The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by admin, 2023-10-31 00:20:15

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

ภาคผนวก ๑๔๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๑๔๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ---------------------------------------------


ภาคผนวก ๑๔๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์(*) ภาพจำลองอาคารที่ทำการแห่งใหม่ของสภาทนายความ เป็นระยะเวลากว่า ๗ ปีนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่สภาทนายความได้จัดซื้อที่ดิน โรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยา ติดถนนพหลโยธิน ด้านกว้าง ๔๐ เมตร บริเวณใกล้กับวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์ รัฐธรรมนูญ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตามโฉนดเลขที่ ๕๕๖, ๑๔๖๗, ๒๙๗๒๔, ๒๙๗๒๕, ๒๙๗๒๖ และ ๑๔๓๓๙๕ เนื้อที่รวม ๗ ไร่ ๒ งาน ๔๗ ตารางวา มูลค่า ๑๓๐ ล้านบาท ตามมติจากที่ประชุมใหญ่วิสามัญของ สภาทนายความ ครั้งที่ ๑๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๙ เพื่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ และใช้ระยะเวลา ในการหาแนวทางรวมถึงแหล่งเงินทุนในการจัดสร้างอาคารฯ ทั้งการหารายได้จากโครงการต่างๆ เช่น การ สร้างองค์จตุคามรามเทพ รุ่น “เทพประสิทธิโชค”, การรับบริจาคเงินเข้ากองทุนจัดซื้อที่ดินและสร้างอาคารที่ ทำการสภาทนายความ เป็นต้น (*)การก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ภาคผนวก ๘


ภาคผนวก ๑๕๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ปี๒๕๕๓ : สภาทนายความได้รับพระมหา กรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระ เจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ทรงวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการ สภาทนายความ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ หลังจากนั้น สภาทนายความได้รับการ สนับสนุนจากงบกลางของรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีโดยเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ งบ กลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่ออุดหนุนค่าจัดซื้อที่ดินให้แก่สภาทนายความ เป็น จํานวนเงิน ๓๑,๓๙๔,๕๐๐ บาท (สามสิบเอ็ดล้านสามแสนเก้าหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) เมื่อชำระค่าที่ดิน ทั้งหมดแล้ว สภาทนายความได้ดำเนินการวางแบบการก่อสร้างอาคาร ทั้งแบบแปลนอาคาร การใช้สอยพื้นที่ รวมทั้งงบประมาณในการก่อสร้าง ปี๒๕๕๖ : เริ่มทำสัญญาก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อดูแลโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ ๑ ชุด ซึ่งรับผิดชอบในการกำหนดยื่นซองประกวด ราคา การเจรจาต่อรอง และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ เพื่อพิจารณาอนุมัติ วันศุกร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาทนายความครั้งที่ ๑๒/ ๒๕๕๖ มีมติให้บริษัท ศรีทรงชัยการช่าง จำกัด ผ่านการคัดเลือกจากการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างอาคาร ที่ทำการสภาทนายความ เป็นบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารฯ ปี๒๕๕๗ : สภาทนายความ โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ เป็นผู้ลงนามใน สัญญาการก่อสร้างและอนุมัติแบบการก่อสร้าง เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์๒๕๕๗ ในงบประมาณการ ก่อสร้างจำนวน ๑๘๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยแปดสิบหกล้านบาทถ้วน) จากนั้นเมื่อวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗ สภาทนายความจึงได้ส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างให้กับบริษัท ศรีทรงชัยการช่าง จำกัด เพื่อเข้าดำเนินการ ก่อสร้างอาคารอย่างเป็นทางการ


ภาคผนวก ๑๕๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc หลังจากการก่อสร้างฐานรากอาคารไปบางส่วนแล้ว สภาทนายความจึงถือฤกษ์ดีเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ประกอบพิธียกเสาเอกอาคารที่ทำการสภาทนายความโดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภา ทนายความเป็นประธานในการประกอบพิธีพราหมณ์ณ บริเวณที่ดินสภาทนายความ สถานที่ก่อสร้างอาคารที่ ทำการสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ปี๒๕๕๘ : การก่อสร้างอาคารมีความคืบหน้าเรื่อยมา โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ และคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง อาคารในส่วนต่างๆ เป็นระยะ ๆ และมีการประชุมติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างร่วมกับ บริษัท ดีดี โปรเจ็คท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่ปรึกษาผู้ควบคุมงานก่อสร้างฯ และทีมผู้รับเหมาฯ ในทุกๆ วันอังคารของ สัปดาห์ เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในงานก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ นอกจากนี้ นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยกรรมการบริหารสภาทนายความ ร่วมเทปูนซีเมนต์ใน ส่วนสุดท้ายของการก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ ที่บริเวณชั้น ๖ เพื่อความสมบูรณ์พร้อมและเป็น มงคลในการก่อสร้างอาคารฯ และได้ร่วมตรวจสอบพื้นที่การก่อสร้างในส่วนต่างๆ เป็นช่วง ๆ ตลอดปี๒๕๕๘ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ : ณ บริเวณสถานที่ ก่อสร้าง อาคารที่ทำการสภาทนายความ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ พร้อมด้วย นายนิวัติ แก้วล้วน เลขาธิการ สภาทนายความ, ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรพล สินธุนาวา อุปนายกฝ่ายบริหารฯ, นายชวน คงเพชร อุปนายก ฝ่ายกิจการพิเศษฯ และนางอนรงค์พร ธนชัยอารีย์ อดีตกรรมการสภาทนายความ ร่วมเทปูนซีเมนต์ใน ส่วนสุดท้ายของการก่อสร้างอาคารที่ทำการสภา ทนายความ ที่บริเวณชั้น ๖ เพื่อความสมบูรณ์พร้อม และเป็นมงคลในการก่อสร้างอาคารฯ และได้ ตรวจสอบพื้นที่การก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ ด้วย


ภาคผนวก ๑๕๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ ประชุมติดตามความคืบหน้า งานก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ ร่วมกับ ทีมผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ทีมสถาปนิก ทีมออกแบบภูมิ ทัศน์บริเวณโดยรอบอาคาร และหารือภาพรวมระบบ IT หลักของอาคาร ณ ห้องประชุมประธานดวงรัตน์ สภา ทนายความ กรุงเทพฯ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ ตรวจความก้าวหน้าและ ปรับแก้ไขบริเวณส่วนของการจัดตกแต่งที่ตั้งพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ท่านราม ณ กรุงเทพ) พระบิดาแห่งวิชาชีพทนายความ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการสภา ทนายความฯ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ : นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ เดินทางไปตรวจความคืบหน้า งานก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ ตั้งแต่บริเวณอาคารชั่น ๑ ถึงชั้น ๗ (ดาดฟ้า) เพื่อตรวจสอบความ พร้อมและความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ และประเมินความคืบหน้าของ การก่อสร้างอาคารฯ โดยภาพรวม ที่ไซด์งานก่อสร้างอาคารที่ทำการสภาทนายความ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ เมื่อการก่อสร้างอาคารในส่วนโครงการหลักดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๐๐% ถึงขั้นตอนของงานตกแต่งส ถาปัตย์ภายในอาคาร อุปกรณ์การตกแต่งสำนักงาน และการออกแบบภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบอาคาร รวมถึง การติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในอาคาร วันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์นายกสภาทนายความ ประชุมติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างอาคารที่ทำการ สภาทนายความ ร่วมกับ ทีมผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ทีมสถาปนิก ทีมออกแบบภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบอาคาร และหารือภาพรวมระบบ IT หลักของอาคาร ณ ห้องประชุมประธาน ดวงรัตน์สภาทนายความ ถนนราช ดำเนินกลาง กรุงเทพฯ ปลายปี๒๕๕๘ สภาทนายความได้เชิญชวนประธานสภาทนายความจังหวัดเดินทางร่วมเยี่ยมชม อาคารที่ทำการสภาทนายความเป็นประจำทุกเดือนเรื่อยมา ได้แก่ วันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ คณะ ประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค ๖ (พิจิตร, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, นครสวรรค์), วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ คณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค ๒ (ชลบุรี, กบินทร์บุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก) และคณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค ๕ (เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, ลำพูน), วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ คณะประธานสภาทนายความจังหวัดในภาค ๔ (กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, สกลนคร) เป็นต้น


ภาคผนวก ๑๕๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์๒๕๕๙ ซึ่งเป็น “วันทนายความ” ประจำปี๒๕๕๙ สภาทนายความได้ ถือฤกษ์ดีวันนี้เป็นวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และทำพิธีอัญเชิญองค์พระพรหมขึ้นประทับยังศาลพระพรหม ณ อาคารที่ทำการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๙ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยได้รับเกียรติจาก พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เดินทางมาร่วมเป็นเกียรติใน งาน รับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาในการก่อสร้างอาคารฯ ทั้งยังเดินชมส่วนต่างๆ ภายในอาคาร และก่อน เดินทางกลับได้ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับคณะกรรมการบริหารสภาทนายความ และประธานสภา ทนายความจังหวัดทุกศาลจังหวัดทั่วประเทศที่มาร่วมงานด้วย จากนั้นช่วงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. ได้จัด ทำบุญเลี้ยงภัตตาหารเพลพระสงฆ์เนื่องในวันทนายความ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประเพณีทุกๆ ปีได้รับเกียรติจาก ทนายความอาวุโสหลายท่านเดินทางมาร่วมงานด้วย อาทิศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ทนายความอาวุโสผู้ ร่วมก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย, นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ทนายความอาวุโส, นายคำนวน ชโลป ถัมภ์อดีตนายกสภาทนายความ, นายโกวิทย์ศุภมงคล อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความภาค ๕, นายสัก กอแสงเรือง อดีตนายกสภาทนายความ เป็นต้น นอกจากนี้ในวันดังกล่าวยังมีบุคคลสำคัญในองค์กรกระบวนการยุติธรรมเดินทางมามอบกระเช้า ดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีอาทินางกรรณิการ์แสงทอง อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, นายทรงธรรม พูลเกษมทรัพย์รองอธิบดีกรมบังคับคดี, นายธีรวัฒน์ธีรโรจน์วิทย์กรรมการการเลือกตั้ง, นายประวิช รัตน เพียร กรรมการการเลือกตั้ง, นายสัตยา อรุณธารีรองอัยการสูงสุด, นางศิริอร เทศะบำรุง มณีสินธุ์ บรรณาธิการข่าวเนติบัณฑิตยสภา, ผู้แทนนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัยรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1, นางสุวรรณีสิริเวชชะพันธ์สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ/อดีตกรรมการบริหารสภาทนายความ และคณะ ผู้แทนจากสถานทูตเอกอัคราชญี่ปุ่นประจำประเทศไทยกับผู้แทนของ Daichi Tokyu Bar ประเทศญี่ปุ่น


ภาคผนวก ๑๕๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ---------------------------------------------


ภาคผนวก ๑๕๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc แผนพัฒนาสภาทนายความ ๕ ปี๑๔๕ (ระหว่างปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๑) องค์กร สภาทนายความเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระที่จัดตั้งเป็นนิติบุคคลโดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ถือใบอนุญาตทนายความทั้งหมด มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ (๑) ส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ (๒) ควบคุมมรรยาทของทนายความ (๓) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิกสภาทนายความ (๔) ส่งเสริมและจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกสภาทนายความ (๕) ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย สมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก ๗๖,๙๔๗ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗) คาดว่ามีผู้ที่ประกอบวิชาชีพ ทนายความประมาณ ๓๐,๐๐๐ คนเศษ นอกนั้นก็ไปทำงานในสาขาอื่นๆ เพราะงานวิชาชีพทนายความเป็นงาน ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ใช้เวลาในการพัฒนาบุคลิกภาพของทนายความ เพื่อสร้างฐานลูกความสำหรับการประกอบวิชาชีพให้มั่นคง ทะเบียนสมาชิก การเก็บรักษาทะเบียนสมาชิกของสภาทนายความเป็นไปอย่างประหยัดมัสยัตถ์ แบ่งเป็นหลายกลุ่ม รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงที่ยังล่าช้าและไม่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน สมควรที่จะมีการปรับปรุงระบบ ทะเบียนใหม่ทั้งหมด มีฐานข้อมูลที่เก็บไว้โดยเฉพาะสำหรับทะเบียนสมาชิกและเป็นข้อมูลส่วนตัว ผู้ที่เข้าถึง ข้อมูลนี้ได้จะต้องมีจำนวนจำกัด และมีระบบป้องกันข้อมูลที่ดี งานบริหาร มีการปรับปรุงพนักงานครั้งใหญ่ เพื่อให้มีแรงกระตุ้นและการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อประโยชน์ แก่ตัวพนักงานของสภาทนายความเองจะต้องพร้อมรับสถานการณ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จะต้องสูงขึ้น เมื่อมีที่ทำการใหม่ ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้แก่พนักงานที่พร้อมจะต้องปรับปรุงตัวเองให้สามารถ ให้บริการแก่เพื่อนสมาชิกทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ได้เป็นอย่างดี เมื่อก้าวไปสู่ความเป็นสถาบันทาง กฎหมายที่สำคัญของประเทศ การเงิน เงินทุนของสภาทนายความมาจากรายได้ของการจดทะเบียนใบอนุญาต และรายได้จากการจัดอบรม และสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตวิชาชีพทนายความ อีกส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ได้รับบริจาคซึ่งเงินส่วนนี้จะอยู่ในงบ การเงินประจำปีของสภาทนายความที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม สิ้นสุดลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี มี ๑๔๕ แผนสภาทนายความ ๕ ปี (ระหว่างปี ๒๕๕๖ - ๒๕๖๑) : โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ภาคผนวก ๙


ภาคผนวก ๑๕๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและนำเสนอต่อสมาชิกสภาทนายความในการประชุมใหญ่ในเดือนเมษายนของปีถัดไป ทุกปี อีกส่วนหนึ่งก็ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในส่วนการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่องบ่อยครั้งเนื่องจากกระทรวงยุติธรรมจะจ่ายเงินอุดหนุน ให้กับสภาทนายความเป็นรายเดือน โดยจะเบิกเงินได้ครั้งละประมาณเดือนละ ๕ ล้านบาท ซึ่งเป็นอุปสรรค อย่างสำคัญในการจ่ายเงินค่าตอบแทนหรือเบี้ยเลี้ยงให้กับทนายความอาสา สภาทนายความเคยได้ขอและ ยืนยันที่จะของบประมาณการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในส่วนนี้ประมาณ ๒๒๐ – ๓๐๐ ล้านบาทต่อปี แต่ก็ไม่เคยได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล จึงได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ปัจจุบันคดีอยู่ที่ศาลปกครองสูงสุด ส่วนงบการเงินของเงินอุดหนุนนี้จะต้องทำงบการเงินให้สอดคล้องกับปีงบประมาณของรัฐบาล คือเริ่มวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ กันยายนของทุกปี งบการเงินของสภาทนายความจึงมีอยู่ ๒ ส่วน ผู้ที่สนใจอ่านงบการเงิน จะต้องแยกความเข้าใจถึงการบริหารงบทั้งสองด้านให้อยู่ในกรอบของบัญชีการเงินที่ถูกต้อง การจัดเตรียมและหาแหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุนและการขยายงาน สภาทนายความมีกระแสเงินที่เข้าสู่สภาทนายความค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะการที่จะหาเงินทุนขนาด ใหญ่จากการช่วยเหลือของรัฐบาล สำหรับการสร้างการจัดซื้อที่ดินและอาคารเคยได้รับในสมัยรัฐบาลนายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีงบสนับสนุน ๓๑ ล้านบาท จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อการสร้างอาคารและที่ทำ การใหม่ รวมทั้งการบำรุงรักษาสำหรับอาคารซึ่งจะมีต้นทุนสูง การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเป็นทางหนึ่งที่สามารถจะทำได้และได้เคยทำมาแล้ว อย่างไรก็ดี สหกรณ์ทนายความแห่งประเทศไทยควรจะมีการขยายกิจการเพื่อการรับฝากเงินประเภทออมทรัพย์จาก สมาชิกให้มากขึ้น และให้สภาทนายความกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ทำให้เกิด การรวมตัวกันของทนายความที่แน่นแฟ้นผ่านการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ และในฐานะของสมาชิก สภาทนายความผู้ให้เงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างอาคารที่ทำการอย่างสมเกียรติ นอกจากนั้นบรรดาสมาชิก ของสหกรณ์ออมทรัพย์ก็ยังจะสามารถสร้างเครดิตของตนเองได้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ โดยขอกู้ยืมเงินใน คราวที่จำเป็นได้ตามระเบียบและข้อบังคับ สหกรณ์ของสภาทนายความก็สามารถสร้างอำนาจการต่อรองกับ สถาบันการเงินในการออกสินเชื่อทางการเงิน เช่น บัตรเครดิตให้กับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นพลัง การต่อรองที่เชื่อได้ว่าทุกธนาคารอยากได้เป็นลูกค้าของธนาคาร ผลที่ได้คือการใช้บัตรเครดิตของสมาชิกจะมี การเจรจากับธนาคารให้ส่ง keep back หรืออัตราส่วนที่เป็น Premium คืนให้กับสภาทนายความเพื่อใช้เป็น กองทุนในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความกับการดำเนินการอื่นตามวัตถุประสงค์ อีก ทางหนึ่งก็คือการใช้เป็นเงินกองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการให้ความมั่นใจกับสถาบันการเงินว่าในกรณีที่มี การผิดนัดของสมาชิกในการจ่ายสินเชื่อบัตรเครดิตกับธนาคาร กองทุนหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ จะเข้าไปรับ โอนหรือซื้อหนี้นั้นมาจากธนาคารเพื่อจะดำเนินการบังคับเอากับสมาชิกนั้นโดยตรง ซึ่งจะทำให้เกิดภาพรวมที่ดี ต่อวิชาชีพทนายความในการสร้างเครดิตทางด้านการเงินร่วมกันทั้งคณะ และจะทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในระหว่างสมาชิกของสภาทนายความทั้งหมด ที่ทำการส่วนกลาง สภาทนายความนับตั้งแต่ก่อตั้งมาได้อาศัยเช่าอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่ง คับแคบและไม่สะดวกแก่การพัฒนาองค์กรในยุคที่มีการแข่งกันอย่างสูงในหลายๆ สาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะการ ปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจรวมของ ASEAN ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งในขณะนี้ ได้จัดซื้อที่ดินที่ถนนพหลโยธิน เขต บางเขน จำนวน ๗ ไร่ ด้วยเงินกู้จากธนาคาร จำนวน ๑๓๕ ล้านบาท ที่ดินแปลงนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในที่ดินมี


ภาคผนวก ๑๕๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ที่ตั้งโรงเรียนภูมิไพโรจน์ซึ่งก็ได้จัดการย้ายโรงเรียนนี้ไปอยู่ที่บริเวณด้านหลังของที่ดินที่ติดถนนด้านหน้า และ จะเริ่มทำการก่อสร้างอาคารของสภาทนายความเป็นครั้งแรกในกลางปี ๒๕๕๗ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน กำหนด ๒ ปี การสร้างบ้านบนที่ดินที่จัดซื้อมาแล้วจะทำให้เสร็จเรียบร้อยภายในกรอบการบริหารงาน ๓ ปี ข้างหน้า โดยให้มีการวางแผนการใช้อาคาร การบำรุงรักษา และการพัฒนาวิชาชีพให้เหมาะสมกับการ ก้าวเข้าสู่การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ๑๐ ประเทศ เพื่อให้เป็นสถาบันวิชาชีพทนายความที่ ทันสมัย พร้อมด้วยระบบพัฒนาการสื่อสารและข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของ สังคมยุคใหม่ ที่ทำการส่วนภูมิภาค ที่ตั้งของที่ทำการบางแห่งให้การสนับสนุนและโดยความร่วมมือของสภาทนายความในท้องถิ่น อย่างไร ก็ดี หากเป็นไปได้ก็จะมีการจัดสร้างที่ทำการโดยใช้เงินฝากจากเพื่อนสมาชิกและการบริหารองค์กรเพื่อสร้าง รายได้ตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ ก็จะนำมาซึ่งการพัฒนาสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้เริ่มขึ้นเรื่อยๆ โดย เฉพาะที่ทำการภาค หากคาดหมายว่าจะสามารถทำให้เสร็จได้ภายในรอบ ๕ ปีของแผนการพัฒนาสภา ทนายความในกรอบระยะเวลานี้ มาตรฐานวิชาชีพ สภาทนายความมีสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตทนายความโดยผ่านการสอบ เช่นเดียวกันกับมาตรฐานของใบอนุญาตทนายความในต่างประเทศ และเคยได้รับคำนิยมจากท่านองคมนตรี ว่ามาตรฐานการสอบใบอนุญาตทนายความของสภาทนายความ เป็นมาตรฐานที่อยู่ในระดับเดียวกันกับการ สอบของ Barrister at Law ที่ประเทศอังกฤษ ความเข้มข้นของใบอนุญาตทนายความจึงต้องถูกรักษาระดับไว้ ให้เหมือนเช่นนานาอารยประเทศ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้กว้างไกลในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่แพร่หลาย กำหนดมาตรฐานของวิชาชีพทนายความให้มีความเป็นสากล และสร้างบรรทัดฐานของการ ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมถึงหลักการอันบริสุทธิ์ ของวิชาชีพทนายความที่จะต้องเป็น “ผู้ให้” มากกว่า “ผู้รับ” และ “รับใช้” มากกว่า “รับ” โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการพัฒนาทนายความอาสาและการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย จะให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยง่าย วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพทนายความในกระบวนการยุติธรรมและระบบ พิจารณาคดีของศาลต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมถึงศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนประชาชน สำนักงานการพัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างวิชาชีพทนายความอย่างต่อเนื่อง ในประเทศที่พัฒนาแล้วทนายความมีองค์ความรู้อยู่หลากหลายมากกว่า ๕๐ สาขา โดยเฉพาะงานที่ ปรึกษากฎหมาย งานร่างกฎหมาย งานอนุญาโตตุลาการ งานทรัพย์สินทางปัญญา เลขานุการนิติบุคคล งาน รับรองเอกสารและลายมือชื่อ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนที่ได้มีการพิจารณาเพิ่มเติมโดยมีการสร้างสถาบันวิชาชีพทาง กฎหมายชั้นสูงขึ้นในปี ๒๕๔๒ มีความก้าวหน้าเรื่อยมา แต่ติดขัดที่ยังไม่อาจจะพัฒนาสถาบันวิชาชีพทาง กฎหมายในภาคภาษาต่างประเทศ ด้วยมีข้อจำกัดของผู้ที่รับการศึกษา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา


ภาคผนวก ๑๕๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc หลักสูตรภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพเพื่อตอบรับการเป็นทนายความที่สามารถให้บริการที่อย่างน้อยให้บริการใน ด้านของการติดต่อสื่อสารเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการสร้างงานให้กับวิชาชีพทนายความ เชื่อว่า จะสร้างงานได้เพิ่มขึ้น และสามารถทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับทนายความจากต่างประเทศได้ การแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ ให้มีการดำเนินการให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความเพื่อเพิ่มเติมขอบเขตของการประกอบ วิชาชีพทนายความให้กว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการเป็นที่ปรึกษากฎหมายและให้บริการด้านอื่น เช่นเดียวกับมาตรฐานของทนายความต่างประเทศ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีตามการเสนอในการยกร่าง พระราชบัญญัติก่อนปี ๒๕๒๘ ทั้ง ๓ ครั้ง คำว่า “ทนายความ” นั้นรวมถึง ที่ปรึกษากฎหมายและพนักงานโน ตารีพับลิคกับตัวแทนเครื่องหมายการค้า แต่ก็ได้ถูกตัดออกไปทั้งหมด การติดต่อสื่อสารภายในองค์กร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบเพื่อการสื่อสารระหว่างนายกและคณะกรรมการกับสมาชิกใน ระบบ Intranet รวมทั้งการเข้าถึงบริการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของประชาชนโดยผ่านระบบ เครือข่าย Networking System หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมจะดำเนินการให้มีขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและจากภายนอกองค์กร และการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมของภาคประชาชนให้ดียิ่งขึ้น การประชาสัมพันธ์ สภาทนายความเป็นองค์กรที่มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศทุกเขตศาล และมีประชาชนเข้ามาขอรับบริการ ช่วยเหลือทางกฎหมายนับหมื่นคนต่อปี จำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องการประชาสัมพันธ์การ สื่อสารกับสมาชิกและประชาชนให้สามารถติดต่อได้ถึงกันได้อย่างรวดเร็ว การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มี อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยให้รับผิดชอบในเรื่องของการจัดทำข้อมูลการเปลี่ยน ข้อมูล โดยเฉพาะการตอบปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนที่มีเรื่องทุกข์ใจทางกฎหมายให้มีความรวดเร็วทันต่อ เหตุการณ์ สร้างเสริมความรู้ ความสามัคคี และแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญการของทนายความทั่ว ราชอาณาจักร เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของวิชาชีพกฎหมายที่เป็นอิสระ พร้อมด้วยฐานความรู้ในเชิงลึกของ การใช้กฎหมายทุกสาขา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ทนายความยึดมั่นในอุดมการณ์และพันธกิจของวิชาชีพ ทนายความต่อสังคมไว้อย่างแนบแน่นและมั่นคง สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ การพัฒนาองค์กรควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ความสามัคคีปรองดองกันในวิชาชีพทนายความผ่านระบบ การจัดสวัสดิการด้านของกองทุนเพื่อการฌาปนกิจของสภาทนายความก็ดี การจัดตั้งสหกรณ์ทนายความแห่ง ประเทศไทย จำกัด ล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรนิติบุคคลหรือส่วนงานในเครือของสภาทนายความที่มีคุณค่าในเรื่อง ของการระดมเงินฝากของสมาชิกผ่านสหกรณ์ฯ และนำไปจัดสรรใช้ประโยชน์ในการสร้างอาคารสถานที่ หรือ การเป็นสมาชิกกองทุนฌาปนกิจก็สามารถที่จะทำให้สภาทนายความจัดสร้างสวัสดิการที่มั่นคงให้กับ ทนายความคู่กับการจัดตั้งกองทุนบุตรธิดาทนายความเพื่อการศึกษาของบุตรธิดาทนายความที่สูญเสียบิดาหรือ มารดาที่เป็นทนายความให้ได้รับการศึกษาเรียนจนจบปริญญาตรีทุกคน


ภาคผนวก ๑๕๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้กับวิชาชีพทนายความ ทั้งในด้านการจัดให้มีสวัสดิการที่ดี สร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับครอบครัวทนายความ โดยเฉพาะการส่งเสริมการศึกษาให้บุตรและธิดา ของทนายความ ในกรณีที่มีอุบัติภัยต่างๆ เกิดขึ้น รวมถึงการสนับสนุนให้มีการออมทรัพย์ สร้างระบบ เครดิตของทนายความให้เป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น เสริมความรู้ในการลงทุนผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ทนายความแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาชิกของสภาทนายความ พัฒนาและสนับสนุนการกีฬาทุกประเภทตามที่เหมาะสม เพื่อสร้างเครือข่ายและการส่งเสริม สุขภาพพลานามัย รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมที่ ปราศจากมลภาวะที่เป็นพิษ การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย หัวใจในการทำงานของทนายความก็คือการให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ โดยสะดวก และรวดเร็วที่สุด การทำงานของทนายความจึงไม่มีวันหยุดแม้ในส่วนบริหารจะมีวันปิดทำการ เดินทางอบรม อาสาของสภาทนายความมีพร้อมอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง สำหรับการตรวจสอบและสร้างความสมดุลโดยมี หลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย โดยไม่เลือกสถานภาพ สัญชาติ รวมถึงสถานะ ทั้งนี้การจัดตั้งและสร้างเสริมความรู้ทนายความอาสาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและยังต้องให้มีการพัฒนาอย่างมั่นคง และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนผู้ใช้บริการ ส่งเสริมและร่วมมือกับทุกองค์กรในกระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคของประชาชน ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้เป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงการให้ประชาชนร่วมกันตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย สร้างและพัฒนาระบบความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรสภาทนายความให้มีความชัดเจน ช่วย และส่งเสริมการป้องกันการทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนประชาชน การร่วมมือกับเครือข่ายทนายความในต่างประเทศ ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพทุกสาขาโดยเฉพาะด้านกฎหมายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนา การศึกษากฎหมายและการใช้บังคับกฎหมายในทุกมิติของสังคม ให้มีการเตรียมความพร้อมของวิชาชีพใน การศึกษาและพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาการของสังคมเทคโนโลยีอย่าง เร่งด่วน งานด้าน Social Network และเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดวางกฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างสมาชิกขององค์กรสภาทนายความเองกับ บุคคลภายนอก ออกกฎระเบียบเรื่องการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ต้องมีการ ควบคุมระบบ สร้างกฎและกติกาในการส่งข้อมูลภาพหรือเสียงหรือภาพรวมอื่นใดให้กลับไปยังสภาทนายความ หรือออกจากสภาทนายความ มีระบบป้องกันความปลอดภัยและมีการฝึกฝนเจ้าหน้าที่ให้มีความเชี่ยวชาญมาก ขึ้นเพื่อรองรับการขยายงาน การติดต่อสื่อสารในรูปของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มากขึ้นทุกวัน


ภาคผนวก ๑๖๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การปรับโครงสร้างหลักในการบริหารสภาทนายความในระยะ ๕ ปีนี้ จึงจะต้องพัฒนางานด้านนี้ให้ดี และโดยเฉพาะเพื่อตอบรับการสร้างอาคารที่ทำการใหม่ที่จะต้องเป็นอาคารที่ทันสมัยมีเทคโนโลยีสมบูรณ์และ มีพนักงานที่จะเข้าถึงข้อมูลที่มีความสามารถ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของแผนพัฒนาสภาทนายความในระยะ ๕ ปี ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อให้องค์กรสภา ทนายความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง ทั้งโครงสร้างพื้นฐานวิชาการและสวัสดิการของการช่วยเหลือประชาชน ทางกฎหมายและสวัสดิการของสมาชิกสภาทนายความในระยะยาวต่อไป ---------------------------------------------


ภาคผนวก ๑๖๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc หลักสูตรทนายความชำนาญการสาขากฎหมายเฉพาะทาง ของสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์๑๔๖ ๑๔๖ หลักสูตรทนายความชำนาญการสาขากฎหมายเฉพาะทาง เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ ภาคผนวก ๑๐ ๑. ทนายความชำนาญการกฎหมายนิติบุคคล ๒. ทนายความชำนาญการกฎหมายสิ่งแวดล้อม ๓. ทนายความชำนาญการกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ๔. ทนายความชำนาญการกฎหมายภาษีอากร


ภาคผนวก ๑๖๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๕. ทนายความชำนาญการกฎหมายสิทธิมนุษยชน ๖. ทนายความชำนาญการกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ๗. ทนายความชำนาญการกฎหมายการระงับข้อพิพาท ๘. ทนายความชำนาญการกฎหมายอนุญาโตตุลาการ


ภาคผนวก ๑๖๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๑๑. ทนายความชำนาญการกฎหมายการลงทุน ๑๒. ทนายความชำนาญการกฎหมายการโอนทรัพย์สิน ๙. ทนายความชำนาญการกฎหมายการรับรองเอกสาร ๑๐. ทนายความชำนาญการกฎหมายการเงินการธนาคาร


ภาคผนวก ๑๖๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๑๕. ทนายความชำนาญการกฎหมายเกษตรกรรม ป่าไม้และที่ดิน ๑๓. ทนายความชำนาญการกฎหมายสหกรณ์ ๑๖. ทนายความชำนาญการกฎหมายอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการบริการ ๑๔.ทนายความชำนาญการกฎหมายสิทธิเด็ก เยาวชน และความเสมอภาคของสตรี


ภาคผนวก ๑๖๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๑๗. ทนายความชำนาญการกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๘. ทนายความชำนาญการกฎหมายสื่อสารมวลชน ๑๙. ทนายความชำนาญการกฎหมายการพลังงาน ๒๐. ทนายความชำนาญการกฎหมายธุรกิจคนต่างด้าว


ภาคผนวก ๑๖๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๒๑.ทนายความชำนาญการกฎหมายการเข้าเมือง และการทำงานของคนต่างด้าว ๒๒. ทนายความชำนาญการกฎหมายการบังคับคดี ๒๓. ทนายความชำนาญการการยกร่างกฎหมาย ๒๔. ทนายความชำนาญการกฎหมายแรงงาน


ภาคผนวก ๑๖๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๒๗. ทนายความชำนาญการกฎหมายการค้า ระหว่างประเทศ ๒๕. ทนายความชำนาญการกฎหมายล้มละลาย ๒๖. ทนายความชำนาญการกฎหมายปกครอง และการฟื้นฟูกิจการ ๒๘. ทนายความชำนาญการกฎหมายการฟอกเงิน


ภาคผนวก ๑๖๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๒๙. ทนายความชำนาญการกฎหมายป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ๓๐. ทนายความชำนาญการกฎหมายเลือกตั้ง ๓๒. ทนายความชำนาญการกฎหมายกีฬา และการพักผ่อน ๓๑. ทนายความชำนาญการกฎหมายรัฐธรรมนูญ


ภาคผนวก ๑๖๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๑๗๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc โครงการอบรมวุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายนิติบุคคล รุ่นที่ …. ระหว่างวันที่ ... เดือน ................... ถึงวันที่ ... เดือน ................... พ.ศ. .... ในปัจจุบันผู้ประกอบการและนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ เกี่ยวกับกฎหมายการบริหารกิจการของบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัด (บจ.) บริษัท มหาชน จำกัด (บมจ.) และ บมจ. ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สมาคม และมูลนิธิ รวมทั้งนิติบุคคลในรูปแบบอื่น เช่น นิติบุคคลอาคารชุด กิจการร่วมค้า ซึ่งทุกกิจการจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด สภาทนายความได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าวและมุ่งประสงค์ที่จะส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพ ทนายความให้ครอบคลุมงานต่าง ๆ ให้มากที่สุดตามหลักการของหลักวิชาชีพทนายความสากล จึงจะจัดเปิด อบรมหลักสูตรพิเศษให้แก่ทนายความที่มีความสนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เนื้อหาที่ใช้ในการอบรม จะเน้นเกี่ยวกับการบริหารงานของธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง ธุรกิจ SME และขนาดใหญ่ธุรกิจ SME ให้ สอดคล้องกับกฎหมายข้อบังคับและระเบียบของทางราชการ ซึ่งทนายความจะสามารถเข้าไปทำหน้าที่ให้ คำปรึกษาแก่นิติบุคคลในการดำเนินธุรกิจและการบริหารกิจการให้ถูกต้อง ซึ่งการให้คำปรึกษากฎหมายนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพทนายความที่ครอบคลุมทุกสาขากฎหมาย


ภาคผนวก ๑๗๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (1) หลักการและเหตุผล ................................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................... ..................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... ............................... .............................................................................................................................................................................. ...................................................................................... (2) วัตถุประสงค์ 1. อบรมให้ทนายความสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง 2. เนื้อหาของการบรรยายจะเน้นเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของทนายความในสาขาที่อบรมอย่างสมบูรณ์ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของบริษัทผู้ประกอบธุรกิจได้ในทุกระดับ 3. ทนายความที่เข้ารับการอบรมจะมีความเข้าใจในหลักการใช้กฎหมายกับการบริหารงานนิติบุคคล และการดำเนินกิจการธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนประสบความสำเร็จ และรวมถึงการฟื้นฟูและเลิกกิจการ (3) คุณสมบัติผู้สมัคร 1. ต้องเป็นทนายความ และไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษห้ามทำการเป็นทนายความฐานประพฤติผิด มรรยาททนายความ หรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนในคดีประพฤติผิดมรรยาททนายความ 2. ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ เพราะเหตุประพฤติผิดมรรยาททนายความ (4) ค่าธรรมเนียม ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมจำนวน ................ บาท พร้อมใบสมัคร ค่าธรรมเนียมจำนวน ดังกล่าวจะรวมค่าใช้จ่ายในการอบรมหรือตามอัตราที่สภาทนายความกำหนด (5) รายละเอียดการสมัครอบรม รับสมัครทนายความผู้สนใจเข้ารับการอบรมจำนวนจำกัด 80 ท่าน สามารถยื่นใบสมัครได้ด้วย ตนเอง โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้จากเว็บไซด์สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และชำระ ค่าธรรมเนียมเป็นเงินสดได้ที่ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวนเงิน .............................. บาท หรือชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชี........................................................... ธนาคาร ............................. จำกัด (มหาชน) สาขา .............................................. เลขที่บัญชี .............................. และส่งแฟ็กซ์ใบสมัครอ บรม และหลักฐานการชำระเงินมาที่ ................................. (ค่าใช้จ่ายนี้รวมเอกสารประกอบการอบรม อาหารและ เครื่องดื่ม ตลอดหลักสูตร)


ภาคผนวก ๑๗๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (6) สิทธิของผู้เข้าอบรม ผู้สมัครรับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมตามวัน เวลา ที่สภาทนายความกำหนด โดยสภา ทนายความจะประเมินผลจากเวลาที่เข้าอบรมจริง โดยต้องมีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และ ประเมินผลจากแบบทดสอบ (7) รูปแบบการอบรม เป็นการอบรมเชิงปฎิบัติการโดยวิทยากรจากสภาทนายความและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง (8) วุฒิบัตรที่ได้รับ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้จะได้รับใบประกาศวุฒิบัตร “ทนายความชำนาญการกฎหมายนิติบุคคล” (9) ระยะเวลาการอบรม อบรมระหว่างวันที่ ..................................................................... รวม ............ ชั่วโมง ณ ห้อง ..................................................... (10) ห้วข้อที่อบรม 1. สถานะและประเภทของนิติบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ (เปรียบเทียบกับของ ต่างประเทศ) 2 ชั่วโมง 2. เอกสารการจัดตั้ง (ต้นฉบับ) การจัดเก็บรายงานและสมุดบัญชี สัญญาจัดตั้งนิติ บุคคล ใบหุ้น สมุดทะเบียนหุ้น 2 ชั่วโมง 3. การจัดทำหนังสือเชิญและรายงานการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2 ชั่วโมง 4. หน้าที่เลขานุการการรายงานมติของที่ประชุมต่อหน่วยงานของราชการ 1) ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ 2) บริษัทเอกชน จำกัด 3) บริษัทจำกัด (มหาชน) 4) บริษัทจำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 ชั่วโมง 5. เอกสารทางบัญชีและแบบแสดงรายการภาษีอากรที่นิติบุคคลต้องจัดทำและยื่นต่อ ทางราชการ 2 ชั่วโมง 6. หน้าที่เลขานุการในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการ 2 ชั่วโมง 7. หลักของสัญญาจ้างงานระหว่างนิติบุคคลกับลูกจ้าง/ข้อบังคับการทำงาน 2 ชั่วโมง 8. หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคกับความรับผิดชอบของนิติบุคคลและกรรมการ 2 ชั่วโมง 9. หลักกฎหมายสิงแวดล้อมกับความรับผิดชอบของนิติบุคคลและกรรมการ 2 ชั่วโมง 10.หลักการฟื้นฟูกิจการล้มละลายและคดีล้มละลาย 2 ชั่วโมง 11.การเลิกกิจการ การควบกิจการและการชำระบัญชี 2 ชั่วโมง 12.กฎหมายทั่วไปของประเทศในประชาคมอาเซียน 2 ชั่วโมง 13.คลินิกกฎหมายภาคปฏิบัติเกี่ยวกับงานเลขานุการนิติบุคคล 2 ชั่วโมง


ภาคผนวก ๑๗๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (11) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทนายความผู้ที่สนใจจะเข้าอบรมฯ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ในวันและเวลาราชการที่สภา ทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 0-2629-1430 โทรสาร 0-2282-9908 email : [email protected] website : www.lawyercouncil.or.th *************************


ภาคผนวก ๑๗๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ใบสมัครโครงการอบรม วุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายนิติบุคคล รุ่นที่ .... โดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ (กรุณากรอกข้อความให้ชัดเจน) ชื่อ (ทนายความ) .......................................................................นามสกุล ........................................................... ใบอนุญาตทนายความเลขที่ ................................................................................................................................ สำนักงาน ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ......................................................................................................................................... .................................... โทรศัพท์ ......................................... โทรสาร ........................................อีเมล์ .................................................... การศึกษานิติศาสตรบัณฑิต .........................................มหาวิทยาลัย ................................................................. การศึกษาวิชาชีพกฎหมายเพิ่มเติม ..................................................... สถาบัน ................................................. ลายมือชื่อผู้สมัคร .............................................................. .........../............................./............... หมายเหตุ : 1. ค่าสมัครอบรม คนละ ……………………. บาท 2. ชำระเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีพร้อมส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โครงการอบรมฯ บัญชี ธนาคาร …………………………………………………………. ชื่อบัญชี “...............................................................................” บัญชีเลขที่ ................................................................... 3. ติดต่อเจ้าหน้าที่โครงการฯ โทรศัพท์ ............................................................ โทรสาร ........................................................


ภาคผนวก ๑๗๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc โครงการอบรม วุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายนิติบุคคล รุ่นที่ .... โดยสถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ หัวข้อ วิทยากร วันที่ ......................................... 08.30- 9.00 น. ลงทะเบียน 09.00- 11.00 น. (2 ชั่วโมง) สถานะและประเภทของนิติบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ (เปรียบเทียบ กับของต่างประเทศ) 12.00- 14.00 น. (2 ชั่วโมง) เอกสารการจัดตั้ง (ต้นฉบับ) การจัดเก็บรายงานและสมุดบัญชี สัญญาจัดตั้งนิติบุคคล ใบหุ้น สมุดทะเบียนหุ้น 14.00- 16.00 น. (2 ชั่วโมง) การจัดทำหนังสือเชิญและรายงานการประชุมทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ 09.00- 11.00 น. (2 ชั่วโมง) หน้าที่เลขานุการการรายงานมติของที่ประชุมต่อหน่วยงานของราชการ 1) ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สมาคม มูลนิธิ 2) บริษัทเอกชน จำกัด 3) บริษัทจำกัด (มหาชน) 4) บริษัทจำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 12.00- 14.00 น. (2 ชั่วโมง) เอกสารทางบัญชีและแบบแสดงรายการภาษีอากรที่นิติบุคคลต้อง จัดทำและยื่นต่อทางราชการ 14.00- 16.00 น. (2 ชั่วโมง) หน้าที่เลขานุการในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ถือหุ้นกับ กรรมการ 09.00- 11.00 น. (2 ชั่วโมง) หลักของสัญญาจ้างงานระหว่างนิติบุคคลกับลูกจ้าง/ข้อบังคับการ ทำงาน 12.00- 14.00 น. (2 ชั่วโมง) หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคกับความรับผิดชอบของนิติบุคคล และกรรมการ 14.00- 16.00 น. (2 ชั่วโมง) หลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมกับความรับผิดชอบของนิติบุคคลและ กรรมการ 09.00- 11.00 น. (2 ชั่วโมง) หลักการฟื้นฟูกิจการล้มละลายและคดีล้มละลาย 12.00- 14.00 น. (2 ชั่วโมง) การเลิกกิจการ การควบกิจการและการชำระบัญชี 14.00- 16.00 น. (2 ชั่วโมง) กฎหมายทั่วไปของประเทศในประชาคมอาเซียน 09.00- 11.00 น. (2 ชั่วโมง) คลินิกกฎหมายภาคปฏิบัติเกี่ยวกับงานเลขานุการนิติบุคคล 12.00- 14.00 น. (2 ชั่วโมง) จรรยาบรรณในวิชาชีพ 14.00- 16.00 น. (2 ชั่วโมง) พิธีมอบวุฒิบัตรและงานสังสรรค์ปิดการอบรม รวม 30 ชั่วโมง


ภาคผนวก ๑๗๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๑๗๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc โครงการอบรมวุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายการรับรองเอกสาร รุ่นที่ .... ระหว่างวันที่ ... เดือน ................... ถึงวันที่ ... เดือน ................... พ.ศ. .... ในปัจจุบันผู้ประกอบการและนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ เกี่ยวกับกฎหมายการรับรองเอกสาร สภาทนายความได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นดังกล่าวและมุ่งประสงค์ที่จะส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพ ทนายความให้ครอบคลุมงานต่าง ๆ ให้มากที่สุดตามหลักการของหลักวิชาชีพทนายความสากล จึงจะจัดเปิด อบรมหลักสูตรพิเศษให้แก่ทนายความที่มีความสนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เนื้อหาที่ใช้ในการอบรม จะเน้นเกี่ยวกับความรู้เรื่องการรับรองเอกสารให้สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งทนายความจะสามารถเข้าไปทำ หน้าที่ให้คำปรึกษาแก่นิติบุคคลให้ถูกต้อง ซึ่งการให้คำปรึกษากฎหมายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพทนายความ ที่ครอบคลุมทุกสาขากฎหมาย


ภาคผนวก ๑๗๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (1) หลักการและเหตุผล ตามที่สภาทนายความได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและอกสารขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการประกอบวิชาชีพทนายความกับงานรับรองลายมือชื่อและเอกสารให้มีรูปแบบตาม มาตรฐานสากล และวางกรอบของการรับรองให้มีมาตรฐานและรูปแบบอย่างเดียวกัน (2) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อการผลิตบุคลากรผู้ทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อและเอกสารโดยเฉพาะ 2. เพื่อให้งานรับรองลายมือชื่อและเอกสารที่กระทำโดยทนายความมีรูปแบบอย่างเดียวกันและมี มาตรฐานสากล 3. เพื่อกำหนดขอบเขตของงานรับรองลายมือชื่อเอกสาร ให้มีความชัดเจน 4 เพื่อให้ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ตระหนักถึงจรรยาบรรณของการรับรอง ลายมือชื่อและเอกสาร 5 เพื่อส่งเสริมวิชาชีพทนายความโดยเฉพาะในแง่การเพิ่มรายได้ให้กับทนายความ (3) คุณสมบัติผู้สมัคร 1. ต้องเป็นทนายความ และไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษห้ามทำการเป็นทนายความฐานประพฤติผิด มรรยาททนายความ หรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนในคดีประพฤติผิดมรรยาททนายความ 2. ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ เพราะเหตุประพฤติผิดมรรยาททนายความ 3. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียเกี่ยวกับการรับรองลายมือชื่อเอกสาร หรือนิติกรรม (4) ค่าธรรมเนียม ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบสมัคร ค่าธรรมเนียมจำนวนดังกล่าว จะรวมค่าใช้จ่ายในการอบรมและค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้รับรองลายมือชื่อและเอกสารใน 2 ปีแรก ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนและค่าดวงตราประทับประจำตัวและผู้ที่ได้รับขึ้นทะเบียนจะต้อง เสียค่าธรรมเนียมในการต่ออายุหนังสือรับรองทุก 2 ปี ในอัตรา 800 บาท หรือตามอัตราที่สภาทนายความ กำหนด (5) รายละเอียดการสมัครอบรม รับสมัครทนายความผู้สนใจเข้ารับการอบรมจำนวนจำกัด 80 ท่าน สามารถยื่นใบสมัครได้ด้วย ตนเอง โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้จากเว็บไซด์สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และชำระ ค่าธรรมเนียมเป็นเงินสดได้ที่ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวนเงิน .............................. บาท หรือชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชี........................................................... ธนาคาร ............................. จำกัด (มหาชน) สาขา .............................................. เลขที่บัญชี .............................. และส่งแฟ็กซ์ใบสมัครอบ รม และหลักฐานการชำระเงินมาที่ ................................. (ค่าใช้จ่ายนี้รวมเอกสารประกอบการอบรม อาหารและ เครื่องดื่ม ตลอดหลักสูตร)


ภาคผนวก ๑๗๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (6) สิทธิของผู้เข้าอบรม ผู้สมัครรับการอบรมจะต้องเข้ารับการอบรมตามวัน เวลา ที่สภาทนายความกำหนด โดยสภา ทนายความจะประเมินผลจากเวลาที่เข้าอบรมจริง โดยต้องมีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และ ประเมินผลจากแบบทดสอบ ผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือ ชื่อและเอกสาร โดยได้รับหนังสือรับรองขึ้นทะเบียนจากสภาทนายความ พร้อมตราประทับประจำตำแหน่ง (7) รูปแบบการอบรม เป็นการอบรมเชิงปฎิบัติการโดยวิทยากรจากสภาทนายความและจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับ การรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (8) วุฒิบัตรที่ได้รับ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้จะได้รับใบประกาศวุฒิบัตร “ทนายความชำนาญการกฎหมายการ รับรองเอกสาร” (9) ระยะเวลาการอบรม อบรมระหว่างวันที่ ............................................................... รวม ........ .... ชั่วโมง ณ ห้อง ..................................................... (10) ห้วข้อที่อบรม 1. หลักการและอำนาจหน้าที่ ก. หลักการ ความสำคัญและประโยชน์ของการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ข. อำนาจหน้าที่ในการทำคำรับรอง 1 ชั่วโมง 2. กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจใหม่ ก. การรับรองสำเนาเอกสาร ข. การรับรองลายมือชื่อ ค. การทำคำสาบาน ง. การรับรองบุคคล จ. การบันทึกคำให้การที่ต้องมีการสาบาน ฉ. การทำคำคัดค้าน ช. วิธีการรับรองและตราประทับ 2 ชั่วโมง 3. ขอบเขตและหน้าที่ในการรับรอง 1 ชั่วโมง 4. การขึ้นทะเบียน, การต่ออายุฯ, การใช้ตราประทับ, สติ๊กเกอร์, หลักการและสาระสำคัญของระเบีบยว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำ คำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร 1 ชั่วโมง 5. เปรียบเทียบการรับรองกับ Notary Public ในต่างประเทศ 2 ชั่วโมง 6. จรรยาบรรณ ข้อควรระมัดระวัง และความรับผิดในการรับรอง ก. ความรับผิดทางแพ่ง ข. ความรับผิดทางอาญา ค. การประพฤติผิดมรรยายทนายความ 2 ชั่วโมง 7. คุณสมบัติและการพันสภาพจากการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร 1 ชั่วโมง 8. กรณีศึกษา 2 ชั่วโมง 9. การทดสอบ (ชุดคำถามแบบทดสอบเป็นภาษาอังกฤษ) 3 ชั่วโมง


ภาคผนวก ๑๘๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc (11) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทนายความผู้ที่สนใจจะเข้าอบรมฯ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ในวันและเวลาราชการที่สภา ทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ เลขที่ 249 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 0-2629-1430 โทรสาร 0-2282-9908 email : [email protected] website : www.lawyercouncil.or.th *************************


ภาคผนวก ๑๘๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ใบสมัครโครงการอบรม วุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายการรับรองเอกสาร รุ่นที่ .... ของ สถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ (กรุณากรอกข้อความให้ชัดเจน) ชื่อ (ทนายความ) .......................................................................นามสกุล ........................................................... ใบอนุญาตทนายความเลขที่ .............................................................................................................. .................. สำนักงาน ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................. ......................................................................................................................................................... .................... ............................................................................................................................................................................. โทรศัพท์ ......................................... โทรสาร ........................................อีเมล์ .................... ................................ การศึกษานิติศาสตรบัณฑิต .........................................มหาวิทยาลัย ................................................................. การศึกษาวิชาชีพกฎหมายเพิ่มเติม ..................................................... สถาบัน ................................................. ลายมือชื่อผู้สมัคร .............................................................. .........../............................./............... หมายเหตุ : 1. ค่าสมัครอบรม คนละ 15,000 บาท 2. ชำระเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีพร้อมส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โครงการฯ บัญชี ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (ผ่านฟ้า) ชื่อบัญชี “...............................................................................” บัญชีเลขที่ ................................................................... 3. ติดต่อเจ้าหน้าที่โครงการฯ โทรศัพท์ ............................................................ โทรสาร ........................................................


ภาคผนวก ๑๘๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc โครงการอบรม วุฒิบัตรวิชาชีพทนายความชำนาญการกฎหมายการรับรองเอกสาร รุ่นที่ .... โดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพทนายความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ หัวข้อ วิทยากร วันที่ ......................................... 08.30 - 9.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 11.00 น. (2 ชั่วโมง) 12.00 - 14.00 น. (2 ชั่วโมง) 14.00 - 16.00 น. (2 ชั่วโมง) 09.00 - 11.00 น. (2 ชั่วโมง) 12.00 - 14.00 น. (2 ชั่วโมง) 14.00 - 16.00 น. (2 ชั่วโมง) 09.00 - 11.00 น. (2 ชั่วโมง) 12.00 - 14.00 น. (2 ชั่วโมง) 14.00 - 16.00 น. (2 ชั่วโมง) 09.00 - 11.00 น. (2 ชั่วโมง) 12.00 - 14.00 น. (2 ชั่วโมง) 14.00 - 16.00 น. (2 ชั่วโมง) 09.00 - 11.00 น. (2 ชั่วโมง) 12.00 - 14.00 น. (2 ชั่วโมง) 14.00 - 16.00 น. (2 ชั่วโมง) รวม 30 ชั่วโมง


ภาคผนวก ๑๘๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc STEPS TO IMPROVE YOUR COMMUNICATION SKILLS© Organized by the Lawyers Council of Thailand Improve your English by progressing through seven fun and insightful two-hour language course sessions. Course 1 Tips for Starting to Learning English • The first one hundred English phrases everyone should know • Simple tricks to improve your pronunciation • Outsourcing – how to find free English lessons Course 2 Tips to Improve your English Listening Skills • Practical English listening exercises in the classroom • Top five media sources for listening to English • Inexpensive venues/meetings to hear English Course 3 Tips for Improving your English Reading and Comprehension Skills • What you should be reading • How to read faster with more comprehension • Checking that you really understand what you have read Course 4 Tips to Write Simple and Clear Business English • Three main mistakes Thais make when writing business memos • Making a business letter achieve its objective • How to effectively get your message across Course 5 Tips to Improve Your Business Conversation Skills • How to overcome your fear of speaking with foreigners • Dos and Don’ts for business conversation • Resources for business English conversation Course 6 Tips for Successful Social Activities and Singing in English • Easy and relaxed English conversation for social situations • 10 English comments to win friends • Karaoke as a tool to help your English Course 7 Tips for English Self-Testing and Continued Improvement • Ongoing thinking and use of English • Daily English upgrades using Bangkok as your open classroom • Testing your dual (Thai/English) language skills Atty. Dej-Udom Krairit December 20, 2014


ภาคผนวก ๑๘๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc Basic Principles on the Role of Lawyers หลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของบทบาททนายความ Adopted by the Eighth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders, Havana, Cuba 27 August to 7 September 1990 ตามมติของการประชุมครั้งที่ 8 ของสหประชาชาติ เรื่อง การป้องกันอาชญากรรมและการกระทำต่อผู้กระทำความผิด ณ กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 7 กันยายน 1990 (แปลและถอดความโดย ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์) ภาคผนวก ๑๑


ภาคผนวก ๑๘๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc Basic Principles on the Role of Lawyers หลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของบทบาททนายความ* Whereas in the Charter of the United Nations the peoples of the world affirm, inter alia, their determination to establish conditions under which justice can be maintained, and proclaim as one of their purposes the achievement of international cooperation in promoting and encouraging respect for human rights and fundamental freedoms without distinction as to race, sex, language or religion, โดยที่กฎบัตรสหประชาชาติซึ่งประชาชนทั่วโลกให้การยอมรับ สรุปโดยย่อได้ความว่า เป็นควา ม ปรารถนาของมนุษย์ในการที่จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำรงอยู่ได้และสร้าง ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคารพต่อ สิทธิมนุษยชนและหลักการพื้นฐานของความมีเสรีภาพโดยปราศจากความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา Whereas the Universal Declaration of Human Rights enshrines the principles of equality before the law, the presumption of innocence, the right to a fair and public hearing by an independent and impartial tribunal, and all the guarantees necessary for the defence of everyone charged with a penal offence, โดยที่ปฏิญญาสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ประกาศปกป้องไว้เป็นหลักการที่สำคัญของความ เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายและข้อสันนิษฐานที่ว่าทุกคนยังเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา คดีอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส โดยศาล โดยคณะตุลาการที่เป็นอิสระ โดยมีหลักประกันที่จำเป็นทั้งหมดที่ชอบ ธรรมสำหรับการต่อสู้คดีของบุคคลใดก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา Whereas the International Covenant on Civil and Political Rights proclaims, in addition, the right to be tried without undue delay and the right to a fair and public hearing by a competent, independent and impartial tribunal established by law, โดยที่สนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองได้ให้หลักประกันไว้ว่าสิทธิของ บุคคลในการที่จะถูกดำเนินคดีอาญานั้น ต้องไม่ล่าช้า และจะต้องเป็นการพิจารณาที่เปิดเผยและเป็นธรรมโดย ตุลาการที่มีความสามารถเป็นอิสระและมีความเป็นธรรมซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายโดยชอบ Whereas the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights recalls the obligation of States under the Charter to promote universal respect for, and observance of, human rights and freedoms, โดยที่สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้ทำให้ประเทศสมาชิกภายใต้กฎบัตร ระลึกถึงการให้การส่งเสริม โดยยอมรับตามหลักการสากลเพื่อและยึดเป็นหลักของการปฏิบัติในเรื่องสิทธิ มนุษยชนและเสรีภาพทั้งปวง * Basic Principles on the Role of Lawyers Adopted by the Eighth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders, Havana, Cuba 27 August to 7 September 1990 (https://www.un.org/ruleoflaw/files/UNBasicPrinciplesontheRoleofLawyers.pdf) แปลและถอดความโดย ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์


ภาคผนวก ๑๘๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc Whereas the Body of Principles for the Protection of All Persons under Any Form of Detention or Imprisonment provides that a detained person shall be entitled to have the assistance of, and to communicate and consult with, legal counsel, โดยที่โครงสร้างสำคัญของหลักปฏิบัติการคุ้มครองบุคคลทุกคนให้พ้นจากการถูกควบคุมหรือจำคุกใน ทุกรูปแบบได้กำหนดไว้ว่า ผู้ซึ่งถูกคุมขังมีสิทธิที่ได้รับความช่วยเหลือจาก และมีสิทธิในการติดต่อและปรึกษา กับที่ปรึกษากฎหมาย Whereas the Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners recommend, in particular, that legal assistance and confidential communication with counsel should be ensured to untried prisoners, โดยที่มาตรฐานกลางขั้นต่ำของกฎเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อนักโทษได้กำหนดข้อแนะนำไว้โดยเฉพาะว่า การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการติดต่อแบบเป็นส่วนตัวกับที่ปรึกษากฎหมายนั้นจะต้องทำให้แน่ใจ ได้ว่ามีการจัดให้กับบุคคลที่ต้องโทษซึ่งยังไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาคดีเสมอ Whereas the Safeguards guaranteeing protection of those facing the death penalty reaffirm the right of everyone suspected or charged with a crime for which capital punishment may be imposed to adequate legal assistance at all stages of the proceedings, in accordance with article 14 of the International Covenant on Civil and Political Rights, โดยที่มีมาตรการหลากหลายซึ่งให้หลักประกันในการป้องกันบุคคลซึ่งต้องโทษประหารชีวิตได้ยืนยัน หลักการแห่งสิทธิของบุคคลผู้ที่ถูกสงสัยหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดทางอาญาที่เป็นโทษอุกฉกรรจ์ที่ควร จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมในทุกขั้นตอนในกระบวนการพิจารณาคดีตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา 14 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางการเมือง Whereas the Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power recommends measures to be taken at the international and national levels to improve access to justice and fair treatment, restitution, compensation and assistance for victims of crime, โดยที่ปฏิญญาที่กำหนดหลักการข้อถือปฏิบัติเรื่องพื้นฐานของการกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ที่ตก เป็นเหยื่อทางอาชญากรรมและการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมให้นำหลักการซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปในระดับ ระหว่างประเทศและระดับประเทศเพื่อแก้ไขให้มีการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติด้วยความเป็น ธรรม การชดใช้ให้คืนสู่สภาพเดิม การได้รับค่าทดแทน และการให้การช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม Whereas adequate protection of the human rights and fundamental freedoms to which all persons are entitled, be they economic, social and cultural, or civil and political, requires that all persons have effective access to legal services provided by an independent legal profession, โดยที่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องซึ่งคนทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม หรือสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่กำหนดให้ คนทุกคนมีสิทธิโดยชอบตามกฎหมายที่จะเข้าถึงบริการทางกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เป็น อิสระให้อย่างได้ผล


ภาคผนวก ๑๘๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc Whereas professional associations of lawyers have a vital role to play in upholding professional standards and ethics, protecting their members from persecution and improper restrictions and infringements, providing legal services to all in need of them, and cooperating with governmental and other institutions in furthering the ends of justice and public interest, โดยที่สภาทนายความมีหน้าที่และบทบาทอย่างสำคัญที่จะธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานและจริยธรรมแห่ง วิชาชีพ และการคุ้มครองสมาชิกจากการกระทำใด ๆ รวมถึงการกระทำที่เป็นการละเมิดหรือเป็นการจำกัด สิทธิของสมาชิกที่ไม่สมควรและให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้มาขอรับความช่วยเหลือทุกคน รวมถึงการให้ความ ร่วมมือกับส่วนราชการหรือสถาบันใด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเพื่อประโยชน์สาธารณะ The Basic Principles on the Role of Lawyers, set forth below, which have been formulated to assist Member States in their task of promoting and ensuring the proper role of lawyers, should be respected and taken into account by Governments within the framework of their national legislation and practice and should be brought to the attention of lawyers as well as other persons, such as judges, prosecutors, members of the executive and the legislature, and the public in general. These principles shall also apply, as appropriate, to persons who exercise the functions of lawyers without having the formal status of lawyers. หลักการที่เป็นมาตรฐานสำคัญในบทบาทของทนายความตามที่กำหนดไว้ในมตินี้ ซึ่งเป็นการรวมข้อ ถือปฏิบัติเข้าไว้เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้ในการถือปฏิบัติตามหน้าที่ในการส่งเสริมและวางหลักประกันที่ให้ ทนายความทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมตามสมควร จึงควรให้เป็นที่ยอมรับและให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ภายใต้ กรอบของกฎหมายของประเทศของสมาชิกและข้อถือปฏิบัติที่ควรจะต้องทำให้ทนายความรวมตลอดถึงคน อื่นๆ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ข้าราชการฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และบุคคลทั่วไป ดำเนินการตาม หลักการดังที่กล่าวไว้นี้ ให้มีการใช้หลักการนี้บังคับตามความเหมาะสมแก่บุคคลทุกคนซึ่งทำหน้าที่ทนายความ รวมตลอดถึงบุคคลที่ไม่ได้เป็นไปทนายความที่เป็นทางการด้วย Access to lawyers and legal services การเข้าถึงทนายความและบริการทางกฎหมาย 1. All persons are entitled to call upon the assistance of a lawyer of their choice to protect and establish their rights and to defend them in all stages of criminal proceedings. 1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะขอรับการช่วยเหลือจากทนายความตามที่ตนเองประสงค์เพื่อปกป้องและ รับรองการใช้สิทธิของตนและรวมถึงการเป็นตัวแทนของตนในกระบวนการดำเนินคดีอาญาทุกขั้นตอน 2. Governments shall ensure that efficient procedures and responsive mechanisms for effective and equal access to lawyers are provided for all persons within their territory and subject to their jurisdiction, without distinction of any kind, such as discrimination based on race, colour, ethnic origin, sex, language, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth, economic or other status. 2. รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องให้การรับรองว่าจะจัดให้มีกระบวนการที่เหมาะสม และมีกลไกที่ตอบสนอง สำหรับการเข้าถึงความอย่างเท่าเทียมกันและให้มีผลสมบูรณ์ ซึ่งบริการนี้ต้องจัดไว้ให้แก่บุคคลทุกคนภายใน


ภาคผนวก ๑๘๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc เขตอำนาจของประเทศสมาชิกนั้น และให้อยู่ภายใต้ระบบการศาลยุติธรรมโดยปราศจากความแตกต่างกันใน ทุกเรื่อง อย่างเช่น การแบ่งแยกเรื่องเชื้อชาติ สีผิว กำเนิด ชาติพันธุ์ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นในทาง การเมืองหรือในเรื่องอื่น สัญชาติหรือสถานที่เกิด ทรัพย์สิน ชาติกำเนิด สถานะทางเศรษฐกิจ หรือสถานะอื่น ๆ 3. Governments shall ensure the provision of sufficient funding and other resources for legal services to the poor and, as necessary, to other disadvantaged persons. Professional associations of lawyers shall cooperate in the organization and provision of services, facilities and other resources. 3. รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องจัดหาเงินทุนให้อย่างเพียงพอ และให้การสนับสนุนทางทรัพยากรอย่างอื่น สำหรับการให้บริการด้านกฎหมายแก่ผู้ยากจนและตามความจำเป็นแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส สภาวิชาชีพทนายความ ต้องร่วมมือในการจัดการอย่างเป็นระบบและการจัดให้บริการที่หลากหลาย การอำนวยความสะดวกและการ ให้การช่วยเหลือทางทรัพยากรอย่างอื่นด้วย 4. Governments and professional associations of lawyers shall promote programmes to inform the public about their rights and duties under the law and the important role of lawyers in protecting their fundamental freedoms. Special attention should be given to assisting the poor and other disadvantaged persons so as to enable them to assert their rights and where necessary call upon the assistance of lawyers. 4. รัฐบาลและสภาวิชาชีพทนายความต้องส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่อแจ้งให้สาธารณชนทราบ เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเขาเหล่านั้นตามกฎหมาย และบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของทนายความ ในการ ปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะจะต้องให้ความสนใจที่จะช่วยผู้ยากจนหรือผู้ด้อยโอกาสเพื่อให้เขา เหล่านั้นสามารถใช้สิทธิและสามารถที่จะเรียกใช้บริการความช่วยเหลือของทนายความเมื่อมีความจำเป็น Special safeguards in criminal justice matters มาตรการความปลอดภัยพิเศษในกระบวนการยุติธรรม 5. Governments shall ensure that all persons are immediately informed by the competent authority of their right to be assisted by a lawyer of their own choice upon arrest or detention or when charged with a criminal offence. 5. รัฐบาลต้องให้การรับประกันว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะรับการบอกกล่าวจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับสิทธิของเขาที่จะได้รับการช่วยเหลือจากทนายความที่ตนเองสามารถเลือกได้เมื่อถูกจับกุมหรือ ถูกคุมขังหรือถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดทางอาญา 6. Any such persons who do not have a lawyer shall, in all cases in which the interests of justice so require, be entitled to have a lawyer of experience and competence commensurate with the nature of the offence assigned to them in order to provide effective legal assistance, without payment by them if they lack sufficient means to pay for such services. 6. บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีทนายความ ซึ่งในทุกคดีความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ต้องได้รับสิทธิ ที่จะมีทนายความผู้ชำนาญการ และมีความสามารถสอดคล้องกับลักษณะของการกระทำความผิดที่จะเป็นผู้ที่ ได้รับมอบหมายให้การช่วยเหลือทางกฎหมายให้ได้ผล โดยไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายหากว่าคนนั้นไม่มีเงินทอง พอที่จะจ่ายค่าบริการดังกล่าว


ภาคผนวก ๑๘๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc 7. Governments shall further ensure that all persons arrested or detained, with or without criminal charge, shall have prompt access to a lawyer, and in any case not later than forty-eight hours from the time of arrest or detention. 7. รัฐบาลต้องแจ้งให้บุคคลทุกคนที่ถูกจับกุมหรือถูกคุมขังทั้งที่มีหรือไม่มีข้อกล่าวหาทางอาญาให้ ทราบว่าเขามีสิทธิที่จะพบทนายความ และไม่ว่าในกรณีใดต้องได้พบในเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมงหลังจากถูกจับ หรือถูกควบคุมตัว 8. All arrested, detained or imprisoned persons shall be provided with adequate opportunities, time and facilities to be visited by and to communicate and consult with a lawyer, without delay, interception or censorship and in full confidentiality. Such consultations may be within sight, but not within the hearing, of law enforcement officials. 8. ผู้ที่ถูกจับกุม คุมขังหรือจำคุก จะต้องได้รับโอกาสและเวลาในการอำนวยความสะดวกอย่าง พอเพียงที่จะได้รับการเยี่ยมเยียนและการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการปรึกษากับทนายความโดยไม่ล่าช้า โดย ปราศจากการขัดขวาง หรือการตรวจสอบ และให้ถือเป็นเรื่องความลับส่วนตัว ในการให้คำปรึกษาดังกล่าวที่ อาจอยู่ภายใต้สายตาของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับการตามกฎหมายได้แต่ไม่ใช่ให้ได้ยินคำปรึกษากัน ได้ด้วย Qualifications and training คุณสมบัติและการฝึกอบรม 9. Governments, professional associations of lawyers and educational institutions shall ensure that lawyers have appropriate education and training and be made aware of the ideals and ethical duties of the lawyer and of human rights and fundamental freedoms recognized by national and international law. 9. รัฐบาล สภาทนายความ และสถาบันการศึกษาจะต้องรับประกันว่าทนายความนั้นต้องได้ผ่าน การศึกษาและการอบรมอย่างเหมาะสม และเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม ทราบถึงเจตนาและหน้าที่ตามจริยธรรม ของทนายความ ตลอดจนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายของประเทศสมาชิกและ กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ 10. Governments, professional associations of lawyers and educational institutions shall ensure that there is no discrimination against a person with respect to entry into or continued practice within the legal profession on the grounds of race, colour, sex, ethnic origin, religion, political or other opinion, national or social origin, property, birth, economic or other status, except that a requirement, that a lawyer must be a national of the country concerned, shall not be considered discriminatory. 10. รัฐบาล สภาทนายความ และสถาบันการศึกษาต้องรับประกันว่าจะไม่มีการแบ่งชนชั้นระหว่าง บุคคลในเรื่องของการเข้าฝึกอมรบหรือการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในวิชาชีพกฎหมาย โดยจะไม่แบ่งแยกเรื่อง เชื้อชาติ ผิวสี เพศ ชาติกำเนิด ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือเรื่องอื่นๆ สัญชาติกำเนิดหรือสังคมต้น กำเนิด ทรัพย์สิน การเกิด สถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ เว้นแต่ข้อกำหนดในเรื่องของทนายความที่ จะต้องมีสัญชาติของประเทศสมาชิกนั้นไม่ถือว่าเป็นการแบ่งแยก


ภาคผนวก ๑๙๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc 11. In countries where there exist groups, communities or regions whose needs for legal services are not met, particularly where such groups have distinct cultures, traditions or languages or have been the victims of past discrimination, Governments, professional associations of lawyers and educational institutions should take special measures to provide opportunities for candidates from these groups to enter the legal profession and should ensure that they receive training appropriate to the needs of their groups. 11. ในประเทศที่มีกลุ่มคน ชุมชนหรือเขตพื้นที่ซึ่งต้องการใช้บริการทางกฎหมายแต่ไม่อาจทำได้ โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มบุคคลเหล่านั้นมีภาษา ประเพณีและสังคมที่แตกต่างกัน หรือเป็นผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ กระทำจากการแบ่งแยกในอดีต, รัฐบาล สภาทนายความและสถาบันการศึกษาจะต้องจัดมาตรการพิเศษที่จะ ให้โอกาสแก่ตัวแทนของกลุ่มเหล่านั้นที่จะเข้าสู่วิชาชีพกฎหมาย และควรให้หลักประกันได้ว่าเขาจะได้รับการ ฝึกอบรมตามที่เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น Duties and responsibilities หน้าที่และความรับผิดชอบ 12. Lawyers shall at all times maintain the honour and dignity of their profession as essential agents of the administration of justice. 12. ทนายความนั้นตลอดเวลาจะต้องดำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนในฐานะผู้มี หน้าที่สำคัญในการบริหารกระบวนการยุติธรรม 13. The duties of lawyers towards their clients shall include: 13. หน้าที่ของทนายความต่อลูกความนั้นให้รวมถึง: (a) Advising clients as to their legal rights and obligations, and as to the working of the legal system in so far as it is relevant to the legal rights and obligations of the clients; (ก) ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของเขา และกระบวนการของระบบ กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของลูกความนั้น; (b) Assisting clients in every appropriate way, and taking legal action to protect their interests; (ข) ช่วยลูกความในทุกกรณีตามที่ควรและดำเนินการทางกฎหมายในการปกป้องผลประโยชน์ของ ลูกความตน; (c) Assisting clients before courts, tribunals or administrative authorities, where appropriate. (ค) ช่วยลูกความในการดำเนินคดีในศาล หรือต่อหน้าคณะตุลาการ หรือหน่วยงานที่บริหารราชการ ตามแต่กรณี 14. Lawyers, in protecting the rights of their clients and in promoting the cause of justice, shall seek to uphold human rights and fundamental freedoms recognized by national and international law and shall at all times act freely and diligently in accordance with the law and recognized standards and ethics of the legal profession. 14. ให้ทนายความซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิของลูกความของตน และในการส่งเสริมกระบวนการ ยุติธรรมยึดถือหลักการของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายของประเทศสมาชิกและ


ภาคผนวก ๑๙๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ และให้ดำเนินการด้วยความเป็นอิสระและด้วยความขยัน หมั่นเพียร ตลอดเวลาตามตัวบทกฎหมาย และให้เป็นไปมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมทางวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ 15. Lawyers shall always loyally respect the interests of their clients. 15. ทนายความจะต้องคำนึงถึงส่วนได้เสียของลูกความของตนเป็นอย่างดีตลอดเวลา Guarantees for the functioning of lawyers หลักประกันของการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ 16. Governments shall ensure that lawyers (a) are able to perform all of their professional functions without intimidation, hindrance, harassment or improper interference; (b) are able to travel and to consult with their clients freely both within their own country and abroad; and (c) shall not suffer, or be threatened with, prosecution or administrative, economic or other sanctions for any action taken in accordance with recognized professional duties, standards and ethics. 16. รัฐบาลต้องให้หลักประกันว่า (ก) ทนายความจะสามารถทำหน้าที่ตามหลักการแห่งวิชาชีพของ ตนโดยไม่ถูก ข่มขู่ ขัดขวาง ก่อกวน หรือการเข้าแทรกแซงที่ไม่สมควร; (ข) ทนายความต้องสามารถเดินทาง และให้คำปรึกษาแก่ลูกความของตนได้อย่างเป็นอิสระทั้งภายในและนอกประเทศของตน และ; (ค) ทนายความจะต้องไม่ได้รับภัยใด ๆ หรือถูกขู่ด้วยการจะฟ้องร้อง หรือการลงโทษอย่างใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยใช้ วิธีทางราชการ ทางเศรษฐกิจหรือวิธีการอย่างอื่นใด ในการทำหน้าที่ทนายความตามมาตรฐานและจริยธรรม แห่งวิชาชีพของตน 17. Where the security of lawyers is threatened as a result of discharging their functions, they shall be adequately safeguarded by the authorities. 17. ในกรณีที่มีการข่มขู่ต่อความปลอดภัยของทนายความถูกซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ทนายความต้องได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างทันท่วงที 18. Lawyers shall not be identified with their clients or their clients' causes as a result of discharging their functions. 18. ทนายความจะต้องไม่ถูกกล่าวหาร่วมไปพร้อมกับลูกความของตน หรือร่วมการกระทำผิดกับ ลูกความของตนที่เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ 19. No court or administrative authority before whom the right to counsel is recognized shall refuse to recognize the right of a lawyer to appear before it for his or her client unless that lawyer has been disqualified in accordance with national law and practice and in conformity with these principles. 19. ก่อนที่จะมีการดำเนินการกับบุคคลใด ซึ่งสิทธิเข้าพบที่ปรึกษากฎหมายได้ก่อน ห้ามไม่ให้ศาล หรือหน่วยราชการใดปฏิเสธสิทธิของการมีทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างศาลนั้น เพื่อหรือในนามของลูกความ ของทนายความ เว้นแต่ทนายความนั้นขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายของประเทศสมาชิก และข้อ ประพฤติปฏิบัติและต้องสอดคล้องกันเป็นหลักการสำคัญของมติฉบับนี้


ภาคผนวก ๑๙๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc 20. Lawyers shall enjoy civil and penal immunity for relevant statements made in good faith in written or oral pleadings or in their professional appearances before a court, tribunal or other legal or administrative authority. 20. ทนายความต้องได้รับความคุ้มครองความเป็นพลเมือง และความปลอดจากการลงโทษทางอาญา สำหรับการเสนอถ้อยแถลงใดซึ่งไม่ว่าจะได้แสดงออกโดยทางวาจา หรือเป็นหนังสือที่ยื่นต่อศาลด้วยความ สุจริต หรือเป็นการทำหน้าที่ต่อหน้าศาล คณะตุลาการ หรือหน่วยงานทางกฎหมายหรือทางการบริหารอื่น 21. It is the duty of the competent authorities to ensure lawyers access to appropriate information, files and documents in their possession or control in sufficient time to enable lawyers to provide effective legal assistance to their clients. Such access should be provided at the earliest appropriate time. 21. ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ให้ความแน่นอนได้ว่าทนายความมีสิทธิที่จะเข้าถึง ข้อมูลบันทึกและเอกสารที่อยู่ในความครอบครองหรืออยู่ในกำกับหรือดูแลของส่วนราชการนั้นภายใต้เวลาและ พฤติการณ์ที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้ทนายความนั้นสามารถให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ลูกความของตนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนั้นควรจัดให้ในเวลาอันสมควรโดยเร็วที่สุด 22. Governments shall recognize and respect that all communications and consultations between lawyers and their clients within their professional relationship are confidential. 22. รัฐบาลต้องรับรองและยอมรับว่าการติดต่อและการให้คำปรึกษาระหว่างทนายความกับลูกความ นั้นอยู่ภายใต้หลักการของความเป็นส่วนตัวที่เป็นความลับของผู้ประกอบวิชาชีพ Freedom of expression and association หลักการของการแสดงออกซึ่งเสรีภาพและการรวมตัวกัน 23. Lawyers like other citizens are entitled to freedom of expression, belief, association and assembly. In particular, they shall have the right to take part in public discussion of matters concerning the law, the administration of justice and the promotion and protection of human rights and to join or form local, national or international organizations and attend their meetings, without suffering professional restrictions by reason of their lawful action or their membership in a lawful organization. In exercising these rights, lawyers shall always conduct themselves in accordance with the law and the recognized standards and ethics of the legal profession. 23. ทนายความเฉกเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ย่อมมีสิทธิในด้านการแสดงออกซึ่งความเห็น ความ เชื่อ และการรวมตัวกันและการเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะทนายความต้องมีสิทธิในการเข้าร่วมในการหารือ ปรึกษาอย่างเปิดแผยในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย การบริหารงานยุติธรรมและการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และมีสิทธิที่จะเข้าร่วมหรือก่อตั้งองค์กรระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับระหว่างประเทศ รวมทั้ง การเข้าร่วมประชุมกับองค์กรดังกล่าวโดยไม่มีข้อจำกัดในทางวิชาชีพแต่อย่างใดเกี่ยวกับการกระทำการโดย ชอบด้วยกฎหมายของทนายความ และการเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรที่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น ในการใช้ สิทธิดังกล่าวนี้ทนายความจะต้องปฏิบัติตนตามกฎหมายและตามมาตรฐานจริยธรรมแห่งวิชาชีพของตนที่ กำหนดไว้


ภาคผนวก ๑๙๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc Professional associations of lawyers สภาวิชาชีพทนายความ 24. Lawyers shall be entitled to form and join self-governing professional associations to represent their interests, promote their continuing education and training and protect their professional integrity. The executive body of the professional associations shall be elected by its members and shall exercise its functions without external interference. 24. ทนายความมีสิทธิที่จะเข้าร่วมก่อตั้งสมาคมหรือสภาปกครองวิชาชีพของตนด้วยกันเองเพื่อให้ สภานั้นเป็นตัวแทนของสมาชิกในการรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมการศึกษาและการอบรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตน ผู้บริหารของสภาหรือสมาคมวิชาชีพนั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกและจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจภายนอก 25. Professional associations of lawyers shall cooperate with Governments to ensure that everyone has effective and equal access to legal services and that lawyers are able, without improper interference, to counsel and assist their clients in accordance with the law and recognized professional standards and ethics. 25. สภาทนายความต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อการรับรองว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึง บริการทางกฎหมายที่ได้ผลและอย่างเท่าเทียมกัน และทนายความนั้นสามารถที่จะให้คำปรึกษาและการ ช่วยเหลือแก่ลูกความของตนตามกฎหมายและมาตรฐานจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่กำหนดไว้ โดยปราศจากการ แทรกแซงที่ไม่สมควรใด ๆ ในทุกกรณี Disciplinary proceedings การดำเนินการทางจริยธรรม 26. Codes of professional conduct for lawyers shall be established by the legal profession through its appropriate organs, or by legislation, in accordance with national law and custom and recognized international standards and norms. 26. ประมวลข้อกำหนดเกี่ยวกับข้อประพฤติปฏิบัติของทนายความนั้น ให้จัดทำเป็นมาตรฐานของ วิชาชีพกฎหมายโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือโดยกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศสมาชิกและ จารีตประเพณี และตามมาตรฐาน และหลักการสากลที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป 27. Charges or complaints made against lawyers in their professional capacity shall be processed expeditiously and fairly under appropriate procedures. Lawyers shall have the right to a fair hearing, including the right to be assisted by a lawyer of their choice. 27. คำกล่าวหาหรือคำร้องเรียนที่มีต่อทนายความในการปฏิบัติงานตามความสามารถแห่งวิชาชีพ ของตน จะต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นธรรมภายใต้กระบวนวิธีพิจารณาที่เหมาะสม ทนายความ มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากทนายความที่ตนได้เลือก เองด้วย


ภาคผนวก ๑๙๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc 28. Disciplinary proceedings against lawyers shall be brought before an impartial disciplinary committee established by the legal profession, before an independent statutory authority, or before a court, and shall be subject to an independent judicial review. 28. การดำเนินการทางจริยธรรมต่อทนายความจะต้องดำเนินการ โดยคณะกรรมการทางวินัยที่เป็น กลาง ซึ่งแต่งตั้งโดยสภาวิชาชีพ และเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่เป็นอิสระ หรือต่อหน้าศาล และ ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบทางกฎหมายที่เป็นอิสระ 29. All disciplinary proceedings shall be determined in accordance with the code of professional conduct and other recognized standards and ethics of the legal profession and in the light of these principles. 29. การดำเนินการในเรื่องจริยธรรมทุกกรณีจะต้องเป็นตามที่กำหนดไว้ในประมวลข้อประพฤติ ปฏิบัติทางหน้าที่ของสภาวิชาชีพและต้องเป็นไปตามมาตรฐานและจริยธรรมของวิชาชีพที่บัญญัติไว้ และให้ เป็นไปตามแนวทางของมติฉบับนี้ ------------------------


C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc บรรณานุกรม กระทรวงยุติธรรม. “วัฒนธรรมทางการศาล” ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระนิติธารณ์พิเศษ (ชุบ มัธยมจันทร). กรุงเทพฯ, ๒๔๙๗. เกษม สรศักดิ์เกษม. “วิชาชีพทนายความ” วารสารสภาทนายความ. ๕(๒๙) : ๗-๑๕ ; สิงหาคม-กันยายน ๒๕๔๐. คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๘. จิตติ ติงศภัทย์, หลักวิชาชีพนักกฎหมาย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒. ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล. สมมุติฐาน/ข้อคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาชน, ม.ป.ป. ชาคริต อนันทราวัน. หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (ฉบับผลิตจิตสำนึก). เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ๒๕๕๑. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. ธรรมดีที่พ่อทำ. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๔. เดชอุดม ไกรฤทธิ์. ประวัติโดยย่อของการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ทำการสภาทนายความ. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๓. ทวีป วรดิลก, “การปกครองกันเองของทนายความ” ในสภาทนายความ โดยทนายความ เพื่อทนายความ. หน้า ๒๐-๒๕. กรุงเทพฯ, ๒๕๒๘. ธานินทร์ กรัยวิเชียร และมุนินทร์ พงศาปาน, หลักวิชาชีพนักกฎหมายในประเทศที่ใช้กฎหมายระบบคอม มอนลอว์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๙. ธนากิต. พระราชประวัติ ๙ รัชกาลและพระบรมราชินี. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๒. ธุรกิจบัณฑิตย์, วิทยาลัย. “ทนายความ” ในวันรพี ๒๕๒๒. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ๒๕๒๒. นิติศาสตร์ไพศาลย์, พระยา. ประวัติศาสตร์กฎหมาย. กรุงเทพฯ, ม.ป.ป. เนติบัณฑิตยสภา. ๘๐ ปี เนติบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา, ๒๕๓๘. -----. ๑๐๐ ปี โรงเรียนกฎหมาย. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๐. -----. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับเนติบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๕๐. บัว ศจิเสวี. “ดุสิตธานี” วชิราวุธานุสรณ์สาร. ๓(๓) : ๑๙-๒๘ ; ๑ กรกฎาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๒๖. ประธาน ดวงรัตน์. ชีวิตและผลงานของนายประธาน ดวงรัตน์. กรุงเทพฯ, ม.ป.ป. ประมวล รุจนเสรี. พระราชอำนาจ. ม.ป.ท., ๒๕๔๘. ปิ่น มาลากุล, หม่อมหลวง. คำบรรยายเรื่อง พาชม ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๓. ภารดี มหาขันธ์. ประวัติศาสตร์การปกครองของไทย. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, ๒๕๒๗. มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์. พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม ๑๐๐ ครั้ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๒๙. ร. แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช, ๒๕๒๖.


ภาคผนวก ๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc รุจิระ บุนนาค. บันทึก...อดีตแห่งความทรงจำ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค. กรุงเทพฯ: อมรินพริ้นติ้ง, ๒๕๕๐. วิทุรธรรมพิเนตุ, พระยา. “ทนายความ” ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก พระอรรถวิมล บัณฑิต (โต๊ะ หิรัณยัษฐิติ) เนติบัณฑิตไทย. หน้า ๓-๓๑. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๗. สภาทนายความ,“บันทึกของกาลเวลา”ในสภาทนายความ โดยทนายความ เพื่อทนายความ. หน้า ๒๖-๔๕. กรุงเทพฯ, ๒๕๒๘. สภาทนายความ. สูติบัตรพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๓. สมาหารหิตะคดี, ขุน. พจนานุกรมกฎหมาย. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, ๒๕๔๙. สัก กอแสงเรือง. “สภาทนายความ ประวัติความเป็นมาและรูปแบบสถาบันทนายความของประเทศไทย” ในวันทนายความครั้งที่ ๓๔. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๔. สุจริต ถาวรสุข. ทนายความพิสดาร ภาคหนึ่ง ว่าด้วยความสำคัญของทนายความ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยสัมพันธ์, ๒๕๑๓. สุเมธ ตันติเวชกุล. หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๘. สุรชัย สุวรรณปรีชา, การว่าความ, พิมพ์ครั้งที่ ๔ (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๑. เสริมศักดิ์ เทพาคำ. “สิทธิของทนายความชั้น ๒” นิติศาสตร์๑(๑) : ๙๑-๑๑๔; กรกฎาคม ๒๕๑๒. เสรี สุวรรณภานนท์, อยากเป็นทนายความ, กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร, ๒๕๔๖. แสวง บุญเฉลิมวิภาส, รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพนักกฎหมาย, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๘. อมรดรุณารักษ์, จมื่น. ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๓. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ต.จ.. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๑. ภาคผนวก พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๕ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ หน้า ๔๗๔ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๗๕ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๙ กันยายน ๒๕๒๘ ภาพหนังสือข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภา จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เลขที่ ร.๒/21 ของหนังสือ) ประวัติการจัดหาที่ดินเพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งสภาทนายความ และภาพโฉนดที่ดิน โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภา ทนายความ การก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์และภาพจำลองอาคารที่ทำการแห่งใหม่ของ สภาทนายความ โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ แผนสภาทนายความ ๕ ปี (ระหว่างปี ๒๕๕๖ - ๒๕๖๑) โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ภาพหลักสูตรทนายความชำนาญการสาขากฎหมายเฉพาะทาง ๓๒ หลักสูตร เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ Basic Principles on the Role of Lawyers Adopted by the Eighth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders, Havana, Cuba 27 August to 7 September 1990 (https://www.un.org/ruleoflaw/files/UNBasicPrinciplesontheRoleofLawyers.pdf) แปลและถอดความ โดย ทค.เดชอุดม ไกรฤทธิ์


Click to View FlipBook Version