The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

บทความเต็ม_4U

บทความเต็ม_4U

พระธรรมโกศาจารย(พุทธทาส อินทปญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎรธานี เปนผู ริเริ่มกอตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อใหเปนสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของทานพุทธ ทาสภิกขุยังมีปรากฏอยูมากมายทั้งในรูปพระธรรม เทศนา และในงานเขียน โดยทานตั้งใจทำการถายทอดพระพุทธศาสนาให อยูในฐานะที่เปนพุทธะศาสนาอยาง แทจริง นั่นคือเปนศาสนาแหงความรู ไมเจือปนไปดวยความหลงผิดที่เขาแทรกจน กลายเปนเนื้อรายที่คอยกัดกิน ไดแก เรื่อง พุทธพาณิชย, ไสยศาสตร และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ ฯลฯ อีก ทั้งคำสอนของทานพุทธทาสภิกขุก็ไดถูกถายทอดใหอยูในรูปแบบที่คนทั่วไป สามารถเขาถึงและเขาใจได โดยที่ยังคงเนื้อหา สำคัญไวไดอยางครบถวน ซึ่งคำสอนของทานยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปดวย เชน การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกตใช ไดกับชีวิตประจำวัน0 1 อิทธิพลจากผลงานศิลปกรรม สมุดภาพไตรภูมิ เปนสมุดภาพไมเย็บเลม พับกลับไปกลับมา มีความหนา ภายในเปนผลงานจิตรกรรมไทยประเพณี เขียนเรื่องไตรภูมิ และอาจประกอบดวยเรื่องอื่นๆ เชน เรื่องทศชาติ โดยสรางขึ้นจากศรัทธาที่มีตอวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิพระ รวง ซึ่งเปนวรรณคดีชั้นเยี่ยมทางพระพุทธศาสนา โดยเชื่อกันวาเปนบทพระราชนิพนธของพญาลิไทย พระมหากษัตริยแหงกรุง สุโขทัย ทรงพระราชนิพนธขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช 1888 ภาพที่ 2 ภาพมหาโรรุวะนรก ที่มา : กรมศิลปากร, สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เลม 1 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542), 46. 1Buddhavihara, พ ร ะ ธ ร ร ม โ ก ศ า จ า ร ย์ ( พุ ท ธ ท า ส อิ น ท ปั ญ โ ญ ) , เ ข้ า ถึ ง เ มื่ อ 5 พ . ค. 2565, เข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก http://www.buddhavihara.ru/?page_id=237 191


อิทธิพลจากวรรณกรรมและภาพประกอบวรรณกรรม บทประพันธเอง The Divine Comedy หรือ สุขนาฏกรรมของพระเจา เปนวรรณกรรมอุปมานิทัศน ที่เขียนโดยกวี ดันเต อลิกิเอริ (Dante Alighieri) ระหวางป ค.ศ. 1380 จนกระทั่งเสียชีวิตในป 1321 ดิไวน คอเมดี เปนกวีนิพนธที่เปนจินตนิยาย และอุปมานิทัศนของคริสเตียน สะทอนใหเห็นถึงการวิวัฒนาการของปรัชญายุคกลางในเรื่องเกี่ยวกับโรมันคาทอลิก บท ประพันธนี้ไดรับการยกยองวาเปนมหากาพยชิ้นสำคัญของอิตาลีและเปนวรรณกรรมชิ้นเอกของโลก ดิไวน คอเมดี ประกอบไปดวยสามภูมิ คือ Inferno (นรก), Purgatorio (แกนชำระบาป) และ Pardiso (สวรรค) เรื่องเลานี้เปนการเดินของตัวกวีเองผานนรก ผานการชำระบาป และสุดทายไปสูสวรรค อันเปนที่มาของชื่อ Comedy ที่ ตองการสะทอนวาเรื่องนี้จบลงดวยความสุข ภาพที่ 3 ภาพผลงานของ Gustave Doré ที่มา : แบล็คเมจิก, สายน้ำแหงวิญญาณ (กรุงเทพฯ : แบล็คเมจิก), 58. ภาพประกอบของบทประพันธนี้เปนผลงานภาพพิมพโลหะ (Engraving) ของศิลปนชาวฝรั่งเศส ชื่อ กุสตาฟ โดเร (Gustave Doré) งานของเขาเต็มไปดวยจินตนาการ กุสตาฟ โดเร ไดทำงานภาพประกอบหนังสือหลายเลม รวมไปถึงพระคัมภีร ไบเบิล แตที่สรางชื่อเสียงใหมากที่สุดคือ ภาพประกอบเรื่อง ดิไวน คอเมดี 192


กระบวนการสรางสรรค กระบวนการสรางสรรคผลงานศิลปะชุดนี้ มีการผสมผสาน เทคนิดการวาดแบบดั้งเดิม และโปรแกรมคอมพิวเตอร เขาดวยกัน การศึกษาคนควาขอมูล 1. ขอมูลนามธรรม เกิดจากการหยุดคิด พิจารณาความรูสึกของตนเอง ที่เกิดจากประสบการณการรับรูสิ่ง ตางๆ รอบๆ ตัวในการดำเนินชีวิตประจำวัน เชน สื่อตางๆ วรรณกรรม บทกวี ภาพยนตร ตลอดไปจนถึงการกระทำของ ตัวเอง สิ่งเหลานี้ลวนมีผลตออารมณความรูสึก กอใหเกิดแรงบันดาลใจในการสรางสรรคผลงานของขาพเจา 2. ขอมูลรูปธรรม ในผลงานสรางสรรคของขาพเจาสามารถแบงไดดังนี้คือ 2.1 ขอมูลจากธรรมชาติ รูปทรงในผลงานของขาพเจามาจากสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติและชีวภาพเปนรูปทรง อินทรียรูป (Organic Form) โดยเลือกรูปทรงของคน สัตว และพืชที่นาสนใจ ซึ่งกอใหเกิดจินตนาการอันไรขอบเขต นำไปสู กระบวนการสรางสรรค 2.2 ขอมูลจากงานศิลปกรรม งานศิลปกรรมตางๆ ทุกแขนง เชน งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพ พิมพ ทั้งสมัยโบราณจนถึงรวมสมัย ขอมูลเหลานี้มีผลตอจินตนาการและแนวความคิด โดยขาพเจาไดนำขอมูลเหลานี้มา ประมวล วิเคราะห และถายทอดดวยอารมณความรูสึก ผสมผสานกับจินตนาการและความเชื่อ การสรางภาพราง (Sketch) กระบวนการสรางภาพรางของขาพเจา แบงเปน 3 ขั้นตอน คือ 1. การสรางรูปทรง จะเริ่มตนจากการนำหมึกจีนผสมน้ำนิดหนอย มาสาดและหยดลงบนกระดาษสาที่เตรียมไว ใหเกิดเปนรูปทรงตางๆ เริ่มจินตนาการรูปและเรื่องราวจากภาพที่ปรากฏขึ้น หลังจากนั้นก็เริ่มตนออกแบบรูปทรงหลัก 2. การออกแบบรูปทรง (Character Design) โครงสรางของรูปทรงหลักๆ ในงานไดจากการศึกษาหาขอมูล รูปทรงจากธรรมชาติ ตลอดจนงานศิลปกรรมโบราณและรวมสมัย นำมาคลี่คลายใหสอดคลองกับเนื้อหาโดยใสอารมณ ความรูสึกสวนตัวเขาไป รูปทรงใหมที่ไดจะเปนรูปทรงกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) ที่มีลักษณะเฉพาะตัว 3. นำเอารูปทรงที่ออกแบบไวมาเปนโครงสรางหลักในภาพราง จัดวางองคประกอบและเพิ่มเติมเนื้อหาลงไป ใน ภาพรางของขาพเจาจะมีโครงสรางหลักๆ ของภาพ ขาพเจาใหความสำคัญกับภาพราง แตงานของขาพเจารูปทรงกับพื้นที่วาง เปนสวนสำคัญมาก การทำเหมือนภาพรางทุกอยาง ทำใหงานของขาพเจาขาดอารมณความรูสึก หลังจากรางโครงสรางใหญๆ ในงานจริงแลว ขาพเจาก็จะสังเกตพื้นที่วางที่เหลืออยูหลังจากนั้นก็จะจินตนาการรูปทรงใสเขาไปตามลักษณะของที่วางที่ ปรากฏ 193


วัสดุอุปกรณ 1. หมึกจีน 2. กระดาษสา 150 แกรม 3. สีอะครีลิค 4. ไมแหลม 5. มีเดียมสีอะคริลิคยี่หอ LIQUITEX, Pouring Medium 6. พูกัน 7. สีไมสีขาว 8. กระปองใสน้ำ 9. ปากกาหมึกดำ ขั้นตอนและกระบวนการทำงาน 1. การสรางรูปทรง ใชหมึกจีนผสมน้ำนิดหนอย สาดและหยดลงบนกระดาษสา 150 แกรม เมื่อกระดาษแหงดีแลว ขาพเจาก็จะดูลักษณะรูปทรงและพื้นที่วางที่เหลืออยู แลวก็วิเคราะหจินตนาการรูปทรงตางๆ ใสเขาไปในสวนของรูปทรงและ พื้นที่วาง 2. การออกแบบรูปทรง (Character Design) ขาพเจาจะจินตนาการรูปทรงและเรื่องราวจากรอยที่เกิดจากการหยด และสาดหมึกจีน หลังจากนั้นจะใชพูกันจุมหมึกจีนแลวสรางรูปทรงเพิ่มจากรูปทรงเดิมที่เกิดจากการสาดหมึกจีน 3. ขั้นตอนการสรางรูปทรงของดอกไมในงาน เมื่อไดรูปทรงสีดำที่เกิดจากการสาดหมึกและใชพูกันวาดแลว ขั้นตอนตอมาคือการระบายสีดอกไมใชสีอะครีลิคผสมมีเดียม (Pouring Medium)และน้ำคนใหเขากัน 4. ขั้นตอนการเขียนรายละเอียดดวยสีไม ใชสีไมสีขาวเขียนรายละเอียดตาง เชน ขนนก หนา ปาก แสงเงา 5. ขั้นตอนการเขียนรายละเอียดดวยปากกา ใชสีไมสีขาวเขียนรายละเอียดตาง เชน ขนนก หนา ปาก แสงเงา 6. ขั้นตอนการปรับแตงดวยคอมพิวเตอร ถายรูปผลงาน และนำไปปรับแตงดวยคอมพิวเตอรโดยใชโปรแกรม Photoshop วิเคราะหผลงาน หลังจากที่ไดรวบรวมขอมูล ประมวล และวิเคราะหจากประสบการณและการพัฒนาผลงานแลว ผลงานชุดนี้ขาพเจา รูสึกพอใจกับผลงานที่ไดสรางสรรคมาอยางตอเนื่อง ทั้งในดานแนวความคิด รูปแบบ และอารมณความรูสึกในงาน ผลงานมี ความละเอียดซับซอนและมีพลังมากยิ่งขึ้น กลุมของรูปทรงในชวงนี้ถูกแบงออกเปน 2 กลุมใหญๆ คือ รูปทรงที่มีอยูจริง และ รูปทรงที่จิตนาการขึ้นมา ซึ่งทั้ง 2 สวนนี้เปรียบเหมือนโลกแหงความจริงและโลกในจิตนาการ กลุมของรูปทรงมีความนาสนใจ และมีความเปนเอกภาพมากขึ้น ประสบการณ การเรียนรูตางๆ สามารถเปนแนวทางการศึกษาเพื่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยางไมหยุดยั้ง 194


ภาพที่ 4 ชื่อภาพ : Cycles of Lift, Chapter 1 Inside Out. เทคนิค : Mixed Technique ขนาด : 300 dpi ปที่สราง : 2564 วิเคราะหภาพ Cycles of Lift, Chapter 1 Inside Out. 195


1. แนวคิด ผลงานชิ้นนี้ขาพเจาตองการเสนอถึงราคะที่อยูในจิตใจของมนุษย ซึ่งเปนอารมณปรารถนาที่เกิดขึ้นภายใน จิตใจของทุกคน โดยขาพเจาเลือกใชงูแทนสัญลักษณของราคะ งู มีปรากฏอยูอยางแพรหลายทั่วไปในประวัติศาสตร และมักเปนสัญลักษณแหงความชั่วราย งูตัวผูมักจะ ถูกจัดวาเกี่ยวกับราคะ1 2 ปก ในงานขาพเจา หมายถึง จิตที่โบยบิน ซึ่งสามารถบินออกจากภาวะกิเลสได แตกลับถูกหลอลวงใหอยู ในวังวนของราคะ ในขณะเดียวกันปกก็เปรียบเหมือนสติ คนมีสติสามารถที่จะโบยบินออกจากหวงอบายภูมิไดแตกลับปลอยให กิเลสครอบงำใหหลับใหลและจมลงสูสภาวะดำดิ่ง ลูกไฟ เปนเหมือนสัญลักษณแสดงถึงความเรารอนแหงอารมณบงบอกถึงอารมณปรารถนาทางเพศ ที่ถูก ปลดปลอย โดยไมสามารถควบคุมและเก็บไวภายใน 2. การจัดองคประกอบ รูปทรง (Form) ผลงานชิ้นนี้อางอิงจากธรรมชาติทางชีวภาพ ผสมผสานกับจินตนาการสวนตัว เพื่อให รูปทรงเปนไปตามแนวความคิดและแสดงออกทางความรูสึกอยางชัดเจน โดยเลือกรูปทรงของงูเปนรูปทรงหลักเพื่อสื่อความ หมายถึง ราคะ ภายในจิตใจของมนุษย เสน (Line) เปนเสนที่เกิดจากการวาดเสนสีขาวลงบนสีดำ ชวยทำใหงานมีปริมาตรและระยะ ทำใหเกิด น้ำหนักและแสงเงา ชวยใหเกิดอารมณความรูสึกในงาน สี (Colour) สีมีสวนทำใหงานมีความนาสนใจมากขึ้น ใชโทนสีขาว-ดำ ในงานเนื่องจากสีดำเปนสีที่ให ความรูสึกถึงความนาหวาดกลัว เรนลับ ดานมืด สิ่งที่ซอนเรน เลือกใชสีดำมาเปนสีหลักในงานสวนสีแดงทำใหความรูสึกถึงชีวิต พื้นที่วาง (Space) พื้นที่วางในผลงาน ทำใหเกิดความรูสึกที่ไมมีที่สิ้นสุด พื้นที่วางชวยทำใหรูปทรงเกิด การเคลื่อนไหว และยังชวยเนนรูปทรงทำใหรูปทรงชัดเจนและมีพลังมากขึ้น น้ำหนักแสงและเงา (Tone-Light and Shadow) ผลงานใหน้ำหนักตัดกันอยางรุนแรงระหวางรูปทรง และพื้นที่วาง เนื่องจากตองการบรรยากาศ ซึ่งกอใหเกิดความเคลื่อนไหวของรูปทรงและสรางความรูสึกที่ดูรุนแรง ลึกลับ นา หวาดกลัว ตลอดจนความรูสึกถึงการดิ้นรนที่ไมมีที่สิ้นสุด พื้นผิว (Texture) ในผลงานจะชวยเชื่อมระหวางน้ำหนักออนและเขม ลักษณะพื้นผิวในงานเกิดขึ้นจากการ สาดหมึกจีนผสมน้ำ ทำใหเกิดลักษณะของคราบและรองรอยที่นาสนใจ การกำหนดองคประกอบ (Composition) รูปทรงขนาดใหญกลางภาพ เพื่อใหรูปทรงสามารถสื่อ ความหมายตามแนวความคิดไดอยางชัดเจน สรุปและอภิปรายผล ผลงานชุดนี้เริ่มตนจากตองการศึกษาถึงสภาวะอารมณจากการดำเนินชีวิตในแตละวัน การพบเห็นสิ่งตางๆ การ เชื่อมโยงระหวางภายนอกและภายใน สิ่งที่อยูภายในสวนลึกของจิตใจ การตั้งคำถามกับตัวเองและขยายเชื่อมโยงไปยังวงกวาง ของสังคม และสุดทายวกกลับมาเพื่อแกปญหาของตัวเอง ผลงานชุดนี้เปรียบเสมือนการคอยๆ คลี่คลายปมในใจของขาพเจา โดยการคิด พิจารณาถึงตัวตนสภาวะภายใน มโนภาพที่ถูกซอนเรน ขาพเจาสื่อความหมายของอารมณความรูสึกตางๆ โดย ถายทอดเรื่องราว ผสมผสานแนวความคิดและอารมณความรูสึกผานสิ่งมีชีวิตในดินแดนโลกเสมือนที่สรางขึ้นมา 2 สิงห์คํา โต๊ะงาม, ไสยเวท อาถรรพณ์ ลึกลับ อานุภาพแห่งมายิก (กรุงเทพฯ :อินทรีย์, 2521), 264. 196


การใชเรื่องราวจากคัมภีรโบราณ ไตรภูมิ อีกทั้งการใชสัญลักษณตางๆ มีทั้งการนำมาใชโดยตรงและการพัฒนาจนมี ลักษณะเปนสวนตัว นาจะไดรับผลสำเร็จที่สามารถถายทอดความรูสึกลึกลับ และสามารถถายทอดใหผูที่ไดติดตามชื่นชมใน ผลงานชุดนี้ ไดเขาถึงแนวคิดหรือพุทธปรัชญา เพื่อพัฒนาใหชีวิตไปในทางที่ดียิ่งขึ้น เอกสารอางอิง หนังสือ กรมศิลปากร. (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เลม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. . (2542). สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เลม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. จอรจ เฟอรกูสัน. (2549). เครื่องหมายและสัญลักษณในคริสตศิลป.กรุงเทพฯ : อมรินทร. ชลูด นิ่มเสมอ. (2539). องคประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ไบรอัน เคอรติน. (2553). Spiritual Disease. กรุงเทพฯ : พิมดี. พีรพล เทพประสิทธิ์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล. พุทธทาสภิกขุ. (2549). วางจากกิเลส. กรุงเทพฯ : เพชรประกาย. . (2513). สมุดภาพปริศนาธรรมไทย. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา. วิลเลียม ฮารท. (2553). ศิลปะในการดำเนินชีวิต. กรุงเทพฯ : พิมพดี. สิงหคำ โตะงาม. (2521). ไสยเวท อาถรรพณ ลึกลับ อานุภาพแหงมายิก. กรุงเทพฯ : อินทรีย. สื่ออิเล็กทรอนิกส Buddhavihara, พระธรรมโกศาจารย (พุทธทาส อินทปญโญ). เขาถึงเมื่อ 5 พ.ค. 2565, เขาถึงไดจาก http://www.buddhavihara.ru/?page_id=237 197


จินตภาพแห่งสายใยความผูกพัน IMAGERY OF BONDS วิรายุทธ เสียงเพราะ* (ศป.ม.ทัศนศิลป์) 1 2 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ศุภชัย สุกขีโชติ 3 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมตตา สุวรรณศร นักศึกษาหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ E-mail [email protected] บทคัดย่อ สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่ส าคัญยิ่งของสังคม ดังจะเห็นได้จากครอบครัวไทยในอดีตนั้น เป็น ครอบครัวแบบขยาย ประกอบไปด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ร่วมกัน ผู้สร้างสรรค์เกิดและเติบโตมาในครอบครัวใหญ่ ท าให้ในวัย เด็กถูกหล่อหลอมมาด้วยความรักความอบอุ่น นับว่าครอบครัวมีความส าคัญต่อตัวผู้สร้างสรรค์มาก จากปัญหาดังกล่าวน ามาสู่ การศึกษาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคการถัก พัน สาน เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์สีขาว แสดงออกให้เห็นถึง คุณค่าความรัก ความผูกพัน ความอบอุ่นอันบริสุทธิ์ที่ได้รับจากครอบครัว การถักสานเกาะเกี่ยวเส้นใยเส้นเล็ก ๆ แต่ละเส้นที่มี ความอ่อนนุ่ม บอบบาง เมื่อเกาะเกี่ยวกันเป็นจ านวนมาก ก็สามารถสร้างความแข็งแรงให้กับรูปทรง ประดุจสายสัมพันธ์ที่ แข็งแรงของคนในครอบครัว เกิดเป็นผลงานประติมากรรมนุ่ม จากการศึกษาพบว่า ทฤษฎีความรักความผูกพันนั้น ช่วยให้ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่แสดงออกในด้านบวก การมองโลกในแง่ดี รวมทั้งในขั้นตอนการถักยังช่วยสร้างความสงบ ทางใจในเวลาที่คิดถึงบ้าน การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ต้องการกระตุ้นเตือนให้ผู้คนในสังคมเห็นถึงคุณค่าของความรักความ ผูกพันของคนในครอบครัว อันเป็นพื้นฐานส าคัญแห่งชีวิต ที่คอยบ่มเพาะให้จิตใจอิ่มเอมด้วยความรัก ส่งผลให้มีแนวทางการ ด าเนินชีวิตที่ดีงามต่อไป ค าส าคัญ : จินตภาพ สายใย ความผูกพัน ประติมากรรมนุ่ม ABSTRACT Family institution is the foundation in any given communities. This can also be observed from Thai traditional families which is normally congregated as an extended family consisting of grandfather, grandmother, living together. The creator of this work was born and raised in an extended family with love and warmth throughout the childhood time. These memoirs greatly affect him and subsequently contribute to the creation of this work. From the aforementioned reason, it led to the in-depth study and the establishment of the work using the techniques of knitting, wrapping and weaving by means of natural fibers and white synthetic fibers. This exhibits the value of love, bonding, and the pure warmth received from the family. Despite the soft and fragile characteristic of fibers, when weaving together, they get strengthened and strong enough that can be made into different forms and shapes. Likewise, this portraits as a strong bond within family members. Thus, the work was born as a soft sculpture. The study found that love and attachment within family significantly contribute to the positivity and optimism. With the knitting process, the creator eventually found peace of mind when being homesick. Lastly, the creation of this work attempts to encourage individuals in the society to see the value of love and family bonds that can be called as the basis of life. As this will fill the mind with love resulting in a decent life. Keywords: imagery, bonding, attachment, soft sculpture บทน า ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่เป็นหลักส าคัญที่สุดของสังคม ท าหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลา ให้แก่สมาชิกใน ครอบครัว ด้วยการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรัก ความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะด าเนิน 198


ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพเป็นก าลังส าคัญให้กับประเทศชาติจากที่กล่าวมานั้นจะพบว่าในปัจจุบัน ครอบครัวไทยเป็น ครอบครัวเดี่ยว ที่บุคคลในครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ต้องท างานจนขาดเวลาที่จะเอาใจใส่ ดูแลลูกหลาน เพราะ ด้วยภาวะเศษฐกิจที่บีบคั้นจนท าให้ละเลยกับการให้เวลาที่มีคุณภาพกับลูกจนเกิดเป็นปัญหาสังคมหลายอย่าง อาทิเช่น เด็กติด เกม การขาดเรียนมั่วสุม จากปัญหาที่กล่าวมานั้น ผู้สร้างสรรค์เองก็พบกับปัญหาที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเช่นกัน คือการสูญเสีย บิดามารดา ในช่วงวัยที่ผู้สร้างสรรค์ยังเด็ก ที่ยังต้องการค าชี้แนะ อบรม ในภาวะนั้นผู้สร้างสรรค์รู้สึกเคว้งคว้างขาดหลักยึด แต่ เหตุการณ์กับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อสูญเสียทั้ง บิดา มารดา ไปกลับได้รับความรักความเมตตา ดูแลจากญาติพี่น้อง เสมือนเป็น ลูกหลานที่รัก ได้มอบโอกาสทางการศึกษาและเอาใจใส่ ท าให้ผู้สร้างสรรค์รู้สึกเติมเต็มทางใจ และไม่รู้สึกขาดหายทาง ความรู้สึก นับเป็นการทดแทนความรักที่มีค่ายิ่งต่อชีวิต การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ชุด จินตภาพแห่งสายใยความผูกพัน จึงเป็นการน าเสนอแง่มุมของสายสัมพันธ์รักอันอบอุ่น โยงใย เชื่อมต่อ จนก่อเกิดความรู้สึกถึงความรักความอบอุ่น ที่จะเป็น การหล่อหลอมให้ผู้สร้างสรรค์เติบโตและก้าวเดินไปในอนาคตอย่างมั่นใจ ที่มาและความส าคัญของปัญหา ครอบครัวไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อันเกิดจากการเจริญรุดหน้าทางเทคโนโลยีท าให้ผู้คนต้องดิ้นรน เพื่อได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการในชีวิต จนหลงลืมเอาเวลาให้คนที่รัก ให้ครอบครัว จนเกิดเป็นปัญหาสังคมในวงกว้าง จากที่กล่าวมา นั้นตัวผู้สร้างสรรค์เองก็เป็นผู้หนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงล าพัง เนื่องมาจากบิดา มารดา ของผู้สร้างสรรค์ได้จากไปแล้วด้วย โรคมะเร็งทั้งสองคน ท าให้เกิดความรู้สึกเคว้งคว้าง เหงา คิดถึงพ่อและแม่ แต่โชคดีที่ผู้สร้างสรรค์นั้น เกิดมาในครอบครัวที่มี ญาติที่คอยดูแลให้ก าลังใจ คอยสนับสนุน อุ้มชู ดูแล ทดแทนความรักที่ขาดหายไปจากการสูญเสีย พ่อและแม่ จากที่กล่าวมานั้น ท าให้ผู้สร้างสรรค์เกิดความรู้สึกประทับใจ ในความรักที่ได้รับจากญาติพี่น้องทางบ้าน จึงเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์ ผลงานที่ต้องการกระตุ้นเตือนให้ผู้คนในสังคมหันมาเห็นคุณค่าของความรักความผูกพันของคนในครอบครัว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในหัวข้อ “จินตภาพแห่งสายใยความผูกพันธ์” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรักความห่วงใยของ คนในครอบครัวที่มีให้กัน โดยศึกษาทฤษฎีความรักความผูกพันและแนวคิดทฤษฎีทางศิลปะกลุ่มเส้นใย 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในเทคนิคประติมากรรมนุ่ม โดยใช้เส้นใยจากธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ 1 ชุด 3. เพื่อกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงคุณค่า ความรักความผูกพัน ที่ได้รับจากครอบครัวอันเป็นพื้นฐานที่ส าคัญของชีวิต วิธีการศึกษา การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในหัวข้อ "จินตภาพแห่งสายใยความผูกพันธ์" ประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทางวิชาการ ทั้งจากต ารา และศึกษาดูผลงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่มีเนื้อหาด้านรูปทรงของความสัมพันธ์ เพื่อรวบรวมเป็นภาพรวม ชองข้อมูลพื้นฐาน เรื่องความรักความห่วงใยที่ได้รับจากคนในครอบครัวซึ่งมีให้กัน จากการศึกษาหนังสือ ต ารา อินเทอร์เน็ต และการศึกษาดูงานจากสถานที่จริง รวมถึงศึกษาจากผลงานและแนวคิดจากศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานลักษณะดังกล่าว ขั้นตอนของการศึกษาและการสร้างสรรค์ เพื่อการน าเสนอผลงานหัวข้อ "จินตภาพแห่งสายใยของความผูกพันธ์" ที่สมบูรณ์ใน ฐานะผลงานวิจัย โดยสามารถจัดแบ่งขั้นตอนของการศึกษาและการสร้างสรรค์ได้ดังต่อไปนี้ ทฤษฎีความรักและความผูกพัน จอห์น โบลบี้ เชื่อว่า ความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะผูกพันกับคนเลี้ยงที่คุ้นเคย เพราะพฤติกรรมความผูกพัน ช่วยให้ รอดชีวิตเมื่อเผชิญกับอันตรายเช่น การถูกล่าหรือต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม (Duschinsky, 2013, 326–338) มนุษย์จ าเป็นต้อง สร้างความสัมพันธ์กับใครสักคนเพื่อเรียนรู้การอยู่ในสังคม โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์และการควบคุมที่มนุษย์พึงมีให้เป็นไปใน ทิศทางที่ดีสอดคล้องกับ ฟรีดแมน กล่าวว่าระบบครอบครัวประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน โดยในครอบครัวที่มีการสื่อสารที่ดีจะช่วยส่งเสริมอบรมเลี้ยงดู ท าให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น มีความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตลอดจนรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการท าให้รู้จักตนเองและ สมาชิกในครอบครัวได้ดีขึ้น (Milton Friedman, 1998, 85) 199


อิทธิพลจากช่วงเวลาความผูกพันในครอบครัวของผู้สร้างสรรค์ ครอบครัวคือบ้านหลังแรกที่ก่อก าเนิดชีวิตให้ผู้สร้างสรรค์ ได้เกิดและเติบโตอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตที่อบอุ่น เป็นสาย สัมพันธ์ที่แนบแน่นจากสายโลหิต ส่งถ่ายสู่จิตใจของบุคคลในครอบครัวทุกคน ให้มีความรัก สามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน แม้ว่าวัน เวลาหนึ่งนั้นชีวิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ก็จะท าให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว จวบจนเวลาผ่านไปนานเท่าใดก็ไม่สามารถ คลายความผูกพันนั้นลงได้ จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงขึ้น ก่อให้เกิดความกดดัน เพื่อแก่งแย่งแข่งขัน เอารัด เอาเปรียบ หวังเพียงได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ท าให้ร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า ทดท้อ จนในที่สุดมนุษย์ก็จะต้องหาก าลังใจมาเติม เต็ม จากการที่ผู้สร้างสรรค์ต้องจากบ้านมาใช้ชีวิตในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คนนานนับปี กว่าจะได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสนสุขและมีความหมายต่อจิตใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ใช้เวลาร่วมกันกับคนในครอบครัวอย่างมีความสุข ได้รับ ฟังปัญหา พูดคุยเรื่องราว สุข ทุกข์ ก่อเกิดสายใยสัมพันธ์จากการเล่าสู่กันฟังในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันเวลาที่ห่างไกล บ้าน การได้ร่วมประกอบอาหารและรับประทานในมื้อที่พร้อมหน้า ช่างเป็นช่วงเวลาที่อภิรมย์ราวกับการเติมพลังแรงกาย แรงใจจากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ความวิตกกังวลและความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ผ่อนคลายลง จากการได้กลับสู่อ้อม กอดแห่งบ้านและครอบครัว ครอบครัวจึงกลายเป็นที่พักพิงทางใจ เพื่อคลายความเหงา เปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง จากปัญหา และ ความคิดถึงบ้านเกิด เฝ้ารอวันที่ได้กลับบ้านมาพร้อมหน้ากันในช่วงเทศกาลต่าง ๆ อิทธิพลจากขนมลา ขนมลาเป็นขนมทางภาคใต้ที่ท าจากแป้งข้าวเจ้ามีมาอย่างช้านาน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ท าขึ้นเพื่อ ใช้แทนแพรพรรณอุทิศให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ด้วยลักษณะการสอดผสานของเส้นขนมราวกับเส้นไหมที่มีริ้วเป็นสีทองอันวิจิตร จากช่างทอผ้าผู้มีความช านาญ ในสมัยก่อน ใช้กะลาเจาะรูเล็ก ๆ หลายรู เพื่อตักแป้งแล้วแกว่งในกระทะทอดเป็นวงกลม เส้น แป้งมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย เสมือนเส้นด้ายที่มีสีแวววาวเป็นประกายสะท้อนแสงกับน้ ามัน ด้วยความเชื่อที่ว่า เส้นแป้งที่มี ขนาดใหญ่เกินไป เปรตในอบายภูมิไม่สามารถกินได้จากความเชื่อดังกล่าวผู้สร้างสรรค์เองก็สนใจในลักษณะของการใช้เส้นใยที่ มีลักษณะยาวต่อเนื่องกัน และคนโบราณก็สามารถน าความเชื่อมาสอดผสานให้เกิดเป็นแนวคิดทางศาสนา เพื่อสอนและ เตือนใจคน ซึ่งตัวผู้สร้างสรรค์นั้นในวัยเยาว์ ขนมลาเป็นดังของหวานที่ทรงคุณค่า ตราตรึง และหวนให้นึกถึงวันเวลาอันหอม หวานราวกับกลิ่นขนมลาซึ่งหาทานได้เฉพาะช่วงเทศกาลเดือนสิบ ความผูกพันของวันเวลาท าให้บรรยากาศแห่งกันแบ่งปัน หยอกล้อ สนุกสนานจากการได้กินหรือแม้แต่ตอนร่วมกันท าขนมลา หรืออีกนัยยะหนึ่งของการถักทอเส้นขนมลาที่ทับกันไปมา จนเกิดความเหนียวแน่น เหมือนญาติพี่น้องที่ไม่ว่าอยู่ไกลหรือใกล้ แห่งหนใด เมื่อถึงงานบุญเดือนสิบก็จะต้องกลับมาพบปะกัน อย่างพร้อมเพรียงคงให้เห็นถึงคุณค่าแห่งสายใยในครอบครัวที่เมื่อรวมกลุ่มกันก็สามารถสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้ แนวคิดทางเทคนิคประติมากรรมนุ่ม (Soft Sculpture) ประติมากรรมนุ่มเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ให้ประติมากรรมมีความละมุน ซึ่งมีการใช้ค าไม่ค่อยแพร่หลายนัก มักใช้ ค าว่า Soft Sculpture เพิ่งให้ความหมายของงานประติมากรรมที่เปลี่ยนไป ด้วยความที่ต้องแข็งแรงหนักแน่นและมั่นคงเป็น สัญลักษณ์แห่งเพศชายตรงกันข้ามกับ Soft Sculpture ที่มีความนุ่มนวล บางเบา แปรเปลี่ยนไปได้ทุกสถานที่ราวกับสตรีSoft Sculpture เป็นประติมากรรมที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่มีความละมุนสัมผัสบางเบา ราวกับเครื่องนอน เช่น ผ้าหรือเส้นใยชนิด ต่าง ๆ จากความชื่นชอบหรือความต้องการน าเสนอของศิลปิน "ประติมากรรมนุ่ม หมายถึงประติมากรรมประกอบด้วยวัสดุที่ อ่อนนุ่ม เช่น ยาง ผ้า ซึ่งเป็นการท าลายความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับประติมากรรม จากปกติจะท าด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน และชั้นสูง เช่น หินอ่อน บรอนซ์" (Artsy. Soft Sculpture [online], February 24, 2016. https://www.artsy.net/gene/soft-sculpturc) จากแนวความคิดข้างต้นท าให้เห็นถึงความกล้าหาญของศิลปินในการ เลือกใช้วัสดุที่แตกต่างจากรูปแบบดั้งเดิม โดยอาจมีหรือไม่มีโครงสร้างภายใน ก็ได้ท าให้รูปแบบผลงานเป็นภาพปรากฏใหม่จาก ประติมากรรมแบบดั้งเดิมข้อมูลอิทธิพลจากศิลปะไฟเบอร์อาร์ต (Fiber art) และ Yarn Bombing ศิลปินไฟเบอร์อาร์ตกลุ่มไฟเบอร์อาร์ต (Fiber art) ถูกเรียกขึ้นโดยภัณฑารักษ์และนักประวัติศาสตร์ศิลป์เพื่ออธิบาย การท างานศิลปะของศิลปินในยุค 80 ที่สะท้อนแนวคิด การแสดงออก และอัตลักษณ์ที่ทดลองน าวัสดุเส้นใยหลายประเภทมา สร้างสรรค์ เส้นใยในงานไฟเบอร์อาร์ตที่พัฒนาแนวคิดไปเรื่อย ๆ ตามอิทธิพลจากยุคโพสโมเดิร์น น าเสนอภาพลักษณ์ที่ แตกต่างออกไปจากงานช่างฝีมือในอดีต ผ่านการถัก ทอ ขยายเพิ่มเติมซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชมรับรู้ผ่านแนวความคิด เรื่องความรัก ความเชื่อ หรือความชื่นชอบของศิลปินได้อย่างมีประสิทธิภาพ น าเสนอวิธีการผ่านรูปแบบที่ใช้เส้นใยจาก ธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ โดยเส้นใยเหล่านั้นอาจมีผิวมันวาว กระด้าง โปร่งใส ทึบตัน ยืดหดได้ หรือเส้นใยที่เปราะบาง 200


ศิลปินสร้างวิธีการท างานและถ่ายทอดผลงานโดยการสอด ผูก มัด เย็บ ปัก ถัก ร้อย ดุน กระทุ้ง หรือวิธีอีกมากมายที่สามารถ น ามาใช้กับเส้นใยได้ ตามประสบการณ์ วิถีชีวิต หรือแนวความคิดเพื่อเพื่อตอบสนองความคิด อีกประเภทหนึ่งของศิลปะเส้นใยคือ Yarn Bombing และ Graffiti Knitting ซึ่งถือก าเนิดขึ้นมาเป็นความน่ารักของ การใช้เส้นใยถักห่อหุ้มวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจ าวันแล้วพลันให้เกิดแรงบันดาลใจในการห่อหุ้มวัตถุที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะมาก ขึ้น งานศิลปะ yarn bombing ไม่ได้มีเพียงความสวยงามที่ผู้ชมมองเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยผลงานที่สามารถอดออกได้และไม่ คงทนถาวรจึงไม่ได้ท าลายทัศนียภาพหรือวัตถุที่ไปห่อคลุม ในรัฐ Texas มีศิลปินที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ Knitta Please และ Magda Sayeg เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการถักหุ้มสถาปัตยกรรม เสาไฟ ป้ายจราจร และสิ่งสาธารณะอื่น ๆ อีก มาก ปัจจุบันศิลปะ Yarn Bombing กระจายตัวอยู่บนพื้นที่ต่าง ๆ มากมายทั่วทุกมุมโลกในการสร้างนัยยะที่แตกต่างกันไป และเพื่อเปลี่ยนสิ่งอันคุ้นชินให้แตกต่างแปลกตาออกไป ทั้งยังเป็นส่วนในการท าให้ผู้คนหันมาสนใจและมีความสัมพันธ์กับ สิ่งก่อสร้าง รอบตัวได้ดียิ่งขึ้น จิตวิทยาของสี แสงและสีมีผลทางจิตวิทยาสามารถสะท้อนอารมณ์ได้มากมาย โดยผลงานที่มีสีสันสื่ออารมณ์ได้นั้นมักวิเคราะห์ จิตวิทยาของสีแล้วสามารถท าให้เป็นผลงานที่มีการสื่ออารมณ์ที่ยอดเยี่ยมได้ ก่อให้เกิดการดึงความรู้สึกของผู้ชมให้มีอารมณ์ ร่วมตามที่ผู้สร้างสรรค์น าเสนอ จึงเห็นได้ว่าแสงและสีมีความส าคัญในการน ามาใช้ประกอบชิ้นงาน และการน าเสนอผลงาน เพื่อสื่ออารมณ์ได้อย่างชัดเจน สร้างอารมณ์ให้ผู้ชมได้เป็นอย่างดี การรับรู้เกี่ยวกับสี จากหนังสือ Graphics for Visual Communication ได้เรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับสีว่า “เรื่องราวของสีมีมากมายเกินกว่าจะจ าได้ การใช้สีก็ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เหมือนคณิตศาสตร์อาจขยายวงกว้างออกไปหรือท าให้แคบลงก็ได้ และในเมื่อ สีไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางกายภาพของสิ่ง หนึ่งอาจมีสีหนึ่งเมื่ออยู่ตามล าพังแต่การรับรู้เกี่ยวกับสีกลับขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (Denton, 1992, 102-114) ปัจจัยที่ ส าคัญในการสร้างสรรค์ของศิลปะหลากหลายแขนงคือสีและแสง เพื่อบ่งบอกให้รู้ถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์และสภาพอารมณ์ ของชิ้นงานนั้น ๆ อาจใช้รูปแบบการวิเคราะห์แนวความคิดจากสภาวะสังคมการเมือง ครอบครัวหรือปรัชญาต่าง ๆ มา สร้างสรรค์ และถ่ายทอดให้ผู้ชมได้รับความรู้สึกตามจุดมุ่งหมาย การจัดแสงจะให้อารมณ์ต่าง ๆ แสงสีทองยามบ่ายพุ่งเป็นล า จากหน้าต่าง ให้ความรู้สึกโดดเดี่ยว แสงนวลสีฟ้าจากดวงจันทร์ให้ความรู้สึกว้าเหว่ ลึกลับ แสงสว่างโล่ทั้งภาพให้ความรู้สึก สบายใจ ไม่อึดอัด ต่างกับแสงเข้มจัดสว่างจัดที่ท าให้เกิดความรู้สึกน่ากลัว อารมณ์ของแสงเป็นหนึ่งใน mise en scene ที่จะ ท าให้มีคุณค่าทางศิลปะ (ผศ.ปกรณ์ พรหมวิทักษ์, 2555, 22) ผู้สร้างสรรค์พบว่าสีมีอิทธิพลทางความรู้สึกของมนุษย์ เพราะสีสามารถกระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความสุข สงบ หรือ ตื่นตัว ตื่นเต้น เร้าใจ หรือกระตุ้นการเติบโต จากที่กล่าวมานั้นในการสร้างสรรค์ผลงานชุด “จินตภาพแห่งสายใยความผูกพัน” ผู้สร้างสรรค์ได้น าแนวคิดที่ได้จากจิตวิทยาของสีมาศึกษาและคัดเลือกสีขาว มาใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์แทนความรักอันบริสุทธิ์ ของครอบครัว เพราะสีขาวให้ความรู้สึกอ่อนโยนและไร้เดียงสา บริสุทธิ์ ว่างเปล่า สะอาด สดใส เบาบาง ความเมตตาและ ศรัทธา ความสงบสุขและเรียบง่ายช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างให้กับความคิดใหม่ ๆ 3. เก็บข้อมูลศิลปินที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศที่สร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้เส้นใย ประกอบด้วย ภาพที่1 ภาพผลงานของ อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ (ก) My Father's Pigtail, สื่อผสม, 2551 (ข) หมอนของพ่อ, สื่อผสม, 2551 ( ก ) (ข) 201


ที่มา: มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยานิพนธ์ [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่: 7 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก: http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Imhathai_Suwatthanasilp/Fulltext.pdf 3.1 อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ ศิลปินมีจุดเริ่มต้นเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ศิลปินมีต่อบุคคลในครอบครัว ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว น า ให้ผลงานศิลปะมุ่งสู่แนวคิดที่เกี่ยวกับสายใยแห่งครอบครัว โดยอาศัยเส้นผมที่เป็นส่วนประกอบหลักแสดงออกถึงตัวตนและ บุคลิกภาพของมนุษย์ อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้พันธุกรรมและความสัมพันธ์ทางสายเลือด ศิลปินมองเห็นเรื่องของวันเวลา และการเปลี่ยนแปลงในวัสดุที่น ามาใช้ไม่ว่าจะเป็นขนาด สี การหลุดร่วง และงอกขึ้นใหม่ เฉก เช่นกฎแห่งไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เรื่องราวของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเปรียบเสมือนเส้นผมที่อยู่บน ร่างกาย มีการงอกยาว หลุดร่วง ที่มีความรักความอบอุ่นและความผูกพันระหว่างกัน จึงหยิบยกเอาเส้นผมมาท าการเรียบเรียง ด้วยการ มัด เย็บ ปัก ถัก ผูก ร้อย และการคลุมห่อเข้าด้วยกันเหมือนต้นไม้ที่งอกเงยขึ้นใหม่ราวกับชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เช่นเดียวกันกับคนในครอบครัวนอกจากเส้นผมที่ศิลปินเลือกใช้แล้วยังประกอบไปด้วยวัตถุสิ่งของที่คนในครอบครัวใช้ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยความเชื่อที่ว่า “ทุกสิ่งล้วนมีประสบการณ์ร่วม ให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อวัตถุและผู้ใช้ในช่วงเวลา นั้น” เช่น การน าหมอนใบหนึ่งที่ผู้เป็นบิดาใช้รองศีรษะแทนความรู้สึกในขณะที่บิดาของศิลปินป่วย ราวกับการดูดซับความ เจ็บปวดทางร่างกายกดทับลงบนรอยนุ่นที่ยุบลงไปอย่างอาวร หมอนใบใหญ่ที่ผ่านการใช้งานอย่างยาวนานของมารดาสะท้อน เรื่องราวของความเศร้าและคราบน้ าตาของการด าเนินชีวิตในช่วงเวลาอันแสนล าบากนั้นถ่ายทอดสู่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี ตุกกตาผ้า เก่ากับของเล่นในวัยเยาว์ที่มีความผูกพันสะท้อนความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้เป็นฝาแฝดของศิลปิน โดยอาศัยลักษณะเฉพาะ ของวัตถุที่มีความนุ่นละมุน อ่อนโยน และเป็นสัญลักษณ์แห่งปฐมวัยมาน าเสนอในงานสร้างสรรค์สะท้อนความสดใส ไร้เดียงสา และความโหยหาแห่งวัยอันล่วงเลย ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเพื่ออุทิศให้แก่สมาชิกในครอบครัวอันเป็นที่รักยิ่ง โดยเริ่มใช้เส้น ผมที่หลุดร่วงของตนเองเพื่อแทนสายใยของครอบครัว แล้วมีการพัฒนารูปแบบเทคนิค วิธีการเพื่อหยิบยกเอาศิลปะวัตถุใน ความหมายของสายใยแห่งครอบครัว ประกอบกับการน าภาพถ่ายที่บันทึกเวลาอันมีค่า มีความหมาย อารมณ์ ความรู้สึก และ เหตุการณ์ที่สอดคล้องกับผลงานแต่ละชิ้นจัดแสดงร่วมกัน แสดงออกด้วยการผูก มัด เย็บ ปัก ถัก ร้อย คลุม และห่อผสมผสาน กับวัตถุของผู้คนในครอบครัวที่มีความผูกพันกัน ภาพที่2 The State of suffering, mixed media, installation, 2018, size variable ที่มา: BKK Art Biennale เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่: 7 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก: http://bab18.bkkartbiennale.com/project/power-of-arts-unleashed/ 3.2 สุนันทา ผาสมวงศ์ จากจุดเริ่มต้นที่ศิลปินได้รับความเศร้าโศกจากการสูญเสีย ความรัก และความอบอุ่นอันเป็นปัจเจกที่พลัดพรากจาก บิดา สิ่งนี้ส่งผลต่อความรู้สึกอยู่เสมอส่งผลให้การสร้างสรรค์ผลงานของเขามีรูปแบบที่ห้อยแขวนดิ่งลง ลักษณะของเส้นที่ก่อรูป เป็นโครงสร้างคล้ายเรือนร่างมนุษย์ที่ขาดแหว่ง สะท้อนเรื่องราวเกิดจากข้าวของ ความทรงจ า และความผูกพันในอดีตที่ถูก ท าลาย ซึ่งศิลปินน าเสนอการ “สร้างปมปัญหา” ต่อความคิดอารมณ์ซึ่งเป็นความโหยหาพรากจากสิ่งที่รักในทางลบ เขามีแง่มุม และทัศนคติต่อประสบการณ์อันเลวร้ายที่พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักนี้ จากเวลาอันยาวนานแล้วถ่ายทอดออกมาผ่าน 202


ทัศนธาตุที่มีลักษณะของเส้นทับซ้อนกัน ราวกับสายใยผูกมัดจิตใจ ดึงรั้งความรู้สึกเอาไว้ไม่ยอมผ่อนคลาย รูปทรงย่อยที่คล้าย กับส่วนที่เป็นอวัยวะของมนุษย์ เปรียบเปรยระหว่างความแข็งแรงและเปราะบางที่มีอารมณ์ความรู้สึกผันแปรอยู่ตลอดเวลา เขาความน าความทุกข์ที่เกิดขึ้นถ่ายทอดผ่านการบ าบัดด้วยการท างานศิลปะ อีกทางหนึ่งในขณะที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานก็ยัง เป็นการละลายความหม่นหมองในจิตใจให้เบาสบายและผ่อนคลาย ปล่อยวางความทุกข์นั้นจนปรากฏรูปขึ้นเป็นผลงาน วัสดุที่ เขาเลือกใช้มีความโดดเด่นด้วยความเป็นเส้นใยโลหะเช่น ลวดอลูมิเนียม ลวดสีเงิน สีทอง สีด า และที่เป็นเส้นทองแดง มีความ นิ่ม เล็ก ผ่านกระบวนการถัก กด ทับ และดัดจนปรากฏเส้นที่ทับซ้อนเกี่ยวพันกันเป็นรูปร่างคล้ายมนุษย์ที่เป็นกึ่งนามธรรม ผสมผสานกับรูปทรงทางองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพแล้วติดตั้งในรูปแบบของศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่ สามารถให้ ผู้ชมเข้าไปในพื้นที่ของผลงานเพื่อรับรู้และสัมผัส ถึงความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกมาผ่านกระบวนการที่ไม่สามารถผลิตซ้ า อย่างเดิมได้ผลงานมีความงามทางด้านความคิดและกระบวนการ อีกทั้งยังมีความงามของรูปทรงเมื่ออยู่ในพื้นที่อันเหมาะสม แล้วเกิดเป็นเอกภาพ การทับซ้อนของรูปทรงที่เกิดจากการถักดัดด้วยเส้นใยโลหะประสานกับพื้นที่ว่าง ขับ เน้นให้รูปทรง แสดงออกให้ความหมายตามแนวคิดที่มุ่งน าเสนอ อาศัยเส้นเป็นตัวแทนของความรู้สึกที่ทับถมกัน จนเกิดเป็นรูปทรงมีมวล ปริมาตรราวกับปมในชีวิตที่ได้รับมา ติดตั้งโดยการแขวนลอยจากเพดานและให้แสงกับเงาท าหน้าที่ขับเน้นผลงานจนเกิดมิติ มากขึ้นในพื้นที่ว่าง อีกทั้งยังสร้างสรรค์ผลงานที่มีความหลากหลายในการติดตั้งทั้งบนผนัง เพดาน พื้นหรืออาจเป็นพื้นที่ห้อง มุมหนึ่งในของตัวอาคาร ภาพที่4 Yeon-gi 8460, 2013, stainless steel mesh, 600 x 400 cm 215x30x220 cm ที่มา: seungmopark [online] เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่: 7 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก: https://www.seungmopark.com/copy-of-maya-1 3.4 ซึงโม ปาร์ค (Seung Mo Park) ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจากภาพ portrait ขนาดใหญ่ด้วยการวางโครงลวดตาข่ายเข้าด้วยกันและตัดเลเยอร์ทับซ้อน เพื่อสร้างความตื้นลึกของผลงาน งานแต่ละชิ้นเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพถ่ายที่ซ้อนทับกันโดยอาศัยชั้นลวดสอนพับและค่อยๆ ตัดฉีกพื้นที่ตาข่ายที่ไม่ต้องการออก ด้วยมิติของภาพที่ทับซ้อนดูเคลื่อนไหวมีส่วนลึกส่วนตื้นของผลงานท าให้ชิ้นงานมีความ หนาและกินพื้นที่ไปในอากาศ เกิดเป็นจินตนาการและมิติราวกับว่าเป็นวัตถุสิ่งที่อยู่ตรงหน้าจนพัฒนาต่อไปยังภาพทิวทัศน์ที่ น าเสนอสิ่งส าคัญให้ผู้ชมได้เห็นในการซ้อนทับกันระหว่างผลงานและความเป็นจริง เขาต้องการให้เห็นถึงขณะหนึ่งที่ผู้ชมมอง ภาพผืนป่าของเขาที่มีความสงบของป่าไม้ แสง และโครงสร้างของต้นไม้ค่อยๆกระจัดกระจายเมื่อผู้ชมเข้าไปใกล้ก็เหลือเพียง เส้นลวดที่ทับซ้อนกัน แต่เมื่อถอยห่างออกมาภาพผืนป่านั้นก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง อีกแนวความคิดหนึ่งของเขามีการเชื่อมโยงกับ ปรัชญาทางพุทธศาสนาที่ทุก ๆ อย่างเกิดขึ้นและพึ่งพาซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการที่สนับสนุน ให้กันและกัน เมื่อผู้ชมเข้ามาใกล้ผลงานรูปร่างจะกระจัดกระจายจนในที่สุดก็มองไม่รู้ว่าเป็นภาพอะไร แต่ก็สัมผัสได้ถึงสิ่งที่ หลงเหลืออยู่คือน้ าหนักของลวดและมีการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติ หากถอยออกมาในระยะหนึ่งเราก็จะพบความงามในอีก รูปแบบหนึ่ง เรากับมนุษย์เราที่ย่อมมีระยะที่เหมาะสมในการท าสิ่งต่าง ๆ อีกนัยยะที่น าเสนอคือ การที่ผู้ชมจ ารูปภาพนั้นได้ อย่างชัดเจนว่าเป็นภาพอะไรจากการมองในระยะไกล เมื่อเข้าไปใกล้แล้วผลงานที่ค่อย ๆจางลง จางลง จนรู้สึกแปลกไปก็ย่อม ท าให้ผู้ชมต้องย้อนกลับมาดูอีกครั้ง พร้อมตั้งค าถามว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นเช่นไรและ “มีจริงหรือไม่” เขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่ง 203


แล้วรู้สึกประทับใจมากราวกับตกอยู่ในห้วงของภวังค์ พอรู้สึกตัวอีกทีก็ราวกับตื่นขึ้นด้วยความสับสนว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือ เรื่องฝัน จึงก่อเกิดเป็นผลงานข้างต้นที่กล่าวมาและน าเสนอนิทรรศการที่เขาน าเสนอผลงานในชื่อ “มายา” ในภาษาสันสกฤตที่ แปลว่าภาพลวงตา เรากลับมีตัวตนที่แท้จริงเปิดเผยอยู่แต่กลับถูกปิดกั้นด้วยความว่างเปล่าจนในที่สุดทุกสิ่งที่ดูเหมือนมีอยู่จริง นั้น ก็อาจจะไม่ได้มีอยู่เลยและมองไปถึงการมีชีวิตอยู่ที่แยกไม่ออกของช่องว่างระหว่างคนเป็นและคนตาย เขาจึงเปรียบงานที่ สร้างขึ้นว่ามันไม่เคยเป็นไม่เคยมีไม่มีวันจะเป็นเราไม่เคยเกิดเราไม่เคยตายและจะไม่มีวันเกิด ภาพที่3 Staircase-V, 2008, Polyester and stainless steel tubes, edition Installation view ที่มา: Tate [online] เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่: 16 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก: https://www.tate.org.uk/art/artists/do-ho-suh-12799 3.3 ดู โฮ ซู(Do Ho Suh) เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นผู้น าการเคลื่อนไหวทางศิลปะในปี 1960 เป็นการผสมผสานภาพวาดแบบดั้งเดิมผสมกับ แนวคิดสมัยใหม่ ภายหลังการย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาท าให้เขาตีความเรื่องบ้านและวิถีชีวิตดั้งเดิมของเขาไปสู่ ผลงานที่สื่อถึงพื้นที่ว่างและพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านซึ่งเป็นแบบจ าลองบ้านในวัยเด็กของเขา การท างานที่อาศัยสถาปัตยกรรม พื้นที่และอัตลักษณ์ส่วนตัว โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากที่สุดท าจากผ้าไนลอนที่เย็บกันอย่างช านาญ จ าลองพื้นที่จาก บันไดอพาร์ทเม้นท์สไตล์ตะวันตกที่เขาอาศัยอยู่ร่วมกับบ้านในวัยเยาว์ของเขาเป็นบันไดที่พ่อกับแม่ของเขาในเกาหลีใต้มีการ เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ของวัฒนธรรมและความทรงจ าส่วนตัวของเขาจากแรงบันดาลใจที่ว่าบันไดประตูและสะพานพวกมันท า หน้าที่เชื่อมต่อแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกันพื้นที่ทั้งหมดนั้นแยกกันและอยู่ในจิตของตนซึ่งเป็นความคิดที่แสดงถึงตัวตนของเขาได้เป็น อย่างดี วัสดุที่เขาเลือกน ามาใช้คือผ้าโพลีเอสเตอร์สีชมพู เป็นเนื้อผ้าที่มีลักษณะโปร่งบางเกิดความรู้สึกคล้ายกับมุ้งและติด ครอบคลุมไปบนโครงลวดสแตนเลส โครงสร้างที่ถูกจัดวางอย่างงดงามและแม่นย าด้วยความเอาใจใส่ เขาวัดขนาดของพื้นที่ และตัววัตถุอย่างพิถีพิถัน เป็นระบบ เพื่อความสมบูรณ์ของชิ้นงาน สีสันในวัสดุที่มีความเบาบางโปร่งแสงผนวกกั โครงสร้างที่ แข็งแรงและสมจริง ให้ความรู้สึกเหมือนกึ่งหลับกึ่งตื่น กึ่งจริง กึ่งฝัน ดูเสมือนจริงแต่ก็ไม่เหมือนจริง ผู้ชมจะได้รับรู้ถึง สุนทรียภาพทางสายตา มีความนุ่มนวลสบาย ชวนให้นึกถึงอดีตความทรงจ าความผูกพันและ ครอบครัว สิ่งเหล่านี้ผุดขึ้นเป็นความรู้สึกมาในหัว บันไดแต่ละขั้นที่ทอดยาวขึ้นไปจนเห็นชั้นบน ท าให้เกิดค าถามว่า เป็นอะไรหรือเป็นอย่างไร ศิลปินเว้นว่างไว้ท าไม ราวกับเชิญชวนให้ผู้ชมได้จินตนาการต่อร่วมกับเขาแต่ไม่ได้มีเพียงความทรง จ าเท่านั้นที่งานชิ้นนี้สื่อสารกับผู้ชม ตัวงานยังพูดถึงความเปลี่ยนแปลงแปรผันและการประสานแทรกกันของวัฒนธรรม ความ บางของผ้าที่แสงส่องผ่านและมองทะลุได้เหมือนการไม่ปิดกั้นความแปรผันของวันเวลาและสิ่งต่าง ๆ ด้วยกายภาพของผ้าที่ เคลื่อนไหวเมื่อต้องลมสุนทรียะที่ได้จากแสงอันเปลี่ยนไปจึงส่งให้งานชิ้นนี้มีความงดงามยิ่งขึ้น ภาพที่5 SILK SPUN ON A REMOVABLE SCAFFOLDING STRUCTURE, 2013, SILK (ก) SILKWORM TEMPLATED RESPONSE TO HEIGHT (ข) SILK SPUN ON A REMOVABLE SCAFFOLDING STRUCTURE (ค) BIOLOGICALLY-SPUN SILK OVER ROBOTICALLY-SPUN SILK (ง) 6,500 SILKWORMS SPUN FOR 3 WEEKS TO COMPLETE THE STRUCTURE ที่มา: Neri Oxman เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่: 7 ตุลาคม 2564 เข้าถึงได้จาก: https://oxman.com/projects/silk-pavilion-i 204


3.5 เนริ อ็อกซ์แมน (Neri Oxman) ผลงานของเขาสะท้อนถึงการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างรูปส่งผ่านวิธีการทางดิจิตอลโดยสะท้อนแรงบันดาล ใจจากธรรมชาติและชีววิทยา ผลงานของเขาเก็บสะสมอยู่ในคลังสะสมถาวรของ Paola Antonelli ผู้เป็นภัณฑารักษ์ของ MOMA และให้สมญานามเธอว่าเป็น “คนที่ก้าวหน้าจากยุคของตัวเองไปแล้ว” มีผลงานแตกต่างและโดดเด่นกว่าศิลปินรุ่น เดียวกัน ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงทั่วโลกและมีเก็บสะสมในการสะสมของพิพิธภัณฑ์ชั้นน าต่าง ๆ ทั่วโลก เขาศึกษา ส ารวจความสัมพันธ์ของระบบทางชีวภาพชีวิตที่เกิดขึ้น และการค านวนการก่อเกิดนั้นโดยผสมผสานการทอเส้นใยด้วย เครื่องจักรที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการสร้างรังของหนอนไหม ในขณะเดียวกันก็ใช้ฝูงหนอนไหมที่มีชีวิตจริงจ านวน 6,500 ตัว ให้สร้างรังไหมไปพร้อมกันกับเครื่องจักรที่สร้างใยไหมเทียมเพื่อศึกษาระยะเวลาและรูปแบบพฤติกรรมการปั่นด้ายรวมถึงการ เคลื่อนที่ของตัวไหมในการสร้างรัง จากใยไหมที่มีลักษณะเป็น 2 มิติ สู่การก่อเกิดเป็น 3 มิติ การศึกษาษาสิ่งเหล่าเขามี จุดมุ่งหมายที่จะให้วัสดุมี่อยู่ในธรรมชาติเพื่อให้เกิดใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติมากขึ้น แนวคิดทางศิลปะจัดวาง (Installation Art) ศิลปะจัดวาง (Installation Art) ปรากฎให้เห็นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 1950 โดยเริ่มได้รับความนิยมจากศิลปินใน สหรัฐอเมริกาและยุโรปเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (สุธี คุณวิชยานนท์, ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย : ตะวันตกและไทย, 2561, 150) เป็นการน าเสนอวัตถุให้เกิดความสัมพันธ์กับพื้นที่เพื่อสร้างความหมายควบคู่กันไป โดยส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะ 3 มิติ มุ่ง น าเสนอการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และสิ่งโดยรอบ อาจติดตั้งทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคารสิ่งก่อสร้าง โดยส่วน ใหญ่มักแสดงในพื้นที่ของหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ และอาจเป็นพื้นที่ที่เลือกโดยศิลปินอย่างจ าเพาะเจาะจง( Alternative space) หากจัดวางภายนอกอาคารมักถูกเรียกว่า แลนด์อาร์ต (Land Art) หรือ เอนไว-รอนเมนทัลอาร์ต (Environmental Art) หรือที่รู้จักกันในภาไทยว่า ภูมิศิลป์ ศิลปะจัดวางถูกใช้เพื่ออธิบายผลงานสื่อผสม (Mixed Media Art) หรือการจัดวางโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ บ่อยครั้งมัก ได้รับการออกแบบให้มีความหมายสัมพันธ์ไปกับพื้นที่เฉพาะ หรือเป็นเพียงปรากฏการณ์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Tate, Installation Art [online], November 4, 2019, available from https://www.tate.org.uk/art/artterms/installation-art) โดยที่ศิลปะจัดวางนี้อาจมีการติดตั้งแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวตามความเหมาะสม ทั้งนี้ มาร์ค โร เชนซัล (Mark Rosenthal) ได้แบ่งประเภทผลงานศิลปะ จัดวางไว้ 2 ประเภทคือ Site-specific และ FIlled-space (Mark Rosenthal, Art New York, 1997, 28) Site-specific หมายถึง ศิลปะจัดวางแบบจ าเพาะเจาะจงสถานที่ ทั้งนี้วัตถุศิลปะกับพื้นที่จัดแสดงจะมีความสัมพันธ์ใน ด้านการสื่อสารความหมาย (ก) (ข) ( ค ) (ง) 205


FIlled-space หมายถึง ศิลปะจัดวางที่วัตถุมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยวัตถุดังกล่าวสามารถสื่อสารความหมายใน ตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ ไม่จ าเป็นต้องอาศัยความหมายของพื้นที่จัดแสดง ภาพที่6 ภาพผลงานชุด “จินตภาพแห่งสายใยความผูกพัน” ผู้สร้างสรรค์ นายวิรายุทธ เสียงเพราะ, 2564 4. การวิเคราะห์ผลงาน จากการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัวเกษตรกรปาล์มน้ ามัน ที่ด าเนินชีวิตไปอย่างมีความสุข ด้วยความรัก ความเอา ใจใส่ของญาติพี่น้องที่คอยดูแลเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเติบโตขึ้นเพียงใดหากพบเจอปัญหาในชีวิต ก็ไม่เคยปล่อยให้เปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง ท าให้ผู้สร้างสรรค์ตระหนักถึงคุณค่าและความส าคัญของสถาบันครอบครัวอยู่ตลอดเวลา โดยได้รับแรงบันดาลใจใน เทคนิคการสานเส้นใยจากการท าขนมลา จากความประทับใจในวัยเยาว์ของผู้สร้างสรรค์ที่ชื่นชอบขนมลาเป็นอย่างมาก ขนม ลา ท าจากแป้ง น้ าตาล มีโปรตีนจากไข่แดง และประกอบกับมีไขมันอยู่ด้วย เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจง อย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้า ผสมน้ าผึ้ง (หมายถึง น้ าตาลที่ได้จากต้นตาลโตนด ส่วนน้ าผึ้งที่ได้จากรวงผึ้ง คนใต้จะเรียก น้ าผึ้งรวง) แล้วค่อยๆ ละเลงลงบนกระทะน้ ามันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราวใยไหมและสอดสานกันเป็นร่างแห จึง สังเกตเห็นว่าเส้นใยในการท าขนมลาให้ออกมาเป็นแผ่นมีความน่าสนใจราวกับญาติพี่น้องที่รวมกันเป็นปึกแผ่น ด้วยการทับ ซ้อนของเส้นใยนี้จึงท าการศึกษาวิธีท าขนมลา และหาวิธีการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้สร้างสรรค์ได้น าอุปกรณ์ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงาน จากวัสดุที่ท าการศึกษา มาสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมนุ่มพบว่า วัสดุที่น ามาท าโครงสร้างมีความอ่อนตัว สามารถตอบสนองความรู้สึกได้ดี รวมถึง วัสดุทั้งหมดที่มีความเหนียว ยืดหยุ่น อีกทั้งยังมีสีขาวและผิวสัมผัสที่บอบบางซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เหมาะสม ตรงตามแนวคิดที่ผู้ สร้างสรรค์ต้องการแสดงความรู้สึกของประสบการณ์ที่ดีต่อครอบครัว เมื่อกล่าวถึงเส้นใยซึ่งสามารถก่อรูปทรงขึ้นมาได้มีวิธีต่าง ๆ มากมายทั้งที่มีโครงสร้างภายในและอาศัยการห้อยแขวนเช่นเดียวกับโคมไฟ ผู้สร้างสรรค์เลือกการใช้วิธีสร้างโคมไฟจาก เส้นด้ายด้วยการน าเส้นด้ายมาชุบกาว สร้างสรรค์ผลงานเพื่อน าเสนอให้สอดคล้องกับแนวความคิดและมีความคล้ายคลึงกับ วิธีการท าขนมลา เพื่อสามารถท าให้เส้นใยสามารถทับซ้อนประสานกันจนก่อเป็นรูปร่างแล้วสามารถน ามาประกอบเป็นรูปทรง ได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมนุ่มด้วยเทคนิคการชุบด้ายด้วยกาว สามารถแสดงออกให้เห็นถึง ความรักความอบอุ่นของครอบครัว โดยใช้การถักสานเส้นใย ที่แทนความผูกพัน เชื่อมโยงทุกคนในครอบครัวไว้ด้วยกัน ก่อเกิด เป็นรูปทรงที่อ่อนนุ่ม หุ้มห่ม โครงสร้างที่สลับซับซ้อน แต่แผงไว้ด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ เป็นสายใยแห่งความรักความผูกพัน จากการดูแลเอาใจใส่ และห่วงใยของครอบครัว สรุป ผลงานสร้างสรรค์ ชุด จินตภาพแห่งสายใยความผูกพัน โดยใช้เทคนิคการถัก พัน สาน เส้นใยธรรมชาติและเส้นใย สังเคราะห์สีขาว แสดงออกให้เห็นถึงคุณค่าความรัก ความผูกพัน ความอบอุ่นอันบริสุทธิ์ที่ได้รับจากครอบครัว การถักสานเกาะ 206


เกี่ยวเส้นใยเส้นเล็ก ๆ แต่ละเส้นที่มีความอ่อนนุ่ม บอบบาง เมื่อเกาะเกี่ยวกันเป็นจ านวนมาก ก็สามารถสร้างความแข็งแรง ให้กับรูปทรง ประดุจสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงของคนในครอบครัว เกิดเป็นผลงานประติมากรรมนุ่ม โดยการศึกษาทฤษฎีความรัก ความผูกพันพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานนั้นการเลือกใช้เส้นใย ก่อเกิดเป็นรูปทรงเชิงสัญลักษณ์ อันได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ประสบการณ์ที่ได้รับจากวิถีชีวิตของผู้สร้างสรรค์ ที่ได้รับความรักการดูแลเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง แทนการดูแลจากบิดา มารดาเนื่องจากท่านได้เสียชีวิตลงนั้น สร้างความรู้สึกประทับใจที่ญาติทุกคนช่วยกันเอาใจใส่ ให้ความรัก ความรักจึงเป็นสิ่ง ส าคัญสอดคล้องกับแนวคิดของจอห์น โบลบี้ เชื่อว่า ความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะผูกพันกับคนเลี้ยงที่คุ้นเคย เพราะพฤติกรรม ความผูกพัน ช่วยให้รอดชีวิตเมื่อเผชิญกับอันตรายที่ต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม (Duschinsky, 2013, 326–338) มนุษย์ จ าเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับใครสักคนเพื่อเรียนรู้การอยู่ในสังคม โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์และการควบคุมที่มนุษย์พึงมีให้ เป็นไปในทิศทางที่ดีจากแนวคิดดังกล่าวผู้สร้างสรรค์ได้ท าการศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ศิลปะเส้นใย (Fiber art) และศึกษา ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานในแนวทางนี้ พบว่า การใช้เส้นใยสามารถแทนค่าความรู้สึกในเชิงสัญลักษณ์ของความรัก ความ ผูกพัน สายใยเกาะเกี่ยวกัน จนเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งได้ ศิลปินอิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ ศิลปินใช้เส้นผมเป็นวัสดุหลักในการ สร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการถักโครเชต์ แทนความรู้สึกที่มีต่อบิดาที่จากไปจึงหยิบยกเอาเส้นผมมาท าการเรียบเรียงด้วยการ มัด เย็บ ปัก ถัก ผูก ร้อย และการคลุมห่อเข้าด้วยกันเหมือนต้นไม้ที่งอกเงยขึ้นใหม่ราวกับชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เช่นเดียวกันกับคนในครอบครัว อีกแนวความคิดหนึ่งของซึงโม ปาร์ค เขามีการเชื่อมโยงกับปรัชญาทางพุทธศาสนาที่ทุก ๆ อย่างเกิดขึ้นและพึ่งพาซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการที่สนับสนุนให้กันและกันเมื่อผู้ชมเข้ามาใกล้ ผลงานรูปร่างจะกระจัดกระจายจนในที่สุดก็มองไม่รู้ว่าเป็นภาพอะไร แต่ก็สัมผัสได้ถึงสิ่งที่หลงเหลืออยู่คือน้ าหนักของลวดและ มีการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติ หากถอยออกมาในระยะหนึ่งเราก็จะพบความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง เรากับมนุษย์เราที่ย่อมมี ระยะที่เหมาะสมในการท าสิ่งต่าง ๆ เช่นเดียวกับ ดู โฮ ซูการให้ความส าคัญกับพื้นที่ว่างเป็นอย่างมากเพื่อให้ช่องว่างนั้น สามารถเติมเต็มได้จากผู้ชมเป็นพื้นที่แห่งจิตและจินตนาการเสมือนบ้านที่มักมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและผู้คนที่ ผสมกลมเกลียวกันได้เสมอสอดคล้องกับผู้สร้างสรรค์ ที่มีแนวคิดการน าเสนอแรงบันดาลใจอันเกิดจากความรักความอบอุ่น วิถี ชีวิตของคนในครอบครัวมาเป็นแรงบันดาลใจตั้งต้นในการสร้างสรรค์ และรูปแบบวิธีที่ใช้เส้นใยในการถักร้อยให้เกิดรูปทรง สะท้อนถึงความรู้สึกโหยหาความรักความอบอุ่นที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ่ายทอดแรงบันดาลใจให้ผู้ชม ได้ตระหนักถึงเรื่องครอบครัว เพราะงานในแนวทางนี้ ต้องใช้สมาธิ และความอดทนในการสร้างสรรค์เปรียบเสมือนการสร้าง ความรักความสัมพันธ์ให้ปรากฏรูปร่างออกมานั้นก็ไม่ง่ายเลยเช่นกัน อีกทั้งเลือกใช้สีขาวแทนความรักอันบริสุทธิ์ ที่งดงาม ของ คนในครอบครัวที่มีให้กันด้วยดีตลอดมา เอกสารอ้างอิง ก าจร สุนพงษ์ศรี. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก 2 (ศิลปะยุคกลาง). กรุงเทพ ฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. จอห์น โบลบี้ (2546).ความผูกพันทางอารมณ์.[ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563. จาก https://urbancreature.co/a-bond-of-love/ ส านักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2561). ประติมากรรมนุ่ม. [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม2563. จาก https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_53 Anna, hergert. Fiber Art – A Definition. Accessed November 6, 2016. Available from https://annahergert.me/2013/04/16/fiber-art-a-definition/ Fiberartnow. What makes fiber art?. Accessed December 11, 2016. Available from http://fiberartnow.net/ Rosenthal, Mark. Understanding Installation Art. New York: Bowker, 1997. 207


รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ THE IMAGINATION FORM OF TECHNOLOGY REPLACES NATURE พงศธร รอดจากทุกข* (ศป.ม.ทัศนศิลป) 1 2อาจารยที่ปรึกษาหลัก ดร.เมตตา สุวรรณศร 3อาจารยที่ปรึกษารวม ผูชวยศาสตราจารยรองศาสตราจารยศุภชัย สุกขีโชติ นักศึกษาหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป 4 ไดรับการอุดหนุนการทำกิจกรรมสงเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแหงชาติ E-mail [email protected] บทคัดยอ การวิจัยสรางสรรคนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) เพื่อสรางสรรคผลงานในหัวขอ รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขา แทนที่ธรรมชาติ เพื่อแสดงออกใหเห็นถึงรูปทรงที่ถูกสรางสรรคขึ้นจากจินตนาการคิดฝนที่ไมมีอยูจริง รวมกับการศึกษาทฤษฎี จินตนาการ ประสบการณนิยมและผลงานศิลปะของศิลปนที่เกี่ยวของ 2) เพื่อสรางสรรคผลงานเทคนิคประติมากรรมสื่อผสม โดยการผสมผสานวัสดุทางเทคโนโลยีรวมกับวัสดุทางธรรมชาติ 3) เพื่อสรางสรรครูปทรงทางจินตนาการ ที่กระตุนเตือนให ผูคนตระหนักถึงคุณคาของธรรมชาติ ที่กำลังถูกกลืนหายไปจากการรุกรานของมนุษย ทำใหเกิดปญหาระบบนิเวศนขึ้นมากมาย หากมนุษยไมหยุดคิดถึงปญหาดังกลาว ธรรมชาติอาจหมดลงอยางมิอาจฟนคืนกลับมาได ผลการศึกษาพบวาการสรางสรรคผลงานดวยเทคนิคประติมากรรมสื่อผสม ที่เลือกใชวัสดุเก็บตกและวัสดุสำเร็จรูปที่ รับมาจากการผลิตทางเทคโนโลยีที่มีมากลนเกินความจำเปน รวมกับวัสดุทางธรรมชาตินั้น ทำใหเห็นวาวัสดุที่เปนขยะทาง เทคโนโลยีสามารถนำมาสรางสรรคประกอบสรางจนเกิดเปนรูปทรงที่ลอเลียนใกลเคียงกับสัตวในธรรมชาติหลายประเภท สอดคลองกับแนวคิดของศิลปะแนวดาดาอิสซึม ที่มุงเนนการเสียดสี ประชดประชันสังคมเพื่อใหเห็นถึงโทษและปญหาของ การบริโภควัตถุนิยมจนเกินพอดี กอปญหาตอสภาพแวดลอมจนสัตวหลายประเภทถูกรุกรานไรบาน จากที่กลาวมาผูสราง สรรคจึงไดหยิบยกนำแนวคิดนี้มาสรางผลงานใหเกิดเปนรูปทรงของสัตวในจินตนาการที่ไมมีอยูจริงในธรรมชาติ เสมือนเปน การกลายพันธุสอดคลองกับศิลปะแบบแฟนตาซี ที่มุงเนนจินตนาการเปนสำคัญ การสรางสรรคผลงานชุดนี้จึงเปนเหมือนการ กระตุนเตือนใหผูคนตระหนักถึงโทษ และการรุกรานของเทคโนโลยีที่มีตอธรมชาติที่นับวันจะเปนปญหาที่ยากจะแกไข คำสำคัญ: เทคโนโลยี ธรรมชาติ สัตวในจินตนาการ รูปทรงแหงจินตนาการ ABSTRACT This creative research aims to 1) To create works on the topic the imagination form of technology replaces nature. To express the shape created by the imagination of dreams that do not exist. Together with the study of the theory of imagination Experiences and artworks of related artists. 2) To create works of mixed media sculpture techniques by combining technological materials with natural materials. 3) To create imaginary shapes that encourages people to realize the value of nature that are being swallowed up by human invasion causing many ecological problems If human beings don't stop thinking about such problems nature may inevitably expire. 208


The results of the study showed that creating works with mixed media sculpture techniques. That chooses to use the found objects and the readymade objects obtained from the technological production that is too much than necessary. Together with natural materials. It shows that technological waste materials can be used to create, Assemble, and create a shape that mimics many types of animals in nature. In line with the concept of Dadaism art. Focused on satire. Social sarcasm to see the blame and problems of excessive consumption of materialism. Causing problems to the environment until many types of animals are invaded by the homeless. From the foregoing, the creators have brought up this idea to create works of imaginary animals that do not exist in nature. As a mutation in accordance with fantasy art. Focusing on imagination is important. The creation of this series of works is like a wake-up call to make people aware of the dangers. And the invasion of technology towards nature is an increasingly difficult problem to solve. KEYWORDS: technology , nature , imagination animal ,the imagination form บทนำ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ประกอบดวยมนุษย สัตวและพืช ซึ่งลวนเปนสวนหนึ่งในธรรมชาติและทรัพยากร มนุษย นั้นเปนสิ่งมีชีวิตบนโลกที่ฉลาดที่สุด สิ่งมีชีวิตตองดำรงเพื่อความอยูรอด มนุษยจึงพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหทันตอการ เปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งทางดานเศรฐกิจและสังคมจนสรางผลกระทบมากมายใหกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตดวยกัน ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งยังทำใหสูญเสียสภาพสิ่งแวดลอมในธรรมชาติที่มีอยูเดิมกลายสภาพเปนเมืองคอนกรีต จากปญหา ที่กลาวมานั้น ผูสรางสรรคเองเกิดและเติบโตในชนบทที่เต็มไปดวยธรรมชาติที่งดงามสะอาดตา ทำใหผูสรางสรรคเกิด ความรูสึกประทับใจ เมื่อไดเห็นความงามของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่เคยสัมผัส ทำใหผูสรางสรรคเกิดการตั้งคำถามดวยความ รักและหวงแหนในธรรมชาติ หากสถานการณของการขยายตัวของเทคโนโลยียังคงเดินหนาตอไปทำลายลางของพื้นที่ทาง ธรรมชาติลง รวมทั้งการใชสารเคมีกับสภาพแวดลอม คน สัตว พืช ทุกระบบ ถูกรบกวนดวยสังคมบริโภคนิยม มุงเนน หาผลประโยชนจนลืมนึกถึงปญหาสภาพแวดลอมในอนาคต อันจะเห็นไดวาธรรมชาติเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางลบ สัตวหลายชนิดสูญพันธ บางชนิดกลายพันธ อันเกิดจากน้ำมือของมนุษย ผูสรางสรรค จึงเกิดจินตนาการถึงสิ่งมีชีวิตใน อนาคตวาจะเปนเชนไร จากที่กลาวมานั้นผูสรางสรรคจึงไดรับแรงบันดาลใจ ในการสรางสรรคผลงานที่ตองการแสดงออกใหเห็นถึงปญหา ของการรุกรานจากเทคโนโลยีที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ โดยการสรางรูปทรงมาเปนสื่อสัญลักษณ เพื่อประชด ประชันเสียดสีใหสังคมตระหนักถึงโทษและปญหาที่กำลังเกิดกับธรรมชาติ รูปทรงที่สรางขึ้นนั้นเปนรูปทรงที่เกิดจาก จินตนาการอันผสมผสานความสนุกสนานของเด็กผูชายในวัยเยาว ที่ชอบตอประกอบรูปทรงอยางอิสระ และสิ่งนี้จึงเปนที่มา ของการสรางสรรคผลงานในรูปแบบศิลปะสื่อผสม โดยการนำเอาวัสดุหลายประเภท อาทิ เชน วัสดุสำเร็จรูป วัสดุเก็บตก วัสดุทางธรรมชาติ และวัสดุทางเทคโนโลยี มาสรางสรรคเปนสัตวในจินตนาการประเภทตาง ๆ ที่ไมเคยมีอยูจริง ใหผูชมได เชื่อมโยงและตีความวานี่คือสัตวประเภทใด อันแสดงออกใหเห็นถึงการเขาแทนที่ธรรมชาติดวยเทคโนโลยีอันไรชีวิต 209


วัตถุประสงคในการสรางสรรค 1.เพื่อสรางสรรคผลงานในหัวขอ รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ เพื่อแสดงออกใหเห็นถึง รูปทรงที่ถูกสรางสรรคขึ้นจากจินตนาการคิดฝนที่ไมมีอยูจริง รวมกับการศึกษาทฤษฎีจินตนาการ ประสบการณนิยมและ ผลงานศิลปะของศิลปนที่เกี่ยวของ 2.เพื่อสรางสรรคผลงานเทคนิคประติมากรรมศิลปะสื่อผสม โดยการผสมผสานวัสดุทางเทคโนโลยีรวมกับวัสดุทาง ธรรมชาติ 3.เพื่อสรางสรรครูปทรงทางจินตนาการ ที่กระตุนเตือนใหผูคนตระหนักถึงคุณคาของธรรมชาติ ที่กำลังถูกกลืนหายไป จากการรุกรานของมนุษย ทำใหเกิดปญหาระบบนิเวศนขึ้นมากมาย หากมนุษยไมหยุดคิดถึงปญหาดังกลาว ธรรมชาติอาจหมด ลงอยางมิอาจฟนคืนกลับมาได ขอบเขตของการสรางสรรค เพื่อดำเนินการสรางสรรควิทยานิพนธหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” เปน ผลงานประติมากรรมสื่อผสม ดวยการผสมผสานวัสดุทางเทคโนโลยีรวมกับวัสดุทางธรรมชาติ อันเปนรูปทรงที่เกิดจาก จินตนาการความคิดฝนในแนวทางศิลปะแฟนตาซี นอกจากนี้ผลงานชุด “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” 1 ชุด จำนวน 4 ชิ้น ในลักษณะ 3 มิติ ตามระยะเวลาของโครงการนำเสนอผลงานเผยแพรออกสูสาธารณะเพื่อใหผูคนไดเห็นและศึกษาเรียนรู โดยมี วัตถุประสงคกระตุนเตือนใหผูคนตระหนักถึงคุณคาของธรรมชาติ ที่กำลังถูกแทนที่ดวยวัตถุทางเทคโนโลยี ขั้นตอนในการสรางสรรค การสรางสรรคผลงานทัศนศิลปในหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” ประกอบดวย การเก็บขอมูลแบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิ รวมกับประสบการณของผูสรางสรรค ดวยการลงพื้นที่ศึกษาขอมูลจากสิ่งมีชีวิตจริง รวมทั้งเอกสารศิลปะที่เกี่ยวของ เชน แนวคิดศิลปะแฟนตาซี แนวคิดจินตนาการ แนวคิดดาดาอิสซึม แนวคิดแบบเซอรเรีย ลิสม เพื่อศึกษาขอมูลทางดานวิชาการเพื่อรวบรวมเปนขอมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลงานสรางสรรครวมถึงศึกษาศิลปน กรณีศึกษา ดานแนวความคิด เทคนิควิธี วิธีการนำเสนอ เพื่อนำมาพัฒนาปรับใชกับผูสรางสรรคในผลงานชุด “รูปทรงแหง จินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” โดยสามารถจัดแบงขั้นตอนการศึกษาและสรางสรรคไดดังตอไปนี้ 1.ศึกษาเอกสารทางวิชาการ 2. ศึกษาเทคนิคในการสรางสรรค 3. ศึกษาวิธีการนำเสนอผลงาน 4. วิเคราะหศึกษารวบรวมขอมูลอยางมีระบบเพื่อนำมาวิเคราะหเปนภาพรางผลงานที่ตรงตาม วัตถุประสงคในการสรางสรรค 5. สรางสรรคผลงานจริงตามภาพรางดวยเทคนิคสื่อผสม 6. เสนอและเรียบเรียงผลงานการคนควาในรูปแบบของงานวิจัย 7.นำเสนอผลงาน “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” ในพื้นที่สาธารณะ 210


แนวคิด / ทฤษฎีที่เกี่ยวของ วิทยานิพนธในชุด “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” นั้นเปนการสรางสรรคที่จำเปนตอง ทำการศึกษาทางดานแนวคิด เทคนิค วิธีการนำเสนอ รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีดวยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ และ ศึกษาผลงานของศิลปนกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจินตนาการความคิดสรางสรรคและนำมาวิเคราะหอยางมีระบบขั้นตอน เพื่อ นำมาวิเคราะหใหเห็นลักษณะเฉพาะของผลงานผูสรางสรรค การจะพัฒนาผลงานไดนั้นจำเปนตองทำการศึกษาทฤษฎี ดังตอไปนี้ ศิลปะแฟนตาซี(Fantasy) ศิลปะแฟนตาซี หมายถึงการสรางสรรครูปลักษณตาง ๆ ตามความรูสึก จินตนาการ ความคิดสรางสรรคของมนุษย (ฉลอง สุนทรนนท, 2562) เปนคำที่ใชสื่อถึงจินตนาการ ความรูสึกที่หลุดพนไปจากโลกแหงความจริง ในการศึกษาทางดาน จิตวิทยา มีการแบงออกไปเปน แฟนตาซี 2 ประเภท ไดแก แฟนตาซีในระดับจิตสำนึก (Concious fantasy) และ แฟนตาซีใน ระดับไรจิตสำนึก (Unconcious fantasy “แฟนตาซี” ที่ใชในงานทางดานจิตวิทยา แตจะนำเสนอ “แนวคิดรวบยอดแบบ แฟนตาซี” โดยยึดคำนิยาม ความหมาย และการใชงานในวงการของศิลปะจินตนาการ คิดฝน ซึ่งผลงานของผูสรางสรรคนั้น ไดนำแนวคิดของศิลปะ แฟนตาซี(Fantasy) ที่สื่อถึงทั้งความฝนและจินตนาการ ลวนเปนการแสดงออกของความปรารถนา ที่ถูกเก็บไวในจิตใตสำนึก ความรูสึกที่หลุดพนไปจากโลกแหงความจริง โดยจินตนาการถึงรูปทรงของสัตวที่ไมเคยมีอยูจริง ศิลปะเหนือจริง(Surrealism) ศิลปะเหนือจริง เปนแนวคิดทางการสรางสรรคของผูสรางสรรคไดศึกษาแนวคิดมาจากลัทธิเหนือจริง ซึ่งแตกตาง จากแนวคิดแบบเหมือนจริง โดยศิลปะแบบเหนือจริงนั้นมุงเนนไปที่ การแสดงที่สิ่งที่ไมใชความจริงของโลกที่ปรากฏใหเห็นได ดวยตา แตตองการแสดงสิ่งที่ไมมีอยูจริงที่ใหปรากฏรูป หรือกลาวอีกนัยหนึ่งตองการจะแสดงสิ่ง ซึ่งอยูเหนือโลกนี้ เพราะสิ่ง ที่ปรากฏเห็นลวนเปนมายา คือ เปนความจริงโดยสมมุติเทานั้น สิ่งที่เปนสาระอยูเหนือจริงนั้น ซึ่งศิลปนตองการแสดงออก ใหปรากฏเห็น (สดชื่น ชัยประสาธน, 2539) โดยแฝงดวยการใชสัญลักษณ (Symbolic) ผลงานผูสรางสรรคเปนการนำความ จริงในจินตนาการมาสรางใหเกิดเปนรูปทรงของสิ่งมีชีวิตสิ่งใหม มุงสูการสรางจินตภาพของโลกใหมเปนสวนประกอบที่เปนการ พบกันโดยบังเอิญของวัสดุ สองประเภท โดยใชวัสดุที่เก็บตกทั้งในธรรมชาติจำพวก เขาสัตว หนังสัตว และวัสดุเก็บตกอันสิ่งที่ ผลิตขึ้นใหมตามเทคโนโลยีในปจจุบัน เชน ชิ้นสวนจากอุตสาหกรรมตาง ๆ แตวัสดุที่เลือกมานั้นศิลปนเลือกนำมาสรางสรรค ผลงานศิลปะ สวนมากเปนวัสดุที่พบเห็นเปนประจำหาไดไมยาก รวมไปถึงวัสดุที่อาจจะมีรูปทรงที่แปลกตาไปจากเดิม เพราะ ผานการใชงานมาแลว จึงเปนผลดีสำหรับศิลปนที่หยิบจับ วัสดุเก็บตกเหลานี้ มาสรางสรรคเปนผลงานศิลปะในรูปแบบ ใหมตีความใหม กอเกิดความนาสนใจเพิ่มพูนอรรถรสใหมใหกับผูชมผลงาน ขึ้นไปโดยที่ไมมีความเชื่อมโยงสัมพันธกันแตมามา อยูรวมกันอยางลงตัว ลัทธิดาดา (DADAISM) ลัทธิดาดา เกิดจากการรวมกลุมของศิลปน AVANT-GARDE ชวงตนคริสตศตวรรษที่ 20 เพื่อตองการตอตาน กฎเกณฑความงามศิลปะแบบเดิม ๆ รวมไปถึงเสียดสีสภาพแวดลอมทางสังคม (กำจร สุนพงษศรี, 2555) และปฏิเสธในสิ่ง สวยงามที่สมบูรณแบบอยางมีแบบแผนชัดเจนวาเปนสิ่งที่เพอฝนเสแสรง ผิดแปลกไปจากความเปนจริง ที่วาโลกไมได ประกอบขึ้นดวยความสวยงามและความสมบูรณแบบ อีกทั้งดาดามองเห็นทุกอยางเปนศิลปะ และตอตานแนวคิดของพวก ทุนนิยมที่นำพาไปสูการขัดแยง ซึ่งพวกเขาแสดงออกดวยการประชดประชัน เยาะเยย ถากถาง และทำใหมันกลายเปนเรื่องไร สาระ ดูตลก ทำลายความสมบูรณแบบลง ใชเทคนิคในการสรางสรรคดวยวิธีที่ผิดปกติโดยนำวัสดุสำเร็จรูปมาดัดแปลง 211


ปรับเปลี่ยน เพื่อใหเกิดมุมมองใหมทางศิลปะซึ่งทำใหงานออกมามีลักษณะที่แปลกใหมไปจากงานศิลปะดั้งเดิม ทำใหวัตถุชิ้นหนึ่งในชีวิตมาวางในบริบทใหม เพื่อกระตุนใหเกิดแนวคิดใหมๆเกี่ยวกับวัต ถุ นั้ น ศ ิ ล ป ะ ไ ม  จ ำ เ ป  น ต  อ ง ค ั ด ล อ ก เ ล ี ย น แ บ บ ธ ร ร ม ช า ติ ผ  า น พ ล ั ง ส ร  า ง ส ร ร ค และการจินตนาการผนวกกับแนวความคิดแบบคอนเซ็ปชวลอารต (Conceptual art) พรอมทั้งทิ้งคำถามใหกับสังคมผานทาง งานศิลปะที่สรางสรรคขึ้น ทฤษฎีจินตนาการของอัลเบิรต ไอนสไตน และขอมูลทางวิชาการความคิดฝน การจินตนาการ จินตนาการ เปนความพิเศษของมนุษยดังคำกลาวของ อัลเบิรต ไอนสไตน"จินตนาการสำคัญกวาความรูความรูมี จำกัด แตจินตนาการมีทุกพื้นที่ของโลก" (อัลเบิรต ไอนสไตน, 2472) จินตนาการ(Imagination) คือ การใชจิตสรางภาพความ ฝนในใจ ใหตรงตามความคิดที่อยากจะใหเปน จินตนาการจะทำใหเกิดภาพในจิตสำนึก เราเรียกรูปที่ปรากฏใหเห็นใน ลักษณะนี้วา จินตภาพ(Image) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประสบการณที่ไดรับจากเหตุการณที่เคยพบเจอมา ถาศิลปนปราศจาก จินตนาการแลว จะสรางงานไมมีชีวิตชีวา และไมกระตุนทำใหผูดูเกิดจินตนาการดวย จินตนาการเปนเรื่องเฉพาะของแตละ บุคคล” (โกสุม สายใจ,2544) ซึ่งผูสรางสรรคไดผสมผสานจินตนาการที่ไดถายทอดอารมณความรูสึกจากประสบการณออกมา เปนรูปแบบศิลปะจินตนาการ ที่มุงเนนปลุกจิตสำนึกกระตุนเตือนชวยใหเราเห็นคุณคาของธรรมชาติ ที่ผูสรางสรรคได ตั้งเปาหมายไว จากการสรางสรรคผลงานผูสรางสรรคไดทำการศึกษาศิลปนที่มีความเกี่ยวของกับศิลปะสื่อผสม ดังศิลปน ตอไปนี้ ศิลปนกรณีศึกษา Bill Wooddrow Bill Wooddrow มีแนวคิดในเรื่องของธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ไดกอเกิดความขัดแยงขึ้น เกิดเปนผลงาน ที่มีองคประกอบในลักษณะเชิงบรรยายและเชิงสัญลักษณ ปรากฏขึ้นมานำเสนอโดยการใชวัสดุขนาดเล็กที่มีความหลากหลาย เปนวัตถุดิบของศิลปนในผลงาน ตอมาศิลปนไดเปลี่ยนแปลงไปใชวัตถุดิบเปนสินคาอุปโภคบริโภคขนาดใหญขึ้นที่ไดมา จากอุตสาหกรรมผลิต โดยที่ยังคงโครงสรางของวัตถุตนแบบโดยศิลปน ดัดแปลงตัดบางสวนออกจากวัตถุตนแบบ ซึ่งถูกสรางสรรคดวยวัสดุที่เลือกมาเปนการออกแบบเชิงสัญลักษณ ภาพที่ 3: Elephant ผลงาน Bill Wooddrow 1984 ที่มา: เขาถึงไดจาก https://www.tate.org.uk/art/artworks/woodrow-elephant-t07169/, สืบคนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565 212


Sayaka Ganz Sayaka Ganz เกิด พ.ศ. 2519 โยะโกะฮะมะ ประเทศญี่ปุน ผลงานของ Sayaka Ganz มีแนวคิดการลดปริมาณขยะพลาสติกบนโลกดวยการนำมันมาสรางงานศิลปะ เพื่อชวยใหผูคนตระหนักถึงปญหาของขยะพลาสติก นำเสนอเปนผลงานที่ทรงพลังมากดวยความที่เธอเกิดมาในครอบครัว ที่นับถือลัทธิชินโตมาตั้งแตเกิด เธอจึงนำคำสอนของลัทธิที่วา วัตถุทุกชิ้น ทุกสิ่งทุกอยางนั้นมันมีจิตวิญญาณซอนอยูภายใน เธอหยิบเอาความคิดนี้มาใชในการสรางสรรคผลงานศิลปะ โดยศิลปนมักใชรูปทรงที่ไดจากสัตวมาสรางสรรคมาเปนผลงาน ประติมากรรม ที่ผสมผสานวัสดุทางเทคโนโลยีที่ไรคา มาทำใหเกิดเปนคุณคาใหมในเชิงศิลปะจึงนับไดวา ศิลปนสามารถสื่อ อารมณความงดงามภายใตวัตถุเหลือใชไดอยางนาสนใจ ( https://sayakaganz.com/ ) ภาพที่ 3: ผลงาน Sayaka Ganz ที่มา: เขาถึงไดจาก https://sayakaganz.com/plastics/nanami , สืบคนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565 Xu bing Xu bing เกิด พ.ศ. 2498 ฉงชิง ประเทศจีน ผลงานของ Xu bing แรงบันดาลใจจากความเปนจริงรวมสมัยของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วใชเวลา สองปในการสรางผลงานนกฟนิกซ สรางขึ้นดวยวัสดุที่เก็บไดจากสถานที่กอสรางในเมืองจีน รวมทั้งเศษซากจากการรื้อถอน คานเหล็ก เครื่องมือ และของใชในชีวิตประจำวันของแรงงานขามชาติ นกฟนิกซในตำนานเปนพยานถึงความเชื่อมโยง ความสัมพันธอันซับซอนของประวัติศาสตรในการพัฒนาเชิงพาณิชยของประเทศจีนที่มีความมั่งคั่ง ร่ำรวยอยางรวดเร็ว ในประเทศจีนปจจุบัน ผลงานสรางสรรคชิ้นนี้ ไดแสดงออกใหเห็นคุณคาของเศษวัสดุประเภทเหล็กจนเกิดเปนผลงาน ประติมากรรมขนาดใหญที่เปนนกฟนิกซหอยแขวนลงจากบนเพดานเสมือนนกฟนิกซกำลังโบยบินอยู ซึ่งทำใหเกิดความ นาสนใจกับผูชม และเกิดการตีความไปในทิศทาง ที่เสียดสีโลกของวัตถุนิยมที่กำลังเขาแทนที่ธรรมชาติ (http://www.xubing.com/ ) 213


ภาพที่ 4: ผลงาน Xu bing PHOENIX 2010 ที่มา: เขาถึงไดจาก http://www.xubing.com/ , สืบคนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565 แมนดี บารเกอร การสรางสรรคผลงานของ บาเกอร ไดรับแรงบันดาลใจมาจากในวัยเด็กบารเกอรเดินทางไปที่ชายหาด สังเกตเห็นความไมใสใจของผูคนที่มีตอภาพของขยะที่กระจัดกระจายไปทั่วชายหาด จึงเกิดความคิดในการสรางสรรค ผลงานศิลปะจากขยะพลาสติก ดังนั้นเธอจึงเริ่มจากการเก็บเศษขยะพลาสติก และนำมาถายภาพ โดยมีจุดมุงหมาย เพื่อ สรางสรรคผลงาน ที่ทำใหผูคนรูสึกมีสวนรวมกับปญหาขยะที่เกิดขึ้นดังกลาว โดยศิลปนทำโครงการถายภาพสถานที่ตาง ๆ เพื่อตีแผปญหาของขยะพลาสติกที่มีอยูรอบตัวเรา ศิลปนมีความคิดเห็นวาขยะสามารถเดินทางไดไกล และมีอายุยาวนานกวา จะยอยสลายศิลปนจึงนำเสนอผลกระทบที่พลาสติกที่มีตอสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติ (https://www.mandy-barker.com/) ภาพที่ 5: ผลงาน ชางภาพ แมนดี บารเกอร 2014 ที่มา: เขาถึงไดจาก https://www.mandy-barker.com/ , สืบคนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565 214


ไทยวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ ผลงานของ ไทวิจิต พึ่งแบบสมบูรณ ที่นำเสนอการหนีเอาชีวิตรอดในลักษณะของสังคมแบบ (Dystopia) ที่เขาไดเผชิญกับอันตราย ที่มนุษยสรางขึ้นดวยการใชสำนวนสุภาษิตหนีเสือปะจระเข อรรถาธิบายถึงหายนะ ของโลกและสิ่งแวดลอม ที่กำลังถูกทำลายลงอยางยอยยับจากการพัฒนากาวกระโดดของมนุษย ดวยการพัฒนา เทคโนโลยีที่ควบคุมโลกในนี้อยางตอเนื่องไมอาจหยุดยั้งได มาจากภาพที่กำลังแสดงถึงภาวะโลกรอน ที่เกิดจากขยะมหาศาล จนทำใหสิ่งแวดลอมเปนพิษ โดยการสรางสรรคผลงานประติมากรรมสื่อผสมขนาดใหญ อันประกอบไปดวยรูปทรงจระเขเหล็ก หลายตัวที่ชี้ชวนผูชนใหเขาไป เดินทองโลกแหงภยันอันตรายในเชิงลอเลียนเสียดสี และประติมากรรมกึ่งนามธรรม ที่สรางดวยโครงเหล็กขนาดใหญ รูปรางคลายเครื่องมือจับปลา ที่ไดแนวคิดมาจากวัฒนธรรมและภูมิปญญาชาวบานที่ ประดิษฐไซดักปลา ที่ศิลปนเคยไดรับประสบการณซึมซับมาจากวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่น เพียงแตปรับเปลี่ยนการดักปลา เปนการดักขยะพลาสติกแทน ไทวิจิต มีความเชี่ยวชาญในการนำสิ่งของ ที่ไมไดใชหรือเรียกวาเปนขยะที่ถูกทิ้ง มาสรางสรรคผลงานศิลปะ ในการพลิกผันสิ่งที่ไรคา โดยเปลี่ยนบริบทมันไปสูความงามและ ความหมายใหมของวัสดุ ภาพที่ 6: ผลงานไทยวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ BAB 2020 ที่มา: ผูเขียนบทความ , สืบคนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 กระบวนการสรางสรรค การสรางสรรคผลงานทัศนศิลปในหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” เปนผลงาน ประติมากรรมสื่อผสม การผสมผสานวัสดุทางเทคโนโลยีรวมกับวัสดุทางธรรมชาติ ที่ไดรับมาจากประสบการณโดยตรงของผู สรางสรรค โดยการคนควาขอมูล ทางวิชาการ ทั้งจากตำราและศึกษาผลงานศิลปะที่เกี่ยวของกับเนื้อหาดานรูปทรงแหง จินตนาการ รวมกับทฤษฎีประสบการณนิยม เพื่อรวบรวมเปนขอมูลพื้นฐาน อันไดแก หนังสือ ตำรา อินเทอรเน็ต รวมถึง ศึกษาจากผลงานและแนวคิด จากศิลปนที่สรางสรรคผลงานลักษณะดังกลาว ขั้นตอนของการศึกษาและการสรางสรรคจะเริ่ม ขึ้น จากการศึกษา เพื่อการนำเสนอผลงานหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” โดยสามารถ จัดแบงขั้นตอนของการศึกษาและการสรางสรรคไดดังตอไปนี้ กอเกิดเปนรูปทรงที่กระตุนเตือนใหผูคนตระหนักถึงคุณคาของ ธรรมชาติ ที่กำลังถูกแทนที่ดวยวัตถุทางเทคโนโลยีจนในที่สุดธรรมชาติอาจถูกกลืนหายไปอยางนาเสียดาย วิธีการสรางสรรค การสรางสรรคผลงานทัศนศิลปในหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” ประกอบดวย ประสบการณของผูสรางสรรค การสอบถามขอมูล การลงพื้นที่ศึกษาขอมูลจากสิ่งมีชีวิตจริง รวมทั้งเอกสารศิลปะการ จินตนาการ เพื่อศึกษาขอมูลทางดานวิชาการเพื่อรวบรวมเปนขอมูลพื้นฐานเรื่องของจินตนาการ รวมถึงศึกษาศิลปนที่มี 215


ผลงานแนวความคิด วิธีการสรางสรรค และเทคนิคที่สรางสรรคผลงานใกลเคียงกับผูสรางสรรค โดยศึกษาขั้นตอนของการ สรางสรรคและศึกษาวิธีการนำเสนอผลงานของศิลปน เพื่อนำมาพัฒนาปรับใชกับผูสรางสรรค 1. ศึกษาขอมูลที่ไดจากประสบการณตรงจากสภาพแวดลอม นำมาวิเคราะหจนเกิดเปนแนวคิด ที่ไดรับจาก สภาพแวดลอมสอดคลองกับแนวคิดทฤษฎีประสบการณนิยม (John Dewey) อยูบนพื้นฐานมาจากประสบการณผาน ประสาทสัมผัส การรับรูของมนุษย ทั้งสวนที่เกิดจากความตั้งใจและไมตั้งใจ แนวคิดนี้ใหความสำคัญกับประสบการณตรงที่สั่ง สมมาในระยะเวลาที่ยาวนานเกิดการบมเพาะจนฝงอยูในจิตใตสำนึก ตามคำกลาวที่วา“ประสบการณคือการสัมพันธกับ สิ่งแวดลอม การมีปฏิกิริยากับสิ่งแวดลอม” (ชลูด นิ่มเสมอ,2553) จากการดำเนินชีวิตของผูสรางสรรคที่เกิดและเติบโตมา ทามกลางธรรมชาติในชนบท ทามกลางธรรมชาติที่สะอาดบริสุทธ ทองทุงที่เขียวขจี สุดลูกหูลูกตา ซึ่งแตกตางจากวิถีชีวิตใน เมืองใหญ ซึงผูสรางสรรคตองเดินทางเขามาศึกษาตอ และประกอบอาชีพยิ่งทำใหผูสรางสรรคเกิดการเปรียบเทียบเห็นความ แตกตางของวิถีชีวิตในชนบทและวิถีชีวิตในเมือง ซึ่งเต็มไปดวยความแออัด เบียดเสียด แกงแยงชิ่งดีซึ่งตัวผูสรางสรรคนั้น ก็ ตกอยูทามกลางกระแสของเทคโนโลยีอยางหลีกเหลี่ยงไมได แตจากประสบการณที่ไดรับมานั้น ทำใหเกิดแรงบันดาลใจใน การสรางสรรคผลงานที่นำเอาประสบการณมาสรางรูปทรง คลายสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่ผูสรางสรรครัก แตสรางใหไรชีวิต เปนกลไกลเครื่องจักรที่ไรหัวใจ เปรียบเปนการเสียดสีประชดประชันกับผูคนที่หลงกับเทคโนโลยีอันลวงตา จากที่กลาวนั้นเปน แรงบันดาลใจที่รับจากธรรมชาติ และสภาพแวดลอมและเปนแรงขับเคลื่อนเปนรูปทรงที่แปลกประหลาด การจะพัฒนา ผลงานไดตรงตามแนวคิดนั้น 2. ศึกษาขอมูลจากศิลปนไทยประกอบดวย ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ ศึกษาศิลปนตางประเทศ Bill Wooddrow , Sayaka Ganz, Xu bing , แมนดี บารเกอร ที่สรางสรรคผลงานดวยเทคนิคศิลปะในรูปแบบตาง ๆ ที่แสดงออกใหเห็นถึง คุณคาของธรรมชาติ ที่กำลังถูกแทนที่ดวยวัตถุทางเทคโนโลยีปรัชญาทางศิลปะแฟนตาซีและศิลปะเหนือจริง ศึกษาศิลปนที่ สรางสรรคผลงานในรูปแบบประติมากรรมสื่อผสม ไดแก ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ, Bill Wooddrow, Sayaka Ganz , Xu bing, แมนดี บารเกอร 3. ศึกษากรอบทฤษฎีและศึกษาเอกสารทางวิชาการ โดยใชทฤษฎีประสบการณนิยม (John Dewey) รวมทฤษฎี จินตนาการของอัลเบิรต ไอนสไตน ชี้ใหเห็นถึงสิ่งมีชีวิตทั้งมวลจะมีรูปรางรูปทรงอยูในธรรมชาติอยางไร โดยการจินตนาการ ถึงสิ่งมีชีวิตในอนาคต รวมกับแนวคิดศิลปะแนวแฟนตาซี(Fantasy) และ ศิลปะเหนือจริง (Surrealism) ชี้ใหเห็นถึงคุณคา ความงามของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต อันจะเปนการกระตุนเตือนใหคนเห็นตระหนักคุณคาของธรรมชาติที่กำลังถูกแทนที่ดวย วัตถุทางเทคโนโลยี จนในที่สุดธรรมชาติอาจถูกกลืนหายไป โดยการศึกษาและเก็บขอมูลศิลปนที่ไดรับแรงบันดาลใจ ศิลปน ไทยประกอบดวย ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณศิลปนตางประเทศ ไดแก Bill Wooddrow , Sayaka Ganz , Xu bing , แมนดี บารเกอร ที่ไดรับการยอมรับเพื่อนำมาพัฒนาตอยอดความคิดใหเกิดเปนผลงานลักษณะเฉพาะตัว 4. สรางภาพราง (Sketch) ใหตรงตามแนวคิด “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” นำภาพ รางมาวิเคราะหวิจารณ โดยคณาจารยที่ทรงคุณวุฒิทางดานทัศนศิลป เพื่อใหผลงานมีการพัฒนาในการสรางสรรคผลงานใหมี คุณภาพ 5. ทำการสรางสรรคผลงานจริงดวยกระบวนการเทคนิคศิลปะสื่อผสมดวยการเลือกวัสดุเทคโนโลยีกับวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสำเร็จรูป การเลือกวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยี ที่มีอยูในสังคมเมือง เทคนิคการปดทองดวยแผนทองคำเปลวของวัตถุ เทคนิคการหลอไฟเบอรกลาส การปนปูนสด และเทคนิคการประกอบวัสดุ นำมาดำเนินการสรางสรรคผลงาน โดยศึกษา ประติมากรรมดวยเทคนิคศิลปะสื่อผสม (Mixed Media) รวมกับวัสดุที่ตรงตามแนวคิด 216


6. ทำการวิเคราะหกระบวนการสรางสรรคผลงานอยางเปนระบบขั้นตอน ในรูปแบบเอกสาร (วิทยานิพนธ) และ ผลงานจริง นำผลงานที่เสร็จสมบูรณเผยแพรออกสูสาธารณะชนในรูปแบบของนิทรรศการสูจิบัตรสื่อสิ่งพิมพและสื่อออนไลน สรุปผลการศึกษา จากการสรางสรรคผลงานประติมากรรมสื่อผสมในหัวขอ รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรทมชาติ พบวาการนำวัสดุสำเร็จรูป และวัตถุเก็บตกมาเปนสื่อสัญลักษณในการสรางรูปทรงของสัตวในธรรมชาติ เปนสัตวที่ไมเคย ปรากฏมากอนไมมีอยูจริง ผูสรางสรรคไดผสมผสานสัตวหลายประเภทเขาดวยกัน ทำใหเกิดความแปลกตาชวนสงสัยวาเปน สัตวชนิดใดกันแน โดยคัดเลือกวัสวัสดุสำเร็จรูปในชีวิตประจำวัน ผานชองทางจินตนาการคิดฝนวาวัสดุสิ่งนั้นใกลเคียงหรือ คลายกับสัตวอะไร สอดคลองกับแนวคิดของศิลปะกลุมเซอรเรียลิสม ที่มีแนวคิดที่วาวัสดุสองประเภทที่ไมมีความเกี่ยวของกัน มาพบกันโดยบังเอิญ กอเกิดรูปทรงแปลกประหลาด ซึ่งผูสรางสรรคมีความสนใจในการใชจินตนาการในการสรางรูปทรงที่ แปลกตา แปลคาวัสดุจากสิ่งของไรชีวิตกลายเปนสัตวมีชีวิต แนวคิดนี้มักพบไดในศิลปะแฟนตาซีที่จะใชจินตนาการนำทางใน การตั้งตนเลาเรื่อง ซึ่งผูสรางสรรคไดนำแนวคิดในเรื่องของจินตนาการมาตอยอดผานการเลือกสรรควัสดุทั้งจากธรรมชาติและ วัสดุที่เก็บตกได จากสภาพแวดลอมทั้งจากในเมืองและชนบท ผลงานชุดนี้จึงเปนเสมือนสื่อที่กระตุนเตือนใหผูคนตระหนักถึง โทษของการเสพวัตถุทางเทคโนโลยีจนเกินความพอดี ดังจะเห็นไดจากสภาพแวดลอมในปจจุบัน ภาพที่ 7: ผลงานชุด “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” ที่มา: ผูเขียนบทความ , สืบคนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565 217


วิจารณและสรุปผล ผลงานทัศนศิลปในหัวขอ “รูปทรงแหงจินตนาการของเทคโนโลยีเขาแทนที่ธรรมชาติ” นั้นเปนการ สรางสรรค ผลงานโดยมุงเนนจการสรางรูปทรงที่ใชจินตนาการ ผสมผสานประสบการณชีวิต ที่รักและผูกพันกับธรรมชาติแตวัยเด็ก ทำให รูสึกหวงแหนธรรมชาติที่นับวันจะถูกทำลายลงดวยเทคโนโลยี ที่เขามามีบทบาทกับชีวิตมนุษยจนยากที่จะแกไข การ สรางสรรคผลงานนี้จึงจำเปนตองทำการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวของ อาทิ เชน ศิลปะแนวแฟนตาซีที่มีความนาสนใจในดาน การใชจินตนาดานการประกอบสรางรูปทรงที่พิเศษแปลกตา สอดคลองกับศิลปะลัทธิเซอรเรียลิสมที่มุงเนนการพบกันโดย บังเอิญของวัตถุ ตั้งแต 2 ประเภทมาผสมผสานกันจนเกิดเปนรูปทรงที่ไมเคยปรากฏมากอน ซึ่งเปนการเปดมุมมองในเรื่องการ เลือกใชวัสดุประเภทเก็บตกรวมกับวัสดุสำเร็จรูปและวัสดุที่หาไดตามธรรมชาติ เมื่อผลงานเสร็จสมบูรณ ทำใหเกิดการ ตีความหมายใหกับผลงานประติมากรรม ดวยรูปทรงแบบใหม เพราะการชมผลงานนั้นตองอาศัยประสบการณของผูดูรวมดวย จึงจะเกิดความสนุก เปนรูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะตนอยางนาสนใจ รวมถึงมีความงามทางสุนทรียเกิดขึ้น และกระตุนเตือน ผูคนใหหันมาเห็นคุณคาของธรรมชาติอีกทางหนึ่ง เอกสารอางอิง (References) กำจร สุนพงษศรี.(2555). สุนทรียศาสตร. พิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องคประกอบของศิลปะ พิมพครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพอมรินทร พิชัย ตุรงคินานนท. (2544). มัลติเพิล อารต : พาหนะแหงการสื่อสารของ โจเซฟ บอยส พิมพครั้งที่ 1กรุงเทพฯ แมกซ แอรนสท.(2551). สี แสงอินทรพิมพครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มัย ตะติยะ. (2547). สุนทรียภาพทางทัศนศิลป, กรุงเทพฯ : วาดศิลป วิโชค มุกดามณี. (2550).การแสดงงานจิตรกรรม วิโชค มุกดามณี. (2546). 6 ทศวรรษศิลปกรรมรวมสมัยในประเทศไทย.กรุงเทพฯ : หอศิลปมหาวิทยาลัยศิลปากร สดชื่น ชัยประสาธน. (2539).จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอรเรียลิสต. พิมพครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท ดานสุทธารพิมพจำกัด สมพร รอดบุญ. (2534). วัสดุในศิลปะ. ทองโลกศิลป, กรุงเทพฯ อารี สุทธิพันธ.(2535). ศิลปนิยม พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพโอเดียนสโตร เดวิน คอตติงตัน, (2554). ศิลปะสมัยใหม ความรูฉบับพกพา. แปลจาก Modern Art, แปลโดย จณัญญา เตรียมอนุรักษ. กรุงเทพฯ : โอเพนเวิลด 218


แนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล : กรณีศึกษาโครงการผาขาวมาทองถิ่น หัตถศิลปไทย Guidelines for using loincloth in the design of apparel and football products. : Case study of the local loincloth project, Thai handicrafts จักรพันธ สุระประเสริฐ* (ศป.ม.) 1 1 ผูชวยศาสตราจารยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตยE-mail [email protected] บทคัดยอ บทความนี้นำเสนอแนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล มี วัตถุประสงคเพื่อศึกษาแนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล โดยมีตัวอยางเครื่อง แตงกายกีฬาที่นำมาศึกษาจำนวน 29 ชิ้น ตัวอยางผลิตภัณฑกีฬาจำนวน 24 ชิ้น จาก 4 สโมสรที่เขารวมโครงการผาขาวมา ทองถิ่น หัตถศิลปไทย ป พ.ศ.2564 มีคุณสมบัติตามเกณฑ กลาวคือ เปนเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล และผลิตภัณฑกีฬาที่ใช ผาขาวมาจากชุมชนในพื้นที่จังหวัดที่สโมสรฟุตบอลนั้นตั้งอยู โดยใชแนวคิดจากศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สัญลักษณประจำ จังหวัด ในการออกแบบ มีเครื่องมือในการวิจัยคือ ตาราง Matrix Analysis ดำเนินการวิเคราะหขอมูลจากการออกแบบและ การใชผาขาวมาของผลิตภัณฑตังอยาง และสรุปผลโดยใชสถิติบรรยายเปนรอยละ ผลวิจัยพบวาการใชผาขาวมาในเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล ในสวนของชุดสำหรับแขงขันนั้นยังทำไดนอย เพราะ คุณสมบัติของผาขาวมายังตอบสนองสวนนี้ไมได ทำใหนักออกแบบนำผาขาวมามาใชในชุดแขงขันไมได แตยังสามารถนำมาใช กับการออกแบบเครื่องแตงกายรูปแบบอื่นๆของสโมสรฟุตบอลได ในสวนของการใชผาขาวมาในผลิตภัณฑกีฬาพบวาคุณสมบัติ ของผาขาวมาตอบสนองการออกแบบไดเปนอยางดีอยางเชนผลิตภัณฑกระเปา หมวก ผาพันคอ และยังสามารถพัฒนา รูปแบบตอไปไดอีกมาก การนำแรงบันดาลใจจากศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สัญลักษณประจำจังหวัด และสีประจำสโมสร ฟุตบอล มาใชในงานออกแบบทำใหเกิดการทอผาขาวมาดวยสีที่แตกตางไปจากเดิม คำสำคัญ: ผาขาวมา เครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล ผลิตภัณฑกีฬา ABSTRACT This article presents guidelines for using loincloth in the design of apparel and football products. The objective of this study was to study the guidelines for using loincloth in the design of apparel and football products. 29 samples of sports apparel were included in the study, 24 samples of sports products from 4 clubs participating in the local loincloth project, Thai handicrafts in 2021. Qualified according to the criteria, that is, it is a football sport apparel. and sports products using loincloth from the community in the province where the football club is located. Using concepts from arts, culture, traditions, and provincial symbols in the design, the research tool is a Matrix Analysis table. Data was analyzed from the design and use of loincloths of the sample products. and summarize the results using descriptive statistics as a percentage. The results showed that the use of loincloth in football apparel As for the outfits for the competition, it still does little. because the properties of loincloth still cannot meet this part. Causing designers to not be able to use loincloth in competition outfits But it can also be applied to other football 219


club apparel designs. As for the use of loincloth in sports products, it was found that the properties of loincloth were responsive to the design. such as bags, hats, scarves, and can be developed further. Taking inspiration from arts, culture, traditions, provincial symbols and the colors of the football club used in the design, resulting in the weaving of loincloth with different colors from the original. KEYWORDS: loincloth soccer sports apparel sports products บทนำ (Introduction) จากขอมูลศูนยสงเสริมศิลปาชีพระหวางประเทศ (องคการมหาชน) หรือ SACICT ปจจุบันคนไทยเรารูจักผาขาวมา กันนอยลง โดยเฉพาะคนรุนใหมที่สวนใหญไมเคยเห็นผาขาวมา ทั้งที่สมัยกอนผาขาวมาเปนผาที่อยูในวิถีชีวิตคนไทย ทั้งใชใส นุงอาบน้ำ เช็ดตัว หอของ คาดเอว ใชเปนผาปดไลแมลงและอีกสารพัดประโยชน แตเมื่อวิถีการใชชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่มาทดแทน บทบาทของผาขาวมาของไทยก็ ลดนอยลง แตในตางจังหวัดผาขาวมายังเปนที่นิยมของคนไทยใชในชีวิตประจำวัน บางก็ใชเปนผามอบใหเปนของขวัญที่มีคา แกกัน เปนผาสารพัดประโยชนในครอบครัว ในวัฒนธรรมของแตละภาคจะมีความแตกตางกัน เชน ภาคอีสานจะมีวัฒนธรรม การทอผาขาวมาดวยผาไหม มีผาขาวมาประจำตระกูล ทางภาคกลางก็จะทำจากผาฝายเปนสวนใหญ ดังนั้นบทบาทของผาขาวมาที่เปลี่ยนไป การใชผาขาวมาลดลง ทำใหชุมชนที่เคยทอผาขาวมาเพื่อสรางรายไดประสบ ปญหาเชิงเศรษฐกิจ และยังสงผลถึงปญหาทางศิลปะวัฒนธรรม เพราะไมมีคนมาสานตอการทอผาขาวมา ทางภาครัฐไดมีการจัดหนวยงานลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑจากผาขาวมาใหกับชุมชน แตยังไมเพียงพอ เนื่องจาก การเติบโตของวงการฟุตบอลไทยกอใหเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเปนจำนวนมาก โดยสงผานมายังธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องอยางการลงทุนในการทำทีมฟุตบอล คาลิขสิทธิ์ในการถายทอดสดการแขงขัน อุปกรณกีฬา สินคาเสื้อกีฬา ของที่ ระลึก ธุรกิจคาปลีก ธุรกิจคมนาคมขนสง สถาบันสอนกีฬา และยังกอใหเกิดการจางงานจากการเกิดขึ้นของอาชีพใหมๆ ทั้ง ทางตรงและทางออม ซึ่งเกิดจากการที่คนไทยรับชมการแขงขันฟุตบอลไทยเพิ่มขึ้น สมาคมฟุตบอลไทยจึงไดมีการปรับ โครงสรางทีมฟุตบอลสโมสร โดยใหเปนการกอตั้งจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร มีการสนับสนุนใหสโมสรเดิมหาพันธมิตรเปนจาก จังหวัดตางๆในประเทศ และสนับสนุนใหแตละจังหวัดกอตั้งสโมสรฟุตบอลเพื่อเขาแขงขันในรายการของสมาคม โดยมี หนวยงานเอกชนหลายแหงใหการสนับสนุน ทำใหแตละสโมสรมีฐานแฟนบอลขึ้นมา เนื่องจากความรักในจังหวัดหรือถิ่นฐาน ของตนเอง สงผลใหมีการสนับสนุนจากแฟนบอลเขามาอีกทาง รายไดของแตละสโมสรมีมากขึ้นจากคาเขาชม จากการขายของ ที่ระลึก ภาคเอกชนที่เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้จึงเขาชวยสงเสริม โดยจัดเปนโครงการตางๆขึ้น ดังเชน บริษัท ไทยเบฟ เวอเรจ จำกัด โดยโครงการ eisa โครงการผาขาวมาทองถิ่น หัตถศิลปไทย ไดรวมมือกับ สโมสรฟุตบอลประจำจังหวัด ชุมชน ผาขาวมา และมหาวิทยาลัย โดยมีการเขารวมกันดังนี้ 1.ชุมชนบานหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย สโมสรฟุตบอลสุโขทัย เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย 2.ชุมชนบานดอนแร (ดลมณี) จังหวัดราชบุรี สโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล เอฟซี วิทยาลัยเพาะชาง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร 3.ชุมชนบานหนองลิง จังหวัดสุพรรณบุรี สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยราช ภัฎสวนสุนันทา 220


4.ชุมชนคอตตอนดีไซน จังหวัดปทุมธานี สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย กรุงเทพ ทั้งนี้ตัวแทนของแตละมหาวิทยาลัย ไดนำผาขาวมาของแตละชุมชน มาพัฒนาเปนเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬา ใหกับสโมสรฟุตบอล มีการลงพื้นที่เก็บขอมูลจากชุมชน สโมสรฟุตบอล และความตองการของกลุมเปาหมายของสโมสร ฟุตบอล เพื่อหาแรงบันดาลใจในการสรางแนวคิดในการออกแบบ และผลิตตนแบบออกมา ภาพที่ 1: งานแสดงผลงานผาขาวมาทองถิ่นหัตถศิลปไทย ที่มา: www.siamsport.co.th พ.ศ.2564 ดังนั้นการศึกษาการใชผาขาวมากับเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาใหกับสโมสรฟุตบอล จึงมีความจำเปนอยางยิ่ง ในการพัฒนาแนวทางการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาจากผาขาวมา ใหทันสมัย เปนที่นิยมของกลุมเปาหมาย ของสโมสรฟุตบอล เกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพ และสรางรายไดใหกับชุมชน วัตถุประสงค ศึกษาแนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล ขอบเขตในการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล สำหรับกลุมเปาหมายของสโมสรฟุตบอล โดยตัวอยางเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล ที่นำมาศึกษาจำนวน 53 ชิ้น จาก 4 สโมสรฟุตบอลในประเทศไทย มีคุณสมบัติตามเกณฑของลักษณะของเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลที่ใช ผาขาวมาในการออกแบบ สามารถสะทอนอัตลักษณของสโมสรฟุตบอลแตละสโมสรไดเปนอยางดี วิธีการดำเนินการวิจัย 1.ศึกษาขอมูลเบื้องตนจากเอกสาร หนังสือ บทความ เกี่ยวกับผาขาวมา หลักการออกแบบเครื่องแตงกายกีฬา การ ออกแบบผลิตภัณฑทองถิ่น แนวคิดในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลของ 4 สโมสร และศึกษารูปแบบ การพัฒนาเครื่องมือที่ใชในการวิจัย 2. สำรวจและคัดเลือกกลุมตัวอยางเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลจากสโมสรฟุตบอลที่เขารวมโครงการ 3. สรางและพัฒนาเครื่องมือที่ใชในการวิจัย โดยใชตาราง Matrix จัดกลุมในการวิเคราะหขอมูลความสัมพันธของ คุณลักษณะเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลโดยแยกองคประกอบจาก ประเภทการ ออกแบบ วัสดุ การออกแบบ แรงบันดาลใจ และสี โดยเนนไปที่การใชผาขาวมาในงานออกแบบ 221


4. ดำเนินการวิเคราะหขอมูลจากคุณลักษณะของเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลจากผาขาวมา และ สรุปผลโดยใชสถิติบรรยาย ไดแก คารอยละ จากตาราง Matrix Analysis 5. อภิปรายผลถึงรูปแบบและแนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล เนื้อหา (Content) 1.ผาขาวมา ไมใชคำไทยแท แตเปนภาษาเปอรเซียที่มีคำเต็มวา “กามารบันต” (Kamar band) “กามาร” หมายถึง เอว หรือ ทอนลางของรางกาย “บันด” แปลวา พัน รัด หรือคาด เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกัน จึงหมายถึง เข็มขัด ผา พัน หรือคาดสะเอว คำวา “กามารบันด” ยังปรากฏอยูในภาษาอื่นๆอีก เชน ภาษามลายู มีคำวา“กามารบัน” (Kamaban) ภาษาฮินดี้ ใชคำวา“กามารบันด”เชนเดียวกับภาษาเปอรเซีย แตภาษาอังกฤษใชคำวา “คัมเมอรบันด” (Commer band) หมายถึง ผารัดเอวในชุดทัคซิโด (Tuxedo) ซึ่งเปนชุดสำหรับออกงานราตรีสโมสร นอกจากนี้งานวิจัยเรื่อง “ผาขาวมา” ของ อาภรณพันธ จันทรสวาง อธิบายวา “ผาขาวมา” เปนคำที่เพี้ยนมาจากคำวา “กามา” (Kamar) ซึ่งเปนภาษาอิหรานที่ใชกัน อยูในประเทศสเปน เขาใจวาสเปนไดนำเอาคำวา “กามา” ซึ่งเปนภาษาแขกไปใชดวยเพราะในประวัติศาสตร ประเทศทั้งสอง นาจะมีความสัมพันธติดตอกันมาชานาน (อาภรณพันธ จันทรสวาง. 2523) มาตรฐานผลิตภัณฑชุมชน (มผช.197/2546) ได กำหนดมาตรฐานของผาขาวมาวาหมายถึง ผาทอลายขัดแบบตาหมากรุกหรือรูปลายสี่เหลี่ยมที่ไดจากการขัดกันระหวาง เสนดายยืนกับเสนดายพุงสลับสีกันเปนชวง โดยใชเสนดายยืนสลับสีกัน และใชเสนดายพุงซึ่งอาจมีสีเดียวกันกับเสนดายยืน หรือไมก็ไดทอสลับสีกันเปนชวง ที่ชายผาทั้งสองดานตองมีลวดลายเปนเสนตรงตามแนวเสนดายยืนอาจนำลายทออื่นมาเปน ลายประกอบหรือลายคั่นดวยก็ไดเชน ลายขิด ลายยกดอก (เสาวลักษณ คงคาฉุยฉายและคณะ. 2556: 6) 2.การออกแบบผลิตภัณฑของที่ระลึก จารุพรรณ ทรัพยปรุง (2548) จำแนกการออกแบบประยุกตศิลปเปน 2 ประเภท คือ การออกแบบโครงสรางและการออกแบบตกแตง โดยแตละประเภทมีคุณลักษณะการออกแบบที่แตกตางกัน การ ออกแบบโครงสราง เปนการออกแบบที่มีความเกี่ยวพันกับขนาด รูปราง และรูปทรงของวัตถุชิ้นหนึ่ง คุณลักษณะที่มีความ จำเปนสำหรับงานออกแบบโครงสราง ไดแก ความมั่นคงแข็งแรง สัดสวนที่ดี และความเหมาะสมของวัสดุที่นำมาใชในการ ออกแบบ การออกแบบตกแตง เปนการออกแบบลวดลาย รายละเอียด การวางตำแหนงสี เสนและพื้นผิวใหกับโครงสราง การ ออกแบบตกแตงที่เพิ่มเติมเขาไป หากเปนเอกภาพจัดเปนการออกแบบโครงสราง แตถาดูโดดเดนเปนพิเศษก็จัดเปนการ ออกแบบตกแตง 3.การออกแบบและผลิตอุปกรณกีฬา เกี่ยวของกับศาสตร ทางดานวิศวกรรม และ วิทยาศาสตร การแพทย โดย ทางวิศวกรรม จะเนนไปที่การพัฒนาวัสดุชนิดใหม ที่ชวยเพิ่มขีด ความสามารถของนักกีฬา สำหรับดานวิทยาศาสตรการแพทย จะมุงไปที่เรื่องสรีรวิทยาของนักกีฬา เพื่อปองกันผูเลนกีฬาจากการเสี่ยงตอการบาดเจ็บ โดยจะเกี่ยวของกับศาสตรตาง ๆ เชน กลศาสตรทางชีวภาพ (biomechanics) กลศาสตรวาดวยการเคลื่อนไหว (dynamics) และ จลนศาสตร (kinetics) เปนตน การออกแบบและผลิตอุปกรณกีฬา จำเปนตองพิจารณาถึง แรงกลศาสตรตาง ๆ ที่กระทำตอรางกายของคนเรา ซึ่งจะแตกตาง กันออกไปตามประเภทของกีฬา อุปกรณกีฬาหรือชุดกีฬายอมผานกระบวนการออกแบบเพื่อใหเกิดประโยชนตอนักกีฬา ขณะเดียวกันยังเปนการออกแบบ เพื่อสรางความได เปรียบในการแขงขันดวย เปนความ ไดเปรียบที่มิใชแตเพียงในสนามกีฬา เทานั้น หากทวาในสนามการคา การชวงชิงความไดเปรียบ ในเรื่องความกาวหนาทางเทคโนโลยีการออกแบบตลอดจนวัสดุที่ใช ก็สามารถทำให บริษัทเครื่องกีฬา กลายเปนผูนำหรือผูครองตลาดอุปกรณกีฬา ไดเชนกัน ดังนั้น ราคาสินคากีฬา ที่คอนขางสูง นอกจากจะมีปจจัยจาก การสรางความนาเชื่อถือ ในเครื่องหมายการคาแลว ยังเปนผลมาจาก เทคโนโลยีวัสดุ และการ ออกแบบที่แตละบริษัททุมเทในการวิจัยและพัฒนา อันเปนนัยยะบงบอกถึงคุณภาพ และประสิทธิภาพของอุปกรณ หรือชุด กีฬานั้น ๆ ไปในตัว 222


3.1 การออกแบบและการเลือกประเภทวัสดุสำหรับอุปกรณกีฬา เครื่องแตงกายนักกีฬานั้น เปน องคประกอบที่สำคัญยิ่งตอการเลนกีฬา ไมเพียงแต จะมีสวน ทำใหอุปกรณกีฬามีความสวยงามนาใชงาน หรือสงผลใหนักกีฬา เปนผูกำชัยชนะเทานั้น หากยังมีผลตอสุขภาพรางกายของนักกีฬาดวย การออกแบบและการเลือก ประเภทวัสดุ ที่เหมาะสม จึงเปนการปองกันผูเลนกีฬาจากความเสี่ยงตอการบาดเจ็บ ดังตัวอยางเชน รองเทากีฬา ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นอยูกับ การใช งานใหเหมาะสำหรับ กีฬาแตละประเภท การออกแบบรองเทากีฬา จึงตองคำนึงถึงการรับ แรงกระแทก และ การรักษารูปราง ของเทาในขณะเคลื่อนไหว วัสดุที่ใชทำรองเทาจึงตองมีความยืดหยุนที่ดี ซึ่งจะชวยลดความเจ็บปวดหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ระหวางการเลนกีฬา หรือ 'สปอรตบรา' (sport bra หรือ jog bra) ซึ่งปจจุบันเปนที่นิยมในกลุมผูหญิงที่เลนกีฬา ทั้งนี้ก็เพื่อ ความกระชับและความคลองตัว ในการออกกำลังกาย สปอรตบราไดรับการพัฒนา ใหผูเลนสามารถเลือกใสใหเหมาะสมกับ ประเภทกีฬาที่เลน (จากเดิมที่ออกแบบมา เพียง แบบเดียวใชกับกีฬาทุกประเภท) โดยมีสวนประกอบ 2 ชั้น คือ ชั้นนอกเปน เสนใยฝาย ผสมโพลิเอสเทอร (stretchable cotton - poly fabric) ที่ใหความยืดหยุน และชั้นในเปน เสนใยไลครา (lycra) ซึ่งเปนเสนใยสังเคราะหที่มีสวนประกอบของโพลิยูรีเทนแบบแข็ง (rigid polyurethane) และโพลิไซสไตรีน (polyxyethylene) มีลักษณะคลายสปริงที่มีความยืดหยุนสูง โดยโพลิยูรีเทนชนิดแข็งเปนสวนที่ใหความแข็งแกเสนใย และทำ ใหโมเลกุล ของเสนใย ไมเคลื่อนตัวออกจากกันเมื่อถูกดึงใหยืดออก สำหรับโพลิไซสไตรีน ใหความยืดหยุนแกเสนใย สามารถ คืนรูปไดถึง 500 % ไมทำใหเสนใยเสียรูป จึงทำใหผูสวมใส คลายความกังวล ในเรื่อง แรงดึงรั้งของชุดขณะเลนกีฬา ในสวน ของการออกแบบลาย ปจจุบันมีเทคโนโลยีการพิมพผา ที่ตอบสนองการออกแบบไดอยางมีคุณภาพ สะดวก และราคาไมสูงนัก ชุดกีฬาพิมพลาย คือการพิมพลวดลายที่ออกแบบลงไปในผาแลวนำไปตัดเย็บ เหมือนการพิมพลงบนกระดาษรูปภาพ ขอดีของ การพิมพคือสามารถตอบสนองการออกแบบชุดกีฬาไดทุกรูปแบบ แมกระทั่งการ พิมพรูปเสมือนจริง(รูปภาพคน) ลงไปที่ชุด กีฬา ทำใหวงการกีฬา ดูมีสีสันแปลกตา และโดดเดนมากยิ่งขึ้น เชน ถาจะนำผาขาวมามาใชในการออกแบบชุดกีฬาสำหรับ แขงขันจริง อาจจะมีผลตอการเคลื่อนไหว และการระบายความรอน การระบายเหงื่อ แตถาใชการพิมพทำลายเสมือน ผาขาวมาลงบนผาใยสังเคราะหสำหรับชุดกีฬา จะทำใหไดทั้งอัตลักษณและการใชงานที่เหมาะสม 3.2 ชุดกีฬาฟุตบอล หมายถึง อุปกรณมาตรฐานและเครื่องแตงกายของนักฟุตบอล ในภาษาอังกฤษ สำเนียงบริเตนใชคำวา "kit" หรือ "strip" และสำเนียงอเมริกันใชคำวา "uniform" ตามกติกานั้นกำหนดใหใชชุดกีฬา และหาม ไมใหสวมใสสิ่งที่กอใหเกิดอันตรายตอตนเองและผูเลนอื่น ในการแขงขันแตละแหงนั้นอาจระบุเงื่อนไขเฉพาะ เชน กฎบังคับ ดานขนาดของโลโกที่แสดงบนเสื้อและกลาววา ในการแขงขันแตละนัดระหวาง 2 ทีมนั้น หากสีของชุดกีฬาเหมือนหรือ คลายกัน ทีมเยือนจะตองเปลี่ยนไปเปนอีกชุด โดยปกติแลวนักฟุตบอลจะมีหมายเลขอยูดานหลังของเสื้อ โดยทีมแรกจะสวม เสื้อตั้งแตหมายเลข 1 ถึง 11 เพื่อใหพอสอดคลองกับตำแหนงการเลน แตในระดับอาชีพแลว หมายเลขของผูเลนเขาใหมมักจะ ถูกกำหนดจากหมายเลขของผูเลนคนอื่นในทีม ซึ่งผูเลนแตละคนในทีมจะถูกกำหนดหมายเลขตายตัวในฤดูกาลนั้น ๆ สโมสร อาชีพมักจะแสดงนามสกุลหรือชื่อเลนบนเสื้อ อาจจะอยูเหนือ (มีบางครั้งที่อยูต่ำกวา) หมายเลขเสื้อ ชุดฟุตบอลนั้นมีการ พัฒนา แตเดิมผูเลนจะสวมเสื้อผาฝายหนา ๆ กางเกงทรงหลวมยาวถึงเขาและรองเทาหนังแข็ง ๆ หนัก ๆ ตอมาในศตวรรษที่ 20 รองเทาเบาและออนลง สวนกางเกงสั้นลง และการพัฒนาดานการผลิต การเติบโตของการโฆษณาในศตวรรษที่ 20 ทำให เกิดโลโกของผูสนับสนุนบนเสื้อผา และมีการผลิตเสื้อใหแฟนฟุตบอลไดซื้อหากัน กอใหเกิดรายไดจำนวนมากสูสโมสร 4.แนวคิดในการออกแบบการเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอลของ 4 สโมสร 4.1 ชุมชนบานหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย สโมสรฟุตบอลสุโขทัย เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย ใชแนวคิดปรับภาพลักษณสินคาสโสมสรใหเปนสินคาที่ชาวสุโขทัยนำไปใชในชีวิตประจำวันได โดยการนำลาย จกคางคาวและผาขาวมาบานหาดเสี้ยว มาประยุกตเปนสินคาใหกับสโมสร 223


ภาพที่ 2: ผลงานออกแบบสโมสรฟุตบอลสุโขทัย เอฟซี 4.2 ชุมชนบานดอนแร (ดลมณี) จังหวัดราชบุรี สโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล เอฟซี วิทยาลัยเพาะชาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร ใชแนวคิดทางวัฒนธรรม ศาสนา มาประยุกตในงานออกแบบ ภาพที่ 3: ผลงานออกแบบสโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล เอฟซี 4.3 ชุมชนบานหนองลิง จังหวัดสุพรรณบุรี สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ใชแนวคิดความหลากหลายทางชาติพันธุ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี 224


ภาพที่ 4: ผลงานออกแบบสโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เอฟซี 4.4 ชุมชนคอตตอนดีไซน จังหวัดปทุมธานี สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร เอฟซี คณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ใชแนวคิดความเปนปกแผน วิถีชุมชน ภาพที่ 5: ผลงานออกแบบสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร เอฟซี 225


ภาพที่ 6: ผลงานออกแบบสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร เอฟซี 5.การวิเคราะหฐานขอมูลการออกแบบ พรเทพ เลิศเทวศิริ (2547) กลาวถึง Matrix Analysis วา เปนการวิเคราะหขอมูลที่อธิบายความสัมพันธระหวางตัว แปรที่จัดเรียงตำแหนงอยางเปนระบบ โดยอาศัยแถวและคอลัมน โครงสรางของการวิเคราะหฐานขอมูลการออกแบบดวย Matrix ประกอบดวย ตาราง (Table) ตัวแปรคุณลักษณะ (Characteristics)และกลุมตัวอยางที่เปนผลงานออกแบบ (Samples) ที่เกี่ยวของมาไมต่ำกวา 20 ผลงาน เพื่อความนาเชื่อถือในขอมูล การวิเคราะหฐานขอมูลการออกแบบดวย Matrix นั้น มีการวิเคราะห 3 กรอบแนวทาง คือ การหาคาเฉลี่ย (Average) ทำใหทราบและทำความเขาใจในภาพรวมเชิงปริมาณ การ หาคารอยละ (Percentage) ของแตละตัวแปรคุณลักษณะ สามารถจำแนกและอธิบายคุณลักษณะในเชิงปริมาณ และการหา ความสัมพันธ (Relationship) การศึกษาภาพลักษณของผลิตภัณฑนั้นจำเปนตองใชผลิตภัณฑคูแขง และขอมูลพื้นฐานของ ผลิตภัณฑนำมาเปนกลุมตัวอยาง (Sample) เพื่อใชในการวิเคราะหขอมูล ตัวอยางผลิตภัณฑควรมีคุณสมบัติในทิศทางเดียวกัน เชน หากศึกษาเพื่อออกแบบนาิกาขอมือ กลุมตัวอยางก็ควรเปนนาิกาขอมือเทานั้น ยิ่งมีกลุมตัวอยางมากเทาใด การ วิเคราะหยอมมีความเชื่อมั่นในขอมูลสูง วิธีการวิเคราะหจะใชนฐานขอมูลเกี่ยวกับ คูสี Graphic รูปทรงอารมณ ความรูสึก หรือรูปแบบของผลิตภัณฑ เพื่อศึกษาโครงสรางความสัมพันธและทิศทางระหวางคุณลักษณะกับกลุมตัวอยางวาจะมีการ จำแนกกลุมและมีทิศทางไปในทางใด จากนั้นจึงนำมาทำการอภิปรายถึงโครงสรางของความสัมพันธะหวางคุณลักษณะกับกลุม ตัวอยาง วามีความเกี่ยวของกันอยางไรและสามารถอภิปรายไดในแงมุมใด โดยการวิเคราะหในครั้งนี้จะเนนไปที่การใช ผาขาวมากับการออกแบบเปนหลัก เชน ปริมาณของผาขาวมาที่ใชในผลิตภัณฑ ลักษณะการนำไปใช แรงบันดาลใจที่นำมาใช เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม 226


ผลการศึกษา/ทดลอง (Results) ตารางที่1 วิเคราะหการใชผาขาวมาในเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล ที่ รูปภาพ ประเภทการออกแบบ วัสดุ (ผาขาวมา) ลักษณะ วิธีการนำ ผาขาวมามา ใชในงาน ออกแบบ แรงบันดาลใจ สี ปริมาณการใช เสื้อแขงขัน กางเกงแขงขัน แจ็คเก็ต กางเกงวอรม เสื้อคอกลม เสื้อโปโล ไมมี เฉพาะสวนตกแตง ใชเปนวัสดุหลัก ตัดเย็บ ตัดตอ ตกแตง ลายพิมพ ศิลปะพื้นบาน วัฒนธรรม สังคม สถานที่ทองเที่ยว สัญลักษณประจำ จังหวัด แรงบันดาลใจ สีประจำสโมสร 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 227


ตารางที่2 วิเคราะหการใชผาขาวมาในผลิตภัณฑกีฬา ที่ รูปภาพ ประเภทการออกแบบ วัสดุ (ผาขาวมา) ลักษณะการ นำผาขาวมา มาใชในงาน ออกแบบ แรงบันดาลใจ สี ปริมาณการใช ผาพันคอ กระเปา mask ตุกตา ธง หมวก ไมมี เฉพาะสวนตกแตง ใชเปนวัสดุหลัก ตัดเย็บ ตัดตอ ตกแตง ลายพิมพ ศิลปะพื้นบาน วัฒนธรรม สังคม สถานที่ทองเที่ยว สัญลักษณประจำ จังหวัดหรือสโมสร แรงบันดาลใจ สีประจำสโมสร 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 228


การวิเคราะหฐานขอมูลการออกแบบดวย Matrix Analysis ที่อธิบายความสัมพันธระหวางการใชผาขาวมาในการ ออกแบบเครื่องแตงกายและผลิตภัณฑกีฬาฟุตบอล จากกลุมตัวอยางกับคุณลักษณะเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยตัวอยาง เครื่องแตงกายกีฬาที่นำมาศึกษาจำนวน 29 ชิ้น จาก 4 สโมสรที่เขารวมโครงการซึ่งมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาแนวทางการ ออกแบบผาขาวมา สามารถสรุปผลได ดังนี้ ประเภทการออกแบบ 6 ประเภท แบงเปนเสื้อคอกลมรอยละ 3.45 เสื้อโปโลรอย ละ 6.90 กางเกงแขงขันรอยละ 13.79 เสื้อแขงขันรอยละ 20.69 กางเกงวอรมรอยละ 24.14 และมากที่สุดคือเสื้อแจคเก็ตรอย ละ 31.03 ของรูปแบบการออกแบบทั้งหมด ปริมาณการนำผาขาวมาใชในเครื่องแตงกายกีฬา ใชเปนวัสดุหลักรอยละ 3.45 ใช ในสวนตกแตงรอยละ 37.93 และไมใชมากที่สุดคือรอยละ 58.62 ลักษณะวิธีการนำผาขาวมามาใชในงานออกแบบ ใชเปนสวน ตกแตงรอยละ 34.48 ใชในการตัดเย็บ ตัดตอ รอยละ 37.93 และนำมาประยุกตใชเปนลายพิมพรอยละ 44.83 แรงบันดาบใจ ที่นำมาใชในการออกแบบ จากวัฒนธรรมรอยละ 13.79 จากศิลปะพื้นบานรอยละ 58.62 และมากที่สุดคือจากสัญลักษณ ประจำจังหวัด รอยละ 65.52 ที่มาของสีที่นำมาใชในงานออกแบบ จากแรงบันดาลใจรอยละ 20.69 และจากสีประจำสโมสร รอยละ 100 จากตัวอยางผลิตภัณฑกีฬาจำนวน 24 ชิ้น จาก 4 สโมสรที่เขารวมโครงการซึ่งมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาแนวทางการ ออกแบบผาขาวมา สามารถสรุปผลได ดังนี้ ประเภทการออกแบบ 6 ประเภท แบงเปนตุกตารอยละ 4.17 หนากากผารอยละ 8.33 ธงรอยละ 8.33 หมวกรอยละ 8.33 ผาพันคอรอยละ 16.67 และมากที่สุดคือกระเปารอยละ 54.17 ของรูปแบบ ผลิตภัณฑทั้งหมด ปริมาณการนำผาขาวมาใชในผลิตภัณฑ ไมใชรอยละ 12.5 ใชในสวนตกแตงรอยละ 33.33 ใชเปนวัสดุหลัก รอยละ 54.17 ลักษณะวิธีการนำผาขาวมามาใชในงานออกแบบ นำมาประยุกตใชเปนลายพิมพรอยละ 8.33 ใชเปนสวน ตกแตงรอยละ 41.67 ใชในการตัดเย็บ ตัดตอ รอยละ 50 แรงบันดาบใจที่นำมาใชในการออกแบบ สัญลักษณประจำจังหวัด หรือสโมสรรอยละ 75 ศิลปะพื้นบานรอยละ 91.67 ที่มาของสีที่นำมาใชในงานออกแบบ จากแรงบันดาลใจรอยละ 45.83 และ จากสีประจำสโมสรรอยละ 75 สรุปและอภิปรายผล จากผลที่ไดแสดงใหเห็นวาการใชผาขาวมาในเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล ในสวนของชุดสำหรับแขงขันนั้นยังทำได นอยมาก กลาวคือ ชุดแขงขันตองการความคลองตัว การระบายอากาศ การระบายน้ำในระดับสูง เพื่อความไดเปรียบในการ แขงขันซึ่งถือเปนวัตถุประสงคหลักของทุกสโมสรฟุตบอล แตคุณสมบัติของผาขาวมายังตอบสนองสวนนี้ไมได ทำใหนัก ออกแบบนำผาขาวมามาใชในชุดแขงขันไมได แตยังสามารถนำมาใชกับการออกแบบเครื่องแตงกายรูปแบบอื่นๆของสโมสร ฟุตบอลเพื่อใชจำหนายใหกับแฟนบอลของแตละสโมสรไดซึ่งนำมาใชในลักษณะของสวนตกแตงเปนสวนมาก เนื่องจากสโมสร เปนแบรนดกีฬา ลักษณะเครื่องแตงกายที่วางจำหนายจะเนนไปที่ความคลองตัว แตยังสามารถเปนชองทางที่เพิ่มรายไดจาก การผลิตผาขาวมาใหกับชุมชนได อาจจะไมใชการจำหนายผาทั้งผืน ดังนั้นการนำเศษผาขาวมาที่เหลือจากการแปรรูปมาใชใน สวนนี้เปนแนวทางที่เหมาะสมอยางยิ่ง ถาเทียบกับปริมาณการใชผาขาวมาในเครื่องแตงกายกีฬา ในสวนของการหาแรง บันดาลใจมาใชในงานออกแบบเครื่องแตงกายกีฬารวมกับผาขาวมา จากผลที่ไดแสดงใหเห็นวา นักออกแบบไดนำเรื่องราว ศิลปะพื้นบาน วัฒนธรรม สัญลักษณประจำจังหวัดหรือสโมสรในจังหวัด มาใชสรางแนวคิดในการออกแบบใหสอดคลองกับ ผาขาวมา และยังเปนการเขาถึงกลุมแฟนบอลประจำจังหวัดไดเปนอยางดีในสวนของการเลือกใชสี นักออกแบบสวนใหญใชสี ประจำของสโมสรฟุต เนื่องจากเปนขอบังคับของการแขงขัน ดังนั้นจึงสงผลดีตอชุมชนที่ไดเพิ่มการผลิตผาขาวมาจากสีที่ แตกตางจากที่ผลิตอยูเดิม สำหรับการใชผาขาวมาในผลิตภัณฑกีฬาผลที่ไดจะแตกตางจากเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอลอยางชัดเจน กลาวคือ ผลิตภัณฑกีฬาซึ่งรูปแบบสวนมากเปนกระเปา ตองใชความคงทน แข็งแรง รับน้ำหนักไดดี ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของผาขาวมา และสามารถพัฒนารูปแบบตอไปไดอีกมากตามยุคสมัย ในประเด็นของการออกแบบ การนำแรงบันดาลใจจากศิลปะพื้นบาน 229


สัญลักษณประจำจังหวัดหรือสโมสร มาผสมผสานประยุกตใชในงานออกแบบที่ทันสมัย ทำใหผลิตภัณฑเปนที่นาสนใจแกกลุม แฟนบอล ซึ่งจะสามารถเพิ่มชองทางทางการตลาดใหกับสโมสรและชุมชนได เชน ชุมชนทอผาไดสีใหมซึ่งเปนสีประจำของ สโมสรฟุตบอล มาใชในการทอผาและผลิตผลิตภัณฑใหกับสโสมร ขอเสนอแนะ จากผลการศึกษาแนวทางการใชผาขาวมาในการออกแบบเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล มีขอเสนอแนะดังนี้ 1.การใช ผาขาวมาในชุดสำหรับแขงขันยังคงเปนเรื่องที่ตองศึกษาและพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องของเสนใยที่จะนำมาใช หรือการใช เทคโนโลยีการพิมพลายทดแทนเพื่อเปนการสืบสารวัฒนธรรมไว 2. จากตัวอยางเครื่องแตงกายกีฬาฟุตบอล จะเห็นไดวามีการ ใชผาขาวมาในสวนตกแตง และในงานออกแบบแตละชิ้นปริมาณหรือขนาดชิ้นของผาขาวมาสวนใหญจะมีขนาดเล็ก ซึ่งเปน ประเด็นที่ควรศึกษาตอไปในเรื่องของการนำเศษผาขาวมาที่เหลือจากการผลิต มาใชในการทำสวนตกแตง ซึ่งจะทำใหชุมชนได ใชประโยชนจากผาขาวมาไดอยางคุมคา จากผลการศึกษาแนวทางการใชผาขาวมาในผลิตภัณฑกีฬาผาขาวมามีบทบาทในสวนนี้เปนอยางมาก ดังนั้นถามี การสนับสนุนให สโมสรฟุตบอลหรือสโมสรกีฬาอื่นๆซึ่งมีกลุมแฟนบอลสนับสนุน รวมมือกับชุมชนในพื้นที่หรือจังหวัดที่เปน ที่ตั้งของสโมสร จะทำใหเกิดรายไดใหกับชุมชนและสโมสร และยังเปนการสืบสานผาขาวมาไทยใหคงอยูตอไป เอกสารอางอิง (References) ในเนื้อเรื่อง ใชระบบนามป เปนการอางอิงที่อยูรวมกันกับเนื้อหาไมแยกสวนโดยอาจเขียนชื่อผูแตงที่ใชอางอิงให กลมกลืนไปกับเนื้อหาหรือจะแยกใสในวงเล็บทายขอความอางอิงก็ได เอกสารภาษาไทยเขียนชื่อผูแตงและนามสกุล เอกสาร ตางประเทศเขียนเฉพาะชื่อสกุลเทานั้นตามดวยป ค.ศ. ดังตัวอยางเชน - ผูวิจัยใชทฤษฎีของ เบสต ที่กลาวไววาการแปลความหมายระดับความพึงพอใจที่มีตอผลิตภัณฑ (Best, 1986 อางถึงใน พวงรัตน ทวีรัตน, 2543) - การผสมผสานระหวางรูปแบบชิ้นสวนแตละชิ้นในจินตนาการ ใหเกิดรูปลักษณใหมที่ยังคงความรูสึกถึง ประโยชนในการประดับตกแตงตัวอาคาร (นวลนอย บุญวงษ, 2539) - สวนการคัดลอกขอความ ใชระบบนามนามปพรอมระบุเลขหนาและใหขอความที่คัดลอกมาอยูใน เครื่องหมาย “………” - ในการอางอิงทายเรื่อง เอกสารที่อางถึงในเนื้อเรื่อง ตองเขียนไวในรายการเอกสารอางอิงทายเรื่องทุก เรื่อง โดยเรียงเอกสารภาษาไทยไวกอนภาษาตางประเทศ ตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของชื่อผูแตงไมตองใชหมายเลขกำกับ ชื่อ ผูแตงภาษาอังกฤษเรียงตามอักษรตัวแรกของชื่อสกุล และถาอักษรตัวแรกเหมือนกันใหเรียงตามอักษรตัวถัดไป ถาผูแตงคน เดียวกันใหเรียงลำดับตามปที่พิมพ - การพิมพวัสดุอางอิงแตละรายการ ใหพิมพชิดขอบดานซาย บรรทัดตอไปใหยอโดยตั้ง Tab 0.63 นิ้ว เสรี วงษมณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ : วสิทธิ์พัฒนา. American Psychological Association. (2010). Publication manual of the American Psychological Association (6th ed.). Washington, DC: American Psychological Association. พิเชษฐ รุงลาวัลย, บรรณาธิการ. (2553). คนละไมคนละมือ. ราชบุรี: ศูนยประสานงานชมรมศิษยเกาสามเณรลัย แมพระนิรมล. Diener, H.C., & Wilkinson, M., Eds. (1988). Drug-induced headache. New York: Springerverlag. 230


โกเมศ คันธิก (2557). การออกแบบบล็อกผนังเครื่องเคลือบดินเผา ดวยเรื่องราวจากทะเล. วิทยานิพนธศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาทัศนศิลปและการออกแบบ, คณะศิลปกรรมศาสตร, มหาวิทยาลัยบูรพา. นวลพรรณ ออนนอม. (2557). การพัฒนางานออกแบบเพื่อบูรณาดานแนวคิด. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(2), 1-14. วสันต ศรีสวัสดิ์. (2551). ความสัมพันธระหวางงานออกแบบและองคประกอบในงานศิลปกรรมกรรม. ในการประชุมวิชาการ และเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “ราชนครินทรวิชาการและวิจัย ครั้งที่ 3”, (หนา 1-13). ฉะเชิงเทรา: สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแหงชาติ. (2554).แผนพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมแหงชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2550 – 2554). สืบคนขอมูลเมื่อ 30 สิงหาคม 2557, เขาถึงไดจาก http://www.Idd.go https://www.posttoday.com/life/healthy/559412 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ. (2555). สถิติการสงออก (Export) ขาวหอมมะลิ: ปริมาณและ มูลคาการสงออกรายเดือน. สืบคนขอมูลเมื่อ30 สิงหาคม 2557, เขาถึงไดจาก http://www.oae.go.th/ oae_report/export_import/export_result.php 231


Click to View FlipBook Version