The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ebook_หนังสือกฐิน64_edit9

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Panumas Pukklin, 2021-10-22 06:33:06

ebook_หนังสือกฐิน64_edit9

ebook_หนังสือกฐิน64_edit9

๑๐๐ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวิหาร จงั หวดั ราชบุรี

๗. การผกู ไม้
ยงั คงใชแ้ บบเดิมอยคู่ ือ ใชไ้ มไ้ ผ่มาตัดเป็นด้าม สำหรับทำเปน็ ทีจ่ ับตวั หนงั

รปู ที่ ๒๖
ทีม่ า : วภิ าภรณ์ อรณุ ปลอด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑

จากความสำเร็จในการร่วมมือร่วมใจของวัด ชุมชนและสถาบันการศึกษา ส่งผลให้ใน พ.ศ. ๒๕๕๐
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของยูเนสโกประกาศให้ “การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน”
เป็น ๑ ใน ๖ ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม ( The
safeguarding of intangible Cultural Heritage : ICH) จากองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ถือเป็นความภาคภูมิใจของผู้ทีอ่ ยู่เบื้องหลังในการอนุรักษ์ อีกท้ัง
ยงั เปน็ สรา้ งชอ่ื เสียงใหแ้ กจ่ งั หวดั ราชบุรดี ้วย

หนังสอื ทร่ี ะลกึ พิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๐๑

พพิ ธิ ภัณฑห์ นงั ใหญ่วัดขนอน
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ได้ทรง

มพี ระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการ โดยได้ปรับปรุงบูรณะเรือนไทย
ทเี่ ปน็ กุฏิสงฆแ์ ละศาลาการเปรยี ญ มาดดั แปลงเปน็ พพิ ธิ ภณั ฑห์ นังใหญเ่ พื่อใช้เปน็ สถานทีเ่ ก็บรกั ษาตวั หนังใหญ่
ชุดเก่าอยา่ งถูกวธิ ี สามารถใชเ้ ปน็ แหล่งค้นคว้าแกผ่ ้สู นใจทว่ั ไป ต่อมา ไดด้ ำเนนิ การตกแต่งภายในเพื่อเปิดเป็น
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

รปู ที่ ๒๗ พพิ ธิ ภณั ฑห์ นังใหญว่ ัดขนอน
ทีม่ า : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com

๑๐๒ | วดั สัตตนารถปริวตั รวรวหิ าร จังหวดั ราชบรุ ี

รูปท่ี ๒๘ ด้านในพิพิธภัณฑ์หนงั ใหญ่วดั ขนอน
ทม่ี า : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com

เดิมทางวัดไดร้ วบรวมโบราณวตั ถุ จัดเป็นพิพธิ ภัณฑ์ของวดั มที ั้งศาสนวัตถุและขา้ วของเครื่องใช้ อาทิ
หีบพระธรรม พระธรรมคมั ภีร์ พระบฏ เคร่ืองปั้นดนิ เผา มีโอง่ หม้อนำ้ กระโถน กาน้ำชา เครอ่ื งถว้ ยชาม ส่วน
ใหญ่เป็นเครื่องเบญจรงค์และลายคราม ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นของใช้ภายในวัดที่ตกทอดสืบกันมา อีกส่วนหนึ่ง
ตามประวัติของวัดขนอนที่เกี่ยวข้องกับด่านขนอน ด่านเก็บภาษีในอดีต เป็นวัตถุส่วนที่เหลือจากการส่ง เข้า
ทอ้ งพระคลัง ทนี่ ายดา่ นขนอนไดม้ อบเอาไว้เป็นสมบตั ิของวัด หลงั จากที่ไดม้ ีการเลิกดา่ นขนอน ในสมัยรัชกาล
ที่ ๕ และได้รักษาสืบทอดกันมา นับได้ว่านอกจากหนังใหญ่แล้ว วัดขนอนยังเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้
หลากหลายแขนงของชมุ ชน นับเปน็ แหลง่ เรียนรู้ทีส่ ำคัญอกี แห่งหน่ึงในจงั หวดั ราชบรุ ี

หนงั สอื ทร่ี ะลกึ พิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๐๓

วัดขนอนได้เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจได้เข้าศึกษา เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ พร้อมทั้งชมการ
สาธิตการแสดงหนังใหญ่ ตลอดจนการฝึกเยาวชนให้เรียนรู้และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า
โดยไมเ่ สียคา่ ใชจ้ า่ ยใดใดท้งั สิน้ ตามรายละเอยี ดดังน้ี

ที่อยู่ วัดขนอน หมู่ ๔ ตำบลสร้อยฟา้ อำเภอโพธาราม จงั หวัดราชบรุ ี ๗๐๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๘๙ ๕๕๕ ๔๑๙๕
วนั และเวลาทำการ

• พิพิธภณั ฑ์หนังใหญว่ ดั ขนอน เปิดใหเ้ ข้าชมทุกวนั เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
• การแสดงหนงั ใหญ่ เปิดใหเ้ ข้าชมตามรอบเวลา ดงั น้ี

• วนั เสาร์ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๑.๐๐ น.
• วันอาทติ ย์ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
• วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

๑๐๔ | วัดสตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวัดราชบรุ ี

วัดพระศรีอารย์
นอกจากวัดขนอนที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจแล้ว จังหวัดราชบุรียังมีวัดอีกมากมายที่มีความสำคัญทาง

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม คือ วัดพระศรีอารย์ ตั้งอยู่ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เดิม
ชื่อวัดสระอาน สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าก่อสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๒๗๕ วัดนี้ถูกทิ้งร้างมา
นานมีสภาพทรุดโทรม ต่อมามีผู้พบพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร เป็นอุโบสถ
มหาอุด คือมีทางเข้าด้านหน้าเพยี งดา้ นเดียว ทิศเหนือพบสระน้ำโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๕ เริ่มมีภิกษุมา
จำพรรษาเรอื่ ยมา ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ไดเ้ ปลีย่ นช่ือจากวัดสระอานเป็นวัดพระศรีอารย์ โดยตงั้ ชื่อตามพระพุทธรูป
ทปี่ ระดษิ ฐานพรอ้ มๆ กบั การสรา้ งวดั

รปู ที่ ๒๙
ทม่ี า : http://www.traave.com/วัดพระศรีอารย/์ 7

อุโบสถในปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยพระครูสิริพัฒนกิจ อดีตเจ้าอาวาสเป็นผู้ริเริ่ม ได้รับ
พระราชทานวิสุงคศีมา วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมชองพระสงฆ์
อุโบสถหลังนี้ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประดับลายรูปปั้น ฝีมือช่างพื้นบ้าน
ที่สำคัญคือไม่มีเสาเข็ม เพราะในสมัยก่อนการก่อสร้างยังไม่มีการใช้เสาเข็ม จะนำหินและเทคานเพื่อรองรับ
นำ้ หนักอุโบสถ ผู้ก่อสรา้ งคอื ชาวบา้ นในชมุ ชนและใกล้เคยี ง

หนงั สือทีร่ ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๐๕

พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์ โดยมี
พระราชสังวรอุดม (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในการอัญเชิญมา
ประดิษฐานไว้เมอ่ื วนั ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖

รปู ที่ ๓๐
ท่มี า : https://www2.edtguide.com/index.php/www/travel/227247/wat-phra-si-

an#PhotoSwipe1634462461171

๑๐๖ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวัดราชบรุ ี

วัดมหาธาตุวรวหิ าร
วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี (รูปที่ ๓๑) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารได้รับการ

ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
ชาวบา้ นนิยมเรยี กวา่ วดั หนา้ พระธาตหุ รือวดั พระศรีรัตนมหาธาตุ

รูปที่ ๓๑
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดมหาธาตุวรวหิ าร_(จังหวดั ราชบุรี)

วดั มหาธาตรุ าชบุรเี ปน็ วัดท่ีมีอายเุ ก่าแก่ยาวนาน แตไ่ ม่ปรากฏหลกั ฐานการสร้างท่ีชัดเจน ตัววัดตั้งอยู่
ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ
แม่กลอง จากสถานที่ตั้งซึ่งเกือบอยู่กึ่งกลางเมืองราชบุรีเดิม๔๐ (รูปที่ ๓๒) รวมทั้งขนาดของวัดซึ่งใหญ่โตกว่า

๔๐ ตัวเมอื งราชบรุ ีเป็นรูปสเ่ี หลีย่ มผืนผ้ามมุ มน ขนาดไมส่ มำ่ เสมอ กวา้ ง ๗๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๒๕๐ เมตร มีคูนำ้ คันดินลอ้ มรอบ ๓ ด้าน
คอื ทศิ เหนอื ทศิ ใต้ และทศิ ตะวันตก ส่วนทศิ ตะวันออกตดิ แมน่ ้ำแมก่ ลอง ซงึ่ แม่นำ้ สายน้ีเกิดจากแควศรสี วสั ดแ์ิ ละแควไทรโยค ไหลมาจาก
เทอื กเขาตะนาวศรี และมารวมกันเปน็ แม่นำ้ แมก่ ลองทเี่ มืองกาญจนบุรีใหม่ บรเิ วณปากแพรก กอ่ นจะไหลผ่านเมืองราชบุรี และออกอ่าวไทย
ทีจ่ งั หวัดสมุทรสงคราม ดู พยงุ วงษน์ อ้ ย. (๒๕๕๒). วดั มหาธาตุวรวิหาร จังหวัดราชบุรี หนา้ ๒๙

หนงั สอื ทร่ี ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๐๗

วดั อนื่ ๆ สันนิษฐานวา่ นา่ จะเป็นศาสนสถานสำคัญประจำเมือง มีการใชง้ านตอ่ เนอื่ งมาตลอดโดยเกือบไม่มีการ
ทิ้งร้าง อย่างน้อยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ อันเป็นช่วงที่มีอิทธิพลจากวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานจาก
กัมพูชา อาจสืบเน่ืองมาจากชุมชนในวฒั นธรรมทวารวดี ซึ่งแต่เดมิ มศี ูนย์กลางขนาดใหญท่ ี่เมืองคูบวั ทางทิศใต้
หา่ งจากตัวเมอื งราชบุรไี ปประมาณ ๕ กิโลเมตร

ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกห่างจากแม่น้ำแม่กลองประมาณ ๒๐๐ เมตร พื้นที่ของวัดแบ่ง
ออกเป็น ๒ ส่วนคือเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส ซึ่งในปัจจุบันมีการตัดถนนแบ่งพื้นที่ทั้งสองออกจากกัน
โดยถนนนั้นเกิดจากการถมคลองซอยขนาดเล็กที่มีอยู่ก่อน คลองนี้สามารถเชื่อมโยงกับแม่น้ำแม่กลองและ
คลองโรงช้าง (คลองคเู มอื งทศิ ใต)้ และคลองบา้ นเลา่ ใหญ่ได้๔๑

รูปที่ ๓๒ ผงั เมืองราชบุรเี กา่ มวี ัดมหาธาตุอยตู่ รงกลาง
ที่มา : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com_content&view=article&id=160:วดั

มหาธาตวุ รวหิ าร&catid=82&Itemid=790

๔๑ แหลม่ เดิม หน้า ๔๐

๑๐๘ | วดั สตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี

วัดมหาธาตุ ราชบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แม้แต่หลักฐานการบูรณปฏิสังขรณ์เอง
ก็ตาม จากหลักฐานเอกสารที่หลงเหลืออยู่ในสมยั หลังลงมาที่กล่าวถึงการบูรณะปฏสิ ังขรณ์ศาสนสถาน พบว่า
การซ่อมแซมเกือบทั้งหมดจะกระทำโดยพระและชาวบ้านในช่วงเวลาประมาณสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งการ
ปฏสิ ังขรณ์เท่าที่สามารถรวบรวมได้ มีดงั น้ี

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสยามปลอดจากภัยสงครามกับพม่าแล้ว
มีการย้ายศูนย์กลางเมืองราชบุรีกลับมายังฝั่งตะวันออกอีกและน่าจะมีการปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุใหม่
ในระยะเวลานี้ จากประวัติของวัดมหาธาตุกล่าวว่า ในพ.ศ. ๒๓๘๘ ปลายรัชกาลที่ ๓ พระภิกษุบุญมา
ชาวสมทุ รสงคราม ไดข้ อความรว่ มมือกบั ชาวบ้านในการบรู ณะวัดมหาธาตขุ ึ้นมาใหม่และเริ่มมีพระภิกษุกลับมา
จำพรรษาอกี คร้งั หนึ่ง๔๒

การบูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุครั้งใหญ่อีกครั้งโดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ คือ
หลวงพ่อตน๋ั วชิโร (พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๗๑) พระครูอนิ ทเขมา (หอ้ ง) เจา้ อาวาสวัดช่องลมได้รว่ มมือกับพระครูสิริ
ปญั ญามนุ ี (อ่อน) เจ้าอาวาสวดั ศรสี รุ ิยวงศ์ ปฏิสังขรณ์พระปรางคแ์ ละระเบียงคด พระอุโบสถรวมท้ังเสนาสนะ
อื่นๆ ซึ่งใช้เวลายาวนาน ที่สำคัญคือมีการต่อเติมมุขปรางค์ประธานยื่นออกมาจากของเดิม สันนิษฐานว่าเร่ิม
ตัง้ แตก่ ่อน พ.ศ. ๒๔๓๙ และมาสนิ้ สดุ ใน พ.ศ. ๒๔๕๔๔๓

พ.ศ. ๒๔๗๘ ประกาศขึ้นทะเบียนวัดมหาธาตุราชบุรีเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา
เลม่ ท่ี ๕๒ ตอนท่ี ๗๕ เมอื่ วนั ท่ี ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘๔๔

พ.ศ. ๒๔๙๒ พระธรรมเสนานี (สุข สุภทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี ย้ายจากวัดปากท่อมาอยู่ท่ี
วัดมหาธาตุ ไดม้ ีการบรู ณะพระมหาธาตแุ ละวิหารคดเป็นบางสว่ น โดยมีพระครอู นุรักษ์บรมธาตุเป็นช่างบูรณะ
ภายหลังเมื่อทา่ นได้รบั การแตง่ ตัง้ เปน็ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตทุ ่านไดบ้ ูรณะพระอุโบสถ

๔๒ แหลม่ เดิม หนา้ ๑๙๑
๔๓ แหลม่ เดิม หน้าเดมิ
๔๔ ห้างห้นุ ส่วนจำกดั ฐานอนรุ กั ษ์. (๒๕๔๙). รายงานเบ้อื งตน้ การขุดแต่งและบรู ณะกำแพงแก้ววดั มหาธาตวุ รวหิ าร ราชบุรี. หน้า ๑๕

หนงั สอื ที่ระลึกพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๐๙

พ.ศ. ๒๔๙๘ กรมศลิ ปากรอนุญาตให้วดั มหาธาตุบูรณะและขยายระเบยี งคดรอบองค์พระมหาธาตุตาม
แบบแปลนแผนผังของกรมศิลปากรและให้บูรณะกำแพงแก้ววัดมหาธาตุตามรูปทรงเดิม การดำเนินงานมีการ
ปรับพืน้ ท่ีและก่อสรา้ งระเบียงคดใหม่ตามแนวเสาระเบียงคดเดิมทำเปน็ โครงและหลังคาคอนกรีต๔๕

พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๓๘ พระเทพวิสุทธิโมลี (ช้อย มหาธีโร ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ มีการซ่อมแซม
ปฏสิ ังขรณ์มากมายในบรเิ วณวดั เชน่

พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๐ สร้างทางเข้าสำนักชี (สำนัก) ประชุมนารที ีก่ ำแพงแก้วด้านใต้ซึง่ เป็นแนวกำแพง
แก้วเก่า พร้อมทั้งปูพื้นด้วยอิฐและบูรณะพื้นที่รอบนอกระเบียงคดรอบพระปรางค์ สันนิษฐานว่าคงมีการร้ือ
กำแพงแกว้ เกา่ โดยรอบเพือ่ ทำการบรู ณะใหม้ ัน่ คงด้วยการเทคานคอนกรีตเสรมิ เหล็ก๔๖

พ.ศ. ๒๕๒๐ กรมศิลปากรมโี ครงการบูรณะพระปรางคป์ ระธานและปรางค์บรวิ าร ทางวดั ได้ขนเศษอิฐ
หักพังที่ทับถมฐานพระปรางค์ออก ได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุที่ฐานเจดีย์บริวารแปดเหลี่ยมองค์มุมทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใตข้ องพระปรางค์ท่ีหักพังไปแล้ว ขณะนี้ทางวัดได้เก็บรักษาพระบรม
สารีริกธาตุไว้

พ.ศ. ๒๕๒๓ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะพระปรางค์ประธานและปรางค์ทิศ มีการขุด
แต่งโดยรอบฐานเจดีย์แปดเหลี่ยมและขุดแต่งโดยรอบฐานปรางค์ประธาน ผลการขุดแต่งสันนิษฐานว่า
ปรางค์ประธานและปรางค์ทิศทั้ง ๓ องค์มีการก่อสร้างขึ้นพร้อมกันในสมัยลพบุรีอายุประมาณ ๙๐๐ ปี
มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ๒ ระยะประมาณสมัยอยุธยาตอนต้น มีการถมพื้นที่ขยายฐานปรางค์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม
แล้วเสริมระเบียงคดไว้รอบองค์ปรางค์และนำหินทรายมาสกัดเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาประดิษฐานไว้ใน
ระเบียงคด คงมีการซ่อมแซมปรางค์ประธานและปรางค์ทิศใต้ในสมัยนี้ด้วย การก่อสร้างเพิ่มเติมในระยะที่ ๓
มีการถมพื้นให้สูงขึ้นอีกแล้วก่อเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมขึ้นที่ด้านหน้าและ ด้านข้างของปรางค์ ๕ องค์

๔๕ พยงุ วงษ์น้อย. (๒๕๕๒). หน้า ๔๕
๔๖ ห้างหุ้นสว่ นจำกดั ฐานอนรุ ักษ์. (๒๕๕๒). รายงานการบรู ณะโครงการปรบั ปรงุ ซ่อมแซมกำแพงแก้ววดั มหาธาตุวรวหิ าร (ดา้ นทิศใต้)
ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมอื ง จงั หวดั ราชบุรี ปีงบประมาณ ๒๕๕๒. หน้า ๕

๑๑๐ | วดั สัตตนารถปริวัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี

อายุการก่อสร้างประมาณสมัยอยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น การขุดแต่งครั้งนี้ได้พบโบราณวัตถุ
หลายอยา่ ง เช่น พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดแี ละศลิ ปะลพบุรี ชิ้นสว่ นพระพุทธรปู สมัยอยุธยา ภาชนะดินเผา
บรรจอุ ฐั ิ มที งั้ ผลิตจากแหลง่ เตาในประเทศจีนและแหลง่ ผลิตในประเทศไทย๔๗

พ.ศ. ๒๕๒๔ เสริมโครงสร้างฐานองค์พระปรางค์ด้วยการหล่อคอนกรีตรัดรอบฐานและอัดฉีดซีเมนต์
เข้าในองคพ์ ระปรางคป์ ระธานและปรางค์ทิศ

พ.ศ. ๒๕๒๕ กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะด้วยการเสริมความมั่นคงปรางค์ทั้ง ๕ องค์ ติดตั้งนพศูล
ทองเหลือง บูรณะซุ้มจระนำด้านทิศตะวันตกของปรางค์ประธานและกลีบขนุนปรางค์ โดยเสริมความมั่นคง
ไม่มกี ารป้นั ลวดลายเพ่มิ เพยี งคงสภาพรอ่ ยรอยปูนปัน้ ท่ีเหลอื ไว้

พ.ศ. ๒๕๒๗ กรมศลิ ปากรดำเนินการอนุรักษจ์ ิตรกรรมฝาผนังในองค์ปรางค์
พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๓ มีการซ่อมแซมวิหารหลวงขึ้นใหม่อีกครั้งพร้อมท้ังซ่อมแซมวิหารหลังอื่นๆ
ของวัดอกี ด้วย
พ.ศ. ๒๕๓๗ ทางวดั ขุดพบฐานโบราณสถานก่อดว้ ยศิลาแลงโดยบังเอิญขณะขดุ หลุมเสาสร้างซุ้มต้นไม้
ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือภายในกำแพงแก้วบรเิ วณหลงั ศาลาจียังสวุ ัฒน์ เป็นฐานสีเ่ หลี่ยมจตั รุ ัสย่อมมุ
ดา้ นละ ๓ มุม พร้อมกับโบราณวตั ถุเชน่ พระพิมพ์ดนิ เผาศลิ ปะลพบรุ ี กระปกุ สงั คโลก เคร่อื งถว้ ยจีน สนั นษิ ฐาน
ว่าฐานนีค้ งมีอายุอย่ใู นสมยั กรุงศรีอยุธยา
นอกจากน้ยี ังมีการตัดถนนระหว่างเขตพุทธาวาสและสงั ฆาวาสโดยใช้ดินลูกรงั ถมคลองเกา่ เพ่ือป้องกัน
ไมใ่ ห้รถยนตแ์ ละรถบรรทุกหนักเขา้ ใกล้พระปรางค์ ก่อกำแพงแก้วทางทิศเหนือโดยการรื้อแนวกำแพงศิลาแลง
เทคานคอนกรีตเสริมเหล็กและนำศิลาแลงที่รื้อออกวางตามแนวเดิม ทำการรื้อและสร้างระเบียงคดทบตาม

๔๗ หา้ งหุ้นสว่ นจำกดั ฐานอนุรักษ.์ (๒๕๕๑). รายงานบรู ณะโครงการอนุรกั ษ์และพัฒนาวัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุร.ี หน้า 6

หนงั สือทร่ี ะลึกพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๑๑

แนวเดิมตามรูปแบบที่อนุมัติโดยกรมศิลปากรเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาและ
บรู ณะพระอโุ บสถใหมท่ ั้งหลงั ๔๘

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชบุรีเป็นวัดที่มีความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานโดยมีหลักฐานการอยู่อาศัยมา
ตัง้ แต่สมยั ทวารวดีอันสืบเนื่องมาจากเมืองคูบัวจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการก่อต้งั ศาสนสถานขนาดใหญ่ตาม
แบบวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานจากเมอื งพระนครในเขมรและมีการใชพ้ ื้นทีต่ อ่ เนื่องจนถึงสมัยอยุธยาและ
รัตนโกสินทรโ์ ดยไม่มีการท้ิงร้างเลย สาเหตขุ องความร่งุ เรืองของวัดมหาธาตุอาจเกิดจากตำแหน่งที่ตั้งซ่ึงอยู่ติด
แม่น้ำแม่กลองอันเป็นเส้นทางคมนาคมข้ามคาบสมุทรที่สำคัญเชื่อมต่อระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทย
รวมทั้งยังสามารถติดต่อกับชุมชนในลุ่มน้ำท่าจีนได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ราชบุรีจึงสามารถได้รับอิทธิพลจาก
ภายนอกได้โดยง่ายจึงมีความพร้อมที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทาง
ศาสนาและรูปแบบศิลปกรรมซึ่งสบื ทอดและเก่ยี วพนั กับศาสนาอยา่ งแยกออกจากกนั มิได้

๔๘ ห้างหุ้นสว่ นจำกัด ฐานอนรุ ักษ.์ (๒๕๔๙). รายงานเบือ้ งต้นทางโบราณคดโี ครงการอนรุ ักษ์และพัฒนาวดั มหาธาตุวรวหิ าร ราชบุรี ตำบล
หน้าเมือง อำเภอเมือง จงั หวดั ราชบรุ .ี หน้า ๗

๑๑๒ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวัดราชบุรี

ต่ืนใจถำ้ งาม

จังหวัดราชบุรี มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น
งานหัตถศิลป์ หัตถกรรม วัด แหล่งโบราณสถาน และกลุ่มชาติพันธุ์ อีกทั้งยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติท่ี
อุดมสมบูรณ์อย่างแม่น้ำ ภูเขา และมี “ถ้ำ” เป็นจำนวนมาก ถ้ำแต่ละแห่งได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ประจำจังหวัดที่มีความงดงามและลักษณะแตกต่างกันไป จนได้รับการนำเสนอให้เป็นในส่วนหนึ่งของคำขวญั
ประจำจงั หวัดราชบรุ ี ซง่ึ แต่ละแหง่ มีรายละเอียดดังน้ี
๑. ถ้ำเขาบิน

รปู ที่ ๓๓
ท่ีมา : https://www.เทยี่ วราชบรุ ี.com/สถานทเี่ ทยี่ วราชบรุ /ี ถำ้ เขาบนิ

ท่ีตงั้ ตำบลหนิ กอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบรุ ี
ถำ้ เขาบนิ เปน็ แหล่งท่องเทยี่ วทางธรรมชาติที่มีความสวยงามอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ช่ือ “ถ้ำเขาบิน”

มาจากตำนานทีเ่ ล่าว่า มีพอ่ คา้ ชาวจีนแลน่ เรือสำเภาใหญ่ผา่ นมา เรอื เกดิ ชนหัวเขาด้านหน่งึ บิ่นไป เขาบินก็เลย

หนังสือท่รี ะลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๑๓

ถูกสันนิษฐานว่าเรียกเพี้ยนมาจากเขาบิ่น บ้างก็สันนิษฐานว่า มาจากลักษณะของหินภายในห้องๆหนึ่งของถ้ำ
ซึง่ มีลักษณะหินย้อยสขี าวหมน่ ยืน่ ออกมา คลา้ ยนกเขากำลงั กระพือปกี กำลังจะบนิ จงึ ไดช้ ่อื ว่าเขาบิน

ลักษณะทางกายภาพของถ้ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๗๒ เมตร ปากถ้ำสูงจากพื้นดิน
๕ เมตร เนื้อที่ภายในถ้ำประมาณ ๕ ไร่เศษ ภายในถ้ำประดับไฟทำให้เห็นความสวยงาม ของหินงอก หินย้อย
ไดอ้ ยา่ งชัดเจน ซงึ่ เป็นการสนบั สนุนจากการท่องเที่ยวแหง่ ประเทศไทย(ททท.)

ทางเข้าถ้ำได้ปรบั เปน็ แนวดนิ ราบเรียบจากปากถำ้ เขา้ ไปประมาณ ๕๐ เมตร จะมีทางแยกเปน็ สองทาง
ทางซ้ายเปน็ ทางเข้าก้นถ้ำมคี วามลึก ๓๐๐ เมตร ขวามอื เป็นทางอ้อมตามลกั ษณะโครงสรา้ งของสนั เขาเข้าสู่ก้น
ถ้ำลึกประมาณ ๒๐๐ เมตร นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดปี ซึ่งภายในถ้ำเขาบิน แบ่งออกเป็น ๘
ห้องใหญ่ซึ่งแต่ละห้องนั้นจะมีชื่อเรียกขานตามลักษณะหินงอก หินย้อยที่เกิดขึ้น ได้แก่ ๑) โถงอาคันตุกะ
๒) ศิวะสถาน ๓) ธารอโนดาต ๔) สกุณชาติคูหา ๕) เทวสภาสโมสรสถาน ๖) กินนรีทัศนา ๗) พฤกษา
หิมพานต์ ๘) อทุ ยานทวยเทพ

๑๑๔ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี

๒. ถำ้ จอมพล

รูปท่ี ๓๔
ทมี่ า : https://travel.trueid.net/detail/520R1Jx0KDB

ทีต่ ง้ั สวนรุกขชาติจอมพล ตำบลจอมบงึ อำเภอจอมบึง จังหวดั ราชบุรี
ถ้ำจอมพล เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของราชบุรี อยู่ห่างจากถ้ำเขาบิน ๑๑ กิโลเมตร

ในบรเิ วณสวนรุกขชาตจิ อมพล มีฝูงลิงอาศยั อยจู่ ำนวนมาก เดิมมีช่อื วา่ "ถำ้ มจุ ลินทร์"
ลกั ษณะของถำ้ มีความกวา้ งราว ๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๕ เมตร มปี ล่องบริเวณกลางถำ้ จึงเปน็ ข้อดี

ท่ีทำให้อากาศภายในถ้ำนั้นถ่ายเทสะดวก ด้านในเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อย หลากหลายชื่อ เช่น ธารศิลา
สร้อยระยา้ แส้จามรี ท้องพระโรง ประสทิ ธิเทวา เกศาสลวย และผาวิจิตร นักท่องเทยี่ วสามารถชมหนิ ทมี่ คี วาม
สวยงาม อาจมองเหน็ เปน็ รูปรา่ งต่าง ๆ แตท่ ัง้ นก้ี ็ขึ้นอยกู่ ับจนิ ตนาการของแต่ละทา่ น

ชอื่ ถำ้ จอมพลนน้ั เป็นนามทพี่ ระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู วั ได้พระราชทานเมอื่ คราวเสด็จ
ประพาสถำ้ นอกจากนย้ี ังทรงจนิ ตนาการว่าหินย้อยในถ้ำท่มี ีชื่อว่า ผาวจิ ิตร น้ันดูเปน็ รว้ิ ไหมคล้ายอินทรธนูบน
บา่ ของทหารยศจอมพลสมัยกอ่ น

หนังสอื ทร่ี ะลึกพธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๑๕

ตำนานที่เล่าขานต่อกันมาของถ้ำจอมพล คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับ หินฤาษี และรูปปั้นฤาษี ซึ่งเป็นหินที่มี
รูปร่างคล้ายฤาษีที่อยู่ในอิริยาบถนั่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า พ่อปู่ฤาษี เป็นที่เคารพศรัทธา และมีความเชื่อว่า
จะบนั ดาลโชคลาภ สมปรารถนาและนำพาความสขุ ความเจรญิ มาให้
๓. วัดถำ้ นำ้

รปู ท่ี ๓๕
ที่มา : https://www.paiduaykan.com/travel/วัดถ้ำนำ้ -ราชบรุ ี

ทต่ี งั้ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จงั หวัดราชบุรี
วัดถ้ำน้ำ ภายในมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ ถ้ำน้ำ ซึ่งมีจุดเด่นคือมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และ

เสาหินขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีน้ำไหลเวียนภายในถ้ำตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำ หินภายในถ้ำเป็น
หินแกรนติ มโี พรงอากาศเป็นรอยหลุมอยใู่ นเน้ือหินเกิดเป็นลวดลายท่ีสวยงาม รวมถงึ หนิ งอกหินย้อย หากมอง
ไปจะเห็นประกายระยิบระยับสวยงาม โดยมีเสาหิน ตั้งอยู่บริเวณกลางถ้ำ สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่น้ำบน
เพดานถำ้ หยดกลายเปน็ เสาหนิ งอก หนิ ย้อยขนาดใหญ่

๑๑๖ | วัดสัตตนารถปริวตั รวรวิหาร จงั หวดั ราชบรุ ี

ทางเดินในช่วงแรกจะมีน้ำเหมือนเป็นบ่อน้ำขนาดย่อม โดยน้ำที่เข้ามาภายในถ้ำเป็นน้ำที่ไหลมาจาก
ลำคลองที่ติดกับวัดและไหลออกไป และยังคงมีน้ำในถ้ำตลอด อากาศภายในถ้ำเย็นสบาย มีรูปปั้นจำลองของ
พญานาคในบ่อนำ้

ภายในถ้ำได้จัดทำเป็นทางเดินปูน สำหรับเดินชมความงามของถ้ำ จำลองคล้ายเมืองบาดาลของตำนาน
พญานาค ตลอดเสน้ ทางมีพระพุทธรูปและสง่ิ ศักด์สิ ทิ ธ์ิ ทง้ั พระพุทธรูป พระสิวลี รปู ปนั้ ฤาษี และเจา้ แมก่ วนอมิ

รูปที่ ๓๖-๓๙
ทมี่ า : https://www.paiduaykan.com/travel/วัดถำ้ น้ำ-ราชบรุ ี

หนังสือท่รี ะลกึ พธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๑๗

๔.ถ้ำสาริกา

รปู ท่ี ๔๐
ทีม่ า : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถ้ำสาริกา

ทีต่ ั้ง ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวดั ราชบุรี
ถำ้ สารกิ า ตามคำบอกเลา่ ทางประวตั ิศาสตร์กลา่ ววา่ ในสมัยกรุงธนบุรี สมเดจ็ พระเจ้าตากสินมหาราช

พร้อมไพร่พลจำนวน ๕๐๐ คน ได้แหกด่านกรุงศรีอยุธยา เข้ามาพักแรมที่ถ้ำนี้หนึ่งคืน นำโดยนายทองด้วง
หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี และได้รวบรวมอาสาสมัครและเสบยี งอาหารเพิ่มเติม ก่อนออกเดินทางลัดเลาะ
ไปตามชายฝั่งเพื่อตั้งทัพที่จันทบุรี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ
ประพาสถ้ำแห่งน้ที างชลมารค เพ่ือมาศกึ ษาถ้ำแหง่ นีต้ ามบนั ทึกของสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราชด้วยเชน่ กัน

ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม นอกจากนี้ ถ้ำสาริกา ยังมีสถานะเป็น
“วดั ถำ้ สารกิ า” สถานทป่ี ฏบิ ัตธิ รรมของพทุ ธศาสนกิ ชนทส่ี นใจศึกษาธรรมะ มีบรรยากาศรม่ ร่ืนและเงยี บสงบ

๑๑๘ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบุรี

๕. อทุ ยานหินเขางู

รูปท่ี ๔๑-๔๒
ทม่ี า : https://www.thailandtopvote.com/ทเี่ ที่ยว-77-จังหวดั /61439/

ท่ตี ้งั ตำบลเกาะพลบั พลา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบรุ ี
เทือกเขางู เป็นเขาหินปูนโดดในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง สภาพธรณีวิทยาประกอบด้วยหินปูนยคุ

เพอร์เมียน (Permian Period) อยู่ในช่วง ๒๙๐-๒๔๘ ล้านปีก่อน ของกลุ่มหินราชบุรี (Ratburi Group) หรือ
ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าหินปูนราชบุรี ยุคเพอร์เมียน (Permian Ratburi Limestone) ลักษณะหินปูนมีสีเทา
ออ่ นถงึ ดำ นอกจากนัน้ ยงั ประกอบไปด้วยถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำใต้ดนิ เป็นเวลานาน ลกั ษณะดิน เป็น
ตะกอนดนิ สแี ดงและเศษหนิ ขนาดตา่ งๆ

รูปที่ ๔๓-๔๔
ท่มี า : http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/24

หนงั สอื ที่ระลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๑๙

จังหวัดราชบุรีได้ผลักดันให้เกิดอุทยานหินเขางู เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับพักผ่อนและแหล่ง
เรียนรทู้ างโบราณคดยี คุ ประวัตศิ าสตร์ สมัยทวารวดีถงึ อยธุ ยา ประเภทศาสนสถานและศลิ ปะถ้ำ

เขางู คอื ศาสนสถานในศาสนาพุทธ นกิ ายเถรวาท มาตงั้ แต่สมยั ทวารวดี ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ หรือ
พุทธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๔ จนกระทง่ั ปจั จุบนั หากกล่าวถึงคติการสร้างศาสนสถานภายในถ้ำ ก็อาจได้รับอิทธิพล
มาจากอินเดียเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะศาสนสถานที่เจาะเข้าไปในภูเขาหรือดัดแปลงถ้ำเป็นศาสนสถาน
หรือที่เรียกว่า “เจติยสถาน” ซึ่งพบมาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ (พุทธศตวรรษที่ ๓-๖) โดยเฉพาะที่เป็น
ที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือถ้ำในสมัยคุปตะ เช่น ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลรา เป็นต้น หรืออาจจะเป็นเหตุผลด้าน
ภมู ิประเทศและความเชื่อทีส่ ืบทอดกันมาตัง้ แต่สมัยก่อนประวตั ิศาสตร์ตอนปลายในพ้ืนที่

จากตำแหนง่ ท่ีตงั้ และหลักฐานทางโบราณคดรี ่วมสมัยในพ้นื ทีใ่ กลเ้ คียง สนั นษิ ฐานได้ว่า ถ้ำท่ีเทือกเขา
งูในสมัยทวารวดีนั้น อาจถกู ใช้เป็นศาสนสถานท่ีอยู่หา่ งไกลจากชมุ ชนหรือเมือง ในลกั ษณะของ “วดั ปา่ ” เมือง
ดังกลา่ วอาจเปน็ เมืองคบู วั ซึ่งเป็นเมืองสำคญั เมอื งหนง่ึ ในวัฒนธรรมทวารวดี ทอ่ี ยู่หา่ งออกไปทางทศิ ตะวันออก
เฉียงใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เช่นเดียวกับเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีอื่นๆ ที่มักพบศาสนสถานบนเขาที่อยู่
ไกลออกจากเมือง เช่น ถำ้ เขาสมอคอน จงั หวดั ลพบรุ ี ถำ้ เขาถมอรัตน์ เมอื งศรเี ทพ จงั หวดั เพชรบรู ณ์ เปน็ ตน้

เนื่องจากตั้งอยู่ในถ้ำในเขาหินปนู ซึ่งในอดีตเคยมีการอนุญาตให้ระเบิดย่อยหินที่เทือกเขางู แต่ต่อมา
ไดม้ ีมติจากคณะรฐั มนตรีไดห้ า้ มมใิ หม้ ีการระเบิดยอ่ ยหินบริเวณเทือกเขางูอีกต่อไป

หลังจากยุติการระเบิดหิน จังหวัดราชบุรีจึงได้พัฒนาพื้นที่เป็น “อุทยานหินเขางู” ให้เป็นแหล่ง
ท่องเท่ียวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งศึกษาหาความร้ดู ้านธรณีวิทยา ประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี และเป็นที่
เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนท่วั ไป ซ่ึงแหล่งโบราณคดีทสี่ ำคัญในบริเวณเทือกเขางูที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤาษี
ถำ้ ฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆงั ซง่ึ แตล่ ะถำ้ มลี ักษณะทน่ี า่ สนใจ ดงั น้ี

๑๒๐ | วดั สัตตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวัดราชบุรี

ถำ้ ฤๅษี
ถ้ำฤาษีเป็นถ้ำหนึ่งในเทือกเขางู ในบริเวณที่เรียกว่าเขาลาดกล้วย ปากถ้ำหันสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

อยสู่ ูงจากพน้ื ดนิ ประมาณ ๘ เมตร มที างขึน้ อยู่บริเวณสวนสาธารณะเขางู ภายในถ้ำประกอบด้วย ๒ คูหา คือ
• คูหาใหญ่เรียกกันมาแต่เดิมว่า “ถ้ำฤาษี” หรือ “ถ้ำพระ” มีขนาดประมาณ ๑๒.๘๐x๕.๑๖
เมตร สูง ๘ เมตร ภายในมีภาพสลักบนผนังถ้ำสมัยทวารวดี พระพุทธรูปประทับห้อย
พระบาท จุดเดน่ คือระหว่างข้อพระบาทมจี ารึกอักษรปลั ลวะ ภาษาสันสกฤต

รปู ท่ี ๔๕
ท่ีมา : http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/24

• คูหาเล็กอยู่ทางทิศตะวันตกของคูหาใหญ่ มีผู้ตั้งชื่อให้ภายหลังว่า “ถ้ำฤาษีสมาธิคุปต์” มี
ขนาดประมาณ ๑๐.๒๐x๔.๐๘ เมตร ภายในมีภาพสลักพระพุทธรูปประทบั ยืน

หนงั สอื ท่ีระลกึ พธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๒๑

รปู ท่ี ๔๖
ทม่ี า : https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/24

ปัจจุบัน ถ้ำฤาษีได้ปรับปรุงสภาพพื้นที่ สร้างบันไดซีเมนต์จากเชิงเขาขึ้นสู่ปากถ้ำ และเทพื้นซีเมนต์
บริเวณหน้าถ้ำรวมทั้งภายในถ้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะ
พระพทุ ธรูป

๑๒๒ | วดั สตั ตนารถปริวัตรวรวหิ าร จงั หวัดราชบรุ ี

ถ้ำฝาโถ
ห่างจากถ้ำฤาษีไปทางตะวันตกราว ๒๕๐ เมตร ภายในถ้ำมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทราย ที่พบ

ภายในถ้ำเป็นจำนวนหลายองค์ และมีจุดสำคัญคือ ภาพพระพุทธรูปปางไสยาสนข์ นาดใหญ่ ที่มีประภามณฑล
หลงั พระเศยี รเหนอื ขึน้ ไปเปน็ ภาพเทพชมุ นมุ และภาพปูนป้นั รูปต้นไม้ ดา้ นทิศเหนือเปน็ การสลกั พระสาวกสอง
องค์ โดยในวันขนึ้ ๑ ค่ำเดอื น ๑๑ จะมีการจดั งานนมัสการเปน็ ประจำทุกปี

รปู ท่ี ๔๗
ทม่ี า : https://www.thailandtopvote.com/ที่เทีย่ ว-77-จังหวัด/61439/

ถ้ำจนี
ที่ถ้ำจีนมีการค้นพบพระพุทธรูปจำหลกั ๒ องค์ ปางสมาธิ พระหัตถ์แสดงวติ รรกมุทรา มีร่องรอยการ

พอกปูนทับ สว่ นองค์ท่ีอยูใ่ กลป้ ากถำ้ มีสภาพไมส่ มบรู ณ์

หนังสอื ท่ีระลกึ พิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๒๓

ถำ้ จาม
เป็นถ้ำที่อยู่ด้านในสุดบนเขาลูกเดียวกับถ้ำจีน พบภาพพุทธประวัติตอนยมกปาฏิหาริย์ท่ีเมืองสาวัตถี

และพระพทุ ธรปู ปางปรินิพพาน ทม่ี อี ายุเกา่ แก่ท่ีสุดในประเทศไทย
ถำ้ ระฆงั

นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ พระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หวั (๑๑๘ จปร.) สลกั อยบู่ ริเวณปากถำ้ ระฆังหรือถ้ำค้างคาว นอกจากนี้ในถ้ำตา่ งๆยังพบพระพุทธรูปหิน
ทรายสมัยอยุธยาอกี หลายองค์ และรอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยา ที่ประดษิ ฐานอย่บู นยอดเขางู

รูปท่ี ๔๘-๔๙
ที่มา : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php

๑๒๔ | วัดสัตตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี

ตลาดนำ้ ดำเนนิ สะดวก

ในวิถีชีวิตคนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำมาอย่างยาวนาน ด้วยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในแหล่งน้ำ
มีทั้งพืชพันธุ์อาหารและอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นอาชีพดั้งเดิมของไทย ในอดีตผู้คนอาศัยริมคลองธรรมชาติ
แต่เมอื่ เร่ิมมีการค้าขายมากขึน้ การขนสง่ สนิ ค้าทางคลอง แม่น้ำ จึงต้องมกี ารขยับขยายเพื่อให้ขนส่งได้สะดวก
จึงเกิดเป็นคลองขุดขึ้น คลองขุดนี้ยังใช้เพื่อสัญจรไปมา เป็นเส้นทางที่มุ่งเข้าเมืองหลวงอีกด้วย คลองดำเนิน
สะดวกเดิมทีเป็นป่ารกชัฏ เมื่อคราว พ.ศ. ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ที่ว่าการเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสมุทรสาครนั้นเรามีคลองภาษีเจริญ ทำให้การเดินทางไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามี
คลองเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรีก็จะยิ่งสะดวกขึ้นอีกมาก โดยมีนัย
แห่งจุดประสงค์ของพระราชปรารภที่ต้องการเชือ่ มโยงแม่น้ำหลัก ๓ สาย อันได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำทา่
จีน และแม่น้ำแม่กลอง ด้วยคลองเพื่อความสะดวกในด้านคมนาคมทางน้ำ โดยแต่เดิมมีคลองภาษีเจริญเชื่อม
ระหว่างแม่นำ้ เจา้ พระยา และทา่ จนี อยแู่ ล้ว

ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (เดิมชื่อ ช่วง บุนนาค ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต้นตระกูล บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการในการขุดคลองเพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีน
และแม่น้ำแม่กลองโดยใช้งบประมาณจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
จำนวน ๔๐๐ ชั่ง และทุนทรัพย์ของพระประสาทสิทธิ์ผู้อำนวยการขุดคลองอีก ๑,๐๐๐ ชั่งรวม ๑,๔๐๐ ช่ัง
หรือ ๑๑๒,๐๐๐ บาท (๑ ชั่ง เท่ากับ ๘๐บาท) ทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวไม่ได้นับรวมแรงงานของประชาชนท่ี
เอาแรงมาช่วยขุดด้วย

ในการขุดคลองครั้งนั้นได้ว่าจ้างแรงงานชาวจีนเป็นผู้ขุดคลองเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีขุด ๒ วา
เว้น ๑ วา ขุดขนาดกว้างราว ๑๐-๒๐ วา ยาว ๘๔๐ เส้น รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓๓.๖ กิโลเมตร มีหลักเขตตั้ง
เป็นระยะรายไป แล้วปล่อยให้น้ำหลากเซาะให้ทะลุต่อกัน โดยเริ่มต้นขุดจากปากคลองบางยาง แม่น้ำท่าจีน
จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอบ้านแพ้วในปัจจุบัน เป็นหลักที่ ๑ ผ่านจังหวัดราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวกใน
ปัจจุบันและสิ้นสุดที่บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอบางคนทีในปัจจุบัน สิ้นสุดเป็นหลักที่ ๘
โดยเว้นช่วงไปทุก ๑๐๐ เส้น (๔ กิโลเมตร) ใช้เวลาในการขุดรวม ๒ ปี เสร็จสนิ้ ใน พ.ศ. ๒๔๑๑

หนงั สือทร่ี ะลกึ พิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๒๕

เมื่อแรกนั้นส่วนใหญ่จะอาศัยแรงงานชาวจีนในการขุดโดยมาก (ภาษาจีนว่า “กุ๊ดฮึ้ง” คือ โกยดิน
หรือ “ผงโถ้ว” คือ โกยดินขึ้นตลิ่ง) ถึงกับมีคลองสายหนึ่งเรียกว่าคลองขุดเจ๊ก เหตุเพราะพวกจีนเป็นคนขุด
คลองน้ีในภายหลังเรียกวา่ คลองท่าคา หรือตลาดนำ้ ทา่ คา
ทำไมจึงช่ือคลองดำเนนิ สะดวก

เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ขุดคลองเสร็จแล้ว ได้จัดทำแผนผังในการขุดคลอง ขึ้นทูลเกล้าถวาย
พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวรชั กาลท่ี ๔ เมือ่ พระองค์ได้ทอดพระเนตรดูแผนผังแลว้ ทรงเหน็ วา่ คลองที่ขุดใหม่
มีความยาวมาก และขุดได้ตรงไม่คดเคยี้ ว สะดวกตอ่ การสัญจรไปมา จงึ พระราชทานนามให้เปน็ มงคล แก่คลอง
นวี้ า่ "ดำเนินสะดวก" จงึ ได้ช่ือวา่ คลองดำเนนิ สะดวก นบั ตัง้ แต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน

รปู ที่ ๕๐
ที่มา : https://mgronline.com/columnist/detail/9610000052291

๑๒๖ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี

วันเปิดคลองดำเนนิ สะดวก
หลังขดุ คลองเสร็จและได้รบั พระราชทานนามวา่ "คลองดำเนนิ สะดวก" แล้ว จงึ ไดฤ้ กษท์ ำพิธีเปิดคลอง

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ณ ปากคลองดำเนินสะดวกเชื่อมแม่น้ำแม่กลองบริเวณบางนกแขวก
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามในปจั จบุ ัน โดย เจา้ พระยาศรสี ุริยวงศเ์ ปน็ ประธานในการเปิดคลอง

ความยาวและหลกั เขต
ตลอดความยาวของคลองจะมีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ๑๐ x ๑๐ นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน ทุก ๆ ๑๐๐

เส้น ปักไว้ ๑ ตน้ ทางฝ่ังใตข้ องคลอง เรม่ิ จากตำบลสวนส้ม เป็นหลักที่ ๐ ถงึ หลกั ท่ี ๘ ทแ่ี มน่ ้ำแม่กลอง แต่ละ
หลักจะเขียนเลขไทย โรมัน จีน เป็นสีแดงบอกเลขไว้ทุกหลัก อยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว ๕ หลัก หลักที่ ๕
ถึงหลักที่ ๗ อยใู่ นเขตอำเภอดำเนินสะดวก จงั หวัดราชบุรี และหลักสุดท้าย หลกั ท่ี ๘ อยู่ในเขตอำเภอบางคนที
จังหวัดสมุทรสงคราม หลักคลองมีไว้เพื่อบอกที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้คนริมคลอง คลองดำเนินสะดวกมีทั้งหมด
๙ หลกั ยังคงปรากฏให้เหน็ ครบทง้ั หมดถึงปจั จบุ ัน ดังนี้

หลักที่ ๐ ตั้งอยู่เลยประตูน้ำบางยางออกไป ๕๕ เส้น สลักเป็นเลขไทยเท่านั้น ระยะทางในช่วงนี้
มักจะเรยี กกนั ว่าปากคลองบางยาง

หลักที่ ๑ อยู่ในเขตคลองบางยางเดิม จุดเริ่มต้นจากประตูน้ำบางยาง นับเป็นระยะทางได้ ๑๐๐ เสน้
(๔ กโิ ลเมตร) มเี สาหินส่ีเหลยี่ มขนาดใหญ่ ๘ x ๘ น้ิว ปกั ไว้ท่พี ื้นดินริมคลองดำเนินสะดวก สงู จากพ้ืนดินข้ึนไป
๑ วา สลักเลข ๑ เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบ จากประตูน้ำบางยางซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นคลองดำเนินสะดวก
ทีอ่ ยู่ติดกบั แม่นำ้ ท่าจีน จนถึงเสาหินเลขท่ี ๑ เรียกวา่ หลกั หน่งึ อยูใ่ นเขตตำบลบางยาง อำเภอบา้ นแพ้ว จงั หวัด
สมุทรสาคร โดยทัว่ ไปมักเรยี กวา่ คลองบางยาง

หลักที่ ๒ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๑ ไปอีก ๑๐๐ เส้น (๔ กิโลเมตร) มีเสาหินลักษณะ
เดียวกันแต่สลักหมายเลข ๒ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก เรียกว่าหลักสอง ซึ่งอยู่ในเขตตำบล
หลักสอง อำเภอบา้ นแพว้ จงั หวัดสมุทรสาคร

หลักที่ ๓ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๒ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๓ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอบ้านแพ้ว

หนงั สือทรี่ ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๒๗

จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข ๒ ถึงเสาหินเลข ๓ เรียกว่าหลักสาม ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างร้านอาหาร
ศรีสุวรรณ กบั ธนาคารกรงุ เทพ สาขาหลักสาม อำเภอบา้ นแพ้ว จงั หวัดสมุทรสาคร

หลักที่ ๔ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๓ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๔ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บริเวณข้างวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร พื้นที่ระหว่างเสา
หินเลข ๓ ถึงเสาหินเลข ๔ เรียกว่าหลักสี่ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้าน
ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกชุมชนตนเองตามหมายเลขเสาหิน เช่น ชาวหลักสี่ ชื่อโรงเรียนหรือวัด
ก็มักจะเรียกตามไปด้วย เช่น โรงเรียนหลักสี่ราษฎร์สโมสร หรือวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ซึ่งมีหลวงพ่อโต
ท่ีพุทธศาสนกิ ชนทัว่ ไปใหค้ วามเคารพนับถือเปน็ อย่างมาก

หลักที่ ๕ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๔ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๕ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข ๔ ถึงเสาหินเลข ๕ เรียกว่า
หลักห้า ซึ่งอยู่ในเขตระหวา่ งอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กับตำบลปราสาทสิทธ์ิ อำเภอดำเนินสะดวก
จังหวดั ราชบรุ ี ซ่ึงมีชาวบ้านอาศยั อยู่ในบรเิ วณดังกล่าวมักเรียกตนเองว่า ชาวหลกั หา้ และมักเรียกช่ือโรงเรียน
หรือวัด ตามหลักเขตดังกล่าวไปด้วย เช่น วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์นั่นเอง ซึ่งมีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์
โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไป ชาวไทย ชาวลาว และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและใกล้เคียงให้ความเคารพ
นบั ถอื เป็นอย่างมาก จะมีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตนโ์ รจน์ฤทธทิ์ างเรือ เพอ่ื ใหพ้ ุทธศาสนิกชนในคลองดำเนิน
สะดวกได้สักการบชู าเปน็ ประจำทกุ ปี

หลักที่ ๖ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๕ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๖ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บริเวณตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก พื้นที่
ระหว่างเสาหนิ เลข ๕ ถึงเสาหนิ เลข ๖ เรยี กว่าหลกั หก ซง่ึ อยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จงั หวัดราชบุรี

หลักที่ ๗ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๖ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๗ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก บริเวณตำบลศรีสุราษฎร์ พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข ๖
ถึงเสาหินเลข ๗ เรยี กวา่ หลกั เจ็ด ซึ่งอยใู่ นเขตอำเภอดำเนนิ สะดวก จงั หวดั ราชบุรี

หลักที่ ๘ เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ ๗ ไปอีก ๑๐๐ เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลัก
หมายเลข ๘ เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ปลายคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข ๗ ถึงเสาหินเลข ๘
เรยี กวา่ หลกั แปด ซึ่งอย่ใู นเขตอำเภอดำเนนิ สะดวก จังหวดั ราชบุรี กับอำเภอบางคนที จงั หวัดสมุทรสงคราม

๑๒๘ | วัดสตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบุรี

จากเสาหินหมายเลข ๘ มีระยะทางของคลองดำเนินสะดวกอีกประมาณ ๔๐ เส้น จึงจะถึงประตูน้ำ
บางนกแขวก ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านมักเรยี กวา่ คลองบางนกแขวก

รปู ท่ี ๕๑-๕๙
ทม่ี า : http://www.tonghengtua.com/dumnern.html

หนงั สอื ที่ระลกึ พิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๒๙

ตลาดนำ้ ในคลองดำเนินสะดวก
ในสมยั โบราณตลาดน้ำจะมเี พียงไม่ก่ีครัง้ ใน ๑ เดือน ตามระดับน้ำที่ขนึ้ ลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมี

ตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวก
จึงเป็นทีต่ ั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง ตลาดน้ำทีเ่ กิดขึ้นเป็นแห่งแรกคอื ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดพลี
เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง
นัดศาลาแดงหรือนัดหลักแปด เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลา
เป็นไม้มี ๕ ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดงเป็นที่พักคนงานต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลองฝั่ง
แม่น้ำแมก่ ลอง (นัดปากคลองมีวัน ๑, ๖ และ ๑๑ คำ่ นัดดำเนินสะดวกมวี นั ๒, ๗ และ ๑๒ ค่ำ) นอกจากน้ีใน
พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งน้ี
อีกด้วย ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๐ ตลาดน้ำขยายพื้นที่กินบริเวณตั้งแตป่ ากคลองลัดพลี ไปตามคลองดำเนินสะดวก
ยาวหลายกิโลเมตร ในสมัยนั้นตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีอยู่ ๓ จุด คือ ที่ปากคลองลัดพลี ปากคลองโพธิ์หัก
หรือคลองบัวงามและที่ปากคลองศรีสุราษฎร์ และยังทำให้เกิดตลาดน้ำใหม่สร้างเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ
อย่างคลองต้นเข็ม หลังจากนั้นมาตลาดน้ำที่มีมาแต่เดิมก็ถูกลดความสำคัญลงไป เหลือเพียงตลาดน้ำ
เพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น ตลาดน้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อยู่ตรงข้ามกับตลาดน้ำ
คลองต้นเข็มซงึ่ เปน็ ท่รี ู้จักโดง่ ดังไปทั่วโลก ตลาดน้ำทส่ี ำคัญในคลองดำเนินสะดวกไดแ้ ก่

ตลาดนำ้ ดำเนนิ สะดวก หรอื ตลาดน้ำคลองต้นเขม็
ตลาดนำ้ คลองลดั พลี หรือ ตลาดนำ้ เหล่าตกั๊ ลกั
ตลาดนำ้ หลักหา้ หรอื ตลาดน้ำคลองโพธิ์หัก
ตลาดน้ำบา้ นแพ้ว

๑๓๐ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี

รปู ที่ ๖๐-๖๑
ทีม่ า : https://www.thailandtopvote.com/ท่เี ท่ยี ว/ท่เี ที่ยว-77-จงั หวดั /43179/

หนังสือท่ีระลึกพิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๓๑

อาหารข้ึนช่ือ

รูปท่ี ๖๒
ทม่ี า : https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/review/1965915

ไก่ย่างบางตาล
ไก่ย่างบางตาลมีจุดกำเนิดมาจากหมู่บ้านบางตาล หมู่บ้านใกล้ทางรถไฟ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด

ราชบุรี จากการบอกเลา่ ต่อกนั มาวา่ หลงั สงครามโลกคร้งั ที่ ๒ นายเม่งเพียง แซเ่ ตยี ว ชาวจนี อพยพมาแต่งงาน
กับสาวไทยในหมู่บ้านบางตาล นำไก่ย่างสูตรไหหลำออกขายตามหมู่บ้านและสถานีรถไฟคลองบางตาล
เม่อื อายมุ ากขึ้นจงึ หยุดขายและไดบ้ อกสูตรแกช่ าวบ้าน

เอกลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของไก่ย่างบางตาล คือ สีเหลืองสวยงาม ไก่หมักด้วยกระเทียม พริกไทย และ
ขมิ้น รสชาติของไก่ย่างต้องเค็มนำ หวานเล็กน้อย ไก่บางตาลจะไม่นิยมย่างขายทั้งตัว แต่จะย่างขายเป็นส่วน
ต่างๆ เช่น เนือ้ อก สะโพก ปีก ไมไ้ ผท่ ใ่ี ช้ปง้ิ จะผ่าเป็น ๓ ซกี เวลาเสยี บย่างแลว้ จะเหมือนกับรูปใบพัด ปลายไม้
มัดดว้ ยเสน้ ผักตบชวาแห้ง

๑๓๒ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี

รปู ท่ี ๖๓
ที่มา : https://www.เทย่ี วราชบรุ .ี com/รา้ นอาหารราชบุรี/เตา้ หดู้ ำโพธาราม

เตา้ หูด้ ำ
เต้าหู้ ทำมาจากถั่วเหลืองที่ถูกบดจนละเอียดแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นน้ำ แล้วนำมาทิ้งไว้ให้แข็ง

ในภาชนะ มีต้นกำเนิดมาจากจีน ที่พบโดยทั่วไปจะเห็นเต้าหู้สีขาวหรือเหลือง แต่ที่อำเภอโพธาราม จังหวัด
ราชบุรี มีของดีของเด็ดคือ “เต้าหู้ดำ” ต้นตำรับเต้าหู้ดำคือคุณยายเซี่ยมจู แซ่ฉั่ว หรือที่เรารู้จักในนามว่า
“เตา้ หดู้ ำแมเ่ ลก็ ”

เต้าหู้ดำแม่เล็ก ขายมานานกว่า ๕๐ ปีแล้ว โดยต้นกำเนิดมาจากสมัยก่อนเมื่อคนทานเจ จะไม่ค่อยมี
ตัวเลือกทานมากเท่าสมยั นี้ ซง่ึ ตัวเลอื กที่ทานกนั หลกั ๆ จึงเป็น เตา้ หูข้ าว แตไ่ มส่ ามารถเกบ็ ไว้นานๆ ได้ จึงมคี น
นำมาทำเป็นเต้าหู้ดำขายในตลาด แต่ก็เลิกขายไป เมื่อเห็นว่าไม่มีใครทำต่อ แม่เล็กที่มีอาชีพขายถั่วงอก เต้าหู้
และเส้นก๋วยเต๋ียวอยู่ในตลาดเช่นกัน ได้ลองนำสูตรเต้าหู้ดำของคนก่อนมาปรับให้เป็นสูตรของตัวเองและ
ทำขายจนกลายมาเปน็ ของฝากขึน้ ชื่อของอำเภอโพธารามในท่สี ดุ

หนังสือท่รี ะลึกพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๓๓

เต้าหู้ดำจะมีสีน้ำตาลเหมือนพะโล้ เพราะเราเอาเต้าหู้ขาวไปตุ๋นกับซีอิ๊วดำ แล้วก็ใส่พวกเครื่องพะโล้
อบเชย โป๊ยกั้ก สมุนไพรจีน น้ำตาลทรายแดง เกลือทะเล เคี่ยวเตาถ่านด้วยไฟปานกลาง ประมาณ ๓ วัน
เคี่ยวจนน้ำพะโล้ซึมเข้าเป็นเนื้อเดียวกับเต้าหู้ จึงนำออกมาวางขาย และการนำมาทำแบบนี้ก็ทำให้เต้าหู้มี
รสชาตหิ วานหอมและเก็บได้นานกวา่ เดิม

รปู ท่ี ๖๔-๖๕
ทีม่ า : https://www.เทีย่ วราชบรุ .ี com/ร้านอาหารราชบรุ ี/เตา้ หดู้ ำโพธาราม

๑๓๔ | วัดสัตตนารถปริวตั รวรวิหาร จังหวัดราชบุรี

เพลนิ ค้างคาวรอ้ ยลา้ น

วัดเขาช่องพราน
วัดเขาช่องพรานเป็นวัดที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ หรือในปลาย

รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาเทพประชุน (ปั้น) ต้นตระกูล “ปันยารชุน”
ซึ่งบ้านเดิมอยู่ที่วัดคงคาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้บริจาคที่ดินผืนใหญ่ซึ่งเดิมเป็นป่าอยู่ระหว่าง
เขา ๒ ลูก คือ ระหว่างเขาช่องพรานกับเขาขวาง แต่ปัจจุบันน้ีโล่งกลายเป็นทุ่งนาไปแล้ว โดยร่วมกับพระครู
รามัญบดี (พระอาจารย์ศาล) และญาติมิตรเชื้อสายมอญในละแวกนั้น สร้างแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๑๕ หรือ
ในตน้ รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หวั วดั น้ีอยใู่ นสถานที่กว้างขวางและสวยงาม เพราะสร้าง
ขนึ้ ที่ข่องเขา ๒ ลูก ซึ่งเดมิ เปน็ ทางเดนิ ของสตั ว์ปา่ ท่ลี งมากนิ นำ้ ทหี่ นองนำ้ ขนาดใหญ่ ดังนั้น นายพรานจึงมักมา
คอยดกั ยิงสัตว์เปน็ ประจำ จงึ ตัง้ ช่อื ว่า “เขาช่องพราน” เมอื่ สรา้ งวดั เสรจ็ จงึ ตัง้ ชือ่ ว่า “วัดเขาช่องพราน”

พระยาเทพประชุนได้นำคนไปสร้างวัดนี้เป็นจำนวนมาก ครั้นเมื่อสร้างเสร็จได้ให้คนเหล่านั้นอาศัย
บริเวณวัดต่อไป เพื่อช่วยปลูกข้าวถวายให้แก่พระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาที่วัด เพราะขณะนั้นบ้านเรือน
ราษฎรยังไม่หนาแน่น โดยมอบเนื้อที่ทำนาให้ประมาณ ๘๐ ไร่และเล่ากันต่อมาว่ามีคนอาศัยทำนาประมาณ
๑๐ ครอบครัว วัดเริ่มสร้างเพียงศาลาและกุฎีหลังเล็กๆ มีพระประจำวัดเพียงไม่กี่องค์ ต่อมาจึงค่อยๆ
เพิ่มจำนวนมากขนึ้ ตามลำดบั โดยมพี ระครูรามัญดี (พระอาจารยศ์ าล) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำกองเสือป่าประทับแรมที่บริเวณวดั
เขาช่องพรานและให้บรรดาผู้ติดตามเสด็จนั้น มีพระยาราชสงครามและพระยาปรีชานุสาสน์ (บุตรชาย
พระยาเทพประชุนทั้งสองท่าน) และเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (บุตรเขยพระยาเทพประชุน) รวมอยู่ด้วย
เมื่อเห็นสภาพวัดเขาช่องพรานที่ทรุดโทรมดังนั้นใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ทั้งสองท่านจึงได้ช่วยกันทำการบูรณะช่วย
ซอ่ มแซมเปน็ การใหญ่ พร้อมท้ังสร้างแทน่ พระพุทธรูปในพระอุโบสถดว้ ย

อนึ่งเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ คณะกรรมการวัดได้กระทำพิธีอัญเชิญพระอุรังคธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุ ๔ สัญฐาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันตธาตุ ขึ้นไปประดิษฐาน
ณ บวรวิสุทธิเจดีย์บนยอดเขา เพื่อน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หนังสอื ทร่ี ะลกึ พิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๓๕

ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมมหาจกั รีวงศ์ ในวาระทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เพื่อเป็นท่ี
เคารพสักการะของพระพุทธศาสนกิ ชน
สถานทเ่ี ทีย่ วภายในวัดเขาชอ่ งพราน

ถ้ำพระนอน ลกึ ประมาณ ๑๒๐ เมตร ภายในถ้ำมีทก่ี วา้ งบา้ ง แคบบา้ งทก่ี วา้ งทส่ี ุดประมาณ ๑๔ เมตร
มีพระพุทธไสยาสน์อยู่ ๑ องค์ขนาดยาวประมาณ ๘ เมตร สูงประมาณ ๑ เมตร และมีพระพุทธรูปต่างๆ
ในถำ้ อกี ประมาณกวา่ ๒๐๐ องค์ ไมป่ รากฏวา่ ผู้ใดเป็นผู้สรา้ ง

ขั้นบันได ๔๙๙ ขั้น ชมทิวทัศน์บนยอดเขา นมัสการพระบรมธาตุบวรวิสุทธิเจดีย์ ตรงจุดนี้สามารถ
มองเห็นทิวทัศน์กว้างไกล ชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า และอยู่เหนือปากถ้ำค้างคาว สามารถมองเห็นค้างคาว
ออกจากถ้ำจากมมุ นไี้ ด้

ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่ห่างจากปากถ้ำพระนอนประมาณ ๔๐ เมตร ปากถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ
๒๐ เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ ๑ เมตร ภายในกว้างมากและมืดทึบ เป็นที่อาศัยของค้างคาวหนูจำนวนมาก
หลายล้านตัว ทุกวันเวลาประมาณ ๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น. ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำไปหากินและจะบินกลับเข้า
ถ้ำเวลารุ่งเช้า ๐๕.๐๐ น. สิ่งที่น่าประทับใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ การมาดูค้างคาวบินออกจากปากถ้ำด้วย
ความเรว็ พรอ้ มกันโดยมจี ่าฝงู เปน็ ตัวนำ มีลกั ษณะคล้ายควนั ดำทพี่ ุง่ ออกจากปล่องใชเ้ วลาประมาณ ๑ ชั่วโมง

รปู ท่ี ๖๖-๖๗ วัดเขาชอ่ งพราน
ท่มี า : https://เทยี่ วราชบุรี.com/สถานท่เี ท่ียวราชบุรี/ชมคา้ งคาวรอ้ ยลา้ น-วัดเข

๑๓๖ | วดั สตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวดั ราชบรุ ี

ยา่ นยี่สกปลาดี

รปู ที่ ๖๘
ที่มา : http://chantrawong.blogspot.com/2009/12/blog-post_8208.html

ปลายี่สก เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ หายาก มีราคาสูง และเนื้ออร่อยซึ่งคนในลุ่มน้ำต่างๆ มักเรียกช่ือ
แตกต่างกันไป เช่น คนในแถบแม่น้ำโขง เรียกว่า ปลาเอิน หรือปลาเอินคางมุม ที่แม่น้ำน่านเรียกว่า
ปลาชะเอิน ส่วนในเขตแม่น้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่น้ำแม่กลอง เรียกว่า ปลายี่สกทอง เนื่องจากเกล็ด
ลำตัวของมนั มสี เี หลืองทอง

ปลายี่สกเป็นปลาในตระกูลเดียวกับ ปลาตะเพียน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus julllieni
หน้าตารูปร่างเหมือนปลากะโห้ แต่ลำตัวค่อนข้างกลมและยาวเพรียวกว่า อีกทั้งหัวและเกล็ด
ก็เลก็ กว่าดว้ ย สีสนั ของเกล็ดลำตวั เป็นสีเหลืองทองสวย มีลายดำทอดยาวตามลำตัวจากหัวถงึ โคนหางเจ็ดแถบ
บริเวณหัวจะมีสีเหลืองแกมเขียว เยื่อม่านตาเป็นสีแดงเรื่อๆ ครีบอก ครีบท้อง ครีบหลัง ซึ่งมีก้านครีบเก้าอัน
และครีบก้นซึ่งมีก้านครีบห้าอันนั้น มีเส้นสีชมพูแทรกอยู่บนพื้นครีบสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก
สว่ นปากหนาและมีหนวดสน้ั ๆ หนง่ึ คูท่ ่ขี ากรรไกรบน

หนังสือทีร่ ะลกึ พธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๓๗

รปู ที่ ๖๙ ปลายสี่ ก
ท่ีมา : http://chantrawong.blogspot.com/2009/12/blog-post_8208.html

ปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำที่พื้นท้องน้ำเป็นกรวดทราย มีห้วยหรือวังน้ำที่น้ำลึกและใสสะอาด
จึงพบในลำน้ำแม่กลอง ในหน้าแล้งมันจะพำนักอาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำในเขตแควน้อย แควใหญ่ พอถึงฤดูฝน
เมื่อน้ำไหลหลาก ก็จะว่ายตามกระแสน้ำลงมาหากินในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อใดน้ำเหนือเริ่มลดลง ปลายี่สกจึง
จะทยอยกลับคืนสู่ต้นน้ำ ซึ่งระยะนี้เองที่ชาวประมงในเขต จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เขตอำเภอบ้านโป่ง จนถึง
อำเภอเมอื ง จะออกล่าปลายสี่ กกันตลอดทง้ั ลำนำ้

ความอร่อยของปลายี่สก คือ ไม่คาว เนื้อเหลืองอร่อยเหนียวแน่น รสหอมหวาน กลิ่นเหมือนเผือก
หนังหนากรุบกรอบ โดยเฉพาะเกล็ด เอาไปทอดแล้วเหมือนข้าวเกรียบ ที่สำคัญก้างไม่มาก เพราะตัวใหญ่
มกั นำมาผัด ต้มยำ ตม้ สม้ หรือเจีย๋ น

๑๓๘ | วัดสัตตนารถปริวตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี

บรรณานกุ รม

หนงั สือ
กรมทรพั ยากรธรณ.ี (๒๕๕๑). การจำแนกเขตเพ่ือการจัดการดา้ นธรณีวทิ ยาและทรพั ยากรธรณี จังหวัดราชบุร.ี

กรงุ เทพฯ: บริษทั แอดวานซ์ วิชนั่ เซอร์วสิ จำกดั .
กรมศลิ ปากร. (๒๕๐๗). พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กัลป์ พระจักรพรรดิพงศ์

(จาด). พระนคร : คลงั วทิ ยา
คณะอนกุ รรมการฝ่ายจัดทำหนังสือและของทร่ี ะลึกงานฉลอง ๒๐๐ ปี วันคลา้ ยวนั ประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมหลวงวงษาธิราชสนทิ . จินดามณี. (๒๕๕๑). กรงุ เทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร
คำให้การชาวกรงุ เก่า คำให้การขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบับหลวงประเสรฐิ อักษรนิต.์ิ

(๒๕๑๐). พระนคร : กรมศิลปากร
จารณุ ี อินเฉดิ ฉาย. (๒๕๓๔). ราชบรุ ี. กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร.
จติ ร ภูมิศักดิ.์ (๒๕๒๗). สังคมไทยลมุ่ แมน่ ้ำเจา้ พระยากอ่ นสมยั ศรอี ยธุ ยา. กรุงเทพฯ : เจริญวิทยก์ ารพมิ พ์
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๕๒๖). พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์

รัชกาลท่ี ๒ เลม่ ๑. กรงุ เทพฯ : องค์การคา้ คุรุสภา
เดน่ โชค มนั่ ใจ. (๒๕๕๐). สภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมัน่ คงของหนา้ ผาหินบริเวณเขางู

ตำบลเขางู อำเภอเมอื ง จงั หวดั ราชบุรี. กรงุ เทพฯ : สำนกั ธรณีวทิ ยา กรมทรัพยากรธรณี.
ตรี อมาตยกลุ . (๒๕๑๖, กรกฎาคม). เมืองศมั พกู ปัฏฏนะ. ใน ศลิ ปากร ฉบบั ที่ ๑๗ เลม่ ๒
ธัชสร ตันติวงศ.์ (๒๕๔๘). รอ่ งรอยวฒั นธรรมเขมรในบรเิ วณลมุ่ แม่น้ำแม่กลอง-ทา่ จีน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.

(โบราณคดสี มัยประวตั ศิ าสตร)์ กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร
ปติสร เพญ็ สุต. (๒๕๕๕). ศลิ ปกรรมและสถาปตั ยกรรมในเขตพุทธาวาสวดั มหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี.

วิทยานพิ นธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศลิ ปะ) กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั ศิลปากร
พงศาวดารเหนอื . (๒๕๑๖). กรงุ เทพฯ : พฆิ เณศ
พยงุ วงษน์ อ้ ย. (๒๕๕๒). วดั มหาธาตวุ รวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี. กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร.
พิเศษ เจียจันทรพ์ งษ์. (๒๕๑๗, มกราคม). เมืองราชบุรี และโบราณวัตถใุ ตแ้ มน่ ้ำแมก่ ลอง. ใน ศิลปากร

ฉบบั ๑๗ เลม่ ๕

หนงั สอื ที่ระลกึ พธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๓๙

มโน กลีบทอง. (๒๕๔๔). พพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี และจังหวัดราชบรุ .ี กรุงเทพฯ : พิพธิ ภัณฑ.์
ยอช เซเดส์. (๒๕๒๖). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑. กรงุ เทพฯ : บรรณกิจ.
ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๐๔). ประชมุ ศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ : จารึก ทวารวดี ศรีวิชยั ละโว้. พระนคร :

กรมศิลปากร.
วรรณภิ า ณ สงขลา. (๒๕๓๕). จิตรกรรมไทยประเพณี เลม่ ๑. กรงุ เทพฯ : กรมศลิ ปากร.
วินยั พงศศ์ รเี พยี ร. (๒๕๓๔). ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๗ : ประมวลจารกึ ท่ีพบในประเทศไทยและต่างประเทศ.

กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวตั ิศาสตรไ์ ทยฯ สำนักเลขาธิการนายกรฐั มนตรี
วภิ าภรณ์ อรณุ ปลอด. (๒๕๖๑). หนังใหญ่วัดขนอน: ภูมิหลัง สภาพการณ์ และการสืบสานมรดกทางวฒั นธรรม. ใน

วารสารวิชาการนวตั กรรมส่ือสารสงั คม. ๖ (๒), ๒๑๐-๒๒๒.
ศรนิ ยา ปาทา. (๒๕๔๙). พระพุทธรปู ทรงเคร่ืองน้อยจากพระอุระและพระพาหาซ้ายของพระมงคลบพติ ร

จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา. วิทยานพิ นธ์ ศศ.ม. (ประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปะ) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศรศี ักร วัลลิโภดม. (๒๕๒๐, ตุลาคม-ธนั วาคม). ตามสองฝั่งแม่นำ้ แมก่ ลองกอ่ นพุทธศตวรรษท่ี ๒๐. ใน เมอื ง

โบราณ ฉบับท่ี ๔ เล่ม ๑
_____________. (๒๕๓๓, เมษายน-มิถุนายน). ราชบรุ ี เมอื งทา่ ที่ถูกลืม. ใน เมอื งโบราณ ฉบับท่ี ๑๖ เลม่ ๒
_____________. (๒๕๔๗). ลุม่ น้ำแมก่ ลอง มคี นยุคหินเป็นบรรพชนคนยุคปัจจบุ ัน. ใน ลุ่มนำ้ แมก่ ลอง :

ประวตั ศิ าสตรช์ าติพันธ์ “เครือญาต”ิ มอญ. กรุงเทพฯ : มติชน
สมศักด์ิ รัตนกุล. (๒๕๓๕). โบราณคดเี มืองคบู วั . กรุงเทพฯ : กรมศลิ ปากร.
สมดุ ราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘. (๒๔๖๘). พระนคร : โรงพิมพห์ นังสือไทย
สภุ ักดิ์ อนกุ ูลและคณะ. (๒๕๓๒). ของดเี มืองราชบรุ ี. กรุงเทพฯ : สำนักงานจงั หวัดราชบุรี.
สุรพล นาถะพนิ ธุ และเย็นจิต สขุ วาสนะ. (๒๕๓๓, เมษายน-มิถนุ ายน) แหลง่ โบราณคดีในจงั หวัดราชบุรี ใน

เมอื งโบราณ ฉบับ ๑๖ เลม่ ๒
เอนก นาวกิ มูล. (๒๕๔๖). หนงั ตะลุง-หนังใหญ่. รวมสารคดวี ่าดว้ ยหนังตะลุงท่ัวประเทศและหนงั ใหญภ่ าคกลาง.

กรุงเทพฯ: พมิ พ์คำ.
Bernard Phillippe Groslier. (1973). Inscriptions du Bayon, Le Bayon : histoire architecturale du

temple. Paris : Ecole francaise d’Extreme-Orient

๑๔๐ | วดั สัตตนารถปริวตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบุรี

G.P.Malalasekera. (1994). The Pali Literature of Ceylon. Colombo : Karunaratne and Sons
Huntington Susan H. (1985). The art of ancient India : Buddhist, Hindu, Jain. New York :

Weatherhill

ออนไลน์
กรมศิลปากร. (๒๕๖๓). อกั ษรพระปรมาภไิ ธยยอ่ จปร ในจังหวดั ราชบุรี. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔

จาก https://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum/view/21796
กองบก. (๒๕๖๓). ไปกนิ กนั “ไกย่ ่างบางตาล” เน้ือฉำ่ หนังกรอบ หอมเครอ่ื งเทศ.

สบื คน้ เม่ือ ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.thethaipress.com/2020/28173
การทอ่ งเทยี่ วแหง่ ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ถำ้ จอมพล. สบื คน้ เม่ือ วันท่ี ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔

จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถ้ำจอมพล
การท่องเทยี่ วแหง่ ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ถ้ำเขาบิน. สืบคน้ เม่ือ วนั ท่ี ๒๗ กนั ยายน ๒๕๖๔

จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถ้ำเขาบนิ
การทอ่ งเท่ยี วแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ถำ้ ฤๅษเี ขางู. สบื คน้ เม่อื วันท่ี ๒๗ กนั ยายน ๒๕๖๔

จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถ้ำฤาษีเขางู
การทอ่ งเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ถ้ำสาริกา. สืบคน้ เม่ือ วนั ท่ี ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔

จาก https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถำ้ สารกิ า
กิตตินันท์ นาคทอง. (๒๕๖๑). ๑๕๐ ปี คลองดำเนนิ สะดวก ยคุ ถนนลาดยางเข้ามาแทนที.่ สบื ค้นเมอ่ื

๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://mgronline.com/columnist/detail/9610000052291
คมชดั ลกึ ออนไลน์. (๒๕๕๖). อลังการโบสถ์ทองคำร้อยลา้ นวดั พระศรีอารย์ราชบุรี.

สบื ค้นเมือ่ วันท่ี ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.komchadluek.net/amulet/165425
คณุ ชาย ๓. (๒๕๖๓). ไกย่ า่ งบางตาล ของแท้ @ซอยเสนานเิ วศน์ แถมราคาสบายกระเป๋า. สบื คน้ เมื่อ

๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ จากhttps://www.thairath.co.th/lifestyle/food/review/1965915
คำขวญั จังหวัดราชบุรี. (๒๕๕๒) สบื คน้ เม่อื ๑๒ กันยายน ๒๕๖๔

จาก http://rb-history.blogspot.com/2009/10/blog-post_02.html

หนงั สือทร่ี ะลกึ พิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๔๑

คดิ แลว้ เขยี น. (๒๕๕๒). ย่านยีส่ กปลาดี คำขวญั ราชบรุ ที ่ีกำลังถูกลบทิง้ . สบื คน้ เม่ือ ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๔
จาก http://chantrawong.blogspot.com/2009/12/blog-post_8208.html

เครอ่ื งปัน้ ดนิ เผา ราชบรุ ี. (ม.ป.ป.) สืบคน้ เม่อื ๑๒ กันยายน ๒๕๖๔ จาก
https://sites.google.com/site/earthenwareratchaburi/home/wasdu-xupkrn-tools

เทีย่ วราชบุร.ี com. (ม.ป.ป.). ชมคา้ งคาวรอ้ ยล้าน วดั เขาช่องพราน. สบื ค้นเม่ือ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔
จาก https://www.เที่ยวราชบรุ ี.com/สถานทีเ่ ทย่ี วราชบุร/ี ชมคา้ งคาวร้อยลา้ น-วดั เข

เท่ยี วราชบุรี.com. (ม.ป.ป.). เต้าหดู้ ำโพธาราม. สบื คน้ เมอ่ื ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔
จาก https://www.เท่ียวราชบุร.ี com/รา้ นอาหารราชบรุ ี/เตา้ ห้ดู ำโพธาราม

เทย่ี วราชบรุ .ี com (ม.ป.ป.). ถำ้ เขาบนิ . สบื คน้ เมือ่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔
จาก https://www.เท่ียวราชบรุ ี.com/สถานทีเ่ ทีย่ วราชบรุ /ี ถำ้ เขาบิน

ธนาคารภูมิปัญญา ธนาคารออมสนิ . (๒๕๕๘). ราชบุรี โอ่งมังกร. สืบค้นเม่ือ ๑๒ กนั ยายน ๒๕๖๔
จาก https://localwisdom.gsb.or.th/category/index/ราชบรุ ี

ภานพุ งศ์ สิทธิสาร. (๒๕๕๖, ตลุ าคม). “คลองดำเนินสะดวก” แหง่ ราชบรุ ี แถบไหนในอดีตโจรชมุ กว่ายุง
ดวู ิถชี าวบ้าน ผลไม้-หลวงพอ่ ดัง. ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบบั ตลุ าคม ๒๕๕๖ สบื ค้นเมือ่
วนั ท่ี ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_14961

รัชดา พินิจกุล. (๒๕๕๒). โอ่งลายมังกร. สืบค้นเมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๔ จาก
http://rb-history.blogspot.com/search/label/โอ่งมังกร

ราชบุรีศกึ ษา. (๒๕๕๓). นกั ล่าย่สี กแห่งลมุ่ นำ้ แม่กลอง. สืบค้นเมือ่ ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๔
จาก http://rb-history.blogspot.com/2010/04/blog-post.html

วัดถำ้ น้ำ ราชบรุ ี. (ม.ป.ป.). สบื คน้ เมอื่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔
จาก https://www.paiduaykan.com/travel/วดั ถำ้ น้ำ-ราชบรุ ี

ศาลเจ้าทง่ เฮงต๊ัว. (ม.ป.ป.). ประวตั ิคลองดำเนนิ สะดวก. สืบคน้ เมอ่ื ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔
จาก http://www.tonghengtua.com/dumnern.html

ศูนย์มานษุ ยวิทยาสิรินธร. (ม.ป.ป.) ๑๐ คน ทำพิพิธภณั ฑบ์ ันทึกประสบการณแ์ ละการทำงาน. สืบคน้ เมือ่ ๒๕
กันยายน ๒๕๖๔. จาก https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html

๑๔๒ | วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวัดราชบุรี

ศนู ยม์ านุษยวิทยาสิรินธร. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลศลิ ปกรรมในประเทศไทย : พระพทุ ธรูปน่ังหอ้ ยพระบาท.
สบื คน้ เมอื่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ จาก http://sac.or.th/databases/thaiarts/artwork/274

ศูนยม์ านษุ ยวทิ ยาสริ ินธร. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมลู แหล่งโบราณคดที สี่ ำคัญในประเทศไทย : ถ้ำฤๅษี เขาง.ู
สบื คน้ เมอ่ื ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/24

สำนักวทิ ยบรกิ าร มหาวิทยาลัยราชภัฏหม่บู ้านจอมบึง. (๒๕๖๔). ตามรอยจารกึ อกั ษรพระปรมาภไิ ธยยอ่ จ.ป.ร.
ในราชบุร.ี สืบค้นเม่อื ๒๗ กนั ยายน ๒๕๖๔ จาก http://arit.mcru.ac.th/e-
chayaratchaphuri/index.php

สำนกั วทิ ยบรกิ าร มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมูบ่ า้ นจอมบงึ . (๒๕๖๔). หนงั ใหญ่วัดขนอน.
สบื ค้นเมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔. จาก http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?
option=com_content&view=article&id=156:project4-10&catid=82&Itemid=790

สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุร.ี (๒๕๖๓). หนังใหญ่วัดขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี.
สบื ค้นเมือ่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔. จาก https://www.finearts.go.th/fad1/view/13095

สำนกั วทิ ยบริการ มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บา้ นจอมบงึ . (๒๕๕๕). วดั เขาช่องพราน. สบื ค้นเมอ่ื
๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ จาก http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option
=com_content&view=article&id=112:project4-3&catid=82

เส้นทางเศรษฐอี อนไลน.์ (๒๕๖๔). เคยกินยงั !? เตา้ หู้ดำแมเ่ ล็ก ของดโี พธาราม ตม้ ด้วยเตาถ่าน ขายมานานกวา่
๕๐ ป.ี สืบคน้ เมอ่ื ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.sentangsedtee.com/food-recipes-for-
job/article_185352

aichan. (๒๕๖๓). ถ้ำจอมพล ทีเ่ ท่ียวราชบรุ ี ชมมหศั จรรยค์ วามงามธรรมชาติ ใกล้กรงุ เทพ.
สืบค้นเมือ่ ๒๗ กนั ยายน ๒๕๖๔ จาก https://travel.trueid.net/detail/520R1Jx0KDB

Chombueng Marathon. (๒๕๖๐, ๑๔ ธนั วาคม). “คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโปง่ เมอื งโอ่งมังกร วัดขนอน
หนงั ใหญ่ ต่ืนใจถำ้ งาม ตลาดน้ำดำเนนิ [status update].
Facebook. https://www.facebook.com/chombuengmarathon/posts/1480083185374597/

edtguide. (๒๕๕๒). วัดพระศรอี ารย์ ราชบุรี. สืบค้นเมอื่ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔
จาก https://www2.edtguide.com/index.php/www/travel/227247/wat-phra-si-
an#PhotoSwipe1634462461171

หนังสือทร่ี ะลกึ พิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๑๔๓

SME Thailand. (๒๕๖๔). เปิด ๕ ตำนานไกย่ ่างชือ่ ดัง เกิดจากไหนและใครเกา่ แก่ท่ีสุด?. สบื ค้นเมื่อ
๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.smethailandclub.com/entrepreneur-6759-id.html

THAILAND TOP VOTE. (๒๕๕๙). ตลาดนำ้ ดำเนนิ สะดวก เทยี่ วชลิ ลช์ มิ ชอ้ ปของอร่อย ตลาดนำ้ โบราณ
ชอ่ื ดังของไทย. สบื ค้นเมอ่ื ๒๖ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.thailandtopvote.com/ท่ีเที่ยว/
ท่เี ที่ยว-77-จังหวัด/43179/

Thailand Top Vote. (๒๕๖๑). นมัสการพระพุทธฉายสมยั ทวารวดี ถ้ำฤๅษีเขางู อุทยานหินเขางู จังหวัด
ราชบรุ ี. สืบคน้ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ จาก https://www.thailandtopvote.com/ที่เท่ียว-77-
จงั หวัด/61439/

TRAAVE.com. (๒๕๕๘). “อโุ บสถทองคำร้อยล้าน” วดั พระศรอี ารย์ จ.ราชบุรี. สบื คน้ เม่ือ
วนั ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ จาก http://www.traave.com/วดั พระศรอี ารย์/7


Click to View FlipBook Version