The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ศส.10 ลำปาง)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ศส.10 ลำปาง)

สรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (ศส.10 ลำปาง)

12. ผู้รับผิดชอบโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้บริหารโครงการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1-20 เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 13. ตัวชี้วัด 1) เชิงคุณภาพ 1.1) สหกรณ์ที่มีปัญหาขาดทุนสะสมมีผลดำเนินงานขาดทุนสะสมลดลง/มีกำไร 1.2) สหกรณ์มีความเข้มแข็งและสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ 2) เชิงปริมาณ 2.1) กรรมการสหกรณ์ที่เข้ารับการอบรมมีโครงการและแผนงาน/กิจกรรมในการพัฒนา/ แก้ไขปัญหาของสหกรณ์สหกรณ์ละ 1 โครงการ/แผน 2.2) ผู้เข้าอบรมมีแผนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หลังการอบรม ร้อยละ 100 2.3)กรรมการสหกรณ์ได้รับการพัฒนาความรู้เรื่องการสหกรณ์ 156/3,120 (สหกรณ์/คน) 14. การประเมินผล 1) การประเมินผลระหว่างการอบรม - การประเมินผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม การทำกิจกรรม ระหว่างการอบรม - การประเมินผลโครงการ 2) การติดตามประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ - การติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการสหกรณ์ โดยการติดตาม ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการอบรม 3 และ 6 เดือน 15. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) สหกรณ์มีความเข้มแข็งและมีกำไรจาการดำเนินธุรกิจ 2) สมาชิกสหกรณ์ได้รับผลตอบแทนจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์


ตาราโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนวันที่ 09.00 – 10.00 น. 10.00 – 12.00 น. 11วันแรก บทบาทหน้าที่ของ กรรมการสหกรณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ในแต่ละฝ่าย รัอาวันที่สอง แบ่งกลุ่มอภิปรายจัดทำแผนงาน/กิจกรรม ในการพัฒนา/ แก้ไขปัญหาของสหกรณ์ หมายเหตุ : อาหารว่างและเครื่องดื่ม ช่วงเช้า เวลา 10.30 - 10.45 น. และ ช่วงบ่าย เวลา 14.30


างฝึกอบรม าคณะกรรมการสหกรณ์เข้มแข็งทั้งคณะ” 12.00 – 13.00 น. 13.00 – 14.30 14.30 – 16.30 น. รับประทาน หารกลางวัน ข้อสังเกต/ข้อบกพร่อง สาเหตุ และแนวทางแก้ไขของสหกรณ์ วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนด ปัญหาของสหกรณ์ แบบมีส่วนร่วม แบ่งกลุ่มอภิปรายและนำเสนอแผนงาน/กิจกรรม ในการพัฒนา/แก้ไขปัญหาของสหกรณ์ 0 - 14.45 น.


โครงการฝึกอบรม หลักสูตร พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์ 1. เลขที่โครงการ กผ. /2566 2. ชื่อโครงการ ฝึกอบรมหลักสูตร พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความแข็งของสหกรณ์ 3. เจ้าของโครงการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 - 20 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 4. หลักการและเหตุผล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันประเด็นหลัก เกษตรสร้างมูลค่าและแผนแม่บทภายใต้ยุทศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร หัวข้อการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร ซึ่งให้ความสำคัญกับมาตรการสนับสนุนที่จะช่วยให้สร้างมูลค่าในภาคเกษตรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเป็น รูปธรรม อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรและพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรทาง การเกษตรเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสม การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ การเกษตรและระบบติดตาม เฝ้าระวังและเตือนสินค้าเกษตรให้ทันสถานการณ์ การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนับสนุนภาคการเกษตรที่สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดหรือกลุ่มผู้บริโภค การส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรในรูปแบบต่าง ๆ โดยได้กำหนดเป้าหมายภายใต้แผนแม่บทย่อยการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร ให้สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเป้าหมาย) ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับ มาตรฐานเพิ่มขึ้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดชั้นความเข้มแข็งสหกรณ์ออกเป็น 4 ระดับ โดยมีเกณฑ์การจัดระดับ ความเข้มแข็งของสหกรณ์ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความสามารถในการให้บริการสมาชิก 2.ด้านประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจ 3.ด้านประสิทธิภาพในการจัดการองค์กร และ 4.ด้านประสิทธิภาพของการบริหารงาน ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีเป้าหมายในการพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์ภาคการเกษตรให้เป็นที่พึ่งของสมาชิก สหกรณ์ เกษตรกร และชุมชน และยกระดับสหกรณ์ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ การสร้างความเข้มแข็งหรือความของสหกรณ์ เกิดจากสมาชิกที่มีความเป็นเจ้าของมีส่วนร่วมในการกำกับ ดูแลกิจการสหกรณ์ จึงช่วยลดข้อบกพร่องในการดำเนินงานอันจะส่งผลเสียหายต่อสหกรณ์ได้ตามหลักการบริหาร จัดการกิจการที่ดี โดยเฉพาะสมาชิกสหกรณ์ต้องมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของสหกรณ์ เป็นผู้บริหาร และเป็น ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสหกรณ์ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น สหกรณ์ไม่สามารถดำเนินกิจการสู่เป้าหมายได้ ถ้าหากขาดการมีส่วนร่วมดูแลกำกับกิจการของสหกรณ์ ทั้งคนทุกทั้งฝ่ายต้องร่วมกันทำหน้าที่ของตนเอง ด้วยความเสียสละ ดังนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาสมาชิกสหกรณ์ในฐานะเจ้าของ และผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสหกรณ์ เพื่อพัฒนาสหกรณ์สู่ความเข้มแข็ง จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการฝึกอบรม หลักสูตร พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการสหกรณ์ 5. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ประธานกลุ่ม/สมาชิกชั้นนำมีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ/กิจกรรมสหกรณ์ 2) เพื่อให้ประธานกลุ่ม/สมาชิกชั้นนำสามารถถ่ายทอดกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ไปยังสมาชิก ในกลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหกรณ์ตามเป้าหมายได้


6. กลุ่มเป้าหมาย ประธานกลุ่มสหกรณ์หรือสมาชิกชั้นนำ (สหกรณ์เป้าหมายเดียวกับหลักสูตรกรรมการทั้งคณะ) เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ผู้เกี่ยวข้อง และสังเกตการณ์รุ่นละ 28 คน จังหวัด/พื้นที่ละ 2 รุ่น รวม 4,368 คน 7. ระยะเวลาและสถานที่ จัดอบรม รุ่นละ 1 วัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 – กันยายน 2566 ณ สำนักงานสหกรณ์ สถานที่ราชการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ หรือสถานที่อื่นตามความเหมาะสม 8. เนื้อหาหลักสูตร ประกอบด้วย - แผนงาน/กิจกรรมของสหกรณ์ที่ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนา/แก้ไขปัญหาของ สหกรณ์ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายที่จะให้ประธานกลุ่มไปดำเนินการ จำนวน 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประธานกลุ่ม/สมาชิกชั้นนำรับทราบข้อมูลแนวทางในการพัฒนา/แก้ไขปัญหาของ สหกรณ์ พร้อมทั้งนำไปชี้แจงสมาชิกในกลุ่มให้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและแนวทาง เดียวกัน วิธีการ บรรยาย/อภิปราย - สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทสมาชิกในการมีส่วนร่วมสร้างความเข้มแข็ง ของสหกรณ์จำนวน 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ข้าอบรมได้ทราบและเข้าใจสิทธิ หน้าที่ ของสมาชิกสหกรณ์ และตระหนักบทบาท ของตนเองในการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์ วิธีการ บรรยาย/อภิปราย - ขับเคลื่อนแผนงาน/กิจกรรมของสหกรณ์ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และ ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่ม จำนวน 3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประธานกลุ่ม/สมาชิกชั้นนำ กำหนดแผนงานให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนา/แก้ไข ปัญหาของสหกรณ์ให้สำเร็จตามเป้าหมายของกิจกรรมที่สหกรณ์กำหนด วิธีการ แบ่งกลุ่มอภิปราย 9. วิทยากร วิทยากรจากภาครัฐ และเอกชน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้ที่มีความรู้และ ประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ในแต่ละหัวข้อวิชา และเจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 10. วิธีการจัดอบรม บรรยาย/อภิปราย/แบ่งกลุ่ม/กิจกรรมกลุ่ม 11. งบประมาณ เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมส่งเสริมสหกรณ์ แผนงานพื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิตสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มี ความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลักส่งเสริมความรู้ด้านการสหกรณ์กิจกรรมรองพัฒนาบุคลากร


กรมส่งเสริมสหกรณ์ บุคลากรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 2,352,480 บาท (สองล้านสามแสนห้าหมื่นสองพันสี่ร้อยแปดสิบบาทถ้วน) โดยค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายได้ภายใน วงเงินที่ได้รับอนุมัติ ตามรายละเอียด ดังนี้ รายการ อัตรา จำนวน จำนวนคน งบประมาณ 1. ค่าอาหาร 150 บาท/มื้อ 1 มื้อ 28 4,200 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท/มื้อ 2 มื้อ 28 1,960 บาท 3. ค่าพาหนะผู้เข้าอบรม 60 บาท/เที่ยว 2 เที่ยว 28 3,360 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท/ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 1 3,600 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ 70 บาท/คน 1 ครั้ง 28 1,960 บาท รวมต่อรุ่น 1 รุ่น 28 15,080 บาท จำนวน 78 จังหวัด ๆ ละ 2 รุ่น รวม 156 รุ่น 3,120 2,352,480 บาท 12. ผู้รับผิดชอบโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้บริหารโครงการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1-20 เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1-20 13. ตัวชี้วัด 1) เชิงคุณภาพ 1.1) สมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมในการทำธุรกิจสหกรณ์เพิ่มขึ้น 1.2) สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจที่รองรับผลผลิตหรือการให้บริการสมาชิกเพิ่มขึ้น 2) เชิงปริมาณ 2.1) สมาชิกสหกรณ์ได้รับการพัฒนาความรู้เรื่องการสหกรณ์ 156/4,680 (สหกรณ์/คน) 2.2) สมาชิกสหกรณ์รับการฝึกอบรมมีแผนการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หลังการอบรม ร้อยละ 100 14. การประเมินผล 1) การประเมินผลระหว่างการอบรม - การประเมินผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม การทำกิจกรรม ระหว่างการอบรม - การประเมินผลโครงการ 2) การติดตามประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ - การติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการสหกรณ์ โดยการติดตาม ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการอบรม 3 และ 6 เดือน 15. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) สหกรณ์มีความเข้มแข็งและมีกำไรจาการดำเนินธุรกิจ 2) สมาชิกสหกรณ์ได้รับผลตอบแทนจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์


ตโครงการฝึกอบรม หลักสูตร พัฒนาสมาชิกสวันที่ 09.00 – 10.30 น. 10.30 – 12.00 น. ชี้แจงแผนงาน/กิจกรรมของ สหกรณ์ที่ให้สมาชิกมีส่วนร่วม สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทสมาชิกในการมีส่วนร่วมสความเข้มแข็งของสหกรณ์ หมายเหตุ : อาหารว่างและเครื่องดื่ม ช่วงเช้า เวลา 10.30 - 10.45 น. และ ช่วงบ่าย เว


ตารางฝึกอบรม สร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์ 12.00 – 13.00 น. 13.00 – 16.00 น. สร้าง รับประทาน อาหารกลางวัน แบ่งกลุ่มระดมสมอง เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน /กิจกรรมของสหกรณ์ วลา 14.30 - 14.45 น.


โครงการฝึกอบรมประจำปีงบประมาณ 2566 ของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสหกรณ์ ผ่านระบบ Zoom Meeting --------------------------- 1. เลขที่โครงการ (ศส.10) 9 /2566 2. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสหกรณ์ผ่านระบบ Zoom Meeting 3. หน่วยงานเจ้าของโครงการ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 4. หลักการและเหตุผล นโยบายคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดการขับเคลื่อน บูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการอาสาสมัครเกษตร ซึ่งภายใต้ภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มอบหมายให้สหกรณ์จังหวัด / ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม สหกรณ์ พื้นที่ 1 , 2 เป็นนายทะเบียนอาสาสมัครเกษตร สาขาอาสาสมัครสหกรณ์ ได้มีการรับสมัครอาสาสมัคร สหกรณ์ จัดทำฐานข้อมูลรายชื่ออาสาสมัครสหกรณ์ จัดทำบัตรประจำตัวเพื่อให้อาสาสมัครสหกรณ์ ช่วย สนับสนุนงานด้านการเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการ ให้สมาชิกสหกรณ์ร่วม กิจกรรม ประสานงาน ช่วยเหลือ และให้ข้อเสนอแนะแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ และหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไข


ปัญหาด้านสหกรณ์และถ่ายทอดให้ความรู้ ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาด้านสหกรณ์รวมถึง ภารกิจอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกรทั่วไป ในปัจจุบัน ข้อมูล ณ วันที่1 กันยายน 2565 มีอาสาสมัครสหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริม สหกรณ์แล้ว จำนวน 3,751 คน โดยส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสหกรณ์ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจในบริบทของการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสหกรณ์จึงมีความจำเป็น จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจ และเพิ่มเติมสาระความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้มี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับการพัฒนาสหกรณ์ ความเป็นอยู่ของสมาชิกสหกรณ์ เกษตรกร และประชาชน ทั่วไป ได้มากยิ่งขึ้น 5. วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในบทบาท หน้าที่อาสาสมัครสหกรณ์ 6. กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย ที่ยังไม่เคยเข้ารับ การอบรมในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 120 คน วิทยากร เจ้าหน้าที่ ผู้สังเกตการณ์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7คน 7. วิธีการดำเนินงาน 7.1 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ รวบรวมข้อมูลอาสาสมัครสหกรณ์ ข้อมูล การปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสหกรณ์ และจัดทำรายละเอียดโครงการและขออนุมัติโครงการ 7.2 ศูนย์... 7.2 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง ประสานงานกับสำนักงานสหกรณ์ จังหวัด เพื่อคัดเลือกอาสาสมัครสหกรณ์เป้าหมายในพื้นที่ความรับผิดชอบเพื่อเข้าร่วมโครงการ และเตรียมความ พร้อมดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสหกรณ์ 7.3 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง ดำเนินการจัดอบรมให้กับ อาสาสมัครสหกรณ์ในพื้นที่ความรับผิดชอบ โดยการถ่ายทอดสัญญาณผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบออนไลน์) ไปยังสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานที่ตั้งสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ และสถานที่ตั้งส่วนบุคคล ตาม ประเด็นการชี้แจง/หัวข้อวิชาที่กำหนด 7.4 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง รวบรวม ประมวล สรุปผลการจัด โครงการ รายงานสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ เพื่อสรุปผลในภาพรวมต่อไป 8. หลักสูตรการอบรม 8.1 ปฐมนิเทศ / ชี้แจงโครงการ 0.30 ชั่วโมง 8.2 บทบาท หน้าที่ อาสาสมัครสหกรณ์ 1.00 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้อาสาสมัครสหกรณ์ได้ทราบบทบาท หน้าที่ และสามารถช่วย ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นสำคัญ 1) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการ ให้สมาชิกสหกรณ์ร่วมกิจกรรม 2) ประสานงาน ช่วยเหลือ และให้ข้อเสนอแนะแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ และ หน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาด้านสหกรณ์ 3) ถ่ายทอดให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาด้านสหกรณ์


4) ภารกิจอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร ทั่วไป วิธีการ บรรยาย/อภิปราย 8.3 การบริหารจัดการสหกรณ์ 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้ทราบแนวทางในการบริหารจัดการสหกรณ์ ประเด็นสำคัญ การบริหารจัดการสหกรณ์ วิธีการ บรรยาย/อภิปราย 8.4 เทคนิคการเป็นวิทยากร 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นวิทยากรให้กับอาสาสมัครสหกรณ์ ประเด็นสำคัญ ข้อปฏิบัติที่ดีสำหรับการเป็นวิทยากร เช่น การเตรียมตัวเป็นวิทยากร ความรู้ บุคลิกภาพภายนอก - ภายใน การพูดในที่ชุมชน วิธีการ บรรยาย/แบ่งกลุ่มอภิปราย 8.5 หลักการสหกรณ์ 1.30 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้ทราบแนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและ วิธีการสหกรณ์ ประเด็นสำคัญ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ วิธีการ บรรยาย/อภิปราย 9. วิทยากร.... 9. วิทยากร จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และหน่วยงานภาครัฐ 10.วิธีการฝึกอบรม บรรยาย/อภิปราย/แบ่งกลุ่ม/ผ่านระบบ Application Zoom Meeting 11.ระยะเวลาการอบรม กำหนดจัดอบรมในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ณ ห้องควบคุมระบบออนไลน์ของศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง หรือสถานที่อื่นตามความเหมาะสม 12.งบประมาณ โดยเบิกจ่ายงบประมาณจากแผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน พื้นฐาน ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการ พัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กิจกรรมรอง สนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ (อำนวยการ) ของ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 10 จังหวัดลำปาง เป็นจำนวนเงิน 4,600.- บาท (สี่พันหกร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดประกอบด้วย รายการ อัตรา (บาท) มื้อ/ชม. จำนวนคน (คน) งบประมาณ (บาท) 1. ค่าอาหารวิทยากร เจ้าหน้าที่ ผู้สังเกตการณ์ 150 1 มื้อ 7 1,050 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 2 มื้อ 7 490 3. ค่าตอบแทนวิทยากร 3,060


รวมค่าใช้จ่ายต่อรุ่น 4,600 หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายสามารถถัวจ่ายได้ทุกรายการ 13. เจ้าหน้าที่ดำเนินการโครงการ 12.1 ที่ปรึกษาโครงการ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์(นายนิรันดร์ มูลธิดา) 12.2 ผู้อำนวยการโครงการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 12.3 ผู้บริหารโครงการ ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 12.4 เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง 14. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาศักยภาพ สามารถนำความรู้ ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ อาสาสมัครสหกรณ์ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ เกษตรกร และ ประชาชนทั่วไป ************************************* ตารางการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสหกรณ์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ในวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ณ ห้องควบคุมระบบออนไลน์ของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง หรือสถานที่อื่น ตามความเหมาะสม วันที่/เวลา เวลา 09.00 – 12.00 น. 12.00 – 13.00 น. เวลา 13.00 น. – 16.00 น. 22 สิงหาคม 2566 09.00 – 09.30 น. ปฐมนิเทศ ชี้แจง โครงการ 09.30 – 10.30 น. บทบาทหน้าที่ อาสาสมัคร สหกรณ์ 10.30 – 12.00 น. การบริหาร จัดการ สหกรณ์ พัก รับประทาน อาหาร กลางวัน 13.00 – 14.30 น. หลักการ สหกรณ์ 14.30 – 16.00 น. เทคนิคการ เป็นวิทยากร หมายเหตุ : อาหารว่างและเครื่องดื่ม ช่วงเช้า เวลา 10.30 – 10.45 และ ช่วงบ่าย เวลา 14.30-14.45 น.


โครงการฝึกอบรมประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา” **************** 1. เลขที่โครงการ กส 10/2566 2. ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา” 3. เจ้าของโครงการ สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 4. หลักการเหตุผล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตามรอย เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการนำ ระบบสหกรณ์มาส่งเสริมให้มีการปฏิบัติใช้ในการดำรงชีวิตของราษฎร และได้ทรงรับสั่งกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (นายเสงี่ยม มาหมื่นไวย) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ให้มีการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนบริเวณชายแดนไทยให้มีความรู้ ความเข้าใจ ใช้วิธีการสหกรณ์ในการดำรงชีวิต และได้ทรง พระราชทานแนวพระราชดำริให้โรงเรียนต่าง ๆ จัดการสอนการสหกรณ์ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้หลักการ วิธีการ สหกรณ์เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิต และเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพในอนาคตกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดอบรมครูผู้สอนวิชาการสหกรณ์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 โดยบูรณาการ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง ซึ่งจากการจัดอบรมที่ผ่านมาได้ประเมินผลการ


ดำเนินงานพบว่า ครูผู้ผ่านการอบรมสามารถจัดการเรียนการสอนวิชาการสหกรณ์ได้ และนักเรียนให้ความสนใจ ในการเรียนรู้ ซึ่งสหกรณ์เป็นวิชาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากกิจกรรมสหกรณ์ นักเรียน โดยสิ่งหนึ่งที่เป็นความสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ การที่นักเรียนสามารถนำความรู้ในเรื่องการสหกรณ์ที่ได้รับ ไปปรับใช้ในการรู้จักช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกทั้งยังรู้จัก น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงในชีวิตประจำวัน ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลที่มี ความสำคัญยิ่ง เพราะครูเป็นทั้งผู้สร้างและเป็นผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติ ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องด้วยความรับผิดชอบ ความตั้งใจจริง ความเสียสละ ความเอาใจใส่ และความอดทน สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ จึงได้กำหนดจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของครูผู้สอน วิชาการสหกรณ์และรับผิดชอบในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และขยายผลการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ ในสถานศึกษาตามแนวพระราชดำริซึ่งจะส่งผลให้การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาการสหกรณ์ในระบบ การศึกษาเป็นไปอย่างยั่งยืน 5. วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ที่สอดคล้องกับ การจัดการศึกษาไทย 5.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 5.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดทำแผนการจัดการ เรียนรู้การสหกรณ์ในโรงเรียน 6. กลุ่มเป้าหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาการสหกรณ์ ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา วิทยากร และผู้สังเกตการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 - 20 จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 200 คน รวมทั้งสิ้น 1,000 คน 7. ระยะเวลาและสถานที่ กำหนดจัดอบรมด้วยระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meetings จำนวน 5 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2566 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การสหกรณ์ที่ 1 2 3 4 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 – 4 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ สหกรณ์ที่ 5 6 7 8 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ สหกรณ์ที่ 9 10 11 12 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การสหกรณ์ที่ 13 14 15 16 จำนวน 200 คน รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การสหกรณ์ที่ 17 18 19 20 จำนวน 200 คน


อบรมผ่านห้องควบคุมระบบออนไลน์ของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 จังหวัด เพชรบุรี และห้องอบรมออนไลน์ในพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย หมายเหตุ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับกลุ่มเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารโครงการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมายแต่ละรุ่นสามารถสลับหรือเปลี่ยนแปลงรุ่นได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น 8. เนื้อหาวิชา 8.1 แนวพระราชดำริการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ 1.00 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและน้อมนำแนวพระราชดำริการจัดการ เรียนรู้การสหกรณ์มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียน เนื้อหาวิชา - แนวพระราชดำริการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ วิธีการ บรรยาย/ นำเสนอ 8.2 ความเป็นมา แนวคิด การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ 2.00 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ เนื้อหาวิชา - ความเป็นมา แนวคิด หลักการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ 8.3 หลักสูตรการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ 6.00 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ความสอดคล้องของการสหกรณ์และการศึกษาไทย รวมทั้งการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา เนื้อหาวิชา - ความเป็นมา - หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ - ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ - วิธีจัดการเรียนรู้ - แผนการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในโรงเรียน - แนวทางการประเมินโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ 8.4 โรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทาน 3.00 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนจากโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ รางวัลพระราชทาน หรือโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เนื้อหาวิชา - รูปแบบ/วิธีการ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ - การจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน - สื่อการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ รวม 12.00 ชั่วโมง 9. วิธีการอบรม อบรมด้วยระบบออนไลน์ZOOM Cloud Meetings โดยวิธีการบรรยาย อภิปราย ระดมสมอง กรณีศึกษาและอื่นๆที่เหมาะสม 10. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 10.1 สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์จัดทำโครงการ ขออนุมัติโครงการ ฝึกอบรมและมอบหมายให้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 บริหารโครงการฝึกอบรม


10.2 แจ้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 ประสานกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับ การอบรมตามวัน เวลาที่กำหนด 10.3 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 ประสานงานและดำเนินการร่วมกับ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 10.4 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และ ส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมการจัดโครงการฝึกอบรม 10.5 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 ดำเนินการจัดอบรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และแจ้งรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 10.6 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 สรุปผลการจัดฝึกอบรมรายงานสำนักพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ 10.7 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 ติดตามผลหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมและ รายงานผลสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ๑1. วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิภาครัฐและเอกชน ๑2. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ที่ปรึกษาโครงการ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์(นายนิรันดร์ มูลธิดา) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ ผู้บริหารโครงการ ผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 เจ้าหน้าที่โครงการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 15, 16 ๑3. การประเมินผล แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม (Pre-test, Post-test) แบบประเมินความพึงพอใจ ๑4. ตัวชี้วัด ๑4.๑ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาการสหกรณ์ ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 1,000 คน 14.2 ผู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีความรู้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ๑4.๓ ผู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ ในโรงเรียน อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 แผน ๑5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ครูผู้สอนวิชาสหกรณ์ที่ผ่านการอบรมมีศักยภาพสามารถจัดการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียน ได้อย่างมีคุณภาพ โดยปลูกฝังอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ พัฒนาสมรรถนะของนักเรียนให้พร้อมรับ กับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันได้


**************************


ตารางฝึโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดกเวลา วัน ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. วันแรก 08.00 – 08.30 น. 08.30 – 09.30 น. 09.30 – 10.30 น. เดินทาง / ลงทะเบียน ปฐมนิเทศ พิธีเปิดอบรม แนวพระราชดำริ การจัดการเรียนรู้ การสหกรณ์ วันที่สอง หลักสูตรการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ หมายเหตุพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 – 10.45 น. และเวลา 14


ฝึกอบรม การเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา” ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. 10.30 – 12.00 น. รับประทาน อาหาร กลางวัน หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ การสหกรณ์ ความเป็นมา แนวคิด การจัดการเรียนรู้ การสหกรณ์ โรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ รางวัลพระราชทาน 4.30 – 14.45 น.


แบบทดสอบความรู้เรื่องสหกรณ์ ก่อนอบรม หลังอบรม โครงการอบรมหลักสูตร “พัฒนาคณะกรรมการสหกรณ์เข้มแข็งทั้งคณะ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 *************** ชื่อ – สกุล .................................................................... ตำแหน่ง ....................................................... สหกรณ์........................................................................ จังหวัด ...................................................... คำแนะนำ ให้ทำเครื่องหมายถูก () หน้าข้อที่ท่านเห็นว่าถูกต้อง ให้ทำเครื่องหมายผิด (X) หน้าข้อที่ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้อง ข้อ เนื้อหา .......... 1. ความเชื่อร่วมกันที่ว่า การช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ จะนำไปสู่ การกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรมและสันติสุขในสังคม เป็นความหมายของ “คุณค่าของสหกรณ์” .......... 2. สถานะสมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของ เป็นผู้บริหาร และเป็นลูกค้า .......... 3. คณะกรรมการสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการทั้งปวงของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งของสหกรณ์ .......... 4. การแก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์เป็นอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ .......... 5. บทบาทของคณะกรรมการสหกรณ์ในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ คือ ตรวจสอบประวัติสมาชิก พิจารณา คำขอกู้ อนุมัติเงินกู้ ติดตามทวงถาม และฟ้องร้องดำเนินคดี .......... 6. การนำเสนอแผนงานประจำปีและประมาณค่าใช้จ่าย ต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีพิจารณาอนุมัติ เป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการ .......... 7. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้พิจารณาให้ความเที่ยงธรรมแก่บรรดาสมาชิก เจ้าหน้าที่ และคอยสอด ส่งดูแลสหกรณ์ให้ดำเนินกิจการเป็นไปด้วยดี .......... 8. การอุทิศตนเพื่องานสหกรณ์ด้วยความสุจริต เสียสละ มีความรับผิดชอบ อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น คือคุณสมบัติของคณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ .......... 9. คณะกรรมการสหกรณ์อาจแต่งตั้งบุคคลในหน่วยงานที่มีความเหมาะสมหรือกรรมการบางคน ทำ หน้าที่ผู้จัดการของสหกรณ์ก็ได้ .......... 10. การกำหนดนโยบายในการบริหารงานที่ดีของสหกรณ์ ต้องมาจากการสำรวจความต้องการของ สมาชิกส่วนใหญ่ โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการหสกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง


แบบทดสอบความรู้เรื่องสหกรณ์ โครงการฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็ง ของสหกรณ์” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ก่อนอบรม หลังการอบรม สหกรณ์................................................................ จังหวัด......................................... ชื่อ - นามสกุล................................................................................................................ คำแนะนำ ให้กาเครื่องหมายถูก (✓) หน้าข้อที่ท่านเห็นว่าถูก ให้กาเครื่องหมายผิด () หน้าข้อที่ท่านเห็นว่าผิด ..........1. การรวมใจในสหกรณ์ คือ การนำเงินมาฝากรวมกันมาก ๆ แล้วนำไปให้สมาชิกกู้ เป็นสินเชื่อต่อ ..........2. เงินปันผลเป็นเงินที่จ่ายตามส่วนการถือหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ ..........3. เงินจ่ายคืนจากการซื้อปุ๋ย ซื้อของในสหกรณ์ เรียกว่าเงินเฉลี่ยคืน ..........4. คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในสหกรณ์ ..........5. เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือฝ่ายจัดการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ครั้งเดียว ..........6. การเข้าร่วมประชุมกลุ่มและประชุมใหญ่ทุกครั้งเป็นสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก สหกรณ์ ..........7. หลักการสหกรณ์ทั้งหมดมี 7 ข้อ ..........8. สหกรณ์เป็นของรัฐบาล ..........9. อุดมการณ์สหกรณ์ คือ การช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน .........10. เป้าหมายในการตั้งสหกรณ์ คือ ต้องการให้สมาชิก อยู่ดี กินดี ---------------------------


แบบประเมินผลโครงการ โครงการฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาคณะกรรมการสหกรณ์เข้มแข็งทั้งคณะ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สหกรณ์........................................................................................................ ------------------------------- คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ ชาย หญิง 2. อายุ น้อยกว่า 21 ปี 21 – 30 ปี 31 – 40 ปี 41 – 50 ปี 51 – 60 ปี 60 ปีขึ้นไป 3. การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปวช. มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ตอนที่ 2 ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการ 1.การประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รายการที่ประเมิน ระดับความคิดเห็น มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) 1.1 เพื่อให้คณะกรรมการสหกรณ์ได้รู้และเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารงานสหกรณ์และกำหนดทิศทางการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาของสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อให้คณะกรรมการสหกรณ์สามารถวางแผนการพัฒนา และแก้ไขปัญหาของสหกรณ์ รวมถึงการขับเคลื่อนการ ดำเนินงานของสหกรณ์ไปสู่ความเข้มเข็ง


2. การประเมินความรู้ความเข้าใจในหัวข้อวิชาที่อบรม รายการที่ประเมิน ระดับความรู้ความเข้าใจในหัวข้อวิขา มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) 2.1 บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของกรรมการสหกรณ์ 2.2 ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในแต่ละ ฝ่าย 2.3 ข้อสังเกต/ข้อบกพร่อง สาเหตุและแนวทางการแก้ไขของ สหกรณ์ 2.4 วิเคราะห์สถานการและกำหนดปัญหาของสหกรณ์แบบมี ส่วนร่วม 2.5 แบ่งกลุ่มอภิปรายจัดทำแผนงาน/กิจกรรมในการพัฒนา/ แก้ไขปัญหาของสหกรณ์ 3. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ รายการที่ประเมิน ระดับความพึงพอใจ มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) 3.1 การชี้แจงรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่โครงการ 3.2 ระยะเวลามีความเหมาะสม 3.3 ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร 3.4 การตอบข้อซักถามของวิทยากร 3.5 เอกสารประกอบการอบรม 3.6 ความเหมาะสมของสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก 3.7 ความพึงพอใจโดยภาพรวม ต่อการเข้าร่วมโครงการ


ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ตอนที่ 4 ความรู้ที่ต้องการอบรมเพิ่มเติมในครั้งต่อไป ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง


แบบประเมินผลโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาสมาชิกสร้างการมีส่วนร่วมในการนสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์” ปี 2566 สหกรณ์........................................................................................................... คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ✓ ลงใน ที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ ชาย หญิง 2. อายุ น้อยกว่า 21 ปี 21 - 30 ปี 31 - 40 ปี 41 - 50 ปี 51 - 60 ปี 60 ปีขึ้นไป 3. การศึกษา ประถมศึกษาปี่ที่ 1-6 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปวช. มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปวส. ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก 4. ตำแหน่ง ประธานกลุ่ม สมาชิก อื่นๆ ................................. 1. ท่านมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาในหลักสูตรในระดับใด ระดับความรู้ความเข้าใจ ที่ เนื้อหาวิชาในหลักสูตร มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) 1 ชี้แจงแผนงาน/กิจกรรมของสหกรณ์ที่ให้สมาชิกมีส่วนร่วม 2 สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และบทบาทสมาชิกในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์ 3 แบ่งกลุ่มระดมสมอง เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน/กิจกรรมของสหกรณ์ 2. การประเมินผลด้านการบริหารจัดการโครงการ ท่านมีความพึงพอใจในระดับใด ระดับความเหมาะสม ที่ หัวข้อประเมิน มาก ที่สุด (5) มาก (4) ปาน กลาง (3) น้อย (2) น้อย ที่สุด (1) 1 ด้านเนื้อหาและหลักสูตร 2 ความคุ้มค่าของการอบรมครั้งนี้ 3 ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่โครงการ 4 การนำไปประยุกต์ใช้ในสหกรณ์ 5 ความเหมาะสมด้านระยะเวลาการอบรม/สถานที่อบรม 6 การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม


3. ข้อเสนอแนะ ..................................................................................................................................................................………………… ………………………………………………………………………………………………………….………..…………….……………..……………… ……………………………………. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 10 จังหวัดลำปาง


ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ ๑๐ จังหวัดลำ ปาง FACEBOOK E-BOOK WEBSITE ๒๘๖ หมู่ ๑๔ ถนนลำ ปาง - งาว ตำ บลพิชัย อำ เภอเมือง จังหวัดลำ ปาง ๕๒๐๐๐ โทร ๐๕๔-๓๓๔๓๓๑ E-MAIL : [email protected]


Click to View FlipBook Version