The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วัชรา ปลอดใหม่, 2023-01-13 23:09:33

รายงานประจำปี 2565

รายงานประจำปี 2565

ANNUAL REPORT 2 0 2 2 ร ายงานปร ะจำ ปี 2565 สำ นักงานสหกรณ์จังหวัดกร ะบี่


ก ▪ การแนะนำส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุนให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ดำเนินการเพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับสมาชิกมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ▪ กำกับ คุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ดำเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับ ระเบียบ และมติของที่ประชุมเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหา และหากเกิดปัญหาก็แก้ไข เยียวยา เพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกโดยรวม ▪ การจัดสรรที่ดินให้กับสมาชิกสหกรณ์ ในเขตนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เพื่อสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ▪ ปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล นโยบายขอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบาย ของจังหวัดกระบี่ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ▪ ปฏิบัติงานภายในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานทั้ง 5 ส่วน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ได้ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของบุคลากรภายในหน่วยงาน ทำให้ผลปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมาเกิดความรัก สามัคคี ในองค์กรนำไปสู่การปรับตัวของข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กร เป็นที่พึงของมวลสมาชิกสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรและผู้มาติดต่อราชการ สาวดี รักษ์ศิริ (นางสาวสาวดี รักษ์ศิริ) สหกรณ์จังหวัดกระบี่ สารจากสหกรณ์จังหวัดกระบี่


ข ทำเนียบบุคลากร หัวหน้าหน่วยงาน ฝ่ายบริหารทั่วไป


กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์


กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มตรวจการสหกรณ์


นิคมสหกรณ์คลองท่อม นิคมสหกรณ์อ่าวลึก


กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2


กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4


ค สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ มีภารกิจดำเนินการส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2547 ดำเนินการจัดที่ดินและออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้กับสมาชิกนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 และระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วย การบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีอัตรากำลังจำนวน 52 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ 31 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน พนักงานราชการ 16 คน ตามโครงสร้างของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ กลุ่มตรวจการสหกรณ์ นิคมสหกรณ์อ่าวลึก นิคมสหกรณ์คลองท่อม กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์1 – 4 รับผิดชอบ 8 อำเภอในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอเขาพนม อำเภอเกาะลันตา อำเภอคลองท่อม อำเภอลำทับ อำเภออ่าวลึก อำเภอปลายพระยา สหกรณ์83 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 15 แห่ง รวมทั้งสิ้น 98 แห่ง โดยได้รับการอนุมัติแผนปฏิบัติงานและได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 47,624,861.19 บาท ดังนี้ แผนงานบุคลากรภาครัฐ ▪ แผนงานบุคลากรภาครัฐ แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ▪ งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ▪ โครงการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์ (กสน.3,5) ▪ โครงการส่งเสริมและผลักดันสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ▪ โครงการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น ▪ โครงการประชุมแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มี ข้อบกพร่อง จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (จกบ.) ▪ ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่อง ▪ โครงการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ▪ ตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด ▪ ตรวจการตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ▪ โครงการจัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาธุรกิจร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ บทสรุปผู้บริหาร


▪ โครงการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์นอกภาคการเกษตรสู่ความเข้มแข็งประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า ▪ โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบการผลิต เกษตรแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม ▪ โครงการส่งเสริมการสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ▪ โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ▪ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ▪ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ▪ โครงการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ▪ โครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้(นำลูกหลานเกษตรกร กลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตร) แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ▪ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ▪ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร งานส่งเสริมและพัฒนา ▪ โครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประจำปีพ.ศ. 2565 ▪ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ▪ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนอื่น ๆ ที่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ▪ โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร (พรก.เงินกู้)


ผลจากการเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในการแนะนำ ส่งเสริมพัฒนา และกำกับดูแล สหกรณ์ จำนวน 83 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 15 แห่ง รวมเป็น 98 แห่ง 1. ผลการจัดระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2. ผลการจัดมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ▪ สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 56 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 36 แห่ง) ผ่านมาตรฐาน จำนวน 9 แห่ง ร้อยละ 25 ▪ สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 28 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 18 แห่ง) ผ่านมาตรฐาน จำนวน 10 แห่ง ร้อยละ 55.55 ▪ กลุ่มเกษตรกร จำนวน 11 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 9 แห่ง) ผ่านมาตรฐาน จำนวน 7 แห่ง ร้อยละ 77.77 3. ผลการดำเนินงาน สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจ จำนวน 14,463.29ล้านบาท มีกำไรสุทธิ375.40ล้านบาท มีสมาชิก 73,830 คน กลุ่มเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจ จำนวน 17.12 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1.498 ล้านบาท มีสมาชิก 739 คน ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร


ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากภายนอกซึ่งอัตราดอกเบี้ยค่อยข้างสูง ทำให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธรกิจกับสหกรณ์น้อย ส่งผลให้ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรขาดทุนจากการดำเนินงาน ทำให้สมาชิกไม่สามารถถอนหุ้นคืนได้ 2. สหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่มีลูกหนี้ค้างนาน สมาชิกขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในสหกรณ์ ส่งผลให้สมาชิกไม่ชำระหนี้ตามกำหนดสัญญาไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระ จนนำไปสู่การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 3. สหกรณ์ขาดธรรมภิบาลและการควบคุมภายใน สำหรับบริหารงานของสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ เกิดปัญหาการทุจริต 4. ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ทั้งราคาปาล์ม ยางพารา ทำให้สมาชิกสหกรณ์ ไม่มีเงินในการจ่ายชำระหนี้ 5. สม าชิกบ างส่วน เข้า ม าเพื่อต้องการการได้รับ อนุญ าตให้เข้าท ำป ระโยช น์ใน ที่ดิน ของนิคมสหกรณ์ หรือได้หนังสือแสดงการทำประโยชน์ แต่ไม่ได้ต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ กับสหกรณ์ จึงเกิดปัญหาสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขปัญหา 1.สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดทำฐานข้อมูลสมาชิก ข้อมูลทางตลาดสินค้าเกษตรกรและจัดทำแผนกลยุทธ์ สหกรณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆของสหกรณ์ ตลอดจนบูรณาการข้อมูลร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำฐานข้อมูลที่ทันสมัยมาในการพัฒนาสหกรณ์ 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรพิจารณาใช้ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ที่สำคัญ ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ มีการติดตามผลหลังจากการจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการจัดชั้น ลูกหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการชำระหนี้ให้เป็นไปตามกำหนดสัญญา ส่วนปัญหาหนี้ค้างชำระ ควรมีการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรนำหลักธรรมาภิบาลการควบคุมภายในที่ดีมาใช้ในสหกรณ์ โดยคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการสหกรณ์ ภายใต้การกำกับ ดูแล ช่วยเหลือและตรวจสอบความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 4. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรนำ Application ทางการเงินมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต 5. สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้เกิดกับสมาชิก โดยการจัดประชุมกลุ่ม เข้าพบปะสมาชิก เพื่อสอบถามความต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกิจกับสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ที่สหกรณ์ ได้รับจากภาครัฐ และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ประโยชน์ที่สมาชิกได้รับเมื่อเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ ให้ สมาชิกได้รับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การประชุมกลุ่ม ติดประกาศที่บอร์ด ประชาสัมพันธ์ ของสหกรณ์ และของหมู่บ้าน หอกระจายข่าวของหมู่บ้าน Facebook สหกรณ์ 6. การส่งเสริมการทำอาชีพเสริมให้แก่สมาชิกเพื่อให้มีรายได้เสริม สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระต่อไป


สารบัญ สารผู้บริหารหน่วยงาน ก ทำเนียบบุคลากรในหน่วยงาน ข บทสรุปผู้บริหาร ค ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน 1 1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ 2 1.1 แนวทางการขับเคลื่อนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับแผนระดับ 3 6 1.2 โครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ 10 1.3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แยกตามยุทธศาสตร์ 11 1.4 สรุปข้อมูลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ 12 ส่วนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน/โครงการ 19 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน สรุปผลการปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 20 1) ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 22 พ.ศ. 2565 และงบประมาณอื่นที่หน่วยงานได้รับ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 22 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 76 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 79 ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 96 แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 100 2) ผลการดำเนินงาน โครงการตามนโยบายสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 106 งานส่งเสริมและพัฒนา 106 งานบูรณาการ 108 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 109 กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนอื่น ๆ ที่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับ 113 โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรฯ 120 ส่วนที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ฯ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 124 ส่วนที่ 4 รายงานข้อมูลงบการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 งบแสดงฐานะทางการเงิน 128 129 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน 130 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 131 ส่วนที่ 5 ภาคผนวก 135 สรุปผลสำเร็จตามตัวชี้วัดหลัก (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) (พ.ศ. 2563 - 2565) 136


ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน ส่วนที่ 1


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 2 1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ อำนาจหน้าที่ “เป็นองค์กรเพื่อการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม มุ่งส่งเสริม พัฒนาขบวนการสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เอื้ออาทรสังคม สร้างค่านิยมให้ประชาชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" วิสัยทัศน์Vision พันธกิจ Mission • ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสมาชิกปลูกปาล์มน้ำมัน ได้รวบรวมปาล์ม ส่งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มของชุมนุมสหกรณ์ ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและเชื่อมโยงเครือข่ายแบบครบวงจร • ให้ชุมนุมสหกรณ์การยางกระบี่ จำกัด ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ได้ส่งยางพาราไปจำหน่ายกับบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (ITRCO) ได้ • ส่งเสริมกลุ่มสตรีและเยาวชนต้นแบบเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 กลุ่ม • เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาดสินค้าสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ดำเนินธุรกิจที่เกิดจากความต้องการของชุมชนมิใช่เกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง • ส่งเสริมเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่ผู้สนใจ • ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติสหกรณ์ ข้อบังคับและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • จัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ และเยาวชนสหกรณ์เพิ่มขึ้น • ส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานกรมส่งเสริมสหกรณ์ • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร • ช่วยเหลือ แนะนำให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ได้ร่วมกันปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน • แนะนำ สนับสนุนด้านการตลาด ให้ความรู้ด้านวิชาการ • แนะนำด้านการวางแผนในการบริหาร การจัดการในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ • จัดหาศูนย์กลางการทำธุรกิจทุกรูปแบบให้สหกรณ์ • จัดหาปัจจัยการตลาดเพื่อลดต้นทุนให้สหกรณ์ • สนับสนุนเงินทุนให้สหกรณ์ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ • สมาชิกมีเอกสารสิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดี • สมาชิกอยู่ดีกินดี มีเอกสารสิทธิ์ครบถ้วน • เป็นองค์กรที่ทำให้สมาชิกทุกคนทุกกลุ่มได้รับสิทธิ์ในที่ดินทำกินอย่างถูกต้อง ครบถ้วนสามารถทำการเกษตรได้เหมาะสมและ สร้างผลิตผลรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสมบูรณ์พูนสุขพร้อมๆ กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ ทำ หน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาล • สมาชิกมีคุณภาพที่ดีได้มาตรฐาน เอกสารสิทธิ์ในที่ดินถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามกฎหมาย


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 3 • ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ .ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2547 ดำเนินการจัดที่ดินและออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้กับ สมาชิกนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511และระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าด้วยการ บริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป • ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย • โครงสร้างการแบ่งส่วนงาน ได้มีการแบ่งส่วนงานสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่มงานวิชาการ 2 นิคมสหกรณ์ 4 กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ดังนี้ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน Authority ➢ ฝ่ายบริหารทั่วไป ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ติดตาม รวบรวม แผนงาน จัดทำรายงานผล การปฏิบัติงานและจัดทำคำขอ จัดตั้งงบประมาณ งานเกี่ยวกับงานการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ จัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงานบุคคล งานเกี่ยวกับ งานสารบรรณและงานบริหารงานทั่วไป งานศูนย์ข้อมูล สารสนเทศของสำนักงานและจัดทำปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพ งานด้านเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ติดตาม เร่งรัดและประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามแผนงานโครงการและคำรับรองการปฏิบัติราชการ ของสำนักงาน งานสนับสนุน งานนโยบายของจังหวัด กระทรวง เกษตรเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ ➢ กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นไปได้และให้ความเห็นใน การขอจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรของกลุ่มบุคคล 2. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียน การควบ การแยก การเลิก การชำระบัญชี การแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร รวมทั้ง ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์ และกล่มเกษตรกร ภายหลังการจัดตั้ง 3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการจัดตั้งสหกรณ์ แก้ไข ปัญหาภารกิจที่เกี่ยวข้องของกลุ่มงาน ให้แก่ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบ ส่งเสริมสหกรณ์ 6. ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพิเศษ 7. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 8. การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการฝึกอบรม การบริหารโครงการระดับจังหวัดในภารกิจ ที่เกี่ยวข้อง 9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 4 ➢ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ สหกรณ์ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการ พัฒนาธุรกิจ และส่งเสริม การตลาดแก่สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร 2. ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าการบรรจุ ภัณฑ์ และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 3. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาดและส่งเสริมการ เชื่อมโยงธุรกิจ การตลาดสหกรณ์ สู่ตลาดทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนา ธุรกิจสหกรณ์ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5. ประสานงานให้ความช่วยเหลือ ดูแล รักษาและการ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต 6. ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงานและ โครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน 7. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์และรักษา ระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ➢ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนา การบริหารการจัดการสหกรณ์ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการ จัดระบบงานการบริหารงานบุคคลและการควบคุม ภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เข้มแข็ง 2. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไป ได้ของโครงการ การจัดหา การลงทุน และการ บริหารเงินทุนของสหกรณ์สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 3. ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการสนับสนุนเงินทุนและ สินเชื่อแก่สหกรณ์ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการ บริหาการจัดการสหกรณ์ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5. ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงาน และโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน 6. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มสหกรณ์ให้ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานของ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษา ระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 5 ➢ กลุ่มตรวจการสหกรณ์ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล เพื่อตรวจสอบ กิจการ และฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์ หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบ ของสหกรณ์ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงาน เสนอนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อทราบหรือพิจารณา 2. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อวางระบบและแนวทางการตรวจ การสหกรณ์ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ 3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอ นายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่าง มีประสิทธิภาพ หรือวางแนวทางการป้องกันแก้ไข และฟื้นฟู 4. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง กับกฎหมาย เช่น การร้องเรียนคดีความต่างๆ รวมทั้ง เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ 5. ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่อง และเรื่องร้องเรียนการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร 6. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อหารือ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ 7. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียน สหกรณ์ในการเตรียมการ หรือทำคำสั่งทางการ ปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติ ราชการทางการปกครอง 8. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบ 9. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ 10. ปฏิบัติหน้าที่ตามนายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย 11. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบ การตรวจการสหกรณ์ 12. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ➢ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 – 4 1. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ 2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ 3. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ 4. เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ สหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชน ทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ 5. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ผ่านมาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์และรักษา มาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม 6. ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบ ส่งเสริมสหกรณ์และระบบกาส่งเสริมสหกรณ์ 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ➢ นิคมสหกรณ์ ศึกษาวิเคราะห์ และงานแผนการจัดที่ดิน ให้แก่สมาชิก ในเขตพื้นที่ นิคมสหกรณ์ ดำเนินการออกหนังสื อ แสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ แก้ไขปัญหาในการบุกรุกที่ดินพิจารณาและควบคุม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเขตนิคมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 6 2) แนวทางการขับเคลื่อนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับแผนระดับ 3 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมถึงนโยบายและทิศทางการพัฒนาจังหวัดในระดับพื้นที่ ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงาน พื้นฐาน ด้านการสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน แผนงาน ยุทธศาสตร์ การเกษตร สร้างมูลค่า แผนงาน ยุทธศาสตร์ เสริมสร้างพลัง ทางสังคม แผนงาน ยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุน ด้านการสร้าง โอกาสและ ความเสมอภาค ทางสังคม แผนงาน บูรณาการ พัฒนา และส่งเสริม เศรษฐกิจ ฐานราก ส่งเสริมและ พัฒนาสหกรณ์ และกลุ่ม เกษตรกรให้มี ความเข้มแข็ง ตามศักยภาพ ส่งเสริมเกษตร แปรรูปใน สหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร ส่งเสริมการ ดำเนินงานอัน เนื่องมาจาก พระราชดำริ ส่งเสริมและ พัฒนาอาชีพ เพื่อแก้ไข ปัญหาที่ดินทำ กินของ เกษตรกร ส่งเสริมการ พัฒนาระบบ ตลาดภายใน สำหรับสินค้า เกษตร พัฒนาทักษะ ในการประกอบ อาชีพเพื่อสร้าง รายได้


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 7 ลำดับที่ แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ เป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน หน่วยนับ แผนงานบุคลาการภาครัฐ ค่าใช้จ่ายบุคลาการภาครัฐ 1 กิจกรรมหลักค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 31 ราย ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ และเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กรมกำหนด ร้อยละ 97 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ 2 กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรให้มีความ เข้มแข็งตามศักยภาพ 65/11 สหกรณ์/ กลุ่ม เกษตรกร สหกรณ์มีความเข้มแข็งระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 กลุ่มเกษตรกรมี ความเข้มแข็ง ระดับ 1 ร้อยละ 25 3 กิจกรรมรองออกหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ 4,090 ไร่ สมาชิกสหกรณ์นิคมได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในพื้นที่นิคมสหกรณ์เพื่อทำการเกษตร ในรูปแบบ กสน.3 กสน.5 และโฉนด 4,090 ไร่ 4 โครงการจัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่าย ซูเปอร์มาร์เก็ต 20 ราย สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการสามารถ เชื่อมโยงสินค้า ระหว่างสหกรณ์ เกษตรกร ผู้ผลิตสินค้า เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้กับสมาชิก สหกรณ์ 5 โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนปิดบัญชีสหกรณ์ 1 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชีและ งบการเงินของสหกรณ์นอกภาคการเกษตร ให้สามารถจัดทำบัญชีและงบการเงินได้ ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีสหกรณ์ และ นำข้อมูลบัญชีไปใช้ประโยชน์ในการ บริหารจัดการสหกรณ์ได้ แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 6 กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรแปรรูปใน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1 ครั้ง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการ ส่งเสริมทำการเกษตรแปรรูป ร้อยละ 3 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 7 กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ 2 แห่ง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอัน เนื่องมาจากพระราชดำริได้รับการส่งเสริม และพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 8 ลำดับที่ แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ เป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน หน่วยนับ 8 กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ นักเรียนในโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จ พระเทพรัตราชสุดาฯสยามบรม ราชกุมารี 1 โรงเรียน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และ ทักษะพื้นฐานทางด้านอาชีพที่จำเป็นใน การดำรงชีวิต อย่างน้อย 1 อาชีพ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการ ดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มและการ สหกรณ์ สามารถนำหลักการและวิธีการ สหกรณ์ที่ได้จากการปฏิบัติจริงไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 9 กิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำาริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมาร 2 สหกรณ์ สมาชิกรวมไปถึงประชาชนได้ศึกษา เรียนรู้ และตระหนักถึงการอนุรักษ์พืช ประจำถิ่นให้สามารถใช้ประโยชน์ ร่วมกันอย่างยืน 10 กิจกรรมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ใน พระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 4 ครั้ง ประชาชนทั่วไปและนักเรียนในพื้นที่ จังหวัดกระบี่ได้รับบริการทางวิชาการ ด้านการสหกรณ์และคำแนะนำในการ แก้ไขปัญหารวดเร็วทันเวลา เป็นที่ ยอมรับและเกิดความเชื่อมั่นในการ ให้บริการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด กระบี่ 11 กิจกรรมขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง สหกรณ์น้อมนำแนวคิดปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินงานได้อย่างโดดเด่นและสามารถ เป็นแบบอย่างได้ พร้อมขับเคลื่อนลงสู่ สมาชิก แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 12 กิจกรรมหลักนำลูกหลานเกษตรกร กลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร 7 ราย ลูกหลานสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วม โครงการมีอาชีพการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้ จากการประกอบอาชีพการเกษตรที่สามารถ ดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนภายใน 3 ปี สหกรณ์ การเกษตรเป็นศูนย์กลางในการนำลูกหลาน สมาชิกและบุคคลทั่วไปเข้ามาประกอบอาชีพ การเกษตรที่บ้านเกิดของตนเอง และเป็นที่พึ่ง ของสมาชิกอย่างแท้จริง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 9 ลำดับที่ แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ เป้าหมาย ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน หน่วยนับ แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 13 กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาอาชีพภายใต้ โครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐ 1/25 / 34 แห่ง/ราย / พื้นที่ เกษตรกรที่ผ่านการอบรมส่งเสริมและพัฒนา อาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีรายได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 14 กิจกรรมหลักพัฒนากลไกการตลาดเพื่อเพิ่ม ช่องทางการจำหน่ายสินค้าของสหกรณ์กลุ่ม เกษตรกร 3 แห่ง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นองค์กรหลักใน การบริหารจัดการการตลาดสินค้าเกษตร และ เกษตรกรมีตลาดรองรับสินค้าเกษตร งานส่งเสริมและพัฒนา 15 โครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 23 แปลง เกษตรกรได้รับการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม ทำการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง มีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้ เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดย มีตลาดรองรับที่แน่นอน เกษตรกรสามารถลด ต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน ภายใต้ การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แผนงานอื่นๆ 16 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการปกติ 5 สัญญา โครงการพิเศษ 17 สัญญา 22 สัญญา สหกรณ์มีทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สร้างรายได้เพิ่มจาการดำเนินธุรกิจ เพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันกับภาคเอกชน สหกรณ์มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำสหกรณ์มีความพร้อม มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สามารถ ตอบสนองกับความต้องการของสมาชิกได้ 17 กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร • โครงการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึง แหล่งเงินทุนในการผลิตและ การตลาด • โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อ สร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิก สถาบันเกษตรกร 1 1 สัญญา สัญญา กลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพ ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง สามารถ จัดหาวัสดุอุปกรณ์การผลิต ทั้งพืชและสัตว์มา บริการสมาชิกได้อย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความ ต้องการของสมาชิก การเบิกจ่ายและชำระคืน เป็นไปตามกำหนด 18 โครงการปรับโครงสร้างการผลิตการรวบรวบ และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับ ผลผลิตทางการเกษตร 5 แห่ง สถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการบริหาร จัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตใน ระดับชุมชน สมาชิกสามารถเข้าถึงประโยชน์ จากสถาบันเกษตรกรในการให้บริการ เครื่องจักรกลการเกษตร การรวบรวม รับซื้อ และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 10 3) โครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ โครงสร้างสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ อัตรากำลังของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ หน่วย : คน *** ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ข้าราชการ, 31 ลูกจ้างประจ า, 5 พนักงานราชการ, 16 0 5 10 15 20 25 30 35 ข้าราชการ ลูกจ้างประจ า พนักงานราชการ อัตราก าลังบุคลากรส านักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ รวมทั้งสิ้น 52 ราย


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 11 4) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (แยกตามยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ) บาท ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนแม่บทย่อย : การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร 3,915,310 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3,915,310 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนแม่บทย่อย : เกษตรแปรรูป 1,600 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 1,600 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนแม่บทย่อย : การเสริมสร้างทุนสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม 261,800 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนแม่บทย่อย : การสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 134,000 แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 25,600 แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 108,400


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 12 ข้อมูลสถิติของสหกรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนสหกรณ์และจำนวนสมาชิกสหกรณ์ ประเภทสหกรณ์ จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกที่มี ส่วนร่วมในการ ดำเนินธุรกิจ (คน) ร้อยละ รวมสมาชิก ทั้งหมด (คน) สมาชิก สามัญ (คน) สมาชิก สมทบ (คน) 1. สหกรณ์การเกษตร 42 25,538 25,253 285 15,864 62.12 2. สหกรณ์ประมง 1 29 29 0 0 0.00 3. สหกรณ์นิคม 4 11,878 11,849 29 7,887 66.40 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 12,513 11,526 987 12,216 97.63 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 11 23,642 22,177 1,465 18,080 76.47 7. สหกรณ์เครดิตยู เนี่ยน 1 230 230 0 112 48.70 รวม 65 73,830 71,064 2,766 54,159 73.36 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สถานะสหกรณ์ (ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) ประเภทสหกรณ์ จำนวนสหกรณ์ (แห่ง) จำนวนสหกรณ์ ทั้งหมด (1) + (2) + (3) + (4) ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (1) หยุดดำเนินงาน/ ธุรกิจ (2) เลิก /ชำระบัญชี (3) จัดตั้งใหม่ (4) 1. สหกรณ์การเกษตร 40 2 11 - 53 2. สหกรณ์ประมง - 1 2 - 3 3. สหกรณ์นิคม 4 - 1 - 5 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 - - - 6 5. สหกรณ์ร้านค้า - - 1 - 1 6. สหกรณ์บริการ 10 - 2 1 13 7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 1 - 1 - 2 รวม 61 3 18 1 83 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 13 ปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทสหกรณ์ ปริมาณ ธุรกิจ ของสหกรณ์ (แห่ง) ปริมาณธุรกิจ แยกตามประเภทการให้บริการ (ล้านบาท) รับฝากเงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต บริการ และอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 1. สหกรณ์การเกษตร 44 28.76 9.73 14.35 2,507.48 1,475.32 17.06 4,179.71 2. สหกรณ์ประมง - - - - - - - - 3. สหกรณ์นิคม 5 37.42 17.58 196.39 520.50 32.06 0.42 804.37 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 2,455.93 4,805.13 - - - 759.69 8,020.75 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 10 904.34 406.30 2.66 - - 144.25 1,457.56 7. สหกรณ์เครดิต ยูเนียน 1 0.30 0.60 - - - - 0.90 รวมทั้งสิ้น 67 3,426.76 5,239.33 340.41 3,027.98 1,507.38 921.42 14,463.29 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ ประเภทสหกรณ์ ผลการดำเนินงานปีล่าสุดที่มีการปิดบัญชีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในภาพรวม (ล้านบาท) (5) – (7) ผลการดำเนินงานในภาพรวม การดำเนินงานมีผลกำไร - ขาดทุน (1) จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) (2) รายได้ (ล้าน บาท) (3) ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) สหกรณ์ที่มีผลกำไร สหกรณ์ที่ขาดทุน (4) จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) (5) กำไร (ล้านบาท) (6) จำนวน สหกรณ์ (แห่ง) (7) ขาดทุน (ล้านบาท) 1. สหกรณ์การเกษตร 42 962.11 970.96 20 12.11 22 20.96 8.85 2. สหกรณ์ประมง 1 0.00 0.009 - - 1 0.009 0.009 3. สหกรณ์นิคม 4 863.87 863.70 2 1.66 2 1.49 0.171 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 6 575.76 208.93 5 366.82 1 0.00 366.82 5. สหกรณ์ร้านค้า - - - - - - - - 6. สหกรณ์บริการ 10 214.63 196.64 6 19.20 4 -1.21 17.98 7. สหกรณ์เครดิต 1 2.25 0.39 - - 1 0.72 0.72 รวมทั้งสิ้น 64 2,618.64 2,240.65 33 399.81 31 -24.41 375.40 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ หมายเหตุ 1. ในระหว่างปีสหกรณ์บริการจัดตั้งเพิ่ม 1 แห่ง 2. ในระหว่างปีสหกรณ์เลิก/ชำระบัญชี 2 แห่ง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 14 ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์จำแนกตามประเภท ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ประเภทสหกรณ์ สหกรณ์ ชั้น 1 สหกรณ์ ชั้น 2 สหกรณ์ ชั้น 3 สหกรณ์ ชั้น 4 รวม สหกรณ์ภาคการเกษตร 1. สหกรณ์การเกษตร 5 29 8 11 53 2. สหกรณ์นิคม - 4 - 1 5 3. สหกรณ์ประมง - 1 - 2 3 สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ 4 1 1 - 6 5. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน - 1 - 1 2 6. สหกรณ์บริการ 2 7 2 2 13 7. สหกรณ์ร้านค้า - - - 1 1 รวม 11 43 11 18 83 ที่มา : รายงานสรุปผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองแผนงาน ผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ เปรียบเทียบ 3 ปี (ปี พ.ศ. 2563– 2565) ระดับชั้น ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 (แห่ง/ร้อยละ) ระดับชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 (แห่ง/ร้อยละ) ชั้น 1 7 /8.43% 8 /9.52% 11 /13.25% ชั้น 2 50 /60.24% 51 /60.72% 43 /51.81% ชั้น 3 8 /9.64% 8 /9.52% 11 /13.25% ชั้น 4 18 /21.69% 17 /20.24% 18 /21.69% รวม 83 /100% 84 /100% 83 /100% ที่มา : รายงานสรุปผลการจัดระดับชั้นสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองแผนงาน 8.43 9.52 13.25 60.24 60.72 51.81 9.64 9.52 13.25 21.69 20.24 21.69 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ชั้น1 ชั้น2 ชั้น3 ชั้น4


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 15 ข้อมูลสถิติของกลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนกลุ่มเกษตรกรและจำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเภทกลุ่มเกษตรกร จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) จำนวนสมาชิก จำนวนสมาชิกที่มี ส่วนร่วม ในการดำเนินธุรกิจ (คน) ร้อยละ รวม สมาชิก ทั้งหมด (คน) สมาชิก สามัญ (คน) สมาชิก สมทบ (คน) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 2 107 107 0 14 13.08 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 539 539 0 162 30.06 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 2 93 93 0 15 16.13 4. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - - 5. กลุ่มเกษตรกรทำประมง - - - - - - 6. กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - - - รวม 11 739 739 0 191 25.85 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สถานะกลุ่มเกษตรกร ประเภทกลุ่มเกษตรกร จำนวนกลุ่มเกษตรกร (แห่ง) จำนวนกลุ่ม เกษตรกรทั้งหมด (1) + (2) + (3) + (4) ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (1) หยุด ดำเนินงาน/ ธุรกิจ (2) เลิก /ชำระบัญชี (3) จัดตั้งใหม่ (4) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 2 - 1 - 3 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 6 1 2 - 9 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 1 1 1 - 3 4. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - 5. กลุ่มเกษตรกรทำประมง - - - - - 6. กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ (ระบุ) - - - - - รวม 9 2 4 - 15 ที่มา : กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 16 ปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทสหกรณ์ ปริมาณ ธุรกิจ ของกลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) ปริมาณธุรกิจ แยกตามประเภทการให้บริการ (ล้านบาท) รับฝาก เงิน ให้เงินกู้ จัดหา สินค้ามา จำหน่าย รวบรวม ผลผลิต แปรรูป ผลผลิต บริการ และอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 2 - 180,000 78300 - - 161,805.47 420,105.47 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 - 109,030 5,731,999 - 11,435,330 2,263.09 17,278,622.09 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 2 - - 21,528 - - 150 21,678 4. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - - - - 5. กลุ่มเกษตรกรทำ ประมง - - - - - - - - 6. กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ - - - - - - 164,218.56 - รวมทั้งสิ้น - - 289,030 5,831,827 - 11,435,330 164,218.56 17,720,405.56 ที่มา :กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ประเภท กลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินงานปีล่าสุดที่มีการปิดบัญชีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ในภาพรวม (ล้านบาท) (5) – (7) ผลการดำเนินงานในภาพรวม การดำเนินงานมีผลกำไร - ขาดทุน (1) จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) (2) รายได้ (ล้านบาท) (3) ค่าใช้จ่าย (ล้านบาท) กลุ่มเกษตรกร ที่มีผลกำไร กลุ่มเกษตรกร ที่ขาดทุน (4) จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) (5) กำไร (ล้านบาท) (6) จำนวน กลุ่ม เกษตรกร (แห่ง) (7) ขาดทุน (ล้านบาท) 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา 2 29.09 26.01 2 o.011 - - 0.011 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 7 14.49 12.95 4 1.54 3 0.007 1.53 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 2 0.022 0.069 1 0.007 1 -0.054 0.047 รวมทั้งสิ้น 11 14.62 13.12 7 1.55 4 -0.061 1.498 ที่มา : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 17 ผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกรจำแนกตามประเภท ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ประเภทกลุ่มเกษตรกร กลุ่ม เกษตรกร ชั้น 1 กลุ่ม เกษตรกร ชั้น 2 กลุ่ม เกษตรกร ชั้น 3 กลุ่ม เกษตรกร ชั้น 4 รวม 1. กลุ่มเกษตรกรทำนา - 2 - 1 3 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน 1 4 2 2 9 3. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ - - 2 1 3 4. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ - - - - - 5. กลุ่มเกษตรกรทำประมง - - - - - 6. กลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ (ระบุ) - - - - - รวม 1 6 4 4 15 ที่มา : รายงานสรุปผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร 1 6 4 4 ชั้น1 ชั้น2 ชั้น3 ชั้น4 0 1 2 3 4 5 6 7 กราฟแสดงผลการจัดระดับชั้นกลุ่มเกษตรกร ณ 30 กันยายน 2565 ชั้น1 ชั้น2 ชั้น3 ชั้น4


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 18 ▪ จำนวนกลุ่มอาชีพและจำนวนสมาชิก แยกตามผลิตภัณฑ์ ประเภทกลุ่มอาชีพ (แยกตามผลิตภัณฑ์) จำนวนกลุ่มอาชีพ (แห่ง) คิดเป็นร้อยละ จำนวน สมาชิก(คน) คิดเป็นร้อยละ 1.อาหารแปรรูป 8 26.67 256 30.85 2.ผ้า 7 23.33 182 21.93 3.ศิลปะประดิษฐ์ 8 26.67 163 19.63 4.เครื่องแกง 6 20.00 196 23.61 5.สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 1 3.33 33 3.98 รวม 30 100.00 830 100.00 27% 27% 23% 20% 3% จ านวนกลุ่มอาชีพ อาหารแปรรูป ผ้า ศิลปะประดิษฐ์ เครื่องแกง สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 31% 22% 20% 23% 4% จ านวนสมาชิก อาหารแปรรูป ผ้า ศิลปะประดิษฐ์ เครื่องแกง สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร


ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน/โครงการภายใต้แผนปฏิบัติงาน งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ส่วนที่ 2


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 20 ลำดับที่ แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ เป้าหมาย ผลความก้าวหน้าการ ดำเนินงาน งบประมาณ จำนวน หน่วยนับ ผลการ ดำเนินงาน ร้อยละ งบประมาณ ที่ได้รับ เบิกจ่าย ร้อยละ แผนงานบุคลาการภาครัฐ ค่าใช้จ่ายบุคลาการภาครัฐ 1 กิจกรรมหลักค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 31 ราย 31 100 4,906,051.19 4,906,051.19 100 แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ 2 กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ตามศักยภาพ 65/11 สหกรณ์/ กลุ่ม เกษตรกร 65/11 100 3,874,300 3,874,300 100 3 กิจกรรมรองออกหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ 4,090 ไร่ 3,776 92.32 29,410 29,410 100 4 โครงการจัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่าย ซูเปอร์มาร์เก็ต 20 ราย 20 100 3,800 3,800 100 5 โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ แผนปิดบัญชีสหกรณ์ 1 แห่ง 1 100 7,800 7,800 100 แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า 6 กิจกรรมหลักส่งเสริมเกษตรแปรรูปใน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1 ครั้ง 1 100 1,600 1,600 1 แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 7 กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ 2 แห่ง 2 100 226,900 226,900 100 8 กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนใน โรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิ ราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี 1 โรงเรียน 1 100 11,300 11,300 100 9 กิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร 2 สหกรณ์ 2 100 12,600 12,600 100 สรุปผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ผลการดำเนินงานสะสมตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565)


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 21 ลำดับที่ แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ เป้าหมาย ผลความก้าวหน้าการ ดำเนินงาน งบประมาณ จำนวน หน่วยนับ ผลการ ดำเนินงาน ร้อยละ งบประมาณ ที่ได้รับ เบิกจ่าย ร้อยละ 10 กิจกรรมคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร 4 ครั้ง 4 100 9,100 9,100 100 11 กิจกรรมขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร 5 แห่ง 5 100 1,900 1,900 100 แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 12 กิจกรรมหลักนำลูกหลานเกษตรกร กลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร 7 ราย 7 100 25,600 25,600 100 แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 13 กิจกรรมหลักส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ภายใต้โครงการจัดที่ดินตามนโยบายรัฐ 1/25 / 34 แห่ง/ราย/ พื้นที่ 1 แห่ง-25 ราย-34 พื้นที่ 100 90,400 90,400 100 14 กิจกรรมหลักพัฒนากลไกการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า ของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร 3 แห่ง 3 100 18,000 18,000 100 งานส่งเสริมและพัฒนา 15 โครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 23 แปลง 23 100 3,500 3,500 1 แผนงานอื่นๆ 16 เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ปีงบประมาณ 22 สัญญา 22 100 3,3720,000 3,3720,000 100 17 กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 2 สัญญา 2 100 2,650,000 2,650,000 100 18 โครงการปรับโครงสร้างการผลิตการ รวบรวมและการแปรรูปของสถาบัน เกษตรกร 5 แห่ง 5 100 2,032,600 2,032,600 100 รวม 18 โครงการ 47,624,861.19 47,624,861.19 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 22 1) ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 และงบประมาณอื่นที่หน่วยงานได้รับ ◼ งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 3 อำเภอ มีสถาบันที่ดูแลและรับผิดชอบ สหกรณ์ จำนวน 25 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 แห่ง แยกได้ดังนี้ อำเภอเมืองกระบี่สหกรณ์ จำนวน 21 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์ จำนวน 21 แห่ง 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกระบี่ จำกัด 12. สหกรณ์นุรูลอิสลาม จำกัด 2. สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด 13. สหกรณ์ทับปริกการเกษตรสหกิจ จำกัด 3. สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจกระบี่ จำกัด 14. สหกรณ์แพะและปศุสัตว์กระบี่ จำกัด 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ จำกัด 15. สหกรณ์ประมงรักษ์ภูมิปัญญาโป๊ะน้ำตื้น จำกัด 5. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานกระบี่รีสอร์ท จำกัด 16. สหกรณ์การเกษตรเมืองกระบี่ จำกัด 6. สหกรณ์เรือหางยาวบริการตำบลอ่าวนาง จำกัด 17. สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาขาว จำกัด 7. สหกรณ์เรือหางยาวบริการเกาะพีพี จำกัด 18. สหกรณ์ปศุสัตว์อันดามันเมืองกระบี่ จำกัด 8. สหกรณ์รถยนต์โดยสารกระบี่ จำกัด 19.สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาค้อม จำกัด 9. สหกรณ์อิสลามบารอกะฮ จำกัด 20.สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาทอง จำกัด 10. สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.กระบี่ จำกัด21. สหกรณ์การเกษตรกระบี่น้อยพัฒนา จำกัด 11. สหกรณ์เคหะสถานบ้านมั่นคงกลางเมืองกระบี่ จำกัด กลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง 1. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์และพืชผลตำบลหนองทะเล 2. กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาคราม 3. กลุ่มเกษตรกรทำนากระบี่น้อย ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 23 อำเภอเหนือคลอง สหกรณ์จำนวน 3 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง สหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง 1.ชุมนุมสหกรณ์การยางกระบี่ จำกัด 2.สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านควนม่วง จำกัด 3.สหกรณ์การเกษตรบ้านท่ายาง จำกัด กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง 1.กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตำบลเหนือคลอง อำเภอเขาพนม สหกรณ์จำนวน 1 แห่ง 1.สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินบ้านหินลูกช้าง จำกัด 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 20 19 95 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 ร้อยละ 25 แห่ง - - - 3.สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 21 9 42.86 4.กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 3 3 100 5.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 25 21 84 6.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 4 4 100 ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 82.16 2,738.67 2.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน ร้อยละ 3 185.74 6,191.33 3.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 24 19 79.17 4.จำนวนกลุ่มเกษตรกรอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 4 1 25 ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 25 22 88 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 25 25 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 24 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 (อำเภอเมือง ,อำเภอเหนือคลอง, อำเภอเขาพนม) มีสมาชิก ทั้งหมด จำนวน 32,145 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 26,138 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 81.31 สหกรณ์มีสมาชิกมาใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 13 แห่ง และสมาชิกมาใช้บริการน้อยกว่า ร้อยละ 60 จำนวน 11แห่ง (สหกรณ์ยังไม่ดำเนินธุรกิจจำนวน 1 แห่ง) ปริมาณธุรกิจ จำนวน 8,208,410,673.23 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2,738.67 สหกรณ์มีผลกำไร จำนวน 14 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 25 แห่ง (3 แห่ง ไม่สามารถปิดบัญชีได้และอีก 1 แห่งยังไม่ดำเนินธุรกิจ) คิดเป็นร้อยละ 56.00 สหกรณ์ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31.82 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.00 2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1(อำเภอเมือง ,อำเภอเหนือคลอง, อำเภอเขาพนม) มีสมาชิก ทั้งหมด จำนวน 260 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 29 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 11.15 กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกมาใช้บริการต่ำกว่าร้อยละ 60 จำนวน 4 แห่ง ปริมาณธุรกิจ จำนวน 3,875,237บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6,191.33 กลุ่มเกษตรกรมีผลกำไร จำนวน 3 แห่ง กลุ่มเกษตรกร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.00 มีกลุ่มเกษตรกรอยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 2แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50.00 4. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้ในด้านการสหกรณ์และบทบาทหน้าทีความรับผิดชอบ แก่คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ สมาชิก และเจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นประจำทุกปีงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวได้ตระหนักถึงสหกรณ์และ สมาชิกอยู่เสมอ ⚫สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 • สหกรณ์การเกษตรกระบี่น้อยพัฒนา จำกัด o งานที่ดำเนินการ สหกรณ์การเกษตรกระบี่น้อยพัฒนา จำกัด ได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 เป็นสหกรณ์ใน”โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขที่ดินทำ กินของเกษตรกร” ซึ่งเป็นสหกรณ์จัดตั้งใหม่ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 ได้ดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการ ดำเนินงานในรูปแบบของสหกรณ์ และผลักดันให้สหกรณ์ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมให้ สหกรณ์กำหนดระเบียบให้ครอบคลุมทุกการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจ ทำให้คณะกรรมการมีแนวทาง ในการดำเนินงานรูปแบบเดียวกัน แต่เนื่องจากสมาชิกมีส่วนร่วมทางธุรกิจน้อย เพื่อให้สมาชิกร่วมทำธุรกิจ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 25 กับทางสหกรณ์มากขึ้นจึงจัดอบรม “โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการ กำกับดูแลกิจการสหกรณ์” เป้าหมายประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และ สมาชิกสหกรณ์ จำนวน 30 ราย ซึ่งปรากกฎกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 100 ของ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีการเผยแพร่ให้ความรู้ในหัวข้อวิชา ได้แก่ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบทบาท หน้าที่ ของคณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบ กิจการ และสมาชิกสหกรณ์ o ผลจากการดำเนินงาน สหกรณ์มีการกำหนดกำหนดระเบียบที่ครอบคลุมกับการดำเนินงานของสหกรณ์ และได้ปฏิบัติ เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด ทำให้การดำเนินงานมีมาตรฐาน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คณะกรรมการ ดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และสมาชิกเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ ของตนเอง รู้คุณค่าของสหกรณ์ส่งผล ให้สมาชิกเข้ามามส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิด กิจกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับสมาชิกและชุมชนขึ้น อธิเช่น การรวมกลุ่มเช่าพื้นที่สหกรณ์เพื่อปลูก พืชผักสวนครัว , การร่วมกันปลูกข้าวไร่และพืชผลทางการเกษตรในพื้นที่แปลงรวมเพื่อเป็นรายได้ให้กับ ทางสหกรณ์ “โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์” การรวมกลุ่มเช่าพื้นที่สหกรณ์เพื่อปลูกพืชผักสวนครัว การร่วมกันปลูกข้าวไร่และพืชผลทางการเกษตร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 26 • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 3 อำเภอ มีสถาบันที่ดูแลและรับผิดชอบ สหกรณ์ จำนวน 9 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง แยกได้ดังนี้ อำเภอเกาะลันตา จำนวน 4 แห่ง สหกรณ์ จำนวน 4 แห่ง 1. สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองยาง จำกัด 2. สหกรณ์เครดิตยูเนียนบ้านท่าคลอง จำกัด 3. สหกรณ์บริการท่องเที่ยวเกาะลันตา จำกัด 4. สหกรณ์อิสลามษะกอฟะฮ จำกัด อำเภอคลองท่อม จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง 1. สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด 2. สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านดินนา จำกัด 3. สหกรณ์กองทุนสวนยางคลองท่อมเหนือ จำกัด อำเภอเหนือคลอง จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง 1. สหกรณ์อิสลามตันมียะฮ์ จำกัด 1. กลุ่มเกษตรกรทำสวนคลองเขม้า 2. สหกรณ์การเกษตรบ้านเกาะปู จำกัด 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 9 8 88.88 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 ร้อยละ 25 แห่ง 1 1 100 3.สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 9 4 44.44 4.กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 1 0 0 5.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 9 6 66.66 6.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 1 1 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 27 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 (อำเภอเกาะลันตา ,อำเภอคลองท่อม, อำเภอเหนือ คลอง) มีจำนวน 9 แห่ง มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 25,506 คน โดยมีสมาชิกที่มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจ กับสหกรณ์ ประมาณ 19,445 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 76.24 สหกรณ์มีสมาชิกมาใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 4 แห่ง และสมาชิกมาใช้บริการน้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 5 แห่ง มีปริมาณธุรกิจปี พ.ศ. 2565 จำนวน1,492,512,106.72 บาท สหกรณ์มีผลกำไร จำนวน 5 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 55.55 สหกรณ์สามารถแก้ไขข้อสังเกตุและข้อบกพร่องได้แล้วเสร็จ จำนวน 4 แห่งจากทั้งหมด 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 55.55 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.77 2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 (อำเภอเหนือคลอง) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 46 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 15 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 32 กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกมาใช้บริการต่ำกว่าร้อยละ 60 มีปริมาณธุรกิจ จำนวน 109,030 บาท กลุ่มเกษตรกร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรอยู่ในระดับชั้น 2 ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วย นับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 3 5.3 176.66 2.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 4.4 146.66 3.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 3 3 100 4.จำนวนกลุ่มเกษตรกรอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สิน ของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 1 1 100 ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 9 7 77.77 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 9 9 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 28 4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากไม่มี การระดมทุนภายใน การระดมทุนในรูปของหุ้นและเงินฝากออมทรัพย์มีน้อย ส่งผลให้สหกรณ์ต้องใช้เงินทุน จากภายนอก ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยค่อยข้างสูง 2. สหกรณ์ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม มีผลทำให้มูลค่าหุ้นไม่เต็มจำนวน สมาชิกขาดความ เชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ 3. สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจน้อย เนื่องจากมีคู่แข่งในการดำเนิน ธุรกิจสูง และการให้บริการที่ยังไม่หลากหลาย 4. สหกรณ์การเกษตรบางแห่งมีลูกหนี้ของสมาชิกค้างนาน ไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ สมาชิกขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในสหกรณ์ ไม่สามารถถอนหุ้นคืนได้ ส่งผลให้สมาชิกไม่ชำระหนี้ตามกำหนด สัญญาก่อให้เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระจนนำไปสู่การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 5. สหกรณ์ขาดธรรมาภิบาลและการควบคุมภายในที่ดี 5.แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มงานวิชาการและกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อติดตาม ปัญหาและอุปสรรคในการแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิก เพื่อสร้างความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของสมาชิก การมีส่วนร่วม และความเป็นเจ้าของ เพื่อสมาชิกจะได้เข้าใจระบบ ของสหกรณ์ เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดทำฐานข้อมูลสมาชิก และข้อมูลทางตลาดสินค้าเกษตรกรเพื่อใช้ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆของสหกรณ์ ตลอดจนบูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำฐานข้อมูลที่ทันสมัยมาในการพัฒนาสหกรณ์ 4. สหกรณ์ควรจัดทำแผนธุรกิจที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก สหกรณ์ด้วยวิธีการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมดำเนิน ธุรกิจให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง 5. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรพิจารณาใช้ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ ที่สำคัญในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ มีการติดตามผลหลังจากการจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการจัดชั้นลูกหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการชำระหนี้ให้เป็นไปตามกำหนดสัญญา ส่วนปัญหา หนี้ค้างชำระ ควรมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 29 6. ควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการของสหกรณ์ที่มีปัญหาปัญหาในการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้สินค้างนานของสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 7. การส่งเสริมการทำอาชีพเสริมให้แก่สมาชิกเพื่อให้มีรายได้เสริม สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง ชำระต่อไป 8. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรนำหลักธรรมาภิบาลการควบคุมภายในที่ดีมาใช้ในสหกรณ์ โดยคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการสหกรณ์ ภายใต้การกำกับ ดูแล ช่วยเหลือและตรวจสอบความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 9. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรนำ Application ทางการเงินมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต ⚫สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 • สหกรณ์อิสลามษะกอฟะฮ จำกัด o งานที่ดำเนินการ จัดอบรม “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ และผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์” o ผลจากการดำเนินงาน คณะกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์มีความรู้ความเข้าใจ ถึงบทบาทหน้าที่ของตนมากขึ้น “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการของ สหกรณ์”


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 30 • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 4 อำเภอ มีสถาบันที่ดูแลและรับผิดชอบ สหกรณ์ จำนวน 12 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 12 11 91.66 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 2 แห่ง 3 3 100 3.สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 12 6 50 4.กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 2 2 100 5.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 12 11 91.66 6.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 3 3 100 ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 6.26 208.66 2.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน ร้อยละ 3 1,463.62 - 3.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 9 9 100 4.จำนวนกลุ่มเกษตรกรอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 1 1 100 ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 3 3 100 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 12 12 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 31 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน 1. สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 (อำเภอลำทับ ,อำเภอคลองท่อม, อำเภอเหนือคลอง) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 2,324 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์จำนวน 1,285 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 55.29 สหกรณ์มีสมาชิกมาใช้บริการเกินร้อยละ 60 จำนวน 6 แห่ง และสมาชิก มาใช้บริการน้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 6 แห่ง ปริมาณธุรกิจ จำนวน 205,628,774.99 บาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อนร้อยละ 6.26 สหกรณ์มีผลกำไร จำนวน 11 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 12 แห่ง (1 แห่งไม่ สามารถปิดบัญชีได้) คิดเป็นร้อยละ 91.66 สหกรณ์สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้แล้วเสร็จ จำนวน 3 แห่ง จากทั้งหมด 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ จำนวน 6 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 50 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.66 2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 (อำเภอลำทับ ,อำเภอคลองท่อม, อำเภอเขาพนม ) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 125 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 13 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกมาใช้บริการต่ำกว่าร้อยละ 60 จำนวน 3 แห่ง ปริมาณธุรกิจ จำนวน 121,188.56 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1,463.62 กลุ่มเกษตรกรมีผลกำไร จำนวน 2 แห่ง (กลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 แห่ง จัดตั้งใหม่) กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 มีกลุ่มเกษตรกรอยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากไม่มีการระดมทุน ภายใน การระดมทุนในรูปของหุ้นและเงินฝากออมทรัพย์มีน้อย ส่งผลให้สหกรณ์ต้องใช้เงินทุนจากภายนอก ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยค่อยข้างสูง 2. สหกรณ์ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสม มีผลทำให้มูลค่าหุ้นไม่เต็มจำนวน สมาชิกขาดความ เชื่อมั่นในระบบสหกรณ์ 3. สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจน้อย เนื่องจากมีคู่แข่งในการดำเนินธุรกิจสูง และการให้บริการที่ยังไม่หลากหลาย 4. สหกรณ์การเกษตรบางแห่งมีลูกหนี้ของสมาชิกค้างนาน ไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้สมาชิกขาด ความเชื่อมั่นศรัทธาในสหกรณ์ ไม่สามารถถอนหุ้นคืนได้ ส่งผลให้สมาชิกไม่ชำระหนี้ตามกำหนดสัญญา ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระจนนำไปสู่การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 5. สหกรณ์ขาดธรรมาภิบาลและการควบคุมภายในที่ดี


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 32 5. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มงานวิชาการและกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อติดตามปัญหา และอุปสรรคในการแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิก เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของสมาชิก การมีส่วนร่วม และความเป็นเจ้าของ เพื่อสมาชิกจะได้เข้าใจระบบของสหกรณ์ เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 3. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จัดทำฐานข้อมูลสมาชิก และข้อมูลทางตลาดสินค้าเกษตรกรเพื่อใช้ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆของสหกรณ์ ตลอดจนบูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำฐานข้อมูลที่ทันสมัยมาในการพัฒนาสหกรณ์ 4. สหกรณ์ควรจัดทำแผนธุรกิจที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ ด้วยวิธีการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมดำเนินธุรกิจ ให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง 5. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรพิจารณาใช้ความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ที่สำคัญ ในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ มีการติดตามผลหลังจากการจ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีการจัดชั้น ลูกหนี้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการชำระหนี้ให้เป็นไปตามกำหนดสัญญา ส่วนปัญหาหนี้ค้างชำระ ควรมีการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหา และกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน 6. ควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการของสหกรณ์ที่มีปัญหาปัญหาในการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ปัญหา หนี้สินค้างนานของสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 7.การส่งเสริมการทำอาชีพเสริมให้แก่สมาชิกเพื่อให้มีรายได้เสริม สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระต่อไป 8. สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ควรนำหลักธรรมาภิบาลการควบคุมภายในที่ดีมาใช้ในสหกรณ์ โดยคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และสมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการสหกรณ์ ภายใต้การกำกับ ดูแล ช่วยเหลือและตรวจสอบความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 9. แนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรนำ Application ทางการเงินมาใช้เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 33 ⚫สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 • สหกรณ์กองทุนสวนยางหนองปง จำกัด o งานที่ดำเนินการ 1. ให้ความรู้ความเข้าใจในการสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ แก่บุคลากรสหกรณ์ 3 ฝ่าย ได้แก่สมาชิก ฝ่ายจัดการ คณะกรรมการดำเนินงานของสหกรณ์ 2. แนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดทำให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จตาม แผนงานที่กำหนดไว้ 3. ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนากับสหกรณ์ โดยการประชุมร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เพื่อหาความต้องการสมาชิก สภาพปัญหาของสมาชิก โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่สมาชิกและแนวทางพัฒนาสหกรณ์ ให้เข้มแข็ง 4. ดำเนินการร่วมกับกลุ่มงานวิชาการของจังหวัด ตามภารกิจของแต่ละกลุ่มงาน เพื่อกำหนด เป็นแนวทางในการส่งเสริมสหกรณ์ การแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เพื่อพิจารณา ติดตาม แก้ไขปัญหาต่อไป 5.คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ สมาชิก รู้จักบทบาท หน้าที่ของตนเอง o ผลจากการดำเนินงาน สหกรณ์กองทุนสวนยางหนองปง จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 359 คน ทุนดำเนินงาน จำนวน 18,351,819.81 บาท กำไรสุทธิ จำนวน 1,567,076.37 บาท มีมูลค่าธุรกิจรวมทั้งสิ้น จำนวน 47,121,899.77 บาท โดยมีธุรกิจให้บริการแก่สมาชิก ดังนี้ 1. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (สินค้าประเภทการเกษตร, สินค้าอุปโภคบริโภค) ปริมาณธุรกิจ 10,818,494 บาท กำไรเฉพาะธุรกิจ 933,538.57 บาท 2. ธุรกิจรวบรวมผลิต (ปาล์มน้ำมัน) ปริมาณธุรกิจ 16,537,522.50 บาท ขาดทุนเฉพาะธุรกิจ 266,786.73 บาท 3. ธุรกิจแปรรูปผลผลิต (ยางพารา) ปริมาณธุรกิจ 8,974,559 บาท กำไรเฉพาะธุรกิจ 266,786.73 บาท 4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 65.17 คิดเป็นร้อยละ 75 5.มาตรฐานสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ คะแนน 98.63


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 34 6.ระดับการจัดชั้นสหกรณ์ อยู่ในระดับ ชั้น 1 (สามารถยกระดับจากชั้น 2 สู่ ชั้น 1) 6.1 การมีส่วนร่วมของสมาชิก ระดับ 4 มีส่วนร่วมมากกว่าร้อยละ 70 6.2 เสถียรภาพทางการเงิน ระดับ 3 มั่นคงดี 6.3 การควบคุมภายใน ระดับ 3 ดี 6.4 ข้อบกพร่อง ระดับ 4 ไม่มีข้อบกพร่อง 7. ปริมาณธุรกิจ 49,340,061.64 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 24.90 8. เป็นสหกรณ์แรกๆที่มีการนำ Application ทางการเงิน Smart 4 M ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาใช้ 9. มีการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรเป็นทุนสวัสดิการสมาชิกและทุน สาธารณะประโยชน์และมีการจ่ายทุนสวัสดิการสมาชิก และทุนสาธารณะประโยชน์ 10.มีการให้การศึกษาอบรมกรรมการและสมาชิกเป็นประจำทุกปี ทั้งในเรื่องของสหกรณ์และอื่นๆ เช่น การเสริมสร้างอาชีพเสริมให้แก่สมาชิก


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 35 • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 3 อำเภอ มีสถาบันที่ดูแลและรับผิดชอบ สหกรณ์ จำนวน 15 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 แห่ง แยกได้ดังนี้ อำเภออ่าวลึก จำนวน 8 แห่ง จำนวนสหกรณ์ 7 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง อำเภอปลายพระยา จำนวน 5 แห่ง จำนวนสหกรณ์ 4 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง อำเภอเขาพนม จำนวน 5 แห่ง จำนวนสหกรณ์ 4 แห่ง และกลุ่มเกษตรกร 1 แห่ง 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 91 แห่ง 11 10 90.91 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 ร้อยละ 25 แห่ง 1 1 100 3.สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 2 0 0 4.กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง 3 2 66.67 5.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 60 วัน แห่ง 14 12 85.72 6.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 60 วัน แห่ง 3 2 66.67 ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 1.167.42 100 2.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน ร้อยละ 3 11.80 100 3.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 14 12 85.72 4.จำนวนกลุ่มเกษตรกรอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของ สมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 2 1 71.72 ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 14 14 100 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 7 7 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 36 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน 1.สหกรณ์ในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 (อำเภออ่าวลึก ,อำเภอปลายพระยา,อำเภอเขาพนม) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 3,884 คน โดยมีสมาชิกส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 3,108 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.02 มีปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้น/ลดลง จำนวน 900,554,181.81 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 22.86 มีผลกำไร/ขาดทุน 1,725,517.72 ล้านบาท สหกรณ์มีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุม ภายในระดับพอใช้ขึ้นไป จำนวน 9 แห่ง สหกรณ์มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาตรฐาน ขึ้นไป 9 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 100 มีสหกรณ์อยู่ในระดับชั้น 1 และ 2 จำนวน 11 แห่ง หรือคิดเป็น ร้อยละ 78.58 2.กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 (อำเภออ่าวลึก ,อำเภอปลายพระยา, อำเภอเขาพนม) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 318 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 128 คนโดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร จำนวน 128 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 40.26 มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น/ลดลง จำนวน 12,926,830.00 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37.95 มีผลกำไร/ขาดทุน จำนวน 1,523,755.72 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกรมีผลการจัดชั้นคุณภาพการควบคุม ภายในระดับดีขึ้นไป จำนวน 2 แห่งมีกลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 66.67 มีกลุ่มเกษตรกรอยู่ในระดับ ชั้น 1 จำนวน 1 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 33.34 4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ 2. ปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ ลูกหนี้ค้างชำระนาน มียอดสูง เรียบเก็บหนี้สินได้ยาก เนื่องจากสมาชิกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น โควิด-19 แต่ได้แนะนำให้สหกรณ์ช่วยเหลือสมาชิก โดยมีโครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการลดดอกเบี้ยอื่นๆ ให้กับสมาชิก สหกรณ์ควรกำหนดให้มีการประชุมกลุ่ม สมาชิกของสหกรณ์ เพื่อจะได้ทวงถามการชำระหนี้จากสมาชิก 5. แนวทางแก้ไข/ข้อเสนอแนะ ราคายางพารา รัฐบาลจัดทำโครงการแทรกแซงยางแผ่นดิบรมควันเพื่อพยุงราคาให้กับสมาชิกสหกรณ์ ผู้ปลูกยางพาราหรือมีการชดเชยราคา ราคาปาล์มน้ำมัน สหกรณ์นำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาโครงการชดเชยราคา หรือชดเชยราคาปาล์มน้ำมัน แนะนำให้สหกรณ์ช่วยเหลือสมาชิกโดยมีโครงการส่งเสริมอาชีพ โครงการลดดอกเบี้ยอื่นๆ ให้กับสมาชิก


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 37 ⚫สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 • สหกรณ์เคหะสถานบ้านมั่นคงเทศบาลตำบลปลายพระยา จำกัด o งานที่ดำเนินการ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงานประจำปี ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ใหญ่ ชี้แจงการดำเนินงานของสหกรณ์เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งตามเกณฑ์ระดับชั้น สหกรณ์ 4 ด้านรวมทั้งแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์รักษามาตรฐานการดำเนินงานให้มั่นคง เพื่อให้สหกรณ์เข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสมาชิก o ผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน ณ วันสิ้นปีทางบัญชี 31 ธันวาคม 2564 สหกรณ์มีสมาชิก จำนวน 55 คน สมาชิกสหกรณ์ มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจ 55 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การควบคุมภายในสหกรณ์ อยู่ในระดับดี อัตราส่วนทางการเงินประสิทธิภาพของการบริหารงานของคณะกรรมการ ไม่มีข้อบกพร่องสหกรณ์ ได้รับการจัดชั้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ชั้น 2 และมีผลการประเมินมาตรฐานสหกรณ์ดี


Click to View FlipBook Version