๔๙ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติมีความคาดหวังว่า กำลังพลหญิงทั้งสองนายที่จบ การศึกษาหลักสูตรดังกล่าว จะมีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมบทบาทของสตรีในการขับเคลื่อน การปฏิบัติงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศไทยให้เป็นไปตามกรอบของอนุสัญญาออตตาวา และมีผลสัมฤทธิ์ในงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองนโยบายความเป็นสากลของ กองทัพในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศนั้น ชี้ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาสตรีของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ที่กำ หนดวิสัยทัศน์คือ“การสร้างสังคม เสมอภาค ปราศจากการเลือกปฏิบัติ สตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นคง ปลอดภัย ร่วมสร้างชาติ นำสมัย” ซึ่งในปัจจุบันกำลังพลหญิงทั้งสองนายสามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพและสังคม โดยในปัจจุบันได้ร่วมปฏิบัติงานในชุดเครื่องจักรกวาดล้างทุ่นระเบิด (BEARCAT) ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห ่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร (นปท.ศทช.ศบท.) ซึ่งเครื่องจักรฯ ดังกล่าวมีขีดความสามารถ ในการกำจัดวัชพืช และสามารถกวาดล้างทำลายทุ่นได้บางชนิดได้โดยปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ทุ่งกบาลกระไบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก อำ เภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้ ปฏิบัติงานมาเป็นระยะเวลาเข้าเดือนที่สองแล้ว นอกจากนั้นกำ ลังพลหญิงทั้งสองนาย ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนภารกิจของหน่วย ในงานด้านการตรวจสอบคุณภาพและ ประเมินผล งานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด และงานด้านการแจ้งเตือน และให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดชาติ มีแผนจะยกระดับความสำคัญของกำลังพลหญิงในอีกหลายด้าน เพื่อให้มีความเท่าเทียม ตามหลักสากลต่อไป กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
กองบัญชาการกองทัพไทยโดยศูนย์ไซเบอร์ทหารสำ นักผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ดำ เนินการจัดการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ในระดับกองทัพไทย ระดับโรงเรียนทหาร-ตำรวจ ในห้วงกรกฎาคม เป็นประจำ ทุกปีเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบขีดความสามารถผู้เข้าร่วมการแข่งขันฯ ด้านไซเบอร์ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เข้าร่วมการแข่งขัน และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ด้านไซเบอร์ การจัดการแข่งขันที่ผ่านมา ปีพ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๒ จัดแบบ onsite และในปีพ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕ จัดแบบออนไลน์อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การแข่งขันฯ จะจำลองเครือข่ายขึ้นมาเพื่อใช้สำ หรับระบบการแข่งขัน และรูปแบบการแข่งขันจะเป็นแบบ Capture The Flag (CTF) โดยกำ หนดโจทย์ตามหมวดหมู่ Jeopardy Style ซึ่งประกอบด้วย ๙ หมวดหมู่ ได้แก่ ๑. Web Applicationเป็นโจทย์ที่เกี่ยวกับการโจมตีช่องโหว่บนเว็บแอปพลิเคชัน เช่น SQL Injection เพื่อเข้าไปอ่าน Flag ๒. Pwnable เป็นโจทย์ที่เกี่ยวกับการโจมตีโปรแกรม Binary ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้สามารถรันคำสั่งใน เครื่องเป้าหมายได้เช่น Buffer Overflow และ Format String F ศูนย์ไซเบอร์ทหาร สำ นักผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการกองทัพไทย ๕๐ การแข ่ งขัน ทักษะทางไซเบอร์ กองทัพไทย ประจำ ปี ๒๕๖๖ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๕๑ ๓. Digital Forensic เป็นโจทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูล จากหน่วยความจำ (Memory) ของระบบปฏิบัติการ Windows/Linux หรือการวิเคราะห์ไฟล์Partition ของ Hard Disk เพื่อสืบค้นและหาหลักฐานภัยคุกคามจากข้อมูลที่โจทย์ให้มา ๔. Cryptography เป็นการแก้ปัญหาโจทย์ที่มีการเข้ารหัสข้อมูลลับต่าง ๆ เพื่ออ่านหรือแก้ไขข้อความที่ ถูกเข้ารหัสอยู่ ๕. NetworkSecurityเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านเครือข่ายจากไฟล์ประเภทต่างๆเช่น ไฟล์PCAP ๖. Reverse Engineering เป็นการทำวิศวกรรมย้อนกลับ เพื่อทำการวิเคราะห์ค้นหาจุดอ่อนหรือช่องโหว่ จากไฟล์Binaryเช่น .exe, .dllและELF ที่ผ่านการ Compile มาแล้วซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมที่มีกระบวนการ เข้ารหัส หรือมีกลไกการทำ งานที่มีจุดเชื่อมต่อไปยังข้อเท็จจริงบางอย่างที่เป็นคำตอบ ๗. Programming เป็นการใช้ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม เช่น Perl, Python, PHP มาใช้ในการ แก้ปัญหาของโจทย์ ๘. Miscellaneous เป็นหมวดที่เกิดจากการรวมหลาย ๆ หมวดเข้าไว้ด้วยกัน ๙. Mobile การแก้ปัญหาของโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือเป็นการวิเคราะห์ไฟล์แอปพลิเคชัน ที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
ระยะเวลาการแข่งขันฯ ๘ ชั่วโมง และการคิดคะแนนแบ่งตามความซับซ้อนของการแก้ไขโจทย์ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ง่าย ๑๐๐ คะแนน กลาง ๒๐๐ คะแนน และยาก ๔๐๐ คะแนน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้กำ หนดจัดการแข่งขันฯ ขึ้นในวันพุธที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๔๒๑ อาคารอเนกประสงค์สถาบันวิชาการปัองกันประเทศ โดยกำ หนด ให้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมละไม่เกิน ๓ นาย แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ จำ นวน ๗๗ ทีม รวมมีผู้เข้าร่วม การแข่งขันทั้งสิ้น ๒๒๙ นาย ประกอบด้วย ๑. ระดับกองทัพไทย มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน จำ นวน ๓๖ ทีม และมีหน่วยเข้าร่วมการแข่งขันฯ จำ นวน ๑๖ หน่วย ประกอบด้วยกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำ นักข่าวกรองแห่งชาติสำ นักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์แห่งชาติกรมสอบสวนคดีพิเศษ กองบัญชาการตำ รวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำ รวจสอบสวนกลาง การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำ นักงานพัฒนาเทคโนโลยี ๕๒ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๕๓ อวกาศและภูมิสารสนเทศ สมาคมธนาคารไทย กลุ่มบริษัทบางจาก และ United States Indo-Pacific Command ๒. ระดับโรงเรียนทหาร-ตำ รวจ และสถาบันอุดมศึกษา มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน จำ นวน ๔๑ ทีม และมีหน ่วยเข้าร ่วมการแข ่งขันฯ จำ นวน ๑๗ หน่วย ประกอบด้วย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช โรงเรียนนายร้อยตำ รวจ โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ศูนย์การฝึกหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน โรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำ นักนโยบายและแผน กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
ผลการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ กองทัพไทย ประจำ ปี ๒๕๖๖ ระดับกองทัพไทย ชนะเลิศ ทีมมะเขือม่วงนํ้า จาก สมาคมธนาคารไทย ได้๔,๒๐๐ คะแนน รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ทีม RRP4GAIn จาก ศูนย์ไซเบอร์ทหาร ได้๔,๐๐๐ คะแนน รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ทีม The Borg จาก สมาคมธนาคารไทย ได้๓,๘๐๐ คะแนน รางวัลบู้บี้ทีม NGO จาก กองทัพเรือ ได้๓๐๐ คะแนน ระดับโรงเรียนทหาร-ตำ รวจ และอุดมศึกษา ชนะเลิศ ทีม SixthHUNTER จาก โรงเรียนนายร้อยตำ รวจ ได้๖,๑๐๐ คะแนน รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ทีม DarkArmy จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้๔,๖๐๐ คะแนน รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ทีม SeventhHUNTER จาก โรงเรียนนายร้อยตำ รวจ ได้๓,๐๐๐ คะแนน รางวัลบู้บี้ทีม RMUTP 1 จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้๑๐๐ คะแนน วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ ๕๔
๕๕ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร การแข่งขันทักษะทางไซเบอร์กองทัพไทย เป็นสนามสำ หรับทดสอบทักษะทางไซเบอร์ของผู้ที่ปฏิบัติงาน ด้านไซเบอร์และบุคคลทั่วไป ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ทางไซเบอร์โดยผู้เข้าแข่งขันจะได้พัฒนาทักษะในด้าน การเขียนโปรแกรม การทดสอบเจาะระบบ การค้นหาข้อมูลจากพยานหลักฐาน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะพื้นฐาน และมีความจำ เป็นต่อการปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ในแต่ละหน่วยงาน ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์กองทัพไทย ในครั้งนี้สามารถสร้าง ประสบการณ์ให้กับทั้งผู้จัดการแข่งขัน และผู้เข้าร่วมการแข่งขัน หากมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะทาง ไซเบอร์อย่างต่อเนื่องในทุกปีทั้งในระดับภายในกองบัญชาการกองทัพไทยระดับกองทัพไทยระดับนักเรียน ทหาร-ตำรวจ และอุดมศึกษา จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานและประเทศในภาพรวม และจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ ในการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานและบุคคล ทั้งนี้ศูนยไซเบอร์ทหาร ยังเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์เพื่อผลิต บุคลากรด้านไซเบอร์สนับสนุนให้กับหน่วยงานทั้งในระดับ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทยและหน่วยงานด้าน ไซเบอร์ระดับประเทศในอนาคตต่อไป
๕๖ บทบาททหารไทย กับการรักษาสันติภาพ ผ่านมุมมองของ นักศึกษาฝึกงานคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะพลเรือนการมีโอกาสได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจในงานของกองทัพไทยนั้น นับเป็นโอกาสดีที่ไม่ได้เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง การฝึกงานซึ่งเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างการเปลี่ยนความรู้ ที่ได้ในชั้นเรียนไปสู่การนำ ไปใช้ปฏิบัติจริงเมื่อจบการศึกษา การได้เข้ามาเห็นถึงกระบวนการจริงของ การทำ งาน อาทิงานพิธีการและกระบวนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกว่าจะสำ เร็จเป็นผลงานในกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งของหน่วยงานนั้น จำ เป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านกระบวนการของการคิด การวางแผน และการเตรียม ความพร้อม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผลลัพธ์นั้นจะสำ เร็จ และเป็นที่พอใจสำ หรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนั้น การได้มาฝึกงานของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ณ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ระหว่าง วันที่๖ มิถุนายน-๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ในครั้งนี้จึงเป็นประสบการณ์ลํ้าค่าที่ไม่อาจหาได้ จากชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วไป F นักศึกษาฝึกงานคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
T ผู้อำ นวยการศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวต้อนรับในห้วงแรกของการฝึกงาน ๕๗ ในห้วงแรกของการเข้ามาเป็นนักศึกษาฝึกงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ มุมมองของ นักศึกษาฯ ที่เป็นพลเรือนทั่วไปที่มีต่อกองทัพไทยที่โดดเด่นขึ้นมา คือ บทบาทกองทัพกับการรักษาความ มั่นคงของชาติแต่ไม่ได้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือพยายามทำความเข้าใจในความสัมพันธ์หลายมิติ ที่แยกย่อยออกมาจากความมั่นคงเลย การได้เข้ามาเป็นนักศึกษาฝึกงานฯ จึงช่วยเปิดมุมมองให้กว้างขึ้น ไม่ยึดติดอยู่กับวาทกรรม “ทหารเป็นรั้วของชาติ” โดยขาดความเข้าใจเหมือนอย่างเดิม บทเรียนลำดับต้น ๆ ที่ได้เรียนรู้จากการฝึกงานฯ คือ ความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในการปฏิบัติ การเพื่อสันติภาพของกองทัพไทยร่วมกับสหประชาชาติกล่าวคือ นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก สหประชาชาติ(United Nations : UN) ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๘๙ ประเทศไทย โดยกองทัพไทยได้เข้าไป มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันร่วมกับสหประชาชาติในฐานะหน่วยงานความมั่นคงของชาติประกอบด้วย ภารกิจ การสนับสนุนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบของสหประชาชาติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในหลายประเทศซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงกลาโหมจนถึงกองทัพไทยด้วยเหตุนี้ศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพฯ จึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมการทำ งานระหว่างเหล่าทัพ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถสนับสนุนการไปปฏิบัติภารกิจการรักษาสันติภาพร่วมกับสหประชาชาติได้เมื่อได้รับการ ร้องขอ ด้วยภารกิจของกองทัพไทยที่สำคัญนี้ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อภารกิจของทหารในสายตาพลเรือน ได้อย่างชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างมี ประสิทธิภาพนั้น จำ เป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม ตั้งแต่ในระดับทางการทูตไปจนถึงระดับของ การสนับสนุนทางทหาร ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมความร่วมมืออย่างแข็งขันกับมิตรประเทศที่เป็นหุ้นส่วน ในระดับภูมิภาคจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประชาคมอาเซียน กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๕๘ การมีปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือกับกองทัพมิตรประเทศของศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ นักศึกษาฯ ได้มีโอกาสและมีส่วนร่วมในกิจกรรมตั้งแต่ห้วงแรกของการฝึกงานฯ โดยได้มีส่วนร่วมกับการเตรียมการต้อนรับ คณะผู้แทนกองทัพมาเลเซียจากศูนย์ปฏิบัติการรักษาสันติภาพมาเลเซีย (Malaysian Peacekeeping Centre : MPC) ในโอกาสเดินทางมาแลกเปลี่ยนการเยือนและประชุมความร่วมมือด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพใน ประเทศไทย การได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมระหว่างสองหน่วยงานของทั้งสองประเทศนั้น ทำ ให้ นักศึกษาฯ ได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ ทั้งสองประเทศ ภารกิจการ รักษาสันติภาพที่ดำ เนินอยู่และแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือที่เกี่ยวข้องในอนาคตตลอดจนได้เข้าร่วม ในกิจกรรมอื่น ๆ ตลอดห้วงของการแลกเปลี่ยนการเยือนฯ บทเรียนหนึ่งที่สำคัญที่นักศึกษาฯ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องระหว่างการฝึกงานฯ คือ การเตรียมพิธีส่งกำลังพล กองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดาน ผลัดที่๔ ก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของ สหประชาชาติในสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (United Nations Mission in South Sudan : UNMISS) และ การเตรียมพิธีรับกำลังพลกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ ไทย/เซาท์ซูดาน ผลัดที่ ๓ ซึ่งเดินทางกลับจากการ ปฏิบัติภารกิจ UNMISSสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน ทั้งนี้การไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบบุคคล หรือแบบหน่วย กำลังพลที่จะไปปฏิบัติหน้าที่จำ เป็นต้องศึกษาระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่เป็นสากล เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำ เนินการช่วยเหลือตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำแนวทาง ของการพัฒนาเข้าไปแก้ไขที่ต้นเหตุนับเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสาเหตุหลักของความขัดแย้งส่วนมากมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรและการขาดทักษะในการดำ รงชีวิต แม้ว่าภารกิจหลักของการรักษาสันติภาพจะมุ่งเน้น ไปที่การคุ้มครองพลเรือนตามอาณัติที่ได้รับมอบหมายผู้แทนของกองทัพไทยที่ไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ ยังคงดำ รงการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ร่วมกับการปฏิบัติภารกิจการรักษาสันติภาพที่ได้รับมอบหมาย เพื่อสร้างสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๕๙ อีกหนึ่งบทเรียนสำคัญที่นักศึกษาฯ ได้รับในห้วงของการฝึกงานฯ คือ การได้เรียนรู้ความร่วมมือของ การปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่ • คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross : ICRC) การเข้าร่วมฟังบรรยายเกี่ยวกับกรอบการทำ งานของ ICRC เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่ง ICRC เป็น องค์กรอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายใดและไม่ได้อยู่ภายใต้UN แต่เป็นหนึ่งหน่วยงานสำคัญที่คอยให้ความช่วยเหลือ ด้านการแพทย์และมนุษยธรรมในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายใด บทบาทของทหารที่สำคัญ จึงเป็นการสนับสนุนด้านการคุ้มครอง สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่าง ๆ มากกว่าเข้าไปมีส่วนร่วมในภารกิจ ของ ICRC ดังนั้นจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า บทบาทของทหารในด้านการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในการ ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนั้นมีหลายมิติมากกว่าที่คิด อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการสร้างความ สัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศในรูปแบบความร่วมมือทางทหาร • องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(United Nations Children’s Fund : UNICEF) การเข้าร่วม ฟังบรรยายจากผู้แทน UNICEF เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกี่ยวกับภารกิจของหน่วยงานและ ความร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ โดยเฉพาะการร่วมกันพัฒนาหลักสูตร Child Protection ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่หากไม่เข้ามาฝึกงานแล้วคงไม่ได้รับทราบว่า ตัวแสดงหลักที่สำคัญในการพัฒนา หลักสูตรและการสร้างความร่วมมือกับภาคพลเรือนดังกล่าว คือ ทหาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๖๐ • สำ นักงานที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำ ประเทศไทย (Joint United States Military Advisory Group Thailand : JUSMAGTHAI)การรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจ และผลการดำ เนินงาน ของ JUSMAGTHAI รวมถึงแนวทางการดำ เนินความร่วมมือกับกองทัพไทย โดยเฉพาะกับศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อสันติภาพฯ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ • กรมความร ่วมมือระหว ่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency : TICA) กระทรวงการต่างประเทศ โดยนักศึกษาฯ ได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปภารกิจและความรับผิดชอบของ TICA เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๖๑ การมีส่วนร่วมข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศในด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนั้น สามารถทำ ให้เกิดขึ้นได้จากคนกลุ่มเล็ก ๆ ขยาย ความสัมพันธ์ต่อกันเป็นสายยาวแล้วมาทำ งานร่วมกันได้ในอนาคต ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ ดำ รง การทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศผ่านทั้งทางภารกิจใหญ่ที่เป็นการทำ งาน ร่วมกันระหว่างองค์การสหประชาชาติกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ รวมถึงผ่านทางความร่วมมือในระดับย่อย ลงมา เช่น ความร่วมมือในกรอบอาเซียน หรือจะเป็นความร่วมมือในระดับทวิภาคีทั่วไป เป็นต้น แม้ระยะเวลาในการมาเป็นนักศึกษาฝึกงานที่ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ จะเป็นช่วงเวลาไม่นาน แต่ประสบการณ์ที่ได้จากสถานที่แห่งนี้กลับมีมากมาย ทั้งในส่วนที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม และในส่วน ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมบรรยายในกรอบภารกิจและความสัมพันธ์ที่อาจไม่เคยนึกถึง หรือแม้แต่จากการแบ่งปันประสบการณ์ตรงจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ ที่ไปปฏิบัติงาน ในพื้นที่ภารกิจจริง ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในการเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับบทบาทของกองทัพไทย และการ ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้น ทั้งในรูปแบบตัวแสดงที่เป็นรัฐและ ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ในภายภาคหน้าที่มีโอกาสได้ทำ งานหรือศึกษาเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป การมองทุกอย่างเป็น ภาพกว้าง ครอบคลุมหลายมิติดังนั้น ประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพฯ แห่งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำ หรับเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์รวมถึงแนวทางในการเลือก ประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อของนักศึกษาฝึกงานฯ แต่ละคนในอนาคตต่อไป กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๖๒ การเดินทางย่อมมีจุดสิ้นสุด ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อใช้ย่อมหมดไปเป็นสิ่งธรรมดาของโลก สิ่งที่เรา กำลังพูดถึงคือต้นทุนชีวิตก็เช่นกัน เมื่อเริ่มมีการนำออกมาใช้ก็ย่อมหมดไป พร่องไป และต้องมีการเติม กำลังเป็นสิ่งธรรมดา ไม่ว่าคุณหรือผู้เขียนจะเชื่อในทางไหนทางศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ก็ย่อมมีวิถีทาง ในการเติมต้นทุนชีวิตเช่นกัน ไม่ยากค่ะ ขอเพียงคุณตั้งใจ เราทุกคนสามารถต่อทุนชีวิตกันได้ทั้งนั้น โดยทางศาสนาด้วยการน้อมนำคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่ตั้ง รักษาศีลให้ได้อย่างน้อยก็ศีล ๕ มีความตั้งใจจริงต่อทุกสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างใช้สติทำ บุญทำ ทานตามศรัทธาความเชื่อ จากบรรพบุรุษ ทำดีต่อทุกคนรอบข้างอย่างจริงใจ รวมทั้งงานที่ตั้งอยู่ตรงหน้าอย่างรอบคอบ ใช้สติ เป็นเครื่องกำกับ มีกฎระเบียบเป็นกรอบทางเดิน มีเจตนารมณ์ที่ซื่อตรงซื่อสัตย์เป็นเกราะกำ บังตน ใช้ความรู้ความสามารถให้เต็มที่ให้สมกับที่ได้รํ่าเรียนมา คิดถึงเกียรติของตน ความสำ เร็จตามเป้าหมาย ของหน่วยงานเป็นธงชัยในการกำ หนดทิศทางที่สำคัญของให้เราท่านรู้ว่า บนทางเดินในการทำ งาน บางครั้งจำ เป็นต้องหาหนทางเพื่อไปถึงธง ทั้งที่มองเห็นว่าอาจมีจุดที่ต้องทำผิดอยู่บ้าง แต่ทุกอย่าง มีทางแก้ไข ให้ผิดเป็นถูกได้ที่เขียนมาทั้งหมดไม่ใช่สอนให้ใครคิดทุจริตเพราะนั่นคือบาป และหาก คุณพลาดทำ ไป นรกก็กำลังเปิดประตูรอคุณอยู่ข้างหน้า ขอบอกว่าที่นั่นมีจริง ต่อต้นทุนชีวิต F พลตรีหญิง พิรุณี เลขกิจสุนทร วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๖๓ สำ หรับในทางวิทยาศาสตร์นั้น แน่นอนว่าก็คือเงินตราที่จะบันดาลทุกอย่างให้คุณในชีวิต แต่อย่า ให้มันมาเป็นนายคุณเด็ดขาด เพราะถ้ามันเข้ามาเป็นนายคุณเมื่อไหร่ มันจะพาความเสียหายมาสู่คุณ ในที่สุด หนทางที่ดีที่สุดคือการน้อมนำคำสอนของพ่อในบางหัวข้อมาเป็นที่ตั้งในการดำ เนินชีวิตอาทิ รู้จักคิดพิจารณาในทุกครั้งที่มีคำว่าอยากว่าจำ เป็นหรือไม่มากน้อยเพียงใดขยันหาและมีการจัดสรร อย่างลงตัวให้เหมาะสมกับรายรับ รวมทั้งมีส่วนที่ต้องแบ่งเก็บ คุณไม่รู้หรอกว่าวันใดเหตุการณ์ไหน จะเกิดขึ้นกับคุณ และเมื่อถึงวันนั้นคุณจะรู้ว่านอก จากตัวคุณแล้วคุณจะไม่สามารถพึ่งพาใครได้เลย ตนคือที่พึงแห่งตนนั่นจริงที่สุด ว่าคนที่เรารักมากที่สุด และเราว่าเขารักเรามากที่สุด คุณมองดูเวลา คุณตายมีใครบ้างที่ยอมไปนอนเคียงข้างคุณในโลง ทำ ทุกอย่างด้วยตัวเอง เตรียมทุกอย่างเพื่อตัวเอง สำ หรับครอบครัวทำ ไว้ให้เขาตามหน้าที่และกำลังที่สามารถทำ ได้ความรู้การศึกษาคือสมบัติที่มีค่า ที่สุดสำ หรับลูก ส่วนภริยาตอนที่ยังมีลมหายใจให้ความรักความซื่อสัตย์เป็นสมบัติแก่เขา เพราะไม่ว่า จะนานแค่ไหนความรู้สึกที่ดีจะไม่มีวันลบเลือนไปจากใจไม่ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตาม สำ หรับตัวคุณคือการสร้างประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลทิ้งไว้ให้ดีที่สุด ถึงแม้วันหนึ่งทุกคนจะลืมคนชื่อนี้ นามสกุลนี้แต่ความดีความเลว ผลงานที่ปรากฏ มักถูกยกขึ้นมาเป็นเคสในการสนทนาเชิงเปรียบเทียบ เสมอ คุณว่าจริงมั้ย กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๖๔ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เกาะและทะเลไทย F พันโท รณเดชา แทบประสิทธิ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร ในพื้นที่อำ�เภอสัตหีบ นอกจากจะมีทะเลสวย ๆ ในเขตทหารแล้ว ยังมี พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ข้อมูลทางด้านเกาะและทะเลไทย วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๖๕ ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้อยู่ที่บริเวณเขาหมาจอ ตำ บล แสมสารอำ เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีที่เดียวกับจุดขึ้นเรือไป เกาะแสมสาร สามารถจัดโปรแกรมเที่ยวเกาะแสมสาร และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ควบคู่ กันไปได้ภายในวันเดียวเช่น เช้าเที่ยวเกาะแสมสารช่วงบ่าย เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เป็นการเที่ยวที่ได้เห็น ทั้งธรรมชาติของจริงและความรู้จากพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย จะมี อยู่ด้วยกัน ๕ อาคาร แต่ละอาคารจะอยู่สูงขึ้นไปด้านบน สำ หรับผู้สูงอายุอาจจะเดินชมพิพิธภัณฑ์ลำ บาก เพราะ ต้องเดินขึ้นบันไดตลอดทาง ก่อนจะเข้าชมในพิพิธภัณฑ์ ขอเล่าข้อมูลของพิพิธภัณฑ์นี้ให้ฟังแบบย่อๆกันก่อนครับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงวัตถุธรรมชาติ(ธรรมชาติ วิทยา) ทั้งในด้านธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์สัตว์ศาสตร์ ทางทะเลเป็นแห่งแรกในประเทศไทยจัดตั้งโดยกองทัพเรือ ตามแนวพระราชดำ ริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดให้บริการในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พื้นที่ของ พิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด ๑๖ ไร่ มีอาคารทั้งหมด ๕ อาคาร ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนเนินเขา ตรงข้ามกับเกาะแสมสาร ปัจจุบันเปิดให้เข้าชม ๔ อาคาร ได้แก่อาคาร ๑-๔ จะอยู่ เรียงกันไปไกลจากกันไม่มาก ส่วนอาคาร ๕ เป็นอาคาร ที่อยู่สูงสุด ไกลจากอาคาร ๔ พอสมควร ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาคารโล่ง ๆ ไม่มีการจัดแสดงเนื้อหาภายในอาคาร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะขึ้นไปชมวิวบนยอดเขาอาคาร ๕ การเข้าไปชมในแต่ละอาคารต้องถอดรองเท้าไว้ที่ ด้านหน้า ภายในอาคารติดแอร์ เย็นสบาย มีเจ้าหน้าที่ คอยบรรยายให้ความรู้ตลอดทาง อาคาร ๑ อาคารเทิดพระเกียรติมหาราช ภายใน จะแบ่งเป็น ๒ โซน โซนแรกเป็นการนำ เสนอวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีที่ทรงสืบทอด จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชปณิธาน “เดินตามรอยเท้า พ่อ” N เส้นทางที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จศึกษาธรรมชาติที่เกาะแสมสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๖๖ โซนที่สอง เป็นการจัดการแสดงมุ่งเน้นความสัมพันธ์ ระหว่างหิน ดิน และชีวิต อาทิกระบวนการเกิดดิน อนุภาคของดินที่เอื้อประโยชน์ต่อระบบนิเวศถัดจาก อาคารหลังที่ ๒ เดินขึ้นบันไดไปทางด้านบน จะเจอกับ อาคารหลังที่สอง อาคาร ๒ อาคารปวงปราชญ์ร่วมแรงใจ ภายใน แบ่งเป็น ๒ โซนเหมือนอาคารแรก มีจุดชมวิวหมู่บ้าน แสมสาร เกาะแรดที่ประตูด้านหลัง แต่วิวเห็นไม่ชัดเท่า ที่อาคาร ๕ ถ้าใครคิดว่าจะไม่เดินไปจนถึงอาคาร ๕ สามารถดูวิวที่อาคาร ๒ ทดแทนไปก่อนได้ โซนที่หนึ่ง ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของป ่า พรรณพืช และสัตว์ มีสาระเกี่ยวกับความหลากหลาย ทางชีวภาพ สังคมพืชป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ พืชที่พบจาก เกาะต่าง ๆ โซนที่สอง มุ่งเสนอในหัวข้อผู้ย่อยสลายในธรรมชาติ ได้แก่ ปลวก จุลินทรีย์ดิน เห็ดรา สัตว์หน้าดินในดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๖๗ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๖๘ อาคาร ๓ อาคารใฝ่เรียนรู้ผู้ฉลาด แบ่งเป็น ๒ โซน โดยในโซนแรก(โซน A) นำ เสนอเกี่ยวกับระบบนิเวศเกาะ เป็นนิทรรศการจำลองท้ายเรือรบมันนอก ขณะที่เรือแล่น ออกสู่ทะเลไปยังพื้นที่เกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย มากกว่า ๖๐ เกาะ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน พร้อมจัดแสดง อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานสำรวจและตู้นิทรรศการตัวอย่าง ของสิ่งมีชีวิต เช่น สองชีวิตในหนึ่งเดียว (ไลเคน) การปรสิต ชีวิตที่แอบแฝง เรื่องของหอยหายาก (หอยมรกต) กบ ที่พบบนเกาะ การอนุรักษ์แย้บนเกาะแสมสาร และนก ที่หายาก โซนที่สอง (โซน B) ระบบนิเวศชายฝั่ง จัดแสดง นิทรรศการเกี่ยวกับสำ รวจโลกชายฝั่ง บริเวณตั้งแต่ ชายหาดจนถึงไหล่ทวีป สำ รวจความอุดมสมบูรณ์และ ความหลากหลายของระบบนิเวศชายหาด ระบบนิเวศ ป่าชายเลน ระบบนิเวศหญ้าทะเล ระบบนิเวศปะการัง ประเภทชายหาด นิทรรศการแพลงก์ตอน นอกจากนี้ ยังจัดแสดงรวมไปถึงเรื่องโลกของหอย หญ้าทะเลที่พบใน ประเทศไทย และคลังความหลากหลายของสาหร่ายไทย อีกด้วย อาคาร ๔ อาคารพิฆาตความไม่ดีที่ประจักษ์ นิทรรศการทะเลไทย ๔.๐ ในทะเลไทยมีทรัพยากรอะไร บ้าง วิกฤตทะเลไทย บ้านร้างแห่งท้องทะเล การอนุรักษ์ พะยูน จังหวัดตรัง ๑๐ แหล่งท่องเที่ยวจากเขาหมาจอ สู่ทะเลแสมสาร และคลื่นพลาสติก ภัยร้ายจากพลาสติก วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
แหล่งข้อมูล • www.tis-museum.org/index_sub.html พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย อาคาร ๕ อาคารพิทักษ์ศักยภาพทะเลไทย เป็น ไฮไลท์ของการมาชมพิพิธภัณฑ์ฯ ในมุมสูง และเป็นจุด ชมวิวสามารถมองเห็นทัศนียภาพมุมกว้างของท้องทะเล สัตหีบ ท่ามกลางนํ้าทะเลสีฟ้า ๑๘๐ องศา ตรงข้ามจะ สามารถมองเห็นเกาะแสมสาร เกาะขาม เกาะแรด และ เกาะฉางเกลือ ซึ่งหมู่เกาะเหล่านี้จัดอยู่ใน ๙ หมู่เกาะ แสมสาร ส่วนอีก ๔ เกาะที่มองไม่เห็นจะอยู่ด้านหลังของ เกาะแสมสาร คือ เกาะโรงโขน เกาะโรงหนัง เกาะจวง และเกาะจาน ส่วนทางด้านหน้าจะมีเครื่องดื่มจำ หน่าย สำ หรับบริการนักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาเหนื่อย ๆ รวมแล้วใช้เวลาในการชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ วิทยาเกาะและทะเลไทย ประมาณ ๑ ชั่วโมงก็ครบแล้ว ครับ ถึงแม้ว่าตัวพิพิธภัณฑ์จะยังเปิดไม่ครบทั้ง ๕ อาคาร แต่ก็สนุกและได้ความรู้อย่างมาก เจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ ตั้งใจนำ เสนอและให้ข้อมูล วิวด้านบนสวยมากมองเห็น ทะเล และเกาะรอบ ๆ ได้อย่างชัดเจน ตัวพิพิธภัณฑ์ อยู่บนเนินเขาการเดินเข้าไปชมค่อนข้างลำ บากอาจ ไม่เหมาะสมกับเด็กเล็ก คนชรา ผู้พิการ ค่าเข้าชม เพียงคนละ ๕๐ บาท เท่านั้น ๖๙ สามารถติดต่อ ธุรการ (หมู่คณะ) โทร. ๐ ๓๘๔๓ ๒๔๗๑ กิจกรรม (จองกิจกรรมค่าย) โทร. ๐ ๓๘๔๓ ๒๔๗๓ ประชาสัมพันธ์โทร. ๐ ๓๘๔๓ ๒๔๗๕ Website : www.Tis-museum.org E - Mail : [email protected] www.samaesarnisland.com (จองตั๋วข้ามเกาะแสมสาร) คลิปวิดีโอ กิจกรรมบนชายหาด เกาะแสมสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
F สถาบันภาษากองทัพไทย TIP of the Day ๗๐ วารสาร กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖
TIP of the Day ๗๑ กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
กองบัญชาการกองทัพไทย NEWS IN HOME RTARF HQ
NEWS IN HOME ๗๓ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางเยือน สาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ในระหว่างวันที่ ๔-๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ อันดีของทั้งสองกองทัพ โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เดินทางไปยังกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ และได้ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมคำ นับเพื่อหารือข้อราชการกับ พลเรือโท Aaron Beng (แอรอน เบง) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เน้นยํ้าถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านกิจกรรม ต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งในด้านการฝึกร่วมแบบพหุภาคี ด้านไซเบอร์ การศึกษา การแลกเปลี่ยนข่าวกรอง และการ ส่งกำลังบำ รุง เพื่อประโยชน์ร่วมกัน และการรักษาความมั่นคงในภูมิภาค กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
NEWS IN HOME ๗๔ เมื่อวันที่ ๑๔-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ เดินทางเยือนเนการาบรูไนดารุสซาลาม (บรูไน) อย่างเป็นทางการ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพและ เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น The Most Exalted Order of Paduka Keberanian Laila Terbilang (D.P.K.T) จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ในการนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ได้เข้าร่วม พิธีสวนสนามรักษาพระองค์ ซึ่งกองทัพบรูไนได้จัดขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ ๗๗ พรรษา สมเด็จพระราชาธิบดี แห่งบรูไน จากนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น The Most Exalted Order of Paduka Keberanian Laila Terbilang (D.P.K.T) จากสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ซึ่งเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่สูงสุดในพระราชพิธีฯ ที่มอบให้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพมิตรประเทศ เพื่อเป็นเกียรติและแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพบรูไนและกองทัพมิตรประเทศ วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
NEWS IN HOME ๗๕ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ พลเรือเอก Yudo Margono ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอินโดนีเซีย ซึ่งเข้าเยี่ยมคำ นับเนื่องในโอกาสเดินทางเยือน ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกองทัพไทย พร้อมเข้าร่วมในพิธีตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ผสมสามเหล่าทัพ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
NEWS IN HOME ๗๖ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ กองบัญชาการกองทัพไทย จัดการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๖ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องศรียานนท์ ชั้น ๒ อาคาร ๑ สำ นักงานตำ รวจแห่งชาติ ถนนพระราม ๑ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
NEWS IN HOME ๗๗ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี โดยมี ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย และสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมแสดงความจงรักภักดีโดยพร้อมเพรียงกัน ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
NEWS IN HOME ๗๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วย คุณบุษกร ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมพิธีทำ บุญตักบาตรถวาย พระราชกุศล ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ จากนั้นในเวลา ๐๗.๔๕ นาฬิกา พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
NEWS IN HOME ๗๙ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บังคับบัญชา หัวหน้าส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย และสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการ กองทัพไทย เข้าร่วมแสดงความจงรักภักดีโดยพร้อมเพรียงกัน ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๘๐NEWS IN HOME เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วย คุณบุษกร ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพไทย เข้าร่วมพิธีทำ บุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ท้องสนามหลวง โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๘๑NEWS IN HOME เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ นาย Nagesh Singh (นาเคศ สิงห์) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินเดียประจำ ประเทศไทย เข้าเยี่ยมคำ นับ เพื่อแนะนำตัว ณ ห้องรับรอง ๖๒ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๘๒NEWS IN HOME เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก Tan Sri Dato’ Sri Haji Affendi bin Buang (ตัน ซรี ดาโตะ ซรี ฮัจญี อัฟเฟนดิ บิน บวง) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย และคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะ แขกของกองทัพไทย ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๘๓NEWS IN HOME กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน ในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย และโล่รางวัล เชิดชูเกียรติแก่ส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผลคะแนนการประเมินการปฏิบัติราชการดีเด่น ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องนเรศวร กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
๘๔NEWS IN HOMEวารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ กองบัญชาการกองทัพไทย จัดการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ ๖ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องนเรศวร กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
๘๕NEWS IN HOME ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมภริยา และคณะ เดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างเป็นทางการ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสองกองทัพ ในการนี้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะได้เดินทางไปวางพวงมาลา ณ อนุสรณ์สถานบั๊กเซิน และสุสานโฮจิมินห์ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและรำลึกถึงบุคคลสำคัญของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๘๖NEWS IN HOME พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้าร่วมการประชุม Chiefs of Defense (CHOD) Conference สำ หรับการประชุม CHOD เป็นการประชุมนานาชาติด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปี โดยในปี ๒๕๖๖ มีกองทัพฟีจีเป็นเจ้าภาพร่วมกับกองกำ ลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้น อินโด-แปซิฟิก ซึ่งการประชุม CHOD เป็นเวทีให้ผู้นำ ทางทหารและผู้นำ กองทัพของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ได้มีโอกาสพบปะหารือ แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นด้านความมั่นคงที่ท้าทายในภูมิภาค โดยในครั้งนี้มีผู้นำ ทางทหารเข้าร่วมประชุม จำ นวน ๒๘ ประเทศ ภายใต้หัวข้อหลัก “Preserving the Rules Based Order to enable Sovereignty in an Era of Strategic Competition in the Indo-Pacific Region” ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ สาธารณรัฐฟีจี พลเอก ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดผลงาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กองทัพไทย ประจำ ปี ๒๕๖๖ และพิธีมอบรางวัลการประกวดสื่อและ กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ประจำ ปี ๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องนเรศวร กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖
๘๗NEWS IN HOME พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้การต้อนรับ พลตรี William J. Hartman Commander of Cyber National Mission Force กองทัพสหรัฐอเมริกา ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำ นับเพื่อหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ทางด้านไซเบอร์ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องรับรอง ๑๒ กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พลเอก ธิติชัย เทียนทอง เสนาธิการทหาร และคณะ ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำ นวยการ และประสานงานความร่วมมือทางทหาร ระหว่าง กระทรวงกลาโหมไทย-กระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ประจำ ปี ๒๕๖๖ (Joint Australia-Thailand Defence Coordination Committee : JATDCC 2023) ระหว่างวันที่ ๘-๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖ วารสาร
๘๘NEWS IN HOME พลเอก กนกพงษ์ จันทร์นวล รองเสนาธิการทหาร เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมงานวันคล้าย วันพระราชทานกำ เนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ครบรอบ ๑๓๖ ปี โดยมี ประธานองคมนตรี ปลัดกระทรวง กลาโหม พร้อมด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันเข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนสุวรรณศร ตำ บลพรหมณี อำ เภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก พลเอก อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ รองเสนาธิการทหาร พร้อมคณะ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมบำ รุงขวัญ และตรวจ ติดตามผลการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ของสำ นักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดยมี พันเอก พงศธร บุญฟู รองผู้อำ นวยการสำ นักงานพัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ให้การต้อนรับ เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปการปฏิบัติงานของหน่วย เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ กองบัญชาการ สำ นักงาน พัฒนาภาค ๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อำ เภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ วารสาร กรกฏาคม - กันยายน ๒๕๖๖