ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
1
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ฝึกกแาซรเกป่าโซโฟนด้วยตนเอง
ISBN :
ราคา 185 บาท
กรรมการผจู้ ดั การ : กลุ ธร เลศิ สรุ ยิ ะกลุ
บรรณาธิการ : รจนา กาศยปนันท์
สอนโดย : สรรเพชญ กาสา
เรียบเรียง : ทวปี พละมาตย์
ศลิ ปกรรม : อิทธิรตุ ม์ กุลเลศิ พิทยา
จ ัดจำ� หน่ายโดย
Top Talent Music Academy
จัดพิมพโ์ ดย
บริษัท เบสท์มเี ดีย เอ็ดดเู ทนเมนท์ จ�ำกดั
57 ชัน้ 2 ซอยนาคนิวาส 21 แยก 2-3 ถนนนาคนวิ าส
แขวงลาดพรา้ ว เขตลาดพร้าว กทม. 10230
โทร. 02-956-1146
Email : [email protected]
2
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
คำ� น�ำ
ดนตรี เป็นส่ิงท่ีมีบทบาทส�ำคัญและเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์
เป็นอย่างมาก เราสามารถใช้ดนตรีช่วยผ่อนคลายจิตใจ อารมณ์ ท�ำให้เกิดความ
สนุกสนาน และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนน�ำความรู้ความสามารถไปประยุกต์
ใช้ให้เกดิ ประโยชนใ์ นชวี ติ ประจ�ำวนั และการประกอบอาชพี ได้
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของแซกโซโฟน เคล็ดลับ และลูกเล่นในการ
เป่าแซกโซโฟน เพ่ือให้คณุ สามารถจดจำ� และเข้าใจ ทง้ั ยงั เปน็ การประหยดั เวลา ซ่งึ
จริง ๆ อาจจะใชเ้ วลานานนับปกี ันเลยทเี ดียว แตห่ ากฝกึ ตามวธิ ีท่ไี ดแ้ นะน�ำไว้ คุณจะ
สามารถเล่นได้อย่างคล่องแคลว่ ได้อยา่ งแนน่ อน
หนงั สือ “แซกโซโฟน” เลม่ นจ้ี ะสามารถชว่ ยพฒั นาฝีมือการเป่าแซกโซโฟน
ของคุณไมว่ ่าจะเปน็ การเล่นในรปู แบบตา่ งๆ คณุ ก็จะสามารถนำ� ไปใชฝ้ ึกซ้อมหรอื เลน่
จรงิ ได้ และการฝกึ ในแบบตา่ ง ๆ น้ี คณุ อาจนำ� มาใชเ้ พอื่ แกะเพลงทเ่ี ราชนื่ ชอบไดเ้ ช่นกนั
กองบรรณาธิการ
3
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
4
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
สารบัญ
ค�ำน�ำ 2
ความรู้เบ้ืองต้นเก่ียวกับแซกโซโฟน 7
ชนิดของแซกโซโฟน 15
ส่วนประกอบ, การประกอบเคร่ือง, การเลือกแซกโซโฟน 25
พ้ืนฐานของผู้เรียนแซกโซโฟน 33
ลักษณะของลมที่ใช้เป่าแซกโซโฟน 47
แซกโซโฟนที่มีคุณภาพ 57
ศิลปะการเป่าแซกโซโฟน 67
ก�ำพวดแซกโซโฟน (Mouth Piece) 75
การฝึกแซกโซโฟน 83
ทฤษฎีดนตรีสากลเบ้ืองต้น 93
แบบฝึกหัดการเป่าแซกโซโฟน 107
การดูแลรักษาแซกโซโฟน 125
5
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
6
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 1
ความรู้เบ้ืองต้นเกี่ยวกับแซกโซโฟน
7
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทท่1ี
ความรูเ้ บือ้ งตน้ เกีย่ วกบั แซกโซโฟน
ประวัติที่มา “แซกโซโฟน”
“แซกโซโฟน” (Saxophone) ถูกประดิษฐ์ข้ึนเม่ือปี ค.ศ. 1840 ที่นคร
ปารีส โดย “อดอล์ฟ แซก” (Adolphe Sax) ชาวเบลเย่ียม ประวัติศาสตร์
ดนตรีบันทึกว่า ในปี ค.ศ. 1840 อดอล์ฟ แซก ได้รับการว่าจ้างจากหัวหน้า
วงโยธวาทิต ให้ผลิตเคร่ืองดนตรีชนิดใดก็ได้ท่ีสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพ่ือใช้
ในวงโยธวาทิต (Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็น
เครื่องลมไม้ อดอล์ฟ แซก จึงน�ำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลือง
ชนิดหน่ึง ซึ่งล้าสมัยแล้วเรียกว่า “โอฟิไคลด์” (Ophicleide)
8
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
มาถอดท่ีเป่าอันเดิมออก แล้วเอาท่ีเป่าของคลาริเนตมาใส่แทน แก้ไข
กลไกของกระเด่ืองที่ปิดรูอีกเล็กน้อย ปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้ ด้วยเหตุ
นี้แซกโซโฟนเลาแรกของโลกจึงถือก�ำเนิดขึ้น
9
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
แซกโซโฟน (Saxophone) เป็นเครื่องดนตรีที่ก้�ำกึ่งระหว่างเครื่องลม
ไม้กับเคร่ืองทองเหลือง ซึ่งปราชญ์ทางดนตรีได้จัดให้อยู่ในประเภทเคร่ืองลม
ไม้ (Wood Wind) การเป่าแซกโซโฟนต้องมีลักษณะเฉพาะตัว เน่ืองจากแซก
โซโฟนเป็นเคร่ืองดนตรีที่เล่นได้ดี สนุก แต่ค่อนข้างยาก ท�ำให้ศิลปินท่ีเล่นนั้น
ถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างลึกซ้ึง ซ่ึงต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัว
เข้ามาช่วยเป็นอย่างสูง นักดนตรีมือใหม่ท่ีสนใจศึกษาเครื่องดนตรีประเภทนี้
ควรจะมีความรู้เก่ียวกับความเป็นมาและพ้ืนฐานต่างๆที่เก่ียวกับแซกโซโฟน
ก่อน
10
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่า “คลารเิ น็ตทองเหลอื ง” (Brass Clarinet)
เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว ปราดเปรียวเหมือนคลาริเน็ต ปัจจุบัน
แซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากท้ังในวงโยธวาทิต, วงแจ๊ส จนที่สุด
แซกโซโฟนก็กลายเป็นเคร่ืองดนตรีท่ีวงแจ๊สจะขาดเสียมิได้ ทั้งยังเป็นที่นิยม
ในการบรรเลงบทเพลงคลาสสิกสมัยใหม่อีกด้วย
แบร์ลอิ อซ ได้กล่าวว่า เสียงของแซกโซโฟน คอื การผสมผสานเขา้ ดว้ ย
กันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์ และปี่คลาริเน็ต ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม
เสียงของแซกโซโฟน ยังคงสามารถบรรเลงเสียงกระซิบกระซาบ อ่อนหวาน
นมุ่ นวล หรอื จะแผดใหด้ งั สนั่ โสตประสาทกท็ ำ� ได้ จงึ เหมาะสำ� หรบั ใชเ้ ปน็ เครอื่ ง
ดนตรีบรรเลงเด่ียว
11
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ประวัติผู้ประดิษฐ์
อดอล์ฟ แซก (A dolphe Sax) เป็นผู้ท่ีประดิษฐ์ แซกโซโฟนเป็นคน
แรก ซึ่งมีชื่อจริงว่า “แอนโตอิน โจเซฟ แซก” (Antoine Joseph Sax) แต่
คนท่ัวไปเรียกว่า อดอล์ฟ แซก (Adolphe Sax) เกิดเมืองดินานท์ (Dinant)
เม่ือวันท่ี 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ “ชาร์ล โจเซฟ แซก” (Charles
Joseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเน็ต บิดาของอดอล์ฟ แซก ยัง
มีโรงงานประดิษฐ์เคร่ืองดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้ และทองเหลือง
ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาของ อดอล์ฟ แซก ได้ย้ายโรงงานไปอยู่ท่ี
กรุงบรัสเซลส์ อดอล์ฟ แซก ได้เรียนรู้การซ่อมรวมท้ังประดิษฐ์เครื่องดนตรี
จากบิดา และอดอล์ฟ แซกเองก็ได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันแห่งกรุงบรัสเซลล์
โดยได้เรียนเป่าฟลุต และคลาริเน็ต
ในปี ค.ศ. 1830 อดอล์ฟ แซก ได้ประดิษฐ์ประดิษฐ์เคร่ืองดนตรีเป็น
12
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
คร้ังแรก โดยมีฟลุตและคลาริเน็ตซ่ึงท�ำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการ
เครื่องดนตรี ที่กรุงบรัสเซลส์
ในปี ค.ศ. 1838 อดอล์ฟ แซก ได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเน็ต
ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 อดอล์ฟ แซก ได้ประดิษฐ์แซกโซโฟน และน�ำ
ออกแสดงในงานนิทรรศการเคร่ืองดนตรีท่ีกรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่
คณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่ อดอล์ฟ แซก โดยอ้างว่าอายุน้อย
ในที่สุดอดอล์ฟ แซก ได้ย้ายไปต้ังร้านประดิษฐ์ และซ้อมเคร่ืองดนตรี
ที่กรุงปารีส
ในปี ค.ศ. 1842 ร้านของอดอล์ฟ แซก ได้รับความนิยมมากที่สุดใน
ยุโรป โดยเฉพาะเคร่ืองลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยน้ัน
ในปี ค.ศ. 1894 อดอล์ฟ แซก เสียชีวิตวันท่ี 4 กุมภาพันธ์ ท่ีกรุงปารีส
เม่ืออายุ 79 ปี
ในต้นคริสศตวรรษท่ี 20 บริษัทเฮนร่ีเซลเมอร์ แห่งปารีส ได้ซ้ือร้านขอ
งอดอล์ฟ แซก จากลูกชายของเขามาด�ำเนินการต่อ
ในปี ค.ศ. 1920 บริษัทเฮนรี่เซลเมอร์ ได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อ เซลเมอร์ เป็น
ครั้งแรก
13
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
14
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทท่ี 2
ชนิดของแซกโซโฟน
15
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 2
ชนดิ ของแซกโซโฟน
1. โซปรานโิ น แซกโซโฟน (Sopranino Saxophone) เปน็ Saxophone
ท่ีเล็กท่ีสุดในตระกูล อยู่ในบันไดเสียง Eb ส่วนมากมีลักษณะตรง แต่บางครั้ง
ก็มีแบบงอบ้างก็มี และให้เสียงที่แหลมมาก และควบคุมเสียงยากมาก ดังนั้น
จึงไม่ค่อยเป็นท่ีนิยมซักเท่าไหร่
16
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
2. โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนท่ีมี
ขนาดเล็ก น้�ำหนักเบาและมีความถ่ียังไม่สูงที่สุด มีขนาดเล็กและน�้ำหนักเบา
จึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จ�ำเป็นต้องใช้สาย สะพายแซกโซโฟนก็ได้
โซปราโนแซกโซโฟนไม่เหมาะสมส�ำหรับผู้ท่ีต้องการหัดเล่นแซกโซโฟนใหม่ๆ
เนื่องจากมีความยากในการคุมเสียงมากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ถือ
เป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลินในช่วงโพสิช่ันที่หน่ึง(1st)ในวงประเภท เครื่องเป่า
ระดับเสียง Bb เท่ากับเคร่ืองดนตรีคลาริเน็ตและทรัมเป็ต ในปัจจุบันแซกโซ
โฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมี
ลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า
17
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
3. อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ข้อนข้าง
เหมาะส�ำหรับผู้เร่ิมต้น เน่ืองจากเป็นแซกโซโฟนท่ีเป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซ
โฟนและมีน�้ำหนักเบากว่าแซก โซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้
ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรี
คลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิด อื่น ๆ
รวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชช่ิงแบรนด์ก็เช่นกัน ถือ
เป็นเครื่องที่ใช้แทนใวโอลิน-วิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แซกโซโฟนอัลโต้
จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากท่ีสุดในเอเชีย
18
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
4. เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนท่ีถูกใช้
มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการ
เล่นดนตรีแบบอ่ืน ๆ เสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ
ระดับเสียงBb และต่�ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจาก
แซกโซโฟนอัลโต้ (โทนเสียงท่ีเล่นได้จะอยู่ในโทนอัลโต้-เทนเนอร์) ถือเป็น
เคร่ืองที่ใช้แทนวิโอล่าในวงประเภทเครื่องเป่า แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะ
เป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเร่ิมต้น
19
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
5. C melody (Tenor Saxophone in C) เป็น Saxophone ที่มีขนาด
ใหญ่ กว่า Alto Saxophone แต่เล็กกว่า Tenor Saxophone มีล�ำตัวโค้งงอ
เช่นกันอยู่ใน บันได เสียง C ไม่ค่อยเป็นท่ีนิยมซักเท่าไหร่
20
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
6. บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนท่ีมี
ขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่�ำ แต่ยังสามารถท่ีจะบรรเลงเด่ืยวได้เพราะโทน
เสียงอยู่ในช่วงโทนเทนเนอร์-เบส ถือเป็นเครื่องที่ใช้แทนเชลโล่ในวงประเภท
เคร่ืองเป่า และมีราคาค่อนข้างแพง และมีน้�ำหนัก ดังน้ันบาริโทนแซกโซโฟน
จึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวท่อของบาริโทนแซก
โซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต
21
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
7. เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone) เป็น Saxophone ที่มีขนาด
ข้อนข้างใหญ่ มีขนาดใหญ่กว่า Baritone มี Range เสียงเทียบเท่า Tuba
เสียงต�่ำกว่าเทนเนอร์แซกฯ 1 ช่วงคู่แปด และต่�ำกว่าบาริโทนแซกฯ เป็นคู่ 4
สมบูรณ์ อยู่ในบันไดเสียง Bb และใช้เป็นเสียง Bass ได้ดี เล่นโทนเบส เป็น
หลัก ถือเป็นเครื่องท่ีใช้แทนเสียงคอนทร่าเบสในวงประเภทเคร่ืองเป่า มีล�ำ
ตัวโค้งงอ และขดเป็นวงที่บริเวณคอ เหมือน Baritone Saxophone ส�ำหรับ
ผู้ที่สูงประมาณ 175 Cm ขนาดของมันถ้าตั้งพื้นจะอยู่ประมาณ หน้าอกเรา
หรือขนาด 4.5 ฟุต บางท่านสามารถคล้องคอเล่นได้ หรือบางท่านจะต้ังกับ
พื้นแล้วเล่น
22
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
8. คอนทราเบส แซกโซโฟน (Contrabass Saxophone) เป็น saxo-
phone ท่ีมีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล อยู่ในบันไดเสียง Eb มี Range เสียง
เทียบเท่า Double Bass, Bass Guitar มีช่วงเสียงต�่ำกว่าบาริโทนแซกฯ 1
ชว่ งคแู่ ปด ความยาวเปน็ สองเทา่ ของบารโิ ทนแซกฯ มขี นาดถงึ 6.5 ฟตุ ความ
สูงของเครื่องมากกว่าคนเล็กน้อย เวลาเล่นต้องต้ังพ้ืน แล้วยืนเล่น หรือนั่ง
เก้าอ้ีสูงๆ เสียงจะเป็นลักษณะ Buzzy มากกว่าจะบอกได้ว่าเล่นโน้ตตัวอะไร
เพราะความใหญ่ของตัวเคร่ืองต่อปากเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นได้ยาก
ยังคงมีการผลิตอยู่แต่ไม่มาก ด้วยความท่ีใหญ่มากจึงไม่ค่อยเป็นท่ีนิยมนัก
23
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
24
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 3
ส่วนประกอบ, การประกอบเครื่อง, การเลือกแซกโซโฟน
25
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 3
สว่ นประกอบ, การประกอบเครื่อง, การเลอื กแซกโซโฟน
26
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
วิธีการประกอบเคร่ือง
1. ปากเป่า 2. ที่รัดปากเป่า 3. กระเดื่อง 4. รูเสียง
5. ปากแตร 6. คอปากเป่า 7. Octave Key 8. น็อตยึดคอปากเป่า
9. Roller 10. Key Guard 11. Bow 12. ตัวเคร่ือง
13. Upper Bow 14. ท่อแยก
1. ถอด หรือ แกะไม้ก๊อก ที่ติดอยู่กับ เคร่ือง เพื่อป้องกัน กระเดื่อง
ในขณะ ขนส่งออกให้หมด
2. ประกอบคอปากเป่า เข้ากับตัวเคร่ือง แล้ว ขันน็อต ยึด คอปากเป่า
ให้แน่น อาจจะท�ำ Slide Grease บาง ๆ ที่ คอปากเป่า ด้วยก็ได้
3. ประกอบล้ิน เข้ากับ ปากเป่า โดยให้ ปากเป่า เหลื่อมออกมา เล็ก
น้อย
4. ประกอบ ปากเป่า เข้ากับ คอปากเป่า โดย ทาข้ีผึ้ง Cork grease
ที่ ปลาย คอปากเป่า เล็กน้อย แล้ว ค่อย ๆ หมุน ปากเป่า สวมเข้าไป
5. ขอเกี่ยว น้ิวโป้ง สามารถปรับได้ เพียงใช้ เหรียญหมุน คลายสกรู
ยึด แล้ว ปรับ ให้พอดี ตามต้องการ
27
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
การเทียบเสียง
การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง (Pitch) ที่ต้องการ สามารถท�ำได้ โดย
ให้ผู้เล่น ปรับท่ีปากเป่า, อุณหภูมิ ก็มีผล ต่อการเทียบเสียง ด้วยเหมือนกัน
ดังนั้น ก่อนท่ี จะท�ำ การเทียบเสียง ขอแนะน�ำให้ท�ำ การอบอุ่นเคร่ือง ด้วย
การเป่าลมเข้าไป ในเครื่องสักพัก ถ้าอุณหภูมิขณะท่ีเล่นต่�ำ (เย็น) ให้ปรับปาก
เป่า เข้าไปให้ลึกกว่าปกติ แต่ ถ้าอุณหภูมิสูง (ร้อน) ก็ให้ ปรับ ปากเป่าออก
มา เล็กน้อย
28
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
การเลือกแซกโซโฟน
การเลือกแซกโซโฟนสิ่งที่ควรพิจารณาโดยทั่วๆไปในการเลือกแซกโซ
โฟน
1. ความหนา ความบาง ความแข็งแรงของโลหะท่ีใช้ เพราะถ้าโลหะท่ี
ใช้หนาเกินไปจะท�ำให้เสียงทึบ หรือถ้าโลหะบางเกินไปท�ำให้บุบง่ายแป้นนิ้ว
และสปริงต่าง ๆ แข็งแรงอยู่ในลักษณะที่ควรจะเป็นหรือไม่
2. นวม การประกอบนวม ประณีตหรือไม่ นวมทุกนวมปิดสนิท ความ
ห่างระหว่างนวม และช่องหน้าต่างกว้างหรือแคบเกินไป เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุ
ท�ำให้เสียงแซกโซโฟนเปลี่ยนแปลงได้
3. เสียงโลหะ กระทบโลหะ จับแซกโซโฟนแล้วลองกดแป้นนิ้วเพ่ือดู
การท�ำงานของสปริง ถ้ามีเสียงเหมือนโลหะกระทบโลหะ แล้วแสดงว่าจะต้อง
มีอะไรผิดปกติ เพราะไม่มีจุดใดในแซกโซโฟนท่ีจะท�ำให้เกิดเสียงเหมือนโลหะ
กระทบกัน
29
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
4. ระยะห่างระหว่างนวมและช่องหน้าต่าง แต่ละช่องเท่ากันหรือไม่
ความหนาบางของนวมแต่ละตัวเท่ากันหรือไม่ ซึ่งความผิดปกติของระยะห่าง
ระหว่างนวมกับช่องหน้าต่างและความหนาบางของนวมที่ไม่เท่ากัน สามารถ
ซ่อมได้โดยช่างผู้มีฝีมือ
5. ระบบการท�ำงานของสปริง แข็งหรืออ่อนเกินไป ถ้าสปริงแข็งเกิน
ไปก็จะท�ำให้แป้นนิ้วกดยาก ถ้าสปริงอ่อนก็จะท�ำให้แป้นนิ้วส่ันหลังจากการกด
อยา่ งไรกต็ ามอยา่ พยายามดดั หรอื เปลยี่ นแปลงประการหนง่ึ ประการใด เพราะ
เป็นการซ่อมชั่วคราวเท่านั้น ทางท่ีดีต้องเปลี่ยนสปริงใหม่
6. ลูกล้อระหว่างน้ิวท่ี D# กับ C ต�่ำ บริเวณ B กับ Bb และน้ิว C# มีความ
คล่องตัวในการหมุนไปทางใดทางหน่ึงหรือเปล่า
30
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
การตรวจสอบแซกโซโฟน
1. ตรวจสอบความสนิทของนวม เพราะอาจจะมีรูร่ัวไหล ทดลองความ
ยากงา่ ยในการเปา่ ของเสยี งทกุ เสยี ง ตง้ั แตเ่ สยี งสงู สดุ ไปจนถงึ เสยี งตำ่� สดุ Bb
เป่าเสียง F – E – D และ C โดยกดแป้นน้ิว G# เพ่ิมอีกน้ิวหน่ึง ในขณะที่
เป่าพยายามเป่าให้เบาที่สุด หรือลองเป่าโดยใช้นิ้วแทนในแต่ละเสียง เช่น C
กลาง Bb กลาง
2. ดูความเพ้ียนและความถูกต้องของเสียง โดยอาศัยเคร่ืองต้ังเสียง
โดยต้ังให้ A = 440 แล้วเปล่ียนไปยังเสียงอ่ืนๆโดยท่ัวไปเสียง D – D# และ
E กลางมักจะมีเสียงสูง เมื่อเทียบกับเสียงอ่ืน
31
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
3. ความดังเบาของเสียงในแต่ละเสียงเท่ากันหรือไม่ในขณะที่ใช่ลมเท่า
กัน ท้ังเป่าดัง และเป่าเบา อย่างไรก็ตามควรทดลองเป่าในห้องเดียวกันเพื่อ
เปรียบเทียบ
4. การตงั้ เสยี งควรตง้ั เสยี งในระดบั เดยี วกนั กบั เครอื่ งดนตรอี นื่ ๆ ความ
เพี้ยนของเสียงอาจจะเกิดข้ึนได้ เพราะบางคร้ังความคุ้นเคยกับเสียงเพ้ียน
ท�ำให้มีความรู้สึกว่า เสียงเพี้ยนน้ันเป็นเสียงท่ีถูกต้อง
5. บางครั้งเครื่องใช้แล้วหรือเคร่ืองเก่า ที่ได้รับการซ่อมที่ดีอาจมี
คุณภาพเท่ากับเครื่องใหม่ แต่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามอย่าซ้ือแซกโซโฟน
เพราะยี่ห้อ ควรตรวจสอบและพิจารณาให้ดีเสียก่อน
6. ช่องว่างระหว่างเสาแป้นน้ิวและก้านแป้นนิ้วข้างหนึ่งข้างใด หรือท้ัง
สองข้างหลวม เป็นสาเหตุท่ีท�ำให้นวมปิดไม่สนิท อันเน่ืองมาจากความ
บกพร่องของการประกอบแซกโซโฟน
32
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 4
พ้ืนฐานของผู้เรียนแซกโซโฟน
33
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทที่ 4
พ้นื ฐานของผู้เรียนแซกโซโฟน
เน่ืองจากแซกโซโฟนเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นให้ดีได้ยาก ใช้เวลาฝึก
ยาวนาน ต้องใช้สมาธิ และความต้ังใจสูง จึงจ�ำเป็นต้องก�ำหนดคุณลักษณะ
เฉพาะของผู้เรียนดนตรีแซกโซโฟน ดังนี้
1. ผู้เรียนต้องมีอารมณ์ท่ีม่ันคง (Emotion Stable) เพราะการท่ีจะเล่น
แซกโซโฟนให้ได้ดีข้ึนจะต้องใช้ความพยายามมาก และต้องฝึกอย่างมีสมาธิ
เป็นเวลาอันยาวนาน จะต้องไม่เปล่ียนแปลงความสนใจตลอดเวลา มิฉะน้ัน
จะเป็นนักแซกโซโฟนที่ดีไม่ได้ ดังน้ันผู้เรียนจะต้องทุ่มเทให้แก่เคร่ืองดนตรีชิ้น
น้ี ซึ่งอาจถือได้ว่าแซกโซโฟนเป็นเคร่ืองดนตรีที่มีเทคนิคมาก และเป็นเครื่อง
ดนตรีท่ีนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในวงการแจ๊ส และคลาสสิคเลยทีเดียว
34
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนจะต้องมีความเป็น “ตัวของตัวเอง” ค่อนข้างมาก การฝึก
แซกโซโฟนมักจะต้องกระท�ำโดยล�ำพัง การแสดงส่วนใหญ่มักจะเป็นการ
บรรเลงเด่ียว การฝึกน้ันนอกจากจะเป็นการเอาชนะอุปสรรคทางดนตรีคือ
การทเี่ ราสามารถทจ่ี ะบรรเลงเพลงไดด้ แี ลว้ ยงั เปน็ การชนะตนเองอกี ทางหนงึ่
ด้วย
3. นักแซกโซโฟนควรจะต้องเป็นนักวิชาการด้วย ความรู้ด้านทฤษฎี
ประวัติการดนตรี
4. คีตลักษณ์ และการประพันธ์ จะช่วยส่งเสริมให้เป็นนักแซกโซโฟนที่
ดีข้ึน
35
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ท่าทางในการเป่าแซกโซโฟน
ท่าทางในการจับแซกโซโฟนน้ันเป็นเร่ืองท่ีถูกลืมจากนักเป่าแซกโซโฟน
ก็ว่าได้ อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องส�ำคัญเรื่องหนึ่ง
ท่าทางในการจับแซกโซโฟนที่ถูกต้องเป็นส่วนช่วยพัฒนาการหายใจ
การวางปาก และเทคนิคให้สมบูรณ์ย่ิงขึ้น อย่างไรก็ตามท่าทางในการจับแซก
โซโฟนนั้นเป็นเร่ืองของการใช้ธรรมชาติของร่างกายให้ถูกต้อง และเป็น
ประโยชน์ในการเป่าแซกโซโฟนมากท่ีสุด ขนาดและน้�ำหนักของแซกโซโฟนมี
ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับขนาดของคนเป่าในการที่จะหาจุดสมดุลของท่า
ที่จะจับแซกโซโฟน
ท่าทางในการเป่าแซกโซโฟนท่ีดี
(ท่าทางในการเปา่ แซกโซโฟนท่ดี ีอาศัยธรรมชาติของร่างกายเป็นหลกั )
1. ใบหน้าและกระดูกสัน
หลังอยู่ในลักษณะตรงแต่ไม่เกร็ง
พยายามให้อยู่ในลักษณะท่ีเป็น
ธรรมชาติมากท่ีสุด
36
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
2. ปรับสายคล้องคอให้ได้ระดับพอดี แต่ไม่ก้มหรือเงยเพ่ือปรับระดับ
3. อาจถือแซกโซโฟนไว้ด้านหน้าหรือด้านข้างข้ึนอยู่กับขนาดของแซก
โซโฟนและขนาดตัวของผู้เป่า
37
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
4. ขาตั้งโน้ตควรอยู่ด้านหน้า สามารถมองได้ชัดท้ังสองตา
การหายใจในการเป่าแซกโซโฟน (Saxophone)
การหายใจปกติของมนุษย์ เป็นกระบวนการทางธรรมชาติท่ีใช้ลม
หายใจในปริมาณไม่มากนัก เพราะร่างกายใช้เพียงปอดเท่าน้ัน แต่การใช้ลม
หายใจส�ำหรับเครื่องเป่าจ�ำเป็นจะต้องใช้อวัยวะส่วนอื่น เช่น กะบังลม และ
ท้องน้อย ลองสังเกตว่าเด็กเกิดใหม่ เวลาเด็กร้องไห้ หรือเด็กนอนหลับจะ
สังเกตเห็นท้องของเด็กเคล่ือนขึ้นลงตามลมหายใจแสดงว่ากะบังลมท�ำงาน
เต็มที่ในการหายใจ หรือสังเกตจากคนที่นอนหลับในท่านอนหงาย หน้าท้อง
จะกระเพ่ือมข้ึนลงตามลมหายใจ เนื่องจากร่างกายต้องการลมมากข้ึน และ
ปอดไม่สามารถรับไหว กะบังลมจึงต้องท�ำงาน เช่นเดียวกันกับการเป่าเครื่อง
ดนตรี การร้องเพลงจ�ำเป็นจะต้องใช้ลมมากกว่าปกติ ความจ�ำเป็นท่ีจะเรียน
38
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
รู้การใช้กะบังลม และควบคุมการใช้ลมจึงเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่ง
การหายใจท่ีถูกต้องจะช่วยให้การเป่าแซกโซโฟนให้ดีข้ึน วางปากได้ถูก
ต้องเป็นธรรมชาติ สามารถควบคุมส�ำเนียงและประโยคของเพลงได้สมบูรณ์
และท่ีส�ำคัญก็คืออวัยวะที่ใช้ในการหายใจได้ถูกใช้ตามธรรมชาติ
การหายใจ
การหายใจทถ่ี กู ตอ้ งกจ็ ะชว่ ยใหก้ ารเปา่ ดขี น้ึ การวางปากใหถ้ กู ตอ้ งเปน็
ธรรมชาติ สามารถคุมส�ำเนียงและประโยคของเพลงได้สมบูรณ์ และท่ีส�ำคัญ
กค็ อื อวยั วะทใี่ ชใ้ นการหายใจ ไดถ้ กู ใชต้ ามธรรมชาติ ซง่ึ ขน้ึ อยกู่ บั กระบวนการ
หายใจเข้าและหายใจออก
39
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
การหายใจเข้า
การหายใจเข้าที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะน่ังหรือยืน ควรอยู่ในลักษณะอกผาย
ไหล่ผ่ึง (แต่ไม่ยกไหล่) อย่างธรรมชาติคือ ไม่เกร็งปาก โดยการดึงขากรรไกร
ล่างลง แล้วเปิดหลอดลมให้กว้างออกเหมือนอาการหาว แล้วสูดลมเข้าทาง
ปากจนเต็มท้องน้อย กะบังลม ปอด และหน้าอก การหายใจเข้าอาจจะแบ่ง
เป็น 3 ระยะ
การหายใจเข้าระยะท่ี 1 โดยเพิ่มลมบริเวณกะบังลมส่วนล่างอาจจะใช้
มือข้างใดข้างหน่ึงแตะบริเวณหน้าท้องโดยให้นิ้วก้อยอยู่บริเวณสะดือ หรือ
บริเวณซ่ีโครงซี่สุดท้าย เมื่อหายใจเข้าจะรู้สึกว่าท้องป่องออกเล็กน้อย
การหายใจเข้าระยะท่ี 2 โดยเพ่ิมลมจากระยะท่ี 1 ลมจะเพ่ิมจ�ำนวน
มากขน้ึ โดยเฉพาะบรเิ วณกะบงั ลมสว่ นบน เอามอื อกี ขา้ งหนงึ่ จบั บรเิ วณซโี่ ครง
40
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ใตร้ กั แร้ เมอ่ื หายใจเขา้ ระยะท่ี 2 จะรสู้ กึ วา่ กลา้ มเนอ้ื บรเิ วณนนั้ ขยายออกเลก็
น้อย
การหายใจเข้าระยะที่ 3 โดยเพ่ิมลมให้เต็มปอดจะรู้สึกว่าหน้าอกยกข้ึน
เล็กน้อย
การท�ำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
ระยะท่ีหายใจเข้าจะรู้สึกว่ากะบังลม ปอด หน้าอกขยายออก
การเป่าลมออก
การหายใจออกในชีวิตประจ�ำวันน้ันเป็นเร่ืองง่าย เพราะไม่ต้องควบคุม
ลม แต่การเป่าลมออกส�ำหรับเคร่ืองเป่าต้องมีการควบคุมลม แต่การเป่าลม
ออกส�ำหรับเครื่องเป่าต้องมีการควบคุมลมให้ออกอย่างสม�่ำเสมอหรือตาม
ความต้องการ ขณะท่ีปล่อยลมออกกะบังลมและกล้ามเน้ือส่วนล่างจะดันให้
ลมออกมาทางปาก สังเกตจากรูป
41
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
แบบฝึกหัดในการฝึกหายใจ
แบบฝึกหัดที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างในการฝึก โดยมีเป้า
หมายทจ่ี ะพฒั นาการหายใจใหถ้ กู ตอ้ งเพอื่ สรา้ งความเขา้ ใจและนำ� ไปใชใ้ นการ
เป่าแซกโซโฟน
แบบฝึกหัดที่ 1 ฝึกความถูกต้องของการหายใจ
ให้ยืนในลักษณะอกผายไหล่ผ่ึงหน้าตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกัน
เล็กน้อย มือทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าสะเอวแต่ให้เอามือจับเบาๆ
ในบริเวณข้อต่อระหว่างซี่โครง และผนังหน้าท้อง หายใจเข้าช้าๆจนเต็มปอด
และกะบังลม
42
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ข้อควรระวังระหว่างหายใจเข้า ไม่ยกไหล่หรือเกร็งบริเวณต้นคอทุก
อย่างอยู่ในลักษณะธรรมชาติ แบบฝึกหัดน้ี
จะสังเกตเห็นการขยายตัวของกะบังลมเม่ือหายใจเข้า และการหดตัว
ของกะบังลมเมื่อหายใจออก ฝึกประมาณวันละ 3 ครั้ง จนเข้าใจกระบวนการ
แบบฝึกหัดที่ 2 ฝึกหายใจในท่าน่ัง
ใหน้ ง่ั บนเกา้ อ้ี โดยพยายามนง่ั ใหช้ ดิ ขอบดา้ นหนา้ ของเกา้ อ้ี (ไมพ่ งิ พนกั )
เท้าท้ังสองวางบนพ้ืนโดยให้ปลายเท้าท้ังสองห่างกันประมาณ 1 ฟุต อกผาย
ไหล่ผึ่งหน้าตรง มือท้ังสองข้างจับท่ีเข่าบิดแขนให้หัวแม่มือท้ังสองข้างอยู่ด้าน
นอก แขนทั้งสองข้างเหยียดตึง ห่อไหล่เล็กน้อย เร่ิมหายใจเช้าช้าๆแล้วเป่า
ลมออกเหมือนกับเป่าเปลวเทียนหรือหลอดกาแฟ แบบฝึกหัดน้ีเม่ือแขนท้ัง
สองตึงจะบังคับไม่ให้ยกไหล่ข้ึน เมื่อหายใจเข้า
43
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
แบบฝึกหัดท่ี 3 ท่าโยคะ
นอนหงายชันเข่า โดยเข่าทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ เท้าท้ังสอง
วางอยู่บนพื้น แล้วดึงล�ำตัวให้สูงขึ้นเป็นเส้นตรงระหว่างเข่ากับไหล่ โดยน�้ำ
หนักตกอยู่บนไหล่ท้ังสองข้าง มือท้ังสองข้างวางอยู่บนพื้นขนานกับล�ำตัว
หายใจเข้าช้าๆจนเต็มแล้วเป่าลมออกทางปากเหมือนกับเป่าหลอดกาแฟหรือ
เป่าเทียน ฝึกท่านี้วันละคร้ังๆละไม่เกิน 1 นาที จุดประสงค์ของแบบฝึกหัดน้ี
เพื่อฝึกการหายใจโดยไม่ให้ยกไหล่
44
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
ข้อสังเกตความไม่ถูกต้องในขณะเป่า
1. หายใจทางจมูก
2. หายใจบ่อยขณะท่ีเป่าโดยไม่จ�ำเป็น
3. หายใจมีเสียงดัง
4. มีลมไม่เพียงพอ
5. ยกอก ยกไหล่ หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอขณะหายใจเข้า
6. ไม่สามารถควบคุมเสียงแซกโซโฟนให้อยู่ในระดับเดียวกัน
ข้อสังเกตความถูกต้องของการหายใจในขณะเป่า
1. เปิดหลอดลมและหายใจทางปาก
2. มีลมพอที่จะเป่าให้หมดประโยคเพลง
3. หายใจเข้าอย่างเร็วโดยได้ปริมาตรของลมท่ีต้องการ
4. หายใจได้เต็มปอดทุกคร้ัง
5. ไม่เคล่ือนไหวอวัยวะส่วนอ่ืนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น ไหล่
เป็นต้น
6. สามารถควบคุมลมให้ออกมาอย่างสม่�ำเสมอตามต้องการ
45
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
46
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทท่ี 5
ลักษณะของลมท่ีใช้เป่าแซกโซโฟน
47
ฝึกกแาซรกเปโ่ซา โฟน ด้วยตนเอง
บทท่5ี
ลกั ษณะของลมทีใ่ ช้เป่าแซกโซโฟน
โดยท่ัวไปแล้วลักษณะของลมท่ีใช้เป่าแซกโซโฟน เป็นเร่ืองที่ถูกมอง
ขา้ ม อย่างไรก็ตาม ตัวของนักแซกโซโฟนสมควรอย่างย่งิ ท่จี ะรวู้ า่ ลมท่ีตนเป่า
แซกโซโฟนมีลักษณะอย่างไร และสามารถท�ำให้เสียงท่ีเป่าออกมามีคุณภาพ
ต่างกัน
ลมท่ีเป่าออกมาจากปากสู่แซกโซโฟน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. ลมอุ่น เป็นลมที่เป่าออกมามีความอุ่น อย่างเช่น ตอนหาวนอนหรือ
ลักษณะการถอนหายใจโดยอ้าปากให้กว้าง ลมอุ่นเกิดจากการเปิดหลอดลม
48