The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by runn0248, 2022-05-03 21:21:28

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน

Keywords: มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสรา้ งนัง่ รา้ น

มยผ. 1571 - 62
กรมโยธาธกิ ารและผังเมอื ง

กระทรวงมหาดไทย

กรมโยธาธิการและผงั เมือง
มาตรฐานการตดิ ตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั รา้ น

ISBN 978-974-458-654-4
สงวนลิขสทิ ธิ์ตามพระราชบญั ญัติลขิ สทิ ธิ์ พ.ศ. 2558
โดยสาํ นกั ควบคมุ และตรวจสอบอาคาร
กรมโยธาธิการและผังเมือง
ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0-2299-4321 โทรสาร 0-2299-4321

มาตรฐานการติดตงั้ และการตรวจสอบโครงสร้างนง่ั ร้าน

คณะผู้จดั ทาํ มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน
ผจู้ ัดการโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ โชตกิ ไกร
บุคลากรหลัก

1. รองศาสตราจารย์ ดร.ตระกลู อรา่ มรกั ษ์
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สุวรรณวทิ ยา
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ทวปี ชยั สมภพ
4. รองศาสตราจารย์ ดร.วนั ชยั ยอดสดุ ใจ
5. ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รงั สรรค์ วงศ์จีรภทั ร
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธริ งค์
7. นายชาญณรงค์ ไวยพจน์
8. นายมนตรี ฝ่ายอุประ
บคุ ลากรสนบั สนนุ
1. นายสทิ ธินนท์ แกว้ สว่าง
2. นายทศพร ประเสริฐศรี
3. นางสาวพลอยเครือ แจม่ วถิ เี ลศิ
4. นางสิรินดั ดา จันทรศ์ กั ด์ิ

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนงั่ ร้าน

คณะกรรมการกาํ กับดูแลการปฏิบัติงานของทปี่ รึกษา
เร่ือง มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั ร้าน

ประธานกรรมการ
นายสนิ ิทธิ์ บุญสิทธิ์
ผู้อํานวยการสํานักควบคุมและตรวจสอบอาคาร

คณะกรรมการ นายวบิ ลู ย์ ลีพฒั นากจิ
นายวิชติ อรณุ มานะกุล วศิ วกรโยธาเชยี่ วชาญ
ผู้อาํ นวยการสาํ นกั สนบั สนนุ และพัฒนาตามผงั เมือง

นายชยั ยา เจมิ จุติธรรม นางสาวสรุ ีย์ ประเสริฐสดุ
ผอู้ าํ นวยการกองควบคุมการก่อสรา้ ง วศิ วกรโยธาชํานาญการพเิ ศษ

นายพรชัย สังขศ์ รี
วิศวกรโยธาชาํ นาญการพเิ ศษ

กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานกุ าร
ดร.ทยากร จนั ทรางศุ นางณฏั กานต์ แสงสวุ รรณ
วศิ วกรโยธาชาํ นาญการพิเศษ วศิ วกรโยธาปฏบิ ัติการ

นางสาวยพุ นิ พรมหล่อ
วศิ วกรโยธาปฏิบตั ิการ

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งรา้ น

ผ้ทู รงคณุ วุฒใิ นการจัดทํามาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนงั่ รา้ น
1. ศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธ์ิ ล้มิ สวุ รรณ
2. นายประสงค์ ธาราไชย
3. นายธวชั ชัย สทุ ธิประภา
4. นายอนชุ ิต เจริญศุภกุล

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างน่ังรา้ น

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น

คํานํา

การติดต้ังนั่งร้านเป็นข้ันตอนที่มีความสําคัญในระหวา่ งการก่อสร้างอาคารหรือโครงสร้างอ่ืน ๆ หาก
นั่งร้านไม่มีความมั่นคงแข็งแรงก็อาจทําให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในพ้ืนท่ีท่ีติดต้ังนั่งร้านหรือประชาชน
ท่ีอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับอันตรายหรือเสียชีวิตได้ ดังน้ัน เพ่ือเป็นการลดความสูญเสียต่อชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน เน่ืองจากความไม่ปลอดภัยของการติดตั้งนั่งร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน
กรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะหนว่ ยงานทม่ี ภี ารกจิ ในการกาํ หนดมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินที่เก่ียวข้องกับการก่อสร้างอาคาร จึงได้จัดทํามาตรฐานการติดต้ังและการตรวจสอบ
โครงสร้างนง่ั รา้ น (มยผ. 1571 – 62) เพื่อให้การติดต้ังและการตรวจสอบโครงสร้างน่ังร้านเป็นไปตาม
หลักวิชาการและมาตรฐานสากล

กรมโยธาธิการและผังเมืองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้าง
น่ังร้าน (มยผ. 1571 – 62) จะเป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้ปฏิบัติเพ่ือให้โครงสร้างน่ังร้าน
มคี วามมัน่ คงแขง็ แรง ซึง่ จะกอ่ ให้เกดิ ความปลอดภัยตอ่ ชวี ิตและทรพั ย์สินของประชาชนเพม่ิ มากย่งิ ขึ้น

(นายสมชาย เมธวัฒน์ธรากุล)
รองอธิบดี รกั ษาราชการแทน
กรมโยธาธกิ ารและผังเมอื ง

มาตรฐานการตดิ ตัง้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนงั่ ร้าน

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น

สารบญั

สารบญั …………………............................................................................................................................i
สารบญั รปู …………………………............................................................................................................iv
สารบญั ตาราง...................................................................................................................................vi
บทที่ 1 ทว่ั ไป ...................................................................................................................................1

1.1 วัตถปุ ระสงค์............................................................................................................................... 1
1.2 ขอบขา่ ย..................................................................................................................................... 1
1.3 กฎหมายและมาตรฐานอา้ งถงึ .................................................................................................... 2
บทท่ี 2 นิยาม...................................................................................................................................5
บทที่ 3 น่ังรา้ นโลหะ .........................................................................................................................7
3.1 นงั่ รา้ นโครงสําเรจ็ รูป.................................................................................................................. 7
3.2 นั่งรา้ นแบบท่อและขอ้ ตอ่ ......................................................................................................... 10
3.3 น่ังร้านแบบเทา้ แขน ................................................................................................................. 15
3.4 นัง่ ร้านแบบเคลือ่ นที่.................................................................................................................18
บทท่ี 4 ขอ้ พจิ ารณาการออกแบบสาํ หรบั นัง่ ร้านสาํ หรบั การทํางาน................................................ 21
4.1 ท่วั ไป ........................................................................................................................................ 21
4.2 กาํ ลงั ระบุของวัสดุ ....................................................................................................................22
4.3 อตั ราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบ ................................................................................ 22
4.4 ข้อพิจารณาทางด้านวิศวกรรม ................................................................................................. 22
4.5 ฐาน .......................................................................................................................................... 24
4.6 เสถยี รภาพ ............................................................................................................................... 26
4.7 การยึด...................................................................................................................................... 30
4.8 สภาพแข็งเกรง็ .........................................................................................................................31
4.9 การโกง่ ตวั และการเสียรูป......................................................................................................... 32
4.10 สติฟเนส ................................................................................................................................... 32
4.11 พื้นน่ังรา้ นสําหรับการทํางาน....................................................................................................32
4.12 การป้องกนั การตกด้านขอบ .....................................................................................................33
4.13 ทางขน้ึ ลง.................................................................................................................................. 35
4.14 แผ่นหอ่ หุ้ม................................................................................................................................ 38
4.15 เชอื กลวดเหล็กและโซ่ ..............................................................................................................40
4.16 การกาํ หนดรายละเอียดและวัตถปุ ระสงค์การออกแบบ........................................................... 41

มาตรฐานการตดิ ตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน หน้าท่ี i

บทที่ 5 ข้อพจิ ารณาการออกแบบสําหรบั น่ังร้านแบบโครงค้ํายนั .................................................... 43
5.1 ทั่วไป ........................................................................................................................................ 43
5.2 น้ําหนกั บรรทุกสําหรับการออกแบบนง่ั ร้านแบบโครงคํา้ ยนั .....................................................43
5.3 งานเหลก็ โครงสร้าง .................................................................................................................. 44
5.4 เสถียรภาพดา้ นข้าง ..................................................................................................................45
5.5 ชน้ิ สว่ นคานยื่น ......................................................................................................................... 45
5.6 การยดึ เข้ากบั คอนกรตี หรืออฐิ ก่อ.............................................................................................46
5.7 รปู แบบและลาํ ดบั การใหน้ ํ้าหนักบรรทกุ ..................................................................................46
5.8 การเคลอ่ื นตัวของนงั่ ร้านทีม่ ากเกินคา่ ทค่ี าดการณ์ .................................................................. 46

บทที่ 6 การประกอบติดตงั้ และการร้อื ถอนนง่ั รา้ น.......................................................................... 47
6.1 ทว่ั ไป ........................................................................................................................................ 47
6.2 การจัดลําดับขั้นตอนการตดิ ตั้ง.................................................................................................47
6.3 การจัดลําดบั การรื้อถอน........................................................................................................... 49
6.4 การจดั ลาํ ดับการทํางานของผตู้ ิดตง้ั ......................................................................................... 50
6.5 ค่าความคลาดเคลื่อนยินยอมในการประกอบนงั่ ร้าน................................................................ 50
6.6 สภาพอากาศที่รนุ แรง............................................................................................................... 50
6.7 พืน้ นง่ั รา้ น................................................................................................................................. 51
6.8 ราวกนั ตก ................................................................................................................................. 51
6.9 ทางเขา้ ออก.............................................................................................................................. 51
6.10 การทาํ งานบนทส่ี งู .................................................................................................................... 51
6.11 อปุ กรณ์เพอื่ ความปลอดภัย ...................................................................................................... 51
6.12 อุปกรณส์ ําหรบั การขนยา้ ย.......................................................................................................51
6.13 การเลอื กวิธยี กหรือลดระดบั อุปกรณท์ ีเ่ หมาะสม......................................................................52
6.14 การตอ่ เสาน่ังร้าน ..................................................................................................................... 54

บทที่ 7 อุปกรณ์............................................................................................................................. 55
7.1 ทั่วไป ........................................................................................................................................ 55
7.2 อปุ กรณใ์ นการประกอบติดต้ังนัง่ ร้าน .......................................................................................55
7.3 อุปกรณ์ความปลอดภยั สว่ นบุคคล............................................................................................ 57

บทท่ี 8 การตรวจสอบและการบาํ รงุ รักษา ..................................................................................... 59
8.1 ท่วั ไป ........................................................................................................................................ 59
8.2 การตรวจสอบชน้ิ สว่ นและอปุ กรณก์ ่อนการใชง้ าน...................................................................59
8.3 การตรวจสอบชิน้ สว่ นและอปุ กรณท์ ใ่ี ช้งานแล้ว .......................................................................60
8.4 การตรวจสอบน่งั ร้านหลงั การตดิ ตง้ั ......................................................................................... 63

มาตรฐานการติดตัง้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่ังรา้ น หน้าท่ี ii

8.5 การตรวจสอบความปลอดภัยในการใชง้ านนัง่ ร้าน ................................................................... 63
8.6 การตรวจสอบชน้ิ สว่ นและอุปกรณห์ ลงั การใชง้ าน ................................................................... 65
8.7 การเกบ็ บนั ทกึ ขอ้ มลู ................................................................................................................. 65
8.8 การซ่อมแซมนงั่ รา้ นท่ีตดิ ตัง้ แลว้ ...............................................................................................65
8.9 การบาํ รงุ รักษา ......................................................................................................................... 65
บทที่ 9 การประเมนิ ความเส่ยี งและการควบคุมความเสยี่ ง............................................................. 71
9.1 ทัว่ ไป ........................................................................................................................................ 71
9.2 การปฏบิ ตั ิตามคําแนะนําของผูเ้ ช่ยี วชาญ................................................................................. 71
9.3 การระบอุ นั ตรายตอ่ การบาดเจบ็ และอาชวี อนามัย .................................................................. 71
9.4 การประเมนิ ความเสีย่ ง............................................................................................................. 73
9.5 การควบคมุ ความเสย่ี ง.............................................................................................................. 74
9.6 การจัดการด้านความปลอดภยั .................................................................................................74
บทท่ี 10 การฝกึ อบรม .................................................................................................................... 75
10.1 ทว่ั ไป ........................................................................................................................................ 75
10.2 บุคลากรท่เี ก่ียวขอ้ งกับการติดต้ังและการตรวจสอบ................................................................75
10.3 การอบรม ................................................................................................................................. 76
เอกสารอา้ งองิ ................................................................................................................................. 77
ภาคผนวก ก รายการตรวจสอบความปลอดภยั ในการประกอบติดตัง้ นง่ั รา้ น.................................. 79
ภาคผนวก ข ใบบนั ทึกสาํ หรบั รอกยกของสาํ หรบั นง่ั ร้านและอุปกรณป์ อ้ งกัน ................................. 97
ภาคผนวก ค ข้อมูลน้ําหนกั ทยี่ อมให้............................................................................................ 101
ภาคผนวก ง การตรวจสอบเข็มขดั นิรภยั และสายรดั .................................................................... 113
ภาคผนวก จ การตรวจสอบสมอลอ็ กตัวเอง................................................................................. 115
ภาคผนวก ฉ ตวั อยา่ งการติดตงั้ นัง่ รา้ นแบบโครงคาํ้ ยันท่ไี ม่ถูกต้อง .............................................. 117
ภาคผนวก ช ตวั อยา่ งป้ายอนญุ าตและไมอ่ นญุ าตใชน้ งั่ ร้าน......................................................... 123 

มาตรฐานการตดิ ตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หน้าท่ี iii

สารบญั รปู

รปู ที่ 1 นงั่ รา้ นแบบแยกสว่ นและตวั อยา่ งจุดต่อ ...................................................................................8 
รูปท่ี 2 การตอ่ คานนงั่ รา้ นในนงั่ ร้านแบบแยกสว่ น ...............................................................................8 
รปู ที่ 3 ตัวอย่างนัง่ รา้ นแบบโครง..........................................................................................................9 
รูปที่ 4 ตัวอย่างนั่งร้านแบบโครงหอสงู (ฐานนั่งรา้ นอาจอยบู่ นลอ้ หรือแผน่ ฐาน)...............................10 
รปู ที่ 5 ตัวอย่างน่งั ร้านแบบทอ่ และขอ้ ต่อ ..........................................................................................11 
รปู ท่ี 6 สว่ นประกอบนัง่ รา้ นแบบท่อและขอ้ ตอ่ ..................................................................................11 
รูปที่ 7 การตดิ ต้งั แคลมป์เพ่ือรองรับชิ้นสว่ นในแนวราบ.....................................................................14 
รปู ที่ 8 ตัวอยา่ งการจดั เรยี งตัวยึดโยง สําหรบั น่งั ร้านแบบทอ่ และขอ้ ตอ่ ............................................14 
รูปท่ี 9 นั่งรา้ นแบบเท้าแขน................................................................................................................16 
รปู ที่ 10 น่ังร้านเทา้ แขนแบบใช้กระไดเป็นฐานรองรับ.......................................................................18 
รูปที่ 11 ตวั อย่างนง่ั รา้ นแบบเคลือ่ นที่................................................................................................19 
รูปที่ 12 ตัวอย่างการตัง้ เสานั่งร้านบนพน้ื ลาดเอยี ง............................................................................26 
รูปที่ 13 ตัวอย่างการยดึ น่งั รา้ น..........................................................................................................27 
รปู ท่ี 14 ตัวอย่างนง่ั รา้ นประเภทยดึ กับพ้ืน.........................................................................................28 
รปู ที่ 15 ตัวอย่างอตั ราสว่ นเสถยี รภาพ...............................................................................................29 
รูปท่ี 16 ตัวอย่างการคาํ นวณระยะมิตดิ ้านขา้ งของน่งั ร้านทม่ี รี ะยะย่นื ของขาคํ้ายนั ไมเ่ ท่ากัน...........30 
รูปท่ี 17 ตัวอย่างการยดึ นงั่ รา้ นกับโครงสรา้ ง.....................................................................................31 
รปู ท่ี 18 ตัวอย่างการยึดโยงแบบทแยง...............................................................................................32 
รปู ท่ี 19 ตวั อย่างพ้นื นัง่ รา้ นที่ไมป่ ลอดภยั สาํ หรับการทํางาน .............................................................33 
รูปท่ี 20 ชานรับ..................................................................................................................................35 
รปู ท่ี 21 ตวั อย่างทางข้ึนลง.................................................................................................................36 
รูปที่ 22 ตวั อย่างทางขนึ้ ลงท่ไี ม่เหมาะสม ..........................................................................................37 
รปู ที่ 23 ตัวอย่างการทาบและการยดึ แผน่ หอ่ หุ้ม...............................................................................40 
รูปที่ 24 ตัวอย่างการยึดนัง่ รา้ นแบบโครงคาํ้ ยันที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 4.0 เมตร.............................49 
รปู ท่ี 25 การใชค้ นเพื่อสง่ ของต่อ........................................................................................................52 
รูปท่ี 26 ตัวอยา่ งการส่งของด้วยเชอื ก................................................................................................53 
รปู ที่ 27 การใช้รอก ............................................................................................................................54 
รูปที่ 28 อปุ กรณ์สําหรับการตดิ ตัง้ และประกอบนง่ั ร้าน.....................................................................55 
รปู ท่ี 29 เข็มขดั นง่ั ร้าน .......................................................................................................................57 
รูปที่ 30 ตัวอยา่ งตาํ หนใิ นแผ่นพืน้ ไม้..................................................................................................66 
รปู ที่ 31 ตัวอย่างตาํ หนใิ นแผ่นพื้นเหลก็ .............................................................................................67 

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนงั่ ร้าน หนา้ ที่ iv

รูปที่ 32 ตัวอยา่ งของเชือกท่ีมีตาํ หนิ ..................................................................................................69 
รูปที่ 33 ตวั อย่างการกองเก็บวสั ดุและอปุ กรณก์ ารประกอบนัง่ รา้ น...................................................72 
รปู ที่ ฉ1 การใช้ฐานรองรบั ปรบั ระดับรูปตัวยูและตงทไ่ี มถ่ กู ต้อง..................................................... 117 
รูปท่ี ฉ2 การใช้แผน่ รองเสาทไี่ มถ่ ูกต้อง........................................................................................... 119 
รูปที่ ฉ3 การใชช้ ้ินส่วนทเี่ สยี หายในการติดต้งั ................................................................................. 120 
รูปท่ี ฉ4 การใช้งานและการติดต้ังทไ่ี ม่เหมาะสม............................................................................. 121 
รปู ที่ ช1 ตวั อยา่ งปา้ ยอนุญาตใช้งานน่งั รา้ น .................................................................................... 123 
รปู ที่ ช2 ตวั อย่างปา้ ยไม่อนุญาตใชง้ านน่ังรา้ น ................................................................................ 124 

มาตรฐานการตดิ ตัง้ และการตรวจสอบโครงสร้างนัง่ รา้ น หนา้ ที่ v

สารบญั ตาราง

ตารางท่ี 1 ช้นิ ส่วนตอ่ ยึดน่ังร้านแบบท่อและข้อตอ่ ........................................................................... 12 
ตารางที่ 2 ช่วงพาดสูงสดุ ของพน้ื ไม้กระดาน ..................................................................................... 16 
ตารางท่ี 3 ข้อกําหนดของแผน่ พื้นนัง่ ร้านสาํ หรับการทาํ งาน ............................................................ 23 
ตารางท่ี 4  ช้นิ ส่วนนงั่ ร้านทไ่ี มเ่ หมาะสมหรอื มคี วามบกพร่อง .......................................................... 60 
ตารางที่ ก1 รายการตรวจสอบความปลอดภัยในการประกอบติดตั้งนง่ั รา้ นสาํ หรบั การทํางาน .......79 
ตารางท่ี ก2 รายการตรวจสอบความปลอดภัยในการประกอบติดตั้งน่งั รา้ นแบบโครงค้ํายัน............88 
ตารางท่ี ก3 รายการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานนั่งรา้ น .................................................96 
ตารางท่ี ข1 ใบบันทึกสําหรบั รอกยกของสําหรบั นั่งรา้ นและอุปกรณ์ปอ้ งกนั ...................................97 
ตารางที่ ข2 ใบบนั ทกึ สําหรบั อปุ กรณค์ วบคุมนํ้าหนักบรรทกุ เกนิ ....................................................98 
ตารางท่ี ข3 ใบบันทึกสําหรบั เชือก ...................................................................................................99 
ตารางท่ี ค1 ตวั อยา่ งน้ําหนักบรรทุกที่ยอมใหข้ องนั่งร้านแบบโครง..................................................101 
ตารางที่ ค2 ตัวอยา่ งนํ้าหนักบรรทุกทีย่ อมให้ของท่อนง่ั รา้ นเหล็กท่มี ีความหนา 4.0 มลิ ลิเมตร.....102 
ตารางท่ี ค3 ตัวอยา่ งน้ําหนักบรรทกุ ทีย่ อมให้ของท่อน่งั ร้านเหล็กท่ีมีความหนา 3.2 มลิ ลิเมตร.....104 
ตารางท่ี ค4 ตวั อยา่ งน้ําหนักบรรทุกทีย่ อมใหข้ องท่อนัง่ รา้ นอะลมู เิ นียมทม่ี ีความหนา

4.45 มิลลเิ มตร ................................................................................................................ 106 
ตารางท่ี ค5 ตัวอยา่ งนํ้าหนักบรรทุกที่ยอมให้ของแคลมปแ์ ละแผ่นรองเสา .....................................108 
ตารางท่ี ค6 นํ้าหนกั ของวัสดแุ ละอุปกรณท์ ่ใี ช้งานกบั น่ังรา้ น............................................................109 
ตารางที่ ค7 นํ้าหนกั ของผู้ปฏิบตั งิ านและวัสดุทวั่ ไป ..........................................................................110 
ตารางที่ ง1 รายการตรวจสอบเข็มขัดนิรภยั และสายรดั ...................................................................113 
ตารางที่ จ1 การตรวจสอบสมอล็อกตัวเอง......................................................................................... 115 

มาตรฐานการติดตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่ังรา้ น หนา้ ที่ vi

บทที่ 1
ทั่วไป

1.1 วัตถปุ ระสงค์

น่ังร้านจัดเป็นโครงสร้างช่ัวคราวชนิดหนึ่งที่มีความสําคัญในระหว่างการดําเนินงานก่อสร้าง
ในกรณีทั่วไป มีการใช้น่ังร้านเพ่ือรองรับน้ําหนักผู้ปฏิบัติงาน วัสดุก่อสร้าง หรือใช้เป็นโครงค้ํายัน
เพื่อรองรับนํ้าหนักแบบหล่อคอนกรีต ประโยชน์ใช้สอยอื่นของน่ังร้านคือ การป้องกันการตกจากท่ีสูง
ตลอดจนการป้องกันฝุ่นที่เกิดข้ึนขณะดําเนินงานก่อสร้าง นั่งร้านสามารถจัดเตรียมข้ึนได้ในพื้นที่
งานก่อสร้างโดยการประกอบชิ้นส่วนย่อยของน่ังร้านเข้าด้วยกัน เน่ืองจากสภาพแวดล้อม
และวัตถุประสงค์ของการใช้งานน่ังร้านในแต่ละพ้ืนท่ีงานก่อสร้างมีความแตกต่างกัน การประกอบ
หรือติดต้ังนั่งร้านอย่างไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้น่ังร้านสูญเสียเสถียรภาพ
และกําลังรับนํ้าหนัก ส่งผลให้การออกแบบและการติดตั้งน่ังร้านต้องพิจารณาสภาพของฐานรองรับ
ความสมบูรณ์ของช้ินส่วนนั่งร้าน การยึดโยงของชิ้นส่วนน่ังร้าน การยึดนั่งร้านกับโครงสร้าง
ตลอดจนข้ันตอนการประกอบและติดตั้ง เพ่ือให้น่ังร้านมีเสถียรภาพทั้งในระหว่างการติดตั้ง
และภายหลังการติดต้ัง สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
รวมถึงมีความปลอดภัยต่อผปู้ ฏบิ ตั งิ านและพน้ื ท่ใี นบรเิ วณใกล้เคยี ง

ในงานก่อสร้างท่ัวไป นิยมนําช้ินส่วนน่ังร้านมาใช้ซ้ํา ซ่ึงอาจทําให้ชิ้นส่วนน่ังร้าน
เกิดความเสียหายและส่งผลต่อการเส่ือมลดในด้านกําลังรับน้ําหนักของนั่งร้าน นอกจากนี้
นั่งร้านอาจได้รับความเสียหายหรือมีการสูญหายของช้ินส่วนน่ังร้านระหว่างการปฏิบัติงาน ดังน้ัน
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของชิ้นส่วนน่ังร้านก่อนการใช้งานและภายหลังจากการร้ือถอน
รวมถึงมีการตรวจสอบสภาพนั่งร้านหลังการติดตั้งและระหว่างการใช้งาน เพ่ือให้นั่งร้าน
อยู่ในสภาพที่เหมาะสมตอ่ การใชง้ านตลอดระยะเวลาของการปฏบิ ัติงาน

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้านเป็นข้อกําหนดการออกแบบ
การประกอบติดต้ัง การตรวจสอบน่ังร้าน และการประเมินความเส่ียงและการควบคุมความเสี่ยง
เพื่อให้การใช้งานน่ังร้านมีความปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักปฏิบัติการจัดการ
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยสําหรับการดําเนินงานก่อสร้าง ซ่ึงประกอบด้วยการวางแผน
การปฏิบตั ิ การตรวจสอบ และการแก้ไขปรบั ปรุง

1.2 ขอบข่าย

1.2.1 มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้านเป็นข้อกําหนดทั่วไปในการติดตั้ง
และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั รา้ นให้มคี วามปลอดภัยและไดม้ าตรฐาน

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนง่ั ร้าน หนา้ ท่ี 1

1.2.2 ข้อกําหนดในมาตรฐานนี้ ครอบคลุมเฉพาะการติดตั้ง และการตรวจสอบนั่งร้านโลหะ
ทเ่ี ปน็ นัง่ ร้านสาํ หรับงานก่อสรา้ งอาคาร และนง่ั รา้ นแบบโครงคา้ํ ยันในงานก่อสร้างอาคาร

1.2.3 มาตรฐานการติดต้ังและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้านนี้ครอบคลุมเฉพาะการติดตั้ง
และการตรวจสอบนั่งร้านโลหะประเภทนั่งร้านโครงสําเร็จรูป น่ังร้านแบบท่อและข้อต่อ
นัง่ รา้ นแบบเท้าแขน และนั่งรา้ นแบบเคลื่อนท่ีเท่าน้ัน

1.2.4 ในกรณีที่มีกฎหมายควบคุมอาคาร กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการออกแบบ การติดต้ัง
และความปลอดภัยของน่ังร้านสําหรับการทํางานและนั่งร้านแบบโครงคํ้ายันท่ีแตกต่างไป
จากท่ีกําหนดไว้ในมาตรฐานน้ี ให้ใช้หลักเกณฑ์เก่ียวกับเรื่องดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ใน
กฎหมาย

1.2.5 มาตรฐานนี้ใช้หน่วย SI (international system unit) เป็นหลัก และมีหน่วยเมตริก
กํากับในวงเล็บต่อท้าย ในการแปลงหน่วยของแรง มาตรฐานน้ีกําหนดให้ 1 กิโลกรัมแรง
เทา่ กบั 9.806 นวิ ตัน

1.3 กฎหมายและมาตรฐานอา้ งถึง

กฎหมายและมาตรฐานท่ใี ช้อา้ งถงึ ประกอบดว้ ย

1.3.1 กฎกระทรวง ฉบับท่ี 4 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ว่าด้วยการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเง่ือนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง
รือ้ ถอน เคล่อื นย้าย ใช้หรอื เปลยี่ นการใชอ้ าคาร

1.3.2 กฎกระทรวง ฉบับท่ี 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ว่าด้วยการกําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทน ตลอดจน
ลักษณะและคุณสมบัติวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือซ่อมแซมอาคาร
และการรับน้ําหนัก ความต้านทานและความคงทนของอาคารหรือพ้ืนดินที่รองรับ
อาคาร

1.3.3 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ. 2549

1.3.4 กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ว่าด้วยการกําหนด
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวชิ าชพี วศิ วกรรมควบคุม พ.ศ. 2550

1.3.5 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานเกี่ยวกบั งานกอ่ สรา้ ง พ.ศ. 2551

1.3.6 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2553

มาตรฐานการติดตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั รา้ น หน้าท่ี 2

1.3.7 กรมโยธาธิการและผังเมือง, “มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการส่ันสะเทือน
ของแผ่นดินไหว (มยผ. 1301/1302 - 61)”, 2561

1.3.8 กรมโยธาธิการและผังเมือง, “มาตรฐานประกอบการออกแบบน่ังร้านและคํ้ายัน
ชดุ มาตรฐานประกอบการออกแบบโครงสรา้ งลักษณะพเิ ศษ (มยผ. 1344)”, 2554

1.3.9 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “เหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง
(มอก. 107)”, 2533

1.3.10 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “หมวกนิรภัยสําหรับงานอุตสาหกรรม
(มอก. 368)”, 2554

1.3.11 สํานกั งานมาตรฐานผลติ ภัณฑอ์ ตุ สาหกรรม, “รองเท้าหนงั นริ ภยั (มอก. 523)”, 2554.
1.3.12 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “นั่งร้านท่อเหล็กกล้าแบบโครงสําเร็จรูป

(มอก. 801)”, 2562
1.3.13 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “ฐานรองปรับได้สําหรับนั่งร้าน

ท่อเหล็กกลา้ (มอก. 898)”, 2532
1.3.14 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “เหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนสําหรับงาน

โครงสรา้ งทัว่ ไป (มอก. 1479)”, 2558
1.3.15 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “เหล็กกล้าคาร์บอนรีดร้อนแผ่นม้วน

แผ่นแถบ แผ่นหนา และแผ่นบาง สําหรับงานโครงสร้างเชื่อมประกอบ (มอก. 1499)”,
2541
1.3.16 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “น่ังร้านเหล็กแบบท่อล็อคข้อต่อ:
สว่ นประกอบ (มอก. 2972)”, 2562
1.3.17 สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, “ระบบการจัดการอาชีวอนามัย
และความปลอดภยั (มอก. 18001)”, 2554
1.3.18 วศิ วกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, “มาตรฐานการออกแบบอาคาร
เหลก็ รูปพรรณโดยวธิ ตี ัวคูณความต้านทานและน้าํ หนักบรรทุก (EIT Standard 1020)”,
2551
1.3.19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, “มาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟ้า
สาํ หรับประเทศไทย (EIT Standard 2001)”, 2556
1.3.20 Aluminum Association, “Alumimum Design Manual 2010”, 2010
1.3.21 American Institute of Steel Construction (AISC), “Specification for
Structural Steel Buildings (ANSI/AISC 360-10)”, 2010
1.3.22 Australian Standard, “Scaffolding Part 2: Couplers and Accessories (AS
1576.2-1991)”, 1991

มาตรฐานการติดตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั ร้าน หนา้ ที่ 3

1.3.23 Australian/New Zealand Standard, “Scaffolding Part 3: Prefabricated and
Tube-and-coupler Scaffolding (AS 1576.3:1995)”, 1995

1.3.24 British Standard, “Couplers, Spigot Pins and Baseplates for Use in
Flasework and Scaffolds – Part 1: Couplers for Tubes – Requirements and
Test Procedures (BS EN 74-1: 2005)”, 2005

1.3.25 British Standard, “Personal Fall Protection Equipment – Landyards (BS EN
354:2010)”, 2010

1.3.26 British Standard, “Personal Protective Equipment against Falls from a
Height – Energy Absorbers (BS EN 355:2002)”, 2002

1.3.27 British Standard, “Personal Protective Equipment for the Prevention of
Falls from a Height (BS EN 1891:1998)”, 1998

1.3.28 British Standard, “Code of Practice for Temporary Works Procedures and
the Permissible Stress Design of Falsework (BS 5975:2019)”, 2019

1.3.29 British Standard, “Specification for Seamless and Welded Steel Tubes for
Automobile, Mechanical and General Engineering Purposes. General
Requirements (BS 6323-1:1982)”, 1982

1.3.30 British Standard, “Temporary Works Equipment. Scaffolds. Performance
Requirements and General Design (BS EN 12811-1:2003)”, 2003

1.3.31 International Organization for Standardization, “Environmental
Management (ISO 14000)”, 1996

1.3.32 International Organization for Standardization, “Occupational Health and
Safety Management Systems – Requirements with Guidance for Use (ISO
45001), 2018

1.3.33 Japanese Standard, “Tubular Steel Scaffolds (JIS A 8951-1995)”, 1995

มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน หนา้ ที่ 4

บทที่ 2
นิยาม

“การยึด (tying)” หมายถึง การต่อยึดโครงสร้างชั่วคราวหรือช้ินส่วนของโครงสร้างชั่วคราวเข้ากับ
องค์อาคารหรือโครงสร้างท่ีมีความม่ันคง เพ่ือป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างชั่วคราว
หรอื ชน้ิ สว่ นของโครงสรา้ งชว่ั คราว
“การรื้อถอน (demolition)” หมายถึง การถอดหรือถอนช้ินส่วนโครงสร้างชั่วคราวหรือส่ิงก่อสร้าง
น่ังร้าน แบบหลอ่ คอนกรตี
“คานนั่งร้าน (ledger)” หมายถึง ชิ้นส่วนของนั่งร้านที่วางตัวตามแนวราบและเช่ือมต่อระหว่าง
เสาน่ังร้านในแนวยาว ทําหน้าที่เปน็ ตัวยดึ น่งั รา้ น
“งานก่อสร้าง (construction)” หมายถึง การดําเนินงานที่เก่ียวกับการก่อสร้างโครงสร้างใด ๆ
โดยหมายรวมถึงการตอ่ เติม ซอ่ มแซม ซอ่ มบาํ รุง ดดั แปลง ตลอดจนการรอื้ ถอนโครงสรา้ ง
“ตงนั่งร้าน (transom)” หมายถึง ชิ้นส่วนโครงสร้างในแนวราบที่พาดระหว่างเสาน่ังร้าน
ในแนวขวาง
“อัตราส่วนความปลอดภัย (safety factor)” หมายถึง อัตราส่วนระหว่างหน่วยแรงที่ทําให้เกิด
การวบิ ตั ิและหนว่ ยแรงใชง้ านจริง ซึ่งอาจพิจารณาในรูปของอัตราส่วนนํา้ หนักบรรทุกไดเ้ ช่นเดยี วกัน
“ตัวยึดโยง (bracing)” หมายถึง ชิ้นส่วนซ่ึงใช้ยึดองค์อาคารจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุดหนึ่ง
เพือ่ ป้องกันไม่ใหโ้ ครงสร้างนงั่ ร้านเกิดการเสยี รูป
“นั่งร้าน (scaffolding)” หมายถงึ โครงสร้างชัว่ คราวซง่ึ หมายรวมถึงนัง่ ร้านทุกประเภท
“น่ังร้านแบบโครงคํ้ายัน (falsework)” หมายถึง โครงสร้างชั่วคราวสําหรับเป็นตัวพยุง
หรือหนุนแบบหล่อคอนกรีต ชิ้นส่วนของอาคาร หรือโครงสร้างใด ๆ ให้อยู่กับที่ จนกว่าชิ้นส่วน
ของอาคารหรอื โครงสรา้ งดังกลา่ วเกดิ เสถยี รภาพและสามารถรับนํา้ หนักได้โดยไมว่ ิบัติ
“น่ังร้านสําหรับการทํางาน (working scaffolding)” หมายถึง โครงสร้างช่ัวคราว
เพ่ือการปฏิบัติงานท่ีส่วนของอาคาร ส่วนของงานก่อสร้าง หรือส่วนที่สูงจากพ้ืนดิน มีหน้าที่รองรับ
น้าํ หนักของผปู้ ฏบิ ตั ิงาน วสั ดุ เครอ่ื งมอื และอุปกรณ์ในงานก่อสรา้ ง
“น้ําหนักบรรทุกคงที่ (dead load)” หมายถึง นํ้าหนักของนั่งร้านที่พิจารณาน้ําหนักรวม
ของอุปกรณท์ ง้ั หมดของน่งั รา้ นรว่ มดว้ ย
“นํ้าหนักบรรทุกจร (live load)” หมายถึง นํ้าหนักบรรทุกท่ีอาจมีการเปลี่ยนแปลงขนาด
และตาํ แหน่ง เช่น น้ําหนักบรรทกุ ของผูป้ ฏบิ ัติงาน วัสดุ หรอื รถเข็นซเี มนต์
“ผู้ติดตั้งน่ังร้าน (scaffolder)” หมายถึง บุคคลที่มีทักษะในการดําเนินการติดต้ังนั่งร้าน
ตามขั้นตอนได้อยา่ งปลอดภยั เพื่อให้โครงสร้างน่ังรา้ นทีม่ คี วามมัน่ คงแข็งแรง
“ผ้ปู ฏบิ ัตงิ าน (worker)” หมายถงึ บุคคลท่ปี ฏิบตั งิ านบนน่ังรา้ น หรอื บริเวณท่มี กี ารติดตง้ั นั่งรา้ น

มาตรฐานการติดตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หนา้ ที่ 5

“ผู้ตรวจสอบนั่งรา้ น (inspector)” หมายถึง บคุ คลทมี่ ีหนา้ ท่ตี รวจสอบการติดตัง้ และรื้อถอนน่งั รา้ น
เพื่อให้การติดตั้งน่ังร้านมีความถูกต้องตามแบบ มีความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนชิ้นส่วนของน่ังร้าน
มีความสมบรู ณ์ สามารถใชง้ านได้อยา่ งปลอดภยั
“แผ่นกันของตก (toe board)” หมายถึง แผ่นวัสดุซ่ึงนํามาวางบนขอบพื้นน่ังร้านเพื่อป้องกัน
วสั ดตุ กจากพ้ืนน่งั ร้าน
“แผ่นพื้นนั่งร้าน (planking)” หมายถึง แผ่นไม้หรือวัสดุท่ีเป็นแผ่นซ่ึงนํามาวางบนตง ใช้สําหรับ
รองรับน้ําหนักบรรทกุ เน่ืองจากการดาํ เนินงานของผปู้ ฏบิ ตั งิ านและวัสดุกอ่ สรา้ ง
“แผ่นรองเสา (base plate)” หมายถึง ท่อหรือแท่งโลหะท่ีเชื่อมติดกับแผ่นฐาน สําหรับสวมเข้ากับ
เสาน่ังร้านเพ่ือป้องกันการทรุดตัวของน่ังร้าน โดยมีท้ังแผ่นรองเสาแบบตายตัว และแผ่นรองเสา
แบบปรบั ได้
“พ้ืนน่ังรา้ น (platform)” หมายถึง แผน่ พื้นทอี่ ยสู่ งู กวา่ ระดับพน้ื ดนิ
“ราวกันตก (hand rail)” หมายถึง ราวกั้นแนวราบซึ่งยึดติดกับเสา วางตัวตามแนวด้านข้างของ
น่ังร้าน เพือ่ ป้องกันไมใ่ ห้ผ้ปู ฏบิ ัติงานเกิดอุบัติเหตุ
“อาคาร (building)” หมายถึง อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม
อาคาร
“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (occupational health and safety)” หมายถึง สภาพ
และปัจจัยท่ีอาจส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้าง คนงาน
ผู้เยย่ี มชม หรือบุคคลอื่นในสถานทท่ี าํ งาน

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสร้างนั่งรา้ น หน้าท่ี 6

บทท่ี 3
นงั่ ร้านโลหะ

น่ังร้านโลหะที่ใช้ในงานก่อสร้างมีหลายรูปแบบ สามารถจําแนกประเภทได้ตามลักษณะ
การปฏิบัติงาน ขนาดนํ้าหนักบรรทุก และลักษณะพื้นท่ีติดต้ัง บทน้ีให้รายละเอียดเก่ียวกับ
ชิ้นส่วนนั่งร้านและการยึดโยงชิ้นส่วนน่ังร้านโลหะประเภทนั่งร้านโครงสําเร็จรูป น่ังร้านแบบท่อ
และข้อตอ่ นัง่ ร้านแบบเท้าแขน และนั่งร้านแบบเคล่อื นท่ี ซ่ึงจัดเป็นนง่ั รา้ นท่ใี ชใ้ นการปฏิบัติงานท่ัวไป
สําหรับน่ังร้านรูปแบบอ่ืนนอกเหนือจากท่ีระบุในบทน้ี รวมถึงนั่งร้านรูปแบบพิเศษที่ใช้ปฏิบัติงาน
เฉพาะกิจ ต้องมีรายละเอียดช้ินส่วนและการยดึ โยงชิ้นสว่ นนง่ั ร้านจากผู้ผลิตหรอื ผอู้ อกแบบ

3.1 นัง่ ร้านโครงสาํ เรจ็ รปู

นั่ ง ร้ า น โ ค ร ง สํ า เ ร็ จ รู ป (prefabricated scaffold) แ บ่ ง อ อ ก เ ป็ น 3 ป ร ะ เ ภ ท คื อ
นั่งร้านแบบแยกส่วน (modular scaffold) น่ังร้านแบบโครง (frame scaffold) และนั่งร้านแบบ
โครงหอสูง (tower-frame scaffold)

ผู้ผลิตต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อแสดงรายละเอียดการประกอบติดต้ัง การร้ือถอน
การเคลอื่ นยา้ ย การจัดเก็บ การบํารุงรักษานั่งร้าน ตลอดจนข้อแนะนําในการเลือกประเภทของข้อต่อ
และรูปแบบการใช้งานน่ังร้าน ผู้ผลิตต้องระบุน้ําหนักบรรทุกสูงสุดของแผ่นพื้นน่ังร้าน และความสูง
ของนั่งร้านท่ีอนุญาตให้ใช้ได้ เพื่อการใช้งานน่ังร้านอย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพในระหว่างท่ีมี
การดําเนนิ งาน

สําหรับกรณีที่ไม่สามารถใช้งานตามรายละเอียดที่ผู้ผลิตระบุได้ ต้องจัดให้มีวิศวกร
ผดู้ าํ เนนิ การออกแบบนง่ั รา้ นใหมต่ ามมาตรฐานทเี่ กยี่ วข้อง

ในการประกอบติดต้ังน่ังร้าน ไม่อนุญาตให้ใช้ชิ้นส่วนนั่งร้านต่างประเภทกัน ยกเว้นในกรณี
ท่ีได้รับการอนุมัติและผ่านการรับรองจากผู้ผลิตน่ังร้านหรือผู้ออกแบบ ทั้งนี้ ขนาดของชิ้นส่วน
กําลังรับน้ําหนักบรรทุก รูปแบบการโก่งตัว และตัวยึดต้องมีความสอดคล้องกันโดยไม่ส่งผลเสียต่อ
น่ังร้านทงั้ ในด้านกําลงั และเสถยี รภาพ

3.1.1 นัง่ ร้านแบบแยกสว่ น
(1) นั่งรา้ นแบบแยกส่วนแสดงดังรูปท่ี 1 (ก) เหมาะสําหรับการใช้งานเป็นนั่งร้านสําหรับ
การทํางานและนั่งร้านแบบโครงคํ้ายัน ในการประกอบติดตั้ง ควรมีคานนั่งร้าน
และตงนั่งร้านยึดที่จุดต่อด้านล่างสุดของเสา ซึ่งจุดต่อระหว่างตงน่ังร้าน
และคานนั่งร้านกับเสาน่ังร้านสามารถเลือกใช้ได้ระหว่างแบบลิ่ม (wedge)
แบบแหวนล็อค (ringlock) แบบถว้ ยลอ็ ค (cuplock) หรอื แบบอน่ื ดังรูปท่ี 1 (ข)

มาตรฐานการตดิ ต้ังและการตรวจสอบโครงสร้างน่งั ร้าน หน้าท่ี 7

(2) จดุ ตอ่ ระหว่างเสาต้องอยู่ห่างจากคานนั่งร้านไม่เกิน 1.5 เมตร และต้องไม่อยู่ทรี่ ะดับ
เดียวกันกับเสาที่อยขู่ ้างเคยี ง โดยต้องตา่ งระดับกนั ไมน่ อ้ ยกวา่ 0.5 เมตร

(3) คานนั่งร้านต้องมีความต่อเน่ืองกันตลอดความยาวของนั่งร้าน และอยู่ระดับเดียวกับ
ตงน่งั ร้าน ดงั รปู ที่ 2

(4) นงั่ ร้านตอ้ งตดิ ต้ังตัวยึดโยงอย่างเหมาะสมท้ังในทิศตามยาวและตามขวาง อนุญาตให้
ใช้ท่อน่ังร้านและแคลมป์ในการยึดโยงเพื่อความม่ันคงของนั่งร้าน โดยท่ีระยะห่าง
ระหว่างตัวยึดโยงต้องไม่นอ้ ยกว่าค่าทีก่ าํ หนดโดยผู้ผลิต

(5) ไม่อนุญาตให้ทําการยึดตัวยึดโยงเข้ากับคานนั่งร้านท่ีต่อด้วยลิ่มแกรวิตี (gravity
wedge) หรือคานนงั่ รา้ นทม่ี ีหนา้ ตัดไมใ่ ชว่ งกลม

(6) ตัวยึดโยงต่อด้วยแคลมป์ตายกับชิ้นส่วนท่อนั่งร้านแนวราบท่ียึดกับเสาจํานวน
ไมน่ ้อยกวา่ 2 ตน้ ดว้ ยแคลมป์ตาย

(7) ในการประกอบติดต้ังและรื้อถอนน่ังร้าน ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กําหนดโดย
ผู้ผลิต สําหรับกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตามรายละเอียดที่ผู้ผลิตกําหนดได้
ต้องจัดให้มีวิศวกรเพ่ือวินิจฉัยแนวทางการเปลี่ยนแปลงข้ันตอนการประกอบติดตั้ง
และรอื้ ถอนน่งั ร้าน

คานน่งั รา้ น ตงน่งั รา้ น

ฐานรองรบั แบบ (ก) นง่ั รา้ นแบบแยกสว่ น (ข) รูปแบบการตอ่ คานนั่งร้าน
ปรับระดบั ได้

รปู ท่ี 1 น่ังรา้ นแบบแยกสว่ นและตัวอยา่ งจดุ ตอ่

(ขอ้ 3.1.1)

ตงน่ังรา้ น คานน่งั รา้ นต่อเนื่องท่ี
คานนง่ั ร้าน แตล่ ะระดับเสา

ขาดคานนัง่ ร้านด้านนอก

(ก) การต่อคานนั่งรา้ นทถ่ี ูกตอ้ ง (ข) ตัวอย่างการต่อคานนง่ั ร้านท่ีไม่ถกู ต้อง

รปู ท่ี 2 การตอ่ คานนง่ั รา้ นในนั่งร้านแบบแยกส่วน

(ไม่แสดงตัวยดึ โยงและราวกนั ตก เพ่ือความชัดเจน)

(ขอ้ 3.1.1)

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั รา้ น หน้าที่ 8

3.1.2 น่ังรา้ นแบบโครง
(1) นั่งร้านแบบโครงมีลักษณะตามรูปที่ 3 เหมาะสําหรับใช้งานเป็นนั่งร้านสําหรับ
การทํางาน ในกรณีท่ีใช้น่ังร้านแบบโครงโดยไม่ได้ออกแบบให้มีการปรับระดับที่ฐาน
อนุญาตให้ปรบั ระดบั ฐานได้ไมเ่ กนิ 0.15 เมตร ยกเว้น
(ก) ระยะห่างในแนวด่ิง ระหว่างพื้นรองรับนั่งร้านถึงคานน่ังร้านตัวแรก มีค่าไม่เกิน
2.1 เมตร
(ข) นั่งร้านมีท่อยึดที่ปลายด้านล่างด้วยแคลมป์ตายท้ังในทิศตามยาวและตามขวาง
โดยมีระยะหา่ งจากพ้ืนรองรบั ไมเ่ กิน 0.50 เมตร
(2) สําหรับน่ังร้านแบบโครงท่ีไม่มีคานน่ังร้าน ควรเสริมท่อเหล็กยึดกับโครงน่ังร้านด้วย
แคลมป์ตายทพ่ี ื้นน่งั รา้ นทกุ ช้ัน
(3) สําหรับนั่งร้านท่ีไม่มีตัวล็อกสําหรับแผ่นพ้ืน ควรเสริมแคลมป์แบบพาดยึดสําหรับ
รองรบั แผน่ พื้น
(4) ในกรณีท่ีมีการขยับแผ่นพ้ืนนั่งร้านไปสู่ชั้นถัดไป ต้องทําการคงสภาพปัจจุบันของ
แผ่นพื้นนั่งร้าน จนกระทั่งดําเนินการติดตั้งโครงน่ังร้านและตัวยึดโยงสําหรับ
การรองรบั แผ่นพน้ื น่ังรา้ นในชั้นถดั ไปแล้วเสร็จ
(5) โครงน่ังร้านต้องได้รับการยึดโยงเพื่อป้องกันการเคลื่อนท่ีด้านข้างของเสาและรักษา
แนวของเสาให้มีเสถียรภาพ โดยสามารถเลือกใช้ตัวยึดโยงได้ระหว่าง แบบกากบาท
แบบแนวนอน แบบแนวทแยง หรือหลายแบบร่วมกัน นอกจากน้ี จุดต่อ
ของตวั ยึดโยงต้องมคี วามมั่นคงแขง็ แรง
(6) โครงนั่งร้านต้องต่อเข้าด้วยกันในแนวดิ่งด้วยแคลมป์หรือหมุดเสียบ (stacking pin)
หรืออปุ กรณ์อนื่ ทเ่ี ทียบเทา่
(7) กรณีท่ีเกิดแรงยกซึ่งอาจส่งผลต่อการเคล่ือนที่ของนั่งร้าน ต้องจัดให้มีการยึด
โครงน่งั รา้ นด้วยหมดุ หรืออุปกรณ์อืน่ ที่เทยี บเทา่

คานนงั่ ร้าน หมุดเสยี บ

แขนล็อก

โครงน่งั รา้ น ตัวยดึ โยงแบบกากบาท

แผ่นรองเสาแบบปรับระดบั ได้ หน้าที่ 9

รปู ท่ี 3 ตวั อยา่ งน่งั รา้ นแบบโครง
(ขอ้ 3.1.2)

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนัง่ ร้าน

3.1.3 นั่งร้านแบบโครงหอสูง
(1) น่ังร้านแบบโครงหอสูงมีลักษณะตามรูปที่ 4 เหมาะสําหรับใช้งานเป็นน่ังร้านสําหรับ
การทํางานนั่งร้านชนิดน้ีไม่ควรนํามาใช้เชื่อมต่อกัน ยกเว้นกรณีที่สามารถ
ต่อพืน้ นั่งรา้ นสาํ หรบั ทาํ งานตอ่ เนอ่ื งกนั ได้ โดยตอ้ งมีเอกสารรบั รองจากผผู้ ลติ
(2) สําหรับนั่งร้านแบบโครงหอสูงอะลูมิเนียมที่ใช้ในการรับน้ําหนักบรรทุกแบบเบา
และมีความกว้างฐานไม่เกิน 1.2 เมตร กําหนดให้ความสูงที่ใช้ ต้องไม่เกิน 2 เท่า
ของความกว้างฐาน
(3) สําหรับน่ังร้านแบบโครงหอสูงอะลูมิเนียมท่ีใช้ในการรับน้ําหนักบรรทุกแบบเบา
กําหนดให้ความสูงท่ีใช้ ต้องไม่เกิน 9.0 เมตร ยกเว้นกรณีที่มีเอกสารรับรอง
จากผผู้ ลติ
(4) ในการยึดนั่งร้านแบบโครงหอสูงเข้ากับโครงสร้างรองรับ ต้องใช้แคลมป์
ที่มีความสอดคล้องกับช้ินส่วน และการยึดต้องไม่ทําให้แคลมป์และชิ้นส่วน
เกิดการเสียรูป
(5) ทางเข้าออกด้วยกระไดที่รองรับด้วยนั่งร้านแบบโครงหอสูง ควรติดต้ัง
ภายในโครงนง่ั ร้าน และตดิ ต้งั ประตบู านพบั ที่แผน่ พนื้ นง่ั ร้านร่วมด้วย

รูปท่ี 4 ตวั อยา่ งน่งั ร้านแบบโครงหอสงู (ฐานนง่ั ร้านอาจอยบู่ นล้อหรือแผ่นฐาน)
(ข้อ 3.1.3)

3.2 นงั่ ร้านแบบทอ่ และขอ้ ตอ่

น่ังร้านแบบท่อและข้อต่อ (tube-and-coupler scaffold) แสดงดังรูปท่ี 5 สามารถปรับใช้งาน
ได้หลากหลายประเภท เหมาะสําหรับใช้งานเป็นน่ังร้านสําหรับการทํางานและนั่งร้านแบบโครงค้ํายัน
ในการประกอบน่ังร้านแบบท่อและข้อต่อต้องใช้แรงงานในการประกอบเป็นจํานวนมาก

มาตรฐานการตดิ ตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างน่ังร้าน หน้าที่ 10

และใชท้ ักษะทซ่ี ับซ้อนกวา่ นง่ั ร้านรปู แบบอนื่ นอกจากน้ี การออกแบบระบบน่งั ร้านแบบทอ่ และข้อต่อ
ตอ้ งดาํ เนินการโดยวศิ วกรเท่านน้ั

ตงนัง่ ร้าน คานน่ังร้าน

(ก) แบบอสิ ระ (independent type) (ข) แบบเสาเด่ยี ว (single-pole type)
รปู ที่ 5 ตัวอย่างน่งั รา้ นแบบท่อและขอ้ ตอ่
(ข้อ 3.2)

ระบบนั่งร้านที่มีการใช้วัสดุต่างกัน หรือชิ้นส่วนของน่ังร้านมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก
หรือความหนาต่างกัน ต้องจัดให้มีการทดสอบโดยพิจารณาเป็นระบบนั่งร้านใหม่ และต้องมีเอกสาร
รับรองจากผู้ผลิตร่วมด้วย รูปที่ 6 และตารางที่ 1 แสดงส่วนประกอบของน่ังร้านและชิ้นส่วนต่อยึด
นัง่ ร้านแบบทอ่ และขอ้ ตอ่

ขอ้ ตอ่ แบบมมุ ฉาก ราวกนั ตก ขอ้ ตอ่ แบบปรับมมุ ได้

ท่อแนวนอน

ข้อต่อตรง ตวั ยดึ ผนัง
ฐานรองแบบตายตัว
ตัวยดึ โยง
ตวั ยดึ โยง (ก) ดา้ นหน้า เสานัง่ ร้าน (ข) ดา้ นขา้ ง

ตัวยึดผนัง

(ค) ด้านบน ตัวยดึ โยง

รปู ท่ี 6 สว่ นประกอบนงั่ รา้ นแบบทอ่ และขอ้ ตอ่

(ขอ้ 3.2)

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั รา้ น หนา้ ที่ 11

ตารางท่ี 1 ชนิ้ ส่วนตอ่ ยดึ นงั่ ร้านแบบท่อและขอ้ ตอ่

(ขอ้ 3.2)

อุปกรณ์ คาํ อธิบาย

แผ่นรองเสา (base plate) คอื แผ่นโลหะทใี่ ชส้ ําหรบั

กระจายน้าํ หนกั บรรทกุ จากขานัง่ ร้านลงสพู่ ้ืนรองรับ

นง่ั รา้ น โดยขนาดเลก็ ท่สี ดุ ทอ่ี นญุ าตใหใ้ ชค้ อื

120x120 มิลลิเมตร และมีความหนาอยา่ งนอ้ ย

5 มิลลเิ มตร

บมี แคลมป์ (beam clamp) ข้อตอ่ ทใี่ ช้สาํ หรับยดึ

ทอ่ นั่งรา้ นกบั คานเหล็กรปู ตัวไอ

ตัวรองรบั แผน่ กนั ของตก (toe board retainer)

ใช้สาํ หรบั วางแผน่ กันของตก

แคลมป์พาดยดึ คู่ (butterfly coupler)

แคลมปพ์ าดยดึ ทีใ่ สท่ อ่ ได้ 2 ทอ่

ข้อตอ่ แบบปลอกสวมปลายตอ่ ปลาย

(sleeve coupler) คือขอ้ ตอ่ สําหรับตอ่ ปลายทอ่

สองท่อเขา้ ดว้ ยกัน โดยข้อตอ่ อยู่ภายนอกท่อ

ตะขอ (hook) สามารถใช้แทนแคลมป์พาดยดึ

หรอื ใชร้ องรบั แผ่นกันของตกหรอื กระไดได้

ข้อตอ่ แบบตอ่ ใน (pin joint) คือข้อตอ่ สําหรับตอ่

ปลายท่อสองทอ่ เขา้ ด้วยกนั โดยขอ้ ต่ออยภู่ ายในท่อ

แคลมป์ยดึ กระได (ladder clamp) ใชส้ าํ หรับยึด

กระไดกบั ทอ่ น่ังร้าน

แคลมป์ตาย (right-angle coupler) คอื แคลมป์

สําหรบั รบั นา้ํ หนกั บรรทุก ใช้สําหรบั ตอ่ ท่อนั่งรา้ น

ท่ีทํามมุ กัน 90 องศา

แคลมป์แบบขนาน (parallel clamp) คอื แคลมป์

สาํ หรับตอ่ ทาบทอ่ สองทอ่ เข้าดว้ ยกนั

ปลอกยดึ ตง (putlog blade) ใชย้ ึดทป่ี ลายของตง

นง่ั ร้านทร่ี องรับดว้ ยผนังอาคาร

แคลมปพ์ าดยดึ (putlog clamp) แคลมป์สําหรบั ยึด

ตงน่ังร้านกบั คานน่ังร้าน

แคลมปเ์ ปน็ หมนุ บดิ ได้ (swivel coupler)

คอื แคลมป์สําหรบั ตอ่ ทอ่ น่ังร้านทส่ี ามารถปรบั มุม

ระหว่างท่อได้

มาตรฐานการตดิ ตั้งและการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หน้าท่ี 12

ขอ้ กําหนดเพิ่มเตมิ ของน่ังร้านแบบท่อและข้อตอ่ มีดังน้ี
(1) ตงน่ังร้าน คานนั่งร้าน และตัวยึดโยงในระนาบ (plan brace) ท่ีระดับชั้นท่ี 1 ต้องติดต้ังให้ใกล้

กับแผน่ รองเสามากท่ีสุด โดยมีระยะห่างเหนือแผน่ รองเสาไมเ่ กิน 0.45 เมตร
(2) ตงนงั่ ร้านและคานนงั่ ร้านตอ้ งต่อกบั เสาใช้แคลมปต์ าย
(3) สาํ หรับการตอ่ เสาและการตอ่ คานน่ังร้าน ต้องเปน็ ไปตามข้อกําหนดดงั น้ี

(ก) การต่อเสาและการต่อคานต้องต่อใกล้กับจุดต่อระหว่างเสากับคานมากท่ีสุดเท่าที่จะติดต้ัง
แคลมปไ์ ด้

(ข) การต่อเสาต้องใช้แคลมป์แบบปลายชนปลาย (end-to-end clamp) และการต่อเสา
ในเสาข้างเคยี งต้องวางตวั แบบสลบั ฟันปลา เพ่ือให้จดุ ต่อไมอ่ ย่ใู นระดบั เดยี วกัน

(ค) การต่อคานน่ังร้านต้องใช้แคลมป์แบบปลายชนปลาย หรือแคลมป์แบบขนาน (parallel
clamp) และการต่อคานในคานขา้ งเคียงตอ้ งไมอ่ ยู่ในช่วงเสาเดียวกัน

(ง) ไมอ่ นุญาตใหม้ กี ารต่อตงนั่งรา้ น สําหรับนง่ั รา้ นทมี่ ี 1 ช่วงเสาในทศิ ทางของตงนั่งรา้ น
(4) การตดิ ต้ังแคลมป์เข้ากับท่อกลมต้องเป็นไปตามขอ้ กาํ หนด ดงั นี้

(ก) ทอ่ ตอ้ งมคี วามยาวเลยขอบของแคลมปท์ ตี่ ิดตัง้ ไม่นอ้ ยกวา่ 50 มิลลิเมตร
(ข) ล่ิมของแคลมปต์ ้องถูกผลักในทิศทางลง หรอื ผลกั ออกด้านนอก
(ค) แคลมป์ต้องติดตั้งในลักษณะที่สามารถรองรับช้ินส่วนในแนวราบก่อนการขันยึด

สลกั เกลียวได้ ดงั รูปท่ี 7
(5) ตัวยึดโยงต้องติดตั้งตามคําแนะนําของผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบ และจุดต่อของตัวยึดโยงต้องอยู่ใกล้

กับจุดต่อของคานน่ังร้านและตงนั่งร้านให้ได้มากท่ีสุดเท่าท่ีเป็นไปได้ โดยตัวอย่างการจัดเรียง
ตัวยึดโยงแสดงดงั รปู ท่ี 8

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หน้าที่ 13

90Q

รูปท่ี 7 การตดิ ต้งั แคลมปเ์ พ่อื รองรับชิ้นส่วนในแนวราบ
(ขอ้ 3.2)

ตวั ยึดโยงดา้ นหน้าและด้านหลงั ตัวยึดโยงด้านหน้าและด้านหลัง
- ติดต้งั ตัวยึดโยงแบบทแยง (ระนาบมุมมองด้านหนา้ )
- ต้องมีตัวยึดโยงในทิศทาง
อาคาร
กลบั กันอย่างน้อย 1 ระนาบ
- ติดต้ังตัวยึดโยงที่ด้านหน้า ตวั ยึดโยงที่ปลายและดา้ นใน
- ตดิ ตั้งตวั ยดึ โยงแบบทแยง
แ ล ะ ด้ า น ห ลั ง ข อ ง นั่ ง ร้ า น - ตดิ ตง้ั ตวั ยดึ โยงทีป่ ลายที่ระนาบแรก
และต้องมีทิศทางทก่ี ลับกัน
และระนาบสุดทา้ ย
ระดบั ที่มีตวั ยึดโยงในระนาบ - ติดต้ังตวั ยึดโยงดา้ นใน ติดต้งั ทกุ
(plan bracing)
3 ชว่ งเสา และทศิ ทางกลับกนั ทกุ
4 ระนาบของตวั ยึดโยง

ตัวยดึ โยงท่ปี ลายและดา้ นใน มุมมองดา้ นหนา้ ติดตั้งตัวยึดโยงในระนาบ (plan bracing)
(ระนาบมุมมองดา้ นข้าง) ทุกระดบั ความสูงที่มกี ารยึด (tie)

มุมมองดา้ นข้าง

ตดิ ตัง้ ตวั ยึดโยงแบบทแยงทง้ั สองทิศทาง หนา้ ท่ี 14
ทาํ มมุ ประมาณ 45 องศา จากฐาน
ไปจนถงึ ปลายดา้ นบน

ตัวยึดโยงดา้ นหนา้ และด้านหลังรปู แบบอนื่

รูปที่ 8 ตัวอย่างการจัดเรยี งตัวยดึ โยง สาํ หรับนง่ั รา้ นแบบท่อและข้อตอ่
(ขอ้ 3.2)

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสร้างน่งั รา้ น

(6) ในกรณีที่ไม่สามารถติดต้ังตัวยึดโยงเข้ากับเสานั่งร้านได้ ต้องทําการติดต้ังตัวยึดโยงเข้ากับคาน
นั่งร้าน โดยให้ตวั ยึดโยงอยู่ใกลก้ บั เสาให้มากสดุ เท่าทีเ่ ปน็ ไปได้

(7) ตงนง่ั รา้ นตอ้ งยาวเลยจากเสา คานนง่ั ร้าน และแคลมป์สาํ หรับยดึ
(8) การติดตั้งคานนั่งร้าน ต้องทําตลอดความยาวของน่ังร้านท้ังแนวเสาด้านในและด้านนอก ในกรณี

ทีม่ กี ารใช้ท่อเป็นราวกนั ตกและราวกลาง อาจพิจารณาใช้ราวกันตกและราวกลางเป็นคานนั่งร้าน
ดา้ นนอกได้
(9) วัสดุที่ใช้ทําแคลมป์ต้องเป็นโลหะโครงสร้าง เช่น เหล็กที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยการทุบกระแทก
(drop-forged steel) เหลก็ อบเหนยี ว (malleable iron) หรืออะลมู ิเนียมชน้ั คุณภาพโครงสร้าง
(structural grade aluminum) อย่างไรก็ตาม ไม่อนุญาตให้ใช้แคลมป์ที่ทําจากเหล็กหล่อเทา
(gray cast iron)

3.3 นั่งรา้ นแบบเทา้ แขน

นั่งร้านแบบเท้าแขน (bracket scaffold) แสดงดังรูปท่ี 9 จัดเป็นน่ังร้านที่ต้องต่อยึดเข้ากับ
โครงสร้างหลัก น่ังร้านแบบเท้าแขนนิยมใช้ในงานติดตั้งหอกลั่น แท็งก์ เน่ืองจากการติดต้ังนั่งร้าน
ประเภทอื่นไม่สามารถทําได้โดยสะดวก นั่งร้านแบบเท้าแขนต้องมีช่วงพาดสูงสุด (maximum span)
ไมเ่ กนิ ช่วงพาดสงู สุดระหว่างแคลมป์พาดยดึ ตามทกี่ ําหนดไวใ้ นตารางที่ 2

ในการใช้งานนั่งร้านแบบเท้าแขน อนุญาตให้ไม่ต้องติดต้ังราวกันตก แต่พ้ืนไม้กระดานต้องมีปุ่ม
ใตแ้ ผ่นพ้นื เพื่อป้องกนั การขยับของแผน่ พนื้

พื้นไม้กระดานต้องมีระยะย่ืนจากปลายเท้าแขนอยู่ระหว่าง 0.15 ถึง 0.25 เมตร
พ้ืนไม้กระดานสามารถต่อได้สองแบบ คือ ต่อชนหรือต่อทาบ ในกรณีการต่อทาบ พ้ืนไม้กระดาน
แผ่นบนต้องมีระยะเลยจากเทา้ แขนสดุ ทา้ ยทีร่ องรบั แผ่นพ้ืนไม้กระดานนัน้ ไมน่ อ้ ยกวา่ 0.15 เมตร

ในกรณีท่ีมีการติดตั้งราวกันตก ราวกลาง และแผ่นกันของตก นั่งร้านแบบเท้าแขนต้องมีเสาคํ้า
ในตําแหนง่ ท่เี หมาะสม

มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนง่ั รา้ น หนา้ ที่ 15

แคลมปพ์ าดยึด ช่ ว ง พ า ด ข อ ง
ราวกนั ตก แคลมปพ์ าดยึด

พืน้ กระดาน ราวกลาง
เสาคาํ้

ช่วงพาดของเท้าแขน
เท้าแขน

รปู ที่ 9 นงั่ รา้ นแบบเทา้ แขน
(ข้อ 3.3)

ตารางที่ 2 ช่วงพาดสูงสดุ ของพืน้ ไมก้ ระดาน

(ขอ้ 3.3)

ความหนาระบุของพืน้ ไม้ ช่วงพาดสูงสุดระหวา่ งแคลมป์

กระดาน (มลิ ลเิ มตร) พาดยดึ (เมตร)

32 1.0

38 1.5

50 2.0

63 2.5

นั่งรา้ นแบบเท้าแขนสามารถแบง่ ตามลักษณะการติดตงั้ ได้ ดงั น้ี
3.3.1 นง่ั ร้านเท้าแขนแบบติดตั้งกับผวิ โครงสรา้ ง

ชิ้นส่วนของนั่งร้านเท้าแขนแบบติดตั้งกับผิวโครงสร้าง (tank-bracket scaffold)
ควรทําจากเหล็กฉากท่ีมีหน้าตัดขนาดไม่น้อยกว่า 45 มิลลิเมตร45 มิลลิเมตร
5 มิลลิเมตร หรือท่อเหล็กท่ีมีกําลังรับนํ้าหนักและสภาพแข็งเกร็งเทียบเท่า ช้ินส่วน
น่ังร้านควรมีตะขอทําจากเหล็กกล้าละมุน (mild steel) ขนาดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร
6 มิลลิเมตร สําหรับยึดกับโครงสร้างรองรับ หูหิ้วสําหรับยึดขอควรทําจาก
เหล็กกล้าละมุนขนาดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร6 มิลลิเมตร225 มิลลิเมตร และเช่ือม
กับโครงสร้างรองรับด้วยรอยเช่ือมแบบพอกขนาดขาเชื่อมไม่น้อยกว่า 5 มิลลิเมตร
แผ่นพื้นนั่งร้านสําหรับการปฏิบัติงานควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.675 เมตร
และควรใชแ้ ผ่นพนื้ นงั่ ร้านสาํ หรับรบั นํา้ หนักบรรทกุ แบบเบา

มาตรฐานการติดต้งั และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั รา้ น หนา้ ท่ี 16

3.3.2 น่ังร้านเท้าแขนแบบตดิ ตงั้ กับชตั เตอรแ์ บบหลอ่
แผน่ พ้ืนน่ังร้านสาํ หรบั การทํางานของนัง่ ร้านเท้าแขนแบบติดต้ังกับชัตเตอร์แบบหล่อ

(shutter-bracket scaffold) ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร ยกเว้นกรณี
ท่ีความกว้างดังกล่าวไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ ควรจัดให้มีความกว้างจากขอบถึงขอบ
ของทางเข้าออก (clear access) ไม่น้อยกว่า 0.45 เมตร ตลอดความยาวของแผ่นพื้น
นั่งรา้ นโดยไม่มีการกีดขวางจากบนั ไดหรือแทง่ เหล็กยดึ โยง (tie rod)

ในการยกหรือเปล่ียนตําแหน่งชัตเตอร์แบบหล่อโดยไม่รื้อถอนนั่งร้าน ต้องทําการยึด
แผน่ พ้ืนนัง่ ร้านใหแ้ นน่ หนา เพ่ือป้องกนั การเคล่ือนทขี่ องแผ่นพื้นนัง่ ร้าน

3.3.3 นง่ั รา้ นเท้าแขนแบบติดตงั้ กบั เสาโครงสร้าง
แผ่นพื้นนั่งร้านสําหรับการทํางานของนั่งร้านเท้าแขนแบบติดต้ังกับเสาโครงสร้าง

(stud-bracket scaffold) ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.45 เมตร และควรใช้รับเฉพาะ
นํ้าหนกั บรรทุกแบบเบา

เท้าแขน (bracket) ไม่ควรรองรับด้วยสลัก (stud) ที่ทําจากโลหะ ยกเว้นกรณีที่มี
การรบั รองโดยผูผ้ ลิต

3.3.4 น่ังร้านเทา้ แขนแบบใชก้ ระไดเปน็ ฐานรองรับ
นั่งร้านเท้าแขนแบบใช้กระไดเป็นฐานรองรับ (ladder-bracket scaffold)

แสดงดังรูปที่ 10 เหมาะสําหรับการปฏิบัติงานภายใต้น้ําหนักบรรทุกเบา ซ่ึงเป็นงาน
ที่ไม่สามารถใช้น่ังร้านแบบอ่ืนได้ ไม่เหมาะสําหรับงานก่อสร้างท่ัวไปเน่ืองจากนั่งร้าน
ประเภทนี้ไม่รับรองการปฏิบัติงานภายใต้นํ้าหนักบรรทุกสูง แผ่นพ้ืนนั่งร้านสําหรับ
การปฏิบตั ิงานควรใช้ความกวา้ งไมเ่ กนิ 0.45 เมตร

เอกสารจากผู้ผลิตน่ังร้านเท้าแขนแบบใช้กระไดเป็นฐานรองรับ ต้องระบุข้อจํากัด
เงื่อนไขการใช้งาน และข้อแนะนําสําหรับการติดต้ัง โดยการใช้งานน่ังร้านเท้าแขนแบบใช้
กระไดเปน็ ฐานรองรับ ตอ้ งเป็นไปตามขอ้ กาํ หนดดงั นี้
(1) กระไดสาํ หรบั การปฏิบัตงิ าน ควรเลอื กใช้ชนั้ คุณภาพสาํ หรบั งานอุตสาหกรรม
(2) กระไดควรมีอตั ราสว่ นความเอียงของแนวราบต่อความสูงไมเ่ กิน 1:4
(3) กระไดต้องต้ังอยบู่ นพน้ื แข็งท่ีไดร้ ะดับ
(4) กระไดต้องทําการยดึ แน่น เพ่ือป้องกันการเคลื่อนไหวทุกทิศทาง
(5) ระยะห่างระหวา่ งกระไดในแนวราบตอ้ งไมเ่ กิน 2.4 เมตร
(6) แผน่ พืน้ ทาํ งานน่งั ร้านตอ้ งอยู่ในสภาพดี
(7) ในการวางแผ่นพื้นปฏิบัติงานน่ังร้าน ต้องคํานึงถึงอุบัติเหตุในกรณีท่ีผู้ปฏิบัติงาน

อาจตกจากที่สูงได้ โดยที่ความสูงที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเกิดอุบัติเหตุต้องไม่เกิน
2.0 เมตร

มาตรฐานการตดิ ตงั้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หนา้ ท่ี 17

(8) การป้องกนั อุบตั ิเหตุจากการจราจร ควรไดร้ ับการพจิ ารณาและออกมาตรการรองรับ
(9) ระยะ 1 ช่วงของนัง่ รา้ น อนญุ าตใหร้ องรบั ผ้ปู ฏิบตั งิ านไดไ้ ม่เกนิ 1 คน
(10) ในการปฏบิ ตั ิงาน ไม่อนญุ าตให้มีการจดั วางวัสดบุ นแผน่ พื้นน่งั ร้าน

ไม่เกิน 2.0 เมตร

ไม่เกนิ 2.4 เมตร 75๐

รูปที่ 10 นง่ั รา้ นเทา้ แขนแบบใชก้ ระไดเป็นฐานรองรบั
(ขอ้ 3.3.4)

3.4 น่งั ร้านแบบเคลือ่ นท่ี

(1) น่ังร้านแบบเคลื่อนท่ี (mobile scaffold) แสดงดังรูปท่ี 11 จัดเป็นน่ังร้านสําหรับการทํางาน
ต้องใช้ปฏิบัติงานในพ้ืนที่ท่ีผิวหน้าของพื้นมีความแข็ง โดยระยะห่างจากขอบพื้น ขอบเรียบ
หรือข้ันใด ๆ ต้องไม่ใกล้เกินกว่า 1.0 เมตร ยกเว้นในกรณีท่ีมีการติดตั้งรั้วหรืออุปกรณ์ท่ีป้องกัน
ไม่ใหน้ ั่งร้านสามารถขา้ มไปได้

(2) นัง่ รา้ นแบบเคลือ่ นท่ตี ้องอย่หู า่ งจากสายไฟฟ้าเป็นระยะไมน่ ้อยกว่าข้อกําหนดในข้อ 9.3.2
(3) ล้อของน่ังร้านต้องล็อกหมดทุกล้อตลอดเวลา ไม่อนุญาตให้ปลดล็อกล้อหรือเคล่ือนย้าย ยกเว้น

ในกรณีที่ไม่มีคนอยู่บนน่ังร้าน นอกจากน้ี ต้องมีการยึดหรือเก็บอุปกรณ์เพ่ือป้องกันการตก
รว่ มด้วย
(4) การยา้ ยนง่ั ร้านควรทาํ โดยใช้แรงงานคนเทา่ น้นั ยกเวน้ ในกรณที ม่ี วี ิศวกรเปน็ ผ้กู ํากับดูแล
(5) น่งั รา้ นตอ้ งมีเสถียรภาพ เพือ่ ป้องกนั การเสียสมดุลระหวา่ งท่ีน่ังร้านมกี ารเคลอ่ื นท่ี
(6) ผูป้ ฏิบัตงิ านไมไ่ ด้รับอนญุ าตให้อยบู่ นน่ังรา้ นขณะเคล่ือนท่ี ยกเว้นในกรณี ดังนี้
(ก) พืน้ ผวิ ทน่ี ่ังรา้ นเคลือ่ นทม่ี ีความเอียงไม่เกิน 3 องศา และปราศจากบ่อ หลุม และสงิ่ กีดขวาง
(ข) อัตราส่วนของความสูงต่อความกว้างฐานของน่ังร้านไม่เกิน 2:1 ยกเว้นกรณีนั่งร้านได้รับ

การออกแบบและทดสอบเสถียรภาพตามมาตรฐานทีเ่ ก่ียวข้อง
(ค) ในการใชโ้ ครงส่วนยืน่ (outrigger frame) ต้องตดิ ต้ังโครงส่วนยน่ื ทั้ง 2 ด้านของน่งั ร้าน

มาตรฐานการตดิ ตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั รา้ น หนา้ ท่ี 18

(ง) ในการใช้กําลังไฟฟ้าเป็นแรงขับเคล่ือนโดยตรงท่ีชุดล้อ ต้องมีความเร็วไม่เกิน
0.3 เมตรตอ่ วนิ าที

(จ) ในการปฏิบัติงาน ต้องไม่ให้ส่วนใดส่วนหน่ึงของผู้ปฏิบัติงานอยู่เลยออกจากล้อ
หรอื โครงสร้างรองรับอน่ื

(7) แผ่นพ้ืนน่ังร้านต้องไม่ย่ืนเกินจุดรองรับท่ีฐานน่ังร้าน ยกเว้นกรณีที่มีโครงส่วนยื่นหรืออุปกรณ์อื่น
เทียบเทา่ เพ่อื ทําใหน้ งั่ ร้านมีเสถียรภาพ

(8) ในกรณที ่ีต้องปรบั ระดับของนั่งรา้ น ใหใ้ ช้แมแ่ รงแบบเกลียวหรอื อปุ กรณอ์ น่ื เทียบเท่า
(9) ผู้ทาํ งานต้องไดร้ ับการแจง้ เตือนหรอื สญั ญาณกอ่ นดําเนนิ การเคล่ือนที่น่งั ร้านทกุ ครง้ั

พ้นื นงั่ รา้ น ราวกันตก
ราวกลาง

ความสูงนั่งร้าน ตัวยดึ โยงแบบกากบาท
กระได

เฟรมหลัก

ลอ้ นง่ั ร้าน
ตวั ยึดโยงแบบแนวนอน

รปู ที่ 11 ตวั อยา่ งน่ังร้านแบบเคลือ่ นท่ี
(ข้อ 3.4)

มาตรฐานการตดิ ตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั รา้ น หนา้ ที่ 19

มาตรฐานการตดิ ตั้งและการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หน้าท่ี 20

บทท่ี 4
ข้อพจิ ารณาการออกแบบสาํ หรับนงั่ รา้ นสาํ หรับการทาํ งาน

4.1 ทว่ั ไป

การออกแบบและติดต้ังนั่งร้านต้องพิจารณาถึงความม่ันคงแข็งแรงและเสถียรภาพของนั่งร้าน
น่ังร้านต้องสามารถรองรับการรวมของน้ําหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัยโดยไม่สูญเสียเสถียรภาพ
การเสียรูปของนั่งร้านต้องเป็นรูปแบบท่ีสามารถคาดการณ์ได้ เพื่อการป้องกันการวิบัติของน่ังร้าน
ได้อย่างเหมาะสม การออกแบบนั่งร้านสําหรับการทํางานต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อหลีกเลี่ยงการตกจากที่สูง การจัดทางเข้าออกสําหรับผู้ปฏิบัติงานและวัสดุอุปกรณ์ นั่งร้านสําหรับ
กนั ฝนุ่ และเศษวสั ดตุ ้องมีการออกแบบติดตั้งแผ่นห่อหุ้มกับนั่งร้านให้มีการยึดอย่างมั่นคงและใช้งานได้
ตามวัตถุประสงค์

ก า ร อ อ ก แ บ บ นั่ ง ร้ า น ต้ อ ง มี ข้ อ มู ล ร า ย ล ะ เ อี ย ด ค ร บ ถ้ ว น เ พ่ื อ ใ ห้ ก า ร ทํ า ง า น ป ล อ ด ภั ย
และนั่งร้านมคี วามแข็งแรงเพียงพอสาํ หรับการใช้งาน เช่น ตาํ แหน่งของน่ังร้าน จํานวนแผ่นพ้ืนน่ังร้าน
สําหรับการทํางาน นํ้าหนักบรรทุกกระทําต่อนั่งร้านท่ีอาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน ทางเข้า ทางออก
และการป้องกนั อนั ตราย ข้อมูลประกอบการออกแบบและการเลอื กประเภทนง่ั ร้าน มีดงั น้ี
(1) ระยะห่างจากพ้นื ท่ีสาธารณะและทรพั ยส์ ินในบรเิ วณใกลเ้ คยี ง
(2) ระยะหา่ งจากยานพาหนะ ป้ันจ่ัน และเคร่อื งจกั ร
(3) ระยะห่างจากสายไฟฟ้าและวัตถอุ ันตราย
(4) กาํ ลังและสภาพของพื้นหรือโครงสรา้ งทร่ี องรับน่งั ร้าน
(5) ความสงู ของการทาํ งาน
(6) โอกาสได้รับผลกระทบจากแรงกระแทกจากการทํางานในบริเวณใกล้เคียง เช่น งานทุบ

การทํางานของปั้นจั่น
(7) นํา้ หนกั บรรทุกจากสภาพแวดลอ้ ม
(8) ทางเข้าออกของผู้ปฏิบตั ิงานและวสั ดุ
(9) การอพยพคนในกรณที ่เี กดิ อุบัตเิ หตุ
(10) ลักษณะของงาน
(11) ขนาดและนํ้าหนกั ของวัสดแุ ละอุปกรณ์
(12) จํานวนผู้ปฏิบตั ิงาน
(13) โอกาสในการทรุดตัวของฐานรองรับน่ังร้าน หรือนํ้าหนักบรรทุกจากสภาพแวดล้อม

หรอื โครงสรา้ งในบรเิ วณใกล้เคียง ซึง่ อาจเกดิ ข้ึนไดห้ ากตงั้ นัง่ รา้ นเป็นระยะเวลานาน
บทนี้ให้ข้อกําหนดการออกแบบน่ังร้านสําหรับการทํางานและนั่งร้านสําหรับการใช้งาน
เพ่อื ประโยชน์อืน่ เช่น การปอ้ งกันการตกจากท่สี งู การป้องกนั ฝ่นุ

มาตรฐานการติดตัง้ และการตรวจสอบโครงสร้างนงั่ รา้ น หนา้ ท่ี 21

4.2 กําลงั ระบุของวัสดุ

วสั ดุทใี่ ช้เป็นชน้ิ ส่วนหรือสว่ นประกอบของนง่ั รา้ นตอ้ งมีกําลงั ระบุของวสั ดุตามข้อกําหนด ดงั นี้
(1) โลหะท่ีใช้เป็นช้ินส่วนหรือส่วนประกอบของน่ังร้าน ต้องมีกําลังต้านทานแรงดึงที่จุดคราก

ไม่น้อยกว่า 245 เมกะปาสกาล
(2) ไม้ท่ีใช้เป็นแผ่นพ้ืนน่ังร้านสําหรับทํางานและแผ่นไม้รองฐาน ต้องมีกําลังต้านทานแรงดัดประลัย

ไม่น้อยกวา่ 49.05 เมกะปาสกาล

กําลังระบุของวัสดุอ่ืนนอกเหนือจากท่ีกําหนดใน (1) และ (2) ต้องเป็นไปตามข้อกําหนด
ของผู้ออกแบบ

4.3 อตั ราส่วนความปลอดภยั ในการออกแบบ

อัตราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบนั่งร้านต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับท่ี 4
(พ.ศ.2526) และต้องเป็นไปตามขอ้ กาํ หนดดงั น้ี
(1) น่ังร้านโลหะต้องมีกําลังรับน้ําหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของผลรวมของนํ้าหนักบรรทุก

ใช้งาน
(2) โครงสร้างหรือฐานรองรับน่ังร้านต้องมีกําลังรับนํ้าหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 2 เท่าของผลรวม

ของน้ําหนกั บรรทกุ ใช้งาน
(3) ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของนั่งร้าน เช่น แผ่นพื้นน่ังร้านสําหรับการทํางาน แผ่นไม้รองฐาน

ต้องมีอตั ราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบไมน่ อ้ ยกว่า 4.0
(4) น่ังร้านต้องมีเสถียรภาพในการป้องกันการพลิกควํ่า โดยมีอัตราส่วนความปลอดภัยการพลิกคว่ํา

ไมน่ อ้ ยกว่า 1.50

4.4 ข้อพจิ ารณาทางดา้ นวิศวกรรม

ในการออกแบบนั่งร้าน ต้องพิจารณาให้ช้ินส่วนน่ังร้านสามารถรับน้ําหนักบรรทุกได้ทั้งในแนวดิ่ง
และในแนวราบ และต้องคํานึงถึงการรับน้ําหนักบรรทุกทั้งในช่วงระหว่างการติดตั้ง
และหลังการประกอบติดตั้งร่วมด้วย นั่งร้านต้องได้รับการออกแบบโดยพิจารณาการรวม
นํ้าหนักบรรทุกวิกฤติท้ังในแนวดิ่งและในแนวราบ สําหรับการพิจารณาปรับลดกําลังของ
ช้ินส่วนน่ังร้านที่ใช้งานแล้ว และการลดกําลังเมื่อมีการเพ่ิมจํานวนชั้นของน่ังร้าน ให้เป็นไปตาม
ดลุ ยพินิจของวศิ วกร

การคํานวณการรวมน้ําหนักบรรทุกให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 6
(พ.ศ.2527) การพิสูจน์กําลังรับน้ําหนักบรรทุกสามารถทําได้โดยใช้แนวทางการคํานวณตามหลัก
วิศวกรรมหรือจัดให้มีการทดสอบ สําหรับการคํานวณตามหลักวิศวกรรม ให้ใช้มาตรฐาน
AISC 360 - 10 มาตรฐาน Aluminum Design Manual 2010 หรือมาตรฐานอ่ืนท่ีเกี่ยวข้อง สําหรับ

มาตรฐานการตดิ ตง้ั และการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน หน้าที่ 22

กรณีท่ีทําการทดสอบ ต้องใช้ตัวอย่างทดสอบท่ีมีการติดตั้งนั่งร้านใกล้เคียงกับนั่งร้านจริงและสามารถ
จําลองพฤติกรรมของโครงสร้างน่ังร้านจริงได้ใกล้เคียงที่สุด โดยท่ีจํานวนตัวอย่างทดสอบและขั้นตอน
การทดสอบให้เปน็ ไปตามขอ้ กาํ หนดของผู้ออกแบบ

ในการออกแบบน่ังร้านสําหรับการทํางานและนั่งร้านสําหรับใช้ประโยชน์อ่ืน ให้พิจารณาน้ําหนัก
บรรทุกดงั นี้

4.4.1 นาํ้ หนักบรรทุกในแนวดงิ่
นา้ํ หนักบรรทุกในแนวดง่ิ พิจารณาจาก
(1) น้ํ า ห นั ก บ ร ร ทุ ก ค ง ที่ ข อ ง น่ั ง ร้ า น แ ผ่ น พื้ น นั่ ง ร้ า น สํ า ห รั บ ก า ร ทํ า ง า น
และนาํ้ หนกั บรรทกุ คงท่ีของช้ินสว่ นอื่นท่กี ระทําบนนั่งรา้ น
(2) น้ําหนักบรรทุกจรของผู้ปฏิบัติงานและวัสดุบนแผ่นพื้นนั่งร้านสําหรับการทํางาน
(working platform) โดยตอ้ งมคี ่าไม่นอ้ ยกวา่ คา่ ทีก่ ําหนดในตารางท่ี 3

4.4.2 น้ําหนกั บรรทุกจากสภาพแวดลอ้ ม
นาํ้ หนกั บรรทกุ จากสภาพแวดลอ้ มท่ีควรคํานงึ ถงึ ในการออกแบบ ได้แก่
(1) นํ้าหนักบรรทุกเนือ่ งจากแรงลม
(2) นาํ้ หนักบรรทุกเนื่องจากแรงดนั นํา้
(3) น้ําหนักบรรทกุ เนื่องจากแรงดนั ดิน
(4) การทรุดตัวทีแ่ ตกต่างกันระหว่างฐานรองรบั เช่น การทรุดตวั ของดิน
(5) นํา้ หนกั บรรทุกเนอื่ งจากแรงดนั ของกระแสนาํ้
(6) นํ้าหนกั บรรทุกเนื่องจากแรงสนั่ สะเทอื นของแผ่นดนิ ไหว

ตารางที่ 3 ข้อกาํ หนดของแผ่นพ้นื นงั่ รา้ นสาํ หรบั การทาํ งาน

(ข้อ 4.4, 4.11, 4.13, 8.2)

ประเภทหนา้ ท่ี น้ําหนักของผู้ปฏิบตั ิงานรวมอปุ กรณ์
(นิวตนั ตอ่ ตารางเมตร หรือกิโลกรัมแรงตอ่ ตารางเมตร)

รับน้ําหนกั บรรทกุ แบบเบา 1,471 (150)
(light duty)

รบั นํ้าหนักบรรทกุ แบบปานกลาง 1,961 (200)
(medium duty)

รับนํ้าหนักบรรทกุ แบบหนกั 2,452 (250)
(heavy duty)

รบั นา้ํ หนักบรรทกุ แบบพเิ ศษ มากกว่า 2,942 (300)
(special duty)

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งน่งั ร้าน หนา้ ที่ 23

ภาคผนวก ค แสดงตัวอย่างข้อมูลนํ้าหนักที่ยอมให้ของนั่งร้าน น้ําหนักของวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้งาน
กับน่ังร้าน และนาํ้ หนักของผูป้ ฏิบตั งิ านและวสั ดุทัว่ ไป

4.5 ฐาน

ฐาน (foundation) ของนั่งร้านต้องต้ังอยู่บนพ้ืนที่ที่มีความม่ันคงแข็งแรง สามารถ
รับนํ้าหนักบรรทุกและกระจายนํ้าหนักจากเสาน่ังร้านได้อย่างปลอดภัย โดยการออกแบบฐาน
สําหรบั นั่งรา้ นมขี ้อพจิ ารณา ดงั น้ี
(1) ฐานของนั่งร้านต้องมีกําลังรับน้ําหนักบรรทุกเพียงพอต่อผลรวมของนํ้าหนักบรรทุกใช้งาน

โดยใช้อัตราสว่ นความปลอดภยั ในการออกแบบตามขอ้ 4.3
(2) การออกแบบฐานต้องคํานึงถึงประเภท ประโยชน์ใช้สอย และความสูงของนั่งร้าน รวมถึงสภาพ

พื้นที่ที่รองรับน่ังร้าน เมื่อมีการปฏิบัติงานขุดใกล้กับนั่งร้าน ฐานของน่ังร้านต้องสามารถรองรับ
นงั่ รา้ นได้โดยไม่มกี ารทรุดตัวตลอดระยะเวลาทีม่ ีการติดตัง้ น่งั ร้าน
(3) ก่อนการติดตั้งน่ังร้าน ต้องสํารวจโครงสร้าง ส่ิงก่อสร้างที่รองรับ หรือสิ่งก่อสร้างใต้ดิน เช่น
ท่อประปา สายเคเบิล ท่อแก๊ส เป็นต้น รวมถึงต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันอันตราย
และความเสยี หายทีอ่ าจเกดิ กบั โครงสร้างทร่ี องรบั หรอื โครงสร้างใต้ดนิ
(4) หน่วยแรงแบกทานของดินที่ฐานน่ังร้านต้องมีค่าไม่เกินกําลังแบกทานของดินตามกําหนด
ในกฎกระทรวงฉบับท่ี 6 (พ.ศ. 2527) หรือมาตรฐานอื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง
ยกเว้นกรณีทีม่ ีเอกสารแสดงผลการทดสอบหรอื การคํานวณซงึ่ รับรองจากสถาบนั ทเ่ี ชอ่ื ถือได้
(5) กรณีตั้งนั่งร้านบนโครงสร้าง ต้องตรวจสอบกําลังรับน้ําหนักของโครงสร้างให้มีกําลังเพียงพอ
ในการรับนํ้าหนักบรรทุกที่กระทําบนฐานนั่งร้านได้อย่างปลอดภัยและไม่เกิดความเสียหาย
กบั โครงสร้าง ในการประเมนิ โครงสรา้ งรองรบั น่ังรา้ น ต้องพจิ ารณาปัจจัยดังนี้
(ก) การรวมนํ้าหนัก ซ่ึงพิจารณานํ้าหนักบรรทุกคงท่ี น้ําหนักบรรทุกจร และน้ําหนักบรรทุก

จากสภาพแวดลอ้ ม
(ข) นํ้าหนักบรรทกุ อืน่ ทกี่ ระทําบนโครงสร้างรองรบั น่งั รา้ น
(ค) อุปกรณอ์ ่ืนท่ีใช้บนโครงสรา้ งรองรับนั่งร้าน
(ง) การเปลย่ี นแปลงของโครงสรา้ งรองรับนัง่ ร้าน
(จ) การเส่อื มสภาพของโครงสรา้ งรองรับน่ังรา้ น

ในการประเมินโครงสร้างรองรับ รวมถึงการปรับปรุง แก้ไข และเสริมความมั่นคงแข็งแรง
โครงสร้างรองรับ ตอ้ งดําเนินการภายใต้การกาํ กบั ดแู ลของวิศวกร
(6) เสานั่งร้านที่ตั้งบนพื้นผิวแข็ง เช่น คอนกรีต หรือเหล็ก ควรมีแผ่นรองเสา ส่วนเสาน่ังร้าน
ท่ีตั้งบนพื้นผิวที่อาจเกิดความเสียหายจากนํ้าหนักบรรทุกแบบจุดของเสานั่งร้าน ควรมี
การกระจายนํ้าหนักด้วยแผ่นรองเสาและแผ่นไม้รองฐานเสาที่มีความหนาไม่น้อยกว่า
25 มิลลเิ มตร

มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนัง่ รา้ น หนา้ ที่ 24

(7) น่ังร้านท่ีต้ังบนดินหรือยางมะตอย ต้องมีคานโลหะหรือแผ่นไม้รองฐานท่ีผ่านการออกแบบ
จากวศิ วกร
(ก) อัตราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบคานโลหะหรือแผ่นไม้รองฐาน ให้เป็นไปตาม
ขอ้ กําหนดในขอ้ 4.3
(ข) คานโลหะหรือแผ่นไม้รองฐานควรมีความยาวเพียงพอในการรองรับเสาน่ังร้าน
จํานวนไม่น้อยกว่า 2 ต้น และมีความยาวเพียงพอในการรับน้ําหนักได้โดยไม่เกิดการทรุด
ทม่ี องเหน็ ได้และไมเ่ กดิ ความเสียหายกับพืน้
(ค) แผ่นไมร้ องฐานควรมีขนาดเทียบเท่าและกําลังไม่น้อยกว่าแผ่นพ้ืนน่ังร้านสําหรับการทํางาน
ปกติแผ่นไม้รองฐานควรมีความยาวเพียงพอในการรองรับเสาน่ังร้านจํานวนไม่น้อยกว่า
2 ต้น สําหรับพ้ืนท่ีเป็นยางมะตอยอ่อนหรือกรวดบดอัด แผ่นไม้รองฐานต้องมีขนาด

ไมน่ อ้ ยกว่า 0.50 เมตร0.22 เมตร
(8) น่ังร้านท่ีต้ังอยู่บนพื้นท่ีที่มีพื้นผิวแข็งและผิวอ่อนร่วมกัน ต้องผ่านการตรวจสอบจากวิศวกร

เพื่อป้องกันไม่ให้การทรุดตัวท่ีแตกต่างกันระหว่างฐานรองรับมีผลต่อกําลังรับน้ําหนักบรรทุก
และเสถียรภาพของนั่งร้าน
(9) นั่งร้านท่ีติดต้ังบนพ้ืนลาดเอียงต้องออกแบบให้เสาแต่ละต้นต้ังอยู่บนฐานท่ีมีความมั่นคงแข็งแรง
ฐานของน่งั รา้ นทต่ี ั้งบนพื้นทีม่ คี วามลาดเอียงไมน่ อ้ ยกวา่ 1:10 ต้องผ่านการตรวจสอบจากวศิ วกร
(ก) กรณีต้ังน่ังร้านบนดินที่ลาดเอียง ต้องปรับดินให้ได้ระดับและมีความกว้างเพียงพอ เพ่ือให้

สามารถตดิ ตงั้ คานโลหะหรือแผน่ ไมร้ องฐานได้เต็มหน้าสมั ผสั ดงั รูปท่ี 12
(ข) กรณีต้ังน่ังร้านบนโครงสร้างคอนกรีตที่ลาดเอียง ต้องทําการรองรับแผ่นรองเสาด้วยลิ่ม

โลหะ เพ่ือให้แผ่นรองเสาได้ระดับและวางเต็มหน้าสัมผัส ลิ่มโลหะต้องยึดกับโครงสร้าง
คอนกรีตดว้ ยสมอเพ่อื ป้องกนั การเคลอ่ื นตวั ของนงั่ รา้ น
(10) ในการออกแบบฐานรับน่ังร้าน ต้องตรวจสอบการทรุดตัว (settlement) ของจุดที่รองรับ
เสาของนง่ั ร้าน เพราะอาจทําให้ระดับของไม้แบบคลาดเคล่ือน จนทําให้ความหนาของโครงสร้าง
มากกว่าทีต่ ้องการ รวมถึงต้องพิจารณาป้องกันไม่ให้น่ังร้านเกิดการกระทํากับพื้นที่รองรับจนเกิด
การวิบตั ิแบบเฉือนทะลุ

มาตรฐานการติดตัง้ และการตรวจสอบโครงสรา้ งนั่งรา้ น หน้าที่ 25

คานนงั่ ร้าน

แคลมปต์ าย

คานน่งั ร้าน แคลมปต์ าย

เสาต้งั อยกู่ ลาง
แผน่ ไม้รองฐาน

(ก) ตวั อย่างการติดต้ังท่ีถกู ต้อง

น้าํ หนักบรรทกุ จากเสาน่งั ร้านกระจาย
ไมส่ ม่ําเสมอบนแผ่นรองเสา

แผน่ ไมร้ องฐานวางได้ไม่เต็มหนา้

เสานงั่ รา้ นไมอ่ ยู่กลาง

(ข) ตวั อย่างการตดิ ตง้ั ทีไ่ มถ่ ูกตอ้ ง
รูปที่ 12 ตัวอย่างการต้งั เสานงั่ รา้ นบนพนื้ ลาดเอยี ง

(ขอ้ 4.5)

4.6 เสถียรภาพ

น่ังร้านต้องมีเสถียรภาพ (stability) ในการป้องกันการพลิกคว่ํา เสถียรภาพทําได้ด้วยการผูก
หรือยึดน่ังร้านไว้กับโครงสร้าง อาจพิจารณาใช้การเพ่ิมนํ้าหนักถ่วงหรือทําการเพิ่มช่วงเพื่อขยาย
ความกวา้ งของฐานไดต้ ามความเหมาะสม

เสถียรภาพของนั่งร้านระหว่างการประกอบและภายหลังการติดต้ัง ต้องผ่านการตรวจสอบ
จากวิศวกร และมขี อ้ พจิ ารณาดงั น้ี
(1) อตั ราส่วนความปลอดภัยการพลิกควํ่าให้เป็นไปตามขอ้ กําหนดในขอ้ 4.3
(2) เมื่อนั่งร้านประเภทยึดกับโครงสร้าง (tied) หรือยึดกับพื้น (guyed) มีความสูงเกินกว่า

3 เท่า ของมิติด้านข้างที่แคบที่สุดของฐานน่ังร้าน ต้องทําให้นั่งร้านมีเสถียรภาพ โดยยึดติดกับ

มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างน่ังรา้ น หน้าที่ 26

อาคารหรือโครงสร้างด้วยตัวยึด นอกจากนี้ อาจใช้การยึดติดกับพื้นผิวที่ฐานด้วยลวด
(guy wire) ได้ โดยท่ีข้อกําหนดข้ันตํ่าในการยึดน่ังร้านกับโครงสร้างหรือยึดกับพ้ืนให้เป็นไปตาม
ข้อ 4.6.1
(3) ข้อกําหนดขั้นต่ําของอัตราส่วนระหว่างความสูงของน่ังร้านต่อความกว้างของฐานนั่งร้าน สําหรับ
น่ังร้านประเภทยนื ดว้ ยตวั เองหรอื ประเภทมลี อ้ ใหเ้ ปน็ ไปตามขอ้ 4.6.2

4.6.1 นั่งรา้ นประเภทยึดกบั โครงสรา้ งหรอื ยึดกับพื้น

4.6.1.1 นั่งรา้ นประเภทยดึ กับโครงสร้าง
การยดึ น่ังร้านกับโครงสร้างดังแสดงตัวอย่างในรูปที่ 13 ช่วยเพิ่มเสถียรภาพ

ของน่ังร้านในการป้องกันการพลิกควํ่า ในการติดตั้งน่ังร้านประเภทยึดกับ
โครงสร้าง ต้องเป็นไปตามขอ้ กําหนดดงั น้ี
(1) ตัวยดึ (ties) ต้องติดตั้งตามแนวด่ิงและแนวราบด้วยระยะห่างตามดุลยพินิจ

ของวิศวกรหรืออ้างอิงตามเอกสารจากผู้ผลิต โดยท่ัวไป ต้องทําการติดต้ัง
ตัวยึดในแนวด่ิงเป็นระยะทุก 3 เท่า ของความกว้างด้านแคบของนั่งร้าน
และติดตง้ั ในแนวราบเป็นระยะทกุ 3 ช่วงเสา
(2) ตวั ยดึ ตอ้ งสามารถรับนา้ํ หนักบรรทกุ กระทําตามแนวแกนได้
(3) กําลังรับน้ําหนักบรรทุกของอาคารหรือโครงสร้างท่ีต่อยึดกับตัวยึดต้องผ่าน
การตรวจสอบจากวิศวกร
(4) ตัวยึดโยงในระนาบ (plan bracing) ต้องติดต้ังตามความยาวน่ังร้าน
ทแ่ี ตล่ ะระดบั ทม่ี กี ารยดึ

รูปที่ 13 ตัวอยา่ งการยึดนง่ั รา้ น หน้าท่ี 27
(ข้อ 4.6.1.1)

มาตรฐานการติดต้ังและการตรวจสอบโครงสร้างน่ังร้าน

4.6.1.2 นัง่ ร้านประเภทยึดกบั พื้น
น่ังร้านประเภทยึดกับพ้ืนแสดงตัวอย่างในรูปท่ี 14 ระบบลวดยึดและสมอ

ต้ อ ง ส า ม า ร ถ รั บ น้ํ า ห นั ก บ ร ร ทุ ก ไ ด้ ต า ม ข้ อ กํ า ห น ด ข อ ง ผู้ ผ ลิ ต นั่ ง ร้ า น
หรือตามเกณฑข์ องวศิ วกรผู้ออกแบบ

รปู ท่ี 14 ตวั อย่างนงั่ ร้านประเภทยึดกับพนื้
(ข้อ 4.6.1.2)

4.6.2 น่งั รา้ นประเภทยืนดว้ ยตวั เองหรือประเภทมีลอ้

ความสูงของน่ังร้านประเภทยืนด้วยตัวเอง (free-standing) หรือประเภทมีล้อ
ต้องไม่เกิน 3 เท่า ของความกว้างด้านที่แคบที่สุดของฐานนั่งร้าน การติดตั้งด้านข้าง
หรือการต่อยื่นแพลตฟอร์มไม่อนุญาตให้ใช้กับน่ังร้านแบบมีล้อ แต่อนุญาตให้มีการใช้
ขาค้ํายันเพื่อเพ่ิมเสถียรภาพ ส่งผลให้ความสูงท่ียอมให้มีค่าเพิ่มขึ้นดังรูปที่ 15 ในกรณีที่
ขาค้าํ ยนั มีระยะยน่ื ไม่เท่ากนั มติ ิด้านขา้ งทฐี่ านคิดเป็น 2 เท่า ของระยะจากเส้นศูนย์กลาง
ของน่งั รา้ นถงึ เสน้ ศนู ย์กลางของขาคา้ํ ยนั ท่ียื่นนอ้ ยกว่าดงั รูปท่ี 16

มาตรฐานการตดิ ตงั้ และการตรวจสอบโครงสร้างนัง่ รา้ น หน้าท่ี 28

H

ขาคา้ํ ยัน
W L ตัวยดึ โยงแบบกากบาท
หมายเหตุ:

(1) H คือความสงู ของนัง่ ร้าน ซง่ึ ในตวั อย่างน้ี มีคา่ เทา่ กบั 3.25 เมตร
(2) มติ ิที่สัน้ ทสี่ ดุ ของฐานนง่ั รา้ นคือค่าทีน่ อ้ ยกว่าระหวา่ ง W และ L รวมระยะย่ืนของขาค้ํายันที่เท่ากันด้วย หากไม่เท่ากันให้อ้างอิงตามรูปที่ 16 สําหรับ

รปู ทแ่ี สดงในตวั อย่างนี้ระยะยน่ื ของขาคํา้ ยนั เทา่ กัน W=3.05 เมตร และ L=2.13 เมตร

(3) อัตราสว่ นเสถยี รภาพมีคา่ เทา่ กับความสูงน่ังร้าน (H) หารด้วยมิติที่ส้ันท่ีสุดของฐานน่ังร้าน (ค่าท่ีน้อยกว่าระหว่าง W และ L) ในตัวอย่างนี้อัตราส่วน

เสถยี รภาพเทา่ กบั 3.25 ÷ 2.13 = 1.53 ซึง่ น้อยกวา่ 3 แสดงว่านัง่ รา้ นในตวั อย่างนีผ้ า่ นขอ้ กําหนดดา้ นเสถยี รภาพ

รูปที่ 15 ตวั อยา่ งอตั ราสว่ นเสถียรภาพ
(ข้อ 4.6.2)

มาตรฐานการติดตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนั่งรา้ น หน้าท่ี 29

AB
เสน้ ศูนย์กลางของน่งั ร้าน

หมายเหตุ: หากระยะยื่นของขาค้ํายันไม่เท่ากัน มิติของฐานนั่งร้านคือ 2 เท่าของระยะจากเส้นศูนย์กลางของนั่งร้านถึง
ด้านท่มี ีระยะยดื ของขาคํา้ ยนั ทีส่ ั้นกว่า ในรปู ตัวอยา่ งมติ ขิ องฐานนงั่ ร้านเทา่ กบั 2A

รปู ที่ 16 ตวั อย่างการคํานวณระยะมติ ดิ า้ นข้างของน่งั ร้านท่ีมรี ะยะยืน่ ของขาคํา้ ยันไมเ่ ท่ากัน
(ข้อ 4.6.2)

4.7 การยดึ

การยึด (tying) น่ังร้านในทางปฏิบัติ ต้องเป็นไปตามหลักการยึดน่ังร้านเข้ากับโครงสร้าง
ซ่ึงกําหนดโดยผู้ผลิตน่ังร้าน ข้ันตอนการยึดน่ังร้านต้องไม่กีดขวางการปฏิบัติงานในส่วนอ่ืน ตลอดจน
ทางเข้าและทางออกที่เป็นช่องทางสําหรับการปฏิบัติงานในพ้ืนท่ีก่อสร้าง รูปท่ี 17 แสดงตัวอย่าง
การยึดนงั่ รา้ นกับโครงสร้าง

การใช้พุกเจาะฝังในการยึดนั่งร้านควรใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ การออกแบบพุก
เจาะฝังต้องผ่านการออกแบบจากวิศวกร และใช้อัตราส่วนความปลอดภัยในการออกแบบ
ไม่น้อยกวา่ 3.0

มาตรฐานการติดตง้ั และการตรวจสอบโครงสรา้ งนงั่ รา้ น หนา้ ที่ 30

ท่อยึด
การยดึ แบบกลอ่ ง

อนญุ าตให้ใช้ไดเ้ ฉพาะแคลมป์ตาย
(Right-Angle Coupler)

เสา เสา เสา

การยดึ แบบตวั ยู การยึดแบบกล่อง การยดึ กับเสาด้วยตงนงั่ ร้านแบบต่อชน

รปู ท่ี 17 ตวั อยา่ งการยดึ น่งั ร้านกบั โครงสร้าง
(ขอ้ 4.7)

4.8 สภาพแข็งเกรง็

การเพิ่มสภาพแข็งเกร็ง (rigidity) ของน่ังร้านสามารถทําได้โดยการใช้โครงประกอบ
หรือตัวยึดโยงแบบทแยง ซึ่งตัวยึดโยงแบบทแยงต้องยึดต้ังแต่ฐานจนถึงโครงสร้างนั่งร้านด้านบน
โดยไมต่ ้องยึดถงึ ราวกนั ตกด้านบน รูปท่ี 18 แสดงตวั อย่างของการยดึ โยงแบบทแยง

มาตรฐานการตดิ ตัง้ และการตรวจสอบโครงสร้างนั่งร้าน หน้าท่ี 31

รปู ที่ 18 ตัวอย่างการยดึ โยงแบบทแยง
(ขอ้ 4.8)

4.9 การโก่งตวั และการเสียรปู

การโก่งตัว (deflection) และการเสียรูป (deformation) ของนั่งร้าน เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณา
เม่ือมีน้ําหนักบรรทุกกระทําต่อน่ังร้าน ซ่ึงต้องมีการคํานวณและจัดระดับเตรียมไว้ (camber) ในกรณี
ท่ัวไป กําหนดให้การโก่งตัวท่ียอมให้ มีค่าเท่ากับ 1 ใน 200 ของความยาวช่วงคาน
สําหรับกรณีที่เป็นโครงสร้างหลักซ่ึงมีความสําคัญ กําหนดให้การโก่งตัวท่ียอมให้มีค่าอยู่ระหว่าง
1 ใน 500 ถงึ 1 ใน 1,000 ของความยาวช่วงคาน

4.10 สติฟเนส

สติฟเนสของนั่งร้านต้องเพียงพอต่อการต้านทานนํ้าหนักบรรทุกเนื่องจากแรงกระทําด้านข้าง
โดยเฉพาะกรณีที่มีการก่อสร้างพื้นคอนกรีตอัดแรง ต้องพิจารณาแรงเสียดทานระหว่างไม้แบบ
และคอนกรีตขณะทําการดึงลวดอัดแรง เนื่องจากคอนกรีตมีการหดตัวและอาจเกิดการหลุดจาก
แบบหลอ่ ได้

4.11 พืน้ นัง่ ร้านสําหรบั การทาํ งาน

นั่งร้านสําหรับการทํางานต้องผ่านการออกแบบให้สามารถรองรับจํานวนพ้ืนนั่งร้านสําหรับ
การทํางานท่ีต้องการได้ พ้ืนน่ังร้านสําหรับการทํางานสามารถพิจารณาเลือกใช้ได้ทั้งแบบแผ่นพ้ืน
สําเร็จรูปหรือแผ่นพื้นไม้กระดาน พ้ืนนั่งร้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.45 เมตร นอกจากน้ี
ให้พจิ ารณาเลอื กใช้พน้ื นัง่ รา้ นตามระดับของนาํ้ หนกั บรรทุกดังตารางที่ 3

พ้ืนน่ังร้านสําหรับการทํางานต้องมีความราบเรียบ มีความลาดเอียงต้องไม่เกิน 7 องศา
มีพ้ืนผิวกันล่ืน แผ่นพื้นไม้กระดานต้องมีความหนาเท่ากัน และมีการยึดเพ่ือป้องกันการเสียสมดุล
ดังรปู ท่ี 19

มาตรฐานการตดิ ตั้งและการตรวจสอบโครงสร้างนง่ั รา้ น หน้าท่ี 32

ความกวา้ งทางเขา้ ออกไม่เพยี งพอ

ชอ่ งวา่ งระหว่าง
แผ่นไม้กระดาน

แผน่ ไม้กระดานมีความหนาไม่เท่ากนั

พื้นนงั่ รา้ นสําหรับ
การทาํ งานสูงไมพ่ อ

รปู ท่ี 19 ตวั อยา่ งพน้ื น่ังร้านที่ไมป่ ลอดภยั สําหรับการทํางาน
(ขอ้ 4.11)

4.12 การป้องกันการตกด้านขอบ

นั่งร้านต้องติดต้ังอุปกรณ์เพ่ือป้องกันการตกด้านขอบ (edge protection) และด้านปลาย
ทีเ่ ปดิ โลง่ ของนง่ั รา้ น นอกจากน้ี การติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว มีจุดประสงค์ในการป้องกันการตกของคน
หรือสิ่งของจากความสูงเกินกว่า 2.0 เมตร การป้องกันการตกด้านขอบสามารถทําได้ด้วยการใช้
ราวกันตก ราวกลาง หรือแผ่นกันของตก ไม่อนุญาตให้ใช้ราวกันตกท่ีจัดเตรียมขึ้นจากเชือก
หรือลวดเหล็กแต่อนุโลมให้ใช้โซ่เหล็กสําหรับก้ันเป็นทางเข้าออกได้ การป้องกันการตกด้านขอบ
มีรายละเอียดเพม่ิ เตมิ ดังนี้

(1) วัสดุใช้ทําราวกันตก ราวกลาง หรือแผ่นกันของตกควรเป็นท่อเหล็ก ไม้เนื้อแข็ง หรือวัสดุอื่น
ทมี่ คี วามแขง็ แรงและเหมาะสมสําหรบั การปอ้ งกนั การตก

(2) ราวกันตกและราวกลางต้องมีเสารองรับทุกช่วงระยะห่างไม่เกิน 3.0 เมตร ราวกันตก
ควรมีความสงู ระหว่าง 0.90 เมตร ถึง 1.10 เมตร โดยวัดจากพื้นน่ังร้าน ราวกลางควรจัดให้อยู่ที่
ระดับกึง่ กลางความสูงระหว่างราวกันตกและแผน่ กนั ตก

มาตรฐานการตดิ ต้ังและการตรวจสอบโครงสร้างนง่ั รา้ น หน้าที่ 33

(3) แผ่นกันของตกควรมีกําลังของวัสดุและความแข็งเกร็งไม่น้อยกว่าแผ่นพ้ืนไม้นั่งร้าน
แผ่นกันของตกควรทําการยึดแน่นและสูงไม่น้อยกว่า 0.15 เมตรจากแผ่นพื้นน่ังร้าน
สําหรบั การทํางาน ช่องว่างระหวา่ งแผน่ พนื้ นัง่ ร้านสําหรบั การทํางานและแผ่นกันของตกควรมีค่า
ไมเ่ กนิ 10 มลิ ลเิ มตร

(4) ราวกันตก ราวกลาง และแผ่นกันของตกต้องทําการออกแบบให้สามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้
ตามรายละเอียดดังนี้
(ก) ราวบนและราวกลางต้องสามารถต้านทานแรงกระทําแบบจุดในแต่ละทิศทางได้ไม่น้อยกว่า
883 นิวตัน (90 กิโลกรัมแรง) โดยไม่เกิดการวิบัติ แผ่นกันของตกต้องสามารถต้านทานแรง
กระทําแบบจุดในแต่ละทิศทางได้ไม่น้อยกว่า 221 นิวตัน (22.5 กิโลกรัมแรง) โดยไม่เกิด
การวบิ ตั ิ
(ข) เสาต้องสามารถรับแรงกระทําแบบจุดในแต่ละทิศทางท่ีจุดยอดได้ไม่น้อยกว่า 883 นิวตัน
(90 กิโลกรัมแรง) โดยไมเ่ กดิ การวิบัติ

(5) กรณีที่ไม่มีราวกันตกหรือราวกลางท่ีขอบของนั่งร้านในส่วนพื้นที่การทํางานของอาคาร
หรือโครงสรา้ ง พื้นท่ีการทาํ งานของอาคารหรอื โครงสรา้ งต้องเป็นไปตามข้อกาํ หนดดังน้ี
(ก) ระยะจากขอบแผน่ พ้นื น่ังร้าน ตอ้ งไมเ่ กนิ 0.225 เมตร
(ข) ความสงู จากระดบั แผน่ พ้ืนน่ังร้าน ตอ้ งไมน่ ้อยกวา่ 0.90 เมตร
(ค) กําลังของวัสดแุ ละความแขง็ เกร็งของโครงสรา้ งตอ้ งไม่นอ้ ยกวา่ ราวกันตก
(ง) โครงสรา้ งต้องสามารถทําหนา้ ทีแ่ ทนราวกนั ตกและราวกลางได้

(6) สําหรับกรณีท่ีไม่มีแผ่นกันของตกในส่วนพ้ืนที่การทํางานของอาคารหรือโครงสร้าง ระยะห่าง
ระหว่างพื้นท่ีการทํางานและขอบแผ่นพ้ืนน่ังร้านควรมีค่าไม่เกิน 0.225 เมตร และควรจัดให้มี
วธิ ีการปอ้ งกันอันตรายจากการตกของเศษวัสดุ

(7) ในบางกรณีที่มีความจําเป็น อนุญาตให้ใช้ชานรับ (catch platform) ดังรูปที่ 20 เพ่ือป้องกัน
การตก

มาตรฐานการตดิ ต้งั และการตรวจสอบโครงสร้างนัง่ รา้ น หนา้ ที่ 34


Click to View FlipBook Version