The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by admin, 2023-10-31 00:20:15

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ

110 ปี (5 แผ่นดิน) วิชาชีพทนายความ By Prof. Dr. Dej-Udom Krairit

๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๕ อภิรัฐมนตรีสภา เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบมาถึงสยาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคน ยากจน แต่นโยบายดังกล่าวถูกปฏิเสธอย่างรุนแรงจากสภา จึงเปลี่ยนไปลดค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือน และลดงบประมาณด้านการทหารแทน ทำให้ฝ่ายทหารไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนพระราช ปณิธานไปเป็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราวเพื่อนำประชาธิปไตยมาสู่สยาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์ เธอฯ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เตรียม ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น โดยให้ พระยาศรี วิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัด ทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ และ นายเรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาว อเมริกัน ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญจนแล้ว เสร็จในชื่อ “An Outline of Changes in the form of Government” ซึ่ ง พระยาศรีวิสารวาจาและนายสตีเฟนส์ ได้กราบบังคมทูลว่า สยามยังไม่พร้อมที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กระนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะ พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนก่อน งานเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๕๐ ปีกรุง รัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ร่าง บทที่ ๓ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๖ นางสาวแร่ม พรหโมบล เนติบัณฑิตและทนายความหญิง คนแรกของไทย ถ่ายรูปคู่กับนายอุดม บุญยประสพ เนติบัณฑิตไทยรุ่นเดียวกัน และได้แต่งงานกันในภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยอภิรัฐมนตรีสภา ต่อมา เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดยคณะราษฎร ใน วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบ าทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินยอมสละพระราชอำนาจและ เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์และ คณะราษฎรได้เริ่มจัดการเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ ประชาชนชาวสยาม คือพระราชบัญญัติธรรมนูญปกครอง สยาม (ชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งได้รับการลงพระ ปรมาภิไธยและประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม แม้ว่าจะยัง เป็นเพียงฉบับชั่วคราวอยู่ก็ตาม ก่อนจะมีการ พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรในวันที่ ๑๐ ธันวาคมปีเดียวกัน ทนายความหญิงคนแรกของสยาม ในยุคนี้ มีทนายความหญิงคนแรกของสยาม คือ นางสาวแร่ม พรหโมบล ซึ่งเป็นสตรีไทยคนแรกที่ ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมาย๓๖ และ สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งได้ เป็นเนติบัณฑิตอันดับที่ ๔ ข่าวการสอบได้เป็นเนติ บัณฑิตของนางสาวแร่มนั้น ได้รับการตีพิมพ์ลงใน ๓๖ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ, ๒๕๕๑, หน้า ๒๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๗ หนังสือพิมพ์หลายฉบับ เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของสยามที่สตรีสามารถสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิต ต่อมา นางสาวแร่มได้ไปขึ้นทะเบียนเป็นทนายความในปีเดียวกันนั้น๓๗ จึงนับว่านางสาวแร่ม พรหโมบล เป็น ทนายความหญิงคนแรกของสยาม สมัยการตื่นตัวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยตามแบบนิยมของตะวันตกที่อ้างกันว่าเป็นต้นตำรับ ประชาธิปไตยไปทั่วโลกนั้น ความจริงความตั้งพระทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอยู่ก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์ทรงเตรียมการพระราชทานอำนาจอธิปไตยแก่ปวงชนชาวไทยด้วยการ จัดตั้ง “อภิรัฐมนตรีสภา” เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติองคมนตรี จัดระเบียบวิธี ประชุมคล้ายรัฐสภา และมีสภาเสนาบดีคล้ายกับคณะรัฐมนตรี ทรงเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญไว้เพื่อ พระราชทานในโอกาสฉลอง ๑๕๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อม จน ถูกคณะราษฎรก่อการยึดอำนาจในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้ว พระองค์ยังได้ พระราชทานคำแนะนำต่างๆ แก่รัฐบาลเพื่อให้ปกครองบ้านเมืองได้ด้วยดี เช่น ครั้งหนึ่งทรงมีพ ระ ราชหัตถเลขาถึงนายกรัฐมนตรีว่า “สำหรับประเทศสยามซึ่งพึ่งจะมีรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ยังหาถึงเวลาสมควรที่จะมีคณะการเมืองเช่น เขาไม่ ด้วยประชาชนส่วนมากยังไม่เข้าใจวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญเสียเลย... คณะการเมืองจะทำ ประโยชน์จริงให้แก่ประชาชนได้ก็เมื่อประชาชนมีความเข้าใจวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ”๓๘ จากข้อความในพระราชหัตถเลขาข้างต้นจะเห็นได้ชัดเจนว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงทราบ และทรงเล็งเห็นการใช้อำนาจประชาธิปไตยที่พระองค์ได้พระราชทานให้แก่ปวงชน ชาวไทยโดยคณะรัฐบาลขณะนั้นผ่านทางพรรคการเมืองจะไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะประชาชนคนไทยยังไม่ เข้าใจถึงระบบพรรคหรือคณะการเมืองเลย แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีความแน่ใจว่าระบบพรรคการเมืองที่ สร้างกันมากว่า ๗๕ ปีนั้น ประชาชนคนไทยทั้ง ๖๗ ล้านคนโดยประมาณ จะเข้าใจปัญหาการบริหาร ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกไปโดยไม่นำพากับข้อเท็จจริงในความรู้ความเข้าใจของคนในสังคม การใช้หลักนิติธรรมแบบแนวนิยมตะวันตกอย่างเดียวจึงสูญเปล่า และด้วยความที่ดำรงพระองค์อย่าง ถูกต้องสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เมื่อทรงเห็นว่าผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยใหม่ไม่ยอมรับฟัง กลับนำ พระราชอำนาจของพระองค์ไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่โปร่งใส เป็นการเล่นพรรคเล่นพวก และในที่สุด พระราชดำริที่ทรงเห็นว่าอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ เป็นพระราชอำนาจของ พระองค์โดยแท้ แต่รัฐบาลกลับคัดเลือกบุคคลแล้วนำมาถวายให้ทรงลงพระนามในช่วงเวลาที่จำกัด ประกอบ กับความเห็นต่างในด้านการบริหารประเทศ พระองค์จึงสละราชสมบัติในที่สุด โดยมีพระราชหัตถเลขาความว่า ๓๗ เพิ่งอ้าง, หน้า ๓๑. ๓๘ เล่มเดียวกัน, หน้า ๒๘.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๘ “...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพใน ตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ ขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร...”๓๙ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗๔๐ หลังจากการปฏิรูปการปกครองที่นำโดยคณะราษฎร์ และได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเสนอกฎหมายหลายฉบับเข้าสู่สภาเพื่อให้ ประกาศบังคับใช้ใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเดิม พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ อยู่ในกลุ่ม ที่มีการแก้ไขใหม่ แต่วิธีการแก้ไขนี้ให้ยกเลิกของเก่า คือ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗๔๑ และใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้แทน ก็ด้วยเป็นที่เข้าใจได้ว่าได้มีการปรับปรุงการบริหารแผ่นดินในรูปแบบของรัฐสภา ประชาธิปไตยใหม่ ความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขหรือยกเลิกจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติ และความจริงข้อนี้ก็จะ ดูได้จากบทสรุปสาระสำคัญตั้งแต่หลักการและเหตุผลที่มาจากอารัมภบทหรือคำปรารภที่ว่า “...โดยที่สภา ผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อให้ เหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น...”แล้ว จะเห็นได้ว่าเพียงสองปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นักการเมืองที่ดู ว่าจะให้ความสำคัญกับวิชาชีพทนายความตามที่อ้างว่าเพื่อให้เหมาะสมนั้น ความจริงน่าจะตรงกันข้ามกับ หลักการเดิม เพราะดูจากมาตราที่แก้ไขแล้วจะเห็นว่ามีความเข้มงวดและจัดประเภทของทนายความเป็น ๒ ชั้นโดยชัดเจน รวมถึงวิธีการยื่นคำขอการออกใบอนุญาต และมรรยาททนายความ ในรัชกาลนี้ ได้มีการตราพระราชบัญญัติทนายความฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๗๗ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ สาระสำคัญแห่งพระราชบัญญัตินี้ คือ การเพิ่มเติม คุณสมบัติของทนายความ โดยกำหนดให้ทนายความมี๒ ชั้น ตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ คือ ประเภทของทนายความ๔๒ ตามที่กำหนดไว้หมายถึง ผู้ที่รับใบอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์ให้มีสิทธิว่าต่างแก้ต่างตัวความ และให้ทนายความมี ๒ ชั้น ได้แก่ชั้นที่ ๑ คือ ผู้สอบได้ความรู้เป็นเนติ บัณฑิตหรือสอบความรู้ทางนิติศาสตร์ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปและเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือผู้ ที่เคยเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปีและเป็นสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือผู้ที่ ๓๙ เล่มเดียวกัน, หน้า ๒๙. ๔๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๕๑ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๗ หน้า ๖๖๔-๖๘๐ ๔๑ มาตรา ๓ ๔๒ มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๖ และมาตรา ๑๖


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๔๙ เป็นทนายความชั้นที่ ๒ ซึ่งได้เป็นทนายความมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปีและเป็นสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตย สภา หรือผู้ที่เป็นสมาชิกวิเศษแห่งเนติบัณฑิตยสภาที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความชั้นที่ ๑ อยู่ก่อนวันที่ใช้ พระราชบัญญัตินี้ โดยทนายความชั้นที่ ๑ มีสิทธิว่าความได้ในศาลทั่วราชอาณาจักร ทนายความชั้นที่ ๒ ได้แก่ ผู้ที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคุณวุฒิและความสามารถแล้ว เห็นสมควรให้เป็นทนายความ และเป็นสมาชิกสมทบแห่งเนติบัณฑิตยสภา โดยทนายความชั้นที่ ๒ มีสิทธิว่า ความได้เฉพาะศาลที่ระบุไว้ในใบอนุญาต แต่ถ้าได้รับว่าความมาแต่ศาลชั้นต้น จะลงชื่อในฟ้องอุทธรณ์ฎีกาหรือ ขึ้นมาว่าความเฉพาะคดีนั้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกาก็ได้ หากจะไปว่าความในต่างถิ่น จะต้องขออนุญาตเฉพาะเรื่อง โดยอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตพิเศษเพื่อว่าความต่างถิ่น เงื่อนไขการเป็นสมาชิกสมทบแห่งเนติบัณฑิตยสภานั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่เป็นทนายความชั้น ๒ อยู่ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัติ แต่เมื่อมาต่ออายุจึงใช้บังคับ สำหรับผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความหรือมิใช่ตัว ความ จะว่าความในศาลมิได้ รวมถึงอำนาจการแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาล แต่ไม่ลบล้างอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือ ผู้ที่มีหน้าที่ว่าความตามกฎหมาย หลักการเดิมให้ผู้มีหน้าที่ว่าความตามกฎหมายนี้ เป็นการกระทำที่ในขณะนั้น จำนวนของทนายความ ยังไม่มากจึงเขียนเผื่อไว้ แต่ในมาตรฐานสากลเขาให้เฉพาะวิชาชีพทนายความเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติ ฉบับดังกล่าว สิทธิการว่าความยังเป็นเช่นเดิม โดยทนายความชั้นหนึ่งมีสิทธิว่าความทั่วราชอาณาจักร แต่ ทนายความชั้นสองว่าความได้เฉพาะจังหวัดที่ตนจดทะเบียนไว้หากจะว่าความนอกเขตจังหวัดนั้นต้องได้รับ อนุญาตจากผู้พิพากษาศาลที่ทนายความจะเข้าว่าความเสียก่อนแล้วรายงานให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ทราบ และต้องเสียค่าธรรมเนียมคราวละ ๕ บาท นอกจากนี้ ยังได้บัญญัติถึงสิทธิของทนายความไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากนักกฎหมายที่มิได้เป็น ทนายความไว้ในมาตรา ๖ ด้วยว่า “ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ หรือไม่ใช่เป็นตัวความ จะว่าความใน ศาลไม่ได้ กับทั้งไม่มีอำนาจแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลง อันเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาล กฎหมายฉบับนี้ได้มีบทบัญญัติให้เนติบัณฑิตยสภาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาทะเบียน ๔๓ และเป็นเจ้า พนักงานทะเบียนทนายความ และให้เนติบัณฑิตยสภาวางแบบและข้อบังคับทั้งปวงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตาม พระราชบัญญัตินี้ โดยแบบข้อบังคับนั้นต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก่อน จึงจะใช้ได้ ผู้ที่ประสงค์จะเป็นทนายความให้ยื่นเรื่องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์ได้พิจารณาเห็นสมควรก็สั่งอนุญาตให้จดชื่อลงในทะเบียนอนุญาตแล้วออกใบอนุญาตทนายความ ใบอนุญาตทนายความมีอายุ ๑ ปี สิ้นสุดลงวันที่ ๓๑ มีนาคมของปีที่ได้รับอนุญาต และต้องต่ออายุทุกปีจึงจะ ๔๓ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๙


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๐ ไม่ขาดจากทะเบียน ค่าใบอนุญาตทนายความชั้นที่ ๑ และค่าต่ออายุคราวละ ๔๐ บาท ค่าใบอนุญาต ทนายความชั้นที่ ๒ และค่าต่ออายุคราวละ ๒๐ บาท ค่าใบอนุญาตพิเศษให้ว่าความต่างถิ่น เรื่องละ ๕ บาท เป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจการตรวจสอบเรื่องที่มีการกล่าวหาว่าทนายความประพฤติผิดมรรยาท จากอธิบดีศาลอุทธรณ์ให้เป็นคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจตั้งและ ถอดถอนกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความตามมติของคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา โดยให้มี คณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความไม่ต่ำกว่า ๘ คน แต่เมื่อจะพิจารณาไต่สวนความประพฤติ ต้องมีคณะกรรมการพิจารณาไม่น้อยกว่า ๓ คน จึงจะเป็นองค์คณะ การร้องเรียนมรรยาททนายความนั้น ให้ผู้ ร้องเรียนยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความภายใน ๖ เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการ กระทำความผิด แต่ไม่เกิน ๕ ปีนับแต่วันกระทำความผิด และให้คณะกรรมการสอดส่องความประพฤติ ทนายความมีอำนาจไต่สวนพิจารณา ออกหมายเรียกพยานหลักฐาน บังคับพยานสาบานหรือปฏิญาณตนได้ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว หากกรรมการเห็นว่าไม่มีมูล ให้ทำความเห็นชี้ขาดยกข้อหาและแจ้งให้ผู้ร้องและ ทนายความที่ถูกร้องนั้นทราบ แล้วรายงานให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ทราบ คำชี้ขาดนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่หากกรรมการปรึกษาเห็นว่ามีมูล ก็ให้ทำรายงานต่อศาลอุทธรณ์เพื่อจะได้วินิจฉัยออกคำสั่งหรือยกข้อหา ต่อไป การลงโทษทางมรรยาททนายความยังคงให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจออกคำสั่งภาคทัณฑ์ หรือห้ามมิให้เป็นทนายความไม่เกิน ๓ ปี หรือลบชื่อทนายความออกจากทะเบียน โดยอาศัยเหตุอย่างหนึ่ง อย่างใดดังนี้ ๑. มีความผิดฐานฉ้อ ตระบัดสินลูกความ หรือประพฤติผิดข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ ๒. ปลูกความโดยยุยงส่งเสริมให้ฟ้องร้องกันในกรณีอันหามูลมิได้ ๓. สมรู้เป็นใจเพื่อปลูกพยานเท็จหรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ ๔. มีความผิดโดยสถานอื่นอันเป็นความประพฤตินอกมรรยาทแห่งทนายความ คำสั่งของศาลอุทธรณ์นี้สามารถฎีกาได้ภายใน ๑ เดือน เมื่อทนายความต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายหรือจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือการกระทำโดย ประมาท ให้ศาลชั้นต้นรายงานต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธร์เพื่อออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นเป็นทนายความ ชั่วคราว และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ศาลชั้นต้นรายงานอีกครั้ง เพื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้ถอนคำสั่ง เดิมหรือมีคำสั่งภาคทัณฑ์ หรือห้ามมิให้เป็นทนายความไม่เกิน ๓ ปี หรือลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความก็ ได้ คำสั่งนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกา คำสั่งภาคทัณฑ์ ให้เขียนไว้บนใบอนุญาต คำสั่งห้ามมิให้เป็นทนายความหรือลบชื่อออกจากทะเบียน เมื่อได้หมายเหตุในทะเบียนแล้ว ให้แจ้งไปยังศาลทั่วราชอาณาจักร๔๔ ๔๔ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๑ การกลับเข้ามาเป็นทนายความ๔๕ เมื่อพ้น ๔ ปีนับแต่วันถูกลบชื่อ ทนายความที่ถูกลบชื่ออาจยื่นคำร้องขอกลับเข้าเป็นทนายความ และ หากมีพฤติการณ์ปรากฏว่าผู้นั้นควรได้รับสิทธิเข้าเป็นทนายความอีก ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มีอำนาจ ออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความได้ ----------------------------------------------- ๔๕ มาตรา ๑๕


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๒ บทที่ ๔ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินไปยังศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา และทรงร่วมพิจารณาคดีลักทรัพย์ ภายหลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ สมาชิกรัฐสภาจึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็น พระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แก่ ๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการ ๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ๓. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทรงศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ ก็ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้พระราชกรณียกิจ ของพระองค์ปรากฏเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียงเท่าระยะเวลาที่พระองค์เสด็จนิวัติพระนคร โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญในด้านกฎหมาย คือ ครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์พระราชดำเนินไปจังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชา พระองค์ ได้เสด็จฯ ไปยังศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา และทรง ประทับบัลลังก์เพื่อร่วมพิพากษาคดีลักทรัพย์คดี หนึ่ง ซึ่งจำเลยเป็นหญิงแม่ลูกอ่อน ทรงมีพระบรม ราชวินิจฉัยให้จำเลยต้องโทษจำคุกจำเลย ๖ เดือน แต่โทษจำคุกนั้นให้เปลี่ยนเป็นการรอลงอาญาไว้ เพราะจำเลยยังไม่เคยต้องโทษและไม่เคยกระทำ ความผิดมาก่อน จำเลยจึงได้คลานเข้าไปกราบที่ บัลลังก์พร้อมกับตอบอย่างผู้สำนึกผิดด้วยรู้สึก ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระ บทที่ ๔ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๔ เจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น แต่เมื่อได้กระทำผิดไปแล้ว ก็ใคร่จะรับโทษตามกฎหมาย พระองค์จึงพระราชทานเงิน ส่วนพระองค์ให้แก่จำเลย เป็นบำเหน็จความสัตย์ซื่อที่มีแก่อาญาแผ่นดิน ใคร่จะรับโทษตามความผิดของตนที่ กระทำไปเพื่อลูก ในรัชสมัยของพระองค์ หลังจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็มีการ แก้ไขปรับปรุงเป็นครั้งแรก โดยการตราพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่ง ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๕๕ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ หน้า ๙๖๒-๙๖๔ และให้มีผลบังคับใน วันที่ประกาศนั้น๔๖ มีสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขเรื่องมรรยาททนายความ เพื่อให้พนักงานอัยการมี อำนาจขอให้ดำเนินการไต่สวนทนายความซึ่งประพฤติผิดมรรยาทได้ เนื่องจากในมาตรา ๑๑ วรรคแรกของ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะกล่าวหาว่าทนายความคนใดประพฤติผิดมรรยาท ให้ทำเรื่องราวยื่นต่อคณะกรรมการ สอดส่องความประพฤติทนายความ ให้กรรมการคณะนี้มีอำนาจที่จะไต่สวนเอาความจริง ออกหมายเรียก พะยานหลักฐาน และบังคับพะยานให้สาบานหรือปฏิญาณตนได้ ตามกระบวนพิจารณาในศาลทุกประการ” ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อบกพร่องที่จำกัดเฉพาะแต่กรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องประพฤติผิดมรรยาท ทนายความเท่านั้น จึงจะตั้งกรรมการสอดส่องความประพฤติเมื่อควบคุมความประพฤติของทนายความคนนั้น ได้ แต่หากเป็นกรณีที่ปรากฏขึ้นโดยไม่มีผู้ใดร้องขอ ก็ไม่อาจดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอดส่องความ ประพฤติ เพื่อควบคุมความประพฤติของทนายความคนนั้นได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตราดังกล่าว โดยให้ ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ วรรคแรกของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ และใช้ความแทนว่า “มาตรา ๑๑ ผู้ใดจะกล่าวหาทนายความคนใดว่าประพฤติผิดมรรยาท ให้ทำเรื่องราวร้องต่อ คณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความ ในการไต่สวนพิจารณาเรื่องราว ถ้าไม่มีผู้ขอให้ดำเนินการ พนักงานอัยการผู้ที่อธิบดีกรมอัยการได้แต่งตั้งเพื่อการนี้มีอำนาจขอให้ดำเนินการไต่สวนพิจารณาได้ให้ คณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความมีอำนาจที่จะไต่สวนพิจารณาเอาความจริง ออกหมายเรียก พะยานหลักฐานบังคับให้พะยานสาบาน หรือปฏิญาณตน และดำเนินการอื่น ๆ ตามกระบวนพิจารณาในศาล ได้ทุกประการ”๔๗ นับเป็นการแก้ไขกฎหมายวิชาชีพทนายความหลังจากมีระบอบประชาธิปไตยที่ทำให้วิชาชีพ ทนายความตกต่ำ เสียเกียรติภูมิที่ต้องให้อัยการมามีอำนาจขอไต่สวนพิจารณาคดีมรรยาทได้แม้จะไม่ใช่ คดีอาญา หากเปรียบเทียบกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่าอัยการซึ่งเป็นทนายแผ่นดิน ยังต้องมาขึ้นอยู่กับระเบียบของทนายความในเรื่องมรรยาท ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๑๔ ๔๖ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒ ๔๗ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๓


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๕ ต่อมา ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ระเบียบแบบแผน ประเพณี และวัฒนธรรมหลายประการ เช่น การทักทายด้วยการไหว้และการ ใช้คำว่า “สวัสดี” การสวมหมวกเมื่อออกนอกบ้าน การแต่งกายแบบตะวันตกแทนการนุ่งผ้าถุงและโจงกระเบน การสะกดคำภาษาไทยแบบใหม่ การยกเลิกการกินหมาก รวมถึงการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเดิมที่เคยนับเอา วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ (ในสมัยรัชกาลที่ ๕) ก็เปลี่ยนเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตาม อย่างตะวันตกแทน โดยมีการตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน พ.ศ. ๒๔๘๓ ให้เริ่มเปลี่ยนปีปฏิทินตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นไป ทำให้พ.ศ. ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือน คือตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม และ พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงมี ๑๒ เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ดังเช่นทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงปีปฏิทินนี้ส่งผลให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทนายความอีกฉบับ คือ “พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๓” ซึ่งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๗ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๘๓ หน้า ๕๖๓-๕๖๕ และให้มีผลบังคับทันที๔๘ มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่อง ของวันหมดอายุของใบอนุญาตทนายความขึ้นใหม่จากเดิมที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า “...สิ้นสุดลงเพียงวันที่ ๓๑ มีนาคม แห่งปีที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความ...” ซึ่งเป็น วันสิ้นปีตามปีปฏิทินเดิม เป็น “...สิ้นสุดลงเพียงวันที่ ๓๑ ธันวาคม” ๔๙ อันเป็นวันสิ้นปีตามปีปฏิทินแบบใหม่ รวมถึงกำหนดให้ใบอนุญาตให้เป็นทนายความที่ออกในปี ๒๔๘๓ นั้น สิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๔๕๐ -------------------------------------- ๔๘ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒ ๔๙ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๓ ๕๐ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๔


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๖ บทที่ ๕ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (พ.ศ. ๒๔๘๙ – ปัจจุบัน)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๗ หลักนิติธรรม ปฐมบทแห่งพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงใช้หลักนิติธรรมได้อย่างสมบูรณ์และ เป็นต้นแบบของ “หลักนิติธรรม” ของปวงชนชาวไทยเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระองค์ทรงมีพระปฐมบรม ราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เป็นพระปฐมบรม ราชโองการทราบกันดีว่า หากผู้อาสาเข้ามาบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ ฝ่ายตุลาการ ได้นำไปปฏิบัติอย่างเข้าใจโดยถ่องแท้แล้ว ความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายในบ้านเมืองก็จะไม่ เกิดขึ้น เพราะ “หลักนิติธรรม” ที่พูดกันมามาก ที่ในภาษาอังกฤษคือ “Rule of Law” ที่หมายถึง “กฎ ของกฎหมาย” ซึ่งก็ตรงกับการใช้หลัก “ธรรมะ” เป็นหลักในการบังคับใช้กฎหมายของผู้ใช้อำนาจ อธิปไตยทั้งสามสาขา แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมิได้ทรงแค่มีพระปฐมบรมราช โองการไว้เท่านั้น พระองค์ได้ทรงเสนอและนำโครงการในพระราชดำริมากกว่าสามพันโครงการตลอดมา แม้แต่ชาวต่างชาติก็ทราบถึงการทรงงาน ที่เป็น ประโยชน์แก่พสกนิกรอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งน ายโคฟี่ อัน นั น เล ขาธิการอ งค์การ สหประชาชาติ ได้ทูลถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์” ๕๑ แด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติครองราชย์60 ปี ซึ่ง นายโคฟี ได้กล่าวคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ตอนหนึ่งว่า "สหประชาชาติมีความปลาบปลื้มยินดีใน เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ที่ได้พระราชทานพระบรมราช วโรกาสให้เข้าเฝ้า ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จ ๕๑ ที่มา : http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=7403.0;wap2 http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/King84/page5.html http://www.baanmaha.com/community/threads/48917- %E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%9 4%E0%B8%B5%E0%B8%95-26- %E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1?styleid=2 บทที่ ๕ ทนายความใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (พ.ศ. ๒๔๘๙ – ปัจจุบัน)


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๘ สูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดทำขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรง มุ่งมั่นบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของปวงชนชาวไทยอยู่เป็นนิจ เป็นที่ ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างกล่าวขาน พระนามพระองค์ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ นักพัฒนา ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชหฤทัย เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรผู้ยากไร้และ ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่แบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติ พันธุ์หรือหมู่เหล่า ทรงสดับรับฟังปัญหาความทุกข์ ยากของราษฎร และพระราชทานแนวทางการ ดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนของพระองค์สามารถ พึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน" ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความ ทุกข์ยากของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงให้ประชาชนเข้าถึงพระองค์ได้ในทุกโอกาส เพื่อ จะได้ทรงรับทราบความทุกข์ยากของประชาชนโดยตรง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง เคยมีรับสั่งเล่าให้นักข่าวหญิงรายหนึ่งฟังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึงการใส่พระทัยในปัญหาความเดือดร้อนและความ ทุกข์ยากของประชาชนว่า “ฝรั่งชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ สถาบันกษัตริย์ดำเนินอีกแนวหนึ่ง เป็นแนวใหม่ที่ไม่มีที่ไหนในโลก ไม่มีที่ไหนในโลกที่พระมหากษัตริย์จะ ออกไปแล้วประชาชนจะมานั่งเล่าถึงความทุกข์ แล้วก็พากันไปดูจนถึงหลังบ้าน”๕๒ ซึ่งได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว จากระยะเวลา ๗๐ ปีที่ทรงครองราชย์ การที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโอกาสให้ประชาชนเข้าเฝ้าอย่าง ใกล้ชิด ย่อมเป็นแสงสว่างนำทางให้พสกนิกรเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยไม่ล่าช้า ไม่มีอะไรมากั้นขวาง เป็นอุปสรรค นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดหลักธรรมที่ผู้ปกครองพึงปฏิบัติต่อประชาชนตลอด มา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมที่ผู้ปกครองพึงปฏิบัติต่อประชาชน อันประกอบไปด้วย ทศพิธราชธรรม คือ ธรรมะ ๑๐ ประการ สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติอันนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุขสันติของ บ้านเมือง และพสกนิกรทั้งหลาย ได้แก่๕๓ ๑. ทานํ คือ การให้อย่างมีผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทางวัตถุสิ่งของ การให้ทางกำลังสติปัญญา การ ให้ทางกำลังกายหรือกำลังใจ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินตามแนวพระราชดำริ รวมถึงการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในกรณีเกิดภัยพิบัติต่างๆ ๕๒ เนติบัณฑิตยสภา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับเนติบัณฑิตยสภา, (กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๕๐) หน้า ๔๖. ๕๓ สุเมธ ตันติเวชกุล, หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท (กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๑๐๒-๑๑๑.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๕๙ ๒. สีลํ คือ การสำรวมในศีล การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย พระราชจริยวัตรที่ปรากฏทางพระ วรกายล้วนหมดจดงดงาม เป็นที่จับใจของผู้พบเห็น ๓. บริจฺจาคํ คือ การบริจาค เป็นการให้ภายใน หรือที่เรียกว่าทางจิตใจ เป็นการให้แบบไม่ต้องมี ผู้รับ เป็นการยอมสละส่วนเฉพาะตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ มี จิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูล ๔. อาชฺชวํ คือ ความเป็นผู้ตรง ได้แก่ การประพฤติต่อตนเองและผู้อื่นด้วยความจริงใจ ไม่มีมารยา สาไถย ไม่มีนอก ไม่มีใน พระมหากษัตริย์ทรงซื่อตรงในฐานะที่ทรงเป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรง ต่อพระราชสัมพันธมิตรและอาณาประชาราษฎร์ ๕. มทฺทวํ คือ ความเป็นผู้อ่อนโยน ได้แก่ มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ผู้เจริญ อ่อนโยนต่อ บุคคลที่เสมอกันและต่ำกว่า วางตนสม่ำเสมอ ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ในหลวงของเราทรงปฏิบัติพระราชธรรมข้อนี้อยู่ เป็นนิตย์ ทรงมีพระพักตร์อันแช่มชื่น บ่งบอกถึงพระเมตตาคุณและพระกรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้นอยู่ภายใน พระองค์มิได้ทรงถือพระอิสริยยศ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนราษฎรโดยไม่เลือกชั้นวรรณะแต่อย่างใด ๖. ตปํ คือ ความเพียร ได้แก่ ความบากบั่น ก้าวหน้า ไม่ถอยหลัง ความไม่หยุดอยู่กับที่ อันเป็น คุณสมบัติที่เผาผลาญกิเลสความเกียจคร้านทั้งปวง การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยะ ปฏิบัติ พระราชกรณียกิจทั้งปวงให้สำเร็จ ย่อมเป็นตัวอย่างอันดีในเรื่องความเพียร ๗. อกฺโกธํ คือ ความไม่โกรธ ได้แก่ การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ตลอดถึงการไม่พยาบาทมุ่ง ร้ายผู้อื่น กิริยาที่แสดงความโกรธออกมานั้นไม่งดงาม น่าเกลียดน่าชัง ในหลวงของเราไม่เคยแสดงพระอาการ กริ้วโกรธ แม้จะมีเหตุให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท พระองค์ทรงมีพระอาการสงบนิ่ง ๘. อวิหึสา คือ ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การไม่ก่อความทุกข์ยากให้แก่ผู้อื่นตลอดถึงสัตว์ ด้วยการ เห็นเป็นสนุกของตนเพราะอำนาจโมหะ เช่น ทำร้ายคนและสัตว์อื่นเล่น ความไม่เบียดเบียนจักเป็นได้ ก็ต้อง อาศัยความกรุณาเป็นเบื้องหน้า ๙. ขนฺติ คือ ความอดทน ได้แก่ ความอดทนต่อโทสะ อดทนต่อโมหะนั่นเอง ไม่ทำล่วงไปด้วยอำนาจ โลภะหรือราคะ โทสะ โมหะ มีความงามทางกาย ทางวาจา ตลอดถึงทางมนะหรือทางใจ ขนฺติคู่กับโสรัจจะ ได้แก่ การทำใจให้สงบจากความคิดที่จะทำชั่ว พูดชั่ว หรือคิดชั่ว ขันติและโสรัจจะเป็นธรรมะที่ทำให้งาม คือ ทำใจให้งามก่อน เมื่อใจงามแล้ว กายก็งาม วาจาก็งาม ความคิดเรื่องราวต่าง ๆ ก็งาม ๑๐. อวิโรธนํ คือ ความไม่คลาดธรรม วางตนเป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียง หวั่นไหว เพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ใดๆ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความ เที่ยงธรรมก็ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป รวมถึงราชสังควัตถุ ๔ ได้แก่ สัสสเมธัง (ความรู้ในการบำรุงพืชผลในประเทศให้สมบูรณ์) ปุริสเมธัง (รู้จักสงเคราะห์หรือชุบเลี้ยงคนที่ควร) สัมมาปาสัง (รู้จักผูกใจคนให้จงรักภักดีด้วยการปกครองที่ทำให้เกิด ความสุขความเจริญ) และวาจาเปยยัง (คำพูดอันอ่อนหวานไพเราะ) และจักรวรรดิวัตร ๑๒ ได้แก่ การ


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับและทรงฟัง การพิจารณาพิพากษาคดี ณ บัลลังก์ศาลจังหวัดสงขลา ในคราวเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ อนุเคราะห์ประชาชนและข้าราชการให้อยู่ในศีลในธรรม การผูกไมตรีกับประเทศอื่น การอนุเคราะห์พระ ราชวงศ์ การคุ้มครองพราหมณ์และคหบดี การคุ้มครองประชาชน การคุ้มครองสัตว์ทั้งหลาย การห้ามปราม ราษฎรมิให้กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม การพระราชทานทรัพย์แก่ผู้ยากไร้ การใกล้ชิดกับพราหมณ์เพื่อ ศึกษาบุญและบาป การละความยินดีใคร่ติดในอธรรม และการละความโลภ การบริหารราชการแผ่นดิน ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการบริหารราชการ แผ่นดินนั้นจะต้องยึดเอาความเจริญผาสุกและความตั้งมั่นของบ้านเมืองเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ความว่า “ความเจริญผาสุกและความตั้งมั่นของบ้านเมือง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บุคคลพึงรำลึกและพึงประสงค์ และความเจริญมั่นคงนั้นจะเกิดมีขึ้นได้ ก็ด้วยผู้บริหารทุกฝ่ายมุ่งกระทำการงานด้วยความบริสุทธิ์ใจด้วยความ ตั้งใจจริง และด้วยความคิดพิจารณาโดยสติรอบคอบ ทั้งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนอื่น ...”๕๔ พระราชดำรินี้พสกนิกรทุกคนสัมผัสได้ถึงความตั้งมั่นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางหลัก นิติธรรมในทุกกรอบของกฎหมาย คือรวมถึงดุลพินิจของผู้บริหารกฎหมายต้องมีหน้าที่ในการบังคับการใช้ กฎหมายให้สมประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก การยุติธรรม ใน ส่ ว น ข อ งก ร ะ บ ว น ก า ร ยุ ติ ธ ร ร ม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า “ผู้ที่ทำ หน้าที่พิทักษ์รักษาความยุติธรรมหรือความเป็นธรรม จึงควรระมัดระวังให้มาก คือควรจะได้ทำความเข้าใจ ให้แน่ชัดว่ากฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็น เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการรักษาและอำนวย ความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมาย ใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไม่ใช่รักษาตัวกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินก็มิได้วงแคบ อยู่เพียงแต่ในขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยาย ออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและตาม ความเป็นจริงด้วย...”๕๕ พระราชดำรัสนี้มีความ ชัดเจนมากที่สุดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ผู้บริหารและผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทำ ความเข้าใจในหน้าที่ของตนในกรอบของ “หลักนิติธรรม” เป็นเกณฑ์สำคัญกว่าหลักกฎหมาย ๕๔ ประมวล รุจนเสรี, พระราชอำนาจ, สุเมธ รุจนเสรี, กรุงเทพฯ,๒๕๔๘, หน้า ๙๕-๙๖. ๕๕ เรื่องเดียวกัน , หน้า ๙๗.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๑ การพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน นอกจากนี้ ด้านการพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ ตำรวจภูธรชายแดน เขต ๕ ณ ค่ายดารารัศมี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า “... ประเทศไทยทั้งประเทศนี่ ทางราชการเสียชื่อเสียงไปมากก็เพราะว่ามีข้าราชการบางส่วนที่อยู่ในส่วนภูมิภาคได้ ทำตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไปกดขี่ประชาชน ไปเอาเปรียบประชาชน ถ้าเป็นเช่นนี้ ประชาชนก็บอกว่าทางราชการ หรืออย่างที่เราเรียกว่าทางกฎหมายไปข่มขี่เขา เขาไม่ได้เกลียดชาติบ้านเมือง แต่ว่าเขาเกลียดกฎหมาย เมื่อ เกลียดกฎหมายแล้ว คนที่เถรตรงตามกฎหมายนี่ก็จะบอกว่าพวกนี้คือผู้ก่อการร้าย นับอย่างนี้แล้ว ประเทศ ไทยมีผู้ก่อการร้าย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าความจริง ผู้ก่อการร้ายแท้ๆ เข้าใจว่ามีไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ และแม้จะ เป็นในท้องที่ที่มีผู้เห็นว่ามีผู้ก่อการร้าย ก็คงไม่ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์...”๕๖ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เล่าถึงพระบรมราชวินิจฉัยในการพิจารณาฎีกาของผู้ขอพระราชทานอภัยโทษ เรื่องหนึ่งว่า “มีคดีเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นที่เชียงใหม่ วันเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่กำแพงดิน เสร็จแล้วลง จากรถเข้าไปพบสุภาพสตรีคนหนึ่งบอกว่า เอาเงินมาให้กู ๕ บาท ผู้หญิงคนนั้นบอกกูไม่ให้ จำเลยชักปืนยิง ผู้หญิงคนนั้นตาย เมื่อมีเสียงเอะอะคนวิ่งมาดู เห็นจำเลยวิ่งไล่ผู้หญิงไปอีกสองคน ยิงตายหมดทีละคน จะเมา หรือเปล่าไม่ทราบ แล้วขึ้นรถทัวร์หนีมากรุงเทพฯ ศาลพิพากษาจะลงโทษประหารชีวิต คดีถึงที่สุด องคมนตรี เถียงกันมาก บอกว่าคงเมาเป็นนักเลงดุร้าย หรือเป็นแมงดาที่มาเรียกเอาเงินจากโสเภณี เมื่อไม่ได้เงินก็แสดง อำนาจ มหาดไทยให้ยกฎีกา องคมนตรีบอกว่าโหดร้ายเหลือเกิน ยิงตายทั้ง ๓ คน ก็ยกฎีกาให้ประหารชีวิต หลายเดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงทำบุญที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นการส่วนพระองค์ องคมนตรีไปเฝ้าตามหน้าที่ ทรงทำบุญแล้วพระองค์มีพระราชดำรัสว่า นี่ฎีกาเรื่องฆ่ากันที่กำแพงดินน่ะ ฉัน สงสัยอะไรอย่างหนึ่ง พวกท่านองคมนตรีนึกบ้างรึเปล่า เราก็งง ไม่มีใครตอบว่าอย่างไร ทรงมีพระราชดำรัส ต่อไปว่า ฉันสงสัยว่าอย่างนี้นา และทรงทำพระหัตถ์วนที่ข้างพระเศียร แปลว่า จำเลยสติไม่ดีรึเปล่า สงสัยสติ จะวิปริต ไม่งั้นจะทำบ้าๆ อย่างนี้ได้อย่างไร แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอ่านเรื่องตลอด จึงสงสัย อย่างนี้ได้ และทรงมีพระราชดำรัสว่าฉันอึดอัดจะประหารดีหรือไม่ประหารดี”๕๗ ทรงให้ความสำคัญแก่ผู้ใช้กฎหมายเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญแก่ผู้ใช้กฎหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งพระ บรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวัน “นิติศาสตร์จุฬา” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๒ ตอนหนึ่ง ความว่า ๕๖ เนติบัณฑิตยสภา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับเนติบัณฑิตยสภา, หน้า ๓๕-๓๖. ๕๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๒ “...กฎหมายกับความเป็นอยู่ที่เป็นจริงอาจขัดกัน และในกฎหมายก็มีช่องโหว่มิใช่น้อย เพราะเรา ปรับปรุงกฎหมายและการปกครองอย่างโดยอาศัยหลักการของต่างประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของ ประชาชนว่าที่ใดควรเป็นอย่างไร ร้ายกว่านั้นก็ไม่คำนึงถึงว่าการปกครองของทางราชการบางทีก็ไปไม่ถึง ประชาชนด้วยซ้ำ จึงทำให้ประชาชนต้องตั้งกฎหมายของตนเอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเลว เป็นแต่มีบางสิ่ง บางอย่างขัดกับกฎหมายของบ้านเมือง เช่นอย่างทางแถวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อปีสองปีมานี้ ที่เจ้าหน้าที่ เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเป็นผู้ที่อพยพย้ายมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มาตั้งหมู่บ้านอยู่ใกล้ ขอบป่าสงวน คือเรียกว่าล้ำเข้าไปในป่าสงวนบ้าง คนเหล่านั้นเข้ามาทำมาหากินและอยู่กันด้วยความเรียบร้อย หมายความว่ามีการปกครองหมู่บ้านของตนเอง ไม่มีโจร ไม่มีผู้ร้าย มีการทำมาหากินที่เรียบร้อย ขาดแต่อย่าง เดียวคือนายอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ก็จะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งแท้จริงเขาเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าที่จะเอา นายอำเภอมาปกครองเขาเสียอีก แต่ว่าเมื่อขาดนายอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ เขาก็เลยไม่เป็นประชาธิปไตย และ ปรากฏว่าเขากลายเป็นผู้ร้าย จวนๆ จะเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เราไม่ได้ปรารถนาเลยที่จะให้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย แต่เราก็สร้างขึ้นมาเองโดยไปชี้ หน้าชาวบ้านที่เขาปกครองตนเองดีแล้ว เรียบร้อยแล้ว เป็นประชาธิปไตยอย่างดีอย่างชอบแล้วว่าบุกรุกเข้ามา อยู่ในป่าสงวน และขับไล่เขาให้ย้ายออกไป คนเหล่านั้นเขาทำการทำงานเข้มแข็ง ทำงานดีตลอดเวลาหลายปี มาแล้วจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่เคยทำลายล้างป่า...”๕๘ พระบรมราโชวาทข้างต้น นำมาซึ่งแนวพระราโชบายในการใช้กฎหมายในระบอบประชาธิปไตยที่ ชัดเจน การใช้ข้อเท็จจริงที่ต้องแสวงหามาปรับใช้กับการบังคับใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร ย่อมนำมาซึ่งความ สงบสุข ความถูกต้อง และความโปร่งใสของการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม สาเหตุประการหนึ่งที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะกฎหมายไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง นอกจากนี้ ยังได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุประการหนึ่งที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมคือบทบัญญัติ ของกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ดังความตอนหนึ่งว่า “...แต่บังเอิญกฎหมายบอกว่าป่าสงวนนั้นใครบุกรุกไม่ได้ เขาจึงเดือดร้อน ป่าสงวนนั้นเราขีดเส้นบน แผนที่ เจ้าหน้าที่จะไปถึงได้หรือไม่ก็ช่าง และส่วนมากก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ไป ดังนั้น ราษฎรจะทราบ ได้อย่างไรว่าที่ที่เขามาอาศัยอยู่เป็นเขตป่าสงวน และเมื่อเราถือว่าเขาเป็นชาวบ้าน ก็ไปกดหัวเขาว่าเขาจะต้อง ทราบกฎหมาย แต่กฎหมายอย่างนี้ เป็นแต่เพียงขีดเส้นทับเขา ไม่ใช่กฎหมายแท้ ที่เป็นกฎหมายเพราะ พระราชบัญญัติป่าสงวนเป็นกฎหมาย ซึ่งจะให้เขาทราบเองเป็นไปไม่ได้ เพราะทางฝ่ายปกครองไม่ได้นำ กฎหมายนั้นไปแจ้งแก่เขา สมัยโบราณจะให้ทราบเรื่องอันใดเขาต้องตีกลอง มาสมัยผู้ใหญ่ลีก็ยังตีกลอง แต่ว่านี่ ไม่มีผู้ใหญ่ลีจะตีกลอง ประกาศด้วยปากหน่อยเดียว ก็เหมือนยังไม่มีกฎหมาย จึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปว่าเขาว่าไม่ ทราบกฎหมาย ประชาชนย่อมทราบแต่ว่าการปกครองไม่ดี และโดยประการนี้จึงทำให้เกิดการปะทะกัน ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่กฎหมาย เพราะต่างคนต่างมีผิดมีถูกด้วยกันอยู่ ทางกฎหมายก็ว่ามีกฎหมาย ๕๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๖-๓๗.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๓ แล้วก็มีอำนาจหน้าที่ ทางประชาชนก็ว่าการเข้ามาทำกินเป็นกฎหมาย ทีนี้เมื่อขัดกันก็เกิดความเดือดร้อนทั้ง สองฝ่าย...”๕๙ ทรงย้ำเตือนถึงการนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่าจะต้อง “พอสมควร" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงย้ำเตือนถึงการนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่าจะต้อง “พอสมควร” และพระราชทานแนวทางดำเนินงานที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ได้ตระหนักถึงสภาพ ปัญหาที่แท้จริงและหนทางที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ราษฎร ตอนหนึ่งความว่า “...เป็นหน้าที่ของผู้รู้กฎหมายที่จะต้องไปทำความเข้าใจ คือ ไม่ใช่ไปกดขี่ให้ใช้กฎหมายโดยเข้มงวด แต่ไปทำให้ต่างฝ่ายเข้าใจว่าเราอยู่ร่วมประเทศเดียวกันต้องอยู่ด้วยกันด้วยความอะลุ้มอล่วย ไม่ใช่ไปกดขี่ซึ่งกัน และกัน เมื่อไม่กี่วันมานี้ไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปพูดถึงคำว่าพอสมควรว่าเป็นหัวใจของประชาธิปไตย อธิบายว่าคนเรามีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าใช้สิทธิเสรีภาพของแต่ละคนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ ต้องมี “พอสมควร” เสรีภาพต้องมีจำกัดในสังคมหรือในประเทศ เสรีภาพของแต่ละคนจะต้องถูกจำกัดด้วยเสรีภาพของผู้อื่น จึงเห็น ได้ว่า “พอสมควร” เป็นสิ่งสำคัญ “สำหรับนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ “พอสมควร” ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราจะปกครองหรือช่วยให้บ้านเมืองมี ขื่อมีแป เราจะปฏิบัติตรงตามกฎหมายทั้งหมดไม่ได้...”๖๐ พระบรมราโชวาทข้างต้นนี้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ พระราชทานแนวทางการดำเนินงานของทั้งทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกันแต่อย่างใด เพียงแต่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง และทรงให้ดำเนินการไปในทางที่ “พอสมควร” ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ เหมือนเป็นการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ต้องมีศาลไว้ถึงสามศาล ในด้านงานศาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวทางการบริหารคดีความให้ได้ครบ ตามสามชั้นศาล ไม่พึงใช้กระบวนการรวบรัดเหมือนกดปุ่มเครื่องจักร ดังพระบรมราโชวาทความตอนหนึ่ง ดังนี้ “...นักกฎหมายทั้งหลาย รวมทั้งนักกฎหมายในอนาคตด้วย จะต้องทราบว่ากฎหมายนั้นมีไว้สำหรับให้ มีช่องโหว่ในทางปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะทำได้ตรงไปตรงมาตามตัวบท จำต้องใช้ความพินิจพิจารณาเสมอ จึงต้องมี ศาลไว้ถึงสามศาล ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไปจนถึงศาลฎีกา และแม้ถึงศาลฎีกาแล้วก็ยังถวายฎีกาได้ อีก ถ้ากฎหมายร้อยเปอร์เซ็นต์ปฏิบัติได้เหมือนกดปุ่มเครื่องจักร เราก็ไม่ต้องมีศาลฎีกาไม่ต้องถวายฎีกา เพราะว่าทุกสิ่งเรียบร้อยและยุติธรรม อันนี้เป็นข้อสนับสนุนว่าการที่ได้ตั้งศูนย์การให้ความรู้ในตำรากฎหมาย ให้คำแนะนำในทางกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แต่เพื่อให้บรรลุผลจริงๆ ทุกคนจะต้องคิดพิจารณาและต้องสำนึก ว่ากฎหมายไม่ใช่เครื่องจักรแท้ ที่เรียกว่ากลไกของกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่กลไกแต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้สมองคิด ๕๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๗. ๖๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๔ และสมองนี้ออกจะยืดหยุ่นได้มาก จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบและพยายามถ่ายทอดการพิจารณาอันรอบคอบ นั้นให้เป็นหลักวิชาที่เข้าใจแก่ประชาชนและแก่ตนเอง ในด้านกฎหมายก็ขอฝากความคิดนี้ไว้...”๖๑ การปกครองจะต้องใช้ความยืดหยุ่น การปกครองนั้นต้องใช้กฎหมายในเชิงบังคับ และมีการระงับสิทธิของประชาชนบางประการเพื่อ ประโยชน์ของส่วนรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่นักปกครองไว้ว่า “...ในด้านอื่นๆ นั้น ผู้ศึกษาในทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็มีหน้าที่ต่าง ๆ ต่อไปในด้านการศาลและ การปกครอง หมายความว่าถ้าไม่นับผู้ที่จะไปทำอาชีพอิสระ นับเฉพาะผู้ที่จะทำราชการก็จะมีหน้าที่ราชการ จะต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องกับประชาชนในด้านตุลาการและด้านการปกครอง ในด้านการปกครองนั้น ก็สำคัญที่ จะใช้หลักกฎหมาย ข้อนี้จะต้องใช้คำที่ไม่ค่อยดี คือความยืดหยุ่น ต้องขอให้พิจารณาคำนี้ให้รอบคอบสัก หน่อย ได้เห็นมามากเหมือนกันว่า ถ้าปกครองด้วยหลักที่แข็งแกร่งแล้ว แม้ว่าจะสุจริตเท่าไร ๆ ทุกสิ่งทุก อย่างก็พังหมด จะต้องมีความยืดหยุ่น คือยืดหยุ่นในทางดี เพราะความยืดหยุ่นนี้ถ้าใช้ในทางดีก็ดี แต่ถ้าใช้ ในทางยืดหยุ่นตามใจตัวก็อาจกลายเป็นทุจริตไป...”๖๒ พระบรมราโชวาทข้างต้น เป็นแนวทางที่ดีที่สุด เป็นทางสายกลางที่นักปกครองทุกคนพึงนำไปปฏิบัติ ใช้ เพื่อให้สังคมไทยปลอดจากการทุจริตที่เกิดจากการใช้อำนาจทางกฎหมายตามอำเภอใจตนเอง การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทในหลายโอกาสที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ทาง กฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้รักษากฎหมายและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ ราษฎรก็เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยและทรงเน้นย้ำให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้สำนึกอยู่ เสมอ ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” เมื่อวันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน พระ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า “...อันกฎหมายนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับบ้านเมือง เพราะว่าเป็นหลักของการอยู่ร่วมกันในชาติ บ้านเมือง เพื่อให้การเป็นอยู่มีระเบียบเรียบร้อย และให้ทุกคนที่อยู่ในชาติได้สามารถที่จะมีชีวิตที่รุ่งเรืองโดยไม่ เบียดเบียนกัน หน้าที่ของผู้ที่รักษากฎหมายและผู้ที่ปฏิบัติกฎหมายก็มีหลายด้าน ด้านแรกก็คือที่จะให้ บุคคลต่าง ๆ สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และถ้ามีเหตุใดก็ทำให้ปฏิบัติการในทางกฎหมายเป็นไปโดย ยุติธรรม ไม่ทำให้ผู้ใดเสียเปรียบได้เปรียบกันมากเกินไป ในด้านนี้ก็จะต้องให้ประชาชนทั้งหลายมีความรู้ใน ข้อกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งท่านได้ทำบริการชี้แจงเรื่องกฎหมายแก่ประชาชนอยู่แล้ว...”๖๓ ๖๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘. ๖๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘-๓๙. ๖๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๙.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๕ พระบรมราโชวาทข้างต้น แสดงให้เห็นถึงหลักทศพิธราชธรรมข้อที่ ๑๐ คือ อวิโรธนํ คือ ความไม่ คลาดธรรม ที่พระองค์ได้พระราชทานให้ข้าราชการ ทนายความ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางนิติศาสตร์ได้ช่วยกัน ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้การปฏิบัติการตามกฎหมายเป็นไปโดยยุติธรรม กฎหมายมีไว้สำหรับให้ความสงบสุขในบ้านเมือง ในนัยของการบังคับใช้กฎหมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้แก่ผู้มี หน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมายไว้ดังนี้ “...นอกจากนี้ จะต้องศึกษากฎหมายให้สามารถที่จะบริการประชาชนได้ดีที่สุด คือถ้ามีช่องโหว่หรือมี กฎหมายที่ไม่เหมาะสมแก่เหตุการณ์ก็จะต้องพยายามที่ศึกษาเพื่อที่จะให้ปรับปรุงให้ดี เราต้องพิจารณาในหลัก ว่า กฎหมายมีไว้สำหรับให้ความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่า กฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่ง หมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรี และอยู่ได้ด้วยความสงบ...”๖๔ การศึกษากฎหมาย สำหรับด้านการศึกษากฎหมายที่ปัจจุบันมุ่งเน้นในทางทฤษฎีกับท่องจำกันมากนั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานข้อคิดเห็นไว้ว่า “...ถ้านักกฎหมายที่ศึกษาในทางกฎหมายโดยแท้ไม่ได้สนใจในปัญหาที่แท้จริง มัวแต่มาดูเพียง ทางทฤษฎีของกฎหมายก็จะไม่เกิดประโยชน์ได้ แต่ถ้านักกฎหมายหรือที่สนใจกฎหมายได้ไปดูข้อเท็จจริง ต่างๆ กฎหมายจะช่วยให้บ้านเมืองมีความเรียบร้อย ก็จะทำให้ช่วยทางสภานิติบัญญัติว่าควรจะปรับปรุง กฎหมายที่ตรงไหน... “ที่เล่าให้ฟังเพราะว่าได้ไปประสบปัญหานี้มีความเดือดร้อนอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนเป็นทาสคนอื่น ในเมืองไทยนี้ที่ ผ่านมาประชาชนแต่ละคนเป็นไทยแท้ คือ มีที่อยู่อาศัย มีอาชีพที่เป็นเอกเทศที่จะเลี้ยงตัวได้ แต่เวลานี้ กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่ากลัว คือประชาชนกำลังจะเป็นทาสที่ดิน ให้มีนายทุนมากดหัว... ก็ขอฝาก ความคิดเหล่านี้แล้วก็จะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในความคิดต่าง ๆ ที่มี ที่ดี งาม และผู้ที่ศึกษาก็ขอให้สำเร็จการศึกษาโดยดีที่สุด เพื่อที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง เป็นประโยชน์แก่ บ้านเมืองและส่วนรวม”๖๕ ๖๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๙. ๖๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๐.


๑๐๐ ปี (๕ แผ่นดิน) แห่งวิชาชีพทนายความ ๖๖ การศึกษากฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำไว้ข้างต้น เป็นการ ย้ำเตือนให้ทั้งผู้สอบและนักศึกษากฎหมายเข้าถึงปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่ดูแต่เรื่องทฤษฎีที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด ปัญหาทุกข์ยากของประชาชนก็เกิดจากความบกพร่อง ความล่าช้าของการบังคับใช้กฎหมายให้รวดเร็วและเป็น ธรรม พระบารมีปกเกล้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในทางกฎหมาย เท่าที่คัดตัดตอนมาเพียงบางส่วนในหลากหลายสาขาข้างต้นนั้น พสกนิกรโดยเฉพาะนักกฎหมายย่อมเห็น ได้ว่าทรงคุณค่าอย่างมิอาจหาแนวทางที่เหมาะสมที่ดีไปกว่านี้ได้ ในทุกเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้แนวทาง ข้อคิด การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย อธิบายความหมายของ “หลักนิติธรรม” ได้ ครบถ้วนสมบูรณ์ พึงผู้ปฏิบัติงานในด้านกฎหมายในทุกสาขาวิชาการควรพร้อมใจนำแนวทางพระบรม ราโชวาทไปปรับใช้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความเจริญของประเทศชาติตามหลักนิติธรรมที่ พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้อย่างสมบูรณ์ตลอดมาตราบจนถึงทุกวันนี้ -------------------------------------


ภาคผนวก ๖๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ภาคผนวก


ภาคผนวก ๗๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๗๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าของวิชาชีพทนายความ ทำให้จำนวนทนายความเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ แต่การ แสดงบทบาท การเคลื่อนไหว และการรวมพลังของบรรดาทนายความยังไม่มีรูปแบบที่เป็นเอกภาพ การ รวมกลุ่มของทนายความขาดความแน่นแฟ้นเท่าที่ควร เนื่องจากขาดองค์กรหรือสถาบันในการทำหน้าที่เป็น แกนกลางหรือเป็นศูนย์รวมอื่นชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีการประชุมของทนายความ ๓๐ คน๑๓๑ เพื่อก่อตั้ง "สมาคมทนายความ" ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ เพื่อให้เป็นสถาบันอิสระ ทำ หน้าที่เป็นตัวแทนของทนายความทั่วประเทศ ในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม ทั้ง เอื้ออำนวยผลประโยชน์ดูแลสวัสดิการแก่ทนายความด้วยกัน สมาคมทนายความ มีนายกสมาคมคนแรกคือ นายสมนึก เอี่ยมปรีชา มีวาระ ๑ ปี คนที่สองคือ นาย ชมพู อรรถจินดา แต่เนื่องจากสมาคมทนายความยังไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาทนายความด้วยกัน เพราะผู้ ก่อตั้งเป็นทนายความที่มีอาวุโสน้อย จึงได้เชิญพระยาปรีดานฤเบศร์ (ฟัก พันธุ์ฟัก) ซึ่งเป็นทนายความอาวุโส สูงสุด และเป็นอดีตผู้พิพากษา เป็นที่เคารพนับถือของทนายความจำนวนมากในขณะนั้น มาเป็นนายกสมาคม จนกระทั่งพระยาปรีดานฤเบศร์ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. ๒๕๐๗ จึงได้มีการเลือกนายกสมาคมคนใหม่ ซึ่งนาย ชมพูก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาอีกครั้ง๑๓๒ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ จากปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ จนถึงปัจจุบัน การประกอบวิชาชีพทนายความภายใต้บทบัญญัติของ พระราชบัญญัติทนายความทั้ง ๖ ฉบับ ได้อยู่ในความควบคุมดูแลของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และเนติ บัณฑิตยสภาตามลำดับ ทั้งในด้านการจดทะเบียนรับอนุญาตและการควบคุมมรรยาททนายความ ต่อมา จึงได้ มีการตราพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช ๒๕๐๘ โดยได้มีการเสนอร่างเข้าสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ใน สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ประกาศใช้ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญในพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ มีการโอนอำนาจออก ใบอนุญาตว่าความจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มาให้เนติบัณฑิตยสภาเป็นผู้มีอำนาจโดยเด็ดขาด ทั้งยังให้ อำนาจแก่เนติบัณฑิตยสภาในการออกข้อบังคับกำหนดมรรยาททนายความ เนติบัณฑิตยสภาจึงเป็นทั้งผู้ออก ใบอนุญาต ผู้ควบคุมระเบียนและมรรยาททนายความ พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังคงแบ่งทนายเป็นสองชั้น คือ ทนายความชั้นหนึ่ง มีสิทธิว่าความในศาลทั่วราชอาณาจักร โดยต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๑. มีสัญชาติไทย ๒. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี ๓. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ๔. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ๕. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้มีประวัติหรือได้ กระทำการอันใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต และ ๑๓๑ รุจิระ บุนนาค, บันทึก...อดีตแห่งความทรงจำศาสตราจารย์มารุต บุนนาค (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง, ๒๕๕๐), หน้า ๗๑. ๑๓๒ เรื่องเดียวกัน. ภาคผนวก ๑


ภาคผนวก ๗๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๖. ไม่เป็นผู้มีกายพิการหรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ ทนายความ ทนายความชั้นสอง มีสิทธิว่าความในศาลในเขตจังหวัดที่ทนายความผู้นั้นมีสำนักงานจดทะเบียนไว้ และจังหวัดอื่นที่ระบุไว้ในใบอนุญาตได้อีกไม่เกิน ๔ จังหวัดที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดที่ตั้งสำนักงานที่จดทะเบียน ไว้ โดยต้องมีคุณสมบัติเหมือนทนายความชั้นหนึ่ง เว้นแต่ในข้อ ๓ ที่ผู้ที่จะเป็นทนายความชั้นสอง ต้องสอบได้ ความรู้ตามที่เนติบัณฑิตยสภากำหนดให้มีการสอบ หรือมีปริญญา อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชา นิติศาสตร์จากสถานการศึกษาในประเทศไทย และต้องเป็นสมาชิกวิสามัญหรือสมาชิกสมทบแห่งเนติบัณฑิตย สภาด้วย นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ใบอนุญาตเป็นทนายความมีอายุ ๑ ปี โดยใช้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม และ ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายใน ๓ เดือนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ปัญหาสิทธิว่าความของทนายความชั้นสอง การควบคุมทนายความในระยะแรก ๆ เนติบัณฑิตยสภามุ่งดำเนินการตามแบบเนติบัณฑิตยสภา อังกฤษ จึงกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยต้องผ่านการสอบเป็น เนติบัณฑิตที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเสียก่อน จึงจะขอจดทะเบียนเป็นทนายความ ชั้นหนึ่งได้ ทำให้ผู้ที่จบปริญญาตรีทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเป็นได้เพียงทนายความชั้นสองเท่านั้น และ ตามบทบัญญัติให้สิทธิทนายความชั้นหนึ่งว่าความได้ทั่วราชอาณาจักรส่วนทนายความชั้นสองมีสิทธิว่าความได้ เฉพาะในจังหวัดที่ได้รับอนุญาต ข้อกำหนดดังกล่าวของเนติบัณฑิตยสภาเป็นการกดขี่และเป็นการปิดกั้น เสรีภาพของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จึงก่อให้เกิดกระแสแห่งความไม่พอใจ มีการเคลื่อนไหว เพื่อ ต่อสู้คัดค้านกันอย่างกว้างขวาง นายชมพู อรรถจินดา นายกสมาคมทนายความในขณะนั้น จึงมีหนังสือเลขที่ ๒๘๙/๒๕๐๘ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ ร้องเรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและนายกเนติบัณฑิตยสภา ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ได้ขอความคิดเห็นจากเนติบัณฑิตยสภาในเรื่องเดียวกันนี้ คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภามีมติในการประชุมครั้งที่ ๓๕๘ ในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๐๙ ว่ายังไม่มี เหตุผลที่สมควรจำเป็นจะแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ นายกเนติบัณฑิตยสภาจึงมีหนังสือที่ ๔๑๙/๒๕๐๙ ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๐๙ ถึงปลัดกระทรวงยุติธรรม แล้วเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม จึงได้มีหนังสือที่ ยธ.๐๑๐๐/๒๐๗๕ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๙ ถึง นายกสมาคมทนายความเพื่อ แจ้งมติดังกล่าว ซึ่งในขณะนั้น นายมารุต บุนนาค เพิ่งได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมทนายความ ต่อมา นายกสมาคมทนายความได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้เนติบัณฑิตยสภาพิจารณาอีกครั้ง เนติบัณฑิตย สภาจึงตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องสมาคมทนายความร้องเรียนว่าทนายความชั้น ๒ เดือดร้อน เมื่อ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๑ โดยมีหลวงประกอบนิติสารเป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ก็ได้ยืนยันกลับมา ว่า ไม่อาจแก้ไขหรือยกเลิกมติการประชุมครั้งที่ ๓๕๘ ได้ด้วยเหตุผลพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ ๑. อำนาจของศาลเกี่ยวกับการจดทะเบียนทนายความ ตลอดจนการอนุญาตทั้งปวงแก่ทนายความ ได้โอนมายังเนติบัณฑิตยสภาโดยสิ้นเชิงแล้ว ถ้าจะแก้ไขให้อำนาจอนุญาตให้ทนายความชั้น ๒ ว่าความต่างถิ่น กลับไปให้ศาลอีกก็คงเป็นการลักลั่น เพราะอธิบดีศาลอุทธรณ์ไม่ใช่ผู้ออกใบอนุญาตทนายความแล้ว ถ้าจะให้ ศาลอนุญาตเป็นพิเศษให้ทนายความชั้น ๒ ว่าความต่างถิ่น ก็ไม่มีเหตุที่จะให้รายงานต่ออธิบดีศาลอุทธรณ์ถ้า


ภาคผนวก ๗๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc จะให้รายงานต่อเนติบัณฑิตยสภา ก็จะเป็นการเสียศักดิ์ศรีของศาล หรือเพียงแจ้งให้เนติบัณฑิตยสภาทราบ เนติบัณฑิตยสภาก็จะลดฐานะเป็นเพียงสำนักงานทะเบียนทนายความ ไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยว่าการ อนุญาตของศาลท้องถิ่นสมควรหรือไม่ ๒. ที่อ้างกันว่าทนายความชั้น ๒ เคยมีสิทธิว่าความต่างถิ่นนั้น แท้จริงแล้ว ทนายความชั้น ๒ เพียง อาจขออนุญาตพิเศษไปว่าความต่างถิ่นเท่านั้น หาใช่สิทธิไม่ เพราะโดยนิตินัย ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจจะไม่ อนุญาตก็ได้ แต่โดยพฤตินัยนั้นเคยอนุญาตกันเสมอมา เป็นเหตุให้สำคัญผิดว่าทนายความชั้น ๒ เคยมีสิทธิไป ว่าความต่างถิ่น ทั้งๆ ที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายบ่งชี้ชัดว่า เพียงอาจขออนุญาตพิเศษไปว่าความต่างถิ่นเท่านั้น ถ้าจะมีข้อโต้แย้งยกเอาการที่เคยอนุญาตกันมาก่อนขึ้นเป็นเหตุใช้สิทธิอนุญาตพิเศษ แล้วให้มีการอนุญาตกัน ทุกกรณี การให้ขออนุญาตก็ไร้ความหมาย เพราะจะกลายเป็นเอกสิทธิไป อีกทั้งการอนุญาตก็ไร้ความหมายใน เมื่อไร้อำนาจปฏิเสธ และผู้อนุญาตก็จะกลายเป็นเพียงผู้เก็บค่าธรรมเนียมไป ๓. ในการยกร่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ คณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติฉบับ นี้ (ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงยุติธรรมและผู้แทนเนติบัณฑิตยสภา) ไม่มีเจตนาตัดสิทธิทนายความชั้น ๒ และร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของทางราชการเป็นขั้นๆ จนถึงกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีนายกสมาคมทนายความอยู่ด้วย คือพระยาปรีดานฤเบศร สืบต่อโดยนายชมพู อรรถจินดา ลงชื่อในคำร้อง ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วย ๔. การกำหนดให้ทนายความชั้น ๒ สามารถว่าความได้ ๕ จังหวัดนั้น เป็นการมุ่งอำนวยความสะดวก ที่จะได้ไม่ต้องขออนุญาตพิเศษไปว่าความต่างถิ่นในจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงนั้น สถิติการ ขออนุญาตไปว่าความในจังหวัดห่างไกลเกินกว่าจังหวัดใกล้เคียงมีเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น สาระสำคัญของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘๑๓๓ หลักการและเหตุผล “...โดยที่กฎหมายว่าด้วยทนายความได้ตราขึ้นบังคับใช้มาเป็นเวลานานแล้ว มีบทบัญญัติไม่รัดกุมและ เหมาะสมแก่พฤติการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ เช่น บัญญัติให้การจดทะเบียนและรับ อนุญาตเป็นทนายความตลอดจนการควบคุมมรรยาททนายความเป็นอำนาจหน้าที่ของเนติบัณฑิตยสภา ซึ่ง เป็นสถาบันที่มีหน้าที่โดยตรงในการนี้ และควรมีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ประชาชนกล่าวหาทนายความผู้กระทำ ผิดมรรยาทได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนผู้มีอรรถคดี จึงจำเป็นต้องยกเลิก บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และบัญญัติขึ้นใหม่ใช้แทนต่อไป...” วันที่มีผลใช้บังคับ ให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้น ๖๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตรงกับ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๐๘) ๑๓๓ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๘๒ ตอนที่ ๕๘ ฉบับพิเศษ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๘ หน้าที่ ๑-๒๑


ภาคผนวก ๗๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การประกาศยกเลิกกฎหมาย๑๓๔ ๑. ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ ๒. ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๑ ๓. ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๓ ความหมาย คุณสมบัติและประเภทของทนายความ๑๓๕ ทนายความได้แก่ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตจากเนติบัณฑิตยสภาให้มีสิทธิว่าความในศาล แบ่ง ออกเป็นสองชั้นได้แก่ ทนายความชั้นหนึ่ง มีสิทธิว่าความทั่วราชอาณาจักร ทนายความชั้นสอง มีสิทธิว่าความในศาลในเขตจังหวัดที่ทนายความผู้นั้นมีสำนักงานจดทะเบียนไว้ และในจังหวัดอื่นที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และมีสิทธิว่าความในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาเฉพาะคดีที่ศาลชั้นต้น ในเขตจังหวัดดังกล่าวได้พิพากษาหรือสั่ง ไม่ว่าจะได้ว่าความในศาลชั้นต้นหรือไม่ เนติบัณฑิตยสภามีอำนาจอนุญาตให้ทนายความชั้นสองว่าความในศาลในเขตจังหวัดอื่นนอกจาก จังหวัดที่ทนายความผู้นั้นมีสำนักงานที่จดทะเบียนไว้ได้อีกไม่เกิน ๔ จังหวัด โดยต้องเป็นจังหวัดที่มีเขตติดต่อ กับจังหวัดที่ทนายความผู้นั้นมีสำนักงานที่จดทะเบียนไว้และให้เนติบัณฑิตยสภาระบุเขตจังหวัดที่ได้รับอนุญาต ให้ว่าความไว้ในใบอนุญาตให้เป็นทนายความด้วย ทนายความชั้นสองอาจยื่นคำขอเปลี่ยนเขตจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความนั้นได้ โดยเนติบัณฑิต สภามีอำนาจในการอนุญาตตามสมควร ทนายความชั้นสองคนใดได้รับอนุญาตพิเศษให้ว่าความต่างถิ่นในคดีใด ในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิว่าความและดำเนินการอื่นในคดีนั้นต่อไปได้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นทนายความ ตามที่กำหนดไว้และให้ถือว่าใบอนุญาตทนายความนั้น ๆ เป็นใบอนุญาตที่ได้ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ห้ามมิให้ผู้ที่มิได้เป็นทนายความ หรือเป็นทนายความแต่ถูกเพิกถอนชื่อหรือต้องห้ามการเป็น ทนายความ หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ หรือขาดต่ออายุใบอนุญาตเป็นทนายความ ว่าความใน ศาลหรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวกับการ พิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น แต่ไม่รวมถึงเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ในราชการและบุคคลซึ่งมี อำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๑๓๔ มาตรา ๓ ๑๓๕ มาตรา ๔ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘


ภาคผนวก ๗๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ใบอนุญาตฯ ออกโดยเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๒๘ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต และการยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ๑๓๖ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่ง ๑. มีสัญชาติไทย ๒. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี ๓. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ๔. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ๕. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ๖. ไม่เป็นผู้มีกายพิการหรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ ทนายความ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นสอง ๑. มีคุณสมบัติตามข้อ ๑, ๒, ๔, ๕ และ ๖ ของผู้ที่ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้น ๑ ๒. สอบได้ความรู้ตามที่เนติบัณฑิตยสภากำหนดให้มี หรือมีปริญญาหรืออนุปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์จากสถานศึกษาในประเทศไทยซึ่งเนติบัณฑิตยสภารับรอง ๓. เป็นสมาชิกวิสามัญหรือสมาชิกสมทบแห่งเนติบัณฑิตยสภา ทนายความคนใดขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ว่าก่อนหรือหลังรับใบอนุญาตฯ ให้เนติบัณฑิตยสภามี อำนาจถอนชื่อทนายความผู้นั้นออกจากทะเบียนทนายความ ทนายความต้องมีสำนักงานตามที่ระบุในคำขอจดทะเบียน และจะมีมากกว่า ๑ สำนักงานมิได้ แต่อาจ ขอย้ายสำนักงานที่จดทะเบียนไว้ได้ แต่ทนายความชั้นสองจะย้ายที่ตั้งสำนักงานได้เฉพาะภายในจังหวัด เดียวกับที่ตั้งสำนักงานเดิม เว้นแต่จะได้จดทะเบียนสำนักงานนั้นมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และทนายความผู้นั้นเป็น สมาชิกสมทบแห่งเนติบัณฑิตยสภาไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือเป็นสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา ก็อาจย้ายไป ตั้งในเขตจังหวัดอื่นก็ได้ ๑๓๖ มาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๓๕


ภาคผนวก ๗๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc คำขอจดทะเบียนและขอรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ให้ทำตามแบบที่เนติบัณฑิตยสภากำหนด และยื่นต่อเนติบัณฑิตยสภา แต่หากผู้ยื่นคำขอมีสำนักงานในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี จะยื่นคำขอต่อศาลจังหวัดนั้นเพื่อส่งมายังเนติบัณฑิตยสภาก็ได้ เมื่อเนติบัณฑิตยสภาได้รับคำขอจดทะเบียนแล้ว เห็นว่าผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติครบ ให้เนติบัณฑิตย สภารับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความแก่ผู้ยื่นคำขอ ใบอนุญาตเป็นทนายความมีอายุใช้ได้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม และให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายใน ๓ เดือนสุดท้ายของปีที่ใบอนุญาตจะสิ้นอายุ หากใบอนุญาตเป็นทนายความสูญหายหรือเสียหายในสาระสำคัญ จะยื่นคำขอรับใบแทนในอนุญาตก็ ได้ ให้ทนายความที่มีสำนักงานที่จดทะเบียนไว้ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เนติบัณฑิตยสภา ส่วนทนายความที่มีสำนักงานจดทะเบียนไว้ในจังหวัดอื่น ให้ชำระต่อ ศาลจังหวัดที่มีสำนักงานอยู่ในเขต ค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้น ให้เป็นรายได้ของเนติบัณฑิตยสภาเพื่อใช้จ่ายในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ รวมถึงการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของเนติบัณฑิตยสภา มรรยาททนายความ คณะกรรมการมรรยาททนายความ และวิธีพิจารณาคดีมรรยาททนายความ๑๓๗ ทนายความต้องปฏิบัติตนตามมรรยาททนายความที่เนติบัณฑิตยสภากำหนด ในระหว่างที่เนติบัณฑิตยสภายังมิได้ตราข้อบังคับตามมาตรา ๑๗ ให้ถือว่าความในมาตรา ๑๒ ของ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ และข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภาว่าด้วยมรรยาททนายความและ การแต่งกายของทนายความ เป็นเสมือนข้อบังคับที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา ๑๗ คณะกรรมการมรรยาททนายความประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อย กว่า ๘ คน ซึ่งเนติบัณฑิตยสภาแต่งตั้งจากสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย เป็น สามัญสมาชิกมาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และไม่เคยประพฤติผิดมรรยาททนายความ ให้เนติบัณฑิตยสภาแต่งตั้ง คณะกรรมการมรรยาททนายความภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ กรรมการมรรยาททนายความมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี หากมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นใน ขณะที่กรรมการที่แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นนั้นอยู่ใน ตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการมรรยาททนายความซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น และกรรมการมรรยาท ทนายความที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้ให้กรรมการมรรยาททนายความเป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา กรรมการมรรยาททนายความพ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระ ตาย ลาออก ขาดจากสัญชาติไทย ขาด จากการเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือเนติบัณฑิตยสภาให้พ้นจากตำแหน่ง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดมรรยาทของทนายความ สามารถทำเรื่องราวต่อเนติ บัณฑิตยสภา กล่าวหาทนายความผู้นั้นว่าประพฤติผิดมรรยาทได้ภายใน ๑ ปีนับแต่รู้ถึงการประพฤติผิด ๑๓๗ มาตรา ๑๗ ถึงมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑


ภาคผนวก ๗๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc มรรยาทและรู้ตัวผู้ประพฤติผิดแต่ไม่เกิน ๓ ปีนับแต่วันประพฤติผิดมรรยาททนายความ การถอนเรื่องกล่าวหา ที่ได้ยื่นไว้แล้วไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อเนติบัณฑิตยสภาได้รับเรื่องราวกล่าวหา หรือเมื่อศาลได้แจ้งมายังนายกเนติบัณฑิตยสภา หรือเมื่อ การปรากฏแก่เนติบัณฑิตยสภาถึงการประพฤติผิดมรรยาททนายความ ให้นายกเนติบัณฑิตยสภาแต่งตั้ง สมาชิกเนติบัณฑิตยสภาไม่น้อยกว่า ๓ คนเป็นกรรมการสอบสวนว่ากรณีมีมูลหรือไม่ และให้กรรมการ สอบสวนนี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การพิจารณาคดีมรรยาททนายความต้องมีกรรมการ ไม่น้อยกว่า ๓ คนจึงจะเป็นองค์คณะ และให้ถือเสียงข้างมากในการวินิจฉัยชี้ขาด ก่อนการสอบสวน ให้ คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาให้ทนายความผู้ถูกกล่าวหาทราบ ทนายความผู้ถูกกล่าวหาอาจทำคำ ชี้แจงก็ได้ แต่ต้องยื่นคำชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบสวนภายใน ๘ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ สอบสวน หรือภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนขยายให้ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้สอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ให้เสนอความเห็นว่ากรณีมีมูลหรือไม่ต่อนายก เนติบัณฑิตยสภา และให้นายกเนติบัณฑิตยสภามีอำนาจสั่งให้ส่งสำนวนการสอบสวนต่ออธิบดีกรมอัยการหรือ สั่งให้ยกเรื่องราว หรือสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมก็ได้ หากมีคำสั่งให้ยกเรื่องราว ให้เนติบัณฑิตยสภาแจ้งคำสั่งนั้น ให้ผู้กล่าวหาหรือศาล และทนายความผู้ถูกกล่าวหาทราบ เมื่ออธิบดีกรมอัยการได้รับสำนวนการสอบสวนแล้ว อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจทำคำสั่งให้ยื่นคำ กล่าวหาต่อคณะกรรมการทนายความหรือไม่ยื่นคำกล่าวหา หรือมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม ในกรณีที่อธิบดี กรมอัยการมีคำสั่งให้ยื่นคำกล่าวหา ให้พนักงานอัยการที่อธิบดีกรมอัยการมอบหมายมีอำนาจดำเนินการเป็น โจทก์ตามมาตรา ๒๙ แต่หากอธิบดีกรมอัยการมีคำสั่งไม่ยื่นคำกล่าวหา ให้แจ้งคำสั่งนั้นต่อเนติบัณฑิตยสภา และให้เนติบัณฑิตยสภาแจ้งให้ผู้กล่าวหาหรือศาล และทนายความผู้ถูกกล่าวหาทราบ เมื่อคณะกรรมการมรรยาททนายความได้รับคำกล่าวหาของพนักงานอัยการแล้ว ให้คณะกรรมการ มรรยาททนายความพิจารณาและมีอำนาจทำคำสั่งชี้ขาดให้ยกคำกล่าวหาของพนักงานอัยการ ซึ่งคำสั่งชี้ขาดนี้ ถือเป็นที่สุด หรือหากเห็นว่าทนายความผู้ถูกกล่าวหาประพฤติผิดมรรยาท ก็ให้ทำความเห็นส่งไปยังเนติ บัณฑิตยสภาพร้อมสำนวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด กรรมการมรรยาททนายความมีอำนาจเรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ เพื่อประกอบการพิจารณา และให้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดย อนุโลม โดยให้ถือว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ทนายความผู้ถูกกล่าวหาเป็นจำเลย และบุคคลผู้ถูกเรียกมาให้ ถ้อยคำเป็นพยาน คณะกรรมการมรรยาทมีอำนาจส่งประเด็นไปให้ผู้พิพากษาศาลจังหวัดหรือศาลแขวงใดๆ พิจารณาสืบพยานได้ และให้ถือว่าการพิจารณาสืบพยานของผู้พิพากษาเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการ มรรยาททนายความ เมื่อเนติบัณฑิตยสภาได้รับความเห็นและสำนวนการพิจารณาที่คณะกรรมการมรรยาททนายความส่ง มาแล้ว ให้เนติบัณฑิตยสภามีอำนาจวินิจฉัยและทำคำสั่งยกคำกล่าวหา ภาคทัณฑ์ ห้ามเป็นทนายความไม่เกิน ๓ ปี หรือลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ แล้วแต่จะเห็นสมควร ในกรณีที่มีคำสั่งภาคทัณฑ์ ให้จดแจ้งคำสั่ง นั้นไว้ในทะเบียนและใบอนุญาตของทนายความผู้นั้นด้วย ในกรณีที่มีการถอนชื่อหรือมีคำสั่งห้ามเป็น ทนายความหรือมีคำสั่งให้ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ให้จดแจ้งคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนและแจ้งไปให้ ทนายความผู้นั้นกับศาลทั่วราชอาณาจักรทราบ


ภาคผนวก ๗๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc เรื่องที่ค้างพิจารณาอยู่ในชั้นคณะกรรมการสอดส่องความประพฤติทนายความหรือชั้นศาลในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗, ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๓ ไป จนกว่าจะถึงที่สุด การลบชื่อทนายความและการขอเป็นทนายความใหม่๑๓๘ เมื่อทนายความผู้ใดต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดนอกจากกระทำโดย ประมาทหรือเป็นความผิดลหุโทษ และต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นแจ้งต่อเนติบัณฑิตสภา หากเนติบัณฑิตยสภาเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายหรือเป็นการกระทำที่เสื่อมเกียรติของ ทนายความ ให้เนติบัณฑิตยสภามีอำนาจลบชื่อทนายความผู้นั้นออกจากทะเบียนทนายความได้ ทนายความผู้ถูกลบชื่อออกจากทะเบียน เมื่อครบกำหนด ๕ ปี นับแต่วันที่ถูกลบชื่อหรือนับแต่วันพ้น โทษในกรณีที่ถูกลบชื่อเพราะต้องโทษ อาจยื่นขอเป็นทนายความใหม่ต่อเนติบัณฑิตยสภาในเมื่อตนยังมี คุณสมบัติเป็นทนายความได้ หากเนติบัณฑิตยสภาเห็นสมควรพิจารณาอนุญาต ก็ให้มีอำนาจรับจดทะเบียน และออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความอีกได้ การส่งมอบเอกสารของศาลอุทธรณ์๑๓๙ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ส่งมอบทะเบียนทนายความและเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่เนติบัณฑิตย สภาภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บรรดาเรื่องราวหรือคำขอใดๆ ที่ยื่นต่ออธิบดีผู้ พิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งยังค้างพิจารณาหรือดำเนินการและอาจดำเนินการไปได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือ เป็นเรื่องราวหรือคำขอต่อเนติบัณฑิตยสภาเพื่อให้พิจารณาหรือดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หลังจากนั้นไม่นาน คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาก็หมดอายุลงตามวาระ คณะกรรมการเนติ บัณฑิตยสภาชุดใหม่ได้รับเลือกเข้ามาในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๑๑ บรรดาทนายความชั้น ๒ เห็นเป็นโอกาสที่ จะเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติทนายความอีกครั้ง จึงได้รวมตัวกันยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อสมาคม ทนายความในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๑๑ สมาคมทนายความได้รับเรื่องและพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงได้ มีความเห็นเสนอมายังคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา ๒ ข้อ (๑) สมควรที่จะได้มีการแก้ไขผ่อนปรนให้ทนายความชั้น ๒ มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตว่าความได้ทั่ว ราชอาณาจักรดังเดิม และ (๒) สมควรที่จะให้โอกาสแก่ทนายความชั้น ๒ ที่ได้ว่าความมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ปี จนเป็นที่เห็นชัดว่า เป็นผู้มีความรู้ความสามารถได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นทนายความชั้น ๑ ดังเช่นที่พระราชบัญญัติทนายความฉบับ เดิมได้มีบทบัญญัติทำนองนี้อยู่ คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาจึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๑ โดยให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นประธาน และมีอนุกรรมการอีก ๖ นาย ประกอบด้วย นายพจน์ ปุษปา คม นายโปร่ง เปล่งศรีงาม นายปรีชา สุมาวงศ์ นายทวี กสิยพงศ์ นายประภาศน์ อวยชัย และนายมารุต บุนนาค (นายกสมาคมทนายความในขณะนั้น) เพื่อพิจารณาคำร้องดังกล่าว คณะอนุกรรมการชุดนี้พิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ข้อเสนอของสภาทนายความในข้อ (๑) เป็นปัญหา เกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนของคณะผู้แทนทนายความชั้น ๒ ที่กำลังประสบความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากการ ๑๓๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ ๑๓๙ มาตรา ๔๒


ภาคผนวก ๗๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ถูกจำกัดเขตให้ว่าความได้ไม่เกิน ๕ จังหวัด สมควรจะมีการแก้ไขผ่อนปรนต่อไป ส่วนข้อเสนอ (๒) นั้น เห็นว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการจะแก้ไขผ่อนปรนความเดือดร้อนจากการถูกจำกัดสิทธิว่าความ คณะอนุกรรมการจึงขอให้ นายมารุต บุนนาค ถอนข้อเสนอ (๒) เสีย ซึ่งนายมารุตก็ยินยอม ทำให้มีการพิจารณาเฉพาะข้อเสนอ (๑) เท่านั้น จึงได้ประชุมปรึกษาในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๑ และเห็นว่าสมควรผ่อนผันให้ทนายความชั้น ๒ มี สิทธิว่าความในศาลต่างถิ่นได้ โดยขออนุญาตพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้วยเหตุผลดังนี้ ๑. ทนายความชั้น ๒ แต่เดิมเป็นพวกเสมียนและศาลจังหวัดที่กันดาร ทำการทดสอบความรู้แล้ว ได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความเพื่อแก้ความขาดแคลนทนายความในบางจังหวัด ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง การปกครอง โรงเรียนกฎหมายสลายตัวไปและได้ตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาเนติ บัณฑิตยสภาเห็นสมควรจะส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย จึงจัดตั้งสำนัก อบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และบังคับให้ผู้ที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติ บัณฑิตยสภา จะต้องผ่านการสอบไล่ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายด้วย ทำให้ผู้ที่สำเร็จปริญญา ก่อน พ.ศ. ๒๔๙๕ มีสิทธิสมัครเป็นสามัญสมาชิกได้ ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาภายหลัง พ.ศ. ๒๔๙๕ มีสิทธิสมัคร เป็นวิสามัญสมาชิก และเนติบัณฑิตยสภาได้ร่วมกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในการผ่อนผันให้ผู้ที่ได้รับ อนุปริญญาและปริญญาตรีที่ไม่มีสิทธิเป็นสามัญสมาชิก รับอนุญาตเป็นทนายความชั้น ๒ ได้ ๒. ทนายความชั้น ๒ ในขณะนั้น ส่วนใหญ่มิใช่ผู้ที่สอบไล่ได้จากจังหวัดที่กันดารและขาดแคลน ทนายความ แต่เป็นผู้ที่สอบไล่ได้อนุปริญญาหรือปริญญาตรีทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา และจะทวีจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมา ทนายความชั้น ๒ ต่างก็แยกย้ายพากันไปว่าความทั่วราชอาณาจักร มิได้มุ่งไปว่าความต่าง ถิ่นที่เจริญกว่าดังที่มีผู้วิตก ทั้งการขอย้ายสำนักงานก็เป็นสิทธิของทนายความที่สามารถกระทำได้ จึงไม่น่าห่วง ว่าหากอนุญาตให้ทนายความชั้น ๒ ขออนุญาตว่าความต่างถิ่นได้แล้ว จะพากันมาอยู่และว่าความในจังหวัด พระนคร จนชาวบ้านในจังหวัดอื่น ๆ เดือดร้อน แต่จะเป็นการอนุเคราะห์ให้ประชาชนได้มีเสรีภาพที่จะ เลือกใช้ทนายความคนใดไปว่าความในจังหวัดใดก็ได้ ๓. เป็นที่ยอมรับว่า ยังมีจำนวนทนายความชั้น ๑ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนผู้มีอรรถ คดี จึงจำเป็นที่จะต้องมีทนายความชั้น ๒ เพื่อช่วยให้มีทนายความเพียงพอต่อความต้องการ การจำกัดให้ ทนายความชั้น ๒ มีสิทธิว่าความเฉพาะในจังหวัดที่ตั้งสำนักงานและจังหวัดต่อเนื่องอีก ๔ จังหวัด จึงเป็น ผลเสียแก่ประชาชน เพราะประชาชนควรมีสิทธิเลือกเฟ้นทนายความได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้ได้ ทนายความที่ตนพอใจ ทั้งยังทำให้เสียค่าจ้างว่าความในอัตราที่ย่อมเยาลงด้วย ๔. คณะอนุกรรมการเห็นว่า ฐานะและสิทธิของทนายความชั้น ๑ และทนายความชั้น ๒ มีความ แตกต่างกันอย่างเพียงพอแล้ว เพราะทนายความชั้น ๑ ย่อมมีฐานะและได้รับการยกย่องในทางสังคมเหนือกว่า ทนายความชั้น ๒ ทั้งยังสามารถว่าความในศาลได้ทั่วราชอาณาจักรโดยไม่ต้องขออนุญาตเป็นพิเศษและเสีย ค่าธรรมเนียม ๕. การจำกัดเขตให้ทนายความชั้น ๒ ว่าความได้เพียง ๕ จังหวัด และสามารถขออนุญาตเปลี่ยนเขต จังหวัดได้นั้น ก่อให้เกิดความยุ่งยากเป็นผลร้ายแก่ประชาชน เนื่องจากเคยมีคดีที่ทนายความชั้น ๒ รับว่าคดีได้ ขอเปลี่ยนเขตจังหวัดไปยังจังหวัดอื่นก่อนที่คดีนั้นจะเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุด เป็นเหตุให้ทนายความผู้นั้นไม่มีสิทธิ ที่จะว่าคดีที่ค้างอยู่นั้น นอกจากนี้ การขอเปลี่ยนเขตจังหวัดใหม่ ก็เป็นการสร้างภาระให้แก่เนติบัณฑิตยสภาที่ จะต้องพิจารณาอนุญาตและติดตามสอดส่องดูแลการเปลี่ยนเขตจังหวัดให้เป็นไปโดยถูกต้อง


ภาคผนวก ๘๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ๖. การอนุญาตให้ทนายความชั้น ๒ ขออนุญาตไปว่าความต่างถิ่น มิได้ทำให้จำนวนนักศึกษาของ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาลดลงแต่อย่างใด เพราะผู้ที่เข้ามาศึกษาวิชากฎหมาย ย่อมมุ่ง ศึกษาเพื่อเกียรตินิยมหรือชื่อเสียง มิใช่เพียงแต่จะมุ่งการเป็นทนายความชั้น ๑ เพียงอย่างเดียว ๗. จากสถิติที่ผ่านมา ทนายความชั้น ๒ ได้ขออนุญาตพิเศษไปว่าความต่างถิ่นเกินร้อยละ ๑๐๐ ของ จำนวนทนายความชั้น ๒ ทั่วประเทศเกือบทุกปี แสดงให้เห็นว่าประชาชนได้พึ่งพาความรู้ความสามารถของ ทนายความชั้น ๒ อย่างกว้างขวาง มิใช่เพียงร้อยละ ๑ ดังที่คณะอนุกรรมการชุดก่อนกล่าวอ้าง ๘. เนติบัณฑิตยสภามีฐานะเป็นทั้งผู้ให้กำเนิด ผู้พิทักษ์ และผู้ปกครองดูแลการประกอบวิชาชีพของ ทนายความเป็นสำคัญ เมื่อทนายความชั้น ๒ ได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ และคำร้องที่ ทนายความชั้น ๒ ขอมา ก็เป็นเพียงการแก้ไขผ่อนปรนให้มีโอกาสขออนุญาตว่าความต่างถิ่นได้เหมือนดังที่เคย ปฏิบัติมา และการที่จะผ่อนผันนี้ก็มิได้กระทบกระเทือนต่อหลักการของเนติบัณฑิตยสภาแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะอนุกรรมการจึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรแก้ไขหลักการใน พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่จำกัดเขตว่าความของทนายความชั้น ๒ นั้นเสีย โดยอนุญาตให้ ทนายความชั้น ๒ ว่าความได้ในศาลเฉพาะที่จังหวัดที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาต หากจะไปว่าความต่างถิ่นต้องขอ อนุญาตพิเศษเฉพาะเรื่อง ดังที่เคยตราไว้เป็นหลักการในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ และได้เสนอ ความเห็นนี้ไปยังคณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภา คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาได้ลงมติเห็นชอบกับความเห็นของคณะอนุกรรมการ ที่จะแก้ไข หลักการในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ให้เป็นไปตามหลักการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๗ นายกเนติบัณฑิตยสภาจึงได้เสนอมติดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะสภานายกพิเศษ พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๑๔ ภายหลังจากคณะกรรมการสมาคมทนายความได้พยายามร้องเรียนต่อเนติบัณฑิตยสภาและกระทรวง ยุติธรรม ให้แก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ เพื่อให้ได้สิทธิอันชอบธรรมแก่บรรดาทนายความที่เป็นนิติศาสตร บัณฑิตอยู่หลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะบรรดากรรมการเนติบัณฑิตยสภาในยุคนั้น เป็นนัก กฎหมายอาวุโสที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่๑๔๐ จนกระทั่งในปี ๒๕๑๑ มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาชุดใหม่ ซึ่งผู้ได้รับเลือกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นหนุ่ม จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไข พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ต่อกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้สิทธิของทนายความที่เป็นนิติศาสตร บัณฑิตดีขึ้นกว่าเดิม จนในที่สุดก็สำเร็จออกมาเป็นพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๔ โดย แก้ไขคุณสมบัติผู้ที่จะเป็นทนายความชั้นหนึ่งนั้นต้องเป็นสามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตย สภา ส่วนผู้สำเร็จนิติศาสตรบัณฑิตยังคงเป็นทนายความชั้นสอง แต่มีสิทธิว่าความได้ ๑๐ จังหวัด โดยไม่ จำเป็นต้องเป็นเขตติดต่อกัน หากจะว่าความต่างถิ่นจะสามารถขออนุญาตศาลได้เป็นรายคดีไป นอกจากนี้ ยังได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเป็นทนายความทั้งสองประเภท ขึ้นอีกประการหนึ่ง คือ จะต้องไม่เป็นข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำรวมทั้งข้าราชการ การเมือง ๑๔๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๘


ภาคผนวก ๘๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc สาระสำคัญของพระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๔๑๔๑ หลักการและเหตุผล “...เพื่อให้ทนายความชั้นสองว่าความในศาลได้ทั่วราชอาณาจักรด้วยการขอรับใบอนุญาตให้ว่าความต่าง เขตเป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง และสมควรห้ามมิให้ข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่ง ประจำ รวมทั้งข้าราชการการเมืองจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม...” วันที่มีผลใช้บังคับ ให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้น ๓๐ วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตรงกับ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๔) คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นทนายความ๑๔๒ เพิ่มคุณสมบัติเป็นสามัญสมาชิกหรือเป็นสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา และต้องไม่เป็น ข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินเดือนและตำแหน่งประจำ รวมทั้งข้าราชการการเมือง เป็น คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่ง แก้ไขคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความชั้นสอง ให้มีคุณสมบัติตามข้อ ๑, ๓, ๔, ๕, ๖ และ ๗ ของมาตรา ๕ หรือสอบความรู้ได้ตามที่เนติบัณฑิตยสภากำหนด หรือเป็นสมาชิกสมทบแห่งเนติ บัณฑิตยสภา ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความไปแล้ว แต่ขาดคุณสมบัติด้านการเป็นข้าราชการ ให้ ถือว่าหมดสิทธิจะต่อใบอนุญาต ส่วนใบอนุญาตที่ได้ออกให้แก่ผู้นั้นไป ให้คงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุใบอนุญาต การจำกัดเขตจังหวัดที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความ๑๔๓ แก้ไขสิทธิว่าความของทนายความชั้นสอง ให้สามารถว่าความได้ในศาลในเขตจังหวัดรวม ๑๐ จังหวัด ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ทนายความชั้นสองซึ่งว่าความอยู่แล้วในศาลที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเป็นทนายความก่อนที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีสิทธิว่าความและดำเนินการอื่นในฐานะทนายความคดีนั้นต่อไปได้ ทนายความชั้นสองสามารถว่าความในศาลในเขตจังหวัดอื่นนอกจากที่จดทะเบียนไว้ในใบอนุญาตเมื่อ ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษเฉพาะเรื่อง โดยการขอรับอนุญาตให้ว่าความต่างเขตนั้น ให้ยื่นคำขอที่ศาลซึ่งตนมี สำนักงานอยู่หรือขอต่อผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่ตนประสงค์จะไปดำเนินคดีก็ได้ การย้ายสำนักงานของทนายความชั้นสอง ให้สามารถย้ายสำนักงานไปตั้งในจังหวัดใดก็ได้ตามที่ระบุไว้ ในใบอนุญาต การเปลี่ยนเขตจังหวัด ให้สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนเขตจังหวัดเพียงจังหวัดเดียวหรือหลายจังหวัดก็ได้ ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตว่าความต่างเขต ให้ชำระที่ศาลที่ยื่นคำขอ --------------------------- ๑๔๑ พระราชบัญญัติทนายความ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘๘ ตอนที่ ๔๔ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๑๔ หน้า ๒๓๖-๒๔๕ ๑๔๒ มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๑๓ ๑๔๓ มาตรา ๓ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๒


ภาคผนวก ๘๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc การก่อตั้งสภาทนายความ จากกระแสความไม่พอใจในการถูกจำกัดสิทธิว่าความของทนายความชั้นสอง นำไปสู่การรวมตัวและ เรียกร้องสิทธิของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความให้มีองค์กรของทนายความที่จะควบคุมดูแลเหล่าทนายความ ด้วยกันเอง ดังจะเห็นได้ในปี ๒๕๑๓ เมื่อสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้จัดการสัมมนานักกฎหมาย แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑ ขึ้น ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มกราคม ๒๕๑๓ ข้อยุติการสัมมนาข้อ ๕ ได้ระบุว่า “...ขอให้สถาบันทนายความเท่านั้น เป็นผู้ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเอง ดังเช่นที่เป็นอยู่ใน นานาประเทศ และให้เป็นเช่นเดียวกับอาชีพแพทย์ที่แพทย์ควบคุมกันเองในประเทศไทย...” พ.ศ. ๒๕๑๗ นายมารุต บุนนาค สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้น ได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติสภาทนายความขึ้นเป็นครั้งแรก ตามแนวคิดจากข้อยุติการสัมมนานักกฎหมายในปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ดังกล่าว ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ยังมิได้มีการพิจารณาสภานิติบัญญัติแห่งชาติสมัยนั้นก็ได้สิ้น สภาพไปเสียก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมจากเดิม “สมาคมทนายความ” เป็น "สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย" ดังนั้น ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงถือเป็น "วันทนายความ" อันเป็นวันสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ปีเดียวกันกับการเปลี่ยนชื่อ “สมาคมทนายความ” เป็น “สมาคมทนายความ แห่งประเทศไทย” นายมงคล สุคนธขจร อุปนายกสมาคมทนายความ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาทนายความ ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๑๘ สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วมีมติรับหลักการในวาระแรก แต่ขณะอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร แต่ปรากฏว่ามีการยุบสภา ผู้แทนราษฎรในเดือนมกราคม ๒๕๑๙ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งทนายความฉบับนี้จึงตกไป และการ เคลื่อนไหวเพื่อให้มีสภาทนายความก็ได้หยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเนื่องจากสภาวการณ์ทางการเมือง หลังจากนั้น นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษและคณะ ได้เสนอร่าง พระราชบัญญัติสภาทนายความต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๕ ต่อมา นายมารุต บุนนาค ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติทนายความ โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม (นายโสภณ รัตนากร) เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ได้พิจารณาร่างกัน ๑๙ ครั้งจึงแล้วเสร็จ จากนั้นกระทรวง ยุติธรรมได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๖ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๖ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจแก้ร่างอีกชั้นหนึ่ง ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติทนายความดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา นายสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุบลราชธานี, นายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตรัง และนายมารุต บุนนาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) และ คณะ ได้ร่วมกันเสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความซึ่งมีหลักการและเหตุผล ส่วนใหญ่ทำนองเดียวกับร่างของ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาอยู่ ให้พรรคประชาธิปัตย์พิจารณา ที่ประชุมพรรค ประชาธิปัตย์ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ให้เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อสภาผู้ราษฎรเพื่อ ภาคผนวก ๒


ภาคผนวก ๘๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc พิจารณาต่อไป และสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีรับรองก่อนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี จึงได้ส่งเรื่องให้ “คณะกรรมการประสานงานรัฐสภา” ซึ่งมี นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธาน เป็นผู้พิจารณาคณะกรรมการประสานงานรัฐสภาได้พิจารณาเรื่องนี้เมื่อ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นควรให้นายกรัฐมนตรีให้คำรับรอง พลเอกเปรมจึงได้ลง นามรับรองเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๖ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ลงนามรับรองเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๖ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องไปยังเลขาธิการรัฐสภาเพื่อนำเสนอ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันเดียวกัน วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๖ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้บันทึกส่งการ “อนุญาตให้ร่างพระราชบัญญัติทนายความบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมได้” ต่อมา สำนักนายกรัฐมนตรี โดยพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความฉบับของรัฐบาล ซึ่งเป็นร่างที่กระทรวงยุติธรรมได้ร่าง เสนอขึ้นใหม่ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๗ และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ นำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังจากที่นายสุทัศน์ เงินหมื่น ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความ ของตนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรปีเศษ และหลังจากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งบรรจุร่าง พระราชบัญญัติทนายความของนายสุทัศน์ เงินหมื่น เข้าระเบียบวาระแล้วเก้าเดือนเศษ วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๑/๒๕๒๗ (สมัยสามัญ) ช่วง บ่ายเวลา ๑๔.๑๕ น. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา ผู้แทนราษฎร นายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เสนอญัตติขอให้เปลี่ยน ระเบียบวาระการประชุม โดยหยิบยกร่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... ซึ่งนายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นผู้ เสนอจากข้อ ๕.๖๔ และรัฐบาลเสนอข้อ ๖.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ที่ประชุมได้ลงมติในครั้งแรกให้เปลี่ยน ระเบียบวาระ ๕๒ เสียง ไม่สมควรเปลี่ยนวาระ ๕๐ เสียง ได้มีผู้เสนอขอให้นับคะแนนใหม่ในการลงมติครั้งที่ ๒ ปรากฏว่าที่ประชุม เห็นสมควรให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยนำเอาร่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... ตามระเบียบวาระที่ ๕.๖๔ และ ๖.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ด้วยคะแนนเสียง ๙๓ ต่อ ๖๔ และที่ประชุมได้มีมติ เป็นเอกฉันท์รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. .... ของกระทรวงยุติธรรมที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอกับร่างของนายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นผู้เสนอ กับได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาคณะ หนึ่ง จำนวน ๒๕ คน โดยนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นกรรมาธิการด้วยผู้ หนึ่ง วันจันทร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๒๗ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประชุมครั้งแรกได้เลือกตั้งให้นายพิภพ อะสีติรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และให้นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ เป็นเลขานุการ คณะกรรมาธิการฯ วันอังคารที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๒๗ คณะกรรมการสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มี การประชุมทนายความ และผู้แทนสมาคมทนายความฯ จากทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติทนายความ ณ ห้องสีดา โรงแรมรอแยล (รัตนโกสินทร์) กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ น. ในการประชุมครั้งนี้ นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ, นายสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี, นายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์, นายการุณ ใสงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ และนาย


ภาคผนวก ๘๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc เปรม มาลากุล ณ อยุธยา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้มีส่วนร่วมสนับสนุนและผลักดันให้ ร่างพระราชบัญญัติทนายความ ได้เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้เกียรติมาร่วมในการประชุมครั้งนี้ ด้วย จากวันจันทร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๒๗ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ประชุมพิจารณาร่วมกันทั้งสิ้น ๑๑ ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๗ จึงได้พิจารณาเสร็จสิ้นทุกมาตรา และได้มีการพิจารณา ทบทวนการใช้ถ้อยคำกันอีก ๒ ครั้ง ในวันที่ ๘ และ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๘ นายพิภพ อะสีติรัตน์ ประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้นำร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ แล้ว เสนอต่อประธานสภา ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๘ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้สั่งบรรจุเข้าระเบียบวาระที่ ๔.๒ ในการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๖/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๒๘ คณะกรรมการสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทนายความและผู้แทนสมาคมฯ จากทั่วประเทศ และชี้แจงขั้นตอนการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติทนายความของรัฐสภา ณ ห้องสีดา โรงแรมรอแยล (รัตนโกสินทร์) ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) เห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ ในวาระที่ ๒-๓ กับร่างที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ และได้ส่งให้ วุฒิสภาพิจารณาเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ ดร. อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา ได้สั่งบรรจุร่างพระราชบัญญัติทนายความเข้าในระเบียบวาระ ที่ ๖.๑ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๖/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) วันศุกร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๘ นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการสมาคม ทนายความฯ เข้าพบ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภา เมื่อวันอังคารที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๓๐ น. ณ ห้องรับรองประธานรัฐสภาเพื่อขอทราบขั้นตอนการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ หลังจากได้ผ่าน การพิจารณาเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว วันศุกร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๘ วุฒิสภาได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) เห็นชอบ ด้วยหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทนายความ และส่งให้คณะกรรมาธิการการปกครองของวุฒิสภาพิจารณา โดยที่ร่างพระราชบัญญัติทนายความฉบับนี้ เป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินวุฒิสภา จะต้อง พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๗ คณะกรรมาธิการการปกครองวุฒิสภา ซึ่งมีนายโอสถ โกศิน เป็นประธาน ได้พิจารณาแล้วเสร็จ และ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๒๘ วุฒิสภาได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๘๒/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) เห็นชอบด้วย ตามร่างที่คณะกรรมาธิการการปกครองเสนอ และได้ส่งเรื่องกลับมายังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๒๘ สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/ ๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) และได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒๐ คน นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ นายกสมาคมฯ ได้รับการแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นกรรมการร่วมกันของฝ่าย สภาผู้แทนราษฎรด้วย วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) วุฒิสภาได้มีมติให้ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๒๐ คน


ภาคผนวก ๘๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๘ คณะกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรกับฝ่าย วุฒิสภา ได้ประชุมพิจารณาเลือกให้ ดร. อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เป็น ประธานคณะกรรมาธิการร่วมกัน และเลือกนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกัน ได้ พิจารณาเสร็จทุกมาตราในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๘ นั่นเอง และได้นำเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๑๕/๒๕๒๘ (สมัย สามัญ) ร่างพระราชบัญญัติทนายความได้บรรจุเข้าอยู่ในระเบียบวาระที่ ๔.๕ การประชุมในช่วงบ่าย นาย อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่งบัลลังก์เป็นที่ประธานที่ประชุม ที่ประชุมได้มีมติให้เปลี่ยน ระเบียบวาระการประชุม โดยให้นำระเบียบวาระที่ ๔.๕ เรื่องร่างพระราชบัญญัติทนายความขึ้นพิจารณา ก่อน ตามที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานฯ ได้ขอปรึกษาและที่ประชุม ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความ เห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทนายความที่คณะกรรมาธิการร่วมกันเสนอ และให้ผ่านเป็นกฎหมายได้ วันศุกร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๒๘ (สมัยสามัญ) ร่าง พระราชบัญญัติทนายความบรรจุอยู่ในระเบียบวาระที่ ๑.๓ ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบใน ร่างพระราชบัญญัติทนายความที่คณะกรรมาธิการร่วมกันเสนอและให้ผ่านเป็นกฎหมายได้ วันพุธที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ปิดสมัยประชุมสภา สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช ๒๕๒๘ ต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช ๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๒๘ และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒๙ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๘ วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๘ พระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช ๒๕๒๘ มีผลใช้บังคับ สภาทนายความจึงได้รับการสถาปนาขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายโดยสมบูรณ์ นับเป็นประวัติศาสตร์ แห่งการรวมน้ำใจของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั้งมวล ใช้เวลาในการรณรงค์ต่อสู้นานกว่า ๑๕ ปี ผ่านสมัยการดำรงตำแหน่งของนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ถึง ๔ คน ใบอนุญาตฯ ออกโดยสภาทนายความ (ยุคแรก)


ภาคผนวก ๘๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ใบอนุญาตฯ ๒ ปี ออกโดยสภาทนายความ ใบอนุญาตฯ ตลอดชีพ ออกโดยสภาทนายความ บัตรประจำตัวทนายความ


ภาคผนวก ๘๗ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc คำขวัญ วันสภาทนายความ งานใหญ่อย่างงานของ สภาทนายความ ต้องการจิตต์ที่ มั่นคง มีหลักการ จึงจะทำงาน ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี. จิตต์ที่มั่นคง มีหลักการ ต้องการหลักธรรมอันอบรมได้ ด้วยตนเอง โดยอาศัยพระบรม พุทโธวาทที่ว่า:- จงละเว้นความชั่วทั้งมวล กระทำแต่ความดี ทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส นี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จ ด้วยดีดังปรารถนา/ (ลายมือชื่อ) สัญญา ธรรมศักดิ์ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๘ คำขวัญวันสภาทนายความ โดย ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี --------------------------


ภาคผนวก ๘๘ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc หนังสือตอบรับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสภาทนายความไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช ๒๕๒๘ สภาทนายความ ผ่านการบริหารองค์กรโดย นายกสภาทนายความ ๕ คน เป็นระยะเวลา ๑๐ สมัย (ยกเว้นช่วงเวลาเฉพาะกาลที่นายประธาน ดวงรัตน์ นายก สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรักษาการในช่วง ๓ เดือนแรกที่พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. ๒๕๐๘ ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙) จากนั้นได้มีนายกสภาทนายความซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาจากทนายความทั่วประเทศ ดังนี้ ๑. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ สมัยที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒) ๒. นายประธาน ดวงรัตน์ สมัยที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๕) ๓. นายสัก กอแสงเรือง สมัยที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๘) ๔. นายเกษม สรศักดิ์เกษม สมัยที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๑) ๕. นายสัก กอแสงเรือง สมัยที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๔) สมัยที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๗) ๖. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ สมัยที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๐) สมัยที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓) ๗. นายสัก กอแสงเรือง สมัยที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๖) ๘. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ สมัยที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๙) ปัจจุบันตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สภาทนายความได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ อาคารใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๙ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขต บางเขน กรุงเทพมหานคร จากเดิมที่เคยตั้งอยู่เลขที่ ๗/ ๘๙ อาคาร ๑๐ ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร ที่ได้เช่าอาคารจากสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้เปิดทำการตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ แต่เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารคับแคบ ไม่ สามารถขยับ ขยายตามภารกิจ ที่ เพิ่ มมากขึ้นได้ คณะกรรมการบริหารสภาทนายความจึงได้จัดซื้อที่ดิน จำนวน ๗ ไร่ ๒ งาน ๔๗ ตารางวา บนถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พร้อมอาคารโรงเรียนภูมิ ไพโรจน์พิทยา (สาธิตสภาทนายความ) ในราคา ๑๓๐ ล้านบาท เพื่อจัดสร้างที่ทำการแห่งใหม่ ภาคผนวก ๓


ภาคผนวก ๘๙ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ตราสภาทนายความแบบที่ ๑ ตราสภาทนายความแบบที่ ๒ สภาทนายความ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณครั้งสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ รับสภาทนายความไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามที่นาย เดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ได้กราบบังคมทูลรายงานผลการดำเนินงานของสภาทนายความเมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ โดยก่อนหน้านั้น ในวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ สภาทนายความได้ขอ พระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการของสภาทนายความ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารที่ ทำการสภาทนายความ ในวันศุกร์ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. ตราสภาทนายความ ภายหลังจากการตั้งสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘ แล้ว น ายป ระธาน ดวงรัตน์ นายกส ภ า ทนายความ ได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่า ด้วยตราของสภาทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙ เมื่อ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๙ กำหนดให้ตราของสภา ทนายความมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรก ฤทธิ์ พระบิดาแห่งกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ต่อมา ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราสภา ทนายความ โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ แห่งสภาทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ ชุดที่มีนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ เป็นนายกสภา ทนายความ จึงได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่า ด้วยตราของสภาทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙ (ฉบับที่ ๒) เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๒๙ แก้ไขตราของสภา ทนายความ ให้มีรูปตราชูและรูปพานรัฐธรรมนูญอยู่ ภายในวงกลม มีคำว่า “สภาทนายความ” อยู่ใต้รูป และมีลายกนกทั้งสองข้าง


ภาคผนวก ๙๐ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc ตราสภาทนายความในปัจจุบัน (แบบที่ ๑) เมื่อสภาทนายความได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สภาทนายความอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้มีการปรับแบบตราของสภาทนายความ โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายยกสภาทนายความในขณะนั้น (ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙) ได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยตราของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยตราของสภาทนายความในพระบรม ราชูปถัมภ์ มีรูปพระขรรค์และตราชูชั่งเป็นประธานอยู่ด้านหน้า มีพานรัฐธรรมนูญเป็นลายเส้นอยู่ด้านหลัง มี แถบชื่อ “สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์” โค้งรองรับอยู่ด้านล่าง และมีลายกนก ลายไทยอยู่ด้านบน ซึ่งทั้งหมดประกอบกันอยู่ในวงกลม นอกจากนี้ ข้อบังคับสภาทนายความฉบับนี้ ยังได้กำหนดสีของตราสภาทนายความในพระบรม ราชูปถัมภ์เป็น ๒ แบบ ดังนี้ แบบที่ ๑ เป็นสีน้ำเงินทั้งหมด แบบที่ ๒ พื้นในวงกลมเป็นสีเหลือง พระขรรค์และตราชูชั่งเป็นสีทอง เทา และน้ำเงิน พาน รัฐธรรมนูญเป็นสีน้ำเงิน พื้นแถบชื่อ “สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์” เป็นสีชมพูตัวหนังสือและขอบ เส้นเป็นสีทอง ลายกนกและกรอบวงกลมเป็นสีน้ำเงิน --------------------------------------- ตราสภาทนายความในปัจจุบัน (แบบที่ ๒)


ภาคผนวก ๙๑ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๔๗๕ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ หน้า ๔๗๔- วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๗๕ ภาคผนวก ๔


ภาคผนวก ๙๒ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๙๓ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๙๔ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๙๕ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


ภาคผนวก ๙๖ C:\Users\os\Desktop\100ปี วิชาชีพทนายความ (คำนำ เนื้อเรื่อง)แก้ไข27-10-66.doc


Click to View FlipBook Version