………………………………………………………………………..……………………131
บทท่ี 8 สงครามเวียดนาม
ภมู ิหลังของเวียดนาม.......................................................................................................................................132
เหตุการณ์ในเวยี ดนามกอ่ นเกดิ สงคราม ...........................................................................................................132
การรบที่ฟุคโถ..................................................................................................................................................134
ภารกิจ,การปฏบิ ตั ิ .........................................................................................................................................135
วิเคราะห์ผลการปฏิบตั ขิ องท้งั สองฝา่ ย ...........................................................................................................138
การรบที่ล๊อกแอน ครงั้ ที่ 1...............................................................................................................................140
วิเคราะห์ผลการปฏิบตั ขิ องทงั้ สองฝ่าย ............................................................................................................144
การยตุ ิสงครามเวยี ดนาม…………………………………………………………………………………………………………………....145
คำถามท้ายบท……………………………………………………………………………………………………………………………………150
บทที่ 9 การตอ่ สู้เพ่ือเอาชนะคอมมิวนิสตใ์ นประเทศไทย
ประวัติการเกิดลทั ธิคอมมวิ นิสต์ ..................................................................................................................…….151
การตอ่ สู้เพื่อเอาชนะคอมมวิ นสิ ตใ์ นพนื้ ที่ ทภ.2…………......................................................................................155
การรบทีช่ ่องบก จว.อบุ ลราชธานี ในปี 2529 – 2530………………………….…………………………………………………155
การรบที่บ.โนนหมากมนุ่ อ.ตาพระยา จว.ปราจีนบรุ ี ในปี 2523..……………...….…………………………………………..160
การเขา้ มาของผู้กอ่ การร้ายคอมมวิ นสิ ต์ในพื้นที่บา้ นหมากแข้ง..……………………..………………….……………………...165
บ้านหมากแข้ง “เยน็ ศริ ะ” เพราะพระบรบิ าล..……………………………………………………..………….……………………..169
พระราชกรณียกจิ ด้านความม่ันคงของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยหู่ วั
ณ ฐานปฏิบัตกิ ารบ้านหมากแข้ง..…………………………………………………………………………..……….……………………..170
การจดั สร้างอทุ ยานเทดิ พระเกียรตบิ ้านหมากแข้ง………………………………………………..…………...……………………..178
การรบที่ฐานปฏิบัติ บ.หว้ ยโก๋น อ.ทงุ่ ช้าง จว.น่าน ในปี 2518…………………………..…..………….........................184
ยุทธการผาเมอื งเผดจ็ ศกึ ในปี 2524……………………………………………………………..……………….……………………….192
การรบที่บ.รม่ เกล้า อ.ชาตติ ระการ จว.พษิ ณุโลก ในปี พ.ศ.2530 – 2531………………....…………………………….…216
การตอ่ สูเ้ พือ่ เอาชนะคอมมวิ นสิ ต์และขบวนการก่อการรา้ ยในพนื้ ท่ี ทภ.4 .…..……………..…………………………….229
คำถามท้ายบท……………………….………………………………………………………………………………………………………..……233
เอกสารอ้างองิ ………………………………………………………………………………………………………………………………………234
-1-
บทท่ี 1
ประวัติศาสตรก์ ารสงครามไทย
ความเป็นมาของชนชาตไิ ทยและการทหารยุคต่าง ๆ
การตงั้ ถนิ่ ฐานของไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 ประวัติศาสตร์ของไทย
จึงได้เริม่ จดบันทกึ เป็นหลักฐานแน่นอนโดยคนไทย แต่ก็ไมอ่ าจยึดถือศักราชเป็นของแน่นอนได้ เรื่องราวของไทยเผ่า
ต่างๆ พอจะยึดเปน็ หลกั ประมาณ พ.ศ. 1750 เปน็ ต้นมา ฉะนั้นเรื่องของชนชาตไิ ทยกอ่ นหน้านั้นยิ่งนานขึ้นไปเท่าใดก็
เป็นเรอ่ื งสนั นษิ ฐานมากย่งิ ขนึ้ ไปตามลำดบั การเคล่ือนย้ายของชนชาตไิ ทยมหี ลายความเหน็ เชน่
ความเห็นที่ 1 ไทยอพยพจากเหนือลงใต้จากภเู ขาอัลไตในใจกลางทวีปเอเชยี ลงมายังน่านเจ้า
แลว้ อพยพต่อลงมายังประเทศไทย นกั ประวตั ิศาสตรบ์ างคนไมเ่ ชื่อในความเห็นนี้
ความเห็นที่ 2 ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อพยพจากเส้นศูนย์สูตรข้ึน
มาถึงประเทศไทย แล้วเลยต่อขึ้นไปถึงจีน เรื่องนี้มีทฤษฎีภาษาศาสตร์ของ เบเนดิกส์ สนับสนุนอยู่ เช่น ฟิลิปปินส์
คำว่า ปะตาย แปลว่า ตาย อากู แปลว่า กู คาราบาวแปลว่า กระบือ เป็นต้น นักภาษาศาสตร์ ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ
วิธีการของเบเนดิกส์ เพราะนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทยี บกับไทย แทนที่จะสานคำกลับไปว่า เมื่อ 1200 ปี
มาแล้ว คำไทยควรจะเปน็ อยา่ งไร และคำฟลิ ิปปินส์ควรจะเปน็ อย่างไร แล้วจงึ นำมาเทยี บกันได้
ความเห็นท่ี 3 ไทยอยใู่ นประเทศไทยมาหลายพนั ปี และมคี นไทยกระจายอยทู่ ว่ั ไปในอนิ เดยี พมา่ จนี
ไทย ลาว และ เวียดนาม บางคนถือว่าบ้านเชียงก็เป็นคนไทย แต่ยังไม่มีผู้ใดเคยพิสูจน์ว่าวัฒนธรรม ของมนุษย์ก่อน
ประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงเหมือนกับวัฒนธรรมของคนไทยในปัจจุบันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
หมอ่ มเจา้ สุภัทรดศิ ดศิ กุล ทรงอา้ งความเห็นของกอรแ์ มนวา่ โครงกระดกู คนบา้ นเชยี ง คล้ายกับกระดกู มนุษยท์ ่ีอยู่ตาม
มหาสมุทรแปซฟิ กิ อกี ประการหนึ่งจารกึ ในแหลมทองเปน็ อักษรมอญ ภาษามอญ มาจนถึงประมาณ พ.ศ.1730 ไมเ่ คย
มีจารึกภาษาไทยเขียนดว้ ยอักษรใดๆ ก่อนจารึก พ่อขนุ รามคำแหงมหาราชเลย
ความเหน็ ท่ี 4 ปัจจุบันนกั ภาษาศาสตร์และนกั ประวัติศาสตร์นานาชาติส่วนใหญ่สนับสนุนความเห็น
ของศาสตราจารย์ เก็ดนีย์ ว่า ถิ่นกำเนิดของภาษาไทยอาจจะอยู่ตามเส้นเขตแดน ระหว่างมณฑลกวางสีของจีนกับ
เมอื งแถง หรือเดยี นเบยี นฟใู นเวียดนาม หรือไม่กอ็ ยู่ ขา้ งบนหรือขา้ งล่าง ใกลเ้ ส้นแบง่ เขตแดนน้ี ดินแดนทเ่ี ปน็ ประเทศ
ไทยปัจจุบัน มีผู้คนอยู่อาศัยมานานนับหมื่น ๆ ปี ดังที่ปรากฎหลักฐานสำคัญ คือ โครงกระดูกมนุษย์และข้าวของ
เคร่อื งใช้ตา่ งๆ ทพ่ี บในท่ีฝังศพผู้คนดังกลา่ ว ได้สร้างสมความเจริญและพฒั นาต่อเนือ่ งจากยคุ หิน สู่ยคุ โลหะ อยู่รวมกัน
เป็นชุมชนและคิดต่อกบั โลกภายนอกท่สี ำคัญคอื อินเดีย จนี
การเคลอ่ื นย้ายของบรรพบรุ ุษไทย เป็นการหาดินแดนท่มี ีความอุดมสมบรู ณ์เหมาะแก่การสร้างบ้าน
แปลงเมือง คือ เหมาะสมทั้งการตั้งถิ่นฐาน การทำมาหากิน นี่คือมรดกสำคัญที่บรรพบุรุษไทยได้ให้แก่เรา การ
เคลื่อนย้ายของบรรพบรุ ุษไทย ไมใ่ ชเ่ รื่องทท่ี ำได้ง่ายหรือไม่มีอุปสรรค ดงั ท่กี ลา่ วมาแล้วว่า ดินแดนที่เป็นประเทศไทย
ปัจจุบันมีผูค้ นตั้งถิ่นฐาน มีอาณาจักรของตนมาเป็นเวลานานแล้ว และในบางเวลายังมีอาณาจักรอื่นๆ ท่ีอยู่ใกล้เคยี ง
แผข่ ยายอำนาจเขา้ มาดว้ ยท่ีสำคญั คืออาณาจกั รขอม ซึ่งมศี ูนยก์ ลางอำนาจ อยทู่ เี่ มอื งพระนคร (นครวดั ) ซ่ึงต้ังอยู่ใน
-2-
เขตจังหวัดเสียมราฐ ในราชอาณาจักรกัมพูชาปัจจุบัน ดังนั้น บรรพบุรุษไทยในระยะแรกๆ ที่เคลื่อนย้ายลงมาก็ตอ้ ง
ยอมอยภู่ ายใตก้ ารปกครองของเจ้าของถ่นิ เดิม หรอื ยอมอย่ภู ายใตอ้ ำนาจของขอมเม่ือขอมแผ่ขยายอำนาจเขา้ มา แต่
เราก็พบว่าบรรพบุรษุ ไทยเหล่านั้น คิดถึงอิสรเสรีของตนอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่มีโอกาสบรรพบุรุษไทยก็จะรวมกำลัง
ขับไล่ผู้ปกครองต่างชาตอิ อกไป แล้วปกครองตนเองความรักอิสรเสรีจึงเป็นคุณลักษณะประจำชาติของคนไทยตราบ
จนถึงปัจจุบนั
ในกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมได้แผ่อำนาจเข้ามายังดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันอีกครั้งหน่ึง
เพราะมีกษตั รยิ ์ท่ีเข้มแข็งและมีความสามารถ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1725-1761) ทำให้ขอมมีอำนาจเหนอื
อาณาจักรต่าง ๆ และคนไทยกต็ ้องอยภู่ ายใต้การปกครองของขอมดว้ ย แต่คนไทยกพ็ ยายาม จะมีอสิ รภาพอย่เู สมอ ซึ่ง
กษัตริย์ขอมกท็ ราบดี จึงใช้วิธกี ารผูกมัดนำ้ ใจของผู้นำคนไทย โดยยกพระราชธดิ า คือพระนางสิขรมหาเทวี ให้อภิเษก
กับพ่อขุนผาเมือง พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพ่อขุนศรีนาวนำถม ผู้นำชนชาติไทยแถบลุ่มน้ำยมและน่าน พร้อมทั้ง
พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีและตำแหนง่ อนั เป็นเกียรติ คอื “กมรเต็งอญั ศรอี นิ ทรปตินทราทติ ย์” ใหพ้ ่อขุนผาเมืองอีก
ด้วย แต่ผู้นำของไทยก็ไม่ได้หลงชื่นชมสิ่งที่กษัตรยิ ์ขอมมอบให้กลับรวมรวมกำลังกันขับไล่อำนาจของขอมออกไปได้
สำเร็จและต้ังอาณาจักรสุโขทัยขน้ึ เม่อื พ.ศ. 1792
หลักการรบและการสงครามในอดตี ของไทย หลักการรบของไทย (ยทุ ธวิธไี ทย)
ทหารในสมยั โบราณ มี 2 สมัย
1. สมัยสโุ ขทัย เร่มิ ต้นราว พ.ศ. 1800- 1921
การแบง่ พ้นื ทก่ี ารปกครอง การปอ้ งกันเมอื ง การเตรยี มพล การแบ่งกองทหาร การจัดหนว่ ยทหาร
2. สมยั ศรีอยธุ ยา เริม่ ตน้ ราว พ.ศ. 1893 – 2310
ระเบียบแบบแผนของกองทัพบกไทย ส่วนมากจะมาจากอินเดีย ตามคติพราหมณ์ โดยแบ่งทหารออกเป็น 4 เหล่า
เรียกว่าจตุรงคเสนา คอื
เหล่า พลเท้า (ทหารราบ) เรียก พลานึก พลเท้าเป็นหน่วยหลักของกองทัพ มีจำนวนมากกว่า
เหลา่ อื่น ๆ ลกั ษณะทหารพลเท้าในสมัยโบราณ คือ ตัวสงู ตาแดง ผมงอ หูใหญ่ จอนแหลม คาง หนวด ร่องฟัน ฝา่ ตีน
สั้น น่องใหญ่ ท้องใหญ่ ใจเหี้ยม เนื้อเป็นก้อน ตะโพกผาย ตาหูไว หลังใหญ่ เจรจาฉะฉาน ต้องมาจากชายฉกรรจ์
เรียกว่า พลสกันลำเครื่อง เด็กหนุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องไปเป็นพวก เลขสม เลขสัก สังกัดเป็นหมู่ หมวด สามารถ
เรียกตัวได้เมื่อเกิดสงคราม ใครสังกัด หมู่ หมวดใด ถืออาวุธอะไร ก็จัดหามาเองเสร็จ และฝึก มาเองตั้งแต่ครั้งอย่ทู ่ี
บ้านด้วยตัวเองตามนิสัยที่ตนถนัดเมื่อทางราชการเรียกเข้ามาก็สามารถทำการรบได้เลย เรียก เข้าประจัญบานกับ
ข้าศึกอาวุธทหารเดนิ เท้า คอื มดี หอก แหลน หลาว ดาบสองมือ ดาบเขน ดาบต้งั ดาบโล่ ปืนคาบศิลา ปืนใหญ่
เหล่า พลม้า (ทหารม้า) เรียก หัยนึก ลักษณะม้าศึก เท้าทั้ง 4 กลมยาว เอวกลมตะโพกผาย
หทู ้ังสองชนั ปลายปากยาว เขย้ี วเล็กแหลมดุจเข้ยี วหมี เสียงร้องดจุ เสียงนกกระเรยี น เลบ็ แดง มกี ำลังเรว็ ด่ังจักรหาง
เลื้อยปกส้นเท้า หน้าดุจหงษ์ เดินเร็วเสมอมิได้หยุด ลิ้นดุจกลีบสัตบุษขาว หน้าที่สำคัญ ของทหารม้า คือ รักษาปีก
ทหารราบ จึงอยู่ทางปีกเสมอ ใช้เดินกับวิ่งเรียบประจัญบาน การยิงบนหลังม้าถือว่าสำคัญนอกจากนี้ยังใช้รักษาด่าน
เข้าตีโอบ รบกวน ลาดตระเวน รกั ษาปกี ส่งขา่ ว อาวุธที่ใช้คอื ดาบ หอก ทวน ปนื การแตง่ กาย มีท้งั แต่งกายคน และ
แต่งกายมา้
-3-
เหลา่ พลชา้ ง (ทหารช้าง) เรยี ก คชานึก ลักษณะช้างศึก สูง งวงยาว งายาว โขมดหวั (ชา้ งสีดอไม่มีงา
ตัวผู้เรียกชา้ งพลาย มงี า ตวั เมียเรียกชา้ งพัง ไม่มงี าหรอื มแี ต่ส้ัน ๆ เรยี กขนาย) เทา้ ท้ัง 4 มัน่ คง หลงั ด่ังเกาทัณฑ์ ตา
ดั่งดาว งาท้ังสองด่งั งอนรถ หูใหญ่ คางสะบ้า หดู ุจจามร งวงและหางถึงดิน มีน้ำมนั หน้าหลัง เสียงดงั่ ฟา้ ร้อง ดำปลอด
เดินดั่งราชสีห์ ใช้ทำการรบเรียก ยุทธหัตถี (เป็นกระบวนยุทธวิธีต่อต้านบนหลังช้าง พระมหากษัตริย์หรือแม่ทัพ
ขณะที่อยู่บนคอช้างศึกสามารถที่จะรำของ้าวเข้าฟาดฟันอริราชศัตรู ได้ทุกขณะ ถือเป็นการสู้รบที่ทรงเกียรติยศย่งิ )
และยงั ใช้บรรทกุ เสบยี งยทุ โธปกรณ์ ชา้ งศกึ คือชา้ งท่ีไดร้ ับ การฝกึ มาให้ทำการรบได้ ปกติของชา้ งศกึ จะมีอาการซับมัน
อยเู่ ปน็ นิจ เหมาะจะเขา้ บุกรุกขา้ ศกึ
กรมชา้ งทสี่ งั กัดกรมพระกลาโหม แยกช้างออกเปน็ 2 ประเภท คือ
ประเภท 1 กรมช้างต้น เรียกว่าช้างระวางใน เป็นช้างที่ทรงคุณอันว่าด้วยพระคชลักษณ์ เช่น
ช้างเผอื กช้างสปี ระหลาด
ประเภท 2 กองช้างนอก จดั เป็นกระบวนช้างศึก ซ่งึ มรี ูปริ้วพระคชาธาร ดงั น้ี
- ชา้ งดั้ง เปน็ ชา้ งท่ีนง่ั ละคอ คอื มหี มอช้างน่งั คอช้าง ควาญชา้ งน่ังอยู่ท้ายช้าง ควาญกลางหลังนั่งอยู่
กลางหลงั เดนิ อยู่ตอนกลางแนวริว้ ข้างหนา้
- ช้างกัน มีลกั ษณะเดยี วกับชา้ งด้งั แตเ่ ดินอยู่ตอนกลางแนวรวิ้ ขา้ งหลัง
- ช้างแทรก ลักษณะเช่นเดียวกับช้างดั้ง แต่ไม่มีควาญท้าย มีหน้าที่ตรวจตราริ้วนอกทั้งสองข้าง
ทางซา้ ยและขวา
- ชา้ งแซง ลกั ษณะอยา่ งเดียวกบั ชา้ งแทรก เดนิ เป็นริว้ ท้ังสองข้างทางซ้ายและขวา
- ชา้ งล้อมวงั เป็นชา้ งผกู สัปคับโถง มหี นา้ ทแ่ี วดลอ้ มพระคชาธาร
- พระคชาธาร เปน็ ชา้ งผูกเคร่ืองมั่นมเี ศวตฉตั รคดั ดาน 7 ช้นั อยู่กลางกระบวน
- ช้างคำ้ ช้างค่าย เรียกให้เต็มว่า ชา้ งตน้ เชือกคา่ ย ปลายเชอื กค้ำมี 10 ชา้ งด้วยกนั ช้างคา่ ย มี 6 ชา้ ง
เดินข้างหนา้ ช้างพระคชาธารจัด 2 แถวๆ ละ 3 ชา้ ง ชา้ งค้ำเดนิ คล้ายมาข้างท้ายพระคชาธาร จดั 2 แถว ๆ ละ 2 ช้าง
ผกู สัปคบั โถง มที หารแมน่ ปืนสัปคับละ 1 คน มีหน้าท่ีเปน็ องครักษ์ เดนิ อยู่วงใน ของชา้ งลอ้ มวัง
- ช้างพังคา เป็นช้างผูกเครื่องมั่น สำหรับพระยาเสนาบดีและเจ้าประเทศราช เดินเคียงคู่ กับช้างพระ
คชาธารทางซ้ายและทางขวา ขา้ งละ 4 ชา้ ง
- ชา้ งพระไชย เป็นชา้ งผกู จำลอง หลงั คากันยา สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเดินหนา้ พระคชาธาร
- ช้างพระที่นั่งกระโจมทอง เป็นช้างผูกสัปคับ กูบ (ประทุนหลังช้าง) รูปเรือนวิมาน เป็นพระที่นั่งรอง
และใชป้ ระทบั เวลารอนแรมในขบวนช้าง
- ชา้ งโคตรแล่น เปน็ ช้างซับมนั เดินอยู่ท้ายขบวน เวน้ ระยะจากทา้ ยขบวนชั่วเสียงสงั ข์เสยี งแตร เพื่อมิให้
อาละวาด
พระคชาธารหรือช้างเครื่องมั่น เป็นช้างสำหรับแม่ทัพขี่ออกรบ ถ้าแม่ทัพเป็นกษัตริย์
ช้างนี้จะขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น ประดับด้วยคชาธาร เศวตฉัตร พระแสงสรรพาวุธ กษัตริย์ประทับ อยู่คอช้าง
กลางช้างมี จางวางกลมพระแสงต้น เรียกว่า กลางช้าง กลางช้างมีหน้าท่ีคอยส่งอาวุธ และโบกแพนหางนกยูงเป็น
อาณัติสัญญาณตามพระราชดำรัสสั่ง ท้ายช้างมีควาญช้าง ท้ายช้างทำหน้าที่บังคับช้าง และช่วยช้างเมือ่ ข้าศกึ เข้ามา
-4-
ทางขา้ งหรอื ทางหลังช้างทรงนีม้ ที หารประจำเทา้ ช้างเทา้ ละ 2 คน คนนอก ถือหอก คนในถือดาบ เรียกวา่ จตรุ งคบาท
โดยมากเป็นขา้ ราชการกรมพระตำรวจหลวง เลอื กจากผมู้ ฝี มี ือ ซ่อื สตั ย์ วิง่ เร็ว มีการแต่งกายชา้ งและคน
เหล่า พลรถ เรียก รถานึก ลักษณะรถศึก คือ มีวงดุมทั้ง 4 เท่ากัน เสมอวงละ 1 วา เอาเหล็กหุ้ม
เอาหนังเสอื ดาวจุระ มีธงไชยประดบั ด้วยแกว้ เงินทอง มสี ำเนยี งดจุ เสียงฟ้า มา้ เทียมรถอ้วนสมบรู ณ์
ในยามสงครามพลรถมี 2 กอง คือ กองเกียกกาย กองยุกรบัตร มี เกวียน ระแทะ วัวต่าง คนต่าง
มหี นา้ ทีข่ นเสบยี งและอาวธุ ยุทโธปกรณแ์ ละมีกองโขลงกระบือ ใชร้ บในทีล่ ุ่มข้ามหว้ ยหนองคลองบึง
ยามปกติพลรถมหี นา้ ท่ี
- เกียกกาย ทำหน้าท่ีเกย่ี วกบั อาหารเสบียง
- กองยกุ รบตั ร ทำหนา้ ทเ่ี กี่ยวกบั อาวุธยุทโธปกรณ์
ยงั มที หารอีก 2 เหลา่ เขา้ รว่ มรบดว้ ยอีก คือ
1. เหล่าทหารช่าง เรียกวา่ ทหารชา่ งในไทย ทหารชา่ งนี้ได้มาจากกรมพระตำรวจหลวงซ่ึงคัดมาจาก
เหล่าพลเดินเท้า ทำหน้าที่ทางช่างของกองทัพ เช่น ขุดคู สร้างป้อมค่าย หอรบ ขุดอุโมงค์ ทำสะพาน ต่อเรือ
ปลูกพลับพลา (ทป่ี ระทบั ) จัดรวมอยกู่ ับเหล่าพลเดินเท้า ทหารแต่ละคนคัดใหท้ ำหน้าท่ชี ่างตามความชำนาญของตน
2. เหลา่ ทหารปืนใหญ่ อยรู่ วมกบั พวกเดนิ เทา้ มีหน้าที่ ทำการยงิ เผาเรอื น กบั เผากำปนั่ ยิงเผาเรือน
คอื ใชย้ ัดดนิ แลว้ เอาผา้ มว้ นเขา้ เทา่ ลูกกระสุนยดั เข้าไปใหถ้ ึงดินแลว้ เอากระสุนเผา ให้แดง แล้วเอาคีมคบี ใส่
ยงิ เผากำป่นั ใหเ้ อาผา้ ชุบน้ำมันยางม้วนให้แนน่ เอาตะปูนอ้ ยๆตรึงให้รอบผ้ามว้ นนน้ั แล้วจึงยงิ เม่ือถูกกำปั่นตะปูนั้น
จะตดิ ประดุจตรึง และใหป้ ืนกระบอกอน่ื ตงั้ จังก้ายงิ คนที่จะออกมาดับอย่าให้ดบั ได้
ในสมัยรัชกาลท่ี 3 กรมพระราชวังบวรฯสมเด็จพระบวรเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ กับคณะกรรมการ
ทรงชำระ
ตำราพิชยั สงคราม โดยแบ่งออกเปน็ 3 ภาค คอื
ภาคที่ 1 ว่าด้วยเหตุแห่งสงคราม
ภาคท่ี 2 วา่ ด้วยอบุ ายแหง่ สงคราม
ภาคที่ 3 ว่าดว้ ยยทุ ธศาสตรแ์ ละยุทธวธิ ี
การจัดทัพทหารไทย ในสมยั สุโขทัย การจัดทหารไทยสมยั โบราณ เราถือเร่อื งสกุลเปน็ หลกั ในการจัด
คือหวั หนา้ สกลุ สงั กัดทหารหมู่ไหน ลกู หลานก็สังกดั หมู่นน้ั เมื่อเจ้าเมืองสั่งไปรบนายบ้านก็คุมกำลงั ไปมอี าวุธ พาหนะ
เสบียงพร้อม ถ้ามีชัยชนะก็แบ่งทรัพย์ แบ่งเชลย ต่อมาในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จัดระเบียบการ
ปกครองบา้ นเมอื ง โดยแบง่ พน้ื ท่ีเป็น 3 เขต คือ
เขตชั้นใน พระมหากษัตริย์ทรงบังคับบัญชา พระมหากษัตริย์เป็นทั้งเจ้าเมือง และจอมพลของทัพ
หลวง ชายฉกรรจ์ต้องเปน็ ทหารทกุ คน ราชการฝา่ ยทหาร และพลเรือนใช้ทหารทำทั้งนั้น
เขตชั้นกลาง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ หรือข้าราชการที่มีความชอบไปปกครอง
เม่อื เกดิ สงครามขน้ึ กำลังพลไหนมากก็ใหเ้ มอื งท่มี ีกำลงั น้อยมารวม ณ เมืองนั้นแล้วฟังคำส่งั จะใหไ้ ปสมทบ ทัพหลวง
หรืออย่ตู ามลำพงั
-5-
เขตประเทศราช หรือเขตชั้นนอก ยอมให้เจ้านายชนชาตินั้นปกครอง ตามประเพณีของชาติน้ัน
เม่อื เกดิ สงครามจะให้เกณฑ์กองทัพมาชว่ ยก็ต่อเมอ่ื เป็นศึกใหญ่ ปกตเิ อาไว้ป้องกันชน้ั นอก มิใหช้ าติอื่น มารกุ ราน
การจดั ทหารสมยั อยธุ ยา เม่อื พ.ศ. 1991 ไม่เปล่ียนแปลงจากสมยั สุโขทัยมากนกั มีการเปลย่ี นแปลง
คร้ังสำคญั ๆ อยู่ 5 ครงั้ คือ
1. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ
ก. ตั้งทำเนยี บหนา้ ท่ีกระทรวง ทบวง กรม คอื แบง่ หนา้ ทร่ี าชการเปน็ ฝ่ายทหารและพลเรือน
ฝ่ายพลเรือน มีอัครมหาเสนาบดี สมุหนายก กรมมหาดไทย เป็นหัวหนา้ และมีหัวหนา้ ชนั้
รองลงไปคือเสนาบดีอกี 4 คน เรยี ก จตุสดมภ์ คือ (ทเ่ี รยี กทั่วไปว่า เวียง วัง คลงั นา)
- พระนครบาล มีหน้าท่บี ญั ชาการสันติสุขในพระนคร
- พระธรรรมาธิกรณ์ มีหนา้ ท่ี บัญชาการในราชสำนักและการศาลยุติธรรม
- พระโกษาธบิ ดี มหี นา้ ท่ี บญั ชาการคลัง เกบ็ ส่วย รักษาทรัพย์
- พระเกษตราธิการ มีหน้าที่ บัญชาการกสิกรรม สะสมอาหาร เก็บอาหารอัน เกิดแก่
ที่ดิน
ฝ่ายทหาร มีอัครมหาเสนาบดีสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้า มีเสนาบดีชั้นรอง ได้แก่ แม่ทัพ
คือ ตำแหนง่ สีหราชเดโช ตำแหนง่ ทา้ ยน้ำ และมีตำแหนง่ รองลงมาอกี คือ
- นายกองพลทหารชา้ ง มี ตำแหนง่ เพทราชา ตำแหน่งสุรนิ ทราชา
- นายกองพลทหารราบ มี ตำแหน่งพิไชยสงคราม ตำแหนง่ รามคำแหง ตำแหนง่
พิไชยชาญฤทธ์ิ ตำแหนง่ วิชติ ณรงค์
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ทรงตั้งบรรดาศักดิ์ข้าราชการตามลำดับสำหรับสามัญชน พ.ศ. 1998 ดังนี้
เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน(สญั ญาบัตร) หมืน่ พัน ทนาย ไพร่ (ไพร่สม-ไพรห่ ลวง)
นอกจากนั้น พ.ศ. 2001 ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาลซึ่งเป็นกฎหมายสำหรับการปกครองบ้านเมืองแบ่งเป็น 3
แผนก คือ
- พระตำรา ว่าด้วย แบบแผน เช่น การพระราชพิธตี า่ ง ๆ
- พระธรรมนญู วา่ ดว้ ย ตำแหน่งหน้าท่ีราชการ
- พระราชกำหนด เปน็ ขอ้ บังคบั สำหรบั พระราชสำนัก
-6-
การปกครองสว่ นกลาง
(พระมหากษัตริย)์
ฝา่ ยทหาร ฝา่ ยพลเรอื น
เจา้ พระยามหาเสนาบดี เจา้ พระยาจกั รีศรีองครักษ์
(สมุหพระกลาโหม) (สมหุ นายก)
กองทพั ตา่ ง ๆ เสนาบดี จตสุ ดมภ์
กองฝกึ ทหารตา่ ง ๆ
กองอาสาต่าง ๆ
สุรัสวดี(สัสดปี จั จบุ นั )
นครบาล ธรรมาธิกรณ์ โกษาธิบดี เกษตราธิการ
(กรมเมอื ง) (กรมวัง) (กรมพระคลงั ) (กรมนา)
2. สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเมื่อปี พ.ศ. 2039
ไดม้ ีพระราชกรณียกจิ ดงั นี้
ก. ทรงรวบรวมตำราพชิ ยั สงคราม
ข. ทรงทำสารบญั ชี คือตง้ั กรมพระสรุ ัสวดี เปน็ ผูท้ ำบญั ชีทง้ั ทหาร และพลเรือน
ค. การทำพิธีตามหัวเมือง มีตำแหน่งสัสดีประจำอยู่ทุกเมือง ตำแหน่งขุนพล ขุนมหาดไทย
มีตามมณฑล มณฑลจึงต้องจัดกองทัพเอง เรียกวา่ ทำพธิ ที กุ หัวเมือง เพ่อื ตรวจสอบความพรอ้ มรบของกำลงั พล
สมัยนี้มีโปรตุเกสเข้ามาเมืองไทย ไทยจึงรับปืนไฟและวิชาทหารจากฝรั่งเป็นครั้งแรก และเป็นครั้ง
แรกที่มฝี ร่ังอาสาไปรบกบั ไทยเม่อื คราวตเี มอื งเชยี งกราน
ตำราพชิ ัยสงคราม โปรดเกลา้ ให้จัดทำตำราพชิ ยั สงครามขน้ึ มีสาระสำคญั ดงั นี้
- อบุ ายการสงคราม - วิธีการจัดกระบวนทพั - การตง้ั คา่ ย
- ยทุ ธศาสตรแ์ ละยุทธวธิ ี - การยกทัพ - การดำเนนิ กลยุทธ์
กรมพระสุรัสวดี มีหน้าที่จัดทำบัญชีไพร่พลฝ่ายทหารและพลเรือนที่สังกัดเจ้านายและขุนนาง
ท่เี ปน็ มูลนายหรอื กรมกองตา่ งๆ บญั ชีนเ้ี รยี กวา่ “บัญชหี างว่าว” จุดประสงคเ์ พอ่ื สะดวกในการเรียกคน
เข้ากองทัพควบคุมให้มีการขึ้นทะเบียนไพรพ่ ลให้ถูกต้อง แจกจ่ายกำลังพลไปตามกรมกองและพจิ ารณาคดีเกี่ยวกบั
การข้ึนสงั กัดของไพร่ ไพรห่ ลวง ท่ีหนกี ารขนึ้ ทะเบยี นเปน็ ต้น
-7-
3. สมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ ได้ตั้งเมืองชั้นในเพิ่มขึ้น คือ นนทบุรี สาครบุรี (สมุทรสาคร)
นครไชยศรี สำหรับรวมผคู้ นเวลามศี กึ จะไดเ้ รว็ ขนึ้ และดัดแปลงเรือแซ เปน็ เรือไชยและเรือศีรษะสัตว์ เพราะเรือแซใช้
แตบ่ รรทุกคนและสัมภาระ จงึ ดดั แปลงให้ติดปนื ใหญท่ ำการยงิ ได้ โดยเสริมการทำแทน่ ตั้งยงิ ปนื ใหญ่ขน้ึ นอกจากน้นั ก็
ทำการสะสมยานพาหนะและวิธีเรียกคนมาเป็นทหารโดยขึ้นทะเบียนทหาร ทำบัญชีสำมะโนครัวแล้วสักเลข
4. สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เลิกมณฑลฝ่ายเหนือ โดยจัดให้หัวเมืองต่างๆ เป็นเมืองขึน้
กรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น แล้วกำหนดหัวเมืองต่างๆ เป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และเมืองชั้นใน เมืองชั้นในขึ้นอยู่กับ
ราชธานอี ย่างเดมิ เมอื งชน้ั เอก โท ตรี มีเมืองเล็กๆ ขึน้ อีกช้ันหนง่ึ ในสมัยพระเอกาทศรถ เน่อื งจากสมเด็จพระนเรศวร
ทรงทำสงครามไว้มาก จำนวนทหารจงึ นอ้ ยลง สมเด็จพระเอกาทศรถต้องรบั ชาวตา่ งประเทศมาเปน็ ทหารอาสา เช่น
กรมอาสาญ่ปี นุ่ อาสาจาม การอาศัยทหารอาสาน้ี ในสมยั สมเดจ็ พระนารายณ์ เกอื บจะเสียทฝี รั่ง แต่พระเพทราชารวม
กำลงั ขบั ไลอ่ อกไปได้
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ทรงริเริ่มการใช้วิธีรบแบบกองโจร ทรงจัดตั้งหน่วยทหารพิเศษ
ขน้ึ 2 หนว่ ย คือ หนว่ ยทหารราบพเิ ศษ และหนว่ ยทหารมา้ พิเศษ
5. สมัยพระเพทราชา ได้จัดให้หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นกับมหาดไทย หัวเมืองปักษ์ใต้ขึ้นกับกลาโหม
ทำใหก้ ารจดั ทหารตอ้ งเปลี่ยนตามไปด้วย
ววิ ฒั นาการแหง่ การทหาร และศาสตราวุธในกองทพั บกไทยสมยั โบราณ
ในสมัยสุโขทัย ยังไม่มีปืนไฟใช้คงใช้ธนู หน้าไม้ ศร ในเรื่องปืนไฟ เริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยพระราเม
ศวร ในสมัยอยุธยา อาวุธของกองทัพบกในสมัยสุโขทัยใช้อาวุธฟันแทง เช่น มีด ง้าว กริช หอก ทวน ดาบ เมื่อมี
สงครามเกิดขนึ้ ผูถ้ ูกเกณฑม์ ารบ ต้องนำอาวธุ ตดิ ตวั มาด้วยทกุ คน
อาวุธทีใ่ ชใ้ นทัพบกไทยสมัยสโุ ขทัย คือ
อาวุธฟันแทง ใช้ตะลุมบอน ประจญั บาน มีดาบ กระบ่ี กัน้ หย่ัน ทวน หอก งา้ ว โตมร แหลน หลาว
ตะบอง มีด กริช
ดาบ มีหลายชนิด เช่น ดาบสองมือ ดาบเขน ดาบดั้ง ดาบโล่ดาบมีศูนย์น้ำหนักค่อนข้างอยู่ทาง
ปลายฝกั ดาบทำด้วยโลหะ หนัง ไม้ ขา้ งในมหี นังหรอื ไม้ออ่ น
กระบี่ มี 2 คม ใช้แทงมากกว่าฟัน ศูนย์น้ำหนักอยู่ที่ด้าม ไม่ยาวนักค่อนข้างเบา เพื่อใช้ได้
คลอ่ งแคลว่ ฝักกระบี่เช่นเดยี วกบั ฝักดาบ
ก้ันหยัน่ คอื ดาบจีน เบากว่าดาบไทย และมีคมท้ังสองขา้ ง
หอก เป็นอาวุธทหารราบมีกระบังก็มี ไม่มีกม็ ี ใช้แทงอย่างเดียว มเี หลยี่ มสีเ่ หลย่ี ม น้ำหนักไมเ่ กิน 2
กก. ยาว 2 เมตรขึ้นไป ศูนย์นำ้ หนักอยู่ชิดกับมดี ปลายแหลมตอ้ งอยู่ตรงแนวแกนทางยาว หอกมหี ลายชนดิ เช่น หอก
ใบข้าว หอกชดั หอกตำรวจ
ทวน เปน็ อาวุธทหารม้า ไมม่ ีกระบงั แต่ทคี่ อมีพู่ขนสัตว์ ผูกไวเ้ ปน็ พวงใชแ้ ทงอย่างเดียว
ง้าว คลา้ ยมีดยาว สองเลม่ ซ้อนกันอยู่ ปลายโค้ง สนั หนา ดา้ มงา้ วเชน่ เดียวกับดา้ มหอก สว่ นมากใช้
รบหลงั ชา้ ง
-8-
ของา้ ว เปน็ อาวธุ ประเภทเดียวกบั งา้ ว แตม่ ีขอสำหรับสับชา้ งอยตู่ ดิ กบั ตัวง้าว
โตมร คือสามงา่ ม ดา้ มมลี กั ษณะเชน่ เดียวกบั หอก เป็นอาวุธใช้พุ่งอย่างเดียว
แหลน เป็นอาวุธใช้พุ่ง และแทงด้ามมีลักษณะเช่นเดียวกับหอก ตัวแหลนเป็นแหลมยาวเรียว
หลาว เปน็ ไมร้ วก เสีย้ มปลายเป็นปากฉลามใช้พงุ่
ตะบอง ทำดว้ ยไมห้ รอื เหลก็ ใช้ทบุ ตี ยาวกวา่ กระบองและถอื ไดส้ องข้าง
พลอง ทำด้วยไมห้ รือเหล็ก ใชท้ บุ ตี ลกั ษณะสั้น ปลายโต
มดี ใชฟ้ ัน แตส่ ้นั กว่าดาบ และกระบี่ ตัวมีดทำด้วยเหล็กสันหนา คมบางตอนปลายแหลม และมน
ดา้ มสนั โคง้ ดา้ มมีดใชไ้ ม้ผ่าซกี ประกับตัวเหลก็ ด้ามมดี ไว้ มปี ลอกเหล็กรดั หมุดย้ำ ท่ีกั้นมีดและท้ายมีดมฝี ักสวมทำด้วย
หนัง หรือไม้
กรชิ ตัวกริชเปน็ รปู เรียวแหลม แหลมบ้าง คดงอบา้ ง เปน็ อาวุธใชแ้ ทงอย่างเดียว ไทยรับจาก เขมร
ชวา มลายู
อาวธุ ทเ่ี ก่ียวขอ้ งกับช้างมี 4 อย่าง คือ
ก. ของา้ ว
ข. ขอเกราะ เช่นเดียวกับของ้าว แต่ที่ตัวง้าวเป็นรูปหอก เป็นอาวุธของควาญท้ายช้าง ใช้ป้องกนั
ช้างอ่นื ชนท้าย และเกยี่ วหชู า้ งให้หนั หน้าส้ขู า้ ศกึ
ค. ขอไม้เทา้ เปน็ ไม้ขอของเจ้าหนา้ ท่กี รมช้าง ใชถ้ อื ในงานพิธชี า้ ง
ง. ขอละเมด็ เปน็ ขอที่ถอดเปล่ียนเป็นหอกได้
เครอ่ื งปอ้ งกนั อาวุธ มี
ก. ด้ัง รปู รา่ งคลา้ ยกาบกล้วย ตวั ดงั้ ทำด้วยหนัง หวาย ไม้ เป็นรปู สเี่ หลย่ี มผนื ผา้ มีห่วงสอดแขน
ตดิ กบั แผน่ หนังอย่ภู ายในส่วนมากใชก้ ับดาบ
ข. เขน เปน็ รูปสี่เหลย่ี มผืนผา้ แต่ไมโ่ คง้ เหมือนดงั้ ใช้กับดาบ เรยี กว่าดาบเขน ถ้ามแี ถบลวดลายทอง
เรยี กว่า เขนทอง
ค. โลห่ ์ เปน็ รูปกลม ใช้กับดาบเรียกดาบโล่ห์
2. อาวุธยงิ มี ธนู เกาฑัณฑ์ ศร ปนื
ศร คือ ธนู เกาฑันฑ์ ทำด้วยไม้หรือโลหะ เอามาดัดเป็นรูปครึ่งวงกลม ขึงไว้ด้วยเอ็นหรือเชือก ใช้
กระสุน ลูกศร เหลก็ ปลายแหลม ใส่เข้าที่แหล่ง ดึงเชอื กดดี ลกู ออกไปได้ ในสมัยโบราณคดิ อาวธุ ที่จะใหไ้ ปได้ไกลท่ีสุด
เช่น ธนู และในเรอ่ื งรามายนะ อาวธุ นี้เรียก ปืน เชน่ นารายณถ์ อื ศร เราเรียกวา่ นารายณท์ รงปืน เมอ่ื เกิดปืนอย่างใหม่
ขึ้น เราจึงเรียกว่า ปนื ไฟ เพราะใช้ยงิ ดว้ ยไฟ
ไทยมปี ืนเลก็ ใชก้ อ่ นโปรตุเกสเข้ามา และสรา้ งปืนใหญใ่ นยุคเดียวกับฝรั่ง คอื ประมาณ สมยั พระราเม
ศวร ปืนเล็กเราก็สร้างได้ในสมยั สมเดจ็ พะราเมศวร โปรตุเกสเข้ามาในสมัยพระรามาธิบดีท่ี 2 เมอ่ื โปตเุ กสเอาปืนเล็ก
เข้ามาคงจะดีกว่าของไทยเราจึงหันไปใช้ปนื โปรตุเกสและจา้ งฝรัง่ มาสอนและฝึก ต่อมากส็ ามารถประดิษฐ์ปืนเล็กได้ดี
โดยไม่ตอ้ งพึง่ ฝรั่ง ไทยเคยส่งปนื ใหญ่และกระสุนดินดำไปถวายโชกุน แห่งญีป่ ุ่นโชกุนพอใจมสี าสน์มาซื้อปืนใหญ่จาก
ประเทศไทย
-9-
ต่อมาเหน็ ปืนฝรัง่ ดี เราจงึ มาใชป้ นื ฝร่ัง ตามลำดับ ดังน้ี
- ปนื เอน็ เฟลิ ไมม่ เี กลยี วเปน็ ปืนบรรจุปาก มีนกสับ ตง้ั ศนู ยไ์ ด้ 100 เมตร นำมาใชใ้ นสมัยรัชกาลท4ี่
- ปนื กรชิ บรรจุท้ายมซี องกระสุน เป็นบานพับ เปิดปิดไดเ้ ปน็ ปืนชนดิ นกสบั บรรจุท้าย ทลี ะนดั ใช้
ในปลาย รัชกาลท่ี 4 ตน้ รัชกาลท่ี 5
- ปนื สไนเดอร์ บรรจทุ ้าย มีซองกระสุน เป็นบานพบั เปิดปิดได้ เปน็ ปนื ชนิดนกสบั บรรจุทลี ะนัด
- ปืนวนิ เชสเตอร์เป็นปืนท่มี เี ครือ่ งกลไกจุกจิก บรรจุไดค้ ราวละ 12 นดั
- ปนื มาตินี่เฮนร่ี ใชท้ ก่ี รมทหารเรอื ก่อน เครือ่ งบรรจเุ ปน็ บานพบั สะพานหักลงลา่ ง เม่อื ร.ศ. 105
ทพั บกจึงตกลงใจนำกลับมาใช้บา้ ง
- ปืนมัลลีเดอร์ มีศูนยย์ ิง 2,500 เมตร บรรจุกระสุนได้ 5 นัด
- ปืนเมาเซอร์ มลี กู เลื่อนกระสนุ ได้คราวละ 1 นดั เปน็ ปืนเยอรมนั
- ปืน ร.ศ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 สั่งซื้อจากเดนมาร์ค เมื่อ พ.ศ. 1444 จำนวน
4 กระบอก เพื่อเอามาเป็นตัวอย่างและเมื่อทดลองใช้ดูมีประสิทธิภาพดีจึงทรงซื้อมาใช้ในกองทัพ เม่ือ ร.ศ.121
เรยี กกนั ทั่วไปว่าปนื ร.ศ. แตต่ ่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อวา่ ปืนเลก็ ยาวแบบ 44 เหตทุ เ่ี รยี กกันว่าปนื ร.ศ. เพราะนำมาใช้
ในสมยั ทีไ่ ทยยังใช้ รตั นโกสนิ ทรศ์ ก อยู่
- ตอ่ มาเป็นปืนเล็กยาวแบบ 66
- ต่อมาเป็นปืนส้นั บรรจเุ อง แบบ 87
- ตอ่ มาเปน็ ปืนเล็กยาวบรรจุเอง แบบ 88
- ตอ่ มาเปน็ M. 16, HK 33
หลักการสงครามของไทย
หลกั การสงครามของไทยทป่ี รากฏในเอกสารทางราชการตอ่ มา เท่าทร่ี วบรวมไดแ้ บ่งออกเปน็ 3 สมยั คือ
- สมยั พลเอกสมเดจ็ เจา้ ฟ้ากรมหลวงพิษณโุ ลกประชานาถ
- หลักการสงครามของไทยสมัยหลงั เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
- ภายหลังสงครามโลกครงั้ ท่ี 2
1. สมัยพลเอกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงได้เรียบเรียงไว้ใน
“หัวข้อยุทธวิธีทั่วไป” ระหว่าง พ.ศ.2457-2458 ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ได้กล่าวถึงหลักการ
สงครามวา่ มีหลกั ใหญ่อยู่ 2 ประการ คอื “หลักการออมกำลงั ” กบั “หลักทำการเป็นอิสระ”
1.1 หลักการออมกำลัง หมายถึง การถนอมกำลังกับการใช้กำลังในทางที่ถูก ซึ่งวิธีการที่จะให้
ไดม้ าซ่ึงหลักการออมกำลังนั้นคอื
(1) มกี ารรวมกำลัง
(2) มยี ทุ ธวนิ ยั (ทำการอย่างมีระเบียบ ใชค้ วามคดิ และความรบั ผดิ ชอบ)
(3) ใช้การเดินทางเคลือ่ นที่ในสนามรบ ซึง่ น่าจะเทียบได้กบั การดำเนินกลยุทธ์ กับประกอบ
ด้วยการเคลื่อนที่ การยิง การอาศัยภูมิประเทศ และจะต้องทำการโดยแข็งแรง รวดเร็ว ไม่ให้ข้าศึกรู้ตัว
(จะเหน็ วา่ หลกั การจู่โจมไดน้ ำมากล่าวยำ้ ไว้ในเร่ืองการดำเนนิ กลยทุ ธ์)
-10-
(4) มกี ารต่อเนื่องระหว่างเหล่า
1.2 หลักทำการเป็นอิสระ หมายถึง ทำการตามใจเราได้ (เป็นอิสระ) ไม่ว่าข้าศึกจะอยู่ที่ไหน
หรอื ทำอะไร การนำหลกั น้ีไปใช้จะต้องมวี ธิ ีการ
(1) การสบื ข่าว (การขา่ วกรอง)
(2) การกะการล่วงหน้า (การวางแผนลว่ งหน้า)
(3) การระวัง (การระวังปอ้ งกนั )
2. หลักการสงครามของไทยหลังสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ได้มีกล่าวไว้ในตำรา
ยุทธศาสตร์วา่ ดว้ ยหลักการนำทพั ของ พ.อ.พระยาสงครามภักดี ซงึ่ ได้เรยี บเรียงขึน้ จากหนังสือยทุ ธศาสตร์ ขององั กฤษ
(British Strategy) โดย พลตรี เซอร์ เอฟ. เมาริช (F. Maurice) ที่พิมพ์ใน พ.ศ.2472 (ค.ศ.1929) ประกอบกับพระ
ราชพงศาวดาร และหนงั สือ "เรารบพม่า" ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่ีได้ทรงรวบรวมไว้และกระทรวงกลาโหม
ได้สั่งให้ใช้สำหรับการศึกษา เม่ือ 3 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.2480 ได้กลา่ วถึงหลักการสงครามตามท่ีตดั ทอนหรือดัดแปลงมา
จากหลักการ สงคราม 7 ประการของกองทัพองั กฤษ ได้แก่
2.1 หลักการรวมกำลงั (Concentration)
2.2 หลกั การออมกำลัง (Economy of Force)
2.3 หลกั ความฉับพลนั (Surprise) (หลักการจโู่ จม)
2.4 หลกั ความคลอ่ งแคล่ว (Mobility) (หลกั การดำเนินกลยุทธ์)
2.5 หลกั การทำการเป็นเบย้ี บน (Offensive Action) (หลักการรกุ )
2.6 หลักการทำการร่วมกนั (Cooperation) (ผสมเหลา่ )
2.7 หลักการระวังปอ้ งกนั (Security) (หลกั การรกั ษาความปลอดภยั )
ในข้อ หลกั การออมกำลงั (Economy of Force) หมายความว่า การใชก้ ำลงั เท่าทจี่ ะยังประโยชน์ให้
สำเร็จตามความมุ่งหมาย และในข้อ หลักความฉับพลัน (Surprise) ได้มีการอธิบายเหตุผลที่ใช้คำว่า ความฉับพลัน
แทนคำว่า การจู่โจม ทั้งที่แปลมาจากภาษาองั กฤษคำเดียวกัน คือ Surprise ประกอบไว้ หลักการทำการเป็นเบ้ยี บน
(Offensive Action) หมายความว่า ทำให้เรามีอิทธิพลเหนือข้าศึก ข้าศึกต้องทำตามใจเรา หลักการทำการร่วมกัน
(Cooperation) ได้กลา่ วถึงการรบร่วมระหว่างเหล่าทัพ และการรบผสมเหล่าภายในกองทัพ
ในเรื่องความมงุ่ หมาย แมว้ ่าจะไม่ได้กล่าวไว้เป็นหลกั การสงคราม แตก่ ็ไดน้ ำมากล่าวแยก ในมาตรา
3 หนทางบรรลคุ วามมุ่งหมายในการสงคราม
3. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพไทยได้รับเอาหลักนิยมทางการทหารของสหรัฐ
มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลกั นยิ มของกองทัพไทย ความเหมาะสมในหลักการสงครามของกองทพั บกสหรฐั ฯ ที่
ไทยรับมาใช้นั้นได้มีการพิจารณาศึกษาค้นคว้ากันในระดับหนึ่ง หลักการสงครามดังกล่าวยังคงใช้มา จนถึงปัจจุบัน
ได้แก่
3.1 หลักความมงุ่ หมาย (Maintain of Objective)
3.2 หลกั การรุก (Offensive)
3.3 หลกั การรวมกำลงั (Concentration of Forces)
-11-
3.4 หลกั การออมกำลงั (Economy of Forces)
3.5 หลกั การดำเนินกลยทุ ธ์ (Maneuver)
3.6 หลักเอกภาพในการบังคับบญั ชา (Unity of Command)
3.7 หลกั การระวังป้องกัน (Security)
3.8 หลักการจโู่ จม (Surprise)
3.9 หลกั ความงา่ ย (Simplicity)
ต่อมาได้มีการเพ่ิมหลักการสงครามขึ้นอีก 1 ประการ คือ หลักการต่อสู้เบ็ดเสรจ็ (Total Defence)
รวมแล้วหลักการสงครามที่กองทัพบกไทยยึดถือในปัจจุบัน คือ หลักการสงคราม 10 ประการ ที่มีรากฐานมาจาก
กองทัพบกสหรัฐ ฯ
จากทไี่ ด้กลา่ วมาแล้วในข้ันตน้ ววิ ฒั นาการของหลกั การสงครามของไทย มปี ัญหาในเรอ่ื งของเอกสาร
ที่เกิดการสูญหายเนื่องจากสงคราม เท่าทีมีเหลืออยู่ก็เลอะเลือน ไม่มีการปรับปรุงไว้อย่างชัดเจน และเอนเอียงไป
ยึดถือทางด้านไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ ฤกษ์ยาก อันเป็นศาสตร์ที่หาเหตผุ ลไม่ได้ จนในที่สุดต้องใช้หลักการสงครามท่ี
แปลจากตำราของสหรัฐ ฯ ซ่ึงก็ได้มาจากหลกั การสงครามองั กฤษ และหลักการสงครามขององั กฤษนี้ ก็มีที่มาจากการ
พิจารณาถึงผลสำเร็จ และความล้มเหลวในการรบครั้งต่าง ๆ ของนโปเลียน กำหนดขึ้นไว้เป็น การเปรียบเทียบ
วิวัฒนาการของหลักการสงครามของไทยและต่างประเทศ แสดงความเป็นมาของหลักการสงครามทั้งของไทยแต่
ดัง้ เดิม และหลักการท่กี องทัพบกไทยไดย้ ดึ ถือจากหลกั การสงครามสหรัฐ ฯ เป็นแนวทางในปัจจุบัน
การทหารของไทยก่อนสมยั กรุงสุโขทัย
การทหารของไทยก่อนสมัยกรุงสุโขทัยน้ัน เท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดและยังคงสภาพ
ให้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไปนั้น ได้แก่ ภาพจำหลัก ที่ระเบียงปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งได้จำหลักไว้ ในรัช
สมัย พระเจ้าชัยวรมัน ที่7 (พ.ศ. 1724-1761) เป็นภาพขบวนพยุหยาตราของกองทัพพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ.
1656-1695) ในภาพดงั กล่าวมีกองทหารซง่ึ อยู่ทางตอนหน้าของขบวนทพั มอี ักษรจารกึ ไว้ว่า เปน็ หน่วยทหารเสียมกุก
คอื กองทพั ของชาว เสียม (สยาม) ตอนหนง่ึ และชาวละโว้ ตอนหน่ึง รูปชาวละโวแ้ ต่งกายเหมอื นกับพวกขอม แต่รูป
ชาวสยามนน้ั แตง่ กายแปลกออกไปอกี อย่างหน่ึง
นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสคณะหนึ่งกล่าวว่า หน่วยทหารของสยาม ในฐานะที่เป็นพันธมิตร
ได้เป็นกองระวังหน้า ในกองทัพ พระเจ้าสุริยวรมันท่ี 2 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ยกไปตีอาณาจักรจามปา เมื่อปี
พ.ศ. 1688 และสามารถยึดเมืองวชิ ยั ราชธานีของจามไวไ้ ด้
นักโบราณคดีไทยบางทา่ นกล่าวว่า กองทัพชาวเสียมนั้น มาจากลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งมี ขุนเจือง (ท้าวฮุง)
กษตั ริย์แหง่ อาณาจกั รเงินยาง ซ่ึงครองเมอื งพะเยาอยู่ เป็นผู้รวบรวมกำลังชาวไทย (ลาว) และอาจมชี าวข่า รว่ มด้วย
ส่งกำลังดงั กล่าวไปชว่ ยพระเจ้าสุริยวรมนั ท่ี 2 รบกับพวกจาม ภาพจำหลักดังกล่าวนี้ มีรายละเอียดให้เราไดท้ ราบถึง
การจัดกองทพั ของชาวเสยี มในยุคนัน้ ได้เป็นอยา่ งดี ในหลายๆ ดา้ น
-12-
การทหารสมยั สโุ ขทยั (พ.ศ. 1800 - 1893)
ประวตั ิการยุทธสมัยกรุงสโุ ขทัยปรากฎตามหลักศลิ าจารึกและพระราชพงศาวดารว่า นอกจากจะมี
การยุทธขับไล่ชนชาติเขมรเพือ่ สถาปนาราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังมีการยทุ ธอกี หลายครั้ง แต่เป็นการรบระหว่างไทย
ตอ่ ไทยดว้ ยกนั เอง มอี ย่คู รง้ั เดียวทไี่ ทยได้รบกับขอมหรอื เขมรผู้ต้งั ตวั เปน็ นายเหนอื ไทยคือ ครัง้ พอ่ ขนุ บางกลางหาวกับ
พอ่ ขุนผาเมืองร่วมกันขับไล่เขมร การรบนั้นเชอื่ วา่ องค์พระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ จอมทัพบญั ชาการทหารโดยตรง แล้ว
รอง ๆ ลงมาจงึ ถงึ แมท่ ัพเสนาบดีและไพร่พลตามลำดับ มอี าณาเขต เหนอื จดหลวงพระบาง เวยี งจันทร์ เวียงคำทางใต้
จดนครศรีธรรมราช ตะนาวศรี ทิศตะวันตกจดกรุงหงสาวดี พุกาม จะมีหัวหน้าแหง่ หมู่บ้านก็เป็นนายกองนายทัพขึ้น
ตรงกับองค์พระมหากษตั รยิ ์ มียุทธศาสตรก์ ารต้งั รับ อาศยั นำ้ และแผน่ ดินในการป้องกนั ชาติมาตลอด มีหลักนยิ ม คือ
สรา้ งคนั ดนิ เป็นกำแพง 3 ชนั้ (เรียกว่า ตรบี ูร) สร้างคูเมอื งเป็นนำ้ 2 ช้ัน สรา้ งปอ้ มท้งั 4 ด้านของกำแพงดิน
เมื่อเกิดอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่18 จากหลักฐานทางศิลาจารึกพบว่า
พระมหากษตั ริยท์ รงเปน็ ผู้บงั คับบญั ชาทหารโดยตรง และทรงนำกองทพั เข้าสงครามดว้ ยพระองค์เองในฐานะเป็นจอม
ทัพ บรรดาชายฉกรรจ์ทัง้ ปวงจะเปน็ ทั้งพลเมืองและทหารในกองทัพหลวง ตามกรมกองทีต่ นสังกัด การฝึกหัดทหาร
จะใช้หวั หน้าสกุลในแต่ละหมู่บา้ น เป็นผูค้ วบคุมฝกึ สอนวิชาการต่อสู้ เม่อื เกดิ ศึกสงครามทหารทกุ คน จะมอี าวุธคู่มือท่ี
ตนไดฝ้ กึ ซอ้ มไว้ช่ำชองดีแลว้ พร้อมทีจ่ ะใช้งานสว่ นเสบยี งอาหารก็จะเตรยี มไว้เฉพาะตน ในขนั้ ตน้ มีความสมบูรณ์ใน
ตนเอง พรอ้ มท่จี ะออกศกึ ไดท้ ันที
ในช่วงระยะเกือบ 200 ปี (พ.ศ. 1800-1981) อาณาจักสุโขทัย ได้แผ่ไพศาลไปอย่างกว้างขวาง
ในรชั สมยั พ่อขนุ รามคำแหงมหาราช (พ.ศ. 1822-1862) จากศลิ าจารกึ หลกั ที่ 1 ดงั นี้
- ทิศเหนอื ไดเ้ มืองหลวงพระบาง
- ทิศตะวันออก ไดเ้ มืองเวียงจนั ทน์ และเมืองเวียงคำ
- ทศิ ใต้ ได้เมอื งนครศรีธรรมราช ไปจนสดุ แหลมมาลายู
- ทิศตะวันตก ไดเ้ มืองหงสาวดไี ว้ในอำนาจ
การจดั กองทพั
- กองทพั หลวงเปน็ พระมหากษัตริย์เปน็ จอมทัพอย่กู รงุ สุโขทยั
- กองทัพหวั เมืองมีทง้ั 4 ทิศ คอื ศรีสชั นาลัย พิจติ ร พิษณโุ ลก กำแพงเพชร
- กองทพั ประเทศราช คือหลวงพระบาง นครศรธี รรมราช ตะนาวศรี
ยุทธวิธี ต่อสู้แบบประจัญบาน สร้างถนนพระร่วง (ใช้เคลื่อนที่เร็ว) จากสุโขทัยถึง สวรรคโลก
ระยะทาง 120 กม. ผลการรบถ้าชนะแบง่ ทรพั ย์สิน แบง่ เชลย
อาณาจักรสุโขทัยได้เสื่อมลงเมื่อ พ.ศ. 1921 ต่อมาเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ยังมีกษัตริย์
ราชวงศเ์ ชียงรายสุโขทัยไดค้ รองครองกรุงศรอี ยุธยาหลายพระองค์
การทหารสมยั กรงุ ศรีอยธุ ยา
วิวัฒนาการแห่งการยุทธในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการดัดแปลงแก้ไขเม่ือรชั สมยั สมเด็จพระบรมไตร
โลกนารถ ทรงให้แยกแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนแยกออกจากกัน เช่น ขุนนางตำแหน่งทางทหารให้เป็น สมุหกลา
-13-
โหม พลเรอื นเป็นสมหุ นายก ขนุ เมืองเปน็ พระนครบาล ขนุ วงั เปน็ พระธรรมธิกรณ์ ขนุ นา เปน็ พระเกษตร ขนุ คลังเป็น
พระโกษาธิบดี
ด้านยุทธศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงด้านยุทธศาสตร์ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเห็นว่า บรรดาป้อมปราการที่มีอยู่
ของเมอื งพระยามหานครน้ัน เปรยี บเหมือนดาบสองคม ถ้าฝ่ายเราสามารถรักษาไวไ้ ดก้ ็จะเปน็ ประโยชน์แก่ฝ่ายเรา แต่
ถ้าปอ้ งกันไว้ไม่ได้ เมื่อขา้ ศกึ ยดึ ไดแ้ ลว้ ก็จะเป็นประโยชน์แกฝ่ ่ายข้าศกึ ดังนน้ั จงึ ทรงดำเนินการดังนี้ ให้ร้อื ปอ้ มปราการ
เมืองสุพรรณบรุ ี ซึ่งอยใู่ กล้ชายแดนพม่า และอยูห่ า่ งจากกรุงศรีอยุธยา ทางกรงุ ยกกำลังไปช่วยไมใ่ คร่จะทันท่วงที ตัว
กรุงศรีอยุธยาเองได้มีการเสริมสร้างป้อมปราการให้สามารถป้องกันปืนใหญ่ได้ เพราะเดิมกำแพงเมืองของกรุงศรี
อยุธยาเป็นกำแพงดิน จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเปน็ กำแพงกอ่ อิฐถอื ปูน สร้างป้อมเพิ่มข้ึนและทันสมัยขึ้น โดยใช้ช่าง
ชาวยุโรป สูง 3 วา หนา 10 ศอก ใบเสมาสูง 2 ศอกคืบ กว้าง 2 ศอก หนาศอกคืบ และขยายคูเมอื งรอบพระนครให้
กวา้ ง และลึกย่ิงข้ึน เพ่อื ทำใหก้ รุงศรอี ยุธยาแข็งแรง
การเปลี่ยนแปลงทางยุทธวิธี เมื่ออาวุธทันสมัยขึ้น คือมีการใช้ปืนไฟ คือปืนใหญ่ และปืนเล็ก
ในการรบของทั้งสองฝ่าย คือทั้งไทยและพม่า ทำให้การใช้รูปขบวนในการรบ และยุทธวิธีในป้อมคา่ ยเปลีย่ นแปลงไป
จากเดิมทีม่ แี ต่อาวุธสัน้ เป็นอาวธุ ประจำกาย และไมม่ อี าวุธหนกั เป็นอาวธุ ประจำหน่วย และใช้สนบั สนนุ ท่ัวไป เชน่ ปืน
ใหญ่ ในคร้งั นั้นเรอื สนิ คา้ โปรตเุ กสติดต้ังปนื ใหญ่ไว้ในเรอื สามารถยงิ จากเรือไปยงั ทห่ี มายท่ีต้องการได้ จึงได้เร่ิมใช้
เรอื สินค้าโปรตุเกส แลน่ ไปยิงคา่ ยพม่าท่ีล้อมกรุงศรอี ยธุ ยาอย่างได้ผล จึงได้มีพระราชดำรใิ ห้ดัดแปลง เรอื แซ คือเสริม
กราบเรือ ทำแท่นท่ีตั้งปืนใหญไ่ ว้ยิงข้าศึก และบรรดาเรือรปู สตั ว์ เช่น เรือครุฑ และเรือกระบีจ่ ะมปี ืนใหญไ่ ว้ท่ีหวั เรอื
ทุกลำ
ด้านกำลังทางเรือ ได้มีการยกกำลังทางเรือ ไปตีเมืองบันทายมาศ หรือเมืองฮาเตียน (Hathien)
ในปจั จบุ ัน เม่อื ปี พ.ศ. 2136 การเปล่ยี นแปลงกิจการทหารในหว้ งน้ีคอื การรับชาวต่างประเทศมาเป็นทหาร โดยต้ัง
เป็นหนว่ ยทหารอาสาต่างชาติ เรยี กว่ากรมทหารอาสา เช่น กรมทหารอาสาญปี่ นุ่ กรมทหารอาสาจาม กรมทหารแม่น
ปืน (ชาวโปรตเุ กสเดิม) หน่วยทหารเหล่าน้มี ีหน้าท่รี กั ษาพระองคแ์ ละรกั ษาพระนคร
รัชสมัยต่อมาจนถงึ เสียกรุงศรีอยุธยา เมือ่ ปี พ.ศ. 2310 กจิ การทหารของกรงุ ศรอี ยุธยาเส่ือมลงเป็น
ลำดับ เนื่องจากวงั หน้าได้เพิ่มอำนาจทางทหารของตนมากขึ้น จนถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างวงั หน้ากับวงั
หลวง และระหว่างเจา้ นายทที่ รงกรมต่างๆ หลายครัง้ ความออ่ นแอทางทหารมีมากในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
จนถงึ กับพวกจีนได้คุมกำลงั กนั เขา้ ปล้นวงั หลวงได้อย่างง่ายดาย สมเดจ็ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิฐานว่า
เพราะเหตุทกี่ ิจการทหารเสื่อมลงมากจนไมม่ ีใครอยากเป็นทหาร จงึ เกิดวธิ กี ารทที่ างราชการยอมให้คนเสียเงินค่าจ้าง
แทนการเขา้ เวรได้
สรปุ การสงครามไทย-พม่า สมยั อยธุ ยาเกดิ ข้นึ ทัง้ หมด 24 ครัง้ ในจำนวนนี้เป็นการรบที่พม่ายกเข้ามา
โจมตดี ินแดนไทย 17 ครัง้ และฝ่ายไทยยกไปรบพมา่ ยังดินแดนพมา่ หรือเขตอิทธิพลของพมา่ 7 ครงั้
การทหารสมยั กรงุ ธนบรุ ี (พ.ศ. 2310-2325)
การทหารในสมัยกรุงธนบุรีนี้ มีการปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างกรุงศรีอยุธยาทุกประการ
สมเดจ็ พระเจ้ากรงุ ธนบรุ ีทรงเสาะแสวงหาอาวธุ ต่าง ๆ มาประจำกองทพั อีกเปน็ อนั มาก อีกทงั้ มีชาวตา่ งชาติแขกเมือง
-14-
ตรงั กานูและแขกเมืองยกั ตรานำเอาปืนคาบศิลาเข้ามาทูลเกล้าถวายถงึ 2200 กระบอก ถอื เปน็ พระราชลาภอันวิเศษ
และต่อมาแขกเมืองยกั ตราก็ไดถ้ วายปืนใหญอ่ กี 100 กระบอก เพื่อป้องกัน พระนครธนบรุ ีมิใหต้ ้องแตกเพราะน้ำมือ
ศัตรู จึงมีการขุดแต่งทำกำแพงพระนครใหม่ ทรงจัดการให้มีการตรวจกำลังพลฉกรรจ์อีกเพื่อเรียกระดมเข้าหมู่สม
สังกัดพรรคในยามมีศึกได้ทันท่วงที อีกทั้งทรงให้หล่อปืนใหญ่ใช้เอง มีชื่อว่า พระพิรุณแสนห่า ด้านกองทัพเรือทรง
สร้างเรือรบ 100 ลำเศษ มีเรือพระทน่ี ง่ั สวุ รรณพิไชยนาวาท้ายรถ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้ทรงปรับปรุง
กิจการทหารให้เข้มแข็ง ด้วยการวางมาตรการต่าง ๆ คือ ทรงรวบรวมผู้ทีม่ ีความสามารถในการรบ มาร่วมกันกอบกู้
สถานการณ์ โดยทรงแตง่ ตั้งเจา้ พระยาจกั รี เป็นอัครมหาเสนาบดสี มุหนายก และเจ้าพระยาสุรสีห์ สองทหารเอก ผู้มี
ความสามารถสูงสง่ เปน็ แม่ทพั ไปปราบปรามอริราชศัตรู ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจกั ร
การจัดการกำลังพล คงยึดถือแบบแผนเดิม คือ ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหาร มีการสำรวจ
กำลังพล จงึ ต้องใช้มาตรการทไ่ี ด้ผลและสะดวกแก่การตรวจสอบ โดยการสกั พวกไพรแ่ ละทาส ทุกคนทีข่ ้อมอื เพ่ือให้
ทราบเมืองทีส่ งั กดั และชอื่ ผทู้ ี่เป็นนาย ทำใหท้ ราบจำนวนไพร่พลท่แี น่นอน และงา่ ยตอ่ การควบคุมบงั คับบัญชา
ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้มีการแสวงหาอาวุธที่มีอานุภาพสูงมาใช้ และได้รับอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ
จากตา่ งประเทศ ได้แก่ ปืนคาบศิลา ปืนนกสบั และปนื ใหญ่ สำหรับปนื ใหญ่นอกจากท่ีได้รับจากต่างประเทศแล้ว ยัง
ได้หลอ่ ขน้ึ ใชเ้ อง สำหรบั ป้องกันพระนครอีกดว้ ย
ด้านยุทธศาสตร์ทหาร มีการกำหนดเขตสงคราม ออกเป็นเขตหน้าและเขตหลัง เพื่อประโยชน์
ในการส่งกำลังบำรุง และใช้วิธียกกำลังไปสกัดยับยั้งข้าศึกที่มารุกราน ที่บริเวณชายแดน เพื่อป้องกันดินแดน
ในราชอาณาจกั รไม่ใหเ้ สียหายจากภัยสงคราม และไมเ่ ปน็ อนั ตรายต่อราชธานี อนั เปน็ หัวใจของราชอาณาจักร มีการ
ใช้ปืนใหญ่เพ่อื เพ่มิ อำนาจกำลังรบอย่างได้ผล โดยการใชป้ ืนใหญ่ชว่ ยส่วนรวม
สรุปการสงครามในสมยั ธนบรุ ี มี 7 ครั้ง
การทหารสมยั รัตนโกสินทร์
การทหารสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ราชอาณาจักรไทย ไดแ้ ผข่ ยายออกไปอย่างกว้างใหญไ่ พศาล ทกุ ทิศทางยงิ่ กว่าสมัยใด กลา่ วคือ ทางเหนอื ไดอ้ าณาจักร
ล้านนาไทย รวมทั้งหัวเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น เชียงตุง เชียงรุ้ง และหัวเมืองอื่น ๆ ในแคว้น สิบสองปันนา ทางด้าน
ตะวันออกได้หัวเมืองลาว และกัมพูชาทั้งหมด ด้านทิศใตไ้ ด้ดินแดนตลอดแหลมมาลายู ได้แก่ เมืองไทรบุรี เมืองกลัน
ตัน เมอื งตรงั กานู เมืองเประ และเมอื งปตั ตานี ด้านตะวนั ตก ได้หวั เมืองมะรดิ เมอื งตะนาวศรี และเมืองทะวาย ได้มี
สงครามกับพม่าหลายครัง้ ครง้ั ทสี่ ำคญั ได้แก่สงครามเกา้ ทัพ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2328
สมยั พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลศิ หล้านภาลัย การทหารยังคงดำเนินตามแบบอย่างเดิม ในรัชสมัย
ของพระองค์มีการสงครามไม่มากนัก เม่อื ปี พ.ศ. 2363 มขี า่ ววา่ พม่าจะยกทัพมารกุ ราน ทางดา้ นเมอื งกาญจนบุรี จึง
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกกำลงั ไปสกัดข้าศกึ สามแห่งดว้ ยกัน คอื ที่เมอื งกาญจนบรุ ี เพ่อื ยับยง้ั ขา้ ศกึ ทีจ่ ะยกเข้ามาทางด่าน
เจดีย์สามองค์ ที่เมืองเพชรบุรี เพื่อยับยั้งขา้ ศึกที่จะเข้ามาทางด่านสิงขร และที่เมืองราชบุรี เพื่อรักษาเมืองราชบุรีไว้
เนื่องจากการศึกสงครามลดน้อยลงไปมาก จึงได้มีการลดหย่อนการเข้ารับราชการทหารลง โดยลดลงเหลือปีละ 3
เดอื น จากเดิม 4 เดือน การปรบั ปรงุ ดา้ นการทหารที่สำคัญพอประมวลได้ ดังน้ี
-15-
การสรา้ งป้อมปราการ เพื่อปอ้ งกนั ขา้ ศกึ ท่ียกกำลงั มาทางเรือ ให้สร้างป้อมเพมิ่ เตมิ ณ เมืองที่ตั้งอยู่
บนปากแม่น้ำที่สำคัญทัง้ สิ้น คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางประกง คือ ปากแม่น้ำ
เจา้ พระยา ท่เี มอื งสมุทรปราการ ไดแ้ ก่ ปอ้ มปีกกา และป้อมตรีเพชร ทตี่ ำบลบางจะเกร็ง ซงึ่ อยูท่ างฝ่ังตะวันออกของ
แมน่ ้ำเจา้ พระยา เมื่อปี พ.ศ. 2371
การสร้างป้อมปราการที่เมืองหน้าด่าน สร้างป้อมปราการที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี
เพื่อป้องกันด้านตะวันตก คือพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2377 สร้างป้อมไพรีพินาศ และป้อมพิฆาตศัตรู ที่กาญจนบุรี เพื่อ
ป้องกันด้านตะวันออก คือ ญวณ เมื่อ พ.ศ. 2377 สร้างป้อมปราการที่ตำบลบ่อยาง เมืองสงขลา เพื่อป้องกันด้าน
ภาคใต้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2379
การสร้างเรือรบ เพื่อป้องกันข้าศึกที่เข้ามารุกรานทางทะเล เดิมไทยเรามีแต่เรือขนาดเล็ก บรรทุก
ทหารไม่ได้มาก จงึ ได้โปรดเกล้า ฯ ใหเ้ จา้ พระยานครศรีธรรมราช ดำเนินการตอ่ เรือตน้ แบบ เพอ่ื ให้ใช้ได้ ทั้งในแม่น้ำ
และในทะเล ได้มีการต่อเรอื ดงั กล่าวเปน็ จำนวน 30 ลำ ราคาลำละ 30 ชั่ง และได้พระราชทาน ชื่อเรือเหล่าน้ัน เช่น
เรือไชยเฉลมิ กรุง เรือบำรุงศาสนา เรืออาสสู้ มร เรอื ขจรจบแดน เป็นต้น
การสงครามและการปราบกบฏ ในห้วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2325-2362 อังกฤษได้ขยายอำนาจ
มาทางเอเชียใต้ และตะวันออกไกล ประเทศอินเดียเสียเอกราชให้แก่อังกฤษ และอังกฤษเริ่มทำสงคราม กับพม่า
อังกฤษได้ขอให้ไทยส่งกำลังไปช่วย ในฐานะที่เป็นมิตรประเทศของอังกฤษ และทราบว่าไทยกับพม่าเป็นศัตรูกันอยู่
ฝ่ายไทยไดจ้ ัดทหารไปชว่ ยอังกฤษตามที่ไดร้ ับการรอ้ งขอ แต่แล้วกต็ ้องยกทัพกลับ เพราะอังกฤษจะให้กองทัพไทยไป
ขึน้ อย่ใู ตบ้ ังคับบญั ชาของตน
ผลของสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่า อังกฤษยดึ ได้เมืองต่าง ๆ ทางใต้ของแม่น้ำสาละวนิ มาเป็น
เมืองขึ้นของอังกฤษท้ังหมด ทำให้ปิดเส้นทางที่พม่าใชเ้ ดินทัพมาทำสงครามกับไทย สงครามระหว่างไทย กับพม่าที่
ดำเนนิ มาเปน็ ระยะเวลายาวนาน ประมาณ 300 ปี จงึ ยุตลิ ง
กบฏเจ้าอนุวงศ์ อาณาจักรลาวตกอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี
มาถงึ ปี พ.ศ. 2369 เจา้ อนวุ งศแ์ ห่งเวยี งจันทน์ ถือโอกาสที่ความสมั พนั ธร์ ะหว่างไทยกับญวนไม่ราบรนื่ จึงพยายามจะ
แยกลาวออกจากไทย โดยอาศัยอิทธิพลของญวน เจา้ อนุวงศไ์ ดย้ กทัพเวียงจันทนเ์ ข้ามายึด เมืองนครราชสมี าไว้ได้ เมอื่
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 แล้วกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก ฝ่ายไทย ได้ส่งกองทัพขึ้นไปขับไล่
กองทัพลาว จากนครราชสีมาไปจนถึงเวียงจันทน์ ยึดเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ เจ้าอนุวงศ์หนีไปเมืองแง่อานของญวน
แตใ่ นที่สดุ ก็ถกู จบั ได้ และถูกสง่ มาทีก่ รงุ เทพ ฯ และถึงแก่พริ าลยั เม่ือถกู ขังอยูไ่ มน่ าน
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้เข้ามาตีหัวเมืองชายทะเล คือเมืองชมุ พร
เมอื งตะก่วั ทงุ่ เมืองตะกั่วปา่ และเมืองถลาง ฝา่ ยไทยใชก้ ำลงั ท้งั ทางบกและทางเรือเข้าตอ่ สกู้ ับพม่า สำหรับกำลังทาง
เรือจัดเปน็ 2 กอง คือ
กองแรก ยกกำลังทางเรือไปขึ้นบกที่เมืองไชยา แล้วยกกำลังไปทางบก ผ่านปากพนม เพื่อไปช่วย
เมืองถลาง
กองที่สอง ยกกำลังทางเรือไปขึ้นบกที่เมืองนครศรีธรรมราช สมทบกำลังกับกองทัพ
เมืองนครศรีธรรมราช แล้วยกกำลังไปทางบก เพื่อไปช่วยเมืองถลาง กองทัพไปไม่ทัน พม่าตีเมืองตะกั่วทุง่ และเมือง
-16-
ตะกั่วป่าแตกก่อน แล้วจึงข้ามไปเกาะถลาง ตีเมืองถลางแตก พอทราบข่าวว่ากองทัพไทยยกมา ก็ถอยหนีไปทางเรอื
กองทัพไทยจงึ เข้ายึดเมืองถลางไว้ไดโ้ ดยงา่ ย ฝ่ายไทยจับเชลยพม่าได้เป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2362 เมื่อไทยได้ทราบว่าญวนทำการขุดคลองลัดขนาดใหญ่ จากทะเลสาบเขมรมาออก
ทีเ่ มืองบันทายมาศ ใกลก้ บั ชายแดนไทยทางด้านตะวันออก จงึ ไดใ้ หส้ ร้างเมืองสมุทรปราการขึน้ ใหม่ และสร้างป้อมที่
เมืองน้ีจำนวน 6 ปอ้ ม โดยสร้างทางฝงั่ ตะวันออกของแม่นำ้ เจ้าพระยา 4 ป้อม
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตระหนักถึงการรุกรานของข้าศึกทางทะเล
ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นตามลำดับ จากกรณีของญวน และกรณีที่อังกฤษพิพาทกับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว ถึงกับทรงมีพระราชดำรสั ว่า "จะไว้ใจทางทะเลไม่ได"้ จึงไดโ้ ปรดเกลา้ ฯ ให้สร้างเรือรบแบบต่าง ๆ แบ่งได้
เป็น 3 ประเภท คือ
เรือสำหรับใช้ในลำน้ำ จำพวกเรือยาว ทำเป็นเรือกิ่ง เรือเอกชัย เรือรูปสัตว์ เรือศรี และเรือกราบ
ล้วนแลว้ เป็นเรอื ทใี่ ช้ในกระบวนพยหุ ยาตราชลมารค และใช้เปน็ พาหนะสำหรบั ยกกำลงั ไปทางลำน้ำ
เรือที่ใช้ในอ่าวตามชายฝั่ง เรียกว่า กำปั่นแปลง ได้มีการต่อเรือดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 80 ลำ
เมื่อปี พ.ศ. 2377 เอาไว้ใชท้ ่พี ระนคร 40 ลำ และนำไปใชต้ ามหัวเมืองชายทะเลอกี 40 ลำ
เรือกำปั่นใบใช้ในทะเล จมื่นไวยวรนาถ ร่วมกับฝรั่งชาวยุโรป ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในไทย
เป็นเรือกำปั่นรบสำหรับใช้ลาดตระเวนทางทะเล คือ เรือแกล้วกลางสมุทร มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ARIEL เป็นเรือ
ขนาดระวางขบั น้ำ 110 ตัน มอี าวธุ ปืนใหญ่ตดิ ตัง้ อยู่ 6 กระบอก ต่อมาก็ได้มีการตอ่ เรือกำปั่นใบเป็นเรือหลวงอกี หลาย
ลำ และเร่ิมจา้ งฝรงั่ ชาวยโุ รปมาเป็นนายเรอื เชน่ เรือระบิลบวั แกว้ เรือวิทยาคม และเรือแกล้วกลางสมุทร เป็นต้น
การทหารสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทรย์ ุคตอ่ มา (พ.ศ. 2394-2468)
ในห้วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ
และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นห้วงเวลาที่ชาติมหาอำนาจทางตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์
และจดั ตั้งอาณานิคมทางดนิ แดนทางตะวนั ออก โดยสรา้ งเงือ่ นไขต่าง ๆ ทำใหเ้ กิดปญั หาต่อดินแดน ในพระราชอาณา
เขต และประเทศไทยมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ไทยได้เริ่มปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยเลือกสรร เอาแบบอย่างที่ดี ของชาติ
มหาอำนาจทางตะวันตก มาประยุกตเ์ ขา้ กับหลักการเดิมของไทย เร่ิมด้วยการจดั การฝึกศกึ ษา เพือ่ พัฒนาในหลาย ๆ
ดา้ น ในด้านการทหารมีการเสรมิ สร้างกำลงั รบ และวางมาตรการการปอ้ งกนั ประเทศ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และ
สภาวะแวดล้อมของโลก
รัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ ฯ การปรบั ปรุงดา้ นการจดั และการฝึก
ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการทหารของไทย จากแบบเก่ามาเป็นแบบชาติตะวันตก มีการ
จัดตั้ง กองทหารหน้า โดยใหร้ วบรวมลูกหมู่กองมอญมาฝึกขึ้นอยู่ในกรมพระกลาโหม ทำการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธปืน
ทันสมัยครบครัน มีกำลังมากกว่ากองทหารอื่น ๆ เป็นหน่วยที่ต้องปฏิบัติภารกิจมากหน่วยหนึ่งในยามสงคราม
และเป็นหนว่ ยท่ีไปปฏบิ ัติการก่อนหน่วยอ่ืนเสมอ ส่วนหน้าท่ีในยามปกติคอื การปราบปรามโจรผรู้ ้ายตามหัวเมืองต่าง
ๆ ตลอดจนเข้าขบวนตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกครั้ง หน่วยนี้นบั ว่าเป็นหน่วยที่มีพัฒนาการที่สำคัญ
ตอ่ ไปในยคุ ตอ่ มา
-17-
กองเกณฑ์หัด ได้จ้างครูชาวอังกฤษมาฝึกสอน 2 คน คือ ร้อยเอก อิมเปย์ (Impey)
และร้อยเอก นอ๊ กซ (Knox) เปน็ นายทหารนอกราชการของกองทัพองั กฤษ ประจำอนิ เดยี มาเปน็ ครูฝกึ ทหาร วังหลวง
ฝึกทหารในกรมทหารอาสาลาวและเขมรที่เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์หัดแบบตะวันตกในวังหลวงคนทั่วไปเรียกทหาร
หนว่ ยนว้ี า่ ทหารอยา่ งยโุ รป
การศึกสงคราม เม่อื ปี พ.ศ. 2395 เจ้าเมอื งเชียงรุง้ ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธสิ มภาร ฝา่ ยไทยเห็นว่า
ประเทศพม่าหยอ่ นกำลงั ลง เนอื่ งจากอังกฤษตไี ดเ้ มืองมอญท่อี ยู่ทางด้านชายทะเล จงึ ได้ช่วยเหลือเมืองเชียงรุ้ง ให้พ้น
จากอำนาจของพม่าและจีนฮ่อ จึงใหท้ ัพไทยเขา้ ตีเมอื งเชียงตงุ แตเ่ นือ่ งจากหนทางไกลและกันดาร ต่างฝ่ายต่างคุมเชิง
กันจนเสบียงอาหารหมดและเกดิ การเจ็บป่วยขึน้ ในกองทพั จงึ ต้องลา่ ทัพกลบั ทำใหเ้ ชยี งรงุ้ ต้องตกไปเปน็ ของพม่า
กิจการทหารเรือ กิจการทหารเรือเริ่มแบ่งออกมาชัดเจน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2394 มีหน่วยทหารเรือ
2 หน่วยคือ ทหารเรือวังหน้า ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ มีหน่วยขึ้นสังกัดคือ
เรือ กรมเรอื กลไฟ กรมอาสาจาม และ กองทะเล ทหารมะรีน ขึน้ อย่ใู นบงั คบั บญั ชาของสมเด็จเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุ
รยิ วงศ์ (ชว่ ง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม มหี น่วยในสงั กดั คอื กรมอรสุมพล ประกอบดว้ ย กรมเรอื กลไฟ กรมอาสาจาม
และกรมอาสามอญ ทหารท้ังสองหนว่ ยนเี้ ป็นอสิ ระจากกนั
รชั สมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ ฯ (พ.ศ. 2411-2453)
1. การจดั ต้งั หน่วยทหารมหาดเล็ก เรม่ิ ต้นจากเม่ือ ปี พ.ศ. 2404 ได้มกี ารทดลองฝึกบตุ รขา้ ราชการ
ตามแบบยุทธวิธแี บบใหม่ แบบทหารหน้า เรียกกนั ว่า มหาดเล็กไล่กา และเม่อื ปี พ.ศ. 2450 ก็ไดช้ ื่อวา่ กรมทหารราบ
ที่ 1 มหาดเลก็ รักษาพระองค์
2. การปรับปรุงกรมทหารหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2414 ได้โอนทหารรักษาพระองค์ กองทหารล้อมวัง
และกองฝพี าย ซง่ึ เปน็ หน่วยทหารแบบเก่า เข้าสมทบกับกรมทหารหน้า กรมทหารหนา้ ได้รบั การปรับปรุงในดา้ นต่างๆ
มาโดยลำดบั มีหน่วยกองทหารม้า กองทหารดับเพลิง และกองทหารข่าวในสงั กดั นอกจากนั้นยงั โปรดเกล้า ฯ ใหก้ รม
ทหารหน้ารับเลขไพร่หลวง และบุตรหมู่ใด กรมใด ที่สมัครเข้ามาเป็นทหารเป็นเวลา 5 ปี จะได้ปลดพ้นหน้าที่
ประจำการ ทำให้มผี ู้มาสมัครเข้ารับราชการในกรมทหารหน้าเปน็ อนั มาก นับวา่ เปน็ จุดเร่มิ ต้นของการปลดปล่อยไพร่
ทงั้ หลายให้ไปสคู่ วามเปน็ ไท
3. การจัดกองทัพ กำลังในส่วนกลางหรอื ในกรงุ ได้รับการปรับปรุงมาโดยลำดับ โดยแยกทหารบก
และทหารเรือ จากกันเปน็ สดั ส่วน แตก่ องทัพหวั เมอื งยังคงเดมิ คอื แบง่ ออกเปน็ 3 ส่วน ดงั น้ี
3.1 กองทัพหวั เมืองฝ่ายเหนือ ในบังคับบญั ชาของสมหุ นายก
3.2 กองทัพหัวเมืองฝ่ายใต้ ในบังคบั บัญชาของสมหุ กลาโหม
3.3 กองทัพหัวเมืองชายทะเล ในบังคบั บัญชาของเจ้าพระยาพระคลงั
การจดั การทางทหารระหว่าง พ.ศ. 2430-2435
มีการขยายขนาดและปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยต่าง ๆ ประกอบด้วยทหารบก 7 กรม
และทหารเรือ 2 กรม เป็นอสิ ระแกก่ ัน ทกุ หน่วยข้นึ ตรงต่อพระมหากษตั ริย์ ในส่วนของกองทพั บก 7 กรม ได้แก่
กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารฝีพาย
กรมทหารปืนใหญ่ และกรมทหารช้าง
-18-
ในส่วนของทหารเรือ ได้มกี ารจัดตงั้ หนว่ ยตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2428 อยู่ 2 กรม คือ
- กรมเรือพระที่น่ังเวสาตร์ ทหารที่มาประจำหนว่ ยนี้โอนมาจากทหารแคตลิ่ง และทหารมะรีนใน
กรมคลงั แสงเดิม เรือในสงั กดั กรมน้มี อี ยู่ 9 ลำ
- กรมอรสุมผล มีกรมอาสามอญ และกรมอาสาจาม รวมอยู่ด้วย เรือในสงกัดกรมนี้มีอยู่ 8 ลำ
ดว้ ยกนั
การจัดตั้งกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการจัดระเบียบกระทรวงเสนาบดี
ตัง้ เปน็ 12 กระทรวง ในดา้ นการทหาร กำหนดให้กระทรวงกลาโหม เปน็ กระทรวงราชการทหาร
ในการจดั วางระเบยี บใหมค่ ร้งั นี้ ได้มีพระราชพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลใหม่แก่หน่วยทหารตา่ ง ๆ
ให้เป็นแบบเดียวกัน
การปรับปรุงกิจการทหารด้านอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ และเพื่อประโยชน์
แก่ราชการแผ่นดิน ในปี พ.ศ. 2431 ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขธรรมเนียมกำหนดอายุไพร่
โดยกำหนดไวด้ ังน้ี
บุตรหมู่ทหารเมื่ออายุย่าง 18 ปี ให้ไปลงบัญชีชื่อไว้ในกรมทหาร ครั้นอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
ตอ้ งไปประจำการฝึกหัดวชิ าทหาร จนอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ และเม่อื อายุครบ 22 ปบี ริบูรณ์ ใหม้ าเข้าเวรรับราชการ
ปีละ 3 เดือน จนอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ จึงปลดพ้นราชการ ทหารที่มีบุตรเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไป
ใหบ้ ดิ าปลดจากราชการในเวลานนั้ เว้นยามศึกสงคราม บุตรจะต้องเป็นทหารตามหมู่บิดาตน
สรปุ การสงครามสมัยกรงุ รัตนโกสนิ ทรต์ อนต้น มี 14 คร้ัง, การสงครามสมัยรัชกาลท่ี 9 มี 7 ครง้ั
สงครามคราวเสยี กรงุ ศรอี ยุธยา ครัง้ ท่ี 1
ความเปน็ มา
เมื่อพุทธศักราช 2077 พระไชยราชา ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกยกกำลังไปยึดอำนาจจาก
พระรัษฏาธิราชกุมารที่อยุธยาแล้วขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่าสมเด็จพระไชย
ราชาธิราชเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา กรุงศรีอยุธยาเริ่มบาดหมางกับพม่า เนื่องจากมอญที่เมืองเชียงกราน
(ใกล้เจดีย์สามองค์) ไม่ยอมอยใู่ ต้อำนาจพม่าหนีมาเข้ากับสยามพระเจ้าตะเบง็ ชะเวตี้ (มังตรา) ของพม่าไม่พอพระทัย
ทรงยกกองทัพมายึดเมืองเชียงกรานไว้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงกรานคืนโดยมีทหาร
โปรตุเกสราวหนง่ึ พันคนช่วยรบ ทำใหพ้ ม่าแคน้ มากนับเปน็ การเปิดศกึ สงครามระหว่างไทยกับพม่า เมื่อเสร็จสงคราม
สมเด็จพระไชยราชาธิราชพระราชทานที่ดินให้ชาวโปรตุเกสที่ช่วยรบสร้างบ้านเรือนและโบสถ์คริสต์ ที่ริมแม่น้ำ
เจ้าพระยาด้านใต้ของเกาะเมืองพระนครศรอี ยธุ ยา เป็นสงครามครง้ั ท่ี 1
ตอ่ มาสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคตในปีมะเมยี พ.ศ.2089 กรุงศรอี ยุธยาเกิดจราจลวุ่นวาย
ภายในพระนครเน่ืองจากท้าวศรีสุดาจนั ทร์พระสนมเอกของสมเด็จพระไชยราชาธริ าชมีสมั พันธก์ ับพันบตุ รศรีเทพแล้ว
แต่งตั้งให้เป็นขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน ปลงพระชนม์พระแก้วฟ้า (บางแห่งเรียกพระยอดฟ้า) แล้วท้าวศรี
สุดาจันทร์ก็สถาปนาขุนวรวงศาธิราชขึน้ ครองราชย์ เอาราชสมบัติครองราชยอ์ ยู่ได้ 42 วัน พวกขุนนางมีขุนพิเรนทร
เทพเป็นหวั หนา้ พร้อมใจกนั จับคนทง้ั สองประหารชีวิตเสยี แลว้ ยกพระเทียรราชาอนชุ าต่างพระมารดาของสมเด็จพระ
ไชยราชาธริ าชขน้ึ เป็นพระเจ้าแผน่ ดนิ ทรงพระนามวา่ สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ เมือ่ ปีวอก พ.ศ. 2091 ข่าวจลาจล
-19-
วุ่นวายในพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้รู้ไปถึงพม่า พระเจ้าตะเบงชเวตี้ จึงฉวยโอกาสยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเป็น
สงครามครัง้ ท่ี 2 ในปี 2091 พม่า ไดจ้ ัดทพั ทหาร 3 หมนื่ ชา้ งศึก 3 ร้อย มา้ ศกึ 2 พนั ตัว แบง่ เป็น 4 กองทพั (กองทพั
พระเจ้าตะเบงชเวต้ี กองทพั บเุ รงนอง กองทพั พระเจ้าแปร กองทัพพระยาพะสมิ ) ยกทพั เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิไดข้ ึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็
สงบดี แตพ่ ระเจ้าหงสาวดีไดย้ กทัพมาแลว้ จะถอยกลับกก็ ระไรอยู่ จงึ ขอเขา้ ไปชานเมืองเพอ่ื ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม
เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงทีท่ ุ่งลุมพลีอยู่ 3 วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณบ้านโผงผาง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงยกกองทัพออกไปตรวจดูข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทองทรงเครื่องอลังการ
ยุทธและไดเ้ สด็จทรงช้างตน้ พลายแก้วจักรพรรดเิ ปน็ พระคชาธาร มพี ระสุริโยทัยเอกอัครมเหสเี สด็จมาด้วย ทรงใส่ชุด
พระมหาอปุ ราชเสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษตั ริยเ์ ปน็ พระคชาธาร ส่วนพระโอรส (พระราเมศวรและพระมหินทราธิ
ราช)ได้ทรงช้างตน้ พลายมงคลจกั รพาฬและช้างต้นพลายพมิ านจักรพรรดติ ามลำดับ ทางฝ่ายพระเจ้าตะเบงชะเวต้ีได้
ทรงชา้ งพลายมงคลทวีป และพระเจา้ แปร ทรงได้ ทรงชา้ งพลายเทวนาคพนิ าย (อนึ่ง ชา้ งของพมา่ มคี วามสูงกว่าของ
ไทยประมาณ 1 คบื เจ็ดนวิ้ ) รายละเอยี ดในการรบ จะขอนำข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบบั ราชหตั เลขา ดังน้ี
“สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธริ าชเจา้ ได้ขบั พระคชาธารเข้าชนช้างกับกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสีย
ทใี หห้ ลังขา้ ศึก พระเจา้ แปรได้ทีจงึ ขับพระคชาธาร ตามไล่ชา้ งพระมหาจกั รพรรดิ พระสรุ ิโยทยั เหน็ ว่าพระราชสามีไม่
พ้นมือข้าศึกแน่ๆ แล้ว ด้วยทรงพระกตัญญูภาพจึงทรงขับพระคชาธารพลาย ทรงสุริยกษัตริย์เข้าออกรับ
แตพ่ ระคชาธารพระสุรโิ ยทัยเสียทขี า้ ศึก พระเจ้าแปรจงึ ฟันด้วยพระแสงของา้ ว
ถกู พระองั สก พระสรุ ิโยทัยขาดจนถึงราวพระถนั ประเทศส้ินพระชนมบ์ นคอช้าง .... พระโอรสทง้ั 2 พระองค์
จึงขับ พระคชาธารเข้าไปกันพระศพสมเด็จพระมารดาเข้า พระนคร” ทรงทำยุทธหัตถี ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง
ในวันอาทิตย์ ขน้ึ 6 คำ่ เดือน 4 ปวี อก พ.ศ. 2091
สมเดจ็ พระมหาจกั รพรรดิไดเ้ ชิญพระศพพระสุรโิ ยทัย ไปประดิษฐานยงั สวนหลวง หลงั จากนัน้ จึงทรง
พระราชทานเพลงิ ศพ แลว้ สร้างพระอารามตรงพระเมรุ โดยมเี จดยี ใ์ หญ่เรยี กว่า “วดั สวนหลวงสบสวรรค์” การศกึ ครั้ง
น้ันพม่ายังไม่สามารถจะตไี ทยได้ และพระมหาจักรพรรดทิ รงรับสัง่ ให้ พระมหาธรรมราชายกทัพของหัวเมืองทางเหนือ
ลงมาตีทพั พมา่ โดยด่วน ทัพพมา่ จะหนีไปทางดา่ นแม่ละเมา กองทัพไทยกไ็ ลต่ ามมาติดๆเขา้ ตพี ม่าล้มตายจำนวนมาก
เกือบจะทันทัพหลวงของพระเจา้ หงสาวดีท่ีเมืองกำแพงเพชร ด้วยเล่ห์กล พม่าจึงไดซ้ ุ่มทหารไวส้ องข้างทางดักรออยู่
พอกองทพั ไทยผ่านเขา้ ไปจึงถกู ลอ้ มจับตวั พระมหาธรรมราชา
และพระราเมศวรได้ ทางพระมหาจักรพรรดจิ งึ ทรงยอมสงบศกึ เพื่อนำทง้ั สองพระองค์กลบั มาโดยแลกกับช้างพลายศรี
มงคลและพลายมงคงทวปี กองทพั พมา่ จึงหนกี ลับไปได้
ตอ่ มาเมอ่ื ปี พ.ศ.2106 พระเจา้ หงสาวดีได้สง่ เคร่ืองราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจกั รพรรดิ
เพอื่ จะทลู ขอช้างเผอื ก 2 ชา้ ง (เนอื่ งจากกรุงศรีอยุธยามีช้างเผอื กอยู่ 7 ช้าง) นบั วา่ เป็นกลอบุ ายเพ่ือจะหาเร่ืองยกทัพ
มาตไี ทย ขนุ ศกึ และเสนาบดจี ึงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นด้วยท่ีจะประทานช้างเผือก 2 ช้าง เพื่อป้องกันการ
เกิดศึกสงครามเพราะว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีความชำนาญการศึกมาก ฝ่ายที่สองไม่เห็นด้วยที่จะประทาน
ชา้ งเผือก (มพี ระราเมศวร พระยา จกั รี พระสุนทรสงคราม) เพราะจะเปน็ การออ่ นข้อให้ ในวันขา้ งหน้าพระเจ้าหงสาว
ดีจะต้องเอาไทยเป็นเมืองขึ้น สรุปก็คือให้หรือไม่ให้ก็จะตี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีพระราชดำริไม่ประทาน
-20-
ชา้ งเผือก แลว้ มีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดงั น้ี “ชา้ งเผือกยอ่ มเกิดสำหรับบญุ บารมีของพระเจ้าแผน่ ดินผู้เป็นเจ้าของ
เมือ่ พระเจา้ หงสาวดไี ด้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูลย์คงจะได้ช้างเผอื กมาสู่บารมีเปน็ มน่ั คงอย่าได้ทรงวิตกเลย” และรับส่ังให้
เตรยี มไพรพ่ ลพร้อมรบอย่างเขม้ แขง็ ทางฝา่ ยพระเจ้าหงสาวดไี ด้ยกทพั รวมพลท่ีเมอื งเมาะตะมะ จัดทัพใหญอ่ อก เป็น
5 ทัพ มีเจ้าเมืองเชยี งใหม่ควบคุม กองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ 5 แสนคน
ส่วนทางอยธุ ยาไดเ้ ตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อปอ้ งกันการโจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางดา่ น
เจดยี ์สามองค์ แต่ ผิดคาดพม่ายกทัพมาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีกำแพงเพชรได้เมอื งแล้วแยกทัพไปตีสุโขทยั เนื่องด้วย
ทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบเป็นสามารถในที่สุดก็ถูกยึดเมือง จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก
พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน
หลังจากทพ่ี ม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้ว จึงบังคับใหพ้ ระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับ
ของพมา่ พรอ้ มท้งั สั่งใหย้ กทัพตามลงมาเพอ่ื ตกี รุงศรีฯดว้ ย กองทพั พม่ายกมาประชิดเขตเมืองใกล้ ทงุ่ ลมุ พลี พระมหา
จักรพรรดทิ รงให้กองทัพบก เรอื ระดมยิงใสพ่ ม่าเป็นสามารถ แต่สู้ไม่ได้จงึ ถอย ทางพมา่ จึงยดึ ไดป้ ้อมพระยาจักรี (ทุ่ง
ลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดทิ รงเห็นว่าพม่ามี
กำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปนื ใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วง
เวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวน
มากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด
เสียหายมาก ทางพระเจ้าหงสาวดีจึงมีสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก
พระมหาจักรพรรดิจงึ ทรงยอมเปน็ ไมตรี ทำใหฝ้ ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก 2 ช้าง เปน็ 4 ช้าง และทุกปตี ้องส่งชา้ งให้
30 เชอื ก พรอ้ มเงนิ 300 ชง่ั จบั ตัว พระยาจักรี ไปเปน็ ตัวประกัน นอกจากนีย้ งั จะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดท่ี
ขึ้นกับไทยอีกดว้ ย ขณะนัน้ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ 9 พรรษาถูกนำเสดจ็ ไปประทับที่กรุงหงสาวดเี พอื่
เป็นองคป์ ระกนั ดว้ ย
ภูมิประเทศ
- เมาะตะมะ – ด่านแม่ละเมา – กำแพงเพชร – นครสวรรค์ – อยุธยา- เชียงตุง – เชียงใหม่ –
พิษณโุ ลก – นครสวรรค์ – อยุธยา
การจัดกำลัง การวางกำลงั และการจดั รปู ขบวน
ฝ่ายพม่า ปลายฤดูฝน 12 ต.ค.2111 พระเจ้าหงสาวดีจัดกองทัพ เป็นกองทัพกษัตริย์ 7 กองทัพ
ด้วยกัน
1. กองทัพพระมหาอุปราชา
2. กองทพั พระเจ้าแปร
3. กองทพั พระเจา้ ตองอู กองทพั เหล่านี้มีทหารไทยใหญ่สมทบทุกกองทัพทงั้ 4 กองทพั
4. กองทพั พระเจ้าองั วะ
5. กองทัพพระราชบุตรซึ่งครองเมืองสารวดี สมทบกบั พวกเมอื งเชียงใหม่ เชยี งตุง
6. กองทัพหลวงของพระเจา้ หงสาวดี
7. กองทหารไทยของพระมหาธรรมราชา
-21-
กำลังพลประมาณ 500,000 คน เคลื่อนที่เข้ามาทางด่านแม่ละเมา รวมพลที่เมืองกำแพงเพชร
ข้นั ต้นการวางกำลงั กองทพั พระเจา้ หงสาวดีวางกำลังที่ทุ่งลมุ พลี แต่ฝา่ ยในกรงุ ศรอี ยุธยาเอาปนื ใหญน่ ารายณ์สังหารต้ัง
ยิงที่ ในช่องมุมสบสวรรค์ คือที่เป็นป้อมมุมเมืองตรงโรงทหารเก่าอยธุ ยา ยิงไปถงึ กองทพั พระเจ้าหงสาวดีได้รบั ความ
เสียหายมาก พระองค์จึงถอยทัพหลวงไปวางกำลังท่ีบ้านมหาพราหมณใ์ ห้พน้ ระยะยิงของปนื ใหญ่ และวางกำลงั ดงั น้ี
ด้านทศิ เหนอื กองทพั พระเจ้าตองอู กองกำลงั ของพระยาพะสิมและองค์พระอภัยคามินี ต้ังเรียงราย
กนั ขน้ึ ไปทางเหนือ
ด้านทศิ ใต้ กองทพั พระเจา้ องั วะ
ด้านทิศตะวนั ออก กองทัพพระมหาอปุ ราชา
ด้านทิศตะวันตก กองทัพพระมหาธรรมราชา ไม่เป็นด้านสำคัญ เป็นด้านแม่น้ำกว้างใหญ่มิใช่ทาง
จะเข้าตี กับกองทัพพระเจ้าเชียงใหมแ่ ละเจ้าฟา้ ไทยใหญ่
ฝ่ายไทย วางกำลังและเตรียมการป้องกันพระนครไว้แต่เนิ่น ทั้งยังมีปืนใหญ่ยิงไกลกวา่ เดิมไว้ขับไล่
พมา่ ทเ่ี ข้ามาประชิดพระนครอย่างการรบในคราวทแี่ ลว้ ใหถ้ อยห่างออกไปทัง้ ยังจดั กองแล่น หรอื กองหนุนเคลื่อนท่ีเร็ว
ไว้สนับสนุนแต่ละดา้ น ด้านละ 5 กอง ไวพ้ ร้อมแล้ว และวางกำลังตัง้ รับทั้ง 4 ดา้ น ตามแผนการปฏบิ ตั กิ าร
สงครามคราวน้ี มีการรบเกดิ ขน้ึ 2 แหง่ คือ
- การป้องกนั กรงุ ศรีอยุธยา
- กองทพั กรงุ ศรสี ตั นาคนหตุ ถกู ซุม่ โจมตีท่สี ระบุรี
การรบที่กรงุ ศรอี ยุธยา พระเจ้าหงสาวดีให้กองทัพพระมหาธรรมราชาไปตัดต้นตาลส่งมาให้ แล้วให้
พระมหาอปุ ราชาเป็นผู้บญั ชาการเขา้ ตีพระนครดา้ นทิศตะวนั ออกทิศเข้าตีหลัก ใหว้ างกำลังแนวแรกหา่ งคเู มืองออกมา
ประมาณ 30 เส้นก่อน แล้วอาศัยแนวนี้เป็นแนวเตรียมการ เมื่อพร้อมแล้วก็ให้รุกจากแนวเก่าเข้าไปอีก 10 เส้น
ด้วยการขุดดินเป็นสนามเพลาะและเชิงเทิน แล้วเอาไม้ตาลปักราบเป็นเสาระเนียดป้องกันลูกกระสุนปืนใหญ่ที่ยิง
ออกไปจากพระนคร ฝ่ายพม่าที่เข้ามาดัดแปลงพื้นที่ถูกทหารกรุงศรีอยธุ ยาเอาปืนใหญ่ยิงสูญเสียไปเป็นจำนวนมาก
ไ ม่สามาร ถเ ข้ามาปฏิบัติก าร ใน เว ลาก ลาง ว ัน ไ ด้ ต้อ ง ลอ บเข้ามาปฏิบัติก าร ใน เว ลาก ลาง คื น
ทางฝ่ายไทยที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยาก็ส่งหน่วยอาสาสมัครออกมาขัดขวางตลอดเวลา พระเจ้าหงสาวดีต้องส่งกำลังมา
เพมิ่ เติมอกี เปน็ อันมากจงึ ดัดแปลงแนวท่ี 2 ไดส้ ำเร็จ
เมอื่ พม่าวางกำลังในแนวที่ 2 ไดส้ ำเร็จม่นั คงแล้ว ก็รุกคบื หน้าเขา้ มาวางกำลังในแนวที่สามถึงคูเมือง
ตอนน้ีกำลังทั้ง 2 ฝ่าย เขา้ มาอยูใ่ กล้กนั ฝ่ายไทยจึงยงิ ได้แมน่ ยำทำให้ฝ่ายพมา่ สูญเสยี มากขึ้น จำต้องขุดอุโมงค์ยาวไป
ตามแนวค่ายปฏบิ ตั ิการแตใ่ นเวลากลางคนื พยายามอย่นู าน 2 เดอื นจงึ ส่งกำลงั เขา้ ประจำแนวที่ 3 ได้
การปิดล้อม เมื่อพม่าเข้ามาถึงคูเมืองแล้วก็ติดอยู่เพียงนั้นเพราะฝ่ายไทยใช้เรือรบซึ่งจัดหามาใหม่
ชว่ ยร่วมกนั ป้องกันพระนคร เมือ่ ฝ่ายพม่าข้ามคูมากถ็ ูกฝ่ายไทยยิงจนต้องถอยกลับออกไปหลาวคราวไม่สามารถข้ามคู
มาได้ พระเจา้ หงสาวดจี ึงให้ทพั เรือออ้ มลงมาทางสะพานเผาขา้ ว (ปจั จบุ ันคลองสีกกุ )มาออกทางบางไทรลงมาป้องกัน
มิใหท้ างฝา่ ยไทยส่งเรอื รบจากทางใตข้ ึ้นมาชว่ ยกรงุ ศรอี ยธุ ยาได้ ฝ่ายพม่าอยูใ่ นคแู นวท่ี 3 ก็ระดมถมคทู ำทางข้ามเข้าตี
พระนคร โดยแบ่งหนา้ ทร่ี บั ผิดชอบออกเป็น 3 ตอน
-22-
การเจาะ ตอนใต้ ให้กองทัพพระมหาอุปราชาถมคูทำทางข้ามตรงเกาะแกว้ (ตรงหน้าวัดสุวรรณดา
ราม) ตอนกลาง ให้กองทัพพระเจ้าแปรทำทางข้ามคูเข้ามาที่วัดจันทร์ตรงบางเอียน (หลังสถานีอยุธยา)
ตอนเหนือ ใหก้ องทพั พระเจ้าองั วะถมคทู ำทางข้ามตรงสะพานเกลือ (ทใี่ ต้วัดจนั ทร์เกษม)
พระเจ้าหงสาวดีคาดโทษแม่ทัพถึงชีวิต พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ต่างก็เกรง
พระราชอาญาก็ให้เอาไม้ตาลทำทุบทู (เครื่องบังตัวป้องกันอาวุธโบราณชนิดหนึ่ง) พอบังตัวทหารแลว้ รีบเร่งให้เข้ามา
ถมคลอง ทหารไทยในกรุงศรีอยุธยาเอาปืนใหญ่ยิงพม่าสูญเสียจำนวนมากแต่ก็ ยังหนุนเนื่องเข้ามา
มิไดข้ าด คนข้างหนา้ ตายลงคนข้างหลงั กเ็ อาดินถมทับศพเลยไปด้วยความกลัวพระอาญา
การตีโต้ตอบของฝ่ายไทย ขณะนี้เองลางร้ายฝ่ายไทย เผอิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวร
สวรรคตชาวกรุงศรีอยุธยาตา่ งหวา้ เหว่ พระยาราม พระยากลาโหม พระมหาเทพ ก็เหน็ วา่ ทกุ คนพากันยอ่ ท้อจะรักษา
แนวริมคูเมืองไว้ไม่ได้ จึงให้กองกำลังที่ยึดอยู่ถอยเข้ามาวางกำลังอีกแนวหนึ่งในพระนคร เอากำแพงเมืองเป็นแนว
หนา้ ต่อสู้ พระเจ้าหงสาวดีเห็นไดโ้ อกาสก็ส่งกำลงั เข้าตีทางดา้ นทิศตะวันออกพรอ้ มกนั พมา่ เขา้ เมืองได้ ตรงเกาะแก้ว
แตพ่ ระมหาเทพซึ่งรับผิดชอบด้านนเี้ ปน็ ผ้เู ข้มแขง็ การรบเอาแนวในเมืองท่ีดัดแปลงใหม่เปน็ ที่ม่นั ต้ังรับฝ่ายเข้าตีทำให้
ฝา่ ยพม่าสูญเสยี เปน็ อันมากไมส่ ามารถจะเขา้ ยึดพระนครได้ต้องถอนตัวข้ามคอู อกไป
เจรจา ฝ่ายพม่าวิตกเห็นใกลฤ้ ดฝู นอันเปน็ อาวุธร้ายจะทำลายกองทพั พมา่ ได้จึงใหพ้ ระมหาธรรมราชา
และพระวิสุทธิกษัตรีทำหนังสือไปบอกสมเด็จพระมหนิ ทร์ ควรขอเป็นไมตรีและมอบตัวพระยาราม (ผบ.สูงสุดฝีมือดี)
อุบายฝ่ายพม่า พระเจ้าหงสาวดีและพระมหาธรรมราชาคิดอุบายเอาตัวพระยาจักรีซึ่งได้ตัวไป
จาก กรงุ ศรอี ยุธยาคราวสงครามช้างเผือกพร้อมพระราเมศวร (ประชวรสนิ้ พระชนม์) อาสาเป็นไสศ้ ึกแกล้งให้จำคุมขัง
พระยาจักรีไปคุมไว้ในค่ายทางทิศตะวันตกและแกล้งให้ทำเป็นหลุดที่คุมขังไปได้ ฝ่ายพม่าตัดหัวผู้คุมเสียบประจาน
รมิ นำ้ ให้เห็นสมเดจ็ พระมหนิ ทรต์ ายใจรูไ้ มเ่ ทา่ ทนั ในอุบายประกอบกับต้องการแม่ทพั ฝีมือดีชว่ ยบัญชาการรบแทนพระ
ยาราม และเป็นคนทรยศจนเสียกรุงศรีอยุธยา เช่น พระศรีเสาวราช น้องยาเธอพระองค์หนึ่ง ซึ่งช่วยอำนวยการรบ
ขา้ ศึกอย่างเข้มแขง็ พระยาจกั รีกย็ ุยงหาว่าเป็นขบถจนถูกสำเร็จโทษ ข้าราชการ คนไหนฝีมอื ดีตอ่ สู้เขม้ แข็งกแ็ กล้งย้าย
หน้าท่ไี ปรกั ษาดา้ นไมม่ ขี า้ ศกึ เข้ามาเอาคนอ่อนแอไปรักษาหนา้ ทีส่ ำคัญ เมอ่ื กรุงศรีอยุธยาออ่ นแอมากแลว้ จงึ เปิดประตู
เมืองและให้สัญญาณไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดี จึงระดมเข้าตีพร้อมกันทุกด้าน กรุงศรีอยุธยาจึงแตกพ่ายแพ้แก่
พมา่ เมื่อ 7 ส.ค. 2112 ล้อมอย่นู าน 9 เดือน พระยาจักรีได้รบั การปูนบำเหน็จรางวัลจากฝา่ ยพมา่ อย่างดตี ่อมาไมน่ านก็
ถูกพระเจา้ หงสาวดีประหารชีวิตด้วยเกลยี ดชังคนทรยศต่อชาติ ไทยเสียกรงุ เพราะไทยทรยศกนั เอง กองทัพกรุงศรีสัต
นาคนหุตช่วยตีกระหนาบถูกซุ่มโจมตี ที่สระบุรีพระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาธรรมราชากับพระยาตามศุภอกั ษรปลอม
กรงุ ศรอี ยุธยาปลอมตราพระราชสีห์ประทับศุภอกั ษรสง่ ไปใหก้ องทพั ศรีสัตนาคนหุต ความว่า กองทพั หงสาวดีมาล้อม
กรุงนั้นเข้าตีพระนครหลายครั้ง กองทัพกรุงศรีอยุธยาต้านทานเอาไว้ได้ เดี๋ยวนี้อ่อนกำลังระส่ำระสา ยอยู่แล้ว
ขอใหก้ องทพั กรงุ ศรสี ัตนาคนหุตรีบลงมาช่วยตกี ระหนาบดว้ ย
ฝา่ ยพระเจ้าไชยเชษฐได้รบั ศภุ อกั ษรปลอมมไิ ด้สงสยั วา่ เปน็ กลอุบายจึงเร่งเคลอื่ นที่ลงมาโดยประมาท
เมอ่ื มาถงึ แขวงเมอื งสระบรุ ีทพ่ี ระมหาอปุ ราชาซุ่มอยกู่ ็ถกู โจมตี กองทพั ศรสี ตั นาคนหุตไม่ทันรู้ตัวแตกพ่ายยับเยิน เสีย
-23-
กำลงั ให้พระมหาอุปราชาจับมาได้เป็นอันมาก พระเจ้าไชยเชษฐาเห็นว่าเอาชนะศึกไม่ได้แลว้ ก็ถอยทัพกลับกรุงศรีสัต
นาคนหตุ
ผลของการรบ
1. ไทยเป็นฝา่ ยพ่ายแพเ้ สยี กรงุ ศรใี ห้แกพ่ ม่า
2. พมา่ กวาดต้อนกำลงั คน พลเมอื งไปเปน็ เชลยและยดึ ทรัพยส์ มบตั ไิ ปเป็นจำนวนมาก
3. พระมหาธรรมราชาได้เป็นกษัตริยค์ รองกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองข้ึนของพม่าต่อไปถึง 15 ปี
สมเดจ็ พระนเรศวรจึงกู้อิสรภาพได้
บทเรยี นจากการรบ
1. การตงั้ รับอยา่ งเดยี วไมส่ ามารถทำการรกุ ได้จึงตกเป็นฝา่ ยพ่ายแพ้
2. พื้นที่เดิมและแม่น้ำล้อมรอบพมา่ รู้จุดอ่อนและหาวิธีใหม่ เช่น วิธีเข้าประชิดพระนครโดยขุดคู
เป็น 3 ขนั้ นำตน้ ตาลมาปกั เปน็ ระเนยี ดป้องกนั ปืนใหญ่ไทย ทำสะพานคันดินขา้ มไดด้ ว้ ยความทรหดอดทน กล้าหาญ
3. ความแตกแยกความสามัคคีเป็นสาเหตุสำคัญให้เสียกรุงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับ
พระมหาธรรมราชาและพระยาจักรีมาเป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยาปรับเปลี่ยนแม่ทัพนายกอง ยุยงให้แตกแยก ความ
ทรยศของคนไทยดว้ ยกนั เป็นอาวุธไดผ้ ลเดด็ ขาด เปดิ ประตเู มืองใหส้ ญั ญาณฝ่ายพม่าเขา้ ตพี ร้อมกนั ทกุ ด้าน
4. กำลงั สำคญั หรือกองหนุนวางไวจ้ ุดเดยี วในกรงุ ศรี จดุ อื่นเมอื งอน่ื ไมม่ าช่วยทำให้ไม่สามารถช่วย
ตกี ระหนาบชว่ ยได้ ตอ้ งมีพนั ธมติ รในการทำสงครามเสมอขาดกองหนนุ ขาดแรงหนนุ เน่อื ง
การนำหลกั การสงครามมาใช้ของฝ่ายไทย
1. หลกั ความมุ่งหมาย วางไว้ท่ี นำ้ หลากไหลมาท่วมพมา่ ก็จะแพ้ไปเอง
2. หลกั การรวมกำลัง รวมกำลงั ทงั้ หมดไวใ้ นกรงุ ศรีอยุธยา
สมเด็จพระนเรศวร มหาราชทรงกูอ้ ิสรภาพและการรบครง้ั สำคัญ
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้าสรรเพชญ์ที่ 2 พระนามเดิม
วา่ พระองค์ดำ โอรส ของ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและ พระวิสทุ ธิกษัตรยิ ์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย
และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก พ.ศ. 2098 ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือ
พระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และทรงเป็น พระราชนดั ดาของสมเดจ็ พระ
ศรสี ุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อกั ษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช พระนเรศ (องค์
ดำ) จึงยังไมส่ ามารถสรุปได้ว่า พระนาม นเรศวรไดม้ าจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ
วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทร์ เมืองพิษณุโลก
จนกระท่งั เม่ือพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธริ าชเจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อน
นอ้ มตอ่ หงสาวดี และทำใหพ้ ิษณโุ ลกตอ้ งแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขนึ้ ตอ่ กรงุ ศรีอยุธยา และพระเจ้า
บุเรงนอง ก็ทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีและชุบเลี้ยงพระองค์ไว้ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกดิ
เมอื งนอนตั้งแต่มพี ระชนมายเุ พียง 9 พรรษา
-24-
พระนเรศวรไปประทับที่หงสาวดีในฐานะองค์ประกันจากพิษณุโลก และนอกจากพระองค์แล้ว
ยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองน้ันทรงให้เหล่าองค์
ประกันไดร้ ับการเลีย้ งดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใชเ้ วลา 8 ปีเต็มในหงสาวดศี ึกษายทุ ธศาสตร์ของพมา่
พระองคท์ รงศึกษาวชิ าศลิ ปศาสตร์ และวชิ าพิชัยสงคราม ทรงนยิ มในวิชาการรบทัพจบั ศึก พระองคท์ รงมโี อกาสศึกษา
ทงั้ ภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพมา่ มอญ และไดท้ ราบยุทธวธิ ี ของชาวต่างชาติต่าง ๆ ทม่ี ารวมกันอยู่ในกรุง
หงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำหลักวิชามาประยกุ ตใ์ ชใ้ ห้เหมาะกบั เหตุการณ์
และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดงั เหน็ ได้จากการสงครามทกุ ครง้ั ของพระองค์ ยทุ ธวธิ ที ี่ทรงใช้ ได้แก่ การ
ใช้คนจำนวนนอ้ ยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร
และเมอ่ื ปลายเดือน 5 ปีมะเสง็ พ.ศ. 2148 ได้เสด็จประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งแกว้ เกิดประชวรเปน็
หัวระลอกขึ้น (บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ที่เมืองหาง
เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ พ.ศ. 2148 เรื่องวันสวรรคตนี้ มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับ
พระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ในหนังสือ A History of Siam ของ
W.A.R. Wood กลา่ วว่าสวรรคตวนั ที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1605 - 25 เมษายน พ.ศ. 2148 พระชันษาได้ 50 ปี เสวย
ราชสมบตั ไิ ด้ 15 ปี การสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกดิ ขึ้นทงั้ หมด 15 ครงั้
การรบครง้ั สำคญั ของสมเด็จพระนเรศรมหาราช
ได้หยบิ ยกเพียง 2 ศึก คอื การรบที่เมอื งคัง (พ.ศ. 2124)
สาเหตุ หลังจากพระเจา้ บุเรงนองสวรรคต นันทบุเรงราชบุตรขนึ้ เปน็ กษัตริยแ์ ทน ทำให้เจ้าประเทศ
ราชไทยใหญ่ เชน่ เจา้ ฟา้ เมืองคังกระดา้ งกระเดอื่ ง และพยายามแยกตวั เปน็ อิสระ พม่าต้องการตเี มอื งคงั เพือ่ ปราบให้
เป็นตวั อย่างแก่ประเทศราชอ่ืนๆ จงึ จดั กองทัพให้เจ้านายรุ่นหนุม่ ของพม่าและของประเทศราช (ไทย) ทเี่ ห็นว่าเขม้ แขง็
ประชันฝีมอื กนั เพือ่ ให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในพระมหาอุปราช ซึ่งจะรบั รัชทายาทปกครองแผน่ ดนิ ต่อไป
แผนการรบท้ัง 2 ฝ่าย
เมืองคัง ใชภ้ ูมิประเทศทีไ่ ด้เปรียบตัง้ รบั เหนียวแนน่ แบบยดึ พื้นที่เส้นทางฝ่ายตรงข้ามบงั คับให้ข้ึนเขา
และเปน็ ทางแคบทำการเขา้ ตี
กำลงั การวางกำลงั และรูปขบวน
พระเจ้าหงสาวดีเคืองพระทัยที่เมืองคังแข็งเมือง จึงจัดเจ้านายชั้นเล็กรุ่นใหม่ได้คุ้นเคยกับการรบ
โดยจดั กำลงั เปน็ 3 กองทัพ ไปตีเมอื งคังเพื่อหวังเป็นเกียรติแก่พระมหาอปุ ราชา ดังนี้
1. พระมหาอุปราชา เป็นแม่ทพั หงสาวดี
2. พระสงั ขฑตั เป็นแมท่ ัพ
3. สมเด็จพระนเรศวร เปน็ แม่ทพั กองทัพไทย ฝา่ ยไทยใหญ่ ทัพเจ้าฟา้ เมอื งคงั ป้องกันในเมืองคงั
-25-
การปฏบิ ัตกิ ารรบ
การเข้าตีวันทห่ี น่ึง พระมหาอปุ ราชานำกำลังเขา้ ตีเป็นพระองคแ์ รก
เวลาออกตีเร่ิมแรกเวลา 22.00 พวกชาวเมืองพากันออกสู้อย่างเหนียวแน่น รบจนสวา่ งก็ไม่สามารถ
ยดึ เมืองได้ ทหารพากันเหนด็ เหนอ่ื ยต้องถอยกลับมา
วนั ทส่ี อง พระสงั ขฑัตเขา้ ตเี ป็นองค์ท่ีสอง เหตุการณก์ เ็ ป็นไปในทำนองเดียวกนั อีกในระหว่างสองวัน
แรกที่เป็นเวลาที่พระมหาอุปราชา และพระสังขฑัตเข้าตีนั้น สมเด็จพระนเรศวรเสด็จออกลาดตระเวนตรวจตราภูมิ
ประเทศ ทรงตรวจพบว่ามที างลับที่จะข้ึนไปยงั เมอื งคงั อกี ทางหน่ึง
วันที่สาม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำกำลังเข้าตีเป็นองค์ที่สาม การจัดกำลังเข้าตี พระองค์
ได้จดั กำลังในกองรบเปน็ 2 กอง ดังนี้
- กองท่ีหน่งึ มกี ำลังพลน้อย
- กองทส่ี อง มีกำลงั พลมาก
พอเวลามืดค่ำ
- กองรบที่ 1 ที่มีกำลังน้อยมาเข้าตีที่ด้านหน้า ซึ่งพระมหาอุปราชาและพระสังขฑัตเคยวางกำลัง
กองรบมาแลว้ สองคร้งั แล้ว
- กองรบที่ 2 ที่มีกำลังมากไปวางกำลังเข้าที่ตรงทางลับท่ีพบใหม่ โดยไปซุ่มมิให้ข้าศึกทราบ
ทัง้ สองกองรบต่างสงบน่ิงอยูจ่ นดกึ ถึงเวลาออกตี
เวลาออกตี 04.00 น. พอถึงเวลากองรบที่มีกำลังน้อยที่ซุ่มอยู่ ก็ได้รับคำสั่งให้ยิงปืนโห่ร้อง
ปฏิบตั กิ ารทำนองวา่ จะเขา้ ตีทางดา้ นน้ัน พวกชาวเมอื งคงั คดิ ว่าฝา่ ยเข้าตจี ะบุกขึ้นมาอย่างสองคราวท่แี ลว้ ประจวบกับ
เปน็ เวลามดื ไม่เหน็ กำลงั ทีเ่ ขา้ ตีวา่ มีเพียงใดก็พากันมารวมกำลังตอ่ สู้อยูท่ างด้านหน้าอยา่ งเคย สมเดจ็ พระนเรศวรตรวจ
การณ์เห็น กใ็ ห้สญั ญาณกำลังสว่ นใหญ่กองรบท่ีสอง รีบเคล่อื นทขี่ น้ึ ไปตามทาง ทพี่ บใหม่ พอเวลาเช้ามืดก็ยึดเมืองได้
และจบั เจ้าเมอื งคงั ได้
ผลจากการรบ
1. กองทพั ไทยซงึ่ เปน็ ฝ่ายพมา่ ไดร้ บั ชัยชนะ สามารถปราบเมอื งคังได้
2. สมเด็จพระนเรศวรได้รับการยกย่อง มีชื่อเสียงมาก หระมหาอุปราชา และพระสังขฑัต
มีความละอาย และเกลียดชังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระเจ้าหงสาวดีไม่พอใจ แต่ไม่
สามารถทำอะไรได้ นอกจากปนู บำเหนจ็ รางวัลตามประเพณี
3. เป็นมูลเหตุไทยและพม่าขดั เคอื งกนั และทำใหส้ มเดจ็ พระนเรศวรประกาศอิสรภาพท่ี เมอื งแครง
บทเรียนจากการบ
1. ความเฉลียวฉลาดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สองวันแรกที่พระมหาอุปราชาและ
พระสังขฑตั เขา้ ตีไมส่ ำเร็จแล้วนา่ จะเป็นการเข้าตีทยี่ ุง่ ยาก จงึ คดิ หาวธิ ีเขา้ ตใี หม่ให้ต่างจากเดิม (พลกิ แพลง) ใชร้ ูปแบบ
กลยุทธ์โอบ (เข้าตี 2 ทศิ ทาง) การเข้าตตี รงหนา้ อย่างเดยี วเปน็ ส่งิ ไม่น่ากระทำ
2. ข่าวสารทางภูมิประเทศเป็นสำคัญ พระองค์ตรวจภูมิประเทศพบว่ามีเส้นทางเข้าด้านหลัง
เมืองคังอีกเสน้ ทางหนึง่ จงึ เหมาะสำหรับการวางแผนเขา้ ตี 2 ทศิ ทาง เพื่อให้ทหารเมืองคังแบง่ กำลงั จากด้านหน้า
-26-
มาป้องกันด้านหลงั (เปน็ การทอนกำลงั ข้าศกึ )
3. แผนการเข้าตี พระองค์วางกำลังเข้าตีด้านหลัง เข้าตีหลักด้านหลัง เข้าตีรองด้านหน้า หรือ
ใช้การลวงทางด้านหน้าให้ชะล่าใจคงเป็นเช่นเดิม เพราะชาวเมืองคังมั่นใจในภูมิประเทศบีบบังคับไม่สามารถเข้าตี
ทศิ ทางอนื่ ได้
4. เปลี่ยนเวลาเข้าตีจากเดิม 22.00 น เป็น 04.00 น. เวลาธรรมชาติคนจะหลับสบาย ประมาณ
เวลาเข้าตียึดที่หมายได้ 2-3 ช.ม. เวลาสว่างพอดีจัดระเบยี บในที่หมายไดส้ ะดวก สำหรับแผนของมหาอุปราชา และ
พระสงั ขฑัต เข้าตเี วลา 22.00 น. เม่อื ยึดท่ีหมายได้ จัดระเบียบยังมดื อยยู่ ิ่งยากลำบากในการปฏิบัติ
วิเคราะห์การนำหลักการสงครามไปใช้ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะเห็นพระองค์นำหลักการสงครามไปใช้
เห็นอย่างเดน่ ชัด คอื
- หลักการรวมกำลัง คอื การรวมกำลังมากทางทิศเข้าตหี ลักคือด้านหลงั ซง่ึ ขา้ ศึกตา้ นทานน้อย
- หลักการออมกำลัง คือ การใช้กำลังน้อยเข้าตีทางด้านหน้าเป็นการลวงให้ข้าศึกแบ่งกำลัง
เข้าตา้ นทาน และเกบ็ กองหนุนไว้อีกส่วนหน่งึ ไว้ช่วยท้ังสว่ นเขา้ ตหี ลักและเขา้ ตรี อง
- หลกั การดำเนนิ กลยุทธ์ คือ ใชร้ ปู แบบการดำเนินกลยทุ ธ์แบบโอบ ดา้ นหลังที่หมาย
- หลักความง่าย คือ แผนและการปฏิบัติง่ายคล้ายแผนพระมหาอุปราชา และพระสังขฑัต
แต่เพม่ิ ทศิ ทางการเขา้ ตี 2 ทิศทาง เปลยี่ นเวลาออกตี
- หลักการจู่โจม คือ เวลาพลบค่ำ นำกำลังเข้าแนวออกตี ไม่ให้ข้าศึกเห็นกำลัง ประมาณการณ์
ขนาดกำลังไม่ได้ ตรวจการณ์ไม่เห็นคนและอาวุธ เข้าตีหลักทิศทางใหม่ที่คาดไม่ถึงเข้าตีลวงทางด้านหน้า ให้สมจริง
เหมือนเข้าตีหลกั เม่ือชาวเมอื งคังทุ่มกำลังมายบั ยง้ั ด้านหนา้ สมเด็จพระนเรศวรกท็ ุม่ กำลงั เข้าตดี ้านหลงั ดว้ ยกำลังมาก
ชาวเมืองไม่สามารถตา้ นทานไดจ้ นพระองคส์ ามารถเข้ายดึ เมอื งคังได้
การรบทีต่ ำบลหนองสาหร่าย ในศึกชนชา้ ง พ.ศ. 2135
สาเหตุ ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของพระมหาอุปราชาแห่งพม่า คราวสงครามครั้งที่ 9
เม่ือ พ.ศ. 2133 น้นั ทำให้พม่าร้สู กึ เสียเกียรตเิ ปน็ อันมาก เกรงวา่ ประเทศราชอน่ื ๆ จะพากนั กำเริบ และหม่ินพระบรม
เดชานุภาพของพระมหาอุปราชา ซึ่งจะครองราชย์สมบัติเป็นใหญ่ในบรรดาหัวเมืองพม่าสืบไป พระเจ้าหงสาวดีจึง
โปรดให้ พระมหาอปุ ราชายกกองทพั มาตีกรงุ ศรอี ยุธยาอีกครั้งท้งั ๆ ท่ีพระมหาอุปราชายงั มคี วามครนั่ คร้ามอยู่
การวางกำลัง และการจัดรปู ขบวน
ฝ่ายพมา่ พระเจ้าหงสาวดจี ัดกองทพั จากการเกณฑ์กำลังคน 3 หวั เมอื ง คอื
- กองทัพเมืองหงสาวดี กองล่วงหน้า เจ้าเมืองจาปะโร กองกำลังส่วนใหญ่ พระมหาอุปราชา
เคลื่อนทเี่ ขา้ ทางดา่ นพระเจดียส์ ามองค์
- กองทพั เมืองแปร พระเจ้าแปร
- กองทพั เมอื งตองอู ลกู เธอพระเจา้ ตองอู ชื่อ นดั จนิ หน่อง
ฝา่ ยไทย พอถึงเดือน ม.ค. 2135 มีการเกณฑ์ทพั ไปตีเขมร สมเดจ็ พระนเรศวรขัดเคืองพระทัยคราว
เสยี กรุง พ.ศ. 2112 เขมรมาซำ้ เติมไทยยงั ไม่ได้แกแ้ คน้ กำหนดเคล่อื นทไ่ี ปเขมรกลางเดอื น ม.ค. 2135
-27-
พอออกคำสัง่ ไปได้ 6 วนั ในวันที่ 14 ธ.ค. 2135 ได้รบั ข่าวจากเมอื งกาญจนบรุ วี ่ากองทพั หงสาวดีเคล่ือนท่ี เขา้ มาทาง
ด่านพระเจดีย์สามองค์ ตอ่ มากท็ ราบว่าหวั เมอื งเหนอื ว่ามีข้าศึกเคล่ือนทม่ี าอีกทางหนง่ึ ดว้ ย
สมเด็จพระนเรศวรทรงดำริว่า ข้าศึกเคลื่อนที่มา 2 ทิศทาง มารวมกันได้ก็จะมีกำลังมาก จะต้อง
ชิงทำลายทัพพระมหาอุปราชาที่เคล่ือนมาถึงเสียกอ่ นการเปล่ียนแปลงท่ีรวมพล จึงรับสั่งให้ย้ายท่ีรวมพลกำหนดไว้ท่ี
ทุ่งบางขวด เพื่อไปตกี มั พูชาใหไ้ ปตงั้ ที่ทุ่งป่าโมก แขวงเมอื งวิเศษไชยชาญ อันเป็นทางรว่ มท่จี ะไปสุพรรณบุรีและเมือง
เหนือ
การปฏิบัติการรบ (มหายทุ ธสงครามยุทธหัตถี)
รุ่งเช้า 18 ม.ค.2135 ทุกกองทัพพร้อมรบแต่เช้า สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ
ต่างแตง่ พระองคท์ รงเคร่ืองยทุ ธพชิ ัย ช้างพระทีน่ ่งั ทั้งสองพระองค์ คือ
- พลายภูเขาทอง ชั้นระวางเป็นเจ้าพระยาไชยานุภาพ เป็นพระคชาธารสมเด็จพระนเรศวร
มหาราช เจ้ารามราฆพ เปน็ กลางชา้ ง พระมหานุภาพเป็นควาญชา้ ง
- พลายบุญเรือง ชั้นระวางเป็นเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธารพระเอกาทศรถ
หม่ืนภักดศี วรเปน็ กลางชา้ ง ขนุ ศรีคชคง เป็นควาญช้าง พร้อมด้วยนายแจง จตุลงั คบาท
การปะทะ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงยินเสียงปืนดังสนั่นหน้าทัพ จึงดำรัสให้เจ้าหมื่นทิพเสนา
ปลัดกรมตำรวจ เอามา้ เร็วไปดเู หตกุ ารณจ์ ึงไดน้ ำตวั ขุนหมน่ื ในกองทพั ในพระยาศรีไสยณรงค์มากราบทูลถวายรายงาน
วา่ กำลงั ของพระยาศรีไสยณรงคไ์ ปปะทะกับข้าศึกท่ี ต. ดอนเผาข้าว เมอ่ื เวลาเช้า 7 นาฬิกา จงึ ทำการตอ่ สกู้ ัน ข้าศึก
มีจำนวนมากต้านทานไม่ไหวจึงแตกมา สมเด็จพระนเรศวรดำรัสปรึกษาแม่ทัพ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ว่า ใน
เหตุการณ์เช่นนั้นทำอย่างไรดีบรรดาแม่ทัพและนายทหารชั้นผู้ใหญ่กราบทูลว่า ให้ส่งกองหนุนขึ้นไปต้านทานให้อยู่
เสียก่อน แล้วจึงนำกำลังทพั หลวงเข้าตภี ายหลัง สมเดจ็ พระนเรศวรไมเ่ ห็นดว้ ย ดำรัสว่ากองทพั แตกฉานมาอย่างนี้แล้ว
จะส่งกองหนนุ ไปช่วยอยา่ งไรก็ต้านทานไม่ได้ เม่ือปะทะแลว้ กพ็ ากนั ถอยมาดว้ ยกนั จงึ รบั สง่ั ให้เจ้าหม่นื ทิพย์เสนาจม่ืน
ราชามาตร์ ขึ้นม้าเรว็ รีบไปประกาศแก่ทหารในกองของพระยาสีไสยณรงค์ว่าไม่ตอ้ งตา้ นทานข้าศกึ ใหถ้ อยไปได้ เมื่อได้
รบั ทราบกระแสรับสั่งแล้วต่างกพ็ ากันถอยลงมาอยา่ งไมเ่ ปน็ ระเบียบ ฝ่ายพมา่ เหน็ ฝ่ายไทยแตกถอยลงมา เหน็ ได้ทีก็ไล่
ติดตามลงมาอย่างไม่หยุดยัง้
การรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงสงบทัพหลวงจนกระทั่งเวลา 11 นาฬิกา เห็นข้าศึกไล่ติดตามมา
ไม่เป็นขบวน สมความคาดหมาย ก็ดำรัสสั่งให้ส่งสัญญาณให้กองทัพทั้งหลายออกตีข้าศึกได้ขณะนั้นพระองค์และ
สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นทรงพระคชาธารทัพหลวงเข้าตีโอบหน่วยนำของข้าศึกทันทีส่วน กองทัพเท้า พระยา
ต่าง ๆ ได้รับกระแสรับสั่งชา้ บา้ งเร็วบ้างเคลื่อนที่ไม่ทันตามเสด็จส่วนมาก มีแต่กำลังทหารของพระยาสีหราชเดโชชัย
กับของพระยามหาเสนาบดีซึ่งเป็นปกี ขวา ที่เคลื่อนที่ติดตามทัพหลวงหรอื กำลังส่วนใหญเ่ ข้าโจมตีข้าศึกได้กำลังส่วน
หน้าของขา้ ศึกกำลงั ระเริง ไล่ตดิ ตามมาโดยประมาทมิได้คดิ วา่ จะมีกำลัง ของกองทพั ไทยไปตา้ นทานไวก้ ็ปะทะกัน เสีย
ขบวนทำให้เกดิ สับสนแล้วแตกหนีเป็นอลหม่านในเวลาน้ันช้างพระทนี่ ง่ั ซงึ่ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรง
ไปนัน้ เปน็ ชา้ งชนะงากำลังตกมันทั้งสองเชอื ก เมอื่ เห็นช้างข้าศึกหันหนา้ พากนั หนี กอ็ อกวงิ่ ไล่ตามสมเด็จพระนเรศวร
และสมเด็จพระเอกาทศรถเข้าไปอยู่ในกลางวงข้าศึก มีแต่พระจตุลังคบาทกับพวกทหารรักษาพระองค์ตามติดไป
เท่านั้น เพราะเวลานี้กำลังทำการรบกันอย่างโกลาหลฝุ่นฟุ้งตลบจนมัวทั่วทิศ พวกแม่ทัพและผู้บังคับหน่วยต่างๆอยู่
-28-
ห่าง ไม่เห็นว่าเสด็จล่วงเลยเข้าไป แม้ข้าศึกเองก็ไม่เห็นพระองค์ถนัด ช้างพระที่นั่งของทั้ง 2 พระองค์รุกไล่ข้าศึกไป
ประมาณ 1 กิโลเมตร พอฝนุ่ จาง กท็ อดพระเนตรเหน็ พระมหาอุปราชทรงคชาธารอยใู่ ต้ร่มไม้อยกู่ ับเจ้าพระยาทง้ั หลาย
จึงทรงทราบว่าชา้ งพระท่ีนัง่ ของพระองคเ์ ข้าไปจนถึงกลางกองทพั หลวงของข้าศึกแล้ว
ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสติมั่นไม่หวาดหวั่น ทรงเห็นทันทีว่าทางที่จะเอาชนะ
มีอยู่ทางเดียว คือ ต้องทำยุทธหัตถี จึงทรงขับช้างพระทีน่ ่ังตรงไปยงั หน้าชา้ งพระมหาอุปราชา แล้วร้องตรัสไป ด้วย
ฐานะคุ้นเคยกันมาก่อนว่า “เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม เชิญเสด็จมากระทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด
กษตั ริยภ์ ายภาคหน้าจะชนชา้ งได้อยา่ งเราจะไมม่ อี ีกแลว้ ”
ขณะทส่ี มเดจ็ พระนเรศวรท้าชนช้างอยนู่ ั้น ท่ีจรงิ เสดจ็ อยู่ทา่ มกลางหมู่ทหารข้าศึก มีแต่ช้างพระที่
น่ังสองชา้ ง กับทหารรักษาพระองค์เพยี งไมก่ ค่ี น ถ้าพระมหาอปุ ราชสง่ั ใหพ้ วกทหารทีม่ ีอยู่ในน้นั รมุ เขา้ รบพุ่ง ก็เห็นจะ
ไมพ่ ้นอันตราย หากแต่พระมหาอปุ ราชพระทัยเปน็ วสิ ัยกษัตริย์เหมือนกนั เมือ่ ได้รับฟังคำทา้ จะไมร่ ับ ก็ทรงละอาย จึง
ขบั ชา้ งพลายพทั ธกอ เป็นคชาธาร ตรงเขา้ ชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพพระคชาธาร ของสมเด็จพระนเรศวร
ฝ่ายเจ้าพระยาไชยานุภาพกำลังคลั่งน้ำมัน เห็นช้างข้าศึกตรงออกมา ก็โถมเข้าแทงทันทีไม่ยับยัง้
เสยี ทีพลายพัทธกอไดล้ ่างแบกรนุ เอาเจ้าพระยาไชยานภุ าพเบนจะไปขวางตวั พระมหาอุปราชาไดท้ ฟี นั ดว้ ยพระแสงขอ
ง้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทันถกู แต่พระมาลาหน้าขาดวิ่นไป พอเจ้าพระยาไชยยานุภาพสะบัดหลุด
แล้วกลับฐานได้ล่างแบกถนัดรุนเอาพลายพัทธกอหัวเบนไป สมเด็จพระนเรศวรก็จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวถกู พระ
มหาอปุ ราชาที่ไหล่ขวาขาด จบสน้ิ พระชนม์ อยกู่ ับคอช้าง
สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปะโร (พ่ีเล้ียงพระมหาอุปราชา) ฟนั เจา้ เมืองจาปะ
โรเสยี ชวี ติ เช่นกนั บรรดาเจ้าพระยาเมืองหงสาวดีเหน็ พระมหาอุปราชาเสียทถี ูกฟนั ต่างกก็ รกู ันเข้ามาชว่ ยแกไ้ ข ใช้ปืน
ระดมยิงตัวสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ถึงบาดเจ็บ และถูกนายมหานุภาพควาญช้างพระที่นั่ง กับหมื่นภักดีศวร
กลางช้างของสมเด็จพระนเรศวรเสียชีวิตทั้ง 2 คน ขณะนั้นกำลังกองทัพของ พระยาสีหราชเดโชชัย และกองทัพ
เจ้าพระยามหาเสนาตามไปทนั จึงเข้าทำการรบแกก้ นั นำสมเดจ็ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถออกมาพ้นจากกองทัพ
ข้าศึกได้ บรรดาเจ้าพระยาหงสาวดีกำลังตกใจเพราะมหาอุปราชา ผู้เป็นจอมทัพสิ้นพระชนม์ มิได้คิดจะทำการรบ
ต่อไปต้องการรวบรวมพลแล้วกลับค่ายเดิม ก็พากันหยดุ ยั้ง อยู่เฉย ๆ กองทัพ หงสาวดีแตกยับเยินแต่เพียงทัพเดียว
ทัพอื่นมิได้แตกด้วย ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวร เห็นว่าข้าศึกชะงักงันอยากจะตีให้แตกยับเยินไป แต่กำลังของกองทัพ
เสด็จไปเวลาน้ันมีนอ้ ยกจ็ นพระราชหฤทยั จงึ จำต้องเสด็จกลับก่อน พวกกองทัพหงสาวดีรวบรวมกำลงั พลได้แล้วก็เชิญ
พระศพพระมหาอุปราชาเสด็จทัพกลับหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงระแวงกองทัพข้าศึกที่จะเคลื่อนมาจากทาง
เหนอื จงึ มิได้ไล่ติดตาม
พระเกยี รตเิ ลื่องลอื ไปทัว่ ทกุ ทศิ สมเด็จพระนเรศวรมีชัยในการยทุ ธหัตถีครั้งนี้ พระเกยี รติยศเลื่อง
ลอื ไปท่ัวประเทศด้วยเหตนุ ี้สมเดจ็ พระนเรศวรจงึ ทรงโปรดใหส้ ร้างพระเจดยี ์ขึน้ องคห์ นงึ่ ตรงท่ีซงึ่ ชนชา้ งกบั
พระมหาอุปราชาตามเยี่ยงอย่างพระเจ้าอภัยทุฏฐคามณี ได้ทรงสร้างเจดีย์ในลังกาทวีป ตรงที่ทำยุทธหัตถี
กับพระเอฬาระทมฬิ ซึ่งเรือ่ งปราบกบฏในหนงั สอื มหาวงศ์ พระเจดีย์ปรากฏอยู่วดั ฐานได้กว้างด้านละ 10 วา สูงตลอด
ยอดเดิม 20 วา ราษฎรเรยี กตำบลนี้ว่า ดอนเจดยี ์ อยูห่ า่ งหนองสาหร่ายราว 100 เสน้ (1 วา/2 เมตร, 20 วา/1 เส้น)
ดงั ปรากฏทกุ วนั น้ี
-29-
- ชา้ งพระท่นี ่ังที่ชนะศึก กพ็ ระราชทานชอื่ วา่ “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”
- พระแสงของ้าว ที่ทรงประหารพระมหาอุปราชา ก็ทรงได้พระนามว่า “เจ้าพระยาแสนพลพา่ ย”
ถอื ว่าเปน็ พระแสงศักดส์ิ ิทธิ์สำหรับพระเจ้าแผน่ ดินทรงพระคชาธารในรชั กาลหลังๆ สืบตอ่ มา
- พระมาลา ซึง่ สมเดจ็ พระนเรศวรทรง ก็ปรากฏนามวา่ “พระมาลาเบี่ยง” จนตราบทุกวนั น้ี
ผลจากการรบ
1. ไทยมีชัยชนะเดด็ ขาด แมท่ ัพใหญต่ ายในทีร่ บ ทำให้พม่าเกรงกลัวไมก่ ล้ารกุ รานไทยไปอีกนาน
2. สมเดจ็ พระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถไดร้ ับพระเกยี รตยิ ง่ิ ใหญ่
3. สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้สร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นที่ระลึกในชัยชนะครั้งนั้นที่ดอนเจดีย์
สุพรรณบุรีกับสร้างเจดีย์ชัยมงคลขึ้นทีวัดป่าแก้ว ซึ่งพระพนรัตน์ (วัน) พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า
อาวาส ตอ่ มาเรียกชอ่ื นัน้ ว่า วดั ใหญ่ชยั มงคล ตามช่อื พระเจดยี ์
4. กองทัพไทยมีจติ ใจรุกรบพร้อมแกแ้ คน้ ที่พม่าบุกรกุ ไทย
บทเรียนจากการรบ
1. งานด้านข่าว เป็นสำคัญในการจัดเตรียมกองทัพ พอทราบข่าวจากเมืองกาญจนบุรี และฝ่าย
เหนอื สมเด็จพระนเรศวรจงึ นำมาทำแผนเพ่อื ทำลายข้าศึกอยา่ ใหข้ า้ ศึกรวมกนั ไดจ้ ะมกี ำลงั มาก
2. ความกล้าหาญ ไหวพริบและความเป็นผู้นำของแม่ทัพสมเด็จพระนเรศวรท้าชนช้างกับ
พระมหาอปุ ราชาทันทไี มส่ ู้กล็ ะอายเปน็ โอกาสที่สมเดจ็ พระนเรศวรจะเอาชนะได้
3. การนัดหมายให้อาณัติสัญญาณเป็นสิ่งสำคัญในการรบ ดังเช่นแม่ทัพนายกองส่วนมากของไทย
นำกำลงั ตามสมเดจ็ พระนเรศวรไมท่ ันเพราะไม่ทราบการนัดหมายและอาณัติสัญญาณ
4. การรูจ้ ติ ใจ ความรู้ ความสามารถ ของแมท่ ัพฝ่ายตรงข้ามทำใหไ้ ดเ้ ปรยี บในการรบ
วิเคราะห์การนำหลักการสงครามสงครามไปใช้
1. หลักความมุ่งหมาย สมเด็จพระนเรศวรใช้หลักการข้อผิดพลาดเด่นชัดในการจะได้ชัยชนะ
ต้องเขา้ ตี ยึด ทำลาย จดุ ศูนยด์ ุล จงึ จะได้ชัยชนะ สมเดจ็ พระนเรศวรวางความมงุ่ หมายการทำสงคราม คอื ฆา่ แมท่ พั ได้
กจ็ ะได้ ชัยชนะ จงึ ทา้ ชนชา้ ง
จุดศูนย์ดุล = หัวใจฝ่ายตรงข้าม เมื่อถูกทำลาย ทำให้พ่ายแพ้เสียเปรียบ เช่น แหล่งพลังงาน ผบ.
หน่วย เรดาร์ ขีปนาวธุ
จุดแตกหัก = ยึดได้แล้วทำใหฝ้ า่ ยตรงขา้ มเสยี เปรียบ ภมู ิประเทศสำคญั
จุดผกผนั = หน่วยหมดแรงในการเคลื่อนท่ี ตอ้ งปรับแผนท่จี ะรุก รับ หรือร่นถอยต่อไป
2. หลักการออมกำลัง สมเด็จพระนเรศวรทรงทำการออกสู้รบกับพม่านอกกรุงศรีอยุธยาโดยมี
กองหนุนสว่ นหนึง่ อยใู่ นกรงุ ศรอี ยธุ ยา ใชก้ ำลังกองโจรตัดรอนกำลังพม่าตลอดการดำเนนิ การสงครามเพ่ือให้กำลังฝ่าย
พม่าออ่ นแอ (หลกั นยิ มสงครามกองโจรสมยั น้นั คอื ทำกอ่ นระหวา่ ง และหลงั สงครามตลอดการรบ)
3. หลักการดำเนินกลยุทธ์ สมเด็จพระนเรศวรทรงเปลี่ยนวิธีรบจากการรบด้วยวิธีตั้งรับ
เปน็ การเข้าตใี นระยะเวลาส้ันๆ โอบปกี ขวา
-30-
4. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชามีสมเด็จพระนเรศวรเป็นจอมทัพและสายการบังคับบัญชาที่
ชดั เจน
5. หลักการระวังป้องกัน จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวร การเคลื่อนทัพหลวง มีการจัดกองโจร
ให้พระอมรนิ ทรฤาชัย เจ้าเมืองราชบรุ ี นำกองโจร 500 คน คอยซุ่มโจมตีการลำเลยี ง และรื้อสะพานตามเส้นทางการ
เดินของข้าศึกด้านหลัง สำหรับส่วนกำบังให้พระศรีไสยณรงค์เป็นผู้บังคับกองกำลัง และพระยาราชฤทธานนท์เป็น
ยกกระบัตร นำกำลังไปขัตตาทพั ตา้ นทานข้าศกึ อยู่ท่ลี ำน้ำท่าคอย แขวงเมืองสพุ รรณบรุ ี
6. หลักความง่าย สมเดจ็ พระนเรศวร ใช้แผนง่ายๆ โดยปล่อยใหฝ้ ่ายพม่าเปน็ ฝา่ ยไล่ติดตามในขั้นต้น
อย่างได้ใจคิดว่ากองทพั ไทยมีน้อย ใช้กำลังปีกขวาโอบเข้าตีถึงทัพหลวงของพระมหาอปุ ราชา ขณะอลหม่านและฝุ่น
ตลบมองไม่เห็นกนั จงึ เป็นโอกาสเขา้ ถึงพระมหาอปุ ราชาได้
สงครามคราวเสยี กรุงศรีอยุธยา คร้งั ที่ 2 (พ.ศ.2310)
สาเหตุ จากหลักฐานหลายฝ่ายระบุตรงกัน พม่าเข้ามาตีไทยครั้งนี้เพราะเห็นไทยอ่อนแอ
ในด้านการต่อสู้จงึ ถอื โอกาสมาตีกรงุ ศรีอยุธยา โดยมคี วามมงุ่ หมายท่จี ะปลน้ เอาทรพั ยจ์ ับเชลยเปน็ ประการสำคัญ พระ
เจ้ามงั ระกษัตริย์พมา่ ใหเ้ นเมยี วสีหบดยี กกองทพั เข้ามาทางเมืองเชยี งใหม่
ภมู ิประเทศ
ทางเหนือ จากเชียงใหม่ทั้งทางบกและทางเรือใช้เสน้ ทางเคลื่อนที่เชียงใหม่ - ตาก - กำแพงเพชร–
นครสวรรค์ ทางเรอื ใช้แมน่ ้ำปิง และแมน่ ้ำเจา้ พระยา – พระนครศรีอยุธยา
ทางตะวันตก ด่านเจดีย์สามองค์จากเมาะตะมะ แล้วเดินบกข้ามแม่น้ำสะกวิก – แม่น้ำกษัตริย์
ข้ามภูเขาเข้าแดนไทยด่านเจดีย์สามองค์มาลำน้ำแควน้อยเป็นภูมิประเทศยากลำบาก เป็นป่าและภูเขาสูงชันลับ
ซบั ซ้อน อากาศหนาวเยน็ ฤดูรอ้ นอากาศร้อนจดั แห้งแลง้ กรงุ ศรอี ยธุ ยา เปน็ เมืองทแี่ มน่ ้ำ 3 สายลอ้ มรอบ เจ้าพระยา
ลพบรุ ี ป่าสัก เป็นทโี่ ลง่ พื้นการยิงดี ถกู ลอ้ มง่ายรบยดื เยือ้ ยาวนานอดตาย ใชน้ ำ้ หลากเป็นอาวธุ สำคญั หาพม่าข้าศึกอยู่
ไม่ไดถ้ อยหนีไป
การปฏิบตั กิ ารรบ
ข้นั ท่ี 1 กองโจรปล้นสะดมหัวเมอื งตา่ ง ๆ ม.ิ ย. 2308 พม่าส่งกำลงั เข้าปล้นสะดม ดงั น้ี
ทางเชียงใหม่ เนเมยี วสีหบดใี หฉ้ ันกงไบ นำกำลังล่วงหนา้ 5,000 คน เคลอื่ นกำลงั จากเชยี งใหม่ลงมา
ทางใต้ – เมืองตากเพียงแห่งเดียวทีท่ ำการรบ เมื่อยึดได้แล้วลงมากำแพงเพชรและนครสวรรค์ทัง้ สองเมืองไมม่ ีใครสู้
เพราะเจา้ เมืองถูกเกณฑ์เข้ามารกั ษากรุง จึงต้ังฐานกองโจรทำการปลน้ สะดมท่ีเมืองกำแพงเพชร และนครสวรรค์ทาง
ด่านเจดยี ส์ ามองค์ มังมหานรธาใหเ้ มขะระโง นำกำลงั สว่ นหนา้ 5,000 คน เคล่ีอนทีเ่ ข้าทางด่านเจดียส์ ามองคเ์ ข้ามาถึง
เมืองกาญจนบุรปี ะทะกบั กองกำลงั พระพเิ สนทรเทพเจ้ากรมตำรวจมกี ำลงั 3,000 คน รักษาเมอื งอยูพ่ มา่ มากกว่าจึงตี
กองกำลังพระพเิ สนทรเทพแตกยับเยิน แล้วเคลอื่ นที่เขา้ มาถงึ ลำน้ำราชบุรี วางกำลงั ตำบลลกู แก ตำบลตอกกละและ
ขา้ มฝากมาตงั้ ทีด่ งรังหนองขาวอกี แห่ง พม่ายกมาครัง้ น้ี ไดเ้ ก็บสินทรัพยส์ มบตั ิ จบั ผ้คู นทงั้ เดก็ ผูใ้ หญ่ชายหญิงเป็นเชลย
สง่ ไปเมอื งพม่า บ้านเรือนทรัพย์ใดไม่ตอ้ งการก็เผาทำลายเสีย ฝา่ ยไทยตามรายทางบางแห่งกต็ ่อสู้ บางแห่งก็ออ่ นน้อม
แต่หลบหนีเข้าป่ามากฝ่ายไทยเหน็ วา่ พม่าเข้ามาคราวนี้เปน็ เพียงกองโจรปล้นสะดมตามหัวเมืองจงึ เตรียมกำลังรวมไว้
ต่อสู้ที่พระนครเปน็ ที่มั่นสำคัญ ฝ่ายพม่าเมื่อตัง้ ฐานกองโจรเสร็จแล้ว ทางเหนือเที่ยวปลน้ ทรัพย์จับเชลย แขวงเมือง
-31-
นครสวรรค์ถึงเมอื งอนิ ทร์เมืองพรหม ทางทิศตะวันตกเทีย่ วปล้นทรพั ย์จับเชลยราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ฝ่ายไทย
มิได้คิดว่าพม่าจะรุกเขา้ ไปถงึ พระนคร
การปฏบิ ตั ิของฝ่ายไทย ไมเ่ ห็นกองทพั พมา่ ยกมา ได้ยนิ แต่ข่าวการปล้นสะดม และหัวเมืองพิษณุโลก
ก็ยงั ไมไ่ ดเ้ สยี แก่พม่าจงึ ให้พระยาพิษณโุ ลกกลับไปเกณฑ์ทัพหัวเมอื งเหนือตพี ม่าแล้วจดั กำลงั ในกรงุ ออกไปตีพมา่
2 ทศิ ทาง
ทางทศิ เหนอื พระยาธเิ บศร์บรวิ ตั ร เปน็ แม่ทัพทำการรบอย่างไรไม่ปรากฏ
ทางทิศตะวนั ตก จดั ทัพบก ทพั เรือ ไปรบกบั พม่าท่ีราชบุรี ทพั บกถึงตำบลตำหรุ ทพั เรอื ถึงบางกุ้งใต้
ราชบรุ ี พม่าเข้าตแี ตกพา่ ยไล่ตามถึงธนบรุ เี ทีย่ วปล้นยึดทรัพยแ์ ล้วกลับราชบรุ ี มิได้ตีเมืองธนบรุ ี กรงุ ศรีฯ เหน็ วา่ พมา่ ได้
เรือของไทยและเรือของพม่ามีมากเกรงจะจู่โจมเข้ากรุงศรีจึงให้พระยารัตนาธิเบศร์ นำกำลังซึ่งเกณฑ์จากเมือง
นครราชสีมา รกั ษาเมืองธนบุรี ให้พระยายมราชรักษาเมืองนนทบรุ ีป้องกันพม่าจะเข้ามาทางนำ้ การรบคร้งั นี้ใชเ้ วลา
6 เดือน กลางเดอื นพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม รวมข้าศึกในประเทศ 10,000 คน
ขั้นท่ี 2 การตเี มอื งหนา้ ดา่ นและเขา้ ประชดิ พระนคร
กลางเดอื นตุลาคม พ.ศ.2308 ส้นิ ฤดฝู น พมา่ ก็ลงมอื ปฏิบัติ ดังนี้
1. ทางทิศเหนือ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพนำลงมาทางเมืองสวรรคโลกกองหนึ่ง เจ้าหน้าที่หัวเมืองราย
ทางเห็นขา้ ศึกมีมากพากันหนีเข้าป่า ไม่มีเมืองใดต่อสู้ พม่าจึงยึดเมอื งพิชยั สวรรคโลก สุโขทัย ตามลำดับการรบของ
หัวเมืองเหนือขณะพม่ายึดเมืองสุโขทัยอยนู่ นั้ เจา้ พระยาพษิ ณุโลกกับเจ้าเมอื ง กรมการหวั เมืองเหนือ ช่วยกนั รวบรวม
คนเข้าเปน็ กองทัพยกไปตพี ม่าท่ีเมืองสโุ ขทัย ขณะทกี่ ำลังรบกนั อย่นู ้นั เจ้าฟ้าจีดโอรสพระองค์เจ้าแก้วราชบุตรสมเด็จ
พระเพทราชาเป็นนักโทษอยู่ในกรงหลบหนีจากที่ขังทำนองเจ้าฟ้าจีดเป็นญาติกับเจ้าพระยาพิษณุโลก จึงพาสมัคร
พรรคพวกข้ึนไปยังเมืองพิษณุโลก ไปถึงเวลานั้น เจ้าพระยาพิษณุโลกทำการรบอยู่กับพม่าอยู่ที่สุโขทัย เจ้าฟ้าจีดเห็น
เป็นโอกาส ตั้งตัวเป็นใหญ่ก็ทำสีหนาทเก็บริบทรัพยส์ มบัติ เผาจวนเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นครองเมือง พวกชาวบ้าน
เหน็ ว่าเปน็ เจา้ ก็ไม่มีผู้ใดกลา้ ต่อสู้ เจา้ พระยาพิษณุโลกทราบความจงึ เลกิ ทพั ถอยกลับมา จบั เจา้ ฟ้าจีดได้ให้เอาไปถ่วง
น้ำเสยี ฝ่ายพม่าก็เคลื่อนกำลงั มายังนครสวรรค์ กำแพงเพชร มไิ ด้ตามตเี มืองพษิ ณุโลก (เทคนิคการออ้ มผ่านทีห่ มายไม่
สำคัญ ๆ )
2. ทางทิศตะวันตก ในเดือนตุลาคมเดือนเดียวกันนี้เอง มังมหานรธานำกำลัง 10,000 คน เคลื่อน
กำลังจากเมืองทวายเขา้ มารวมพลที่ราชบุรี มีแผนเข้าตีกรุงศรีฯ ทางใต้ สกัดกั้นมิให้ไทยหาเครือ่ งศาสตราวุธ เสบียง
จากทางทะเล จงึ จดั กำลังเป็น 2 กอง
เมขะระโย นำทัพเรอื มาทางแมน่ ้ำแมก่ ลอง – ท่าจนี – ตเี มอื งธนบรุ ี นนทบรุ ี จนถึงกรุงศรี
มังมหานรธา นำทัพบกเคลื่อนที่มาทางเมืองสุพรรณบุรี ในเดือนธันวาคมพร้อมกันฝ่ายพระยา
รตั นาธิเบศร์ซึ่งคุมกำลงั พลเมืองนครราชสีมา รักษาเมืองธนบุรอี ยู่นั้นเห็น ขา้ ศกึ มากก็ไมต่ อ่ สู้ ทิ้งเมอื งหนกี ลับกรุงศรีฯ
พวกชาวเมอื งนครราชสีมากพ็ ากนั หนกี ลบั บา้ นเมอื งของตน
การรบทนี่ นทบรุ ี พมา่ ยดึ ธนบรุ ีได้แล้วนำกำลังเขา้ ทตี่ ้ังบางกรวยตรงวดั เขมาท้ัง 2 ฟากแมน่ ้ำ มุ่งเขา้
ตนี นทบุรตี อ่ ไป สว่ นเรือกำปัน่ องั กฤษถอยหนขี น้ึ ไปถงึ กรุงศรีฯ กข็ อปนื ใหญ่ระยะยงิ ไกลกว่าปืนรายแคมเรือเอาลงต้ัง
ในเรอื สลุบ(เรอื ใบเดนิ ทะเล) แลว้ กลบั มาสู้พม่าท่นี นทบรุ อี ีกและขอเรือยาวบรรทกุ พลของกองทพั
-32-
พระยายมราชที่รักษาเมืองนนทบุรี ลูกเรือสลุบเคลื่อนลงมาในเวลากลางคืนพอถึงที่ได้ทางปืนก็ยิงค่ายพม่าเรื่อยไป
เวลาจวนสว่างก็ถอยเรอื สลบุ ข้ึนไปเสยี ยิงพมา่ อยหู่ ลายคืนพมา่ หยุดอยวู่ ัดเขมาไม่อาจข้นึ ไปตีนนทบุรีได้ ตอ่ มาพม่าคิด
กลอุบายพอเรอื ปืนยิงพม่าทำเป็นแตกหนจี ากคา่ ย องั กฤษกบั ทหารไทยคิดวา่ พมา่ แตกหนกี ็จอดเรอื บกุ รกุ ค่ายพม่าเพ่ือ
คน้ ส่ิงของ ฝา่ ยพม่าซุ่มอยู่ในสวนหลงั ค่ายก็ล้อมไลฆ่ ่าฟันไทยตายเปน็ อันมาก แตกหนเี รอื อังกฤษ เรืออังกฤษเห็นว่าสู้
ไมไ่ หวก็ล่องเรอื กำป่ันและเรอื อลังปนู ีพร้อมปืนใหญไ่ ทยพวกเก็บหมากพลูชาวไทยขึน้ เรอื หนอี อกนอกประเทศไป ฝ่าย
พระยายมราชทีร่ กั ษานนทบรุ ีกพ็ ากันถอยกลับข้ึนไปยัง กรงุ ศรอี ยุธยา เมขะระโยยดึ นนทบุรแี ลว้ เคลื่อนกำลังต่อไปยัง
กรุงศรีฯ การรกุ เขา้ ส่กู รุงศรีอยธุ ยาขณะนั้น มังมหานรธาเคลือ่ นท่ีทางบกมาเขา้ ท่อี ย่บู ้านสีกุก กองเรอื เมขะระโยข้ึนไป
อยู่สามแยกบางไทร ฝ่ายกองทพั เนเมียวสหี บดซี ึ่งเคล่ือนลงมาจากทางเหนือให้กองทัพเคล่ือนท่ีจากนครสวรรค์ลงมา
ทางชยั นาท ทางหนึง่ ทางเมืองอุทยั เมอื งสรรคท์ างหนึง่ แล้วต้งั กองบญั ชาการทว่ี ัดป่าฝ้ายปากน้ำพระประสบทางเหนือ
ทั้งสองกองทัพมาถึงเขตกรุงศรีอยุธยาเตรียมตั้งอยู่ห่าง ๆ ยังไม่เข้าประชิดติดพระนครทำนองว่ากำลังน้อยคอย
กองหนุนจากมังระ แล้วแตก่ องโจรเท่ียวปล้นทรพั ย์จับเชลยตามเขตแขวงตา่ ง ๆ ข้างในกรุงศรีกม็ ไิ ด้ส่งกำลังออกต่อสู้
การปฏบิ ตั ิของกองทพั เนเมยี วสีหบดีทางทศิ เหนอื พ.ศ.2308 กำลงั ของเนเมยี วสหี บดที พั บก และทพั เรือกำลัง 58 กอง
ทหาร 43,000 คน ชา้ งศกึ 400 เชือก มา้ 1,200 ตัว ออกจากลำปางเดอื นกนั ยายนมุง่ สเู่ มอื งตากยึดเมอื งตากได้แล้ว –
เมืองระแหง – เมืองกำแพงเพชร – สวรรคโลก เมืองนี้พ่อเมืองต่อสู้แต่แล้วพม่าก็ยึดได้แล้วเคลื่อนทัพไปสุโขทัย –
นครสวรรค์ – ชาน พระนคร ปากนำ้ พระประสบ
การปฏิบตั กิ ารของกองทพั มหานรธาด้านทิศตะวันตก เคลื่อนกำลังออกจากทวาย 25 พฤศจิกายน
2308 กำลงั 30,000 คน ชา้ ง 200 เชอื ก มา้ 2,000 ตัว เข้าตเี มอื งเพชรบุรเี ข้าเมอื งต้งั รบั อยใู่ นเมอื งพม่า แบง่ กำลังเปน็
สองส่วน ส่วนหนึ่งใช้บันได้ปีนกำลัง อีกส่วนหนึ่งขดุ เจาะรากฐานกำแพง พม่าตีและยึดไดใ้ นระยะสั้นๆยึดจับคนข้าว
ของเงินทองไดก้ ต็ กเป็นของผู้นัน้ ส่วนยุทโธปกรณต์ กเป็นของกองทพั ต่อไปเข้ายึดเมอื งราชบุรีเจ้าเมืองยอมออ่ นน้อม
และยดึ สุพรรณบรุ ี เจา้ เมืองยอมออ่ นนอ้ มเชน่ เดียวกัน ตอ่ มาเข้าตีเมอื งกาญจนบรุ ีเจ้าเมอื งเข้มแขง็ ทำการต้านทานแต่
พม่ามากกว่าจึงเสียเมืองจากนั้นเคลื่อนทัพไปเมืองไทรโยค – เมืองสวานโปง – เมืองชาเลง ยึด 7 เมืองได้แล้ว
มหานรธา คุมทัพ 57 กอง มุ่งสู่กรงุ ศรอี ยธุ ยา แลว้ ตงั้ กองทพั ณ. บ้านสีกกุ และทางไทร การรบทบ่ี ้านสีกา พระยาพล
เทพฝ่ายไทยนำกำลัง 6,000 คน ช้าง 500 เชือก รถบรรทุกปืนใหญ่ 500 คัน นำกำลังไปตั้งรบั ที่บ้านสีกุก มหานรธา
ทราบข่าวจากม้าเร็วจัดกำลังเข้าทำการรบ ขั้นตะลุมบอนทัพไทยสู้ไม่ได้ถอยหนีมหานรธาไม่ได้ไล่ติดตามเพราะ
ตอ้ งการยึดเมืองสีกุกรอทัพเนเมยี วสหี บดี กมุ ภาพันธ์ 2309 ทัพเนเมียวสีหบดีถึงชานพระนคร
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการในฤดูฝนและฤดูน้ำหลาก สถานการณ์ฝ่ายพม่าพอถึงฤดูประมาณ เดือน
สงิ หาคม 2309 พวกนายทัพนายกองพม่าพากนั ร้องทุกข์ต่อมงั มหานรธาว่า ฝนชกุ แลว้ ไมช่ ้านำ้ เหนอื จะหลากลงมาจะ
ทำการรบคงลำบากมาก ขอใหย้ กทพั กลับเสยี คราวหน่งึ เมอื่ ถึงฤดแู ลง้ แล้วคอ่ ยกลับมาตใี หม่มงั มหานรธาไม่เห็นด้วยว่า
กรุงศรีขดั สนเสบียงอาหารและกระสนุ ดินดำอ่อนกำลังจวนจะตีไดอ้ ย่แู ล้ว ถ้าเลิกทัพกลับไป ไทยมีช่องทางหากำลังมา
เพิ่มเติมจะเตรียมการรักษาเมืองเข้มแข็งดีกว่าแต่ก่อนถ้ายกมาตีอีกจะยากขึ้นมังมหานรธา ไม่ยอมถอยทัพสั่งให้
เตรยี มการ
-33-
1. เตรียมการทำไร่นา
2. เตรียมหาที่ดอน เช่น โคกวัดมีอยู่รอบพระนครแล้วแบ่งหน้าที่ให้กองทัพไปตั้งค่ายสำหรับ
เปน็ ที่อยฤู่ ดูนำ้
3. นำ ชา้ ง ม้า พาหนะไปเลี้ยงตามทีด่ อนหัวเมอื งใกล้เคียง
4. ให้เท่ยี วรวบรวมเรอื ใหญ่นอ้ ยมาใช้ในกองทัพให้มาก
พอพม่าเตรียมการปฏิบัติการในฤดูฝนเสร็จแล้วมังมหานรธาก็ป่วยถึงแก่ความตายทีบ่ ้านค่ายสีกกุ
ทำให้เป็นผลรา้ ยตอ่ ฝ่ายไทยเพราะเนเมียวสีหบดไี ดบ้ ังคบั บัญชากำลังทหารพม่าไวใ้ นอำนาจผู้เดยี วทำให้หลักการบังคับ
บัญชามีเอกภาพ
การล้อมกรงุ ฯ เนเมียวสีหบดีสง่ั ให้กองทัพทัง้ 2 ฝา่ ยสมทบกำลงั เข้าล้อมกรงุ ศรฯี ตัวเนเมียวสีหบดี
ยา้ ยจากคา่ ยปากน้ำพระประสบมาอยู่ค่ายโพธิ์สามตน้ ให้กองหน้าเข้ามาตั้งค่ายที่วดั ภูเขาทองแล้วให้รุกเข้ามาตั้งค่ายท่ี
วัดการ้องอีกแห่ง
การต้านทานของฝ่ายไทย ฝ่ายข้างในกรุงเห็นพม่าเข้ามาถึงวัดท่าการ้องปืนใหญ่จะยิงถึงพระนคร
จึงสั่งให้ทัพเรือออกไปตีค่ายพม่าเป็นพวกอาสาหกเหล่าไม่ปรากฏชื่อผู้บังคับบัญชา แต่ปรากฏว่ามีนายฤกษ์เป็นครู
คาถาอาคมร่วมไปด้วย นายฤกษ์เขา้ ใจว่าตนอยู่ยงคงกระพันแมลงวนั ไมไ่ ด้กนิ เลือด จงึ ถือดาบ 2 มอื รำอย่หู น้าเรือฝ่าย
พมา่ เห็นเลยยกปืนขึ้นสอ่ งถึงขนั้ แตกดบั ตกลงไปในน้ำไทยเสียกำลงั ใจเลยถอยทัพกลับสิน้
การวางกำลัง 2 ฝ่าย
ฝ่ายพม่า ตั้งค่ายตามที่ต่าง ๆ เช่น วัดภูเขาทอง วัดท่าการ้อง วัดกระชาย วัดพลับพลาชัย วัดเต่า
วดั สเุ รนทร วดั แดง
ฝ่ายไทย ข้ามไปวางกำลังป้องกันพระนครทุกด้าน ทิศเหนือ – วัดหน้าพระเมรุ เพนียด,
ทศิ ตะวนั ออก – วัดมณฑป วดั พชิ ัย วดั เกาะแกว้
ทศิ ใต้ - หลวงอภัยพพิ ฒั น์ ขนุ นางจีน คุมพวกจนี บ้าน นายกา่ ย 2,000 คน ไปตงั้ ค่ายท่บี ้านสวนพลู
พวกครสิ ตังต้งั คา่ ยท่ีริมวัดพทุ ไธสวรรค์
ทิศตะวันตก - กรมอาสาหกเหลา่ ต้ังคา่ ยท่วี ัดไชยวัฒนาราม
การยิงโต้ตอบกนั ด้วยปนื ใหญ่ หลังจากพมา่ ส่งกำลังเข้าประชิดพระนครและไทยส่งกำลังออกไปป้องกนั พระนครแล้ว
ท้งั สองฝา่ ยกท็ ำการต่อสู้กันดว้ ยการใช้ปืนใหญ่ระดมยงิ ใสก่ ัน ฝา่ ยไทยมปี ืนใหญ่ประจำปอ้ มได้เปรียบพม่าจึงคิดเอาปืน
ขนาดใหญ่ ๆ ขึ้นไปตั้งยิงบนป้อม ฝ่ายที่ขลาดไทยเอาปืนใหญ่ชื่อปราบหงสาซึ่งเป็นปืนขนาดใหญ่ที่มีอยู่ข้ึนตั้งยิงบน
ป้อมมหาชยั ยิงคา่ ยพม่าทว่ี ัดศรีโพธ์ิ แล้วนำกระบอกอื่นขึน้ บนเชงิ เทิงยิงคา่ ยพม่าท่ีวัดท่าการ้องกับวัดแมน่ างปล้ืม พล
ประจำปืนไม่กล้ายัดดินดำให้เต็มขนาดกลัวเสยี งปืนจะทำให้แก้วหูแตก ลดดินดำลงแล้วก็ยังมีคนขอให้ลดลงอีกจนใน
ท่ีสุดยงิ ไปกระสนุ ตกไม่ถงึ คูเมืองตำ่ ไปถกู เพียงตล่งิ (คงขาดการฝึกทางทหารมาก) ฝา่ ยที่กล้า พระยาศรีสรุ ิยพาหะ เป็น
เจ้าหนา้ ที่รักษาปอ้ มทา้ ยกบหรอื ซดั กบมมุ พระนคร ขา้ งตะวนั ตกเฉียงเหนือ เอาปนื ใหญช่ ื่อมหากาฬมฤตยปู ระจุดินปืน
เข้าไป 2 เทา่ ประสงค์จะยงิ ให้ถงึ ค่ายพมา่ ทีว่ ดั ภูเขาทอง ยิงไดน้ ดั เดียวปนื ร้าวใช้การไมไ่ ด้แต่ผลที่ยิงไปถูกเรอื พม่า
2 ลำ ล่มคนตายมาก (ไร้หลักการ) การขออนุญาตยิงปืนใหญ่ ต่อมามีประกาศพลประจำปืนใครจะยิงต้องขออนญุ าต
จากสภาลูกขุนก่อน มีเร่อื งเลา่ วา่ หมอ่ มเพ็ง และหม่อมแมนเป็นคนขวญั อ่อนกลัวปนื ซำ้ พวกเจา้ นายก็กลวั กันตั้งแต่ฟ้า
-34-
ร้องเสียงปืนใหญ่ จึงเป็นมูลเหตุสำคัญที่พระยาตากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาด้านฝั่งตะวันออกที่วัดเกาะแก้ว เห็นพม่า
เคลอ่ื นท่ีเข้ามา กเ็ อาปืนใหญ่ยงิ โดยไม่บอกศาลาลูกขุนเกือบถูกลงโทษแต่มีความชอบมากอ่ นจงึ เพยี งภาคทัณฑ์โทษไว้
พระเจา้ ตากจึงคิดหนจี ากพระนคร
ขั้นที่ 4 การเร่มิ ทำการรบก่อนกรุงแตก
พอน้ำลดถงึ ฤดูแล้งฝา่ ยพมา่ ได้รบั เพมิ่ เติมกำลัง กร็ วบรวมกำลงั คกุ คามไทยหนักข้นึ ฝ่ายกองทพั ไทย
กเ็ กดิ ระสำ่ ระสายเพราะร้วู ่าหมดหนทางที่จะเอาชนะพมา่ พวกจีนในกองทพั ก็ไปต้ังค่ายอยู่สวนพลูคิดเอาตัวรอดคบคิด
กันประมาณ 300 คน พากันขึ้นไปยังไปพระพุทธบาทไปลอกทองคำหุ้มพระมณฑปน้อยและแผ่นเงินคาดพ้ืนมณฑป
ใหญม่ าแบ่งกันแลว้ เอาไฟเผามณฑปพระพุทธบาทเสียหวังให้ความสญู การรบของพระยาไต๊ และพระยาพระนรศิ สิ้น
ฤดนู ำ้ หลากฝา่ ยไทยสง่ กำลังออกตีคา่ ยพมา่ พรอ้ มกันวางกำลังปอ้ งกันมิให้ฝ่ายพม่า เขา้ มาตัง้ คา่ ยประชิดพระนคร โดย
ให้พระยาไตอ๊ อกตคี ่ายมหานรธา ใหพ้ ระยาพระนริศตคี า่ ยเนเมียวสหี บดี ฝ่ายไทยถูกตแี ตกถอยหมด ฝ่ายกรุงศรีก็มิได้
ย่อท้อต่อการป้องกันพระนคร ยังมีกองเรือรบและเรือปนื ทีจ่ ะต้านทานการโจมตีและยังไดเ้ พิม่ เติมกำลังพลและอาวุธ
ประจำเชิงเทนิ ลงขวากหนามกนั การรุกของชา้ งและมา้ ลงหลกั และส่ิงกีดขวางเส้นทางนำ้ มใิ ห้เรือรบพมา่ เข้ามาใกล้ใน
ระยะปฏบิ ตั ิการเปน็ การป้องกันให้หนาแนน่ ขึ้น
การสรา้ งคา่ ยล้อมพระนครของพม่า พม่าไดส้ รา้ งคา่ ยลอ้ มพระนคร 27 คา่ ย ดังนี้
ด้านทศิ เหนือ 5 ค่าย ซึ่งค่ายเนเมยี วสีหบดีอย่ดู ว้ ย
ดา้ นทิศตะวันออก 5 ค่าย
ดา้ นทศิ ใต้ 9 คา่ ย
ด้านทศิ ตะวันตก 6 คา่ ย,ดา้ นทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 2 ค่าย
หนึ่งในจำนวนนี้เปน็ ค่ายของมหานรธาทุกค่ายลงรากฐานแน่นหนา มีปืนใหญ่ประจำค่ายและต่าง
ก็ระดมยงิ เขา้ ไปในพระนครทง้ั กลางวนั กลางคนื ชาวบ้านท่ีมาส่งอาหารก็พลอยได้รับบาดเจบ็ ไม่นอ้ ย
ลางร้าย เมื่อใกล้จะเสียพระนครศรีอยธุ ยา พระพุทธปฏิมากรใหญ่ท่ีวัดพนัญเชิง มีน้ำพระเนตรไหล
พระพทุ ธรูปวดั ศรมี หาโพธ์ซิ ่ึงแกะดว้ ยไมพ้ ระทรวงแยกออกจากกัน พระพุทธรูปทองคำและพระพทุ ธภูรนิ ทร์วัดพระศรี
สรรเพชญใ์ นพระราชวังมพี ระฉวเี ศรา้ หมอง พระเนตรทั้ง 2 หลุดหล่นอยบู่ นพระหตั ถ์ อกี า 2 ตวั ตกี นั ตัวหน่งึ บินโผลง
ตรงยอดเจดีย์ดงั คนจบั เสยี บไว้ทว่ี ดั พระธาตุเทวรปู พระนเรศวรมีนำ้ พระเนตรไหล
สถานการณต์ อนกรุงแตก
ฝ่ายพระนครถูกล้อมมาช้านานเสบียงอัตคัดเกิดโจรผู้ร้ายแย่งชิงกันทุกวัน เมื่อ 4 ม.ค.2309 เวลา
กลางคืนเกิดไฟไหม้ในพระนครไหม้ตั้งแต่ท่าทรายริมกำแพงข้างด้านเหนือลุกลามทางประตูข้าวเปลือกไฟข้ามไป
ติดบา้ นเรือนแขวงป่ามะพร้าวตลอดแขวงป่าโทน ปา่ ถา่ น ปา่ ตอง ป่ายา ไหมว้ ัดมหาธาตุ วดั ราชบูรณะวดั ฉนั ทันต์ ไฟ
ไหม้วิหาร บ้านเรือน รวมกว่า 10,000 ผู้คนพลเมืองอัตคัดคับแคน้ หนักยิ่งขึ้นกระเจ้าเอกทศั น์สัง่ ฑูตออกไปขอเจรจา
เลิกรบ ฝ่ายพม่าไมย่ อมหวังเอาทรพั ยแ์ ละผคู้ นของไทยไปเป็นทาส
วันแตกหัก ฝ่ายพม่าเห็นว่าไทยอ่อนกำลังเต็มที่แล้วก็เตรียมการล่วงหน้าโดยให้กองทัพวัดกุฎีแดง
วดั สามวิหาร วัดมณฑป พร้อมกันเคลื่อนท่ีเขา้ มาในเวลากลางคืนทอดสะพานเรอื ก (ปดู ว้ ยไม้ถักหวาย) ข้ามแมน่ ้ำท่ีหัว
รอริมป้อมมหาชยั ขา้ งมมุ เมอื งดา้ นทิศตะวนั ออกเฉยี งเหนืออนั เปน็ ทีล่ ำนำ้ แคบกว่าทอี่ ่นื เอาไม้ตาลมาตั้งเปน็ คา่ ยวิหล่ัน
-35-
(ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย) ทั้ง 2 ข้างกันปืนใหญ่ของชาวพระนครแล้วก็สร้างสะพานเรือกมาฟากกำแพง
พระนคร พระเจ้าเอกทัศนจ์ งึ ให้จมื่นศรีสรรกั ษ์นำกำลงั ออกไปตพี มา่ ท่ีเข้ามาสรา้ งสะพานทำการรบอยา่ งเข้มแขง็ ตีพวก
พมา่ แตกฆา่ ฟันลม้ ตายเปน็ จำนวนมาก แล้วไลต่ ดิ ตามตีคา่ ยพม่าอกี แตไ่ ม่มีกำลังเพ่มิ พมา่ จงึ ชว่ ยกันตีแตกกลบั มา
กรุงแตก พอพม่าทำสะพานเรือกเสร็จแล้วจึงเข้ามาตั้งค่ายศาลาดินนอกเมืองและขุดอุโมงค์รุ้งไป
ตามยาวใต้รากกำแพงแล้วขนเอาฟืนมาใส่ใต้รากกำแพ เกณฑ์ทหาร 4 กอง ๆ ละ 500 คน ให้ทำบันไดเป็นอันมาก
สำหรับพาดปีนกำแพงปล้นเอาเมืองทั้ง 4 ทิศ เมื่อได้ยินเสียงปืนใหญ่เป็นสัญญาณกใ็ ห้เอาบันไดพาดกำแพงขึ้นปล้น
เมืองพร้อมกนั เมอื่ วนั ที่ 7 เมษายน 2310 เปน็ วนั เวลาสงกรานต์เวลา 1,500 พมา่ จุดไฟสมุ รากกำแพงตรงหน้ารอริม
ปอ้ มมหาชยั และระดมยิงปนื ใหญจ่ ากค่ายต่าง ๆ ท่ีรายล้อมเข้าไปในพระนครพอพลบค่ำกำแพงเมอื งตรงที่เอาไฟสุมก็
ทรุดตวั 20.00 คนื วนั นนั้ แม่ทัพพมา่ ยงิ ปนื เปน็ สญั ญาณให้ปีนกำแพงปล้นพระนครทุกด้าน พม่าเอาบันไดพาดปีนเข้า
ตรงกำแพงทรุดก่อนพวกทหารไทยเหลือกำลังจะสู้พม่าเขา้ พระนครได้ในค่ำนั้น พม่าล้อมกรงุ อยู่ 1 ปีกับ 2 เดือน จึง
เสยี กรงุ แก่พม่า
คนทรยศ ตามคำให้การของชาวกรุงเก่ามีคนไทยชื่อพระยาพลเทพข้าราชการในกรุงศรีเอาใจออก
ห่างลอบสง่ ศาสตราวุธเสบยี งอาหารใหแ้ กพ่ มา่ สญั ญาจะเปดิ ประตูออกรับเมื่อพม่าเขา้ โจมตแี ละประตทู ่ีพระยาพลเทพ
เปดิ กเ็ ปน็ ประตทู างทศิ ตะวันออกตรงหัวรอ ซึ่งพม่าก็ระดมเข้าปลน้ ในเวลากลางคนื ทางนตี้ ามนดั ซงึ่ ตรงกับวนั กรุงแตก
เชลยไทยได้เหน็ ขณะน้นั น่าเสยี ดายเราไมท่ ราบชตากรรมผ้ทู รยศตอ่ ชาติผู้น้ี
ผลของการรบ
1. ไทยเสยี อสิ รภาพแกพ่ ม่าเป็นครง้ั ท่ี 2
2. กรุงศรีอยุธยาต้องพินาศย่อยยับ บรรดาปราสาทราชวังวัดวาอารามทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจน
ของมีค่าถูกทำลายส้นิ เชงิ ทำให้ศิลปวตั ถุและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตำรบั ตำราพิชยั สงครามและสง่ิ ของมคี ่าอืน่ ๆ
ของชาติเสยี ไปเกือบหมด
3. คนไทยถูกจับเป็นเชลยประมาณ 30,000 คน ปืนใหญ่ถูกยึด 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลาย
หมื่นกระบอก พระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชถูกจับไปเป็นเชลยส่วนพระเจ้าเอกทัศน์หนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ในป่าอด
อาหารส้นิ พระชนม์
4. เกดิ วีรบรุ ษุ สมเด็จพระเจา้ ตากสนิ มหาราช
5. ไทยต้องย้ายราชธานจี ากกรุงศรี ฯ ซ่งึ เป็นเมืองหลวงมา 417 ปี ลงมาต้งั ทีก่ รุงธนบรุ ี
บทเรียนจากการรบ
1. การตัง้ รบั อยา่ งเดียวเสียเปรียบ ไม่มีการดำเนินกลยุทธ์
2. กองหนุน กองกระหนาบตีช่วยฝ่ายไทยไมแ่ ข็งแรงพอในการช่วยแก้ปัญหาต้องเตรียมกองหนุน
ใหเ้ ขม้ แขง็
3. การเข้าตี 4 ทิศทาง เมอ่ื ฝ่ายตรงข้ามรวมตัวกันได้แกไ้ ขยากเสมอ
4. ขาดการเตรียมงานด้านการข่าว การเตรียมคน เตรียมแผนสงครามตั้งแต่ภาวะปกติ ตั้งอยู่บน
ความประมาทช่วงเวลา 2 ช่ัวอายุคน 198 ปี จึงเสียกรงุ ฯ เป็นครง้ั ที่ 2 ต้องรเู้ ขา รู้เรา และตอ้ งเป็นเบย้ี บนเสมอ
-36-
5. ความอ่อนหัดทางวิชาทหารยิงปืนใหญ่ยังไม่เป็นนับเป็นเรื่องเศร้าต้องทำการฝึกทหาร
ฝึกยทุ ธวิธตี ั้งแต่ภาวะปกติเตรยี มพรอ้ มเสมอและแขง็ แกรง่ ท่ีสดุ คอื ยุทธศาสตรป์ ้องกันดที ส่ี ุด
สมเด็จพระเจา้ ตากสนิ มหาราช ทรงกู้อสิ รภาพและการรบครัง้ สำคญั สมัยกรุงธนบรุ ี
พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัย
กรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพ ณ วันที่ 17 เมษายนพ.ศ.2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาท่ี 3 สมเด็จพระ
เจ้าอยหู่ วั บรมโกศพระองคท์ รงเป็นสามัญชน กำเนดิ ในตระกลู แต้ มพี ระนามเดมิ ว่า สนิ พระราชบดิ าเปน็ จีนช่ือไหฮอง
เดินทางจากประเทศจีนมาต้ังถิ่นฐานในประเทศไทย แล้วได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นาง นกเอี้ยง มีหลักฐานบันทึกวา่
สมเดจ็ พระเจ้าตากสินทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวยี นผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมคี วามสามารถด้านกฎหมายเป็นพิเศษ
ไดช้ ่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความของราษฎรทางภาคเหนอื อยู่เนืองๆ เนอื่ งจากได้ทำ ความดีมีความชอบต่อแผ่นดิน
จึงไดร้ ับแตง่ ต้งั ใหเ้ ป็น เจา้ เมอื งตากในเวลาตอ่ มา
ในปี พ.ศ. 2308 - 2309 พระยาตากได้นำไพร่พลลงมาสมทบเพอื่ ปอ้ งกันกรุงศรอี ยุธยาระหวา่ งท่ีพมา่
ล้อมกรงุ อยู่ ได้ทำการต่อสู้จนเป็นท่เี ล่อื งลือว่า เปน็ แมท่ พั ท่เี ข้มแข็งมากท่ีสดุ คนหนึ่ง และได้รับการแต่งต้ังให้เป็นพระ
ยาวชริ ปราการ เจ้าเมอื งกำแพงเพชร ในวนั ท่ี 4 มกราคม พ.ศ.2310 (กอ่ นทจ่ี ะเสียกรุงศรอี ยุธยาใหแ้ กพ่ ม่าประมาณ
3 เดือน พระยาตากได้รวบรวมกำลังตฝี า่ วงล้อมของพม่าไปต้ังมนั่ เพ่อื ท่จี ะกลบั มากู้เอกราชตอ่ ไป
จากหลักฐานตามพระราชพงศาวดาร พระยาตากไดร้ วบรวมไพรพ่ ลประมาณ 500 คน มงุ่ ไปทางฝ่งั ทะเลทาง
ทิศตะวนั ออก ระหวา่ งเสน้ ทางทผ่ี ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครัง้ แต่ก็สามารถตีฝา่ ไปได้ทุกครัง้ และ
สามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2310 พม่ายึดกรุงศรี
อยุธยาได้เจ้าเมืองใหญ่ๆพากันตั้งตัวเป็นเจ้าและควบคุมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ในอำนาจ หลังจากพระยาตากยึดเมือง
จันทบุรีได้ ก็ได้ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ และจัดตั้งกองทัพขึ้นที่นี่ โดยมีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งนายสุดจินดาซึ่งต่อมาได้รบั พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลใน
รัชกาลที่หนึ่ง หลังฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ.2310 พระยาตาก ได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบุรีล่องมาตามฝ่ัง
ทะเลในอ่าวไทยจนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาและได้ต่อสู้จนยึดกรุงธนบุรีคืนจากพมา่ ได้ ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือ
ตอ่ ไปถงึ กรงุ ศรีอยุธยา เขา้ โจมตคี า่ ยโพธสิ์ ามต้น เมื่อวันท่ี 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 และสามารถกอบกู้เอกราชให้ชาติ
ไทยไดเ้ ปน็ ผลสำเรจ็ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนนับต้งั แตเ่ สียกรงุ ศรีอยธุ ยา ให้กับพม่าหลังจากน้ัน ไดท้ รงเลอื กกรงุ ธนบรุ ี
เป็นราชธานี เนื่องจาก ทรงเห็นว่ามีชัยภูมิดี ประกอบกับ กรุงศรีอยุธยาเสียหายหนัก จนยากแก่การบูรณะ ให้
เหมือนเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2311 ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรม
ราชาที่ 4” แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า “พระเจ้าตากสิน” ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการทำศึกสงครามอยู่เกือบ
ตลอดเวลา ท้งั น้ีเพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เปน็ ปกึ แผน่ และขับไล่พม่าออกจากราชอาณาจักร ถงึ แม้วา่ บา้ นเมืองจะอยู่ใน
ภาวะสงครามเปน็ สว่ นใหญ่ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินกย็ ังทรงมุ่งมน่ั ท่ีจะฟนื้ ฟปู ระเทศในด้านต่าง ๆ เชน่ ด้านการเมอื ง
การปกครองเศรษฐกิจและสังคม ได้มีการติดตอ่ คา้ ขายกบั ประเทศต่าง ๆ เชน่ จีน อังกฤษ และเนเธอรแ์ ลนด์ ได้โปรด
ให้มีการสร้างถนนและขุดคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม นอกจากนั้นยังทรงส่งเสริมทางด้านการ
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวรรณกรรม รวมทั้งการศกึ ษาในดา้ นตา่ ง ๆ ของประชาชนอีกด้วย
-37-
หลังจากครองราชยไ์ ด้ประมาณ 15 ปี ได้มเี หตกุ ารณ์เปล่ียนแปลงซงึ่ เปน็ เหตุใหร้ ัชสมัยของพระองค์
ต้อง สิ้นสุดลง สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ขณะที่มีพระชนมายุได้ 48 ปี
ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษตั ริย์แห่งราชวงศ์จักรีและได้
ทรงย้ายราชธานีมาฝั่งกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงมีพระมหากรณุ าธิคุณต่อแผ่นดินไทย
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะได้ ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี (ซง่ึ
ตรงกับวันที่ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษตั รยิ ์) เปน็ “วนั สมเด็จพระเจ้าตากสนิ ” นอกจากน้นั คณะรัฐมนตรียังมี
มติใหถ้ วาย พระราชสมญั ญานามวา่ “สมเด็จพระเจ้าตากสนิ มหาราช”
การรบที่บางแกว้ (พ.ศ. 2317)
สาเหตุของสงคราม
ในสมยั พระเจา้ อังวะ ครอบครวั มอญที่เมาะตะมะหนมี าพึ่งไทยทางด่านพระเจดยี ส์ ามองค์ อะแซหวนุ่
กี้แม่ทัพใหญ่พมา่ จึงให้งุยอคงหวุ่นเปน็ แม่ทัพนำกำลัง 5,000 คน เข้าติดตามครัวมอญ เข้ามาทางดา่ นพระเจดีย์สาม
องค์ เมื่อติดตามครัวมอญไม่ทันพม่าจึงเปลี่ยนความมุ่งหมายเป็นการปล้นทรัพย์จับเชลยคนไทย แถวเมืองชายแดน
และใกล้เคียง หว้ งระยะเวลาสงครามประมาณ 13 ก.พ. – 31 ม.ี ค.2317
ภมู ิประเทศทป่ี ฏบิ ัตกิ ารรบ
สงครามบางแกว้ ท่ี ต.โคกกระต่าย อ.โพธาราม จว.ราชบรุ ี นบั เปน็ สงครามแตกหกั ในคร้ังน้ีลักษณะ
ภมู ปิ ระเทศ ฝา่ ยพม่าเปน็ ฝ่ายเลอื กตั้งค่ายกอ่ น ลักษณะเปน็ ที่ดอน ชายเขา มที ี่ราบกว้างขวาง สลับป่าโปร่ง ด้านทิศใต้
มีภูเขาพระสูงประมาณ 120 เมตร ด้านทิศเหนือขึ้นไปประมาณ 3 กม. มีเขาช่องพรานสูงประมาณ 90 เมตรทาง
ตะวนั ตกเฉียงเหนอื ประมาณ 5 กม. มีเขาชะง้มุ สงู ประมาณ 100 เมตร ด้านตะวันออกมลี ำหว้ ยนำ้ ขงั และเป็นแหล่งน้ำ
อยู่ห่างคา่ ยประมาณ 2 กม. และหา่ งมาทางตะวันออกประมาณ 5 กม. เป็นแม่น้ำแมก่ ลองไหลไปส่จู งั หวดั ราชบุรี บ้าน
บางแก้วนอี้ ย่ทู างทิศเหนือของจังหวดั ราชบรุ ขี ้นึ มาประมาณ 20 กม.
แผนการรบ
แผนการรบของพม่า เปลีย่ นแผนจากตามจับครัวมอญเพราะตามไมท่ ันฝา่ ยไทย
นำไปไว้ในกรุงแล้ว จึงแยกทัพออกเป็น 2 สว่ น สำหรบั ปลน้ ทรัพย์จบั เชลยไทย
- หมอ่ งซายดิ คมุ พล 2,000 ตัง้ อยทู่ ปี่ ากแพรก กาญจนบรุ ี
- งยุ อคงหวุ่น คุมพล 3,000 มาตง้ั อยู่บางแก้ว ราชบรุ ี
- แผนการรบขน้ั ต่อไปเมื่อถกู ฝ่ายไทยโอบล้อมและเขา้ ตคี ่าย
พมา่ ตอ้ งการปลน้ ค่ายไทย และต้องการจับทหารไทยเป็นเชลยใหไ้ ดม้ าก ๆ แม่ทัพ คอื งุยอคงหวุ่น
ประมาทฝีมอื คนไทย ดงั จะเหน็ ว่าให้ทหารพมา่ มายนื ดูทหารไทยตงั้ ค่ายโอบล้อมแลว้ ถามว่าตงั้ ค่ายเสร็จหรือยัง จะได้
เข้าตีจบั ทหารไทยเป็นเชลยได้มาก ๆ เมอ่ื ทหารไทยตั้งคา่ ยแข็งแรงนำกำลงั มาเพ่ิมเตมิ โอบลอ้ มค่ายพม่ามากข้นึ พม่า
อยู่นานไปก็จะขัดสนเสบียงอาหาร จึงเข้าปล้นค่ายไทยแต่ไทยตแี ตกกลับไปถงึ 3 ครั้ง เสียลี้พลไปมาก เจ็บป่วย ตาย
และถูกทหารไทยจบั เปน็ เชลยก็มากทำให้ทหารพมา่ ขาดขวัญกำลังใจ
-38-
แผนการรบของฝ่ายไทย ต้องการโอบล้อมคา่ ยทหารพม่าไว้ดว้ ยกำลังมาก ตั้งค่ายแข็งแรงหลายขัน้
ไว้โดยรอบไมใ่ ห้กำลงั พมา่ เลด็ รอดออกไปได้ ต้องการจะจับเชลยท้ังหมดไปประจาน ตัดการส่งกำลังบำรงุ รักษาแหลง่
นำ้ ไวไ้ มใ่ ห้พมา่ ออกมาใช้แหล่งนำ้ คอยดักปลน้ กองทหารที่จะออกไปหาเสบียงอาหารทงั้ นีเ้ พ่อื ให้พมา่ อดโซต้ังค่ายสกัด
กั้นกองหนนุ พม่าทจ่ี ะมาจากค่ายปากแพรกมิให้ชว่ ยเหลือกนั ไดโ้ ดยมไิ ดน้ ำกำลงั เข้าไปลอ้ มพมา่ ท่ีปากแพรกเลย ต่อมา
กองหนุนพมา่ กย็ กมาตั้งที่เข้าชะง้มุ ประจันหน้ากับค่ายไทย เพม่ิ เตมิ กำลังซ่งึ ยกลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายไทยมี
กำลังมาก ขวัญดี ต้องการทำลายขวัญพมา่ แก้แค้นคืนที่พม่าจบั ไทยเปน็ เชลยครงั้ กรุงเกา่ แตก
การวางกำลังและการจดั รปู ขบวน
1. ฝ่ายพม่า วางกำลังตั้งค่ายที่บางแก้วด้านหลังเขาพระประมาณ 1 กม. ตั้งค่ายเป็น 3 ค่าย
มีปกี กาถึงกนั
2. ฝา่ ยไทย การวางกำลงั ขัน้ ต้น
คา่ ยที่ 1 พระองคเ์ จ้าอ้ยุ (ลูกยาเธอ) คมุ พล 3,000 ไปตัง้ ค่ายประชิดพมา่ ท่ี ต.โคกกระตา่ ย หา่ งค่าย
พมา่ 80 เสน้ (3.20 กม.)
คา่ ยท่ี 2 หลวงมหาเทพ ไปต้งั อยทู่ างตะวันตกของพม่า
ค่ายที่ 3 เจ้ารามลักษณ์ (หลานเธอ) ไปตัง้ โอบล้อมอยูท่ างตะวันออกของพมา่
การวางกำลงั ขั้นต่อไป
เมื่อพระเจ้าตากสินยกกำลังทัพหลวงขึ้นมาสมทบทราบว่าทหารพม่าดูถูกทหารไทยก็โกรธหวงั จะ
จบั พม่าเอาเปน็ เชลยใหท้ หารไทยดูจะไดห้ ายกลัวพม่า จึงใหต้ ั้งค่ายโอบล้อมเข้าไปอีกดังน้ี
คา่ ยที่ 4 ค่ายหลวงตัง้ ท่เี ขาพระ หา่ งคา่ ยโคกกระต่ายข้ึนไปข้างเหนืออกี 40 เสน้ (1.5 กม.) อยู่ใกล้
กบั พม่าห่างกันเพยี ง 1 กม.
ค่ายที่ 5 พระยาอนิ ทรอภัย ตั้งที่เขาชอ่ งพรานรักษาหนองน้ำใหญ่มิให้ทหารพม่ามาใชอ้ าบกนิ และ
ใช้สำหรบั ช้าง ม้า ได้
ค่ายท่ี 6 พระยารามัญ คุมกองมอญรกั ษาหนองน้ำทีเ่ ขาชะง้มุ และตดั เส้นทางลำเลียงของขา้ ศกึ มใิ ห้
ใชไ้ ด้ เม่อื พระยาจักรี พระยาสรุ สีห์ ยกกองทพั หวั เมอื งเหนอื เขา้ มาสมทบอกี จงึ ต้งั ค่ายโอบลอ้ มพม่าไว้อีกดงั นี้
คา่ ยท่ี 7, 8, 9 เป็นค่ายพระยาจักรตี ั้งโอบลอ้ มพมา่ ทางด้านเหนอื
ค่ายท่ี 10, 11, 12 ของพระยาสุรสหี ์ ตง้ั ค่ายลอ้ มหมอ่ งจายดิ ซงึ่ เขา้ ตีค่ายพระยารามญั แล้วยึดค่าย
ได้จงึ ตัง้ อย่ทู คี่ ่ายเขาชะงมุ้ ฝ่ายไทยจงึ เข้าโอบล้อมไวม้ ิใหพ้ ม่าลงมาชว่ ยคา่ ยงุยอคงหวุน่ ท่คี า่ ยบางแกว้ ได้
การปฏบิ ัตกิ ารรบ แผนการรบของพระเจา้ ตากสนิ มแี นวความคดิ ยงั ไม่เข้าตีค่ายพม่าถ้าจะเข้าตีก็คง
แตกโดยง่ายเพราะมีกำลังมากกว่าพม่าหลายเท่าแต่ต้องการให้พม่าอดโซและจะจับเป็นเชลย จึงตั้งค่ายล้อมไว้มิให้
ทหารพมา่ เล็ดรอดออกไปหาเสบียงอาหารได้ ในข้นั ตน้ ไทยยังไมย่ กกำลังไปตีกองหนุนพมา่ ทีป่ ากแพรกซงึ่ มีหม่องจายดิ
คุมค่ายอยู่ ทั้งนี้คงจะรอกำลังจากพระยาจักรี พระยาสุรสีห์จากหัวเมืองเหนือเข้ามาช่วยการปฏบิ ัติการกับกองหนนุ
พม่า หมอ่ งจายดิ ซง่ึ ตง้ั อยู่ปากแพรกทราบว่างยุ อคงหวนุ่ ถูกทหารไทยโอบล้อมอยู่ที่บางแก้วจึงยกกำลังมาช่วย มาถึง
เขาชะงุม้ จึงเขา้ ตีคา่ ย พระยารามัญ กองมอญ มกี ำลังนอ้ ยถกู พม่าลอ้ มอยู่จึงหนีจากวงล้อม พมา่ จงึ เขา้ ค่ายท่ีเขาชะงุ้ม
ได้ แตพ่ ระยารามญั กลับมาตั้งค่ายใหม่สกัดมิให้หมอ่ งจายิดลงมาถงึ คา่ ยบางแก้วได้ พอดพี ระยาสรุ สีห์ยกกำลังมาจาก
-39-
หวั เมอื งเหนือมาช่วยโอบล้อมไว้อกี หมอ่ งซายดิ อยทู่ คี่ า่ ยเขาชะงมุ้ จงึ ออกปล้นค่ายพระยาสรุ สหี ์โดยทำค่ายวิหล่ัน (คือ
การกำบังกายดว้ ยการพราง) คอ่ ย ๆ ขยบั รกุ เข้าหาค่ายไทยทลี ะนอ้ ย เม่ือถึงจดุ ท่จี ะโจมตกี จ็ โู่ จมทุกทิศทางใน
ระยะใกล้ ๆ แต่ทหารไทยป้องกันค่ายไว้ได้ คราวต่อไปพม่าจึงออกปล้นค่ายพระยานครสวรรค์ที่ตั้งล้อมอยู่เขาชะงมุ้
เช่นเดียวกันพระเจ้าตากสินจึงยกกำลังจากค่ายหลวงขึ้นไปช่วย นำทหารเข้าฟาดฟันพม่าจนแตกกระเจิงเข้าค่ายเขา
ชะงุ้มจนไมส่ ามารถยุทธบรรจบกบั งุยอคงหว่นุ ได้ ฝ่ายอะแซหว่นุ กี้ ซึง่ อยทู่ ่เี มาะตะมะเหน็ วา่ งุยอคงหวุ่นยกทัพหายไป
นานยังไม่กลับจงึ สง่ ตะแคงมรหน่องคมุ พล 3,000 มาตามเม่อื มาถงึ ปากแพรกจึงทราบว่างยุ อคงหวนุ่ ถูกทหารไทยล้อม
อยทู่ ี่บางแกว้ จึงยกกำลังมาช่วยมาถึงดงรงั เข้าตีคา่ ยพระยายมราชซง่ึ ตง้ั อย่รู ะหวา่ งทางเข้าตีค่ายไทยไม่แตกจึงถอยทัพ
กลับปากแพรก จงึ ไมส่ ามารถยกกำลงั มาช่วยงุยอคงหวนุ่ ท่บี างแกว้ ได้
ผลการรบ งยุ อคงหว่นุ แมท่ พั พมา่ ถกู กองทัพไทยโอบลอ้ มจนไม่สามารถอดทนอยูไ่ ด้ จึงยอมออกจาก
ค่ายพร้อมด้วยนายทัพ นายกองมอบตัวต่อกองทัพไทย ถูกนำตัวไปกราบบังคมพระเจ้าตากสินยังค่ายหลวงเขาพระ
และฝ่ายพม่าถูกจับเป็นเชลยได้ 1,234 คน หญิง 2 คน พม่าตายระหว่างถูกล้อม 1,600 คน หลังจากนั้นไทยก็รวม
กำลังเขา้ ตีหม่องจายดิ ที่เขาชะงุม้ แตกและเขา้ ตพี มา่ ท่ปี ากแพรก ไทยขับไลจ่ นสดุ ชายแดนจึงเลกิ ทัพกลับ
บทเรียนจากการรบ
1. ความประมาทของแม่ทัพพม่าดูถูกฝีมือทหารไทยทั้ง ๆ ที่งุยอคงหวุ่นตั้งค่ายที่บางแก้วเสร็จ
แล้วยังให้ทหารพม่ายืนดูทหารไทยตั้งค่าย ไม่ถือโอกาสโจมตีไทยเสียก่อนเพราะประมาทฝีมือคนไทยอย่าประมาท
ข้าศึก
2. แหล่งน้ำ แหล่งเสบียงอาหารของพม่าถูกตัดจนกองทัพอดโซหิวโหยเส้นทางส่งกำลังบำรุง
ถกู ตัดขาดกองหนุนก็อยูห่ ่างไกลไม่สามารถเข้าช่วยได้ทันทว่ งที ฉะนั้นการสง่ กำลังบำรุงและเสน้ ทางส่งกำลังบำรุงจึงมี
ความสำคัญตอ้ งรกั ษาให้ระวงั ปอ้ งกัน
3. พม่าเปลี่ยนความมุ่งหมายจากการติดตามครัวมอญกลับมาเป็นการปล้นทรัพย์จับเชลยไทย
เชน่ เดียวกบั คราวกรงุ แตก โดยนำกำลงั มาเพียง 5,000 แยกเป็น 2 กอง คร้ันกองทัพไทยมาตงั้ ค่ายโอบล้อมท่ีบางแกว้ ก็
ยงั ดือ้ รัน้ ตีคา่ ยไทยให้ได้ ไมถ่ อยหนีไปเสียกอ่ นฝา่ ยไทยจะเพม่ิ เติมกำลัง
4. การขา่ วของทหารพม่าไม่ดี เพราะไมไ่ ดเ้ ตรยี มการทำสงครามไว้จึงไม่ทราบกำลงั ท่จี ะมาเพิ่มเติม
กำลังมากมายจงึ วางแผนตั้งรับไมถ่ ูก
5. ความพร้อมของฝ่ายไทย หลังจากตีเชียงใหม่ได้แล้วจึงโยกกำลังจากหัวเมืองฝ่ายเหนือมาช่วย
ไดท้ ันมกี ำลงั มากกว่า
6. ไทยใชก้ ลยทุ ธ์ล้อมค่ายและตัดเส้นทางส่งกำลงั บำรุงทำให้อดอยากจนถูกจับทง้ั ค่าย เป็นไปตาม
หลักซุนวู้ ล้อมตีให้อดโซ กล่าวไว้ กำลังมากกว่า 10 : 1 ให้ล้อมเอา 5 : 1 ให้เข้าตี 2 : 1 ให้แยกออกแล้วเข้าตี ทีละ
สว่ น ถา้ กำลงั นอ้ ยกวา่ ใหห้ ลีกเล่ียง
7. การจับเชลยพม่าเป็น ๆ มาให้ทหารไทยดูของพระเจ้าตากสินเป็นการทำให้ทหารไทยหายกลัว
พม่าเสยี ที เปน็ การดำเนินกลยทุ ธ์ทางจติ วิทยาไดผ้ ลดี
-40-
8. ความรวดเรว็ ในการเคล่ือนทพั ดว้ ยกำลงั ทางน้ำใชเ้ รือ สามารถเดินทัพจากเชยี งใหม่ลงมาราชบุรี
ชั่วเวลาไมก่ ่วี นั กำลังเปน็ ปึกแผน่ ไมก่ ระจัดกระจายและบอบชำ้ เมือ่ ถึงที่หมายทำการรบได้ทนั ที ถา้ เคลื่อนทัพทางบก
จะเหนด็ เหน่ือยและล่าช้า
วิเคราะหก์ ารนำหลักการสงครามไปใช้
1. หลักความมงุ่ หมาย พระเจา้ ตากสนิ วางความมุง่ หมายไว้ที่กำลังฝ่ายพม่าทีเ่ ขาชะงุ้ม
2. หลกั การรุก พระเจา้ ตากสนิ นำกำลงั รุกออกจากกรงุ ธนบุรไี ปราชบรุ ีทีเ่ ขาชะงุ้มก่อนท่ีพม่าจะจับ
คนไทยเปน็ เชลย ชิงความไดเ้ ปรยี บเขา้ ประชิดและทำการโอบล้อมอย่างรวดเรว็ พรอ้ มให้กำลงั มาเพิม่ เตมิ ทำให้วงล้อม
มคี วามม่นั คงไมม่ ีทางสู้
3. หลกั การรวมกำลัง จะเห็นวา่ พระองค์รวบรวมเป็นปกึ แผ่นลอ้ มรอบกำลังฝ่ายพม่า ณ เขาชะงมุ้
4. หลักการออมกำลังกองหนุนทั่วไป และมอญที่อยู่ในกรุงธนบุรียังไม่ถูกออกนำมาใช้
ใชเ้ ฉพาะกำลังหลักโอบล้อมค่ายสำเรจ็
5. หลักการดำเนินกลยุทธ์ ใช้รูปแบบกลยุทธ์โอบ และล้อมทุกทิศทางไม่ให้พม่าสามารถ
ดำเนินกลยทุ ธไ์ ดถ้ กู ตรงึ อยกู่ บั ทีพ่ ้ืนทีค่ บั แคบ
6. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา พระเจา้ ตากสนิ ทรงเปน็ จอมทัพสง่ั การเดด็ ขาดผู้เดยี วต่อแม่ทัพ
นายกองตามสายการยบังคบั บญั ชา ทำให้การควบคมุ บงั คบั บญั ชาเป็นไปดว้ ยความเรียบรอ้ ยผูป้ ฏบิ ัตไิ ม่สับสนสงสัย
7. หลักการระวังปอ้ งกนั จะเห็นว่าพระองคใ์ ห้พระยายมราชไปตัง้ คา่ ยทด่ี งรงั ป้องกันพม่าเข้าตกี ำลงั
ส่วนใหญ่ที่เขาชะงุ้ม พระยายมราชสามารถตีตะแคงมรหน่องกำลัง 3,000 แตกกลับไปที่ปากแพรกเป็นการระวัง
ปอ้ งกันให้แก่กำลงั ส่วนใหญ่ฝ่ายไทยท่ีบางแกว้
8. หลักความง่าย ยุทธวิธีล้อมตีให้อดโซเป็นยุทธวิธีแบบง่าย ไม่เสียกำลังทหารฝ่ายเรา มีขวัญดี
กำลงั ฝา่ ยไทยได้เปรียบท้ังกำลงั พล อาวุธ มีเวลาพอแผนงา่ ยทกุ ฝา่ ยเขา้ ใจ
การรบกับอะแซหวุน่ กต้ี ีเมืองพิษณโุ ลก (พ.ศ. 2318)
สาเหตุของสงคราม พระเจ้ามังระต้องการปราบปรามไทยให้ราบคาบ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาอกี
เพราะเห็นว่าไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ได้อีก จึงให้อะแซหวุ่นก้ีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้ามาทำศึกกับไทยเป็นสงครามใหญ่
ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา จว.ตาก เพื่อตีเมืองพิษณุโลกอันดับแรก แล้วจะนำกำลังลงมาตีกรุงธนบุรีต่อไปห้วง
ระยะเวลาสงคราม ประมาณ ต.ค. 2318 ถงึ 2319
ภูมิประเทศทีป่ ฏบิ ัตกิ ารรบ
สำหรับเมืองพิษณุโลก เป็นลักษณะเมืองอกแตกมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมืองแม่น้ำน่านเมื่อฤดูน้ำ
หลากจะไหล่บา่ ลน้ 2 ฝงั่ ลงไปทางใต้ผา่ นทรี่ าบลมุ่ ทอ้ งนามาถงึ จว.พจิ ิตร ลงมานครสวรรค์ เมอื งพิษณุโลกเปน็ หวั เมือง
ใหญ่ฝ่ายเหนืออยู่ในแนวเดียวกับ เมืองสุโขทัย เมืองตาก ซึ่งพม่าเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เข้า ตาก – สุโขทัย -
พิษณโุ ลก ได้โดยสะดวกเพราะเป็นที่เนิน เดินทพั สะดวก และเสน้ ทางส่งกำลงั หาอาหารทางเมืองสโุ ขทัย กำแพงเพชร
ไดไ้ ม่ถกู ขัดขวางเส้นทางจาก จว.พษิ ณุโลกไปยงั กรุงธนบรุ ี เป็นทีร่ าบล่มุ แมน่ ้ำนา่ นและแมน่ ้ำเจา้ พระยาฤดูฝนน้ำหลาก
เดินทัพทางบกลำบากลา่ ช้า ต้องใช้เรือแจวพายจงึ สะดวก ด้านตะวันออกของเมอื งพิษณุโลกเป็นเนินสูง และเทือกเขา
เพชรบูรณเ์ ปน็ ปา่ ทึบและภูเขาสงู ชัน
-41-
แผนการรบ
ฝ่ายพม่า ในขน้ั ต้น อะแซหวนุ่ กี้แมท่ ัพใหญพ่ มา่ ทำการรบโดยใช้แผนชอื่ ว่า บุเรงนอง คอื
1. ยดึ เมอื งเชยี งใหมแ่ ละหวั เมืองฝา่ ยเหนอื เชน่ พษิ ณโุ ลก กำแพงเพชร ฯลฯ ให้ไดเ้ สียก่อนเพ่ือตัด
กำลงั ไทยและใช้เปน็ ฐานส่งกำลงั บำรุงของพมา่ เป็นการตัดกำลังไทยให้ออ่ นแอลงไปในตวั
2. เม่ือไดห้ ัวเมืองฝ่ายเหนอื แล้วจงึ จะยกกองทัพบกและกองทพั เรอื ลงไปตกี รงุ ธนบรุ ีตอ่ จงึ จะง่ายข้ึน
และใชเ้ สน้ ทางนำ้ จากหัวเมืองเหนอื เปน็ เส้นทางสง่ กำลัง
ฝ่ายไทย
1. ปอ้ งกันเมอื งเชียงใหมไ่ ว้ให้ไดเ้ พอื่ มใิ หพ้ ม่าใช้เป็นฐานส่งกำลังและนำกำลงั มาบบี เมืองพิษณโุ ลก
2. ปอ้ งกนั เมืองพษิ ณโุ ลกไวใ้ หไ้ ด้เพราะเปน็ หัวเมอื งฝ่ายเหนือที่มกี ำลังมากโดยใช้กำลงั จากหัวเมือง
ฝ่ายเหนือและกำลังจากเมืองหลวงไปยันไวแ้ ลว้ ทำลายร้งั หน่วงทพั พมา่ ไม่ให้เข้าตีกรงุ ธนบรุ ีได้
3. แผนการใช้เส้นทางน้ำจากทางใต้ส่งกำลังขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลกนั้นถือเป็นเส้นเลือดใหญ่
ท่ีสำคญั ตอ้ งยดึ รักษาไว้ใหไ้ ดป้ ้องกันพม่าเคลอ่ื นกำลังลงใต้
การวางกำลังและการจัดรูปขบวน
ฝ่ายพม่า
1. ตัง้ คา่ ยล้อมเมอื งพษิ ณุโลกไว้ 4 ด้าน แล้วส่งไพร่พลลาดตระเวนดูชัยภูมิที่จะเข้าตีเมืองพิษณุโลก
ฝา่ ยพระยาจักรี พระยาสรุ สีห์ รักษาเมืองส่งกำลงั เข้าตีกองลาดตระเวนพมา่ ผลดั กนั แพ้ผลัดกนั ชนะไม่เดด็ ขาดต่อกนั
2. เม่ือกองทพั หลวงของพระเจ้าตากสินยกขน้ึ มาตั้งค่ายเรียงรายด้านใต้เปน็ ระยะ ๆ ตามลำนำ้ น่าน
เพื่อรักษาเส้นทางส่งกำลังไว้ ตั้งค่าย 6 ค่ายตลอดระยะ 20 กม. ลงไปจนถึงค่ายหลวงต้ังที่ปากพิงพม่าจึงวางแผนบด
ขยกี้ ำลงั ส่วนน้ีทีละค่ายเพ่ือให้พิษณโุ ลกขาดเสบยี ง ทพั หลวงของไทยที่ปากพงิ ต้องท้ิงคา่ ยหนีลงไปทางใต้ และในที่สุด
พมา่ เขา้ เมอื งพิษณโุ ลกได้ พระยาจกั รี พระยาสุรสหี ์ ตอ้ งหนีไปทางเพชรบูรณ์
ฝ่ายไทย
1. กองทัพพระยาจักรี พระยาสรุ สหี ์ ตงั้ อย่ใู นเมอื งพิษณโุ ลกออกไปตัง้ ค่ายรอพมา่ อยนู่ อกเมืองด้าน
เหนอื 1 คา่ ย และด้านตะวันออก 1 คา่ ย
2. กองทพั หลวงของพระเจ้าตากสินตงั้ ค่ายตามลำนำ้ นา่ น 1 ค่าย
- ค่ายหลวงตั้งทป่ี ากพิง - คา่ ยท่าโรง - คา่ ยวัดจุฬามณี
- คา่ ยบา้ นกระดาษ - ค่ายบางทราย - ค่ายวดั จันทร์
การปฏบิ ตั กิ ารรบ การศกึ ใหญ่ครงั้ นม้ี กี ารปฏบิ ตั กิ ารรบย่อย ๆ หลายครั้งทีส่ ำคญั คือ
1. คร้ังแรกพระยาสรุ สีหไ์ ด้นำกำลงั เข้าตีค่ายพมา่ ท่ีบ้านกงธานี ริมนำ้ ยมซงึ่ มีกะละโปและแมงแยยา
งูเป็นแม่ทัพคุมกำลังอยู่ 20,000 คน ไทยตีพม่าไม่ได้เพราะมีกำลังน้อยกว่า ไทยจึงกลับมารักษาเมืองพม่าจึงตามมา
ล้อมเมืองพิษณโุ ลก
2. การสรู้ บแบบปอ้ มคา่ ย ฝา่ ยไทยไดไ้ ปตงั้ ค่ายประชิดพมา่ ทล่ี ้อมเมอื งพิษณโุ ลก
พระยารามญั คมุ กองมอญ ต้ังค่ายประชิดทางดา้ นเหนอื
พระยาจกั รี พระยาสรุ สหี ์ ตง้ั ค่ายประชิดทางด้านตะวนั ออก
-42-
พระยานครสวรรค์ ต้ังค่ายประชดิ อยูท่ างวัดจันทรด์ า้ นใต้
ด้านตะวันออกฝ่ายไทยได้เข้าตีค่ายพมา่ ขุดคูประชิดค่ายเข้าหากนั รบกนั อยู่หลายวันไม่แพ้ไม่ชนะ
แมไ้ ทยจะระดมกำลังเขา้ ตกี ็ไมแ่ ตกเพราะอะแซหวนุ่ กีร้ ู้ตัวเอากำลงั มาเสรมิ
ด้านตะวนั ตกเฉียงใต้ พระเจ้าตากสินวางแผนจะเข้าตีค่ายพมา่ ทางดา้ นนใ้ี นวนั รุ่งข้นึ โดยวางแผนให้
พระยาจกั รี พระยาสสุ หี ์ เขา้ ตคี ่ายพมา่ แล้วใหพ้ ระยานครสวรรค์ พระยาราชมณเฑยี รเปน็ กองหนนุ ยกกำลังไปซุ่มทาง
ตะวันตก คอยตกี ระหนาบขา้ งหลงั แต่แผนผิดพลาดคือ เม่อื พระยาจกั รพี ระยาสุรสีห์เข้าตีค่ายพม่าปล้นค่ายเผาค่ายไป
ได้บางส่วนแล้ว พระยานครสวรรค์และพระยาราชมณเฑียรยกขึ้นไปช่วยไม่ทันเพราะกองหนุนของอะแวหวุ่นกี้จาก
สโุ ขทัยมาคอยสกัดไว้
3. การสู้รบของไทยเข้าตีค่ายพม่า 2 ครั้งไม่ประสบผลสำเร็จพม่าจึงเข้าตีค่ายบางทราย เพื่อตัด
เส้นทางลำเลียงของไทย ไทยมอี าวุธเหนือกว่าพมา่ จึงปอ้ งกนั ค่ายไวไ้ ด้
4. พมา่ ส่งกำลงั หนนุ ลงมาตัดเส้นทางสง่ กำลงั ของไทยอีกโดยส่งกำลังอ้อมมาทางกำแพงเพชรจะไป
โจมตีนครสวรรค์พระเจ้าตากสินต้องถอนกำลงั ท่รี ักษาเส้นทางท่ีบ้านกระดาษไปคุ้มกนั เมืองนครสวรรคท์ ำให้การระวัง
ปอ้ งกันรกั ษาเสน้ ทางลำเลียงไปเมืองพษิ ณโุ ลกออ่ นแอไป พมา่ ดักปลน้ เอาเสบียงท่ีจะส่งขึน้ ไปพิษณโุ ลกไปได้พิษณุโลก
จงึ ขาดเสบยี ง
5. แผนอะแซหวุ่นกี้ต้องการตีค่ายหลวงที่ปากพิงให้แตกเสียก่อนเป็นการตัดเส้นทางส่งกำลังหรอื
ตัดเส้นเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงเมืองพิษณโุ ลกจึงนำกำลังกดดันค่ายหลวงให้ย้อนลงไปทางใต้ไปต้ังท่ีบ้านข้าวตอกแขวง
เมืองพจิ ิตรและคา่ ยรายทางถกู พมา่ ตแี ตก เมืองพิษณโุ ลกจึงถูกตดั ขาดจากทัพหลวง
6. เมืองพิษณุโลกอ่อนแอแล้วจึงจะเข้าปล้นเมือง แต่พระยาจักรีกับพระยาสุรสีห์นำกำลังและ
ชาวเมอื งตฝี ่าหนีไปเพชรบูรณ์เสยี กอ่ น พมา่ จงึ เขา้ เมืองพิษณุโลกได้
7. แม้ว่าพม่าจะเข้าเมืองพิษณุโลกได้ แต่ไม่ได้เชลยและสิ่งของเพราะฝ่ายไทยทำลายก่อนและ
ทิ้งเมืองไป อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าอยู่ได้ 2-3 วัน ก็ถูกเรียกตัวกลับกรุงอังวะปล่อยให้กะละโปและแมงแยยางูคุม
กองทัพอย่ตู ่อไป
8. แมงแยยางู ยกกำลังติดตามพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ขึ้นไปทางเพชรบูรณ์แต่ถูกกำลังฝ่ายไทย
คือพระยาพลเทพ ตีแตกกลับไป
9. กะละโป คมุ กำลงั ทหารไปทางกำแพงเพชรเพ่ือหาเสบยี งอาหารกถ็ กู ทหารไทยตแี ตกกลบั ไปพม่า
ผลการรบ การรบครั้งนีไ้ ทยเสียเปรียบกำลังพลน้อยกว่าจึงไม่สามารถรักษาเมืองพิษณุโลกไวไ้ ด้ตอ้ ง
ทง้ิ เมืองพิษณโุ ลกหนีไปเพชรบรู ณ์ พม่าเขา้ เมืองพิษณโุ ลกได้ แต่ไม่ไดเ้ สบยี งอาหารทำให้พมา่ อดอยากเช่นเดียวกนั
อะแซหว่นุ ก้แี ม่ทพั ถกู เรยี กตัวกลบั วัตถปุ ระสงค์ใหญค่ ือการเข้าตีกรงุ ธนบรุ ี จึงถกู ระงับไป ภายหลังอะแซหวุ่นกี้กลบั ไป
แล้วแม่ทัพของไทย ได้ตามตีพม่าแตกกระเจิงออกจากแผ่นดินไทยไป สรุปผลการรบไทยรักษาอิสรภาพไว้ได้และ
กลบั มาปรบั ปรุงเมอื งพษิ ณุโลกอีกคร้ัง
บทเรียนจากการรบ
1. การส่งกำลังเป็นหัวใจของการรบ สงครามยืดเยื้อ พม่าพยายามตัดเส้นทางส่งกำลังของเมือง
พษิ ณุโลกให้ไดจ้ ึงทำให้พิษณโุ ลกอ่อนกำลังลง จนต้องทิ้งเมอื งไปในทสี่ ดุ
-43-
2. การข่าวพม่าดี เพราะอะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพผู้เฒ่ากรำศึกมานานมากด้วยประสบการณ์รอบรู้
ชาญฉลาดจึงเดาใจแมท่ ัพไทยได้ถกู ต้อง เช่นคาดว่าไทยจะตคี า่ ยพม่าทางด้านตะวันออกก็นำกำลังไปเสรมิ ให้มาก
และตอ่ ไปคาดว่าไทยจะตีค่ายพม่าทางตะวันตกเฉียงใต้กส็ ง่ กำลงั มาคอยสกดั กองหนนุ ฝ่ายไทยมิให้ข้นึ ไปช่วยกันได้
3. แม่ทัพพม่าหลอกล่อส่งกำลังไปตีท้ายครัวไทย (ตลบหลัง) คือส่งกำลังไปทางกำแพงเพชร ไปตี
นครสวรรค์ซึ่งเป็นปากประตูที่จะมาแม่น้ำนา่ น จนพระเจ้าตากสินต้องถอนกำลังจากค่ายรายทางที่บ้านกระดาษไป
รกั ษานครสวรรค์ ทำใหเ้ ส้นทางสง่ กำลังจากค่ายหลวงไปพิษณุโลกออ่ นกำลังพมา่ จงึ ตดั กำลงั ปลน้ เอาเสบยี งไปได้
4. การดำเนินทางจิตวิทยาของอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าผู้เฒ่าขอพักรบหนึ่งวันขอดูตัวพระยาจักรี
และชมว่าเปน็ แมท่ ัพหนุม่ แตม่ ฝี มี อื สตปิ ญั ญาทดั เทยี มกบั ตนซ่ึงเป็นผู้เฒ่ากรำศึกมานาน ขอให้รกั ษาตัวไวต้ ่อไปจะเป็น
พระเจ้าแผ่นดิน เป็นการพูดให้เกิดความเคลือบแคลงยุยงให้แตกแยกกับพระเจา้ ตากสนิ ก็ได้ เป็นการดำเนินการทาง
จติ วทิ ยาทล่ี กึ ซ้งึ
5. ทัพหลวงของฝ่ายไทยใช้กำลังไปตั้งค่ายรักษาเส้นทางส่งกำลังมากเกินไปจนไม่มีกำลัง ในการ
ดำเนินกลยุทธ์เขา้ ตีคา่ ยพม่า เพราะต้องมาพะวงรกั ษาค่ายรายทางส่งกำลังมิให้รวมกำลงั กันไปตีค่ายใดคา่ ยหนึ่งของ
พมา่ ให้แตกไปทลี ะค่าย
6. การรบคร้งั น้ีพระเจ้าตากสนิ ไม่ได้ระดมกำลงั จากหวั เมืองอน่ื ๆ มาชว่ ย เช่น หวั เมืองนครราชสมี า
และหัวเมอื งปักใต้ทำใหก้ ำลงั ทจ่ี ะใช้บีบรดั พม่านอ้ ยไป กำลงั ต่อสู้จึงขาดนำ้ หนักไม่สามารถเอาชนะพมา่ ได้
7. การใช้กองหนุนของอะแซหวุ่นกี้เป็นอย่างชาญฉลาด สามารถใช้กองหนุนเข้าช่วยเหลือแก้ไข
สถานการณ์ได้ทันท่วงทีเสมอ และฝา่ ยไทยปลอ่ ยใหก้ องหนุนพม่าปฏิบตั ิการไดอ้ ยา่ งเสรีและมคี วามรวดเร็ว
8. การใช้กองหนุนไม่ทันเวลาและสถานการณ์ส่งผลเสีย เช่น การวางแผน การเข้าตีพม่าทาง
ตะวันตกเฉียงใต้ โดยให้พระยาจักรีพระยาสุรสีห์นำกำลังจากเมืองพิษณุโลกเข้าตีค่ายพม่า พระยานครสวรรค์เป็น
กองหนนุ ขึ้นจากทิศใต้ พระยามณเฑียรนำกำลงั ซมุ่ อยู่หลงั ค่ายพม่าทางตะวนั ตก เมอ่ื เหน็ พม่ารบติดพันกบั พระยาจักรี
และพระยาสุรสีห์ ให้พระยานครสวรรค์และพระยามณเฑียรเข้าตีกระหนาบช่วยทันที แต่ทัพพระยานครสวรรค์ไม่
สามารถปฏิบัติได้เนื่องจากกองหนุนพม่าจากสุโขทัยเข้าสกัดกั้นทัพพระยานครสวรรค์การเข้าตีของฝ่ายไทยจึงขาด
นำ้ หนักทจี่ ะเอาชนะไดภ้ ารกิจจงึ ลม้ เหลว ความเรว็ ทนั เวลา ทันสถานการณ์จงึ มคี วามสำคญั ในการใชก้ องหนุน
วเิ คราะห์การนำหลกั การสงครามไปใช้
1. หลักการออมกำลัง จะเห็นว่าพระเจ้าตากสินวางกองหนุนที่นครสวรรค์ถึงพิษณุโลก กองหนุน
ท่ัวไปอยู่กรงุ ธนบรุ แี ละกำลงั หวั เมอื งยงั ไมน่ ำมาใชค้ งจะนำมาใช้เมือ่ พมา่ ล้อมกรุงธนบรุ ี
2. หลกั การระวงั ปอ้ งกนั พระเจ้าตากสินส่งกำลงั กองโจรปฏบิ ตั ติ อ่ ฝ่ายพม่าเพ่อื ปอ้ งกนั กำลงั สว่ นใหญ่
ไม่ใหถ้ กู จโู่ จมทำลาย แต่กองโจรฝ่ายเรานอ้ ยปฏิบตั ิไมเ่ ป็นผลสำเร็จทำใหค้ ่ายรายทางตามลำนำ้ นา่ นถูกตดั ขาด
สงครามเก้าทพั (พ.ศ.2328)
สาเหตุ ในขณะที่มีการแย่งชิงราชสมบัติกันในพม่านัน้ หัวเมืองขึ้นของพม่าก็พากันกระดา้ งกระเด่อื ง
บังอาจคุมกำลงั ไปปลน้ เมอื งองั วะซึง่ เปน็ ราชธานีกม็ ี เม่อื พระเจ้าปดุงได้ครองราชยไ์ ด้ปราบปรามเมืองข้ึนจนสงบราบ
คาบ และขยายอำนาจไปตีประเทศมณีปุระทางเหนือ และประเทศยะไข่ทางตะวันตกขยายอำนาจกวา้ งขวางยิ่งกว่า
รัชกาลใด ๆ ในกาลกอ่ น เม่อื พระเจ้าปดุงสามารถปราบเส้ียนหนามได้ มอญ รามัญ อยใู่ นอำนาจทำสงครามท่ใี ดก็ชนะ
-44-
เสียทกุ แห่งทกุ ครั้ง จึงคิดจะตเี มืองไทยให้เป็นเกยี รติยศ ดังเชน่ พระเจ้าหงสาวดบี เุ รงนอง ปจั จุบนั ประเทศใกลเ้ คียงก็ได้
ไว้ในอำนาจ อาณาเขต ร้ีพลบรบิ ูรณ์ ทหารหาญกอ็ าจหาญรา่ เรงิ
เมือ่ ถงึ ปมี ะเสง็ พ.ศ.2328 พระเจ้าปดงุ จึงให้เตรยี มกองทพั เข้าตีประเทศไทย เกณฑค์ นทง้ั เมืองหลวง
หัวเมืองขึน้ ประเทศราช รวมจำนวนพล 144,000 คน จดั เปน็ กระบวนทพั 9 ทัพ
ภูมิประเทศท่ปี ฏบิ ตั ิการรบ การเคลื่อนทัพของพม่าเข้าสูป่ ระเทศไทยคร้ังนี้ 5 เสน้ ทาง ดำรงความมุ่ง
หมายเข้ายึดกรงุ เทพมหานคร ใช้เสน้ ทางและภูมปิ ระเทศดังน้ี
- ช่องเมืองมะริด แยกปฏิบตั กิ ารเป็นทางบกและทางทะเล
- ช่องทางด่านบอ้ งต้ี เปน็ ชอ่ งทางภเู ขาสูงชันทางทรุ กนั ดาร
- ช่องทางด่านพระเจดยี ส์ ามองค์ ผา่ นภมู ิประเทศป่าเขาสงู ชันระยะทางประมาณ 200 กม.
ถงึ กาญจนบุรี เกิดการรบครั้งสำคญั ณ.บรเิ วณท่งุ ลาดหญ้ามีแมน่ ้ำสำคญั 2 สาย แม่น้ำแควน้อย แมน่ ้ำแควใหญ่
ทงั้ 2 ฝ่ายใช้เปน็ ประโยชน์ในการเคล่ือนยา้ ยกำลงั และการสง่ กำลังบำรงุ
- ช่องทางดา่ นแม่ละเมา จว.ตาก
- ชอ่ งทางเชียงแสน
แผนการรบ
ฝา่ ยพม่า เขา้ ตไี ทยพร้อมกันมุง่ ยดึ กรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทาง 5 เสน้ ทาง 9 กองทพั สำหรบั ช่องทาง
ดา่ นพระเจดีย์สามองค์ ใช้กำลงั หลัก 5 กองทัพ มีกำลังพล 89,000 คน เส้นทางใกลย้ ึดกรุงเทพใหไ้ ด้ คิดว่ากำลังฝ่าย
เหนือและฝา่ ยใตข้ องไทยไม่สามารถมาชว่ ยได้เพราะพม่าใช้กำลังตรงึ แนวตลอดแนว การวางนำ้ หนักในการ
เข้าตีของพม่า กาญจนบุรี – กรุงเทพมหานคร พม่าเชื่อว่ากำลังทีเ่ หนือกวา่ ไทยคงไม่สามารถต้านทานได้ มิได้คิดถึง
ข้อเสีย กำลังพลมากยกไปหลายทศิ ทางยากแก่การควบคุม การลำเลยี งเสบียงอาหารกย็ ากลำบาก ผ่านภูมปิ ระเทศเปน็
ภูเขาสงู ชันยากแก่การเคลือ่ นที่
ฝ่ายไทย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทราบว่าพม่ายกกำลังเข้าเพื่อตียึดกรุงเทพฯ หลายทิศทาง
ด้วยกำลังมากจะป้องกันกรุงเทพ ฯ โดยเอากำลังล้อมพระนครอย่างทีเ่ คยทำคงไม่สามารถต้านทานได้ ข้าศึก
เจาะตรงจุดอ่อนแอคงเสียทีขา้ ศกึ ถา้ แยกกำลงั ไปต้านทานทกุ ทศิ กำลงั ก็อ่อนแอ ในทส่ี ดุ มคี วามคดิ พอ้ งต้องกันทุกฝ่าย
ว่าควรนำกำลังไปสกัดกั้นข้าศกึ ณ. ตำบลสำคัญก่อน ที่ใดไม่สำคัญกป็ ล่อยไว้ก่อน เมื่อขับไลข่ ้าศึก ณ.ตำบลสำคัญให้
ออกนอกราชอาณาจกั รแลว้ จึงปราบปรามสว่ นอ่ืนตอ่ ไป จึงวางแผนสกดั กน้ั และขบั ไลข่ า้ ศกึ ใหพ้ น้ ราชอาณาจกั รดงั นี้
1. จัดกำลงั หน่งึ กองทัพตรึงขา้ ศึกท่ีจะยกมาจากทางเหนือ มใิ หเ้ คล่ือนกำลังต่อมาถึงกรงุ เทพได้
2. จดั กำลังหนึง่ กองทัพเพ่ือสกัดก้นั กองทัพหลวงของข้าศกึ ท่ีจะมุง่ ยึดกรุงเทพ ฯ ซ่ึงเคลื่อนกำลังเข้า
ทางด่านพระเจดียส์ ามองค์ และให้พยายามทำลายข้าศึกแลว้ ขับไล่ใหพ้ น้ ราชอาณาเขตให้จงได้
3. จัดกำลงั สว่ นหนง่ึ เพอ่ื ป้องกันปกี ของกำลงั ที่จะไปกวาดล้างข้าศกึ ทางเมืองกาญจนบรุ ี และป้องกัน
ไม่ให้ขา้ ศกึ สว่ นน้ีเคลอื่ นกำลังเขา้ ยึดทางตะวนั ตก ราชบุรี – เพชรบุรี และไปรวมกับกองกำลังของขา้ ศกึ ทางใตต้ อ่ ไป
4. กำลังสว่ นหนึง่ เปน็ กองหนนุ ท่ัวไป เพ่อื สนบั สนนุ กำลงั สว่ นอนื่ ในกรณจี ำเป็นสว่ นพ้ืนที่ทางใต้ให้เจ้า
เมืองรักษาเมืองของตนจนสดุ ความสามารถไปก่อน เมื่อขับไลข่ ้าศึกทางกาญจนบุรไี ด้แล้วจะยกกำลังไปช่วยภายหลงั
-45-
นำ้ หนักการเข้าตพี มา่ มงุ่ ยึดกรุงเทพ ฯ ด้วยกำลงั มาก จำเปน็ ตอ้ งรกุ เพ่อื ยึดพนื้ ทซ่ี ึง่ จะเกอ้ื กูลตอ่ การปฏิบัติของฝ่ายเรา
ใหไ้ ด้ก่อนข้าศกึ ตอ้ งปฏบิ ัติด้วยการรุกเชงิ รบั หรอื ต้ังรับดว้ ยวธิ รี ุก (OFFENSIVE DEFENSE)
การจดั กำลัง การวางกำลังและการจดั รปู ขบวน
ฝ่ายพม่า จัดกำลังข้าศึกเขา้ ยดึ ประเทศไทย จัดกำลังเป็น 9 กองทัพ ยกเข้ามา 5 ทิศทาง รวมกำลงั
พล 144,000 คน ดังน้ี
กองทพั ท่ี 1 ครั้งแรกให้ แมงยี แมงข่องกยอ เป็นแม่ทพั ตอ่ มามีความผิดจัดหาเสบียงเลี้ยงกองทัพไม่
ทัน จึงถกู ประหารชีวติ เปล่ียนตวั แมท่ ัพเป็นเกงหวนุ่ แมงยมี หาสีหสุระ คมุ กำลัง 10,000 คน ชมุ พลท่ีเมอื งมะริด รุก 2
ทาง คอื ทางบกตีเมอื งชมุ พรถงึ สงขลา ทางทะเลใชท้ พั เรือตหี วั เมืองชายฝัง่ ทะเลฝง่ั ตะวนั ตกตัง้ แต่เมอื งตะกวั่ ปา่ ตะกั่ว
ทุ่ง ถงึ เมอื งถลาง (ภเู กต็ )
กองทัพท่ี 2 อนอกแฝกคิดหวุ่น เป็นแม่ทัพ กำลัง 10,000 คน ชมุ พลทเ่ี มืองทวาย เขา้ ทางด่านบ้องตี้
เข้ายึดหัวเมืองทางใต้ ราชบุรี – เพชรบรุ ี – ชมุ พร กำลงั สว่ นน้มี กี ารป้องกนั ปกี ทางขวาใหก้ บั กองทัพส่วนใหญ่
เข้ามาทางด่านพระเจดียส์ ามองค์ ดว้ ย
กองทัพที่ 3 หวุ่นคยีสะโค สิริมหาอุจจะนา เจ้าเมืองตองอู เป็นแม่ทัพ กำลัง 30,000 คน เข้าทาง
เมืองเชียงแสน เข้าตเี มืองฝ่ายเหนือ - กรุงเทพฯ
กองทัพที่ 4 เมียนหวนุ่ แมงยี มหาทิมขอ่ ง เปน็ แม่ทัพ กำลงั 11,000 คน ชุมพลทเี่ มาะตะมะ เคล่ือน
กำลังเข้าตกี รงุ เทพฯ ผา่ นดา่ นพระเจดียส์ ามองค์
กองทพั ท่ี 5 แมหวุ่นเป็นแม่ทัพ กำลงั 5,000 คน เป็นกองหนุนกองทัพที่ 4 ชุมพลท่ี เมาะตะมะ
กองทพั ท่ี 6 ตะแคงกามะ ราชบตุ รท่ี 2 เป็นแมท่ ัพกำลัง 12,000 คน ชมุ พลท่เี มาะตะมะ
กองทพั ที่ 7 ตะแคงอักกุ ราชบุตรท่ี 3 เป็นแมท่ พั กำลงั 11,000 คน ชุมพลทเ่ี มาะตะมะ
กองทัพที่ 6, 7 เป็นทัพหน้าของกองทัพหลวง โดยกองทัพที่หกเป็นกองทัพหน้าที่หนึ่ง กองทัพที่ 7
เปน็ กองทพั หน้าท่ีสอง
กองทัพที่ 8 เป็นกองทัพหลวงมีกำลัง 50,000 คน พระเจ้าปดุงเป็นแม่ทัพ เข้าชุมพล
เมืองเมาะตะมะ (เมอื่ เดือน 12 ปีมะเสง็ พ.ศ. 2328)
กองทัพท่ี 4, 5, 6, 7, 8 เคลื่อนทต่ี ามกนั เขา้ ทางดา่ นพระเจดยี ส์ ามองค์
กองทัพที่ 9 จอข่องนรทา เป็นแม่ทัพกำลัง 5,000 คน เข้าทางด่านแม่ละเมา (ชุมพลที่เมาะตะมะ)
เพ่อื เข้าตเี มืองตาก – กำแพงเพชร แลว้ มาบรรจบทัพหลวงทกี่ รงุ เทพฯ
ฝ่ายไทย สำรวจกำลังพลปรากฏมีกำลังพลเพียง70,000 คนซึ่งน้อยกว่าข้าศึก ดังนั้นจึงจัดทัพ
เป็น 4 กองทัพ คือ
กองทพั ที่ 1 (ด่านแมล่ ะเมา) กรมพระราชวงั หลัง เป็นแมท่ พั กำลัง 15,000 คนยบั ยัง้ ขา้ ศึก
ทน่ี ครสวรรค์ มใิ หข้ ้าศกึ ส่วนนเ้ี คลอ่ื นกำลงั ลงมากรงุ เทพฯ
กองทัพที่ 2 (ด่านพระเจดีย์สามองค์) กรมพระราชวังบวร ฯ เป็นแม่ทัพ กำลังพล 30,000 คน
กองทพั ท่ี 2 มคี วามสำคญั จะตอ้ งสกดั กน้ั กองทัพหลวงของพม่าซึ่งมีกำลังมากมิใหเ้ ขา้ กรงุ เทพฯไดแ้ ละต้องขับไล่พม่าให้
ออกไปพ้นราชอาณาจกั รให้จงได้