The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by icepiyanuch, 2021-04-29 01:47:11

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

แนวสอนวชิ าปฏบิ ัตกิ ารจติ วทิ ยา

โดย

แผนกวิชาปฏบิ ัติการจติ วิทยา
กองการศกึ ษา โรงเรียนกิจการพลเรอื น

กรมกจิ การพลเรอื นทหารบก
พ.ศ.๒๕๖๒

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ฯ

เมือ่ 28 เม.ย.28

ทหารนนั้ มิใชจ่ ะมหี นา้ ทใี่ ชศ้ าสตราวุธ ทาสงครามประการเดยี วหากยงั ตอ้ งปฏิบตั ิ
ภารกิจ ด้านกิจการพลเรอื น คอื ใชค้ วามรู้ ความคิด จติ วทิ ยาและความเฉลียวฉลาด
อาจรวมเรยี กได้วา่ อาวธุ ทางปัญญา เข้าปฏิบัติพฒั นาท้องถิน่ ให้ประชาชน อยู่ดี
กินดี มคี วามปลอดภยั มขี วญั และกาลังใจ ทีจ่ ะสร้างความดี ความเจริญ
ความม่ันคงใหแ้ ก่ตนเองและสว่ นรวมอีกประการหน่ึงดว้ ย

1

2

คานา

แนวสอนเล่มนี้เป็นความต้ังใจของแผนกวิชาปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีต้องการใหน้ ายทหาร
นักเรียนหลักสูตรต่างๆ ของโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก ได้มีแนว
สอนประจาวิชาเพ่ือใช้สนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียน แนวสอนเล่มนี้คณะผู้จัดทาได้
รวบรวมหลักการท่ีเป็นสาระสาคัญของการปฏิบัติการจิตวิทยา ต้ังแต่ประวัติการปฏิบัติ
การจิตวิทยา บทบาทของการปฏิบัติการจิตวิทยา หลักพื้นฐานการปฏิบัติการจิตวิทยา
การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการรบตามแบบ และการปฏิบัติการพิเศษ ตลอดจน
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการปฏิบัติการจิตวิทยาทุกข้ันตอน เช่น การข่าวกรอง
ปจว. การวิเคราะห์เป้าหมาย การเขียนแผนรณรงค์ การโฆษณาชวนเชื่อ และการต่อต้านการ
โฆษณาชวนเช่อื

คณะผูจ้ ดั ทา
แผนกปฏบิ ัตกิ ารจิตวทิ ยา รร.กร.กร.ทบ.

พ.อ.หญิง รจเรข ตยิ ะโคตร
พ.อ.รตั น์ บอ่ สวุ รรณ
พ.ท.หญิง รัจนาพร ปาลี
พ.ต.ฐาณกุ าษณ์ นิธธิ รี พัชร์
ร.อ.หญงิ โปรดปราน ศิรพิ ร
ร.ท.หญงิ ฉัตรรวี คหู าวชิ านันท์

3

สารบัญ

เรื่อง หน้า

บทท่ี 1 ประวัติความเป็นมาของการปฏิบตั กิ ารจิตวทิ ยา 5

บทที่ 2 หลักการปฏบิ ัติการจิตวิทยา 25

บทท่ี 3 การปฏบิ ตั ิการจติ วิทยาสนบั สนุนสงครามตามแบบ 37

บทท่ี 4 การปฏบิ ัตกิ ารจติ วิทยาสนับสนนุ การปฏบิ ตั ิการพิเศษ 47

บทท่ี 5 การโฆษณาชวนเชอ่ื และการตอ่ ตา้ นโฆษณาชวนเชอ่ื 59

บทท่ี 6 ข่าวกรองดา้ นการปฏิบัตกิ ารจติ วทิ ยา 66

บทท่ี 7 การวเิ คราะหเ์ ปาู หมายและเขียนแผนรณรงคด์ า้ นการปฏิบัตกิ ารจติ วิทยา 90

ผนวก ก ตารางการวิเคราะห์เปาู หมาย 102

ผนวก ข แผนรณรงค์ด้าน ปจว. 103

ผนวก ค ตารางวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อ 104

ผงั สรุปปจว. 106-107

บรรณานุกรม 108

4

บทท่ี 1
ประวตั ิความเปน็ มาของการปฏิบัติการจิตวทิ ยา

วตั ถุประสงค์
1.เพอ่ื ให้ทราบถงึ ประวัติความเป็นมาของการปฏิบัตกิ ารจิตวทิ ยา
2.เพอ่ื ใหท้ ราบถึงสงครามจติ วิทยาในสงครามครงั้ สาํ คญั ของโลก
3.เพอ่ื ให้ทราบถึงการปฏบิ ตั ิการจิตวทิ ยาในแงค่ ิดของจีนและไทย
กลา่ วนา

ในบทนี้จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการปฏิบัติการจติ วิทยาในแง่คิดของจีนและไทย
รวมทง้ั สงครามจิตวทิ ยาในสงครามคร้ังสําคัญของโลก เช่น สงครามปฏิวัติอเมริกา สงครามโลกครั้ง
ที่ 1 สงครามโลกครั้งท่ี 2 สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามอา่ วเปอร์เซยี และสงคราม
จติ วทิ ยาในอัฟกานสิ ถาน
ประวตั คิ วามเปน็ มาของการปฏบิ ตั ิการจติ วิทยา
1.ประวตั ิศาสตรก์ ารปฏิบตั ิการจติ วทิ ยาแนวคดิ แบบจนี

5

นักปราชญ์ชาวจนี ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง “ ซนุ วู ซู ”( Sun Wu tZu ) ได้เขยี น “ตาํ ราศิลป
สงคราม ” (The Art of War) หรือตําราพิชัยสงคราม เปน็ หนึ่งในตาํ รายุทธศาสตร์การทหารเล่ม
หน่ึงท่ีเก่าแก่ท่ีสุดในโลก เมื่อประมาณ 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (หรือ 2500 ปี) ประมวลหลัก
ปรัชญาการต่อสู้และทฤษฎีการปกครองไว้อย่างครบครัน ที่กล่าวถึงอย่างลึกซ้ึงเก่ียวกับหลักหรือ
หัวใจของการปฏิบตั กิ ารจติ วิทยาคอื

“การชนะรอ้ ยทง้ั ร้อย มิใชว่ ิธีอันประเสรฐิ แท้

แตช่ นะโดยไมต่ อ้ งรบเลย จงึ ถือวา่ เปน็ วธิ อี นั วิเศษย่ิง”

หมายความวา่ การต่อสเู้ อาชนะข้าศึกด้วยกําลังนัน้ ไม่ใช่กลยุทธท์ เ่ี หมาะสม แต่การทาํ ให้ขา้ ศกึ
ไม่คดิ ทจ่ี ะต่อสู้หรือยอมแพโ้ ดยไม่ตอ้ งใช้กําลังรบกันเลยถือวา่ เปน็ กลยทุ ธ์ทดี่ ีเลศิ

วรรณกรรมชั้นเอกอุของจีนอกี เล่มหนึ่ง คือ สามก๊ก ( Romance of Three Kingdoms )
ได้เน้นการทําสงครามเพื่อการมุ่งโจมตีและยึดจุดศูนย์ดุลย์ทางใจไว้ให้ได้ และถือว่า “ การโจมตี
ที่ใจ ” เปน็ กลยุทธท์ ่ลี ํ้าลึกสูงสุด

6

ดังทข่ี งเบ้งกลา่ วไว้ว่า

“ อันการศกึ นัน้ ควรถือการตีทางใจเปน็ เอก ตเี มืองเป็นรอง

รบดว้ ยใจเปน็ เอก รบดว้ ยทัพเปน็ รอง ”

คํากล่าวนี้เป็นที่มาของยุทธศาสตร์สงครามของขงเบ้ง แม่ทัพแห่งเมืองจกก๊ก ที่ใช้ในการ
วางแผนปราบเบ้งเฮ็ก เจ้าเมืองหมานอ๋อง ซ่ึงอยู่ทางใต้ของเมืองจกก๊ก ขงเบ้งใช้ยุทธศาสตร์การ
ปราบแนวหลังให้สงบก่อน เพ่ือเป็นผลดีแก่การพิชิตหัวเมืองทางเหนือ การท่ีจะแก้ปัญหานี้ให้ถึง
ที่สุดจะต้อง โจมตีทางใจ เพราะการโจมตีเมืองน้ันง่าย แต่การโจมตีใจนั้นยากยิ่ง ดังน้ันขงเบ้งจึง
เป็นแม่ทัพคุมกําลังไปเองและใช้ กลยุทธ์เจ็ดจับเจ็ดปล่อย ในท่ีสุดเบ้งเฮ็กผู้แข็งกร้าวและดื้อร้ันก็
ยอมจํานนทั้งกายและใจ เบ้งเฮ็กกล่าวแก่ขงเบ้งว่า “มหาอุปราชจงลดโทษแก่ข้าพเจ้าเถิดแต่น้ีไป
เบ้อื งหน้า ข้าพเจ้ามิคิดคดต่อมหาอุปราชสืบไปเลย” ขงเบ้งจึงมอบดินแดนที่ดีไดค้ ืนให้เบง้ เฮ็กส้ิน
และต้ังให้เบ้งเฮ็กเป็นเจ้าเมืองตลอดไป นับแต่นั้นมาเบ้งเฮ็กและสมัครพรรคพวกรวมท้ังราษฎรใน
ภาคใต้ตา่ งสํานึกในบญุ คุณของขงเบ้ง ตลอดเวลาที่ ขงเบง้ มีชีวิตอยู่ก็มิได้ก่อความวุ่นวายข้ึนมาอีก
เลย บทสรุปของกลยทุ ธเ์ จ็ดจับเจด็ ปลอ่ ย คือ

“ รบเพ่อื ยึดครองใจ มิใช่ยดึ ครองเมอื ง ศัตรกู ลบั กลายเป็นมิตรท้ังเมือง ”

บนั ทึกประวัตศิ าสตร์ที่ยนื ยันถงึ ผลสําเร็จของการปฏิบัติการจติ วิทยาอกี ตอนหน่ึงคือ ตอนที่
ขงเบง้ รับอาสาเลา่ ปี่ไปเจรจาเปน็ พันธมิตรกับซนุ กวน ขงเบง้ กลา่ วว่า “โจโฉยกทพั มาครั้งนีเ้ อิกเกรกิ
ดังแผ่นดินจะถล่ม เห็นว่าซุนกวนจะสะดุ้งตกใจอยู่ ดีร้ายจะใช้คนสอดแนมมาถึงเรา ถ้าผู้ใดมาถึง
ท่านแล้ว ข้าพเจ้าจะขออาสาเอาแต่เรือลําหน่ึงกับล้ินข้าพเจ้าสามนิ้วเท่านั้น ไปยุให้ซุนกวนผิด
กับโจโฉให้จงได้ ถ้าโจโฉแพ้ก็จะเข้าช่วยซุนกวนเห็นได้ท่วงทีก็จะเข้าชิงเอาเมืองเกงจิ๋วเป็นกําไร
เปล่า แม้ซุนกวนแพ้เราก็จะคิดชิงเอาเมืองกังตั๋งไว้ให้ได้ ” พิจารณาได้ว่าขงเบ้งประมาณ
สถานการณ์ทางจิตวิทยาได้ถูกต้องแม่นยําและวางแผนการปฏิบัติการจิตวิทยา โดยใช้การพบปะ
สังสรรค์สร้างไมตรีระหว่างเล่าป่ีกับซุนกวน และสร้างความแตกแยกระหว่างซุนกวนกับโจโฉ
มุ่งเข้าสู่วัตถุประสงค์ของชาติในการครอบครองแผ่นดินเกงจิ๋วหรือกังตั๋ง ใช้เป็นฐานท่ีมั่นทาง
ยทุ ธศาสตรเ์ พ่อื นาํ ไปส่ปู ระโยชน์สูงสุดของชาติ คือการครอบครองแผน่ ดินจีนในทส่ี ุด

7

2. ประวตั คิ วามเป็นมาของการปฏบิ ตั กิ ารจติ วิทยาแนวคดิ แบบไทย

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เม่ือกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า
ในปี พ.ศ. 2310 แล้ว การเสียกรุงคร้ังนี้ไทยเราถกู ทําลายทุกด้าน จนอยุธยามีสภาพเปน็ เมืองร้าง
พม่าได้ตั้งสุกี้พระนายกองคุมพล ประมาณ 3,000 คน อยู่ท่ีค่ายโพธิ์สามต้น (ในเขตอําเภอ
บางปะหนั ในปัจจุบัน) มีหนา้ ท่คี อยจับผคู้ นและกวาดทรัพย์สินของไทยสง่ ไปพมา่ กับตั้งนายทองอิน
และพรรคพวกไทยที่เป็นใจเข้ากับพม่าอยู่รักษากรุงธนบุรี เมื่อผู้มีอํานาจหรือเจ้าเมืองในส่วนอื่นๆ
เห็นว่าไทยส้ินกษัตริย์ปกครองเสียแล้ว และราชวงศ์กษัตริย์ซึ่งปกครองกรุงศรีอยุธยาก็ไม่มีใครสืบ
ต่อไป ผ้หู วงั จะเปน็ ใหญใ่ นแผ่นดนิ จงึ ตงั้ ตวั ขน้ึ เป็นใหญเ่ ป็นเจ้าถงึ 5 กก๊ คือ
1. เจา้ พระยาพิษณุโลก (เรือง) คมุ อาณาเขตจากเมอื งพชิ ยั มาถึงนครสวรรค์
2. เจา้ พระฝาง ตั้งตวั เป็นใหญ่ที่เมืองสวางคบุรี (อตุ รดติ ถป์ ัจจุบัน) มีอาณาเขตไปถึงเมืองแพร่ น่าน
หลวงพระบาง
3. เจ้านคร ตั้งตัวเปน็ ใหญ่ทเี่ มอื งนครศรธี รรมราช และในมณฑลปกั ษใ์ ต้ของไทย
4. เจา้ พิมาย คอื กรมหมืน่ เทพพิพิธ ตัง้ ตวั เป็นใหญอ่ ยูท่ ่ีเมอื งพมิ าย มณฑลนครราชสีมา
5. พระเจ้าตากสนิ ผมู้ ีฝมี อื ในการรบท่ีเขม้ แขง็ เคยเป็นเจา้ เมอื งตาก มีความชอบในราชการ ได้เล่อื น
เป็นพระยากําแพงเพชร ในขณะท่ีปูองกันกรุงอยู่นั้นได้แสดงความสามารถในการปูองกันกรุงซ่ึง
กําลังถูกโจมตีจากพม่า แต่เห็นว่าอยุธยาไปไม่ไหวแน่แล้วจึงได้รวมพรรคพวกประมาณ 500 คน

8

ตีฝุากองทัพพม่าออกจากอยุธยาไปตั้งม่ัอยู่ที่ระยองและเลยไปยึดจันทบุรีเป็นท่ีม่ัน และต้ังหน้าต่อ
เรือรบที่จันทบุรี ได้ประมาณ 100 ลาํ เม่ือรวบรวมทหารได้ประมาณ 5,000 คน พอได้โอกาสก็ยก
ทัพเรอื เข้าทางปากนา้ํ เจ้าพระยา ตรงเข้าตีเมืองธนบุรี นายทองอินคนไทยแต่เขา้ ไปเปน็ พวกพม่าได้
ต่อสู้แต่คนไทยซ่ึงเป็นไพร่พลหาสู้ไม่ พระเจ้าตากสินจึงยึดเมืองธนบุรีได้โดยง่ายดาย จากน้ันพระ
เจ้าตากสินก็มุ่งมายังอยุธยาเข้าตีค่ายโพธ์ิสามต้น ซึ่งเป็นกองบัญชาการของพม่า สุก้ีพระนายกอง
ตอ่ สแู้ ละตายในที่รบ พระเจา้ ตากสินยดึ ค่ายโพธิ์สามตน้ ได้

การกอบกู้ประเทศชาตขิ องพระเจ้าตากสนิ เปน็ การปฏิบตั ิในทางจิตวิทยาในแง่ที่ว่า เม่ือกรุง
แตกไดม้ ีบุคคลหลายฝุายหลายท้องที่ต้ังตนเป็นใหญ่ แต่ทําไมพระเจา้ ตากสินจึงยังไม่ปราบคนพวก
น้ีเสียก่อน ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระเจา้ ตากสนิ คิดว่าถ้าปราบพม่าไดก้ ็หมายความว่าชนะพวกท่ีตง้ั ตัว
เป็นใหญ่ด้วย การท่ีไทยชนะพม่าและสามารถกําจัดสุกี้ลงได้นี้ ได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยาอย่างใหญ่
หลวง เพราะนอกจากทําให้พวกทีต่ ง้ั ตวั เป็นใหญ่ครั่นคร้ามแลว้ พม่าท่ียดึ ครองประเทศไทยบางแหง่
ก็เสียขวัญไปด้วย เช่น โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซ่ึงยกทัพมาตีเมืองสวรรคโลกก็พ่ายแพ้แก่
กองทัพไทย กองทัพพม่าซ่ึงยกมาตีเมืองพิชัย (อําเภอพิชัย อุตรดิถต์ในปัจจุบัน) ก็พ่ายแพ้แก่
กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาพิชัยซ่ึงสู้กับพม่าจนดาบหักคามือ ได้แสดงวีรกรรมของไทย
เปน็ การข่มขวญั พม่า

พระเจ้าตากสินได้ปฏิบัติการจิตวิทยา และทําสงครามจิตวิทยาท้ังภายในและภายนอก
ประเทศ เพื่อแสดงว่าพระองค์เก่งกลา้ สามารถเพียงใด เป็นการข่มขวัญก๊กต่างๆซึ่งต้ังวั ข้ึนเปน็ ใหญ่
ในแผ่นดินให้สงบราบคาบ มิคิดจะต่อส้หู รือทําตนเป็นปรปกั ษต์ ่อพระองค์ต่อไป เป็นผลใหพ้ ระองค์
มีกําลังใจในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ตัวอย่างท่ีโดดเด่นท่ีสุดคือ ในคราวตีเมืองจันทบุรีซึ่ง
ขณะนั้นมีปูอมค่ายแข็งแรงและกองทัพของจันทบุรีก็ยังแข็งแรงทุกอย่าง เสบียงก็มีพร้อมแต่ไม่ให้
ความรว่ มมือกับพระเจ้าตากสนิ ก่อนทจ่ี ะเข้าตจี ันทบุรีในคืนน้นั พระเจา้ ตากสนิ สงั่ ทหารว่า

“ เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่าวันนี้ เม่ือกองทัพหงุ ข้าวเย็นกนิ เสร็จแล้ว ท้ังนาย ไพร่ให้เท
ทิ้งอาหารทเ่ี หลอื และตอ่ ยหมอ้ เสยี ให้หมด หมายไปกินขา้ วเช้าด้วยกัน ทีใ่ นเมอื งเอาพรุ่งนี้ ถ้าตี
เอาเมืองไม่ได้คา่ วนั น้ี ก็จะได้ตายเสยี ดว้ ยกันใหห้ มดทเี ดียว ”

ทรงได้ปฏิบัติการทางจิตวิทยาแก่กําลังพล เพื่อหวังให้ตีเมืองให้ได้การกระทําของพระองค์
เสมือนหนงึ่ การประกาศล่วงหนา้ แหง่ ความมีชยั ในทสี่ ุดกส็ ามารถเขา้ ตีเมืองจันทบรุ ีไดส้ าํ เร็จ

9

อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระยาจักรี ในแผ่นดนิ พระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.2318 กองทัพพม่านําโดยอะ
แซหว่นุ ก้ี ยกทพั มาตีหัวเมืองเหนอื ของไทย สงครามคร้งั นเ้ี ปน็ ศกึ ใหญก่ วา่ ทกุ คราวในสมัยกรงุ ธนบรุ ี
มูลเหตุของสงครามคร้ังนี้ เนื่องจากขณะที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้กอบกู้เอกราช แฃละขับไล่พม่าออก
จากเมืองไทยไปน้ัน พม่ากําลังทําสงครามติดพันอยู่กับจีน เมื่อเสร็จศึกจากจีนแล้วพระเจ้ามังระ
กษัตริย์พม่าดําริจะมาตีเมืองไทยอีก โดยจะยกกองทัพไปยึดเมืองเชียงใหมเสียก่อนล้วจึงลงสู่กรุง
ธนบุรี ส่วนอีกทางหนึ่งจะยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่กองทัพไทยยกมาตีเมืองเชียงใหม่
ก่อน ส่วนทางด่านเจดีย์สามองค์พม่าก็ไม่อาจยกมาได้เพราะพวกมอญแข็งเมือง พม่าจึงต้อง
เสียเวลาปราบกบฏมอญ หลังจากน้ันจึงยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา ตั้งใจจะยึดหัวเมืองเหนือ
ก่อนจงึ จะไปตีกรงุ ธนบุรี

ขณะนัน้ เจ้าพระยาจักรยี งั ควบคุมกองทัพอย่ทู ่ีเชยี งใหม่ เมอ่ื ไดข้ า่ วศึกก็ยกทพั ลงมาปอู งกัน
เมืองพิษณุโลกไว้ ทางฝาุ ยพม่าเม่ือยกกองทัพมาแล้วก็ได้ไปยึดเมืองสุโขทัยไว้ก่อน แล้วจึงยกข้ึนไป
ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ เจ้าพระยาจักรีได้คุมพลออกรบเองตีพม่าจนต้องถอยร่นไปหลายครั้ง
ทําให้อะแซหวุ่นก้ีแม่ทัพพม่าซ่ึงเคยรบชนะจีนมาแล้ว แปลกใจท่ีกองทัพไทบเข้มแข็งมาก จึง
อยากจะขอพบปะกับเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพไทย เมื่อได้นัดหมายกันเรียบร้อยแล้วแม่ทัพท้ังสองก็ขี่
ม้าออกไปเจรจากัน หนังสือพระราชพงศาวดารไทยได้บันทึกไว้ว่า อะแซหวุ่นก้ีให้ล่ามถาม
เจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีตอบว่า 30 เศษ และจึงให้ถามอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง
ไดร้ ับคาํ ตอบมาว่า อายุ 72 ปี อะแซหวุน่ ก้ีพิจารณาลกั ษณะจ้าพระยาจักรแี ล้วสรรเสริญว่า

“ ท่านนี้รูปงามฝมี ือก็เข้มแขง็ อาจสู้รบเราผเู้ ป็นผ้เู ฒา่ ได้

จงอุตส่าหร์ ักษาตวั ไว้ภายหน้า จะไดเ้ ปน็ กษตั รยิ แ์ ท้ ”

10

และมอบเคร่ืองม้าทองสํารับหน่ึงกับสักหลาดพันหนึ่ง ดินสอแก้ว 2 ก้อน น้ํามันดิบ 2 หม้อ
ใหเ้ จ้าพระยาจกั รี และกล่าวว่า “จงรักษาเมืองไว้ใหม้ ่ันคงเถดิ เราจะตเี อาเมืองพิษณุโลกใหจ้ งได้ใน
ครง้ั น้ี”

เม่ือเจ้าพระยาจักรีรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ได้ 4 เดือน เห็นว่าเสบียงอาหารขาดแคลน
กองทัพกรงุ ธนบุรีซง่ึ ยกมาชว่ ยกไ็ ม่สามารถขบั ไล่พม่าไดจ้ งึ ยกกาํ ลังและผู้คนออกจากเมืองพิษณุโลก
ตฝี าุ กองทพั พมา่ ออกไปได้ เปน็ อันว่าอะแซหว่นุ กสี้ ามารถยดึ เมอื งพิษณุโลกไดต้ ามท่ีล่นั วาจาไว้

ประวัติศาสตร์ตอนนี้เป็นตัวอย่างของการใช้การโฆษณาชวนเชื่อ สนับสนุนวัตถุประสงค์ของชาติ
อย่างดีย่ิง โดยอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าได้ใช้การพบปะเจ้าพระยาจักรีแล้วกล่าวยกย่องเจ้าพระยา
จักรีซ่ึงนอกจากจะก่อให้เกิดความแตกแยกกันระหว่างแม่ทัพไทยกับพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้แล้ว
ยังสรา้ งความหวงั ใหก้ ับเจ้าพระยาจักรอี ีกด้วย ยง่ิ กว่าน้ันยังใช้มาตรการอื่น ๆ คือการมอบของขวัญ
ให้อีกด้วย ในขณะเดยี วกันกข็ ่มขวญั ไปในตวั โดยกลา่ ววา่ “จงรักษาเมืองไว้ให้มนั่ คงเถดิ เราจะตีเอา
เมืองพิษณุโลกใหจ้ งได้ในครั้งนี้” ท้ังนี้อะแซหวุ่นกี้ทราบดีว่ากองทัพไทยท่ีรักษาเมืองพิษณุโลกน้ัน
มีกําลังน้อยกว่าพม่ามากมายย่อมไม่มีทางสู้พม่า จึงแสดงให้เห็นว่าอํานาจทางทหารนั้นเป็น
เคร่ืองมือสนับสนุนการปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นอย่างดี และถ้าจะวิเคราะห์ตามหลักนิยมการ
ปฏิบัติการจิตวิทยา พบว่ามีท้ังคําพูดและการกระทําของพม่าที่สอดคล้องกับหลักนิยมการ
ปฏบิ ตั ิการจติ วิทยา ดงั น้ี

ลาดบั พฤติกรรม ความหมายตามหลกั นยิ ม

1. ภายภาคหน้าจะไดเ้ ปน็ กษตั รยิ ์ เป็นการโฆษณาชวนเช่อื

2. การนัดหมายพบกนั เตรียมของขวญั มาให้มลี า่ มแปล เปน็ แผนทดี่ าเนินการตามขนั้ ตอน

3. การให้ของขวญั 4 อย่าง เป็นการใช้มาตรการอ่นื ๆ

4. สงครามระหวา่ งไทย-พม่า ฝ่ายตรงข้าม (ตา่ งชาต)ิ

5. ยึดพิษณโุ ลกกอ่ นไปตีกรุงธนบรุ ี สนับสนุนวตั ถปุ ระสงคข์ องชาติ

11

3. สงครามจติ วิทยา (Psychological Warfare : Psywar)
สงครามจติ วิทยาเป็นคําเฉพาะที่เพ่ิงนํามาใช้ก่อนสงครามโลกครั้งท่ี 2 มานี้เอง แต่พฤติกรรม
หรือการดําเนินการทางสงครามจิตวิทยามีมานานแล้ว อาจเรียกว่าเป็นกลยุทธ์ กลลวง
กลอุบาย ยุยง ยั่วยุ โฆษณาชวนเช่ือ โดยมีจุดประสงค์ให้ประเทศชาติ กองทัพ ฝุายศัตรู
อ่อนแอลง ดว้ ยการยยุ งให้แตกแยกขาดความสามัคคีจนพา่ ยแพ้ไปในทส่ี ดุ
ชัยชนะของกองทัพเรือกรีกต่อเมอื งทรอย

ยอ้ นหลังประวตั ศิ าสตร์ไปกว่า 2,500 ปีสงครามจติ วทิ ยาในรูปแบบของกลลวง ได้ถกู บนั ทึกใน
“Homer’s Iliad”ซ่ึงกลา่ วถึงชัยชนะของกองทัพเรือกรีกตอ่ เมืองทรอย (Troy ) ดว้ ยยุทธวิธีกลม้า
ไม้ โดยกองทัพกรีกได้สร้างม้าไม้ขนาดมหึมาให้ทหารกรีกซ่อนตัวอยู่ภายในม้า แล้วให้กําลังส่วน
ใหญ่ทําทีถอนทัพเรือกลบั ทหารเมืองทรอยหลงเชื่อจึงเปิดประตูนําม้าไม้เขา้ เมือง ตกดึกทหารกรีก
ได้ออกจากท่ซี อ่ นตวั เปดิ ประตเู มอื ง นาํ กําลงั เข้าโจมตที าํ ให้เมอื งทรอยพา่ ยแพ้อย่างยับเยิน ชัยชนะ
ของทหารเรือกรีก จากกรณีของ “ม้าไม้แห่งเมืองทรอย (Trojan horse) จัดเป็นบทเรียนทาง
ประวัตศิ าสตร์สงครามจิตวิทยาที่ได้รบั การกล่าวขานมาจนถึงทกุ วนั นี้

หลักฐานเก่าแก่พอๆ กับ ม้าไม้แห่งเมืองทรอย ซึ่งบันทึกในคัมภีร์ Bible กล่าวถึงการ
ปูองกันเมืองเยรูซาเล็มของไกดอน (Gideon) จากพวกมิเดียไนต์ (Midianites) โดยใช้สงคราม
จิตวิทยาในรูปแบบของกลลวงผสมผสานกับความตื่นตระหนกของศัตรู โดยใช้ทหาร 300 คน
แต่ละคนมี แตรเดี่ยวและคบไฟ วางกําลังโอบล้อมศัตรูในเวลากลางคืน เม่ือได้เวลาเข้าปฏิบัติการ
เขาสัง่ ใหท้ หารทุกคนจุดคบไฟ และแตรเดยี่ วพรอ้ มๆ กนั ทหารมเิ ดยี ไนตถ์ กู ปลุกข้นึ ท่ามกลางความ
ตระหนก ถึงตอ้ งตอ่ สู้กันเองล้มตายเป็นจํานวนมาก ทหารของไกดอนจึงฉวยโอกาสเข้าโจมตีซ้ําจน
ได้รบั ชยั ชนะอย่างเดด็ ขาด

12

อีกเรื่องหนึ่ง คือในราวศตวรรษที่ 13 กองทัพเจงกีสข่านไดแ้ สดงความย่ิงใหญ่เกรียงไกร
ด้วยการครอบครองดินแดนเกือบค่อนโลก โดยชัยชนะเหนือเอเชียและยุโรป พวกมองโกลได้ใช้
สงครามจิตวิทยาหลายรูปแบบ เช่น การสร้างข่าวลือ การแสดงลวงและเทคนิคสงครามจิตวิทยา
ต่างๆ เพ่ือสร้างภาพกองทหารม้ามองโกลจํานวนมหาศาล ไปปรากฏข้ึนอย่างฉับพลันทั่วสนามรบ
พรอ้ มๆกัน การยุทธ์ในบางคร้ังใช้ทหารม้ามองโกลเพยี ง 5-6 คน ก็สามารถเขา้ ยึดและควบคุมเมือง
ทั้งเมืองไว้ได้ เพราะศัตรูเกิดความหวาดหวั่น เกรงกลัวและไม่แน่ใจว่าเบื้องหลังของทหารม้ามอง
โกล 5-6 คนนี้ จะมกี าํ ลงั ทหารมองโกลเรือนแสนเคลื่อนท่ตี ิดตามมาเพ่ือเขา้ โจมตใี นระลอกต่อๆ ไป
หรือไม่ นอกจากนี้กองทัพมองโกลได้ใช้ขีดความสามารถของจารชนในการปล่อยข่าวลือ กระพือ
ความเห้ียมโหด ความเป็นนักฆ่าของกองทหารม้ามองโกล เพ่ือทําให้ฝุายศัตรูเสียขวัญและยอมแพ้
ต้ังแต่ยังไม่เริ่มการสู้รบกัน สงครามจิตวิทยาเหล่าน้ีนาซีเยอรมันได้นํามาใช้ในช่วงต้นสงครามโลก
คร้ังท่ี 2 แต่ทง้ั มองโกลและนาซี มีจุดอ่อนที่สําคัญในการใช้สงครามจิตวิทยาที่คล้ายๆ กันก็คือ มิได้
นําสงครามจิตวิทยามาใช้กับประเทศที่ถูกยึดครองในยามสงบอย่างต่อเน่ือง ทําให้พบว่าภายหลัง
ยา่ํ ทพั ผา่ นไปไม่กปี่ ี ประเทศท่ีถูกยดึ ครองพลิกฟ้ืนตวั กลายมาเปน็ ศตั รูที่เข้มแขง็ ได้อกี

สงครามปฏิวตั อิ เมริกา

สงครามปฏิวัติท่ีเกิดขึ้นในสหรัฐฯปรากฏว่ามีการใช้การโฆษณาชวนเช่ืออย่างกว้างขวาง
เช่นคํากล่าวที่ว่า จงอย่ากดข่ีข้าพเจ้า และ จงให้อิสรภาพแก่ข้าพเจ้าหรือไม่ก็ฆ่าข้าพเจ้าเสีย
นับได้ว่ามีผลในทางชกั ชวนอยา่ งใหญ่หลวงและนยิ มใชก้ นั มาก ใบปลิวฉบับหนง่ึ ซง่ึ เปน็ ตัวอย่างอันดี
เลิศสําหรับการโฆษณาชวนเชื่อในสนามรบ เป็นใบปลิวท่ีนําไปทิ้งให้แก่ทหารรับจ้างของอังกฤษใน
ตอนต้นของการสู้รบรอบเมืองบอสตัน มขี อ้ ความและรูปร่างดงั น้ี

13

PROSPECT HILL BUNKER’S HILL
7 ดอลลา่ ร์ตอ่ เดอื น 3 เพนช์ต่อวนั
หมเู ค็มเนา่
อาหารสด โรคลักกะปดิ ลักกะเปดิ
สุขภาพดี ความเปน็ ทาส
อสิ รภาพ ความมน่ั คง

นอกจากน้ีพวกปฏิวัติอเมริกายังได้ใช้เพลง การแสดง หนังสือพิมพ์ คาเทศน์ เป็นสื่อ
ปลุกใจ เพอื่ ให้เขา้ รว่ มปฏวิ ตั ิอีกด้วย

สงครามโลกคร้งั ท1ี่

มีการใช้เครื่องมือติดต่อส่ือสารในการปฏิบัติการจิตวิทยาอย่างกว้างขวาง สําหรับ วิทยุ
น้ันไม่ค่อยแพร่หลายนัก แต่ได้มีการนําเอา บอลลูนและปืนใหญ่ มาใช้เป็นประโยชน์ในการท้ิง
ใบปลิวและส่ิงพิมพ์อ่ืนๆ ลงในแนวหน้า ปรากฏว่าในช่วงต้นสงครามท้ังสองฝุายได้พยายามทุก
วิถที างทีจ่ ะหาพรรคพวก หรืออยา่ งนอ้ ยทส่ี ุดก็เพ่อื ปอู งกันไม่ให้ประเทศเป็นกลางหันไปเขา้ ข้างฝุาย
หน่ึงฝุายใดสหรัฐฯ ได้ใช้คําประกาศ 14 ข้อ ของประธานาธิบดี วู๊ดโร วิลสัน (หลักการของ
สนธิสัญญาแวร์ซาย) เป็นรากฐานสําคัญในการโฆษณาชวนเช่ือของฝุายพันธมิตร เนื้อหากล่าว
วิงวอนต่อชาวโลกโดยเฉพาะฝุายตรงขา้ ม โดยเสนอให้มีสันติภาพที่เที่ยงธรรม มีการจัดต้ังองค์การ
สนั นิบาตชาติ และการ จัดต้ังรัฐบาลท่ีเป็นประชาธิปไตย ในประเทศที่ปชช.ถูกกดขี่ มีฝุาย
ไตรภาคี Triple Alliance ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรเลยี -ฮงั การี และอติ าลี

14

หมายเหตุ ก่อนการจัดตั้งเป็น Triple Alliance ได้มีการรวมกลุ่ม ชื่อว่า Triple Emperor
(สัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ) ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ฝุายไตร
พนั ธมติ ร Triple Entente ประกอบด้วย องั กฤษ ฝรง่ั เศส และรสั เซยี

เหตุผลท่ีไทยตอ้ งเขา้ ร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกคร้ังที่ 1 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลท่ี 6 โดยไทยต้องเข้าร่วมฝุายสัมพันธมิตร

เพราะตอ้ งการแก้ไขความไมเ่ ปน็ ธรรมของสนธสิ ญั ญาเบาร์ร่งิ สมยั รชั กาลที่ 4
ผลของการเข้ารว่ มสงครามโลกคร้งั ที่ 1ของประเทศไทย

ไทยเข้าร่วมสงคราม อยู่ฝุายสัมพันธมิตร ได้รับการยกเลิกสนธิสัญญาบาวริ่ง จากการ
ช่วยเหลือของ ดร.ฟรานซิส บี แซร์ (พระยากัลยาณไมตรี) ไทยได้รับเงินค่าปฏิกรรมสงครามมา
จํานวน 2,000,000 บาท และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตมีการสร้างอนุสาวรีย์ทหาร
อาสาบรรจอุ ัฐทหารอาสาซ่ึงเสียชีวิตระหว่างการรบในสงครามโลกคร้ังที่ 1 ท่ีฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่ถนน
สามเหลยี่ มตรงมุมสนามหลวงด้านทศิ เหนือ ตรงข้ามกบั พิพธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ

15

หลักการสิบสข่ี อ้ ของประธานาธบิ ดี วู๊ดโร วลิ สัน (หลักการของสนธสิ ัญญาแวร์ซาย)
1. ห้ามทําสนธิสัญญาลบั ระหว่างประเทศ
2. เสรีภาพทางทอ้ งทะเลแม้ในยามสงคราม
3. การค้าเสรรี ะหว่างประเทศ
4. การลดอาวุธ
5. แกไ้ ขการอา้ งสทิ ธอิ าณานคิ ม
6. เยอรมนตี ้องถอนตัวออกจากดินแดนของรัสเซยี
7. อิสรภาพของเบลเยยี่ ม
8. ต้องคนื แคว้นอลั ซคั – ลอร์เรนให้ฝรง่ั เศส
9. ตอ้ งปรบั พรมแดนของอติ าลี
10. ใหโ้ อกาสปกครองตนเอง แกจ่ กั รวรรดอิ อสเตรีย – ฮงั การี
11. ต้องฟืน้ ฟูรฐั บอลขา่ น และเซอรเ์ บียตอ้ งมีทางออกทะเล
12. ประชากรท่ไี มใ่ ชช่ าวเติรก์ ในจกั รวรรดิตรุ กตี อ้ งเป็นอสิ ระ
13. สร้างโปแลนดข์ น้ึ ใหม่
14. ตอ้ งจัดตัง้ องค์การระหวา่ งประเทศ

16

สงครามโลกคร้งั ท2่ี

เป็นเวลาหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะระเบิดข้ึน นาซเี ยอรมันได้ใช้การปฏิบัติการ
จิตวิทยาอย่างมีประสิทธิภาพสูงย่ิง โดยใช้การโฆษณาชวนเชื่อทุกชนิดเพื่อสร้างเรื่องราวความ
ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ สมรรถนะของเคร่ืองจักรกลในการทําสงครามของนาซีได้ถูก
กล่าวขวัญอย่างน่าเกรงขาม จนสามารถกล่าวได้ว่า การปฏิบัติการจิตวิทยาของเยอรมันมีส่วน
สาํ คญั ในการชว่ ยทําลายขวญั ของประเทศโปแลนดแ์ ละบรรดาประเทศที่ดอ้ ยกวา่ ในขณะที่ฮิตเลอร์
ได้ยาตราทัพเข้าสู่ประเทศเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวที่เก่ียวกับความเป็น “มนุษย์วิเศษ”
ของเยอรมันก็ถูกทําลายลงไปอย่างช้าๆ โดยที่ฝุายสัมพันธมิตรด้นําเครื่องมือการติดต่อสื่อสาร
เช่น วิทยุ เครื่องขยายเสยี งและใบปลิวมาใช้ในการปฏิบตั ิการจิตวิทยา เพอ่ื ตอบโต้การโฆษณาชวน
เช่อื ของเยอรมันอยา่ งกว้างขวางสหรฐั ฯไดจ้ ดั ตั้ง “ สานักงานประสานด้านข่าวสาร”( The Office
of Coordinator of Information ) ถือว่าเปน็ จุดกําเนิดของหน่วยปฏิบตั ิการสงครามจติ วิทยาใน
เวลาต่อมา

17

สงครามเกาหลี ค.ศ.1950

จากบทเรยี นความสาํ เร็จสูงสุดของการใชว้ ิทยกุ ระจายเสียงและใบปลวิ ในสงครามโลกครั้งที่
2 กองบัญชาการกองทัพสนามตะวันออก ได้ริเริ่มจัดต้ัง “ ฝ่ายกิจการพิเศษ ” ข้ึนในแผนกการ
ข่าวกรองของกองพลโดยได้เปิดวิทยุกระจายเสียงและโปรยใบปลิวในเกาหลีใต้ ภายหลังท่ีเกาหลี
เหนือรุกข้ามเสน้ ขนานท่ี 38 การปฏิบตั ิงานของกองร้อยลําโพงเคล่อื นท่ีและใบปลิวท่ี1 ถกู จัดต้งั
ขึ้นเป็นหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาทางยุทธวิธี มีการใช้ยานยนต์และเครื่องบินในการโปรยใบปลิว
โดยมีหัวข้อโฆษณาชวนเช่ือหลัก ยกตัวอย่างเช่น ความสุขสบายของเชลยศึก ทหารดี-ผู้นําทหาร
เลว ยอมแพ้คุณจะไดร้ ับการปฏบิ ตั ทิ ด่ี ี เราจะขยี้คณุ โรคคดิ ถงึ บา้ น และครอบครัวและหญงิ งาม

18

สงครามเวียดนาม

ในระหว่างสงครามเวียดนาม สหรัฐฯเป็นกําลังหลักในการตอ่ ต้านเวียดนามเหนือ ได้เร่ิมให้
ความสําคัญของการผลิตรูปแบบการปฏิบัติการจิตวิทยาประเภทต่างๆ และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อ
เพมิ่ พนู พลังอํานาจในการปฏิบตั ิการจติ วทิ ยา ได้แก่

การโฆษณาชวนเชอ่ื ทมี่ ีมาตรฐานได้รบั การปรับปรุงให้สามารถนําไปใช้กับหน่วยทางยุทธวิธี
โดยการส่งทางอากาศจนถึงตาํ บลจ่ายหลกั

ใบปลวิ และสงิ่ พิมพจ์ าํ นวนมากได้จดั พิมพม์ าจากนอกประเทศเวียดนาม
จดั ทําและแจกจา่ ยบัญชีรายการหัวขอ้ โฆษณาแก่หนว่ ยที่ตอ้ งการ
มกี ารใช้ โทรทัศน์ เป็นครงั้ แรกในฐานะเครอื่ งมือโฆษณาชวนเชอ่ื ทางยุทธศาสตร์
สนับสนุนการปฏิบัติการทางยุทธวิธีให้ทันสมัยขึ้น โดยการจัด ชุดลําโพงกระจายเสียง
ให้หนว่ ยทางยทุ ธวธิ ีสามารถใช้งานไดท้ ันท่วงทีสอดคลอ้ งกบั สถานการณ์

19

สงครามอา่ วเปอร์เซีย

โดยภาพรวมแล้วสงครามอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอเมริกาสามารถผลักดันในสหประชาชาติ
เข้าร่วมเกมทําให้สามารถโฆษณาชวนเช่ือได้เป็นผลสําเร็จว่า สหรัฐฯทําตามมติสหประชาชาติมิใช่
ด้วยผลประโยชน์เฉพาะตน (สร้างความชอบธรรม) ยุทธวิธีนี้ทําให้อิรักถูกโดดเด่ียว สหรัฐฯ
ทําสงครามจิตวิทยาโดยการทิ้งใบปลิว 29 ล้านแผ่น นําสารท้ังหมด 33 ชุดส่งไปถึงทหารอิรักใน
คูเวตบอกวธิ ีการ ยอมแพ้ สัญญาการดแู ลอยา่ งดีในฐานะเชลยศึก ชกั จงู ให้ทิง้ อาวธุ เตอื นให้ระวังใน
การโจมตีครั้งตอ่ ไป การโฆษณาชวนเชอ่ื กระทําใน 6 รปู แบบ คอื

หนง่ึ กล่าวหา
สอง กระพอื เร่ืองใหเ้ กินจรงิ
สาม ทาํ ศตั รใู ห้กลายเปน็ ปีศาจ
สี่ แยกขัว้
ห้า อา้ งพระเจ้า หรือศาสดาเปน็ ฝาุ ยตน
หก ตอบโต้การโฆษณาชวนเชอื่ (ควบคมุ สื่อสารมวลชนเบ็ดเสร็จ ข่าวศัตรเู ช่อื ถือไม่ได้)
อีกตัวอย่างหน่ึงของอาวุธทางสงครามจิตวิทยาท่ีนํามาใช้ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย
พลโท วอลเตอร์ บลมู เมอร์ (Water Boomer ) ผู้บัญชาการทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯในสงคราม
อ่าวเปอร์เซียจินตนาการภาพทหารนาวิกโยธินของเขา ถูกตรึงติดอยู่ในสนามทุ่นระเบิดในคูเวต

20

และถูกรุมกระหน่ําจากกระสุนปืนใหญ่ของทหารอิรัก การยกพลผ่านเข้าไปในสนามทุ่นระเบิดเป็น
ปญั หาที่เขาจะตอ้ งวางแผนใหร้ อบคอบ

คําตอบของปัญหาน้ีเป็นหน้าท่ีฝูงบินรบพิเศษที่ 8 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
( The Air Force ’s Eight Special Operations Squadron ) ด้วยการท้ิงระเบดิ Blue 82
ระเบดิ นีม้ ขี นาดเทา่ กบั รถโฟลค์เต่าและหนัก 15,000 ปอนด์ เป็นที่รู้จกั อกี ในนามว่า Daisy Cutter
เพราะเคยนําไปใช้ในภารกิจการตัดและทําลายสนามบนิ ตา่ งๆในสงครามเวียดนามมาแล้ว ฝูงบินที่
8 ม่ันใจว่าระเบดิ นี้จะเปน็ ตัวเปดิ ช่องทางให้ทหารนาวิกโยธินเคลอ่ื นท่ีไปได้ นอกจากนั้นยังมีความ
มุ่งหมายท่ีจะใช้เป็น อาวุธทางสงครามจิตวิทยา ท่ีเหมาะสมอย่างยิ่งเพื่อทําให้ทหารอิรักเกิดความ
ตนื่ ตระหนกและเข้ามอบตัวตอ่ ฝาุ ยพันธมติ ร ในจํานวนทหารท่ีเข้ามามอบตัวนัน้ มีคนหนึ่งเป็นทหาร
หน่วยข่าวกรองอิรัก ได้นําแผนที่สนามทุ่นระเบิดตลอดแนวชายแดนมามอบให้ จากข้อมูลน้ีทําให้
กองบัญชาการกลางสามารถที่จะเลือกช่องทางและจุดอ่อนในสนามทุ่นระเบิด เมื่อสงครามทาง
ภาคพ้ืนดินระเบิดข้ึนกําลังทหารนาวิกโยธินและกําลังพันธมิตร สามารถผ่านทุ่นระเบิดเหล่านั้นไป
ไดภ้ ายในเวลาเพยี งชว่ั โมงเดยี วเทา่ นนั้ ดว้ ย ผลสาํ เร็จของ “ อาวุธทางจิตวิทยา ” อันทรงอานุภาพ
น่ันเอง

21

สงครามจิตวิทยาในอัฟกานิสถาน

วันท่ี 11 ก.ย. 44 ได้เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่อประชาคมโลก อนั เนื่องมาจากการ
ก่อการร้ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้พลิกประวัติศาสตร์ของการก่อการร้ายท่ีเคยมีมาในสา
ระบบของวิธีการก่อการร้าย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นยุทธวิธีใหม่ในการก่อการร้าย โดยการไฮแจ็ค
เครื่องบินโดยสารของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ และสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ พุ่งเข้าชน
แบบพลีชีพถล่มตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในมหานครนิวยอร์ก ซ่ึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของทุน
นิยม ทําให้ตึกแฝดทั้งสองพังทลายลงมา พร้อมกบั ชวี ติ ประชาชนผบู้ รสิ ทุ ธ์ิ กว่า 6,000 คน

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 4 วัน สภาคองเกรสให้อํานาจประธานาธิบดี
จอร์จ บุช ในการเปิดสงครามอัฟกานิสถานและประกาศโจมตีทุกประเทศที่ให้การสนับสนุนและที่
พักพงิ ตอ่ ผู้ก่อการร้าย ใน 6 ต.ค.44 สหรัฐฯก็ได้เปดิ สงครามกับบินลาเดน และตาลีบัน ดว้ ยการส่ง
เครื่องบินรบไปถลม่ เปาู หมายทางทหารและยทุ ธศาสตร์ในเมืองคาบลู จาราบตั และกันดารฮ์ าร์

สงครามจติ วิทยาที่ยืดเยือ้ ในอฟั กานสิ ถาน

โดย เอ็มม่า ยัง (Emma Young)

การปฏิบัติการทางจิตวิทยาจะมีบทบาทสําคัญในการทําสงครามในอัฟกานิสถาน และ
ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่โดนัลด์ รัมส์เฟลด์ รัฐมนตรีกลาโหมของ
สหรัฐอเมรกิ าได้ยืนว่า Psyops ได้เร่ิมตน้ ขนึ้ แลว้

การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psyops) มีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ: เพ่ือชักชวนศัตรูให้ยอม
แพ้และโน้มน้าวให้พลเรือนในท้องถ่ินรู้ว่าผู้โจมตีไม่ใช่ศัตรูตัวจริง ใบปลิวและวิทยุโฆษณาชวนเช่ือ
เปน็ อาวธุ หลัก วัตถุประสงค์คอื เพื่อลดความขัดแย้งดว้ ยการทาํ ลายล้างข้าศึก และทําใหพ้ ลเรือนไม่
อยู่ในอันตราย แผ่นพับและรายการวิทยุจะถูกใช้เพื่อบอกพวกเขาว่าอาหารอยู่ท่ีไหนและจะไปถึง
ความปลอดภัยได้อย่างไร และเพ่ือโน้มน้าวพวกเขาว่า พวกเขาไม่ใช่เปูาหมายของการดําเนินงาน
“Rick Hofmann” ประธานสมาคมปฏิบตั ิการจติ วิทยาแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวกับนักวิทยาศาสตร์
คนใหม่

22

เป็นที่ทราบกันว่ามีเครื่องบิน 6 ECC-130 E Commando Solo อยู่ในภูมิภาค
อัฟกานิสถาน ซ่ึงเคร่ืองบินเหล่านี้ทําหน้าท่ีเป็นสถานีวิทยุในอากาศ ปิดก้ันการส่งสัญญาณท้องถ่ิน
และรายการโฆษณาชวนเชื่อทดแทนการกระจายเสยี ง

โดยในวันจันทร์ โฆษกในทําเนียบขาวยืนยันว่าสหรัฐอเมริกากําลังส่งข้อความไปยังชาว
อัฟกานิสถาน เพ่ือให้พวกเขาสามารถมีความรู้เตม็ รูปแบบเกี่ยวกับสิง่ ท่ีเกิดข้ึนในอัฟกานิสถานจาก
แหลง่ อนื่ ๆ นอกจากนย้ี งั มีรายงานวา่ แผน่ พบั ถกู ทง้ิ ด้วยคลน่ื ลูกแรกของระเบิดในคืนวนั อาทิตย์

Raining Radio

กลุ่มปฏิบัติการจิตวิทยาที่ 4 (Airborne) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Forf Bragg รัฐนอร์ธแคโรไลน่า
เป็นหน่วยปฏิบตั ิการด้านจิตวิทยากองทัพสหรัฐฯ เพียงหน่วยเดียว และแม้ว่าฟอร์ต แบรกก์ จะไม่
ยืนยันว่าสมาชิกของหน่วยอยู่ในภูมิภาคอัฟกานิสถาน แต่ก็มีโอกาสสูงที่กลุ่มจะประสานงาน
กิจกรรม Psyops

นกั วเิ คราะหแ์ นะนําวา่ แผ่นพบั และการออกอากาศในอัฟกานิสถานมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไป
ที่คําสอนของศาสนาอิสลามเก่ียวกับการไม่ใช้ความรุนแรงและสันติภาพ พวกเขาอาจช้ีให้เห็นถึง
ความไม่สอดคล้องกันในการกระทําของศัตรู Hofmann กล่าว “กลมุ่ ตอลบิ านต่อตา้ นภาพทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นวีดิโอและภาพถ่าย ถึงกระน้ัน Osama Bin Laden ก็ปรากฏตัวทางโทรทัศน์และ
ตอนน้ีเป็นหนึง่ ในใบหน้าท่เี ปน็ ทรี่ ูจ้ กั มากทีส่ ดุ ในโลก”

มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้คนในอัฟกานิสถานท่ีคิดว่าจะรู้หนังสือ ดังน้ันแผ่นพับท่ีเราท้ิงไว้
จาํ นวนมากจะถูกพมิ พด์ ้วยการ์ตนู และภาพประกอบ Hofmann กลา่ ว วิทยุแบบพกพาที่ปรับตาม
ความถใี่ นการโฆษณาชวนเชื่อของกองทัพสหรัฐฯ อาจถูกทิง้

บารต์ ซมิ ป์สัน

Psyops ประสบความสําเร็จอย่างมากในอดีตในช่วงสงครามอ่าวได้มีการออกคําเตือน
เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ให้กับกองทหารอิรักบนพ้ืนดิน แผ่นพับสัญญาว่าจะรักษาอย่างมี
มนุษยธรรมถ้าพวกเขายอมแพ้ถูกท้ิงไปแล้ว ทหารส่วนใหญ่ที่ยอมจํานนต่อมากําลังถือใบปลิว
เจ้าหนา้ ทกี่ องทพั กลา่ วในเวลาน้ัน

23

แต่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้คนท่ีเป็นเปูาหมายของ Psyops
นั่นสําคัญมาก Hofmann กลา่ ว

“หนึ่งในกุญแจสําคัญ คือ การทําให้ข้อความของคุณถูกต้องในบริบททางวัฒนธรรม
กองทัพศัตรูมักจะพยายาม Psyops แต่มักจะไม่ประสบความสําเร็จ” เขากลา่ ว “ในกรณีอิรัก เช่น
ซัดดัม ฮสุ เซ็น พยายามทําลายลา้ งกองทัพสหรัฐฯ โดยการสง่ ขอ้ ความว่า ขณะท่ีพวกเขาออกไปตอ่
สคู่ ู่รกั ของพวกเขาถกู ลอ่ ลวงโดยดาราภาพยนตร์ เชน่ บารต์ ซมิ ป์สนั ”

24

บทท่ี 2

หลักการปฏิบัตกิ ารจติ วิทยา

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อใหเ้ ข้าถึงความหมาย และวัตถปุ ระสงคข์ องการปฏบิ ตั ิการจติ วิทยา
2. เพอื่ ให้ทราบถึงวงรอบและการดาํ เนนิ การปฏิบัติการจิตวิทยา
3. เพอ่ื ใหท้ ราบถึงองค์กรและหน่วยงานท่ดี าํ เนนิ งานดา้ น ปจว. ทงั้ ฝาุ ยรัฐบาลและ

ฝาุ ยทหาร
4. เพื่อใหท้ ราบถงึ ความสําคัญของการปฏิบัติการจิตวทิ ยาที่มีผลกระทบต่อ

กล่มุ เปาู หมาย

25

1. กล่าวนา

ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมาย วัตถุประสงค์ ลักษณะการดําเนินการ รูปแบบ วงรอบ
ปฏิบัติการจิตวิทยา ปัจจัยความสําเร็จในการปฏิบตั ิการจิตวิทยา รวมท้ังการจัดองค์กร และหน่วย
ปฏบิ ตั กิ ารจติ วิทยาของไทย

2. ความหมาย

การปฏิบัติการจิตวิทยา ( PSYCHOLOGICAL OPERATIONS ) มีหลายความหมาย
ดว้ ยกนั คอื

- การดําเนินงานท้ังปวงทางด้านจิตวิทยาท่ีกระทําต่อเปูาหมายต่างๆ ท้ัง ฝุายตรงข้าม
ฝาุ ยเปน็ กลาง และฝุายเดยี วกัน ทั้งในยามปกตแิ ละยามสงคราม เพื่อมุ่งหวังใหเ้ กิดอิทธิพลต่อการ
เปล่ียนแปลงความคิด ทัศนคติ ท่าที อารมณ์ และพฤติกรรมของเปูาหมาย ให้บรรลุผลตาม
วตั ถุประสงค์ ทฝ่ี าุ ยเรากําหนดไว้ ( หลกั นยิ มกจิ การพลเรือนของกองทพั บก พ.ศ.2552 )

- การปฏิบัติกิจกรรมทั้งปวงในด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสังคมท่ีกระทําต่อ
เปูาหมายต่างๆท้ังฝุายตรงข้าม ฝุายเป็นกลาง และฝุายเดียวกัน ท้ังในยามปกติและยามสงคราม
เพื่อให้เกิดผลการเปล่ียนแปลงทางด้านความคิดเหน็ อารมณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมของเปูาหมาย
ในทางที่จะสนับสนุนผลประโยชน์ของชาติ (คณะกรรมการปฏิบตั ิการจิตวิทยาแห่งชาติ กจช.คร้ังที่
4/47 )

- กิจกรรมท่ีได้วางแผนไว้แลว้ เก่ียวกับการโฆษณาชวนเช่ือและกิจกรรมทางจิตวิทยา ท้ังใน
ยามสงบและยามสงครามกระทําต่อฝุายข้าศึก ฝุายเดียวกัน และฝุายเป็นกลาง ทั้งทางด้าน
การเมืองและการทหาร ท้ังในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และระดับยุทธวิธี ( คู่มือราชการสนาม
33 – 1 การปฏบิ ัตกิ ารจติ วิทยา ปี ค.ศ. 1987 ( พ.ศ. 2530 ) ของกองทัพบกสหรฐั อเมริกา )

- การเผยแพร่ข่าวสาร ความคิดเห็น ลัทธินิยม หรือการจูงใจต่างๆ รวมทั้งมาตรการอื่นๆ
ตามแผนที่ไว้วางไว้จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อให้มีอิทธพลเหนือจิตใจกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง
ที่ต้องการในวิถีทางท่ีจะช่วยสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ ( หลักนิยมกิจการพลเรือน
กองทพั บก พ.ศ. 2525 )

- กิจกรรมทางจิตวิทยาและการทําสงครามจิตวิทยาและมาตรการอื่นๆ ที่วางไว้ จะโดย
ทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพ่ือให้มีอิทธิพลเหนือต่ออารมณ์ ความคิดเห็น อารมณ์ ทัศนคติและ
พฤติกรรมของฝุายตรงข้าม ฝุายเป็นกลาง และฝุายเรา ในหนทางที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ
ชาติ (สบส. พ.ศ. 2518 )

26

- การปฏิบัติกิจกรรมท้ังปวงในด้านการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมที่กระทํา
ต่อเปูาหมายต่างๆ ท้งั ฝาุ ยตรงข้าม ฝุายเปน็ กลาง และฝาุ ยเดยี วกนั ทงั้ ในยามปกตแิ ละยามสงคราม
เพ่ือก่อใหเ้ กิดผลเปล่ียนแปลงทางด้านความคิดเห็น อารมณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของเปาู หมาย
ในทางที่จะสนับสนุนผลประโยชน์ของชาติ (คณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๑๗ )

สงครามจติ วทิ ยาเป็นการใชก้ ารโฆษณาชวนเชอื่ ปฏบิ ตั ใิ นยามสงครามหรือยามขัดแย้งมุ่งต่อ
ฝาุ ยตรงขา้ ม, พนั ธมติ ร, ฝาุ ยเปน็ กลาง กระทําในพน้ื ทกี่ ารรบหรอื พนื้ ที่ฝุายตรงขา้ ม

กิจกรรมทางจิตวิทยาเป็นกิจกรรมท่ีทํายามปกติและยามสงครามกระทํานอกเขตการทํา
สงครามมุ่งต่อฝาุ ยเราหรอื เป็นกลาง มวี างแผนเพือ่ ใหบ้ รรลุวัตถปุ ระสงคข์ องชาติ

กิจกรรมอื่นๆ ตามท่ีได้วางแผนไว้ เช่น การเดินขบวนแสดงพลัง การสวนสนาม การให้
ของขวัญ รางวัล การเย่ียมเยียน การให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ การแสดง การจัดนิทรรศการ
การกีฬา ฯลฯ

27

3. วัตถุประสงค์

ก่อให้เกิดอิทธิพลเหนือจิตใจกลุ่มชนท่ีเป็นเปูาหมายและมีพฤติกรรมตามที่ฝุายเราต้องการ
แบง่ เปน็ 2 ประเภท คอื

1. การเรยี กร้องความร่วมมอื ( Coresive ) กระทาเพอื่
- สรา้ งขวัญและกาํ ลงั ใจในการต่อสู้
- พัฒนาความสามคั คีของคนในชาติ
- สร้างภาพพจนท์ ดี่ ี
- สร้างไมตรีจิตเพ่มิ พูนสมั พนั ธภาพระหว่างพลเรือนกับทหาร
- เสรมิ ประสทิ ธิภาพการรบ
- สรา้ งคา่ นิยมใหบ้ งั เกดิ การยอมรับและให้ความรว่ มมือ
- ใหบ้ ริการขา่ วสารแก่ประชาชน
- ลบลา้ งและต่อต้านการโฆษณาชวนเช่ือท่มี งุ่ รา้ ยของฝาุ ยตรงข้าม
- สร้างความคดิ ใหเ้ หน็ แก่ประโยชนส์ ่วนรวมของชาติ

2. ก่อให้เกดิ ความแตกแยก ( Divisive ) กระทาเพือ่
- ทําลายขวัญและกาํ ลังใจในการตอ่ สู้
- ขยายผลความล่อแหลมและความผดิ พลาดของฝุายตรงข้าม
- ยัว่ ยุ ปลกุ ระดมใหแ้ ตกแยกและต่อตา้ นกันเองในระหวา่ งกลุ่ม
- ลดประสทิ ธภิ าพการรบ
- ทําลายความเชื่อมัน่ ของฝาุ ยตรงข้าม
- ทาํ ใหเ้ กดิ การเอาใจออกหา่ ง
- เสรมิ แผนการลวงหรอื ใชม้ าตรการลวงใหเ้ กิดการเขา้ ใจผิด
- ทาํ ลายภาพพจนท์ ีด่ ีโดยเฉพาะต่อรัฐบาลหรอื ผปู้ กครอง
- เปล่ยี นจดุ สนใจ

28

วัตถุประสงค์การปฏิบัตกิ ารจิตวทิ ยาทางทหาร

1. เพอ่ื เสริมสรา้ งขวัญ กาํ ลังใจ และความสามคั คีของฝาุ ยเรา
2. เพื่อทาํ ลายขวญั กาํ ลงั ใจ และความเป็นปึกแผ่นของฝุายตรงข้าม
3. เพอ่ื การขดั ขวาง และบ่ันทอน การปฏิบัติของฝาุ ยตรงข้าม
4. เพอ่ื การตอ่ ตา้ น และตอบโตก้ ารปฏบิ ัติการจติ วิทยาของฝุายตรงขา้ ม

4. ลกั ษณะการดาเนนิ การ แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่ เปิดเผย ปกปดิ และการปฏิบตั ิการลับ

( หลกั นิยมกจิ การพลเรือนของกองทัพบก พ.ศ. ๒๕๕๒ )
- การปฏิบัติการจิตวิทยาในลักษณะ “เปิดเผย” เป็นการดําเนินงาน ท่ีเปิดเผยผู้กระทํา

และรับผิดชอบในการกระทํานั้นๆ หากเกิดความเสียหายขึ้น การดําเนินการในลักษณะนี้ต้องมี
ความรอบคอบ และควรใชเ้ นอื้ หาทเ่ี ปน็ จรงิ เป็นมลู ฐาน

- การปฏิบัติการจิตวิทยาในลักษณะ “ปกปิด” เป็นการดําเนินงานท่ีไม่เปิดเผยผู้กระทํา
ท้ังนี้เพ่ือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบท่ีอาจเกิดผลเสียหายต่อฝุายเรา เนื้อหาที่ใช้ต้องมีความ
ระมัดระวังใหม้ ีความน่าเชื่อถอื

- การปฏิบัติการจิตวิทยาในลักษณะ “การปฏิบัติการลับ” เป็นการดําเนินงานท่ีไม่
เปิดเผยผู้กระทําเช่นเดียวกับการดําเนินงานในลักษณะปกปิด แต่การปฏิบัติจะต้องมีการจัดต้ัง
หน่วยควบคุมในการปฏิบัติ และมีการจัดต้ังเครือข่ายการปฏิบัติในลักษณะปิดลับ เพ่ือหลีกเลี่ยง
ข้อจํากัดทางการเมืองระหว่างประเทศ และข้อกฎหมายต่างๆ หรืออาจเรียกว่า “การปฏิบัติการ
จิตวิทยาทางลับ” กไ็ ด้

29

5. ลักษณะสาคัญของการ ปจว.

- เปน็ การปฏิบตั ิตามแผนท่ีวางไว้
- กําหนดเปาู หมายชดั เจน
- ทําให้เปาู หมายเปลี่ยนแปลงท่าทีและพฤติกรรม
- สนองตอบต่อวัตถุประสงคข์ องชาตแิ ละภารกจิ

6. รูปแบบการปฏิบัติการจิตวิทยา แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุน

การปฏิบัติการรบ หรือการทําสงคราม และ การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการแก้ปัญหาสําคัญ
ของชาติ ( หลกั นยิ มกจิ การพลเรือนของกองทัพบก พ.ศ. 2552 )

1. การปฏบิ ตั ิการจิตวิทยาสนับสนุนการปฏิบัติการรบ หรอื การทาสงคราม แบ่งตามลักษณะ
ของการใช้กําลงั ปฏิบัติการทางทหารเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.1 การปฏิบัติการจิตวิทยาทางยุทธศาสตร์ เป็นการปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีมีขอบเขต
กว้างขวาง เพื่อสนับสนุน และสร้างอิทธิพลต่อการวางแผนทางยุทธศาสตร์ของประเทศ เป็นการ
ปฏิบตั ิตอ่ เปาู หมายในพื้นที่ใดๆ โดยหน่วยระดับกองทัพบกถึงระดับรัฐบาล เพือ่ มุ่งลดประสิทธิภาพ
และขยายผลจากความล่อแหลมของฝุายตรงข้าม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางทหาร หรือทาง
การเมืองในระยะยาว

1.2 การปฏิบตั ิการจิตวิทยาทางยทุ ธวิธี การปฏิบตั ิการจิตวิทยามุ่งกระทําต่อกลุ่มเปาู หมาย
ในพ้ืนที่การรบ สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร เพ่ือให้เกิดผลในระยะส้ันทันที โดยมุ่งท่ีจะลด
ประสิทธิภาพ ทําลายขวัญ กําลังใจของฝุายตรงข้าม ในขณะเดียวกัน ก็ตอ้ งดําเนินการเพอื่ บํารุงขวัญ และ
พฒั นาอํานาจกาํ ลังรบของฝาุ ยเราด้วย

1.3 การปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อเสริมความมั่นคง เป็นการปฏิบัติที่มุ่งกระทําต่อ
กลุ่มเปูาหมายในพ้ืนที่ท่ีฝุายเราเข้ายึดครอง ซึ่งพื้นที่น้ันจะเป็นดินแดนของฝุายตรงข้าม หรือพ้ืนท่ีที่ฝุาย
เรายดึ กลับคืนมากไ็ ด้ รวมท้งั พนื้ ท่ีทฝ่ี าุ ยเราสามารถเขา้ ถงึ เพ่ือปฏบิ ัติการทางทหาร โดยมีความมุ่ง
หมายให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติการ และให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นท่ี
ท้งั นี้เพ่ือให้สถานการณ์ ในพ้นื ที่กลบั สสู่ ภาพปกตโิ ดยเร็ว

30

2. การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาคัญของชาติ เป็นการดําเนิน
การในลกั ษณะต่างๆ ที่มีความออ่ นไหว และสลับซบั ซ้อน ซ่งึ ต้องใช้การวางแผนท่ีมคี วามละเอยี ด
รอบคอบ ลึกซึง้ และคํานึงถึงขอ้ กฎหมาย และผลกระทบทจี่ ะเกดิ ขึน้ ภายหลังการปฏิบัติการ อกี ท้ัง
ลักษณะของการปฏิบัติการอาจมีทั้งที่ เปิดเผย และปกปิด หรือในบางกรณีอาจมีความจําเป็นท่ีจะต้อง
ดําเนินการในลักษณะ “การปฏิบัติการลับ” ท้ังน้ีเพ่ือให้เกิดผลประโยชน์สูงสดุ ต่อประเทศชาติ และความ
ผาสุกของประชาชน การดาํ เนนิ การแบง่ ออกเปน็ 3 ระดบั ดังนี้

2.1 การปฏิบัติการจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน เป็นการดําเนินการโดยหน่วยทหารทุกหน่วย
และกําลังพลทุกคน ที่มุ่งกระทําต่อเปูาหมายบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลในพ้ืนที่ปฏิบัติการ หรือ
ประชาชนท่ัวไป เพ่ือหวังผลให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความรักความสามัคคี มีอุดมการณ์
ความรักชาติ มีจิตสํานึกด้านความมั่นคง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน ทั้งระหว่างทหาร
(เจ้าหน้าท่ีรัฐ) กับประชาชน และ ระหว่างประชาชนกับประชาชน โดยพิจารณาเลือกใช้สื่อ และ
กิจกรรม ท่ีมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน รวมท้ังการ
กําหนดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดมิให้กําลังพล (เจ้าหน้าท่ีรัฐ) ประพฤติปฏิบัติในเรื่องที่จะ
กอ่ ให้เกดิ ผลกระทบทางลบในความรู้สกึ ของประชาชนโดยเด็ดขาด

2.2 การปฏิบัติการจิตวิทยาข้ันกลาง เปน็ การดาํ เนินงานที่ตอ้ งใช้หน่วย และเจา้ หน้าที่ที่มี
ความเช่ยี วชาญด้านการปฏิบตั ิการจิตวิทยาเป็นการเฉพาะ เพอื่ ให้ผลการปฏิบตั ิเกิดความได้เปรียบ
ต่อฝุายตรงข้ามทางด้านจิตวิทยาอย่างต่อเน่ือง และบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ท่ีกําหนดไว้
ลักษณะของการปฏิบัติมีท้ังเปิดเผย และปกปิด ซึ่งโดยท่ัวไปภารกิจที่จะได้รับมอบให้ดําเนินการ
ได้แก่ การปฏิบัติการจิตวิทยาเชิงรุก การโฆษณาชวนเชื่อ การต่อต้านและตอบโต้การโฆษณา
ชวนเชอ่ื

2.3 การปฏิบัติการจิตวิทยาขั้นสูง เป็นการดําเนินการด้วยทรัพยากรท้ังปวงท่ีมุ่งกระทํา
ต่อเปูาหมายบุคคล หรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดอิทธิพลต่อการเปล่ียนแปลงทัศนคติ และ
ความเช่ือของกลุ่มชนในวงกว้าง ลักษณะของการปฏิบัติอาจมีทั้งการเปิดเผย ปกปิด หรือเป็นการ
ปฏิบตั กิ ารลับกไ็ ด้ ท้งั นี้เพือ่ ให้บรรลุผลตามวตั ถุประสงค์ท่ีกําหนดไว้

31

การปฏิบัติ

- การปฏิบัติโดยหน่วยทหารทวั่ ไป เปน็ การดําเนินงานปฏิบัติการจิตวิทยาขัน้ พื้นฐานท่ี
เน้นการพัฒนาสัมพันธ์ การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของชุมชน และการช่วยเหลือประชาชน
เพอ่ื สร้างความสมั พนั ธ์ และความเขา้ ใจอนั ดตี อ่ กนั ระหวา่ งชุมชนกับหน่วยทหาร ซ่ึงหน่วยทหารทุก
หน่วยสามารถกระทําได้

- การปฏิบัติโดยหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา เป็นการดําเนินงานที่ต้องใช้หน่วย และ
เจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นการเฉพาะ เพ่ือหวังผลให้เกิดอทิ ธิพล
ต่อความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของเปูาหมาย รวมทั้งเพ่ือให้ได้เปรียบต่อฝุายตรงข้ามทางด้าน
จิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ท่ีกําหนดไว้ ลักษณะของการปฏิบัติมี
ท้ังปกปิด เปิดเผย และการปฏิบัติการลับ ซึ่งโดยท่ัวไปภารกิจที่จะได้รับมอบให้ดําเนินการ ได้แก่
การปฏบิ ัตกิ ารจิตวิทยาเชงิ รุก การโฆษณาชวนเช่ือ การตอ่ ต้านและตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อ

- การปฏิบัติโดยทหารแต่ละบุคคล การปฏิบัติของกําลังพลแต่ละบุคคล ล้วนมี
ผลกระทบทางด้านจติ วิทยาได้ทั้งสิ้น ทั้งทางบวก และทางลบ ซง่ึ จะสง่ ผลกระทบต่อความสาํ เร็จ
ของการปฏิบัติภารกิจของหน่วยโดยรวมได้ ดังน้ันจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยทุก
ระดับ ต้องเข้มงวดกวดขันให้กําลังพลทุกนายมีการแสดงออกต่อสาธารณชนด้วยท่าทีท่ีเป็นมิตร
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รวมท้ังต้องกําหนดมาตรการควบคุมที่มิให้กําลังพล ( เจ้าหน้าท่ีรัฐ )
ประพฤตปิ ฏบิ ัตใิ นเรอื่ งท่ีจะกอ่ ใหเ้ กดิ ผลกระทบทางลบในความรู้สกึ ของประชาชนโดยเดด็ ขาด

32

แนวทางดาเนินการ แบ่งออกเป็น 3 ลกั ษณะ ได้แก่ การปฏิบัตกิ ารจติ วิทยาเชิงรุก การปฏิบัตกิ าร
จิตวิทยา เชงิ รบั และการขยายผลจากโอกาสท่เี ปิดให้

1. การปฏบิ ัติการจติ วิทยาเชิงรกุ
- เป็นการดําเนินการในลักษณะของการชิงบอกก่อน หรือกระทําก่อน เพ่ือให้เกิด

ความได้เปรียบทางด้านจิตวิทยาของฝุายเรา โดยใช้ส่ือโฆษณาที่มีอยู่ชี้แจงข่าวสารตามความเป็น
จริง และตามความนา่ เชื่อถอื เพ่อื สร้างความเข้าใจ ความเชือ่ มนั่ ศรทั ธา และการยอมรบั

- เป็นการดาํ เนนิ การเพอื่ ชใ้ี ห้เหน็ ว่าฝุายเรามีความเหนือกว่าฝุายตรงข้าม โดยใช้การ
โฆษณาชวนเช่ือทําลายขวัญกําลังใจ ความเป็นปึกแผ่น และลดประสิทธิภาพในการปฏิบัติของฝุายตรง
ข้ามด้วยการขยายผลจุดอ่อน และความล่อแหลม การสร้างข่าวลือ/ข่าวลวง การทําลายความเชื่อม่ัน
การทาํ ลายเอกภาพ การสรา้ งความแตกแยก การยุใหเ้ อาใจออกห่าง และการเบ่ียงเบนความสนใจ
เป็นตน้

2. การปฏิบตั ิการจิตวิทยาเชงิ รับ
- เป็นการดําเนินการตอบโต้การปฏิบัติการจิตวิทยาของฝุายตรงขา้ มด้วยการชี้แจง

ชักจูง หรือ โน้มน้าวเพื่อหวังผลทางจิตวิทยาต่อเปูาหมายฝุายเราและฝุายเป็นกลาง เพื่อสร้าง
ภาพลักษณ์ท่ีดี สร้างค่านิยมให้ยอมรับ และร่วมมือ ให้บริการข่าวสาร สร้างความเช่ือมั่น ทําให้เห็นแก่
ส่วนรวม และสร้างความสามัคคี เปน็ ตน้

- เป็นการดําเนินการในลักษณะของการตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อของฝุายตรง
ข้ามโดยกระทําใน 2 กรณี กล่าวคือ กรณีท่ีเป็นเรื่องเท็จ ให้ดําเนินการตอบโต้ หรือช้ีแจงต่อ
เปูาหมายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที ด้วยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อฝุายเรา
โดยใช้สื่อโฆษณาทางปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีมีอยู่ใหต้ รงกลุ่ม และ ครอบคลุมเปูาหมาย สําหรับกรณี
ที่เปน็ เรื่องจริง ให้ดําเนินการโดยใช้เทคนิคของ การตอบโต้การโฆษณาชวนเช่ือ เช่น การเบ่ียงเบน
การทาํ ให้พน้ ผดิ การพสิ ูจนห์ ักล้างทางตรง การพิสจู น์หักลา้ งทางออ้ ม หรอื การนงิ่ เงยี บแลว้ แต่กรณี
ดําเนินการต่อเปูาหมายเมื่อโอกาสเปิดให้ โดยหวังผลทางจิตวิทยาในการทําลายข่าวลือ หรือข่าว
ลวง ของฝุายตรงขา้ ม และสรา้ งความเข้าใจและเชอื่ มั่นศรัทธาให้กับเปูาหมายฝาุ ยเรา และฝุายเป็น
กลาง

33

3. การขยายผลจากโอกาสทเี่ ปิดให้
เป็นการดําเนินการท่ีใช้ช่วงจังหวะเวลาท่ีเอ้ืออํานวย โดยอาจเป็นการดําเนินการต่อ

จากการปฏิบัติการเชิงรุกที่ได้ผล หรือจากการปฏิบัติ การเชิงรับ ที่ช้ีแจงทําความเข้าใจได้ จนสามารถ
พลกิ สถานการณ์มาเปน็ ฝาุ ยไดเ้ ปรียบ จึงต้องใช้โอกาสที่เปดิ ใหน้ ั้นขยายผลใหเ้ กิดผลความสําเร็จมาก
ยิ่งขึ้น รวมทั้งในบางกรณีอาจเกิดจากข้อผิดพลาด และข้อบกพร่องในการปฏิบัติการของฝุาย
ตรงข้าม หรือสภาวะแวดล้อมโดยท่ัวไปที่ทําใหฝ้ ุายเราได้เปรียบก็จะต้องใช้โอกาสท่ีเปิดให้ดังกล่าว
ขยายผลทางดา้ นจติ วิทยาทันที

วงรอบการปฏบิ ัตกิ ารจติ วทิ ยา

1. การวิเคราะห์ข่าวกรอง (สถานการณ์ ทัศนคติ จุดอ่อน จุดแข็งของฝุายเรา และฝุาย
ตรงขา้ ม)

2. กาํ หนดวัตถปุ ระสงคท์ างจิตวทิ ยา ในการดําเนนิ การต่อเปูาหมาย
3. กําหนดแนวทางปจว.หรืองานท่จี ะทาํ ใหว้ ตั ถปุ ระสงค์ทางจติ วทิ ยาบรรลุผลสําเรจ็
4. กําหนดส่ือโฆษณาทางปจว./กิจกรรม/โครงการ ตามแนวทางปจว./แผนงานที่กําหนด
ไว้
5. ดําเนนิ การปจว.ต่อเปูาหมาย
6. พิจารณาผลสาํ เรจ็ จากการดําเนินการปจว. ไปแล้วว่าได้ผลอยา่ งไร

ปัจจยั ความสาเร็จในการปฏบิ ัติการจิตวทิ ยา ประกอบด้วย

- มฐี านข้อมลู ทีส่ มบรู ณ์ มีรายละเอียดถกู ต้อง และสมบรู ณ์
- ข่าวกรองท่มี ีรายละเอยี ด และทันสมยั
- การวางแผนทเี่ หมาะสมทันเวลา
- การควบคมุ แบบรวมการ
- การปฏบิ ัติแบบแยกการ
- การใชท้ รพั ยากรท่ีมีอยู่ใหเ้ กดิ คณุ ค่าอย่างสูงสดุ

34

การจดั องคก์ ร และหนว่ ยปฏิบัตกิ ารจิตวิทยาของไทย

กองทัพบก

- กรมกิจการพลเรือนทหารบก เป็นหน่วยฝุายอํานวยการของกองทัพบก มีหน้าที่
ในการเสนอนโยบาย วางแผน ประสานงาน กํากับการ และอํานวยการเกี่ยวกับการปฏิบัติการ
จิตวิทยาทัง้ ปวง ของกองทพั บก

- กรมยุทธการทหารบก เป็นฝุายอํานวยการของกองทัพบก ท่ีมีหน้าท่ีในการเสนอ
นโยบาย วางแผน ประสานงาน กํากับดูแล และอํานวยการเก่ียวกับการปฏิบัติการข่าวสาร และ
การปฏบิ ตั กิ ารจติ วิทยาสนบั สนนุ การปฏิบตั ิการสงครามพเิ ศษ

- กองพันปฏิบตั ิการจติ วทิ ยา หน่วยบญั ชาการสงครามพิเศษ เปน็ หน่วยปฏิบตั ิการ
ด้านจติ วิทยาของกองทพั บก ทําหน้าทส่ี นับสนนุ ภารกิจของกองทัพบก ตามทไ่ี ด้รับมอบหมาย

- กรมยทุ ธการทหารบก เปน็ กรมฝุายเสนาธิการของกองทัพบกมีหน้าที่ในการเสนอ
นโยบาย วางแผน ประสานงาน กํากับดูแล และอํานวยการเกี่ยวกับการปฏิบัติการจิตวิทยาในการ
สนับสนุนการปฏิบัติการทางทหารโดยเฉพาะ โดยมี กองสงครามพิเศษ เป็นหน่วยรับผิดชอบ
โดยตรง ในเรอื่ งการฝึกและศึกษา

- กรมกิจการพลเรือนทหารบก เป็นกรมฝุายเสนาธิการของกองทัพบกมีหน้าในการ
เสนอนโยบาย วางแผน ประสานงาน กํากับดูแล และอํานวยการเก่ียวกับการปฏิบัติการทาง
จติ วิทยาท้ังปวงท่ีจาํ เปน็ ตอ่ การสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร มีหน่วยรับผิดชอบ 2 หน่วย คือ
กองปฏิบัติการจติ วิทยา และ โรงเรยี นกิจการพลเรือน

- หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ นสศ. เป็นหน่วยข้ึนตรงของกองทัพบกมีหน้าที่ใน
การวางแผน อํานวยการ กํากับดูแล และดําเนินการฝึกและศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติการพิเศษ
(ซึ่งมกี ารปฏบิ ตั กิ ารจติ วทิ ยา เปน็ การปฏิบัตแิ ขนงหนง่ึ ) โดยมีศูนย์สงครามพเิ ศษเปน็ หน่วยวางแผน
อํานวยการ ดําเนินการ กํากับดูแล งานด้านการศึกษาเก่ียวกับการปฏิบัติการจิตวิทยา และมี
กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา เป็นหน่วยปฏิบัติ ปัจจุบันเป็นหน่วยข้ึนตรงของหน่วยบัญชาการ
สงครามพิเศษ

- กองทัพภาค มีกองกิจการพลเรือน ทําหน้าท่ีฝุายอํานวยการ กํากับดูแลงานด้าน
การปฏิบัตกิ ารจติ วิทยาในการช่วยเหลือประชาชน และมี กองร้อยปฏิบัตกิ ารจิตวิทยากองทัพภาค
เปน็ หนว่ ยดําเนนิ การปฏบิ ตั ิการจติ วทิ ยา

35

กองทพั เรือ

- กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นหน่วยของกองทัพเรือท่ีมีหน้าท่ีวางแผน
อํานวยการ ประสานงาน และดําเนินการในเร่ืองการปฏิบัติการจิตวิทยาโดยมี กองปฏิบัติการ
จิตวทิ ยา เปน็ หน่วยรับผิดชอบดําเนนิ การ

- หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นหน่วยกําลังรบของกองทัพเรือ ที่มีหน่วย
รับผิดชอบในการวางแผน อํานวยการ ประสานงาน และดําเนินการในเร่ืองปฏิบัติการจิตวิทยา
มี กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา เป็นหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา โดยมีหน้าท่ีสนับสนุนมาตราการ
รักษาความมนั่ คงและการปฏิบัติการรบ มีขดี ความสามารถในการปฏิบัติการโฆษณาประชาสัมพันธ์
ผลิตและแจกจ่ายส่ือโฆษณา ตลอดท้ังปฏิบัติการสนับสนุนในการปูองกันและปราบปราม
การกอ่ ความไม่สงบ ดําเนินสงครามจติ วทิ ยาเพื่อสนับสนนุ การรบ

กองทัพอากาศ
มี กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นกรมฝุายเสนาธิการชองกองทัพอากาศ ท่ีมีหน้าที่

ในการวางแผน อํานวยการ ประสานงาน ควบคุม และดําเนินการเก่ียวกับการปฏิบัติการจิตวิทยา
มี กองกิจการพลเรือน เปน็ หนว่ ยรับผดิ ชอบในการดําเนินการ

ระดับกองทัพภาค มีแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา กองกิจการพลเรือน กองทัพภาค
ทาํ หนา้ ที่ฝุายอาํ นวยการ กํากบั ดแู ล และปฏิบัตกิ ารจติ วิทยาทั้งปวงในพน้ื ที่รับผดิ ชอบรวมท้ังกํากับ
ดแู ลหนว่ ยปฏิบัติการจิตวทิ ยาทีข่ น้ึ ควบคุมทางยุทธการ หรือเขา้ มาปฏิบัติงานในพนื้ ที่รบั ผิดชอบ

ระดับกองพล หรือ เทียบเท่า มีฝุาย หรือแผนกกิจการพลเรือนของหน่วย
ทําหน้าทีฝ่ ุายอํานวยการ และปฏบิ ตั ิการจติ วิทยาทัง้ ปวงในพ้ืนทีร่ บั ผดิ ชอบ รวมทั้งกํากบั ดแู ลหน่วย
ปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีข้ึนควบคุมทางยุทธการ หรือเข้ามาปฏิบัติงานในพ้ืนที่รับผิดชอบของหน่วย
สําหรับหน่วยที่ไม่มีการจัดฝุายกิจการพลเรือนเอาไว้ในอัตรา ให้ฝุายยุทธการของหน่วยเป็น
ผู้รับผิดชอบ

หนว่ ยระดับกรม หรือ เทียบเท่าลงไป มีฝุายกิจการพลเรือนของหน่วย ทําหน้าที่
ฝุายอํานวยการ และปฏิบัติการจิตวิทยาทั้งปวงในพื้นท่ีรับผิดชอบ รวมทั้งกํากับดูแลหน่วย
ปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีข้ึนควบคุมทางยุทธการ หรือเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วย
สําหรับหน่วยที่ไม่มีการจัดฝุายกิจการพลเรือนเอาไว้ในอัตรา ให้ฝุายยุทธการของหน่วยเป็น
ผรู้ ับผิดชอบ

36

บทท่ี 3

การปฏบิ ัตกิ ารจติ วทิ ยาสนับสนุนสงครามตามแบบ

วัตถปุ ระสงค์

1. เพ่ือให้ทราบแนวทางในการปฏบิ ตั กิ ารจติ วทิ ยาสนับสนนุ สงครามตามแบบ
2. เพื่อใหท้ ราบยุทธวิธีของการรบตามแบบ

37

การปฏิบัติการจิตวทิ ยาในสงครามตามแบบ

กล่าวนา

สงคราม หมายถงึ การต่อสู้ท่ีเอาชนะกันดว้ ยการใช้พลงั อาํ นาจทางทหารและพลงั อาํ นาจ
อ่ืนๆ เพ่ือรักษาผลประโยชน์ของชาติ หรือเพื่อขยายอิทธิพลของประเทศเป็นเรื่องระดับชาติ
จึงตอ้ งมคี วามสอดคล้องกนั ตง้ั แตร่ ะดบั ผ้ําหนดนโยบายสงู สดุ จนถึงผปู้ ฏบิ ตั ิระดบั ล่าง

การ ปจว. ที่มีการวางแผนและการปฏิบัติไว้อย่างเหมาะสมน้ัน สามารถเสริมความสาํ เร็จ
ของการปฏิบัติการรบตามแบบในสถานการณ์สงคราม หรือในสถานการณ์สําหรับการปฏิบัติการ
เมอ่ื สภาวะใกลเ้ กดิ สงคราม เช่นการนําเทคโนโลยตี า่ งๆ ได้แสดงใหเ้ ห็นสภาพของสนามรบก่อนการ
ปฏิบัติเชิงรุก อย่างไรก็ตามหลักสําคัญพ้ืนฐานของการยุทธอากาศพ้ืนดิน ยังคงเป็นหลักมูลฐานอยู่
ตอ่ ไป การ ปจว. สนับสนนุ การปฏิบตั ิการรบตามแบบสามารถสนับสนุนหลักพน้ื ฐานสาํ คัญของการ
ยุทธอากาศพื้นดินได้ท้งั 4 ประการ คอื ความริเริม่ ความรวดเร็ว ความลึก และความสอดคลอ้ ง

ความริเริ่ม หมายถงึ การตง้ั หรือการเปล่ียนรูปของการรบ โดยการ ปจว. จะช่วยเสริมใน
การให้ได้มา ซึ่งความริเริ่มด้วยการโจมตีต่อจิตใจในการสู้รบของฝุายตรงข้าม และการทําให้เกิด
อิทธิพลต่อพฤติกรรมของฝุายตรงข้ามที่จะสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา ความคิด
รเิ ริ่มเกิดขนึ้ โดยแบง่ ออกตามระดบั ของความขดั แยง้ ไดด้ ังต่อไปนี้

38

 ก่อนการเป็นปรปกั ษ์ ( สนั ติ )
การ ปจว. สามารถชักชวนเปูาหมายที่กําลังจะเกี่ยวข้องกับสงคราม หรือกิจกรรมท่ี

คลา้ ยคลึงกับสงคราม ซึ่งอาจไม่เปน็ ประโยชน์ตอ่ พวกเขา การกระทําตอ่ กิจกรรมเหล่านี้ก็คือการใช้
สือ่ กระจายเสียง . การเผยแพร่ข้อตกลงจากการประชุมทางการเมือง ในระดับรัฐบาลหรือระหว่าง
ประเทศ การลงโทษทางเศรษฐกิจ การปฏิบัติกิจกรรมทางทหารรวมทั้งการแสดงแสนยานุภาพ
และการเตรียมพร้อมทางทหาร

 ขณะใกลก้ ารเป็นปรปกั ษ์ ( ขดั แยง้ )
ดําเนินการ ปจว. เตรียมผู้ฟังเปูาหมาย ( ข้าศึก ฝุายเป็นกลาง ฝุายเดียวกัน )

เพื่อนํากําลังของฝุายเราเข้าไปในพ้ืนท่ีปฏิบัติการที่ปรากฎการคุกคาม แผนงาน ปจว. สามารถ
สนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธศาสตร์ของฝุายเราด้วยการลดการแทรกแซงในด้านหน่ึงด้านใดของ
ฝุายตรงข้ามต่อฝาุ ยเรา

 ระหว่างการเป็นปรปักษ์ ( สงคราม )
การ ปจว. สนับสนุนการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาทางยุทธวิธี ด้วยการจู่โจม

การลวงและการกระทาํ อย่างอน่ื ที่ทาํ ลายขวญั และกําลงั ใจในการสูร้ บของฝุายตรงขา้ ม

 หลงั การเปน็ ปรปกั ษ์ ( สนั ติ )
การ ปจว. สนับสนุนการปฏิบัติเพื่อสร้างความประทับใจทัศนคติท่ีดีต่อการปฏิบัติ

ของฝุายเรา ด้วยการเผยแพร่แผนการถอดกําลัง และให้การศึกษาเกี่ยวกับการเกิสภาพทาง
การเมืองใหม่

1.ความมุง่ หมายของการปฏบิ ตั กิ ารจติ วิทยา

เพ่ือทําให้บรรดาเปูาหมายหรือกลุ่มชาติต่างๆ เกิดการเปล่ียนแปลงทางอารมณ์ ทัศนคติ
หรือพฤติกรรมท่ีจะสนับสนุนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์แห่งชาติ ซ่ึงในการกระทําดังกล่าวน้ีจะมุ่ง
ต่อนโยบาย การตกลงใจ ความสามารถที่จะปกครองบังคับบัญชา เจตน์จํานงในการต่อสู้ เชื่อฟัง
และในการสนับสนนุ

39

การปฏบิ ัตกิ ารจิตวทิ ยาสามารถเพ่ิมอํานาจการรบของกําลงั ฝาุ ยเดยี วกัน และในทางตรงกัน
ขา้ มจะมผี ลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัตกิ ารรบของข้าศึก ซ่งึ การทจ่ี ะบรรลุในเร่อื งดังกล่าวได้น้ัน
โดยพื้นฐานเน่ืองจากการมุ่งโจมตีต่อจุดอ่อนของฝุายตรงข้าม ตามแผนการรณรงค์ด้านการ ปจว.
ที่กาํ หนดไว้

1.ขีดความสามารถ

การปฏิบัตกิ ารจิตวิทยามขี ีดความสามารถดังน้ี

2.1 เปล่ียนแปลงขวัญกําลังใจในการต่อสู้ การปฏิบัติการทางจิตวิทยาอย่างต่อเน่ือง
สามารถทําให้ขวัญของทหารและประชาชนฝุายข้าศึกตกต่ําลงตามลําดับ โดยแสดงให้เห็นการ
ปฏิบัติอย่างยุติธรรมต่อชนกลุ่มน้อยของฝุายเราหรือเน้นถึงการพัฒนาอาวุธใหม่ท่ีมีอํานาจการ
ทําลายสูง ซึ่งนํามาใช้ต่อต้านข้าศึก ในขณะเดียวกันก็อาจเพ่ิมพูนขวัญฝุายเราให้สูงข้ึน โดยการ
กระจายข่าวการได้ชัยชนะ ข่าวเกี่ยวกับความร่มเย็นเป็นสุขของครอบครัวทหาร ตลอดจนข่าวที่
เก่ียวกับการสร้างสรรค์อ่ืนๆ ท้ังนี้ เพ่ือทําให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์
ร่วมกนั

2.2 ลดหรือเพ่ิมประสิทธิภาพในการรบ เมื่อสนธิการปฏิบัติการทางจิตวิทยาในด้านขวัญ
เข้ากับการปฏิบัติการในทางทหารอื่นๆ แล้วจะสามารถลดประสิทธิภาพในการรบของทหารฝุาย
ข้าศึกลงได้ การเพ่ิมเติมกําลังของฝุายเรา และการทําลายสมรรถภาพทางอุตสาหกรรมของข้าศึก
ล้วนทําให้ขวัญของข้าศึกลดตํ่าลงด้วย การเพิ่มพูนขวัญของฝุายเราทําให้ประสิทธิภาพในการรบ
เพมิ่ ขึ้น แตก่ ารโฆษณาจะต้องยึดม่ันอยู่บนพื้นฐานของความเปน็ จริง น่าเชื่อถือ และมีคุณค่าในทาง
ทหารด้วย

2.3 ยุยงให้เอาใจออกห่าง ทหารข้าศึกท่ีตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการปฏิบัติการทาง
จติ วิทยาอยา่ งต่อเนือ่ งเปน็ ระยะเวลาอันยาวนาน อาจบิดพล้ิว ยอมจาํ นน ละท้ิงหน้าที่ หรือละเว้น
การตอ่ สู้ได้อย่างส้ินเชงิ

2.4 ลวงขา้ ศกึ ผบู้ ังคับบญั ชาอาจใชก้ ารปฏบิ ัตกิ ารทางจิตวิทยาลวงขา้ ศกึ ได้
2.5 สร้างความสามัคคีในชาติ บุคคลในสังคมของชาติท่ีเกิดใหม่ มักจะไม่มีความภักดีต่อ
คณะบุคคลใดๆ นอกจากครอบครัว เผ่า และเชื้อสายของตน จึงควรใช้การปฏิบัติการจิตวิทยา

40

เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้เกิดข้ึนในจิตใจของประชาชนในชาติ เพื่อให้สามารถดํารงความ
เปน็ ชาติ และบทบาททางการเมอื งของตนไว้

2.6 ให้ประชาชนได้ทราบความเคลื่อนไหว พลเมืองของชาติควรได้ทราบและมีความ
เข้าใจใน วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนงานของรัฐบาล รวมทั้งได้ทราบถึงโครงการต่างๆ
ที่รัฐบาลของตนกําลังดําเนินอยู่ ซ่ึงโครงการเหล่าน้ันล้วนดําเนินไปเพ่ือผลประโยชน์ส่วนรวมของ
คนในชาติในสถานการณ์คับขัน การปฏิบัติการทางจิตวิทยาอาจดําเนินการเพ่ือระงับ หรือบรรเทา
ความรนุ แรงของวิกฤตการณใ์ ดๆ ภายในชาติลงได้ นอกจากนั้น ยังสามารถส่งเสริมโครงการตา่ งๆ
ท่ีมงุ่ สผู่ ลสาํ เร็จตามวัตถปุ ระสงคข์ องชาติ

2.7 เบ่ียงเบนความสนใจ การรณรงค์การปฏิบัติการทางจิตวิทยา สามารถสร้างความสนใจ
ในเร่ืองใหม่ๆ ได้ด้วยการใช้ส่ือสารมวลชนดําเนินการอย่างต่อเนื่องต่อเปูาหมาย การดําเนินการน้ี
สามารถเพิ่มน้ําหนักความน่าเชื่อถือขึ้นได้ โดยอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญและบุคคลช้ันนําในระดับบริหาร
ซ่งึ มบี ทบาทเปน็ ผแู้ สดงความคิดเห็นอยูแ่ ลว้

2.8 สร้างหรือทําลายภาพพจน์ ความรู้สึกของมวลชนเกี่ยวกับจิตใจและรูปลักษณ์นั้น
สามารถสร้างหรือทําลายลงได้ด้วยวิธีการทางจิตวิทยาท่ีวางแผนไว้อย่างถูกต้อง เช่น การสร้าง
ความรู้สึกของประชาชนชาวไทยให้เกิดความรัก เช่ือม่ัน และปรารถนาดีต่อทหารไทย หรือการ
โจมตีจดุ อ่อนส่วนตัว นโยบาย หรือเหตุจูงใจของ ผูน้ ําทางการเมืองและการทหารของฝุายตรงข้าม
กอ็ าจทาํ ลายภาพพจน์ของบุคคลเหลา่ นั้นลดลงอย่างเห็นไดช้ ดั

2.9 สรา้ งผ้ฟู ัง การเสนอข่าวทเ่ี ปน็ จริง มคี วามนา่ เช่อื ถือ สามารถเพ่มิ พูนความศรทั ธาของ
ผู้ฟงั ให้สงู ยิง่ ขึ้น และขยายวงผู้ฟงั ให้กวา้ งขวางออกไปได้

41

1.การดาเนนิ งาน

การดําเนินงานปฏิบัติการจิตวิทยาแบ่งออกตามลักษณะการใช้ได้ 3 ประเภท คือ การปฏิบัติการ
ทางจิตวิทยาทางยุทธศาสตร์ การปฏิบัติการทางจิตวิทยาทางยุทธวิธี และการปฏิบัติการทางจิตยา
ในการเสริมความมั่นคง

3.1 การปฏิบัติการทางจิตวทิ ยาทางยทุ ธศาสตร์
การปฏิบัติการทางจิตวิทยาทางยุทธศาสตร์ คือ การปฏิบัติที่กําหนดความมุ่งหมาย

อยา่ งกวา้ งขวางด้วยระยะเวลาอันยาวนาน โดยมุ่งให้สัมพนั ธ์กับแผนทางยุทธศาสตร์ เพือ่ หวังผลใน
อนาคต โดยท่ัวไปจะมุ่งต่อทหารข้าศึกและพลเรือนที่อยู่ในเขตหลัง หรือในประเทศข้าศึกใน
ประเทศพันธมิตร หรอื ประเทศเป็นกลาง

3.1.1 ความมุ่งหมาย ความมุ่งหมายในการปฏิบัติการทางจิตวิทยาทางยุทธศาสตร์
หมายถงึ

- เพื่อสนบั สนนุ นโยบายและเปูาหมายทางการตา่ งประเทศของรัฐบาล
- เพ่ือเผยแพร่นโยบาย จุดมุ่งหมายดังกล่าวไปสู่เปูาหมายในโอกาสและเวลาอัน
ควร
- เพอื่ กระต้นุ ความคิดหรือเปลี่ยนแปลงความกดดันทางการเมืองของมวลชนให้
สนับสนนุ หรือต่อตา้ นการทําสงคราม
- เพ่ือส่งผลกระทบกระเทือนต่อจุดประสงค์ทางยุทธศาสตร์และทางยุทธวิธีของ
ข้าศึก
- เพ่อื สนับสนนุ การปดิ ลอ้ มทางเศรษฐกจิ ตอ่ ข้าศึก
- เพ่ือกอ่ ให้เกิดความลงั เลในกลุ่มผนู้ าํ ทางการเมืองและทางทหารของขา้ ศกึ
- เพือ่ ทําลายความเชื่อม่ันในตวั ผนู้ ําในการทําสงครามของข้าศึก
- ค้นหาสิ่งบอกเหตุที่ทําให้สภาพขวัญและขีดความสามารถตกต่ําในเขต
สงคราม เพือ่ ทาํ ลายขวญั กาํ ลังใจ ขีดความสามารถของทหารและพลเรอื นขา้ ศึก
- เพื่อเร่งเร้าความรู้สึกขัดแย้งเกี่ยวกับศาสนา ชนกลุ่มน้อย สังคม การเมือง
เศรษฐกิจ และอืน่ ๆ ซง่ึ มตี ่อรัฐบาลระหว่างกล่มุ ในดนิ แดนขา้ ศึก
- เพอ่ื แทรกแซงระบบการควบคมุ และการตดิ ต่อส่ือสาร
- เพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากประเทศเป็นกลาง หรือเรียกร้องประเทศเป็น
กลางให้คงความเปน็ กลางไว้

42

- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ตัวผู้นําของฝุายเรา และในขณะเดียวกัน
กบ็ ั่นทอนตัวผูน้ าํ ฝุายขา้ ศกึ ใหอ้ อ่ นแอลง

- เพือ่ สรา้ งความหวังให้แก่ประชาชนท่ตี ่อตา้ นรัฐบาลในดินแดนขา้ ศกึ
- เพื่อสนับสนนุ การต่อส้ขู องชนช้ันในดนิ แดนขา้ ศกึ
- เพ่ือเรยี กร้องการสนบั สนุนจากประชาชนในดินแดนทีฝ่ ุายเรายดึ ครอง
- เพื่อตอบโตห้ รอื สนบั สนนุ การปฏบิ ัตกิ ารทางจติ วิทยาทางยทุ ธวิธี
3.1.2 การดาํ รงไวซ้ งึ่ ผลลัพธจ์ ากการปฏบิ ัตกิ ารทางจติ วิทยาทางยุทธศาสตร์
สภาวะท่ีเกือ้ กูลการดํารงไวซ้ ึ่งผลลัพธจ์ ากการปฏิบตั ิการทางจิตวทิ ยาทางยทุ ธศาสตร์ได้แก่
- ชยั ชนะจากการปฏิบตั ิการทางทหารของฝุายเรา
- การขาดแคลนสิ่งอุปโภค บรโิ ภค ในดนิ แดนข้าศึก
- การขาดแคลนกาํ ลังคนในดินแดนข้าศกึ
- ภาวะเงินเฟูอและการเพิม่ ภาษอี ากรในดนิ แดนข้าศึก
- การแตกแยกในกลุ่มชนและกลุ่มศาสนาในดินแดนขา้ ศกึ
- การแตกแยกทางการเมืองและขาดความเช่อื ถือในตวั ผู้นําของขา้ ศึก
- การขาดแคลนวัตถุดิบที่จะสนับสนุนความต้องการในการทําสงครามของ
ข้าศึก
- การปกครองและระบอบเผด็จการเกดิ มีขน้ึ ในดนิ แดนข้าศกึ

3.2 การปฏบิ ตั ิการทางจติ วทิ ยาทางยุทธวธิ ี
การปฏบิ ัติการจิตวิทยาทางยุทธวิธี เป็นการปฏิบตั ิการในเขตสงครามเพอื่ สนับสนุนตอ่

การปฏบิ ัติการรบโดยตรง
3.2.1 ความมงุ่ หมาย ความมงุ่ หมายของการปฏบิ ตั กิ ารทางจิตวิทยาทางยุทธวธิ ีไดแ้ ก่
- เพอ่ื ทาํ ลายขวัญ กาํ ลังใจ และขีดความสามารถในการรบของขา้ ศึก
- เพื่อเพม่ิ ผลทางจติ วิทยาด้วยการใช้สรรพาวุธ
- เพื่อก่อความสับสนในการปฏบิ ตั ิงานของขา้ ศกึ
- เพื่อช่วยในการเขา้ ยึดดินแดนขา้ ศึกดว้ ยการยื่นคําขาดให้ยอมจํานนหรือยอมมอบ

ตวั
- เพอ่ื สนบั สนนุ การปฏิบัติการทางจติ วทิ ยาทางยุทธศาสตร์
- เพ่อื เป็นการใหข้ ่าวสารและแนวทางแก่หนว่ ยที่เกี่ยวข้องในพืน้ ที่การรบ

43

- เพื่อสนับสนุน ผบ.หน่วยรบในการวางแผนการปฏิบัติทางยุทธวิธีเฉพาะพื้นท่ี
และเหตุการณ์

- เพอื่ สร้างภาพพจน์อนั ดีใหก้ บั ทหาร
3.2.2 ข้อจํากดั ขอ้ จํากดั ของการปฏิบัติการทางจติ วิทยาทางยุทธวธิ ี ไดแ้ ก่

- ขาดแคลนข่าวกรองเฉพาะเร่ือง (กรณี)
- การเปลยี่ นแปลงการใชก้ ารปฏิบตั ิการทางจิตวทิ ยา
- การปฏิบัติการทางจิตวิทยาทําได้ยากลําบาก ในสถานการณ์ท่ีอยู่กับท่ี แต่ก็
ไม่ยากเท่าสถานการณ์ที่ฝาุ ยเราเพลี่ยงพลา้ํ
3.2.3 ความสําเร็จของการปฏิบัติการทางจิตวิทยาทางยุทธวิธี ความสําเร็จของการ
ปฏิบัติการทางจติ วิทยาทางยทุ ธวิธีขน้ึ อยูก่ บั สภาวะและปัจจยั ดังน้ี คอื
- ความพา่ ยแพแ้ ละการสญู เสียของฝุายข้าศึก
- การโจมตดี ว้ ยอาวุธสนับสนุนอยา่ งหนักและไดผ้ ล
- สถานการณ์ท่เี ลวรา้ ยของฝาุ ยขา้ ศึก
- การขาดแคลนสง่ิ อุปกรณแ์ ละระบบการสง่ กําลังบาํ รุงทไ่ี ม่ดีของข้าศกึ
- การขาดความชาํ นาญและประสบการณ์ของนายทหารขา้ ศึก
- การบรกิ ารทางการแพทยท์ ีไ่ ม่ดี
3.3 การปฏบิ ตั กิ ารทางจิตวิทยาในการเสริมความมั่นคง การปฏิบตั ิการทางจิตวิทยาในการ
เสริมความม่ันคง จะปฏิบตั ิในพนื้ ท่ีฝุายเรายึดได้จากขา้ ศึก
3.4 ผลของการปฏิบัติการทางจิตวิทยา การปฏิบัติการทางจิตวิทยาจะบังเกิดผลก็ต่อเม่ือ
เป็นการปฏิบัติการส่วนหน่ึงของการปฏิบัติการรบ แต่มิใช่เป็ปฏิบัติการท่ีสามารถทดแทนการ
ปฏิบัติการรบได้ ในบางโอกาสถ้าสามารถสนธิการปฏิบัติการทางจิตวิทยาเข้ากับการปฏิบัติการ
ทางการรบอย่างได้ผลแลว้ จะทําให้ภารกิจนั้นงา่ ยขึ้น และอาจเป็นปัจจยั ที่บง่ ถึงความพ่ายแพ้หรือ
ชัยชนะได้

44

1.1. หลกั การในการ ปจว. สนบั สนุนหลักพ้ืนฐานการรบตามแบบ

4.1 การรบดว้ ยวธิ ีรกุ
4.1.1 ภารกิจ ข้าศึก ภูมิประเทศ ลมฟูาอากาศ ประชาชนและกําลังที่มีอยู่ จะมี

อิทธพิ ลตอ่ การสนบั สนนุ การ ปจว.
4.1.2 การ ปจว. อย่างได้ผลจะสนบั สนุนอํานาจการรบ
4.1.3 ภายใต้เง่ือนไขบางสถานการณ์ การดําเนินการรบด้วยวิธีรุกเป็นการปฏิบัติ

เพอื่ ก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาไดด้ ้วยเช่นกนั
4.1.4 การ ปจว. บางคร้งั กระทาํ เพื่อขยายผลการยงิ นิวเคลยี ร์ของฝุายเรา
4.1.5 การ ปจว. เพ่มิ ผลกระทบทางจิตวิทยาของการปฏิบัตกิ ารรบตามแบบ
4.1.6 การ ปจว. สนับสนุนหน่วยรองด้วยการอาํ นวยความสะดวกในการขยายผลจาก

เปาู หมายตามโอกาส
4.1.7 การประสานการ ปจว. จากหน่วยเหนือและหน่วยข้างเคียงเพือ่ หวังผลท่ีเกิดขึ้น

จะมอี ทิ ธพิ ลตอ่ การกระทาํ ของฝาุ ยขา้ ศกึ นอกเขตปฏบิ ตั กิ ารของหนว่ ย
4.1.8 การประสานการ ปจว. กับส่วนยิงสนับสนุนทางยุทธวิธีในพ้ืนที่ปฏิบัติการจะ

ช่วยเพมิ่ ประสทิ ธิผลในการลดขวัญกาํ ลงั ใจฝาุ ยข้าศึกได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ
4.1.9 หน่วยดําเนินกลยุทธสามารถใช้การ ปจว. เพื่อสนับสนุนการลวงทางยุทธวิธี

และกาํ หนดการด้านอื่นๆ ในการรักษาความปลอดภยั การปฏบิ ัติของฝาุ ยเรา
4.2 การรบดว้ ยวิธรี บั การปจว.
สนับสนุนการรบด้วยวิธีรับน้ัน ยังคงดํารงความต่อเน่ือง ในการ ปจว. เชิงรุก เพราะ

สถานการณ์ของการรบด้วยวิธีรับ ทําให้มีโอกาสย่ิงข้ึนในการสร้างความเช่ือถือ ด้วยการรายงาน
ขา่ วตามความเปน็ จรงิ ภารกิจในการ ปจว. สนบั สนุนการรบดว้ ยวิธีรับน้ัน ประกอบดว้ ย

4.2.1 การเตรยี มทําการรบดว้ ยวธิ รี กุ
4.2.2 การปฏบิ ัตเิ พ่อื ก่อใหเ้ กิดความทอ้ แทใ้ นการรกุ ของฝาุ ยขา้ ศกึ
4.2.3 สนับสนุนกาํ ลังทรี่ ้ังหน่วงการรกุ ของฝุายขา้ ศึก
4.2.4 สนบั สนุนการวางแผนและการดําเนินการตโี ต้ตอบ

45

4.2.5 สนบั สนุนการพิทักษ์พ้ืนที่เขตหลงั
4.2.6 ดําเนินการ ปจว. ต่อหน่วยของข้าศึกทฝี่ ุายเราอ้อมผ่านและอยโู่ ดดเด่ยี ว
4.2.7 สนับสนุนการลวงทางยุทธวิธีและเร่ืองอ่ืนๆ ของกําหนดการรักษาความ
ปลอดภัยในการปฏิบัติ
4.3 การปฏบิ ัติการรน่ ถอย
ลักษณะของการปฏิบัติการร่นถอยคือ การใช้ยุทธวิธีการรบด้วยวิธีรุกอย่างจํากัด
ต้ังรับ และรบหน่วงเวลา ชุด ปจว.พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการพิมพ์หนัก, การกระจายเสียง และ
อุปกรณ์ประจําท่ีอื่นๆ ซึ่งต้ังอยู่ในเขตหลัง สามารถให้การสนับสนุนโดยไม่ก่อการรบกวนได้
การ ปจว.สามารถใหก้ ารสนับสนนุ การร่นถอยได้โดย
4.3.1 สนบั สนุนการประกาศมาตรการควบคมุ พลเรือน
4.3.2 สนับสนุนการลวงทางยุทธวิธี และเรื่องอื่นๆ ของกําหนดการรักษาความ
ปลอดภยั ในการปฏบิ ตั ิ
4.3.3 ขยายผลทางจติ วทิ ยาจากอาํ นาจการยงิ ของอาวุธนวิ เคลยี ร์ และไม่ใช่นวิ เคลียร์
4.3.4 สนบั สนนุ การตโี ต้ตอบดว้ ยการเนน้ การสญู เสียจํานวนมากมายของข้าศึก

************************************************

46

บทที่ 4

การปฏบิ ตั กิ ารจิตวทิ ยาสนับสนุนการปฏิบัติการพเิ ศษ

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อทราบแนวทางในการปฏบิ ัตกิ ารจิตวิทยาสนบั สนุนการปฏบิ ตั กิ ารพเิ ศษ
2. เพ่อื ทราบหลกั การปฏิบัติการพิเศษ

47

การปฏิบตั ิการจิตวทิ ยาในการปฏบิ ัติการพิเศษ

การปฏบิ ตั กิ ารจิตวิทยาน้ันจะต้องกระทําเสมอ เพื่อสนับสนุนการปฏิบตั ิการทหารใหบ้ รรลุ
ภารกจิ ทางยทุ ธวธิ ีการ ปจว.สนบั สนนุ การปฏบิ ตั กิ ารพเิ ศษ กระทําโดยใช้การโฆษณาชวนเชื่อ และ
กิจกรรมต่างๆ ที่มีผลในการปฏิบัติการจิตวิทยา มุ่งกระทําเพื่อสนับสนุนการทําสงคราม
นอกแบบ การปูองกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ และการต่อต้านและตอบโต้การ
ก่อการร้าย การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ จะมีลักษณะแตกต่างจากการ
ปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนสงครามตามแบบในเรื่องวัตถุประสงค์ เปูาหมาย และลําดับความ
เรง่ ดว่ นในการปฏบิ ัติ ลักษณะของการดาํ เนินการ ตลอดจนหน่วยปฏิบัติและผูป้ ฏบิ ัติหลกั

ตารางเปรยี บเทียบหน่วยรบพเิ ศษ กับ หนว่ ยรบตามแบบ

หลักสงคราม หน่วยรบพิเศษ หนว่ ยรบตามแบบ

1. ดาํ รงความม่งุ หมาย - มุง่ ดาํ รงความมงุ่ หมาย - มคี วามอ่อนตัวมากกว่า
- มที ุกยทุ ธวธิ ี
2. การรกุ - ปฏิบัติการเชิงรุกเปน็ หลัก - นยิ มรวมกาํ ลัง ณ จุดแตกหัก
ใชผ้ ลการออกกาํ ลัง
3. การรวมกาํ ลัง - ไม่นิยมการรวมกําลัง
- สามารถผสมผสานกาํ ลงั ในยุทธ
4. การออมกําลัง - เป็นหนว่ ยออมกาํ ลงั ทาง บรเิ วณไดต้ ามความเหมาะสม
- สําคัญเท่ากบั มาตรการอน่ื ๆ
ยทุ ธศาสตร์ - ขน้ึ อยู่กบั สถานการณ์และแสวง
ประโยชน์จากผลการจู่โจม
5. เอกภาพในการบังคับ - ตอ้ งการเอกภาพมาก - พึงประสงค์นอ้ ยกวา่

บัญชา

- เป็นมาตรการท่ีสําคัญทสี่ ุด

6. การ รปภ. - พึงประสงค์ที่สดุ

7. การจ่โู จม

8. ความง่าย - พงึ ประสงค์มากกว่า

48

การปฏิบัตกิ ารจติ วิทยาสนับสนุนสงครามนอกแบบ

กระทําในพ้ืนที่ที่ข้าศึกยึดครอง หรือมีอิทธิพลอยู่ วัตถุประสงค์ เปูาหมาย และลําดับความ
เร่งด่วนในการปฏิบัติจะมุ่งไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นท่ี เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้มาเป็นฝุายเรา
หรือชักจูงโน้มน้าวให้ร่วมในการต่อต้านฝุายตรงข้าม การดําเนินงานสว่ นใหญ่จะกระทําในลักษณะ
ปกปดิ ผู้ปฏบิ ัติ ไดแ้ ก่ จนท.ของหนว่ ยรบพิเศษ ซง่ึ ไปให้การสนบั สนนุ หรอื กลมุ่ ตอ่ ต้านในท้องถิ่น

กจิ กรรมของสงครามนอกแบบมี 5 กิจกรรมคอื
1. สงครามกองโจร
2. การเล็ดลอดหลบหนี
3. การบอ่ นทําลาย
4. การก่อวนิ าศกรรม
5. การปฏบิ ัตภิ ารกิจโดยตรง

การ ปจว.สนับสนุนสงครามนอกแบบ จะกระทําเพื่อสนับสนุนการทําสงครามกองโจร
และสนบั สนุนการบอ่ นทาํ ลายเปน็ หลัก

1. การปฏิบตั กิ ารจติ วิทยาเพือ่ สนับสนุนการทาสงครามกองโจร
กระทําเพื่อให้กองโจรได้รับความนิยม และความร่วมมือจากประชาชนในท้องถ่ิน ตลอดจน
ไดร้ ับการสนบั สนนุ และการเพม่ิ เตมิ กําลงั มากขึ้น เพราะปจั จยั สําคัญที่ทําให้กองโจรมีประสิทธิภาพ
และปฏิบตั กิ ารอย่างไดผ้ ลนั้น ขน้ึ อย่กู ับการสนบั สนนุ จากประชาชนในทอ้ งถน่ิ
หนว่ ยปฏิบตั ิ : ผู้ปฏิบัติในการปฏิบัติการจิตวิทยาเพ่ือสนับสนุนการทําสงครามกองโจร

อาจได้แก่ จนท. ของหน่วยรบพิเศษที่ไปสนับสนุนกองโจร, จนท.
ของกองโจร ตลอดจน จนท.ต่างๆ ในขบวนการตอ่ ต้านอ่นื ๆ
การปฏิบัติการจิตวิทยาในการสนับสนุนการทําสงครามกองโจร กระทําโดยสอดคล้องต่อ
กลุ่มเปูาหมายตา่ งๆ คือ กําลังทหารข้าศึก, ประชาชนในท้องถิ่นผู้สนับสนุนข้าศึก, ประชาชนใน
ท้องถิ่นผู้สนับสนุนขบวนการต่อต้าน, ขบวนการต่อต้าน (พวกใต้ดิน, พวกสนับสนุน และ
พวกกองโจร) โดยการ ปจว.นจี้ ะตอ้ งกระทําในทกุ ข้นั ตอนของการพัฒนาหนว่ ยกองโจร
1.1 เป้าหมายกาลังทหารข้าศึก ประกอบด้วยกําลังพลซ่ึงเป็นทหาร ซึ่งเป็นคน
สัญชาติเดียวกันกับประชาชนในท้องถ่ิน หรือเป็นคนต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในประเทศของ
ประชาชนในท้องถ่ิน แนวทางการปฏิบตั ิการจติ วิทยาตอ่ เปาู หมายกําลงั ทหารข้าศึกนั้น กระทําโดย
การโฆษณาชวนเช่ือทั้งทางวิทยุกระจายเสียง การเผยแพร่ข่าวลือหรือใบปลิวเถ่ือน ที่กระทําจาก

49


Click to View FlipBook Version