The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานการวิเคราะห์ อ.ก.บ.ศ. ภาค ประจำปี พ.ศ. 64

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by orawan_nana, 2022-03-16 22:53:37

รายงานการวิเคราะห์ อ.ก.บ.ศ. ภาค ประจำปี พ.ศ. 64

รายงานการวิเคราะห์ อ.ก.บ.ศ. ภาค ประจำปี พ.ศ. 64

รายงาน

การศึกษาวเิ คราะห์
การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรม
ในสว่ นภูมภิ าค

ประจาปี พ.ศ.

๒๕๖๔

สานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
สานกั งานศาลยตุ ิธรรม

คํานาํ

ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหารราชการศาลยุติธรรม
ประจําภาค พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพ่ิมเติม ได้กําหนดให้มีคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ประจําภาค (อ.ก.บ.ศ. ภาค) โดยมีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับ
งานบริหารราชการและงานธุรการของศาลในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคให้เป็นไปตาม
กฎหมาย ระเบียบแบบแผนและประเพณขี องทางราชการศาลยตุ ธิ รรม

รายงานการศึกษาวิเคราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาคน้ีได้รวบรวม
เร่ืองเพื่อพิจารณาท่ีอยู่ในอํานาจของ อ.ก.บ.ศ. ภาค ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ข้อสังเกตและ
ข้อเสนอแนะจากรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประจําภาค ๑ – ภาค ๙
โดยเป็นข้อมูลที่สาํ นักคณะกรรมการบริหารศาลยตุ ิธรรมไดร้ ับในปี พ.ศ. ๒๕64 และนํามาวิเคราะหป์ ัญหา
และประเด็นที่น่าสนใจจากการปฏิบัติงานของศาลในภาค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและ
การบริหารราชการศาลยุติธรรม สรุปเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้บริหารสํานักงานศาลยุติธรรม
และฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ท้ังนี้ เพ่ือเสนอให้คณะกรรมการบริหาร
ศาลยตุ ธิ รรมทราบต่อไป

สาํ นกั คณะกรรมการบรหิ ารศาลยุติธรรม
สํานกั งานศาลยตุ ิธรรม
มนี าคม ๒๕๖5

สารบัญ

ความเปน็ มา หน้า
วัตถปุ ระสงค์
เป้าหมาย ๑
ตวั ชว้ี ัดเปา้ หมาย ๓
วธิ ดี าเนินการ ๔
ผลการวิเคราะห์ ๔
บทสรุป ๔
ขอ้ เสนอแนะ ๔
99
103

ภาคผนวก
- ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหารราชการศาลยุติธรรม
ประจาภาค พ.ศ. ๒๕๔๘ และทแ่ี ก้ไขเพิม่ เติม

การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ภิ าค

ความเปน็ มา

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๑๗
กาํ หนดให้คณะกรรมการบรหิ ารศาลยุติธรรมมีอาํ นาจหน้าท่ีออกระเบียบหรือประกาศ หรือมีมติเพ่ือการ
บริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนท่ีเก่ียวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของสํานักงาน
ศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา รวมทั้งมีอํานาจยับย้ังการบริหารราชการ
ของศาลยุติธรรม หรือสํานักงานศาลยุติธรรมท่ีไม่เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หรือมตินั้นด้วย
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้ออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหาร
ราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพ่ิมเติม โดยกําหนดให้มีคณะอนุกรรมการ
บริหารศาลยุติธรรมประจําภาค เรียกชื่อโดยย่อว่า “อ.ก.บ.ศ. ภาค” มีภาคละหน่ึงคณะ มีอํานาจหน้าท่ี
ในการกํากับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมท่ีเก่ียวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของศาล
ในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนและประเพณีปฏิบัติของ
ทางราชการศาลยุติธรรม โดยให้ อ.ก.บ.ศ. ภาค มีอํานาจหนา้ ทด่ี ังต่อไปน้ี

๑. ให้คําแนะนําและตอบข้อหารือทางวิชาการแก่ผู้พิพากษาของศาลในเขตอํานาจของ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค เช่น คดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือเป็นท่ีสนใจของประชาชน คดีที่เป็น
ความผิดอาญาร้ายแรง หรือคดีที่มีความสลับซับซ้อน คดีท่ีมีทุนทรัพย์สูงและคดีละเมิดอํานาจศาล
รวมท้ังข้อขัดข้องอ่นื ๆ เนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผูพ้ ิพากษา ทั้งน้ี ตามหลักเกณฑ์ทกี่ ําหนดในระเบียบ
ราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุตธิ รรมและที่ อ.ก.บ.ศ. ภาค กําหนด

๒. เสนอความเห็นต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาคในการส่ังให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่ง
ในศาลในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคไปช่วยทํางานชั่วคราวในอีกศาลหน่ึงตามพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม มาตรา ๑๔ (๒)

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 1 

 

๓. วางระเบียบหรือมีมติในการบริหารงานธุรการของศาลเพื่อสนับสนุนให้การพิจารณา
พิพากษาคดีในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
แนวนโยบายของประธานศาลฎกี า

๔. พิจารณาให้ความเห็นในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและระเบียบวิธีปฏิบัติท่ีเกิด
ข้อขัดข้องในการปฏิบัติราชการของผู้พิพากษาและข้าราชการศาลยุติธรรมในศาลในเขตอํานาจของ
อธิบดีผู้พิพากษาภาคต่อสํานักงานศาลยุติธรรมและคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพ่ือดําเนินการ
ต่อไป

๕. พิจารณาให้ความเห็นในการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีในการบริหาร
ราชการของศาล สํานักศาลยุติธรรมประจําภาค สํานักอํานวยการประจําศาลและสํานักงานประจําศาล
ในเขตอาํ นาจของอธบิ ดผี ้พู ิพากษาภาคเพื่อเสนอสาํ นกั งานศาลยตุ ิธรรมดําเนนิ การต่อไป

๖.เสนอแนะการบริหารจัดการและให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการโอน และการ
เปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณประจําปีและการพัสดุที่ศาล สํานักศาลยุติธรรมประจําภาค
สํานักอํานวยการประจําศาล และสํานักงานประจําศาลในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคได้รับ
การจัดสรรจากสํานักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้การดําเนินการอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
ของศาลในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาคเกิดผลสัมฤทธ์ิสูงสุด

๗. เสนอแนะการบริหารงานบุคคลของข้าราชการศาลยุติธรรมและลูกจ้างที่ปฏิบัติ
หน้าที่ในสํานักศาลยุติธรรมประจําภาค สํานักอํานวยการประจําศาล และสํานักงานประจําศาล
ในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนการพิจารณาพิพากษาคดี
ของผูพ้ ิพากษามปี ระสิทธิภาพสูงสดุ

๘. แตง่ ต้งั บคุ คลหรอื คณะบุคคลเพอ่ื ดาํ เนนิ การใดๆ ภายในกรอบอํานาจหนา้ ที่
๙. พิจารณาเร่ืองอื่นๆ ตามที่ประธานศาลฎีกา คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมหรือคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมมอบหมายและปฏิบัติการ
อื่นใดตามท่กี ฎหมาย ระเบยี บ หรอื ประกาศกาํ หนดไวใ้ ห้เป็นอาํ นาจของ อ.ก.บ.ศ. ภาค
คณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประจําภาคมีภาคละหนึ่งคณะ เรียกชื่อโดยย่อ
วา่ อ.ก.บ.ศ. ภาค ประกอบด้วย
๑) อธบิ ดผี พู้ ิพากษาภาคเปน็ ประธานอนกุ รรมการ
๒) รองอธิบดีผู้พพิ ากษาภาคเป็นอนกุ รรมการ
๓) ผูพ้ ิพากษาหวั หน้าศาลประจาํ สาํ นกั งานอธบิ ดผี ู้พพิ ากษาภาคเปน็ อนุกรรมการ
๔) ผพู้ พิ ากษาหัวหนา้ ศาลทกุ ศาลในเขตอํานาจของอธบิ ดผี พู้ พิ ากษาภาคเป็นอนกุ รรมการ

รายงานการศึกษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 2 

 

ทั้งนี้ ให้เลขานุการศาลยุติธรรมประจําภาคเป็นเลขานุการและให้ผู้อํานวยการสํานัก
ศาลยุติธรรมประจําภาคเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ซ่ึงในการประชุมของ อ.ก.บ.ศ. ภาค ถ้าประธานไม่อยู่
ในทป่ี ระชมุ หรอื ไมอ่ าจมาประชุมได้ ให้รองอธิบดผี ูพ้ พิ ากษาภาคทมี่ ีอาวโุ สสงู สดุ ท่ีมาประชุมเปน็ ประธาน
ในท่ีประชมุ

ในส่วนของการประชุมนั้น เดิม ก.บ.ศ. ได้มีมติให้ อ.ก.บ.ศ. ภาคประชุมอย่างน้อย
เดือนละ ๑ ครั้ง โดยเฉพาะ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๙ ให้รายงานสถานการณ์ต่างๆ ของศาลในพ้ืนที่สามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้รวมท้ังจังหวัดสงขลาให้ ก.บ.ศ. ทราบทุกเดือน1 ต่อมาคณะกรรมการบริหาร
ศาลยุติธรรมได้ปรับปรุงระเบียบ ก.บ.ศ. วา่ ดว้ ยการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค
ฉบับท่ี ๔ ลงวนั ท่ี ๒๑ กันยายน ๒๕๖๑ กาํ หนดใหก้ ารประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาคประชมุ สองเดือนต่อหนึ่งคร้ัง

คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีบัญชาให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหาร
ศาลยตุ ิธรรมสรุปปัญหาที่ได้รับจากรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประจําภาค
ดังน้ัน สํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมจึงได้รวบรวมรายงานการประชุมของ อ.ก.บ.ศ. ภาค
ท่ีได้รับจากสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาคต่างๆ แล้วดําเนินการวิเคราะห์และสรุปปัญหาจากรายงาน
การประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ประสานและแจง้ ไปยงั หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพ่ือพจิ ารณาดําเนินการ
ให้ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็ว และรายงานให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม
และรายงาน ก.บ.ศ. เพอื่ ทราบต่อไป

ร า ย ง า น ก า ร ศึ ก ษ า วิ เค ร า ะ ห์ ก า ร บ ริ ห า ร ร า ช ก า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ใ น ส่ ว น ภู มิ ภ า ค น้ี
สํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้รวบรวมวิเคราะห์เรื่องท่ีพิจารณา/ประเด็นตามขอบเขต
อํานาจหน้าท่ีของ อ.ก.บ.ศ. ภาค จากรายงานการประชุมในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน ๕๔ ฉบับ
เพื่อสรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่างๆ เพ่ือเป็นแนวทาง
ปอ้ งกนั ปัญหาทเี่ กดิ ข้ึนตอ่ ไป

วัตถุประสงค์

๑. เพ่ือให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมรับทราบถึงปัญหาท่ีเกิดขึ้นในการ
ปฏิบตั ิงานในศาลต่างๆ ท่อี ยู่ในเขตอาํ นาจของอธิบดีผู้พพิ ากษาภาค

๒. เพ่ือศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากรายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค
ตามอาํ นาจหนา้ ท่ีของ อ.ก.บ.ศ. ภาค

๓. เพ่ือเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมในการ
แกไ้ ขปัญหาทก่ี ระทบตอ่ การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรม

                                                           

๑ มติ ก.บ.ศ. ในการประชมุ ครัง้ ที่ ๑๓/๒๕๔๘ เมือ่ วันท่ี ๑๒ พ.ค. ๒๕๔๘

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบริหารราชการศาลยุตธิ รรมในสว่ นภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 3 

 

เป้าหมาย

รวบรวม วิเคราะห์ ประเด็นปัญหาและข้อสังเกตท่ีได้รับจากรายงานการประชุม
คณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประจําภาค ๑ - ๙ สรุปและจัดทําเป็นเอกสารรายงานการศึกษา
วิเคราะห์เกีย่ วกบั การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภมู ภิ าคประจาํ ปี

ตัวชว้ี ดั เปา้ หมาย

เอ ก ส า ร ร า ย ง า น ก า ร ศึ ก ษ า วิ เค ร า ะ ห์ เก่ี ย ว กั บ ก า ร บ ริ ห า ร ร า ช ก า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม
ในส่วนภูมิภาค ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ แล้วเสร็จ โดยเสนอเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม
และนาํ เสนอคณะกรรมการบรหิ ารศาลยุตธิ รรมเพื่อทราบ

วิธกี ารดําเนนิ งาน

รวบรวมข้อมูลและศึกษาค้นคว้าจากเอกสารรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการ
บริหารศาลยุติธรรมประจําภาค ซ่ึงได้คัดแยกจากวาระการประชุมในเร่ืองท่ีเป็นประเด็นปัญหาในการ
บริหารราชการและข้อสังเกตที่สําคัญ เพ่ือนํามาประกอบวิเคราะห์ผลการประชุมของ อ.ก.บ.ศ. ภาค
จาํ นวน ๕๔ ฉบบั ซงึ่ มีการประชมุ ในระหวา่ งปี พ.ศ. ๒๕๖๔

ผลการวเิ คราะห์

รายงานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารศาลยุติธรรมประจําภาค (อ.ก.บ.ศ. ภาค)
ท้ัง ๙ ภาค ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีจํานวน ๕๔ ฉบับ ซ่ึงประธานอนุกรรมการได้กําหนดจํานวนครั้งของ
การประชุมในภาคตั้งแต่เดือนละ ๑ ครั้ง จนถึง ๒ เดือนต่อ ๑ คร้ัง และเปล่ียนเป็นประชุมสองเดือน
ตอ่ หน่ึงครง้ั ตั้งแตว่ นั ที่ ๒๑ กนั ยายน ๒๕๖๑ และใชร้ ะยะเวลาหน่งึ วนั ถงึ ๒ วนั ต่อการประชุม ๑ คร้ัง

จากการรวบรวมเรื่องต่างๆ ที่เป็นวาระเพ่ือพิจารณาและเพื่อทราบท่ีปรากฏ
ในรายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค พบว่ามีประเด็นปัญหา ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในประเด็น
เก่ียวกับการบริหารจัดการคดี งานธุรการคดี งบประมาณ อัตรากําลังบุคลากร การปรับปรุงซ่อมแซม
อาคารสถานท่ี และข้อหารือในการพิจารณาพิพากษาคดี กฎหมายและระเบียบท่ีเกี่ยวข้อง และประเด็น
เกย่ี วกบั การชี้แจงหลักการ แนวปฏิบตั ิที่เก่ียวกับงานธุรการของศาลท่ีสนบั สนนุ การพิจารณาพพิ ากษาคดี
โดยเปน็ ประเด็นท่รี วบรวม จากรายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค แล้วจดั ทาํ เป็นขอ้ มูลเชงิ สถิติ ได้ดังนี้

รายงานการศึกษาวเิ คราะหก์ ารบริหารราชการศาลยุตธิ รรมในสว่ นภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 4 

 

สถิติเกีย่ วกบั รายงานการประชมุ อนกุ รรมการบริหารศาลยตุ ธิ รรมประจาํ ภาค (อ.ก.บ.ศ. ภาค)

ประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔

๑. รายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค ๑ - ๙ จํานวน ๕๔ ฉบบั

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๑ จํานวน ๖ คร้งั

- รายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค ๒ จาํ นวน ๖ ครัง้

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๓ จาํ นวน ๖ ครง้ั

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๔ จาํ นวน ๖ คร้ัง

- รายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค ๕ จํานวน ๖ ครงั้

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๖ จํานวน ๖ ครงั้

- รายงานการประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค ๗ จาํ นวน ๖ คร้ัง

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๘ จํานวน ๖ ครั้ง

- รายงานการประชมุ อ.ก.บ.ศ. ภาค ๙ จํานวน ๖ ครัง้

๒. เร่ืองที่แยกตามอํานาจหน้าที่ ๙ ข้อของ อ.ก.บ.ศ. ภาค จากระเบียบวาระเรื่องเพ่ือทราบ

เรอื่ งเพ่อื พจิ ารณา และเรื่องอ่นื ๆ จาํ นวน 79 เรอ่ื ง ได้แก่

๒.๑ ใหค้ ําแนะนาํ และตอบขอ้ หารอื ทางวิชาการ จํานวน 22 เรอ่ื ง

๒.๒ เสนอความเหน็ ตอ่ อธบิ ดีผพู้ ิพากษาภาคในการสั่งให้ผพู้ ิพากษา จาํ นวน 2 เรอื่ ง

ไปช่วยทํางานชว่ั คราวในอกี ศาลหน่งึ

๒.๓ วางระเบยี บหรอื มีมติในการบรหิ ารงานธุรการของศาล จาํ นวน 41 เรอื่ ง

๒.๔ พจิ ารณาให้ความเห็นในการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ จํานวน 3 เร่ือง

วธิ ีปฏิบัติทเ่ี กิดข้อขดั ขอ้ งในการปฏบิ ตั ริ าชการ

๒.๕ พจิ ารณาใหค้ วามเหน็ ในการจัดทํางบประมาณรายจา่ ย จาํ นวน 5 เรอ่ื ง

๒.๖ เสนอแนะการบรหิ ารจัดการและใหค้ วามเห็นเกี่ยวกบั วธิ ีการโอน จํานวน 3 เรื่อง

และการเปลย่ี นแปลงรายการงบประมาณประจําปแี ละพสั ดุ

๒.๗ เสนอแนะการบริหารงานบุคคลของขา้ ราชการศาลยตุ ิธรรมและลกู จ้าง จาํ นวน 3 เร่ือง

๒.๘ แตง่ ต้งั บุคคลหรอื คณะบุคคลเพ่ือดําเนินการใดๆ จาํ นวน - เรอ่ื ง

๒.๙ พิจารณาเรอ่ื งอน่ื ๆ ตามทีไ่ ด้รบั มอบหมาย จํานวน - เรอื่ ง

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 5 

 

จากการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ท่ีได้รวบรวมจากรายงาน
การประชุม อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 - 9 ในวาระเรื่องเพื่อพิจารณาและวาระเร่ืองเพื่อทราบท่ีสําคัญ ท่ีปรากฏ
ในรายงานการประชุม สามารถนํามาแยกตามอํานาจหน้าท่ี อ.ก.บ.ศ. ภาค ที่กําหนดไว้ในระเบียบ
คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2548
และทแ่ี ก้ไขเพมิ่ เติม ดงั น้ี

อํานาจหนา้ ที่ ประเด็นเรอื่ ง

1. ให้คําแนะนําและตอบข้อหารือ 1) แนวทางการขับเคลอื่ นนโยบายประธานศาลฎกี า

ทางวิชาการแก่ผู้พิพากษาของศาล แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1

ในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษา 1) ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเร่งรัดปฏิบัติตามนโยบายประธาน

ภาค เช่น คดีที่มีผลกระทบต่อความ ศาลฎีกา โดยดําเนินการให้คู่ความสามารถตรวจสอบความ

มั่นคงของรัฐหรือเป็นท่ีสนใจของ คืบหน้าของคดี การพิจารณาคดีของศาลให้แล้วเสร็จตามกรอบ

ประชาชน คดีท่ีเป็นความผิดอาญา ระยะเวลา การนําระบบการขอปล่อยชั่วคราวออนไลน์มาใช้

ร้ายแรงหรือคดีท่ีมีความสลับซับซ้อน การใช้คําร้องขอปล่อยช่ัวคราวใบเดียวโดยไม่มีหลักประกัน

คดีท่ีมีทุนทรัพย์สูง และคดีละเมิด การใช้ระบบประเมินความเสี่ยง การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

อํานาจศาล รวมท้ังข้อขัดข้องอ่ืน ๆ ติดตามตัว (EM) การตั้งผู้กํากับดูแลในการปล่อยช่ัวคราว

เนื่ อ ง ใน ก า ร ป ฏิ บั ติ ห น้ า ท่ี ข อ ง ให้มากขึ้น การเร่งดําเนินการในคดีท่ีได้รับการอภัยโทษตาม

ผู้พิพากษา ทั้งน้ี ตามหลักเกณ ฑ์ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ รวมถึงประชาสัมพันธ์

ที่กําหนดในระเบียบราชการฝ่าย เรื่องการขอปล่อยช่ัวคราวออนไลน์ และการใช้ระบบ CIOS

ตุลาการของศาลยุติธรรมและท่ี ใหม้ ากขน้ึ เพ่ือลดการเดนิ ทางมาตดิ ต่อราชการของประชาชน

อ.ก.บ.ศ. ภาค กาํ หนด 2) ให้นําข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติของประธานศาลฎีกา

12 เรื่องไปแจ้งให้ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าท่ีทราบและศึกษา

รายละเอียดเพื่อนําไปปฏิบัติให้ครบถ้วน ได้แก่ การกําหนด

จํานวนคดีที่ยื่นฟ้องทางระบบ e-filing และการจัดวันนัด

จัดการคดีพิเศษท่ีเหมาะสม การจ่ายสํานวนคดีจัดการพิเศษ

แก่ผู้พพิ ากษา การอนุญาตเล่อื นคดีเพราะมเี หตุขัดข้อง การย่ืน

คําร้องขอปล่อยช่ัวคราวโดยใช้คําร้องใบเดียว การใช้ดุลพินิจ

ในการพิจารณาอนญุ าตปลอ่ ยช่ัวคราวด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อลด

การคุมขัง การอบรมผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาล

การพิจารณาคําสั่งคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกา

โดยไม่กระทบสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาหรือจําเลยท่ีถูกคุมขัง

การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเก่ียวกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง

การมอบหมายงานแก่เจ้าพนักงานคดีผู้บริโภคให้ตรงตาม

กรอบอํานาจหน้าที่ และการจัดทําโครงการ One Stop

Service เพื่อให้บริการประชาชนด้วยความสะดวกรวดเร็ว

ในจุดเดียว

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุตธิ รรมในส่วนภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 6 

 

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 2
1) ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเร่งดําเนินการตามนโยบาย
5 ส คือ เสมอภาค สมดุล สร้างสรรค์ ส่งเสริม และส่วนร่วม
เช่น การสร้างความเข้มแข็งของระบบองค์คณะในการ
พิจารณาคดี การสร้างมาตรฐานการพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จ
ตามระยะเวลาที่กําหนด การลดการคุมขังท่ีไม่จําเป็น พัฒนา
กระบวนการคุ้มครองสิทธิในคดีอาญา รวมถึงการนําเทคโนโลยี
และวิธีการต่างๆ มาใช้เพ่ือให้การพิจารณาคดีและการบริการ
ประชาชนให้เกดิ ความรวดเรว็ และไม่สร้างภาระแก่ประชาชน
2) เร่งดําเนินการขับเคลื่อนนโยบายฯ ทุกด้าน เช่น การใช้
ดุลพินิจในการปล่อยช่ัวคราว การรอการกําหนดโทษ การออก
หมายปล่อยและหมายจําคุกกรณีมีการพระราชทานอภัยโทษ
และการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์หรือฎีกา
จะตอ้ งไม่นานเกินไป
3) ยกระดับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาไป
ปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในทุกศาล เช่น การจัดตั้งศูนย์คุ้มครอง
สิทธิ การไกล่เกล่ียข้อพิพาทท่ีพิจารณากําหนดค่าเสียหาย
อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมทั้งต่อฝ่ายผู้เสียหายและจําเลย
การให้ความรู้และคําแนะนําแก่ประชาชนเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่
ของตน ตลอดจนการประสานงานระหว่างศาลและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คู่ความได้รับการอํานวยความยุติธรรม
ดว้ ยความสะดวกรวดเร็วข้นึ
แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3
1) ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลขับเคลื่อนนโยบายทุกด้าน
และนํ าไป ป ฏิ บั ติให้ เกิดผลเป็ น รูป ธรรม โด ยเร็ว เช่น
การอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดตามความ
เคล่ือนไหวของคดี ลดขั้นตอนงานที่ซํ้าซ้อนหรือไม่จําเป็น
การนําระบบ One stop service มาใช้ การพิจารณาครบองค์
คณะและต่อเนื่อง ผู้พิพากษาจะต้องพิจารณาครบองค์คณะ
อย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรม และสร้างความ
เชื่อมั่นแก่ประชาชน การนํามาตรการต่างๆ มาใช้ใน
กระบวนการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจําเลย ได้แก่
การประเมินความเสี่ยง การตั้งผู้กํากับดูแล และการนําอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ (EM) มาใช้เพื่อลดการคุมขังท่ีไม่จําเป็น
การปล่อยช่ัวคราวออนไลน์ และการรอการกําหนดโทษ เป็นต้น
2) ดําเนินการให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 7 

 

และคุ้มครองสิทธิของทุกฝ่ายที่เข้ามาในคดีให้เกิดความ
เท่าเทียมกันทง้ั ผ้เู สยี หายและจาํ เลย

3) พัฒนาระบบงานศาลให้โปร่งใสตรวจสอบได้ และการ
พิจารณาคดีที่มีมาตรฐาน ตลอดจนนําเทคโนโลยีท่ีเหมาะสม
มาใชเ้ พอื่ ใหเ้ กิดความสะดวกรวดเร็วในการส่ังปล่อยชว่ั คราว

4) ประกาศรับสมัครทนายความขอแรงและท่ีปรึกษา
กฎหมาย โดยทําการคัดสรรทนายความ ท่ีมีคุณสมบัติ
เหมาะสมแล้วขึ้นบัญชีไว้เพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้แก่
ผู้ต้องหา จําเลย หรือผู้เสียหายตามท่ีศาลกําหนด รวมถึง
ช้นั การบงั คับคดีด้วย

5) การนั่งพิจารณาคดีของศาลจะต้องครบองค์คณะและ
ตอ้ งรว่ มปรกึ ษาคดีครบองค์คณะ

6) แต่งต้ังคณ ะกรรมการข้ึนมาพิจารณ าปรับปรุง
ระบบงานธุรการ และลดข้ันตอนการทํางานและการจัดให้
ประชาชนไดร้ บั ความสะดวกรวดเรว็ ในการรับบริการ

7) ปรับปรุงอาคารสถานท่ีให้เหมาะสม เช่น ห้องขัง ห้อง
รอประกนั

8) ประชาสัมพันธ์การดําเนินการต่างๆ ให้ประชาชนและ
หน่วยงานในกระบวนการยตุ ิธรรมทราบอย่างท่วั ถงึ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดําเนินการในด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือ
จําเลย จัดระบบงานของศาลเพ่ือลดขั้นตอนการทํางาน
ที่ไม่จําเป็น และนําแนวทางตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา
3 ฉบับไปปฏิบัติเพื่อสร้างความเสมอภาคและสมดุล
ตามนโยบายประธานศาลฎีกา เช่น การลดการคุมขังท่ี
ไม่จําเป็น การใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวมากข้ึน การรอ
การกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ การกักขังแทนค่าปรบั และ
ในการปฏิบัติงานของศาลขอให้คํานึงถึงสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้พิจารณา
มาตรการต่างๆ และการพจิ ารณาคดใี ห้สอดคล้องกับความเป็น
จรงิ และเหมาะสมตามบริบทของแตล่ ะศาลดว้ ย

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5
1) ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนํานโยบายประธานศาลฎีกา
ไปปฏิบัติ โดยเฉพาะการสร้างความเสมอภาคและสมดุล เช่น
การพัฒนาระบบงานศาลยุติธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในความ
บริสุทธิ์ยุติธรรม โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและ

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภูมภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 8 

 

ตรวจสอบความคืบหนา้ ของคดีได้ การลดการคมุ ขังท่ีไม่จําเป็น
การรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ การยกโทษจําคุก
และการกักขังแทนโทษจําคุก และขอให้ศาลเร่งรัดดําเนินการ
ออกหมายปล่อยและหมายจําคุกกรณีที่มีการพระราชทาน
อภยั โทษ

2) ขบั เคล่ือนนโยบายฯ โดยดําเนินการจัดตั้งศูนย์คุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพในคดีอาญา จัดงานสภากาแฟและประชุม
ร่วมกับกํานันและผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
เก่ียวกับหน้าที่ของผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว จัดอบรม
เผยแพร่กฎหมาย ปรับปรุงอาคารสถานท่ี การประชาสัมพันธ์
เกี่ยวกับหน้าท่ีของผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว ให้ความรู้เรื่องการ
ปล่อยชั่วคราวและการคุ้มครองสิทธิของจําเลยแก่ผู้ต้องหา
หรือจําเลยในเรือนจํา จัดตั้งคลินิกจิตสังคมให้คําปรึกษา
ผูต้ ้องหาหรอื จาํ เลยท่ตี ิดยาเสพติด จัดตั้งศูนยใ์ ห้คําปรึกษาเพ่ือ
แนะนําและช่วยเหลือผู้เสียหายและครอบครัว ให้ความรู้
เก่ียวกับการยกระดับคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายและผู้ต้องหา
ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค แอปพลิเคชันไลน์
รายการวิทยุ และออกอากาศทางโทรทัศน์ ตลอดจนการจัดทํา
แผ่นพับและป้ายประชาสัมพันธ์ในศาลและหน่วยงานต่างๆ
และจัดประชุมคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพ่ือให้มีความเข้าใจ
เก่ี ย ว กั บ รู ป แ บ บ แ ล ะ ข้ั น ต อ น วิ ธี ก า ร ดํ า เนิ น ง า น ข อ ง ก า ร
คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบาย
ของประธานศาลฎกี า

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 8
1) ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลดําเนินการเพ่ือให้ประชาชน
ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค เช่น การลดการคุมขัง
ท่ีไม่จําเป็น ยกระดับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจําเลย
ระหว่างการต่อสู้คดีในศาล และยกระดับการคุ้มครองสิทธิแก่
ผู้เสียหายเหยื่ออาชญากรรมและพยานในคดีอาญา รวมถึงการ
นํามาตรการต่างๆ มาใช้ในกระบวนการปล่อยช่ัวคราว
ผูต้ อ้ งหาและจําเลย
2) มอบหมายให้เจ้าหน้าท่ีให้ความรู้และคําแนะนํา
เกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องหาหรือจําเลยแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลย
และญาติ และทําการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น
การติดประกาศหน้าที่ทําการศาล ประกาศทางเว็บไซต์ของศาล
รายการวิทยุของ อ.ส.ม.ท. และคลปิ วิดโี อ เปน็ ต้น

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 9 

 

3) จัดประชุมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ
ดําเนินการแก่เจา้ หนา้ ท่ที ่รี บั ผิดชอบในการปฏิบตั ิการ
2) ผลการขับเคล่ือนนโยบายประธานศาลฎีกาข้อ 2
“สร้างดลุ ยภาพแห่งสิทธ”ิ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 รับทราบผลการขับเคลื่อน
นโยบายของประธานศาลฎีกาของศาลในเขตอํานาจอธิบดี
ผูพ้ ิพากษาภาค 1 ดังนี้

1) การปล่อยชั่วคราวโดยตั้งผู้กํากับดแู ลผู้ถกู ปล่อยชั่วคราว
และการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) พบว่าศาลส่วนใหญ่
ได้ดําเนินการปล่อยช่ัวคราวโดยการตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อย
ชั่วคราวแล้ว แต่มีบางศาลยังไม่ได้ดําเนินการ และในภาพรวม
ยังมีการต้ังผู้กํากับดูแลฯ ค่อนข้างน้อย ส่วนการอนุญาตปล่อย
ช่วั คราวโดยใช้ EM พบปัญหาในบางศาลมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ

2) การใช้โทษทางอาญา เช่น การทํางานบริการสังคม
หรือสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ การรอการกําหนดโทษ
การอนุญาตให้จําเลยผ่อนชําระค่าปรับ การยกโทษจําคุกตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ศาลส่วนใหญ่ได้มีการ
ดําเนินการแล้ว แต่ยังไม่มีแนวทางในการใช้โทษท่ีชัดเจน
อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 เห็นควรให้ศาลต้งั คณะทํางานพิจารณาแตล่ ะ
ฐานความผิดแล้วจัดทําบัญชียี่ต๊อกสําหรับประกอบการใช้
ดลุ พินิจ

3) การไกล่เกล่ียออนไลน์และการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
พบว่าศาลมีการดําเนินการ แต่ไม่มีการรายงานผลว่าไกล่เกลี่ย
สําเร็จหรือได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงหรือบังคับคดีตามที่
ระงับขอ้ พพิ าทหรอื ไม่
อนุกรรมการเห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตั้งคณะทํางาน
จัดทําบัญชีย่ีต๊อกการปล่อยชั่วคราวและการใช้โทษทางอาญา
เพื่อให้ผู้พิพากษาม่ันใจและสามารถใช้ประกอบดุลพินิจ
ในการส่ังอนุญาตปล่อยชั่วคราวให้มากข้ึน ส่วนอุปกรณ์ EM
ห า ก มี ไ ม่ เพี ย ง พ อ ข อ ใ ห้ ศ า ล แ จ้ ง ไ ป ยั ง สํ า นั ก ง า น อ ธิ บ ดี
ผู้พิพากษาภาค 1 ส่วนการไกล่เกล่ียออนไลน์และการ
ไกล่เกล่ียก่อนฟ้อง ขอให้ศาลปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน
เกย่ี วกับการไกล่เกลี่ยข้อพพิ าทของสํานักงานศาลยตุ ิธรรม

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 8 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดําเนนิ การ ดงั นี้

1) การย่ืนคําร้องใบเดียว ศาลส่วนใหญ่ดําเนินการตาม

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะหก์ ารบริหารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 10 

 

นโยบายการใช้คําร้องใบเดียวมาใช้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือ
จําเลย แต่บางศาลยังมีการใช้คําร้องใบเดียวควบคู่กับคําร้อง
ทั่วไป ส่งผลให้เจ้าหน้าท่ีท่ีจัดเก็บสถิติลงข้อมูลไม่ถูกต้อง
ดังน้ัน เมื่อจําเลยยื่นขอประกันตัวโดยใช้สัญญาเดิมและ
ยื่นคําร้องคร้ังต่อๆ มาในคดีเดียวกัน หรือหากมีการอุทธรณ์
และศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันถือว่าเป็นคําร้องโดยใช้
คําร้องใบเดียว และมีการประชาสัมพันธ์การใช้คําร้องใบเดียว
ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค รวมท้ังการส่งคําร้อง
ไปยังสถานีตํารวจ เรือนจํา และสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
และเยาวชน เป็นตน้

2) การประเมินความเส่ียง แต่ละศาลมีการดําเนินการ
ท่ีแตกต่างกัน โดยบางศาลมีการประเมินความเส่ียงทุกคดี
บางศาลประเมินความเสี่ยงเฉพาะคดีท่ีมีอัตราโทษสูงเกิน 10
ปีขึ้นไป ขอให้เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แต่การ
ประเมินความเสี่ยงจะนําไปสู่การพิจารณาต้ังผู้กํากับดูแล
ในการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นมาตรการท่ีนํามาใช้
แทนการวางหลกั ประกนั

3) การยกระดับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจําเลยระหวา่ ง
การต่อสู้คดี การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย เหยื่ออาชญากรรม
และพยานในคดีอาญา ศาลได้ดําเนินการ เช่น การจัดการให้
ผู้ท่ีมาศาลได้รับความสะดวกด้วยการจัดหาท่ีพักคอย ห้องน้ํา
และการจดั ห้องทเ่ี ป็นสัดส่วน

4) การปล่อยชั่วคราวโดยต้ังผู้กาํ กบั ดแู ลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว
และการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) พบว่าศาลส่วนใหญ่
ได้ดําเนินการปล่อยชั่วคราวโดยตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อย
ชั่วคราว บางศาลตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราวควบคู่กับ
การใช้ EM ขอใหศ้ าลเลือกใช้มาตรการอยา่ งใดอยา่ งหน่งึ

5) การขยายระยะเวลาอุทธรณ์–ฎีกา ในคดีทผ่ี ู้ต้องหาหรือ
จําเลยถูกคุมขัง ขอให้ผู้พิพากษาใช้ดุจพินิจให้เหมาะสมกับ
รปู คดีหรือเหตุการณ์หรือเน้ือหาของคดีประกอบ

6) การอนุญาตให้ปล่อยตัวช่ัวคราวโดยมีประกันและ
หลักประกัน บางศาลให้ทําสัญญาก่อนท่ีจะพิจารณาถึงข้อหา
โทษสงู -ตํ่า ขอให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามคําแนะนําข้อบังคับของ
ประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการ
เรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวของ
ผู้ตอ้ งหาหรือจําเลย พ.ศ. 2548 ฉบบั แก้ไขลา่ สดุ

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 11 

 

7) เก็บสถิตการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจําเลย ให้กํากับดูแล
เจา้ หน้าท่ใี ห้บนั ทกึ ขอ้ มลู ให้ถูกต้อง

8) แจ้งไปยังผู้บัญชาการเรือนจําขอให้แจ้งผู้ต้องหาหรือ
จําเลยว่า หากมีความประสงค์จะย่ืนคําร้องขอปล่อยชั่วคราว
สามารถย่ืนคาํ รอ้ งผ่านทางเรอื นจาํ ได้ และใหน้ ําคํารอ้ งใบเดียว
และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ฝากไว้ท่ีสถานีตํารวจและเรือนจํา
ด้วย
3) ข้อหารือเก่ียวกับเขตอํานาจศาลในการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 334

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 พิจารณาข้อหารือกรณีผู้ซ้ือ
ทรัพย์ได้ซื้อทรัพย์บ้านและที่ดินจากการขายทอดตลาดตาม
คําพิพากษาของศาลแขวง แต่มีผู้อยู่อาศัยในบ้านและที่ดิน
พิพาทและอสังหาริมทรัพย์ (บ้านและท่ีดิน) ที่ซ้ือตั้งอยู่ใน
เขตอํานาจทั้งของศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลเยาวชน
และครอบครัว กรณีดังกล่าวผู้ซื้อทรัพย์คือโจทก์ จะต้องย่ืน
คําขอร้องต่อศาลแขวง ศาลจังหวัดหรือศาลเยาวชนและ
ครอบครัว คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าศาลท่ีมีเขตอํานาจ
ในการออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง มาตรา 334 คือศาลแขวง จึงให้ศาลในเขตอํานาจ
อธิบดีผู้พพิ ากษาภาค 1 ถอื ปฏบิ ตั ิตามมตทิ ี่ประชุมจนกว่าจะมี
คาํ พพิ ากษาศาลฎีกาทเี่ ปน็ บรรทัดฐาน
4) พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ พ.ศ. 2564

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาเร่ืองการกําหนดอัตราดอกเบ้ียผิดนัดชําระหนี้
ตามพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ พ.ศ. 2564 ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับต้ังแต่วันที่
11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีการแก้ไขสาระสําคัญ
เกี่ยวกับการกําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชําระหนี้ที่กําหนด
เป็นอัตราลอยตัว สามารถปรับเพ่ิมลดได้ตามพระราชกฤษฎีกา
ซึ่งตราข้ึนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
วรรคสอง และกําหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณา
ทบทวนอัตราดอกเบี้ยทุกสามปี กรณีน้ีอนุกรรมการเหน็ ว่าการ
กําหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชําระหน้ีตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ คําพิพากษาจะต้อง
ระบุดอกเบ้ียผิดนัดเป็นอัตราลอยตัวตามมาตรา 7 วรรคสอง

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 12 

 

โดยสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ได้มีหนังสือแจ้ง
แนวทางไปยังทุกศาลเพ่ือให้ผู้พิพากษาทราบและถือปฏิบัติ
ดว้ ยแลว้

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้ พิ พ า ก ษ า เร่ื อ ง พ ร ะ ร า ช กํ า ห น ด แ ก้ ไข เพ่ิ ม เติ ม ป ร ะ ม ว ล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 โดยมีการแก้ไข
เพ่ิมเติมในหลายเร่ือง เช่น อัตราดอกเบ้ียที่มิได้กําหนด
โดยนิติกรรมหรือบทกฎหมายอันชัดแจ้ง แก้ไขเพ่ิมเติมอัตรา
ดอกเบี้ยผิดนัด การกําหนดฐานคํานวณดอกเบ้ียผิดนัดชําระ
ในหนี้ท่ีเจ้าหนี้กําหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชําระเป็นงวด และบท
เฉพาะกาล เป็นต้น ขอให้ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลศึกษา
รายละเอียดและเผยแพร่แนวทางที่สํานักงานศาลยุติธรรม
ได้ออกแนวปฏิบัติ รวมถึงคําแนะนําท่ีสํานักงานอธิบดี
ผู้พิพากษาภาค 3 จัดทําขึ้นให้ผู้พิพากษาในศาลทราบและ
นาํ ไปใช้ประกอบการพจิ ารณาคดตี ่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาเกี่ยวกับการกําหนดอัตราดอกเบี้ยตามพระราช
กํ าห น ด แ ก้ ไข เพิ่ ม เติ ม ป ระม วล ก ฎ ห ม าย แ พ่ งแ ล ะพ าณิ ช ย์
พ.ศ. 2564 ท่ีมีการแก้ไขในหลายมาตรา เช่น จากแต่เดิมอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี ลดลงมาร้อยละ 3 ต่อปี หรือหากผิดนัด
ให้บวกด้วยอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นต้น แต่พบว่าผู้พิพากษา

ยังหลงลืมและกําหนดอัตราดอกเบ้ียเดิมอยู่ ขอให้ผู้พิพากษา

หัวหน้าศาลแจ้งผู้พิพากษาเขียนคําพิพากษาให้เป็นไปตาม
พ ร ะ ร า ช กํ า ห น ด แ ก้ ไข เพ่ิ ม เติ ม ป ร ะ ม ว ล ก ฎ ห ม า ย แ พ่ ง
และพาณิชย์ พ.ศ. 2564 เช่น กรณียื่นฟ้องก่อนวันท่ี 11
เมษายน 2564 ให้ผู้พิพากษาระบุข้อความจากวันที่เกิดเหตุ
จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และจากวันท่ี 11 เมษายน
2564 จนถึงวันชําระเสร็จ หรือระบุถ้อยคําว่า อัตราดอกเบ้ีย
เพิ่ม อัตราดอกเบ้ียลด เป็นต้น ส่วนคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค หรือ
คดีแพ่งท่ีเก่ียวเนื่องกับคดีอาญาถ้ามีกรณีท่ีอัตราดอกเบ้ียเพิ่ม
หรือหากอนาคตมีการแก้ไข พระราชกฤษฎีกาเพิ่มขึ้นเกินกว่า
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.50 ต่อปี ให้ระบุข้อความว่า
“อย่างไรก็ตามจะต้องไม่เกินคําขอที่โจทก์ โจทก์ร่วม
ผู้เสียหาย หรือผู้ร้องขอมา” รวมถึงให้ขอให้ผู้พิพากษาปรึกษา
ผู้พิพากษาหวั หน้าศาลกอ่ นเขยี นคําพพิ ากษาด้วย

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 13 

 

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาเตรียมความพร้อมปฏิบัติตามตามพระราชกําหนด
แก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564
เก่ียวกับอัตราดอกเบ้ียในมาตรา 7 และอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ในมาตรา 224 กรณีเหตุการณ์เกิดข้ึนก่อนวันท่ี 11 เมษายน
2564 ซึ่งเป็นวันท่ีกฎหมายมีผลบังคับใช้ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย
ต าม ป ระม วล ก ฎ ห ม าย แ พ่ งแ ล ะ พ าณิ ช ย์ เดิ ม ท้ั งผิ ด นั ด แ ล ะ
ไม่ผิดนัดแต่หลังวันที่ 10 เมษายน 2564 อัตราดอกเบ้ีย
ไม่ผิดนัดตามมาตรา 7 คิดเป็นร้อยละ 3 ต่อปี หากเป็น
ดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรา 244 ให้เป็นไปตามมาตรา 7
บวกด้วยร้อยละ 2 ต่อปี ซ่ึงอัตราดอกเบ้ียจะแบ่งออกเป็น
2 ส่วน ขอให้ผู้พิพากษาเขียนคําพิพากษาโดยกําหนดอัตรา
ดอกเบี้ยแบ่งออกเป็นช่วงระยะเวลา เช่น กําหนดอัตรา
ดอกเบี้ยต้ังแต่ผิดนัดจนถึงวันฟ้อง 1 ช่วง หลังวันฟ้องถึงวันท่ี
10 เมษายน 2564 1 ช่วง และต้ังแต่วันท่ี 11 เมษายน
2564 เป็นต้นไปจนกว่าชําระเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา
224

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แจ้งแนวทางการเขียนคําพิพากษาตามพระราชกําหนดแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564
เก่ียวกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ให้เป็นไปตามแนวทางการเขียน
คาํ พิพากษาที่สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๙ ได้จัดส่งให้แก่
ทุกศาลแล้ว ส่วนการอ่านคําพิพากษาในคดีเกี่ยวกับทางแพ่ง
ของศาลสูง ให้ผู้พิพากษาอ่านเน้ือหาของคําพิพากษาทางแพ่ง
โดยย่อก่อนท่ีจะอ่านคําพิพากษาศาลสูงด้วย เนื่องจาก
คําพิพากษาของศาลสูงดังกล่าวอาจเขียนไว้ก่อนการแก้ไข
กฎหมายซึ่งอาจขัดแย้งกับกฎหมายท่ีบังคับใช้ใหม่ เพื่อให้ศาล
สามารถพิจารณาแกไ้ ขปัญหาขอ้ กฎหมายก่อนอา่ นต่อไป
5) คําแนะนําของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับมาตรฐานกลาง
สําหรับการปลอ่ ยช่วั คราวผ้ตู ้องหาหรอื จําเลย พ.ศ. 2563

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับ
มาตรฐานกลางสําหรับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย
พ.ศ. 2563 ซ่ึงกําหนดมาตรฐานในการปล่อยช่ัวคราวแก่ศาล
โดยมีบัญชีมาตรฐานการปล่อยชั่วคราวในหลายฐานความผิด

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 14 

 

เช่น ความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธ์ิต่อจิตและประสาท
และความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ
เป็นต้น เพื่อให้ศาลมีแนวปฏิบัติในการปล่อยตัวช่ัวคราว
ทเ่ี หมาะสม มีมาตรฐานและเป็นไปในทศิ ทางเดยี วกัน
6) คําแนะนําของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทางการใช้
โทษอาญา พ.ศ. 2563

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยแนวทาง
การใช้โทษอาญา พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นแนวทางในการพิจารณา
กําหนดโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับพฤติการณ์การกระทําผิด
และตัวผู้ต้องหาหรือจําเลย เพื่อให้การส่ังลงโทษเป็นไปอย่าง
เหมาะสมโดยคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจําเลย
เช่น การพิจารณาถึงสถานะทางการเงินหรือความสามารถ
ในการชําระหนี้ การสั่งให้ทํางานบริการสังคมหรือสาธารณ
ประโยชน์แทนค่าปรับ การรอการกําหนดโทษ และการวาง
เง่ือนไขคุมประพฤติ เป็นต้น ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แจ้งให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา
โดยนําไปใช้ประกอบการใช้ดุลพินิจกําหนดโทษทางอาญา
ใหเ้ ป็นไปในทิศทางเดียวกันทว่ั ประเทศ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการ
ใช้โทษอาญา พ.ศ. 2563 เช่น การใช้โทษปรับ การรอการ
กําหนดโทษหรือรอการลงโทษ และการยกโทษจําคุกและการ
กักขังโทษจําคุก เป็นต้น และให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจ
ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบรอบด้าน และพิจารณาปรับใช้
โทษอาญาให้มีความเหมาะสมแก่ผู้กระทําผิดเป็นรายบุคคล
โดยคํานึงถึงโอกาสท่ีจําเลยจะสามารถแก้ไขฟ้ืนฟูตนเอง
กลับสู่สงั คมอย่างมีประสทิ ธภิ าพ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แจ้งให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา พ.ศ. 2563 หากผู้พิพากษา
มี ปั ญ ห า ใน ท า ง ป ฏิ บั ติ ห รื อ ก า ร ใช้ ดุ ล พิ นิ จ ข อ ให้ ป รึ ก ษ า
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และหากผู้พิพากษาจะกําหนดโทษ
ต่างจากบัญชีกําหนดโทษไว้ ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ใหค้ ําแนะนาํ แกผ่ พู้ ิพากษาแลว้ ลงช่ือปรึกษาไว้ในสํานวนคดดี ว้ ย

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 15 

 

7) ขอความร่วมมือดําเนินการตามหนังสือของรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงยุติธรรม เก่ียวกับการลงนามในหมายปล่อย
หรือหมายจาํ คกุ ในคดีถงึ ทสี่ ดุ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แจ้งผู้พิพากษาให้ความร่วมมือแก่กระทรวงยุติธรรมเก่ียวกับ
การลงนามในหมายปล่อยหรือหมายจําคุกในคดีถึงที่สุด ตามท่ี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ประสานขอความร่วมมือ
สํานักงานศาลยุติธรรมให้ดําเนินการเก่ียวกับการลงนาม
ในหมายปล่อยหรือหมายจําคุกคดีถึงท่ีสุดในกรณี ที่มี
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในโอกาสต่างๆ เช่น
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรม
ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ โดยขอให้พิจารณาลงนามออก
หมายปล่อยและหมายจําคุกในกรณีท่ีจําเลยหรือผู้ต้องขังได้รับ
การพระราชทานอภัยโทษ เพ่ือให้ผู้ต้องหาและจําเลยให้ได้รับ
การปล่อยตวั โดยเรว็
8) ข้อหารือความผิดเก่ียวกับเพศตามประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 277 วรรคหนึง่

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 พิจารณาประเด็นปัญหา
ข้อขัดข้องการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวล
กฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกําหนด
อัตราโทษจําเลยกระทําความผิดก่อนแก้ไขพระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 27 พ.ศ. 2562 และกรณี
จําเลยรับสารภาพ ศาลจะต้องสืบพยานประกอบคํารับ
สารภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตาม
มาตรา 176 วรรคหน่ึงหรือไม่ โดยอนุกรรมการเห็นว่ากรณี
จําเลยกระทําความผิดก่อนแก้ไขพระราชบัญญัติประมวล
กฎหมายอาญา ฉบับท่ี 27 พ.ศ. 2562 ให้ศาลปฏิบัติ
ตามแนวคําพิพากษาศาลฎีกาท่ีระบุว่าเมื่อโทษแตกต่าง
ให้ใช้กฎหมายท่ีเป็นคุณแก่จําเลย ส่วนกรณีจําเลยรับสารภาพ
ขอให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญ าตามมาตรา 1 7 6 วรรคห น่ึง และฎีกาท่ี
3465/2548 ระบุว่าไม่ต้องมีการสืบพยานประกอบ
คาํ รับสารภาพ เพ่อื ใชเ้ ป็นแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดี
ให้เป็นไปในแนวทางเดยี วกัน

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 16 

 

9) การกําหนดโทษในคดีอาญาความผิดต่อชีวิต กรณี
เจตนาฆา่

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 2 พิจารณาปัญหาการปฏิบัติตาม
บัญชีมาตรฐานการกําหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 288 ซ่ึงระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิตหรือ
จําคุกตั้งแต่ 15-20 ปี แต่พบว่าผู้พิพากษาบางส่วนกําหนด
โทษเพียง 5 ปี ซึ่งไม่เหมาะสมหรือลงโทษน้อยเกินควร ขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการกําหนด
โท ษ ห นั ก เบ า โด ย พิ จ า ร ณ า ต า ม บ ท บั ญ ญั ติ ข อ ง ก ฎ ห ม า ย
ประกอบกับข้อพิจารณาต่างๆ ได้แก่ ตัวจําเลยหรือผู้เสียหาย
สาเหตุหรือพฤติการณ์การกระทําความผิด สถานท่ีเกิดเหตุ
อาวุธที่ใช้ บาดแผลท่ีผู้เสียหายได้รับเพ่ือใช้ประกอบดุลพินิจ
ด้วย กรณีคดีเจตนาฆ่าน้ีหากศาลจะลงโทษโดยให้ความเมตตา
กับจําเลย ก็จะต้องคํานึงถึงความรู้สึกของผู้เสียหายเช่นกัน
เพื่อให้เกดิ ความเปน็ ธรรมแกท่ ุกฝา่ ย
10) แนวทางการบริหารจัดการคดีภายใต้สถานการณ์
การแพร่ระบาดของเช้ือโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019
ตามนโยบายประธานศาลฎีกา

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 รับทราบแนวทางการบริหาร
จัดการคดีฯ ท่ีได้รับจากการประชุมกับประธานศาลฎีกา
และขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลดําเนินการ ดังน้ี

1) การบริหารจัดการคดีให้มุ่งเน้นเร่ืองการรักษาความ
ปลอดภัยของเจ้าหน้าท่ีและบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับการ
พิจารณาคดี รวมถึงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ โดยให้เลื่อน
การพิจารณาคดี

2) การพิจารณาคดีให้ทําได้เฉพาะคดีท่ีคู่ความมีความ
พร้อมและสามารถใช้ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ในการดําเนินการโดย
ไม่ต้องเดินทางมาศาล ส่วนคดีอาญาได้มีหนังสือขอความ
อนุเคราะห์ให้เลื่อนหรืองดการเบิกตัวผู้ต้องหาหรือจําเลย
หากต้องนําตัวผู้ต้องหาจากที่คุมขังมาเพื่อฟังคําพิพากษาก็ให้
งดไปก่อน

3) ให้ศาลใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาเกี่ยวกับการ
ขอขยายอุทธรณ์หรือฎีกา โดยเฉพาะในคดีที่จําเลยต้องขังโดย
คํานึงถึงกรณีที่อาจทําให้จําเลยถูกขังโดยไม่จําเป็น ส่วนคดีท่ีมี
โทษน้อยให้อนุญาตปล่อยชั่วคราว และให้ทํางานในเชิงรุก
โดยประชาสมั พนั ธ์ให้ผ้ตู อ้ งขังย่นื ขอปล่อยชัว่ คราวด้วย

รายงานการศึกษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 17 

 

4) การพิจารณาคําร้องขอปล่อยช่ัวคราวขอให้ดําเนินการ
ตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขยายโอกาส
ในการเข้าถงึ สิทธกิ ารปลอ่ ยชัว่ คราว

5) ปัญหาสถานการณ์ของผู้ต้องขังในเรือนจําของภาค 3
มีจํานวนมาก และมีคดีที่มีลักษณะเป็นขบวนการท่ีมีผู้เกี่ยวข้อง
เป็นเครือข่าย เช่น คดียาเสพติด ทําให้ผู้ต้องหาจํานวนมาก
ไม่ได้รับการปล่อยช่ัวคราว กรณีนี้ให้ศาลประสานงานให้
เรือนจําใช้ระบบฝากขังผ่านจอภาพ และขอให้สํานักงาน
ศาลยุติธรรมสนับสนุนระบบการส่งสัญญาณและอุปกรณ์
ในการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมทางจอภาพ
รวมถึงแก้ปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตไม่เสถียรทําให้ไม่สามารถ
เชื่อมต่อสัญญาณได้ กรณีนี้สํานักงานศาลยุติธรรมจะหารือกับ
กรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการสืบพยานและปัญหาการข้ามแดน
ในเรือนจําต่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดําเนินการ ดังนี้

1) ในคดีอาญา ขอให้ศาลดําเนินการเพ่ือลดการคุมขัง
ที่ไม่จําเป็นให้มากขึ้น เช่น การทํางานเชิงรุกด้วยการส่งคําร้อง
ใบเดยี วไปยังพนกั งานสอบสวนหรือเจ้าหนา้ ท่ีราชทัณฑ์สําหรับ
ผู้ต้องขังหรือจําเลยท่ีไม่ได้ย่ืนขอประกันตัว รวมถึงแนะนําให้
ผู้พิพากษาให้ใช้วิธีการตั้งผู้กํากับดูแลให้มากขึ้น เพ่ือลดสถิติ
ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาและผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา
ของศาลในภาค 4

2) การพิจารณาคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฎีกา
ให้พิจารณาเหตุผลความจําเป็นโดยเคร่งครัดโดยคํานึงถึงสิทธิ
ของผู้ต้องหาหรือจําเลย เพื่อลดปัญหาการถูกขังเกินกว่าโทษ
นอกจากน้ีควรให้ผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนเป็นผู้พิจารณา
คาํ รอ้ ง รวมถงึ ใหง้ ดหรือลดหลกั ประกันด้วย

3) การอ่านคําพิพากษาของศาลสูง ให้ดําเนินการผ่าน
ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพได้ และควรดําเนินการ
โดยเร็วเพอื่ ไมใ่ หก้ ระทบสทิ ธิผู้ตอ้ งหาหรือจําเลยทถ่ี กู คมุ ขงั

4) ในคดีแพ่ ง ดําเนินการตามประกาศสํานักงาน
ศาลยุติธรรมเก่ียวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับ
ก า ร ใช้ วิ ธี พิ จ า ร ณ า ค ดี ท า ง อิ เล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ ใน ส ถ า น ก า ร ณ์
การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชอื้ ไวรัสโคโรนา 2019

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 18 

 

5) ส่วนข้อหารือว่ากรณีจําเลยรับสารภาพและถูกคุมขัง
อยู่ในเรือนจํา พนักงานอัยการและทนายจําเลยจะสามารถ
ดาํ เนินการผา่ นระบบ Video Conference จากสํานักงานของ
ตนเองได้หรือไม่น้ัน คณะอนุกรรมการฯ จะนําไปหารือร่วมกับ
สํานกั กฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรมก่อน แล้วจะได้แจง้ ผล
ใหศ้ าลทราบต่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดาํ เนินการ ดังน้ี

๑) การลดการคุมขังที่ไม่จําเป็น เนื่องจากสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนาฯ ทําให้มีการเลื่อนคดี
และมีจํานวนผู้ต้องหาสะสมมากข้ึน จึงขอให้ศาลเน้นให้
มีการปล่อยช่ัวคราวโดยใชม้ าตรการต่างๆ มากขึ้น เช่น การตั้ง
ผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว การใช้คําร้องใบเดียว และการ
ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) เป็นต้น และขอให้พิจารณา
คําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาโดยอนุญาตเท่าที่
จําเป็น เพ่ือลดปัญหาการสะสมของผู้ต้องหาหรือจําเลยท่ีถูก
คุมขงั ในเรือนจาํ

2) การปล่อยชั่วคราว ขอให้ทํางานเชิงรุกโดยมอบหมาย
ให้ เจ้ า ห น้ า ท่ี ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ให้ ข้ อ มู ล ใน ก า ร ใ ช้ คํ า ร้ อ ง
ใบเดียวกับบุคคลท่ีเก่ียวข้องของผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดี
ท่ีฝากขัง คดีระหว่างพิจารณาที่มีโทษไม่สูง โดยให้ผู้ต้องหา
หรือจําเลยสามารถย่ืนคําร้องใบเดียวผ่านทางเรือนจําได้
ในส่วนดุลพินิจในการสั่งหลักประกันและการการสั่งปล่อย
ชว่ั คราวขอให้ปฏิบัติภายใต้ข้อคําแนะนําประธานศาลฎีกาและ
ประกาศของสํานักงานศาลยุติธรรม รวมท้ังคําแนะนําของ
ประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับมาตรฐานกลางหลักประกัน

3) การบริหารจัดการคดี ขอให้ผู้พิพากษาเลื่อนพิจารณา
คดีเป็นหลัก ยกเว้นจากคดีที่คู่ความมีความพร้อมในการใช้สื่อ
อเิ ลก็ ทรอนิกสใ์ หด้ าํ เนนิ การพิจารณาได้

4) การตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว กรณีผู้กํากับ
ดูแลกังวลใจเรื่องของผู้ต้องหาหรือจําเลยท่ีปล่อยตัวอยู่ใน
ภาวะเส่ียงสูง กรณีนี้ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งผู้กํากับ
ดูแลว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยท่ีติดเช้ือจะไม่สามารถออกจาก
เรือนจําได้ จนกว่าจะได้รับการตรวจและมีใบรับรองยืนยัน
ดังน้ันจึงมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง ส่วนการรายงานตัวสามารถ
ดาํ เนินการผา่ นแอปพลเิ คชนั ต่างๆ ได้

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 19 

 

5) ให้เจ้าหน้าท่ีทํางานเชิงรุกโดยการประชาสัมพันธ์
ให้ความรู้เกี่ยวสิทธิของผู้ต้องหาหรือจําเลยตามคําแนะนําของ
ประธานศาลฎกี าและประกาศของสํานักงานศาลยุตธิ รรม

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดําเนินการ ดังนี้

1) การพิจารณาคดีอาญาในช้ันสอบสวนและการฝากขัง
ให้สอบถามผู้ต้องหาหรือจําเลยก่อนว่าหากต้องขยายเวลา
ฝากขังออกไปจะคัดค้านหรือไม่ โดยศาลสามารถพิจารณา
คําร้องฝากขังโดยการสอบถามผู้ต้องหาด้วยเอกสาร แต่หาก
ศาลไมไ่ ดร้ ับเอกสารให้ถอื เสมือนวา่ ผู้ต้องหาหรือจําเลยคัดคา้ น
ส่วนเหตุผลในการขยายเวลาฝากขังจะต้องสอบถามพนักงาน
สอบสวนและพนักงานอัยการ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของ
ผู้ต้องหาหรือจําเลย ถ้าไม่ได้รับเอกสารว่าคัดค้านหรือไม่ให้
พิจารณาไปตามท่ีเห็นสมควร ส่วนคดีอาญาในช้ันพิจารณาคดี
กรณีที่ต้องสืบพยานให้สืบพยานผ่านระบบการประชุมทาง
จอภาพหรือผ่านช่องทางแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ หากไม่สามารถ
ดําเนินการได้ให้เลื่อนคดีออกไปก่อน โดยระหว่างเล่ือนคดีให้
รวบรวมพยานหลักฐานหรือดําเนินการในส่วนท่ีทําได้ เพ่ือการ
ดาํ เนินคดที ีร่ วดเรว็ ข้ึน

2) การลดการคุมขังท่ีไม่จําเป็น ขอให้ลดการคุมขังท่ีไม่
จําเป็น สําหรับคดีใหม่ท่ีมีโทษเล็กน้อยให้การพิจารณาคดี
โดยไม่ต้องคุมขัง ส่วนผู้ต้องหาหรือจําเลยที่ถูกคุมขังอยู่อาจ
พิจารณาให้มีการปล่อยช่ัวคราวได้ โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่น
การใช้คําร้องใบเดียว การตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว
การประเมินความเส่ียง และการติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนกิ ส์ (EM)
โดยไม่จําเป็นต้องใช้หลักประกัน เพ่ือลดปัญหาการสะสมของ
ผู้ต้องหาหรือจําเลยที่ถูกคุมขังในเรือนจํา และให้ศาลส่ง
รายละเอียดเกี่ยวกับคําร้องใบเดียวไปยังเรือนจําเพื่อแจกจ่าย
ให้ผู้ต้องหาหรือจําเลย หากผู้ต้องหาหรือจําเลยต้องการยื่น
คําร้องต่อศาล ขอให้เรือนจําเป็นผู้นําคําร้องมาส่งให้ศาล
พิจารณา รวมถึงให้ศาลพิจารณาส่ังปล่อยชั่วคราวในช่วง
ส ถ า น ก า ร ณ์ ก า ร แ พ ร่ ร ะ บ า ด ข อ ง โร ค ติ ด เช้ื อ ไว รั ส โค โร น า
2019 สําหรับผู้ต้องหาหรือจําเลยทไี่ มเ่ คยถกู คมุ ขงั มากอ่ น

3) เพิ่มการตั้งผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และขอให้
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 6 ตรวจสอบศาลท่ียังไม่มีการต้ังผู้กํากับ
ดูแลให้มีการต้ังผู้กํากับดูแล โดยไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ท่ีขึ้น

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 20 

 

ทะเบียนไว้หรือเป็นกลุ่มมหาดไทยอย่างเดียว สามารถแต่งต้ัง
บุคคลอื่นๆ ได้หากยินยอมหรือมีความสมัครใจ รวมถึงศาล
ท่ีมีประชากรแฝงให้สามารถแต่งต้ังนายจ้างของผู้ต้องหาหรือ
จําเลยเป็นผู้กํากับดูแลได้และขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผพู้ ิพากษาในศาลใหใ้ ช้วธิ กี ารตงั้ ผูก้ าํ กับดแู ลให้มากขน้ึ

4) การพิจารณ าคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ สํานักงาน
ศาลยุตธิ รรมไดม้ ีการจัดอบรมให้ความรูเ้ ก่ยี วกับการพิจารณาคดี
ท า ง อิ เล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ ใ ห้ แ ก่ ส ภ า ท น า ย ค ว า ม อ ยู่ เป็ น ร ะ ย ะ
และได้จัดทําคลิปวิดีโอการปฏิบัติงานต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่
ท่ีรับผิดชอบ รวมถึงจะออกคําแนะนําเก่ียวกับปฏิบัติงาน
ของเจ้าพนักงานคดี ให้มาช่วยงานผู้พิพากษาในบัลลังก์ในการ
พิจารณาพิพากษาคดีให้มากข้นึ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดาํ เนนิ การ ดงั น้ี

1) การบริหารจัดการคดี คดีผู้บริโภคและคดีแพ่งตาม
วันนัดให้ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เว้นแต่มีความจําเป็น
อาจเล่ือนคดีได้ ในคดีอาญากรณีท่ีจําเลยถูกคุมขังและจําเลย
รับ สารภ าพ ขอ ให้ ศาลสอบ ถามคําให้ การผ่าน ระบ บ
อิเล็กทรอนิกส์ เพ่ือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือ
จําเลย โดยคาํ นึงถึงประโยชน์ต่างๆ ทจี่ าํ เลยจะได้รับ

2) อุปกรณ์ ในการสืบพยานทางจอภาพ สํานักงาน
ศาลยุติธรรมได้ทําแจ้งไปยังศาลต่างๆ ให้ใช้งบประมาณในการ
เพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ต สามารถดําเนินการได้ในรายการท่ีมี
ราคาไม่เกิน 5,000 บาท แต่ถ้าศาลใดมีความจําเป็นเพ่ิมเติม
ม า ก ก ว่ า น้ั น ข อ ใ ห้ ป ร ะ ส า น ไ ป ยั ง สํ า นั ก ง า น ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม
ส่วนปัญหาการติดต้ังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ให้ขอความ
ช่วยเหลือหรอื คําแนะนําไปยังสํานกั เทคโนโลยีสารสนเทศ

3) การลดการคุมขังที่ไม่จําเป็น ขอให้ผพู้ ิพากษาลดการคุม
ขังที่ไม่จําเป็นและเน้นให้มีการปล่อยชั่วคราว โดยใช้คําร้อง
ใบเดียว การติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) และการตั้ง
ผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว ในการพิจารณาคําร้องขอ
ปล่อยช่ัวคราวแม้คดียังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกาหรือระหว่าง
ขออนุญาตอุทธรณ์ฎีกาแล้วแต่ยังไม่รับรอง ถ้าโทษไม่สูง และ
ไม่เคยถูกจําคุกมาก่อนก็สามารถอนุญาตให้ปล่อยช่ัวคราวได้
เพอื่ ลดปัญหาการสะสมของผ้ตู อ้ งหาหรือจําเลยในเรอื นจาํ

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 21 

 

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 8 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดาํ เนินการ ดังนี้

1) การบริหารจัดการคดีฯ ให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตาม
หนังสือสํานักงานศาลยุติธรรม ท่ี ศย 016/ว 497 ลงวันท่ี
14 พฤษภาคม 2564 เรื่องมาตรการลดการคุมขังและ
เคลื่อนย้ายผู้ต้องขังในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 และคําแนะนําของประธานศาลฎีกา
เก่ี ย ว กั บ แ น ว ท า ง ป ฏิ บั ติ เก่ี ย ว กั บ ก า ร บ ริ ห า ร จั ด ก า ร ค ดี
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเช้อื โรคไวรัสโคโรนา 2019
โดยให้เล่ือนคดีเป็นหลัก ยกเว้นคดีที่จําเลยต้องขังมีความ
ต้องการสืบพยานต่อสู้คดี และเรือนจําไม่ขัดข้องท่ีจะเบิกตัว
ผู้ต้องหาหรือจําเลยมาศาลหรือสืบพยานผ่านระบบทาง
จอภาพได้ และคดีท่ีคู่ความมีความพร้อมในการใช้สื่อ
อิเลก็ ทรอนิกส์ในการพิจารณาคดี

2) การต้ังผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ขอให้ทุกศาล
ที่ยังไม่มีการต้ังผู้กํากับดูแลให้แต่งตั้งผู้กํากับดูแลให้ครบถ้วน
ทุกศาลโดยไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ท่ีข้ึนทะเบียนไว้หรือเป็นกลุ่ม
มหาดไทยอย่างเดียว แต่หากเป็นบุคคลใดก็ได้ที่มีศักยภาพ
ท่ีจะควบคุมดูแลสอดส่องผู้ต้องหาหรือจําเลยก็สามารถแต่งต้ัง
ได้ และขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแจ้งผู้พิพากษาในแต่ละศาล
ให้ใช้การต้ังผู้กํากับดูแลให้มากขึ้น รวมทั้งจัดทําคู่มือการ
ทํางานสําหรับผู้กํากับดูแลรวมถึงสิทธิท่ีจะได้รับมอบให้กับ
ผกู้ ํากบั ดูแลดว้ ย

3) การพิจารณาคดีให้คาํ นึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร
และผู้เก่ียวข้องทุกฝ่ายด้วย หากคู่ความไม่พร้อมหรือไม่
สามารถจะดําเนินการได้ หรืออาจมีความไม่ปลอดภัยก็
สามารถเลอื่ นคดไี ปก่อน

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ดาํ เนินการ ดังนี้

1) ลดการคุมขังที่ไม่จําเป็นในทุกข้ันตอน ยกระดับศักด์ิศรี
ค ว า ม เป็ น ม นุ ษ ย์ ข อ ง จํ า เล ย ร ะ ห ว่ า ง ก า ร ต่ อ สู้ ค ดี ใ น ศ า ล
ยกระดับการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เสียหายเหยื่ออาชญากรรมและ
พยานในคดีอาญา และนําเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้
ประกอบการปล่อยช่ัวคราว ได้แก่ การใช้คําร้องใบเดียว
การประเมินความเส่ียง การติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM)
และการต้งั ผู้กํากบั ดแู ลผูถ้ ูกปล่อยช่วั คราว เปน็ ตน้

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 22 

 

2) ลดการเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังหรือจําเลย โดยสํานักงาน
ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ไ ด้ รั บ ห นั ง สื อ ข อ ค ว า ม ร่ ว ม มื อ จ า ก เรื อ น จํ า
เรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังหรือจําเลย เนื่องจากในเรือนจํา
ทั่วประเทศมีผู้ต้องขังติดโควิคเป็นจํานวนมาก จึงขอให้ศาล
งดการเบิกผู้ต้องขังไว้รวมถึงการประชุมผ่านทางจอภาพ
เนื่องจากในแต่ละเรือนจํามีเพียงจุดเดียว แต่อย่างไร
ก็ตามขอให้ผู้พิพากษาพิจารณาโดยคํานึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา
หรือจําเลย โดยเฉพาะคดีสืบประกอบคํารับสารภาพและการ
อ่านคาํ พิพากษา

3) การบริหารจัดการคดี ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
พิ จ าร ณ าค ดี ผู้ บ ริ โภ ค แ ล ะ ค ดี แ พ่ ง ต า ม วั น นั ด โด ย ใช้ ร ะ บ บ
อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เว้นแต่มีความจําเป็นอาจเล่ือนคดีได้
ส่วนคดีอาญาในช้ันสอบสวนฝากขังให้สอบถามผู้ต้องหาหรือ
จําเลยก่อนว่าหากต้องขยายเวลาฝากขังออกไปจะคัดค้าน
หรือไม่ โดยศาลสามารถพิจารณาคําร้องฝากขังโดยการ
สอบถามผู้ต้องหาด้วยเอกสารแทนได้ แต่หากเอกสารใช้
ระยะเวลาในการรับ-ส่งจากเรือนจําไปยังศาลไม่ทันภายใน
ระยะเวลาท่ีพิจารณาคําร้องให้ถือเสมือนว่าคัดค้าน ดังนั้นการ
อนุญาตให้ฝากขังจะต้องไต่สวนพนักงานสอบสวน พนักงาน
อัยการ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจําเลยและ
พิจารณาไปตามที่เห็นสมควร และคดีอาญาในชั้นพิจารณาคดี
ต้องพิจารณาคดีต่อหน้าผู้ต้องหาหรือจําเลย แต่หากเรือนจํา
ขอความร่วมมือไม่ให้เคล่ือนย้ายผู้ต้องหาหรือจําเลย ขอให้
เล่ือนคดีออกไปก่อน โดยให้ทําการรวบรวมพยานหลักฐาน
หรือดําเนินการในส่วนท่ีทําได้ไว้ก่อน เพื่อการดําเนินคดีท่ี
รวดเร็วขึ้น ส่วนคดีที่เลื่อนออกไปขอให้ลงตารางนัดให้ถูกต้อง
ครบถว้ น

4) การปล่อยชั่วคราว ขอให้ผู้พิพากษาแต่งต้ังมอบหมาย
ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ทําหน้าให้ข้อมูลเร่ืองการปล่อย
ชั่วคราวแก่บุคคลที่เก่ียวข้องของผู้ต้องหาหรือจําเลย โดยใช้
คําร้องใบเดียวเพ่ือให้ศาลพิจารณาก่อนหาหลักประกัน อีกท้ัง
สํานักศาลยุติธรรมประจําภาคจะต้ังกลุ่มไลน์สําหรับเจ้าหน้าที่
ที่รับผิดชอบในส่วนนี้กับคณะขับเคลื่อนนโยบายและคุณภาพ
แห่งสิทธิของศาล หากมขี อ้ สงสยั สามารถหารือในกลุ่มไลน์ได้
11) แนวทางการพิจารณาสั่งคําร้องขอลดหรือขยาย
ระยะเวลาฝึกอบรมและการสั่งคําร้องขอปล่อยตัวก่อนครบ

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภูมภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 23 

 

ระยะเวลาการฝึกอบรมของเด็กและเยาวชนท่ีอยู่ระหว่าง
ฝึกอบรมในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7
จังหวดั เชียงใหม่

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5 พิจารณาหารือเกี่ยวกับการสั่ง
คําร้องขอลดหรือขยายระยะเวลาฝึกอบรมและการสั่งคําร้อง
ขอปล่อยตัวก่อนครบระยะเวลาการฝึกอบรมของเด็กและ
เยาวชนท่ีอยู่ระหว่างฝึกอบรมในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและ
เยาวชนเขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ โดยปัจจุบันศาลเยาวชนและ
ครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ส่ังคําร้อง โดยมีคําสั่ง
จํานวนมาก อีกทั้งภาระงานของศาลมีมากข้ึน ประกอบกับ
ผู้พิพากษามีจํานวนน้อย ทําให้พิจารณาส่ังคําร้องต่างๆ ล่าช้า
หากจะขอให้ศาลเจ้าของสํานวนเป็นผู้พิจารณาสั่งคําร้องฯ
ได้หรือไม่ กรณีนี้อนุกรรมการฯ เห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แจ้งให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชน
และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
มาตรา 137 วรรคหนึ่ง กําหนดให้ศาลที่มีอํานาจส่ังคําร้องคือ
ศ า ล ท่ี เป็ น ท่ี ตั้ ง ศู น ย์ ฝึ ก อ บ ร ม แ ล ะ ศ า ล เดิ ม ห รื อ ศ า ล ที่ มี
คําพิพากษาสั่งได้ทั้งสองศาล ยกเว้นกรณีตามมาตรา 143
ซงึ่ ศาลเดิมได้ส่งฝึกอบรมโดยมีขั้นตํ่าและขั้นสูงอาจจะมีการย่ืน
คําร้องขอปล่อยตัวในระหว่างขั้นตํ่าและข้ันสูง ให้ส่งศาลเดิม
พิจารณาเท่าน้ัน ศาลที่เป็นที่ต้ังศูนย์ฝึกหรือศาลเยาวชนและ
ครอบครัวจงั หวดั เชยี งใหมไ่ มม่ ีอาํ นาจพจิ ารณา
12) การพัฒนาระบบเจ้าพนกั งานคดีประจําศาล

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยบทบาท
อํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดี พ.ศ. 2564 ซ่ึงมีสาระ
สําคัญเกี่ยวกับบทบาทและอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดี
ในศาลยุติธรรมท่ีจะเป็นผู้เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยของ
ผู้พิพากษาในการเตรียมความพร้อมของคดีและสนับสนุนองค์
คณะผู้พิพากษาในการค้นหาความจริง และในการวินิจฉัยช้ีขาด
ของศาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน ซ่ึงอนุกรรมการฯ เห็นควร
ให้สํานักศาลยุติธรรมประจําภาค 3 และทุกศาลศึกษา
รายละเอียดเกี่ยวกับคําแนะนําของประธานศาลฎีกา และ
เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานคดีที่จะมี
บทบาทท่ีเปล่ียนแปลงไป รวมถึงการแต่งตั้งคณะทํางาน
พั ฒ น า ร ะ บ บ เจ้ า พ นั ก ง า น ค ดี ป ร ะ จํ า ศ า ล ต า ม ท่ี สํ า นั ก ง า น

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 24 

 

ศาลยุติธรรมกําหนด และขอให้ศาลมอบหมายงานให้กับ
เจ้าพนักงานคดีให้ถูกต้องและตรงตามบทบาทหน้าที่มากขึ้น
หากมีปัญหาข้อขัดข้องหรือข้อสังเกตให้แจ้งไปยังสํานักงาน
อธิบดีผู้พิพากษาภาคเพ่ือรวบรวมแจ้งสํานักงานศาลยุติธรรม
และในอนาคตอาจจัดให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ
เกี่ ย ว กั บ บ ท บ า ท ห น้ า ท่ี แ ล ะ ภ า ร กิ จ ข อ ง เจ้ า พ นั ก ง า น ค ดี
แก่ผู้เกีย่ วข้องตอ่ ไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและ
ผอู้ าํ นวยการทุกศาลตรวจสอบและปรบั ปรุงการมอบหมายงาน
ให้แก่เจ้าพนักงานคดีให้เป็นไปตามภารกิจที่กฎหมายกําหนด
และให้ปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา ว่าด้วย
บทบาทและอํานาจหน้าท่ีของเจ้าพนักงานคดี พ.ศ. 2564
ส่วนปัญหาอัตรากําลังเจ้าพนักงานคดีในศาลที่มีไม่เพียงพอ
สํานักงานศาลยุติธรรมจะดําเนินการพิจารณากําหนดกรอบ
อตั รากาํ ลงั ใหเ้ พียงพอและหมาะสมต่อภารกจิ ตอ่ ไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
และผู้อํานวยการพิจารณามอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจา้ พนกั งานคดีใหเ้ ป็นไปตาม พ.ร.บ. วธิ ีพจิ ารณาผู้บรโิ ภค พ.ศ.
2551 มาตรา 4 และคําแนะนําของประธานศาลฎีกาว่าด้วย
บทบาทและอํานาจหน้าท่ีของเจ้าพนักงานคดี พ.ศ. 2564
โดยสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6 จะออกข้อแนะนํา
เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในและกําหนดหน้าท่ีเพื่อให้
ศาลถอื ปฏิบัตไิ ปในแนวทางเดียวกนั

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
และผู้อํานวยการปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา
ว่ า ด้ ว ย บ ท บ า ท แ ล ะ อํ า น า จ ห น้ า ท่ี ข อ ง เจ้ า พ นั ก ง า น ค ดี
พ.ศ. 2564 ซ่ึงมีสาระสําคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้าง
หน่วยงานและระบบงานของศาลตลอดจนบทบาทและอํานาจ
ท่หี น้าของเจ้าพนกั งานคดใี นศาลยุตธิ รรมให้มคี วามชัดเจนและ
เหมาะสมย่ิงข้ึน และขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแต่งตั้ง
คณะทํางานพัฒนาระบบเจ้าพนักงานคดีประจําศาล และเพ่ิม
ส่วนหรือกลุ่มงานเจ้าพนักงานคดีประจําศาลตามที่สํานักงาน
ศาลยุติธรรมกาํ หนด รวมถึงมอบหมายภารกิจและหน้าท่ีความ
รับผิดชอบให้กับเจ้าพนักงานคดีให้ถูกต้องตรงตามบทบาท
หน้าท่ีและเป็นไปตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกา ว่าด้วย
บทบาทและอาํ นาจหนา้ ทข่ี องเจา้ พนกั งานคดี พ.ศ. 2564

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 25 

 

13) การปรับตัวบทกฎหมายในคดีแพ่งเกี่ยวเน่ืองคดีอาญา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
และมาตรา 40

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
แ จ้ ง ผู้ พิ พ า ก ษ า เกี่ ย ว กั บ ก า ร เขี ย น คํ า พิ พ า ก ษ า ใน ค ดี แ พ่ ง
เกี่ยวเน่ืองกับคดีอาญาให้ถูกต้อง เนื่องจากมีการแก้ไขเพ่ิมเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งเก่ียวข้อง
กับคดีแพ่ง คดีผู้บริโภค และคดีแพ่งท่ีเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ซ่ึงยังพบผู้พิพากษาเขียนคําพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับ
คดีอาญาไม่สอดคล้องตามกฎหมาย ขอให้แจ้งผู้พิพากษาเขียน
คําพิพากษาในคดีแพ่งเก่ียวเน่ืองกับคดีอาญาโดยใช้ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 สําหรับ
กรณีท่ีผู้ร้องผู้เสียหายหรือโจทก์ร่วมแต่งทนายความเข้ามา
ดําเนินคดีในส่วนแพ่งท่ีเก่ียวเน่ืองกับคดีอาญาให้ใช้ประมวล
กฎหมายวธิ พี จิ ารณาความแพง่ มาตรา 149 (1)
14) แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด
และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2564

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิ พ ากษาศึกษาและทํ าความเข้าใจในหลักการและ
รายละเอียดของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดท่ีแก้ไขใหม่ทุกฉบับ
ได้แก่ พระราชบัญญั ติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด และพระราชบัญญัติวิธี
พิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2564 เพ่ือให้การ
ปรับตัวบทกฎหมายและการกําหนดโทษเป็นไปอย่างถูกต้อง
สอดคล้องกับกฎหมายท่ีเปลี่ยนแปลงไป โดยสํานักงาน
ศาลยุติธรรมจะประสานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
เพอ่ื วางแนวทางปฏิบตั ิ รวมถึงการออกอนบุ ญั ญตั ิต่างๆ ต่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาเตรียมความพร้อมรองรับการใช้บังคับของกฎหมาย
เก่ียวกับยาเสพติด ประกอบด้วย พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด
และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2564 ซ่ึงมีการเปลี่ยนแปลงข้อหาและอัตราโทษใน

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 26 

 

คดียาเสพติด โดยมีหลักคือพิจารณาจากวันกระทําความผิด
ที่เกิดขึ้นว่าเกิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับหรือไม่ ส่วนคดีท่ี
ศาลได้นัดฟังคําพิพากษาหลังวันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้น
ไป สามารถนํากฎหมายใหม่มาปรับใช้ได้ในส่วนท่ีเป็นคุณแก่
จําเลยมากกว่ากฎหมายเก่า และขอให้ใช้ความระมัดระวัง
ในการใช้กฎหมายในคดีเก่ียวกับยาเสพติดให้เป็นไปอย่าง
ถูกต้อง โดยสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 จะจัดทําบัญชี
มาตรฐานกําหนดโทษ และแนวการใช้ถ้อยคําสํานวนในการ
ร่างคําพิพากษาและการปรับบทตามกฎหมายใหม่ส่งไปให้ศาล
ในเขตอํานาจอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 3 ใช้เป็นแนวทางในการใช้
ดุลพินิจกําหนดโทษและการเขียนคําพิพากษาให้สอดคล้อง
เป็นไปในแนวทางเดียวกัน หากศาลใด มีปัญหาข้อขัดข้อง
ขอให้หารือไปยังสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 ก่อนจัดทํา
คาํ พพิ ากษา

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาศึกษารายละเอียดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
จํานวน 3 ฉบับท่ีจะใช้บังคับ ได้แก่ พระราชบัญญัติให้ใช้
ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมาย
ยาเสพติด และพระราชบัญญั ติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2564 เพื่อให้การปรับตัวบทกฎหมายและการ
กําหนดโทษเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายที่
เปล่ียนแปลงไป หากมีปัญหาข้อขัดข้องขอให้ศาลหารือไปยัง
สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 โดยสํานักงานอธิบดี
ผู้พิพากษาภาค 4 ได้มีการแต่งต้ังคณะทํางานปรับปรุงบัญชี
มาตรฐานการลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติดให้
สอดคล้องกับกฎหมายท่ีแก้ไขใหม่ เพ่ือให้ศาลใช้เป็นแนวทาง
ในการพจิ ารณาคดีและกําหนดโทษให้เปน็ มาตรฐานเดยี วกนั

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาศึกษารายละเอียดของกฎหมายท่ีเปล่ียนแปลงไป
แ ล ะ นํ า บั ญ ชี ม า ต ร ฐ า น ก า ร ล ง โท ษ ข อ ง สํ า นั ก ง า น อ ธิ บ ดี
ผู้พิพากษาภาค 7 ท่ีปรับปรุงใหม่ตามประมวลกฎหมาย
ยาเสพติดไปใช้ประกอบการกําหนดโทษในส่วนท่ีเก่ียวกับคดี
ยาเสพติด สําหรับกรณี ที่จําเลยขอให้กําหนดโทษใหม่
ถ้ากฎหมายท่ีใช้ในขณะกระทําความผิดแตกต่างกับกฎหมาย
ที่ใช้ภายหลัง ให้ใช้กฎหมายในส่วนท่ีเป็นคุณ เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว
ซึ่งคดีนั้นต้องถึงท่ีสุดก่อนวันที่ 9 ธันวาคม 2564 แต่หากคดี

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 27 

 

ถึงท่ีสุดหลังวันท่ี 9 ธันวาคม 2564 จะต้องใช้สิทธิ์อุทธรณ์ –
ฎีกาเท่าน้ัน และขอให้ผู้พิพากษาดูคําขอท้ายฟ้องคดีที่ฟ้อง
ตั้งแต่วันท่ี 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไปด้วย ว่าโจทก์ขอให้
ลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติดด้วยหรือไม่ ส่วนกรณีที่
จํ า เล ย รั บ ส า ร ภ า พ แ ล ะ ต้ อ ง สื บ ป ร ะ ก อ บ โ ด ย มี วั น นั ด สื บ
ประกอบหลังวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ให้ปฏิบัติตามประมวล
กฎหมายยาเสพติดมาตรา 21 วรรคสอง ท่ีคู่ความมีสิทธ์ิท่ีจะ
ขอแถลงขอสืบพยานเพ่ิมเติมได้ ดังนั้นในกรณีน้ีต้องรอฟัง
คู่ความแถลงกอ่ นว่าติดใจสืบหรอื ไม่

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้ง
ผู้พิพากษาว่าในคดีความผิดเก่ียวกับยาเสพติดให้โทษประเภท
5 (พืชกระท่อม) ท่ีมีการยกเลิกความผิดท่ีเกี่ยวข้องแล้ว แต่ยัง
มีบางคดีมีข้อหาพืชกระท่อมร่วมอยู่ด้วย แต่ข้อหาอื่นยังไม่ยุติ
ร ว ม ถึ ง ปั ญ ห า ก า ร ผิ ด สั ญ ญ า ป ร ะ กั น ร ะ ห ว่ า ง ท่ี ก ฎ ห ม า ย
ยังไม่ยกเลิกจะดําเนินการอย่างไรนั้น หากกรณีจําเลยท่ีทําผิด
ในข้อหาเก่ียวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ถ้ามีการผิด
สัญญาประกันต่อศาลก็ถือว่ายังผิดสัญญาอยู่เดิม แต่เม่ือนําตัว
จําเลยมาส่งศาล ขอให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการงดหรือ
ลดหลักประกัน รวมท้ังขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลกํากับดูแล
และแต่งตั้งกรรมการเพ่ือตรวจสอบคดีประเภทน้ี เพื่อให้
พจิ ารณาไดอ้ ยา่ งถกู ต้องตามกฎหมาย
15) ข้อหารือเกี่ยวกับการตรวจสํานวนและร่างคําสั่งของ
ศาลเยาวชนและครอบครัว กรณี ใช้มาตรการพิเศษ
แท นคําพิ พ ากษ าตามมาตรา 90 และมาตรา 132
แห่งพระราชบัญญัตศิ าลเยาวชนและครอบครวั

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
ปฏิบัติตามคําแนะนําของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับแนว
ทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา จําเลย ผู้เสียหายในคดีอาญา และ
แนวทางการปฏิบัติท่ีเหมาะสมต่อพยานบุคคลในคดีอาญา
โดยกําหนดให้ทุกศาลจัดตั้งศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย และ
ปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่ออํานวยความสะดวก และจะต้องมี
ม า ต ร ก า ร รั ก ษ า ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ใน ก ร ณี ท่ี พ ย า น เป็ น เด็ ก
ห้องพักพยานต้องแยกจากห้องพักพยานทั่วไป และให้ปฏิบัติ
ต่ อ พ ย า น ต า ม คํ า แ น ะ นํ า ข อ ง ป ร ะ ธ า น ศ า ล ฎี ก า ว่ า ด้ ว ย
แ น วท างก ารป ฏิ บั ติ ต่ อ พ ยาน ท่ี เป็ น เด็ ก ใน ค ดี อ าญ า
พ.ศ. 2559 ดว้ ย และใหผ้ ู้พิพากษาหวั หนา้ ศาลดําเนนิ การ ดังนี้

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 28 

 

1) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคําร้องท่ีผู้เสียหายขอให้
จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 และควรมี
แนวปฏิบตั ติ อ่ ผู้เสยี หายอย่างชดั เจน

2) ให้มีการพิจารณาลดโทษทางอาญาในคดีท่ีไม่ร้ายแรง
หรอื ใชว้ ิธรี อการกําหนดโทษ

3) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เสียหายเก่ียวกับการ
บังคับคดีตามคําพิพากษา และสิทธิของตน โดยอธิบายถึงสิทธิ
และหน้าท่ีของผู้เสียหาย ขั้นตอนการดําเนินกระบวนพิจารณา
ร ว ม ถึ ง แ จ้ ง ค ว า ม คื บ ห น้ า แ ล ะ ก า ร สิ้ น สุ ด ข อ ง ก า ร ดํ า เนิ น
กระบวนพจิ ารณาให้ผเู้ สียหายทราบ

4) ทําความเข้าใจและประสานงานกับหน่วยงาน
ในกระบวนการยุติธรรมที่เก่ียวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
ในการดาํ เนนิ การได้อย่างรวดเร็วและมีประสทิ ธิภาพ
16) การขอค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 รับทราบปัญหาเก่ียวกับ
การขอค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 กรณีความผิด
เกี่ยวกับเพศในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ โดยปกติจะต้อง
มีผู้เสียหาย 2 คน คนแรกคือบิดาหรือมารดาเป็นผู้เสียหาย
ท่ี 1 และตัวเด็กเป็นผู้เสียหายที่ 2 แต่ปรากฎว่าในการเขียน
คําร้องยื่นขอค่าสินไหมทดแทนผู้เสียหายมักลงลายมือชื่อ
ไมค่ รบถว้ นและขอค่าเสียหายรวมกันโดยไม่แยกเป็นรายบุคคล
ทําให้เกดิ ปัญหาเมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกา จึงขอให้ผู้พพิ ากษา
หั ว ห น้ า ศ า ล แ จ้ ง ใ ห้ ผู้ พิ พ า ก ษ า ต ร ว จ ส อ บ คํ า ร้ อ ง ย่ื น ข อ
ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 เม่ือรับสํานวนคดี
ความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ให้ตรวจสอบคําร้อง
และให้ผู้อํานวยการประจําศาลกาํ กับดูแลนิติกรใหเ้ ขียนคําร้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกฎหมายและตามแนวคําพิพากษา
ศาลฎกี า
17) ข้อหารอื การปฏบิ ตั หิ น้าที่ของเจ้าพนักงานตาํ รวจศาล

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 พิจารณาข้อหารือกรณีท่ี
เจ้าพนักงานตํารวจศาลเป็นผู้จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลยท่ี
หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล จะสามารถขอรับเงิน
รางวัลตามพระราชบัญญัติมาตรการกํากับและติดตามจับกุม
ผู้หลบหนีการปล่อยช่ัวคราวโดยศาล พ.ศ. 2560 ได้หรือไม่
โดยอนุกรรมการฯ เห็นว่ากรณีเจ้าพนักงานตํารวจศาลเป็น
ผู้จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลยที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราว

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภูมภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 29 

 

โดยศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามพระราชบัญญัติมาตรการ
กํากับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยช่ัวคราวโดยศาล
พ.ศ. 2560 มาตรา 7 เนื่องจากพระราชบัญญัติเจ้าพนักงาน
ตํารวจศาล พ.ศ. 2562 มาตรา 10 บัญญัติให้เจ้าพนักงาน
ตํารวจศาลเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มีอํานาจและหน้าท่ีเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือ
ตาํ รวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 พิจารณาข้อหารือเก่ียวกับ
เงินสินบนนําจับตามพระราชบัญญัติมาตรการกํากับและ
ติ ด ต าม จับ กุม ผู้ห ลบ ห นี การป ล่ อยชั่ วค ราวโด ยศ าล
พ.ศ. 2560 ในกรณีเจ้าพนักงานตํารวจศาลเป็นผู้แจง้ เบาะแส
จะถือว่าเป็นผู้แจ้งความนําจับซ่ึงมีสิทธิจะขอรับเงินสินบน
ได้หรือไม่ อนุกรรมการฯ เห็นว่ากรณีดังกล่าวเจ้าพนักงาน
ตํารวจศาลถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ผู้จับไม่อาจอยู่ในฐานะผู้แจ้ง
ความนําจับ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสินบน ตามหนังสือสํานักงาน
ศาลยุติธรรมที่ ศย 016/12753 ลงวันที่ 7 กันยายน 2564
และท่ี ศย 016/ว 987 ลงวันท่ี 15 กันยายน 2564

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7
1) ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานตํารวจ
ศาลทราบว่าในกรณีเจ้าพนักงานตํารวจศาลจะขออัตรากําลัง
เสริมจากสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 เพื่อไปช่วยในการ
ติดตามจับกุมผู้หลบหนีตามหมายจับ ไม่ต้องทําหนังสือถึง
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ให้เจ้าพนักงานตํารวจศาลแต่ละศาล
ป ร ะ ส า น ง า น โด ย ต ร ง ไ ป ยั ง เจ้ า พ นั ก ง า น ตํ า ร ว จ ศ า ล ข อ ง
สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 แล้วให้เจ้าพนักงานตํารวจ
ศาลของสํานักงานอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 7 ทําหนังสือถึงอธิบดี
ผู้พิพากษาภาค 7 ในการขออนุญาตใช้ยานพาหนะไปร่วม
จับกุม กรณีหากเจอผู้หลบหนีตามหมายจับสามารถจับกุมได้
ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต เนื่องจากเป็นอํานาจหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานตํารวจศาลอยู่แล้ว ในส่วนการเข้าถึงข้อมูล
ทะเบียนราษฎร์ให้เจ้าพนักงานตํารวจศาลทําบันทึกขอให้
ผู้อํานวยการเป็นผู้ดําเนินการและอนุญาตให้เจ้าพนักงาน
ตํารวจศาลสามารถนํารถของงานบังคับคดีไปปฏิบัติหน้าที่
ในการติดตามจับกุมได้ รวมถึงให้จัดทํารายงานผลการ
ปฏิบัติงานในด้านการจับกุมในแต่ละเดือนแจ้งไปยังสํานักงาน
อธิบดีผพู้ ิพากษาภาค 7

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 30 

 

2) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตํารวจศาล ในกรณีท่ีมี
จําเลยหลบหนี และศาลได้ออกหมายจับ หากเจ้าพนักงาน
ตํารวจศาลไปดําเนินการจับกุมจําเลยด้วยตัวเอง และกรณีท่ี
เจ้ าพ นั ก งาน ตํ ารว จ ศ าล ได้ ป ระ ส าน งาน เป็ น ผู้ ชี้ ช่ อ งไป ยั ง
เจ้าหน้าที่ตํารวจท้องท่ีแล้วมีการจับกุมจําเลยได้ ลักษณะเช่นนี้
จะสามารถเบิกจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้แก่เจ้าพนักงาน
ตํารวจศาลได้หรือไม่ อนุกรรมการฯ เห็นควรให้ผู้พิพากษา
หัวหน้าศาลเป็นผู้สั่งจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลให้แก่
เจ้าพนักงานตํารวจศาลในการดําเนินการจับกุมตามหมายจับ
ของหมายศาล ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมจําเลยด้วยตนเองหรือ
เป็นผู้ช้ีช่องให้เจ้าหน้าที่ตํารวจท้องท่ีในการจับกุมจําเลยได้น้ัน
โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะ
ตอ้ งห้าม การแต่งตัง้ และการปฏบิ ัติหน้าท่ีของผู้กํากับดแู ลผู้ถูก
ปล่อยช่ัวคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กํากับ
ดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยช่ัวคราว
ที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนําจับ และเงินรางวัลแก่
เจ้ า ห น้ า ที่ ผู้ จั บ ผู้ ถู ก ป ล่ อ ย ชั่ ว ค ร า ว โ ด ย ศ า ล ท่ี ห ล บ ห นี
พ.ศ. 2561

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 พิจารณ าข้อหารือกรณี
เจ้าพนักงานตํารวจเป็นผู้ช้ีช่องให้จับกุมผู้หลบหนีที่ได้รับ
การปล่อยตัวชั่วคราว พบว่าเจ้าพนักงานตํารวจศาลขอคัดถ่าย
สําเนาคําฟ้องและหมายจับเพ่ือให้เจ้าพนักงานตํารวจในพื้นที่
ไปจับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลยหลบหนีประกัน และขอเบิก
ค่าตอบแทนในฐานะผู้ช้ีช่องหรือผู้แจ้งความนําจับสามารถเบิก
ค่าตอบแทนในส่วนน้ีได้หรือไม่ กรณีนี้อนุกรรมการฯ เห็นควร
ให้สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 ทําหนังสือหารือกรณี
การจ่ายเงินเจ้าพนักงานตํารวจกรณีช้ีช่องให้จับกุมผู้หลบหนี
ที่ได้รับการปล่อยตัวช่ัวคราวไปยังสํานักกฎหมายและวิชาการ
ศาลยุติธรรม และแจ้งให้ท่ีประชุมทราบในการประชุมครั้ง
ตอ่ ไป
18) ข้อหารือการชําระค่าขึ้นศาลของศาลเยาวชนและ

ครอบครัวในเขตอาํ นาจอธิบดีผูพ้ พิ ากษาภาค 9

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 พิจารณาข้อหารือเกี่ยวกับการชําระ

ค่าข้ึนศาลของศาลเยาวชนและครอบครัว กรณียื่นฟ้องหย่า

และขอใช้อํานาจปกครองบุตรในคําฟ้องเดียวกัน และกรณี

รายงานการศึกษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 31 

 

ย่ืนคําร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 2 คนในคําร้องเดียวกัน

ปั จ จุ บั น ศ า ล เย า ว ช น แ ล ะ ค ร อ บ ค รั ว ใ น เข ต อํ า น า จ อ ธิ บ ดี

ผู้พิพากษาภาค 9 เก็บค่าขึ้นศาลแตกต่างกัน เพราะบางศาล

ถือว่าเป็นสํานวนเดียวกันและบางศาลถือว่าเป็นคนละสํานวน

ควรเก็บค่าข้ึนศาลอย่างไร กรณีนี้ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

เยาวชนและครอบครัวในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9

ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520

กรณีคดีฟ้องหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ หากมีคําขอเรื่องอํานาจ

ปกครองบุตรหรือตัดอํานาจปกครองบุตรและการย่ืนคําร้อง

ขอตั้งผู้จัดการมรดก 2 คน จะถือว่าเป็นเร่ืองเดียวเกี่ยวพัน

ให้เก็บคา่ ขนึ้ ศาล 200 บาท

19) ข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และการเบิกจ่ายเบ้ีย

ประชุมและค่าตอบแทนในการพิจารณาและวินิจฉัยคดี

เลือกต้งั

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 9 พิจารณาข้อหารือกรณีการ
คุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลย ในวันที่ถูกจับกุมและวันที่ปล่อยตัว
สามารถนําวันคุมขังมาหักแทนค่าปรับได้หรือไม่ และกรณีคดี
ท่ีศาลสั่งจําหน่ายคดีจําเลยบางคนในคดีฟ้องจําเลยหลายคน
และมีจําเลยหลบหนี ศาลสามารถออกหมายจับเฉพาะจําเลย
ท่ีหลบหนีได้หรือไม่ เห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลปฏิบัติ
ตามหนังสือสํานักงานศาลยุติธรรม ที่ ศย 015/ว 18 (ป)
ลงวันท่ี 9 กุมภาพันธ์ 2564 เรอ่ื งหลกั เกณฑ์และการเบิกจา่ ย
งบประมาณตามระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยเบี้ยประชุมและ
ค่าตอบแทนในการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเก่ียวกับสิทธิสมัคร
รับเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิ
เลือกตง้ั ในการเลือกตั้งสมาชกิ สภาท้องถ่นิ หรอื ผบู้ ริหารทอ้ งถ่ิน
พ.ศ. 2562 ส่วนกรณีการคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยวันที่ถูก
คุมขัง ในวันท่ีถูกจับกุมและวันท่ีปล่อยตัว สามารถนําวันคุมขัง
มาหักแทนค่าปรับได้หรือไม่ ขอให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตาม
กฎหมายกําหนดว่าวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับ หรือวันเริ่มจําคุก
ให้นับวันเร่ิมเป็น 1 วันเต็มโดยไม่ต้องคํานึงถึงจํานวนชั่วโมง
ส่วนวันอ่ืนๆ ต้องนับ 24 ช่ัวโมงเป็น 1 วัน หากจําเลยถูกคุมขัง
ไม่ครบวันจึงไม่สามารถนํามาหักวันคุมขังได้ สําหรับคดีที่ศาล
สั่งจําหน่ายคดีจําเลยบางคนในคดีฟ้องจําเลยหลายคนใน
ระหว่างน้ันจําเลยมีพฤติกรรมหลบหนี ศาลสามารถออก

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 32 

 

หมายจับเฉพาะจําเลยท่ีหลบหนีได้หรือไม่ ขอให้ผู้พิพากษา
หัวหน้าศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ออกหมายจับและ
ป รั บ น า ย ป ร ะ กั น แ ล ะ อ อ ก ห ม า ย เรี ย ก จํ า เล ย ม า ศ า ล ใ ห ม่
แล้วค่อยออกหมายจับปรับนายประกันใหม่ แต่หากปฏิบัติไป
แล้วก็ไม่ต้องเพิกถอนหมายจับและสั่งปรับนายประกันใหม่
การส่ังออกหมายจับและปรับนายประกันคร้ังก่อนถูกต้องและ
ใชไ้ ดแ้ ลว้
20) การน่ังพิจารณาคดีและการดําเนินกระบวนพิจารณา
คดคี รบองค์คณะ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5 รับทราบข้อมูลการร้องเรียน
จากสํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี
และการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะของ
ผู้พิพากษา และแจ้งให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในเขตอํานาจ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 ทุกศาลกํากับดูแลและกําชับ
ผู้พิพากษาในศาลเก่ียวกับการน่ังพิจารณาคดีต่อเน่ืองและการ
ดําเนินกระบวนพิจารณาคดีครบองค์คณะให้เป็นไปอย่าง
เครง่ ครัด เพอ่ื ไม่ใหเ้ กิดปญั หาข้อร้องเรยี น

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 รับทราบปัญหาข้อขัดข้อง
เก่ียวกับการน่ังพิจารณาพิพากษาคดีครบองค์คณะ เน่ืองจาก
บางศาลยังมีการน่ังพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะ และขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6
แ จ้ ง ผู้ พิ พ า ก ษ า ถื อ ป ฏิ บั ติ ต า ม พ ร ะ ธ ร ร ม นู ญ ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม
เกี่ยวกับการพิจารณ าคดีครบองค์คณ ะอย่างเคร่งครัด
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียนและเพ่ืออํานวยความยุติธรรม
ให้แก่คู่ความ
21) ขอ้ หารอื เกีย่ วกับการผิดสญั ญาประกันในชัน้ ฝากขงั

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 พิจารณาข้อหารือของศาล
จงั หวดั นครราชสีมาเก่ียวกับการผิดสัญญาประกันในชั้นฝากขัง
ดังน้ี

1) คดีอาญาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกิน 6 เดือน
แต่ไม่ถึง 10 ปี ซ่ึงศาลกําหนดให้ผู้ประกันส่งตัวผู้ต้องหา
ต่อศาลจํานวน 1 ครั้ง ในวันทําการถัดจากวันที่ 48 นับจาก
วันที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคําร้องขอฝาก
ขังครั้งที่ 1 แต่เม่ือครบกําหนดแล้วผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหา
ตอ่ ศาล และพนกั งานอยั การกไ็ ม่ได้ย่นื ฟอ้ งผตู้ ้องหาตอ่ ศาล

2) คดีอาญาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 33 

 

ซึ่งศาลกาํ หนดให้ผู้ประกนั ส่งตัวผูต้ ้องหาตอ่ ศาลจํานวน 2 คร้ัง
คร้ังที่ 1 ในวันทําการถัดจากวันท่ี 48 และคร้ังที่ 2 ในวัน
ทําการถัดจากวันที่ 84 นับจากวันท่ีพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานอัยการย่ืนคําร้องขอฝากขังครั้งท่ี 1 แต่เมื่อครบ
กําหนดแล้วผู้ประกนั ไมส่ ่งตวั ผู้ต้องหาทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ต่อศาล และพ นักงานอัยการก็ไม่ได้ย่ืนฟ้ องผู้ต้องหา
ต่อศาลภายในกาํ หนด 84 วนั

3) คดีอาญาท่ีมีอัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี
ซง่ึ ศาลกาํ หนดให้ผู้ประกนั ส่งตวั ผูต้ ้องหาตอ่ ศาลจํานวน 2 คร้ัง
คร้ังที่ 1 ในวันทําการถัดจากวนั ท่ี 48 และครั้งท่ี 2 ในวนั ทําการ
ถัดจากวันท่ี 84 นับจากวันที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงาน
อัยการยื่นคําร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 แต่เมื่อครบกําหนดแล้ว
ผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลเฉพาะในครั้งที่ 1 แต่มา
ส่งตัวในคร้ังท่ี 2 และพนักงานอัยการก็ไม่ได้ย่ืนฟ้องผู้ต้องหา
ต่อศาลภายใน 84 วัน

4) กรณีตามข้อ 1) – ข้อ 3) โดยไม่ใช่กรณีพนักงาน
อัยการไม่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลภายในกําหนดเวลาท่ีศาล
อนุญาตให้ฝากขัง แต่เป็นกรณีหลังจากศาลอนุญาตให้ฝากขัง
แล้วต่อมาพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคําร้อง
ขอยกเลิกการฝากขัง แล้วศาลพิจารณาอนุญาตยกเลิก
โดยปรากฏว่าก่อนหน้าน้ันผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาท้ังครั้งที่ 1
และครั้งที่ 2 ตอ่ ศาล
อนุกรรมการฯ พิจารณาข้อหารือตามกรณีที่ 1) - 4) แล้ว
ลงมติว่า กรณีตามข้อ 1) ไม่มีการผิดสัญญาประกัน เนื่องจาก
พ้นระยะเวลาแล้ว ส่วนกรณีที่ 2) – 4) เห็นว่าเป็นการผิด
สญั ญาประกัน เน่ืองจากไม่มีการส่งตัวผู้ต้องหาก่อนท่ีพนักงาน
สอบสวนจะขอฝากขงั สิ้นสุด
22) ข้อหารือแนวทางปฏิบัติการออกหมายจับ หมายค้น
ทางสือ่ เทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 พิจารณาข้อหารือเก่ียวกับ
การออกหมายจับ หมายค้นผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
เก่ียวกับการออกคําสั่งหรือหมายอาญ า พ.ศ. 2548
และแนวปฏิบัติของสํานักงานศาลยุติธรรม ซ่ึงกําหนดไว้ว่า
กรณีเร่งด่วนหรอื มีเหตุอันควรซึ่งผู้ร้องไม่อาจไปพบผู้พิพากษาได้
ผู้ร้องขออาจร้องขอต่อผู้พิพากษาทางโทรศัพท์ โทรสาร

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 34 

 

ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ หรือส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอ่ืน

ท่ีเหมาะสม เพ่ือขอให้ศาลออกหมายจับและหมายค้นได้

โดยผู้ร้องขอเป็นตํารวจผู้น้ันต้องมียศตั้งแต่ชั้นพันตํารวจเอก

ข้ึนไป แต่สถานีตํารวจบางแห่งมีตํารวจยศพันตํารวจเอก

เพียงคนเดียวเท่านั้น ดังน้ันจะสามารถมอบอํานาจให้ตํารวจ

ยศต่ํากว่าชั้นพันตํารวจเอกเป็นผู้ขอย่ืนคําร้องได้หรือไม่

อนุกรรมการเห็นว่ากรณีดังกล่าว ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

แจ้งให้ผู้พิพากษายึดถือและปฏิบัติตามข้อบังคับของประธาน

ศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคําส่ัง

หรือหมายอาญา พ.ศ. 2548 และแนวปฏิบัติตามหนังสือ

สํานักงานศาลยุติธรรม ท่ี ศย 025/ว 69 (ป) ลงวันที่

26 มีนาคม 2563 ท่ีกําหนดว่าผู้ร้องขอต้องเป็นตํารวจ

มียศตั้งแต่ชั้นพันตํารวจเอกข้ึนไปเท่านั้นและไม่สามารถ

มอบหมายใหต้ าํ รวจระดับอื่นๆ ดาํ เนนิ การแทนได้

2 . เส น อ ค ว า ม เห็ น ต่ อ อ ธิ บ ดี 1) ปญั หาการโยกยา้ ยและกรอบอตั รากาํ ลังข้าราชการตลุ าการ

ผู้ พิ พ า ก ษ า ภ า ค ใ น ก า ร ส่ั ง ใ ห้ แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 รับทราบปัญหาข้อขัดข้อง

ผู้พิ พ ากษาคนใดคนหน่ึงในศาล เก่ียวกับ การโยกย้ายข้าราชการตุลาการท่ีมาประจํา

ในเขตอํานาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค ศาลเยาวชนและครอบครัวไม่มีประสบการณ์ในการพิจารณา

ไปช่วยทํางานชั่วคราวในอีกศาลหน่ึง คดีเยาวชนและครอบครัว รวมถึงปัญหากรอบอัตรากําลัง

ต าม พ ระธรรม นู ญ ศ าลยุติ ธรรม ไม่สอดคล้องกับปริมาณคดีในศาลหลายแห่งในเขตอํานาจ

มาตรา 14 (2) อธิบดีผู้พิ พ ากษ าภาค 3 ทํ าให้เกิดปัญ หาข้อขัดข้อง

ในการพิจารณาคดีและการจัดเวรของศาล อนุกรรรมการเห็นควร

ให้สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 แจ้งปัญหาข้อขัดข้อง

เกี่ยวกับการโยกย้ายข้าราชการตุลาการและปัญหาอัตรากําลัง

ผู้พิพากษาไปยังสํานักประธานศาลฎีกา โดยเห็นควรขอ

อัตรากําลังเพิ่มเติมให้กับศาลในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษา

ภาค 3 จํานวน 8 ศาล รวมท้ังส้ิน 11 อัตรา ได้แก่ ศาลแขวง

นครราชสีมา 1 อัตรา ศาลจังหวัดนางรอง 2 อัตรา ศาลแขวง

สุรินทร์ 1 อัตรา ศาลจังหวัดยโสธร 1 อัตรา ศาลจังหวัด

นครราชสีมา 1 อัตรา ศาลจังหวัดพิมาย 1 อัตรา ศาลจังหวัด

ภูเขียว 2 อัตรา และศาลจังหวัดกันทรลักษณ์ 2 อัตรา

และสํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้แจ้งปัญหา

ดังกล่าวไปยังหน่วยงานท่ีรับผิดชอบโดยตรง คือ สํานัก

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ

การพจิ ารณาด้วยอีกทางหน่งึ

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 35 

 

2) ปญั หากรอบอัตรากาํ ลังผูพ้ พิ ากษา

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 พิจารณากรณีศาลจังหวัด

สมุทรสาครมีปริมาณ คดีจํานวนมาก ทําให้อัตรากําลัง

ผู้พิพากษาไม่สอดคล้องกับปริมาณคดีท่ีเพ่ิมข้ึน และไม่เป็นไป

ตามเกณฑ์ที่ ก.บ.ศ. กําหนด และศาลเยาวชนและครอบครัว

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอให้สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษา

ภาค 7 จัดให้ผู้พิพากษามาช่วยราชการ จํานวน 1 คน

เนื่องจากศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มีอัตรากําลัง 3 คน แต่มีผู้พิพากษาปฏิบัติงานจริง 2 คน

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลต้องช่วยพิจารณาคดีด้วย อนุกรรมการ

ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลท่ีมีปัญหาจัดเก็บรวบรวมข้อมูล

สถิติโดยแยกประเภทคดี เพื่อประกอบการพิจารณ า

ขออัตรากําลังผู้พิพากษาเพ่ิม เพ่ือให้สอดคล้องกับปริมาณคดี

ที่เพิ่มข้ึน โดยเห็นควรเสนอขออัตรากําลังผู้พิพากษา

ในศาลจังหวดั สมุทรสาครเพ่ิมข้ึนรวม 2 องค์คณะ จํานวน 4 อตั รา

ส่วนกรณีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ขาดอัตรากําลังจนส่งผลต่อการพิจารณาคดี สํานักงานอธิบดี

ผู้พิ พ ากษ าภ าค 7 ได้ทํ าห นังสือแจ้งไป ยังสํานักงาน

ศาลยุติธรรมขอให้จัดผู้พิพากษามาช่วยราชการแล้ว และ

สํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้แจ้งปัญหาดังกล่าว

ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สํานักคณะกรรมการ

ตุลาการศาลยุติธรรม เพ่ือเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย

อีกทางหน่ึง

3. วางระเบี ยบ หรือมีมติใน การ 1) การประสานการปฏิบัติงานระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค

บ ริห ารงาน ธุรก ารข อ งศ าล เพ่ื อ กบั ศาลชน้ั ต้นในเขตอํานาจอธบิ ดีผู้พิพากษาภาค

สนับสนุนให้การพิจารณาคดีในเขต อ.ก.บ.ศ. ภาค 3

อํ าน าจ อ ธิบ ดี ผู้ พิ พ าก ษ าภ าค มี 1) ปัญหาข้อบกพร่องในการจัดทําสํานวนอิเล็กทรอนิกส์

มาตรฐานเดียวกันเพ่ือให้เกิดความ และการส่งไฟล์สํานวนศาลช้ันต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3

สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พบปัญหาเช่น คดีไม่อยู่ในอํานาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3

สูงสุด รวมท้ั งจัดให้ มีระบ บ การ การชําระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน บัญชีค่าฤชาธรรมเนียม

ตดิ ตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ไม่ลงรายการ คดีไม่ครบระยะเวลาขยายอุทธรณ์ หรือ

ให้เป็ นไปตามแน วน โยบายของ ระยะเวลาแก้ไขอุทธรณ์ ไม่ส่งสําเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วม

ประธานศาลฎีกา และผู้ร้องในคดีอาญา เอกสารในสํานวนและเอกสารแยกเก็บ

ไ ม่ ค ร บ ถ้ ว น ห รื อ ไ ม่ ส่ ง เอ ก ส า ร เอ ก ส า ร แ ย ก เก็ บ ไ ป ด้ ว ย

ใบอนุญาตของทนายความขาดอายุความ ฯลฯ

2) ปัญหาที่เก่ียวข้องในการพิจารณาคดี เช่น การลงชื่อ

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 36 

 

ในคําฟ้องอุทธรณ์ไม่ครบถ้วน การสอบคําให้การในคดีอาญา
ไม่ชัดเจน การมอบอํานาจให้ฟ้องแต่ใช้ใบมอบฉันทะ ไม่วาง
ค่าข้ึนศาลในอนาคต ไม่วางค่าธรรมเนียมใช้แทนหรือวางไม่ครบ
ไม่แยกเอกสารหมาย จ. และหมาย ล. สํานวนสาขาไม่จัดทํา
เอกสารให้ครบถ้วน การเขียนคําพิพากษาไม่มีเหตุแห่ง
การวินิจฉัย ผู้พิพากษาลงชื่อองค์คณะไม่ครบ จดรายงาน
กระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ระบุว่าอุทธรณ์
ข้อเท็จจริงหรอื ข้อกฎหมายก่อนส่ังรับอุทธรณ์ ฯลฯ

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 3 เห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล
และผู้อํานวยการกํากับดูแลและแจ้งผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบในศาลทราบข้อสังเกตของศาลอุทธรณ์ภาค 3
และตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบหรือ
กฎหมายใหถ้ กู ตอ้ งครบถ้วน

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 รับทราบปัญหาข้อขัดข้องและ
ข้อสังเกตในการปฏิบัติงานของศาลช้ันต้นในเขตอํานาจอธิบดี
ผู้พิพากษาภาค 4 จากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พร้อมแนวทาง
แกไ้ ข ดงั น้ี

1) การอ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผ่านส่ือ
อิเล็กทรอนิกส์ ขอให้ปฏิบัติตามรายละเอียดข้อปฏิบัติท่ีศาล
อุทธรณ์ภาค 4 แจ้งและประสานการดําเนินการผ่านกลุ่มไลน์
คําสั่งคําร้อง รวมถึงตรวจสอบและแจ้งผลการอ่านคําพิพากษา
ศาลอุทธรณภ์ าค 4 ท่ยี ังค้างอยูใ่ ห้ครบถว้ นด้วย

2) การคิดค่าธรรมเนียมค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หลักและ
ค่าข้ึนศาลอุทธรณ์ในอนาคต ขอให้ศาลคํานวณให้ถูกต้อง
ครบถว้ น

3) การแจ้งวันนัด โดยเฉพาะในคดีผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.
วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 28 ขอให้
ศาลช้ันต้นปิดประกาศหน้าศาลแทนการตีความว่าคู่ความ
ทราบวนั นดั แล้ว

4) การส่งสํานวนในคดียาเสพติดให้ศาลชั้นต้นส่งไปยัง
ศาลอุทธรณ์ โดยไม่ต้องสง่ มายังศาลอุทธรณภ์ าค 4

5) การฟ้องในระบบ e-filing มีปัญหาเร่ืองเอกสาร เช่น
ศาลช้ันต้นจะมีหมาย จ. เพียงเอกสารเดียวหรือไม่มีหมาย จ.
และเอกสารไม่ครบถ้วนหรือไม่พบเอกสารในสํานวน เช่น ไม่มี
คําขอท้ายฟ้อง เป็นต้น ขอให้ศาลตรวจสอบรายละเอียด
ให้ครบถ้วนถูกต้องก่อนส่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 รวมถึง

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 37 

 

การส่งไฟล์ Word คาํ พพิ ากษาศาลช้นั ต้นด้วย
6) การแจ้งการอ่านคําพิพากษาซึ่งยังคงมีค้างอยู่บางส่วน

โดยขอให้เจา้ หน้าที่ของศาลอุทธรณภ์ าค 4 เปน็ ผู้ประสานงาน
7) การคัดถ่ายสําเนาคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4

ขอให้ศาลช้ันต้นสแกนคําพิพากษาไว้ในระบบด้วย เพื่อรองรับ
กรณีคู่ความขอคัดถ่ายสาํ เนาฯ จากศาลช้ันต้น
แ ล ะ ข อ ใ ห้ ผู้ พิ พ า ก ษ า หั ว ห น้ า ศ า ล กํ า ชั บ ให้ ผู้ พิ พ า ก ษ า
แ ล ะ เจ้ า ห น้ า ท่ี ที่ เก่ี ย ว ข้ อ ง ใ ห้ ป ฏิ บั ติ ต า ม ข้ อ สั ง เก ต แ ล ะ
คําแนะนําของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อให้การปฏิบัติงาน
เป็นไปด้วยความถูกต้องและราบร่ืน หากมีข้อขัดข้อง
ใหป้ ระสานไปยงั เลขานุการศาลอทุ ธรณภ์ าค 4

อ.ก.บ.ศ. ภาค 9
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แจ้งข้อสังเกต ปัญหาข้อขัดข้องและ
ขอความร่วมมือศาลช้ันต้นในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษา
ภาค 9 ดาํ เนินการ ดงั นี้
1) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจําเลยหรือผู้ต้องหา
ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9
ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ
พัฒนาระบบงานติดตามสถานะการพิจารณาคําร้องขอปล่อย
ช่ัวคราวแบบเรียลไทม์ โดยสามารถติดตามสถานะได้ 2
ช่องทาง คือ 1. ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ 2. ผ่านเว็บไซต์ของ
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพื่อให้คู่ความติดตามสถานะคําร้องได้
ตลอด 24 ชวั่ โมง
2) การพิจารณาใช้มาตรการพิเศษประกอบการใช้ดุลพินิจ
ในการส่ังอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย ขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้ข้อมูลความพร้อมในเรื่องมาตรการ
พิเศษในด้านต่างๆ เช่น เขียนในคําร้องว่ามีความพร้อมในเร่ือง
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) และมีจํานวนก่ีเครื่องหรือ
มีความพร้อมในมาตรการใดหรือมีเหตุขัดข้องในเร่ืองใดบ้าง
เพ่ื อเป็นข้อมูลให้ผู้พิ พ ากษ าของศาลอุทธรณ์ ภ าค 9
ประกอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งคําสั่ง คําร้องให้ตรงกับ
ขอ้ เท็จจริงหรอื ความพรอ้ มของศาลชน้ั ต้น
3) การอ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 9
โดยใช้วิธีถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะของการประชุม
ทางจอภาพ ขอความร่วมมือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตอบ
แบบสอบถาม รวมท้ังให้ข้อเสนอแนะหรือปญั หาขัดข้องต่างๆ

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 38 

 

4) การจัดทําคําพิพากษาและการตรวจร่างคําพิพากษา
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลกํากับดูแลเจ้าหน้าที่ธุรการท่ีรับผิดชอบ
ในการจัดส่งไฟล์สํานวนอิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วน หากมี
ปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับการจัดทําไฟล์หรือส่งไฟล์ ขอให้
ประสานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของศาลอุทธรณ์ภาค 9
โดยตรง

5) การไกล่เกลี่ยในช้ันศาลอุทธรณ์ เพ่ืออํานวยความ
สะดวกหรือให้คดีของคู่ความยุติได้อย่างรวดเร็ว ขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนแจ้งวัน
อ่านคําพิพากษาให้ส่วนช่วยพิจารณาคดีหรือส่วนหน้าบัลลังก์
ทราบ หรือผู้พิพากษาจดในรายงานกระบวนพิจารณา รวมท้ัง
ขอให้ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยในช้ันอุทธรณ์ให้คู่ความ
ทราบด้วย
และเห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้อํานวยการแจ้งให้
ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ทราบข้อสังเกตดังกล่าว และขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลให้ข้อมูลความพร้อมของศาลในด้าน
ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในการทําคําส่ัง
คําร้องขอปล่อยช่ัวคราว ส่วนการจัดส่งไฟล์สํานวนคดี
อิเล็กทรอนิกส์ ขอให้เจ้าหน้าท่ีที่รับผิดชอบตรวจสอบ
เปิดดูไฟล์ว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ก่อนส่งไปยังศาลอุทธรณ์
ภาค 9 นอกจากนี้ หากมีปัญหาข้อขัดข้องหรือข้อเสนอแนะ
ในการปฏิบัติราชการสามารถสอบถามไปยังเลขานุการ
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 และผู้อํานวยการสํานักอํานวยการประจํา
ศาลอุทธรณภ์ าค 9 ได้
2) ข้อหารือเก่ียวกับการตรวจสํานวนและร่างคําสั่งของ
ศาลเยาวชนและครอบครัว กรณีใช้มาตรการพิเศษแทน
คําพิ พ ากษ าตามมาตรา 90 และมาตรา 132 แห่ ง
พระราชบญั ญัติศาลเยาวชนและครอบครัว

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 รับทราบคําแนะนําของ
ประธานศาลฎีกาเก่ียวกับแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา
จําเลย ผู้เสียหายในคดีอาญา และแนวทางการปฏิบัติ
ที่เหมาะสมต่อพยานบุคคลในคดีอาญา โดยกําหนดให้ทุกศาล
จัดต้ังศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย และปรับปรุงอาคารสถานที่
เพ่ืออํานวยความสะดวก และจะต้องมีมาตรการรักษา
ความปลอดภัยในกรณีท่ีพยานเป็นเด็ก ห้องพักพยานต้องแยก

รายงานการศึกษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 39 

 

จากห้องพักพยานทั่วไป และให้ปฏิบัติต่อพยานตามคําแนะนํา
ของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทาการปฏิบัติต่อพยานท่ีเป็น
เด็กในคดีอาญา พ.ศ. 2559 ด้วย รวมทั้งขอให้ผู้พิพากษา
หวั หนา้ ศาลดําเนินการ ดังนี้

1) จัดให้มีเจ้าหน้าท่ีช่วยเขียนคําร้องท่ีผู้เสียหายขอให้
จําเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 และควรมี
แนวปฏบิ ัตติ อ่ ผูเ้ สยี หายอย่างชัดเจน

2) ให้มีการพิจารณาลดโทษทางอาญาในคดีท่ีไม่ร้ายแรง
หรือใชว้ ธิ รี อการกําหนดโทษ

3) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เสียหายเก่ียวกับการ
บังคับคดีตามคําพิพากษา และสิทธิของตน โดยอธิบายถึงสิทธิ
และหน้าที่ของผู้เสียหาย ขั้นตอนการดําเนินกระบวนพิจารณา
ร ว ม ถึ ง แ จ้ ง ค ว า ม คื บ ห น้ า แ ล ะ ก า ร สิ้ น สุ ด ข อ ง ก า ร ดํ า เนิ น
กระบวนพจิ ารณาให้ผ้เู สยี หายทราบ

4 ) ทํ าค วาม เข้ าใจป ระส าน งาน กั บ ห น่ วยงาน ใน
กระบวนการยุติธรรมท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือให้เกิดความร่วมมือในการ
ขับเคลือ่ นนโยบายไดอ้ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ
3) การตรวจสํานวนและร่างคําพิพากษาศาลในเขตอํานาจ
อธิบดีผพู้ ิพากษาภาค

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 รับทราบข้อสังเกตและ
ปัญหาข้อขัดข้องที่พบจากการตรวจร่างคําพิพากษา และแจ้ง
แนวปฏบิ ัตเิ พ่ือใหศ้ าลดําเนนิ การ ดังนี้

1) ผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนไม่ได้อ่านสํานวนใหม่
ที่พนักงานอัยการขอแก้ฟ้องและขอเพ่ิมโทษ หรืออนุญาต
ให้แก้ฟ้องแล้วแต่ไม่ได้บันทึกด้วยดินสอในฟ้องเดิมว่ามีการ
แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องคดีน้ี ทําให้ศาลตัดสินโดยไม่ได้เพิ่มโทษ
หรือเพ่ิมโทษผิด เป็นต้น ดังนั้น หากมีการแก้ไขรายละเอียด
ในฟ้องเดิม การเพิ่มเติมฟ้องไม่ว่าจะเป็นเพ่ิมโทษนับโทษต่อ
หรือแก้ไขทุนทรัพย์ ให้ผู้พิพากษาบันทึกด้วยดินสอในฟ้องเดิม
ไวว้ า่ มแี กไ้ ขด้วย

2) คดีแพ่งเรื่องภาระจํายอม มีการขอแก้ไขเลขโฉนดแล้ว
แต่ศาลยังพิพากษาตามโฉนดเลขที่เดิม ขอให้ตรวจสอบ
รายละเอียดให้ถกู ตอ้ งกอ่ นเขยี นคําพิพากษา

3 ) คําพิ พ ากษ าฉบั บที่ศาลพิ มพ์ ไม่ตรงกับต้นร่าง
คําพิพากษาท่ีสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ตรวจแก้ไข
ส่งกลับไปให้ศาล ขอให้ศาลตรวจคําพิพากษาให้ตรงกับ

รายงานการศกึ ษาวิเคราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 40 

 

ต้นร่างที่แก้ไข หากไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขให้แจ้งหรือ
โทรปรกึ ษากบั ผู้ตรวจร่างหรอื อธบิ ดีผพู้ พิ ากษาภาค 1
แ ล ะ ข อ ใ ห้ ผู้ พิ พ า ก ษ า หั ว ห น้ า ศ า ล แ จ้ ง ข้ อ สั ง เก ต ดั ง ก ล่ า ว
ให้ผู้พิพากษาในศาลทราบ และกํากับดูแลให้ผู้พิพากษาปฏิบัติ
ตามแนวทางที่สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 กําหนด
เพอื่ ใหก้ ารจดั ทําร่างคาํ พิพากษาเปน็ ไปอย่างถูกต้อง

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 2 รับทราบสังเกตที่พบจาก
การตรวจสํานวนและร่างคําพิพากษาของศาลในเขตอํานาจ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2ในคดีอาญา คดีแพ่ง คดียาเสพติด
การแจ้งสิทธิผู้เสียหายและการบันทึกคําให้การจําเลยใน
รา่ งคาํ พพิ ากษา ดงั น้ี

1) คดีแพ่ง เชน่
1.1) การส่งหมาย ขอปิดหมาย และรายงานการ

ส่งหมาย ปัจจุบันมีการย่ืนฟ้องในระบบ e-Filing มากขึ้น
ขอให้ศาลตรวจสอบว่ามีการปิดหมายและรายงานผลการ
ส่งหมายตามขั้นตอนและระยะเวลาทีศ่ าลส่ัง

1.2) การช้ีสองสถาน หากศาลมีคําสั่งงดชี้สองสถาน
ใหโ้ จทก์ (หรือจาํ เลย) นาํ พยานเข้าสืบกอ่ น

1.3) การกําหนดอัตราดอกเบ้ียผิดนัดชําระหน้ี ขอให้
ศาลดําเนินการตามพระราชกําหนดแก้ไขเพ่ิมเติมประมวล
กฎหมายแพง่ และพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ทแี่ ก้ไขใหม่ ที่ใช้บังคับ
ต้ังแต่วันท่ี 11 เมษายน 2564 แก้ไขเก่ียวกับอัตราดอกเบ้ียฯ
และพระราชกฤษฎีกาซ่ึงตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 7 วรรคสอง ที่ให้กระทรวงการคลังเป็น
ผู้พิจารณาทบทวนอตั ราดอกเบี้ยทกุ สามปี

2) คดีอาญา เชน่
2.1) การลงชื่อในคําร้องขอฝากขังไม่ครบถ้วน ทั้งใน

ส่วนผู้ต้องหา พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา และไม่ได้ระบุว่าให้
ฝากขังไดก้ ีว่ ัน ขอให้ศาลตรวจสอบและดําเนนิ การใหค้ รบถ้วน

2.2) วนั ทสี่ ัง่ ฟ้องตอ้ งเป็นวนั เดียวกบั วันที่ย่ืนฟอ้ ง
3) การส่งหมายแจ้งสทิ ธิผเู้ สียหาย เช่น

3.1) เจ้าหน้าที่รายงานว่าแจ้งสิทธิผู้เสียหายไม่ได้
สง่ หมายไมไ่ ด้ หรอื ไม่มีผลส่งหมายปรากฏในสํานวน

3.2) การดําเนินกระบวนพิจารณาไม่เป็นไปตามลําดับ
สอดคล้องกนั

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 41 

 

3.3) ไม่สอบถามจําเลยเกี่ยวกับการต้ังทนายความ
และหรอื ไม่ส่ังใบแต่งทนายความแกจ่ าํ เลย

4) คดียาเสพตดิ เชน่
4.1) การเรียงลําดับประเภทข้อหาท่ีมีความผิดหลาย

ป ระเภ ท ที่ มี ค ดี ย าเสพ ติ ด เป็ น ห ลั ก ให้ เรีย งช่ื อ ต าม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษก่อน จึงต่อด้วยข้อหาอื่น เช่น
อาวุธปืน

4.2) งดใช้ถ้อยคําท่ีไม่จําเป็น เช่น “ตามวันเวลา
ดังกล่าว” และควรระมัดระวังในการเขียนย่อคําหรือข้อความ
ในสาํ นวนใหถ้ ูกต้อง

5) การบนั ทึกคําให้การจาํ เลยในร่างคําพพิ ากษา เชน่
5.1) การใช้ถ้อยคําในร่างคําพิพากษาไม่ถูกต้อง เช่น

กรณีโจทก์ขอให้เพิ่มโทษจําเลยที่เคยต้องโทษในคดีอ่ืนมาแล้ว
มากระทําผิดซ้ํา ให้เขียนว่า “จําเลยได้ให้การรับสารภาพและ
รับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจําเลยในคดีท่ีโจทก์อ้าง” ไม่ใช่เขียน
ว่า “และรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจําเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้
เพม่ิ โทษ” ซง่ึ เป็นคนละความหมาย เป็นต้น

5.2) จําเลยรับสารภาพบางข้อหาและปฏิเสธ
บางขอ้ หา ควรใช้คําวา่ “จาํ เลยให้การรับสารภาพข้อหามอี าวุธ
ปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนข้อหาอื่น
ให้การปฏเิ สธ”

6) ข้อสังเกตอ่ืนๆ เช่น แนวทางการฟ้องคดี การวินิจฉัย
คดีแพ่งท่ีเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและคดีอาญาบางประเภท
ยังไมม่ ีแนวทางที่ชดั เจนในสว่ นการเขียนคาํ พิพากษา
และขอให้ผ้พู ิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งรายละเอียดให้ผู้พิพากษา
ทราบเพ่ือนําไปปรับปรุงให้ถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน
ท้ังนี้ หากมีปัญหาข้อขัดข้องในการเขียนคําพิพากษาขอให้
หารือไปยงั สาํ นักงานอธิบดีผพู้ พิ ากษาภาค 2

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 5 รับทราบข้อสังเกตที่พบจาก
การตรวจสํานวนและร่างคําพิพากษาของศาลในเขตอํานาจ
อธบิ ดีผพู้ ิพากษาภาค 5 กรณที ม่ี กี ารออกหมายจับ ดังนี้

1) การออกหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 66 จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่า
บุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญา โดยการออกหมายจับ
ขอให้ตรวจดูหลักฐานในเบื้องต้นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ
หรอื ไม่

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยุติธรรมในสว่ นภมู ิภาค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 42 

 

2) การออกหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 69 มีวัตถุประสงค์ในการหาพยานหลักฐาน
เช่น การหาพยานเอกสาร หาสิ่งผิดกฎหมาย หรือหาพยาน
บุคคล เพ่ือประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรอื พิจารณา
เป็นตน้ ซึ่งมีหลักการที่แตกตา่ งกับการออกหมายจบั
และขอให้ผพู้ ิพากษาหัวหน้าศาลแจ้งรายละเอียดให้ผู้พิพากษา
ท ร า บ เพ่ื อ นํ า ไป ใช้ เป็ น แ น ว ท า ง พิ จ า ร ณ า อ นุ มั ติ ก า ร อ อ ก
หมายจับ หมายค้นได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน
รวมท้ังขอให้ผู้พิพากษาพิจารณาออกหมายจับด้วยความ
ละเอยี ดรอบคอบ
4) รายงานสถิติผลแห่งคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลสูง
และข้อสังเกตในส่วนท่ีศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1
พพิ ากษาแก้คําพิพากษาศาลช้นั ต้น

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 รับทราบสถิติคําพิพากษาที่
ศาลช้ันอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขคําพิพากษาศาลช้ันต้นในเขต
อํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ระหว่างเดือนมกราคม -
ธนั วาคม 2563 พบว่าศาลชั้นอุทธรณ์มีการพิพากษายก กลับ
และแก้คําพิพากษาศาลช้ันต้นจํานวนมาก บางศาลเกินคร่ึง
และมีคําพิพากษายืนน้อยกว่าพิพากษาแก้อยู่หลายศาล โดยมี
การแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ ซึ่งไม่เป็นการแกด้ ลุ พนิ จิ ในเร่อื งตา่ งๆ
เช่น จํานวนเงินท่ีตัดสินให้จําเลยชําระแก่โจทก์ การกําหนด
ค่าเสียหาย การหลงลืมส่ังเรื่องริบของกลาง การใช้ดุลพินิจลด
โทษ เป็นต้น อนุกรรมการเห็นว่าให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนํา
รายละเอียดและข้อสังเกตในการพิพากษายก กลับ แก้
ที่ศาลสูงแจ้ง ไปแจ้งให้ผู้พิพากษาในศาลทราบว่ามีการ
พิพากษายก กลับ แก้ ในประเด็นใดบ้าง เพื่อให้เกิดการแก้ไข
ปรับปรุงให้ถูกต้อง รวมถึงกําชับให้ผู้พิพากษาเจ้าของสํานวน
ระมดั ระวังขอ้ ผิดพลาดทเ่ี กิดข้นึ ด้วย
5) การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน
(ออนไลน)์

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 1 รับทราบผลการดําเนินงานของ
ศาลในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 ท่ีได้ดําเนินการตาม
ตามประกาศสํานักงานศาลยุติธรรมเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 แล้ว โดยนําไปใช้ในคดีที่เป็น

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในสว่ นภูมิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 43 

 

คําร้องฝ่ายเดียวท่ีไม่มีผู้คัดค้าน เช่น จัดการมรดกและคดี
จัดการพิเศษ ทั้งน้ี ศาลใดยังไม่ได้ดําเนินการขอให้เร่ิม
ดาํ เนนิ การไดท้ ันที

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 4 รับทราบสถิติการใช้ห้อง
พิจารณาคดีออนไลน์และข้อสังเกตเกี่ยวกับการพิจารณาคดี
ออนไลน์ของศาลในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4
โดยในภาพรวมพบว่าทุกศาลมีการใช้ห้องพิจารณาคดีออนไลน์
มากข้ึน รวมท้ังมีการนําโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น
ไลน์ Cisco Webex Meeting และ Google Meet เข้ามาใช้
ในการพิจารณาคดีออนไลน์ การไกล่เกลี่ยออนไลน์และการ
ทําสัญญาประนีประนอมยอมความอิเล็กทรอนิกส์ และขอให้
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลดําเนินการระเบียบ ประกาศ และ
รปู แบบการพิจารณาออนไลนต์ ามท่ีสํานักงานศาลยุติธรรมแจ้ง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้การบริหารจัดการคดีในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อทุกฝ่ายท่ีเก่ียวข้อง
อีกทั้งขอให้ศาลพิจารณาในเร่ืองความปลอดภัยของข้อมูล
และใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ จึงควรกําชับบุคลากร
ใหร้ ะมัดระวังในเรื่องดงั กลา่ วดว้ ย

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 6 รับทราบปัญหาข้อขัดข้อง
และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ของศาลในเขตอํานาจอธิบดผี ้พู พิ ากษาภาค 6 โดยสรุป ดงั น้ี

1) ศาลมีความพรอ้ มในการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
เน่ืองจากมีงบประมาณและทุกศาลมีห้องพิจารณาคดีทาง
อิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่มีปัญหาเล็กน้อยเก่ียวกับอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความกระตือรือรน้ ในการเปลี่ยนแปลง

2) ความพร้อมของทนายความ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
ท น า ย ค ว า ม ที่ ไ ม่ ค่ อ ย มี ค ว า ม รู้ ใ น ก า ร ส่ื อ ส า ร ท า ง ร ะ บ บ
อิเล็กทรอนิกส์ และทนายความที่มีความรู้เกี่ยวกับเร่ือง
ดังกลา่ ว

3) ความพร้อมของอัยการ อาจมีความพร้อมน้อยกว่า
ศาลหรอื นอ้ ยกวา่ สํานกั งานทนายความในบางพื้นท่ี

4) ประชาชนท่ีเป็นคู่ความหรือพยาน พบปัญหาเร่ือง
ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือ ซ่ึงวิธีการ
แก้ปัญหาคือให้ทนายความ หรืออัยการ โดยนําคู่ความหรือ

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ิภาค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 44 

 

พยานเบกิ ความท่ีสาํ นกั งานอยั การ หรอื สาํ นกั งานทนายความได้
5) พิพากษาหัวหน้าศาลได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

ที่ตรงกันว่า สํานักงานศาลยุติธรรมควรจะขอความร่วมมือ
กับหน่วยงานหลักๆ ท่ีเก่ียวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญา เช่น สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์
สํานักงานอัยการสูงสุด โดยการจัดทํา MOU เพื่อให้ข้อมูล
ต้ั งแ ต่ ผู้ บ ริห ารล งม าจ น ถึ งเจ้ าห น้ าที่ ใน ท างป ฏิ บั ติ
เพอื่ สนบั สนุนในเรอ่ื งการสืบพยาน โดยเฉพาะคดอี าญา
และขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้อํานวยการส่งเสริม
และสนับสนุนให้ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติงานเก่ียวกับ
การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และหากศาลใดมีข้อเสนอแนะ
เพ่ิมเติมให้แจ้งไปยังสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6 เพ่ือจะได้
รวบรวมและแจง้ ไปยังสํานักงานศาลยตุ ธิ รรมต่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 7 รับทราบปัญหาข้อขัดข้อง
เกี่ยวกับการจัดการห้องพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์ของศาล
ในเขตอํานาจอธิบดผี ู้พิพากษาภาค 7 ดงั น้ี

1) คู่ความไม่มีความพร้อมในการพิจารณาคดี สัญญาณ
อินเทอร์เน็ตไม่เสถียร คู่ความไม่มีการเตรียมตัวก่อนพิจารณา
คดีหรือมีการย่ืนพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์กะทันหัน
อาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่สามารถเตรียมการระบบ
การพิจารณาคดีได้ทนั

2) เม่ือคู่ความยื่นคําร้องแล้วไม่สามารถติดต่อได้ ในการ
พิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าท่ีหน้าบัลลังก์ต้อง
ประสานกับคู่ความกอ่ นวันนัด บางคดีไม่สามารถติดต่อคูค่ วาม
ได้ จึงเป็นภาระของเจา้ หนา้ ทห่ี น้าบัลลังกข์ องศาล

3) ขั้นตอนการเตรียมการพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์และ
การพิจารณาแตล่ ะคดีใช้เวลานานกวา่ การพิจารณาคดีปกติ

4) การไกล่เกลี่ย การเจรจาต่อรองที่ไม่เห็นหน้ากัน
ทําได้ยาก ความสําเร็จตํ่ามาก เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ต้อง
เตรียมความพร้อมคดีก่อนวันนัด จึงมีภาระงานเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะงานหลังกระบวนการพิจารณา บางครั้งต้องทํางาน
อย่างต่อเน่ืองจนเลยเวลาเลิกงาน รวมถึงเจ้าหน้าท่ีรับฟ้อง
ฝากขัง และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ต้องปฏิบัติงานนอกเวลา
ทกุ วนั

5) ห้องพิจารณาคดีอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ที่ได้รับ
จดั สรรไมเ่ พยี งพอตอ่ ความต้องการ

รายงานการศึกษาวเิ คราะห์การบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 45 

 

6) ปัญ หาอุปกรณ์ ไม่เพียงพอ ได้แก่ โทรทัศน์และ
ไมโครโฟน อุปกรณ์มีปัญหาขัดข้องเม่ือใช้ต่อเนื่องเป็น
เวลานาน และโทรศัพท์เคลื่อนท่ีที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ
ต่อการใช้งานประสานงานกับคู่ความ เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์
ต้องใชโ้ ทรศพั ท์สว่ นตวั ติดต่อคคู่ วาม

7) สัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของศาลไม่เสถียร
และการพิจารณาในคดีอาญาช่องสัญญาณของเรือนจําที่ใช้
ในการพิจารณาคดไี มเ่ พียงพอ
อนุกรรมการเห็นควรให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสอบ
ปัญหาข้อขัดข้องท่ีเกิดข้ึน และทําหนังสือแจ้งปัญหาข้อขัดข้อง
ต่างๆ ไปยังสํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 เพ่ือจะได้
รวบรวมและแจ้งให้สํานักงานศาลยุติธรรมพิจารณาต่อไป
กรณีน้ี สํานักคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้ส่งเร่ือง
ดงั กล่าวไปยงั หน่วยงานทร่ี ับผดิ ชอบโดยตรง คอื สาํ นักสง่ เสริม
งานตุลาการ และสํานักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพ่ือพิจารณา
ดําเนนิ การในสว่ นท่ีเกีย่ วขอ้ งต่อไป

แนวทาง อ.ก.บ.ศ. ภาค 8
1) ขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลปฏิบัติตามข้อกําหนดของ
ป ร ะ ธ า น ศ า ล ฎี ก า ว่ า ด้ ว ย วิ ธี ก า ร พิ จ า ร ณ า ค ดี ผ่ า น ร ะ บ บ
อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ซ่ึงกําหนดให้การพิจารณาคดีของ
ศาลชั้นต้นสามารถดําเนินการได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
และประกาศสํานักงานศาลยุติธรรม เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ
แก้ไข เก่ียวกับการวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ใน
ส ถ า น ก า ร ณ์ ก า ร แ พ ร่ ร ะ บ า ด ข อ ง โร ค ติ ด เช้ื อ ไว รั ส โค โร น า
2019 และให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแต่งต้ังคณะกรรมการ
ติดตาม ส่งเสริม และสนั บสนุ นการพิ จารณ าคดีทาง
อิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน และรายงานผลการ
ดําเนินงานการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสํานักงาน
ศาลยุติธรรม ทุ กวัน ที่ 1 0 ขอ งทุ กเดือ น ขอ ให้ ระบุ
รายละเอียดให้ชัดเจน เช่น คดีจัดการมรดก หมายเลขดําท่ี...
ศาลได้ดาํ เนินการโดยใช้แอปพลิเคชันใด มีวิธีการอย่างไร เปน็ ต้น
และขอให้ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี ศาลจังหวัดภูเก็ต ศาลจังหวัด
สุราษฎร์ธานี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี
และศาลจังหวัดระนองจัดทําสรุปวิธีดําเนินการฯ ส่งไปยัง
สํานักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 เพ่ือเป็นตัวอย่างให้กับศาล
ในเขตอํานาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 สามารถนําไปปรับใช้ได้

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภูมภิ าค ประจําปี พ.ศ. 2564 หน้า 46 

 

อย่างมีประสิทธิภาพ และให้การดําเนินการพิจารณาคดี
ท า ง อิ เล็ ก ท ร อ นิ ก ส์ ข อ ง ศ า ล เป็ น ไ ป ใน แ น ว ท า ง เดี ย ว กั น
ด้วยความเรยี บร้อย

2) รับทราบผลการตรวจราชการ เรื่องการพิจารณาคดี
ทางอิเลก็ ทรอนิกสแ์ ละแนวทางการแก้ไขปญั หา โดยสรุป ดงั นี้

2 .1) ศ าล ทุ ก แ ห่ งใช้ วิธีก ารพิ จ ารณ าค ดี ท าง
อิเล็กทรอนิกส์ ทําให้พิจารณาคดีแล้วเสร็จเป็นจํานวนมาก
และขอให้ทุกศาลศึกษารูปแบบการพิจารณาของศาลอ่ืน
เพ่ิมเติม และนําไปใช้ปรับให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ
แตล่ ะศาล

2.2) ศาลทุกแห่งใช้แอปพลิเคชัน Google meet ใน
การเปิดห้องประชุมหรือพิจารณาคดีออนไลน์เป็นหลัก รวมถึง
การใช้แอปพลิเคชัน Line โดยให้เจ้าหน้าท่ีเปิด Line ส่วนตัว
กลุ่มไลน์ของงานไกล่เกล่ีย กลุ่มไลน์ของส่วนช่วยพิจารณาคดี
หรือเฉพาะรายคดี ซึ่งการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
จะต้องผสมผสานกันระหว่างการตีความกฎหมายและระเบียบ
ของสาํ นกั งานศาลยุติธรรม

2.3) การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละ
ศาลจะเป็นไปได้ด้วยดีและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นอยู่กับ
3 ประสาน ได้แก่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาและ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ โดยขอให้ผู้พิพากษา
หัวหน้าศาลพิจารณ าถึงปัญหาหรือปัจจัยท่ีส่งเสริมให้
การพิจารณาคดีทางอเิ ล็กทรอนิกส์มีประสทิ ธภิ าพ และคู่ความ
สามารถปฏบิ ตั ไิ ด้

2.4) กรณีพยานหรือคู่ความอยู่ต่างประเทศไม่ควรใช้
วิธีการพิจารณาทางอิเล็กทรอนกิ ส์

2.5) กรณีที่จําเลยต้องขังในคดีอาญา ถ้าจําเลยมี
ทนายความแต่ทนายความไม่ได้อยู่ด้วยกันกับจําเลย การ
พิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ขอให้เปิดห้องพิจารณาคดีด้วย
แอปพลิเคชัน Google meet และเปิดห้องย่อย Breakout
rooms ในหอ้ งหลัก และหอ้ งย่อยน้ันใหท้ นายความและจําเลย
พดู คุยกนั ได้ รวมถึงคดีท่มี กี ารสบื ประกอบและจาํ เลยต้องขงั

2.6) กรณีประชาชนไปทําธุรกรรมกันเองที่เก่ียวกับ
ครอบ ครัวห รือเร่ืองมรดกและมีการทํ าธุรกรรมท าง
อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มีพระราชกฤษฎีกาที่กําหนดว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวน้ัน

รายงานการศกึ ษาวเิ คราะห์การบรหิ ารราชการศาลยตุ ิธรรมในส่วนภมู ภิ าค ประจาํ ปี พ.ศ. 2564 หน้า 47 

 


Click to View FlipBook Version