The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สวัสดิการและสิทธิผลประโยชน์ที่ควรรู้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by iaudit.bmta, 2022-03-31 06:25:36

สวัสดิการและสิทธิผลประโยชน์ที่ควรรู้

สวัสดิการและสิทธิผลประโยชน์ที่ควรรู้

องค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ

เรอ่ื ง
สวัสดิการและสิทธผิ ลประโยชน์ทค่ี วรรู้

แลกเปล่ียนเรยี นรู้
โดย

สำนักตรวจสอบ

เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ
Corporate Social Responsibility : CSR

คำนำ

ปัจจุบันรัฐบาลได้มียุทธศาสตร์หลักที่นำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งยุทธศาสตร์
หนึ่งคือ ระบบการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) โดยระบบการบริหารจัดการที่ดีมีองค์ประกอบ
ที่สำคัญคือการถ่วงดลุ อำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อไม่เปิดโอกาสให้มีการใชอ้ ำนาจหน้าที่โดยมิชอบ และกลไก
หนึ่งที่จะทำหน้าที่ถ่วงดุลดังกล่าว และสามารถช่วยสนับสนุนในการให้บริการความเชื่อมั่น เพื่อให้เกิด
ผลสมั ฤทธิ์ของการบรหิ ารจัดการคือ “ระบบการตรวจสอบภายใน”

สำนักตรวจสอบเปน็ หน่วยงานขึน้ ตรงผู้อำนวยการองค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ และมีสาย
การบังคับบัญชาตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และการตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือที่สำคัญของ
ผู้บริหาร เพื่อกำกับดูแลกิจการที่ดี อีกทั้งยังมีหน้าที่บริการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Service) และ
บริการให้คำปรึกษา (Consulting Service) อย่างเที่ยงธรรม และเป็นอิสระ โดยนำวิธีการที่เป็นระบบมา
ประเมิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการควบคุมภายใน ระบบบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการได้ถูก
จัดให้มีขึ้นเป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ และเปา้ หมายทว่ี างไวอ้ ยา่ งยัง่ ยืน และมจี ริยธรรม

เพอ่ื ใหส้ อดคล้องกบั หนา้ ที่ความรบั ผดิ ชอบของสำนักตรวจสอบ จงึ ไดจ้ ดั ทำคู่มือแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ เรื่องสวัสดิการและสิทธิผลประโยชน์ที่ควรรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานด้าน Corporate
Social Responsibility : CSR เพื่อกระตุ้นการรับรู้ใหผ้ ู้บริหาร พนักงาน และผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงหนา้ ที่
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละด้านของ (Compliance) ตั้งแต่หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง
ระเบียบ ข้อบงั คบั คมู่ อื คำสั่งที่เก่ยี วขอ้ ง ในเรื่องสวสั ดกิ ารและสิทธิผลประโยชนท์ ค่ี วรรู้

สำนักตรวจสอบ จัดทำ
กมุ ภาพนั ธ์ 2565

แลกเปลยี่ นเรียนรู้
สวสั ดกิ ารและสทิ ธิผลประโยชน์ท่คี วรรู้

มาทำความร้จู ักกับ หนงั สือเวียนกระทรวงการคลัง ระเบียบ ขอ้ บงั คบั คำส่งั และบันทกึ สงั่ การที่เกี่ยวข้องกับ
สวัสดกิ ารและสทิ ธผิ ลประโยชน์ท่ีพนกั งานองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพควรรู้

นโยบายการบรหิ ารทรัพยากรบคุ คล

ประกาศองคก์ ารขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เรอื่ ง นโยบายการบริหารทรัพยากรบคุ คล
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหาร และพัฒนา
ทรัพยากรบุคคล และให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหาร
ทรัพยากรบุคคลขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม
นโยบาย เพื่อบรรลุความสำเร็จสอดคล้องกับเจตนารมณ์การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดี จึงได้กำหนดนโยบาย
การบรหิ ารทรพั ยากรบคุ คลขนึ้ เพ่อื ใชเ้ ป็นกรอบแนวทางในการบรหิ ารทรัพยากรบคุ คลขององค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ ดงั น้ี
๑. การกำหนดตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง ให้มีการวางแผนกำลังคนที่เหมาะสม
มุ่งสรรหาบุคลากรด้วยระบบการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ
คุณลักษณะตามที่กำหนดและให้ยึดประโยชนผ์ ลสำเรจ็ ขององคก์ รเป็นสำคญั
๒. การพัฒนาบุคลากร ให้มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีเหมาะสมเชื่อมโยงกับ
สมรรถนะ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมรับภารกิจ และ
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยมุ่งพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญ ปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม
การเรียนรู้พฒั นางานอยา่ งต่อเนือ่ ง การมุ่งเนน้ ผลสัมฤทธอิ์ ยา่ งท่วั ถึงท้ังองค์กร
๓. การรักษาไว้ และการจูงใจให้มีการวางแผนมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิต ให้มีความสมดุล
โดยการสร้างสภาพแวดล้อม ระบบวิธีการทำงานที่ดี มีเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน มีการวางแผน
เตรียมความพร้อมบุคลากรที่จะดำรงตำแหน่งสำคัญในอนาคต มีการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศบุคลากร
มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ส่งผลให้ได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้อง
กบั ผลการปฏบิ ัติงานเพือ่ รักษาไว้ซึง่ บคุ ลากรท่มี ีศกั ยภาพสูง
๔. การใช้ประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมีหน้าที่ ในการบริหารทรัพยากรในหน่วยงานให้
เกิดความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบตั ิ รวมท้งั ควบคมุ และกำกบั ดแู ล ให้การปฏิบัตงิ านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
หากพบว่าผูใ้ ตบ้ ังคบั บญั ชากระทำความผดิ หรือทจุ ริตใหร้ ายงานผบู้ ริหารทราบ
จึงประกาศมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ประกาศ ณ วันท่ี 27 เดอื นกมุ ภาพนั ธ์ พุทธศักราช 2563

2

เจตนารมณก์ ารปอ้ งกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรีอคกุ คามทางเพศในการทำงาน

ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เรอ่ื ง เจตนารมณก์ ารป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรอี คุกคามทางเพศในการทำงาน

ตามหนังสือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ พม .๕๐๔/๖๘๘๐๙
ลงวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเม่ือวันท่ี ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ เห็นชอบร่างมาตรการ
ในการปอ้ งกนั และแกไ้ ขปัญหาการลว่ งละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานใหส้ ่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน ดำเนินการตามมาตรการใหถ้ ูกต้องและทัว่ ถึง และกระทรวงคมนาคมให้สว่ นราชการและรัฐวิสาหกจิ
ในสังกัดจัดทำประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศใน การทำงาน
ตามแนวทางการดำเนินงานของ พม. น้นั

ในการน้ี เพ่อื ใหก้ ารดำเนนิ การเป็นไปตามมาตรการดงั กลา่ วขา้ งต้น คณะผู้บรหิ าร พนักงานและ
บุคลากรทุกคนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่าง
บุคคล และสร้างองค์กรที่ปราศจากการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศในการทำงานด้วยการปฏิบัติต่อกันอย่าง
ให้เกยี รติและเคารพซง่ึ กันและกัน และไมก่ ระทำการใดท่ีเปน็ การลว่ งละเมิดหรอี คุกคามทางเพศต่อผู้บังคับบัญชา
ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลูกจ้าง และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการติดต่อประสานงานหรือดำเนินงานร่วมกับ
องค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ

ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการทำงานดงั กล่าว องคก์ ารขนสง่ มวลซนกรุงเทพจะดำเนนิ การ ดงั นี้

๑. บริหารงานและปฏิบัติงานบนหลักแห่งความเสมอภาค ให้เกียรติซึ่งกันและกันเคารพในศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างเพศ ไม่กระทำการอันเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ต่อบุคคลด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องของเพศ และไม่กระทำการใดที่เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการทำงาน

๒. สร้างวัฒนธรรมองคก์ ร และปลกู ฝงั ค่านิยมใหแ้ ก่คณะผู้บรหิ าร พนกั งาน และบคุ ลากรทุกคน
ขององค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ ใหป้ ฏบิ ัติตอ่ กันโดยให้เกียรติซงึ่ กันและกันและเคารพในศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์

๓. สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศท่ีดีภายในองค์กร และส่งเสริมความปลอดภัยไม่ให้ถูก
ลว่ งละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ให้แก่คณะผู้บริหาร พนักงาน และบคุ ลากรทุกคน และบคุ คลท่ีเก่ียวข้อง
หรอื ดำเนนิ งานรว่ มกบั องค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ

4. สร้างกลไกและกระบวนการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
ในการทำงาน เพ่ือมิใหม้ กี ารลว่ งละเมดิ หรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

ประกาศ ณ วนั ท่ี ๓ เดอื นกันยายน พุทธศกั ราช ๒๕๖๓

3

กำหนดอตั ราการเกบ็ ผลประโยชน์ดอบแทนในการจัดหาประโยชน์ในทรพั ย์สินขององค์การ
ประกาศองค์การชนสง่ มวลชนกรุงเทพ

เรอ่ื ง กำหนดอัตราการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนในการจัดหาประโยชน์ในทรพั ย์สินขององค์การ
เพื่อให้การเก็บผลประโยชน์ตอบแทนในการจดั หาประโยชน์ในทรพั ย์สินขององค์การขนส่งมวลชน

กรงุ เทพ เป็นไปดว้ ยความเรียบร้อย ถูกต้อง และเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 1๒ ของระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่าด้วยการจัดหา

ประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์การ พ.ศ. ๒๕59 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ
จงึ ให้ดำเนนิ การเป็น ๒ กรณี ดังนี้

1. กรณีที่มีการแข่งขันราคา "อัตราผลประโยชน์ตอบแทน ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าตอบแทนเดมิ
หรือตามที่ผู้อำนวยการเหน็ สมควร" ไดแ้ ก่

1.1 การให้สทิ ธิตดิ ภาพโฆษณา
๑.2 การให้สิทธอิ น่ื ๆ ตามทีผ่ ู้อำนวยการเห็นสมควร
2. กรณที ไ่ี ม่มกี ารแข่งขันราคา อัตราผลประโยชนต์ อบแทน แบง่ เป็น ๔ กรณี
2.1 กรณีเพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงาน เช่น การเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายอาหาร เครื่องด่ืม
ร้านเสรมิ สวย รา้ นตัดผม หรอื ของเบด็ เตล็ด ไม่รวมคา่ ไฟฟ้า นำ้ ประปา ให้เรยี กเกบ็ ดงั นี้

๒.๑.1 ไมต่ ่ำกว่าตารางเมตรละ 1๔0 บาทต่อเดือน
2.1.2 ไมต่ ำ่ กว่าอัตราเดมิ หากอัตราเดิมสงู กว่าข้อ ๒.๑.๑
2.1.3 ค่าไฟฟา้ และน้ำประปา เก็บตามทีใ่ ช้จรงิ ในอตั ราทกี่ ารไฟฟา้ และการประปากำหนด
๒.๒ กรณีเชา่ พนื้ ทเ่ี ป็นรายวนั
2.2.1 ใหเ้ รียกเกบ็ ค่าตอบแทนเหมาจ่าย ไมต่ ่ำกวา่ ๕00 บาทต่อวนั
๒.๒.๒ ใช้ไฟฟ้าเหมาจา่ ยเพ่มิ อกี ๕0 บาทต่อวนั
2.2.3 ใชน้ ้ำประปาเหมาจา่ ยเพมิ่ อกี ๕0 บาทต่อวนั
๒.๓ กรณเี ช่าพืน้ ทีเ่ พือ่ การพาณชิ ย์ ไดแ้ ก่
2.3.1 ติดตั้งตู้ ATM ตูเ้ ติมเงิน ตู้หยอดเหรียญ ตดิ ตงั้ สถานโี ทรศัพท์เคล่ือนท่แี ละอ่ืน ๆ
ท่ีมีลักษณะเดียวกัน ให้เรียกเก็บค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่าตารางเมตรละ 1,000 บาทต่อเดือน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตรา
ค่าตอบแทนเดิมทีเ่ รียกเก็บ หรอื ตามท่ีคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอเห็นสมควร ไมร่ วมค่าไฟฟ้าหรือค่านำ้ ประปา
2.3.2 พื้นที่จอดรถ ให้เรียกเก็บค่าตอบแทนตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่ต่ำกว่า
อตั ราคา่ ตอบแทนเดมิ ทเ่ี รยี กเกบ็ หรือตามทผี่ ูอ้ ำนวยการเหน็ สมควร
2.3.3 ติตตั้งโทรศัพท์สาธารณะ ให้เรียกเก็บค่าตอบแทนส่วนแบ่งรายได้ไม่น้อยกว่า
รอ้ ยละ ๑0 จากยอตรายได้มเิ ตอรต์ อ่ เคร่ืองต่อเดือน
2.3.4 ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ให้เรียกเก็บตามที่ใช้จริง ในอัตราที่การไฟฟ้าและ
การประปากำหนด
๒. ๔ กรณหี นว่ ยราชการ รัฐวสิ าหกิจ โรงเรยี น วดั องค์การสาธารณกุศลที่มีไดม้ ุ่งแสวงหากำไร
ใหเ้ รยี กเก็บค่าตอบแทนตามท่ผี ู้อำนวยการเหน็ สมควร
การปรับปรุงอตั ราผลประโยชน์ตอบแทนให้เรยี กเกบ็ คา่ ตอบแทนเพิ่มข้นึ ตามความเหมาะสม
ท้ังน้ี ตงั้ แตบ่ ดั นีเ้ ปน็ ต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 7 กมุ ภาพนั ธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๒

4

ประกาศองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรุงเทพ
เรอื่ ง กำหนดอัตราการเก็บผลประโยชน์ตอบแทนในการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์การ

(แก้ไขคร้ังที่ 1/2563)
เพื่อให้การจัดเก็บผลประโยชน์ตอบแทนในการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์การขนส่ง
มวลซนกรุงเทพ เปน็ ไปด้วยความเรียบรอ้ ย ถกู ต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 12 ของระเบียบบริหารทรัพยส์ ินขององค์การขนส่งมวลซนกรุงเทพ
ว่าด้วยการจัดหาประโยขน์ในทรัพย์สินขององค์การ พ.ศ.2559 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหาร
กจิ การองคก์ าร จงึ ใหด้ ำเนนิ การแก้ไขประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ เร่อื ง กำหนดอตั ราการเก็บผลประโยชน์
ตอบแทนในการจดั หาประโยซนใ์ นทรพั ย์สนิ ขององคก์ าร สัง่ ณ วันที่ 7 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.2562 ดงั นี้
ขอ้ ความเดมิ ขอ้ 2.1 กรณีเพอ่ื เป็นสวสั ดกิ ารของพนักงาน เชน่ การเช่าพนื้ ทีเ่ พื่อจำหน่าย อาหาร
เคร่อื งดื่ม รา้ นเสรมิ สวย ร้านตดั ผม หรือของเบ็ดเตลด็ ไม่รวมคา่ ไฟฟา้ น้ำประปา ให้เรียกเกบ็ ดงั น้ี

2.1.1 ไม่ต่ำกว่าตารางเมตรละ 150 บาทตอ่ เดือน
2.1.2 ไม่ต่ำกวา่ อัตราเดมิ หากอตั ราเดมิ สงู กว่าข้อ 2.1.1
2.1.3 ค่าไฟฟ้า และน้ำประปา เก็บตามที่ใช้จริง ในอัตราที่การไฟฟ้า
และการประปากำหนด
แก้ไขเป็น ข้อ 2.1 กรณีเพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงาน เช่น การเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่าย
อาหาร เคร่ืองด่ืม รา้ นเสรมิ สวย ร้านตดั ผม หรอื ของเบ็ดเตล็ด ไมร่ วมคา่ ไฟฟ้า นำ้ ประปา ใหเ้ รยี กเกบ็ ดังน้ี
2.1.1 ไม่ตำ่ กว่าตารางเมตรละ 150 บาทตอ่ เดอื น หรอื ตามที่ผู้อำนวยการ
เห็นสมควร
2.1.2 ค่าไฟฟ้า และน้ำประปา เก็บตามที่ใช้จริง ในอัตราที่การไฟฟ้า
และการประปากำหนด
ทั้งนี้ ต้ังแตบ่ ดั น้เี ปน็ ต้นไป
ประกาศ ณ วันท่ี 19 เดอื นกมุ ภาพันธ์ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖3

5

กองทนุ ความปลอดภยั เพ่ือลดและปอ้ งกันอุบัติเหตุจากรถยนต์โดยสาร

ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เรือ่ ง กองทุนความปลอดภยั เพ่ือลดและปอ้ งกันอุบัติเหตจุ ากรถยนตโ์ ดยสาร
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ครั้งที่ 13/2554
ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2554 อนุมัติให้จดั ทำประกันภัยรถยนตแ์ ละรถจักรยานยนต์ ปี 2555 โดยมีเงื่อนไขการ
จัดตั้งกองทุนความปลอดภัยเพื่อลดและป้องกันอุบตั ิเหตุจากรถยนต์โดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จึงให้
กำหนดดังน้ี
ข้อ 1 กองทนุ นี้เรียกวา่ "กองทุนความปลอดภยั เพ่อื ลดและปอ้ งกันอบุ ตั ิเหตุจากรถยนต์โดยสาร"
ข้อ 2 กองทุนน้ใี ห้ใชบ้ งั คับตงั้ แตว่ นั ท่ี 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
ข้อ 3 คำนยิ าม

"องคก์ าร" หมายความวา่ องค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
"ผู้อำนวยการ" หมายความวา่ ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ
"บรษิ ทั " หมายความว่า บรษิ ทั ประกนั วนิ าศภยั ตามกฎหมายว่าดว้ ยการประกันวินาศภัย
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนความปลอดภัยเพื่อลดและป้องกันอุบัติเหตุจากรถยนต์
โดยสาร
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภยั เพื่อลดและ
ปอ้ งกนั อบุ ัตเิ หตุจากรถยนตโ์ ดยสาร

หมวด 1
ข้อความท่ัวไป
ข้อ 4 กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยและเป็นทุนสนับสนุนให้รางวัลกับ
พนักงานขับรถท่ขี ับรถไม่เกิดอุบัติเหตุ
ข้อ 5 กองทุนประกอบดว้ ยเงนิ ดังน้ี
(1) เงินสนับสนนุ จากบริษทั เพ่ือให้องคก์ ารในการจดั ตงั้ กองทนุ
(2) เงนิ ค่าเสียหายส่วนแรก ทพี่ นักงานขับรถต้องรับผิดชอบ ที่บรษิ ัทโอนคืนให้แก่องค์การ
หลังจากที่ได้รับเงินจากองคก์ ารแลว้ ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันทีบ่ ริษัทได้รับเงินจากองคก์ าร หรือตามวิธกี าร
ที่องค์การและบรษิ ัทจะทำบนั ทึกขอ้ ตกลงเพิ่มเติมตอ่ กันภายหลงั
(3) เงินหรือทรัพย์สินอ่นื ท่ีมีผมู้ อบให้
(4) ดอกผลของเงินหรือทรพั ยส์ ินของกองทุน

หมวด 2
คณะกรรมการและการบรหิ ารกองทนุ
ข้อ 6 ใหม้ ีคณะกรรมการคณะหนึง่ เรยี กว่า "คณะกรรมการบรหิ ารกองทุนความปลอดภยั เพื่อลด
และปอ้ งกนั อบุ ตั ิเหตุจากรถยนต์โดยสาร" ประกอบดว้ ย รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร เป็นประธานคณะกรรมการ
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการเดนิ รถองค์การ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการเดินรถเอกชนร่วมบริการ ผู้ช่วยผูอ้ ำนวยการ
ฝ่ายบรหิ าร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝา่ ยการเดนิ รถองคก์ าร 1 2 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการเดนิ รถเอกชนร่วมบริการ
ผู้แทนฝ่ายสหภาพแรงงานจำนวน 10 คน เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย เป็นกรรมการและ

6

เลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบัญชีและกองทุนกลาง ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเดินรถและ หัวหน้างาน
อบุ ตั ิเหตุ สำนกั กฎหมายเปน็ ผชู้ ว่ ยกรรมการและเลขานุการ

ข้อ 7 ให้คณะกรรมการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละหนึ่งครั้ง ถ้ามีเหตุผลและความ
จำเป็นอาจประชุมกันมากกว่าไตรมาสละหนึ่งครั้งก็ได้ และในการประชุมต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า
กึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานที่ประชุมเป็น
ผู้ออกเสยี งชข้ี าด

ข้อ 8 ใหค้ ณะกรรมการมอี ำนาจหน้าท่ดี ังตอ่ ไปนี้
(1) กำหนด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การใช้เงินกองทุนเป็นเงินช่วยเหลือ เงินอุดหนุน

หรือค่าใชจ้ า่ ยเพ่อื ลดและป้องกนั อบุ ตั ิเหตุจากรถยนตโ์ ดยสารตามโครงการหรือแผนงานขององค์การ
(2) พิจารณาจัดสรรเงนิ กองทนุ เพ่ือใชต้ ามวตั ถุประสงคท์ ่ีกำหนด
(3) กำหนด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การสนับสนุนให้รางวัลกับพนักงานขับรถที่ขับรถ

ไม่เกิดอบุ ตั เิ หตุ
(4) อนมุ ัติให้ใชเ้ งินกองทุนตามวัตถปุ ระสงค์

ข้อ 9 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อให้ปฏบิ ตั หิ น้าท่ีตามท่ีคณะกรรมการมอบหมาย
หมวด 3

การรับเงิน และการเก็บรักษาเงิน
ข้อ 10 การรับเงนิ และการเก็บรักษาเงินของกองทุนให้ดำเนนิ การดังน้ี

(1) รบั เป็นเงนิ สด เชค็ หรือดรา๊ ฟ
(2) โดยการโอนเงนิ หรอื โดยวิธีอน่ื ตามแบบและวธิ กี ารทีค่ ณะกรรมการกำหนด
ข้อ 11 เพื่อประโยชน์ในการบริหารเงินกองทุน ให้สำนักบัญชีและกองทุนกลาง เปีดบัญชีเงิน
ฝากธนาคารทเี่ ปน็ ธนาคารพาณิชย์หรอื ตามทีค่ ณะกรรมการกำหนดในนามของกองทนุ ความปลอดภยั เพ่อื ลดและ
ป้องกนั อุบัตเิ หตจุ ากรถยนต์โดยสาร
ข้อ 12 เงินที่กองทุนได้รับให้สำนักบัญชีและกองทุนกลาง นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้
ภายในวนั ที่ไดร้ บั หรอื อย่างช้าภายในวันทำการถัดไป

หมวด 4
การจ่ายเงินและการอนมุ ตั ิสัง่ จา่ ย
ข้อ 13 การจา่ ยเงนิ จากกองทุนให้จ่ายได้ในกรณีต่อไปน้ี
(1) เปน็ เงินชว่ ยเหลือ เงนิ อดุ หนนุ หรือค่าใช้จ่ายเพอื่ ลดและป้องกันอุบตั ิเหตจุ ากรถยนต์
โดยสารตามโครงการหรือแผนงานขององค์การ
(2) เป็นเงนิ สนับสนนุ ให้รางวัลกบั พนักงานขับรถที่ขับรถไม่เกิดอุบตั ิเหตุ
(3) เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับ
การจดั กจิ การของกองทนุ ตามอตั ราหลกั เกณฑห์ รือวธิ กี ารท่ีคณะกรรมการกำหนด
ขอ้ 14 การจ่ายเงินจะต้องมหี ลักฐานการจ่ายไวเ้ พอื่ ประโยชนใ์ นการตรวจสอบ
ข้อ 15 การจา่ ยเงนิ ให้แก่ผู้รบั เงนิ ทุกครั้ง จะต้องจ่ายเป็นเชค็ ผา่ นบญั ชีเงินฝากธนาคารของกองทุน

7

ในการจ่ายเงนิ ตามข้อ 13(3) คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องยืมเงินทดรองจ่าย และนำหลักฐานหักล้างเงินยืม
ทดรองจา่ ยภายใน 15 วนั

ข้อ 16 การอนุมัติการจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารกองทุน สำหรับการ
จ่ายเงินตามข้อ 13 ให้คณะกรรมการบริหารกองทุน แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการและ
เลขานุการ และกรรมการอีกจำนวน 4 คน เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงิน และลงลายมือชื่อในหลักฐานการ
จา่ ยหรือใบสำคญั จ่าย

ขอ้ 17 การจ่ายเงินกองทนุ น้ี ให้จ่ายเป็นเช็ค และเขยี นสง่ั จา่ ยในนามผูม้ ีสิทธิรับเงนิ ขีดฆ่าคำวา่
"ผ้ถู อื "

ข้อ 18 การสั่งจ่ายเงินกองทุน ให้คณะกรรมการผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินตามข้อ 16
ลงลายมอื ชือ่ ร่วมกนั อย่างนอ้ ย 2 คน โดยตอ้ งมีกรรมการและเลขานกุ ารร่วมลงลายมอื ชอ่ื ดว้ ย

หมวด 5
การบัญชีและการตรวจสอบ
ขอ้ 19 ใหส้ ำนกั บัญชีและกองทนุ กลาง จัดให้มีและดำเนินการตามบญั ชแี สดงฐานะการเงินของ
กองทุนเป็นประจำทุกเดือนเสนอต่อคณะกรรมการภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป และต้องเก็บรักษาเอกสาร
ประกอบบัญชนี นั้ ไวด้ ว้ ย
ข้อ 20 การปิดบัญชีให้สำนักบัญชีและกองทุนกลางกระทำปีละครั้งตามปีงบประมาณ และให้
จดั ทำฐานะการเงินของกองทนุ พร้อมรายละเอียดประกอบเสนอผู้อำนวยการภายใน 60 วนั นบั แต่วันถัดจากวัน
สิ้นปงี บประมาณ

บทเฉพาะกาล
ข้อ 21 การยกเลกิ กองทนุ ใหอ้ ยใู่ นอำนาจของคณะกรรมการบริหารกองทุนซึง่ จะเป็น ผู้กำหนด
การยกเลกิ กองทุน และจดั สรรการใช้เงินหรือทรัพยส์ นิ ท่ีคงเหลืออยตู่ ามแตส่ มควร
ประกาศ ณ วนั ท่ี 5 เดอื นมนี าคม พุทธศกั ราช 2555

ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เรอื่ ง กองทนุ ความปลอดภยั เพือ่ ลดและปอ้ งกันอบุ ัติเหตจุ ากรถยนต์โดยสาร

(แก้ไขคร้ังที่ 1 พ.ศ.2555)
ตามทีอ่ งค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ ได้จัดต้ังกองทนุ ความปลอดภัยเพอ่ื ลดและป้องกันอุบัติเหตุ
จากรถยนตโ์ ดยสาร เมื่อวนั ท่ี 5 มีนาคม 2555 ใช้บงั คับตัง้ แต่วนั ท่ี 1 มกราคม 2555 นัน้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดต้ังองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
พุทธศักราช 2519 จึงให้แก้ไข เรื่อง กองทุนความปลอดภัยเพื่อลดและป้องกันอุบัติเหตุจากรถยนต์โดยสาร
ดงั ตอ่ ไปน้ี
ข้อ 1 แกไ้ ขขอ้ ความในหมวด 2 ขอ้ 6 บรรทดั ที่ 6 และ 7 จากข้อความว่า “ผอู้ ำนวยการสำนัก
บัญชแี ละกองทุนกลาง ผอู้ ำนวยการสำนักบริหารการเดินรถ และหวั หน้างานอุบัติเหตุสำนักกฎหมาย เป็น ผู้ช่วย
กรรมการและเลขานุการ” เปน็ “ผู้อำนวยการสำนักบัญชแี ละกองทุนกลาง ผอู้ ำนวยการสำนักบริหารการเดินรถ
และหวั หนา้ งานอบุ ัติเหตุสำนกั กฎหมาย เปน็ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานกุ าร”

8

ขอ้ 2 ใหใ้ ช้ต้ังแต่บัดนเ้ี ป็นตน้ ไป
ประกาศ ณ วันที่ 18 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2555

ประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ
เร่อื ง กองทุนความปลอดภัยเพอื่ ลดและป้องกันอุบตั เิ หตจุ ากรถยนต์โดยสาร

(แก้ไขคร้ังท่ี 1 พ.ศ. 2562)
ตามท่ีองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ ไดจ้ ดั ตั้งกองทุนความปลอดภยั เพือ่ ลดและป้องกันอุบัติเหตุ
จากรถยนต์โดยสาร เมื่อวันที่ 5 มนี าคม 2555 นัน้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26(2) แหง่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
พ.ศ. 2519 จึงให้แก้ไขประกาศองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เรื่อง กองทุนความปลอดภัยเพื่อลดและป้องกัน
อบุ ัติเหตจุ ากรถยนตโ์ ดยสาร ดงั ต่อไปนี้
ข้อ 1. ใหย้ กเลิกข้อความในข้อ 6 ของประกาศองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงเทพ เร่ืองกองทนุ ความ
ปลอดภยั เพือ่ ลดและป้องกันอุบัตเิ หตจุ ากรถยนตโ์ ดยสารเสยี ท้ังส้นิ และใหใ้ ชข้ ้อความตอ่ ไปนแ้ี ทน

“ข้อ 6 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารกองทนุ ความปลอดภัย
เพื่อลดและป้องกันอุบัติเหตุจากรถยนต์โดยสาร” ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ เป็นประธานกรรมการ รอง
ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถองค์การ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถอกชนรว่ มบริการ
ผู้ชว่ ยผูอ้ ำนวยการฝ่ายบริหาร ผชู้ ่วยผ้อู ำนวยการฝา่ ยการเดินรถองค์การ 1 2 ผู้ชว่ ยผูอ้ ำนวยการฝ่ายการเดินรถ
เอกชนร่วมบรกิ าร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายแผนและพัฒนา ผู้อำนวยการเขตการเดนิ รถที่ 1-8 ผู้แทนฝ่ายสหภาพ
แรงงานจำนวน 10 คน ผู้แทนบริษัทประกันภัย เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย เป็นกรรมการและ
เลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบัญชีและกองทุนกลาง ผู้อำนวยการสำนักบริหารการเดินรถ หัวหน้างานอุบัติเหตุ
สำนกั กฎหมาย เป็นกรรมการและผ้ชู ว่ ยเลขานกุ าร”

ขอ้ 2. ให้ใชต้ ้งั แต่บดั น้เี ปน็ ต้นไป
ประกาศ ณ วนั ที่ 30 เดอื นเมษายน พุทธศักราช 2562

9

สิทธใิ นเงนิ ประกนั ความเสียหายแกท่ รพั ย์สินขององค์การ
ระเบียบองค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ

ว่าดว้ ย เงินประกันและผู้คำ้ ประกนั ของพนักงาน พ.ศ. 2562
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ พ.ศ. 2519 จึงใหอ้ อกระเบียบไว้ ดังตอ่ ไปน้ี
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกัน
ของพนกั งาน พ.ศ. 2562
ขอ้ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้ตง้ั แตบ่ ัดน้ีเปน็ ตน้ ไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของ
พนกั งาน ดงั น้ี

3.1 ระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของพนักงาน
พ.ศ. 2556 ลงวนั ที่ 18 ธนั วาคม พ.ศ. 2556

3.2 ระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ว่าด้วยเงินประกันและผู้ค้ำประกันของพนักงาน
(แก้ไขเพม่ิ เติมคร้งั ท่ี 1) พ.ศ. 2559 ลงวนั ท่ี 25 มนี าคม พ.ศ. 2559

รวมทัง้ บรรดาขอ้ ความ และคำส่ังอ่ืนใดที่ขดั หรอื แย้งกบั ระเบียบน้ี ให้ใช้ระเบยี บน้ีแทน
ขอ้ 4 ในระเบียบนี้
"องคก์ าร" หมายความว่า องค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
"ผูอ้ ำนวยการ" หมายความว่า ผอู้ ำนวยการองคก์ ารขนส่งมวลชนกรงุ เทพ
"พนกั งาน" หมายความว่า พนักงานและลกู จ้างองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
"เงนิ ประกัน" หมายความว่า เงินที่องค์การเรียกเก็บจากผู้ที่จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน
รวมทั้งเงินที่เรียกเก็บในภายหลัง เพื่อเป็นหลักประกันความเสียหายที่พนักงานจะกระทำให้เกิดขึ้นแก่องค์การ
หรือบุคคลภายนอกท่ีองคก์ ารตอ้ งรบั ผดิ ชอบไมว่ า่ จะเปน็ ความเสยี หายทางทรัพยส์ ินหรอื ความเสยี หายอื่นใด
"ผู้ค้ำประกนั " หมายความว่า บุคคลที่ทำสัญญาค้ำประกันกับองค์การว่าจะจ่ายเงินให้แก่
องค์การในกรณีที่พนักงานที่ตนประกันกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินขององค์การ หรือแก่
บุคคลภายนอกทีอ่ งคก์ ารตอ้ งรบั ผิดชอบ
"พนักงานการเงิน ตำแหน่งหัวหนา้ งาน หรือเทียบเท่าขึน้ ไป" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนัก
บัญชีและกองทุนกลาง ผู้อำนวยการเขต ผู้ชว่ ยผอู้ ำนวยการสำนักบัญชีและกองทุนกลาง และผชู้ ว่ ยผู้อำนวยการเขต
หัวหน้ากลุ่มงานบัญชี หัวหน้ากลุ่มงานการเงินและกองทุนกลาง หัวหน้ากลุ่มงานบัญชีและการเงิน หัวหน้ากลุ่ม
ปฏบิ ตั ิการเดินรถ หัวหนา้ งานบริหารการเงิน หัวหน้างานการเงิน หัวหนา้ งานธรุ การปฏบิ ัติการเดินรถ หัวหน้างาน
รบั จ่าย ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงตำแหน่งทม่ี ีลักษณะเดียวกันด้วย
"พนักงานการเงิน ตำแหน่งต่ำกว่าหัวหน้างานลงมา" หมายความว่า พนักงานการเงินและบัญชี
พนักงานที่มีคำสัง่ ใหม้ หี น้าที่รับ-จา่ ยเงินเปน็ ประจำ พนักงานทีม่ ีคำสงั่ ใหม้ หี นา้ ทรี่ บั -จา่ ยเงินสดหรอื ตว๋ั เงิน
ข้อ 5 ให้ผู้ที่จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานทุกคน นำเงินประกันมามอบให้องค์การยึดไว้ และ
นำบุคคลอื่นมาทำสัญญาค้ำประกันตามแบบสัญญาที่ผู้อำนวยการกำหนด ทั้งนี้ตามวงเงินและวิธีการในบัญชี
แนบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็น ผู้อำนวยการจะผ่อนผันให้นำเงินประกันมาวางเป็นคราวๆ ภายใน
ระยะเวลา และเง่ือนไขท่กี ำหนดเปน็ การเฉพาะรายก็ได้

10

วงเงินประกันการเรียกเก็บเงินประกันรายเดือนและวงเงินค้ำประกันสำหรับพนักงานที่ได้รับ
การแต่งตั้งก่อนวันใช้ระเบียบนี้ให้ใช้วงเงินประกันเดิม เว้นแต่พนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
บรรจุใหม่ หลังระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามวรรคสาม หรือวรรคสี่ แล้วแต่กรณี ให้ถือปฏิบัติตามบัญชีแนบท้าย
ระเบียบฉบับนี้

ในกรณีที่พนักงานผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งที่มีวงเงนิ ประกัน และหรือวงเงินค้ำประกัน
สูงกว่าตำแหน่งเดิมให้เรียกเก็บเงินประกันรายเดือนเพิ่มเดิม และหรือนำผู้ค้ำประกันมาทำสัญญาค้ำประกัน
เพิ่มเติมจนครบวงเงินประกัน และหรือวงเงินค้ำประกันของตำแหน่งใหม่ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบฉบับนี้
ภายในกำหนดสามสบิ วนั นับแตว่ ันท่ีไดร้ ับแตง่ ตั้งใหไ้ ปดำรงตำแหน่งใหม่

ในกรณีที่พนักงานผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งที่มวี งเงินประกัน และหรือวงเงินค้ำประกัน
ตำ่ กว่าตำแหน่งเดิมให้คืนเงินประกนั ท่เี รียกเก็นไวส้ ูงกว่าตำแหน่งใหม่ให้แก่พนักงานผู้นั้น และใหแ้ จ้งวงเงินค้ำประกัน
ท่ลี ดลงใหผ้ คู้ ำ้ ประกันทราบเป็นลายลกั ษณ์ด้วย

เม่ือองค์การเลิกจา้ งหรือพนักงานลาออก ใหค้ ืนเงินประกันพร้อมดอกเบ้ียถ้ามีภายในเจ็ดวันนับแต่
วันทีม่ คี ำสั่งเลกิ จ้างหรือลาออก แล้วแต่กรณี

องค์การจะตอ้ งเสยี ดอกเบีย้ ตามกฎหมายกำหนดให้แก่พนักงานในระหวา่ งผิดนดั
ข้อ 6 ผู้คำ้ ประกนั คนหนง่ึ มีสิทธคิ ้ำประกนั พนกั งานได้ไม่เกนิ ห้าคน

6.1 บคุ คลซึ่งเปน็ ผู้ค้ำประกันได้มี ดังนี้
6.1.1 เป็นพนักงานประจำทุกตำแหน่งขององค์การ แต่ถ้าเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร

ต้องเป็นผูบ้ รรลนุ ิติภาวะแลว้ และเป็นพนกั งานมาแลว้ ไมน่ ้อยกวา่ หน่ึงปีในวันทำสญั ญาค้ำประกัน
6.1.2 เปน็ ขา้ ราชการพลเรอื นทุกประเภทตง้ั แต่ระดบั 3 ข้นึ ไป
6.1.3 เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร หรือต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรที่มี

อตั ราเงินเดือน 15,000 บาท ขึ้นไป
6.1.4 เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจท่ีมีตำแหน่งเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกวา่ พนักงานองค์การ

ระดับ 3 ข้ึนไป
6.1.5 เป็นบุคคลที่ทำงานในธนาคาร บริษัท ธุรกิจ ห้างร้านเอกชน ที่มีอัตรา

เงนิ เดือนประจำ ต้ังแต่ 20,000 บาท ขึน้ ไป
6.2 หลักทรพั ย์ทใี่ ช้ค้ำประกนั ดงั น้ี
6.2.1 เงนิ สด
6.2.2 พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่องค์การ เพื่อเป็นหลักประกัน

ตามสัญญา
6.2.3 หนังสือค้ำประกันของธนาคาร

ขอ้ 7 ผู้ค้ำประกันพนกั งานเกบ็ คา่ โดยสาร ตอ้ งไมเ่ ปน็ พนักงานตำแหนง่ ใด ตำแหนง่ หนึ่ง
7.1 พนักงานที่มีหนา้ ที่เกย่ี วกับบัญชคี า่ โดยสาร
7.2 พนกั งานท่ีมหี นา้ ทเ่ี กยี่ วกับเงนิ คา่ โดยสาร
7.3 ผมู้ หี นา้ ทใ่ี นการตรวจการเก็บคา่ โดยสารโดยตรง

11

ขอ้ 8 ให้มีการตดิ ตามสบื สวนถงึ สถานะของผคู้ ำ้ ประกัน ของพนักงานทุกคนเป็นประจำปีว่ายังมี
ชีวิตอยู่หรอื ไม่ ยังมีความสามารถพอที่จะปฏิบตั ิตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อถึงคราวจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่
องคก์ ารได้หรือไมเ่ พียงใด ทั้งนีต้ ามวิธกี ารทผ่ี ู้อำนวยการหรอื ผู้ได้รบั มอบหมายกำหนด

ในกรณีที่ปรากฎว่า ผู้ค้ำประกันพันสภาพหรือไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติตามสญั ญาค้ำประกัน
ตามวรรคหน่ึงได้ ใหพ้ นกั งานจัดหาผู้ค้ำประกันใหม่ นบั แต่วนั ที่ได้รับหนังสือแจ้ง โดยใหใ้ ชส้ ิทธิการลาตามข้อบังคับ
วา่ ด้วยการลา เพื่อไปจัดหาผูค้ ้ำประกนั หรือนำเงินสดมาชำระ

ข้อ 9 กรณีพนักงานขับรถเกิดอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิดและมีค่าเสียหายสูงกว่าวงเงินค้ำประกันเดิมให้
งานบรหิ ารงานบุคคลแจ้งพนักงานจัดหาผูค้ ้ำประกันหน้ีเพ่ิม ภายใน 60 วนั นับแตว่ นั ทีเ่ กดิ อบุ ตั ิเหตุเพ่ือจัดทำสัญญา
ค้ำประกันหนี้เพ่ิม (แบบ อบ.8) ตามระเบียบองคก์ ารขนส่งมวลชนกรุงเทพ วา่ ด้วยระบบงานอุบัติเหตุ พ.ศ. 2557

ในระหวา่ งจัดหาผู้ค้ำประกนั ให้พักงานพนักงานไว้ก่อน จนกว่าพนกั งานจะจัดหาผู้คำ้ ประกันหนี้เพิ่ม
ตามมลู คา่ ความเสยี หายที่เกิดขึน้ ได้

ท้งั น้ี ผคู้ ำ้ ประกันหนีเ้ พม่ิ ท่เี กิดข้ึนกรณีพนักงานขับรถเกิดอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิด และมีค่าเสียหาย
สูงกวา่ วงเงินค้ำประกันเดมิ ให้มีวงเงนิ คำ้ ประกนั ดังน้ี

9.1 บุคคลภายใน
9.1.1 พนักงานองค์การ ระดับ 1-4 ค้ำประกันหนี้เพิ่มที่เกิดจากพนักงานขับรถ

เกิดอุบัติเหตุในวงเงนิ 50,000 บาท ตอ่ คน
9.1.2 พนักงานองค์การ ระดับ 5-8 ค้ำประกันหนี้เพิ่มที่เกิดจากพนักงานขับรถ

เกดิ อบุ ตั ิเหตุไนวงเงิน 200,000 บาท ตอ่ คน
9.1.3 พนักงานองค์การ ระดับ 9-10 ค้ำประกันหนี้เพิ่มที่เกิดจากพนักงานขับรถ

เกิดอบุ ตั เิ หตุในวงเงิน 500,000 บาท ต่อคน
9.2 บุคคลภายนอก
9.2.1 เป็นข้าราชการพลเรือนทุกประเภทตั้งแต่ระดับ 3 ลงมา ข้าราชการทหาร

ตำรวจ ตำ่ กว่าชนั้ สญั ญาบัตรลงมา พนกั งานรฐั วสิ าหกิจที่มีตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าพนักงานองค์การระดับ 1-4
หรอื บุคคลท่ีทำงานในธนาคาร บริษัทธุรกิจ ห้างร้านเอกชน ทีม่ ีอตั ราเงนิ เดือนประจำ ต้ังแต่ 20,000 บาทขึ้นไป
ค้ำประกันหนีเ้ พมิ่ ท่เี กดิ จากพนักงานขับรถเกดิ อุบตั ิเหตใุ นวงเงนิ 50,000 บาท ต่อคน

9.2.2 เป็นข้าราชการพลเรือนทุกประเภทตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ข้าราชการทหาร
ตำรวจชน้ั สัญญาบตั ร หรือตำ่ กวา่ ช้ันสญั ญาบตั รทมี่ ีอัตราเงินเดือน 15,000 บาท ขึน้ ไป พนกั งานรัฐวิสาหกิจที่มี
ตำแหนง่ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าพนักงานองค์การระดบั 5 ขึน้ ไป ค้ำประกันนเ้ี พม่ิ ท่เี กดิ จากพนักงานขับรถเกิดอุบัติเหตุ
ในวงเงิน 200,000 บาท ต่อคน

9.3 หลักทรัพยท์ ใี่ ช้คำ้ ประกัน
9.3.1 เงินสด
9.3.2 พนั ธบตั รรฐั บาล ซง่ึ สลักหลงั โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่องค์การ เพ่ือเปน็ หลักประกนั
9.3.3 หนงั สอื คำ้ ประกันของธนาคาร
9.3.4 โฉนดท่ดี ิน ซงึ่ ไดร้ บั การประเมนิ ราคาจากกรมทีด่ ินแลว้

12

ข้อ 10 หากพนักงานไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 8 และข้อ 9 องค์การมีสิทธิเลิกจ้าง โดยพนักงานผู้นน้ั
มีสทิ ธิไดร้ บั ค่าชดเชยตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้าง
ในรัฐวิสาหกิจ

ข้อ 11 การเรียกเงินชดใช้จากพนักงานที่กระทำให้เกิดความเสียหายหรือมีหนี้สินจะต้องชดใช้
ให้แก่องค์การ ตลอดจนวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยความรับผิดทางแพ่ง หรือระเบียบองค์การ
ทเ่ี กีย่ วขอ้ งแลว้ แตก่ รณี

ประกาศ ณ วันที่ 23 เดือนเมษายน พุทธศกั ราช 2562

บญั ชเี งินประกนั วงเงนิ ค้ำประกนั และวิธีเรยี กเกบ็

แนบทา้ ยระเบยี บวา่ ดว้ ยเงินประกนั และผู้คำ้ ประกนั ของพนกั งาน พ.ศ. 2562

ลำดับ ตำแหน่ง จำนวนเงนิ วิธีเรยี กเก็บเงิน วงเงิน

ประกันท้ังหมด ก่อนบรรจุ เก็บรายเดอื น ค้ำประกัน

1 พนักงานการเงิน ตำแหน่ง 20,000 บาท 1,000 100 บาท 150,000 บาท

หวั หนา้ งานหรอื เทยี บเท่าขน้ึ ไป บาท

2 พนักงานการเงิน ตำแหน่ง 10,000 บาท 500 บาท 100 บาท 50,000 บาท

ต่ำกว่าหวั หน้างานลงมา

3 หวั หน้างานหรือเทยี บเท่าข้ึนไป 10,000 บาท 500 บาท 100 บาท 15,000 บาท

นอกจากลำดบั 1

4 พนกั งานขับรถทุกประเภท 4,000 บาท 500 บาท 100 บาท 20,000 บาท

5 พนักงานเก็บคา่ โดยสาร 3,000 บาท 500 บาท 100 บาท 15,000 บาท

6 นายตรวจ พนักงานตรวจการ 4,000 บาท 500 บาท 100 บาท 10,000 บาท

7 พนกั งานชา่ ง 4,000 บาท 500 บาท 100 บาท 10,000 บาท

8 พนักงานอน่ื ๆ 1,000 บาท 500 บาท 100 บาท 10,000 บาท

9 สายตรวจพิเศษ 10,000 บาท 3,000 บาท 100 บาท 15,000 บาท

สิทธิในสถานภาพการเปน็ พนักงานองค์การ

ขอ้ บงั คับองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 152
วา่ ดว้ ย การบรรจุ การแต่งต้งั การยา้ ย และการลงโทษพนกั งาน พ.ศ. 2552
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ พุทธศักราช 2519 คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในคราวประชุม ครั้งที่
13/2552 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 และในคราวประชุมครั้งที่ 14/2552 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
2552 จึงใหอ้ อกข้อบังคับไว้ ดงั ต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 152 ว่าด้วย
การบรรจุ การแต่งตงั้ การยา้ ยและการลงโทษพนักงาน พ.ศ. 2552
ข้อ 2 ขอ้ บงั คับนี้ใหใ้ ชบ้ ังคบั ตัง้ แตว่ นั ประกาศเป็นต้นไป

13

ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 144 ว่าด้วย การบรรจุ
การแตง่ ตง้ั การออกจากตำแหน่ง และการลงโทษพนักงาน พ.ศ. 2551

ข้อ 4 ในขอ้ บงั คบั น้ี
(1) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบรหิ ารกจิ การองค์การขนส่งมวลชน

กรุงเทพ
(2) “ผ้อู ำนวยการ” หมายความว่า ผอู้ ำนวยการองคก์ ารขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(3) “พนกั งาน” หมายความว่า พนกั งานองค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
ซง่ึ ได้รับเงนิ เดอื นตามอัตราในงบประมาณประเภทงบทำการ

ข้อ 5 การบรรจุและการแต่งตั้งพนักงานให้กระทำได้ภายในจำนวนอัตรากำลังและตำแหน่งที่
คณะกรรมการกำหนด

ข้อ 6 ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจบรรจุ แต่งตั้งและย้ายพนักงานทุกตำแหน่งเว้นแต่พนักงาน
ตำแหนง่ รองผู้อำนวยการ ผูช้ ่วยผูอ้ ำนวยการ หรอื ตำแหนง่ ทีเ่ รยี กชื่ออย่างอ่ืนทเี่ ทยี บเท่าตำแหนง่ ดังกล่าวจะต้อง
ได้รับความเหน็ ชอบจากคณะกรรมการก่อน

ข้อ 7 พนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ได้รับเงินเดือนอัตราขั้นต่ำของตำแหน่งที่
ได้รับแต่งตั้งนั้น เว้นแต่พนักงานนั้นได้รับเงินเดือนในอัตราขั้นสูงกว่าอยู่แล้วในขณะที่ได้รับแต่งตั้งก็ให้ได้รับ
เงินเดือนในอตั ราเทา่ เดิม

ข้อ 8 ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออก แต่ถ้าเป็นพนักงานตำแหน่งรอง
ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หรือตำแเหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเทียบเท่าตำแหน่งดังกล่าว ให้เสนอ
คณะกรรมการเพ่ือทราบ

ข้อ 9 การสั่งไล่ออก ให้ออก หรือพักงาน ให้เป็นอำนาจรองผู้อำนวยการ เว้นแต่การสั่งในกรณี
หนกั งานตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ผ้ชู ่วยผู้อำนวยการ หรือตำแหนง่ ท่เี รยี กช่ืออยา่ งอนื่ เทยี บเท่าตำแหน่งดังกล่าว
ผู้อำนวยการส่ังได้ ต่อเมอ่ื ไดร้ ับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน

ข้อ 10 การบรรจุ แต่งตั้ง การย้าย ไล่ออก ให้ออก หรือพักงาน ให้ผู้มีอำนารสั่งการเป็นลาย
ลกั ษณอ์ ักษร

ใหไ้ ว้ ณ วนั ที่ 3 เดอื นสิงหาคม พทุ ธศักราช 2552

กรณถี ูกเรียกตัวไปปฏบิ ตั ิราชการทหาร
ตามคำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่ 885/2559 เรื่องกำหนดคู่มือปฏิบัติงานการ
บริหารงานบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคล ในกรณีการบรรจุพนักงาน
ท่กี ลบั จากรบั ราชการทหารเขา้ ทำงาน มวี ธิ ีการและข้นั ตอนของการปฏิบตั งิ าน ดงั นี้
1. พนกั งานยน่ื คำรอ้ งภายใน 30 วนั นบั จากวนั ปลดประจำการ
2. พนกั งานซอื้ และกรอกใบสมัคร พรอ้ มดำเนนิ การตามขน้ั ตอนเหมอื นสมัครงานใหม่
3. สทิ ธิผลประโยชน์ไดร้ ับตามเดิม ก่อนพน้ หน้าที่ โดยใหเ้ ป็นไปตามคำสั่งองค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ ที่ 973/2559 เร่อื ง กำหนดวันเวลาปฏิบัติงานและสิทธผิ ลประโยชน์ตอบแทนพนักงานองค์การขนส่ง
มวลชนกรงุ เทพ สงั่ ณ วันท่ี 29 ธนั วาคม 2559

14

สทิ ธิและสวัสดิการทีไ่ ด้รับเม่ือกระทำผิดทางวินัย

ขอ้ บงั คับองค์การขนส่งมวลขนกรงุ เทพ ฉบับที่ 189

ว่าด้วยวินยั การสอบสวน การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนกั งาน พ.ศ. ๒๕๖๒

เพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์การเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องตามประกาศ

คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ เห็นสมควร

ปรับปรุงข้อบังคับองค์การ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงานให้เหมาะสม

ยง่ิ ขึน้

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒0 (๓) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชน

กรงุ เทพ พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงใหอ้ อกข้อบงั คับไว้ดังตอ่ ไปน้ี

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 1๘๙ ว่าด้วยวินัย

การสอบสวน การลงโทษ และการอทุ ธรณ์การลงโทษพนกั งาน พ.ศ. ๒๕๖๒"

ขอ้ ๒ ข้อบงั คับนี้ให้ใช้ต้งั แตบ่ ัดนเ้ี ปน็ ต้นไป

ขอ้ ๓ ใหย้ กเลกิ

3.1 ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 4๖ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน

การลงโทษ และการอทุ ธรณ์การลงโทษพนกั งาน พ.ศ. ๒๕๒๔

3.2 ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๖๗ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน

การลงโทษ และการอุทธรณก์ ารลงโทษพนักงาน (แกไ้ ขเพ่มิ เติมครงั้ ที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๓๑

๓.๓ ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๗๘ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน

การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษพนักงาน (แก้ไขเพ่ิมเตมิ คร้ังท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔

๓.๔ ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๑๐๓ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน

การลงโทษ และการอทุ ธรณก์ ารลงโทษพนกั งาน (แกไ้ ขเพม่ิ เติม) พ.ศ. ๒๕๓๙

3.5 ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๑๒๑ ว่าด้วยวินัย การสอบสวน

การลงโทษ และการอทุ ธรณก์ ารลงโทษพนกั งาน (แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ คร้ังท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓

บรรดาข้อบังคับ ระเบยี บ และคำสัง่ อื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับน้ใี ห้ใชข้ ้อบงั คับนแี้ ทน

ข้อ ๔ ในขอ้ บังคบั น้ี

"องคก์ าร" หมายความวา่ องค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ

"คณะกรรมการองค์การ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกจิ การองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ

"ผ้อู ำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ

"พนกั งาน" หมายความวา่ พนักงานองคก์ ารขนส่งมวลขนกรุงเทพ

"ลูกจ้าง" หมายความวา่ ลกู จ้างองค์การขนสง่ มวลซนกรุงเทพ

"เงินเดือน" หมายความว่า อัตราเงินเดือนสำหรับพนักงานรายเดือนหรือค่าจ้าง

รายวนั จำนวน ๒๖ วัน สำหรับพนกั งานรายวัน ท้งั น้ไี มร่ วมเงนิ เพ่ิมอย่างอน่ื

15

หมวด ๑
วนิ ัยและการรกั ษาวินยั
ขอ้ ๕ พนกั งานมีหน้าที่ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผใู้ ดฝา่ ฝนื หรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าผู้นั้น
กระทำผดิ วินัย จักตอ้ งไดร้ ับโทษตามทกี่ ำหนดไวใ้ นขอ้ บงั คบั นี้
ขอ้ ๖ พนกั งานตอ้ งรักษาวินัยตามทก่ี ำหนดไว้ดังต่อไปน้ี
6.1 ต้องสนับสนนุ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยตามรฐั ธรรมนูญด้วยความบริสทุ ธใิ์ จ
6.2 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซอ่ื สัตย์ สจุ รติ และเทีย่ งธรรม
ห้ามมใิ ห้อาศัยหรือยอมให้ผู้อ่ืนอาศัยอำนาจหน้าท่ีของตนไมว่ ่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
หาประโยชนใ์ ห้แก่ตนเองหรอื ผู้อ่ืน
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยเจตนา เพื่อให้ตนเองหรีอผู้อื่นได้ประโยชน์
ทมี่ ิควรไดเ้ ปน็ การทุจรติ ต่อหนา้ ที่ และเปน็ ความผิดวินัยอยา่ งรา้ ยแรง
๖.๓ ต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผนและวิธีปฏิบัติขององค์การ
และต้องสนใจในระเบียบปฏิบัติของส่วนราซการหรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการในหน้าที่ของตน รวมท้ัง
มติคณะรัฐมนตรดี ้วย
การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่หรือจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคแรกเป็นเหตุ
ใหเ้ สียหายแก่องค์การอย่างร้ายแรง เป็นความผดิ วนิ ยั อยา่ งรา้ ยแรง
๖.๔ ตอ้ งรักษาความลับขององค์การ
การเปิดเผยความลับขององค์การ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การอย่างร้ายแรง
เป็นความผิดทางวนิ ัยอย่างร้ายแรง
๖.๕ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายหรือ
ระเบยี บ ขอ้ บังคับหรือคำสัง่ ขององคก์ าร ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลกี เล่ยี ง
การขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาตามวรรคแรกเป็นเหตุให้
เสยี หายแก่องคก์ ารอยา่ งร้ายแรง เป็นความผดิ ทางวนิ ยั อยา่ งร้ายแรง
๖.๖ ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยมิให้เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่
ผบู้ งั คับบญั ชาเหนือข้นึ ไปเป็นผสู้ ัง่ ใหก้ ระทำ หรอื ได้รับอนุญาตเปน็ พเิ ศษชัว่ ครง้ั คราว
๖.๗ ต้องไม่รายงานเท็จ หรือเสนอความเห็นที่ไม่สุจริตต่อผู้บังคับบัญชา การรายงาน
โดยปกปดิ ขอ้ ความซ่ึงควรตอ้ งบอก ถือว่าเป็นการรายงานเท็จดว้ ย
การรายงานเทจ็ ต่อผู้บังคบั บญั ชา เป็นเหตุใหเ้ สียหายแก่องค์การอย่างร้ายแรง เป็นการผิด
วนิ ัยอยา่ งรา้ ยแรง
๖.๘ ตอ้ งอุทศิ เวลาของตนใหแ้ ก่กจิ การขององคก์ าร จะละทิ้งหรอื ทอดทง้ิ หนา้ ท่ีมไิ ด้
การละทิง้ หน้าทหี่ รือขาดงานตดิ ตอ่ กนั ในคราวเดียวกนั เป็นเวลาเกนิ กวา่ สิบวนั โดยไมม่ เี หตุ
อันสมควรเป็นความผดิ วินยั อยา่ งร้ายแรง
6.9 ต้องสุภาพเรียบร้อย ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้ความ
สงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อกับองค์การในกิจการอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ซักช้า ห้ามมิให้ดูหมิ่น
เหยยี ดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือเบียดเบียนประชาชนผมู้ าตดิ ต่อ

16

6.10 ต้องสุภาพเรียบร้อย และไม่แสดงความดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง
ประชาชนทีใ่ ชบ้ ริการขององค์การ

การไม่สุภาพเรียบร้อย หรือแสดงความดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ประชาชนที่
ใช้บริการขององค์การอยเู่ นือง ๆ เปน็ ความผดิ วินัยอยา่ งร้ายแรง

๖.๑๑ ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยซน์อันอาจจะกระทำ
ให้เสียความเที่ยงธรรม หรือเส่ือมเสียเกยี รติศกั ด์ิของตำแหนง่ หน้าท่ีของตน

๖.๑๒ ต้องไมเ่ ป็นพนักงาน ลูกจ้าง กรรมการผู้จดั การ ผู้จดั การ หรอื ดำรงตำแหนง่ อื่นใด
ท่ีมีลกั ษณะงานคล้ายคลงึ กันในหนว่ ยงานของรฐั รัฐวสิ าหกจิ รวมทัง้ ห้างหุน้ ส่วนหรอื บริษทั ของเอกชน

6.13 ต้องไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล
เสพของมีนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ หมกมุ่นในการพนัน กระทำหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการอื่นใด ซึ่งอาจ
ทำใหเ้ ส่อื มเสยี เกยี รติศักดขิ์ องตำแหน่งหนา้ ที่ของตน

6.๑๔ กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษ โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือได้รับโทษที่
หนักกวา่ เวน้ แต่เป็นโทษสำหรับความผดิ ท่ีได้กระทำโดยประมาท หรอื ความผดิ ลหโุ ทษ เป็นความผิดวนิ ัยอย่างร้ายแรง

6.15 ต้องรว่ มมือระหว่างพนักงานช่วยเหลอื กนั ในกิจการขององค์การ ต้องรักษาความ
สามัคคีในบรรดาผู้อยู่ในวงงานขององค์การ และต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก
สามัคคี หรอื ก่อให้เกิดความกระดา้ งกระเดื่องในบรรดาผอู้ นื่ ในวงงานขององคก์ าร

6.16 ต้องร่วมมือประสานงานด้วยดีกับส่วนราชการ หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับ
กจิ การขององคก์ าร

6.17 ต้องไม่เสพสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือเมาสุรา หรือของมึนเมาอย่างอ่ืน
ในเวลาปฏิบตั ิหน้าท่ี

การเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือเมาสุรา หรือของมีนเมาอย่างอื่นในเวลา
ปฏิบตั ิหนา้ ที่อนั เป็นเหตใุ หเ้ สยี หายแกอ่ งคก์ ารอยา่ งร้ายแรง เปน็ ความผดิ วินัยอยา่ งร้ายแรง

ข้อ ๗ ผู้บงั คับปญั ชามีหนา้ ทสี่ ง่ เสรมิ และดูแล ระมัดระวังให้ผอู้ ยู่ใตบ้ งั คับบัญชาปฏิบตั ติ ามวินยั
ถ้าผู้บังคับบัญชารู้ว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาคนใดกระทำผิดวินัย จะต้องดำเนินการทางวินัยทันที
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินยั ท่ีจะต้องได้รับโทษและอยู่ในอำนาจของตนที่จะลงโทษได้ให้สั่งลงโทษ แต่ถ้าเห็นวา่
ผู้นั้นควรจะต้องได้รับโทษสูงกว่าที่ตนมีอำนาจสั่งลงโทษ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาของผู้กระทำผิดวินัยเหนือ
ตนขึ้นไป เพ่ือใหพ้ จิ ารณาดำเนินการส่งั ลงโทษตามสมควรแก่กรณี
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามข้อนี้โดยไม่สุจริตให้ถือว่า
ผู้บังคับบัญชานั้นกระทำผิดวินัย และต้องได้รับโทษไม่น้อยกว่าโทษสำหรับความผิดที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระทำ
ความผิดดว้ ย

หมวด ๒
โทษและการลงโทษ
ข้อ ๘ การลงโทษพนักงาน ผู้ส่ังลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด และในคำส่ัง
ลงโทษใหแ้ สดงวา่ ผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินยั ในกรณใี ด ตามขอ้ ใด

17

ขอ้ ๙ โทษวนิ ัยมี ๕ สถาน คือ
9.๑ ภาคทัณฑ์
๙.๒ ตดั เงนิ เดอื น
๙.๓ ลดขัน้ เงนิ เดือน
๙.๔ ใหอ้ อก
๙.๕ ไล่ออก

ข้อ ๑๐ การลงโทษไล่ออกนั้น ให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอย่างใด
อย่างหนึ่ง ดงั ตอ่ ไปนี้

1๐.๑ ทุจริตตอ่ หน้าที่
๑๐.๒ ละทิ้งหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ หรือจงใจไม่ปฏิบัติตาม
ระเบยี บ ข้อบังคับ คำสงั่ องค์การ ระเบียบของสว่ นราชการ หรอื มติคณะรฐั มนตรี เปน็ เหตุใหเ้ สียหายแก่องค์การ
อยา่ งรา้ ยแรง
๑๐.๓ เปดิ เผยความลบั ขององคก์ าร เปน็ เหตุใหเ้ สยี หายแก่องคก์ ารอยา่ งร้ายแรง
๑๐.๔ ขัดคำส่งั หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำส่งั ผบู้ ังคบั บญั ชา ซึ่งสั่งในหน้าที่โดยชอบ
ด้วยกฎหมาย หรือระเบียบ ขอ้ บงั คับ หรือคำสั่งขององค์การ
๑๐.๕ รายงานเทจ็ ตอ่ ผู้บังคบั บัญชา เป็นเหตใุ ห้เสยี หายแก่องค์การอยา่ งร้ายแรง
๑๐.๖ ไม่สุภาพเรียบรอ้ ย หรือแสดงความดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ประชาชน
ทีใ่ ช้บริการขององค์การอยเู่ นอื ง ๆ
๑๐.๗ ขาดงานตดิ ต่อกนั ในคราวเดยี วกนั เปน็ เวลาเกนิ กว่าสบิ วนั โดยไม่มเี หตุอนั สมควร
๑๐.๘ กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือหนักกว่า
เว้นแตเ่ ปน็ โทษสำหรบั ความผดิ ทีไ่ ดก้ ระทำโดยประมาท หรอื ความผิดลหโุ ทษ
๑๐.๙ ประพฤติช่ัวอยา่ งรา้ ยแรง
๑๐.๑๐ เสพสุราหรือของมึนเมาอยา่ งอ่ืน หรือเมาสุรา หรอื ของมนึ เมาอยา่ งอ่ืน ในเวลา
ปฏบิ ัติหน้าท่ี เปน็ เหตุใหเ้ สียหายแก่องค์การอย่างร้ายแรง
โทษไล่ออกตามข้อ ๑๐ เวน้ แต่ ๑๐.๑ ๑๐.๗ ๑๐.๘ และ ๑๐.๙ นี้ ถ้ามีเหตุอนั สมควร
ลดหยอ่ นจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษกไ็ ด้ แตห่ า้ มมิใหล้ ดโทษต่ำกว่าใหอ้ อก
ข้อ ๑๑ การลงโทษให้ออกนั้น ให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำความผิดวินัย อันเป็นเหตุ
ใหเ้ สียหายแกอ่ งค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการตกั เตอื นเป็นหนังสอื แล้วในความผิดดังต่อไปน้ี
๑๑.๑ ละทง้ิ หนา้ ทหี่ รอื ขาดงานอยูเ่ นอื ง ๆ
๑๑.๒ ประมาทเลนิ เล่อในหน้าท่ีอยู่เนือง ๆ
๑๑.๓ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ คำสั่งองค์การ ระเบียบของส่วนราชการ
หรือมติคณะรัฐมนตรี
๑๑.๔ เปดิ เผยความลับขององคก์ าร
๑๑.๕ ขัดคำสั่งหรือหลีกเสี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่
โดยชอบด้วยกฎหมาย หรอื ระเบียบ ข้อบงั คบั หรือคำสง่ั ขององคก์ าร

18

๑๑.๖ รายงานเท็จต่อผู้บงั คบั บญั ชา
๑๑.๗ ทะเลาะววิ าทกับผรู้ ่วมงานอย่เู นอื ง ๆ
11.8 ประพฤตติ นเป็นท่เี สอื่ มเสยี เกียรตศิ กั ดิ์ของตำแหนง่ หน้าท่ี
๑๑.๙ เสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น หรือเมาสุรา หรือของมึนเมาอย่างอื่นในเวลา
ปฏิบตั หิ นา้ ท่ี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลง
ตำ่ กวา่ ลดข้นั เงินเดือน
ข้อ ๑๒ พนกั งานผู้ใดกระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขนั้ ต้องไล่ออก หรือใหอ้ อก ตามข้อ ๑๐ หรอื ข้อ ๑๑
ให้ผบู้ ังคับบญั ชาส่ังลงโทษลดขัน้ เงินเดือน ตัดเงนิ เดือน หรือภาคทณั ฑ์ ตามควรแก่กรณใี หเ้ หมาะสมกับความผิด
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลโทษก็ได้แต่สำหรับการลงโทษ
ภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำความความผดิ เพียงเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้อง
ถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเพียงเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก ถา้ ผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควร
ลดโทษ จะงดโทษให้โดยการว่ากล่าวตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือว่าจะไม่ทำ
ความผิดเช่นนัน้ อีกภายในกำหนดเวลาไมเ่ กิน ๑๒ เดอื นก็ได้
ข้อ ๑๓ การลงโทษลดข้ันเงินเดอื น หากต้องลดลงเกนิ กว่าขั้นตำ่ สุดของตำแหน่ง ก็ให้ลดลงสู่ข้ัน
ของตำแหนง่ ถัดไปได้ แต่ยงั ถอื วา่ พนกั งานผนู้ น้ั อยใู่ นตำแหน่งเดมิ
ขอ้ ๑๔ อำนาจส่งั ลงโทษของผ้บู ังคับบญั ชา มดี งั น้ี
๑๔.๑ ผอู้ ำนวยการสงั่ ลงโทษแกพ่ นักงานไดท้ กุ สถานและทุกคน เว้นแต่การสงั่ ลงโทษทางวินัย
แก่พนักงานชั้นที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ พนักงานตำแหน่งที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ หรือขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหาร
กิจการองคก์ ารขนสง่ มวลชนกรุงเทพ ตอ้ งได้รับความเหน็ ซอบจากคณะกรรมการองค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพก่อน
14.2 โทษไล่ออก หรือให้ออก ผู้บังคับบัญชาตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการ จะสั่งได้
เพียงใดให้เป็นไปตามทผี่ ู้อำนวยการมอบหมาย
๑๔.๓ โทษลดขนั้ เงนิ เดือนหรือตัดเงินเดือน ผู้บังคบั บัญชาจะสัง่ ได้ครั้งหน่ึงไม่เกินอัตรา
ท่กี ำหนดไว้ในบญั ชี ๑ หรอื บัญชี ๒ แนบทา้ ยขอ้ บงั คับน้ี
๑๔.๔ โทษภาคทณั ฑ์ ผู้บังคับบัญชาตามขอ้ ๑๔.๒ และขอ้ 1๔.๓ มีอำนาจส่งั ได้
ข้อ ๑๕ เมื่อได้สั่งลงโทษไปแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษลงนามรับทราบคำสั่ง
ลงโทษภายใน ๗ วัน หากพ้นกำหนดน้ัน ผู้ถกู ลงโทษไม่ลงนามรับทราบคำสั่งดว้ ยประการใดก็ตามให้ปิดคำส่ังน้ัน
ไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ทำการของผู้ถูกลงโทษ เมื่อปิดคำสั่งแล้วให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษได้รับทราบคำสั่งนั้นแล้ว ตั้งแต่
วันปิดประกาศเป็นตน้ ไป
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งลงโทษได้สั่งลงโทษไปแล้ว ต้องเสนอรายงานการสั่งลงโทษนั้นไปตามลำดับ
จนถงึ ผอู้ ำนวยการ หรือผทู้ ีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ภายใน ๑๕ วนั นับแต่วันทอี่ อกคำสั่งลงโทษ
ผอู้ ำนวยการหรือผู้ที่ไดร้ ับมอบหมายจะส่ังยนื ตาม หรือส่งั เปล่ียนแปลงประการใดก็ได้ แต่ถ้าส่ัง
ลดโทษหรือยกโทษ ใหม้ ีผลยอ้ นหลังถึงวันทไ่ี ด้รบั โทษตามคำสงั่ เดมิ
ความในวรรคสอง วรรคสาม ไม่ใชบ้ ังคบั ในกรณีผ้ถู กู ลงโทษอทุ ธรณ์คำส่งั ลงโทษตามข้อ ๕๒

19

หมวด ๓
การสอบสวน
ข้อ ๑๖ พนักงานผู้ใดถูกกล่าวหา หรือปรากฎว่ากระทำความผิดวินัยตามข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
ใหผ้ ู้บังคับบัญชาดงั ตอ่ ไปนี้ มอี ำนาจในการแต่งตง้ั คณะกรรมการสอบสวนอยา่ งน้อย ๓ คนขึ้นไปทำการสอบสวน
๑๖.๑ ผ้อู ำนวยการ สำหรบั พนักงานทกุ ตำแหนง่
๑๖.๒ รองผู้อำนวยการ สำหรับพนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้ากลุ่มงานหรือเทียบเท่าลงมา
ในสายการบังคับบัญชาของตน
๑๖.๓ ผู้อำนวยการเขตการเดนิ รถ ผอู้ ำนวยการสำนัก สำหรับพนกั งานต้ังแต่ระดับต่ำกว่า
หัวหนา้ งานหรอื เทยี บเทา่ ลงมาในสายการบงั คับบัญชาของตน
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าจะมีมูลควรสอบสวนหรือไม่ จะสืบสวนหรือตั้งคณะกรรมการ
สอบหาข้อเท็จจริงเสียก่อนก็ได้ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษเห็นสมควรให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
การกระทำผิดวินัยทุกสถานตามข้อบังคับ รวมทั้งเห็นสมควรให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ในเรื่องที่
มกี ารแต่งต้ังคณะกรรมการสอบสวนมาแล้ว กใ็ หก้ ระทำไดโ้ ดยปฏิบตั ติ ามข้อบงั คับนี้โดยอนุโลม
ในกรณีทผ่ี ู้ถูกกล่าวหาร้องขอให้ต้ังผู้แทนสหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เป็นกรรมการ
สอบสวนร่วมด้วยให้สั่งต้ังเป็นคณะกรรมการตามคำร้องขอนั้นได้ไม่เกินหนึ่งคน กรรมการผู้แทนสหภาพแรงงานน้ัน
ตอ้ งเป็นพนักงานองคก์ ารด้วย แต่จะเป็นเลขานกุ าร หรอื ทำหนา้ ทเี่ ป็นเลขานุการของคณะกรรมการไม่ได้
ในกรณีที่พนักงานผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยตามข้อ ๑๐ และ ข้อ ๑๑ ได้ให้
ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษจะสั่งลงโทษโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนกไ็ ด้ แตถ่ า้ หากแตง่ ตงั้ คณะกรรมการสอบสวนแล้วกใ็ ห้ดำเนินการต่อไปจนเสรจ็ ส้นิ
ก่อนการสอบสวนให้ประธานกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาและข้อเท็จจริงประกอบ
ข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง และนำพยานหลักฐานเข้าสืบ
แก้ข้อกล่าวหาไดด้ ว้ ย เว้นแตผ่ ถู้ ูกกล่าวหาหลบหนี
ขอ้ ๑๗ พนกั งานผ้ใู ดกระทำผิดวนิ ัยอยา่ งร้ายแรงดังต่อไปนี้ ใหถ้ อื ว่าเป็นกรณีความผิดท่ีปรากฏ
ชัดแจ้ง จะลงโทษไลอ่ อกโดยไมต่ อ้ งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกไ็ ด้
๑๗.๑ ทำความผิดอาญาจนได้รับโทษ โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือได้รับโทษ
หนักกว่า เว้นแตเ่ ปน็ โทษสำหรบั ความผดิ ท่ไี ดก้ ระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
๑๗.๒ ทำความผิดเกี่ยวกับทุจริตต่อหน้าที่ และให้คำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อ
ผบู้ งั คบั บญั ชาพนกั งานสอบสวนหรือศาล หรือคำพพิ ากษาถงึ ที่สุดว่าทำความผดิ เช่นนน้ั แม้มิไดถ้ กู จำคุกก็ตาม
๑๗.๓ ละทง้ิ หน้าที่หรือขาดงานติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า ๑๐ วัน และผู้บังคับบัญชา
ได้สืบสวนหาข้อเท็จจรงิ แล้ว เหน็ ว่าไมม่ เี หตุอนั สมควร
ในกรณีดังกล่าวให้ผู้บังคับบัญชา เสนอรายงานพร้อมด้วยหลักฐานตามลำดับจนถึง
ผอู้ ำนวยการ เม่ือผอู้ ำนวยการเห็นว่าเปน็ หลักฐานฟงั ไดต้ ามรายงานนัน้ ก็ใหส้ ่ังไลอ่ อกได้
กรณีตามขอ้ ๑๗.๓ หากการสบื สวนขอ้ เท็จจรงิ จะไม่แล้วเสรจ็ โดยเร็วใหผ้ ้มู อี ำนาจตาม
ขอ้ ๔๖ สง่ั พกั งาน แล้วดำเนินการสบื สวนต่อไป

20

ข้อ 1๘ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้แต่งตั้งจากพนักงานหรือบุคคลที่เห็นสมควร
ไม่น้อยกวา่ ๓ คน ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

ประธานกรรมการตอ้ งดำรงตำแหน่งไม่ตำ่ กว่าผู้ถูกกลา่ วหา
ขอ้ ๑๙ คำสัง่ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ระบุชื่อและตำแหนง่ ของผถู้ ูกกล่าวหาและเร่ืองท่ี
กล่าวหาตลอดจนชื่อและตำแหน่งของผู้ใด้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน และหากผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนได้รบั มอบอำนาจใหอ้ า้ งหนังสอื มอบอำนาจนน้ั ไว้ในคำส่งั แต่งตงั้ ด้วยทกุ คร้งั
ข้อ ๒0 เมื่อได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วให้ประธานกรรมการส่งสำเนาคำสั่ง
ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้
ใหผ้ ู้บงั คบั บญั ชาปดิ สำเนาคำสงั่ ไว้ ณ ท่ที ำการของผู้ถูกกล่าวหาแลว้ รายงานประธานกรรมการสอบสวนโดยด่วน
และให้ถอื ว่าผู้ถกู กลา่ วหาทราบคำสั่งตงั้ แต่วนั ท่ปี ิดประกาศเปน็ ตน้ ไป
ขอ้ ๒๑ ผถู้ ูกกล่าวหามีสิทธค์ิ ัดคา้ นกรรมการสอบสวนท่ีมเี หตุอย่างใดอยา่ งหน่ึง ดังต่อไปนี้

๒๑.๑ เป็นผทู้ ่ไี ดร้ ู้เห็นเหตุการณใ์ นเรื่องท่ีสอบสวน
๒๓.๒ เปน็ ผ้มู ีประโยชนไ์ ด้เสียในเร่อื งทส่ี อบสวน
๒๓.๓ เปน็ ผูม้ เี หตโุ กรธเคอื งกบั ผถู้ กู กลา่ วหา
๒๑.๔ เป็นบพุ การีเปน็ ผสู้ บื สนั ดาน หรือพน่ี ้องรว่ มบดิ าหรือมารดากับคู่กรณี
การคัดค้านให้ทำเป็นหนังสือแสดงเหตุที่คัดค้านนั้นยืนต่อประธานกรรมการ ภายใน ๑๕ วัน
นบั แตว่ ันทราบคำสง่ั แต่งตง้ั คณะกรรมการสอบสวน
เมื่อได้รับหนังสือคัดค้านแล้วให้ประธานกรรมการส่งหนังสือคัดค้านนั้นไปยังผู้สั่งแต่งต้ัง
คณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่า
การคดั ค้านนัน้ มีเหตุอนั ควรรบั ฟังไดก้ ็ใหส้ งั่ เปลี่ยนกรรมการทถ่ี ูกคัดค้าน แตถ่ ้าเหน็ วา่ การคัดค้านนั้นไม่มเี หตุอันควร
รับฟังหรือเห็นว่าแม้จะให้ผู้ที่ถูกคัดค้านนั้นร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนก็ไม่ทำให้เสียความเป็นธรรมจะส่ัง
ยกคำคัดค้านนั้นเสียก็ได้ แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่คัดค้านทราบและส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวม
สำนวนไว้
ในกรณีที่ผูถ้ ูกกลา่ วหาคัดค้านกรรมการสอบสวนและผูส้ ั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนยังมิได้
ส่งั การตามวรรคสาม หา้ มมใิ ห้ผทู้ ีถ่ ูกคัดค้านรว่ มในการสอบสวน
ข้อ ๒๒ เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เห็นว่ามีเหตุอันสมควร หรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตัวกรรมการสอบสวนก็ให้ดำเนินการได้ ทั้งนี้ให้นำข้อ ๑๘
และข้อ ๑๙ มาใช้บงั คับโดยอนุโลมแต่กรรมการท้งั หมดต้องไม่น้อยกวา่ ๓ คน
การเปลย่ี นแปลงเก่ียวกบั คณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหน่ึงไม่กระทบกระเทือนการสอบสวน
ท่ดี ำเนนิ การไปแลว้
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าทส่ี อบสวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง
และพฤตกิ ารณ์ต่าง ๆ อันเกย่ี วกับเร่อื งท่ถี กู กล่าวหา
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับที่แท้จริงแต่ถ้ามีความจำเป็น
ไมอ่ าจนำตน้ ฉบบั มาได้ จะใชส้ ำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผมู้ ีหนา้ ทร่ี ับผิดชอบรบั รองว่าเปน็ สำเนาทีถ่ ูกต้องก็ได้

21

ข้อ ๒๔ ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน ๓0 วัน นับแต่วันท่ี
ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ถ้ามีความจำเป็นซึ่งจะสอบสวนให้แล้วเสร็จ
ภายในกำหนดเวลาดงั กลา่ วไม่ได้ ก็ใหค้ ณะกรรมการสอบสวนขยายเวลาสอบสวนได้อีกไม่เกนิ ๓๐ วัน โดยบนั ทึก
เหตุผลที่ต้องขยายเวลาไวใ้ นสำนวนด้วย

ในกรณีท่ีได้ขยายเวลาการสอบสวน ตามวรรคหนึ่งแล้วยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จให้ประธานกรรมการ
ขออนุมัติขยายเวลาต่อผู้สั่งแต่งตั้งได้ครั้งละไม่เกิน ๓0 วัน และให้ผู้สั่งแต่งตั้งตณะกรรมการสอบสวนติดตาม
เร่งรดั การสอบสวนใหแ้ ลว้ เสรจ็ โดยเร็วด้วย

ข้อ ๒๕ ในการสอบปากคำบุคคลต้องมีกรรมการนั่งสอบสวนอย่างน้อยสองคนจึงจะเป็นองค์คณะ
ทำการสอบสวนได้

ข้อ ๒๖ ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนห้ามบุคคลอื่นร่วมสอบสวน หรือเข้าฟัง
การสอบสวน เวน้ แต่บคุ คลท่คี ณะกรรมการสอบสวนเรยี กมาเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน

การสอบสวนปากคำบุคคลให้บันทึกถ้อยคำเป็นหนังสือแสดงชื่อ ที่อยู่ อาชีพของผู้ให้ถ้อยคำ
และชื่อของกรรมการผู้นั่งสอบสวนทุกคนไวด้ ้วย เมื่อได้สอบสวนบันทึกถ้อยคำเสร็จแล้วให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง
หรือจะให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านก็ได้ เมื่อรับว่าถูกต้องแล้วก็ให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการผู้นั่งสอบสวนทุกคนลงลาย
มือซ่ือไว้เป็นหลักฐานท้ายบนั ทีกถ้อยคำนั้น กรรมการผใู้ ดมไิ ด้ร่วมนัง่ สอบสวนดว้ ยหา้ มมิใหล้ งลายมือชื่อในบันทึก
ถอ้ ยคำนั้น ถา้ บนั ทกึ ถ้อยคำมหี ลายแผ่นใหผ้ ู้ให้ถ้อยคำกบั กรรมการผู้นงั่ สอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคน ลงลายมือซ่ือ
ไวท้ ุกแผน่ ด้วย ในกรณีทผ่ี ใู้ ห้ถอ้ ยคำไม่ยอมลงลายมือชือ่ กใ็ ห้บันทกึ เหตนุ นั้ ไว้ในบันทกึ ถอ้ ยคำนนั้ ดว้ ย

ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ปกติให้พิมพ์หัวแม่มื อขวาต่อหน้ากรรมการ
ผ้นู ัง่ สอบสวน และบันทึกไวด้ ้วยวา่ เป็นลายพิมพห์ วั แมม่ ือขวาของผใู้ ด

ในการบนั ทกึ ถ้อยคำ หา้ มมิให้ขูดลบหรือบันทึกข้อความทับ ถา้ จะตอ้ งแก้ไขข้อความที่ได้บันทึก
ไว้แล้วให้ใช้วิธีขีดฆ่า หรือตกเติมโดยให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการผู้นั่งสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อ
กำกบั ไวท้ กุ แหง่ ทีข่ ดี ฆ่าหรอื ตกเดิม

ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำขอให้ถ้อยคำใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่ให้ไว้ในตอนต้น ห้ามมิให้ขีดฆ่า
ข้อความเดิม แตใ่ ห้บอกไวว้ ่า "ขา้ พเจ้าขอให้การใหม่" แล้วบันทกึ คำให้การใหม่พร้อมทง้ั เหตผุ ลท่ีตอ้ งใหก้ ารใหม่

ข้อ ๒๗ ก่อนการสอบสวนถ้อยคำผู้ถูกกล่าวหา ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งและอธิบาย
ข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่า ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้
ขอ้ กลา่ วหาได้

ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาคณะกรรมการ
สอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ โดยให้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าเห็นสมควรที่จะ
ได้รับทราบข้อเท็จจริง และพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวนนั้นโดยละเอียดจะทำการสอบสวนต่อไป
ตามสมควรแกก่ รณีก็ได้

ในกรณีท่ผี ูถ้ กู กลา่ วหามิได้ใหถ้ อ้ ยคำรบั สารภาพตลอดข้อหา กใ็ หค้ ณะกรรมการสอบสวนทำการ
สอบสวนตอ่ ไปจนเสรจ็ สน้ิ

การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเองหรือจะอ้างพยานหลักฐาน
ขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานมาก็ได้

22

ขอ้ ๒๘ ในการชี้แจงขอ้ กล่าวหาผถู้ ูกกล่าวหาจะใหถ้ ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวน หรอื ทำคำ
ชี้แจงเป็นหนังสือ ลงลายมอื ชือ่ ของผถู้ ูกกลา่ วหายนื่ ตอ่ คณะกรรมการสอบสวนก็ได้

ก่อนการสอบสวนเสร็จ ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ให้ถ้อยคำ หรีอยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้ว
จะขอให้ถ้อยคำเพิ่มเติมหรือยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม หรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวน
อกี ก็ได้

ข้อ ๒๙ ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่มายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลา ท่ี
คณะกรรมการสอบสวนกำหนด ซึ่งได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วไม่น้อยกวา่ ๕ วัน และโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนไปโดยไม่สอบสวนตัวผู้ถูกกล่าวหาก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้
ในสำนวนการสอบสวน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าภายหลังผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
กอ่ นการสอบสวนเสรจ็ ก็ใหค้ ณะกรรมการสอบสวนใหโ้ อกาสแกผ่ ถู้ ูกกลา่ วหา

ข้อ 30 ในกรณที พ่ี ยานไมม่ าหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรอื คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้
ภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในสำนวน
การสอบด้วย ทั้งนี้เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุสมควรที่พยานไมส่ ามารถมาได้ตามกำหนดหรือได้
ตวั พยานมาให้ถอ้ ยคำก่อนการสอบสวนเสรจ็ ก็ใหผ้ อ่ นผนั ไดต้ ามสมควรแก่กรณี

ข้อ ๓๑ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานหลักฐานใด จะทำให้
การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่เป็นพยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ คณะกรรมการสอบสวนจะงด
การสอบสวนพยานหลกั ฐานน้นั เสยี ก็ได้ แต่ตอ้ งบนั ทึกเหตุนนั้ ไว้ในสำนวนการสอบสวน

ข้อ 32 ในกรณีการสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ในเรื่องอื่นนอกจากระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ซักช้า ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนเห็นว่าควรให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องอื่น
ที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย ก็ให้ทำเป็นคำสั่งเพิ่มเติมขึ้นและให้นำข้อ ๑๙ ข้อ ๒0 และข้อ ๒7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนรวมเป็นสำนวนเดียวกันได้ แต่ถ้าผู้สั่งคณะกรรมการ
สอบสวนเห็นว่าควรแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่ เพื่อทำการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องที่ปรากฎ
เพ่ิมขึ้นนน้ั ก็ใหเ้ ป็นไปตามทีผ่ ู้สัง่ แต่งตงั้ คณะกรรมการสอบสวนจะสั่ง

ถา้ ปรากฏกรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวนิ ัยไม่ร้ายแรงในเร่ืองอื่น ใหค้ ณะกรรมการมีอำนาจ
ทำการสอบสวนความผดิ วนิ ยั ในเรือ่ งอื่นนน้ั รวมกบั การสอบสวนในข้อหาเดมิ ไดด้ ว้ ย

ข้อ ๓๓ ถ้าการสอบสวนปรากฏกรณีมีมูลพาดพิงไปถึงพนักงานผู้อื่นที่มิได้ระบุตัวเป็นผู้ถูกกล่าวหา
ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่ามีส่วนร่วมกระทำผิดในเรื่องที่สอบสวนด้วย ให้ประธานกรรมการ
รายงานไปยังผสู้ ่งั แตง่ ตัง้ คณะกรรมการสอบสวน เพอ่ื ดำเนินการตามสมควรแกก่ รณโี ดยไม่ชักช้า

ข้อ 34 ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดชี้ขาดเกี่ยวกับผู้ถูกกล่าวหาคนใดว่ากระทำผิดในเรื่องที่
สอบสวน ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเทจ็ จริงทปี่ รากฏตามคำพิพากษาของศาลได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
คณะกรรมการสอบสวนจะถือเอาคำพิพากษานั้นเป็นพยานหลักฐาน โดยไม่สอบสวนพยานหลักฐานอย่างอื่นท่ี
สนับสนนุ ข้อกลา่ วหากไ็ ด้

23

ข้อ 35 ในระหว่างการสอบสวน ถ้ามีการย้ายหรือแต่งตั้งผู้ถูกกล่าวหาไปดำรงตำแหน่ง
นอกบังคับบัญชาของผู้สัง่ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ก็ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วทำรายงานเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อพิจารณาเสนอความเห็น
ส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาใหม่ของผู้ถูกกล่าวหาที่มีอำนาจสั่งลงโทษพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหา
หลายคน และถูกย้ายหรือแต่งตั้งไปอยู่ต่างสงั กัดให้ผู้ส่ังแตง่ ต้ังคณะกรรมการสอบสวนเสนอสำนวนการสอบสวน
ไปยังผู้มีอำนาจลงโทษแก่พนักงานทุกคนที่ถูกกล่าวหาพิจารณาสั่งการในระหว่างการสอบสวน ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตาย
ใหค้ ณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนตอ่ ไปจนเสรจ็

ข้อ ๓๖ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ เสร็จแล้วให้
คณะกรรมการสอบสวนประชุมปรึกษา แล้วทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
โดยสรปุ ขอ้ เท็จจริงและพยาน หลกั ฐานต่าง ๆ พร้อมทัง้ ความเหน็ วา่ ผถู้ ูกกล่าวหาไดก้ ระทำผดิ วินยั หรือไม่อย่างไร
ถ้าเห็นว่าเป็นความผิดให้ระบุว่าผิดข้อใด ฐานใด และควรได้รับโทษสถานใด หากกรรมการสอบสวนคนใด
มีความเห็นแย้ง ให้ทำความเห็นแย้งติดไว้ในสำนวนการสอบสวน และให้ทำสารบาญเอกสารการสอบสวน
ตดิ สำนวนไว้ดว้ ย

ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการสอบสวนต้องมีการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขอ ง
จำนวนกรรมการทั้งหมด ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ใด้ให้ทีป่ ระชุมเลอื ก
กรรมการคนหนึง่ ทำหน้าที่เป็นประธาน ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ใหถ้ อื เสียงขา้ งมากถา้ คะแนนเสียง
เท่ากัน ใหป้ ระธานในท่ปี ระชุมออกเสยี งเพ่ิมข้นึ อีกเสียงหนึ่ง เป็นเสยี งขีข้ าด

เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานสอบสวนตามวรรคหนึง่ และเสนอสำนวนการสอบสวน
ตอ่ ผูส้ ัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการสอบสวนแล้ว ถือวา่ ไดส้ อบสวนเสรจ็

ข้อ ๓๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้ว ให้ผู้สั่งแต่งต้ัง
คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บงั คับบญั ชาตามข้อ ๓๕ แล้วแต่กรณีที่มีอำนาจสั่งลงโทษพิจารณาและส่ังการตาม
อำนาจทม่ี ีอยู่หากเห็นว่าโทษที่จะลงเกินอำนาจของตนใหเ้ สนอผู้บงั คับบัญชาเหนือตน เพ่อื พิจารณาส่ังการต่อไป
ภายในกำหนด ๑๕ วัน นบั แตว่ ันได้รับสำนวนการสอบสวน

ข้อ ๓๘ ในกรณีผู้ที่สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับ บัญชาที่มีอำนาจสั่งลงโทษ
เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด ก็ให้กำหนดประเด็นพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการ
เพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เมื่อคณะกรรมการได้รบั เรือ่ งที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมแล้ว
ให้บนั ทึกวันรบั เร่ืองนั้นไว้ในสำนวน

ในกรณีที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติมนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้เสร็จ
ภายใน ๑๕ วนั นับแตว่ นั ทคี่ ณะกรรมการไดร้ บั เรื่องทีจ่ ะต้องสอบสวนเพมิ่ เติม

ข้อ ๓9 ในกรณีที่ปรากฎว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือการสอบสวนตอนใด ทำไม่
ถกู ต้องตามหลักเกณฑ์และวธิ ีการตามข้อบังคับนี้ ในสว่ นท่เี ป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรมไป ให้ผู้ส่ัง
แตง่ ต้ังคณะกรรมการสอบสวน หรือผ้อู ำนวยการสัง่ ให้แกไ้ ขหรอื ดำเนนิ การเสียใหม่เฉพาะตอนท่ีไม่ถูกตอ้ งได้

ขอ้ ๔0 การนบั เวลาตามขอ้ บงั คบั นี้ ถา้ มไิ ดก้ ำหนดเป็นอย่างอน่ื เวลาเร่ิมต้นให้นับถัดจากวันแรก
แห่งเวลาน้นั เป็นวันเริม่ นับเวลา แตถ่ ้าเปน็ กรณขี ยายเวลาใหน้ ับวนั ต่อจากวนั สดุ ท้ายแห่งเวลาเดมิ เป็นวนั เร่ิมเวลา
ที่ขยายออกไป ส่วนเวลาสิน้ สุดนัน้ ถา้ วันสดุ ท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยดุ ขององค์การใหน้ ับวันเร่ิมเปิดทำการใหม่
เปน็ วนั สดุ ท้ายแห่งเวลา

24

ขอ้ ๔๑ ห้ามมิใหส้ ่ังพักงานพนักงาน เวน้ แตพ่ นักงานผู้ใดถูกกล่าวหาหรือปรากฎว่ากระทำผิดวินัย
จนถึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนตามข้อ 1๖ หรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา
ให้สั่งพกั งาน เพอ่ื รอฟงั ผลการพิจารณาสอบสวนไดเ้ ม่ือมเี หตุอยา่ งหนงึ่ อย่างใดดังต่อไปน้ี

๔๑.๑ กรณีที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญาหรือถูกฟ้อง
คดีอาญาเป็นเร่ืองทเี่ กยี่ วกับการทุจริต

๔๑.๒ มพี ฤตกิ ารณ์ท่ีแสดงว่า ถา้ ให้ผ้นู น้ั คงอยู่ปฏิบัติงานจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน
พิจารณาหรือจะกอ่ ให้เกดิ ความไมส่ งบเรยี บร้อย

41.3 ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกคุมขังหรือจำคุกมาเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า ๑0 วัน
ในกรณดี งั กล่าวใหผ้ ้บู งั คบั บัญชารายงานตามลำดับจนถงึ ผ้มู อี ำนาจส่งั พักงาน ตามข้อ ๔๖ เพ่ือพิจารณาส่ังการ

การสง่ั พักงานให้เป็นไปตลอดเวลาท่ีสอบสวนพิจารณาเวน้ แต่เหตุที่ควรส่ังดังกล่าวได้หมดไปแล้ว
จะส่ังใหก้ ลับเข้าทำงานกอ่ นการสอบสวนพจิ ารณาเสร็จก็ได้

ถ้าภายหลังปรากฎผลการสอบสวนพิจารณาผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูก
ลงโทษไล่ออก หรือให้ออก และไม่มีกรณที ีจ่ ะต้องออกจากงานด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้มอี ำนาจตามขอ้ 4๖ สั่งใหผ้ ้นู ้ัน
กลบั เข้าทำงานในตำแหนง่ เดมิ หรอื ในตำแหนง่ ระดับเดียวกนั

ข้อ ๔๒ เมื่อได้สั่งพักงานในสำนวนใด หรือคดีใดไว้แล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักงานนั้น
ถกู กล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยจนถูกตง้ั กรรมการสอบสวนในสำนวนอ่ืน หรอื ถกู ฟอ้ งคดีอาญาหรือตอ้ งหาว่ากระทำ
ผิดอาญาในคดอี ืน่ เพิ่มขน้ึ อกี กใ็ หส้ ัง่ พกั งานในสำนวนหรอื คดที ีเ่ พมิ่ ขนึ้ นัน้ ได้ด้วย

ข้อ ๔๓ การส่งั พักงานหา้ มมใิ หส้ ่งั พกั งานย้อนหลงั ไปก่อนวันออกคำส่งั เวน้ แต่
43.1 ผู้ซ่ึงจะถูกสั่งพักงานอยู่ในระหว่างถูกคุมขังหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา การสั่ง

พักงานในเรอื่ งน้นั ให้สัง่ พกั ย้อนหลงั ไปถึงวนั แรกท่ถี ูกคุมขงั หรือจำคุก
43.2 ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักงานไว้แล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ถูกต้อง

ใหส้ ่งั ตั้งแต่วันให้พักงานตามคำส่งั เดิม หรือตามวนั ทคี่ วรต้องพักงานในขณะที่ออกคำสัง่ เดิม
ขอ้ ๔๔ คำส่งั พักงาน ใหท้ ำเปน็ หนงั สือโดยระบชุ ือ่ ผถู้ ูกสง่ั พกั งานพรอ้ มทั้งเหตุผล
เมื่อมีคำสั่งให้พนักงานผู้ใดพักงานแล้ว ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้บังคับบัญชาและผู้นั้นทราบโดยพลัน

แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ทราบได้ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ ที่ทำการของผู้นั้น และให้ถือว่าผู้ถูกสั่งพักงานได้รับทราบ
คำสั่งแล้ว เว้นแต่

๔๔.๑ กรณีทถี่ กู สั่งพักงานปฏิบัตงิ านล่วงเลยวันสง่ั พักงาน ให้ถือวนั ถัดจากวันรับทราบ
คำส่งั เป็นวนั สัง่ พกั งาน

๔๔.๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ผู้ถูกพักงานส่งมอบงานด้วย ให้ผู้ถูกพักงาน
ส่งมอบงานให้เสร็จสิน้ ภายในกำหนด 7 วัน นับถัดจากวันรบั ทราบคำส่ังและให้ถอื วนั ถัดจากวันส่งมอบงานเสร็จ
เป็นวันส่ังพกั งาน

ขอ้ ๔๕ เมือ่ ไดส้ ง่ั ให้พนักงานผ้ใู ดพักงาน ถ้าภายหลังปรากฎผลการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัย
เปน็ ประการใด ให้ดำเนนิ การดงั ตอ่ ไปนี้

25

45.1 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามข้อ ๑0 หรือข้อ ๑๑ ก็ให้สั่งลงโทษ
ไลอ่ อกหรือให้ออกแล้วแตก่ รณี ต้ังแตว่ นั ทสี่ ่ังพกั งานเว้นแต่กรณที ี่ขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรใหส้ ่ังไล่ออกหรือ
ใหอ้ อกตงั้ แต่วันทีข่ าดงานท่ไี มม่ เี หตุอนั สมควรเป็นตน้ ไป

4๕.๒ ในกรณีที่การสอบสวนไม่ได้ความชัดเจนว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัย แต่มีมลทิน
มัวหมองในเรื่องที่ถูกสอบสวนซึ่งจะให้เป็นพนักงานต่อไป อาจจะทำให้เสียหายแก่องค์การ ให้ผู้บังคับบัญชา
สัง่ เลกิ จา้ งตั้งแต่วันทส่ี ่ังพกั งาน

๔๕.๓ ในกรณที ปี่ รากฏว่า ผนู้ ้นั กระทำผิดวนิ ยั แตย่ ังไม่ถึงขน้ั ทีจ่ ะต้องถูกลงโทษไล่ออก
หรือให้ออก และไม่มีมลทินมัวหมองตามข้อ ๔๕.๒ ก็ให้สั่งผู้นั้นกลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งอ่ืน
ในระดับเดียวกันและให้ได้รับสิทธิผลประโยชน์ในระหว่างพักงาน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้แล้วลงโทษ
ตามขอ้ ๑๒

๔5.4 ในกรณีท่กี ารสอบสวนไม่ได้ความว่าผูน้ ั้นกระทำผิดวนิ ยั และไม่มีมลหินมัวหมอง
ตามข้อ ๔๕.๒ หรือในกรณีละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงานติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า ๑0 วัน โดยมีเหตุอันควร
ใหส้ ง่ั ผูน้ นั้ กลบั เข้าทำงาน และใหส้ ิทธิผลประโยชน์ทำนองเดยี วกนั กบั ขอ้ ๔๕.๓

ข้อ 4๖ ผู้อำนวยการมีอำนาจส่งั พักงานแก่พนักงานได้ทุกตำแหน่ง สำหรับอำนาจการส่ังพักงาน
ผู้อำนวยการจะมอบหมายให้ผดู้ ำรงตำแหนง่ อ่นื ส่ังการแทนก็ได้

อำนาจสั่งให้กลับเขา้ ทำงานให้ปฏบิ ตั ติ ามวรรคหน่งึ โดยอนุโลม
ข้อ ๔๗ การสั่งพักงานและการสั่งให้พนักงานกลับเข้าทำงานแก่ตำแหน่งที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ
ใหผ้ ูอ้ ำนวยการรายงานให้คณะกรรมการทราบด้วย
ข้อ ๔๘ เมื่อพนักงานผู้ใดไม่มาปฏิบัติงานติดต่อกัน ๓ วัน แล้วยังไม่ทราบสาเหตุ ให้ผู้บังคับบัญชา
ตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไป หรือผู้รับมอบหมายทำการสืบสวนหาข้อเท็จจริงว่าผู้นั้นไม่มาปฏิบัติงานเพราะเหตุใด
การสบื สวนดังกลา่ วอาจทำไดด้ ้วยวธิ ีอยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

๔๘.๑ การสอบถามผรู้ ว่ มงาน หรอื ญาติมิตรของผนู้ ัน้
๔๘.๒ ส่งหนังสอื แจ้งไปยังท่อี ยู่ของผู้นัน้ ตามทแี่ จ้งไวก้ ับองคก์ าร
๔๘.๓ ส่งเจา้ หน้าทไ่ี ปสบื ยังสถานทอี่ ยตู่ ามท่แี จ้งไว้ หรือ ณ ท่ีคาดว่าจะไดพ้ บปะ
๔๘.๔ สอบถามเจ้าตัวเมื่อพบตัวว่าไม่มาปฏิบัติงานเพราะเหตุใด หรือให้ทำคำชี้แจง
เป็นหนังสือ การสอบถามหรือการชี้แจงถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ให้ผู้สอบถามบันทึกสาเหตุที่ไม่มาปฏิบัติงานไว้เป็น
หลกั ฐานทกุ คร้งั และให้ผูถ้ ูกสอบถามลงลายมอื ซ่ือไวด้ ว้ ย
ข้อ ๔๙ เมื่อพนักงานผู้ใดไม่มาปฏิบัติงานติดต่อกัน รวม ๓ วัน และได้ดำเนินการสืบสวนแล้ว
ยงั ไมท่ ราบวา่ สาเหตขุ องการไม่มาปฏิบัตงิ าน ให้ดำเนินการตามข้อ ๔๘.๒ หรอื ๔๘.๓ แลว้ แต่จะเหน็ สมควร
เม่อื ได้ดำเนินการตามวรรคหนง่ึ แล้วยงั ไม่ทราบสาเหตทุ ี่ผู้นัน้ ไม่มาปฏบิ ตั งิ านจนเกนิ กว่า ๑0 วัน
และไม่ได้รับแจ้งจากผู้นั้นเป็นหนังสือ ใหถ้ ือวา่ ผนู้ ้ันขาดงานติดต่อกันเกนิ กวา่ ๑0 วนั โดยไม่มีเหตอุ ันสมควร
ข้อ ๕0 หากภายหลังพนักงานมารายงานตัวและอ้างเหตุหรือยื่นหลักฐานกรณีไม่มาปฏิบัติงาน
เกนิ กว่า ๑0 วัน โดยมเี หตอุ ันสมควรใหด้ ำเนนิ การดังตอ่ ไปนี้
๕๐.๑ กรณีองค์การยังไม่มีคำสั่งลงโทษ ให้ผู้บังคบั บัญชารบั คำร้องพร้อมหลักฐาน (ถ้ามี)
ถา้ เรื่องน้ันไดเ้ สนอผมู้ ีอำนาจสงั่ ลงโทษแล้วให้รายงานระงับเร่อื งไว้ และใหผ้ ูบ้ งั คับบญั ชาแตง่ ตั้งคณะกรรมการขึ้น
สอบสวนเพื่อหาขอ้ เท็จจริง โดยใหส้ อบสวนให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน

26

๕0.๒ เมอ่ื คณะกรรมการสอบสวนเสร็จแล้วให้เสนอความเห็นต่อผู้สั่งแต่งต้ังคณะกรรมการ
สอบสวนว่าการไม่มาปฏบิ ตั งิ านนน้ั มเี หตุอนั สมควรหรือไม่

๕๐.๒.๑ ถ้ามีเหตุอันสมควรจะให้ถือว่าเป็นการลากิจแล้วให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้า
ทำงานตามเดมิ

๕๐.๒.๒ ถ้าไมม่ เี หตอุ นั สมควรใหท้ ำรายงานเสนอลงโทษทางวินยั โดยเร็ว
๕o.๓ กรณอี งคก์ ารมคี ำสงั่ ลงโทษแล้ว หา้ มรับคำร้อง ตามข้อ ๕0.๑ แตพ่ นักงานมีสิทธิ
ย่ืนอุทธรณค์ ำสัง่ ลงโทษตามหมวด ๔

หมวด ๔
การอุทธรณ์และการพจิ ารณาอุทธรณ์
ข้อ ๕1 ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขึ้นคณะหนึ่งอย่างน้อย ๕ คน
แต่ไม่เกิน ๗ คน และแต่งตั้งผู้แทนจากสำนักกฎหมาย จำนวน ๑ คน เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ตาม
ข้อบงั คับนี้
ข้อ ๕๒ พนักงานที่ถูกลงโทษฐานกระทำผิดวินัย ถ้าเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมมีสิทธิ
อุทธรณ์คำสั่งลงโทษได้ โดยทำคำร้องเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ ๕๑ ภายใน ๓๐ วัน
นบั ถดั จากวันรับทราบคำส่ังและให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่าน้ัน จะอุทธรณ์แทนคนอื่นหรือมอบหมายให้คนอื่น
อุทธรณแ์ ทนตนไมไ่ ด้
ข้อ ๕๓ เมื่อยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นคำแถลงการณ์ เป็นหนังสือ หรือ
ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณอุทธรณ์ก็ได้ แต่ต้องยื่น หรือทำ
คำขอเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณเ์ สร็จ
ข้อ ๕๔ ในการพจิ ารณาอทุ ธรณ์ คณะกรรมการมอี ำนาจ
๕๔.1 มอบหมายให้กรรมการหรือเจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดตรวจสำนวนการสอบสวน
และทำรายงานสรปุ ขอ้ เท็จจริงยกปญั หาที่เป็นประเดน็ ให้คณะกรรมการวนิ จิ ฉยั เพื่อความรวดเรว็ ก็ได้
๕๔.๒ สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ทำการสอบสวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม
หรือคณะกรรมการพิจารณาอทุ ธรณจ์ ะสอบสวนพยานหลกั ฐานเพม่ิ เติมเองก็ได้
หากประเด็นที่ยกข้ึนอุทธรณ์นน้ั เกี่ยวพันไปถึงการปฏิบัติงานของพนักงานอ่ืนจะเรียกพนักงานผู้นั้น
มาสอบสวน หรือให้ทำคำชี้แจงแกอ้ ทุ ธรณเ์ ป็นหนังสอื ตามประเด็นน้ันก็ได้
ขอ้ ๕๕ เม่ือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสร็จแล้วให้ทำรายงานเสนอต่อผู้อำนวยการ พร้อมด้วย
สำนวนการสอบสวน หรือหลักฐานการพิจารณโทษว่าอุทธรณ์เรื่องนั้นมีข้อเท็จจริงประการใด ควรยืนยันตาม
คำส่ังเดมิ ยกโทษ หรือเปล่ียนแปลงโทษ เชน่ เพิ่มโทษหรือลดโทษประการใด ดว้ ยเหตผุ ลอยา่ งใด
เมื่อผู้อำนวยการพิจารณาสั่งการต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาให้แลว้ เสร็จ
ภายใน ๓๐ วนั นับถดั จากวนั รบั อุทธรณ์
คำวินจิ ฉยั อทุ ธรณ์ของผู้อำนวยการให้เป็นทสี่ ุด
การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุใหร้ อการลงโทษตามคำสัง่ ผบู้ งั คบั บญั ชา
เมื่อผู้อำนวยการสัง่ ประการใดแลว้ ให้สำนักการเจา้ หนา้ ที่เป็นเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไป
ตามทส่ี ง่ั การน้ันแลว้ แจง้ ให้ผู้อุทธรณท์ ราบโดยเรว็

27

ข้อ ๕๖ การสอบสวนหรือการพิจารณาโทษทางวินัยของพนักงานผู้ใดยังไม่เสร็จสิ้นในวัน
ประกาศใช้ข้อบังคับนี้ให้ปฏิบัตติ ามข้อบังคับเดิม เว้นแต่โทษที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับนีเ้ ป็นคุณต่อผูถ้ ูกกล่าวหา
ใหใ้ ชโ้ ทษตามขอ้ บังคับนี้แทน

หมวด ๕
เงินเดอื นระหวา่ งถูกพักงาน
ข้อ ๕๗ พนักงานผู้ใดผู้ถูกสั่งพักงาน ให้งดจ่ายเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์อื่น สำหรับ
พนักงานผู้นั้นระหว่างพักงานไว้ก่อน ตั้งแต่วันสั่งพักงานเป็นต้นไป แต่ให้จ่ายเงินเดือนและสิทธิผลประโยชน์อื่น
ถึงวนั สุดทา้ ยก่อนวนั ถูกสงั่ พักงาน
กรณีพนักงานผู้นั้นได้รับทราบคำสั่งพักงานภายหลังวันให้พักงาน และได้ปฏิบัติงานล่วงเลย
วนั ให้พกั งานให้งดจา่ ยเงินเดอื น ต้ังแตว่ ันถดั จากวันรบั ทราบคำส่งั ให้พกั งานนัน้
กรณที ่ีผบู้ ังคับบัญชาสั่งใหผ้ ู้ถูกพักงานส่งมอบงานด้วย ใหง้ ดจ่ายเงินเดือนตั้งแต่วันถัดจากวันส่ง
มอบงานเสรจ็ แตต่ ้องไม่เกิน 7 วัน นับถดั จากวนั รบั ทราบคำส่งั ให้พักงาน
ขอ้ ๕๘ เงินเดอื นทีง่ ดจา่ ยไว้ระหว่างถูกพกั งาน เมอื่ คดหี รือกรณีถึงทส่ี ุดใหด้ ำเนนิ การ ดงั น้ี
58.1 ถ้าผู้ถูกพักงานมิได้กระทำผิด และไม่มีมลทินมัวหมอง ในกรณีที่ถูกพักงาน
เกย่ี วกบั งานขององค์การน้นั ให้จา่ ยเงนิ เดือนให้เต็ม และใหไ้ ดร้ ับสิทธิผลประโยชน์อ่ืนตามระเบียบ ข้อบังคับของ
องคก์ าร แตถ่ า้ เหตทุ ถี่ กู ส่งั พกั งานเกิดจากการกระทำของพนักงานผู้น้ัน ไมเ่ ก่ียวข้องกับงานขององค์การหา้ มมิใหจ้ ่าย
58.2 ถ้าผู้ถูกพักงานได้กระทำผิด แต่ถูกลงโทษไม่ถึงไล่ออก หรือให้ออก ให้จ่าย
เงินเดือนได้ไม่เกินครึ่งหนึ่ง ตามที่ผู้อำนวยการจะสั่งการเป็นราย ๆ ไป ส่วนสิทธิผลประโยชน์อื่นใดจ่ายได้ตาม
สทิ ธิของผูน้ ั้น
๕๘.๓ ถา้ ผู้ถูกพักงานมมี ลทนิ มัวหมองในเรอ่ื งทส่ี อบสวนนน้ั แล้วจะเลิกจ้าง กใ็ หเ้ ลิกจา้ ง
ตั้งแต่วันส่ังพักงาน ไม่จ่ายเงินเดือนและสิทธผิ ลประโยชน์อ่ืนระหว่างพักงานให้ แต่ถ้าคงให้เปน็ พนกั งานต่อไป ก็
ให้จา่ ยเงินเดือนได้ไม่เกนิ คร่ึงหน่ึง ตามท่ผี ู้อำนวยการจะสัง่ การเป็นราย ๆ ไป ส่วนสิทธผิ ลประโยชน์อ่ืนให้จ่ายได้
ตามสทิ ธิของผู้นั้น
58.4 ถ้าผู้ถูกพักงานได้กระทำผิด โทษถึงให้ออก แต่ได้รับลดโทษลงเพราะมีเหตุอันควร
ปราณีไม่ถงึ ให้ออก ไมใ่ หไ้ ดร้ บั เงินเดอื นและสิทธิผลประโยซนอ์ น่ื
ข้อ 59 พนักงานที่อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และต่อมาผู้อำนวยการได้สั่งเปลี่ยนแปลงโทษใหม่
ใหด้ ำเนินการเก่ยี วกับเงนิ เดอื นและสิทธิผลประโยชนอ์ ื่นของพนักงานผู้นนั้ ดังน้ี
59.1 ในกรณียกโทษ หรอื ลดโทษ
59.1.1 ถ้าโทษเดิมเป็นโทษไล่ออก หรือให้ออก เมื่อสั่งให้กลับเข้าทำงาน
ตามเดิมให้นับอายุงานต่อเนอ่ื ง โดยเว้นช่วงตัง้ แตว่ นั ท่ไี ล่ออก หรือใหอ้ อก จนถึงวันทีส่ ่งั ให้กลบั เขา้ ทำงานตามเดิม
และไม่ใหใ้ ดร้ บั เงนิ เดอื นและสิทธผิ ลประโยซน์อนื่ ในช่วงถูกลงโทษไลอ่ อกหรือใหอ้ อกนัน้
๕๙.๑.๒ ถ้าโทษเดมิ เปน็ โทษลดข้นั เงินเดือน หรอื ตดั เงนิ เดือนให้คำนวณเงินของ
ผ้นู ั้นตามคำส่ังใหม่ให้ถกู ต้องแล้วดำเนินการไปตามนั้น
๕๙.๒ ในกรณีเพิ่มโทษ ให้ดำเนนิ การตามคำชขี้ าดของผูอ้ ำนวยการ
ประกาศ ณ วันท่ี ๓๑ เดือนพฤษภาคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒

28

บญั ชี 1

บัญชีลดขน้ั เงินเดอื นและตัดเงินเดอื นพนักงานประจำเดือน

ลดขัน้ ตัดเงินเดอื นไม่เกิน

ผ้บู งั คบั บญั ชา ผู้กระทำผิดวนิ ัย เงินเดือน กำหนดเวลา กำหนดสดั ส่วน

ไมเ่ กิน (เดือน) เงนิ เดอื น (%)

ผู้อำนวยการ พนกั งานทกุ ตำแหน่ง ตามท่ี ตามท่ี ตามที่

เหน็ สมควร เหน็ สมควร เห็นสมควร

รองผ้อู ำนวยการ 1.ผ้อู ำนวยการเขต 12 25

(เฉพาะในสายบังคับบญั ชาของตน) 2.ผู้อำนวยการสำนกั 12 25

3.ผู้ชว่ ยผ้อู ำนวยการเขต 2 3 25

4.ผู้ชว่ ยผูอ้ ำนวยการสำนัก 2 3 25

5.หัวหน้ากลุม่ งาน 24 20

6.หวั หน้างาน 25 15

7.พนกั งาน 26 10

ผ้ชู ว่ ยรองผอู้ ำนวยการ 1.หวั หนา้ กลุม่ งาน 22 25

(เฉพาะในสายบังคบั บัญชาของตน) 2.หวั หนา้ งาน 23 20

3.หวั หนา้ หมวด 24 15

4.พนกั งาน 25 10

ผอู้ ำนวยการเขต 1.หัวหน้ากล่มุ งาน 11 25

ผู้อำนวยการสำนัก 2.หวั หนา้ งาน 12 20

ผู้ตรวจการ 3.หัวหน้าหมวด 13 15

(เฉพาะในสายบังคับบัญชาของตน) 4.พนกั งาน 14 10

หวั หนา้ กลุ่มงาน 1.หัวหน้างาน - 1 20

ผู้ตรวจการ 2.หวั หนา้ หมวด - 2 10

(เฉพาะในสายบังคบั บญั ชาของตน) 3.พนกั งาน - 3 15

บัญชี 2

บัญชีตดั เงนิ เดือนพนกั งานประจำรายวัน

ผบู้ งั คบั บัญชา กำหนดเวลา (เดอื น) กำหนดสดั สว่ นเงินเดือน (บาท)
ตามที่เหน็ สมควร
ผ้อู ำนวยการ ตามท่เี หน็ สมควร 100

รองผ้อู ำนวยการ หรือผูท้ ไี่ ดร้ ับมอบหมาย 6 100

(เฉพาะในสายบังคบั บญั ชาของตน) 100

ผ้อู ำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนกั หรอื ผูท้ ไ่ี ด้รับมอบหมาย 4

(เฉพาะในสายบังคับบัญชาของตน)

หัวหนา้ กล่มุ งาน (เฉพาะในสายบังคับบัญชาของตน) 3

29

30

31

32

33

34

35

36

สิทธแิ ละสวสั ดิการเงินบำเหน็จ
ระเบียบองค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
วา่ ด้วย วธิ ปี ฏบิ ัตเิ ก่ยี วกบั เงินบำเหน็จ พ.ศ. 2563
ด้วยเห็นสมควรออกระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินบำเหน็จพนักงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและ
ถูกต้องในการขอรับเงินและการจ่ายเงินบำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินตอบแทนความชอบพิเศษ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6(4) แห่งข้อ บังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฉบับที่ 190
ว่าด้วยเงินบำเหน็จ พ.ศ. 2562 ลงวันท่ี 19 ธันวาคม 2562 จึงออกระเบียบว่าด้วยวิธปี ฏบิ ตั ิเกีย่ วกบั เงินบำเหน็จ เงนิ
ตอบแทนความชอบในการทำงาน เงนิ ตอบแทนความซอบพิเศษพนักงาน ไว้ดังตอ่ ไปนี้
ข้อ 1 ให้ใช้ระเบียบนี้ต้ังแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป และให้ยกเลิกระเบียบ คำสัง่
บันทกี ส่งั การ ซ่งึ ขัดหรือแย้งระเบียบน้ี และใหใ้ ช้ระเบียบนแี้ ทน
ข้อ 2 การนับระยะเวลาหนงึ่ รอ้ ยยี่สบิ วนั ท่ผี ู้มสี ิทธยิ ื่นคำขอรบั เงนิ บำเหน็จตามขอ้ 18 แห่งขอ้ บังคับ
องค์การ ฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ พ.ศ. 2562 นั้น ให้เริม่ นับตัง้ แต่วันที่องค์การออกคำสั่งอนุญาตใหพ้ นกั งาน
พน้ สภาพพนกั งาน หรอื นับตง้ั แต่วนั ที่พนักงานตายเป็นตน้ ไป
ขอ้ 3 กรณีพนักงานยนื่ ใบลาออก
3.1 ถ้าพนักงานยื่นคำขอรับเงนิ บำเหน็จพร้อมกับใบลาออก หรอื ในเวลาต่อมากอ่ นออกคำส่ัง
อนุญาตใหล้ าออก ให้หน่วยงานต้นสังกดั รวบรวมหลกั ฐานประวัติพนักงานตรวจสอบหนีส้ นิ และเอกสารอ่นื ๆ ที่จำเป็น
และคำนวณเงินบำเหน็จที่พนักงานผู้นั้นจะได้รับตั้งแต่วันเริ่มบรรจุเป็นพนักงานทดลองงาน ถึงวันสิ้นสุดการเป็น
พนักงาน ไว้ให้ถูกต้องภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันได้รับคำขอรับเงินบำเหน็จของพนักงาน เพื่อรอคำสั่ง
อนุญาตให้ลาออก
3.2 ถ้าพนักงานยื่นคำขอรบั เงนิ บำเหน็จ ณ วันที่ออกคำสั่งให้ลาออกหรอื ภายหลังจากนัน้ ซึ่ง
อยู่ภายในกำหนดหน่ึงรอ้ ยย่ีสบิ วนั ตามขอ้ 2 ให้หนว่ ยงานต้นสงั กัดปฏบิ ตั ิเชน่ เดยี วกบั ขอ้ 3.1 ให้เสร็จสน้ิ ภายในสบิ หา้
วนั นับตง้ั แต่วันถัดจากวันรับคำขอรบั เงินบำเหน็จ
เมื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกแล้ว หรือได้ปฏิบัติตามข้อ 3.2 เสร็จสิ้นแล้วให้หน่วยงานต้นสังกัด
ดำเนนิ การนำเสนอขออนุมัติจำนวนเงินให้พนกั งานตามสิทธิของพนักงาน
ข้อ 4 กรณีพนักงานตายให้หน่วยงานต้นสังกัด แจ้งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคน ตามที่
กำหนดให้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จของผู้ตายไว้ในข้อ 12 แห่งข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ
พ.ศ. 2562 ทราบภายในกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันตาย เพื่อให้มายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จของ
พนักงานท่ีตาย ถ้าบคุ คลดงั กลา่ วคนใดคนหนึ่งมาย่ืนคำขอรบั เงนิ บำเหน็จ ในวันใดภายในหน่ึงรอ้ ยยี่สบิ วนั นับตั้งแต่วัน
ถดั จากวันตายของพนักงาน ใหถ้ ือวา่ บุคคลผู้มีสทิ ธริ บั เงินบำเหน็จทกุ คน ไดย้ ่นื คำขอรับเงินบำเหนจ็ ในวันนัน้ ด้วยแลว้
เมือ่ ไดร้ บั คำขอรับเงินบำเหน็จตามวรรคแรกแล้วให้หน่วยงานตน้ สังกดั รวบรวมหลักฐานและคำนวณ
เงินบำเหน็จ เริ่มตั้งแต่วันที่มีคำสั่งบรรจุเข้าทดลองงานจนถึงวันตาย พร้อมทั้งสำเนาใบมรณบัตร
ซึง่ ทางราซการรับรองมาประกอบด้วยใหแ้ ล้วเสรจ็ ภายในสบิ ห้าวัน นบั ตง้ั แตว่ นั ถดั จากได้รบั คำขอรับเงินบำเหนจ็
ข้อ 5 กรณีพนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ตามข้อ 11.3 และข้อ 11.4 แห่งข้อบังคับองค์การ
ฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ พ.ศ. 2562 ให้พนักงานผู้นั้นยื่นคำขอรับเงินบำเหน็จต่อหน่วยงาน
ต้นสังกัดภายในกำหนดหนึ่งร้อยย่ีสิบวัน ตามข้อ 2 และเมื่อได้รับคำขอแล้วให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการ
เช่นเดยี วกบั ขอ้ 3

37

ข้อ 6 กรณีพนักงานออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ให้
หนว่ ยงานต้นสังกัด ดำเนนิ การรวบรวมหลกั ฐานประวัติการทำงาน ตรวจสอบหนี้สนิ และคำนวณเงนิ บำเหน็จ เริ่ม
ต้ังแต่วนั ทมี่ ีคำส่งั บรรจุให้ทดลองงาน จนถงึ วันท่ี 30 กันยายน ของปีนัน้ โดยใหด้ ำเนนิ การตามข้อ 3 ใหเ้ สร็จสิ้น
ภายในวันท่ี 1 กนั ยายน ของปีนัน้

ข้อ 7 พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รบั เงนิ ค่าตอบแทนความชอบในการทำงานและหรอื
เงินตอบแทนความชอบพิเศษ และมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย ตามข้อบังคับองค์การ ฉบับที่ 190 ว่าด้วย
เงินบำเหน็จ พ.ศ. 2562 ให้หน่วยงานต้นสังกัด คำนวณเงินค่าตอบแทนความซอบในการทำงานและหรือเงิน
ตอบแทนความชอบพเิ ศษ แยกจากเงินบำเหนจ็

ข้อ 8 วิธคี ดิ เงินบำเหนจ็ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน และเงนิ ตอบแทนความชอบพเิ ศษ
8.1 การคำนวณเงินบำเหน็จ
การนับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่มีคำสั่งบรรจุเข้าทดลองงาน หรือ วันที่โอนจาก

ผปู้ ระกอบการเดมิ ถงึ วันสดุ ท้ายกอ่ นวนั ทีพ่ ้นสภาพตามคำส่งั

พนกั งานประจำรายเดือน พนกั งานประจำรายวัน

จำนวนวัน 1 ปี 365 วนั จำนวนวัน 1 ปี 312 วนั
จำนวนวนั 1 เดอื น 30 วนั จำนวนวนั 1 เดอื น 26 วนั
เศษของวันคิดตามวันท่เี หลอื จริง เศษของวนั คิดตามวนั ทเี่ หลอื จรงิ
อัตราเงนิ เดือน x จำนวนวันทำงาน (อตั ราคา่ จ้าง x 26) x จำนวนวนั ทำงาน

365 312

8.2 การคำนวณเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานสำหรับพนักงานเกษียณอายุ
หรอื เกษยี ณอายกุ ่อนกำหนด

พนักงานประจำรายเดือน พนักงานประจำรายวนั

อายุงาน 5 ปีขน้ึ ไป อายุงาน 5 ปีข้นึ ไป
= อตั ราเงินเดอื น x 180 วัน = อตั ราคา่ จา้ ง x 180 วนั

อายุงาน 15 ปีขนึ้ ไป อายงุ าน 15 ปขี น้ึ ไป
= อัตราเงินเดือน x 300 วัน = อตั ราค่าจา้ ง x 300 วัน

อายงุ าน 20 ปขี ึน้ ไป อายุงาน 20 ปขี ึน้ ไป
= อตั ราเงินเดอื น x 400 วนั = อตั ราคา่ จา้ ง x 400 วัน

38

8.3 การคำนวณเงินคา่ ตอบแทนความชอบพิเศษ สำหรบั พนักงานเกษียณอายกุ ่อนกำหนด

พนักงานประจำรายเดือน พนกั งานประจำรายวัน

อัตราเงนิ เดือนสุดทา้ ย X จำนวนเดือนทีม่ สี ทิ ธิไดร้ บั อตั ราค่าจ้างสดุ ท้าย x 26 x จำนวนเดอื นท่ีมสี ิทธิ
ตามอายุงานที่เหลอื (โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไดร้ บั ตามอายงุ านท่เี หลือ (โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์
เง่อื นไขประกาศโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด เง่ือนไขประกาศโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด
ขององค์การ)
ขององค์การ)

ขอ้ 9 ให้หนว่ ยงานท่ีเกยี่ วข้องปฏบิ ัตดิ ังนี้
9.1 กรณีพนักงานสังกัดเขตการเดินรถ ใหง้ านบริหารงานบุคคล กล่มุ งานบรหิ ารงานทั่วไป

คำนวณเงินบำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินตอบแทนความชอบพิเศษ ตามสิทธิของพนักงาน
เพ่ือนำเสนอขออนมุ ตั ผิ ้มู อี ำนาจจา่ ยเงนิ บำเหนจ็ เม่อื ผู้มีอำนาจไดอ้ นมุ ตั ิให้จา่ ยเงนิ บำเหน็จแล้ว ให้เขตการเดนิ รถ
ดำเนินการเบิกจา่ ยให้ผูม้ สี ทิ ธภิ ายในสบิ ห้าวันทำการ

9.2 กรณีพนักงานสังกัดสำนักงานใหญ่ ให้กลุ่มงานพัฒนาระบบสวัสดิการ สำนักการ
เจา้ หน้าที่ คำนวณเงินบำเหน็จ เงนิ ตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินตอบแทนความชอบพิเศษ ตามสิทธิของ
พนักงานเพอื่ นำเสนอขออนมุ ัตผิ ู้มีอำนาจจา่ ยเงนิ บำเหน็จ และสง่ เรอ่ื งใหส้ ำนกั บัญชีและกองทุนกลาง ดำเนินการ
เบิกจา่ ยให้แก่ผมู้ สี ทิ ธิภายในสบิ หา้ วันทำการ

ทง้ั น้ี ตามข้อ 9.1 ขอ้ 9.2 กรณมี เี หตขุ ดั ข้องเกี่ยวกับการคำนวณเงินบำเหน็จหรือปัญหา
เกี่ยวกับผมู้ ีสทิ ธิรับเงินบำเหน็จให้นำเรื่องหารือคณะกรรมการพิจารณาเงินบำเหนจ็ ก่อนดำเนินการ เม่ือคณะกรรมการ
พิจารณาเงนิ บำเหนจ็ มีมติแลว้ ให้ดำเนินการตามข้นั ตอนขออนุมัตติ ่อไป

9.3 ผู้มีอำนาจอนุมัติเงินบำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินตอบแทน
ความชอบพเิ ศษ

เขตการเดินรถ ผูอ้ ำนวยการเขตการเดินรถ
สำนกั งานใหญ่ ผู้อำนวยการสำนกั การเจ้าหนา้ ที่
ประกาศ ณ วนั ท่ี 15 เดือนมกราคม พทุ ธศักราช 2563

ขอ้ บงั คับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบบั ที่ 190
ว่าดว้ ยเงนิ บำเหนจ็ พ.ศ. 2562

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ พ.ศ. 2519 และมติคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ครั้งที่ 1/2562
เมื่อวันท่ี 19 ธันวาคม 2562 จงึ ใหอ้ อกข้อบังคบั ไว้ ดงั ตอ่ ไปนี้

ขอ้ 1 ขอ้ บงั คับนเี้ รียกว่า ขอ้ บังคบั องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 190 วา่ ด้วยเงินบำเหน็จ
พ.ศ. 2562

ข้อ 2 ข้อบงั คับน้ีให้ใช้ตั้งแตบ่ ัดนีเ้ ป็นต้นไป
ขอ้ 3 ให้ยกเลกิ ขอ้ บงั คบั องคก์ ารขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ ฉบบั ท่ี 167 ว่าด้วยเงนิ บำเหน็จ
ทง้ั น้ี ระเบยี บและคำสัง่ อ่นื ใดท่ขี ัดหรอื แยง้ กับข้อบงั คับนี้ให้ใชข้ ้อบังคบั นแ้ี ทน

39

ขอ้ 4 ในข้อบังคับนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการซ่ึงผอู้ ำนวยการแต่งตั้งข้ึนตามขอ้ บังคบั นี้
“องค์การ” หมายความวา่ องค์การขนส่งมวลชนกรงุ เทพ
“พนกั งาน” หมายความว่า พนักงานองค์การขนสง่ มวลชนกรงุ เทพ
“เงนิ เดอื น” หมายความวา่ อตั ราเงินเดือนสำหรบั พนกั งานประจำรายเดอื น และลกู จ้างชว่ั คราว
ทจ่ี ่ายเปน็ รายเดือน ทงั้ นไี้ มร่ วมเงนิ เพิ่มอยา่ งอื่น
“คา่ จา้ ง” หมายความว่า อตั ราค่าจ้างรายวัน ทั้งนไ้ี มร่ วมเงินเพิ่มอย่างอ่ืน
“เงินบำเหนจ็ ” หมายความว่า เงนิ ตอบแทนทอ่ี งคก์ ารจา่ ยให้พนักงานตามข้อบังคบั นี้
“เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน “หมายความว่า เงนิ ตอบแทนท่ีองค์การจ่ายให้พนักงาน
เกษียณอายุ หรือเกษยี ณอายกุ ่อนกำหนด ตามหลกั เกณฑ์ทอ่ี งคก์ ารกำหนดใชใ้ นข้อ 13 แห่งขอ้ บังคบั ฉบบั น้ี
“เงินตอบแทนความชอบพิเศษ” หมายความว่า เงินตอบแทนที่องค์การจ่ายให้พนักงานที่เข้า
โครงการเกษยี ณอายกุ อ่ นกำหนดตามหลกั เกณฑ์ที่องค์การกำหนด
ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการพิจารณาเงินบำเหน็จ ซึ่งผู้อำนวยการ
แต่งตั้งจากพนักงานประกอบดว้ ยประธาน และกรรมการอ่ืนอีกไม่น้อยกว่าส่ีคน แต่ไมเ่ กินหกคน โดยมีผู้อำนวยการ
สำนักการเจ้าหนา้ ที่ เปน็ กรรมการและเลขานุการ
ขอ้ 6 คณะกรรมการมอี ำนาจหน้าท่ี ดังนี้

6.1 พิจารณาอนมุ ตั จิ ่ายเงนิ บำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินตอบแทน
ความชอบพเิ ศษ

6.2 ชขี้ าดข้อพิพาทเกี่ยวกับเร่ืองเงินบำเหนจ็ และบุคคลผมู้ ีสิทธไิ ดร้ ับเงนิ บำเหนจ็
6.3 ออกระเบียบปฏบิ ตั ิสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อให้เปน็ ไปตามข้อบงั คบั
6.4 พจิ ารณาเสนอระเบียบปฏิบตั ิงานขององคก์ ารท่ีเกย่ี วข้องกับข้อบงั คบั น้ใี ห้
6.5 แต่งตงั้ คณะอนุกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ
คำวนิ ิจฉยั ของคณะกรรมการถือเปน็ ที่สดุ
ข้อ 7 ให้คณะกรรมการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีท่ีมีการแต่งตั้งซ่อม หรือเพิ่มเติม
กรรมการ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งซ่อมหรือเพิ่มเติมนั้น ดำรงตำแหน่งเพียงเท่ากำหนดเวลาของ
คณะกรรมการชดุ น้ัน
ข้อ 8 คณะกรรมการต้องพ้นจากตำแหน่งเมือ่ ตาย ลาออก พ้นจากความเป็นพนักงานองค์การ
ผู้อำนวยการมคี ำส่งั ถอดถอน และเมอื่ ครบวาระตามขอ้ 7
เมื่อครบกำหนดวาระตามข้อ 7 หากยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ให้ประธาน
กรรมการ และกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระรักษาการในตำแหน่งต่อไป จนกว่าคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
ใหม่จะเข้ารับหนา้ ที่
ข้อ 9 ใหอ้ งค์การจดั ตั้งกองทนุ บำเหน็จพนักงานขึน้ โดยรวมบญั ชไี ว้ในบญั ชกี ารเงินขององค์การ
ให้องค์การโอนเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จพนักงานเป็นประจำทุกเดือนในอัตราร้อยละสิบสองของค่าจ้างของ
พนักงานการโอนเงินเข้าสมทบบัญชีกองทุนบำเหนจ็ พนักงานในเดือนใด ใหถ้ อื เป็นรายจา่ ยในการดำเนินงานของ
องค์การในเดือนนนั้

40

ข้อ 10 องค์การมีอำนาจหักหรือยึดหน่วงเงินนั้นไว้เพ่ือชำระหนี้ หรือปลดเปลื้องภาระผูกพัน
ทง้ั ปวงท่ีมอี ย่กู บั องค์การไมว่ ่าในนามของตนเอง หรอื เพราะเหตตุ อ้ งรบั ผดิ ชอบแทนผูอ้ ื่น

ข้อ 11 พนกั งานต้องมอี ายกุ ารทำงานไมน่ ้อยกวา่ ห้าปี (5 ปี) จะไดร้ บั เงินบำเหนจ็ ตามขอ้ บังคับน้ี
ถ้าต้องออกจากงานเพราะ

11.1 ออกจากงานในวนั สิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบปีบรบิ รู ณห์ รือเกษียณอายุ
ก่อนกำหนด

11.2 ลาออก
11.3 ได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงทีส่ ุดให้จำคุกในความผิดลหโุ ทษหรือความผิดอันได้
กระทำโดยประมาท ซงึ่ องค์การไมม่ ีคำส่งั ลงโทษให้ออก หรอื ไลอ่ อก
11.4 ให้ออกเพราะเหตุทุพลภาพ ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่อันมิใช่ความผิดโดย
ประมาทของตนเอง และแพทยป์ ระจำองคก์ ารได้ตรวจและรับรองวา่ ไม่สามารถปฏิบตั ิงานต่อไปได้ เว้นแต่มีเหตุ
จำเปน็ ไม่สามารถให้แพทยข์ ององค์การตรวจรบั รองได้จึงให้แพทย์ของทางราชการตรวจรับรอง
11.5 ตาย เว้นแต่กรณีอัตวินิบาตกรรม หรือยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองตาย หรือ
เพราะกระทำผดิ วินัย ซ่ึงถ้าไม่ตายเสียกอ่ นก็จะตอ้ งได้รบั โทษถึงไล่ออกหรือให้ออกฐานมีความผดิ
ข้อ 12 ในกรณีที่พนักงานตาย ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11
ให้จ่ายเงินบำเหนจ็ ให้แกบ่ คุ คลดงั ตอ่ ไปน้ี
12.1 บตุ รชอบดว้ ยกฎหมายซ่งึ มิใชบ่ ตุ รบญุ ธรรมคนละหน่งึ ส่วน
12.2 บิดา มารดา ผู้ให้กำเนิดคนละหนึง่ ส่วน
12.3 สามี หรอื ภริยา ท่ีชอบด้วยกฎหมายหน่งึ สว่ น
ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าวข้างต้น แต่มีผู้แสดงหลักฐานว่าเป็นผู้ให้อุปการะผู้ตายและหรือเป็นผู้อยู่
ในอุปการะของผู้ตาย กใ็ ห้คณะกรรมการพจิ ารณาอนมุ ัตจิ ่ายเงนิ ใหแ้ ก่ผอู้ ุปการะและหรือผู้อยูใ่ นอปุ การะ
ข้อ 13 พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศของคณะกรรมการ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ หมวด 9 ค่าชดเชยข้อ 59
ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ยกเว้นการให้ออกจากงานเพราะองค์การเลิกกิจการ
หรือยุบเลิกตำแหนง่
สำหรับพนักงานที่พ้นสภาพเนื่องจากเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตาม
วรรคหนึ่ง แต่ถ้าพนักงานได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันตามระยะเวลา ให้มีสิทธิได้รับเงินเพื่อ
ตอบแทนความชอบในการทำงานตามอตั ราท่ีกำหนด ตังตอ่ ไปน้ี
13.1 พนักงานซง่ึ ไดท้ ำงานในชว่ งก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบหา้ ปีขน้ึ ไปให้ได้รับเงิน
เพือ่ ตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากบั เงินเดือน/ค่าจา้ งอัตราสดุ ทา้ ยหน่งึ ร้อยแปดสบิ วนั
13.2 พนกั งานซึ่งได้ทำงานในช่วงกอ่ นเกษียณอายตุ ิดต่อกนั ครบสิบห้าปีขึ้นไปให้ได้รับ
เงนิ เพอื่ ตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเทา่ กับเงินเดอื น/คา่ จา้ งอัตราสดุ ทา้ ยสามร้อยวัน
13.3 พนักงานซึ่งได้ทำงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไปให้ได้รับ
เงินเพอื่ ตอบแทนความชอบในการทำงานเปน็ จำนวนเทา่ กบั เงนิ เดือน/คา่ จ้างอตั ราสดุ ท้ายสร่ี ้อยวัน

41

ข้อ 14 การนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินบำเหน็จ ให้นับตั้งแต่วันทดลองงานจนถึงวัน
สิ้นสดุ การเปน็ พนกั งาน กรณีทีเ่ วลาทำงานไมต่ อ่ เน่อื งให้นบั เวลาทำงานตามระเบยี บข้อบังคบั วา่ ด้วยการนน้ั

ข้อ 15 พนักงานท่ีพน้ สภาพไปโดยได้รับเงินชดเชย หรอื เงนิ บำเหน็จแล้วหากภายหลงั ได้รับการ
บรรจุเข้าทำงานใหม่ ให้นับเวลาทำงานเฉพาะต้งั แต่เวลาที่เขา้ ทำงานครัง้ ใหมต่ ามหลกั เกณฑ์ในข้อ 14 ดว้ ย

ขอ้ 16 เวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินบำเหน็จให้นับเป็นจำนวนปี เศษของปีให้นับตามอัตราส่วน
จำนวนวัน โดยถือสามร้อยหกสิบห้าวันเป็นหนึ่งปีสำหรับพนักงานรายเดือน และสามร้อยสิบสองวันเป็นหนึ่งปี
สำหรบั พนกั งานรายวนั

ขอ้ 17 วธิ กี ารคำนวณเงินบำเหน็จ ให้ตงั้ คา่ จ้างสดุ ท้ายคณู ดว้ ยเวลาทำงานตาม ขอ้ 16
ข้อ 18 ให้ผู้มีสิทธิยื่นขอรับเงินบำเหน็จภายในกำหนดหน่ึงร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันออกจากงาน
หรือตาย หากเกนิ กำหนดหนงึ่ รอ้ ยย่สี บิ วนั แล้ว เปน็ อันหมดสทิ ธิทจี่ ะยน่ื คำขอรบั เงนิ บำเหน็จอีกต่อไป
ข้อ 19 โดยที่องค์การมีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้พนักงานที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
ตามขอ้ บงั คับน้มี าตัง้ แต่ตน้ ให้องค์การคำนวณเงนิ บำเหน็จที่จะต้องจา่ ยให้พนักงานทุกคน จนถงึ วันก่อนขอ้ บังคับน้ี
มีผลใช้บังคับ เป็นยอดเงนิ บำเหน็จท่ีมภี าระผกู พัน เพ่ือรอการตัดจ่ายเขา้ สมทบบัญชีกองทนุ บำเหนจ็ ภายในสามปี
นับแต่วนั ประกาศใช้ขอ้ บังคับนี้
ยอดเงินบำเหน็จที่มีภาระผูกพันและยังตัดจ่ายไม่หมด ให้มีคำชี้แจงไว้เป็นหมายเหตุใน
งบการเงินประจำปีด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 19 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2562

บนั ทึกข้อความ ท่ี ฝบร. 005 /2563 ลงวนั ท่ี 8 มกราคม 2563
เรือ่ ง แนวทางปฏิบัติเกีย่ วกบั การจา่ ยเงินตามข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190
ตามข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ พ.ศ. 2562
ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2562 นั้น เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินบำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบ
และเงินตอบแทนความชอบพิเศษ เปน็ ไปในแนวทางเดียวกัน จึงกำหนดแนวทางปฏบิ ตั ิ ดงั น้ี
1. แนวทางปฏิบัติในกรณีพนักงานถึงแก่กรรม ตามข้อบังคับฉบับที่ 190 กรณีที่พนักงาน
ถงึ แกก่ รรมและมสี ทิ ธไิ ด้รับเงนิ บำเหน็จใหจ้ า่ ยแกบ่ ุคคลดังต่อไปน้ี
- บตุ รชอบดว้ ยกฎหมายซึ่งมใิ ช่บตุ รบุญธรรมคนละหนงึ่ ส่วน
- บิดา มารดา ผู้ใหก้ ำเนดิ คนละหนึ่งสว่ น
- สามี หรอื ภริยา ทีซ่ อบดว้ ยกฎหมายหนง่ึ สว่ น
1.1 เมื่อพนักงานถึงแก่กรรมให้รวบรวมเอกสารและหลักฐาน โดยคำนวณเงินบำเหน็จ
เร่ิมต้งั แต่วนั ทีม่ คี ำส่ังบรรจเุ ข้าทดลองงานถึงวันถงึ แก่กรรมของพนกั งาน

โดยให้หนว่ ยงานที่เกี่ยวขอ้ งจดั ทำหนังสือเวียนแจ้งหนว่ ยงานต่าง ๆ ทราบโดยเรว็ เพ่ือ
ดำเนินการในส่วนท่ีเกี่ยวข้องต่อไป ทง้ั นี้วนั พ้นสภาพเน่ืองจากถึงแก่กรรมให้นับวันถัดจากวันถึงแก่กรรมเป็นต้นไป
รายละเอียดในหนังสือเวียนให้ระบุชื่อ-สกุล ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ สังกัด อัตราเงินเดือน ตลอดจน
สาเหตทุ ่ีถงึ แกก่ รรม และวนั ทถ่ี ึงแก่กรรมตามหนังสอื สำคญั ทางราชการ

1.2 กรณีพนักงานพ้นสภาพเนื่องจากถึงแก่กรรม (เสียชีวิตขณะเป็นพนักงาน) กรณีถ้าหาก
เปน็ ทรัพยส์ ินท่มี ิได้มีก่อนตา่ ย อันถอื เปน็ ทรัพย์สินมรดก แตเ่ งินบำเหนจ็ เกิดขึ้นเมื่อพนักงานผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว

42

เงินบำเหน็จจำนวนนี้จึงมิใช่ทรัพย์สินมรดกของผู้ตาย เนื่องจากเกิดขึ้นภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว
ดังนั้น เมื่อเงินบำเหน็จนี้มิใช่ทรัพย์สินมรดกผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิจัดการได้ และตามข้อบังคับองค์การ
ได้กำหนดวิธีจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวนี้ไว้ว่า จะต้องจ่ายให้แก่ใครบ้าง จำนวนเท่าใด เงินบำเหน็จของผู้ตาย
ดังกลา่ ว จึงต้องดำเนินการจา่ ยตามข้อบังคับขององคก์ ารทก่ี ำหนดไว้

1.3 กรณีพนักงานพ้นสภาพเนื่องจากลาออก การลาออกของพนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับ
เงินบำเหน็จ และดำเนินการคำนวณเงินบำเหน็จเพื่อจ่ายให้แก่พนักงานผู้นั้นแล้ว ต่อมาภายหลังพนักงานผู้นั้น
ถึงแก่กรรมก่อนจะได้รับเงินบำเหน็จ หรือเงินอื่นใดตามข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ
พ.ศ. 2562 เมอื่ พนกั งานลาออกจะมสี ิทธไิ ด้รับเงินบำเหน็จ ดงั นน้ั เมอ่ื พนกั งานผนู้ น้ั ลาออก จึงเกดิ สิทธใิ นการรับ
เงินบำเหน็จ และต่อมาพนักงานผู้นั้นตายเงินบำเหน็จดังกล่าว จึงตกเป็นทรัพย์สินของผู้ตายเพราะเงินบำเหน็จ
ไดเ้ กดิ ขึน้ เมอ่ื พนักงานลาอกจากงานแล้ว เมื่อเงินบำเหนจ็ ในกรณนี ้ีตกเปน็ ทรัพยม์ รดกแล้ว การจัดการย่อมต้องมี
ผจู้ ัดการมรดกเปน็ ผจู้ ดั การ

1.4 ให้หนว่ ยงานท่ีเก่ยี วข้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานประกอบการขอรับเงินทุกประเภท
1.4.1 ใบมรณบตั ร
1.4.2 ทะเบียนบา้ นผตู้ าย และของผ้มู สี ิทธริ บั เงินทกุ คน
1.4.3 บตั รประชาชนของผมู้ สี ทิ ธริ ับเงินทุกคน
1.4.4 ทะเบียนสมรสของคู่สมรส (หากม)ี
1.4.5 สูติบตั รของบตุ รผถู้ ึงแกก่ รรม (หากมี)
1.4.6 ใบเปล่ยี นช่ือ-สกุล (หากมี)
1.4.7 ใบมรณบัตรของผมู้ สี ทิ ธิท่จี ะรบั เงินแตถ่ งึ แก่กรรม (หากม)ี

2. แนวทางปฏิบัติในการคำนวณเงินบำเหน็จ เงินตอบแทนความชอบในการทำงาน และ
เงินตอบแทนความชอบพิเศษ

2.1 ตามหนังสอื กระทรวงการคลังที่ กค. 0529.3/ว 33530 ลงวนั ที่ 18 กันยายน 2540
เร่ือง วิธีปฏบิ ัตใิ นการคำนวณเงนิ บำเหนจ็ และเงนิ ตอบแทนความชอบในการทำงาน สำหรบั พนกั งานรัฐวิสาหกิจ
ที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานเพราะเหตุเกษียณอายุ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้น
เงินเดอื นพนกั งานท่เี กษียณอายุ ซ่ึงได้รบั เงนิ เดอื นในอัตราทยี่ ังไม่เตม็ ข้ันสงู ของตำแหน่งไว้ ดังน้ี

2.1.1 พนักงานทีพ่ น้ สภาพเน่ืองจากเกษียณอายุ หากมคี ุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
ขององค์การใหพ้ ิจารณาเลื่อนขั้นเกนิ กว่า 1 ขัน้ ไดต้ ามเกณฑ์

2.1.2 กรณีเลื่อนขั้นไม่เกิน 1 ขั้น ไม่อยู่ในกรอบงบประมาณร้อยละของวงเงินที่ได้
เลอ่ื นขน้ั เงินเดอื นที่องคก์ ารถือปฏบิ ัติอยู่

2.1.3 กรณเี ลอ่ื นข้นั เกนิ กว่า 1 ขัน้ ตามขอ้ บงั คับองค์การฉบบั ท่ี 188 ว่าด้วย การเล่ือน
ขั้นเงนิ เดือนและคา่ จ้างพนักงาน พ.ศ. 2562 ใหอ้ ยู่ในกรอบวงเงินและตามโค้วตา้ การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
เนื่องจากการเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีเกษียณอายุ่ในวันที่ 30 กันยายน มีใช่เป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามปกติ
ประจำปี จงึ ไมม่ ีการจา่ ยเป็นตัวเงิน แต่เพ่ือประโยชน์ในการคำนวณเงินบำเหน็จเทา่ นัน้

2.1.4 การเล่ือนขนั้ เงนิ เดือนตามข้อ 2.1.2 และข้อ 2.1.3 ไม่ให้นำไปคำนวณเงินตอบแทน
ความชอบในการทำงานตามขอ้ บังคบั องค์การฉบับที่ 190 วา่ ด้วยเงนิ บำเหน็จ พ.ศ. 2562

43

2.2 การคำนวณเงินบำเหน็จ,ค่าตอบแทนความชอบในการทำงาน และเงินตอบแทน
ความซอบพเิ ศษ

2.2.1 เงนิ บำเหนจ็ - จำนวนวนั ทำงาน คำนวณตัง้ แตว่ นั ทคี่ ำสง่ั บรรจุทดลองงานถึงวัน
ส้ินสดุ การเปน็ พนกั งาน

- อัตราเงนิ เดอื น / คา่ จา้ งตามข้อ 2.1
พนกั งานประจำรายเดอื น อัตราเงนิ เดือนสุดทา้ ย x วันทำงาน (วนั )

365
พนักงานประจำรายวนั อตั ราค่าจา้ งสดุ ท้าย (วัน) x 26 X วนั ทำงาน (วัน)

312
2.2.2 คา่ ตอบแทนความชอบในการทำงาน - อตั ราเงินเดือน / ค่าจา้ ง ณ เดือนทพ่ี ้นสภาพ
พนักงานประจำรายเดอื น อายงุ านเกิน 5 ปี = อัตราเงินเดอื น x (180 วนั )

30
อายงุ านเกนิ 15 ปี = อตั ราเงินเดือน x (300 วัน)

30
อายุงานเกนิ 20 ปี = อัตราเงินเดอื น x (400 วัน)

30
พนักงานประจำรายวัน อายงุ านเกนิ 5 ปี = อตั ราค่าจา้ ง (วนั ) x 180 วัน

อายงุ านเกนิ 15 ปี = อตั ราค่าจา้ ง (วนั ) x 300 วัน
อายงุ านเกิน 20 ปี = อัตราคา่ จา้ ง (วัน) x 400 วัน
2.2.3 ค่าตอบแทนความชอบพิเศษ - อัตราเงินเดือน/ค่าจ้าง ณ เดือนที่พ้นสภาพ x เงิน
ตอบแทนตามหลกั เกณฑข์ องประกาศการเกษียณอายุก่อนกำหนด
3. เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงกำหนดแบบฟอร์มสำหรับการดำเนินการ
(ตามเอกสารแนบท้าย) ดงั น้ี
3. 1 แบบขออนมุ ตั เิ งินบำเหนจ็ สำหรับการพ้นสภาพทุกกรณี ยกเวน้ ตาย
3.2 แบบขออนมุ ัติเงนิ บำเหนจ็ สำหรบั การพ้นสภาพเนื่องจากการตาย
3.3 แบบขออนุมตั ิเงินตอบแทนความชอบในการทำงาน และเงินตอบแทนความชอบพเิ ศษ
จึงเรยี นมาเพ่ือทราบและถือปฏิบตั ิต่อไป

44 แบบ 3.1

บันทกึ ขอ้ ความ

หนว่ ยงาน งานบรหิ ารงานบคุ คล กลุ่มงานบรหิ ารงานทว่ั ไป เขตการเดินรถท่ี

ท่ี บค. / /256 วันท่ี

เร่อื ง ขออนุมตั จิ ่ายเงนิ บำเหนจ็

เรียน ห.กบท........

ดว้ ย นาย/นาง/นางสาว...........................................ตำแหนง่ .......................เลขประจำตวั ................สาย......... กลุ่มงาน

................................เขต/สำนัก.......................................ฝ่าย...........................พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานองค์การ ตา มคำสั่งที่

.............................ลงวันที่...............................บค..........ตรวจสอบแลว้ ปรากฎว่า

นาย/นาง/นางสาว.................................อัตราเงินเดอื น...................บาท และไมเ่ ป็นสมาชิกกองทนุ สำรองเล้ยี งชพี

1. วันเข้าทำงาน................................วันที่พ้นสภาพ..............................(กรณีลารับราชการทหารหรืออื่น ๆ เว้น ช่วง

ตงั้ แตว่ นั ที่...............................ถงึ วันที่.............................) รวมอายุงาน.........ปี........เดอื น......วัน คิดเปน็ จำนวนวันทง้ั สน้ิ .........................วัน

2. จำนวนเงนิ บำเหนจ็ ท่มี สี ิทธไิ ด้รับ = อตั ราเงินเดือนสดุ ท้าย x อายุงาน (วัน)

365

= xxxxxxxxxx

(จำนวนเงินเปน็ ตวั หนงั สอื )

จึงเรียนมาเพื่อโปรดอนุมัติจ่ายเงินบำเหน็จ ตามข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190 ว่าด้วยเงินบำเหน็จ พ.ศ.2562 และ

ระเบียบองคก์ ารว่าด้วยวธิ ีปฏบิ ตั ิเกย่ี วกับเงนิ บำเหนจ็ พ.ศ.2563 ลงวนั ที่ 15 มกราคม 2563

(..............................................)
หัวหน้างานบรหิ ารงานบคุ คล
เรยี น ผู้อำนวยการเขตการเดนิ รถที.่ ......
อนุมัติจ่ายเงนิ บำเหนจ็ ใหน้ าย/นาง/นางสาว..................................จำนวนเงิน..........................บาท (......................................)
อำนาจอนุมัตเิ ป็นของผู้อำนวยการเขตการเดินรถ ตามระเบยี บองค์การว่าด้วยวธิ ิปฏบิ ัติเก่ียวกับเงินบำเหน็จ พ.ศ.2563 ข้อ 9.3)
จึงเรยี นมาเพื่อโปรดอนุมตั ิ

(........................................................)
หวั หน้ากลุม่ งานบรหิ ารงานท่ัวไป............
.................../...................../...................
อนุมัติจ่ายเงินบำเหน็จให้ นาย/นาง/นางสาว......................................จำนวนเงิน...................................บาท
(..........................................)

(........................................................)
ผอู้ ำนวยการเขตการเดินรถท่ี.........
.................../...................../...................

45 แบบ 3.2

บนั ทึกข้อความ

หน่วยงาน งานบรหิ ารงานบุคคล กลมุ่ งานบรหิ ารงานทวั่ ไป เขตการเดินรถท่ี

ท่ี บค. / /256 วันท่ี

เรอ่ื ง การตรวจสอบประวัตขิ องผู้มสี ิทธิได้รับเงนิ บำเหน็จ

เรยี น ผอ.ขดร........

ตามท่ี นาย/นาง/นางสาว...........................................ตำแหน่ง.......................เลขประจำตัว................ สาย..............

กลุ่มงาน................................เขต/สำนัก.......................................ฝ่าย...........................พ้นส ภาพจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเสียชีวิต

ตามคำสัง่ ท่.ี ............................ลงวนั ท่ี...............................และไม่เปน็ สมาชิกกองทุนสำรองเล้ยี งชีพ

1. มีอตั ราเงนิ เดือน/คา่ จ้าง..................................บาท ก่อนพ้นสภาพพนักงาน

2. วันเข้าทำงาน................................วันที่พ้นสภาพ..............................(กรณีลารับราชการทหารหรืออื่น ๆ เว้นช่วง

ตัง้ แต่วนั ท.่ี ..............................ถงึ วนั ท่ี.............................) รวมอายงุ าน.........ปี........เดอื น......วัน คดิ เปน็ จำนวนวันทัง้ ส้นิ .........................วนั

3. จำนวนเงนิ บำเหน็จท่มี สี ิทธไิ ดร้ บั = อตั ราเงินเดอื นสุดทา้ ย x อายุงาน (วนั )

365

= xxxxxxxxxx

(จำนวนเงนิ เปน็ ตัวหนงั สอื )

จากการตรวจสอบประวัติ พบว่าบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ตามข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190 ข้อ

12 (เฉพาะกรณีพนักงานตาย) และระเบียบองค์การว่าดว้ ยวิธีปฏิบัตเิ กี่ยวกับเงินบำเหน็จ พ.ศ.2563 ลงวันที่ 15 มกราคม 2563 ข้อ 4

ดังนี้

1. สถานภาพ โสด คู่สมรสทช่ี อบดว้ ยกฎหมายช่อื ...........................................ช่อื สกลุ ......................................

หย่าร้าง ตาย

2. บิดา มารดา ทชี่ อบดว้ ยกฎหมาย

- บดิ า ชือ่ ..............................................ชอื่ สกลุ ........................................ มีชีวิตอยู่ ตาย

- มารดา ชอ่ื ..............................................ชื่อสกลุ ....................................... มชี วี ติ อยู่ ตาย

3. บตุ ร มจี ำนวน...................คน ตามรายช่อื ดงั น้ี

ลำดับที่ 1 ช่อื ..............................................ช่อื สกุล........................................ มชี ีวิตอยู่ ตาย

ลำดบั ที่ 2 ชอ่ื ..............................................ชอ่ื สกลุ ....................................... มชี วี ิตอยู่ ตาย

ลำดับที่ 3 ชอ่ื ..............................................ช่อื สกลุ ........................................ มชี ีวติ อยู่ ตาย

4. สรุปบุคคลผูท้ ม่ี ีสว่ นเก่ียวขอ้ งและมสี ิทธิได้รับเงนิ บำเหนจ็ จำนวน...............คน

4.1................................................................................

4.2................................................................................

4.3................................................................................

4.4................................................................................

4.5................................................................................

จึงเรยี นมาเพ่อื โปรดทราบ และดำเนนิ การตอ่ ไป

(..............................................) ผู้ตรวจสอบ (..................................................) ผูร้ ับรอง
ห.บค................ ห.กบท................

46 แบบ 3.2

บนั ทึกข้อความ

หนว่ ยงาน งานบริหารงานบุคคล กล่มุ งานบริหารงานท่วั ไป เขตการเดินรถท่ี

ที่ ขดร. / /256 วนั ที่

เรือ่ ง ขออนุมัตจิ า่ ยเงินบำเหน็จพนักงานถึงแกก่ รรม

เรยี น ห.กบท........

ตามที่ นาย/นาง/นางสาว...........................................ตำแหน่ง...........................เลขประจำตัว................ สาย.........

กลุ่มงาน.................................เขต.......................................ฝ่าย...........................พ้นสภาพจากก ารเป็นพนักงาน เนื่องจากถึงแก่กรรม

สาเหตุ.......................................................เมื่อวันที่.............................ตามคำสั่งที่............ ..............ลงวันที่.......................................

ตรวจสอบแล้วปรากฏวา่ นาย/นาง/นางสาว.........................................อัตราเงนิ เดือน.......................บาท (...................................................)

และไมเ่ ปน็ สมาชิกกองทุนสำรองเลยี้ งชพี

1. วันเข้าทำงาน................................วันที่พ้นสภาพ..............................(กรณีลารับราชการทหารหรืออื่น ๆ เว้นช่วง

ตั้งแต่วนั ท.่ี ..............................ถึงวันท่ี.............................) รวมอายงุ าน.........ปี........เดอื น......วัน คดิ เปน็ จำนวนวนั ท้งั สนิ้ .........................วัน

2. จำนวนเงนิ บำเหนจ็ ท่มี สี ิทธไิ ดร้ ับ = อัตราเงินเดอื นสุดทา้ ย x อายุงาน (วนั )

365

= xxxxxxxxxx

(จำนวนเงินเปน็ ตัวหนังสือ)

งานบริหารงานบุคคลได้ตรวจสอบแล้ว นาย/นาง/นางสาว......................................................มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ

ตามข้อบังคบั องค์การฉบับท่ี 190 ใหจ้ ่ายเงินบำเหนจ็ ใหแ้ ก่ทายาทพนักงานถึงแกก่ รรม ดงั นี้

ลำดับที่ 1................................................................เป็นเงินจำนวน..................................................................บาท

ลำดับท่ี 2................................................................เป็นเงนิ จำนวน..................................................................บาท

ลำดบั ที่ 3................................................................เป็นเงนิ จำนวน..................................................................บาท

ลำดบั ที่ 4................................................................เป็นเงินจำนวน..................................................................บาท

ลำดบั ที่ 5................................................................เป็นเงนิ จำนวน..................................................................บาท

รวม....................คน รวมเป็นเงินจำนวน..................................................................บาท

จงึ เรยี นมาเพือ่ โปรดอนมุ ตั จิ ่ายเงนิ บำเหน็จใหท้ ายาทของพนักงานผถู้ ึงแก่กรรม

(..............................................)

หวั หน้างานบริหารงานบุคคล...

เรียน ผูอ้ ำนวยการเขตการเดนิ รถที่........ อนมุ ัติ

อนุมตั จิ า่ ยเงินบำเหนจ็ นาย/นาง/นางสาว............................

ใหท้ ายาทฯ จำนวน.......................บาท (.......................................) เงนิ บำเหนจ็ จำนวน.................................................บาท

ทั้งน้ีอำนาจอนุมัตเิ ปน็ ของผูอ้ ำนวยการเขตการเดินรถตามระเบียบ (....................................................................................)

องค์การว่าดว้ ยวิธปิ ฏิบตั เิ กยี่ วกบั เงนิ บำเหนจ็ พ.ศ.2563 ขอ้ 9.3

จึงเรยี นมาเพอ่ื โปรดพิจารณาอนุมตั ิ (........................................................)

(..............................................) ผูอ้ ำนวยการเขตการเดินรถท่ี.........

หัวหน้ากลุม่ งานบรหิ ารงานทั่วไป... .........../............../...............

47 แบบ 3.3

บนั ทกึ ข้อความ

หน่วยงาน งานบริหารงานบคุ คล กล่มุ งานบรหิ ารงานทวั่ ไป เขตการเดนิ รถที่

ที่ บค / /256 วนั ที่

เร่ือง ขออนมุ ัตจิ ่ายเงินตอบแทนความชอบในการทำงาน เงนิ ตอบแทนความชอบพเิ ศษ

เรยี น ห.กบท........

ตามที่ นาย/นาง/นางสาว..............................................ตำแหนง่ ....................................เลขประจำตัว........................

งาน.......................................กลุ่มงาน.................................เขต/สำนัก...................................ฝ่าย...........................ได้รับอนุมตั ิให้พ้นสภาพ

เนื่องจาก เกษียณอายุประจำปี 256... เกษียณอายุก่อนกำหนด ตั้งแต่วันท่ี............................ตามคำสั่ง.................ท่ี

.........../..............ลงวันท่.ี ...................................... อัตราเงนิ เดอื น...........................บาท

1. วันเขา้ ทำงาน................................วันทพ่ี ้นสภาพ...................................รวมอายงุ าน.........ปี........เดอื น......วนั

2. อายุงานทเี่ หลือ..........................ปี

1. เงนิ เพอ่ื ตอบแทนความชอบในการทำงาน 2. เงินตอบแทนความชอบพิเศษ

เงินเดอื นเดอื นสดุ ท้าย x (180,300 หรือ 400 (วัน) เงินเดอื นเดือนสดุ ท้าย x 2 เทา่ ของอายงุ านที่เหลือ (ป)ี

30

= xxxxxxxxxx = xxxxxxxxxx

งานบริหารงานบคุ คล ตรวจสอบปรากฏวา่ นาย/นาง/นางสาว.....................................................................มสี ิทธิไดร้ ับ

เงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน เงินเพื่อตอบแทนความชอบพิเศษ ตามหลักเกณฑ์ของข้อบังคับองค์การฉบับที่ 190

และระเบียบองค์การว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินบำเหน็จ พ.ศ.2563 จ่ายให้แก่นาย/นาง/นางสาว

..................................................................เป็นเงินจำนวน...............................................บาท (.....................................................................)

จึงเรียนมาเพือ่ โปรดพิจารณานำเสนอ ผอ.ขดร....อนมุ ตั ติ อ่ ไป

(..............................................)
หวั หน้างานบรหิ ารงานบคุ คล...
เรยี น ผู้อำนวยการเขตการเดินรถท.ี่ ......
อนมุ ตั จิ ่ายเงนิ ตอบแทนความชอบในการทำงาน..............................................บาท
อนมุ ตั ิจา่ ยเงนิ ตอบแทนความชอบพิเศษ..........................................................บาท
รวมจำนวนเงนิ .....................................บาท (.......................................................................)
(อำนาจอนุมัติเป็นของผู้อำนวยการเขตการเดินรถ ตามระเบียบองค์การว่าด้วยวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับเงินบำเหน็จ พ.ศ.2563 ลง
วันที่ 15 มกราคม 2563 ข้อ 9.3)
จึงเรยี นมาเพ่อื โปรดพิจารณาอนมุ ัติ
(........................................................)
หวั หน้ากลุ่มงานบรหิ ารงานท่ัวไป............
.................../...................../...................
อนุมัติจา่ ยเงินจำนวนเงิน...................................บาท (..........................................)
(........................................................)

ผ้อู ำนวยการเขตการเดินรถท่ี.........

48

สทิ ธิสายงานข้ันอัตราเงนิ เดือนและค่าจ้าง

ข้อบังคับองค์การขนสง่ มวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๑8๗
วา่ ด้วย การจำแนกตำแหนง่ สายงานขนั้ อัตราเงนิ เดือน และคา่ จ้างพนักงาน พ.ศ. ๒๕๖๑

ตามมติคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๑
เม่ือวันท่ี ๑๙ กนั ยายน ๒๕๖๑ เห็นชอบใหอ้ งคก์ ารขนส่งมวลชนกรุงเทพปรบั โครงสร้างองค์การ นน้ั

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒0(๓) แห่งพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ พทุ ธศักราช ๒๕๑๙ จงึ เห็นสมควรใหอ้ อกข้อบังคบั ไว้ ดงั ตอ่ ไปนี้

ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ว่าด้วยการจำแนก
ตำแหน่งสายงานขั้นอตั ราเงนิ เดอื น และค่าจ้างของพนกั งาน พ.ศ.๒๕๖๑

ข้อ ๒. ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ฉบับที่ ๑๖0 ว่าด้วยการจำแนกตำแหน่ง
สายงานและระดับตำแหน่ง พ.ศ.๒๕6๓ เสียทั้งสิ้น และให้ใช้การกำหนดตำแหน่งระดับเพื่อการเลื่อนขั้นอัตรา
เงนิ เดอื นตามบญั ชแี นบท้ายขอ้ บังคบั น้ี

ขอ้ ๓. ให้ใช้ขอ้ บงั คับนี้ตั้งแต่บดั นี้เป็นตน้ ไป
ประกาศ ณ วนั ที่ 2๕ เดือนตลุ าคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑


Click to View FlipBook Version