The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือ AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หนังสือ AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

หนังสือ AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

FAAGODNORMDVEISNREIMRSETVNRICTAETSION

เทคโนโลยี
ปญญา
ประดิษฐ

สำหรบั การบร�หารงาน
และการบร�การภาครฐั

เวอรช นั 1.0 (พฤศจกิ ายน 2562)

สำนักงานพัฒนารฐั บาลดิจิทลั (องคการมหาชน) (สพร.)



GAFAONDORMDVEISNREIMRSETVNRICTAETSION

เทคโนโลยี
ปญญาประดิษฐ

สำหรบั การบร�หารงานและการบร�การภาครัฐ

เวอรช นั 1.0 (พฤศจกิ ายน 2562)

ที่ปรึกษา ออกแบบ
ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ บริษทั มูสส์เฮด จ�ำกดั
บรรณาธิการบริหาร พมิ พท์ ่ี
ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด บรษิ ทั ส.พจิ ติ รการพิมพ์ จำ� กดั
บรรณาธกิ าร พมิ พ์ครงั้ ที่ 1
ชรินทร์ ธรี ฐิตยางกรู พฤศจกิ ายน 2562
ชื่อผแู้ ตง่ จ�ำนวน
ปรีชาพล ชูศรี 300 เลม่
จีรณา นอ้ ยมณี ISBN
เกษม พนั ธุส์ ิน 978-616-235-342-0
จดั ทำ�
ส�ำนกั งานพัฒนารฐั บาลดิจทิ ัล
(องคก์ ารมหาชน)

คำ�นยิ ม

ถ้าเราไมเ่ รม่ิ เรียนรู้หรอื ท�ำ ความเขา้ ใจ
เทคโนโลยีในตอนนี้ อาจสง่ ผลกบั
การด�ำ เนินชีวติ ของเราในอนาคต

โลกมกี ารเปลย่ี นแปลงตลอดเวลา ถา้ ถามวา่ ปจั จยั อะไรทส่ี ามารถเปลยี่ นแปลงโลกไดบ้ า้ ง เทคโนโลยี
คงเปน็ คำ� ตอบแรกของใครหลายคน และถา้ ถามลกึ ลงไปอกี วา่ เทคโนโลยอี ะไรในปจั จบุ นั ทมี่ อี ทิ ธพิ ล
ในการเปลีย่ นแปลงโลก เชอื่ ว่า “เทคโนโลยีปัญญาประดษิ ฐ”์ หรอื AI (Artificial Intelligence)
คงเป็นค�ำตอบแรกในบรรดาผู้ท่ีมองว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก โดย
เฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการด�ำเนินชีวิตของเรา ดังน้ัน ถ้าเราไม่เร่ิมเรียนรู้หรือท�ำความเข้าใจ
เทคโนโลยใี นตอนนี้ อาจสง่ ผลกบั การดำ� เนนิ ชวี ติ ของเราในอนาคต เนอ่ื งจากไมช่ า้ กเ็ รว็ เรากต็ อ้ งเขา้
มาสโู่ ลกแหง่ เทคโนโลยที ม่ี ี AI ชว่ ยเราคดิ ชว่ ยเราทำ� งาน และใหเ้ ราจดั การกบั เรอ่ื งรอบตวั ไดง้ า่ ยขนึ้
ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนเท่านั้นที่กระตือรือร้นที่จะน�ำ AI มาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
ของผู้บริโภค ภาครัฐเองก็มีความจ�ำเป็นต้องน�ำ AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐเช่นกัน
หลายประเทศไดม้ กี ารนำ� AI มาใชใ้ นการพฒั นาบรกิ ารและใชเ้ พมิ่ ประสทิ ธภิ าพในการทำ� งานภาครฐั
ในสว่ นของประเทศไทยเองเรมิ่ กม็ กี ารนำ� AIมาใชบ้ า้ งแลว้ แตย่ งั ไมแ่ พรห่ ลายมากนกั ดงั นน้ั สงิ่ สำ� คญั
สำ� หรับภาครฐั ไทยคอื ต้องทำ� ความเข้าใจกบั AI วา่ มีรปู แบบ มกี ารท�ำงาน และมีประโยชน์อย่างไร
เพอื่ สรา้ งแนวคดิ ใหมๆ่ ในการพฒั นาบรกิ ารและยกระดบั การท�ำงานใหต้ อบสนองตอ่ ความตอ้ งการ
ของประชาชนซึ่งตรงกับแนวทางการพัฒนาประเทศในปจั จบุ นั

สพร. ไดเ้ ชญิ ผมเปน็ ประธานกรรมการรว่ มกบั ผทู้ รงคณุ วฒุ หิ ลายทา่ นเพอ่ื พจิ ารณาเนอ้ื หาในหนงั สอื
“เทคโนโลยปี ญั ญาประดษิ ฐส์ ำ� หรบั การบรหิ ารงานและการบรกิ ารภาครฐั ” จงึ มโี อกาสไดอ้ า่ น
หนงั สอื เลม่ นกี้ อ่ นคนอน่ื โดยหนงั สอื เลม่ นตี้ รงกบั ทศิ ทางและแนวโนม้ เทคโนโลยขี องโลกทกี่ ลา่ วถงึ
ประโยชนข์ อง AI สำ� หรับภาครฐั เนื้อหากล่าวถึงความรู้เบ้ืองตน้ เกย่ี วกบั AI นโยบายดา้ น AI ของ
แต่ละประเทศ ตัวอย่างการน�ำ AI มาใช้ส�ำหรับภาครัฐ และสุดท้ายเป็นการรวบรวมประเด็นท่ี
ภาครฐั ต้องเตรียมความพรอ้ มในรูปแบบของข้อเสนอแนะ ซ่ึงจะชว่ ยให้ผูอ้ ่านเขา้ ใจวา่ AI คอื อะไร
ท�ำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร ซ่ึงนับว่ามีประโยชน์ต่อแนวทางการท�ำงานและการให้
บริการของภาครฐั เป็นอย่างย่ิง
ผมหวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเล่มน้ีจะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน AI รวมท้ังสามารถสร้าง
แนวคดิ ใหมใ่ นการนำ� AI มาใชเ้ ปน็ เครอื่ งมอื ทางเลอื กในการพฒั นาและแกไ้ ขปญั หาในการทำ� งาน
ของภาครฐั ใหแ้ ก่ผู้อา่ นครับ
– วรากรณ์ สามโกเศศ

สารบัญ

บทสรุปผู้บริหาร 6 บทที่ 2 60
ค�ำศพั ท์ทเ่ี กยี่ วข้องกับ AI 16 ทิศทาง AI ของโลก 68
บทที่ 1 72
บทนำ� กลมุ่ สหภาพยโุ รป 73
1. ปัญญาประดษิ ฐ์ 19 กล่มุ สแกนดิเนเวีย 75
(Artificial Intelligence: AI) คอื อะไร 75
1.1 นิยามและความหมายของ AI กลุ่มทวีปอเมริกา 77
1.2 ประเภทและการแบง่ ระดับการเรยี นรู้ 27 กลุ่มตะวันออกกลาง 78
ของ AI 80
2. ความสามารถของ AI ในปัจจบุ ัน กลมุ่ เอเชยี
3. แนวทางเบื้องต้นในการวเิ คราะหว์ ่า 28 กลมุ่ อาเซยี น
ส่งิ ใดเป็น AI 33 สรุปทศิ ทาง AI ของโลก
4. ประโยชนข์ อง AI ส�ำหรับภาครัฐ
ข้อสังเกตเพ่ิมเติม: หลกั การและจรยิ ธรรมใน
37 การพฒั นา AI
53
56

บทท่ี 3 84 บทที่ 4 113
แนวทางการน�ำ AI มาเพมิ่ ประสิทธภิ าพ ขอ้ เสนอแนะเพ่ือน�ำ AI 118
การทำ� งานของภาครัฐ มาใช้เพ่ิมประสทิ ธภิ าพภาครัฐ 119
การใช้ AI ในการให้บรกิ ารของรัฐ (Service) 90 ขอ้ เสนอแนะสำ� หรบั หนว่ ยงานภาครัฐ 125
1. การวิเคราะห์รปู แบบ AI ทน่ี ำ� มาใช้ 90 1. ประเมินความเหมาะสมในการน�ำ AI มาใช้ 127
แตล่ ะขน้ั ตอน 2. ก�ำหนดกรอบการด�ำเนินโครงการ 129
2. ตวั อย่างการน�ำ AI มาใช้ใน 93 3. การเตรียมความพร้อมด้านขอ้ มลู 135
งานบริการสาธารณะของรฐั 4. แสวงหาความร่วมมือ 141
การใช้ AI ในระบบบรหิ ารจดั การของรฐั 99 5. การสร้างจรยิ ธรรม 142
1. การวเิ คราะห์รูปแบบ AI ทีน่ ำ� มาใช้ 99 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย 144
ในแตล่ ะงาน 1. ก�ำหนดกรอบการก�ำกบั ดูแล 148
2. ตัวอย่างการน�ำรปู แบบ AI มาใช้ใน 102 2. ส่งเสรมิ พน้ื ฐานขอ้ มลู ภาครัฐ 149
งานบรหิ ารจดั การภาครัฐ 3. สร้างเสริมบุคลากร AI ภาครฐั 150
3. การใช้ AI ในระบบเฉพาะของหนว่ ยงาน 107 4. ส่งเสริมภาคสว่ นท่เี ก่ยี วข้อง
4. สรุป บทบาท อนาคต และแนวโนม้ 112 แนวทางการประยุกต์ใช้ AI
ของปญั ญาประดษิ ฐ์ในภาครัฐ เพ่ือขับเคล่ือนโครงการส�ำคญั ของภาครัฐ

บรรณานกุ รม 155

บทสรุปผ้บู ริหาร

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปประเทศไทยเพ่ือเปลี่ยนผ่านให้ประเทศก้าวสู่ยุคที่ขับเคล่ือน
เศรษฐกิจดว้ ยนวตั กรรมและเทคโนโลยี ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดงั นนั้ การพัฒนาเทคโนโลยี
ดิจิทัลจึงเป็นกลไกส�ำคัญในการพัฒนาประเทศตามนโยบายดังกล่าว ส�ำหรับภาคเอกชนได้มี
การนำ� เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาใชใ้ นการเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพองคก์ รและสรา้ งความพงึ พอใจใหแ้ กผ่ บู้ รโิ ภค
อยู่แล้ว แต่ส�ำหรับภาครัฐการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยังประสบกับความท้าทายหลายประการ
ท้ังประเด็นด้านความเชื่อม่ัน โครงสร้างของภาครัฐที่มีการรวมศูนย์จึงมีขนาดใหญ่และซับซ้อน
นโยบายและมาตรการทไ่ี มส่ นองตอ่ ความตอ้ งการของประชาชน ขาดการบรู ณาการ รวมทงั้ กฎหมาย
และวัฒนธรรมการท�ำงานท่ีขาดความยืดหยุ่น ภาครัฐจึงจ�ำเป็นต้องเตรียมความพร้อมต่อการน�ำ
เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาประยกุ ตใ์ นงานภาครฐั ซงึ่ การพฒั นารฐั บาลดจิ ทิ ลั (Digital Government) เปน็
ส่ิงสำ� คัญต่อการเตรียมความพรอ้ มดังกล่าว
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรอื AI เปน็ หนึ่งในเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ท่ีถูกให้ความส�ำคัญ
จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเคร่ืองมือทางเลือกที่สามารถ
ยกระดบั การทำ� งาน แกป้ ญั หา และสนบั สนนุ การตดั สนิ ใจไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ สำ� นกั งานพฒั นา
รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ในฐานะหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัล จึงมีแนวคิดในการศึกษาเทคโนโลยี AI เพ่ือน�ำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ
ภาครัฐ โดยมีวัตถุประสงคเ์ พ่ือสรา้ งแรงจูงใจให้หนว่ ยงานภาครัฐน�ำเทคโนโลยี AI มาใช้เพือ่ สร้าง
ประสิทธิภาพในการให้บรกิ ารสาธารณะและการทำ� งานของภาครัฐต่อไป เนื้อหาในหนังสือเล่มน้มี ี
4 สว่ น ไดแ้ ก่ สว่ นที่ 1 เปน็ บทนำ� เพอ่ื สรา้ งความเขา้ ใจเรอื่ ง AI ใหแ้ กผ่ อู้ า่ น สว่ นท่ี 2 เปน็ การรวบรวม
ทศิ ทางกลยทุ ธ์ AI ของโลก สว่ นท่ี 3 เปน็ แนวทางการนำ� AI มาเพมิ่ ประสทิ ธิภาพการทำ� งานของ
ภาครฐั โดยแบง่ งานภาครฐั ออกเปน็ 3 กลมุ่ คอื งานบรกิ าร งานบรหิ ารจดั การของรฐั และงานเฉพาะ
ของหนว่ ยงาน สว่ นสดุ ท้ายเป็นขอ้ เสนอแนะสำ� หรบั ภาครัฐเพอื่ นำ� AI มาใชป้ ระโยชน์

สำ�นกั งานพัฒนารัฐบาลดจิ ทิ ัล (องคก์ ารมหาชน) 7

1 What AI is...

AI ไม่ใช่เฉพาะหุ่นยนต์ท่ีสามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ได้เท่าน้ัน แต่หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ที่
สามารถคิดและโต้ตอบกับมนุษย์ได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องมีรูปร่างหรือหน้าตาเหมือนมนุษย์เสมอไป
แต่อาจมีฟังก์ชันการท�ำงานบางอย่างแบบมนุษย์ เช่น การคิดแบบมนุษย์ การพูดคุยแบบมนุษย์
เปน็ ตน้ เราสามารถพบเห็นความสามารถ AI ท่ีถูกสอดแทรกอยใู่ นบรกิ ารท่ีเราใชอ้ ยู่ทวั่ ไป ส�ำหรับ
ความหมายของ AI สพร. ไดร้ วบรวมนยิ ามและแนวคดิ ทน่ี า่ เชอื่ ถอื วเิ คราะหร์ ว่ มกบั เทคนคิ และความ
สามารถของ AI ในปจั จบุ ัน ซึ่งสามารถสรุปความหมายได้ว่า


AI หร�อ ปญญาประดิษฐ (Artificial Intelligence)_
เปน เทคโนโลยกี ารสรา งความสามารถใหแ กเ ครอ่ื งจกั รและคอมพวิ เตอร ดว ยอลั กอรทิ มึ และกลมุ เครอ่ื งมอื
ทางสถิติ เพื่อสรางซอฟตแวรทรงปญญา ที่สามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษยที่ซับซอนได
เชน จดจำ แยกแยะ ใหเ หตผุ ล ตดั สนิ ใจ คาดการณ สอ่ื สารกบั มนษุ ย เปน ตน ในบางกรณอี าจไปถงึ ขน้ั
เรยี นรไู ดดว ยตนเอง

AI มรี ะดบั การเรยี นรอู้ ยู่ 3 ระดบั คอื Machine Learning ทพี่ ฒั นาไดง้ า่ ยทสี่ ดุ Machine Intelligence
ใชเ้ ทคนคิ ขนั้ สงู ขนึ้ ทพ่ี บไดม้ ากในปจั จบุ นั และ Machine Consciousness ทเี่ ปน็ การพฒั นาในระดบั
สงู สดุ และยงั ไมถ่ กู นำ� มาใชแ้ พรห่ ลายมากนกั ดงั นนั้ การนำ� AI มาใชป้ ระโยชนจ์ ำ� เปน็ ตอ้ งทราบกอ่ น
ว่า AI ทำ� อะไรไดบ้ า้ ง ซึง่ AI ในปจั จบุ นั มคี วามสามารถหลากหลายรปู แบบ ดังน้ี
n Machine Learning เปน็ ความสามารถในการเรยี นรแู้ ละวเิ คราะหข์ อ้ มลู ของเครอ่ื งคอมพวิ เตอร์
เพ่อื พยากรณ์ผลลพั ธ์ โดยมเี ทคนิคยอ่ ย คือ Supervised, Unsupervised, Semi-supervised
และ Reinforcement ทม่ี คี วามแตกต่างกนั ดว้ ยอลั กอริทึมการเรยี นรู้ ขอ้ มูลทีก่ �ำหนดใหเ้ รยี นรู้
และวตั ถุประสงคใ์ นการใช้งาน
n ความสามารถในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP)
เปน็ เทคนิคที่ทำ� ให้เครื่องเข้าใจภาษามนษุ ย์

8 AI for Government

n ความสามารถในการวางแผน (Automated Planning, Scheduling & Optimization) เปน็ การ
ท�ำใหเ้ ครอื่ งสามารถตดั สินใจและเลือกการด�ำเนนิ งานทบี่ รรลเุ ปา้ หมายอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
n ความสามารถในการวเิ คราะหแ์ บบผเู้ ชยี่ วชาญ (Expert System) เปน็ เทคนคิ การเลยี นแบบ
ความสามารถในการตดั สนิ ใจแบบมนุษย์
n ความสามารถในการรู้จ�ำค�ำพูด (Speech) เป็นเทคนิคการท�ำให้เครื่องรู้จ�ำเสียงพูดและ
โครงสร้างภาษาของมนษุ ย์และวิเคราะห์ข้อมลู จากเสียงนั้น
n Computer Vision เปน็ เทคนคิ ทำ� ใหเ้ ครอ่ื งมองเหน็ และเขา้ ใจโครงสรา้ งภาพเพอ่ื วเิ คราะหข์ อ้ มลู
จากภาพได้
n วทิ ยาการหนุ่ ยนต์ (Robotics) เปน็ สาขาวชิ าทพี่ ฒั นาเครอื่ งยนตใ์ หม้ รี ปู รา่ งและเคลอื่ นไหวได้
แตกต่างกันไปตามวตั ถปุ ระสงคก์ ารใชง้ าน
จากความสามารถของ AI ทก่ี ลา่ วมาแลว้ เราสามารถวเิ คราะหป์ ระโยชนท์ ภี่ าครฐั จะไดร้ บั หากนำ� AI
มาใชใ้ นการทำ� งานภาครฐั โดยสรุปได้ ดงั นี้

เพ�่มประสทิ ธิภาพ ลดการใชทรพั ยากร
ในการทำงานใหภ าครฐั
ท้ังกำลงั คนภาครัฐ งบประมาณ
ท้งั การใหบ รกิ ารทม่ี ีคุณภาพ และลดการใชเวลาในการทำงาน
การลดความซ้ำซอ นและ

ลดทรัพยากรในการทำงาน
การสรา งมาตรฐานใหการทำงาน

และสามารถวดั ผลได การแก
ปญ หาในการทำงานภาครัฐ

และแกป ญหาการทจุ ริต

เพ�ม่ ผลิตภาพ

คือ การยกระดับการทำงาน
ภาครัฐโดยรวมใหด ยี ิง่ ข้ึน

เพม่� คณุ ภาพชีว�ต

ทัง้ ในฝงบคุ ลากรภาครฐั เอง
และในฝง ประชาชน

สำ�นักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 9

2 Where the world is heading...

เม่ือเราทราบสถานการณข์ องประเทศไทย ความหมายและนิยามของ AI รวมทง้ั ประโยชน์ท่จี ะได้
รบั จากการน�ำ AI มาใช้แล้ว ส่วนถดั มาจงึ เป็นการทราบถึงทิศทางการพฒั นา AI ในภาพรวมของ
โลกวา่ แตล่ ะประเทศมกี ารนำ� AI มาใชเ้ ปน็ กลยทุ ธใ์ นการขบั เคลอ่ื นประเทศอยา่ งไร โดยขอนำ� เสนอ
กลยุทธต์ ามพนื้ ที่ในแตล่ ะทวีปของโลก

กลมุ่ สหภาพยโุ รป (EU)
โดยคณะกรรมาธกิ ารสหภาพยุโรปมกี ารพฒั นาแผนยุทธศาสตร์ดา้ น AI รวมทง้ั ประเทศท้ังในและ
นอกกลุ่มดังกล่าวท่ีอยู่ในทวีปยุโรปก็ได้มีการจัดท�ำแผนกลยุทธ์ด้าน AI ที่มีทิศทางการพัฒนา
เชอื่ มโยงกันทั้งหมด อาทิ

สหราชอาณาจกั ร

ทใ่ี ช้ AI ขบั เคลอื่ นอตุ สาหกรรมขนาดใหญร่ ว่ มกบั เอกชน
พร้อมเงนิ ลงทนุ จ�ำนวนมาก

เยอรมนี

ทอี่ อกกลยุทธพ์ ร้อมแนวคิด “Made in Germany”

อติ าลี

ท่ีจัดท�ำกลยุทธ์เพื่อบูรณาการท�ำงานของภาครัฐและ
สร้างความรว่ มมอื กับเอกชนดว้ ย

กลุ่มสแกนดิเนเวยี (Scandinavia)
เป็นกลุ่มประเทศทางตอนเหนือของทวีปยุโรปที่มีระดับการพัฒนาในขั้นสูงอยู่แล้ว มีการน�ำ AI
มาใชเ้ พอ่ื สร้างความเจรญิ เตบิ โตและอำ� นวยความสะดวกใหแ้ กป่ ระชาชน

เดนมารก์

ไม่มีการก�ำหนดกลยุทธ์ด้าน AI เฉพาะ แต่มีเป้าหมาย
เป็นผู้น�ำในการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความเจริญ
และความมัง่ ค่ังให้ประเทศ

ฟนิ แลนด์

อยู่ระหว่างการจัดท�ำกลยุทธ์ โดยเน้นการศึกษาจุดแข็ง
และจุดอ่อนด้าน AI ของประเทศแล้วจึงจัดท�ำข้อเสนอ
แนะเชงิ นโยบายเพื่อขับเคลอ่ื นประเทศต่อ

10 AI for Government

กลมุ่ ทวปี อเมริกา (North and South America)
ให้ความสำ� คญั กบั การศกึ ษาวิจัยและการเตรียมความพร้อมเพ่อื พัฒนา AI

สหรฐั อเมรกิ า

ก�ำหนดเป้าหมาย 4 ด้าน ท้ังการเป็นผู้น�ำด้าน AI การ
สนับสนุนแรงงานในประเทศ การส่งเสริมการวิจัยและ
พัฒนา และการขจดั อปุ สรรคในการสรา้ งนวัตกรรม

แคนาดา

เปน็ ประเทศแรกทป่ี ระกาศกลยทุ ธ์ AI ในระดบั ชาตใิ นชอื่
Pan-Canadian ทเ่ี ปน็ แผนกลยทุ ธ์ 5 ปี ทเี่ นน้ การเพม่ิ คน
เพ่ือวิจัยและพัฒนาสร้างความเป็นเลิศด้าน AI รวมทั้ง
สนับสนุนชุมชนวิจัยด้าน AI เพื่อให้เกิดความเช่ือมโยง
ในการดำ� เนินกลยุทธ์

เมก็ ซโิ ก

มีการวางรากฐานโดยการศึกษาก่อนวางกลยุทธ์เช่นกัน
โดยศึกษาถึงการใช้ AI ในระดบั ภูมิภาค และมขี อ้ เสนอ
แนะเพอื่ การนำ� AI มาใช้ประโยชนส์ ำ� หรบั ภาครฐั

กลมุ่ ตะวันออกกลาง (Middle East)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เป็นประเทศแรกในกลุ่มท่ีพัฒนากลยุทธ์ AI และจัดตั้ง
กระทรวงปัญญาประดิษฐ์ โดยรัฐบาลให้ความส�ำคัญ
กับการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในการพัฒนา
เทคโนโลยี AI

สำ�นกั งานพัฒนารัฐบาลดิจทิ ลั (องคก์ ารมหาชน) 11

กลมุ่ เอเชีย (Asia)
มีความต่ืนตัวและให้ความสนใจกับกลยุทธ์ AI เพ่ือช่วงชิงความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมี
ประเทศทมี่ กี ลยุทธท์ ีน่ ่าสนใจดงั นี้

จีน

ประกาศแผน “Next Generation AI Development” เพอ่ื
เปน็ ผนู้ ำ� ของโลกด้าน AI โดยมรี ะยะการพัฒนา 3 ระยะ

ญป่ี นุ่

เปน็ ประเทศทีส่ องของโลกในการพฒั นากลยุทธ์ AI ดว้ ย
การจดั ตง้ั สภายทุ ธศาสตรส์ ำ� หรบั เทคโนโลยี AI และมขี นั้
ตอนการดำ� เนนิ การตามแผน 3 ขนั้ ตอน

กลุ่มอาเซยี น (ASEAN Community)

สิงคโปร์

รัฐบาลได้จัดท�ำโครงการขนาดใหญ่ช่ือ AI Singapore
โดยมีระยะเวลา 5 ปี เพือ่ ปรับปรงุ ขีดความสามารถด้าน
AI ของประเทศ

ทงั้ นี้ EU และทปี่ ระชมุ ระหวา่ งประเทศยงั ไดป้ ระกาศหลกั การและประเดน็ ดา้ นจรยิ ธรรมทค่ี วรค�ำนงึ
ถึงในการพัฒนา AI เนื่องจากเห็นความส�ำคัญต่อผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้

12 AI for Government

3 When AI shines in action...

จากบทนำ� จนถึงกลยุทธ์ของตา่ งประเทศด้าน AI ทำ� ใหเ้ รารูจ้ ัก AI ข้นึ ทง้ั ในเชงิ ลึกและแนวโน้มของ
โลก เพือ่ สร้างความเข้าใจมากข้ึน สพร. จงึ ไดร้ วบรวมตวั อยา่ งของต่างประเทศในการนา AI มาใช้
สนบั สนนุ การท�ำงานของภาครัฐ ตามลักษณะการทางานของภาครัฐ 3 รปู แบบ คอื

AI for Public service
เป็นแนวทางการประยุกต์ AI ส�ำหรับการให้บริการสาธารณะของรัฐท่ีวิเคราะห์จากขั้นตอนการให้
บรกิ ารของรัฐ โดยมีตวั อยา่ งท่ีน่าสนใจ ได้แก่
1. สิงคโปรพ์ ฒั นา GOV.SG Chatbot เพอื่ ยกระดับการใหข้ อ้ มลู กบั ประชาชน
2. ฟินแลนดใ์ ช้ AI ช่วยออกแบบหลักสูตรการศึกษา
3. เอสโตเนยี ใช้ AI ตดั สินคดีแทนผพู้ ิพากษา
4. ไทยใช้ AI พจิ ารณาอนญุ าตนำ� กากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงาน
5. เมืองเอสปู ฟนิ แลนด์ ใช้ AI ใหบ้ รกิ ารดา้ นสุขภาพและประกนั สงั คมเชิงรกุ

AI for government management
เป็นแนวทางการประยุกต์ AI ส�ำหรับการบริหารจัดการภายในของภาครัฐที่เป็นงานสนับสนุนการ
ใหบ้ รกิ ารหรอื งานตามภารกจิ ของหนว่ ยงาน โดยวเิ คราะหจ์ ากงานทต่ี อ้ งทำ� ซำ้� เปน็ ประจำ� และมขี น้ั
ตอนไม่ยุง่ ยาก มตี วั อยา่ งดงั น้ี
1. รัฐแอลเบอร์ตา แคนาดา น�ำ AI มาเพ่ิมประสทิ ธิภาพใหร้ ะบบ ERP ของรฐั
2. จีนใช้ระบบ Zero Trust System ในการตรวจจับการคอร์รปั ชนั
3. กลาโหมสหรฐั อเมริกาใช้ AI คาดการณย์ านพาหนะที่ตอ้ งไดร้ บั การบ�ำรงุ รกั ษา
4. สรรพากรออสเตรเลยี ใช้เสยี งในการยนื ยันตัวตน
5. ฮงั การนี �ำ AI มาใช้จดั การขอ้ มูลภาพในคลงั ภาพและเสยี งแหง่ ชาติ

ส�ำ นกั งานพฒั นารัฐบาลดิจิทลั (องค์การมหาชน) 13

AI for government mission
เป็นแนวทางการประยุกต์ AI ในงานตามภารกิจเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน โดยมีตัวอย่างท่ีน่า
สนใจดังนี้
1. โรงพยาบาลราชวถิ ใี ช้ AI ในการวินจิ ฉัยโรคเบาหวาน
2. เกาหลีใชเ้ ทคนคิ Face detection ตรวจจับผูพ้ ำ� นักเกินเวลาในวีซ่า
3. รฐั เทกซัสให้ AI คาดการณป์ ริมาณน�ำ้ ล่วงหนา้
4. เมอื งพิตตส์ เบริ ์ก รัฐเพนซลิ เวเนยี ใช้ AI จดั การปญั หาการจราจรติดขดั
5. ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ (สตช.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร

4 ลาดกระบัง (สจล.) พฒั นาระบบเฝ้าระวงั โจรปลน้ รา้ นทอง
sHhoowultdheprgeopvaerrenfmorenAtI...

AIไมส่ ามารถนำ� มาใชไ้ ดท้ นั ทีแตจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารเตรยี มความพรอ้ มกอ่ นการนำ� มาใชก้ อ่ นโดยเฉพาะ
ภาครัฐที่มีขนาดใหญ่และมีผู้เก่ียวข้องเป็นจ�ำนวนมาก ดังน้ัน สพร. จึงได้น�ำเสนอข้อเสนอแนะ
สำ� หรบั ภาครฐั เพ่ือน�ำ AI มาใช้เพ่ิมประสทิ ธิภาพ ซง่ึ มขี อ้ เสนอแนะ 2 สว่ น ไดแ้ ก่
ข้อเสนอแนะของหน่วยงานภาครัฐ
ก่อนการด�ำเนินโครงการหน่วยงานภาครัฐต้องประเมินความเหมาะสมในการน�ำ AI มาใช้ก่อน
เป็นล�ำดับแรก โดยวิเคราะห์จากกระบวนงานปัจจุบันของหน่วยงานเพ่ือระบุคุณค่าที่ AI จะให้
ผ่านแนวทางการวิเคราะห์ 3 ขั้นตอน คือ การประเมินสภาพปัญหาปัจจุบันของหน่วยงาน
การประเมนิ ความเปน็ ไปได้ และการประเมินคุณคา่ ของการน�ำ AI มาใช้
ลำ� ดับถดั ไปตอ้ งกำ� หนดกรอบการด�ำเนินโครงการให้ชัดเจนและก�ำหนดตวั ชว้ี ดั ทเี่ ปน็ รูปธรรม หลัง
จากนนั้ ตอ้ งมกี ารเตรยี มความพรอ้ มดา้ นขอ้ มลู ซง่ึ นบั เปน็ ปจั จยั แหง่ ความสำ� เรจ็ ทสี่ ำ� คญั ปจั จยั หนง่ึ
ในการนำ� AI มาใชป้ ระโยชน์ ทงั้ นี้ หนว่ ยงานภาครฐั ยงั ควรแสวงหาความรว่ มมอื ทง้ั จากภาครฐั และ
เอกชนในรปู แบบตา่ งๆ ท่เี หมาะสม เพอ่ื รวบรวมองค์ความรแู้ ละดึงศักยภาพของผ้เู ช่ียวชาญมาให้
ค�ำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ในการด�ำเนินโครงการ เน่ืองจากภาครัฐไม่มีความช�ำนาญในการน�ำ AI
มาใช้ประโยชน์นั่นเอง

14 AI for Government

นอกจากน้ี หน่วยงานภาครัฐยังต้องค�ำนึงถึงการสร้างจริยธรรม เน่ืองจากการท�ำงานของภาครัฐ
ครอบคลุมกิจกรรมของทุกภาคสว่ น ดังน้ัน การด�ำเนนิ โครงการภาครฐั จึงมตี ้นทนุ และผลกระทบท่ี
สูงตามไปด้วย โดยจริยธรรมทค่ี วรคำ� นึงถงึ ส�ำหรบั การดำ� เนินโครงการดา้ น AI ได้แก่
n ค�ำนึงถึงอคติของระบบ ท่ีต้องมีการฝึกฝนระบบ AI อย่างรอบคอบ และหมั่นตรวจสอบการ
วิเคราะห์ขอ้ มลู ท่เี ปน็ อคติ
n ออกแบบระบบให้สามารถตรวจสอบท่ีมาและสาเหตุของการตดั สนิ ใจของระบบ AI ได้
n ควรออกแบบให้ AI อยภู่ ายใตก้ ารก�ำกบั ของมนษุ ย์
n หนว่ ยงานตอ้ งทำ� ความเขา้ ใจและสรา้ งทกั ษะแกเ่ จา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ใหส้ ามารถทำ� งานรว่ มกบั AI ได้
n จัดท�ำมาตรการความปลอดภยั และความเปน็ ส่วนตัวใหค้ รอบคลมุ ทกุ มิติ
ข้อเสนอแนะของรัฐบาล
รฐั ควรดำ� เนนิ นโยบายเพอื่ สง่ เสรมิ ใหห้ นว่ ยงานภาครฐั มคี วามพรอ้ มในการนำ� AI มาใช้ โดยมโี มเดล
การเตรียมความพรอ้ มดงั นี้

1 สำ�นกั งานพฒั นารัฐบาลดิจทิ ลั (องคก์ ารมหาชน) 15

Governance 2
กำหนดกรอบการกำกับดูแล
Data
n AI Principles สงเสร�มพน้� ฐานขอมลู ภาครัฐ
n กฎหมาย/มาตรฐาน
n ขอ มลู ภาครัฐ
n โครงสรา งพนื้ ฐานขอ มลู

AI Capability Partnerships
สรา งบคุ ลากร AI ภาครฐั สง เสรม� ภาคสว นพนั ธมติ ร

n AI Talent n Deep Tech Startup
n หลกั สตู รฝก อบรม n R&D

3 4

n กำ� หนดกรอบการกำ� กบั ดแู ล รฐั ควรจดั ทำ� “หลกั การนำ� AI มาใชข้ องประเทศไทย” (Thailand’s
AI Principles) โดยใหท้ กุ ภาคสว่ นมสี ว่ นรว่ มในการออกแบบแนวทางดงั กลา่ ว เพอ่ื เปน็ แนวทาง
การพฒั นา AI อยา่ งมจี รยิ ธรรม (Ethical AI) รวมทง้ั ตอ้ งครอบคลมุ ประเดน็ การนำ� AI มาใชอ้ ยา่ ง
เหมาะสม
n สง่ เสรมิ การพฒั นาโครงสรา้ งพนื้ ฐานขอ้ มลู ภาครฐั ใหเ้ ปน็ ไปตามกรอบธรรมาภบิ าลขอ้ มลู
รฐั ควรด�ำเนินนโยบายส่งเสริมให้หน่วยงานมีความพรอ้ มด้านข้อมูล โดยสร้างกลไกขับเคลื่อน
ให้เกิดแหล่งข้อมูลภาครัฐที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ง่าย ผ่านนโยบายและข้อก�ำหนดข้อมูลเปิด
ภาครฐั (Open Government Data) และการเขา้ ถงึ ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลทม่ี กี ลไกการจดั การปอ้ งกนั
ที่เหมาะสมในการน�ำขอ้ มูลไปใช้ต่อ
n พัฒนาบุคลากร AI ภาครัฐ รัฐควรจัดท�ำหลักสูตรฝึกอบรมระยะส้ันและระยะกลางส�ำหรับ
เจา้ หนา้ ทภ่ี าครฐั ตามความเหมาะสมในทกุ ระดบั และสรา้ งบคุ ลากรดา้ นAIภาครฐั (Government
AI Talent) ผา่ นการเพมิ่ จำ� นวนทนุ การศึกษาในสาขาวิชาทเี่ กี่ยวข้อง
n ส่งเสรมิ ภาคส่วนทเี่ ก่ียวข้อง การดึงศักยภาพของเทคโนโลยี AI ออกมาให้เกดิ ประสทิ ธิภาพ
สงู สดุ หนว่ ยงานภาครฐั จำ� เปน็ ตอ้ งอาศยั ความรว่ มมอื จากทกุ ภาคสว่ น โดยเฉพาะในชว่ งระยะ
เริ่มต้น ดังน้ัน นอกเหนือจากแนวทางการพัฒนาศักยภาพภายใน ภาครัฐควรออกมาตรการ
ส่งเสริมภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง (Deep
Tech Startups) และภาควจิ ยั และพัฒนา

16 AI for Government

กศบัพั ทAท์ I่เี กย่ี วข้อง

เพอ่ื ใหผ้ อู้ า่ นทไ่ี มไ่ ดศ้ กึ ษาหรอื คนุ้ เคยกบั AI มากอ่ นสามารถทำ� ความเขา้ ใจกบั เนอื้ หาไดง้ า่ ย อกี ทงั้
AI ยงั ถอื เปน็ เรอ่ื งคอ่ นขา้ งใหมส่ ำ� หรบั ประเทศไทย ดงั นนั้ กอ่ นเขา้ สเู่ นอ้ื หา สพร. จงึ ไดร้ วบรวมศพั ท์
เทคนิคท่ีเกยี่ วข้องกับ AI ไว้ดังนี้

ปญั ญาประดิษฐ์

(Artificial Intelligence: AI)

เทคโนโลยีการสร้างความสามารถ LMeaacrnhiinnge
ให้แกเ่ ครื่องจกั รและคอมพิวเตอร์
ด้วยอลั กอรทิ มึ และกลุ่มเครือ่ งมอื ทางสถติ ิ กลไกท่ีท�ำใหเ้ คร่อื งจกั รสามารถ
เพ่อื สร้างซอฟต์แวรท์ รงปญั ญา ท่สี ามารถ เรยี นรูจ้ ากข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
เลยี นแบบความสามารถของมนุษยท์ ่ีซับซอ้ นได้ เชน่ จดจ�ำ แยกแยะ ให้ และพัฒนากระบวนการตัดสนิ
เหตผุ ล ตัดสินใจ คาดการณ์ สอ่ื สารกับมนษุ ย์ เป็นต้น ในบางกรณีอาจไป
ถงึ ขน้ั เรยี นรูไ้ ด้ด้วยตนเอง อย่างตอ่ เนื่อง

Deep Learning

เทคนิคหนึง่ ของ Machine Learning โดยจ�ำลองการทำ� งานของสมองมนษุ ย์
ในการประมวลผลข้อมลู ทำ� ให้สามารถหาความเช่ือมโยงและเรียนรู้ข้อมูลจำ� นวนมากได้

Weak AI Strong AI

ประเภทของปญั ญาประดิษฐ์ที่ ประเภทของปัญญาประดิษฐ์
สามารถเรียนรู้ไดเ้ ฉพาะดา้ น ท่มี รี ะบบการเรยี นรู้
ทีถ่ ูกก�ำหนดไวแ้ ละไม่สามารถ เหมือนมนษุ ย์ ท�ำให้
ใช้อลั กอรทิ ึมในการเรียนรู้ สามารถรองรับและ
ในดา้ นทอ่ี ย่นู อกเหนือจากนนั้ ได้ เรยี นรู้ขอ้ มลู
ในรูปแบบที่
หลากหลายได้

สำ�นักงานพัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ัล (องคก์ ารมหาชน) 17

อัลกอริทมึ อคติในอลั กอริทึม
(Algorithmic Bias)
(Algorithm)
ข้อผดิ พลาดของอลั กอริทมึ อันเกดิ จาก
ALGORITHM การเรียนรู้ขอ้ มูลท่สี ่งผลใหก้ ารตดั สนิ ใจของ
ชุดค�ำสัง่ ท่ถี กู กำ� หนดโดยนักเขยี น ระบบปญั ญาประดษิ ฐ์เอ้ือประโยชน์ต่อคน
โปรแกรมซึ่งเปรยี บเสมอื นข้ันตอน
สำ� หรบั ระบบปญั ญาประดษิ ฐ์ใน กลุม่ ใดกลุ่มหน่ึง
การเรียนรูข้ ้อมูลและสร้างการ
เทคโนโลยีทก่ี ระบวนการหรอื ขั้นตอนสามารถด�ำเนินการได้
ตดั สนิ ใจโดยอัตโนมตั ิ โดยปราศจากความชว่ ยเหลือจากมนษุ ย์

ข้อมูล (Data)

แ(Cชตhaบtอbทot) ข้อเทจ็ จรงิ หรอื จำ� นวนทางสถติ ิ ชดุ ข้อมูล (Data Set)
ที่เกิดจากการสงั เกตและเก็บ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดำ� เนิน รวบรวมจากเหตกุ ารณ์ทีเ่ กดิ ขึ้น กลมุ่ ข้อมลู ท่ีมี
การสนทนาผ่านทางโสตทัศน์หรือ เพอื่ นำ� มาใชใ้ นการวิเคราะห์ ความเก่ียวข้องกันและถกู จัด
ขอ้ ความ
ใหอ้ ยู่ในรูปแบบเดยี วกัน
ท่ีพร้อมน�ำไปใช้

18 AI for Government

หนว่ ยประมวลผลกราฟิก Turing Test
(Graphics Processing Unit: GPU)
การทดสอบความสามารถของเครอ่ื ง
ท�ำหน้าทปี่ ระมวลผลทีเ่ ก่ียวกบั ภาพ ในการแสดงพฤติกรรมทีเ่ หมอื นมนุษย์
เพือ่ แสดงผลเท่านน้ั ซึ่งชว่ ยแบง่ เบาภาระให้หนว่ ย
ประมวลผลหลัก (Central Processing Unit: CPU) หุน่ ยนต์

สามารถประมวลผลด้านอ่นื (Robotics)
ไดม้ ปี ระสทิ ธภิ าพเพ่ิมข้นึ
วิทยาการท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั
อ(AHัตuutตomาnณaonmตั ิขyอ)งมนุษย์ การสรา้ งและการทำ� งานของห่นุ ยนต์

ความสามารถหรอื อำ� นาจ
ในการตดั สินใจของมนษุ ย์
ในการกำ� หนดทางเลอื ก
และผลลัพธ์ให้แกต่ นเอง

การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
(Natural Language Processing: NLP)

ขอบคุณ
Hello! อ

いいね

A

การประยุกต์ใชเ้ ทคนคิ การประมวลผลข้อมลู เฉพาะ
เพ่อื ให้เครื่องจกั รสามารถเข้าใจภาษามนุษย์และ

วเิ คราะหข์ ้อมลู ท่ีอยู่ในรปู แบบภาษาได้

บทที่ 1
บทนำ�

20 AI for Government

บทสรุป : บทท่ี 1

AI หรือ ปัญญาประดษิ ฐ์
(Artificial Intelligence)
เป็นเทคโนโลยีการสร้างความสามารถ
ให้แก่เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วย
อัลกอริทึมและกลุ่มเครื่องมือทางสถิติ
เพ่ือสร้างซอฟต์แวร์ทรงปัญญาท่ี
สามารถเลียนแบบความสามารถของ
มนษุ ยท์ ี่ซบั ซ้อนได้ เชน่ จดจ�ำ แยกแยะ
ใหเ้ หตผุ ล ตัดสินใจ คาดการณ์ ส่ือสาร
กับมนษุ ย์ เปน็ ตน้ ในบางกรณีอาจไป
ถงึ ข้ันเรยี นรู้ไดด้ ว้ ยตนเอง”

ส�ำ นักงานพฒั นารฐั บาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 21

Machine Learning การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การวางแผน

เปน การทำใหเ ครอื่ ง เปน เทคนคิ การทำใหเ ครื่อง (Automated Planning,
สามารถเรยี นรไู ด ทำความเขาใจภาษาของมนษุ ย Scheduling & Optimization)
ดว ยตนเอง ใหเ ครอ่ื งสามารถตดั สนิ ใจ
AIความสามารถของ เลอื กการดำเนนิ งาน
หุนยนต (Robotics) ท่ีถกู นำมาใช ในการบรรลเุ ปา หมาย
ในปจ จ�บนั ทีก่ ำหนด
พฒั นาเครือ่ งจักร
ใหมรี ปู รางและ การว�เคราะหแบบ
ผเู ชีย่ วชาญ
เคลอ่ื นไหวแตกตา งกนั ไป
ตามวัตถปุ ระสงค (Expert System)
การใชง าน ใหเ ลยี นแบบ
ความสามารถในการ
ตดั สนิ ใจท่เี ชีย่ วชาญ
อยางมนษุ ย

Computer vision Speech recognition

ใหเ ครอื่ งสามารถเขาใจคุณลักษณะ การรจู ำเสยี งและคำพูด
ของภาพคลา ยคลงึ กับความสามารถ เปน ความสามารถในการระบคุ ำ

ในการมองเหน็ ของมนุษย และวลีในการพดู

22 AI for Government ลดการใชทรพั ยากร

ประโยชน์ของ AI ส�ำหรบั ภาครัฐ n ลดการใชกำลังคนของภาครัฐ
เพม�่ ประสทิ ธิภาพในการทำงาน n ลดการใชงบประมาณ
n ลดการใชเวลาในการทำงาน
n การใหบ รกิ ารสาธารณะ
ทม่ี ีคุณภาพ เพม่� ผลติ ภาพ

n ชว ยแกไขปญหาความซ้ำซอ น n ในระยะเวลาเทา เดมิ การบรกิ าร
ในการทำงานและลดการ โดยใช AI ใชค นลดลง
บริหารจัดการแบบรวมศูนย แตส ามารถใหบ รกิ ารประชาชน
(Centralized) ของหนวยงานของรฐั ผูร บั บรกิ ารไดเพิม่ ขึ้น

n สรา งมาตรฐานใหแ ก เพ�ม่ คุณภาพชวี �ต
การทำงานของภาครฐั
n คุณภาพชีวติ ของบคุ ลากร
n สามารถวดั ผลการทำงาน ภาครฐั ดีขึ้น
และการใหบ รกิ ารไดอ ยางเปน
รปู ธรรมและแมนยำ n คณุ ภาพชวี ติ ของประชาชนดขี น้ึ

n ชว ยแกไ ขปญ หาการทำงาน
และการใหบรกิ ารของภาครัฐ
ไดอ ยางตรงจดุ

n ชวยแกปญ หาการทจุ ริตในภาครัฐ

ส�ำ นกั งานพัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ลั (องค์การมหาชน) 23

บทท่ี 1 : บทนำ�

ความม่งุ มน่ั ของรฐั บาล
รัฐบาลได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศไทยเป็นประเทศท่ีมีความมั่นคง ม่ังคั่ง และย่ังยืน เพื่อเปลี่ยน
ผา่ นใหป้ ระเทศกา้ วสยู่ คุ ทขี่ บั เคลอ่ื นเศรษฐกจิ ดว้ ยเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั และนวตั กรรม ตามนโยบายไทย
แลนด์ 4.0 โดยไดก้ ำ� หนดยทุ ธศาสตรช์ าติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพอื่ กำ� หนดวสิ ยั ทศั นแ์ ละ
สร้างความต่อเนื่องในการปฏิรูปประเทศ ซ่ึงยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนา
เศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 12 และแผนพฒั นาดิจทิ ลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ท่ีตอ้ งการ
น�ำเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาใช้ในการปฏริ ปู ระบบการบรหิ ารราชการแผน่ ดนิ ใหม้ ีประสทิ ธิภาพ ทันสมยั
โปร่งใส และค�ำนึงถงึ ประชาชนเปน็ หลกั ซ่ึงจะสง่ ผลตอ่ ภาพรวมของประเทศทง้ั ด้านเศรษฐกิจ คอื
การเพม่ิ ขดี ความสามารถทางการแขง่ ขนั ของประเทศ และดา้ นสงั คมทเี่ ปน็ การสรา้ งความกนิ ดอี ยดู่ ี
ใหแ้ ก่ประชาชนไดอ้ ย่างท่ัวถงึ
การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจึงเป็นกลไกส�ำคัญของรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศตาม
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับการท�ำงานของภาครัฐให้
ทันสมัย และสามารถให้บริการสาธารณะโดยค�ำนึงถึงประชาชนเป็นส�ำคัญ โดยมีเป้าหมายเพ่ือ
พัฒนาบริการสาธารณะที่สามารถให้บริการในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อลด
ต้นทุนในการให้บริการของภาครัฐ และลดต้นทุนการขอรับบริการของประชาชน รวมท้ังต้องเพ่ิม
ประสิทธิภาพในการท�ำงานของภาครัฐบนพ้ืนฐานของข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นย�ำ เพื่อส่งเสริม
สนับสนุน และอ�ำนวยความสะดวกแก่ทุกภาคส่วน ตลอดจนเป็นการเพิ่มศักยภาพของประเทศ
โดยรวมอกี ด้วย
สภาพปญั หาของภาครฐั
ภาพการท�ำงานของภาครัฐในอดีตนับว่ามีความแตกต่างจากปัจจุบัน เนื่องจากมีการปฏิรูปติดต่อ
กันมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามภาครัฐยังไม่สามารถพัฒนาในระดับที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยีและสงั คม โดยสภาพปัญหาทีส่ ำ� คญั ของภาครฐั ที่ยงั รอการแกไ้ ข 1 ได้แก่

1 สรปุ จากกรอบความเห็นร่วมปฏริ ูปประเทศไทยดา้ นการบริหารราชการแผน่ ดนิ โดยคณะท�ำงานเตรยี มการปฏิรูป
เพื่อคนื ความสขุ ให้คนในชาติ, 2557

24 AI for Government

n ประชาชนขาดความเชื่อมั่นจากภาครัฐ โดยเฉพาะการให้บริการสาธารณะ การไม่ค�ำนึงถึง
ผลประโยชน์สว่ นรวม การบรหิ ารงานเกดิ ความซบั ซอ้ น ไม่โปร่งใส และขาดประสทิ ธภิ าพ
n โครงสรา้ งภาครฐั ขนาดใหญแ่ ละซบั ซอ้ นซงึ่ ทำ� ใหบ้ ทบาทหนา้ ทแ่ี ตล่ ะหนว่ ยงานมคี วามทบั ซอ้ นกนั
มีสายการบังคับบัญชาหลายชั้นท�ำให้เกิดความไม่คล่องตัวและสิ้นเปลืองทรัพยากรโดย
ไมจ่ ำ� เปน็
n การรวมศนู ยอ์ ำ� นาจไวท้ หี่ นว่ ยงานกลางหรอื สว่ นกลาง ทำ� ใหป้ ระชาชนในสว่ นภมู ภิ าคและสว่ น
ทอ้ งถน่ิ ไมส่ ามารถขอรบั บรกิ ารไดอ้ ยา่ งทวั่ ถงึ หรอื จำ� เปน็ ตอ้ งเขา้ มาขอรบั บรกิ ารจากสว่ นกลาง
n การวางนโยบายและมาตรการไม่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ตอบสนองต่อความต้องการของ
ประชาชน
n ขาดการบรู ณาการและประสานเชอ่ื มโยงซง่ึ กนั และกนั ไมเ่ พยี งแตส่ ง่ ผลใหป้ ระชาชนเสยี เวลาใน
การติดต่อหลายหน่วยงานเพ่ือขอรับบริการเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งเท่าน้ัน แต่ยังส่งผลให้ภาครัฐ
ไม่สามารถตรวจสอบและวดั ผลการท�ำงานไดอ้ ย่างชัดเจนอกี ด้วย
n วฒั นธรรมการทำ� งานยงั ยดึ ตดิ กบั กฎหมาย ระเบยี บ ขอ้ บงั คบั สง่ ผลใหข้ าดความยดื หยนุ่ และ
จิตส�ำนึกในการให้บริการ
แมว้ า่ นโยบายของรฐั พยายามสง่ เสรมิ ใหก้ ารท�ำงานภาครฐั ใชเ้ ทคโนโลยที สี่ ามารถสนองตอ่ ปญั หา
และความต้องการท่ีแท้จริงของทุกภาคส่วน แต่สภาพปัญหาของรัฐอาจไม่สามารถแก้ไขด้วยการ
ก�ำหนดนโยบายหรือการบังคับได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรให้การสนับสนุนหน่วยงานของรัฐด้วย
การก�ำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาท่ีเป็นรูปธรรม โดยสามารถตอบสนองต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของภาครัฐและความต้องการของทุกภาคส่วนไดอ้ ย่างเตม็ ที่
แนวทางการทำ� งานปจั จบุ นั ของหนว่ ยงานภาครฐั ตอ้ งมกี ารวางแผนและกำ� หนดกลยทุ ธก์ ารปฏบิ ตั ิ
งานที่ชัดเจน รวมทั้งต้องสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายเฉพาะในแต่ละด้าน ซึ่งส่วน
ใหญ่การวางแผนการปฏิบัติงานยังคงใช้ข้อมูลของหน่วยงานตนเองเท่าน้ัน ยังไม่มีการบูรณาการ
ขอ้ มูลระหวา่ งกันหรือขาดความมน่ั ใจในการน�ำข้อมูลของหน่วยงานอืน่ มาใช้ เน่ืองจากไมท่ ราบถงึ
กระบวนการได้มาซึ่งข้อมูล มาตรฐานของข้อมูล และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล จึงน�ำมาสู่
ความซำ�้ ซอ้ นของขอ้ มลู ภาครฐั ทม่ี จี ำ� นวนมหาศาลในปจั จบุ นั ทไี่ มส่ ามารถใชง้ านรว่ มกนั ได้ ตลอดจน
ไมส่ ามารถนำ� มาใช้วเิ คราะห์หรือสนับสนุนการตัดสนิ ใจของหนว่ ยงานภาครัฐได้เทา่ ท่คี วร

ส�ำ นกั งานพฒั นารัฐบาลดจิ ิทลั (องคก์ ารมหาชน) 25

การเตรียมความพร้อมของภาครฐั
เพอื่ ใหก้ ารนำ� เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาใชไ้ ดต้ ามวตั ถปุ ระสงคแ์ ละประสบผลสำ� เรจ็ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
หน่วยงานของรัฐจ�ำเป็นต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลของภาครัฐให้มีความพร้อมเพ่ือรองรับต่อความ
ต้องการใช้ข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการท�ำงาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
เนอ่ื งจากขอ้ มลู เปน็ ปจั จยั สำ� คญั ตอ่ ประสทิ ธภิ าพของการนำ� เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั มาใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชน์
จะเห็นได้ว่าหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานล้วนเป็นเจ้าของข้อมูลส�ำคัญในแต่ละด้านตามภารกิจ
ของหน่วยงาน จึงต้องมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลสอดแทรกอยู่ในการด�ำเนิน
งานของหน่วยงาน โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลท่ีแต่ละหน่วยงานจัดเก็บสามารถน�ำมาใช้งานร่วมกัน
ได้ แตห่ นว่ ยงานเลือกท่จี ะเก็บข้อมูลด้วยตนเองเพอื่ ความสะดวกและคลอ่ งตวั ในการท�ำงานท�ำให้
ขอ้ มลู ทแ่ี ตล่ ะหนว่ ยงานจดั เกบ็ มกั มคี วามซำ้� ซอ้ นกนั สง่ ผลใหก้ ารทำ� งานของหนว่ ยงานภาครฐั ไทย
จึงเกดิ การบูรณาการและเชอ่ื มโยงขอ้ มลู ระหว่างกันได้ยาก
ข้อมูลจากเว็บไซต์ data.go.th ท่ี สพร. จัดท�ำข้ึนเพื่อสนองต่อนโยบายการการบูรณาการและ
เชอ่ื มโยงขอ้ มลู ของภาครฐั ทส่ี มบรู ณ์ เพอ่ื ยกระดบั การใหบ้ รกิ ารประชาชนผา่ นบรกิ ารอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์
ของรัฐท่ีครอบคลุมทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ พบว่าชุดข้อมูลที่เผยแพร่
บนเวบ็ ไซตม์ ีจ�ำนวน 1,251 รายการ 17 หมวดหมู่ เช่น สังคมและสวัสดิการ สาธารณสขุ การศกึ ษา
เป็นต้น ซึ่งชดุ ข้อมูลทีป่ รากฏบนเวบ็ ไซตน์ เี้ ปน็ เพียงส่วนหนง่ึ ของข้อมลู ภาครฐั ทั้งหมด ทถี่ ูกจับเก็บ
ในรูปแบบ (format) ท่สี ามารถน�ำไปใชป้ ระโยชน์ต่อได้ อยา่ งไรกต็ ามยงั มขี ้อมูลของภาครฐั อกี เปน็
จ�ำนวนมากท่ีถูกจัดเก็บในรูปแบบเอกสาร หรืออยู่ในรูปแบบไฟล์ที่ไม่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์
ตอ่ ได้ เชน่ pdf file เปน็ ตน้ ขอ้ มลู จงึ เปน็ ปญั หาทสี่ �ำคญั อนั ดบั แรกหากภาครฐั ตอ้ งการนำ� เทคโนโลยี
ดิจิทัลมาใช้ยกระดบั การท�ำงาน
เนื่องจากการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและ
การบริหารงานภาครัฐเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาให้แก่หน่วยงานภาครัฐได้
โดยเฉพาะการพัฒนาระบบการให้บริการและการท�ำงานของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาด้าน
กระบวนการท่ีต้องท�ำซ้�ำซ้อน และการวิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้
อยา่ งแม่นยำ� ภาครัฐจำ� เป็นตอ้ งมีการเตรยี มความพร้อมในทกุ ดา้ นเพ่ือรองรบั ต่อการเปล่ยี นแปลง
รปู แบบการท�ำงานให้เปน็ รปู แบบดิจิทลั อาทิ การจดั เกบ็ ขอ้ มลู ใหอ้ ย่ใู นรปู แบบดิจิทัล การพัฒนา
ระบบการท�ำงานและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก น่าเชื่อถือ และมีความเป็นอัจฉริยะ
เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องอาศัยการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีรูปแบบที่เหมาะสมมาใช้แก้ปัญหาในแต่ละ
กระบวนการทำ� งาน เชน่ Cloud, Blockchain, Internet of Things (Iot) เปน็ ต้น

26 AI for Government

การนำ� เทคโนโลยี AI มาใช้
Artificial Intelligence หรือ AI เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลท่ีได้รับความนิยมจากต่างประเทศทั้งองค์กร
ภาครฐั และองคก์ รภาคเอกชน ในการนำ� มาใชย้ กระดบั การทำ� งาน การแกป้ ญั หา และการตดั สนิ ใจ
ต่างๆ ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ ซง่ึ AI เปน็ เทคโนโลยีทจ่ี ำ� เปน็ ต้องใชข้ ้อมูลเป็นปัจจัยพน้ื ฐานในการ
สรา้ งรปู แบบทเี่ หมาะสมในการวเิ คราะห์ ประมวลผล และทำ� งานบางอยา่ งแทนมนษุ ย์ สง่ ผลใหเ้ กดิ
การประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลา และสามารถรองรับปัญหาในการท�ำงานของมนุษย์ เช่น
การขาดแคลนแรงงาน ความผดิ พลาดจากการทำ� งาน ความเบอ่ื หนา่ ยในการทำ� งานเดมิ ซำ้� ๆ เปน็ ตน้
นอกจากนี้ AI ยังสามารถน�ำมาใชเ้ ป็นผ้ชู ่วยเหลือมนุษย์ในการใช้ชีวิตประจำ� วันได้ ดว้ ยการพฒั นา
ให้ AI สามารถสอื่ สารภาษามนษุ ย์ โตต้ อบกบั มนษุ ย์ ทำ� งานแทนมนษุ ย์ และชว่ ยเหลอื มนษุ ยใ์ นการ
ตดั สนิ ใจในเรือ่ งต่างๆ แทนมนุษยไ์ ดอ้ ีกด้วย จากรายงานของ PwC (PriceWaterhouseCoopers)
คาดการณว์ ่าในปี 2030 AI จะสรา้ งมลู ค่าในทางธรุ กจิ ถึง 15.7 ลา้ นดอลลารส์ หรัฐ
องคก์ รเอกชนมกั เปน็ เจา้ ของเทคโนโลยที ท่ี นั สมยั และกา้ วหนา้ กวา่ ภาครฐั เสมอ เนอ่ื งจากตอ้ งมกี าร
แข่งขันและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอยู่ตลอดเวลา หากไม่มีการน�ำเทคโนโลยีมาใช้อาจเสียเปรียบคู่
แข่งขันไดง้ า่ ย เราจึงไดเ้ หน็ ภาคเอกชนมีการนำ� ปญั ญาประดษิ ฐม์ าใช้ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งการ
วเิ คราะหข์ อ้ มลู เพอื่ ตดั สนิ ใจ การแกป้ ญั หาใหแ้ กล่ กู คา้ ไดอ้ ยา่ งแมน่ ยำ� หรอื ชว่ ยโตต้ อบและสอ่ื สาร
ขอ้ มูลกบั ผู้ใชบ้ ริการต่างๆ เช่น SIRI ซึ่งเปน็ ผชู้ ว่ ยอจั ฉริยะของ Apple ท่ีสามารถเป็นเลขาสว่ นตวั
ให้กับผู้ใช้งานได้ Alexa ของ Amazon ท่ีช่วยเปลี่ยนบ้านพักอาศัยธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ
พรอ้ มแนะนำ� สนิ คา้ จากเวบ็ ไซตข์ องตนไดด้ ว้ ย เปน็ ตน้ นอกจากนภี้ าคเอกชนยงั ใช้ AI ในการคาดเดา
พฤติกรรมของผบู้ ริโภค หรอื แนวโนม้ ของตลาดเพือ่ ประโยชนใ์ นการปรับปรงุ และพัฒนาสินคา้ และ
บริการของตนใหต้ รงกบั ความต้องการของกลมุ่ เป้าหมายตลอดเวลาอีกดว้ ย
ในสว่ นของภาครัฐซึ่งมขี อ้ ไดเ้ ปรียบดว้ ยการครอบครองข้อมลู ขนาดใหญ่ (Big Data) ท�ำใหก้ ารนำ�
AI มาใช้ในภาครัฐจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เน่ืองจากท่ีมีหน้าท่ีในการให้บริการสาธารณะและ
ท�ำงานตามภารกิจที่มีความซับซ้อนและมีความหลากหลาย AI สามารถช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพใน
การทำ� งานของภาครฐั ไดเ้ ชน่ กนั AI จะชว่ ยใหก้ ารบรกิ ารมคี วามรวดเรว็ สะดวก สามารถท�ำไดท้ กุ ที่
ทุกเวลา สรา้ งมาตรฐานใหแ้ กก่ ารบริการ รวมท้ังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพ่ือแกป้ ัญหาตา่ งๆ ให้แก่
ภาครฐั ไดอ้ ยา่ งแมน่ ยำ� หลายประเทศจงึ มกี ลยทุ ธใ์ นการนำ� AI มาใชเ้ ปน็ แนวทางในพฒั นาประเทศ
ด้วยการส่งเสรมิ การน�ำ AI มาใช้ท้ังภาครัฐร่วมกับเอกชน เพอ่ื เพม่ิ ความสามารถในการแข่งขนั และ
สภาพเศรษฐกิจของประเทศใหด้ ยี ิ่งขนึ้

ส�ำ นักงานพัฒนารัฐบาลดิจทิ ัล (องคก์ ารมหาชน) 27

ส�ำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ซ่ึงมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางใน
การขับเคลอื่ นการพฒั นารฐั บาลดจิ ทิ ัล (Digital Government) เหน็ ถงึ แนวโน้มของหน่วยงานของ
รัฐในหลายประเทศท่ีได้น�ำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้เพ่ือพัฒนาประสิทธิภาพของภาครัฐ
จงึ มแี นวคดิ ในการศกึ ษาเครอื่ งมอื ทางเทคโนโลยที สี่ ามารถนำ� มาใชย้ กระดบั การทำ� งานของภาครฐั ได้
อยา่ งเปน็ รปู ธรรม รวมทงั้ เปน็ การตอบสนองตอ่ แนวนโยบายของรฐั ทตี่ อ้ งการสนบั สนนุ และสง่ เสรมิ
ให้หน่วยงานภาครัฐน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพ่ือสร้างประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
และการให้บริการสาธารณะควบคู่กัน จึงเป็นที่มาของการศึกษาแนวทางการน�ำปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence: AI) เล่มน้ี
1. ปญั ญาประดษิ ฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คอื อะไร
เนื่องจาก AI ไม่ได้หมายถึงเฉพาะหุ่นยนต์ที่สามารถท�ำท่าทางและคิดได้แบบมนุษย์ได้เหมือนใน
นยิ ายวทิ ยาศาสตร์ (Science Fiction) ตามทเ่ี ราไดร้ บั ชมผา่ นภาพยนตรเ์ ทา่ นน้ั แต่ AI ยงั หมายความ
รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบของเครื่องจักรหรือระบบท่ีสามารถคิดและโต้ตอบกับมนุษย์ได้
ซงึ่ ปัจจบุ ันเราสามารถพบเจอ AI ได้ในชีวิตประจ�ำวันทง้ั การหาขอขอ้ มลู การซอื้ ของออนไลน์ หรอื
แม้แต่อุปกรณ์ท่ีเราใช้อยู่เป็นประจ�ำ ก็อาจมี AI ซ่อนอยู่ด้วย เนื่องจากภาคธุรกิจและภาครัฐต่าง
คดิ คน้ ข้นึ เพอ่ื น�ำ AI มาใช้แกไ้ ขปัญหาและเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพในการทำ� งานด้านตา่ งๆ ดงั นน้ั เนือ้ หา
ในสว่ นนจี้ ะเปน็ การอธบิ ายถงึ ความหมายโดยละเอยี ดของ AI การทำ� งานแบบไหนทเ่ี รยี กวา่ AI บา้ ง
และตอนนโ้ี ลกเราใช้ AI ทำ� อะไรกนั

รูห ร�อไมว ากิจกรรมในแตล ะวันของเรา_
เกี่ยวของกับ AI อยูตลอด เชื่อวาคนสวนใหญที่เคยใชอินเทอรเน็ต ไมวาจะใชผานทางคอมพิวเตอร
โทรศัพทมือถือ แท็บเล็ต นาจะเคยเขาใชบริการสื่อสังคมออนไลน (Social Media) ยอดฮิตอยาง
Facebook ทไ่ี ดน ำเทคโนโลยี AI มาใชเ พม่ิ ประสทิ ธภิ าพ และสรา งประสบการณแ กส มาชกิ ในเครอื ขา ย
โดยมฟี งกชนั ที่นา สนใจ ดังน้ี

DeFteaccteion New Feed Advertisement Translation PhoSteoaIrmchage PTiacktiunrge
เนอ่ื งจาก Facebook เปน ผใู หบ รกิ ารสอ่ื สงั คมออนไลนท ม่ี เี ครอื ขา ยมากในลำดบั ตน จงึ มขี อ มลู พฤตกิ รรม
การใชงานของสมาชิกอยูมาก ทั้งการโพสตขอความ การแชรรูปภาพ และการแสดงความคิดเห็น
Facebook จึงไดนำฟงกชัน AI ที่เนนทั้งการคนหาและการระบุรูปภาพ การแนะนำโฆษณาที่เขากับ
พฤตกิ รรมและความสนใจของสมาชกิ และการชว ยแปล ซง่ึ นา จะตอบโจทยแ ละสรา งประสบการณท ด่ี ี
ใหแ กส มาชิก โดยในบรรดาฟง กช นั ท้งั หมดสว นใหญจ ะเนน ไปท่ีรปู ภาพเปน หลัก

28 AI for Government

1.1 นิยามและความหมายของ AI
กอ่ นอน่ื ตอ้ งท�ำความเขา้ ใจว่าแนวคดิ แรกเร่ิมของ AI เกดิ ข้ึนจากความต้องการในการพฒั นาระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยในปี ค.ศ. 1950 นักคณิตศาสตร์ท่ีมีชื่อว่า
Alan Turing ต้ังค�ำถามว่าเครื่องจักรสามารถคิดได้หรือไม่ จึงได้คิดวิธีการทดสอบความคิดของ
เครอื่ งจกั ร ซง่ึ ปจั จบุ นั เรยี กวา่ “Turing Test” ดว้ ยการประเมนิ วา่ มนษุ ยส์ ามารถแยกแยะคสู่ นทนาท่ี
เปน็ เครอื่ งจกั รไดห้ รอื ไม่ และไดข้ อ้ สรปุ วา่ คอมพวิ เตอรส์ ามารถถกู โปรแกรมใหเ้ รยี นรู้ จดจ�ำ ประมวล
ผล และตอบสนองในสิง่ ท่ีอยนู่ อกเหนอื ความคาดหมายของโปรแกรมได้
ตอ่ มานกั วทิ ยาศาสตรไ์ ดท้ ำ� การวจิ ยั และทดสอบแนวคดิ การสรา้ งเครอื่ งจกั รอจั ฉรยิ ะ ทฤษฎอี ตั โนมตั ิ
(Automata theory) โครงข่ายใยประสาท และศึกษาเรอื่ งความฉลาด (Intelligence) อย่างตอ่ เนือ่ ง
จนกระทั่งในปี 1956 ได้มีการประชุม Dartmouth conference ที่เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ครั้งแรกสำ� หรับ AI และมกี ารจดั ต้งั สาขา AI ขน้ึ โดย John McCarthy อาจารยจ์ ากมหาวิทยาลัย
พรินซ์ตัน (Princeton University, U.S.A) เป็นคนแรกท่ีใช้ค�ำว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence)”
ภาพท่ี 1 นักวิจัยหลักจาก Dartmouth Summer Research Project ร่วมกันถ่ายภาพ ณ งาน
สัมมนาวชิ าการปัญญาประดษิ ฐ์ (AI@50) ในเดอื นกรกฎาคม 2006 (John McCarthy คอื คนท่ี 2
จากซ้าย

ที่มา: ภาพโดย Joseph Mehling

ส�ำ นักงานพัฒนารฐั บาลดจิ ทิ ัล (องค์การมหาชน) 29

แนวคดิ ดา้ นปญั ญาประดษิ ฐถ์ กู พฒั นาขนึ้ อยา่ งตอ่ เนอื่ ง และไดม้ โี ครงการวจิ ยั ขนาดใหญเ่ กดิ ขน้ึ ตาม
มาดว้ ย โดยในปี 1997 AI กลายไดร้ บั ความสนใจอีกคร้ังเมื่อเคร่ืองคอมพวิ เตอร์ของ IBM สามารถ
เอาชนะแชมป์หมากรุกโลกในขณะนั้นได้ (Garry Kasparov) อย่างไรก็ตามการวิจัยด้านปัญญา
ประดิษฐ์ได้ชะลอตัวลงเนื่องจากนักวิจัยในขณะนั้นไม่สามารถคิดค้นและต่อยอดงานวิจัย AI ได้
จนกระทง่ั ในปี 2015 ปญั ญาประดษิ ฐก์ ลบั มาอยใู่ นกระแสเทคโนโลยอี กี ครง้ั ซง่ึ ปจั จยั สำ� คญั เกดิ จาก
เทคโนโลยีพ้ืนฐานไดพ้ ัฒนาขึ้นเปน็ อย่างมาก รวมถงึ เทคโนโลยีการประมวลผลกราฟกิ หรอื GPU
(Graphic Processing Unit) ท่ีได้พัฒนาข้ึนบนต้นทุนท่ีลดลง ส่งผลให้เทคโนโลยี AI ที่ใช้ GPU
ในการประมวลผลมีตน้ ทนุ ในการพัฒนาทล่ี ดลงตามไปด้วย
เนอ่ื งจากเทคโนโลยีดา้ นปญั ญาประดิษฐ์เป็นความพยายามของมนุษย์ในการพัฒนาส่งิ ทไี่ มม่ ีชีวติ
ใหม้ สี ตปิ ญั ญาทดั เทยี มมนษุ ย์ นกั วทิ ยาศาสตรจ์ งึ ไดม้ กี ารศกึ ษาแนวคดิ ดา้ นความฉลาดของมนษุ ย์
ควบคกู่ นั ไปดว้ ย ตามทฤษฎีการจดั การความรู้ของมนษุ ย์สามารถแบง่ ความรอู้ อกเปน็ 2 ประเภท
คือ ความรชู้ ดั แจง้ (Explicit Knowledge) ทเี่ ป็นรปู ธรรมและสามารถรวบรวมความรู้และถา่ ยทอด
ความรู้ให้แก่ผู้อ่ืนได้ง่าย และความรู้เฉพาะตัว (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ท่ีซ่อนอยู่ใน
ตัวปัจเจกบุคคลจึงไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนยากต่อการถ่ายทอด หากต้องการถ่ายทอดจ�ำเป็นต้อง
ปรบั เปลี่ยนความรใู้ หเ้ ปน็ ความร้ทู ่ีเป็นความร้ชู ัดแจง้ เสียก่อน
ด้านการพัฒนา AI มีแนวคิดในการสร้างความฉลาดให้แก่ AI เช่นกัน โดยจะถ่ายทอดความรู้ให้
แก่ AI ได้เฉพาะความรู้ชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge ซึ่งการสร้างความฉลาดให้แก่ AI มี
2 รปู แบบ ไดแ้ ก่
“ความฉลาดจากฐานความรู้ (Knowledge-based system)” เปน็ การใชค้ วามรทู้ เ่ี กดิ จากการเรยี นรู้
และประสบการณใ์ นเชงิ ประจกั ษ์ (Explicit Knowledge) ทเี่ ปน็ ความรสู้ ามารถรวบรวมและถา่ ยทอด
ได้ เมื่อน�ำความรู้ท่ีมีไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่สามารถสรุปเพ่ือใช้อ้างอิงหรือถ่ายทอดให้ผู้อ่ืน
ต่อไปได้ ส�ำหรับการสร้างความฉลาดเชิงความรู้ให้ AI จะมุ่งเน้นการสร้างคลังความรู้และ
คลงั เครอ่ื งมอื ในการแกป้ ญั หาใหแ้ กเ่ ครอื่ งจกั ร เชน่ Expert System ทนี่ �ำองคค์ วามรขู้ องผเู้ ชยี่ วชาญ
(ท่ีเป็นมนุษย์) ในแตล่ ะด้านมารวบรวมเพื่อใช้เป็นองคค์ วามรูแ้ ละแนวทางการแกป้ ัญหาให้แก่ AI
เป็นต้น

30 AI for Government

“ความฉลาดเชิงค�ำนวณ (Computational intelligence)” เปน็ การสร้างรปู แบบในการประมาณ
คำ� ตอบทม่ี คี วามแมน่ ยำ� ในระดบั ทยี่ อมรบั ได้ เพอื่ แกป้ ญั หาทไี่ มส่ ามารถนำ� ความแนน่ อนทางตรรกะ
มาใชไ้ ด้ เชน่ การใช้อลั กอริทึมทม่ี ขี ้ันตอนการปรับปรุงการแกป้ ญั หาหรอื หาคำ� ตอบอย่างอตั โนมัติ
ผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์ของเคร่ืองเอง เป็นต้น โดยใช้วิธีการท่ีเหมาะเหมาะสมและสร้าง
ความแม่นย�ำได้มากท่ีสุด เช่น การค้นและหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (Search and Optimization)
ความฉลาดแบบกล่มุ (Swarm Intelligence) เปน็ ต้น

ภาพท่ี 2 แนวคิดในการสรา้ งความฉลาดให้ AI

AI Category

Knowledge-Based System Computational Intelligence
ความฉลาดเชงิ ความรู ความฉลาดเชงิ คำนวณ
Expert System Machine Learning

ระบบทรี่ วมเอาองคค วามรู ระบบท่ีเรยี นรูจากขอ มูล
ของผูเชี่ยวชาญดานตา งๆ และวิเคราะหจ ากท่ี
สอนไว
มารวบรวมไว
Swarm Intelligence
RPA
ระบบทเี่ รยี นรูผา นกลมุ
ระบบที่ทำหนา ทีแ่ ทนคน เพอ่ื หาคำตอบทเี่ หมาะสม
ตามขอ มลู ท่ปี อนไวแ ละ ทีส่ ุด โดยใชก ารสมุ คำตอบ
สามารถตอบโตก ับมนษุ ย ทเี่ ปน ไปไดหลายๆ ชุด
ไดใ นหลายสถานการณ

ทมี่ า: เอกสารประกอบการบรรยาย Cutting edge technology research topics ในหัวข้อ Application of AI in
research ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (11 สิงหาคม 2018) โดย ศ.ดร. ธนารกั ษ์ ธรี ะม่ันคง

หากตอ งการทำความเขาใจกับความหมายของปญญาประดิษฐ
เราควรทำความเขา ใจกบั ความหมายของคำวา สตปิ ญ ญาเสยี กอ น สตปิ ญ ญา (Intelligence) เปน แนวคดิ
และทฤษฎีที่ถูกพูดถึงในหลายสาขา เชน มานุษยวิทยา จิตวิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร เปนตน โดย
Legg & Hutter (2006) ไดรวบรวมคณุ ลักษณะสำคญั ของสติปญญาไวดงั นี้
n สติปญ ญาเปนคุณสมบตั ขิ องปจเจกในการตอบสนองตอ สิ่งแวดลอม
n สตปิ ญ ญาเก่ียวขอ งกับความสามารถของปจเจกในการบรรลุวตั ถปุ ระสงคบางอยาง
n สตปิ ญญาขนึ้ อยูกับความสามารถของปจเจกในการตอบสนองตอสภาพแวดลอมทต่ี า งกัน
ดงั นน้ั หากสรปุ ความหมายของสตปิ ญ ญาในความหมายโดยทว่ั ไปจะหมายถงึ ความสามารถของผกู ระทำ
ในการบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคภ ายใตส ภาพแวดลอ มตา งๆ ซง่ึ ตอ งอาศยั การเรยี นรู ปรบั ตวั และตระหนกั รถู งึ
เง่อื นไขที่แตกตา งกนั

ส�ำ นักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทลั (องคก์ ารมหาชน) 31

ปัจจุบันมี AI มีนิยามและความหมายที่หลากหลายตามแนวคิด ในที่น้ีจะขอเสนอนิยามและ
ความหมายของ AI ทนี่ า่ สนใจ ซ่ึงบริษทั ที่ปรกึ ษาช้ันนำ� ได้นิยามความหมายของ AI ไว้ดังนี้

AI หมายถึง ความสามารถของเคร่ืองจกั รในการ
แสดงออกถงึ สติปัญญาเหมอื นมนุษย์ เชน่ ความ
สามารถในการแก้ไขปญั หาโดยไมต่ ้องอาศัยซอฟตแ์ วรท์ ี่
ถกู เขยี นขึ้นอยา่ งละเอยี ด แต่เรียนรู้จากการแก้ไขปญั หา
จากการหารปู แบบภายใต้ขอ้ มูลจ�ำ นวนมาก เป็นตน้

– McKinsey

AI คอื เทคโนโลยีท่เี ลยี นแบบการท�ำ งานของมนุษย์
จากการเรียนรู้ สรุปผลการด�ำ เนนิ งานดว้ ยตนเอง แสดง
ใหเ้ หน็ ถึงความเขา้ ใจบรบิ ทที่มคี วามซับซ้อน สื่อสารกับ
มนุษย์อย่างเปน็ ธรรมชาติ เสริมสร้างความสามารถทาง
ด้านการรู้คิด (Cognitive Performance) ของมนุษย์
หรอื ทำ�งานแทนมนษุ ย์ในงานที่ไมเ่ ป็นกจิ วัตร
(Non-routine Task)

– Gartner

AI คอื ซอฟตแ์ วรท์ ี่เพิม่ ศกั ยภาพการทำ�งานทอ่ี าศัย
องค์ความรู้ (Knowledge-based Work)
และชว่ ยด�ำ เนนิ การให้โดยอัตโนมตั ิ

– Boston Consulting Group (BCG)

32 AI for Government

AI คือ ชดุ ของเทคโนโลยีท่ถี ูกขับเคลอ่ื นดว้ ยความ
สามารถในการคาดการณ์และแสดงออกถงึ ความ
สามารถในการเรยี นรู้ดว้ ยตนเองท่ชี ่วยเสริมสรา้ ง
ศกั ยภาพของมนษุ ย์ในการจำ�แนกรปู แบบ (Recognize
Patterns) พยากรณ์อนาคต (Anticipate future
events) กำ�หนดวธิ ีปฏิบตั ิ (Create good rules) สร้าง
การตัดสนิ ใจ (Make good decisions) และการสื่อสาร
กบั ผู้อ่ืน (Communicate with others)

– Deloitte

ท้งั น้ี ยงั มีนยิ ามและความหมายของ AI ทน่ี า่ สนใจจาก Science and Technology Committee,
House of Commons, UK “AI คอื กลุ่มของเคร่อื งมอื ทางสถิติและอลั กอรทิ ึมทปี่ ระสานกัน
เพ่ือสร้างซอฟต์แวร์ทรงปัญญาท่ีช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบพฤติกรรม
มนษุ ย์ เช่น การเรยี นรู้ การใช้เหตผุ ล การจำ� แนกสงิ่ ของ เป็นตน้ ”

AI หรอ� ปญญาประดิษฐ (Artificial Intelligence)
เปน เทคโนโลยกี ารสรา งความสามารถใหแ กเ ครอ่ื งจกั รและคอมพวิ เตอรด ว ยอลั กอรทิ มึ และกลมุ เครอ่ื งมอื
ทางสถติ ิ เพอ่ื สรา งซอฟตแ วรท รงปญ ญาทส่ี ามารถเลยี นแบบความสามารถของมนษุ ยท ซ่ี บั ซอ นได เชน
จดจำ แยกแยะ ใหเหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ สื่อสารกับมนุษย เปนตน ในบางกรณีอาจไปถึงขั้น
เรยี นรไู ดดวยตนเอง

สำ�นักงานพฒั นารัฐบาลดจิ ิทัล (องคก์ ารมหาชน) 33

1.2 ประเภทและการแบง่ ระดับการเรียนรขู้ อง AI
เทคโนโลยี AI ในปัจจุบันมีความเข้มข้นของเทคโนโลยีและความสามารถเพิ่มข้ึนจากในอดีตเป็น
อยา่ งมาก อกี ทงั้ ยงั มแี นวโนม้ การพฒั นาอยา่ งกา้ วกระโดดอยตู่ ลอดเวลา ดงั นน้ั การทำ� ความเขา้ ใจ
ถึงประเภทและระดับการเรียนรู้ของ AI จะท�ำให้เราสามารถทำ� ความเขา้ ใจกลไกการท�ำงาน AI ได้
มากขึ้น ทั้งนี้ การแบ่งประเภทและระดับการเรยี นรู้ของ AI เปน็ เพยี งบริบทของเทคโนโลยีปัจจบุ ัน
จะท�ำใหเ้ ราสามารถประยกุ ต์ใช้ AI เพื่อแก้ปัญหาในการทำ� งานได้ดียิ่งข้ึน
n ประเภทของ AI
การพฒั นา AI มีวตั ถุประสงค์เพ่อื ใหเ้ ครื่องจักรทำ� งานแทนมนุษย์ รวมท้ังเพอ่ื เพิ่มประสิทธิภาพให้
กับงานบางอย่าง ดังน้ัน AI ทพ่ี ฒั นาขึ้นจึงไมจ่ �ำเป็นตอ้ งพฒั นาใหส้ ามารถคดิ อา่ นและมพี ฤตกิ รรม
เลยี นแบบมนษุ ยไ์ ดท้ งั้ หมด แตส่ ามารถทำ� งานบางอยา่ งแทนมนษุ ยห์ รอื สามารถสรา้ งประสทิ ธภิ าพ
ในการท�ำงานของมนษุ ย์ได้ จากการศกึ ษาสามารถสรปุ ประเภทของ AI ได้ 3 ประเภท ดงั นี้
Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรอื “ปญั ญาประดษิ ฐแ์ บบเบา (Weak AI)” เปน็ AI ทส่ี รา้ งขนึ้
มาเพ่ือใช้งานเฉพาะทาง เชน่ SIRI เปน็ AI ทสี่ ามารถให้ความชว่ ยเหลือ แนะนำ� และใหค้ �ำปรึกษา
(เทา่ ทส่ี ามารถทำ� ได)้ ตอ่ ผใู้ ชง้ านสนิ คา้ แบรนด์ Apple หรอื Alexa ทอ่ี ำ� นวยความสะดวกใหแ้ กล่ กู คา้
ของ Amazon ในการหาขอ้ มูลต่างๆ ทัง้ การจองทริปและแสดงราคาสินค้า เปน็ ต้น
Artificial General Intelligence (AGI) หรอื อาจเรยี กวา่ “ปญั ญาประดษิ ฐแ์ บบเขม้ (Strong AI)” คอื
AI ทม่ี คี วามสามารถใกลเ้ คยี งกบั มนษุ ย์ (Human-Level AI) ซงึ่ มนษุ ยเ์ หนอื กวา่ สตั วห์ รอื สง่ิ ประดษิ ฐ์
อื่นตรงที่มนุษย์สามารถใช้ความคิดบนพ้ืนฐานของเหตุและผล สามารถวางแผนเพ่ือแก้ไขปัญหา
ต่างๆ และสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต ตัวอย่างแอปพลิเคชันในระดับนี้ เช่น รถยนต์
ขับเคล่ือนไดเ้ องของ Uber และระบบขบั รถอัตโนมตั ิ (Autonomous Car) ของ Tesla เปน็ ตน้
Artificial Super Intelligence (ASI) อาจเรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์แบบทรงปัญญา” ซ่ึง Nick
Bostrom นกั คิดชน้ั น�ำด้าน AI จาก Harvard University กล่าววา่ AI ประเภทน้เี ทียบเคียงไดก้ ับ
“Superintelligence” หรือเครื่องจักรทรงภูมิปัญญา (Machine Superintelligence) ที่สามารถ
บูรณาการความรู้ในทุกศาสตร์แล้วน�ำมาประมวลผลด้วยความเร็วสูง และมีความเป็นไปได้ว่า AI
ประเภทนี้จะมศี กั ยภาพในเชงิ สตปิ ญั ญาเหนือมนษุ ย์

34 AI for Government

n ระดับการเรยี นร้ขู อง AI (ในบริบทของ Machine Learning)
AI จ�ำเป็นต้องเรียนรู้เพ่ือสร้างความคิดและความฉลาดให้แก่ตนเองผ่านข้อมูลที่ได้รับหรือข้อมูลที่
เรากำ� หนดไว้ เพอื่ นำ� มาใชใ้ นการตดั สนิ ใจดำ� เนนิ การหรอื ตดั สนิ ใจบนพน้ื ฐานของขอ้ มลู แทนมนษุ ย์
ซ่งึ ความสามารถในการเรียนรขู้ อง AI สามารถแบง่ ไดเ้ ปน็ 3 ระดบั ดงั น้ี
ภาพท่ี 3 ความสามารถในการเรียนรขู้ อง AI

เทคโนโลยปี จจบ� ัน > 3ระยะท่ี เคร่�องจักรตระหนกั รู
2ระยะที่ Machine Consciousness
1ระยะที่
เคร่อ� งจกั รอจั ฉร�ยะ
Machine Intelligence

การเรย� นรขู องเคร�่อง
Machine Learning

ระดบั ที่ 1 Machine Learning ชดุ ของอลั กอรทิ มึ ทเี่ ครอ่ื งใชเ้ พอื่ เรยี นรขู้ อ้ มลู และประสบการณเ์ พอื่
สร้างความฉลาดใหแ้ ก่ตนเอง หรืออาจพูดไดว้ า่ AI ใช้เทคนคิ Machine Learning ในการพัฒนา
ความสามารถในการคดิ และตดั สนิ ใจ โดยผพู้ ฒั นาจะเขยี นโปรแกรมใหเ้ ครอ่ื ง (AI) เรยี นรจู้ ากขอ้ มลู
และเครื่องจะท�ำหนา้ ทีเ่ รียนร้ดู ว้ ยตนเองตามวธิ ีท่ผี ้พู ัฒนาก�ำหนดไว้ สรปุ ว่า AI ในระดบั นีจ้ ะคดิ จะ
ทำ� อะไรกข็ นึ้ อยกู่ บั สงิ่ ทเ่ี ราสง่ ไปใหเ้ รยี นรแู้ ละวธิ กี ารเรยี นรทู้ เ่ี ราออกแบบให้ แลว้ จงึ ประมวลผลบน
พ้ืนฐานของความร้ทู ไ่ี ดเ้ รียนไป โดยเปน็ เทคนิคทอ่ี อกแบบพฒั นาได้ง่ายท่ีสดุ
ระดบั ท่ี 2 Machine Intelligence ชุดของอัลกอรทิ ึมขน้ั สูงทเ่ี ครอ่ื งใชเ้ พ่ือเรยี นรู้จากประสบการณ์
เช่น Deep Learning แนวโน้มเทคโนโลยีในปัจจบุ ัน เป็นตน้ โดยเทคนคิ ในระดบั นี้มปี ระสทิ ธภิ าพ
เหนอื กวา่ เทคนคิ Machine Learning และตอ้ งการขอ้ มลู ในการเรยี นรมู้ ากขนึ้ เชน่ กนั ซง่ึ ระดบั ความ
สามารถในการเรยี นรู้ของ AI ในปจั จุบันส่วนใหญจ่ ะอยใู่ นระดบั น้ี

Performance สำ�นกั งานพฒั นารฐั บาลดจิ ิทลั (องคก์ ารมหาชน) 35

ภาพท่ี 4 ประสทิ ธิภาพความแม่นย�ำในการทำ� นายเปรียบเทียบระหวา่ ง Machine Learning และ
Deep Learning

Deep learning
Older learning algorithms

Amount of data

ท่ีมา: Mueller & Massaron, 2018

จากภาพเมื่อถึงระดับหนึ่งเครื่องจะไม่สามารถเพิ่มความรู้หรือประสิทธิภาพท่ีได้จากการเรียนรู้
ไดอ้ ีก (Older Learning Algorithms) แม้จะเพ่ิมปริมาณของข้อมูลให้เคร่ืองเท่าใดกต็ าม ซ่งึ ปัญหา
ดงั กลา่ วจำ� เปน็ ตอ้ งใช้ Deep Learning (การเรยี นรเู้ ชงิ ลกึ ) เขา้ มาเพม่ิ การเรยี นรเู้ พอื่ เพมิ่ ประสทิ ธภิ าพ
ในการท�ำงานให้สงู ขึ้น

ซง่ึ Deep Learning เปน็ กระบวนการเรยี นรแู้ บบหนงึ่ ของ Machine Learning โดยเปน็ กระบวนการ
สร้างประสาทแบบลึก (Deep Neural Network) ท่ีมีข้ันตอนในการเรียนรู้ข้อมูลแตกต่างจาก
การเรยี นรขู้ ้อมูลโดยทัว่ ไป ทง้ั นี้ Machine Learning จะถกู กลา่ วในหวั ข้อ 1.2 ความสามารถของ
AI ในปัจจบุ นั

36 AI for Government

ภาพท่ี 5 ความสมั พนั ธร์ ะหว่าง AI, Machine Learning และ Deep Learning

ARTIFICIAL MACHINE DEEP
INTELLIGENCE LEARNING LEARNING

Early artificial intelligence Machine learning Deep learning breakthroughs
stirs excitement begins to flourish drive AI boom

ปญ ญาประดิษฐ การเรยี นรูข องเครือ่ ง การเรยี นรเู ชิงลึก
ระบบทสี่ ามารถ อัลกอรทิ มึ สวนหนึ่งของการเรยี นรขู องเคร่อื ง
เรียนรใู ชเ หตุผล ท่มี คี วามสามารถพัฒนา ทีน่ ำโครงขา ยประสาทเทยี ม
ปฏบิ ัติ และปรับตัวได ตัวเอง จากประสบการณ มาเพม่ิ การเรียนรูของชั้นขอมูล
ที่ไดจากการสงั เคราะห เพื่อใหแ มนยำข้ึน
ขอมลู มากขึ้นเม่ือเวลา
ผา นไป

1950’s 1960’s 1970’s 1980’s 1990’s 2000’s 2010’s
ท่ีมา: สรปุ จาก Copeland, 2016

ระดบั ที่ 3 Machine Consciousness เปน็ การออกแบบใหเ้ ครอื่ งสามารถเรยี นรไู้ ดด้ ว้ ยประสบการณ์
ของตนเอง โดยไมต่ อ้ งเรยี นรจู้ ากขอ้ มลู ภายนอกทมี่ นษุ ยส์ ง่ ให้ ซงึ่ เปน็ เทคนคิ ระดบั ทส่ี งู ทสี่ ดุ ของ AI
ในปจั จบุ นั ทเี่ ป็นความสามารถในการเรยี นรู้ของ AI ที่ยงั ไม่ถูกนำ� มาใช้แพร่หลายมากนัก
เทคนคิ ทง้ั 3 เปรยี บเหมอื นระดบั ความคดิ ของ AI ทผี่ พู้ ฒั นาสรา้ งใหแ้ กเ่ ครอื่ งจกั ร เรมิ่ จากระดบั แรก
คอื Machine Learning ทอี่ อกแบบและพฒั นาไดง้ า่ ย และในระดบั ถดั มา Machine Intelligence ที่
ตอ้ งใช้เทคนิคขั้นสูงในการพัฒนา ส่วน Machine Consciousness ทเ่ี ป็นการพัฒนาในระดบั สงู สุด
ของ AI ในปจั จบุ นั ซง่ึ เปน็ เทคนคิ การพฒั นาขนั้ สงู สดุ ของการพฒั นาปญั ญาประดษิ ฐใ์ นปจั จบุ นั และ
ยงั ไม่ถกู นำ� มาใชแ้ พร่หลายนกั

สำ�นกั งานพัฒนารฐั บาลดิจทิ ลั (องคก์ ารมหาชน) 37

2. ความสามารถของ AI ในปจั จบุ ัน AI
สามารถท�ำงานได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานและการออกแบบของผู้พัฒนา
เปน็ หลัก โดยความสามารถหลกั ของ AI ในปจั จุบนั มีดงั น้ี
ภาพท่ี 6 ความสามารถของ AI ที่ถกู นำ� มาใช้ในปจั จบุ นั

AIความสามารถของ
ทถี่ กู นำมาใช
ในปจจ�บัน

ทมี่ า: Ng A. , n.d.

2.1 Machine Learning
เป็นการท�ำให้เคร่ืองสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากข้อมูลที่เราก�ำหนดไว้ โดย AI สามารถเรียน
รู้และพัฒนาประสบการณ์ด้วยวิธีอัตโนมัติ ซ่ึงการท�ำงานในรูปแบบน้ีมี 2 ส่วน ได้แก่ การเรียนรู้
จากขอ้ มลู ในอดีต และการพยากรณเ์ พอื่ แสดงผลลัพธ์ โดยขน้ั ตอนการเรยี นรู้ของเครอื่ งจะเร่มิ จาก
การเรยี นรขู้ อ้ มลู ในอดตี ผา่ นแบบจ�ำลองทกี่ ำ� หนดแลว้ จงึ ประมวลผลขอ้ มลู ปจั จบุ นั จนกระทงั่ แสดง
ผลลัพธ์ ทั้งน้ี การเตรียมการให้เครื่องเรียนรู้ข้อมูลในอดีตในจ�ำนวนที่เหมาะสมเป็นสิ่งส�ำคัญและ
ตอ้ งใชเ้ วลามากทีส่ ดุ

38 AI for Government

ภาพที่ 7 ขั้นตอนการทำ� งานของ Machine Learning

ขัน้ ตอนเร�ยนรู ขอ มลู ตวั อยา ง อลั กอร�ทมึ่ โมเดล
เพ�่อสรางโมเดล สำหรบั สอน การเรย� นรู
(ขอมลู จากอดตี )

ข้ันตอน ขอมลู จร�ง พยากรณ ผลลพั ธ
ใชง านโมเดล (ขอ มลู ปจ จ�บนั ) อตั โนมตั ิจาก

โมเดล

ท่ีมา: Ng, 2018

Machine Learning มุ่งเน้นไปท่ีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและ
เรียนรดู้ ้วยตนเอง โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ดงั น้ี
n การเรยี นรแู้ บบมผี สู้ อน (Supervised Machine Learning Algorithms) การมผี สู้ อน หมายถงึ
ข้อมูลที่ใช้ในการฝึกนั้น (Training Data) ได้ถูกน�ำมาแยกประเภทผลลัพธ์ด้วยการติดป้าย
(Label) แลว้ จงึ นำ� ขอ้ มลู ทต่ี ดิ ปา้ ยแลว้ ไปใชใ้ นการฝกึ ของเครอ่ื งทที่ ำ� งานผา่ นอลั กอรทิ มึ สำ� หรบั
สรา้ งโมเดลทใ่ี ชใ้ นการทำ� นายผลลพั ธ์ เมอื่ ไดโ้ มเดลทผี่ า่ นการฝกึ แลว้ กจ็ ะทดลองกบั ขอ้ มลู ใหม่
(New Data) เพ่อื ใหเ้ ครื่องทำ� นายผ่านแบบจ�ำลอง (Predictive Model) วา่ คำ� ตอบควรจะเปน็
อยา่ งไร

สำ�นักงานพฒั นารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) 39

ภาพท่ี 8 กระบวนการทำ� งานของ Supervised Machine Learning Algorithms

Training Data Labels

Machine Learning Algorithm

New Data Predictive Model Prediction

ทีม่ า: Raschka, Python Machine Learning, 2016

ภาพที่ 9 วิธีการเรยี นรู้ของ Supervised Machine Learning

ขอมูลสอน ปา ย (Label) Model
แอปเปล� ทายผล
กลวย
มะละกอ

กลวย
นี่คืออะไร?

สม

ท่มี า: จากการสรุปและรวบรวมข้อมูลของ สพร.

40 AI for Government

นอกจากการเรียนรู้แบบ Supervised Machine Learning ท่ีมีผู้สอนโดยปกติท่ัวไปแล้ว ยังมีวิธี
การเรียนรแู้ บบ Deep Learning ที่เปน็ รปู แบบการเรยี นรขู้ องเครอ่ื งแบบมผี สู้ อนเช่นกัน แต่ Deep
Learning มีการก�ำหนดช้ันของข้อมูล (Layer) ท่ีแตกต่างกันเพ่ือให้เคร่ืองสามารถเรียนรู้ข้อมูลได้
มากข้ึน แม่นย�ำข้ึน โดยใช้เทคนิคการเพิ่มความลึกของข้อมูลที่แสดงออกมาตามจ�ำนวนของ
ชัน้ ข้อมลู ที่มากขนึ้ ซ่งึ สามารถแสดงรายละเอียดไดด้ ังภาพดา้ นล่าง
ภาพท่ี 10 วิธกี ารทำ� งานของ Machine Learning และ Deep Learning

Machine NCaott Cat
Learning

Input Feature Extraction Classification Output

Deep Cat
Learning NBroeetdC: Rautssian Blue

Input Feature Extraction + Classification Output

ทีม่ า: The Computing Center, 2018

เนอ่ื งจาก Deep Learning เปน็ เทคนคิ สำ� คญั ตอ่ การพฒั นาการเรยี นรขู้ องเครอื่ ง ดงั นนั้ เพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจ
ถึงเทคนิคดังกล่าวได้ง่ายข้ึนจึงขอยกตัวอย่างการเพ่ิมล�ำดับชั้นของข้อมูล จากภาพในกรณีที่เรา
ตอ้ งการใชค้ วามสามารถ Face Recognition (ซง่ึ เปน็ ความสามารถของ AI รปู แบบหนง่ึ ) หากเราใช้
เทคนคิ การเรยี นรแู้ บบมผี สู้ อนเครอ่ื งจะสามารถแยกภาพบคุ คลไดจ้ ำ� กดั เฉพาะภาพหนา้ ตรงเทา่ นน้ั
แต่ถ้าเราต้องการให้เครื่องสามารถคัดแยกภาพใบหน้าได้หลายมุม จะต้องมีใช้เทคนิคการสอน
ด้วยการเพ่ิมชั้นของข้อมูลให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องสามารถวิเคราะห์ใบหน้าบุคคลได้จาก
หลายมุม หรือสามารถวเิ คราะหใ์ บหนา้ ในชว่ งอายทุ แี่ ตกต่างกันได้

สำ�นักงานพัฒนารฐั บาลดจิ ิทลั (องคก์ ารมหาชน) 41

ภาพท่ี 11 การทำ� งานของ Deep Learning ในการรูจ้ ำ� ภาพหนา้ คน
Deep Neural Network

Input Hidden Hidden Hidden Output
Layer Layer 1 Layer 2 Layer 3 Layer

Face Edges Combinations Object
of edges Models

ทีม่ า: Sachdeva, 2017

n การเรยี นรแู้ บบไมม่ ผี สู้ อน (Unsupervised Machine Learning Algorithms) อลั กอรทิ มึ การ
เรยี นรแู้ บบไมม่ ผี สู้ อนหรอื แบบไมถ่ กู ควบคมุ เปน็ เทคนคิ การเรยี นรดู้ ว้ ยขอ้ มลู ทไ่ี มถ่ กู จดั ประเภท
หรือติดป้ายก�ำกับข้อมูล การเรียนรู้ด้วยเทคนิคน้ีเคร่ืองจะอนุมานข้อมูลที่ได้รับและท�ำความ
เขา้ ใจถึงโครงสรา้ งที่ซ่อนอยู่ ดงั นั้น เทคนิคนี้จงึ ไมส่ ามารถหาผลลพั ธ์ท่ถี ูกต้องได้ แต่จะใชว้ ธิ ี
ส�ำรวจขอ้ มูลและใชก้ ารอนุมานวา่ ข้อมูลนนั้ คอื อะไร

ขอ ูมล42 AI for Government

ภาพที่ 12 การเรียนร้แู บบไมม่ ีผูส้ อน

Model
จดั กลุม

n Semi-supervised Machine Learning Algorithm เปน็ เทคนคิ การเรยี นรดู้ ว้ ยอลั กอรทิ มึ แบบกง่ึ
ควบคุม เปน็ เทคนิคการเรยี นรทู้ ผ่ี สมผสานทัง้ การเรียนรแู้ บบมีผู้สอน (Supervised) และไม่มี
ผู้สอน (Unsupervised) เน่ืองจากมีการใช้ทั้งข้อมูลท่ีมีป้ายก�ำกับและไม่มีป้ายก�ำกับส�ำหรับ
การกำ� หนดขอ้ มูลให้เครอ่ื งเรยี นรู้ ซึ่งเทคนคิ น้สี ามารถปรบั ปรงุ ความแมน่ ย�ำในการเรยี นรขู้ อง
เครอ่ื งไดด้ ียงิ่ ข้ึน มกั ถกู นำ� มาใชใ้ นกรณีทขี่ ้อมลู ที่มปี ้ายก�ำกับนั้นไมส่ ามารถวิเคราะห์ด้วยการ
ฝกึ สอนแบบปกติไดแ้ ต่ตอ้ งใชท้ ักษะในการวเิ คราะห์เพ่ิมเติม

ขอมูลสอน ส�ำ นกั งานพัฒนารฐั บาลดิจทิ ัล (องคก์ ารมหาชน) 43ขอ มูลดบิ

ภาพที่ 13 การเรียนร้แู บบ Semi-supervised Machine Learning

ปาย (Label)
กลว ย

ไมใชกลวย
Model

n Reinforcement Machine Learning Algorithms เปน็ เทคนคิ การเรียนรู้ของเครือ่ งแบบเสริม
ก�ำลัง โดยการก�ำหนดเป้าหมายให้แก่เคร่ืองหรือคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า “Reinforcement
Signal” เพ่ือให้เครื่องสร้างทางเลือกในการตัดสินใจหลายรูปแบบตามสภาวะแวดล้อมท่ี
แตกตา่ งกนั หลงั จากนนั้ เครอื่ งจะเกบ็ ขอ้ มลู การตดั สนิ ใจในแตล่ ะทางเลอื กเพอื่ เรยี นรผู้ ลลพั ธแ์ ละ
ข้อผิดพลาดท่ีเกิดข้ึน ซ่ึงวิธีนี้จะช่วยให้เคร่ืองสามารถประมวลผลเพ่ือหาทางเลือกที่มี
ประสิทธภิ าพทสี่ ุดในการบรรลุเป้าหมายไดโ้ ดยอัตโนมตั ิ

44 AI for Government

ภาพที่ 14 การเรียนรู้แบบ Reinforcement Machine Learning

Reward

Internal State Action Environment
Observation
Learning Rate
Inverse Temperature
Discount Rate
ทมี่ า: Das, 2017

ส�ำ นกั งานพฒั นารฐั บาลดจิ ิทัล (องคก์ ารมหาชน) 45

2.2 การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP)
เป็นเทคนิคการท�ำให้เคร่ืองท�ำความเข้าใจภาษาและระดับของภาษาของมนุษย์ด้วยอัลกอริทึมที่
สามารถประมวลผลภาษาของมนษุ ยไ์ ด้ อยา่ งไรกต็ ามยงั มขี อ้ จำ� กดั ทเ่ี ครอื่ งไมส่ ามารถเขา้ ใจภาษา
มนษุ ยไ์ ดค้ รอบคลมุ ทงั้ หมด เนอื่ งจากความหลากหลายของโครงสรา้ งของแตล่ ะภาษา หรอื รปู แบบ
ของภาษาบางภาษาทีเ่ ปน็ วลีหรอื สแลง (Slang) ทไ่ี มม่ โี ครงสร้างทางภาษาทีช่ ดั เจน
ภาษาของมนุษย์และภาษาของคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์การใช้งานคล้ายคลึงกัน แต่มีรูปแบบ
และโครงสร้างของภาษาที่แตกตา่ งกัน โดย “ภาษามนุษย์ (Language) คอื ถอ้ ยค�ำหรือขอ้ ความ
ท่ีมนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งอาจมีความแตกต่างท้ังโครงสร้างและภาษาในแต่ละประเทศ
สว่ นความหมายของ “ภาษาในทางวทิ ยาการคอมพวิ เตอร์ หมายถงึ ภาษาทใ่ี ชใ้ นการสอื่ สารระหวา่ ง
คนกบั คอมพวิ เตอรเ์ พ่ือสง่ั ใหค้ อมพวิ เตอร์ทำ� งานตามขอบเขตท่ีท�ำได”้
ภาษาธรรมชาติ หรอื Natural Language เรมิ่ การศกึ ษาเพอื่ นำ� มาใชใ้ นการประมวลผลภาษามนษุ ย์
ต่อมาไดพ้ ัฒนาเทคนคิ การประมวลผลภาษาธรรมชาติหรอื NLP ข้ึน ดว้ ยอลั กอริทึมท่ชี ว่ ยใหเ้ คร่ือง
สามารถเขา้ ใจโครงสรา้ งและรูปแบบของภาษาที่หลากหลายไดเ้ อง โดย NLP มีขนั้ ตอนการท�ำงาน
5 ขั้นตอน ได้แก่
n การวิเคราะห์ทางองค์ประกอบของค�ำ (Morphological Analysis)
n การวิเคราะหไ์ วยากรณข์ องประโยคและวลีต่างๆ (Syntactic Analysis)
n การวิเคราะห์ความหมายของค�ำ ด้วยการก�ำหนดค่าและแยกแยะรูปประโยคและไวยากรณ์
(Semantic Analysis)
n การวเิ คราะห์ความหมายประโยคจากบรบิ ท (Discourse Integration)
n การวเิ คราะหเ์ พอ่ื แปลความหมายด้วยข้อมลู จากขน้ั ตอนท่ีผ่านมา (Pragmatic Analysis)

46 AI for Government

ปจ จ�บัน NLP ถกู พัฒนาเพอ่� ใชงานหลายรปู แบบ โดยมตี ัวอยา งท่นี าสนใจ ดงั นี_้
n ระบบแปลภาษา (Machine Translation) เปนแอปพลิเคชันที่ใชตัวอยาง (Example-based)

จากฐานขอมูลที่มนุษยไดแปลและเก็บรวบรวมไว รวมกับเทคนิค Machine learning โดยระบบ
ดังกลาวเริ่มมาพรอมกับการศึกษา NLP ดวยการพัฒนารวมกันระหวางนักวิจัยดานคอมพิวเตอร
และนกั ภาษาศาสตรท พ่ี ฒั นาเพมิ่ เตมิ จากเทคนคิ Rule-based
n ระบบหาขอ มลู (Information retrieval) เปน เครอ่ื งมอื สำคญั ทใ่ี หค วามชว ยเหลอื เราในการหาขอ มลู
ทม่ี อี ยอู ยา งมากมายในโลกทส่ี ว นใหญอ ยใู นรปู แบบภาษาธรรมชาตไิ ดอ ยา งแมน ยำ โดยมขี น้ั ตอน
การทำงานหลกั คอื (1) การทำดชั นีขอมูล (Indexing) ดว ยการกำหนดกลุมคำแทนความหมาย
ของขอมูลนัน้ และ (2) การหาขอ มูลทเี่ ก่ยี วขอ งผานดชั นี
n ระบบแบงประเภทขอมูล (Text categorization) เปนระบบที่ชวยใหมีการจัดเก็บขอมูลอยาง
เปนระเบียบเพื่อเพมิ่ ประสิทธิภาพในการหาขอ มูล
n ระบบยอความ (Text summarization) เปนระบบที่ชวยอานและสรุปใจความสำคัญแบบยอ
ใหเราอา นกอนท่เี ราจะตดั สนิ ใจเลือกอา นเนือ้ หาเตม็ ของขอมูลทเี่ ราสนใจ
n ระบบประมวลภาษามือ (Sign language processing) คือ การนำ NLP มาประยุกตเพื่อชวย
ผูมีปญหาดานการสื่อสาร ดวยการแปลงโครงสรางทั้งภาษาธรรมชาติ ภาษามือ และจัดการ
การรับขอ มูลภาพ

แม้ NLP ได้ถูกน�ำมาใช้งานเพ่ิมข้ึนในปัจจุบัน แต่ก็มีข้อจ�ำกัดที่ส�ำคัญ คือ NLP ยังไม่สามารถ
ประมวลผลภาษาธรรมชาตไิ ดอ้ ยา่ งสมบรู ณ์ ดงั นนั้ การนำ� มางานจงึ เนน้ การนำ� มาพฒั นาเปน็ ฟงั กช์ นั
ประกอบเครอื่ งมอื และเครอื่ งใชต้ า่ งๆ เพอ่ื อำ� นวยความสะดวกใหม้ นษุ ยม์ ากกวา่ การนำ� ไปใชก้ บั งาน
ทีม่ ีผลกระทบสงู หรอื งานทต่ี อ้ งอาศยั การอ้างองิ

ส�ำ นักงานพฒั นารฐั บาลดจิ ทิ ลั (องคก์ ารมหาชน) 47

2.3 การวางแผน (Automated Planning, Scheduling & Optimization)
คอื การสรา้ งเทคนคิ ใหเ้ ครอื่ งหรอื คอมพวิ เตอรส์ ามารถตดั สนิ ใจดว้ ยการเลอื กลำ� ดบั ของการกระทำ�
หรอื การดำ� เนนิ งานทม่ี โี อกาสสงู สดุ ในการบรรลเุ ปา้ หมายทก่ี ำ� หนด(แตกตา่ งจากMachineLearning
ท่ีเน้นการคิด) โดยการตัดสินใจเพื่อด�ำเนินงานของเคร่ืองมีประสิทธิภาพสูงกว่าหรือเทียบเท่า
การทำ� งานของมนษุ ย์ โดย AI จะทำ� งานตามขนั้ ตอน (Workflow) ทเ่ี รากำ� หนด และจะวเิ คราะหง์ านที่
มคี วามซำ้� ซอ้ นเพอ่ื ตดั สนิ ใจลดขนั้ ตอนใหม้ คี วามเหมาะสม ตวั อยา่ งของรปู แบบ AI ทใ่ี ช้ เชน่ Robotic
Process Automation (RPA) ทใ่ี ช้พัฒนาระบบจดั การทรพั ยากรของหนว่ ยงานเช่นเดียวกบั ERP
ของภาคเอกชน Robotic Desktop Automation (RDA) เปน็ ระบบผู้ชว่ ยงานให้แก่มนุษย์ เปน็ ต้น

ภาพที่ 15 แสดงแนวทางการพัฒนาระบบ AI Planning

Straight Through Processing CIonmcCrpoelasestxsiintiges

Robotic Robotic Machine Artificial
Desktop Process Learning Intelligence
Automation Automation
dawneitcahilsypitoircenssec&nrigpitnivees awnitahlydtiecdsuctive
iwnittehrvmenantiuoanl woritshedlfigsietravlitvreiggers

Doing Process-Driven Data-Driven Thinking

ท่ีมา: Das, 2017

48 AI for Government

2.4 การวิเคราะห์แบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
คอื เทคนคิ การเลยี นแบบความสามารถในการตดั สนิ ใจของมนษุ ยใ์ หแ้ กเ่ ครอื่ งจกั รหรอื คอมพวิ เตอร์
โดยคอมพวิ เตอรจ์ ะเลยี นแบบความสามารถในการตัดสินใจทีเ่ ชีย่ วชาญอย่างมนษุ ย์ ระบบน้ไี ด้รบั
การออกแบบมาเพอื่ แกป้ ญั หาทซ่ี บั ซอ้ นดว้ ยการพจิ ารณาเหตผุ ลผา่ นองคค์ วามรู้ ซง่ึ มคี วามซบั ซอ้ น
มากกว่าการให้เหตุผลด้วยการค�ำนวณหรือการให้เหตุผลท่ัวไป และมีประโยชน์ในการรักษา
องคค์ วามรไู้ มใ่ หส้ ญู หายไปตามกาลเวลา ทง้ั นี้ การพฒั นาระบบจะถกู ออกแบบใหม้ กี ารตอบสนอง
และตดั สินใจไดอ้ ย่างรวดเร็ว รวมทัง้ ต้องขจดั อคติในการตดั สนิ ใจออกไป
ภาพท่ี 16 ภาพแสดงการท�ำงานของระบบผ้เู ชยี่ วชาญ

ระบบผชู ำนาญการ (Expert System)

คำถาม กล(ไIกEnกnfeาgrรienอneนc)มุ eาน

สวนผตูใชิดง ตาอนกับ

คำแนะนำ B(aKsฐneาodนwคSlวyeาsdมtgeรemู -)
ผูใชง าน

ที่มา: จากการสรปุ และรวบรวมข้อมูลของ สพร.


Click to View FlipBook Version