The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วารสารกองทัพไทย เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของกองทัพไทยสู่สาธารณชน http://bit.ly/48HKGzL

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วารสารกองทัพไทย, 2023-10-11 04:48:37

วารสารกองทัพไทย ฉบับที่ ๔ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖

วารสารกองทัพไทย เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของกองทัพไทยสู่สาธารณชน http://bit.ly/48HKGzL

ฉบับที่ ๔ เดือนกรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ THE ROYAL THAI ARMED FORCES JOURNAL เทิดราชัน ทันสมัย พัฒนา วารสาร ISSN 0125-4243 วารสารกองทัพไทย THE ROYAL THAI ARMED FORCES JOURNAL


พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๖๖ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันศุกร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ข้าพเจ้ามีความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ในไมตรีของท่านทั้งหลาย ที่ได้พร้อมกันมา อวยพรวันเกิดแก่ข้าพเจ้าในวาระนี้. ขอขอบพระทัยพระบรมวงศานุวงศ์ และขอบใจนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ทั้งขอสนองพรและไมตรีของทุกท่าน ด้วยใจจริงเช่นนี้. การสร้างสรรจรรโลงความผาสุขมั่นคงของชาติบ้านเมือง ถือว่าเป็นกรณียกิจ อันสำคัญสูงสุด. นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาดสามารถ และสุจริตเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทั้งประเทศด้วย. จึงขอให้ท่านทั้งหลาย ในมหาสมาคมนี้ ซึ่งล้วนแต่มีตําแหน่งหน้าที่สำคัญ อยู่ในสถาบันอันเป็นหลักของประเทศ รวมทั้งประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้ตั้งตัวตั้งใจให้มั่นคง ที่จะประพฤติปฏิบัติ เฉพาะสิ่งที่ ควรพิจารณาแล้วด้วยสติปัญญาและวิจารณญาณ ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์แท้ ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม. ผลจากการประพฤติปฏิบัติของทุกคนทุกฝ่าย ก็จะประสาน ส่งเสริมกัน เป็นความเจริญมั่นคงของประเทศชาติ และความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน. กรณียกิจสำคัญที่เราทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติ ก็จะสำ เร็จผลสมบูรณ์ดังที่มุ่งหมาย. ขออำ นาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยทุกหมู่เหล่าเคารพบูชา จงคุ้มครองรักษาท่าน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำ นวยสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ให้สัมฤทธิ์แก่ท่านทุกเมื่อไป.


สรวมชีพ บังคมเบื้อง ยุคลบาท วโรกาส มหามงคล อุดมสมัย เจ็ดสิบหนึ่ง พรรษา พระทรงชัย กองทัพไทย น้อมสำนึก พระเมตตา ธ ทรงกอปร พระราช กรณียกิจ อยู่เนืองนิจ เพื่อพสก ทุกทิศา ทรงปิดทอง หลังองค์พระปฏิมา เพื่อประชา ผาสุก ถ้วนทุกคน ขอเดชะ ผองข้า พระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าฯ ถวายสัตย์พิพัฒน์ผล ทำหน้าที่ ด้วยสามัคคีเพื่อผองชน ไทยทุกคน วัฒนา ด้วยบารมี ขออัญเชิญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วแหล่งหล้า โปรดจงมา อภิบาล พระทรงศรี เจริญพระ ชันษา กว่าร้อยปี ขอภูมียิ่งยง ทรงพระเจริญ อาศิรวาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้ าเจ้ าอยู่ หัว ของ กองทัพไทย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วยกำลังพลกองบัญชาการกองทัพไทย นาวาตรี ศุภชัย อินสว่าง ครูชำนาญการพิเศษ แผนกวิชาศิลปะ ส่วนการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประพันธ์


วโรกาสศุภมงคลสิบสองสิงหา เฉลิมพระชนมพรรษามารดาชาติ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระทรงกอรปกิจกรณีย์ทั้งไกลใกล้ พระหฤทัยดั่งนํ้าทิพย์มาจากสรวง ทั้งเหนืออีสานกลางใต้ไทยทั้งปวง จึงโชติช่วงผาสุกสิ้นทุกข์ภัย เก้าสิบหนึ่งพรรษามหามงคล ประชาชนทั่วหล้าถวายชัย ผองข้าพระพุทธเจ้ารวมดวงใจ สำนึกในพระเมตตาบารมี ขออัญเชิญคุณพระรัตนตรัย อีกเทพไท้อันสถิตทุกราศี โปรดอภิบาลพระบรมราชชนนี ขอพระพันปียืนยงทรงพระเจริญ อาศิรวาท “ราชสดุดีราชินีนาถราชชนนีพันปีหลวง” เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้ าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ของ กองทัพไทย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วยกำลังพลกองบัญชาการกองทัพไทย นาวาตรี ศุภชัย อินสว่าง ครูชำนาญการพิเศษ แผนกวิชาศิลปะ ส่วนการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประพันธ์


ที่ปรึกษากองอำนวยการ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ พลเอก ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี พลเรือเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ พลอากาศเอก คงศักดิ์ จันทรโสภา พลเอก ธิติชัย เทียนทอง พลเอก กนกพงษ์ จันทร์นวล พลเอก อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ พลเรือเอก ธานี แก้วเก้า พลอากาศเอก สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี ผู้อำนวยการ พลโท ธีรพงศ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ พลตรี กฤษณ์ จันทรนิยม พลเรือตรี ชวิช วงษ์รัตน์ พลตรี ที่รัก สร้อยนาค พลตรี ชยพณัฐ วิริรัตน์ ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ พันเอก วิทัย ลายถมยา พันเอก สมรรถปกรณ์ อินทรขาว พันเอกหญิง สรวงสุดา พูลเจริญ พันเอก ปริวัตร กาญจนวิฬา พันเอก ภุมเรศ แต้มทอง พันเอก ยุทธพรหม จักษุรักษ์ พันเอก เสฏฐิศักดิ์ โพธิ์ทอง นาวาเอก ภูริวัฒ มนสิชาวรกุล พันเอก ชิตพล กลิ่นศรีสุข นาวาอากาศเอกหญิง เสาวลักษณ์ วงเวียนสุข พันเอก ภคพล วีระหงส์ กองบรรณาธิการ พันเอก อิทธิพล ปิ่นพรหม พันเอกหญิง ฉัตรรพี พูนศรี พันเอก ภีมศักดิ์ บุญกระพือ พันเอกหญิง นันทิดา คล้ายโอภาส พันเอกหญิง เสาวลักษณ์ หงส์ทอง นาวาเอกหญิง ศุภมาส กังวานพณิชย์ พันเอกหญิง บัณรสี ชวาลศิลป์ พันเอกหญิง ธนัชพัชศรณ์ รุ่งสว่าง พันเอกหญิง กิ่งผกา สอนเวช พันโทหญิง พรรณิศา จบกลศึก นาวาโทหญิง วิลาวรรณ เมฆวิไล พันตรีหญิง ญาตาวีมินทร์ วรณัฏฐากูร ร้อยเอกหญิง พิชชาพร อินทรพานิชย์ ร้อยเอก ณัฐวิชย์ บุญสุขจิตเสรี ร้อยเอก วรรธนัย ยิ้มสุขไพฑูรย์ ร้อยโท วรรณยุทธ มีนะโยธิน ร้อยโทหญิง ตรงชนก สวยสุวรรณ กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย อาคาร ๖ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทร. ๐-๒๕๗๒-๑๕๒๕ โทรสาร ๐-๒๕๗๕-๖๖๐๔ พิมพ์ที่ บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์(1987) จำ�กัด ๑๘ ซอยประชาอุทิศ ๓๓ แยก ๒๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพ ๑๐๑๔๐ โทร. ๐-๒๔๒๘-๗๕๐๐ โทรสาร ๐-๒๔๒๘-๗๔๔๔ E-mail: [email protected] www.asp1987.com ข้อคิดเห็นในบทความที่นำลงวารสารกองทัพไทยเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็น หรือนโยบายของหน่วยงานใดของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด การกล่าวถึงคำสั่ง กฎ ระเบียบ เป็นเพียงข่าวสารเบื้องต้น เพื่อประโยชน์แก่ การค้นคว้าเท่านั้น “...ความเจริญผาสุกและความตั้งมั่นของบ้านเมือง เป็นสิ่งสำ�คัญสูงสุดที่บุคคลพึงรำ�ลึกและพึงประสงค์ ความเจริญมั่นคงนั้นจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยผู้ปฏิบัติบริหารงาน ของชาติทุกฝ่ายมุ่งที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนให้เต็มกำ�ลัง ด้วยสติความรู้ตัว ด้วยปัญญาความรู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น...” วารสารกองทัพไทยฉบับนี้ ขอน้อมอัญเชิญพระราชดำ รัสของพระบาท สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นแนวทางในการดำ เนินชีวิตให้มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ โดยเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขอย่างยั่งยืน นำ เสนอเนื้อหา เตรียมทหาร ร่วมใจ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เทิดไท้องค์ราชัน ภาพเก่าเล่าตํานาน พระเมตตาธรรม...คํ้าจุนชีวิต สืบสานพระราชดําริสู่ความยั่งยืน ศิลปาชีพ ประทีปไทย ก้าวไกลด้วยพระบารมี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แนวความคิดการใช้ดาวเทียมและหลักการปฏิบัติ การที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การฝึกปฏิบัติการด้านการแพทย์ร่วมระหว่างเหล่าทัพ และตํารวจ Joint Medical Emergency Response Team (MERT) Operation บทบาท ทหารหญิงในภารกิจด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย การแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ กองทัพไทย ประจำ ปี ๒๕๖๖ และบทบาททหารไทย กับการรักษาสันติภาพผ่านมุมมองของนักศึกษาฝึกงานคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีเรื่อง ต่อต้นทุนชีวิต พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เกาะ และทะเลไทย และภาษาพาสนุก ทั้งนี้ยังมีเนื้อหาอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย หวังว่าวารสารกองทัพไทยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน โดยท่านสามารถ ติดตามข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจของวารสารกองทัพไทยผ่านการสแกน QR CODE แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ บทบรรณาธิการ ฉบับที่ ๔ เดือนกรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ THE ROYAL THAI ARMED FORCES JOURNAL เทิดราชัน ทันสมัย พัฒนา วารสาร ISSN 0125-4243 วารสารกองทัพไทย THE ROYAL THAI ARMED FORCES JOURNAL THE ROYAL THAI ARMED FORCES JOURNAL วารสาร วารสารกองทัพไทย (เสนาสนเทศ) หมายเลขประจำวารสาร ISSN 0125 4243 ฉบับที่ ๔ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๖ รวมผลงานได้รับรางวัล โครงการประกวดภาพวาด หัวข้อ “กองทัพไทย ถวายงานสืบสาน โครงการพระพันปีหลวง” ภาพรางวัลชมเชย โดย นายสุกิจ เชื้อสายดวง


สารบัญ ภาพเก่าเล่าตำ นาน พระเมตตาธรรม...คํ้าจุนชีวิต การแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ กองทัพไทย ประจำ ปี ๒๕๖๖ ต่อต้นทุนชีวิต พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เกาะและทะเลไทย ภาษาพาสนุก (ภาษาอังกฤษ) การฝึกปฏิบัติการด้านการแพทย์ร่วมระหว่างเหล่าทัพ และตำรวจ Joint Medical Emergency Response Team (MERT) Operation บทบาททหารหญิง ในภารกิจด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ในประเทศไทย บทบาททหารไทยกับการรักษาสันติภาพผ่านมุมมองของนักศึกษาฝึกงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สืบสานพระราชดำริสู่ความยั่งยืน ศิลปาชีพประทีปไทย ก้าวไกลด้วยพระบารมี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แนวความคิดการใช้ดาวเทียมและหลักการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลาง (NCO) ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ “เตรียมทหารร่วมใจ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เทิดไท้องค์ราชัน” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ News in Home ข่าวผู้บังคับบัญชาชั้นสูง ๑๒ ๕๐ ๖๒ ๖๔ ๗๐ ๗๒ ๔๐ ๔๖ ๕๖ ๒๐ ๓๐ ๖ ฉบับที่ ๔ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๖ CONTENT l July - September 2023 l


๔๖ ๓๐ ๔๐ ๕๐ ๕๖ ๒๐ ๖ ๑๒


“เตรียมทหารร่วมใจ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เทิดไท้องค์ราชัน” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ F นาวาตรี ศุภชัย อินสว่าง ครูชำ นาญการพิเศษ แผนกวิชาศิลปะ ส่วนการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๖


๗ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร ในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้ โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ ได้จัดโครงการ “เตรียมทหารร่วมใจ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ขึ้น เพื่อน้อมสำ นึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพื่อเสริมอุดมการณ์ความรักชาติแก่นักเรียนเตรียมทหาร ผ่านกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทย โดยมี คณะผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหน่วยขึ้นตรง กำลังพล และนักเรียนเตรียมทหาร ทั้ง ๒ ชั้นปี เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น ๑,๗๐๐ นาย สำ หรับกิจกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ ๑.) พิธีถวาย พระพรชัยมงคล และ ๒.) กิจกรรมการแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตัวแทนนักเรียนเตรียมทหารทั้ง ๒ ชั้นปี


๘ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ การแสดงชุดแรก คือ การแสดงถวายพระพร ชุด “เตรียมทหารรวมใจ ถวายพระพรชัยองค์ราชัน” ซึ่งได้ดำ เนินการออกแบบขึ้นใหม่ เพื่อให้สมพระเกียรติ และเหมาะสมกับบริบทของนักเรียนเตรียมทหาร ลักษณะการแสดงจึงเลือกใช้ท่วงทำ นอง “เพลง พญาเดิน” ซึ่งมีความไพเราะ สง่างาม มาเป็นเพลง นำ เข้าสู่บทประพันธ์ประเภท “กาพย์ยานี ๑๑” ดังนี้ สำ หรับท่าทางที่ใช้การแสดงได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการสนธิองค์ความรู้ในด้านนาฏศิลป์โขน และองค์ความรู้ทางทหารเบื้องต้น เช่น ท่าตรง ท่าหัน ท่าเดินตบเท้า การแต่งกายของผู้แสดงกำ หนด ให้เป็นโทนสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำ วันพระราชสมภพ และใช้โคมเป็นอุปกรณ์สำ หรับการแสดง เพื่อสื่อความหมายถึงความโชติช่วงสว่างไสว แสดงโดยตัวแทนนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ ๒ จำ นวน ๑๔ นาย -เพลง พญาเดิน- -เห่- น้อมถวายบังคม เบื้องบรมบาทธุลี บรมราชาธิบดี องค์ภูมีของประชา มุ่งมั่นปณิธาน จักสืบสานแลรักษา ต่อกิจราชบิดา พัฒนาผืนแผ่นดิน ทรงกอปรกิจกรณีย์ ทุกถิ่นที่ด้วยศาสตร์ศิลป์ บำ ราญปราบทุกข์สิ้น ทุกชีวินพ้นโพยภัย เจ็ดสิบหนึ่งพรรษา มิ่งมหามงคลชัย ปวงราษฏร์รวมดวงใจ ถวายชัยทรงพระเจริญ -ท้ายเพลงรัวปลูกต้นไม้- (นาวาตรี ศุภชัย อินสว่าง ประพันธ์)


๙ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร การแสดงชุดที่สอง คือ การขับร้องหมู่ “เพลง สิบโม้” ซึ่ง “สิบโม้” เป็นคำสอนพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เวลา ๒๓.๐๐ นาฬิกา ซึ่งมีรายละเอียด ตามภาพที่เผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์กรมสารบรรณทหารเรือ การขับร้องหมู่ เพลง สิบโม้ ครั้งนี้ ถือเป็นการอัญเชิญคำสอนพระราชทานของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเผยแพร่แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อันจะได้น้อมนำ ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ ตามแนวพระบรมราโชบายอีกประการหนึ่งด้วย


๑๐ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ การแสดงชุดที่สาม คือ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “รามราชจักรี” แสดงโดยนักเรียน เตรียมทหาร “ชมรมโขนเตรียมทหาร” และบรรเลงดนตรีไทยประกอบการแสดงโดย “วงดนตรีไทย เตรียมทหาร” ศิลปะการแสดงโขนที่ได้นำ มาจัดแสดงในโอกาสมหามงคลนี้ เพื่อให้นักเรียนเตรียมทหารได้มี โอกาสเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำ รงพระองค์เป็นแบบอย่างในการธำ รง รักษาศิลปวัฒนธรรมไทย อันถือเป็นการรักษาความเป็นไทยไว้อีกทางหนึ่ง กล่าวคือ พระองค์ได้ทรง ศึกษาและทรงมีพระอัจริยภาพทางศิลปวัฒนธรรมหลายด้าน ทั้งด้านจิตรกรรม ดนตรี ขับร้อง พระราชนิพนธ์ รวมถึงเคยได้ทรงฝึกหัดและแสดงโขนมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนถึงเจริญพระชันษา ในหลายโอกาส เป็นต้น อีกทั้ง “โขน ถือเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงที่มีเอกลักษณ์บ่งบอกถึงตัวตน ของคนไทยได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง” และที่สำคัญอีกประการหนึ่งเหมาะสมสอดคล้องกันกับบริบทด้าน ต่าง ๆ ของนักเรียนเตรียมทหาร เช่น เจตนารมณ์ของโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกัน ประเทศ ในการสร้างความสามัคคี การฝึกความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีระเบียบวินัย มีความเป็นสุภาพบุรุษ


๑๑ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร รวมไปถึงเวลาอันจำกัดของนักเรียนเตรียมทหารในแต่ละวัน สำคัญที่สุดคือการได้สนธิองค์ความรู้ ที่นักเรียนเตรียมทหารได้รับการฝึกศึกษาอบรมมาทั้งทางด้านวิชาการ ด้านวิชาทหารตำ รวจ และพละศึกษาที่ได้สื่อออกมาในรูปแบบของการแสดงท่าทาง การจัดสมดุลร่างกายในการต่อตัว การจัดแถวระยะห่าง ความคิดในการตัดสินใจ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นบนเวที กิจกรรมการแสดงทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้น สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของตัวแทน นักเรียนเตรียมทหารทั้งสองชั้นปี ที่ได้ทุ่มเทฝึกซ้อมเพื่อ แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่รักและเทิดทูนของชาวไทยทุกหมู่เหล่า ผ่านกิจกรรมทาง ด้านศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังแสดงให้เห็นผลเชิงประจักษ์ถึงสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบัน วิชาการป้องกันประเทศ ที่จัดให้นักเรียนเตรียมทหารได้ฝึกศึกษา สามารถสนธิองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และนำ ไปบูรณาการใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม สำ คัญที่สุดคือกิจกรรมที่นักเรียน เตรียมทหารได้ร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติในครั้งนี้ เป็นเครื่องยืนยันให้ท่านทั้งหลายมั่นใจได้ว่า “ชาติไทยของเราจะเข้มแข็งมั่นคงดำรงอยู่ได้อย่างบริบูรณ์ ทั้งในมิติทางกายภาคและจิตวิญญาณ ของชาติไทย” สืบไป สามารถรับชมการแสดงได้โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดที่ด้านล่างนี้ การแสดงถวายพระพร ขับร้องหมู่เพลง สิบโม้ การแสดงโขน


๑๒ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร ภาพเก่าเล่าตำานาน พระเมตตาธรรม...คํ้าจุนชีวิต F พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ๑๓ ภาพยนตร์ เรื่อง ทุ่งสังหาร หรือ Killing Fields ที่ออกฉายทั่วโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ คือ โศกนาฏกรรมที่เปิดเผยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชานับล้านคน เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา…เหยื่อแห่งสงครามนับแสนคน “หนีตาย” เข้ามาในแผ่นดินไทย เหตุการณ์อึกทึกครึกโครม คนเป็นแสน มืดฟ้ามัวดินเดินเข้ามาขอความเมตตาเยี่ยงนี้เกิดขึ้น เกือบตลอดแนวชายแดน ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หน่วยงานราชการ ภาคประชาชนตื่นตระหนกกับ การจัดการ หากแต่วันนั้น พระบารมีปกเกล้าฯ การตัดสินพระทัยสุขุม แฝงด้วยเมตตาธรรม คือ หมุดหมาย ของการช่วยรักษาชีวิตชาวกัมพูชานับแสนคน คนเหล่านั้นที่รอดชีวิต วันนี้ก็ยังมาบอกเล่าได้ ภาพเก่า…เล่าตำ นาน ขอย้อนอดีตกลับไปราว ๔๐ ปีก่อน เพื่อสำ นึกพระมหากรุณาธิคุณ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์นับแสนคน เป็นประวัติศาสตร์ที่ชนรุ่นหลังควรได้ทราบ สงครามกลางเมืองในกัมพูชา มหาอำ นาจเข้ามาบงการและแย่งชิงกันเองยืดเยื้อเรื้อรังหลายสิบปีมีตัวละครหลัก-รอง มีผลประโยชน์ ยิ่งใหญ่ยุ่งเหยิง สับสน ซึ่งจะไม่ขอเสียเวลาทวนความ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ พอล พต ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนแบบเต็มพิกัดทำสงคราม กองโจร นำกำลังทหารชิงอำ นาจการปกครองประเทศกัมพูชาจากนายพล ลอน นอล มาได้ พอล พตคือผู้นำสายเหยี่ยว มีกองกำลังที่เรียกว่า“เขมรแดง”เป็นทหารป่าสายโหดถืออาวุธ นับหมื่นนาย ทหารทุกนายถูกฝังรากลึกในสมองด้วยอุดมการณ์ที่จะเชื่อฟัง ภักดีต่อผู้นำ เป็นนักรบ นักฆ่า พอล พต ขึ้นเป็นผู้นำ ประเทศ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เคยฝันที่จะให้ประเทศกัมพูชาเป็น สังคมนิยมแบบสุดโต่ง พอล พตออกคำสั่งให้ประชาชนกัมพูชาทุกคนต้องเป็น “แรงงาน”ในการผลิตพืชผลต้องไป ทำ นา ปลูกข้าว ทำสวน ทำ ไร่ มีการจัดระเบียบประชากรใหม่ ทุกคนต้องอยู่ในการดูแล สอดส่อง ของ “องค์การ” ชาวเมืองชายหญิงที่ทำงานในเมือง ทำ มาค้าขายครูอาจารย์นายธนาคาร นักศึกษา ต้องออกไปทำ งานในชนบทให้หมด ประชาชนชาวกัมพูชาส่วนหนึ่งที่มองเห็น “นรก”อยู่ตรงหน้า รีบเผ่นออกนอกประเทศกระจัด กระจายไปทั่วโลก พวกที่หนีไม่ทัน ไม่รู้เหนือ-รู้ใต้ถูกกวาดต้อนออกจากเมือง ในเวลานั้น พนมเปญ และเมืองใหญ่ทั้งหมดกลายเป็นเมืองร้าง หากเขมรแดงตรวจพบว่า ใครหลบซ่อนอยู่ จะถูกยิงทิ้งทันที ชาวโลกไม่รู้เรื่องเป็นตายร้ายดีในกัมพูชาสื่อถูกขับไล่ออกนอกประเทศ… ปิดประเทศเพื่อการพัฒนา ที่ดิน ทุกแห่งต้องเป็นแหล่งผลิตอาหาร ชาวเมืองที่ไม ่เคยจับจอบ จับเสียม ต้องแต่งชุดสีดำ ทำ งานในชนบท อาหารการกินไม่พอ เจ็บป่วย ทยอยตายกันเป็นร้อยเป็นพัน และเป็นหมื่น… วันแล้ววันเล่า…


๑๔ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ซากศพทั้งปวงถูกโยนทิ้งในบึง ในบ่อ บุคคลที่อยู่ในบัญชีของ พอล พต บ้างก็นำ ไปคุมขัง ที่คุก ตวลสเลงในพนมเปญ (ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว) ศพที่เกลื่อนแผ่นดินเป็นที่มา ของชื่อภาพยนตร์ทุ่งสังหาร ประชาชนชาวกัมพูชามือเปล่า ไม่มีทางต่อสู้กับกองกำลังเขมรแดงที่เป็นสายโลหิตด้วยกัน ต่างหาทางดิ้นรน มองไปทางทิศตะวันตก ขอหนีตาย ขอมุ่งหน้าเดินเท้าในป่าลักลอบเข้ามาใน ดินแดนไทย ชาวเขมรผู้ทุกข์ยาก ทยอยหลบหนีเข้ามาเป็นกลุ่ม ๆ ตามช่องทางธรรมชาติเขมรแดง กดดัน สร้างความทุกข์ทรมานกับประชาชนเพื่อนร่วมชาติอย่างต่อเนื่อง พอล พต พอใจกับแนวทาง การสร้างชาติขึ้นมาใหม่ โดยไม่แยแสกับความตายของประชาชนนับล้าน ต่อมา…เขมรแดงกลุ่มหนึ่ง ไปสวามิภักดิ์กับมหาอำ นาจเวียดนามที่เกรียงไกร ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ทหารเวียดนามนับแสนนายบุกกัมพูชาเต็มพิกัด เข้ามาทำสงคราม กับเขมรแดงขับไล่ พอล พต เพียง ๒ สัปดาห์ทหารเวียดนามบุกถึงพนมเปญโค่น พอล พต ลงได้ พี่น้องชาวกัมพูชาโดน ๒ เด้ง ทั้งเขมรแดงและเวียดนาม กลายเป็นคีมบีบคั้นชีวิตให้ลำ บากแสนเข็ญ ถูกปล้น ข่มขืน เวียดนามเข้าปกครองประเทศ กองทัพเวียดนามรุกไล่เขมรแดง และประชาชนมา ประชิดชายแดนไทย เวียดนามบุกเข้ามาวางกับระเบิด ทุ่นระเบิดนับหมื่นนับแสนลูก ตามแนว ชายแดนไทย สกัดการหลั่งไหลของประชาชนและเขมรแดงไม่ให้เข้ามาในดินแดนไทย (พ.ศ. ๒๕๖๓ ยังเก็บกู้ไม่หมด)ชาวเขมรหลายแสนคนที่มีสภาพเหมือนคนตาย ทะลักเข้าไทยทางจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด… สื่อมวลชนของไทยและต่างประเทศ ลงพื้นที่ทำข่าวแพร่ไปทั่วโลก ตลอดแนวชายแดน ตั้งแต่ จังหวัดศรีสะเกษยาวตามแนวลงไปถึงจังหวัดตราดคือ พื้นที่“ปลอดภัย” สำ หรับชาวกัมพูชา โดยที่ ชาวกัมพูชาระลอกใหญ่ชุดใหญ่ที่สุดเข้ามาทางจังหวัดตราด ในช่วงเวลานั้น…สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทรงทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระประสงค์ เสด็จพระราชดำ เนินไปทรงเยี่ยม “พื้นที่เขาล้าน” จ้งหวัดตราด โดยเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ เพื่อขอทอดพระเนตรเหตุการณ์จริง ชาวเขมรนับแสนทะลักเข้ามา โดยที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามา ช่วยเหลือ สภาพของผู้หนีตาย ล้วนเจ็บป่วยจากไข้มาลาเรีย ท้องเสีย มีบาดแผลตามร่างกาย ถูกปล้น ผู้หญิงล้วนโดนข่มขืนโดยเขมรแดง ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ในฐานะองค์ประธานสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำ เนินไปทรงเยี่ยมผู้อพยพชาวเขมร ซึ่งรวมกันอยู่ที่บ้านเขาล้าน ตำ บลไม้รูด อำ เภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ๔๐ กว่าปีที่แล้ว เรื่องการติดต่อสื่อสาร เรื่องยานพาหนะเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและหน่วยงาน ที่จะเป็น “เจ้าภาพ” ช่วยเหลือแบบ Single Command เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง การจัดการขั้นต้น ทำอะไรไม่ได้มากนัก จะเป็นหน่วยทหารที่ประจำอยู่ตามแนวชายแดน…เป็นผู้จัดการ หลังจากทรงรับทราบข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว…จึงมีพระราชกระแสรับสั่งฯ ให้เร่งรัดจัดสร้าง “ศูนย์สภากาชาดไทย” ขึ้นที่บริเวณเขาล้านทันที…นี่คือ พระบารมีอันยิ่งใหญ่ในยามวิกฤต


๑๕ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร สภาพความอเนจอนาถของชาวเขมรที่นอนเกลื่อนพื้น เป็นตายเท่ากัน สิ่งปฏิกูลที่ขับถ่าย ออกมาระเกะระกะไปทั่วพื้นที่คนนอนรอตาย คนตายแล้ว สภาพพื้นดินที่สกปรก กลิ่นของอุจจาระ ปัสสาวะ ทั้งหลายทั้งปวงมิได้เป็นอุปสรรคใดต่อพระองค์แม้แต่น้อย พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำ เนินไปทอดพระเนตรเพื่อนมนุษย์ผู้น่าสงสารด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งทรงมีรับสั่งให้ระดมความช่วยเหลือความเร่งด่วน คือ นมผงและนํ้าเกลือสำ หรับเด็กทารก และเด็กๆ ที่ป่วยและหิวโหย ต้องยอมรับว่า ในเวลานั้นส่วนราชการ ภาคเอกชน ในประเทศไทย ยังไม่มีประสบการณ์ที่จะรับมือกับผู้อพยพนับแสน ปัจจัย ๔ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก คือสิ่งที่ไม่มีที่น่าเวทนาที่สุด คือ เด็กทารก เด็กเล็ก ประสบการณ์ของผู้เขียน ณ บริเวณพื้นที่เขากกมะม่วงอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ต้องยอมรับว่า องค์การระหว่างประเทศระดมอาหาร นํ้าดื่ม ยา หน่วยแพทย์ผ้ากันฝน ผ้าห่ม นมสำ หรับเด็กเข้ามาในพื้นที่แบบท่วมท้น โดยมีเจ้าหน้าที่สภากาชาดเป็นผู้ชี้แนะ


๑๖ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงเสด็จพระราชดำ เนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเยี่ยมศูนย์สภากาชาด เขาล้าน จังหวัดตราด อีกครั้ง ด้วยทรงห่วงใย ๒๒-๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงเสด็จพระราชดำ เนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเยี่ยมศูนย์สภากาชาดไทยแห่งใหม่ ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ตามพระราชเสาวนีย์ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงเสด็จพระราชดำ เนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเยี่ยมชาวเขมรอพยพ ณ ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน ทรงติดตามงานด้านมนุษยธรรม การช่วยเหลือที่ดำ เนินไปด้วยดีประวัติศาสตร์ต้องจารึก ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทาน กำ เนิด “ศูนย์อพยพเขาล้าน” เพื่อรักษาชีวิตชาวเขมรนับแสน ทรงมีพระราชเสาวนีย์ว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้เท่าที่กำลังความ สามารถของฉันจะมี” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานความช่วยเหลือ โดยมิได้ทรงคำ นึงถึงเชื้อชาติศาสนาของเพื่อนมนุษย์และทรง กำกับการทำ งานทั้งปวง ผ่านเจ้าหน้าที่ของพระองค์เอง ที่ต้องอยู่ทำ งานในพื้นที่ตลอดเวลา เมื่อ พอล พตถูกกองกำลังของเวียดนามโค่นลงสหประชาชาติรับรองว่าสถานการณ์ปลอดภัย การส่งกลับเข้าไปในกัมพูชาก็เริ่มขึ้นแบบทยอย นับแต่เปิดศูนย์อพยพเขาล้าน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สภากาชาดไทย ช่วยชีวิตพี่น้องเขมรให้มีที่พักพิง โดยเฉพาะทารก เด็กเล็ก บางส่วน เดินทางไปประเทศที่สาม ส่วนที่เหลือเมื่อสงครามสงบ จึงทยอยส่งกลับ รวมระยะเวลาที่ดูแล ให้ที่พักพิงแก่ชาวเขมรพื้นที่ตรงนี้ราว ๗ ปีองค์กรระหว่างประเทศจัดส่งชาวกัมพูชาบางส่วนไป สหรัฐอเมริกา ยุโรป ค่ายอพยพที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ เขาอีด่าง อำ เภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรีองค์กรระหว่าง ประเทศเข้ามาอุ้มชูดูแล ชาวเขมรอีกราว ๒ แสนคน รอดชีวิตทั้งหมด และเด็กๆ ยังได้รับ การดูแลเรื่องการศึกษา ศูนย์อพยพเขาล้านแห่งนี้ได้ปิดลงอย่างเป็นทางการเมื่อ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ต่อมา เมื่อ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(พระอิสริยยศ ในขณะนั้น) อุปนายิกาผู้อำ นวยการสภากาชาดไทย พระราชดำ เนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เพื่อจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครบ ๖๐ พรรษา (ในขณะนั้น) ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงเสด็จพระราชดำ เนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ที่ก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ โดยอาคารได้รับพระราชทานนามว่า ศาลาราชการุณย์นํ้าพระทัยพระมหากรุณาธิคุณยังแผ่ไปถึง ศูนย์อพยพตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อีก ๗ แห่ง ทรงช่วยชีวิตมนุษย์นับแสนคน


๑๗ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๑๘ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ผ่านมาราว ๔๐ ปี…มีใครสักคนมั้ยที่นึกถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น เด็กชายชาวกัมพูชา คนหนึ่งที่เคยอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาพักพิงในเมืองไทย โดยอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพเขาล้าน จังหวัดตราด เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้เคยทรงเสด็จพระราชดำ เนินไปเยี่ยมชาวเขมร ณ ศูนย์อพยพเขาล้าน และพระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ต่อมาอพยพไปเติบโตใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา ดนัย คมคาย เคยกลับมา เมืองไทย และได้กราบบังคมทูลถึงความรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมี ต่อตน ทั้งที่ไม่ใช่ชาวไทย ผู้เขียนขออ้างข้อมูลของ “ไทยรัฐ” ระบุว่า ดนัย วัย ๓๗ ปีซึ่งพูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจน กล่าวว่า ในช่วงเวลานั้นตนมีอายุ ๓ ขวบ แต่ยังจำ ได้ดีว่าเดินทางโดยเท้ากับแม่ หนีออกมาจาก พนมเปญตอนที่เขมรแดงบุกเดินไปเรื่อยไม่มีจุดมุ่งหมายนับเดือน ซึ่งตนเคยหลงกับแม่ไปพักหนึ่งแล้ว บังเอิญมาเจอกันอีกในป่า ก่อนที่จะเข้ามาสู่ชายแดนไทย ขณะที่เดินอยู่ใกล้ชายแดนนั้น ตนและแม่ เกิดอาการเมาเห็ดเจียนตาย นอนสลบอยู่แต่บังเอิญมีคนที่เคยรู้จักช่วยแบกเข้ามาถึงชายแดนไทย… จากนั้นตนได้รับการดูแลรักษาจากทหารไทย ก่อนที่จะนำตนไปพำ นักที่ศูนย์อพยพเขาล้าน ระหว่างที่อยู่เขาล้าน ได้รู้ว่าจะมีคนมาเยี่ยม เพราะมีรถยนต์มีเฮลิคอปเตอร์และคนจำ นวนมาก มาที่ศูนย์อพยพ ทีแรกคิดว่าเป็นคนรวยที่มีนํ้าใจจะมาเยี่ยม จากนั้นจึงได้รู้ว่าเป็นคนสำคัญจากใน พระราชวัง ตนไม่เคยคิดว่าเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพราะที่ค่ายนั้นไม่ได้น่าดูมีคนป่วยคนเจ็บจากบาดแผล รวมทั้งอาจมีอันตรายจากระเบิดที่อาจจะยิง เข้ามาได้เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำ เนินมา ได้ทรงเยี่ยมพวกเราอย่างใกล้ชิด อย่างไม่ทรงรังเกียจ นอกจากนี้พระองค์ยังพระราชทานทุนให้ตนได้เรียนหนังสือไทยที่จังหวัดสุรินทร์เป็นเวลาหลายปี ชีวิตที่มีอยู่ทุกวันนี้บอกได้เลยว่า เป็นเพราะพระองค์ท่าน ผมได้เล่าให้ลูกฟังตลอด แม้จะผ่าน มากว่า ๓๐ ปีแล้ว ผมยังจดจำ ได้ตลอด ไม่มีคำ พูดใดที่เกินคำ ว่าขอบคุณ ที่พระองค์ท่านทรงช่วย ชีวิตผมและแม่ อยากให้พระองค์ท่านทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ผมจะทำตามรอยพระองค์ในการ ช่วยเหลือมนุษย์ทั้งปวง ไม่ว่าจะสัญชาติไหน ผมจะทำดีเจริญรอยตามพระองค์ท่าน อดีตผู้อพยพ ชาวกัมพูชากล่าวอย่างซาบซึ้ง น้อมรำ ลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปวงชนชาวไทยขอถวายพระพร ทรงพระเจริญ


๑๙ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๒๐ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


สืบสานพระราชดำ ริ สู่ความยั่งยืน ศิลปาชีพประทีปไทย ก้าวไกลด้วยพระบารมี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยพระราชปณิธานอันมั่นคงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงงานเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรชาวไทย ด้วยพระเมตตาและความห่วงใยเอื้ออาทร ทรงดำ รงเป็นมิ่งขวัญของชาติ และประทับอยู่ในดวงใจของคนไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่า พระราชกรณียกิจก่อเกิดโครงการตามพระราชดำริหลากหลาย สาขา อาทิการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูลกันอย่าง มั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ทรงนำ สมบัติศิลป์ของแผ่นดินอันเกิดจากศรัทธาแรงกล้าของพสกนิกร ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมลํ้าค่า สู่สายตาอารยประเทศ เป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลในการสร้างรากฐานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นการส่งเสริมอาชีพและความมั่นคง ให้แก่พสกนิกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางวัฒนธรรมไทย ให้คงอยู่ต่อไป สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันให้ราษฎรได้มีอาชีพที่มั่นคง และมีความอบอุ่นในครอบครัว ไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานในการประกอบอาชีพ อันนำ มาซึ่งความยั่งยืนของประเทศอีกด้วย F นาวาอากาศเอกหญิง อาริยา พรมแก้ว ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ ริและความมั่นคง ๒๑ พระราชดำ รัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๒ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา “...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา หรืออาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อนและไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขาได้โอกาสฝึกฝน เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้...” กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๒๒ ซึ่งจากภารกิจของศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็นหน่วยงานหลักของ กองทัพไทย ในการขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ ริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ ความมั่นคง โดยมุ่งสู่การพัฒนาอย ่างยั ่งยืน ได้น้อมนำ พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพล ราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศร ราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ในรูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างคุณค่า ความยั่งยืน และการต่อยอดให้กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ ริ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้กับประชาชนทุกช ่วงวัยในพื้นที่นั้น ๆ โดยมีเศรษฐกิจ ที่ดีขึ้น ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้ง มีกำลังคนที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นฐานการผลิต ตลาดสินค้า/ การท ่องเที่ยว/และบริการด้านต ่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนา ก็คือ “ความยั่งยืน” ที่เป็น ตัวผลักดันให้เกิดความผาสุกของการดำรงชีวิตด้วยหลักการ ของความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน โดยการพึ่งพา ตัวเอง จึงเป็นสิ่งจำ เป็นมากที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพ เศรษฐกิจและสังคม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำ เป็น ประหยัดอดออม และหันกลับมาดำ รงชีวิตอย่างพอมีพอกิน ดั่งพระราชดำ ริ ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่า “...การพัฒนาประเทศจำ เป็น ต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการ และอุปกรณ์ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้ พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจ ขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๒๓ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


โครงการศิลปาชีพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาค ทรงทราบ สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างแท้จริง ได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของประชาชนชาวไทย ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร คือ ชาวสวน ชาวไร่ และชาวนา ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ หลากหลาย เช่น ปริมาณผลิตผล ไม่คงที่ ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ศัตรูพืชรบกวน บางปีต้องเผชิญกับปัญหานํ้าท่วม หรือภัยแล้ง บางครั้งทำ การเพาะปลูกไม่ได้ ผลผลิตราคาตกตํ่า ฯลฯ ชาวไทยในชนบทส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพด้านเกษตรกรรมจึงมีรายได้ที่ไม่แน่นอน เมื่อมีความทุกข์ยากจึงต้อง ละทิ้งถิ่นฐานของตนไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่ ๆ บางคนต้องขายที่ดินทำกิน ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นอันมาก จึงมีพระราชดำ ริที่จะให้ราษฎรมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ ให้พอเพียงแก่การ ยังชีพในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้ทรง สังเกตเห็นผลงานหัตถกรรมพื้นบ้านหลากหลายประเภท ที่ราษฎรในหมู่บ้านชนบทภาคต่าง ๆ ทำขึ้นเพื่อไว้ ใช้สอยตามความจำเป็นของครอบครัว เป็นงานฝีมือพื้นบ้านที่สืบทอดงานศิลปะเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่มีมา ช้านานแล้ว โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นของตนเอง โดยเฉพาะงานศิลปะบางอย่างใกล้จะเสื่อมสูญ จึงมีพระราชดำริ จะอนุรักษ์และฟื้นฟูงานศิลปะเหล่านั้น ให้ดำ รงอยู่ยั่งยืนตลอดไป สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสอนหัตถกรรมแทบทุกประเภทแก่บุตรหลานของราษฎรผู้ยากไร้ขึ้น ณ บริเวณสวนจิตรลดา และเปิดสอน ๒๔ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๒๕ สมาชิกต่างจังหวัดในบริเวณพระราชนิเวศน์ทุกภาค ในเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม เพื่อทรงเยี่ยมราษฎร ทรงรับเด็กยากจนที่มีการศึกษาน้อย รวมทั้งผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ ด้านการช่างใด ๆ เข้าเป็นนักเรียนศิลปาชีพ ทรงเสาะหาครูผู้มีฝีมือที่ยังหลงเหลืออยู่มาถ่ายทอดผลงาน ทรงติดตามผลงานทุกชิ้น และทรงพระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกทุกคน และโปรดที่จะทรงใช้สอยผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพทุกชนิด เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั่วไปด้วย วัตถุประสงค์สำ�คัญของการจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ๑. เพื่อหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ราษฎรที่ประสบปัญหาในการเพาะปลูกในเวลาว่างจากฤดูเพาะปลูก ให้ได้มีงานทำอยู่กับบ้าน โดยอาศัยวัสดุในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้ราษฎรไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานของตนเองไปทำงาน รับจ้างในเมืองใหญ่ ๆ อันอาจก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัดในระยะยาวต่อไป นับได้ว่าเป็นการช่วยรักษากรรมสิทธิ์ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


ศิลปาชีพ : ภาพสะท้อนความหมายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง โครงการศิลปาชีพจึงเป็นสัญลักษณ์ในการสะท้อน “คุณธรรม” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาต่อพสกนิกรทรงเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิต ของประชาชนที่ต้องการให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งความเมตตากรุณาเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาสถานภาพของ ชนชั้นนำ และมีความใส่ใจต่อปัญหาทางเศรษฐกิจอันกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ขณะเดียวกัน ได้แสดงบทบาทของผู้หญิงไทยที่รักในความเป็นไทย อันเป็นบทบาทที่เป็นพื้นฐานของการเป็นที่ยอมรับ ในที่ดินของราษฎรผู้มีรายได้น้อยเหล่านี้อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนชาวไทยภูเขาผู้มีอาชีพปลูกฝิ่นก็ทรงส่งเสริม ให้หันไปประกอบงานฝีมือที่ชาวไทยภูเขามีความชำนาญอยู่แล้ว คือ การเป็นช่างเงินช่างทอง ๒. เพื่อธำรงรักษาและฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมแบบไทยโบราณที่กำลังจะเสื่อมสูญไปตามกาลเวลาให้กลับมา แพร่หลาย เช่น การทอผ้าไหมมัดหมี่ ลวดลายโบราณ การทอผ้าแพรวา การจักสานย่านลิเภา การทำเครื่องถม เงินและทอง การทำครํ่า เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ต้องใช้ฝีมือ ใช้เวลา และความอดทน เป็นอย่างมาก จึงหาผู้ที่จะสนใจสืบทอดวิชาเหล่านี้เป็นอาชีพได้ยากยิ่ง ๒๖ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๒๗ ในการเป็นผู้สืบสานและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอันเก่าแก่ ที่แสดงความเจริญของชนชาติไทยมาอย่างยาวนาน ที่เน้นชาติไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาโดยตลอด และมีบรรพบุรุษเดียวกัน โดยการเชื่อมโยงการปฏิบัติ พระราชกรณียกิจที่สืบสานศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ว่าสอดคล้องกับพระราชนโยบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏใน พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๘ ความว่า “...แล้วทีนี้ข้าพเจ้าค้นคว้าเองว่า การที่ทางอีสานมีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมมากนี่เป็นพระราชนโยบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนานมาแล้ว ข้าพเจ้าไม่เคย ทราบเลย ต่อเมื่อเข้ามายุ่งเรื่องไหมนี่ จึงได้ไปอ่านพบเข้าว่า ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรส (กรมหมื่น พิไชยมหินทโรดม) เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปทางอีสานรู้สึกจะเป็นบุรีรัมย์ไปสร้างศูนย์หม่อนไหมสนับสนุน ให้ชาวบ้าน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอไหม โดยเอาครูจากญี่ปุ่นมาสอน เดี๋ยวนี้ชาวบ้านทุกคนทำ�ได้ อ่านหนังสือ ไม่ออก แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางไหมจริง ๆ...” (สำ�นักราชเลขาธิการ, 2557 : 69) ศิลปาชีพ : การสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชประสงค์ให้ จัดงาน “๒๐๐ ปี แห่งสายสัมพันธ์” อันหมายถึงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างราชวงศ์จักรีกับประชาชน คนไทยที่ยืนยาวมาครบ ๒๐๐ ปี เพื่อหาเงินสมทบทุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยการชักจูงต่างประเทศให้มาเห็นศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยโบราณ ตั้งแต่สมัย รัตนโกสินทร์ ซึ่งสะท้อนสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างราชวงศ์จักรีกับ ประชาชนอย่างยาวนาน ที่เชื่อมโยงกันด้วยสายใยทางวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นผู้สืบสานสายใยแห่งความสัมพันธ์ ๒๐๐ ปี สู่ประชาชน ในปัจจุบันนั่นเอง ในงาน ๒๐๐ ปี แห่งสายสัมพันธ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง ทรงปรากฏบทบาทอันโดดเด่นจากการแสดงพระองค์ ในฐานะผู้สืบสานและสืบทอด วัฒนธรรมไทยในการทำให้เอกลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่ปรากฏและรับรู้ต่อแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความมีอารยธรรมทางศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยที่ยาวนาน และทำให้เห็นว่า ราชวงศ์ จักรีมีความสัมพันธ์อันดีกับสถาบันพระมหากษัตริย์นานาชาติ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์จักรีมีความ สำคัญต่อความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของชาติไทย กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๒๘ งานศิลปาชีพทุกชิ้นจึงได้ถูก “เลือก” มาแสดงให้ชนชั้นกลางสามารถเข้าถึงงานศิลปะแห่งชาติ อันเป็น มรดกทางวัฒนธรรมไทยที่เจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนานได้อย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นการจัดความสัมพันธ์ เชิงอำนาจที่ทำให้คนในชาติยอมรับความเป็นไทยที่รุ่งเรืองของวัฒนธรรมชั้นสูง ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันดีงามแห่งชาติไทย ถึงแม้ว่าศิลปะพื้นบ้านจะถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของศิลปแห่งชาติ ซึ่งทำให้คนชาติพันธุ์ ต่าง ๆ มีที่ทางในสังคมมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม อย่างเท่าเทียม แม้ว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะสูญไปแล้ว แต่พลังทางอุดมการณ์ยังคงอยู่ เพราะมีการผลิตซํ้า ความหมายของการรักษามรดกของศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติอันแสดงเอกลักษณ์ “ความเป็นไทย” อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่างานศิลปาชีพจะสามารถประสบความสำเร็จถึงกับกลายมาเป็นอาชีพหลักของครอบครัว แต่การนำเสนอ ผลงานศิลปาชีพตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๓๐ เป็นต้นมา ทรงเน้นการนำเสนอโครงการศิลปาชีพในแง่ที่มีคุณค่าและ ความหมายต่อ ประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างเด่นชัด ดังพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มีใจความว่า “...มูลนิธิศิลปาชีพ ไม่เร่งผลิตผลงานเพียง เพื่อให้ได้ปริมาณมาก ๆ แต่มุ่งจะรักษา และเชิดชู ศิลปะของไทยเราให้สุดฝีมือเพื่อให้ได้ผลงานที่ยอดเยี่ยม เป็นการฝากฝีมือคนไทยไว้ในแผ่นดินให้เป็นประวัติศาสตร์ ของชาติต่อไป...” (สำ�นักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๕ : ๒๔๔) แสดงให้เห็นว่า บทบาทในการทรงเป็นผู้สืบสาน และสืบทอดวัฒนธรรมไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กลายเป็น บทบาทอันสำคัญในความเป็นพระราชินี ศิลปาชีพ : ศปร. กับการจัดทำ แผนการขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ ริ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง (ศปร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล และบูรณาการงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างคุณค่า ความยั่งยืน และการต่อยอดให้กับโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สอดรับกับแผนการปฏิบัติราชการในด้านการเทิดทูน พิทักษ์ และเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก ของชาติ จึงได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านศิลปาชีพ เพื่อการสืบสาน สานต่อ ต่อยอด ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพสู่เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ โดยโครงการศิลปาชีพจึงเป็นกลไก แปรรูปความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้วัฒนธรรมแห่งชาติ ส่งผลให้ความหมายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นผู้สืบสาน และสืบทอดวัฒนธรรมไทยอันเก่าแก่ที่แสดงความเจริญของชนชาติไทย ซึ่งเป็นการสถาปนาความหมาย ของพระราชินี ที่มีความสำคัญในการจรรโลงความดี ความงาม ความจริง เป็นมุมมองในการทำความเข้าใจ สังคมและโลก แก่พสกนิกรทุกภาคส่วนต่างขานรับความหมายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นผู้สืบสานและสืบทอดวัฒนธรรมไทยได้กลายที่รับรู้ นำมาสู่กระบวนการ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๒๙ สร้างชุดความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันเต็มไปด้วยปฏิบัติการในการทำให้จำ ถูกทำให้ลืม และเสริมแต่งเพื่อคงไว้ ซึ่งความเป็นไทย ในแง่นี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีความ ชอบธรรมในการนิยามความหมายของศิลปะไทย อันเป็นมรดกแห่งชาติ ว่าศิลปะแบบใดมี “คุณค่า” และมี “ความงาม” พอที่จะเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติไทย และศิลปะแบบใดไม่มี “คุณค่า” และ “ไม่งาม” ศิลปะแห่งชาติอันเป็นมรดกที่สะท้อนความเป็นไทยจึงเน้นมรดกทางวัฒนธรรมชั้นสูงที่ชนชั้นนำเป็นผู้สร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีฐานานุศักดิ์ เห็นได้ชัดจากการปรับปรุงพระที่นั่งอภิเษกดุสิตที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพถาวรแห่งแรกในเมืองไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่รวบรวมงานศิลปหัตถกรรมของสมาชิกศิลปาชีพไว้ เช่น งานถมเงินถมทอง งานเครื่องเงินเครื่องทอง งานครํ่า งานตกแต่งด้วยปีกแมลงทับ งานจักสานไม้ไผ่และย่านลิเภา งานดอกไม้ประดิษฐ์ งานแกะ สลักไม้ งานทอผ้าไหม มัดหมี่ งานทอผ้าจก งานประดับมุก และงานเซรามิก (คณิตา เลขะกุล, ๒๕๔๗) ในที่นี้ผลงานศิลปหัตถกรรม ของสมาชิกศิลปาชีพ ถูกรวบรวมไว้ใน “วัง” และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้ถวายพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในฐานะ “เอกอัครอุปถัมภ์มรดก ช่างศิลป์ไทย” ในฐานะที่ทรงอุปถัมภ์งานช่างศิลป์ไทยและฟื้นฟูงานศิลปาชีพจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย (ถวาย พระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “เอกอัครอุปถัมภ์มรดก ช่างศิลป์ไทย”, ๒๕๓๖ : ๑๒) เป็นการเน้นยํ้าแนวคิดว่า ราชสำนักเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติไทย หนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ “แม่หลวงของปวงชน” ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ “แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำ รงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำ ชาติ เพราะแม่ทราบดีว่า ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริง จะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา” โครงการศิลปาชีพเป็นภาพแสดงความสำเร็จของการสถาปนาความหมายของสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็น “ที่พึ่ง” ของประชาชน จนสามารถสร้าง จินตนาการใหม่ คือ “แม่แห่งชาติ” ซึ่งเริ่มก่อร่างอย่างชัดเจน ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๑๐ ผ่านการผลิตซํ้า และตอกยํ้าเรื่องราวของพระราชกรณียกิจที่ทำประโยชน์ให้แก่ชาติไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาชนบท และการสืบสานศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติอันทรงคุณค่า ควบคู่กันไปกับพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่งผลให้อุดมการณ์ราชาชาตินิยมมีรากฐาน ที่แข็งแกร่ง และมีพลังสูงขึ้นในสังคมไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมาจวบจนถึงปัจจุบัน กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๓๐ แนวความคิด การใช้ดาวเทียมและหลักการ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลาง (NCO) ในภารกิจช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติ F พลอากาศเอก สุพิจจารณ์ ธรรมวาทะเสรี (TOMCAT 2330) รองเสนาธิการทหาร (ทอ.) ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลกอาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยธรรมชาติ หรือจากการกระทำของมนุษย์ด้วยปัญหาระบบเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชน และสภาพสังคมของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเนื่องมาจากการพัฒนาและกระแสโลกาภิวัฒน์โดยต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จำ นวนมาก ส่งผลให้ขาดความสมดุล โดยส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา ทางกายภาพหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศ ทำ ให้เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจก (Greenhouse Effect) หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming) ทำ ให้สภาพภูมิอากาศ มีการเปลี่ยนแปลง (Climate Change) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ เช่น การบุกรุก ทำลายป่าการเปลี่ยนแปลงเส้นทางนํ้าฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรง เพิ่มมากขึ้น รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำ ให้บางครั้งกลับมาเป็นผลเสียต่อสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม มีการใช้สารเคมีในภาคอุตสาหกรรม ทำ ให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งนํ้าและอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ภัยพิบัติ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง เช่น การเกิดแผ่นดินไหว ยังคงสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่อมนุษยชาติ ทั้งนี้เมื่อเกิดภัยพิบัติโดยเฉพาะภัยพิบัติจากธรรมชาติจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อมวลมนุษย์เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมบนโลก ส่งผลกระทบ ต่อภาวะเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงจำ เป็นที่จะต้องรีบ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแข่งกับเวลา เพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตคนและทรัพย์สิน ซึ่งต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ และขบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผนบริหาร จัดการ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๓๑ * ภาพถ่ายพายุปาบึกเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ จากดาวเทียม Himawari ในอีกด้านหนึ่ง...มนุษย์ก็ได้ใช้ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีโดยเฉพาะการนำ เทคโนโลยี ด้านอวกาศ ดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือประชาชนจาก ภัยพิบัติตลอดจนการพัฒนาประเทศโดยได้นำ�มาใช้ในการพยากรณ์เหตุการณ์/แจ้งเตือนการเกิด ภัยพิบัติ การบริหารจัดการเพื่อการป้องกัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และการฟื้นฟูพื้นที่ เมื่อเกิดสาธารณภัยต่าง ๆ ซึ่งดาวเทียมได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบสนองภารกิจดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากดาวเทียมมีวงโคจรรอบโลกเพื่อทำ�หน้าที่บันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบ Remote Sensing ที่อยู่ในอวกาศ และถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นในรูปแบบ Digital Format ได้ตลอดเวลา อย่างไร้ข้อจำ�กัดด้านพรมแดน ตลอดจนมีการติดตั้ง Payload ระบบกล้อง/ระบบตรวจจับ (Sensor) ที่หลายย่านความถี่คลื่นแสง ซึ่งสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้สร้างภาพถ่ายดาวเทียมแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ที่ต้องการวิเคราะห์ เพราะว่าวัตถุจะมีคุณสมบัติสามารถสะท้อน/ดูดกลืน คลื่นแสงในย่านความถี่ต่าง ๆ ได้แตกต่างกัน อีกทั้งดาวเทียมสื่อสารจะถูกใช้ในการเป็นเครือข่าย การติดต่อสื่อสารทั่วโลก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง โดยสามารถถูกส่งต่อและแจ้งเตือน ไปยังหน่วยเกี่ยวข้องทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เช่น การแจ้งเตือนกลุ่มพายุที่เคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ การสำ รวจความเสียหายพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัย การเกิดไฟป่า และอุทกภัย เป็นต้น กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


ในการปฏิบัติการทางทหารเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงของประเทศนั้น จะมีการวางแผน ปฏิบัติการในระดับยุทธศาสตร์ยุทธการ และยุทธวิธีโดยมีการกำ หนดเป้าหมายและแนวทาง การดำ เนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายในระดับต่าง ๆ และความเร่งด่วนในการปฏิบัติ ภารกิจ ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์กระบวนการวางแผนปฏิบัติต่อเป้าหมายทางทหาร (Targeting) แบบพันธกิจ Dynamic Targetingต่อเป้าหมาย Time Sensitive Target (TST) และหลักการบรรเทาสาธารณภัย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติพบว่า ผู้ประสบภัยพิบัติกับเป้าหมาย TST มีลักษณะความสำคัญเหมือนกัน กล่าวคือ จะต้องปฏิบัติต่อเป้าหมายนี้อย่างเร่งด่วนก่อนที่เป้าหมายนั้นจะกลับมาเป็นภัยคุกคาม ต่อฝ่ายเรา หรือให้ผลตอบแทนจากการปฏิบัติอย่างสูงเช่นเดียวกัน นั่นคือ การรักษาชีวิตของ ผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งจำ�เป็นต้องปฏิบัติการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด เพื่อรักษาชีวิตและลดการสูญเสีย โดยเฉพาะในห้วง ๔๘ ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุทั้งนี้เมื่อเกิดภัยพิบัติโดยเฉพาะสาธารณภัยที่เกิดจาก ธรรมชาติมักจะสร้างความเสียหายอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สินของรัฐและประชาชน รวมถึงสภาพแวดล้อม บริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อม ความเป็นอยู่ของ ประชาชนในบริเวณนั้น เช่น กรณีการเกิดสึนามิและวิกฤตการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima ประเทศญี่ปุ ่น เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ พายุปาบึกเข้าพัดถล่มภาคใต้ประเทศไทยในห้วง เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น ซึ่งทำ ให้สามารถแจ้งเตือนอพยพประชาชนออกมาจากพื้นที่ ประสบภัยทำ ให้เกิดความปลอดภัย และรักษาชีวิตไว้ได้จำ นวนมาก เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเป้าหมาย TST กับผู้ประสบภัยพิบัติกระบวนการวางแผนปฏิบัติ ต่อเป้าหมายแบบ Dynamic Targeting ต่อเป้าหมาย TST วงรอบกระบวนตัดสินใจ (ObserveOrient-Decide-Act : OODA LOOP) หลักการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations : NCO) และขั้นตอนในการจัดการสาธารณภัย ๔ ขั้นตอน ของแผนบรรเทา สาธารณภัยกองทัพไทย ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการก่อนการเกิดภัย ขั้นก่อนการเกิดภัย * ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ Short-Wave Infrared (SWIR) จากดาวเทียม Sentinel-2 แสดงบริเวณ เกิดไฟป่าบนเกาะ Maui, Hawaii USA เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๓๒


๓๓ * แม่นํ้าเจ้าพระยา * ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ Synthetic Aperture Radar (SAR) จากดาวเทียม Sentinel-1 แสดงพื้นที่อุทกภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๓๔ * ภาพแสดงแนวความคิดการใช้ดาวเทียมในหลักการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) และDynamic Targeting ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ จากขีดความสามารถของดาวเทียมถ่ายภาพซึ่งมีระบบ Payload ที่สามารถให้ภาพถ่ายแบบ True Color Multispectral หรือภาพถ่ายจากเรดาร์(Synthetic Aperture Radar : SAR) กับ รวบรวมข้อมูลอื่น ๆ บริเวณเป้าหมายที่หลากหลายและต่อเนื่อง ร่วมกับอากาศยานไร้คนขับและ อากาศยานลาดตระเวนและเฝ้าตรวจนั้น จะเป็นระบบตรวจจับ Sensor) ที่สำคัญในการปฏิบัติภารกิจ ขั้นเกิดภัย และขั้นหลังการเกิดภัย รวมถึงแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อธิบาย ให้เห็นถึงลักษณะวงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ๒๕๖๔-๒๕๗๐ ซึ่งได้แก่ การป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุและการบรรเทาทุกข์ตลอดจนการฟื้นฟูเราสามารถนำ หลักการดังกล่าวข้างต้น และ หลักการกำ หนดเป้าหมายแบบ Dynamic Targeting มาประยุกต์ใช้เป็นแนวความคิดในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ดังแสดงในภาพ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๓๕ ดังกล่าว เพื่อเกาะติดสถานการณ์กับส่งข้อมูลที่สำคัญกลับมาในรูปแบบ Digital Format สามารถ กระจายข้อมูลสร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์(Situation Awareness :SA) ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำ ให้กระบวนการตัดสินใจ(OODA Loop)และกระบวนการวางแผนปฏิบัติต่อเป้าหมายทางทหาร แบบพันธกิจ DynamicTargeting ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วส่งผลให้ Decision Maker หรือ ผู้ที่รับผิดชอบตัดสินตกลงใจสั่งการ บริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ�กัด และจัดสำ�ดับความเร่งด่วน ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติผ่านระบบบัญชาการและควบคุม (Command&Control : C2) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถ กระจายส่งผ่านระบบบัญชาการและควบคุม ระบบเครือข่าย การช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ของภาคพลเรือน เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ ไปยังส่วนผู้ปฏิบัติ(Shooter) สร้างความตระหนักรู้ ในสถานการณ์(SA) เพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งการประยุกต์ใช้แนวความคิดนี้เป็นไปตามหลักการ การปฏิบัติที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) กระบวนการ วางแผนปฏิบัติต่อเป้าหมายทางทหารแบบพันธกิจ Dynamic Targeting ต่อเป้าหมาย TST และขั้นตอนการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติของหน่วยต่าง ๆ จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการแจ้งเตือน หรือช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติในการรักษาชีวิต ลดการบาดเจ็บ ตลอดจนลดการ เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อม ทั้งนี้หากในขั้นเตรียมการและป้องกันได้มีการวางแผน การสำ รวจล่วงหน้าในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติจาก สาธารณภัยธรรมชาติแล้ว จะยิ่งทำ ให้สามารถเปรียบเทียบ เห็นสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสามารถนำ ไป ประยุกต์ใช้กับโปรแกรมการวิเคราะห์ต่างๆสามารถทำแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ 2D และ 3D Model รวมถึงภาพถ่าย ดาวเทียมแบบ True Color Multispectral และ/หรือ SAR ที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มความเสียหาย ผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อม เพื่อหาแนวทางการแจ้งเตือน ป้องกัน ลดผลกระทบ และการวางแผนอพยพประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยพิบัติตลอดจนใช้เป็นฐานข้อมูลในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่หลังจากเกิดภัยพิบัติจะทำ ให้ การฟื้นฟูดำ เนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะภาพถ่ายดาวเทียมทั้งของภาครัฐและเอกชนที่มีให้บริการ เชิงพาณิชย์นั้นจะมีระบบการจัดเก็บภาพพื้นที่ต่างๆโดยเฉพาะพื้นที่เป้าหมายที่สนใจไว้อย่างต่อเนื่อง จึงทำ ให้มีระบบฐานข้อมูล (Data Base) ไว้เปรียบเทียบกับภาพปัจจุบันหลังเกิดเหตุภัยพิบัติทำ ให้ สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๓๖ แนวทางการใช้มิติทางอากาศและมิติอวกาศบริหารจัดการภารกิจบรรเทาสาธารณภัย จากแนวทางการใช้ดาวเทียมบริหารจัดการภารกิจบรรเทาสาธารณภัย แนวความคิดการปฏิบัติการที่ใช้ เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) การปฏิบัติภารกิจในมิติทางอากาศและอวกาศ สามารถแสดงภาพการปฏิบัติ การร่วมฯ ตามวงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยดังแสดงในภาพ * การปฏิบัติการร่วมของดาวเทียมแบบต่าง ๆ อากาศยาน และอากาศยานไร้คนขับในภารกิจ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามแนวทาง NCO ในการวางแผนปฏิบัติการร่วมนั้น ฝ่ายอำ นวยการที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนในการใช้คุณสมบัติเด่น และลด จุดด้อยของอากาศยานแต่ละแบบ รวมถึงคุณลักษณะเด่นของดาวเทียมโดยเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ศูนย์ปฏิบัติการที่ให้ความช ่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในส ่วนหน้า ซึ่งจะต้องสามารถส่งข้อมูลกลับไปยัง ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด/ส่วนกลาง และ/หรือศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวงต่าง ๆ ตามความจำ เป็น โดยการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของเป้าหมาย ทั้งนี้การวางแผน ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติควรนำ หลักการวิเคราะห์การปฏิบัติต่อเป้าหมายแบบ Dynamic Targeting มาใช้เป็นแนวทาง และดำ เนินการตามขีดความสามารถที่มีอยู่เข้าช่วยเหลือทันทีซึ่งเมื่อพิจารณาการปฏิบัติตาม ขั้นตอนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแล้ว มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ ขั้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย :จะเป็นการป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงการเตรียมความพร้อม โดยการติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติการสำ รวจพื้นที่ที่มักจะเกิดภัยพิบัติขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อ การเกิดภัยทุกรูปแบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมวางแผนเผชิญเหตุและการช่วยเหลือล่วงหน้า พร้อมกับ จัดทำ ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ทั่วไป และข้อมูลภูมิสารสนเทศ โดยการใช้ดาวเทียมของกองทัพอากาศ และ หน่วยงานพันธมิตรถ่ายภาพพื้นที่ดังกล่าว เพื่อร่วมกันปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัย และใช้อากาศยานลาดตระเวน และเฝ้าตรวจ หรืออากาศยานไร้คนขับแบบต่าง ๆ สำ รวจพื้นที่เป้าหมายเฉพาะจุดเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิด ภัยพิบัติเพื่อเตรียมการป้องกัน เช่น การสำ รวจพื้นที่ที่อาจเกิดดินโคลนถล ่ม แนวไฟป่า ฯลฯ โดยในพื้นที่ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


บริเวณกว้างควรวางแผนใช้ดาวเทียม หรืออากาศยานลาดตระเวน และเฝ้าตรวจในบริเวณพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ แต่หากเป็นเฉพาะหมู่บ้าน ตำ บลขนาดเล็ก อาจพิจารณาใช้โดรนขนาดเล็กเข้าไปสำ รวจพื้นที่ เป็นต้น พร้อมกับ เตรียมประสานหน่วยงานราชการอื่นและภาคเอกชน รวมถึงการวางแผนการดำรงการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ผ่านดาวเทียมเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ขั้นการจัดการในภาวะฉุกเฉิน :จะเป็นการเผชิญเหตุการค้นหาและกู้ภัยตลอดจนการบรรเทาทุกข์เมื่อเกิด ภัยพิบัติเพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ขั้นต้นแก่ประชาชนที่ประสบภัยพิบัติโดยเมื่อได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฝ่ายอำ นวยการและผู้เกี่ยวข้องจำ เป็นต้องพิจารณาวางแผนการปฏิบัติในภาพรวม โดยสนธิขีดความสามารถการปฏิบัติการมิติทางอากาศและมิติอวกาศ พร้อมกับเสนอแนะหนทางการปฏิบัติให้กับ ผู้บังคับบัญชา และ On Scene Commander ในพื้นที่ภัยพิบัตินั้นต่อไป รวมถึงวางแผนการติดต่อสื่อสารและ ระบบเครือข่าย (Network) ทั้งของกองทัพและหน่วยงานอื่นเพื่อส่งข้อมูล ตลอดจนการสื่อสารโทรคมนาคม ผ่านดาวเทียมในกรณีพื้นที่ประสบภัยมีความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติงาน (Shooter) ในพื้นที่ภัยพิบัติศูนย์ปฏิบัติการในส่วนหน้าและศูนย์ปฏิบัติการในส่วนกลาง ทั้งนี้เพื่อการแลกเปลี่ยน และส่งข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะจากสถานีควบคุมภาคพื้นของอากาศยานไร้คนขับ หรือสถานีรับสัญญาณ Video Downlink ของอากาศยานปกติที่ติดตั้งกล้อง EO/IR กับระบบ Video Downlink ไปยังศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ และการนำ ภาพถ่ายดาวเทียมพร้อมกับข้อมูลจากดาวเทียม เช่น ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุแนวไฟป่า ฯลฯ ตลอดจนการบินค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่เกิดเหตุภัยพิบัติเพื่อนำ มาใช้ในการวางแผนและปฏิบัติการ อีกทั้ง อากาศยานไร้คนขับบางแบบสามารถทำการบินต่อเนื่องได้ยาวนานกว่า ๑๐ ชั่วโมง จึงเหมาะในการทำ ภารกิจ เป็นสถานีควบคุมและสั่งการลอยฟ้า (Airborne Command and Control) เกาะติดสถานการณ์ในพื้นที่ภัยพิบัติ ที่ต้องการการปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และสำ รวจเส้นทางในการลำ เลียงสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย ๓๗ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร *“ดาวเทียมนภา-1” ดาวเทียมดวงแรก ของกองทัพอากาศไทย


๓๘ ตลอดจนควรนำ ภาพที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับนี้มาดำ เนินการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบ 2D/3D ร่วมกับ ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อปรับปรุงข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นที่ประสบภัยให้เป็นภาพสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะช่วย สร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์(SA) บริเวณพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัตินั้นได้อย่างดี ขั้นการฟื้นฟู : จะเป็นการฟื้นฟูสภาพและซ่อมสร้างให้เกิดสภาวะความปลอดภัย โดยสามารถใช้ดาวเทียม อากาศยานปกติอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนขนาดเล็กทำการบินสำรวจพื้นที่และทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ทั้งแบบ 2D/3D Model เพื่อใช้ในการปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัย และวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพถ่ายพื้นที่เดิม ก่อนเกิดภัยพิบัติจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการประเมินความเสียหาย พร้อมกับการสำ รวจหาพื้นที่ปลอดภัย ให้ประชาชนพักอาศัยชั่วคราว ซึ่งข้อมูลการสำรวจพื้นที่เหล่านี้จะต้องเก็บเป็นฐานข้อมูลในการเตรียมความช่วยเหลือ ฟื้นฟูขั้นต่อไป ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติคือ การดำ รงการติดต่อสื่อสารระหว่าง หน่วยต่างๆ โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจทางอากาศเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น จะต้องวางแผน การติดต่อสื่อสารและเครือข่ายเพื่อรับ-ส่งข้อมูลที่สำคัญ ตลอดจนการวางแผนใช้ขีดความสามารถของระบบ บัญชาการ และควบคุมของเหล่าทัพและกระทรวงต่างๆ ตามแนวทางการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) เพื่อเชื่อมโยงการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำ ให้เกิดการกระจาย และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างความตระหนักรู้ในสถานการณ์ (SA) ร่วมกัน ดังนั้น กองทัพ หน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานภาคเอกชนจะต้องร่วมกันวางแผนกับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ จัดตั้งระบบการสื่อสาร และเครือข่ายเพื่อรับข้อมูลจากสถานีรับสัญญาณดาวเทียม สถานีระบบ Video Downlink สถานีควบคุมภาคพื้น (GCS) ของอากาศยานไร้คนขับ หน่วยค้นหาและช่วยชีวิต และศูนย์ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ เช่น การใช้ระบบสื่อสารดาวเทียมทางทหาร ระบบสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมภาคเอกชน การใช้ระบบเครือข่าย โทรศัพท์มือถือของภาคเอกชน เป็นต้น ตลอดจนขนาดของระบบเครือข่ายจะต้องมีBandwidth และความเร็ว ที่เพียงพอในการปฏิบัติภารกิจ จากที่กล่าวมาข้างต้น...จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีด้านอวกาศนั้นเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยเหลือ บรรเทาสาธารณภัย เมื่อเรานำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากดาวเทียมหรือระบบตรวจจับอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับ หลักการทางทหารที่เหมาะสมแล้ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือน การป้องกัน การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติและการฟื้นฟูหลังประสบภัยพิบัติจะสามารถดำ เนินการได้อย่างรวดเร็วแต่สิ่งที่สำ�คัญ คือ การเตรียมความพร้อมบุคคลากรของกองทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสามารถนำ�ข้อมูลต่าง ๆ จากดาวเทียม หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการทางทหารต่าง ๆ ได้อย่างไร เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายกองทัพว่าจะทำ�อย่างไรที่จะพัฒนาบุคคลากรให้รู้เท่าทัน และประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีด้านอวกาศนี้ร่วมกับการสร้างแนวความคิดในการประยุกต์ใช้มิติอวกาศกับหลักการทางทหาร และการใช้ยุทโธปกรณ์ของกองทัพเพื่อภารกิจที่สำ�คัญนี้ทั้งนี้ เพื่อสร้างความศรัทธาต ่อสาธารณชนว่า “กองทัพไทยนั้นเป็นกองทัพของประชาชนชาวไทยที่มีขีดความสามารถและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ ทั้ง Combat และ Non-Combat” วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๓๙ ศัพท์เฉพาะ เป้าหมาย Time Sensitive Target (TST) หมายถึง เป้าหมายที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในพื้นที่การรบ ซึ่งต้องการการปฏิบัติทันทีเนื่องจากมีผลต่อการปฏิบัติฝ่ายเราหรือมีความคุ้มค่าในการทำลาย เพราะว่ามีผลกระทบ ต่อฝ่ายตรงข้ามอย่างมาก หรืออาจจะเป็นภัยคุกคามทำอันตรายต่อฝ่ายเรา Dynamic Targeting หมายถึง พันธกิจในการโจมตีต่อเป้าหมาย โดยมีลักษณะต้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว อย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญและมีปัจจัยด้านเวลาบีบบังคับ โดยเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมาย TST ซึ่งหาก ไม่ปฏิบัติอาจเกิดผลกระทบ หรืออาจจะเป็นภัยคุกคามต่อการปฏิบัติของฝ่ายเรา Electro Optical/Infrared (EO/IR) หมายถึง กล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน OODA Loop หมายถึง วงรอบการตัดสินใจของ Colonel JohnBoyd กองทัพสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย ขั้นตอนการดำ เนินการ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ การสังเกตการณ์(Observe) การเข้าใจสถานการณ์(Orient) การ ตัดสินใจ (Decide) และการปฏิบัติ(Act) ซึ่งหากสามารถทำ ให้เวลาครบวงรอบนี้ได้เร็วเท่าใด ก็จะสามารถ ลงมือการปฏิบัติได้รวดเร็วเท่านั้น Payload หมายถึง อุปกรณ์ที่ติดตั้งไปบนดาวเทียมหรืออากาศยานแบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นระบบตรวจจับ (Sensor) รวบรวมข้อมูลบริเวณเป้าหมายตามที่ต้องการ แหล่งข้อมูล • คณะทำ�งานศึกษาแนวทางการใช้งานดาวเทียมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางยุทธการ และประชาชน, กองทัพอากาศ “รายงานผลการศึกษาแนวทางการใช้งานดาวเทียม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางยุทธการและประชาชน”. ๒๕๖๕. • สุพิจจารณ์ธรรมวาทะเสรี, พลอากาศตรี. “แนวทางพัฒนาการใช้อากาศยานไร้คนขับ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ”. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ๒๕๖๒. • สุพิจจารณ์ธรรมวาทะเสรี, ๒๕๖๒ และเพิ่มเติมจากคณะทำ�งานศึกษาแนวทางการใช้งานดาวเทียมฯ • คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ, “แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติพ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๗๐”. ๒๕๖๕. • news.mthai.com/general-news/697594.html • apps.sentinel-hub.com/eo-browser กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร *“ดาวเทียมนภา-1” ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ ของกองทัพอากาศไทย


การฝึกปฏิบัติการด้านการแพทย์ร่วม ระหว่างเหล่าทัพ และตำ รวจ Joint Medical Emergency Response Team (MERT) Operation F พลอากาศโท พิเชษฐ์ อาภรณ์พัฒนพงศ์ ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย “ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ศปพท.ศบท.)” เป็นหน่วยงานในสังกัด ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (ศบท.) มีหน้าที่ พิจารณา วางแผน อำ นวยการ ประสานงาน ด้านกิจการแพทย์การจัดทำแผนการช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ ในภารกิจของศูนย์บัญชาการทางทหาร และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหารฯ(ศปพท.ศบท.) เป็นหน่วยให้คำแนะนำ หรืออำ นวยการปฏิบัติการร่วมด้านการแพทย์ เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามทุกมิติทุกระดับความรุนแรง พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เล็งห็นถึงความสำคัญของการฝึกร่วมสายแพทย์ฯ เนื่องจากเป็นการเตรียมความพร้อมของกำลังพลสายแพทย์ในการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ ต่าง ๆ อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรสายแพทย์ให้มีความรู้และมีประสบการณ์ที่ดีรวมถึงสามารถประสาน สอดคล้องการปฏิบัติร่วมกันระหว่าง ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหารฯ เหล่าทัพ วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๔๐


๔๑ กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร (กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ) และตำ รวจ จึงได้กรุณา อนุมัติให้ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหารฯ ดำ เนินการจัดการฝึกปฏิบัติการ ด้านการแพทย์ร่วม ในการรับมือภัยคุกคามมิติต่างๆ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๕-๗ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (ศฝภ.นทพ.) อำ เภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ร่วม ระหว่าง เหล่าทัพและตำ รวจ ครั้งแรก เน้นการฝึกบรรเทาสาธารณภัยของทุกเหล่าทัพและตำ รวจ และการช่วยเหลือ ประชาชนในสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆเพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ โดยให้แต่ละเหล่าทัพ และตำ รวจ จัดชุดปฏิบัติการทางการแพทย์(Medical Emergency Response Team : MERT) เข้ารับ การฝึกร่วมฯ เหล่าทัพละ ๘-๑๗ นาย ขึ้นกับบริบทของแต่ละเหล่าทัพ จำ นวนกำลังพลที่เข้ารับการฝึกในครั้งนี้ แบ่งเป็น ส่วนการฝึก ๑๓๐ นาย และส่วนสนับสนุนการฝึก ๑๕๙ นาย รวมจำ นวนทั้งสิ้น ๒๘๙ นาย การแบ่งมอบสถานีฝึกให้กับเหล่าทัพและตำ รวจ แบ่งเป็น ๕ สถานีหลัก และ ๑ สถานีรวม (บูรณาการ) สถานการณ์ฝึกต่อเนื่อง สถานีฝึกละ ๒ ชั่วโมง รวม ๑๒ ชั่วโมง ดังนี้


๔๒ สถานีที่ ๑ การจัดสถานการณ์ผู้บาดเจ็บจำ นวนมาก (Mass Casualty : MC) โดย MERT กองบัญชาการกองทัพไทย สถานการณ์เกิดเหตุรถทัวร์โดยสารพุ่งชนตอม่อสะพานลอย ทำ ให้มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย บาดเจ็บ ๑๘ ราย ผู้บาดเจ็บเป็นผู้ป่วยสีแดง ๕ รายสีเหลือง ๔ รายและสีเขียว ๙ รายในเหตุการณ์จะมีความชุลมุนเนื่องจาก มีไทยมุง และมีผู้ป่วยที่เรียกร้องความสนใจ โดยจัดให้มีกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวบางรายที่เป็นผู้ป่วยจิตเวช สร้าง ความวุ่นวายขณะที่ชุดปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินกำลังให้การรักษา และส่งต่อผู้ป่วย สถานีที่ ๒ การบริการทางการแพทย์ในสถานการณ์ดินโคลนถล่ม (Landslide) โดย MERT กองทัพบก สถานการณ์ดินโคลนถล่ม เนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำ ให้พื้นที่ดินอุ้มนํ้าไม่ไหว มีบ้านเรือน ถล่มหลายแห่ง ศูนย์ราชการ และโรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการ เหตุการณ์ขอรับการสนับสนุนชุดค้นหากู้ภัยและชุด MERT จากกองทัพบกเข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ มีผู้ป่วย จำ นวน ๑๐ ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสีแดง ๒ ราย สีเหลือง ๒ ราย และสีเขียว ๖ ราย วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖


สถานีที่ ๓ การช่วยชีวิตทางน้า (Marine Life Support : MALS) โดย MERT กองทัพเรือ ํ เป็นการฝึกป้องกันและเอาชีวิตรอดทางนํ้าขั้นพื้นฐาน ฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางนํ้าขั้นต้น พร้อมทั้งฝึกให้ ชุด MERT สามารถใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางนํ้า และสามารถให้การดูแลผู้บาดเจ็บทางนํ้าที่มีลักษณะเฉพาะได้ โดยผู้ป่วยสมมติจริง ๒ ราย ๑ นายติดอยู่ในนํ้าตื้น และอีก ๑ รายสวมเสื้อชูชีพลอยคอเกาะต้นไม้ส่วนผู้ป่วย อีก ๒ รายใช้เป็นหุ่นลอยนํ้า เพื่อความปลอดภัยในการฝึก สถานีที่ ๔ การบริการทางการแพทย์ในสถานการณ์กราดยิง (Mass Shooting : MS) โดย MERT ตำรวจ เป็นการฝึกให้ชุด MERT มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมการและการจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ในพื้นที่ภัยพิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของชุดแพทย์เมื่ออยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน และผู้ประสบภัยได้รับ การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศได้อย่างถูกต้อง หลักสถานการณ์คือ เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่มีโคลนถล่มและพายุ มีผู้ประสบภัยจำ นวนมาก จึงมีการประสาน ร้องขอให้ชุด MERT เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ตึกถล่ม ซึ่งขณะนั้นระบบบริการสาธารณสุขเสียหาย ใช้การไม่ได้ในสถานีนี้ใช้ผู้ป่วยสมมติ๕ ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสีแดง ๑ ราย สีเหลือง ๒ ราย และสีเขียว ๒ ราย ๔๓ กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๔๔ สถานีที่ ๕ การจัดสถานการณ์ผู้บาดเจ็บจำ นวนมาก (Mass Casualty : MC) โดย MERT กองบัญชาการกองทัพไทย สถานการณ์กลุ่มโจรไม่ทราบจำ นวนก่อเหตุปล้นธนาคาร ขณะนั้นมีผู้มาใช้บริการในธนาคารประมาณ ๑๕ คน ผู้จัดการธนาคารกดสัญญาณฉุกเฉิน ส่งผลให้โจรกราดยิงภายในตัวอาคาร และเกิดความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เข้ามาควบคุมพื้นที่ จึงร้องขอให้หน่วยอรินทราช (หน่วยจู่โจม พิเศษ) เข้าควบคุมพื้นที่ และประสานขอรับการสนับสนุนชุด MERT เนื่องจากได้รับรายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ จำ นวนมากที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน สถานีที่ ๖ การฝึกร่วมบูรณาการปฏิบัติ โดย ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหารศูนย์บัญชาการ ทางทหารฯ โดยให้ชุดแพทย์ปฏิบัติการฉุกเฉินจากกองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และตำรวจ ประสานการปฏิบัติ ของทีมแพทย์เหล่าทัพเข้าด้วยกัน จากสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลบริเวณอ่าวไทย ก่อให้เกิดความ เสียหายเป็นบริเวณกว้าง มีผู้ประสบภัยบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต ต้องการรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ เป็นจำ นวนมาก ในบางพื้นที่ประชาชนที่รอดชีวิตได้ก่อจลาจล ปล้นสะดม มีการจับตัวประกันเพื่อต่อรอง กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีการร้องขอจากผู้ว่าราชการจังหวัด ขอสนับสนุนชุดแพทย์ปฏิบัติการฉุกเฉินจากเหล่าทัพ และตำ รวจ โดยให้ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหารฯ ทำ หน้าที่อำ นวยการ ประสานงานการปฏิบัติการแพทย์ ของแต่ละเหล่าทัพตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยชดเชยจุดอ่อน เพิ่มขีดความสามารถของการให้บริการทาง การแพทย์เป็นการบูรณาการการให้บริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพกับประชาชนและผู้บาดเจ็บ วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖


ผลการฝึกปฏิบัติการทางการแพทย์ร่วมฯ ๓ วัน ๒ คืน บรรลุวัตถุประสงค์ผู้เข้ารับการฝึกแต่ละเหล่าทัพ ได้แสดงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ และสามารถดำรงชีพได้ เมื่อเกิดสถานการณ์จริง ได้รับความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ได้ฝึกการประสานการปฏิบัติ ระหว่าง ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหาร หน่วยแพทย์ของเหล่าทัพ และตำ รวจ โดย ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหารฯ หวังว่าจะเป็นแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติ ในสถานการณ์จริง และเตรียมการจัดการฝึกทีม MERT ในปีต่อไป สำ หรับปัญหาข้อขัดข้อง และแนวทางแก้ไข ศูนย์ประสานงานการแพทย์ทหาร ศูนย์บัญชาการทางทหารฯ ได้สรุปนำ เรียนผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อกรุณา ทราบเรียบร้อยแล้ว และจะนำ ไปปรับปรุงการปฏิบัติให้สมบูรณ์ต่อไป ๔๕ กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


๔๖ บทบาททหารหญิง ในภารกิจด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เพื่อมนุษยธรรมในประเทศไทย ปัญหาวัตถุระเบิดตกค้างจากสงครามในประเทศไทยที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การสู้รบ ในอดีต แม้ว่าการสู้รบเหล่านั้นจะยุติไปเป็นเวลานานแล้ว แต่ทุ่นระเบิดและสรรพาวุธที่ตกค้าง จากสงครามยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ต่างๆ เป็นจำ นวนมาก ประเทศไทยตระหนักดีว่า ทุ่นระเบิดและสรรพาวุธระเบิดที่ตกค้างจากสงครามเหล่านี้เป็นอันตรายต่อมวลมนุษยชาติ สมควรที่ทุกประเทศต้องร่วมกันกำ จัดให้หมดไปให้เร็วที่สุด โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งใน จำ นวน ๑๖๔ ประเทศ ที่ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีของ “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล” โดยมักเรียกว่า “อนุสัญญา ออตตาวา” หรือ“อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล”ซึ่งประเทศไทยนับเป็นประเทศแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ให้สัตยาบันต่อองค์การสหประชาชาติเมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยนับเป็นประเทศที่๕๓ ของโลก และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย ตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา และอนุสัญญาฯ มีการประเมินประสิทธิภาพ และการปฏิบัติงานของประเทศสมาชิกทั้งหมดที่เข้าร่วมในอนุสัญญาดังกล่าวทุกปี เพื่อประเมินความก้าวหน้าของโครงการและประสิทธิภาพของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิด ทั่วโลกที่เป็นประเทศสมาชิก โดยมีหัวข้อการประเมินและการให้คะแนนประสิทธิภาพทั้งหมด ๗ หัวข้อด้วยกัน อันได้แก่ (๑) คะแนนความเข้าใจเกี่ยวกับการปนเปื้อนของวัตถุระเบิด ในประเทศ (๒) การจัดการโครงการเก็บกู้ฯ ของประเทศเจ้าของโครงการ (๓) เพศสภาพ (๔) การจัดการข้อมูลและการรายงาน (๕) การวางแผนงานและการมอบหมายงาน (๖) ระบบ การปลดปล่อยพื้นที่ (๗) ผลผลิตของการปลดปล่อยพื้นที่และการปฏิบัติตามข้อ ๕ ในสนธิสัญญา โดยคะแนนในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้คะแนนรวมอยู่ในเกณฑ์ดี และในปีพ.ศ. ๒๕๖๕ ประเทศไทยได้คะแนน ๗.๗ คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนอยู่ในเกณฑ์ “ดี” เช่นกัน โดยผู้บังคับบัญชาได้ตระหนักถึงเกณฑ์การให้คะแนนในครั้งนี้ในหัวข้อเรื่อง “เพศสภาพ” ซึ่งในปัจจุบันกองบัญชาการกองทัพไทย มีนโยบายการเพิ่มกำลังพลหญิงบรรจุ ในภารกิจเพื่อสันติภาพของ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำ คัญของบทบาทสตรีในกองทัพ และภารกิจ นานาชาติซึ่งการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติที่ผ่านมา ได้มีหน่วยงาน F ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖


๔๗ องค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์(Norwegian People’s Aid : NPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดที่ปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ โดย NPA มีเจ้าหน้าที่กำ ลังพลหญิงที่ปฏิบัติงานจริงในการตรวจค้นทุ่นระเบิดในพื้นที่ จำ นวน ๓ คน ได้แก่ ตำแหน่ง Field Supervisor (หัวหน้างาน) Deminer (นักตรวจค้น ทุ่นระเบิด) และเจ้าหน้าที่พยาบาลสนาม นอกจากนั้นยังมีมูลนิธิโกลด์เด้นเวสต์เพื่อ มนุษยธรรมประเทศไทย (Golden West Humanitarian Foundation : GWHF) ซึ่งมี บทบาทในการให้การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมบุคลากร และการสนับสนุนยุทโธปกรณ์ ให้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเป็น ผู้ประสานงาน จำ นวน ๒ คน จากแนวทางในการส่งเสริมบทบาทสตรีดังกล่าว ศูนย์ปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดแห่งชาติจึงได้เล็งเห็นถึงความสำ คัญ และริเริ่มความเท ่าเทียมทางเพศตาม หลักสากลนี้โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก ศุภธัช นรินทรภักดีผู้อำ นวยการ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติได้ส่งกำลังพลหญิงของ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ จำ นวน ๒ นาย เข้าร่วมฝึกศึกษาในหลักสูตรการปฏิบัติการตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิด ด้านมนุษยธรรม ณ ศูนย์ฝึกตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดค่ายภานุรังษีอำ เภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีเมื่อ ๑๒ มีนาคม-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีกำลังพลหญิง เข้าร่วมการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว โดยมีกำลังพลที่เข้าร่วมในหลักสูตรจำ นวน ๔๒ นาย กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ การผลิตเจ้าหน้าที่ตรวจค้น เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด หลักสูตรประกอบไปด้วย วิชาการปฐมพยาบาล การใช้แผนที่เข็มทิศการใช้GPS วัตถุระเบิด ทางทหาร/กฎ ความปลอดภัย การจุดระเบิด การฝึกปฏิบัติชุดริเริ่มการจุดระเบิด (แบบชนวน) การฝึกปฏิบัติชุดริเริ่มการจุดระเบิด (แบบไฟฟ้า) การเรียนรู้เกี่ยวกับสรรพาวุธระเบิด และ การฝึกปฏิบัติรวมถึงกฎการรักษาความปลอดภัย การฝึกการตรวจค้นด้วยเครื่องตรวจค้น และการรื้อถอนทุ่นระเบิด การฝึกทักษะบุคคล การใช้Google My Maps การฝึก สำ รวจทางเทคนิค และการฝึกสำ รวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค กำ ลังพลหญิงที่เข้าร่วมการฝึก หลักสูตรดังกล่าวฯ ได้แก่ พันจ่าเอกหญิง อภิญญารวีย์ อุปถัมภ์และพันจ่าเอกหญิง คำ พลอย กรมโคตร มีผลการศึกษาในเกณฑ์“ดีมาก” วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๔๘


Click to View FlipBook Version