The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักฐานธรรมกาย ๓ ภาษา ไทย อังกฤษ จีน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by seefar, 2024-04-14 01:43:24

หลักฐานธรรมกาย ๓ ภาษา

หลักฐานธรรมกาย ๓ ภาษา ไทย อังกฤษ จีน

Keywords: Dhammakaya หลักฐาน

สารบัญ หน้า สารบัญ 2- 6 ประวัติความเป็นมาของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย 7- 48 โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย ภาษาไทย 50 แผนที่ความร่วมมือ 51 ศิลาจารึกพระธรรมกาย 52 จารึกลานเงิน,คัมภีร์ธัมกายธิ ฉบับเทพชุมนุม 53 คัมภีร์ใบลานชื่อ “ธัมมกาย”วัดป่าสักน้อย,มูลลกัมฐาน 54 ศิลาจารึก เนินสระบัว 55 ฝอซัวกวนจิง 56 วัชรเฉทิกาปรัชญาปารมิตา 57 สุวรรณประภาโสตมสูตร 58 ตำราการบรรจุหัวใจพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์ 59


สารบัญ หน้า สุวรรณประภาสสูตร (มหายาน),ปรมัตถทีปนีฯ 60 อัษฏสาหัสริกาปรัชญาปารมิตาสูตร, อัคคัญญสูตร 61 อุปปาตสันติ/มหาสติงหลวง 62 วิมลกีรตินิรเทศ 63 คัมภีร์ปฏิบัติสมาธิภาวนาของโยคาจาร 64 อภิธรรมโกศภาษยะ 65 พุทธวรรณกรรมสายตถาตครรภ์ (มหายาน),คำสอนเรื่องจิตประภัสสรในพระไตรปิฎก 66 บัวระพันธะ 67 พระปฐมสมโพธิแบบธรรมยุตต์,สารัตถะทีปนี 68 คัญฑวยุหสูตร,ปรัตยุตปันนสมาธิสูตร,สมาธิราชสูตร 69


Table of Contents Page The Reflection by Laung Por Dhammajayo 70 Dhammakaya Stone inscription 71 Silver Plate inscription, Dhammakāyādi scriptures in the Royal Tripitaka Thep Chumnum edition of Wat Phra Chetuphon 72 Palm leaf named “Dhammayaka” 73 Neain Sa Bau inscription 73 Foshuo guan jing 75 Vajracchedikā-Prajñāpāramitā sutra, Gold plate insription 76 Suvarnaprabhasa sutra 77 A Manual for Installing a Buddha’s Heart and Cetiya 78 Suvarnaprabhasa-sutra, aramatthadīpanī 79 Aṣṭasāhasrikā Prajñāpāramitā Sūtra, Aggañña-sutta 80 Upapātasanti/ Mahasanting Luang 81 Vimalakīrti Nirdeṥa 82 unidentified (probably Yogacara manual of meditation) 83 Abhidharmakoṥabhāṣya 84


Table of Contents Page The Teaching on Buddha within in the Tathagatagarbha Buddhist Literature (Mahayana), The Teaching on Luminous Mind in the Pali Canon 85 Pavarabandha 86 The Paṭhamasambodhi in ten chapters by the Supreme Patriarch Pussadeva (Sa), Sāratthadīpanī, sub-commentary on the Vinaya-piṭaka 87 Gaṇḍavyūha sutra, Pratyutpannasamādhi sutra, Samādhirāja sutra 88


目录 页 法胜大师的教导 89 撰刻于佛历2092的法身经碑文。 90 证据名称:Phra Maha Chedi Sri Sanphet Dayan 的银澜铭文。, 经名:大藏经中的 法身经典。 Thep Chumnum 版的帕彻独彭大寺院(Wat Phra Chetuphon) 91 贝叶经文名为“法身”,位于清迈山甘烹寺的 Pa Sak Noi 寺。, 禅修经书名称 难府 普阿区的Wat Pa Mueat的“Mullakammathana”上也写有法身咒。 92 证据名称:莲池山碑刻P.C.14 93 佛说观经(敦煌手稿S.2585) 94 证据名称《金刚般若波罗密经, 经名:印度尼西亚 Mungu 7 古遗址的金色田野铭 文。 95 经名:《金光明最胜王经》,《金光明经》 96 经名:《安奉佛心进入佛像和佛塔的典礼手册》 (公大法师) 97 经), 佛经名称: 泰国南传佛经,《真谛解释》 Paramattha-dipani 98


目录 页 佛经名称:摩诃般若波罗密多经, 佛经名称:起世因本经(巴利语: Aggañña Sutta) 99 经名:Upapātasanti/Mahasanting Luang 100 经名:《维麾诘所说经》 101 经文名称:不详(瑜伽行派的禅修本) 102 佛经名称:Abhidharmakośabhāṣya 倶舍論(说一切有部) 103 文献名称: 《大方等如来藏经的佛陀》(北传佛教), 标题:巴利三藏中关于徹 悟心灵的教义 104 文献名称:《Pavarabandha》经,(南传佛教) 105 经名:佛统三菩提经文,法马育风格 至尊祖师普萨戴瓦 (Sa) 尊者的短语, 经名: Sarattathipani 戒律论 106 经名:Gandavyūha Sūtra, 经名:Pratyutpanna Samādhi Sūtra般舟三昧经, 经名: Samādhirāja Sūtra 月灯三昧经 107


ความเป็นมาและผลงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย(DIRI) สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (Dhammachai International Research Institute (DIRI)) เป็นสถาบันวิจัยวิชาการทางพุทธศาสนา จดทะเบียนในลักษณะนิติ บุคคลไม่หวังผลกำไรที่ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และ จดทะเบียนเป็นนิติ บุคคลในประเทศนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำทางพุทธ ศาสน์ศึกษา การศึกษาค้นคว้าในคำสอนดั้งเดิมและเผยแพร่ความเข้าใจในความจริง ของชีวิต โดยมีพันธกิจคือ: ▪ บ่มเพาะนักวิจัยทางด้านคำสอนดั้งเดิมในพุทธศาสนาตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ และจารึกต่างๆ ▪ เป็นสถาบันวิจัยคำสอนดั้งเดิมทางพุทธศาสนาทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ▪ รวบรวมคัมภีร์จารึก และวัตถุโบราณทางพุทธศาสนา ▪ เป็นศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา ▪ อนุรักษ์คำสอนดั้งเดิมในพุทธศาสนา โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา


▪ ประสานงานและสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการทั่วโลก สถาบันฯ ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองมโนปณิธานของหลวงพ่อธัมมชโย ที่จะค้นหาหลักฐาน ธรรมกายอย่างเป็นระบบระเบียบทางวิชาการ และเผยแพร่ให้โลกได้รับรู้ถึงความมีอยู่ จริงของธรรมกายโดยมี เจ้าคุณพระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เป็นผู้รับ สนองมโนปณิธานมาปฏิบัติงานให้เป็นรูปธรรม


“หลวงพ่อเชื่อว่า ในยุคเราสมัยเรานี่แหละ เราก็สามารถกระทำสิ่งนี้ให้ มันปรากฎเกิดขึ้นมา มันเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ติดตัวเรามาข้ามชาติ จนกระทั่งชาตินี้แหละ ที่มาเกิดก็เพื่อการนี้”


โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย องค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓ หลวงพ่อธัมมชโยกล่าวว่า การค้นหาหลักฐานธรรมกายเป็นความตั้งใจของหลวง พ่อมายาวนานหลายสิบปีและกล่าวอีกว่า "คำว่าธรรมกายมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ และถูกเก็บไว้ตามภาษาต่างๆ กระจัดกระจายกันไปทั่วโลกนอกเหนือจากภาษาบาลี หากว่าเรามีหลักฐานเกี่ยวกับคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าอันเนื่องมากับวิชชา ธรรมกายด้วยแล้ว เราก็จะได้เอาหลักฐานนี้ไปแสดงเพื่อเปิดเผยให้กับนักวิชาการ ทั้งหลายในโลกนี้ได้รู้ ได้เห็น ได้รับทราบ และก็ยอมรับในสิ่งที่เราได้ค้นคว้าออกมา อย่างมีเอกสารอ้างอิง จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ" ก่อนหน้าที่จะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เจ้าคุณหลวงน้า(พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม ในขณะนั้น) ได้พยายามชักชวนบุคลากรจากวงการต่างๆ เข้าร่วมจัดตั้งเป็น กลุ่มปฏิบัติงานค้นคว้าหลักฐานธรรมกาย และเริ่มเข้าสู่วงการวิชาการนานาชาติด้วย การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย จากการ แนะนำของ ดร.เอ็ดเวิร์ด แครงเกิ้ล (Dr. Edward F.Crangle) โดยการส่งบุคลากรเข้า


ศึกษาในระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้แก่ ตัวเจ้าคุณหลวงน้าเอง (พระปลัดสุ ธรรม สุธมโม ในขณะนั้น) พระเกษตร ญาณวิชฺโช พระมหามนต์ชัย มนฺตาคโม (ป.ธ. ๖ ปัจจุบัน พระมหามนต์ชัย มนฺตาคโม ดร.) และอุบาสิกาชนิดา จันทราศรีไศล (บ.ศ. ๙ ปัจจุบัน ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ หลังจากนั้นได้ส่ง อุบาสิกา สุปราณี พณิชยพงศ์ (บ.ศ.๙ ปัจจุบัน ดร. สุปราณี พณิชยพงศ)์ เข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นรุ่นถัดมา และใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ส่ง นายกิจชัย เอื้อเกษม (ปัจจุบัน ดร.กิจชัย เอื้อเกษม) เข้าศึกษาตามลำดับ โดยมี ดร.เจฟ วิลสัน (Dr. Jeff Wilson) ร่วมให้คำปรึกษาแก่คณะนักศึกษา หลังจากนั้นเจ้าคุณหลวงน้าก็ได้คัดเลือก และส่งบุคลากรอีกหลายท่านเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งใน มหาวิทยาลัยซิดนีย์และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยโอทาโก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน มหาวิทยาลัยออสโล มหาวิทยาลัย โคตมะพุทธะ (Gautam Buddha) ฯลฯ เพื่อสร้างบุคลากรเป็นรากฐานในการเข้าสู่วง วิชาการพุทธศาสน์ศึกษา


ปีพ.ศ.๒๕๕๔ ภายหลังการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ สถาบันวิจัยนานาชาติ ธรรมชัย (ดีรี) โดยการนำของเจ้าคุณหลวงน้า (พระครูปลัดนายกวรวัฒน์ ในขณะนั้น) ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุกัญญา สุดบรรทัด รอง ศาสตราจารย์ดร. พรทิพย์ ดีสมโชค (วายชนม์) และ ดร.ศิริพร ศิริขวัญชัย เป็นผลให้ การทำงานมีระบบระเบียบทางวิชาการมากขึ้น ในส่วนการสร้างความสัมพันธ์กับวงวิชาการพุทธศาสน์ศึกษา ทางกลุ่มงานได้เข้า ร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมวิชาการของสมาคมวิชาการพุทธศาสตร์นานาชาติ (IABS) ครั้งที่ ๑๔ ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีเจ้าคุณหลวง น้าเป็นผู้นำคณะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เจ้าคุณหลวงน้า (พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม ในขณะ นั้น) และคณะ ได้รู้จักนักวิชาการชั้นแนวหน้าทางพุทธศาสน์ศึกษาระดับโลก ซึ่งใน เวลาต่อมาสถาบันวิจัยฯ ได้ส่ง ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นทางการในการประชุมวิชาการของสมาคมวิชาการ พุทธศาสตร์ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์(AABS) ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และในการประชุมวิชาการของสมาคมวิชาการพุทธศาสตร์นานาชาติ


(IABS) ครั้งที่ ๑๕ ที่แอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ในภายหลัง ทางสถาบันฯ ได้ส่งนักวิจัยและนักศึกษาหลายท่านเข้าร่วมในการประชุมวิชาการของ สมาคมวิชาการพุทธศาสตร์นานาชาติ (IABS) รวมทั้งในการประชุมวิชาการที่ มหาวิทยาลัยโคตมะพุทธะ ประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ และในมหาวิทยาลัยอื่นๆ หลายแห่ง อีกหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าคุณหลวงน้า เป็นผู้นำคณะ ความสำเร็จในวงวิชาการไม่อาจเป็นไปได้เลยหากปราศจากพันธมิตร เจ้าคุณ หลวงน้าในนามของสถาบันฯ จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือทาง วิชาการกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำในหลายประเทศกว่า ๑๐ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศ นิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยเกลานิยา ประเทศศรีลังกา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศ สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มหาวิทยาลัยโคตมะพุทธะ (Gautam Buddha) ประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา


มหาวิทยาลัยอ็อกชฟอร์ด ประเทศ อังกฤษ วิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระ เกียรติ (มจร.) ฯลฯ บันทึกความร่วมมือต่างๆ นี้ทำให้ทางสถาบันฯ มีโอกาสเข้าถึง แหล่งข้อมูลสำคัญๆ ทางวิชาการที่บรรจุคำสอนดั้งเดิมทางพุทธศาสนาและหลักฐาน ธรรมกาย ได้แก่คัมภีร์เปลือกไม้เบิร์ช อายุ ๒,๐๐๐ ปี คัมภีร์โบราณจากถ้ำโม่เกา เมือง ตุนหวางของจีน เป็นต้น สำหรับบันทึกความร่วมมือที่ลงนามไว้กับมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์ ยัง ก่อให้เกิดความร่วมมือในการสอนวิชา ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และวิชาพุทธ ศาสนาในมหาวิทยาลัยดังกล่าวอีกด้วย โดยทางสถาบันฯ เป็นผู้ให้การสนับสนุน ทางด้านทุนการศึกษาและบุคลากรผู้สอน ได้แก่ ผศ.ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล (ปัจจุบัน พระมหาชัยสิทธิ์ สิทธิวณฺโณ, ผศ. ดร.) และอุบาสิกาประสงค์ สมน้อย (บ.ศ. ๙, ศศ.ม. (สันสกฤต) ปัจจุบัน ดร.ประสงค์ สมน้อย)


เมื่อทางสถาบันฯ เป็นที่รู้จักในวงวิชาการและมีผลงานในการหาหลักฐาน ธรรมกายได้ระยะหนึ่ง เจ้าคุณหลวงน้า (พระครูวิเทศสุธรรมญาณในขณะนั้น) ในนาม สถาบันฯ ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ศูนย์ประชุมสถาบัน


เทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร. เซมาร์ยาไล ทาร์ซี (Zemaryalai Tarzi) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใน มุมมองทางโบราณคดี "History of Buddhism in Archaeological Perspectives" ตามด้วยพิธีลงนามความร่วมมือการอนุรักษ์พุทธโบราณสถาน MesAynak ระหว่าง กระทรวงวัฒนธรรมและข้อมูลประเทศอัฟกานิสถานและสถาบันวิจัยนานาชาติธรรม ชัย (ดีรี) จากนั้นศาสตราจารย์ ดร.เคท ครอสบี (Kate Crosby) บรรยายในหัวข้อ การสูญหายของการทำสมาธิวิชชาธรรมกายแบบโบราณระหว่างการปฏิรูปสมัยใหม่ ส่วนนักวิจัยของสถาบันฯ ได้บรรยายในหัวข้อ “หลักฐานวิชชาธรรมกายในคันธาระ เอเชียกลาง และจีน กับผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิวิชชาธรรมกายและแบบ โบราณ” ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าคุณหลวงน้าและสถาบันฯ ได้จัดให้มีการบรรยายที่ มหาวิทยาลัยซิดนีย์และมหาวิทยาลัยโอทาโก โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.แกรี่ ทรัมปฟ์ (Garry W. Trompf) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "A Breakthroughs in the Discovery of Ancient Religious Manuscripts" ในวิกฤต


โควิด ๑๙ ระบาดทั่วโลก สถาบัน ฯ โดยการนำของเจ้าคุณหลวงน้ายังดำเนินงานด้าน วิชาการอย่างไม่หยุดยั้ง ได้จัดการบรรยายทางวิชาการผ่านซูม (Zoom) หรือ ดีรี่ซูมมิ นาร์ซีรีย์ ในระหว่างวันที่ ๑๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยได้รับเกียรติบรรยายใน หัวข้อต่างๆ จากวิทยากรชั้นนำของโลก เช่น ดร. เจฟ วิลสัน (Jeff Wilson) ดร. ออสโต (D.E. Osto) ดร. อารวินท์ กุมาร ซิงห์ (Arvind Kumar Singh) ดร.โยชนา ภาคัต (Yojana Bhagat) ศ.ดร.ริชาร์ด ซาโลมอน (Richard Salomon) ศ. ดร. อนันท์ ชิงห์ (Anand Singh) ดร. สเตฟาน บวามส์ (Stefan Baums) ศ.ดร.มาร์ค แอลลอน (Mark Allon) ศ.ดร.ไมเคิล ซิมเมอร์มาน (Michael Zimmermann) ดร.อิมเร กาลัม บอส (Imre Galambos) ดร.ลีนา เวอร์เชรี (Lina Verchery) นับเป็นก้าวสำคัญที่ แสดงถึงการเป็นที่ยอมรับของสถาบันฯ ในวงวิชาการพุทธศาสน์ศึกษา อีกหนึ่งผลงานที่เจ้าคุณหลวงน้ามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง คืองานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นการค้นพบบันทึก ในคัมภีร์พุทธจีนโบราณอายุพันกว่าปี จากตุนหวงบนเส้นทางสายไหม ชื่อคัมภีร์ "โฝวซัวกวนจิง 佛說觀經" พบเนื้อหา สอน การทำสมาธิแบบวางใจนิ่งๆ เฉยๆ ไว้กลางนาภี (ท้อง) เมื่อใจรวมหยุดนิ่งเป็น


เอกัคคตารมณ์ จะมีองค์พระผุดซ้อนขึ้นมาให้เห็นในสมาธิ ซึ่งถือว่าทั้งหลักการ วิธีการ และประสบการณ์ มีความสอดคล้องกับในวิชชาธรรมกาย เป็นหลักฐานยืนยันว่า หลักการปฏิบัติในวิชชาธรรมกายมีอยู่จริงในคำสอนเก่าแก่ของพระพุทธศาสนา อนึ่ง ผลงานการค้นหาหลักฐานธรรมกายชิ้นสำคัญของเจ้าคุณหลวงน้าเอง คือ การพบคัมภีร์ใบลาน"พระธัมมกายาทิ" ฉบับเทพชุมนุม ซึ่งรัชกาลที่ ๓ พระราชทานไว้ กับวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ ภายใต้ความเมตตาอนุเคราะห์ของ พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ ป.ธ.๙, ผศ. ดร.) และด้วยความเมตตาประสานงานของ พระมหา อุดม ปัญญาโภ เมื่อพบคัมภีร์แล้วเจ้าคุณหลวงน้าและคณะนักวิจัยของสถาบันฯ ภายใต้คำปรึกษาของอาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกและอักษร โบราณ ได้ปริวรรตเนื้อหาที่เขียนด้วยอักษรขอมเป็นอักษรไทยปัจจุบัน และแปลภาษา บาลีเป็นภาษาไทยปัจจุบัน พร้อมทั้งมีบทวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งสามารถหาอ่านได้จากสื่อ ของสถาบันฯ งานวิจัยนี้ทำให้ทราบได้ว่า "ธรรมกาย " เป็นที่รู้จักในสังคมพุทธศาสนา ของไทยมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ต้นยุครัตนโกสินทร์


ต่อมาเจ้าคุณหลวงน้าและนักวิจัยของสถาบันฯ อันได้แก่คุณวรเมธ มลาศาสตร์ได้พบ คัมภีร์ใบลานว่าด้วยคาถาธรรมกายอีกหลายฉบับ ทางสถาบันฯ พบว่ามีความแตกต่าง ในรายละเอียดของคัมภีร์ต่างๆ นั้น จึงได้จัดให้มีการตรวจชำระขึ้นและจัดพิมพ์ เผยแพร่คาถาธรรมกายฉบับตรวจชำระดังกล่าวพร้อมทั้งบทปริวรรตอักษรโรมัน และ คำแปลภาษาอังกฤษ ล่าสุด นักวิจัยของสถาบันฯ อุบาสิกาประสงค์ สมน้อย ได้นำงานวิจัย "การศึกษา วิเคราะห์คัมภีร์คัณทวยูหสูตร" ออกเผยแพร่ ทำให้ทราบว่าคัมภีร์โบราณคัณฑวยูห สูตรที่อาจมีอายุเนื้อหาก่อน พ.ศ. ๕๐๐ บรรจุคำว่า ธรรมกาย พร้อมทั้งความหมาย ของคำว่าธรรมกายอยู่หลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่รอการค้นคว้า เรียบเรียง และเผยแพร่อีกหลายชิ้น ดังเช่น ที่มีเจ้าภาพในประเทศนิวซีแลนด์ผู้มีจิตศรัทธา ได้ถวายชิ้นส่วนคัมภีร์โบราณจากบามิ ยันซึ่งบรรจุข้อความทางพุทธศาสนาอยู่ ให้กับทางสถาบันฯ จำนวน ๑๐ ชิ้น ซึ่งเจ้า คุณหลวงน้าตั้งชื่อว่า DIRI Collection ในภายหลังพบว่าเป็นภาษาคานธารี ๒ ชิ้น อายุราว ๑,๖๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีและอีก ๘ ชิ้นเป็นภาษาสันสกฤต อายุราว ๑,๓๐๐ -


๑,๘๐๐ ปี จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า บางชิ้นเป็นส่วนสำคัญที่ขาดหายไป สามารถ นำไปเติมเต็มในงานวิจัยคัมภีร์บามิยันที่ทำไว้ก่อนหน้าแล้วโดยนักวิชาการตะวันตก ส่วนชิ้นอื่นๆ จะได้ทำการศึกษาวิจัยต่อไป


ผลงานการค้นหาหลักฐานธรรมกายตลอด ๒๒ ปีที่ผ่านมาของสถาบันฯ โดยการ นำของเจ้าคุณหลวงน้านั้นสามารถศึกษาได้จากนิทรรศการหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์ พุทธโบราณในบทต่อไป


History and Works of Dhammachai International Research Institute (DIRI) Dhammachai International Research Institute (DIRI) is an academic research institute in Buddhism. DIRI was registered as a non-profit legal entity in Australia in 2008 and in New Zealand in 2009. DIRI’s vision is to be a leader in Buddhist studies, research, traditional teachings, and spreading the right understanding of the Truths of life. DIRI’s missions are as follows: ▪ To cultivate researchers of traditional Buddhist Teachings researching on various scriptures and inscriptions. ▪ To be a research institute for traditional Buddhist Teachings, both in theoretical and practical approaches.


▪ To collect inscriptions and antiquities related to Buddhism. ▪ To be a center for Buddhist studies. ▪ To preserve original Buddhist Teachings, especially those related to meditation practices. ▪ To coordinate and build relationship with academics around the world. DIRI was established to fulfill Luang Pori Dhammajayo's aspiration to systematically search for evidence of “Dhammakaya” in an academic manner and to reveal to the world the existence of “Dhammakaya” under the supervision of the Venerable Phrasudhammayanavithes (Sudham Sudhammo).


“Luang Phor believes that we can make this happen in our time. It is the great mission that accompanies us across


previous lives until we were born in this lifetime to carry it on again.” The Speech of Luang Por Dhammajayo, the Founder of the Dhammachai International Research Institute (DIRI) Given on April 7, 2000 Luang Por Dhammajayo mentioned that the search for evidence of “Dhammakaya” has been his heart's intention for decades. He also said, "The word “Dhammakaya” appears in various scriptures and is stored in different languages, besides Pali, scattered around the world. Once we have evidence of the Lord Buddha's original Teachings relating to Vijja Dhammakaya (knowledge of Dhammakaya), we can then show such evidence to all in the world to know, see, acknowledge, and accept


what we have researched with crucial references, which will be of great benefit to all humankind." Before DIRI was registered as a legal entity, the Venerable Phrasudhammayanavithes (formerly Phrapalad Sudham Sudhammoii) attempted to recruit people from many different communities to form a proper group to search for Dhammakaya evidence. He began to join international academic communities by signing a memorandum of understanding with the University of Sydney, Australia. With the guidance of Dr. Edward F. Crangle, the then Phrapalad Sudhammo supported several people to attend various levels of studies at the University of Sydney in 2003, i.e., Phraiii Kaset Yanavijjo, Phramahaiv Monchai Mantagamo (now PhD), and Upasikav Chanida Jantrasrisalai (now PhD). Phrapalad Sudhammo himself was also enrolled as a


student at the University of Sydney. Later, Upasika Supranee Panitchayapong (now PhD) attended the University of Sydney in 2004, and Mr. Kitchai Urkasame (now PhD) in 2005. Dr. Jeff Wilson assisted as a mentor to all the students. Afterward, Phrapalad Sudhammo recruited and sent more people to study for different degrees either at the University of Sydney or at other universities such as the University of Otago, the University of Cambridge, the University of Washington, the University of Oslo, and the Gautam Buddha University, etc. Those students have become the important pioneer personnel of the research institute to join in the field of Buddhist studies. In 2011, after its official registration, the Dhammachai International Research Institute (DIRI), led by the Venerable Phrasudhammayanavithes (then Phrakrupaladnayokworawat), received the academic support from


Emeritus Professor Sukanya Sudbanthad, the late Associate Professor Dr. Pornthip Deesomchoke, and Dr. Siriporn Sirikwanchai. As a result, DIRI’s work has become upgraded to be more academically organized than ever before. In building relationship with academic communities in Buddhist Studies, the group led by the Venerable Phrasudhammayanavithes (then Phrapalad Sudham Sudhammo) attended the 14th Academic Conference of the International Association of Buddhist Studies (IABS), held in London, England, in 2005. That event was the starting point for him and his group of researchers to get to know leading scholars in Buddhist studies of the world at that time. Later, Dr. Chanida Jantrasrisalai, representing DIRI, joined the meeting and presented her research papers in the annual conference of the Australasian Association


of Buddhist Studies (AABS) in Sydney, Australia, in 2007 and in the 15th Academic Conference of the International Association of Buddhist Studies (IABS) in Atlanta, USA, in 2008. Afterward, DIRI’s students and researchers, led by the Venerable Phrasudhammayanavithes, continuously joined different levels of academic conferences, including the IABS, in various places such as at the Gautam Buddha University in India, at the University of Otago in New Zealand and at many other places for several times. Success in academia would not be possible without partners. On behalf of the Institute, the Venerable Phrasudhammayanavithes signed a memorandum of understanding for academic cooperation with over ten leading educational institutions and research institutes in many countries, such as the University of Sydney in Australia, the University of


Otago in New Zealand, Kelaniya University in Sri Lanka, the University of Washington in the USA, the University of Oslo in Norway, Gautam Buddha University in India, the University of Cambridge in the UK, Sun yat-sen University in the People's Republic of China, the Center for Buddhist Studies of the University of Oxford in England, Nakhon Nan Chalermphrakiat Buddhist College (MCU), etc. This collaboration allows the institute to access important academic resources containing traditional Buddhist Teachings and Dhammakaya evidence, including the 2,000-year-old birch bark scriptures, ancient scriptures from the Mogao Caves in the Dun-Huang City of China, etc. According to the memorandum of cooperation signed with the University of Otago, New Zealand, it could entail cooperation in teaching Pali, Sanskrit, and Buddhism in the aforementioned universities,


with scholarship and teaching team i.e. Asst. Prof. Dr. Chaisit Suwanvarangkul (currently Phramaha Chaiyasit Siddhivanno, Asst. Prof. Dr.) and Upasika Prasong Somnoi (Pali Study 9, M.A.(Sanskrit), currently Dr. Prasong Somnoi) provided by DIRI.


Once DIRI became known in the academic arena with the collected evidence of Dhammakaya, the Venerable Phrasudhammayanavithes (then Phrakruvitessudhammayan), held an academic seminar at the


Asian Institute of Technology (AIT) Convention Center, Thailand, in 2014, with Professor Dr. Zemaryalai Tarzi as the special keynote speaker on the topic of "History of Buddhism in Archaeological Perspectives." After such a special topic, there was the signing ceremony for the cooperation of the Mes Aynak Buddhist Site Conservation between the Ministry of Culture and Information of Afghanistan and DIRI. After the ceremony, Dr. Kate Crosby gave a lecture on the topic of “The Disappearance of Ancient meditation During the Modern Reformation". The researchers of the institute gave a lecture on the topic “The Evidence of Dhammakaya found in Gandhara, Central Asia, and China and The Latest Research on Meditation Practices using Dhammakaya tradition and ancient Tradition”. In 2019, the Venerable Phrasudhammayanavithes and DIRI held lectures at the University of Sydney and the University of Otago, being


honored by Emeritus Professor Dr. Garry W. Trompf as a lecturer on the topic of "A Breakthrough in the Discovery of Ancient Religious Manuscripts." During the pandemic of COVID-19, DIRI, under his leadership, has continued its academic mission. For example, the online academic lectures on various topics called "DIRI Zoominar Series" from April 12–30, 2019, being honored by many famous world-class speakers, such as Dr. Jeff Wilson, Dr. D.E. Osto, Dr. Arvind Kumar Singh, Dr. Yojana Bhagat, Prof. Dr. Richard Salomon, Prof. Dr. Anand Singh, Dr. Stefan Baums, Prof. Dr. Mark Allon, Prof. Dr. Michael Zimmermann, Dr. Imre Galambos, and Dr. Lina Verchery. This marks another important step that demonstrates DIRI's recognition in the field of Buddhist studies. Another piece of evidence that brought great pride to the Venerable Phrasudhammayanavithes is the research from the University of


Cambridge, which uncovered thousand-year-old Chinese Buddhist scriptures from Dunhuang on the Silk Road, named "Foshuo guan jing 佛說觀經 ". It reveals the content of Buddhist teachings on meditation by performing stillness of mind in the middle of the nabhi (stomach). When the collective mind completely stands still without wandering anywhere else, the Lord Buddha's image will appear amid the still mind. The concept, method, and experience of this meditation are consistent with those of the meditation of Vijja Dhammakayaa and proves the existence of Dhammakaya meditation teaching in ancient Buddhist teachings. The key work of the Venerable Phrasudhammayanavithes himself in searching for Dhammakaya evidence is the discovery of ancient palm leaf manuscripts carrying Buddhist scriptures named "Phra


gave to Wat Phra Chetuphon in Bangkok. With the kindness of Phra Debvajracarya (Thiab Malai, Pali 9, Asst. Prof. Dr.), and with the cooperation of Phramaha Udom Paññābho, after the discovery of such ancient palm leaf manuscripts, the Venerable Phrasudhammayanavithes and DIRI’s research team, under the guidance of Mr Cha-ame Kaewglai - a reputed Thai master of inscription and ancient scripts study, have transliterated the discovered manuscripts from Khom script into the current Thai script and translate its content from Pali into Thai. The content of the manuscripts, along with the analysis of their content, can be read from DIRI online media. Such research has shown that "Dhammakaya" has long been known in Thai Buddhist society since the beginning of the Rattanakosin period, at the latest.


Later, the Venerable Phrasudhammayanavithes and Mr. Woramat Malasart, one of DIRI researchers, found more ancient palm leaf manuscripts carrying the Dhammakaya text. As variations are found in the details of the manuscripts, DIRI arranged for the publication of a critical edition of the text along with its Romanization and English translation Lately, Upasika Prasong Somnoi has published her research “The Study and analysis of the Gandavyuha Sutra”. The research reveals that the ancient Gandavyuha Sutra (that might have been originally composed prior to 500 B.E.) contains the word “Dhammakaya” and its meaning in several places. Moreover, there are more manuscripts waiting to be studied, edited and published. For example, ten pieces of ancient manuscript fragments


from Bamiyan were offered to the Venerable Phrasudhammayanavithes by a lay supporter in New Zealand. He named them as belonging to "the DIRI Collection". Two of the fragments were written in the Gandhari language and are about 1,600–1,800 years old. Eight pieces were written in the Sanskrit language and are about 1,300– 1,800 years old. Initial study found that most of those pieces were the important missing parts of the Bamiyan Buddhist scripture previously researched and published by Western academics, while a few pieces are still waiting for further research.


The fruit of 22 years of research by DIRI, led by the Venerable Phrasudhammayanavithes can be studied from the exhibition of


Dhammakaya evidence in ancient Buddhist scriptures mentioned in the next part of this e-book. i “Luang phor” - a Thai word meaning “monastic father”. ii Hereafter “Phrapalad Sudhammo”. The term “Phrapalad” is an official monastic title. iii “Phra” – the title for a Buddhist monk in Thailand. iv “Phramaha” – the title for a Thai Buddhist monk with a degree of Pali study. v “Upasika” – a Thai word referring to a laywoman observing 8 precepts.


นิทรรศการหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ The Exhibition of Dhammakaya Evidence in Ancient Buddhist Scriptures


Click to View FlipBook Version