The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สังคมศึกษา

สังคมศึกษา

42

สอ่ื ประกอบการเรยี นรู

ส่ือที่ผเู รยี นสามารถใชใ นการศึกษาเรยี นรปู ระกอบดวย
1. สอ่ื แบบเรียน หมวดวชิ าพฒั นาสังคมและชมุ ชน ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน
2. หนังสือพิมพ วารสาร เอกสารทางวิชาการตามหองสมุดและแหลงเรียนรูในชุมชนและหองสมุด
ประชาชน หอ งสมดุ เฉลิมราชกมุ ารใี นทองถ่นิ
3. เครือขา ยอนิ เทอรเนต็

การวัดผลการเรยี นรู

1. ศกึ ษาจากหนงั สอื เรียนหมวดวชิ าการพัฒนาสงั คมและชุมชน ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน
2. ทํากจิ กรรมทายบทท่กี าํ หนดให
3. ทดสอบปลายภาคเรียน

43

เร่ืองท่ี 1 ประวัตศิ าสตรสังเขปของประเทศในทวีปเอเชยี

1.1 ประวัตศิ าสตรส งั เขปของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี

ประเทศจีนหรอื สาธารณรฐั ประชาชนจีน เปนประเทศท่ีมีความเจริญรุงเรือง และมีอารยธรรมยาวนาน
ท่สี ุดประเทศหนึ่งของโลก โดยหลักฐานทางประวัติศาสตรท ีส่ ามารถคนควาทมี่ กี ารบนั ทกึ เปน ลายลักษณอักษร
และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร ศิลปวัฒนธรรมท่ีหลากหลายสวยงาม ไดบงชี้วาอารยธรรมจีนท่ีบงบอกถึง
ความเจริญงอกงามของจนี โบราณ ตงั้ แตช ว ง 2,500 - 2,000 ป กอนคริสตศักราช เร่ิมจากสมัยราชวงศตาง ๆ
มาจนถึงจนี ยคุ ใหมคอื ยคุ ปจจุบัน ป ค.ศ. 2009 รวมมอี ายุยาวนานถงึ 4,000 - 5,000 ป

ประเทศจีน เปนประเทศที่ใหญท่ีสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประชากรมากท่ีสุดในโลก คือ
มีประชากรกวา 1.3 พันลานคน หรือประมาณหน่งึ ในหาของประชากรโลก โดยประชากรสวนใหญเปนชาวจีน
ฮั่น มีพ้ืนที่กวางใหญมีขนาดเปนอันดับ 3 ของโลก เปนรองเพียงรัสเซียและแคนาดา เปนประเทศที่คิดคน
เข็มทิศ การผลิตกระดาษ ดินปน ระบบการพมิ พ ระบบชลประทาน การกอสรางกําแพงเมืองจีน และการขุด
คลองขนุ ถือเปน โครงการดา นวิศวกรรมอันยิง่ ใหญแตโบราณกาลทีม่ ีมากวา 2000 ป ดวยเหตุน้ี ประเทศจีน

44

จึงเปนสญั ลกั ษณของความม่ังคง่ั ทางศลิ ปะ วัฒนธรรมทชี่ าวจนี ไดผ า นประวัติศาสตรรูปแบบสังคมแบบตาง ๆ
ทัง้ สงั คมแบบยคุ มนุษยหิน สังคมทาส สงั คมศกั ดินา สังคมก่ึงศักดินา สังคมก่ึงเมืองข้ึน จนเขาสูสังคมนิยมใน
ปจ จบุ ัน

ประเทศจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พมา อินเดีย ภูฏาน สิกขิม เนปาล
ปากสี ถาน อัฟกานิสถาน ทาจกิ ิสถาน ครี กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซยี มองโกเลีย และเกาหลเี หนอื

ตง้ั แตก อตัง้ สาธารณรฐั เม่ือป พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยูภ ายใตการปกครองของพรรคคอมมิวนิสตจีน
ประเทศจนี อางอธปิ ไตยเหนอื เกาะไตหวนั เผิงหู เอห มงึ และหมาจู แตไ มไ ดป กครองโดยที่เกาะเหลานี้ปกครอง
โดยสาธารณรฐั จนี ซงึ่ มีเมืองหลวงอยทู กี่ รงุ ไทเป ฐานะทางการเมอื งของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเปน ท่โี ตแยงกนั อยู

คาํ วา “จนี แผน ดนิ ใหญ” ใชเรยี กสวนของจีน ที่อยูภายใตการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน
(ยกเวนเขตบริหารพิเศษ 2 แหง คือ ฮองกง และมาเกา) นิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนวา “จีนแดง”
(Read Chaina) ปจ จบุ นั ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญีป่ นุ เปน มหาอํานาจในภมู ภิ าคเอเชยี
มีเศรษฐกิจและกําลงั ทางทหารใหญที่สดุ ในภูมภิ าคเอเชยี

ในดา นภาษาในการติดตอส่อื สารนนั้ จนี ใชภ าษาจีนกลาง หรือภาษาธรรมดา เปน ภาษาประจาํ ชาติ
ซึ่งเปนภาษาหนึ่งในหาภาษาทางการท่ีใชในองคการสหประชาชาติ ประเทศจีนมีชนเผาตาง ๆ 56 ชนเผา
ซึ่งสว นใหญจะมีภาษาประจําเผาของตัวเอง ภาษากวางตุง เปนหนึ่งในภาษาถ่ินท่ีใชพูดในทางใตของประเทศ
สําหรับภาษาเขียนนน้ั ภาษาจีนมมี ากวา 6,000 ปแ ลว

จากชนเผาท้ังหมด 56 เผา มีชนเผาฮ่ัน เปนชนเผาที่ใหญที่สุด มีจํานวนประชากรถึง 91.02 % ของ
ประชากรทง้ั หมด ที่เหลืออีก 8.98 % เปนชนกลมุ นอ ยซึ่งประกอบไปดวย 55 เผา โดยทุกชนเผามีสิทธิเทาเทียม
กนั ภายใตกฎหมาย

45

รากฐานทางอารยธรรมท่สี ําคญั ของจีนคือ การสรา งระบบภาษาเขยี น ในยคุ ราชวงศฉิน (ศตวรรษที่ 3
กอน ค.ศ.) และการพฒั นาแนวคิดลทั ธขิ งจ๊อื เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 กอ น ค.ศ. ประวตั ศิ าสตรจนี มที ้งั ชวงทเ่ี ปน
ปกแผนและแตกเปนหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางคร้ังก็ถูกปกครองโดยชนชาติอ่ืน วัฒนธรรมของจีน
มีอิทธิพลอยางสูงตอ ชาติอ่ืน ๆ ในทวีปเอเชีย ซ่งึ ถายทอดดว ยการอพยพของประชากร การคาและการยดึ ครอง

1.2 ประวตั ิศาสตรส ังเขปของประเทศอนิ เดีย
ประเทศอินเดีย หรือมีช่ือเรียกอยางเปนทางการวา สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยูในทวีปเอเชียใต

เปน พื้นท่สี ว นใหญข องอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเปน อนั ดบั ทีส่ องของโลก และเปนประเทศประชาธปิ ไตย
ทีม่ ีประชากรมากทส่ี ดุ ในโลก โดยมปี ระชากรมากกวา หนง่ึ พนั ลา นคน มภี าษาพูดประมาณแปดรอ ยภาษา

ในดา นเศรษฐกิจอนิ เดยี มีอาํ นาจการซอื้ มากเปนอันดบั ทส่ี ่ขี องโลก โดย
อาณาเขตทางทิศเหนือตดิ กับสาธารณรัฐประชาชนจนี เนปาล และภฏู าน
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดปากสี ถาน
ทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนือติดสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา
ทิศตะวนั ออกเฉยี งใตแ ละตะวันตกเฉียงใตจรดมหาสมุทรอนิ เดีย
ทศิ ตะวนั ออกตดิ บงั กลาเทศ

อนิ เดีย มพี ้นื ท่ี 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึง่ ใหญกวา ไทยประมาณ 6 เทา
ประวัติศาสตรอินเดียเริ่มตนเม่ือ 3,000 ปกอนคริสตกาล หลักฐานทางโบราณคดี ท่ีพบในแควน
ปญ จาบและแควนคชุ ราตของอนิ เดียบง บอกถึงความรงุ เรืองของสังคมเมืองและอารยธรรมลุมนํ้าสินธุในยุคสมัยนั้น
ในศตวรรษที่ 6 กอนคริสตศักราช ชนเผาอินโด-อารยันท่ีปกครองอินเดียอยูในขณะนั้น ไดต้ังอาณาจักร
ท่ีปกครองโดยกษัตริยนักรบขึ้นเปนผูปกครองดินแดนที่ราบลุมแมนํ้าคงคา (Ganges plain) มีชนเผาตาง ๆ
เปนบริวารอยูรอบ ๆ ตอ มามีการตอตา นความมีอาํ นาจของพวกพราหมณท่ีมีอิทธิพลตอชีวิตความเปนอยูของ
ชาวอินเดยี สวนใหญพ วกท่ีไมเห็นดวยตางพากันแสวงหาศาสดาใหม เปนบอเกิดของศาสนาใหม ๆ ความเชื่อ
ใหม ๆ ข้ึน จึงทําใหเกิดศาสนาสําคัญข้ึน 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ (Buddhism) กับศาสนาเชน (Jainism)
ในขณะทศี่ าสนาฮินดูรุง เรอื งและมอี ทิ ธิพลอยางมากอยูในอนิ เดีย พวกมคธ (Magodh) มอี าํ นาจปกครองอยูใน
แถบทรี่ าบตอนเหนอื พระเจาจันทรคปุ ตแหง ราชวงคโ มรยิ ะ (Chandragupta Maurya) เปน กษตั ริยองคสําคญั
ในประวัติศาสตรของอินเดีย พระเจาจันทรคุปตทรงตั้งเมืองปาฏะลีบุตร (Pataliputra) เปนเมืองหลวงของ
อนิ เดยี ซง่ึ กลาวกนั วา เมอื งปาฏะลีบุตรเปนเมอื งใหญท่ีสุดของโลกในเวลาน้ัน
ตอมาพระเจาจันทรคุปตหันไปนับถือศาสนาเชนและบําเพ็ญทุกกรกิริยา ดวยการอดอาหารตาม
ความเชื่อของศาสนาเชนจนกระท่ังสน้ิ พระชนม จากนั้นราชวงคโ มริยะซง่ึ เจรญิ รุงเรืองมากทีส่ ดุ ในยุคสมัยของ
พระเจา อโศกมหาราช ผูแผอิทธิพลและขยายอาณาจักรอินเดียออกไปไกลจนทิศเหนือจรดแควนกัศมีรหรือ
แคชเมียร (Kashmir) ดานทิศใตจรดไมเซอร (Mysore) ทิศตะวันออกจรดโอริสสา(Orissa) เมื่อขึ้นครองราชย
ใหม ๆ พระเจาอโศกมหาราชทรงใชว ิธปี ราบปรามผูตอตานพระองค อยางโหดเหี้ยม ทรงขยายอาณาจักรดวย
กองทัพทเี่ กรียงไกร เขนฆาผคู นลมตายเปน ใบไมรวง แตภายหลังเมื่อพระเจาอโศกมหาราชหันมานับถือพุทธ
ศาสนา ทรงเปลี่ยนวิธีการขยายอาณาจักรดวยกองทัพธรรมเผยแผศาสนาพุทธโดยสงสมณทูตไปท่ัวโลก

46

โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย และประเทศไทยนบั เปน อกี ประเทศหนงึ่ ทไี่ ดร บั อทิ ธิพลพุทธศาสนาเขามาเผยแผ
อยา งกวา งขวาง

ตอมาไดมีการรวมพลังกันตอสูเพื่ออิสรภาพของอินเดีย มีการตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรค National
Congress ข้นึ จดุ ประสงคมิไดเ ลนการเมอื ง แตม ุงไปท่กี ารหาทางปลดปลอยอนิ เดยี ใหเ ปน เอกราช มีการรณรงค
ใหความรูและปลกุ ระดมความเปน ชาตนิ ิยมข้นึ ในอินเดยี นําโดยมหาบรุ ุษ คนสาํ คัญของอินเดยี คือ ทานโมหัน
ทาสการามจัน คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) ซึ่งชาวอินเดียเรียกดวยความยกยองวา
“มหาตมะ” (Mahatama แปลวา Great Soul) ผูใชวิธีอหิงสา (nonviolence) ตอสูกับ ผูปกครองอังกฤษ
อยางเงยี บๆ มหาตมะ คานธี เปน ผนู าํ ชาวอนิ เดยี ทั้งประเทศทาํ การประทวงอยา งสันติในป ค.ศ. 1922 และได
นาํ ชาวอนิ เดียตอ ตา นกฎหมายเรียกเกบ็ ภาษีเกลือของอังกฤษในป ค.ศ. 1930 และเดินขบวนคร้ังใหญเรียกรอง
ใหอังกฤษปลดปลอยอินเดีย ในป ค.ศ. 1942 มีการกอการจลาจลกลางเมืองจนถึงขั้นนองเลือดเกิดข้ึนใน
หลายเมืองของอนิ เดยี

เหตกุ ารณเหลา นี้บบี บงั คบั ใหอังกฤษตองทาํ ความตกลงยอมยกอาํ นาจการปกครองประเทศใหอินเดีย
ในวนั ท่ี 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ซ่งึ ชาวอินเดียถือวา เปนวนั ประกาศอสิ รภาพ และวนั หยุดราชการของประเทศ
ดวย ในป ค.ศ. 1947 อินเดียไดเอกราชจากอังกฤษแตอ นิ เดียตอ งแบง ประเทศออกเปน 2 ประเทศ คือ อินเดีย
ท่มี ีประชากรสวนใหญเปน ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย อินเดียสวนนอยที่มีประชาชนเปนมุสลิมแยกตัวไปตั้ง
ประเทศใหมเ ปน รฐั อสิ ลามชื่อ ปากีสถาน

ประชากรอนิ เดยี มปี ระมาณ 1,000 ลา นคน โดยมีเชื้อชาติอินโด-อารยัน รอยละ 72 ดราวิเดียน รอยละ
25 มองโกลอยด รอยละ 2 และอื่น ๆ รอยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร รอยละ 1.8 พ.ศ. 2542
(ค.ศ. 1999) และอตั ราการรหู นงั สอื รอยละ 52.1

ประชากรกวา 1,000 ลา นคนเหลานี้ มีความแตกตางทางดานชาติพันธุ และวัฒนธรรม มีภาษาหลกั ใช
พดู ถงึ 16 ภาษา เชน ภาษาฮนิ ดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู เปนตนและมีภาษาถิ่นมากกวา 100
ภาษา ภาษาฮินดี ถอื วาเปนภาษาประจาํ ชาติ เพราะคนอนิ เดียกวารอยละ 30 ใชภาษาน้ี คนอินเดียท่ีอาศัยอยูรัฐ
ทางตอนเหนอื และรัฐทางตอนใต นอกจากจะใชภาษาที่แตกตางกันแลวการแตงกาย การรับประทานอาหาร
ก็แตกตา งกนั ออกไปดวย

1.3 ประวตั ศิ าสตรสงั เขปของสาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว
ลาวหรือสาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว เปน ประเทศหนึง่ ทสี่ บื เช้อื สายบรรพบรุ ษุ เดยี วกับ

ชาวไทย แตลาวประกอบดวยชนกลมุ นอยมากมายหลายเผา ลาวแท ๆ มีเพยี ง 50 เปอรเซ็นตเทานั้น ซ่ึงสวนใหญ
อาศัยอยูร ิมนา้ํ โขงบนที่ราบ สว นชาวเขานิยมอยูบ นเทือกเขา

ตามหลักฐานทางประวตั ศิ าสตรเม่ือประมาณ 4,000 - 5,000 ปกอน กลุมชนที่พูดภาษาไต ไดอพยพ
เขามาอยใู นประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท-กะได มง -เมยี่ นท่ีเปนบรรพบุรุษของชาวลาวลุม
และพวกมง-เยาที่อพยพจากตอนใตของประเทศจีน แรกเร่ิมกลุมชนเหลาน้ีไมมีการต้ังหลักแหลงที่แนนอน
ตอ มาเม่ือชนเผา ตาง ๆ ท้งั ไทย พมา และเวียดนามอพยพลงมา ในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชีย

47

อาคเนย ซึ่งเปน ถิน่ ทีอ่ ยูของชนชาตมิ อญ-เขมร ความจําเปนในการสรางบานเรือนก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาตอมา
เปนเมอื งเกษตรกรรม และตง้ั ถน่ิ ฐานอยบู รเิ วณหบุ เขาและทรี่ าบลุมภายใตอ ํานาจของอาณาจกั รเขมร

ตอ มาในป พ.ศ.1896 พระเจา ฟา งมุ ทรงทาํ สงครามตีเอานครเวียงจนั ทน หลวงพระบางหัวเมืองพวน
ทัง้ หมด ตลอดจนหัวเมอื งอกี หลายแหง ในที่ราบสงู โคราชเขา รวมเปน อาณาจักรเดียวกันภายใต การชวยเหลือ
ของกษตั ริยเ ขมร กอ ตั้งเปน อาณาจักรลา นชา งขน้ึ บนดินแดนท่ตี ั้งอยูกึ่งกลางระหวางลุมแมน้ําโขงกับเทือกเขา
อนั หนาํ มีศูนยกลางอยทู ่เี มืองเชียงดง-เชยี งทอง เปนอาณาจักรท่ีรุงเรืองในทุกดาน หลังจากสถาปนาเมืองเชียง
ดง-เชียงทองแลว พระเจา ฟางุมทรงรบั พุทธศาสนาลัทธลิ ังกาวงศ จากราชสาํ นักเขมรมาเปนศาสนาประจาํ ชาติ
และไดอ ัญเชญิ พระบางเปนพระพทุ ธรปู ศลิ ปะสงิ หลจากราชสํานกั เขมรมายงั ลา นชาง เจาฟางุมทรงเปลี่ยนช่ือ
เปน “เมืองหลวงพระบาง”

เม่อื พระเจาฟางุมส้ินพระชนม พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจาฟางุมไดขึ้นครองราชย
อาณาจกั รลานชา งเริ่มเสื่อมลง เพราะสงครามแยงชิงอํานาจและเกดิ กบฏตาง ๆ นานนับ รอ ยป จนถึง พ.ศ. 2063
พระโพธิสารราชเจาเสดจ็ ข้นึ ครองราชย และรวบรวมแผน ดนิ ขึน้ ใหมใหเปนปก แผน ทรงโปรดใหย า ยเมอื งหลวง
ของอาณาจักรลา นชา งไปอยูทีเ่ มอื งเวียงจนั ทน เพอ่ื ใหไ กลจากการรุกรานของสยาม และสรา งความเจริญใหก ับ
อาณาจกั รลานชางเปนอยา งมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดใหพ ระเจาไชยเชษฐาธิราชพระราช
โอรสไปครองอาณาจกั รลานนา เพ่ือเปนการคานอํานาจพมา คร้ันเมื่อพระเจาโพธิสารราชเจาเสด็จสวรรคต
พระเจา ไชยเชษฐาธริ าชเสด็จกลับมาลา นชาง และทรงอัญเชิญ พระแกวมรกตจากเชียงใหมไปยังเวียงจันทน
ในรัชสมัยของพระองคพระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุงเรืองมาก ทรงสรางวัดพระธาตุหลวง หรือท่ีเรียกวา
“พระธาตเุ จดยี โ ลกจฬุ ามณี” และสรา งวัดพระแกวขึน้ เพือ่ ประดิษฐานพระแกว มรกต

หลังแผนดินพระเจาไชยเชษฐาธิราช อาณาจักรลานชางมีกษัตริยปกครองสืบตอกันมาหลายรัชกาล
เจริญสูงสุดในรัชกาลพระเจาสุริยวงศาธรรมิกราช ถือวาเปนยุคทองแหงอาณาจักรลานชาง พระองคทรงเปน
กษัตรยิ ท ี่ต้งั มนั่ อยใู นทศพิธราชธรรมและเปนทีน่ ับถอื ของประชาชน หลังสมเด็จพระเจาสุริยวงศาธรรมิกราช
สวรรคตแลว ลานชางแตกออกเปน 3 อาณาจักร คอื อาณาจกั รลานชาง หลวงพระบาง อาณาจักรลานชาง
เวียงจันทน และอาณาจักรลานชางจําปาศักดิ์ โดยตกอยูภายใตการยึดครองของประเทศเพ่ือนบาน รวมท้ัง
จีน เวียดนาม และสยาม กองทัพสยามพิชิตหัวเมืองลาวตอนเหนือลงได จึงไดผนวกหลวงพระบางเขาเปน
ดินแดนสวนหน่ึงของตน ราชวงศเหวียนของเวียดนามแผอํานาจยึดครองลาวทางตอนกลางของแมนํ้าโขง
รอบ ๆ นครเวยี งจนั ทน จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเขายึดครองแผนดินลานชางที่แตกแยกออกเปน 3
อาณาจักรไดท้ังหมด ครั้นถึงป พ.ศ. 2365 เจาอนุวงศ แหงเวียงจันทนวางแผนกอกบฏเพ่ือกอบกูเอกราช
แตไ มสําเรจ็ ถูกตัดสนิ โทษประหารชวี ติ กองทพั สยามในรชั กาลท่ี 3 ยกมาตนี ครเวยี งจนั ทนไดรอ้ื ทาํ ลายกาํ แพงเมอื ง
เอาไฟเผาราบทงั้ เมือง ทรพั ยส ินถูกปลนสะดม ผคู นถูกกวาดตอ น วดั ในนครเวยี งจนั ทนเ หลอื อยเู พยี งวัดเดยี ว
ทไ่ี มถ กู ไฟไหม คือ วัดสีสะเกด อาจมสี าเหตสุ าํ คัญจากสถาปต ยกรรมของวัดสีสะเกดแหงน้ีสรางตามแบบอยาง
ของสถาปต ยกรรมไทยในสมยั รตั นโกสนิ ทรต อนตน

ตอ มาในป พ.ศ. 2428 พวกจีนฮอจากมณฑลยนู นาน ยกทพั มารกุ รานลาวและตีเมอื งตา ง ๆ ไลจ ากทาง
ตอนเหนือไลมาถงึ นครเวยี งจนั ทนต อนใต รัชกาลท่ี 5 ทรงแตง ตั้งใหกรมหม่นื ประจกั ษ - ศิลปาคม เปน ขาหลวง

48

ใหญม าประจําอยหู วั เมืองลาวฝายเหนือ และยกกองทพั ขามแมน้าํ โขงมาตีฮอท่ีเวียงจันทน พวกจีนฮอพายแพ
หนีขนึ้ ไปเชยี งขวาง ไทยตามตจี นถึงเมืองเชียงขวาง จนพวกฮอแตกพายไปหมด จนถงึ ป พ.ศ. 2436 ไทยตอ งเสีย
ดินแดนแถบฝง ซายของแมน าํ้ โขงใหแกฝร่งั เศส หลังจากท่ไี ดปกครองลาวมาถงึ 114 ป

เมื่อมหาอํานาจตะวันตกเริ่มแผนอิทธิพลเขาสูอินโดจีน ฝร่ังเศสไดใชสนธิสัญญา ที่ไมเปนธรรม
บีบสยามใหยกดินแดนฝง ซายของแมน ํา้ โขงทงั้ หมดใหก ับตน (ประเทศลาวในปจจบุ ัน) ฝรง่ั เศสปกครองลาว
แตล ะแขวงโดยมีคนฝรงั่ เศสเปนเจา แขวงหรอื ขา หลวง คอยควบคมุ เจาเมืองทเี่ ปนคนลาวอีกตอหนึง่ ซ่ึงตอ งเก็บ
สวยตัวเลขจากชายฉกรรจใหขาหลวงฝร่ังเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเปนเมืองขึ้นน้ัน ฝร่ังเศสไมรักษา
โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยรือ้ สรางเปน ถนนไมไ ดสนใจกับวัฒนธรรมของประเทศลาวเทาไรนกั เพราะถอื วา
เปน ดนิ แดนบา นปา ลาหลังไมมคี า ในเชงิ เศรษฐกิจ

ตอมาในสงครามโลกครง้ั ท่สี อง เยอรมนั นี มชี ยั เหนือประเทศฝรง่ั เศสและกอ ตงั้ คณะรฐั บาลข้นึ ทเี่ มอื ง
วิซี คณะขา หลวงฝรั่งเศสในอนิ โดจนี ใหก ารหนุนหลังรฐั บาลวซิ ี และตกลงเปน พนั ธมิตรกบั ญ่ปี ุน คร้นั ถึงป พ.ศ.
2484 รัฐบาลภายใตก ารนาํ ของพลตรีหลวงพบิ ลู สงครามเรมิ่ ดําเนนิ การตอตานอํานาจของฝร่ังเศสที่เร่ิมเสื่อม
ถอย ดวยการยึดแขวงไชยบุรีและจําปาศักด์ิกลับคืนมา ญี่ปุนยุใหลาวประกาศเอกราช แตกองทัพฝรั่งเศส
ก็ยอนกลับคืนมาอีกคร้ังหลังสงครามยุติไดไมนาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมี
รฐั ธรรมนูญเปนกฎหมายสูงสุดภายใตการควบคุมดูแลของฝรั่งเศส

พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ (อังกฤษ) ขบวนการลาวอิสระลมสลาย แนวรัก
รว มชาตไิ ดพ ฒั นาเปน ขบวนการคอมมิวนิสตประเทศลาว ในเวลาตอมาโดยไดรับการสนับสนุนจากโฮจิมินห
และพรรคคอมมิวนสิ ตข องเวียดนาม

พ.ศ. 2495 ลาวในหัวเมืองดานตะวันออกเฉียงเหนือเร่ิมกอการจลาจลตอตานการปกครองของ
ฝรงั่ เศสภายใตการสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย

เม่ือฝรั่งเศสแพส งครามทคี่ า ยเดียนเบยี นฟู ลาวจึงไดร ับเอกราชอยางสมบูรณ ฝร่ังเศสถอนกําลังออก
จากประเทศลาวซ่ึงแตกแยกออกเปน 2 ฝา ย คือ ฝา ยสนับสนนุ ระบบกษัตรยิ ในเวียงจันทน (ฝายขวา) กับฝาย
ขบวนการประเทศลาว (ฝายซา ย)

พ.ศ. 2498 ลาวไดร บั การยอมรบั ใหเขาเปน สมาชิกขององคการสหประชาชาติ
พ.ศ. 2500 เจาสวุ รรณภมู า ขึ้นดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีเปน ผนู าํ รัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน
พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสตเวียดนามหันมาใชเสนทางโฮจิมินหในภาคตะวันออกของลาว
เปน เสน ทางหลกั ในการสงกําลงั พลไปปราบปรามพวกตอตา นคอมมวิ นิสตในเวียดนามใต กองกําลงั อเมรกิ นั เรมิ่
เขา มาปฏิบตั กิ ารลับในลาว พ.ศ. 2516 สหรฐั อเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม “การทําสงครามหลัง
ฉาก” ในประเทศลาวจงึ ตอ งเลิกราไปดว ย
พ.ศ. 2518 หลงั จากรฐั บาลคอมมวิ นสิ ตมชี ัยเหนือเวยี ดนามท้ังประเทศไดไ มน าน โดยยึดกรงุ พนมเปญ
เปนแหง แรก ตอมาไดไ ซง อน ขบวนการประเทศลาวยึดอาํ นาจไดทง้ั หมดในเดอื นธันวาคม เจามหาชีวิตศรีสวาง
วัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก ตามมาดวยการสถาปนาประเทศใหมชื่อวา “สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว” หรอื สปป.ลาว เมอื่ วันที่ 2 ธนั วาคม พ.ศ. 2518

49

ระยะ 5 ป หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใชนโยบายคอมมิวนิสตปกครองอยางเขมงวด
ควบคมุ พุทธศาสนา ตัดสัมพนั ธก ับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุม นอ ย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ สงผลให
ปญ ญาชนและชนช้นั กลางจาํ นวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจาสวา งวฒั นาและพระญาติวงศสิ้นพระชนม
อยใู นคายกกั กนั ชาวบา นยากจนลง

พ.ศ. 2535 นายไกสอน พมวิหาร ประธานประเทศผูเชื่อม่ันในระบอบคอมมิวนิสตถึงแกอสัญกรรม
นายหนูฮัก พูมสะหวัน ข้ึนดํารงตําแหนงแทน การจํากัดเสรีภาพคอย ๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู
ตา งประเทศไดรับการเช้ือเชิญใหกลับคืนสูบานเกิดเมืองนอน ลาวเร่ิมเปดประเทศตอนรับนักทองเที่ยวและ
ฟนฟคู วามสมั พันธก ับประเทศไทย

พ.ศ. 2537 มีพิธีเปด “สะพานมิตรภาพ” ขามแมน้ําโขงเชื่อมลาว-ไทย เขาดวยกัน สงผลใหไทย
มีอทิ ธพิ ลตอลาวมากข้ึน ทั้งในดา นวัฒนธรรมและเศรษฐกจิ และการท่ปี ระธานหนูฮกั พูมสะหวัน ไดเ ดนิ ทางมา
เยือนไทยอยางเปนทางการและเขาเฝาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลท่ี 9)
การปฏิรูปเหลา น้ี ทําใหลาวไดร บั การยอมรบั เขา เปนสมาชกิ อาเซยี นในป พ.ศ. 2540

พ.ศ. 2548 ลาวครบรอบ 30 ป การสถาปนาประเทศใหมเปนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว (สปป.ลาว) และในปเ ดียวกันน้ีเอง สะพานมติ รภาพไทย - ลาว กไ็ ดเปดใชอ กี เปน แหงท่ีสองที่จังหวดั เลย

1.4 ประวัตศิ าสตรสงั เขปของประเทศพมาหรือสาธารณรฐั แหง สหภาพเมียนมาร

50

ประวตั ศิ าสตรข องพมาน้ันยาวนาน มีประชาชนหลายเผาพันธุเคยอาศัยอยูในดินแดนแหงนี้ เผาพันธุ
เกาแกท ีส่ ุดทป่ี รากฏไดแ ก มอญ ตอ มาราวศตวรรษท่ี 13 ชาวพมา ไดอ พยพลงมาจากบรเิ วณพรมแดนระหวา งจีน
และทเิ บต เขาสทู ีร่ าบลุมแมน้ําอริ ะวดี และกลายเปนชนเผาสวนใหญท่ีปกครองประเทศในเวลาตอ มา

ประวัติศาสตรข องสาธารณรัฐแหงสหภาพพมา มคี วามเกยี่ วขอ งกับชนชาติตาง ๆ หลายเชื้อชาติ ไดแก
มอญ พยู รวมถึงมีการเก่ียวพนั ธกับอาณาจักรและราชวงศต า ง ๆ เชน

มอญ เปนชนเผาแรกที่สามารถสรา งอารยธรรมข้ึนเปนเอกลักษณของตนได ชาวมอญไดอพยพเขามา
อาศัยอยูในดินแดนแหงน้ีเมื่อราว 2400 ปกอนพุทธกาล และไดสถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ขึ้นเปน
อาณาจกั รแหงแรกในราวพทุ ธศตวรรษที่ 2 ณ บรเิ วณใกลเมืองทาตอน (Thaton) ชาวมอญไดรับอิทธิพลของ
ศาสนาพุทธผา นทางอินเดียในราว พทุ ธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเช่ือวามาจากการเผยแพรพระพุทธศาสนาในรัชสมัย
ของพระเจาอโศกมหาราช บนั ทึกของชาวมอญสวนใหญถกู ทาํ ลายในระหวา งสงคราม วฒั นธรรมของชาวมอญ
เกดิ ขน้ึ จากการผสมผสานกบั วัฒนธรรมจากอินเดีย จนกลายเปน เอกลักษณของตนเองเปนวัฒนธรรมลักษณะ
ลกู ผสม ในราวพทุ ธศตวรรษท่ี 14 ชาวมอญไดเ ขาครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใตของพมาและได
เกิดอาณาจกั รใหมข ้ึน เรียกวา อาณาจกั รสุธรรมวดี ทเ่ี มืองพะโค (หงสาวดี)

ปยุ : พยู : เพียว
ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือ กลุมชนที่เขามาอาศัยอยูในดินแดนประเทศสาธารณรัฐแหง
สหภาพพมาต้งั แตพ ุทธศตวรรษท่ี 4 และไดส ถาปนานครรฐั ขนึ้ หลายแหง เชน ที่ พนิ นาคา (Binnaka) มองกะโม
(Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปยทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในชวงเวลา
ดังกลาว ดินแดนพมา เปนสว นหน่งึ ของเสน ทางการคาระหวา งจีนและอินเดียจากเอกสารของจีนพบวามีเมือง
อยูภายใตอ ํานาจปกครองของชาวพยู 18 เมอื ง และชาวพยเู ปน ชนเผาท่ีรักสงบ ไมปรากฏวามีสงครามเกิดข้ึน
ระหวางชนเผาพยู ขอขัดแยงมักยุติดวยการคัดเลือกตัวแทนใหเขาประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส
เคร่ืองแตงกายที่ทําจากฝาย อาชญากรมักถูกลงโทษดวยการโบยหรือจําขัง เวนแตไดกระทําความผิด
อนั รายแรงจึงตองโทษประหารชวี ติ ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ไดรับการศึกษาท่ีวัด
ต้ังแตอ ายุ 7 ขวบจนถงึ 20 ป
นครรฐั ของชาวพยไู มเคยรวมตวั เปน อันหนึง่ อันเดยี วกัน แตน ครรัฐขนาดใหญม กั มีอทิ ธพิ ลเหนอื นครรฐั
ขนาดเล็ก ซ่ึงแสดงออกโดยการสงเคร่ืองบรรณาการใหนครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุด ไดแก ศรีเกษตร ซ่ึงมี
หลกั ฐานเชือ่ ไดว า เปนเมืองโบราณท่ีมีขนาดใหญที่สุดในสาธารณรัฐแหง สหภาพพมา ไมปรากฏหลักฐานวา
อาณาจกั รศรีเกษตรถกู สถาปนาขึ้นเม่ือใด แตมีการกลาวถึงในพงศาวดารวามีการเปลี่ยนราชวงศเกิดขึ้นในป
พทุ ธศักราช 637 ซึง่ แสดงใหเห็นวาอาณาจักรศรีเกษตรตอ งไดรบั การสถาปนาข้ึนกอนหนาน้ัน มีความชัดเจน
วา อาณาจกั รศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปพุทธศักราช 1199 เพ่ืออพยพยายข้ึนไปสถาปนาเมืองหลวงใหมทาง
ตอนเหนือ แตยังไมทราบอยางแนชัดวาเมืองดังกลาวคือเมืองใด นักประวัติศาสตรบางทานเชื่อวาเมือง
ดงั กลาวคอื เมอื งหะลินคยี อยางไรก็ตามเมืองดังกลาว ถูกรุกรานจากอาณาจักรนานเจาในราวพุทธศตวรรษ
ที่ 15จากน้นั ก็ไมป รากฏหลกั ฐานกลาวถึงชาวพยูอกี เลย

51

อาณาจกั รพกุ าม
ชาวพมาเปนชนเผาจากทางตอนเหนือท่ีคอย ๆ อพยพแทรกซึมเขามาส่ังสมอิทธิพลในดินแดน
สาธารณรัฐแหง สหภาพพมา ทีละนอย กระทั่งปพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอํานาจ
ซ่งึ มีศนู ยกลางอยูทีเ่ มอื ง “พกุ าม” (Bagan) โดยไดเ ขามาแทนท่ีภาวะสูญญากาศทางอํานาจภายหลังจากการ
เส่ือมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแตแรกน้ันมิไดเติบโตข้ึนอยางเปนอันหน่ึง
อันเดียวกัน กระทงั่ ในรัชสมัยของพระเจาอโนรธา (พ.ศ. 1587 - 1620) พระองคจึงสามารถรวบรวมแผนดิน
พมาใหเปนอันหน่ึงอันเดียวกันสําเร็จ และเม่ือพระองคทรงตีเมืองทาตอนของชาวมอญไดในปพุทธศักราช
1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเปนอาณาจักรที่เขมแข็งที่สุดในดินแดนพมา อาณาจักรพุกาม
มีความเขมแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจากยันสิทธา (พ.ศ. 1624 - 1655) พระเจาอลองสิทธู
(พ.ศ. 1655 - 1710) ทําใหในชวงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมด
ถูกครอบครอง โดยอาณาจักรเพียงสองแหง คือ เขมร (เมืองพระนคร) และพกุ าม
อาํ นาจของอาณาจักรพุกามคอย ๆ เส่ือมลง ดวยเหตุผลหลักสองประการ สวนหน่ึงจากการถูกเขา
ครอบงาํ โดยคณะสงฆผูมีอาํ นาจ และอกี สว นหน่ึงจากการรุกรานของจกั รวรรดมิ องโกล ท่เี ขามาทางตอนเหนือ
พระเจานราธหิ บดี (ครองราชย พ.ศ. 1779 - 1830) ไดทรงนาํ ทัพสยู นู นานเพื่อยบั ยั้งการขยายอํานาจของมอง
โกล แตเม่ือพระองคแพสงครามในปพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระสํ่าระสายเกือบท้ังหมด
พระเจา นราธหิ บดถี กู พระราชโอรสปลงพระชนมใ นปพุทธศกั ราช 1830 กลายเปน ตัวเรงที่ทําใหอาณาจักรมอง
โกลตดั สนิ ใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถ
เขาครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามไดทั้งหมด ราชวงศพุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลไดแตงตั้ง
รัฐบาลหุนข้ึนบริหารดินแดนพมาในปพทุ ธศักราช 1832
องั วะและหงสาวดี
หลังจากการลมสลายของอาณาจกั รพกุ าม พมา ไดแตกแยกออกจากกนั อกี ครงั้ ราชวงศอังวะ ซงึ่ ไดรับ
อทิ ธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามไดถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปพุทธศักราช 1907 ศิลปะและ
วรรณกรรมของพกุ ามไดถกู ฟน ฟจู นยุคน้ีกลายเปนยุคทองแหงวรรณกรรมของพมา แตเนื่องดวยอาณาเขต
ที่ยากตอการปองกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญเขาครอบครองไดในปพุทธศักราช
2070
สาํ หรับดินแดนทางใต ชาวมอญไดสถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหมอีกครั้งท่ีเมืองหงสาวดี
โดยกษัตริยธรรมเจดยี  (ครองราชย พ.ศ. 1970 - 2035) เปน จดุ เริม่ ตน ยุคทองของมอญ ซ่ึงเปนศูนยกลางของ
พุทธศาสนานกิ ายเถรวาทและศนู ยก ลางทางการคา ขนาดใหญใ นเวลาตอ มา
อาณาจักรตองอู
หลงั จากอาณาจักรพกุ ามถกู รุกรานจากไทใหญ ชาวอังวะไดอพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแหงใหม
โดยมีศูนยกลางที่เมืองตองอูภายใตการนําของพระเจามิงคยินโย ในปพุทธศักราช 2074 พระเจาตะเบง
ชะเวตี้ (ครองราชย พ.ศ. 2074 - 2093) ซ่ึงสามารถรวบรวมพมาเกือบท้ังหมดใหเปนอันหน่ึงอันเดียวกันได
อีกคร้งั

52

ในชวงระยะเวลาน้ี ไดมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญเกิดข้ึนในภูมิภาค ชาวไทใหญมีกําลังเขมแข็ง
เปน อยางมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจกั รอยธุ ยาเกิดความไมม่ันคง ในขณะทโี่ ปรตุเกสไดเริ่มมี
อิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใตและสามารถเขาครอบครองมะละกาได ในการเขามาของบรรดา
พอ คาชาวยโุ รป พมา กลายเปนศนู ยกลางทางการคา ทส่ี าํ คัญอกี ครง้ั หนงึ่ การทีพ่ ระเจา ตะเบงชะเวต้ีไดย า ยเมือง
หลวงมาอยูที่เมืองหงสาวดี เหตุผลสวนหนึ่งก็เน่ืองดวยทําเลทางการคา พระเจาบุเรงนอง (ทรงครองราชย
พ.ศ. 2094 - 2124) ซ่ึงเปนพระเทวัน (พ่ีเขย) ของพระเจาตะเบงชะเวตี้ ไดเสด็จข้ึนครองราชยสืบตอจาก
พระเจาตะเบงชะเวตี้ และสามารถเขาครอบครองอาณาจักรตางๆ รายรอบได อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103)
อยุธยา (พ.ศ. 2112) การทําสงครามของพระองคทําใหพมามีอาณาเขตกวางใหญไพศาลท่ีสุด อยางไรก็ตาม
ทั้งมณีปุระและอยุธยาตางกส็ ามารถประกาศตนเปนอสิ ระไดภ ายในเวลาตอ มาไมน าน

เม่อื ตอ งเผชิญกับการกอกบฏจากเมอื งขึ้นหลายแหง ประกอบกบั การรกุ รานของโปรตุเกส กษตั รยิ แหง
ราชวงศตองอูจําเปนตองถอนตวั จากการครอบครองดนิ แดนทางตอนใต โดยยายเมืองหลวงไปอยูที่เมืองอังวะ
พระเจา อะนอกะเพตลนุ (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจา บเุ รงนอง สามารถรวบรวมแผนดินพมาใหเ ปน
อันหน่งึ อนั เดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองคตัดสินใจ ที่จะใชกําลังเขาตอตานการรุกรานของ
โปรตุเกส พระเจาธารุน (Thalun) ผูสืบทอดราชบัลลังกไดฟนฟูหลักธรรมศาสตรของอาณาจักรพุกามเกา
แตพระองคทรงใชเวลากับเร่ืองศาสนามากเกินไป จนละเลยท่ีจะใสใจตออาณาเขตทางตอนใต ทายที่สุด
หงสาวดที ี่ไดร บั การสนบั สนุนจากฝรัง่ เศสซ่ึงตงั้ มน่ั อยใู นอินเดยี กไ็ ดทาํ การประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้น
อาณาจักรของชาวพมาก็คอยๆ ออ นแอลงและลมสลายไปในปพ ทุ ธศักราช 2259 จากการรุกรานของชาวมอญ

ราชวงศอลองพญา
ราชวงศอลองพญา ไดรบั การสถาปนาขึ้นและสรางความเขมแข็งจนถึงขีดสุดไดภายในเวลาอันรวดเร็ว
อลองพญาซงึ่ เปน ผูน ําทไ่ี ดรับความนยิ มจากชาวพมา ไดขับไลช าวมอญทเี่ ขา มาครอบครองดนิ แดนของชาวพมา
ไดในป พ.ศ. 2296 จากนัน้ ก็สามารถเขา ยึดครองอาณาจักรมอญได อกี คร้ังในป พ.ศ. 2302 ทงั้ ยงั สามารถกลับ
เขา ยดึ ครองกรุงมณีปุระ ไดในชวงเวลาเดียวกนั พระองคสถาปนาใหเมอื งยา งกงุ เปน เมอื งหลวงในป พ.ศ. 2303
หลังจากเขา ยึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองคไดยาตราทัพเขารุกรานอยุธยา แตตองประสบความ
ลมเหลวเม่ือพระองคทรงสวรรคตในระหวางสงคราม พระเจาสินบูหชิน (Hsinbyushin , ครองราชย พ.ศ.
2306 - 2319) พระราชโอรส ไดนําทัพเขารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกคร้ังในป พ.ศ. 2309 และประสบ
ความสําเรจ็ ในปถ ดั มา ในรัชสมยั น้ี แมจ นี จะพยายามขยายอาํ นาจเขา สูดินแดนพมา แตพระองคก็สามารถยับย้ัง
การรุกรานของจีนไดทั้งสี่ครั้ง (ในชวงป พ.ศ. 2309 - 2312) ทําการขยายพรมแดนของจีนทางดานน้ี
ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจาโบดอ-พญา (Bodawpaya ครองราชย พ.ศ. 2324 - 2362) พระโอรส
อีกพระองคของพระเจาอลองพญา พมา ตอ งสญู เสียอํานาจท่ีมีเหนืออยธุ ยาไป แตก ส็ ามารถผนวกดนิ แดนยะไข
(Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เขามาไวได ในชวงเดอื นมกราคมของป พ.ศ. 2366 ซ่ึงอยูในรัชสมัย
ของพระเจา บาคยดี อว (Bagyidaw) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เขารกุ รานแควนอสั สมั ไดสําเร็จ
ทาํ ใหพมา ตอ งเผชญิ หนาโดยตรงกบั อังกฤษที่ครอบครองอินเดยี อยูในขณะน้นั

53

สงครามกบั องั กฤษและการลม สลายของราชอาณาจักรพมา
สงครามระหวางพมาและอังกฤษครั้งที่หน่ึง (พ.ศ. 2367 2369) ยุติลงโดยอังกฤษเปนฝายไดรับ
ชยั ชนะ ฝายพมาจาํ ตองทําสนธสิ ัญญายนั ดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทาํ ใหพ มาตองสูญเสียดินแดนอัสสัม
มณีปุระ ยะไข และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษก็เร่ิมตนตักตวงทรัพยากรตาง ๆ ของพมา นับแตนั้น เพื่อเปน
หลักประกันสําหรบั วัตถุดิบทจี่ ะปอ นสูสงิ คโปร สรางความแคนเคืองใหกับทางพมาเปนอยางมาก กษัตริยองค
ตอมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทําการโจมตีผลประโยชนของฝายอังกฤษ เปนตนเหตุใหเกิด
สงครามระหวางพมา และอังกฤษครง้ั ท่ีสอง ซ่ึงก็จบลงโดยชัยชนะเปนของอังกฤษอีกคร้ัง หลังส้ินสุดสงคราม
คร้ังน้ี อังกฤษไดผนวกหงสาวดีและพ้ืนท่ีใกลเคียงเขาไวกับตน โดยไดเรียกดินแดนดังกลาวเสียใหมวาพมา
ตอนใต สงครามครั้งนี้กอใหเกิดการปฏิวัติคร้ังใหญในพมา เร่ิมตนดวยการเขายึดอํานาจโดยพระเจามินดง
(Mindon Min) จากพระเจา ปะกนั (Pagin Min) ซงึ่ เปนพระเชษฐาตางพระชนนี พระเจา มนิ ดงพยายามพฒั นา
ประเทศพมาเพือ่ ตอตานการรุกรานขององั กฤษ พระองคไ ดส ถาปนากรุงมัณฑะเลย ซ่ึงยากตอการรุกรานจาก
ภายนอก ข้ึนเปน เมืองหลวงแหงใหม แตก ย็ งั ไมเพียงพอทจี่ ะหยุดยั้งการรุกรานจากองั กฤษได
รัชสมัยตอมา พระเจาธีบอ (Thibow) ซ่ึงเปนพระโอรสของพระเจามินดง ทรงมีบารมีไมพ อท่จี ะ
ควบคุมพระราชอาณาจักรได จึงทําใหเกิดความวุนวายไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองคไดตัดสิน
พระทัยยกเลกิ สนธิสญั ญากับองั กฤษท่พี ระเจามินดงไดทรงกระทําไว และไดประกาศสงครามกับอังกฤษเปน
ครง้ั ท่ีสามในปพ ทุ ธศักราช 2428 ผลของสงครามครง้ั นท้ี ําใหอ ังกฤษสามารถเขาครอบครองดนิ แดนสาธารณรัฐ
แหง สหภาพพมาสวนทเี่ หลอื เอาไวไ ด
พมา ตกเปน อาณานคิ มขององั กฤษในป พ.ศ. 2429 และระยะกอนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กนอย
ญ่ีปุนไดเขามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ตะข่ินเปนกลุมนักศึกษาหนุมที่หัวรุนแรงมีอองซาน
นกั ชาตนิ ยิ ม และเปนผูนําของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยยางกุง พวกเขาคิดวาญี่ปุนจะสนับสนุนการประกาศ
อิสรภาพของพมา จากอังกฤษ แตเม่ือญ่ีปุนยึดครองพมาไดแลว กลับพยายามหนวงเหนี่ยวมิใหพมาประกาศ
เอกราช
ดังน้ันอองซานไดกอต้ัง องคการสันนิบาตเสรีภาพแหงประชาชนตอตานฟาสซิสต (Anti-Fascist
Peoples Freedom League : AFPEL) เพ่ือตอตา นญีป่ ุนอยางลบั ๆ และไดกลายเปน พรรคการเมอื งชื่อพรรค
AFPEL เม่อื ญปี่ นุ แพส งครามโลกครง้ั ท่ี 2 แลว พรรค AFPEL ไดเ จรจากับองั กฤษโดยอังกฤษยนื ยันท่จี ะใหพมา
มีอิสรภาพปกครองตนเองภายใตเครือจักรภพ และมีขาหลวงใหญอังกฤษประจําพมาชวยใหคําปรึกษา
แตพรรคการเมือง AFPEL ตอ งการเอกราชอยางสมบูรณ อังกฤษไดพยายามสนับบสนุนพรรคการเมืองอ่ืน ๆ
ขึ้นแขงอํานาจพรรค AFPEL ของอองซานแตไ มเ ปนผลสําเรจ็ จงึ ยนิ ยอมใหพ รรค AFPEL ขนึ้ บริหารประเทศ

54

อองซานมนี โยบายสรางความมน่ั คงทางเศรษฐกิจ
และตองการเจรจากับรัฐบาลองั กฤษโดยสนั ตวิ ิธี
จึงทําใหเกดิ ความขัดแยง กับฝา ยนยิ มคอมมวิ นิสตในพรรค
AFPEL อองซานและคณะรัฐมนตรอี ีก 6 คน
จึงถูกลอบสังหาร เม่ือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
ขณะเดินทางออกจากทปี่ ระชมุ สภา ตอมาตะขิ้นนุหรืออูนุ
ไดข้ึนเปนนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช
รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได
มอบเอกราชใหแกพมาแตยังรักษาสิทธิทางการทหารไว
จนกระท่ังในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได
มอบเอกราชใหแ กพ มา อยา งสมบรู ณ

ปจ จุบนั ประเทศพมา ปกครองในคณะรฐั บาลทหารที่มาจากการเลอื กตงั้ และยงั มปี ญหาการสูรบกันใน
ชนเผา นอยอยูตลอดเวลา

1.5 ประวตั ศิ าสตรส ังเขปของประเทศอนิ โดนเี ซยี
อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Requblic of Indonesia)

เปนหมูเกาะที่ใหญที่สุดในโลก ต้ังอยูระหวางคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใตและทวีปออสเตรเลียและ
ระหวา งมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอรเนียว (อินโดนีเซีย :
กาลิมนั ตนั ), ประเทศปาปว นวิ กนิ บี นเกาะนิวกนิ ี (อนิ โดนเี ซยี : อเิ รียน) และประเทศติมอรตะวันออกบนเกาะ
ตมิ อร

อนิ โดนีเซยี ประกอบดว ยหมูเ กาะที่มีความเจริญรุงเรอื งมาชานาน แตตอมาตองตกอยูภายใตการ
ปกครองของเนเธอรแลนดอยูนานประมาณ 300 ป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึง่ เปน ชวงสงครามโลกคร้ังท่ี
2 ญป่ี นุ บกุ อนิ โดนีเซยี และทําการขับไลเ นเธอรแ ลนดเจาอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปไดสําเร็จ จึงทําให
ผูนําอินโดนีเซียคนสําคัญ ๆ ในสมัยนั้นใหความรวมมือกับญี่ปุน แตไมไดใหความไววางใจกับญ่ีปุนมากนัก
เพราะมเี หตุเคลอื บแคลง คือ เม่ือมผี รู ักชาติชาวอินโดนีเซียจัดต้ังขบวนการตาง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุนจะขอเขารวม
ควบคุมและดาํ เนินงานดว ย

เมอื่ ญี่ปนุ แพสงครามและประกาศยอมจํานนตอฝายพันธมิตร อินโดนีเซียไดถือโอกาสประกาศ
เอกราชในวันท่ี 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แตเนเธอรแลนดเจาอาณานิคมเดิมไมยอมรับการประกาศเอกราช
ของอนิ โดนเี ซยี จึงยกกองทพั เขาปราบปราม ผลจากการสูรบปรากฏวาเนเธอรแลนด ไมสามารถปราบปราม
กองทัพของชาวอินโดนีเซียได อังกฤษซ่ึงเปนพันธมิตรกับเนเธอรแลนดจึงเขามาชวยไกลเกล่ีย เพ่ือใหยุติ
ความขัดแยงกนั โดยใหท้ังสองฝายลงนามในขอตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เม่ือ พ.ศ. 2489
โดยเนเธอรแ ลนดยอมรบั อาํ นาจของรัฐบาลอินโดนเี ซียในเกาะชวาและ สุมาตรา ตอ มาภายหลังเนเธอรแลนด
ไดล ะเมิดขอ ตกลง โดยไดนําทหารเขา โจมตอี ินโดนเี ซยี ทําใหประเทศอื่นๆ เชน ออสเตรเลียและอินเดีย ไดยื่น
เรื่องใหคณะมนตรีความมั่นคงแหงสหประชาชาติ เขาจัดการ สหประชาชาติไดเขาระงับขอพิพาท โดยตั้ง

55

คณะกรรมการประกอบดวย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรฐั อเมริกา เพ่ือทาํ หนาที่ไกลเกลี่ยประนีประนอม
และไดเ รียกรอ งใหม กี ารหยดุ ยิง แตเ นเธอรแลนดไดเขาจับกุมผูนําคนสําคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการโนและ
ฮตั ตาไปกักขงั ตอ มาทหารอนิ โดนีเซียนาํ ตวั ผนู ําทัง้ สองออกมาได ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกตางตําหนิการ
กระทําของเนเธอรแลนดอยางยิ่ง และคณะมนตรีความม่ันคงไดกดดันใหเนเธอรแลนดมอบเอกราช
แกอินโดนีเซยี

ในวันท่ี 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียไดรับเอกราช และปกครองระบบประชาธิปไตยมี
ประธานาธิบดีเปนประมุขของประเทศแตความยุงยากยังคงมีอยู เนื่องจากเนเธอรแลนดไมยินยอมใหรวม
ดินแดนอเิ รยี นตะวันตกเขากับอินโดนีเซีย ท้ังสองฝายจึงตางเตรียมการจะสูรบกันอีก ผลท่ีสุดเนเธอรแลนด
ก็ยอมโอนอํานาจใหสหประชาชาติควบคุมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และใหชาวอิเรียนตะวันตกแสดง
ประชามติวา จะรวมกบั อินโดนีเซยี หรือไม ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏวาชาวอิเรียนตะวันตกสวนใหญ
ตองการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกใหอยูในความปกครองของอินโดนีเซีย
เม่อื เดอื นพฤษภาคม พ.ศ. 2506

1.6 ประวตั ศิ าสตรสงั เขปของประเทศฟลปิ ปนส
ฟลิปปนส (the Philippines) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟลิปปนส (Republic of the

Philippines) เปนประเทศทป่ี ระกอบดวยเกาะจํานวน 7,107 เกาะต้ังอยูในมหาสมุทรแปซิฟก หางจากเอเชีย
แผน ดินใหญทางตะวนั ออกเฉยี งใต ประมาณ 100 กม. และมลี กั ษณะพเิ ศษคือ เปนประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มี
พรมแดนทางทะเลที่ติดตอระหวางกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064 - 2441) และสหรัฐอเมริกา
(พ.ศ. 2441 - 2489) ไดครองฟลิปปนสเปนอาณานิคมเปนเวลา 4 ศตวรรษ และเปนสองอิทธิพลใหญที่สุดตอ
วัฒนธรรมของฟลปิ ปน ส

ฟลิปปนสเปนชาติเดียวในเอเชียท่ีประชากรสวนใหญนับถือศาสนาคริสต และเปนหนึ่งในชาติ
ทไ่ี ดรับอิทธพิ ลจากตะวนั ตกมากทสี่ ดุ เปน การผสมผสานกันระหวางตะวันตกและตะวันออกท่ีเปนเอกลักษณ
เฉพาะ อารโนลด โจเซฟ ทอยนบี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตรชาวอังกฤษ ไดกลาวไวในงาน
ของเขาวา ประเทศฟลปิ ปน สเ ปนประเทศลาตนิ อเมรกิ าที่ถูกพัดพาไปยงั ตะวันออก โดยคลน่ื ทะเลยกั ษ

หลกั ฐานทางโบราณคดแี ละโบราณชีววิทยาบง บอกวา มมี นุษยโฮโมเซเปย นส เคยอาศยั อยูในเกาะ
ปาลาวันตั้งแตประมาณ 50,000 ปกอน ชนเผาท่ีพูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียไดเขามาตั้งรกราก
ในฟลิปปนส และจัดตั้งเสนทางเครือขายการคากับเอเชียอาคเนยสวนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต 5,000 ป
กอ นครสิ ตกาลภาษาที่ชาวฟล ปิ ปนสใชพ ูดคอื ภาษาตากาล็อค

เฟอรดินันด มาเจลลัน มาถึงหมูเกาะฟลิปปนสในป ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ
เดเลกัสป มาถงึ ฟลิปปนสในป ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตง้ั ชุมชนชาวสเปนขึน้ ซึ่งนาํ ไปสกู ารต้ังอาณานิคม
ในเวลาตอ มา หลงั จากนนั้ นกั บวชศาสนาคริสตน ิกายโรมันคาทอลิกไดทําให ชาวเกาะท้ังหมดใหหันมานับถือ
ศาสนาคริสต ในชวง 300 ปนับจากน้ัน กองทัพสเปนไดตอสูกับเหตุการณกบฏตาง ๆ มากมาย ท้ังจากชน
พื้นเมอื งและจากชาตอิ ่นื ทีพ่ ยายามเขามาครอบครองอาณานิคม ซงึ่ ไดแ ก องั กฤษ จีน ฮอลันดา ฝร่ังเศส ญี่ปุน
และโปรตุเกส สเปน สูญเสียไปมากท่ีสุดในชวงที่อังกฤษเขาครอบครองเมืองหลวงเปนการชั่วคราวในชวง

56

สงครามเจ็ดป (Seven Years’ War) หมูเกาะฟลิปปนสอยูใตการปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของ
สเปนใหม (New Spain) นับตั้งแตป ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงป ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากน้ัน
ฟลิปปนสก็อยูใตการปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manial Galleon)
จากฟล ิปปนสไ ปเม็กซโิ ก เริ่มตนขึ้นในชวงปลายศตวรรษท่ี 16 และหมูเกาะฟลิปปนสเปดตัวเองเขาสูการคา
โลกในป ค.ศ. 1834 ปจจุบันประเทศฟลิปปนสปกครองดวยระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเปนผูนํา
ประเทศ

1.7 ประวตั ิศาสตรสังเขปของประเทศญป่ี นุ
ญี่ปุน (Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) มีช่ือทางการคือ ประเทศญี่ปุน (Nihon-koku/Nippon-

koku-นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ) เปนประเทศหมูเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ต้ังอยูในมหาสมุทรแปซิฟก
ทางตะวนั ตกติดกบั คาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมที ะเลญี่ปนุ กนั้ สวนทางทิศเหนือ ติดกับ
ประเทศรสั เซยี มีทะเลโอค็อตสก เปน เสนแบงแดน ตวั อกั ษรคนั จิของช่ือญป่ี นุ แปลวาถน่ิ กาํ เนิดของดวงอาทิตย
จึงทําใหบ างครง้ั ถกู เรียกวา ดินแดนแหงอาทิตยอุทยั

ญ่ีปุนมีเน้อื ที่กวา 377,835 ตารางกิโลเมตร นบั เปน อนั ดบั ที่ 62 ของโลกหมูเ กาะญ่ปี ุนประกอบ
ไปดวยเกาะนอยใหญกวา 3,000 เกาะ เกาะท่ีใหญที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คิวชู และชิโกกุ ตามลําดับ
เกาะของญี่ปนุ สวนมากจะเปน หมเู กาะภเู ขา ซงึ่ ในนนั้ มจี าํ นวนหน่งึ เปน ภูเขาไฟ เชนภเู ขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุด
ในประเทศ เปนตน ประชากรของญ่ีปุนนั้นมีมากเปนอันดับท่ี 10 ของโลก คือ ประมาณ 128 ลานคน
เมืองหลวงของญ่ีปุนคือกรุงโตเกียว ซึ่งถารวมบริเวณปริมณฑลเขาไปดว ยแลว จะกลายเปน เขตเมืองท่ีใหญ
ทสี่ ุดในโลกที่มปี ระชากรอยูอาศัยมากกวา 30 ลานคน

สันนิษฐานวามนุษยมาอาศยั ในญป่ี ุน ครงั้ แรกต้งั แตย ุคหนิ เกา การกลาวถึงญป่ี ุน ครงั้ แรกปรากฏขึ้น
ในบันทึกของราชสํานักจีนต้ังแตคริสตศตวรรษท่ี1 ญี่ปุนไดรับอิทธิพลจากจีนในหลายดาน เชน ภาษา
การปกครองและวฒั นธรรม แตในขณะเดยี วกันกม็ ีการปรบั เปลี่ยนใหเ ปนเอกลกั ษณข องตนเองจงึ ทาํ ใหญ ป่ี นุ
มวี ฒั นธรรมที่โดดเดน มาจนปจ จุบัน อกี หลายศตวรรษตอ มา ญีป่ นุ ก็รับเอาเทคโนโลยตี ะวนั ตกและนํามาพัฒนา
ประเทศจนกลายเปนประเทศทก่ี าวหนาและมีอิทธิพลมากท่ีสุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพสงครามโลก
ครัง้ ทส่ี อง ญ่ีปุน กม็ ีการเปลย่ี นแปลงทางการปกครองโดยการใชรฐั ธรรมนญู ใหมใ น พ.ศ. 2490

ญ่ปี ุนเปนประเทศผูนําทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเปนอันดับสองของโลก ญี่ปุนเปนสมาชิกของ
สหประชาชาติ จี 8 โออีซดี ี และเอเปค และมีความต่ืนตัวที่จะมีสวนรวมในการแกไขปญหาของตางประเทศ
ญ่ีปนุ มีมาตรฐานความเปนอยทู ีด่ ี และยังเปน ผนู ําทางเทคโนโลยเี ครอ่ื งจักรและเครอื่ งยนต

ประวตั ศิ าสตรญ ่ปี ุน เริม่ ตนดวย ยุคยะโยอิ เริ่มเม่ือประมาณ 300 ปกอน คริสตศักราช เปนยุคท่ี
ผูคนเร่ิมเรียนรูวิธีการปลูกขาว การตีโลหะ ซ่ึงไดรับความรูมาจากผูอพยพชาวจีนแผนดินใหญ การกลาวถึง
ญปี่ นุ ครงั้ แรกปรากฏขน้ึ ในบนั ทึกของราชสาํ นักจีนสมยั ราชวงศฮ่ัน โฮวฮั่นชู ในป 57 กอนคริสตกาล ซึ่งเรียก
ชาวญี่ปุนวา วะ ในชวงพทุ ธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรทที่ รงอํานาจมากที่สุดในญี่ปุนคือ ยะมะไทโคะกุ ปกครอง
โดยราชินีฮิมิโกะ ซง่ึ เคยสง คณะทูตไปยังประเทศจีนผา นทางเกาหลดี วย

57

ยุคโดะฮง ซึง่ ตัง้ ชอ่ื ตามสุสานทนี่ ยิ มสรา งขน้ึ กันในยคุ ดังกลาวเร่ิมตน ต้งั แตประมาณ พุทธศตวรรษ
ที่ 9 จนถงึ 12 เปนยุคทญี่ ป่ี นุ เรม่ิ มีการปกครองแบบราชวงศ ซ่งึ ศนู ยกลางการปกครองน้ันอยูบริเวณเขตคันไซ
ในยคุ นี้พระพทุ ธศาสนาไดเขามาจากคาบสมุทรเกาหลีสหู มเู กาะญป่ี ุนไดรับอิทธิพลมาจากจีนเปนหลัก เจาชาย
โชโตะกทุ รงสงคณะราชทตู ไปเจรญิ สัมพนั ธไมตรกี บั จนี ญ่ีปนุ จึงไดรับนวตั กรรมใหม ๆ จากจนี นอกจากน้ยี งั ทรง
ตรารฐั ธรรมนญู สบิ เจด็ มาตรา ซง่ึ เปนกฎหมายญ่ีปุนฉบับแรกอีกดวย และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ไดรับการ
ยอมรบั มากข้ึนต้งั แตส มยั อะซกึ ะ ซ่ึงตง้ั ชือ่ ตามสุสานที่นิยมสรา งขึน้ กนั ในยคุ ดังกลาวเร่ิมตนต้ังแตประมาณพุทธ-
ศตวรรษท่ี 9 - 12 เปนยคุ ท่ีญป่ี ุนเรม่ิ มีการปกครองแบบราชวงศ ซ่ึงศูนยกลางการปกครองนั้นอยูบริเวณเขต
คันไซ ในยุคน้ีพระพุทธศาสนาไดเขามาจากคาบสมทุ รเกาหลสี หู มเู กาะญ่ปี นุ แตพ ระพุทธรปู และพุทธศาสนา
ในประเทศญ่ีปุนหลังจากนั้นไดรับอิทธิพลจากจีนเปนหลัก เจาชายโชโตะกุทรงสงคณะราชทูตไปเจริญ
สัมพันธไมตรีกบั จีน ญี่ปนุ จงึ ไดร ับนวตั กรรมใหมๆ จากแผนดินใหญมาเปนจํานวนมาก นอกจากนี้ยังทรงตรา
รัฐธรรมนญู สิบเจ็ดมาตรา ซึง่ เปนกฎหมายญี่ปนุ ฉบบั แรกอกี ดว ยและในท่สี ดุ พระพทุ ธศาสนาก็ไดรบั การยอมรบั
มากข้นึ ตง้ั แตสมัยอะซึกะ

ยุคนะระ (พ.ศ. 1253 - 1337) เปนยุคแรกที่มีการกอตัวเปนอาณาจักรท่ีเขมแข็ง มีการปกครองอยางมี
ระบบใหเห็นไดอยางชัดเจน โดยการนําระบอบการปกครองมาจากจีนแผนดินใหญ ศูนยกลางการปกครอง
ในขณะน้ันก็คือเฮโจเคียวหรือจังหวัดนะระในปจจุบัน ในยุคนะระเร่ิมพบการเขียนวรรณกรรม เชน โคจิกิ
(พ.ศ.1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) เมืองหลวงถูกยายไปท่ีนะงะโอกะเกียว เปนชวงเวลาส้ัน ๆ และถูก
ยายอกี คร้งั ไปยังเฮอังเกียว ซ่ึงเปนจุดเรม่ิ ตน ของยคุ เฮอัง

ระหวาง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซ่ึงเปนยุคเฮอังนั้น ถือไดวาเปนยุคทองของญ่ีปุน
เน่ืองจากเปนยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุนเองเริ่มพัฒนาขึ้น ส่ิงท่ีเห็นไดอยางชัดมากท่ีสุด คือการประดิษฐ
ตัวอักษร ฮิรางานะ ซง่ึ ทาํ ใหเกิดวรรณกรรมทีแ่ ตง โดยตวั อกั ษรน้เี ปน จาํ นวนมาก เชน ในชวงกลางพุทธศตวรรษที่
16 ไดมีการแตงนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิข้ึน ซึ่งเปนนิยายท่ีบรรยายเกี่ยวกับการใชชีวิต การปกครองของ
ตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใชเปนเนื้อเพลงของเพลงชาติญ่ีปุน คิมิงะโยะ ก็ถูกแตงขึ้นในชวงน้ี
เชน เดียวกัน

ยคุ ศกั ดนิ า ญ่ีปุนเร่มิ ตน จากการที่ผูปกครองทางการทหารเร่ิมมีอํานาจข้ึน พ.ศ.1728 หลังจาก
การพา ยแพของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ไดแ ตง ตั้งตนเองเปนโชกุน และสรา งรฐั บาลทหาร
ในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเปนจุดเร่ิมตนของยุคคะมะกุระ ซ่ึงมีการปกครองแบบศักดินา แตรัฐบาลคามากุระ
ก็ไมส ามารถปกครองทงั้ ประเทศได เพราะพวกราชวงศย ังคงมอี าํ นาจอยูในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิต
ของโชกนุ โยรโิ ตโมะ ตระกลู โฮโจ ไดก าวขึน้ มาเปนผูสาํ เรจ็ ราชการใหโ ชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถตอตาน
การรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยไดรับความชวยเหลือจากพายุกามิกาเซ
ซ่ึงทําใหก องทัพมองโกลประสบความเสยี หายมาก

อยางไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกรุ ะกอ็ อนแอลงจากสงครามครัง้ นี้ จนในที่สุดตอ งสูญเสียอาํ นาจใหแก
จักรพรรดิโกไดโกะ ผูซ่ึงพายแพตออะชิกะงะ ทากาอุจิ ในเวลาตอมาไมนานอาชิกางะ ทากาอุจิ ยายรัฐบาล
ไปตั้งไวท่ีมิโรมะจิ จังหวัดเกียวโต จึงไดชื่อวายุคมุโรมะจิ ในชวงกลางพุทธศตวรรษท่ี 20 อํานาจของโชกุน

58

เริ่มเสอื่ มลงและเกดิ สงครามกลางเมืองข้นึ เพราะบรรดาเจาครองแควนตางทําการสูรบเพ่ือแยงชิงความเปน
ใหญ ซงึ่ ทําใหญ่ปี นุ เขาสยู ุคสงครามท่เี รยี กวายคุ เซงโงกุ

ในระหวางพุทธศตวรรษที่ 21 มีพอคาและมชิ ชนั นารีจากโปรตุเกสเดนิ ทางมาถงึ ญ่ีปนุ เปน คร้งั แรก
และเร่ิมการคาขายและแลกเปลยี่ นวัฒนธรรมระหวางญีป่ ุน กับโลกตะวันตก

สงครามดํารงอยูหลายสิบปจนโอะดะ โนบุนากะเอาชนะเจาครองแควนอ่ืนหลายคน โดยใช
เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุนใหเปนปกแผนไดแลวเมื่อเขาถูกลอบสังหาร
ใน พ.ศ. 2125 โทพโยะโตะมิ ฮเิ ดะโยะชิ ผูส ืบทอดเจตนารมณต อ มาสามารถปราบปรามบานเมอื งใหสงบลงได
ใน พ.ศ. 2133 ฮิเดะโยะชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง แตก็ไมประสบความสําเร็จ จนเม่ือเขาเสียชีวิต
ลงใน พ.ศ. 2141 ญ่ีปนุ กถ็ อนทัพ

หลังจากฮิเดะโยะชิเสียชีวิต โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ แตงตั้งตนเองขึ้นเปนผูสําเร็จราชการใหแก
ลูกชายของฮิเดะโยะชิ โทพโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ เพื่อท่ีจะไดอํานาจทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุ
เอาชนะไดเมียวตาง ๆ ไดในสงครามเซะกิงะฮะระ ใน พ.ศ. 2143 จึงข้ึนเปนโชกุนใน พ.ศ. 2146 และกอต้ัง
รัฐบาลใหมที่เมืองเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเร่ิมตนข้ึน รัฐบาลใชวิธีหลายอยาง เชน บุเกโชฮัตโต เพ่ือควบคุม
ไดเมียวทง้ั หลาย ในปพ.ศ. 2182 รัฐบาลเร่ิมนโยบายปดประเทศและใชนโยบายน้ีอยางไมเขมงวดนัก ตอเนื่องถึง
ประมาณสองรอยหาสิบป ในระหวางน้ีญ่ีปุนศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผานการติดตอกับชาวดัตชท่ีสามารถ
เขามาท่ีเกาะเดจมิ ะ (ในจังหวัดนะงะซะกิ) เทานนั้ ความสงบสุขจากการปด ประเทศเปนเวลานานทาํ ใหช นทอี่ ยู
ใตอ ํานาจปกครองอยา งเชน ชาวเมืองไดม โี อกาสทจ่ี ะประดิษฐส่ิงใหมๆ ข้ึนมาในทางของตนเอง ในยุคเอะโดะน้ี
ยงั มีการเริ่มตน การใหศึกษาประชาชนเก่ยี วกบั ประเทศญป่ี นุ อกี ดวย

แตญี่ปุนก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกใหเปดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.
2394 นาวาเอก (พิเศษ) แมทธวิ เพอรรี่ และเรือดาํ นาํ้ ของกองทพั เรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญ่ีปุน เพ่ือบังคับ
ใหเ ปด ประเทศดวยสนธสิ ัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากน้ันญ่ีปุนก็ตองทําสนธิสัญญา
แบบเดียวกนั กับประเทศตะวันตกอ่ืน ๆ ซึ่งสนธิสัญญาเหลาน้ีทําใหญ่ีปุนประสบปญหาท้ังทางเศรษฐกิจและ
การเมือง เพราะการเปด ประเทศและใหส ทิ ธิพเิ ศษกับชาวตางชาติทาํ ใหชาวญีป่ ุนจาํ นวนมากไมพอใจตอ รัฐบาล
เอะโดะ และเกดิ กระแสเรยี กรอ งใหคนื อํานาจอธปิ ไตยแกอ งคจักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกวาการปฏิรูปเมจิ) จนใน
ทส่ี ุดรฐั บาลเอะโดะก็หมดอํานาจลง

ในยุคเมจิ รัฐบาลใหมภายใตการปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไดยายฐานอํานาจของ
องคจกั รพรรดมิ ายงั เอะโดะ และเปลี่ยนช่ือเมืองหลวงจากเอะโดะเปนโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการ
ปกครองตามแบบตะวนั ตก เชน บังคับใชรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และกอตั้งสภานิติบัญญัติแหงชาติโดยใช
ระบบสองสภา นอกจากน้ี จักรวรรดิญี่ปนุ ยงั สนับสนนุ การรบั เอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก และทําใหมี
ความกาวหนาทางอุตสาหกรรมเปนอยางมาก จักรวรรดิญี่ปุนเริ่มมีความขัดแยงทางทหารกับประเทศ
ขางเคียงเม่ือพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ไดชัยชนะในสงครามจีน - ญี่ปุน ครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437
- 2438) และสงครามรัสเซีย - ญี่ปุน (พ.ศ. 2447 - 2448) ญ่ีปนุ ก็ไดอ าํ นาจปกครองไตห วนั เกาหลี และตอน
ใตของเกาะซาคาลิน

59

ญ่ีปุน ยอมแพส งครามโลกครง้ั ที่ 2

สงครามโลกครั้งท่หี นึง่ ทําใหญ ป่ี ุนซึ่งอยูฝา ยไตรภาคี ผูชนะสามารถขยายอํานาจและอาณาเขต
ตอไปอีก ญ่ีปุนดาํ เนินนโยบายขยายดินแดนตอไป โดยการครอบครองแมนจูเรียใน พ.ศ. 2474 และเมื่อ
ถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ ญี่ปุนก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปตอมา ในป 1936
ญี่ปุนลงนามในสนธิสัญญาตอตานองคการคอมมิวนิสตสากลกับนาซีเยอรมนี และเขารวมกับฝายอักษะในป
1941

ในยคุ สงครามโลกครงั้ ที่สอง ญป่ี ุน ไดเ สริมสรางอํานาจทางการทหารใหเขมแข็งย่ิงข้ึน หลังจาก
ญป่ี นุ ถูกกีดกันทางการคาจากสหรฐั อเมรกิ า ตอมาจงึ ไดเ ปดฉากสงครามในแถบเอเชยี แปซฟิ ก (ซง่ึ รูจักกนั ทั่วไป
ในช่ือ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา
ท่ีอาวเพิรลและการยาตราทัพเขามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งสวนใหญเปนดินแดนอาณานิคมของ
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจกั รและเนเธอรแ ลนด ตลอดสงครามคร้งั น้ัน ญ่ปี นุ สามารถยดึ ครองประเทศตาง ๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตไดท้ังหมด แตหลังจากญี่ปุนพายแพใหแกสหรัฐอเมริกาในการรบทางนํ้า
ในมหาสมุทรแปซิฟกหลังจากยุทธนาวีแหงมิดเวย (พ.ศ. 2485) ญี่ปุนก็ตกเปนฝายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ
แตก ย็ งั ไมยอมแพแ กฝา ยสมั พันธมติ รโดยงาย เมื่อตองเผชิญหนากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้ง
ทเี่ มืองฮโิ รชมิ าและนางาซากิ (ในวนั ที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลําดบั ) และการรุกรานของสหภาพ
โซเวยี ต (วันที่ 8 สงิ หาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปนุ จึงประกาศยอมแพอยางไมม ีเงอ่ื นไขในวนั ที่ 15 สงิ หาคม ปเดียวกัน
สงครามทําใหญ ่ีปนุ ตอ งสูญเสียพลเมืองนับลานคนและทําใหอุตสาหกรรมและโครงสรางพ้ืนฐานของประเทศ
เสยี หายอยางหนกั ฝายสัมพันธมติ รซง่ึ นาํ โดยสหรัฐอเมริกาไดสงพลเอกดักลาส แมกอารเธอรเขามาควบคุม
ญี่ปุน ตัง้ แตหลงั สงครามจบ

ใน ป พ.ศ. 2490 ญี่ปุนเร่ิมใชรัฐธรรมนูญฉบับใหมซึ่งเนนเร่ืองประชาธิปไตยอิสระการควบคุม
ญ่ปี ุนของฝา ยสมั พันธมติ รส้ินสุดเม่ือมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกใน พ.ศ. 2499 และญ่ีปุนไดเปน

60

สมาชิกสหประชาชาติในป 1956 หลังจากสงครามญป่ี ุนสามารถพฒั นาทางเศรษฐกิจดว ยอตั ราการเจรญิ เติบโต
ท่ีสงู มากจนกลายเปนประเทศทมี่ เี ศรษฐกจิ ใหญเปนอนั ดบั สองของโลก

บรรยากาศในตอนกลางคืนและ อาคารโตเกยี วทาวเวอร ประเทศญปี่ นุ

ประเทศญ่ีปุนปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใตรัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จ
พระจักรพรรดทิ รงเปนประมขุ แตพ ระจกั รพรรดิไมม พี ระราชอาํ นาจในการบรหิ ารประเทศ โดยมีบัญญัติไวใน
รฐั ธรรมนญู แหงญ่ปี นุ วา สญั ลกั ษณแหง รฐั และความสามัคคีของชนในรัฐ อํานาจการปกครองสวนใหญต กอยกู ับ
นายกรัฐมนตรีและสมาชิกอ่ืน ๆ ในสภานิติบัญญัติแหงชาติ อํานาจอธิปไตยน้ันเปนของชาวญ่ีปุน
พระจกั รพรรดทิ รงทําหนาทเ่ี ปน ประมขุ แหงรัฐในพธิ ีการทางการทูต พระองคปจจุบันคือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
สว นรชั ทายาทคือมกุฎราชกมุ ารนะรฮุ ิโตะ

องคกรนิติบัญญัติของญ่ีปุน คือ สภานิติบัญญัติแหงชาติ หรือท่ีเรียก “ไดเอ็ต” เปนระบบสองสภา
ประกอบดวย สภาผูแทนราษฎร (อังกฤษ : House of Representatives) เปนสภาลาง มีสมาชิกสี่รอยแปดสิบ
คนซงึ่ มวี าระดาํ รงตําแหนง สป่ี  และ มนตรีสภา (องั กฤษ : House of Councillors) เปน สภาสูง มีสมาชิกสอง
รอยสี่สบิ สองคนซ่งึ มีวาระดาํ รงตาํ แหนงหกป โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจํานวนคร่ึงหน่ึงสลับกันไป
ทกุ สามป สมาชกิ ของสภาท้งั สองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ สวนผูมีสิทธิเลือกต้ังน้ันมีอายุยี่สิบปบริบูรณ
เปน ตนไป พรรคเสรีประชาธิปไตยเปน พรรครฐั บาลมาโดยตลอดต้งั แตกอต้ังพรรคใน พ.ศ. 2498 ยกเวน ชวงส้ัน ๆ
ใน พ.ศ. 2536 ทเี่ กิดรฐั บาลผสมของพรรคฝายคา น ทั้งนแี้ กนนาํ ฝา ยคา นคือพรรคประชาธิปไตยญ่ีปนุ

61

สําหรับอํานาจบริหารนั้น พระจักรพรรดิทรงแตงต้ังนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผูแทนราษฎร
ที่ไดรับเลือก โดยสมาชิกดวยกันเองใหเปนหัวหนารัฐบาล นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแตงต้ังรัฐมนตรีและให
รัฐมนตรีพน จากตาํ แหนง

นโยบายตางประเทศและการทหาร
ญี่ปุนรักษาความสัมพันธทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเปนพันธมิตรหลัก โดยมี
ความรว มมอื ทางความมัน่ คงระหวา งสหรัฐอเมรกิ าและญี่ปุนเปนเสาหลักของนโยบายตางประเทศ ญ่ีปุนเปน
สมาชิกของสหประชาชาตติ งั้ แตป 1956 ไดเปน สมาชิกไมถาวรของคณะมนตรีความม่ันคงแหงสหประชาชาติ
รวม 9 คร้ัง (ลา สุดเม่อื ป 2005 - 2006) และยงั เปนหนึ่งในกลมุ G4 ซ่ึงมุงหวงั จะเขา เปนสมาชกิ ถาวร ในคณะ-
มนตรีความมัน่ คง ญีป่ นุ ซ่งึ เปนสมาชกิ ของ G8 และเอเปค มคี วามต่นื ตวั ที่จะมสี ว นรวมในการแกไขปญหาของ
ตางประเทศและกระชับความสัมพันธทางการทูต กับประเทศคูคาที่สําคัญทั่วโลก นอกจากน้ียังเปนผูที่ให
ความชว ยเหลอื เพอ่ื การพฒั นาอยางเปนทางการ (ODA) รายใหญของโลก โดยบริจาค 7.69 พันลานดอลลาร
สหรฐั ในป 2007 จากการสํารวจของบีบซี ีพบวานอกจากประเทศจีนและเกาหลีใตแลว ประเทศสวนใหญมอง
อิทธพิ ลของญีป่ ุน ทมี่ ีตอโลกเชงิ บวก
ญีป่ นุ มปี ญ หาขอ พิพาทเร่ืองสทิ ธิในดนิ แดนตา ง ๆ กบั ประเทศเพอ่ื นบา น เชนกบั รัสเซีย เรือ่ งเกาะครู ลิ
กับเกาหลีใตเร่ืองหินลีอังคอรท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุน) กับจีนและไตหวันเรื่องเกาะเซงกากุกับจีน
เรือ่ งเขตเศรษฐกจิ จําเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะ โทะริชิมะ เปนตน นอกจากนี้ ญ่ีปุนยังคงมีปญหากับเกาหลีเหนือ
กรณีการลักพาตัวชาวญ่ีปุนและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียรและเน่ืองจากขอพิพาทเรื่องเกาะคูริล
ในทางกฎหมายแลว ญี่ปุนยังคงทาํ สงครามอยูกับรัสเซีย เพราะไมเคยมีการลงนามในขอตกลงใด ๆ เกี่ยวกับ
ปญหาน้ี

62

เรอื่ งท่ี 2 เหตกุ ารณส ําคญั ทางประวัตศิ าสตรท เี่ กดิ ขน้ึ ในประเทศไทยและประเทศในทวปี เอเชีย

2.1 ยุคลา อาณานคิ ม
ยุคลาอาณานิคมเกิดข้ึนเนื่องจากประเทศทางโลกตะวันตก ไดแก อังกฤษ ฝร่ังเศส โปรตุเกส

ฮอลนั ดา ฯลฯ พยายามขยายอาณานิคมของตนเองไปยังประเทศตา ง ๆ ท่วั โลก โดยเฉพาะประเทศในแถบทวีป
เอเชยี เปน ประเทศเปาหมายสําคัญที่ประเทศมหาอํานาจเหลาน้ีเดินทางมาเพื่อลาเปนเมืองข้ึน ท้ังประเทศ
อนิ เดยี พมา อินโดนีเซีย ฟล ิปปนส ลาว เวยี ดนาม เปน ตน ในบทนจ้ี ะกลาวถงึ ประเทศที่ถูกยึดเปนอาณานิคม
พอเปนสงั เขปดังนี้

ประเทศพมาต้ังอยูในเขตพื้นท่ีเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีระบบการปกครองท่ีมอบอํานาจใหแ ก
กษัตริยและขุนนางซึ่งเปนเพียงกลุมคนจํานวนนอยในสังคม สวนไพรและทาสซึ่งเปนคนสวนใหญและมี
หลากหลายชาตพิ ันธจุ ะมหี นาทใ่ี นการสงสว ยหรือใชแรงงานแกรฐั ตามกลไกระบบศกั ดนิ า

หลังสงครามอังกฤษกับพมาครั้งที่ 3 สิ้นสุด พระเจาธีบอและมเหสีก็ถูกเนรเทศ อังกฤษก็ได
ผนวกพมา เขา กับอนิ เดยี ทาํ ใหระบบการปกครองของพมาลม เหลว ขนุ นางขาดแหลง อา งอิง ในการใชอาํ นาจ
ทีช่ อบธรรม พระราชวงั มณั ฑะเลยกลายเปนศนู ยก ลางรวมกองบญั ชาการทหาร นอกจากนั้นอังกฤษยังทําการ
เลิกระบบไพรและทาสดวย

ขนุ นางของพมา จาํ นวนมากยอมใหค วามรว มมอื กับองั กฤษและตอ มาไมนานกถ็ กู ระบบของอังกฤษ
ดดู กลืน หลังจากนนั้ องั กฤษก็ไดขนึ้ มาเปนชนชัน้ ปกครองของพมา พมา ไดถ กู สรางภาพลกั ษณใหมใ หซ ึมซาบถึง
ทกุ ชนชัน้ ซงึ่ นักศกึ ษาสวนใหญเ ชอ่ื วา พมา สมยั ใหมเปนผลผลติ ของอังกฤษ

ICS เปนกลุมนักบริหารอาณานิคม ท่ีเกิดจากการคัดเลือกซึ่งจะทํางานอยูในอินเดียและพมา
เจาหนา ที่ 1 คน ตอ งรับผิดชอบคนราว 300,000 คน ทําใหคอนขางทํางานหนัก การทํางานของ ICS จําเปน
จะตองปฏิสัมพนั ธกบั คนพื้นเมอื ง เชน ในพมา แตดว ยความทมี่ ีอคติมองวา ชาวพมาเปนชนช้นั ทตี่ า่ํ ตอ ยจึงทาํ ให
ICS สวนใหญไ มสนใจท่ีจะเรยี นรเู กยี่ วกับพ้นื เมืองพมามากนัก ทําให ICS และคนพน้ื เมอื งพมา คอ นขางทจ่ี ะเกิด
ความรูสกึ แปลกแยกทัง้ จากเชอ้ื ชาติเดยี วกันและตา งเชื้อชาติ

การปกครองของอังกฤษในดานการเกบ็ ภาษี โดยเฉพาะสว ยท่รี ฐั บาลเรยี กเก็บรายบคุ คลทําใหภ าวะ
ราคาขา วตกต่าํ จนชาวพมาเกิดความกดดนั และนําไปสกู ารตอตานเกิดกบฏหยาซาน แตการเกดิ ความขดั แยง น้ัน
อังกฤษมองวาเปนการกระทาํ ที่เกิดจากไสยศาสตร ความคดิ แบบจารตี ไมไ ดกลาววา เปนการเกดิ จากปญ หาสังคม
- เศรษฐกิจ

ครั้นถึงชวงปลายพุทธศตวรรษท่ี 24 ตอชวงตนพุทธศตวรรษท่ี 25 ประเทศฝร่ังเศสเร่ิมให
ความสนใจท่ีจะขยายอํานาจเขามาสูดินแดนในแถบลุมแมน้ําโขง เพ่ือหาทางเขาถึงดินแดนตอนใตของจีน
เพือ่ เปด ตลาดการคาแหงใหมแขงกบั องั กฤษ ซ่งึ สามารถยึดพมา ไดก อ นหนานั้นแลว โดยฝร่งั เศสเริ่มจากการ
ยึดครองแควน โคชินจนี หรอื เวยี ดนามใตกอ นในป พ.ศ. 2402 รกุ คบื เขา มาสดู นิ แดนเขมรสว นนอก

ซง่ึ ไทยปกครองในฐานะประเทศราชในป พ.ศ. 2406 (ไทยตกลงยอมสละอํานาจเหนือเขมรสว นนอก
อยางเปนทางการในป พ.ศ. 2410) จากน้ันจึงไดขยายดินแดนในเวียดนามตอจนกระท่ังสามารถยึดเวียดนาม

63

ไดท้งั ประเทศในป พ.ศ. 2426 พรมแดนของสยามทางดานประเทศราชลาวจงึ ประชดิ กับดินแดนอาณานิคมของ
ฝร่ังเศสอยางหลกี เลี่ยงไมไ ด

ในระยะเวลาเดียวกนั ในประเทศจนี ไดเกดิ เหตุการณกบฏไทผิงตอตานราชวงศชิงกองกําลังกบฏ
ชาวจนี ฮอท่ีแตกพายไดถอยรน มาตงั้ กําลงั ซอ งสมุ ผคู นอยูในแถบมนฑลยูนนานของจีน ดินแดนสบิ สองจไุ ทยและ
ตามแนวชายแดนประเทศราชลาวตอนเหนอื กองกาํ ลังจีนฮอไดท าํ การปลนสะดมราษฎรตามแนวพ้นื ทีด่ ังกลา ว
อยางตอ เนือ่ ง สรา งปญ หาตอ การปกครองของท้ังฝายไทยและฝร่ังเศสอยางย่ิง เพราะสงกําลังไปปราบปราม
หลายครั้งกย็ ังไมส งบ เฉพาะกับอาณาจกั รหลวงพระบางน้นั ทางกรุงเทพถึงกับตองปลดพระเจามหนิ ทรเทพนิภาธร
เจาผูครองนครหลวงพระบางออกจากตําแหนง เน่ืองจากไมสามารถรักษาเมืองและปลอยใหกองทัพฮอ
เขาปลนสะดมและเผาเมอื งหลวงพระบางลงและตั้งเจา คาํ สกุ ขึน้ เปน พระเจาสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน

ไทย (หรือสยามในเวลาน้นั ) จึงรวมกับฝรั่งเศสปราบฮอจนสาํ เรจ็ โดยทง้ั สองฝา ยไลตีกองกาํ ลงั จีนฮอ
จากอาณาเขตของแตละฝายใหมาบรรจบกันท่ีเมืองแถง (เดียนเบียนฟูในปจจุบัน) แตก็เกิดปญหาใหม คือ
ฝายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอา งสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจไุ ทย โดยไมยอมถอนกําลังทหารออกจากเมือง
แถงเพราะอา งวา เมืองนเี้ คยสง สวยใหเ วียดนามมากอ น ปญ หาดังกลา วนีม้ ที มี่ าจากภาวะการเปนเมอื งสองฝา ยฟา
ของเมืองปลายแดน ซึ่งจะสง สวยใหแกรฐั ใหญท ุกรฐั ท่ีมอี ิทธพิ ลของตนเองเพ่ือความอยรู อด

พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แมทัพฝายไทย เห็นวาถาตกลงกับฝร่ังเศสไมไดจะทําให
ปญหาโจรฮอบานปลายแกยาก จงึ ตัดสินใจทําสัญญากับฝรั่งเศสในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ใหฝายไทย
ต้งั กาํ ลังทหารทีเ่ มอื งพวน (เชยี งขวาง) ฝร่งั เศสต้ังกําลังทหารที่สิบสองจุไทย สวนเมืองแถงเปนเขตกลางใหมี
ทหารของทั้งสองฝายดแู ลจนกวา รฐั บาลทั้งสองชาตจิ ะเจรจาเรื่องปก ปนเขตแดนไดผลจากสนธิสัญญาน้ีแมจะ
ทําใหฝ ายไทยรวมมือปราบฮอกับฝรัง่ เศสจนสาํ เรจ็ และสามารถยุตคิ วามขัดแยง เรอ่ื งแควน สบิ สองจุไทย
เมืองพวน และหวั พนั ทงั้ หา ท้ังหกยตุ ลิ งไปชวั่ คราว แตกต็ อ งเสยี ดินแดนสิบสองจไุ ทยโดยปริยายไป

การลา อาณานคิ มขององั กฤษ
ในยุคลาอาณานิคมน้ัน กลุมประเทศมหาอํานาจตะวันตกหลายประเทศตางแสวงหาอาณานิคม

ของตนเอง เชน ประเทศองั กฤษ โปรตเุ กส ฝร่ังเศส ไดแผอทิ ธพิ ลเขา มาในทวีปเอเชียหลายประเทศและประเทศ
หน่งึ ทต่ี กเปน เมืองขนึ้ ขององั กฤษคืออนิ เดียน่นั เอง

บริษัทอิสตอินเดยี ขององั กฤษเขามาทําการคาในประเทศอนิ เดีย เปนประวัติศาสตรที่ศูนยอํานาจ
ชาวอังกฤษที่เขามาสูอินเดียน้ันมาในนามของพอคา ความจริงแลวมีหลายชาติที่เขามาทําการคากับอินเดีย
ทีส่ าํ คญั เชน ชาวโปรตุเกส ชาวฮอลนั ดา ชาวฝร่งั เศส เปน ตน

โปรตุเกส นับเปนยุโรปชาติแรก ๆ ที่เขามาทําการคาบนแผนดินอินเดีย นับตั้งแตวัสโกดากามา
เดินทางมาถึงเมืองกาลกิ ตั ทางตะวันตกของอนิ เดยี ตั้งแตปลายคริสตศตวรรษท่ี 15 และสามารถสรางเมืองทา
ของตัวเองขึ้นเปนผลสําเร็จที่เมืองกัว (Goa) หลังจากชาวโปรตุเกสแลว ก็มีชาวฮอลันดาและชาวฝรั่งเศส
สว นองั กฤษนน้ั เขา มาในภายหลงั เม่อื ชาวโปรตุเกส ฮอลันดา และฝรัง่ เศสไดม กี ิจการท่อี ินเดียอยูก อ นแลว และ
นําศาสนาครสิ ตมาเผยแผใ นอนิ เดยี ดว ย

64

บริษัทอิสตอินเดียของอังกฤษ ทําใหเกิดเปนปฏิปกษกับชาวอินเดีย ท้ังท่ีเปนมุสลิมและฮินดู
เพราะบทเรยี นเชนนี้ พอ คา ชาวองั กฤษจงึ ไมป รารถนาจะใหเรื่องศาสนามาเปน อปุ สรรคในการทําธุรกิจการคา
ที่สําคัญคือ ชาวอังกฤษเองกลับเปนผูสนับสนุนชาวอินเดียไมวาจะเปนมุสลิมหรือฮินดูในการตอสูกับพอคา
ตางศาสนา

แมจะเขามาสูอินเดียหลังชาติอ่ืน แตอังกฤษกลับประสบความสําเร็จอยางรวดเร็วและมากกวา
ชาติอ่ืน ภายในเวลาไมนาน บรษิ ัทอิสตอินเดียของอังกฤษ ก็สามารถจัดตั้งศูนยการคาของตัวเองไดตามเมืองทา
สําคญั นับตงั้ แตแถบตะวนั ตกทเ่ี มอื งสรุ ัต บอมเบย มาจนถงึ แถบตะวนั ออก คอื มัทราส และกลั กัตตา ทัง้ น้กี ด็ ว ย
ความชวยเหลอื จากเจาผูครองนครตา งๆ

เม่อื มาถึงชวงกลางคริสตศตวรรษท่ี 18 เปนชวงท่ีอํานาจปกครองรวมศูนยโดยกษัตริยมุสลิมเร่ิม
เสอ่ื มลง เปนโอกาสใหพอ คาชาวอังกฤษมีโอกาสเขาไปแทรกแซงดวยการชวยเหลือฝายใดฝายหนึ่งท่ีมีความ
ขัดแยง กนั จนในที่สดุ บริษทั อิสตอ นิ เดยี ก็มีอิทธพิ ลเหนอื เจาผปู กครองเหลาน้ัน และนําไปสูการมีอํานาจเหนือ
แผนดินอนิ เดยี ในเวลาตอ มา

ลวงมาถงึ ศตวรรษท่ี 19 ประเทศอินเดียทั้งหมดกต็ กอยภู ายใตอิทธิพลขององั กฤษ นนั่ คือ บางสวน
เปนเขตปกครองของอังกฤษโดยตรง เรียกวา บริทชิ ราช (British Raj) เขตปกครองโดยตรงน้มี ปี ระมาณ 3 ใน 5
ของอนิ เดียทงั้ หมด สว นทเ่ี หลือเปนการปกครองโดยมหาราชาผคู รองนคร ท่แี ตกแยกเปนแควนเล็กแควนนอย
ทีแ่ มจะปกครองตนเองไดแตกต็ กอยภู ายใตอ ํานาจของอังกฤษ กลา วคอื ไมสามารถปฏิเสธอาํ นาจของอังกฤษได

ชวงประมาณ 100 ป ต้งั แตตนศตวรรษที่ 19 ถึงตน ศตวรรษที่ 20 เปน รอ ยปแ หงความเปนไปของ
อินเดยี ทถี่ กู กําหนดทิศทางโดยผปู กครองชาวองั กฤษ อนิ เดียทแี่ ตกเปนแควน เลก็ แควน นอ ยมานานหลายรอ ยป
ถกู เชื่อมโยงใหต ิดกนั เปน หนึง่ เดียว ดว ยระบบทางรถไฟและการสอ่ื สารไปรษณียท ่ีองั กฤษจดั สรางขึ้นบนแผนดนิ
อินเดยี

นับตั้งแตชวงตนศตวรรษที่ 20 มา จนถึงชวงไดรับอิสรภาพในชวงกลางศตวรรษ กระบวนการ
เรียกรอ งเอกราชจากการปกครองของอังกฤษก็ทวีรุนแรงข้นึ เรือ่ ยๆ จนในที่สดุ อนิ เดียสามารถประกาศเอกราช
ไดส าํ เรจ็ ผนู ํา คอื มหาตมะคานธีททีต่ อ ตานองั กฤษดว ยวธิ ีการ “อหงิ สา” ซึง่ เปนวธิ ีการสงบสันติ พรอ ม ๆ กับ
การแตกอนิ เดยี ออกเปนฮนิ ดสู ถาน (เขตประเทศชาวฮินดู) และปากสี ถาน (เขตประเทศชาวมสุ ลมิ )

การทําสนธสิ ัญญาเบาวริง่ พ.ศ. 2398 (Bowring Treaty, 1855) ในสมยั รัชกาลท่ี 4

ในชว ง พ.ศ. 2398 เปนชว งทีภ่ ูมิภาคเอเชียตอ งเผชญิ กับการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยชาติ
มหาอํานาจตะวันตกไดใชนโยบายเรือปน คือ การใชกองกําลังทหารเรือเขายึดครองประเทศหรือดินแดน
ที่ออนแอกวา นโยบายเรือปนเปนที่นิยมใชของมหาอํานาจทางตะวันตก โดยเฉพาะประเทศฝร่ังเศสและ
ประเทศอังกฤษ ซึง่ ขณะนน้ั ไดข ยายอาํ นาจมาทางเอเชียใตและเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยไดใชอํานาจทาง
ทะเล คอื เรอื รบทม่ี ีปน ใหญทท่ี นั สมยั พรอมกําลงั ทหารประจาํ เรอื เขายดึ ครอง โดยองั กฤษยดึ ครองอนิ เดีย พมา
มลายู สว นฝร่ังเศสเขา ยึดครองเวียดนาม ลาว และกัมพูชา และตอ มาฝรั่งเศสไดพยายามใชนโยบายเรือปนเขา
ยึดครองประเทศไทย ทําใหไทยตองเสยี ดนิ แดนบางสว นไปใน รศ. 112 (พ.ศ. 2423) โดยฝรั่งเศสไดสงเรือปน

65

ชอื่ ลูตเิ ขา มาในแมน าํ้ เจาพระยา ถงึ หนาสถานทูตฝร่ังเศสในกรุงเทพมหานคร เพ่ือขมขูใ หไ ทยยกดินแดนฝง ขวา
ของแมนํ้าโขงและดินแดนไทยในกัมพูชาบางสวนใหกับฝร่ังเศส และเพ่ือเขามาบีบบังคับใหประเทศตาง ๆ
ทําตามขอ เรียกรอ งของตน ประเทศไทยไดตระหนักถึงภัยคุกคามดังกลาว ซ่ึงไดเห็นบทเรียนจากการพายแพ
ของจักรวรรดจิ นี อันยงิ่ ใหญต อประเทศองั กฤษในสงครามฝน ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2385) การคุกคามของอังกฤษที่มี
ตอ ประเทศเพอื่ นบานอยางพมา และการยดึ ครองเวียดนามของฝร่ังเศษ ดวยเหตุผลดังกลาวเปนเหตุใหไทย
ตองดําเนินนโยบายแบบผอนปรนหรือลูตามลม (Bending with the wind) เพื่อความอยูรอดของชาติและ
ยนิ ยอมท่ที ําสนธสิ ัญญาทไ่ี มเสมอภาค

เม่อื อังกฤษสงเซอรจอหน เบาวร่ิง (Sir.John Bowring) มาเจรจาทําสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี
และการคา ในป พ.ศ. 2398 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ไทยไดยินยอม
ทาํ สนธิสญั ญาทเ่ี รยี กวา "สนธสิ ญั ญาเบาวริง่ " เม่ือวันท่ี 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ซึ่งเปาหมายของสนธิสัญญา
ฉบับนค้ี ือชาตมิ หาอาํ นาจตะวันตกตองการใหไทยเปนตลาดระบายสินคาและการลงทุน ซึ่งสงผลใหไทยตอง
สญู เสยี รายไดจ ากการคา ตางประเทศและอาํ นาจทางการศาลหรอื สทิ ธสิ ภาพนอกอาณาเขต (Extra territoriality)

สรปุ สาระสําคญั ของสนธสิ ญั ญาเบาวร ่ิง ไดด ังนี้

1. ใหค นในบงั คบั องั กฤษอยูภ ายใตก ารควบคุมของกงสุลอังกฤษ ทําใหคนในบังคับอังกฤษไมตองขึ้น
ศาลไทย

2. ยกเลิกพระคลังสินคา ใหคนในบังคับของอังกฤษไดรับสิทธิในการคาเสรีในทุกเมืองทา สามารถ
ซ้อื ขายสินคาไดโดยตรงกับธุรกิจเอกชนของไทย

3. กําหนดอัตราภาษีศุลกากรขาเขาของสินคาทุกชนิดในอัตรารอยละ 3 นอกจากภาษีศุลกากร
หามเก็บคาธรรมเนียมและอากรอน่ื ๆ จากพอ คา ของประเทศคสู ัญญา นอกจากไดรบั ความเหน็ ชอบจากสถาน
กงสุล

4. อังกฤษเปนประเทศที่ไดรับการอนุเคราะหจากไทย หมายความวา ถาฝายไทยยอมใหส่ิงใด ๆ
แกช าติอื่น ๆ นอกเหนอื ไปจากสญั ญานี้ ไทยกต็ อ งยอมมอบใหอ งั กฤษเชน กนั

5. ขา วเปนสินคาหลกั รัฐบาลไทยสงวนสทิ ธกิ ารสง ออกขา ว ปลา และเกลือ ในยามที่ไทยขาดแคลน
6. หามมกี ารเปลย่ี นแปลงสัญญานจี้ นกวาจะใชไปครบ 10 ป และถาตองการแกไขเปล่ียนแปลงตอง
แจงใหคสู ัญญาทราบลวงหนา 1 ป โดยทง้ั สองฝา ยตองยนิ ยอม
ในการน้ีพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา เจาอยูห วั มีพระกรุณาโปรดเกลาฯ แตงต้ังเซอรจอหน เบาวริ่ง
เปน “พระยาสยามมานุกูลกจิ สยามมิตรมหายศ” เปน การแสดงถงึ พระราชไมตรอี ันดีทไี่ ทยมีตอ รัฐบาลอังกฤษ
อีกดว ย
สนธิสัญญาเบาวร่ิงไดกลายเปนตนแบบของสนธิสัญญาที่นานาชาติเขามาเจริญพระราชไมตรีและ
การคา กับไทยในชว งเวลาตอ มาทไี่ ทยตอ งลงนามในสนธสิ ัญญาที่ไมเ ปน ธรรมกับประเทศอืน่ ๆ เชนเดยี วกับในป
พ.ศ. 2303 ท่ีไทยไดทําสนธิสัญญากับฮอลันดาและปรัสเซีย (เยอรมนี)

66

ผลกระทบของสนธิสญั ญาเบาวรงิ่

1. การสญู เสยี สทิ ธสิ ภาพนอกอาณาเขต
สงผลใหร ัฐบาลไทยพยายามปรับปรุงแกไขระบบกฎหมายและการศาลไทยที่ตะวันตกไมยอมรับ

เพราะขาดความเปนสากล อีกทั้งระเบียบการพิจารณาคดีและวิธีการลงโทษแบบรุนแรงตามจารีตเปนอุปสรรค
ตอการพฒั นาบานเมอื งอยา งย่งิ

2. การเปลย่ี นแปลงในระบบเศรษฐกิจของไทย
การทําสนธสิ ัญญาเบาวร ่งิ ทําใหร ะบบการคาแบบผูกขาดสิ้นสดุ ลง นําไปสูการท่ีไทยตองเปดประเทศ

สูการคาเสรที าํ ใหเ กดิ การเปลยี่ นแปลงในระบบเศรษฐกิจ ดงั นี้
2.1 การเปล่ียนแปลงโครงสรางสินคาเขา และสินคาออกของไทย กลาวคือ กอนทําสนธิสัญญา

เบาวร ิง่ ไทยสงสนิ คาออกหลายชนิด แตเมื่อมีการทําสนธิสัญญาเบาวร่ิงแลวไทยมีสินคาสงออกที่สําคัญเพียง
ไมกี่ชนิด โดยสินคาออกที่สําคัญของไทยหลังสนธิสัญญาเบาวร่ิง ไดแก ขาว ยางพารา และดีบุก สวนสินคา
นําเขาจากเดิมมีอยูไมก่ีชนิด สวนใหญเปนประเภทสินคาฟุมเฟอยท่ีตอบสนองความตองการของชนชั้นสูง
ก็เปลี่ยนเปนสินคาหลากหลายชนดิ เพ่อื ใหคนท่ัวไปใชอ ุปโภคบริโภค

2.2 การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตสินคาทําใหประเทศไทยตองเปล่ียนจากการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ
มาทําหนาท่ีผลิตสินคาเฉพาะ ท่ีถูกกําหนดตามความตองการของตลาดโลก ซ่ึงขาวกลายเปนสินคาสําคัญ
จงึ เกดิ การขยายพนื้ ทเ่ี พาะปลูก และใชแรงงานคนมากข้ึน ดังนั้น รัฐจึงสนับสนุนใหประชาชนเพาะปลูกขาว
มากขน้ึ โดยวธิ กี ารตาง ๆ เชน การขดุ คลอง ลดภาษคี า นา ลดการเกณฑแรงงาน มีการใชแรงงานจีนชวยเสริม
กาํ ลงั การผลิต และเกดิ การจางแรงงานเพ่ือชวยในการทํานา

2.3 การคาระหวา งประเทศขยายตัวมากย่ิงขึ้น เศรษฐกจิ ของไทยพ่งึ พงิ ตา งประเทศมากย่ิงข้ึน และ
เกดิ ระบบเงนิ ตรา เนื่องจากการคาทข่ี ยายตวั เงนิ พดดว งไมเพียงพอ จึงมกี ารผลิตเหรยี ญกษาปณในสมยั รัชการ
ที่ 4 และการผลติ ธนบัตร ในสมยั รชั การที่ 5 ตอ มา

2.4 การลงทุนและพัฒนาการดานอุตสาหกรรม ดว ยการใชเทคโนโลยีจากตะวันตกโดยมีนายทุน
จากยโุ รปและจีนไดล งทุนอุตสาหกรรม เชน ไมสัก มีการลงทุนทําไมสักทางภาคเหนือ การทําเหมืองแรดีบุก
ในภาคใต การทําโรงสไี ฟ อตู อเรอื สมัยใหม

3. การเปล่ียนแปลงทางดานสงั คม
เนื่องจากระบบการคา เสรีสง ผลกระทบตอ วถิ ีชีวติ ของผูคนในสังคม ระบบไพร - ทาส ไมไดเอื้อตอ

ระบบเศรษฐกจิ สมยั ใหมนาํ ไปสกู ระบวนการยกเลิกทาสและไพรในการตอมาจึงทําใหระบบความสัมพันธของ

ผคู นในสังคมเปลยี่ นแปลงไป เมอ่ื ขาวกลายเปนสินคาหลัก ชาวนาจงึ ผลิตมุงท่ีจะผลิตขาว โดยละทิ้งกิจกรรม

อ่นื ๆ เชน หัตถกรรมพื้นบาน การทอผา เพราะสามารถนําเงินท่ไี ดจ ากการขายขาวไปซื้อสินคาอน่ื ๆ ไดต ามความ

พอใจ ซ่งึ มสี ว นทําใหคานิยมในสงั คมไทยใหความสาํ คญั กับเงนิ ทองทรพั ยสนิ ยิ่งข้นึ แรงงานและที่ดินกลายเปน

ส่ิงที่มมี ูลคา

67

การปฏิรปู ประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา จาอยหู ัว (รชั กาลท่ี 5)

ในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ประเทศไทยไดมีการเปลี่ยนแปลงประเทศใหมี
ความเจริญกาวหนาตามแบบตะวันตก โดยการปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผนดินคร้ังใหญ ซ่ึงเปน
รากฐานทส่ี ําคัญและสงผลมาถึงปจจุบัน การปฏิรูปประเทศมี 3 ดาน ไดแก 1) การปฏิรูปดานการเมืองการ
ปกครอง 2) การปฏริ ปู ดา นเศรษฐกจิ และ 3) การปฏริ ปู ดานสงั คม

สาเหตขุ องการปฏริ ปู ประเทศ

การปกครองตง้ั แตส มัยรัชกาลที่ 5 ในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจา อยูหัว ไดทรงปฏิรูป
การปกครองแผนดินอยางขนานใหญ ควบคูไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ท้ังนี้ก็เพ่ือใหเหมาะสมกับ
สภาพแวดลอมตาง ๆ ทเ่ี ปล่ียนแปลงไป การปฏริ ูปเศรษฐกิจ ไดแ ก การปรบั ปรงุ ระบบบรหิ ารงานคลงั และภาษี
อากร สวนการปฏริ ปู สังคมไดแ ก การเลกิ ทาส การปฏริ ูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการ
คมนาคม เปน ตน สําหรับมลู เหตสุ าํ คญั ทีผ่ ลักดันใหมกี ารปฏิรูปการปกครองมี ดงั นี้

ดานการเมอื งการปกครอง
1. มลู เหตุภายใน ทรงพจิ ารณาเห็นวา การปกครองแบบเดิมไมเ หมาะสมกบั สภาพทางการปกครอง
และทางสงั คมท่เี ปลีย่ นแปลงไป เชน ประเทศไทยมปี ระชากรเพม่ิ ขึน้ การคมนาคมและการติดตอสอ่ื สาร เริม่ มี
ความทันสมัยมากข้ึน การปกครองแบบเดิมจะมีผลทําใหประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง
ขาดประสิทธิภาพในการบรหิ ารราชการแผนดินและพัฒนาไดย าก
2. มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นวา หากไมทรงปฏิรูปการปกครองแผนดินยอมจะเปน
อนั ตรายตอ เอกราชของชาติ เพราะขณะน้นั จกั รวรรดินยิ มตะวันตก ไดเขามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเชีย
ตะวนั ออกเฉียงใต นอกจากนน้ั แตเดิมเราตอ งยนิ ยอมใหประเทศตะวันตกหลายประเทศมสี ิทธิภาพนอกอาณา
เขต คือ สามารถตั้งศาลกงสุลข้ึนมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได โดยไมตองอยูใตการบังคับของ
ศาลไทย เพราะอา งวา ศาลไทยลา สมยั

ดา นเศรษฐกจิ
สมัยรัชกาลท่ี 5 พระองคทรงเห็นวาถึงแมรายไดของแผนดินจะเพ่ิมพูนมากขึ้นอันเปนผลมาจาก
ระบบเศรษฐกจิ เปลยี่ นไป แตก ารทรี่ ะบบการคลงั ของแผน ดนิ ยังไมร ดั กมุ พอ ทาํ ใหเ กิดการรัว่ ไหลไดง า ย จึงทรง
จัดการปฏิรปู การคลงั โดยจดั ตั้งหอรัษฎากรพพิ ฒั นข ้นึ เพื่อปรบั ปรงุ และจดั ระบบภาษใี หท นั สมัย ใน พ.ศ.2416
มีการประกาศใชพ ระราชบัญญัตงิ บประมาณ พ.ศ. 2434 เรมิ่ โครงการปฏิรูปเงินตราใหม พ.ศ.2442 จัดการ
สง เสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการสง ออกใหม ากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมใหทันสมัยโดยการสรางทาง
รถไฟ ตัดถนนสายตาง ๆ ขุดคลอง เพื่อใหเกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนสงสินคาและผลผลิต
การเกษตร ซึ่งผลจากการปฏริ ูปเศรษฐกจิ ในสมัยรชั กาลที่ 5 ทาํ ใหร ายไดของประเทศเพ่ิมมากข้นึ

68

ดานสงั คม
สมัยรัชกาลท่ี 5 ประเทศไทยมีการเปล่ียนแปลงทางสังคม โดยมีสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
โครงสรางทางสังคม ดังน้ี
1. สาเหตภุ ายนอก

- การคุกคามของมหาอํานาจตะวันตกรัชกาลท่ี 5 จึงทรงผอนปรนตอการบีบบังคับของ
ประเทศตะวนั ตกและเรงปรบั ปรุงภายในประเทศใหเ จรญิ กา วหนาขึ้น

- การรับอิทธิพลแนวความคิดแบบตะวันตก โดยการเรียนรูและศึกษาศิลปะวิทยาการ
ตลอดจนแนวความคิดแบบตะวันตกมากขน้ึ

- การเสด็จประพาสประเทศใกลเคียง ทําใหเห็นความเจริญของประเทศเหลานี้ จึงไดทรง
ปรับปรงุ และเปลีย่ นแปลงสังคมไทยใหเจรญิ ทดั เทียมประเทศเพ่อื นบาน

2. สาเหตภุ ายใน
- การมีระบบไพรแ ละทาสทําใหเกดิ ความเหลือ่ มล้าํ และความไมเ ปน ธรรมในสงั คม
- รัชกาลท่ี 5 ทรงเห็นวาการเกณฑแรงงานของไพรเปนอุปสรรคตอการขยายตัวของระบบ

เศรษฐกจิ สมัยใหม
- การมไี พรอ ยูในความดแู ลเปน จํานวนมาก อาจทําใหขุนนางผูใหญใชเปนฐานกําลัง เพื่อแยง

ชงิ อํานาจทางการเมอื ง และลม ลา งพระราชอํานาจของพระมหากษัตรยิ ได
- การมรี ะบบทาสทาํ ใหช าติตะวนั ตกดถู กู วาเมอื งไทยเปนเมืองเถ่ือนและอาจใชเปนขอ อางเขา

ยดึ ครองประเทศได

การปฏิรปู ดา นการเมืองการปกครอง

พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา เจา อยูห วั ทรงปฏริ ปู การปกครองเพราะทรงเห็นวา เปน หนทางหนึ่ง
ทจ่ี ะรกั ษาเอกราชของบานเมืองไวไดในชวงการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการ
ปกครองใหท นั สมัย ทาํ ใหช าวตางชาตเิ ห็นวา ประเทศไทยเปน ประเทศท่เี จริญแลว สามารถปกครองดแู ลพฒั นา
บา นเมืองได นอกจากนีย้ งั ทาํ ใหประชาชนมีความเปน อยูดีข้ึน ประเทศชาติมีรายไดในการทํานุบํารุงบานเมือง
มากข้ึน ทําใหสายตาของชาวตางชาติมองประเทศไทยตางจากประเทศเพ่ือนบานอื่น ๆ และดวยการวาง
วิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอยางเหมาะสม ยอมรับวาชาวยุโรปเปนชาติท่ีเจริญ ใหเกียรติและ
ยกยองพรอมกับเปล่ียนแปลงวธิ ีปฏิบัติบางอยาง เพอ่ื ใหเห็นวา ไทยไมใ ชช นชาติปาเถ่ือน เชน ใหข า ราชการสวม
เสื้อเวลาเขา เฝา นอกจากนัน้ ยงั ยอมผอนปรนอยางชาญฉลาดแมจ ะเสียผลประโยชนหรือดินแดนไปบาง แตก็
เปน สวนนอยยังสามารถรักษาสวนใหญไวได ประเทศไทยจงึ คงความเปน ชาตทิ ม่ี เี อกราชตลอดมา

69

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลาเจาอยหู วั ทรงมแี นวความคิดในการปฏริ ปู การปกครอง 3 ประการ คือ
1. การรวมอํานาจเขาสูสวนกลางมากข้ึนท้ังนี้เพื่อมิใหชาติตะวันตกอางเอาดินแดนไปยึดครองอีก

ถาอํานาจของรัฐบาลกลางแผไปถึงอาณาเขตใดก็เปนการยืนยันวาเปนอาณาเขตของประเทศไทย
2. การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐานจากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลท่ี 4

เปนเพราะประเทศอาณานิคมอางวาศาลไทยไมมีคุณภาพ ไมไดมาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลท่ี 5 จึงทรง
พระราชดาํ ริทจี่ ะปรับปรงุ การศาลยตุ ธิ รรมและกฎหมายไทยใหเ ปนสากลมากขน้ึ

3. การพัฒนาประเทศพระองคทรงริเริ่มนําสิ่งใหม ๆ เขามาใชเพื่อพัฒนาประเทศในดานตาง ๆ
เชน สรางถนน ขุดคูคลอง จดั ใหมีการปกครองไฟฟา ไปรษณีย โทรเลข รถไฟ เปน ตน

การปฏริ ปู การปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดกอใหเกิดการจัดระเบียบ
การปกครองที่สําคญั จาํ แนกได 3 สว นคือ

1. การปกครองสวนกลาง

พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจา อยูหัวยังทรงแตงตง้ั "สภาทีป่ รกึ ษาในพระองค" ซง่ึ ตอมาได
เปลีย่ นเปน "รัฐมนตรีสภา" ประกอบดวย เสนาบดี หรือผูแทนกับผูที่โปรดเกลาฯ แตงตั้ง รวมกันไมนอยกวา
12 คนจดุ ประสงคเพือ่ ใหเปนทป่ี รึกษาและคอยทัดทานอํานาจพระมหากษัตริย แตการปฏิบัติหนาที่ของสภา
ดังกลาวไมไดบรรลุจุดประสงคที่ทรงหวังไวเพราะสมาชิกสวนใหญไมกลาโตแยงพระราชดําริ คณะที่ปรึกษา
สวนใหญมักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกวาที่จะแสดงความคิดเห็น นอกจากน้ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา
เจาอยูหัว ยังทรงแตงตั้ง "องคมนตรีสภา" ข้ึนอีก ประกอบดวยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีท้ังสามัญชน
ต้ังแตชั้นหลวงถึงเจาพระยา และพระราชวงศองคมนตรี สภาน้ีอยูในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะ
ขอความทป่ี รึกษาและตกลงกันในองคมนตรสี ภาแลวจะตอ งนําเขาที่ประชมุ รฐั มนตรีสภากอน จากน้ันจึงเสนอ
ตอเสนาบดีกระทรวงตา ง ๆ

การปรบั ปรงุ การบรหิ ารราชการในสว นกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวรัชกาล
ที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตําแหนงอัครเสนาบดี 2 ตําแหนง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายกรวมทั้งจตุสดมภ
โดยแบงการบริหารราชการออกเปนกระทรวงตามแบบอารยประเทศและใหมีเสนาบดีเปนผูวาการแตละ
กระทรวง กระทรวงทต่ี ้งั ขึ้นทง้ั หมด เมื่อ พ.ศ. 2435 มี 12 กระทรวง คือ

1. กระทรวงมหาดไทย มีอาํ นาจหนา ทบี่ งั คบั บัญชาหัวเมอื งฝายเหนอื และเมอื งลาวท้งั หมด
2. กระทรวงกลาโหม มอี าํ นาจหนาทบี่ ังคบั บัญชาหัวเมืองฝายใต หัวเมืองฝา ยตะวนั ออก ตะวันตก
และหัวเมืองมลายู ประเทศราช ตอ มา พ.ศ. 2437 กระทรวงกลาโหมทาํ หนาทบี่ ังคบั บัญชาฝายทหารอยาง
เดยี ว สวนการปกครองหวั เมืองทั้งหมดอยใู นความควบคมุ ดแู ลของกระทรวงมหาดไทย

70

3. กระทรวงการตา งประเทศ ทําหนาท่ีวา การตา งประเทศโดยเฉพาะ
4. กระทรวงวัง มีอํานาจหนาท่ีบังคับบัญชาเกี่ยวกับกิจการพระราชสํานักและงานเก่ียวกับ

องคพระมหากษตั ริย
5. กระทรวงเมืองหรือกระทรวงนครบาล มีอํานาจหนาที่บังคับบัญชาตํารวจ ดูแลความสงบ

เรียบรอ ยในพระนครและงานเกีย่ วกบั นกั โทษ
6. กระทรวงเกษตราธกิ าร มอี าํ นาจหนา ที่ควบคุมดูแลเกยี่ วกับงานดา นการเพาะปลูก การคาขาย

การปา ไมและเหมอื งแร
7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีอํานาจหนาที่ดูแลรับผิดชอบเก่ียวกับภาษีอากรและ

งบประมาณแผนดนิ
8. กระทรวงยุตธิ รรม มอี ํานาจและหนา ที่บงั คบั บญั ชาศาลทว่ั ประเทศ
9. กระทรวงยทุ ธนาธกิ าร มอี ํานาจหนา ทต่ี รวจตราและวางแผนเกยี่ วกับกิจการทหารบก ทหารเรอื
10. กระทรวงธรรมการ มีอาํ นาจหนา ท่ีดูแลรบั ผดิ ชอบเกี่ยวกบั การศกึ ษา การสาธารณสุข วัดและ

พระสงฆ
11. กระทรวงโยธาธกิ าร มีอํานาจหนา ที่รับผิดชอบเก่ียวกบั การกอ สราง ถนน คลอง การชางรถไฟ

ไปรษณียและโทรเลข
12. กระทรวงมุรธาธิการ รับผิดชอบเก่ียวกับการรักษาตราแผนดินและงานระเบียบสารบรรณ

ภายหลังไดยบุ กระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกบั กระทรวงกลาโหมและยบุ กระทรวงมุรธาธิการไปรวม
กับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวงเสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเทาเทียมกัน และประชุมรวมกัน
เปนเสนาบดีสภาทําหนาที่ปรึกษาและชวยบริหารราชการแผนดินตามที่พระมหากษัตริยทรงมอบหมาย
เพราะอํานาจสงู สดุ เดด็ ขาดเปนของพระมหากษัตริยต ามระบอบสมบูรณาญาสทิ ธิราชย

2. การปกครองสว นภมู ภิ าค

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงมีพระราชดําริ ใหยกเลิกการปกครองหัวเมือง
และใหเปล่ียนแปลงเปนการปกครองสวนภูมิภาค โดยโปรดเกลาฯใหตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง
ทองท่ี ร.ศ. 116 ข้ึน เพือ่ จัดการปกครองเปนมณฑลเมือง อาํ เภอ ตาํ บล และหมบู า น ดงั น้ี

1. ใหจัดระเบียบบริหารราชการหัวเมืองใหม ใหยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี
จัตวา และหัวเมอื งประเทศราช โดยจัดเปนมณฑลเทศาภิบาล ใหอ ยูใ นความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียง
กระทรวงเดยี ว มณฑลเทศาภบิ าล ประกอบดว ยเมอื งตัง้ แต 2 เมืองข้นึ ไป มสี มหุ เทศาภบิ าลท่ีพระมหากษัตริย
ทรงแตง ต้งั ไปปกครองดูแลตา งพระเนตรพระกรรณ

71

2. เมอื ง ประกอบดวยอาํ เภอหลายอาํ เภอ มีผูวาราชการเมืองเปนผูรบั ผิดชอบข้ึนตรงตอ ขาหลวง
เทศาภิบาล

3. อาํ เภอ ประกอบดว ยทอ งท่หี ลาย ๆ ตาํ บล มนี ายอําเภอเปนผรู ับผิดชอบ
4. ตาํ บล ประกอบดวยทองท่ี 10 - 20 หมบู านมีกํานนั ซึง่ เลอื กตง้ั มาจากผใู หญบา นเปน
ผูรบั ผดิ ชอบ
5. หมบู า น ประกอบดว ยบา นเรอื นประมาณ 10 บา นขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน
เปนหนวยปกครองทเี่ ลก็ ทส่ี ดุ มีผใู หญบ า นเปนผรู ับผิดชอบตอมาในสมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลาเจา อยหู ัว
ไดยกเลกิ มณฑลเทศาภบิ าลและเปลี่ยน เมอื ง เปน จงั หวัด
การบริหารราชการในระบบใหมประสบปญหาและอุปสรรค เน่ืองจากกลุมบุคคลท่ีเคยมีอํานาจ
ในการปกครองประชาชนตามระบอบเกาสญู เสียผลประโยชน จงึ พยายามขดั ขวาง พระบาทสมเด็จพระจอม-
เกลาเจาอยูหัว ทรงไมตองการใหเกิดความขัดแยงกันอยางรุนแรง ทรงมีพระบรมราโชบายแบบคอยเปน
คอยไป จึงใชเวลาหลายปก วา จะปฏิรูปการปกครองไดท ว่ั ประเทศ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2449 จึงมีการปกครอง
แบบมณฑล

3. การปกครองสวนทอ งถิน่

การปกครองสวนทองถ่ิน หมายถึง การใหประชาชนในทองท่ีแตละแหงไดมีโอกาสปกครอง
และบริหารงานในทองที่ท่ีตนอาศัยอยู เพื่อฝกฝนใหบุคคลในทองที่รูจักพึ่งพาและชวยเหลือตนเองโดยใช
ทรพั ยากรทีม่ อี ยู และบางสว นมาจากการใหค วามชวยเหลือของรัฐบาลกลาง เพื่อใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เปน การวางรากฐานการปกครองตนเองตามระบอบประชาธปิ ไตยในระดบั ทอ งถนิ่

ใน พ.ศ. 2440 โปรดเกลาใหตรา พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองทองท่ี ร.ศ.116 โดยรัฐบาลใหสิทธิ
ประโยชนในการเลอื กผใู หญบ า นเปน หวั หนา ปกครองประชาชนในหมูบ าน และใหผ ูใหญบ านมีสทิ ธเิ ลือกกํานนั
เปนหัวหนาปกครองในตําบลของตน การเลือกกํานันผูใหญบานยังเปนระบบการปกครองสวนทองถิ่นที่ใชกัน
เร่อื ยมาจนถึงปจ จุบนั

การจดั สขุ าภิบาล ใน พ.ศ. 2440 เร่ิมจัดต้งั สุขาภิบาลกรุงเทพข้ึนเปนครั้งแรก เพ่ือทําหนาที่รักษา
ความสะอาด ความเปน ระเบียบเรยี บรอยในชุมชน การปองกันโรคภัยไขเจ็บ เปนตน ตอมาจึงขยายงานเปน
กรมสุขาภิบาลสงั กัดอยูในกระทรวงนครบาล สําหรับตางจังหวัด เร่ิมจัดตั้งสุขาภิบาลเปนแหงแรกท่ี ตําบล-
ทาฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีคณะกรรมการประกอบดวย กํานัน ผูใหญบาน ทําหนาที่บริหารงาน
สขุ าภบิ าล รับผดิ ชอบงานดา นตา ง ๆ เกี่ยวกบั สวัสดิภาพของประชาชน เชน การรกั ษาความสะอาด การกําจัด
ขยะ การสงเสริมสุขภาพอนามัย และการปองกันโรคระบาดท่ีเกิดกับประชาชน บํารุงรักษาถนนหนทาง
เปนตน หนว ยงานราชการสว นทองถิ่น คอื สขุ าภบิ าลและเทศบาลยังปรากฏมาจนถงึ ปจจบุ นั

การปฏิรปู ดา นเศรษฐกจิ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเร่ิมตนพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพราะเปนผลมาจากการติดตอกับ
ตา งประเทศอยา งกวางขวาง โดยมีการปฏริ ปู ทางเศรษฐกิจ มดี ังตอไปน้ี

72

1. การปฏริ ูปดา นการคลังรชั กาลที่ 5 โปรดเกลา ฯ ใหจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒนขึ้นในป พ.ศ. 2416
ในพระบรมมหาราชวังทําหนาที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากรทุกชนิดนําสงพระคลังมหาสมบัติ ทําบัญชี
รวบรวมผลประโยชน ตรวจตราการเก็บภาษีอากรของหนวยราชการตาง ๆ ใหเรียบรอยรัดกุมรับผิดชอบ
การจายเงินเดอื นในอัตราทแี่ นนอนใหก บั ขา ราชการฝา ยพลเรอื นและทหารเฉพาะในสว นกลางแทนการจา ยเบย้ี
หวัดและเงินป

2. การปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจาอยหู วั ทรงปฏิรปู ระบบเงินตรา ดงั น้ี
2.1 การประกาศกําหนดมาตราเงินใหม ใหมีเพียง 2 หนวย คอื บาทกับสตางค สตางคท ี่

ออกมาใชครงั้ แรก มี 4 ขนาด คือ 20, 10, 5 และ 2 สตางคค รง่ึ และประกาศยกเลิกใชเ งินพดดวง
2.2 การออกธนบตั รประกาศใชพระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น เพ่ือทําหนาท่ี

ออกธนบตั รใหไ ดมาตรฐาน ธนบตั รนนั้ เดมิ ประกาศใชมาตง้ั แตร ัชกาลที่ 4 แลว
2.3 เปรยี บเทียบคาเงินไทยกับมาตรฐานทองคํา ใน พ.ศ. 2451 ประกาศใชพระราชบัญญัติ

มาตรฐานทองคาํ กาํ หนดอตั ราแลกเปล่ียน 13 บาท เทากับ 1 ปอนดเ พอ่ื ใหส อดคลอ งกบั หลกั สากล
3. การตั้งธนาคารมีบุคคลคณะหน่ึงรวมมือกอตั้งธนาคารของไทยแหงแรกเรียกวาบุคคลัภย

(Book Club) ไดร ับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดั ตง้ั ธนาคารจดทะเบยี นถกู ตอ งตามกฎหมายเรียกชื่อวา
แบงคสยามกมั มาจล (Siam Commercial Bank) ตอมาไดเปลีย่ นชอื่ เปนธนาคารไทยพาณิชย จาํ กดั

4. การทาํ งบประมาณแผน ดิน ใน พ.ศ. 2439 รัชกาลท่ี 5 โปรดใหม กี ารจดั ทาํ งบประมาณแผนดิน
ขน้ึ เปน ครงั้ แรกเพ่ือใหก ารรบั จายของแผนดินมคี วามรัดกมุ โปรดใหแ ยกเงินสวนแผนดินและสวนพระองคออก
จากกันอยา งเดด็ ขาดโดยใหพระคลงั ขางทเี่ ปน ผูดูแลพระราชทรพั ยส ว นพระองค

5. การปรบั ปรุงทางดา นการเกษตรและการชลประทานมกี ารขดุ คลองเกาบางแหง และขดุ คลองใหม
อกี หลายแหง เชน คลองนครเนอ่ื งเขต คลองดําเนินสะดวก คลองประเวศบรุ รี มย คลองเปรมประชา คลองทวี
วฒั นา สรางประตรู ะบายนํ้า เพอ่ื ชว ยสงนํ้าใหเ ขา ถึงพน้ื ทีท่ ี่ทาํ การเพาะปลกู ได ดา นการปาไม โปรดใหตง้ั กรม
ปา ไม สงเสริมใหป ลูกสวนสกั อกี ทงั้ ไดสง นกั เรยี นไทยไปศึกษาวิชาปา ไม ณ ตา งประเทศ

การปฏิรปู ดานสังคม

ในสมยั รัชกาลท่ี 5 ทรงสงเสรมิ ใหประชาชนไดร ับสิทธ์ิ เสรีภาพและความเสมอภาคทางสงั คม ดังน้ี
1. ทรงยกเลิกระบบไพร ซึ่งเปนระบบท่ีทางราชการเกณฑประชาชนไปทํางานใหแกขุนนาง
โดยไมไ ดรบั คาจางหรือผลประโยชนตอบแทน ทําใหประชาชนขาดอิสระในการประกอบอาชีพ บางคร้งั ถกู กด
ขีข่ ม เหงจากมูลนายอีกดวย เปนเหตุใหเกิดการแบงชนช้ันในสังคมไทย ราษฎรไทยไมไดรับความเสมอภาค
และความยตุ ธิ รรมเทา ทีค่ วร พระองคจงึ ทรงโปรดเกลา ใหย กเลกิ แตกระทําแบบคอยเปนคอยไป จนถึง พ.ศ.
2448 จงึ ยกเลิกโดยเดด็ ขาด
2. ทรงเลกิ ทาส พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา เจา อยหู วั ทรงเห็นวา การมที าสทําใหประเทศชาติ
ลาหลงั เปน สงั คมท่มี นษุ ยย ังไรศกั ด์ิศรี ขาดความเสมอภาค อิสรภาพและเสรภี าพ ทง้ั อารยประเทศตา ง ๆ

73

กไ็ ดย กเลิกทาสในประเทศของตน จงึ มีพระราชดาํ ริยกเลิกทาสแบบคอ ยเปนคอยไป ซึ่งเริ่มขึ้นเม่ือพ.ศ. 2417
การเลิกทาสดําเนนิ ไปอยางเปน ขน้ั เปนตอนใชเ วลานานถึง 31 ป จึงสําเร็จเรียบรอยทว่ั ประเทศโดยไมขัดแยง
กันถึงข้ันทาํ สงครามกันเองเหมอื นดังเชนทเ่ี กดิ ขึน้ ในระเทศสหรฐั อเมริกา ในพ.ศ. 2448 จึงตราพระราชบัญญตั ิ
เลกิ ทาส เปน กฎหมายทหี่ า มมใิ หซ ้ือขายเอาคนมาเปน ทาสโดยเด็ดขาด

การยกเลกิ ระบบไพรและทาสดังกลา ว นบั เปนการปฏวิ ตั สิ งั คมไทยคร้งั ยง่ิ ใหญท าํ ใหชาวไทยไดร บั
อสิ รภาพ เสรีภาพและความเสมอภาค ซ่ึงเปนรากฐานในการพัฒนาสังคมไทยใหกาวหนาไปสสู งั คมทมี่ ีการ
ปกครองแบบประชาธปิ ไตยในเวลาตอมา

3. ปฏริ ูปการศกึ ษา การศกึ ษาเปน ส่ิงสาํ คัญในการพฒั นาประเทศ จงึ ทรงมุงพฒั นาการศึกษาของ
ไทยใหมคี วามเจรญิ รุง เรอื งและเพอื่ ใหป ระชาชนสามารถดาํ รงชีวิตในสงั คมไดอยา งมคี วามสุข กาวหนา ในการ
สรา งสรรคอารยธรรมและวฒั นธรรม เชน ต้งั โรงเรียนหลวงข้นึ ในวัง พ.ศ. 2414 ตง้ั โรงเรียนนายทหาร
มหาดเล็กทพ่ี ระตาํ หนักสวนกหุ ลาบ ตง้ั โรงเรียนสาํ หรับราษฏรขน้ึ ครง้ั แรกท่วี ดั มหรรณพาราม เมื่อ พ.ศ. 2427
และขยายการศกึ ษาออกสหู ัวเมอื งอยางจริงจงั ใน พ.ศ. 2441 โดยใชวดั เปน สถานศึกษาและมพี ระสงฆเ ปน
ครผู สู อน

4. ทรงยกเลกิ ประเพณีวัฒนธรรมทลี่ าสมัย ดงั น้ี
- การเปล่ียนแปลงประเพณีการสืบสันตติวงศ รัชกาลที่ 5 โปรดใหยกเลิกตําแหนงวังหนา

(พระมหาอุปราช) และทรงสถาปนาตําแหนงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จ-
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกมุ ารองคแรก คอื เจาฟามหาวชิรุณหิศ แตทรงสิ้นพระชนมกอนจึงมีการ
สถาปนาสมเดจ็ พระเจา ลูกเธอเจาฟามหาวชริ าวธุ ขน้ึ เปน สยามมกุฎราชกมุ ารแทน

- การเปลยี่ นแปลงวฒั นธรรมการแตง กาย ทรงผมโปรดใหช ายไทยในราชสํานัก เลิกไวผมทรง
มหาดไทยเปลย่ี นเปนไวผมตัดยาวทั้งศรี ษะอยางฝรัง่ ผูห ญิงโปรดใหเ ลิกไวผ มปก ใหไ วผมยาวทรงดอกกระทุม
โปรดใหชายไทยในราชสํานกั นงุ ผา มว งสตี า ง ๆ สวมเส้อื ราชปะแตน สวมหมวกอยา งยุโรปใหขาราชการทุกกรม
กองแตงเครอ่ื งแบบนุงกางเกงอยา งทหารในยุโรปแทนโจงกระเบน การแตง กายสตรเี ร่มิ เปลี่ยนแปลงหลังจาก
รัชกาลท่ี 5 กลับจากประพาสยุโรป คร้ังที่ 2 โดยสตรีไทยนิยมสวมเสื้อของอังกฤษ เปนเสื้อคอต้ังแขนยาว
ตน แขนพองคลายขาหมูแฮม

- การเปลี่ยนแปลงประเพณีการเขาเฝาโปรดเกลา ฯ ใหย กเลิกประเพณกี ารหมอบคลานในเวลา
เขา เฝา แตใหใ ชวิธถี วายคาํ นบั แทนและใหน่งั เกา อี้ ไมต องน่งั กบั พ้ืน

- การใชศักราชและวันทางสุริยคติในทางราชการโปรดเกลาฯ ใหใช ร.ศ. (รัตนโกสินทรศก)
แทน จ.ศ. (จุลศกั ราช) ซงึ่ ใชม าต้งั แตสมัยอยุธยาโดยเร่มิ ใช ร.ศ. ตั้งแตวันที่ 28 มนี าคม พ.ศ. 2431 เปนตน ไป
เร่ิม ร.ศ. 1 ต้งั แตป 2325 ซง่ึ เปนปที่สถาปนากรุงรตั นโกสนิ ทร

74

ไทยกับการเขารว มสงครามโลกครัง้ ที่ 1

ไทยเขา สสู งครามโลกครัง้ ที่ 1 ในรชั สมยั ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกลา เจาอยูหวั ในชวงแรกของ
สงครามไทยไดประกาศตนเปน กลางไมเขาขา งฝา ยใดฝา ยหน่งึ เพือ่ รกั ษาสัมพันธภาพท่ดี ีไวทง้ั 2 ฝา ย กลาวคือ
ไทยยงั มคี วามสัมพันธอ ันดีกบั อังกฤษมาชานาน ขณะเดียวกันเยอรมนแี ละ ฝร่งั เศส ก็ยงั ถือเปน มิตรทดี่ ขี องฝา ยไทย

ตอ มาไทยไดเ ปลี่ยนนโยบายและประกาศสงครามกับฝา ยเยอรมันนแี ละออสเตรยี -ฮังการี หรือเรียกวา
ฝายมหาอํานาจกลาง (Central Powers) เม่ือวันที่ 28 กรกฎาคม 2460 เนื่องจากฝายไทย พิจารณาแลว
เห็นวา ฝายเยอรมนเี ปน ฝายที่ละเมดิ กฎหมายระหวางประเทศและรุกรานประเทศกอน อีกทั้งสหรัฐอเมริกา
ไดประกาศสงครามกับเยอรมนีไปกอนหนานี้ ทําใหไทยมั่นใจวาฝายพันธมิตร (Allied Power) จะเปนฝาย
มชี ัยชนะ ถา ไทยเขา รวมกบั ฝายพันธมติ รจะสามารถ สรางเกียรตภิ ูมใิ หกับประเทศชาติ และจะทําใหประเทศ
ไทยเปนที่รูจ กั ของประชาคมโลก ซงึ่ จะเปน โอกาสของไทย ท่ีจะเจรจาเรียกรองชาติตะวันตกใหทบทวนแกไข
สนธิสัญญาทไี่ มเ ปน ธรรมกบั ฝา ยไทยทเี่ คยทาํ ไว ตง้ั แตส มยั รัชกาลท่ี 4

ดังนั้นในการเขารวมสงครามโลกคร้ังท่ี 1 เปนเหตุการณท่ีไทยไดเขาสูประชาคมนานาชาติ
พระบาทสมเด็จพระมงกฏุ เกลาเจา อยูหัว จงึ ทรงใชสัญลักษณและสรางสถาบันเพ่ือเปนเคร่ืองมือ ในการสราง
ความเปนชาติ และเกยี รติภูมขิ องคนไทยใหป รากฎสสู ายตาประชาคมโลก พระองคทรงโปรดเกลาฯใหป ระดิษฐ
ธงชาตใิ หม ในป พ.ศ. 2460 ซึ่งมลี ักษณะเปน ธง 3 สี ประกอบดวย สีแดง สีขาว สีนํา้ เงนิ เพื่อเปนเครื่องหมาย
แทนสถาบันสูงสุดของไทย คือชาติศาสนา และพระมหากษัตริย โดยพระราชทานชื่อวา “ธงไตรรงค” และ
นําไปใชใ นหนว ยงาน กรม กอง ตา ง ๆ เพ่ือเปนเคร่ืองเตือนใจใหค นไทยสํานกึ ในหนา ท่ี รักษาชอ่ื เสียงเกียรติยศ
ของหมูคณะ

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ส้ินสุด ประเทศไทยสามารถเรียกรองชาติตะวันตกตาง ๆ ใหทบทวน
แกไขสนธสิ ัญญากับไทยได โดยเฉพาะสนธิสัญญาท่ไี มเ ปน ธรรมระหวางไทยกบั เยอรมนีและออสเตรีย ฮังการี
ประเทศไทยไดรับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดี วูดโรว วิลสัน (Woodrow Wilson)
ในการแกไ ขสนธิสัญญากับสหรัฐอเมรกิ า ในฐานะท่ีเปนประเทศท่ีมีผลประโยชนไ มมากนกั แตเ ปนมหาอํานาจ
ท่ีสําคัญ โดยในป พ.ศ. 2463 รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาไดทําสนธิสัญญา ซ่ึงระบุใหคนในบังคับ
สหรัฐอเมริกาข้ึนศาลไทย และยกเลกิ ขอจาํ กดั ทางภาษี โดยใหไทยมีสิทธิ์เต็มท่ีในการต้ังพิกัดอัตราภาษีอากร
สนธสิ ัญญาไทย - อเมริกัน จึงมีความสําคญั เพราะเปนครงั้ แรกท่ีไทยไดอิสรภาพ ทางภาษีอากร และมีอํานาจ
ในทางการศาลเหมือนคนในบงั คับตางชาติ โดยไมตองเสียสง่ิ ใดเปน การตอบแทน ซึ่งทําใหฐานะทางการเมือง
ระหวา งประเทศของไทยดีข้ึนในเวลาตอมา

โดยสนธสิ ัญญาฉบับนี้ยังใชเปนแบบอยางในการแกไขสัญญาท่ีไมเปนธรรมที่ชาติตะวันตกในป พ.ศ.
2467 และ พ.ศ. 2468 ไทยประสบความสําเร็จในการเจรจาแกไขสัญญาไมเปนธรรมกับฝร่ังเศสและอังกฤษ
โดยอาศัยความสามารถของพระวรวงศเธอ พระองคเจาไตรทศประพันธ กรมหม่ืนเทววงศวโรทัย เสนาบดี
กระทรวงการตา งประเทศในขณะน้นั และ ดร. ฟรานซิส บี แซร ทีป่ รึกษาการตา งประเทศชาวอเมรกิ นั สามารถ
แกไ ขสนธิสญั ญาได การเขารวมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของไทย จึงเปน การตดั สินใจครงั้ สําคัญ มผี ลทาํ ใหเกดิ การ

75

แกไขสนธิสัญญาอันไมเปนธรรมและทวงคืนอํานาจอธิปไตยทางการศาล และอิสรภาพทางการเมืองไทย
กลับคืนมา

การเขารวมสงครามโลกครงั้ ที่ 2 ของประเทศไทย

สงครามโลกครัง้ ที่ 2 เกิดข้ึนในยุโรปต้ังแต พ.ศ. 2482 เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับ
เยอรมนี และไดน ําพาประเทศอาณานิคมของตนเขาสสู งครามจนลุกลาม เปนสงครามโลก ประเทศไทยถึงแม
จะไมตกเปนอาณานิคมของชาติใด แตก็ไดรับผลกระทบจากกระแสความคิดแบบชาตินิยม และการขยาย
อิทธพิ ลของญปี่ ุนในเอเชีย จึงไดปรับเปลี่ยนทาทีในการดําเนินความสัมพันธระหวางประเทศของตนในสมัย
รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เชน การตอตานชาวจีนและชาวยุโรป กรณีพิพาทอินโดจีนใน พ.ศ. 2483
การเขารวมมือกับญ่ีปุนในสงครามโลกครั้งท่ี 2 ของรัฐบาลไทย ซึ่งสาระสําคัญของการเขารวมสงครามโลก
ครง้ั ท่ี 2 มีดังน้ี

1. ไทยกบั สงครามโลกคร้ังท่ี 2
ในขณะทม่ี หาอํานาจฝา ยสัมพนั ธมติ รกาํ ลงั เพลยี่ งพลา้ํ โดยเฉพาะฝรงั่ เศสท่ตี องยอมแพต อ เยอรมนี

วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 จึงเปนโอกาสใหไทยซ่ึงมีแนวคิดชาตินิยมเรียกรองดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
และไดเ กิดเปนกรณีพิพาทจนเกิดเปนสงครามอินโดจีนระหวางไทยกับฝร่ังเศส โดยฝรั่งเศสเขามาทิ้งระเบิด
สนามบิน ท่ีจังหวัดปราจีนบุรี รวมท้ังระดมยิงปนใหญเขามาในฝงไทย ในวันท่ี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
ฝรั่งเศส สง เครอื่ งบินทง้ิ ระเบดิ จงั หวัดนครพนม และฝายไทยกไ็ ดสง เครอ่ื งบนิ ทิง้ ระเบดิ ทพ่ี กั ทหารฝร่ังเศสในวนั
เดียวกนั หลังจากนนั้ กม็ ีการตอสูก ันเรอ่ื ยมาจนฝายไทยสามารถเขายึดดินแดนบางสวนของกัมพูชา และลาว
จากฝรั่งเศสมาได กรณีพิพาทครั้งนี้ ญี่ปุนเขาแทรกแซงโดยเสนอตนเปนผูไกลเกล่ีย และการลงนามใน
อนสุ ัญญาโตเกียว เมื่อวันท่ี 9 พฤษภาคม พ.ศ.2484 สงผลใหฝ รัง่ เศสตองยอมยกดนิ แดนบางสว นของอินโดจีน
รวมทง้ั ดนิ แดนฝง ขวาแมน าํ้ โขงทีฝ่ รัง่ เศสยดึ ไปต้งั แตส มัยรัชกาลท่ี 5 คืนแกไทยดว ย

วนั ที่ 7 ธนั วาคม พ.ศ. 2484 ญ่ีปุน ประกาศสงครามกบั สัมพันธมิตร โดยยกกําลงั พลเขามาในภูมิภาค
น้ีและในวันท่ี 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญ่ีปุนก็เขาเมืองไทยทางสงขลา ปตตานี ประจวบคีรีขันธ
นครศรธี รรมราช สุราษฎรธ านี และสมทุ รปราการ และสง ทหารข้ึนบกท่มี ลายู และโจมตสี งิ คโปรทางเครือ่ งบนิ
ซ่งึ ญ่ปี นุ ไดร อ งขอใหร ัฐบาลไทย ยนิ ยอมใหทหารญ่ีปนุ เดนิ ทพั ผา นไทย เพือ่ ไปโจมตีพมา และมลายูของ องั กฤษ
และขอใหระงับการตอตานของคนไทย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปฏิบัติตาม
ความตอ งการของญปี่ นุ เพ่อื รกั ษาชวี ิตและเลือดเน้อื ของคนไทย

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยไดท ํากตกิ าสัมพนั ธไมตรีกบั ญ่ีปนุ สงครามท่เี กิดข้นึ ในเอเชีย
น้ีเรียกกันวา สงครามมหาเอเชียบูรพา ญ่ีปุนมีวัตถุประสงค จะสรางวงศไพบูลยมหาเอเชียบูรพา
(The Greater East Asia Co-prosperity Sphere) ทั้งในทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ
ซึ่งประกอบดวยประเทศตาง ๆ ในเอเชีย โดยมีญ่ีปุนเปนผูนํา ในระยะเริ่มแรกของสงคราม กองทัพญ่ีปุน
มีชัยชนะท้ังทางบก ทางเรอื และทางอากาศ ทําใหรฐั มนตรบี างคน เห็นควรใหไ ทยประกาศสงครามกับอังกฤษ
และสหรฐั อเมริกา ดวยคิดวาญี่ปุนจะชนะสงคราม ไทยจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา

76

เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ระหวางสงครามนั้น ญ่ีปุนไดโอนดินแดนบางสวน ที่ยึดไดจากอังกฤษ
คนื ใหแ กไทย คือ รฐั ไทรบุรี กลันตนั ตรังกานู ปะลสิ และสองรัฐในแควนไทยใหญ คือเชยี งตงุ และเมอื งพาน

2. ขบวนการเสรีไทย
ขบวนการเสรไี ทยท่เี กิดขน้ึ ในสงครามหาเอเชียบูรพา และเปนสวนหน่ึงของสงครามโลกคร้ังที่ 2

เกิดจากกลมุ คนไทยที่ตอตานการรุกรานของญ่ีปุน และไมเห็นดวยกับการที่รัฐบาลไทยรวมมือกับญี่ปุน และ
ประกาศสงครามของรฐั บาลไทยตอ ฝายสัมพันธมิตรแบงเปน 3 กลุม กลาวคือ ขบวนการเสรีไทยในประเทศ
นาํ โดยนายปรีดี พนมยงค ขบวนการเสรไี ทยในสหรัฐอเมริกา นําโดย ม.ร.ว.เสนยี  ปราโมช เอกอคั รราชทตู ไทย
ประจาํ กรุงวอชงิ ตัน ด.ี ซี. ซง่ึ มบี ทบาทสําคัญในการไมยอมสงคําประกาศสงครามตอสหรัฐอเมริกา และถือวา
การประกาศสงครามนั้นมิใชเจตนาของคนไทย และขบวนการเสรีไทยในองั กฤษ นําโดยนักเรยี นไทย ในอังกฤษ
ซึง่ ไดท าํ หนังสอื เสนอ นายวนิ สตัน เชอรชิล นายกรัฐมนตรอี ังกฤษ เพ่อื กอตัง้ กองทหารไทยสรู บกบั ญี่ปุน
ในประเทศไทย

ทั้ง 3 กลุมไดทํางานประสานความรวมมือกันดวยความยากลําบากในภาวะขอจํากัดของสงคราม
ทั้งการจัดต้ังกองกําลังตอตานญี่ปุน และการสรางความเขาใจกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษและชาติพันธมิตร
จนกระท่ังในวันท่ี 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดี พนมยงค ในฐานะผูสําเร็จราชการแทนพระองค
ไดป ระกาศสนั ตภิ าพ มีสาระสําคญั วาการประกาศสงครามตอ สหรฐั ฯ และองั กฤษตลอดจนการกระทําอันเปน
ปฏปิ ก ษต อฝา ยสัมพนั ธมิตรท้งั ปวงผดิ จากเจตจาํ นงของประชาชนชาวไทยและขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
บานเมือง การประกาศสงครามตอฝายสัมพันธมิตรเปนโมฆะ ไมผูกพันประชาชนชาวไทย ประเทศไทย
ไดตดั สินใจท่ีจะใหก ลบั คนื มาซงึ่ สมั พันธไมตรอี นั ดอี นั เคยมมี ากับนานาประเทศเหมือนเมอ่ื กอ นวันท่ี 8 ธันวาคม
พ.ศ. 2484 และพรอ มที่จะรวมมอื เตม็ ทที่ ุกทางกับสหประชาชาตใิ นการสถาปนาเสถยี รภาพในโลกนี้

ดังน้ันขบวนการเสรีไทย เปนขบวนการของประชาชนชาวไทยผูรักชาติท่ีมีเปาหมายชัดเจน
คอื ตองการรกั ษาเอกราชของชาติไทยไมใหตกเปนของตางชาติในสงครามโลกคร้ังท่ี2ไมวาจะเปนฝายอักษะ
หรือฝา ยสัมพนั ธมิตรกต็ าม โดยมอี ุดมการณท่ีจะรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทยเอาไวใหเปนของคน
ไทย ท่ีไมอาจปฏิเสธไดตอบทบาทของเสรีไทยน้ันคือ การตอสูจนไดเอกราชของชาติไทยกลับคืนมาหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง

3. ผลกระทบของสงครามโลกครั้งท่ี 2 ทีม่ ีตอ ประเทศไทย
3.1 ผลกระทบดานการเมือง
ญ่ีปุนแพสงครามเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยประกาศวา การประกาศ

สงครามกบั สมั พันธมิตรเปน โมฆะ เพราะขดั ตอรัฐธรรมนูญ และความประสงคของประชาชนชาวไทย ไทยตอง
ปรับความเขาใจกับสัมพันธมิตร สหรัฐอเมริกามิไดถือไทยเปนศัตรู ตามประกาศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
โดย นาย เจมส เบิรนส (James Byrnes) รฐั มนตรีตา งประเทศเปนผูลงนาม แตรัฐมนตรีตางประเทศอังกฤษ
นายเออรเ นสต เบวิน (Ernest Bevin) ไมยอมรับทราบการโมฆะของการประกาศสงคราม วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2489 (เวลาน้ัน ม.ร.ว. เสนีย ปราโมช เปนหัวหนารัฐบาล) ผูแทนไทยไดลงนามกับผูแทนอังกฤษ

77

ท่สี ิงคโปร ความตกลงนี้เรียกวา "ความตกลงสมบูรณแบบ เพ่ือเลิกสถานะสงคราม ระหวางประเทศไทยกับ
บริเตนใหญ และอนิ เดีย" ซ่งึ มสี าระสําคัญ ดงั น้ี

1. ไทยจะตอ งจัดการเรื่องที่ไทยประกาศสงครามกบั อังกฤษใหส สู ภาพเดิมกอนวันประกาศ
สงคราม

2. การกระทําทีไ่ ทยทําตอ องั กฤษหลงั จากญปี่ ุนเขา ประเทศไทยถือเปนโมฆะ และไทยตอง
จัดการใหส สู ภาพเดิม หากมีความเสียหายตอ งจา ยคาชดเชยใหองั กฤษ

3. ไทยตองยินยอมรับผิดชอบการพิทักษรักษาและคืนในสภาพไมเสื่อมเสีย ซ่ึงบรรดา
ทรพั ยสิน สทิ ธิ และผลประโยชนของอังกฤษทุกชนดิ ในประเทศไทย

4. ไทยจะรว มมอื อยางเต็มท่ีในบรรดาขอ ตกลง เพ่อื ความมั่นคงระหวางประเทศ ซ่ึงองคกร
สหประชาชาตหิ รอื คณะมนตรีความม่ันคงเห็นชอบแลว

5. ไทยตองไมตัดคลองขา มอาณาเขตไทย เชอ่ื มมหาสมุทรอนิ เดยี กับอา วไทย (คลองคอดกระ)
โดยรัฐบาลอังกฤษมไิ ดเ หน็ พองดวยกอน

6. ไทยจะใหขาวสารโดยไมค ิดมูลคา 1.5 ลา นตนั แกอ งคการ ซ่ึงรัฐบาลองั กฤษจะไดร ะบุ
7. โดยสัญญาฉบับนอ้ี งั กฤษและอินเดยี จะสนบั สนนุ ไทยเขา เปนสมาชกิ สหประชาชาติ
การท่ีไทยเอาตัวรอดไดท้ัง ๆ ท่ีอยูในฝายประเทศแพสงครามน้ี ขบวนการเสรีไทยมีสวนชวยเหลือ
เปนอยา งมาก ทาํ ใหประเทศสมั พนั ธมิตร โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกากลับเขาใจเมืองไทย ขณะที่ ม.ร.ว. เสนีย
ปราโมช อคั รราชทตู ไทยประจําสหรฐั อเมรกิ า ไดป ระทวงการประกาศสงครามของรฐั บาลไทย และไดรวบรวม
คนไทยในสหรัฐอเมริกาขึ้นเปนขบวนการเสรีไทยตอตานญี่ปุน ในอังกฤษก็มีขบวนการเสรีไทยเชนเดียวกัน
ตดิ ตอ กับหนวยพลพรรคใตใ นดนิ ประเทศ ซึ่งมีนายปรีดี พนมยงค ผูสําเร็จราชการแทนพระองคเปนหัวหนา
เสรีไทยทั้งหลายเตรียมที่จะจับอาวุธขึ้นตอสูกับญี่ปุน ตามวันเวลาท่ีนัดหมาย พรอม ๆ กับกําลังของ
สัมพนั ธมิตรท่ีจะรุกเขามาทางพมา แตญ่ีปนุ ไดยอมแพ
3.2 ผลกระทบดา นเศรษฐกิจและสังคม
การท่ีไทยเขารวมสงครามโลกครั้งที่ 2 สงผลใหเกิดความเสียหายตอเศรษฐกิจไทยเปน
อยางมาก เกิดภาวะการขาดแคลนสินคาอปุ โภคบรโิ ภค ในดานสงั คมกเ็ กดิ ปญหาโจรผรู า ยชุกชมุ อกี ท้งั ประสบ
ปญหาภาวะเงินเฟอ ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังตองแบกรับภาระชดใชคาเสียหายที่เรียกวา
คาปฏิกรรมสงคราม หมายถงึ ของมีคาท่ีตองจา ยเปนคาชดเชยเพื่อใหค รอบคลุมความเสยี หายระหวางสงคราม
ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงเงินหรือสินคาเปลี่ยนมือ มากกวาการถายโอนกรรมสิทธ์ิ ที่สําคัญการแกปญหาและ
เยียวยาความขาดแคลนยากไรในชวงสงครามและหลังสงครามไดกลายเปนปญหาใหญท่ีรัฐบาลขณะน้ันตอง
แกไขฟน ฟูอยางเรง ดวน เพื่อใหบ านเมืองคนื สูภาวะปกติโดยเร็ว

78

การเปลยี่ นแปลงการปกครองในป พ.ศ. 2475
สภาพการณโดยทัว่ ไปของบานเมอื งกอนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย ท่ีประเทศไทยใชมาหลายรอยปไดส้ินสุดลงหลังจาก
“คณะราษฎร” ไดเขายึดอํานาจการปกครองและนําไปสูการเปล่ียนแปลงการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษตั รยิ ทรงเปน พระประมุข เมอ่ื วนั ที่ 24 มถิ ุนายน พ.ศ. 2475

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

การยึดอํานาจเพ่ือเปล่ียนแปลงการปกครอง เม่ือวันท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีสาเหตุสรุปได
ดงั น้ี

1. การพฒั นาทางดานการศกึ ษาแบบสมัยใหม ตั้งแตสมัยรัชกาลที่ 5 เปนตนมา ประเทศไทยเร่ิมใช
ระบบการศกึ ษาแบบตะวันตก เด็กไทยสามัญชนมีโอกาสเลาเรียนในโรงเรียนหลวง ตอมาในสมัยรัชกาลที่ 6
รัฐบาลประกาศใช พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับทําใหการศึกษาของชาติแพรหลายไปสวนภูมิภาค การที่
ชาวไทยไดรับการศึกษาสูงข้ึนกวาแตกอน ทําใหชาวไทยมีโอกาสเรียนรูความกาวหนาแบบสมัยใหมและ
วิทยาการจากประเทศตะวันตกรวมไปถงึ ความคดิ สมัยใหมทางการเมอื งการปกครองดวย นอกจากน้ันเจานาย
ชนช้ันสูงและสามัญชนไดรับทุนเลาเรียนหลวงเดินทางไปศึกษายังประเทศในทวีปยุโรป จึงประทับใจใน
ความเจริญของบานเมืองและระบอบการปกครองของประเทศตะวันตก ผูนําคณะราษฎรหลายคนไดรับ
การศกึ ษาจากประเทศตะวันตก อาทิ นายปรีดี พนมยงค นายประยูร ภมรมนตรี รอยโทแปลก ขีตตะสังคะ
(ตอมาคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) นายแนบ พหลโยธิน นายจรูญ สิงหเสนี เปนตน บุคคลเหลานี้จึงมี
แนวความคดิ ตอ งการใหประเทศไทยเจริญรงุ เรอื งตามแบบอยางประเทศตะวนั ตก

2. การแพรอารยธรรมแบบตะวันตกในประเทศไทย อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกไดแพรเขาสู
ประเทศไทย พรอม ๆ กับการขยายตัวทางการคา พอคาและมิชชันนารีไดนําวิทยาการแผนใหมและความรู
ทางดานวิทยาศาสตรมาเผยแพรในประเทศไทยซ่ึงเร่ิมในสมัยรัชกาลที่ 3 เปนตนมา ชาวไทยเร่ิมสนใจอาน
หนงั สอื พิมพท ีว่ พิ ากษว ิจารณร ฐั บาลตลอดจนหนังสอื ท่เี กี่ยวของกบั ความคดิ ทางการเมอื งและการเปลยี่ นแปลง
ทั่วโลก เหตกุ ารณทเ่ี กดิ ข้ึนในประเทศตา ง ๆ ทําใหชาวไทยไดทราบถึงความเจริญกาวหนาแบบตะวันตกเห็น
ความสาํ คัญและความจาํ เปนท่จี ะตองปรบั ตัวเขาสยู ุคใหมใ นฐานะอารยประเทศ

3. การปฏิวัติในประเทศแถบทวีปเอเชีย ดังเชนในประเทศจีน คณะปฏิวัติไดลมราชวงศแมนจู
ซ่ึงปกครองประเทศจนี และเปลีย่ นการปกครองมาเปนแบบสาธารณรัฐ การปฏิวัติในตุรกีเพ่ือลมการปกครอง
ในระบบสุลตาน การปฏิวัติในรัสเซียเพ่ือลมระบบกษัตริย การปฏิวัติประเทศญี่ปุนเพื่อกาวไปสูความ
เจริญรงุ เรืองแบบยโุ รปและกลายเปนประเทศมหาอํานาจทางทหาร การปฏิวัติในประเทศตาง ๆ จึงเปนการ
กระตนุ ความคดิ ของผนู าํ ชาวไทยรุนใหม ทจี่ ะทําตามแบบอยา งการปฏิวตั ดิ งั กลา ว

4. สภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าอยางรุนแรงและรัฐบาลไมสามารถแกไขปญหาได จากสถานการณหลัง
สงครามโลกครงั้ ที่ 1 เศรษฐกจิ ตกตาํ่ ไปทั่วโลกกอ ใหเกิดผลกระทบมาถึงประเทศไทย คณะราษฎรมีความเห็น

79

วาเปนเพราะความลมเหลวของระบบการปกครองของไทยจึงตองเปลี่ยนระบบการปกครองใหมเพื่อแกไข
ปญ หาเศรษฐกจิ

5. ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชยม ีขอบกพรอ งหลายประการ ระบอบการปกครอง
ไมเ หมาะสมทีจ่ ะนํามาใชในขณะท่ีความคิดและสังคมของชาวไทยเริ่มเปล่ียนแปลงไป เชน พระมหากษัตริย
พระราชวงศและขุนนาง ซึ่งเปนชนช้ันท่ีควบคุมอํานาจการปกครองและเศรษฐกิจของประเทศโดยส้ินเชิง
ในขณะทรี่ าษฎรท่วั ไปมฐี านะยากจน ไมมีสิทธ์ิมีเสียงในการปกครองประเทศ คณะราษฎรจึงมีความคิดที่จะ
สรา งความเสมอภาคในสงั คม

6. การทีพ่ ระมหากษตั ริยไ ทยตงั้ แตร ัชกาลท่ี 4 เปนตนมา ทรงพยายามพัฒนาประเทศเพื่อกาวไปสู
ความเปนสมัยใหมแบบตะวันตกตลอดจนปลุกความคิดของประชาชนใหต่ืนตัวในเร่ืองความคิดชาตินิยม
เทากับเปน การจุดความคิดของประชาชนใหต่นื ตวั ในระบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตยไปดวย แมวาจะมี
คณะบุคคลทีไ่ ดรับการศกึ ษาจากตะวันตกกราบบังคมทูลเสนอแนะใหเปลี่ยนระบบการปกครองมาเปนแบบ
ประชาธิปไตยกต็ าม แตพ ระมหากษัตริยไทยทรงเห็นวาประชาชนชาวไทยในขณะน้ันยังไมพรอมท่ีจะรับการ
ปกครองแบบใหม ทรงเหน็ วาควรตระเตรียมประชาชนใหเขาใจเสียกอน ดวยวิธีคอยเปนคอยไปนาจะดีกวา
ในท่ีสุดก็ไมสามารถหลีกเลีย่ งการเปล่ียนแปลงการปกครองไปได

การดําเนินการเปลย่ี นแปลงการปกครอง

การยึดอาํ นาจของคณะราษฎร เชาตรูของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร ประกอบดวย
ทหารบก ทหารเรือและพลเรือน โดยมี พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา เปนหัวหนา รวมดวย พ.อ. พระยา
ทรงสุรเดช พ.อ. พระยาฤทธิอคั เนย พ.ท. พระประศาสนพิทยายทุ ธ พ.ต. หลวงพิบูลสงครม (แปลก ขีตตะสังคะ)
น.ต. หลวงสนิ ธุสงครามชัย น.ต. หลวงศุภชลาศยั หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค) นายประยูร
ภมรมนตรี นายต้ัว ลพานุกรม นายควง อภัยวงศ ฯลฯ ไดนํากําลังทหารและพลเรือนเขายึดอํานาจการ
ปกครองไดสาํ เร็จ โดยเขา ควบคุมเจานายและขุนนางชั้นสูงมิใหคิดตอตาน จากน้ันจึงกราบบังคมทูลอัญเชิญ
พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลท่ี 7) ซ่ึงประทับอยูที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัด
ประจวบคีรีขนั ธ เสด็จนวิ ตั พิ ระนครทรงดาํ รงพระประมขุ ของชาตภิ ายใตรัฐธรรมนูญ

เม่ือพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจา อยูหวั (รัชกาลท่ี 7) ทรงทราบขาวการยึดอํานาจในพระนครแลว
พระองค ทรงเชิญเจานายช้ันสูงและแมทัพนายกอง ซึ่งตามเสด็จมายังพระราชวังไกลกังวล เขารวมประชุม
ปรึกษาหารือวาจะดาํ เนนิ การอยา งไรกนั ตอ ไป ท่ปี ระชมุ เสนอความเห็นตาง ๆ กนั ไป บางทานเสนอใหใชกําลัง
ทหารในตา งจังหวดั ยึดอาํ นาจคนื บางทานเสนอใหพ ระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจาอยหู วั (รชั กาลท่ี 7) เสด็จหนี
ไปยงั ประเทศเพื่อนบาน ในท่ีสุดพระบาทสมเด็จพระปกเกลา เจา อยหู ัว (รัชกาลท่ี 7) ทรงตัดสินพระทัยยอมรับ
ขอเสนอของคณะราษฎร เพอื่ เห็นแกค วามสงบสุขและความเรียบรอยของบา นเมือง

พระบาทสมเด็จพระปกเกลา เจาอยหู ัว (รชั กาลท่ี 7) เสด็จนิวัติถึงพระนคร โดยขบวนรถไฟพระท่ีน่ัง
พิเศษ เมือ่ ตอนดกึ ของคืนวันที่ 25 มถิ ุนายน ในตอนสายของวนั ท่ี 26 มิถนุ ายน คณะราษฎรไดสง ผูแทนเขาเฝา ณ
วงั ศโุ ขทยั พรอ มกบั ทูลเกลาฯ ถวายรางรัฐธรรมนูญชั่วคราว วันรุงขึ้นคือวันท่ี 27 มิถุนายน พระบาทสมเด็จ

80

พระปกเกลา เจา อยหู วั (รัชกาลที่ 7) ลงพระปรมาภไิ ธยในรัฐธรรมนูญฉบับช่ัวคราวพระราชทานแกประชาชน
ชาวไทย ถือเปนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เรียกช่ือวา “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง
แผนดินสยามชัว่ คราว พทุ ธศักราช 2475”

ตอมาในวันท่ี 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 7)
พระราชทานรัฐธรรมนญู ฉบับถาวรและทรงโปรดเกลาฯ แตง ตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมพี ระยามโนปกรณนิติธาดา
เปน นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

ผลกระทบทเี่ กดิ ขน้ึ จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

1. ผลกระทบทางดานการเมือง การเปลี่ยนแปลงสงผลกระทบตอสถานภาพของสถาบัน
พระมหากษัตรยิ เปน อยางมาก เพราะเปน การสิ้นสุดพระราชอํานาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย ถึงแมวา
พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลท่ี 7) จะทรงยอมรับการเปล่ียนแปลง และทรงยินยอม
พระราชทานรัฐธรรมนูญใหกับปวงชนชาวไทยแลวก็ตาม แตพระองคก็ทรงเปนหวงวาประชาชนจะมิไดรับ
อํานาจการปกครองที่พระองคทรงพระราชทานใหโดยผานทางคณะราษฎรอยางแทจริง พระองคจึงทรงใช
ความพยายามท่ีจะขอใหราษฎรไดดําเนินการปกครองประเทศดวยหลักการแหงประชาธิปไตยอยางแทจริง
แตพระองคก็มิไดรับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแตประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค
ตอ งทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ. 2477

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังกอใหเกิดความขัดแยงทางการเมืองระหวาง
กลมุ ผลประโยชนตา ง ๆ ทมี่ สี วนรวมในการเปล่ียนแปลงการปกครองเมื่อวันท่ี 24 มิถุนายน 2475 ทั้งน้ีเปน
เพราะยังมีผูเห็นวาการท่ีคณะราษฎรยึดอํานาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว
(รชั กาลท่ี 7) เพอื่ เปลี่ยนแปลงการปกครองทม่ี ีพระมหากษัตรยิ เปน ประมุขภายใตรฐั ธรรมนูญนั้น ยงั มิไดเ ปน ไป
ตามคําแถลงท่ีใหไวกับประชาชนนอกจากน้ีการที่คณะราษฎรไดมอบหมายใหนายปรีดี พนมยงค รางเคา
โครงการเศรษฐกิจแหงชาติ เพือ่ ดาํ เนินการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศตามที่ไดประกาศไวเมื่อครั้งกระทํา
การยึดอํานาจเพื่อเปลยี่ นแปลงการปกครองนั้น หลายฝายมองวา เคา โครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโนมเอียงไป
ในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต ความขัดแยงจึงเกิดขึ้นในหมูผูที่เกี่ยวของภายหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครองสิ้นสุดลงแลวไมนาน พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นวาการบริหารประเทศ
ทา มกลางความขัดแยงในเรื่องเคาโครงเศรษฐกิจไมสามารถจะดําเนินตอไปได จึงประกาศปดสภาและงดใช
รฐั ธรรมนูญบางมาตรา สงผลให พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นํากําลังทหารยึดอํานาจรัฐบาลพระยามโน
ปกรณนิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ไดเขาดํารง
ตําแหนงนายกรัฐมนตรบี ริหารราชการแผนดินสืบแทน แตรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ไดเขา
บริหารประเทศไดไมนาน ก็มบี คุ คลคณะหน่ึงซ่ึงเรยี กตนเองวา คณะกูบานกูเมือง นําโดยพลเอกพระองคเจา-
บวรเดช ไดก อ การรฐั ประหารยดึ อาํ นาจรฐั บาลในเดือนตุลาคม 2476 โดยอางวา รฐั บาลไดท าํ การหมิน่ ประมาท
องคพระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค เขารวมในคณะรัฐบาล พรอมกับเรียกรองใหรัฐบาล
ดําเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตยอยางแทจริง แตในที่สุดรัฐบาล

81

พ.อ.พระยาพหลฯ กส็ ามารถปราบรฐั ประหารของคณะกูบานกูเมืองไดสําเร็จ หลังจากน้ันก็มีการจับกุมและ
กวาดลางผูตองสงสัยวาจะรวมมือกับคณะกูบานกูเมือง จนดูเหมือนวาประเทศไทยมิไดปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอยา งแทจ ริง

2. ผลกระทบทางดานเศรษฐกจิ การเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เปนการเปล่ียนแปลง
ทางการเมืองทส่ี ําคญั ของไทย และมผี ลกระทบทางเศรษฐกจิ เพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสรา ง
ทางเศรษฐกิจ ทีค่ ณะราษฎรไดมอบหมายใหน ายปรดี ี พนมยงค เปนคนรา งเคาโครงการเศรษฐกิจ เพ่ือนําเสนอ
น้ัน มิไดรับการยอมรับจากคณะราษฎรสวนใหญ ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง จงึ มีการเปล่ยี นแปลงเปน ทนุ นิยมโดยรัฐทเ่ี รียกวารัฐวิสาหกิจและโครงสรางทางเศรษฐกิจยังคง
เนน ท่กี ารเกษตรกรรมมากกวาอุตสาหกรรม ซึ่งตางจากประเทศตะวันตกสวนใหญท่ีมีการปกครองในระบอบ
ประชาธปิ ไตย ไดพ ัฒนาไปสคู วามเปนประเทศอตุ สาหกรรม

3. ผลกระทบทางดา นสังคม ภายหลงั การเปล่ียนแปลงการปกครอง สงั คมไทยไดร ับผลกระทบจาก
เปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มไดรับเสรีภาพและมีสิทธิตางๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต
บทบญั ญตั แิ หงรฐั ธรรมนูญ และไดรบั สิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะท่ีบรรดาเจาขุนมูลนาย ขุนนาง ซ่ึงมี
อํานาจภายใตระบอบการปกครองด้ังเดิมไดสูญเสียอํานาจและสิทธิประโยชนตางๆ ที่เคยมีมากอน โดยที่
คณะราษฎรไดเขาไปมีบทบาทแทนบรรดาเจานายและขุนนางในระบบเกา เน่ืองจากคณะราษฎรมีนโยบาย
สงเสริมการศึกษาของราษฎรอยางเต็มที่ นอกจากนั้นรัฐบาลไดกระจายอํานาจการปกครองไปสูทองถ่ิน
ดว ยการจดั ตั้งเทศบาลตําบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของ
เทศบาลเฉพาะทอ งถนิ่ น้ันๆ โดยมีเทศมนตรีเปนผบู ริหารตามหนาท่ีพ.ศ. 2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหล
พลพยุหเสนา ไดประกาศใชแผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2479 โดยกาํ หนดแบง การศกึ ษาออกเปน 2 ประเภท
คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเปนการเนนความสําคัญของอาชีวศึกษาอยางแทจริง โดยได
กําหนดความมุงหมายเพ่ือสงเสริมใหผูท่ีเรียนจบการศึกษาในสายสามัญ ไดเรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติม
นอกเหนอื ไปจากเรยี นวชิ าสามญั ทัง้ นี้ เพ่ือประโยชนท ่จี ะออกไปประกอบอาชพี ตอไป

ดังนัน้ การเปล่ยี นแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จงึ ไดน ําไปสูการปรับปรงุ ใหร าษฎรไดร บั การศึกษา
และสามารถใชวิชาการความรูท่ีไดรับไปประกอบอาชีพอยางม่ันคงและมีความสุข ขณะเดียวกัน
การเปล่ียนแปลงการปกครองในคร้งั นสี้ งผลใหชนช้ันเจานายและขุนนางในระบบเกาถูกลิดรอนผลประโยชน
ทางเศรษฐกจิ ลง

82

เรื่องท่ี 3 พระราชกรณยี กจิ ของพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจา สิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ทสี่ งผลตอการเปลย่ี นแปลงของ
ประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช
พระราชประวตั ิพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช (รชั กาลที่ 9)

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เม่ือวันที่ 5 ธันวาคม
พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานทออเบอรน (MOUNT AUBURN) รัฐแมสซาชูเซตต (MASSACHUSETTS)
ประเทศสหรฐั อเมริกา พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงพระนามเดมิ วา “พระวรวงศเธอ
พระองคเจาภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเปนพระราชโอรสในสมเด็จเจาฟามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลา
นครินทร (ตอ มาไดรบั การเฉลมิ พระนามาภไิ ธยเปน สมเด็จพระมหติ ลาธิเบศร อดลุ ยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
และหมอมสังวาล มหดิ ล ณ อยุธยา ตอมาไดร บั การเฉลมิ พระนามาภิไธยเปน สมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี

การศกึ ษา

เม่ือพระชนมายุได 5 พรรษา ทรงเริ่มเขารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตรเดอี กรุงเทพมหานคร
ตอจากน้ันทรงเสด็จไปศึกษาตอ ณ ประเทศสวิตเซอรแลนด จากการศึกษาดังกลาว ทรงรอบรูหลายภาษา
ไดแก อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ในระดับอุดมศึกษา ทรงเขาศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร
มหาวทิ ยาลยั เมืองโลซานน ตอ มาในป พ.ศ. 2481 ไดเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพรอมดวยพระบรมเชษฐาธิราช
(พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8) พระบรมราชชนนี และพระเชษฐภคินี
(สมเด็จพระเจา พ่ีนางเธอ เจา ฟา กลั ยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครนิ ทร)

การเถลิงถวัลยราชสมบตั ิ

เมอื่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต รัฐบาลโดยความเห็นชอบของ
รัฐสภาไดอัญเชิญสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา เสด็จขึ้น
ครองราชยเปนพระมหากษัตริย รัชกาลที่ 9 แหงพระบรมราชจักรีวงศ เม่ือวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
ทรงเฉลมิ พระปรมาภไิ ธยวาพระบาทสมเด็จพระเจาอยหู ัวภมู พิ ลอดุลยเดช เนือ่ งจากยังทรงพระเยาวและยังมี
พระราชกจิ ดานการศกึ ษา จึงเสดจ็ พระราชดําเนินกลับไปศกึ ษาตอ ณ ประเทศสวิตเซอรแ ลนด โดยทรงเลือก
ศึกษาวิชากฎหมายและวิชารฐั ศาสตรแ ทน

พระราชพธิ รี าชาภเิ ษกสมรส

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2493 พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช เสดจ็ ฯนิวตั ิประเทศไทย
โปรดเกลาฯ ใหต้ังการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2493 ตอมาเม่ือวันท่ี 28 เมษายน 2493 ทรงโปรดเกลาฯใหจัดการราชาภิเษกสมรสกับ

83

หมอมราชวงศสิริกติ ิ์ กติ ิยากร ท่ีวังสระปทมุ และไดท รงสถาปนาหมอมราชวงศสิรกิ ติ ข์ิ น้ึ เปนสมเด็จพระราชินี-
สิริกิต์ิ

พระบรมราชาภเิ ษก

วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงประกอบ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่น่ังไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง
เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏวา “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และไดพระราชทานพระปฐม
บรมราชโองการวา “เราจะครองแผนดินโดยธรรม เพ่ือประโยชนสุขแหงมหาชนชาวสยาม” ในการน้ีไดทรง
พระกรุณาโปรดเกลาฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิต์ิ เปนสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ตอมาเม่ือวันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ไดเ สด็จฯพรอ มดว ย สมเดจ็ พระนางเจาสริ กิ ิติ์ พระบรมราชินนี าถ ไปยงั ประเทศสวติ เซอรแ ลนดอีกครัง้ เพื่อทรง
รักษา พระสขุ ภาพ และเสด็จพระราชดําเนนิ นวิ ตั ิพระนคร เม่ือวันที่ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตําหนัก
จติ รลดารโหฐาน และพระทนี่ งั่ อัมพรสถาน ท้ังสองพระองคม ีพระราชธดิ า และพระราชโอรส 4 พระองคดงั นี้

1. สมเดจ็ พระเจาลกู เธอ เจา ฟา อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันท่ี 5 เมษายน
2494 ณ โรงพยาบาลมองซวั ชี นครโลซาน ประเทศสวิสเซอรแ ลนด

2. สมเดจ็ พระเจาลูกยาเธอ เจาฟาวชิราลงกรณฯ ประสูติเม่ือวันที่ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระท่ีนั่ง
อัมพรสถาน ตอมา ทรงไดรับสถาปนาเปน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจาฟามหาวชิราลงกรณฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เมือ่ วนั ที่ 28 กรกฎาคม 2515

3. สมเดจ็ พระเจา ลูกเธอเจาฟา สิรินธรเทพรตั นสุดา กิติวัฒนาดลุ โสภาคย ประสตู ิเมอื่ วันที่ 2 เมษายน
2498 ณ พระทีน่ ่งั อัมพรสถาน ภายหลังทรงไดรับสถาปนาเปน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจาฟามหาจักรี
สริ นิ ธร รฐั สีมาคณุ ากรปย ชาติ สยามบรมราชกมุ ารี เมอ่ื วนั ที่ 5 ธันวาคม 2520

4. สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี ประสูติเม่ือวันท่ี 4 กรกฏคม
2500 ณ พระทน่ี ั่งอมั พรสถาน

ทรงพระผนวช

วันท่ี 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงพระผนวช ณ
วัดพระศรรี ตั นศาสดาราม ทรงจาํ พรรษา ณ วดั บวรนิเวศวิหาร ปฏบิ ตั พิ ระศาสนกจิ เปนเวลา 15 วัน ระหวางนี้
สมเด็จพระนางเจา สิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินี ทรงปฏบิ ตั ิพระราชกรณียกิจแทนพระองค ตอมาจึงทรงพระกรุณา
โปรดเกลา ฯ สถาปนาเปน สมเดจ็ พระนางเจา สิรกิ ิติ์ พระบรมราชนิ ีนาถ

พระมหากษัตรยิ ผูมากอัจฉรยิ ภาพ

ประชาชนชาวไทยหรือแมแตชาวตางชาติ จะมองพระมหากษัตริยพระองคนี้วามีพระปรีชาชาญ
ดานการเกษตรหรือการพัฒนาแหลงนํ้าเปนหลัก เพื่อแกปญหาการอยูดีกินดีของราษฎร ซึ่งสะทอนผาน

84

โครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริมากมายท่ัวประเทศ หรือแมแตโครงการหลวงท่ีทรงรับสั่งเปนพิเศษ
อยเู นือง ๆ

จนเร่อื งราวเหลานไ้ี ดบดบงั พระอจั ฉริยภาพดา นอื่น ๆ ของพระองค ซ่ึงลวนมีความโดดเดนไมแพกัน
ซึ่งหลาย ๆ เรอ่ื งไมใชสง่ิ ที่เรนลับปด บัง หรอื แมแตการกลา วอางทเี่ กินจรงิ

เชนในหมูศิลปนไดยกยองพระองคเปน “อัครศิลปน” เนื่องจากพระอัจฉริยภาพอันสูงสง
ดานจิตรกรรมที่พระองคทรงปฏิบัติดวยพระราชหฤทัยมานาน เชนเดียวกับงานดานดนตรีท่ีรับรูกันในหมู
นักดนตรีระดบั โลก

ในหมูนักอา นกเ็ ชนที่รับรกู ันวา พระองคมีพระอัจฉริยภาพอันลํ้าลึกดานการประพันธ หรือแมแตงาน
พระราชนพิ นธแปล ลว นจดั เปน วรรณกรรมอมตะที่ฝากไวในบรรณพภิ พ

ดานการกฬี าก็เปนที่รูก ันวา พระองคทรงเปนนักกฬี าเหรยี ญทองในกีฬาซีเกมส จากการแขงขันเรือใบ
ทพี่ ระองคท รงประดษิ ฐเองในชื่อ “ซปุ เปอรม ด”

ในดานงานชางก็เปนที่ประจักษกันวาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสน
พระทัยและทรงมีฝมือ ไมวา จะเปน งานชางไม ชางโลหะ ชางกล ตลอดถึงการเปน นักประดษิ ฐคดิ คนนวัตกรรม
ใหม ๆ อยูต ลอดเวลา

พระราชกรณียกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช

นับแตเสด็จข้ึนครองราชยสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติ
พระราชภารกิจอยางมิทรงเห็นแกความเหน็ดเหนื่อย เพื่อใหประชาชนของพระองคมีความเปนอยูที่ดีขึ้น
คนไทยทุกคนรูสึกและรับรูตลอดมาวาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงงานหนัก
เพื่อใหประชาชนของพระองคม ีความสุข นอกจากจะทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการพัฒนาดานทรัพยากร
และส่งิ แวดลอ มตา ง ๆ แลว พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงใหความสําคัญตอการ
พัฒนาคนทั้งกายและจิตใจเปนอยางมาก ท้ังดานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและดานสาธารณสุข
รวมทั้งการใหค วามเปน ธรรมแกประชาชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใหความ
ชวยเหลอื ประชาชนของพระองคครอบคลมุ วถิ ีชีวติ ในทุก ๆ ดาน ดงั นี้

1. ดานการตา งประทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดเสด็จพระราชดําเนินเยือนประเทศตาง ๆ

หลายประเทศ ทัง้ ในทวปี เอเชยี ทวีปยโุ รปและทวปี อเมรกิ าเหนือ เพ่ือเปน การเจรญิ ทางพระราชไมตรีระหวาง
ประเทศไทยกบั บรรดามิตรประเทศเหลานั้น ที่มีความสัมพันธอันดีอยูแลวใหมีความสัมพันธแนนแฟนยิ่งข้ึน
ทรงนาํ ความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยไปยังประเทศตาง ๆ นนั้ ดวยทําใหประเทศไทยเปนท่ีรูจักอยาง
กวา งไกลมากย่งิ ขนึ้ นบั วาเปน ประโยชนตอประเทศไทยอยางมหาศาล และประเทศตาง ๆ ท่ีเสด็จพระราช-
ดาํ เนินไปทรงเจรญิ ทางพระราชไมตรี มีท้ังประเทศในทวีปยุโรป ทวปี อเมรกิ า ทวีปออสเตรเลีย และทวปี เอเชีย
เมื่อเสรจ็ สนิ้ การเสด็จพระราชดําเนินเยอื นประเทศตา ง ๆ แลวกไ็ ดท รงตอ นรับพระราชอาคนั ตกุ ะ ที่เปนประมุข

85

ของประเทศตาง ๆ ทีเ่ สดจ็ ฯ และเดินทางมาเยือนประเทศไทยเปนการตอบแทน และบรรดาพระราชอาคันตุกะ
ทั้งหลายตางกป็ ระทบั ใจในพระราชวงศข องไทย

2. ดา นการพัฒนาสังคม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดทรงพัฒนาสังคมเพื่อใหประชาชน

มคี วามเปนอยูที่ดีในหลาย ๆ ดา น ดังน้ี
3. ดานการศกึ ษา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช ทรงเห็นความสําคัญของการศึกษาวา เปนปจ จยั

ในการสรา งและพฒั นาความรู ความคิด ความประพฤตแิ ละคณุ ธรรมของบุคคล การศกึ ษาจงึ เปน การพฒั นาคน
ซงึ่ จะนาํ ไปสูก ารพฒั นาในทุก ๆ ดา น ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม จึงพระราชทานความเกื้อหนุนดานการศึกษา
ทัง้ ในระบบและนอกระบบโรงเรียน ตง้ั แตช้ันประถมศึกษาไปจนถึงอดุ มศึกษา ดงั ท่ีมพี ระราชดาํ รสั วา

“การศึกษาเปนปจจัยในการสรางและพัฒนาความรู ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของ
บุคคล สงั คมและบานเมืองใดใหก ารศึกษาที่ดแี กเ ยาวชนไดอยางครบถวน ลวนพอเหมาะกันทุก ๆ ดานสังคม
และบานเมืองนั้นจะมีพลเมืองท่ีมีคุณภาพ ซ่ึงสามารถธํารงรักษาความเจริญม่ันคงของประเทศชาติไว และ
พฒั นาใหกาวหนาตอ ไปไดโ ดยตลอด”

พระราชดํารัสดังกลาวสะทอนใหเห็นถึงความสําคัญของการศึกษา วาประเทศชาติจะพัฒนา
ใหเ จริญกาวหนาได ก็ดว ยการพฒั นาประชาชนในชาตใิ หมคี ุณภาพโดยการใหการศึกษา

พระราชกรณีกิจดานการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เริ่มตั้งแต
พ.ศ. 2498 โปรดเกลาฯ ใหตั้งโรงเรียนสําหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรขาราชบริพาร ตลอดจน

บคุ คลทั่วไป ๆ ไดมีโอกาสรวมเรียนดวย คือ โรงเรียน
จิตรลดา และเมื่อไดเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎร
และหนวยปฏิบัติการทหารตํารวจตามบริเวณชายแดน
ทุรกันดาร ทําใหทรงทราบถึงปญหาการขาดแคลน
ท่ีเรียนของเด็กและเยาวชน พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไดพระราชทาน
พระราชทรัพยสวนพระองคเพ่ือพัฒนาดานการศึกษา
โ ด ย ก า ร จั ด ตั้ ง โ ร ง เ รี ย น สํ า ห รั บ เ ย า ว ช น ใ น ท อ ง ถ่ิ น
ทุรกันดารใน พ.ศ. 2499 นอกจากนี้ยังไดพระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองคในการกอสรางโรงเรียน
พระราชทานนามวา โรงเรยี นรมเกลา ซงึ เปน โรงเรยี นสาํ หรบั เยาวชนในทอ งถ่นิ ชนบทหางไกลท่ีมีความไมสงบจาก
ภัยตา ง ๆ พระราชทานพระราชทรัพยเพื่อรวมสรางโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน สําหรับชาวไทยภูเขา
ทอี่ าศัยอยูในดินแดนทรุ กนั ดารหางไกลการคมนาคม ซ่ึงมีช่ือเรียกวา “โรงเรียนเจาพอหลวงอุปถัมภ” จัดตั้ง
โรงเรียนราชประชาสมาสัยเพ่ือเปนสถานศึกษาอยูประจําสําหรับเยาวชนที่เปนบุตรธิดาของคนไขโรคเร้ือน
จดั ตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะหร ว มกบั ประชาชนเมื่อเกิดวาตภยั ในภาคใตที่แหลมตะลมุ พกุ อาํ เภอปากพนงั
จังหวดั นครศรีธรรมราชและจงั หวดั ใกลเ คียง

86

นอกจากการศึกษาระดับประถมศึกษา
และมธั ยมศึกษาแลว พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงสนพระราชหฤทัย
ในการศึกษาระดับอดุ มศกึ ษาดวย โปรดเกลาฯ ใหตั้ง
ทุนภูมิพลข้ึน พระราชทานแกผูที่มีผลการเรียนดี
แตขาดแคลนทุนทรัพย และพระราชกรณียกิจ
ที่คุนตาคนไทยดี คือ การเสด็จฯพระราชทาน
ปริญญาบัตรแกบัณฑิตผูสําเร็จการศึกษาจาก
มหาวทิ ยาลัยของรฐั มาตง้ั แต พ.ศ. 2493

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังไดพระราชทานพระราชทรัพยสวนพระองค
กอ ต้งั ทุน “อานันทมหดิ ล” ขึ้นเม่อื พ.ศ. 2498 และทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ใหต ง้ั เปนมลู นิธิ อานันทมหิดล
เมื่อ พ.ศ. 2502 เพ่อื สนับสนุนนกั เรยี นไทยที่มีความสามารถทางวชิ าการยอดเยีย่ มและมคี ุณธรรมสงู ใหม โี อกาส
ไปศึกษาจนถงึ ชน้ั สูงสุดในตา งประเทศ

4. ดา นการศาสนา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล่ือมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาเปน

อยางยิ่ง ทรงเปนองคอัครศาสนูปภัมภกของพระพุทธศาสนา ไดทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพ่ือ
สงเสริมพระพุทธศาสนา เชน เสด็จพระราชดําเนิน
บําเพ็ญ พระราชกุศลในวันสําคัญทางศาสนาอยาง
สมาํ่ เสมอ เชน วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
รวมทั้งการเสด็จพระราชดําเนินถวายผาพระกฐินตาม
พระอารามตาง ๆ และทรงรวมในงานพิธีทางศาสนา
ท่ปี ระชาชนกราบบงั คมทลู เชิญ
พระราชกรณยี กจิ ทางศาสนาของ
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช

นอกจากทรงทาํ นุบํารงุ วดั ตามพระราชประเพณมี าแตเดมิ แลว ยงั ทรงประกอบศาสนพิธไี ดอยา งครบถว น
ทส่ี าํ คัญคอื ศาสนธรรม ซงึ่ ทรงปฏิบัตแิ ละทรงสอนธรรมอยา งหาผูใ ดเสมอเหมอื นได พระราชดาํ รสั พระบรม-
ราโชวาททีพ่ ระราชทานในโอกาสตา ง ๆ จงึ มาจากหลกั ธรรมทงั้ สิ้น บางสว นมาจากทศพธิ ราชธรรม บางสวน
มาจากหลักสงั คหวตั ถุ จกั วรรดวิ ตั หรือนวโอวาท และหลกั ธรรมทีอ่ างถึงไมวา คนในศาสนาใดก็สามารถรบั ฟง และ
เขาใจได นับวาพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชทรงเปนธรรมราชาอยางแทจ รงิ

นอกจากน้นั พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ในฐานะองคอ ัครศาสนปู ภัมภกยังได
พระราชทาน พระราชปู ภัมภบาํ รุงศาสนาอน่ื ๆ ในประเทศไทยท่ีคนไทยนับถือดวย ท้ังศาสนา คริสต ศาสนา

87

อิสลาม ศาสนาสิกข ในพระราชอาณาจักรอยางท่ัวถึง โดยไดพระราชทานพระราชทรัพยอุปภัมภและบํารุง
ศาสนาเหลา น้นั ดวย

5. ดานศิลปวัฒนธรรม
ศลิ ปวฒั นธรรมเปนสงิ่ ทแ่ี สดงใหเ หน็ ถึงความเปน มาของบา นเมอื งที่ประกอบดวยคนหลายชาตพิ ันธุ

และความเปนชาติ แมว า พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดชจะทรงพระปรีชาสามารถทางดนตรี
จิตรกรรม และประติมากรรม แตก็ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องศิลปวัฒนธรรมดานอ่ืน ๆ และการจัดการ
ทรพั ยากรวัฒนธรรมทกุ แขนง รวมทงั้ ภาษาไทยอันเปน ภาษาประจําชาติดวย

วิสัยทัศนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช ดานการจัดการวัฒนธรรม อันเปนเอกลักษณและ
มีประโยชนอยางยิ่งตอการศึกษา สรางความภาคภูมิใจของคน
ในชาติและความกาวหนาทางเศรษฐกิจ ดังจะเห็นไดจากที่เสด็จ
ประพาสสถานท่ีสําคัญทางประวัติศาสตรและโบราณคดี แสดงให
เห็นความหวงใยสมบัติวัฒนธรรมของชาติ จนมีรับสั่งเตือนสติอยู
เนือง ๆ ใหชวยกันอนุรักษและนํามาใชใหเกิดประโยชน คือ การเรียนการสอนใหคนไดรูจักและเขาใจ
อัตลักษณของบานเมือง ไมควรปลอยใหซื้อขายสมบัติของชาติกันอยางไมถูกตองตามกฎหมาย ไมเชนนั้น
อาจจะตองไปชมหรือศึกษาของเราท่ีตางประเทศ “...ก็ควรเปนเร่ืองเศราและนาอับอายมาก...” และ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงยํ้าเสมอวาประเทศเรามีความเปนมายืนยาวนาน
“...มเี อกราช มภี าษา ศิลปะและขนบธรรมเนยี มเปน ของตนเอง...”

เร่ืองภาษาไทย ทรงเตือนใหตระหนักวาเปนภาษาประจําชาติ เปนมรดกและสมบัติอันลํ้าคาของ
ประเทศชาติควร “...รักษาไว...” และยกตัวอยางบางประการท่ีประสบมา เชน การออกเสียงไมถูกตอง
สรา งประโยคไมถูกตอ ง และบญั ญตั ิศัพทใหมโดยไมจําเปน ดังมีพระกระแสรับสั่งวา ภาษาไทยเปนส่ิงสําคัญ
สําหรับบา นเมอื ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยอยางมากในเรื่อง
ขนบธรรมเนยี มประเพณี ศลิ ปวัฒนธรรมของชาติ และทรงมีบทบาทในการดํารงรักษามรดกไวไมใหสูญหาย
พระราชกรณียกจิ ของพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทางดานศิลปวฒั นธรรมของชาติ คือ
ทรงฟนฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเปนพระราชพิธีโบราณเพราะประเทศของเรา
เปนประเทศเกษตรกรรม พระราชพิธีน้ีทําเพื่อความเปนสิริมงคลแดพืชพันธธัญญาหาร และเพ่ือบํารุงขวัญ
กําลงั ใจแดเ กษตรกร ซงึ่ เปน ประชากรสว นใหญของประเทศ

นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ
ใหฟนฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดําเนินถวายผาพระกฐิน โดยทรงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค พ้ืนฟู

88

พระราชพิธเี สด็จพระราชดาํ เนินโดยกระบวนพยหุ ยาตราทางชลมารค เพ่อื ถวายผาพระกฐนิ แดพ ระอารมหลวง
ซ่ึงเปนมรดกทางวัฒนธรรมทีแ่ สดงใหเ หน็ ถงึ ความเจริญรงุ เรอื งของชาตทิ ีม่ สี บื ตอ มาจนปจ จบุ ันนี้

พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช มพี ระราชดํารสั อยเู สมอวา โบราณวตั ถุ ศิลปวตั ถุ
และโบราณสถานทงั้ หลายลวนเปน ของมีคา และจาํ เปน แกการศึกษาคนควาในทางประวัติศาสตร ศิลปะและ
โบราณคดี เพราะเปนเคร่ืองแสดงถงึ ความเจริญรุง เรอื งของชาตไิ ทยที่มีมาแตอดตี กาล จึงควรจะสงวนรักษาไว
ใหคงทนถาวรเปน สมบตั ิสวนรวมของชาตไิ วตลอดไป

พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาคณุ ภาพชวี ิตของประชาชน

พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงงานอยางหนักอยางตอเนื่อง เพ่ือยกระดับ
คณุ ภาพชีวติ และสภาพความเปนอยูของประชาชนใหด ขี ึ้นในทกุ ดาน โดยเฉพาะผยู ากไรในชนบท ในการพัฒนา
คณุ ภาพชีวติ ของราษฎร พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช ทรงมุงเนน เรอ่ื งการเกษตร ซึ่งเปน
อาชีพหลักของราษฎรทั้งประเทศ โดยทรงใหความสําคัญตอการพัฒนาทรัพยากรและส่ิงแวดลอม เชน
แหลงนํ้า ดินและปาไม ทรงตระหนักวา น้ําเปนปจจัยสําคัญยิ่งและเปนความตองการอยางมากของราษฎร
ในชนบท ท้ังการใชอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเกษตร ทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องการใชท่ีดินเพ่ือ
การเกษตรและทรงเนนการพัฒนาท่ีดิน รวมทั้งปาไมอันเปนทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการดานการใช
ทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ มใหเกดิ ประโยชนสูงสุดแกร าษฏร จนเปนที่ประจักษชัดทั้งภายในประเทศ
และตา งประเทศ แนวพระราชดําริเร่ืองทฤษฎีใหม ซึ่งเปนการจัดการทรัพยากรน้ําและที่ดินเพื่อการเกษตร
เปน แนวพระราชดําริทไี่ ดรบั การยอมรบั โดยทั่วไป

1. ดา นทรัพยากรธรรมชาติ
การจัดการทรพั ยากรนํา้ พระราชกรณียกิจดานการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-

มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สําคัญยิ่งคือ งานพัฒนาท่ีเกี่ยวของกับน้ํา ศาสตรท้ังปวงท่ีเกี่ยวกับนํ้าทั้งการพัฒนา
การจดั หาแหลง นาํ้ การเก็บกักนา้ํ การระบาย การควบคุม การทาํ นํ้าเสยี ใหเปนน้ําดี ตลอดจนการแกไขปญหา
นํา้ ทวม พระราชกรณียกิจในชวงตน ๆ แหงการเสด็จพระราชดําเนินทรงเย่ียมราษฎรในภูมิภาคตาง ๆ ของ
ประเทศ ทรงเนนเรือ่ งความสําคญั ของแหลงนาํ้ เพ่อื ใชในการอุปโภคและการเกษตรกรรม ดังพระราชดาํ รัสทวี่ า

...หลักสาํ คญั ตอ งมนี ้ําบริโภค นํ้าใชเพ่ือการเพาะปลูก เพราะวาชีวิตอยูท่ีนั่น ถามีนํ้าคนอยูได ไมมี
ไฟฟาคนอยไู ด แตถา มไี ฟฟา ไมมนี า้ํ คนอยูไมได. ..

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยเร่ืองนํ้ามาตั้งแตยังทรง
พระเยาว จึงสงผลใหมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริจํานวนมากที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ํา นอกจากน้ี
ความสนพระราชหฤทัยเรื่องนา้ํ ของพระองค มไิ ดจํากดั อยูเฉพาะโครงการพัฒนาแหลงนํ้าดวยวิธีการจัดสราง
แหลง นํา้ ถาวร ซ่ึงอาจจะเปนอา งเกบ็ น้าํ หรอื ฝายใหร าษฎรในทอ งถน่ิ ตาง ๆ ใหมีนํ้าใชโดยไมขาดแคลนเทาน้ัน

89

แตยังทรงหาวธิ กี ารจัดหาน้าํ ชว ยเหลือราษฎรในทุกทาง ดวยเหตุน้ีจึงเกิดแนวพระราชดําริเรื่อง “ฝนหลวง”
ข้ึน ดงั มี พระราชดาํ รสั วา

...แตมาเงยดทู องฟา มเี มฆ ทําไมมเี มฆ อยางน้ีทาํ ไมจะดงึ เมฆนใี่ หล งมาได ก็เคยไดย ินเรือ่ งทาํ ฝน ก็มา
ปรารภกบั คุณเทพฤทธ์ิ ฝนทําได มีหนงั สือ เคยอานหนงั สือทาํ ได. ..

จากน้ันโครงการ “ฝนหลวง” หรอื “ฝนเทยี ม” จงึ เกดิ ขนึ้ ภายใตก ารพระราชทานคําแนะนําของ
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชอยางใกลช ดิ โดยเร่มิ ตงั้ แตวันท่ี 14 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2498

และไดเ รมิ่ ทําฝนเทยี มครง้ั แรกเมอ่ื วนั ท่ี 20 กรกฎาคม
พ.ศ. 2512 จากน้นั การคน ควาพัฒนาเก่ียวกบั
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช ก็ได
กา วหนาขึ้นอยา งตอเนอื่ ง พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหา-
ภมู พิ ลอดลุ ยเดชไดทรงทดลองวิจัยดวยพระองคเ อง และ
พระราชทานทรัพยส ินสว นพระองครว มเปนคาใชจา ย
ในทีส่ ดุ ดวยพระวริ ิยอุตสาหะเปนเวลาเกอื บ 30 ป ดว ย
พระปรชี าสามารถและพระอจั ฉรยิ ภาพ ทาํ ใหส ามารถกาํ หนดบังคับฝนใหตกลงสพู ้นื ทเี่ ปาหมายได จากฝน
หลวงที่มงุ หวังชว ยเหลือเกษตรทป่ี ระสบภยั แลง โดยการชว ยแกไขปญหาขาดแคลนนํา้ หรือฝนทง้ิ ชว ง และชวย
ดา นการอุปโภคบรโิ ภค รวมทง้ั การทาํ ฝนหลวงเพ่ือเพิ่มปรมิ าณนํา้ เหนือเขื่อนภูมพิ ล เมือ่ เกดิ ภาวะวิกฤตขิ าด
แคลนนํ้าอยางรุนแรงในชวงหนาแลง

การแกไ ขปญหานา้ํ เสีย แนวพระราชดําริเก่ยี วกับเรอ่ื งนา้ํ ท่สี าํ คญั มหี ลายโครงการ เชน เรอื่ ง “นาํ้ ดี
ไลน ํ้าเสีย” ในการแกไขปญหามลพิษทางนา้ํ โดยทรงใชน ํ้าท่มี คี ณุ ภาพดีจากแมน้ําเจาพระยาใหช วยผลกั ดนั และ
เจือจางนํ้าเนาเสียใหออกจากแหลงน้ําของชุมชน พระราชดําริบําบัดนํ้าเสียโดยหลักการน้ีเปนวิธีการที่งาย
ประหยดั พลังงาน และสามารถปฏบิ ัติไดตลอดเวลา แสดงใหเห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระวิริยอุตสาหะ
ที่ทรงปฏิบัติเพ่ือประโยชนของราษฎร และยังโปรดเกลาฯ ใหมีการทดลองใชผักตบชวามาชวยดูดซับความ
สกปรก รวมทั้งสารพิษตาง ๆ จากน้ําเนาเสีย ประกอบกับเคร่ืองบําบัดนํ้าเสียแบบตาง ๆ ท่ีไดทรงคิดคน
ประดิษฐข ึ้นโดยเนนท่ีวธิ กี ารเรยี บงาย ประหยัด และไมกอ ใหเกิดความเดอื ดรอนราํ คาญแกประชาชนในพนื้ ท่ี

การแกไขปญหานํ้าทวม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไดพระราชทาน
แนวทางแกไขปญหาน้ําทวมดวยวิธีการตาง ๆ อยางเหมาะสมในแตละพื้นท่ี เชน การกอสรางคันกั้นนํ้า
การกอสรางทางผนั นา้ํ การปรับปรุงตกแตงสภาพลาํ นา้ํ เพื่อใหน ํ้าทท่ี ว มทะลกั สามารถไหลไปตามลาํ น้ําไดส ะดวก
หรือชวยใหก ระแสนาํ้ ไหล เรว็ ยง่ิ ข้นึ อันเปน การบรรเทาความเสยี หายจากนาํ้ ทว มขังได นอกจากน้ี การกอ สรา ง
เข่ือนเก็บกักนํ้าเปนมาตรการการปองกันนํ้าทวมที่สําคัญประการหนึ่งในการกักเก็บนํ้าท่ีไหลทวมลนในฤดู
นา้ํ หลาก โดยเก็บไวทางดานเหนือเขื่อนในลักษณะอางเก็บนํ้า เพ่ือประโยชนในการเพาะปลูกของพ้ืนท่ีดาน
ทา ยเข่ือนในชว งทีฝ่ นไมตกหรือฤดูแลง เข่ือนเหลาน้ีมีประโยชนดานการชลประทานเปนหลักและประโยชน
อน่ื ๆ เชน การผลติ ไฟฟา การเพาะเล้ียงปลาและกงุ ในอา งเกบ็ น้ํา และการบรรเทานา้ํ ทว ม

90

นอกจากนี้ แนวพระราชดําริท่ีสําคัญในการแกไขปญหานํ้าทวมที่สําคัญโครงการหน่ึงของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเปนโครงการแกไขปญหาน้ําทวมพื้นที่ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวพระราชดําริคือ “โครงการแกมลิงอันเนื่องมาจากพระราชดําริ”
ในพ้นื ทฝี่ ง ตะวันออกและฝง ตะวนั ตกของแมนาํ้ เจา พระยา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช มีพระราชดําริในการพัฒนาทรัพยากรน้ําซ่ึงเปน
เรอื่ งสาํ คญั ทส่ี ดุ จนเปนทีย่ อมรับกนั โดยทว่ั ไปในหมูป ระชาชนชาวไทยวา ทรงเปนผูเช่ียวชาญในเร่ืองนํ้า และ
ถอื วา เปนงานพฒั นาท่สี ําคญั ยง่ิ ของพระองค การพัฒนาเรอ่ื งทรพั ยากรอนั เปน พระราชกรณียกจิ ทสี่ าํ คญั น้นั มเี ปน
จาํ นวนมาก จนไมอาจกลาวไดอยางครบถวนและดวยพระอัจฉริยภาพดานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของ
พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัฐบาลไทย จึงไดเทิดพระเกียรติคุณในฐานะท่ีมีพระมหา-
กรุณาธิคุณในการพัฒนาทรัพยากรน้ํา โดยถวายพระราชสมัญญาวา “พระบิดาแหงการจัดการทรัพยากรนํ้า”
เม่ือวนั ที่ 21 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2539 ในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงครองราชยสมบัตคิ รบ 50 ป ใน พ.ศ. 2539

การจัดการทรัพยากรปา ไม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราช
หฤทัยและทรงตระหนักถึงความสําคัญของปาไมเปนอยางยิ่ง ทรงหวงในเรื่องปริมาณปาไมท่ีลดลง ไดทรง

คิดคนวิธีการตาง ๆ ท่ีจะเพิ่มปริมาณปาไมใหมากขึ้น
พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า ภู มิ พ ล อ ดุ ล ย เ ด ช
มีพระราชดาํ ริท่ีจะอนุรักษปาไม ดวยการสรางความสํานึก
ใ ห รั ก ป า ไ ม ร ว ม กั น ม า ก ก ว า วิ ธี ก า ร ใ ช อํ า น า จ บั ง คั บ
ดังพระราชดําริท่ีพระราชทานใหมีการปลูกตนไม 3 ชนิด
ท่ีแตกตางกนั คือ ไมผล ไมโตเร็ว และไมเศรษฐกิจ เพ่ือให
เกดิ ปา ไมแ บบผสมผสานและสรางความสมดุลแกธรรมชาติ
อยา งยงั่ ยนื สามารถตอบสนองความตอ งการของรัฐและวิถีประชาในชุมชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-
ภูมพิ ลอดุลยเดชไดพระราชทานพระราชดาํ รเิ รื่องการปลูกปา หลายประการ เชน การปลกู ปาทดแทน การปลูกปา
ในท่ีสูง การปลูกปาตนนํ้าที่ลําธารหรือการปลูกปาธรรมชาติ และการปลูกปา 3 อยาง ไดประโยชน 4 อยาง
ดงั พระราชดํารสั วา
การปลูกปา 3 อยาง แตใหประโยชน 4 อยาง ซ่ึงไดไมผล ไมสรางบาน และไมฟนน้ัน สามารถให
ประโยชนไ ดถ งึ 4 อยา งคอื นอกจากประโยชนใ นตวั เองตามชอื่ แลว ยงั สามารถใหประโยชนอันที่ 4 ซ่ึงเปนขอ
สําคัญคือ สามารถชวยอนรุ กั ษดินและตนนาํ้ ลําธารดว ย
และไดม ีพระราชดาํ รัสเพ่ิมเตมิ ถงึ การปลกู ปา 3 อยาง ไดประโยชน 4 อยา งวา
...การปลกู ปาถา จะใหร าษฎรมปี ระโยชนใหเขาอยูได ใหใชวิธีปลูกไม 3 อยาง แตมีประโยชน 4 อยาง
คือ ไมใชสอย ไมกินได ไมเศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับนํ้า และปลูกอุดชวงไหล
ตามรอ งหว ย โดยรบั น้าํ ฝนอยา งเดียว ประโยชนอยา งท่ี 4 คือ ไดระบบอนุรักษดินและนํ้า...

91

นอกจากน้ี พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ยงั มพี ระราชดําริหลายประการในการ
พัฒนาปาไม เชน การสรา งภเู ขาปา การอนุรักษและพัฒนาปาชายเลน ซ่ึงเปนการสรางวงจรของระบบนิเวศ
ดว ยการอนุรกั ษแ ละขยายพันธไุ มป าชายเลน พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช มพี ระราชดาํ ริ
ใหห าทางปอ งกันอนรุ กั ษแ ละขยายพนั ธุเพ่ิมขึ้น โดยเฉพาะตนโกงกาง ซ่ึงเปนไมชายเลนท่ีขยายพันธุคอนขาง
ยาก นอกจากการอนุรักษและฟนฟูปาชายเลนแลว ยังมีพระราชดําริในการอนุรักษและพัฒนา “ปาพรุ”
ซึ่งเปนปาไมทึบไมผลัดใบประเภทหน่ึง ซึ่งเหลืออยูเพียงผืนเดียวในภาคใตของประเทศไทย โดยมีลักษณะ
เดนชัดคือ เปนปาดงดิบที่มีน้ําทวมขังทั่วบริเวณ ประเทศไทยมีพื้นที่ปาพรุที่ใหญที่สุดอยูท่ีจังหวัดนราธิวาส
ทําใหมีการจัดตั้งศูนยศึกษาการพัฒนาพิกุลทองขึ้น และใหดําเนินการพัฒนาพ้ืนที่พรุใหเกิดประโยชน
หลายดาน จนปจ จบุ นั ปา พรไุ ดกอ ใหเ กดิ ประโยชนอยางอเนกประสงค และชวยใหเกิดความสมดุลของระบบ
นเิ วศ ตามพระราชดาํ ริของพระองค

การจัดการทรัพยากรดนิ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัย
ในงานพัฒนาแหลงนํ้าเพื่อการเกษตรและปองกันอุทกภัย โดยทรงเริ่มต้ังแตฟนฟูท่ีภูเขาตนนํ้าโดยการ
ปลูกปาเพื่อการอนุรกั ษดนิ และเพ่ิมความชุม ชน้ื ใหแกด ินและปา ไมใ นพ้นื ทตี่ า ง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ

ก า ร พั ฒ น า ใ น เ ร่ื อ ง ดิ น ต า ม พ ร ะ ร า ช ดํ า ริ ข อ ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ท่ีมี
ความสําคัญโครงการหน่ึง คือ การปลูกหญาแฝกปองกัน
การเสอ่ื มโทรมและพังทลายของดนิ เพราะการชะลางพังทลาย
ข อ ง ดิ น ก อ ใ ห เ กิ ด ก า ร สู ญ เ สี ย ห น า ดิ น ที่ ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด ว ย
สารอาหารท่ีสะสมในดิน รวมท้ังความอุดมสมบูรณจาก
ธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงตระหนกั ถึงปญหาสภาพปญ หาและสาเหตทุ ี่เกดิ ขึ้น โดยทรงศึกษาถึงศกั ยภาพของหญา แฝกที่มีคุณสมบัติ
พเิ ศษในการชวยปองกนั การชะลางการพงั ทลายของหนา ดินและอนุรกั ษความชุม ช้ืนใตดนิ ไว วธิ กี ารปลูกงา ย ๆ
เกษตรกรสามารถดําเนนิ ไดเ อง ไมต อ งดแู ลหลงั การปลกู มาก
การดาํ เนนิ การปลูกหญาแฝกตามแนวพระราชดาํ ริของพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช
ไดร บั การยอมรบั จากธนาคารโลกวา “ประเทศไทยทําไดผ ลอยางเตม็ ทแี่ ละมีประสิทธิภาพยอดเย่ยี ม” และเมื่อ
วันท่ี 25 กุมภาพันธ 2536 International Erosion Control Association (IECA) ไดมีมติใหถวายรางวัล
The International Erosion Control Association’s International Merit Award แดพระบาทสมเด็จ-
พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ในฐานะทท่ี รงเปน แบบอยา งในการนําหญา แฝกมาใชในการอนรุ กั ษด ินและ
นํา้ และเม่ือวันที่ 30 ตุลาคม 2536 ผูเชี่ยวชาญเรื่องหญาแฝกเพื่อการอนุรักษดินและนํ้าแหงธนาคารโลก
ไดท ูลเกลา ฯ ถวายแผน เกยี รตบิ ตั ร เปน ภาพรากหญาแฝกชุบสําริด เปนรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award
0f Recognition) ในฐานะที่ทรงมุงม่ันในการพัฒนาและสงเสริมการใชหญาแฝกในการอนุรักษดินและนํ้า
ผลการดําเนินงานหญา แฝกในประเทศไทยไดร ับการตีพิมพเ ผยแพรไปทั่วโลก นอกจากนี้ประเทศไทยยังไดรับ


Click to View FlipBook Version