50
การปล่อยวางเป็นการทวนกระแส ทวนกระแสนิสัยเดิม
ของจติ ทสี่ ะสมมา ถา้ เราดใู หล้ ะเอยี ดจะเหน็ วา่ มนั มกี ระบวนการ
ท่ีต่อเน่ืองเป็นลูกโซ่ คนท่ีศึกษาเร่ืองปฏิจจสมุปบาทจะเข้าใจดี
โดยเฉพาะเวลาเกิดผสั สะ เม่ือมีผัสสะ ตาเห็นรปู หไู ดย้ ินเสยี ง
จะเปน็ อารมณท์ น่ี า่ ใคร ่ นา่ ยนิ ด ี นา่ พอใจ หรอื ไมน่ า่ ใคร ่ ไมน่ า่
ยินดี ไม่น่าพอใจ ก็แล้วแต่ ก็จะเกิดเวทนาข้ึนมา เป็นสุขบ้าง
ทกุ ขบ์ า้ ง สง่ิ ทตี่ ามมาคอื ตณั หา อปุ าทาน ตณั หาคอื ความอยาก
อุปาทานคือความยึด พออยากแล้วก็ยึด ติดตรึง นี่คอื สิ่งท่เี กดิ
ข้ึนเป็นอัตโนมัติของคนทั่วไป คือพอตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง
ก็เกิดเวทนา พอเกิดเวทนาก็ต่อเป็นตัณหาอุปาทาน เป็นความ
ยึดความอยากเลย สุดท้ายก็เกิด ภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาส
พดู ยอ่ ๆ กค็ อื พอมคี วามยดึ ความอยากเกดิ ขน้ึ ใจกเ็ รา่ รอ้ น
ข้ึนมา ไม่ว่าจะเป็นเพราะอยากได้หรืออยากผลักไสก็ตาม พอ
อยากแลว้ กต็ อ้ งดนิ้ รน เรยี กวา่ เกดิ ปรเิ ยสนา คอื การแสวงหา อยู่
เฉยไมไ่ ด ้ ตอ้ งออกไปแสวงหาใหส้ มอยาก ถา้ ยงั ไมไ่ ดส้ มอยากก็
จะเกิดความยึดตดิ แนน่ มากข้นึ
กระบวนการดนิ้ รนใหไ้ ดส้ มอยาก เรยี กวา่ ภพ หรอื กรรม
ภพ เปน็ กระบวนการทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ทกุ ข ์ ทกุ ขเ์ พราะดนิ้ รนใหไ้ ดม้ า
หรือทุกข์เพราะผลักไสออกไป ระหว่างที่ยังไม่ได้มาก็มีความ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 51
ขัดเคืองใจ ระหว่างที่ผลักไสออกไปยังไม่ส�ำเร็จก็มีความทุกข์
เหมือนเราได้ยินเสียงดังรบกวน เช่น เสียงโทรศัพท์ดังขณะฟัง
ธรรม หรอื ขณะดหู นงั ใจกต็ รงึ อยกู่ บั เสยี งนน้ั แลว้ กไ็ มพ่ อใจที่
เสยี งไมเ่ งยี บเสยี ท ี คดิ แตว่ า่ ทำ� อยา่ งไรเสยี งนน้ั จงึ จะเงยี บ ทำ� ไม
เจ้าของโทรศัพท์ไม่ปิดเสียง ท�ำไมเปิดโทรศัพท์เอาไว้ขณะที่มา
ฟังธรรม ใจก็วนเวียนคิดแต่เรื่องน้ี ไม่รับรู้ส่ิงอ่ืนเลย ไม่ว่าจะ
เป็นการแสดงธรรมที่อยู่ข้างหน้าเรา หรือหนังท่ีเคล่ือนไหวบน
จอข้างหน้าก็ไม่สนใจ ใจมันยึดแล้วก็อยาก เลยวนเวียนอยู่กับ
สง่ิ นี้ แลว้ เกดิ อะไรข้นึ ก็เปน็ ทุกข์
น้ีคือนิสัยความเคยชินของใจ เรียกว่าเป็นธรรมชาติเลย
กไ็ ด ้ แตเ่ มอ่ื เราเจรญิ สต ิ จติ กจ็ ะเกดิ จดุ หกั เลยี้ ว เกดิ จดุ แยกขน้ึ
มา ถา้ เรามสี ตริ ทู้ นั ใจของเราไดฉ้ บั ไว พอผสั สะเกดิ ขนึ้ มเี วทนา
เกิดตามมา สติก็มาท�ำงาน ชักน�ำจิตออกไปสู่ทางแยกใหม่
ไมใ่ ชไ่ หลไปสตู่ ณั หา อปุ าทาน สตจิ ะตดั หนา้ ตณั หา ชกั นำ� จติ
ไปสู่อีกทางหน่ึง สู่อีกร่องหนึ่ง พอมีสติก็ไม่เกิดความยึดความ
อยากข้ึน แค่รู้เฉยๆ จิตจึงเป็นอุเบกขา เป็นกลางๆ เป็นปกติ
ไมย่ ดึ ไมอ่ ยาก ไมว่ ่าอยากผลกั ไสหรอื ไขวค่ วา้
ถ้าไม่มีสติ จิตก็ถูกชักน�ำไปสู่ความยึดอยากและความ
ทุกข์ในท่ีสุด แต่เมื่อมีสติ จิตก็ถูกชักน�ำไปอีกทางหน่ึงซ่ึงเป็น
ความไม่ทุกข์ เหมือนกับว่าเกิดทางแยกใหม่ที่น�ำจิตหรือกระแส
52
ความคดิ ไปสคู่ วามปกติ จะเรยี กวา่ เปน็ กระแสแหง่ ความสขุ กไ็ ด้
ซงึ่ ยอ่ มนำ� ไปสกู่ ระบวนการแหง่ ปญั ญา เพราะทำ� ใหเ้ ขา้ ใจสงิ่ ตา่ งๆ
อย่างที่เป็น ไม่ใช่อย่างที่อยากให้เป็น ไม่ใช่อย่างท่ีอยากจะ
ผลักไสออกไป ตรงนเ้ี รียกว่าเป็นการทวนกระแสก็ได้
ธรรมดาของจติ น้นั นอกจากชอบส่งออกนอก และชอบ
ยึดติดแล้ว ยังมักไหลเข้าหาทุกข์ เวลาเกิดผัสสะ ถ้าไม่มีสติ
ก็เกิดเวทนา แล้วต่อไปเป็น ตัณหา อุปาทาน ภพชาติ ชรา
มรณะ ทกุ ข ์ โทมนสั เลย แตถ่ า้ มสี ตทิ นั ทที เี่ กดิ ทกุ ขเวทนา หรอื
สขุ เวทนา หรอื มสี ตติ ง้ั แตข่ นั้ ผสั สะ จติ กไ็ ปอกี ทางหนง่ึ เปน็ ทาง
ทไ่ี มไ่ ดไ้ ปสทู่ กุ ข ์ แตไ่ ปสสู่ ภาวะทเี่ ปน็ ปกต ิ เปน็ เสน้ ทางสวู่ ปิ สั สนา
ทจ่ี ะทำ� ใหเ้ หน็ สง่ิ ตา่ งๆ อยา่ งทเ่ี ปน็ ไมใ่ ชอ่ ยา่ งทใ่ี จอยากใหเ้ ปน็
หรือชนดิ ทหี่ ลอ่ เล้ียงกิเลส ไดแ้ กต่ ณั หา อปุ าทาน หรืออวชิ ชา
ตรงน้ีเป็นสิ่งส�ำคัญท่ีเราต้องหมั่นฝึกปฏิบัติเอาไว้ กระบวนการ
ดงั กลา่ วจะเรยี กวา่ “กระแสแหง่ ววิ ฒั น”์ กไ็ ด ้ แตถ่ า้ หากปลอ่ ย
ใจไปตามนิสัยความเคยชนิ เดิม คอื พอมผี ัสสะ เวทนา ก็ตอ่ ไป
เปน็ ตณั หา อปุ าทาน ทำ� ใหห้ มนุ เวยี นอยใู่ นความเกดิ ความดบั
มีภพ มีชาติ มีชรา และมรณะ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่จบ
ไม่สิ้น เรียกวา่ เป็น “กระแสแหง่ สงั สารวัฏ”
ทพี่ ระพทุ ธเจา้ อบุ ตั ขิ น้ึ มาไดก้ เ็ พราะวา่ พระองคท์ วนกระแส
น ี้ แทนทจ่ี ะปลอ่ ยใจไหลไปตามกระแสแหง่ สงั สารวฏั กไ็ ปตาม
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 53
กระแสแหง่ ววิ ฒั น ์ ทำ� ใหเ้ ขา้ ถงึ วมิ ตุ ต ิ และนพิ พาน หลดุ พน้ จาก
วฏั ฏสงสาร อนั เปน็ หนทางไปสคู่ วามพน้ ทกุ ขอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ เปน็
โลกตุ ตรภาวะ ถงึ แมว้ า่ เรายงั ไปไมถ่ งึ ขน้ั นน้ั แตว่ า่ การมสี ตกิ ท็ �ำ
ใหใ้ จเราแยกไปสเู่ สน้ ทางทไี่ มท่ กุ ขเ์ มอื่ เกดิ ผสั สะ ทำ� ใหเ้ ราสามารถ
หลดุ พน้ จากอำ� นาจของอารมณต์ า่ งๆ เปน็ คราวๆ ไป เกดิ ความ
ตื่นรู้ข้ึน ถึงแม้ว่าเป็นไปได้ยากท่ีคนธรรมดาจะไม่เกิดอารมณ์
เมื่อมีผัสสะแต่ก็ยังมีช่องที่สติจะมาทันท่วงท ี และดึงจิตให้หลุด
จากอารมณ์นั้นได้
หลวงพอ่ พธุ ฐานโิ ย เลา่ วา่ สมยั ทท่ี า่ นยงั หนมุ่ บวชไดร้ าว
สิบพรรษา วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินบิณฑบาตในตัวเมืองอุบล
ราชธาน ี เหน็ โยมผหู้ ญงิ คนหนงึ่ กบั ลกู ชายอายรุ าว ๕ ขวบ ยนื รอ
ใส่บาตร ท่านก็เดินไปหา พอเดินเข้าไปใกล้ๆ เด็กคนน้ีก็มอง
มาท่ีท่านแล้วพูดขึ้นมาว่า “มึงบ่แม่นพระดอก มึงบ่แม่นพระ
ดอก” พอทา่ นไดย้ นิ กเ็ กดิ ความขนุ่ เคอื งขน้ึ มา ปกตคิ งไมม่ ใี คร
เจอค�ำพูดแบบน้ี อย่าว่าแต่จากปากของเด็กเลย จากปากของ
ผใู้ หญก่ ค็ งไมเ่ คยเจอ พอเจอแบบนกี้ ต็ อ้ งเกดิ ความไมพ่ อใจขนึ้ มา
แต่ช่ัวขณะน้ันเอง ท่านมีสติเห็นความไม่พอใจเกิดข้ึน ก็ได้คิด
ขนึ้ มาทนั ท ี ทา่ นนกึ ในใจวา่ “เออ จรงิ ของมนั เราไมใ่ ชพ่ ระหรอก
ถา้ เราเปน็ พระเราตอ้ งไมโ่ กรธซ”ิ พอคดิ อยา่ งน ี้ ความโกรธกห็ าย
แลว้ ทา่ นกเ็ ดนิ ไปรบั บาตรจากแมข่ องเดก็ คนนน้ั ดว้ ยใจปกติ ทา่ น
ยงั พดู ถึงเดก็ คนน้ันว่าเปน็ อาจารยข์ องท่าน
54
นเ้ี ปน็ ตวั อยา่ งของการรทู้ นั ใจตน พอมสี ตเิ หน็ ความโกรธ
สติก็ชักพาจิตออกไปสู่ร่องใหม่ ถ้าเป็นร่องเดิมก็คือร่องแห่ง
ความทกุ ข ์ สว่ นรอ่ งใหมเ่ ปน็ รอ่ งทหี่ ลดุ จากความทกุ ข ์ ไปสคู่ วาม
ไม่ทุกข์ หรือความปกติ เรื่องน้ีถ้าอธิบายในเชิงปริยัติก็ต้องพูด
วา่ พอมสี ตกิ เ็ กดิ โยนโิ สมนสกิ ารขน้ึ กค็ อื การรจู้ กั คดิ หรอื คดิ เปน็
คดิ ถกู โยนโิ สมนสกิ ารทำ� ใหใ้ จสงบ เปน็ กศุ ล เกดิ ธรรมขน้ึ ในใจ
แทนที่จะโกรธ ก็เห็นว่าตัวเองยังมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง จิตท่ี
อยากจะฝึกตนก็ทำ� ใหค้ วามโกรธไม่สามารถครอบงำ� ได้
สติเป็นปัจจัยให้เกิดโยนิโสมนสิการ พอโยนิโสมนสิการ
เกดิ ขนึ้ กช็ กั กระแสความคดิ ออกจากรอ่ งเดมิ หรอื นสิ ยั เดมิ เหมอื น
กบั นำ�้ แทนทจี่ ะไหลไปทางเดมิ กไ็ หลไปสรู่ อ่ งใหม ่ ทำ� ใหร้ อ่ งใหม่
ลกึ ขน้ึ กว้างขนึ้ อนั นเี้ รียกว่าเป็นการทวนกระแสอย่างหน่ึง
การปฏิบัติธรรมหรือการเจริญสติคือการทวนกระแสของ
ตัณหา อุปาทาน หรือกระแสแห่งความทุกข์ ไปสู่กระแสแห่ง
ความไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นเราจึงควรหม่ันปฏิบัติอยู่เสมอ แต่ก็
ตอ้ งไมล่ มื วา่ ขนึ้ ชอ่ื วา่ การทวนกระแสแลว้ ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งงา่ ย บางที
ก็ถูกกระแสเดิมพัดไปตามร่องเดิม แต่เราก็อย่าท้อถอย ท�ำไป
เรอ่ื ยๆ ไมท่ อ้ ไมถ่ อย เหมอื นอยา่ งคณุ ปา้ ชาวเกาหลคี นหนง่ึ ท่ี
พยายามสอบใบขบั ขซี่ ำ้� แลว้ ซำ้� เลา่ ไมใ่ ช ่ ๑๐-๒๐ ครงั้ แกสอบ
ถึง ๗๗๕ คร้ังก็ยังไม่ได้ แต่แกก็ไม่ท้อถอย สอบแล้วสอบอีก
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 55
จนสอบไดใ้ นทสี่ ดุ หลงั จากทสี่ อบมาแลว้ ๙๕๐ ครงั้ ใชเ้ วลาถงึ
๔ ปี สอบแทบทุกวัน สอบอยู่น่ันแหละไม่ยอมเลิก เรียกได้ว่า
มีความเพียร ไม่ทอ้ ไม่ถอย
ฉะนนั้ เวลาเราพลงั้ เผลอ ถกู พดั ไปตามกระแสกอ็ ยา่ ทอ้ ถอย
กลบั มาสใู้ หม ่ กลบั มาตงั้ หลกั ใหม ่ ในทส่ี ดุ จติ กจ็ ะเฉลยี วฉลาด
สตจิ ะทำ� งานไดไ้ วขนึ้ สามารถทวนกระแสกเิ ลสได ้ แทนทจ่ี ะมวั
สง่ จติ ออกนอก กก็ ลบั มาตามร ู้ ดใู จของตวั เอง แทนทจี่ ะไหลไป
ตามกระแสแห่งความยึดติด ก็ปล่อยวาง แทนท่ีจะไหลไปตาม
กระแสแหง่ ความทกุ ข ์ ตณั หา อปุ าทาน กม็ าสกู่ ระแสแหง่ ความ
ตื่นรู้ จนหลุดพน้ จากทกุ ขไ์ ด้
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 57
๖
ท า ง แ ย ก สู่ ค ว า ม สุ ข
ครอบครัวหน่ึงมีพ่อแม่กับลูกสาว เช้าวันหน่ึงขณะกินอาหาร
เชา้ ดว้ ยความเผลอเรอ ลกู สาววยั ๘ ขวบทำ� แกว้ นำ�้ ตกกระแทก
พน้ื แตก พอ่ จงึ ดา่ วา่ ลกู คงจะวา่ ลกู แรงไปหนอ่ ย ลกู กเ็ ลยรอ้ งไห้
แม่จึงต�ำหนิพ่อ พ่อก็เลยทะเลาะกับแม ่ มีปากเสียงกันพักใหญ่
ก็นึกขึ้นมาได้ว่าสายแล้ว พ่อรีบขึ้นไปเอากระเป๋าท�ำงานท่ีห้อง
แล้วรีบขับรถพาลูกไปส่งโรงเรียน แต่เน่ืองจากเสียเวลาทะเลาะ
เบาะแวง้ กนั บนโตะ๊ อาหาร ทจี่ รงิ กแ็ ค่ ๕ นาท ี ๑๐ นาท ี แตท่ ่ี
กรงุ เทพฯ ถ้าชา้ เพยี งไมก่ ่นี าทีกม็ ีความหมายมาก เพราะรถติด
หนักข้ึน ท�ำให้ไปส่งลูกช้า ได้เวลาเข้าเรียนแล้วแต่ลูกเพิ่งถึง
โรงเรยี น ลกู จงึ ถกู ครลู งโทษ สว่ นพอ่ กถ็ งึ ทที่ ำ� งานสาย วนั นน้ั มี
ประชุมนัดส�ำคัญ พอไปถึงที่ประชุมสาย ก็ถูกเจ้านายต่อว่า
58
แต่นั่นยังไม่เท่าไหร่ การประชุมเช้าวันนั้นเป็นการประชุมกับ
ลูกค้าคนส�ำคัญ ปรากฏว่าดว้ ยความทพ่ี อ่ เรง่ รบี ตอนเกบ็ กระเปา๋
ท�ำงาน จึงลืมเอกสารส�ำคัญไว้ที่บ้าน การประชุมเลยไม่ได้ผล
อย่างที่ต้องการ เจ้านายจงึ ต่อวา่ เขาอย่างแรง
วนั นน้ั ผเู้ ปน็ พอ่ อารมณเ์ สยี ทง้ั วนั ทำ� งานดว้ ยความเครยี ด
หงุดหงิด พอเลิกงานก็ขับรถกลับมาด้วยอารมณ์เสีย เพราะ
งานการไมไ่ ดเ้ รอ่ื งทง้ั วนั ปรากฏวา่ เผลอขบั รถเฉย่ี วชนรถคนั อนื่
กลางทาง เสยี ทงั้ เวลาเสยี ทงั้ เงนิ กวา่ จะถงึ บา้ นกค็ ำ่� เจอภรรยา
กห็ งดุ หงดิ เลยทะเลาะกนั ตอ่ สามคี ดิ วา่ เปน็ เพราะภรรยามปี าก
เสยี งกบั เขา เขาจงึ ไปทำ� งานสาย แลว้ เกดิ ปญั หาตา่ งๆ ตามมา
มากมาย ทะเลาะกันอยู่นาน จนลูกสาวเสียขวัญ เก็บตัวนอน
อยู่แต่ในห้อง เป็นอันว่าคืนนั้นท้ังคืน ทั้งพ่อแม่ลูกนอนไม่หลับ
ไมม่ ีใครมคี วามสุขสกั คน
น่ีเป็นเร่ืองที่คล้ายคลึงกับชีวิตของคนจ�ำนวนไม่น้อยใน
เมืองเวลาน้ี ดูจากเหตุการณ์ดังกล่าวตั้งแต่เช้าจนคำ่� คนท่ัวไป
คงมองวา่ วนั นนั้ เปน็ วนั ซวยของผเู้ ปน็ พอ่ เพราะมเี รอื่ งมรี าวตลอด
ท้ังวัน แต่ถ้าจะดูให้ดีท้ังหมดนี้เกิดข้ึนจากจุดเล็กๆ จุดหน่ึง
แลว้ ก็สง่ ผลกระทบกันเป็นลูกโซ่
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 59
ในชีวิตของคนเราบางคร้ังเร่ืองราวใหญ่โตเกิดขึ้นโดย
เรมิ่ ตน้ จากจดุ เลก็ ๆ ดใู หด้ มี นั ไมใ่ ชค่ วามซวยของใครเลย และ
ไมใ่ ชค่ วามบงั เอญิ ดว้ ย เพราะมนั มที มี่ าทไี่ ป มเี หตปุ จั จยั โดย
เหตุน้ันอาจจะเป็นจุดเล็กๆ อย่างในเร่ืองนี้เหตุการณ์ทั้งหมดมี
จุดเร่ิมจากการที่ลูกสาวท�ำแก้วน้�ำตก แต่อันท่ีจริงการที่ลูกสาว
ทำ� แกว้ นำ้� ตก ไมใ่ ชส่ าเหตสุ ำ� คญั ทที่ ำ� ใหเ้ กดิ เรอ่ื งเกดิ ราวกระทบ
เป็นลกู โซ่ตลอดทงั้ วัน ถ้าหากพอ่ ไม่โกรธหรือตอ่ วา่ ลกู สาวอยา่ ง
รุนแรง วันนั้นก็คงจะจบลงด้วยดี
เราลองสมมติว่าถ้าพ่อไม่โกรธลูก เพียงแต่ตักเตือนลูก
ว่าให้กินน้�ำด้วยความระมัดระวังมีสติ ลูกก็คงไม่ร้องไห้ และก็
แม่ก็คงไม่ต�ำหนิหรือต่อว่าพ่อจนมีปากเสียงกัน เม่ือได้เวลาพ่อ
ก็ขึ้นไปเก็บกระเป๋าเอกสารและออกจากบ้านตรงเวลา ไปส่งลูก
ทนั เวลาเพราะรถไมต่ ดิ ไปถงึ ทท่ี ำ� งานกไ็ มส่ าย มเี วลาเตรยี มตวั
เข้าประชุมกับลูกค้า เอกสารส�ำคัญก็เอาติดมากับกระเป๋าด้วย
เพราะไม่ได้เร่งรีบเก็บกระเป๋าก่อนออกจากบ้าน การประชุมก็
เสร็จสิ้นด้วยดี ผู้เป็นพ่อก็สบายใจ วันน้ันทั้งวันก็ท�ำงานด้วยดี
ขบั รถกลบั บา้ นเรยี บรอ้ ยปลอดภยั ถงึ บา้ นกอ็ ารมณด์ คี ยุ กนั ตาม
ประสาพอ่ แมล่ กู ไมม่ เี รอ่ื งไมม่ รี าวอะไร คนื นนั้ พอ่ แมล่ กู กเ็ ขา้ นอน
ดว้ ยความสขุ
60
ทว่ี า่ มานเี้ ปน็ ภาพเหตกุ ารณส์ องเหตกุ ารณท์ มี่ คี วามแตกตา่ ง
กนั มาก ทง้ั ๆ ทมี่ จี ดุ เรม่ิ ตน้ เหมอื นกนั คอื ลกู ทำ� แกว้ นำ้� ตก แต่
เหตุการณ์แรกก่อให้เกดิ ปัญหาตามมาตลอดวัน ซึ่งใครๆ เรยี ก
วา่ วนั ซวย ทงั้ นเี้ กดิ จากพอ่ ไปดา่ วา่ ลกู แตอ่ กี เหตกุ ารณห์ นง่ึ ลกู
ท�ำแก้วน้�ำตกแตกเหมือนกัน แต่พ่อไม่โกรธลูก จริงๆ แล้วจุด
เร่มิ ตน้ ของปัญหาทงั้ หมดอยู่ท่ตี รงน้ี
เหตกุ ารณส์ องเหตกุ ารณแ์ ตกตา่ งกนั มาก เหตกุ ารณห์ นงึ่
เต็มไปด้วยเร่ืองร้าย เป็นวันร้ายท่ีสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยว
ข้อง อีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นวันดีท่ีท�ำให้ทุกฝ่ายมีความสุข มัน
เร่ิมต้นเหมือนกัน แต่ลงท้ายต่างกัน ก็เพราะจุดส�ำคัญอยู่ที่
ปฏกิ ริ ยิ าของพอ่ ตอ่ เหตกุ ารณท์ ล่ี กู ทำ� แกว้ นำ�้ แตก ตรงนเี้ ปน็ เรอ่ื ง
ทีน่ า่ พิจารณา
ความทุกข์ของผู้คนไม่ได้เกิดจากการมีเหตุร้ายเกิดข้ึน
หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา แต่เกิดจากการวางใจหรือ
มปี ฏกิ ริ ยิ าทไี่ มถ่ กู ตอ้ งตอ่ เหตกุ ารณท์ เี่ กดิ ขนึ้ การทลี่ กู ทำ� แกว้ นำ�้
แตกไม่ได้แปลว่าพ่อจะต้องโกรธใส่ลูกเสมอไป ถ้าพ่อมีสติ มี
ความยบั ยง้ั ชงั่ ใจ รทู้ นั อารมณท์ เ่ี กดิ ขนึ้ เมอื่ เหน็ ลกู ทำ� แกว้ นำ้� ตก
แตกกร็ ะงบั ความโกรธไวไ้ ด ้ พดู จากบั ลกู ดว้ ยด ี ทกุ อยา่ งทเี่ กดิ ขนึ้
ตามมาในวนั นนั้ กจ็ ะราบรนื่ แตเ่ ปน็ เพราะพอ่ ไมม่ สี ตริ ทู้ นั อารมณ์
เวลาเกิดผัสสะ ก็เลยปล่อยใจปล่อยอารมณ์ไหลไปตามความ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 61
เคยชิน จึงเกิดความไม่พอใจเมื่อเห็นลูกท�ำแก้วน�้ำตก น่ีเป็น
กระแสความเคยชินท่เี กดิ ข้ึนซ�้ำแลว้ ซำ�้ เล่าจนน�ำไปส่คู วามทกุ ข์
เพียงแค่เรามีสติก็สามารถชักน�ำใจให้หลุดจากกระแส
ความเคยชินที่น�ำไปสู่ความทุกข์ได้ จิตใจของเราจะบ่ายหน้าสู่
ทกุ ขห์ รอื สขุ อยทู่ ว่ี า่ เรามปี ฏกิ ริ ยิ าอยา่ งไรตอ่ เหตกุ ารณท์ เี่ กดิ ขน้ึ
การมีปฏิกิริยาที่ไม่ถูกต้องต่อเหตุการณ์เล็กๆ อาจน�ำไปสู่เหตุ
การณ์ร้ายๆ ที่บานปลาย แต่ถ้าวางใจไว้ถูกต้อง ชีวิตก็แยกไป
อกี ทางหนง่ึ สคู่ วามสงบราบรืน่ เปน็ ปกติ
ชวี ติ คนเราสามารถจะแยกไปสสู่ ขุ หรอื ทกุ ขไ์ ดต้ ลอดเวลา
และทางแยกกอ็ าจจะอยทู่ เ่ี หตกุ ารณเ์ ลก็ ๆ ทเ่ี ปน็ ธรรมดาสามญั
ฉะนน้ั การทเ่ี รามสี ตใิ นเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ทเี่ กดิ ขนึ้ ไมว่ า่ เลก็ หรอื ใหญ่
จงึ เปน็ สงิ่ สำ� คญั ถงึ แมว้ า่ จะเปน็ เหตกุ ารณท์ ไ่ี มด่ ี ไมพ่ งึ ประสงค์
แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วไม่จ�ำเป็นว่าจะต้องพาเราไปสู่ความทุกข์
หรอื ความวนุ่ วายเสมอไป เพยี งแคเ่ รามสี ติ วางใจใหถ้ กู ชวี ติ ก็
สามารถดำ� เนินสคู่ วามปกติราบรนื่ หรอื เป็นสขุ ได้
สติจึงเป็นเรื่องส�ำคัญมาก สติสามารถชักน�ำความคิด
จติ ใจ หรอื ชวี ติ ของเราใหเ้ ปน็ ไปในทางทถ่ี กู ทคี่ วร ไมถ่ กู อารมณ์
ทเี่ กดิ ขน้ึ ชกั พาหรอื ลากจงู ไปผดิ ทศิ ผดิ ทาง เตลดิ เปดิ เปงิ จนเปน็
ทุกข์ คนจ�ำนวนไม่น้อยมีความวุ่นวายเดือดร้อนในชีวิตเพราะ
62
เกดิ เหตกุ ารณเ์ ลก็ ๆ ทไี่ มน่ กึ ไมฝ่ นั วา่ จะนำ� ไปสเู่ หตกุ ารณใ์ หญโ่ ต
ได้ อย่างเช่นการขับรถไปท�ำงานก็เป็นกิจกรรมธรรมดาในชีวิต
ประจ�ำวัน แตถ่ า้ ขับรถอยา่ งไม่มีสต ิ อาจเปน็ เพราะใจลอยหรือ
ก�ำลังสนทนาเพลิดเพลินอย่างออกรสออกชาติกับเพื่อนในรถ
เพียงชั่วขณะเดียวท่ีไม่มีสติ ก็อาจน�ำไปสู่เหตุการณ์ท่ีร้ายแรง
ตามมา เช่น ขับรถชนคน หรือรถไปเฉี่ยวชนคันอื่น แทนท่ีจะ
ขอโทษขอโพย ก็กลับพูดจาท้าท้ายรถท่ีถูกเฉี่ยวน้ัน เจ้าของรถ
เลยโมโหควักปืนออกมายิง อาจจะไม่โดนตัวเอง แต่พลาดไป
โดนคนในรถตาย เกดิ เรือ่ งราวตามมาอีกมากมาย
พระพุทธเจ้าตรัสว่าสติจ�ำเป็นในที่ทุกสถาน อย่าคิดว่า
เหตุการณ์ธรรมดาๆ เราไม่ต้องมีสติก็ได้ ปล่อยชีวิตจิตใจไป
ตามกระแสความเคยชิน อันน้ีเป็นเร่ืองท่ีอันตราย จะว่าไปแล้ว
คนเราอยู่กับความหลงเสียเยอะ คือปล่อยใจไปกับความหลง
ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรมากระทบก็ดีไป แต่ถ้ามีเหตุร้ายหรือ
เหตุการณ์ท่ีไม่พึงประสงค์มากระทบ และไปเก่ียวข้องกับมัน
ไมถ่ กู ตอ้ งกเ็ กิดเร่อื งต่อเน่อื งเป็นลูกโซ่จนบานปลายก็มี
ดงั นนั้ การทเี่ รามาปฏบิ ตั ธิ รรมจงึ ถอื วา่ เปน็ เรอื่ งด ี คอื แทนท่ี
จะปลอ่ ยใจไปตามกระแสอารมณ์ จนกระทงั่ ไปสคู่ วามทกุ ข์ เรา
ก็ยกจิตขึ้นเหนือกระแสนั้น หรือชักพาจิตออกจากกระแสน้ัน
ไปสู่กระแสใหม่ เป็นกระแสแห่งความสุข แห่งความปกติที่น�ำ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 63
ไปสกู่ ารหลดุ พน้ จากความทกุ ข์ จดุ แยกกอ็ ยตู่ รงนแ้ี หละคอื มสี ติ
จุดแยกท่ีจะพาใจออกจากความทุกข์ไปสู่ความไม่ทุกข์
เริ่มต้นที่การมีสติเมื่อเกิดผัสสะหรือเม่ือมีเวทนาเกิดขึ้น ตรงนี้
เปน็ จดุ แยกทส่ี ำ� คญั ซง่ึ ตอ้ งเกดิ จากการฝกึ ฝน เกดิ จากการปฏบิ ตั ิ
เกดิ จากการหมนั่ ตามดรู ใู้ จของตวั แตไ่ มใ่ ชไ่ ปจอ้ ง ไมใ่ ชไ่ ปเพง่
ตลอดเวลา อนั นนั้ เราทำ� ไมไ่ ดเ้ พราะเรากต็ อ้ งเกยี่ วขอ้ งกบั สงิ่ แวด-
ล้อมภายนอก เช่นเวลาขับรถ ตาเราก็ต้องมองถนน ต้องคอย
ดูรถ คอยดูผู้คนบนถนนหรือสองข้างทาง แต่ถ้าเราหมั่นดูรู้ใจ
บอ่ ยๆ เวลาใจลอยกจ็ ะรเู้ องวา่ ใจลอย เผลอไปแลว้ รไู้ ดอ้ ยา่ งไร
ก็รดู้ ้วยสต ิ
สตเิ ปน็ เสมอื นสญั ญาณเตอื น เปน็ ตวั บอกเราโดยทไ่ี มต่ อ้ ง
บงั คบั ไมต่ อ้ งกะเกณฑห์ รอื จงใจ เขาทำ� งานเอง ทเ่ี ขาทำ� งานเอง
เพราะเราฝกึ จนกลายเปน็ นสิ ยั ขนึ้ มา ทำ� ใหร้ ะลกึ รเู้ วลามอี ารมณ์
หรอื ความรสู้ กึ นกึ คดิ เกดิ ขน้ึ โดยไมต่ อ้ งจงใจร ู้ แตเ่ ขารเู้ อง อนั เกดิ
จากการหม่นั เจรญิ สตอิ ยู่เสมอ
ตอนปฏิบัติ เราก็เอากายเป็นฐาน เอาอิริยาบถทางกาย
เป็นเครื่องอยู่ แต่ไม่ใช่อยู่แบบเพลินๆ แต่รู้กายที่เคลื่อนไหว
ทำ� อะไรกร็ ู้ ใหมๆ่ ไมค่ อ่ ยรหู้ รอกวา่ กายทำ� อะไร เพราะใจลอย
ไปโน่น ลอยไปน่ี แต่เม่ือเราฝึกให้หม่ันรู้กายอยู่เสมอ ไม่ว่า
64
ลมหายใจเขา้ ออกกด็ ี เดนิ จงกรมกด็ ี ยกมอื เคลอื่ นไหวกด็ ี การ
รสู้ กึ ถงึ กายทเี่ คลอื่ นไหว เปน็ เหมอื นเครอ่ื งเตอื นใจในยามทเ่ี ผลอ
ชว่ ยให้จิตกลบั มาท่กี ายบอ่ ยๆ เรียกวา่ กลบั มาอยู่กับปจั จุบนั
การฝกึ แบบนเ้ี หมอื นกบั การฝกึ ลกู หมา ลกู หมาตวั นชี้ อบ
ออกไปเลน่ นอกบา้ น เรากห็ มน่ั เรยี กมนั ใหก้ ลบั บา้ น มนั ออกไป
ทไี รเรากเ็ รยี กมนั กลบั มา ทแี รกเรยี กครง้ั เดยี วมนั ไมย่ อมกลบั มา
เรากต็ อ้ งเรยี กหลายครง้ั จนกระทง่ั มนั ร ู้ ไปไมน่ านกก็ ลบั มา ไม่
เถลไถลนาน มนั จะไวตอ่ เสยี งเรยี กของเรา เวลามนั เผลอออกไป
วง่ิ เลน่ นอกบา้ น พอเราเรยี กมนั มนั กน็ กึ ขน้ึ มาไดท้ นั ท ี รบี กลบั มา
บ้าน ตอนหลังมันรู้ของมันเอง เผลอออกไปข้างนอก ไม่ทันไร
ก็รตู้ วั กลบั มาบา้ นเองโดยไม่ต้องรอใหเ้ ราเรียกมนั
ความรู้สึกเวลายกมือเคลื่อนไหว ตามลมหายใจเข้าออก
หรือเดนิ จงกรม เปน็ เสมอื นสญั ญาณเตือน เป็นเสยี งเรยี กให้ใจ
กลบั มาทกี่ าย ลองสงั เกตดขู ณะทเ่ี รากำ� ลงั ปฏบิ ตั ธิ รรมอย ู่ ใจกล็ อย
ไปนึกถึงบ้าน แต่สักพักจิตรู้สึกถึงการเคล่ือนไหวของกาย ของ
ลมหายใจ ของมือที่เคล่ือนไหวไปมา หรือเท้าท่ีเคลื่อนไปมา
จิตก็กลับมาที่กายทันที ราวกับว่าความรู้สึกที่กายน้ันเป็นเสียง
เรียกให้จิตกลับมา พอเรียกปุ๊บ ก็นึกข้ึนมาได้ว่าใจลอยไปแล้ว
มันนึกขึ้นมาได้เอง เหมือนกับลูกหมาท่ีนึกขึ้นมาได้ว่าเผลอวิ่ง
ออกมาไกลแล้ว ต้องกลับบ้าน
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 65
นเ้ี ปน็ การฝกึ ใหจ้ ติ รเู้ ทา่ ทนั อารมณค์ วามคดิ นกึ โดยมกี าย
เป็นฐาน มีอิริยาบถการเคลื่อนไหวเป็นตัวเรียก เป็นตัวเตือน
การท�ำอย่างนี้จะช่วยฝึกให้ใจมีความรู้เท่าทันอารมณ์หรือความ
คิดนึกไวข้ึนเร่ือยๆ โดยที่เราไม่จ�ำเป็นต้องบังคับ หรือต้ังใจดู
ความคดิ เพยี งแคห่ มน่ั รกู้ ายบอ่ ยๆ ไมช่ า้ กเ็ รว็ กจ็ ะรใู้ จทคี่ ดิ นกึ
ได ้ นเี่ ปน็ การฝกึ ใหเ้ ขารโู้ ดยทเ่ี ราไมต่ อ้ งกะเกณฑ์ ไมต่ อ้ งบงั คบั
ไม่ตอ้ งจอ้ งเพ่งจิตอยู่ตลอดเวลา เราก็ทำ� งานของเราไป โดยใจ
อยกู่ บั กาย แตพ่ อใจเผลอหลดุ จากกายหรอื งานการ ออกไปนอกตวั
เรากร็ ู้ทนั
กค็ งเปรยี บเหมอื นเราอยบู่ า้ นซง่ึ มปี ระตรู ว้ั เราไมอ่ ยากให้
คนแปลกหนา้ หรอื ขโมยเขา้ มาในบา้ นจะทำ� อยา่ งไร เราคงไมจ่ อ้ ง
มองทปี่ ระตวู า่ เมอื่ ไหรข่ โมยหรอื คนแปลกหนา้ จะเขา้ มา ถา้ จอ้ งดู
อยา่ งนเ้ี รากไ็ มเ่ ปน็ อนั ทำ� อะไร เราไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งทำ� อยา่ งนน้ั กไ็ ด้
เรากท็ ำ� งานของเราไป ลา้ งจาน เยบ็ ผา้ หรอื กนิ ขา้ ว ระหวา่ งนนั้
อาจจะหนั หลงั ใหป้ ระตดู ว้ ยซ�้ำ แตพ่ อมคี นเดนิ ผา่ นประตเู ขา้ มา
เราก็รู้ทันที เหลียวไปดูก็เห็น อันน้ีเรียกว่ามีประสาทรับรู้ท่ีไว
แตบ่ างคนไมท่ ำ� อยา่ งนน้ั คอยจอ้ งมองประตเู พอ่ื ดวู า่ เมอ่ื ไหรจ่ ะมี
คนเข้ามา ท�ำอย่างน้ีก็เหน่ือย เครียด และเสียเวลาไม่เป็นอัน
ทำ� งานทำ� การ เราไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งทำ� ขนาดนน้ั กไ็ ด ้ เราจะหนั หลงั
ใหก้ ับประตูบา้ นกไ็ ด ้ ถา้ เรามีประสาทรบั รู้ที่ไว
66
แต่ใหม่ๆ เรายังท�ำอย่างน้ันไม่ได้ การรับรู้ของเรายัง
เชอ่ื งชา้ ไมฉ่ บั ไว กวา่ จะรวู้ า่ มคี นเขา้ บา้ น เขาไปเพน่ พา่ นอยใู่ น
หอ้ งรบั แขกหรอื อยบู่ นชน้ั สอง เขา้ ไปถงึ หอ้ งนอนของเราแลว้ กไ็ ด้
นกั ปฏบิ ตั ใิ หมๆ่ มกั เปน็ อยา่ งนน้ั กวา่ จะรวู้ า่ ใจลอย ฟงุ้ ซา่ น ก็
คิดไปไม่รู้กี่เร่ืองก่ีราวแล้ว อันนี้ก็เหมือนปล่อยให้คนแปลกหน้า
หรือขโมยเข้ามาถึงในห้องนอน หรือขึ้นไปถึงชั้นสองแล้ว แต่
ต่อมาเม่ือเรามีประสาทรับรู้ไว เพียงแค่คนแปลกหน้าหรือขโมย
ย่างเท้าผ่านประตูเข้ามา เราก็รู้ เหลียวกลับไปด ู พอสบตาเรา
เทา่ น้ัน เขาก็หนีไป เราไมต่ ้องว่ิงไล่เขา เขาไปเอง
ความคดิ ทลี่ กั คดิ เปน็ อยา่ งนน้ั ลกั คดิ นแี้ ปลวา่ ไมต่ งั้ ใจคดิ
เผลอคดิ เหมอื นขโมยทแ่ี อบเขา้ มาในใจของเรา แตพ่ อเรามสี ติ
เรารทู้ นั เราเหน็ มนั มนั กห็ นไี ป ตวั รนู้ ส้ี ำ� คญั มาก มนั มอี านภุ าพ
มาก เพยี งแคร่ ู้ ขโมยทแี่ อบเขา้ มากย็ อมแพ ้ หนไี ปทนั ท ี ฉะนนั้
เราควรหมนั่ ฝกึ สรา้ งตวั รเู้ อาไว ้ ตวั รนู้ เ้ี ปน็ ฝาแฝดของสต ิ สตจิ รงิ ๆ
หมายถึงความระลกึ ได ้ ระลกึ วา่ กำ� ลงั ท�ำอะไรอยู่ เมอื่ ระลกึ ร้วู ่า
ก�ำลังทำ� อะไรอยู ่ ความรตู้ ัวกเ็ กดิ ข้ึนตามมา
ในชวี ติ ประจำ� วนั คนส่วนใหญท่ ำ� กจิ ตา่ งๆ ดว้ ยความไมร่ ู้
เสยี เยอะ หรอื วา่ ทำ� แบบหลบั ๆ ตนื่ ๆ รแู้ บบครงึ่ ๆ กลางๆ ลอง
สงั เกตอริ ยิ าบถประจำ� วนั ด ู ไมว่ า่ จะเปน็ ถฟู นั อาบนำ�้ โดยเฉพาะ
กนิ ขา้ ว สว่ นใหญ่ทำ� ไปแบบหลบั ๆ ตนื่ ๆ รแู้ บบครงึ่ ๆ กลางๆ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 67
หรือว่าท�ำด้วยความหลง เคยมีการทดลองให้คนกลุ่มหนึ่งกิน
ซุปมะเขอื เทศ จานใสน่ ้�ำซุปเปน็ จานใหญ่ แตเ่ ป็นจานพิเศษคือ
ตรงก้นจานมีท่อที่สามารถเติมน�้ำซุปได้เร่ือยๆ แต่คนกินไม่รู้
เขาให้คนกินซุปจากจานดังกล่าว ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่กินไป
เรื่อยๆ โดยไม่สังเกตว่าซุปไม่หมดเสียที กินต้ังนานแต่พร่อง
นิดเดียว กไ็ มม่ ใี ครสงั เกต สดุ ท้ายเขาก็ตอ้ งหยุดเติมซปุ ไมง่ ั้น
อาสาสมัครคงกินซุปจนพุงกางหรือท้องแตก ค�ำถามก็คือท�ำไม
คนเหล่าน้ันไม่สงั เกตวา่ ซุปไม่หมดสักท ี กเ็ พราะเขาใจลอย กิน
อย่างไม่มีสติ ถ้ากินอย่างมีสติ ก็ต้องฉุกคิดว่าท�ำไมซุปไม่หมด
เสยี ที
ไม่ใช่เรื่องกินอย่างเดียว เร่ืองอ่ืนๆ คนส่วนใหญ่ก็ท�ำ
อย่างไม่มีสติ ท่ีจริงการกินอย่างไม่มีสติไม่ใช่เร่ืองใหญ่ แต่ใน
ระยะยาวจะกอ่ ปญั หา เพราะเดยี๋ วนคี้ นเรามปี ญั หามากจากการ
กินที่ไม่มีสติ เช่น กินตามใจปาก ท�ำให้เป็นโรคต่างๆ นานา
ทง้ั เบาหวาน โรคหวั ใจ และมะเรง็ หรืออาจเกิดเหตฉุ บั พลนั ได้
เช่น กินขนมขณะดูหนัง ดูโทรทัศน์ ของเกิดติดคอข้ึนมาก็มี
มีคนหนึ่งเล่าว่าเขาน่ังดูโทรทัศน์กับลุง ลุงก็น่ังเอนหลัง ดูไป
กก็ นิ ถวั่ ไป จๆู่ กล็ ม้ ลง ปรากฎวา่ ถว่ั ตดิ คอ หายใจไมอ่ อก อาจจะ
หัวใจวายซ้�ำก็ได้ เลยตายคาท่ี คนที่เล่าก็ไม่ได้สังเกตว่าเกิด
อะไรขึ้นกบั ลงุ มารอู้ กี ทลี งุ ก็ตายไปเสยี แล้ว อันนี้เป็นเพราะกนิ
แบบไมม่ สี ติ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 69
๗
ดู เ ฉ ย ๆ
หลักส�ำคัญส�ำหรับการเจริญสติ รวมไปถึงการท�ำวิปัสสนา
กรรมฐานด้วยก็คือ เป็นผู้ดู อย่าเป็นผู้เป็น หรือว่า ดู อย่า
เข้าไปเป็น
“ดู” กับ “เป็น” มันต่างกันมาก อะไรเกิดข้ึนก็ดูเฉยๆ
อนั นเี้ ปน็ หลกั ทใี่ ชไ้ ดต้ งั้ แตเ่ รมิ่ ปฏบิ ตั จิ นถงึ ทสี่ ดุ เพราะวา่ พอเรม่ิ
ปฏิบัติจะมีความนึกคิดต่างๆ เกิดข้ึนมา ความคิดเหล่าน้ีไม่
รบกวนใจ หรือไม่ท�ำให้เกิดความทุกข์ ถ้าเพียงแต่เป็นผู้ดู แต่
พอเปน็ ผเู้ ปน็ คอื เปน็ ผคู้ ดิ เปน็ ผเู้ ครยี ด เปน็ ผโู้ กรธ ความทกุ ข์
กเ็ กดิ ขน้ึ ทันท ี อีกท้ังยงั ท�ำใหก้ ารปฏบิ ัตกิ ลายเป็นเรอ่ื งยาก
70
แตถ่ า้ ดเู ฉยๆ มนั มาแลว้ กไ็ ป มาแลว้ กไ็ ป ไมร่ บกวนจติ ใจ
เท่าไร ทีนี้พอปฏิบัติมากเข้าๆ มีความเจริญก้าวหน้าในการ
ปฏบิ ตั ิ ถงึ จดุ หนงึ่ กอ็ าจจะเกดิ ปตี ขิ นึ้ มา เกดิ นมิ ติ ขน้ึ มา อนั นกี้ ็
เหมอื นกนั ถา้ เปน็ ผเู้ ปน็ หรอื เขา้ ไปเปน็ กจ็ ะเพลดิ เพลนิ หลงใหล
ในปีติ หรือต่ืนเต้นกับนิมิตท่ีเกิดข้ึน ท�ำให้การปฏิบัติเนิ่นช้า
ถึงจุดหน่ึงก็อาจจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส เช่น เห็นแสงสี หรือมี
ความรเู้ กดิ ขน้ึ มากมาย เหมอื นกบั วา่ ความรทู้ ซี่ อ่ นไวใ้ นใจพรงั่ พรู
ออกมา ถา้ ไมเ่ ปน็ ผดู้ ู แตก่ ลายเปน็ ผเู้ ปน็ เผลอคดิ วา่ ฉนั บรรลธุ รรม
แล้ว เป็นผู้รู้ ก็จะอยากสอน อยากแสดง จะเรียกร้องให้คน
มาฟงั ฉนั สอน อนั นเี้ ปน็ กบั ดกั ของนกั ปฏบิ ตั จิ ำ� นวนไมน่ อ้ ยทปี่ ระสบ
ความก้าวหน้าในระดับหน่ึง แต่ถ้าจับหลักให้ดีว่าไม่ว่าอะไรจะ
เกิดขึ้น ก็เป็นผู้ดูหรือดูเฉยๆ แม้มีอุปกิเลสเกิดข้ึนมากมายก็
ไมเ่ ป็นปัญหา สามารถก้าวข้ามไปได้
ทจ่ี รงิ การดโู ดยไมเ่ ขา้ ไปเปน็ หรอื ดโู ดยไมย่ ดึ ตดิ ถอื มนั่ วา่
เปน็ เรา เปน็ ของเรานน้ั ใชไ้ ดท้ กุ ขนั้ ตอนจนถงึ ทสี่ ดุ ของการปฏบิ ตั ิ
ตอ่ มาเมอื่ ถงึ จดุ หนง่ึ เจอผรู้ เู้ กดิ ขนึ้ กด็ เู ฉยๆ ไมไ่ ปสำ� คญั มนั่ หมาย
ว่าเราเป็นผู้รู้ หรือว่าผู้รู้เป็นเรา ก็จะผ่านกับดักนี้ได้ หรือว่า
ไม่เสียดายด้วยซ้�ำท่ีจะท�ำลายตัวผู้รู้ ครูบาอาจารย์ท่านเล่าว่า
นเี้ ปน็ กบั ดกั หรอื อปุ สรรคขน้ั สดุ ทา้ ยกอ่ นจะบรรลธุ รรม จะพน้ ทกุ ข์
ได้อย่างสิ้นเชิงต่อเมื่อก้าวข้ามกับดักนี้ให้ได้ อย่างที่นิกายเซน
บอกว่าถ้าเจอพระพุทธเจ้าก็ให้ฆ่าเสีย พระพุทธเจ้าในท่ีนี้ก็คือ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 71
ผู้รู้ หลวงปู่ดูลย์ก็พูดคล้ายๆ กันว่า “พบผู้รู้ท�ำลายผู้รู้ พบจิต
ทำ� ลายจติ จึงจะถึงความบรสิ ทุ ธิอ์ ยา่ งแท้จริง”
จะทำ� อยา่ งนไี้ ดก้ เ็ พราะวา่ ไมเ่ ปน็ ผเู้ ปน็ นน่ั เอง ถา้ เผลอเปน็
ผู้เป็น หรือไปยึดผู้รู้ก็จะไม่สามารถก้าวข้ามกับดักนี้ได ้ เพราะ
ฉะนน้ั การเปน็ ผดู้ ู ไมใ่ ชผ่ เู้ ปน็ หรอื วา่ ดเู ฉยๆ ไมเ่ ขา้ ไปเปน็ เปน็
หลักการที่ส�ำคัญมาก ต้องฝึกให้ช�ำนาญ อันท่ีจริงถ้าเราเจริญ
วิปัสสนากรรมฐาน อะไรเกิดขึ้นกับใจก็ถือว่าดีท้ังนั้น รวมทั้ง
นวิ รณแ์ ละความคดิ ปรงุ แตง่ ทง้ั หลาย โกรธเกดิ ขนึ้ กด็ ถี า้ รวู้ า่ โกรธ
เบ่ือเกิดข้ึนก็ดีถ้ารู้ว่าเบื่อ อันนี้ต่างกับการท�ำสมถกรรมฐาน
เพราะถ้าเราท�ำสมถกรรมฐานก็จะมุ่งความสงบ ถ้ามีนิวรณ์ก็
ไมเ่ อาไมช่ อบ
แต่ถ้าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งการเจริญสติ อะไร
เกดิ ขน้ึ กด็ ที งั้ นนั้ ถา้ เรารวู้ า่ มนั เกดิ ขน้ึ หรอื ไมเ่ ขา้ ไปเปน็ ทำ� ไม
มนั ถงึ ด ี กเ็ พราะทำ� ใหเ้ ราเหน็ สภาวะทเี่ กดิ ขน้ึ กบั ใจตามทเ่ี ปน็ จรงิ
เพราะไม่ว่ากุศลธรรมหรืออกุศลธรรมก็ล้วนแสดงธรรมะอย่าง
เดยี วกนั นน่ั คอื แสดงเรอื่ งไตรลกั ษณ ์ ไมว่ า่ อนจิ จงั ทกุ ขงั หรอื
อนัตตา ล้วนแสดงออกมาทั้งจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม
การเจรญิ วปิ สั สนากรรมฐาน คอื การฝกึ จติ ใหเ้ หน็ ความจรงิ เรา
ตอ้ งการเหน็ ของจรงิ เพราะฉะนนั้ เมอ่ื ของจรงิ ปรากฏกค็ วรถอื วา่
เปน็ เร่ืองดี ไมค่ วรปฏิเสธ
72
ของจริงในที่นี้ก็หมายถึงสภาวธรรมท่ีเกิดขึ้น ไม่ว่ากุศล
หรืออกุศล ก็ล้วนแสดงธรรมอย่างเดียวกัน เป็นครูบาอาจารย์
ของเราก็ว่าได้ สิ่งเหล่าน้ี ถ้าพูดในแง่ปรมัตถธรรมแล้วก็มีค่า
เสมอกัน แต่ถ้าเราติดสมมติ ก็จะตัดสินหรือให้ค่าว่าอย่างนี้ดี
อย่างน้ีไม่ดี อย่างน้ีถูก อย่างน้ีไม่ถูก มีกุศลธรรมเกิดขึ้นก็
อา้ แขนรบั พออกศุ ลธรรมเกดิ ขน้ึ กผ็ ลกั ไส พยายามขบั ไลอ่ อกไป
น่ันเป็นกระบวนการท่ีน�ำไปสู่ทุกข์ได้ เพราะมันเจือด้วยกิเลส
และยง่ิ ขบั ไลผ่ ลกั ไสกย็ ง่ิ เปน็ ทกุ ข ์ เหมอื นไปตอ่ ลอ้ ตอ่ เถยี งกบั มนั
มนั กย็ ิง่ รบกวนเรา
อาจารยก์ ำ� พล ทองบญุ นมุ่ พดู ใหแ้ งค่ ดิ ดมี ากวา่ ถา้ เรา
ไมท่ ำ� อะไรจติ จติ กไ็ มท่ ำ� อะไรเรา พอเราไปทำ� อะไรมนั เขา้ กเ็ ลย
เกดิ เรอื่ ง เชน่ พยายามกดขม่ ผลกั ไส หรอื ยดึ อยากใหม้ นั อยกู่ บั
เรานานๆ ตรงนแี้ หละจะเกดิ เรอ่ื งขนึ้ มา คอื เกดิ ความทกุ ข ์ เมอ่ื
พยายามขบั ไลน่ วิ รณ ์ นวิ รณก์ เ็ ลยตอ่ สกู้ บั เรา เมอ่ื เราเหน็ มนั เปน็
ศตั ร ู มนั กเ็ ลยเปน็ ศตั รกู บั เรา อนั นเ้ี ปน็ ขอ้ ปฏบิ ตั ทิ สี่ ำ� คญั สำ� หรบั
การเจรญิ สต ิ และวิปสั สนากรรมฐาน
แตส่ ำ� หรบั ผปู้ ฏบิ ตั ใิ หมๆ่ การร ู้ หรอื ดเู ฉยๆ อาจจะเปน็
เร่อื งยาก โดยเฉพาะเวลาเจอนิวรณ์ เอางา่ ยๆ แคค่ วามงว่ ง ดู
มันเฉยๆ ไม่ง่ายเลย บางทีก็ต้องสู้กับมันบ้าง หรือบรรเทามัน
บา้ ง เชน่ เปลย่ี นอริ ยิ าบถ หรอื เอานำ้� ลบู หนา้ หรอื ไมก่ ต็ อ้ งหา
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 73
อุบายขับไล่มัน ขนาดพระโมคคัลลานะซ่ึงตอนน้ันท่านเป็น
โสดาบันแล้ว ปฏิบัติธรรมเกิดความง่วงมาก ท�ำยังไงก็ยังง่วง
พระพทุ ธเจา้ จงึ แนะน�ำอบุ ายในการตอ่ สกู้ บั ความงว่ ง เชน่ เอามอื
ลูบหน้า เอาขนนกยอนหู หรือจินตนาการว่าเห็นแสงสว่าง ที่
เรียกว่าอาโลกสัญญา หรือเอาล้ินกดเพดาน จนกระท่ังว่าถ้า
ไม่ไหวจริงๆ ก็ให้นอนเสีย ขนาดพระอริยเจ้าก็ใช่ว่าจะสู้กับ
ความง่วงได้ทุกกรณี
กรณีของพระโมคคัลลานะท่านบำ� เพ็ญธรรมแบบไม่นอน
ก็เลยถูกความง่วงหรือถีนมิทธะครอบง�ำอย่างหนัก แต่บรรยา-
กาศอยา่ งทนี่ พี่ วกเรากค็ งพอสกู้ บั ความงว่ งได้ แตถ่ า้ จะลองฝกึ ดู
ความง่วง ก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าดูไม่ไหวก็ลองสู้กับมันดู แต่
ต่อไปก็ควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างเป็นมิตร อย่างสันติ ให้
ถอื วา่ ความงว่ งเปน็ การบา้ นฝกึ ใจเรา คอื ฝกึ เปน็ ผดู้ ู หรอื ดเู ฉยๆ
ไมเ่ ขา้ ไปเป็น
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 75
๘
ป ฏิ บั ต ิ ใ ห้ เ ห็ น ค ว า ม จ ริ ง
พวกเราได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติธรรม ค�ำว่า “ปฏิบัติธรรม” มี
ความหมายกวา้ งกเ็ พราะคำ� วา่ “ธรรมะ” โดยความหมายแลว้ กนิ
ความกวา้ งขวางมาก จะหมายถงึ สงิ่ ดงี าม ทนี่ ำ� ไปสคู่ วามสขุ กไ็ ด้
หรอื จะหมายถงึ ความจรงิ ทน่ี ำ� ไปสคู่ วามพน้ ทกุ ขก์ ไ็ ด ้ “ปฏบิ ตั ธิ รรม”
กเ็ ชน่ เดยี วกนั มคี วามหมายใหญๆ่ สองอยา่ ง อนั ทหี่ นง่ึ คอื การ
ปฏิบัติตามท�ำนองคลองธรรม เช่น การให้ทาน การรักษาศีล
ไมเ่ บยี ดเบยี นใคร ความซอ่ื สตั ยส์ จุ รติ การประกอบสมั มาอาชวี ะ
ซง่ึ กร็ วมไปถงึ การฝกึ จติ ใหม้ คี ณุ ภาพจติ ทดี่ ี เชน่ มเี มตตา กรณุ า
เอ้ือเฟื้อ เผ่ือแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว อันน้ีเรียกว่าปฏิบัติตามท�ำนอง
คลองธรรม คอื การฝกึ กาย วาจา ใจ ใหง้ ดงาม ประกอบไปดว้ ย
คุณธรรม ค�ำว่าคุณธรรมก็เป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรม
76
ในความหมายแรก คือ ฝึกหัดขัดเกลาให้เกิดคุณธรรม มีชีวิต
ตามท�ำนองคลองธรรม ซ่ึงเป็นเรื่องท่ีผู้คนปฏิบัติกันท่ัวไป ต่ืน
แตเ่ ชา้ มากใ็ สบ่ าตร อยา่ งนเ้ี รยี กวา่ เปน็ การปฏบิ ตั ธิ รรมเหมอื นกนั
การให้ทาน การเป็นจิตอาสา ก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรมใน
ความหมายแรก
ความหมายทสี่ อง ปฏบิ ตั ธิ รรมหมายถงึ การปฏบิ ตั เิ พอ่ื ให้
เข้าถึงสัจธรรมความจริง คือท�ำให้เกิดปัญญา เข้าใจความจริง
อยา่ งรอบดา้ น และลกึ ซงึ้ จนกระทงั่ เหน็ วา่ สงิ่ ทงั้ หลายทง้ั ปวงนน้ั
ไมส่ ามารถยดึ ตดิ ถอื มน่ั ได ้ เพราะอะไร เพราะทกุ อยา่ งลว้ นตกอยู่
ภายใตก้ ฎไตรลกั ษณ์ คอื อนจิ จงั ทกุ ขงั อนตั ตา เมอื่ จติ หยง่ั
เห็นความจริงเช่นน้ีอย่างแจ่มแจ้ง ก็ปล่อยวาง จิตก็เป็นอิสระ
หลดุ พน้ จากความทกุ ข ์ ความทกุ ขไ์ มส่ ามารถจะเกาะเกย่ี ว ครอบงำ�
หรือท�ำให้จิตหว่ันไหวได้ อันน้ีหมายถึงความทุกข์ท่ีเป็นทุกข์ใน
อรยิ สจั ส ี่ ซงึ่ สมั พนั ธก์ บั ทกุ ขใ์ นไตรลกั ษณ ์ คอื สภาวะทมี่ อิ าจทนอยู่
โดยตวั มนั เองได ้ สภาวะทบ่ี บี คน้ั และสรา้ งความขดั แยง้ ใหเ้ กดิ ขนึ้
แก่ผูท้ ย่ี ดึ ถอื เม่ือไมย่ ดึ ถือมันกไ็ มส่ ามารถจะบบี ค้นั ผ้นู ้ันให้เป็น
ทุกข์ได้ การปฏิบัติธรรมในความหมายน้ีเน้นไปท่ีการภาวนา
โดยเฉพาะวปิ สั สนากรรมฐานเพอ่ื ใหเ้ ขา้ ถงึ ความจรงิ ของกายและใจ
ซ่ึงไม่ได้แยกจากความจริงของสรรพส่ิงรอบตัวเรา ปฏิบัติธรรม
ในความหมายน้ี คนเข้าใจกันน้อย และปฏิบัติกันน้อยแต่เป็น
ส่ิงส�ำคญั มาก
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 77
ชาวพุทธเราต้องเร่ิมต้นจากการปฏิบัติตามทำ� นองคลอง
ธรรม ซึ่งเป็นเรื่องโลกิยะคือเมื่อท�ำดีก็ได้ดี ได้รับค�ำช่ืนชม
สรรเสริญ มีชีวิตท่ีผาสุก ไม่มีศัตรู มีแต่มิตร เพราะท�ำความดี
มีคุณธรรม แต่แค่นั้นไม่พอ ก็ต้องก้าวมาสู่การปฏิบัติธรรมใน
ความหมายทส่ี องคอื การปฏบิ ตั ใิ หเ้ ขา้ ถงึ ความจรงิ ซง่ึ จะทำ� ใหจ้ ติ
เขา้ ถงึ ภาวะทเี่ ปน็ โลกตุ ระ คอื ไมห่ วนั่ ไหวไปกบั คำ� ชนื่ ชมสรรเสรญิ
หรอื ลาภสกั การะที่เกิดข้ึน รวมท้ังไม่ติดในความดีท่ีทำ� คือท�ำดี
แต่คนไม่เห็นก็ไม่ทุกข์ เรียกว่าเหนือบุญเหนือบาปก็ได้ การ
ปฏิบัติธรรมในความหมายที่เป็นการเข้าถึงสัจธรรมนี้ต้องอาศัย
การดูหรือเห็นความจริง
ความจรงิ ไมใ่ ชเ่ รอื่ งทต่ี อ้ งคดิ เอาหรอื วา่ ฟงั เขาเลา่ แตต่ อ้ ง
เหน็ เอง จะเหน็ ไดอ้ ยา่ งไร กเ็ หน็ จากการทเี่ รามาเจรญิ สต ิ ดกู าย
และใจ เหน็ กายอยา่ งทมี่ นั เปน็ เหน็ ใจอยา่ งทมี่ นั เปน็ ตอนทย่ี งั
ไม่เห็นอย่างท่ีมันเป็นก็คิดว่ากายน้ีเป็นเราเป็นของเรา คิดว่า
จติ นเ้ี ปน็ เราเปน็ ของเรา เวลาทำ� อะไรกจ็ ะมตี วั ตน หรอื ตวั ก ู ตวั ฉนั
ขนึ้ มาเปน็ เจ้าของหรือผู้กระทำ� นัน้ เช่นเวลาเดินก็มคี วามสำ� คญั
มั่นหมายว่าฉันเดิน เวลาคิดก็มีความส�ำคัญม่ันหมายว่าฉันคิด
อันนี้เรียกว่าไม่ได้เห็นอย่างท่ีเป็น คือยังมีการสร้างภาพตัวตน
ข้ึนมาเป็นเจ้าของการกระท�ำหรือผู้กระท�ำนั้น แต่ทันทีท่ีเดิน
อย่างมสี ติ นนั่ ไมใ่ ชเ่ ราเดนิ แตจ่ ะเหน็ วา่ ทเ่ี ดนิ นค้ี อื รปู คอื กาย
เมื่อคิดและมีสติเห็นความคิด ก็จะเห็นต่อไปว่าท่ีคิดน้ันไม่ใช่
78
เราคิดแต่เป็นนามคิด หรือเป็นการกระท�ำของนาม ไม่มีตัวเรา
หรือไม่มกี ารปรุงตัวเราขน้ึ มาเปน็ ผูเ้ ดนิ หรือผคู้ ดิ
การเจริญสติจะช่วยท�ำให้เราเห็นความจริงอันน้ี แต่ก่อน
เวลาท�ำอะไรก็รู้สึกว่าฉันท�ำ ฉันท�ำตลอดเวลา แต่พอมีสติ มัน
ก็กระเทาะความเป็นตัวเราออกไป เห็นเป็นสองคือรูปกับนาม
หลวงพ่อค�ำเขียน สุวัณโณท่านใช้ค�ำว่า “ถลุง” ปกติค�ำว่าถลุง
เราใชก้ บั แร ่ ตอนใหมๆ่ แรม่ นั เปน็ กอ้ น แตพ่ อถลงุ มนั กจ็ ะแยก
เปน็ ขแ้ี ร ่ เปน็ เหลก็ เปน็ ดบี กุ เปน็ ทอง มนั แยกออกมาเปน็ สว่ นๆ
ใหเ้ ห็น ไม่ใช่เปน็ ดนุ้ เปน็ กอ้ นหรือเหน็ คลมุ ๆ อย่างทีแรก
การเจริญสติท�ำให้จิตของเราเห็นทะลุตัวตนหรือภาพ
ตัวตนท่ีสร้างข้ึน จนกระทั่งเห็นความจริงที่มีอยู่แล้วแต่ดั้งเดิม
คอื กายกบั ใจ รปู กบั นาม อนั นค้ี อื เบอื้ งตน้ ของการเหน็ ความจรงิ
ซงึ่ ถา้ เราเหน็ ความจรงิ กจ็ ะทำ� ใหห้ ลดุ พน้ จากภาพตวั ตนทส่ี รา้ งขนึ้
ตัวตนไม่ใช่สิ่งท่ีมีจริง แต่จิตปรุงแต่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว แล้วก็เลย
เห็นมันคลุมๆ ราวกับเป็นเจ้าของการกระท�ำต่างๆ อันน้ีเรียก
ว่าอวิชชาหรือความหลง เป็นเพราะไม่มีสติ สติเป็นกุญแจไข
ไปสู่ความจริง เป็นกุญแจดอกแรกที่ไขให้เราเห็นความจริงของ
รูปกับนาม
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 79
ตอ่ ไปจะเหน็ วา่ รปู กด็ นี ามกด็ ลี ว้ นไมเ่ ทยี่ ง มนั แปรเปลย่ี น
เป็นนิจ และมันก็อยู่ในภาวะที่บีบค้ันอยู่ตลอดเวลา ตัวมันเอง
ถกู บบี คน้ั ดว้ ย แลว้ บบี คน้ั ผทู้ ยี่ ดึ ถอื มนั อกี ท ี กายนถ้ี กู บบี คน้ั หรอื
เตม็ ไปดว้ ยทกุ ข ์ นงั่ อยเู่ ฉยๆ สกั พกั เรากจ็ ะรสู้ กึ เมอื่ ยจนตอ้ งขยบั
จากนงั่ หลงั ตรงกม็ าพงิ เสา ตอนพงิ ขา้ งฝากค็ ดิ วา่ สบายแลว้ แต่
นง่ั ในทา่ นนั้ ไมถ่ งึ ชวั่ โมงกจ็ ะรสู้ กึ เมอ่ื ย คราวนกี้ อ็ าจจะเอนลงนอน
นอนแล้วคิดว่าจะสบาย แต่พอนอนไปสัก ๗-๘ ช่ัวโมง หรือ
อาจไมถ่ งึ ดว้ ยซำ�้ กจ็ ะรสู้ กึ เมอ่ื ยตอ้ งขยบั ขยบั เพราะอะไร เพราะ
มนั มที กุ ขแ์ ฝงอย ู่ มนั ถกู บบี คนั้ ดว้ ยเหตปุ จั จยั ตา่ งๆ ภายใน คนเรา
เวลานอนก็ขยับเป็นระยะๆ จะรตู้ ัวหรอื ไมก่ อ็ กี เร่ืองหนึง่
เหน็ รปู อยา่ งไร กเ็ หน็ นามอยา่ งนนั้ คอื เหน็ วา่ มนั แปรเปลยี่ น
อยู่เป็นนิจ เมื่อเห็นแล้วก็เกิดปัญญา เมื่อมีปัญญาถึงจุดหน่ึงก็
ละหรอื วาง ไมย่ ดึ ตดิ ถอื มน่ั หรอื ไมแ่ บกตอ่ ไป นคี่ อื ความหมายวา่
เห็นความจริง เมื่อเห็นความจริงแล้วก็จะปล่อยวางได้ เพราะ
ฉะนนั้ การเหน็ จงึ เปน็ เรอื่ งทส่ี ำ� คญั มาก เราตอ้ งฝกึ เปน็ ผดู้ ู ผเู้ หน็
อยา่ งสมำ่� เสมอ ทแี รกเห็นด้วยสติ ต่อมาก็จะเหน็ ดว้ ยปัญญา
การท่ีเรามาเจริญสติ มาท�ำกรรมฐาน มาฝึกเป็นผู้เห็น
ครูบาอาจารย์บางท่านเปรียบเหมือนเราดูละครโรงเล็ก มันอยู่
ในใจของเรา ใจของเราเปน็ เวทลี ะคร ทม่ี พี ระเอก ผรู้ า้ ย นางเอก
ต่างผลัดเปล่ียนเวียนกันมาแสดงบทบาท เราก็แค่ดูเฉยๆ แล้ว
80
ก็เห็นว่ามันไม่มีตัวละครตัวไหนที่เที่ยงเลย ต่างผลัดกันมาแล้ว
ก็ผลัดกันไป และท่ีจริงตัวละครเหล่าน้ีล้วนเป็นสมมติท้ังส้ิน
เหมอื นกบั นกั แสดงพอลงจากเวท ี กท็ งิ้ บททแี่ สดง เราฝกึ เปน็ ผดู้ ู
โดยไมม่ ปี ฏกิ ริ ยิ าอะไร แตก่ อ่ นหนา้ นเ้ี ราไมไ่ ดเ้ ปน็ ผดู้ ู เราเขา้ ไป
เลน่ เสมอื นเปน็ ตวั ละครนนั้ ดว้ ย หรอื ไมก่ อ็ นิ ไปกบั ตวั ละคร ดกู ็
ดไู มเ่ ปน็ กลบั ไปอนิ กบั ตวั ละคร เศรา้ เสยี ใจกบั นางเอกพระเอก
ไปโกรธแคน้ ตัวอิจฉา
ทีนี้เรามาฝึกเป็นผู้ดู ดูโดยไม่ตัดสิน หรือไม่มีปฏิกิริยา
กบั สงิ่ ทเี่ หน็ มคี นเปรยี บไวด้ วี า่ การดำ� เนนิ ชวี ติ เหมอื นกบั การดู
กระแสน้�ำไหลผ่าน จะเป็นแม่น�้ำหรือล�ำคลองก็แล้วแต่บางครั้ง
ก็มีหมาเน่า สวะ และจอกแหนลอยมา เราเห็นมันผ่านมาแล้ว
กผ็ า่ นไป บางครง้ั กเ็ หน็ เรอื ลำ� เลก็ ลำ� ใหญ ่ ผา่ นมาแลว้ กผ็ า่ นไป
เห็นคนที่อยู่บนเรือ มีทั้งสวย มีทั้งน่าเกลียด มาแล้วก็ผ่านไป
การมองชีวิตแบบนี้มันท�ำให้จิตใจไม่เป็นทุกข์ไปกับสิ่งต่างๆ ท่ี
ผา่ นเขา้ มาในชวี ติ แตก่ อ่ นไมใ่ ชแ่ คเ่ หน็ เฉยๆ แตไ่ ปควา้ ดว้ ย คอื
ควา้ หรอื ฉวยดว้ ยใจ บางทกี ไ็ ปควา้ หมาเนา่ มากอดไว ้ กเ็ ลยรสู้ กึ
เหมน็ เปน็ ทกุ ข ์ บางทเี หน็ หว่ งยางสวย กอ็ ยากจะควา้ เอาไว ้ แต่
พอลงไปควา้ ก็เปยี กปอน
แตเ่ มอื่ เปลยี่ นมาเปน็ ผดู้ ู เหน็ สง่ิ ตา่ งๆ มาแลว้ กไ็ ป กร็ สู้ กึ
เฉยๆ ไมเ่ ดอื ดรอ้ นหรอื เปน็ ทกุ ข ์ แตค่ นสว่ นใหญไ่ มเ่ ปน็ อยา่ งนนั้
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 81
พยายามยดึ เอาไว ้ ใหม้ นั เปน็ ของเราบา้ ง หรอื พยายามใหม้ นั อยู่
กบั ท ี่ เชน่ เหน็ เรอื ลำ� ใหญผ่ า่ นมา กพ็ ยายามควา้ เชอื กหรอื ดงึ รง้ั ไว้
ไมใ่ หม้ นั ไหลไปแตก่ ด็ งึ ไมไ่ ด้ ซ�ำ้ กลบั ถกู มนั ลากยาวจนส�ำลกั นำ�้
ชีวิตของผู้ท่ีไม่ได้มีการศึกษา ไม่ได้มีการปฏิบัติธรรมก็
เป็นท�ำนองนี้ คือพยายามจะยึดย้ือสิ่งที่แปรเปลี่ยนเคลื่อนไหว
อยตู่ ลอดเวลาใหอ้ ยกู่ บั ท่ี เราเหน็ สง่ิ ใดทชี่ อบกอ็ ยากครอบครอง
และอยากยดึ ไว ้ ใหม้ นั อยกู่ บั ท ่ี โดยไมเ่ ขา้ ใจวา่ ความจรงิ นนั้ เปน็
กระแสทไี่ หลเลื่อนตลอดเวลา สิง่ ทัง้ หลายท้งั ปวงมอี ย่ใู นรูปของ
กระแส แต่เป็นเพราะความหลง จึงคิดว่ามันเป็นดุ้นเป็นก้อนท่ี
อยู่นิ่ง เป็นเอกเทศ ท้ังๆ ท่ีทุกสิ่งทุกอย่างมีสภาวะไม่ต่างจาก
กระแสน�ำ้ ทแี่ ปรเปล่ียนอยเู่ ปน็ นิจ
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน โลกรอบตัวของเราก็เช่น
เดยี วกนั ไมต่ า่ งจากกระแสนำ้� ทแี่ ปรเปลยี่ น ไหลเลอื่ นอยตู่ ลอด
เวลา ไมส่ ามารถทจ่ี ะยดึ ใหอ้ ยนู่ ง่ิ ๆ ได ้ แตเ่ ปน็ เพราะความไมร่ ู้
ของเรา หรือเป็นเพราะความอยากที่ปรุงตัวตนให้เป็นเจ้าของ
อะไรตอ่ อะไรมากมาย พยายามยดึ สง่ิ ตา่ งๆ ใหอ้ ยนู่ ง่ิ ซงึ่ ไมม่ วี นั
สำ� เรจ็ แมแ้ ตร่ า่ งกายของเรา เราพยายามยดึ ใหม้ นั อยนู่ งิ่ กท็ ำ� ไม่
ได้ เพราะมันต้องแก ่ ต้องป่วย ต้องแปรเปลี่ยนไป คนที่เรารัก
เราจะยึดให้เขาอยู่ยงคงกระพันก็ทำ� ไม่ได ้ เพราะว่าเขามาแล้วก็
ต้องไป ชีวิตของเขากเ็ ลอื่ นไหลไมต่ ่างกับกระแสนำ�้
82
ถา้ เราไมเ่ หน็ ความจรงิ ของกายและใจ หรอื เหน็ ความจรงิ
ของสง่ิ ตา่ งๆ ทเ่ี รยี กวา่ สงั ขารทง้ั รปู ธรรมและนามธรรมในลกั ษณะ
น้ี เราก็จะเป็นทุกข์เม่ือต้องเจอความจริงท่ีแปรเปลี่ยนเป็นนิจ
ไม่ต่างจากการเอาตัวไปขวางกระแสน�้ำที่เช่ียว ถ้าเราเอาตัว
ไปขวางมันเราก็จะถูกน้�ำพัดไป คนเราทุกข์เพราะความยึดมั่น
ในตวั ตนกเ็ พราะเหตนุ ี้ เรามกั จะสรา้ งตวั ตนขน้ึ มาดว้ ยความไมร่ ู้
ดว้ ยความหลง เตม็ ไปดว้ ยความอยาก เตม็ ไปดว้ ยความยดึ เมอ่ื
สร้างแล้วก็อยากและยึดจะให้มันคงท่ี เราจึงปฏิเสธความจริง
ขดั ขวางความจรงิ ทวนกระแสความจรงิ ตลอดเวลา เพราะพอยดึ
อะไรว่าเป็นตวั ตน ก็จะนึกว่ามันเท่ียง พอเกดิ ความแปรเปล่ียน
เราก็เลยเป็นทุกข์
ทกุ วนั นคี้ นเราทกุ ขเ์ พราะไมร่ จู้ กั วางใจใหถ้ กู ตอ้ ง เราเอาใจ
ของเราขวางความจริง ขวางความจริงก็ไม่ต่างจากขวางกระแส
น�้ำ สาเหตุที่เกิดน�้ำท่วมใหญ่คราวน้ีจนก่อให้เกิดความเสียหาย
มากมายสว่ นหนง่ึ กเ็ พราะวา่ เราสรา้ งบา้ นสรา้ งถนนขวางกระแสนำ�้
ถ้าไม่ถูกน�้ำพัดพาไป น้�ำก็ท่วมเอ่อและท�ำลายทรัพย์สมบัติของ
เราอยา่ งชา้ ๆ คนสมยั กอ่ นเวลาสรา้ งบา้ นเขาจะไมข่ วางกระแสนำ�้
หรอื ไมก่ ย็ กพน้ื ขนึ้ สงู นำ้� มาแลว้ กไ็ ป เขาเรยี กวา่ น้�ำหลาก ไมม่ ี
คำ� วา่ นำ�้ ทว่ ม คนสมยั กอ่ นไมค่ อ่ ยรจู้ กั คำ� วา่ นำ้� ทว่ ม รจู้ กั แตค่ ำ� วา่
นำ้� หลาก คอื มาแลว้ กไ็ ป ไมม่ กี ารสรา้ งบา้ นขวางกระแสนำ้� อกี ทง้ั
ยังพยายามช่วยให้น�้ำระบายลงทะเลได้เร็วๆ เช่นขุดคลอง แต่
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 83
เดี๋ยวน้ีนอกจากจะสร้างบ้านแปงเมืองขวางน้�ำ แล้วยังถมคลอง
อีก เรยี กวา่ ขวางทางนำ้� เตม็ ที่ กเ็ ลยเสยี หายกนั มาก
ฉนั ใดกฉ็ นั นน้ั สาเหตทุ คี่ นเรามคี วามทกุ ขถ์ งึ แมน้ ำ้� ไมท่ ว่ ม
ก็ตาม ก็เพราะเราเอาใจขวางกระแสความจริงที่แปรเปล่ียนอยู่
ตลอดเวลาและเจอื ไปดว้ ยทกุ ข ์ ในความเปน็ จรงิ ไมม่ อี ะไรทเี่ ปน็
ตวั ตน แตเ่ รากพ็ ยายามนกึ คดิ และคาดหวงั วา่ มนั มตี วั มตี น เจอ
อะไรกเ็ หน็ มนั เปน็ ตวั ตน เรม่ิ ตงั้ แตร่ า่ งกายของเรา จติ ใจของเรา
ทรัพย์สมบัติของเรา คนรักของเรา เราก็เห็นเป็นตัวเป็นตน
ทงั้ ๆ ทค่ี วามจรงิ แลว้ มนั ไมใ่ ชต่ วั ไมใ่ ชต่ น ไมม่ ตี วั ตนโดยเอกเทศ
แตเ่ กดิ ขนึ้ เพราะมเี หตปุ จั จยั เหตปุ จั จยั เหลา่ นกี้ ไ็ มเ่ ทย่ี ง มาแลว้
กไ็ ป เหมอื นกระแสนำ�้ อยา่ งเทยี นทก่ี ำ� ลงั สอ่ งสวา่ งเลม่ นเี้ ราเหน็
ไหมวา่ มคี วามแปรเปลย่ี นอยตู่ ลอดเวลา เทยี นเมอื่ นาทที ผ่ี า่ นมา
กับนาทีนี้ไม่ใช่เทียนเล่มเดียวกัน ถ้าเราคิดว่าเทียนนี้มีตัวตนที่
ถาวร แสดงวา่ เราไมเ่ หน็ ความจรงิ ทแ่ี สดงตวั ตอ่ หนา้ เรา นนั่ เปน็
เพราะเราอยากจะให้มันคงท ่ี ฉะนั้นการท่ีเราเห็นความจริงด้วย
ใจที่เป็นกลาง มองส่ิงต่างๆ ด้วยใจท่ีเป็นกลาง ก็จะเห็นความ
จริงได้ในท่ีสุด และความจริงที่ลึกซ้ึงท่ีสุดก็คือไม่มีตัวตนท่ีเป็น
อิสระหรอื เป็นเอกเทศ
เร่ืองน้ีโยงไปถึงการปฏิบัติธรรมในความหมายแรกคือ
ปฏบิ ตั ติ ามทำ� นองคลองธรรม คนทปี่ ฏบิ ตั ธิ รรมในความหมายน้ี
84
ยงั เชอ่ื วา่ มตี วั ตนอย ู่ ตนนน้ั เปน็ ทพี่ ง่ึ แหง่ ตน การปฏบิ ตั ธิ รรมคอื
การขัดเกลาตัวตนให้ประณีตมากข้ึน ถ้าตัวตนมันใหญ่โตหรือ
เหน็ แกต่ วั กท็ ำ� ใหต้ วั ตนนน้ั เลก็ ลง เหน็ แกส่ ว่ นรวมมากขน้ึ สว่ น
การปฏบิ ตั ธิ รรมในความหมายทสี่ อง กค็ อื การไมเ่ หน็ ตวั ตน หรอื
เห็นความจริงว่าไม่มีตัวตน อันนี้เป็นความแตกต่างอย่างส�ำคัญ
ระหว่างการปฏิบัติธรรมในความหมายแรกและปฏิบัติธรรมใน
ความหมายทีส่ อง
ปฏบิ ตั ธิ รรมในความหมายแรก เมอื่ ท�ำดกี เ็ ชอื่ วา่ มตี วั ตน
ทรี่ บั ผลแหง่ ความด ี อกี ทงั้ ยงั ทำ� ใหห้ มนุ เวยี นอยใู่ นสงั สารวฏั เพราะ
ยงั มเี ชอ้ื หรอื เหตปุ จั จยั ใหไ้ ปเกดิ อย ู่ นน่ั คอื ความหลง อวชิ ชาหรอื
กเิ ลส สว่ นการปฏบิ ตั ธิ รรมในความหมายทส่ี องคอื การปฏบิ ตั หิ รอื
ฝกึ จติ เพอื่ เหน็ ความจรงิ วา่ ไมม่ ตี วั ตน เมอ่ื เหน็ ความจรงิ ดงั กลา่ ว
แจ่มชัด ก็ปล่อยวาง ไม่มีความยึดอยากใดๆ คือส้ินกิเลส จึง
หลดุ พ้นจากวฏั ฏสงสารได้
พวกเราคงรจู้ กั ทา่ นเวย่ หลาง ทา่ นเปน็ สงั ฆปรนิ ายกองคท์ ่ี
๖ ของนิกายฌานหรือเซนของจีน ท่านเป็นคนที่ไม่มีการศึกษา
กว็ า่ ได ้ เปน็ เดก็ ผา่ ฟนื แตก่ บ็ รรลธุ รรมไดเ้ รว็ โดยไมเ่ คยปฏบิ ตั ิ
ธรรมในรปู แบบอยา่ งเปน็ เรอื่ งเปน็ ราว แตท่ า่ นมสี ตใิ นการทำ� งาน
มาก เมื่อผ่าฟืนก็มีสติอยู่กับการผ่าฟืนจนกระทั่งจิตเป็นหน่ึง
วันหนึง่ ขณะท่ีเอาฟนื ไปส่งในตลาด ไดย้ นิ ชายคนหนง่ึ สวดมนต์
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 85
ที่ช่ือว่าวัชรสูตร มีข้อความตอนหน่ึงว่า “พึงท�ำจิตมิให้ยึดม่ัน
ในทุกสิ่ง” พอได้ยินตรงน้ีจิตของท่านก็สว่างโพลง บรรลุธรรม
ทันท ี คล้ายๆ กับพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะตอนที่ยังเป็น
ฆราวาสชอ่ื อปุ ตสิ สะและโกลติ ะ พอไดฟ้ งั พระอสั สชพิ ดู เพยี งแค่
ประโยคเดยี ววา่ “ธรรมใดเกดิ แตเ่ หตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุ
และความดับแห่งธรรมนน้ั ” ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบนั ทนั ที
ทา่ นเวย่ หลางตอ่ มาไดม้ าทำ� งานในวดั ซง่ึ เปน็ สำ� นกั ใหญข่ อง
นิกายเซน คราวหน่ึงท่านเห็นโศลกของพระผู้ใหญ่อันดับสอง
ของวดั ทา่ นเขยี นวา่ “กายนเี้ หมอื นตน้ โพธ ิ์ จติ นเ้ี หมอื นกระจก
ต้องหมั่นขัดอยู่เป็นนิจเพื่อไม่ให้ฝุ่นจับ” ท่านเว่ยหลางท่ีจริง
อา่ นไมอ่ อก แตใ่ หค้ นอา่ นใหฟ้ งั พอไดย้ นิ กร็ วู้ า่ ไมถ่ กู ทา่ นเลยให้
คนช่วยเขียนกลอนอีกแผ่นหนึ่งไปปะคู่กันบอกว่า “ต้นโพธ์ิน้ัน
หามีไม ่ กระจกนั้นเดิมแท้ก็ไม่มีอย ู่ เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่า ฝุ่นจะ
จบั กบั อะไร”
อนั นเ้ี ปน็ โศลกทมี่ คี วามหมายลกึ ซง้ึ มาก คอื ทา่ นพดู ความ
จรงิ ขน้ั ปรมตั ถเ์ ลยวา่ ทกุ สงิ่ นน้ั วา่ งเปลา่ จากตวั ตน สงิ่ ทเ่ี รยี กวา่
ตวั ฉนั แทจ้ รงิ กห็ ามไี ม ่ ผดิ กบั โศลกอนั แรกทมี่ องวา่ ยงั มตี วั ตนอยู่
เมอื่ มตี วั ตน สง่ิ ทต่ี อ้ งทำ� กค็ อื ขดั เกลาตวั ตนนนั้ ใหป้ ระณตี เหมอื น
กระจกที่ต้องขัดเสมอเพื่อให้ใสไร้ฝุ่น แต่ท่านเว่ยหลางเห็นว่าท่ี
จรงิ แลว้ ไมม่ ตี วั ตนตงั้ แตแ่ รก เมอ่ื เปน็ เชน่ นน้ั ความทกุ ขจ์ ะเกาะ
86
กบั อะไร พดู อกี อยา่ งคอื เมอ่ื เหน็ ความจรงิ วา่ ไมม่ ตี วั กขู องก ู จะ
มผี ้ทู ุกขไ์ ด้อยา่ งไร
ตราบใดทย่ี งั คดิ วา่ มผี ทู้ กุ ข์ กต็ อ้ งพยายามสรา้ งบญุ สรา้ ง
กุศลเพ่ือให้เกิดความสุขความเจริญ นี่เป็นจุดมุ่งหมายของการ
ปฏิบัติธรรมในความหมายแรก คือท�ำดีหรือปฏิบัติตามท�ำนอง
คลองธรรมเพื่อให้เกิดความสุข เพ่ือให้เกิดบุญกุศล ชีวิตจะได้
เจริญงอกงามท้ังในชาติน้ีชาติหน้า ทั้งในทางโลกทางธรรม แต่
ปฏิบัติธรรมในความหมายที่สองคือการฝึกฝนจนเห็นความจริง
ว่าไม่มตี วั ตน ไมม่ อี ะไรที่ยึดถือได ้ เปน็ เรื่องทส่ี ูงกวา่ ตรงน้เี อง
ท่ีพระพุทธเจ้าตรัสเป็นภาษิตอย่างท่ีเราสวดเมื่อครู่ ว่า “พระ-
พทุ ธเจา้ ทงั้ ในอดตี ปจั จบุ นั และอนาคต ลว้ นเคารพพระธรรม”
มองในระดับพ้ืนๆ ก็คือเคารพคุณธรรมความด ี แต่ความหมาย
ท่ีลึกกว่าน้ันก็คือเคารพสัจธรรมท่ีแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา และ
สจั ธรรมน้มี ลี กั ษณะสามประการเรยี กว่าไตรลักษณ์
ฉะนน้ั ทเี่ ราสวดเมอื่ สกั ครมู่ ตี อนหนง่ึ วา่ “ธรรมยอ่ มรกั ษา
ผู้ประพฤติธรรม” คนท่ัวไปเข้าใจว่าประพฤติธรรม ก็คือท�ำ
คุณงามความดี สร้างบุญสร้างกุศล เม่ือท�ำเช่นน้ัน ธรรมก็จะ
คมุ้ ครองคอื ทำ� ใหป้ ระสบความสขุ ความเจรญิ พน้ จากภยั อนั ตราย
ทงั้ ปวง ทำ� ใหม้ ชี วี ติ ยนื ยาว ปลอดพน้ จากโรคภยั ไขเ้ จบ็ อนั นคี้ อื
ความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร แต่ถ้าเข้าใจ
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 87
ถงึ ขนั้ วา่ ประพฤตธิ รรมแลว้ จะไมแ่ ก ่ ไมเ่ จบ็ ไมป่ ว่ ย ไมต่ อ้ งพดู
ถึงไม่ตาย อย่างนี้เปน็ ความเข้าใจทผี่ ดิ
มหี ลายคนเมอื่ พบวา่ ตวั เองเปน็ มะเรง็ กจ็ ะตดั พอ้ วา่ ทำ� ไม
ถงึ ตอ้ งเปน็ ฉนั ฉนั อตุ สา่ หท์ ำ� ความด ี สรา้ งบญุ สรา้ งกศุ ล ทำ� ไม
ฉนั ตอ้ งเปน็ มะเรง็ อนั นเี้ ขาเขา้ ใจวา่ ถา้ ทำ� ความด ี ประพฤตติ าม
ท�ำนองคลองธรรมแล้วจะไม่เจ็บ ไม่ป่วย หรือว่าจะไม่ประสบ
ความพลดั พรากสญู เสยี เขา้ ใจอยา่ งนไี้ มถ่ กู ความดหี รอื บญุ กศุ ล
นนั้ มอี านสิ งสแ์ น ่ แตไ่ มใ่ ชว่ า่ จะทำ� ใหเ้ ราหลดุ พน้ จากความทกุ ขไ์ ด้
ไมว่ า่ จะเปน็ ความแก ่ ความเจบ็ ความพลดั พรากสญู เสยี กต็ าม
แต่ถ้าหากประพฤติธรรมในความหมายท่ีสองคือประพฤติธรรม
จนกระทงั่ เขา้ ถงึ สจั ธรรมความจรงิ อยา่ งนแ้ี หละจะชว่ ยใหไ้ มท่ กุ ข์
อยา่ งแทจ้ ริง
ทุกวันนี้คนเราทกุ ข์
เพราะไม่รูจ้ ักวางใจให้ถกู ต้อง
เราเอาใจของเราขวางความจรงิ
ขวางความจริงก็ไมต่ ่างจากขวางกระแสน้�ำ
88
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ในความหมายที่ลึกซ้ึง
ก็คือ เม่ือประพฤติธรรมจนเข้าถึงสัจธรรม มีปัญญาแลเห็นว่า
สิ่งทัง้ ปวงไม่เทีย่ ง เป็นทุกข ์ เป็นอนตั ตา ปญั ญาเชน่ น้ีจะท�ำให้
ใจไม่ทุกข์ แม้ว่าจะประสบความสูญเสียก็ตาม เพราะไม่ได้ยึด
ติดถือมั่นกับทรัพย์สินเงินทองต้ังแต่แรก ช่วงที่เกิดนำ�้ ท่วมใหญ่
มหี ลายคนตดั พอ้ วา่ ฉนั ทำ� ความดมี ากม็ าก สรา้ งบญุ สรา้ งกศุ ล
มากเ็ ยอะ ทำ� ไมนำ้� ทว่ มบา้ นฉนั ขณะทบ่ี างคนน้�ำไมท่ ว่ ม กพ็ ดู
วา่ เปน็ เพราะอานสิ งสแ์ หง่ บญุ กศุ ลทไี่ ดท้ �ำไว ้ ฉนั ทำ� ความด ี สรา้ ง
บญุ สรา้ งกุศลมามาก เห็นไหมน้�ำก็เลยไมท่ ่วมบ้านฉัน คนทีค่ ิด
แบบนี้ก็มี อันที่จริงคิดแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน แต่อย่าไปคิดว่าถ้า
หากว่าน้�ำท่วมบ้านแล้วแสดงว่าฉันไม่ได้ท�ำบุญเท่าท่ีควร หรือ
แสดงว่าทำ� ดแี ล้วไมไ่ ดด้ ี
สมยั ทหี่ ลวงปดู่ ลู ย ์ อตโุ ล ยงั มชี วี ติ อย ู่ เกดิ เหตไุ ฟไหมใ้ หญ่
ที่จังหวัดสุรินทร์ หลายคนถึงกับส้ินเน้ือประดาตัว มีญาติโยม
หลายคนมากราบท่าน แล้วก็ตัดพ้อว่าตัวเองอุตส่าห์ท�ำบุญ
ทำ� กศุ ล ถวายสงั ฆทาน ทอดผา้ ปา่ ไมข่ าด ปฏบิ ตั ธิ รรมมาตงั้ แต่
ปู่ย่าตายาย ท�ำไมธรรมะไม่ช่วยคุ้มครองเขาให้พ้นจากไฟไหม้
หลวงปดู่ ลู ยอ์ ธบิ ายวา่ “ไฟมนั ทำ� ตามหนา้ ทข่ี องมนั ธรรมะไมไ่ ด้
ชว่ ยใครในลกั ษณะนน้ั หมายความวา่ ความอนั ตรธาน ความวบิ ตั ิ
ความเสอื่ มสลาย ความพลดั พรากจากกนั สงิ่ เหลา่ นมี้ นั มปี ระจำ�
โลกอยแู่ ลว้ ผมู้ ธี รรมะ ผปู้ ฏบิ ตั ธิ รรมะ เมอ่ื ประสบกบั ภาวะเชน่ นนั้
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 89
แล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่ทุกข์ อย่างน้ีต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะ
ชว่ ยไมใ่ หแ้ ก่ ไมใ่ หต้ าย ไมใ่ หห้ วิ ไมใ่ หไ้ ฟไหม ้ ไมใ่ ชอ่ ยา่ งนน้ั ”
พทุ ธภาษติ ทว่ี า่ “ธรรมยอ่ มรกั ษาผปู้ ระพฤตธิ รรม” ความ
หมายทแี่ ทจ้ รงิ กค็ อื เมอ่ื มปี ญั ญาเขา้ ใจความจรงิ ปญั ญานนั้ กจ็ ะ
รกั ษาใจไมใ่ หท้ กุ ข ์ ถงึ แมจ้ ะสญู เสยี ทรพั ยส์ มบตั แิ ตใ่ จไมท่ กุ ข ์ ถงึ
แมร้ า่ งกายเจบ็ ปว่ ย แตใ่ จไมท่ กุ ข์ นค้ี อื อานสิ งสส์ ำ� คญั ทส่ี ดุ ของ
ของธรรมะท่ีเกดิ จากการปฏิบตั ใิ นความหมายท่ีสองคือมีปัญญา
จนเหน็ ความจริง
เมอ่ื เหน็ ความจรงิ ของชวี ติ และโลก กไ็ มย่ ดึ ตดิ ถอื มนั่ พรอ้ ม
ยอมรับความแปรเปลี่ยนได ้ ตระหนักดีว่าชีวิตเหมือนกระแสนำ้�
ทุกอย่างที่เกิดขึ้น มาแล้วก็ผ่านเลยไป ไม่สามารถที่จะยึดให้
มันอยู่นิ่ง หรือให้เป็นของเราตามใจเราได ้ อันน้ีคือสิ่งที่เราควร
ท�ำความเข้าใจถ้าเราม่ันใจในอานุภาพแห่งธรรม โดยเฉพาะใน
ความหมายที่สอง คือการเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ว่าอะไรจะ
เกดิ ขน้ึ กไ็ มท่ ำ� ใหท้ กุ ขไ์ ด ้ แตห่ ากยงั ไมเ่ ขา้ ใจตรงน ้ี แมจ้ ะทำ� บญุ
ให้ทานรักษาศีลมากมายเพียงใด ก็หลีกหนีความทุกข์ใจไม่พ้น
เพราะต้องเจอความแปรเปลี่ยน ความพลัดพรากสูญเสียเป็น
ธรรมดา
90
พระพทุ ธเจา้ เคยตรสั กบั นางกสี าโคตม ี เธอเสยี ลกู นอ้ ยอายุ
๓ ขวบแตท่ ำ� ใจไมไ่ ด ้ เอาแตร่ อ้ งเรยี กใหค้ นชว่ ยปลกุ ลกู ของเธอ
ใหฟ้ น้ื ขนึ้ มา แตไ่ มม่ ใี ครชว่ ยได ้ ใครๆ กบ็ อกวา่ ลกู เธอตายแลว้
แตเ่ ธอไมย่ อมรบั ความจรงิ พอมคี นแนะนำ� ใหไ้ ปหาพระพทุ ธเจา้
เธอกร็ บี ไปหาพระองคท์ นั ท ี พระพทุ ธองคร์ วู้ า่ สภาพจติ ใจของนาง
กีสาโคตมี ไม่มีทางท่ีจะเข้าใจความจริงหรือเปิดรับธรรมะ จึง
บอกเธอวา่ พระองคส์ ามารถชว่ ยได ้ แตเ่ ธอตอ้ งไปหาเมลด็ ผกั กาด
จากบา้ นทไ่ี มม่ คี นตาย นางกสี าโคตมดี ใี จ รบี ไปหาเมลด็ ผกั กาด
ทุกบ้านมีเมล็ดผักกาดแต่ก็มีคนตายทั้งนั้น บ้านแล้วบ้านเล่า
กม็ คี นตาย ในทส่ี ดุ นางกย็ อมรบั ความจรงิ ไดว้ า่ ความพลดั พราก
สูญเสียน้ันเกิดขึ้นกับทุกคนไม่เว้นแม้แต่นาง สุดท้ายก็ยอมรับ
ได้ว่าลูกตายแล้วจึงเอาไปไว้ที่ป่าช้า แล้วก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ตอนน้ีแหละท่ีพระองค์เห็นว่านางพร้อมรับฟังธรรมแล้ว จึงตรัส
ว่า “น้�ำป่าย่อมพดั พาชีวิตของผู้ท่ีหลบั ใหลฉนั ใด มจั จุราชยอ่ ม
พัดพาผู้ท่ียึดติดในลูกและทรัพย์สมบัติฉันนั้น” พอพระองค์
ตรัสจบ นางก็บรรลุธรรมเปน็ พระโสดาบัน
อนั ทจี่ รงิ ไมใ่ ชม่ จั จรุ าชหรอื ความตายเทา่ นน้ั ทเี่ ปรยี บไดด้ งั
นำ้� ปา่ ทไ่ี หลเชยี่ ว ความแก ่ ความเจบ็ ความพลดั พรากสญู เสยี ก็
เหมือนกัน มันคือกระแสของความจริงท่ีไม่มีใครหนีพ้น หน้าท่ี
ของเรากค็ อื ไมเ่ อาตวั ไปขวางกระแสน�้ำ หรอื ไมส่ รา้ งตวั ตนขน้ึ
มาขวางกระแสแหง่ ความจรงิ แตเ่ ขา้ ใจธรรมชาตขิ องกระแสแหง่
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 91
ความจรงิ และยอมใหม้ ันผา่ นเลยไป โดยทใ่ี จไม่ทุกข์ด้วย
อนั นเ้ี ปน็ เรอ่ื งทท่ี า้ ทายพวกเราวา่ ทำ� อยา่ งไรเราถงึ จะปฏบิ ตั ิ
ธรรมจนกระท่ังสามารถเห็นความจริงอย่างน้ีได้ และสามารถ
วางใจให้สอดคล้องกับกระแสแห่งความจริง ไม่ใช่ไปขัดขวาง
เอาไว้ อย่างท่ีหลวงพ่อชา สุภัทโท สอนว่า ทุกอย่างท่ีเกิดขึ้น
กับเรามันถูกท้ังนั้น แต่ท่ีเราทุกข์เพราะวางใจผิด วางใจผิดคือ
ไปขวางกระแสความจริง หรือไม่ยอมรับความจริงท่ีเกิดข้ึน
น้ีแหละคือที่มาของความทุกข์ เพราะฉะน้ันถ้าไม่อยากทุกข์
ก็ตอ้ งเปดิ ใจยอมรับความจรงิ หรือปฏบิ ตั จิ นเห็นความจริงใหไ้ ด้
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 93
๙
อ ยู่ ก ั บ ทุ ก ข ์
โ ด ย ใ จ ไ ม่ ทุ ก ข์
เนื้อหาของบทสวดมนต์ท�ำวัตรเช้าเป็นเร่ืองของสัจธรรม
ความจริงท่ีเราควรเปิดใจศึกษา พจิ ารณา และวางใจใหถ้ ูกต้อง
ตอ่ ความจรงิ ทป่ี รากฏแกเ่ ราโดยเฉพาะทเี่ ปน็ ความทกุ ข์ ขอ้ ความ
ตอนหนงึ่ ในบทสวดทว่ี า่ “เราเปน็ ผถู้ กู ความทกุ ขห์ ยงั่ เอาแลว้ มี
ความทกุ ขเ์ ปน็ เบอื้ งหนา้ แลว้ ” ถกู ความทกุ ขห์ ยงั่ เอาแลว้ หมายถงึ
ว่าความทุกข์ได้แผ่ซ่านซึมลึกตามติดชีวิตของเรา โดยเฉพาะ
รา่ งกายน ้ี เรยี กวา่ เปน็ ตวั ทกุ ขแ์ ทๆ้ ทกุ ขท์ วี่ า่ นเี้ รยี กวา่ สภาวทกุ ข์
เป็นทุกข์ท่ีเกิดกับทุกชีวิตและทุกสิ่ง ถ้าเกิดข้ึนกับตัวเราก็ได้แก่
94
ความแก่ ความปวดความเม่ือย และความตาย อันน้ีเรียกว่า
ทกุ ขป์ ระจำ� สงั ขาร เปน็ ทกุ ขท์ ตี่ ามตดิ เราไปตลอดเวลา เรยี กไดว้ า่
เราแบกความทุกข์อยู่ทุกขณะ แต่เราอาจไม่รู้ตัว เพราะมันเกิด
ชา้ ๆ หรอื ถกู บรรเทาตลอดเวลา เชน่ พลกิ ตวั ขยบั ตวั กเ็ ลยไมร่ สู้ กึ
ปวดเมือ่ ย หรอื หายใจเขา้ แล้วก็หายใจออก กเ็ ลยไมร่ ้สู ึกอดึ อัด
แตถ่ า้ เราลองไมห่ ายใจเขา้ ด ู หรอื ไมข่ ยบั ตวั เลย อยทู่ า่ ใดทา่ หนง่ึ
นานๆ กจ็ ะเห็นทุกข์ชัดเจน
ขณะเดียวกันความทุกข์ท่ีรออยู่เบ้ืองหน้าก็มีเช่น ความ
เจบ็ ปว่ ย ความตาย ความพลดั พรากจากสงิ่ ทร่ี กั ทพี่ อใจ และ
การประสบกับสิ่งท่ีไม่รักไม่พอใจ เหตุการณ์เหล่านี้ก�ำลังรอเรา
อยู่ข้างหน้า มันไม่ได้เกิดข้ึนตลอดเวลา เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
เราเรยี กวา่ ปกณิ ณกทกุ ข ์ ไมเ่ หมอื นความแก ่ ความแกเ่ กดิ ขนึ้ กบั
เราตลอดเวลาตงั้ แตค่ ลอดออกมาความแกก่ เ็ รมิ่ ปรากฏ เดก็ ทารก
อาย ุ ๑ วนั กถ็ อื วา่ แก ่ คอื แกก่ วา่ เดก็ ทอี่ ยใู่ นทอ้ ง เดก็ ทอี่ ายสุ องวนั
ก็แก่กว่าเด็กท่ีอายุวันเดียว นอกจากน้ันก็ยังมีความโศก ความ
รำ่� ไรรำ� พนั ความไมส่ บายกาย ความไมส่ บายใจ ความคบั แคน้
ใจ เป็นตน้
ท้ังหมดนี้เรียกว่าเป็นทุกข์ในอริยสัจ ซ่ึงเป็นทุกข์ท่ีเกี่ยว
ข้องกับเราโดยตรง ไม่ว่าจะเปน็ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความพลดั พรากจากสง่ิ ทรี่ กั ประสบกบั สงิ่ ไมร่ กั ปรารถนาสงิ่ ใด
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 95
ไม่ได้ส่ิงนั้น ความโศก ความร�่ำไรร�ำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ น่ีคือความจริงท่ีเราทุกคน
ต้องเจอ ถ้าไม่เจออยู่แล้วตอนน้ีก็ต้องเจอในวันข้างหน้า สิ่งที่
เจออยแู่ ลว้ ตอนนกี้ อ็ าจจะไดแ้ กค่ วามหนาวเหนบ็ และความเมอ่ื ย
เป็นต้น
คนเราไมม่ ที างหนที กุ ขพ์ น้ โดยเฉพาะทกุ ขท์ เี่ ปน็ สภาวทกุ ข์
หรอื ทกุ ขป์ ระจำ� สงั ขาร แตม่ นษุ ยเ์ ราไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งจมอยใู่ นความ
โศก ความเศรา้ ความรำ่� ไรรำ� พนั ความคบั แคน้ ใจเสมอไป แม้
แก่ แม้เจ็บ ก็ไม่โศกไม่เศร้า แม้พลัดพรากสูญเสียก็ไม่จ�ำเป็น
ตอ้ งรำ่� ไรรำ� พนั เมอ่ื ประสบกบั สงิ่ ไมร่ กั เชน่ คำ� ดา่ วา่ คำ� ตำ� หนิ
หรอื การทำ� รา้ ย การฉอ้ โกง กไ็ มจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งคบั แคน้ ใจกไ็ ด ้ อนั น้ี
เปน็ สง่ิ ทมี่ นษุ ยท์ กุ คนทำ� ได ้ แตไ่ มใ่ ชเ่ กดิ ขนึ้ เอง ตอ้ งเกดิ จากการที่
เราเขา้ ใจความจรงิ โดยเฉพาะเขา้ ใจเรอ่ื งทกุ ข ์ เมอื่ เขา้ ใจทกุ ข ์ และ
วางใจต่อทกุ ข์ไดถ้ กู ตอ้ ง เรากไ็ ม่เป็นทุกข์
การวางใจตอ่ ความทกุ ขท์ ำ� ไดห้ ลายวธิ ี ทส่ี ำ� คญั กค็ อื การทำ�
ความเขา้ ใจกบั ทกุ ขน์ นั้ เขา้ ใจทกุ ขถ์ งึ ขน้ั ทร่ี วู้ า่ ทกุ ขเ์ กดิ จากอะไร
เกดิ จากความอยากหรอื ตณั หา และความยดึ ตดิ ถอื มนั่ หรอื อปุ าทาน
พดู รวมๆ วา่ ความอยากและความยดึ ลกึ กวา่ นน้ั คอื อวชิ ชาหรอื
ความหลง โดยเฉพาะความหลงทปี่ รงุ ตวั ตนขนึ้ มาใหย้ ดึ ตดิ ถอื มน่ั
อนั นก้ี เ็ ปน็ รากเหงา้ ของความทกุ ข ์ ซงึ่ ถา้ เราเขา้ ใจมนั อยา่ งแจม่ แจง้
96
ก็จะรู้ว่า โอ เราเผลอแบกทุกข์ตั้งนาน เม่ือรู้เช่นน้ีก็วางได้เอง
เม่ือวางแลว้ จติ ใจกโ็ ปร่งเบา
เมอ่ื เราวางใจไดถ้ กู ตอ้ งตรงตามความจรงิ ไมข่ ดั ขวางหรอื
ปฏเิ สธความจรงิ ความจรงิ กไ็ มส่ ามารถจะทำ� ความทกุ ขใ์ หแ้ กเ่ รา
ได ้ เราจะเขา้ ใจความจรงิ หรอื เขา้ ใจความทกุ ขไ์ ด ้ กต็ อ้ งเจอทกุ ข์
บอ่ ยๆ ตอ้ งเจอทกุ ขซ์ ำ�้ แลว้ ซำ้� เลา่ เมอ่ื เจอแลว้ แทนทจี่ ะรำ่� ไรรำ� พนั
กก็ ลบั มาตงั้ หลกั มองทกุ ข ์ ดทู กุ ข ์ เหน็ ทกุ ข ์ เขา้ ใจทกุ ข ์ ปญั ญา
กจ็ ะเกดิ ทำ� ใหห้ ลดุ จากความทกุ ขไ์ ด ้ จะหลดุ จากทกุ ขก์ ต็ อ้ งรทู้ กุ ข์
และจะรทู้ กุ ขไ์ ดก้ ต็ อ้ งเจอทกุ ขอ์ ยบู่ อ่ ยๆ เพราะฉะนนั้ ความทกุ ข์
จงึ เปน็ สิ่งจ�ำเปน็ มากตอ่ การเกดิ ปญั ญาจนหลดุ จากทกุ ขไ์ ด้
มคี รบู าอาจารยท์ า่ นหนง่ึ พดู ไวด้ วี า่ ความทกุ ข ์ หรอื ความ
สญู เสีย เหมือนกับโคลนที่จำ� เป็นต่อการเติบโตของดอกบัว บัว
จะงอกงามเตบิ โตไดต้ อ้ งอาศยั โคลนตม ลกั ษณะพเิ ศษของบวั ก็
คอื แมเ้ กดิ จากโคลนตม แตก่ ส็ ามารถเตบิ โตจนพน้ โคลนตม และ
อยู่เหนือน�้ำด้วย โคลนตมจ�ำเป็นต่อดอกบัวฉันใด ความทุกข์
กจ็ ำ� เปน็ ตอ่ ความรแู้ จง้ หลดุ พน้ ฉนั นนั้ เพราะฉะนน้ั จงึ ไมใ่ ชว่ ถิ ขี อง
ผฉู้ ลาดทจี่ ะปฏเิ สธหรอื รงั เกยี จความทกุ ข ์ เพราะมนั คอื สง่ิ จำ� เปน็
ตอ่ ความรแู้ จง้ อยา่ งทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ไดท้ รงเปน็ แบบอยา่ ง ฉะนน้ั
การมที า่ ทีตอ่ ความทกุ ข์ให้ถูกต้องจงึ เปน็ สิง่ ส�ำคญั
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 97
ถา้ เราอยกู่ บั ทกุ ขใ์ หเ้ ปน็ เรากไ็ มเ่ ปน็ ทกุ ข ์ แมเ้ จบ็ แมป้ ว่ ย
กป็ ว่ ยแตก่ าย แตใ่ จไมท่ กุ ข ์ แมเ้ จออากาศหนาว เจออากาศรอ้ น
กร็ อ้ นแตก่ าย หนาวแตก่ าย แตใ่ จไมท่ กุ ข ์ กเ็ ปน็ ปกตไิ ด ้ มคี ำ� พดู
ของท่านโดเก็นผู้เป็นปรมาจารย์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเซน
ของญี่ปุ่น ท่านพูดว่าเมื่อร้อนก็ให้เป็นพระพุทธเจ้าที่ร้อน คือ
Hot Buddha เมื่อหนาวก็ให้เป็นพระพุทธเจ้าที่หนาว หรือ
Cold Buddha อนั นเ้ี ปน็ สำ� นวนแบบเซน คอื ทา่ นมคี วามเชอื่ วา่
มนษุ ยเ์ ราทกุ คนมพี ทุ ธภาวะ หรอื ศกั ยภาพแหง่ การเปน็ พระพทุ ธ-
เจ้าอยู่แล้ว แต่เพราะไม่รู้จักภาวะน้ี หรือพอถูกครอบง�ำด้วย
อวิชชา เราจึงไม่สามารถหยั่งถึงพุทธภาวะ หรือให้พุทธภาวะนี้
ปรากฏตัวออกมาได้
เพียงแต่เราค้นหาพุทธภาวะ เม่ือค้นพบแล้ว พุทธภาวะ
กจ็ ะปรากฏ พดู งา่ ยๆ กค็ อื ความเปน็ ผรู้ ู้ ผตู้ นื่ ผเู้ บกิ บาน บงั เกดิ
ขน้ึ มา แมอ้ ากาศหนาวหรอื รอ้ น แตเ่ รากเ็ ปน็ ผรู้ ู้ ผตู้ น่ื ผเู้ บกิ บาน
ได ้ คอื รอ้ นแตก่ าย แตใ่ จสงบเยน็ ผอ่ งใส อนั นคี้ อื ความเปน็ พทุ ธะ
พระพุทธเจ้าก็รู้จักรู้ร้อน รู้หนาว แต่เม่ือร้อนพระองค์ก็ไม่ทุกข์
หนาวพระองคก์ ไ็ มท่ กุ ข ์ ไมใ่ ชจ่ ะแขง็ ทอื่ ไมร่ รู้ อ้ นรหู้ นาวเสยี เลย
การเขา้ ใจทกุ ขไ์ มอ่ าจทำ� ไดด้ ว้ ยการใชค้ วามคดิ แตเ่ ขา้ ใจ
ดว้ ยการประสบสมั ผสั กบั ทกุ ขจ์ นกระทง่ั รวู้ า่ ทเี่ ราทกุ ขโ์ ศก รำ่� ไร
ร�ำพัน ไม่สบายใจ หรือคับแค้นใจ เกิดจากใจของเราที่ยึดติด
98
ถอื มน่ั กบั สง่ิ ตา่ งๆ เชน่ อยากใหม้ นั คงท ี่ อยากใหม้ นั อยกู่ บั เรา
ไปตลอด ครน้ั เราสญู เสยี พลดั พราก มนั กท็ ำ� ใจไมไ่ ด ้ ไมย่ อมรบั
ความจริงอันน้ัน เป็นเพราะความยึดติดถือมั่นท�ำให้เราปฏิเสธ
ความจรงิ ทปี่ รากฏอยตู่ อ่ หนา้ หรอื ความจรงิ ทก่ี ลายเปน็ อดตี ไปแลว้
ของหายไปแลว้ คนรกั จากไปแลว้ แตก่ ย็ งั ไมย่ อมรบั ความจรงิ นนั้
ยังยึดติดถือมั่นว่าเป็นของฉันๆ อยู่ ทั้งๆ ท่ีตอนนี้มันไม่ใช่
ของเราแลว้ เขาไมไ่ ดอ้ ยกู่ บั เราแลว้ เมอื่ ใจยงั ยดึ ตดิ อยกู่ บั อดตี
ด้วยความคิดว่าเรายังเป็นเจ้าของมันอยู่ หรืออยากให้ด�ำรงอยู่
กบั เราตอ่ ไป ใจทปี่ ฏเิ สธความจรงิ นแี่ หละทยี่ อ่ มถกู ความจรงิ บบี คนั้
ทิ่มแทงจนเปน็ ทกุ ข์
สง่ิ ทง้ั ปวงนอกจากไมเ่ ทย่ี งแลว้ ยงั เปน็ ทกุ ขด์ ว้ ย ทกุ ขใ์ น
ที่นี้ หมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์ ซ่ึงหมายถึงสภาวะท่ีมีความ
บีบค้ันกดดันอยู่ภายใน หรือมีความขัดแย้งอยู่ในตัว เป็นภาวะ
ท่ีถูกบีบคั้นด้วยการเกิดและการสลายของปัจจัยภายใน ท�ำให้
คงอยใู่ นสภาพเดมิ ไมไ่ ด้ เนอ่ื งจากองคป์ ระกอบของสง่ิ นน้ั ไมไ่ ด้
อยู่คงท่ี แต่เกิดแล้วดับ หรือเกิดแล้วเส่ือมสลายไป ท�ำให้เกิด
ความขัดแย้งกดดันภายใน อย่างเช่น ร่างกายของเรามีเซลล์
นบั ลา้ นลา้ นเซลลม์ กี ารเกดิ และดบั วนั หนงึ่ ไมต่ ำ�่ กวา่ แสนลา้ นเซลล์
ถา้ เกดิ ดบั ทดแทนกนั ไดก้ ไ็ มเ่ จบ็ ไมป่ ว่ ย แตก่ ย็ งั มคี วามแปรเปลย่ี น
เกดิ ขนึ้ ตลอดเวลา เชน่ ผมรว่ ง ผวิ ลอก หนงั เหย่ี ว รวมทง้ั เกดิ
ความแปรเปลย่ี นกบั อวยั วะตา่ งๆ ในรา่ งกายของเรา ยงั ไมต่ อ้ ง
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล 99
พดู ถงึ ความกดดนั บบี คน้ั จากปจั จยั ภายนอก เชน่ ดนิ ฟา้ อากาศ
ทง้ั หมดนีน้ ำ� ไปสู่ความแก ่ ความเจบ็ และความตายในท่สี ุด
คำ� วา่ ทกุ ข ์ ถา้ พดู สน้ั ๆ กค็ อื ภาวะทกี่ ดดนั บบี คนั้ ไมว่ า่
จะเปน็ การถกู กดดนั บบี คน้ั จากภายใน หรอื ไปกดดนั บบี คน้ั สง่ิ อน่ื
ก็ตาม อย่างที่เราสวดตอนท�ำวัตรเช้าว่า “ว่าโดยย่ออุปาทาน
ขนั ธท์ ง้ั หา้ เปน็ ตวั ทกุ ข”์ ทจี่ รงิ ไมใ่ ชแ่ คอ่ ปุ าทานขนั ธท์ งั้ หา้ เทา่ นนั้
ท่ีเป็นตัวทุกข์ แม้กระท่ังขันธ์ห้าเฉยๆ ก็เป็นตัวทุกข์ คือ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้ไม่ได้เป็นที่ต้ังแห่งความ
ยึดม่ันเลย มันก็เป็นทุกข์เช่นกัน คือตกอยู่ภายใต้ความบีบค้ัน
ขัดแย้งภายใน ไม่สามารถทรงตัวอยู่ไปตลอด แต่ท�ำไมท่านถึง
พดู เจาะจงวา่ อปุ าทานขนั ธท์ ง้ั หา้ เปน็ ตวั ทกุ ข ์ กเ็ พราะวา่ อปุ าทาน
ขันธ์ท้ังห้าไม่เพียงถูกบีบค้ันจากส่ิงต่างๆ เท่านั้น แต่มันยังไป
บบี คั้นผอู้ ื่นด้วย
ผู้อื่นนั้นคือใคร ก็คือผู้ท่ียึดติดถือม่ันขันธ์ท้ังห้าน่ันเอง
เหมอื นกบั สง่ิ ของ จะเปน็ ทอง รถยนต ์ บา้ นเรอื นกเ็ ปน็ ทกุ ข ์ คอื
เสื่อมสลายอยู่ทุกขณะ แต่ละขณะก็ถูกกดดันบีบค้ันด้วยความ
เกดิ ดบั ของปจั จยั ตา่ งๆ เชน่ สว่ นประกอบของมนั จะเปน็ เพลา
ยาง ล้อ ตัวถัง มีความเสื่อมตลอดเวลา มาถึงจุดหน่ึงช้ินส่วน
ก็เร่ิมเสียทีละชิ้น สองชิ้น ก็ท�ำให้รถทั้งคันเสียหรือแล่นไม่ได้
จะแก้ไขให้ใช้ได้ก็ต้องถอดเอาชิ้นส่วนที่เสียออกไป เอาอันใหม่