หนังสอื ทรี่ ะลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ
พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๔
ณ วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวิหาร
ตำบลหน้าเมอื ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวดั ราชบรุ ี
วนั เสารท์ ่ี ๓๐ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑)
หนังสอื ท่รี ะลึก
พิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ
พุทธศักราช ๒๕๖๔
มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ ประสานมติ ร
๑๑๔ ซอยสขุ มุ วทิ ๒๓ เขตวฒั นา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
โทรศพั ท์ ๐๒ ๖๔๙ ๕๐๐๐
โทรสาร ๐๒ ๒๕๘ ๓๐๐๗
สำนกึ ในพระมหากรณุ าธิคณุ
ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้า
เจ้าอยูห่ วั ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหมอ่ ม พระราชทานผา้ พระกฐิน ให้มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทร
วโิ รฒ อัญเชิญไปถวายแด่พระภกิ ษสุ งฆผ์ ู้จำพรรษากาล ณ วดั สตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร ตำบลหนา้ เมือง อำเภอ
เมอื งราชบรุ ี จงั หวัดราชบุรี ในวนั ที่ ๓๐ ตุลาคม พทุ ธศักราช ๒๕๖๔ ปวงข้าพระพุทธเจ้ามีความปลาบปลื้มปีติ
และสำนกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ุณ ล้นเกล้าล้นกระหมอ่ ม หาท่สี ุดมไิ ด้
โดยที่กฐินเป็นทั้งกาลทาน คือ ทานที่กำหนดด้วยกาล และสังฆทานที่ถวายแด่พระสงฆ์โดยที่มิได้
จำเพาะเจาะจง จึงเป็นทานท่ีสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา องค์สัมมาสัมพุทธเจา้ ทรงยกย่องว่าเป็นทานทีม่ ีผล
มอี านิสงสส์ ูงสดุ
ในการรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดถวายในครั้งนี้ จึงเป็นการบำเพ็ญกิจอันเป็นมหากุศล
อย่างยิ่ง ได้พร้อมใจกันจัดให้มีพิธีบำเพ็ญกุศลสมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน แล้วจึงอัญเชิญผ้าพระกฐิน
พระราชทานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติ
แห่งใตฝ้ ่าละอองธุลพี ระบาท
ดว้ ยเกลา้ ดว้ ยกระหม่อม ขอเดชะ
ขา้ พระพทุ ธเจ้า
มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ
สารบุญกฐนิ พุทธศกั ราช ๒๕๖๔
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐิน ให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ไดน้ ้อมนำอญั เชิญไปถวายแด่พระภกิ ษสุ งฆ์ทจ่ี ำพรรษา ณ วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร ตำบลหนา้ เมอื ง อำเภอ
เมืองราชบรุ ี จังหวดั ราชบุรี ในวนั ที่ ๓๐ ตลุ าคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๔
ในนามพระภิกษุสงฆ์ และพุทธบริษัทวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ขออนุโมทนาในจิตที่เป็นมหา
กุศลของมหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ ทไี่ ดน้ ้อมนำผ้าพระกฐินพระราชทานมาถวายพระภิกษุสงฆท์ ่ีจำพรรษา
ครบถ้วนไตรมาส ณ อาวาสนี้ ขอผลานิสงส์แห่งการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของมหาวิทยาลัย
ศรีนครนิ ทรวิโรฒ รวมถงึ ศรทั ธาจากสาธชุ นทว่ั สารทิศ จงมารวมกนั เป็นมหากุศลน้อมถวายแด่พระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี ตลอด
พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และขอให้อธิการบดี ข้าราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ
และครอบครัวจงประสบแต่ความสุขความเจริญ ประกอบด้วยจตุรพธิ พรชัย ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ
พละ สมความมุ่งม่ันปรารถนา ทกุ ประการเทอญ
พระมงคลธรรมาภรณ์ (ถาวร สธุ มโฺ ม)
รกั ษาการแทนเจ้าอาวาสวดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร
สารผ้วู า่ ราชการจงั หวัดราชบุรี
พระกฐินพระราชทาน เป็นพระกฐินที่ถือว่าเป็นของหลวง เปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรม
หน่วยงานราชการ ตลอดจนคณะบุคคลที่สมควรขอรับพระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่างๆ
นอกจากพระอารามหลวงสำคัญ อีกทั้งผู้ที่ได้รับพระราชทานสามารถเพิ่มไทยธรรมที่เป็นของส่วนตน
และองค์กร โดยเสด็จพระราชกุศลด้วยกำลังศรัทธาก็ได้ โดยผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจากกอง
ศาสนปู ถัมภ์ กรมการศาสนา เพ่อื นำไปทอด ณ พระอารามท่ีขอรับพระราชทานไว้
วัดสัตตนารถปริวตั รวรวิหาร มีความหมายวา่ วัดที่เปล่ียนไปหรอื ย้ายไปจากเขาสตั ตนารถ ได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๑๘ ซึ่ง วิสุงคามสีมา แปลว่า เขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้าน
หรือทีด่ ินที่แยกต่างหากจากทีด่ ินของบา้ นเมือง เป็นเขตทีพ่ ระเจ้าแผน่ ดินของไทยพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็น
การเฉพาะเพื่อใช้สร้างอุโบสถโดยประกาศเป็นพระบรมราชโองการ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสงุ คามสีมาถอื ว่า
เปน็ วดั ท่ถี กู ต้องและมฐี านะเป็นนติ ิบุคคลตามกฎหมาย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่รับสนองพระราชศรัทธา นำผ้าพระกฐิน
พระราชทานทอดถวาย ณ พระอารามหลวงเป็นประจำทุกปี สำหรับพุทธศักราช ๒๕๖๔ ได้รับพระราชทาน
ผ้าพระกฐินไปถวายพระสงฆ์ ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ในวันเสาร์ที่ ๓๐
ตุลาคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๔
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจังหวัดราชบุรี ขออนุโมทนาผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจาก
สว่ นราชการ ภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนทุกคนทีไ่ ด้มีสว่ นรว่ มโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งน้ี ขออำนาจ
คุณพระศรีรัตนตรัยและบุญบำเพ็ญกุศลที่ร่วมกันทำในครั้งนี้ อำนวยผลให้ทุกท่านและครอบครัวประสบแต่
ความสุข ความเจรญิ สมบรู ณ์พูลสุข ในสงิ่ อนั ดีงามท่ีพงึ ปรารถนาโดยทั่วกนั
นายรณภพ เหลืองไพโรจน์
ผ้วู า่ ราชการจังหวัดราชบรุ ี
สารอธกิ ารบดีมหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ
ประเพณกี ารทอดกฐนิ เป็นส่ิงทีย่ ดึ ถือปฏบิ ตั ิสบื ทอดกนั มาชา้ นานจนถึงปจั จุบนั เพอ่ื เปน็ การทำนุ
บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เสริมสร้างความสามัคคี โดยในปีพุทธศักราช
๒๕๖๔ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในกฐินกาล ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร
ตำบลหนา้ เมอื ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ในวนั ท่ี ๓๐ ตลุ าคม พุทธศกั ราช ๒๕๖๔
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้บริหาร อาจารย์
บุคลากร นิสิต นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาคมชาวมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงมีจิตศรัทธา
การมหากศุ ล ร่วมปวารณาตนต้งั ม่ันในการสุจรติ และประกอบกจิ ชอบ เพื่อน้อมถวายพระพรให้พระองค์ ทรงมี
พระชนมายยุ ง่ิ ยนื นาน
ในโอกาสอนั เป็นมงคล มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ ขออานิสงสแ์ ห่งกฐินกาล จงดลบันดาลให้
ทุกท่านที่ร่วมกันถวายผ้าพระกฐินด้วยจิตกุศล ได้ซึมซับพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ตลอดจน
ความดีงามทัง้ ปวง สง่ ผลไปสูส่ ังคมแห่งสนั ตสิ ุขสบื ไป
(รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สนั ติวัฒนกลุ )
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ
สารจากประธานคณะกรรมการดำเนนิ งาน
ประเพณีทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาอย่าง
ยาวนาน เพื่อทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตามขนบธรรมเนียมประเพณี โดยจัดทำข้ึน
ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ วัดหนึ่งๆ จะรับกฐินเพียง ๑ ครั้ง ในรอบปี
การทอดกฐินเป็นการถวายทานโดยมิเจาะจงบุคคลโดยเฉพาะ แต่ถวายแก่หมู่สงฆ์เป็นส่วนรวมจึงเข้าลักษณะ
เป็นสังฆทาน และพธิ กี รรมการทอดกฐินเป็นมหากศุ ลสำหรบั รว่ มบญุ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้สืบสานประเพณีทอดกฐินต่อเนื่องมาตลอดทุกปี
โดยในพุทธศักราช ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐิน วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี
จังหวัดราชบุรี ในวันเสาร์ท่ี ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔
ในนามของประธานดำเนินงานพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ขอกราบขอบพระคณุ พระมงคลธรรมาภรณ์ (ถาวร สธุ มโฺ ม) รกั ษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสตั ตนารถปริวัตรวิหาร
และเจา้ คณะจงั หวดั ราชบุรี ทใ่ี ห้การสนบั สนุนในการดำเนินงาน ทำให้การเตรยี มงานเปน็ ไปด้วยความเรยี บร้อย
และขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี วัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี แขกผู้มีเกียรติและประชาชนจังหวัด
ราชบุรี พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นิสิต ผู้ปกครองนักเรียน ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วโิ รฒ ตลอดจนบรษิ ัท หา้ งร้าน ทีม่ ีสว่ นรว่ ม ทำให้งานพิธีถวายผา้ พระกฐินพระราชทาน สำเรจ็ ลลุ ่วงไปด้วยดี
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ท่าน
และครอบครัว ประสบแต่ความสุขความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ และประสบสิ่งอันพึง
ปรารถนา ทกุ กาลเทอญ
ว่าทีร่ อ้ ยตรี
(ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.กติ ตคิ ุณ รุ่งเรอื ง)
ประธานดำเนนิ งาน
ท่ี อว ๘๗๒๓.๓ / ๔๕๒ มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ
สขุ ุมวทิ ๒๓ แขวงคลองเตยเหนอื
เขตวฒั นา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐
๘ ธันวาคม ๒๕๖๓
เรอ่ื ง ขอรับพระราชทานผา้ พระกฐินพระราชทาน ประจำปพี ทุ ธศักราช ๒๕๖๔
เรียน อธิบดีกรมการศาสนา
ตามที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินพระราชทานให้กระทรวง กรม
และหน่วยงานต่างๆ ที่มีจิตศรัทธานำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ณ พระอารามหลวง ทั่วราชอาณาจักร
ในกฐินกาลของทุกปี นั้น
ในพุทธศักราช ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความประสงค์ที่จะขอรับพระราชทาน
ผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอ
เมอื งราชบุรี จงั หวดั ราชบรุ ี ท้ังน้ี มหาวทิ ยาลยั ได้ประสานงานกับทางวดั สตั ตนารถปรวิ ัตรวรวหิ ารเรยี บรอ้ ยแล้ว
จึงเรียนมาเพือ่ โปรดทราบ ขอขอบพระคุณย่งิ
ขอแสดงความนบั ถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สนั ตวิ ฒั นกุล)
รกั ษาการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ
ท่ี วธ ๐๓๐๘/ ๘๕๖ กรมการศาสนา
๑๐ ถนนเทียมร่วมมิตร
เขตห้วยขวาง กทม. ๑๐๓๑๐
๑๑ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๖๔
เรือ่ ง ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ประจำปี ๒๕๖๔
เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ
อา้ งถึง หนงั สือมหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ที่ อว ๘๗๒๓.๓/ ๔๕๒ ลงวันท่ี ๘ ธันวาคม ๒๕๖๓
ตามหนังสือที่อ้างถงึ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มคี วามประสงค์จะขอรับพระราชทานผ้า
พระกฐินเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษา ประจำปี ๒๕๖๔ ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง
อำเภอเมืองราชบรุ ี จงั หวัดราชบุรี ความละเอียดแจง้ แล้ว นนั้
กรมการศาสนา จะได้ดำเนินการขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินให้ตามความประสงค์
และขอให้ติดต่อประสานงานกับวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร เพื่อกำหนดวัน เวลา ในการถวายผ้าพระกฐิน
ทั้งนี้ โปรดกำหนดวันถวายผา้ พระกฐินหลงั จากวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑
ต่อไป
จึงเรยี นมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนบั ถือ
(นายสำรวย นักการเรียน)
ผู้อำนวยการสำนักพฒั นาคุณธรรมจริยธรรม รักษาราชการแทน
รองอธิบดีกรมการศาสนา
ปฏิบัติราชการแทนอธบิ ดกี รมการศาสนา
ประวตั กิ ารถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทานมหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ
ครั้งท่ี ๑ วนั ท่ี ๒๕ ตลุ าคม ๒๕๑๖ ณ วดั ชินวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จงั หวดั ปทุมธานี
ครง้ั ที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๗ หลักฐานยงั ไม่แน่ชดั
ครง้ั ที่ ๓ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๘ ณ วดั ตมู อำเภอพระนครศรีอยธุ ยา จังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา
ครง้ั ที่ ๔ วันท่ี ๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ ณ วดั อัมพวนั เจตยิ าราม อำเภออัมพวา จงั หวดั สมทุ รสงคราม
ไม่ปรากฏหลักฐาน
พ.ศ. ๒๕๒๐ ณ วดั กลางมิ่งเมือง อำเภอเมือง จงั หวัดรอ้ ยเอ็ด
ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ณ วดั มัชฌมิ าวาสวรวิหาร อำเภอเมอื ง จังหวดั สงขลา
ครง้ั ที่ ๖ วันท่ี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ณ วดั ปทมุ วนาราม เขตปทมุ วัน กรงุ เทพมหานคร
ครั้งท่ี ๗ วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ณ วัดกลางวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวดั สมุทรปราการ
คร้งั ที่ ๘ วันท่ี ๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ ณ วดั บรมนิวาสราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ครง้ั ที่ ๙ วนั ที่ ๒๒ ตลุ าคม ๒๕๒๕ ณ วดั ศาลาปนู วรวหิ าร อำเภอพระนครศรีอยธุ ยา
ครง้ั ท่ี ๑๐ วนั ท่ี ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ จงั หวัดพระนครศรอี ยธุ ยา
ณ วดั มหาชยั พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวดั มหาสารคาม
ครง้ั ท่ี ๑๑ วันท่ี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ ณ วดั พระบาทมิ่งเมืองวรวหิ าร อำเภอเมือง จังหวดั แพร่
ครั้งที่ ๑๒ วนั ท่ี ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ณ วดั คูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ครง้ั ที่ ๑๓ วนั ท่ี ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ณ วัดเกตการาม อำเภอบางคนที จงั หวัดสมทุ รสงคราม
ครั้งที่ ๑๔ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ ณ วดั ชุมพลนิกายารามราชวรวหิ าร อำเภอบางปะอิน
คร้งั ท่ี ๑๕ วนั ท่ี ๑๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๑ จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา
ณ วัดศาลาปูนวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ครง้ั ที่ ๑๖ วนั ท่ี ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา
ณ วดั มหาชัยพระอารามหลวง อำเภอเมือง จงั หวัดมหาสารคาม
คร้ังท่ี ๑๗ วนั ท่ี ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ ณ วัดคหู าสวรรค์ อำเภอเมอื ง จังหวัดพัทลุง
ครั้งที่ ๑๘ วนั ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ณ วดั วชิรธรรมสาธติ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
ครง้ั ท่ี ๑๙ วันท่ี ๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ณ วดั มัชฌิมาวาสวรวิหาร อำเภอเมอื ง จงั หวัดสงขลา
ครั้งท่ี ๒๐ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
ครัง้ ที่ ๒๑ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ณ วัดมหาชยั พระอารามหลวง อำเภอเมือง จงั หวัดมหาสารคาม
ครั้งที่ ๒๒ วันท่ี ๒๘ ตลุ าคม ๒๕๓๘ ณ วดั เพชรสมุทรวรวหิ าร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ครง้ั ที่ ๒๓ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ณ วดั คูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จงั หวดั พทั ลงุ
ครง้ั ท่ี ๒๔ วันท่ี ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ณ วดั เขยี นเขตพระอารามหลวง อำเภอธัญบรุ ี จงั หวดั ปทมุ ธานี
ครั้งท่ี ๒๕ วนั ที่ ๒๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๑ ณ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยธุ ยา
จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา
ครง้ั ที่ ๒๖ วนั ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ณ วดั เจษฎาราม อำเภอเมือง จงั หวัดสมุทรสาคร
ครง้ั ที่ ๒๗ วนั ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๓ ณ วดั อดุ มธานี อำเภอเมือง จังหวดั นครนายก
ครง้ั ท่ี ๒๘ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ ณ วดั อาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
ครง้ั ที่ ๒๙ วันท่ี ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ณ วัดรชั ฎาธษิ ฐานราชวหิ าร เขตตลิง่ ชัน กรงุ เทพมหานคร
คร้ังท่ี ๓๐ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ณ วัดพระธาตุหรภิ ุญชยั วรมหาวหิ าร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ครง้ั ที่ ๓๑ วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ณ วัดไชโยวรวหิ าร อำเภอไชโย จงั หวดั อ่างทอง
ครั้งที่ ๓๒ วนั ท่ี ๒๙ ตลุ าคม ๒๕๔๘ ณ วดั พระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตพุ นม จังหวดั นครพนม
ครง้ั ที่ ๓๓ วนั ท่ี ๑๔ ตลุ าคม ๒๕๔๙ ณ วดั พระบรมธาตุไชยาวรวหิ าร อำเภอไชยา จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี
ครั้งที่ ๓๔ วนั ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ วัดระฆงั โฆสติ ารามวรมหาวหิ าร เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งท่ี ๓๕ วนั ท่ี ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ ณ วดั พระธาตแุ ชแ่ ห้งพระอารามหลวง อำเภอภูเพียง จงั หวัดน่าน
ครั้งท่ี ๓๖ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ วัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวดั สระแกว้
ครั้งท่ี ๓๗ วนั ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ วดั บรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยธุ ยา
จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา
ครง้ั ท่ี ๓๘ วนั ท่ี ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ วัดสุทธวิ าตวราราม (ช่องลม) อำเภอเมือง จังหวดั สมทุ รสาคร
ครั้งท่ี ๓๙ วนั ท่ี ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ วดั มณีบรรพตวรวหิ าร อำเภอเมือง จังหวัดตาก
ครง้ั ที่ ๔๐ วนั ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ วดั ศรโี สดาพระอารามหลวง อำเภอเมือง จงั หวดั เชยี งใหม่
ครั้งท่ี ๔๑ วันท่ี ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ วดั พระธาตหุ ลวงเหนอื นครหลวงเวียงจนั ทน์
ประเทศสาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว
ครั้งท่ี ๔๒ วนั ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อำเภอปากเกรด็ จงั หวดั นนทบุรี
ครงั้ ที่ ๔๓ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ วัดใหญส่ ุวรรณารามวรวหิ าร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบรุ ี
ครง้ั ที่ ๔๔ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวหิ าร อำเภอเมือง จังหวดั
นครศรธี รรมราช
คร้งั ท่ี ๔๕ วนั ท่ี ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ณ วัดพระแก้ว อำเภอเมือง จงั หวัดเชียงราย
ครง้ั ที่ ๔๖ วันท่ี ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๒ ณ วัดสุปฏั นารามวรวิหาร อำเภอเมือง จงั หวัดอบุ ลราชธานี
ครง้ั ท่ี ๔๗ วันท่ี ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ วัดมชั ฌิมาวาส อำเภอเมอื ง จังหวัดอุดรธานี
ครั้งท่ี ๔๘ วันท่ี ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร อำเภอเมือง จงั หวดั ราชบรุ ี
กำหนดการ
พธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน
มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ พทุ ธศักราช ๒๕๖๔
ณ วดั สัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบรุ ี จงั หวัดราชบุรี
วนั เสาร์ ที่ ๓๐ ตลุ าคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ (วนั แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑)
--------------------------------------------
เวลา ๐๙.๐๐ น. • ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณาจารย์ ข้าราชการ ผู้แทน
เวลา ๑๐.๐๙ น. จากหน่วยงาน บุคลากร แขกรับเชิญจากจังหวัดราชบุรี และผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน
ณ พระอโุ บสถ วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร
• อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้รับพระราชทานให้ถวายผ้าพระกฐิน
พระราชทานเปน็ ประธานพธิ เี ดนิ ทางมาถึงบริเวณพระอุโบสถ
• อธิการบดีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เปิดกรวยกระทงดอกไม้
ถวายความเคารพ รบั ผา้ พระกฐิน อุ้มประคองผ้าพระกฐนิ พระราชทาน ยนื ตรง
(เปดิ เพลงสรรเสรญิ พระบารม)ี จบ ถวายความเคารพ
• อธกิ ารบดอี ัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน เข้าสู่พระอุโบสถ
• อธกิ ารบดีวางผ้าพระกฐนิ พระราชทานบนพานแว่นฟา้ หนา้ พระสงฆ์รูปที่ ๒
• อธิการบดีจดุ ธูปเทียนบชู าพระประธานพระอุโบสถและกราบ ๓ ครงั้
• อธิการบดีไปที่พานแว่นฟ้า หยิบผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่หรือ
ไวยาวัจกร
• อธิการบดีอุ้มประคองผ้าพระกฐิน ประนมมือหันหน้าไปทางพระประธานในพระ
อโุ บสถ
กล่าวคำนมัสการ นะโมฯ (๓ จบ)
• อธิการบดีหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
จบแล้ว
• อธิการบดีวางผ้าพระกฐินพระราชทานบนพานแว่นฟ้าด้านหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๒
ยกทั้งพาน ประเคนพระสงฆ์รูปที่ ๒ แล้วประเคนเทียนพระปาติโมกข์ กลับไปน่ัง
ณ เกา้ อท้ี ี่จัดไว้
• พระสงฆ์ทำพิธีอปโลกน์ และสวดญัตตทิ ุตยิ กรรม
• พระสงฆร์ ปู ที่ไดร้ บั ฉนั ทานุมตั ิให้เป็นองค์ครองผ้าพระกฐินพระราชทาน
• อธกิ ารบดถี วายเครื่องบรวิ ารกฐนิ พระราชทานแด่เจ้าอาวาส
(เคร่อื งกฐนิ พระราชทานทั้งหมด)
• รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดราชบรุ ี ผูบ้ รหิ ารมหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ
ถวายไทยธรรมทมี่ หาวทิ ยาลยั จดั หามาแด่พระสงฆ์
• พิธีกรประกาศยอดเงินถวายพระสงฆ์และปัจจัยบำรุงพระอารามที่ถวายให้ทราบ
ทวั่ กัน
• อธิการบดถี วายปวารณาบตั รแด่ประธานสงฆ์
• พระสงฆ์ใชพ้ ดั ยศอนโุ มทนา ประธานสงฆ์ถวายอดเิ รก
• อธกิ ารบดี ผู้บรหิ ารมหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ คณาจารย์ ข้าราชการ ผู้แทน
จากหน่วยงาน บุคลากร แขกรับเชิญจากจังหวัดราชบุรี แขกผู้มีเกียรติและ
ผู้ร่วมงาน กรวดนำ้ รบั พร
• อธิการบดกี ราบลาพระรัตนตรัย กราบลาพระสงฆ์
• อธกิ ารบดีมอบทนุ การศึกษาแกโ่ รงเรยี นเทศบาล ๑ (วัดสตั ตนารถปริวัตร)
• ประธานสงฆ์มอบของที่ระลึกให้แก่อธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้แทนจากหน่วยงาน คณาจารย์ ข้าราชการ บุคลากร แขกรับ
เชิญจากจังหวดั ราชบุรีและผูร้ ่วมพธิ ี
• อธิการบดีออกจากพระอุโบสถ ไปถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์
ทป่ี ระดษิ ฐาน
• เสร็จพธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน
เวลา ๑๑.๐๐ น. • อธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถวายภัตตาหารเพลแด่
เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์ ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี
จังหวดั ราชบุรี
• อธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้แทนจากหน่วยงาน
คณาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากรเดนิ ทางออกจากวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร
ตำบลหนา้ เมือง อำเภอเมอื งราชบรุ ี จงั หวัดราชบรุ ี
การแตง่ กาย ๑. ผูบ้ ริหารมหาวทิ ยาลัย ขา้ ราชการ กรรมการดำเนินงาน ผูแ้ ทนจากหนว่ ยงาน แต่งเคร่ืองแบบ
ปกตขิ าว
๒. พนักงานมหาวิทยาลัยแต่งกายชุดพนักงานมหาวิทยาลัย แต่งกายชุดสากลนิยม
หรือชุดสภุ าพ
๓. คณาจารย์ บุคลากรและแขกผู้มีเกียรติ ที่เดินทางไปร่วมพิธี แต่งกายชุดสากลนิยม
หรอื ชุดสุภาพ
๑๖ | วดั สตั ตนารถปริวัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี ๒๖
๓๑
สารบญั ๔๘
๗๑
มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ๗๗
กฐนิ
ประวัติความเปน็ มาของจงั หวดั ราชบรุ ี
ประวัตวิ ดั สตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร
ตามรอยคำขวญั ประจำจังหวดั
หนงั สือท่รี ะลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๗
๑๘ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี
พระราชเมธาภรณ์ (ประยูร ฐิตจิตฺโต)
เจ้าอาวาสกติ ติมศกั ด์ิ วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร
หนังสอื ที่ระลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๙
พระมงคลธรรมาภรณ์ (ถาวร สุธมฺโม)
รักษาการแทนเจ้าอาวาสวดั สัตตนารถปริวัตรวรวหิ าร
๒๐ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี
พระอุโบสถวัดสตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร
หนังสอื ท่ีระลกึ พิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๒๑
หลวงพอ่ น้อย พระประธานในพระอุโบสถ
๒๒ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี
พระพทุ ธไสยาสน์
หนังสือทร่ี ะลกึ พิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๒๓
หลวงพอ่ โต
๒๔ | วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี
พระเจดียล์ อ้ มรอบดว้ ยกำแพงแกว้
หนงั สอื ท่ีระลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๒๕
กุฏวิ ัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร
๒๖ | วัดสัตตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จังหวัดราชบุรี
มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง และวิทยาลัยวิชาการศึกษา
โรงเรียนฝึกหัดครชู ั้นสูง สถาปนาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ยกฐานะเป็นวิทยาลัยวชิ าการศึกษา เมื่อพุทธศักราช
๒๔๙๖ และสถาปนาเปน็ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ เม่อื พุทธศกั ราช ๒๕๑๗
โรงเรียนฝกึ หดั ครูชน้ั สูง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถือกำเนิดขึ้นช่วงหลังสงครามโลก
ครั้งที่ ๒ ในกระแสสังคมที่เริ่มคลี่คลายจากการตื่นตระหนกภัยสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม หลังจากที่
องค์การสหประชาชาติได้ก่อกำเนิดขึ้น เพื่อมุ่งเน้นความสมานฉันท์และผลักดันความร่วมมือทางด้านต่างๆ
รวมทงั้ การผลักดันทางด้านการศึกษา เพื่อให้โลกใบน้ีเจรญิ ก้าวหน้าและมีสติปัญญามากข้ึน “โรงเรียนฝึกหัดครู
ชั้นสูง” ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันท่ี ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ ถนน
ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร เพื่อผลักดันการศึกษาทางด้านวิชาชีพครู ในช่วงเวลาที่วิชาชีพครูขาดแคลน
และไมส่ มดลุ กับการขยายตวั ของสังคม และศาสตร์ทางด้านการศึกษายังใหม่ต่อสังคมในขณะนัน้ เปน็ การเริ่มต้น
การศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครู
ช้ันสงู ถอื กำเนิดข้นึ จากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซ่ึงเปน็ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ใน
ขณะนั้น และท่านก็ได้มีบทบาททางด้านการศึกษาทั้งที่โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง วิทยาลัยวิชาการศึกษา
และสงั คมไทย
เมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ได้แต่งตั้งให้หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ดำรง
ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๒-๒๔๙๖ ท่านเป็นผู้นำและ
ผู้วางรากฐานระเบียบแบบแผนของการฝึกหัดครู เป็นผู้บุกเบิกงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นผู้ที่
ได้รบั การยกยอ่ งวา่ เปน็ แบบแผนของปูชนียบุคคลในวิชาชีพครูอย่างสูงย่ิง
หนังสอื ที่ระลกึ พธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๒๗
วทิ ยาลยั วชิ าการศกึ ษา
เมื่อถึงพุทธศักราช ๒๔๙๖ ปัญหาการขาดแคลนครูและนักการศึกษาเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้นใน
สังคมไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ผู้นำการศึกษา
สมัยใหม่หรือผู้นำการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ในสังคมไทย ได้เสนอต่อ
กระทรวงศกึ ษาธิการให้ก่อต้งั วิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of Education) ขน้ึ เพอื่ พฒั นาปรชั ญา แนวคิด
และความรูค้ วามสามารถทางด้านการศึกษาสมัยใหม่ ให้สอดคลอ้ งผสานสมั พนั ธก์ บั สงั คมประชาธปิ ไตย รวมทั้ง
การพัฒนาการศึกษาศาสตร์ให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบ แบบแผน และมีความลุ่มลึกในสังคมไทย พร้อมกับการ
ประสาทปริญญาทางด้านศึกษาศาสตร์ ทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต เมื่อแรกเริ่มการ
สถาปนาวทิ ยาลยั วิชาการศึกษาข้ึนแทนโรงเรยี นฝึกหัดครูชั้นสูงนั้น (๑๖ กันยายน ๒๔๙๗) ศาสตราจารย์ ม.ล.
ปิ่น มาลากลุ ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งอธิการในระหวา่ งพุทธศักราช ๒๔๙๘-๒๔๙๙ ศาสตราจารย์ ดร.
สาโรช บัวศรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา หลังจากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัย
วิชาการศึกษา จนถงึ พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๑
วิทยาลยั วิชาการศกึ ษา ได้เปน็ ผูน้ ำในการจัดการศึกษาในระดบั ประถมศกึ ษาและมัธยมศกึ ษา ภายใต้
แนวคิดระบบโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้โรงเรียนสาธิตเป็นแปลงทดลองค้นคว้า ใน
ระบบการศึกษาพ้ืนฐานสมัยใหม่ วิทยาลยั วชิ าการศึกษาจัดระบบการศึกษาแบบวทิ ยาเขต โดยขยายวิทยาเขต
ปทุมวัน (๒๔๙๘) วิทยาเขตบางแสน (๒๔๙๘) วิทยาเขตพิษณุโลก (๒๕๑๐) วิทยาเขตมหาสารคาม (๒๕๑๑)
วิทยาเขตสงขลา (๒๕๑๑) วิทยาเขตพระนคร (๒๕๑๒) และวิทยาเขตพลศึกษา (๒๕๑๓) โดยมีวิทยาเขต
ประสานมติ รเป็นศนู ย์กลางการบรหิ าร
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ในฐานะที่ท่านเป็น
นักวิชาการและนักการศึกษาสมัยใหม่ ได้พัฒนาแนวคิดแบบพิพัฒนาการนิยมและการเรียนการสอนสมัยใหม่
จากสังคมตะวันตก นำมาวางหลักปักฐานไวใ้ นสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นระบบห้องสมุด ระบบคะแนน ระบบการ
วัดผลจากองค์การสหประชาชาติ นอกจากนั้นแล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษายังได้รับการช่วยเหลือทั้งด้าน
บุคลากร หนังสือ และทุนการศึกษามากมาย จนอาจกล่าวได้ว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา มีระบบการศึกษา
ที่ก้าวหน้าที่สุดในช่วงเวลานั้น ตราหรือเครื่องหมายของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งเป็นสมการทางด้าน
คณติ ศาสตร์ y = ex (Exponential Curve) เสน้ กราฟของการขยายเพิม่ ข้ึน มีความหมายสอดคล้องปรัชญาท่ีว่า
๒๘ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวดั ราชบุรี
“การศึกษาคือความเจริญงอกงาม” หรือ “สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” หรือ “Education is Growth” รวมทั้ง
สอดคล้องกับ “สีเทา–แดง” ซึ่งสีเทา เป็นสีของสมอง หมายถึง “ความคิด” และสีแดงเป็นสีของเลือด หมายถึง
“ความกลา้ หาญ” สเี ทา – แดง จึงหมายถึง “คดิ อยา่ งกลา้ หาญ”
มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ
พุทธศักราช ๒๕๑๖ ก่อนหน้าเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ในช่วงเวลาท่ี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ
เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้อง
ต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไป
ขน้ึ กบั ทบวงมหาวทิ ยาลยั ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะน้ัน เพือ่ ความคล่องตัว
ในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกดั ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลยั และการขยายตวั
ที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ “มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่
มหานคร” กไ็ ด้รับการสถาปนาขน้ึ ในปีถดั มา (๒๙ มิถนุ ายน ๒๕๑๗) โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร
เปน็ อธิการบดี (พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๗-๒๕๒๑)
มหาวทิ ยาลัยมรี ะบบบริหารจดั การในรูปแบบวทิ ยาเขตมาจนถึงพุทธศักราช ๒๕๓๓ รวมเวลา ๑๖ ปี
วิทยาเขตจึงเริ่มแยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ โดยมีการบริหารจัดการและงบประมาณเป็นของตนเอง
ดงั นี้ พุทธศกั ราช ๒๕๓๓ วิทยาเขตบางแสน ยกฐานะเปน็ มหาวทิ ยาลัยบรู พา วิทยาเขตพิษณุโลก มหาวทิ ยาลยั
นเรศวร พุทธศักราช ๒๕๓๖ ยุบรวมวิทยาเขตปทุมวัน บางเขน และประสานมิตรเข้าเป็นวิทยาเขตกลาง
พุทธศักราช ๒๕๓๗ วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พุทธศักราช ๒๕๓๙
วิทยาเขตสงขลายกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ และมีการขยายพื้นที่ออกไปที่อำเภอองครักษ์ จังหวัด
นครนายก ในพุทธศกั ราช ๒๕๓๕
จากอดีต (พุทธศักราช ๒๔๙๗-๒๕๑๘) ที่มีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ สำนัก
ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา สำนักงานอธิการบดี สำนักหอสมุดกลาง คณะมนุษยศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา และบัณฑิตวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ระยะท่ี ๕ (พุทธศักราช ๒๕๒๕-๒๕๒๙) ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ระยะท่ี ๗ (พุทธศักราช ๒๕๓๕-๒๕๓๙) จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
หนงั สือท่รี ะลกึ พธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๒๙
คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์* สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์
สงิ่ แวดลอ้ ม* สำนักสือ่ และเทคโนโลยีการศึกษา* คณะเภสชั ศาสตร์ และแผนพฒั นาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระยะท่ี ๘ (พุทธศักราช ๒๕๔๐-๒๕๔๘) จัดตั้ง คณะพยาบาลศาสตร์* สถาบันสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร*
สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ* ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา* ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี** แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะท่ี ๙ (พุทธศักราช ๒๕๔๕-๒๕๔๙)
จัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน* วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม* ศูนย์บริการวิชาการ***
สำนักงานบริหารกิจการหอพัก ศูนย์กีฬา มศว*** แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๐
(พุทธศักราช ๒๕๕๐-๒๕๕๔) จัดตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย* อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และขยาย
บทบาทไปที่จังหวัดตาก เชียงใหม่ น่าน เลย สุพรรณบุรี และสตูล ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการต้นแบบ
ของมหาวทิ ยาลยั ชุมชนกระบวนทัศน์หน่ึง ที่มีความร่วมมอื กับภาคีตา่ งๆ ในพน้ื ที่ เนน้ การผลิตบณั ฑิตคนื ถ่ินบน
ฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประการสำคัญ จัดตั้งสำนักวิชา
เศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ* คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร* และรับโอน
โรงพยาบาลชลประทาน (๗ ตุลาคม ๒๕๕๐) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มาสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ จัดตั้งคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเกิดจากการรวมสถาบันสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากร และสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน จัดตั้งสถาบันวิจัย
และพัฒนาการศึกษาพิเศษ จัดตั้งสถาบันยุทธศาสตรท์ างปัญญาและวิจัย และจัดตั้งสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะท่ี ๑๑ (พุทธศักราช ๒๕๕๕-๒๕๕๙) จัดตั้ง สถาบันวิจัย พัฒนา
และสาธิตการศกึ ษา
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้า ท้ัง
ทางด้านคุณภาพมาตรฐานวิชาการที่เป็นเลิศด้านกายภาพ ด้านศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากรและนิสิต
ตลอดจนเชื่อมโยงกับชุมชนสังคม โดยเปิดพื้นที่มหาวิทยาลัยออกสู่ถนนอโศกมนตรีโดยจัดซื้อที่ดินจำนวน ๓
แปลงคือ ท่ีดนิ ๒ แปลง พืน้ ท่ี ๖ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา ตดิ กับถนนอโศกมนตรีเพอ่ื ก่อสรา้ งอาคารสูง ๑๗ ช้ัน
(อาคารบริการ : ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล) และอาคารสูง ๒๒ ชั้น (อาคารนวัตกรรม :
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บวั ศรี) ท่ีดนิ แปลงท่ี ๓ พ้ืนท่ี ๑ ไร่ ๒ งาน รมิ คลองแสนแสบ
๓๐ | วัดสตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จังหวัดราชบรุ ี
พุทธศักราช ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยเกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
ของรัฐบาลมีจุดประสงค์เพื่อการบริหารงานที่คล่องตัวมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงาน
ภายในมหาวิทยาลัย โดยให้ ศูนย์กีฬา มศว อยู่ภายใต้การดูแลของคณะพลศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษาอยู่
ภายใต้การดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษอยู่ภายใต้การดูแลของ
คณะศึกษาศาสตร์ ศูนย์บริการวิชาการและสำนักบริหารกิจการหอพัก ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริหารกิจการ
หอพัก เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี เปลี่ยนชื่อหน่วยงานบางแห่ง คือ คณะสหเวชศาสตร์เป็น
คณะกายภาพบำบัด สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ มีการจัดต้ัง
วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
แห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) ที่ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
และ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙-๑๑ และยึดหลักการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้
ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ยึดหลักดังกล่าวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่การเป็น
มหาวทิ ยาลยั รับใชส้ งั คมท่ยี ง่ั ยืนตลอดไป
หมายเหตุ * เป็นสว่ นงานในกำกับของมหาวทิ ยาลยั โดยมตสิ ภามหาวทิ ยาลัยศรีนครินทรวโิ รฒ
** เป็นหน่วยงานสงั กดั คณะแพทยศาสตร์
*** เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งโดยมีมติสภามหาวิทยาลัยให้มีการบริหารจัดการที่ต่างไปจากส่วนงานในกำกับ
ฐานะไมเ่ ทียบเท่าคณะ สถาบัน สำนัก
หนงั สอื ท่รี ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๓๑
กฐนิ
๑. ความหมาย
๑.๑ คำวา่ กฐิน มีความหมายเกย่ี วขอ้ งกนั ถงึ ๔ ประการ คอื
เปน็ ชอื่ ของกรอบไม้ อนั เปน็ แม่แบบสำหรบั ทำจีวร ซงึ่ อาจเรยี กว่าสะดึง ก็ได้
เปน็ ช่อื ของผา้ ที่ถวายแด่พระสงฆ์เพ่ือทำจีวรตามแบบกรอบหรือไมน้ น้ั
เปน็ ชือ่ ของบญุ กิรยิ า คือการทำบุญ ในการถวายผา้ กฐนิ เพื่อใหส้ งฆท์ ำเปน็ จวี ร
เปน็ ชอ่ื ของสงั ฆกรรม คอื กจิ กรรมของสงฆ์ทจี่ ะต้องมีการสวดประกาศขอรบั ความเหน็ ชอบจาก
ท่ีประชุมของสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษรุ ูปใดรปู หนง่ึ
กฐินท่เี ปน็ ช่อื ของกรอบไม้
หมายถึงกรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาล การทำ
จีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญใน
การทำเป็นผา้ นุ่งหรือผ้าห่มหรือผา้ ห่มซ้อนทีเ่ รียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรยี ก
ผ้านุ่งว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นน้ี คือทาบผ้าลงไปกบั
แม่แบบแล้วตัดเย็บย้อมทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและ
เมื่อทำเสร็จหรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อๆ ไป
การรอ้ื แบบไม้นเ้ี รียกวา่ เดาะ ฉะนัน้ คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถงึ การร้ือไมแ้ ม่แบบเพ่ือเก็บไว้ใช้
ในโอกาสหนา้
กฐนิ ที่เป็นช่ือของผ้า
หมายถึง ผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้า
บังสกุ ุล คือผ้าทีเ่ ขาทงิ้ แล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝ่นุ หรือผ้าตกตามร้านกไ็ ด้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือ
สามเณรกไ็ ด้ ถวายแก่สงฆ์แล้วกเ็ ป็นอนั ใช้ได้
๓๒ | วดั สตั ตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จงั หวัดราชบุรี
กฐนิ ทเ่ี ปน็ ชอ่ื ของบุญกริ ิยา
หมายถึง การถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อ
สงเคราะห์ผู้ประพฤตปิ ฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าหม่ ใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลีย่ นของเกา่ ที่จะขาด หรือชำรุด การ
ทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์
เรยี กได้วา่ เป็นกาลทาน คอื การถวายกอ่ นหน้าน้ัน หรอื หลังจากน้นั ไม่เปน็ กฐนิ ทา่ นจงึ ถือโอกาสทำไดย้ าก
กฐินทเ่ี ปน็ ชื่อของสงั ฆกรรม
หมายถึง กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมกี ารสวดประกาศขอรบั ความเห็นชอบจากทีป่ ระชุมสงฆ์ ในการ
มอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็น
โอกาสให้ไดช้ ว่ ยกันทำจีวรของภิกษุรปู อื่น ขยายเวลาทำจวี รได้อีก ๔ เดอื น ท้งั น้ีเพราะในสมัยพทุ ธกาล การหา
ผ้าทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐิน
แลว้ อนุญาตให้แสวงหาผา้ และเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดหู นาวคือ จนถึงวนั ขึน้ ๑๕ คำ่ เดือน ๔
จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน ๔ ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จ
แล้ว และประชุมกัน อนโุ มทนากฐิน คือแสดงความพอใจว่าไดก้ รานกฐนิ เสร็จแล้วกเ็ ปน็ อันเสร็จพิธี
๑.๒ คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บย้อม ทำเป็น
จีวรผนื ใดผืนหนึ่ง
๑.๓ คำว่า การจองกฐิน คือการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่า
จะนำกฐินมาถวายเมื่อนั้น แล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา ๑ เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย
(นบั ตั้งแต่วันแรม ๑ คำ่ เดือน ๑๑ ถงึ วันขนึ้ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒)
๑.๔ คำว่า อปโลกน์กฐิน คือการที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในทีป่ ระชมุ สงฆ์ถามความเห็นชอบว่า
ควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้ว จึงหารือกันต่อไปว่าผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุ
รปู ใด การปรึกษาหารือ การเสนอความเห็นเชน่ น้ีเรยี กวา่ อปโลกน์ (อา่ นวา่ อะ-ปะ-โหลก) หมายถงึ การช่วยกนั
มองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วจึงต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์
จงึ นบั วา่ เป็นสงั ฆกรรมเร่ืองกฐินดังกล่าวไวแ้ ล้วในตอนตน้
ในปัจจุบันมีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่ทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้
แม่แบบอยา่ งเก่าจงึ เลิกไป เพยี งแตร่ ักษาช่ือและประเพณไี ว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพยี งถวายผ้าขาวให้
หนังสือท่รี ะลกึ พธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๓๓
ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่า ถวายผ้ากฐินเหมือนกัน และ
เนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย จึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการ
บำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ ร่วมกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปใน
ขณะเดยี วกัน
๒. ตำนาน
ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา
ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุง
สาวัตถี แคว้นโกศล จงึ พากนั เดินทางมงุ่ หน้าไปยังเมืองน้ัน พอถงึ เมืองสาเกตซง่ึ อยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ
๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ
ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้น พอออกพรรษา
ปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นยังมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุม่ ไปด้วยนำ้ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้อง
ลุยมาจนกระท่ังถึงกรงุ สาวตั ถีไดเ้ ข้าเฝ้าสมความประสงค์
พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นถึงเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต และการ
เดินทางภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลถึงความตั้งใจความร้อนรนกระวนกระวายและการเดินทางที่ลำบากให้
ทรงทราบทกุ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาต
ใหพ้ ระภกิ ษุผจู้ ำพรรษาครบถ้วนแลว้ กรานกฐินได้ และเมอ่ื กรานกฐินแล้วจะได้รบั อานิสงสบ์ างข้อตามพระวินัย
ต่อไป
๓. ข้อกำหนดเก่ียวกบั กฐิน
ข้อกำหนดเก่ยี วกบั กฐนิ มดี ังตอ่ ไปน้ี
๓.๑ จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐินได้ ถ้าจะกล่าวตามหลักฐานในพระไตรปิฎก (เล่ม ๕ หน้า
๒๕๘) ซึ่งเป็นพระพุทธสุภาษิตกล่าวว่า สงฆ์ ๔ รูป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นการปวารณา คือ การอนุญาตให้
ว่ากล่าวตักเตือนได้ การอุปสมบทและการสวดถอนจากอาบัติบางประการ (อัพภาน) จึงหมายถึงว่าจำนวน
๓๔ | วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวิหาร จงั หวดั ราชบุรี
พระสงฆ์ในวัดที่ทอดกฐินได้จะต้องมีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป แต่หนังสืออธิบายขั้นหลังที่เรียกว่า อรรถกถากล่าวว่า
จะตอ้ ง ๕ รปู ขน้ึ ไป เม่อื หนงั สืออธบิ ายข้ันหลังขดั แย้งพระไตรปิฎก จงึ ตอ้ งถือพระไตรปฎิ กเปน็ สำคัญ
๓.๒ คุณสมบัตขิ องพระสงฆ์ท่มี สี ิทธิรับกฐนิ คอื พระสงฆ์ทจ่ี ำพรรษาในวัดน้นั ครบ ๓ เดอื น ปัญหาที่
เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์วัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ ตอบว่าถ้าพระสงฆ์วัดที่จะทอดกฐินนั้น มีจำนวน
ครบ ๔ รูปแลว้ จะนำพระสงฆท์ วี่ ัดอื่นมาสมทบก็ได้ แตจ่ ะอ้างสทิ ธิไม่ได้ ผมู้ ีสทิ ธิเฉพาะผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือน
เท่านั้น การนำพระภิกษุมาจากวัดอื่น สิทธิเฉพาะที่ทายกจะถวายอะไรเป็นพิเศษเท่านั้น ไม่มีสิทธิในการออก
เสยี งเรือ่ งจะถวายผ้าแก่ภิกษรุ ูปนั้นรปู นี้
๓.๓ กำหนดกาลที่จะทอดกฐิน การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ
เดอื น ๑๑ จนถงึ วันขน้ึ ๑๕ คำ่ เดือน ๑๒ ก่อนหรอื หลังจากน้นั ไม่นบั เป็นกฐนิ
๓.๔ ข้อควรทราบเกี่ยวกับกฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ เรื่องนี้สำคัญมาก ควรทราบทั้งผู้ทอด
และทั้งฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับ เพราะเป็นเรื่องทางพระวินัย (วินัยปิฎกเล่ม ๕ หน้า ๑๓๗) คือมักจะมีพระในวัด
เที่ยวขอโดยตรง หรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสอื บ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวดั ของตน การทำเช่นน้ัน
ผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกรานนับเป็นโมฆะ การทอดก็ไม่เป็นอันทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์ จึงควร
ระมดั ระวังทำให้ถูกต้องและแนะนำผเู้ ขา้ ใจผิด ปฏิบตั ิผดิ ใหท้ ำใหถ้ กู ตอ้ งเรยี บร้อย
๔. ประเภทของกฐิน
การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันมาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒
ประเภท คอื
- กฐินหลวง
- กฐินราษฎร์
กฐนิ หลวง
มีประวัติว่า เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชน
คนไทยที่ตั้งหลักแหล่งอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว
การทอดกฐินได้กลายเปน็ ประเพณีของบ้านเมืองโดยลำดับ พระเจา้ แผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมือง ได้ทรงรับเร่ือง
กฐินนี้ขึ้นมาเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง ซึ่งทรงบำเพ็ญเป็นการประจำเมื่อถึงเทศกาลทอดกฐิน การที่พระเจ้า
หนังสือท่รี ะลกึ พิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๓๕
แผ่นดินทรงบำเพญ็ พระราชกุศลเก่ยี วกับกฐนิ เป็นพระราชพธิ ีดงั กลา่ วนี้ เป็นเหตใุ หเ้ รยี กกันว่า กฐนิ หลวง วัดใด
ก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินแล้ว
เรยี กวา่ กฐินหลวง ทั้งส้ิน มิใช่กำหนดวา่ ทอดท่ีวัดหลวงเท่านน้ั จงึ จะเรียกวา่ กฐนิ หลวง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ราชประเพณีของหลวงนัน้ พระมหากษัตริย์จะเริม่ เสด็จพระราชดำเนินไปถวาย
ผา้ พระกฐินตามพระอารามหลวงในวันแรม ๖ คำ่ เดอื น ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๙ คำ่ เดือน ๑๑ โดยเสดจ็ ทั้งทาง
บกและทางเรือ หากเสด็จทางเรือจะมีกระบวนพยุหยาตราชลมารค พระมหากษัตริย์ประทับในเรือพระที่นั่ง
สุพรรณหงส์ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญมากขึ้น จึงเปลี่ยนเป็นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถม้าพระที่นั่งและ
รถยนต์พระที่น่งั
และสมัยต่อมา เรื่องของกฐินหลวงได้เปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมี
ศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดนิ ไดร้ ับพระมหากรุณาธิคุณให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตาม
สมควรแก่ฐานะ เป็นตน้ เปน็ เหตใุ ห้แบง่ แยกกฐนิ หลวงออกเปน็ ประเภทๆ ดงั ทปี่ รากฏในปจั จุบัน ดังน้ี
๑. กฐินทก่ี ำหนดเปน็ พระราชพิธี
กฐนิ ดังกลา่ วพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนนิ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ
วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทงั้ ในกรงุ เทพมหานครและ
ส่วนภูมภิ าค ๑๖ วัด คอื
๑. วัดพระเชตพุ นวมิ ลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร (มีพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลท่ี ๑)
๒. วัดมหาธาตยุ วุ ราชรังสฤษฎ์ิ กรงุ เทพมหานคร (เปน็ วดั คพู่ ระบรมราชวงศจ์ กั รี)
๓. วัดสทุ ศั น์เทพวราราม กรงุ เทพมหานคร (มีพระบรมราชสรีรางคารรชั กาลท่ี ๘)
๔. วัดบวรนิเวศวหิ าร กรงุ เทพมหานคร (มพี ระบรมราชสรรี างคารรัชกาลท่ี ๖)
๕. วดั เบญจมบพิตรดุสติ วนาราม กรงุ เทพมหานคร (มีพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลท่ี ๕)
๖. วัดราชบพิธสถิตมหาสมี าราม กรงุ เทพมหานคร (มพี ระบรมราชสรีรางคารรชั กาลที่ ๗)
๗. วดั ราชประดษิ ฐส์ ถิตมหาสีมาราม กรงุ เทพมหานคร (มีพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลท่ี ๔)
๘. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร (รชั กาลที่ ๕ ทรงสรา้ งอุทิศถวายพระบรมราชชนนี)
๓๖ | วดั สัตตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จงั หวัดราชบรุ ี
๙. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร (มีพระบรมราชสรีรางคารสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี
นาถและพระบรมราชสรรี างคารสมเด็จพระศรีสวรนิ ทราบรมราชเทวี พระพนั วัสสาอยั ยกิ าเจ้า)
๑๐. วัดมกุฎกษตั รยิ าราม กรุงเทพมหานคร (มพี ระบรมราชานุสรณ์รชั กาลที่ ๔)
๑๑. วดั อรณุ ราชวราราม กรุงเทพมหานคร (มพี ระบรมราชสรรี างคารรชั กาลท่ี ๒)
๑๒. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร (มีพระบรมราชสรรี างคารรชั กาลท่ี ๓)
๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวดั นครปฐม (มพี ระบรมราชสรีรางคารรชั กาลที่ ๖)
๑๔. วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เป็นวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สร้าง
ขึน้ ไว้ ณ นวิ าสสถานเดมิ )
๑๕. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา (เป็นวัดที่รชั กาลท่ี ๕ ทรงพระราชดำริใหส้ ร้าง
เปน็ วัดประจำพระราชวังบางปะอนิ )
๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก (เป็นวัดในประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ถือเป็น
ราชประเพณี เมื่อพระมหากษัตรยิ ์เสวยราชย์บรมราชาภิเษกแล้วจะต้องเสดจ็ ฯ ไปถวายสักการะพระพุทธชินราช)
วัดหลวงทั้งหมดน้ี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วย
พระองค์เองเพียงปีละ ๘-๙ วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือ
องคมนตรี หรือผทู้ ที่ รงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย
กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการ
เปน็ ประจำทุกปี จงึ ไม่มีการจองลว่ งหน้า
แนวปฏิบตั ิ
การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวงั ออกเป็นหมายกำหนดการ
และกำหนดการแต่งกายเฝ้าฯ รับเสด็จฯ
ผู้ท่ีเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจา้ หนา้ ทสี่ ำนักพระราชวงั จะไดร้ ับรองเชญิ ให้นั่งพัก ณ ที่
ซึง่ จัดไวน้ อกพระอโุ บสถตามลำดับชน้ั ยศ และตำแหน่ง
งานเสด็จฯ ถวายผา้ พระกฐนิ ตามราชประเพณีประจำปที สี่ ำนักพระราชวงั ออกเปน็ หมายกำหนดการ
แต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหาร
มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งแถวรับเสด็จฯ
หนงั สอื ท่ีระลกึ พิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๓๗
เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ ๕ หรือ ๑๐ นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญ
ข้าราชการ ผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าฯ ไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่มีไม่พอจะ
เข้าแถว กค็ งรอเฝา้ ฯ ณ ท่ีซงึ่ จดั ไวน้ นั้ )
ได้เวลาเสดจ็ ฯ มีแตรวงกองทหารเกยี รติยศบรรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารมี ผเู้ ฝ้าฯ ท่ีน่ังพกั ยืนถวาย
ความเคารพ ผู้มาเฝ้าฯ ที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
และถวายความเคารพเม่อื เสด็จฯ ผ่าน
เสด็จฯ เขา้ สพู่ ระอุโบสถ เจ้าหนา้ ท่ีสำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะขา้ ราชการผู้ใหญ่ เข้าไป
เฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่นั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหนง่ เมื่อทรง
ปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติใน
ทำนองเดียวกับเมือ่ เสดจ็ ฯ มาถึง
ราชประเพณเี สด็จฯ ถวายผ้าพระกฐนิ ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดทม่ี ีโรงเรยี นตั้งอยู่ย่อมจัดลูกเสือ
หรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อเสด็จฯ ถึงและ
เสดจ็ ฯ กลบั
โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระบรม
ฉายาลกั ษณ์แทนพระพุทธรูป มแี จกนั พานดอกไมธ้ ูปเทียนพร้อม แตไ่ มต่ อ้ งจดุ เทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์
ควรมีธปู เทยี นแพ กระทงดอกไมใ้ สพ่ านต้งั ไว้ เป็นการถวายความเคารพสกั การะ ในการรบั เสด็จฯ
ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง
ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำ
วันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์
ครู นกั เรยี น จบแลว้ ถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลบั ไปยนื เฝา้ ฯ ณ ทเี่ ดมิ
๒. กฐินต้น
กฐินดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่
วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วน
พระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักด์ิ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของ
กฐินต้นนี้ไว้ว่า “กฐินส่วนพระองค์น้ี ในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ จะเรียกว่าอย่างไรนั้น ยังไม่พบหลักฐาน มาเรียก
๓๘ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวัดราชบรุ ี
กันว่ากฐินต้นในรัชกาลท่ี ๕ ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ การเสด็จ
ประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญ คือ โปรด
ไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหน ก็ประทับที่น่ัน
บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสดจ็ รถไฟไปโดยมใิ ห้ใครรู้ การเสด็จประพาสครง้ั นั้นเรียกว่า เสดจ็ ประพาสต้น เหตุ
ทเี่ รยี กว่าประพาสต้นกเ็ พราะเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๔๗ เสด็จทรงเรือมาด ๔ แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด ๔ แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำ สำหรับแจวตามเรือพระที่นั่งเวลามี
พระราชประสงค์ทจ่ี ะเสดจ็ พระราชดำเนิน โดยมใิ หใ้ ครรจู้ ักพระองค์ เม่อื ซื้อเรอื มาดได้ดงั พระราชประสงค์แล้ว
กพ็ ระราชทานชอื่ เรือลำนนั้ ว่า "เรือต้น" ในวนั นั้นกว่าจะเสดจ็ พระราชดำเนนิ กลับถึงทป่ี ระทบั แรมทเ่ี มืองราชบุรี
เกือบ ๓ ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยวผู้คนในขบวนเสด็จฯ เหนื่อยหอบตามกัน จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาส
อย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วน
พระองคว์ ่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรอื นไทยท่ีทรงสร้างสำหรบั ประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กนั ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินต้นเป็น
ประจำทุกปี การจะเสดจ็ ฯ ไปถวายผา้ พระกฐินต้นท่ีวดั ใดมีหลักเกณฑ์ ดงั น้ี
๑. เป็นวดั ทีย่ ังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนนิ ถวายผา้ พระกฐินมาก่อน
๒. ประชาชนมีความเลือ่ มใสในวดั นนั้ มาก
๓. ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไป
จะไดม้ โี อกาสเข้าเฝา้ ทูลละอองธลุ พี ระบาทอย่างใกลช้ ดิ ด้วย
แนวปฏิบตั ิ
ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็น
วดั ในตา่ งจังหวัด สำนกั พระราชวังจะออกเป็นหมายรบั ส่ัง สว่ นมากจะแต่งเคร่ืองแบบปกติขาวเฉพาะเจ้าหน้าที่
ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่ นอกนั้นหรือข้าราชการในท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติ กากีคอตั้งแบบข้าราชการ
หรือกากคี อพบั ผูกผ้าผูกคอ
การเฝ้าฯ รับเสดจ็ เจ้าหนา้ ทสี่ ำนักพระราชวังจะรับรองขา้ ราชการและผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้
นอกพระอุโบสถ
หนังสอื ที่ระลกึ พธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๓๙
การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับ
เสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ
ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเองและเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ
เช่น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมข้าพระพุทธเจ้า............ ผู้ว่าราชการจังหวัด............
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเบิกผเู้ ฝ้าทลู ละอองธลุ ีพระบาท (ในกรณที ่ภี ริยาเฝา้ ฯ อยู่ด้วย) นาง............
ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไป ควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะข้าราชการ
ผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ
เทา่ น้นั
๓. กฐินพระราชทาน
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวง แก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไป
ถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (๑๖ วัด ดังท่ี
กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง
ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ และผู้ที่
ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นสว่ นตัว โดยเสดจ็ พระราชกุศลตามกำลงั ศรัทธาก็ได้
ปัจจบุ นั กระทรวง ทบวง กรม คณะบคุ คลหรือบุคคลใดมีความประสงคจ์ ะรับพระราชทานผ้ากฐินไป
ถวาย ณ วัดหลวงวัดใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมตามระเบียบซึ่งเท่ากับเป็นการจอง
กฐนิ ไว้ก่อนนั่นเอง
แนวปฏิบตั ิ
ขั้นตอนของกฐนิ พระราชทานมีดงั น้ี
๑. เมือ่ ไดร้ บั ผา้ พระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแลว้ ควรถวายหลังวันแรม ๖ คำ่ เดือน ๑๑
หรือเม่อื พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวเสด็จพระราชดำเนนิ ทอดพระกฐินวนั แรกแล้ว
๒. ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียมสถานท่ีและ
สิ่งจำเป็น ที่มีบูชาพระรัตนตรัยมีเครื่องบูชาพร้อมอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์อนุโมทนาพระกฐิน โต๊ะขนาดกว้าง
๔๐ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี
พอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวางเครื่องบริขารพระกฐิน
และเครอ่ื งไทยธรรม โต๊ะเก้าอ้สี ำหรบั ผเู้ ป็นประธานและผูไ้ ปรว่ มพิธี ตามสมควร
๓. เมอ่ื ถึงวันกำหนด กอ่ นผ้เู ป็นประธานจะไปถึงหรือก่อนเริ่มพธิ ี ใหเ้ จ้าหน้าทเ่ี ชิญเครอื่ งพระกฐินจัด
ไว้บนโตะ๊ วางเทยี นปาตโิ มกข์ไว้บนพาน และใหม้ เี จา้ หน้าท่แี ตง่ เครื่องแบบ หรอื แตง่ สากลนิยมคอยส่งให้ผู้เป็น
ประธานทเี่ ชงิ บนั ไดหรอื ประตูเข้าสถานที่ประกอบพธิ ี
๔. ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันไดพระอุโบสถ อุ้มประคองยนื ตรง ถวายความเคารพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วจึงเข้าสู่พระอุโบสถตรงไปวาง
ไว้ที่พานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนสงฆ์ (ถ้ามีปี่พาทย์หรือเครื่องดนตรีให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
ขณะผู้เป็นประธานรับผ้าไตรจากเจ้าหน้าที่หรือรับที่โต๊ะหมู่ในกรณีที่จัดไว้ ต่อจากนั้นจึงบรรเลงเพลงช้า ขณะ
ประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีจนถึงเวลาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงส่งเทียนชนวนคืน ให้หยุด
บรรเลงทันทีแม้จะยังไม่จบเพลงก็ตาม และควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้สัญญาณเวลาให้เริ่มเพลงหรือให้หยุด
บรรเลง)
๕. เมอ่ื วางผา้ พระกฐนิ แลว้ จุดธปู เทยี นเคร่อื งสักการะบูชาพระรัตนตรยั แลว้ กราบ ๓ หน
๖. เมอ่ื กราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปท่พี านแวน่ ฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานสง่ ให้เจ้าหน้าท่นี ำไปมอบแก่
ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินข้ึนประคอง พนมมือหนั ไปทางพระประธานวา่ นะโม ๓ จบ ต่อจากนัน้ หันหน้าไป
ทางพระสงฆ์ว่าคำถวายพระกฐินดงั น้ี
“ผ้าพระกฐินทานกับท้ังผ้าอานิสงส์บรวิ ารทั้งปวงน้ี พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐกอปรด้วย
พระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า*น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลด้วยไตรมาสในอาวาส
วิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ” (* ถ้า
เป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์กร สมาคม บริษัท ห้างร้าน ให้เปลี่ยนคำว่า ข้าพเจ้า เป็นชื่อหน่วยงานนั้นๆ ที่
ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ พระราชทาน)
กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้ว ประเคนพร้อมดว้ ยเทียนพระปาติโมกข์ เสรจ็ แล้วเข้าน่ัง ณ ท่ีซึ่งจัดไว้
ในระหว่างทผ่ี เู้ ป็นประธานเขา้ ส่สู ถานที่ประกอบพธิ ี ผูอ้ ยใู่ นพธิ ที ั้งหมดยนื แสดงความเคารพจนกวา่ ประธานจะน่ังลง
จึงนง่ั ลงพร้อมกนั
หนังสือทีร่ ะลึกพธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๔๑
๑. พระสงฆท์ ำพธิ กี รรม
๒. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ ถ้ามี) ครองผ้าเสร็จ
กลบั เข้านง่ั ยงั อาสนสงฆ์ (ปี่พาทย์หยดุ บรรเลง) ผเู้ ปน็ ประธานและผไู้ ปร่วมพิธีถวายเคร่ืองพระกฐนิ แก่องค์ครอง
เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง ถ้าจัดเครื่องไทยธรรมถวายเพิ่มเติม ควรถวายภายหลังเครื่อง
พระกฐินหลวง
๓. ถ้ามีผบู้ รจิ าคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ควรประกาศใหท้ ป่ี ระชุมทราบ
๔. พอพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำแล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรกจบ ประธานกราบ
พระรัตนตรัยเปน็ อันเสรจ็ พิธี (ปพี่ าทยบ์ รรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
๕. กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงานถวายผ้าพระกฐิน
พระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมการศาสนา หลังจากการถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว
เพ่อื จะไดร้ วบรวมดำเนนิ การกราบบงั คมทลู พระกรุณา ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลโดยพรอ้ มเพรียงกัน
กฐนิ ราษฎร์
กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีกำลังศรัทธานำ
ผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) การทอดกฐินของ
ราษฎรตง้ั แตอ่ ดีตถงึ ปจั จบุ นั มีการเรียกชือ่ แตกตา่ งกนั ออกไปตามลักษณะวิธีการทอดถึง ๔ รปู แบบคอื
กฐนิ หรอื มหากฐนิ
จลุ กฐนิ หรือ กฐนิ แล่น
กฐินสามคั คี
กฐนิ ตกคา้ ง
กฐนิ หรือ มหากฐนิ
เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนงึ่ ซงึ่ ตนมศี รัทธาเป็นการเฉพาะ กลา่ วคือท่านผใู้ ดมีศรัทธาจะ
ทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน
บางครง้ั เรยี กว่า ผ้าทเ่ี ป็นองค์กฐิน ซึง่ จะเปน็ ผนื เดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาว ซ่งึ ยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็น
๔๒ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวดั ราชบุรี
ชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเปน็ จีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยงั มิได้ย้อมหรอื ยอ้ มแล้วก็ได้อย่างใดอย่างหนงึ่
จัดเป็นองค์กฐินนำไปทอด ณ วัดท่ไี ด้จองไว้นนั้
นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า
บริวารกฐิน ตามทีน่ ยิ มกันประกอบดว้ ยปัจจัย ๔ คอื
๑. เครื่องอาศยั ของพระภิกษุสามเณร มี ไตร จวี ร บรขิ ารอ่ืนๆ ท่จี ำเปน็
๒. เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา
ภาชนะสำหรับใสอ่ าหารคาวหวาน
๓. เครอ่ื งซ่อมเสนาสนะ มี มีด ขวาน สวิ่ เลอื่ ย ไม้กวาด จอบ เสียม
๔. เคร่อื งคลิ านเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟนั แปรงสฟี ัน อปุ กรณ์ซกั ลา้ ง เป็นตน้
หรือจะมีอย่างอื่นนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภค
เท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐินด้วยก็ได้ สุดแต่กำลัง
ศรัทธา และอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมีผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับ
จดุ ในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกส้ันๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน ๒๔ เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูป
จระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว
(ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ ) การปักธงนี้เป็น
เครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธง
จระเขย้ กขึ้นในวดั ทท่ี อดกฐินแล้ว ยงั ไมป่ รากฏหลกั ฐาน และข้อวิจารณอ์ นั สมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี
๒ มติ คอื
๑. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวน
จะต้องอาศัยดาวจระเข้ที่ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินบางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะน้ัน
การดูเวลาจงึ ตอ้ งอาศัยดาวจระเข้ พอดาวจระเข้ขึน้ ก็เคลื่อนองคก์ ฐนิ ไปสว่างเอาท่ีวัดพอดี และต่อมาก็คงมคี ิดทำ
ธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงาม ทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด และภายหลังคง
หวังจะให้เปน็ เครื่องหมาย เน่ืองด้วยการกฐิน ดังนน้ั จึงคิดทำธงรปู จระเข้ เสมือนประกาศให้รวู้ า่ ทอดกฐนิ แลว้
หนงั สอื ท่ีระลึกพธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๔๓
๒. อีกมิติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่ง
อยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลัง ว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอก
อุบาสกว่าเหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาชว่ ยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อ
เป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และ
สบื เนอื่ งมาจนบัดนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมี
การทำบญุ ถวายอาหารเพลแด่พระภกิ ษุ สามเณร ในวดั ดว้ ย
กฐินทร่ี าษฎรเปน็ เจ้าภาพนำองค์กฐนิ และบรวิ ารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นเี้ รยี กว่า กฐนิ หรือ มหากฐิน
เหตุทีเ่ รียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เหน็ ความแตกต่างจากกฐนิ อีกชนดิ หนง่ึ คือ จลุ กฐนิ กไ็ ด้
จลุ กฐนิ หรอื กฐินแลน่
เป็นกฐินที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มาก ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จ เลยเรียกว่า กฐินแล่น
(ความหมายคือเร่งรีบ ฟ้าว ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล) เป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันมาแต่โบราณ ว่ามี
อานสิ งส์มากยิ่งนัก วธิ ีทำกค็ อื เก็บฝ้ายมากรอเปน็ ดา้ ย แลว้ ทอให้เสรจ็ เป็นผนื ผา้ ในวันเดียวกัน และนำไปทอดใน
วนั นนั้ กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกบั เวลา มีผูท้ ำหลายท่านแบง่ หน้าทีไ่ ป ปจั จบุ นั ไม่คอ่ ยนิยมทำกันแลว้
เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระภิกษุองค์ครองจะจัดการต่อไป
ตามพระวินัย หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำ ทุบ ซัก แล้วไปตากให้แห้ง นำมาตัดเป็น
จีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บ ย้อม ตากแห้ง พับ ทับ รีด เสร็จเรียบร้อยนำไปถวายพระภิกษุองค์ครองอีกครั้งหน่ึง
เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เสร็จการพินทุอธิษฐานแล้วจะมีการประชุมสงฆ์ แจ้งให้ทราบ พระภิกษุสงฆ์
ทั้งหมดจะอนโุ มทนาเปน็ เสรจ็ พธิ ีจลุ กฐิน
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินไม่มีกำลังมากพอ จะตัดวิธีการในตอนต้นๆ ออกเสียก็ได้ โดย
เริ่มด้วยการนำเอาผ้าขาวผืนใหญ่มากะประมาณให้พอที่จะตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งแล้วนำไปทอด เม่ือ
พระภิกษุสงฆ์ท่านนำไปดำเนินการตามพระวินัยแล้ว ก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จ
แล้วนำกลับไปถวายพระภิกษอุ งค์ครองเพื่อพนิ ทอุ ธิษฐานต่อไปเหมือนวธิ ที ำที่กล่าวมาแล้วในการทำจุลกฐินเต็ม
รปู แบบ
๔๔ | วดั สตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จงั หวัดราชบุรี
ส่วนบริวารของจุลกฐิน ผ้าห่มพระประธาน และเทียนปาติโมกข์ ตลอดจนธงจระเข้ ธงตะขาบ
กค็ งเป็นเชน่ ท่ีกลา่ วมาในเรือ่ งของกฐนิ หรอื มหากฐนิ น่ันเอง
กฐนิ สามัคคี
เปน็ กฐินท่ีมีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน จะบริจาคมากน้อยอย่างไรไม่กำหนด เพอื่ ไม่ให้เกิดความยุ่งยาก
ในการดำเนินการกม็ ักจะตัง้ คณะทำงานขน้ึ มาคณะหนึ่งเปน็ ผู้ดำเนินการ ต้งั แต่มีหนงั สือบอกบญุ ไปยังผู้อ่ืน เมื่อ
ได้ปัจจัยมาก็นำมาจัดหาผ้าอันเป็นองค์กฐินรวมทั้งบริวารต่างๆ เมื่อมีปัจจัยเหลือก็นำถวายวัด เพื่อช่วยเป็น
ค่าใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิ โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น กฐินสามัคคีนี้มักจะนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการ
ก่อสร้างหรือปฏสิ งั ขรณ์ เพือ่ เป็นการสมทบทุนให้สงิ่ อันพึงประสงค์ของวัดให้สำเร็จเสรจ็ ส้ินไปโดยเร็ว
เรื่องของกฐินสามัคคีเป็นที่นิยมแพร่หลายกันมาก เพราะนอกจากจะถือกันว่าเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว
ยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงวัด ตลอดจนเป็นการสร้างความสมานสามัคคีของชุมชน ให้มีความรักมั่นกลมเกลียว
อันเน่ืองมาจากอานสิ งสข์ องกฐินสามัคคนี ่นั เอง
กฐนิ ตกคา้ ง
กฐินประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กฐินตก กฐินโจร ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ได้
กล่าวถึงเหตผุ ลทีเ่ กดิ กฐนิ ชนดิ นต้ี ลอดจนชอ่ื เรียกทตี่ า่ งกนั ออกไปว่า (จากเรอ่ื งเทศกาลออกพรรษา) “...แตท่ ี่ทำ
กันเช่นน้ี ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้างไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้เพ่ือ
ทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐินหรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม ๑ ค่ำ
เดอื น ๑๒) การทอดกฐนิ อย่างนเ้ี รียกว่า กฐนิ ตกค้าง หรือเรียกว่า กฐินตก บางถิ่นก็เรยี ก กฐนิ โจร เพราะกิริยา
อาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อม
และเรียบร้อย การทอดกฐินตกถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไป
ทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอด
ไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน
กฐินประเภทน้ี เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างทีช่ ัดเจนคือ ไม่มีการจอง
วัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้
ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมท่เี หลอื ทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งท่ีเรียกวา่ ผ้าปา่ แถมกฐนิ ไดอ้ ีก
หนังสือท่รี ะลึกพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๔๕
ขอ้ ปฏบิ ัตเิ กี่ยวกบั กฐิน
เมื่องานบุญกฐินเป็นงานมหากุศลที่พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดงานบุญ
ประเพณนี ้ีตอ้ งทำให้ถูกพระธรรมวนิ ยั จงึ จะไดอ้ านิสงส์ ข้อปฏิบัตทิ ีน่ า่ สนใจมดี งั น้ี
๑. การจองกฐิน
การจองกฐิน ก็คือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนัน้ ๆ มีผู้ศรัทธาทอดกฐิน
กันเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่จองไว้ก่อนอาจไม่มีโอกาส จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นว่าจะทอดกฐินต้องจองล่วงหน้า
เพอื่ ให้มีโอกาสและเพื่อไม่ให้เกิดการทอดซ้ำ วัดหนงึ่ วดั ปีหนึ่งทอดกฐินได้ครง้ั เดียว และในเวลาจำกัด คือหลังจาก
ออกพรรษาแล้วเพยี งเดือนเดยี วดงั ได้กล่าวมาแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม กฐินหลวงไม่มีการจองล่วงหน้า เว้นแต่กฐินพระราชทาน ผู้ประสงค์จะขอรับ
พระราชทานกฐินไปทอดตอ้ งจองล่วงหนา้ โดยแจง้ ไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศกึ ษาธกิ ารดงั กล่าวมาแล้ว
๒. การทอดกฐนิ
เม่อื ไดต้ ระเตรยี มพร้อมแลว้ ถงึ กำหนดกน็ ำผ้ากฐินกบั บรวิ ารไปยงั วัดท่ีจองไว้ การนำไปนั้น จะไปเงียบๆ
หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้ เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลาท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม
โรงอโุ บสถ หรอื ท่ใี ดท่หี นึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เม่อื พระสงฆ์พร้อมแลว้ ก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศลี เม่ือรับแล้ว
ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทาง
พระสงฆก์ ลา่ วถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษากไ็ ด้ วา่ คนเดียวหรอื วา่ นำ แล้วคนท้งั หลายว่าตาม
พร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกัน เป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของ
ผกู้ ลา่ วนำและผกู้ ลา่ วตาม
อานิสงส์หรือผลดขี องการทอดกฐิน
๑. ผลดีฝา่ ยผู้ทอดและคณะ อานสิ งสห์ รือผลดีของฝา่ ยผู้ทอดและคณะมีดงั น้ี
(๑) ชื่อว่าได้ถวายทานภายในกาลเวลากำหนดที่เรียกว่ากาลทาน คือในปีหนึ่งถวายได้เพียงใน
ระยะเวลา ๑ เดือนเท่านั้น ในข้อถวายทานตามกาลนี้มีพุทธภาษิตว่าผู้ให้ทานตามกาลความต้องการที่เกิดขึ้น
ตามกาลของผนู้ ัน้ ย่อมสำเรจ็ ได้
๔๖ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จังหวดั ราชบรุ ี
(๒) ชื่อว่าได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผลัดเปล่ียนผ้านุ่งห่มใหม่ แม้ผ้ากฐินนั้นจะตกแก่
ภิกษุรูปใดรปู หน่ึงก็ช่ือว่าได้ถวายแก่สงฆ์เปน็ สว่ นรวม มีพระพุทธภาษติ ว่าผ้ใู หผ้ า้ ช่ือว่าใหผ้ ิวพรรณ
(๓) ชื่อว่าได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ส่งเสริมผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้เป็นหลัก เป็นตัวอย่าง
แห่งคณุ งามความดขี องประชาชนสืบไป
(๔) จิตใจของผู้ทอดกฐินทั้ง ๓ กาล คือก่อนทอด กำลังทอดและทอดแล้ว ที่เลื่อมใสศรัทธา และ
ปรารถนาดนี ัน้ จัดเป็นกศุ ลจติ คนท่จี ิตเป็นกศุ ลยอ่ มได้รบั ความสุขความเจริญ
(๕) การทอดกฐินทำให้เกิดสามัคคีธรรม คือการร่วมมือกันทำคุณงามความดี และถ้าการถวาย
กฐินนั้นมีส่วนได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามด้วย ก็เป็นการร่วมสามัคคี เพื่อรักษาศาสนวัตถุ ศาสนสถานให้
ยง่ั ยนื สถาพรสบื ไป
๒. ผลดีฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับและกรานกฐิน อานิสงส์หรือผลดีของฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับและ กรานกฐิน
มดี งั น้ี
พระพทุ ธเจา้ ตรสั ไว้ (ในวนิ ยั ปิฎก เล่ม ๕ หนา้ ๑๓๖) ว่าภิกษุผู้กรานกฐนิ แลว้ ย่อมไดร้ ับประโยชน์
๕ ประการ
(๑) รับนิมนต์ฉันไว้แล้วไปไหนไม่ต้องบอกลาภิกษุในวัดตามความในสิกขาบทที่ ๖ แห่ง
อเจลกวรรคปาจติ ตีย์
(๒) ไปไหนไม่ต้องนำไตรจีวรไปครบสำรบั
(๓) เกบ็ ผ้าทเี่ กิดขน้ึ เป็นพเิ ศษไวไ้ ด้ตามปรารถนา
(๔) จวี รอนั เกิดในทน่ี นั้ เป็นสิทธิของภกิ ษเุ หล่าน้ัน
(๕) ขยายเขตแห่งการทำจีวร หรือการเก็บจีวรไว้ได้จนถึงสิ้นฤดูหนาว (คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดอื น ๔ เป็นวันสดุ ท้าย)
ลกั ษณะอนั เป็นประชาธิปไตยของพธิ กี รรมกฐิน
ได้กล่าวแล้วว่าเรื่องของกฐินเป็นสังฆกรรม คือ การกระทำที่เป็นการสงฆ์ คือ พระสงฆ์ทั้งวัด ต้อง
รับรู้รับผิดชอบร่วมกันในการช่วยกันทำจีวรให้สำเร็จ ในการประชุมกันหารือว่า จะควรมอบผ้ากฐินให้ภิกษุรูป
ใดรูปหนึ่ง และแมเ้ พยี งการปรึกษาหารือกย็ ังใช้ไมไ่ ด้ตอ้ งมีการสวด ประกาศเปน็ การสงฆ์ เสนอญตั ติว่าจะมอบผ้า
กฐินแก่ภิกษุรูปนั้นรูปน้ี แล้วสวดประกาศ จบแล้วไม่มีผู้คัดค้าน จึงจะถวายผ้านั้น แก่องค์ครอง คือ ภิกษุผู้รับ
หนงั สอื ที่ระลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๔๗
มตจิ ากที่ประชมุ ให้เป็นผูร้ ับผา้ นนั้ ในนามของสงฆ์ได้ ลกั ษณะเช่นนีเ้ ปน็ การสอนให้ถือมตทิ ี่ประชุมสงฆ์เป็นใหญ่
ไมท่ ำอะไรตามอำเภอใจเปน็ หลกั ในการปกครองคณะสงฆ์ ซงึ่ เป็นตวั อย่างแกก่ ารปกครองทางโลกด้วย
ขอ้ เสนอแนะ
๑. พุทธศาสนิกชนควรทอดกฐินให้ถูกต้องตามความมุ่งหมายของกฐิน ได้แก่ การบำเพ็ญกุศลด้วย
การถวายผ้ากฐินแก่ภกิ ษุซึง่ อยูจ่ ำพรรษาครบสามเดือนตามพระพุทธานุญาต (ในข้อนี้โปรดดูข้อความเรือ่ งการ
แกป้ ัญหาเร่ืองกฐินตกคา้ ง)
๒. การรวบรวมทุนที่มีผู้บริจาคเพื่อบำรุงวัดหรือสถานศึกษาในวัด ควรให้เป็นไปตามความศรัทธา
ของผู้บริจาคโดยมีเหตุผลอันสมควร เชน่ ชว่ ยปฏิสังขรณ์วัดท่ีทรุดโทรมให้มน่ั คงถาวรสบื ไป
๓. ในการเดนิ ทางไปทอดกฐิน ณ วัดทอี่ ยู่หา่ งไกลซ่ึงผจู้ ัดมักจะพว่ งวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวไว้
ดว้ ยนั้น ควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของผูท้ ี่จะเดนิ ทางไปเปน็ หมู่คณะ ทัง้ น้เี พือ่ ความไม่ประมาท
๔. ควรงดเว้นการเลี้ยงสุราเมรัยในระหว่างเดินทางหรือระหว่างท่ีมีงานกฐนิ ทั้งนี้เพื่อให้การบำเพญ็
กุศลเปน็ ไปดว้ ยความมรี ะเบยี บเรียบร้อย
๕. ควรงดการใชจ้ ่ายในสิง่ ท่ีฟ่มุ เฟอื ยและไม่จำเปน็ โดยยึดถอื การจดั ให้ประหยัดเปน็ หลักสำคัญ
๖. การฉลองหรือสมโภชกฐินก่อนทอดนั้น ควรทำเพียงเพื่อประโยชน์ของการนัดหมายให้พร้อม
เพรียงกันและเพื่อเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้มาร่วมงานเท่านั้น ไม่ควรมุ่งความสนุกสนาน อันมิใช่
วัตถุประสงคข์ องการทอดกฐิน
ถา้ มขี บวนแหเ่ ชิญผ้าพระกฐนิ ไป ผเู้ ข้าขบวนควรแตง่ กายให้เรยี บร้อย ถา้ มขี บวนฟอ้ นรำควรเลือก
การแตง่ กายสุภาพ ชุดสภุ าพ เพราะเปน็ งานทางศาสนา
๗. การพิมพ์หนังสือแจกในงานกฐินนั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ไม่เป็นการบังคับแต่ถ้ามีควรเลือกพิมพ์
หนงั สอื ทมี่ สี าระประโยชน์
๘. ไม่ควรทอดกฐนิ ในวดั ที่พระภกิ ษุอยใู่ นวดั น้นั บอกกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ไปทอด เพราะเป็น
การผิดพระวินัย และกฐินทีท่ อดก็ไมเ่ ป็นกฐิน ถือเป็นโมฆะ (พระไตรปิฎกเล่ม ๕ หน้า ๑๓๘) แต่พระภิกษุผู้อยู่
ในวัดหนึง่ อาจแนะนำให้ไปทอดในวดั อ่นื ได้
๙. ในการพิมพ์ใบบอกบญุ หรือฎีกาเพื่อเชิญชวนผู้มจี ิตศรัทธามาร่วมทำบุญนั้น ไม่ควรพิมพ์ชื่อบุคคล
เปน็ กรรมการโดยไมไ่ ด้รับอนญุ าตจากเจา้ ของก่อน
๔๘ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จังหวดั ราชบุรี
ประวตั ิความเป็นมาของจังหวัดราชบรุ ี*
จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับจังหวัดนครปฐม เพชรบุรี
สมุทรสงครามและกาญจนบุรี ขณะที่ชายแดนตะวันตกด้านอำเภอสวนผึ้ง ติดกับเมืองทวาย สาธารณรัฐ
แห่งสหภาพเมียนมาร์ พื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตอนกลางของจังหวัด มีลำน้ำสำคัญเป็น
เส้นทางคมนาคมคือแม่นํ้าแม่กลอง ขณะที่ภาคตะวันตกเป็นภูเขาสูง อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี
ส่วนดา้ นตะวันออกเฉียงใต้ เปน็ พ้นื ทีร่ าบตำ่ ใกล้ชายทะเลในจังหวัดสมุทรสงคราม ดว้ ยตำแหน่งที่ตัง้ ซ่ึงอยู่ใกล้
อ่าวไทยและมีเส้นทางคมนาคมภายในแผ่นดินติดต่อกับทะเลอันดามันได้ จึงปรากฏแหล่งโบราณคดีจำนวน
มากในเขตจังหวดั ราชบรุ ี
จังหวัดราชบุรมี ีความเปน็ มาเก่าแก่ตัง้ แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอก
ว่า ในเขตจังหวัดราชบุรีและบริเวณใกล้เคียง ปรากฏแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก
ทงั้ ในเขตเทอื กเขาตะนาวศรีและลุ่มแม่น้ำแม่กลอง บางแหลง่ มคี วามเกา่ แกถ่ ึง ๔,๐๐๐ ปี เช่น แหล่งโบราณคดี
บา้ นเก่า อำเภอเมือง จงั หวัดกาญจนบุรี หรือบ้านดอนตาเพชร ซง่ึ อยรู่ ่วมในเสน้ ทางคมนาคมโบราณเดยี วกัน
ส่วนในลุ่มแม่น้ำแม่กลองนั้น พบว่า บางแหล่งมีการติตต่อกับชุมชนภายนอก เช่น โคกพลับ อำเภอ
บางแพ จังหวัดราชบุรี มีการค้นพบต่างหูทำจากหินเซอร์เพนไทน์ คล้ายกับต่างหูสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก
(๗๗๐-๒๒๑ ปีก่อนคริสตกาล) ที่พบในประเทศจีน๑ นอกจากนี้ก็มีแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ในอำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธารามและอำเภอบางแพ ซึ่งอยู่เหนือตัวเมืองราชบุรีปัจจุบันขึ้นไปตามลำแม่นํ้า
แม่กลอง ขณะที่ในตัวอำเภอเมืองราชบุรี ก็พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านนํ้าพุและถํ้า
เขาชมุ ตง ตำบลนํ้าพุ เป็นตน้ ๒
*จาก บทท่ี ๒ ประวัตแิ ละความสำคญั ของวดั มหาธาตุ ราชบรุ ีในระดับภูมิภาค ใน ปตสิ ร เพ็ญสุต. (๒๕๕๕). ศลิ ปกรรมและสถาปตั ยกรรมในเขต
พทุ ธาวาสวดั มหาธาตวุ รวิหาร ราชบุรี. วทิ ยานพิ นธ์ ศศ.ม (ประวตั ศิ าสตร์ศิลปะ) หนา้ ๔-๒๘
๑ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). พพิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และจงั หวัดราชบรุ .ี หน้า ๔๗.
๒ สรุ พล นาถะพินธุ และเยน็ จติ สุขวาสนะ. (๒๕๓๓, เมษายน-มิถนุ ายน) แหล่งโบราณคดใี นจังหวัดราชบุรี Archaeology sites in Ratburi ใน
เมืองโบราณ ฉบบั ๑๖ เลม่ ๒ หนา้ ๕๔
หนังสือทีร่ ะลึกพิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๔๙
ราชบรุ บี นเส้นทางการคา้ ระหว่างภูมภิ าค
การเจริญเติบโตขึ้นของราชบุรี มิได้อาศัยปัจจัยภายในเพียงประการเดียว แต่ยังเกี่ยวพันถึง
ความสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกภูมิภาคด้วยจากตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่บนเส้นทางการค้าข้ามภูมิภาค สามารถ
เชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทยได้ ผ่านทางแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท้ัง
๓ สายนี้ มกี ำเนดิ มาจากเทือกเขาถนนธงชัยและตะนาวศรี โดยแมน่ ้าํ ทีเ่ กิดขึน้ ในเขตจังหวัดตาก คือ แมน่ ํ้าแคว
ใหญ่หรือแควศรีสวัสดิ์และแม่นํ้าที่เกิดในเขตจังหวัดกาญจนบุรี คือ แม่น้ำแควน้อยหรือแควไทรโยค ไหลมา
รวมกันบริเวณปากแพรก เมืองกาญจนบุรี กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านอำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอ
ท่าม่วง อำเภอท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เข้าไปในเขตอำเภอบ้านโป่ง โพธารามและอำเภอ
เมืองราชบรุ ี จังหวดั ราชบุรี๓ ก่อนเข้าเขตอำเภออมั พวา จังหวดั สมทุ รสงคราม ไปออกอ่าวไทยที่บ้านบางเรือหัก
สำหรับแม่น้ำแควน้อย นับว่าเป็นแม่นํ้าที่มีความสำคัญในการติตต่อระหว่างทะเลอันดามันและพื้นท่ี
ภายในภูมิภาคเป็นอย่างมาก จากบริเวณตำบลปากแพรก จังหวัดกาญจนบุรี สามารถเดินทางตามลำน้ำ ผ่าน
อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ อำเภอท่าขนุน ขึ้นไปจนถึงอำเภอสังขละบุรี และออกด่านเจดีย์สามองค์ เข้า
เขตเมอื งมอญ ในบริเวณทศิ ใตข้ องเมอื งเมาะลำเลิง ซงึ่ เชือ่ มโยงกับเมืองสะเทิมในสหภาพพมา่ ได้
อีกเส้นทางหนึ่งที่นิยมใช้สัญจรคือ เมื่อถึงไทรโยค ก็สามารถเดินทางบกข้ามไปยังด่านบอ้ งตี้ และข้าม
เทือกเขาตะนาวศรี จะถึงแม่นํ้าตะนาวศรี ก่อนออกไปยังเมืองทวาย ซึ่งเป็นเมืองท่าติดทะเลอันดามันในเขต
สหภาพพมา่ ในท่ีสดุ เสน้ ทางน้ีใชเ้ ปน็ เส้นทางเดนิ ทัพมาจนถงึ สมยั รัตนโกสนิ ทร์
รมิ ฝง่ั แมน่ ้ําแม่กลองปรากฏหลักฐานการต้งั ถ่ินฐานของมนุษย์มาต้ังแตส่ มยั ก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัย
ทวารวดีมีการพบซากสถูปเจดีย์ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีพงตึก ในอำเภอ
ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และวัดขุนสีห์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี๔ และปรากฏร่องรอยเมืองสำคัญ
ขนาดใหญอ่ ยา่ งบ้านคูบัว ราชบุรี ในสมัยพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ มีการพบรอ่ งรอยวัฒนธรรมเขมรอยทู่ ว่ั ไปทั้งเมือง
สิงห์ เมืองครุฑ สระโกสินารายณ์ เส้นทางบนแม่นํ้า ๓ สายนี้จึงเป็นเสมือนการเชื่อมโยงโลกตะวันตกและ
โลกตะวันออกเข้าด้วยก้น คือระหว่างจีนและอินเดีย เปอร์เซียและดินแดนในซีกโลกตะวันตก เป็นการค้าขาย
๓ ศรศี ักร วลั ลิโภดม.(๒๕๔๗). ลมุ่ น้ำแมก่ ลอง มีคนยคุ หินเปน็ บรรพชนคนยคุ ปัจจบุ นั . ใน ลมุ่ นำ้ แมก่ ลอง : ประวัติศาสตรช์ าตพิ นั ธ์ “เครอื ญาต”ิ
มอญ หน้า ๓๑
๔ เล่มเดิม หน้า ๔๓