The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

book_design_by_cat

book_design_by_cat

หนงั �อ� พระบรมราโชวาท

คำสอนของพอ‹

1

2

คำ�สอนของพอ่

ส่วนหนึง่ ของพระบรมราโชวาทและพระราชดำ�รสั
ในพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช
ตลอดระยะเวลาทีท่ รงครองราชย์ยาวนาน ๗๐ ปี

พระองค์ทรงเป็น “พอ่ ” ของแผ่นดินไทย
คำ�ทีพ่ ่อสอนจักเปน็ ดัง่ แสงนำ�ทางทีม่ ีคุณค่ายิง่

ต่อปวงชนชาวไทยในการน้อมน�ำ ไปปฏิบัติ
เพื่อความผาสกุ ร่มเย็นของชาติตลอดไป

3

สารบัญ

๙ ความซือ่ สตั ย์สุจริต ๒๖ ความต้ังใจจริง
๑๐ ต้ังจดุ หมาย ๒๙ เครื่องช่วยความรู้
๑๑ ความอตุ สาหะ ๓๐ ความสุขความร่มเย็น
๑๒ เป็นทีพ่ ึง่ แก่ตน ๓๑ ไม่เบียดเบียน
๑๓ ทางแห่งความเจริญ ๓๒ พิจารณาด้วยปัญญา
๑๔ การใช้ถ้อยค�ำ ๓๓ สัมพันธ์กับงานของคนอืน่
๑๕ การใช้จ่ายโดยประหยัด ๓๔ ศตั รทู ี่มีอยู่ในตัว
๑๖ น้�ำ หนึง่ ใจเดียว ๓๕ ให้เขามีพอกิน
๑๙ ประโยชน์ของส่วนรวม ๓๖ แจกจ่ายความรู้
๒๐ ชีวิตทีเ่ จริญ ๓๙ ศิลปะกบั วฒั นธรรม
๒๑ ประเพณี ๔๐ การเป็นผู้ใหญ่
๒๒ ทางทีถ่ กู ๔๑ ความร่วมมือ
๒๓ ปิดทองหลงั พระ ๔๒ รู้จักประเมิน
๒๔ ความละอายต่อบาป ๔๓ ต้องกล้าและบากบน่ั
๒๕ ผู้มีใจเปน็ นักกีฬา ๔๔ ปัญญาชน

4

สารบญั

๔๕ ใช้ปญั ญาใช้ความคิด ๖๔ จิตใจมั่นคง
๔๖ ท�ำ ด้วยความบริสทุ ธิใ์ จ ๖๕ มีตำ�แหน่งส�ำ คญั
๔๙ การชนะใจ ๖๖ การทำ�ดี
๕๐ ฝึกนิสยั ใจคอ ๖๙ ต้ังใจศึกษา
๕๑ เรียนหลักวิชา ๗๐ การหาความรู้
๕๒ รกั ษาความเปน็ ไทย ๗๑ กตญั ญกู ตเวที
๕๓ สร้างสังคมที่น่าอยู่ ๗๒ การสร้างวินัย
๕๔ พยายามฝึกหัดตน ๗๓ การสือ่ สารของชาติ
๕๕ ศรทั ธาความเชื่อ ๗๔ การสร้างสรรค์
๕๖ การถ่ายทอดความรู้ ๗๕ การรบั ใช้พระสงฆ์
๕๙ ความอิ่มใจ ๗๖ มีระเบียบ
๖๐ ใจบริสุทธิเ์ ป็นกลาง ๗๙ ค้นคว้าวิทยาการ
๖๑ ทำ�นบุ �ำ รุงเกษตรกรรม
๖๒ จริงใจต่อผู้อืน่ และเทคโนโลยี
๖๓ ฝึกใจให้เข้มแข็ง
๘๐ ได้ประโยชน์คุ้มค่า
๘๑ ปราศจากอคติ

5

สารบัญ

๘๒ การเลือกทางเดิน ๑๐๑ ชดั เจน ถกู ตรง
๘๓ สภุ าพอ่อนโยน ๑๐๒ ทุกคนมีหน้าที่
๘๔ ขยนั อดทน ๑๐๓ ทำ�นบุ �ำ รุงบ้านเมือง
๘๕ เกียรติและความสำ�เรจ็ ๑๐๔ มีสติรู้ตวั
๘๖ ค้นคิดเทคโนโลยี ๑๐๕ การท�ำ งาน
ที่เหมาะสม กับการเล่าเรียน
๘๙ สิ่งที่เปน็ สาระ ๑๐๖ ศึกษาค้นคว้า
๙๐ การพฒั นาสงั คม ๑๐๙ พร้อมทกุ เวลา
๙๑ ความรักใคร่เผื่อแผ่ ๑๑๐ รบั ผิดชอบร่วมกัน
๙๒ รู้ประโยชน์แท้จริง ๑๑๑ ความเป็นไทย
๙๓ ใช้ให้พอดี ๑๑๒ แก้ไขด้วยเหตุและผล
๙๔ จุดหมายที่แท้ ๑๑๓ การพูดดี
๙๕ อบรมให้ดี ๑๑๔ เอื้อเฟื้อเกื้อกลู
๙๖ การทำ�หน้าที่ ๑๑๕ ประโยชน์อันยัง่ ยืน
๙๙ เพิ่มคุณค่าทรัพยากร ๑๑๖ ผลมาจากเหตุ
๑๐๐ ส่วนทีด่ ีก็ควรจะรักษาไว้ ๑๑๙ พอเพียง
6

7

8

ความซ่ือสตั ยส์ ุจริต

“…จงมั่นอยู่ในความซือ่ สัตย์สจุ ริต
ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเปน็ ที่ต้ัง
เพราะคณุ ธรรมอันนี้เปน็ มลู ฐานอันสำ�คัญ
ที่จะยังความเจริญและความเปน็ ปึกแผ่นแก่สงั คม

”เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว…

พระราชด�ำ รัส

การพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นกั ศึกษามหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๖

9

ต้งั จุดหมาย

“…นอกจากความรู้และความสจุ ริตประจ�ำ ตวั แล้ว
ท่านควรมีหรือตั้งจุดหมายให้แน่วแน่
ในการงานทีจ่ ะกระทำ�นั้น
แล้วใช้ความคิดไตร่ตรองว่าจะท�ำ อะไรบ้าง
กิจการที่กระท�ำ หรือดำ�เนินอยู่น้ัน
”จึงจะเจริญก้าวหน้า เกิดประโยชน์งอกงามยิ่งขึ้น…
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๗ กรกฎาคม ๒๔๙๘

10

ความอตุ สาหะ

“…การทีจ่ ะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเปน็ ผลดีนั้น
ย่อมต้องอาศัยความอตุ สาหะพากเพียร
และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นรากฐานส�ำ คญั
ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตากรณุ า
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำ�เพญ็ ประโยชน์

”ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙

11

เปน็ ท่ีพงึ่ แก่ตน

“…การที่เราศึกษาวิชาความรู้นั้น

ความจริงไม่ใช่เพื่อใครเลย แต่เพื่อตวั เราเอง
ในการทีจ่ ะได้ดำ�เนินชีวิตต่อไปในวนั หน้า
ถ้าเรียนดีกจ็ ะได้ใช้ความรู้ทีเ่ รียนมา
ประกอบกิจการให้เปน็ ประโยชน์

”เป็นที่พึ่งแก่ตนและเปน็ ที่ชื่นชม
แก่วงศ์ตระกูลต่อไปด้วย…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรนักเรียนวชิราวธุ วิทยาลัย
๑๖ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๐๐

12

ทางแห่งความเจรญิ

“…ทางแห่งความเจริญ คือ การพิจารณา
การพิจารณานั้น เป็นการหยุดย้ังช่ังใจ
ก่อนที่จะปฏิบัติการใดลงไป
เสมือนกบั ได้ปรึกษากบั ตนเองก่อน
ถ้าหากทำ�สิง่ ใดโดยมิได้พิจารณาแล้ว
ก็อาจจะตกเป็นเหยือ่ แห่งอารมณ์
บังเกิดความประมาทขึ้น
”อนั จะเปน็ ผลเสียหายแก่กิจการน้ันๆ ได้…
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานประกาศนียบตั รนกั เรียนวชิราวธุ วิทยาลัย
๑๕ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๐๑

13

การใชถ้ ้อยค�ำ

“…มีการใช้ถ้อยค�ำ ออกจะฟุ่มเฟือย

และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ
ท้ังออกเสียงก็ไม่ถกู ต้องตามอักขรวิธี
ถ้าปล่อยให้เป็นไปดงั นี้
ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม
ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง
เปน็ สิง่ อนั ประเสริฐอยู่แล้ว

”เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน
จึงมีหน้าทีจ่ ะต้องรักษาไว้…
พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รแก่นิสิตจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั
๙ กรกฎาคม ๒๕๐๒

14

การใชจ้ ่ายโดยประหยดั

“…การใช้จ่ายโดยประหยดั นั้น

จะเป็นหลักประกนั ความสมบูรณ์พนู สุข
ของผู้ประหยัดเองและครอบครัว

ช่วยป้องกนั ความขาดแคลนในวนั ข้างหน้า
การประหยดั ดังกล่าวนี้จะมีผลดี
ไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่าน้ัน

ยังจะเปน็ ประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย
ทั้งนี้ โดยทีป่ ระชาชนแต่ละคน

เป็นส่วนประกอบของประเทศชาติ
ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ

”กข็ ึ้นอยู่ทีฐ่ านะความเป็นอยู่ของประชาชนพลเมือง…
พระราชดำ�รสั
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ ๒๕๐๓
๓๑ ธนั วาคม ๒๕๐๒
15

นำ�้ หนงึ่ ใจเดียว

“…ความเจริญของบ้านเมืองนั้น

ใช่ว่าจะราบรืน่ ไปตลอด โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ
ทีส่ ามารถปราชญ์เปรื่องแต่เท่านั้นกห็ าไม่

ต้องอาศยั ความสามัคคีกลมเกลียว
เปน็ น้�ำ หนึ่งใจเดียว ร่วมกนั คิดอ่านแก้ไขปัญหา
และอปุ สรรคต่างๆ ให้ลุล่วงไปด้วยดีอีกทางหนึ่ง

”จึงจะเกิดประโยชน์โดยสมบรู ณ์แก่ประเทศชาติ…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๓ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๐๔

16

17

18

ประโยชน์ของส่วนรวม

“…เรามีเสรีภาพในการคิด การทำ�

แต่การใช้สิทธิดงั กล่าวนี้ ต้องมีหลักที่จะต้องปฏิบัติ
คือรกั ษาผลประโยชน์ของส่วนรวมไว้

เพราะประโยชน์ของส่วนรวมเปน็ สิง่ ส�ำ คญั อย่างยิง่
ทีจ่ ะทำ�ให้ประเทศชาติทรงไว้ซึง่ อิสรภาพ

”ผลสดุ ท้ายก็เท่ากบั เปน็ ประโยชน์ของแต่ละคน…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓ สิงหาคม ๒๕๐๔

19

ชีวิตทเ่ี จริญ

“…บรรดาผู้สำ�เร็จการศึกษาตามหลักสตู ร
ของมหาวิทยาลัย ก็เปรียบเหมือนได้กุญแจ
ที่จะไขไปสู่ชีวิตทีเ่ จริญต่อไปในวนั ข้างหน้า
แต่ขอเตือนว่าการด�ำ เนินชีวิตโดยใช้วิชาการ
อย่างเดียวยงั ไม่เพียงพอ จะต้องอาศัยความรู้รอบตวั
และหลักศีลธรรมประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ดี
แต่ขาดความย้ังคิด นำ�ความรู้ไปใช้ในทางมิชอบ

”ก็เท่ากบั เป็นบคุ คลทีเ่ ปน็ ภยั แก่สังคมของมนษุ ย์…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รของมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
๑๘ กันยายน ๒๕๐๔

20

ประเพณี

“ …การทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงประเพณีใดๆ

หรือจะรบั เอาประเพณีของชาติอื่นใดมาใช้นั้น
ต้องพิจารณาให้รอบคอบถ่องแท้เสียก่อนว่า
เหมาะสมหรือไม่ประการใด เปลี่ยนแปลงแล้ว
จะสะดวกกว่าเก่าหรือไม่ จะเปน็ ประโยชน์อย่างไร

”ความรอบคอบเปน็ สิ่งส�ำ คญั อย่างยิง่ …

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั
๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕

21

ทางท่ถี ูก

“…ความรู้กบั ดวงประทีปเปรียบกนั ได้หลายทาง
ดวงประทีปเปน็ ไฟที่ส่องแสงเพือ่ น�ำ ทางไป
ถ้าใช้ไฟนี้ส่องในทางทีถ่ กู
ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย
แต่ถ้าไม่ระวงั ไฟนั้นอาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้

ความรู้เปน็ แสงสว่างทีจ่ ะนำ�เราไปสู่ความเจริญ
ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้
กจ็ ะเปน็ อนั ตรายเช่นเดียวกนั

”จะทำ�ลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้…
พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕

22

ปิดทองหลงั พระ

“…การปิดทองหลังพระน้ัน

เมื่อถึงคราวจ�ำ เป็นกต็ ้องปิด ว่าทีจ่ ริงแล้ว
คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกนั นกั

เพราะนึกว่าไม่มีใครเหน็
แต่ถ้าทกุ คนพากนั ปิดทองแต่ข้างหน้า

ไม่มีใครปิดทองหลงั พระเลย

”พระจะเป็นพระที่งามบริบรู ณ์ไม่ได้…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รแก่นิสิตจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖

23

ความละอายตอ่ บาป

“…หากบคุ คลใดแม้จะมีความรู้สงู
แต่ขาดหิริโอตตปั ปะ
คือไม่มีความละอายต่อบาป
”น�ำ ความรู้นั้นไปใช้ในทางที่มิชอบ
กจ็ ะท�ำ ให้สังคมเดือดร้อน…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รของมหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
๒๒ สิงหาคม ๒๕๐๖

24

ผูม้ ีใจเป็นนักกฬี า

“…การกีฬาน้ัน นอกจากจะให้ความสนกุ สนาน
และความสมบูรณ์แก่ร่างกายแล้ว
ยงั ให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมาย
นักกีฬาทีไ่ ด้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้ว
ย่อมมีใจแน่วแน่ ตดั สินใจได้รวดเรว็
มีความเพียรพยายามไม่ท้อถอย
และมีความหนกั แน่น รู้จกั แพ้ รู้จกั ชนะ รู้จักให้อภยั

ผู้มีใจเปน็ นกั กีฬา จึงเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคม

”และน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง…
พระบรมราโชวาท

ในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประจ�ำ ปี ๒๕๐๗
ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรมพลศึกษา
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗

25

ความต้งั ใจจริง

“…นักเรียนจงฝึกหดั ให้มีความต้ังใจจริง
เสียตั้งแต่บดั นี้ เพราะความตั้งใจจริงนี้
จะช่วยกำ�จัดความเกียจคร้าน ความอ่อนแอ

และความท้อถอยได้อย่างดียิ่ง
จะปลกู ฝงั ความขยันหม่นั เพียร
และความเข้มแขง็ ให้เกิดเปน็ นิสยั
และนิสัยดีทีป่ ลกู ฝงั ไว้แต่เยาว์วัยนี้
จะเปน็ คณุ สมบตั ิติดตัวไปในวันข้างหน้า
จะช่วยให้เอาชนะอปุ สรรคต่างๆ ได้

”และจะช่วยให้มีความสำ�เร็จ

และความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในชีวิต…
พระบรมราโชวาท

ในการเสด็จฯ ทรงเปิดอาคารเรียนโรงเรียนวังไกลกงั วล
และพระราชทานรางวลั นกั เรียน
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘

26

27

28

เคร่ืองช่วยความรู้

“…บัณฑิตนั้นต้องเป็นผู้ทีม่ ีคุณสมบตั ิหลายประการ
เช่น มีความรู้และมีความคิด เป็นต้น
ความรู้น้ันเป็นหลักของการงาน
ผู้ที่จะท�ำ งานอย่างใดจ�ำ ต้องมีความรู้
ในเรื่องนั้นก่อนเปน็ เบื้องต้น
ส่วนความคิดเป็นเครื่องช่วยความรู้
คือ ช่วยให้ใช้ความรู้ได้ถกู ต้อง
เช่น จะใช้อย่างไร ที่ไหน เมื่อใด
เมือ่ มีความรู้สำ�หรับงาน มีความคิด
สำ�หรับใช้พิจารณาใช้ความรู้ให้ถกู ต้องแล้ว
ย่อมท�ำ งานได้ผลสมบรู ณ์ดี ยากทีจ่ ะผิดพลาด
”ความรู้กับความคิดจึงไม่ควรแยกจากกัน…
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนปุ ริญญาบัตร
แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๘ กรกฎาคม ๒๕๐๘
29

ความสุขความร่มเยน็

“…แต่ละศาสนามีวิธีการปฏิบัติต่างๆ กัน

ซึ่งสรุปแล้วก็คือวิธีหาความสขุ ความร่มเย็นให้แก่ตวั
การขึ้นสวรรค์หรือการส�ำ เร็จ

ก็คือการบรรลุความสขุ สดุ ยอดนนั่ เอง
แต่ในการดำ�เนินถึงขั้นสูงสดุ ยังมีขั้นอื่นๆ
ซึง่ สำ�คญั มากอยู่ระหว่างทาง ได้แก่ความสขุ
ของส่วนรวม ของสงั คม รวมท้ังการปกครองประเทศ
การปกครองส่วนรวม และการปกครองส่วนตัว

”ในชีวิตธรรมดาๆ ทกุ วันๆ…
พระบรมราโชวาท

ในโอกาสทีส่ ถาบนั และองค์การทีเ่ กีย่ วกบั ศาสนา
เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชยั มงคล และทลู เกล้าฯ ถวายสิ่งของ

เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาผกาภิรมย์
๔ ธันวาคม ๒๕๑๑

30

ไมเ่ บยี ดเบยี น

“…แต่ละคนต้องปฏิบัติงานของตน

ด้วยความเข้มแขง็ ที่สุดโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
แล้วพยายามร่วมมือกนั ถ้าเหน็ อะไรสิ่งใด

ทีไ่ ม่ดีไม่งามให้ช่วยกนั ปราบปราม
หรือช่วยกนั แก้ไขด้วยความต้ังใจจริง

มิใช่ว่าแต่ละคนก็มีชีวิตของตัว

”แล้วก็ไม่ทกุ ข์ถึงความไม่สบาย

หรือความไม่ดีความทุกข์ของผู้อืน่ …

พระราชดำ�รสั

ในงานราชอุทยานสโมสร ณ สวนศิวาลยั
๘ ธันวาคม ๒๕๑๑

31

พจิ ารณาดว้ ยปัญญา

“…ในการประกอบการงานท้ังปวงน้ัน

ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริงและขยนั หมัน่ เพียร
ต้องรู้จกั คิดพิจารณาด้วยปญั ญาและความรอบคอบ

ประกอบด้วยความอะลุ้มอล่วย
ถ้อยทีถ้อยอาศยั กนั มีเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน
ยึดม่นั ในความสามคั คีและความซื่อสตั ย์สจุ ริต
ถือเอาประโยชน์ร่วมกนั เป็นจุดประสงค์ส�ำ คัญ

”จึงจะสามารถปฏิบตั ิงานต่างๆ

ให้ส�ำ เรจ็ ผลโดยสมบูรณ์ได้…

พระราชดำ�รัส

ในพิธีพระราชทานพระพทุ ธนวราชบพิตรประจ�ำ จงั หวดั น่าน
๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒

32

สมั พันธก์ ับงานของคนอื่น

“…แต่ละคนมีหน้าที่ที่จะต้องท�ำ ต้องท�ำ ให้ดีทีส่ ดุ
แต่เท่าน้ันยงั ไม่พอ ต้องนึกด้วยว่า
งานของตวั จะต้องสมั พนั ธ์กับงานของคนอืน่
เพราะถ้าไม่สมั พนั ธ์กบั งานของคนอืน่
งานทีต่ ัวทำ�อาจเปล่าประโยชน์ก็ได้
”หรือถ้าไปปีนเกลียวกบั หน่วยอืน่
ก็อาจเป็นผลร้ายยิ่งขึ้นไปอีก…

พระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ รบั พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ณ พระต�ำ หนกั จิตรลดารโหฐาน
๑๑ มีนาคม ๒๕๑๒

33

ศัตรูทีม่ ีอยู่ในตัว

“…การต่อสู้ศตั รซู ึง่ ๆ หน้าอาจไม่ยาก
เท่ากบั ต่อสู้ศตั รทู ีม่ ีอยู่ในตวั
ที่จะทำ�ให้มีการเสียหายได้
เพราะว่าความเสียหายทีล่ ่อใจนี้
อาจดเู หมือนไม่ส�ำ คญั แต่กข็ อให้ทุกคน

ระลึกถึงว่า ความเสียหายแม้แต่เล็ก
ท�ำ ให้เสียหายได้มากแก่บ้านเมือง

”เพราะความเสียหายขยายตัวขึ้นมาเสมอ…
พระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ กองพลอาสาสมคั รผลดั ที่ ๒ ส่วนที่ ๒
ซึ่งเดินทางไปผลดั เปลีย่ น ก�ำ ลังพลผลดั ที่ ๑ ส่วนที่ ๒

ณ สาธารณรฐั เวียดนาม ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ กราบถวายบงั คมลา
ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน
๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๒

34

ใหเ้ ขามีพอกิน

“…การช่วยผู้ที่ไม่สามารถที่จะท�ำ มาหากินได้
เพือ่ ที่จะให้บคุ คลเหล่านั้นได้สามารถตั้งตวั
สามารถท�ำ มาหากินต่อไปได้
และก็เป็นการช่วยในการป้องกนั ประเทศด้วย
เพราะว่าถ้าประชาชนมีพอทีจ่ ะกิน
หรือมีผู้ที่ไปช่วยให้เขามีพอกินแล้วต้ังตวั ได้
กท็ �ำ ให้เปน็ การป้องกนั ไม่ให้เกิดการแทรกซึม
”และการยแุ หย่อย่างหนัก…
พระราชดำ�รัส
พระราชทานแก่ พล.ต.ท.พิชยั กุลละวณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเศรษฐการ และคณะราษฎรจงั หวดั ฉะเชิงเทรา
ณ พระต�ำ หนกั จิตรลดารโหฐาน
๘ มกราคม ๒๕๑๓

35

แจกจา่ ยความรู้

“…ชาติใดที่มีความเปน็ อยู่ที่สบาย แต่ละคนมีพอกิน
แต่ละคนก็จะอยู่ในความสงบ
และแต่ละคนจะได้รบั ความสขุ
ไม่ต้องมีใครมาเบียดเบียน จึงเปน็ สิ่งทีส่ ำ�คัญทีส่ ุด
ทีจ่ ะให้คนที่มีทุนทรัพย์หรือมีกำ�ลัง
ได้แบ่งและไปช่วยผู้ที่ขาดทุนทรพั ย์หรือกำ�ลงั
ทุนทรพั ย์นั้นจะไปแจกจ่ายมากมายเท่าไรๆ
กอ็ าจไม่มีประโยชน์ จึงสำ�คัญที่จะต้องไปแจกจ่ายความรู้

”ที่จะให้ประชาชนทีข่ าดแคลนเหล่านั้น
ได้สามารถต้ังตวั ด้วย…

พระราชดำ�รัส

พระราชทานแก่คณะกรรมการจดั งานกาชาด ผู้แทนกระทรวง
ทบวงกรม บริษทั และห้างร้านซึ่งเฝ้าฯ และรบั พระราชทาน

เลี้ยงน้ำ�ชา ณ พระที่น่ังอมั พรสถาน
๘ มกราคม ๒๕๑๓

36

37

38

ศลิ ปะกับวัฒนธรรม

“…ศิลปะกบั วฒั นธรรมไทยนี้คู่กนั ไปเสมอ

เพราะเหตุว่าประเทศไทยกเ็ ป็นประเทศที่มีศิลปะ
มีวฒั นธรรม และถ้าเรารักษาศิลปะวัฒนธรรม

และความดีของเราไว้

”ก็ท�ำ ให้บ้านเมืองอยู่ดีได้ มีเกียรติได้…

พระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่คณะนาฏศิลป์ จากกรมศิลปากร
ซึง่ จะเดินทางไปเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ณ ประเทศออสเตรเลีย

ณ พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน
๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓

39

การเป็นผใู้ หญ่

“…การศึกษานี้มีไว้สำ�หรบั สร้างคนที่มีอายุน้อย
ก็ต้องเรียนและสร้างตนเองขึ้นให้เป็นผู้ใหญ่จริงๆ
เป็นผู้ใหญ่นี้หมายความว่ามีความรู้ในวิชาการ
และมีความรู้ในการวางตวั ให้เหมาะสมแก่กาละเทศะ

อนั นี้คือเป็นการเป็นผู้ใหญ่
คนที่มีความรู้ในทางวิทยาการมาก
และมีความรู้ในทางศีลธรรมความประพฤติ

”วางตัวให้ดี กน็ บั ว่าเปน็ ผู้ใหญ่ได้เรว็ …

พระบรมราโชวาท

พระราชทานเนือ่ งในงานวนั ปิดภาคของโรงเรียนจิตรลดา
ปีการศึกษา ๒๕๑๒ ณ ศาลาผกาภิรมย์
๒๘ มีนาคม ๒๕๑๓

40

ความร่วมมือ

“…การที่จะท�ำ งานเพื่อความมน่ั คงและก้าวหน้านั้น
มิใช่ว่าจะก้มหน้าก้มตาทำ�หน้าทีข่ องแต่ละคนเท่าน้ัน
จะต้องมีความร่วมมือสมั พนั ธ์กัน
ระหว่างหน่วยงานทกุ หน่วย
เพือ่ ให้งานรดุ หน้าไปพร้อมเพรียงกัน ไม่มีลดหลัน่
จึงขอให้ทุกคนพยายามที่จะทำ�งานในหน้าที่อย่างเตม็ ที่

และมีการประสานสัมพันธ์กันให้ดี

”เพือ่ ให้งานท้ังหมดเป็นงานทีเ่ กื้อหนุนสนับสนุนกัน
ไม่ใช่ทำ�ลายกนั …

พระบรมราโชวาท

ในโอกาสพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ
ณ พระตำ�หนกั จิตรลดารโหฐาน
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๓

41

รู้จักประเมนิ

“…ความส�ำ เร็จในชีวิตและการงานนั้น

นอกจากอาศัยวิชาความรู้และความตั้งใจจริงแล้ว
บคุ คลยังต้องอาศัยความฉลาดรอบคอบ
และความคิดพิจารณาด้วยเสมอไป
การกระทำ�ใดๆ กต็ าม ถ้ารู้จกั ประเมินผลดี

และผลเสียของการกระทำ�ให้เหมาะแก่กรณีแล้ว

”ย่อมจะให้ผลดีท้ังแก่ส่วนตวั และส่วนรวม…

พระบรมราโชวาท

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณ หอประชมุ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์
๖ สิงหาคม ๒๕๑๓

42

ต้องกลา้ และบากบ่ัน

“…เราต้องข่มใจไม่กระทำ�สิง่ ใดๆ
ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสือ่ ม
เราต้องฝืนต้องต้านความคิด
และความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ
เราต้องกล้าและบากบ่นั ที่จะกระท�ำ สิ่งที่เราทราบ
ว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม

ถ้าเราร่วมกนั ทำ�เช่นนี้ให้ได้จริงๆ
ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ
กจ็ ะช่วยค้�ำ จนุ ส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป

”และจะช่วยให้ฟืน้ คืนดีขึ้นได้เปน็ ล�ำ ดับ…
พระราชดำ�รัส
พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในพิธีเปิดการประชมุ ยุวพุทธิกสมาคมท่วั ประเทศ
คร้ังที่ ๑๒ ทีจ่ งั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา
๑๒ ธนั วาคม ๒๕๑๓

43

ปัญญาชน

“…คนที่ศึกษาในทางวิชาการ

และศึกษาในทางธรรมะกต็ ้องมีปญั ญา
แต่ผู้ที่ใช้ความรู้ในทางวิชาการทางเดียว

และไม่ใช้ความรู้ในทางธรรมะ
จะนับว่าเปน็ ปัญญาชนมิได้
เพราะว่าปัญญานี้เป็นแรง เป็นพลงั
ไม่ใช่ความคิดเปน็ พลงั อย่างหนึ่ง
ทีจ่ ะมาทำ�ให้สามารถหาวิชาในทางวิทยาการ
และสามารถที่จะมองชีวิตได้ด้วยความแจ่มใส

”และนำ�ความสว่างมาให้แก่ชีวิตของเรา…
พระราชด�ำ รัส
พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลยั ขอนแก่น
๑๘ ธนั วาคม ๒๕๑๓

44

ใช้ปญั ญาใช้ความคิด

“…มนษุ ย์ทกุ คนเกิดมาแล้ว ต้องหัด ต้องเรียน
ทั้งในทางกายทั้งในทางใจ
เพื่อทีจ่ ะมีความสามารถและมีความรู้ทีจ่ ะด�ำ รงชีพได้

มนษุ ย์นี้ต่างกับสตั ว์ทั้งหลายท้ังปวง
กโ็ ดยทีไ่ ด้ใช้ปัญญาใช้ความคิด ใช้สมอง

มาท�ำ ให้ความก้าวหน้าไกล

”มากไปกว่าสภาพทีเ่ กิดมาเป็นกายคน…

พระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมดุ ทัว่ ประเทศ
ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทลู ละอองธุลีพระบาท
ณ ศาลาดสุ ิดาลยั สวนจิตรลดา
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

45

ท�ำ ด้วยความบริสุทธใ์ิ จ

“…แต่ละคนก็ต้องท�ำ หน้าที่ท้ังน้ัน

หน้าที่นี้จะต้องทำ�ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
หมายความว่าท�ำ แล้วนึกถึงประโยชน์ของงาน

ไม่ใช่ประโยชน์ของตวั นกั
เพราะว่าถ้าประโยชน์ของตวั อาจทำ�ให้งานเสีย
และลงท้ายส่วนรวมเสีย ส่วนตัวก็จะเสียเหมือนกนั

ถ้านึกแต่ส่วนรวม ส่วนตัวไม่มีวนั เสีย

”เพราะว่าถ้าทำ�ส่วนรวมแล้วส่วนรวมดีส่วนตวั กด็ ี…

พระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่ข้าราชการ นกั เรียน พ่อค้า ประชาชน
คณะกรรมการของมลู นิธิ สมาคม และสโมสรต่าง ๆ

ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวงั ดสุ ิต
๕ ธันวาคม ๒๕๑๔

46

47

48

การชนะใจ

“…เมือ่ ลงสนามเพื่อการต่อสู้ในการกีฬานี้
กต็ ้องพยายามทีจ่ ะปฏิบตั ิตนให้ดีที่สุด
เพื่อให้ได้ชัยชนะ ในฐานะทีเ่ ปน็ มนษุ ย์
ท้ังเวลาลงสนาม ท้ังเวลานอกสนาม
ก็ต้องเข้มแขง็ อยู่ตลอดเวลา
รู้จกั วางตวั ให้ดีเพือ่ ให้ชนะในสิ่งทีย่ ิง่ ใหญ่กว่าน้ัน

ยิ่งใหญ่กว่าการกีฬาด้วยซ้�ำ

”คือการชนะใจของผู้ทีต่ ้อนรับเรา

และผู้ทีเ่ ราจะไปพบท้ังหมด…

พระบรมราโชวาท

พระราชทานแก่คณะครูผู้ควบคุมและนกั เรียน
โรงเรียนวชิราวธุ วิทยาลยั ซึ่งจะเดินทางไปแข่งขันรกั บี้ฟตุ บอล
ประเพณีประจ�ำ ปี กับโรงเรียนต่างๆ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ณ พระต�ำ หนักจิตรลดารโหฐาน
๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๕

49


Click to View FlipBook Version