The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by admin, 2023-10-31 00:20:15

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ชื่อหนังสือ : ๑๑๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ (พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๖) ผู้เขียน : ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ปีที่พิมพ์ : กันยายน ๒๕๖๖ เจ้าของ : ลิขสิทธิ์ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑ ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ สงวนลิขสิทธิ์ ราคา : ๒๐๐ บาท จำนวนพิมพ์ : ๒๐๐ เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ๑๐๐ ปี (๔ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ (พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗) – พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ : บริษัท เดชอุดม แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด เดชอุดม ไกรฤทธิ์, ๒๕๖๖ ๑๘๗ หน้า ISBN (e-Book) : .................................. จัดพิมพ์โดย : บริษัท เดชอุดม แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ๙๔๒/๑๔๒-๓ อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ ชั้น ๙ ถนนพระราม ๔ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ๑๐๕๐๐ โทรศัพท์๐-๒๒๓๓-๐๐๕๕, ๐-๒๒๓๓-๐๐๖๘ โทรสาร ๐-๒๒๓๖-๖๖๘๑, ๐-๒๒๓๓-๐๒๒๗ E-MAIL: [email protected] WEBSITE: www.dejudomlaw.com ภาพปก : บริษัท เดชอุดม แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (ภาพประกอบจากบทความ “ดุสิตธานี” โดยนายบัว ศจิเสวี, วารสารวชิราวุธานุสรณ์สาร ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖ หน้า ๒๒-๒๕)


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ท่านราม ณ กรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้ทรงมีพระบรมราชโองการ พระราชทานพระราชบัญญัติทนายความ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้เป็นรากฐานของวิชาชีพ ทนายความที่สูงส่งอย่างสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งของพระบรมราชโองการที่ชัดเจนคือ “...แลมีเจ้าถ้อยหมอ ความแลบุทคลเปนผู้ไร้คุณสมบัติเข้ามาแอบแฝงหากินเปนทนายความณะโรงศาลเปนอันมาก แลกฎ ข้อบังคับทนายความซึ่งมีอยู่บัดนี้ยังไม่เพียงพอที่จะสอดส่องครอบงำตลอดทั่วถึงบุทคลเหล่านั้น ทรง พระราชดำริห์เห็นว่าบรรดาชนทั้งหลายผู้อาศรัยเลี้ยงชีพเปนทนายความควรจะประกอบใน คุณสมบัติ แลควรประพฤติตนอยู่ในมรรยาทดีงามเปนอันเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติไว้...” นั้น เป็นสมบัติล้ำค่าของมาตรฐานวิชาชีพทนายความเป็นครั้ง แรก พระองค์เองก็ทรงและประกอบวิชาชีพทนายความในชื่อสามัญ “ท่านราม ณ กรุงเทพ” โดยจัดตั้ง สำนักงานทนายความในเมืองดุสิตธานี เมืองแห่งประชาธิปไตยเริ่มแรกของประเทศไทย นับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณล้นเกล้าอย่างหาที่สุดมิได้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ขอเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น “พระราชบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ” ที่ได้ทรงวางรากฐานของ วิชาชีพทนายความให้มั่นคงสืบเนื่องตลอดมาจนถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) การแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) และที่ยิ่งใหญ่และ สำคัญที่สุดของวิชาชีพทนายความในปัจจุบันคือการน้อมรับ “หลักนิติธรรม” ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงพระอัจฉริยภาพในการวางรากฐานของการบังคับใช้ กฎหมายให้อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและเป็นธรรม และได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความให้เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญที่จะใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมแก่ ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ที่ทรงให้เป็นหลักชัยของการประกอบสัมมาชีพของทนายความอันเป็นพระมหา กรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได หนังสือเล่มนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามนำพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ทั้งห้า พระองค์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทนายความและกฎหมายมารวมไว้ เพื่อเป็นการสื่อถึงประชาชนให้ สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมผ่านทางสมาชิกและทนายความสมาชิกของสภาทนายความทั่ว ประเทศได้นำไปเป็นหลักปฏิบัติตนในการประกอบวิชาชีพทนายความ ดังเช่นที่พระมหากษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรีของไทยได้ทรงพระราชทานให้ไว้ ทค. เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรกฎาคม ๒๕๕๙


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc คำนำ หนังสือ ๑๑๐ ปี (๕ แผ่นดิน) (พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๗) เล่มนี้เป็นฉบับ ปรับปรุงจาก E-book ๑๐๐ ปี (๔ แผ่นดิน) พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙) ซึ่งได้เผยแพร่ ไปแล้ว เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของวิชาชีพทนายความ (Attorny-at-Law/Lawyer) ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับแรก) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยได้เพิ่มวิชาชีพทนายความในรัชกาลปัจจุบันใต้ร่มพระบารมีของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ขึ้นมาอีกบนหนังสือกับแก้ไขความในเบื้องต้นของการใช้ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ กับข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๕๗ แทนข้อผิดที่ใช้ “พระราชบัญญัติ” แทนข้อบังคับในฉบับ E-book ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เดชอุดม ไกรฤทธิ์ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๖


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc สารบัญ ๑๑๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ (พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๖) หน้า บทที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพทนายความ .................................................................... ๒ วิวัฒนาการของการประกอบวิชาชีพทนายความในต่างประเทศ ......................................... ๖ พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทยกับการให้พสกนิกรเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ........... ๑๓ พัฒนาการของการประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศไทย .......................................... ๑๕ บทที่ ๒ ทนายความใต้ร่มพระบารมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๗ – พ.ศ. ๒๔๖๘) ......................................................................................... ๒๗ บทที่ ๓ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๗) .......................................................................................... ๔๕ บทที่ ๔ ทนายความใต้ร่มพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙) ............................................................ ๕๓ บทที่ ๕ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๕๙ ...................................................................................................................... ๕๗ ภาคผนวก ภาคผนวก ๑ การก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย .............................................................. ๗๑ ภาคผนวก ๒ การก่อตั้งสภาทนายความ ........................................................................................... ๘๒ ภาคผนวก ๓ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ........................................................................ ๘๘ ภาคผนวก ๔ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ .................................................................... ๙๑ ภาคผนวก ๕ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ .................................................................... ๑๐๒ ภาคผนวก ๖ ข้อบังคับเนติบัญฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๕๗ ...................................................................... ๑๑๗ ภาคผนวก ๗ ประวัติการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งสภาทนายความ ................................................. ๑๓๗ ภาคผนวก ๘ การก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์..................... ๑๔๙ ภาคผนวก ๙ แผนพัฒนาสภาทนายความ ๕ ปี (ระหว่างปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๑) .................................. ๑๕๕ ภาคผนวก ๑๐ หลักสูตรทนายความชำนาญการสาขากฎหมายเฉพาะทางของสภาทนายความ ........... ๑๖๑ ภาคผนวก ๑๑ Basic Principles on the Role of Lawyers ............................................................ หลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของบทบาททนายความ ๑๘๔


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc บทที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพทนายความ


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒ วิชาชีพทางกฎหมายและแพทย์นั้น เป็นวิชาชีพที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาตลอด เป็นวิชาชีพที่ไม่อาจ แยกออกจากการดำรงอยู่ของชีวิตในสังคมของมนุษย์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติในทุก ประเทศ เนื่องจากวิชาชีพทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่หรือแม้แต่ก่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือหลังการตาย ก็ยังเกี่ยวข้องต่อเนื่องไปถึงทายาทอีกหลายลำดับ ผู้ประกอบวิชาชีพในทั้งสองประเภทนี้จึงมีความรับผิดชอบ อันสำคัญยิ่งต่อเพื่อนมนุษย์โดยวิชาชีพแพทย์ต้องรับผิดชอบในชีวิต สุขอนามัย และการรักษาความเจ็บป่วย ส่วนวิชาชีพกฎหมายโดยเฉพาะวิชาชีพทนายความต้องรับผิดต่อการคุ้มครอง และเป็นหลักประกันเสรีภาพ ให้แก่ประชาชน นำหลักนิติธรรมที่เป็นพื้นฐานของการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นธรรม มีความโปร่งใส มาใช้กับ สังคมเพื่อลดความขัดแย้ง ความหมายของคําว่า “วิชาชีพ” พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้อธิบายคำว่า “Profession” ว่าตามรากศัพท์ หมายถึง “ปฏิญาณ” ฉะนั้น สภาพอันแท้จริงแห่งวิชาชีพคือ “อาชีวปฏิญาณ” เป็นการปฏิญาณตนต่อสรรพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าจะประกอบอาชีพตามธรรมเนียม ซึ่งมีวางไว้เป็นบรรทัดฐานอาชีวปฏิญาณในชั้นต้น ได้แก่ วิถี อาชีพของนักบวชในศาสนาคริสต์ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นระยะเวลานานพอสมควร เพื่อให้ยึดมั่นใน ระเบียบวินัยที่บังคับไว้อย่างเคร่งครัด และต่อมาการฝึกอบรมเช่นนี้ได้ถูกนำไปใช้กับวิชาชีพนักกฎหมาย และ นายแพทย์ด้วย๑ การปฏิญาณนี้ หากเป็นการถวายสัตย์ปฏิญาณจะต้องกระทำเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ เรียกว่าการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ เช่น การถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง องคมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา แต่หากเป็นการปฏิญาณตนนั้นเป็นการกระทำต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์๒ ศาสตราจารย์จิตติติงศภัทิย์ ก็ได้ให้ความหมายของคำว่า “วิชาชีพ” คือ ผู้ประกอบการหาเลี้ยงชีพ ด้วยการใช้ความรู้ที่ต้องอาศัย วิชาความรู้และความชำนาญเป็นพิเศษ นักวิชาชีพต้องจงรักภักดีและรู้คุณค่าต่อ วิชาชีพที่ตนปฏิบัติเพราะเป็นงานที่คนธรรมดาทำไม่ได้เนื่องจากต้องศึกษาและอบรมความรู้ความคิดเพื่อ ๑ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ ๗ (แก้ไขเพิ่มเติม), รวบรวมโดยแสวง บุญเฉลิมวิภาส, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๘), หน้า ๑๐๒. ๒ คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ:สุขภาพใจ), หน้า ๔๐๔. บทที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพทนายความ


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓ นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหลายปีและยังต้องมีการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษามาว่าได้ผลดี เพียงพอที่จะนำไปใช้ประกอบวิชาชีพได้หรือไม่ และเมื่อทดสอบผ่านก็จะได้รับใบประกาศหรือใบรับรอง หรือ ปริญญาบัตร ต่อวิชาชีพนั้นเพื่อให้สาธารณชนได้เห็นถึงคุณค่าถึงความรู้ความชำนาญของผู้ประกอบวิชาชีพ นั้น๓ ศาสตราจารย์ดร.ปรีดีเกษมทรัพย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “วิชาชีพ” นี้ มาจากคำ ภาษาอังกฤษว่า “Profession” มาจากคำกริยา “to profess” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคำว่า “pro+fateri” แปลว่า ยอมรับ หรือรับว่าเป็นของตน คำนี้ใช้ในทางศาสนาหมายความว่า เป็นการประกาศตน ว่ามีศรัทธาในศาสนา หรือการประกาศปฏิญาณอุทิศตน๔ วิชาชีพจึงเป็นคุณลักษณะของการทำงานที่ต้องอุทิศ ตนให้กับงานนั้น ดังนั้น หลักการพื้นฐานที่สำคัญของการก้าวสู่ “วิชาชีพ” ในความหมายที่ถูกต้องของทนายความก็คือ การประกาศปฏิญาณอุทิศตน ปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพที่ตนได้เลือกแล้ว ซึ่งเมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้ของลักษณะงาน วิชาชีพแห่งตนเช่นนี้แล้ว ย่อมตระหนักได้ทันทีว่าไม่ต้องคำนึงถึงความร่ำรวยเช่นนักธุรกิจทั่วไป เพราะการ ปฏิญาณอุทิศตนนี้ ต้องยึดถือการ “ให้” เป็นหลัก และการ “รับ” เป็นรอง จึงยากที่จะทำวิชาชีพกฎหมายเช่น ทนายความนี้ให้มีกำไรมากมายเช่นเดียวกับนักธุรกิจ หลายคนที่เข้ามาทำงานทนายความเพียงผิวเผินก็จะเลี่ยง ไปทำอาชีพอื่น เพราะวิชาชีพทนายความต้องอดทน ประหยัด ขยัน และซื่อสัตย์เป็นทุนที่สำคัญ แต่กระนั้นก็ดี วิชาชีพทนายความก็ยังถือได้ว่าเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้มั่นคง สอดคล้องกับพระราโชบายของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ได้ทรงแนะนำหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่ปวงชน ชาวไทย ความหมายของคำว่า "ทนายความ" ในหนังสือพจนานุกรมกฎหมายของขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ซึ่งเป็นพจนานุกรมกฎหมาย เล่มแรกของประเทศไทย อธิบายความหมายของคำว่า “ทนายความ” ไว้ว่า ผู้ว่าต่างแทนตัวความ ถ้าว่าความ แทนโจทก์เรียกว่า “ว่าต่าง” ถ้าว่าความแทนจำเลยเรียกว่า “แก้ต่าง”๕ คำว่า “ทนายความ” นี้เป็นคำที่ใช้เรียกกันในทางความหรือทางราชการ แต่ทางส่วนตัวบุคคลเรียกกัน ว่า “ทนายความ” บ้าง “หมอความ” บ้าง ความหมายก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อมีการออกใช้ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กลับใช้คำที่แตกต่างกัน โดยคำว่า “ทนายความ” ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ฉบับภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า “Attorney” ส่วนคำว่า “หมอความ” ใช้คำว่า “Lawyer”๖ จึงทำให้คำว่า ๓ จิตติ ติงศภัทย์, หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒) หน้า ๓๕-๓๙. ๔ ปรีดีเกษมทรัพย์, รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ ๗ (แก้ไขเพิ่มเติม), รวบรวมโดยแสวง บุญเฉลิมวิภาส, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๘), หน้า ๑๑๕. ๕ ขุนสมาหารหิตะคดี, พจนานุกรมกฎหมาย, (กรุงเทพฯ:วิญญูชน, ๒๕๔๙) หน้า ๑๔๕. ๖ เรื่องเดิม, หน้า ๑๔๗.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔ “หมอความ” มีความหมายเปลี่ยนไปเป็นบุคคลผู้กระทำหน้าที่ในทางความอันมิใช่กระทำโดยหน้าที่ราชการ และซึ่งมิได้เกี่ยวแก่การว่าต่างแก้ต่างตัวความในโรงศาล๗ แต่เดิม มีการใช้คำว่า “หมอความ” เพื่อต้องการเปรียบเทียบกับ “หมอยา” เนื่องจากหมอยาเป็นผู้ แก้ไขเยียวยารักษาคนไข้ แต่หมอความเป็นผู้แก้ไขเยียวยาผู้ป่วยทางคดี๘ ต่อมาจึงเริ่มมีการใช้คำว่า “ทนาย” หมายถึง ผู้รับใช้ หรือผู้แทนนาย สันนิษฐานว่าเป็นคำที่กร่อนมาจาก “แทนนาย” นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้คำว่า “ทนาย” ในคำอื่น ๆ อีก ได้แก่ ทนายแผ่นดิน หมายถึง พนักงานรักษาพระอัยการ หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “อัยการ” ทนายเรือน หมายถึง พนักงานฝ่ายใน มีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ในพระราชวัง ทนายเลือก หมายถึง นักมวยสำหรับป้องกันพระเจ้าแผ่นดิน สังกัดกรมทนายเลือก เป็นข้าราชการ ตำรวจที่มีหน้าที่ติดตามอารักขาพระเจ้าแผ่นดินอย่างใกล้ชิด ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสต้น ทนายหน้าหอ เป็นภาษาพูด หมายความถึง หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา หรือคนที่มักออก รับหน้าแทนเจ้านายของตน ต่อมา ได้เกิดคำว่า “ทนายว่าความ”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ภายหลังจากที่มีการตราพระราชบัญญัติสำหรับข้าหลวงชำระความตามหัวเมือง จุลศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๗) ข้อ ๒-๔ ว่า “ข้อ ๒ ถ้าคนสับเยกอังกฤษ จะฟ้องตัวเจ้านครเชียงใหม่ ก็ให้ข้าหลวงตระลาการศาลต่างประเทศนั้น มีจดหมายถึงเจ้านครเชียงใหม่ให้ทราบเจ้านครเชียงใหม่จะแต่งให้บุตรหลานฤๅแสนท้าวพระยาลาวไปว่าความ แทนตัวเจ้านครเชียงใหม่ก็ได้ ข้อ ๓ ถ้าคนในสับเยกอังกฤษ จะฟ้องเจ้านายฤๅแสนเท้าพระยาลาว ให้ข้าหลวงมีหมายไปถึงเจ้านคร เชียงใหม่ เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตร ว่า เจ้านายคนนั้นแลแสนท้าวพระยาลาว มีคดีเกี่ยวข้องให้เจ้า นครเชียงใหม่บังคับให้ผู้ที่ต้องคดีนั้นมาว่าความ ฤๅจะแต่งทนายมาว่าความแทนตัวก็แต่งได้ ถ้าเป็นไพร่แล ราษฎรชาวเมืองที่ไม่มีบรรดาศักดิ์จะแต่งทนายว่าความแทนตัวไม่ได้ ถ้าผู้ต้องคดีอยู่ใกล้ ให้ส่งในกำหนด ๓ วัน ๕ วัน ถ้าทางไกลให้ส่ง ๗ วัน ๑๕ วัน ข้อ ๔ ถ้าเจ้านายบุตรหลาน แลญาติพี่น้องชายหญิงของเจ้านครเชียงใหม่ก็ดีแลแสนท้าวพระยาลาวซึ่ง ต้องคดี ถ้าจะแต่งทนายว่าความแทนตัว ให้ตระลาการเรียกเอาหนังสือทานบนกับเจ้านาย แลแสนท้าวพระยา ลาวผู้ที่ต้องคดีนั้นไว้ให้มั่นคงว่าทนายผู้ที่ว่าความแทนนั้น ว่าความแพ้ก็ยอมแพ้ด้วย ว่าความชนะก็จะยอมชนะ ด้วย”๙ ๗ เรื่องเดิม, หน้า ๓๘๕. ๘ สุจริต ถาวรสุข, ทนายความพิสดาร ภาคหนึ่ง ว่าด้วยความสำคัญของทนายความ, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๓, หน้า ๙. ๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘-๑๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕ มีข้อสังเกตว่าในพระราชบัญญัตินี้ เริ่มมีการให้ทนายเป็นผู้ซักถามและค้านพยานแล้ว เพียงแต่ยังไม่ เรียกว่า “ทนายความ” เท่านั้น นอกจากนี้ เราอาจจะพิจารณาความหมายของคำว่า “ทนายความ” ได้จากพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ว่า “ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างเเก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้นๆ ว่า ทนาย...” คำว่า ทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔ หมายความว่า “ผู้ที่สภา ทนายความได้รับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ” ดังนั้น ทนายความ จึงทำหน้าที่ ๒ สถานะ คือ ๑. ทนายความ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระให้บริการทางกฎหมายภายใต้การควบคุมการประกอบ วิชาชีพโดยสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ ๒. ทนายความ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม ที่ต้องรับ ใช้สังคม และให้ความเป็นธรรมต่อบุคคลในสังคมเช่นเดียวกับ ศาล อัยการ หรือ ตำรวจ จริงแล้วการประกอบ วิชาชีพทนายความนั้น มิได้มีเฉพาะในทางศาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้คำแนะนำและรับปรึกษาปัญหา ต่างๆ ทั้งในการปฏิบัติและในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่เราเรียกกันว่า "ที่ปรึกษากฎหมาย" อันเป็นส่วนหนึ่ง ของวิชาชีพทนายความ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ความ ว่า “...ในฐานะทนายความผู้เป็นนักกฎหมายสาขาหนึ่งไม่พึงนิ่งเฉยต่อการแสดงความคิดเห็น และในการ เผยแพร่ความรู้ในทางกฎหมาย ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้กฎหมายอย่าง แท้จริง หากสิ่งใดดำเนินอยู่ในสังคมทุกวันนี้เป็นไปโดยไม่ถูกต้องด้วยความยุติธรรมแล้ว นักกฎหมายที่ดีไม่พึง นิ่งเฉยเสีย ควรแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต โต้แย้งด้วยเหตุผล เพื่อความถูกต้องเป็นธรรมของบ้านเมือง ซึ่ง หากนักกฎหมายกระทำได้เช่นนี้แล้วย่อมเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้บ้านเมืองเจริญไปได้..." ๑๐ ดังนั้น เมื่อนำความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" และคำว่า "ทนายความ" มารวมกันแล้ว คำว่า "วิชาชีพ ทนายความ" จึงหมายถึงผู้ที่มีความรู้กฎหมายในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติโดยนำความรู้ดังกล่าวมาว่าต่างแก้ ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดีเป็นงานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพทนายความ เป็นวิชาชีพอิสระไม่ขึ้นอยู่กับ หน่วยงานใด แต่เพื่อป้องกันสังคมมิให้เกิดความเดือดร้อนจากวิชาชีพและให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีระเบียบวินัย มี ศีลธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพจึงต้องมีสภาวิชาชีพเป็นผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพ ทนายความ คือ สภาทนายความ ซึ่งตั้งโดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีข้อบังคับสภา ทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙ กำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบอาชีพทนายความ ๑๐ พระราชทานแก่สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย และคณะเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๒


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖ วิวัฒนาการของการประกอบวิชาชีพทนายความในต่างประเทศ วิชาชีพทนายความมีประวัติอันยาวนาน การพิจารณาพิพากษาคดีในอดีต ในแต่ละประเทศจะมี ลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้พิจารณาพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีด้วยพระองค์เอง โดยคู่กรณีหรือคู่พิพาทแห่งคดีต้องเข้าไปฟ้องร้อง โต้เถียงกล่าวหากันเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ ตลอดจนนำพยานหลักฐานเข้าแสดงกล่าวพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นอย่างไร จากนั้นพระมหากษัตริย์ก็จะ ทรงวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทและพิพากษาโดยอาศัยคำพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายได้นำไปแสดง คู่กรณีที่มีเรื่อง พิพาทก่อนที่จะนำความขึ้นฟ้องร้องหรือสู้คดีมักจะปรึกษากับผู้รู้ในการต่อสู้คดีเสียก่อน ซึ่งผู้ที่ให้คำปรึกษา มักจะเป็นหัวหน้าสกุลหรือหัวหน้าครอบครัว เมื่อบุคคลดังกล่าวรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดก็สามารถสรุปเหตุผลให้ เป็นที่เข้าใจและยอมรับของพระมหากษัตริย์ หรือผู้วินิจฉัยตัดสินคดีได้ผู้ให้คำปรึกษาซึ่งเป็นหัวหน้าสกุล ดังกล่าว จึงไม่เพียงแต่ให้ความเห็นแก่คู่กรณีเท่านั้น หากแต่ยังได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เพื่อ แถลงฟ้องร้องและปฏิเสธต่อสู้คดีแทนคนในสกุลเดียวกัน อันเป็นต้นกำเนิดของการมีตัวแทนฟ้องร้องและกล่าว แก้แทนผู้มีคดีความที่แท้จริง ต่อมาจึงได้อนุญาตให้บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น บิดามารดา เพื่อนฝูง ที่สนิท ทำหน้าที่ดังกล่าวได้รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาได้ด้วย บุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและดำเนินคดีแทน บุคคลอื่นนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย หรือแบบแผนประเพณีและ ปกติต้องเป็นผู้ทรงความรู้หรืออาวุโสกว่าผู้ต้องคดีความ บุคคลเหล่านั้นมีชื่อเรียกว่า “Synegoros” ถือเป็นจุด กำเนิดเบื้องต้นของวิชาชีพทนายความในสมัยโบราณ ๑) สมัยกรีก กระบวนพิจารณาคดีที่กรุงเอเธนส์คู่ความจะต่อสู้คดีด้วยตนเองไม่มีทนายความว่าความแทนตน โจทก์จะต้องเป็นผู้กล่าวหาก่อนและจำเลยกล่าวแก้จากนั้นคณะผู้พิพากษา คือ ผู้แทนประชาชน (Edikast) จำนวน ๕๐๐ คน ลงคะแนนตัดสิน ถ้าคะแนนเท่ากันให้ปล่อยจำเลย ถ้าโจทก์ได้คะแนนน้อยกว่า ๑ ใน ๔ ให้ ปรับโจทก์ถ้าจำเลยแพ้โจทก์เสนอศาลให้ลงโทษแล้วจำเลยขอให้ศาลลดโทษ จากนั้นผู้พิพากษาจึงลงคะแนน อีกครั้งหนึ่ง๑๑ ต่อมา จึงได้มีผู้รับแต่งตั้งแถลงแทนตัวความ นำเข้าเสนอต่อศาล หรือคู่ความนำคำแถลงนั้นมา ท่องจำ เพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้คดีในศาล ซึ่งผู้ทำคำแถลงมักจะเป็นผู้ที่รู้กฎหมายและหลักธรรมต่างๆ พอสมควร คำแถลงจึงมักจะมีการอ้างอิงหลักกฎหมายเกิดขึ้น ปรากฏว่าคู่ความที่อาศัยคำแถลงของผู้รับแต่งคำ แถลง ได้รับประโยชน์เป็นผลคดีในทางคดีเป็นอันมาก จึงมีผู้นิยมมากขึ้น และเมื่อผู้รับทำคำแถลงได้ทำเป็น เวลานาน ๆ ก็เกิดความชำนาญมีลักษณะเป็นอาชีพหรือวิชาชีพขึ้น ๒) สมัยโรมัน ๑๑ วิชา มหาคุณ, การใช้เหตุผลทางกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ ๕ (แก้ไขเพิ่มเติม) (กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ), ๒๕๕๓,หน้า ๑๙๒.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๗ สมัยโรมัน หัวหน้าสกุล (Patrician households) เป็นผู้ดำเนินคดีแทนบุคคลในสกุลและบริวาร ต่อมาได้พัฒนาเป็นการดำเนินคดีแทนบุคคลนอกสกุล เพื่อนฝูง ญาติสนิท ผู้ใกล้ชิด จนกระทั่งในที่สุดก็ กลายเป็นงานอาชีพ ต่อมา เมื่ออาณาจักรโรมันขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ขึ้นและมีประชากรจำนวนมากขึ้น เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น การที่ตัวความจะเดินทางไปดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีด้วยตนเองจึงเป็นไปด้วยความ ยากลำบากและไม่สะดวก ในสมัยนี้จึงเกิดตัวแทนในการว่าความสำหรับคดีต่างเมืองแทนคู่ความ โดยแบ่ง ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๑ ตัวแทนที่ตัวความแต่งตั้งต่อหน้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า " Cognitor" โดยจะดำเนินคดี แทนตัวความในลักษณะซื้อความของตัวความไปดำเนินคดีในนามของตนเอง โดยมีสัญญากับตัวความว่า เมื่อ คดีเสร็จแล้วจึงจะคิดค่าใช้จ่ายกับตัวความ ๒.๒ ตัวแทนที่ตัวความแต่งตั้งขึ้นเองโดยลับหลังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "Procurator” ตัวแทนประเภทนี้จะดำเนินคดีในฐานะเป็นตัวแทนของตัวความ โดยจะรับเหมาคดีจากตัวความไปดำเนินคดี แทนแล้วจึงมาคิดเงินชำระบัญชีกับตัวความเป็นคราว ๆ ไม่ได้ดำเนินคดีในนามของตนเอง ต่อมาจึงได้ เปลี่ยนเป็นลักษณะตัวแทนเฉพาะคดี มีลักษณะเช่นเดียวกับทนายความในปัจจุบัน นอกจากตัวแทนในการดำเนินคดีทั้งสองประเภทนี้แล้ว ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ รับจ้าง แถลงทางคดีแทนตัวความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มีชื่อเรียกว่า " Orator” อีกด้วย ในระยะนี้มีการห้าม บุคคลบางประเภทมิให้เป็นทนายความ เช่น ผู้มีความประพฤติไม่ดีหรือมีร่างกายไม่สมประกอบ ผู้ที่มีอายุต่ำ กว่า ๑๗ ปีรวมถึงผู้หญิงและทหารด้วย แต่เนื่องจากไม่มีการควบคุมอย่างจริงจัง ทำให้ผู้ที่มาประกอบอาชีพนี้ ไม่สนใจในวิชาชีพและใช้เล่ห์เหลี่ยมในการเอาชนะคดีเช่น ใน ค.ศ. ๑๑๓ ในการพิจารณาคดีหนึ่งมีการเชิญ พวกพ้องที่ผู้พิพากษาเกรงใจมานั่งเป็นพวกของตน และบางพวกถึงกับจ้างพวกพ้องเข้าไปปรบมือชมเชยคำ แถลงของตน๑๒ ทำให้อาชีพทนายความเสื่อมลงเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี จนต่อมาเมื่อมีการจำกัดจำนวน ทนายความในเมืองต่าง ๆ เช่น กฎหมาย ค.ศ. ๔๙๖ ให้เมืองอเล็กซานเดรียมีทนายความได้ ๕๐ คน กฎหมาย ค.ศ. ๔๗๔ ให้เมืองคอนสแตนติโนเปิลมีทนายความได้ ๖๔ คน๑๓ ฐานะของทนายความจึงเริ่มกระเตื้องขึ้น ในยุคตอนปลายของสมัยโรมัน ทนายความแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. Procurator เป็นตัวแทนเจ้าของคดีเข้าว่าคดี ๒. Advocate หรือ Orator เป็นทนายความแถลงคดี ต่อมาได้มีทนายความประเภทหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า “Jurisconsult” เกิดขึ้น โดยจะเป็นทนายความ ที่ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาในข้อกฎหมายต่าง ๆ ในเรื่องพินัยกรรม การโอนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน สัญญา นิติกรรม และยังได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งเป็นที่มาของกฎหมายแพ่งโรมันในเวลาต่อมา ๑๒ พระยาวิทุรธรรมพิเนตุ, อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก พระอรรถวิมลบัณฑิต (โต๊ะ หิรัญยัษฐิติ) เนติบัณฑิตไทย, (ม.ป.ท.), ๒๕๑๗, หน้า ๕. ๑๓ เรื่องเดียวกัน.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๘ ๓) ทวีปยุโรป ทนายความได้เข้ามามีบทบาทแพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในยุคสมัยที่คริสตจักรรุ่งเรือง ระหว่าง ค.ศ. ๕๐๐-๑๓๐๐ (พ.ศ. ๑๐๔๓-๑๘๔๓) เป็นยุคที่พระได้รับการยอมรับนับถือจากผู้คนในสังคมสมัย นั้น โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายและเป็นทนายความ แต่ก็จำกัดอยู่เฉพาะการทำหน้าที่ในศาลสงฆ์ เท่านั้น พระ (Clergy) ซึ่งทำหน้าที่เป็นทนายความในศาลสงฆ์แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๓.๑ ตัวแทนของตัวความที่เป็นฝ่ายเรียกร้องหรือร้องขอ เรียกทนายความประเภทนี้ว่า ผู้ไต่สวน คดี(Proctor) ทำหน้าที่เป็นทนายโจทก์ ๓.๒ ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าคดีในศาล ซึ่งต้องได้รับแต่งตั้งจากเจ้าของคดีและจากศาล (Advocate) โดยทนายความประเภทนี้ต้องผ่านการศึกษากฎหมายเป็นเวลาถึง ๕ ปีจึงจะมีสิทธิว่าความได้ นอกจากนี้ ยังมี ข้อห้ามมิให้ซื้อคดี มิให้ตกลงแบ่งส่วนได้ของคดี มิให้เรียกค่าธรรมเนียมแพง และมิให้เรียกรับค่าธรรมเนียมจาก อีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้นอาจถูกลงโทษ๑๔ การว่าความโดยพระในศาลสงฆ์ต่อมาได้ขยายออกไปโดยให้พระว่าความในศาลคฤหัสถ์ได้ด้วย แต่ผลที่สุดก็ถูกจำกัดให้ว่าความได้แต่เฉพาะในศาลสงฆ์เช่นเดิม ต่อมา เมื่อยุคศาสนจักรเริ่มเสื่อมลง ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนีได้สร้างหลัก กฎหมายใช้บังคับในประเทศของตนเอง โดยประยุกต์มาจากกฎหมายโรมันให้เหมาะสมกับสภาพสังคมของแต่ ละประเทศ ประเทศเหล่านี้จึงใช้กฎหมายในรูปแบบของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่นเดียวกับสมัยโรมัน วิชาชีพทนายความจึงยังคงมีบทบาทสำคัญและทรงด้วยคุณค่าในการต่อสู้คดีแทนตัว ความอยู่เช่นเดิม จนเป็นแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพทนายความในประเทศต่าง ๆ ที่ใช้กฎหมายระบบลายลักษณ์ อักษรมาจนถึงปัจจุบัน ๔) การประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศอังกฤษ ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี(Common Law) บุคคลธรรมดา ซึ่งมีคดีความ ยากที่จะเข้าใจระบบและวิธีการทางกฎหมายได้ทนายความจึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะเข้า ช่วยเหลือในทางคดีแทนเจ้าของคดีที่แท้จริง ต่อมาเมื่อมีการตั้งศาลจารีตประเพณีการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายจากคำพิพากษาซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ความซับซ้อนและยุ่งยากในการดำเนินคดี ของคู่ความจึงทวียิ่งขึ้น การดำเนินคดีดังกล่าวจำต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย คือ ทนายความเข้าดำเนินคดีแทน แต่เดิมถือกันว่าสิทธิการแต่งตั้งตัวแทนดำเนินคดีแทนบุคคลอื่นนั้น เป็นสิทธิเฉพาะตัวของ พระมหากษัตริย์เท่านั้น การแต่งตั้งผู้แทนดำเนินคดีแทนตัวคู่กรณีจะทำได้ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรง ๑๔ เรื่องเดียวกัน., หน้า ๗.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๙ เห็นสมควรตามความเหมาะสม ดังนั้น ในคดีอาญาอุกฉกรรจ์ในประเทศอังกฤษจึงไม่ยอมให้บุคคลธรรมดามี ทนายความเข้าว่าต่างแก้ต่างแทนตัวความ ต่อมาในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๑ (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๑๐๐-๑๑๔๕ หรือ พ.ศ. ๑๖๔๓-๑๖๘๘) ได้ผ่อนคลายกฎนี้ โดยการอนุญาตให้คู่กรณีที่พิพาทมีสิทธิตั้งทนายความได้๑๕ ทนายความในสมัยนี้มี๒ ประเภท คือ ๑. แอททอร์นี(Attorney) เป็นทนายความที่มีหน้าที่เตรียมคดีหรือว่าความเล็กๆ น้อยๆ ต่อมา จึงได้พัฒนาเป็นทนายความที่มีชื่อเรียกว่า โซลิซิเตอร์(Solicitor) ซึ่งแต่เดิมเป็นทนายความเกี่ยวกับการชำระ บัญชี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๒๙๓ (ค.ศ. ๑๗๕๐) จึงได้มีการับรองให้เป็นทนายความชั้นเดียวกับแอททอร์นี มี สถานศึกษาเฉพาะคือ Incorporated Law Society ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น Law Society ๒. พลีเดอร์ (Pleader) เป็นทนายความที่เป็นตัวแทนในทางคดีว่าต่างแก้ต่าง เสนอ พยานหลักฐานต่าง ๆ ในศาล ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๔ ได้เกิดบาร์(Bar) หรือ สำนักกฎหมายที่เรียกว่า “Inns of Court” ขึ้น ๔ แห่ง ได้แก่ Middle Temple, Inner Temple, Grey’s Inn และ Lincoln’s Inn โดยมีการ ฝึกงานทนายความอย่างจริงจัง ผู้สำเร็จการศึกษาจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย โดยมีชื่อ เรียกว่า บาร์ริสเตอร์(Barrister) อันเป็นการพัฒนามาจากทนายความประเภทพลีเดอร์แต่เดิมนั่นเอง ทนายความในประเทศอังกฤษในปัจจุบันมี๒ ประเภท ได้แก่ โซลิซิเตอร์(Solicitor) ประเภท หนึ่ง และบาร์ริสเตอร์หรือเนติบัณฑิต (Barrister) อีกประเภทหนึ่ง ถ้าเป็นทนายความประเภทโซลิซิเตอร์ก็ ทำงานเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ร่างสัญญา ร่างพินัยกรรมให้กับลูกความทั้งหลาย เมื่อลูกความต้องการจะ ปรึกษาปัญหากฎหมายอะไรก็ให้ไปหาโซลิซิเตอร์แต่ถ้ามีคดีความในศาลแล้วโซลิซิเตอร์จะว่าคดีเฉพาะคดี เล็กๆ น้อยๆ บางประเภทเท่านั้น นอกจากนั้นโซลิซิเตอร์ต้องไปติดต่อทนายความประเภทบาริสเตอร์ ให้ว่า ความให้แก่ลูกความของตนอีกทอดหนึ่ง โดยปกติบาร์ริสเตอร์จะไม่ติดต่อกับทนายความโดยตรง หากแต่จะ ติดต่อผ่านโซลิซิเตอร์และบาร์ริสเตอร์จะมีทนายหน้าหอ หรือเสมียนทนาย(Clerk) คอยติดต่อประสานงานกับ โซลิซิเตอร์โดยทนายหน้าหอนี้จะเป็นผู้กำหนดค่าทนายความให้กับบาร์ริสเตอร์ด้วย๑๖ บาร์ริสเตอร์ที่ไปว่าความให้กับโจทก์หรือจำเลยนั้นนอกจากที่จะมีโอกาสพบตัวความและพยาน ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนแล้วจะไม่มีโอกาสพบกับพยานปากอื่น ๆ ของฝ่ายตนอีกเลย ไม่มีโอกาสซักซ้อมพยาน (Coaching Witnesses) ก่อน บาร์ริสเตอร์จะพบพยานครั้งแรกที่ห้องพิจารณาคดีดังนั้นพยานจะเบิกความ อย่างไร ทนายความฝ่ายที่อ้างพยานมาก็ไม่อาจทราบได้ล่วงหน้า เพราะโซลิซิเตอร์จะมีหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียม คดีและเตรียมพยานไว้ให้ ๕) การประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑๕ สุจริต ถาวรสุข, ทนายความพิสดาร ภาคหนึ่ง ว่าด้วยความสำคัญของทนายความ, หน้า ๑๙๖ ๑๖ ธานินทร์กรัยวิเชียร และมุนินทร์พงศาปาน, ๒๕๔๙, หน้า ๒๐


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๐ ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของสหรัฐอเมริกาไม่มีระบบและกฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพ ทนายความ เมื่อชาวยุโรปอพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา จึงได้นำเอาแนวคิดของกฎหมายระบบ แองโกลแซก ซอน (Anglo-saxon) มาใช้เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษมาเป็น เวลานาน ระบบทนายความของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นภายหลังประกาศเอกราชจาก ประเทศอังกฤษแล้ว ในศตวรรษที่ ๑๗ ทนายความในประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เป็นที่นิยม ด้วยเหตุว่าทนายความไม่ มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญทางกฎหมายเพียงพอ ประชาชนจึงนิยมปรึกษากับพระหรือนักบวช ทนายความจึง ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพจากพระและผู้มีอำนาจ เช่น จำกัดให้ว่าความได้ไม่เกิน ๒ ศาล และต้องสำเร็จ การศึกษาจาก “Inns of Court” ของประเทศอังกฤษ เป็นต้น ตอนปลายศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา เจริญเติบโตขึ้น จึงส่งผลให้ความต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายเพื่อช่วยเหลือในด้านธุรกิจ การค้ามากขึ้นเช่นกัน ในเมืองใหญ่ที่มีความเจริญ เช่น นิวยอร์ก เริ่มมีทนายความอาชีพ ปรากฏให้เห็นและ ประกอบอาชีพกันอย่างจริงจัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเริ่มเข้ามาเป็นทนายความ ส่งผลให้ทนายความอาชีพ เดือดร้อน ไม่อาจสู้ทนายความที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐได้ เริ่มมาในยุคศตวรรษที่ ๑๘ วิชาชีพทนายความอิสระได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาชีพที่มี ความสำคัญและเริ่มมีการใช้วิธีการแสวงหาและการนำเสนอข้อเท็จจริงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ให้โอกาส จำเลยต่อสู้คดีได้อย่างโปร่งใสมากขึ้น คนที่ไม่รู้กฎหมายก็มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นกว่าเดิม สิทธิสตรีได้รับการยกย่องและรับรองมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดความนิยมในการประกอบวิชาชีพทนายความ อย่างแพร่หลายทั่วไปและเริ่มมีการห้ามเสมียนพนักงานในศาลเป็นทนายความ และมีการจัดตั้งสภา ทนายความ (Bar Association)๑๗ ขึ้นในรัฐต่าง ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็แตกต่างกันกับของต้นแบบ คือ ของอังกฤษ ที่ยังแบ่งแยกเป็นทนายความว่าความ คือ Barrister at Law กับทนายความที่ปรึกษา เรียกว่า Solicitor ทั้งการบริหารและการปกครองก็แบ่งเป็น Bar Association สำหรับทนายความว่าความ กับ Law Society เป็นผู้ปกครองทนายความที่ปรึกษา เป็นสององค์กรแยกกันบริหาร ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกามี ทนายความประเภทเดียว เรียกว่า “Attorney” หรือ “Attorney-at-Law” ที่จะแยกไปประกอบอาชีพเป็นที่ ปรึกษาโดยเฉพาะก็ได้ เรียกว่า “Counselor-at-law” แต่ก็ไม่ค่อยนิยมใช้กัน คงใช้แต่ Attorney-at-Law คือ ทนายความ และมีองค์กรเดียวบริหาร เรียกว่า Bar Association ในแต่ละรัฐทั้ง ๕๐ รัฐก็จะมี Bar ๑๗ (ผู้เรียบเรียง) คำว่า “Bar Association” ในความหมายที่แปลตามลายลักษณ์อักษรจะตรงกับคำว่า “สมาคม” ซึ่งมีที่มาจากหลักกฎหมาย Common Law ของสหราชอาณาจักร แต่ตามความเป็นจริง การบังคับใช้กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็เป็นสมาคมที่ มีการใช้อำนาจจริง ๆ ในการปกครองทนายความในรัฐหรือในประเทศนั้น ตั้งแต่การคัดเลือกโดยการสอบ และการปลดออกจากสมาชิก เช่นเดียวกับในระบบ Civil Law หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร ที่ต้องเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นในประเทศไทย เราก็ออกเป็น พระราชบัญญัติวิชาชีพ จึงใช้ให้แตกต่างกับคำว่า “สมาคม” โดยใช้คำว่า “สภา” แทน เช่น แพทยสภา สภาทนายความ สภาวิศวกร เป็นต้น และเป็นต้นแบบของสภาวิชาชีพต่าง ๆ ที่ตามมา


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๑ Association หรือสภาทนายความครบทุกรัฐ ใช้กฎหมายเป็นอิสระ และมีอำนาจปกครองตนเอง มีกฎและ ระเบียบใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพทนายความของแต่ละรัฐ รวมทั้งการสอบขอรับใบอนุญาตก็แตกต่างกันตามแต่ คณะกรรมการสภาทนายความประจำรัฐนั้น ๆ จะกำหนด แต่ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน มีที่แตกต่างก็เป็นเรื่อง การบริหารภายในกับการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความของแต่ละรัฐ ซึ่งหากเป็นหลักสูตรในปัจจุบัน ผู้ที่จะสอบจะต้องได้รับปริญญาทางกฎหมาย J.D. (Juris Doctor) และผ่านการฝึกฝนอบรมกับสำนักงาน ทนายความเช่นเดียวกันกับการสมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความสำหรับผู้ผ่านการฝึกหัดงานใน สำนักงานทนายความมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี สำหรับบัณฑิตทางนิติศาสตร์ (LL.B.) จากประเทศไทยและจาก ประเทศอื่นก็สามารถเข้าสอบได้ แต่ต้องมีการรับรองว่าเป็นทนายความผู้ได้รับใบอนุญาตจากประเทศไทยจริง หรือจากประเทศที่ออกใบอนุญาตทนายความ เมื่อสอบได้ก็ทำงานเป็นทนายความและที่ปรึกษาได้ในรัฐนั้นๆ หากจะไปทำงานที่รัฐอื่นจะต้องไปสอบใหม่ ดังเช่นกรณีของคณบดี Stamford Law School ก็มีใบอนุญาต ทนายความของรัฐนิวยอร์ก แต่เมื่อมาอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ก็ต้องมาสอบใบอนุญาตตามหลักสูตรของ California Bar เผอิญท่านสอบไม่ได้ จึงเป็นข่าวใหญ่ลงในหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดตั้งสภาทนายความอเมริกัน (The American Bar Association: ABA) ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยทนายความจากรัฐต่าง ๆ รวม ๒๐ รัฐ จำนวน ๗๕ คน รวมทั้ง จาก District of Columbia ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการพัฒนาวิชาชีพกฎหมายในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๔ ประการคือ วัตถุประสงค์ประการที่หนึ่ง คือการช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในการพัฒนาวิชาชีพกฎหมาย การ แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลของกันและกันระหว่างผู้ปฏิบัติวิชาชีพทนายความด้วยกัน ในสภาทนายความ อเมริกันมีคณะทำงาน (Standing Committee) ทั้งหมด ๓๓ คณะ ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบและศึกษาปัญหา ต่างๆ อย่างต่อเนื่องที่จะมีผลกระทบต่อและการพัฒนาวิชาชีพกฎหมายทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องของการว่าความ และการเป็นที่ปรึกษากฎหมายผ่านสมาชิกของสภาทนายความอเมริกันในรัฐต่าง ๆ วัตถุประสงค์ประการที่สอง คือการพัฒนากฎหมายอย่างยั่งยืน การที่ทนายความทุกคนของ สหรัฐอเมริกาจะต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อกำหนดโครงการที่ต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuing Legal Education (CLE) programs) เป็นหลักการของการบังคับเพื่อการต่อใบอนุญาต ทนายความเป็นระยะ รวมถึงการเรียนรู้ทางไกลและการเข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ และที่เป็นหลักสูตรซึ่งเป็น หลักสูตรภาคบังคับของ CLE ปัจจุบันสมาชิกสามารถเข้าถึงข้อมูลวิชาการในสาขาต่าง ๆ ได้โดยผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านทางเว็บไซต์ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย วัตถุประสงค์ประการที่สาม คือการลดการเลือกปฏิบัติและขยายกรอบของการปฏิบัติงานในทาง วิชาชีพของสมาชิกโดยผ่านทางคณะกรรมการทั้งหมด ๓๓ คณะ เพื่อการผดุงไว้ซึ่งระบบศาลยุติธรรมที่โปร่งใส และให้การทำหน้าที่ของผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๒ วัตถุประสงค์ประการที่สี่ การดำรงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่สภาทนายความอเมริกันตั้งเป้าประสงค์ไว้เพื่อเป็นหลักประกันทางด้านสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชน โดย รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในทุก ๆ เรื่องที่กระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ภายใต้กฎหมายของ ประเทศสหรัฐอเมริกา องค์กรสภาทนายความอเมริกันจะทำงานเพื่อการบังคับใช้กฎหมายการดูแลเรื่องสิทธิ มนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและด้วยความเสมอภาค ภายใต้การดำเนินการของผู้ประกอบ วิชาชีพทนายความทั้งในประเทศและต่างประเทศ สิ่งที่สำคัญก็คือจะเป็นองค์กรที่คุ้มครองความเป็นอิสระของ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันในจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศสหรัฐอเมริกามีมากกว่า ๑.๒ ล้านคน ซึ่งถือได้ว่าสูงที่สุดในโลก ๖) การประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายเช่นเดียวกับเยอรมนี มีการตั้งสมาคม เกี่ยวกับทนายความชื่อ “สมาคมบราเธอร์ฮู้ด” (Brotherhood) ในคริสตศตวรรษที่ ๑๔ มีการแบ่งแยกเป็น หลายประเภท แต่ละประเภทก็มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาที่แตกต่างกันไป จนถึง ค.ศ. ๑๙๗๑ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประเทศฝรั่งเศสออกกฎหมายรวมทนายความประเภท “Avocets” และ “Avou'es” เข้าด้วยกันโดย กำหนดให้มีการทดสอบความรู้แล้วจึงจดทะเบียนต่อเนติบัณฑิตยสภาในท้องถิ่น จากนั้นจึงไปขออนุญาตให้ว่า ความจากราชการ การประกอบวิชาชีพกฎหมายในฝรั่งเศสมีการแบ่งแยกมากกว่าของอังกฤษ ในจำนวนผู้ ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่มีอยู่หลากหลายนั้นมีอยู่ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ๖.๑ เอโวเคทส์(Avocets) มีความคล้ายคลึงกันกับบาร์ริสเตอร์ของอังกฤษ โดยมีสิทธิในการ ดำเนินคดีในศาลแพ่งและศาลอาญา มีการจัดองค์กรในการควบคุมวิชาชีพในลักษณะของสภาทนายความของ ท้องถิ่นขึ้นอยู่กับศาลต่าง ๆ แต่ก็สามารถขึ้นว่าความในศาลอื่นได้ด้วย โดยจะต้องได้รับปริญญาตรีทาง กฎหมายและต้องมีประสบการณ์การฝึกงานที่เรียกว่าเป็น “Stage” ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างเอโวเคทส์และ บาร์ริสเตอร์ของอังกฤษ คือ เอโวเคทส์สามารถติดต่อกับลูกความได้โดยตรง ในขณะที่บาร์ริสเตอร์ไม่สามารถ ทำได้ ๖.๒ เอโวส์(Avoues) มีลักษณะคล้ายคลึงกับโซลิซิเตอร์ของอังกฤษ ๖.๓ แอกรีส์(Agrees) เป็นทนายความอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผู้ดําเนินคดีเหมือนกับเอโวส์ใน ศาลพาณิชย์(Commercial Court) ของฝรั่งเศส ๖.๔ “Avocats aux conseils” เป็นทนายความซึ่งมีสิทธิดำเนินคดีในศาลสูง เช่น ศาลฎีกา (Court of Cassation) และสภาที่ปรึกษาสูงสุดแห่งรัฐ (Conseil d’ Etat) ซึ่งมีจํานวนจํากัดเพียง ๖๐ ตำแหน่ง โดยมีลักษณะเหมือน เอโวส์คือ เป็นองค์กรปิด ทำหน้าที่ผสมผสานระหว่างเอโวเคทส์กับเอโวส์ซึ่ง การพิจารณาคดีส่วนใหญ่ล้วนทำเป็นลายลักษณ์อักษร


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๓ นอกจากทนายความดังกล่าวแล้ว ยังมีวิชาชีพกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง คือ โนตารี่ส์(Notaries) ซึ่งมีความแตกต่างกับ โนตารี่ พับลิค (Notary Public) ในประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา โนตารี่ส์จะทํา หน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเรื่องที่เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและมรดก ในขณะ ที่โนตารี่ พับลิค จะทำหน้าที่ในการรับรองลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทยกับการให้พสกนิกรเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม วัฒนธรรมการคิดเรื่องอำนาจของยุโรป-สหรัฐอเมริกา จะเน้นที่หลักปัจเจกนิยม (Individualism) ตั้งอยู่บนความเสมอภาค (Equity) ตามนิติธรรม (The Rule of Law) และมีการแบ่งแยกปริมณฑลแห่งอำนาจ (Separation of Spheres) ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมอำนาจของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งยึดหลักการใช้ อำนาจด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา และด้วยความสัมพันธ์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และสามารถทำความเข้าใจร่วมกันได้ จากนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์และคนไทย ดังนี้ ประการแรก คนไทยมีสำนึกร่วมกันว่า พระมหากษัตริย์ของไทยเป็นประดุจบิดาที่คอยปกป้อง คุ้มครองชีวิตของบุตร ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ฝังแน่นอยู่ในสายเลือดของคนไทยจนเกิดความผูกพันอันแน่นแฟ้น และปลงใจเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร แสดงปาฐกาไว้ตอนหนึ่งว่า “...ในวัฒนธรรมเดิมของคน ไทยเรานั้น พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ดุจพ่อเมือง เป็นผู้นำออกรบพุ่งในเวลามีศึกสงคราม ทั้งเป็นพ่อผู้ปกครอง เป็นทั้งตุลาการของราษฎร ในเวลาปกติ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนเป็นไปอย่างสนิท สนมมาก...”๑๘ ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างจำกัดต่อคนไทยในชาติ ดังเช่นในสมัยกรุง ศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์จะทรงตรากฎหมายมาใช้บังคับแก่ราษฎร ต้องชี้แจงเหตุผลโดยละเอียดพิสดาร อ้าง ถึงความจำเป็นเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร อ้างบาลีจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ที่พระมโนสาราจารย์ไปได้มา จากขอบจักรวาล มิได้ออกกฎหมายมาใช้บังคับตามอำเภอใจ ผิดจากวัฒนธรรมของตะวันตกที่ออกกฎหมายได้ ตามใจผู้เป็นรัฐาธิปัตย์ ดังกรณีภรรยาของซีซ่าที่กล่าวว่า “Sic volo; sic jubeo, ut leges” เพราะฉันต้องการ เพราะฉันชอบอย่างนี้ จงไปออกเป็นกฎหมาย หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส กล่าวว่า “L’Etat, c’est moi” เราคือรัฐ ประการที่สาม พระมหากษัตริย์ทรงยึดถือเอาธรรมะเป็นเครื่องมือในการปกครองราษฎร เห็นได้จาก ความมีใจกว้างขวางให้ราษฎรในการเลือกนับถือศาสนา ความมีเมตตาแก่สรรพสิ่งมีชีวิต การให้อภัย การ เอาชนะโดยธรรม การควบคุมตนเอง การตรวจสอบดูแลทุกข์สุขของราษฎร ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ อุทิศตนเพื่อผู้ใต้ปกครองทุกหมู่เหล่าได้มีความสุข ๑๘ ประมวล รุจนเสรี, พระราชอำนาจ. สุเมธ รุจนเสรี, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘, หน้า ๗๖.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๔ ประการที่สี่ พระมหากษัตริย์ทรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชความเป็นไท ดังจะเห็นได้จากการกอบกู้เอกราช ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การทำศึกป้องกันประเทศของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การยอมเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาเอกราชจากการ คุกคามของจักรวรรดินิยมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงถูกบีบบังคับให้เข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาจากพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส พระองค์ก็ทรงใช้ปรีชาญาณเอาตัวรอดด้วยพระราชดำรัสว่า “ขอบพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเป็นนักหนา ที่มีความสนิทเสน่หาในข้าพเจ้า แต่การที่เปลี่ยนศาสนา ที่เคยนับถือมา ๒,๒๒๙ ปีแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นขอให้บาทหลวงทำให้ราษฎรของข้าพเจ้าเข้ารีตนับถือ ศาสนาคริสต์ให้หมดเสียก่อน แล้วข้าพเจ้าจะเข้าตามภายหลัง อีกประการหนึ่งเล่าทรงประหลาดพระทัยเป็น หนักหนาว่า เหตุใดพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงก้าวก่ายงานของพระเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่าง ๆ ในโลกนั้น มิใช่ ความประสงค์ของพระเจ้าดอกหรือ จึงมิได้บันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียวในเวลานี้ พระเจ้าคงปรารถนาให้ ข้าพเจ้านับถือพระพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้น จะรอคอยความกรุณาของพระองค์บันดาลให้นับถือคริสต์ ศาสนาในวันใด ก็จะเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาเมื่อนั้น จึงขอฝากชะตากรรมของข้าพเจ้าและกรุงศรีอยุธยา ไว้ให้อยู่ในความบันดาลของพระเจ้าด้วย ขอพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส สหายของข้าพเจ้า อย่าได้น้อยพระทัยเลย”๑๙ ประการที่ห้า พระมหากษัตริย์ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติและประชาชนยิ่งกว่าพระองค์เอง และพระ ราชวงศ์ต้องเสด็จไปในการสงครามบ้าง ประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรบ้าง เพื่อนำเอาความทุกข์ยากเดือดร้อนนั้น มาแก้ไข โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงให้ราษฎรสามารถเข้าเฝ้าพระองค์ได้ ใกล้ชิดยิ่งกว่าข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ ประการที่หก พระมหากษัตริย์ต้องเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นนิติราชประเพณีที่เกิดขึ้นภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยไม่ว่าพรรคการเมืองใดได้ขึ้นมาบริหารราชการแผ่นดินก็ ต้องเป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น แม้รัฐบาลจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกัน บริหารประเทศ ก็มิได้เกิดปัญหากับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้ว่า นิติราชประเพณีทั้ง ๖ ประการนี้ มิได้ขัดหรือแย้งกับแนวความคิดอุดมการณ์การ ปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่กลับส่งเสริมให้มีการส่งเสริมวัฒนธรรม การปกครองแบบไทย ๆ ที่ปรับการใช้อำนาจ สิทธิ และปัจเจกนิยม ให้สอดคล้องกับธรรมะ ความเมตตา และ ความสัมพันธ์ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ในอดีต อำนาจสูงสุดในแผ่นดินเป็นของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตที่ทรงมีพระราชอำนาจเหนือ ชีวิตของคนทุกคน จะให้ประหารชีวิต ลงโทษราษฎรใด ๆ ได้ตามพระราชอัธยาศัย และทรงเป็นเจ้าแผ่นดิน ๑๙ เล่มเดียวกัน, หน้า ๗๘-๗๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๕ เป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ราษฎรทั้งหลายจะมีสิทธิครอบครองที่ดินได้ต้องขอพระบรมรา ชานุญาตก่อน พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณล้วนแล้วแต่ทรงให้ความสำคัญในเรื่องการพระราชทานความเป็นธรรม แก่ราษฎร ทรงกำหนดวิธีการในการเปิดโอกาสให้ราษฎรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมต่างๆ นำความกราบบังคมทูลเพื่อทราบถึงพระเนตรพระกรรณได้โดยง่าย หากย้อนไปถึงสมัยสุโขทัยซึ่งการปกครอง เป็นแบบพ่อปกครองลูก มีลักษณะไม่ซับซ้อน เมื่อราษฎรผู้ใดได้รับความเดือดร้อนก็จะถวายฎีกาต่อ พระมหากษัตริย์ ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า “...ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บ ท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ...”๒๐ ในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าชีวิต-เจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นสมมติเทพตามอิทธิพลของลัทธิ มหายานปนศาสนาพราหมณ์ที่มีความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระจักรพรรดิและได้รับการยกฐานะเท่ากับ พระอินทร์ ในขณะเดียวกัน พระมหากษัตริย์ก็ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนา ทรงเป็น ธรรมราชาผู้มีพระบรมเดชานุภาพ โดยมีกฎมณเฑียรบาลกำหนดมิให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในทางที่ผิด เป็นพระราชศาสตร์ความว่า “พระเจ้าอยู่หัวดำรัสด้วยกิจการคดีถ้อยความประการใด ๆ ต้องกฎหมายประเพณีเป็นยุติธรรมแล้วให้ กระทำตาม ถ้ามิชอบ จงอาจเพ็ดทูลทัดทานครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ถ้ามิฟังให้รอไว้อย่าเพิ่งสั่งไป ให้ทูลที่ รโหฐาน ถ้ามิฟังจึงให้กระทำตาม ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระอัยการดั่งนี้ ท่านว่าผู้นั้นละเมิดพระราชอาญา” นอกจากนี้ยังได้บัญญัติไปอีกว่า “อนึ่ง ทรงพระโกรธแก่ผู้ใดและตรัสเรียกพระแสง อย่าให้เจ้าพนักงาน ยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า พระมหากษัตริย์ของไทยได้ใช้พระราชอำนาจด้วยความระมัดระวัง เที่ยงธรรม พัฒนาการของการประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศไทย การแบ่งช่วงเวลาในการพิจารณาพัฒนาการการประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศไทย ก่อนการมี พระราชบัญญัติทนายความฉบับแรก สามารถแบ่งได้เป็น ๔ ช่วง ดังนี้ ๒๐ เนติบัณฑิตยสภา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับเนติบัณฑิตยสภา, กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๕๐, หน้า ๔๔.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๖ ช่วงที่ ๑ ยุคสุโขทัย ในยุคสุโขทัย ประวัติศาสตร์กฎหมายและกระบวนการอำนวยความยุติธรรมที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุง สุโขทัยเป็นราชธานีตามหลักฐานศิลาจารึกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๔ ถึง ๒๘ มีข้อความว่า "...ไพร่ฟ้าลูกเจ้าขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ว จึ่งแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด..." ๒๑ ข้อความที่ได้จารึกไว้นี้แสดงให้เห็นถึงหลักการพิจารณาคดีข้อพิพาทของราษฎรจะต้องไต่สวนให้ได้ ความจริง ไม่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เห็นแก่สินบน แล้วตัดสินด้วยความเป็นธรรม โดยผู้มีอํานาจ ตัดสินคดีคือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง การปกครองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก โดยมีกฎหมายฉบับแรกที่ ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๑๘๒๘-๑๘๓๕) เรียกกันว่า กฎหมาย สี่บท ได้แก่ บทเรื่องมรดก บทเรื่องที่ดิน บทวิธีพิจารณาความ บทลักษณะฎีกา และมีการเพิ่มเติมกฎหมาย ลักษณะโจรลงไปในครั้งรัชสมัยพระยาเลอไท พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๔ ของสุโขทัย ซึ่งมีส่วนของการนำ กฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้โดยได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์และนำส่วนขยายที่เรียกว่า พระราชศาสตร์ มาใช้ประกอบด้วย การปกครองที่พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อ พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ ๑ บรรทัดที่ ๓๒ ถึง ๓๕ ต่อด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑ ถึง ๒ มีข้อความว่า “...ในปากปตูมีกดิ่งอันณึงแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อย มีความเจ็บท้อง ข้องใจ มันจักกล่าวถึงจ้าเถิงขุนบ่ไร้ไปลั้นกดิ่ง อันท่านแขวนไว้พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกเมืองถาม สวนความ แก่มันด้วยซื่อไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม...” ๒๒ แสดงให้เห็นว่า ในยุคสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงพิจารณาและตัดสินคดีด้วยพระองค์เอง โดยใช้ หลักในการพิจารณาความตามแบบระบบไต่สวนให้ได้ความจริง ผู้ที่เป็นคดีความต้องต่อสู้คดีด้วยตนเอง จะให้ ผู้อื่นสู้คดีแทนตัวความไม่ได้ ในยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ปรากฏให้เห็นว่า มีการตั้งตัวแทนว่าคดีหรือสู้คดีแทนตัวความได้จึงถือได้ ว่ายุคสุโขทัยนี้มีแนวความคิดให้ตัวความเป็นผู้พิสูจน์ความจริงและความบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ไม่มีตัวแทนของตัว ความเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีแต่อย่างใด ในสมัยนี้จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่ามีทนายความเกิดขึ้นหรือไม่ ๒๑ พระยานิติศาสตร์ไพศาล, ประวัติศาสตร์กฎหมาย, (ม.ป.ท., ม.ป.ป.), หน้า ๔๑ ๒๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๓.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๗ ช่วงที่ ๒ ยุคกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐ แต่อาชีพทนายความที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอนเกิดขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยได้บัญญัติไว้ในกฎหมายพระอัยการลักษณะ รับฟ้อง มาตรา ๑๙ เมื่อปีมะแม สัปตศก เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ จุลศักราช ๗๐๗ (พ.ศ. ๑๘๙๙) ความว่า “๑๙ มาตราหนึ่ง หาในนครบาลว่าเป็นโจรก็ดี หาว่าสับฟันฆ่าตีท่านตายก็ดี แลผู้หนึ่งหาในอาญามันผู้ เดียวนั้นว่ากันโชกริบเอารูปประพรรณสิ่งสีนท่าน ถ้ามีกำลังให้ตัวอยู่แก้ในนครบาล ให้แต่งทะนายต่างแก้ตัว ในอาญา ถ้าหาทะนายต่างตัวมิได้ ให้เรียกทรัพย์นั้นไว้ในอาญาให้มันแก้ในนครบาล ถ้ามันแก้ในนครบาลมัน ฉิบหาย จึ่งให้ส่งทรัพย์นั้นแก่โจท เป็นกำมของโจทในพระราชอาญานั้น” แม้นักประวัติศาสตร์จะเชื่อว่าทนายความน่าจะมีมาก่อนสมัยนี้แล้ว แต่เพิ่งบัญญัติในสมัยพระเจ้าอู่ ทองก็ตาม ถือได้ว่าในปีพ.ศ. ๑๘๙๙ นี้เป็นต้นกําเนิดของทนายความไทยที่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน เมื่อ พิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กระบวนการในศาลที่ทนายปฏิบัติในครั้งนั้นเป็นเรื่องของการแต่ง หรือเรียบเรียงข้อความอันเป็นหนังสือ โดยเฉพาะคำฟ้องคำให้การ คำร้อง คำแถลง เป็นสำคัญ ส่วนการซักถาม ซักค้าน ถามติงพยานเป็นหน้าที่ของศาล ทนายความในยุคนี้โดยมากก็จะเป็นเสมียนพนักงานในศาล ในกองอัยการ ซึ่งเคยเห็นกิจการงานใน ศาลอยู่บ้างแล้ว และพนักงานอื่น ๆ ตลอดจนศิษย์และบริวารของผู้พิพากษา อัยการ และผู้มียศมีศักดิ์ เนื่องจากราษฎรถือว่าคนเหล่านี้มีความรู้ทางกฎหมายดีกว่าตนจึงขอให้มีเป็นทนายความของตัว ซึ่งในขณะนั้น ยังไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดคุณวุฒิที่จะเป็นทนาย ก็ย่อมทำให้ทนายมีฐานะต่ำต้อย ไม่เป็นอาชีพที่น่านับถือยกย่อง บางรายถึงกับประมูลว่าคดีกันโดยเอาเปรียบอย่างไร้ศีลธรรมสุดแต่จะเอาชนะได้จนถูกเรียกว่าเป็นทนายตีน โรงตีนศาล๒๓ ในยุคนี้ผู้ที่มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไปสามารถแต่งทนายความ ว่าต่างแก้ต่างแทนตนได้ไม่ว่าจะ ในทางแพ่งหรืออาญา ส่วนผู้ที่มีศักดินาน้อยกว่า ๔๐๐ ไร่ลงมา จะแต่งทนายความเข้ามาดำเนินคดีแทนตนเอง ได้เฉพาะกรณีที่เป็นญาติพี่น้องกันเท่านั้น เช่น เป็นบิดามารดา ดังปรากฏหลักฐานในพระอัยการลักษณะ ตระลาการ มาตรา ๙๒ บัญญัติว่า "มาตราหนึ่ง แต่นา ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป ถ้ามีภัยทุกข์สุขสิ่งใด ๆ ก็ดีแลฟ้องร้องกฎหมายกล่าวหาผู้มีบันดา ศักดิ์แต่นา ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป เป็นข้อแพ่งอาญาอุธรก็ดีให้แต่งทนายว่าความต่างตัว บพึงให้ว่าความเอง ถ้ามิได้ให้ เรียกทนายต่างตัว ท่านว่าอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชา ต่ำนา ๔๐๐ ลงมา ถ้ามีกิจธุระสิ่งใดก็ดีจะแก้ต่างว่าต่าง ประกันหาต่างพี่น้องได้ถ้าราษฎรจะฟ้องร้องให้พิจารณาตัวเองได้" การแต่งทนายเข้าว่าต่างแก้ต่างแทนตัวนี้ ก็ยังมีข้อยกเว้นในบางคดีตัวความต้องแก้ต่างด้วยตนเอง มี ๑๔ กรณี ได้แก่ หมอทำให้คนไข้ตาย โจรปล้นฆ่าคนตาย เป็นชู้ภรรยาเขา คดีมรดก ลักทรัพย์ เบียดบังทรัพย์ ๒๓ พระยาวิทุรธรรมพิเนตุ, อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก พระอรรถวิมลบัณฑิต (โต๊ะ หิรัญยัษฐิติ) เนติบัณฑิตไทย, หน้า ๒๐


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๘ ของหลวง ก่อการจลาจล ขุดทรัพย์ทองเงิน คดีตีฆ่าฟันกันตาย ฉ้อราษฎร์หรือกรรโชคทรัพย์ราษฎร วางเพลิง ปลอมเงินตรา ลอกทองหุ้มพระพุทธรูป และบุตรฟ้องบิดามารดา (อุทลุม) ซึ่งถือว่าเป็นคดีร้ายแรง ตัวความ ต้องว่าคดีเองในศาล ในปาฐกถาเรื่อง “กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา” โดย ม.ร.ว. เสนีย์ปราโมช กล่าวไว้ว่า “...ทนายว่าต่างแก้ต่างผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่๔๐๐ ขึ้นไป แต่จะไม่เหมือนกับทนายความในปัจจุบัน คือ เป็นการตัวทนายไปแทนกันโจทก์จำเลยในตระลาการ คือ เมื่อมีการเกาะตัวโจทก์จำเลยไปกักไว้ในตระลาการ ระหว่างเป็นความนั้น สำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์อาจให้เกาะเอาทนายไปกักไว้แทนตัวได้ไม่ต้องถูกเกาะตัวเองให้ เสียศักดิ์ศรีการพิจารณาคดีสมัยกรุงเก่าไม่ต้องเสียสตางค์จ้างทนายไปว่าความ เพราะตามวิธีพิจารณาเดิม คู่ความโจทก์จำเลยต้องกำกับตระลาการให้ถามความด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น ในกรณีที่ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็น ความและต้องใช้ทนายความต่างตน ทนายแก้ต่างว่าต่างนั้นก็ย่อมจะต้องทำหน้าที่กำกับตระลาการให้ถาม ความแทนผู้มีบรรดาศักดิ์ประเพณีจึงตกทอดมาใช้ทนายความแก้ต่างว่าต่างในปัจจุบัน...” ว่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่มีศักดิ์ดินาสูงหรือผู้ดีนั้นก็จะต้องมีบุคคลที่เรียกกันว่า ทนาย เอาไว้ใช้สอยกิจการ ส่วนตัวและในบรรดาทนายเหล่านี้ก็จะต้องมีคนที่มีความรู้กฎหมายและมีความชำนาญในการว่าความเอาไว้ใช้ เป็นผู้แทนตนไปว่าความในโรงศาล เมื่อเกิดคดีขึ้น เป็นต้นเหตุให้เกิดมีศัพท์ในภาษาไทยว่า “ทนายความ” มา จนบัดนี้ นอกจากนี้ ในพระอัยการลักษณะรับฟ้อง ซึ่งได้ประกาศใช้ในปีกุน มหาศักราช ๑๕๙๑ (พ.ศ. ๒๒๑๒) ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บัญญัติถึงเหตุแห่งการตัดฟ้องไว้ ๒๐ ประการ ซึ่งมีเหตุอยู่ ๒ ประการที่เกี่ยวข้องกับทนายความโดยตรง คือ “...พระบาทสมเดจ์พระพุทธิเจ้าอยู่หัวจึ่งตำหรัดแก่มุขมนตรีลูกขุนผู้ได้พิภากษาว่า อนาประชาราษฎร ผู้มีอัถคะดีลางคู่ติดใจมีถ้อยคำมิได้ตัดฟ้องตัดสำนวน ลางคู่มีถ้อยคำตัดฟ้องตัดสำนวน แลผู้พิภากษาหมิ่ได้แจ้ง ในบทพระไอยการ ที่ข้อตัดสำนวนนั้นหมิ่ได้ตัดสำนวนที่ข้อหมิ่ได้ตัดสำนวนปฤกษาว่าตัดสำนวน อนาประชา ราษฎรได้รับความยากแค้น แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า... ...อนึ่ง หาผู้มีบันดาศักดิหมิ่ได้ให้เรียกทนายต่างตัวก็ดี ๓ อนึ่ง ผู้มีบันดาศักดิหาเปนเนื้อความแพ่งอาญาอุธรหมิ่ได้แต่ทนายให้ว่าแก้ต่างตัวก็ดี ๔... ...แลราษฎรผู้ต้องคะดีมีถ้อยคำตัดฟ้อง ๒๐ ประการนี้ ท่าให้มุขลูกขุนพิภากษาตามบทพระไอยการ พระราชกฤษฏีกา ถ้าต้องด้วยพระไอยการห้าม ๒๐ ประการนี้แล้วให้ยกฟ้องเสีย” จากบทบัญญัตินี้ จึงสังเกตได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะแต่งทนายได้เฉพาะในคดีอาญา เท่านั้น แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจแต่งทนายว่าต่างแก้ต่างได้ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และ อุทธรณ์ได้ด้วย


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๑๙ ในยุคนี้ ยังได้มีการควบคุมการประกอบอาชีพทนายเป็นครั้งแรกในพระราชกำหนดเก่าข้อ ๖๒ ซึ่ง ประกาศใช้เมื่อจุลศักราช ๑๐๙๕ ปีฉลู เบญจศก (พ.ศ. ๒๒๗๗) ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ได้ บัญญัติถึงโทษของผู้ที่เป็นหมอความไว้ว่า “๖๒ กฎให้แก่ขุนอาญาจักราชปลัด ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า ราษฎร ทุกวันนี้ย่อมไปคดอ่านด้วยผู้รู้สำนวนแต่งฟ้องให้ราษฎรหาความแก้ต่างกัน มิใช่พี่น้องว่าเป็นพี่น้องเข้าว่า เนื้อความต่างกัน ให้เป็นกุลีในแผ่นดิน ให้สารสอดแนมจับเอาตัวคนขี้ฉ้อหมอความคิดอ่านแต่งฟ้องเขียนฟ้อง ให้แก่ราษฎรหาความแก่กัน แลคิดอ่านให้ราษฎรแก้เนื้อความแก่กัน แลอ้างว่าเป็นญาติพี่น้องเข้าหาความต่าง ราษฎรนั้น ให้พิจารณาสืบสาวเอาตัวจงได้ ถ้าเป็นสัจไซ้ให้เฆี่ยน ๓ ยก แล้วส่งกลับเข้าคุกลงสำเภาเป็นหัวสิบ ช้าง” จากบทบัญญัติดังกล่าว ทำให้เชื่อได้ว่า “ทนาย” กับ “หมอความ” เป็นคำเดียวกัน แต่ “หมอความ” จะเพ่งเล็งถึงทนายที่กลั่นแกล้งแต่งฟ้องกล่าวหาบุคคลโดยทางมิชอบเป็นสำคัญ ช่วงที่ ๓ ยุคกรุงธนบุรีพ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ เป็นช่วงที่ทำศึกสงครามเพื่อกอบกู้เอกราช และเพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ทั้งสมัยของกรุง ธนบุรีนั้นมีช่วงเวลาเพียง ๑๕ ปีเหตุการณ์เกี่ยวกับด้านกฎหมายจึงมีปรากฏน้อยมาก โดยจะมีปรากฏเพียง ช่วงปลายสมัยกรุงธนบุรีหลังจากเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าตีหัวเมืองเหนือแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีมัก เสด็จไปนั่งกรรมฐานที่วัดบางยี่เรือ ต่อมา ทรงเกิดระแวงว่า ข้าราชการจะพากันลอบลักพระราชทรัพย์จึงให้ โบยตีจำจอง และบางทีก็เอาตัวผู้ต้องหาขึ้นย่างไฟ จะให้รับเป็นสัตย์แล้วพระราชทานรางวัลแก่ผู้ที่เป็นโจทก์ ถวายฎีกาฟ้องร้องขึ้นมา จึงเป็นเหตุให้มีการกลั่นแกล้งฟ้องร้องกันเพื่อหวังบำเหน็จรางวัล ต่อมาพระเจ้ากรุง ธนบุรีทรงตั้งบุคคลสองคน คือ พันสีให้เป็นขุนจิตรจูล และพันลา ให้เป็นขุนประมูลราชทรัพย์มีตำแหน่งเป็น หัวหน้าพวกโจทก์ก็มีการถวายฎีกาฟ้องร้องผู้อื่นหนักกว่าเก่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงวินิจฉัยโดยไม่ได้พิจารณา ให้เห็นเท็จจริง สักแต่ว่าโจทก์สาบานได้ถ้าผู้ต้องหาไม่รับเป็นสัตย์โดยดีก็ให้เฆี่ยนตีมัดติดไม้และย่างเพลิง จนกว่าจะรับ แล้วปรับไหมตามที่โจทก์หา ในช่วงนั้นที่บริเวณโรงชำระความในพระราชวังมีเสียงร้องไห้ครวญ ครางทุกวัน ซึ่งภายหลังก็เกิดเหตุการณ์จลาจลในกรุงธนบุรีและสิ้นสุดยุคสมัยกรุงธนบุรี จึงพอสรุปได้ว่า ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีการดำเนินกระบวนพิจารณาตัดสินคดีความกระทำกัน ณ โรง ชำระความในพระราชวัง โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงไต่สวนและทรง วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง โดยมีผู้ทำหน้าที่เป็นโจทก์ถวายฎีกาฟ้องร้องผู้อื่นขึ้นมา ซึ่งอาจเปรียบได้กับตำแหน่ง พนักงานอัยการในปัจจุบัน แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับคดีที่ราษฎรฟ้องร้องกันเอง รวมทั้งไม่ปรากฏเรื่องราว ของทนายความในฐานะที่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่องอรรถคดีในช่วงสมัยกรุงธนบุรีแต่ อย่างใด


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๐ ช่วงที่ ๔ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึงปัจจุบัน ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ ความเป็นเจ้าแผ่นดิน-เจ้าชีวิต เปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้ง จากสมมติเทพ มาเป็นอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ คือเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ประชาชนทั้งปวงยอมรับด้วยการที่ข้าราชการและ ราษฎรทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลวิงวอนเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ และ พระมหากษัตริย์จะต้องประกอบไปด้วยหลักธรรมของผู้นำ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิ วัตร๒๔ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ จักรีทรงเห็นว่ากฎหมายที่ใช้กันแต่ก่อนมานั้นขาดความชัดเจน และไม่ได้รับการจัดเรียงไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ จึงโปรดเกล้าให้มีการชำระกฎหมายขึ้นมาใหม่ ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์โดยนำรวบรวมไว้ให้เป็นหมวด และ ได้ทรงประทับตราเป็นตราพระราชสีห์ของกระทรวงมหาดไทย ตราคชสีห์ของกระทรวงกลาโหม และตราบัว แก้วของพระคลัง บนหน้าปกของกฎหมายแต่ละเล่ม โดยจำแนกตามลักษณะระเบียบการปกครองในสมัยนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงเรียกกันว่า กฎหมายตราสามดวง ในสมัยรัชกาลที่ ๑ นี้มีการดำเนินคดีเหมือนเช่นกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีคือ มุ่ง ประสงค์ให้ตัวความพิสูจน์ความจริงด้วยตนเองเป็นสำคัญ จะให้มีทนายความดำเนินคดีแทนตัวความได้เฉพาะผู้ ที่เป็นญาติพี่น้อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวความเท่านั้น และดำเนินคดีแทนในลักษณะถ่ายทอด ข้อเท็จจริงแทนตัวความ ไม่ได้ทำหน้าที่ซักถามหรือซักค้านพยานแต่อย่างใด ดังที่ปรากฏหลักฐานในกฎหมาย ตราสามดวง ลักษณะรับฟ้องบทที่ ๑ ว่า “มาตราหนึ่ง มิไช่คดีตนแลคดีบิดามานดาปู่ย่าตายายป้าน้าอาบุตรภรรยาพี่น้องตน เกบเอาเนื้อความ ผู้อื่นซึ่งมิได้เปนเนื้อความเรื่องเดียวกันมากฏหมายร้องฟ้อง ผู้นั้นบังอาจให้ยากแก่ความเมืองท่านๆ ว่าเลมิด ให้ ไหมโดยยศถาศักดิอย่าให้รับฟ้องไว้พิจารณา” ในสมัยนี้ทนายความจึงมีหน้าที่เพียงอำนวยความสะดวกให้แก่ตัวความเท่านั้น และคงมีลักษณะเช่นนี้ เรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ในสมัยนี้มีคดีความเกิดขึ้นมากมาย ประกอบกับไม่มีการควบคุมการเป็นทนายความ จึงทำให้มีบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ ซึ่ง เป็นทนายหน้าหอของข้าราชการผู้ใหญ่ เริ่มเข้ามารับจ้างเป็นทนายความให้แก่ตัวความกันอย่างแพร่หลาย โดย ไม่ถือเป็นความผิดแต่อย่างใด ในการชำระกฎหมายครั้งใหญ่เพื่อทำประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ หรือกฎหมายตราสามดวงในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็มาจากมูลเหตุที่นายบุญศรีช่างเหล็กหลวงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ถูกอำแดงป้อม ภรรยา ฟ้องหย่า แล้ว ๒๔ ประมวล รุจนเสรี, พระราชอำนาจ, หน้า ๑๒.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๑ พระเกษม ผู้พิพากษาได้ตัดสินให้หย่าได้ทั้งที่อำแดงป้อมเป็นฝ่ายผิดคือมีชู้เมื่อตรวจสอบแล้วได้ความว่าบท กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เป็นธรรม จึงต้องชำระสะสางกฎหมายทั้งหมดในภาพรวม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาพิพากษาฎีกาในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ (ทุก วันพระ) ทรงมีประกาศเกี่ยวกับการยื่นฎีการ้องทุกข์ของประชาชนหลายฉบับ แม้กระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้เสด็จสวรรคต ก็ยังมีพระราชหฤทัยห่วงใยในสันติสุขของประชาราษฎร มีพระราช ดำรัสแก่ผู้เฝ้าพระอาการประชวร คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหกลาโหม เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก ว่า “ถ้าสิ้นพระองค์ล่วงไปแล้ว ขอให้ท่านทั้งปวงจงช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย ให้สมณ พราหมณ์อาณาประชาราษฎร์ได้พึ่ง อยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน ขอให้ทูลพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ให้เอาเป็นพระ ราชธุระรับฎีกาของราษฎรอันมีทุกข์ร้อน ให้ร้องได้สะดวกเหมือนพระองค์ได้ทรงรับไว้เป็นพระธุระรับฎีกามา แต่ก่อน” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรากฎหมายเกี่ยวกับการถวายฎีกาไว้หลาย ฉบับ เช่น ประกาศให้ราษฎรถวายฎีกา จ.ศ. ๑๒๔๖ มีความว่า ตามที่ทรงกำหนดให้ราษฎรถวายฎีกาได้ทุกวัน พระเช่นแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น บางวันไม่ได้เสด็จออกก็จะโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอออกทรงรับแทน และทรงกำหนดสถานที่และเวลา ตลอดจนเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความ สะดวกเรียบร้อยในการถวายฎีกาด้วย๒๕ ในด้านการประชาธิปไตยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยประเมินสถานการณ์ การพระราชทานอำนาจอธิปไตยให้ปวงชนชาวไทยไว้ว่า “...ถ้าจะตั้งปาลิเมนต์ขึ้นในเมืองไทย เอาความคิดราษฎรเป็นประมาณในเวลานี้แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะ ไม่ได้จัดการอันใดสักสิ่งหนึ่งเป็นแน่เทียว คงจะต้องเถียงกันป่นปี้ไปเท่านั้น... ถ้าจะตั้งเป็นโปลิติกัลป์ปาตี... ก็จะ มีได้แต่พวกละเก้าคนสิบคนหรือสี่ห้าคน...ซึ่งจะเข้าทำการเป็นคอเวอนเมนต์ก็ไม่พอ...”๒๖ การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นการเตรียมการที่ยิ่งใหญ่ไว้รอเวลาพระราชทาน อำนาจอธิปไตยให้ประชาชนตามแบบ Constitutional Monarchy ซึ่งพิจารณาได้จากพระราชดำรัสองค์หนึ่ง ความว่า “...อีก ๓ ปีข้างหน้า ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญแก่พลเมืองในทันทีที่ได้ขึ้นสู่บัลลังก์ในฐานะสืบ ตำแหน่งกษัตริย์ กล่าวคือ ฉันจะให้เขาให้ปาลิเมนต์และคอนสติติวชัน อีก ๓ ปี คงไม่ช้านักมิใช่หรือ...ฉันจะอยู่ หลังราชบัลลังก์ของลูกเอง อยู่อย่างพ่อหลวงอย่างไรล่ะ...และหมดกังวลในพลเมืองที่รักของฉัน...”๒๗ ๒๕ เนติบัณฑิตยสภา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับเนติบัณฑิตยสภา, หน้า ๔๕. ๒๖ ประมวล รุจนเสรี, พระราชอำนาจ, หน้า ๒๔. ๒๗ เล่มเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๒ ข้อความข้างต้นเป็นการยืนยันถึงพระราชปณิธานและพระวิสัยทัศน์ที่ได้ทรงเล็งเห็นว่าระบบ รัฐสภาและระบอบรัฐธรรมนูญที่ตั้งใจจะพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย พระบรมราโชวาทอีกองค์หนึ่งที่แสดงถึงการใช้หลักการบริหารบ้านเมืองอย่างมีคุณธรรมหรือธรรมาภิ บาล (Good Governance) เป็นอย่างดี คือเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงสมเด็จพระ บรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ว่า “...การที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินไม่ใช่สำหรับมั่งมี ไม่ใช่สำหรับคุมเหงคนเล่นตามชอบใจ มิใช่เกลียดไว้ แล้วจะได้แก้เผ็ด มิใช่เป็นผู้สำหรับจะกินนอนสบาย...เป็นเจ้าแผ่นดินสำหรับแต่เป็นคนจนและเป็นคนที่อดกลั้น ต่อสุขต่อทุกข์ อดกลั้นต่อความรักและความชัง อันจะเกิดฉิวขึ้นมาในใจหรือมีผู้ยุยง เป็นผู้ปราศจากความเกียจ คร้าน...และเป็นผู้ป้องกันความทุกข์ของราษฎรซึ่งอยู่ในอำนาจปกครอง...”๒๘ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) มีการเริ่มต้นของทนายแบบใหม่ที่ นครเชียงใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติสำหรับข้าหลวงชำระความหัวเมือง จ.ศ. ๑๒๓๖ ข้อ ๗ บังคับให้เจ้าผู้ ครองนครจัดเจ้านายบุตรหลานมาฝึกหัดในการชำระความที่ศาลต่างประเทศ ซึ่งกระบวนการซักค้านถามติง พยาน ก็เริ่มต้นในศาลนี้ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๒๔ ก็ได้แก้ไขกฎหมายให้คนไทยทุกคนสามารถแต่งทนายได้ แม้ จะมีศักดินาไม่เกิน ๔๐๐ ไร่ก็ตาม ต่อมา ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วยผู้แต่งผู้เขียนหนังสือฟ้องเรื่องราวแล ฎีกา ร.ศ. ๑๑๐ ประกาศใช้ ทำให้ทนายความต้องระบุชื่อเป็นผู้เรียงหรือผู้เขียน เมื่อได้เรียบเรียงและเขียนคำ ฟ้อง คำให้การ หรือคำร้องคำแถลงใด ๆ จึงนับว่าทนายความเริ่มต้องแสดงตัวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เนื่องจาก ในสมัยก่อนหน้านั้น ทนายมักไม่แสดงตนว่าใครเป็นผู้เขียนคำฟ้อง คำให้การ คำร้องหรือคำแถลง ทำให้ไม่ สามารถสืบย้อนไปได้ว่าใครเป็นผู้เรียงหรือผู้เขียน รัฐบาลสยามได้ออกประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๕) หลังจากนั้นอีก ๗ วัน คือ วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๑ ได้ประกาศให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิ โสภณ (ภายหลังได้เลื่อนเป็น กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์) เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์แรก ซึ่ง ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างของศาลไทย อย่างสิ้นเชิง เป็นการจัดระเบียบศาลไทยให้เป็นแบบยุโรป การที่ได้โปรดให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น เพื่อ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านศาลยุติธรรมอย่างแท้จริง เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางศาลของไทยในสมัยนั้น รุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ทำให้สยามเสียเอกราชทางการศาล เป็นระยะเวลานาน ๒๘ เล่มเดียวกัน, หน้า ๘-๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๓ การพิจารณาคดีในศาลสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการศาลในสนามสถิตยุติธรรม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ อยู่ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ แผ่นที่ ๕ หน้า ๓๑/๓๐ เมษายน ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) โดยมีความในข้อ ๗ ว่า “ราษฎรทั้งหลายผู้มีอรรถคดีจะปฤกษาหาฤๅผู้รู้กฎหมายให้เรียบเรียงแต่งฟ้องให้ตนตามมูลคดีที่ตน เชื่อว่าเปนความสัตย์จริงให้ถูกต้องชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายก็ได้แล้วให้นำมายื่นต่อศาล ฤๅจะมาให้ การต่างฟ้องต่อจ่าศาลได้ให้จ่าศาลเรียบเรียงขึ้นเปนฟ้องให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ฟ้องฉบับใดซึ่งราษฎรผู้มี อรรถคดีให้ผู้รู้กฎหมายเรียบเรียงแต่งให้นั้นต้องให้ผู้แต่งแลผู้เขียนลงลายมือเขียนชื่อของตนมาในท้ายฟ้องด้วย ตามความในประกาศว่าด้วยลงชื่อผู้แต่งผู้เขียนหนังสือฟ้องเรื่องราวแลฎีกา รัตนโกสินทร์๑๑๐” นอกจากนี้ ในข้อ ๘ ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ยังได้กล่าวถึงวิธีแต่งฟ้อง ถือเป็นการอนุญาตให้ มีทนายความที่ไม่ได้เป็นผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตัวความ และทนายความต้องเป็นผู้ที่รู้กฎหมาย สามารถ เรียบเรียงเขียนฟ้องมายื่นต่อศาลแทนตัวความได้จึงถือว่าพระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่อนุญาตให้ มีทนายความซึ่งเป็นผู้ที่รู้กฎหมายและเขียนแต่งฟ้องแทนตัวความได้ เป็นยุคที่เริ่มมีการประกอบวิชาชีพ ทนายความเกิดขึ้น และเปลี่ยนบทบาทกลายมาเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อทำหน้าที่คุ้มครอง ประโยชน์ของตัวความ สามารถทำหน้าที่ซักถาม ซักค้านพยานได้อย่างเต็มที่


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย บรรยากาศการพิจารณาคดีในศาลพระราชอาญา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับแต่มีพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทำให้มีการประกอบ วิชาชีพทนายความกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีทนายความมากขึ้น และในปีร.ศ. ๑๑๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดให้มีทนายความ ตามแบบใหม่ควบคู่ไปกับการจัดตั้งศาลด้วย ในระยะนั้นยังไม่มีการ ควบคุมคุณสมบัติจรรยาบรรณและมรรยาทของทนายความ ต่อมา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความ (อาญา) มีโทษ สำหรับใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ ซึ่งมีการบัญญัติให้ มีใบแต่งทนายขึ้นเป็นครั้งแรก ตามมาตรา ๙ ที่บัญญัติว่า “ในการพิจารณาความนั้น ให้โจทก์แลจำเลยมีอำนาจแต่งทนาย ช่วยว่าความได้ แต่ต้องทำหนังสือแต่งทนายไว้เป็นสำคัญต่อศาลด้วย แม้ว่าแต่งทนายแล้วก็ดี คู่ความหรือผู้พิพากษาตระลาการจะให้ตัวความ มาให้การด้วยก็ได้” นอกจากนี้ ยังได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกระบวน พิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๑๕ โดยบัญญัติเรื่องการแต่งทนายไว้ในมาตรา ๑๓๐ ความว่า “โจทก์ก็ดี จำเลยก็ดีจะแต่งทนายไว้ความให้ผู้ใดมาว่าต่างแก้ต่างในศาลก็ได้ แต่ถ้าศาลเห็นสมควร เพื่อความสะดวกแก่คดีนั้นฤๅเพื่อเหตุอื่นอันสมควรแก่ทางยุติธรรม จะบังคับให้ตัวความให้การเองก็ได้” ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติกระบวนวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๑๕ ใช้คำว่า “แต่งทนายไว้ความ” แบบพิมพ์กระทรวงยุติธรรมรุ่นเก่าสำหรับใบแต่งทนายจึงใช้คำว่า “ใบไว้ความ”


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๕ ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นใน ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) โดยทรงสอนด้วยพระองค์เอง ในปีแรก มีผู้สอบไล่ได้เพียง ๙ คน ต่อมาก็ได้เพิ่มขึ้นทีละน้อย แต่ ก็ยังไม่เกินปีละ ๒๐ คน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้พิพากษาในเวลานั้น จึงไม่ค่อยมีเนติบัณฑิตคนใด เลือก ประกอบอาชีพทนายความ จนกระทั่งราว ร.ศ. ๑๓๖ ก็ได้เนติบัณฑิตเกือบพอแก่ตำแหน่งตุลาการ จึงเริ่มมี ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตบางคน หันมาประกอบอาชีพทนายความบ้าง จนกระทั่งถึง ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) มีการใช้คำว่า “ทนายความ” เป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติ อัตราค่าธรรมเนียมทนายความ ร.ศ. ๑๒๓ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมทนายความที่ศาล พึงให้ผู้แพ้คดีต้องชดใช้แก่ฝ่ายชนะคดี ว่าคดีทุนทรัพย์เท่าใด ฝ่ายแพ้ควรให้ผู้ชนะเป็นจำนวนเงินเท่าใด เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) มีการออกกฎหมายควบคุมทนายความขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้กำหนด อยู่ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ บัญญัติว่า “ให้เสนาดีกระทรวงยุติธรรมมี อำนาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับในเรื่องผู้ใดจะเป็นทนายว่าความในศาลได้แลไม่ได้ แลข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ หน้าที่ของทนายความตามที่เห็นสมควร” --------------------------------------


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๖ บทที่ ๒ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๘)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๗ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด หลังจากมีการตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นมาแล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ก็ได้มีการโอนโรงเรียนกฎหมายมาเป็นโรงเรียน หลวง สังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยมีเสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบ และมีพระบรมราชานุญาตให้มีการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน ตลอดจน หลักสูตรของโรงเรียนกฎหมายให้สอดคล้องกับระบบกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร (Civil Law) รวมทั้งให้จัดตั้งสภานิติศึกษา เพื่อทำหน้าที่จัดระเบียบและวางหลักสูตรของโรงเรียนให้เข้า กับกฎหมายไทย ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๖ เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรม ธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ได้ ออกกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมที่ ๖๔ พ.ศ. ๒๔๕๖ ห้ามมิ ให้ข้าราชการผู้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินหรือเป็นผู้ พิจารณาไต่สวนคดีในหน้าที่รักษาพระธรรมนูญกระทรวงใด ๆ เข้ารับเป็นทนายว่าต่างแก้ต่างในคดีอาชญา ซึ่งเจ้าพนักงาน รักษาพระอัยการได้ว่าอยู่แล้ว เว้นแต่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๓๕ ถ้า มีทุกข์ร้อนส่วนตัวก็ต้องขออนุญาตเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมก่อน๒๙ ซึ่งเป็นการออกกฎห้ามข้าราชการผู้มี หน้าที่รักษาพระธรรมนูญเข้าว่าความในคดีอาญา เป็นการควบคุมวิชาชีพทนายความครั้งแรก จนนำไปสู่การ ตราพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในที่สุด ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบพระราชปณิธานดังกล่าวด้วยการ สร้างเมือง “ดุสิตธานี” เป็นตัวอย่างในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีคณะรัฐบาล มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎรที่เรียกว่า “เชษฐบุรุษ” มีการออกหนังสือพิมพ์ โดยพระองค์ได้ทรงสมมติพระองค์เป็นพลเมือง ๒๙ ขุนสมาหารหิตะคดี, เรื่องเดียวกัน. หน้า๑๔๕. บทที่ ๒ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๖๘)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๘ ของดุสิตธานีคนหนึ่ง ชื่อ “ท่านราม ณ กรุงเทพ” ประกอบอาชีพทนายความ โดยมีสำนักงานอยู่ที่พระตำหนัก เมขลารูจีและได้ประกอบวิชาชีพทนายความเพื่อช่วยเหลือพลเมืองในดุสิตธานีอย่างแท้จริง การจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา เดือนธันวาคม ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งเนติบัณฑิตย สภาขึ้น เพื่อบำรุงการศึกษาวิชากฎหมาย ทั้งการรักษาความประพฤติของทนายความให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม ให้ สาธารณชนได้อาศัยทนายความซึ่งมีความสามารถและสมควรเชื่อถือได้ดียิ่งขึ้น จึงได้พระราชทานบันทึกเรื่อง เนติบัณฑิตยสภากำหนดหน้าที่และวิธีดำเนินงานของเนติบัณฑิตยสภา พร้อมทรงลงพระบรมนามาภิไธยไว้ท้าย บันทึก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยราชายุติธรรมธรปรึกษากับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์อธิบดีศาลฎีกา (ในขณะนั้น) เลือกกรรมการขึ้นเพื่อปรึกษา พิจารณาร่างข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาตามแนวทางแห่งพระราชบันทึก และได้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างข้อบังคับ เมื่อพระองค์ได้ทรงตรวจและแก้ไขแล้ว ได้พระราชทานข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาคืนมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ พระองค์ได้ทรงรับเนติบัณฑิตยสภาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์จึงถือเอาวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ เป็นวัน กำเนิดเนติบัณฑิตยสภา ในการจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภานี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณรับ เป็นเนติบัณฑิตพิเศษและเป็นสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา ตามหนังสือกระทรวงยุติธรรมที่ ๑๙/๔๘๕๓ ลงวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๕๗ ตามคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาอภัยราชาฯ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ผู้ทรง ดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งคณะเนติบัณฑิตยสภา ต่อมา ในวันอังคารที่ ๕ มกราคม ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินเหยียบศาลสถิตย์ยุติธรรม โอกาสนี้เจ้าพระยาอภัยราชาฯ อ่านคำถวายภักดีของผู้พิพากษา ตุลาการ แล้วอัญเชิญเสด็จให้ทรงพระมหากรุณารับฉลองพระองค์ครุยของเนติบัณฑิตยสยาม พระยาจักรปาณีศรีศีล วิสุทธิ์(ลออ ไกรฤกษ์) นายกเนติบัณฑิตยสภาเชิญพานทองฉลองพระองค์ครุยขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายและทรงลง พระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนเนติบัณฑิต เป็นเนติบัณฑิตกิตติมศักดิ์นับเป็นพระองค์ปฐมบรมสมาชิกแห่ง เนติบัณฑิตยสภา ต่อมาพระองค์ได้มีพระราชดำริจัดทำเสื้อครุยเนติบัณฑิตขึ้น และพระราชทานเสื้อครุยนี้แก่ เนติบัณฑิตทุกคนตลอดรัชสมัยของพระองค์ การพระราชทานพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในโอกาสเดียวกันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา พระองค์ได้ ทรงเห็นว่าเนื่องจากในขณะนั้น ยังมิได้มีการออกกฎหมายควบคุมการประกอบอาชีพทนายความ ส่งผลให้มี บุคคลผู้ไม่รู้กฎหมายหรือผู้ที่มีความประพฤติไม่สมควร มาอาศัยอาชีพทนายความจำนวนมาก กฎข้อบังคับ ทนายความที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะสอดส่องครอบงำตลอดทั่วถึง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๕๗


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๒๙ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ (เนื่องจากในขณะนั้น ยังถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาวิชากฎหมายและการว่าความ ควบคุมจรรยาความ ประพฤติของทนายความ ดังปรากฏตามพระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายหน้า ในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ ความว่า “... อนึ่ง ได้ดำริจัดการตั้งเนติบัณฑิตยสภา เพื่อประสงค์บำรุงการศึกษาวิชากฎหมาย ทั้งการรักษา ความประพฤติของทนายความให้ตั้งอยู่ในสัจธรรม ให้สาธารณชนได้อาศัยทนายความซึ่งมีความสามารถและ สมควรจะเชื่อถือได้ดียิ่งขึ้น ในเร็วๆ นี้ ได้มีการตราพระราชบัญญัติทนายความ ซึ่งเป็นที่หวังได้ว่า จะคุ้มครอง พลเมืองจากการถูกหลอกของเจ้าถ้อยหมอความซึ่งมาแอบแฝงหากินอยู่ในโรงศาล โดยตั้งตนว่าเป็นผู้รู้ กฎหมายนั้นได้...” ๓๐ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างที่สุดแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความที่ได้ทรงให้มีการรับรองและ ทรงสร้างและวางศักดิ์ศรีของวิชาชีพทนายความให้เป็นแบบมาตรฐานสากล ขจัดพวกที่แอบแฝงทำมาหากิน และทำให้วิชาชีพทนายความต้องด่างพร้อยไป ซึ่งก็เป็นด้วยเพราะสายพระเนตรที่ยาวไกล ต้องการให้ ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใส มีทนายความวิชาชีพที่จะให้การคุ้มครองพลเมืองที่มีความรู้ทาง กฎหมายน้อยมากให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างโปร่งใส เป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไป ซึ่งแม้แต่พระองค์เองก็ยังได้ ทรงเลือกวิชาชีพทนายความ และทรงเป็นต้นแบบของตัวอย่างการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ในนามของสามัญชนว่า “ท่านราม ณ กรุงเทพ” โดยได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ของเนติบัณฑิต (ทนายความชั้น ๑) ให้ คำปรึกษาทางกฎหมาย โดยใช้พระตำหนักเมขลารูจี เป็นสำนักงานทนายความ สาระสำคัญในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่พระองค์ได้พระราชทานมีดังนี้ การแบ่งประเภททนายความ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้แบ่งทนายความเป็น ๒ ชั้น คือ ทนายความชั้นที่ ๑ ทนายความผู้สอบไล่ได้ เป็นเนติบัณฑิต มีสิทธิว่าความได้ทั่วราชอาณาจักร ทนายความชั้นที่ ๒ ทนายความซึ่งผู้ พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ สอบสวนคุณวุฒิเห็น ควรจะทำหน้าที่ทนายความได้มีสิทธิว่าความได้ เฉพาะในศาลยุติธรรมในกรุงเทพฯ และหัวที่ได้จดลง ๓๐ คณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์, พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม ๑๐๐ ครั้ง. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, กรุงเทพฯ, ๒๕๒๙ หน้า ๘๑.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิต ไว้ในใบอนุญาตทนายความ ถ้าจะไปว่าความต่างถิ่นซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตว่าความ ผู้นั้นต้องขออนุญาตพิเศษ เฉพาะเรื่องทุกคราวไป จึงจะขึ้นศาลนั้นได้ แต่ก็มีบทผ่อนผันว่า ถ้าทนายความผู้นั้นได้รับว่าต่างแก้ต่างมาแต่ ศาลเดิม จะลงชื่อฟ้องอุทธรณ์ฎีกาในคดีนั้นขึ้นมาก็ให้ฟังได้ เจ้าหน้าที่ผู้รักษาทะเบียนทนายความ กำหนดให้เนติบัณฑิตยสภาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาทะเบียน ทนายความทุกชั้น การยื่นเรื่องเป็นทนายความ ให้ทำเรื่องราวยื่นต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ณ กรุงเทพฯ ตาม แบบต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ ได้พิจารณาสอบสวนเห็นว่าผู้นั้น ประกอบด้วยคุณวุฒิและความประพฤติอันสมควรแล้ว ก็จะสั่งอนุญาตให้จดชื่อผู้นั้นลงในทะเบียนทนายความ และจะได้ออกใบสำคัญให้ผู้นั้นถือเป็นคู่มือว่าได้ลงชื่อในทะเบียนทนายความแล้ว โดยใบอนุญาตทนายความให้ มีอายุเพียง ๑ ปีต้องมาขอเปลี่ยนใหม่ทุกปีจึงจะไม่ขาดจากทะเบียน บทลงโทษทนายความ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธณ์ณ กรุงเทพฯ มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ ทนายความคนใดคนหนึ่ง ว่าความในศาลยุติธรรมมีกำหนดไม่เกิน ๓ ปีหรือจะออกคำสั่งให้ลบชื่อออกจาก ทะเบียนทนายความ โดยอาศัยเหตุความผิดดังนี้ ๑. เมื่อมีพิรุธผิดฐานฉ้อตระบัดสินลูกความประพฤติไม่สมควรแก่หน้าที่แห่งทนายความ หรือเอา ความเท็จมาแก้ลวงศาลให้ศาลออกคำสั่งคำบังคับซึ่งทนายความรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นคำสั่งผิด ๒. เมื่อปลูกความโดยยุยงส่งเสริมให้เขาฟ้องร้องกรณีอันหามูลมิได้หรือรับว่าต่างแก้ต่างอรรถคดีโดย วิธีสัญญาจะแบ่งเอาส่วนเป็นเงิน หรือทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทกัน อันจะพึงได้แก่ลูกความโดยเหตุที่ฟ้องขึ้น ๓. เมื่อสมรู้เป็นใจโดยทางตรง หรือทางอ้อมเพื่อปลูก พยานเท็จ หาคนเข้ามาเป็นพยาน เสี้ยมสอนให้เบิกความเท็จ ปกปิดซ่อนงำอำพรางคำพยานหลักฐานหรือสมรู้เป็นใจเพื่อให้ของ กำนัลหรือสัญญาจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน ๔. มีพิรุธผิดอันเป็นความประพฤตินอกมรรยาทแห่ง ทนายความผู้มีอาชีพอยู่ในสัตย์สุจริต การตั้งคณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนาย เสนาบดียุติธรรม เป็นผู้เลือกสรรกรรมการในเนติบัณฑิตยสภา ตั้งขึ้นเป็นคณะกรรมการไม่เกิน ๗ คน และให้นั่งพิจารณาไต่สวน ชำระความไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยการยื่นเรื่องร้องเรียนความ ประพฤตินั้น ต้องทำเรื่องยื่นแก่กรรมการสอดส่องความประพฤติ ทนาย พิจารณาไต่สวนและให้สืบพยานโดยบังคับให้สาบาน


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๑ เมืองจำลองดุสิตธานี ซึ่งสร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต ทิศใต้ของเมือง ติดกับพระที่นั่งอุดร (ด้านหลังของภาพล่าง) ทิศเหนือติดกับอ่างหยก สันนิษฐานว่าเก้าอี้ที่อยู่บริเวณมุมขวาบนของภาพบน เป็นที่ตั้งของ สำนักงานทนายความท่านราม ณ กรุงเทพ ปฏิญาณตนตามกระบวนพิจารณา เมื่อเสร็จสำนวนแล้วให้กรรมการนั้นทำความเห็นชี้ขาดลงไว้ในรายงาน เสนออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรณีมีมูลให้นำรายงานยื่นแก่ศาลอุทธรณ์และฟังคำทนายและฟังคำให้การ ผู้ต้องหานั้นแก้กรณีแล้วออกคำสั่งตามเห็นสมควร ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ห้ามทนายมิให้ว่าความมีกำหนดเวลา คำสั่งให้ลบชื่อทนายออกจาก ทะเบียน ให้ร้องถวายฎีกายังศาลฎีกา ภายในกำหนด ๑ เดือน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๘ เนติบัณฑิตยสภาจึงได้ออกข้อบังคับเรื่องมารยาททนายความเพื่อควบคุม ทนายความเป็นครั้งแรก การสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี พ.ศ. ๒๔๖๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" หรือ "มณฑล ดุสิตธานี" เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อเป็นการทดลองการบริหารประเทศตามระบอบ ประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินการจัดการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้ยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศสยามมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ณ พระราชวังดุสิต ในเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ รอบ พระที่นั่งอุดร เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ วางผังเมืองและให้จับจองที่ดินแล้ว ก็เริ่มมีการ สร้างบ้านเรือน ตัดถนนหนทาง สร้างวัดวาอาราม ร้านค้า โรงเรียน โรงพยาบาล โรงอาหาร ตลอดจนพระราชวัง อาคารสถานที่ในเมืองดุสิต ธานีนั้น สร้างย่อส่วนในสัดส่วน ๑ ใน ๒๐ ส่วน ของขนาดของจริง เป็นโมเดลที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือ ประณีตบรรจง ตกแต่งสีสวยงาม และฉลุสลัก ลวดลายวิจิตรคล้ายของจริง ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ภายในมณฑลดุสิตธานี มีการจัดภูมิทัศน์ ในบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยมให้มีไฟฟ้าติดสว่างทุก บ้าน สร้างถนนภายในเมืองและปลูกต้นไม้ ย่อส่วนให้ดูร่มรื่น มีหอนาฬิกาสูงตระหง่านที่ อำเภอดุสิตและอำเภอเขาหลวง มีทางส่งน้ำจาก เขาหลวงในระดับสูงข้ามลำคลองไปที่ทำการ ประปา และมีสะพานลอยข้ามทั้งลำคลองและ ทางส่งน้ำด้วย


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๒ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนีพระพันปีหลวงเสด็จ สวรรคต พระราชวังพญาไทจึงว่างลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้สร้างพระราชฐาน ขึ้นที่พระราชวังพญาไทอีกแห่งหนึ่ง แล้วให้ย้ายดุสิตธานีไปอยู่ที่พระราชวังพญาไทด้วย ดุสิตธานีที่พระราชวัง พญาไทใหญ่โตกว้างขวางกว่าเดิมเป็นอันมาก มีอาคารบ้านเรือนประมาณ ๓๐๐ หลัง ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ใน บริเวณโรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า การที่ทรงจัดตั้งดุสิตธานีขึ้นมา ก็เพื่อเป็นการทดลองการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ให้ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินการจัดการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยให้ยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศสยามมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยทรงเริ่มฝึกจาก ข้าราชบริพาร และขยายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีหน้าที่ในการปกครองบ้านเมืองโดยตรง ดังพระราชดำรัสเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลาว่าการมณฑลดุสิตธานีเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ความว่า "...วิธีการที่ดำเนินเป็นไปนี้เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้ แน่ชัดเสียก่อน…วิธีดำเนินการให้ธานีเล็กๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจว่าจะทำให้ประเทศสยามกระทำ เช่นเดียวกัน..." พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนเข้าถึงหัวใจของ ประชาธิปไตยได้คือ การที่คนทั้งหลายต้องมีการศึกษา คือ มีความรู้เมื่อมีความรู้ก็จะมีความคิด พระองค์จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น ทั้งนี้พระองค์มีพระราชดำริว่าเมื่อทรง ปกครองบ้านเมืองตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ หรือประกาศให้พระราชบัญญัติ ประถมศึกษาทั่วราชอาณาจักรแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีก็จะทรงพิจารณาพระราชทานรัฐธรรมนูญในลักษณะการ ให้เสรีภาพตามแบบที่ดำเนินอยู่ในดุสิตธานีแก่พสกนิกรสยาม ในเมืองดุสิตธานีนี้ ประกอบไปด้วยพลเมืองซึ่งเรียกว่า "ทวยนาคร" รุ่นแรกประมาณ ๒๐๐ คน ได้แก่ ข้าราชสำนัก ข้าราชบริพาร และมหาดเล็กผู้ใกล้ชิด ซึ่งล้วนเป็นชายทั้งสิ้น ราษฎรของดุสิตธานีต้องยื่นใบสมัคร และต้องได้รับอนุญาตก่อน ต้องมีถิ่นที่อยู่ที่แน่นอน ต้องเสียภาษีปฏิบัติตามระเบียบและกติกาพิเศษ คือผู้เป็น ราษฎรในเมืองดุสิตธานีจะต้องดูแลบ้านเรือนของตนให้สะอาด หากการตรวจพบบ้านเรือนไม่สะอาด จะมี ขั้นตอนการเตือนและโทษขั้นร้ายแรง คือ คัดชื่อออกจากบัญชีทวยนาคร การปกครองในเมืองดุสิตธานี มีพรรคการเมืองสองพรรค คือ พรรคแพรแถบสีน้ำเงินและพรรคแพร แถบสีแดง มีการเลือกตั้งดำเนินการตามธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พระ พุทธศักราช ๒๔๖๑ มี๕๑ มาตรา ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ๒ ครั้ง วิธีการเรียนรู้ที่รัชกาลที่ ๖ มีพระราช ประสงค์ที่ให้มีการเรียนรู้ทางการเมืองให้แก่ประชาชน โดยผ่านกระบวนการของการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ เทศบาล หรือที่ทรงเรียกว่า นครภิบาลซึ่งเป็นการบริหารแบบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม โดยทรงสมมติให้ดุสิตธานีมีฐานะเป็นมณฑลหนึ่งในราชอาณาจักรสยามชื่อว่า มณฑลดุสิต มีหม่อมเจ้าปราณี


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๓ พระตำหนักเมขลารูจีในปัจจุบัน เนาวบุตร์ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล ทำหน้าที่ว่าราชการมณฑล (เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัดใน ปัจจุบัน) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดำเนินการปกครองโดยทั่วไป และเลือกเชษฐบุรุษ (ผู้แทน) สำหรับทุกๆ อำเภอ จัดให้มีการเลือกตั้งและเสียภาษีอากรทุกเดือน และกำหนดให้นับเวลา ๑ เดือนในดุสิตธานีเท่ากับ ๑ ปีจัดการ ทำนุบำรุงด้านสุขาภิบาลและการป้องกันโรคภัยจัดการเก็บภาษีที่ดิน สนับสนุนให้มีการออกหนังสือพิมพ์ในดุสิต ธานีมี๓ ฉบับคือดุสิตสมัยเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ดุสิตสักขีเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ดุสิตรีคอร์ดเดอร์) และดุสิตสมิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดทำเป็นหนังสือพิมพ์ราย สัปดาห์ออกทุกวันเสาร์สนับสนุนการตั้งพรรคการเมือง จัดตั้งธนาคาร เรียกว่า ดุสิตธนาคาร เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน สิงหเสนี) ราช เลขานุการในพระองค์แปลธรรมนูญการปกครองเทศบาลของอังกฤษ แล้วทรงนำมาพิจารณาดัดแปลงแก้ไข และตราขึ้นเป็นธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลดุสิตธานีพุทธศักราช ๒๔๖๑ เรียกว่า ธรรมนูญ ลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาลดุสิตธานีพระองค์มิได้ใช้คำว่า ประชาธิปไตย แต่ทรงใช้คำว่า เสรีภาพ และพระธรรมนูญลักษณะการปกครองนั้นเป็นแบบที่เรียกว่า พระราชทาน ซึ่งหมายความว่าเป็นการปกครอง แบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สำหรับการลงโทษผู้กระทำความผิด ให้อำนาจไว้แต่ เพียงในการปรับ ไม่มีโทษจำ และเมื่อเป็นคดีที่จะต้องฟ้องร้องยังศาลหลวงก็ให้สภาเลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ ฟ้องร้องสภาเลขาธิการ คือ บุคคลที่คณะนครภิบาลได้เลือกตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในด้านธุรการ เป็นที่ ปรึกษาของคณะนคราภิบาล และทำหน้าที่เป็นทนายความแทนคณะนคราภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เป็นราษฎรหรือทวยนาครของดุสิตธานีด้วย ทรง ประกอบอาชีพทนายความ และทรงใช้พระนามแฝงว่า “ท่านราม ณ กรุงเทพ” ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็ก ยกโต๊ะทรงพระอักษรไปไว้ใกล้ๆ ริมอ่างหยก และตั้ง เต็นท์ขึ้น แล้วขึ้นชื่อว่า "สำนักงานทนายความท่านราม ณ กรุงเทพ" เพื่อให้ทวยนาครทั้งหลายได้มาปรึกษา ความ โดยได้ทรงใช้พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ (ปัจจุบันคือ พระตำหนักเมขลารูจี) เป็นที่อยู่ของท่านราม ณ กรุงเทพ อย่างถาวร ท่านราม ณ กรุงเทพ มิใช่เป็นทนายความที่คอยแต่จะทำความ หากเป็นทนายความที่ช่วยประนอม ความ เช่น ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวหมิ่นประมาทเทศาภิบาล หาว่าไม่สอดส่องดูแลกิจการของคณาภิบาลที่ ปฏิบัติต่อทวยนาคร เป็นคนเงื่อหงอยเป็นเต่าตุ่นอะไรทำนองนั้น ท่านเทศาภิบาลก็ได้มาหาท่านรามให้ช่วย สืบสวนหาตัวผู้เขียนข่าว ท่านรามได้ช่วยสืบสวนจนรู้ตัว ท่านเทศาขอร้องให้ท่านรามเป็นทนายฟ้องยังโรงศาล แต่ว่าผู้เขียนข่าวนั้น คือ ปลัดเมือง คนในบังคับบัญชาท่านเทศานั่นเอง ท่านรามจึงไม่รับเป็นทนาย อ้างว่าเป็น


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๔ กรณีระหว่างข้าราชการ เมื่อนำความขึ้นฟ้องร้องยังโรงศาลก็จะเป็นเอิกเกริกครึกโครม ทำให้เสื่อมเสียแก่วง ราชการ จึงแนะให้จัดการสอบสวนลงโทษกันตามระเบียบวินัย ซึ่งท่านเทศาก็กระทำตาม ต่อมาปลัดเมืองผู้นั้น ก็ถูกออกจากราชการ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีหน้าที่พิเศษเป็นเกษตรมณฑล มรรคทายกวัดพระบรมธาตุ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์และที่ปรึกษาราชการของสมุหเทศาภิบาลด้วย ทางด้านการเมือง ท่านราม ณ กรุงเทพ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสภาเลขาธิการ นอกจากนามแฝง ท่านราม ณ กรุงเทพ แล้ว ยังได้ทรงใช้นามแฝง พระราชมุนีพระราชาคณะแห่งวัดธรรมาธิปไตย และนายแก้ว ณ อยุธยา ด้วย คดีหลวงสรรสารกิจ คดีนี้เป็นคดีหนึ่งซึ่งท่านราม ณ กรุงเทพ เคยได้ให้ คำแนะนำในแก่ทวยนาครในดุสิตธานี ในฐานะที่ท่านราม ณ กรุงเทพ ประกอบอาชีพเป็นทนายความ หลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันท์) ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง จากพระคลังข้างที่ในราคา ๑๕ บาท และได้สร้างโรงเรียน ศรีวรรธนาลัยบนที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งที่ดินแปลงนี้เป็นที่ลุ่ม เมื่อฝนตกจึงเกิดน้ำขังนอง หลวงสรรสารกิจจึงถมที่ดินให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันมิให้มีน้ำขัง แต่สภาเลขาธิการได้สั่งให้หลวงสรรสาร กิจปรับที่ดินให้เป็นที่ลุ่มตามเดิม เพราะน้ำฝนไหลเข้าบ้านผู้อื่น หลวงสรรสารกิจจึงได้ทำคำร้องถึงท่านราม ณ กรุงเทพ เพื่อขอ บารมีเป็นที่พึ่ง ดังนี้ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ท่านราม ณ กรุงเทพฯ)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๕


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๖


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๗


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๘ เมื่อท่านราม ณ กรุงเทพ ได้พิจารณาคำร้องของหลวงสรรพสารกิจแล้ว ได้บันทึกคำแนะนำแก่หลวง สรรสารกิจ ดังนี้ (ภาพประกอบจากบทความ “ดุสิตธานี” โดยนายบัว ศจิเสวี, วารสารวชิราวุธานุสรณ์สาร ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๖ หน้า ๒๒-๒๕)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๓๙ จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แนวพระราชดำริในการจัดให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดย ทรงทดลองมาเป็นลำดับในลักษณะที่เป็นรูปธรรม และมีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักและวิธีการว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในความเป็น ปราชญ์อันสูงยิ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม อักษรศาสตร์การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราช หฤทัยอันประเสริฐและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของพระองค์ในการวางรากฐานการปกครองที่ดีให้แก่ ประเทศชาติและประชาชน พระราชหฤทัยที่จะสร้างประชาธิปไตยไว้เป็นหลักการปกครองของชาติในวันหน้า และทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสสมควรเมื่อประชาชนมีการศึกษาดีแล้ว ดุสิตธานีได้สลายตัวไปในปีพ.ศ. ๒๔๖๘ หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ปัจจุบันอาคารในเมืองดุสิตธานีคงเหลืออยู่ไม่เพียงกี่หลัง ซึ่งได้จัดแสดงไว้ในงานพระบรมราชะประ ทรรศนีย์ห้อง ๑๑ ชั้น ๓ หอวชิราวุธานุสรณ์มี๒ หลัง ดังนี้ ๑. พระที่นั่งลักษมีวิลาส (พระที่นั่งแขก) ตั้งตามพระนามพระนางเธอลักษมีลาวัณเป็นพระที่นั่งใน พระวัชรินทราชนิเวศน์ตำบลดุสิต ในบริเวณพระราชวังดุสิต ๒. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม มีลักษณะเป็นทรงไทย เริ่มสร้างปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวัด ฝ่ายธรรมยุติในพระพุทธอาสน์ของพระประธานได้บรรจุพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งของรัชกาลที่ ๔ ไว้ด้วย ๓. อาคารจำลองอื่นๆ มีให้ชมที่ชั้น ๔ ของหอวชิราวุธานุสรณ์ที่งานพระบรมราชะประทรรศนีย์หรือ นิทรรศการหุ่นใยแก้วของรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นนิทรรศการประกอบด้วยหุ่นใยแก้วจำนวน ๑๒ ห้อง พร้อมคำ บรรยายสรุปพระราชกรณียกิจ สำนักงานทนายความท่านราม ณ กรุงเทพ เปิดให้บริการให้คำปรึกษาอรรถคดีเรื่อยมา จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตด้วยอาการพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายโดยวิชาชีพ ทนายความยังคงดำรงอยู่เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสำหรับพสกนิกรของพระองค์ทั่วพระราชอาณาจักร ดังนั้น จึงเป็นความตั้งใจที่สำคัญอันดับแรกที่ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ มุ่ง ประสงค์ให้อาคารที่ทำการสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเลือก ประกอบวิชาชีพทนายความในชื่อ “ท่านราม ณ กรุงเทพ” ทนายความผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ชาวเมืองใน “ดุสิตธานี” เมืองแห่งประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงใช้ให้ข้าราชบริพารและประชาชนเข้าถึงระบอบ ประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในสยาม พระองค์ท่านทรงปฏิบัติหน้าที่ “ทนายความ” เฉกเช่นคนสามัญ โดยไม่ ทรงโปรดให้ใช้ราชาศัพท์ถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็น “พระราชบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ” โดย สภาทนายความได้มีการหารือร่วมกับทีมผู้ออกแบบและเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร เพื่อตรวจสอบพื้นที่บริเวณ


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๐ ที่จะประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณอาคาร และปรับรูปแบบตามข้อมูลที่ได้รับการแนะนำจากกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ อธิบดีกรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงนายกสภาทนายความ แจ้งว่า ที่ประชุม คณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ฯ ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ ที่ ประชุมมีมติเห็นชอบรูปแบบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอิริยาบถประทับพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์สูทสากล โดยให้เปลี่ยนพระอริยบทไม่ต้องยกพระเพลา ให้วางพื้นตามปกติทั้งสองข้าง เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ อธิบดีกรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงนายกสภาทนายความ แจ้งว่า ที่ ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์ฯ ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรูปแบบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอิริยาบถ ประทับพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์สูทสากล โดยให้เปลี่ยนพระอริยบทไม่ต้องยกพระเพลา ให้วางพื้นตามปกติทั้ง สองข้าง และกรมศิลปากรได้ส่งเรื่องคำขออนุญาตสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุม ใหญ่ ชั้น ๓ อาคารที่ทำการสภาทนายความแห่งใหม่ เขตบางเขน กรุงเทพฯ คณ ะกรรมการสภาทนายความ ได้จัดประชุม คณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เป็นปฐมฤกษ์ ที่ประชุมฯ ได้ อนุมัติให้โรงหล่อ บริษัท เอเชีย ไฟน์อาร์ท จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ ปั้น-หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขนาด ๒ เมตร ด้วยโลหะสำริด (SILICANBRONZE) ทั้งนี้ สภาทนายความจัดให้มีพิธีบวงสรวงและเททองหล่อพระบรม รูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เพื่อ ความเป็นสิริมงคล เมื่อวันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ โรงหล่อ บริษัท เอเชีย ไฟน์อาร์ท จำกัด ตำบลบาง ม้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ภายหลังที่ได้รับพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการดำเนินการ จัดสร้างแล้วเสร็จตามขั้นตอนต่างๆ แล้ว สภาทนายความจักได้อัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานไว้ภายในอาคารที่ทำการสภาทนายความแห่งใหม่ เพื่อเป็นที่ สักการะบูชาของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและสาธารณชนทั้งมวล ในฐานะที่พระองค์ทรงประกอบวิชาชีพ ทนายความ ใช้พระนามว่า “ท่านราม ณ กรุงเทพ” พระองค์ทรงเป็น “พระราชบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ”


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๑ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗๓๑ เป็นกฎหมายของวิชาชีพทนายความที่สมบูรณ์ฉบับแรกที่ทันสมัยที่สุด เป็นกฎหมายที่ได้รับ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ พร้อมกับข้อบังคับ เนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยมีหลักการและเหตุผล พร้อมรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ หลักการและเหตุผล “...กาลทุกวันนี้มีพระราชกำหนดกฎหมายให้โจทจำเลยผู้มีอรรถคดีแต่งทนายว่าต่างแก้ต่างได้ในศาล สถิตยุติธรรม แลมีเจ้าถ้อยหมอความแลบุทคลเปนผู้ไร้คุณสมบัติเข้ามาแอบแฝงหากินเปนทนายความณะโรง ศาลเปนอันมาก แลกฎข้อบังคับทนายความซึ่งมีอยู่บัดนี้ยังไม่เพียงพอที่จะสอดส่องครอบงำตลอดทั่วถึงบุทคล เหล่านั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าบรรดาชนทั้งหลายผู้อาศรัยเลี้ยงชีพเปนทนายความควรจะประกอบใน คุณสมบัติ แลควรประพฤติตนอยู่ในมรรยาทดีงามเปนอันเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติไว้...” วันที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ ให้มีผลเมื่อพ้น ๓ เดือนนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๘ (ตรง กับวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๘ ตามปฏิทินเดิม ซึ่งเป็นวันปีใหม่) ประเภทของทนายความ๓๒ ทนายความแบ่งออกเป็น ๒ ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ ๑ ได้แก่ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้รับประกาศนียบัตรเนติบัณฑิต มีสิทธิว่าต่างแก้ต่างแทน คู่ความได้ในศาลยุติธรรม ศาลแขวง ศาลอำเภอทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ชั้นที่ ๒ ได้แก่ทนายความซึ่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้สอบสวนคุณวุฒิความรู้ความชำนาญแล้วเห็นว่า สมควรทำหน้าที่ทนายความได้ มีสิทธิเข้าว่าต่างแก้ต่างคู่ความได้เฉพาะศาลยุติธรรมในกรุงเทพฯ หรือหัวเมือง ที่ได้จดลงไว้ในใบอนุญาตทนายความ ข้าราชการไม่อาจรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความได้ เว้นแต่จะมีเหตุพิเศษซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์จะเห็นสมควรอนุญาต นายทะเบียนทนายความ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความและค่าธรรมเนียม๓๓ เนติบัณฑิตยสภาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาทะเบียนทนายความ ๓๑ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๓๑ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ หน้า ๔๗๔-๔๘๔ ๓๒ มาตรา ๓ มาตรา ๔ และมาตรา ๑๕ ๓๓ มาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ และมาตรา ๘


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๒ ให้ยื่นเรื่องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ณ กรุงเทพ เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณา แล้วจะได้สั่งอนุญาตให้จดชื่อในทะเบียนทนายความและออกใบอนุญาตต่อไป โดยใบอนุญาตทนายความมีอายุ ๑ ปี และให้มาต่ออายุทุกครั้ง ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทนายความชั้น ๑ คิดคราวละ ๔๐ บาท ค่าธรรมเนียมทนายความชั้นที่ ๒ คิด คราวละ ๓๐ บาท ค่าออกใบอนุญาตพิเศษว่าความเฉพาะเรื่องต่างศาลต่างถิ่น คิดคราวละ ๕ บาท ข้อบังคับทนายความและมรรยาททนายความ๓๔ ข้อบังคับซึ่งเนติบัณฑิตยสภาได้วางไว้ ให้กรรมการเนติบัณฑิตยสภานำเสนอต่อเสนาบดียุติธรรม อธิบดีศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจึงใช้ได้ ส่วนการเพิก ถอนหรือแก้ไขข้อบังคับนั้น เมื่อเสนาบดียุติธรรม อธิบดีศาลฎีกา หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ตกลงกัน เพียง ๒ นาย ก็สามารถเพิกถอนหรือแก้ไขข้อบังคับนั้น ๆ ได้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ทนายความว่าความมีกำหนด ๓ ปี หรือลบ ชื่อทนายความออกจากทะเบียนโดยอาศัยเหตุดังนี้ ๑. มีพิรุธผิดฐานฉ้อตระบัดสินลูกความ ๒. ปลูกความโดยยุยงส่งเสริมให้เขาฟ้องร้องกรณีอันหามูลมิได้ ให้รกโรงรกศาล ๓. สมรู้เป็นใจเพื่อปลูกพยานเท็จ หรือเสี้ยมสอนให้เบิกความเท็จ ๔. มีพิรุธผิดโดยประการอื่นอันเป็นความประพฤติผิดมรรยาทแห่งทนายความ เสนาบดียุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการเนติบัณฑิตยสภาให้เป็นกรรมการพิจารณาความประพฤติของ ทนายความ รวมถึงการเพิกถอนและแต่งตั้งซ่อมกรรมการ โดยให้มีคณะกรรมการ ๗ คน แต่เมื่อจะพิจารณาไต่ สวนความประพฤติ ต้องมีคณะกรรมการพิจารณาไม่น้อยกว่า ๓ คน การร้องเรียนว่าทนายความประพฤติผิด ให้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการสอดส่องความประพฤติ ทนายความ โดยคณะกรรมการสอดส่องความประพฤติมีอำนาจไต่สวนพิจารณา เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วให้ทำ ความเห็นชี้ขาดไว้ในรายงานเพื่อเสนอต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อจะได้ออกคำสั่งต่อไป ซึ่งในการ พิจารณานี้ ทนายความผู้ถูกกล่าวหาอาจมาแก้ต่างด้วยตัวเองหรือแต่งทนายมาแก้ก็ได้ เมื่อเจ้าพนักงานทะเบียนทนายความได้หมายเหตุห้ามมิให้ทนายว่าความหรือลบชื่อออกจากทะเบียน ตามคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งไปยังศาลทั่วราชอาณาจักรให้ทราบถึงคำสั่งดังกล่าว แต่ ทนายความผู้นั้นสามารถร้องฎีกาได้ยังศาลฎีกาภายใน ๑ เดือน ๓๔ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๘


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๓ พนักงานอัยการ๓๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ลบล้างสิทธิแห่งพนักงานอัยการในคดีที่ตนว่าความโดยหน้าที่ราชการ แต่พนักงาน อัยการต้องประพฤติตนตามมรรยาทแห่งทนายความตามพระราชบัญญัตินี้ ความในมาตรานี้มีความชัดเจนว่า เมื่อเริ่มต้นการบังคับใช้พระราชบัญญัติทนายความ ทั้งพนักงาน อัยการที่เรียกว่า “ทนายแผ่นดิน” และทนายความต่างก็อยู่ภายใต้กฎและข้อบังคับมรรยาททนายความใน มาตรฐานเดียวกัน แต่ต่อมาหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๑ -------------------------------------- ๓๕ มาตรา ๑๔


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๔ บทที่ ๓ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)


Click to View FlipBook Version