The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Larpluck Boonyakom, 2022-08-05 04:45:06

บทความเต็ม_4U

บทความเต็ม_4U

การประพันธผลงานทางเทคโนโลยีดา นดนตรี
“Sound of DUDE” The loft word in music.

ธนะรัชต อนุกลู * (ปร.ด.) 1
1 อาจารยป ระจำ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

E-mail [email protected]

บทคดั ยอ

ผลงานสรางสรรค “Sound of DUDE” The loft word in music. ผูสรางสรรคไดแบงบทประพันธเปน 3 ทอน
หลกั ผูส รา งสรรคไ ดแบงทอน 1 “Coffee” ทอน 2 “Musicafe” ทอน 3 “Loftronic” นำเสนอเสียงบรรยากาศของรา นกาแฟ
ที่แปลกใหมออกไปใหเสยี งไมเหมือนเดิม โดยการใชว ัตถดุ ิบเสียงที่สรางไดจ ากการชงกาแฟ บรรยากาศภายในราน เสียงของ
การบรรเลงดนตรแี ละรองเพลงในรา นกาแฟ หรือ เสยี งผคู นคุยกัน ผปู ระพนั ธใชรูปแบบการประพันธแ บบมูสิคคอนแครต็ และอิ
เล็กทรออะคูสติก คอื การนำเสียงท่บี นั ทกึ ไวม าทำการตัด ตอ จดั วางและเรียบเรียงใหม มาดดั แปลงผสมผสานเสยี งดวยวิธีการ
ทางเทคโนโลยี

คำสำคญั : การประพนั ธผลงาน เทคโนโลยีดานดนตรี ลอฟท

Abstract
The creative work “Sound of DUDE” The loft word in music. The composition has divided into 3

sections, section 1 “Coffee”, section 2 “Musicafe”, section 3 “Loftronic” which presents the sound of the
coffee shop atmosphere. The sound processing to make the sound is not the same as using the sound of
raw materials that can be created from coffee brewing, the atmosphere in the shop, the sound of musicians
performing in a coffee shop, and the sound of people talking. The composer uses a Musique Concrète and
Electroacoustic composition method by taking the recorded audio to be cut, stitched, rearranged, and
processed to newly sound composed with music technology methods.

Keywords: creative work, music technology, loft

1.บทนำ
อาคารหองใตห ลังคาเกิดขน้ึ จากการเปล่ียนอาคารอุตสาหกรรมท่ไี มไดใ ชงานเปนอาคารบาน/สำนักงาน ในทศวรรษ

1970 เพ่ือเปนทางเลอื กในการแกปญหาคนเรรอนของสหรฐั อเมริกา (Hızlı Erkılıç, Neslinur & Mizrak, Burcin. : 2015) เร่มิ
มีการดำเนินการในตุรกีอยางคอยเปนคอยไป แนวทางนี้ถือเปนเทรนดใหม เพราะนักลงทุนตั้งเปาที่จัดหาแพ็คเกจและส่ิง
อำนวยความสะดวกใหมๆ ใหก ับผูท ี่จะมีบานท่ีมกี ารใชพื้นท่แี ละทีอ่ ยูอ าศัยอยา งรวดเรว็

ความหมายของหองใตหลังคาอาจมีจดุ ประสงคเฉพาะ เชน หองออรแกนในโบสถ หองใตหลังคาของคณะนักรอง
ประสานเสียง และหอ งใตห ลังคานีใ้ ชกบั พืน้ ทต่ี ามลักษณะของพ้ืนท่ี เสียงจะเปน อยา งไรถาสถานท่ีมกี ารเปลี่ยนแปลงระหวาง
ชนั้ ลางและหอ งใตห ลงั คา งานสรา งสรรคน ้นี ำเสนอสีสันของเสียง ดวยเสยี งดนตรอี ิเล็กทรอนกิ สและเสียงจากการสังเคราะห
ตามพนื้ ที่และสถานท่ใี นสไตลลอฟทแ ละชีวติ ของเวลากาแฟ

41

การเกิดข้นึ ของแนวปฏบิ ัติดานศลิ ปะเกยี่ วกับเสียงแบบใหม (New Music) ทำใหเกดิ คำถามมากมายในวิธีการเขาถึง
เสียงที่มีรูปแบบ และองคประกอบการแสดงที่มีรูปรางสวยงามนั้น ๆ ได (ThomasBøgevald Bjørnsten, 2012) ในชวง
ทศวรรษทีผ่ านมา ผชู มงานศลิ ปะมีความสนใจใน หมวดหมูเรื่อง "ศลิ ปะเสียง" (Sound Arts) พรอมกับความสนใจท่ีเพิ่มขึ้นใน
ปรากฏการณและแนวคิดนอกกรอบสุนทรียศาสตร เสียงตัวอยางที่ถูกนำมาเสนอซ้ำๆ ในการประพันธคือ “เสียงรบกวน”
(Noise) นำมาหากระบวนการและวธิ ีในการสรา งสรรคผ ลงานทางการประพันธ โดยผานเครือ่ งมอื ทางเทคโนโลยีตาง ๆ

ผลงาน “Sound of DUDE” The loft word in music. “ลอฟท” ในความหมายทอ่ี ยกู บั ดนตรเี ปนการสรางสรรค
ผลงานการออกแบบเสยี งจากเทคโนโลยีดนตรี โดยใช Object หลักของการสรา งผลงานจาก เสียง บรรยากาศ มาสรางสรรค
งานศิลปะทางเสียงท่สี ามารถทา ทายการรบั รทู ี่เกดิ จากความคดิ สรางสรรคด วยเทคโนโลยี ในสถานที่ทเี่ ปน รานกาแฟออกแบบ
ตกแตใ นลกั ษณะสถาปต ยกรรมรปู แบบ Loft ดว ยเทคโนโลยที อ่ี ยูในงานศิลปะภายใตการควบคมุ ของสนุ ทรียศาสตรแบบใหม

2. เน้อื หา
แนวคดิ /ทฤษฎีท่เี กย่ี วของ
2.1 แนวคิด Musique Concrète
แนวคิดในการสรางสรรคบทประพันธจากเสียงท่ีเกิดขึ้นท่ัวไปนี้ ถูกเรียกวา มูสิคคอนแคร็ต (Musique Concrète)

เปนการทดลองการสรางสรรคของ ปแอร แชฟเฟร (Pierre Schaeffer) ในชวงปลายคริสตทศวรรษที่ 1940 ถึงตน 1950
ปแอร แชฟเฟร ไดรบั การสนับสนนุ ทุนจากสถานีวิทยฝุ ร่งั เศสและไดเริ่มทดลองปรบั เปลยี่ นเสียงจากแผนเสียงเพื่อใหเกิดเสียง
ใหม ๆ ทง้ั โดยใชวิธกี ารเพมิ่ ลดความเรว็ ในการเลน และการเลน ยอนกลับ เปนตน การพฒั นากระบวนการกบั เคร่อื งบันทึกเทป
มกี ารปรบั เปลีย่ น นำไปประกอบกบั เสยี งท่ีไดจากการบนั ทึกเสียงทีไ่ ดจากสภาพแวดลอม และประพนั ธเ สยี งทไี่ ดม าเหลานั้นข้ึน
โดยปราศจากการบันทึกโนต วิธีการนีเ้ รียกวา “ดนตรีรูปธรรม” หรือ “มูสิค คอนแคร็ต (Musique Concrète)” ไมตองการ
การตคี วามจากนักดนตรีหลังจากการประพนั ธ นอกจากวตั ถุดบิ ทางเสียงจริง ๆ ทไ่ี ดจากธรรมชาติ ผูรับฟงสามารถรับรูถึงความ
ตองการและความตงั้ ใจของผูประพนั ธกับความตองการตรงของผูประพนั ธไ ดจ รงิ

ผลงานชิ้นแรกๆ ไดแก Ètude violette (แบบฝกสีมวง) และ tude aux chemin de fer (แบบฝกจากทางรถไฟ)
เปน การนำเสียงธรรมชาติตาง ๆ นำมาผสมกับเสียงของรถไฟที่วงิ่ ไปบนราง (บุญรัตน ศริ ริ ัตนพนั ธ. 2552) งานท่ีสำคญั เปน งาน
ที่รวมประพันธกับ ปแอร อองรี (Pierre Henry) ในป ค.ศ. 1950 มีชื่อผลงานวา Symhonie pour un homme seul เปน
การประพนั ธเสียงที่บันทกึ มาจากรางการของมนษุ ยใน 12 กระบวน (movement) ไดทำการจดั แสดงในหอแสดงดนตรีในป
ค.ศ. 1951

สถานีวิทยุฝรั่งเศสไดมีเครื่องบันทึกเสียงเปนเครื่องแรก ทำให พอลลิน (Poullin) สามารถสราง มิวสิคัล เอฟเฟค
(Musical Effects) และพัฒนาระบบเสยี งพิเศษทีน่ ำมาใชก บั ระบบลำโพงทีต่ ิดต้ังเพิ่มพเิ ศษวางรายรอบคอนเสิรตฮอลล และ
หลงั จากนนั้ สตดู โิ อของสถานีวทิ ยสุ ามารถพัฒนาจนเปน ที่สนใจของนักประพันธเ พลงที่มชี อื่ เสียงหลายๆคนในยคุ น้ัน เชน บเู ลซ
สต็อกเฮาเซน และเซนาคิส

ในป ค.ศ. 1951 แชฟเฟรไดเปดหองบันทึกเสียงมูสิคคอนแคร็ตของตนเองขึ้น ตั้งอยูในสถานีวิทยุกระจายเสียง
แหงชาติฝรั่งเศส เพื่อสอนและอบรมวิธีการใชเครื่องมือและแนวคิดของตนเอง แกคีตกวีรุนเยาว จนกระทั่งสต็อกเฮาเซน
สามารถดัดแปลงองคประกอบของเสียงที่บันทึกไดมาไดอยางอิสระจากวัตถุดิบเดิมอยางเต็มที่ เปนที่มาของพื้นฐานการ
สังเคราะหเสียงในเวลาตอ มา

ศิลปนที่มีความนาสนใจของแนวคิดในการประพนั ธอีกคนคือ เอียนนิส เซนาคิส (Iannix Xenakis) ศิลปนสัญชาติ
กรกี เซนาคสิ ไดใ ชวธิ ีการทำงานแบบคอนแครต็ กับงานของเขาหลายครัง้ เชน เสยี งทใี่ ชใ นป ค.ศ.1957 ผลงานช่อื วา เดียรมอร
โฟส คือการเพิ่มคาความเร็วของเทปหรือการใชเสียงที่เลนเทปยอนหลัง และในป ค.ศ. 1958 “บทเพลงคอนเคร็ต พีเอช

42

(Concret PH)” ประกอบไปดว ยเสยี งแผน ดินไหว เสียงเคร่อื งบิน และเสยี งระฆัง ตอ มาในป ค.ศ.1960 ไดส รางเสยี งเลียนแบบ
เสียงไหมไฟของถาน บทประพันธช่ือวา “ออเรียนท-ออกซิเดนท (Orient-Occident)” โดยเซนาคิสไดเสียงวัตถุดิบจากการ
บนั ทกึ เสียงทเี่ กดิ จากเทคนิค “การใชโ บวสีบนวตั ถตุ า งๆ (Bowed Opjects)” เชน ระฆัง แผนโลหะ เปนตน

จนกระท่ังแนวคิดนีไ้ ดเ ผยแพรจากฝรัง่ เศสไปสูเยอรมันโดยสต็อกเฮาเซน ในชวงเวลาเดยี วกนั นั้น สต็อกเฮาเซน ได
เดินทางจากเมืองโคโลนจ ประเทศเยอรมัน (ในสมัยน้ัน) เพื่อมาเรียนที่ ปารีส คอนเซอวาทอรี(Paris Conservatory) และได
ทำงานที่แชฟเฟอร สตูดิโอ ตอมาในป ค.ศ.1953 สต็อกเฮาเซนไดกลับไปทำงานเปนผูกำกับสตูดิโอ และนักประพันธเพลง
ระดับสูงทส่ี ถานวี ิทยุของเยอรมันชื่อเฮอรเ บอร อเี มริ ท (Herbert Eimert)

จดุ สำคญั ของโคโลนจส ตดู โิ อ คอื มีความแตกตางจากมสู ิคคอนแคร็ตอยา งมาก ในฝร่งั เศสนิยมใชวิธีบนั ทกึ เสียงลงเทป
แลว นำมาตดั แตงใหมอ กี คร้งั แตในโคโลนจมีแนวความคิดแรกคอื การสรางเสียงขึน้ มาจากการผสมเสียง โดยการคำนวณสราง
เสียงขึ้นมาหนึง่ เสียงคือ ซายนเวฟ ออสซิลเลเตอร (Sine–wave oscillator) ซายนเวฟเปนคล่ืนเสยี งพืน้ ฐานที่มีลักษณะการ
เคลอื่ นทคี่ งที่ และในกรณีที่สามารถสรา งซายนเวฟบรสิ ุทธิ์ ไดทำใหคลนื่ เสียงชนิดน้ีปราศจากลักษณะของโอเวอรโทนฮารโ มนคิ
โดยการสรางเสยี งจากการผสมคลืน่ เสยี งซายนเ วฟในความถี่ตา ง ๆ ท่ไี ดมาลงบนเคร่ืองบนั ทกึ เสยี ง 4 รองเสยี ง และนำมาผสม
เสียงเขาดวยกันแลวบันทึกลงใหเปนหนึ่งเสียงบนเครื่องบันทึกอีกหนึ่งรองเสียง แลวก็ทำแบบนี้อีกหลายครั้งจนไดเสียงท่ี
ตอ งการ วิธีการน้ีทำใหเกดิ กระบวนการ อิเลก็ ทรอนิกส มสู ิค (elektronische Musik) ข้นึ

2.2 แนวคิด ซาวดสเคป (Soundscape)
นยิ ามครัง้ แรกโดย อารเมอรเ รย เชฟเฟอร (R.Murry schafer) นกั แตง เพลงและนักนิเวศวิทยาทางเสียงชาวแคนาดา
อารเมอรเ รย เชฟเฟอร ไดอธิบายเก่ยี วกับ Soundscape หมายถึง เสยี งท่เี กดิ จากการผสมผสานจากเสียงของส่ิงแวดลอมท่ีอยู
รอบตัวมนุษยเ ชน เสียงจากธรรมชาติ เสียงที่เกิดจากการกระทำของมนษุ ย เสียงจากเครื่องจักร เสยี งจากเครื่องดนตรีเสียงที่
เกดิ ขนึ้ จากการรบกวนของเสยี งตาง ๆ หรอื เสียงทเ่ี กดิ ขนึ้ จากสภาพแวดลอ มใด ๆ ก็ตาม ลวนแตเ ปน Soundscape ทง้ั ส้นิ
Soundscape เปนอีกแนวคิดแขนงหน่ึงของดนตรอี ิเลก็ ทรออะคูสตกิ ถูกพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยไซมอนเฟรเซอร
เมืองแวนคูเวอร ประเทศแคนาดา (katsin.wordpress.com, 2011) โดยมีจุดมุงหมายเพื่อใหผูฟงมีสวนรวมในการระลึกถึง
ความทรงจำและจนิ ตนาการทมี่ ตี อ ส่ิงแวดลอมของเสยี งผา นบทประพนั ธ สิ่งทน่ี าสนใจสำหรบั การฟง ดนตรปี ระเภทนก้ี ค็ ือ ผูฟง
สามารถเชื่อมโยงสิ่งทีเ่ กดิ ข้นึ ในความทรงจำและจินตนาการถงึ พนื้ ทที่ ี่อยูใ นดนตรีไดอยา งนาอัศจรรย
การศึกษาของดนตรี Soundscape คือ สวนหน่งึ ของการศึกษา Acoustic Ecology หรอื ระบบ นเิ วศวิทยาทางเสียง
ดนตรีซาวดสเคปยังสามารถถายทอดเรื่องราวตาง ๆ ผานเสียงที่ไดมาจากการบันทึกเสียงและอีกทั้งยังสามารถสราง
บรรยากาศของเสียงขึ้นมาไดเพื่อทำใหผูฟงสามารถไดยินเสียงที่เกิดจากสภาพแวดลอมตาง ๆ ที่ทำการบันทึกและนำออก
เผยแพรใ นรูปแบบของดนตรี Soundscape สามารถสรา งหรอื ประพันธขึ้นมา จากเสียงท่เี กิดจาก ธรรมชาติ เครื่องดนตรีอะคู
สติก (Tony Gibbs : 2007) รวมถึงเสยี งทีถ่ ูกสรางขึ้นมาจากดนตรีสังเคราะห อาทิเชน เสียงสังเคราะห (Synthesizer) และ
เคร่ืองมอื ในการดัดแปลงเสียงเปน ตน
การประพันธด นตรีรปู แบบ Soundscape เปน อกี รูปแบบหนึง่ ของการประพันธบทเพลง (พรภวษิ ย พรมชู : 2561)
รูปแบบอิเล็กทรอคูสติก โดยมีจุดประสงคเพื่อกระตุนผูฟงใหเ กิดอารมณรวมในการระลึกถึงความทรงจำตาง ๆ ในอดีตและ
มมุ มองทีม่ ีตอสง่ิ แวดลอมของเสยี ง ผา นการตีความของแตละบคุ คลที่มี สามารถรับรูถึงความหมายและใจความสำคัญของตัว
บทประพันธท ่แี ตกตางกันออกไป (สรัญรตั น, 2556) สว นประกอบหลกั ของ soundscape ไดแ บง ออกเปน 3 สวนหลกั ๆ โดย
R.Murry Schafer คือ 1) Keynote sound หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นหลกั ๆในชีวติ ประจำวันที่สามารถระบุท่มี าไดชัดเจนและดัง
พอท่จี ะไดยิน keynote sound ผูคนอาจไดย ินโดยไมรูตัวและไมไดใหค วามสนใจ เชนเสียงจากธรรมชาติตาง ๆ เชน เสียงลม

43

สัตว แมลง ตา ง ๆเปน ตน 2) Sound signals หมายถงึ เสียงสัญญาณเตอื นตาง ๆ ทผ่ี ูไ ดย นิ รบั รูและตระหนักถึงเสยี ง เชนเสียง
สญั ญาณเตือนภัย เสยี งระฆัง เสียงแตร เปนตน 3) Soundmark หมายถึงเสียงท่ีเปนเอกลักษณเฉพาะพ้นื ที่นนั้ ๆ

3.กระบวนการในการสรางสรรค
3.1 ขัน้ ตอนในกระบวนการสรา งงาน
3.1.1 ข้ันตอนการเตรียม
เลอื กรูปแบบการประพนั ธที่สนใจผสู รา งสรรคไ ดศ กึ ษาและรวบรวมขอมลู ท่ีเกี่ยวขอ งกับศิลปะตาง ๆ เพ่ือ

สรา งองคความรูและความเขาใจนำมาสรางสรรคบ ทประพันธ และผสู รา งสรรคย ังไดศ กึ ษานอกจากนผ้ี ูสรางสรรคยังไดศึกษา
และนำวิธีการประพันธเพลงในรูปแบบอิเล็กทรออะคูสติก และ เทคนิคในการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะของเสียงมาใชในบท
ประพนั ธ

3.1.2 เลือกอปุ กรณท ่ตี องใชในการประพนั ธ
ผูสรางสรรคเลือกสรางสรรคเปน “Sound of DUDE” The loft word in music. ดังนั้นอุปกรณที่ผู
สรางสรรคเลือกก็คือ เครื่องชงกาแฟ อุปกรณในการชงกาแฟ เสียงบรรยากาศในราน โดยการบันทึกเสียงโดยผานโปรแกรม
DAW (digital audio workstation)
3.1.3 ประพันธบทเพลง
ผูสรางสรรคไดตั้งชื่อใหกับบทประพันธนี้วา “Sound of DUDE” The loft word in music. โดยผู
สรา งสรรคไ ดเลอื กการประพนั ธด นตรรี ูปแบบอิเล็กโทรอะคสู ตกิ
3.2 ข้ันตอนระหวางการสรางงาน
3.2.1 ผูสรางสรรคไดแบงบทประพันธเปน 3 ทอนหลักผูสรางสรรคไดแบงทอน 1 “Coffee” ทอน 2
“Musicafe” ทอน 3 “Loftronic”
3.2.2 ผูสรา งสรรคไดท ำการดัดแปลงและจดั วางเสยี งท่ีผสู รา งสรรคไ ดป ระพนั ธข ึ้นเพอื่ ท่ีนำผลงานแสดงใน
งาน Galleries’ nights Bangsaen- “Art Is The Solution”
3.2.3 Mixing & Mastering ผลงาน
3.3 เคร่ืองมอื ท่ีใชใ นการประพนั ธ
ในการประพันธเพลง การบันทึกเสยี งดวยคอมพวิ เตอรในทุกวันนี้ มีอุปกรณม ากมายใหเลือกใช ทั้งในดานอุปกรณ
ทางดานโปรแกรมตา ง ๆ ท่ชี วยในการผสมเสยี ง ปรบั แตง เสยี ง และอีกมากมาย ในการประพนั ธค ร้งั น้ผี ูสรางสรรคจะอภิปราย
ถงึ ขอมลู ของอปุ กรณท ง้ั หมดทัง้ ในลักษณะของ Software และ Hardware เทคนคิ ท่ตี อ งใชใ นการประพันธค ร้งั นี้ ไดแ ก เครอ่ื ง
บันทกึ เสียง คอมพวิ เตอร มอนเิ ตอร โปรแกรม DAW Logic Pro X
3.4 โปรแกรมที่ใชในการประพนั ธ
ในการประพันธเพลงครั้งนี้ ผูสรางสรรคไดเลือกใชโปรแกรมที่ผูสรางสรรคถนัดในการประพันธ คือ โปรแกรม
โปรแกรม Logic Pro X เปน โปรแกรมที่ผูประพนั ธเลอื กใชใ นการสรางบทประพนั ธเ พือ่ ทำการจัดวางเสยี งตา ง ๆ ทีไ่ ดจากการ
บันทกึ ลงในตวั โปรแกรม อีกทง้ั การเลือกใชป ล๊ักอิน (Plugin) ในการสรางเสยี งเครอ่ื งดนตรีและเครือ่ งมือการปรงุ แตงเสียงตาง
ๆ ในโปรแกรมน้ี
3.5 การตดั แตง เสยี งและจัดวางใหม
ใชการตัดเสียงออกในสว นทไ่ี มต องการเสียงน้นั และผูสรา งสรรคนำมาใชในทอ นทตี่ องการตัดเสียงออกเปนชว ง ๆ ใช
การ Pan เพ่ือยา ยตำแหนง ของเสยี งใหไปอยูท่ตี าง ๆ ตามที่เราตองการ เชน ยายตำแหนงของ เสียงไปอยทู างดานซา ย ยายไป
อยทู างดา นขวา หรือเปนมมุ ท่ีเราตองการใหเ สียงไปอยูท่บี ริเวณนัน้

44

3.6 การจดั การคุณลกั ษณะของเสยี ง
การทำใหค ุณลักษณะของเสียงเปล่ียนแปลงไปมหี ลายวิธีทผี่ ูสรางสรรคใ ชในการประพันธเ พลงการ เพิ่ม Pitch ของ
เสียงใหมีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลง การลดหรือการเพิ่มระยะเวลาของเสียงดวยการยืดและการบีบอัดเสียงทำใหร ะยะเวลาของ
เสียงเปลี่ยนแปลงไปตามท่ีเราตองการ การทำใหเสียงเกิดการยอนกลับหรือเรียกวา Reverse ทำใหเสียงท่ีถูกกระบวนการน้ี
เลนเสยี งยอ นกลบั ไปดานหนา
3.7 การสรา งมิตใิ หกบั เสยี ง
การเพิ่มความกวาง ลึก ใหกับเสียง โดยการใช Reverb ชวยจำลองขนาดพื้นทขี่ องเสียงทำใหเกิดความกองกังวาน
ของเสียงมากขึน้ สามารถปรับคาไดตามท่โี ปรแกรมต้ังไวหรอื อาจใสคา ตามทผ่ี ูใชต องการ สำหรบั การใชเอฟเฟค Delay เพื่อทำ
ใหเสยี งเกิดการเปล่ยี นแปลงแบบซำ้ มากขน้ึ เรอ่ื ย ๆ ตามคาทไี่ ดกำหนดไว

4.ผลการศึกษา
ผูประพันธไดนำเอาแนวคิดและเทคนิค ตาง ๆ ที่ไดจากการศึกษารูปแบบดนตรี Soundnscape และเทคนิคทาง

ประพันธในรูปแบบตาง ๆ จากแนวดนตรีที่มีความเกี่ยวของ มาใชในการสรางบทประพันธ โดยการลงพื้นที่เพื่อทำการ
บันทึกเสียง ณ บริเวณ รานกาแฟ DUDE Coffee Bar X Sm ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี นำมาเรียบเรยี งสรา ง
เปนแบบบทประพันธใน ดนตรีรูปแบบ Soundscape ที่มีเรื่องราวเพื่อสือ่ ถึงบรรยากาศ ชวงเวลาของผูที่ชื่นชอบในการด่ืม
กาแฟ และกลุมสนทนาของผูท่ีเขามาใชเวลาในรา นกาแฟ ผา นกระบวนการทางเทคโนโลยดี านดนตรี

ในผลงาน ผูประพันธ ไดทำการสรางบทประพันธในรูปแบบ Soundscape ภายใตชื่อบทประพันธ “Sound of
DUDE” The loft word in music. โดยแบงทอนเพลงออกเปน 3 ทอน แตละทอนจะมรี ายละเอยี ดและเทคนิคทีผ่ ูประพันธ
ใชในการประพันธที่แตกตางกันออกไป รวมถึงเนื้อหาของตัวบทประพันธที่สื่อถึงมุมมองที่แตกตางกันออกไป ผานทางการ
ตคี วามของผปู ระพันธท ถ่ี ายทอดเรอ่ื งราวทั้งหมดผานบทประพนั ธ โดยมรี ูปแบบการวเิ คราะห บทประพนั ธรวมถึงลักษณะของ
บทประพันธใ นแตละตามรปู แบบการวิเคราะหด งั น้ี

4.1 ทอนที่ 1 Coffee
ผูประพนั ธไดประพันธบทเพลงโดยมีแนวคดิ และตองการใหเริ่มตนบทประพันธในชวงทอ นท่ี 1 ตง้ั แตนาทีที่ 0.00 –
01.15 ดวยการใชเสียงขั้นตอนการชงกาแฟที่เกิดขึ้นในรานกาแฟทั้งหมด ไมวาจะเปนเสียงของการบดกาแฟ การชงกาแฟ
เสียงบรรยากาศโดยรอบในรานกาแฟ โดยผูประพนั ธไดสรา งสรรคผลงานนี้และไดรบั แรงบันดาลใจมาจากศิลปนชือ่ ดังอยา ง
อาร. เมอรเรย เชเฟอร (R. Murray Schafer)

45

การตัดแตงเสียงและการจดั วางใหม
ผูประพันธท ำการจัดวางตำแหนงของเสียงใหม โดยการนำเสนอเสียงเปนชวง และมีการดำเนินเสยี งซ้ำ เพื่อเนนให

เสียงนั้นมีความนาสนใจ ใชเทคนิคการ Pan เขามาใชกับแทรคเสียงเพลงที่มีการบรรเลงในรานนี้ เพื่อตองการใหผูฟงรูสึก
เสมือนวาเสยี งดงั กลา วเคลื่อนอยูรอบตวั ของผฟู ง

ภาพที่ 1 : การจัดวางในทอ นที่
ชวงนาทีท่ี 01.01 – 03.31 ผปู ระพนั ธไ ดเ พ่ิม เสยี งเครอื่ งดนตรีผสมกบั แถบเสยี งเหตุการณการบรรเลงดนตรีในราน
กาแฟ โดยเพิ่มจังหวะกลอง Warm Distortion Kit ในรูปแบบจังหวะ Pop Ultra Remix Beat และเสียงเบส Hip Hop
Pickstyle ในรูปแบบจงั หวะ Magma Flow bass เพื่อเปน การเพม่ิ สสี นั ของเสยี งในทอ นนี้ ในความเร็ว Tempo 80

ภาพที่ 2 : การเพิม่ สีสนั ของเสียง
การปรงุ แตง มติ ิของเสยี ง
ผูประพันธใชอุปกรณเพื่อใชในการปรงุ แตงมิติของเสยี งในทอนที่ 1 โดยใชอุปกรณ Reverb โดยตั้งคา Length ท่ี
2.23 s, คา Size 100%, คา X-Over ท่ี 710 Hz, คา Attack ที่ 223 ms, คา Delay ที่ 2.01s

46

ภาพที่ 3 : Reverb

ในการสรา งมติ ิเสียงใหเกิดสสี ันของเสยี งแบบหลายมิติ ผปู ระพันธเ ลอื กใชอปุ กรณ Delay ผูประพนั ธ ปรับตั้งคาของ
อุปกรณ Delay โดยเลือกใชประเภทของ Delay เปนลักษณะ Tape Delay มีตำแหนงการซ้ำเสียง 20 ตำแหนง ดังนี้
562.5ms 1125.0ms 1687.5ms 2250.0ms 3000ms 3562.5ms 3937.5ms 4500.0ms 4687.5ms 5437.5ms 6000.0ms
6562.5ms 6937.5ms 7500.0ms 8062.5ms 8437.5ms 8625.0ms 9000ms 9187.5ms 9562.5ms

ภาพท่ี 4 : Delay

ผูประพันธใชอุปกรณ Phaser ในการเปลี่ยนมติ ิของเสยี งใหเกดิ การเปลี่ยนแปลงในเรือ่ งของพ้ืนผิว (Texture) โดย
การตงั้ คาของอุปกรณดังน้ี คา Sweep ท่ี Stages ระดับ 6 ในชว งความถ่ีที่ 830Hz-6200Hz ต้ังคา Low Cut Filter ตำแหนง
Rate ที่ 1 บริเวณ 0.14Hz Rate ที่ 2 บริเวณ 0.94Hz และปรับตั้งคาของ Feedback ในระดับการทำงานท่ี 43% Low Cut
ท่ีความถี่ 280Hz High Cut ท่คี วามถี่ 7500Hz

ภาพที่ 5 : Phaser

ทอนท่ี 2 Musicafe (03.30-06.28)

47

เนอ่ื งจากผูประพันธตองการนำเสนอใหท อนทสี่ องมคี วามเปนมิวสคิ คองเคร็ท ในบทเพลงนำวัตถุดิบท่ีเปนเสียงจริง
ไมผา นการ Processes ใดๆมาตดั แตง นำมาจดั การคุณลักษณะเสียง เมอื่ บทเพลงเขาสูนาทีท่ี 01.26 ผปู ระพันธไดทำใหเปน
สวนของการ Transition คือเสียงที่จะเปลีย่ นผานเขาสูทอนที่สอง ที่มีความเปนมวิ สิค คองเครท็ โดยผูประพันธไ ดแ รง
บันดาลใจการประพันธเพลงมากจากศิลปนช่ือ Pierre Schaeffer ผูประพันธใชเพิ่มจังหวะกลอง Warm Distortion Kit ใน
รูปแบบจังหวะ Aleart Tone Beat และเสียงเบส Hip Hop Pickstyle ในรูปแบบจังหวะ NuJazz Jam bass เพื่อเปนการ
เพิ่มสสี นั ของเสยี งในทอ นนี้

ในทอนที่ 2 นผ้ี ปู ระพนั ธท ำการ Duplicate แทร็กเพม่ิ ข้ึนมาสองแทรก็ จากแทรก็ ท่ีหน่ึงเพอ่ื การจัดวางตำแหนงของ
เสียงใหดูสมจริงมากขึ้น โดยแทร็กที่หนึ่งจัดวางตำแหนงใหเ สียงอยูทางซาย L 100% แทร็กที่สองจัดวางตำแหนงใหอ ยูตรง
กลาง C และแทร็กที่สามจดั วางตำแหนงใหอ ยูทางขวา R 100% และใส Delay หรือเรือ่ งของ Time ใหตางกันเพื่อใหไดย ิน
เสียงไมเทากันจนเกินไปเพื่อใหดูสมจริงมากขึ้น เปลี่ยนคุณลกั ษณะของเสียงใหเ กิดมิติ โดยใชอุปกรณ Auto Filter โดยการ
ปรับตั้งคา Cutoff ที่ 72% คา Resonance 61% เปลี่ยนรูปรางของเสียง (Envelope) ที่คา Decay 156ms Sustain 21%
เพ่ิมลกั ษณะเสยี ง Distortion 52%

ภาพท่ี 6 : Auto filter
ทอ นที่ 3 Loftronic (07.32-11.49)
ในทอ นที่ 3 ผปู ระพนั ธ ใชเ ทคนคิ ในการ Reverse เสยี งโดยการยอนกลับเสียง เพื่อใหเ กดิ คณุ ลักษณะเสียงใหมจาก
เสียงทีไ่ ดบ นั ทกึ มา Duplicate เปน 3 แทรค จดั วางตำแหนง เปน 3 ทิศทางคือ Center ซาย -31 องศา ขวา 31 องศา ไดทำ
การเพิ่มจังหวะกลอง Warm Distortion Kit ในรูปแบบจังหวะ Aleart Tone Beat และเสียงเบส Hip Hop Pickstyle ใน
รูปแบบจังหวะ NuJazz Jam bass พรอมกับจงั หวะของเสียงสังเคราะห Pop Ultar Remix Beat โดยการเปลีย่ นคา ความถี่
ชวงต่ำ Low Cut ที่ 96Hz และชวงความถี่สูง Boot ที่ความถี่ 7500 ระดับ 5 Dbและ 20000 ที่ระดับ 24 Db เพื่อเปนการ
เพ่มิ สีสันของเสยี งในทอ นน้ี

48

ภาพท่ี 7 : Pop Ultra Remix Beat EQ

วิจารณและสรุปผล
ผูประพันธไดแบงผลงานออกเปน 3 ทอน โดยการประพันธนี้ผูประพันธนำเสนอเสียงบรรยากาศของรานกาแฟท่ี

แปลกใหมอ อกไปใหเสยี งไมเ หมือนเดิม โดยการใชว ัตถุดิบเสียงทีส่ รา งไดจากการชงกาแฟ บรรยากาศภายในราน เสยี งของการ
บรรเลงดนตรแี ละรอ งเพลงในรานกาแฟ หรอื เสียงผูคนคยุ กัน ผูประพันธใ ชรูปแบบการประพันธแบบมูสคิ คอนแคร็ต คือการ
นำเสียงท่ีบนั ทึกไวมาทำการตัด ตอ จัดวางและเรยี บเรียงใหม มาดัดแปลงเสยี งดวยวิธกี ารทางเทคโนโลยีซึ่งไดนำมาใชกับบท
เพลงในชวงที่ 2 3 โดยเสียงทั้งหมดผานกระบวนการบันทึกเสียง ที่เรียกวาอิเล็กทรออะคูสติก หมายถึง การเปลี่ยนแปลง
สัญญาณเสียงใหเปนสัญญาณไฟฟา โดยการบันทึกเสียงผานไมโครโฟน เสียงที่เขาทางไมโครโฟนถูกแปลงสัญญาณจา
สัญญาณเสียงเปนสัญญาณไฟฟา ทั้งการสังเคราะหเสียงขึ้นมาใหม การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเสียง เนื้อเสียงความยาว
ความหนาแนนของเสียง และพนื้ ผวิ ของเสยี ง พรอ มทั้งมติ ขิ องเสียงใหม ีความหลากหลายมากขึน้

การประพันธผลงานจากแนวคิดของการทำงานในรูปแบบมูสิคคอนแคร็ต (Musique Concrète) ไดแรงสนับสนุน
จากการที่เทคโนโลยีทางเสยี งไดถกู ประดิษฐข ึ้น คือการบันทึกสยี งและมกี ารพฒั นาตอเนือ่ งอยางรวดเร็ว ทำใหเกิดการสราง
งานศิลปะทางเสียงโดยใชเคร่อื งมือเทคโนโลยแี บบทดลอง (experimental music) เรมิ่ จากเสียงทพ่ี บไดทั่วไป เสียงธรรมชาติ
เสียงในกิจวัตรประจำวนั ของมนุษย เสียงท่ีเกิดจากสถานท่ีน้ัน ๆ (soundscape) ถูกบันทึกและนำมาใชแ นวคิดทางศิลปะใน
การจัดการกับเสยี งท่ีไดมา อิทธิพลในการสรา งงานศิลปะทางเสียงของ จอหน เคจ (John Cag) ที่ใหความสำคัญกับเสียง
รบกวน (noise) และความเงียบ (silence) ใหเทากับเสียงที่เปนสัญญาณ (signal) ศิลปนไดทำการทดลองสรา งเสียงใหม ๆ
จนเปนที่มาของเสียงสังเคราะห (synthesis) ทำใหมีการผสมผสานของการใชเสียงธรรมชาติกับเสียงสังเคราะหไดอยาง
กลมกลืน การประพันธบ ทเพลง คือการที่สญั ญาณเสยี งถูกแปลงเปน สัญญาณไฟฟาและถูกแปลงกลับมาเปนสัญญาณเสียงอีก
คร้ัง รวมถึงการสังเคราะหเสียงข้ึนใหม การเปลย่ี นแปลงลักษณะของเสียง เนอ้ื เสียง ความยาวและนำเสียงท่ีถูกเปลี่ยนแปลง
ลักษณะมาจดั เรียงใหมโ ดยมแี นวคดิ ในดานศลิ ปะซาวดสเคป คือการใชเสียงจากสิ่งแวดลอมรอบ ๆ เสียงบรรยากาศโดยรอบ
เสยี งการพูดคุยกนั ในทอ นที่ 1 นำแนวคดิ มาจากงานวจิ ยั ของภัทรพงศ ศรปี ญ ญา (2555) และวุฑฒิชา เครอื เนยี ม (2560) เพ่ือ
สือ่ ถึงบรรยากาศและธรรมชาติและสรางความรสู ึกใหแกผ ูฟง มีการตคี วามเสียงทบี่ ันทึกไดจากธรรมชาตินำมาจัดวาง และใช
เสียงจากสภาพแวดลอ มมาสื่อสาร เลาเรื่องราวผานทางเสียงใหผูฟ งรูส ึกรว มไปกับเสียงแวดลอมใหมที่ผูประพนั ธนำเสนอ มี
แนวทางสอดคลองกบั การตคี วามในบทประพนั ธของนฤพันธ พกิ ุลหอม (2555) ที่ไดป ระพันธ บทประพันธการตคี วามเมฆผาน
การประพันธเพลงรวมสมัย ที่ใชวิธีการตคี วามรูปรางของกอ มเมฆในลกั ษณะตาง ๆ ผานประสบการณในการทำงานดานการ
บนิ มเี สนอผา นบทเพลงทใ่ี ชเทคนคิ การผสมผสานวิธกี ารแบบมูสิคคอนแครต็ และการประพนั ธบ ทเพลง

49

เนือ่ งดวยดนตรีแบบซาวดส เคปเปนดนตรีทมี่ ุงเนนไปในทางการเลาเร่อื งราวของเสียงภายในสภาพแวดลอมและไดมี
การนำมาดัดแปลงคุณลักษณะของเสียงในรูปแบบการประพันธแบบมูสิคคอนแคร็ต โดยการเลือกในรูปแบบการประพันธ
แบบมูสิคคอนแคร็ตนี้ ผูประพันธมีแนวคิดที่ดัดแปลงเสียงบรรยากาศการเลนดนตรีในรานกาแฟใหแปลกใหมและนำเสียงท่ี
ไดมาจดั เรียงใหมใหม ีความงดงามทางศลิ ปะในบทเพลง โดยผปู ระพันธไดแนวคดิ ในการฟง นม้ี าจากงานวิจัยของสรัญรัตน แสง
ชัย (2556) การฟงในรูปแบบอะคูสเมติก ซ่ึงเปน การฟง โดยท่ีไมร ูแหลงทีม่ าของเสียง ทำใหผฟู ง จดจออยกู ับเสยี งท่ไี ดยนิ โดยไม
จำกัดวา เสียงทไ่ี ดย นิ นน้ั จะเปนเสยี งจากธรรมชาติหรือเสยี งทีผ่ านการสงั เคราะหมา

เอกสารอางองิ
นฤพนั ธ พิกุลหอม. (2555). การตีความเมฆผานการประพันธเพลงรว มสมัย. วทิ ยานพิ นธร ะดับปริญญาโท สาขาสังคีตวิจัย

และพฒั นา. มหาวิทยาลยั ศิลปากร
บุญรัตน ศิริรัตนพันธ. (2552). คารลไฮนซ สต็อกเฮาเซ็น (Karlheinz Stockausen, 1928-2007) กับการผสมผสาน

musique concrete เขากับเสียงสังเคราะหและอินทิกราลซีเลียลสซึมในงาน Gesand der Junglinge.
วารสารดนตรรี งั สติ . วิทยาลยั ดนตรี. มหาวทิ ยาลยั รงั สิต 4(1): 28-36
พรภวิษย พรมช.ู (2561). บทประพันธด นตรซี าวดสเคป: CAPTURE THE DISTANCE. สาขาวิชาสงั คีตวจิ ยั และพฒั นา แผน ก
แบบ ก 2 คณะดุรยิ างคศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรพงศ ศรปี ญญา. (2555). จนิ ตนการอีสาน : การเดนิ ทางของเสยี งผานพื้นที่และเวลา. สาขาสังคีตวจิ ยั และพัฒนา คณะดุริ
ยางคศาสตร มหาวทิ ยาลัยศิลปากร.
วุฑฒิชา เครือเนียม. (2560). บทประพันธซาวดสเคป : จิตวิญญาณแหงปรางคกู. สาขาสังคีตวิจัยและพฒั นา คณะดุริยางค
ศาสตร มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร.
สรญั รัตน แสงชัย. (2556). เสนแบงเวลา-บทประพันธด นตรแี หง การสำรวจเวลาผานเสียง. วทิ ยานิพนธร ะดบั ปรญิ ญาโท สาขา
สังคีตวจิ ยั และพฒั นา, มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร.
Hızlı Erkılıç, Neslinur & Mizrak, Burcin. (2015). Re-Thinking Loft Buildings in the Scope of Housing Production
in Turkey. MEGARON / Yıldız Technical University Faculty of Architecture E-Journal. 10. 479-493.
10.5505/MEGARON.2015.04127.
Katsin. (2011). The Soundscape. สืบคน 1 พฤษภาคม 2565, จาก
https://katsin.wordpress.com/2011/08/27/the-soundscape/
ThomasBøgevald Bjørnsten. (2012). Sound [signal] noise: significative effects in contemporary sonic art
practices, Journal of Aesthetics & Culture, 4(1), DOI: 10.3402/jac.v4i0.18615 (Accessec : 4 May 2022)
Tony Gibbs. (2007). The Fundamentals of Sonic Art & Sound Design. Fairchild book. United Kingdom.
www.computerhistory.org/storageengine/poulsen-records-voice-on-magnetic-wire/ (Accessec : 2
May 2022)

50

การปรบั ใชแ นวคิดการออกแบบเพอื่ ทกุ คน (UNIVERSAL DESIGN)
ตอการเขาถึงสภาพแวดลอมทางกายภาพเพือ่ รองรับผใู ชรถเขน็
กรณศี ึกษา วัดสระเกศราชวรมหาวหิ าร (วัดภเู ขาทอง)
Implementation of UNIVERSAL DESIGN concept

towards accessibility to physical environment to accommodate wheelchair users
Case Study of Wat Saket Ratchaworawihan (The Golden Mountain
อกุ ฤษ วรรณประภา*1 , UKRIT WANNAPHAPA1
1 คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลยั ธุรกิจบัณฑิตย 110/1-4
ถนนประชาชน่ื แขวงทงุ สองหองเขตหลักส่ี กรุงเทพฯ 10210
E-mail [email protected]

บทคัดยอ

งานวจิ ัยน้ีเปนงานวิจัยเชงิ คณุ ภาพ มงุ เนนศึกษาเกย่ี วกับผใู ชรถเข็น ในเร่ืองของการเขา ถึงสภาพแวดลอมของวัดสระ
เกศราชวรมหาวิหาร (วัดภเู ขาทอง) ในเขตกรงุ เทพมหานคร เปนการศึกษาถึงปจ จยั ท่สี งผลกระทบตอ ผใู ชรถเข็น ทั้งคนพิการ
ผูสูงอายุ และเด็ก ในการเขา ถงึ สภาพแวดลอมทางกายภาพในสวนตาง ๆ ภายในวัด รวมถึงคติความเชือ่ ทางกายภาพภายในวัด
ท่ีเปนอุปสรรคในการเขาถงึ โดยมีวธิ ดี ำเนินการวิจยั 3 ขน้ั ตอน ดังนขี้ นั้ ตอนที่ 1) การเก็บรวบรวมขอ มลู ข้นั ตอนท่ี 2) การนำ
ขอมูลมาวิเคราะหขั้นตอนท่ี 3) การสรุปผล เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบดวย 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการใชพืน้ ที่ 2)
แบบสัมภาษณผูเชีย่ วชาญดานงานสถาปตยกรรมไทย การวิจัยไดท ำการศกึ ษา และวิเคราะหพ บวา ปจจัยที่สงผลกระทบตอ
การเขา ถงึ กายภาพภายในวัดประกอบดวย ส่ิงอำนวยความสะดวกภายในวัด ระบบการกอสรา งในงานสถาปต ยกรรมไทย และ
เจตคตจิ ากผูค นโดยรอบ นอกจากน้นั ยงั พบวา ระบบการจัดการภายในวดั ยังไมเอ้ือตอการเขาถงึ ของผูใชร ถเข็น อกี ดวย พรอม
ทง้ั งานวิจัยครั้งนยี้ งั รวบรวมแบบ นำเสนอเพอ่ื เปนการพัฒนา สภาพแวดลอมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในของวัดสระเกศราช
วรมหาวิหาร (วดั ภเู ขาทอง) ตามแนวคิด แนวคิดการออกแบบเพือ่ ทุกคน (UNIVERSAL DESIGN)
คำสำคัญ: การออกแบบเพอื่ ทกุ คน, สง่ิ อำนวยความสะดวกภายในวัด

ABSTRACT

This is a qualitative research focusing on wheelchair users in terms of accessibility to Wat Saket
Ratchaworawihan (Golden Mountain) in Bangkok. This is a study of factors affecting wheelchair users,
including people with disabilities, the elderly and children, in accessing the physical environment in different
areas of the temple, including beliefs in the temple that impede access. There are 3 procedures of research
methods as follows: 1) Data Collection; 2) Data Analysis; 3) Conclusion. The research instruments consist of

51

1) Space utilization questionnaire 2) Interview form with Thai architectural experts. The research conducted
the study and analysis and it was found that factors affecting physical accessibility within the temple include
internal facilities, construction system in Thai architecture and attitudes from the people around. In addition,
it was found that the management system in the temple did not accommodate wheelchair users. This
research also included layout to present the development of environment and internal facilities of Wat
Saket Ratchaworawihan (The Golden Mountain) according to UNIVERSAL DESIGN.

KEYWORDS: Universal Design, Internal Facilities

1. บทนำ
วดั สระเกศราชวรมหาวหิ าร เปนวดั โบราณในสมยั กรงุ ศรีอยุธยา เดิมชอ่ื วดั สะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬา

โลกมหาราชโปรดเกลา ฯ ใหป ฏิสังขรณและขดุ คลองรอบพระอาราม แลวพระราชทานนามใหมวา วัดสระเกศ ซ่งึ แปลวา ชำระ
พระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพธิ ีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทพั กลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และ
เสด็จขนึ้ เถลงิ ถวลั ยราชสมบตั ใิ น พ.ศ. 2325 ในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระนั่งเกลา เจา อยูหวั โปรดเกลาฯ ใหบ ูรณะและสรา งพระ
บรมบรรพตหรือภูเขาทอง ทรงกำหนดใหเปนพระปรางคมีฐานยอมุมไมสิบสอง แตสรางไมสำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว จึงทรงใหเปลี่ยนแบบเปนภูเขากอพระเจดียไวบนยอด เปนที่ประดิษฐานพระบรม
สารีริกธาตุ การกอสรางแลวเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดรับพระราชทานนามวา "สุวรรณ
บรรพต" วดั สระเกศ เปน พระอารามหลวงชนั้ โท ชนิดราชวรมหาวิหารตงั้ อยรู ิมคลองมหานาค เขตปอ มปราบศตั รูพาย มจี ุดเดน
คอื พระบรมบรรพต หรือทเี่ รยี กวา “ภเู ขาทอง”

ซึง่ ปจจบุ ัน วดั สระเกศราชวรมหาวิหาร มนี กั ทองเท่ยี วจำนวนมากขึ้นเร่ือยๆสอดคลองกบั สภาพแวดลอมภายในวัดมี
การพัฒนาอยา งรวดเรว็ แตยงั ไมส ามารถรองรับไดท กุ คนทกุ กลุม รวมทั้งกลุมผูใชรถเขน็ โดยปจ จุบนั พ.ศ.2563 ประเทศไทยมี
ประชากรทีม่ อี ายุ 60 ปข ้ึนไปจำนวนมากกวา 12 ลา นคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทง้ั หมด และจะเพมิ่ เปน 20%
ในป พ.ศ.2564 ชีใ้ หเหน็ วา ประเทศไทยเขาสูสงั คมผูสูงอายุแลว และกำลงั จะเปน สังคมผสู ูงอายอุ ยางสมบูรณแบบในอีกไมกี่ป
ขางหนาการจัดระบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหเ หมาะสมตามแนวคิดออกแบบเพ่ือทกุ คน (Universal Design) ทำใหเกิดการ
พัฒนาคุณภาพชีวติ รวมกนั สามารถเปนแนวทางหรือตนแบบในการพฒั นาคุณภาพชวี ิตเพื่อความเทาเทียมกันเพื่อเปนการหา
แนวทางในการแกไ ขปญ หา พรอมสงเสรมิ ใหเกิดขอ มูลพื้นฐานดานการพัฒนาสภาพแวดลอม จากประสบการณของผูใชง าน
รถเข็น (User Experience: ux) ในการหาแนวทางในการปรับสภาพแวดลอม ตามหลักแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน
(Universal Design)

ดังน้นั ผูวจิ ยั จึงใช หลกั แนวคดิ ออกแบบเพื่อทกุ คน (Universal Design) นำไปใชในการแกปญ หาสภาพแวดลอมพื้นท่ี
หาแนวทางจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผูใชรถเข็น เพื่อรองรับ ผูสูงอายุ นักทองเที่ยว รวมถึงคติความเชื่อที่สงผลตอ
ลักษณะทาง กายภาพภายในวัดอันเปนอุปสรรคในการเขา ถึงพื้นที่สวนตา งๆ ของผใู ชร ถเขน็ โดยศกึ ษาสภาพแวดลอมของวัด
สระเกศราชวรมหาวิหารและพัฒนาเสนแนวทางในการออกแบบโดยใชแนวคิดการออกแบบเพ่ือทุกคน (Universal design)
ตลอดจนสามารถเช่อื มโยงการออกแบบและสามารถนำไปปรับใชเปนตนแบบกับวัดอ่ืน ๆ ไดอยา งเปน รูปธรรมตอไปในอนาคต

52

2. วัตถุประสงคข องการวจิ ัย
2.1 เพ่อื ศกึ ษาปญหาสภาพแวดลอมทางกายภาพของวดั สระเกศราชวรมหาวหิ าร ตามหลกั แนวคดิ การออกแบบเพอื่

ทกุ คน (Universal design)
2.2 เพ่ือเสนอแนะรูปแบบทางกายภาพทเี่ หมาะสมตอ การปรับปรงุ สภาพแวดลอม ของวดั สระเกศราชวรมหาวหิ าร
2.3 เพ่อื เปน แนวทางการแกไขและปรบั ปรงุ ลักษณะองคป ระกอบทางกายภาพของวดั สระเกศราชวรมหาวิหาร

3. กรอบแนวคดิ และทฤษฎีงานวิจัยทเ่ี กี่ยวขอ ง
หลักการออกแบบเพ่ือทุกคน (Universal Design) เปนแนวคิดในการออกแบบสภาพแวดลอ มและ สงิ่ อำนวยความ

สะดวก โดยมีหลกั ในการออกแบบเพอื่ การใชง านทสี่ ะดวกสบาย ปลอดภยั ครอบคลมุ สำหรบั ทุกคนและไมมีการดัดแปลงพิเศษ
หรือเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลกลุมใดกลุมหนึ่ง มีหลักการพื้นฐาน 8 ประการ (Steinfeld and Maisel, 2012) สำหรับใชเปน
แนวคดิ ในการออกแบบดงั น้ี

1. ทุกวัยใชได (Equitable Use) การออกแบบสามารถสรางความเทาเทียมกันในการใชสอยของผูใชท ี่ตางวัย และ
ตา งความสามารถ โดยคำนงึ ถงึ ความสะดวก ปลอดภยั และความเทาเทียมกัน

2. งายตอความเขาใจ (Perceptible Information) ในการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหคน ทุกคนนั้น
นอกจากสิง่ อำนวยความสะดวกที่เปนอุปกรณต าง ๆ การสรางความเขาใจผานระบบการมองเห็น เชน การแยกสี การทำปาย
สัญลักษณ เปน ส่งิ ทช่ี ว ยทำใหการใชส ิ่งอำนวยความสะดวก

3. ใชงานงาย (Simple and Intuitive) การออกแบบทผี่ ูใ ชง านสามารถใชงานไดโดยงาย จากสามัญสำนึกมีอุปกรณ
สิ่งอำนวยความสะดวกหลายชิ้น ถูกออกแบบมาเพ่อื การใชง านทงี่ ายและสามารถเขาใจไดตรงกนั เชน ทางลาดสำหรับรถเข็น
สามารถเขา ใจถงึ วิธกี ารใชงานและประโยชนได

4. ปรบั เปลี่ยนได (Flexible Use) การออกแบบสามารถรองรบั การใชส อยจากผูใชทหี่ ลากหลาย โดยอาจมีหลาย
ทางเลือกที่สามารถใชงานได สะดวกทั้งการใชงานมือขวาหรือมอื ซายกไ็ ด หรือกอ กน้ำทีม่ ีลักษณะกานโยก สามารถใชงานได
ทกุ คน ทั้งคนพิการทไี่ มม ีน้ิว หรอื ผูส ูงอายทุ ่ีกลา มเนอ้ื ไมแข็งแรง ไมสามารถใชกอกแบบกดหรือหมุนไดอ ยางถนัด

5. เผื่อความผิดพลาด (Tolerance for Error) การออกแบบควรลดอันตราย อันอาจจะเกิดขึ้นไดโ ดยไมตั้งใจ เชน
ราวจับตามบริเวณที่จะกอใหเกิดอันตราย เชน ราวบันได ราวกันตกจะใชวัสดุแข็งแรง และมีการยึดติดอยางแนนหนา เพ่ือ
ปอ งกันการเกดิ อุบัตเิ หตุ

6. ใชแรงนอย (Low Physical Effort) การออกแบบที่มีความสะดวกตอการใชงาน โดยใชกำลังตามปกติ ไมตอง
ออกแรงมาก หรอื ตอ งพยายามใชงานหลายครั้ง

7. ขนาดและที่วางเหมาะกบั การเขา ถงึ และใชสอย (Size and Space for Approach and use) ขนาดและพื้นท่ีใช
งานที่เหมาะสม สามารถใชงานไดอ ยางสะดวกทั้งการเดินทาง การเอื้อม การจับตอง โดยไมมีขอจำกัดทางรางกาย หรือการ
เคลื่อนไหว

53

8. ความเหมาะสมทางวัฒนธรรม (Cultural Appropriateness) เคารพและสรา งคณุ คา ทางวัฒนธรรมทข่ี ึน้ อยูในแต
ละบริบททางสังคมของพื้นที่เพือ่ ลดความเหลื่อมลำ้ โดยไมเกดิ ปญหาในความรูสึกและเคารพซึง่ กันและกัน (Steinfeld and
Maisel, 2012)

หลักทง้ั 8 ประการถูกพฒั นาโดยศูนย Center for Inclusive Design and Environmental Access ไดพัฒนา
กรอบแนวคดิ ใหมส ำหรบั แนวความคิดการออกแบบเพื่อทกุ คน (Universal design) ทเี่ นน การใชงานดั้งเดมิ เพือ่ การมีสวนรวม
ทางสังคมและยอมรบั บทบาทของบริบททางวัฒนธรรม (Steinfeld and Maisel, 2012) การเสรมิ แนวความคดิ การออกแบบ
เพื่อทุกคน (Universal Design) (NCSU, 1997) หรือแนวคิดการออกแบบสำหรับทุกคน (Design for All) สอดคลองกับ
แนวคดิ ดังกลาวที่เปนพ้นื ฐานใหเกิด Inclusive Design ทีเ่ ปนการออกแบบสำหรับยคุ ใหม
4. วธิ กี ารดำเนินการวจิ ัย

การวจิ ยั เปนการศึกษาเพ่ือกำหนด กรอบและประเดน็ ท่เี ปนปญ หาของพืน้ ทีด่ านสภาพแวดลอมทางกายภาพ ซ่ึงเปน
งานวจิ ยั เชงิ สำรวจ เพ่ือศกึ ษาสภาพแวดลอ มทางกายภาพและการออกแบบสง่ิ อำนวยความสะดวกเพอ่ื รองรบั ผใู ชง านรถเขน็ ท่ี
เปนปญหาหรืออุปสรรคตอการเขาถึงพื้นที่ของบุคคลที่มีขอ จำกัดทางดานรางกาย โดยเฉพาะกลุมผูพกิ าร และผูสูงอายุเพ่ือ
จดั ทำเปน ฐานขอมลู และการกำหนดแนวทางการแกไข สง เสริมการพัฒนาสภาพแวดลอ มชมุ ชนทเ่ี อ้ืออำนวย ตามหลักแนวคิด
การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)
5. ขอบเขตของงานวจิ ยั

การศึกษาในครั้งนี้เปนการวิจัยเชิงสำรวจ เกี่ยวกับการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนในสังคมและ
สงเสริม การเขาถึงพื้นที่ของผูใชรถเข็น จะครอบคลุมเน้ือหา ในการออกแบบสภาพแวดลอมทางกายภาพ รวมถึงสิ่งอำนวย
ความสะดวกตาง ๆ โดยใชแ นวคิดการออกแบบเพ่อื ทุกคน

รปู ท่ี 1 แผนที่ผังบรเิ วณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

54

6. เครอ่ื งมือท่ใี ชใ นการวิจยั
เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวม วิธีการสัมภาษณแบบไมมีโครงสรางจากกลุมตัวอยางผูใหขอมูลสำคัญ

(Key Informants) และการสำรวจพื้น ผูวิจัยสรางขึ้นโดยใหสอดคลองกับวัตถุประสงคและกรอบแนวคิดของการวิจัย
มีรายละเอียดดงั นี้

1. เกบ็ รวบรวมขอ มูลเบ้ืองตนจากการศึกษาขอมลู เบ้ือตน จากการศกึ ษาขอ มูล และสำรวจพน้ื ที่ โดยนักวจิ ยั
2. สัมภาษณเกี่ยวกับ คติความเชื่อทีส่ งผลตอลักษณะทางกายภาพ ภายในวัดโดยใชการการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญ
เฉพาะดานงานสถาปตยกรรมไทย โดยการสัมภาษณแบบเปน ทางการ นำขอมลู ทีไ่ ดม าวเิ คราะหวา ปจ จัยดานใดบางทีมีผลตอ
พ้ืนทส่ี ว นตา ง ๆ ของผูใ ชรถเข็น
3. สำรวจลักษณะทางกายภาพของพืน้ ท่ี โดยการเดินสำรวจ ถายภาพ วัดระยะ

• กลองถา ยรูป และวิดโี อ เพอื่ ใหทราบลักษณะกายภาพ ท่สี ามารถเขาสำรวจและถา ยรปู
• ผใู ชร ถเข็น โดยกลุม มลู นธิ อิ ารยสถาปต ย เพอื่ ทำการทดลองเปนผูทม่ี ขี อจำกัด ทดลองภายพื้นท่ี

รปู ที่ 2 การสำรวจลกั ษณะทางกายภาพของผใู ชร ถเขน็ โดยกลมุ มูลนธิ อิ ารยสถาปต ย

7. ผลการศึกษา
การวจิ ัยพบวา การเขา ถึงสภาพแวดลอ มของวัดสระเกศราชวรมหาวหิ าร (วัดภเู ขาทอง) ของผูใชร ถเขน็ ทัง้ ดา นพนื้ ที่

และสภาพแวดลอมท่ีเอื้อตอการใชง านสำหรบั คนทกุ คน จึงไดน ำมาพจิ ารณาขอ ดแี ละปญหา จงึ ไดข อ สรปุ ปจ จัยสำคัญกับการ
ออกแบบสภาพแวดลอมเพอื่ คนทกุ คน ดงั น้ี

1. ทุกวยั ใชไ ด (Equitable Use) ในสว นของพ้ืนถนนกย็ ังไมตอบสนองตอ ผูใชรถเข็น การเขา ถึงพ้ืนท่ีมีขอจำกัดทาง
กายภาพ และไมมีปายประชาสัมพนั ธท่สี ำคัญเพื่อบง บอกทงั้ สถานท่ี ชือ่ และตำแหนงบริเวณรอบๆ

2. งา ยตอ ความเขา ใจ (Perceptible Information) บรเิ วณวัดมีสภาพแวดลอ มท่ีดี เน่อื งจากมพี ืน้ ที่กวางและจัดเปน
สัดเปนสว นและ เปนสถาปตยกรรมไทยที่ทรงคุณคาทีย่ ังคงรักษาและอนุรักษไ วเปน อยา งดี แตมีพื้นที่บางสว นที่กำลังพัฒนา
และซอ มแซมใชง านไมได ควรทำปายเพื่อใชส ่ือสารที่ชดั เจนในการปรับปรงุ และอนาคตทีจ่ ะเกดิ ขึ้น และตำแหนง ผังแผนท่ี ยัง
ไมช ัดเจน หายาก

55

3. ใชงานงา ย (Simple and Intuitive) การดแู ลรกั ษาความสะอาด ของวัดสระเกศราชวรมหาวหิ าร (วัดภเู ขาทอง)ท่ี
ดี มีการพฒั นาตลอดเวลา แตจะมบี างสวนของถนนทางเดินมคี วามขรุขระ บรเิ วณฝาทอ ระบายน้ำ มีชอ งทใ่ี หญเกินไป และทาง
ลาดที่ยงั ไมสมบรู ณ ทีจ่ อดรถเพียงพอแตย ังไมม ีชอ งจอดรถสำหรับผูที่มีความตองการพเิ ศษ

4. ปรบั เปลี่ยนได (Flexible Use) สภาพแวดลอมของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภเู ขาทอง) ไมไดถูกออกแบบ
มาเพือ่ ตอบสนองการใชง านของผูใชรถเขน็ โดยอาจมหี ลายทางเลอื กทสี่ ามารถแกไ ขปญหาการใชง านได ไมว าจะเปน ปายบอก
เสนทางบางจุด หองน้ำสาธารณะหรือหองน้ำผูพิการ ผูใชสามารถปรับเปล่ียนการใชงานไดตามความตองการ หรือตามการ
เคลื่อนไหวของผใู ชไดสะดวกและปลอดภยั

5. เผื่อความผิดพลาด (Tolerance for Error) ในพื้นท่ีวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) มีพื้นที่ ที่เสี่ยง
อันตรายในหลายจุด ที่จะทำใหเกดิ อุบตั ิเหตไุ ดงาย พื้นที่ที่มีปญหาคือ ทางลาดตางระดับ บันไดมีความชนั มขี ึ้นจำนวนมาก
ไมไ ดม าตรฐาน ควรมีพน้ื ผวิ สมั ผัสเตือนถึงความตา งระดับของพนื้ ผิวถนนกับทางเทา และอกี ทั้ง ไมมีฟตุ บาท บริเวณทางเขาวัด
และ ถนนภายในวัด

6. ใชแรงนอย (Low Physical Effort) พื้นที่ภายในวดั สระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) เกือบทกุ จุดพื้นท่ที ี่
ยังไมสะดวกตอการใชง านไดเ ทาที่ควร มีพื้นที่ที่ตอ งใชแ รงมาก เชน พื้นที่ตางระดับทำใหผ ูใชรถเขน็ ตองออกแรงในการเข็น
มากข้ึนซึ่งถาปรับปรุงพื้นท่ี ใหเรยี บเสมอกนั กน็ าจะลดแรงในการใชงานไดพอสมควร

7. ขนาดและที่วางเหมาะกับการเขาถึงและใชสอย (Size and Space for Approach and use) พื้นที่วัดสระเกศ
ราชวรมหาวิหาร (วัดภเู ขาทอง) ไมเอือ้ อำนวยตอ การใชงานของผูท่ีใชร ถเขน็ โดยเฉพาะผใู ชซ ง่ึ ไมส ามารถเคล่อื นไหวไดอยาง
สะดวกและคลองตัวและขาดพื้นวางที่จอดพักสำหรับรถเข็นที่นั่งพักของผูที่มีขอจำกัดรวมถึงปญหาการใชงานทางเขาออก
ประตู บรเิ วณ พระอโุ บสถ ขนาดท่เี ล็กไปยงั ไมเ หมาะสมกับผูใชร ถเขน็ ซงึ่ อาจเปนขอ จำกัดของรูปแบบสถาปต ยกรรมอนรุ กั ษ

8. ความเหมาะสมทางวฒั นธรรม (Cultural Appropriateness) พ้นื ท่ถี ูกสรา งคุณคาทางวฒั นธรรมศาสนาโดยความ
เชื่อเดียวกัน โดยสอดคลองกับหลัก กิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ที่เกิดขึ้น วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) ที่
สำคัญรูปแบบของธรณีประตูท่ีถูกออกแบบตามความเชื่อ ที่เปนพื้นฐานของทุกวัด ดังนั้นการแกไขปญ หาอาจะตองทำความ
เขาใจในทุกๆบรบิ ทและเสนอแนวทางแกไ ขปญ หาในอนาคต

8. อภปิ รายผล และ ขอเสนอแนะ

จากผลการศกึ ษาผวู จิ ัยไดอ ภปิ รายผลจากผลการวิจยั 4 ประเดน็ ดังนี้

1. คติความเชือ่ นั้นไมไดเ ปน อุปสรรคในการเขา ถึงวัดของผูใชรถเขน็ ซึ่งคติความเช่ือเหลานี้เปนส่ิงทีป่ รุงแตงขึ้นมา
เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบ และออกแบบใหสอดคลองกับรูปแบบทางสถาปตยกรรมไดโดยที่ไมทำลายรูปแบบทาง
สถาปตยกรรมเดิมซึ่งสอดคลองกับทฤษฎี ของ Ronald L. Mace (1980) ที่วาดวยคนพิการตองการความปลอดภัยและสิ่ง
อำนวยความสะดวกในการใชง านที่รองรบั พฤตกิ รรมคนทกุ คนทุกกลุม

2. จากการลงพื้นที่สำรวจภายในวัดยังไมมีสิ่งอำนวยความสะดวกท่ีครอบคลุมผูใ ชรถเข็นซึ่งสอดคลองกับงานวิจยั
ของสรุ ชาติ สินวรณและคณะ (2558) ทว่ี าแตล ะวดั น้ันยงั มลี กั ษณะทางกายภาพและสิง่ อำนวยความสะดวกท่ีไมเอ้ือตอการใช
งาน และการเขาถึงภายในวัดตามหลักการออกแบบเพอ่ื คนทงั้ มวล

56

3. สภาพแวดลอมทางกายภาพของวัดยังไมตอบสนองการใชงาน เชน จดุ สกั การะ, ทางเขา พน้ื ที่ตางๆ, หองน้ำ, จุด
บริการ, สัญจรภายในวัด ทีไ่ มไ ดถ กู กำหนดหรอื แบง ระเบียบไวอยางชัดเจนทำใหเกิดการสับสนในการใชพื้นที่ และผูใชรถเข็น
ไมสามารถใชส ภาพแวดลอมทางกายภาพของวดั ไดอยา งเตม็ ที่

4. เสนอแนวทางการออกแบบส่ิงอำนวยความสะดวกตามหลกั แนวคิดการออกแบบเพื่อทกุ คน (Universal Design)
ทร่ี อบรบั ผูใชร ถเข็น ใหม รี ูปแบบการสงเสริมการทอ งเท่ียวการเขาถงึ พนื้ ที่ของวัด เพ่ือเปนแนวทางแกปญหาดาน การบริหาร
การจัดการ การดแู ลรักษาความสะอาดสิ่งอำนวยความสะดวก เพอ่ื ใหม ีรปู แบบทีเ่ ปนมาตรฐานในการใชงานใหท ุกคนในสังคม
สามารถ ทองเท่ียวหรอื ใชงาน อยางยงั ยนื

ทกุ วัยใชได (Equitable Use) เปนการสรา งความเทา เทียมกันระหวา งคนในสงั คม เริม่ จากเด็กถงึ คนชรา และผูพิการ
ทำใหรองรับการใชงานของคนทุกวัย เพื่อเปนการปรับปรุงสิง่ อำนวยความสะดวกของผูใชงานในพื้นท่ีน้ัน เชน ถนน ทางเทา
และ พื้นที่สาธารณะ โดยสอดคลองการเสนอแนะใหปรับปรุงพื้นทีส่ าธารณะ ใหรองรับการใชงานของคนทกุ วัย (สุดนิรันดร
เพชรัตนแ ละคณะ ,2557)

รปู ท่ี 5 ปรบั ปญหาพืน้ ผิว เวนทางจราจร พ้นื ท่รี านคา และรูปแบบเสนนำทางสำหรับผูใชร ถเขน็
งา ยตอความเขา ใจ (Perceptible Information) สรา งพื้นทจี่ ดจำงายและมีเอกลักษณท ่ีโดดเดน ซึ่งสามารถเสรมิ จดุ ที่
นาสนใจ เชน ปายบอกทาง เอกลักษณแ ตละจดุ เพ่อื ใหง ายตอการเขาถึงพื้นที่และการจดจำ โดยสอดคลอ งกับ รูปแบบการใช
งานและการสรา งเอกลักษณของแตล ะพื้นที่ใหนาจดจำ และที่สำคัญการสรางจุดเดนเพ่ือเสรมิ สรางเปนจุดรวมพล นัดหมาย
ของผทู ่เี ขามา(สรุ ชาติ สินวรณ และคณะ, 2558)

57

รูปท่ี 6 ขอ เสนอแนะสิง่ อำนวยความสะดวก สงเสริมดา นขอมลู สำหรับนักทองเที่ยว มหี ลากหลายภาษา
พรอมอกั ษรเบรลลน ำทาง

ใชงานงาย (Simple and Intuitive) รูปแบบการใชงานแตละพื้นท่ีควรเปนแบบที่มาตรฐานสามารถใชงานงาย
สำหรับผูใชรถเข็น ผูใชงานสามารถรับรูก ารใชงานได และเกิดพฤติกรรมที่เปน กลุมการใชง าน ของแตละพื้นท่ีใหมีรูปแบบที่
ใกลเคียงกัน เพื่อให นักทองเที่ยวหรือคนในชุมชนมีกิจกรรมรวมกนั โดยสอดคลองกับรูปแบบการใชงาน เพื่อเปนการสราง
ความเทา เทียมกัน และทีส่ ำคญั ปญ หาทอ ระบายน้ำทมี่ ชี อ งวา งมากเกินทำใหเ กดิ อนั ตรายตอ ผใู ชรถเขน็

รูปที่ 7 ปญ หาทางเทา ทีไ่ มตอเนอ่ื ง พรอ มทงั้ ทอ ระบายน้ำที่มีชอ ใหญเกินทำใหเ กิดอันตราย
ปรับเปลี่ยนได (Flexible Use) เปนการเสนอแนะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีลักษณะ
ของการใชงานท่ีแนนอนสามารถทำการปรบั เปลี่ยนหรือเคลื่อนยายได พื้นที่วางสำหรับนั่งพัก โดยทำใหแตละพื้นที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนกิจกรรมตาง ๆ เพื่อตอบสนองกิจกรรม ภายในวัดที่มีความหลายหลายในแตละป โดยสอดคลองกับหลักการ
ออกแบบเพ่อื ทกุ คน

58

รูปท่ี 8 การสรา งจดุ ตำแหนง นัง่ พกั หรือพื้นทีว่ างสำหรับผใู ชร ถเขน็ ในจดุ ตางๆบริเวณวัด
เผอื่ ความผดิ พลาด (Tolerance for Error) พื้นที่ ท่ีเสี่ยงอันตรายในหลายจดุ ทจี่ ะทำใหเ กดิ อุบัตเิ หตไุ ดง า ย ในพ้ืนที่มี
ปญหา คือ พื้นที่ตางระดับ พื้นที่มีผิวสัมผัสที่แตกตางกัน และควรมีพื้นผิวสัมผัสเตือนอันตราย ทางลาดไมไดมาตรฐาน ซึ่ง
สามารถปรบั ปรงุ โดยไมสงผลกระทบกับอาคารไดโ ดยใช วัสดุ และการออกแบบที่สามารถเคลื่อนยายพับเก็บ ที่ไมสงผลกบั
อาคาร และ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และที่สำคัญ วัสดุที่ใชในงานอออกแบจะไมเปนตัวกลางในการนำอุณหภูมิ เพื่อลด
ปญ หาในการใชงานตางๆท่เี กิดจากความรอ น และเยน็

รูปท่ี 9 การเสนอแนวทางปรับปรุงเพิม่ ของกันตก ทางลาดโดยไมส งผลกระทบกบั อาคาร
ใชแรงนอย (Low Physical Effort) พื้นที่ที่ยังไมสะดวกตอการใชงานงายเทาที่ควร เชน พื้นที่ตางระดับทำให
รถเข็นตองออกแรงในการเข็นมากขึ้น ซึ่งถาปรับปรุงพ้ืนทีใ่ หสม่ำเสมอกันกช็ วยจะลดแรงในการใชงานไดพอสมควร ไดมีการ
ปรับปรงุ พนื้ ที่ที่เคยเปนอปุ สรรคตอการใชงาน

รูปท่ี 10 ปญหาพื้นที่ทางขนึ้ พระอโุ บสถ วหิ าร และ ศาลาตางๆ แกไ ขโดยทไี่ มส งผลกบั อาคาร

59

ขนาดและที่วางเหมาะกับการเขาถึงและใชสอย (Size and Space for Approach and use) พื้นที่ ที่ยัง
เอื้ออำนวยตอการใชง านของผูใชร ถเข็น ไมว าจะเปน ปญหาพ้ืนถนน และปญ หาของพื้นทีน่ ั่งพักของของผทู ่ีมีขอจำกัด, หองน้ำ
การขายตัวของสิ่งกอสรางภายในวัด ทำใหทาแคบ หรือพื้นที่ไมเพียงพอตอ การใชงาน อีกทั้ง อาคารโบราณสถานที่ไมไดถูก
ออกแบบมาสำหรับผใู ชร ถเขน็

รูปที่ 12 เสนอแนวทางแกไ ขปญ หาพืน้ ทห่ี องน้ำ ภายในวัด
ความเหมาะสมทางวัฒนธรรม (Cultural Appropriateness) มีความเหมาะสมของพื้นที่ภายในวัดสอดคลองกับ
หลัก กิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อ พรอมความเหมาะสมทางวัฒนธรรมสอดคลองกับบริบทของ เชน การ
สรา งจุดตำแหนง สกั การะ พระบรมสารีรกิ ธาตสุ ำหรบั ผคู นหรอื คนทใ่ี ชรถเข็นท่ีไมสามารถเขา ถงึ ไดสกั การะ บนภูเขาทองได

รูปที่ 12 การสรา งจุดตำแหนงสักการะพระบรมสารีริกธาตสุ ำหรับคนท่ใี ชรถเข็น
สรปุ ไดว า ปจ จยั ที่สง ผลกระทบตอการเขาถึงกายภาพของผใู ชร ถเข็นในพื้นท่ีวัดประกอบดวยสิง่ อำนวยความสะดวก
ภายในวัดระบบการกอสรางในงานสถาปตยกรรมไทยเจตคตจิ ากผูคนโดยรอบรวมถึงระบบการบริหารจัดการภายในวัดดานส่ิง
อำนวยความสะดวกสำหรบั ผใู ชร ถเข็นซึง่ วัดสระเกศราชวรมหาวหิ าร (วัดภูเขาทอง) ทม่ี อี ายกุ ารใชง านมายาวนานและกอสราง
ในสมยั โบราณซ่ึงการออกแบบกอสรา งอาคารในชวงเวลานั้นไมไดค ำนึงถงึ การใชง านสำหรบั ผูใชร ถเข็นและหรอื คนพิการจึงทำ
ใหเกิดปญหาในการเขาถึงสภาพแวดลอมภายในสวนตางๆของวัดแมในปจจุบัน อาคารเหลาน้ี ไดถูกตอเติมและมีการแกไข
ปรับปรุงเพื่อรองรับการใชงานของผูใชรถเข็นแตก็ยังไมครอบคลุมทุกสวนนอกจากนี้ยังปราศจากสิ่งอำนวยความสะดวกท่ี
เหมาะสม ตอผใู ชรถเข็น เชน ทางลาดมีความชันเกิน 1:12 หรือหองน้ำมีขนาดที่เลก็ เกินไป เปนตน ดา นระบบการกอสรางใน
งานสถาปตยกรรมไทยที่เกิดขึ้นจากไทยโบราณ Traditional Design พบวา การกอสรา งระบบบานประตูไทยซ่ึงประกอบดวย

60

กรอบเชด็ หนา บานประตู และเดอื ย ธรณีประตู และคานคนู น้ั เปน อีกกรณหี น่งึ ท่เี ปนอปุ สรรคเนื่องจากทำใหพื้นมีการเปล่ียน
ระดับซึ่งผูใชร ถเข็น ตองการพ้ืนที่เรยี บในการเขาถงึ กายภาพภายในวัด ดานเจตคติจากผูคนโดยรอบที่มาทำบุญและทีส่ ำคัญ
ดานระบบการบริหารจัดการภายในวัดพบวา การบริหารจัดการภายในบางวัดยังขาดการสนับสนุนและสงเสริมตอคนผูใช
รถเข็น และคนพิการตางๆ ในการมาทำบุญเนื่องจากไมมีระบบการจดั การที่คอยดูแลเร่ืองนี้อยางเหมาะสมทั้งน้ีแนวทางการ
แกป ญ หาสภาพแวดลอม จำเปน ตองอาศยั ความรวมมือ (Cooperation) ท้ังพระ ภาครฐั และเอกชนตลอดจนคนในชุมชนรอบ
ขางซึ่งเปนแนวทางในการมีสวนรวมของผใู ช (User Participation) ทจี่ ะนำไปสกู ารใชที่เสมอภาคและ พัฒนาสภาพแวดลอม
ใหด ขี น้ึ อยางเทาเทยี ม

เอกสารอางองิ
ภัทรนิษฐ จันพล. (2556). “การออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดลอมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ

สงู อายุในพื้นทวี่ ัด”. วทิ ยานิพนธส ถาปตยกรรมศาสตรมหาบัณฑติ . จฬุ าลงกรณม หาวทิ ยาลยั .
สดุ นริ นั ดร เพชรตั นและคณะ, 2557. “การจดั สภาพแวดลอ มทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผูสูงอาย”ุ ภาควิชา

วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก : วารสารวิศวกรรมศาสตร
มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ
สุรชาติ สินวรณและคณะ , 2558. “แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดลอมทางกายภาพ เพื่อ
สงเสริมการทองเที่ยวสำหรับผูสูงอายุและพิการ ตลาดน้ำตลิ่งชัน”, คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
มหาวทิ ยาลยั สวนดสุ ติ , กรุงเทพฯ
Edward Steinfeld, Jordana L. Maisel. (2012). Universal Design: Creating Inclusive Environments: Wiley.
Hawking, W.S. (2010). A Profile of 36 Countries and Areas in Asia and the Pacific, Report on Disability
Situation in Thailand Department of Empowerment of persons with disabilities: United
Nations ESCAP.
Mace, L.R. (1980). Accessible Environments Toward Universal Design, Center for Accessible Housing:
North Carolina State University.

61

การออกแบบแนวคดิ รปู แบบการทองเทยี่ วเชอื่ มโยงวถิ ชี ีวิตชุมชนอำเภอเกาะจันทร
รอบบรเิ วณ อางเกบ็ นำ้ คลองหลวงรัชชโลทร จังหวดั ชลบรุ ี

Design of Tourism Model Concepts Linking Community Way
of Life in Koh Chan District Around

The Reservior Khong Luang Ratchalothon Chonburi
ผูชว ยศาสตราจารยชยากร เรอื งจำรญู *1

1 อาจารยป ระจำคณะศลิ ปวจิ ิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศลิ ป E-mail [email protected]

บทคดั ยอ

การเสรมิ สรางปจ จัยแวดลอมที่เอือ้ ตอ การพฒั นาคณุ ภาพของคน โดยการนอมนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช มาประยุกตใช ท้ังในเชิงระบบและโครงสรางของชุมชนใหมภี ูมิคมุ กัน
ตอ การเปลี่ยนแปลงท่ีจะเกดิ ขนึ้ ซ่ึงส่ิงท่ีสำคัญที่สดุ คือทักษะการเรียนรู และการเสริมสรางปจจยั แวดลอมที่เอ้อื ตอการพัฒนา
คุณภาพของคน จะตองใหความสำคัญกับการสงเสริมสรางทุนของประเทศท่ีมีอยูใหเขมแข็ง และมีพลังเพียงพอในการ
ขบั เคลือ่ นกระบวนการพฒั นาท้ังในระยะกลางและระยะยาว และการพฒั นาคุณภาพชีวิตของคนและชมุ ชนแบบยงั่ ยืน

การออกแบบแนวคิดรูปแบบทองเที่ยวเช่ือมโยงวิถีชุมชนรอบบริเวณอำเภอเกาะจันทรเชื่อมโยงการทองเท่ียวของ
ชมุ ชนเขากบั พื้นท่ีอางเก็บนำ้ คลองหลวง รัชชโลทร รวมทงั้ การนำเสนอรูปแบบการใชง านการออกแบบทางดานสถาปตยกรรม
ในบริเวณพ้ืนท่ีเพื่อเปนการดึงดูดนักทองเท่ียวและสรางเอกลักษณของพ้ืนที่ ในการจัดทำแผนท่ีการทองเที่ยวการเช่ือมโยง
แหลงสำคัญของชุมชน ของพ้ืนทใี่ หเ กิดการพฒั นาเศรษฐกิจในทองถิน่ ใหม กี ารบริหารและบรกิ ารภายในชมุ ชนใหสอดคลอ งกับ
พฤติกรรม และรปู แบบดำเนนิ ชีวิต โดยการวางแผนกลยุทธธรุ กิจของชมุ ชน เกิดการตอบสนองความตอ งการของนักทองเทย่ี ว
ที่จะมีเขามาในชุมชนใหเกิดความพึงพอใจ อันจะสงผลทำใหธุรกิจสามารถดำเนินไปไดในระยะยาว รวมท้ังผูสนใจท่ัวไป
สามารถนำผลการศึกษาครัง้ น้ีไปใชเปนแนวทางในการวางแผนและพฒั นาใหเกดิ การทองเที่ยวแบบยงั่ ยืนภายในชุมชนของตน
ในอนาคตได

คำสำคัญ: เชือ่ มโยงวิถชี ุมชน, ชุมชนแบบย่งั ยืน, การทองเท่ียววิถีชีวิต, เอกลกั ษณของพื้นที่, ส่ิงอำนวยความสะดวกทางดาน
สถาปตยกรรม

ABSTRACT
Enhancing environmental factors that contribute to human development by adopting the

Sufficiency Economy Philosophy of His Majesty King Bhumibol Adulyadej require both the system and the
structure of the community to withstand upcoming changes. For this, learning skills is very important.
Enhancing environmental factors that contribute to human development must focus on strengthening the

62

existing capital of the country. It also entails enough power to drive the medium-scale and long-term
development processes and sustain the development of the quality of life of people and communities.

Designing a concept of a tourism model that connects the way of life of the surrounding
communities around Koh Chan District, inevitably links the tourism industry of the community with the
Khlong Luang Ratchalothon Reservoir. It also requires an architectural design usage pattern for the
reservoir to attract tourists and to create a unique identity of the area. In the preparation of tourism
mapping, it is essential to link viable community resources to tourism in order to develop the local
economy while providing for hospitality services that is not intrusive of the peoples’ behavior and
lifestyle. This may be done by planning community business strategies that satisfies the needs of tourists
who will come into the community. Eventually, this will result to businesses being able to operate in the
long term, thereby benefitting the general public. The results of this study can be used as a guideline for
planning and developing sustainable tourism within local communities in the future.

Keywords: linking community norms, sustainable community, lifestyle tourism, architectural facilities

1.ความสำคัญหรือความเปนมา
แนวคิดรูปแบบทองเที่ยวเชื่อมโยงวิถีชุมชนอำเภอเกาะจันทร รอบบริเวณ “โครงการอางเก็บน้ำ คลองหลวง รัช

ชโลทร” จังหวดั ชลบรุ ี ซ่งึ ทางชุมชนตองการรปู แบบแผนทีใ่ นการแสดงเช่ือมโยงการทอ งเทีย่ วของชุมชนเขากบั พืน้ ท่อี า งเกบ็ น้ำ
และยังขาดรูปแบบแผนที่ในการเดินทางทองเท่ียวภายในชุมชน รวมทั้งรูปแบบของ แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความ
สะดวกทางดานสถาปตยกรรม ศนู ยบรกิ ารและสง่ิ อำนวยความสะดวกในพน้ื ท่ี เพอ่ื ดึงดดู นักทองเท่ียว และสรางเอกลักษณข อง
พน้ื ที่

การบริการงานวิชาการและการสรา งงานสรา งสรรคทางดานการออกแบบเพื่อชวยเหลือชุมชนในระดับทองถิ่น เปน
การสนบั สนุนการทอ งเที่ยวของพนื้ ท่ีในชมุ ชน และเปน การเผยแพรผ ลงานดานวชิ าการและงานสรา งสรรคสูภายนอก

วัตถุประสงคของโครงการ
1.1.เพอื่ การออกแบบแนวคิดรปู แบบการทองเท่ียวเช่ือมโยงวถิ ีชวี ิตชุมชน อำเภอเกาะจันทร รอบบริเวณอางเกบ็ น้ำ
คลองหลวงรชั ชโลทร จงั หวดั ชลบุรี จัดทำแผนท่ีกำหนดตำแหนง สถานที่ทองเทย่ี วในชุมชน และรูปแบบสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางดานสถาปตยกรรม ในพ้ืนทเ่ี พอ่ื ดึงดดู นักทองเที่ยวและสรา งเอกลักษณของพนื้ ที่
1.2.เพอ่ื เผยแพรงานบริการวิชาการงานสรางสรรคก ารออกแบบของสชู ุมชน
2.แนวคดิ
การนำเสนอแนวคิดการทองเท่ียววิถีชีวิตชุมชนไดคนควาจากขอมูลในงานท่ีเก่ียวของกับการศึกษา ทำการสืบคน
จากเอกสารขอมูลทางวิชาการ งานวิจัยจากแหลงขอมูล และลงพน้ื ที่ทำงานเก็บขอมูล นำมาประกอบอางอิงเนื้อหาสาระเพื่อ
ประกอบในการศึกษาคนควา โดยมแี นวคดิ เปน 4 สวนดังน้ี

63

2.1.แนวคดิ เกยี่ วกับการทอ งเทยี่ ว
ชาญวิทย เกษตรศิริ (2540:6) ใหค วามหมายของการทองเที่ยววา หมายถึง การทอ งเท่ยี วโดยผูทองเทยี่ วไมห วังผลท่ี
จะไดรบั ผลตอบแทนแตเปนการทองเท่ยี วเพอ่ื การพักผอนหยอนอารมณเพ่อื ทำนุบำรงุ สุขภาพและเพ่ือสนองความอยากรูอ ยาก
เหน็
เสรี วงศไพจิตร (2546:6) ใหความหมายของการทองเท่ียวหมายถึง ผลรวมของปรากฏการณ และความสัมพันธที่
เกดิ ขึ้นมาจากการปฏสิ ัมพนั ธ หรอื การกระทำตอ กัน และกันของนกั ทองเท่ยี ว ผูประกอบการ รัฐบาล และชุมชนผูเปนเจาของ
บา นในการดงึ ดูดใจ และตอนรับขบั สนู ักทอ งเทย่ี ว และผมู าเยอื น
จากคำนิยมของนักวิชาการเก่ียวกับความหมายของการทองเที่ยวที่กลาวในเบื้องตนน้ันสามารถ สรปุ ความหมาย
ไดวา การทองเท่ียวหมายถึงการเดินทางจากท่ีอยูอาศัยปกติไปยังสถานท่ีเปนการชั่วคราวเพ่ือทำการศึกษาและการพักผอน
หยอ นใจ หรอื กอ ใหเกดิ การรว มมอื กนั หรอื การกระทำกจิ กรรม
2.2 แนวคดิ องคประกอบของการทองเทีย่ ว
บณั ฑติ สวรรยาวสิ ุทธ์ิ และพงศพ ันธุ ศรทั ธาทพิ ย อา งถงึ ดำเนินนอก (นามแฝง) (อางใน ภัททิรา นวลปลอด, 2533)
แบงองคป ระกอบการทอ งเทีย่ วไว 3 ประเภท ทถ่ี ือไดว าเปนหัวใจในการทองเท่ียว ไดแก
2.2.1. สิ่งดึงดดู ใจทางการทองเท่ยี ว (Attraction)

A. สง่ิ ดงึ ดูดใจทางการทองเท่ียวที่เปนธรรมชาติ (Natural Factors) คอื ความงามตามธรรมชาตทิ ่ีสามารถ
ดึงดูดใหค นไปเยอื นหรอื ไปทอ งเทยี่ วกับพน้ื ที่น้นั ๆ

B. ส่งิ ดึงดดู ใจทางการทองเทยี่ วทม่ี นุษยสรางข้นึ (Historical and Cultural Attraction Factors) อะไรก็
ตามทม่ี นุษยสรางข้ึนแลว สามารถดึงดูดใหมนษุ ยไ ปเยอื น หรอื ไปเท่ียวยังพน้ื ท่นี ั้นๆ

2.2.2. สิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) หมายถึง สรรพสิ่งท่ีรองรับการทองเที่ยว เพื่อใหเกิดความสะดวกในการ
เดนิ ทางทองเท่ยี ว

2.2.3. การเขาถึงได (Accessibility) หมายถึง การไปถึงแหลงทองเท่ียวน้ันๆ ไดนั่นคือจะตองมีการคมนาคม การ
ขนสงนกั ทอ งเที่ยวไปยงั แหลงทองเที่ยวไดอยางสะดวก

Maslow ไดค ิดคนทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจงู ใจ และเปนทยี่ อมรบั โดยไดตง้ั สมมุตฐิ านไว คอื
1. มนุษยมีความตอ งการ ความตองการมีอยูเสมอและไมมที ่ีส้ินสดุ แตสิ่งท่ีมนุษยตองการน้นั ขึ้นอยูกับวา

เขามีส่ิงเหลานั้นอยูหรือยัง ขณะที่ความตองการไดมกี ารตอบสนองแลวความตอ งการอยางอน่ื ก็จะเขามาแทนที่ กระบวนการนี้
ไมม ีทสี่ ้นิ สุด และจะเรม่ิ ต้งั แตเ กดิ จนกระทั่งตาย

2. ความตองการท่ีจะไดรับการตอบสนองแลวจะไมเปนสิ่งจูงใจของพฤติกรรมอีกตอไป ความตองการที่
ไมไ ดรบั การตอบสนองเทาน้ันทเี่ ปนสิ่งจูงใจของพฤติกรรม

3. ความตองการของมนุษยเปนส่ิงสำคัญกลาวคือ เม่ือความตองการในระดับต่ำไดมีการตอบสนองแลว
ความตอ งการระดบั สงู กจ็ ะมกี ารเรยี กรองใหตอบสนองทนั ที

2.3.แนวคดิ การทองเท่ียวชมุ ชน

64

การทองเท่ียวชุมชน หมายถึง การจัดการทองเที่ยวโดยคนภายในชุมชน และใชทรัพยากรท่ีมีอยูภายในชุมชนเปน
หลกั เพ่อื ประโยชนส ขุ แกน ักทอ งเที่ยวและอยูบ นพ้ืนฐานความสงบสขุ และความเขมแข็งของชุมชน (อคั รวิทย หมน่ื กุล. 2522)

“การทองเที่ยวโดยชุมชน (community base sustainable tourism) คือ การทองเที่ยวท่ีคำนึงถึง ความยั่งยืน
ของสิ่งแวดลอ ม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทศิ ทางโดยชมุ ชน จัดการโดยชุมชนเพ่อื ชมุ ชน และชุมชนมีบทบาทเปน เจาของมี
สทิ ธิ ในการจัดการดแู ลเพ่ือใหเกิดการเรยี นรแู กผ มู าเยอื น” โดยมองวา การทองเท่ียวตอ งทำงานครอบคลุม 5 ดานพรอมกนั ทั้ง
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดลอม โดยมีชุมชนเปนเจาของ และมีสวนในการจัดการ นอกจากนี้การ
ทองเที่ยวยังสามารถเปนเคร่ืองมือในการพัฒนา โดยใชการทองเที่ยวเปนเง่ือนไข และสรางโอกาสใหองคกรชุมชนเขามามี
บทบาทสำคัญในการวางแผนทศิ ทางการพัฒนาชุมชนของตนในชมุ ชน โดยเฉพาะอยางย่งิ ในชมุ ชนทมี่ ีแนวโนมวา การทองเท่ียว
จะรุกคืบเขา ไปถึง หรือตองการเปดเผยชมุ ชนของตนใหเปนที่รจู ักในวงกวาง ใหม ีการสรางใหเกิดกระบวนการเรียนรูเกี่ยวกับ
การวางแผน การบริหารจัดการทรัพยากรและ กระจายอำนาจการตัดสินใจโดยเนนความสำคัญของการจัดการธรรมชาติ
แวดลอ มและใชก ารทองเท่ยี วเปน เคร่อื งมือในการพฒั นาชมุ ชนไปพรอ มกัน

สมิธ (Smith, 1977: 2-3) (อางใน ระพีพรรณ ทองหลอและคณะ, 2547: 8) อธิบายถึงประเภทการทองเท่ียว
หมายถงึ ประสบการณในการทองเท่ียวโดยแบงประเภทการทองเทย่ี วดังน้ี

1. การทอ งเท่ยี วเพ่ือชาติพันธ (Ethnic Tourism)
2. การทองเที่ยวเพอ่ื วัฒนธรรม (Cultural Tourism)
3. การทอ งเที่ยวเพอ่ื ประวัตศิ าสตร (Historical Tourism)
4. การทอ งเทีย่ วเพอ่ื สง่ิ แวดลอม (Environmental Tourism)
5. การทอ งเท่ยี วเพ่ือนนั ทนาการ (Recreation Tourism)
6. การทอ งเทยี่ วเพือ่ ธุรกจิ (Business Tourism)
7. การทองเทยี่ วเพือ่ เปน รางวัล (Incentive Tourism)
2.4 ประวัติอา งเกบ็ นำ้ คลองหลวงรชั ชโลทร
พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดุลยเดช ไดพ ระราชทานพระราชดำรเิ กย่ี วกบั งานชลประทาน เมอ่ื วนั ท่ี 12
พฤษภาคม 2525 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สรุปไดตามท่ีนายเล็ก จินดาสงวน เจาหนาที่กรมชลประทานไดอัญเชิญ
พระราชกระแสเกย่ี วกับอา งเก็บน้ำคลองหลวง มาดงั น้ี อางเก็บน้ำคลองหลวงความจุอางเก็บน้ำประมาณ 110 ลานลกู บาศก
เมตร ท่ีกรมชลประทานจะกอสรางเขื่อนเก็บกักน้ำคลองหลวงขึ้นที่ พิกัด 47 PQQ 546-804 แผนท่ีมาตราสวน 1: 50,000
ระวาง 5235 และมีระบบสงน้ำออกจากอางเก็บน้ำโดยตรงเพื่อการสงน้ำใหกับพื้นท่ีเพาะปลูกประมาณ 32,000 ไร ตาม
โครงการที่วางไวไ ด จดุ ประสงคห ลกั ทไ่ี ดวางโครงการกเ็ พื่อจะไดก อ สรางอยางประหยัดและรวดเรว็ เปนการแกปญ หาการขาด
แคลนนำ้ และชว ยบรรเทาอุทกภยั ในฤดูนำ้ หลากอกี ดวย
สรปุ
การทองเทยี่ วกลายเปน "เคร่ืองมือ" ที่รัฐบาลใหความสำคัญ เน่ืองจากมีความสำคญั ตอการสรางรายได เพือ่ พัฒนา
ประเทศอยางมาก และยังเปน รายไดท่เี ปน อันดับตนๆ ของประเทศ มีการกระจายไปในหลายภาคอยางคอนขางชัดเจน มีการ

65

ประกอบกิจการที่เก่ยี วขอ งกับการทอ งเที่ยวท้งั โดยทางตรงและทางออ ม ขยายมากข้ึน มแี หลงบรกิ ารอำนวยความสะดวก เพื่อ
ดงึ ดูดความสนใจของนักทอ งเท่ียวท้ังในและตางประเทศ และการขยายตัวไปในแทบทุกภูมิภาคของไทย กอใหเกิดการต่ืนตัว
เพราะมองวา เปนเรอ่ื งงายท่จี ะมีรายไดเ พ่มิ จากการทอ งเท่ียว จากนักทอ งเท่ียวท่เี ขา มาซือ้ สินคา ถึงภายในชมุ ชน

เม่ือชมุ ชนมาเก่ยี วขอ งกบั การทอ งเที่ยวก็จะมคี ำใหมๆ เกดิ ข้ึน อาทิเชน การทองเท่ียวชุมชน การทอ งเท่ียวโดยชุมชน
การทองเท่ียวผานชมุ ชน การทองเที่ยวในชุมชน โดยขึ้นอยูกับนิยามแหงการสื่อความหมายตอคำดังกลาว แตท่ีแนนอนก็คือ
"ชุมชน" เปน ส่งิ ท่ีตอ งถกู กระทบอยา งหลีกเล่ียงไมได และอยางไรคือการทอ งเทยี่ วโดยชมุ ชน "Community Based Tourism
: CBT " ท่ีเหมาะสมอันจะเปนแนวทางสำหรับการพัฒนาดานการทองเที่ยวในชุมชนไดอยางเปนรูปธรรมและเห็นผลโดยนำ
แนวคดิ ตา งมาดำเนินการทำงานสรางสรรคใ หกับชมุ ชน

3. กระบวนการในการดำเนินการ
ขนั้ ตอนท่ี 1 ทำการคนควาขอ มลู จากเอกสาร ตำรา และในเวบ็ ไซต เพ่อื หาขอมูลที่เกีย่ วของภายในชุมชนอำเภอเกาะ

จนั ทร จังหวัดชลบุรี โดยวิธีการถา ยภาพ และสมั ภาษณผเู กีย่ วของในการศกึ ษา และเกบ็ ขอมลู เพื่อทำการตรวจสอบขอมูลทไี่ ด
จากการสมั ภาษณ

ขนั้ ตอนท่ี 2 ทำการเก็บขอมูลเบื้องตน โดยการสมั ภาษณผูเก่ียวขอ งภายในอำเภอเกาะจันทร จงั หวัดชลบุรี และทำ
กิจกรรมประชมุ สมั มนารวมทั้งเก็บแบบประเมนิ สำรวจความคิดเหน็ รวมกันกับชุมชน โดยใหตัวแทนท่ีเปนผนู ำและตัวแทนคน
ในชุมชนมีสวนในการเปนผใู หแ ละนำเสนอขอมูลภายในอำเภอเกาะจนั ทร อีกท้ังยงั มีสวนรว มในการทำรางแผนทใ่ี นชุมชนของ
หมบู า นท่ีมสี วนเกยี่ วขอ ง เพอ่ื ใหไดข อมูลจากกระบวนการศึกษา กระบวนการทำกจิ กรรม และการมสี ว นรว ม เพอ่ื ใหไ ดขอ มลู ที่
สอดคลองตอการกำหนดสถานที่ และจุดตำแหนงสำคัญ ในแตละพื้นที่ที่นาสนใจภายในชุมชนเพ่ือนำมาใสไวในแผนที่ของ
ชุมชนที่จัดทำขนึ้

ขั้นตอนที่ 3 สำรวจพ้ืนท่ี และเก็บขอมูลภายในชุมชนอำเภอเกาะจันทร จังหวัดชลบุรี โดยวิธีการสำรวจเสนทาง
ถา ยภาพ และสัมภาษณผูเ กี่ยวของในการศึกษา ตรวจสอบขอมูลทไ่ี ดเพื่อจดั เตรยี มทำงานสรา งสรรคในการทำแผนท่ีเสนทาง
ทอ งเทย่ี วเชอื่ มโยงวิถีชวี ิตชมุ ชนใหถกู ตองเพ่อื เผยแพรส สู าธารณชน

เครอื่ งมอื ท่ีใชใ นงาน
1. อุปกรณถ ายภาพ เครือ่ งบันทึกเสียง อปุ กรณค อมพิวเตอรโนต บคุ เพ่ือใชประกอบในการทำงานเก็บภาพและการ
บันทกึ เพอื่ นำขอ มลู มาทำการศึกษาและวิเคราะห
2. ขอมลู จากเอกสาร และศึกษาขอ มูลจากทางอำเภอเกาะจนั ทร จงั หวดั ชลบรุ ี
3. การจัดกิจกรรมสัมมนากลุมชาวบานที่อยูบริเวณรอบอางเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร ที่มีความสัมพันธกัน
ทางดานพ้ืนที่โดยการนำเสนอพ้ืนที่ที่เปนสถานที่นาสนใจและทองเท่ียวในชุมชนใหม และกำหนดตำแหนงสถานท่ีทองเท่ียว
ภายในชุมชนที่มีอยูหรือเคยมีอยูนำมากำหนดตำแหนงลงในแผนที่ เพ่ือใหน ักทองเท่ียวรับทราบขอมูลของชุมชนโดยขอมูลมี
ความเปน ปจ จุบนั
4. แบบประเมนิ สำรวจความคิดเห็น
5. การลงสำรวจพนื้ ทีแ่ ละสถานท่ี เพอ่ื ใหตรงกบั ความตองการของหมบู านในการจัดทำแผนทที่ อ งเทยี่ วชมุ ชน

66

การวิเคราะหความคิดเหน็ ตอ การออกแบบแนวคิดรูปแบบการทอ งเทย่ี วเชอื่ มโยงวถิ ชี วี ิตชุมชนอำเภอเกาะจันทรรอบ
บริเวณ อางเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร จงั หวดั ชลบรุ ี

การเก็บรวบรวมขอมูลโดยใชแบบประเมินสำรวจความคิดเห็นนตอ การออกแบบแนวคิดรูปแบบการทองเท่ียว
เชือ่ มโยงวถิ ีชวี ิตชมุ ชนและสิ่งอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรม ไดผลการศึกษาดังตาราง ตอไปนี้
ตาราง ความคิดเห็นเก่ียวกับ การออกแบบแนวคิดรูปแบบการทองเท่ียวเชื่อมโยงวิถีชวี ิตชุมชนอำเภอเกาะจันทรรอบบริเวณ
อา งเก็บนำ้ คลองหลวงรัชชโลทร จังหวดั ชลบรุ ี

ประเดน็ ความคดิ เหน็ คาเฉลย่ี เลขคณิต การแปลผล

1. รายละเอียดของขอ มลู สถานที่ในการจดั ทำแผนท่ี 4.74 มากที่สดุ

2. การประชาสมั พนั ธขอ มูลแหลงทอ งเท่ยี ว 4.76 มากที่สดุ

3. ลกั ษณะการทอ งเที่ยวการเช่ือมโยงกับวถิ ีชวี ติ ชมุ ชน 4.55 มากทสี่ ดุ

4. การนำเสนอดวยรปู แบบแผนท่ที อ งเทยี่ ว 4.90 มากทส่ี ดุ

5. การนำเสนอดวยรูปแบบการออกแบบซุมขายของและรา น 4.88 มากที่สดุ

จำหนายผลิตภัณฑช มุ ชน OTOP ภายในชุมชนอำเภอเกาะจันทร

6. การปรบั ปรุงภมู ทิ ศั นบรเิ วณจุดชมวิว (Landmark) และจุด 4.98 มากทีส่ ุด

จำหนายสนิ คา ชมุ ชน

7. การปรบั ปรุงภูมิทศั นภ ายในบริเวณชุมชน และสาธารณะ 4.68 มากท่สี ดุ

8. การออกแบบหอ งนำ้ สาธารณะ 4.57 มากทส่ี ดุ

9. การฟน ฟูและการปรับปรุงพ้ืนทก่ี จิ กรรมของชุมชน 4.60 มากท่ีสุด

10. การติดตงั้ ปายบอกตำแหนงจุดนักทองเที่ยวภายในชุมชน 4.96 มากที่สุด

รวม 4.76 มากทสี่ ุด

จากตารางพบวา ระดับความคดิ เหน็ เฉล่ียรวมอยูในระดับมากที่สุด (4.76) เมอ่ื พจิ ารณารายขอพบวา มคี วามคิดเห็น

ระดับมากท่ีสุดท้ังหมด 10 ขอ ทุกขอเรียงตามลำดับจากมากไปหานอยดังน้ี การปรับปรุงภูมิทัศนบริเวณจุดชมวิว

(Landmark) และจุดจำหนายสินคาชุมชน (4.98) การติดต้ังปายบอกตำแหนงจดุ นักทองเท่ียวภายในชุมชน (4.96) การนำเสนอ

ดวยรปู แบบแผนท่ีทองเท่ียว (4.90) การนำเสนอดวยรูปแบบการออกแบบซุมขายของและรานจำหนายผลติ ภัณฑชมุ ชน OTOP

ภายในชุมชนอำเภอเกาะจันทร (4.88) การประชาสัมพันธขอมูลแหลงทองเที่ยว (4.76) รายละเอียดของขอมูลสถานท่ีในการ

จัดทำแผนที่ (4.74) การปรับปรุงภมู ิทัศนภายในบริเวณชมุ ชน และสาธารณะ (4.68) การฟนฟูและการปรับปรงุ พ้ืนที่กิจกรรม

ของชมุ ชน (4.60) การออกแบบหองน้ำสาธารณะ (4.57) ลักษณะการทอ งเทยี่ วการเชือ่ มโยงกับวิถชี วี ิตชุมชน (4.55)

ขอเสนอแนะและความคดิ เห็นเพิม่ เตมิ

- สนบั สนนุ ใหมีการปรับปรงุ ศูนยอาชีพ หรืองานฝมอื ซึ่งสอดคลอ งกับโครงการฯ

- อยากใหจัดทำปาย ขอมูลประชาสมั พนั ธ ตามแหลงสถานที่สำคญั

- อยากใหเ พม่ิ เตมิ การประชาสมั พนั ธขอ มูล

67

3.1 การสำรวจ ศึกษา และเกบ็ รวบรวมขอมลู เบ้อื งตน ในการจดั ทำงานเช่อื มโยงวิถชี วี ิตชุมชนอางเก็บนำ้ คลอง
หลวงรัชชโลทร

ภาพที่ 1 การสำรวจ ศึกษา เก็บรวบรวมขอมลู เบอื้ งตน ในการจดั ทำงาน
ทีม่ า นายชยากร เรืองจำรูญ

68

3.2 การจดั ทำแผนท่ีเสน ทางทองเทีย่ วเช่ือมโยงวิถชี วี ติ ชุมชน ภายในชมุ ชนอำเภอเกาะจันทร

ภาพท่ี 2 การจัดทำแผนที่เช่ือมโยงวิถชี ีวติ ชมุ ชนอางเกบ็ น้ำคลองหลวงรชั ชโลทร
ท่ีมา นายชยากร เรอื งจำรูญ

69

3.3 การจัดทำแผนที่เสนทางทองเท่ียวเช่ือมโยงวิถีชีวิตชุมชน ภายในชุมชนอำเภอเกาะจันทร ในรูปแบบการ
ทำงานทางดา นทัศนศลิ ปเพอื่ ใหเกิดความนาสนใจ

ภาพท่ี 3 รปู แบบการสรา งสรรคแ ผนท่ีเสน ทางเชื่อมโยงวถิ ีชีวติ ชุมชนอา งเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร
ทีม่ า นายชยากร เรืองจำรูญ

3.4 การจัดทำแผนผังเสนอแนะตำแหนงสิ่งอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรม การตั้งซุมขายของ
ตลาด รา นจำหนายผลติ ภณั ฑชุมชน OTOP

ภาพที่ 4 ผงั แสดงแนวทางตำแหนงเสนอแนะในการตงั้ ซุมขายของ ตลาด รานจำหนา ยสินคา ผลิตภัณฑช มุ ชน OTOP
ทม่ี าของภาพโดย นายชยากร เรืองจำรญู

70

3.5 รปู แบบแนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรม ซมุ ขายของและรานจำหนาย
สินคา ผลิตภัณฑข องชมุ ชน OTOP ภายในชุมชนอำเภอเกาะจนั ทร

ภาพที่ 5 แสดงรูปแบบการออกแบบ งานซมุ ขายผลิตภัณฑช มุ ชน
ท่มี าของภาพโดย นายชยากร เรืองจำรูญ

3.6 รูปแบบแนวทางการออกแบบส่ิงอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรม รา นจำหนา ยสินคาผลติ ภัณฑ
ชมุ ชน OTOP อาคารพาณชิ ยข นาด 2 คหู า ภายในชุมชนอำเภอเกาะจนั ทร

ภาพท่ี 6 แสดงรูปแบบการออกแบบรา นจำหนายผลิตภัณฑชมุ ชน ขนาดหอ ง 2 คูหา
ท่ีมาของภาพโดย นายชยากร เรืองจำรญู

71

3.7 รูปแบบแนวทางการออกแบบส่ิงอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรม ตลาดสนิ คาผลิตภัณฑชุมชน
OTOP ภายในชุมชนอำเภอเกาะจนั ทร

ภาพที่ 7 แสดงแนวทางแบบรางการออกแบบตลาดจำหนายผลิตภณั ฑช ุมชน
ทีม่ าของภาพโดย นายชยากร เรืองจำรูญ

72

ภาพที่ 8 แสดงรปู แบบการออกแบบตลาดจำหนายผลติ ภณั ฑช ุมชน
ทมี่ าของภาพโดย นายชยากร เรืองจำรูญ

73

4.การวเิ คราะหผ ลงาน
การศึกษานี้ เพ่ือออกแบบแนวคิดรปู แบบการทองเที่ยวเช่ือมโยงวถิ ชี ีวติ ชุมชนอำเภอเกาะจนั ทร รอบบริเวณอางเก็บ

น้ำ คลองหลวง รัชชโลทร จังหวัดชลบุรี และรูปแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางดานสถาปตยกรรมในพื้นท่ี เพื่อดึงดูด
นักทองเที่ยวและสรางเอกลักษณของพ้ืนที่นี้ ผูศึกษาไดทำแผนที่ทองเท่ียวชุมชน และโครงการออกแบบรานคาชุมชน
กระบวนการทำงานประกอบดวยการสัมมนาโครงการชุมชนทองเท่ียว OTOP จัดทำกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการกลยุทธ
ชุมชนทองเท่ียวเพอ่ื ใหผูนำชุมชน จำนวน 80 คน ไดมีความรูความเขาใจในการดำเนินกิจกรรม และสามารถนำการเชื่อมโยง
เสนทางการทองเทยี่ ว การคน หาอัตลกั ษณเสนหข องชุมชน และการจัดทำโปรแกรมเสนทางทองเที่ยวของชมุ ชน นำไปพฒั นา
ตอ ยอดภายในชุมชน

ผลการทำงานทำอยูในรูปแบบของแผนที่และการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางดานสถาปต ยกรรมสนับสนุน
โครงการ เพ่ือใหก ับชมุ ชนท่ีมีสวนรวมไดนำไปใชในการวางแผนหรือนำไปดำเนินการในการใชพัฒนาหมูบานของแตละชมุ ชน
และเปน การใหบ ริการวชิ าการดานองคค วามรเู กี่ยวกับงานสรางสรรคแ ละออกแบบโดยบรรยายใหชมุ ชนเห็นความสำคัญของ
การทองเท่ียวแบบวิถีชีวิตชุมชน เพ่ือใหเกิดการตระหนักและเห็นถึงการพัฒนา การดูแลรักษาทองถ่ิน การสรางเศรษฐกิจ
ภายในชุมชนท่ีไดจากการเขามาเยือนของนักทองเท่ียว หรือผูคนที่สนใจเขามาศึกษากิจกรรมภายในโครงการของชุมชน ซ่ึง
ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมการทอ งเท่ียวภายในชมุ ชน โดยอาศัยตน ทุนเดิมของตนอยแู ลว นำมาดำเนินการพัฒนาทำใหเกิด
มูลคา ทางเศรษฐกจิ แกช ุมชน

การจัดทำงานสรางสรรคและออกแบบในรูปแบบของแผนท่ีและการออกแบบส่ิงอำนวยความสะดวกทางดาน
สถาปตยกรรมเพื่อใหเกิดพื้นท่ีเชื้อเชิญและรองรับนักทองเท่ียวเปรียบเสมือนเปนตัวเชื่อมและเปนเครื่องมือใชเช่ือมโยงการ
ทอ งเท่ียวของชุมชนเขา กบั พื้นท่ี จำเปนตองทราบพน้ื ทที่ างกายภาพของชมุ ชน และตอ งมคี วามรถู ึงพื้นท่ีของหมบู า นวา มีพืน้ ที่
ใดบางทีเ่ กี่ยวขอ งกัน และภายในพื้นทีช่ ุมชนมีกจิ กรรมของชุมชนท่ีนาสนใจ เพ่ือใชประกอบในการจัดทำแผนทนี่ ำเสนอขอมูล
แนะนำเสนทางสถานท่ีทองเที่ยว แกนกั ทองเท่ียวและผสู นใจท่วั ไป

การทำการศึกษาเพ่ือหาขอมูลคร้ังนี้ได ทำในสวนของการศึกษาจากชุมชนในภาคทองถนิ่ และสวนราชการ รวมท้ัง
กลุมที่สนใจจากการทำกิจกรรมภายในชุมชน โดยนำมากำหนดเสนทางและสถานท่ีสำคัญๆ เพ่ือรองรับการทองเที่ยวใน
ปจจุบันและแนวโนมการจัดการในอนาคต ท่ีอาจจะทำใหวิถีชุมชนมีความเปลี่ยนแปลง คนในชุมชนจะตองมีจิตใจสำนึกถึง
ความเปนชุมชนผูประกอบการ คือ แสวงหาโอกาส ริเร่มิ ศึกษา ติดตามสภาพแวดลอมที่เปล่ียนแปลง และมีการปรับตวั แบบ
ยดื หยุนเพื่อใหก ารทองเทีย่ ววถิ ชี ีวติ ชมุ ชนสามารถประสบความสำเรจ็ และยง่ั ยนื ภายในชมุ ชน

การทำงานพบขอจำกดั และการหาขอ มลู โดยจำแนกเปน ประเด็นดังน้ี
1. ขอมูลทที่ ำการศกึ ษาทเี่ กย่ี วของ ท้ังเอกสาร หนังสอื และงานวจิ ยั มจี ำนวนนอย
2. ระยะเวลาในการทำการศกึ ษามีจำกัด การทอ งเทยี่ ววิถีชวี ิตชมุ ชน มีการปรับเปลยี่ นตามกระแสไดอยางตอ เนอ่ื ง
3. งบประมาณในการพัฒนาหมูบานหรอื ชุมชนมีจำกัด การทำงานตองเปนไปตามกรอบของหนว ยงานของรัฐซ่ึงไม
ทนั ตอ การพัฒนาภายในชมุ ชน

74

5.สรุป
การศึกษาและการสรา งสรรคแ ละงานออกแบบการทองเท่ียวเช่ือมโยงวิถชี ีวิตชุมชนบรเิ วณอางเก็บน้ำ คลองหลวง

รัชชโลทร ชุมชนควรใหค วามสำคัญถงึ การตรวจสอบและการสำรวจถึงความตอ งการของผทู ี่ตองการเขา มาทองเทย่ี วควรมีการ
ดำเนินกจิ การอยางระมดั ระวงั ในเร่อื งตาง ๆ โดยเฉพาะดา นความปลอดภยั แกนกั ทอ งเทย่ี ว

“การทองเทีย่ ววิถีชีวิตชุมชน” สามารถเปนเครื่องมือในการพัฒนา โดยใชก ารทองเที่ยวเปน เงอื่ นไขและสรางโอกาส
ใหชุมชนเขามามีบทบาทสำคัญในการวางแผนทิศทางการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอยางย่ิงในชุมชนท่ีมีแนวโนมวาการ
ทองเท่ยี วจะรกุ คืบเขาไปถึง หรอื ตอ งการเปดเผยชมุ ชนของตนใหเปน ท่ีรูจกั ในวงกวาง ใหมกี ารสรา งใหเกดิ กระบวนการเรียนรู
เกี่ยวกับการวางแผน การบริหารจัดการทรัพยากรและกระจายอำนาจการตัดสินใจโดยเนนความสำคัญของการจัดการ
ธรรมชาติแวดลอ มและใชก ารทองเท่ยี วเปนเคร่ืองมือในการพัฒนาชมุ ชนไปพรอ มกัน

6.เอกสารอางอิง
กฤติยา จักรสาร. การสงเสริมความรูพื้นฐานดานพฤกษศาสตรใหแกมัคคุเทศกและนักทองเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณคา

ทางการทองเที่ยว. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม, 2545.
เจิมศักดิ์ ปนทอง. การมีสวนรวมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ, 2527.
ฉันทัช วรรณถนอม. การวางแผนและการจัดนำเที่ยว. กรงุ เทพฯ: หา งหุนสวนจำกัด สามลดา, 2552.
ชุติมา รุนประพันธ. การศึกษาแนวทางการพัฒนาการทองเที่ยวเชิงอนุรักษในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด

ฉะเชงิ เทรา. สารนพิ นธปรญิ ญามหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
ชุมพล รอดแจม. เสนทางการทองเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัยไดรับ

ทนุ อดุ หนนุ การวิจัยจากวทิ ยาลยั ราชพฤกษ, 2555.
ชูวิทย ศิริโชคเวชกุล. การทองเท่ียวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2544.
ณรงค เพ็ชรประเสริฐ. ธุรกิจชุมชน : เสนทางที่เปนไปได. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2542.
ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ ทองคำนุช. การมีสวนรวมของชุมชนในการจัดการทองเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนใน

ตลาดรอยปสามชุกอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานวิจัย สวพ. มทร.สุวรรณภูมิ, 2556.
ทองเจือ เขียดทอง. การออกแบบสัญลักษณ. กรุงเทพฯ: สิปประภา, 2542.
ไทยรัฐออนไลน. อางเก็บน้ำคลองหลวงฯ อีกตำนาน...น้ำใหชีวิต. เขาถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561. เขาถึงไดจาก

http://www.thairath.co.th/content/571576
บุญเลิศ จิตต้ังวัฒนา. การพัฒนาการทองเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด ดีไซน, 2548 ก.
__________. ระเบียบวิจัยทางการทอ งเทย่ี ว. (พิมพครง้ั ท่ี 2). กรงุ เทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2551.
ผองศรี จั่นหาว. การทำแผนที่หมูบาน ตำบลแปลงยาว อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานการวิจัย:

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2531
พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตโต). การพัฒนาท่ีย่ังยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธรรม, 2541

75

พัชรินทร เสริมการดี และธีระ สุภเพียร. เสนทางการทองเที่ยวชุมชน: สินคาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ (OTOP)ใน
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ,
2558.

พุทธชาต สุวรรณ. โครงการศึกษาเสนทางการทองเที่ยวเชิงอนุรักษเกาะเกร็ด. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขา
ออกแบบชุมชนเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.

รัชฎาพร พินิจนารถ และพิชชญะ หาสุข . โครงการอางเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดชลบุรี. สำนักงานกอสรางชลประทานขนาดใหญที่ 8 สำนักพัฒนาแหลงน้ำขนาดใหญกรม
ชลประทาน.เขาถึงเม่ือวันท่ี 15 มีนาคม 2561. เขาถงึ ไดจาก
http://kromchol.rid.go.th/lproject/lsp08/2014/index.php/example-pages/29-klong-iuang

วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ. ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการทองเที่ยวตอประชาชนในพ้ืนท่ีตำบลแมแรม
อำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม. เชียงใหม: รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแมโจ, 2547

สถาบันการทองเที่ยวโดยชุมชน. โครงการทองเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติการทองเที่ยวโดยชุมชน (Community –
based tourism), 2540. เขาถึงไดจาก cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -
2564): สำนักนโยบายและยุทธศาสตร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุถี เสริฐศรี. แนวทางการจัดการทองเที่ยวอยางยั่งยืนในชุมชนคลองโคน. วิทยานิพนธศิลปศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการทองเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557.

Fliphtml5. ที่ระลึก พิธีเปดโครงการอางเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ. เขา ถงึ เม่ือวันท่ี 15
มนี าคม 2561. เขาถึงไดจ าก http://fliphtml5.com/gwsb/egsu/basic

Google Maps. อ า ง เก ็บ น ้ำ ค ล อ ง ห ล ว ง ร ัช ช โ ล ท ร . เข าถึ งเม่ื อ วั น ท่ี 7 มิ ถุ น า ย น 2561. เข าถึ งได จ าก
https://www.google.com/maps/@13.3543566,101.3610074,21164m/data=!3m1!1e3

Pantip. อางเก็บ น้ำคล อ งห ล ว งรัชชโล ท ร ส ำห รับ นักปน. เขาถึงเม่ือวันท่ี 13 มีนาคม 2561. เขาถึงไดจาก
https://www.youtube.com/watch?v=TDu_2paGjoQ

Youtube. อางเก็บน้ำคลองหลวงรัชชโลทร อำเภอเกาะจันทร จังหวัดชลบุรี. เขาถึงเม่ือวนั ท่ี 13 มนี าคม 2561. เขา ถึงได
จาก https://www.youtube.com/watch?v=TDu_2paGjoQ

76

การออกแบบหนังสอื การต ูนเพอื่ ประชาสมั พนั ธห ลกั สูตรของสาขาคอมพวิ เตอรแ อนเิ มชนั
และวชิ วลเอฟเฟกต คณะดิจทิ ัลมเี ดีย มหาวิทยาลัยศรปี ทมุ

Creating a Comic Book as a Promotional Media for Department of Animation and Visual
Effect, School of Digital Media, Sripatum University
ผชู วยศาสตราจารย วรากร ใชเทียมวงศ* (MA)1
1 อาจารยป ระจำตำแหนง สาขาคอมพวิ เตอรแ อนเิ มชันและวิชวลเอฟเฟกต
คณะดจิ ิทัลมเี ดีย มหาวทิ ยาลยั ศรปี ทุม E-mail [email protected]

บทคัดยอ

การประชาสัมพันธหลกั สตู รเปนสวนหนงึ่ ทีส่ ำคัญของการรบั สมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนโดยมีหนวยงาน
ผรู บั ผดิ ชอบดานการประชาสัมพนั ธภ ายในมหาวิทยาลัยเปนผูจดั ทำ แตเนือ่ งจากคณะในมหาวทิ ยาลัยมีความหลากหลายทำให
การใชสือ่ ประชาสัมพันธข องมหาวิทยาลยั เพียงอยางเดียวอาจจะไมส ามารถสื่อสารกับกลุมเปาหมายของแตละคณะไดตรงจุด
จงึ เปน ท่ีมาของการออกแบบหนังสอื การตูนประชาสัมพันธหลักสตู รของสาขาคอมพิวเตอรแ อนิเมชันและวชิ วลเอฟเฟกต เร่ือง
“มาเปน เด็ก AFX กันเหอะ” ซ่งึ มวี ตั ถุประสงคหลกั เพือ่ เผยแพรขอมูลเกี่ยวกับโครงสรางหลกั สตู ร รายละเอียดของรายวิชาใน
หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน โดยมีการศึกษาวิเคราะหพฤติกรรมผูบริโภคของกลุมเปาหมาย แนวคิดทฤษฎีท่ี
เกี่ยวของกับการผลิตสื่อประชาสัมพนั ธ การสื่อสารการตลาดผานการเลาเรื่อง (Storytelling) และวิธีการผลิตสื่อในรปู แบบ
หนังสือการตูน รวมถึงงานวิจัยที่เกีย่ วของ จนกระทั่งไดผลสรปุ ออกมาเปนแนวทางสำหรบั ออกแบบสือ่ ดวยการใชตัวการตนู
นำเสนอขอมลู ของหลักสตู รผานภาพประกอบพรอมคำพดู อธิบายในรูปแบบหนังสือการตนู ขนาด A5 เมอ่ื จัดทำแลวมกี ารนำไป
เผยแพรทั้งในรปู แบบสื่อสงิ่ พิมพและส่อื ออนไลน หลังจากนน้ั ไดม กี ารประเมนิ ผลสอ่ื ดังกลาวพบวา ดานความเขาใจในเนื้อหา
หลักสูตรและดานความนาสนใจของสื่อมีผลประเมินอยูในระดับดีมาก สามารถสรางความผูกพันกับแบรนดดวยการสราง
ความรูสกึ ประทับใจและมีสวนรว มในการตัดสินใจเลอื กเรียนในระดับดีมาก อกี ทง้ั ยังเขา ถงึ การสอื่ สารกบั กลุมเปาหมายหลักท่ี
เปน นักเรยี นมธั ยมปลายผานทางชองทางออนไลนไ ดอยา งมีประสทิ ธิภาพอีกดวย

คำสำคัญ: หนังสือการต ูน สอ่ื ประชาสมั พันธ การเลาเร่ือง

ABSTRACT

Public relations is an essential part of the admissions process for private universities and is created by an
office of public relations at each university. However, universities have many programs to serve the interests of the
various target groups. Using only the university's promotional media may not be able to reach the target group of
each program directly. That is the objective of the creation of a comic book to promote the BFA in Computer
Animation and Visual Effects at the School of Digital Media, "Let's Be an AFX Student." This promotional media is
focused on communicating information about the curriculum structure, program of study, course description, and
course outline. The study analyzes the consumer behavior of the target group, theories and concepts of public
relations media production, marketing communication through storytelling, and comic book production, including

77

related research. Then the conclusion came out as a guideline for a promotional media design by using cartoon
characters to present the curriculum information in the form of illustrations and text in an A5-sized comic book.
Once the production had been completed, it was published in both printed and digital formats. After publishing,
the comic book "Let's Be an AFX Student" was evaluated. The results show that the understanding of content in
this promotional media was at a high level and that the target group also had a high interest in the media. Moreover,
the media can build strong brand engagement by creating a very good impression of the program and helping in
the decision-making on selecting the program. This promotional media also has effective communication with the
target group, who are high school students.

KEYWORDS: Comic book, Promotional media, Storytelling

บทนำ
มหาวิทยาลัยเอกชนของประเทศไทยในปจจุบันมีทั้งหมด 40 แหง (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เลมที่ 38,

2542) จัดเปนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เปดสอนระดับปริญญาตรีและ/หรือระดับบัณฑิตศึกษามีวัตถุประสงคในการจัด
การศึกษา การวจิ ยั การใหบริการทางวชิ าการแกส ังคม และการทำนุบำรงุ ศลิ ปวฒั นธรรม (พงษพ ิลัย, 2548) ภายใตก ารกำกับ
ดแู ลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา กระทรวงการอุดมศึกษา วทิ ยาศาสตร วจิ ัยและนวตั กรรม (อว.) มหาวิทยาลัย
เอกชนมกี ารบริหารจดั การโดยหนวยงานเอกชนและรายไดหลักมาจากคาหนวยกิตของนักศกึ ษา ดังน้ันการรับสมัครนักศึกษา
จงึ เปนสงิ่ ทม่ี หาวิทยาลยั เอกชนใหค วามสำคญั ไมตา งจากการจดั การเรยี นการสอน การวิจัย การใหบรกิ ารทางวิชาการแกสังคม
และการทำนบุ ำรุง ศลิ ปวฒั นธรรม

การรบั สมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนน้ันไมไดมเี พยี งระบบการรบั สมัครนักศึกษาเพียงอยางเดียว ยังรวมถึง
การประชาสัมพันธหลักสูตรเพื่อเผยแพรขอมูลเกี่ยวกับโครงสรางหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชาในหลักสูตร และการ
จัดการเรียนการสอน รวมถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนรูตางๆ ของแตละแหงใหแกผูที่สนใจเขาศึกษาตอในระดับอุดมศึกษาใช
ประกอบการตัดสนิ ใจเลือกมหาวิทยาลัย หลกั สตู รหรอื หนว ยงานผรู บั ผิดชอบภายในมหาวิทยาลัยเอกชนจะนำขอมูลดังกลาว
ไปจัดทำสื่อประชาสัมพันธทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพและสือ่ แบบออนไลนตามแนวทางท่ีวางไวในแผนการประชาสมั พันธของ
มหาวิทยาลัยแตล ะแหง สื่อประชาสัมพันธห ลักสูตรของมหาวิทยาลัยเอกชนในรปู แบบของสื่อส่ิงพิมพแ ละสื่อแบบออนไลนท ี่
มักจะพบเห็นเปนประจำ เชน แผนพับ (Brochure) เอกสารแนะนำ (Booklet) เว็บไซต (Website) เปนตน นอกจากนี้ยังมี
การนำเนอื้ หาจากสื่อสงิ่ พมิ พแ ละสื่อแบบออนไลนไ ปดัดแปลงเพื่อเผยแพรผา นชองทางส่ือโซเชียลมีเดียเพมิ่ เติมอีกดวย เนื้อหา
สวนใหญที่ใชในสื่อทั้ง 2 ประเภทอยูในรูปแบบของขอความ ภาพประกอบและองคประกอบกราฟกที่มีการจัดวางอยาง
เหมาะสมเพื่อสื่อสารกับกลุมเปาหมายของแตละมหาวิทยาลัยโดยมีหนวยงานผูรับผิดชอบดานการประชาสัมพันธภายใน
มหาวิทยาลัยเปนผูจัดทำตามแนวทางของแผนกลยุทธทางการตลาดซึ่งจะมีการวางแผนศึกษาหาขอมูลและกำหนด
กลมุ เปาหมายในภาพรวมของมหาวิทยาลยั แตเ นื่องจากภายในมหาวิทยาลัยประกอบดวยกลมุ คณะทม่ี ีความหลากหลายดาน
สาขาวชิ าชพี จึงทำใหกลมุ เปา หมายทม่ี คี วามสนใจเขาศกึ ษาตอในแตล ะคณะมคี วามชอบ ความถนดั และบคุ ลิกภาพแตกตางกัน
การใชสื่อประชาสัมพนั ธข องมหาวิทยาลัยเพยี งอยา งเดียวอาจจะไมส ามารถสอ่ื สารกบั กลมุ เปา หมายของแตล ะคณะไดตรงจุด

ดวยเหตนุ ี้จงึ ทำใหผ ูวจิ ัยสนใจจดั ทำสื่อประชาสัมพันธหลกั สูตรของสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต
ของคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุมประจำปการศึกษา 2560 โดยมีการศึกษาทำความเขาใจพฤติกรรมของ
กลุมเปา หมายเพ่ือวางแผนออกแบบจัดทำสื่อประชาสัมพันธท่มี ีความเฉพาะเจาะจง สามารถสื่อสารและเขาถึงกลุมเปาหมาย
ของตนเองไดอ ยา งทัว่ ถงึ

78

วิธีการดำเนนิ การสรางสรรค
ในการสรางสรรคผ ลงานออกแบบหนังสือการตนู เพื่อประชาสัมพันธห ลักสตู รของสาขาคอมพิวเตอรแอนเิ มชันและ

วิชวลเอฟเฟกต เรื่อง “มาเปนเด็ก AFX กันเหอะ” เรื่องนี้สามารถแบงขั้นตอนในการทำงานออกเปน 3 ขั้นตอนตามลำดับ
ไดแก การศกึ ษาและรวบรวมขอ มลู การรา งภาพตน แบบ และการสรางสรรคผลงานจริง

1.ศึกษาและรวบรวมขอมูล ขั้นตอนนี้เปนการศึกษากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะหพฤติกรรม
ผูบรโิ ภค การผลิตสือ่ ประชาสัมพนั ธและการวางแผนการใชส่ือ รวมถึงงานวจิ ัยที่เกี่ยวของกบั การใชการตูนสำหรับส่ือสารกบั
กลุมเปาหมาย เพื่อนำมาใชในเปนแนวทางขั้นเบื้องตนสำหรบั การวิเคราะหขอมลู กอนนำไปประยุกตใชก ับการออกแบบส่อื
ประชาสมั พันธข องสาขา

1.1 ทฤษฎกี ารวเิ คราะหพฤตกิ รรมผูบรโิ ภค เริ่มตนจากการศึกษาขอ มูลเก่ียวกบั ผูที่สนใจเขาศึกษาตอใน
สาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต คณะดิจิทัลมเี ดีย มหาวิทยาลัยศรปี ทุม ซึ่งเปนกลุมเปา หมายดวยการสรา ง
แบบสอบถามอางอิงจากทฤษฎีการวิเคราะหพฤติกรรมผูบริโภคโดยการใชคำถาม 7 คำถาม (6W1H) ของ Philip Kotler
(1977) เพื่อเก็บขอมูลจากนักศึกษาปจจุบันของคณะดิจิทลั มีเดียที่กำลังศึกษาอยู ผูวิจัยสามารถสรุปผลจากแบบสอบถาม
ตามลำดับไดดังน้ี

Who นักศึกษาคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุมสวนใหญเปนผูชาย (66%) จบการศึกษาจาก
ระดับชั้นมัธยมปลาย (56%) เปนโรงเรียนในกรุงเทพฯและปริมณฑล (53%) มีเพื่อนหรือพี่นองหรือญาติกำลังศึกษาอยูใน
มหาวทิ ยาลยั ศรีปทุม (46%)

What เลือกเรยี นสาขาคอมพวิ เตอรแ อนเิ มชนั และวชิ วลเอฟเฟกต (18%)
Where ใชช องทางในการรับขาวสารผานเวบ็ ไซต (26%) และโซเชยี ลมีเดยี (24%)
Why เลอื กเรยี นจากความทนั สมยั (31%) และทำเลทต่ี ง้ั (23%) ของมหาวทิ ยาลยั
When สมคั รเรยี นผา นการรับสมัครออนไลน (64%)
Whom เปนการตดั สนิ ใจเลือกเรียนดว ยตัวเอง (61%)
How รูจ กั คณะดจิ ทิ ลั มเี ดยี จากการบอกตอ (29%) และเฟซบคุ (21%)
จากการวิเคราะหขอมูลดังกลาว ผูวิจัยพบวากลุมเปาหมายของสื่อประชาสัมพันธหลักสูตรของสาขาคอมพิวเตอร
แอนิเมชนั และวิชวลเอฟเฟกต มอี ายรุ ะหวา ง 16-18 ป ซงึ่ จัดอยูในกลุมผูบ ริโภค Gen Z ชอบการเรียนรูสงิ่ ใหมท่ีเนนการรับรู
จากประสบการณมากกวา ผลติ ภัณฑ ไมช อบขอมลู ทน่ี าเบือ่ ชอบส่ือในรปู แบบวดี โี อ (Topten, 2560) มกี ารใชง านอนิ เทอรเนต็
มากเปน อนั ดับสองรองจาก Gen Y โดยใชเ วลาไปกบั กจิ กรรมออนไลน เชน การใชง านโซเชียลมเี ดยี การคนหาขอมูล การอาน
บทความและรับขา วสาร การเลน เกม ตลอดจนการรบั ชมส่ือบนั เทิงตา งๆ (สำนกั งานพัฒนาธรุ กรรมทางอเิ ล็กทรอนิกส, 2560)
นอกจากนี้ยังพบวากลุมเปาหมายที่สนใจเขาศึกษาตอในสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกตมีความชื่นชอบ
เก่ยี วกบั การต ูน แอนเิ มชนั ภาพยนตรแ ละเกมเปนพเิ ศษอกี ดวย
1.2 ทฤษฎีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ พลอยชนก (2558) ไดกลาวถึงการวางแผนการผลิตสื่อเพื่อการ
ประชาสัมพนั ธวามีส่ิงทต่ี องกำหนด 5 ประการดว ยกัน ไดแก วัตถปุ ระสงค (Objective) กลุม เปา หมาย (Target Audience)
หวั ขอ เรื่อง (Title) ระยะเวลา (Timing) และงบประมาณ (Budgeting) ซงึ่ วตั ถุประสงคส ำคัญของการจัดทำส่อื ประชาสัมพันธ

79

หลักสตู รทีก่ ำหนดไวคือ เพื่อเผยแพรขอ มูลเกีย่ วกับโครงสรางหลักสตู ร รายละเอียดของรายวิชาในหลกั สูตร และการจัดการ
เรียนการสอน รวมถึงสิ่งสนับสนุนการเรียนรูใหแกกลุมเปาหมายไดรับรู เมื่อพิจารณาสื่อประชาสัมพันธหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยทั้งสื่อสิง่ พมิ พและสื่อออนไลนที่ใชในปจจุบนั แลว พบวายังไมส ามารถสือ่ สารกับกลุม เปาหมายของสาขาไดต รง
ตามวัตถุประสงคที่ตั้งไวเทาที่ควร เนื่องจากเนื้อหาสวนใหญเปนขอความแนะนำหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งหมดของ
มหาวทิ ยาลัยศรปี ทุมในภาพรวม จดั วางประกอบกับภาพผลงานนกั ศกึ ษาและภาพศษิ ยเกาหรือศิษยป จ จบุ ัน ถงึ แมจ ะมีการจัด
วางองคป ระกอบกราฟก ที่สวยงามนาอานแตข อ มลู ที่กลมุ เปาหมายไดร บั จากแผนพบั หรือเอกสารแนะนำดังกลาวยังไมเพียงพอ
ตอ การตัดสนิ ใจ สงั เกตไดจ ากคำถามเชงิ ลกึ เก่ียวกบั รายละเอยี ดของการเรยี นการสอนในสาขาท่ีอาจารยป ระจำสาขามักจะพบ
เปนประจำ เชน สาขาน้ีเรยี นอะไรบางในแตละชัน้ ป แอนเิ มชนั และวชิ วลเอฟเฟกตเรียนตางกนั อยางไร ถาไมมีพ้นื ฐานดานการ
วาดรปู จะเรยี นไดหรอื ไม เปนตน นอกจากนย้ี ังพบวา ขอมลู ของหลกั สูตรในเว็บไซตของมหาวิทยาลัยมีรายละเอียดที่ครบถวน
ครอบคลมุ คำตอบสำหรบั คำถามดังกลาวขา งตน แตเนอ้ื หาในรูปแบบคำบรรยายเพียงอยา งเดยี วทำใหขาดความนา สนใจ อีกทั้ง
การใชภาษาแบบทางการยากแกการทำความเขาใจของนักเรียนในระดับมัธยมปลาย จึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอขอมูล
ของหลักสูตรใหสอดคลองกับพฤติกรรมของกลุมผูบริโภค Gen Z ที่เนนการรับรูจากประสบการณม ากกวา ผลติ ภัณฑแ ละไม
ชอบการนำเสนอขอ มลู ที่นาเบ่ือ

1.3 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนการใชสื่อ (วจนะ ภูผานี, 2555) กลาววา การวางแผนการใชสื่อ คือ
การวางแนวทางสำหรับการเลือกใชสื่อท่ีออกแบบใหสอดคลองกับวัตถุประสงคและกลยุทธของการใชส ือ่ โดยมีขัน้ ตอนเรียง
ตามลำดับดงั นี้ 1) วิเคราะหสถานการณ 2) กำหนดกลยุทธการตลาด 3) กำหนดกลยุทธสำหรับโฆษณา 4) กำหนดเปาหมาย
ทางการสื่อสาร 5) กำหนดกลยุทธใ นการเลือกซ้ือสือ่ 6) เลือกประเภทของส่อื จากการศึกษาขอมลู เก่ียวกบั การวางแผนและกล
ยทุ ธส ื่อโฆษณาประกอบกับการวิเคราะหขอมลู ของกลุมเปาหมายซง่ึ จัดอยูในกลุมผูบริโภค Gen Z ทีม่ กี ารใชงานอินเทอรเน็ต
เพ่ือกิจกรรมออนไลนมากเปนพิเศษแลว จึงควรเลอื กใชว ธิ กี ารประชาสมั พันธขอมลู หลักสูตรดวยกลยุทธการตลาดแบบดิจิทัล
นำส่ือประชาสมั พันธลงบนแพลตฟอรม ออนไลนและสื่อสารผา นชอ งทางโซเชียลมเี ดีย พรอมกับการวางแผนสำหรับการซื้อสื่อ
โฆษณาออนไลน โดยทั้งหมดนี้ควรมีการคำนึงถงึ การเลือกแพลตฟอรมที่เหมาะสมกับกลุม เปาหมายที่มคี วามชืน่ ชอบการตูน
แอนเิ มชัน ภาพยนตรและเกมเปนพิเศษ

1.4 งานวิจัยทเี่ กย่ี วของ จากการศึกษาผลของงานวจิ ัยท่ีเก่ียวของกับการนำการตนู ไปใชเพื่อสื่อสารดาน
การตลาดและการสรา งสอื่ ประชาสมั พนั ธ สามารถสรปุ ผลการวิจยั ทไี่ ดศึกษามาทั้งหมดดังนี้

เธียรทศ ประพฤติชอบ (2558) ทำการศึกษาวิธีการนำตัวการตูนมาใชประโยชนเพื่อสื่อสารการตลาดผานการเลา
เรื่อง (Storytelling) โดยใหความสำคัญกับการสราง Engagement ดวยการประยุกตใชทฤษฏีทางการสื่อสารเพื่ออธิบาย
ปรากฏการณท ่ีเกิดข้ึนและไดพบวา “การต ูน” ถอื เปนเครอ่ื งมือทางการตลาดในการสราง Brand Engagement ท่ีมี แบรนด
เปนจดุ เชื่อมตอของการสรา งความผกู พันธก ับลูกคาหรือผบู รโิ ภคดวยการตลาดเชงิ Experience Marketing เพื่อสรางโอกาส
การไดส ัมผัสประสบการณท่ีนาประทับใจใหแกล กู คาหรือผบู รโิ ภค เม่อื ลกู คา หรือผูบริโภค มปี ระสบการณที่ดียอมจะเกิดการ
บอกตอ นอกจากนั้น “การตูน” ยังเปนเครื่องมือการส่ือสารประเภท Entertainment Content ที่ผสมผสานเทคนคิ การเลา
เรื่อง (Storytelling) ซึ่งถือเปนรูปแบบการสือ่ สารที่สอดคลองกับพฤตกิ รรมการบรโิ ภคสื่อของคนรุน ใหม และหากออกแบบ
การตูนใหด ีมเี ร่ืองราวจะสามารถสงเสรมิ Engagement ใหกับผลติ ภณั ฑหรือบรกิ ารอกี ทางหน่งึ ดวย

80

กิจติพงษ ประชาชิต (2559) ไดศีกษาการออกแบบและพัฒนาหนังสือการตูนเรือ่ งศรีพฤทเธศวร เพื่อสงเสริมการ
เรียนรูดา นวัฒนธรรม ประเภทมุขปาฐะของนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ พบวากลุม ตัวอยางมีความพึงพอใจใน
คุณภาพการออกแบบหนังสือการตูนเรื่องศรีพฤทเธศวรดานเนื้อหา ที่ทำใหเกิดการรับรูดานวัฒนธรรมของชาวศรีสะเกษ
ประเภทมขุ ปาฐะและความสอดคลองของเน้ือหากับภาพประกอบ ซ่งึ สอดคลอ งกบั งานวิจยั ของรัฐพงศ พิสฐิ สุขสริ ิ (2552) ที่
กลาวถึงการทำงานรวมระหวางภาพกับภาษาในหนังสือภาพประกอบสำหรับเยาวชนเพื่อการออกแบบแอนิเมชันไววา
ภาพประกอบเปนองคประกอบสำคัญอยางหนึ่งสำหรับสื่อสิ่งพิมพ ภาพประกอบในหนังสอื จะมีชีวิตชีวาและมีความหมายก็
ตอ เมื่อมีภาพประกอบน้ันไดทำหนา ทใ่ี นการสง เสริม สนบั สนนุ หรือสรางเน้ือหาท่ีเกินเลยจากตัวอกั ษร ซ่ึงแตกตางจากหนังสือ
การตูนชองทภ่ี าพจะทำงานเปน หลักและใหต วั อักษรทำหนา ท่ีสนบั สนนุ

ภัทรศักดิ์ สิมโฮง จตุรงค เลาหะเพ็ญแสง และอุดมศักดิ์ สาริบุตร (2553) ศึกษาการออกแบบพัฒนาสื่อ
ประชาสมั พนั ธเพื่อการปอ งกันและบรรเทาภยั พิบัตใิ นสภาวะฉกุ เฉินสำหรบั นกั เรยี นในระดับมัธยมศกึ ษา พบวากลุมตัวอยางมี
ความสนใจในรปู แบบการนำเสนอภาพประกอบประเภทภาพวาดการตูนอยใู นระดบั มาก จงึ ไดน ำผลการวจิ ัยนีม้ าออกแบบตัว
ละคร โดยแบงประเภทของเนื้อหาตามเรื่องของภยั พบิ ัติตางๆ ไดแ ก วาตภัย อุทกภัย แผน ดนิ ไหว แผน ดินถลม และคลื่นยักษ
(สนึ ามิ) มาสรา งเปนตวั ละคร ดนิ น้ํา ลม ไฟ และไดสรางบุคลิกลักษณะของตัวละครใหเหมาะสมกับกลุมตัวอยาง เพื่อใหงาย
ตอการจดจำและยงั สามารถดงึ ดดู ความสนใจของกลมุ ตัวอยา งไดเ ปนอยา งดี

กลุมตัวอยางยงั มีความสนใจในรูปแบบของตัวอักษรทางการแบบมีหัวเพราะอานงาย เหมาะกับเนื้อหาทีใ่ หความรู
ในทางวิชาการ และรองลงมายังสนใจในรูปแบบตัวอักษรเขียนแบบไมมีหัวเพราะมีความนาสนใจ ดึงดูดนาอาน ดูไมเปน
ทางการ นอกจากนี้การใชรูปเลมขนาด A5 ที่งายตอการพกพา การเขาถึงขอ มูล ลดการใชกระดาษซึง่ มีสวนชว ยในการกำหนด
ราคาและคุณภาพของส่ิงพมิ พ รวมถึงยังมีการสอดแทรกเรื่องสีที่ใชในการเตือนภัยกับส่ือประชาสมั พันธการใหความรู ซึ่งจะ
ชวยในการจดจำไดด ีมากยิง่ ข้นึ อีกดวย

จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวของกับพฤติกรรมผูบริโภคและการผลิตสื่อประชาสัมพันธควบคูไปกับ
ผลงานวจิ ยั ท่เี กีย่ วของกับการออกแบบพัฒนาสื่อในรปู แบบหนงั สือการต ูนและการนำตัวการตูนไปใชส อื่ สารทางการตลาดน้ัน
ผวู จิ ยั สามารถสรุปเปน แนวทางเบื้องตนสำหรับออกแบบสอ่ื ประชาสมั พันธห ลกั สูตรของสาขาคอมพวิ เตอรแอนิเมชันและวิชวล
เอฟเฟกตไ ดดวยการนำเน้ือหาและขอมลู ของหลักสูตรมาเรียบเรียงนำเสนอใหมเพื่อใชสื่อสารกบั กลุมเปาหมายดวยการใชตัว
การตนู ซ่งึ เปนเคร่ืองมือการสือ่ สารท่มี เี นือ้ หาประเภทสรา งความบันเทิง (Entertainment Content) ผสมผสานกับเทคนิคการ
เลาเรือ่ ง (Storytelling) ผา นสื่อประชาสัมพันธท ี่มภี าพประกอบพรอมตัวอักษรอธิบายในรูปแบบหนงั สือการตนู ขนาด A5 ที่มี
ขนาดพอเหมาะ ดูไมเปนทางการสรางความนา สนใจและดึงดูดใหอยากอาน รวมถึงการวางแผนการใชส ื่อเพ่ือเผยแพรแบบ
ออนไลนเปนหลัก นาจะเปนรูปแบบการสื่อสารที่สอดคลองกับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนมัธยมปลายที่เปน
กลุมเปาหมาย Gen Z ตลอดจนสามารถสงเสริมความผูกพนั กับแบรนด (Engagement) ใหกับสาขาคอมพิวเตอรแ อนิเมชัน
และวชิ วลเอฟเฟกตไดอกี ทางหนงึ่

2. การรา งภาพตน แบบ เมื่อไดแนวทางเบอ้ื งตนสำหรับการออกแบบจากขน้ั ตอนการศกึ ษาและรวบรวมขอมูลแลว
ขั้นตอนตอไปของการรางภาพตนแบบคอื เขียนบท ออกแบบตวั ละครและออกแบบสตอร่บี อรด สำหรับใชในสอื่ ประชาสัมพนั ธ
ของหลักสูตร และในขั้นตอนการรางภาพตนแบบน้ียังไดมีการกำหนดอารมณภาพของงาน (Mood & Tone) ใหมีความเปน

81

กนั เองเหมือนรนุ พเ่ี ลา ใหร นุ นอ งฟง ท้งั ในเร่อื งของการใชภ าพและภาษา เพื่อถายทอดเร่ืองราวใหเขาถึงกลมุ เปาหมายไดอยาง
เหมาะสม โดยมีรายละเอยี ดของการทำงานดงั นี้

2.1 เขยี นบท รวบรวมขอ มลู เกี่ยวกับรายละเอียดของหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอรแ อนิเมชันและวิชวลเอฟ
เฟกตป ระจำปก ารศกึ ษา 2560 จากเอกสารมคอ.2 แผนการเรียน 4 ป คำอธบิ ายรายวิชา ผลงานนกั ศกึ ษาและขอมลู ท่ีใชใ นสื่อ
ประชาสัมพันธของมหาวิทยาลัย รวมถึงคำถามที่พบบอยจากการสัมภาษณหัวหนาสาขาและอาจารยประจำสาขา ขอมูล
ดังกลาวจะถูกนำมาคัดเลือกแลวเรียบเรียงเพื่อสรางเนื้อหาโดยคำนึงถึงความสอดคลองกับวัตถุประสงคของการออกแบบท่ี
ตองการใหขอมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและสื่อสารใหกลุมเปาหมายรูจักสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต คณะ
ดจิ ิทัลมเี ดยี มหาวิทยาลยั ศรปี ทมุ รวมถงึ สรางความรสู กึ ประทับใจท่ีมผี ลตอการตัดสินใจเขาศกึ ษาตอ จึงเปนท่ีมาของการต้ัง
ชอื่ เรอื่ ง “มาเปน เดก็ AFX กนั เหอะ”

หลังจากนั้นผูวิจัยนำเนื้อหาทั้งหมดที่ไดผานการตรวจสอบความถูกตองจากหวั หนาสาขามาใชวางโครงเรื่องแบบ
Arch Plot หรือ Classical Design ทมี่ ีรูปแบบการดำเนินเร่ืองตามลำดบั เวลาตงั้ แตตอนเริ่มตนเร่ือง (Beginning) จนจบเร่ือง
(Ending) (นิวฒั น ศรสี ัมมาชีพ, 2552) โครงเรื่องเร่ิมตนดว ยการแนะนำคณะ สาขาและกลุมวิชาชพี เลือกทงั้ 2 กลุม ไดแก กลุม
แอนมิ ชนั และกลมุ วชิ วลเอฟเฟกต ลำดับตอ มาคอื รายละเอียดเก่ียวกับรายวิชาท่ีเรียนในแตละชนั้ ปวา มีวชิ าอะไรบา งและแสดง
ใหเห็นภาพของการเรียนการสอนวิชานั้น รวมถึงความแตกตางของรายวิชาในกลุมวิชาชีพเลือกของเรียนกลุมแอนิมชันและ
กลุมวิชวลเอฟเฟกต เลาเรื่องการเรียนในสาขาตั้งแตชั้นปที่ 1 ถึงชั้นปที่ ป 4 ตามลำดับ ซึ่งจะใชการดำเนินเรื่องโดย
เปรียบเทียบการเรียนในแตล ะชัน้ ปเหมือนกบั การเลมเกมออนไลนทีต่ องมีการอัพเลเวลฝก ฝมือใหชำนาญเพ่ือเลือ่ นขั้นอาชีพ
ของตวั ละครใหส ูงข้ึนไปเรื่อยๆ จนกระท่ังเรยี นจบ นอกจากนี้ยังมีการแทรกขอมลู หรือภาพบอกเลาเร่อื งราวในแตละจุด เพื่อ
ชวยตอบคำถามใหก ลุม เปา หมายคลายกงั วลและสรา งความม่นั ใจในการตัดสนิ ใจเลอื กเขาศึกษาตอ เชน ทกั ษะการวาดรูป การ
เลือกกลมุ วิชาชพี เลอื ก การประกอบอาชพี ในอนาคต เปน ตน

ภาพที่ 1: การเปรยี บเทียบการเรยี นในแตละชน้ั ปกับระดับอาชีพในการเลนเกมออนไลน
ท่มี า: มาเปน เดก็ AFX กันเหอะ, โดย วรากร ใชเทยี มวงศ, 2559 กรุงเทพฯ:สุนทรฟลม.

2.2 ออกแบบตัวละคร แนวคดิ ในการออกแบบตัวละครเพ่ือใชเลาเรอ่ื งในสอ่ื ประชาสัมพันธหลักสูตรเรื่อง
“มาเปนเด็ก AFX กันเหอะ” มีที่มาจากการกำหนดอารมณภาพของงาน (Mood & Tone) ใหมีความเปนกันเองเหมือนรนุ พี่

82

เลา ใหร ุนนองฟง ผวู ิจัยจงึ ออกแบบใหมีตัวละครเปน นักศกึ ษารุนพ่ี 2 คน โดยมีนักศกึ ษาชายเปนตวั แทนของนักศึกษาที่เลือก
เรยี นกลมุ วิชาชีพเลอื กแอนเิ มชัน และนักศึกษาหญงิ เปน ตัวแทนของนักศกึ ษาท่ีเลือกเรียนกลมุ วิชาชีพเลือกวชิ วลเอฟเฟกต ตัว
ละครท้ัง 2 คนน้ีจะเปน ตัวหลกั ในการดำเนินเร่อื ง แนะนำสาขาและการเรียนในแตล ะชนั้ ปใหก ลมุ เปา หมายหรือรุน นองที่สนใจ
จะเขามาเรียนในสาขาไดรจู ัก สำหรับการออกแบบบคุ ลกิ ลักษณะนสิ ัยของตัวละครมีการใชแนวทางการออกแบบตามตนแบบ
หรือ Archetypes ของตัวละครประเภทพระเอก/นางเอก (The Hero/Heroine) ที่มีความรับผิดชอบ กลาหาญ จริงใจ
(Comic Book Artist, 2016) เพื่อสื่อถึงภาพลักษณของนักศึกษาสาขาคอมพวิ เตอรแอนิเมชนั และวิชวลเอฟเฟกตใ นเชิงบวก
ดวยหนาตายิ้มแยมแจมใส และมีความราเริงสนกุ สนานสมวยั รวมถึงรปู รางหนาตาทรงผมการแตงกายในชุดนักศึกษาพรอม
เครื่องประดบั ตามสมยั นิยม เชน หมวก ตา งหู นาิกาขอ มือ เปน ตน

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบคาแรคเตอรก็คือการออกแบบใหตัวละครมีรูปรางอันเปน
เอกลักษณโดดเดนเปนที่จดจำ สามารถสื่อถึงบุคลิกลักษณะของตัวละครไดชัดเจน ไดแก โครงรางเงา (Silhouette) และ
รปู ราง (Shape) (Tillman, 2011) โดยผูวจิ ยั เลอื กใชการออกแบบในสไตลม งั งะหรอื การตูนญ่ปี ุน ซึ่งเปนสไตลการออกแบบตัว
ละครที่สอดคลองกับพฤติกรรมของกลุมเปาหมายที่มีความคุนเคยและชืน่ ชอบการตนู เปนพิเศษเพ่ือชวยสรางความนาสนใจ
ใหแกส ือ่ ประชาสัมพนั ธ

ภาพท่ี 2: ภาพตัวละครนกั ศกึ ษาชายและนกั ศกึ ษาหญิงทเี่ ปน เสมอื นตัวแทนของรุน พ่ที ่ีชว ยแนะนำการเรียนในสาขาทงั้ 4 ป
ท่ีมา: มาเปน เดก็ AFX กันเหอะ (หนา 4-5), โดย วรากร ใชเทยี มวงศ, 2558 กรงุ เทพฯ:สุนทรฟล ม.

83

2.3 ออกแบบสตอรี่บอรด เมื่อเขียนบท วางโครงเรื่องและออกแบบตัวละครหลักเสร็จเรียบรอยแลว
ขั้นตอนถัดมาคือการออกแบบสตอรี่บอรด ซึ่งการวาดสตอร่ีบอรดสำหรับหนังสือการตูนจะไมมีการกำหนดขนาดชองและ
รปู แบบการจัดวางตำแหนง ชองที่ตายตัวเหมือนกบั การวาดสตอร่ีบอรด สำหรับงานภาพยนตร ผูวาดสามารถจดั ลำดับแบงชอง
เพือ่ จดั องคป ระกอบของภาพบนหนา กระดาษไดอยางอสิ ระ รวมถึงกำหนดตำแหนงตัวละครและฉากพรอมขอความคำพูดใน
การเลา เรื่องและสอ่ื ความหมายตามโครงเรอื่ งท่ีวางไวอ ยางตอ เนื่องตั้งแตตน จนจบ ถงึ แมวธิ ีการวาดสตอรบี่ อรดจะแตกตางกัน
แตเราสามารถนำหลักการและเทคนิคของการเลาเรือ่ งสำหรับการถายทำภาพยนตร เชน การใชมุมกลอง กฎความตอเนื่อง
การจัดองคประกอบภาพส่ือความหมาย เปนตน มาประยุกตใชกับการจัดลำดับแบงชองเพื่อเลาเรื่องในรูปแบบของหนังสือ
การต ูนไดต ามท่ี Tsukamoto Hiroyoshi แนะนำไวในหนังสือเร่อื ง Drawing Comics World Vol.4 Manga Storyboard

ในขั้นตอนนี้จะเปนการรางภาพองคประกอบของแตละหนาดวยลายเสนที่ยังไมลงรายละเอียดมากนักโดยให
ความสำคัญกับความตอเนื่องและจังหวะของการเลาเรื่องจากชองหนึ่งไปอีกชองหนึ่งตั้งแตตนเรื่องจนจบเรื่อง ซึ่งจะตอง
คำนึงถงึ ความตอเนื่องของเรื่องราวท้งั ในสวนของงานภาพและบทพดู ของตัวละคร การทำงานขนั้ ตอนนี้จะยังมีการแกไ ขกลบั ไป
กลับมาจนกระทั่งความตอเน่อื งของการเลาเรอื่ งในสตอรี่บอรด ลงตัวแลว จงึ จะเรมิ่ เคลียรเ สน เก็บรายละเอียดของตัวละครและ
ฉากในภาพรา งใหช ดั เจนเพ่ือใชสำหรับการทำงานในข้นั ตอนตอไป

ภาพท่ี 3: ภาพตวั อยางของภาพรางในขั้นตอนการออกแบบสตอร่บี อรดของหนงั สอื การต ูนเร่อื ง “มาเปน เดก็ AFX กันเหอะ”
ที่มา: วรากร ใชเทียมวงศ, 2558

3. การสรางสรรคผลงานจริง ในขั้นตอนน้ีประกอบดวยการตัดเสนการต ูนลงสีและออกแบบจัดวางรูปเลมตอจาก
ข้ันตอนรางภาพตนแบบ เพอื่ ใชสำหรับการผลติ สอื่ ประชาสมั พนั ธต ามแผนการใชส ่ือท่ีวางไว

3.1 ตัดเสนการตูนและลงสี หลังจากที่มีการรางภาพสตอรี่บอรดของหนังสือการตูนเรื่อง “มาเปนเด็ก
AFX กนั เหอะ” เสรจ็ เรียบรอ ยครบทกุ หนา แลว จึงทำการตัดเสนภาพรางตัวละครและฉากท้งั หมดกอนท่จี ะลงสีภาพดวยแอป
พลิเคชนั สำหรบั ลงสีในไอแพดโดยมกี ารสอดแทรกการใชสเี ขียวซ่งึ เปน สีประจำคณะดจิ ิทลั มเี ดีย

84

ภาพที่ 4: ภาพตวั อยางในข้ันตอนการสรางสรรคผ ลงานจริงท่ีมีการตัดเสนกอ นที่จะทำการลงสี (ซา ย)
และภาพตัวอยางทมี่ ีการลงสตี วั ละครกบั ฉากแลว (ขวา)
ทมี่ า: วรากร ใชเ ทียมวงศ, 2558

3.2 ออกแบบจดั วางรปู เลม เมอ่ื ตัดเสนลงสีภาพตัวละครและฉากครบทกุ หนา แลว จงึ นำภาพท้ังหมดมาจัด
หนาวางเลยเอาท (Layout) ประกอบกับใสฟ อนตส ำหรบั ขอความในชอ งคำพดู ดวยโปรแกรมสำหรบั การจัดวางรูปเลมหนังสือ
รวมถึงการออกแบบจัดวางหนาปก กอนที่จะสงโรงพิมพจัดทำเปนจำนวน 1,000 เลมตามที่ไดวางแผนไวสำหรับการใช
ประชาสัมพันธรับสมคั รนกั ศกึ ษาใหมต ้ังแตป 2560 เปนตน ไป

ภาพที่ 5: ภาพตวั อยางหนงั สือการต นู เร่ือง “มาเปนเด็ก AFX กนั เหอะ”
ทม่ี า: วรากร ใชเ ทียมวงศ, 2559

85

ผลการศกึ ษา/ทดลอง
การวางแผนสำหรับการใชสื่อเพื่อประชาสัมพันธหลักสูตรสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกตใน

รูปแบบหนงั สอื การต ูนเรื่อง “มาเปน เด็ก AFX กนั เหอะ” มที ั้งการนำรูปเลม ไปแจกจา ยใหแ กก ลุม เปาหมายผานทางหนวยงาน
รับสมัครนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยและนำไฟลรูปเลมแบบดิจิทัลอัพโหลดขึ้นเผยแพรบนแพลตฟอรมออนไลนและโซเชียล
มเี ดียพรอมกับการวางแผนสำหรับการซื้อสื่อโฆษณาออนไลน ตามแนวทางกลยุทธก ารตลาดแบบดจิ ิทัลดงั น้ี

อัพโหลดไฟลรูปภาพของหนังสือการต ูนเรื่อง “มาเปนเดก็ AFX กนั เหอะ” ขึ้นใหอานฟรีบนเวบ็ ไซตของ
WeComics ซึง่ เปน แพลตฟอรมสำหรับอา นการตนู ออนไลนท ่ีเหมาะสมกับกลมุ เปาหมายทมี่ ีความช่ืนชอบการต นู และ
แอนิเมชนั เม่ืออัพโหลดแลวกไ็ ดรับความสนใจจากผูอานการต ูนออนไลนเ ปนอยา งดโี ดยมียอดอานทั้งหมด 421,523 ครงั้ ทำให
ทาง WeComics ไดเ ลอื กนำขน้ึ แชรบ นหนาเพจเพ่ือประชาสมั พนั ธอีกทางหนง่ึ ดวย

ภาพท่ี 6: ภาพตวั อยางไฟลห นงั สือการตูนเรอื่ ง “มาเปนเด็ก AFX กนั เหอะ” ทอี่ ัพโหลดขน้ึ บน www.wecomics.in.th
ที่มา: https://www.wecomics.in.th/comics/5904/มาเปนเดฏ็ -afx-กนั เหอะ

โพสตไฟลรูปภาพทั้งหมดขึ้นเผยแพรบนเพจเฟซบุคของคณะดิจิทัลมีเดีย พรอมกับมีการซื้อสื่อโฆษณาบนเพจ
เฟซบคุ ของคณะตามท่ไี ดม ีการวางแผนใชสอ่ื โดยนำขอมูลของกลมุ เปา หมายท่ีไดทำการสำรวจไวในขั้นตอนศึกษาและรวบรวม
ขอ มูลเหลาน้ันมาใชต ้ังคา ในการยิงโฆษณาใหเขาถึงผูชมท่เี ปนกลมุ เปา หมายไดอยางมปี ระสิทธิภาพ โพสตดังกลาวมียอดถูกใจ
(Like) 1,300 ไลก มียอดการเขาถึงผูใชท ่เี ปน กลมุ เปาหมาย (Reach) จำนวน 4,865 คน และสามารถสรา งความผูกพันกับผูใช
ดว ยยอดตอบสนอง (Engagement) จำนวน 1,366 ครั้ง

86

ภาพท่ี 7: ภาพตวั อยา งโพสตเ ฟซบุคท่มี ีการอพั โหลดไฟลร ปู ภาพจาก หนังสอื การตูนเร่ือง “มาเปน เดก็ AFX กันเหอะ”
ทมี่ า: https://www.facebook.com/sdmspu/posts/10158926661390338

นอกจากจะนำไฟลรูปเลม ไปใชทั้งในรปู แบบสื่อสงิ่ พมิ พและสือ่ ดิจทิ ลั แลว ยงั มกี ารนำไฟลภ าพปกไปดดั แปลงเปน
แบนเนอรติดตง้ั บนปา ยหนามหาวทิ ยาลยั และนำไฟลแ บนเนอรอ พั โหลดขนึ้ หนาเว็บของมหาวิทยาลัย รวมถึงเพจของคณะเพื่อ
ใชป ระชาสัมพันธห ลักสูตรอกี ดว ย

ภาพที่ 8: ภาพตวั อยางหนาปกหนงั สอื การตูนเร่อื ง “มาเปนเดก็ AFX กันเหอะ” ท่นี ำไปทำแบนเนอรประชาสมั พันธ
ทมี่ า: วรากร ใชเทียมวงศ, 2559

นอกจากนี้หลงั จากที่ไดม ีการเผยแพรห นงั สือการต นู เรื่อง "มาเปนเดก็ AFX กนั เหอะ" เพ่อื ประชาสมั พนั ธห ลักสูตร
และรับสมคั รนักศึกษาใหมข องสาขาคอมพวิ เตอรแอนเิ มชันและวชิ วลเอฟเฟกตเ ปนระยะเวลาประมาณ 1-2 ป ผูว ิจยั ไดม กี าร
จดั ทำแบบสอบถามประเมนิ ส่ือดงั กลา วกบั นักศกึ ษาเขา ใหมของสาขาประจำปก ารศึกษา 2562 จำนวน 132 คนพบวา

87

นกั ศกึ ษาสวนใหญเ คยอานหนังสือการตูนเรื่อง "มาเปน เด็ก AFX กนั เหอะ" (83.3%) และเคยอานในรปู แบบออนไลน (59.1%)
มากกวารปู แบบสง่ิ พมิ พ (45.5%)

หนงั สอื การต นู เรอื่ งนส้ี ามารถสรา งความรูส กึ "ใชเลย..นค่ี อื สงิ่ ที่อยากเรียน" แกนักศกึ ษาสว นใหญไดในระดบั ดีมาก
(4.02) สามารถทำใหนกั ศกึ ษาสวนใหญร จู ักคณะดจิ ิทัลมเี ดยี มหาวิทยาลัยศรีปทุมไดใ นระดับดมี าก (4.13) นอกจากน้ียงั มีสวน
ชว ยนกั ศกึ ษาในการตัดสินใจเลอื กเรยี นท่นี ีไ่ ดใ นระดบั ดมี าก (3.79)

เน้อื หาในการต ูนตอบคำถามเกี่ยวกับการเรียนของสาขาท้ัง 4 ป (3.83) และการเรียนในกลมุ วิชาชีพเลอื กแอนมิ ชัน
(3.82) ไดช ดั เจนทีส่ ดุ ในขณะท่ีการนำเสนอรายละเอยี ดหลักสูตรในรปู แบบการต นู มคี ะแนนประเมินอยูใ นระดับดีมาก ทง้ั ใน
ดานความเขา ใจงาย (3.85) ดานความนา สนใจของส่ือ (3.86) และดา นการใชภ าษาทเ่ี ขา ใจงาย (3.85) ซ่งึ มีคะแนนประเมินสงู
ท่สี ดุ ในหวั ขอ นี้

วจิ ารณแ ละสรุปผล
การจัดทำผลงานออกแบบหนังสือการตูนประชาสัมพันธหลักสูตรของสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวลเอฟ

เฟกต เรื่อง “มาเปนเด็ก AFX กันเหอะ” มีวัตถุประสงคหลกั เพื่อเผยแพรข อมลู เกี่ยวกับโครงสรางหลักสูตร รายละเอียดของ
รายวิชาในหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน โดยมีการศึกษาวิเคราะหพฤติกรรมผูบริโภคของกลุมเปาหมาย แนวคิด
ทฤษฎีที่เกีย่ วของกับการผลิตสือ่ ประชาสัมพนั ธ การสื่อสารการตลาดผานการเลาเรื่อง (Storytelling) และวิธีการผลติ ส่ือใน
รปู แบบหนงั สือการตูน รวมถงึ งานวิจัยที่เกี่ยวของ จนกระท่งั ไดผ ลสรุปออกมาเปนแนวทางสำหรับออกแบบสื่อดวยการใชตัว
การตนู นำเสนอเนอื้ หาและขอ มูลของหลักสูตรดวยเทคนคิ การเลา เรอ่ื ง (Storytelling) ผา นสื่อประชาสัมพันธท่มี ภี าพประกอบ
พรอมคำพดู อธิบายในรูปแบบหนงั สอื การต นู ขนาด A5

เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินหนังสือการตูนเรื่อง "มาเปนเด็ก AFX กันเหอะ" ของนักศึกษาเขาใหมของสาขา
ประจำปการศึกษา 2562 สามารถกลาวไดว า การใชสอ่ื ประชาสัมพันธหลกั สตู รสาขาคอมพวิ เตอรแ อนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต
ในรูปแบบหนังสอื การตูนประสบความสำเรจ็ ตามวัตถุประสงคท่ีตั้งไว ทัง้ ในหวั ขอเนื้อหาเก่ียวกบั ขอมูลหลักสูตรและดานการ
สรางความนาสนใจที่มผี ลประเมินอยูในระดบั ดีมาก สอดคลอ งกับผลการศึกษาจากงานวิจยั ของกจิ ติพงษ ประชาชิต (2559)
เกี่ยวกับการออกแบบพัฒนาสื่อประชาสัมพันธในรูปแบบหนังสือการตูนสำหรับกลุมนักเรียนมัธยมปลายและนักศึกษาแลว
พบวา กลุมตัวอยางมีความพึงพอใจในคุณภาพการออกแบบหนังสือการตูนเรือ่ งศรีพฤทเธศวรดานเนื้อหาอยูในระดับดี และ
สอดคลองกับผลการศึกษาจากงานวิจัยของ ภัทรศักดิ์ สิมโฮง จตุรงค เลาหะเพ็ญแสง และอุดมศักดิ์ สาริบุตร (2553) ท่ีได
ศึกษาการออกแบบพัฒนาสื่อประชาสัมพันธเพื่อการปองกันและบรรเทาภัยพิบัติในสภาวะฉุกเฉินสำหรับนักเรียนในระดับ
มธั ยมศกึ ษา พบวากลุมตัวอยางมคี วามสนใจในรปู แบบการนำเสนอภาพประกอบประเภทภาพวาดการต ูนอยูในระดับมาก

อีกทั้งยังสามารถสรา งความผูกพันกับแบรนด (Brand Engagement) ใหกับสาขาคอมพิวเตอรแอนิเมชันและวิชวล
เอฟเฟกตดังจะเห็นไดจากผลประเมินดานการสรางความรูสึกประทบั ใจและดานการมีสวนในการตัดสินใจเลือกเรียนอยูใน
ระดบั ดีมาก รวมถงึ ผลตอบรบั ของการโพสตภ าพการต ูนลงบนเพจเฟซบุค คณะทม่ี ยี อดการตอบสนอง (Engagement) สูงแสดง
ถึงความสนใจของผูใชไดเปนอยางดี สอดคลองกับบทความของเธียรทศ ประพฤติชอบ (2558) ท่ีทำการศึกษาวิธีการนำตัว
การต ูนมาใชส ่อื สารการตลาดผา นการเลา เร่ือง (Storytelling) แลว พบวาเปนรูปแบบการส่ือสารทส่ี อดคลองกับพฤติกรรมการ
บริโภคสื่อของคนรุนใหมและสามารถสรางความผูกพนั กับแบรนด (Brand Engagement) ใหกับผลิตภัณฑหรอื บรกิ ารไดอ ีก
ทางหนงึ่ ดว ย

ผลการตอบรบั จากการเผยแพรห นงั สือการตูนเรื่อง "มาเปน เดก็ AFX กนั เหอะ" ในรปู แบบสอ่ื ดิจทิ ัลบนแพลตฟอรม
ออนไลนแ ละโซเชียลมีเดียยงั แสดงใหเห็นไดชัดเจนวาการเผยแพรสอ่ื ประชาสัมพันธบนแพลตฟอรมออนไลนเปนรูปแบบการ
ส่อื สารที่สอดคลอ งกบั กลมุ เปาหมายของสาขา สามารถเขาถึงนกั เรียนมัธยมปลายซงึ่ จัดอยูใ นกลมุ Gen Z ซง่ึ มีพฤติกรรมการ

88

ใชอินเทอรเน็ตในการทำกิจกรรมออนไลนมากที่สุด ดังจะเห็นไดจากผลประเมินที่พบวานักศึกษาสวนใหญเคยอานหนังสือ
การตูนเรื่อง "มาเปนเดก็ AFX กนั เหอะ" มากอ นและจำนวนนักศึกษาทีเ่ คยอานการตูนเรือ่ งน้ีเกินครง่ึ หนึ่งอานการตูนจากส่ือ
ออนไลนมากกวาอานจากรูปเลม สอดคลองกับรายงานผลการสำรวจพฤตกิ รรมของผูใชอินเทอรเน็ตในประเทศไทยประจำป
2560 ของสำนกั งานพฒั นาธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกสทก่ี ลา วถงึ พฤติกรรมของกลมุ Gen Z วา ใชเ วลาในการเลน โซเชียลมีเดีย
มากเปน อันดับทสี่ องโดยมีจำนวนชวั่ โมงการใชอ ินเทอรเ น็ตโดยเฉลีย่ อยทู ่ี 3 ช่ัวโมง 42 นาทตี อ วนั

จากผลตอบรับทีด่ ีของการออกแบบสื่อประชาสัมพันธหลกั สูตรสาขาคอมพวิ เตอรแอนเิ มชันและวิชวลเอฟเฟกตใน
รปู แบบหนงั สอื การต ูนเร่ือง "มาเปน เดก็ AFX กันเหอะ" จึงทำใหผูวจิ ัยไดพจิ ารณาถึงการนำสอ่ื ในรปู แบบการตูนที่เปนภาพนิ่ง
ไปพัฒนาใหอยใู นรูปแบบภาพเคล่ือนไหวหรอื สื่อวีดีเพือ่ เผยแพรผานชอ งทางแบบออนไลน ซง่ึ สอดคลอ งกับพฤติกรรมของกลุม
Gen Z ในปจจบุ ันทม่ี กี ารใชอ นิ เทอรเน็ตเพื่อรับชมรายการโทรทศั น คลิปวีดโี อ และภาพยนตร รวมถึงฟงเพลงออนไลนมากขึ้น
เปนอันดับที่ 2 ในป 2564 (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส, 2564) และกลุม Gen Z นี้ยังชื่นชอบสือ่ วีดีโอเปน
พิเศษอกี ดวย

เอกสารอางอิง
กิจติพงษ ประชาชิต. (2559). การออกแบบและพฒั นาหนงั สือการตูนเสรมิ สรางการรับรูทางดานวฒั นธรรมประเภทมุขปาฐะ

จงั หวัดศรสี ะเกษ. วารสารวชิ าการ ศลิ ปะสถาปต ยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), (56-68).
เธียรทศ ประพฤติชอบ. (2558). “การตูน” สื่อที่นาจับตา มาพรอมมูลคา ที่จับใจ. วารสารการสื่อสารและการ.จัดการ นิดา,

1(1), (1-13).
นวิ ฒั น ศรีสมั มาชพี . (2552). คิดและเขียนใหเปนบทภาพยนตร. กรงุ เทพฯ:บริษทั โรงพิมพตะวนั ออก จำกัด.
พงษพลิ ยั วรรณราช. (2548). สรปุ สาระสำคัญของพระราชบัญญตั สิ ถาบันอุดมศกึ ษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖. ศนู ยขอมูลกฎหมาย

กลาง สำนกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
พลอยชนก วงศภทั รไพศาล. (2558). การผลิตส่ือเพือ่ การประชาสัมพันธ. เอกสารประกอบการสอนเรื่องการผลิตส่ือเพื่อการ

ประชาสมั พันธ. ภาควิชาการประชาสัมพนั ธ คณะนิเทศศาสตร: มหาวิทยาลยั สยาม.
ภัทรศักดิ์ สิมโฮง จตุรงค เลาหะเพ็ญแสง และอุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2553). การออกแบบพัฒนาสื่อประชาสัมพันธเพื่อการ

ปองกันและบรรเทาภัยพิบัติในสภาวะฉุกเฉิน สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการคณะ
สถาปต ยกรรมศาสตร มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน . 9(1). (69-75).
รัฐพงศ พิสิฐสุขสิริ. (2552). การศึกษาการทำงานรวมระหวางภาพกับภาษาในหนังสอื ภาพประกอบสำหรับเยาวชนเพื่อการ
ออกแบบแอนเิ มชนั . กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลัยรังสติ .
วจนะ ภูผานี. (2555). Media Planning:การวางแผนและกลยุทธสื่อโฆษณา. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง Media
Planning. คณะการบัญชีและการจดั การ. มหาสารคาม:มหาวิทยาลยั มหาสารคาม.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เลมที่ 38. (2542). เรื่องที่ 3 การอุดมศึกษา ประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในปจจุบัน.
กรงุ เทพ: มลู นธิ โิ ครงการสารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคใ นพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร
มหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร.
สำนกั งานพัฒนาธรุ กรรมทางอิเล็กทรอนิกส. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมของผใู ชอินเทอรเ น็ตในประเทศไทย ป
2560. กรุงเทพ:สำนักงานพฒั นาธรุ กรรมทางอิเลก็ ทรอนิกส (องคก ารมหาชน) กระทรวงดจิ ิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สังคม.

89

สำนกั งานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส. (2564). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมของผใู ชอินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป
2564. กรุงเทพ:สำนักงานพฒั นาธุรกรรมทางอิเลก็ ทรอนิกส (องคก ารมหาชน) กระทรวงดิจทิ ัลเพื่อเศรษฐกิจและ
สงั คม.

Comic Book Artist. (2016, April 22). Creating Characters for your Comic. Creative Comic Art.
https://www.creativecomicart.com/character-creation.html

Hiroyoshi, T. (2017). Drawing Comics World Vol.4 Manga Storyboard. Bangkok: IDC Premier Publishing
Kotler, P. (1977). Marketing Management. Bengaluru: Pearson India.
Tillman, B. (2011). Creative Character Design. Massachusetts:Focal Press.
Topten. (2017, January 9). เจาะ Insight ผบู ริโภค 5 Gen สำหรบั ตอ ยอดกลยทุ ธ Hyper-personalization Marketing.

Positioning. https://positioningmag.com/1259780

90


Click to View FlipBook Version