๕๐ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวดั ราชบรุ ี
ระหว่างภูมิภาค ดังปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุจากภายนอกภูมิภาคในแหล่งโบราณคดีสำคัญต่างๆ ในเขต
จังหวัดกาญจนบุรี เช่น บ้านดอนตาเพชรและพงตึก อำเภอท่ามะกา ส่วนในเขตจังหวัดราชบุรี ในบริเวณลุ่ม
แม่นํ้าแม่กลองตอนล่างในเมืองราชบุรี แถบโคกหม้อและเกาะศาลพระ พบเครื่องถ้วยและภาชนะดินเผาชนิด
ต่างๆ ซึ่งค้นพบจากใต้แม่นํ้าแม่กลอง บางชิ้นมีแหล่งผลิตจากภายนอกภูมิภาค เช่น เหรียญอีแปะ
และเครื่องถ้วยจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง หยวน หมิงและชิง เครื่องเคลือบศิลปะลพบุรี และเครื่องเคลือบ
สงั คโลกจากเมอื งสโุ ขทยั และศรีสชั นาลยั เป็นตน้ ๕
สว่ นเส้นทางระหว่างภมู ิภาคภายในดินแดนประเทศไทยนนั้ หากเดินทางทวนแม่นํ้าแม่กลองขึ้นไปทาง
ทิศเหนือ จะถึงบริเวณปากแม่นํ้าแควน้อยบรรจบกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งเรียกว่าปากแพรก ที่เมืองกาญจนบุรี
ใกล้กันกับปากแพรกนัน้ มีลำนํ้าทวนไหลผ่านอำเภอพนมทวน เป็นสายนํ้าขนาดเล็กที่ไหลทวนย้อนขึ้นทางทิศ
เหนือ สามารถเดินทางเชื่อมกับบ้านดอนตาเพชร และไหลลงสู่แม่นํ้าจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง ซึ่งเป็นเมือง
โบราณขนาดใหญ่ มกี ารอยูอ่ าศัยและรอ่ งรอยการติตต่อกับภายนอกภมู ิภาคต้งั แต่สมยั ก่อนประวัติศาสตร์
การเตบิ โตของเมอื งราชบุรีทีส่ บื เน่อื งจากเมืองคบู ัว
สันนิษฐานว่า การเติบโตขึ้นของเมืองราชบุรี เกิดขึ้นจากการที่เมืองคูบัว ซึ่งเป็นชุมชนสมัยทวารวดี
ขนาดใหญใ่ นภาคตะวันตกลดความสำคญั ลง เน่ืองจากสาเหตุต่างๆ โดยทั่วไปเชื่อว่าเกิดจากการที่เส้นทางของ
แม่น้ำเปล่ยี นทศิ ทาง และตื้นเขินลง เกิดแม่น้ำสายใหม่ คอื แมน่ าํ้ แมก่ ลองในปจั จุบัน ส่วนแมน่ ำ้ สายเดิมเรียกว่า
แมน่ ้ำออ้ มหรีอแควออ้ ม
เมืองคูบัว (รูปท่ี ๑) เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ ต้งั อยูใ่ นตำบลคูบัว อำเภอเมอื งราชบุรี จงั หวัดราชบุรี
มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ยาวประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร และกว้างประมาณ ๘๐๐ เมดร มีเจดีย์วัด
โขลง หรือเจดียห์ มายเลข ๑๘ เปน็ ศาสนสถานขนาดใหญป่ ระจำเมือง นอกจากนี้ ยังมเี จดยี ์ขนาดต่างๆ อีกกว่า
๖๐ องค์โดยมีการประดับประดาปูนปั้นเรื่องชาดก เทวดา คนแคระ กินรี ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมต่างๆ
มากมาย ศิลปกรรมบางชิ้นสามารถเทียบเคียงได้กับศิลปะวกาฏกะ (Vakataka) ในรัฐมหาราษฎร์ ประเทศ
อินเดีย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓๖ บางชิ้นสื่อให้เห็นการนับถือพระโพธิสัตว์ แสดงว่าในเมืองคูบัว อาจมีการ
๕ จารณุ ี อนิ เฉดิ ฉาย. (๒๕๓๔). ราชบุรี. หน้า ๑๔๘-๑๕๗
๖ Huntington Susan H. (1985). The art of ancient India : Buddhist, Hindu, Jain. p.239
หนังสือท่รี ะลึกพิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๕๑
นับถอื ทงั้ พุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายมหายานควบคูก่ ันไป ที่สำคญั คือ มกี ารขดุ คน้ ผอบบรรจุพระบรม
สารีริกธาตุ จากเจดยี ์หมายเลข ๑ ซึ่งเปน็ เจดีย์อิฐขนาดใหญ่ในเมือง โดยบรรจอุ ยูใ่ นผอบเงิน ฝาเป็นรูปดอกบัว
ประดิษฐานอยู่ในช่องกลาง หนึ่งในห้าช่องของกล่องหินสี่เหลี่ยมคล้ายกับยันตรกัลในศรีลังกา๗ สันนิษฐานว่า
คติการบูชาพระสถูปเจดีย์ ในฐานะที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามความเชื่อในพทุ ธศาสนาเถรวาทมมี าต้งั แต่
สมัยทวารวดีแลว้ และอาจมีคตเิ ก่ยี วกับพระมหาธาตุสำคัญประจำเมอื งแลว้ กเ็ ป็นได้
รูปท่ี ๑
ทีม่ า : ดดั แปลงจาก https://www.google.co.th/maps/@13.4844845,99.834834,4348m/
ตัวเมอื งคบู วั มคี นู ้ำลอ้ มรอบท้ัง ๔ ทศิ ซงึ่ คนู ำ้ เหล่านี้ นา่ จะใชส้ ำหรบั การบรโิ ภค การคมนาคมและการ
จัดการนํ้ากักเก็บและระบายนํ้ามากกว่าใช้สำหรับกำหนดขอบเขตหรือป้องกันเมือง ตัวเมืองคูบัวต้ังอยูท่ างทิศ
ตะวันออกของภูเขาขนาดย่อม คือเขาธนู เขาขี้วัว เขาหนองเสือ และเขาใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ งของเทือกเขา
๗ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). แหล่งเดมิ หนา้ ๕๑
๕๒ | วดั สตั ตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี
ตะนาวศรี๘ ดังนั้นจึงได้รับนํ้าจากภูเขาทางทิศตะวันตกนี้ โดยมีห้วยคูบัวนำนํ้าเข้ามายังคูเมืองทางทิศเหนือ
กอ่ นจะไหลเลยไปทางทศิ ตะวนั ออก ลงสู่แม่น้ำอ้อมซงึ่ อยหู่ ่างจากตวั เมอื งคบู ัวประมาณ ๒.๗ กิโลเมตร
ส่วนคูเมืองทางด้านตะวันตกขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ คูเมืองด้านนี้มีลำห้วยไหลผ่าน เรียกว่า
ห้วยชินสีห์ ซึ่งไหลแยกมาจากลำห้วยคูบัว ไหลผ่านตัวเมืองคูบัวไปออกทางคูเมืองต้านตะวันออกลงสู่แม่น้ํา
ออ้ มทตี่ ำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง มีวัดชอื่ เวยี งทุน หรือเวยี งท่นุ ซงึ่ สนั นษิ ฐานว่าเปน็ ชมุ ชนปากนํ้าของ
หว้ ยชินสีห์ มกี ารคน้ พบเสากระโดงเรือและซากเรือจม รวมท้งั เศษภาชนะดนิ เผาต้ังแตส่ มยั ทวารวดี และเคร่ือง
ถว้ ยจนี ในราชวงศซ์ ้อง ราชวงศห์ ยวน และราชวงศ์หมิง๙ แต่ปจั จุบนั หว้ ยชนิ สีหน์ ตี้ ื้นเขนิ มาก
นอกจากนี้ ยังมีแอ่งนํ้าขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง เรียกว่าอู่เรือ มีลำรางยาวไป
จนถึงแมน่ ํา้ ออ้ ม รวมทง้ั เชอื่ มตอ่ กบั คูเมืองตา้ นตะวันออกเลยมาจนถงึ โบราณสถานวัดโขลง เดิมอาจจะเป็นทาง
นำ้ สำคัญภายในเมืองคูบวั ท่ีใช้ติดตอ่ คมนาคมกบั ภายนอกกเ็ ป็นได้
ในอดีต แม้ว่าเมืองคูบัวตั้งอยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งทะเลเดิมมากนัก และตัวเมืองก็ตั้งอยู่บนสันทราย
ชายฝ่ังทะเลเดิม แตก่ อ็ ยูห่ า่ งจากทางคมนาคมสายหลกั คือแมน่ า้ํ ออ้ ม ซ่งึ เปน็ แม่น้ำแม่กลองสายเดิม จึงจำต้อง
มีเส้นทางน้ำ เช่น ห้วยคูบัวและห้วยชินสีห์ในการติดต่อคมนาคม ใช้เป็นเส้นทางระบายน้ำในฤดูนํ้าหลาก
และกักเก็บน้ำในฤดูแล้ง การที่เมืองคูบัวลดความสำคัญลงไป อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศ
เช่น ลำน้ำที่ไหลผ่านเมืองเกิดต้ืนเขิน เมืองคูบัวซ่ึงมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินดนิ ขนาดใหญ่ย่อมขาดแคลนน้ำ
ลง แม้ทุกวันน้ีชาวบ้านในคูบัวก็ยังขาดแคลนน้ำ๑๐ อีกทั้งแม่น้ำอ้อมซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมเดมิ เกดิ ตืน้ เขินคด
เคี้ยว ไมเ่ หมาะสมต่อการคมนาคม จึงหันไปใช้แม่นำ้ แมก่ ลองในปัจจบุ ันซง่ึ เป็นเส้นตรงแทน
จะสังเกตไดว้ ่า ตำแหน่งทีต่ งั้ ของเมืองราชบรุ เี ดิม อยู่ไมห่ ่างจากบรเิ วณท่แี ม่น้ำออ้ มและแมน่ ้ำแม่กลอง
บรรจบกันมากนัก จึงเชื่อว่าผู้คนจากเมืองคูบัวอาจอพยพย้ายถิ่นขึ้นไปทางทิศเหนือ และไปสร้างชุมชนเมือง
ใหม่อันมีศูนย์กลางอยู่ทางฝ่ังตะวันตกของแม่น้ำแมก่ ลองก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่คูบัว ซึ่งเป็นศูนย์กลาง
ของชุมชนขนาดใหญ่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ยังคงรุ่งเรืองอยู่ เมืองราชบุรีอาจเกิดขึ้นแล้ว แต่มีสภาพเป็นชุมชน
เมืองท่าริมฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากปรากฏร่องรอยถนนโบราณ ซึ่งปัจจุบันขาดเป็นตอนๆ ตัดออกจากคูเมืองด้าน
๘ สมศกั ดิ์ รัตนกุล. (๒๕๓๕). โบราณคดเี มอื งคบู วั . หนา้ ๒๒
๙ ศรศี กั ร วลั ลโิ ภดม. (๒๕๓๓, เมษายน-มถิ ุนายน). ราชบรุ ี เมอื งทา่ ท่ีถกู ลมื . ใน เมอื งโบราณ ฉบบั ท่ี ๑๖ เล่ม ๒ หนา้ ๓๐
๑๐ สมศักดิ์ รตั นกุล. (๒๕๓๕). แหลง่ เดมิ หนา้ ๒๓
หนงั สอื ทร่ี ะลกึ พิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๕๓
เหนือของคูบัว มายังคูเมืองด้านใต้ของราชบุรี ซึ่งห่างกันเพียง ๕ กิโลเมตร และยังปรากฏถนนโบราณอีกสาย
หน่ึงตัดออกจากทางดา้ นใต้ของเมืองคูบวั ฝานลงไปทางใต้ ผา่ นอำเภอปากทอ่ ถนนสายนี้ปจั จบุ นั หายไปในเขต
อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นชุมชนทวารวดีเช่นเดียวกัน๑๑ ชาวบ้านเรียกถนนสายนี้ว่า ถนน
ท้าวอู่ทอง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสันทรายของชายทะเลเดิมในสมัย ๓,๐๐๐ ปีที่แล้ว ก่อนที่ชายฝ่ังทะเลจะต้ืน
เขนิ ยาวออกไปเหมอื นทุกวนั น้ี๑๒
หลักฐานอีกประการหนึ่งที่อาจบ่งชี้ว่า ตัวเมืองราชบุรีมีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดี คือการ
ปรากฏเขตศักดิ์สิทธิ์นอกเมือง หรือที่เรียกกันในสมัยหลังว่า เขตอรัญญิก ในบริเวณเทือกเขางู เป็นเขาหินปนู
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ ๖ กิโลเมตร และห่างจากเมืองคูบัว ๑๔
กิโลเมตร มีถํ้าตามธรรมชาติที่ได้รับการดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานสำหรับนักบวชมาปฏิบัติธรรมตั้งแต่สมัย
ทวารวดีอย่างนอ้ ย ๔ ถ้ํา คอี ถาํ้ ฤาษี ถ้าํ จนี ถาํ้ จาม และถ้ำฝาโถ
ถํ้าเหล่านี้ปรากฏการประดับประดาผนังด้วยลวดลายปูนปั้นในศิลปะทวารวดี ที่สำคัญปรากฏจารึก
อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กล่าวถึง "ปุญกรมชฺระ ศรีสมาธิคุปตฺ" แปลว่า พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธ์ิ
ด้วยการกระทำบุญ๑๓ สลักไวํใต้ฐานพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทแสดงวติ รรกมุทรา ชื่อศรีสมาธิคุปตะ
ที่ปรากฏในจารึก อาจเปน็ ฤาษหี รอื พระภิกษใุ นพทุ ธศาสนา ท่ีใช้ถา้ํ เปน็ สถานทีใ่ นการบำเพญ็ เพียรก็เป็นได้
การที่ปรากฏถํ้าศาสนสถานในเทือกเขางู แสดงให้เห็นคติเรื่องพ้ืนที่ศักดิ์สิทธิ์ในถํ้าหรือภูเขา ที่ใช้ใน
การปฏบิ ตั ิธรรมภายนอกชมุ ชน อนั สืบเนื่องมาจากตวั อย่างของวัดถํา้ ต่างๆ ในอนิ เดีย อย่างไรกต็ าม การปฏิบัติ
ธรรมของนักบวชแม้จะอยูห่ า่ งจากชมุ ชน แต่ก็จำต้องพึง่ พาอาศัยปัจจัยการดำรงชีวิตจากชมุ ชนด้วย ระยะทาง
๖ กิโลเมตรจากชุมชนที่เมืองราชบุรี ไม่ไกลมากนักในการปฏิบัติบูชานักบวชที่จำศีลภาวนาในเทือกเขางู แต่
ค่อนข้างไกลสำหรับเมืองคูบัว จึงอาจเป็นไปได้ว่า ศาสนสถานแถบเขางู อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชุมชนใน
เมืองราชบุรี หลักฐานความสบื เนื่องของเมอื งราชบุรีกับชุมชนโบราณที่คูบัวอีกประการหนึ่ง อาจสังเกตได้จาก
ลกั ษณะแผนผังของตัวเมือง ซง่ึ มีความใกล้เคยี งกับแผนผงั เมืองในวัฒนธรรมทวารวดี เป็นรูปสี่เหล่ียมผืนผ้ามุม
๑๑ ศรศี ักร วลั ลโิ ภดม. (๒๕๒๐, ตลุ าคม-ธนั วาคม). ตามสองฝ่ังแมน่ ำ้ แมก่ ลองก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐ = Pre Fourteenth century settlements
along the Mai Klong river. ใน เมืองโบราณ ฉบับที่ ๔ เล่ม ๑ หน้า ๘๘
๑๒ ศรศี ักร วลั ลิโภดม.(๒๕๔๗). แหลง่ เดิม หนา้ ๓๘
๑๓ ยอร์ช เซเดส์. (๒๕๐๔). ประชมุ ศลิ าจารึกสยาม ภาคท่ี ๒ : จารึก ทวารวดี ศรวี ิชยั ละโว้. หนา้ ๓๕
๕๔ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จงั หวัดราชบุรี
มน ขนาดไม่สม่ำเสมอ กว้าง ๕๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๒,๒๕๐ เมตร๑๔ ซึ่งขนาดใกล้เคียงกบั เมืองคูบวั มีคูน้ำ
คันดินเป็นกำแพงล้อมรอบ ๓ ด้าน คือทิศเหนือ ตะวันตก และทิศใต้ ส่วนทิศตะวันออกติดแม่ น้ำแม่กลอง
ในอดีตสันนิษฐานว่ามีกำแพงเมือง ซึ่งสร้างในสมัยหลังลงมา แต่ปัจจุบันกำแพงเมืองทั้งสามด้านถูกทำลายจน
เกอื บหมดสภาพแล้ว สว่ นคลองคเู มือง กถ็ กู ปรับพ้ืนที่จนหมดสภาพแล้วเช่นกนั ยังคงเหลอื เฉพาะคลองโรงช้าง
ซ่ึงเปน็ คเู มืองทางทศิ ใตเ้ ทา่ นัน้
การแพร่กระจายของวัฒนธรรมเขมรในพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘
วัฒนธรรมทวารวดีเจริญอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ ปีก็เสื่อมลงในช่วงพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สาเหตุทีว่ ัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมไปนั้น โดยทั่วไปเช่ือว่าเกิดจากการ
เข้ามาของวัฒนธรรมเขมร ซึ่งในภาคกลางของไทยปรากฏหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรที่บ่งชี้อย่างชดั เจนวา่
ราชสำนักเขมรเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ ในภาคกลางที่ทราบกันดี เช่น เมืองลพบุรี ซึ่งปรากฏ
จารึกของพระเจ้าสุริยวรมันท่ี ๑ ส่วนในจังหวัดราชบุรีเอง ก็ปรากฏหลักฐานภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาใน
จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งสามารถกำหนดอายุได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ รวมทั้งเครื่องถ้วยสมัยห้าราชวงศ์
และราชวงศ์ซงุ่ ของจีน ซึ่งร่วมสมัยและมีความคลา้ ยคลึงกบั เครอื่ งถ้วยเขมร๑๕
ส่วนหลักฐานเกี่ยวกับอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรจากเมืองพระนครในเมืองราชบุรี ปรากฏชัดเจนที่สุด
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยเฉพาะพุทธศาสนามหายาน ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ในรัชสมยั พระเจ้าชัยวรมันท่ี ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร ดงั นนั้ วัฒนธรรมเขมรจึงน่าจะเข้ามา
มีบทบาทในภาคตะวันตกของประเทศไทยในระยะเวลานี้ โดยเฉพาะเมื่อราชบุรีมีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม
ข้ามคาบสมุทรที่สำคัญ สามารถติดต่อกับทะเลอันดามันได้โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู ทั้งยังสามารถออกสู่
อ่าวไทยได้โดยสะดวก ดังนั้นจึงปรากฏว่า มีการค้นพบรอ่ งรอยของวัฒนธรรมพุทธศาสนามหายานซึง่ ร่วมสมยั
กับศิลปะบายนในเมืองพระนครแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในภาคตะวันตกของประเทศไทยโดยเฉพาะบนเส้นทาง
การค้าข้ามคาบสมทุ ร ท้ังในจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรีและราชบุรี
๑๔ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). แหลง่ เดมิ หนา้ ๕๙
๑๕ พเิ ศษ เจยี จันทรพ์ งษ.์ (๒๕๑๗, มกราคม). เมืองราชบรุ ี และโบราณวตั ถใุ ต้แมน่ ำ้ แม่กลอง. ใน ศลิ ปากร ฉบับ ๑๗ เลม่ ๕ หน้า ๘๖-๘๗
หนงั สอื ทีร่ ะลึกพธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๕๕
การปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเขมรในภาคตะวันตกของไทย ทั้งเมืองเพชรบุรี
และราชบรุ ี รวมท้ังในคาบสมทุ รภาคใตข้ องไทย แสดงใหเ้ หน็ ว่า เมืองพระนครพยายามเข้ามามีอิทธิพลและให้
ความสนใจต่อการค้าขายข้ามคาบสมุทร ติดต่อกับทะเลอันดามัน ซึ่งเชื่อมโยงกับอินเดียและโลกตะวันตกได้
โดยไม่ผา่ นพ่อค้าคนกลางเดมิ อย่างศรีวิชยั
ในจารึกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งจารึกขึ้นในสมัยพระเจ้าชยั วรมันที่ ๗ ได้กล่าวถึงเมืองต่างๆ ที่พระองค์
พระราชทานพระชยั พุทธมหานาถไปประดิษฐานไว้ ณ ศาสนสถานประจำเมือง มีการออกชื่อเมืองถึง ๒๓ แห่ง
และสันนิษฐานว่า บางเมืองน่าจะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เช่น “ลโวทยปุระ” อันหมายถึงเมืองลพบุรี
“สุวรรณปุระ” อันอาจหมายถึงสุพรรณบุรี บริเวณเนินทางพระ อำเภอสามชุก “ศรีชัยวัชรปุรี” น่าจะได้แก่
เมืองเพชรบุรี ซึ่งปรากฏโบราณสถานปราสาทกำแพงแลง “ศรีชัยสิงหปุรี” อาจหมายถึงเมืองสิงห์ที่อำเภอ
ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และ “ชยราชปุรี” ส้นนิษฐานวา่ เปน็ เมืองราชบุรีที่มีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลางของ
เมือง๑๖ นอกจากนี้ยังมีจารึกที่ปราสาทบายนได้ออกชื่อ “นครศรีชัยราชปุรี” และ “นครศรีวัชรปุระ”๑๗ ด้วย
แมว้ ่าในปัจจุบันจะยงั ไมม่ หี ลักฐานที่ยนื ยนั แน่ชัดถึงขอ้ สนั นิษฐานเหลา่ นี้ก็ตาม
ในบรเิ วณลมุ่ แม่น้ำแม่กลอง เลยไปจนถงึ แม่น้ำแควน้อย ซ่ึงสามารถขา้ มเทือกเขาตะนาวศรี ติดต่อกับ
เมืองทวายในสหภาพพม่าและทะเลอันดามัน ปรากฏเมืองโบราณ และหลักฐานทางโบราณคดีเนื่องใน
วฒั นธรรมเขมรจำนวนหน่ึง เรยี งรายไปตามลำน้ำ ต้ังแต่เมอื งราชบุรี ซ่ึงอยใู่ กลป้ ากน้ำแม่กลอง ขึ้นเหนือไปคือ
สระโกสินารายณ์ที่อำเภอบ้านโป่ง และ ล่องทวนขึ้นตามแม่น้ำแม่กลองจนถึงปากแพรก เป็นทางแยกแม่น้ำ
แควน้อยและแมน่ ้ำแควใหญ่ เลยี้ วลงใตต้ ามแม่นำ้ แควน้อย ก็จะพบเมืองสิงห์ในอำเภอไทรโยค๑๘ นอกจากน้ียัง
มีเมอื งครุฑ ทตี่ ั้งอยคู่ ่อนข้างห่างจากลำน้ำ ระหวา่ งแมน่ ้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ อน้ อาจเป็นเส้นทางเดิน
บนที่ลัดระหวา่ งลำน้ำทั้งสอง ชุมชนเหล่าน้ีมีความสำคัญมาตั้งแต่สมยั ก่อนประวตั ิศาสตร์ จนกระทั่งเติบโตขน้ึ
อย่างรวดเร็วในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ด้วยแรงขับดันจากการค้าข้ามคาบสมุทรและวัฒนธรรมเขมร
แต่หลงั จากน้ันกม็ ไิ ด้คงความสำคญั เป็นเมืองขนาดใหญ่อีกตอ่ ไป
๑๖ ตรี อมาตยกุล. (๒๕๑๖, กรกฎาคม). เมืองศัมพูกปัฏฏนะ. ใน ศิลปากร ฉบับท่ี ๑๗ เลม่ ๒ หน้า ๖๙-๗๐
๑๗ Bernard Phillippe Groslier. (1973). Inscriptions du Bayon, Le Bayon : histoire architecturale du temple. P.86-87
๑๘ ธชั สร ตันตวิ งศ์. (๒๕๔๘). รอ่ งรอยวฒั นธรรมเขมรในบรเิ วณลมุ่ แม่น้ำแม่กลอง-ท่าจนี . วทิ ยานพิ นธ์ ศศ.ม. (โบราณคดสี มยั ประวัติศาสตร์)
หนา้ ๔๕
๕๖ | วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวหิ าร จังหวดั ราชบุรี
สำหรบั วัดมหาธาตุวรวหิ าร ราชบรุ ี มรี อ่ งรอยของวัฒนธรรมพุทธศาสนา มหายานอนั เนอ่ื งมาจากเมือง
พระนครอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นซากปราสาทประธานก่อด้วยศิลาแลงด้านหน้าวิหารหลวง กำแพงแก้ว
สร้างจากศิลาแลงและหินทราย ประดับด้วยทับหลัง กำแพงสสักพระพุทธรูป และซากฐานโคปุระด้านทิศ
ตะวันออกของตวั วัด นอกจากน้ี ในบรเิ วณวดั ยงั พบศาสนวัตถุทีเ่ กย่ี วเน่อื งในพทุ ธศาสนามหายานจำนวนมาก
การเกดิ ของรัฐในลุม่ แมน่ ้ำเจา้ พระยาทม่ี ีผลระดับภมู ิภาค
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อิทธิพลพุทธศาสนามหายานจากเมือง
พระนครก็เสื่อมลง ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน อาณาจักรพุกามในพม่าล่มสลายลงจากการรุกรานของพวก
มองโกลแห่งราชวงศ์หยวน เหตกุ ารณ์เช่นน้ีเปิดโอกาสให้ชุมชนขนาดเล็ก ซ่ึงแต่เดิมมคี วามสำคัญค่อนข้างน้อย
เจริญเติบโตขึน้ วฒั นธรรมจากเมืองพระนครซ่งึ เคยมีบทบาทแฝงอยู่ในดินแดนประเทศไทยก็กลายเป็นพื้นฐาน
ที่สำคัญ และเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของรัฐที่เกิดใหม่ โดยเฉพาะชุมชนต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยา แม่น้ำยม และลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งในอดีตเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมเขมร ก็ขยายขอบเขตของตนเอง
ออก ด้วยแรงกระตุ้นทางเศรษฐกจิ ศาสนาและความสมั พนั ธเ์ ชิงเครอื ญาติ
การเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยา มีแนวโน้มที่จะเป็นเมืองสำคัญขนาดใหญ่มาก่อน พ.ศ. ๑๘๙๓ อยู่แล้ว
โดยเฉพาะหลักฐานเอกสารที่กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่อย่างวัดพนัญเชิง๑๙ แสดงให้เห็นถึง
ความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขาย ที่เล่ือนบทบาทจากลพบุรีลงมายังกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสาเหตุ
อาจมาจากการขยับขยายออกของชายฝงั่ ทะเลทต่ี ื้นเขินลง ทำให้ลพบรุ ซี ง่ึ เคยมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า
ใกล้ชายฝั่งตั้งแต่สมัยทวารวดี กลายเป็นเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน พื้นที่อยุธยาที่เคยเป็นทะเลเดิม กลับมี
ความสำคัญขึ้น ลักษณะเชน่ นม้ี ีความคล้ายคลึงกบั เมืองบางกอกที่มีฐานะเป็นเมืองท่าของกรงุ ศรีอยธุ ยามาก่อน
เช่นกนั
ในราชบุรีเอง แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในระยะนี้ แต่เชื่อว่าที่ตั้งของ
กรุงศรีอยุธยาซึ่งเลื่อนลงมาใกล้ชายฝั่งทะเล แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญด้านการค้าและการติดต่อกับ
โลกภายนอก โดยเฉพาะจีนกับอินเดีย การเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยามีลักษณะเช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งมิได้
เจริญขึ้นอย่างโดดเดี่ยว หากสัมพันธ์กับดินแดนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันอย่างสุโขทัยและสุพรรณภูมิ จาก
๑๙ คำให้การชาวกรุงเกา่ คำใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนติ ์.ิ (๒๕๑๐). หนา้ ๑๓๙
หนังสอื ท่รี ะลึกพิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๕๗
หลักฐานเอกสารต่างๆ ในสมัยอยุธยาตอนต้น รวมทั้งเอกสารจีน บ่งบอกชัดเจนถึงความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ
ของอาณาจักรเหล่านี้ ราชบุรีเอง มีที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง แต่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองสุพรรณบุรีริมแม่น้ำท่า
จีนมากนัก มีความเป็นไปได้มากที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน หรืออาจเคยเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทาง
ภาคตะวันตกอย่างชมุ ชนสพุ รรณภูมิกเ็ ปน็ ได้
ศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ใกล้ทะเลยิ่งกว่าลพบุรี จึงเป็นชัยภูมิที่ดีในการสนับสนุน
การค้าทางสมุทร และด้วยระยะทางที่ไม่ไกลกันนักกับเมืองราชบุรี อาจเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้
ศาสนสถานประจำเมอื งอยา่ งวัดมหาธาตุ ท่เี คยมีขนาดเลก็ กลับเตบิ โตข้นึ และขยายขอบเขตออกย่ิงกว่าในสมัย
พุทธศตวรรษท่ี ๑๘
แม้ว่าจะไม่มีเอกสารใดๆ ที่กล่าวถึงเมืองราชบุรีโดยตรง แต่ยังมีร่องรอยจากจารึกหลักที่ ๑ ใน
พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้เอ่ยชื่อเมืองราชบุรีรวมอยู่กบั ชื่อหัวเมืองฝา่ ยตะวันตกและฝ่ายใต้ อันได้แก่ สุพรรณภูมิ
เพชรบุรี และศรีธรรมราช ซึ่งแด่เดิม มีการวิเคราะห์จารึกหลักที่ ๑ นี้ตามตัวอักษร โดยอ้างบางประโยค
ในจารึกอันมใี จความวา่
“มีเมืองกว้างช้างหลายปราบเบื้องตะวันออกรอดสรลวง สองแคว....ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช
ฝ่ังทะเลสมทุ รเปน็ ท่ีแล้ว”๒๐
ข้อความเช่นนีใ้ นจารกึ นำไปสู่การวิเคราะหเ์ ร่อื งการอา้ งอำนาจทางการเมือง ของสุโขทัยเหนอื ดินแดน
ตา่ งๆ ท่ีออกชือ่ ไวั แตท่ ำให้เกิดคำถามต่อไปว่า อาณาจักรสุโขทัยในลมุ่ แม่น้ำยมมีอำนาจเหนือดนิ แดนเหล่าน้ัน
จริงหรือไม่ เนอื่ งจากในปจั จุบันยงั ไม่พบหลักฐานอ่ืนใดนอกเหนือจากจารึกหลักนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจ
ทางการเมืองของสุโขทัยไปปรากฏอยู่ตามหัวเมืองที่ออกชื่อดังกล่าว ทั้งเมืองราชบุรี เพชรบุรี รวมท้ัง
นครศรีธรรมราช ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานอันเนื่องในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงหรือรัชกาลหลังจากนั้นลงมาก็ตาม
นอกจากเศษภาชนะดนิ เผาสงั คโลก ซ่ึงเป็นสนิ คา้ สง่ ออกมากกวา่ เร่อื งของอำนาจ
ดังนั้น การกล่าวถึงระบบการปกครองภายในของเมืองราชบุรีในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและอยุธยา
ตอนต้น จำเป็นจะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง จิตร ภูมิศักดิ์ เสนอว่าแม้จะไม่มีหลักฐานที่แสดงลักษณะ
การเมืองโดยตรง แต่ก็อาจอนุมานได้จากตำนานต่างๆ เช่น ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งกล่าวถึงรูปแบบ
๒๐ ยอช เซเดส์. (๒๕๒๖). ประชมุ ศิลาจารกึ ภาคที่ ๑. หน้า ๒๖
๕๘ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จังหวดั ราชบุรี
ความสัมพันธ์ระหวา่ งเมืองตา่ งๆ โดยเฉพาะระหว่างลุม่ แม่น้ำเจ้าพระยา และหัวเมืองทางตะวันตกและภาคใต้
ตอนบน อนั ได้แก่ เพชรบรุ ี นครศรีธรรมราช และอยุธยา หวั เมอื งเหล่านต้ี า่ งมีผู้ปกครองเมอื งอย่างเป็นอิสระ๒๑
แม้ว่าจะไม่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง แต่อาจจัดระดับความสำคัญของแต่ละเมืองด้วยระดับอาวุโสหรือ
การยอมรบั นับถือที่เกดิ จากบารมีของตัวบุคคล โดยแตล่ ะเมืองอาจมีความสัมพนั ธ์กันอยา่ งหลวมๆ ไม่มีอำนาจ
ทางการเมืองขึ้นอยู่แก่กันอย่างเด็ดขาด หากแต่สันนิษฐานว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติที่มีการเชื่อมโยง
กนั ด้วยการแตง่ งานเกีย่ วดองกนั มากกวา่
การยอมรับนับถือกันระหว่างดินแดนอันเกิดจากตัวบุคคลนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นบารมีส่วนตัวของ
ผู้ปกครองคนนั้น ปรากฏให้เห็นในเอกสารหลักฐานหลายชิ้น ซึ่งบุคคลเหล่านั้น กลายเป็นบุคคลในระดับ
กึ่งตำนาน เช่น เรื่องพระเจ้ารามคำแหง ที่ปรากฏในจินดามณี สมัยพระเจ้าบรมโกศ๒๒ และในราชาธิราช
พงศาวดารมอญ หรือเรื่องพระเจ้าอนิรุทธแห่งอาณาจักรพุกาม ซึ่งยังปรากฏร่องรอยอยู่ในตำนานพงศาวดาร
เหนือ๒๓ ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ก็แสดงให้เห็นความทัดเทียมกัน ระหว่างพระเจ้าอู่ทอง
(ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นผู้ใด และมาจากเมืองใด แต่ปกครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว) และพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
แห่งนครศรีธรรมราช
การยอมรับนับถือระหว่างอาณาจักร ก็ปรากฏในรูปของการติดต่อยอมรับศาสนาระหว่างอาณาจักร
ได้เช่นกัน มักจะพบว่า ในเอกสารประวัติศาสตร์เชิงศาสนา พระภิกษุจากดินแดนต่างๆ สามารถเดินทางข้าม
ดินแดนได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างอาณาจักรล้านนา สุโขทัยและอยุธยา หรือหัวเมืองมอญ
และผู้ปกครองทุกหัวเมือง ต่างให้การต้อนรับพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นเป็นอย่างดี โดยไม่มีการแบ่งแยกทาง
การเมืองหรือความระแวงสงสัย ขณะเดียวกันก็อุปถัมภ์ค้ำชูภิกษุจากต่างดินแดน เป็นผลให้อัตลักษณ์ทาง
ศาสนาของนิกายต่างๆ แพร่กระจายออกไปอย่างไม่จำกัดขอบเขต ความขัดแย้งทางการเมืองอันเนื่องจาก
บ้านเกิดเมืองนอนของพระภิกษุนั้น เรียกได้ว่าแทบไม่เคยปรากฏในเอกสารทางศาสนาเลย ตรงกันข้าม มัก
ปรากฏเร่ืองราวของการขดั แย้งทางศาสนาแตล่ ะนิกายท่ีมีวตั รปฏิบตั แิ ตกต่างกันมากกว่า
๒๑ จิตร ภมู ศิ กั ดิ์. (๒๕๒๗). สงั คมไทยลมุ่ แมน่ ำ้ เจ้าพระยาก่อนสมยั ศรอี ยธุ ยา. หนา้ ๑๔๙-๑๕๒
๒๒ จินดามณ.ี (๒๕๕๑). หนา้ ๑๑๓
๒๓ พงศาวดารเหนอื . (๒๕๑๖). หนา้ ๔๘
หนงั สอื ทรี่ ะลึกพธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๕๙
หลังจากพุทธศาสนามหายานอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมเขมรจากเมืองพระนครเสื่อมไป ก็เกิดกระแส
การเติบโตของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งเชื่อว่าเป็นศาสนาหลักของชาวพื้นเมืองในแถบนี้มาตั้งแต่สมัย
ทวารวดี มีการฟ้นื ฟูพุทธศาสนาเถรวาทขนึ้ อีกคร้ัง อย่างไรกต็ าม สถานการณข์ องพุทธศาสนาในเอเชียขณะนั้น
ค่อนข้างตึงเครียด สืบเนื่องจากการเสื่อมโทรมของศูนย์กลางของพุทธศาสนาในอินเดีย และการย้าย
ความสำคัญมายังศรีลังกาแทน โดยเฉพาะผลของการปฏิรูปและอุปถัมภ์พุทธศาสนาเถรวาทของพระเจ้า
ปรากรมพาหุที่ ๑ ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘๒๔ การสืบศาสนาจากศรีลังกาอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของบรรดา
พระสงฆ์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างนี้ปรากฏอยู่ในตำนานจามเทวีวงศ์ถึงความหลากหลาย
ทางศาสนาในลำพูน แต่ดังที่กล่าวมาแล้ว พระภิกษุและนักบวชเป็นตัวอย่างเฉพาะที่ไม่มีข้อจำกัด ทางด้าน
การเดินทางและอำนาจทางการเมือง จึงปรากฏหลักฐานกล่าวถึงการเดินทางของพระสงฆ์ข้ามดินแดนต่างๆ
อย่างอิสระในเอกสารหลายชิ้น เช่น ตำนานมูลศาสนา วัดป่าแดง หรือจารึกหลักที่ ๒ จารึกบางหลักอ้างอิงถึง
เมอื งราชบุรดี ว้ ย เชน่ จารึกวัดเขากบ
“ข้ามมาลุตะนาวศรี...เพื่อเลือกเอาฝูงคนตี....สิงหลทวีป รอดพระพุทธศรีอารยไมตรี..เพชรบุรี
ราชบุรีน...ส อโยธนา ศรีรามเทพนคร ทส่ี อรพิรุณาส ตรงบาดาล..”๒๕
จากข้อความของจารึกเขากบ เชื่อว่าผู้สร้างจารึกเป็นพระสงฆ์ และอาจเป็นพระผู้ใหญ่หรือราชวงศ์
ที่ทรงผนวช หรืออาจเป็นจารึกของพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีเอง ซึ่งเดินทางจากสุโขทัยออกทะเล
ทางเมืองมอญ ไปยังโจฬะมณฑลในอินเดีย ศรีลังกา ก่อนจะเดินทางกลับทางตะนาวศรี ตัดเข้าด่านสิงขร แล้ว
เดินบกมาทางเพชรบุรี ราชบุรี ก่อนขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยา และกลับสุโขทัยทางสิงห์บุรี การปรากฏชื่อราชบุรี
ในจารึกวดั เขากบทีน่ ครสวรรค์ แสดงให้เห็นวา่ ในสมยั อยธุ ยาตอนต้นราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๙-๒๐ เมืองราชบุรี
เป็นเมืองที่มีความสำคัญในฐานะที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมหลัก และอาจได้รับอิทธิพลจากศาสนาต่างๆ
ท่ีเดินทางเขา้ มาพรอ้ มกับบรรดานักบวชบนเส้นทางนี้ดว้ ย
๒๔ G.P.Malalasekera. (1994). The Pali Literature of Ceylon. p.175
๒๕ ยอช เซเดส.์ (๒๕๒๖). แหล่งเดิม. หนา้ ๑๓๕-๑๓๘
๖๐ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวัดราชบุรี
หลกั ฐานทางศิลปกรรมในราชบุรีในพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๙-๒๐
ในระยะเวลาดังกลา่ วนี้ ปรากฏหลักฐานทางศิลปกรรมที่ยืนยันถงึ การเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของราชบุรี
ซึ่งใช้พื้นที่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมมหายานจากเขมรที่เข้ามาแทรกในช่วง
พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตวั อย่างทเ่ี หน็ ไดช้ ดั นอกจากวดั มหาธาตซุ ึ่งเป็นพระมหาธาตุสำคญั ใจกลางเมืองแล้ว ได้แก่
กลมุ่ ถำ้ ศาสนสถานเขางู
เขางูเป็นเทือกเขาหินปูนที่มีการใช้งานเป็นศาสนสถานมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ตามถ้ำต่างๆ เหล่านี้
พบว่ามีการปรับปรุงดัดแปลงอยู่ตลอดเวลาทุกยุคทุกสมัย พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีบางองค์ถูกพอก
พระพักตรใ์ หเ้ ป็นแบบพระพักตร์ศิลปะอยุธยาตอนต้น หรือพระพทุ ธรูปประทบั นั่งห้อยพระบาท บางองค์ได้รับ
การดัดแปลงให้เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ และมีการประดับประดาทางเข้าด้วยถ้วยชาม ซึ่งเป็น
รสนิยมในศลิ ปะอยธุ ยาตอนปลาย เป็นต้น
จงึ อาจสรุปได้วา่ เทอื กเขางู เปน็ ศาสนสถานศักด์ิสิทธภ์ิ ายนอกชุมชนมาตั้งแตส่ มัยทวารวดี และใช้งาน
ต่อเนอื่ งมาจนถึงปัจจุบนั และสันนิษฐานต่อไปได้อีกว่า อาจเปน็ บริเวณสำหรับปลีกวเิ วกของนักบวชท่ีต้องการ
ความสงบ ซึ่งรู้จักกันในสมัยอยุธยาว่า อรัญวาสี ดังปรากฏว่า ในบริเวณใกล้เคียงกับเขางู มีวัดขนาดใหญ่
ชอ่ื วัดอรญั ญกิ าวาส (รปู ที่ ๒) ตั้งอยทู่ ี่ ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมืองราชบรุ ี ลักษณะใกลเ้ คียงกบั วัดมหาธาตุกลาง
เมือง ปรากฏศิลปกรรมรุ่นอยุธยาตอนต้นจำนวนมาก ทั้งยังมีการขนย้ายศิลาแลงจากวัดนี้มาใช้ปฏิสังขรณ์
วัดมหาธาตุอกี ดว้ ย
หนงั สือท่ีระลึกพิธถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๖๑
รปู ที่ ๒
ท่มี า : https://www.papaiwat.com/th/story/category/detail/id/8/iid/127
ในตัวจังหวัดราชบุรียังปรากฏเจดีย์หัก หรือวัดเจติยาราม (รูปที่ ๓) ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม
คลา้ ยคลงึ กับกลุ่มเจดีย์ท่ีพบในเมีองสรรคบ์ รุ ี ชยั นาท และสพุ รรณบุรี กำหนดอายไุ ด้ในช่วงอยุธยาตอนต้นหรือ
ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๙-๒๐ ซง่ึ เปน็ รูปแบบเจดียท์ ่ีพบมากในจังหวัดทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ปัจจุบัน
ไดร้ บั การปฏิสงั ขรณ์แล้วโดยกรมศลิ ปากร
๖๒ | วดั สัตตนารถปรวิ ตั รวรวิหาร จงั หวัดราชบรุ ี
รูปที่ ๓
ท่มี า : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/gallery/chedihak/pages/image/imagepage29.html
นอกจากวัดต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ในเขตจังหวัดราชบุรียังปรากฏหลักฐานสถาปัตยกรรม
และศิลปกรรมสมยั อยุธยาตอนต้น กระจัดกระจายอยู่ตามวัดต่างๆ ทั้งในเมืองและนอกเมืองราชบุรี ริมสองฝง่ั
แม่นำ้ แม่กลอง เช่น วดั หลมุ ดิน วดั โคกหมอ้ วัดบางนางล่ี และวัดโรงช้าง ไดพ้ บหลกั ฐานใบเสมาหนิ ทรายสีแดง
สลักลวดลายกนกแบบต่างๆ ซึ่งมีอายุในช่วงอยุธยาตอนต้นถึงอยุธยาตอนกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)
โดยเฉพาะเสมาที่วัดหลุมดิน (รูปที่ ๔) ฝีมือแกะสลักประณีตงดงาม เป็นลายพรรณพฤกษาประกอบขาสิงห์
และลายซุ้มเรอื นแกว้
หนงั สอื ทร่ี ะลกึ พธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๖๓
รปู ท่ี ๔
ทมี่ า : https://web.facebook.com/Chirphy/photos/pcb.731041974038083/731041687371445/
เมอื งราชบรุ ีในสมยั อยธุ ยาตอนกลาง
ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ เชื่อว่าเมืองราชบุรีลดความสำคัญทางการเมือง
ลง เนื่องจากทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่ไม่ไกลกันกับกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น
ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแม้ว่าจะทำให้ราชบุรีเจริญเติบโตขึ้นทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีส่วนในการลดบทบาททาง
การเมืองของเมืองราชบุรีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ด้วย เพราะที่ตั้งซึ่งเดินทางไปมาได้สะดวกจากเมือง
หลวง ทำให้เมืองราชบุรีมีสภาพเป็น “เมืองในมณฑลราชธานี” ที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองปราการหรีอเมืองหน้าด่าน
คือเมืองกาญจนบุรี ซึ่งในสมัยนั้นมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง (เมืองพระยามหานคร) ส่วนเมืองราชบุรีมีการ
บริหารงานขี้นตรงต่อราชสำนักเหมอื นกับเมืองอื่นๆ คือเมืองเพชรบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พรหมบุรี
อินทรบ์ ุรี สงิ หบ์ ุรี และสรรคบ์ รุ ี
๖๔ | วัดสัตตนารถปริวตั รวรวหิ าร จังหวดั ราชบุรี
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ค.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงโปรดให้มีการปฏิรูปการปกครอง
โดยเน้นให้ความสำคัญกับเมืองหน้าด่านทั้ง ๔ ทิศเพื่อป้องกันการโจมตีของข้าศึกศัตรู ได้แก่ เมืองสุพรรณบุรี
เมืองนครนายก และเมืองลพบุรี ทำให้เมืองราชบุรีถูกลดฐานะเป็นเมืองน้อย หรือเมืองจัตวา มีผู้รักษาเมือง
เรยี กว่า “ผ้รู ง้ั ” ข้นึ ตรงตอ่ เมืองหลวง มไิ ด้มอี ำนาจสิทธ์ขิ าด๒๖ เมืองราชบุรจี งึ ลดความสำคัญทางการเมืองลงใน
ระยะเวลาน้ี
อย่างไรก็ตาม ทางราชสำนักอยุธยาสมัยอยุธยาตอนกลาง ยังคงตระหนักถึง ความสำคัญของเส้นทาง
คมนาคมไปสู่ทะเลอันดามันเป็นอย่างดี ดังปรากฏหลักฐานการแต่งตั้ง ตำแหน่งขุนนางเมืองตะนาวศรี เป็น
“ขุนศรสี ทุ รรศนร์ าชาธิราช” เช่อื วา่ น่าจะเป็นเจา้ เมืองในระดับพระราชวงศ์ และยังปรากฏชื่อ “แมน่ างเมืองศรี
อัครราชเทวี” ซ่ึงสนั นิษฐานว่าเป็นภริยาเจา้ เมอื งตะนาวศรี๒๗ จารึกนมี้ อี ายใุ นช่วง พ.ศ. ๒๐๐๕-๒๐๐๙ ตรงกับ
รัชสมยั สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ แสดงให้เหน็ การให้ความสำคัญของเมืองบนเสน้ ทางคมนาคมออกทะเลอัน
ดามนั
ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑) ทรงโปรดให้จัดตั้งเมืองชั้นในใกล้
พระมหานคร เพื่อให้ประชาชนที่หลบหนีภัยสงครามได้มาตั้งบ้านเรือนอยูใ่ กล้เมืองหลวง จะได้ใช้เป็นกำลังใน
การป้องกันพระนคร โดยทรงตั้งหัวเมืองชั้นในคือ เมืองสาครบุรี เมืองนนทบุรี และเมืองนครชัยศรี๒๘ และให้
แบง่ แขวงจากเมืองสุพรรณบรุ ีและราชบุรี ไปเพิ่มทีเ่ มืองดังกล่าว แสดงว่าในระยะเวลานั้น เมีองราชบุรีมีขนาด
ใหญ่โตและมีประชากรมากพอสมควร จึงสามารถแบ่งไปตง้ั เมืองใหมไ่ ด้
ตัวอย่างงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางในเมืองราชบุรี พบค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะ
สถาปัตยกรรม ไม่มีตัวอย่างที่หลงเหลือเด่นชัด ส่วนมากจะเป็นตัวอย่างโบราณวัตถุ ขนาดเล็กที่ได้จากการ
ขุดค้นภายในบริเวณวัด ที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมในสมัย
๒๖ จารณุ ี อินเฉิดฉาย. (๒๕๓๔). แหล่งเดมิ . หนา้ ๑๒๐
๒๗ วินัย พงศ์ศรีเพยี ร. (๒๕๓๔). ประชมุ ศลิ าจารึกภาคท่ี ๗ : ประมวลจารกึ ทพี่ บในประเทศไทยและต่างประเทศ. หน้า ๑๔๖-๑๔๘
๒๘ กรมศิลปากร. (๒๕๐๗). พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยุธยาฉบบั พนั จนั ทนุมาศ (เจิม) กัลป์ พระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). หนา้ ๖๐
หนงั สอื ท่ีระลกึ พิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๖๕
อยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒๒๙ พบจากวัดมหาธาตุ ราชบุรี และวัดอื่นๆ โดยทั่วไป
มที ้ังสรา้ งจากสำรดิ และหินทรายสีแดง
เมอื งราชบรุ ีในสมยั อยธุ ยาตอนปลาย
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมืองราชบรุ ี จัดว่าเป็น “เมืองปากใต้ตะวันตก” มีผู้ว่าราชการเมืองตำแหน่ง
ยกกระบัตร ซึ่งเป็นขุนนางที่ราชสำนักควบคุมได้อย่างใกล้ชิด และมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา มีหน้าที่สั่งการ
ราชการและรวบรวมส่วยสาอากร ภาษีต่างๆ สง่ เขา้ ไปยังเมืองหลวงอกี ตอ่ หน่งึ
ในระยะเวลานี้ ราชบุรีมีฐานะเป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ รวบรวมส่วย
ศลิ าปากนก งาช้าง ดินประสิว กำมะถัน รวมทง้ั ไม้ฝาง ดบี ุก และผลผลติ ทางการเกษตรอ่ืนๆ ส่งเข้าไปยังเมือง
หลวงอีกทั้งยังเป็นเมืองในเส้นทางการค้าสืบเนื่องกันมาแต่อดีต ปรากฏว่าในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-
๒๒๔๖) เมอื งราชบุรี ซ่งึ เป็นหวั เมืองฝ่ายใต้ ขนึ้ อยกู่ ับสมหุ กลาโหม ซง่ึ ต่อมาหลังจากรัชสมัยของพระองค์ กลับ
ย้ายไปขึ้นกรมท่า๓๐ ซึ่งเป็น หน่วยงานดูแลกิจการต่างประเทศโดยตรง จากหลักฐานของทั้งไทยและ
ตา่ งประเทศ กล่าวตรงกันว่า ราชบรุ ีเปน็ เมืองบนเสน้ ทางการคา้ ข้ามคาบสมุทรที่สำคญั เมืองหน่ึง
ราชบุรปี รากฏงานศลิ ปกรรมจำนวนมากซึ่งกำหนดอายุไดใ้ นสมยั อยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่
๒๓ ลงมา ทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและศิลปกรรมอื่นๆ เช่น พระพุทธรูป หรือลวดลายปูนปั้น
ตวั อย่างท่สี ำคญั ไดแ้ ก่ วหิ ารแกลบวดั เขาเหลอื
วัดเขาเหลอื หรอื วดั ขรัวเหลอื อยูไ่ มไ่ กลจากวัดมหาธาตุ ราชบุรี ปรากฏวิหารแกลบขนาดเล็ก (รูปที่ ๕)
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทั้งหลังรวมทั้งหลังคาด้วย ผนังหนา เจาะช่องหน้าต่างขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายวิหาร
แกลบวัดท่าพระ กรุงเทพมหานคร ด้านในเขียนจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ (รูปที่ ๖) และเรื่องพระพุทธ
โฆษาจารย์ไปลังกา เรื่องเขาสุมนกูฏในลังกา ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเทพชุมนุม
๒๙ ศรนิ ยา ปาทา. (๒๕๔๙). พระพทุ ธรปู ทรงเครือ่ งนอ้ ยจากพระอรุ ะและพระพาหาซ้ายของพระมงคลบพติ ร จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา.
วทิ ยานพิ นธ์ ศศ.ม. (ประวตั ศิ าสตร์ศลิ ปะ) หน้า ๑๗
๓๐ จารุณี อนิ เฉดิ ฉาย. (๒๕๓๔). แหลง่ เดิม. หนา้ ๑๒๒
๖๖ | วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จงั หวดั ราชบุรี
และคนธรรพเ์ หาะถอื ดอกไมด้ ้วย๓๑ นอกจากน้ยี ังมจี ิตรกรรมบางส่วนท่ียงั วิเคราะห์เรอ่ื งราวไม่ได้ ปจั จุบนั อยู่ใน
สภาพชำรดุ ทรุดโทรม ลบเลอื นไปเกือบหมดแลว้
รปู ท่ี ๕-๖
ที่มา : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com_content&view=article&id=161:
วหิ ารแกลบวดั เขาเหลอื &catid=82&Itemid=790
พระประธานในวิหารแกลบ (รูปที่ ๗) สังเกตจากลักษณะทางศิลปกรรมได้ชัดเจนว่าเป็นพระพุทธรูป
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น หางพระเนตรตวัดขึ้น พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย เปลือกพระเนตรหนาหนัก
คล้ายกับสืบเนื่องมาจากศิลปะอยุธยาสกุลช่างปราสาททอง มีการประดับปูนปั้นและกระจกสีเขียวบนผ้าทิพย์
เหนอื ฐานชุกชี ลวดลายเทียบเคยี งได้กับศลิ ปะอยุธยาตอนปลาย
๓๑ วรรณภิ า ณ สงขลา. (๒๕๓๕). จติ รกรรมไทยประเพณี เลม่ ๑. หน้า ๑๔๒
หนงั สือทีร่ ะลึกพธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๖๗
รูปท่ี ๗
ท่ีมา : www.google.co.th/maps/place/Wat+Khao+Lua/@13.5438002,99.8121593,3a,75y,90t
ความสำคัญในสมัยรตั นโกสินทร์
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงตั้งกรุงธนบุรี
ขึ้นเป็นราชธานี สยามยังคงทำศึกสงครามกบั พมา่ อยา่ งต่อเนือ่ ง เมอื งราชบรุ กี ็ขาดการทำนบุ ำรงุ ไป และรว่ งโรย
ขาดความสำคัญลง นอกจากนี้ สภาพที่ตั้งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง ตัวเมืองหันหลังลงแม่น้ำ
หากมีข้าศึกพม่าจากทิศตะวันตกมาประชิดตัวเมืองแล้ว ย่อมป้องกันได้ยาก เป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะสมนัก
เมอื งราชบุรจี งึ ลดความสำคัญลงในระยะน้ี
การที่สยามสถาปนาศูนย์กลางแห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ และธนบุรี ทำให้เส้นทางยุทธศาสตร์ของพม่า
เปลี่ยนแปลงไปด้วย ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พม่ามิได้ยกทัพมาถงึ เมืองราชบรุ ซี ึง่ อยู่ในลุ่มแม่นำ้
แม่กลองตอนล่าง แต่ยกมาตีเมืองกาญจนบุรีที่เขาชนไก่ แล้วยกขึ้นไปตามลำน้ำทวน เข้าตีเมืองสุพรรณบุรี
๖๘ | วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวัดราชบุรี
ในลุ่มน้ำทา่ จีนและไปทางเมอื งอ่างทอง ก่อนเข้าสู่กรงุ ศรีอยธุ ยา เส้นทางเดินทัพเกีย่ วพันกับลุ่มแมน่ ำ้ แม่กลอง
ตอนบนมากกว่า แต่การเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางการปกครองของสยามมาทางทิศใต้ ทำให้เส้นทางการเดินทัพ
ของพมา่ เปลยี่ นแปลงไป โดยหนั มาเดนิ ทัพในเส้นทางลุ่มแม่นำ้ แม่กลองตอนล่างแทน๓๒
ดังจะเห็นได้ว่า ในรัชสมัยพระเจ้าตากสิน มีศึกพม่ายกเข้ามาใกล้เมืองราชบุรี หลายครั้ง เช่น
ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ พม่ายกทัพจากเมืองทวาย ผ่านเมืองไทรโยค เมืองราชบุรี เข้าล้อมค่ายบางกุ้ง สมุทรสงคราม
พระเจ้าตากสนิ โปรดให้พระมหามนตรีคุมทพั หน้าไลต่ ีกองทัพพม่า กลับไปยงั ด่านเจ้าเขว้า ส่วนพระองค์ยกเป็น
ทัพหลวงเข้ามาช่วยตามตีพม่าให้แตกพ่าย ในสมัยนี้ เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวายและกรุงศรีอยุธยา
เพิ่งแตกเพียงปีเดียว เมืองราชบุรีอาจยิ่งร้างราผู้คน ประกอบกับที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้ชายแดน และประชากร
ถูกกวาดต้อนไปยังพม่า บางส่วนก็หลบหนีเข้าป่าหรือรวบรวมกันอยู่เป็นหมู่เหล่า ดังปรากฏว่า หลังจากที่
เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสหี ก์ วาดตอ้ นชาวเขมรจากเมืองโพธิสตั ว์กลับมายงั สยาม สมเด็จพระเจ้ากรงุ
ธนบุรีทรงโปรดใหไ้ ปตั้งบ้านเรือน ณ เมืองราชบุรี เพ่ือเพิ่มจำนวนประชากรในพ้ืนที่
ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ พม่ายกทัพมาจากทางเมืองทวาย เข้าด่านบ้องตี้ เทือกเขาตะนาวศรี ตำบลบ้านสิงห์
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เลียบชายเขาตัดเข้ามาทางทิศใต้ ข้ามแม่น้ำภาชีในบริเวณด่านเจ้าเขว้า
ผ่านช่องเขาชนแอก และเขาสน มาถงึ อำเภอจอมบึงและเข้าสู่ทุ่งเขางู อันเปน็ สมรภมู ิรบสำคัญครั้งหนึ่งในสมัย
กรุงธนบุรี เรียกว่า “ศึกนางแกว้ ” ปัจจุบนั คอื ตำบลนางแกว้ อำเภอโพธาราม๓๓
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒) พม่าได้ยกทัพใหญ่เข้ามา
หลายเส้นทาง ในศึกสงคราม ๙ ทัพ (พ.ศ. ๒๓๒๘) มีทัพหนึ่งซึ่งยกมาจากเมืองทวาย เข้าด่านเจ้าเขว้าใน
อำเภอสวนผงึ้ ผ่านมาถงึ อำเภอจอมบงึ และเขา้ ถึงราชบรุ ใี นท้องที่ทุ่งเขางู ในศกึ ครัง้ นั้น สมเด็จพระบวรราชเจา้
มหาสรุ สงิ หนาท กรมพระราชวงั บวรสถานมงคล ทรงตีทัพพม่าแตกพา่ ยไปถึงเมืองทวาย๓๔
ด้วยเหตุที่พม่าเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพใหม่ สยามก็ตระหนักถึงความสำคัญของเส้นทางยุทธศาสตร์
ใหม่นีด้ ี จึงมกี ารจดั การปรบั ปรงุ บา้ นเมอื งในลุ่มแมน่ ำ้ แม่กลองเสยี ใหม่
๓๒ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). แหลง่ เดิม หน้า ๗๒-๗๓
๓๓ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). แหล่งเดมิ หน้า ๗๑-๗๒
๓๔ ดำรงราชานุภาพ, สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา. (๒๕๒๖). พระราชพงศาวดารกรุงรตั นโกสนิ ทร์ รัชกาลที่ ๒ เล่ม ๑. หน้า ๔๐-๔๑
หนังสอื ท่รี ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๖๙
ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) ทรงโปรดให้ย้ายเมือง
ราชบุรี มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองใน พ.ศ. ๒๓๖๒ โปรดให้สร้างป้อมปราการและกำแพงเมือง
อย่างแน่นหนา มีป้อม ๖ ป้อม และประตูเมือง ๖ ประตู สำหรับรับศึกพม่าซึ่งมาจากทิศตะวันตก สามารถ
ตั้งรับและถอยหนีได้สะดวก เมืองใหม่นี้ กว้าง ๒๐๐ เมตร และยาว ๘๐๐ เมตร ปัจจุบันคือที่ตั้งของจังหวัด
ทหารบกราชบรุ ี และกรมการทหารช่างราชบรุ ี๓๕
ในรชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระนัง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ยา้ ยเมืองกาญจนบุรี จากบริเวณเขาชนไก่
ลงมาตั้งยังบริเวณปากแพรก ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยมารวมกัน ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีกว่าเดิม
ส่วนราชบุรีในรัชกาลนี้ โปรดให้เลื่อนจากเมืองจัตวาเป็นเมืองโท ผู้ครองเมืองชื่อ พระยาอมรินทรฤาไชย
อภยั ประเทศราช ชาติพทั ยาธบิ ดีพิรยิ พาหะ๓๖
อย่างไรกต็ าม เน่อี งจากศนู ยก์ ลางของเมืองราชบรุ ียา้ ยไปยงั ฝงั่ ตะวนั ออกของแม่น้ำแมก่ ลองต้ังแต่สมัย
รัชกาลที่ ๒ วัดมหาธาตุซ่ึงตงั้ อยู่ในฝงั่ ตะวันตก ตวั เมอื งเก่าคงจะร้างราไปชวั่ ขณะหนึ่ง จนกระทั่งในสมัยรัชกาล
ที่ ๓ เมื่อมีการฟื้นฟูบ้านเมืองพ้นจากภัยสงครามแล้ว เมืองราชบุรีกลับเติบโตขึ้นนอีก ดังจะเห็นได้ว่ามีการ
เลือ่ นฐานะจากเมืองจตั วาเป็นเมอื งโท
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ขุดคลองดำเนินสะดวกเชื่อมต่อ
ระหว่างเมืองสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๑๑ โดยมีสมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในขณะนั้นเป็นพระประสาทสิทธิ์เป็นผู้อำนวยการขุด และพระองค์ยังเคย
เสด็จประพาสเมืองราชบุรีใน พ.ศ. ๒๔๐๓ ในระหว่างเสด็จกลับจากเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรเขางู ถ้ำสาริกา
และนมัสการพระปรางคว์ ดั มหาธาตุอกี ดว้ ย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเสด็จประพาสเมืองราชบุรีถึง ๑๐ ครั้ง
และเจา้ พระยาบรมมหาศรีสุรยิ วงศ์ ได้สร้างเขาวงั บนยอดเขาหลวงเมอื งราชบุรี ถวายเป็นพระราชวงั ในหวั เมือง
ซึ่งพระองค์เคยเสด็จประพาสออกรับราชทูตโปรตุเกส ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ นอกจากนี้ ยังเคยเสด็จมาทรงเปิด
สะพาน จุฬาลงกรณ์ ซ่ึงเปน็ สะพานรถไฟขา้ มแม่นำ้ แม่กลองผา่ นตวั เมอื งราชบรุ ี ใน พ.ศ. ๒๔๔๔๓๗
๓๕ สมุดราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘. (๒๔๖๘). หน้า ๓๑-๓๓
๓๖ พยงุ วงษ์น้อย. (๒๕๕๒). วดั มหาธาตุวรวหิ าร จงั หวัดราชบรุ ี. หนา้ ๑๙๑
๓๗ มโน กลบี ทอง. (๒๕๔๔). แหล่งเดิม หน้า ๘๐-๘๑
๗๐ | วัดสัตตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวัดราชบรุ ี
ในรัชกาลนี้เอง มีการปรับเปลี่ยนระบบการปกครอง และจัดระเบียบหัวเมืองขึ้นใหม่ โดยแบ่ง
การปกครองออกเป็นมณฑล เรียกว่า “ระบอบมณฑลเทศาภิบาล” มีการก่อตั้ง มณฑลราชบุรี และ ใน
พ.ศ. ๒๔๔๐ มีการย้ายศาลากลางเมืองราชบุรีกลับไปอยู่ทางฝั่งขวาของ แม่น้ำแม่กลอง โดยใช้ตึกของ
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นศาลาว่าการมณฑล ศูนย์กลางของเมีองราชบุรี จึงย้าย
กลับมาอยู่ทางฝ่งั ตะวันตกของแมน่ ้ำแม่กลองอีกครง้ั หนงึ่ หลังจากย้ายไปในรชั กาลที่ ๒๓๘
๓๘ สุภักดิ์ อนุกลู และคณะ. (๒๕๓๒). ของดีเมอื งราชบุร.ี หนา้ ๑๗-๑๘
หนงั สือที่ระลึกพธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๗๑
ประวัติวัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร
วัดสัตตนารถปริวัตร เดิมชื่อวัดกลางบ้าน หรือ วัดโพธิ์งาม เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดกลางบ้านนั้นเพราะ
พระภกิ ษสุ องรูปนามวา่ ครูบาหลวงเปีย และครูบาหลวงญะ ชาวเมืองเชียงรายไดท้ ราบการอพยพของชาวญวน
ซ่ึงเปน็ ญาตขิ องครบู าท้ังสองได้อพยพมายังเมืองราชบรุ ีและตัง้ ชุมชนข้ึนเปน็ สองหมู่บ้าน จงึ ได้เดินทางมาเย่ียม
ญาติทั้งหลายและได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของภิกษุทั้งสอง วัดที่สร้างขึ้นนั้นจึงได้ชื่อว่า
วัดกลางบ้าน กาลนั้นยังไม่ได้มีพื้นที่ขอบเขตที่แน่นอนนัก เพียงแต่สร้างเป็นสำนักสงฆ์พออยู่ไปพลางก่อน
อโุ บสถกต็ ้องอุปโลกน์อุทกกุ เขปสมี า หรืออโุ บสถนำ้ ทีบ่ ริเวณท่านำ้ เพื่อกระทำสังฆกรรมตามพระวินัยบัญญัติ๓๙
ส่วนทีม่ อี ีกนามวา่ วัดโพธิ์งามน้นั กโ็ ดยเหตุเพราะในช้ันตอ่ มา มผี นู้ ำตน้ โพธ์ิมาปลูกไว้ท่ีวัดกลางบ้านเป็นจำนวน
มาก ประกอบกับตน้ โพธ์แิ ตกกง่ิ ก้านสาขางดงามดี วัดน้ีจึงมีช่อื ใหม่วา่ วัดโพธง์ิ ามอีกนามหน่ึง
จากบันทึกพบว่าวัดกลางบ้านหรือวัดโพธ์ิงาม มีเจ้าอาวาสครองวัดทั้งสิ้น ๕ รูป คือ ครูบาหลวงเปีย
เปน็ เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ เจา้ อาวาสรูปท่ี ๒ ไมป่ รากฏนาม ทราบแตเ่ พยี งว่าเป็นภิกษุซึ่งได้ติดตามครูบาหลวงเปีย
มาแต่เมืองเชียงราย พระอธิการสดเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ พระอธิการยอดเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๔
และพระอธิการสญุ ญะเปน็ เจา้ อาวาสรปู ที่ ๕ หลังจากนนั้ ไม่ปรากฏว่ามีภิกษอุ ยจู่ ำพรรษาในวัดนี้ วัดกลางบ้าน
หรอื วัดโพธง์ิ ามจงึ กลายเป็นวัดรา้ งมาแตน่ น้ั
ในรัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หัวทรงมีพระราชปรารภจะสร้างวังข้ึน ท่ีเมืองราชบุรี
อีกแห่งหนี่ง ด้วยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เห็นว่าเมืองราชบุรีเป็นที่สบายและหนทางสะดวกกว่าที่จะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองเพชรบุรี
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์
มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ซึ่งเคยเป็นแม่กองการสร้างพระนครคีรีหรือเขาวังที่เมืองเพชรบุรี
รบั พระบรมราชโองการมาสรา้ งวังขน้ึ ท่เี มอื งราชบุรีอกี แห่งหนงึ่
๓๙ ประวตั วิ ดั สตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร. [ม.ป.ท.,ม.ป.ป.] (สำเนา), หนา้ ๑ - ๗.
๗๒ | วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวิหาร จังหวัดราชบรุ ี
การสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างพระราชวังนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้ออก
สำรวจหาพื้นที่เหมาะสมถึง ๔ ครั้ง ครั้งแรกจะสร้างขึ้นที่บริเวณที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองราชบุรี
ในปัจจุบัน และได้สร้างที่ประทับแรมชั่วคราวแล้วแต่ถูกไฟไหม้เสียก่อน ครั้งที่ ๒ ออกสำรวจบริเวณ
เด่นกระจาย ตำบลดอนตะโก แต่ในขณะเตรียมการก่อสร้าง น้ำท่วมบริเวณที่ก่อสร้างและมีปลวกชุกชุม
ไม่เหมาะสม ครั้งที่ ๓ สำรวจภูเขาแก่นจันทร์ และได้ทำทางเดินเวียนขึ้นรอบภูเขาแล้ว แต่เมื่อพิจารณา
อย่างถี่ถ้วนเห็นว่าภูเขาแก่นจันทร์มีหน้าผาชัน ไม่เหมาะกับการสร้างพระราชวัง ทั้งสภาพอากาศและทิศทาง
ลมไม่ค่อยดี
การสำรวจหาทีส่ ร้างวังคร้ังสุดทา้ ยสำรวจท่ีเขาสัตตนารถ ซึ่งนามเขานี้เล่ากันมาจากพระครูวินยั ธรรม
(อินทร์ ปัญญาทีโป) ว่ามาจากการที่แต่เดิม เขานี้เป็นสถานที่ที่รบศึกชนะ จึงได้ขนานนามว่า เขาศัตรูพินาศ
ต่อมานามได้เพี้ยนไปเป็นเขาสัตตุนารถดังในปัจจุบัน เขาสัตตนารถมีสภาพอากาศและรูปร่างภูเขาเหมาะแก่
การสร้างวัง จะขัดข้องก็แต่มีวัดวัดหนึ่ง มีอุโบสถ ศาลาสองหลัง พระเจดีย์ และวิหารพระนอนขนาดย่อม
อยู่บริเวณทางขนึ้ เชิงเขาดา้ นตะวนั ออก แตส่ ภาพชำรดุ ทรดุ โทรม เปน็ ปรักหักพัง เป็นวดั ร้างไม่มภี กิ ษุจำอยู่
วัดร้างที่บนเขาดังกล่าวนี้มีนามว่า วัดเขาสัตตนารถ ตามชื่อตำบลที่ตั้ง สันนิษฐานว่าสร้างข้ึน
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือรัชกาลที่ ๔ มีเจ้าอาวาสตามบันทึกอยู่ ๓ รูป คือ พระอธิการช้าง พระอธิการนิล
และพระอธิการพาง จากนั้นเมื่อพระภิกษุได้ย้ายไปสร้างวัดใหม่ ช่ือวัดห้วยหมู ณ ตำบลเจดีย์หัก อำเภอ
เมอื งราชบรุ ี วดั เขาสตั ตนารถจึงร้างลงและไดท้ รดุ โทรมลงตามกาล
เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่วัดเขาสัตตนารถ เพื่อสร้างวังขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจา้ อย่หู วั ทรงพระราชนพิ นธ์ไว้ในพระราชนพิ นธ์ เรอ่ื งเสดจ็ ประพาสไทรโยคตอนหนง่ึ วา่
“เมอื่ เรามาเทีย่ วคราวก่อน เมอื่ ปมี ะแม ตรศี ก จุลศักราช ๑๒๓๓ (พ.ศ. ๒๔๑๔) ได้ขนึ้ มาเที่ยวท่ีเขาน้ี
ก็เห็นว่าพอจะเป็นรั้วเป็นวังได้จงได้ขอคิดแลกเปลี่ยน สร้างวัดขึ้นใหม่วัดหนึ่งที่ริมแม่นํ้า ให้พระสงฆ์อยู่ได้
เพราะเห็นวา่ ถ้าวัดอยกู่ บั เขาดังน้ี ทางไกลบ้าน พระสงฆ์ก็ไมม่ ีใครมาอย่ภู เู ขาน”้ี
“วัดหนึ่งที่ริมแม่นํ้า” ตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ข้างต้นนั้นคือวัดกลางบ้านหรือวัดโพธิ์งามที่ร้าง
อยู่นั่นเอง และเหตุเพราะการย้ายวัดจากเขาสัตตนารถมาเพิ่มเติมรวมเข้าในวัดกลางบ้านหรือวัดโพธิ์งามเดิม
วัดที่เกิดขึ้นนี้จึงได้พระราชทานนามว่า “วัดสัตตนารถปริวัตร” อันแปลความหมายได้ว่า วัดที่เปลี่ยนมาจาก
วัดสัตตนารถ
หนังสือทีร่ ะลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๗๓
การสร้างวัดสัตตนารถปริวัตรในชั้นแรกนั้นมีการสร้างถาวรวัตถุไว้ คือ พระอุโบสถ
วิหารพระพุทธไสยาสน์ ศาลา กุฏิ ๘ หลัง กำแพงวัด พระเจดีย์ ๑ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เป็นอาทิ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาเป็น
พระอารามหลวงชั้นโท วรวิหาร และโปรดให้นิมนต์ภิกษุวัดโสมนัสราชวรวิหาร ๖ รูป มาจำอยู่ที่วัดสัตตนารถ
ปริวัตรวรวิหาร โดยยกพระครูศีลคุณธราจารย์เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก โดยเหตุนี้วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร
จงึ เป็นพระอารามในคณะธรรมยตุ กิ นิกายมาตง้ั แต่นัน้
พระอโุ บสถ
สถาปัตยกรรมที่สำคัญในพระอารามนั้น พระอุโบสถของวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหารหลังเดิม
สร้างแต่สมัยแรกสร้างวัดมีขนาดเล็ก ภายหลังย้ายพระอุโบสถหลังเก่าไว้ที่วัดเหนือวน ให้มีรูปแบบอย่างเก่า
พระอโุ บสถหลังทป่ี รากฏในปจั จุบัน กว้าง ๑๐ วา ๓ ศอก (๒๑.๕ เมตร) ยาว ๑๖ วา (๓๒ เมตร) ยกพื้นสูงจาก
พื้นดิน ๒ ศอก (๑ เมตร) หลังคา ๓ ขั้น ผนังก่ออิฐถือปูน มีระเบียงรอบ ด้านหน้ากว้าง ด้านหลังแคบเท่า
ระเบียงด้านข้าง ๒ ด้าน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้าใบระกา ใช้ปูนปั้นเป็นหัวนาคและตัวนาค
โดยพระพุทธวิริยากร (จิต ฉนฺโน) เจ้าอาวาสในสมัยนั้น เอาแบบแปลนพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสมาใช้
พื้นพระอุโบสถปูกระเบื้องเคลือบทั้งข้างนอกข้างใน ปัจจุบันมีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องเคลือบเป็นพื้น
หินแกรนิต ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ให้ขยายเขตวิสุงคามสีมา
ให้กวา้ งขึ้น เมื่อวนั ท่ี ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
๗๔ | วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี
พระประธาน
เมื่อสร้างพระอุโบสถใหม่แล้วยังขาดพระประธานอยู่ ขณะนั้นพบว่ามีวัดร้างแห่งหนึ่ง บริเวณ
ทุ่งอรัญญิก หรือทุ่งเขางูในปัจจุบัน มีพระประธานในพระอุโบสถเก่า ๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปศิลาแลง
ปางมารวิชัย หันหลังให้กัน พระพุทธวิริยากร เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงอัญเชิญองค์หนึ่งมาประดิษฐานเป็น
พระประธาน โดยมีการพอกปูนปิดเนื้อให้มีรูปร่างคล้ายพระพุทธชินราช ต่อมาภายหลัง พระพุทธวิริยากร
มีนิมิตกับพระประธานว่า “เหตุใดไม่อัญเชิญพระพี่ชายมาด้วย” ท่านจึงอัญเชิญพระพุทธรูปอีกองค์
มาประดิษฐานไว้ที่วัดด้วยกัน ขณะนั้นวัดมิได้มีอาคารประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ประจวบเหมาะกับที่วัด
ได้สร้างเมรใุ ชฌ้ าปนกจิ หลวงศรโี ยธา ไวยาวจั กรจงึ ได้นำเมรแุ ปลงเปน็ ท่ีประดิษฐานพระพุทธรูปองค์พี่มาแต่น้ัน
ปจั จบุ ันนี้ พระพทุ ธรูปองคพ์ ่มี ีนามว่า “หลวงพอ่ โต”
นอกจากพระอุโบสถที่ประกอบสังฆกรรมแล้วในวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ยังมีพระวิหาร
พระพุทธไสยาสน์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแกนศิลาแลงหุ้มด้วยปูนยาว ๙ เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก
ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีอยู่เดิมที่วัดเขาสัตตนารถ เมื่อย้ายวัดมา โปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้อัญเชิญมาดว้ ย โดยการแยกองค์พระออกเป็นท่อนๆ แล้วเชญิ มาประดิษฐานท่ีวัดสัตตนารถ
ปริวัตรวรวิหาร ตัวพระวิหารนั้นเป็นพระวิหารก่ออิฐถือปูน มีผนังหลังคามุงกระเบื้องดินเผา ต่อมาเมื่อ
พุทธศักราช ๒๔๙๘ มกี ารซ่อมแซมใหญ่ทงั้ องค์พระพุทธไสยาสน์และพระวิหารท่ีประดิษฐาน มีการกะเทาะผิว
ขององคพ์ ระออกและฉาบปนู ใหม่ เปลย่ี นกระเบือ้ งมุงหลงั คาเป็นกระเบ้ืองเคลอื บ
เพื่อความบริบูรณ์แห่งประวตั ิของพระอารามนี้ ควรจะกล่าวไวด้ ้วยว่าในช่วงสงครามมหาเอเชียบรู พา
หรอื สงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ วดั สตั ตนารถปรวิ ตั รวรวิหารแห่งน้ีมีเหตุการณ์สำคญั เกิดขึ้นอยหู่ ลายคร้ัง กล่าวคือใน
สงครามคราวนั้น กองกำลังทหารไทยขออาศัยพื้นที่วัดเป็นกองบัญชาการ เอากุฏิ หอระฆังเป็นที่ทำการ
ทางทหาร เอากุฏิที่เหลือเป็นที่พักพลทหาร ทั้งยังจะขอใช้พระวิหารเป็นสถานที่เก็บน้ำมัน แต่ทางวัดไม่ยอม
ให้เอาไปเก็บที่ใต้ถุนโรงเรียนนักธรรมศาลาดินแทน เพราะเห็นว่าวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหารเป็นสถานที่
ปลอดภัย ปรากฏว่าตอ่ มามกี ารโจมตีทางอากาศใกล้เคียงกับตำแหน่งท่ตี ั้งวัด เปน็ เหตใุ ห้ผูค้ นพากันหลบหนีไป
คร้นั กลับมายงั วัดจึงพบว่ามีทหารญี่ปุน่ ยึดครองวดั เสียแล้ว ในช่วงต้นปี ๒๔๘๘ ใกลส้ ้นิ สดุ สงคราม มีการโจมตี
ทางอากาศอีก คราวนี้วดั ฺได้รับความเสียหายโดยตรง ครั้งนั้นถือเป็นครั้งท่ีวัดเสียหายมากที่สุด เพราะนอกจาก
หนงั สือทร่ี ะลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๗๕
จะโดนภัยจากระเบิดแล้ว วัดยังถูกขโมยข้าวของเป็นจำนวนมาก ยิ่งเมื่อทหารญี่ปุ่นแพ้แล้ว ผู้ร้ายยิ่งหมด
ความยำเกรง เข้ามาขโมยของทหารญี่ปุ่นกันตลอด
วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหารนี้ ลางทีจะมีความข้องเกี่ยวกับภัยทางอากาศ เพราะแม้ภายหลังจาก
สงครามมหาเอเชียบูรพาสงบลงแล้ว ในพุทธศักราช ๒๔๘๘ วัดก็ประสบภัยทางอากาศอีกครั้ง เมื่อเครื่องบิน
ฝึกหัดแบแคตของกองทัพอากาศ เกิดอุบัติเหตุบินเข้าชนกุฏิไม้และฐานพระเจดีย์และตกลงที่ลานพระเจดีย์
ไฟลกุ ท่วมพระเจดีย์และลามไปถึงพระวิหาร เคราะห์ดที ส่ี ามารถดับเพลิงได้ทัน ขณะน้ันเจา้ อาวาสกับพระต่าง
วัดกำลังสนทนากันอยู่หน้ามุขนั่นเอง เคราะห์ดีที่ไม่มภี กิ ษุหรือผู้ใดได้รับอันตราย ทางราชการได้ใชค้ ่าเสยี หาย
ให้ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยมาเยี่ยมวัดจึงได้นำ
เงินที่ทางราชการให้เป็นค่าเสียหายไปซ่อมกุฏิ พระเจดีย์ และพระวิหารให้คืนดี สร้างตึกขนาดสองชั้น ๕ ห้อง
และได้อาศยั เงนิ จำนวนน้เี ปน็ ทุนพฒั นาวัดต่อมา
โรงเรียนเบญจมราชทู ิศ
เมื่อกล่าวถึงที่ตั้งพระอารามนั้น บริเวณละแวกวัดเป็นชุมชนและยังเป็นที่ตั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามวัด มีต้นกำเนิดจากการที่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนหลวงในวัดสำหรับจังหวดั ราชบุรี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๙ จึงได้มีโรงเรียนขึ้นใน
วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ภายหลังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปรับปรุงการศึกษาให้เป็นอย่างตะวันตก
จงึ ไดเ้ ปล่ียนฐานะเปน็ โรงเรียนตวั อย่างวดั สัตตนารถปริวัตรวรวิหาร เมอื่ พทุ ธศักราช ๒๔๕๐ โดยในขณะน้ันใช้
ศาลาการเปรียญเป็นที่ทำการ กระทั่งพุทธศักราช ๒๔๕๖ ในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดอาคารโรงเรียน และพระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ราชบุรี อันมีความหมายว่า โรงเรียนที่อุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ และได้ใช้นามนี้มาจนปัจจุบัน
ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า แม้ปัจจุบันที่ตั้งของโรงเรียนเบญจมราชูทิศจะแยกออกไปอยู่ด้านหน้าวัดแล้ว
แต่โรงเรียนและนักเรียนก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับวัด ในทุกๆ เช้า จะมีนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ราชบุรี เข้ามารับประทานอาหารที่เป็น “ข้าวก้นบาตร” จากที่พระภิกษุได้มาจากการบิณฑบาต หรือที่มี
ญาติโยมศรัทธานำมาถวายไปรับประทาน เป็นการที่วัดได้สงเคราะห์สนับสนุนอาหารแก่นักเรียนซึ่งได้รับ
ผลตอบรับอยา่ งดีเสมอมา
๗๖ | วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวหิ าร จงั หวดั ราชบรุ ี
บรู พาจารย์
นับตั้งแต่ได้สร้างวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหารขึ้นเป็นวัดใหม่อีกครั้งในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเดจ็
พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั พระอารามนีม้ ีเจา้ อาวาสครองวดั มานบั ถงึ ปัจจบุ ัน ๙ รูป คือ
๑. พระครูศีลคุณธราจารย์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๔ – ๒๔๒๖
๒. พระมทุ รมนุ ี (หนา่ ย ขมโก) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๖ – ๒๔๓๖
๓. พระพทุ ธวิรยิ ากร (จิตร ฉนฺโน) ตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๔๓๗ – ๒๔๕๗
๔. พระครอู ดุ มธรี คุณ (เพมิ่ ) ตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๕๙
๕. พระธรรมเสนานี ราชบรุ ีวรนายก ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๙๑
๖. พระราชนนั ทมนุ ี (ช่ืน เขมิโย) ตง้ั แต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๕๐๙
๗. พระเทพสเุ มธี (หยวก จตฺตมโล) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๔๕
๘. พระราชเมธาภรณ์ (ประยูร ฐติ จิตฺโต) ตงั้ แต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ปัจจุบัน
ปัจจุบัน พระมงคลธรรมาภรณ์ (ถาวร สุธมโฺ ม) เป็นผู้รกั ษาการแทนเจา้ อาวาส
วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงที่อยู่คู่กับเมืองราชบุรีมานับร้อยปี เป็นศูนย์กลาง
ของชุมชน เป็นศรีสง่าแก่เมืองราชบุรี ทั้งในทางพระศาสนาและในทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่โบราณ
และเป็นท่ีเชื่อแน่วา่ จะดำรงความเปน็ ศรสี ง่าเช่นนตี้ ลอดกาลนาน
หนงั สอื ที่ระลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๗๗
ตามรอยคำขวญั ประจำจังหวดั
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโปง่ เมอื งโอ่งมังกร วดั ขนอนหนังใหญ่
ตืน่ ใจถำ้ งาม ตลาดนำ้ ดำเนนิ เพลินคา้ งคาวรอ้ ยล้าน ย่านยสี่ กปลาดี
Ratchaburi, a town of beautiful ladies of Photharam and Baan Pong,
Dragon-design jars, Nang Yai of Wat Khanon,
Wonderful caves, Damnoensaduak Floating Market,
100-million bats and Yi Sok fish.
คำขวญั ประจำจงั หวดั ราชบรุ ี เริม่ ใช้เมื่อจงั หวัดราชบุรเี ปน็ เจา้ ภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
คร้งั ท่ี ๕ และงานมหกรรมของดเี มืองราชบรุ ี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในด้านการสอื่ ความหมาย อาจจะระบไุ ด้ ดงั นี้
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโปง่
เป็นการกล่าวถึง ความสวยงามของผู้หญิงในจังหวัดราชบุรี ซึ่ง “คนสวยโพธาราม” สันนิษฐานว่ามี
ที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ในคราวเสด็จพระราช
ดำเนินกลับจากการประพาสไทรโยคทางชลมารค ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ แล้วได้ประทับพักร้อนบน
พลับพลาและเสด็จประพาสตลาดโพธาราม ซึ่งมีราษฎรทั้งชาวไทย จีน มอญ และลาว เฝ้ารับเสด็จด้วยเครื่อง
แต่งกายและเครื่องประดับสวยงาม จึงมีพระราชดำรัสชมว่า “คนโพธารามนี้สวย” นอกจากนี้ ยังมีการสื่อ
ความหมายอีกนัยหนึ่งจาก หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อธิบายไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เสด็จพระราชดำเนินนำกองเสือป่าไปซ้อมรบทีค่ ่ายหลวงบา้ นไร่ อำเภอโพธาราม ได้มี
ราษฎรชาวโพธารามเฝา้ รบั เสด็จถวายการรับใช้อย่างใกลช้ ิด จงึ มพี ระราชดำรสั ชมว่า “คนสวยโพธาราม สวยมี
น้ำใจดี”
ในส่วนของ “คนงามบ้านโป่ง” สันนิษฐานว่า คงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ในคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารค
๗๘ | วัดสัตตนารถปรวิ ตั รวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี
ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ขณะเสด็จพระราชดำเนินถึงบ้านโป่งมีนายอำเภอนำราษฎรไปเฝ้ารอรับเสด็ จเป็น
จำนวนมาก เมื่อเสด็จขึ้นฝั่งทรงเห็นราษฎรที่มาเฝ้าแต่งกายเรียบร้อยและพร้อมเพรียงสวยงาม จึงมีพระราช
ดำรัสชมว่า “คนบ้านโป่งนี้งาม” ทั้งนี้คำขวัญที่ว่า “คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง” นั้นเป็นคำขวัญที่บ่ง
บอกถึงจริยธรรมอันดีงามของชาวโพธารามและชาวบ้านโป่งที่สะท้ อนให้เห็นถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีอันดี
งาม พูดจาไพเราะ และงามพร้อมด้วยกิริยามารยาท อันเป็นความสวยงามที่เป็นอมตะที่ไม่เสื่อมคลายและน่า
คบหามากกว่าผทู้ ่ีงามแต่ภายนอก
ตัวอย่างนักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงการ คือ พิมพ์ชนก พลบูรณ์ หรือใบเฟิร์น ลูกสาวของ จาตุรงค์
พลบูรณ์ หรือ จาตุรงค์ ม๊กจ๊ก สาวสวยแห่งโพธาราม จังหวัดราชบรุ ี นักแสดงชาวไทย เข้าสู่วงการบนั เทิงด้วย
การประกวดมิสทีนไทยแลนด์ ปี ๒๕๔๖ และได้รับรางวัลนางงามมิตรภาพ รวมถึงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงดาวรุ่งหญิงยอดเยี่ยมสาขาภาพยนตร์ จากภาพยนตร์เรื่อง หัวหลุดแฟมิลี่ บริษัท พระนครฟิลม์
จากการจัดประกวดรางวัลท็อปอวอร์ด ปี ๒๐๐๘ (๒๕๕๑) อีกทั้งยังมีผลงานการันตีความสวยและ
ความสามารถมากมาย อาทิ ผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่อง เมล์นรก หมวยยกล้อ (๒๕๕๐) หัวหลุดแฟมิลี่
(๒๕๕๑) ฮาศาสตร์ (๒๕๕๔) ผลงานละครโทรทัศน์เรื่อง เพ่ือนแซ่บ ๔x๔ (๒๕๔๙) ปี่แก้วนางหงส์ (๒๕๕๑)
แก้วขนเหล็ก (๒๕๖๒) สูตรเล่ห์เสน่หา (๒๕๖๔) ผลงานทางด้านซีรี ส์เรื่อง Wifi Society ตอน
Oh My Wife...รักแมนๆ แฟนผมเอง รับบท ภรรยา Club Friday The Series ๑๐ ตอน เขา เธอ และอีกคน
รับบท แตะตอ้ ง นอกจากนย้ี ังมีผลงานด้านซิตคอม พิธกี ร และพอ็ กเกต็ บุ๊ค อกี ด้วย
หนังสือท่รี ะลึกพิธีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๗๙
รปู ท่ี ๘ พมิ พ์ชนก พลบูรณ์ หรอื ใบเฟิร์น สาวสวยแห่งโพธาราม จงั หวัดราชบุรี
ทม่ี า : https://women.kapook/gallery/232499
๘๐ | วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร จังหวัดราชบรุ ี
รปู ที่ ๙-๑๒ งามตาคา้ ง คนสวยโพธารามประชันโฉมนางสงกรานต์ เทศบาลเมอื งโพธาราม ปี ๒๕๖๒
ทีม่ า : https://www.tnnthailand.com/news/local/6085/
จากคนงามบ้านโป่ง มาสู่เรื่องของ เมืองโอ่งมังกร ซึ่งถือเป็นสินค้าประจำจังหวดั ราชบุรมี ากว่า ๖๐ ปี
ดว้ ยเอกลกั ษณ์ของดินท่ีมีความสวยและคุณสมบตั ิเฉพาะตวั ผนวกกับความใสใ่ จรายละเอยี ดในทุกขั้นตอนการ
ผลิต นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการต่อยอดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสินค้าพื้นเมือง
อันลอื ช่ือท่สี ่ือถงึ ศลิ ปวฒั นธรรมประจำท้องถ่ิน เพอื่ สะทอ้ นวิถีชวี ิตความเป็นอยขู่ องชาวราชบรุ ไี ดอ้ ยา่ งชดั เจน
หนังสือท่รี ะลกึ พธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๘๑
เมอื งโอง่ มงั กร
ที่มาของ “เมืองโอ่งมังกร” มาจากการที่จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิต
เครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะโอ่งมังกรซึ่งมีประวัติการผลิตที่ยาวนานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้ง
ชาวไทยและชาวตา่ งประเทศ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจงั หวัดราชบุรี แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีโรงงานผลิตโอง่
อยู่กว่า ๔๐ แห่ง และมี โรงงานผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบต่างๆ ออกไปอีกกว่า ๑๕ แห่ง ตามจังหวัด ต่างๆ
ทั่วประเทศ เช่น จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรี หรือแม้แต่ในเขตสามเสน กรุงเทพมหานคร ก็มีการผลิตโอ่ง
เชน่ กนั แตท่ ไ่ี ดร้ บั ความนยิ มและมชี ื่อเสยี ง ก็ต้องเปน็ ทจ่ี ังหวัดราชบรุ ี
โอ่งมังกรที่เป็นสัญลักษณ์และเป็นตำนานคู่จังหวัดราชบุรีคือ โอ่งมังกรของ “เถ้า ฮง ไถ่” หรือ
“โรงงานเถ้าเซ่งหลี” โดยเป็นการหุ้นกันระหว่าง นายซ่งฮง แซ่เตีย และ นายจือเหม็ง แซ่อึ้งและพรรคพวก
ถือไดว้ ่าเป็นโรงงานผลติ เครอ่ื งปั้นดินเผาที่เก่าแกค่ ่บู า้ นคู่เมอื ง โดยเริม่ ผลติ ตงั้ แต่ พ.ศ ๒๔๗๖ นายซง่ ฮง แซ่เตีย
ได้มาพบแหล่งดินที่จังหวัดราชบุรี จึงได้ชวนพรรคพวกมาตั้งโรงงานผลิตไหน้ำปลา โอ่งน้ำไม่มีลาย กระถาง
ต้นไม้ เปน็ โรงงานแรกของราชบุรี และต่อมาไดพ้ ัฒนาผลติ ภณั ฑ์มาอย่างต่อเน่ืองจนถึงปจั จุบนั จนมาถึงทายาท
รุน่ ทส่ี าม ทเี่ ลง็ เห็นถงึ การอยรู่ อดของโรงงานทใ่ี นขณะน้นั มีการแข่งขันสูง มีโรงโอง่ เกิดขึ้นมากมายถึง ๒๐ กว่า
โรง เกิดภาวะโอง่ ล้นตลาด และยุคสมัยทีเ่ ปลี่ยนไป คนต้องการโอง่ เก็บน้ำน้อยลง ที่สดุ จงึ ได้พฒั นาผลติ ภัณฑ์ให้
เป็นผลงานศิลปะเซรามิก กระทั่งมีชื่อเสียงเป็นท่ีรูจ้ กั ไปท่ัวประเทศ ซึ่งจัดไดว้ ่า นี่คือต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำให้
เกิดการต่อยอดไปยงั ผู้ผลิตรายอ่ืนๆ
กรรมวิธีในการผลติ โอ่งมังกร
ดินปั้นโอ่งใช้ดินเหนียว ซึ่งต้องนำมาหมักไว้ในบ่อหมักดินประมาณ ๒ คืนเพื่อให้ดินอ่อนตัว แล้วใช้
พล่ัวซอยให้ดนิ มขี นาดเลก็ ให้นำ้ ซึมได้อย่างทว่ั ถงึ เพื่อให้ดนิ อ่ิมนำ้ ท่วั ทั้งก้อน หลงั จากน้นั จะนำดินขน้ึ มาจากบ่อ
หมักแล้วนำมาเข้าเครื่องนวด ใส่ทรายละเอียดผสมในอัตราส่วนประมาณ ๕-๑๐ เปอร์เซ็นต์ เครื่องนวดจะ
นวดดินเหนียวกับทรายให้คลุกเคลา้ เข้าด้วยกนั จนดูเหมอื นเปน็ เนือ้ เดียวกนั ดนิ เหนียวที่ไดจ้ ะไมเ่ หลวหรือแข็ง
เกินไป เหมาะที่จะนำไปปั้นเปน็ ภาชนะและเครื่องใช้ตา่ งๆ ดินผสมที่นวดออกมาจากเครื่องนวดจะกองเป็นดิน
กองใหญ่ เวลาใช้จะนำดินไปเขา้ เครื่องรีดดนิ ออกมาเปน็ แท่ง ก่อนใช้เคร่อื งมอื ตัดดนิ มีช่อื เรยี กวา่ “โถง่ เก็ง”
๘๒ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวิหาร จังหวดั ราชบุรี
โถง่ เกง็ เปน็ เหลก็ เสน้ กลมนำมาโคง้ เปน็ รูปตวั ยู ปลายเหล็กเส้นรปู ตัวยูจะขึงตรงึ ลวดไวจ้ นตึง เส้นลวด
นี้ใช้เป็นเครื่องมือตัดดินออกมาเป็นท่อนๆ เท่ากับจำนวนที่ต้องการ ใช้เครื่องมือสำคัญในการขึ้นรูปคือ แป้น
หมุน ซึ่งเป็นแผ่นเหล็กกลมมีแกนกลาง หมุนได้รอบตัวด้วยเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า แบ่งการปั้นออกเป็น ๓
ประเภทคือ ของเล็กจะเป็นงานที่ขึ้นปั้นครั้งเดียวจบเป็นชิ้นงาน ของใหญ่ที่มีขนาดบรรจุ ๒ ปี๊บ ขึ้นไป (บรรจุ
นำ้ ประมาณ ๔๐ ลิตร) จะป้นั ๒ ตอน ต้องรอให้ท่อนลา่ งแข็งตัว (ดนิ หมาด) พอทจ่ี ะรองรับการปั้นต่อเสริมอีก
ช่วงได้ ส่วนโอง่ ซงึ่ ถอื เปน็ ชน้ิ งานท่ีใหญ่ท่ีสดุ จะป้ันเป็น ๓ ตอน ในการป้ันโอง่ จะตอ้ งใชค้ น ๓ คน คอื คนเตรียม
ดิน ช่างปั้นและผู้ช่วย แต่ละคนจะทำงานประสานกัน คือ คนเตรียมดินจะตัดดินที่นวดแล้ว นำมาตัดแบ่งเป็น
กอ้ นให้พอเหมาะกับการปั้นภาชนะนัน้ ๆ เช่น ป้ันโอ่ง คนเตรยี มดนิ แบง่ ดนิ สำหรบั ข้ึนก้นโอง่ ด้วยการนวดดินปั้น
ใหเ้ ป็นรูปกลม แล้วกดใหแ้ บนนำไปวางบนแปน้ หมุนกดใหบ้ านออกอีกครั้งใหห้ นาประมาณข้อนิ้วจากนั้นจะรีด
ให้เรียบแผ่กว้างตามที่ต้องการ แล้วจึงประคองดนิ ด้านข้างรดี ให้สูงและแต่งให้เรียบ การเชื่อมต่อผนงั โอ่งจะใช้
ดินที่นวดเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว ยาว ๔๕ เซนติเมตร โดยกดดินเส้นให้บรรจบกับผนังโอ่งท่ี
เรยี กวา่ "การยิ" ให้รอบ แล้วจึงเรมิ่ ประคองดนิ ก่อเป็นผนังพร้อมรดี ให้มีความหนาไม่เกิน ๑ นิ้ว สูงประมาณ ๑
ฟุต จากนั้นก็จะรีดให้บานออกด้วยสันมือประกอบกับใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำช่วยรีดให้บานออกตามขนาดที่
วางไว้พร้อมตกแต่งข้างนอกให้เรียบ จะได้โอ่งที่มีเฉพาะผนังกับก้นโอ่งเท่านั้น ยังไม่มีขอบหรือปากโอ่ง ผู้ช่วย
จะต้องยกตัวโอ่งลงจากแป้นหมุน ถ้าเป็นโอ่งขนาดเล็กจะยกคนเดียว โอ่งขนาดใหญ่ต้องช่วยกันยกกับคน
เตรียมดินแลว้ นำไปผึ่งไวร้ อให้แห้ง
กอ่ นการข้นึ สว่ นท่สี อง จะต้องใชเ้ ครอื่ งมือท่ีเรยี กว่า หินดุกับไม้ตี ให้ส่วนท่ีหนึ่งบางเพื่อประกบกับส่วน
ที่สองได้ ช่างปั้นจะตอ่ ให้ได้ขนาดสงู และบานกว้างตามท่ีต้องการ นำไปผึ่งให้หมาด ประมาณ ๑-๒ วัน การต่อ
ปากโอ่งเมื่อยกขึ้นวางบนแป้นแล้วช่างปั้นขึ้นปากโอ่งจะใช้ดินที่คนเตรียมดินทำเป็นเส้นไว้แล้ว มาวางวนรอบ
ผนังโอ่งใช้เท้าถบี แปน้ ใหห้ มุน มือทง้ั สองข้างบีบดินใหต้ ิดกับผนังโอ่งและปนั้ แตง่ ใหเ้ ปน็ ปากโอ่ง พอจวนจะได้ที่
ใช้ฟองน้ำชุบน้ำปาดวนรอบปากโอ่ง อีกเที่ยวหนึ่ง ปากโอ่งจะเรียบสวย จากนั้นก็ยกโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลาน
วธิ ยี กโอง่ ขนาดเล็กลงจากแป้นนน้ั สำหรับงานปั้นคนเดียวต้องใช้เส้นลวดตดั ก้นโอง่ ที่ติดอยู่กับแป้นก่อนตัวโอ่ง
ที่ปั้นได้ขณะนี้เนื้อดินยังอ่อนไม่แข็งตัว ดังนั้นเมื่อยกขึ้นจากแป้น รูปทรงของโอ่งอาจจะเบี้ยวทำให้เสียทรงได้
ผู้ช่วยช่างปั้นโอ่งจึงต้องใช้ห่วงไม้สองห่วงมาช่วยบังคับรูปทรงคือ จะวางห่วงอันเล็กไว้ที่ก้นโอ่งด้านในและใส่
ห่วงอนั ใหญ่ไวท้ ่ปี ากโอ่ง เม่ือยกหรอื ยา้ ยตวั โอ่งลงจากแปน้ กน้ โอง่ และปากโอ่งจะยงั คงสภาพเดมิ ส่วนกลางโอ่ง
หนงั สอื ทีร่ ะลึกพธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๘๓
อาจเบยี้ วบิดไปบ้าง แต่จะทำการตกแต่งให้คืนสภาพเดิมได้ง่ายคอโอ่งน้ีไม่มีช่ือเรยี กเป็นภาษาไทยแต่เรียกเป็น
ภาษาจีนว่า โคว ซ่งึ ก็แปลวา่ หว่ ง
ก่อนการเขียนลายโอ่ง จะต้องมีคนตบแต่งผิวโอ่งให้เรียบ และแต่งรูปทรงของโอ่งให้ดีไม่บิดเบี้ยว วิธี
แต่งผิวโอ่งจะใชเ้ คร่ืองมือ ๒ ชนิด คือ ฮวยหลุบ กับ ไม้ตี ซึ่งเป็นไม้แบน ฮวยหลุบ เป็นคำในภาษาจีนหมายถงึ
เครื่องมือที่ทำด้วยดินเผา ลักษณะเป็นรูปกลมมน เหมือนลูกประคบมีที่จับอยู่กลางลูก เวลาตีโอ่งคนตีจะจับ
ตรงที่จับฮวยหลุบใช้รองผิวโอ่งดา้ นใน ส่วนด้านนอกโอ่งใช้ไม้ตแี ต่งผิวโอ่งจนท่ัวทั้งโอ่ง เมื่อเห็นว่าดีแลว้ จึงจะ
เขียนลายลงบนโอ่ง การเขียนลายลงบนโอ่ง จะมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนการเขียนลายเซรามิกประเภทอื่น
วัสดุทีใ่ ช้เขยี นลายบนโอ่งจะเป็นดินเหนียวผสมกบั ดินขาว นวดจนเน้ือดนิ นิ่ม เนื้อดินจะต้องร่วนพิเศษให้มีเน้ือ
ละเอียดมากเท่าที่จะทำได้ เรียกว่า ดินติดดอก ซึ่งดินติดดอกเป็นดินสำหรับติดลายบนโอ่ง (จะขับให้เคลือบ
ออกสีเหลือง ในขณะที่พื้นเดิมจะเป็นสีน้ำตาล) เมื่อโอ่งแต่งผิวเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำมาวางบนแท่นหมุนอีก
ครั้ง แท่นนี้จะหมุนด้วยมือ ช่างติดลายจะใช้ดินติดดอกปั้นเป็นเส้นเล็กๆ ป้ายติดไปที่โอ่ง ซึ่งจะแบ่งการติด
ออกเป็นสามตอน เพื่อเป็นการแบ่งโอ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ๑) ช่วงปากโอ่ง หรือส่วนบ่าของโอ่ง ๒) ตัวโอ่ง
หรือส่วนไหล่ และ ๓) เชงิ ล่างของโอ่ง หรือส่วนของขาโอ่ง แตล่ ะช่วงตดิ ลายไม่เหมือนกัน ในสมัยกอ่ น จะนิยม
ติดลายแค่ ๒ ช่วง คือ ปากโอ่งและตัวโอ่ง ในส่วนช่วงขาจะเปลือย ในบางครั้งติดเป็นลายกนก ลายเครือวัลย์
ลายไขว้ เป็นตน้
ช่วงปากโอ่ง นิยมติดลายดอกไม้หรือลายเครือเถา เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความเป็นระเบียบ
สวยงาม การติดลายชว่ งนีจ้ ะมีแบบฉลุแผน่ พลาสติกใสเป็นลายท่ีต้องการเอาไวเ้ วลาติดลาย ชา่ งจะนำเอาแบบ
ฉลุมาทาบลงบนผิวโอ่ง แล้วนำดินติดดอกกดปาดลงบนแบบฉลุพอยกแบบออกดินติดดอกจะไปติดบนผิวโอ่ง
เป็นลวดลายตามแบบนนั้ ๆ
ตัวโอ่ง นิยมเขียนเป็นรูปมังกรในลักษณะต่างๆ เช่น มังกรตัวเดียว มังกรคาบแก้ว มังกรสองตัวเกี่ยว
กัน มังกรสองตัววิ่งไล่กัน (เป็นรูปแบบและลวดลายที่นิยมมากในสมัยแรกเริ่ม) ช่างจะอาศัยความชำนาญใน
การตดิ ลาย ไมม่ ีการร่างเปน็ รูปกอ่ น โดยปา้ ยดินจากสว่ นหัวเร่ือยมายังสว่ นอก สว่ นท้อง และลากหางขดยาวไป
ตามจินตนาการ เติมรายละเอยี ดในสว่ นหวั เม่อื ได้ตวั มังกรแล้วจะใชเ้ หล็กแหลมวาดลวดลายเป็นหน้า จมกู ฟนั
ล้ิน เขา ใชห้ วีตกแต่งเป็นขนคอ ใช้เหลก็ ทง่ี อตกแตง่ เป็นรปู เลบ็ มือ ประมาณ ๔-๕ ซ่ี และวาดให้เปน็ เกล็ดมังกร
ส่วนหางจะใชด้ ินป้ายให้ยาวคลา้ ยไม้กวาด เตมิ ลายก้อนเมฆ และพระอาทิตย์ตามจนิ ตนาการของผ้ตู ิดลาย
๘๔ | วัดสตั ตนารถปริวัตรวรวิหาร จงั หวัดราชบุรี
รปู ที่ ๑๓-๑๔ การปั้นโอง่ และการวาดลายมงั กรบนโอง่
ทมี่ า : https://localwisdom.gsb.or.th/detail/index/315
นอกเหนือจากความสวยงามของลวดลายมังกรทีป่ ระดับบนโอ่ง ผนวกกับเจ้าของโรงงาน และช่างปั้น
ส่วนใหญ่ ล้วนเป็นลูกหลานชาวจนี จึงคัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคล อย่างมังกรเนื่องจากมีความหมายทีด่ ี เกิด
ความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้ และแฝงไว้ด้วยความหมายตามความเชื่อคตินิยมในวัฒนธรรมจีน ซึ่งลวดลายมังกรจะมี
หลายแบบ เชน่ มงั กรดัน้ เมฆ มังกรคาบแก้ว หรือ มงั กรสองตัวเกีย่ วพนั กนั ซงึ่ ลว้ นเป็นสัตวส์ ำคัญในเทพนิยาย
ของจนี เปน็ เทพแหง่ พลงั คุณงามความดี และการสือ่ ถึงวถิ ีแหง่ ชวี ติ เหลา่ ช่างปัน้ เลอื กเอามังกรท่ีมี ๓ เล็บหรือ
๔ เล็บ มาประดบั เป็นลวดลายตกแต่งโอ่ง อย่างเช่น โอ่งลายมงั กรคาบแกว้ ใช้การสอื่ ความหมายจากตำนานท่ี
เล่าว่า มังกรมีไข่มุกที่มีค่าเท่ากับทองร้อยแท่งอยู่ในปาก เมื่อมังกรต่อสู้กันอยู่บนอากาศ ไข่มุกก็ตกลงมาบน
พื้นดิน เป็นตน้ เรอื่ งของมังกรคาบแกว้ หรอื เลน่ แก้ว ตามภาพเขียนของจีนถ้าเป็นรูปมงั กร ๒ ตัวหนั หน้าเข้าหา
กัน ก็จะเป็นลูกกลมๆ สีแดงอยู่ระหว่างมังกรทั้งสองนี้ บ้างก็ว่ารูปกลมแดงนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์
หรือ ดวงจันทร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการเขียนหรือเรียกให้ถูกว่าตดิ ลายมังกรนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะโอ่งจะ
สวยสะดุดตามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลาย ช่างบางคนมีความสามารถพิเศษ สามารถปั้นหัวมังกรติดตัวมงั กร
ซึ่งเป็นภาพมิติเดียวแล้วทำให้ดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ในปัจจุบันมีฉลุแผ่นพลาสติกใสเป็นลายมังกรออกจำหน่าย
สร้างความสะดวกให้กับเจ้าของโรงงานเปน็ อย่างมาก
หนังสือท่ีระลึกพธิ ีถวายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๘๕
รปู ที่ ๑๕ ลายมังกรบนโอ่ง
ทีม่ า : https://localwisdom.gsb.or.th/detail/index/315
ช่วงเชิงด้านล่างโอ่ง ช่างจะติดลายวิธีเดียวกับช่วงปากโอ่งแต่ลายช่วงนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
เน่อื งจากเป็นส่วนล่าง ไม่ค่อยเหน็ เทา่ ไหร่
เมอ่ื ตดิ ลายลงบนตวั โอง่ เรยี บรอ้ ยแลว้ จะนำโอง่ มาเคลือบ ซง่ึ นำ้ เคลอื บทีใ่ ช้จะเปน็ สว่ นผสมระหวา่ งน้ำ
โคลนผสมกับขีเ้ ถ้า โดยทว่ั ไปจะใช้ข้ีเถ้าท่ีเกิดจากการเผาโอ่งภายในโรงงาน แตเ่ ถ้าท่ีได้จากการเผากระดูกสัตว์
นำมาทำน้ำเคลือบจะให้สีสดสวยกว่าเถ้าจากพืช ซึ่งเถ้าที่จะนำมาผสมน้ำโคลนจะต้องร่อนให้ละเอียดที่สุด
เนื่องจากนำ้ เคลอื บทีด่ จี ะเกิดจากน้ำโคลนและเถ้าที่ละเอียด การเคลือบโอ่งจะนำโอ่งวางหงายในกระทะใบบวั
ใช้น้ำเคลือบราดให้ทั่วด้านในโอ่ง จากนั้นจึงช่วยกันยกโอ่งคว่ำลงในกระทะ ตักน้ำเคลือบมาราดรดผิวนอกจน
ทั่ว แล้วยกโอ่งขึ้นนำไปวางหงายผึ่งลมไว้ น้ำเคลือบที่เหลืออยู่ในกระทะใบบัวก็ตักเทใส่รวมกับน้ำเคลือบที่
เตรียมไว้ นำโอ่งใบใหม่มาวางบนกระทะอีก แล้วก็ทำการเคลือบตามกรรมวิธีเดิม เมื่อเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
น้ำทีเ่ คลอื บจะใหส้ สี ันสวยงาม เกดิ ความมันเงา และยงั ชว่ ยสมานรอยหรือรรู ะหว่างเนอ้ื ดินใหม้ ีความเรียบเนียน
เมอ่ื นำโอ่งไปใสน่ ้ำจะไมซ่ มึ ออกมานอกโอง่ หลังจากน้ันผง่ึ ให้แหง้ ประมาณ ๘๐-๙๐% กอ่ นลำเอยี งเข้าเตาเผา
๘๖ | วัดสัตตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จงั หวดั ราชบรุ ี
การเผาโอ่งนับเป็นกรรมวิธีขั้นสุดท้ายของการทำโอ่งมังกร เตาเผาโอ่งเป็นเตาขนาดใหญ่เรียกว่าเตา
มังกร ตวั เตาก่อดว้ ยอฐิ มีผนังและหลังคาเป็นรูปยาวคล้ายลำตัวเคร่ืองบนิ โดยสาร ข้างเตาด้านหน่ึงจะเจาะเป็น
ช่องประตู เพื่อใช้เป็นทางนำโอ่งหรือภาชนะดินเข้าบรรจุ หรือออกจากเตาด้านนอก ข้างเตาอีกข้างหนึ่งจะกอ่
อิฐเรียบไปตลอด ด้านบนของเตาจะเจาะรูไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้ใส่ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการเผา รูที่เจาะไว้นี้
เรียกวา่ ตา โดยจะมีตาอยู่ข้างเตาท้ังสองด้าน เตามงั กรเตาหน่ึงจะมชี ่องประตูและตามากน้อย ขึ้นอยู่กับขนาด
ของเตา เช่น เตาที่มี ๔ ช่องประตูจะทำตาไว้ข้างเตา ๗๐ ตา ปลายด้านหนึ่งของเตามังกร จะใช้เป็นหัวเตา
สำหรับก่อไฟ ส่วนปลายอีกด้านเป็นท้ายเตาใช้เป็นปล่องสำหรับระบายควันออกจากเตาเมื่อจะเผาโอ่งหรือ
ภาชนะดินอน่ื ๆ
ภาชนะที่จะใช้เผา ช่างจะนำเข้าไปเรียงในเตาจนเต็ม โดยเรียงของชิ้นใหญ่ไว้ตรงห้องข้างท้าย และ
เรยี งของช้นิ เล็กไว้บรเิ วณห้องข้างหวั เนื่องจากพืน้ ที่แคบและเตี้ย จากนน้ั ปดิ ประตูทางเข้า-ออก และช่องใส่ไฟ
ด้วยอิฐชนิดเดียวกับที่ใช้ก่อเตา จะเปิดตรงด้านหัวเตาเพื่อเริ่มการสุมหัวคือจุดไฟเพื่ออบให้ภายในเตามีความ
ร้อนสะสมเพ่มิ มากขึ้นประมาณ ๑๐ ช่วั โมง การสะสมความรอ้ นตอ้ งให้ได้ ๑,๑๐๐-๑,๒๐๐ องศาเซลเซยี ส แลว้
จึงเริ่มเดินเตา คือ เปิดช่องใส่ฟืนทางด้านหลังเตาเริม่ จากห้องหวั (พื้นที่เล็กแคบเตีย้ ) ใส่เชื้อไฟตามที่อยู่รอบๆ
จนถงึ ทา้ ยเตา ถอื เป็นการเสร็จส้นิ ข้นั ตอนการเผาจงึ ปดิ ทุกชอ่ งของเตา และทง้ิ ไว้ประมาณ ๑๐-๑๒ ชั่วโมง เริ่ม
ทยอยระบายความร้อนในเตาด้วยวธิ กี ารเปดิ ตา จนความร้อนลดไประดบั หน่งึ จงึ แงม้ ช่องประตูให้ความเยน็ เข้า
ทางประตแู ละความร้อนออกทางตา และปลอ่ งใช้เวลาประมาณ ๘-๑๐ ช่วั โมง ก่อนเปิดประตูออกท้งั หมด เม่ือ
อุณหภูมิอยู่ในระดับที่คนทนได้ ทีมงานจะช่วยกันลำเลียงชิ้นงานที่เผาออกหมดทั้งเตา พร้อมทำความสะอาด
และซ่อมแซมภายในเตา ถือเปน็ การจบกระบวนการกอ่ นทีจ่ ะเร่มิ การเผาครั้งต่อไป
นอกจากโอ่งมังกรราชบุรีแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา ประเภทของเล็ก ได้แก่ ไห นิยมใช้
หมักดองผัก ผลไม้ หมักนำ้ ปลา มีอยู่สมัยหนึ่งใชใ้ นการใสน่ ้ำส้มสายชู บม่ เหลา้ แตไ่ ม่ได้รบั ความนิยมเท่าท่ีควร
ซ่งึ มี ๓ ขนาด ไดแ้ ก่ ๑) ไหแจว๋ จะมีขนาดเลก็ รปู ทรงคล้ายกะป๊อกล๊อกเล็ก ปากแคบก้นสอบ ๒) ไหจวิ๋ ไหจู๋ ไห
กลาง ไหใหญ่ บรรจนุ ำ้ ประมาณ ๓๘ ขวด และ ๓) กะปอ๊ กล็อก เปน็ โอง่ มังกรขนาดเล็ก ทรงป้อมไม่สูงมากนัก
นิยมใช้บรรจุเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น พริกแห้ง กระเทียม เกลือ ดองหน่อไม้ ดองปลาร้า ทำน้ำปลา เพาะ
ถ่ัวงอกมี ๓ ขนาด ได้แก่ กะป๊อกลอ็ กเล็ก ขนาด ๑-๒ ลิตร กะป๊อกล็อกกลาง และ กะป๊อกลอ็ กใหญ่ ขนาด ๑/
๒ ปี๊บ
หนงั สอื ท่ีระลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๘๗
โอง่ มงั กรในปจั จบุ ัน
การทำโอ่งมังกรจากรุ่นแรก สู่ยุคที่สามในนามร้าน เถ้าฮงไถ่ ปัจจุบันมีการประยุกต์มาเป็นการทำ
ผลงานเคลือบเซรามิค หรือ งานดินเผารูปแบบใหม่ๆ เช่น ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่ม กระถางบอนไซ
กระถางต้นไม้ อา่ งบวั อา่ งนำ้ ขา้ วของสตั วเ์ ลี้ยง เกา้ อี้ และชุดสนามต่างๆ เป็นตน้ นอกจากนีโ้ อ่งมงั กรยงั ถือเป็น
สญั ลักษณท์ ่สี ำคัญ ถงึ ขนาดท่ีเปน็ คำขวญั ของเมอื งราชบรุ ี
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นบ้านของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี สามารถ
พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิก เช่น โรงงานเถ้าฮงไถ่ก็หันไปผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทออกแบบลวดลาย
สวยงามตามความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์จากโรงงานนี้ได้มาตรฐานสามารถส่งออกไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศได้ ทางด้านหน่วยงานของกรมศิลปากร เคยมาว่าจ้างให้ผลิตเครื่องปั้นดนิ เผาที่มีคุณค่า เพื่อใช้ใน
งานฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงเทพมหานคร ถ้วยชามเบญจรงค์เลียนแบบของเก่าก็มีผลิตที่โรงงานรัตนโกสินทร์
นักท่องเที่ยวที่ผ่านมาถึงราชบุรีต่างก็อดใจซื้อติดมือกลับ ในส่วนของโรงงานสยามราช เครื่องเคลือบก็มีการ
พัฒนาการผลิตเป็นแจกัน เลียนแบบเครื่องสังคโลก แม้ว่ายังไม่เป็นที่นิยมมาก แต่ก็สร้างรายได้ให้กับคนงาน
และชาวบา้ นอยู่พอสมควร บางโรงงานมีความก้าวหน้าไปไกล หนั ไปผลิตถว้ ยชามและของชำร่วย เช่น โรงงาน
เซรามิกบ้านโป่ง เป็นตน้
ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รูปแบบการผลิต เทคนิคและ
วิทยาการของอุตสาหกรรมมีการพัฒนา ทำให้มีการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมาใช้แทนไหโอ่งมากข้ึน
ทางการมีประกาศปิดพื้นที่บางส่วน ทำให้การหาฟืนมีความยากลำบาก ส่งผลให้มีการรวมตัวจัดตั้งสมาคม
โรงงานสมาชิก ร่วมมือกันใช้พื้นที่บางส่วนของตนเองและพื้นที่เขตสัมปทาน ปลูกป่าทดแทนสำหรับใช้ทำฟืน
โดยเฉพาะ และมีการหันมาใช้ระบบแก๊สช่วยในการเผาวัตถุ นับเป็นผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจ
การค้าของโรงงานหลายแหง่ ในพ้ืนที่ แตถ่ ึงกระนน้ั โอง่ ลายมงั กรเมอื งราชบรุ ี รวมถงึ ผลิตภณั ฑ์วตั ถุตา่ งๆ ยังคง
เป็นสินค้าประจำจังหวัดไปอีกนาน และด้วยความมุ่งมั่นในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม การปั้นโอ่งมังกร ของ
จังหวัดราชบุรี ในรูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ทั้งด้านความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ประจำจังหวัดให้เกิดการตระหนักถึงความเป็นมาของโอ่งมังกร
ปลกู จติ สำนึกการอนุรักษ์และดำรงภมู ปิ ัญญาดั้งเดิมของชาวราชบุรี คงไวซ้ ง่ึ เสน่ห์อันเป็นตำนานมีชีวิตและเป็น
ทีน่ ิยม และยังเปน็ การสร้างความภาคภมู ิใจในการเผยแพรว่ ัฒนธรรมสู่พ้ืนที่อ่นื และนานาประเทศ
๘๘ | วัดสัตตนารถปริวัตรวรวหิ าร จังหวัดราชบรุ ี
วดั ขนอนหนงั ใหญ่
วดั ขนอน มหรสพหนังใหญ่ และพพิ ิธภัณฑ์
วัดขนอน ตั้งอยู่ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สร้างขึ้นในราว พ.ศ. ๒๓๒๗ แต่เดิมมีชื่อว่า
“วัดกานอน” สาเหตุที่มีชอ่ื เช่นนี้เนื่องจากบริเวณที่ต้ังของวัดมปี ่าไม้แดง ไม้ยาง และมสี ัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่
ไดแ้ ก่ เสือ เกง้ กวาง เมน่ ลงิ คา่ ง บา่ ง ชะนี นกพันธตุ์ า่ ง ๆ แตม่ นี กชนดิ หน่ึงที่มีจำนวนมากคือ นกกา โดยวิสัย
ของนกกาในเวลากลางวันจะบินไปหาอาหารตามแมน่ ้ำแม่กลอง และในตอนเย็นมักจะกลบั มานอนที่วัดขนอน
ผู้คนจึงเรียกวัดที่กาไปนอนนี้ว่าวัดกานอน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จประพาสต้นทางชลมารค จากอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยเสด็จตามแม่น้ำแม่กลอง
ผา่ นตลาดบ้านโป่ง ผ่านตลาดโพธาราม จนถึงเมอื งราชบรุ ี ทา่ นพระครูศรทั ธาสนุ ทร (หลวงปู่กลอ่ ม) เจ้าอาวาส
วัดขนอนในขณะนั้นได้กล่าวว่า "อายหลวงท่านว่า ชื่อวัดวาอารามยังเอาชื่อสัตว์มาตั้ง เห็นควรให้เปลี่ยนช่ือ
จะดกี ว่า" ดว้ ยเหตุน้ีวดั กานอน จงึ ได้เปล่ยี นชื่อเปน็ “วัดขนอนโปราวาส” ตามช่อื ด่านเกบ็ อากร ท่ีตั้งอยู่ใกล้กับ
วัด ประกอบกับชื่อ “ขนอน” ออกเสียงใกล้เคียงชื่อเดิมจึงไม่มีผู้ใดคัดค้าน และชาวบ้านมักเรียกสั้น ๆ ว่า
“วัดขนอน” จนมาถงึ ปัจจุบัน
หากกลา่ วถงึ วดั ขนอนแล้ว ผู้อ่านทกุ ทา่ นคงจะต้องนกึ ถงึ “หนงั ใหญ่” มหรสพที่เก่าแก่ของไทย ซึ่งเป็น
ทีร่ ู้จกั อย่างแพรห่ ลายในชือ่ “หนังใหญว่ ดั ขนอน”
หนังสือท่ีระลึกพิธถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๘๙
รูปที่ ๑๖ การแสดงมหรสพหนงั ใหญ่
ที่มา : http://arit.mcru.ac.th/e-chayaratchaphuri/index.php?option=com
หนังใหญ่ คือมหรสพที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีและอยู่ภายใต้การดูแลของราชสำนัก สืบเนื่องมา
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ
กรมศิลปากร ในขณะเดียวกันก็มีคณะหนังใหญ่ของสามัญชน ซึ่งแพร่หลายจากราชสำนักไปสู่สามัญชนตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยได้รับการอุปถัมภ์จากวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน และแพร่หลายมากขึ้นในสมัย
รัชกาลที่ ๕
ความหมายของหนังใหญ่ (Grand Shadow Play) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ให้ความหมายว่า มหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อัน
สำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอและหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละ
คนกัน ทั้งยังเป็นการแสดงที่รวบรวมศาสตร์ของศิลปะหลายๆ แขนงเข้าด้วยกัน ได้แก่ หัตถศิลป์ นาฏศิลป์
คีตศิลป์ ดุริยางค์ ศิลปะ และวรรณศิลป์ มาผสมผสานกันให้สอดคล้อง เหมาะสม เพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม
ซึง่ การแสดงหนังใหญ่ เปน็ ลกั ษณะของการเล่นแสงเงาบนผืนระนาบผนงั หรอื ฉาก
๙๐ | วัดสตั ตนารถปรวิ ัตรวรวิหาร จังหวดั ราชบรุ ี
ความเปน็ มาของหนังใหญ่วดั ขนอน
หนังใหญ่วัดขนอน ได้มีการสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการดูแลของ
พระครศู รัทธาสนุ ทร ซง่ึ ชาวบา้ นเรยี กกันว่า “หลวงปู่กลอ่ ม” ท่านได้รวบรวมช่างท่ีมีฝีมือในชุมชน ซึ่งชาวบ้าน
ส่วนใหญ่ในละแวกนั้นจะเป็นชาวนา หนังชุดแรกที่สร้างคือ ชุดหนุมานถวายแหวน ที่ได้จากการรวบรวมจาก
ช่างพื้นบ้าน เช่น ช่างหนังช่างพากย์ คนเชิด จากเมืองราชบุรี ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม ๙ ชุด ปัจจุบัน มีตัว
หนัง ๓๑๓ ตัว นับเป็นสมบัติวัดที่ได้ร่วมรักษาสืบทอดกันมา และเป็นเพียงแห่งเดียวที่มีมหรสพ มีตัวหนัง
และคณะหนงั ใหญ่ทสี่ มบูรณอ์ ยใู่ นความอุปถัมภข์ องวัด
รปู ท่ี ๑๗ พระครศู รัทธาสนุ ทร (หลวงปกู่ ลอ่ ม)
ทีม่ า : https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html
หลงั จากที่หลวงปู่กล่อมมรณภาพเมือ่ วนั ท่ี ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ แล้ว หนังใหญข่ องวดั นั้นได้ซบเซา
และเริ่มเลือนหายไปในช่วงสงครามโลกคร้ังที่ ๒ จนทำให้ไม่เปน็ ท่ีรู้จัก แต่ด้วยความเปน็ ศลิ ปะการแสดงชัน้ สูง
ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์พันตรีหญิง ผอบ โปษะกฤษณะ ได้มารื้อฟื้นอีกครั้งจาก
หนังสอื ทรี่ ะลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๙๑
การศึกษาวิจัยเรื่องวรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่วัดขนอน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งจัดว่าเป็นแรง
บนั ดาลใจทีก่ ่อใหเ้ กดิ การอนรุ ักษฟ์ ้ืนฟใู นเวลาต่อมา
การฟื้นฟูในช่วงแรกเกิดขึ้นจากความร่วมมือของคนในชุมชนบางส่วนโดยมีผู้นำคือ พระครูพิทักษ์
ศิลปาคม เจ้าอาวาสวัดขนอน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนไม่สนใจ ต่อมาได้
ปรึกษาร่วมกันกับนักวิชาการ จึงได้มีการนำหนังใหญ่ไปแสดงที่ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ กรุงเทพมหานคร
แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเคย ทางนักวิชาการจึงได้เสนอแนวทางให้ กลุ่มผู้ฟื้นฟถู ่ายภาพตัวหนงั ใหญ่ท้งั หมด
แล้วทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน พ.ศ. ๒๕๓๒
จนไดร้ บั การอปุ ถัมภ์
รูปท่ี ๑๘ พระครูพทิ ักษ์ศลิ ปาคม
ท่มี า : https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html
เมื่อได้รับเป็นโครงการในพระราชดำริแล้ว จากนั้นจึงได้รวมตัวไปศึกษากันที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
และได้มีการจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ โดยมีนักศึกษาภาควิชาประยุกต์ศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากรเข้ามาช่วยเหลือ มีศาสตราจารย์สน สีมาตรัง ควบคุมงาน และนายวาที ทรัพย์สิน บุตรชายนายหนัง
ตะลุงสชุ าติ ทรพั ย์สนิ จังหวัดนครศรธี รรมราชมาชว่ ยฝึกสอนการแกะสลักหนัง และมปี ราชญ์ชาวบา้ นชุมชนวัด
ขนอนทางด้านดนตรีไทย ด้านการแสดงหนังใหญ่ ฝึกหัดในเรื่องการแสดง การพากย์ และดนตรีประกอบ จน
๙๒ | วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร จงั หวัดราชบรุ ี
สามารถแสดงเปน็ มหรสพหนงั ใหญ่ได้สำเรจ็ และรว่ มกบั ภาครฐั และเอกชน ในการนำหนังใหญ่ไปแสดงเผยแพร่
ทง้ั ภายในและภายนอกประเทศ
โดยในส่วนของกระบวนการสืบทอดมรดกทางวฒั นธรรมนั้น วัดขนอนใหค้ วามสำคญั กับการอนุรักษ์ให้
หนังใหญ่ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน จึงวางแผนและพยายามสร้างทายาทหรือสร้างระบบการบริหารจัดการเพื่อให้
หนังใหญ่วัดขนอนก้าวเดินอย่างมั่นคง ทั้งชักชวนเยาวชนในท้องถิ่นให้มาฝึกเชิดหนังใหญ่ การสนับสนุน
ทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่มีแววได้ร่ำเรียนวิชาศิลปะเพื่อนำมาใช้กับงานอนุรักษ์ตัวหนังใหญ่ ปัจจุบันหนัง
ใหญ่วัดขนอนได้สนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ คือ “จฬรรณ์ ถาวรนุกูลพงศ์” เพื่อสานต่องานอนุรักษ์ และ
บริหารจดั การคณะหนงั ใหญ่ตอ่ ไปในอนาคต
รูปท่ี ๑๙ การฝึกซอ้ มการแสดงให้แก่เยาวชน
ทม่ี า : https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html
หนงั สือที่ระลึกพธิ ีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๙๓
รปู ท่ี ๒๐ จฬรรณ์ ถาวรนกุ ูลพงศ์
ทีม่ า : https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html
๙๔ | วัดสตั ตนารถปริวตั รวรวหิ าร จงั หวัดราชบรุ ี
ภมู ปิ ัญญาการสร้างสรรค์หนังใหญ่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นคุณค่าในการแสดงและศิลปะในตัวหนังใหญ่
จึงมีพระราชดำริให้ทางวัดอนุรักษ์ตัวหนังใหญ่ทั้งหมด และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
ทางการศกึ ษา และจัดทำหนังใหญช่ ดุ ใหมข่ นึ้ เพ่ือใชใ้ นการแสดง
รูปท่ี ๒๑ สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทอดพระเนตรการลงสีหนงั ใหญ่
ทมี่ า : https://www.sac.or.th/exhibition/museummakers/prakrupituk.html
วัสดทุ ี่ใชป้ ระดิษฐ์ตวั หนังใหญ่คือหนังววั นำมาฉลุหรือสลกั เปน็ ภาพตามตวั ละครในเนื้อเร่ือง ส่วนใหญ่
มีขนาดสูง ๒ เมตร กว้างราว ๑ เมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะท่าทาง บทบาท การกระทำ ของตัวละคร
โดยสามารถจำแนกไดด้ งั น้ี
หนังสอื ทร่ี ะลกึ พธิ ถี วายผา้ พระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๙๕
๑. หนังเจ้า หรือหนังครู เป็นตัวหนังทีใ่ ช้ในการไหว้ครู มี ๓ ตัว คือ พระฤาษี พระอิศวร หรอื
พระนารายณ์ เรยี กวา่ พระแผลง เพราะเปน็ ภาพในท่า แผลงศร
๒. หนงั เฝ้า หรอื หนงั ไหว้ เป็นภาพหนงั เดี่ยว หนา้ เสี้ยว พนมมือใช้แสดงตอนเขา้ เฝ้า
๓. หนังคเนจร หรือหนงั เดนิ เปน็ ภาพหนังเดี่ยว หนา้ เส้ียว อยู่ในทา่ เดิน
๔. หนังง่า เป็นภาพหนังเดย่ี ว หนา้ เส้ียว อย่ใู นท่าตอ่ ส้เู หาะแผลงศร
๕. หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพอยู่ในหนังผืนเดียวกัน โดยมีปราสาท ราชวัง
วิมาน พลับพลา ศาลา ตามเนอ้ื เรอื่ ง อยใู่ นหนังผืนนนั้ เรยี กหนังพลับพลา หนังปราสาทพดู หนงั ปราสาทโลม
๖. หนังจับ หรือหนังรบ เป็นหนังที่มีภาพตัวละคร ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ในหนังผืนเดียวกัน
สว่ นใหญเ่ ปน็ ภาพตัวละครในการต่อสู้
๗. หนงั เบ็ดเตลด็ เปน็ หนังลกั ษณะอื่น ทีไ่ มจ่ ดั อย่ใู นประเภทที่กล่าวมา แยกได้ดังน้ี
- หนงั เดี่ยว เปน็ ภาพหนงั ๒ ตวั ตัวหนงึ่ พ่ายแพ้การตอ่ สู้และถกู จบั มัด
- หนังเขน เปน็ หนังทเ่ี ป็นไพร่พลของกองทัพ
- หนงั เบ็ดเตลด็ อ่นื ๆ ทีม่ รี ูปร่างแปลกออกไป
การทำหนังใหญ่นั้น ช่างโบราณจะคิดประดิษฐ์ลวดลายที่ปรุลงในตัวหนัง ด้วยความประณีต บรรจง
โดยกรรมวิธีของชา่ งโบราณ ซึ่งในปัจจุบันยังมกี ารสบื สานต่อ แต่มีได้ผสมผสานกับวิธีการทำตัวหนังให้มีความ
สะดวกด้วยเครือ่ งมือทีท่ ันสมยั ซึ่งมขี ้นั ตอนดงั นี้
๑. การเตรียมหนงั
ใชห้ นังววั โดยซอ้ื จากโรงงาน ซึ่งจะสามารถกำหนดขนาดความหนา บาง ตามทตี่ ้องการได้
๙๖ | วดั สัตตนารถปริวัตรวรวิหาร จังหวดั ราชบุรี
รปู ที่ ๒๒
ทม่ี า : วิภาภรณ์ อรณุ ปลอด เมอื่ พ.ศ. ๒๕๖๑
๒. การฟอกหนงั
ในปัจจุบนั จะใช้การฟอกด้วยน้ำส้มสายชู โดยใชน้ ำ้ สม้ สายชู ๑ ลิตร ผสมน้ำ ๒๐ ลติ ร นำผืนหนังที่ขูด
เอาพงั ผดื และขนออก แชแ่ ละหมักไวป้ ระมาณ ๓ ชวั่ โมง จากนนั้ นำหนังไปลา้ งออกแล้วตากจนแห้ง แต่มีอีกวิธี
คือการซื้อตามโรงงานที่ทำการฟอกหนังด้วยน้ำยาเคมี จะได้หนังในลักษณะเดียวกันแต่ราคาอาจจะแพงกว่า
วธิ ีการท่ที ำตามท้องถ่ิน
๓. การเขียนลาย
ใชว้ ธิ กี ารลอกลายหรือร่างลายโดยใชก้ ระดาษไขวางทบั แบบแลว้ ร่างลวดลายจากต้นแบบหรือการวาด
ลวดลายแล้วนำไปถ่ายเป็นพิมพ์เขียว (สำเนาที่เกิดจากการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็นกระดาษบางๆ
ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมี ซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพืน้ สีน้ำเงินหรือลวดลายสีน้ำเงิน
บนพื้นสีขาว) หรือถ่ายเอกสารขนาด A3 หรือ A4 แล้วนำมาขยายตามสัดส่วนของตัวหนัง จากนั้นปะลงบน
ตวั หนงั
หนงั สอื ที่ระลกึ พิธีถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๙๗
รูปที่ ๒๓
ที่มา : วิภาภรณ์ อรณุ ปลอด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑
๔. การปรุลาย
ใช้ตัวตุ๊ดตู่หรือตาไกเ่ ป็นตัวตอกตามลวดลายเช่นเดยี วสมัยโบราณ เครื่องมือที่ใช้จะมีท้ังเครื่องมือตอก
และเครอ่ื งมือตัด ต่อมาได้พัฒนามาใช้มีดที่ทำจากใบเล่ือย เป็นมดี ทเ่ี ปน็ เคร่ืองมือช้ินเดยี ว เป็นมีดปลายแหลม
ใช้ตดั หรือเฉอื นตามบริเวณที่ตอ้ งการตดั ออกใหเ้ ป็นช่อง โดยใชม้ ดี หรือสวิ่
๙๘ | วดั สตั ตนารถปริวตั รวรวิหาร จังหวัดราชบรุ ี
รปู ที่ ๒๔
ท่มี า : วภิ าภรณ์ อรุณปลอด เม่อื พ.ศ. ๒๕๖๑
๕. การลงสี
สจี ะใชเ้ ป็นสีเดียวกบั ที่นยิ มใชใ้ นสมัยโบราณ ยงั คงใชส้ ีดำ ขาวน้ำตาลแดง เขยี ว ในด้านกรรมวิธีผสมสี
นั้น คุณภาพที่ไดจ้ ะตา่ งกันไม่มาก เช่น สีดำ จะใช้สีอะคริลิก แต่ต้องดูวัตถปุ ระสงค์ในการใชส้ ี ถ้าจะให้ทึบแสง
จะใช้สีดำ เพียงใหต้ ิดทนนานและทบึ แสง ส่วนสีนำ้ ตาลแดงปัจจบุ ันยงั คงใช้กรรมวิธที ่ใี ชห้ มากแห้งผสมกับเหล้า
ขาวแช่ไว้ ๒ คืน แล้วบีบยางมาทาเหมือนสมัยโบราณอยู่ เพราะหมากหาง่าย และในปัจจุบันมีสีสำหรับทาตัว
หนังที่ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น คือสีอะคริลิก ซึ่งคุณสมบัติที่ใช้ทาบนหนังนั้น หากผสมบางจะโปร่งใส
และหากผสมหรือทาทับกนั จะเข้ม ทำใหม้ ีส่วนทีท่ บึ ได้
หนงั สอื ทร่ี ะลกึ พธิ ถี วายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน มศว ๒๕๖๔ | ๙๙
รูปท่ี ๒๕
ทม่ี า : วภิ าภรณ์ อรุณปลอด เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑
๖. การเคลือบหนงั
ใช้น้ำยาแลคเกอรเ์ คลือบตัวหนัง สามารถกนั ความชน้ื และรกั ษาสภาพของหนังและสีให้คงทน
พพิ ิธภณั ฑ์หนงั ใหญ่วดั ขนอน