การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมประกอบอาหาร ชนรดี ชายฮวด รายงานการวิจัยเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมประกอบอาหาร ชนรดี ชายฮวด รายงานการวิจัยเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้วิจัย ชนรดี ชายฮวด อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ญาณี ช่อสูงเนิน ครูพี่เลี้ยง นางมะลิวัลย์ ขมิ้นเครือ ปริญญา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2566 อาจารย์ประจ าหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอนุมัติให้นับวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้เป็นส ่วนหนึ ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย .................................................................. หัวหน้าสาขาวิชา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรัญญา ศรีบัว) วันที่.......…เดือน…….…………พ.ศ…………… คณะกรรมการผู้ประเมินรายงานวิจัยในชั้นเรียน .................................................................................. ประธานคณะกรรมการ (อาจารย์ญาณี ช่อสูงเนิน) .................................................................................. กรรมการ (นางมะลิวัลย์ ทองกุล) .................................................................................. กรรมการ (นางวันวิสาข์ ช านาญสาร) .................................................................................. กรรมการ (นางสาวเอมอร เทียมสินสังวร)
ก หัวข้อวิจัยในชั้นเรียน การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้วิจัย ชนรดี ชายฮวด สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ญาณี ช่อสูงเนิน ครูพี่เลี้ยง นางมะลิวัลย์ ขมิ้นเครือ ปริญญา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ รายงานนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยโดยกิจกรรมประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/7 จ านวน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ส านักงาน เขตพื้นที่ประถมศึกษา อุดรธานีเขต 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบการ วิจัยคือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนกิจกรรม ประกอบอาหาร จ านวน 8 แผน ครั้งละ 50 นาทีสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ แบบประเมิน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ t-test for Dependent Sample ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าหลังการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมี คะแนนทักษะกระทวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมีคะแนน เฉลี่ย 6.63 และมีคะแนนทักษะกระทวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมประกอบ อาหารมีคะแนนเฉลี่ย 22.93 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังใน ภาพรวมและรายด้านปรากฏว่าเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมประกอบอาหารสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข กิตติกรรมประกาศ วิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมประกอบอาหารเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาจาก อาจารย์ญาณี ช ่อสูงเนิน อาจารย์ ที่ปรึกษาวิจัย ที่กรุณาให้ค าปรึกษา ชี้แนะแนวทางต่าง ๆ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณ นางมะลิวัลย์ ขมิ้นเครือ ในฐานะครูพี่เลี้ยงของผู้วิจัยที่ได้ให้ค าแนะน าชี้แนะ ที่เป็นประโยชน์และแนวทางการท าวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาเป็นอย่างยิ่งในความ ร่วมมือและช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ขอขอบพระคุณผู้เชี ่ยวชาญ นางมะลิวัลย์ ทองกุล นางวันวิสาข์ ช านาญสารและ นางสาวเอมอร เทียมสินสังวร ครูช านาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลอุดรธานีที่ได้ช่วยตรวจสอบ แก้ไข เครื่องมือในการวิจัยให้มีคุณภาพ ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร คณะครู เด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือและช่วยเหลือให้ความอนุเคราะห์ในการ ทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ และการทดลองเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ขอขอบพระคุณครอบครัวที่คอยห่วงใยและให้ก าลังใจ ขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่คอยถามไถ่ เป็นก าลังใจและให้ความช่วยเหลือตลอดการด าเนินการวิจัย ในครั้งนี้ คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากปริญญานิพนธ์ฉบับบนี้ขอน้อมบูชาในพระคุณของบิดา มารดาและอาจารย์ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนและประสิทธิ์ประสาทวิทยากรต่าง ๆ ให้แก่ผู้วิจัย ชนรดี ชายฮวด
ค สารบัญ หน้า บทคัดย่อ............................................................................................................................................. ก กิตติกรรมประกาศ................................................................................................................................ข สารบัญ ………………………………………….………………………………………………………………………………….…ค สารบัญตาราง ……………………………………………………………………………………………………………………....ฉ สารบัญภาพประกอบ …………………………………………………………………………………………………………….ช บทที่ 1 บทน า...................................................................................................................................1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา..............................................................................1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย....................................................................................................3 สมมติฐานการวิจัย............................................................................................................. .4 ขอบเขตของการวิจัย...........................................................................................................4 นิยามศัพท์เฉพาะ.............................................................................................................. ..5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...................................................................................................6 กรอบแนวคิดในการวิจัย.......................................................................................................7 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.........................................................................................8 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย....8 ความหมายของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์...........................................................8 ความส าคัญของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์........................................................12 ประเภทของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์.............................................................14 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร………........……….26 ความหมายของกิจกรรมประกอบอาหาร……………………………………………………………26 ประโยชนของการจัดประสบการณการประกอบอาหาร……………………………………….28 ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร……………………………………………………….32 บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร……………………………………………….34
ง สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า ขอเสนอแนะและขอควรระวงในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร…………………………..35 งานวิจัยที่เกี่ยวของ…………………………………………………………………………………..……………37 งานวิจัยในประเทศ…………………………………………………………………………..……………..37 งานวิจัยต่างประเทศ…………………………………………………………………………….………….40 3 วิธีด าเนินการวิจัย.............................................................................................................42 ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง................................................................................42 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย...................................................................................................43 การสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือ......................................................................43 การเก็บรวบรวมข้อมูล...................................................................................................... .46 การวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................................................... .46 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล...........................................................................................47 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................ .........49 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ.................................................................................52 วัตถุประสงค์ของการวิจัย............................................................................................52 สมมติฐานการวิจัย..................................................................................................... .52 ขอบเขตของการวิจัย...................................................................................................52 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.............................................................................................53 การหาคุณภาพเครื่องมือ.............................................................................................53 การวิเคราะห์ข้อมูล.....................................................................................................53 สรุปผลการวิจัย...........................................................................................................53
จ สารบัญ (ต่อ) บทที่ หน้า อภิปรายผลการวิจัย............................................................................................................ ..54 ข้อเสนอแนะ................................................................................................................... ......55 เอกสารอ้างอิง................................................................................................................ .....................57 ภาคผนวก………………………………………………………………………………………………………………………..….68 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือ………………………………………………..………….69 ภาคผนวก ข ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร.............71 ภาคผนวก ค ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย……………………………………………….…...….…..............................75 ภาคผนวก ง แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมประกอบอาหาร................78 ภาคผนวก จ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย..................91 ภาคผนวก ฉ ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์………...95 ภาคผนวก ช คะแนนแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์……………….…………97 ภาคผนวก ซ ตัวอย่างภาพกิจกรรมประกอบอาหาร……………………...................................100 ภาคผนวก ฌ ตัวอย่างภาพแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย...................................................................................................................107 ประวัติผู้จัดท า………………………………………………………………………………………..…………...................111
ฉ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 แบบแผนการทดลอง………………………………………………..…………………….....…...........………..43 2 คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ของคะแนนทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร...............…...….49 3 คะแนนค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนน หลังการจัดกิจกรรมประกอบอาหารกับเกณฑ์ร้อยละ 80…………..…...............................….50 4 คะแนนค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมประกอบ อาหาร........................................................................................................... .......................50 5 ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแผนแผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร……………...…......72 6 ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัย..................................................................................................................................76 7 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย.........96 8 คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อน - หลัง การจัดกิจกรรม ประกอบอาหาร………………………...................................................………………...…..…..........98
ช สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………….....…………………………………..…………………...7
1 บทที่ 1 บทน ำ ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญ เด็กวัยเริ่มแรกของชีวิต หรือที่เรียกว่า “เด็กปฐมวัย” เป็นช่วงวัยในการเจริญเติบโตที่ส าคัญ ที่สุดของชีวิต เพราะพัฒนาการทุก ๆ ด้าน ของมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาจะเจริญมากที่สุดและพัฒนาการใด ๆ และเป็นพื้นฐานที่มีความส าคัญต่อ พัฒนาการในช่วงอื่น ๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก (เยาวพา เดชะคุปต์. 2542) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาส าหรับเด็กวัย 0 – 6 ปี เพื่อเตรียมความพร้อม (Readiness) และส่งเสริม พัฒนาการ (Development) ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้กับเด็กวัยนี้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย ส าคัญ คือ การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ และพร้อมที่จะรับการศึกษาในระดับสูง ขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป (วัชรีย์ ร่วมคิด. 2547) สิริมา ภิญโญอนันตพงษ (2550 : 86) กล่าวไววา การเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย ปรากฏ ออกมาในภาพของสุขภาพอนามัยในด้านรูปร ่างและสัดสวนของร่างกาย เด็กวัยทารกจะเกิด การ เปลี่ยนแปลงในอัตราคอนขางมาก สวนเด็ก 1 - 6 ป จะเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วเหมือนวัยทารก แต่จะ เป็นไปในอัตราคงที่ และมีความเจริญของร่างกายในสวนที่พัฒนามาก ได้แก วุฒิภาวะ ระบบ ประสาท ปรากฏมาในภาพของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ จะแข็งแรงและท างานประสานกัน ท าใหร่างกายเคลื่อนไหว ได้คลองแคลว สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น อาจกล่าวแยกเป็น 2 สวน คือ กล้ามเนื้อใหญ่เด็กปฐมวัยจะมี อัตราการพัฒนาเป็นไปตามวัย เชน เด็กอายุ 4 ปจะสามารถเดินขึ้นลงบันไดแบบสลับเท้าได้ดีกว่าเด็ก อายุ 3 ป หรือในการกระโดดเด็กอายุ 3 ปจะกระโดดสองเทาพรอมกัน ครั้นอายุ 4 ปจะสามารถ กระโดดด้วยเท้าข้างเดียวและจะกระโดดสลับเทาได้เมื่ออายุ 5 ปเป็นต้นไป การสงเสริมพัฒนาการเด็ก ในด้านกล้ามเนื้อใหญ่ เชน การยืน การเดิน การวิ่ง การกระโดด การโยน การรับลูกบอล และการเตะ ลูกบอลเป็นธรรมชาติและความตองการของเด็กปฐมวัยและกล้ามเนื้อเล็ก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมือจะ พัฒนาอย่างมากเชนกัน ในการวาดภาพตามแบบ เด็กจะวาดวงกลมได้ที่อายุ 3 ขวบ วาดรูปสี่เหลี่ยม
2 ได้ที่อายุ 4 ขวบ และวาดรูปสามเหลี่ยมได้ที่อายุ 5 ขวบ การสงเสริมพัฒนาการเด็กในด้านกล้ามเนื้อ เล็กและการประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือและตา เชน การร้อย การตัดกระดาษ และการวาดภาพ อย่างอิสระ การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่า กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรูกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้โดยครูใชประสบการณการคิด และปฏิบัติ( กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2547 : 172) จากการศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู วิทยาศาสตร์พบว่าเด็กจะรับรูและคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที ่มีความส าคัญตอเด็กปฐมวัยในการท ากิจกรรมทาง วิทยาศาสตร์จึงแบงออกเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการ สื่อสาร และทักษะการลงความเห็น การน าวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยจะส่งเสริมให้เด็ก เกิดความคิดอย่างเป็นระบบ และศึกษาสิ่งต่าง ๆ ด้วยการน าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ กระตุ้น พัฒนาการเรียนรู้ และส ่งเสริมพัฒนาการทุกด้านให้เกิดขึ้นอย ่างสมดุลและเต็มศักยภาพ (ประสาท เนืองเฉลิม 2546: 24) ครูสามารถน าวิธีการมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสติปัญญาและ ธรรมชาติในการเรียนรู้เด็กปฐมวัยซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต เป็นการ ใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกายเข้า ไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อค้นหาข้อมูล ทักษะการจ าแนกประเภทเป็นการแบ่งพวก หรือเรียงล าดับวัตถุหรือสิ่งที ่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยเกณฑ์ ทักษะการสื่อความหมายเป็นการน า ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลองและจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระท าเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ ผู้อื ่นเข้าใจ ทักษะการลงความเห็นเป็นการตีความหมายข้อมูลหมายถึงการแปลความหมายหรือ บรรยายสถานะข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจึงตองค านึงถึงการพัฒนาเด็กและในการจัดกิจกรรม นั้น ๆ ก็ไม่ได้หมายความวาเด็ก ๆ ทุกคนจะสามารถพัฒนาเหมือนกันหมดทุกคน โดยเฉพาะการจัด การศึกษาในระดับปฐมวัยที่ไม่ได้มุ่งเน้นใหเด็กเกิดการเรียนรูเชิงเนื้อหาเป็นส าคัญแต่เปิดโอกาสให เด็กได้พัฒนาเครื่องมือหรือทักษะการเรียนรูที่เด็กจะตองใชตอไป (ชมพูนุท จันทรางกูร. 2549 : 33) การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารส าหรับเด็กปฐมวัยเป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ ตรงและเรียนรู้การท างานอย่างเป็นกระบวนการผ่านการท าอาหาร ช่วยให้เด็กรู้จักวางแผนในการ
3 จัดเตรียมวัตถุดิบที่หลากหลาย โดยเน้นการใช้กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือในการลงมือปฏิบัติจริง จากการ ท ากิจกรรมประกอบอาหารตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เหมาะสมส าหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนได้เรียนรู้และ รู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการประกอบอาหาร ช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะอย่าง สมดุล ทั้งยังปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมด้านสุขอนามัย และโภชนาการที่ดีอีกด้วย กิจกรรมประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานเร้าความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กเป็น อย่างดีโดยเฉพาะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้ดีด้วยการกระท า อันจะน าไปสู่การเรียนรู้สิ่งที่สลับซับซ้อนขึ้น จากการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยการส ารวจ ค้นคว้า ทดลอง ได้สังเกตลักษณะ รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี ปริมาณ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของอาหารดิบและสุก รับรู้รส กลิ่นของอาหาร เปรียบเทียบ ความเหมือนต่าง ซึ่งเรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เด็กต้องใช้สติปัญญาและ การคิด การจัด ประสบการณ์นอกจากนี้เด็กยังได้เรียนรู้กระบวนการท างานร่วมกับผู้อื่น เริ่มตั้งแต่การวางแผนไป จนถึงการท าความสะอาดอุปกรณ์และสถานที่ ซึ่งประสบการณ์จากการประกอบอาหารจะท าให้เด็ก ได้รับความรู้ เกิดความรู้สึกประสบผลส าเร็จ และเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี ในการรับประทาน อาหารต่อไป จากการที่ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมที ่แสดงออกซึ ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปรากฎว่า เด็กมีทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกและทักษะสื่อความหมายข้อมูลน้อย จึงสนใจที่จะ น ากิจกรรมประกอบอาหารมาพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใชกิจกรรมประกอบอาหารวา ส่งผลตอทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ก าหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ จัดกิจกรรมประกอบอาหาร
4 สมมติฐำนของกำรวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ขอบเขตของกำรวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 1. ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานีส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จ านวน 9 ห้องเรียน จ านวน 270 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น เด็กชาย – หญิง อายุ 4 – 5 ปี ที่ก าลัง ศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 30 คน โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ส านักงานเขตพื้นที ่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ซึ ่งได้มาจากการสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ( Cluster random sampling) มา 1 ห้องเรียน 2. ตัวแปรที่ใช้ในกำรวิจัย มีดังนี้ 2.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร 2.2 ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ 2.2.1 ด้านการสังเกต 2.2.2 ด้านการจ าแนก 2.2.3 ด้านการสื่อความหมายข้อมูล 3. ระยะเวลำในกำรวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จ านวน 8 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในช ่วงกิจกรรมเสริม ประสบการณ์
5 นิยำมศัพท์เฉพำะ เพื่อให้ในการด าเนินการวิจัยครั้งนี้มีความชัดเจน ผู้วิจัยก าหนดความหมายของค าศัพท์ที่ใช้ ในการวิจัย ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร หมายถึง กิจกรรมการท าอาหารที่มีครูและเด็กร่วมกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกประสบการณ์ตรงในการท าอาหารใช้วัตถุดิบ วัสดุและอุปกรณ์จริง ด้วยตนเอง โดยมีการเน้นให้เด็กปฐมวัยได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเองได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง ฝกการ สังเกต การคิดแกปญหาและสงเสริมใหเด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ล าดับขั้นตอนของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมี ดังนี้ 1.1 ขั้นการเตรียมการ (5 นาที) 1.1.1 เตรียมเด็กให้พร้อมในการเขาสู่กิจกรรม โดยการร้องเพลง การท่องค า คล้องจอง พรอมกับท าทาทางประกอบ เพื่อเป็นการบริหารกลามเนื้อเล็ก มือและนิ้วมือก่อนการลงมือ ปฏิบัติกิจกรรม แนะน าอุปกรณ์ขั้นตอนในการท าและสาธิตการท าอาหาร และสร้างข้อตกลงเบื้องต้น ในการประกอบอาหาร 1.2 ขั้นสาธิต (40 นาที) 1. เด็กเขากลุม กลุมละ 5 คน โดยการหยิบไม้ไอติมที่ครูเตรียมเอาไวสีที่ เหมือนกันเข้ากลุ่มเดียวกัน 2. เด็กแต่ละกลุมแบงหนาที่กันท าอาหาร 3. ตัวแทนเด็กแต่ละกลุมออกมารับวัสดุ อุปกรณ์แลวลงมือท าอาหาร 4. เด็กแต่ละกลุมชิมอาหารที่ท า 5. เด็ก ๆ ช่วยกันเก็บวัสดุอุปกรณ์ของกลุ่มและท าความสะอาดสถานที่ 1.3 ขั้นปฏิบัติการและสรุป (5 นาที) 1.3.1 เด็กและครูร่วมกันสรุปขั้นตอนเมื่อท ากิจกรรมเสร็จแลวว่ามีวิธีการท า อย่างไร ใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างและได้ใช้มือและนิ้วมือท าอะไรบ้าง 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถเบื้องตนที่เป็นพื้นฐาน ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่สามารถน ามาพัฒนาได้โดยผ่านกิจกรรมประกอบอาหาร ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนก และทักษะการสื่อความหมายข้อมูล ที่ได้รับการประเมิน
6 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใชแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ด้าน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ศึกษา ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน คือ 2.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใชประสาทสัมผัสอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอยงรวมกัน ได้แก ตา หูจมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุแล้วสามารถ ตอบข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ได้อธิบายว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร บอกความเหมือนหรือ ความแตกต่างว่าสิ่งที่สังเกตได้เป็นอย่างไร 2.2 การจ าแนก หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบและบอกข้อ แตกต่างคุณสมบัติของวัตถุดิบและแยกวัตถุดิบออกเป็นกลุ่มได้โดยแต่ละกลุ่มอาจมีความเหมือนหรือ แตกต่างกัน 2.3 การสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการ บอกเล่าเรื่องราวหรือน าขอมูลที่ได้จากการสังเกตจากการจัดประสบการณ์การท าอาหารขั้นตอนใน การประกอบอาหารที่ครูจัดให้ในลักษณะของค าพูด เพื่อใหผู้อื่นเขาใจได้ถูกตอง ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ได้ทราบผลการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมประกอบอาหาร 2. ได้ทราบผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร 3. ได้แนวทางการจัดประสบการณ์ส าคัญส าหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดกิจกรรม ประกอบอาหารไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
7 กรอบแนวคิดในกำรวิจัย การวิจัยการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมีกรอบแนมคิดในการวิจัยดังภาพที่ 1 ตัวแปนต้น ตัวแปรตำม ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย กิจกรรมประกอบอาหาร ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 1. ทักษะการสังเกต 2. ทักษะการจ าแนก 3. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
8 บทที่ 2 เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการวิจัย ดังนี้ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 1. ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. ความส าคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3. ประเภทของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร 1. ความหมายของกิจกรรมประกอบอาหาร 2. ประโยชนของการจัดประสบการณการประกอบอาหาร 3. ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร 4. บทบาทของครูในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร 5. ขอเสนอแนะและขอควรระวงในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร งานวิจัยที่เกี่ยวของ 1. งานวิจัยในประเทศ 2. งานวิจัยต่างประเทศ เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับทักษะกระบวนกำรทำงวิทยำศำสตร์ 1. ควำมหมำยของทักษะกระบวนกำรทำงวิทยำศำสตร์ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีผู้ให้ความหมาย ไว้ดังนี้
9 สุมน อมรวิวัฒน์ (2531 : 2-3) กล ่าวถึง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ว่า กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ได้เน้นถึงกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การ คิดตีความ การคิดวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ การคิดแบบตรรก การคิดย้อนทวน การคิดจ าแนก แยกแยะ การคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ การคิดจัดล าดับ สิริมา สิงหะผลิน (2533 : 34) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝน กระบวนการทางความคิดในการแสวงหาความรู้ และ ความสามารถแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วและช านาญ อัญชลี ไสยวรรณ (2540 : 8 ) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝน กระบวนการทางความคิดในการค้นคว้าหาความรู้และ แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จนเกิดความช านาญ คล่องแคล่ว สุรีย์ สุธาสิโนบล (2541 : 53) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการค้นคว้าทดลอง เพื่อหาข้อเท็จจริง ในขณะที่ทดลองได้มีโอกาสฝึกฝน ทั้งในด้านการปฏิบัติ และพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ (2541 : 62) กล ่าวว ่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเลือกใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งจน เกิดความคล่องแคล่วและความช านาญ วิชชุดา งามอักษร (2541 : 53) กล ่าวว ่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการสืบเสาะหาความรูโดยผ่านการปฏิบัติและการฝึกฝนอย่างเป็นระบบ ชนกพร ธีระกุล (2542 : 15) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการความคิดอย ่างมีระบบ ในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่ว และช านาญ สรศักดิ์ แพรค า (2544 : 21-22) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ การสังเกต การจ าแนก ประเภท การวัด การค านวณ การหาความสัมพันธ์ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็น การพยากรณ์ การตั้ง สมมุติฐาน การก าหนดการควบคุมตัวแปรการก าหนดนิยมเชิงปฏิบัติการ การทดลอง และการ ตีความหมายข้อมูลการลงข้อสรุปได้อย่างคล่องแคล่ว วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542 : 14) กว่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง พฤติกรรมของคนที่แสดงออกถึงความสามารถในด้านทักษะการสังเกต การวัด การบันทึกข้อมูล และ สื่อความหมายการจัดกระท าข้อมูล การสร้างสมมติฐาน การออกแบบ และด าเนินการทดลอง การคิด ค านวณ และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
10 บัญญัติ ช านาญกิจ (2542 : 50) กล ่าวว ่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ว ่าเป็น กระบวนการทางปัญญาที่ต้องอาศัยความคิดในระดับต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งที่ยังไม่รู้ ให้ได้มา ซึ่งความจริง กฎหลักการก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ล าดวน ปั่นสันเทียะ (2544 : 36) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เป็น การ ค้นพบสิ ่งใหม ่ที ่ได้จากการแสวงหาความรู้ในการปฏิบัติ ค้นคว้า ทดลองอย ่างมีระบบ เพื ่อหา ข้อเท็จจริงในการตอบสนองความอยากรู้ การแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล โดยเฉพาะ การน าทักษะใน การสังเกตการจ าแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย การลงความเห็น การพยากรณ์ บันทึก ข้อมูลตั้งสมมติฐานและการทดลอง ตลอดจนทักษะพื้นฐานอื่น ๆ ที่มีความส าคัญและเหมาะสมกับวัย และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ที่เด็กสามารถเรียนรู้และ ปลูกฝังให้กับเด็ก พัชรี ผลโยธิน (2544) กล่าวว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็ก คือ ทักษะ การสังเกต ทักษะการจ าแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการ ทดลอง ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการวินิจฉัยและทักษะการประยุกต์ใช้ ภพ เลาหไพบูลย์ (2544 : 103) กล่าวว่า ทัศนะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หมายถึง วิธีการหนึ่งได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือการค้นคว้าทดลอง ในขณะที่ท า การทดลอง ผู้ทดลองมี โอกาสฝึกฝนทั้งในด้านการปฏิบัติและพัฒนาด้านความคิด เช่น ฝึกการสังเกตการบันทึกข้อมูลการ ตั้งสมมติฐานและการทดลอง เป็นต้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติและฝึกฝนความคิดอย่างมี ระบบนี้เรียกว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการทางปัญญา ชรี ผลโยธิน (2544) กล่าวว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็ก คือ ทักษะการ สังเกต ทักษะการจ าแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทดลอง ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการวินิจฉัยและทักษะการประยุกต์ใช้ วรรณทิพา รอดแรงค้า (2544 : 21) กล่าวว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการ ที่ส าคัญในการที่จะได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชา การสรุป หรือการตีความหมาย ซึ่ง สามารถจะใช้ทักษะได้หลาย ๆ ทักษะด้วยกัน พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2545 : 9) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก็คือ ความ ช านาญหรือความสามารถในการใช้ความคิด เพื ่อค้นหาความรู้รวมทั้งการแก้ปัญหา ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะทางปัญญาไม่ใช่ทักษะการปฏิบัติด้วยมือเพราะ เป็นการ ท างานของสมอง ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548 : 10) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการสืบเสาะแสวงหาความรู้และแก้ปัญหา โดยผ่านการปฏิบัติ และ ฝึกฝนโดยใช้การ สังเกตการวัด การจ าแนก การหามิติสัมพันธ์ การจัดกระท า การสื ่อสาร การลงความเห็น การ พยากรณ์และการตั้งสมมติฐาน
11 ผ่องฉวี มณีรัตนพันธุ์ (2550) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skill) เป็นความสามารถ ความช านาญใน การเลือกและการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาค าตอบหรือแก้ปัญหาต ่าง ๆ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สรวงพร กุศลส ่ง (2553 : 130) กล ่าวว ่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการปฏิบัติและแสวงหาความรู้ที่มีกระบวนการ และวิธีการในการฝึกฝนกระบวนการ ทางความคิดอย่างเป็นระบบ ครูสมาร์ท (Krusmart, 2560 : ออนไลน์) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะการคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่น ามาใช้ใน การศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการการ เรียนรู้ (2560 : 45) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์เป็นการตอบสนองต่อ ธรรมชาติการ เรียนรู้ของเด็ก ช ่วยส ่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะ หาความรู้และ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ พัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอดเพื่อ ท าความเข้าใจกับปรากฏการณ์ ต่าง ๆ รอบตัวซึ่งสามารถน าไปใช้ในการด ารงชีวิต รวมถึง พัฒนาให้เด็กมีเจตคติที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น เป็นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล ถ่ายทอดความคิดอย่างเป็นระบบ ครูจึงควรตอบสนอง ต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยอย่างเหมาะสม ลักษณา คชาบาน (Laksana Kachaban, 2564 : ออนไลน์) กล ่าวว ่า ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะและความสามารถต ่าง ๆ ที่จ าเป็นต ่อการแสวงหา ความรู้หรือการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสังเกต ทักษะการค านวณ หรือ ทักษะการจ าแนกประเภท เป็นต้น อักษร (Aksorn, ม.ป.ป. ออนไลน์) กล ่าวว ่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะการคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่น ามาใช้ใน การศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ เอ็นจีไทย (NGThai, ม.ป.ป. ออนไลน์) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความช านาญและความสามารถในการใช้ การคิด และกระบวนการคิด เพื่อค้นหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ กระบวนการคิดและเรียนรู้ รวมทั้งการจินตนาการ เป็นผลของการคิด เฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจ ที่ส าคัญของกระบวนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
12 จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความช านาญและ ความสามารถในการฝกฝนและปฏิบัติส าหรับเด็กปฐมวัย โดยประกอบไปด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะ การจ าแนกประเภท ทักษะการสื่อสารและทักษะการลงความเห็น ซึ่งทักษะเหล่านี้สามารถฝกพรอม กันไดและเป็นทักษะพื้นฐานในการพัฒนาด้านสติปัญญาเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรูในระดับที่สูงขึ้น ต่อไป 2. ควำมส ำคัญของทักษะกระบวนกำรวิทยำศำสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความส าคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยการฝึกปฏิบัติจนเกิดความช านาญ ซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าวไว้ ดังนี้ ธวัชชัย หินเมืองเก่า (2537, น. 38-46, อ้างถึงใน ส านวน ตาละลักษมณ์, 2547, น. 19) ได้กล่าวถึงความส าคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไว้ว่า 1. เป็นตัวชี้วัดพัฒนาการทางสติปัญญา กล ่าวคือ เด็กที ่มีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ เช่น ทักษะการสังเกต ฯลฯ ย่อมมีพัฒนาการทางสติปัญญาสูง สามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้ดีกว่า 2. เป็นตัวชี้วัดพัฒนาการทางความคิดริเริ ่มสร้างสรรค์ เด็กที ่มีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ดีย่อมมีความคิดสร้างสรรค์ดี สามารถสร้างองค์ความรู้ และประดิษฐกรรมใหม่ ๆ ได้ 3. เป็นองค์ประกอบการเรียนรู้ทุกสาขาวิชา ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในทุก ทักษะไม ่ได้หมายความว ่า ผู้ที ่มีทักษะนั้นจะเรียนรู้ได้ดีในวิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาในแขนง วิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ผู้มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ดีย่อมสามารถเรียนรู้ได้ดีในทุกสาขาวิชา 4. เป็นทักษะที่จ าเป็นในชีวิตประจ าวันและการประกอบอาชีพ ผู้ประสบความส าเร็จ ในการประกอบอาชีพ หรือสามารถเป็นอยู ่ได้ดีในชีวิตประจ าวัน จ าเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ ผู้ใดมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าหรือได้รับการฝึกฝนทางนี้มาดีกว ่าย ่อม ประสบความส าเร็จมากกว่า จงกล ค ามี (2547 : 49) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความส าคัญต่อ การด ารงชีวิตของคนเราทุกคน เพราะเป็นองค์ประกอบของการแสวงหาความรู้และการแก้ปัญหาเพื่อ การด ารงค์ชีวิตที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมและพัฒนาให้แก่เด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยเพื่อที่จะ เป็นทักษะในการแสวงหาความรู้ในขั้นสูงต่อไป กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547 : 177) กล ่าวว ่า การเรียนรู้ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์มีความส าคัญเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เสริมพัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทาง สมองการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผลช่วยให้เกิดความรู้ความ เข้าใจสามารถแก้ปัญหาได้และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพการพัฒนา ทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน 2 ประการ คือ
13 1. ศักยภาพทางปัญญา คือ การสังเกตการคิดการแก้ปัญหาการปรับตัวและการใช้ ภาษา 2. พุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที ่เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้ การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น สิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ หัสชัย สิทธิรักษ์ (2550 : ออนไลน์) กล ่าวว ่า ความส าคัญของทักษะกระบวนการ วิทยาศาสตร์คือ มุ่งฝึกให้นักเรียนเป็นคน คิดเป็นท าเป็นแก้ปัญหาเป็น และรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วย ตนเองเป็นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีระบบ รู้จักค้นคว้าหา ความรู้ได้ด้วยตนเอง คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่อการด ารงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณค่าต่อตนเองและมี ความสุขจะต้องฝึกให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นกิจกรรม การอภิปราย แบ่งกลุ่มค้นคว้า การสาธิต การปฏิบัติจริง และการเล่นบทบาทสมมุติ การใช้โสตทัศนูปกรณ์ การศึกษานอกสถานที่ สถาบันส ่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (2551) กล ่าวว่า วิทยาศาสตร์มีบทบาทส าคัญอย ่างยิ ่งในการด ารงชีวิตของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็น กระบวนการส าคัญที่จะท าให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิด วิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่ส าคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ วิทยาศาสตร์จึงมีความส าคัญต่อเด็กปฐมวัย ดังต่อไปนี้ 1. ช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตจากประสบการณ์ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วย ตนเอง จากการท ากิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งในการท ากิจกรรมเด็กจะต้อง ใช้การคิดการ ค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ช่วยให้เด็กได้ใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2. ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่รู้จักคิด รู้จักค้นคว้า และท าความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เพื่อน ามาเป็นความรู้พื้นฐาน 3. ช่วยให้เด็กรู้จักประโยชน์และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม เข้าใจถึงธรรมชาติ ของการอยู่ร่วมกัน การพึ่งพาอาศัยกัน การรักษาปกป้องทรัพยากรให้คงอยู่ เพื่อการอยู่รอดของ สิ่งมีชีวิตในโลกร่วมกัน 4. ช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่า และมีประโยชน์โดยการเลือกท า กิจกรรมตามความสนใจ และความสามารถเพื่อท าการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
14 5. ช่วยให้เด็กมีอิสระในการคิดการเลือกท ากิจกรรมตามความพอใจ ฝึกให้ เด็กได้ใช้ความพยายามและความสามารถอย่างเต็มที่ 6. ช่วยให้เด็กได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการท างานเพื่อประสาน สัมพันธ์กันท าให้เกิดทักษะในการเคลื่อนไหว 7. ช่วยให้เด็กเป็นคนกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ตอบสนองความ ต้องการตามธรรมชาติตามวัย 8. ช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา วิทยาศาสตร์ช่วยให้พัฒนาการของเด็กเป็นไปตามธรรมชาติอย่างมีระบบและต่อเนื่อง 9. ช่วยตอบสนองธรรมชาติตามวัยของเด็ก เนื่องจากเด็กปฐมวัย มีความ เป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ในตัวอยู่แล้ว เด็กจึงชอบซุกซน ช่างพูด ช่างถาม ชอบค้นหา ค าตอบจากการ ค้นคว้าทดลอง 10. ช่วยให้เด็กเป็นนักคิด นักค้นคว้า ทดลอง อยากเรียนอยากรู้ ในทุก เรื่องส่งเสริมให้เด็กสัมผัสและปฏิบัติด้วยตนเอง จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มีความส าคัญต่อเด็กปฐมวัยเพราะ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม สิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ตามธรรมชาติจาก สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการลงมือปฏิบัติจริงซึ่งจะ ช่วยให้เด็กเป็นคนช ่างสังเกต กล้าคิดกล้าแสดงออกและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ซึ่งการปฏิบัติ กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์การลงมือปฏิบัติจะน าไปสู่วิธีการคิดการแก้ปัญหาและการหาค าตอบด้วย ตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการค้นคว้าทดลองลองผิดลองถูกด้วยตนเอง 3. ประเภทของทักษะกระบวนกำรวิทยำศำสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัยมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให ความเห็นไวต่าง ๆ กัน ดังนี้ เสาวคนธ์ สาเอี่ยม (2537 : 14) ได้ให้ความเห็นว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ สามารถส่งเสริมแก่เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการ แสดงประมาณ ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น
15 พัฒนา ชัชพงศ์ (2539 : 1) กล ่าวว ่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็ก ปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัดและการคาดคะเน ทักษะการ หาความสัมพันธ์มิติ-เวลาทักษะการสรุปการลงความเห็นและทักษะการสื่อความหมาย กุลยา ดันดิผลาชีวะ (2547:173) กล่าวว่า ทักษะพื้นฐานที่ต้องน ามาใช้ ในกระบวนการ วิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การจ าแนก การเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุป น าไปใช้ ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548 : 11) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ควร สงเสริมใหกับเด็กปฐมวัย ได้แก ทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนก ทักษะการวัด ทักษะการหามิติ สัมพันธ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ซึ่งในแต่ละทักษะมีความเชื่อมโยงกันในการใช ทักษะใดทักษะหนึ่งยอมใชทักษะอื่นในการคนควาหาความรูจากขอมูลร่วมกันไปด้วย คณะกรรมการสมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา AAAS (Association For The Advancement of Science) ได้พัฒนาโครงการปรับปรุงการสอน วิทยาศาสตร์ในระดับอนุบาลถึง ระดับประถมศึกษา โดยเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และได้แบ ่งทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ออกเป็น 13 ทักษะ โดยแบ่งเป็น ทักษะขั้นมูลฐาน (Basic Skills) 8 ทักษะ และขั้นสูง หรือขั้นผสม (Integrated Skills) อีก 5 ทักษะ ได้แก่ (รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์. 2541 : 62) ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการสังเกต (Observing) 2. ทักษะการวัด (Measuring) 3. ทักษะการจ าแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ (Classifying) 4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Using Space/Relationships) 5. ทักษะการใช้ตัวเลข (Using Numbers) 6. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล (Communication) 7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) 8. ทักษะการพยากรณ์(Predicting) ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) 2. ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables) 3. ทักษะการตีความและลงข้อสรุป (Interpreting Data) 4. ทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) 5. ทักษะการทดลอง (Experimenting)
16 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science Skill) เป็นทักษะ ทางสติปัญญาที่ นักวิทยาศาสตร์และผู้ที ่หาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหา น ามาใช้ในการศึกษาค้นคว้า สืบ เสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้กับเด็ก ปฐมวัย มีดังต่อไปนี้ (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2551 : 97) 1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หูจมูก ลิ้น ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรง กับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อ ค้นหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความเห็น ของผู้สังเกตลงไป 2. ทักษะการจ าแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวก หรือเรียงล าดับ วัตถุหรือสิ ่งที ่มีอยู ่ในปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์ซึ ่งอาจเป็นความเหมือน ความแตกต ่างหรือ ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 3. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้เครื่องมือ ท าการวัดหาปริมาณ ของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสม 4. ทักษะการใช้ตัวเลข (Using Numbers) หมายถึง ความสามารถ ในการน าตัวเลขที่ แสดงจ านวนที่นับได้มาคิดค านวณ โดยการบวก ลบ คูณ หาร โดยตัวเลขที่ แสดงค่าปริมาณของสิ่งใด สิ ่งหนึ ่ง ซึ ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง ตัวเลขที ่ได้จะต้องแสดงค ่าในหน ่วยเดียวกัน เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ตรงตามต้องการ สามารถนับ จ านวน และใช้ตัวเลขแสดงจ านวนที่นับได้ ตัดสินได้ว่าจ านวนใดมีมาก มีน้อย จ านวนใด เท่ากัน หรือแตกต่างกัน 5. ทักษาพยากรณ์(Predicting) หมายถึง การคาดคะเนค าตอบ ล ่วงหน้าก ่อนจะ ทดลอง โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดซ ้า หลักการที่เกิดซ ้า หลักการกฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่อง นั้นมาช่วยสรุป 6. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็น ให้กับข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย 7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว ่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Using Space/Time Relationships) หมายถึง การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติของวัตถุระหว่างต าแหน่งที่ อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งและระหว่างการเปลี่ยนต าแหน่ง หรือมิติของวัตถุกับเวลาที่เปลี่ยนไป 8. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communicating) หมายถึง การน าข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระท าเสียใหม่และน าเสนอเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย สมาคมความก้าวหนาทางวิทยาศาสตร์(American Association for the Advancement of Science-AAAS) (ออนไลน์: https://sites.google.com/a/wr.ac.th/chatre )
17 ก าหนดจุดมุ่งหมายของการใชกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรูทั้งสิ้น 13 ทักษะ 1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับ วัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ลงความเห็นของผู้สังเกต 2. ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหา ปริมาณของสิ ่งต ่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และ ความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องรวดเร็วและใกล้เคียงกับความจริงพร้อมทั้งมี หน่วยก๋ากับเสมอ 3. ทักษะการค านวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระท ากับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การ ทดลองโดยตรง หรือจากแหล่งอื่น ตัวเลขที่ค านวณนั้นต้องแสดงค่าปริมาณในหน่วยเดียวกัน ตัวเลข ใหม่ที่ได้จากการค านวณจะช่วยให้สื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการและชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ทักษะการจ าแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัด จ าแนกหรือเรียงล าดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการ จัดจ าแนก เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Space/space Relationship and Space/Time Relationship) สเปส (Space) ของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างบริเวณที่ วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไป สเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ (Dimensions) ได้แก ่ ความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัตถุ ทักษะการหา ความสัมพันธ์ระหว ่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา หมายถึง ความสามารถในการ ระบุ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ 2) สิ่งที่อยู่หน้ากระจก เงากับภาพที่ปรากฏจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร 3) ต าแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุ หนึ่ง 4) การเปลี่ยนแปลงต าแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลา หรือสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับเวลา 6. ทักษะก า รจัดกระท าและสื่อคว ามหม ายข้อมูล (Organizing data and Communication) หมายถึง ความสามารถในการน าข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระท าใหม่โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงล าดับ การแยกประเภท หรือ ค านวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจมากขึ้น อาจน าเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เป็นต้น
18 7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการ อธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจ ได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง ค าอธิบายนั้นได้มาจากความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้ สังเกตที่พยายามโยงบางส่วนที่เป็นความรู้หรือประสบการณ์เดิมให้มาสัมพันธ์กับข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ 8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) หมายถึง ความสามารถในการท านายหรือ คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ ้า ๆ หรือความรู้ที่เป็น หลักการ กฎ ทฤษฎีในเรื ่องนั้นมาช ่วยในการท านาย การท านายอาจท าได้ภายในขอบเขตข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตข้อมูล (Extrapolating) 9. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating hypothesis) หมายถึง ความสามารถใน การให้ค าอธิบายเป็นค าตอบล่วงหน้าก่อนที่จะด าเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริง ในเรื่องนั้น ๆ ต่อไป สมมุติฐานเป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน ซึ่งอาจเป็นค าอธิบายของสิ่งที่ ไม่ สามารถตรวจสอบโดยการสังเกต หรืออาจเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ที่คาดคะเนว่าจะ เกิดขึ้น ระหว ่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ข้อความของสมมุติฐานนี้สร้างขึ้นโดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน การคาดคะเนค าตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบหรือยังไม่เป็นหลักการ ทฤษฎีมาก่อน ข้อความสมมติฐานต้องสามารถตรวจสอบโดยการทดลองและแก้ไขเมื่อมีความรู้ใหม่ได้ 10. ทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Definning operationally) หมายถึง ความสามารถในการก าหนดความหมาย ขอบเขตของค าหรือตัวแปรต ่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกัน และ สามารถสังเกตและวัดได้ ค านิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นความหมายของศัพท์เฉพาะ เป็นภาษาง่าย ๆ ชัดเจน ไม่ก ากวม ระบุสิ่งที่สังเกตได้ และระบุการกระท าอาจเป็น การวัด การทดสอบ การทดลอง ไว้ ด้วย 11. ทักษะการก าหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมุติฐานหนึ่ง การควบคุมตัว แปรนั้นเป็นการควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่จะท าให้ผลการทดลอง คลาดเคลื่อน ถ้า หากว่าไม่ควบคุมให้เหมือนกัน 12. ทักษะการทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื ่อหา ค าตอบหรือทดลองสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ 12.1 การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองกอนลงมือ ทดลองจริง เพื ่อก าหนดวิธีการด าเนินการทดลองซึ ่งเกี ่ยวกับการก าหนดวิธีด าเนินการทดลองซึ่ง เกี่ยวกับการก าหนดและควบคุมตัวแปรและวัสดุอุปกรณ์ที่ตองการใชในการทดลอง 12.2 การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริง ๆ
19 12.3 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกที่ได้จากการทดลอง ซึ่งอาจ เป็นผลของการสังเกต การวัด และอื่น ๆ 13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสร ุป ( Interpretting data and Conclusion) หมายถึง ความสามารถในการบอกความหมายของข้อมูลที ่ได้จัดกระท า และอยู ่ใน รูปแบบที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว ซึ่งอาจอยู่ในรูปตาราง กราฟ แผนภูมิหรือรูปภาพต่าง ๆ รวมทั้ง ความสามารถในการบอกความหมายข้อมูลในเชิงสถิติด้วย และสามารถลงข้อสรุปโดยการ เอา ความหมายของข้อมูลที่ได้ทั้งหมด สรุปให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ ต้องการ ศึกษาภายในขอบเขตของการทดลองนั้น ๆ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการการ เรียนรู้ (2560 : 103) กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์น ามาใช้เพื่อสืบเสาะหาความรู้ สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ขั้นคือ ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา ทักษะ การใช้จ านวน ทักษะการจัดกระท าและ สื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์ขั้นผสม ได้แก่ ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการก าหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ทักษะการก าหนดและควบคุมตัวแปร ทักษะการทดลอง ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะการสร้างแบบจ าลอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เลือกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งในการ ท าการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือก 1. ทักษะการสังเกต 2. ทักษะการจ าแนกและ 3. ทักษะการสื่อ ความหมายข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 4. ทักษะกำรสังเกต 4.1 ควำมหมำยของกำรสังเกต ทักษะการสังเกตได้มีนักการศึกษาให้ความหมายการสังเกต มีดังนี้ ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 15) กล่าวว่า การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก ตา หูจมูก ลิ้น และ ผิวกายเขาไป สัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณต่าง ๆ วรรณทิพา รอดแรงคา และพิมพันธ เดชะคุปต (2542 : 3) กล ่าวว ่า การสังเกต หมายถึง การใชประสารทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก ตา หูจมูก ลิ้น ผิว กาย เขาไปในสัมผัสตรงกับวัตถุหรือเหตุการณเมื่อคนหาขอมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น โดยไม่ใส ความเห็นของผู้สังเกตลงไป ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและ คุณสมบัติ
20 ยุพา วีระไวทยะ และปรียา นพคุณ (2544 : 90) กล ่าวว ่า การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใชประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างเพื่อหาขอมูลหรือรายละเอียดของ สิ่งต่าง ๆ พิมพันธ เดชะคุปต์(2545 : 10) กล่าวว่า การสังเกต คือ การสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไดแก ตา หูจมูก ลิ้นและกายสัมผัส เขาสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ ปรากฏการณโดยมีจุดประสงคที่จะหาขอมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ประสาท เนืองเฉลิม (2545 : 24) กล่าวว่า การสังเกต หมายถึง การใชประสาท สัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไดแก ตา หูจมูก ลิ้น ผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรง กับวัตถุ หรือเหตุการณเพื่อคนหาขอมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ทัศนีย์ ประธาน และคณะ (2549 : 27) กล่าวไว้ว่า ทักษะการสังเกต หมายถึง ความ ช านาญในการใช้อวัยวะรับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดค้นหาเกี่ยวกับเหตุการณ์และสมบัติ ต่าง ๆ ของวัตถุ เช่น สี ขนาด และรูปร่าง ในการใช้ทักษะการสังเกตนั้น เราควรได้เรียนรู้ว่าอวัยวะรับ ความรู้สึกแต่ละอย่างนั้นช่วยในการสังเกต ลักษณะและสมบัติของวัตถุการเปลี่ยนแปลงของวัตถุทั้งที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีผู้ท าให้เกิดข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการกะประมาณ การมองเห็นเป็น การสังเกต ที่สายตาช่วยในการสังเกตลักษณะและสมบัติของวัตถุ เช่น ขนาด รูปร่าง และสีของวัตถุ และสังเกตว่าวัตถุเหล่านั้นอาจมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างไร การได้ยิน เป็นการสังเกตที่ใช้หูช่วยในการ สังเกตลักษณะและสมบัติของวัตถุ เช่น ความดัง ระดับเสียง และจังหวะของเสียง การสัมภาษณ์เป็น การสังเกตที่ใช้ผิวกายช่วยในการสังเกตถึงความหมาย หรือความละเอียด ของเนื้อวัตถุรวมถึงขนาด และรูปร่างของวัตถุอีกด้วย การชิมเป็นการสังเกตที่ใช้ลิ้นช่วย ในการสังเกตสมบัติของสิ่งนั้นว่ามีรสขม เค็ม เปรี้ยว และหวานอย่างไร การได้กลิ่น เป็นการสังเกตที่ใช้จมูกช่วยในการสังเกตความสัมพันธ์ของ วัตถุดิบกับกลิ่นที่ได้พบนั้น แต่เนื่องจากการบรรยายเกี่ยวกับกลิ่นเป็นเรื่องยาก จึงมักบอกในลักษณะที่ แสดงความสัมพันธ์ของกลิ่นที่ได้รับนั้นกับกลิ่นของวัตถุที่คุ้นเคย เช่น กลิ่นกล้วยหอม กลิ่นมะนาว กลิ่นชา และกลิ่นกาแฟ เป็นต้น สรวงพร กุศลส่ง (2553 : 139) กล่าวว่า ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถใน การใช้ประสาทสัมผัสอย ่างใดอย ่างหนึ ่งหรือหลายอย ่างรวมกัน เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูล จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การสังเกต หมายถึง การใชประสาท สัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอยงรวมกัน เขาสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณเพื่อคนหาขอมูลหรือรายละเอียดของ สิ่งนั้นโดยไม่ใส่ความคิดเห็นลงไป
21 4.2 หลักในกำรสังเกต ธงชัย ชิวปรีชา และทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ (2539 : 60) กล่าวว่า การฝึกการสังเกตควร ค านึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. จะต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่น ๆ ร่วมด้วยไม่ใช่ใช้เฉพาะตาดูเพียงอย่างเดียว 2. สังเกตเชิงปริมาณทุกครั้งถ้าเป็นไปได้ 3. ต้องสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงด้วย 4. การสังเกตและการลงความเห็นเป็นคนละเรื่องกัน ยุพา วีระไวทยะและปรีชา นพคุณ (2544 : 90) กล ่าวถึง สิ ่งที ่ครูต้องให้นักเรียน ค านึงถึงในการสังเกต 1. สังเกตสิ่งต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ 2. สังเกตหลายๆ ครั้ง และใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างประกอบกัน 3. ข้อมูลจากการสังเกตต้องไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป สรศักดิ์ แพรด า (2544 : 66 - 67) กล่าวว่า การสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ใด ๆ ควร ค านึง คือ 1. การสังเกต ในการค้นหารายละเอียดควรใช้ประสาทตา หู จมูก ลิ้นและผิวกายเข้า ไปสัมผัสกับสิ่งที่สังเกต ไม่ใช่ใช้ตาอย่างเดียว ดังนั้นผู้สังเกตควรใช้ประสาทสัมผัสดังนี้ 1.1 ตา ดูสิ่งต่าง ๆ มีรูปร่างกลม รี เหลี่ยม สีแดง สีเหลือง 1.2 จมูก ดมกลิ่นว่าสิ่งนั้นมีกลิ่นหอม กลิ่นคล้ายผลไม้ 1.3 หู ฟังเสียงจากสิ่งต่าง ๆ ที่ก าลังเกิดขึ้นหรือท าให้เกิดเสียง เช่น เสียงแหลม และทุ้ม 1.4 ลิ้น ชิมรส จากสิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้มือลูบหรือแตะ ว่ามีลักษณะหยาบ เรียบ นุ่ม ขรุขระ 2. การสังเกต ต้องเป็นข้อมูลเชิงปริมาณทุกครั้ง เป็นการกะประมาณหรือใช้หน ่วย มาตรฐาน 3. การสังเกต สังเกตมูลการเปลี่ยนแปลง 4. การสังเกต ต้องมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้น โดยไม่ใส่ความคิดเห็นผู้ สังเกตไปด้วย ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548 : 12) หลักการสังเกตในการค้นหารายละเอียดควรใช้ ประสาทสัมผัสหลายอย่างประกอบในการสังเกตสิ่งต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้นและผิวกาย ไม่ใช้อย่าง เดียว สังเกตตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
22 จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า หลักในการสังเกต คือ การสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและกายสัมผัสในการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงตามวัตถุประสงค์และสังเกตหลาย ๆ ครั้ง และในการสังเกตต้องไม่ใส่ความคิดเห็นลงไป 5. ทักษะกำรจ ำแนก 5.1 ควำมหมำยของกำรจ ำแนก รุจิระ สุภรณไพบูลย (2539 : 63 - 64) กล่าวว่า การจ าแนกประเภท หมายถึง การแบ่ง พวกหรือการเรียงล าดับวัตถุหรือสิ่งที่อยูในปรากฏการณโดยการหาเกณฑหรือสร้างเกณฑในการจัด พวก ซึ่งอาจจะเป็นเกณฑความเหมือนความต่างกันหรือความสัมพันธอย่างใดอย่างหนึ่ง ทักษะการจ าแนกเป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจความหมายของการจ าแนก สามารถระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการจ าแนก และการจ าแนกของสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่ก าหนดขึ้นเอง (วรรณทิพา รอดแรงค้าและพิมพันธ์ เดชะคุปต์. 2542 : 30) สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2543 : 21 - 23) กล่าวว่า ทักษะการจ าแนก เป็นความสามารถ ในการแบ่งหรือจัด หรือจัดเรียงวัตถุ หรือเหตุการณ์ออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้เกณฑ์การเปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่างและความสัมพันธ์ ยุพา วีระไวทยะและปรียา นพคุณ (2544 : 96) กล ่าวว ่า การจ าแนก หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวกหรือเรียงล าดับสิ่งของโดยมีเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ประสาท เนื ่องเฉลิม (2544 : 96) กล ่าวว ่า การจ าแนก หมายถึง การแบ ่งพวกหรือ เรียงล าดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ในปรากฏการณ์โดยเกณฑ์ ความสามารถที่แสดงให้เห็นได้แก่การแบ่ง พวกของสิ่งต่าง ๆ จากเกณฑ์ที่ผู้อื่นก าหนดให้ได้ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2547ก : 173) กล ่าวว ่า การจ าแนกเปรียบเทียบเป็นทักษะ พื้นฐานที ่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ ่งในการจ าแนกเด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อ แตกต ่างของคุณสมบัติถ้าเด็กเล็กมากเด็กอาจจ าแนกสี หรือจ าแนกรูปร ่างก็ได้ การจ าแนกหรือ เปรียบเทียบส าหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นเป็นรูปธรรมเด็กจึงท าได้ ณัชชุดา สาครเจริญ (2548: 14) กล่าวว่า การจ าแนก หมายถึง ความสามารถ ในการ จัดแบ่งหรือเรียงล าดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ออกเป็นพวก ๆ โดยมีเกณฑ์ในการ จัดแบ่งซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณามี 3 ประการคือ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์ ทัศนีย์ ประธาน และคณะ (2549 : 28) ได้ให้ความหมายของทักษะการจ าแนกประเภท ไว้ว่า ทักษะการจ าแนกประเภท หมายถึง ความช านาญในการจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วมของสถานที่ ความคิดหรือเหตุการณ์และสมบัติบางประการของ วัตถุนั้นเป็นเกณฑ์ การจ าแนกประเภทเป็นสิ่งที่ส าคัญมากในทางวิทยาศาสตร์เพราะท าให้สะดวกใน
23 การศึกษาค้นคว้า และยังท าให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ อีกด้วย โดยทั่วไปการจ าแนกประเภทจะต้องก าหนด เกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณา (ความเหมือน ความแตกต่าง ความสัมพันธ์) การแบ่งประเภทของสิ่งของ เกณฑ์ที่ใช้มักเป็นสี ขนาด รูปร่าง ลักษณะ ผิววัสดุที่ใช้ ราคา ฯลฯ ส่วนพวกสิ่งมีชีวิตมักจะใช้เกณฑ์ ลักษณะของสิ่งมีชีวิต เช่น อาหาร ลักษณะ ที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์ เป็นต้น พฤติกรรมที่ แสดงว่าเกิดทักษะการจ าแนกประเภทจะต้องมีความสามารถ ดังต่อไปนี้ 1. เรียงล าดับหรือแบ่งพวกสิ่งต่าง ๆ จากเกณฑ์ที่ผู้อื่นก าหนดให้ได้ 2. เรียงล าดับหรือแบ่งพวกสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ของตนเองได้ 3. บอกเกณฑ์ที่ผู้อื่นใช้เรียงล าดับหรือแบ่งพวกได้ สรวงพร กุศลส ่ง (2553 : 139) กล ่าวว ่า ทักษะการน าแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการจ าแนก จัดกลุ ่มหรือจัดหมวดหมู ่ เรียงล าดับของวัตถุและสิ่งต ่าง ๆ ที ่อยู ่ใน สภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กได้พบโดยมีลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกันและสัมพันธ์ กัน ซึ่งเด็กสามารถจ าแนกได้และน าเสนอข้อมูลบอกเกณฑ์และวิธีการในการจ าแนกวัตถุต่าง ๆ จากที่กล่าวมาสรุปได้วา ทักษะการจ าแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการจัด แบงแยกออกเป็นกลุ่ม เปนพวกหรือเป็นหมวดหมูโดยพิจารณาจากเกณฑความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธอย่างใดอย่างหนึ ่ง โดยการจ าแนกหรือเปรียบเทียบส าหรับเด็กปฐมวัยตองใช้ คุณสมบัติหยาบๆ เห็นเป็นรูปธรรม 5.2 กำรก ำหนดเกณฑ์ในกำรจ ำแนก สุวัฒก นิยมคา (2531 : 182) ได้กล่าวว่า การจ าแนกตองมีเกณฑเมื่อจ าแนกแลวสอง กลุ่มนั้นจะตองมีคุณสมบัติบางอย่างแตกต่างกัน และของอยูในกลุมเดียวกัน จะตองมีคุณสมบัติเฉพาะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันตามเกณฑก าหนด สุรางค สากร (2537 : 68) กล่าวว่า การจ าแนกอาจท าได้หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ เกณฑที่ก าหนด เชน การแบงสิ่งของ เกณฑที่ใชสีขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว วัสดุที่ใชท า ราคา ส่วน สิ่งมีชีวิตมักใช้ลักษณะการด ารงชีวิตเป็นเกณฑ์เช่น อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุและประ โยชนจากสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ สรศักดิ์แพรด า (2544 : 92) กล ่าวว ่า ความสามารถในการจ าแนกสามารถก าหนด เกณฑ์ได้ 4 วิธี คือ 1. ผู้เรียนก าหนดเกณฑ์ขึ้นเอง หรือเรียกว่า “เกณฑ์ของตนเอง” เมื่อวัตถุหรือ เหตุการณ์หลายอย่างรวมกันอยู่ ผู้เรียนสามารถจัดแยกสิ่งเหล่านั้นได้ 2. ผู้อื ่นก าหนดเกณฑ์มาให้ หรือเรียกว ่า “เกณฑ์ของผู้อื ่น” เป็นการก าหนด เกณฑ์ที่ใช้ในการจ าแนกมาให้โดยผู้อื่น ผู้เรียนสามารถจัดวัตถุหรือเหตุการณ์แต่ละอย่างเข้าหมวดหมู่ ได้
24 3. ผู้อื่นจ าแนกมากให้แล้ว เป็นการจัดวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ไว้แล้ว ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่า ผู้อื่นจ าแนกประเภทโดยใช้อะไรเป็นเกณฑ์ 4. การจัดเรียงล าดับ เมื่อก าหนดข้อมูลหรือวัตถุชุดหนึ่งมาให้ ผู้เรียนสามารถจัด เรียงล าดับได้ถูกต้อง การจ าแนกสามารถจัดท าเพื่อหาข้อสรุปในการจ าแนกประเภทนั้น การใช้เกณฑ์อย่าง ใดอย ่างหนึ ่งแยกวัตถุหรือเหตุการณ์เป็น 2 พวกก ่อน ถ้าต้องการความชัดเจนของข้อมูลหรือ เหตุการณ์นั้น ๆ ใช้เกณฑ์ในการจ าแนกต่อไปอีก แต่ต้องแบ่งเป็น 2 พวกเสมอ ควรถือหลักกว้าง ๆ ไว้ ว่า เราใช้วิธีหรือหลักการใด ควรระบุและสามารถแยกประเภทวัตถุหรือเหตุการณ์ได้อย่างเด็ดขาด ไม่ ควรก ้ากึ่งจะท าให้เกิดความสับสน ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548 : 14) กล่าวว่า เกณฑ์ในการจ าแนก ประกอบด้วย เกณฑ์ ของตนเอง เกณฑ์ของผู้อื่น ผู้อื่นก าหนดเกณฑ์ให้ด้วย การจัดเรียงล าดับ การใช้เกณฑ์อย่าง ใดอย่าง หนึ่งแยกวัตถุ หรือเหตุการณ์เป็น 2 พวกก่อนถ้าต้องการความชัดเจนของข้อมูลนั้น ๆ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า เกณฑในการจ าแนก เป็นกระบวนการที่เด็กปฐมวัยสามารถจัด กลุ่มวัตถุออกเป็นกลุ่ม และสามารถท าได้ลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเกณฑที่ก าหนด เพื่อใหการจ าแนก ประเภทมีความชัดเจนต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มก่อน 6. ทักษะกำรสื่อสำร 6.1 ควำมหมำยของกำรสื่อสำร ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 20) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการน า ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระท าเสียใหม่โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเรียงล าดับ จัดแยกประเภทหรือค านวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย ข้อมูลชุดนั้น ดีขึ้น โดยอาจน าเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เขียนบรรยาย สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ (2543 :25) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการน า ข้อมูลซึ่งได้จากการสังเกต การทดลอง การวัด และการคิดค านวณ มาจัด กระท าใหม่เพื่อสื่อสารให้ เข้าใจยิ่งขึ้นโดยการด าเนินการใน 2 ลักษณะ คือ ข้อมูลตัวเลข และข้อมูลที่เป็นการบรรยาย อาจ น าเสนอในรูปของการพูดและภาษาเขียน พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2545 : 11) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ ความสามารถในการน าข้อมูล ดิบที่ได้จากการสังเกต การทดลองหรือจากแหล่งอื ่นที่มีข้อมูลดิบอยู ่แล้วมาจัดกระท าใหม ่ อาศัย วิธีการต่าง ๆ กระท าใหม่อาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงล าดับ การแยกประเภท การหาค่าเฉลี่ย เป็นต้น และน าข้อมูลที่ได้จัดกระท าแล้วนั้นมาเสนอหรือแสดงให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของข้อมูล ชุดนั้นดีขึ้น โดยเสนอด้วยแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผ่นภาพ กราฟ สมการ เป็นต้น
25 ประสาท เนื่องเฉลิม (2545: 24) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การน าข้อมูลที่ได้จาก การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระท าเสียใหม่ โดยมุ่งสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมายได้ ก ุลยา ตันติผลาชีวะ (2547: 173) กล ่าวว ่า ทักษะการสื ่อสารจ าเป็นมากใน กระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้สังเกต จ าแนก เปรียบเทียบหรือ วัด เป็นหรือไม่เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่ง กันและกันอภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548: 19) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการน า ข้อมูลที ่ได้จากการสังเกต การทดลอง หรือจากแหล ่งอื ่นที ่มีข้อมูลอยู ่แล้วมาจัดท าใหม ่โดยอาศัย วิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงล าดับ การแยกประเภท การหาค่าเฉลี่ย เป็นต้น แล้วน าข้อมูลที่ได้มา น าเสนอให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลซึ่งวิธีการน าเสนออาจอยู่ในรูปของตาราง แผนภูมิ กราฟ เป็นต้น รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ (2548 : 64) ได้กล่าวว่าการสื่อความหมาย หมายถึง การน าเอา ข้อมูลซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง มาจัดกระท าเสียใหม่ เช่น น ามาเรียงล าดับหาความถี่ แยกประเภทค านวณหาค่าใหม่ และน ามาจัดเสนอในรูปใหม่ เช่น รูป กราฟ ตาราง แผนภูมิ หรืออย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ อย่าง ทัศนีย์ ประธาน และคณะ (2549 : 29) ได้กล่าวไว้ว่าทักษะ การจัดกระท าและการสื่อ ความหมายข้อมูล หมายถึง ความช านาญในการน าข้อมูล ที่ได้จากการสังเกตมาเสนอในรูปที่ท าให้ ผู้อื่นเข้าใจได้ การสื่อความหมายข้อมูลอาจอยู่ในรูปของการวาดรูป การแสดงแผนภาพ แผนที่ ตาราง กราฟ หรือใช้ภาษาเขียนบันทึกข้อมูล ที่ได้จากวัตถุหรือเหตุการณ์นั้น ๆ วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2551 : 5) ได้กล ่าวว ่าการสื่อ ความหมาย หมายถึง การน าข้อมูลที่ได้จาก การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มา จัดกระท าเสียใหม่ โดยการจัดหาความถี่ เรียงล าดับ จัดแยกประเภท หรือค านวณค่าใหม่ ให้ผู้อื่น เข้าใจความหมายได้ดีขึ้น โดยอาจเสนอ ในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ สมการ การเขียนบรรยาย เป็นต้น จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการน าขอมูลที่ได้จาก การสังเกต การทดลอง การวัด หรือจากแหล่งอื่นที่มีขอมูลอยูแลวมาจัดท าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมายได้ดีขึ้นโดยอาจน าเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ สมการ เขียนบรรยาย การวาดรูป แผนที่ หรือใช้ภาษาเขียนบันทึกข้อมูล
26 6.2 ประโยชน์ของกำรสื่อสำร สรศักดิ์ แพรด า (2544 : 223) กล่าวว่า การสื่อความหมาย มีประโยชน์ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ชัดเจนและรวดเร็ว 2. ช่วยในการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับการจราจร 3. ช่วยในการท าแผนที่ แผนภาพ แผนภูมิ ตารางและกราฟ 4. ช่วยในการเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ 5. ช่วยในการรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นระเบียบและสะดวกต่อการ คึกษา ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548 : 20) การสื่อสาร มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อคนเราในการ ด ารงชีวิตประจ าวันในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับการจราจรการท าแผนที่ แผนภูมิ ตารางและกราฟ การเดินทางท่องเที่ยว และสะดวกในการรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การสื่อสาร มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการด ารงชีวิตในประจ าวัน ได้ แก การสื่อสารช่วยใหผู้อื่นเขาใจในข้อมูลที่ได้รับอย่างถูกตองชัดเจน ท าให้ผู้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว เป็น เครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ได้ผลดีและสามารถน าขอมูลที่ได้ปรับใชในชีวิตประจ าวันได้ เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกำรจัดกิจกรรมประกอบอำหำร 1. ควำมหมำยกำรจัดกิจกรรมประกอบอำหำร นักการศึกษากล่าวถึงความหมายของการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ไว้ดังนี้ วนิดา บุณยะ (2532 : 5-6) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการ หมายถึง การประสบการณ์หรือกิจกรรม โดยการให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรงโดยการทดลองท า ปฏิบัติสืบเสาะ ข้อมูล คิดค้น สรุปผล โดยใช้สื่อวัสดุที่สามารถท าให้เด็กเกิดการรับรู้ได้ด้วยประสาท สัมผัสทั้ง 5 และ ในการปฏิบัติการมีขั้นตอน 3 ขั้น คือ ขั้นน า ขั้นปฏิบัติ ขั้นสรุปผล วไลพร พงษศรีทัศน (2533 : 6) และบุญประจักษ วงษมงคล (2533: 8) กล่าวว่า กิจกรรมประกอบอาหารเป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสใหเด็กได้ลงมือทดลองปฏิบัติด้วยตนเองจาก ของจริง โดยใชประสาทสัมผัสในการเรียนรู ปวีณา (นามแฝง) (2539: 113) กล่าวว่า กิจกรรมการประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่ ท าใหเด็กได้รูจักคิด ลงมือท า และน าไปสู่ผลลัพธ์ด้วยตัวของเด็กเอง ซึ่งเป็นรากฐาน ส าคัญตอการคิด และเรียนรูเรื่องอื่น ๆ ด้วย
27 พร พันธุ์โอสถ (2543) กล่าวว่า การประกอบอาหารจะช่วยให้เด็กเรียนรู้พร้อม ๆ ไป กับพัฒนาเจตจ านงของตน ส าหรับเด็กแล้วการแปรเปลี่ยนจากเมล็ดข้าวแข็ง ๆ มาเป็นผงแป้งหรือเป็น น ้า และท้ายที ่สุดกลับกลายเป็นอาหารหรือกลายเป็นขนมหวานหลายรูปแบบ กล ่าวได้ว ่าเป็น กระบวนการที ่น ่าอัศจรรย์ใจ ชวนตื ่นเต้น ด้วยเหตุนี้เด็กจึงใจจดใจจ ่อ เรียนรู้ไปกับกระบวนการ ท าอาหารจนกลายมาเป็นอาหารให้เด็กรับประทาน และพัฒนาขึ้นมาเป็นพลังเจตจ านงภายในตัวเด็ก ภายหลัง สนอง สุทธาอามาตย์ (2545) กล่าวว่า กิจกรรมประกอบอาหาร เป็นการจัดกิจกรรม หรือประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทดลอง และปฏิบัติการด้วยตนเองจากของจริง โดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้ เด็กได้เรียนรู้จากกระบวนในการท างาน รู้จักคิด ลงมือท า และ น าไปสู่ผลลัพธ์ด้วยตัวของเด็กเอง กรมวิชาการ (2546 : 37) ได้กล่าวถึง การจัดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองเป็นการสอนที่ ท าให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เพราะเด็กได้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สังเกตเห็นการ เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ตนเองทดลอง เป็นการฝึกทักษะการสังเกต การคิดแก้ปัญหา และส่งเสริมให้เด็กมี ความอยากรู้อยากเห็นและค้นพบข้อความรู้ด้วยตนเอง เช ่น การประกอบอาหาร การทดลอง วิทยาศาสตร์อย่างง่าย ๆ การเลี้ยงหนอนผีเสื้อ และการปลูกพืช กาญจนา สิงหเรศร์ (2551) กล่าวว่า กิจกรรมประกอบอาหาร เป็นการจัดกิจกรรมหรือ ประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือท า และปฏิบัติการด้วยตัวเองจากของจริง โดยใช้ประสาท สัมผัสทั้งห้า ในการเรียนรู้เด็กได้รู้จักกระบวนการในการท างาน รู้จักคิด ลงมือท า และน าไปสู่ ผลลัพธ์ ด้วยตัวของเด็กเอง สุดารัตน์ เปรมชื่น (2551) กล่าวว่า กิจกรรมประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาส ให้ เด็กได้ลงมือกระท าด้วยตนเองจากของจริง ฝึกให้เด็กรู้จักการวางแผนในการท างาน การท างาน ร่วมกับผู้อื่น และเด็กยังเกิดความภูมิใจในผลงานของตนเองอีกด้วย บ้านรักเนอร์สเซอรี่ (Banruknursery, ม.ป.ป. ออนไลน์) กล่าวว่า กิจกรรมประกอบ อาหาร คือ การจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที ่เป็นรูปธรรมผ ่านขั้นตอน และ กระบวนการประกอบอาหารประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เกิด ความคิดรวบยอดและพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อย่างสมดุล จากการได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการเรียนรู้ จนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังปลูกฝังเด็กให้เด็กมี พฤติกรรมทางด้านสุขภาพ สุขอนามัยและโภชนาการที่ดี จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า กิจกรรมประกอบอาหาร เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือทดลอง และปฏิบัติการด้วยตนเองจากของจริง โดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการเรียนรู้ท าใหเด็กได้รูจักคิด ลงมือท า และน าไปสู่ผลลัพธ์ด้วยตัวของเด็กเอง
28 2. ประโยชนของกำรจัดประสบกำรณกำรประกอบอำหำร การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและเร้าความสนใจในการเรียนรูของเด็ก ปฐมวัยเป็นอย่างดีกิจกรรมนี้ไม่มีวัตถุประสงคเพื่อผลงานหรืออาหารที่ท าเสร็จแต่อยู่กระบวนการ ระหว่างการท ากิจกรรมเป็นส าคัญ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 7) ได้ก าหนดจุดมุ่งหมายของการ จัดประสบการณการประกอบอาหารไว ดังนี้ 1. สนุกสนาน ปลูกฝงใหเด็กรักการท างาน 2. ได้สังเกตกระบวนการเปลี่ยนแปลง 3. สร้างทัศนคติที่ดีในการรับประทานอาหาร 4. สงเสริมพัฒนาการทั้งทางดนร่างกาย อารมณ จิตใจ สังคม และสติปัญญา 5. ฝกการใชประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก การสังเกต การชิมรส การดมกลิ่น การฟัง เสียงที่เกิดขึ้น การสัมผัส 6. รูจักขั้นตอนการเตรียม การจัดเก็บ และท าความสะอาด 7. รูจักมารยาทในการรับประทานอาหาร 8. เรียนรูทางสังคม พัฒนาพฤติกรรมการร่วมมือ และทักษะทางสังคม การมีส่วน ร่วมในกิจกรรมกลุ่ม เรียนรูจากเพื่อน และใหค าแนะน าแกเพื่อน นิตยา ประพฤติกิจ (2539 : 41 - 42) กล่าวไววา การจัดประสบการณการประกอบ อาหารมีสวนช่วยใหเด็กเรียนรูด้านต่าง ๆ ดังตอไปนี้ 1. ภาษา เด็กได้อภิปรายเกี่ยวกับการวางแผนร่วมกันไดฟังและปฏิบัติตามวิธีท า ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ ได้อ่านสูตร และวิธีท า 2. สังคมศึกษา เด็กได้เรียนรูเกี่ยวกับกิจกรรมที่บ้านได้ท างานเป็นกลุม ได้เรียนรู้ ว่าอาหารมาจากไหน และขนสงมาได้อย่างไร 3. วิทยาศาสตร์ได้เรียนรูวาอาหารได้มาจากอะไรบ้าง และมีการเปลี่ยนรูปร่าง อย่างไร 4. คณิตศาสตร์ได้ชั่งตวงวัดเครื่องปรุง ได้เขาใจเรื่องปริมาณ และการซื้อขาย 5. สุขภาพและความปลอดภัย เด็กเขาใจวามีอาหารหลายชนิดที่ช่วยให้ร่างกาย เติบโต เขาใจวาการท าอาหารสามารถท าได้อย่างปลอดภัย เด็กได้ฝกฝนเกี่ยวกับการสร้างสุขนิสัยที่ดี เชน การลางมือ การล้างภาชนะ อีกทั้งยังช่วยใหเด็กเกิดภาพพจนที่ดีเกี่ยวกับตนเอง เพราะได้ท าสิ่งที่ มีคุณประโยชน
29 วาศิล (นามแฝง) (2543 : 27 - 29) กล่าวไววา การจัดประสบการณการประกอบ อาหารท าใหเด็กสามารถเรียนรูในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ด้านร่างกาย ไดเคลื่อนไหวสวนต่าง ๆ ของร่างกายขณะท ากิจกรรม ได้พัฒนา กล้ามเนื้อเล็ก เชน ในขณะที่หั่นผัก 2. ด้านอารมณ เด็ก ๆ มีความสุขขณะที่ได้ลงมือท ากิจกรรมด้วยตนเอง รูจักรอ คอย เชน คอยอาหารสุข 3. ด้านสังคม เมื่อท าอาหารร่วมกับเพื่อนก็ตองเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ ร่วมมือ กัน 4. ด้านสติปัญญา เด็กจะได้รับความรูครอบคลุมเกือบทุกวิชา ไม่วาจะเป็น - คณิตศาสตร์ได้จากการนับจ านวน การตวงสิ่งต่าง ๆ ที่น ามาประกอบ อาหาร เชน น ้าตาล 2 ช้อนชา ไข 5 ฟอง น ้าตาลทราย 3 ช้อนโตะ ฯลฯ หรือการแบงครึ่งแตงกวา หั่นมะเขือ เทศเป็น 2 สวน แบงอีกครั้งเป็น 4 สวน ฯลฯ - วิทยาศาสตร์ได้ดูการเปลี่ยนสถานะของสสาร เชน น ้าตาลทรายละลายในน ้า ร้อน น ้าเมื่อถูกความร้อนจะมีไอน ้าลอยขึ้นมา เนื้อดิบเมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนสี เชน กุง กลายเป็น สีสม เปลี่ยนกลิ่นจากกลิ่นคาวกลายเป็นกลิ่นหอม ชวนทาน ฯลฯ โดยที่ครูตองคอยตั้งค าถามใหเด็ก หัดสังเกตด้วย - ภาษาไทย นอกจากจะเรียนรูค าศัพท์ที่เป็นชื่อของสวนประกอบของอาหารแลว เด็กยังได้พูดคุยโตตอบกับคุณครู หรือพูดคุยแสดงความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ตลอดจนเวลาท ากิจกรรม อีกทั้งยังได้เห็นได้อ่านป้ายสวนผสมที่คุณครูติดไว ซึ่งท าใหเด็ก ๆ เขาใจและเห็นความส าคัญของการ อ่าน นอกจากนี้เด็กยังได้เรียนรูเรื่องสีต่าง ๆ เชน แครอทสีสม แตงกวาสีเขียว หอมหัวใหญ่สี ขาว น ้ามันสีเหลือง ได้เปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ที่ได้สัมผัส ได้ชิม เชน จืด – เค็ม – เปรี้ยว – หวาน เหนียว – เปื่อย เย็น – ร้อน นิ่ม – แข็ง ฯลฯ รวมทั้งยังรูจักคุณคาของอาหาร ผักที่มีประโยชนต่อ ร่างกาย ปยนันท แซจิว (2550) ในการจัดประสบการณการประกอบอาหารมีความส าคัญ ดังต่อไปนี้ 1. รูจักรับผิดชอบเป็นอิสระและประสบผลส าเร็จ 2. เรียนรูเกี่ยวกับโภชนาการและอาหารหมูต่าง ๆ 3. การท างานอย่างอิสระและความร่วมมือในกลุ่มย่อย 4. การท างานจนเสร็จสมบูรณตั้งแต่เตรียมการจนไปถึงการท าความสะอาด
30 5. เรียนรูเกี่ยวกับการท าอาหารใหม่ ๆ และสวนประกอบของอาหารจาก วัฒนธรรมอื่น ๆ 6. เรียนรูเกี่ยวกับอาชีพที่แตกต่างกันในอาหารแต่ละประเภท และอาชีพท เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เชน ชาวนา ชาวสวน พ่อครัว ฯลฯ 7. รูจักค าและความคิดรวบยอด เชน การวัด การนวด การละลาย การเขยา เป็นต้น 8. พัฒนาทักษะเบื้องตนจากชารตแสดงวิธีปรุงอาหาร 9. เรียนรูความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 10. พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การประสานความสัมพันธระหว่าง มือกับตา 11. กิจกรรมประกอบอาหารน าไปสู่กิจกรรมอื่น เชน การแสดงบทบาทสมมุติ การเชิดหุ่น ศิลปะ ฯลฯ ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ (2555 : ออนไลน์) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการจัดกิจกรรม ประกอบอาหารไว้ ดังนี้ กิจกรรมประกอบอาหารที่จัดให้กับเด็กปฐมวัย จุดประสงค์ส าคัญไม่ได้มีขึ้นเพื่อผลของ งานคืออาหารที่ท าเสร็จ แต่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดความสนุกสนาน เร้าความสนใจในการเรียนรู้ของ เด็กปฐมวัย เน้นกระบวนการระหว ่างการท ากิจกรรมเป็นส าคัญ เน้นให้เด็กเกิดประสบการณ์การ เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม ่ว ่าตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ให้เด็กได้สังเกตเห็นความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังปลูกฝังให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี มีมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหาร การประหยัด ความสะอาด รวมถึงการสร้างนิสัยรักการท างาน ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา ฝึกการสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ไข่ดิบกับไข่ที่สุกแล้ว ลักษณะของผักสดกับผักที่โดนความร้อน และที่ส าคัญฝึกการติดตามขั้นตอนต่าง ๆ และมีส่วนร่วมใน การท ากิจกรรมตั้งแต ่เริ ่มต้นจนเกิดเป็นผลงาน เด็กได้เรียนรู้ว ่าสิ ่งที ่ท าได้มาจากไหน หรือได้มา อย่างไร ยังไซที (Youngciety, 2561 : ออนไลน์) ได้กล ่าวถึงประโยชน์ของการจัดกิจกรรม ประกอบอาหารไว้ ดังนี้ กิจกรรมการประกอบอาหาร หรือกิจกรรม Cooking เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน สร้าง ความตื่นเต้นและเป็นสิ่งเร้าในการจัดการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก การจัดกิจกรรมนี้ จะไม่ เน้นในผลงานของอาหารที่ท าส าเร็จ แต่อยู่ที่กระบวนการและขั้นตอนในการท ากิจกรรมเป็นส าคัญ ซึ่ง มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็ก ดังนี้
31 1. ส่งเสริมทักษะด้านร่างกาย การที่เด็กได้หั่นผัก หั่นผลไม้ ตักเกลือหรือน ้าตาลใส่ ลงในหม้อ เทเครื่องปรุงและส่วนผสมลงไปในกระทะ การปั้นแป้งท าขนมหรือแม้กระทั้งการล้างผัก หรือล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับ เด็ก นอกจากนี้ยังช่วยฝึกในเรื่องการประสานสัมพันธ์มือและตาของเด็กให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย 2. ส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์ เด็กจะได้ฝึกการควบคุมอารมณ์และรอคอย เช่น เด็กบางคนใจร้อน อยากให้อาหารสุกเร็ว ๆ แต่ถ้าเอาอาหารออกจากเตาก่อนเวลา ก็จะได้กินอาหารที่ ไม ่สุก เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง ว ่าท าไมต้องรอ ส ่งผลให้เด็กมี พฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 3. ส ่งเสริมทักษะด้านสังคม เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะทางสังคม ผ ่านการ ท างานร่วมกับผู้อื่นหรือการท างานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันท า พัฒนาการสื่อสารระหว่างกัน เด็ก ๆ จะได้วางแผนและรู้จักการแบ ่งหน้าที ่ความรับผิดชอบ มีการแบ ่งปัน มีน ้าใจ ช ่วยเหลือและมี พฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ มีความรับผิดชอบ รู้จักการปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วย ส่งเสริมให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองอีกด้วย 4. ส่งเสริมทักษะด้านภาษา เด็กจะได้เรียนรู้ค าศัพท์ใหม่ ๆ จากวัตถุดิบ อุปกรณ์ และส่วนผสมที่น ามาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ถ้วย ชาม กระทะ เตาอบ ผักกาด แครอท น ้าปลา น ้าตาล เป็นต้น นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังได้พัฒนาทักษะการพูดและการฟัง ผ่านการพูดคุยสนทนาตอบโต้ กับคุณครูหรือผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ หรือการแสดงความคิดเห็นในระหว่างการท ากิจกรรม Cooking 5. ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้และสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง ของวัตถุดิบ เมื่อน ามาปรุงจนสุกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น เกลือ น ้าตาล น ้าปลา ฯลฯ ถ้าใส่มากจะมีรสชาติอย่างไร ใส่น้อยจะมีรสชาติอย่างไร นอกจากนี้ ยังได้ฝึกฝน ทักษะการเปรียบเทียบ การจ าแนกประเภท การจัดกลุ่มของวัตถุดิบและส่วนผสมที่ใช้ในการประกอบ อาหาร 6. ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะด้านคณิตศาสตร์ จาก การชั่ง ตวง วัดเครื่องปรุง และส่วนผสมต่าง ๆ การเรียงล าดับ การนับจ านวน และการกะปริมาณ 7. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดจาน อาหาร เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางผัก การราด ซอสและการจัดเรียงผลไม้ นอกจากนี้การให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเลือกเมนูอาหาร ก็ถือเป็นการ กระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กอีกด้วย 8. ช่วยกระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมการประกอบอาหาร จะช่วย กระตุ้นการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กได้เป็นอย่างดี เช่น “ตา” มองเห็นวัตถุดิบและส่วนผสมต่าง ๆ “มือ” ได้สัมผัสผิวของวัตถุดิบ ผักและผลไม้ต ่าง ๆ ว ่ามีลักษณะเป็นอย ่างไร “หู” ฟังค าสั ่งและ
32 ค าแนะน าจากคุณครูหรือผู้ปกครอง ว ่าขั้นตอนถัดไปคืออะไร ต้องท าอะไรต ่อ เสียงสับหมู เสียง เครื่องครัวท างาน “จมูก” ได้กลิ่นของอาหาร กลิ่นของเครื่องปรุงต่าง ๆ “ปาก” ชิมรสชาติของวัตถุดิบ เช่น เกลือมีรสเค็ม น ้าตาลมีรสหวาน หรือชิมเพื่อรู้ว่าอาหารที่ท ามีรสชาติอย่างไร ต้องเติมรสชาติไหน จึงจะได้รสอย่างที่ต้องการ 9. ช่วยสร้างสุขนิสัย สุขอนามัย และโภชนาการ เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ และอาหารหลัก 5 หมู่ เช่น การท าผัดผักรวม เด็กจะเรียนรู้ว่าผักมีประโยชน์ให้วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เนื้อหมูให้สารอาหารประเภทโปรตีน และไขมัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช ่วยสอนให้เด็กเลือก รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานอาหารให้กับเด็ก การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารนอกจากจะช่วยส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กแล้ว ยังช่วย ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดรวบยอด ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และเหมาะสมตามวัย จากที ่กล ่าวมาสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมประกอบอาหาร เป็นการจัดประสบการณ์ตรง ให้แก่เด็กได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและกายสัมผัส ใน การประกอบอาหารจะเป็นกิจกรรมที ่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาด้านต ่าง ๆ ได้แก ่วิชา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ และในการประกอบอาหารจะมีการท าเป็นกลุ่มด้วยเด็กจะต้องได้มีการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ท าให้การประกอบกิจกรรมประกอบอาหารนี้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้าน ร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา 3. ขั้นตอนของกำรจัดกิจกรรมประกอบอำหำร นักการศึกษากล่าวถึงขั้นตอนในการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร ไว้ดังนี้ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535: 4 - 8) ได้กลาวถึงขั้นตอนการ จัดประสบการณอาหาร ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมงาน มีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 ครูล าดับขั้นตอนการประกอบอาหารที่จะน ามาใหเด็กท า 1.2 ท าแผนภูมิรายการอาหาร (อาจมีภาพแผนภูมิ) 1.3 ปรึกษาหารือกันระหว่างครูกับนักเรียน 1.4 ติดตอขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการจัดเตรียมสิ่งที่น ามาประกอบ อาหาร เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร 2. ขั้นปฏิบัติ 2.1 กอนลงมือประกอบอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้
33 2.1.1 ครูติดแผนภาพ และขั้นตอนในการประกอบอาหารให้เด็กเห็นได้ ชัดเจน 2.1.2 ครูวางแผน และจัดแบงงานใหเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก 2.1.3 ครูจัดวางอุปกรณ์ทุกอย่างใหเด็กเห็นตามขั้นตอนการท า 2.1.4 แนะน าขั้นตอนในการท าพรอมกับแนะน าวิธีการใชอุปกรณ์ต่าง ๆ ขอควรระวังในการใช และความปลอดภัยในการท ากิจกรรม 2.2 ขณะประกอบอาหาร ควรปฏิบัติดังนี้ 2.2.1 ครูลงมือสาธิตการประกอบอาหารตามขั้นตอน (อย่างชา ๆ) ในขั้นนี้ครู อาจใหเด็กลงมือปฏิบัติด้วย 2.2.2 กระตุนใหเด็กได้หัดสังเกตถึงความเปลี ่ยนแปลงของอาหารในขณะ สาธิต เชน สี กลิ่น รส ความขน – ใส รูปร่าง ลักษณะที่เปลี่ยนไป 2.2.3 ฝกใหเด็กรูจักรอคอย รูจักมารยาทในการท างานร่วมกัน 2.2.4 ใหเด็กรูจักแบงหนาที่ในการท างาน เชน จัดเก็บสิ่งของใชแลวเขาที่ เก็บโตะท าความสะอาด เก็บถ้วยชาม แกวน ้า และท าความสะอาดภาชนะ 3. ขั้นสรุป กิจกรรม ฝกใหเด็ดปฏิบัติ ดังนี้ 3.1 ใหเด็กเล่าประสบการณ ขั้นตอนการท างาน 3.2 สนทนา พูดคุยกับเด็กในขอที่เกิดความสงสัย หรือเกิดปญหา 3.3 ช่วยแนะน าสิ่งที่ควรรูจากกิจกรรม 3.4 กระตุนใหเด็กแสดงความคิดจากการร่วมกิจกรรม กาญจนา เกียรติประวัติ (ม.ป.ป.) ได้กล่าวถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ไว้ดังนี้ 1. ขั้นประถมนิเทศและเร้าความสนใจ ในขั้นนี้เป็นการพิจารณาธรรมชาติของงาน จุดมุ่งหมายและการวางแผนงานความเข้าใจแจ่มแจ้งในสิ่งที่จะท า จะช่วยให้ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาโดย เปล่าประโยชน์ 2. ขั้นปฏิบัติงาน ผู้เรียนทุกคนอาจท างานปัญหาเดียวกันหรือคนละปัญหาได้ ในช่วงนี้จะเป็นการท างานภายใต้การนิเทศความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่จะต้องน ามาพิจารณา ในการมอบหมายงานหรือเวลาในการท างานได้ 3. ขั้นสรุปกิจกรรม อาจใช้การอภิปรายรายงานการจัดนิทรรศการผลงานและ อธิบายเพื่อนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือการค้นพบของผู้เรียน
34 ยังไซที(Youngciety, ม.ป.ป. ออนไลน์) ในการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารส าหรับ เด็กปฐมวัยนั้น คุณครูและผู้ปกครองสามารถก าหนดเป็นขั้นตอนอย่างง่ายดังตัวอย่างที่ผู้เขียนก าหนด เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นน า เด็กช ่วยคิดหาเมนูอาหารที ่สนใจร ่วมกับคุณครูหรือผู้ปกครอง และ สนทนาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ว่ามีอะไรบ้าง 2. ขั้นปฏิบัติเมื่อเด็กได้จัดเตรียมวัตถุดิบและส่วนผสมที่จะน ามาปรุงอาหารในเมนู ที่คิดแล้ว ให้ช่วยกันล้าง หั่น และปรุงสุก ทั้งนี้ ก่อนการประกอบอาหาร ให้คุณครูและผู้ปกครอง แนะน าขั้นตอนในการท าอาหาร พร้อมทั้งแนะน าวิธีการใช้อุปกรณ์ต ่าง ๆ ให้กับเด็ก เพื ่อความ ปลอดภัยทุกครั้งที่ท ากิจกรรมด้วยค่ะ 3. ขั้นสรุป เมื ่อเด็กท าการประกอบอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เด็กเล่า ประสบการณ์การท างานและขั้นตอนการท างานว่าท าอย่างไร แล้วช่วยกันสรุปว่าเมนูที่ท านั้นมีสีสัน กลิ่น รสชาติ เป็นอย่างไร ส่วนผสมและเครื่องปรุงใส่อะไรไปเท่าไหร่ รวมทั้งเครื่องปรุงแต่ละชนิดมี รสชาติเป็นอย่างไร เป็นต้น จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารส าหรับเด็กปฐมวัยนั้น เริ่มจากเด็กช่วยคิดหาเมนูอาหารที่สนใจร่วมกับคุณครูหรือผู้ปกครอง และสนทนาเกี่ยวกับวัตถุดิบ ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารว่ามีอะไรบ้าง จากนั้นจึงน าไปสู่ขั้นตอนกระบวนการ ของการเตรียมอุปกรณ์และหาวันที่ที่จะปฏิบัติกิจกรรม และขั้นปฏิบัติในขั้นตอนนี้เด็กสามารถใช้ ทักษะด้านต่าง ๆ ได้ดีที่สุด เป็นกระบวนการของการลงมือปฏิบัติจริงที่เด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต สัมผัส ดมกลิ่น และชิมรสชาติ 4. บทบำทของครูในกำรจัดกิจกรรมประกอบอำหำร แจคแมน (Jackman. 1997 : 191 - 192) กลาวถึง บทบาทครูในการจัดประสบการณ การประกอบอาหารดังนี้ 1. การวางแผนการจัดประสบการณการประกอบอาหาร 2. หาขอมูลวาเด็กแพอาหารประเภทใด 3. หาขอมูลเกี ่ยวกับความเชื ่อแต่ละครอบครัวเกี ่ยวกับอาหาร เชน อาหาร ประเภทใดรับประทานได้อาหารประเภทใดรับประทานไม่ได้ 4. บูรณาการการจัดประสบการณการประกอบอาหารใหเขากับเนื้อหาในหน่วย การเรียน
35 5. อธิบายขอจ ากัดและบทบาทของเด็ก เชน ลางมือด้วยสบูและน ้าก่อนและหลัง การเตรียมอาหาร และใหเด็กช่วยกันตั้งกฎเกณฑในการประกอบอาหาร 6. ในเด็กเล็กใหเด็กปฏิบัติง่าย ๆ เชน ล้างผัก ผลไม้หั่นผลไม้ผสมสวนประกอบ ของอาหารเขาด้วยกันแลวชิม เพื่อใหเด็กรูสึกวาตนเองประสบผลส าเร็จ โดยไม่ตองลงมือประกอบ อาหาร 7. ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ใหขอสรุปที่ถูกตองเกี่ยวกับอาหาร การกะประมาณ อุปกรณ์และกระบวนการต่าง ๆ พูดซ ้า ๆ เพื่ออธิบายใหเด็กฟง เด็กจะได้เกิดการเรียนรูทางทักษะ ภาษา 8. อภิปรายเกี่ยวกับอาหารร่วมกับเด็ก เชน กลิ่นอาหาร สวนผสม รสชาติรูปร่าง การท างาน และผลงานของงาน 9. มีเวลาเพียงพอในการประกอบอาหาร เพื ่อใหเด็กเกิดการเรียนรูทั้งจาก กระบวนการ ในการท างาน และผลของงาน 10. ในเด็กโต ครูอธิบายล าดับขั้นการเจริญเติบโตของอาหาร การเก็บเกี่ยว การ บรรจุ การขนสง รานคาหรือตลาด การขาย การขนสงไปยังบ้าน การประกอบอาหาร และการเสิร์ฟ ครูมีเวลาเพียงพอที่จะตอบค าถามของเด็ก ใหเด็กได้ทบทวนสิ่งที่เรียนรูด้วยวิธีที่หลากหลาย เชน เล่นเกมลอตโต เกมจับคูอ่านหนังสือ สร้างหนังสือ ทัศนศึกษา จากที ่กล ่าวมาสรุปได้ว ่า บทบาทครูในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ครูจะต้องวาง แผนการจัดประสบการณ์การท าอาหาร หาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กว่าเด็กแพ้อาหารประเภทใดและสามารถ รับประทานอาหารประเภทใดได้บูรณาการเมนูอาหารให้เข้ากับหน่วยการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กได้ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมประกอบอาหารด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมครูต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ เด็ก คอยสังเกตุความปลอดภัยและคอยดูแลขณะที ่เด็กปฏิบัติกิจกรรมและกระตุ้นให้เด็กเกิดการ เรียนรู้ 5. ขอเสนอแนะและขอควรระวังในกำรจัดกิจกรรมประกอบอำหำร ส านักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2535 : 8) กล่าววา ในการจัดประสบการณการ ประกอบอาหาร มีสิ่งที่ครูจะตองค านึงถึง ดังนี้ 1. ค านึงถึงความสะอาด ใหเด็กลางมือก่อน และหลังท าอาหาร 2. ค านึงถึงเวลา 3. ค านึงถึงอันตราย และความปลอดภัย กรณีของมีคม ครูพยายามเลือกมีดโกนที่ ไม่คมมากนัก และเลือกมีดที่มีขนาดเหมาะสมกับมือเด็ก ครูตองใกลชิดกลุ่มที่ใชปกรณที่มีอันตราย นิตยา ประพฤติกิจ (2539 : 40 - 41) กล่าววา ในการจัดประสบการณการประกอบ อาหารมีสิ่งที่ครูจะตองค านึงถึง ดังนี้
36 1. เลือกสูตรง่าย ๆ ที่เด็กสามารถปฏิบัติตามได้โดยดูจากรูปภาพ 2. คอยดูแลอย่างสม ่าเสมอ และพรอมที่จะใหค าแนะน า 3. ฝกฝน และดูแลอย่างใกลชิดเมื่อใชเตา และของร้อน ถาไม่สะดวกครูอาจท า เองในขั้นตอนนี้ 4. สนทนาเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกตอง และการปองกันอันตราย 5. ฝกฝนใหเด็กมีนิสัยที ่ถูกสุขลักษณ านั ่นคือ ล้างมือใหสะอาดก่อน และหลัง ท าอาหาร และภาชนะตองสะอาด 6. การท าอาหารตองสัมพันธ์กับเนื้อเรื ่องที ่ก าลังสอนอยู เชน วิทยาศาสตร์ สุขภาพอนามัย สังคมศึกษา และวันเทศกาล 7. วาดรูปเครื่องปรุงลงบนกระดาษชาร์ต เพื่อใหเด็กได้ดู และตรวจสอบ 8. ใหเด็กได้รูจักเครื่องชั่ง ตวง วัด ก่อนปฏิบัติจริง เชน ใหรูจักใชช้อนตวง ถ้วย ตวง โดยใหตวงแปงหรือเม็ดทรายใหละเอียดก่อน 9. พยายามเลือกการท าอาหารง่าย ๆ เพื ่อใหเด็กสามารถท าเองได้ได้รับ ความส าเร็จภาคภูมิใจ และพึงพอใจในประสบการณที่ได้รับ 10. ใหเวลาเด็กอย่างเพียงพอในการท าอาหาร 11. ควรใหเด็กทั้งหองท าอาหารพรอม ๆ กัน แต่ผลัดเปลี่ยนกันท า จนกระทั่งทุก คนได้ท าอาหาร ซึ่งอาจเป็นขั้นตอนใดก็ได้ พร พันธุโอสถ (2543 : 32 - 33) กลาวถึง ขอที่พึงตระหนักในการด าเนินกิจกรรมการ ประกอบอาหาร ดังนี้ 1. เด็กควรมีสวนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะเป็นการพัฒนาความคิด การมองสิ่ง ต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน 2. เด็กควรจะเป็นผู้มีบทบาทในการท าอาหารร่วมกับครู ไม่ใชเป็นเพียงผู้ดู 3. ถาสามารถท าได้ไม่ควรใชสวนผสมของอาหารซึ่งส าเร็จรูป เชน ไม่ควรใชกะทิ ส าเร็จรูปหรือผลไม้กระปอง ฯลฯ 4. สวนประกอบของอาหารบางอย่าง ซึ่งตองใชเวลาในการตระเตรียม สามารถ น าท าลวงหนาในระหว่างกิจกรรมเล่นสร้างสรรค์ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ขอเสนอแนะและขอควรระวังในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร มี ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในเรื่องของความสะอาด ถูกสุขอนามัย เรื่องความปลอดภัยในการเลือก วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่มีขนาดที่เหมาะสม เลือกประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ วิธีการปรุง ง่าย ๆ ไม่ยากเกินไปเหมาะกับวัยของเด็กและความสามารถของเด็ก ใช้ส่วนประกอบหาได้ง่ายมีใน ท้องถิ่นและควรเลี่ยงใช้ส่วนผสมที่ส าเร็จรูปถ้าหาได้ ที่ส าคัญคือให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
37 งำนวิจัยที่เกี่ยวของ 1. งำนวิจัยในประเทศ กัญญารัตน์ ชูเกลี้ยง (2560) ได้ท าการศึกษาการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่ส าเร็จ (EF) ส าหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบ อาหารประเภทขนมไทยพื้นเมือง 4 ภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุ ระหว่าง 5 – 6 ปี จ านวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่ส าเร็จ (EF) โดยผ่านการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง การประกอบอาหารประเภทขนมไทย พื้นเมือง 4 ภาค สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะสมองเพื่อชีวิตที่ส าเร็จ (EF) โดยผ่านการจัดประสบการณ์ตามแผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ พัณณิตา ไชยสุวรรณ์ (2560) ได้ท าการศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมการรับประทานผัก ของ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนเซนฟรังงซีสซาเวียร์คอนแวนต์ โดยใช้กิจกรรมการประกอบ อาหาร ร่วมกับการใช้แรงเสริมทางบวก ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการรับประทานผัก โดยใช้กิจกรรมการประกอบอาหารร่วมกับการใช้แรงเสริมทางบวก อยู่ในระดับดี และนักเรียนมี พฤติกรรมการรับประทานผัก โดยใช้กิจกรรมการประกอบอาหารร่วมกับการใช้แรงเสริมทางบวกมี พฤติกรรมการรับประทานผักสูงกว ่าก ่อนการจัดกิจกรรมประกอบอาหารร ่วมกับการใช้แรงเสริม ทางบวก สุภาวดี โสภาวัจน์ (2561) ได้ท าการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารโดย ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี จ านวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหา ความรู้เพื่อ ส ่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหามีผลหลังการทดลองสูงกว ่าก ่อนการทดลองจากการสังเกต พฤติกรรม พบว่า เด็กมีความสามารถการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น สุนิสา สีมาวงษ์ (2562) ได้ท าการศึกษาผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที ่มีต่อ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ ่มตัวอย ่างที ่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุ ระหว่าง 5 – 6 ปี จ านวน 26 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและผลจากการสังเกตพฤติกรรม พบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น โดยพบว่าเด็กมี ความคิดริเริ่มจากการออกแบบรูปร่างลักษณะของอาหาร มีความคิดคล่องแคล่วจากการตอบค าถาม และบอกชื่อวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดละเอียดลออจากการบอก
38 รายละเอียดของอาหารบอกขั้นตอนการประกอบอาหารและตกแต่งอาหารได้อย่างชัดเจนสมบูรณ์ มี ความยืดหยุ ่นจากการปรับเปลี ่ยนความคิดในการเลือกใช้วัตถุดิบและประกอบอาหารได้อย ่าง หลากหลายรูปแบบ พิมพ์ธิวา วงค์ชมภู(2562) ได้ท าการศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562 จ านวน 18 คน ผลการศึกษาพบว่า ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย นักเรียนทุกคนได้คะแนนร้อยละเฉลี ่ยทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 92.44 ศิริเพ็ญ กิจกระจ่าง (2563) ได้ท าการศึกษาผลการจักประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที ่มีต ่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จ านวน 40 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หนึ่งกลุ่มเด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านหนองตายอดจ านวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมและ กลุ่มเด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านนาใหม่จ านวน 20 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้ตามคู่มือการจัดการศึกษาปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมสูงกว่าก่อนการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยยะส าคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ของกลุ่มการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสูงกว่ากลุ่มการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ตามคู่มือการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างมีนัยยะส าคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 นุจรีย์ บูรณศิล (2563) ได้ท าการศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุด กิจกรรมการประกอบอาหาร เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี จ านวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็ก ปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการประกอบอาหาร มีทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ปริญญา ภูหวล (2563) ได้ท าการศึกษา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จ านวน 11 คน ได้มาจากการเลือกแบบ
39 เจาะจง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ 20 กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย พบว่า โดยรวม เด็กปฐมวัยมีทักษะทาง วิทยาศาสตร์สูงขึ้น เท่ากับ 12.10 (t=16.48, p=0.00) สวาท สมะวรรธนะ (2565) ได้ท าการศึกษา ระดับทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัย ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนก และทักษะการสื่อสาร หลังการจัดประสบการณ์ด้วย กระบวนกาวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดโบสถ์ อ าเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จ านวน 20 คน เครื่องมือที ่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะทาง วิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์กระบวนการวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ ราย ด้านดังนี้ 2.1 ด้านการสังเกต หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ ระดับ .05 2.2 ด้านการจ าแนก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2.3 ด้านการสื่อสาร หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ณัชชา แจ่มดี (2565) ได้ท าการศึกษาเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 – 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กลุ่มประชากรได้แก่ เด็ก ปฐมวัยอายุ4 – 5 ปีจ านวน 4 คน ที่ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 – 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ผลการวิจัยในชั้นเรียนพบว่า การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมคะแนนร้อยละความก้าวหน้าของนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกคน เมื่อเปรียบเทียบทั้งชั้นเรียนพบว่าคะแนนร้อยละความก้าวหน้าทั้งชั้นเรียนเท่ากับ 25
40 2. งำนวิจัยต่ำงประเทศ ซาเวียร์ อัลลิโรต์(Xavier Allirot, 2016) ได้ศึกษากลยุทธ์ในการปรับปรุงนิสัยการ บริโภคอาหารในวัยเด็กโดยผ่านกิจกรรมการท าอาหาร จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการให้เด็กมี ส ่วนร ่วมในการท าอาหารสามารถเพิ ่มความเต็มใจที ่จะลิ้มรสอาหารแปลกใหม ่และการเลือก รับประทานอาหารโดยตรงต่ออาหารที่มีผัก ปีเตอร์ (Peter J.n. DEJONCKHEERE, 2016) การศึกษานี้ทดสอบและบูรณาการผล ของวิธีการสอนแบบถามค าถามส าหรับวิทยาศาสตร์ก่อนวัยเรียนในห้องเรียนที่ใช้งานได้จริง ห้องเรียน ก่อนวัยเรียน 4 ห้องเข้าร่วมการทดลอง (N = 57) และเด็กอายุ 4-6 ปี เพื่อประเมินความสนใจของ เด็กต่อเหตุการณ์เชิงสาเหตุและความเข้าใจของพวกเขาในระดับทักษะการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เราได้ออกแบบงานง่ายๆ โดยสร้างความต้องการได้รับข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เด็กที่ ท าแบบทดสอบหลังการทดสอบพบว่าได้รับการเรียนรู้ที่ส าคัญในการพัฒนาสิ่งที่เรียกว่ากลยุทธ์การ ควบคุมตัวแปร แท้จริงแล้ว พวกเขาท าการส ารวจที ่มีข้อมูลมากขึ้นและไม ่ได้ให้ข้อมูลมากนักใน ระหว ่างการเล ่นที ่เกิดขึ้นเอง นอกจากนี้ ยังได้กล ่าวถึงความส าคัญของโครงการดังกล ่าวในด้าน การศึกษา STEM โรส (Ross A. Thompson, 2016) บทความนี้จะสรุปสิ่งที่เป็นอยู่เรียนรู้ในช่วงเวลานี้ และผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานที่ท างานกับเด็กความก้าวหน้าใหม่รวมถึงความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับ รากฐานทางวิทยาศาสตร์ส าหรับการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในช่วง 3 ปีแรก การตระหนักว่าการเรียนรู้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีมากขึ้นมากกว่าแค่การได้รับทักษะความรู้ความเข้าใจ ความรู้เกี่ยวกับอิทธิพลของ ความเครียดเรื้อรัง และความส าคัญของความสัมพันธ์ในช ่วงแรก และความเข้าใจใหม ่เกี ่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ของชีววิทยาและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้เบื้องต้น โฮบ (Hope K. Gerde, 2017) ได้ท าการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นต้นที ่มีคุณภาพมี ความส าคัญต ่อการจัดการกับความส าเร็จด้านวิทยาศาสตร์ที ่ต ่าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาใน สหรัฐอเมริกาเมื ่อเปรียบเทียบกับเพื ่อนต ่างชาติ ผลการวิจัย เพื ่อเพิ ่มโอกาสทางวิทยาศาสตร์ใน ห้องเรียนเด็กปฐมวัย โปรแกรมการศึกษาก่อนวัยเรียนและในวัยเรียนควรจัดเตรียมเนื้อหาและแนว ปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์ให้กับครู แทนที่จะเน้นไปที่การอ่านออกเขียนได้อย่างเดียว เฟนนี ่ (Fenny Roshayanti, 2019) การวิจัยที ่ม ุ ่งเน้นของผลการวิจัย ได้แก่ 1) ช่วงเวลาเล่านิทานในชั้นเรียน STEAM 2) กระบวนการ STEAM ในการเรียนรู้ 3) กิจกรรม STEAM ในชั้นเรียน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการน าการเรียนรู้แบบ STEAM ไปใช้ยังไม่บูรณาการ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากทีมผู้เชี่ยวชาญ และไม่มีเครื่องมือสื่อการ เรียนรู้ที่ครอบคลุม