รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 38 • นิคมสหกรณ์อ่าวลึก 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน นิคมสหกรณ์อ่าวลึก มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 2 อำเภอ มีสถาบันที่ดูแลและรับผิดชอบ สหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง ชุมนุมสหกรณ์ จำนวน 1 แห่ง แยกได้ดังนี้ อำเภอปลายพระยา จำนวน 3 แห่ง สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด สหกรณ์นิคมปลายพระยา จำกัด อำเภออ่าวลึก จำนวน 1 แห่ง ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 อย่างน้อยร้อยละ 90 แห่ง 4 4 100 2.กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับ 1 ร้อยละ 25 แห่ง - - - 3.สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แห่ง 4 0 0 4.กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81 แห่ง - - - 5.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 4 3 75 6.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง - - - ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 224.78 - 2.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 - - 3.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 4 3 75 4.จำนวนกลุ่มเกษตรกรอัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิกเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง - - - ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 4 4 100 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 4 4 100
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 39 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน ด้านการแนะนำส่งเสริม พบว่า การได้ดำเนินงานและวางแผนงานร่วมกันระหว่างกลุ่มวิชาการของ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในปี พ.ศ. 2565 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สหกรณ์ทุกแห่งให้ความสำคัญและความร่วมมือ ต่อการแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นอย่างดี ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2565 สหกรณ์มีข้อสังเกต จากผู้ตรวจการสหกรณ์และจากผู้สอบบัญชีลดลงจากปีที่ผ่านมา สหกรณ์ทุกแห่งสามารถแก้ไขข้อสังเกต ที่เกิดขึ้นได้ และไม่มีข้อสังเกตร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ข้อบกพร่องของสหกรณ์ได้ ทั้งนี้สหกรณ์ตระหนัก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและกลุ่มตรวจการสหกรณ์เป็นอย่างดี 4. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้ในด้านการบัญชี แก่คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อให้ บุคลากรดังกล่าว ฯ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการบัญชีของสหกรณ์ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ยุคปัจจุบัน ⚫สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่สะท้อนผลสำเร็จของการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 • สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จำกัด และสหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด o งานที่ดำเนินการ จัดอบรมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบัญชีแก่สหกรณ์ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” o ผลจากการดำเนินงาน คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการบัญชีของสหกรณ์ มากขึ้นและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคปัจจุบัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 40 รูปภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 41 • นิคมสหกรณ์คลองท่อม 1.พื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน สหกรณ์นิคมคลองท่อม จำกัด สมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่เขตจัดนิคม ฯ จำนวน 3,105 ราย 2. ผลการดำเนินงานแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัดด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 1.สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับ 1 และ 2 แห่ง 1 1 100 2.สหกรณ์สามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 1 1 100 3.กลุ่มเกษตรกรสามารถจัดทำงบการเงินและปิดบัญชีได้ภายใน 30 วัน แห่ง 1 1 100 ตัวชี้วัดด้านการพัฒนาธุรกิจ 1.อัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3 3 100 2.จำนวนสหกรณ์อัตราส่วนเงินออมของสมาชิกต่อหนี้สินของสมาชิก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน แห่ง 1 1 100 ตัวชี้วัดด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ 1.เข้าแนะนำ ป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 2.การตรวจการสหกรณ์ แห่ง 1 1 100 3. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงาน สหกรณ์ในพื้นที่ดำเนินงานของสหกรณ์ในเขตอำเภอคลองท่อม อำเภอเหนือคลอง (เฉพาะตำบล โคกยางบางส่วน) มีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 3,105 คน โดยมีสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จำนวน 911 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.34 ผลการดำเนินงาน ณ สิ้นปีบัญชี 31 มีนาคม 2565 สหกรณ์ มีกำไร 1,285,767.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 119.78 ซึ่งมีกำไร 585,031.78 บาท 1.เนื่องจากสหกรณ์ขาดทุนสะสม ณ สิ้นปีบัญชี 31 มีนาคม 2564 จำนวน 20,482,724.92 บาท กำไรที่ได้จึงโอนชดเชยการขาดทุนทั้งจำนวน ซึ่งจากการดำเนินงานซึ่งสหกรณ์มีกำไรแต่ไม่สามารถจัดสรร ตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานสหกรณ์ ประกอบกับสมาชิกร่วมทำธุรกิจในสัดส่วนที่น้อยเป็นเหตุให้สหกรณ์ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 2.สหกรณ์มีการติดตาม เร่งรัดการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ค้างชำระ และรายงานผลการติดตาม การชำระหนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน และมีการจัดทำแผนงานเพื่อติดตาม และเร่งรัดการชำระหนี้ 3.สหกรณ์ปฏิบัติตาม พรบ.สหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์ กำหนด มีการควบคุมภายใน และแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่อง
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 42 4. สหกรณ์มีการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ มีการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจแต่ละประเภท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน และการให้บริการ แก่สมาชิกเพื่อให้สหกรณ์มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น (มีกำไรสุทธิ) 5.การพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ สหกรณ์ได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงร่วมกับสหกรณ์อื่น ๆ 6.สหกรณ์มีการแก้ไขข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชี มีการกำหนดระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติ ขึ้นถือใช้ ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์ 4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 1. สมาชิกไม่ให้ความร่วมมือในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ จากการเข้าแนะนำส่งเสริมสหกรณ์พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กรมส่งเสริมได้กำหนดไว้ สาเหตุเนื่องมาจากสมาชิกขาดความเชื่อถือและศรัทธาในตัวสหกรณ์ 2. สหกรณ์ขาดทุนในการดำเนินงาน มีการขาดทุนสะสมจนเกินทุนเรือนหุ้น สหกรณ์มีรายได้ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง เนื่องจากมีการแข่งขันในด้านการทำธุรกิจ กับบุคคลภายนอก 3. ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลให้ไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อประชุม กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ และในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาชิกเข้าร่วมประชุมมีจำนวยน้อยกว่าทุกปี 4. สมาชิกบางส่วนเข้ามาเพื่อต้องการการได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ หรือได้หนังสือแสดงการทำประโยชน์ แต่ไม่ได้ต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ จึงเกิด ปัญหาสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 5.แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1.สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้เกิดกับสมาชิก โดยการจัดประชุมกลุ่ม เข้าพบปะสมาชิก เพื่อสอบถามความต้องการเกี่ยวกับการทำธุรกิจกับสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ที่สหกรณ์ ได้รับจากภาครัฐ และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ประโยชน์ที่สมาชิกได้รับเมื่อเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ ให้สมาชิกได้รับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การประชุมกลุ่ม ติดประกาศที่บอร์ด ประชาสัมพันธ์ของสหกรณ์ และของหมู่บ้าน หอกระจายข่าวของหมู่บ้าน Facebook สหกรณ์ 2.ในธุรกิจที่สหกรณ์ประสบภาวะขาดทุน แนะนำให้คณะกรรมการดำเนินงาน ทบทวน และวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ผลการดำเนินงานในธุรกิจนั้นดีขึ้น 3. สำรวจความต้องการของสมาชิกเป็นหลักในการทำธุรกิจเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 4. ปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตอันเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้สมาชิกขาดความเชื่อถือและศรัทธาสหกรณ์
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 43
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 44 ◼ งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง 1.วัตถุประสงค์ เพื่อให้การส่งเสริม และพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเกิดความเข้มแข็งตามศักยภาพตามเกณฑ์ประเมิน ความเข้มแข็งของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2.เป้าหมาย สหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ จำนวน 65 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ จำนวน 11 แห่ง 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน ตัวชี้วัด : แผนแม่บทย่อย การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร(กรมส่งเสริมสหกรณ์) 1) ร้อยละของสหกรณ์มีความเข้มแข็งระดับ 1 และ ระดับ 2 รวมกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (สหกรณ์59 แห่ง) 2) ร้อยละของกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งระดับ 1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 (กลุ่มเกษตรกร 3 แห่ง) ตัวชี้วัด : กิจกรรมยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มเร่งรัด) (กพก) 1) ส่งเสริมพัฒนาเพื่อรักษาระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ใน ระดับชั้น 1 (สหกรณ์ 2 แห่ง) 2) ส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรจากระดับชั้น 2 สู่ชั้น 1 (สหกรณ์ 5 แห่ง/ 1 กลุ่มเกษตรกร) 3) ส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรจากระดับชั้น 3 สู่ชั้น 2 (สหกรณ์ 1 แห่ง) 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถดำเนินงานเพื่อรักษาระดับชั้น 1 และ 2 และสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ชั้น 3 สามารถยกระดับชั้นให้สูงขึ้นได้ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 45 5.งบประมาณที่ได้รับ(มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) หน่วย : บาท ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบจัดอบรม 29,500 29,500 100 รวมทั้งสิ้น 29,500 29,500 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 1) สหกรณ์มีความเข้มแข็ง ระดับชั้น 1 จำนวน 11 แห่ง ระดับชั้น 2 จำนวน 43 แห่ง ระดับชั้น 3 จำนวน 11 แห่ง 2) กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ระดับชั้น 1 จำนวน 1 แห่ง ระดับชั้น 2 จำนวน 6 แห่ง ระดับชั้น 3 จำนวน 4 แห่ง 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ ตัวชี้วัด : แผนแม่บทย่อย การพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร(กรมส่งเสริมสหกรณ์) 1. สหกรณ์ชั้น 1 และ 2 รวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 แห่ง 59 54 83.08 2. กลุ่มเกษตรกรชั้น 1 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 แห่ง 3 1 9.09 ตัวชี้วัด : กิจกรรมยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มเร่งรัด) (กพก) 1. 1. ส่งเสริมพัฒนาเพื่อรักษาระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในระดับชั้น 1 แห่ง 2 2 100 2. ส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาค การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรจากระดับชั้น 2 สู่ชั้น 1 แห่ง 6 4 66.67 3. ส่งเสริมพัฒนาเพื่อยกระดับชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ภาค การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรจากระดับชั้น 3 สู่ชั้น 2 แห่ง 1 1 100
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 46 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สามารถรักษาและยกระดับ ความเข้มแข็งให้สูงขึ้นได้ ระดับชั้น 1 จำนวน 11 แห่ง ระดับชั้น 1 จำนวน 1 แห่ง ระดับชั้น 2 จำนวน 43 แห่ง ระดับชั้น 2 จำนวน 6 แห่ง ระดับชั้น 3 จำนวน 11 แห่ง ระดับชั้น 3 จำนวน 4 แห่ง 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน การจัดระดับความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร 1. กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ คณะกรรมการมีบทบาทหน้าที่ ในส่วนฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ ทำให้มีภาระงานที่เยอะ จึงให้ความสำคัญในการจัดระดับความเข้มแข็งที่น้อยลงไป 2. ส ห ก รณ์ ใน จั งห วัด ป ระส บ ภ าว ะข าด ทุ น เนื่ อ งจาก ก ารถื อ หุ้ น ข อ งชุม นุ ม ส ห ก รณ์ ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด จึงไม่สามารถยกระดับชั้นสหกรณ์ให้สูงขึ้น 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. วางแผนส่งส่งเสริมพัฒนาความเข้มแข็งและขับเคลื่อนในหมวดที่ไม่เกี่ยวกับงบการเงิน เพื่อรักษาระดับ ไม่ให้ตกลงสู่ชั้น 3 2. ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรและมีการติดตาม อย่างต่อเนื่อง 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 47 ◼ โครงการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์อ่าวลึก (กสน.3,5) 1. วัตถุประสงค์ เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิกสหกรณ์นิคมในการประกอบอาชีพการเกษตร 2.เป้าหมาย สมาชิกที่อยู่ในพื้นที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ จำนวน 3,540 ไร่ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1) สมาชิกสหกรณ์นิคมได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์เพื่อทำการเกษตรในรูปแบบ กสน.3 กสน.5 และวงรอบ-รายแปลงฯ 2) มีฐานข้อมูลสมาชิกนิคมสหกรณ์ และเอกสารแสดงสิทธิ์ในที่ดินของสมาชิก รวมทั้งผัง พื้นที่นิคมสหกรณ์และแผนที่รายแปลงมีความถูกต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) 1) งบรายจ่ายอื่น ค่าจัดที่ดินในพื้นที่นิคมสหกรณ์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการออก กสน.3 กสน.5 และสำรวจวงรอบ – รายแปลงของนิคมสหกรณ์) - กสน.3 จำนวน 700 ไร่ ๆ ละ 14.60 บาท รวม 10,220 บาท - กสน.5 จำนวน 800 ไร่ ๆ ละ 17.00 บาท รวม 13,600 บาท - วงรอบ – รายแปลง จำนวน 2,040 ไร่ ๆ ละ 80.65 บาท รวม 164,526 บาท ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 48 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ จำนวน 3,374 ไร่ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1) ดำเนินการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (กสน.3) ปีงบประมาณ 2565 ตามแผนงาน 700 ไร่ ผลการดำเนินงาน 726 ไร่ คิดเป็น 103.71% 2) ดำเนินการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ปีงบประมาณ 2565 ตามแผนงาน 800 ไร่ ผลการดำเนินงาน 247 ไร่ คิดเป็น 30.88% 3) ดำเนินการสำรวจวงรอบ – รายแปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปแผนที่ในที่ดิน ของนิคมสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2565 ตามแผนงาน 2,040 ไร่ ผลการดำเนินงาน 2,401 ไร่ คิดเป็น 117.70% ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ นิคมสหกรณ์ดำเนินการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (กสน.3) และการสำรวจวงรอบ – ราย แปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปแผนที่ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ตามเงื่อนไขและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้ตามแผนงาน 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน บุคลากรในการปฏิบัติงานด้านจัดที่ดินไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชน 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ จัดหาเจ้าหน้าที่และช่างรังวัดในการปฏิบัติงานด้านงานจัดที่ดินเพื่อให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 49 ◼ โครงการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์คลองท่อม (กสน.3,5) 1.วัตถุประสงค์ เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิกสหกรณ์นิคมในการประกอบอาชีพการเกษตร 2.เป้าหมาย 1. ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.3) จำนวน 150 ไร่ 2. ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) จำนวน 200 ไร่ 3. การสำรวจวงรอบ – รายแปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปแผนที่ จำนวน 200 ไร่ พื้นที่ดำเนินโครงการ : นิคมสหกรณ์คลองท่อม ตำบลเพหลา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 3.1 ดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ให้ถูกต้องตามเงื่อนไข และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3.2 จัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการจัดที่ดิน การออก กสน. 3 กสน. 5 และวงรอบรายแปลง3.3 ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลัก และการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมกำหนด 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ การดำเนินการด้านการจัดที่ดินในพื้นที่นิคมสหกรณ์คลองท่อม ครอบคลุมพื้นที่อำเภอคลองท่อม และอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งได้ออก กสน.3 จำนวน 90,956 ไร่ กสน.5 จำนวน 63,147 ไร่ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ได้รับจัดสรรงบประมาณ งบรายจ่ายอื่น จำนวน 21,720 บาท เบิกจ่ายได้ร้อยละ 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ - ประสานงาน แนะนำ ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกสมาชิกนิคมสหกรณ์เป้าหมายในการออกหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ รวมทั้งดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดที่ดินนิคมสหกรณ์ว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 50 - จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกนิคมสหกรณ์ โดยแยกเป็นรายคน/รายสหกรณ์ - ตรวจสอบหลักฐานและพื้นที่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินให้ถูกต้องตามเงื่อนไข เพื่อออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ - ประมวลผลข้อมูลสมาชิกนิคมสหกรณ์ ติดตามผลการดำเนินงาน ตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ และสรุปผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ - รายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอน - จัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาการจัดที่ดิน การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ฯ (กสน.3) การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) และการสำรวจวงรอบ-รายแปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ ขึ้นรูปแผนที่ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ให้แล้วเสร็จ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ 6.1 ผลลัพธ์เชิงปริมาณ -ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.3) จำนวน 64-2-93 ไร่ 9 ราย 11 แปลง - ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) จำนวน 76-0-79 ไร่ 7 ราย 12 แปลง - ทำการสำรวจวงรอบ – รายแปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปแผนที่ จำนวน 226 – 4 - 0 ไร่ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ - สมาชิกนิคมสหกรณ์คลองท่อมมีที่ดินทำกินในการประกอบอาชีพการเกษตร 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 7.1 ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์บางส่วนมีพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ของหน่วยงานอื่น เช่น ป่าไม้ สำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนสภาพหรือมีการให้หน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในทางปฏิบัติ 7.2 การดำเนินการด้านสำรวจวงรอบรายแปลงยังไม่ครบถ้วน เนื่องจากปัญหาบุคคลากรผู้ปฏิบัติติมีน้อย 7.3 ขาดฐานข้อมูลที่ชัดเจนและไม่เป็นปัจจุบันทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และเกิดความคลาดเคลื่อน ในการจัดทำรายละเอียดผลการดำเนินงาน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 51 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ กรมส่งเสริมสหกรณ์เร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านให้เกิดความชัดเจน เพื่อหน่วยปฏิบัติจะได้ดำเนินการตามกรอบภารกิจได้อย่างถูกต้อง ลดความซ้ำซ้อนด้านการออกเอกสารสิทธิ์ 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 52 ◼ โครงการส่งเสริมและผลักดันสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้มีมาตรฐานเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับของสมาชิก และสังคมได้อย่างยั่งยืน 2. เพื่อกำกับและส่งเสริมการบริหารงานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ให้มีธรรมาภิบาล โปร่งใส และตรวจสอบได้ 2.เป้าหมาย 1. สหกรณ์ภาคการเกษตร จำนวน 56 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 36 แห่ง) 2. สหกรณ์นอกภาคการเกษตร จำนวน 28 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 18 แห่ง) 3. กลุ่มเกษตรกร จำนวน 11 แห่ง (นำมาจัดมาตรฐาน จำนวน 9 แห่ง) 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน จากผลการดำเนินงานของสหกรณ์ และกระบวนการบริหาร จัดการภายในสหกรณ์ จำนวน 137 ข้อ โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 1. คะแนนจากผลการดำเนินงานของสหกรณ์ 70 คะแนน 2. คะแนนจากกระบวนการบริหารจัดการภายในสหกรณ์ 30 คะแนน การกำหนดระดับมาตรฐานสหกรณ์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. ระดับผ่านมาตรฐาน 2. ระดับไม่ผ่านมาตรฐาน หากสหกรณ์ใดมีผลการประเมินไม่ผ่านมาตรฐานเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อ ในส่วนของเกณฑ์ ประเมินผลการดำเนินงาน ( 7 ข้อหลัก) ให้ถือว่าสหกรณ์นั้นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 53 3.1 เกณฑ์การจัดมาตรฐานสหกรณ์ 7 ข้อ 1) ผลการดำเนินงานในรอบสองปีย้อนหลัง สหกรณ์มีผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน เว้นแต่ปีใด มีอุทกภัยหรือภัยธรรมชาติ จนเกิดความเสียหายต่อสมาชิกและสหกรณ์โดยรวมให้ตัดปีนั้นออก 2) ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีย้อนหลัง ไม่มีการกระทำอันถือว่าทุจริตต่อสหกรณ์ 3) ผลการดำเนินงานในรอบสองปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์จัดทำงบการเงินแล้วเสร็จและส่งให้ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีทางบัญชี 4) ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 60ของสมาชิก ทั้งหมดทำธุรกิจกับสหกรณ์ 5) ต้องจัดจ้างเจ้าหน้าที่สหกรณ์ปฏิบัติงานประจำรับผิดชอบการดำเนินการและธุรกิจของสหกรณ์ หากไม่มีการจัดจ้างต้องมีกรรมการดำเนินการหรือสมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ 6) ผลการดำเนินงานในรอบสองปีย้อนหลัง สหกรณ์ต้องมีการจัดสรรกำไรสุทธิและจ่ายทุนสวัสดิการ สมาชิกหรือทุนสาธารณประโยชน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง 7) ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชีสุดท้าย สหกรณ์ต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝีนกฎหมาย ระเบียบหรือคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ 3.2 เกณฑ์การจัดมาตรฐานกลุ่มเกษตรกร 5 ข้อ 1) คณะกรรมการดำเนินการจัดให้มีการจัดทำงบดุลรอบสิบสองเดือนแล้วเสร็จ และจัดให้มีผู้สอบ บัญชีตรวจสอบภายใน 150 วัน ตามกฎหมาย 2) ไม่มีข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับรายการข้อบกพร่องทางการเงินและบัญชีอย่างร้ายแรง 3) มีการทำธุรกิจหรือบริการอย่างน้อย 1 ชนิด 4) มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายในกำหนดเวลา 150 วัน ตามกฎหมาย 5) มีกำไรสุทธิประจำปีและมีการจัดสะกำไรสุทธิ ประจำปีตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตัวชี้วัดของโครงการ คือ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามรายละเอียดข้างต้น ดังนี้ 1) สหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 82 3) กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลุ่มเกษตรกร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 81
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 54 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ มีความเข้มแข็งทั้งในภาคของกระบวนการจัดการ และการควบคุมภายในของสหกรณ์ ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้า และเป็นศูนย์กลาง การให้บริการแก่สมาชิกอย่างเหมาะสม ภายใต้เกณฑ์การจัดมาตรฐานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) - 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ ผลการประเมินมาตรฐานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีผลการประเมินโดยแยกเป็น 1) สหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ร้อยละ 25 2) สหกรณ์นอกภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ ร้อยละ 55.55 3) กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 77.77 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ สหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ แห่ง 36 9 25 สหกรณ์นอกภาคการเกษตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ แห่ง 18 10 55.55 กลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แห่ง 9 7 77.77 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ การจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เป็นการประเมินเพื่อวัดการดำเนินงานและการควบคุม ภายในของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรได้มีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การให้บริการสมาชิก และการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม ผ่านเกณฑ์การจัดมาตรฐานในแต่ละข้อ ตลอดจน การยกระดับสหกรณ์ สมาชิกได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานและมีควาเข้มแข็ง ก้าวหน้าต่อไป
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 55 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของสหกรณ์ ทั้งในส่วนของการมีส่วนร่วมของสมาชิก ที่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดของโรค สมาชิกมีค่าใช้จ่ายสูงขี้น และราคายางลดราคา ราคาปาล์มมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจทำให้สมาชิกขารายได้ ส่งผลให้การชำระหนี้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและกำไร ลดลงและขาดทุน การมีส่วนร่วมของสมาชิกลดลง ทำให้สหกรณ์หลายแห่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ-
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 56 ◼ โครงการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น 1.วัตถุประสงค์ 1) พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น 2) คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรม ส่งเสริมสหกรณ์กำหนด 2.เป้าหมาย สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 1. สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด 2. สหกรณ์เรือหางยาวบริการตำบลอ่าวนาง จำกัด 3. สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจานสามัคคี จำกัด 4. สหกรณ์การเกษตรเมืองกระบี่ จำกัด 5. กลุ่มเกษตรกรทำสวนคีรีวง 3.ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานสู่ ดีเด่น จำนวน 5 แห่ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่พิจารณาคัดเลือกและส่งรายชื่อเพื่อคัดเลือกเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานสู่ “ดีเด่น” และได้คะแนนตามเกณฑ์ การตัดสินตามที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์กำหนดไว้ 5 หมวด เพื่อเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับ จังหวัดและส่งรายชื่อคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 57 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) จากแผนงานส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กิจกรรมหลักพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรสู่ดีเด่น แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำนักงานสหกรณ์จังหวัด กระบี่ จำนวน 350 บาท (สามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานสู่ดีเด่น จำนวน 5 แห่ง คณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด คัดเลือกสหกรณ์ที่ได้คะแนนตามเกณฑ์ การตัดสินตามที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์กำหนดไว้ 5 หมวด สหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด คะแนนรวม 888 คะแนน 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน การดำเนินงาน สู่ดีเด่น แห่ง 5 5 100 2) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่พิจารณาคัดเลือกและส่งรายชื่อ เพื่อคัดเลือกเป็นสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ แห่ง 1 1 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน สู่ดีเด่น จำนวน 5 แห่ง คณะกรรมการคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด พิจารณาคัดเลือกสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น ระดับจังหวัด คือ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด เพื่อส่งรายชื่อคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นระดับชาติ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขกระบี่ จำกัด ได้คะแนนตามเกณฑ์การตัดสินตามที่กระทรวงเกษตรกร และสหกรณ์ กำหนดไว้ 5 หมวด รวม 888 คะแนน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 58 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน หลักเกณฑ์การคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตามเกณฑ์การตัดสินที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์กำหนดไว้ 5 หมวด สหกรณ์/กลุ่มเกษตรมาสามารถทำได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากกำหนดไว้สูงเกิน สำหรับสหกรณ์ระดับกลาง 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงเกณฑ์การคัดเลือกให้เหมาะสม และเข้าใจง่ายในการบันทึกข้อมูล 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 59 ◼ โครงการประชุมแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (จกบ.) 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ มีแนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องสหกรณ์ 2) เพื่อให้การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแล้วเสร็จ เป็นไปตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ 3) เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศของนายทะเบียนสหกรณ์ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. เป้าหมาย 1) มีการประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 4 ครั้ง (3 เดือนต่อครั้ง) 2) คณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง เข้าประชุม จำนวนครั้งละ 19 คน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ มีแนวทางในการแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่อง 2) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขและมีข้อบกพร่องลดลง 3) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศ ของนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแก้ไขข้อสังเกตและข้อบกพร่อง ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 2) กรรมการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มีแนวทาง วิธีการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องสหกรณ์ 3) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศของนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 60 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 11,400.- 11,400.- 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด 1) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ มีแนวทางในการแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่อง 2) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขและมีข้อบกพร่องลดลง 3) สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศของนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ข้อบกพร่องของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรได้รับการแก้ไขหรือมีความเคลื่อนไหว จำนวน 6 สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์ในจังหวัดกระบี่เกิดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นใหม่ในปี 2566 ลดลง 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ในกรณีการแก้ไขข้อบกพร่องที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินคดี ยึดทรัพย์ บังคับคดี หรือขายทอดตลาด ต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไขข้อบกพร่อง 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่อง เห็นควรกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกลุ่มงานวิชาการแนะนำ ส่งเสริม ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศ ของนายทะเบียนสหกรณ์และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 61 ◼ ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่อง 1. วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ 2. เป้าหมาย สหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ที่มีข้อบกพร่อง จำนวน 6 สหกรณ์ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขและมีข้อบกพร่องลดลง 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศ ของนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 6,800.- 6,800.- 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขและมีข้อบกพร่องลดลง 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ข้อบกพร่องของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรได้รับการแก้ไขหรือมีความเคลื่อนไหว จำนวน 6 สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่องได้รับการแก้ไขและมีข้อบกพร่องลดลง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 62 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ในกรณีการแก้ไขข้อบกพร่องที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินคดี ยึดทรัพย์ บังคับคดี หรือขายทอดตลาด ต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไขข้อบกพร่อง 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรแนะนำส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ดำเนินงานเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ คำสั่ง คำแนะนำ ประกาศของนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในอนาคต 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 63 ◼ โครงการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ จังหวัดกระบี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจการสหกรณ์ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2559 2) เพื่อให้ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีแนวทางในการตรวจสอบกิจการและฐานะ การเงินของสหกรณ์ 2.เป้าหมาย ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ จำนวน 34 คน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1) ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจการสหกรณ์ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2559 2) ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีแนวทางในการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงิน ของสหกรณ์ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีความรู้ ความเข้าใจในระบบการตรวจการสหกรณ์ การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2559 และมีแนวทาง ในการตรวจสอบการกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 5,000.- 5,000.- 100 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 64 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ กลุ่มตรวจการสหกรณ์จัดประชุมโครงการซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์ จังหวัดกระบี่ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีผู้ตรวจการสหกรณ์และผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ เข้าประชุม จำนวน 23 คน ประเด็นที่ชี้แจงในการจัดประชุมฯ มีดังนี้ - ชี้แจงระบบตรวจการสหกรณ์ - แจ้งคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ (กบ) 8/2565 คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ (กบ) 9/2565 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2564 และคำสั่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ที่ 37/2565 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - รายงานการวิเคราะห์สถานภาพ/ความเสี่ยงของสหกรณ์ - รายงานการตรวจการสหกรณ์ของผู้ตรวจการสหกรณ์ปีที่ผ่านมา - รายงานข้อสังเกตที่ตรวจพบจากการสอบบัญชีปีที่ผ่านมา 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ มีความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจการสหกรณ์ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2559 และมีแนวทาง ในการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ จัดประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีความรู้ ความเข้าใจในระบบการตรวจการสหกรณ์ และปฏิบัติงานเป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยผู้ตรวจการสหกรณ์ พ.ศ. 2559 ผู้ตรวจการสหกรณ์ ผู้ช่วยผู้ตรวจการสหกรณ์ มีแนวทางในการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงิน ของสหกรณ์
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 65 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ระยะเวลาการประชุมซักซ้อมการตรวจการสหกรณ์อยู่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด โควิค 19 ทำให้มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ จัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 9. ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 66 ◼ ตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้สหกรณ์ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง 2) เพื่อป้องกันการเกิดทุจริตในสหกรณ์ 3) เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ 2. เป้าหมาย สหกรณ์จำนวน 29 แห่ง (ร้อยละ 25 ของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจในจังหวัดกระบี่) 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน ร้อยละ 100 ของสหกรณ์เป้าหมาย 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์ดำเนินกิจการเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกต ของผู้สอบบัญชี รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของสหกรณ์ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 24,300.- 24,300.- 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ แต่งตั้ง คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดกระบี่ จำนวน 3 ชุด มอบหมายให้ตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบ ระดังจังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ประจำจังหวัดกระบี่ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการตรวจการสหกรณ์ เป้าหมายตามที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 67 2) คณะผู้ตรวจการสหกรณ์เข้าตรวจการตามแผนปฏิบัติการและในการเข้าตรวจการแต่ละครั้งต้อง ตรวจสอบครบทุกประเด็นตามแนวทางการตรวจการสหกรณ์ 3) เมื่อตรวจสอบสหกรณ์เสร็จแล้วได้สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจสอบกิจการและฐานะ ทางการเงินของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณา 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ดำเนินการเข้าตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์จำนวน 29 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ของสหกรณ์เป้าหมาย 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่ได้รับการตรวจการสหกรณ์โดยทีมตรวจสอบระดับจังหวัด จำนวน 29 สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เมื่อมีเหตุผิดปกติในสหกรณ์ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ได้เข้าตรวจสอบโดยเร็วทำให้ได้รับทราบข้อมูลถึงเหตุ ผิดปกติ ทราบมูลค่าความเสียหาย ผู้กระทำผิด และสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างรวดเร็ว รวมถึง ได้มีการชี้แจงเหตุที่เกิดขึ้นให้สมาชิกเกิดความเข้าใจ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ - 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 68 ◼ ตรวจการตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้สหกรณ์ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง 2) เพื่อป้องกันการเกิดทุจริตในสหกรณ์ 3) เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเมื่อเกิดเหตุผิดปกติ 2.เป้าหมาย สหกรณ์จำนวน 11 แห่ง (ร้อยละ 15 ของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจในจังหวัดกระบี่) 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน ร้อยละ 100 ของสหกรณ์เป้าหมาย 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์ดำเนินกิจการเป็นไปตามข้อบังคับ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อสังเกต ของผู้สอบบัญชี รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องของสหกรณ์ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 13,700.- 13,700.- 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ - สหกรณ์จังหวัดกระบี่ในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์แต่งตั้ง คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ และมอบหมายให้ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ร้อยละ 15 ของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจในจังหวัดกระบี่ ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 69 - สหกรณณ์จังหวัดกระบี่ในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์ ปฏิบัติการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ มอบหมายคณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ร้อยละ 15 ของสหกรณ์ทั้งหมดโดยพิจารณาจากสหกรณ์ที่มีความเสี่ยง จะเกิดการทุจริต สหกรณ์ที่มีการเรื่องร้องเรียน สหกรณ์ที่มีข้อบกพร่องและมีความเสี่ยงจะเกิดข้อบกพร่อง - คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ เข้าตรวจสอบสหกรณ์เป้าหมาย และเมื่อตรวจสอบสหกรณ์เสร็จแล้ว ได้สรุปข้อเท็จจริงและรายงานผลการตรวจสอบกิจการและฐานะ ทางการเงินของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์พิจารณา 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ดำเนินการตรวจการสหกรณ์เป้าหมายตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ จำนวน 11 สหกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์ที่ได้รับการตรวจการสหกรณ์ตามคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์จำนวน 11 สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เมื่อมีเหตุผิดปกติในสหกรณ์ คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ ได้เข้าตรวจสอบโดยเร็วทำให้ได้รับทราบข้อมูล ถึงเหตุผิดปกติ ทราบมูลค่าความเสียหาย ผู้กระทำผิด และสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ อย่างรวดเร็ว รวมถึงได้มีการชี้แจงเหตุที่เกิดขึ้นให้สมาชิกเกิดความเข้าใจ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน - 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ - 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 70 ◼ โครงการจัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาธุรกิจร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ 1. วัตถุประสงค์ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาการดําเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ 1.2 ส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและร้านค้าสหกรณ์ 1.3 ขยายโอกาสทางการตลาดสินค้าสหกรณ์ ผ่าน ซูเปอร์มาร์เก็ตสหกรณ์ 2.เป้าหมาย สหกรณ์เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจร้านค้าสหกรณ์ในรูปแบบซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ 3 สหกรณ์ ได้แก่ 2.1 สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. กระบี่ จำกัด 2.2 สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาใหญ่สามัคคี จำกัด 2.3 สหกรณ์ทับปริกการเกษตรสหกิจ จำกัด 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 3.1 ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ 3 แห่ง 3.2 จัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ 1 ครั้ง 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 4.1.สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการสามารถเชื่อมโยงสินค้า ระหว่างสหกรณ์ เกษตรกรผู้ผลิตสินค้า 4.2.เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า 4.3.เพิ่มมูลค่าของสินค้าให้กับสมาชิกสหกรณ์ 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 3,800 3,800 100 รวมทั้งสิ้น 3,800 3,800 100 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 71 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1.ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ครั้ง 3 3 100 2.จัดประชุมการวางแผนการพัฒนา ดำเนินงานและเชื่อมโยงเครือข่าย ครั้ง 1 1 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 สหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้า ธ.ก.ส. กระบี่ จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางเขาใหญ่สามัคคี จำกัดและสหกรณ์ทับปริกการเกษตรสหกิจ จำกัด 2. มูลค่าการจำหน่ายสินค้าของ 3 สหกรณ์ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1. ร้านค้าสหกรณ์เป็นจุดจำหน่ายสินคาของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ ที่มีคุณภาพ ซึ่งทำให้เกิดการขยายโอกาสทางการตลาดสินค้ำสหกรณ์ ผ่านซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ผู้บริโภคเข้าถึง สินค้าสหกรณ์ได้มากขึ้น 2. เกิดการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดสินค้าสหกรณ์สร้างความเข็มแข็งให้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ได้รับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน 3. สหกรณ์เชื่อมโยงกับเกษตรกรโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สารต่ออาชีพการเกษตร นำสินค้ามาขายยังร้านซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 7.1. สหกรณ์ที่เค้าร่วมโครงการฯ มีพื้นที่ร้านที่ไม่เอื้ออำนวยการการจัดร้านในรูปแบบซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ 7.2. สินค้าที่วางจำหน่ายในร้าน ไม่มีความหลากหลาย หรือมีสินค้าไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของสมาชิก หรือลูกค้าภายนอก
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 72 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 8.1 วิเคราะห์ความสามารถในการขายสินค้า หากยอดขาดของร้านมีความสามารถในการเจริญเติบโตได้ อาจจะกู้เงินจากกรมฯ เพื่อขยายกิจการ แต่หากวิเคราะห์แล้วยอดขายยังไม่ดี กำไรน้อย หรือเสมอตัว อาจจะรอโอกาสต่อไป 8.2 สอบถามความต้องการสินค้าของสมาชิกสหกรณ์ หรือสังเกตร้านค้าข้างเคียง หรือร้านค้าในพื้นที่ ว่ามีสินค้าประเภทใดที่คนในชุมชนต้องการ และที่ร้านยังไม่มี 9. ภาพประกอบ 9.1 จัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ 9.2 ลงพื้นที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ 3 แห่ง 9.3 การประชุมและอบรมต่าง ๆ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 73 ◼ โครงการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์นอกภาคการเกษตรสู่ความเข้มแข็งประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้จัดทำบัญชีของสหกรณ์นอกภาคการเกษตรให้สามารถจัดทำบัญชีและงบการเงินได้ 1.2 เพื่อให้สหกรณ์นอกภาคการเกษตรสามารถจัดทำบัญชีและงบการเงินให้เป็นปัจจุบันและปิดบัญชี ได้ตามกฎหมายกำหนด 2.เป้าหมาย สหกรณ์บริการรถยนต์บริการธุรกิจกระบี่ จำกัด ประกอบด้วย คณะทำงานปิดบัญชีสหกรณ์และคณะ ปฏิบัติงานจัดทำบัญชี และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 15 คน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1. สหกรณ์สามารถจัดทำบัญชีและงบการเงิน และปิดบัญชีได้เป็นปัจจุบัน สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2565 2. เจ้าหน้าที่บัญชี มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำบัญชีและงบการเงินพร้อมทั้งการใช้โปรแกรมบัญชีเพิ่มขึ้น 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์บริการรถยนต์บริการธุรกิจกระบี่ จำกัด สามารถปิดบัญชีและส่งงบการเงินประจำปี สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงิน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 5. งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 7,800 7,800 100 รวมทั้งสิ้น 7,800 7,800 100 ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานพื้นฐาน ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 74 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด สรุปผลการดำเนินงานและผลประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพสหกรณ์นอกภาคการเกษตร สู่ความเข้มแข็งประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สหกรณ์บริการรถยนต์บริการธุรกิจกระบี่ จำกัด ที่เข้าร่วม โครงการฯ สามารถส่งงบการเงินประจำปี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และผู้สอบบัญชีรับรองงบ การเงิน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ สหกรณ์บริการรถยนต์บริการธุรกิจกระบี่ จำกัด สามารถจัดทำบัญชีและงบการเงิน และปิดบัญชี ได้เป็นปัจจุบัน สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2565 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เจ้าหน้าที่บัญชีของสหกรณ์รถยนต์บริการธุรกิจกระบี่ จำกัด มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำบัญชี และงบการเงินพร้อมทั้งการใช้โปรแกรมบัญชีได้เพิ่มขึ้น 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน 1. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ขาดทักษะความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ของปฏิบัติงานบัญชี 2. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่ได้จัดเก็บเอกสารไว้เป็นหมวดหมู่ ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ไม่สะดวก ในการใช้งานและการจัดทำทะเบียนคุมต่างๆ 3. สหกรณ์ไม่มีโปรแกรมบัญชี 4. สหกรณ์ไม่มีช่องทางในการดำเนินธุรกิจ 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ 1. ควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อก่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความรู้และประสิทธิภาพของปฏิบัติงานบัญชี 2. ควรจัดเก็บเอกสารไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกในการใช้งานและมีการจัดทำ ทะเบียนคุมต่างๆ 3. ควรแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ใช้โปรแกรมระบบบัญชี และให้คำแนะนำเมื่อโปรแกรมบัญชีมีปัญหา 4. แนะนำให้สหกรณ์เพิ่มช่องทางในการดำเนินธุรกิจ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 75 9. ภาพประกอบ ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปิดบัญชีสหกรณ์ และ ติดตาม แนะนำ สอนแนะให้พนักงานบัญชีของสหกรณ์
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 76 ◼ โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจชุมชน กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 1. วัตถุประสงค์ 1.1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปสินค้าเกษตรมาใช้ในการแปรรูปผลผลิตการเกษตร สร้างความหลากหลายของสินค้า รวมทั้งการพัฒนา ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 1.2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มทักษะด้านการผลิต การรวบรวม การแปรรูป รวมทั้งการบริหาร จัดการการผลิต การตลาดแก่สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรให้เป็นที่พึ่งในการแก้ไขปัญหาการตลาด สินค้าเกษตรในชุมชนและเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจการผลิต การตลาด 2.เป้าหมาย กลุ่มแม่บ้านเครื่องแกงตำมือบ้านดินนา สังกัดสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านดินนา จำกัด เป้าหมายหลัก จำนวน 1 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 50 คน 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 3.1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมทำการเกษตรแปรรูป จำนวน 1 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 50 ราย 3.2.อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 3.3.ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักและเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนด ร้อยละ 100 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกรมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านการผลิต การรวบรวม การแปรรูป การบริหารจัดการและการสร้างความหลากหลายของสินค้าและคุณภาพบรรจุภัณฑ์ที่มีผลสำเร็จ สอดคล้องกับเป้าหมายด้านเกษตรแปรรูป ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 3 การเกษตร แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 77 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) ประเภทรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 1,600 1,600 100 รวมทั้งสิ้น 1,600 1,600 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมทำการเกษตรแปรรูป แห่ง 1 1 100 อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 3 100 การใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักและเบิกจ่าย บาท 1,600 1,600 100 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1.กลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้นวัตกรรม เทคโนโลยี การแปรรูปสินค้าเกษตรสร้างมูลค่า รวมถึงการจัดทำแผนการตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์ รองรับแผนการตลาด เกษตรสร้างมูลค่าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 2.สมาชิกกลุ่มอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกการดำเนินธุรกิจ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1.สมาชิกกลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีการแปรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาการดำเนินธุรกิจรวมรวมและแปรรูป สามารถจัดทำแผนการตลาดและสื่อ ประชาสัมพันธ์ได้ 2.สมาชิกกลุ่มอาชีพที่รายได้เพิ่มขึ้น 700 บาท/เดือน/คน
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 78 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน กลุ่มขาดสถานที่ใช้ในการผลิตสินค้า ยังคงใช้อาคารซึ่งเป็นสถานที่ร่วมกันกับโรงเก็บปุ๋ยของสหกรณ์ ทำให้การผลิตสินค้าของกลุ่มไม่ต่อเนื่อง 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ แนะนำให้กลุ่มอาชีพทำโครงการเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐเข้าช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณในการก่อสร้าง อาคารสำหรับใช้เป็นสถานที่ผลิตสินค้าของกลุ่ม เพื่อดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เช่น การรับรองสินค้ามาตรฐานสหกรณ์ (สมส.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและยา (อย.) และมาตรฐานอื่นๆ ที่หน่วยงานต่างๆรับรอง 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 79 ◼ โครงการส่งเสริมการสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้สามารถ ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิธีการสหกรณ์ในการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการครองชีพมุ่งเน้นการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งในด้านการป้องกันและลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ 2.เป้าหมาย สหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 2 แห่ง 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ จำนวน 2 แห่ง 2. โรงเรียน/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง 3. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการ ฯ มีอัตราการขยายตัวของปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ จำนวน 2 แห่ง 2. โรงเรียน/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 80 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) งบดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการส่งเสริมสหกรณ์ตามพระราชดำริ จำนวน 6,500 บาท ผลการเบิกจ่าย ร้อยละ 100 งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 216,000 บาท (สหกรณ์จำนวน 2 แห่ง) ผลการเบิกจ่ายร้อยละ 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ด้านการแนะนำส่งเสริม พบว่า การได้ดำเนินงานและวางแผนงานร่วมกันระหว่างกลุ่มวิชาการ ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ การแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในปี พ.ศ. 2565 มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สหกรณ์ทุกแห่งให้ความสำคัญและความร่วมมือ ต่อการแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นอย่างดี ด้านการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและคุ้มครองสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2565 สหกรณ์มีข้อสังเกต จากผู้ตรวจการสหกรณ์และจากผู้สอบบัญชีลดลงจากปีที่ผ่านมา สหกรณ์ทุกแห่งสามารถแก้ไขข้อสังเกต ที่เกิดขึ้นได้ และไม่มีข้อสังเกตร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ข้อบกพร่องของสหกรณ์ได้ ทั้งนี้สหกรณ์ตระหนัก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและกลุ่มตรวจการสหกรณ์เป็นอย่างดี 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ 1. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ จำนวน 2 แห่ง 2. โรงเรียน/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสหกรณ์ จำนวน 2 แห่ง
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 81 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ . สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้รับการส่งเสริม และพัฒนาความเข้มแข็งตามศักยภาพ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน คณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการองค์กรและความรู้ด้านบัญชี 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กรและความรู้ด้านการบัญชี แก่คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวฯ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการบัญชี ของสหกรณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคปัจจุบัน 9.ภาพประกอบ
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 82 ◼ โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิ ราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อแนะนำส่งเสริมนักเรียนในโครงการพระราชดำริ ได้เรียนรู้เรื่องการสหกรณ์ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานในเรื่องของการสหกรณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สร้างความคุ้นเคยระบบสหกรณ์ให้กับ นักเรียนในขณะศึกษา 2) เพื่อให้นักเรียนในโครงการพระราชดำริ มีพฤติกรรมตามอุดมการณ์สหกรณ์ 3) เพื่อเผยแพร่ ขยายผลการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนไปสู่ผู้ปกครอง และชุมชน 2.เป้าหมาย โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริฯ จำนวน 1 แห่ง (ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน 1) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ในโรงเรียนภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 1 หน่วยงาน 2) จัดกิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์ นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน 3) จัดโครงการส่งเสริมการเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อขยายผลการส่งเสริม กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนไปสู่ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 20 คน 4) จัดโครงการสุดยอดเด็กดีมีเงินออม เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการ ปัญหาด้วยการบูรณาการ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการบริหารงบประมาณ เห็นคุณค่าของการออม จำนวน 30 คน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 83 5) ผลประเมินคะแนนเฉลี่ยวิชาสหกรณ์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ 1) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางด้านอาชีพที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อย่างน้อย 1 อาชีพ 2) นักเรียนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดำเนินกิจกรรม การรวมกลุ่มและการสหกรณ์ 3) นักเรียนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำหลักการและวิธีการสหกรณ์ที่ได้ จากการปฏิบัติจริงไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) หน่วย : บาท ประเภทงบรายจ่าย งบประมาณที่ได้รับ ผลเบิกจ่าย ร้อยละ งบดำเนินงาน 10,300 10,300 100 งบเงินอุดหนุน 1,000 1,000 100 รวมทั้งสิ้น 11,300 11,300 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ 6.1 ผลสำเร็จตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด/กิจกรรมที่ดำเนินการ หน่วยนับ แผน ผล ร้อยละ 1) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการ ส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน แห่ง 1 1 100 2) จำนวนคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน สมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมกิจกรรม ทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ คน 15 15 100 3) จำนวนนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเชื่อมโยง กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน สู่ผู้ปกครองและชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้ไป ปรับใช้ในการประกอบอาชีพของครอบครัว และขยายผลสู่ชุมชนได้ คน 20 20 100 4) จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสุดยอดเด็กดี มีเงินออม เพื่อส่งเสริม ทักษะการบริหารงบประมาณ และเห็นคุณค่าของการออม คน 30 30 100 5) ผลประเมินคะแนนเฉลี่ยวิชาสหกรณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 70 86.5 124
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 84 6.2 ผลสัมฤทธิ์/ผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์เชิงปริมาณ - สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ ได้ประสานงานกับสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนร่วมกัน โดยมีกิจกรรมโครงการ ที่ร่วมกันส่งเสริม ได้แก่ โครงการสุดยอดเด็กดีมีเงินออม กิจกรรมการบันทึกบัญชีประจำวัน ฯลฯ - กิจกรรมทัศนศึกษา มีนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ครู และผู้สังเกตการณ์ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 15 คน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนมีชัย อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 - โครงการส่งเสริมการเชื่อมโยงกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน มีนักเรียนและผู้ปกครอง เข้าร่วมโครงการร่วมกันทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เกิดการขยายผล กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนจากโรงเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน จำนวน 20 คน (10 ครัวเรือน) - กิจกรรมประกวดการออม เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนภายใต้แนวคิด “รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ รู้จักให้” ทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความตระหนักถึงความสำคัญของการออม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน และได้รับรางวัลการออมสูงสุด 5 คน - ผลประเมินคะแนนเฉลี่ยวิชาสหกรณ์ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์การเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านแผ่นดินเสมอ จำนวน 14 คน มีผลผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.5 ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ 1) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางด้านอาชีพ ได้แก่ อาชีพเกษตรกร อาชีพค้าขาย เป็นต้น 2) นักเรียนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดำเนินกิจกรรม การรวมกลุ่มและการสหกรณ์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานซึ่งกันและกัน สามารถนำความรู้ ที่ได้จากการทำงานร่วมกัน และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและชุมชน มีกิจกรรมร่วมกันโดยนำหลักสหกรณ์
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 85 มาใช้และเกิดทักษะในด้านการบันทึกบัญชี การเสนอความคิดเห็นร่วมกันจากการทำกิจกรรม ผู้ปกครอง และชุมชน ได้รู้และเข้าใจการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนมากยิ่งขึ้น 3) นักเรียนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำหลักการและวิธีการสหกรณ์ที่ได้จากการ ปฏิบัติจริงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน การติดต่อประสานโรงเรียนค่อนข้างทำได้ลำบาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ และการเดินทางที่ไม่สะดวก 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ประสานการกับกลุ่มส่งเสริมในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือด้านการติดต่อ และประสานกับทางโรงเรียน 9. ภาพประกอบ ภาพถ่ายกิจกรรมทัศนศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียน ภาพถ่ายกิจกรรมติดตามโครงการส่งเสริมการเชื่อมโยงสหกรณ์นักเรียนสู่ผู้ปกครองและชุมชน ภาพถ่ายกิจกรรมแนะนำ ส่งเสริม กิจกรรมโครงการสุดยอดเด็กดีมีเงินออม ประจำปี 2565
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 86 ◼ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(นิคมสหกรณ์คลองท่อม) 1. วัตถุประสงค์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกระบี่ โดยนิคมสหกรณ์คลองท่อม ได้ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการให้ความรู้ แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ด้านการใช้ประโยชน์จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นเล็งเห็นความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช การเก็บรวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีความสำคัญมาปลูกในแปลงสาธิตเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ 2.เป้าหมาย - เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) - เพื่อแนะนำส่งเสริมสหกรณ์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้สามารถดำเนินกิจกรรม ช่วยเหลือเกษตรกร/สมาชิกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นรวมถึงการเผยแพร่การสหกรณ์ เพื่อให้สามารถนำหลักของสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ -แปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์คลองท่อม สามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้พันธุกรรมพืชในชุมชน - พัฒนา ปรับปรุง ดูแลรักษา แปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน พันธุกรรมพืชของชุมชน/สมาชิกสหกรณ์ 3. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน - พัฒนา ปรับปรุง ดูแลรักษา แปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านพันธุกรรมพืชของชุมชน/สมาชิกสหกรณ์ 4. ผลสัมฤทธิ์ / ผลผระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ สมาชิกนิคมสหกรณ์ รวมทั้งสมาชิกของสหกรณ์นิคมสหกรณคลองท่อม ได้ศึกษาเรียนรู้ และตระหนักถึง การอนุรักษ์พืชประจำถิ่นให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยืน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์ ประเด็นแผนแม่บท 15 พลังทางสังคม แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม
รายงานประจำปี 2565 (Annual Report) | 87 5.งบประมาณที่ได้รับ (มีผลเบิกจ่าย-ร้อยละ) งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 6,300 บาท เบิกจ่ายได้ร้อยละ 100 6.สรุปผลการดำเนินโครงการ - แนะนำ ส่งเสริม และให้ความรู้สหกรณ์ในพื้นที่ เพื่อเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมตามโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - ประสาน และสำรวจพันธุกรรมพืชร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โรงเรียนในพื้นที่นิคม เพื่อสำรวจ และจดบันทึกลักษณะตามพันธุกรรมพืชท้องถิ่น ตามรูปแบบของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช - พัฒนา ปรับปรุง ดูแลรักษา แปลงสาธิตพันธุกรรมพืชในพื้นที่นิคมสหกรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านพันธุกรรมพืชของชุมชน/สมาชิกสหกรณ์ 7. ปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงาน ในการปลูกเพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่เป็นไม้ยืนต้น เช่นต้นตำเสา หรือกันเกรา ประสบปัญหา เนื่องจากพื้นที่ปลูกในนิคมสภาพพื้นดินชั้นล่างเป็นหินทำให้รากไม้ไม่สามารถลงรากลึกเพื่อยึดลำต้นได้ ประกอบกับเป็นทิศทางลมอาจทำให้ต้นไม้ใหญ่หักโค่นหรือล้มลงง่าย ตลอดจนในช่วงฝนทิ้งช่วงลักษณะของดิน ที่ไม่สามารถหุ้มน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้นไม้ไม่เจริญเติบโต 8. แนวทางแก้ไขหรือข้อเสนอแนะ ควรจะมีการขยายผลในการอนุรักษ์พิชประจำถิ่นให้มีความหลายมากขึ้น และหาพืชที่ทนแล้งและมีคุณค่า ในเชิงของการสร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง 9.ภาพประกอบ