The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วัชรา ปลอดใหม่, 2023-01-13 23:09:33

รายงานประจำปี 2565

รายงานประจำปี 2565

รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 88 ◼ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(นิคมสหกรณ์อ่าวลึก) 1.วัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้สามารถ ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิธีการสหกรณ์ในการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการครองชีพมุ่งเน้นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งในด้านการป้องกันและลดความเสียหายจาก ภัยธรรมชาติต่าง ๆ 2.เป้าหมาย สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน แปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ ได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้พันธุกรรมพืชในชุมชน จำนวน 1 แปลง 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ พัฒนาแปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพันธุกรรมพืชของชุมชน และสมาชิกสหกรณ์ 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) งบดำเนินการ (ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราดำริ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 6,300 บาท 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด มีแปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ จำนวน 1 แปลง 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ แหล่งเรียนรู้พันธุ์พืชบริเวณแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก จำนวน 1 แห่ง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 89 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยงเชิงเกษตรตามรอยโครงการพระราชดำริและที่ศึกษาดูงานของ เกษตรกรที่สนใจและสมาชิกสหกรณ์มีความเข้าใจสามารถใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ – 9.ภาพประกอบ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 90 ◼โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 1.วัตถุประสงค์ 1) เพื่อร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและร่วมแสดงความจงรักภักดีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 2) เพื่อให้เกษตรกรที่มีปัญหาด้านสหกรณ์ สามารถเข้าถึงการบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ได้รับการแก้ไขปัญหาในคราวเดียวกัน และเผยแพร่ระบบสหกรณ์ให้กับนักเรียน 2. เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปและนักเรียนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ร่วมดำเนินกิจกรรมคลินิกสหกรณ์ภายใต้โครงการคลินิก เกษตรเคลื่อนที่ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินโครงการ 1) ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรม เบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด 2) ประชาชนเข้ารับบริการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ ประชาชนทั่วไปและนักเรียนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ได้รับบริการทางวิชาการด้านการสหกรณ์และคำแนะนำ ในการแก้ไขปัญหารวดเร็วทันเวลา เป็นที่ยอมรับและเกิดความเชื่อมั่นในการให้บริการของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ 5.งบประมาณที่ได้รับ(มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) หน่วย : บาท ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 9,100 9,100 100 รวมทั้งสิ้น 9,100 9,100 100 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 15พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 91 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 1) ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับความรู้ด้านการสหกรณ์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการพัฒนา ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี 2) ประชาชนได้เสริม สร้างความรู้ทักษะด้านการสหกรณ์และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้อง กับอุดมการณ์สหกรณ์สร้างจิตสำนึกในการทำงานร่วมกันให้ประชาชน จนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3) เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำไปปรับใช้เพื่อประกอบอาชีพได้อย่าง มั่นคงและยั่งยืน 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณและเบิกจ่ายให้ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ 100 100 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ เก ษ ต รก ร/ป ระชาช น เข้าร่ว ม โค รงการค ลิ นิ ก เก ษ ต รเค ลื่ อ น ที่ ใน พ ระราชานุ เค ราะ ห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ได้รับความรู้ความเข้าใจในระบบเกษตรทฤษฎีใหม่ มีความรู้ ด้านการสหกรณ์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จำนวน 200 ราย 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนำ 2019 ทำให้การดำเนินงานโครงการอยู่ภายใต้ มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาด กิจกรรมบางอย่างจึงไม่สามารถดำเนินการได้ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ9.ภาพประกอบ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 ธันวาคม 64 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอ อ.คลองท่อม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 92 ครั้งที่ 2 วันที่ 17 ก.พ. 65 ณ โรงเรียนบ้านบากัน อ.อ่าวลึก ครั้งที่ 3 วันที่ 26 ก.ค. 65 ณ อบต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง ครั้งที่ 4 วันที่ 18 ส.ค. 65 ณ โรงเรียนบ้านห้วยน้ำแก้ว ต.หน้าเขา อ.เขาพนม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 93 ◼ โครงการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิการชาวไทยมาโดยตลอดมานานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 1.วัตถุประสงค์ (1) เพื่อคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่นำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินงานได้อย่างโดดเด่น และสามารถเป็นแบบอย่างให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรอื่นสามารถ นำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรได้ (2) เพื่อเป็นการเผยแพร่ สนับสนุน ส่งเสริม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้สหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร ได้นำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีการดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.เป้าหมาย สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เคยเข้าร่วมโครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2556 จำนวน 5 แห่ง 1. สหกรณ์นิคมปากน้ำ 2 .สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจานสามัคคี จำกัด 3. สหกรณ์อิสลามษะกอฟะฮ จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.กระบี่ จำกัด 5. สหกรณ์อิสลามบารอกะฮฺ จำกัด ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 94 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1.สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริไปใช้ 2.การบริหารและกำกับการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักรวมทั้งบริหารการเบิกจ่ายให้ เป็นไปตามเป้าหมายและเงื่อนไขเวลาที่กรมกำหนด 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์น้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานได้อย่างโดดเด่น และสามารถเป็นแบบอย่างได้ พร้อมขับเคลื่อนลงสู่สมาชิก 5.งบประมาณที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 1,900 1,900 100 รวมทั้งสิ้น 1,900 1,900 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด 1) สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ 2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับรางวัลเพื่อเป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปี พ.ศ. 2565 ในระดับเขต คือ สหกรณ์อิสลามบารอกะฮฺ จำกัด ด้วยคะแนน 456 คะแนน ได้รับรางวัลชมเชย 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการ ตามโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 5 แห่ง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ มีแบบอย่างในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 95 2) สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน -- 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ - 9.ภาพประกอบ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 96 ◼ โครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ (นำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพเกษตร) 1. วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรได้เข้าถึงองค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต รวมถึงการสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืนให้เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตร 2. เป้าหมาย เกษตรกรในโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ เป้าหมายหลัก จำนวน 7 ราย 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1. สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ จำนวน 7 ราย 2. สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่น้อยกว่า 12,000 บาท 3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 4. ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักและเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนด ร้อยละ 100 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. ลูกหลานสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการมีอาชีพการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้ จากการประกอบอาชีพการเกษตรที่สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนภายใน 3 ปี 2. สหกรณ์การเกษตรเป็นศูนย์กลางในการนำลูกหลานสมาชิกและบุคคลทั่วไปเข้ามาประกอบอาชีพ การเกษตรที่บ้านเกิดของตนเอง และเป็นที่พึ่งของสมาชิกอย่างแท้จริง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 97 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 25,515 25,515 100 รวมทั้งสิ้น 25,515 25,515 100 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสร้าง ทักษะในการประกอบอาชีพ ราย 7 7 100 สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน บาท 12,000 75,011.90 625.10 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 56.24 1,874.67 เบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนด ร้อยละ 100 100 100 * เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.24 เนื่องจากราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในปี 2565 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ จำนวน 7 ราย เนื่องจาก ได้เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เพื่อสร้างรายได้เสริม และนำผู้เข้าร่วมโครงการไปศึกษาดูงาน ณ Vii By Mushroom Villa และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดกระบี่ ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ พันธุ์พืช เป็นต้น ได้รับการสนับสนุนด้านการตลาด เช่น การนำผู้เข้าร่วมโครงการไปออกบูธจำหน่ายสินค้า เป็นต้น 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากอาชีพเกษตรปี 2565 รวม 6,301,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2,268,000 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.24 และในปี 2565 ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน 75,011.90 บาท 3. สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อปล่อยกู้ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ราย รวมเป็นเงิน 120,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 98 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีอาชีพการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรที่สามารถ ดำรงชีพได้ 2. สหกรณ์การเกษตรเป็นศูนย์กลางในการนำลูกหลานสมาชิกและบุคคลทั่วไปเข้ามาประกอบอาชีพ การเกษตรที่บ้านเกิดของตนเอง และเป็นที่พึ่งของสมาชิก 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการบางรายไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการประกอบ อาชีพการเกษตรจากสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ อธิบายถึงประโยชน์และความสำคัญของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ 9. ภาพประกอบ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่, Vii By Mushroom Villa และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรของผู้เข้าร่วมโครงการ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 99 “โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์” นำผู้เข้าร่วมโครงการไปออกบูธจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ การประชุมพิจารณาเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมตามโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 100 ◼ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร 1.วัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาชนภายในพื้นที่เป้าหมายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน 2) เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความกินดี อยู่ดี มีสันติสุข และสร้างความเข้มแข็งในชุมชน 2.เป้าหมาย เกษตรกรตามโครงการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่ป่าคลองเหนือคลองและป่าแหลมกรวด กลุ่มเป้าหมาย คือ สหกรณ์การเกษตรบ้านท่ายาง จำกัด หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวน 25 ราย 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1) เกษตรกรตามโครงการจัดที่ดินทำกินตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่บ้านท่ายาง หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ได้รับการอบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่ จำนวน 25 ราย 2) จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ คทช.ที่รับผิดชอบ จำนวน 34 พื้นที่ 3) รายได้ของสมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับการอบรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 4) ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักและเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนด ร้อยละ 100 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่บ้านท่ายาง หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวน 25 ราย ได้รับการอบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ หลักสูตร การเพาะเห็ด เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2565 ณ ศาลาเอนกประสงค์หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือ คลอง จังหวัดกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ตำบลห้วยยูง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานบูรณาการ ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 101 2) เกษตรกรที่ผ่านการอบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 3) ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้ คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด เพื่อร่วมวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 90,400 90,400 100 รวมทั้งสิ้น 90,400 90,400 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1) เกษตรกรในพื้นที่ คทช. ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ความรู้การเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ ราย 25 25 100 2) จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ คทช. พื้นที่ 34 34 100 3) เกษตรกรที่ผ่านการอบรมส่งเสริมและพัฒนาความรู้ การเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ร้อยละ 3 3 3 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่บ้านท่ายาง หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ จำนวน 25 ราย ได้รับการอบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ หลักสูตร การเพาะเห็ด เมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2565 ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 9 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ ตำบลห้วยยูง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 2) เกษตรกรที่ผ่านการอบรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 3) ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้ คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด เพื่อร่วมวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวมจำนวน 4 ครั้ง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 102 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ขอให้มีแผนงานจัดอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง และควรให้เกษตรกรได้ศึกษาดูงานจากสถานที่ ที่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ทำให้เกษตรกรได้รับความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ 9. ภาพประกอบ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 103 ◼ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร 1.วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร เชื่อมโยงเครือข่ายสินค้าคลัสเตอร์ของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร 2.เป้าหมาย 2.1 ทบทวนและส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผน OPP สหกรณ์และกลุ่มเกษตกร เป้าหมายปีงบประมาณ 2566 จำนวน 6 สหกรณ์ 2.2กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางระบบการบริหารจัดการผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 โดยมีเป้าหมายของกิจกรรม ได้แก่ ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 20 ราย 2.3 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางระบบการบริหารจัดการผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ครั้งที่ 2 โดยมีเป้าหมายของกิจกรรม ได้แก่ ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกในกิจกรรมที่ 1 หน่วยงาน/ผู้ที่คาดว่าจะเป็นคู่ค้า รวมจำนวน 18 ราย 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด การเชื่อมโยง เครือข่ายคลัสเตอร์ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 4.1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการการตลาดสินค้าเกษตร 4.2 สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรมีตลาดรองรับสินค้าเกษตร ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานบูรณาการ ประเด็นแผนแม่บท 16 เศรษฐกิจฐานราก แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 104 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณ ที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงานค่าใช้สอยและวัสดุสำหรับทุกกลุ่มงานในการ ดำเนินกิจกรรมของโครงการ 2.ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม 5,100 12,900 5,100 12,900 100 100 รวมทั้งสิ้น 18,000 18,000 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1.ทบทวนและส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนการ ดำเนินการตามแผน OPP ของสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรที่ได้จัดทำแผน OPP ในปีงบประมาณ 2564 ครั้ง 6 6 100 2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวางระบบการบริหารจัดการ ผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด ครั้ง 2 2 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.กระบี่ จำกัด สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด สหกรณ์การเกษตร คลองท่อม จำกัด สหกรณ์การเกษตรเจริญพัฒนาห้วยยูง จำกัด กลุ่มเกษตรกรทำสวนคลองพนพัฒนา กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านทุ่งหยีเพ็งร่วมใจ (สหกรณ์การเกษตรคลองยาง จำกัด) กลุ่มหัตถกรรมเตยปาหนันบ้าน วังหิน (สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด) กลุ่มสตรีเครื่องประดับ(กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาคราม) กลุ่มบากันบาติก (สหกรณ์การเกษตรอ่าวลึก จำกัด) กลุ่มอ่าวลึกบาติก (สหกรณ์บริการเครือข่ายชุมชนเชิงนิเวศอ่าวลึก จำกัด) ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการจัดทำ กะปิของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งหยีเพ็งร่วมใจ (สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านคลองยาง จำกัด) มีช่องทางในการจัดจำหน่าย ที สกต.ธกส กระบี่ จำกัด ยอดจำหน่าย เดือนละ 24 กระปุก ร้านจี๊ออ ยอดจำหน่าย เดือนละ 120 กระปุก เป็นต้น ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพในสังกัดสหกรณ์ มีการบริหารจัดการตลาดสินค้าอย่างเป็นระบบ และสินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีช่องทางจัดจำหน่าย


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 105 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน เนื่องจากผลผลิตหลักของสหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ เป็นยางพารา และปาล์มน้ำมัน ราคาผลผลิต ทางการเกษตรขึ้นลงตามราคาตลาดมหภาค ไม่สามารถกำหนดเองได้ ผลผลิตทั้งหมดส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพ ที่สังกัดสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุ ธรรมชาติ เช่น การทำเครื่องจักสานจากทางต้นปาล์มน้ำมัน,สบู่ แชมพู จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นต้น 9.ภาพประกอบ การประชุมครั้งที่ 1 การประชุมครั้งที่ 2


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 106 2) ผลการดำเนินงาน โครงการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2565 ◼ โครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1.วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง มีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน 3.2 เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐานภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2.เป้าหมาย แปลงใหญ่ ปี 2563 ในจังหวัดกระบี่ จำนวน 23 แปลง 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน จัดกิจกรรม/อบรม ถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม/ด้านการตลาด ร่วมกับหน่วยงานอื่น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 55 ของแปลงเป้าหมาย 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 4.1 เกษตรกรได้รับการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มทำการผลิตสินค้าเกษตร ด้านสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง มีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน 4.2 เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้ มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน งานส่งเสริมและพัฒนา


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 107 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) หน่วย : บาท ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินเงิน 3,700 3,700 100 รวมทั้งสิ้น 3,700 3,700 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ แปลงใหญ่ ปี 2563 แห่ง 23 23 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม/ด้านการตลาดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับเป้าหมายทั้ง 23 แปลง ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน แผนการปฏิบัติงานมาล่าช้ากว่าหน่วยงานอื่น ทำให้การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทันเวลา และเกิดความยุ่งยากในการปฏิบัติงาน 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ประสายงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้ในการวางแผนในการดำเนินงานในการปฏิบัติงาน 9.ภาพประกอบ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 108 ◼ การกระจายผลไม้ผ่านเครือข่ายสหกรณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรสมาชิก จากสถานการณ์สมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ส้มโอ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประสบปัญหา ผลผลิตล้นตลาดมาก ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจการรวบรวมผลไม้จากสมาชิกเพื่อ ส่งออกไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนของสมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ให้มีแหล่งกระจายสินค้า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ได้ช่วยเหลือ เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้โดยการรับผลไม้จากสมาชิกสหกรณ์และกระจายผลไม้ผ่านเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ ชนิดผลไม้ จากสถาบันเกษตรกร ปริมาณ มูลค่า (บาท) 1.ส้มโอ สหกรณ์การเกษตรอัมพวา จำกัด จังหวัดสมุทรสงคราม 2,000 ลูก 114,000 สหกรณ์การเกษตรบางคนที จำกัด จังหวัดสมุทรสงคราม 500 ลูก 28,500 รวม 142,500 งานบูรณาการ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 109 ◼ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1.วัตถุประสงค์ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 โดยโอนเงินทุนหมุนเวียน ส่งเสริมการสหกรณ์มาเป็นของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติ ให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545ได้โอนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ไปตั้งไว้ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2545 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์ สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่สหกรณ์ เพื่อส่งเสริม การดำเนินธุรกิจในการให้บริการสมาชิก 2. เป้าหมาย 1. สหกรณ์ทุกประเภท 2. มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000.- บาท 3. สหกรณ์มีวินัยทางการเงิน ไม่มีหนี้ผิดนัดค้างชำระต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ทุกเงินทุน สำหรับสหกรณ์ ได้รับการผ่อนผัน การขยายเวลาชำระหนี้ การลดหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การไกล่เกลี่ยคดี การประนีประนอมหนี้ และสหกรณ์สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข 4. สหกรณ์ที่ไม่มีการทุจริตและไม่มีข้อบกพร่องทางการเงินและทางบัญชีหาก สหกรณ์มีข้อบกพร่อง ต้องได้รับการแก้ไขแล้ว 5. สหกรณ์ตั้งใหม่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000.- บาท 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน สหกรณ์ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ การเบิกจ่ายและชำระคืน เป็นไปตามกำหนด 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์มีทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ สร้างรายได้เพิ่มจาการดำเนินธุรกิจ 2. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับภาคเอกชน 3. สหกรณ์มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 4. สหกรณ์มีความพร้อม มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สามารถตอบสนองกับความต้องการของสมาชิกได้ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 110 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) รายการ จำนวนเงินที่รับ โอนจากกรมฯ จำนวนเงินที่เบิก จำนวนเงินที่โอน คืนกรมฯ ร้อยละ 1. ค่าใช้จ่ายในการประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณาเงินกู้ฯ 70,400.00 62,870.00 7,530.00 89.31% 2. ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 55,450.00 55,445.00 5.00 99.99% 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ในปีงบประมาณ 2565 ได้มีการอนุมัติเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ทั้งสิ้น จำนวน 22 สัญญา จำนวน 33.72 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นโครงการปกติและโครงการพิเศษ ดังนี้ โครงการปกติ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1. จำนวนสหกรณ์ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ สัญญา 5 5 100 2. การเบิกจ่ายเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ล้านบาท 7.5 7.5 100 โครงการพิเศษ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1. จำนวนสหกรณ์ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ สัญญา 17 17 100 2. การเบิกจ่ายเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ล้านบาท 26.22 26.22 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ แผนภูมิที่ 1 การบริหารเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดสรรต ้นปี จดั สรรเพิม่ ระหว่างปี คืนวงเงิน อนุมัติ/เบิกจ่าย โครงการปกติ 11 0 3.5 7.5 โครงการพิเศษ 5.46 32.4 11.64 26.22 รวม 16.46 32.4 15.14 33.72 11 0 3.5 7.5 5.46 32.4 11.64 26.22 16.46 32.4 15.14 33.72 0 5 10 15 20 25 30 35 40 โครงการปกติ โครงการพิเศษ รวม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 111 แผนภูมิที่ 2 แสดงสัดส่วนการกู้ยืมตามวัตถุประสงค์ (โครงการปกติ) ปี 2565 จากแผนภูมิที่ 2 พบว่าในปี 2565 จังหวัดกระบี่ได้ให้สหกรณ์กู้ยืมกองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการปกติ ในวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่าย มากที่สุด จำนวน 6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80 และรองลงมา คือ ให้สมาชิกกู้ จำนวน 1.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20 แผนภูมิที่ 3 แสดงสัดส่วนการกู้ยืมตามวัตถุประสงค์ (โครงการพิเศษ) ปี 2565) จากแผนภูมิที่ 3 พบว่าในปี 2565 จังหวัดกระบี่ได้ให้สหกรณ์กู้ยืมกองทุนพัฒนาสหกรณ์โครงการพิเศษใน วัตถุประสงค์เพื่อรวมรวบผลผลิตมากที่สุด จำนวน 16 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 และรองลงมาคือ จัดหาสินค้ามา จำหน่าย จำนวน 7.60 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 และให้สมาชิกกู้ จำนวน 2.62 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 20% 80% ให ้สมาชิกกู ้ จัดหาสินค ้ามา จ าหน่าย 10% 29% 61% ให ้สมาชิกกู ้ จัดหาสินค ้ามา จ าหน่าย รวบรวม


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 112 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ มีเงินแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ทำให้มีศักยภาพในการดำเนินกิจการ สามารถ แข่งขันกับภาคเอกชนได้ รวมไปถึงเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพ สามารถลดต้นทุน การผลิตได้เป็นอย่างดีส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์และบุคคลในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 1. การส่งชำระหนี้บางสหกรณ์ยังใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนพัฒนาสหกรณ์โดยไม่ใช้ ระบบ Barcode ทำให้ต้องติดตามให้สหกรณ์ส่งใบโอนเงินทำให้สหกรณ์ได้รับใบเสร็จรับเงินล่าช้า 2. กรรมการและผู้จัดการสหกรณ์ขาดความรู้ในหลักเกณฑ์และระเบียบการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. แจ้งแนวทาง และแนะนำสหกรณ์ให้ชำระเงินผ่านระบบ Barcode 2. ควรมีการจัดประชุม หรือ ให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์แก่ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการของสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ 9. ภาพประกอบ ภาพการประชุมพิจารณาเงินกู้ กพส. การติดตามการใช้เงินกู้ฯ รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เงินกู้ กพส.


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 113 ◼ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนอื่น ๆ ที่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตั้งขึ้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกร ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติขึ้นเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517" และต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2554 เป็น "พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554" ซึ่งมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินกิจการตลอดจนช่วยเหลือสมาชิก โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ได้การให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสถาบัน เกษตรกรในรูปของการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวบรวมและแปรรูปผลผลิต ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกสถาบันเกษตรกร จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด และโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นากของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด 1. วัตถุประสงค์ 1. สนับสนุนเงินกู้ยืมให้กับกลุ่มเกษตรกรเฉพาะที่มีมาตรฐาน เพื่อให้มีเงินกู้ยืมใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในแต่ละปี รวม 5 ปี 2. เพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และราคายุติธรรม ตรงตามความประสงค์ของเกษตรกรเอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร รวมทั้งสร้างรายได้เพิ่ม จากการรวบรวมผลผลิตเพื่อจำหน่าย หรือแปรรูปผลผลิตร่วมกัน 3. สร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเกษตรกร เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและสร้างความยั่งยืนในการ เพิ่มทุนภายใน เพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพและความเข้มแข็งต่อไป 2. เป้าหมาย สนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นเงินกู้ยืมให้กับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ ที่ได้มาตรฐาน ใช้เงินกู้หมุนเวียน ในระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี ในแต่ละรอบการผลิตตามชนิดการผลิตของพืช สัตว์ และประมง เมื่อกลุ่มเกษตรกร มีการชำระหนี้เสร็จสิ้น ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ก็สามารถยื่นขอเงินกู้ใหม่ได้อีกภายในระยะเวลาของโครงการ เพื่อใช้หมุนเวียนในกลุ่มเกษตรกรทั้งกลุ่มเดิม และกลุ่มใหม่ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 114 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนสงเคราะห์นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ การเบิกจ่ายและชำระคืน เป็นไปตามกำหนด และสามารถสร้างความเข็มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรได้ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. กลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง สามารถจัดหาวัสดุ อุปกรณ์การผลิต ทั้งพืชและสัตว์มาบริการสมาชิกได้อย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก 2. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนพอในการประกอบอาชีพ 3. กลุ่มเกษตรกรสามารถขยายตลาดจำหน่ายผลิตผลได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเงินทุน ดอกเบี้ยไม่ต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าภาคเอกชน มีเงินทุนเพียงพอในการประกอบอาชีพการเกษตร 4. กลุ่มเกษตรกรมีฐานะการเงินมั่นคง มีทรัพย์สิน มีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองและสมาชิกได้ 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) รายการ จำนวนเงินที่ได้รับ โอนจากกรมฯ จำนวนเงินที่ เบิกจากกรมฯ จำนวนเงินที่ คืนกรมฯ ร้อยละ เงินค่าบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกร โครงการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่ง เงินทุนในการผลิตและการตลาด 3,000.00 860.00 2,140.00 28.67% 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1. จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนสงเคราะห์ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการผลิตและการตลาด สัญญา 1 1 100 2. การเบิกจ่ายเงินกู้กองทุนสงเคราะห์ ล้านบาท 2.2 2.2 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 115 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนสงเคราะห์ได้อนุมัติเงินกู้ ให้กับกลุ่มเกษตรทำสวนคีรีวง จำนวน 1.7 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ปุ๋ยผสม) โดยกลุ่มเกษตรกรมีเงินทุนทั้งสิ้นจำนวน 5,810,509.89 บาท ประกอบด้วย ทุนของกลุ่มเกษตรเอง ร้อยละ 67.11 และเงินกู้ยืม จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ร้อยละ 29.26 และหนี้สินอื่น ร้อยละ 3.63 กำไรทั้งสิ้น 867,389 บาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้อนุมัติเงินกู้ให้กับกลุ่มเกษตรทำสวนคีรีวง จำนวน 2.2 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ วัตถุประสงค์เพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ปุ๋ยผสม) โดยกลุ่มเกษตรกรมีเงินทุน ทั้งสิ้นจำนวน 7,001,523.00 บาท ประกอบด้วย ทุนของกลุ่มเกษตรเอง ร้อยละ 72.69 และเงินกู้ยืมจากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ร้อยละ 24.28 และหนี้สินอื่น ร้อยละ 3.03 กำไรทั้งสิ้น 1,381,533.11 บาท จากข้อมูล ข้างต้นจะเห็นได้ว่าทุนดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรเองและกำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อน และในส่วนของหนี้สินลดลง จากปีก่อน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งและสามารถเพิ่งพาตนเองได้มากขึ้น ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ มีเงินแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เสริมสร้างสภาพคล่องเงินทุนให้กับกลุ่ม เกษตรกร และลดความเสี่ยงให้สามารถชำระหนี้และคืนเงินทุนได้สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกรและสามารถ พึ่งพาตนเองได้รวมไปถึงเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนประกอบอาชีพ สามารถลดต้นทุนการผลิต ได้เป็นอย่างดีส่งผลให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรและบุคคลในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ในการดำเนินการสนับสนุนเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม เกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด ดังนี้ 1. กลุ่มเกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารในการจัดทำคำขอกู้ การขอเบิกเงินกู้ การใช้ เงินตามวัตถุประสงค์ การจัดทำจัดเก็บเอกสารด้านการเงินการบัญชี หนังสือสัญญายืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำ ประกันเงิน และไม่มีฝ่ายจัดการ ดำเนินการจัดทำเอกสาร เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ต้องเข้าไปช่วยกำกับ แนะนำ 2. ที่ตั้งของกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ตั้งอยู่ห่างไกลจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ทำให้มีอุปสรรค ต่อการติดต่อประสานงาน จึงเกิดความล่าช้าไม่ต่อสถานการณ์ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการกับ กลุ่มเกษตรกร การติดตามการใช้เงินกู้ และการติดตามเร่งรัดหนี้


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 116 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ จากผลการดำเนินงานเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรดำเนินการ ดังนี้ 1. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขโครงการการเขียน แผนงานโครงการ การจัดทำคำขอกู้เงิน การขอเบิกเงินกู้ การใช้เงินตามวัตถุประสงค์ การจัดทำ จัดเก็บเอกสารด้าน การเงินการบัญชี และความรับผิดชอบของกรรมการในฐานะผู้กู้และค้ำประกัน การเก็บค่าหุ้นตามสัดส่วนของเงินกู้ เพื่อเป็นการเพิ่มทุนภายในให้กลุ่มเกษตรกร ให้แก่คณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่ขอกู้เงินและเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมสหกรณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลจริงของกลุ่มเกษตรกรในการฝึกปฏิบัติ ระยะเวลาการจัดอบรม ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ควรร่วมกันติดตามการใช้เงินกู้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้คำแนะนำแก่กลุ่มเกษตรกร ให้สามารถส่งชำระหนี้ได้ตามกำหนด 9. ภาพประกอบ ภาพการประชุมพิจารณาเงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และการติดตามการใช้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 117 2. โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างโอกาสในการทำเกษตรกรรม และลดความเสี่ยงจากาการขาดแคลนน้ำ 2. เพื่อส่งเสริมการจัดระบบไร่นาของเกษตรกรให้มีความยั่งยืน มีแหล่งน้ำในฟาร์มของตนเอง ลดการพึ่งพา น้ำจากระบบชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ 3. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจากระบบการทำเกษตรกรรมแบบพึงธรรมชาติ เป็นการเกษตรกรรรม แบบบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดน้ำ 2. เป้าหมาย 1. สมาชิกที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากโครงการอื่นของรัฐในลักษณะเดียวกัน 2. มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิทำกินในพื้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากเป็นที่เช่าทำกินต้องมีระยะเวลาในการเช่า ต่อเนื่องครอบคลุมระยะเวลาโครงการและได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้ดำเนินการตามโครงการได้ 3. พื้นที่ทำกินรายละ 10 ไร่ หรือเมือรวมกับสมาชิกทุกรายในสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรนั้น ๆ แล้วเฉลี่ยได้รายละ 10 ไร่ 4. กรณีสมาชิกได้รับเงินกู้ยืมไม่เกินรายละ 50,000 บาท แล้วไม่เพียงพอในการขุดสระเก็บกักน้ำ/ขุดเจาะ บ่อบาดาล แต่สมาชิกยังประสงค์จะดำเนินการ กรณีนี้สมาชิกต้องเป็นผู้จ่ายเงินสมทบในส่วนที่เกิน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุนสงเคราะห์นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ การเบิกจ่ายและชำระคืน เป็นไปตามกำหนด และสมาชิกสถาบันเกษตรกรสามารถสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกรได้ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. สร้างโอกาสในการทำเกษตรกรรม และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืนโดยอาศัยแหล่งน้ำในฟาร์มของตนเอง 3.สร้างการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมแบบพึ่งพาธรรมชาติ เป็นการบริหารจัดการน้ำแบบมีระบบ 4. มีรายได้เพิ่มจากผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพมากขึ้น และสร้างอาชีพเสริมจากการมีแหล่งน้ำของตนเอง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 118 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) รายการ จำนวนเงินที่ได้รับ โอนจากกรมฯ จำนวนเงินที่เบิก จากกรมฯ จำนวน เงินที่คืน กรมฯ ร้อยละ เงินค่าบริหารจัดการโครงการของส่วนราชการ โครงการสนับสนุนเงินทุน เพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 22,000.00 13,525.00 8,475.00 61.48% 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1. จำนวนสถาบันเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติเงินกู้กองทุน สงเคราะห์โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร สัญญา 1 1 100 2. การเบิกจ่ายเงินกู้กองทุนสงเคราะห์ ล้านบาท 0.45 0.45 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์การเกษตรอ่าวลึก จำกัด เบิกจ่ายเงินโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 450,000 บาท ให้สมาชิกกู้ยืม 9 ราย รายละ 50,000 บาท เพื่อขุดสระกักเก็บน้ำและขุดเจาะบ่อบาดาล โดยแบ่งออกเป็น ขุดเจาะบ่อบาดาล จำนวน 5 ราย และขุดสระกับเก็บน้ำจำนวน 4 ราย ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้จากอาชีพหลักในการทำเกษตรกรรม และเมื่อมีวิกฤตภัยแล้ง สามารถ นำน้ำจากสระเก็บกักน้ำฝนและบ่อบาดาลที่จัดทำขึ้น ช่วยบรรเทาความ เสียหายของผลิตผลจากวิกฤต ภัยแล้งได้ ส่งผลให้สมาชิกยังคงมีรายได้อย่างต่อเนื่อง และทำการผลิต นอกฤดูกาล ซึ่งผลิตผลมีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้สมาชิกสถาบันเกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพมากขึ้น และมีอาชีพเสริมจากการมีแหล่งน้ำของตนเอง


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 119 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน สมาชิกสถาบันเกษตรกรบางราย เมื่อดำเนินการขุดสระหรือเจาะบ่อบาดาลแล้วไม่เจอน้ำและไม่สามารถ กับเก็บน้ำในสระได้ไว้ใช้ในการเกษตรได้ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการสำรวจพื้นที่ของสมาชิกสถาบันเกษตรโดยผู้เชี่ยวชาญ ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจาก การสำรวจต้องอาศัยความรู้ทางด้านธรณีวิทยา และอุทกวิทยาเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะน้ำบาดาลมีความสัมพันธ์ กับสภาพธรณี และลักษณะอุทกวิทยา เพื่อลดปัญหาในส่วนการจุดเจาะบ่อบาดาลแล้วไม่เจอน้ำ 2. ควรเพิ่มงบประมาณในการขุดเจาะ เนื่องจากพื้นที่แต่ละแห่งมีข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความยากง่ายในการขุดเจาะ 9. ภาพประกอบ ภาพการติดตามการใช้เงินกู้กองทุนเสกองทุนสงเคราะห์โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา ระยะที่ 2


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 120 ◼ โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับ ผลผลิตทางการเกษตร ภายใต้แผนงาน/โครงการ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2565 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อยกระดับศักยภาพสถาบันเกษตรกรให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร ตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าเกษตร 2) เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรเป็นกลไกหลักในระดับชุมชนในการอำนวยความสะดวก ให้แก่สมาชิกและเกษตรกรทั่วไปในการเพาะปลูก การรวบรวม จัดเก็บ และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 3) ผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับพื้นที่ให้มีรายได้ จากการประกอบอาชีพเกษตรอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มช่องทางจำหน่ายผลผลิตการเกษตรในภาวะความผันผวน ของตลาดสินค้าเกษตร 2. เป้าหมาย สถาบันเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 5แห่งดังนี้ 1) สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาใหญ่สามัคคีจำกัด 2) สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจานสามัคคี จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด 4) สหกรณ์การเกษตรอ่าวลึก จำกัด 5) สหกรณ์นิคมปลายพระยา จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ สถาบันเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์การตลาดที่จำเป็นในการเพาะปลูก รวบรวม และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร/ให้บริการสมาชิก เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 121 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1) สถาบันเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง สามารถยกระดับศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ สินค้าเกษตรในระดับชุมชนตามศักยภาพ 2) สถาบันเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจรวบรวมหรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปริมาณธุรกิจเดิมในปีที่ผ่านมา 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1) สถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตในระดับชุมชน จำนวน 5 แห่ง 2) สมาชิกสถาบันเกษตรกรในชุมชนสามารถเข้าถึงประโยชน์จากสถาบันเกษตรกรในการให้บริการ เครื่องจักรกลการเกษตร การรวบรวม รับซื้อ และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) สหกรณ์ รายการ วงเงินรวม ตามสัญญา วงเงิน อุดหนุน ผลการ เบิกจ่าย ร้อยละ สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาใหญ่ สามัคคีจำกัด เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ขนาดไม่น้อยกว่า 1.4 แรงม้าจำนวน 10 เครื่อง 95,000 85,500 85,500 100 สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจาน สามัคคี จำกัด เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ขนาดไม่น้อยกว่า 1.4 แรงม้าจำนวน 20 เครื่อง 190,000 171,000 171,000 100 สหกรณ์การเกษตรคลองท่อม จำกัด รถตัดหญ้าแบบเดินตาม ขนาดไม่น้อยกว่า 5 แรงม้า จำนวน 2 คัน 9,600 8,640 8,640 100 เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ขนาดไม่น้อยกว่า 1.4 แรงม้าจำนวน 10 เครื่อง 79,000 71,100 71,100 100 สหกรณ์การเกษตรอ่าวลึก จำกัด รถแทรกเตอร์ ขนาดไม่น้อยกว่า 95 แรงม้า พร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 คัน 1,469,000 1,322,100 1,322,100 100 สหกรณ์นิคมปลายพระยา จำกัด เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง ขนาดไม่น้อย กว่า 1.4 แรงม้า จำนวน 20 เครื่อง 190,000 171,000 171,000 100 รวมทั้งสิ้น 2,032,600 1,829,340 1,829,340 100


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 122 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ สถาบันเกษตรกรได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึง โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์การตลาดที่จำเป็นในการเพาะปลูก รวบรวม และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร/ให้บริการสมาชิกเกี่ยวกับ ผลผลิตทางการเกษตร แห่ง 5 5 100 สถาบันเกษตรกรสามารถยกระดับศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางในการ บริหารจัดการสินค้าเกษตรในระดับชุมชนตามศักยภาพ แห่ง 5 4 80 สถาบันเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจรวบรวมหรือแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 25.09 836.33 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) สถาบันเกษตรกรได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร จำนวน 5 แห่ง 2) สถาบันเกษตรกรมีปริมาณธุรกิจแปรรูปรวม ปี 2565 เพิ่มขึ้น จำนวน 9,183,076.35 บาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 25.09 ของปริมาณธุรกิจแปรรูปรวม ปี 2564 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) สถาบันเกษตรกร สามารถยกระดับศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ในระดับชุมชนตามศักยภาพ 2) สมาชิกสถาบันเกษตรกรในชุมชนสามารถเข้าถึงประโยชน์จากสถาบันเกษตรกรในการให้บริการ เครื่องจักรกลการเกษตร การรวบรวม รับซื้อ และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 1) สหกรณ์บางแห่งยังไม่ถือใช้ระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้าง 2) คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ยังขาดความรู้ความเข้าในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้เป็นไปตามระเบียบ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1) ให้สหกรณ์ถือใช้ระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้าง 2) แนะนำให้สหกรณ์ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 123 9. ภาพประกอบ ครุภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุน


กิจกรรมประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ฯ และสร้างภาพลักษณ์หรือวัฒนาองค์กร ของหน่วยงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่วนที่ 3


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 125 1) งานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในจังหวัด วันที่ 23 ตุลาคม 2565 นายวัชรา ปลอดใหม่ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป พร้อมด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ เข้าร่วมกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ทำความสะอาดขจัดสิ่งกีดขวางลำน้ำ ลำคลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรำลึก” เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ณ บริเวณลานปติมากรรมหอยชักตีน และบริเวณหาดนพรัตน์ธารา จังหวัดกระบี่ โดยมี นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธี 2) การจัดงาน/กิจกรรมต่างๆในวันสหกรณ์แห่งชาติ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ร่วมกับสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดกระบี่ และขบวนการสหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ ร่วมจัดงาน วันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2565 เนื่องในโอกาสครบรอบ 106 ปี พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.30 น. ซึ่งมีนายอนุวรรต์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในการเปิดงาน “วันสหกรณ์แห่งชาติ” วางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายราชสักการะ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ "พระบิดาแห่ง การสหกรณ์ไทย" เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ จังหวัดกระบี่ ประจำปี พ.ศ. 2565 ครบรอบ 106 ปี พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย โดยมี นางสาวสาวดี รักษ์ศิริ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ ทุ่งคาใน ประธานสันนิบาตสหกรณ์จังหวัดกระบี่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และหัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บุคลากรสำนักงานสหกรณ์ จังหวัดกระบี่ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ และเครือข่ายร่วมวางพานพุ่ม จำนวน 30 หน่วยงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 150 คน จิตอาสาพัฒนาปรับภูมิทัศน์ ทำความสะอาดขจัดสิ่งกีดขวางลำน้ำ ลำคลอง ถวายพระราชกุศลและน้อมรำลึก วันสหกรณ์แห่งชาติ


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 126 3) การจัดงาน/กิจกรรมต่างๆในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 50 ปี นางสาวสาวดี รักษ์ศิริ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนา กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2565 ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 1 ตุลาคม 2565 พร้อมเข้าร่วมพิธีรับโล่รางวัลเชิดชูเกียรติ นางสาวรัตนมน ลูกหวาย ให้เป็นพนักงานราชการดีเด่น ประจำปี 2565 ระดับเขต โดยนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นผู้มอบรางวัล ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ ถนนกรุงเกษม กรุงเทพมหานคร 4) ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วันที่ 13 ตุลาคม 2565 นางปาริชาต สุธาประดิษฐ์ รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดกระบี่ มอบหมายให้นางสาวเกตมณี นิสัยดี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในพิธี ณ วัดแก้วโกรวาราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ การจัดงาน/กิจกรรมต่าง ๆ ในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 50 ปี พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 127 5) ภาพกิจกรรมของหน่วยงานร่วมกับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วันที่ 23 กรกฎาคม 2565 นางสาวสาวดี รักษ์ศิริ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดงานกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายสหกรณ์ ออมทรัพย์ จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 5 ณ สนามหญ้าเทียมกระบี่อารีน่า ตำบลกระบี่ใหญ่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีพันตำรวจโทจตุรพร คงทะเล ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจกระบี่ จำกัด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืนตามหลักการสหกรณ์โดยมีสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดกระบี่เข้าร่วม จำนวน 4 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ ครูกระบี่ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจกระบี่ จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ท้องถิ่น จังหวัดกระบี่ จำกัด โดยมีบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กระบี่ เข้าร่วมกิจกรรม ในครั้งนี้ด้วย กีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์ จังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 5 และบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา เพื่อน้อมรำลึกในพระ มหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565


รายงานข้อมูลงบการเงิน (ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) ส่วนที่ 4


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 129 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 หมายเหตุ ปีงปม. 2564 ปีงปม.2565 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากคลัง 2 96,105.00 360,770.60 ลูกหนี้เงินยืมใน งปม. 3 24,010.00 16,010.00 รายได้ค้างรับ 4 32,466.17 4,924.82 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 152,581.17 381,705.42 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ 5 6,402,958.05 6,734,060.17 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 6 40,746.00 100,553.86 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 6,443,704.05 6,834,614.03 รวมสินทรัพย์ 6,596,285.22 7,216,319.45 หนี้สินและส่วนทุน หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า - บุคคลภายนอก 7 208,070.59 2,045.87 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 8 76,008.61 86,800.16 เงินประกันอื่น 91,105.00 74,965.00 หนี้สินหมุนเวียนอื่น - - รวมหนี้สินหมุนเวียน 375,184.20 163,811.03 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินทดรองราชการรับจากคลัง 5,000.00 5,000.00 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 5,000.00 5,000.00 รวมหนี้สิน 380,184.20 168,811.03 ส่วนทุน ทุน 4,710,379.00 4,710,379.00 รายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่าย 9 1,505,722.02 1,505,722.02 รวมส่วนทุน 6,216,101.02 6,216,101.02 รวมหนี้สินและส่วนทุน 6,596,285.22 6,384,912.05


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 130 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2565 หมายเหตุ ปีงปม. 2564 ปีงปม.2565 รายได้จากการดำเนินงาน รายได้จากเงินงบประมาณ 10 13,110,587.39 12,117,532.11 รายได้รับบริจาค - - รวมรายได้จากการดำเนินงาน 13,110,587.39 12,117,532.11 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายบุคลากร 11 5,002,282.50 5,181,595.19 ค่าบำเหน็จบำนาญ - - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 12 5,208,111.06 4,245,386.49 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 13 1,489,689.16 1,287,949.13 ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน 14 1,992,340.00 217,000.00 ค่าใช้จ่ายอื่น - - รวมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 13,692,422.72 10,931,930.81 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 1,505,722.02 1,505,722.02 รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 1,505,722.02 1,505,722.02


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 131 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 หมายเหตุที่ 1 นโยบายบัญชีที่สำคัญ 1.1 หลักการบัญชี เป็นไปตามหลักการนโยบายสำหรับหน่วยงานภาครัฐและในระบบการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ใช้รอบระยะเวลาบัญชี (Accounting Period) ตามปีงบประมาณ คือวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยจัดทำ บัญชีตามเกณฑ์และการบันทึกบัญชีเป็นปัจจุบัน มีการยืนยีนยอดกับระบบ GFMIS และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป 1.2 ขอบเขตชองข้อมูลในรายงาน รายการที่ปรากฎในรายงาน รวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นของรัฐบาลในภาพรวม แต่ละหน่วยงานเป็น ผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาและบริหารจัดการให้แก่รัฐบาลภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และรวมถึงสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และ ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นของหน่วยงานที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานเอง ไม่ว่ารายการดังกล่าวจะเป็นรายการที่เกิดจาก เงินในงบประมาณหรือเงินนอกงบประมาณ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นทั้งที่หน่วยงานในส่วนกลางและหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ภายใต้สังกัด 1.3 การรับรู้รายได้ - รายได้จากเงินงบประมาณรับรู้เมื่อได้รับอนุมัติคำขอเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง - รายได้เงินนอกงบประมาณรับรู้เมื่อเกิดรายได้ - รายได้แผ่นดินรับรู้เมื่อได้รับเงิน 1.4 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าเสื่อมราคาและค่าการตัดจำหน่ายคำนวณจากราคาทุนของอาคาร อุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยวิธีเส้นตรงตามอายุ การใช้งานของสินทรัพย์ ดังนี้ อาคารสิ่งปลูกสร้าง 15-40 ปี ครุภัณฑ์ต่างๆ 2-15 ปี ยานพาหนะ 2-15 ปี อุปกรณ์ต่างๆ 2-15 ปี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2-15 ปี


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 132 หมายเหตุที่ 2 เงินสดและเงินฝากคลัง (หน่วย : บาท) เงินทดรองราชการ 5,000.00 เงินฝากคลัง 360,770.60 รวมเงินสดและเงินฝากคลัง 365,770.60 หมายเหตุที่ 3 ลูกหนี้เงินยืมใน งปม. (หน่วย : บาท) เลขที่สัญญา 29/2565 นายวัชรา ปลอดใหม่ 16,010.00 รวมลูหนี้เงินยืม ในงปม. 16,010.00 หมายเหตุที่ 4 รายได้ค้างรับ (หน่วย : บาท) รายได้ค้างรับจากรมบัญชีกลาง 4,924.82 หมายเหตุที่ 5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หน่วย : บาท) อาคารเพื่อการพักอาศัย 1,709,308.70 หัก ค่าเสื่อราคาสะสม อาคารเพื่อการพักอาศัย 103,686.32 1,605,622.38 อาคารสำนักงาน 4,242,500.00 หัก ค่าเสื่อราคาสะสม อาคารสำนักงาน 3,803,437.91 439,062.09 สิ่งปลูกสร้าง 4,402,226.76 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม สิงปลูกสร้าง 2,679,280.68 1,722,946.08 อาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่ระบุฯ 9,461,322.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม อาคารและสิ่งปลูกสร้างไม่ระบุ 9,461,298.00 24.00 ครุภัณฑ์สำนักงาน 1,329,322.08 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์สำนักงาน 826,742.77 502,579.31 ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง 7,607,064.75 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง 5,466,794.43 2,140,270.32 ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ 34,700.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑืไฟฟ้าและวิทยุ 29,151.24 5,548.76 ครุภัณฑืโฆษณาและเผยแพร่ 460,345.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ 427,392.74 32,952.26 ครุภัณฑ์การเกษตร 30,000.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์การเกษตร 29,999.00 1.00 ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 1,468,318.83 หัก ค่าเสื่อมราคมสะสม ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 1,183,268.86 285,049.97 ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว 29,400.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว 29,397.00 3.00


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 133 ครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด 550,000.00 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม ครุภัรฑืไม่ระบุรายละเอียด 549,999.00 1.00 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 6,734,060.17 หมายเหตุที่ 6 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (หน่วย : บาท) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 132,000.00 หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 31,446.14 100,553.86 หมายเหตุที่ 7 เจ้าหนี้การค้า - บุคคลภายนอก (หน่วย : บาท) จ่ายค่าวัสดุ หจก.ที เอ็น เอส กระบี่ 1,408.87 จ่ายค่าวัสดุ หจก.ที เอ็น เอส กระบี่ 637.00 รวมเจ้าหนี้การค้า-บุคคลภานยอก 2,045.87 หมายเหตุที่ 8 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (หน่วย : บาท) ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย 32,753.00 ใบสำคัญค้างจ่าย 4,971.30 เจ้าหนี้อื่น - หน่วยงานภาครัฐ 49,075.86 รวมค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 86,800.16 หมายเหตุที่ 9 รายได้สูง/(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสะสม (หน่วย : บาท) รายได้สูง/ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายสะสม 1,505,722.02 หมายเหตุที่ 10 รายได้จากเงินงบประมาณ (หน่วย : บาท) รายได้จากงบบุคลากร 4,114,968.25 รายได้จากงบลงทุน 1,763,346.11 รายได้จากงบดำเนินงาน 5,888,906.52 รายได้จากเงินอุดหนุน 217,000.00 รายได้จากงบรายจ่ายอื่น 29,410.00 รายได้จากงบกลาง 151,760.00 หัก เบิกเกินส่งคืนให้กรมบัญชีกลาง 47,858.77 รวมรายได้จากเงินงบประมาณ 12,117,532.11


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 134 หมายเหตุที่ 11 ค่าใช้จ่ายบุคลากร (หน่วย : บาท) เงินค่าตอบแทนพนักงานราชการ 4,114,967.93 เงินช่วยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก - รพ.รัฐ 830.00 เงินช่วยการศึกษาบุตร 150,930.00 เงินช่วยเหลือพิเศษกรณีเสียชีวิต 8,145.00 เงินสมทบกองทุนประกันสังคม 100,386.00 ค่าเช่าบ้าน 806,336.26 รวมค่าใช้จ่ายบุคลากร 5,181,595.19 หมายเหตุที่ 12 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (หน่วย : บาท) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 39,200.00 ค่าเบี้ยงเลี้ยง 244,690.00 ค่าที่พัก 40,285.00 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 107,335.58 ค่าวัสดุและค่าใช้สอย 3,234,623.09 ค่าสาธารณูปโภค 579,252.82 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 4,245,386.49 หมายเหตุที่ 13 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (หน่วย : บาท) ค่าเสื่อมราคา-อาคารเพื่อการพักอาศัย 50,144.93 ค่าเสื่อมราคา - อาคารสำนักงาน 35,710.14 ค่าเสื่อมราคา - สิ่งปลูกสร้าง 205,828.16 ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์สำนักงาน 131,175.29 ค่าเสื่อมราคา -ครุภัณฑ์ยานพาหนะและอุปกร 686,952.19 ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ 2,140.52 ค่าเสื่อมราคา - ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ 43,667.99 ค่าเสื่อมราคา - อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 108,137.77 ค่าตัดจำหน่าย - โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 24,192.14 รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 1,287,949.13 หมายเหตุที่ 14 ค่าใชจ่ายเงินอุดหนุน (หน่วย : บาท) ค่าใช้จ่ายอุดหนุนเพื่อการดำเนินงาน -หน่วยธุรกิจอื่น 217,000.00 รวมค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน 217,000.00


ภาคผนวก ส่วนที่ 5


ส่วนที่5 ภาคผนวก สรุปผลสำเร็จตาม ของงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติงานและงบประม ชื่องาน/โครงการ/กิจกรรมหลัก แผนงานพื้นฐาน แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (ในปีงบประมาณ 2562 แผนงานพื้นฐานนี้อยู่ในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมก ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (ในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 ผลผลิตนี้อยู่ในแผนงานพื้นฐานด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ล เชิงปริมาณ - สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ - จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิต การตลาด การบริหาร และการบริหารจัดการ - จำนวนสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ - สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะการดำเนินกิจการ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน - จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้น จากปีก่อนไม่น้อยกว่า - สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขแล้ว ไม่น้อยกว่า - สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ 1 และระดับ 2 อย่างน้อย - กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง - อัตราการขยายตัวปริมาณธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า


รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 136 ตัวชี้วัดหลัก (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) มาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ (พ.ศ. 2563 - 2565) หน่วยนับ ปี 2565 ปี2564 ปี 2563 แผน ผล แผน ผล แผน ผล กันทางสังคม) ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างการเติบโตจากภายใน) แห่ง 76 76 78 78 76 76 แห่ง 76 76 78 78 76 76 ราย 802 2,744 776 2,580 798 1,181 ร้อยละ 3 77 3 7.56 3 3.95 ร้อยละ 62 48.68 61 39.74 61 26.31 ร้อยละ 90 81.82 88 77.78 86 90.91 ร้อยละ 90 83 88 88 86 87 ร้อยละ 25 10 24 - 23 - ร้อยละ 3 77 3 7.56 3 3.95


Click to View FlipBook Version