The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-07-10 00:21:41

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Keywords: ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

“ภิกษุทง้ั หลาย นี้คอื ทกุ ขอริยสัจ: ความเกิดเปน็ ทุกข์ ความแกเ่ ป็นทุกข์ ความตาย
เปน็ ทกุ ข์ ความประจวบกบั สง่ิ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทร่ี กั เปน็ ทกุ ข์ ความพลดั พรากจากสง่ิ ทร่ี กั เปน็ ทกุ ข์
ปรารถนาส่ิงใดไมไ่ ดส้ ิ่งนน้ั ก็เปน็ ทุกข์ โดยยอ่ อปุ าทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข”์
พุทธพจน์

ตามรอยพุทธธรรม ๐51

๒ ชวี ิต เป็นอยา่ งไร? ไตรล

ไตรลกั ษณ์

ชีวิตน้ีเป็นของไม่เท่ียง ชีวิตนี้
เปน็ ทกุ ข์ ชวี ติ นไ้ี มม่ ีตวั ตนที่แท้
จริง ทุกชีวิตด�ำเนินไปภายใต้
กฎแหง่ ไตรลกั ษณ์ ซงึ่ ปรากฏอยู่
ตามธรรมดาตามกฎธรรมชาติ
อันประกอบด้วยลักษณะโดย
ธรรมชาติ ๓ ประการของสงิ่
ทงั้ ปวง ไดแ้ ก่ อนจิ จตา ทกุ ขตา
และ อนตั ตตา

อนตั ตตา

(ความไมใ่ ช่ตวั ใช่ตน ไม่ถาวร
และไมม่ ีใครเปน็ เจ้าของอย่างแทจ้ รงิ )

“สงั ขารท้ังปวง ไมเ่ ทย่ี ง... สงั ขารทั้งปวง เป็นทกุ ข.์ .. ธรรมทั้งปวง เปน็ อนัตตา”
พุทธพจน์

๐52 ตามรอยพุทธธรรม

อนิจจตา ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงถงึ สงิ่ ท้ัง-
หลายวา่ ไม่มีตวั ตน ไม่เท่ียง
(ความเปน็ ของไม่เท่ียง เกิดข้ึน ไม่คงท่ีล้วนเกดิ ดบั เกิดขึน้ และ
ตงั้ อย่ชู ั่วคราว เปลย่ี นสภาพ แล้วดบั ไป) ดบั ลงเป็นล้านๆ ครงั้ ในเสีย้ ว
วินาที เกดิ ดบั ๆ ตลอดเวลา
ลกั ษณ์ หากไม่ตระหนักถึงกฎแห่ง
ไตรลักษณ์ จงึ ยังหลงเขา้ ใจผิด
คิดว่า สงิ่ ทป่ี รากฏนั้นเป็นของ
จรงิ และมตี ัวตน

ทุกขตา

(ความเป็นทุกข์ ถูกส่งิ อ่ืนกระทบ
บบี ค้นั ใหเ้ ปลี่ยนแปลงไป)

เมอ่ื ชวี ิตเป็นของไม่เทีย่ ง ชีวติ เปน็ ทตี่ ้ังแห่งกองทกุ ข์ และชวี ิตไมม่ ีตัวตน
ท่แี ท้จริงเชน่ นแ้ี ล้ว ควรปฏบิ ตั ติ อ่ กฎธรรมชาติอย่างไร จงึ สามารถด�ำเนนิ ชีวิต
ไดอ้ ย่างมีความสขุ และไปให้พ้นเสียจากกองทกุ ข์น้ไี ด้ ???

ตามรอยพุทธธรรม ๐53

หมวดท่ี ๒ : สมุทยั

๓. ชวี ติ เป็นไปอย่างไร?
ปฏจิ จสมุปบาท

ธรรมชาตขิ องสิง่ ท้ังหลายเปล่ยี นแปลงไปตามกฎธรรมชาติ เมื่อ
ตอ้ งการขจดั ทกุ ข์ จงึ ตอ้ งขจดั เหตแุ ละปจั จยั ทท่ี �ำ ใหเ้ กดิ ทกุ ข์ เมอ่ื
ท�ำ เหตปุ จั จยั ทน่ี �ำ ไปสกู่ ารดบั ทกุ ขใ์ หเ้ กดิ ขน้ึ ผลทไ่ี ดค้ อื การดบั ทกุ ข์
ความเป็นเหตุและผลนน้ั เรยี กวา่ ปฏิจจสมปุ บาท
ปฏิจจสมุปบาทมุ่งแสดงอาการของสิ่งทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์
เกย่ี วเนอื่ ง เปน็ เหตุปัจจัยสืบต่อกัน ดงั เช่นตน้ ไมท้ เ่ี ตบิ โตงอกงาม
ไม่ใชม่ ีเพียงเมล็ดพืชเปน็ ปจั จยั หากตอ้ งมดี ิน น�ำ้ อากาศ หรอื
แม้แต่นกกาแมลงผีเสื้อต่างร่วมกันเป็นปัจจัย ความทุกข์ที่เกิด
ขึ้นก็เช่นกัน เนื่องเพราะมีปัจจัยต่างๆ เกี่ยวเนื่องกันจนก่อเกิด
เป็นตัวทุกข์ เหตุและปัจจัยนั้นประกอบด้วย อวิชชา สังขาร
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน
ภพ ชาติ และ ชรามรณะ

๐54 ตามรอยพุทธธรรม

๑. อวชิ ชา ๒. สังขาร
๑๒. ชรามรณะ

๑๑. ชาติ ๓. วิญญาณ

๑๐. ภพ ปฏิจจสมุปบาท ๔. นามรปู

๙. อุปทาน ๕. สฬายตนะ

๘. ตณั หา ๖. ผัสสะ

๗. เวทนา

ตามรอยพุทธธรรม 55

อวชิ ชา (ความไม่รแู้ จง้ ไม่รตู้ ามจริง)
สงั ขาร (การนกึ คิด หรือการปรงุ แตง่ ของใจ)
วิญญาณ (ความรแู้ จ้งทางอารมณ)์
นามรูป (ร่างกายและจิตใจ)
สฬายตนะ (ชอ่ งทางรับรู้ ไดแ้ ก่ ตา หู จมกู ล้นิ กาย ใจ)
ผัสสะ (การรบั รสู้ มั ผสั ต่างๆ)
เวทนา (ความรู้สกึ สุข หรือทุกข์ หรอื เฉยๆ)
ตณั หา (ความทะยานอยาก)
อุปาทาน (ความยดึ ม่นั ถอื ม่ันในสงิ่ ต่างๆ)
ภพ (ภาวะชวี ติ ทเ่ี ปน็ อย)ู่
ชาติ (การปรากฏแห่งขนั ธ์ ไดแ้ ก่ อตั ตา ตัวตน)
ชรามรณะ (ความสลายแห่งขันธ์)
กระบวนการเกิด - ดับ ด�ำเนินอยู่ในชีวิตของเราตลอดเวลา
อย่างเงียบเชียบ ยังผลก่อเกิดเป็นความทุกข์คร้ังแล้วคร้ังเล่า
ไมห่ ยดุ หย่อน

๐56 ตามรอยพุทธธรรม

๑) เพราะมนษุ ยไ์ มร่ ู้สิง่ ตา่ งๆ ตามความเป็นจริง ว่าสิ่งนนั้ คือ ทุกข์ เหตุให้เกดิ ทกุ ข์ ความดับทกุ ข์ และ
หนทางให้เกิดความดับทกุ ข์ à ๒) มนษุ ย์จึงนึกคดิ ไปตามความชอบใจ หรอื ความเชอ่ื จงึ ตงั้ เจตนาไป
ตามส่งิ ท่ีตนเองปรารถนาจะใหเ้ ป็น หรอื ไปตามความเคยชิน à ๓) เมอื่ มนษุ ย์ตงั้ เจตนาไปอย่างไร จึง
รับรไู้ ปในทิศทางนั้น à ๔) เกิดความรบั รู้นามธรรมและรปู ธรรมตา่ งๆ ตามเจตนาท่ีต้ังไว้ à ๕) โดย
รบั ร้สู ่งิ ที่ใจนกึ คดิ ปรุงแตง่ เปน็ รูป รส กลน่ิ เสียง สมั ผัส ผา่ นทางตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ à ๖) เมอ่ื
ช่องทางการรับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ เรมิ่ ทำ�งาน เกิดเปน็ การกระทบกับส่ิงที่เข้ากระทบ à
๗) เมื่อกระทบแลว้ ความรู้สึกสขุ หรอื ทุกข์ หรือเฉยๆ จงึ เกดิ ขน้ึ à ๘) ถา้ รับรู้แลว้ เกดิ ความรสู้ ึกสุข
จงึ วิ่งเข้าหา ถา้ เกดิ ความรู้สกึ ทกุ ข์ จงึ ผลกั ออกไป à ๙) เพลดิ เพลนิ ยนิ ดีเกดิ เป็นอาการยึดตดิ ในส่ิงนัน้
à ๑๐) เกิดเป็นอาการปรงุ แตง่ ปรารถนาที่จะครอบครองสิง่ น้นั หรือความร้สู กึ นั้นอกี à ๑๑) เกิดมี
ตัวตนผูร้ บั รู้ à ๑๒) สุ ด ท้ า ย ภ า ว ะ เ ห ล่ า นี้ ก็ ต้ อ ง ดั บ สู ญ ไ ป...

ภาวะนั้นดับสูญแล้ว แต่จิตมนุษย์ยังคงยึดจับภาวะใหม่ๆ อยู่
ตลอดเวลา เปน็ เชน่ นเ้ี รื่อยไปไม่รจู้ บ ในทางกลบั กนั หากรู้เท่า
ทันวงจรที่ก่อให้เกิดทุกข์ แล้วดับเสียก่อน พร้อมกับท�ำความ
เข้าใจว่า ส่ิงทั้งหลายท่ีเข้ามากระทบน้ัน เป็นเพียงการกระทบ
ช่ัวครู่ช่วั ยาม เดย๋ี วกผ็ ่านพน้ ไป ไม่มอี ะไรคงที่ ไม่มีตวั มีตน ไมม่ ี
อะไรเลย มีเพียงเหตุปัจจัยของธรรมชาติที่ด�ำเนินไปเท่านั้นเอง
เมื่อรู้แล้ว เข้าใจแล้ว การยึดม่ันในส่ิงต่างๆ จะค่อยๆ ลดลง
จนไมเ่ ปน็ ทุกข์ หรือไมเ่ ป็นทีต่ ้ังแห่งทกุ ข์อกี ต่อไป

๏ อา่ นเพ่ิมเติม ตัวอยา่ งกรณปี ลกี ยอ่ ยในชวี ิตประจ�ำ วนั ปฏจิ จสมุปบาท.
พุทธธรรม ฉบบั ปรับขยาย (พ.ศ.๒๕๕๕) หนา้ ๑๙๑ – ๑๙๓.

ตามรอยพุทธธรรม ๐57

ฝ่ายที่ทำ�ให้เกิดทุกข์จ
(ปฏจิ จสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร)
ชา ิต ี
งึ มี àเพเพราระาาะเะนวาทมพชนรราาปูาะตสเเิปงัปขเน็ น็ปาปรป็นัจัจจเปปจัย็นัจัยปสจัจฬจตัยาัณยตหชนาระ าจมึงมรี ณàะ จึงม
พราะ อ
เพราะ ภพ เ ็ปน ัปจ ัจย เพราะ

เป็นปัจจัย เวทนา ึจง ีม à จงึ มี

ย นามรูป ึจง ีม à เพร ร จึงมี à เ เ วชิ ชา เ ยั วญิ ญาณ จึงมี à ตณั หา เป็นปัจจัย

à เป็นàปัเจ เจัพพยรราาป็ะผัะนสปัวิสจอุญะจัยปญ ึจาทัสงงณาีมขาเน ็ปนเà ัป ็ปจเ ัจนพรัปาจะ ัจ ัผย à เพราะ สฬายตน
สสะ จึงมี

จึงมี ะ านอุปท

ภพ

ความโศก ความคคร�่ำครวญ ทุกข์ โทมนสั
และความคับแคน้ ใจ จึงเกิดเป็นกองทกุ ข์ทั้งปวงนี้

“ผู้ใดเหน็ ปฏิจจสมปุ บาท ผูน้ ั้นเหน็ ธรรม ผูใ้ ดเหน็ ธรรม ผนู้ ้ัน
ของลึกซงึ้ เพราะไมร่ ู้ ไมเ่ ขา้ ใจ ไมแ่ ทงตลอดหลกั ธรรมข้อน้ี
เหมอื นกลมุ่ เสน้ ดา้ ยทเ่ี ปน็ ปม จงึ เปน็ เหมอื นหญา้ มงุ กระตา่ ย และ


๐58 ตามรอยพุทธธรรม

ฝ่ายทที่ �ำ ให้ดับทกุ ข์
(ปฏจิ จสมปุ บาท ฝ่ายนโิ รธวาร)

ร à พสรังาะขดาดับ้เรพรสาจฬะะดะาดับดยับไัตบปตนไไัณดปะ้เหพไารàดาะà้เดพับสรตฬาัณาะหยดาตับนะอจวะิชด ชา

ุกข์ จะ
วิญญผัาสสณะàจอุะàปดัาผัทบไาสนปสไะจด้ะเจดัะบพไดัรปไบาไะปไดัด้บเ สังขา ับไปไจดะด้เัพบภไรพปาไàะดด้เพับภรพานะจดาะับดมับรเวูปทนà น

ติ à ชาติ จ ดับไปได

ามรูป าจะàดั เไบปวไไทด้ปเไนพาด้รเาะจพดัะรบดัาบะอุไดัปปาไบทด้าเนวิพรญาะญดัาบณ à

้เพราะดับ ชา

ความโศก ความครำ�่ ครวญ ทกุ ข์ โทมนสั
และความคบั แคน้ ใจ กองทุกขท์ งั้ ปวงนจี้ งึ ดับ

เห็นปฏจิ จสมุปบาท... ปฏิจจสมุปบาทนี้เปน็ ธรรมลกึ ซึ้ง เปน็
แหละ หมสู่ ตั วน์ ้ีจึงวนุ่ วายเหมอื นเส้นด้ายทีข่ อดกนั ยงุ่ จึงขมวด
หญา้ ปลอ้ ง จงึ ผา่ นพน้ อบาย ทคุ ติ วนิ บิ าต สงั สารวฏั ไปไมไ่ ด”้

พทุ ธพจน์

ตามรอยพุทธธรรม ๐59

หมวดท่ี ๓ : นโิ รธ

๔. ชีวติ ควรให้เปน็ อยา่ งไร?

นิพพาน

นิพพาน แปลว่า ดบั หายรอ้ น เยน็ ลง เยน็ สนทิ
เม่ือ อวชิ ชา ตัณหา อปุ าทาน ดบั ไป นิพพาน
ก็ปรากฏแทนที่พร้อม

ชีวติ ควรเปน็ ไปเพอ่ื การดบั ทกุ ข์ โดยหลกั การสำ�คัญของการดับ
ทุกข์ คอื การตดั วงจรใหข้ าดโดยตรงที่ อวชิ ชา และตดั โดยอ้อม
ท่ี ตัณหา เม่อื วงจรขาด กระบวนธรรมสงั สารวัฏสน้ิ สุดลง จงึ
บรรลุภาวะแห่งความดับทุกข์ เป็นผู้มีชัยชนะต่อปัญหาชีวิต มี
ความสขุ แท้จรงิ เรียกไดว้ า่ เข้าถงึ นพิ พาน คือภาวะทด่ี บั กเิ ลส
และกองทกุ ขแ์ ล้ว เป็นภาวะทป่ี ราศจากทุกข์โดยสน้ิ เชิง

ชีวติ จงึ ควรใหเ้ ป็นไปเพื่อเข้าสู่ภาวะของการดับทกุ ข์ โดยรบั เอา
วิชชา (การรูแ้ จง้ เหน็ จริงตามความเป็นจรงิ ) วิมตุ ติ (ความหลดุ
พ้น) วสิ ุทธิ (ความบริสทุ ธิ์ ความหมดจด) หรอื สันติ (ความ
สงบ) มาอยา่ งครบถว้ น และแมว้ า่ ภาวะแหง่ นพิ พานในระดบั ท่ี
ปถุ ชุ นประจกั ษเ์ ปน็ เพยี งของชว่ั คราว กน็ บั วา่ เปน็ ประโยชนส์ งู สดุ
ที่พึงควรรู้รบั สัมผัสสภาวะเยน็ สบายไดด้ ว้ ยตนเองในชวี ติ นี ้

คุณค่าและลักษณะทีพ่ ึงสงั เกตเกย่ี วกบั นพิ พาน

๑. จดุ มุ่งหมายสูงสุดของชีวติ เปน็ ส่งิ ท่อี าจบรรลไุ ดใ้ นชาตนิ ี้
๒. นพิ พานเปน็ จดุ หมายทีค่ นเข้าถึงได้ ไมจ่ �ำ กดั ชาติชั้น หญงิ ชาย
๓. นพิ พานอำ�นวยผลท่ยี ิง่ กว่าลำ�พังความส�ำ เรจ็ ทางจติ จะให้ได้

๐60 ตามรอยพุทธธรรม

ปจั จยั นอ้ มน�ำ สู่ นพิ พาน

ปฏิบัติตามหลักองค์ประกอบของการบรรลุโสดาปัตติผล (โสตาปัตติยังคะ ๔)
พระพทุ ธเจา้ ตรัสว่า ธรรมท้งั ๔ ประการนี้ เม่ือเจรญิ ปฏบิ ัติ ทำ�ใหม้ าก ยอ่ มเปน็
ไปเพอ่ื การบรรลอุ ริยผลได้ทุกขั้นจนถงึ อรหัตตผล

๑. เขา้ หาสตั บรุ ษุ หรอื ผทู้ ฝ่ี กึ ตนดพี รอ้ ม มคี วามเขา้ ใจในโลกและชวี ติ สามารถ
สอนหรือแนะนำ�ได้ (สปั ปรุ สิ สังเสวะ)
๒. สนทนา ฟงั ค�ำ แนะน�ำ ใสใ่ จเลา่ เรยี น เพอ่ื ใหไ้ ดธ้ รรมทแ่ี ท้ (สทั ธมั มสั สวนะ)
๓. นำ�มาคิดพิจารณาไตรต่ รองตามความเป็นจริงโดยถูกวิธี (โยนิโสมนสกิ าร)
๔. ประพฤตธิ รรมถกู หลกั เพอ่ื ท�ำ เหตปุ จั จยั ใหถ้ งึ พรอ้ ม (ธมั มานธุ มั มปฏปิ ตั ต)ิ

ภาวะของนพิ พาน

เมอ่ื อวชิ ชา ตณั หา อุปาทาน ดับหายไป จึงเกิดเป็น ปญั ญา เปน็ วชิ ชา ที่สว่าง
แจ้งขนึ้ ทำ�ใหม้ องเห็นโลก ชีวติ และสง่ิ ต่างๆ ท้งั หลายอยา่ งถูกต้องชดั เจนตรงตาม
ท่เี ป็นจริง เป็นภาวะทแ่ี จม่ ใส สะอาด สวา่ ง สงบ ละเอยี ด ประณตี ลึกซงึ้ ผอ่ งใส
เยือกเยน็ อม่ิ เอิบ เบกิ บาน เบาใจ ฯลฯ

ภาวะของผ้บู รรลนุ พิ พาน

ผบู้ รรลนุ พิ พาน คอื ผ้เู ป็นสขุ ยิง่ ท่พี งึ รู้ไดด้ ว้ ยตนเอง ถึงแม้ว่านพิ พานเป็นสขุ และ
ผบู้ รรลนุ พิ พานเปน็ ผมู้ คี วามสขุ แตผ่ นู้ พิ พานไมย่ ดึ ตดิ ในความสขุ ไมว่ า่ ชนดิ ใดๆ รวมทง้ั
ไมต่ ดิ ใจเพลดิ เพลินนพิ พานนน้ั สำ�รวจ ๓ ภาวะทเ่ี กิดขึน้ ทต่ี นเอง ดงั นี้

๑. ภาวะทางปัญญา
มองส่ิงทัง้ หลายตามความเปน็ จรงิ
๒. ภาวะทางจติ ใจ
เป็นอสิ ระ ผ่องใส
๓. ภาวะทางความประพฤติหรือการดำ�เนินชีวิต
เปน็ ผูม้ ีศีลโดยสมบรู ณ์ และยังประโยชนส์ ุขเพอื่ ผอู้ ่ืน

ตามรอยพุทธธรรม ๐61

ถาม : คนธรรมดาอย่างเราๆ ทา่ นๆ สามารถ นพิ พาน ได้ใน น
ชาตนิ ี้ จรงิ หรือ? น
ตอบ : นิพพาน แสดงภาวะทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดช่นื ํ
ชมุ่ ชนื่ ใจ ดับความรอ้ นใจ หายรอ้ นรน ไมม่ คี วามกระวนกระวาย
หรือแปลว่าเป็นเครื่องดับกิเลส คือท�ำ ใหร้ าคะ โทสะ โมหะ หมด
สน้ิ ไป ทว่าการท�ำ ให้ตนเองหมดทุกข์เพียงชัว่ ครู่ เกิดเปน็ ความ
สุขสดชื่นช่ัวคราว น่ันยงั ไมใ่ ช่ภาวะของนิพพาน

นพิ พานมหี ลายประเภทและระดับ หากภาวะนพิ พานที่คนทว่ั ไป
สามารถสมั ผัสรบั รู้ได้ เปน็ เพียงระดบั นโิ รธ ที่แปลวา่ ‘การ
ท�ำ ให้ไมเ่ กดิ ทุกข์ หรือไม่มที กุ ขท์ จ่ี ะตอ้ งดับ’ ซ่งึ ‘นโิ รธ’ เปน็ ค�ำ
ไวพจน ์ทม่ี คี วา มหมา ยใกล้เ คียงกบั ‘นพิ พาน’
บุคคลทีย่ งั มี รกั โลภ โกรธ หลง อยใู่ นวถิ ีของโลก สามารถรับ
ร้รู สของนิโรธใน ๒ ระดบั เปน็ ภาวะนิพพานชนิดชิมลองทนี่ แ่ี ละ
เดี๋ยวนี้ ได้แก่ นโิ รธชนดิ ทด่ี ับนิวรณ์ไดด้ ว้ ยการขม่ ไว้ เปรยี บกบั
การดับกิเลสแบบเอาหนิ ทับหญ้า เรียกวา่ ‘วกิ ขมั ภนนโิ รธ’ และ
นิโรธทด่ี บั กิเลสในขนั้ วิปสั สนา เปรยี บกับการดบั กเิ ลสแบบจดุ
ดวงไฟไล่ความมดื เรยี กว่า ‘ตทงั คนิโรธ’

“นพิ พาน อนั ผู้บรรลเุ หน็ ได้เอง ไมข่ น้ึ กับกาล เรยี กให้มาดูได้ ควรนอ้ ม
เ อาเขา้ ม าไว้ อัน วิญญชู นพ ึงรูเ้ ฉพา ะตน”
พทุ ธพจน์

๏ อา่ นเพม่ิ เตมิ ประเภทและระดบั ของนพิ พาน. พทุ ธธรรมฯ หนา้ ๓๘๕ – ๓๙๕.
และ ประเภทของนิโรธ ตามคมั ภีรป์ ฏสิ มั ภิทามคั ค์. หน้า ๔๐๑ – ๔๐๒.

๐62 ตามรอยพุทธธรรม

นิพพฺ านไมด่ำ�ไมข่าวไม่จำ�กัดชนชั้นวรรณะ
ไม่มีอนื่ อีก ไมม่ ใี ครสรา้ ง ไม่เหน็ ดว้ ยตา
เป็นอิสระ ประณตี บริสทุ ธิ์นิพพฺ านนพิ พานคุณลกัษณะของ
ความจริง ละเอียด
ไร้กังวล สงบ

ประโยชน์ อศั จรรย์

ํ นพิ ฺพานบรมสุข
นพิ พฺ านํ ปรมํ สุขํ
(นพิ พานเป็นสขุ อยา่ งย่ิง)

ตามรอยพุทธธรรม ๐63

ภ๒าค มัชฌมิ าปฏิปทา

ขอ้ ปฏบิ ัตทิ เ่ี ปน็ กลางตามกฎธรรมชาติ หรอื ทางสายกลาง

มชั ฌมิ าปฏปิ ทา อริยสัจข้อสุดท้าย คือ มรรค เปน็ ค�ำ สอนใน
ภาคปฏบิ ัติ น�ำ ความรู้ความเข้าใจแจ้งแลว้ มาประพฤติปฏบิ ัติ
เป็นกระบวนธรรมในการด�ำ เนนิ ชวี ติ เพอื่ ให้เกิดประโยชน์ และ
ความสงบเย็น

หมวดท่ี ๔ : มรรค

๕. ชีวิต ควรเปน็ อยอู่ ย่างไร?
มรรคมอี งค์ ๘

มรรคมอี งค์ ๘ หมายถงึ แนวทางปฏบิ ตั อิ นั ประเสรฐิ ๘ ประการ

หากเปรยี บมรรคมีองค์ ๘ เปน็ ถนนทางหลวงที่สมบูรณ์ สัมมาวาจา สมั มากมั มนั ตะ สมั มาอาชวี ะ
เข้าเปน็ หมวดศลี เปรยี บได้ดังการจดั กองดนิ ทก่ี ่อแน่นขนึ้ ดว้ ยหนิ กรวดทราย เป็นพื้นถนนส�ำ หรบั สัญจร
สมั มาวายามะ สมั มาสติ สัมมาสมาธิ เข้าเป็นหมวดสมาธิ เปรียบไดด้ งั ท่ตี ัดขอบกน้ั คันถนน เสน้ แนว
โคง้ เลย้ี ว เปน็ เครือ่ งกำ�กบั แนวถนน และ สมั มาทิฏฐิ สัมมาสังกปั ปะ เขา้ เปน็ หมวดปญั ญา เปรียบได้
ดงั การจดั สัญญาณ เคร่อื งหมายปา้ ยจราจร โดยมี ไตรสิกขา เป็นกระบวนการในการพฒั นาองคม์ รรค
ใหส้ มบูรณ์

๐64 ตามรอยพุทธธรรม

ไตรสกิ ขา ประกอบด้วย

ศีล ความประพฤติชอบทางกายและวาจา

ข้อปฏิบัติตนข้นั พื้นฐานเพื่อความเป็นปกติ

สมาธิ ความต้งั ม่ันแหง่ จิต

ปญั ญา ความรตู้ ัวทว่ั พรอ้ ม ร้อู ย่างชดั แจ้ง

มรรคมีองค์ ๘ ไตรสิกขา

สมั มาทฏิ ฐิ (เหน็ ชอบ) ๓. ปัญญา
สมั มาสงั กัปปะ (ดำ�รชิ อบ) ๑. ศลี
๒. สมาธิ
สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
สัมมากมั มนั ตะ (กระทำ�ชอบ)
สัมมาอาชวี ะ (เล้ียงชีพชอบ)

สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
สัมมาสติ (ระลกึ ชอบ)
สมั มาสมาธ ิ (จติ มัน่ ชอบ)

ตามรอยพุทธธรรม ๐65

การท่ีบคุ คลจะเขา้ สู่ มรรค ไดน้ น้ั
มเี หตุปัจจยั เบือ้ งต้น ทส่ี ำ�คัญ ๒ ประการ คือ

๑. กัลยาณมิตร คือ บุคคลผ้ทู �ำ หน้าที่นำ�ผูอ้ ่นื เข้าสู่ธรรม เปน็ ผู้
เพียบพร้อมด้วยคณุ สมบตั ิทีส่ ามารถสอนสง่ั แนะน�ำ ชแี้ จง ชักจงู
บอกทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำ�เนินไปในมรรคาแห่งการ
ฝกึ ฝนอบรมตนท่ถี ูกท่คี วร โดยกัลยาณมติ รมีคุณลักษณะดงั น้ี :
นา่ รัก (ปโิ ย) นา่ เคารพ (ครุ) ทรงภูมิปัญญา (ภาวนโี ย) พูดเปน็
(วตั ตา) พรอ้ มรบั ฟงั (วจนกั ขโม) แถลงเรอ่ื งล�ำ้ ลกึ ได้ (คมั ภรี ญั จะ
กะถัง กัตตา) และไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย (โน จัฏฐาเน
นิโยชะเย)

คบกัลยาณมิตร สดับธรรม ศรัทธา โยนิโสมนสิการ ปฏิบัติธรรมถกู หลัก

ปัจจยั ภายนอก ปจั จัยภายใน

๒. โยนโิ สมนสกิ าร คอื การใชค้ วามคดิ อยา่ งถกู วิธี คดิ อยา่ งมี
ระเบยี บ คดิ วเิ คราะห์ เปน็ หลักธรรมภาคปฏบิ ัติที่ใชป้ ระโยชน์ได้
ทุกทีท่ กุ เวลา ปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วนั โดยคิดพจิ ารณา
ไปในทางที่ไมก่ อ่ ใหเ้ กิดทุกข์ เป็นไปเพ่ือประโยชนส์ ขุ ท้งั แก่ตนเอง
และผอู้ น่ื เพอ่ื ความเจริญงอกงามทางปัญญาและกุศลธรรม ซ่งึ
เป็นข้นั ตอนสำ�คัญในการสร้างปัญญาใหบ้ รสิ ทุ ธ์แิ ละเป็นอสิ ระ

๐66 ตามรอยพุทธธรรม

โยนิโสมนสิการ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดงั นี้

โยนิโสมนสกิ าร ประเภทพฒั นาปญั ญาบริสทุ ธิ์
รู้เข้าใจ มองเห็นตามความเป็นจริง
โยนิโสมนสกิ าร ประเภทสรา้ งเสรมิ คุณภาพจิต
มุ่งสรา้ งคณุ ธรรมและกุศลธรรม

“ภกิ ษุทัง้ หลาย ตถาคตไมเ่ อยี งเขา้ หาท่ีสุดสองอย่างนน้ั ได้ตรสั รู้ข้อปฏิบัติอัน
มีในท่ามกลาง... กลา่ วคือ มรรคามีองคแ์ ปดอนั ประเสริฐน้ี”
พุทธพจน์

ตามรอยพุทธธรรม ๐67

๓ภาค อารยธรรมวถิ ี

๖. ชวี ติ ทีด่ ี เปน็ อยา่ งไร?

บทความประกอบท่ี ๑ : ชวี ติ และคณุ ธรรมพน้ื ฐานของอารยชน
บทความประกอบท่ี ๒ : ศลี กบั เจตนารมณท์ างสงั คม
บทความประกอบท่ี ๓ : เรอ่ื งเหนอื สามญั วสิ ยั : ปาฏหิ ารยิ ์ – เทวดา
บทความประกอบท่ี ๔ : ปญั หาเกย่ี วกบั แรงจงู ใจ
บทความประกอบท่ี ๕ : ความสขุ ๑: ฉบบั แบบแผน
บทความประกอบท่ี ๖ : ความสขุ ๒: ฉบบั ประมวลความ

เม่ือร้เู ท่า รู้ทัน รู้แจ้งในความจริงตามธรรมชาติ ตามธรรมดา
น้ีแลว้ จติ ใจจึงหลดุ พน้ เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสและความทุกข์บีบ
ค้นั ครอบง�ำ ผปู้ ระพฤตศิ กึ ษาจงึ ดำ�รงสภาวะแหง่ พุทธจริยธรรม
ครองชวี ติ อนั ประเสรฐิ ถกู หลกั พทุ ธธรรม ด�ำ เนนิ ชวี ติ ไปบนหนทาง
อนั เปน็ กศุ ล ดับซ่ึงกองทุกข์โดยสนิ้ เชงิ เพื่อเปน็ ผูพ้ น้ ทกุ ข์เหนือ
สุขท้งั ปวง

๐68 ตามรอยพุทธธรรม

อา่ น จาก ดชั นี
ทำ� อยา่ ง ไร?

นอกจากการไลเ่ ลยี ง
อา่ นตามหวั ขอ้ ในสารบญั
ทจ่ี �ำ แนกหมวดหมู่
ตามประเภทค�ำ ถาม
ชวี ติ คอื อะไร?
ชวี ติ เปน็ อยา่ งไร?
ชวี ติ เปน็ ไปอยา่ งไร?
ชวี ติ ควรใหเ้ ปน็ ไปอยา่ งไร?
ชวี ติ ควรเปน็ อยอู่ ยา่ งไร?
และ ชวี ติ ทด่ี ี เปน็ อยา่ งไร?
ไดแ้ ลว้ ยงั สามารถเลอื ก
ศกึ ษาเฉพาะบางเรอ่ื ง
โดยอา่ นจากการคน้ หา
ค�ำ ศพั ทใ์ นหมวดดชั นี
ทา้ ยเลม่ ทบ่ี รรจดุ ชั นี
มากกวา่ ๓๐,๐๐๐ ค�ำ
ซง่ึ เปน็ ลกั ษณะเดยี วกบั
การคน้ หาค�ำ และค�ำ อธบิ าย
ความอยา่ งเวบ็ ไซตก์ เู กล้ิ

ตามรอยพุทธธรรม 69

ธรรมะไม่ใช่แฟชน่ั

๏ คนไทยนิยมทำ�บุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา มากกว่าฟังธรรม

หรือปฏิบัติธรรม

๏ ชุดขาวของผู้ปฏิบัติธรรมกลายเป็นฉลากของคนดี

๏ ใครที่สามารถพูดธรรมะเก๋ๆ เจ๋งๆ ได้ คนนั้นดูเท่ ฉลาด ลึกล้ำ� น่าศรัทธา

๏ ในความเป็นจริง ธรรมะไม่ใช่แฟชั่น หากการปฏิบัติธรรมที่ไม่เข้าถึงการปฏิบัติที่แท้

จริง จึงเป็นได้เพียงแฟชั่นชุดขาว ที่ได้รับความสนใจชั่วครู่ชั่วคราว รอเวลาเอาท์ เมื่อมีสิ่งใหม่

มาแทนที่

๏ ทั้ง ธรรมะ และ นิพพาน ต่างเป็นของจริง เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติให้เกิดขึ้นกับตนเอง

เพราะนิพพานไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำ�เอง

๏ คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำ�ว่า ‘นิพพาน’ ได้กระจ่าง ประโยคที่ว่า

‘พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน’ ทำ�ให้เข้าใจว่า ‘นิพพานคือการไม่กลับชาติมาเกิดอีก’

๏ นิพพานที่ถูกเข้าใจว่าเป็นคำ�พระ ศัพท์ธรรมะสูงส่ง ทำ�ให้รู้สึก กลัว และ ไกล เป็น

เหตุให้ความหมายที่แท้จริงผิดเพี้ยนไป

๏ พระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวว่า นิพพานคือการดับความร้อนใจ ดับเรื่องไม่ดีไม่งาม

ต่างๆ พอดับแล้วจึงเย็น เย็นนั่นแหละคือนิพพาน เปรียบกับการยกหม้อร้อนๆ ลงจากเตา

พอหม้อเย็นลง ก็นิพพาน ปัญหาที่แก้ได้ ใจสบายแล้ว ก็นิพพาน ลูกที่ประพฤติตนเป็นคนดี

พ่อแม่หมดห่วงหมดกังวล ก็นิพพาน นี่คือความหมายของนิพพานที่ชาวบ้านสมัยก่อนเข้าใจได้

๏ คำ�ถามเกี่ยวกับนิพพานที่ยังคาใจ เช่น ปุถุชนคนธรรมดาสามารถนิพพานได้ในชีวิต

นี้จริงหรือ? คำ�ตอบคือ ได้

๐70 ตามรอยพุทธธรรม

นิพพานไม่มีขาย
ใต้ต้นไม้

๏ นิพพานได้ ถ้าทำ�เหตุปัจจัยให้ถึงพร้อม ฝึกฝนบ่มตนดีพร้อม สามารถนิพพานได้ใน
ชาตินี้ ในทางตรงกันข้าม เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อม ก็ไม่อาจนิพพานได้ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน
๏ การเข้าถึงนิพพานเปรียบเดียวกับการเดินทาง มีองค์ประกอบดังเช่น รู้จักเส้นทางดี
ไหม? มีแผนที่หรือไม่? สุขภาพร่างกายแข็งแรงหรือเปล่า? เตรียมเสบียงไว้ไหม? หากทุกอย่าง
พร้อม ก็สามารถเดินทางไปถึงที่หมายได้
๏ สมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ นั่นไม่ได้หมายความว่า ทุกคน
ที่ได้ฟังธรรมแล้วจะสามารถเข้าถึงนิพพานได้ เพราะการถึงฝั่งพระนิพพานต้องขึ้นอยู่กับการ
ทำ�เหตุปัจจัยของบุคคลนั้นด้วย
๏ เมื่อทำ�เหตุปัจจัยให้สมบูรณ์ นิพพานย่อมปรากฏ
๏ นิพพานเป็นภาวะของการดับกิเลสดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นภาวะแสนสุขแสนวิเศษ
สุขชนิดที่อธิบายไม่ถูก ซึ่งคนทั่วไปยังไม่เคยสัมผัส
๏ นิพพานไม่ได้มีไว้โอ้อวด หากผู้ที่เข้าใกล้นิพพานที่แท้แล้ว ความโอ้อวดหมดไป ความ
ยึดมั่นถือมั่นคลายไป ใจสงบเย็นมากขึ้น กระทบกระทั่งน้อยลง จิตผ่องใส ใจเป็นอิสระ เป็นอยู่
อย่างรู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขอยู่ในตัว และพร้อมยังประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
๏ ผู้ที่เข้าใกล้นิพพานไม่สนหรอกว่า คนอื่นจะมองเห็นหรือไม่เห็นนิพพานของตน
๏ นิพพานที่ใครๆ อยากได้ เมื่อปฏิบัติตนตามพุทธธรรมอย่างถูกต้องเมื่อไหร่ ก็หมด
ทุกข์ ก็เย็น ก็นิพพานได้เมื่อนั้น

อ่านเพิ่มเติม นิพพาน. พทุ ธธรรมฯ หนา้ ๓๓๒ – ๔๑๙.

ตามรอยพุทธธรรม ๐71

72 ตามรอยพุทธธรรม

พระพุทธศาสนา

ความสขุเปน็ ศาสนาแหง่

ลาย
แทง
แห่ง
สขุ
แท้

๐74 ตามรอยพุทธธรรม

หนงั สอื เล่มน้ีกอ่ ให้เกิดแรงบนั ดาลใจ
ทำ�ใหอ้ าตมาปลกู ฝังวสิ ัยทัศนส์ ว่ นตวั
วา่ ในชีวติ น้ี ควรจะทำ�อยา่ งนใ้ี หไ้ ด้
สกั เล่มหนง่ึ ก่อนตาย

พระมหาวฒุ ชิ ัย วชริ เมธี

ตามรอยพุทธธรรม ๐75

พทุ ธธรรม กับ ทา่ น ว. วชริ เมธี เริม่ ต้นท�ำ ความรู้จกั กนั
เม่อื ไหร่ อยา่ งไร?

อาตมารจู้ ักหนงั สอื พทุ ธธรรม ดเู หมอื นตอนอายุสกั ๑๗ – ๑๘ ปี ตอน
นั้นเป็นสามเณรน้อยเรียนบาลีอยู่ที่วัดพระสิงห์ อำ�เภอเมือง จังหวัด
เชียงราย มหี นา้ ที่เป็นสามเณรอุปฏั ฐากของหลวงพอ่ พอทำ�ความสะอาด
กุฏิทกุ วันเสรจ็ แลว้ อาตมาจะไปจดๆ จอ้ งๆ อย่ทู ต่ี หู้ นงั สอื หลวงพอ่ ใน
น้นั มี พทุ ธธรรม ฉบับเดิม ท่ียงั มีราวร้อยกว่าหนา้ ปกสดี �ำ ๆ สวยมาก
อาตมาขอยืมหลวงพ่อมาอ่าน พอได้อ่านก็รู้สึกว่าเป็นหนังสือธรรมะ
ที่มีการอธิบายธรรมะอย่างเป็นระบบ นับแต่นั้นหนังสือเล่มนั้นกลาย
เป็นหนังสือในดวงใจของอาตมา หลังจากนั้นไม่กี่ปี อาตมาได้มาเจอ
พทุ ธธรรม ฉบบั ขยายความ กเ็ ลยตะลยุ อา่ นจนจบ อา่ นเองอกี หลายรอบ
เม่อื เจอใครทสี่ นใจในพทุ ธศาสนา ที่วา่ สนใจเปน็ จริงเป็นจัง จะแนะน�ำ
หนังสือ พทุ ธธรรม ให้กับคนเหลา่ นน้ั ใหอ้ ่านด้วยเสมอ ฉะน้ันต้องบอก
วา่ พุทธธรรม เปน็ หนังสอื ในดวงใจของอาตมาต้งั แตอ่ ายุ ๑๗ น่ันแหละ

ทา่ นมองเห็นหนังสอื ธรรมเล่มนี้ในแงไ่ หนบ้าง?

พุทธธรรม เปน็ หนังสือที่ให้ความอิ่มเอมทางปัญญา ท้งั ในแง่ของวธิ ีคิดที่
มกี ารรอ้ ยเรยี งอยา่ งเปน็ ระบบ วธิ เี ขยี นทม่ี กี ารใชภ้ าษาทไ่ี พเราะ นมุ่ นวล
อา่ นแล้วใหค้ วามสดชืน่ รนื่ เย็น ในแง่ของวสิ ยั ทัศน์ในทางธรรม ทำ�ใหเ้ รา
อา่ นแลว้ เกดิ ความรสู้ กึ อยากจะท�ำ งานอยา่ งนน้ั ซง่ึ จนถงึ ทกุ วนั นค้ี วามฝนั
นี้ก็ยังคงอยู่กับอาตมา คือปรารถนาว่าอยากจะทำ�งานมาสเตอร์พีซ
เช่นนี้แหละ ฝากไว้ในโลกของพระพุทธศาสนาสักเล่มหนึ่ง คือเรา
ได้เห็นวิธีคิดของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า เป็นระบบที่สุด ครบถ้วน
ที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด ในเล่มนี้ ท่วงทำ�นองในการเขียนก็ดี ภาษา
ทใ่ี ชใ้ นวรรณกรรมชนิ้ นี้กด็ ี เรยี กว่าเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำ�หนึง่ ทางด้าน
ภาษาศาสตร์เลยทีเดียว หนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ทำ�ให้
อาตมาปลกู ฝังวสิ ัยทัศนส์ ่วนตัวว่า ในชวี ติ น้คี วรจะท�ำ อยา่ งน้ใี หไ้ ดส้ กั เลม่
หนึ่งกอ่ นตาย

๐76 ตามรอยพุทธธรรม

ทา่ นไดอ้ า่ น พุทธธรรม จบไปแล้วกรี่ อบ?

นับเปน็ รอบ อาตมาไม่เคยนบั เอาเป็นวา่ อาตมาอา่ นอยเู่ สมอ ไปจำ�
พรรษาตา่ งประเทศกเ็ อาไปดว้ ย ไปท�ำ งานทอ่ี เมรกิ ากเ็ อาไปดว้ ย ไปอยทู่ ไ่ี หน
ถา้ เกนิ หนง่ึ เดอื น อาตมาตดิ เลม่ นไ้ี ปดว้ ยทกุ ครง้ั เพราะอะไร เพราะว่า
ใชเ้ ป็นคู่มอื ในการสบื ค้น ใช้เป็นเอกสารหลกั ในการอ้างอิง ขณะเดียวกัน
ก็ใช้เป็นดั่งสารานุกรมทางพุทธศาสนา ที่ไม่ว่าติดขัดในเรื่องไหนก็ตาม
หยบิ จบั ข้ึนมาทบทวน กไ็ ด้ความสวา่ งไสวทุกคร้งั ไป ฉะนน้ั หนังสือเล่ม
นี้บอกได้เลยว่า เปน็ วรรณกรรมระดับเพชรน้ำ�หน่งึ ของพระพทุ ธศาสนา
ในเวทโี ลก ในฐานะท่เี ราเป็นชาวพทุ ธ อาตมาคิดว่าควรจะได้อา่ นหนงั สือ
เลม่ นี้สกั คร้ังหนง่ึ ในชีวติ แล้วเราจะไดร้ ูว้ า่ สิง่ ท่ีเรียกวา่ พระพุทธศาสนา
ตัวแท้น้ันมีบุคลิกภาพเป็นอยา่ งไร

หมายความวา่ เราจะได้พบกบั ‘พระพทุ ธศาสนาตัวแท’้ ใน
หนงั สือพุทธธรรม แล้ว ‘พระพทุ ธศาสนาตวั แท’้ เป็นอย่างไร?

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ทุกวันนี้พุทธศาสนาที่เข้ามาสู่สังคมไทยของ
เราน้นั เป็นพทุ ธศาสนาทห่ี ลอมรวมเอาหลากลทั ธนิ ิกายเขา้ ไปผสมปนเป
ขณะเดียวกันพุทธศาสนาที่พัฒนาขึ้นมาในสังคมอินเดียแต่โบราณ ก็
ผสมปนเปกบั ลัทธนิ กิ ายเดิม ชนิดที่เรียกกันวา่ ถ้าไมส่ งั เกตสังกาใหด้ นี ะ
บางทจี ะแยกไม่ออกว่าอันไหนพุทธแท้ อันไหนคอื พุทธท่ีเกดิ จากการผสม
ผสานทางวัฒนธรรม แต่น่าอัศจรรย์ตรงองค์ท่านผู้นิพนธ์สามารถแยก
เอาพทุ ธแทอ้ อกมาจากพทุ ธในเชงิ วฒั นธรรมไดอ้ ยา่ งกลมกลอ่ ม โดดเดน่
เหน็ ชดั ถา้ อา่ นเลม่ น้ีอยา่ งพินจิ พเิ คราะห์ เราจะสงั เกตไดว้ า่ คำ�อธิบาย
เรื่องกรรมแทบไม่พูดถึงเรื่องของโลกหน้า หรือกฎแห่งกรรมในลกั ษณะ
ที่มีตัวมีตน ซึ่งกฎแห่งกรรมอย่างนั้นเป็นกฎแห่งกรรมของลัทธิศาสนา
เชน ท่เี รยี กกันวา่ ‘ลทั ธบิ ุพเพกตวาท’ คือลัทธิกรรมเกา่ ท่ใี นเวลานี้
มีบทบาทอยู่มากในสังคมไทย แต่ท่านเจ้าคุณอาจารย์สามารถแยก
ออกเลยว่า อันไหนเป็นลัทธิพราหมณ์ที่เข้ามาในนามของพุทธ แต่
ในสังคมของเราในเวลานี้ความสามารถในการแยกแทบไม่เหลือ ดังนั้น
พุทธศาสนาฉบับที่เผยแผ่อยู่ในเวลานี้ หลายเรื่องหลายแนวคิดไม่เพียง
แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาให้สังคม แต่กลับกลายเป็นปัญหาให้สังคมเสีย

ตามรอยพุทธธรรม ๐77

ด้วยซ�้ำ เช่น การอธิบายพทุ ธศาสนาในลักษณะกฎแหง่ กรรมแบบทม่ี ตี ัว
มตี น แบบที่มีอัตตานะ อธบิ ายแบบต้ืนๆ เหตเุ ดยี วผลเดยี วอยา่ งน้ี มนั
ทำ�ให้บางส่งิ บางอย่างมปี ัญหาข้นึ มา เช่น คนบางคนร�ำ่ รวยม่งั คงั่ อาจ
จะอธิบายแบบตื้นๆ ว่า ก็เพราะเขาทำ�บุญมาดี ซึ่งเป็นวิธีคิดกฎแห่ง
กรรมแบบบพุ เพกตวาท เปน็ เรอ่ื งของชาติกอ่ น ท้งั ๆ ทเี่ ห็นอยูแ่ ล้ว ว่า
ชาตนิ ้เี ขาคอรร์ ปั ชัน่ มา กลายเป็นว่า กฎแหง่ กรรม กรรมเกา่ หรอื กรรม
แต่ปางก่อน ไปสรา้ งความชอบธรรมใหก้ ับจอมคอร์รัปช่นั บางคน หรอื
บางทีคนที่ยากจนข้นแค้น เราก็อธิบายตื้นๆ ว่า ชาติก่อนไม่ได้ทำ�บุญ
จรงิ ๆ ไมใ่ ช่ เขาขาดโอกาสในการเขา้ ถงึ ทรัพยากร เป็นเร่ืองของความ
เหลื่อมล้ำ�ในทางเศรษฐกิจ ในทางสังคม แต่พออธิบายกันตื้นๆ ด้วย
ลทั ธิท่ีผสมเข้ามาในพระพทุ ธศาสนา ไม่ใช่พทุ ธศาสนาแท้ ทำ�ใหค้ นบาง
กลมุ่ ไดเ้ ปรยี บ ในขณะทคี่ นบางกลมุ่ กเ็ สียเปรียบ เปน็ เรอื่ งน่าอศั จรรย์ที่
ทา่ นเจา้ คณุ อาจารย์แยกแยะลัทธิเดิมออกไป แล้วสามารถประมวลเอา
เฉพาะแก่นแท้ของพระพุทธศาสนามาจัดระบบลงในเล่มนี้ อย่างชนดิ ที่
เรยี กกนั ว่ามีเอกภาพ มีความลงตวั และมีความสมบรู ณต์ ั้งแตต่ น้ จนจบ

พทุ ธธรรม ในฐานะหนงั สอื ธรรมเลม่ ส�ำ คญั ในเวทพี ทุ ธศาสนาโลก
นิพนธโ์ ดยภกิ ษุสงฆ์ชาวไทย ท่านมีทศั นะเรื่องน้อี ยา่ งไร?

ในองคก์ ารพุทธศาสนาโลกนนั้ พระสงฆ์ที่นพิ นธห์ นังสือเอาไวใ้ นระดับที่
เรยี กกนั วา่ ระดับเพชรน�ำ้ เอกมไี มก่ ีร่ ปู ทา่ นเจา้ คุณอาจารยข์ องเราต้อง
ถอื ได้วา่ อยอู่ นั ดับตน้ ๆ ของพระสงฆ์ในเวทโี ลก เทา่ ทเี่ หน็ ก็มี พระญาณ
โปนิกะมหาเถระ ชาวเยอรมัน หรือ พระ ดร.วัลโปละ ราหุล ชาว
ศรีลงั กา นอกน้ันอาตมาคิดวา่ ยงั ไมเ่ ห็น ท่ีถือกนั วา่ เป็นพระร่วมยุครว่ ม
สมัยที่สามารถนิพนธ์งานระดับเช่นนี้ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องบอกว่า นี่
เป็นความสามารถระดับเอกอุขององคท์ ่านผนู้ ิพนธ์เอง ทีส่ ามารถทำ�งาน
ทด่ี เี ย่ยี มในทุกแง่ทกุ มมุ ได้ ท่ีพดู อย่างนเ้ี พราะหนังสอื บางเล่มอาจจะเนน้
บางเรื่อง เน้นบางประเด็น คือไม่ครอบคลุม แต่หนังสือเล่มนี้ความ
โดดเด่น คือเป็นการมองพุทธศาสนาในลักษณะที่เรียกกันว่าเป็นองค์รวม
เราตอ้ งยอมรับว่า เรามีพระไตรปฎิ กเฉพาะทใ่ี ช้เป็นหลกั ๆ ในเมืองไทยก็

๐78 ตามรอยพุทธธรรม

๔๕ เล่ม ทีเ่ ป็นภาษาบาลนี ะ ฉบบั แปลบางเลม่ ก็ ๘๐ เล่ม บางเล่มก็ ๙๐
เล่ม ถา้ นบั คัมภีรอ์ ธบิ ายพระไตรปิฎกท่ีเรยี กวา่ ‘คมั ภีร์อรรถกถา’ คัมภีร์
อธิบายศัพท์ ที่เรียกว่า ‘สัททาวิเศษ’ และคัมภีร์ที่เขียนขึ้นมาพิเศษที่
เรียกว่า ‘ปกรณ์วิเศษ’ และคัมภีร์ไวยากรณอ์ กี เยอะแยะมากมาย ถา้ คุณ
เป็นคนที่สนใจอยากศึกษาพระพุทธศาสนา แล้วมาเจอกองคัมภีร์ขนาด
มหึมา เอาวา่ ๓๐๐ เลม่ ทีร่ จนากนั ตั้งแตย่ ุคหลังพระเจ้าอโศกมหาราช
เปน็ ตน้ มาจนถงึ ปจั จบุ นั คำ�ถามคือ คณุ จะเริ่มตน้ จากตรงไหน อาตมาคดิ
วา่ ใชเ้ วลาทัง้ ชวี ิตกค็ งอ่านกนั ไม่หมด และจับแก่นของพระพทุ ธศาสนาไม่
ได้ ท่ามกลางภูเขาของคมั ภีรข์ นาดมหึมาขนาดนนั้ คุณคงตอ้ งเอาเวลา
ทงั้ ชวี ิตมาหมดกบั การสบื คน้ แตใ่ นโลกของความเป็นจรงิ เรามีเวลาน้อย
มาก อาตมาคิดว่า ท่ามกลางเวลาที่เรามีอยู่อย่างจำ�กัด ถ้าเราหยิบ
พุทธธรรม ขนึ้ มาอ่าน คุณสามารถมองเหน็ ภาพรวมของพระพุทธศาสนา
ไดท้ ้ังหมดต้ังแต่ตน้ จนจบ ถ้าคุณอา่ นเลม่ นี้ คณุ จะได้รวู้ ่า จากเล่มนจ้ี ะไป
ที่ไหน แลว้ จะไปไดอ้ ย่างไร แลว้ เลม่ ไหนนา่ เชอ่ื ถอื เล่มไหนไม่น่าเชอื่ ถอื
ท่ามกลางเวลาที่เรามีอยู่ เล่มไหนฟังได้ เล่มไหนฟังไม่ได้ ทา่ นไดช้ ีแ้ จงไว้ในเชงิ อรรถทง้ั หมดท้ังสิ้น

อย่างจำ�กัด ถ้าเราหยิบ มอง พุทธธรรม ในแง่ของบุคคล ผู้นิพนธ์ปรากฏต่อท่าน
พุทธธรรม ขึ้นมาอ่าน อยา่ งไร?
คุณสามารถมองเห็นภาพ ถ้ามองในแง่บคุ คล ท่านเจ้าคณุ อาจารย์เปน็ พระภิกษไุ ทยในสายเถรวาท

รวมของพระพุทธศาสนา ท่คี งความเปน็ เถรวาทเอาไว้ในวถิ ชี ีวติ ในผลงานอยา่ งครบถว้ นสมบรู ณ์
แบบ ท่านคือพุทธไทยในสายเถรวาทที่ยังคงมีตัวตนอยู่ในทุกวันนี้ ใน
ได้ทั้งหมดตั้งแต่ต้น ขณะที่พุทธไทยสายเถรวาทอื่นๆ นั้น เริ่มประนีประนอมกับกาลเวลา

จนจบ เร่ิมประนปี ระนอมกับสงั คม เร่ิมประนปี ระนอมวตั ถนุ ิยม ทนุ นิยม จนชกั

จะสูญเสียจดุ ยืนของตวั เอง แต่องค์ท่านเองน้ันคงความเปน็ พุทธไทยสาย

เถรวาทอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ท่านไม่เพียงแต่เป็นพระที่น่ากราบ

น่าไหว้ ท่านเป็นพระที่น่าเรียนรู้มากที่สุดรูปหนึ่ง ถ้าเราเข้าใจท่านและ

บทบาทของท่าน เราจะเข้าใจสงิ่ ทีเ่ รียกกันวา่ พทุ ธศาสนาสายเถรวาท

แทท้ ี่จรงิ ไมใ่ ช่พทุ ธศาสนาสายหนง่ึ กค็ อื พุทธศาสนาเดิมน่นั เอง เพราะ

ท่านไม่ได้ทำ�อะไรมากไปกว่าการนำ�เอาคำ�สอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

ตามรอยพุทธธรรม ๐79

พุทธศาสนาจึงไม่ใช่ มานำ�เสนอแก่ชาวโลก ฉะนั้นการอ่านงานนิพนธ์ของท่านก็เหมือนกับ
ศาสนาที่เรียกกันว่า การทเี่ ราได้กลบั ไปฟังพระพทุ ธเจ้าพระองคจ์ ริง นำ�เอาคนร่วมยคุ ร่วมสมยั
มองโลกในแง่ร้าย หรือ กลบั ไปเฝ้าฟงั คำ�สอนเดิมแทข้ องพระพทุ ธเจา้ โดยพระพทุ ธเจา้ เอง โดยที่
มองโลกในแง่ดี แต่ องค์ผู้นิพนธ์นั้นต่อเติมความคิดความเห็นน้อยที่สุด แล้วท่านทำ�อย่าง
พุทธศาสนาสอนให้เรา ซอื่ ตรงด้วยนะ ตรงไหนเป็นความคดิ เหน็ ของท่าน ท่านจะบอกเอาไว้ ตรง
มองโลกตามความเป็น ไหนทเี่ ปน็ ของพระพทุ ธเจ้า ท่านจะน�ำ มาวางอยา่ งตรงไปตรงมา หนงั สือ
จริง เราเป็นสัจนิยม เล่มนจี้ ึงเปน็ หลกั ไมล์ที่สามารถเจริญรอยตามได้ ในแง่ของความซือ่ ตรง
ไม่ใช่จิตนิยม หรือ ตอ่ พระธรรมวินัย
วัตถุนิยม
ในเวทีโลก นักวชิ าการศาสนามองพุทธศาสนาวา่ อย่างไร?

ในเวทโี ลก ฝรั่งคนส�ำ คญั ๆ เขามกั จะวจิ ารณเ์ อาไวว้ ่า พทุ ธศาสนาเป็น
ททุ ัศนนยิ ม เปน็ เพสสมิ ิซึม นกั วชิ าการตัวใหญร่ ะดบั โลกวา่ พระพทุ ธเจ้า
น่ีมองโลกเชงิ ลบ มองแลว้ เศรา้ มองแล้วหดหู่ มองแลว้ ห่อเหยี่ ว แต่
พทุ ธธรรม ฉบบั ปรบั ขยาย เปน็ การชใ้ี หเ้ หน็ แงม่ มุ หนง่ึ ซง่ึ เปน็ แงม่ มุ ทส่ี �ำ คญั
ของพระพุทธศาสนาคอื พทุ ธศาสนาเปน็ ศาสนาแห่งความสขุ เราเรมิ่ ตน้
ด้วยความทกุ ข์ เหมอื นอยา่ งท่พี ระองคต์ รัสเอาไว้ ‘ทุกขงั อริยสจั จัง’ แต่
จดุ จบของความทุกข์ ความทกุ ข์น�ำ ไปสู่ภาวะพระนพิ พาน แลว้ นพิ พานคอื
อะไร? นพิ พานคอื ‘นพิ พานงั ปรมัง สขุ ัง’ นพิ พานเปน็ บรมสุข ฉะน้ัน
เราสอนเรื่องความทุกข์ เพื่อให้คนได้ค้นพบความสุข พุทธศาสนาจึงไม่ใช่
ศาสนาทเ่ี รยี กกนั วา่ มองโลกในแงร่ า้ ย หรอื มองโลกในแงด่ ี แตพ่ ทุ ธศาสนา
สอนใหเ้ รามองโลกตามความเปน็ จริง เราเปน็ สัจนยิ ม ไม่ใช่จิตนยิ ม หรือ
วตั ถนุ ิยม ความจริงมอี ยู่อย่างไร เรากน็ ำ�เสนอความจรงิ ไปอย่างนนั้

๐80 ตามรอยพุทธธรรม

ส�ำ หรับท่าน พทุ ธธรรม เปรียบไดก้ บั สิ่งใด?
พุทธธรรม เป็นลายแทงแห่งความสุข เพราะว่าส่ิงทมี่ นุษย์แสวงหาคือ

ความสขุ ถา้ เราอา่ นเล่มอ่ืน อาจจะพบบา้ งไมพ่ บบ้าง แตถ่ า้ อา่ นเล่มนี้

อาตมาเชื่อว่า เราพบลายแทงแห่งความสุขที่ชัดเจนมาก เพราะเริ่มต้น

ท่านกแ็ นะนำ�ให้เรารจู้ ักแล้วว่า ชีวิตคืออะไร ชวี ติ คือขนั ธ์ ๕ ธรรมชาติ

ของขนั ธ์ ๕ เปน็ อะไร เปน็ ไตรลกั ษณ์ อนิจจงั ทุกขัง อนัตตา เออ แล้ว

ชวี ติ นมี้ ันเป็นไปอยา่ งไรล่ะ มนั ก็เป็นไปตามอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมปุ -

บาท เอ๊ะ ชีวิตนค้ี วรจะเปน็ อยา่ งไรดีหนอ กเ็ ปน็ กรรม ถา้ อยากให้มันดี

กท็ ำ�กรรมดี อยากใหม้ ันชว่ั กท็ ำ�ชว่ั ไปสิ จากนัน้ ท่านน�ำ เสนอชวี ิตที่พึง

ประสงค์ ไม่ใชแ่ คไ่ ปสยบอยกู่ บั กรรมนะ ชีวิตทพ่ี งึ ประสงคค์ อื การปฏิบตั ิ

ชีวิตนี้คืออะไร ชีวิต ตามมรรค เมอ่ื ปฏิบัตติ ามมรรคครบถ้วนสมบรู ณ์ จะรถู้ ึงสขุ ทแ่ี ท้ กค็ ือ
นี้เป็นอย่างไร สิ่งที่ดี ภาวะพระนิพพาน ถา้ หากมองโครงสรา้ งโดยรวม พุทธธรรม สามารถ
บอกไดอ้ ย่างหนง่ึ ว่า เป็นลายแทงแห่งความสุข เพราะเม่อื เราเขา้ ใจวา่
ที่สุดที่ชีวิตนี้ควรจะ ชีวิตนี้คืออะไร ชวี ิตนีเ้ ปน็ อยา่ งไร สง่ิ ท่ดี ที ่ีสดุ ท่ชี วี ิตน้คี วรจะไดค้ ืออะไร

ได้คืออะไร ถ้าเราตอบ ถ้าเราตอบ ๓ ค�ำ ถามน้ไี ด้ทั้งหมด ความสุขแทก้ ็รออยตู่ รงปลายทาง

๓ คำ�ถามนี้ได้ทั้งหมด แล้วเปน็ วันเวยท์ ิคเกต็ นพิ พานแลว้ ไมต่ ้องตีตวั๋ กลบั ภาคผนวกทีเ่ พมิ่
ใหมใ่ น พุทธธรรม ฉบบั ปรับขยาย ซึง่ ว่าด้วยเร่ืองความสขุ ยงิ่ เป็นการ
ความสุขแท้ก็รออยู่ตรง ฉายภาพของพทุ ธศาสนา ซง่ึ เปน็ ศาสนาแหง่ ความสขุ ใหช้ ดั เจนขน้ึ อกี ดว้ ย

ปลายทาง แล้วเป็น

วันเวย์ทิคเก็ต นิพพาน อยากใหท้ า่ นขยายความทว่ี า่ พทุ ธศาสนาเปน็ ศาสนาแหง่ ความสขุ ?
การที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสุขไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อน ใน
แล้วไม่ต้องตีตั๋วกลับ อริยสจั ๔ ท่านเร่ิมตน้ ด้วยทุกข์ และท่านก็ถามหาสาเหตขุ องความทุกข์

เพอ่ื ที่จะให้กำ�จัดทกุ ข์ ก�ำ จัดทุกข์เสร็จก็พบสุข ทุกขท์ า่ นสอนเอาไว้เพ่อื

ให้เราเรียนรู้ที่จะไปสู่ความสุข ฉะนั้นการที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา

แหง่ ความสุขนั้น มีบนั ไดอยตู่ รงกลางแค่ ๒ ขั้นเทา่ น้ันเอง คอื สมทุ ัย

และ นโิ รธ สว่ น ทกุ ข์ กบั มรรค ๒ ตวั นเ้ี ปน็ อนั เดยี วกนั ในทางปฏบิ ตั นิ ะ

ตามรอยพุทธธรรม ๐81

ทุกข์กับมรรคเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะทุกข์อยู่ไหน การปฏิบัติธรรมก็
อยู่ที่น่นั คอื เปน็ ความสขุ อยูใ่ นตวั มนั แลว้ ล่ะ หรือพูดได้อีกอยา่ งหนึ่งว่า
ทกุ ขน์ ั่นแหละคือสุข เพราะดบั ทุกขเ์ สรจ็ สุขก็โผลอ่ ยูต่ รงน้ัน สุขไมไ่ ดม้ า
จากขา้ งนอกนะ เราปฏบิ ตั ิธรรมทก่ี ายท่ีใจของเรา พอบรรลธุ รรม สขุ ก็
เกดิ ขน้ึ ทน่ี เี่ ลย คอื สขุ อยู่ในทกุ ข์ ทกุ ขอ์ ย่ใู นสขุ

พทุ ธศาสนิกชนคนไทยส่วนใหญ่รหู้ รือไมว่ า่ พทุ ธศาสนาเปน็

ศาสนาแห่งความสุข?
คดิ วา่ รู้ แต่คงร้ไู ม่ลมุ่ ลกึ คนไทยใชพ้ ทุ ธศาสนาเหมอื นไปหานักจิตวิทยา

ไปรบั ยากลอ่ ม ไปรบั ยาบ�ำ บัดชว่ั ครัง้ ชั่วคราว โดยหารไู้ มว่ ่า แท้ท่จี ริงนนั้

คุณสามารถหายขาดได้จากความทุกข์ ฉะนั้นถ้าเราศึกษา พุทธธรรม

ให้ลกึ ซ้งึ เราจะเลกิ พ่ึงบรกิ ารยากล่อมประสาท แต่จะหันมาผ่าตัดความ

ทุกข์ด้วยตัวของเราเอง และทำ�ได้ในชีวิตนี้ด้วย ไม่ต้องรอบ่มบำ�เพ็ญ

ปญั ญาบารมเี ปน็ หมน่ื แสนลา้ นชาตภิ พ เพราะในบททว่ี า่ ภาวะพระนพิ พาน

ท่านจั่วหัวไว้เลยว่า ‘สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรได้ในชีวิตนี้ หรือประโยชน์สูงสุด

ของชวี ติ น้’ี ท่านเนน้ ย้ำ�ดว้ ยการนำ�ค�ำ ของพระพทุ ธองคม์ าวางไว้เลย วา่

พุทธธรรม คือองค์รวม ภาวะพระนพิ พานเปน็ ส่งิ ทีร่ ถู้ ึงได้ในชวี ิตนี้ นีเ่ ปน็ อกี จุดเน้นหนึง่ ที่นา่ สนใจ
มากใน พทุ ธธรรม คือการเนน้ ย�ำ้ ว่า เราสามารถบรรลุพระนิพพานได้ใน
ของความเป็นพระพุทธ- ชวี ติ น้ี กับอกี คำ�ถามหนง่ึ ซ่งึ ถือวา่ เป็นจุดเน้นของ พทุ ธธรรม เหมอื นกนั

ศาสนา ที่สมบูรณ์แบบ ค�ำ ถามคลาสสิกของมนษุ ย์ ก็คอื เราเกดิ มาท�ำ ไม มีหนังสอื เลม่ ไหนบา้ ง

ที่สุด ที่มีอยู่ในยุคสมัย ที่ตอบคำ�ถามนี้ชนิดที่ไม่หลบตาคนถาม เล่มนี้ตอบไว้อย่างชัดเจนและ
โต้แย้งไม่ได้ เป็นเพราะท่านเอาคำ�ของพระพุทธเจ้ามาตอบเอง นี่คือ
ของเรา ความโดดเด่น

พูดได้อย่างหนึ่งว่า หนึ่ง พุทธธรรม ตอบคำ�ถามสำ�คัญที่สุด

ของมนษุ ยชาติ คอื ค�ำ ถามทว่ี า่ เราเกดิ มาท�ำ ไม สอง พทุ ธธรรม น�ำ เสนอ

ความจริงซึ่งหลงลืมไปแล้วว่า นิพพานสามารถบรรลุได้ในชีวิตนี้ และ

สาม พุทธธรรม เปิดเผยโฉมหน้าอันแท้จริงของพระพุทธศาสนา

82 ตามรอยพุทธธรรม

ที่ว่า พทุ ธศาสนาคือศาสนาแหง่ ความสุข ถา้ ให้สรปุ สน้ั ๆ อาตมาคิดวา่
พุทธธรรม คือองค์รวมของความเป็นพระพุทธศาสนา ที่สมบูรณ์แบบ
ที่สุด ทม่ี ีอยใู่ นยุคสมัยของเรา

ทา่ นมคี �ำ แนะน�ำ ในการอ่าน พทุ ธธรรม แกบ่ คุ คลท่ัวไปอย่างไร?

อ่านเพื่อแสวงหาคำ�ตอบของชีวิตว่า เราเกิดมาทำ�ไม อ่านเพื่อหาคำ�
อธิบายว่า ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะดับทุกข์ได้อย่างไร
แล้วก็อ่านเพื่อที่จะค้นให้พบว่า พระพุทธศาสนาแท้จริงมีหน้าตาเป็น
อยา่ งไร สดุ ทา้ ยคอื อ่านเพ่อื สรา้ งสรรค์พฒั นาสตปิ ัญญาของตนเอง ให้
เขา้ ใจโลก ให้เข้าใจชีวิต ใหเ้ ข้าใจทกุ ข์ตามความเปน็ จรงิ

พุทธธรรม ควรน้อมนำ�ไปตอ่ ยอดปฏิบตั ิอย่างไร เพอื่ ใหเ้ กิด
ประโยชน์กับสงั คมไทยมากทีส่ ุด?

อาตมาคิดว่า พุทธธรรม เป็นรากฐานขององค์ความรู้ทางพระพุทธ-
ศาสนาทีเ่ ป็นระบบ ซึ่งเราสามารถใชอ้ า่ น ใช้ค้น ใชอ้ ้างอิงไดอ้ ยา่ งเปน็
มาตรฐาน แตถ่ ้าใชแ้ คน่ ี้ถอื ว่าใช้ พทุ ธธรรม ยงั ไม่คุม้ เราตอ้ งก้าวไปใหไ้ กล
กว่านั้นด้วยการประยุกต์ พุทธธรรม เนื้อแท้ที่มีอยู่ ให้สามารถนำ�มา
อธิบายความเป็นไปในโลกยุคปัจจุบัน จนสามารถสร้างองค์รวมความรู้
ใหมไ่ ปแกป้ ญั หาใหก้ บั ชาวโลกไดด้ ว้ ย เมอ่ื ไหรท่ ท่ี �ำ ไดอ้ ยา่ งนน้ั จงึ จะถอื วา่
เราใช้ พทุ ธธรรม ไดค้ ้มุ ทส่ี ุด

ถา้ เราเอาแตย่ กย่องชน่ื ชม พทุ ธธรรม แล้วเก็บขนึ้ หิง้ อาตมาวา่
นไ่ี ม่คุ้มกบั การลงแรงขององค์ผู้นิพนธ์ เราตอ้ งกา้ วไปให้ไกลกว่านนั้
ด้วยการตั้งโจทย์ว่า ทำ�อย่างไร พุทธธรรม จึงจะกลายเป็น
พทุ ธศาสนารว่ มสมยั ทด่ี บั ทกุ ขด์ บั โศกใหค้ นในยคุ โลกาภวิ ตั นไ์ ดส้ �ำ เรจ็
ถา้ ทำ�ได้อยา่ งนน้ี ี่แหละ คอื คุณค่าทีแ่ ท้จริงของ พทุ ธธรรม

ตามรอยพุทธธรรม ๐83

กลั ยาณมติ ร

๏ ธรรมชาตแิ ละสญั ชาตญาณกำ�หนดใหม้ นุษย์เป็นสตั วส์ ังคม ไมม่ ใี ครเลยทส่ี ามารถอยู่
ตวั คนเดียวในโลกไดโ้ ดยไม่มเี พ่อื น
๏ วิถชี วี ติ ของคนสมัยใหมถ่ กู ปลูกฝังสัง่ สมใหไ้ มค่ ุน้ ชนิ กับสภาวะของความนงิ่ เงยี บ ดา้ น
หนา้ หรือในมือของเขา จงึ มีเคร่อื งมือพรอ้ มสือ่ สารอยู่ตลอดเวลา
๏ เว็บไซต์เฟซบุ้ค (www.facebook.com) เครือข่ายสังคมออนไลน์หมายเลข ๑ ที่มี
ยอดสมาชิกทัว่ โลก ๔๐๐ ล้านคน ในจำ�นวนน้ันเป็นแอคเคาท์ของคนไทยมากกว่า ๑๔ ล้านคน
(สถิติล่าสดุ ค.ศ. ๒๐๑๒) ตดิ อันดับชาตทิ ่มี ีผใู้ ชเ้ ฟซบคุ้ มากเปน็ อันดับท่ี ๑๖ ของโลก
๏ โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำ�วันของคนไทยมากขึ้นทุกขณะ นั่นทำ�ให้
สังคมไทยได้เปลีย่ นรปู แบบปฏสิ ัมพนั ธไ์ ปสกู่ ารเปน็ สงั คมออนไลนช์ นิดเขม้ ข้น ที่ผคู้ นเลอื กพบเจอ
กนั ในจอมากกว่าการสมั ผัสตวั ตนในชีวติ จรงิ
๏ เมื่อปฏิเสธความแรงของสื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้ จะมีวิธีเล่นเฟซบุ้คอย่างไรให้กำ�ไร
เลน่ อยา่ งไรใหส้ งั คมออนไลนเ์ ปน็ ชมุ ชนของกลั ยาณมติ ร มากกวา่ ชมุ ชนของปาปมติ ร (มติ รทไ่ี มด่ )ี
แล้วพระพทุ ธศาสนาเคยสอนเรอื่ งนี้ไวห้ รอื ไม่?
๏ พระพุทธเจ้าตรัสสอนหลักธรรมการพิจารณากลั ยาณมติ ร โดยแจกแจงคุณสมบัติของ
มติ รทด่ี ไี ว้ ๗ ขอ้ ดงั น้ี :- นา่ รกั | นา่ เคารพ | รอบรู้ | พดู เปน็ | พรอ้ มรบั ฟงั | รลู้ กึ รจู้ รงิ |
ไม่ชักจูงไปในทางเส่อื มเสีย
๏ ถ้าเพอ่ื นทค่ี บมีลกั ษณะเช่น -- ชนิดอปุ การะ ชนดิ ร่วมทุกขร์ ่วมสขุ ชนิดแนะนำ�
ประโยชน์ และชนดิ มีใจรัก -- ใหถ้ ือเป็น ‘มิตรแท’้ ในทางตรงกันข้าม หากเปน็ เพื่อน -- ชนดิ
ปอกลอก ชนดิ ดีแตพ่ ูด ชนิดหัวประจบ และชนิดชวนฉบิ หาย -- ให้ถอื เป็น ‘มิตรเทียม’

๐84 ตามรอยพุทธธรรม

ในยคุ เฟซบุค้
ใต้ต้นไม้

๏ ประเภทของมิตรบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจพิจารณาได้จากสเตตัส หัวข้อที่
พดู คยุ หากชกั นำ�ไปในทางเสอื่ ม ก่อใหเ้ กดิ ความหลง ส่งเสริมให้ยดึ ติด เพลิดเพลนิ ในสิง่ ไร้สาระ
ชวนใหข้ ้เี กยี จ ฟงุ้ ซ่าน เพ้อเจอ้ ยวั่ ใหโ้ กรธ เกลียดชงั แบ่งพรรคแบง่ ฝา่ ย กม็ ปี ระโยชนน์ อ้ ยใน
การคบหา
๏ โปรดระวัง! อาการเล่นไม่เปน็ เทคโนโลยีจะเล่นให้เสียทรัพย์ เสียเวลา เสยี งาน เสยี
สมอง เสียนิสัย และบางคร้ังอาจเสยี ช่อื เสยี งดว้ ย
๏ หากคิดจะเล่น ควรเล่นให้เป็น เล่นให้ฉลาด เล่นให้พอดี เล่นให้มีประโยชน์ ใช้
เคร่อื งมืออนั ทรงพลงั น้ีเพ่อื กระชบั ความสมั พันธข์ องคนทงั้ โลก ใชเ้ พื่อกระจายข่าวดี ใชเ้ พอ่ื พูดคยุ
ความจรงิ และส่ิงกุศล ใชเ้ พ่ือชกั นำ�ไปในทางดงี าม และใช้เพื่อสรา้ งชมุ ชนกัลยาณมติ ร
๏ พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ‘คบคนเชน่ ใด ก็เปน็ คนเช่นนนั้ ’ เพราะเราต่างเป็นส่งิ แวดลอ้ ม
ของกนั และกนั การคบกัลยาณมิตรให้ถูกคนจึงสำ�คญั
๏ คุณภาพสำ�คัญกว่าปริมาณเป็นจริงเสมอ หลักพันหลักหมื่นของจำ�นวนเพื่อนบนหน้า
จอ อาจไมส่ �ำ คญั เท่ากบั กัลยาณมติ รเพยี งไม่กี่คน
๏ เปน็ เรอ่ื งทีไ่ มค่ อ่ ยมใี ครรู้ว่า ชาวพุทธมกี ัลยาณมิตรสงู สดุ อยู่หนง่ึ เป็นมติ รทเี่ ปน็ ท่ีพง่ึ
ผทู้ รงประกอบด้วยคุณสมบัติของกัลยาณมิตรอยา่ งเลศิ กลั ยาณมิตรท่านนั้นกค็ อื พระพทุ ธเจ้า
นัน่ เอง

อ่านเพิ่มเตมิ กลั ยาญมติ ร. พุทธธรรมฯ หน้า ๕๖๓ – ๖๐๓.

ตามรอยพุทธธรรม ๐85

ก่ออิฐ หรอื

๏ หนึ่งในความทุกข์ของคนทำ�งานที่ต้องประสบ คือไม่มีความสุขในงานที่ทำ� ไม่มี
ความสขุ ในที่ท�ำ งาน ไม่ชอบใจไม่ถกู ใจเพื่อนรว่ มงาน หรือทำ�งานมากแต่รายได้ไมพ่ อกบั รายจ่าย
ฯลฯ
๏ วิถีการทำ�งานในโลกสมัยใหม่ บังคับให้เราใช้เวลาไปกับคนร่วมสำ�นักงานมากกว่า
คนในครอบครัว
๏ หากส�ำ นักงานเป็นสถานท่แี หง้ แล้งความสขุ ไม่มบี รรยากาศของความเมตตากรุณา
แบง่ พรรคแบ่งพวก จับกล่มุ นนิ ทา แขง่ ขนั ทิ่มแทง เสแสรง้ แย่งผลงาน มองกันเป็นศัตรู คบ
กนั เพื่อผลประโยชน์ สิง่ เหล่าน้เี พมิ่ พนู ความเครียด เกดิ เป็นทุกขส์ ะสม
๏ การเร่มิ ตน้ ท�ำ งานดว้ ยความ ‘อยากได้’ มากกวา่ ‘อยากให้’ มองงานเป็นเงือ่ นไขของ
ชอ่ื เสยี ง อำ�นาจ เงนิ ทอง ซ่งึ เปน็ การตั้งเป้าหมายและแรงจูงใจในการท�ำ งานทไี่ ม่ถูกต้อง
๏ การท�ำ งานเพอ่ื ชวี ติ เปน็ สขุ สามารถก�ำ หนดไดด้ ว้ ยตนเอง โดยเรม่ิ จากการสรา้ งทศั นคติ
ที่ดตี ่องาน คนทำ�งาน และท่ที �ำ งาน
๏ เปลี่ยน ‘การทำ�งานเพื่อเงนิ ’ เป็น ‘การท�ำ งานเพื่องาน’ หรอื เปลย่ี นการท�ำ งานด้วย
แรงขบั ของ ตณั หา เป็นการท�ำ งานดว้ ยพลังของ ฉันทะ
๏ ใหค้ ่าของเงนิ เปน็ เพยี งอปุ กรณ์ หรอื ปจั จยั อุดหนนุ ชวี ติ ไม่ใช่จดุ หมาย
๏ เมอ่ื ท�ำ งานดว้ ยทศั นคตทิ ด่ี ี จติ ผอ่ งใส ใจเปดิ กวา้ ง เปลย่ี นสายตามองเพอ่ื นรว่ มงาน
ฉันมิตร ร่วมไม้ร่วมมือทำ�งานให้ลุล่วง ความช่วยเหลือเกื้อกูลเกิดขึ้น บรรยากาศในที่ทำ�งาน
กลายเป็นสวรรคน์ ้อยๆ ทันใด

๐86 ตามรอยพุทธธรรม

สร้างวหิ าร???
ใต้ต้นไม้

๏ ส�ำ นักงานเปน็ สขุ คนท�ำ งานมีความสขุ ผลตอบแทนเลีย้ งชีพชอบ แลว้ ยงั ตอ้ งมอง
ให้สูงข้นึ ไปอกี ขนั้ น่ันคอื มองงานเปน็ การสรา้ งความสุขมวลรวม กา้ วพ้นจากระดับปัจเจกสรู่ ะดบั
อดุ มคติ เตมิ เตม็ ความเป็นมนุษย์โดยสมบรู ณผ์ ่านการท�ำ งาน
๏ ตวั อย่างการท�ำ งานในขั้นอุดมคติ อาทิ ในหลวงของเราที่ทรงตรากตร�ำ พระวรกาย
ทรงงานหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ โดยไม่ไดร้ ับเงินเดอื นจากใครทไ่ี หนเลย หากท�ำ ไปเพอื่ ความ
อยู่ดมี ีสขุ ของปวงประชาเปน็ สำ�คัญ
๏ การทำ�งานของคนบา้ งานอย่าง สตีฟ จอบส์ แหง่ ค่ายแอป๊ เปิล้ ทั้งท่ปี ว่ ยหนกั และ
ร้ตู ัวว่าอีกไมน่ านต้องจากโลกนไี้ ป หากในช่วงท่ีมชี วี ิตอยู่ เขามงุ่ ม่ันพฒั นาดิจติ อลเทคโนโลยีอย่าง
ทมุ่ เท ก็เพือ่ ตอบสนองความตอ้ งการของมนษุ ย์ในโลกอนาคต
๏ เรื่องท่ยี กเปรียบบ่อยๆ :- คนงาน ๓ คน ก�ำ ลงั ก่อสร้างบางสิง่ เมือ่ ถามวา่ พวกเขา
ก�ำ ลังทำ�อะไร? คนงานคนแรกตอบว่า ‘กำ�ลงั ท�ำ งานหาเงนิ ’ คนที่สองตอบวา่ ‘กำ�ลงั ก่ออฐิ ’ ส่วน
คนสดุ ท้ายตอบว่า ‘กำ�ลงั สรา้ งวิหาร’... คนหนงึ่ ท�ำ เพ่อื ทน คนหนง่ึ ทำ�เพอ่ื ทำ� และอีกคนหน่ึงทำ�
เพอ่ื ธรรม
๏ ตอ่ จากน้ี เราจะทำ�งานเพือ่ เงิน หรอื ท�ำ งานเพอ่ื งาน จะทำ�งานเพือ่ ความทุกข์ หรอื
ท�ำ งานเพ่อื ความสขุ กนั ดี?

อา่ นเพมิ่ เตมิ หลกั การท่วั ไปเกี่ยวกบั สัมมาอาชีวะ. หน้า ๗๓๓ – ๗๓๘.
และ ปัญหาเก่ยี วกบั แรงจูงใจ. พุทธธรรมฯ หนา้ ๙๗๑ – ๙๙๓.

ตามรอยพุทธธรรม ๐87

88 ตามรอยพุทธธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 89

แห่งอตุ สาหะ
นำ� พทุ ธธรรม

๔ ปีสดู่ จิ ิตอลไฟล์

ครงั้ แรกในรอบ ๔ ทศวรรษ พุทธธรรม ถูกจดั เรียงพิมพใ์ หม่
ในรูปแบบไฟลค์ อมพวิ เตอร์ โดย นายแพทย์ ณรงค์ เลาหวริ ภาพ
ผู้เป็นหวั แรงหลกั ทข่ี อรบั อาสางานธรรมนี้ เพือ่ ให้ พทุ ธธรรม
ไดร้ ับการปรับแก้ไขและขยายเพ่ิมเติมสาระธรรมตามเจตนาของท่านผูน้ พิ นธ์
จนเปน็ หนังสอื พทุ ธธรรม ฉบับปรับขยาย ท่ีสมบรู ณท์ สี่ ุด ณ เวลานี้

90 ตามรอยพุทธธรรม

ผมเคยตั้งคำ�ถามครบั วา่ เพราะเหตใุ ดพทุ ธศาสนาจงึ มผี รู้ ักษามาได้จนถงึ ปัจจบุ นั
เม่ือได้สัมผัสกบั หนงั สอื พุทธธรรม ค�ำ ตอบกป็ รากฏ

เน่ืองจากไดท้ ราบจาก คณุ สุรเดช พรทวที ศั น์ ซ่ึงเปน็ เพอื่ นกันต้งั แต่สมยั เปน็ นักเรยี นมธั ยม โรงเรียนวัด
สุทธิวราราม ว่าท่านเจา้ คุณอาจารย์มีความประสงคท์ ีจ่ ะปรบั ปรุงเน้อื หา พุทธธรรม เพอ่ื ดำ�เนินการจัด
พิมพใ์ หม่ เพราะของเดิมทเ่ี ปน็ ดิจิตอลไฟลน์ ้ันไมม่ ี ทำ�ใหไ้ ม่สามารถปรบั เปลี่ยนอะไรได้เลย ในการพิมพ์
แต่ละคร้งั ยังตอ้ งคงรูปแบบเดมิ ไว้ ผมจึงรบั อาสาดำ�เนนิ การ ตอนทร่ี ับอาสามาท�ำ สงสัยอยู่เหมอื นกัน
วา่ เรือ่ งพิมพห์ นงั สือลงคอมพิวเตอร์ ทางกรุงเทพฯ น่าจะมีคนอาสาทำ�มากมาย ไมน่ า่ มคี วามย่งุ ยาก
ซับซอ้ นแตอ่ ยา่ งใด พอได้ลงมือท�ำ จรงิ ๆ ถึงเข้าใจวา่ เหตุใดจึงท�ำ กันไม่สำ�เร็จ สิ่งท่เี ปน็ อปุ สรรคมหี ลาย
ประการ

หนึง่ ) พุทธธรรม เปน็ หนังสอื ที่มีความสำ�คญั มาก เพราะจัดเปน็ คัมภรี ์ท่ีเอาไว้อ้างอิง ดังนน้ั ความ
ถกู ต้องในเนอื้ หาต้องสมบรู ณ์ ๑๐๐ เปอร์เซน็ ต์ สอง) เนือ้ หาของหนงั สอื ทีม่ จี �ำ นวนมาก ทำ�ให้
ตรวจพบความคลาดเคล่ือนอยมู่ ากในระหวา่ งการพิมพ์ ตอ้ งตรวจสอบแก้ไขถึง ๓ คร้งั ซ่ึงอาจจะ
ยงั มที ผ่ี ิดอยู่ สาม) ภาษาท่ใี ช้ในหนงั สือเปน็ คำ�เฉพาะ มีคำ�บาลี และบางคำ�กเ็ ขียนได้หลายแบบ
ส่ี) สว่ นท่ียากและเกือบจะทำ�ไมส่ �ำ เรจ็ คอื การวางเครื่องหมายดัชนลี งในไฟลใ์ ห้ถูกต้อง ซง่ึ ดัชนที ่ี
มีมากประมาณ ๓๐,๐๐๐ คำ� และมีรูปแบบดชั นที หี่ ลากหลาย ด้วยความยากน้ีเองจึงท�ำ ใหก้ ารจดั
พิมพก์ ินเวลาถงึ ๔ ปี แม้มีผู้อาสาชว่ ยงานอย่ไู มน่ ้อย แต่เมอื่ เหน็ ปรมิ าณขอ้ มลู ทมี่ ากและซบั ซอ้ น
เลยถอดใจกนั ไปหลายคน หรอื แมแ้ ต่คนทีผ่ มได้จ้างมาช่วยงาน กข็ อเลิกระหวา่ งทางโดยไม่ขอรับ
ค่าจ้าง อยา่ งไรก็ดี งานมีความคืบหนา้ ไปเรือ่ ยๆ ตอ้ งขอขอบคุณทา่ นเหลา่ น้ันด้วยครบั



ในระหว่างที่เรียบเรียงอยู่นั้น ผมได้มีโอกาสอ่านหัวข้อต่างๆ โดยย่อ จุดที่สนใจเป็นพิเศษ คือเรื่อง
‘ปปญั จะ’ ซึง่ ประกอบดว้ ย ตัณหา มานะ ทฏิ ฐิ เป็นเรอื่ งเกีย่ วกับกิเลส เครอ่ื งเนน่ิ ชา้ และความสันโดษ
ย่ิงเมอ่ื ไดม้ โี อกาสพบทา่ นเจ้าคณุ อาจารย์ ผูเ้ ปรยี บเสมือนพทุ ธธรรมทมี่ ชี วี ติ ท�ำ ให้เข้าใจเรือ่ งดังกลา่ ว
มากขึน้ ทา่ นแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความเปน็ ผมู้ ีความถ่อมตนและสันโดษอย่างชัดเจนยง่ิ การไดม้ สี ่วนรว่ มงาน
จดั ทำ�ข้อมลู พทุ ธธรรม ถือเปน็ ความภาคภมู ใิ จสูงสุด เป็นมงคลชีวิตอยา่ งยิ่ง ผมโชคดที ไ่ี ด้ท�ำ งานรับใช้
ท่านเจ้าคณุ อาจารย์ ได้ซึมซับสิง่ ดงี ามต่างๆ ทท่ี า่ นแสดงไว้ เพียงระลกึ ถงึ ก็ช่วยใหเ้ ราดำ�เนินชวี ิตตาม
พุทธธรรม ได้โดยไมย่ าก

ส�ำ หรบั ผม พทุ ธธรรม เปน็ มรดกทีม่ ีคา่ มากทส่ี ดุ สำ�หรบั มนษุ ย์ในยคุ นี้ เราโชคดมี ากท่ีเกดิ มาในยุคท่ีมี
หนังสืออย่าง พทุ ธธรรม และในยคุ ทีม่ ที ่านเจ้าคณุ อาจารย์ครบั

ตามรอยพุทธธรรม ๐91

ธรรมะ กค็ อื ความจริง
ความจริงของชวี ติ
ในชีวิตก็มีท้ังจิตใจ
ของตวั เราแตล่ ะคน
ตัวธรรมะในจติ ใจ

ของธรรมดา
ความจรงิ ของธรรมชาติ
จติ ใจนี่เป็นตัวประจกั ษ์
เวลาเราศกึ ษาธรรมชาติ
มนั ก็ศกึ ษาไดท้ ่ีตวั เอง

ชวี ิตทขาองลงัด

พระพุทธเจา้ เปน็ มนษุ ย์มากขึ้น
สำ�หรบั ผม คือเป็นมนษุ ยน์ ะ
ไมใ่ ชเ่ ปน็ เทพเจ้า เทวดา
แตว่ ่าท่านเปน็ อัจฉริยะ เป็นผู้รู้แจง้
ท่ฝี กึ ฝนตนเองจนกระทงั่ สามารถ
เหน็ ความจรงิ ของโลก
แล้วมันกไ็ มม่ อี ะไรสำ�คญั กว่านั้นอีกแลว้

ตู่ - สทิ ธศิ กั ด์ิ ทยานวุ ัฒน์

ผู้บรหิ ารหนมุ่ ไฟแรงแหง่ บริษทั บุญถาวรเซรามิค จำ�กัด วยั ๓๖ ปี เพยี บ
พรอ้ มท้ังฐานะ หน้าทก่ี ารงาน ขณะทห่ี น้าที่ทางโลกกำ�ลังกา้ วหนา้ แตท่ นั ที
ที่มีเวลาและจังหวะชีวิตมาถึง สิทธิศักดิ์เลือกใช้ไปเพื่อปฏิบัติเรียนรู้โลกทาง
ธรรม การบวชเรียนในวยั ข้นึ เลข ๓ น้ัน เขาบอกว่าโชคดี และโชคดยี ่งิ กว่า
ท่ไี ดบ้ วชเรยี นทว่ี ัดญาณเวศกวนั พุทธสถานทป่ี ราศจากการปิดทอง กระบอก
เซยี มซี และเครอ่ื งรางของขลงั บรรยากาศสปั ปายะเออ้ื ใหเ้ ขาไดศ้ กึ ษาอา่ นรู้
พุทธธรรม คัมภีร์สำ�หรับพระบวชใหมอ่ ยา่ งเตม็ ที่ คมั ภรี ท์ ่ีเขายกเปรียบเป็น
ดังเสน้ ทางลัดในการท�ำ ความเขา้ ใจชีวิต ทางลัดสายนี้ใชเ้ วลาศกึ ษาเพยี ง ๒
เดอื นครึ่ง นับเปน็ ช่วงเวลาสั้นๆ หากส�ำ คัญย่งิ เพราะน่นั ทำ�ให้เขาไม่ต้องเสยี
เวลาหลงทาง (ชวี ิต) อีกตอ่ ไปแลว้

๐94 ตามรอยพุทธธรรม

ท�ำ ไมถึงเลือกบวชทีว่ ัดญาณเวศกวัน แล้วบวชเรียนนาน
แคไ่ หน?

จรงิ ๆ บวชวัดไหนกไ็ ด้ แตข่ อใหเ้ ป็นการบวชแล้วไดอ้ ะไร ถา้ ได้เรียนกรรมฐาน
บ้างก็น่าจะดี น่าจะเป็นประโยชน์กับชีวิต พอดีคุณพ่อคุณแม่มีกัลยาณมิตร
ทม่ี าวดั ญาณเวศกวนั เปน็ ประจ�ำ ทา่ นแนะน�ำ วา่ ใหม้ าบวชกบั ทา่ นเจา้ คณุ ฯ ผม
จำ�ไดว้ า่ วันทม่ี าดูวัดกับคณุ แม่ ไดพ้ บพูดคยุ กับพระครปู ลัดสุวัฒนพรหมคุณ
(รองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน) ถึงเรื่องที่จะบวช วันที่มาเป็นวันเกิดผม
พอดี กน็ ำ�สังฆทานมาถวาย ทวี่ ัดญาณฯ มธี รรมเนยี มอยา่ งหนง่ึ ถวาย
สังฆทานเสรจ็ ทา่ นจะเทศนอ์ ยา่ งน้อยสกั ๕ นาที ทา่ นพระครูปลัดฯ เทศน์
ให้ฟังนิดหน่อยเหมือนเป็นการให้พรไปด้วย ผมยังจำ�ได้ว่า ท่านเทศน์เรื่อง
อายุ วรรณะ สุขะ พละ ความศรทั ธาเรม่ิ เกิด วนั เกดิ เราไม่เคยมใี ครมา
เทศน์ ไม่เคยมใี ครมาใหพ้ รขนาดนี้ เกิดมามแี ต่แฮปปเี้ บริ ธ์ เดยเ์ ปา่ เทยี น มัน
เกิดความปตี ิ เกิดความซาบซึง้ เกดิ ความศรัทธาในวดั บวกกับความรม่ รน่ื
สถาปตั ยกรรม การวางอาคารวางตน้ ไมค้ อ่ นขา้ งแตกตา่ งจากธรรมเนยี มปฏบิ ตั ิ
เราเองโดยพื้นฐานค้าขายวัสดุตกแต่ง อยู่กับสถาปัตยกรรม ก็เข้าใจว่าที่นี่
ต้องการสื่ออะไร แลว้ จดุ ยืนอยตู่ รงไหน ชอบสถานทีด่ ้วยกท็ วีความศรัทธา
มากขึ้น เพราะมาจากบ้านก็อยากจะบวชอยแู่ ลว้ หลงั จากน้ันไมถ่ งึ ๒ เดอื น
ท่านโทร ฯ มาว่า มีบวชรุ่นเมษายน ปี ๔๙ นะ ยิ่งท่านเจ้าคุณอาจารย์
เป็นพระอุปชั ฌายใ์ ห้ดว้ ย ยง่ิ ซาบซงึ้ ปีตยิ ินดขี น้ึ ไปอีก ความรู้สึกเหมือนจะได้
รับปริญญาบตั รกบั ในหลวงอะไรอย่างนี้ครับ (ยมิ้ )

ถ้าไมไ่ ด้บวช จะรูส้ ึกวา่ ชีวติ ขาดอะไรไปไหม?

ชวี ิตคนเรา สงั คม จะปัจจุบัน หรืออดตี หรืออะไรก็ตาม กเ็ ปน็ กระแส กี่
กระแสก็ไม่รู้ ท่ีมันพัดไปเรื่อยๆ กระแสทุนนิยม กระแสอนรุ ักษ์สงิ่ แวดล้อม
กระแสปัจเจกชน กระแสตะวนั ตกตะวนั ออก อะไรเต็มไปหมดที่ปนกันอยู่ คน
เราน่อี ยใู่ นกระแสต่างๆ อย่ใู นสงั คมไมร่ หู้ รอกว่า กระแสพาเราไปไหนๆ บา้ ง
เราไม่รตู้ ัวจรงิ ๆ แล้วเราไมร่ ดู้ ว้ ยวา่ มนั เปน็ ไปยังไง ถา้ ผมไมไ่ ด้มาบวช หรอื
วา่ ไมเ่ คยไดอ้ ่าน พทุ ธธรรม ผมจะไม่เคยรูเ้ ลยวา่ ผมไมร่ ้อู ะไรเลย! เพราะ
ผมคิดว่าผมรแู้ ล้ว ผมว่าผมเรยี นมาเยอะแลว้ เอนทรานซ์เข้าไปทำ�คะแนนก็

ตามรอยพุทธธรรม ๐95

สูง ปริญญาโทก็เรียนมาแล้ว แต่จริงๆ เราไมร่ ู้อะไรเลยในฝัง่ ทมี่ ันเกย่ี วกับตวั
เอง เกีย่ วกบั ชวี ติ นี่ เราไม่รู้อะไรเลยจรงิ ๆ เหมือนทีเ่ ขาเปรยี บเปรยว่า อยู่
ในหอ้ งมืด ถ้าไมม่ คี นจดุ ไฟแช็ก มนั ไมเ่ ห็นหรอก กม็ ดื อยู่อยา่ งนนั้ แล้วไม่รู้
วา่ มืดดว้ ย ถ้าผมไมไ่ ดบ้ วช ผมคงยงั มดื อยู่ แตต่ วั เองคิดว่าสวา่ ง (หวั เราะ)

มาบวชเรียนจงึ ได้รจู้ กั พทุ ธธรรม?

ใช่ครบั พอมาบวชกม็ เี รยี น ได้เรียนธรรมะ ๑ ธรรมะ ๒ เรยี นพระวินยั
เรยี นพุทธประวตั ิ พระครธู รรมธรครรชิต คณุ ฺวโร ทส่ี อนธรรม ๑ ทา่ นสอน
โดยใช้ พุทธธรรม เปน็ หนงั สืออา้ งองิ ผมมาค้นพบว่า พุทธธรรม เปน็ ผลงาน
ที่ส�ำ คัญมากๆ ในสงั คมพระพุทธศาสนาในปัจจบุ นั ถ้าเป็นพระก็ต้องถือวา่
เปน็ คมั ภรี ์ ท่านเจา้ คุณอาจารยข์ ึน้ มาว่า ‘ชวี ิตคอื อะไร?’ ‘ชวี ติ เป็นอย่างไร?’
แล้วค�ำ วา่ ‘ชวี ิตเป็นไปอย่างไร?’ มันมาคลิก มันมากระแทก เพราะพืน้ ฐาน
ผมเปน็ วิศวกร เรยี นกลศาสตร์ เรียนฟิสิกส์ เรียนวทิ ยาศาสตรม์ าตลอดชีวิต
มองเร่ืองตา่ งๆ เป็นศาสตรเ์ ปน็ สง่ิ ทีจ่ ับต้องได้ เรียนชีวะมา ออ๋ เข้าใจ ตน้ ไม้
มนั โตขึ้นอยา่ งนๆ้ี รถมันวิ่งได้เพราะน้ำ�มันไปสันดาปเป็นพลังงาน เราคิดว่า
เราเขา้ ใจโลกนพ้ี อสมควร ตอนเดก็ ๆ เรากเ็ รยี นธรรมะมาไมใ่ ชเ่ หรอ อรยิ สจั ๔
นะ ไตรสิกขานะ อิทธบิ าท ๔ นะ จ�ำ ได้ทอ่ งไดห้ มด พออ่านบทแรก เออ
เฮย้ ! ชวี ิตมนั คืออะไร ผมกลบั ตอบไม่ได้ กม็ าถึงบางออ้ ว่า จริงๆ เราไม่รู้
สมยั พระพทุ ธเจา้ มีฤาษมี ีนกั บวชเยอะแยะ เขามีชุดปญั หาเดยี วกนั วา่ เกดิ
มาทำ�ไม แลว้ ชีวติ คอื อะไร แลว้ กแ็ สวงหาค�ำ ตอบ ก่อนที่จะมพี ระพทุ ธเจ้ายงั
ไม่รู้ด้วยซ้ำ�ไปวา่ ชวี ติ คอื ทุกข์ แล้วชีวติ เราล่ะโจทย์คอื อะไร เราจะทำ�อยา่ งไร
ใหข้ ายของได้เยอะข้ึน เราจะท�ำ อยา่ งไรใหเ้ รียนจบ สอบไดค้ ะแนนเยอะข้ึน
ท�ำ ไมแฟนท้ิงเราไป ท�ำ ไมแมไ่ ม่สบาย ท�ำ ไมวนั น้ีรถเราชน น่ีคือชุดปัญหาของ
คนในสังคมปจั จุบนั ชวี ิตมันเรว็ เหน็ เปน็ สนั้ ๆ แก้ปัญหารายวนั ไปอยา่ งน้ัน
พอเราเริ่มตัง้ โจทย์ถูก เราก็ไดเ้ ข็มทิศแลว้ วา่ เกดิ มาทำ�ไม

คณุ มวี ิธีอ่านหรอื ศกึ ษา พทุ ธธรรม อยา่ งไร?

ตอนที่บวชพระอาจารย์จะให้อ่านเป็นบางบท เพื่อมาอ้างอิงเวลาเรียน มี
พระรูปท่ีบวชมาหลายพรรษาบอกวา่ “ตูเ่ อาบทแรกใหจ้ บกอ่ น” คือมันยาก

๐96 ตามรอยพุทธธรรม

ขนาดนัน้ เลยเหรอ สว่ นตวั เป็นคนชอบส่งิ ทา้ ทาย เจอคำ�นำ�เขา้ ไป ๑๐ หน้า
ด้วยภาษาของท่านเจา้ คณุ อาจารย์ ความครอบคลมุ ละเอียด และชัดเจน
แค่ค�ำ น�ำ ก็ไดแ้ ลว้ ครบั ย่งิ มาเจอคำ�ถามแรก ‘ชวี ิตคอื อะไร?’ ท�ำ ใหผ้ มอ้งึ
เกดิ ความตงั้ ใจอย่างแรงกล้า ถา้ ภาษาทางธรรมเรยี กวา่ ‘อธิษฐาน’ ตง้ั ใจ
ม่ันว่าจะอา่ นใหจ้ บภายในช่วงทอ่ี ยู่ในวดั (หวั เราะ) ผมเลอื กศกึ ษาทัง้ ๒ ทาง
คอื เรยี นรศู้ ึกษาพระธรรมและภาวนา ซ่งึ กเ็ กอื้ กนั เพราะตอ้ งใช้สมาธใิ นการ
อ่าน ถา้ ไม่มีสมาธจิ ะอ่านไม่เข้าใจ อา่ นไมเ่ ข้าหัว โชคดที ีเ่ ราอ่านตอนบวช
เช้านั่งสมาธิ เดนิ จงกรม บ่ายเรยี น เยน็ สวดมนต์ กลบั มา อ่านๆๆ และด้วย
ศรทั ธาต่อท่านเจ้าคุณอาจารยท์ ่เี ปน็ พระนกั ปราชญ์ พระปฏบิ ัติดีปฏิบตั ชิ อบ
อยู่ตรงหน้า เป็นเหมือนสรณะ เป็นที่พึ่งให้ผมได้ ความศรัทธาเป็นกำ�ลัง
ที่ทำ�ให้เราอยากจะศึกษามากขึ้น ช่วงเวลาที่บวช ๒ เดือนครึ่ง ผมก็อ่าน
พุทธธรรม จบ

คดิ วา่ ได้ ‘อะไร’ จากการศกึ ษาหนงั สอื ธรรมเลม่ นม้ี ากทส่ี ดุ ?

พทุ ธธรรม ทำ�ใหผ้ มเกิดความศรทั ธาในพระพุทธเจ้า แล้วผมเช่ือว่ามนั จรงิ
ด้วย อยดู่ ๆี จะพดู อยา่ งนีไ้ ม่ได้ อย่ดู ีๆ จะมาบอกว่า ขนั ธ์ ๕ อย่างน้นั อยา่ งนี้
ไม่ได้ ถ้าพระพุทธเจ้าไมร่ ้ไู มเ่ หน็ ไมต่ รสั รอู้ ยา่ งนี้นะ ทา่ นเอามาเลา่ ให้ฟงั ไมไ่ ด้
เพราะไม่มใี ครคดิ ออกวา่ ชวี ติ เราประกอบดว้ ยขนั ธ์ ๕ ไดแ้ น่นอน ไม่มีใคร
คดิ ออก ไม่มีทาง เอาอัจฉริยะของโลกมา เอาไอนส์ ไตน์ เอาใครมา คิดไม่
ไดห้ รอก มนั ตอ้ งเห็นอย่างเดียว นี่คอื อัจฉรยิ ะ แตไ่ มใ่ ช่อจั ฉริยะในแบบทีเ่ รา
เคยเจอมา แลว้ ท่านทำ�ได้อยา่ งไรละ่ ผมมารู้ตอนหลังวา่ มันต้องพจิ ารณา ไม่
ได้ใชค้ ิดนะครับ อันน้ีเปน็ เรอ่ื งใหญ่ระหว่าง ‘คิด’ กับ ‘พิจารณา’ ทีต่ ดั กนั
ระหว่าง ‘ปรชั ญา’ กับ ‘พทุ ธศาสนา’ พทุ ธศาสนาพระพทุ ธเจา้ ท่านไมไ่ ด้ใช้คิด
ทา่ นใช้พิจารณา ทา่ นใช้ดูสังเกต มนั กเ็ ลยถงึ บางอ้อใน ๒ มุม คือ หน่งึ เรา
มันโงเ่ งา่ เตา่ ตุ่น กบั สอง ศรทั ธาในพระพทุ ธเจ้า ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ว่า
คือของจริง มันเกดิ ข้ึนตอนน้ัน ทำ�ใหท้ ัศนะผมกับพุทธศาสนาเปลีย่ นไป คือผม
ไม่ได้กราบพระ หรือไม่ได้สวดมนต์ เพราะผมเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้
แต่ผมศรัทธา เพราะว่าพระพุทธเจ้าคือคนแบบเรานี่แหละ พระพทุ ธเจา้
เป็นมนุษย์มากขึ้นสำ�หรับผม คือเป็นมนุษย์นะ ไม่ใช่เป็นเทพเจ้า เทวดา

ตามรอยพุทธธรรม ๐97

ผมเลิกสนใจ แต่ว่าท่านเป็นอัจฉริยะ เป็นผู้รู้แจ้งที่ฝึกฝนตนเองจนกระทั่งสามารถเห็น
อะไรหลายๆ ความจริงของโลก แล้วมันก็ไม่มีอะไรสำ�คัญกว่านั้นอีกแล้ว ท่านมีเมตตา
เรอื่ งไปนาน มาสอนใหส้ ัตวโ์ ลกท้งั หลายนี่ แล้วเราก็โชคดี โชคดจี ริงๆ ท่ีเกิดมาได้เข้าใจ
แลว้ เพราะว่า แมแ้ ตเ่ พียวเสยี้ วหนง่ึ ของธรรมะ
ผมอา่ น
พทุ ธธรรม ในทศั นะของคณุ คนทใ่ี ช้ชวี ิตปกตดิ ีอยู่แลว้ หาซื้อและเสพ
ความสุขไดง้ า่ ยๆ ในสังคมบริโภคนิยม พทุ ธธรรม จะมี
ประโยชน์ต่อพวกเขาเหลา่ นั้นอย่างไร?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ‘อัปปมาทธรรม’ เป็นธรรมที่คลุมธรรมทั้งหมด ก็คือ
วา่ ไมป่ ระมาท ผมตอบแทนคนทว่ั ไปไม่ได้ แตผ่ มแชร์ความรสู้ ึกไดว้ า่ เมอ่ื
ก่อนท่ีผมยังไม่ไดบ้ วชเรยี น ไม่ไดศ้ ึกษาเรือ่ งศาสนาเนย่ี ผมไม่รู้เรื่องอะไร ก็
ใชช้ วี ิตไปตามกระแส คดิ ว่าตนเองชวี ติ ก็ไม่ได้ขเี้ หร่ มีกนิ มใี ช้ มีการศกึ ษา
ฐานะ การงาน ไมเ่ ป็นภาระของสงั คม สง่ เสริมสงั คมดว้ ยซ้ำ�ไป ทำ�หนา้ ท่ีของ
ตนเองได้คอ่ นขา้ งดี แต่นกึ ย้อนกลบั ไป ออ้ ตัวเองนอกจากไมร่ ูแ้ ล้ว พอมนั
ไม่รกู้ ็ประมาท ประมาทในการใชช้ วี ิต เหมอื นคณุ ขับรถเร็ว ขบั รถคุยโทรศพั ท์
คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะมันไม่เคยชนสักที นั่นคือความประมาท
กเ็ หมือนกัน การศกึ ษา พุทธธรรม จะชว่ ยทำ�ให้คุณเหน็ ชีวิต เห็นกฎของ
ธรรมชาตบิ างอยา่ ง ทช่ี ว่ ยท�ำ ใหค้ ณุ รจู้ กั ตนเองมากขน้ึ ประมาทในการใชช้ วี ติ
น้อยลง ผมวา่ วันหนง่ึ พุทธธรรม จะมีประโยชน์กับเขาแน่นอน เพราะว่าคน
เราอย่างไรก็หลีกหนีไมพ่ น้ ทกุ ข์ แล้วคณุ จะรบั มอื กบั สภาวะเหล่านั้นอย่างไร
ถา้ คุณมีหลกั มแี นว กจ็ ะรับมอื ไดด้ ยี ง่ิ ขึน้

มีคำ�แนะน�ำ อะไรให้กับคนทไ่ี มย่ ังรจู้ ัก พุทธธรรม

ลองเทยี บกบั ความสนใจ ทกุ คนมีความสนใจทไ่ี มเ่ หมอื นกนั บางคนชอบต้นไม้
ศึกษาตน้ ไม้ ปลูกต้นไม้ บางคนชอบดนตรี รทู้ ุกอย่างเก่ยี วกบั ดนตรี บางคน
ชอบกลอ้ ง รู้หมดเลยวา่ ตอ้ งตง้ั อย่างไรถา่ ยให้มนั สวย ให้มันชดั ตนื้ ชัดลึก คณุ
ชอบในส่งิ น้ันๆ เพราะวา่ สาเหตอุ ะไรบา้ ง ต้องมองดูวา่ แล้วคุณสนใจตัวเอง
ไหม เพราะ พทุ ธธรรม ไมม่ เี รื่องอะไรอน่ื เลย นอกจากเรือ่ งชวี ิตของเราเอง

๐98 ตามรอยพุทธธรรม

ถ้าสนใจแล้วแปลงให้เป็นสิ่งที่คุณสนใจได้นี่ คุณก็จะประสบความสำ�เร็จใน
การอ่าน พุทธธรรม สำ�หรบั ผม ผมเริม่ ด้วยศรทั ธา ซงึ่ สำ�คัญเพราะศรทั ธา
ทำ�ใหม้ กี ำ�ลงั แตถ่ า้ คณุ เร่มิ ดว้ ยความสนใจ มีฉนั ทะท่จี ะรู้จกั ตัวเองมากขึน้
ร้จู ักว่าชีวติ เราคืออะไร เปน็ ไปอย่างไร ท�ำ ไมมนั ถงึ เป็นอยา่ งนี้ ทำ�ไมตอนนี้
เราเป็นอย่างน้ี ทำ�ไมตอนนั้นเราเปน็ อยา่ งนัน้ ถอื เปน็ จุดเรมิ่ ท่ดี ใี นการศึกษา
แตฉ่ นั ทะกก็ �ำ ลังน้อย จึงต้องไปเติมวริ ิยะ คอื ความเพียร ถ้าสนใจกต็ ้องเอา
จริง เพราะวา่ เรอ่ื งตัวเองมนั เป็นเรือ่ งยากสลับซับซอ้ นทีส่ ุด แล้วตอ้ งมจี ติ ตะ
ด้วย ส�ำ คัญมาก การเป็นฆราวาสแล้วมานง่ั อ่านเล่มนนี้ ่ี ตอ้ งมสี ถานท่แี ละ
เวลาทีเ่ หมาะสม เพราะตอ้ งใชส้ มาธิในการอ่านมาก จะอ่านแบบพ็อคเกต็ บคุ๊
อ่านแบบอ่านหนงั สือประภาส อา่ นน้ิวกลมไมไ่ ด้ ถ้าคณุ นอนเลน่ แล้วคุณอา่ น
อาจจะประสบความสำ�เร็จน้อย เพราะ พุทธธรรม เหมือนเท็กซบ์ ุ๊ค เหมอื น
คมั ภรี ์ มากกวา่ เหมือนพ็อคเก็ตบ๊คุ แล้วอย่าไปกลัวกบั ความหนาของหนังสือ
จนเกินไป เพราะความกลัวเปน็ อปุ สรรคส�ำ หรับการเรยี นรู้ทกุ อย่าง คือกลวั
วา่ มนั จะยาก ผมจะแนะน�ำ วา่ ไม่ตอ้ งกลวั มากกวา่ เพราะยากแนๆ่ (หัวเราะ)

ทกุ วันน้ยี ังเปดิ อา่ น พทุ ธธรรม อยู่บา้ งไหม?

นานๆ ทคี รบั มบี างบทขยายความทผ่ี มชอบ หรอื บางเรอ่ื งอยา่ งเชน่ ขนั ธ์ ๕
ไตรลักษณ์ ผมกม็ าเปิดอา่ นอยู่เร่ือยๆ มีบางบททผี่ มเอาไปใชง้ าน ไปคุยกับ
ลูกนอ้ ง หรือเรอื่ ง ‘ปฏิจจสมปุ บาท’ เร่อื งที่ละเอยี ดลึกซึ้งมากก็ต้องกลบั มา
อ่านทวนไป... ผมเลกิ สนใจอะไรหลายๆ เรอ่ื งไปนานแลว้ เพราะวา่ ผมอ่าน
พุทธธรรม บางเรือ่ งไมไ่ ด้สง่ ผลกระทบกบั ชวี ติ เท่าไหร่ บางอยา่ งเป็นภาระ
รู้ไวก้ เ็ ป็นภาระ บางเรอ่ื งไรส้ าระ บางเรื่องมสี าระก็เป็นภาระ ย่งิ รูเ้ ยอะยงิ่ ดี
แตจ่ ริงๆ น่ี รู้จรงิ ในเรอ่ื งทค่ี วรรดู้ กี ว่ารเู้ ยอะครบั

ตามรอยพุทธธรรม ๐99

เกิดดับๆๆๆ

๏ กฎธรรมชาตขิ ้อหนึ่งคือ ส่ิงต่างๆ ลว้ น เกดิ ข้ึน ต้งั อยู่ ดบั ไป... ไม่คงที่ ไมค่ งทน
ไมค่ งตัว... อนจิ จตา ทุกขตา อนัตตตา ภาษาธรรมเรียกวา่ ‘ไตรลกั ษณ์’
๏ กฎขอ้ นไี้ มเ่ ลอื กปฏิบัติ ไมเ่ ห็นแกห่ นา้ ใคร หรอื สิ่งใด เปน็ หลกั ทีจ่ ริงแทแ้ นน่ อน แม้
ณเดชน์ยนื อยู่ ใช่ว่าแดดจะไมอ่ อกตรงนนั้ หรือเปน็ ญาญ่าแล้วจะไม่มีวนั แก่ ทุกชวี ติ ตา่ งด�ำ เนิน
อยู่ภายใต้กฎแห่งความเปลีย่ นแปลงนดี้ ว้ ยกนั ทั้งส้นิ
๏ ภาวะของธรรมชาติเป็นภาวะของความไมเ่ ทยี่ ง เกดิ ดบั ๆๆๆๆ ตดิ ต่อกันอย่างรวดเร็ว
เปล่ียนแปลงทลี ะนิดจนไม่เห็นชอ่ งวา่ ง ความตอ่ เนอ่ื งอยา่ งรวดเร็วน้ีเอง ท�ำ ใหเ้ ราเหน็ สงิ่ นั้นคงที่
ถาวร
๏ พระพรหมคณุ าภรณ์ อปุ มาไวเ้ ดยี วกบั การแกวง่ กา้ นธปู ทต่ี ดิ ไฟอยา่ งรวดเรว็ มองดว้ ย
ตาเปล่าเหน็ ดวงไฟเป็นวงกลม แต่ในความเปน็ จรงิ ไม่มีไฟดวงกลม หากมีเพยี งธูปตดิ ไฟก้านเดียว
๏ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ให้รู้ตัว ความรู้สึกประเดี๋ยวสุข
ประเดยี๋ วทกุ ข์ จึงขนึ้ อย่กู บั การเปลี่ยนแปลงไปของเหตแุ ละปัจจยั
๏ ความเที่ยงแท้แน่นอนน้ันไมม่ ี อนาคตจึงเปน็ ส่งิ เกนิ คาดเดา เชน่ พรงุ่ น้ีเราอาจแยก
ทางกับคนรัก พรงุ่ นเี้ ราอาจตรวจพบกอ้ นเนือ้ รา้ ย พรงุ่ น้เี ราอาจประสบอบุ ัติเหตุ พรงุ่ น้เี ราอาจ
ถูกลอตเตอร่ีรางวลั ท่ี ๑ หรอื แม้แตพ่ รุ่งน้กี ็ไม่อาจมีอกี แล้ว

100 ตามรอยพุทธธรรม


Click to View FlipBook Version