The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by icepiyanuch, 2021-04-29 01:47:11

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

๒. แนวสอนแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา-compressed

ตัวแทนของพวกสายลับ หรือพวกใต้ดิน เพ่ือให้กําลังทหารเกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงาน
เกิดความไม่แน่ใจในตัวผู้นํา และการต่อสู้ของตนท่ีกําลังกระทําอยู่กับพวกกองโจร หรือขบวนการ
ต่อต้าน หรือจะเป็นการลดขวัญและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าศึกลงได้ หัวข้อการ
โฆษณาท่ีกระทําจะต้องก่อให้เกิดความสนใจ ดึงดูดความสนใจ และเป็นน่าเช่ือถือของเปูาหมาย
โดยโฆษณาเนน้ เก่ียวกับเร่อื งการขาดการสนับสนุนที่ดีของทหารขา้ ศึก การขาดความอบอุ่นหรือถูก
ทอดท้งิ ประชาชนส่วนใหญใ่ ห้การสนับสนุนขบวนการตอ่ ต้าน ตลอดจนจุดอ่อนตา่ งๆ ของผู้นําฝุาย
ตรงข้าม

1.2 เป้าหมายประชาชนในพืน้ ท่ี
ประชาชนท่ีสนับสนุนฝุายข้าศึก ได้แก่ บุคคลพลเรือนในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งให้ความ
ร่วมมือกับข้าศึกด้วยความสมัครใจหรือด้วยความจําเป็นบังคับ แนวทางในการปฏิบัติการจิตวิทยา
ต่อประชาชนพวกนี้ หัวข้อโฆษณาหรือวิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับวิธีการท่ีทําต่อทหาร
ขา้ ศึก โดยโฆษณาชี้เนน้ ให้เห็นจดุ อ่อนหรือจดุ ดอ้ ยของฝาุ ยข้าศึก แพร่ขา่ วลือใหเ้ หน็ ว่าฝุายข้าศึกไม่
มีทางที่จะเอาชนะกลุ่มต่อต้านได้ อาจใช้วิธีการรุนแรงต่อบางส่วนของคนกลุ่มน้ี เพื่อก่อให้เกิด
ความหวาดกลัวต่อขบวนการต่อต้าน วัตถุประสงค์ที่กระทําเพ่ือให้เกิดความเช่ือถือต่อข้าศึก
และหันกลบั มาใหก้ ารสนบั สนนุ กลุ่มต่อต้าน

ประชาชนผู้สนับสนุนกองโจร ได้แก่ ประชาชนพลเรือนบางส่วนท่ีมีความเห็นอกเห็นใจ
และสนับสนุนขบวนการต่อต้านในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ระดับท่ีต้องการ คือ เป็นแต่เพียงให้ความ
ร่วมมือเปน็ บางครง้ั บางคราว แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกประจําในสว่ นใดส่วนหนึ่งของขบวนการตอ่ ต้าน
การปฏิบตั ิการจิตวิทยาทีก่ ระทาํ ตอ่ เปาู หมายกลมุ่ น้ี จะต้องมุ่งเน้นหรือชักจงู ใหเ้ ปูาหมายเกิดความ
มน่ั ใจและรว่ มมือในการตอ่ สู้ร่วมกบั ขบวนการตอ่ ต้านให้มากยิ่งข้ึน

50

1.3 กองโจรหรอื ขบวนการต่อตา้ น
เป็นการปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยรบพิเศษท่ีเข้าไปดําเนินการสนับสนุนและ
พัฒนากลุ่มต่อต้านให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบแบบกองโจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยจะตอ้ งกระทําในทุกขั้นตอนการปฏิบัติของการพัฒนาขบวนการตอ่ ต้าน 7 ขนั้ ตอน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในขั้นตอนท่ี 1 ซ่ึงเป็นข้ันเตรียมการทางจิตวิทยา จะต้องมีการดําเนินการกิจกรรมทาง
ปจว. ตั้งแต่ระดับปกติ เพ่ือให้ประชาชนในพื้นท่ียินดีท่ีจะต้อนรับ และให้ความร่วมมือกับเจ้ากับ
หน้าที่ของหน่วยรบพเิ ศษ รวมทั้งทําให้ประชาชนเกิดความเกลียดชัง รังเกียจ และเป็นศัตรูกับฝุาย
ขา้ ศกึ เพอื่ เปน็ ฐานในการต่อตา้ นตอ่ ไป
2. การปฏบิ ัตกิ ารจิตวทิ ยาเพื่อสนับสนนุ การบ่อนทาลาย
การบ่อนทําลายประกอบด้วยการกรําทําที่มุ่งลดขวัญและกําลังใจ ตลอดจนประสิทธิภาพ
ของฝุายตรงข้ามท้ังในทางการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา การปฏิบัติเหล่าน้ี
อาจจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ได้ ขบวนการต่อต้านจะใช้ความพยายามเพื่อทําลาย หรือโค่นล้ม
รัฐบาลด้วยการใช้ระบบการบ่อนทําลายทุกรปู แบบ เช่น การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การใช้
สงครามจติ วิทยา เพื่อกอ่ ให้เกดิ ความไมม่ ั่นคงแกฝ่ าุ ยตรงข้าม
การปฏิบัติการจิตวิทยาในการสนับสนุนการบ่อนทําลาย กระทําได้หลายลักษณะ โดยใช้
พวกใต้ดินหรือพวกสายลบั เขา้ ไปดําเนินการ โดยทําการรณรงค์ทาง ปจว. เพื่อสร้างความไม่พอใจ
ให้เกิดข้ึนในพ้ืนท่ีท่ีไดร้ ับการกดข่ีจากฝุายรัฐบาล/ฝุายข้าศึก โดยใช้เทคนิคการแพร่ข่าว การปล่อย
ข่าวลือต่าง ๆ
ลกั ษณะของการปฏิบัติการจิตวิทยาที่สนับสนุนในการบ่อนทําลายอีกวิธีหน่ึงก็คือ การปลุก
ใจให้ประชาชนร่วมกันต่อต้าน โดยการโฆษณาชวนเชื่อ แจกจ่ายหนังสือพิมพ์ใต้ดิน ใบปลิว
เอกสารการบิดเบือนการโฆษณาของฝุายตรงข้าม ตลอดจนการยุยงให้กรรมกรเคลื่อนไหวคัดค้าน
หยุดงานประท้วง เพ่อื กอ่ ให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกจิ

การปฏบิ ัตกิ ารจติ วทิ ยาสนบั สนุนการป้องกนั และปราบปรามการก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบนั้นมีพ้ืนฐานมาจากความไม่พอใจของประชาชน อันเนื่องมาจากสภาพ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ฝุายก่อความไม่สงบจะพยายามแสวงหาสาเหตุที่ประชาชนไม่
พอใจ แล้วนํามาขยายผลในการปลุกระดมมวลชน สร้างแกนดําเนินการเพ่ือให้บรรลุผลตาม
วตั ถุประสงค์ของฝุายก่อความไมส่ งบ ดังนั้นการปอู งกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ จึงเป็น

51

การปฏิบัติการท้งั ทางทหาร ทางการเมือง ทางสังคม ทางเศรษฐกจิ และทางจิตวิทยา เพอ่ื ลด และ
ทําลายสภาวะแหง่ การก่อความไมส่ งบให้หมดสิ้นไป ในการปฏิบัติการดงั กลา่ วนีจ้ ะประสบผลสําเรจ็
ได้ดว้ ยการพฒั นาประเทศให้เจริญกา้ วหน้า รวมท้งั การพฒั นาบุคคลในสังคมไปพร้อมกนั ดว้ ย

ในการปูองกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบน้ัน การปฏิบัติการจิตวิทยาถือเป็น
มาตรการหนึ่งท่ีนําไปใช้ในการปฏิบัติ นอกเหนือจากมาตรการของการพิทักษ์ประชาชนและ
ทรัพยากร, การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการช่วยเหลือประชาชน, การปราบปรามกองกําลงั ตดิ
อาวุธ (กองโจร) และมาตราการขา่ วกรอง ดังน้ัน มาตราการของการปฏิบตั ิการจิตวิทยาท่ีนําใช้ใน
การปูองกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบจึงเป็นมาตรการท่ีสําคัญ ที่จะเสริมการปฏิบัติใน
มาตรการอืน่ ๆ ใหบ้ รรลุวตั ถปุ ระสงค์

1. การปฏบิ ัตกิ ารจิตวทิ ยาสนบั สนุนการพทิ กั ษป์ ระชาชน และทรพั ยากร
ในสถานการณ์การกอ่ ความไม่สงบนั้น ฝาุ ยกอ่ ความไม่สงบพยายามเอาชนะใจประชาชน

เพื่อหวังได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ จากประชาชน ดังน้ัน การตัดขาดการติดต่อสัมพันธ์กัน
ระหว่างผู้ก่อความไม่สงบกับประชาชนในพื้นท่ีน้ัน จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการพิทักษ์
ประชาชนและทรัพยากร ทีจ่ ะทําให้ฝุายกอ่ ความไม่สงบขาดการสนับสนนุ จากประชาชน ซ่ึงจะมีผล
ทําให้ความเข้มแข็งของฝุายก่อความไม่สงบต้องลดน้อยลง จนทําให้ฝุายรัฐบาลสามารถเอาชนะได้
ในที่สุด

การพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากรที่นํามาใช้น้ัน ในลักษณะของการปฏิบัติแล้วเป็น
มาตรการท่จี าํ กดั สทิ ธิและเสรภี าพของประชาชน ทาํ ให้ประชาชนต้องได้รบั ความไม่สะดวกสบายใน
บางประการ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเฝูาตรวจ, มาตรการกําหนดข้อห้าม/ข้อจํากัดหรือมาตรการ
บังคับก็ตาม จึงอาจกลา่ วไดว้ ่าการพิทกั ษป์ ระชาชนและทรัพยากร เปน็ มาตรการที่มที ้ังคุณและโทษ
ต่อฝุายรัฐบาล กล่าวคือ ที่เป็นคุณประโยชน์เพราะเป็นมาตรการท่ีจะทําให้ฝุายรัฐบาลสามารถ
เอาชนะฝุายก่อความไม่สงบได้ง่ายข้ึน แต่ในทางตรงกันข้ามมาตรการน้ีก็เป็นโทษต่อฝุายรัฐบาล
ดว้ ยเช่นกัน ถ้าหากฝาุ ยก่อความไม่สงบฉวยโอกาสเอาจุดน้ีเปน็ เง่ือนไขในการโฆษณาชวนเชื่อโจมตี
ฝุายรัฐบาล ดังนั้นการปฏิบัติการจติ วิทยา จะต้องนํามาใช้เพ่ือลดเง่ือนไขของฝุายรัฐบาลโดยมีแนว
ทางการโฆษณาชวนเชือ่ ดงั นี้

1) ใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาเพ่ือทําให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงความจําเป็นท่ี
ฝาุ ยรฐั บาลต้องนํามาตรการของการพทิ กั ษป์ ระชาชนและทรพั ยากรมาใช้

52

2) ใช้การปฏิบัติการจิตวิทยา เพอ่ื ทําให้ประชาชนเกิดความรู้สกึ ท่ีไม่ดตี ่อฝาุ ยก่อความ
ไม่สงบ

3) ใช้การปฏิบัตกิ ารจติ วิทยา เพอ่ื ทําใหป้ ระชาชนสนบั สนุนการปฏิบัตขิ องรัฐบาล

การปฏบิ ตั กิ ารจติ วทิ ยาเพ่อื ใหบ้ รรลุวัตถุประสงคด์ ังกลา่ วขา้ งต้นอาจมลี ักษณะการปฏิบัติได้
หลายๆ ประการ เช่น

(1) การแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าถึงข้อจํากัดอันอาจเกิดขึ้นพร้อมท้ัง
เหตุผลโดยรัฐบาลจะตอ้ งศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างรอบคอบ เช่น สภาพแวดลอ้ มดา้ นสังคม
จิตวิทยา, ขอ้ จํากดั ดา้ นศาสนา เปน็ ตน้

(2) การช่วยเหลือประชาชนตามโอกาสท่ีเหมาะสมในอันที่จะเกิดผลทางจิตวิทยา
ดว้ ยการตอบสนองความตอ้ งการของประชาชนอย่างทันท่วงที โดยพยายามใหเ้ กิดความร่วมมือกัน
ระหว่างประชาชนกับเจา้ หน้าทข่ี องรัฐ

(3) อบรมช้ีแจงและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ

(4) ปอู งกนั มใิ ห้ฝาุ ยก่อความไม่สงบใชท้ รพั ยากรเพ่ือสนบั สนนุ การกอ่ ความไม่สงบ
(5) เน้นถึงการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าท่ีไม่ให้ทําตนให้เป็นท่ีไม่พอใจของประชาชน
เช่น การกดขี่ข่มเหงประชาชน การแสดงกิริยาวาจาที่หยาบคาย, การวางอํานาจ, การทุจริตต่อ
หน้าที่ เป็นต้น
(6) หากเกดิ ความเสยี หายตอ่ ทรัพย์สินของประชาชนอันเนื่องมาจากการปฏิบตั ิของ
เจ้าหน้าท่ีตามมาตรการทนี่ ํามาใช้ จะตอ้ งมกี ารชดใชค้ า่ เสยี หายอยา่ งเรง่ ด่วนและยตุ ิธรรม
(7) กระตุ้นให้ผู้นําฝุายพลเรือนเย่ียมเยือนประชาชนตามโอกาสท่ีเหมาะสม
และมีการกล่าวยกย่องผู้นําท้องถ่ินในฐานะท่ีมีส่วนช่วยในการสร้างเสถียรภาพให้แก่ชุมชน
ซงึ่ จะทาํ ใหผ้ ู้นําทอ้ งถิ่นอุทิศตัวเพอื่ รัฐบาล

2. การปฏิบัติการจิตวิทยาสนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการช่วยเหลือ
ประชาชน

การปรับปรุงสภาพแวดล้อม เป็นกําหนดการท่ีมุ่งเพื่อสร้างศรัทธา และความเช่ือมั่นใน
รัฐบาลขณะกําลังปฏิบัติการปราบปรามการก่อความไม่สงบ โดยการขจัดหรือลดสาเหตุต่างๆ
ท่ีอาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ก่อความไม่สงบแสวงประโยชน์มาโจมตีฝุายรัฐบาล ขณะเดียวกันก็ต้อง

53

สร้างศรัทธาเพื่อจูงใจให้ประชาชนเกิดความร่วมมือกับรัฐบาล การปรับปรุงสภาพแวดล้อมจึงเป็น
แผนงานทมี่ งุ่ ปรบั ปรงุ สภาพการดําเนนิ ชีวิตของประชาชนให้กลบั สสู่ ภาพปกติ รวมทั้งการพฒั นาให้
มสี ภาพการดาํ เนินชีวิตท่ดี ขี ้นึ จนถงึ ขัน้ การขจัดเงื่อนไขการก่อความไม่สงบลงเดด็ ขาด

แผนงานการปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาจกําหนดเป็นโครงการต่างๆ เพ่ือตอบสนอง
วัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น เช่น โครงการไฟฟูาพลังนํ้าซึ่งเป็นโครงการที่นําประโยชน์มาสู่
ประชาชนและประเทศชาติ ทั้งในแง่การผลิตกระแสไฟฟูา และการชลประทาน, โครงการสร้าง
ถนนเชอื่ มโยงหมบู่ ้านต่างๆ เพอ่ื ใหเ้ กิดการสัญจรไดอ้ ย่างรวดเรว็ และสะดวกข้นึ เป็นตน้

การปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อม จึงเป็นเคร่ืองมือที่จะ
ช่วยในการชแี้ จงใหป้ ระชาชนทราบถึงจุดมุ่งหมายของรฐั บาล ซึง่ มวี ิธกี ารปฏบิ ตั ิดงั นี้

 การเผยแพรข่ า่ วสาร โครงการฟ้ืนฟทู างเศรษฐกจิ การเมือง และสงั คม
 ให้การศกึ ษาแก่ประชาชนโดยการส่ือรมวลชน การกระจายข่าวเพื่อเปน็ บรกิ ารประชาชนใน

เร่อื งขา่ วสาร และคาํ ส่งั ทางราชการต่าง ๆ
 เปดิ เผยสาเหตุความไม่พอใจของประชาชนที่ผู้ก่อความไม่สงบเปน็ ผู้ชักจูง (ซงึ่ ก็คือการต่อตา้ น

การโฆษณาชวนเชอื่ ของฝาุ ยก่อความไมส่ งบนั่นเอง)
 สรา้ งขวญั และกาํ ลังใจแกป่ ระชาชน ตํารวจ และทหาร
 ช้ีให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ฝุายทหารมีส่วนช่วยเหลือในกิจกรรมของท้องถิ่น

เช่น การสรา้ งโรงเรียน และสาธารณปู โภค เป็นตน้

หน่วยทหารในฐานะท่ีเป็นหน่วยราชการท่ีมีความใกล้ชิดประชาชน จึงมีความสําคัญอย่าง
ยิ่งต่อการสร้างภาพพจน์ของรัฐบาล ดังนั้น การปฏิบัติการจิตวิทยา ของทหารจึงมีส่วนช่วยในการ
เสริมสรา้ งภาพพจน์ที่ดไี ด้

54

3. การปฏิบัติการจติ วิทยาสนับสนนุ การปราบปรามกองกาลงั ตดิ อาวธุ
การปราบปรามกองกําลังติดอาวุธของผู้ก่อความไม่สงบนั้น มีลักษณะการปฏิบัติโดยใช้

กําลังทหาร, กําลังก่ึงทหาร หรืออาสาสมัครต่างๆ ของรัฐบาลเข้ากวาดล้างโจมตีต่อกองกําลัง
ติดอาวุธของฝุายก่อความไม่สงบในพื้นท่ีท่ีสามารถพิสูจน์ที่ต้ังได้อย่างชัดเจน การปฏิบัติการ
จิตวิทยาสามารถนํามาใชเ้ พอื่ สนับสนุนการดาํ เนินการปราบปรามไดด้ งั นี้

1) ในสถานการณ์ทางยุทธวิธี แผนการปฏิบัติการจิตวิทยาควรจะประกอบไปด้วย
การปฏิบัติการท่ีมุ่งกระทําต่อผกู้ ่อความไม่สงบ, ประชาชนในบริเวณใกลเ้ คียง และกําลงั ทหารที่ใช้
ในการปราบปราม ตัวอย่างเช่น ก่อนหรือขณะที่จะทําการโจมตีท่ีตั้งฐานของผู้ก่อความไม่สงบ
ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงควรได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการกวาดล้างครั้งน้ีว่า ทางราชการ
ต้องการใหเ้ ขาเหล่านี้ทําอะไร, ประโยชนท์ ่ีจะเกิดขึ้นแก่เขามีอะไรบ้าง, อนั ตรายอนั อาจจะเกิดข้ึนมี
อะไร การแจ้งเตือนภัยดงั กล่าวควรจัดพิมพ์ข้ึนในภาษาพ้ืนเมืองที่สามารถเข้าใจไดโ้ ดยตรง แต่การ
แจ้งเตอื นต่อประชาชนนั้นตอ้ งไมส่ ง่ ผลเสยี หายตอ่ การข่าวและการปฏิบตั กิ ารของฝุายเรา

2) การดํารงจิตใจการตอ่ สู้ของทหาร และอาสาสมัคร นับว่าเป็นความเร่งด่วนท่ีสูง
ที่สุด รัฐบาลจะต้องพยายามพิจารณาให้เงินค่าตอบแทนในอัตราที่สูง, มีการเลื่อนยศ, มีการให้
เกียรติต่อเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ทั้งน้ีเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการเสียสละและอุทิศความเหน่ือยยาก
เพอื่ ประเทศชาติทา่ มกลางสถานการณท์ ี่เต็มไปดว้ ยอนั ตรายจากการกอ่ ความไม่สงบ

3) การใช้บทความโฆษณาชวนเช่ือให้เกิดการแตกแยกในกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ผูก้ ่อความไมส่ งบอาจรวมถึงบุคคลท่ีมคี วามรู้สึกชาตินิยมรุนแรง หรือมีความผิดหวังเปน็ แรงกระต้นุ
ให้ร่วมงานกับผู้ก่อความไม่สงบ บคุ คลเหล่าน้ีควรดําเนินการคัดแยกตวั ออกจากผู้ก่อความไม่สงบที่
เป็นระดับนําของพรรคซ่ึงมุ่งล้มล้างรัฐบาล หัวข้อโฆษณาชวนเช่ือท่ีควรนํามาใช้ ได้แก่ การพิสูจน์
ทราบถึงการสนับสนุนจากภายนอก, การคบคิดเพ่ือผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าอุดมการณ์เพื่อ
ตอ่ ตา้ นรัฐบาล

4) การนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรมท่ีรัฐบาลรับรองเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ก่อ
ความไม่สงบท่ีถูกจับกุมหรือยอมมอบตัวควรจัดทําขึ้นอย่างรอบคอบ ซ่ึงผู้ท่ีได้รับการนิรโทษแล้ว
จะต้องแยกออกจากผู้ก่อความไม่สงบ รัฐบาลต้องใช้การโฆษณาชวนเช่ือด้วยเหตุผลและต่อเนื่อง
ตลอดจนการแจ้งให้ผู้ท่ีได้รับนิรโทษทราบถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล การเปรียบเทียบ
วัตถุประสงค์ของรัฐบาลกับความเฟูอฝันของผู้ก่อความไม่สงบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ก่อความไม่สงบได้
ทราบว่าเขาเหล่านั้นจะได้รับสิทธิอย่างใดบ้างภายในระเบียบการนิรโทษกรรม การปฏิบัติการ
จิตวิทยาเพ่ือสนับสนุนโครงการนิรโทษกรรมน้ีจะต้องดําเนินการจากส่วนกลาง ส่วนหัวข้อโฆษณา

55

ชวนเชื่อจะต้องช้ีให้เห็นผลดีของการเข้าโครงการนิรโทษกรรมเพ่ือขยายผลต่อผู้ที่คิดจะมอบตัวใน
โอกาสต่อไป

การปฏบิ ตั ิการจิตวิทยาสนับสนุนการตอ่ ต้านและตอบโต้การกอ่ การร้าย

การตอ่ ตา้ นและปราบปรามการกอ่ การร้าย เปน็ มาตรการเชิงรุกท่ีปฏิบตั ิโดยองคก์ รพลเรือน
และทางทหารของรัฐบาลหน่ึง เพ่อื ปอู งกัน ยับยั้ง และตอบโต้ลทั ธิการกอ่ การร้าย

1. ภารกจิ การต่อตา้ นและตอบโต้การก่อการรา้ ย
หน่วยรบพิเศษอาจได้รับมอบภารกิจที่จะปฏิบัติและสนับสนุนภารกิจการต่อต้านและตอบ
โตก้ ารก่อการร้าย ดังต่อไปนี้
** การกภู้ ัยหรือช่วยเหลือตวั ประกัน
** การเก็บกูส้ ิ่งอปุ กรณซ์ ึง่ มีความสําคัญจากองคก์ รกอ่ การร้าย
** การโจมตตี ่อเครือขา่ ยของผกู้ ่อการร้าย
ภารกิจการต่อต้านและตอบโต้การก่อการร้าย ลักษณะของงานเป็นภารกิจพิเศษท่ีมิใช่
ภารกิจท่ัวไปของหน่วยรบพิเศษ การเข้าไปมีสว่ นร่วมในการปฏิบตั ิการในตอ่ ตา้ นและตอบโตน้ ้ันจะ
ถูกจํากัดไว้เฉพาะหน่วยที่มี การจัด การฝึก อบรม การบรรจุมอบสิ่งอุปกรณ์พิเศษเท่าน้ัน ตาม
สภาวะแวดล้อมของการก่อการร้าย หน่วยรบพิเศษจําเปน็ ตอ้ งเข้าไปดําเนินการ 2 ข้ันตอนสําคัญๆ
คือ ขนั้ การระวงั ปูองกนั และข้นั การตอ่ ต้านและตอบโต้

1.1 ขั้นการระวังป้องกนั
เนื่องจากลักษณะท่ัวไปของการก่อการร้าย มักมีลักษณะของการปฏิบัติที่ขาด

ความชอบธรรมและลอ่ แหลมต่อภาพพจน์ท่ีว่า เป็นการกระทําที่คล้ายกับพวกอาชญากรรม ดงั น้ัน
จากจุดนี้เองควรใช้ปฏิบัติการจิตวิทยาเพ่ือนําเสนอให้เกิดทัศนคติในการปฏิเสธ หรือทางลบของ
ประชาชนต่อการกระทาํ ของผกู้ ่อการรา้ ย หนว่ ยรบพเิ ศษจาํ เปน็ จะต้องแสวงประโยชน์ตั้งแต่เร่ิมต้น
ของการก่อตัวของกลุ่มก่อการร้าย ทั้งการก่อการร้ายภายในประเทศและการก่อการร้ายสากล
ดําเนินการโดยใช้สื่อท่ีมีอยู่ท้ังท่ีปิดลับและเปิดเผยทุกชนิด หน่วยรบพิเศษสามารถใช้การรณรงค์
ด้านการปฏิบัติการจิตวิทยาโดยใช้สื่อมุ่งเข้าสู่เปูาหมายหลัก 3 ประการคือ ประชาชน เจ้าหน้าท่ี
ฝุายเรา และผู้ก่อการร้าย โดยกําหนดหัวข้อรณรงค์ดังนี้ เปูาหมายประชาชนมุ่งกระทําเพื่อให้
ปฏิเสธต่อการกระทํา เปูาหมายเจ้าหน้าที่ฝุายเราเพื่อให้เห็นโทษและผลร้ายของการก่อการร้าย
รวมทั้งการเสริมสร้างให้มีกําลังใจในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย และเปูาหมายสุดท้ายมุ่งต่อ
ผกู้ อ่ การร้ายเพื่อให้หยุด ชะงัก ลังเลใจหรอื เกดิ ความไมม่ ัน่ ใจในการกระทําของฝุายตน

56

1.2 ขน้ั การตอ่ ต้านและตอบโต้
ข้ันน้ีเป็นการปฏิบัติในเชิงรุกเพ่ือตอบโต้ต่อกลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยท่ัวไปเป็นการ

ปฏิบัติของฝุายตํารวจ หากเกิดขีดความสามารถถึงจะขอความช่วยเหลือฝุายทหาร ในส่วนของ
หน่วยรบพิเศษซึ่งอาจจะเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งโดยเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรงหรือเป็นผู้สนับสนุน หน่วยรบ
พิเศษสามารถแสวงประโยชน์ในการปฏิบัติการจิตวิทยาได้โดยการใช้ระบบขา่ วกรอง ท่ีได้ระดมจาก
ฝุายต่างๆ มาใช้ในการวางแผนวิเคราะห์ กําหนดหัวข้อ กําหนดส่ือ ทดสอบ และประเมินผล
เพ่อื รณรงค์เขา้ สู่เปูาหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะประชาชนในพ้ืนท่ี เพ่ือให้ปฏิเสธความถกู ตอ้ งชอบ
ธรรมของผู้ก่อการร้าย และยอมรับการปฏิบัติของฝุายตอบโต้ หรือเพ่ือให้ฝุายตอบโต้เกิดความ
เช่ือม่ันว่า ได้กระทําในส่ิงท่ีถูกต้องและมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจให้สําเร็จ รวมท้ังมุ่งตรงต่อ
กลุ่มผู้ก่อการร้าย นับตั้งแต่การใช้ส่ือ เช่น เคร่ืองขยายเสียง ในการลดขวัญผู้ก่อการร้าย การใช้
มาตรการลวงในระหว่างการเจรจาต่อรอง โดยผ่านเคร่ืองมือสื่อสาร ซ่ึงการปฏิบัติในข้ันน้ีหาก
หน่วยรบพิเศษได้วางแผนและใช้ส่ืออย่างจริงจังรัดกุมแล้ว อาจส่งผลให้เกิดการรักษาชีวิตและ
ทรัพย์สินของผู้ท่ีเก่ียวข้องได้เป็นจํานวนมาก นอกจากน้ีหน่วยรบพิเศษยังสามารถใช้ส่ือท่ีมีอยู่ใน
การเผยแพร่ผลการปฏิบัติ ซ่ึงจะเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อภาพพจน์ระยะยาวและพร้อมการต่อต้าน
และตอบโต้การก่อการร้ายได้ทุกรูปแบบ ในทางกลับกันก็เป็นการลดศักยภาพของฝุายก่อการร้าย
ให้ลดลง

57

2. ข้อจากดั ของภารกิจต่อตา้ นและตอบโต้การกอ่ การร้าย
2.1 ความรบั ผิดชอบของประเทศท่มี กี ารกอ่ การร้ายเกิดขึน้
2.2 ผู้มีอํานาจของหน่วยรับผิดชอบโดยตรงเช่น กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวง

ยตุ ธิ รรม กระทรวงกลาโหม และสาํ นักงานตํารวจแหง่ ชาติ
2.3 ข้อกฎหมายและสภาพแวดลอ้ มทางการเมืองทัง้ ภายในและภายนอกประเทศ
2.4 คําสงั่ เฉพาะของกระทรวงกลาโหม และกองทพั บก

3. เป้าหมายในการปฏบิ ัตกิ ารจติ วทิ ยา
การกําหนดเปูาหมายทางจิตวิทยาเฉพาะสําหรับภารกิจต่อต้านและตอบโต้การก่อการร้าย

กระทําได้ยาก เพราะความไม่ชัดเจนขององค์การการจัด เครือข่ายและยุทธศาสตร์ของกลุ่มก่อการร้าย
ดังน้ันหน่วย ปจว. จะต้องประกอบกําลังจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษอื่นๆ วัตถุประสงค์ก็เพ่ือทําให้
ผู้ก่อการร้ายต้องตกอยู่ในสภาวะต้ังรับทางจิตวิทยา การกระทําดังกล่าวเจ้าหน้าที่ ปจว. จะวิเคราะห์
จดุ ม่งุ หมายและยทุ ธศาสตรข์ องผกู้ ่อการร้ายให้ชัดเจน แลว้ ยับย้ัง ชะลอ หรือทําลายจดุ มุ่งหมายเหล่าน้ัน
สาํ หรบั เปูาหมายการปฏบิ ตั ิการจิตวิทยาเพอ่ื สนับสนุนการต่อตา้ นและตอบโตก้ ารก่อการรา้ ยมีดงั ตอ่ ไปน้ี

3.1 ต่อต้านผลสะท้อนกลับของการกอ่ การร้าย
3.2 การจัดเจา้ หนา้ ที่ชว่ ยในการประเมนิ คา่ พ้ืนที่
3.3 การประเมินค่าผลกระทบทางจิตวิทยา รวมทั้งในเร่ืองผลกระทบต่อการแทรกแซงการ
ปฏบิ ตั ิหรอื ผลกระทบตอ่ การปฏิบัตอิ ย่างปกปิด
3.4 จาํ กัดหรือไม่ใหเ้ กดิ ผลแทรกซ้อนจากการปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาของผู้ก่อการรา้ ย
3.5 จาํ กดั ลดเงอ่ื นไข หรือสาเหตุของการกอ่ การรา้ ย
3.6 เป็นเครือ่ งมอื เผยแพรข่ า่ วสารเกีย่ วกบั กลุ่มผกู้ อ่ การรา้ ยใหก้ บั ประชาชน
3.7 โน้มน้าวผู้ก่อการร้ายจนเกดิ ความเชือ่ วา่ ฝุายตนไม่สามารถบรรลุจดุ มงุ่ หมายได้
3.8 โนม้ น้าวผกู้ ่อการร้ายให้เหน็ ถึงอนั ตรายและความเส่ียง ซ่งึ รัฐบาลจะไมร่ ับผิดชอบ
และไมย่ ินยอมตอ่ ข้อเรยี กรอ้ งใดๆ ของฝาุ ยผู้กอ่ การร้าย

*******************************************

58

บทท่ี 5

การโฆษณาชวนเช่อื และการตอ่ ตา้ นโฆษณาชวนเชื่อ

วัตถุประสงค์

1. เพ่อื ใหเ้ ข้าถงึ ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการโฆษณาชวนเชื่อ
2. เพื่อใหส้ ามารถวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อของฝาุ ยตรงขา้ ม และสามารถที่

จะต่อต้านการโฆษณาชวนเชอ่ื ของฝุายตรงขา้ มได้

59

การโฆษณาชวนเช่อื ( PROPAGANDA )

ความหมาย

หมายถึงการเผยแพร่ข่าวสาร ความคิดเห็นหรือการจูงใจเพ่ือให้มีอิทธิพลต่อความคิดเห็น
อารมณ์ ทัศนคติหรือพฤติกรรมของเปูาหมาย ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นท้ังทางตรง
หรอื ทางอ้อม

วตั ถุประสงคข์ องการโฆษณาชวนเช่อื

เพ่ือความมีอิทธิพลเหนือทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคลอ่ืนโดยเจตนาให้มีผลต่อ
ความรสู้ ึกนกึ คิด อารมณ์ และการกระทาํ เพอื่ ผลประโยชน์โดยเฉพาะ

ประเภทของการการโฆษณาชวนเช่ือ สามารถทําได้ 3 แบบ คือ

1. สีขาว/เปดิ เผย/เปน็ ทางการ/รับผิดชอบการกระทาํ
2. สเี ทา/คลุมเครือ /ไมร่ ะบุผู้โฆษณาต้องการเพยี งผลการกระทาํ
3. สดี าํ /ปกปดิ /ทาํ ให้เขา้ ใจผดิ ว่าเปน็ บุคคลอน่ื เป็นผโู้ ฆษณา

หลักการโฆษณาชวนเช่ือต่อเป้าหมาย คือ อย่าให้เปูาหมายรู้ตัว มุ่งต่อบุคคลสําคัญ มีความ

กลมกลนื มคี วามอ่อนตัวและใชส้ ิง่ อํานวยความสะดวกในท้องถนิ่

60

องคป์ ระกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ

• ผูด้ ําเนินการ
• บุคคลเปาู หมาย
• ข้อความหรอื ข่าว
• กรรมวธิ ีการตดิ ต่อสอ่ื สาร/สือ่ โฆษณา

สอ่ื ทใ่ี ช้ในการโฆษณาชวนเช่อื

- ส่ือทางโสต/สือ่ ทางเสียง ไดแ้ ก่ วิทยุ เครื่องขยายเสียง
- ส่ือทศั นะ/สอื่ ทีม่ องเหน็ ด้วยตา ไดแ้ ก่ ส่งิ พิมพ์ หนงั สือ โปสเตอร์ ใบปลวิ ภาพตา่ งๆ

- ส่ือโสตทัศนะ/ส่ือที่มองเห็นด้วยตาและได้ยินเสียง ได้แก่ โทรทัศน์ วิดีโอ ดนตรี
ภาพยนตร์ การแสดงต่างๆ อินเตอรเ์ นต

เทคนิคการโฆษณาชวนเช่ือ

1. กําหนดวัตถุประสงค์/ความมุ่งหมายในการโฆษณาชวนเชื่อ (การทําใบปลิวหรือการกระจาย
เสยี ง)
2. กําหนดเปูาหมาย (เปาู หมายหลักและเปาู หมายรองที่จะรับการโฆษณาชวนเช่อื ของฝาุ ยเรา)
3. จัดทาํ ขอ้ ความโฆษณาชวนเชอื่ /รายละเอยี ดใหม้ คี วามนา่ เชอ่ื ถอื
4. เลือกส่ือทใ่ี ชใ้ นการส่งการโฆษณาชวนเช่อื ไปยงั เปาู หมาย
5. ดําเนนิ การโฆษณาชวนเชอ่ื ไปยังเปูาหมาย

เทคนิคการโฆษณาชวนเช่ือท่ีสาคัญ คือ ต้องใช้ประโยคที่เปูาหมายสนใจ อ้างพยานหลักฐาน

ใช้ข้อความง่ายเปูาหมายจดจําได้ แสดงว่าเป็นพวกเดียวกัน ทําให้เข้าใจว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วย
ตงั้ สมญา

ข้นั ตอนการทาการโฆษณาชวนเชอื่ มี 2 ขั้น
ข้ันตอนท่ี 1 พิจารณาว่าเปูาหมายที่จะโฆษณาเป็นใคร เราต้องการจะบอกอะไรกับ

เปูาหมาย และจะพดู เมื่อใด อยา่ งไร เราหวงั ผลอะไรจากการพดู กับเปูาหมาย
ขั้นตอนท่ี 2 จดั ทาํ สอื่ โฆษณาชวนเช่อื

61

เทคนิคการวิเคราะหก์ ารโฆษณาชวนเช่ือ

กรณีใบปลิวหรือการกระจายเสียงของฝุายตรงข้ามส่งมาถึงฝุายเราให้ดาํ เนินการ วิเคราะห์
การโฆษณาชวนเช่ือของฝุายตรงขา้ มโดยใช้สูตร scame คือ

1. S - SOURCE - เป็นการวิเคราะห์แหล่งข่าว ว่าแหล่งข่าวผู้โฆษณาคือใคร เป็นทางการ
/องค์กรหรือบุคคล และพจิ ารณาวา่ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อแบบใด ขาว เทาหรอื ดํา

2. c – CONTENT - เป็นการวิเคราะหเ์ นื้อหาของการโฆษณาว่า การโฆษณาพูดถึงเรื่องใด
เหตุจูงใจในการโฆษณา วัตถุประสงค์ของการโฆษณา เทคนิคของการโฆษณาเป็นแบบ (ข่มขู่
เชญิ ชวน บังคับหรอื ขอร้อง) และพิจารณารปู แบบการโฆษณาที่นํามาใช้

3. a – AUDIENCE - เป็นการวิเคราะห์เปูาหมาย/ผู้ฟัง การโฆษณาชวนเชื่อส่งมาถึงใคร
ภาษาทีใ่ ช้ ถ้อยคําที่ใช้ สํานวนทีใ่ ช้ งานศิลป์ทใ่ี ช้

4. m – MEDIA - การวิเคราะห์ส่ือท่ีใช้ส่งการโฆษณาว่าใช้ส่ือใด มีคุณภาพหรือไม่
การกระจายสื่ออย่างไร

5. e - EFFECT-การวิเคราะห์ผลที่เกิดข้ึนผลกระทบของการโฆษณาชวนเชื่อของฝุายตรง
ข้ามตอ่ ฝุายเราผลทเ่ี กิดขึ้นกับเปาู หมาย/หรอื ผฟู้ ัง

62

การวเิ คราะหก์ ารโฆษณาชวนเชื่อ

การวเิ คราะห์แหลง่ ข่าว source
- แหลง่ ขา่ ว/ผู้โฆษณาคือใคร
- ประเภทของแหลง่ ขา่ ว เป็น ทางการ/บคุ คล/องค์กร

การวเิ คราะห์เนอ้ื หา content
- เนือ้ หาของการโฆษณา
- การโฆษณาชวนเชอ่ื พดู ถึงอะไร
- เหตจุ ูงใจในการโฆษณาชวนเชอ่ื
- วัตถุประสงค์ของการโฆษณาชวนเช่ือ ( ต้องการให้

เกิดอะไรกับเปูาหมาย )
- เปูาหมายของการโฆษณา ( เปูาหมายจรงิ และเปาู หมายรองเปน็ ใคร )
- เทคนคิ ของการโฆษณาชวนเช่ือเป็นแบบใด ( ขาว เทาหรือ ดํา )

รูปแบบของการโฆษณาชวนเช่อื Media
- ชนดิ ของการโฆษณาชวนเช่อื ( บทความ ,ใบปลิวหรอื สารคดี )
- รปู แบบของคําพูด (จูงใจ ขม่ ขู่ โนม้ นา้ ว บังคบั ขอรอ้ ง )
- ความถี่ ( มกี ารพูดเรอื่ งนีค้ ร้ังแรกหรือพดู มาหลายครง้ั )
- ภาษาที่ใช้ ( บ่งชี้คุณลักษณะของเปูาหมายหากใช้สํานวนถูกต้องแสดงว่ามีความ

ชํานาญในการใช้ภาษา )
- วิธีการ ( สง่ เสรมิ โนม้ น้าว ชักจงู ขม่ ขหู่ รือทาํ ลาย )

การวเิ คราะห์เปา้ หมาย/ผ้รู ับฟัง audience
- การโฆษณาชวนเช่อื ต้องการสง่ มาถึงใคร/กล่มุ ใด
- ส่อื โฆษณาท่นี าํ มาใช้ ( โสต ทศั นะหรอื โสตทศั นะ )
- กลวิธีในการโฆษณาชวนเชอ่ื ( วิธีท่สี ่งการโฆษณาชวนเชอ่ื มายงั เปูาหมาย )
- ภาษาอะไรท่ีใช้ ( ไทยหรอื มาลายูท้องถ่นิ )
- ถ้อยคาํ ท่ใี ช้ ( ขอร้อง ข่มขู่ บงั คบั เชิญชวน หรือขอความรว่ มมอื )
- การใช้คําสะกดการันต์หรือสํานวน ( ถูกต้องหรือไม่ หากถูกตอ้ งแสดงว่ามีความรู้ด้าน
ภาษาเป็นอยา่ งดีหรือมกี ารศึกษา )
- งานศลิ ปท์ ใ่ี ช้ ( มีสสี นั หรือไม่ )

63

การวิเคราะหผ์ ลทเี่ กดิ ขน้ึ effect จากการโฆษณาชวนเช่อื ครัง้ น้ี
- ผลกระทบท่เี กิดขึ้นจากการโฆษณาชวนเชือ่
- ผลท่ีเกิดกับเปูาหมายหรือผู้รับฟัง ( เช่ือ ไม่เช่ือ เกรงกลัว ขวัญกําลังใจ ยอมปฏิบัติ

ตาม เกลยี ดชัง หรือน่ิงเฉย )
สรุป จากการวิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อครั้งนี้ ฝุายเราสมควรตอบโต้หรือไม่ควรใช้

เทคนิคใดในการตอบโต้ และวิธีการ/ส่อื ที่ใช้ในการตอบโตใ้ ช้วิธีใด

เทคนิคในการตอบโตก้ ารโฆษณาชวนเชอ่ื

- การรีบชิงกระทากอ่ น Forestalling คือการชิงกระทําก่อนในเร่ืองทีขา้ ศึก/ฝาุ ยตรงข้าม
จะนาํ มาโฆษณาชวนเช่อื ต้องทาํ ไดท้ ันเวลาก่อนท่ีข้าศึกจะแก้ไขสถานการณ์

- การพิสูจน์หักล้างโดยตรง Direct refutation คือการพิสูจน์ให้เห็นว่าการโฆษณาชวน
เชอ่ื ของขา้ ศึกเปน็ สง่ิ ท่ีผดิ หรอื ไม่จริง เป็นเรอื่ งๆไปโดยตลอด

- การพิสูจน์หักล้างทางอ้อม Indirect refutation คือ การนําหัวข้อโฆษณาชุดใหม่หรือ
เรือ่ งใหม่ท่ฝี ุายเราไดเ้ ปรยี บไปหกั ล้างขอ้ กล่าวหาของขา้ ศึกหรือฝาุ ยตรงข้าม

- การเบนความสนใจ /วิธีหันเห Diversion คือ การใช้ความพยายามบดบงั เน้ือหาสาระ
ในข่าวสารการโฆษณาชวนเช่ือของฝุายตรงข้าม/ข้าศึก โดยนําเสนอหัวข้อโฆษณาของฝุายเราที่
สามารถดึงดดู ความสนใจเปาู หมาย

- การน่ิงเงียบ Silence คือ นํามาใช้ในกรณีที่เหน็ ว่าการโฆษณาชวนเช่ือที่ฝาุ ยตรงขา้ ม
นาํ มาใช้ไมใ่ ห้ผลดหี รือผลสาํ เร็จต่อฝาุ ยเราหรอื ไม่มคี วามสําคญั ท่ีฝาุ ยเราจะทาํ การตอบโต้

- การทาใหพ้ ้นจากการเข้าใจผิด / การสร้างภูมคิ ุ้มกัน Immunization คือ โครงการให้
การศึกษาหรือการ ปชส. เพื่อสร้างความเข้าใจท่ีถูกต้องให้กับเปูาหมาย ซ่ึงจะสามารถลดความ
ออ่ นไหวของเปาู หมายตอ่ การโฆษณาของฝุายตรงข้าม

- มาตรการจากดั Restrictive Measures เปน็ มาตรการในการปอู งกันไม่ใหเ้ ปาู หมาย
เข้าถึงการโฆษณาชวนเช่ือของฝุายตรงข้าม แต่มีข้อเสียคือเปูาหมายอาจพยายามท่ีจะรับข่าวสาร
ของฝุายตรงข้าม

- การทาใหเ้ ป็นเร่ืองเล็ก Minimizing The Subject เป็นวิธีที่จะลดความน่าสนใจของ
การโฆษณาชวนเช่ือของฝุายตรงข้าม โดยยํ้าให้เห็นว่าฝุายเราเหนือกว่า ไม่ให้ความสําคัญต่อการ
โฆษณาของฝุายตรงข้าม และชี้แจงให้เห็นวา่ ฝาุ ยตรงข้าม

64

- การลวงโดยเลียนแบบ Covert and deception operation เป็นการใช้การ
เลียนแบบการโฆษณาชวนเชื่อของฝุายตรงขา้ มโดยเปลี่ยนใจความเลก็ น้อย เพือ่ ลดความน่าเช่ือถือ
การโฆษณาชวนเช่ือของฝุายตรงขา้ ม

- การสร้างข่าวลือหรือการซ่อนเง่ือน/การลวงด้วยการสร้างเร่ืองเทียม Imitative
reception เป็นการใช้การหักล้างหรือลดความน่าเชื่อของการโฆษณาของฝุายตรงข้ามด้วยการ
ค่อยๆเปลย่ี นแปลงการโฆษณาของฝุายตรงข้ามใหเ้ ปลี่ยนแปลงไปหรือสร้างข่าวลอื เพ่ือให้เกิดความ
วุ่นวาย

******************************************************
(ตัวอย่างตารางการวเิ คราะหก์ ารโฆษณาชวนเชอ่ื ตามหลัก SCAME ตามผนวกท้ายเลม่ )

65

บทที่ 6

ข่าวกรองดา้ นการปฏิบัตกิ ารจิตวิทยา

วตั ถุประสงค์

1. เพือ่ ใหเ้ ข้าใจถึงความหมายของข่าวกรองทางทหารและข่าวกรองในการ ปจว.
2. เพอื่ ให้สามารถรวบรวมขอ้ มลู ข่าวสารในการ ปจว. ได้ถูกตอ้ ง

.

66

การข่าวกรอง

1. เรื่องราวบางประการเกี่ยวกับลักษณะของงานข่าวกรองในปัจจุบัน จะเห็นได้จากเรื่องราว และ
คําจํากัดความต่างๆ คือ

1.1 ข่าวสาร ( Information ) คือ วัตถุในทุกลักษณะท่ีนํามาใช้ผลิตเปน็ ข่าวกรอง ข่าวสาร
หมายถึง ข้อเท็จจริง การสังเกตการณ์ รายงาน ข่าวคือ ภาพถ่าย เอกสาร ฯลฯ หรือกล่าวได้อีก
นัยหนึ่งว่า ข่าวสารคือเร่ืองราว เหตุการณ์ วัตถุสิ่งของท่ีเราได้พบได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง
อาจเป็นเร่ืองราวท่ีมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลง ( Positive ) ไม่เปล่ียนแปลง ( Negative )
มีความเคล่ือนไหว ( Dynemic ) ไม่เคล่ือนไหว ( Static) มีตัวตน ( Tangible ) ไม่มีตัวตน
( Intangible ) ข่าวสารอาจเป็นเรื่องราวที่เป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริง หรือเป็นจริง
บางส่วนกไ็ ด้

1.2 ขา่ วสารทางทหาร ( Military information ) คือเรอื่ งราว เหตุการณ์ วัตถุ สงิ่ ของทัง้
ปวงทีท่ าํ ให้เรารู้เร่อื งราวเกี่ยวกบั ข้าศกึ

ขา่ วสารทางทหารโดยทัว่ ไป แบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื
(1) Positive
(2) Negative

Positive คือข่าวสารที่ระบขุ ้าศึกมีการปฏิบัติการอย่างหน่ึงอย่างใดเปล่ียนแปลงไปจาก
เดิมเราเรียกว่าข่าวสารชนิดน้ีว่าเป็นประเภท Positive เช่น ทราบว่ามีข้าศึกตั้งอยู่ตําบลหน่ึงใน
ขณะน้ันขา้ ศกึ ปฏบิ ัติอะไรหรอื ไม่ ถา้ ปฏิบัติเรยี กวา่ เปน็

Negative เป็นขา่ วสารท่บี อกถึงสถานการณ์ขา้ ศึกวา่ ไมม่ ีการเปล่ียนแปลงอะไร เช่น ข้าศึก
ต้ังอยู่ในตําบลหนงึ่ และข้าศึกไม่ได้ปฏบิ ตั ิการอะไร

1.3 ข่าวกรอง ( Intelligance ) คือ ผลผลิตจากการรวบรวมประเมินค่า วิเคราะห์
สนธิกรรม และตีความข่าวสารทั้งหมดท่ีหามาได้ ซ่ึงเก่ียวกับท่าทีประการหนึ่ง หรือหลายประการ
ของต่างชาติ หรือพื้นท่ีปฏิบตั ิการอันมีความสําคัญในขณะนี้ หรืออาจจะมีความสําคัญในการต่อไป
การวางแผน

ขา่ วกรองทด่ี จี ะตอ้ งมีลักษณะต่างๆ ดงั น้ี
1. มคี วามถูกตอ้ งเช่ือถือได้
2. มคี วามสมบรู ณ์ เพียงพอท่จี ะนาํ ใชป้ ระโยชน์
3. ต้องทันกาลเวลา

67

สรุปไดว้ ่า ความหมายของการขา่ วคือ การขา่ วหมายถงึ การดําเนินการทุกวิธี เพ่อื ให้ได้ข่าว
ท่ีเราต้องการจากฝุายอื่นให้มากท่ีสุดในขณะเดียวกันก็ต้องปูองกันมิให้ฝุายอ่ืนได้ข่าวจากเรา
การดําเนินการจะต้องกระทําโดยต่อเน่ือง ทั้งในยามปกติและยามสงคราม เพราะฉะน้ัน งานข่าว
กรองจงึ ตอ้ งกระทําควบคไู่ ปกบั การต่อต้านข่าวกรอง
ความมุ่งหมายในการข่าวจงึ กาํ หนดไดว้ า่

- เพื่อที่จะทราบข่าวเก่ียวกับบุคคล ฝุายงาน การดําเนินงาน การติดต่อส่ือสาร
การสนับสนุน ตลอดจนการเคลื่อนไหวและแผนการของฝุายตรงข้ามในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ
สังคมจิตวทิ ยาและการทหารอย่างถกู ต้อง

- กําจัดบคุ คลและโครงสรา้ งและข่ายงานการขา่ วของฝาุ ยตรงข้าม (ตข.)
- ปูองกันมใิ หฝ้ าุ ยตรงขา้ มสืบทราบความเคล่อื นไหวและไดค้ วามลับจากฝาุ ยเรา
- รักษาความปลอดภัยแก่บุคคล เอกสาร สถานีของฝุายเรา จากการก่อวินาศกรรม
จารกรรม และบอ่ นทําลายจากฝาุ ยตรงข้าม
2. ประเภทขา่ วกรอง
2.1 ขา่ วกรองแบ่งออกตามลักษณะงานได้ 3 ประเภทใหญ่ คือ

ก. ข่าวกรองทางยทุ ธศาสตร์ ( Strategic Intelligence )
ข่าวกรองยุทธศาสตร์คือ ความรู้เก่ียวกับเรื่องราวของชาตอิ ื่นๆ และเกี่ยวกับพ้ืนที่

ทางภูมิศาสตร์ ซ่ึงฝาุ ยเราต้องเข้าปฏิบตั ติ ามแผนทางทหารที่กําหนดขึ้น
ข่าวกรองยุทธศาสตร์ มีประโยชน์ในการช่วยกําหนดนโยบายและแผนทางทหาร

ชนิดต่างๆ ในระดบั ชาตแิ ละระหว่างประเทศ เพอื่ มุง่ ตอ่ วตั ถุประสงค์ของชาติ
ข่าวกรองยุทธศาสตร์ จะเป็นเครื่องช่วยในการกําหนดเปูาหมายของขา่ วกรองทาง

ทหาร และใหพ้ ืน้ ฐานในการวางแผน เพ่อื กําหนดวิธีการปฏิบัตทิ ีจ่ ะบรรลุผลสาํ เร็จตามเปูาหมาย
ข่าวกรองยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย ปัจจัยทั้งปวง ซึ่งมีอิทธิพลต่อขีด

ความสามารถทางทหาร, ความล่อแหลมต่ออันตราย และหนทางปฏิบัติอันน่าจะกระทําของชาติ
ตา่ งๆ เหลา่ นน้ั

องค์ประกอบของข่าวกรองยุทธศาสตร์ ได้แก่ ชีวประวัติผู้นํา ข่าวกรองเก่ียวกับ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การขนส่งและโทรคมนาคม สังคมจิตวิทยา การเมือง เศรษฐกิจ
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจน กาํ ลังทัพของชาติ

68

ข. ข่าวกรองทางการรบ/ยุทธการ ( Operational In telligence - OPINTEL )

คือ ความรู้เก่ียวกับฝุายตรงข้ามและสภาพพื้นที่ปฏิบัติการ ซ่ึงได้แก่สภาพภูมิ

ประเทศ สภาพลมฟูาอากาศ รวมถึงท่าทีของประชาชนท่ีผู้บังคับบัญชามีความต้องการในการ

วางแผนและการปฏิบัตกิ ารยทุ ธ์

ข่าวกรองการรบ เกิดจากการดําเนินกรรมวิธีต่อข่าวสารในเรื่องท่ีเกี่ยวกับฝุาย

ตรงขา้ ม ทง้ั ในด้านขดี ความสามารถและความลอ่ แหลมตอ่ อนั ตราย และสภาพภมู ิประเทศ เปน็ ตน้

ความมุ่งหมายของข่าวกรองการรบ เพ่ือกําหนดว่าทําอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรที่มี

อยอู่ ยา่ งดที ีส่ ดุ เพ่อื บรรลคุ วามสําเร็จของภารกจิ และรักษาไว้ซึ่งความปลอดภยั ของหนว่ ย

ข่าวกรองการรบได้ข้อมูลมาจากการซักถาม การเฝูาตรวจสนามรบ

การลาดตระเวนทางพื้นดินและทางอากาศ ข่าวกรองเกี่ยวกับพ้ืนท่ี ข่าวกรองทางการส่ือสาร

ข่าวกรองทางเทคนิค และการตคี วามภาพถา่ ย เป็นต้น

ค. การตอ่ ต้านการขา่ วกรอง ( Countreintelligence )

การต่อต้านข่าวกรองเป็นงานหนึ่งของการข่าวกรองทางทหาร ซ่ึงมุ่งทําลาย

ประสิทธิภาพในการหาข่าวของฝุายตรงข้ามรวมถึงการปูองกันข่าวสารของฝุายเราจากการจาร

กรรมปูองกันบคุ คลจากฝาุ ยบ่อนทําลาย ปูองกันสถานท่ีจากการก่อวินาศกรรมและปอู งกันระบบ

การตดิ ต่อสื่อสารของฝุายเราจากการถูกดกั ฟงั

มาตรการต่อต้านข่าวกรองตามธรรมดาจะแบ่งออกเป็นมาตรการหลักๆ

2 ประเภทคือ มาตรการต่อตา้ นขา่ วกรองเชงิ รกุ และมาตรการต่อต้านขา่ วกรองเชงิ รบั

มาตรการต่อตา้ นขา่ วกรองเชิงรุก ได้แก่ การต่อต้านการลาดตระเวน การต่อต้าน

การจารกรรมการต่อต้านการก่อวินาศกรรม และการขัดขวางการหาขา่ วของฝุายตรงขา้ ม

มาตรการต่อต้านขา่ วกรองเชิงรับ ได้แก่ วินัยในการรักษาความลับ การปูองกัน

บคุ คล, เอกสารและสถานท่ี การควบคุมการเคล่ือนย้าย การตรวจข่าว การพราง และการปอู งกัน

โดยใชเ้ ครือ่ งมือทางอิเลก็ ทรอนิกส์ เปน็ ต้น

2.2 การแบง่ ลักษณะขา่ วกรองตามปัจจยั กาลเวลา

ก. ขา่ วกรองมูลฐาน ( Basic Intelligence ) คือ เรื่องราวท่ีผา่ นมา และเปน็ เรื่องถาวร

ข่าวกรองมูลฐานมีลักษณะคล้ายเอนไซโครบีเดีย หรือประวัติศาสตร์ ซ่ึงจะใช้เป็นความรู้พ้ืนฐาน

ในการค้นคว้าติดตามหรือนําไปพิจารณาเร่ืองราวท่เี กดิ ข้ึนในปจั จุบนั หรือท่คี าดวา่ จะเกดิ

69

ข. ข่าวกรองความเคล่อื นไหว ( Curent Intelligence ) คือ เรื่องราวท่ีคาดว่าน่าจะ
เกิดขึ้นในอนาคต การประมาณสถานการณ์ข่าวกรอง ย่อมได้จากการพิจารณาร่วมของข่าวกรอง
ความเคลื่อนไหวกบั ข่าวกรองมูลฐาน

2.3 ความแตกตา่ งระหวา่ งขา่ วกรองทางยทุ ธศาสตรก์ ับข่าวกรองทางการรบ
ความแตกต่างระหว่างข่าวกรองยุทธศาสตร์และข่าวกรองการรบที่สําคัญได้แก่ ข่าวกรอง
ยุทธศาสตร์มีขอบเขตกว้างขวางกว่า, ใช้เจ้าหน้าท่ีมากกว่า, ครอบคลมุ หว้ งระยะเวลานานกว่าขา่ ว
กรองการรบ ข่าวกรองการรบ ถูกผลิตเพื่อจุดมุ่งหมายสนับสนุนการปฏิบัติทางยุทธวิธี ส่วนข่าว
กรองยุทธศาสตร์ ผลิตเพือ่ ใชใ้ นการทําสงครามหรอื แผนทางทหารและแผนการยทุ ธ์
องค์ประกอบของข่าวกรองยุทธศาสตร์ ได้แก่ ชีวประวัตผิ ู้นํา ข่าวกรองเก่ียวกับลักษณะทาง
ภูมิศาสตร์ การขนสง่ และโทรคมนาคม สงั คมจติ วิทยา การเมือง เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยี ตลอดจน กาํ ลงั ทัพของชาติ
ขา่ วกรองการรบได้ข้อมูลมาจาก การซกั ถาม การเฝูาตรวจสนามรบ การลาดตระเวนทาง
พนื้ ดนิ และทางอากาศข่าวกรองเก่ียวกับพื้นท่ี ขา่ วกรองทางการส่ือสาร ข่าวกรองทางเทคนิค และ
การตคี วามภาพถ่าย เปน็ ตน้
ถึงแม้ว่าขา่ วกรองยุทธศาสตร์ และข่าวกรองการรบ จะได้รับการกําหนดว่าเป็นข่าวกรองคน
ละประเภทก็ตาม แต่ก็ยังมีข่าวกรองหลายชนิดที่เป็นได้ทั้งข่าวกรองยุทธศาสตร์ และข่าวกรอง
การรบ ข่าวกรองที่เป็นไดท้ ้งั สองประเภทไดแ้ ก่
1. ข่าวกรองทําเนียบกําลงั รบ
2. ขา่ วกรองทางเทคนิค
3. ข่าวกรองเปาู หมาย
4. ข่าวกรองภมู ิประเทศ
5. ข่าวกรองลมฟาู อากาศ
ข่าวสารที่รวบรวมได้และข่าวกรองท่ีผลิตข้ึนสําหรับความมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์สามารถ
นําไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติการทางยุทธวิธไี ด้ ซึ่งได้แก่
1. แผนท่ี และแผนผงั
2. ข้อมูลเก่ียวกับ ชายหาด ทา่ เรอื แมน่ าํ้ เมอื ง หมู่บ้าน
3. ขอ้ มูลเกย่ี วกับการขนสง่ และระบบโทรคมนาคม
4. ขอ้ มูลเกย่ี วกบั การเมือง เศรษฐกิจ และสงั คมจติ วิทยา
5. ขอ้ มูลทาํ เนยี บกาํ ลงั รบ

70

หลักพนื้ ฐานในการปฏบิ ัติงานดา้ นการขา่ วกรองทสี่ าํ คญั ได้แก่
1. การปฏิบัติงานดา้ นการขา่ วกรองและการปฏบิ ัตทิ างยุทธวธิ ี ย่อมอาศัยซ่งึ กนั และกัน
2. ข่าวกรองจะตอ้ งใช้ประโยชนไ์ ด้
3. ข่าวกรองจะต้องทันเวลา
4. การปฏบิ ัตงิ านด้านการขา่ วกรอง จะต้องมีความอ่อนตวั
5. การปฏบิ ตั งิ านดา้ นการข่าวกรอง จะต้องใชม้ โนภาพและความรอบรู้
6. การปฏบิ ัติงานดา้ นการขา่ วกรอง จะตอ้ งมีมาตรการ รปภ. อย่างต่อเนอื่ ง
7. จะต้องมกี ารแลกเปล่ยี นขา่ วสารและขา่ วกรองกนั อยา่ งเสรี

งานในวงรอบขา่ วกรอง ประกอบดว้ ย 4 สว่ น คือ
1.การวางแผนรวบรวมข่าวสาร
2.การรวบรวมขา่ วสาร
3.การดาํ เนินกรรมวธิ ี
4.การใช้และการกระจายข่าวสาร และข่าวกรอง

วงรอบขา่ วกรองเปน็ งานที่ต่อเน่ือง งานทั้ง 4 ส่วนอาจจะเกิดข้ึนพร้อมๆ กัน เช่น ขณะที่
กําลงั รวบรวมขา่ วสารอันใหม่จากแหล่งขา่ วตา่ งๆ อยู่นั้นก็จะทําการวิเคราะหข์ ่าวสารอน่ื ท่ีรวบรวม
ได้มาก่อนแล้ว เพ่อื ดาํ เนนิ กรรมวิธผี ลติ เปน็ ข่าวกรอง และกระจายตอ่ ไป

การรวบรวมข่าวสารถือว่าเป็นข้ันตอนท่ียากลําบากที่สุดในวงรอบข่าวกรองโดยท่ีฝุายตรง
ข้ามย่อมสนใจและปฏิบตั ิการท้ังปวง ที่จะทําลายการรวบรวมข่าวสารของฝุายเรา มิใหไ้ ดข้ ่าวสาร
เก่ียวกับการปฏิบัตทิ ้งั ปวงของฝาุ ยตรงขา้ ม ฉะนน้ั จงึ มกี ารปกปดิ กาํ ลงั , การประกอบกําลงั , การวาง
กําลัง และการเคล่อื นย้าย มีการตรวจข่าวและระวังปูองกันในการติดตอ่ สอ่ื สาร มีการแพร่ข่าวลวง
และปฏบิ ตั ิการทางยทุ ธวิธใี นลักษณะทจี่ ะลวงใหเ้ ราเข้าใจผดิ

การประเมินค่าข่าวสารแต่ละรายการย่อมแสดงด้วยระบบที่เป็นมาตรฐานอันหนึ่ง
ความเชอื่ ถือได้ของ จนท.รวบรวมขา่ วสารและแหล่งขา่ ว แสดงด้วยตัวอักษรดงั น้ี

ก. เชือ่ ถือไดเ้ ต็มที่ ข. เชื่อถอื ได้ ค. พอเชือ่ ถอื ได้
ง. ไม่น่าเชอ่ื ถอื จ. เชอื่ ถอื ไม่ได้ ฉ. ไมอ่ าจตดั สนิ ความเช่อื ถือได้

71

กรณีแหล่งขา่ วและเจา้ หน้าทร่ี วบรวมขา่ วสารรายงานขา่ วซึ่งกําหนดคา่ ความแน่นอนแตกตา่ ง
กันให้พจิ ารณาใชค้ ะแนนการประเมนิ ระดับต่ํากว่าตัวเลข ดงั น้ี

1.ไดร้ ับการยนื ยนั จากแหลง่ ข่าวอนื่ 2. นา่ จะเปน็ จรงิ

3. อาจจะเปน็ จรงิ 4. สงสยั วา่ จะเปน็ จริง

5. ไมน่ ่าจะเปน็ จรงิ 6. ไม่อาจตดั สินความจริงได้

การดาํ เนินกรรมวิธีต่อข่าวสารขน้ั สุดท้าย คือ การตีความ ซง่ึ ประกอบด้วยงาน 3 สว่ น คือ
การวเิ คราะห์, การสนธิ และ การอนุมาน

ขน้ั ตอนการตีความ นับเป็นข้ันตอนในการทําขา่ วสารให้เปล่ียนเป็นขา่ วกรอง การวิเคราะห์
คือ การกรองและแยกข่าวสารท่ีประเมินค่าแล้วเพ่ือแยกข่าวสารส่วนสําคัญ โดยคํานึงถึงภารกิจ
และการปฏิบตั ิของหน่วยออกต่างหาก ข้ันตอนต่อจากการวิเคราะห์ (แยกออก) คือ การสนธิ
(รวมเข้าด้วยกัน) ซงึ่ เปน็ การรวบรวมสว่ นตา่ ง ๆ ของข่าวสารท่ีได้แยกจากกันในข้ันวิเคราะหแ์ ล้ว
นําไปรวมกับข่าวสาร อ่นื ๆ ที่ทราบแลว้ เพอ่ื แสดงใหเ้ ห็นภาพข่าวที่สมเหตุผลการสนธิกระทําได้
โดยอาจกาํ หนดสมมตุ ิฐานขน้ึ มากกวา่ หนง่ึ ข้อกไ็ ด้โดยอาศัยพืน้ ฐานจากข่าวกรองที่มีอยู่

การสนธิ อาจใช้กระทําในใจให้เสร็จสมบูรณ์โดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อยหรืออาจจัดทําโดยใช้
เวลายาวนานขนึ้ อยกู่ ับการรวบรวมขา่ วสารเพม่ิ เตมิ ว่ามปี ริมาณมากน้อยเพยี งใด

ในขั้นสุดท้ายของการตีความข่าวสาร ได้แก่ การอนุมาน เป็นการพิจารณาเหตุผลจาก
สมมุติฐานซึ่งได้กําหนดข้ึนแล้วทดสอบ และพิจารณาถึงความเป็นไปได้จากผลท่ีได้นํามาสนธิ
ดังกลา่ วแล้ว

การกระจาย และการใช้ข่าวสารและข่าวกรองเป็นงานข้ันสุดท้ายในวงรอบข่าวกรอง
การกระจาย หมายถึง การส่งข่าวสารและข่าวกรองอย่างทันเวลาในแบบฟอร์ม และเคร่ืองมือที่
เหมาะสมไปยงั ผู้ท่ีมีความต้องการทง้ั ปวง

72

ขา่ วกรองการปฏิบัตกิ ารจิตวทิ ยา

ในการดําเนินการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน ความต้องการข่าวกรองมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
และมีขอบเขตกวา้ งขวางกว่ากิจการด้านอน่ื ๆ ความต้องการขา่ วกรองมเี ฉพาะท่ีเก่ียวข้องกับกิจการ
ทางการทหารน้ัน แต่การปฏิบัติการจิตวิทยานั้นได้เข้าไปสอดแทรกอยู่ทั้งในด้านการทหาร
การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ดังน้ัน จงึ เหน็ ได้ว่าปริมาณและขอบเขตความตอ้ งการขา่ วกรองใน
การดาํ เนินการปฏิบตั กิ ารจิตวิทยานัน้ กว้างขวางเพียงใด

ข่าวสารต่างๆ ที่ต้องการเพื่อนํามาใช้ในการผลิตออกมาเป็นข่าวกรองทางปฏิบัติการ
จิตวทิ ยานัน้ มงุ่ หนักไปในด้านการขา่ วท่ีกระทบกระเทือนต่อจิตใจคนหรือกลุ่มคน ดังนั้น ข่าวกรอง
ปฏิบตั ิการจติ วิทยาหมายถงึ “ความรู้ท่ีเกี่ยวกับสภาพทางจิตใจและความคิดเหน็ ของกลุ่มคนท่ีเป็น
เปูาหมาย” เพราะเปาู หมายของการปฏิบัติการจิตวิทยาคือ “จิตใจของกล่มุ ชน” (Target The
Mind)

ความหมายข่าวกรอง
ในการปฏิบัติการจิตวิทยา คือ ความรู้เก่ียวกับเอกลักษณ์,ที่อยู่,ความล่อแหลม,
ความอ่อนไหวและประสิทธิภาพของเปูาหมายในการปฏิบัติการจิตวิทยาอันเป็นท่ีต้องการ
เพื่อใชใ้ นการวางแผน, การดาํ เนนิ การและการประเมินค่าในการปฏิบตั กิ ารจิตวทิ ยา
ความสาคัญ
การปฏิบัติการจิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพน้ันย่อมขึ้นอยู่กับการมีข่าวกรองที่มีรายละเอียด,
มีความถูกต้อง, ทันเวลา และมีใช้ได้ท่ัวทุกระดับหน่วย การมีข่าวกรองที่สมบูรณ์, ถูกต้องและ
ทันเวลาเท่านั้นที่จะทําให้การพิสูจน์ทราบ, กําหนดและวิเคราะห์ผู้ฟังท่ีเป็นเปูาหมาย,
สว่ นสนบั สนนุ เพม่ิ เติมในการรณรงคใ์ นการปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาท่ีมปี ระสิทธภิ าพ, จดั ทําและเผยแพร่
ข้อข่าวในการชักจูงใจได้ กิจกรรมการข่าวกรองท่ีดําเนินไปอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมน้ันอาจเป็น
สาเหตุหนึ่งท่ีทําให้การรณรงค์ในการปฏิบัติการจิตวิทยาต้องล้มเหลว เพราะทําให้พิสูจน์ทราบ
กําหนดกลุ่มเปูาหมายไม่ถูกต้อง, ไม่ทราบความล่อแหลมท่ีถูกต้อง เลือกหัวข้อโฆษณาท่ีไม่
เหมาะสม, เลอื กสอ่ื โฆษณาไมถ่ กู ต้อง ตลอดจนใชเ้ ทคนคิ การเผยแพรท่ ีไ่ มถ่ กู ต้อง

73

ความสัมพนั ธ์ของขา่ วกรองในการปฏิบตั กิ ารจติ วิทยากับข่าวกรองทวั่ ไป
ความต้องการข่าวกรองและการปฏิบัติการข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน

โดยท่ัวไปก็อนุโลมตามแนวทางในการปฏิบัติการข่าวกรองโดยทั่วไปน่ันเอง แต่ข่าวกรองในการ
ปฏิบัติการจิตวิทยามุ่งเน้นไปในทางเปูาหมายทางจิตวิทยาเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ข่าวกรองการรบ
ต้องการความรู้เกี่ยวกับข้าศึก ภูมิประเทศและลมฟูาอากาศ แต่ข่าวกรองสําหรับการปฏิบัติการ
จิตวิทยานั้น นอกจากจะต้องการข่าวกรอง เช่นเดียวกับข่าวกรองการรบแล้ว ยังมีความต้องการ
ข่าวกรองเกย่ี วกับผ้ฟู งั ทีเ่ ป็นเปาู หมายเพม่ิ ขึน้ อกี ด้วย

ข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน จะมีความยากกว่าข่าวกรองโดยทั่วไปตรงที่ว่าการ
วิเคราะหเ์ ปูาหมายทางจติ วิทยานนั้ เป็นการพิจารณาทางนามธรรม ( ทางจิตใจ ) ย่อมเปน็ การยาก
ย่ิงกว่าการพิจารณาทางรปู ธรรม ( ทางกาย )

กจิ กรรมหลักของงานขา่ วกรองในการปฏิบตั ิการจติ วทิ ยา
ปกตขิ อบเจตของงานการข่าวกรองในการสนับสนุนการปฏิบัติการจติ วิทยา ได้แก่ การวิจัย,
การวิเคราะห์เปูาหมาย, การวิเคราะห์การโฆษณาชวนเช่ือ และการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติการ
จิตวิทยา
พันธกิจการข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยาย่อมจะกําหนดให้สอดคล้องกับการ
ปฏิบัตกิ ารจิตวิทยา ตวั อย่างภารกจิ การปฏิบัติการจิตวทิ ยาของหน่วย ไดแ้ ก่
- ทาํ ใหข้ า้ ศกึ มขี วญั ตา่ํ , ลดประสทิ ธิภาพในการรบ. ทําใหเ้ อาใจออกห่างและหนีทัพ
- รว่ มในการวางแผนลวงทางยทุ ธวธิ ีหรอื ทางยทุ ธศาสตรแ์ ละเสรมิ การปฏิบัติตามแผนนั้น
- วเิ คราะห์และต่อตา้ นการปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาของข้าศึก
- สง่ เสริมเจตคต/ิ พฤติกรรมท่ีเก้ือกูลแก่ฝาุ ยเราในหมู่ประชากรพลเรอื น
- ช่วยสนับสนุนความตอ้ งการข่าวสารสาํ คัญและความตอ้ งการข่าวกรองอ่ืนๆ ของหน่วย
- สนับสนนุ การปฏิบัตกิ ารเพ่ือเสรมิ ความมนั่ คง
หวั ใจของความสาเร็จในการ ปจว.

1.เตรียมฐานข้อมูล ละเอยี ด/ถกู ต้อง/งา่ ย
2. ขา่ วกรองที่ทันสมัย
3. รวมการควบคุม
4. วางแผนทเี่ หมาะสมกบั เวลา
5. วางแผนรวมการและแยกการปฏิบตั ิ
6. ใช้ทรพั ยากร การ ปจว. ท่ีมีอยู่ให้เกดิ ประโยชน์สูงสุด

74

ลักษณะเฉพาะของการขา่ วกรองในการ ปจว.
ความต้องการดา้ นขา่ วกรอง การ ปจว. แบ่งออกเป็น 3 ชนดิ คอื
1. ขา่ วกรองเก่ยี วกบั เปูาหมาย
2. ข่าวกรองเกยี่ วกับปัญหาและแนวโฆษณา
3. วิธกี ารเผยแพรส่ อ่ื

ความต้องการข่าวกรองพื้นฐานทางยุทธศาสตร์ เพื่อนําไปพิจารณาหาความล่อแหลม
สาํ หรับใชป้ ระโยชน์ในการดาํ เนินการปฏิบตั ิการจิตวิทยานั้น อาจกลา่ วอย่างสั้นๆ เพื่อเปน็ แนวทาง
ได้ดงั น้ี คือ

ด้านการเมือง

1. โครงสรา้ งของรฐั บาล
รฐั บาลปกครองประเทศตามระบบใด
- ประชาธิปไตย
- คอมมวิ นิสต์
- เผดจ็ การ
- ราชาธปิ ไตย

2. การจัดตง้ั รัฐบาล จัดต้ังโดย
-พรรคเดยี ว
- รัฐบาลผสม

3. ความขัดแยง้
- ความขัดแยง้ ระหวา่ งพรรคการเมอื ง
- ความขดั แยง้ กนั เองภายในพรรค

4. อานาจที่แท้จรงิ ของรัฐบาล อยู่ทไ่ี หน
- อย่ใู นกํามอื ของรัฐบาลเอง
- อยู่ท่พี รรคการเมอื ง กล่มุ อทิ ธิพลทางการเมอื ง
- อยทู่ ีก่ ลมุ่ อทิ ธพิ ล กลุ่มบุคคล หรอื อยใู่ ตบ้ งการของต่างประเทศ

5. การดาเนนิ นโยบายต่างประเทศ
- มีความมน่ั คงแน่วแนเ่ พียงใด
- เปน็ นโยบายทส่ี ามารถปรับปรุง หรอื เปลีย่ นแปลงแกไ้ ขได้โดยง่ายหรอื ไม่

75

6. ความสัมพันธร์ ะหว่างทหารกบั พลเรือน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยหรือมีการ
ขดั แยง้ กันอย่างไรบ้าง

- ทหารมีอิทธิพลเหนือพลเรือน
- พลเรอื นควบคมุ กิจการทหาร
- พลเรอื นยกยอ่ ง สนบั สนนุ นิยมทหารหรอื ไม่ เพยี งใด
7. เคารพกฎหมาย
- การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบยี บต่างๆ ของเจา้ หน้าที่ฝุายปกครอง
ตาํ รวจ ทหาร และข้าราชการพลเรือนอื่นๆ เป็นไปโดยเสมอภาคเท่าเทียมกันหรือไม่ อย่างไร
มอี ภสิ ทิ ธช์ิ นหรอื ไม่
- ประชาชนไดร้ ับความสะดวกหรือไม่ เพยี งใด
- ประชาชนไดร้ ับความเปน็ ธรรมหรอื ไม่
- ประชาชนเคารพกฎหมายหรอื ไม่ อยา่ งไร
8. ระบบการขา่ วกรองและการรกั ษาความปลอดภัยแห่งชาติ มอี ยา่ งไรบา้ ง
- องคก์ ารข่าวลับ
- สถาบนั การศกึ ษาดา้ นการข่าวกรอง
- การตอ่ ต้านการข่าวกรอง
- การรักษาความปลอดภยั (สถานท่ี บคุ คล เอกสาร)
9. การโฆษณาชวนเช่อื
- มีการดําเนนิ การกว้างขวางเพยี งใด
- ใช้สอ่ื โฆษณาอะไรบ้าง ท้งั ภายในและภายนอกประเทศ
10. ขดี ความสามารถในการบอ่ นทาลายเสถยี รภาพของรฐั บาล
- จะกระทาํ ไดเ้ พียงใด โดยวธิ ีใด
11. ประวัติบุคคลสาคัญ ในคณะรัฐบาล พรรคการเมือง ตลอดจนบุคคลที่
ประชาชนเคารพยกยอ่ งในปจั จุบนั สิ่งตา่ งๆ ทต่ี ้องการทราบ คือ
- พฤติการณ์เบือ้ งหลงั ของบุคคลสําคัญ ตลอดจนความเช่ือ การเคล่ือนไหว
และบุคคลท่ใี กล้ชดิ

76

ดา้ นการทหาร ต้องการขา่ วเก่ียวกบั กิจการทหาร เช่น
1. การจดั กองทพั ท้ังกองทพั บก กองทพั เรือ และกองทัพอากาศ
- มีการจดั หน่วยรบ หน่วยสนับสนนุ ถงึ ระดบั ไหน อยา่ งไร
- มกี ารประสานการปฏิบัติระหวา่ งเหลา่ ทพั หรือไม่
- การจดั ฝาุ ยอํานวยการตามแบบประเทศใด
- ทีต่ ัง้ ประจํา หรอื ที่ตั้งปกตอิ ยู่ทไ่ี หนบ้าง
2. ภารกจิ ทางยุทธศาสตร์ หรือนโยบายทางทหาร
- จะทาํ การรกุ หรือการตั้งรบั
3. หลกั นยิ มทางยทุ ธวิธี
- นิยมการเข้าตีหรือตง้ั รบั
- การเขา้ ตชี อบกระทําในเวลาใด
4. การควบคมุ ทางการเมอื ง
- มที ่ปี รึกษาฝุายการเมอื งประจําอยกู่ บั หน่วยทหารขนาดใด หรือไม่
5. การต่อต้านข่าวกรองมปี ระสิทธภิ าพเพยี งใด ทงั้ ใน
- ด้านการทหาร
- ด้านประชาชน
- การตรวจขา่ ว
- การรักษาเขตแดน การปูองกันการแทรกซึมจากฝุายตรงกันข้ามตาม
บรเิ วณชายแดน
6. วินยั ของทหาร มีวนิ ยั ดีหรือไม่ เพยี งใด ซงึ่ อาจสังเกตได้จาก
- คดีคัง่ ค้างอยู่กับอัยการ ศาลทหาร
- จํานวนนักโทษในเรอื นจําทหาร
- การแสดงความเคารพระหวา่ งทหารด้วยกัน
- การฝึกอบรม แสดงถงึ ความเขม้ แข็ง ประสทิ ธภิ าพของการรบดว้ ย
7. บคุ ลกิ ลกั ษณะของทหาร
- ทหารเกณฑเ์ ปน็ อยา่ งไร
- ทหารรับจา้ ง ทหารอาสาสมัคร เป็นอยา่ งไร
- เช้ือสายของทหาร

77

8. อาวุธยุทโธปกรณต์ ่างๆ
- สมรรถภาพของอาวุธ กระสนุ
- การซอ่ มบาํ รุงกระทาํ ไดเ้ พียงใด
- สามารถสรา้ งอาวธุ ยุทโธปกรณ์อะไรได้บา้ ง
- ไดร้ ับการช่วยเหลอื มาจากแหล่งใด
- อาวธุ ใหมๆ่ ทใ่ี ชไ้ ด้ผลมอี ะไรบ้าง

9. หน่วยกึง่ ทหาร
- มีหน่วยกึ่งทหารซ่ึงใช้ในการปูองกันประเทศ หรือรักษาความสงบหรือไม่
ถ้ามี มอี ะไรบ้าง
- สมรรถภาพของหนว่ ยเปน็ อยา่ งไรบ้าง

10. ประวัตินายทหารช้นั นายพล
- พฤตกิ ารณ์เบ้ืองหลงั
- ความเช่อื
- การเคล่ือนไหว
- บุคคลที่ใกล้ชิด

ดา้ นเศรษฐกิจ ต้องการข่าวเกีย่ วกบั ดา้ นเศรษฐกจิ เช่น
1. ขดี ความสามารถทางอุตสาหกรรม
- มคี วามสามารถในการทําอะไรไดบ้ ้าง
- สมรรถนะของโรงงานที่มีอยู่
- ใครเป็นเจ้าของโรงงาน เปน็ นายทุนคนต่างชาติหรอื ไม่
- ทางราชการไดใ้ ห้ความชว่ ยเหลอื อะไรบ้าง
- รายได้ของกสกิ รมากน้อยเพยี งใด สมควรหรือไม่
2. สหภาพแรงงาน (สหพันธ์แรงงาน)
- สหภาพหรอื สหพนั ธ์แรงงานมหี รือไม่
- กรรมกรได้รับความค้มุ ครองเพยี งใด
- คา่ จา้ งเพยี งพอแก่การครองชีพหรือไม่
3. การภาษีอากร
- การเก็บภาษีอากรเป็นธรรมแกส่ ังคมหรอื ไม่
- มีการหลกี เลยี่ งภาษอี ากรหรือไม่ ถ้ามี เปน็ บุคคลประเภทใด

78

4. การค้า
- เป็นการค้าแบบเสรหี รือรฐั ควบคมุ
- ดุลย์การค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างไร
- ดลุ ย์การชําระหน้เี ปน็ อยา่ งไร
- สามารถบอ่ นทําลายการค้าได้ทางใดบ้าง

5. การเงิน (ระบบการคลงั )
- รัฐบาลได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างไรบา้ ง (แบ่งสรรงบประมาณหนักไป

ทางดา้ นไหน การศึกษา การอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การปูองกันประเทศ การจัดตั้งงบประมาณ
เป็นอยา่ งไร เอาเงนิ มาจากไหน ใชเ้ งนิ รายได้ของตนเอง หรอื ตอ้ งกเู้ งนิ จากตา่ งประเทศ)

- ระบบเงินตรามน่ั คงหรอื แลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
- สิ่งอปุ โภค บริโภค ในการดาํ รงชีวิตประจาํ วันของประชาชนมีราคาสงู กว่า
รายได้ของประชาชนหรือไม่ มีความขาดแคลนอะไรบ้าง
- รปู แบบของเงนิ ตราเป็นอย่างไร

ด้านสังคม ต้องการขา่ วเก่ยี วกบั

1. เช้ือชาติ และลักษณะของประชาชนในประเทศ
- ประกอบไปด้วยชนกลุ่มนอ้ ยหรือไม่
- คณุ ลักษณะ เอกลกั ษณ์ของประชาชน
- ประวัติความเป็นมาของชาติ ซึง่ จะเป็นเคร่ืองช่วยชี้ให้เห็นวิธีชีวิตของชาติ

ว่ามีความเป็นมาอยา่ งไร
2. วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี สุนทรียภาพและศิลปเป็นเคร่ือง

ชใ้ี หเ้ หน็
- จิตใจของกลมุ่ ชน
- ความรสู้ กึ นึกคดิ
- ความรกั สวยรักงาม
- ความไพเราะเพราะพร้งิ ในศลิ ปประจาํ ชาติ
- เครือ่ งสง่ เสรมิ ขวัญของบุคคลหรอื กลุม่ ชน
- เครอ่ื งยดึ เหนีย่ วของสังคม

สงิ่ เหลา่ นี้ เปรียบประดจุ วิญญาณของกลมุ่ ชนนัน้ ๆ

79

3. การศึกษา
การศึกษาของประชาชนในกลุ่มต่างๆ มีเพียงใด เพราะการชักจูงจิตใจเป็นสิ่ง
สําคัญในการปฏิบตั ิการจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่มุ ชนที่มีการศึกษาดี กับกลุ่มชนท่ีมีการศึกษาน้อย
ย่อมต้องใช้วิธีการโฆษณา การใช้ส่อื โฆษณาแตกตา่ งกันมาก เช่น กลมุ่ ชนที่มีการศึกษาดี ใช้วิธีการ
โฆษณาอย่างมีเหตุ มีผล มีหลักการดี ส่วนคนอา่ นหนังสือไม่ออก ใช้ใบปลิวลําบากไม่ได้ผล ต้องทํา
ใบปลิวเปน็ รูปตา่ งๆ ให้เขา้ ใจงา่ ยๆ
4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของ
ประเทศชาติ ซง่ึ ในขณะเดยี วกันก็มีผลไปถึงการพัฒนาด้านการทหารด้วย เช่น การสางดาวเทียม
จากพื้นโลกใหข้ ึ้นไปโคจรอยู่รอบโลก และสามารถบังคับให้กลับลงมายังผิวโลก ณ จดุ ที่ต้องการได้
นั้น ย่อมสามารถนําเอาไปใช้เพือ่ การสงครามได้ดว้ ย อย่างไรก็ตาม แมจ้ ะไม่มีชาติใดอวดอา้ งว่า
น่าจะนาไปใช้เพื่อการสงคราม แต่การไมอ่ วดอ้างนนั้ ก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในตัวของมัน
เองอยแู่ ลว้
5. โครงสร้างทางสังคม

- การแบ่งชนั้ วรรณะ (ชนช้นั )
- ความแตกต่างในการครองชีพ มีความเหลื่อมลาํ้ ต่าํ สูงกนั อย่างไร
- บุคคลในกลุ่มชนชั้นต่างๆ มีความรู้สึกที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติ
ร่วมกนั หรือไม่
- ความขดั แย้งหรอื สง่ิ ทจี่ ะกอ่ ใหเ้ กดิ ความขดั แย้งกันมหี รอื ไม่อย่างไร
อนง่ึ การประกอบอาชีพของคนสว่ นใหญ่ ก็เปน็ แนวทางใหพ้ ิจารณาถงึ จติ ใจของคน
ในชาตินั้นดว้ ย เช่น ชาวนา ชาวไร่ ย่อมรักและหวงแหนผืนแผ่นดนิ ท่ีตนทํามาหากินอยู่ หากเขาจะ
ตอ่ สู้เพื่อรักษาที่ดินของเขาหรือเพ่ือได้มาซ่ึงที่ดินแล้ว เขาย่อมจะต่อสู้อย่างยอมเสียสละทุกสิ่งทุก
อย่างทีเดยี ว
6. ศาสนา ความเชอื่
ในการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน ข่าวสารท่ีเก่ียวกับศาสนาและความเช่ือของกลุ่ม
บคุ คลที่เป็นเปูาหมายนั้น นับว่ามีความสําคัญมิใช่น้อยเพราะส่ิงดังกล่าวแล้วเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยว
เป็นเร่อื งฝงั ใจของบคุ คลเหลา่ นน้ั เม้วา่ เขาจะเคารพนับถอื เคร่งครัดมากน้อยเพยี งใดก็ตาม แต่เขาไม่
ต้องการใหใ้ ครมาพดู ตาํ หนิตเิ ตยี น หรือลบหลดู่ ูหมิ่นส่ิงที่เขาเคารพนับถือ ดงั นั้น นักโฆษณาทาง
ปฏิบัติการจิตวิทยาต้องระมัดระวัง และพยายามหลีกเล่ียงมิให้กระทบกระเทือนต่อศาสนา
ความเช่อื ของกล่มุ บุคคลทเี่ ป็นเปูาหมาย

80

7. ข้อห้าม นอกจากนี้มีขอ้ ห้ามทางศาสนาและความเช่ือแล้ว ยังมีข้อห้ามอื่นๆ
อกี เช่น ชาติ พระมหากษตั ริย์ และบุคคลบางคนก็เป็นของต้องหา้ มมิให้แตะต้องในทํานองลบหลู่
ดูหมิ่น

อทิ ธพิ ลทางด้านภูมศิ าสตร์
1. ลมฟ้าอากาศประจาถ่ิน ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อโฆษณาด้วย

เหมือนกัน เช่น วิทยุกระจายเสยี งจากกรุงเทพฯ รับฟังทางภาคเหนือละภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ
ไม่ค่อยได้ชัดเจน, ลมพัดจากทะเลเข้าส่ผู ืนแผ่นดินใหญ่ ทําให้จีนคณะชาติสามารถใช้ลกู โปุงเป็น
เคร่ืองนําส่อื โฆษณา (ใบปลวิ ) ใหไ้ ปตกในผนื แผ่นดินใหญ่ได้

2. ทีต่ ั้งของประเทศ มีความเก่ียวข้องด้วยอย่างมาก เช่น ประเทศพม่า มีดนิ แดน
ตดิ ตอ่ กบั ประเทศจีนคอมมิวนิสต์ ยอ่ มดําเนนิ นโยบายแตกตา่ งกับประเทศฟลิ ปิ ปินส์ ซึ่งเปน็ เกาะ

สภาพชีวิตความเปน็ อยู่ท่นี ักปฏบิ ัตกิ ารจิตวทิ ยาตอ้ งการทราบ
1. ความเปน็ อยู่ ของประชาชนในประเทศที่เปน็ เปูาหมายวา่
- ชวี ิตในชนบทกับชวี ิตในเมือง มคี วามแตกต่างกนั อยา่ งไรบ้าง
- ในฤดูกาลตา่ งๆ ประชาชนเหลา่ นนั้ เขาทําอะไรกันบา้ ง
- ชวี ติ ประจําวันของประชาชนต้งั แต่เช้าจนคา่ํ เขาทาํ อะไร
- ความเดือดเน้อื รอ้ นใจของประชาชนมอี ะไรบา้ ง
สิง่ เหลา่ นี้ย่อมเป็นประโยชน์การโฆษณา ใหผ้ ู้รับฟังเกิดความประทับใจ และสะดวก

ในการพจิ ารณาใชส้ ื่อโฆษณาใหเ้ หมาะสมกับผู้รับฟงั
2. ท่าทขี องประชาชนท่ีมีต่อชนต่างชาติ เป็นขา่ วกรองมูลฐานท่ีตอ้ งการทราบ

ก่อนที่จะปฏิบัติการจิตวิทยา ทงั้ นกี้ เ็ พื่อ
- แสวงหาความร่วมมือกับประชาชนในชาตินัน้
- หลีกเลยี่ งการขดั แยง้ ทอี่ าจจะเกดิ ขึ้นได้
- ทราบวิธีการทจ่ี ะสง่ เสริมความเป็นมติ รกับประชาชนในชาตนิ ั้น

3. การสวัสดกิ ารและอนามยั ของประชาชน
- การจัดหางานใหป้ ระชาชนทํา
- การจัดสถานศึกษาใหเ้ ยาวชนและนักศกึ ษา
- การบรกิ ารขนสง่ สาธารณะ

81

- การปอู งกันโรคภัยไขเ้ จบ็ และการรกั ษาพยาบาล
- การชว่ ยเหลอื เร่ืองที่พกั อาศัยแก่ประชาชน

การตดิ ตอ่ สอื่ สาร

1. เครื่องรับวทิ ยขุ องประชาชนทใ่ี ช้
- คุณลักษณะ ขีดความสามารถของเครื่องรบั วิทยุ
- ชนิดของเคร่ืองวิทยุรับฟังท่ีประชาชนมีใช้ เครื่องรับวิทยุ คล่ืนยาวเป็น

เคร่อื งรบั ที่มรี าคาถูกกว่าเครอ่ื งรบั วทิ ยคุ ล่นื นั้น
- ขนาดของเคร่ืองรับ เป็นเคร่ืองรับขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่กับท่ีหรือเป็น

เครือ่ งรับขนาดเลก็ สามารถนาํ ติดตวั ไปมาได้
- จาํ นวนของเครื่องรับวทิ ยทุ ีป่ ระชาชนมีใชอ้ ย่วู า่ มีอยูเ่ ท่าไร
- เปน็ เครอื่ งรบั วทิ ยทุ างสาย (เสยี งทางสาย) หรอื ไม่

ส่ิงเหล่าน้ีจําเป็นต้องทราบ การโฆษณาหรือการปฏิบัติการจิตวิทยาโดยใช้สื่อ
โฆษณาทางวทิ ยุ ถ้าเปูาหมายผฟู้ ังไม่มีเคร่ืองรับวิทยุ หรือมีแต่รับฟังจากสถานีส่งของเราไม่ได้ก็ไม่มี
ประโยชน์อะไรเลย

2. ความนิยมในการรับฟังวทิ ยุของประชาชน และข้อจํากัดต่าง ๆ เปน็ สิง่ สําคัญ
อย่างหน่ึงที่นักโฆษณาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อจัดรายการและระยะเวลาให้เหมาะสม
เรียกร้องความสนใจแก่ผู้รับฟัง เช่น รายการสําหรับข้าราชการ หรือผู้ประกอบอาชีพในเวลา
กลางวัน ก็ควรจัดรายการใหส้ ามารถรับฟังได้ก่อนออกจากบ้านไปทํางาน และอีกตอนหนึ่ง คือ
หลังจากเลกิ งานกลบั บ้านรบั ประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว แตก่ ็ตอ้ งไมด่ กึ จนเกนิ ไป

3. หนังสือพิมพ์ ส่ิงพิมพ์ต่าง ๆ ส่ิงเหล่านี้เป็นส่ือโฆษณาท่ีสําคัญที่อาจใช้
ประโยชน์ในการเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อได้เป็นอย่างดี จึงต้องการข่าวสารรายละเอียด
ดงั ตอ่ ไปน้ี

- ความนยิ มของประชาชน
- การจดั การ
- แนวนโยบายของส่งิ พิมพ์น้ัน ๆ
- การสนบั สนุนจากบุคคลภายนอก

82

- โรงพิมพ์เถื่อน สามารถจะจัดการพิมพ์ใบปลิวเถ่ือน หนังสือพิมพ์ใต้ดิน
ธนบัตรปลอม อากรแสตมป์ หรือแสตมปป์ ลอม ในทอ้ งถน่ิ ได้หรือไม่ อยา่ งไร

การขนส่ง
1. การเดินทางไปมา ของประชาชนสะดวกสบายและประชาชนสามารถเดินทาง

ไปมาได้โดยเสรีหรือไม่ อย่างไร การท่ีประชาชนสามารถเดนิ ทางไปมาได้โดยเสรี ย่อมจะสะดวกใน
การแพร่ข่าวลอื สะดวกในการเผยแพร่ส่ิงพมิ พ์ต่างๆ ตลอดจนสะดวกแก่การโฆษณาชวนเช่ือโดย
การใชป้ ากตอ่ ปากเลา่ กันตอ่ ๆ ไป

2. มาตรการในการควบคุมการเดินทาง มีการควบคุม กวดขันอย่างไร หากมี
มาตรการควบคุม กวดขันการเดินทางไปมาของประชาชนแล้ว ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการโฆษณา
ชวนเชอ่ื ผลท่ไี ด้รับก็ยอ่ มลดน้อยลง คือการแพร่ขา่ วไดช้ า้ ลงนัน่ เอง

ขา่ วสารที่ตอ้ งการอาจจะแฝงอยู่ในเรื่องราวตา่ ง ๆ ในหนังสือพิมพ์ ในสนุ ทรพจน์
ของบุคคลสําคัญ ในเอกสารรายงานท่ีเรายึดได้ ในเอกสารแถลงนโยบาย ในทําเนียบกําลังรบ
บคุ ลกิ ลกั ษณะของทหาร และหน่วยทหารขา้ ศกึ ขวัญของข้าศกึ

จากขา่ วกรองดา้ นต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว เปน็ ข่าวกรองทางยุทธศาสตร์เพือ่ นําไป
พิจารณาหา ความล่อแหลม สําหรบั เปน็ ขอ้ มลู ในการวางแผนการปฏิบัติการจติ วทิ ยาตอ่ ไป

ขา่ วกรองเปรียบเสมือนหัวใจของการปฏิบัติการจิตวิทยาในสภาวะสงคราม ท้ังสอง
ฝุายจึงต้องพยายามปกปิดข่าวสารของฝุายตนเองไว้เป็นความลับ เพ่ือไม่ให้ศัตรูนําไปใช้ประโยชน์
ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามหาวิธีการที่จะทําให้ได้รับข่าวสารของฝุายตรงข้ามมาเป็นข้อมูลให้
มากทสี่ ดุ เทา่ ท่ีจะมากได้

ข่าวกรองทเี่ ป็นปัจจยั ในการวิเคราะห์โฆษณาชวนเช่อื
1.พนื้ ฐานทางประวตั ิศาสตร์
2. สภาพทางการเมอื ง
3. สภาพทางทหาร
4. สภาพทางเศรษฐกจิ
5. สภาพสังคมจิตวิทยา
6. ลกั ษณะพืน้ ท่เี ปูาหมาย
7. ระดับการศกึ ษาของเปาู หมาย

83

แบบของข่าวกรองในการปฏบิ ัติการจิตวิทยา
ในการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน มีความต้องการข่าวสารที่เกี่ยวข้อง หรือมีผลกระทบต่อ
เจตคติและพฤติกรรมของกลุ่มเปูาหมายต่างๆ ท้ังทางพลเรือน และทางทหาร การนี้จะรวมไปถึง
ข่าวสารท่ีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางจิตวิทยา และทาง
อุดมการณ์ภายในกลุ่มเปูาหมายด้วย ข่าวกรองท่ีใช้ในการปฏิบัติการจิตวิทยา แบ่งออกได้เป็น
2 ประเภท คอื ขอ้ ศกึ ษาพจิ ารณากบั ขอ้ มลู ปัจจุบัน
1. ข้อศึกษาพิจารณา ข้อศึกษาพิจารณาที่ใช้ในการปฏิบัติการจิตวิทยามีอยู่ 3 ชนิด คือ
ขอ้ ศึกษาพิจารณาพน้ื ที่ ข้อศึกษาพจิ ารณาพิเศษ และขอ้ ศึกษาพจิ ารณาเบอื้ งต้น ในการปฏิบตั ิการ
จติ วิทยา

1.1 ข้อศึกษาพิจารณาพื้นท่ี มีลักษณะเป็นเอกสารบรรยายท่ีจัดทําข้ึนด้วยความ
มุ่งหมาย โดยเฉพาะเจาะจงของผู้จัดทําว่าจะนําไปใช้ในการใด (เช่น ในการสงครามนอกแบบ
กิจการพลเรือน ฯลฯ) ปกติจะครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัตกิ ารหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง
และจะมีการปรับปรงุ แกไ้ ขใหท้ ันสมัยอยตู่ ลอดเวลา

1.2 ข้อศึกษาพิจารณาพิเศษ จัดทําข้ึนเพื่อสนองความต้องการพิเศษเฉพาะเร่ือง
ซงึ่ มักจะประกอบด้วยข่าวสาร ในทางลึกมากกว่าข้อศึกษาพิจารณาอื่นๆ โดยการพ่งุ ศูนย์รวมไปยัง
เร่อื งใดเรอ่ื งหนง่ึ ของพ้นื ทีใ่ ดพนื้ ที่หนง่ึ หรือสงั คมใดสังคมหนึ่ง ปกติจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเม่ือ
จําเปน็

1.3 ข้อศึกษาพิจารณาเบ้ืองต้น ในการปฏิบัติการจิตวิทยา จัดทําตามเน้ือหาของ
การปฏิบัติการจิตวิทยาท่ีเก่ียวข้องกับพ้ืนท่ี หรือเปูาหมายต่างๆ ท่ีได้รับมอบข้อศึกษาพิจารณา
เบ้ืองต้นในการปฏบิ ตั กิ ารจติ วิทยารว่ มกับนโยบายการปฏิบัติการจติ วิทยาตามลาํ ดับความสาํ คัญจะ
เปน็ มูลฐานในการดาํ เนนิ การกําหนดการปฏบิ ัติการจติ วิทยา โดยท่จี ะนํากลุ่มเปาู หมายที่มศี ักยภาพ
มาพสิ จู น์ทราบไว้ในเอกสารนีต้ ามปกติ จะมีการปรบั ปรงุ ใหท้ นั สมยั ตามระยะเวลา เอกสารนี้ใช้เป็น
ขอ้ มูลในการจัดทําประมาณการสถานการณ์ การปฏิบัติการจิตวิทยา การวิเคราะห์เปูาหมาย และ
การดาํ เนนิ การรณรงคใ์ นการปฏบิ ตั กิ ารจิตวทิ ยา

2. ขอ้ มลู ปัจจบุ นั
2.1 ข้อมูลปัจจุบันที่ใช้สําหรับงานข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยาตามปกติมัก

ได้รับขา่ วสารมาจากแหล่งขา่ วเปดิ เชน่ หนงั สอื พิมพ์ นิตยสาร วารสารการศึกษา ขอ้ ศึกษา
พจิ ารณาตา่ งๆ และการกระจายเสยี ง(สือ่ )จากต่างประเทศ สว่ นข่าวสารทีไ่ ดร้ ับทางสายงาน
ทหารน้ัน มักจะกําหนดข้ึนความลับไว้จึงไม่ใคร่ได้นําประโยชน์ท้ังน้ีมิใช่เพราะลักษณะ

84

อ่อนไหวของข่าวแต่เพ่ือปูองกันแหล่งข่าว และเพื่อซ่อนพรางความจริงว่าเจ้าหน้าท่ีข่าว
กรองทางทหารสนใจแต่เฉพาะข่าวสารเปิด ที่หาได้ง่ายเท่าน้ัน อย่างไรก็ตามข่าวสารท่ี
กาํ หนดชั้นความลับนัน้ เปน็ ประโยชน์มากในการศึกษาภูมิหลงั และเปน็ ขอ้ อา้ งอิงที่ดี

2.2 ขอ้ มลู ปจั จบุ นั นํามาใชใ้ นการ
- วเิ คราะหแ์ ละคัดเลอื กกลมุ่ เปูาหมายเฉพาะ
- พิจารณาความลอ่ แหลม และความออ่ นไหวของเปาู หมาย
- พจิ ารณาหวั ข้อขา่ วสารสาํ คัญ และความต้องการข่าวกรองอน่ื ๆ
- เลอื กหวั ขอ้ โฆษณา
- ใหข้ ้อมูลในการปรบั ปรุงขา่ ว
- เสริมและขยายข้อมูลภมู ิหลงั เปาู หมาย

กรรมวิธขี ่าวกรองในการปฏบิ ตั ิการจิตวิทยา
กรรมวิธีข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยาน้ัน ก็คงเช่นเดียวกับกิจกรรมอื่นๆ ท่ีมีความ
ต้องการข้อมูลทางข่าวกรอง โดยการผสมผสานความต้องการข่าวกรองในการปฏิบัติการจิตวิทยา
เข้ากับความต้องการ และความพยายามในการข่าวกรองของหน่วยท่ีปฏิบตั ิโดย นายทหารฝาุ ยข่าว
กรอง (สธ.2/ฝอ.2) นายทหารปฏิบตั ิการจิตวิทยาและหน่วยปฏิบัติการจติ วิทยาจะใหส้ ายงานการ
ข่าวกรองที่จัดตั้งไว้ในการรวบรวมข่าวสาร และปฏิบัติการฝุายกรองชุดหลักตามพันธกิจต่างๆ
เพื่อปฏบิ ตั งิ านในสนามจะทาํ หน้าท่ีรวบรวมข่าวสารดว้ ย
เพ่ือให้การปฏิบัติการจิตวิทยามีประสิทธิภาพสูงสุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจิตวิทยาและ
เจ้าหน้าท่ีข่าวกรองที่มีคุณวุฒิจะตอ้ งทํางานร่วมกันเป็นชุด บุคคลท่ีมีภูมิหลังทางด้านสังคมศาสตร์
หรือรัฐศาสตร์เป็นบุคคลในอุดมคติที่พึงประสงค์ อย่างไรก็ดีประสบการณ์และฝึกอบรมจะมี
ความสาํ คัญมากกว่าภมู หิ ลงั ดา้ นการศึกษา

หัวข้อข่าวสารสาคญั และความต้องการข่าวสารอืน่ ๆ
หัวข้อขา่ วสารสําคัญเปน็ รายการข่าววิกฤตเกี่ยวกับเปาู หมายและส่ิงแวดล้อมของเปูาหมาย
อันเป็นท่ีต้องการของผู้บังคับบัญชาตามระยะเวลาท่ีสัมพันธ์กับข่าวสารและข่าวกรองท่ีมีอยู่
เพ่ือช่วยผู้บังคับบัญชาในการตัดสินใจ หัวข้อข่าวสารสําคัญประกอบด้วยชุดคําถามเฉพาะเจาะจง
และคาํ ถามตรงจุดสําคญั ทก่ี าํ หนดขึ้นเพ่อื ให้ได้คาํ ตอบเป็นข่าวสารที่ตอ้ งการเก่ียวกับกลมุ่ เปูาหมาย
คําถามทางเศรษฐกจิ ของพื้นทข่ี องเปูาหมาย เช่น

85

- เจตคตขิ องเปาู หมาย
- ความทุกขย์ าก
- จดุ กาํ เนดิ ของเปูาหมาย
- ความขอ้ งคับใจ
- ภาษาท่ีใช้
- ปัญหาต่างๆ
- ความตงึ เครียดขดั แยง้
- ความล่อแหลมและความออ่ นไหว
ความต้องการข่าวกรองอ่ืนๆ นั้นแปรมาจากความต้องการข่าวสารของหน่วย ซึ่งมิได้
กําหนดคุณค่า เช่น หัวข้อข่าวสารสําคัญและจากความต้องการของฝุายอํานวยการ ความต้องการ
ข่าวกรองอื่นๆ ประกอบด้วยข่าวสาร (อื่นๆ นอกเหนือจากหัวข้อข่าวสารสําคัญ) เกี่ยวกับ
ขีดความสามารถความล่อแหลม และคุณลักษณะอ่ืนๆ ของพื้นที่ปฏิบัติการหรือของเปูาหมายซ่ึง
อาจมผี ลกระทบตอ่ การบรรลภุ ารกจิ
หัวข้อข่าวสารสําคัญและความต้องการข่าวกรองอ่ืนๆ น้ันมีอยู่หลายหัวข้อที่มีลักษณะ
หมุนเวียนกลับมาใช้อีก แม้ว่าเปูาหมายอาจจะเปล่ียนแปรไป พื้นที่ดังกล่าวข้างต้นอาจจะแบ่งและ
ควรแบ่งออกเป็นสว่ นย่อยลงไป เม่ือจะปรับปรุงพฒั นาหัวข้อข่าวสารสาํ คัญ และความต้องการข่าว
กรองอ่ืนๆ หัวข้อขา่ วสารสาํ คญั และความตอ้ งการข่าวกรองอ่นื ๆ จะตอ้ งแปรเปลยี่ นให้เหมาะสมกับ
พน้ื ทเ่ี ปาู หมายและสถานการณด์ ว้ ย นอกจากนน้ั การกาํ หนดหวั ขอ้ ขา่ วสารสาํ คญั และความตอ้ งการ
ข่าวกรองอื่น ๆ จะต้องได้กําหนดไว้อย่างชัดเจนและประสานกับหน่วยเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพ่ือ
ม่ันใจวา่ ไดข้ า่ วสารและขา่ วกรองมาอย่างถูกต้อง
แหล่งข่าวสารและข่าวกรอง นอกจากแหล่งข่าวตามสายงานข่าวกรองท่ัวไปแล้วข่าวสาร
และขา่ วกรองในการปฏิบัตกิ ารจติ วิทยาอาจไดม้ าจาก
1. การแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างหนว่ ย
2. ศูนย์เอกสารห้องสมุด
3. คาํ ขอข่าวสาร เฉพาะจากประชาคมขา่ วกรอง
4. เอกสารและบุคคล เชน่
- คมู่ อื บรรณานุกรม
- เอกสารทางการ (แผน, คําส่ัง, แผนท,่ี คู่มือ, ขอ้ ศกึ ษาพจิ ารณา ฯลฯ)
- เอกสารไม่เป็นทางการ (สมุดบนั ทึกประจาํ วนั , สมุดภาพ, จดหมายสว่ นตัว ฯลฯ)

86

- เอกสารทีย่ ดึ ได้
- เชลยศกึ , ผเู้ อาใจออกห่าง, บุคคลพลดั ถน่ิ , เจา้ หน้าทฝ่ี าุ ยพลเรอื น, ตาํ รวจ ฯลฯ
5. การตดิ ตอ่ ท้งั แบบเปน็ ทางการและไม่เป็นทางการ
6. ระบบข่าวสารโดยการดาํ เนินงานแบบอัตโนมตั ิซ่งึ จะช่วยเหลอื เจา้ หน้าทีป่ ฏิบัตใิ นการ
- ทําประมาณสถานการณก์ ารปฏิบัติการจติ วิทยา
- ทําผนวกการปฏิบตั กิ ารจิตวิทยา
- วเิ คราะหส์ อื่ โฆษณา
- วิเคราะห์เปูาหมาย
- วเิ คราะหโ์ ฆษณาชวนเช่ือ
- พสิ จู นท์ ราบความล่อแหลม
- โฆษณาชวนเช่ือท่ีเหมาะสมกบั เปูาหมาย
- ทําขอ้ ศึกษาพิจารณาเบอ้ื งต้นในการปฏิบตั ิการจติ วทิ ยา

ขนั้ ตอนการกรรมวิธีขา่ วกรองในการปฏิบตั กิ ารจติ วิทยา
1. วิเคราะห์ภารกิจในการปฏิบัติการจิตวิทยาของหน่วยกําหนดข่าวสารท่ีต้องการเพ่ือใช้
บรรลภุ ารกจิ
2. จัดทําบัญชีความต้องการข่าวสารท่ีต้องการตามลําดับความสําคัญกําหนดหวั ขอ้ ข่าวสาร
สําคัญและความต้องการข่าวกรองอ่ืนๆ ไว้หมายเหตุของหน่วยหาข่าวหรือแหล่งข่าวที่สามารถ
สนองความตอ้ งการไวด้ ้วย
3. คัดเลือกและส่งคําขอไปยังหน่วยหาข่าวและแหล่งข่าวต่างๆ ที่มีความเหมาะสมในการ
ระดมข่าวสารทตี่ ้องการ
4. ดําเนินกรรมวิธีข่าวสาร เช่น ระบบข่าวกรองทั่วไปเข้าสู่การจัดทําข้อศึกษาพิจารณา
เบ้ืองต้นในการปฏบิ ตั ิการจิตวิทยาและการวิเคราะห์เปาู หมาย

ข้อควรคานงึ

1. การ ปจว.ท่ีมปี ระสทิ ธิภาพข้นึ อยู่กับ ขา่ วกรอง ปจว.
2. ข่าวกรอง ปจว. เหมอื นขา่ วกรองทวั่ ไป แตใ่ ห้เนน้ ขอ้ มูลทางจิตวทิ ยาเปน็ หลกั
3. ข่าวกรอง ปจว. เป็นเร่ืองนามธรรม พิสูจน์ยากกว่าข่าวกรองท่ัวไป เช่น ขวัญกําลังใจ
ทัศนคติ อารมณ์ อุดมการณ์

87

การสารวจข้อมูลหมบู่ า้ นเป้าหมาย

การหาขอ้ มูลหมบู่ ้านเปาู หมาย
• ศึกษาจากขา่ วกรองที่ได้รบั จากหน่วยเหนอื
• จากการรายงานของเจา้ หน้าท่ี
• จากการสง่ ชุดชํานาญพืน้ ท่ีไปหาข้อมูลหรือหาข้อเทจ็ จรงิ

ข้อมลู สําคญั ของเปูาหมายทาง ปจว.ทตี่ ้องการ
• ทัศนคติหรือแนวความคิดของเปูาหมายว่ามีทัศนคติและมีความคิดเป็นอย่างไร
เหน็ ด้วยกบั ฝุายเราหรอื ฝาุ ยตรงขา้ ม หรือเปน็ กลาง
• อารมณ์ของเปูาหมาย เปูาหมายมีอารมณ์ โกรธ เกลียด ไม่พอใจ รัก อารมณ์อ่อนไหว
งา่ ยหรอื ยาก
• ท่าทีและพฤติกรรมของเปาู หมาย เปาู หมายแสดงออกอยา่ งไร รว่ มมือหรอื ไมร่ ่วมมอื กับ
ฝาุ ยเรา
• จุดอ่อนหรือจุดล่อแหลม เปูาหมายมีจุดอ่อนอะไรบ้าง ยากจน ปุวย ขาดยาขาดหมอ
อยไู่ กลบา้ น ไมไ่ ดร้ ับความเปน็ ธรรม กาํ ลังใจ

แบบฟอรม์ การสํารวจข้อมลู หมู่บ้านเปูาหมายควรประกอบด้วยหวั ข้อการสํารวจข้อมลู
• บคุ คลสาํ คญั
• จํานวนบ้าน/ครวั เรอื น
• จาํ นวนประชาชน ชาย/หญงิ เดก็
• ศาสนา
• วัด
• โรงเรียน
• สถานพยาบาล
• เช้อื สาย
• ภาษาพดู

88

• อาชีพ
• สภาพความเปน็ อยู่ของประชาชน
• ความสามัคคี ความรว่ มมือ
• คดอี กุ ฉกรรจ์
• ความต้อการของประชาชนระยะเรง่ ด่วนและระยะยาว
• ทา่ ทขี องประชาชนต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รฐั
• สื่อในพ้ืนที่
• วิธีการเผยแพรก่ ารโฆษณาที่ดีทีส่ ดุ /วิธีตดิ ต่อส่อื สารท่ีดที ่สี ดุ กับเปาู หมาย
• การปฏบิ ัตขิ องฝาุ ยตรงขา้ ม
• แนวโฆษณาทฝี่ าุ ยตรงข้ามนาํ มาใช้
• วิธโี ฆษณาที่ฝุายตรงขา้ มใช้
• โครงการของรัฐบาลในหมบู่ า้ นน้ี
• การ ปจว.ท่ีทาํ ไปแลว้
• แนวโฆษณาที่สมควรนําไปใชใ้ นพนื้ ทค่ี ราวต่อไป

***************************************************************

89

บทที่ 7

การวเิ คราะห์เป้าหมายและเขียนแผนรณรงค์
ด้านการปฏบิ ัติการจติ วทิ ยา

วตั ถปุ ระสงค์

1. เพื่อให้เข้าถึงความหมาย และวัตถปุ ระสงคข์ องการปฏิบตั ิการจติ วิทยา
2. เพือ่ ให้ทราบถึงวธิ ีการในการวเิ คราะหเ์ ปูาหมายและการเขยี นแผนรณรงค์
3. เพื่อให้ทราบถึงความสาํ คญั ของการปฏิบตั ิการจิตวทิ ยาทม่ี ีผลกระทบต่อ

กลุม่ เปาู หมาย

90

การวเิ คราะห์เป้าหมาย ( TARGET ANALYSIS )

1. กลา่ วทวั่ ไป
1.1 การวิเคราะห์เปาู หมายเป็นกระบวนการตรวจสอบบรรดาข่าวกรองทมี่ ีอยู่อย่างละเอยี ด

และเปน็ ระบบเพอื่ พสิ ูจน์ทราบและกําหนดเปูาหมาย ( Target Analysis ) ซ่ึงน่าจะมีคุณค่าในการ
ปฏิบัติการจิตวิทยาเพ่ือหาความล่อแหลมทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องเพื่อกําหนดวัตถุประสงค์ทาง
จติ วิทยา และเพื่อใหข้ ่าวสารท่ีสําคัญแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัตกิ ารจติ วิทยา ในอนั ที่จะใช้เป็นแนวทางใน
การปฏิบัติการจิตวิทยาต่อไป กระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายเริ่มเม่ือได้รับภารกิจทางการ
ปฏิบัตกิ ารจติ วิทยา ( PSYOP MISSION ) โดยการวิเคราะห์ภารกิจทางปฏิบตั ิการจิตวิทยาเป็น
เบ้ืองต้น ท้ังน้ี เพ่ือหากิจเฉพาะและกิจแฝงท่ีจะต้องกระทําให้สําเร็จ บรรดาข่าวสารท่ีรวบรวมและ
ใช้กระบวนการน้ีจะต้องเก่ียวกับเปูาหมายและภารกิจปฏิบัติการจิตวิทยา ท่ีจะต้องทําให้สําเร็จ
และข่าวสารที่เก่ียวกับเปูาหมายนี้จะต้องนํามาพิจารณาทั้งข่าวในทางบวกและทางลบ ทั้งนี้เพ่ือ
หลีกเลีย่ งการวิเคราะห์ด้านเดยี ว อนั จะเปน็ ผลใหก้ ารวเิ คราะหไ์ มส่ มบรู ณ์

1.2 นอกจากน้ัน การวิเคราะห์เปูาหมายยังมีส่วนช่วยในการทําประมาณการ แผนคําสั่ง
และ คําช้ีแจง การปฏิบัติการจิตวิทยาอีกด้วย และยังเป็นพ้ืนฐานในการดําเนินการรณรงค์
ในเรื่องการเลือกหัวข้อโฆษณา สัญญาลักษณ์ และส่ือโฆษณาท่ีจะใช้ในเอกสารโฆษณาชวนเช่ือ
ทดสอบการโฆษณาชวนเชื่อเพ่ือหาความเช่ือถือ และผลที่จะเกิดข้ึนกับเปูาหมายทั้งก่อนและหลัง
การกระจายการโฆษณาชวนเชื่อและการประเมินค่าผลที่จะเกิดข้ึนต่อเปูาหมายในการรณรงค์
เนอื่ งจากการวิเคราะห์เปาู หมายมสี ่วนช่วยการปฏิบัติการจติ วิทยาเป็นอย่างมากตามท่ีกล่าวมาแล้ว
ดังนั้นจึงมักจะเรียกการวิเคราะห์เปูาหมายว่าเป็น “หัวใจของกระบวนการพัฒนาการโฆษณาชวน
เชื่อ”

1.3 ข่าวสารที่ได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายน้ีได้นําไปใช้ต่อในการกําหนด
รปู แบบแผนการรณรงค์ทางปฏบิ ตั ิการจิตวทิ ยา แผนการรณรงค์ซ่งึ เจ้าหน้าท่ีจะยึดถือน้ันได้กําหนด
แนวทางในการใช้สอ่ื โฆษณา, การผลิต, วัสดุการโฆษณาชวนเชื่อ, การทดสอบวัสดุโฆษณาชวนเช่ือ
เพื่อหาความเช่ือถือและประสิทธิภาพและการแพร่ขยายวัสดุการโฆษณชวนเช่ือให้ถูกต้องและตรง
เวลา

91

2. การเลือกเปา้ หมาย
2.1 เปูาหมายได้แก่กลุ่มคนซึ่งมี ความอ่อนไหวรวมกัน ( Predisposition ) และเมื่อ

ดําเนินการอย่างเหมาะสมแล้ว จะสามารถบรรลวุ ัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาที่ตอ้ งการได้ การพิสูจน์
ทราบเปาู หมายน้ี กระทําได้โดยการวิเคราะห์การศึกษาพ้ืนท่ี ( Area Study ) และข่าวสารภูมิหลัง
ต่างๆ ในพ้ืนท่ีปฏิบัติการเพือ่ หาข่าวสารท่ีเก่ียวกับข้อมูลทางประชากร ( Demographic Data )
กลุม่ องคก์ ร และจุดอ่อน จดุ แข็ง ( ความล่อแหลมทางจิตวทิ ยา ) ภายในพื้นท่เี ปูาหมาย

2.2 การตกลงใจเลอื กเปาู หมายผ้รู บั ฟงั ในข้นั สดุ ท้าย เพือ่ จะทําการรณรงคน์ ้ัน อย่างน้อยจะ
กระทําได้ต่อเมื่อมีการวิเคราะห์เปูาหมายอย่างผิวเผินเพื่อดูว่าเปูาหมายนั้นๆ มีความอ่อนไหว
( Susceptibility ) และมีประสิทธิภาพ ( Effectiveness ) หรือไม่เพียงไร ทั้งนี้เพราะเปูาหมาย
จํานวนมากอาจจะมีความลอ่ แหลม ( Vulnerability ) ในแง่ของ ปจว. แต่อาจจะมีเปาู หมายเพยี ง
2-3 เปูาหมาย เท่านั้นที่จะสามารถชักชวนหรือสามารถดําเนินกิจ ปจว. ตามท่ีต้องการได้ ดังน้ัน
จึงจําเป็นที่จะต้องศึกษาเปูาหมาย แต่ละเปูาหมายอย่างละเอียดรอบคอบ เพ่ือจะได้เปูาหมายท่ี
เหมาะสมท่ีสุดในการดาํ เนนิ กิจ ปจว.

2.3 ในทาง ปจว. ได้แบ่งเปูาหมายออกเป็นกลุ่มพันธกิจ ( Functional Groups) และ
กลุม่ อพันธกิจ ( Nonfunctional Groups ) โดยปกติกลุ่มพนั ธกิจเป็นเปาู หมายทาง ปจว. ท่ีได้ผล
ทส่ี ดุ เพราะกลุม่ เช่นนจ้ี ดั ตัง้ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ท่ีแนน่ อนและนักสังคมศาสตร์ ถอื วา่ กลุ่มพันธกิจ
น้ีหมายรวมถึงกลมุ่ ปฐมภูมิ ( Frimary Groups ) และกลุ่มทุตยิ ภูมิ ( Secomdary Groups )
ด้วยกลุ่มปฐมภูมิน้ันได้แก่กลุ่มที่รวมกัน โดยมีความเก่ียวพันอย่างใกล้ชิด พบปะกันอยู่เสมอ
มีจํานวนสมาชิกน้อยและสมาชิกของกลุ่มมิได้มีบทบาทท่ีแน่นอน สําหรับกลุ่มทุติยภูมิน้ันตรงกัน
ข้าม เพราะเป็นกล่มุ ที่รวมกันโดยสมาชิกไม่รู้จกั กันดนี ัก ( Impersonal Assoctation ) สมาชิกแต่
ละคนมีบทบาทท่ีแน่ชัด และรวมกันเพ่ือบรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่แน่นอน ตัวอย่าง
กลุ่มพนั ธกิจไดแ้ ก่ ครอบครัว สหภาพแรงงาน, สมาคมวิชาชีพ ชมรมพทุ ธศาสน์ เป็นตน้ ซึ่งแตล่ ะ
กลุ่มที่ยกตัวอย่างมาน้ันมีวัตถุประสงค์ท่ีแน่นอน เช่น ครอบครัวก็มีความรักและความพอใจกันใน
สมาชิก, สมาชิกสหภาพแรงงานรวมตัวกันเพ่อื ยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีข้ึน, สมาคมวิชาชีพพบปะ
กนั เพือ่ แลกเปลย่ี นความคดิ เห็นเก่ียวกับ ความก้าวหน้าในทางวิชาการ และชมรมพุทธศาสน์พบปะ
กันเพ่ือศึกษาและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนา เป็นต้น โดยเหตุที่กลุ่มพันธกิจน้ีมีเหตุผลในการ
รวมตัวกันอย่างชัดเจน การศึกษากลุ่มเช่นน้ีสามารถหาได้ โดยถูกต้องและช่วย ให้ทราบ
สภาวะการณ์ ( Conditions ) และทัศนคติ

92

( Attitudes ) ของกลุ่มหรือเปูาหมายได้อย่างแน่ชัด นอกจากน้ันการท่ีสมาชิกของกลุ่มมี
ผลประโยชนร์ วมกันยงั ชว่ ยให้การตดิ ตอ่ ( Communication ) ภายในกลมุ่ สะดวกยง่ิ ข้นึ อีกด้วย

2.4 กลุ่มอพันธกิจ น้ันกําหนดข้ึนโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ และในบางกรณี โดยมี
คุณลักษณะร่วมกัน เช่น ประชาชนท่ีอาศัยอยู่ในประเทศไทยทางภาคเหนือในจังหวัดสงขลา
เป็นกลุม่ ตามลักษณะรว่ มกนั เช่น ชาวไร่ ชาวนา ผู้หญิงประชาชนไทย และกลมุ่ วัยรุ่นเปน็ กลุม่ ตาม
ลักษณะร่วมกัน เนื่องจากกลุ่มพันธกิจแตกต่างกันมากในเร่ืองของวัตถุประสงค์และผลประโยชน์
กลุ่มเช่นน้ีจึงไม่มีเหตุผลโดยแน่ชัดในการรวมตัวกัน และผิดกับกลุ่มพนั ธกิจที่กลุ่มอพันธกิจน้ันขาด
การดําเนินการตามวัตถุประสงค์และกิจกรรมของกลุ่ม ดังน้ันเม่ือทําการศึกษากลุ่มอพันธกิจนั้นจึง
จะต้องวิเคราะหอ์ อกมาในรูปแบบของการศึกษา เศรษฐกิจ ครอบครัว ฯลฯ และด้วยเหตุนี้ข่าวสาร
ท่ีได้มาจึงเป็นเรื่องท่วั ๆ ไปมากกวา่ ทไ่ี ด้มาจากการศกึ ษากลุ่มพนั ธกจิ

2.5 ในการเลือกเปูาหมายน้ัน ควรจําไว้ว่าโดยปกติกลุ่มพันธกิจจะเป็นเปูาหมาย ปจว.
ท่ีได้ผลที่สุด รองลงมาได้แก่กลุ่มตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ และกลุ่มตามคุณลักษณะร่วมกัน
ตามลาํ ดับ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกกลุ่มใดเป็นเปูาหมาย ปจว. สิ่งท่ีสําคัญก็คือ จะตอ้ งวิเคราะห์
เปาู หมายอย่างรอบคอบ และใหไ้ ดร้ ายละเอยี ดมากท่ีสดุ เท่าทจี่ ะมากได้ ท้ังนี้ เพ่ือเพิม่ โอกาสในการ
ชักจงู เปาู หมายใหป้ ฏบิ ตั ิตามวตั ถุประสงค์ทาง ปจว. ท่ีตอ้ งการให้มากทีส่ ดุ นนั้ เอง

3. การกาหนดและเลอื กผูเ้ ชอื่ มตอ่ ( Key Communicator )
3.1 การกําหนดและเลือกผู้เชื่อมต่อในการวิเคราะห์เปูาหมายน้ัน มีความสําคัญย่ิงเช่น

เกี่ยวกับการเลือกเปูาหมายทาง ปจว. ท้ังน้ีเพราะผู้เชื่อมต่อได้แก่บรรดาบุคคลที่อยู่ใน
กลุ่มเปูาหมาย และจะเป็นผู้ที่รับและถ่ายทอดการโฆษณาชวนเช่ือไปยัง อีกต่อหนึ่ง อีกนัยหน่ึงผู้
เชื่อมต่อก็คือ ผู้นํา นักพูด นักคิด น้ันเอง ผู้เช่ือมต่อได้แก่ ผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นําในชุมชนในทาง
เศรษฐกิจ และในทางการเมือง โดยสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มฟังและปฏิบัติตามความเห็นนั้นๆ และ
บุคคลทมี่ ลี ักษณะเช่นนีก้ ม็ กั จะเปน็ ผู้เช่อื มต่อในทาง ปจว. เช่น จา่ กองรอ้ ย, นายทหาร, ผใู้ หญ่บ้าน,
กํานนั หรือผู้ท่ีมีความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ในชมุ ชนเปน็ ต้น

3.2 โดยปกติการกําหนดและเลือกผู้เช่ือมต่อนั้น ข้ึนอยู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ
ของบุคคลในกลุ่มเปูาหมายซ่งึ ได้แก่ช่ือเสียง จํานวน, การกระจาย, และอาํ นาจ แต่ในบางคร้ังการ
วิเคราะห์อาจจะกระทาํ กบั บคุ คลซ่ึงมไิ ด้เปน็ สว่ นหนึ่งของเปูาหมาย

3.2.1 ชื่อเสียง ( Prestige ) บคุ คลผู้อยู่ในตาํ แหน่งที่มีชื่อเสียงมักจะเปน็ ผู้นําและผู้ให้
แนวทางเน่ืองมาจากการอยู่ในตําแหน่งน้ันๆ และสมาชิกคนอ่ืนๆ ภายในกลุ่มก็หวังท่ีจะให้ผู้อยู่ใน

93

ตาํ แหนง่ เชน่ นั้น ให้แนวทางหรือการตดั สนิ ใจ เพื่อว่าพวกตนจะได้ปฏิบัติตามในการเลือกผูเ้ ชื่อมตอ่
นน้ั จะต้องกําหนดคุณลกั ษณะดงั กล่าวให้ได้เสมอ

3.2.2 จํานวน ( Number ) ผู้เช่ือมต่อหรือกลุ่มผูเ้ ช่ือมต่อจะต้องมีจํานวนมากเพียง
พอที่จะมีอิทธิพลเหนือเปูาหมายทาง ปจว. ตัวอย่างเช่น หากมีผู้เช่ือมต่อเพียง 1 หรือ 2 คน
ในกลุ่มเปูาหมายขนาด 500 คน ความต้องการของคนจํานวนมากอาจจะลบล้างอิทธิพลของผู้
เช่ือมต่อได้

3.2.3 การกระจาย ( Dispersion ) การที่จะได้ผลกลุ่มผู้เช่ือมต่อจะต้องกระจาย
ออกไปในหมู่เปูาหมายอยา่ งพอเพียง เพื่อเป็นหลกั ประกนั ท่ีจะมอี ิทธิพลเหนือเปาู หมายใหม้ ากท่สี ดุ

3.2.4 อาํ นาจ ( Power ) คุณลกั ษณะท่ีสําคัญที่สดุ ของผู้เชื่อมตอ่ น่าจะได้แก่ อํานาจ
ของผู้เช่ือมตอ่ อาจจะเป็นในรูปของ อาํ นาจของการใหโ้ ทษ ( Coercive Power ) อํานาจของการ
ใหค้ ุณ ( Reward Power ) อาํ นาจตามกฏหมาย ( Logitmate Power) และอํานาจการเอาอย่าง
( Referent Power )

- อํานาจการให้โทษ หมายถึงการท่ีบุคคล หรือ กลุ่มมีอิทธิพลเหนือกลุ่มอ่ืน
เน่อื งมาจากบคุ คลหรือกลมุ่ นั้นมีความสามารถท่ีจะลงโทษได้ เช่น อันธพาล พอ่ ค้าของผิดกฎหมาย
กล่มุ ผู้มอี ทิ ธิพลในพน้ื ที่ เป็นต้น

- อํานาจการให้คุณ ความหมายตรงกันข้ามกับการให้โทษ อํานาจการให้คุณน้ีมีผล
เหนือบุคคลหรือกลุ่มในระยะยาวนาน ท้ังน้ี เพราะการส่งเสริมในทางบวกท่ีตนได้รับจากบุคคลผู้มี
อํานาจการให้คุณ ขณะใดหากอํานาจของบุคคลท่ีให้โทษหมดไป บุคคลหรือกลุ่มท่ีเคยอยู่ภายใต้
อิทธิพลก็จะปฏิบัติไปในทางที่ตนชอบใจ เพราะไม่ต้องเกรงกลัวการลงโทษอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม
บุคคลผู้หวังจะได้คุณหรือการส่งเสริมในทางยากก็จะต้องกระทําตามความประสงค์ของผู้มีอํานาจ
ให้คุณ

- อํานาจตามกฎหมาย เป็นอํานาจที่มีสิทธ์ิที่จะควบคุมผู้อ่ืนได้ เช่น ผบ.ร้อย. ,
นายกเทศมนตรี, พอ่ , แม่ เปน็ ต้น

- อํานาจการเอาอย่าง เป็นรูปแบบของอํานาจท่ีเกิดขึ้นมากที่สุดในชีวิตประจําวันเกิด
จากการลอกแบบหรือเอาอย่างสมาชิกคนอ่ืนๆ ในกลุ่มของตน เช่น การที่เราจะซื้อรถยนต์ใหม่สัก
คันท้ังๆ ทีร่ ถยนตค์ ันเก่าของเรายงั ใชไ้ ดอ้ ย่นู ้ัน เป็นเพราะเพือ่ นบา้ นเราเขาซอื้ รถใหมเ่ ปน็ ต้น

3.3 ในการเลือกผู้เชื่อมต่อนั้น นัก ปจว. จะต้องพึงระลึกว่าผู้เชื่อมต่อน้ันมิได้เลือกไว้เพื่อ
ขัดขวางการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ( เปูาหมาย ) แต่มีไว้เพื่อรับข้อความแล้วแปลความและ
เพิ่มน้ําหนักในข้อความนั้นๆ การท่ีผู้เช่ือมต่อจะได้รับข้อความในเวลาเดียวกันกับเปูาหมายอื่นๆ

94

หรือไม่มี ความสําคัญน้อยมาก หากผู้เช่ือมต่อได้รับข้อความ ปจว. ต้องแปลความแล้วกระจาย
ตอ่ ไปยงั เปูาหมายขัน้ สุดท้าย

3.4 ในการวิเคราะห์เปูาหมายแต่ละกลุ่มน้ันไม่จําเป็นที่จะต้องกําหนด และเลือกผู้เชื่อต่อ
เสมอไป สงิ่ จาํ เป็นก็คือ จะตอ้ งไดร้ ับข่าวสารและวิเคราะห์อย่างละเอียด เพือ่ ว่าจะได้สามารถชักจูง
เปาู หมายให้กระทาํ ตามกจิ ท่พี งึ ประสงคไ์ ด้
4. การเลือกวตั ถปุ ระสงค์ทางจติ วทิ ยา

การทีจ่ ะเลือกวตั ถปุ ระสงค์ทางจติ วิทยาให้สอดคลอ้ งกับภารกิจจิตวิทยา และสามารถวัดผล
การตอบสนองของเปูาหมายหลังการรณรงค์ได้นั้น จะต้องมีการวิเคราะห์และวิจัยอย่างมาก
ข่าวสารท่ีได้จากการวิเคราะห์เปูาหมายน้ันควรจะได้บันทึกลงในตารางวิคราะห์เปูาหมาย
การกําหนดวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาเป็นผลมาจากการศึกษาพิจารณาภารกิจที่จะต้องสนับสนุน
อยา่ งรอบคอบ รวมท้งั ภาวะการณ์ และทศั นคติในพ้นื ที่เปูาหมาย ความออ่ นไหว และประสทิ ธิภาพ
ของเปาู หมาย

4.1 ภาวะการณ์ของเปูาหมาย : หลังจากได้เลือกเปูาหมายและตัวเชื่อมต่ออย่างคร่าวๆ
แล้วนัก ปจว. ต้องหาปัจจัยภายนอก ท่ีกระทบกระเทือนเปูาหมายจนไม่สามารถควบคุมหรือแก้ไข
ปัจจัยดังกล่าว หรือหากแก้ไขก็เพียงแต่เล็กน้อย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจากความกดดันทาง
การเมือง เศรษฐกิจ สงั คม และการทหาร รวมท้งั สภาพแวดลอ้ มภายนอกอื่นๆ ทมี่ เี หนอื เปาู หมาย

- นัก ปจว. จะต้องพิสูจน์ทราบปัจจัยดังกล่าวทั้งในทางบวกและทางลบ ทั้งน้ีเพ่ือมิให้
การวิเคราะห์ได้ภาพเปูาหมายเพียงด้านเดียว อน่ึง ต้องพึงระลักไว้ว่าในการวิเคราะห์ภาวะการณ์
น้ัน ภาวะการณ์แต่ละอย่างที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณาน้ัน จะต้องเป็นภาวะการณ์ ที่เปูาหมาย
ตระหนักดีว่าเป็นภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากกิจทาง ปจว. กําหนดว่า
“เพ่ือชักจูงให้ประชาชนในอําเภอรือเสาะ รายงานความเคลื่อนไหวของ ผกร. ให้เจ้าหน้าท่ีทราบ”
ในกรณีดังกล่าวหากผู้วิเคราะห์เห็นว่าเป็นภาวะการณ์ที่เก่ียวกับความเลวของ ผกร. ในขณะที่
ประชาชนในอําเภอรอื เสาะถือวา่ ผกร. น้นั เป็นคนดีแต่หลงผิด เปน็ ต้น

- นอกจากจะต้องหยิบยกเอาเฉพาะภาวะการณ์ท่ีเปูาหมายเห็นว่ามีอยู่มาพิจารณา
แล้ว ผู้วิเคราะห์ยังจะต้องระลึกถึงกิจ ปจว.ท่ีจะกระทําให้สําเร็จอยู่ตลอดเวลา และการเลือก
ภาวะการณ์น้นั จะตอ้ งเลือกเฉพาะภาวะการณ์ทเ่ี ก่ียวข้องกบั กิจของงาน ปจว.

4.2 ทศั นคติของเปาู หมาย
- นักสังคมศาสตร์ให้ความหมายของ ทัศนคติ คือ ระบบท่ีคงทนเกี่ยวกับการตัดสินใจ

ทั้งทางบวกและทางลบ ความรู้สึกทางอารมณ์ และแนวโน้มที่จะประพฤติไปทางหนึ่งทางใด

95

ซ่ึงข้ึนอยู่กับเปูาหมาย หรือวัตถุประสงค์ในสภาพแวดล้อมนั้น สําหรับการวิเคราะห์เปูาหมาย
หมายถึงการตัดสินใจในทัศนคติท้ังทางบวกและทางลบ หรือความรู้สึกทางอารมณ์ของเปูาหมาย
เฉพาะที่เก่ียวแบแนวโน้มที่เปูาหมายจะประพฤติไปในทางใดทางหนึ่งหรืออาจสรุปได้ว่า ในทาง
ปจว. ทัศนคติของเปูาหมาย คือ ความอ่อนไหวรวมกันของเปูาหมายที่จะปฏิบัติไปในทางหนึ่งต่อ
สถานการณใ์ ดสถานการณ์หนึ่ง

- ในกระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายน้ีหลังจากนัก ปจว. ได้พิสูจน์ทราบภาวะการณ์
ซ่ึงเช่ือว่ามีความสําคัญต่อเปูาหมายและต่อภารกิจ ปจว. แล้วก็จะต้องกําหนดหนทัศนคติของ
เปูาหมาย หรืออย่างน้องที่สุดความคิดเห็น ในทางบวกหรือทางลบต่อภาวะการณ์เหลา่ นั้น ในการ
น้หี ากเป็นไปได้ควรจะกาํ หนดหาความหนาแนน่ หรอื ระดบั ของทัศนคตดิ ้วย

- นัก ปจว. จะต้องพยายามทุกวิถีทางท่ีจะเรียนรู้ว่าเปูาหมายมีความรู้สึกต่อ
สภาพแวดล้อมเช่นไรและพฤติกรรม ท่ีพึงปรารถนาของวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยานั้นมีความหมาย
ตอ่ เปูาหมายอย่างไร นอกจากน้ันยังจะตอ้ งหาต่อไปถึงความแตกตา่ งในท่าทีสาธารณะ และสว่ นตวั
เชน่ พอ่ อาจจะสนบั สนุนการทาํ สงครามอยา่ งจรงิ ใจ จนกระท่ังลูกชายถูกเกณฑ์ไปรบ หรือชาวบ้าน
อาจต้องการรายงานความเคลื่อนไหวของ ผกร. แก่เจ้าหน้าท่ี แต่เมื่อ ผกร.ข่มขู่จะเผาบ้านเขาก็
อาจจะไม่ทําเช่นนั้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ว่า พฤติกรรมของแต่ละบุคคล จะสามารถกําหนดได้
หรือไม่แค่ไหนก็ตาม นักปจว. ต้องพยายามกําหนดให้ได้ว่าเขาจะตตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อม
อย่างไร โดยแสดงออกในรูปของสงิ่ ทเ่ี ราคิดว่าเปน็ ทัศนคตขิ องเขา

4.3 ความออ่ นไหวของเปูาหมาย
- ความอ่อนไหวของเปูาหมาย คือ ความน่าจะเป็นไปได้ของเปูาหมายที่จะ

สนองตอบความต้องการทาง ปจว. ดังน้ัน ข้อความชักชวนจึงต้องอาศัยกรอบความคิดของ
เปาู หมายเป็นหลักมากกว่าที่จะใช้กรอบความคิดของเรากระทําได้โดยการศึกษาภาวะการณ์ที่มีผล
ตอ่ เปูาหมาย และโดยการศกึ ษาว่าเปูาหมายตอบสนองภาวการณ์น้ันๆ เช่นไร

- ความอ่อนไหวชี้ให้เห็นแนวทางในการชักชวน ซ่ึงสามารถนําไปใช้และมีอิทธิพล
ต่อเปูาหมายในแนวทางท่ีเราต้องการได้ การพัฒนาหรือกําหนดแนวทางในการชักชวนนั้น จะต้อง
กระทําให้ถ้วนถี่เท่าท่ีจะกระทําได้และจะต้องสอดคล้องกับความต้องการท่ีมีอยู่ของเปูาหมายและ
เปูาหมายมีความออ่ นไหวร่วมกันต่อการตอบสนองสภาพแวดล้อมอย่างไร นอกจากนั้นแนวทางใน
การชักชวนนี้ ยงั จะใช้เป็นพ้ืนฐานในการพัฒนาหวั ขอ้ โฆษณาเลือกสัญลักษณ์และสือ่ โฆษณาอีกด้วย

96

4.4 ประสิทธิภาพของเปูาหมาย
- ถ้าเปูาหมายอยู่ในวิสัยท่ีจะชักชวนแล้ว จะต้องประเมินต่อไปว่าเปูาหมายจะ

สามารถดําเนินการตามวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาที่ต้องการได้แค่ไหนเพียงไร โดยพิจารณาว่าใน
การท่ีจะมีเปูาหมายที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลหรือกลุ่มภายในเปูาหมายน้ันมีอะไรเป็นอุปสรรคและ
เคร่ืองกีดขวางบ้าง พรอ้ มทั้งพจิ ารณาว่าเปาู หมายมีอาํ นาจเพียงใดภายในกล่มุ น้นั

- ข้อพิจารณาท่ีเด่นชัดที่สุดในการวิเคราะห์เปูาหมาย ได้แก่สภาพแวดล้อมในทาง
กายภาพ ทางสังคม ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ ที่มีต่อเปูาหมาย ทั้งนี้จะต้องกําหนดออกมา
ให้ไดว้ า่ มอี ปุ สรรคและเครือ่ งกีดขวางอันใดบา้ งท่ีจะจํากดั มใิ ห้เปูาหมายดําเนนิ การตามวัตถุประสงค์
ทางจิตวิทยาท่ีกําหนดได้ แต่เน่ืองจากมีอุปสรรค และเครื่องกีดขวางบางประการเปูาหมาย
เปูาหมายจึงไมเ่ พยี งแต่ประเมินว่าเปูาหมายมีความออ่ นไหว ซงึ่ ปญั หาท่ีนัก ปจว. จะเสนอทางออก
ให้ได้เท่าน้ัน แต่จะต้องประเมินด้วยว่าเปูาหมายมีขีดความสามารถที่ดําเนินตามข้อเสนอท่ีเป็น
ทางออกได้หรือไมเ่ พยี งใด

- นอกจากการประเมินขีดความสามารถของเปูาหมายท่ีดําเนินการตามท่ีเรา
ตอ้ งการแล้ว นัก ปจว. จะตอ้ งประเมินต่อไปว่าเปูาหมายมีอาํ นาจนอกเหนือบุคคลหรือกล่มุ ภายใน
พื้นที่เปูาหมายมากน้อยเพียงใดด้วย และจะต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอํานาจภายใน
เปูาหมายและภายในพื้นที่ปฏิบัติการ โดยการให้ความสนใจต่อกลุ่มซึ่งเปูาหมายมักจะตอบสนอง
หรือเช่ือฟังและดูว่าการตอบสนองนั้นเกิดข้ึนภายใตภ้ าวการณ์เช่นใด และในทางตรงกันข้าม ก็ดวู ่า
มีกลุ่มใดบ้างในพื้นท่ีปฏิบัติการที่ตอบสนองต่อความต้องการของเปูาหมาย นอกจากนี้การศึกษา
โครงสรา้ งของอํานาจในภาพเปูาหมายเองก็มีความสาํ คัญเช่นกัน ทง้ั นี้เพราะมอี ย่บู ่อยๆ ท่ีเปูาหมาย
สามารถมีอิทธพิ ลเหนือบคุ คลอื่นๆ ไดเ้ พราะอาศัยสมาชิกท่มี ีอทิ ธพิ ลภายในกลมุ่ นนั่ เอง

4.5 การกาํ หนดวตั ถุประสงค์จิตวิทยา
- วัตถุประสงค์จิตวิทยา ได้มาจากการวิเคราะห์กิจเฉพาะ และกิจแฝงของภารกิจ

กิจแฝงและกิจเฉพาะท่ีวิเคราะห์ได้น้ัน อาจจะปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม เพ่อื ใหส้ อดคล้องกับ
ปัจจัยในด้านภาวะการณ์ ทัศนคติ ความอ่อนไหว และ ประสิทธิภาพ ของเปูาหมายท่ีวิเคราะห์ไว้
วัตถุประสงค์จิตวิทยา คือ คํากล่าวท่ีวัดได้ ถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือการตอบสนองทาง
พฤติกรรมและกรเปล่ียนแปลงทัศนคตินี้ จะต้องสนับสนุนภารกิจส่วนรวมหรือเปูาประสงค์ทาง
จติ วิทยาที่จะตอ้ งกระทาํ ใหส้ ําเร็จ

- วัตถุประสงค์จิตวิทยา ไม่เพียงแต่จะต้องมีความหมายเชิงสนับสนุนภารกิจ ปจว.
เท่านั้น แต่ยังสามารถวัดการตอบสนองพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเปูาหมายได้อกี

97

ด้วย จากการทาํ กาํ หนดการเปล่ยี นแปลงทส่ี ามารถวัดไดน้ ี้ เมื่อนําไปเปรียบเทียบกับการดําเนินการ
เท่าที่เป็นอยู่ ทําให้สามารถเห็นความก้าวหน้าของการ ปจว. ได้อย่างไรก็ตามการเปล่ียนแปลง
ทศั นคตนิ น้ั สังเกตเหน็ ได้ยากกว่าการตอบสนองทางพฤติกรรม

4.6 เคร่อื งชก้ี ารรณรงค์
ข้ันสุดท้ายในการวิเคราะห์เปูาหมาย คือการประมาณการสิ่งท่ีเปูาหมายควรจะ

กระทําจากการณรงคท์ าง ปจว. ของเราจากการวิเคราะห์ นกั ปจว. ไดท้ ราบรปู แบบพฤติกรรมและ
ระดับความเคล่ือนไหวของเปูาหมายในพื้นที่เปูาหมายอยู่แล้ว และหากพบส่ิงใดที่เปลี่ยนแปลงไป
จากรูปเดิม นักปจว. จะต้องบันทึกไว้ส่ิงท่ีเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่าเคร่ืองช้ีการรณรงค์น้ีจะช่วยนัก
ปจว. ในการประเมินประสิทธิภาพของการ ปจว. และช่วยในการเตรียมความต้องการข่าวกรองซ่ึง
จะช้ีให้เห็นผลท่ีเกิดจากการรณรงค์ว่าการกระทําของเปูาหมายจะสนับสนุน ห รือปฏิเสธ
วตั ถปุ ระสงค์ทางจติ วทิ ยา

4.7 สรปุ
- กระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายเป็นส่วนสําคัญย่ิงในบรรดากระบวนการพัฒนาการ

โฆษณาชวนเชื่อที่ดี การวิเคราะห์เปูาหมายใช้เพื่อพิสูจน์ทราบกลุ่มต่างๆ ซ่ึงมีความสําคัญในการ
ปจว. และช่วยใหท้ ราบข่าวสารที่ต้องการในเร่ืองความล่อแหลม และความอ่อนไหว ถ้ามิได้ทําการ
วเิ คราะห์เปาู หมายอยา่ งถูกตอ้ ง การรณรงค์ทาง ปจว. ทงั้ ปวงอาจจะล้มเหลวลงได้

- จะต้องมีการเฝูาตรวจกลุ่มชนเปูาหมายทั้งหมดอย่างต่อเน่ืองเพื่อหาช่องทางที่จะ
สามารถขยายผลทางจิตวิทยาได้

- พื้นฐานในการพสิ ูจน์ทราบจะเลอื กเปูาหมายน้ันคือ ความล่อแหลมทางจิตวิทยาของ
กลุ่ม

- ความล่อแหลมทางจิตวิทยาได้แก่ จุดอ่อน ความแค้นเคือง หรือความตึงเครียดใน
คณุ สมบตั ิ ตาํ แหน่ง หรอื สถานการณข์ องกลมุ่ หรือบคุ คลซง่ึ สามารถใช้ขยายผลทางจิตวทิ ยาได้

- กระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายโดยละเอียดน้ัน เร่ิมจากเม่ือได้รับภารกิจ จะต้อง
วิเคราะห์ภารกจิ เพอื่ หากจิ เฉพาะ และกิจแฝง นอกจากน้ันเจ้าหน้าท่ีอาจจะเร่ิมขนึ้ เองภายในกรอบ
ของวตั ถุประสงค์ และนโยบายชาติท่ีมีอยแู่ ลว้ กไ็ ด้

- ภาวะการณ์ ได้แก่ สภาพแวดลอ้ มภายนอกท่ีมีผลกระทบต่อเปูาหมาย แต่เปูาหมาย
ไม่สามารถท่ีจะควบคุมหรือแก้ไขสภาพแวดล้อมนั้นๆ ได้ภาวะการณ์ที่นํามาพิจารณาน้ัน จะต้อง
เปน็ ทั้งบวกและลบ มิฉะน้นั จะทาํ ใหเ้ ราพิจารณา และมองเหน็ ภาพแต่เพยี งดา้ นเดียว

98

- กระบวนการวิเคราะห์เปูาหมายน้ัน ท่าที ทัศนคติ หมายถึงระบบการตัดสินใจ
ทางบวกหรือทางลบที่หนักแน่น ความรู้สึกเกิดจากอารมณ์ และความโน้มเอียงจะประพฤติในทาง
ใดทางหนึง่ เพือ่ ให้บรรลเุ ปูาหมายหรือวัตถปุ ระสงค์ ในสภาพแวดล้อมนน้ั ๆ

- ในการพิจารณาความอ่อนไหวของเปูาหมาย ซ่ึงเราสามารถจะใช้ประโยชน์ต่อไปได้
นั้น จะต้องพิจารณาปัจจัย 3 ประการ คือ ความต้องการของเปูาหมาย และ แนวทางการชักชวน
ให้เปาู หมายตอบสนอง และวธิ ีการติดตอ่ สอ่ื สารกบั เปูาหมาย

- ประสิทธิภาพของเปูาหมายน้ันๆ สามารถที่จะดําเนินการตามความประสงค์ของ
เราไดจ้ ริง หรือสามารถใชอ้ ทิ ธพิ ลใหค้ นอื่นกระทําเช่นนั้นไดจ้ ริง

- วัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาเป็นการแจ้งลักษณะรายละเอียดแก่หน่วย ปจว.
ทุกระดับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพฤติการณ์ และทัศนคติ ของเปูาหมายอันเป็นผลสืบ
เน่ืองมาจากการรณรงค์ทางจิตวทิ ยาของฝาุ ยเรา

- ดรรชนีความสําเร็จ ได้แก่ ปัจจัยที่เก่ียวกับวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยา และ
เปูาหมายท่ีเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นเคร่ืองช้ีวัดให้เห็นว่า การรณรงค์ทางจิตวิทยาของเราสําเร็จ หรือ
ล้มเหลว

ข้นั ตอนในการรณรงค์ทาง ปจว.

การรณรงค์ทาง ปจว. มีข้นั ตอนและความสมั พนั ธ์ของข้นั ตอน ดังตอ่ ไปนค้ี อื
1. พิจารณาวัตถุประสงค์ หรือภารกิจ หรือหน่วยท่ีเราต้องทําการรณรงค์ทาง ปจว.

สนับสนุน
2. พิจารณาภารกิจของหน่วย ปจว. ทําการรณรงค์ทาง ปจว. เอง ซึ่งหากบรรจุภารกิจน้ี

จะสนบั สนนุ ให้วตั ถปุ ระสงค์ หรอื ภารกิจของหน่วยที่รับการสนบั สนุน บรรลคุ วามสาํ เร็จภารกิจของ
หน่วย ปจว.นี้ อาจได้รบั มอบมา หรืออาจตอ้ งอนุมานข้ึนเอง

3. พิจารณาขอ้ มูลท่ีเก่ียวกับพื้นท่ีปฏิบัติการ ท้ังในดา้ นการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และ
สังคม วัฒนธรรม สถานการณ์ ทัศนคติของกลุ่มชนหรือกลุ่มบุคคล ความสําคัญ หรือสิทธิของ
บุคคล หรือกลุ่มบุคคลนั้นๆ เรื่องหรือสิ่งที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลนั้นๆ สนใจ เอาใจใส่ หรือ
ต้องการแลว้ กําหนดบุคคลเปาู หมายในการรณรงคท์ าง ปจว.

99


Click to View FlipBook Version