The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี สสจ.สุพรรณบุรี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chanatip_min, 2023-07-03 23:40:49

เล่มแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี สสจ.สุพรรณบุรี

เล่มแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี สสจ.สุพรรณบุรี

ขออนุมัติแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัด สุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) โดยผู้เกี่ยวข้องระดับจังหวัด อำเภอเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ ทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สำรวจภาพที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต (Foresight) และวิเคราะห์คุณค่าที่ตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร นำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งกรอบแนวคิดมีความ เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านสาธารณสุข เป้าหมาย การพัฒนาที่ยังยืน (SDGs) นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 5 และแผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 4 ประเด็น คือ (1) การอภิบาลระบบสุขภาพระดับพื้นที่อย่าง ไร้รอยต่อหลังถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต.ไป อบจ. (2) การพัฒนาระบบบริหารและบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า และทันสมัย (3) การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรและยั่งยืน และ (4) การพัฒนา บุคลากรในระบบสุขภาพให้มีสมรรถนะสูง และมีความสุขในการทำงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) เรียบร้อยแล้ว จึงขออนุมัติแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อถ่ายทอดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีได้ดำเนินการต่อไป ผู้อนุมัติ (นายรัฐพล เวทสรณสุธี) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ก | P a g e คำนำ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) เป็นแนวทางใน การดำเนินงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับจังหวัด ซึ่งสอดคล้องและ เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ประเทศไทย 4.0 แผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีระยะ 5 ปี และนโยบายการกระจายอำนาจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วน จังหวัด (อบจ.) ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน และเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานสู่มิติ ใหม่ของการปฏิรูประบบราชการ 4.0 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานให้หน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาและยกระดับระบบสุขภาพให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตอบสนองความต้องการของ ประชาชน และทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา วิเคราะห์บริบททั้งสภาพภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ประกอบด้วย นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การมองภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต (Foresight) และคุณค่าที่ตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เป็นต้น นอกจากนี้ได้ทบทวน จุดยืน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ค่านิยม และยุทธศาสตร์ เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงตอบสนองปัญหาสาธารณสุขระดับพื้นที่เป็นสำคัญ อันส่งผลต่อการพัฒนาและ ยกระดับองค์กรให้ทันสมัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ที่ จัดทำขึ้น จะเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสุขภาพในจังหวัดสุพรรณบุรี และบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์ “ระบบสุขภาพที่ทันสมัย ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ดีอย่างยั่งยืน” สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี พฤศจิกายน 2565


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ข | P a g e สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนำ 1.1 กรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 1 1.2 กระบวนการและระยะเวลาดำเนินงาน 2 1.3 กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี 5 บทที่ 2 ข้อมูลทั่วไปและการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 2.1 ข้อมูลทั่วไป 8 2.2 สถานะสุขภาพ 20 บทที่ 3 สถานการณ์และแนวโน้มสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง 40 บทที่ 4 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566-2570) 4.1 วิสัยทัศน์ (Vision) 47 4.2 พันธกิจ (Mission) 47 4.3 เป้าหมาย (Goal) 47 4.4 เป้าประสงค์รวม (Ultimate Goal) 47 4.5 ค่านิยมองค์กร (Core Values) 47 4.6 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 48 4.7 ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ 48 - ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 : การอภิบาลระบบสุขภาพระดับพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ หลังถ่ายโอนภารกิจ สอน./รพ.สต.ไป อบจ. 49 - ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 : พัฒนาระบบบริหารและบริการสุขภาพที่ก้าวหน้าทันสมัย 50 - ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 : พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจร และยั่งยืน 53 - ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 : พัฒนาบุคลากรในระบบสุขภาพให้มีสมรรถนะสูง และมีความสุขในการทำงาน 57 ภาคผนวก


1 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ระบบสุขภาพไทยในปัจจุบัน กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายจากรอบด้าน อาทิ การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง การเชื่อมต่อการค้าการลงทุนทั่วโลก การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ตลอดจน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ประชาชนมีความคาดหวังต่อคุณภาพของระบบบริการมากขึ้น ขณะที่งบประมาณภาครัฐเริ่มมีจำกัด ไม่เพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ทำให้ระบบ สุขภาพไทยต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การวางแผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการ เตรียมการรองรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีและผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566-2570) เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานให้หน่วยงานในสังกัด พัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวดเร็ว ตลอดเวลา โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา วิเคราะห์บริบททั้งสภาพภายในของหน่วยงาน และสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน นอกจากนี้ยังได้ทบทวน จุดยืน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ค่านิยม และยุทธศาสตร์เป็นการวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กร โดยวางกรอบ แนวคิดที่มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี,แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ, แผนพัฒนา เศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12, แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 13, ประเทศไทย 4.0 ,เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), นโยบายรัฐบาล, แผนปฏิรูปด้านสาธารณสุข, แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) และนโยบายการกระจายอำนาจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งแสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งเป็น แนวทางหลักในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน และเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานสู่มิติใหม่ของการปฏิรูประบบ ราชการ 4.0 ซึ่งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรียึดการพัฒนาเพื่อตอบสนอง ปัญหาสาธารณสุขระดับพื้นที่เป็นสำคัญ โดยมีกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ประกอบด้วย การทบทวนสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้อง และกระบวนการและระยะเวลาดำเนินงาน ดังนี้ 1. การทบทวนสถานการณ์และบริบทที่เกี่ยวข้อง 1.1 การทบทวนแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) 1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร โดยวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงที่มี แนวโน้มส่งผลต่อระบบสุขภาพ ทั้งในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ สถานะสุขภาพของคนไทย สถานการณ์บริการสุขภาพ รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งความคาดหวัง ความต้องการของประชาชนและ บุคลากรด้านสาธารณสุข 1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กร ทั้งในเรื่องการบริหารองค์กร ทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง และการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร บทที่ 1 บทน า


2 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 2. กระบวนการและระยะเวลาดำเนินงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีได้แต่งตั้งคณะกรรรมการและคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข 5 ปี(2566-2570) และ และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีตามคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 61 / 2565 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2565 เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาระยะยาวและใช้ในการ ขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายของบริบทโลกและบริบทการ พัฒนาประเทศ มุ่งสู่เป้าหมายประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน และประชาชน จังหวัดสุพรรณบุรีมีสุขภาวะและอายุขัยยืนยาวต่อไป 2. คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะสูง ตามคำสั่งสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 149 / 2565 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2565เพื่อเป็นทีมนำการเปลี่ยนแปลงใน องค์กรให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้านนวัตกรรม และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร อย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐาน 3. คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรีระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ ตามคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุพรรณบุรี ที่ 219 / 2565 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร 4. คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายมุ่งเน้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ 2566 ตามคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 220 / 2565 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายมุ่งเน้นของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โดยกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรีระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีดังนี้


3 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) วัน เดือน ปี กิจกรรม 23 มิถุนายน 2565 ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้แผน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) เพื่อเตรียมการจัดทำแผนฯ 4 กรกฎาคม 2565 ประชุมคณะทำงานพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง Hight Performance Provinces เพื่อวางแผนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) 8 กรกฎาคม 2565 ประชุมหัวหน้ากลุ่มงาน/งานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีและผู้ ประสานแผนของโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง เพื่อเตรียมการ ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้แผน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2565 25 กรกฎาคม 2565 ประชุมเตรียมความพร้อมในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2565 ร่วมกับวิทยากร และคณะทำงาน HPO ทาง ZOOM 8-9 สิงหาคม 2565 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ณ โรงแรมวาสิฏฐี ซิตี้อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 12 กันยายน 2565 - ประชุมพิจารณ์ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้แผน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) เพื่อขอมติรับแผนระดับจังหวัด ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี (คบจ.) ครั้งที่ 5/2565 - กลุ่มงาน/งานใน สสจ.สุพรรณบุรี สื่อสารการจัดทำแผนงานของแต่ละ PM ให้ คปสอ.เตรียมจัดทำแผนฯ ระดับอำเภอ 29 กันยายน 2565 - กระทรวงสาธารณสุขจัดประชุมมอบนโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุข และจัดทำ แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัด ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านทางระบบออนไลน์


4 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) วัน เดือน ปี กิจกรรม 10 ตุลาคม 2565 - ประชุมผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน/งานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี พิจารณาแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2566 และแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาสุขภาพสุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) - กลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ 2566 ส่งให้กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ฯ ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 20 ตุลาคม 2565 - ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ 2566 เพื่อกำหนด รายละเอียดการดำเนินงาน เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินงาน 4 พฤศจิกายน 2565 - ประชุมชี้แจงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (2566-2570)และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 แก่ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี - ถ่ายทอดนโยบายมุ่งเน้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณรี ปีงบประมาณ 2566 - คปสอ.ส่งแผนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับอำเภอ ระยะ 5 ปี และ แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลส่งแผนพัฒนาองค์กรของโรงพยาบาลให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 10 พฤศจิกายน 2565 - นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (2566-2570) แผนพัฒนาองค์กรและแผนเงินบำรุง (รพ. สสอ. สสจ.) เสนอในการ ประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕ เพื่อขอมติที่ประชุมในการอนุมัติแผน และประกาศใช้แผนต่อไป 29 พฤศจิกายน 2565 - ประชุมพิจารณาแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ของคณะทำงาน ขับเคลื่อนนโยบายมุ่งเน้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้ผู้บริหาร อนุมัติแผนงานและแผนเงินในการดำเนินงานตามนโยบายมุ่งเน้น ปีงบประมาณ 2566 ธันวาคม 2565 - จัดทำคำรับรองปฏิบัติราชการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2566 และพิธีลงนามคำรับรองปฏิบัติราชการ (MOU) ปี 2566 มกราคม 2566 - สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566 รอบ 3 เดือน เมษายน 2566 - สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566 รอบ 6 เดือน เพื่อปรับปรุงแผนครึ่งปีงบประมาณ กรกฎาคม-สิงหาคม 2566 - สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566 รอบ 9 เดือน - ประชุมทบทวนแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (ทบทวนปีงบประมาณ 2566) และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ 2567


5 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (2566-2570) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566 -2570) เป็น การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนฯ ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2565 ณ ณ โรงแรมวาสิฏฐี ซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรีโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านหลักด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic ซึ่งแบ่งเป็นขั้นตอนในการประชุม ดังนี้ 1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.1 วิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่อหาช่องว่าง ( GAP) ระหว่างเป้าหมายที่ต้องขับเคลื่อนผลักดันให้บรรลุเป็นอย่างไร (To-Be) กับสถานะเรื่อง ดังกล่าวในปัจจุบันเป็นอย่างไร (As-Is) พร้อมทั้งหาโอกาสทางยุทธศาสตร์และความท้าทายที่สำคัญในการปิด GAP ดังกล่าว ทั้งสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการในระยะสั้นและสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนในระยะยาว โดยจัดทำเป็นแผนงาน โครงการต่อไป 1.2 วิเคราะห์สำรวจภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต (Foresight) เป็นการสำรวจปัจจัยนำเข้า การเปลี่ยนแปลง และคัดเลือกปัจจัยนำที่มีความสำคัญที่สุด 2 ปัจจัยมาพิจารณา “ผลกระทบ”(High Impact) และ “ความไม่แน่นอนของปัจจัย”(High Uncertainty) โดย - ระบุความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น - วิเคราะห์โอกาสทางยุทธศาสตร์และความท้าทายทางยุทธศาสตร์จากปัจจัยดังกล่าว นำมากำหนดกลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการ - วิเคราะห์กลยุทธ์สำคัญที่ต้องดำเนินการ


6 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 1.3 วิเคราะห์คุณค่าที่ตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร ทั้งผู้รับบริการ และผู้ให้บริการ โดยวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อหาปัญหา ความ ต้องการ (Pain point) และสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า (Gain) เพื่อหาโอกาสทางยุทธศาสตร์ความท้าทายทาง ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่สำคัญ 2. การกำหนดทิศทางและเป้าหมายการดำเนินงาน โดยสรุปข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ทางกลยุทธ์ทั้ง 3 ประเด็น ร่วมกับการทบทวนแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2530-2579) นำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร 3. การจัดทำรายละเอียดในแต่ละประเด็นยุทธ์ประกอบด้วย ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์การดำเนินงาน


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีระยะ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ 1.วิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง - ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี - แผนปฏิรูปประเทศ - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 - แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านสาธารณสุข - ระบบราชการ 4.0 - แผนการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข - แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ระยะ 4 ปี เขตสุขภาพที่ 5 - แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง - แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี 2566-2570 - แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 20 ปี (2560-2579) 2.วิเคราะห์สำรวจภาพในอนาคต (Scenario) 3.วิเคราะห์คุณค่าที่ตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียขององค์กร Value Proposition


7 | P a g e ะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) การกำหนดทิศทางเป้าหมายการดำเนินงาน ➢ ทบทวน SWOT วิสัยทัศน์ พันธกิจ ➢ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะขับเคลื่อน ➢ กำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดความสำเร็จ และกลยุทธ์การดำเนินงาน (CID : Collaboration Innovation Digitalization ) แต่ละประเด็นยุทธ์ ➢ จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ➢ การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ➢ ถ่ายทอดนโยบาย แผนงาน โครงการสู่หน่วยงานในสังกัด ➢ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ ➢ การกำกับ ติดตาม ประเมินผล


8 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ข้อมูลทั่วไปและการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ▪ ข้อมูลทั่วไป จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคกลางด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 4 ลิปดา ถึง 15 องศา 5 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นแวง 99 องศา 17 ลิปดา ถึง 100 องศา 16 ลิปดาตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 3-10 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,358.01 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 3.3 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของพื้นที่ภาคกลาง อยู่ห่างจาก กรุงเทพมหานครประมาณ 107 กิโลเมตร (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340) โดยทางรถไฟ ประมาณ 142 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดชัยนาท ทิศตะวันออก ติดจังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศใต้ ติดจังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตก ติดจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดอุทัยธานี การปกครอง การปกครอง จังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารราชการส่วน ภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 1. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 258 ชุมชน และ 1,008 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอ ดังนี้ 1. อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 2. อำเภอเดิมบางนางบวช 3. อำเภอด่านช้าง 4. อำเภอบางปลาม้า 5. อำเภอศรีประจันต์ 6. อำเภอดอนเจดีย์ 7. อำเภอสองพี่น้อง 8. อำเภอสามชุก 9. อำเภออู่ทอง 10. อำเภอหนองหญ้าไซ 2. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง2แห่ง เทศบาลตำบล 44 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง (ตารางที่ 1) บทที่ 2


9 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ตารางที่ 1 เขตการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกรายอำเภอ อำเภอ ตำบล เทศบาล อบต. จำนวนชุมชน/หมู่บ้านตาม เขตการปกครอง(มหาดไทย) เมือง ตำบล ชุมชน หมู่บ้าน เมืองสุพรรณบุรี 20 1 8 13 72 124 เดิมบางนางบวช 14 - 8 8 42 121 ด่านช้าง 7 - 1 7 5 93 บางปลาม้า 14 - 7 11 30 127 ศรีประจันต์ 9 - 6 4 24 64 ดอนเจดีย์ 5 - 2 5 8 50 สองพี่น้อง 15 1 1 14 25 140 สามชุก 7 - 1 6 20 68 อู่ทอง 13 - 9 6 30 155 หนองหญ้าไซ 6 - 1 6 2 66 รวม 110 2 44 80 258 1,008 ที่มา : 1) ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรีข้อมูล ตำบล หมู่บ้าน ชุมชน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 2) สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 035-536044 ข้อมูลเทศบาลและ อบต. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ประชากรจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวนประชากรจังหวัดสุพรรณบุรี ในระบบทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) มีจำนวนทั้งสิ้น 835,360 คน จำแนกเป็นชาย 402,883 คน คิดเป็นร้อยละ 48.23 และหญิง 432,477 คน คิดเป็นร้อยละ 51.77 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1:1.07 อำเภอที่มีสัดส่วนประชากร มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ อำเภอเมืองสุพรรณบุรีรองลงมาคืออำเภอสองพี่น้อง และอำเภออู่ทอง ความหนาแน่น ของประชากรในภาพรวมทั้งจังหวัด เท่ากับ 156 คนต่อตารางกิโลเมตร (พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีทั้งหมด 5,358.01 ตารางกิโลเมตร) มีจำนวนหลังคาเรือนรวมทั้งสิ้น 311,136 หลังคาเรือน (ตารางที่ 2)


10 | P a g e แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ตารางที่ 2 จำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์และหลังคาเรือน กระทรวงมหาดไทย รายอำเภอ จังหวัดสุพรรณบุรีปี พ.ศ. 2564 อำเภอ ชาย หญิง รวม ร้อยละ อัตราส่วน ชาย:หญิง หลังคา เรือน เมือง 78,384 87,875 166,709 19.95 1.11 65,810 เดิมบางนางบวช 33,911 36,870 70,781 8.47 1.09 27,726 ด่านช้าง 33,297 34,362 67,659 8.10 1.03 27,175 บางปลาม้า 36,828 39,045 75,873 9.08 1.06 26,408 ศรีประจันต์ 29,099 31,969 61,068 7.31 1.10 23,475 ดอนเจดีย์ 22,174 23,502 45,676 5.47 1.06 17,062 สองพี่น้อง 61,366 64,540 125,906 15.07 1.05 42,789 สามชุก 25,069 27,394 52,463 6.28 1.09 21,783 อู่ทอง 58,520 61,961 120,436 14.42 1.06 41,210 หนองหญ้าไซ 23,785 25,004 48,789 5.84 1.05 17,698 รวม 402,883 432,477 835,360 100 1.07 311,136 ที่มา : 1. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 2. ข้อมูลจำนวนหลังคาเรือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) โครงสร้างประชากรตามกลุ่มอายุและแพศ รูปที่ 1 ปิรามิดประชากร จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2545 รูปที่ 2 ปิรามิดปร ที่มา : ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ 31 มกราคม 2545 ที่มา : ข้อมูลจาก เมื่อพิจารณาโครงสร้างประชากรตามกลุ่มอายุและเพศของประชากรจังหวัดส โครงสร้างกลุ่มอายุที่ชัดเจนมาก กล่าวคือสัดส่วนของประชากรวัยเด็ก (0-14 ปี) (รูปที่ 1-3) เมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 181,982 คน 835,360 คน ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ เดือนธันวาคม 2564 จำนวนประชากร นั่นหมายถึงจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 2.92 3.01 3.21 3.68 3.45 3.87 4.03 3.86 3.83 3.95 3.36 2.78 2.06 6 4 00-04 10-14 20-24 30-34 40-44 50-54 60-64 70-74 80-84 90-94 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุ ป ี 2.43 3.55 3.56 3.86 4.19 4.29 4.38 4.61 4.34 3.52 2.85 2.05 2.06 1.73 1.32 0.88 0.51 0.28 0.12 0.04 0.86 2.58 3.74 3.84 4.01 4.13 4.26 4.23 4.36 3.90 3.19 2.50 1.77 1.78 1.45 1.01 0.61 0.33 0.16 0.06 0.03 0.62 6 4 2 0 2 4 6 00-04 10-14 20-24 30-34 40-44 50-54 60-64 70-74 80-84 90-94 ปีขึ้นไป ร้อยละ กลุ่มอายุ ปี ชาย หญิง


11 | P a g e 2.01 2.51 2.79 2.83 3.03 3.40 3.36 3.64 3.78 3.77 3.97 4.23 3.69 2.70 2.30 1.47 1.20 0.69 0.29 0.08 0.03 2.10 2.66 2.93 3.00 2.98 3.51 3.50 3.65 3.78 3.61 3.55 3.63 3.00 2.19 1.70 1.04 0.78 0.41 0.15 0.04 0.02 5 4 3 2 1 0 1 2 3 4 5 00-04 10-14 20-24 30-34 40-44 50-54 60-64 70-74 80-84 90-94 ปีขึ้นไป ร้อยละ กลุ่มอายุ ปี ชาย หญิง ระชากร จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2555 รูปที่3 ปิรามิดประชากร จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2565 กรมการปกครอง ณ 31 ธันวาคม 2554 ที่มา : ข้อมูลจากกรมการปกครอง ณ 31 ธันวาคม 2564 สุพรรณบุรีในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ.2545–2565) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทาง ลดลง ในขณะเดียวกันสัดส่วนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เพิ่มมากขึ้น น คิดเป็นร้อยละ 21.78 ของประชากรทั้งหมด (หมายเหตุ:จำนวนประชากรทั้งหมด อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 126,096 คน คิดเป็นร้อยละ 15.09 ของประชากรทั้งหมด) 2.79 2.84 3.03 3.46 3.46 3.84 3.97 3.90 4.11 4.41 3.91 3.26 2.54 1.83 1.70 1.24 0.78 0.35 0.12 0.03 0.02 6 1.47 1.28 0.88 0.48 0.19 0.06 0.02 0.01 2 0 2 4 6 ร้อยละ ชาย หญิง


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 12 | P a g e ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาล ดังนี้ โรงพยาบาล ระดับ A โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาล ระดับ M1 โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาล ระดับ M2 โรงพยาบาลอู่ทอง จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาล ระดับ F1 โรงพยาบาลด่านช้าง, เดิมบางนางบวช จำนวน 2 แห่ง โรงพยาบาล ระดับ F2 โรงพยาบาลสามชุก, ศรีประจันต์, ดอนเจดีย์, บางปลาม้า, หนองหญ้าไซ จำนวน 5 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 174 แห่ง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดใหญ่ จำนวน 8 แห่ง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดทั่วไป จำนวน 166 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล จำนวน 3 แห่ง ตารางที่ 3 จำนวนสถานบริการสาธารณสุขของรัฐบาล จำแนกรายอำเภอ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอ โรงพยาบาล โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ตำบล หน่วย บริการ ปฐมภูมิ (หน่วย) เครือข่าย หน่วย บริการ ปฐมภูมิ (หน่วย) ประเภท/แห่ง จำนวน เตียงจริง จำนวนเตียง ตามกรอบ เมืองฯ รพ. ระดับ A 1 แห่ง 706 680 29 4 5 เดิมบางฯ รพ. ระดับ F1 1 แห่ง 109 120 20 1 2 ด่านช้าง รพ. ระดับ F1 1 แห่ง 106 90 16 1 4- บางปลาม้า รพ. ระดับ F2 1 แห่ง 60 60 17 - 4 ศรีประจันต์ รพ. ระดับ F2 1 แห่ง 60 60 14 - 4 ดอนเจดีย์ รพ. ระดับ F2 1 แห่ง 60 60 9 1 1 สองพี่น้อง รพ. ระดับ M1 1 แห่ง 262 302 25 2 4 สามชุก รพ. ระดับ F2 1 แห่ง 60 60 13 - 2 อู่ทอง รพ. ระดับ M2 1 แห่ง 142 150 22 - 6 หนองหญ้าไซ รพ. ระดับ F2 1 แห่ง 60 60 9 1 1 รวม 10 1,625 1,642 174 10 33 ที่มา : ข้อมูลหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบ บริการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 13 | P a g e สถานพยาบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี • สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จำนวน 305 แห่ง o คลินิกเวชกรรม จำนวน 95 แห่ง o คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง (คลินิกแพทย์) จำนวน 17 แห่ง o คลินิกทันตกรรม จำนวน 35 แห่ง o คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 112 แห่ง o คลินิการผดุงครรภ์ จำนวน 1 แห่ง o คลินิกเทคนิคการแพทย์ จำนวน 9 แห่ง o คลินิกการแพทย์แผนไทย จำนวน 11 แห่ง o คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จำนวน 1 แห่ง o สหคลินิก จำนวน 12 แห่ง o คลินิกกายภาพบำบัด จำนวน 6 แห่ง • สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน จำนวน 4 แห่ง สถานประกอบการในจังหวัดสุพรรณบุรี • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จำนวน 72 แห่ง o สปาเพื่อสุขภาพ o นวดเพื่อสุขภาพ จำนวน จำนวน 1 75 แห่ง แห่ง o นวดเพื่อเสริมความงาม จำนวน 1 แห่ง • สถานประกอบการด้านยา จำนวน 232 แห่ง o ร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) o ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ขย.2) จำนวน จำนวน 156 59 แห่ง แห่ง o ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์(ขย.3) จำนวน 17 แห่ง • สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 51 แห่ง o ใบอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ขสม) จำนวน 41 แห่ง o ใบอนุญาตผลิตสมุนไพร (ผสม) จำนวน 10 แห่ง ที่มา :กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 14 | P a g e ตารางที่ 4 เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของรัฐบาล จำแนกรายอำเภอ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2564 อำเภอ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของรัฐบาล Medical personnel in the Government ประชากรต่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งหมด Population per total medical personnel แพทย์ ทันต แพทย์ เภสัชกร พยาบาล พยาบาล เทคนิค แพทย์ ทันต แพทย์ เภสัชกร พยาบาล พยาบาล เทคนิค เมือง 139 19 41 743 1 1,199 8,774 4,066 224 166,709 เดิมบางฯ 12 8 9 116 0 5,898 8,848 7,865 610 0 ด่านช้าง 16 7 9 114 0 4,229 9,666 7,518 594 0 บางปลาม้า 9 8 7 85 0 8,430 9,484 10,839 893 0 ศรีประจันต์ 10 5 7 83 0 6,107 12,214 8,724 736 0 ดอนเจดีย์ 11 6 7 78 1 4,152 7,613 6,525 586 45,676 สองพี่น้อง 35 12 21 285 0 3,597 10,492 5,996 442 0 สามชุก 8 5 7 78 0 6,558 10,493 7,495 673 0 อู่ทอง 23 9 16 160 0 5,236 13,382 7,527 753 0 หนองหญ้าไซ 8 3 5 61 0 6,099 16,263 9,758 800 0 รวม 271 82 129 1,803 2 3,083 10,187 6,476 463 417,680 ที่มา : กลุ่มงานบริหารบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี(ณ วันที่ 30 เมษายน 2565) ตารางที่5 จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุข จำแนกรายอำเภอ จังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ 2564 อำเภอ จำนวน อสม. (คน) อัตราส่วน อสม./ประชากร อัตราส่วน อสม./หลังคาเรือน เมืองสุพรรณบุรี 2,437 1:68 1:27 เดิมบางนางบวช 1,738 1:41 1:16 ด่านช้าง 1,171 1:58 1:23 บางปลาม้า 1,584 1:48 1:17 ศรีประจันต์ 1,352 1:45 1:17 ดอนเจดีย์ 983 1:46 1:17 สองพี่น้อง 1,871 1:67 1:23 สามชุก 1,212 1:43 1:18 อู่ทอง 2,836 1:42 1:15 หนองหญ้าไซ 1,287 1:38 1:14 รวม 16,471 1:51 1:19 ที่มา : ระบบสารสนเทศสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน http://www.thaiphc.net/thaiphcweb/index.php?r=staticContent/show&id=1 (วันที่ 31 ธันวาคม 2564)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 15 | P a g e การบริการสุขภาพ การให้บริการสุขภาพในระดับโรงพยาบาล 1. ผู้ป่วยนอก การให้บริการผู้ป่วยนอกในจังหวัดสุพรรณบุรีจากคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขใน ภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เมื่อพิจารณาอัตราส่วนของการมารับบริการ (ครั้ง/คน) จำแนกตามประเภทสิทธิพบว่า กลุ่มสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เบิกต้นสังกัด มาใช้บริการเฉลี่ยจำนวนครั้งต่อ คนมากกว่ากลุ่มสิทธิอื่น ๆ คือ 3.54 ครั้ง/คน รองลงมาคือกลุ่มสิทธิ UC มีอัตราส่วนของการมารับบริการ เท่ากับ 2.79 ครั้ง/คน กลุ่มสิทธิประกันสังคม มีอัตราส่วนของการมารับบริการ คือ 1.94 ครั้ง/คน และ ใน กลุ่มสิทธิแรงงานต่างด้าวมีอัตราส่วนของการมารับบริการต่ำสุดคือ 1.70 ครั้ง/คน โดยมีค่าเฉลี่ยของการมารับ บริการผู้ป่วยนอกในสถานพยาบาลทุกระดับในภาพรวมเท่ากับ 2.87 ครั้ง/คน และมีอัตราส่วนการใช้บริการ ผู้ป่วยนอกเท่ากับ 3.61 ครั้ง/คน/ปี (ตารางที่ 6) ตารางที่ 6 จำนวนคน/ครั้ง ของผู้รับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ในสถานพยาบาลทุกระดับ สังกัดภาครัฐ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามประเภทสิทธิ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565 ประเภทสิทธิ ปี 2564 ปี 2565 (ต.ค.64-เม.ย.65) (ผู้ป่วยนอก) คน ครั้ง ครั้ง:คน คน ครั้ง ครั้ง:คน 1. ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เบิกต้นสังกัด 97,218 479,204 4.93 87,529 309,699 3.54 2. ประกันสังคม 271,937 668,052 2.46 322,235 625,141 1.94 3. UC บัตรทองไม่มี ท / มี ท 718,644 2,762,064 3.84 695,374 1,938,574 2.79 4.แรงงานต่างด้าว 10,485 20,567 1.96 8,396 14,310 1.70 5. สิทธิ์ไม่ตรงรหัสมาตรฐาน 414 624 1.51 452 627 1.39 รวมผู้มารับบริการ 1,034,964 4,049,326 3.91 1,051,138 3,012,556 2.87 ประมาณการอัตราส่วนการใช้บริการ ผู้ป่วยนอก 1 ปีต่อประชากรทั้งหมด 4.83 ครั้ง/คน/ปี 3.61 ครั้ง/คน/ปี ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ประชากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 เท่ากับ 835,360 คน เมื่อจำแนกจำนวนผู้มารับบริการผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นรายโรงพยาบาล พบว่า รพศ.เจ้าพระยายมราช มีจำนวนผู้ป่วยนอกเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุด รองลงมาคือ รพท.สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 รพช.อู่ทอง รพช.เดิมบางนางบวช รพช.ด่านช้าง รพช. ศรีประจันต์รพช.ดอนเจดีย์รพช.บางปลาม้า รพช.สามชุก และรพช.หนองหญ้าไซ ตามลำดับ แต่อัตราส่วน ของการมารับบริการผู้ป่วยนอกจำนวนครั้งต่อคนต่อปีของรพช.สามชุก สูงที่สุด คือ 3.88 ครั้ง/คน/ปีโดย ค่าเฉลี่ยทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีเท่ากับ 3.13 ครั้ง/คน/ปี (ตารางที่ 7)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 16 | P a g e ตารางที่ 7 จำนวนคนและครั้งของผู้รับบริการประเภทผู้ป่วยนอก จำแนกตามรายโรงพยาบาลสังกัด ภาครัฐในจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565 โรงพยาบาล ปี 2564 ปี 2565 (ต.ค.64 - เม.ย.65) คน ครั้ง ครั้ง : คน ครั้ง : เดือน คน ครั้ง ครั้ง : คน ครั้ง : เดือน รพศ.เจ้าพระยาฯ 186,923 827,403 4.43 68,952 198,688 631,427 3.18 90,204 รพท.สมเด็จฯ 92,851 374,472 4.03 31,206 101,096 286,996 2.84 40,999 รพช.เดิมบางฯ 45,383 196,787 4.34 16,399 53,484 178,438 3.34 25,491 รพช.ด่านช้าง 49,395 196,446 3.98 16,371 55,748 165,359 2.97 23,623 รพช.บางปลาม้า 43,934 159,449 3.63 13,287 43,959 115,766 2.63 16,538 รพช.ศรีประจันต์ 40,510 154,550 3.82 12,879 43,154 128,869 2.99 18,410 รพช.ดอนเจดีย์ 27,534 137,298 4.99 11,442 32,387 121,632 3.76 17,376 รพช.สามชุก 31,576 171,721 5.44 14,310 29,091 112,912 3.88 16,130 รพช.อู่ทอง 62,483 245,394 3.93 20,450 73,348 234,036 3.19 33,434 รพช.หนองหญ้าไซ 28,710 126,148 4.39 10,512 30,620 93,789 3.06 13,398 รวม 609,299 2,589,668 4.25 215,086 661,575 2,069,224 3.13 295,603 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่26 พฤษภาคม 2565 (ต.ค.64-เม.ย.65) 2. ผู้ป่วยใน การให้บริการผู้ป่วยในของโรงพยาบาลของรัฐ จากคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในภาพรวม ของจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ 2565 เมื่อพิจารณาตามจำนวนวันนอนเฉลี่ยต่อรายพบว่าจำนวนวันนอน เฉลี่ยผู้ป่วยใน 1 ราย มีวันนอนเฉลี่ยเท่ากับ 6.15 วัน/ราย มากกว่าปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีวันนอนเฉลี่ย ประมาณ 5.54 วัน/ราย เมื่อแยกตามประเภทสิทธิพบว่าผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ มีวันนอนเฉลี่ยสูงกว่าผู้ป่วย สิทธิอื่น ๆ คือมีวันนอนเฉลี่ย 7.25 วันต่อผู้ป่วยใน 1 ราย รองลงมาได้แก่ ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม มีวันนอน เฉลี่ย 6.86 วัน/ราย ผู้ป่วยสิทธิUC มีวันนอนเฉลี่ย 5.85 วัน/ราย และ ผู้ป่วยแรงงานต่างด้าว 4.97 วัน/ราย ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 8


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 17 | P a g e ตารางที่ 8 จำนวนผู้รับบริการ จำนวนวันนอน และจำนวนวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในจำแนกตาม ประเภทสิทธิ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564–2565 ประเภทสิทธิ ปีงบประมาณ 2564 ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.64 - เม.ย.65) จำนวน (ราย) รวมวัน นอน วันนอน เฉลี่ย/ราย จำนวน (ราย) รวมวัน นอน วันนอน เฉลี่ย/ราย 1.ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 9,457 64,677 6.84 8,691 63,008 7.25 2.ประกันสังคม 10,349 61,415 5.93 13,111 89,973 6.86 3.UC บัตรทองมี/ไม่มี 68,785 371,548 5.40 50,267 293,992 5.85 4.แรงงานต่างด้าว 6,120 27,071 4.42 3,213 15,956 4.97 5. สิทธิ์ไม่ตรงรหัสมาตรฐาน 0 0 0 0 0 0 รวมผู้มารับบริการ 94,705 524,711 5.54 75,282 462,929 6.15 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เมื่อจำแนกวันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยในรายโรงพยาบาล พบว่าในระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาล ทั่วไป รพท.สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 มีวันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยในสูงสุดคือ 6.94 วัน/ราย รองลงมาคือ รพศ. เจ้าพระยายมราช มีวันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยใน 6.25 วัน/ราย ในระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลที่มีจำนวน วันนอนเฉลี่ยผู้ป่วยในสูงสุดคือ รพช.บางปลาม้า (7.13 วัน/ราย) รองลงมาได้แก่ รพช.อู่ทอง (6.25 วัน/ราย) รพช.ศรีประจันต์ (5.79 วัน/ราย) รพช.ด่านช้าง (5.72 วัน/ราย) รพช.ดอนเจดีย์ (5.39 วัน/ราย) รพช.เดิมบางนางบวช (5.35 วัน/ราย) รพช.สามชุก (4.87 วัน/ราย) และ รพช.หนองหญ้าไซ (4.37 วัน/ราย) ตามลำดับ (ตารางที่ 9) เมื่อเปรียบเทียบวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในกับค่าเฉลี่ยของประเทศ จะเห็นว่าวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยใน ระดับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ตารางที่9) อัตราการครองเตียง ในภาพรวมของจังหวัดสุพรรณบุรี คิดเป็นร้อยละ 78.05 ซึ่งถือว่ามีการใช้เตียง ไม่คุ้มค่า (มีค่าน้อยกว่า 80) เมื่อพิจารณาตามประเภทของโรงพยาบาล พบว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 มีอัตราครองเตียงสูงที่สุดคือร้อยละ 72.91รองลงมาได้แก่ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ร้อยละ 65.13 และกลุ่มโรงพยาบาลชุมชน M2, F1 และF2 มีอัตราครองเตียง ร้อยละ 97.76 ร้อยละ 72.79 และร้อยละ 101.38 ตามลำดับ โดยโรงพยาบาลศูนย์มีอัตราครองเตียงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ค่าเฉลี่ยของประเทศ เท่ากับ 67.82) โรงพยาบาลทั่วไปมีอัตราครองเตียงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ค่าเฉลี่ยของประเทศเท่ากับ 70.37) ส่วนโรงพยาบาลชุมชน M2, F1 และ F2 มีอัตราครองเตียงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ตารางที่ 9) อัตราการใช้เตียง 1 ปี (Bed Turnover Rate) พบว่า ในระดับโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี มีการใช้เตียงน้อยกว่ามาตรฐานระดับประเทศ ยกเว้นโรงพยาบาล บางปลาม้า ที่มีอัตราการใช้เตียงที่เหมาะสม คือ 116.07 (ค่าระหว่าง 80-120)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 18 | P a g e ตารางที่9 จำนวนผู้รับบริการผู้ป่วยใน จำนวนวันนอน จำนวนเตียง อัตราการครองเตียง อัตราการใช้เตียง 1 ปี ของผู้ป่วยใน จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (ต.ค.64 - เม.ย.65) โรงพยาบาล จำนวน ผู้ป่วยใน จำนวน วันนอน วันนอน เฉลี่ย ผู้ป่วยใน จำนวนเตียง (ตามกรอบ) อัตราการ ครองเตียง ปี 65 อัตราการ ใช้เตียง ปี65 รพศ.เจ้าพระยายมราช(A) 26,841 167,841 6.25 706 65.13 38.02 รพท.สมเด็จระสังฆราชฯ(M1) 10,040 69,724 6.94 262 72.91 38.32 รพช.เดิมบางนางบวช (F1) 5,023 26,855 5.35 109 67.5 46.08 รพช.ด่านช้าง (F1) 5,287 30,266 5.72 106 78.23 49.88 รพช.บางปลาม้า (F2) 6,964 49,684 7.13 60 226.87 116.07 รพช.ศรีประจันต์(F2) 4,401 25,493 5.79 60 116.41 73.35 รพช.ดอนเจดีย์(F2) 3,143 16,944 5.39 60 77.37 52.38 รพช.สามชุก (F2) 2,576 12,555 4.87 60 57.33 42.93 รพช.อู่ทอง (M2) 8,101 50,667 6.25 142 97.76 57.05 รพช.หนองหญ้าไซ (F2) 2,952 12,900 4.37 60 58.9 49.20 รวม 75,328 462,929 6.15 1,625 78.05 46.36 สรุปตามประเภทโรงพยาบาลจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2565 โรงพยาบาล จำนวน ผู้ป่วยใน จำนวน วันนอน วันนอน เฉลี่ย ผู้ป่วยใน จำนวนเตียง (ตามกรอบ) อัตราการ ครองเตียง อัตราการ ใช้เตียง 1 ปี รพศ. (A 1 แห่ง) 26,841 167,841 6.25 706 65.13 38.02 รพท. (M1 1 แห่ง) 10,040 69,724 6.94 262 72.91 38.32 รพช. (M2 1 แห่ง) 8,101 50,667 6.25 142 97.76 57.05 รพช. (F1 2 แห่ง) 10,310 57,121 11.07 215 72.79 47.95 รพช. (F2 5 แห่ง) 20,036 117,576 27.55 300 101.38 66.79


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 19 | P a g e หมายเหตุ : อัตราการครองเตียง = (จำนวนวันนอนX100)/(จำนวนเตียงX365) -ค่า 120 หมายถึง ผู้ป่วยมีเตียงไม่เพียงพอ แออัด -ค่า 80-100 หมายถึง เหมาะสม -ค่า 80 หมายถึง ใช้เตียงไม่คุ้มค่า ต้องปรับระบบการให้บริการ อัตราการใช้เตียง = จำนวนผู้ป่วยใน/จำนวนเตียง -รพศ./รพท. (A, M1) มีค่าอยู่ระหว่าง 50-90 -รพช.(M2, F1, F2) มีค่าอยู่ระหว่าง 80-120 ที่มา : กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข http://cmi.healtharea.net/site/index ณ วันที่4กุมภาพันธ์2564 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ปี 2565 โรงพยาบาล* จำนวน ผู้ป่วยใน จำนวน วันนอน วันนอน เฉลี่ย ผู้ป่วยใน จำนวนเตียง (ตามกรอบ) อัตราการ ครองเตียง อัตราการ ใช้เตียง 1 ปี รพศ. (A 34 แห่ง) 1,050,956 6,519,755 6.20 26,339 67.82 39.90 รพท. (M1 40 แห่ง) 409,528 2,530,036 6.18 9,850 70.37 41.58 รพช. (M2 93 แห่ง) 593,962 3,361,969 5.66 11,502 80.08 51.64 รพช. (F1 94 แห่ง) 387,795 2,319,431 5.98 7,628 83.31 50.84 รพช. (F2 507แห่ง) 1,127,989 6,457,469 5.72 21,463 82.43 52.56 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 *ระดับโรงพยาบาล จาก HDC service (กลุ่มรายงานมาตรฐาน >> จำนวนหน่วยงานสาธารณสุข >> จำนวนหน่วยบริการ จำแนกตามระดับ Service Plan)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 20 | P a g e สถานะสุขภาพ สถิติชีพ สถิติชีพของประชากรในจังหวัดสุพรรณบุรีในปี2562-2564 พบว่า ประชากรมีการเกิดลดลง โดยมี อัตราเกิด 7.90, 7.57 และ 6.36 ตามลำดับ ซึ่งสวนทางกับอัตราตายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการตายของมารดา การตายเนื่องจากการคลอดและภาวะแทรกซ้อนในการมีครรภ์และระยะอยู่ไฟ (ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด) ในระหว่างปี 2562-2563 ปีละ 2 ราย และในปี 2564 เป็น 0 โดยมีอัตรา 29.90, 31.21 และ 0.00 ตามลำดับ ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน ซึ่งในปี 2564 ไม่มีมารดาตาย จึงทำให้ไม่ เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ (ไม่เกิน 17 คนต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน) สำหรับอัตราทารกตายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ระหว่างปี 2562-2564 มีอัตราทารกตาย 4.80, 5.62 และ 6.19 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ตามลำดับ และเป็นที่สังเกตว่า อัตราเพิ่มตามธรรมชาติมีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี2562-2564 (ตารางที่ 10) ตารางที่ 10 จำนวนและอัตรา ของการเกิด การตาย ทารกตาย มารดาตาย และดัชนีชีพ พ.ศ. 2553–2564 (จังหวัดสุพรรณบุรี) ปี จำนวน อัตรา ดัชนีชีพ เกิด มีชีพ ตาย ทารก ตาย มารดา ตาย เกิด มีชีพ ตาย ทารก ตาย มารดา ตาย อัตราเพิ่ม ตามธรรมชาติ (ร้อยละ) 2553 8,891 7,022 54 2 10.51 8.30 6.09 22.99 0.22 126.62 2554 9,147 6,697 58 0 10.81 7.92 6.34 0.00 0.29 137.00 2555 9,242 6,806 39 1 10.91 8.03 4.22 10.82 0.28 135.86 2556 8,739 6,817 24 2 10.07 7.85 2.75 11.44 0.22 126.62 2557 8,586 6,862 36 1 9.89 7.90 3.93 12.35 0.20 125.12 2558 8,307 7,112 23 2 9.78 8.38 2.91 28.12 0.14 116.80 2559 7,596 7,345 19 1 8.94 8.64 2.50 13.61 0.03 103.42 2560 7,463 7,190 35 0 8.75 8.47 4.72 0.00 0.03 103.00 2561 7,161 7,418 41 2 8.68 8.75 5.54 28.53 (-0.03) 104.31 2562 6,682 7,891 32 2 7.90 9.34 4.80 29.90 (-0.14) 89.58 2563 6,409 7,777 36 2 7.57 9.21 5.62 31.21 (-0.16) 82.37 2564 5,327 8,600 35 0 6.36 10.27 6.19 0.00 (-0.39) 61.94 ที่มา : 1. กรมการปกครอง (http://203.113.86.149/xstat/tran/birth51_3.html) 2. ข้อมูลเกิด - ตาย ปี 2559 - 2564 (https://deathbirthrepo.dcs.moph.go.th/birth)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 21 | P a g e หมายเหตุ: 1. มารดาตายคือการตายเนื่องจากการคลอดและภาวะแทรกซ้อนในการมีครรภ์และระยะอยู่ไฟ (ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด) 2. อัตราเกิดมีชีพและตายต่อประชากร 1,000 คน 3. อัตราทารกตายต่อเกิดมีชีพ 1,000 คน และมารดาตายต่อเกิดมีชีพ 100,000 คน 4. อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (ร้อยละ): จำนวนเกิด ลบด้วย จำนวนตาย หารด้วยจำนวนประชากรกลางปี คูณด้วย 100 5. ดัชนีชีพ (จำนวนเด็กเกิดมีชีพ/จำนวนคนตาย) X 100 ประชากรกลางปีbps.moph.go.th/new_bps/ข้อมูลประชากรกลางปี ปี 2562 สุพรรณบุรี 845,012 คน ประเทศ 65,557,054 คน ปี 2563 สุพรรณบุรี 844,476 คน, ปี 2564 สุพรรณบุรี 837,218 คน ข้อมูลการเกิด สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/INTERNET/#/TableTemplate/statbirth) ตารางที่ 11 สถิติชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2564 และ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 สถิติชีพ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2564 ปี พ.ศ. 2563, 2564 1. อัตราเกิดมีชีพ (Crude Birth Rates) 6.36 1 8.232 2. อัตราตาย (Mortality Rates) 10.271 8.522 3. อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ (Natural Growth) -0.39 1 -0.032 4. อัตราทารกตาย (ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน) 6.571 5.103 5. อัตรามารดาตาย (ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน) 0.001 25.103 6. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่า บุคคลที่เกิดมาแล้วจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) ชาย 71.521 73.502 หญิง 79.071 80.502 7. อายุคาดเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (จำนวนปีเฉลี่ยที่คาดว่า ผู้ที่มีอายุ60 ปีจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกกี่ปี) ชาย 20.321 17.402 หญิง 23.731 23.202 ที่มา : 1 กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ฯ สสจ.สุพรรณบุรีปี 2564 2 ปี 2564 สถาบันวิจัยประชากร http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx 3 ปี 2563 สถาบันวิจัยประชากร http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 22 | P a g e อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (ความยืนยาวของชีวิตตั้งแต่แรกเกิด-ตาย) ของประชากรจังหวัดสุพรรณบุรี ใน ปี 2564 จากข้อมูลกรมการปกครอง อายุคาดเฉลี่ย เมื่อแรกเกิดจำแนกตามเพศ พบว่า เพศหญิง มีอายุยืนยาวกว่าเพศชาย คือ เพศหญิง มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเท่ากับ 79.07 ปี เพศชายมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเท่ากับ 71.52 ปี ในภาพรวมมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อ แรกเกิดเท่ากับ 75.27 ปี ตารางที่ 12 อายุคาดเฉลี่ยของประชากร ปี พ.ศ. 2564 (จังหวัดสุพรรณบุรี) กลุ่มอายุ อายุคาดเฉลี่ย (Expectation of Life) ชาย หญิง รวม < 1 71.52 79.07 75.27 1-4 71.05 78.39 74.71 5-9 67.19 74.44 70.80 10-14 62.23 69.52 65.86 15-19 57.40 64.65 61.02 20-24 52.84 59.81 56.33 25-29 48.42 55.12 51.78 30-34 43.91 50.30 47.13 35-39 39.53 45.68 42.65 40-44 35.26 40.99 38.18 45-49 31.40 36.49 34.04 50-54 27.60 32.03 29.93 55-59 23.93 27.76 25.97 60-64 20.32 23.73 22.15 65-69 16.98 19.75 18.49 70-74 13.97 16.04 15.13 75-79 11.16 12.60 11.99 80-84 9.02 9.73 9.44 85-89 7.35 7.40 7.38 90-94 6.02 5.71 5.81 95-99 5.05 4.64 4.78 100+ 2.50 2.50 2.50 อายุคาดเฉลี่ย อายุคาดเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี (อายุที่คาดว่าจะยืนยาวต่อไปหลังจากอายุ 60 ปี) พบว่าเพศหญิงจะมีอายุยืนยาว ต่อไปอีกประมาณ 23.73 ปี ขณะที่เพศชาย จะมีอายุยืนยาวหลังอายุ 60 ปี ต่อไปอีก 20.32 ปี (ตารางที่ 12)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 23 | P a g e สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอก จากการรวบรวมข้อมูลการเจ็บป่วยของประชากรจากระบบ HDC (คลังข้อมูลสุขภาพสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี) ปีงบประมาณ 2564 พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี (Type Area 1 กับ 3) มีสาเหตุการป่วยจำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค 10 ลำดับแรก ได้แก่ 1.ความดันโลหิตสูงที่ไม่มี สาเหตุนำ 2.เนื้อเยื่อผิดปกติ 3.เบาหวาน 4.ความผิดปกติอื่น ๆ ของฟันและโครงสร้าง 5.การติดเชื้อของ ทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่น ๆ 6.การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ ไม่ระบุเฉพาะและหลายบริเวณใน ร่างกาย 7.โรคอื่น ๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอดีนัม 8.โรคอื่น ๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 9.ฟันผุและ 10.พยาธิสภาพของหลังส่วนอื่น ๆ (ตารางที่ 13) ตารางที่13 จำนวนและอัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยนอกจำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564) ลำดับ กลุ่มโรค ชื่อกลุ่มโรค จำนวน อัตรา : 100000 1 145 ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ 73,890 8,826 2 207 เนื้อเยื่อผิดปกติ 54,703 6,534 3 104 เบาหวาน 44,216 5,281 4 181 ความผิดปกติอื่น ๆ ของฟันและโครงสร้าง 40,813 4,875 5 167 การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่น ๆ 36,470 4,356 6 281 การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ ไม่ระบุเฉพาะและหลายบริเวณในร่างกาย 30,752 3,673 7 185 โรคอื่น ๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอดีนัม 28,108 3,357 8 199 โรคอื่น ๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 23,362 2,790 9 180 ฟันผุ 22,628 2,703 10 206 พยาธิสภาพของหลังส่วนอื่น ๆ 20,936 2,501 11 111 ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิกอื่น ๆ 11,405 1,362 12 165 คออักเสบเฉียบพลันและต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน 10,828 1,293 13 192 โรคอื่น ๆ ของลำไส้และเยื่อบุช่องท้อง 9,112 1,088 14 198 โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 8,331 995 15 131 เยื่อบุตาอักเสบและความผิดปกติของเยื่อบุตาอื่น ๆ 7,935 948 16 267 ปวดท้องและปวดอุ้งเชิงกราน 6,697 800 17 201 โรคข้อเสื่อม 6,555 783 18 125 โรคไมเกรนและกลุ่มอาการปวดศีรษะอื่น ๆ 6,430 768 19 142 โรคของหูและปุ่มกกหูอื่น ๆ 6,251 747 20 133 ต้อกระจกและความผิดปกติของเลนส์อื่น ๆ 4,172 498 21 139 โรคของตาและส่วนประกอบของตาอื่น ๆ 4,153 496 หมายเหตุ 1. การเจ็บป่วยที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ปีก่อน เช่น ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน นับเป็นการเจ็บป่วย 1 รายใน ปีงบประมาณ (ไม่นับซ้ำ) 2. ผู้ป่วย 1 คน หากในปีงบประมาณเจ็บป่วยมากกว่า 1 โรค ให้นับเป็นจำนวนรายตามโรคที่เจ็บป่วย เช่น ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม และฟันผุให้นับเป็น 2 ราย


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) การเข้ารับบริการของผู้ป่วยนอก จากการรวบรวมข้อมูลการเข้ารับบริการของผู้ป่วยนอก ของหน่วยบริการใน จังหวัดสุพรรณบุรี) ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า 10 ลำดับแรกของกลุ่มโรคที่เข้ารับบ 3.เนื้อเยื่อผิดปกติ 4.ความผิดปกติอื่น ๆ ของฟันและโครงสร้าง 5.พยาธิสภาพของหลัง ของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอดีนัม 8.การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ ไม่ระบุเฉพ 10.ฟันผุ (ตารางที่ 14 แผนภูมิที่ 4) ตารางที่ 14 จำนวนผู้ป่วยนอก 10 อันดับแรก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 ก ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี(Health Data Cente คือ 837,218 คน ลำดับ ที่ รหัสกลุ่มโรค/ชื่อกลุ่มโรค (298 โรค) 25 จำนวน 1 145 ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ 413 2 104 เบาหวาน 321 3 207 เนื้อเยื่อผิดปกติ 237 4 181 ความผิดปกติอื่น ๆ ของฟันและโครงสร้าง 174 5 206 พยาธิสภาพของหลังส่วนอื่น ๆ 155 6 167 การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน แบบเฉียบพลันอื่น ๆ 181 7 185 โรคอื่น ๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอดีนัม 85 8 281 การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ ไม่ระบุเฉพาะและหลายบริเวณในร่างกาย 73 9 199 โรคอื่น ๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 78 10 180 ฟันผุ 93


24 | P a g e นจังหวัดสุพรรณบุรีโดยประมวลผลจากระบบ HDC (คลังข้อมูลสำนักงานสาธารณสุข บริการเป็นผู้ป่วยนอกมากที่สุด ได้แก่ 1.ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ 2.เบาหวาน ส่วนอื่น ๆ 6.การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่น ๆ 7.โรคอื่น ๆ พาะและหลายบริเวณในร่างกาย 9.โรคอื่น ๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และ ลุ่มโรค (จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2564) er) ณ วันที่24 พฤศจิกายน 2564 ประชากรทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 560 2561 2562 2563 2564 น (ครั้ง) จำนวน จำนวน จำนวน จำนวน 3,783 369,772 368,063 364,159 378,886 1,426 267,856 255,873 241,056 252,557 7,593 202,968 183,377 169,443 145,153 4,513 185,746 181,890 132,369 79,690 5,807 128,250 119,822 103,932 79,553 1,120 162,143 136,708 116,550 65,906 ,546 73,570 66,040 62,291 57,912 ,384 66,651 62,893 56,850 49,044 ,262 60,331 54,828 52,312 43,960 ,659 69,134 68,731 63,273 36,428


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 25 | P a g e แผนภูมิที่ 4 จำนวนผู้รับบริการประเภทผู้ป่วยนอก 10 ลำดับแรก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) จังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2564 10 อันดับ จำนวนผู้รับบริการประเภทผู้ป่วยนอก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) สำหรับผู้ป่วยใน สาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญ จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่ว ระบุรายละเอียด 2. การดูแลมารดาที่มีแผลเป็นที่มดลูกเนื่องจากการผ่าตัด 3. การติดเชื้ และความผิดปกติของเลนส์อื่น ๆ 7. เนื้อสมองตาย 8. การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อยาวแ ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน และ 10. การบาดเจ็บภายในกะโหลกศีรษะ (ตารางที่ 15 แผ ตารางที่15 จำนวนและอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ของผู้ป่วยใน จำแนกตามกลุ่ม จังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2564 ชื่อกลุ่ม(298 กลุ่มโรค) 2561 จำนวน อัตรา จำนวน 169 ปอดบวม ไม่ระบุรายละเอียด 5,774 680 6,409 239 การดูแลมารดาที่มีแผลเป็นที่มดลูก เนื่องจากการผ่าตัด 3,826 451 3,708 217 การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่ระบุตำแหน่ง 2,255 266 2,175 151 หัวใจล้มเหลว 2,226 262 2,288 098 โลหิตจางอื่น ๆ 1,163 137 1,123 133 ต้อกระจกและความผิดปกติของเลนส์อื่น ๆ 3,235 381 3,574 154 เนื้อสมองตาย 1,585 186 1,766 281 การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อยาวและเอ็นที่ใช้เหยียด นิ้วมืออื่นที่ระดับข้อมือและมือ 3,128 369 2,664 165 คออักเสบเฉียบพลันและต่อมทอนซิลอักเสบ เฉียบพลัน 947 111 644 278 การบาดเจ็บภายในกะโหลกศีรษะ 1,471 173 1,820 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 24 คือ 837,218 คน


26 | P a g e ย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) 10 ลำดับแรกในปี พ.ศ.2564 ได้แก่ 1. ปอดบวมไม่ ้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่ระบุตำแหน่ง 4. หัวใจล้มเหลว 5. โลหิตจางอื่น ๆ 6.ต้อกระจก และเอ็นที่ใช้เหยียดนิ้วมืออื่นที่ระดับข้อมือและมือ 9. คออักเสบเฉียบพลันและต่อม ผนภูมิที่ 5) มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) 10 ลำดับแรก 2562 2563 2564 2565 น อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา 752 5,013 591(1) 4,458 528(1) 7,537 900 (1) 435 3,488 411(2) 3,290 390(2) 2,952 353(2) 255 2,260 266(6) 2,352 279(3) 2,424 290(3) 268 2,250 265(7) 2,258 267(5) 2,337 279(4) 131 1,466 173 2,200 261(6) 2,163 258(5) 419 2,831 334(3) 1,984 235(8) 2,066 247(6) 207 1,897 224 2,076 246(7) 1,997 239(7) 312 2,434 287(4) 2,306 273(4) 1,865 223(8) 75 703 83 397 46 1,724 206(9) 213 2,075 244(10) 1,910 225 1,695 202(10) พฤศจิกายน 2564 ประชากรทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 27 | P a g e 10 อันดับโรคผู้ป่วยใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แผนภูมิที่ 5 อัตราผู้ป่วยในต่อประชากร 100,000คน 10 ลำดับแรก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) จังหวัดจังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2564 การเจ็บป่วยของผู้ป่วยในจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ การเจ็บป่วยของผู้ป่วยใน จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ พบว่า กลุ่มโรคมะเร็งทุกชนิด มีอัตราป่วย มากที่สุด โดยมีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นในปี 2561 และค่อนข้างคงที่ ในปี 2562 และเพิ่มขึ้นชัดเจนในปี 2563-2564 รองลงมาได้แก่ กลุ่มโรคเนื้อสมองตายเพราะขาดเลือดไม่ระบุรายละเอียด อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน 2560-2563 และลดลงเล็กน้อยในปี 2564 กลุ่มโรคเบาหวาน อัตราป่วยมีแนวโน้มลดลงทุกปี จากปี 2560-2564 มีอัตราป่วย 241.47, 219.83, 218.68, 215.99 และ 197.56 ตามลำดับ กลุ่มโรคไตวายเรื้อรัง มีอัตราป่วยลดลง จากปี 2560-2561 แต่กลับเพิ่มขึ้นชัดเจนในปี2562-2564 กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไปในปี 2560-2564 ส่วนกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือด มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2560-2562 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2563-2564 ดังตารางและแผนภูมิ(ตารางที่ 16 แผนภูมิที่ 6)


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 28 | P a g e ตารางที่ 16 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ จำแนกตามกลุ่ม สาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2560–2564 ชื่อกลุ่ม (298โรค) 2560 2561 2562 2563 2564 จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา 1.มะเร็งทุกชนิด (58-96) 4,859 572.61 5,129 601.99 5,103 601.26 5,954 705.05(1) 5,986 714.99(1) 2.เนื้อสมองตายเพราะ ขาดเลือดไม่ระบุ รายละเอียด (154) 1,582 186.43 1,735 203.64 1,881 221.63 2,067 244.77(2) 1,991 237.81(2) 3.โรคเบาหวาน (104) 2,049 241.47 1,873 219.83 1,856 218.68 1,824 215.99(3) 1,654 197.56(3) 4.ไตวายเรื้อรัง (214) 549 64.70 459 53.87 531 62.56 731 85.56(4) 756 90.30(4) 5.โรคความดันโลหิตสูงที่ ไม่มีสาเหตุนำ (145) 873 102.88 782 91.78 795 93.67 578 68.44(5) 627 74.89 (5) 6.โรคหัวใจขาดเลือด (148) 638 75.19 552 64.79 429 50.55 497 58.85(6) 598 71.43(6) ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 แผนภูมิที่ 6 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยใน กลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ จำแนกตามกลุ่ม สาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) จังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2560–2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) อัตราป่วยของผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ อัตราการเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่สำคัญของจังหว โลหิตสูง มากที่สุด แต่อัตราป่วยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2560-2563 คือมีอัตรา 1,4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2564 รองลงมาได้แก่ อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ม 2563-2564 รองลงมา ได้แก่ โรคอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหล ตารางที่17 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มโรคไม่ติดต่ ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 23 เมื่อพิจารณาสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยใน ด้วยสาเหตุจากกลุ่มโรคมะเร็ง พ อัตราป่วย 147.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี2562 รองลงมาไ จากปี 2563 ลำดับที่ 3 มะเร็งบริเวณที่เหลื่อมกันของหลอดลมและปอด อัตราป่วย 58 อากาศ มีอัตราป่วย 51.84 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ 5 มะเร็งท่อน้ำดีในตับ อัตราป รายละเอียด อัตราป่วย 39.30 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ 7 มะเร็งของเต้านมไม อัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ 2560 256 จำนวน อัตรา จำนวน ▪ อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง 12,046 1,419.57 11,458 ▪ อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวาน 5,203 613.15 4,897 ▪ อัตราอุบัติใหม่ของโรคหลอดเลือดสมอง 193 22.74 164 ▪ อัตราป่วยรายใหม่ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 91 10.73 76 ▪ อัตราป่วยรายใหม่ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 222 26.16 238


29 | P a g e วัดสุพรรณบุรี ในปี 2560-2564 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคความดัน 419.57, 1,344.83, 1,278.97 และ 1,184.52 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ และ มีอัตราการเจ็บป่วยลดลงตั้งแต่ปี 2560-2562 แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี ลอดเลือด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามลำดับ (ตารางที่ 17) อที่สำคัญ จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2564 3 พฤศจิกายน 2564 บว่า ในปีงบประมาณ 2564 มะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ระบุตำแหน่ง มีอัตราป่วยสูงที่สุด คือ ได้แก่ มะเร็งของลำไส้ตรง อัตราป่วย 88.51 ต่อประชากรแสนคน โดยมีแนวโน้มลดลง 8.05 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ 4 เนื้องอกไม่ร้ายของหูส่วนกลางโพรงจมูกและโพรง ป่วย 45.03 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ 6 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบี-เซลล์ ไม่ระบุ ม่ระบุตำแหน่ง อัตราป่วย 38.34 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ 8 เนื้องอกไม่ร้ายของ 61 2562 2563 2564 อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา 1,344.83 10,823 1,278.97 10,025 1,184.52 11,222 1,338.14 574.76 4,691 554.34 5,035 594.92 5,176 617.20 19.25 228 26.94 199 23.51 183 21.82 8.92 70 8.27 82 9.69 114 13.59 27.93 168 19.85 144 17.01 73 8.70


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) กล้ามเนื้อมดลูก ไม่ระบุรายละเอียด อัตราป่วย 27.11 ต่อประชากรแสนคน ลำดับที่ และลำดับที่ 10 มะเร็งของหลอดอาหาร ไม่ระบุตำแหน่ง อัตราป่วย 20.54 ต่อประชา แผนภูมิที่ 7 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยใน จำแนกตามกลุ่มสา ด้วยสาเหตุจากกลุ่มโรคมะเร็ง จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 23


30 | P a g e 9 มะเร็งของกล้ามเนื้อมดลูก ไม่ระบุรายละเอียดอัตราป่วย 26.52ต่อประชากรแสนคน กรแสนคน ตามลำดับ (แผนภูมิที่ 7) าเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) 2560-2564 3 พฤศจิกายน 2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 31 | P a g e สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคติดต่อที่สำคัญของผู้ป่วยใน สำหรับกลุ่มโรคติดต่อที่สำคัญของผู้ป่วยใน ได้แก่ 1.โรคปอดบวม ไม่ระบุรายละเอียด มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2561 แต่ลดลงในปี พ.ศ.2562-2563 และเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ.2564 2.หลอดลมอักเสบเฉียบพลันไม่ ระบุรายละเอียด มีอัตราป่วยลดลงในปี พ.ศ.2562-2564 3.การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน มีอัตรา ป่วยค่อนข้างคงที่ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2563 แต่กลับเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2564 4.โรคติดเชื้อที่ลำไส้จาก ไวรัสซึ่งไม่ระบุชนิด มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2562 และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ.2563 แต่กลับลดลงใน ปี พ.ศ.2564 5.ไข้หวัดใหญ่ร่วมกับอาการแสดงอื่นทางระบบหายใจ ไม่ระบุชนิดไวรัส มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นใน ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 แต่ลดลงในปี พ.ศ.2563-2564 (แผนภูมิที่ 8) แผนภูมิที่8 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยใน จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ระบบหายใจส่วนบนติดเชื้อเฉียบพลัน โรคติดเชื้ออื่น ๆ ของลำไส้ และไข้หวัดใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรีปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2564 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่23 พฤศจิกายน 2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 32 | P a g e กลุ่มโรคไข้เลือดออกจากเชื้อเด็งกี มีการระบาดตามฤดูกาลซึ่งมีอัตราป่วยลดลงตั้งแต่ ปี พ.ศ.2562-2564 ในขณะที่วัณโรคปอด มีอัตราป่วยคงที่ และลดลงในปีพ.ศ.2564 (แผนภูมิที่ 9) แผนภูมิที่ 9 อัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ของผู้ป่วยใน จำแนกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 298 กลุ่มโรค (สาเหตุโรคหลัก) ด้วยโรคไข้เลือดออก และวัณโรค จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2560-2564 ที่มา : คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 33 | P a g e สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา จากการพิจารณาการเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของประชาชนจังหวัด สุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2564 พบว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอัตราป่วยสูงที่สุดคือ 1,769.97 ต่อประชากร แสนคน รองลงมาได้แก่ โรคอุจาระร่วง มีอัตราป่วย 383.58 ต่อประชากรแสนคน โรคปอดอักเสบ มีอัตราป่วย 126.44 ต่อประชากรแสนคน และลำดับที่ 4-10 ได้แก่ ไข้ไม่ทราบสาเหตุ วัณโรคปอด โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคตาแดง และโรคสุกใส ตามลำดับ (ตารางที่18) ตารางที่18 จำนวนและอัตราป่วย ด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พ.ศ.2563–2564 จังหวัดสุพรรณบุรี ลำดับ โรคเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยา พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 จำนวนป่วย(ราย) อัตราป่วย/ แสน จำนวนป่วย (ราย) อัตราป่วย/แสน 1. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 15 1.77 14,978 1,769.97 2. โรคอุจจาระร่วง 8,214 970.66(1) 3,246 383.58 3. โรคปอดอักเสบ 1,873 221.33(3) 1,070 126.44 4. ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 2,922 345.3(2) 873 103.16 5. วัณโรคปอด 578 68.3(6) 799 94.42 6. โรคอาหารเป็นพิษ 425 50.22(7) 283 33.44 7. โรคไข้เลือดออก 797 94.18(5) 227 26.82 8. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 363 42.9(8) 138 16.31 9. โรคตาแดง 356 42.07 137 16.19 10. โรคสุกใส 241 28.48(10) 84 9.93 ที่มา : รายงาน 506 กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีณ 17 มกราคม 2565


แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 34 | P a g e ข้อมูลการตาย ของประชากรจังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2564 มีจำนวน 8,600 คนต่อปี เมื่อจำแนกตาม เพศพบว่า จำนวนการตายของเพศชายสูงกว่าเพศหญิงมาตลอด (แผนภูมิที่ 10) 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 ชาย 3752 3724 3759 3839 3932 3890 3812 4295 4161 0 1000 2000 3000 4000 5000 6000 7000 8000 9000 10000 แผนภูมิที่ 10 จำนวนการตายของประชากร จำแนกตามเพศ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2555-2564 ที่มา : ระบบฐานข้อมูลการเกิด-ตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข https://deathbirthrepo.dcs.moph.go.th/login ณ วันที่ 17 มีนาคม 2565 เมื่อพิจารณาสาเหตุการตายของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรีในปีพ.ศ.2564 จะพบว่ากลุ่มโรคที่ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญโดยไม่นับการตายที่ระบุว่าชราภาพหรือไม่ทราบสาเหตุ ได้แก่ 1.กลุ่มโรคระบบ ไหลเวียนโลหิต (Diseases of the circulatory system) 2.กลุ่มโรคมะเร็ง (Neoplasms) 3.กลุ่มโรคติดเชื้อ และปรสิต (Certain infectious and parasitic diseases) 4.กลุ่มโรคของระบบทางเดินหายใจ (Diseases of the respiratory system) และ5.กลุ่มการตายจากสาเหตุภายนอก (External causes of morbidity and mortality) (ตารางที่ 19)


Click to View FlipBook Version