The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-07-10 00:21:41

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

Keywords: ตามรอยพุทธธรรม (ป.อ. ปยุตฺโต)

เท่าน้ันเอง
ใต้ต้นไม้

๏ การทำ�ความเข้าใจกฎแห่งไตรลักษณ์เสียเนิ่นๆ เป็นสิ่งพึงกระทำ� และปรับประยุกต์
ใช้ประโยชนจ์ ากกฎข้อนี้ เพอื่ ความไมป่ ระมาทในการดำ�เนนิ ชวี ิต
๏ วธิ ฝี ึกจติ ใจให้เข้าใจถึงสภาวะแหง่ ไตรลกั ษณ์ คอื การฝึกวปิ สั สนา ฝึกเฝา้ สังเกตสภาวะ
ของรา่ งกาย จากรูป เสยี ง กลิ่น รส สมั ผัส ทีเ่ ขา้ มากระทบ เฝา้ สงั เกตอาการท่เี กิดขนึ้ และท่ี
ดับไป ซ้ำ�แลว้ ซำ�้ เล่า
๏ บ่มฝึกเพื่อให้รู้เท่าทันจิตใจตนเอง ด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ หนึ่ง)
พฒั นาพฤตกิ รรมและความสมั พันธ์ (ศีลภาวนา) สอง) พฒั นาจติ ใจให้มคี ุณภาพและสมรรถภาพ
(จติ ตภาวนา) และ สาม) พฒั นาปัญญาใหร้ เู้ ท่าทนั สงิ่ ทง้ั หลายตามความเป็นจรงิ จนถึงข้ันละ
กิเลสไดใ้ นทีส่ ุด (ปัญญาภาวนา)
๏ เม่ือเข้าใจสภาวะความเป็นจรงิ ทว่ี า่ ไมม่ อี ะไรทไ่ี มเ่ ปลีย่ นแปลง ไม่มอี ะไรที่มัง่ คงถาวร
มีเพยี งสภาวะของการเกิดขึ้น ต้ังอยู่ ดบั ไป ดังนัน้ ไมว่ า่ เหตกุ ารณ์ดหี รอื ร้ายที่เกดิ ข้ึน จึงเปน็
เรื่องปกติธรรมดา จติ ใจท่ีฝกึ มาดแี ลว้ ย่อมไมก่ ระเทอื นตอ่ สงิ่ ทมี่ ากระทบ
๏ จงจำ�ไวว้ า่ ‘ทกุ ส่ิงเปลย่ี นแปลงไปตามกฎธรรมชาต’ิ
๏ สภาพธรรมชาตทิ แ่ี ทข้ องส่งิ ทั้งหลายในโลกมเี พียง เกดิ ข้ึน ต้ังอยู่ ดบั ไป... เกดิ ข้นึ
ต้งั อยู่ ดบั ไป... เกดิ ข้ึน ตง้ั อยู่ ดบั ไป... เท่านน้ั เอง

อา่ นเพมิ่ เติม ไตรลักษณ.์ พทุ ธธรรมฯ หนา้ ๖๒ – ๑๕๑.

ตามรอยพุทธธรรม 101

ต่นื

โลกที่เปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็วดังเช่นปจั จุบัน คำ�สอนส่งั ของ
พระพุทธเจา้ เม่ือครัง้ พทุ ธกาล จะยังคงใชไ้ ด้อย่อู กี หรือ???

102 ตามรอยพุทธธรรม

หากสงิ่ ทอ่ี งค์สมั มาสมั พทุ ธเจา้ ตรสั รู้น้นั เป็นความจรงิ แท้ วนั เวลาท่เี คลือ่ นไปกไ็ ม่
อาจทำ�ให้ความจริงแท้นั้นแปรเปลี่ยนได้ ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ยุคนี้
พ.ศ. นี้ ต�ำ แหนง่ แหง่ ท่ตี ง้ั ของพทุ ธธรรมในโลกสมัยใหม่ คงไม่ได้จ�ำ กดั อยใู่ นหนา้
กระดาษ หรือตั้งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์บนหิ้งเท่านั้น หากต้องเป็นธรรมะที่มีชีวิต
เพือ่ ใหห้ มชู่ นพึงนอ้ มเขา้ มาสู่ตน

การอ่านหนังสือ พุทธธรรม จึงไม่ต่างจากการลอดตามองดูกล้องกระจกหลาย
เหลี่ยมมุม ที่เห็นกันไปคนละมุม ตามประสบการณ์ชีวิตของแต่ละบุคคล บ้าง
พอมีภูมริ ภู้ มู ิธรรม ก็สามารถอ่านและเอาประโยชน์จากธรรมะได้ทนั ที บ้างต้อง
อ่านซำ�้ ทำ�ความเขา้ ใจมากหนอ่ ย แต่ละคนเขา้ ถงึ พระธรรมทีพ่ ระพทุ ธเจา้ ตรัสรู้
ต่างระดบั เฉพาะตน หากเปน็ เร่อื งน่าอศั จรรย์แห่งพุทธธรรมที่ว่า ขอ้ ธรรมต้งั อยู่
เฉยๆ เป็นกลางๆ หากวกเขา้ มาเทียบเคยี งกับทกุ สถานการณข์ องแต่ละชีวติ ได้
เสมอ อีกทั้งยงั ชว่ ยชี้ทางแก้ไขให้ทุกรายไป

ขณะทตี่ วั ธรรมะไมไ่ ดโ้ ฆษณาวา่ จริงนะ เชอื่ นะ เช่ือสิ หากความจริงอันประเสริฐ
กลับเป็นธรรมโฆษณ์ที่เสียงดังฟังชัดเป็นที่สุด ส่องทางสว่างให้กับผู้ที่พร้อมเข้า
มาศึกษา ลองพิจารณาไปตามข้อธรรมนั้นๆ พร้อมลงมือปฏิบัติในระหว่างตัว
อักษร นำ�ความเข้าใจในหลักธรรมไปปรับประยุกต์สู่กระบวนการศึกษาธรรมใน
ชีวิตประจำ�วันได้อย่างสมประโยชน์ ทันทีที่แก่นแท้ของพระธรรมในธรรมชาติ
เปิดเผยตัวตน ให้ผู้ที่รับเอาไปได้รู้แจ้งเห็นจริง ต่อจากนี้อะไรๆ ก็ไม่สามารถ
ท�ำ ใหบ้ คุ คลผู้ฝกึ มาดีแล้ว กลบั เปน็ ทกุ ข์ไดอ้ กี พระพทุ ธศาสนาท่แี ทจ้ กั ด�ำ รงสบื ไป
ตราบเท่าที่พุทธศาสนิกชนเข้าถึง ‘สาร’ ที่พระพุทธเจ้าต้องการ ‘สื่อ’ นั่นคือ
‘พุทธธรรม’ ตวั แทนท่บี อกว่า พระพทุ ธองค์ยังทรงพระชนมอ์ ยู่ และท่านก็ไมไ่ ด้
อยูไ่ กลหา่ งจากเราเลย

ตามรอยพุทธธรรม 103

คอธื รอรามวธุะ

สมนึก ดุรยิ ศักด์ิ : มอเตอร์ไซคร์ บั จ้าง

ผมอา่ น พุทธธรรม ครับ แตไ่ ม่ได้ ในหมูว่ ินรถมบี คุ คลหลายประเภท ตอ้ งยอมรบั
ละเอียดนักนะครับ ผมได้สัจธรรมของชีวิต ว่าคนข่วี นิ เป็นอีกสังคมหนึง่ วฒุ ิภาวะบางคน
สัจธรรมของธรรมะ แล้วก็สัจธรรมของคน อาจจะสูง หรอื บางคนอาจไม่มีเลย ผมใชส้ ง่ิ ที่
มีสงู สุดก็มีต�ำ่ สดุ นะครบั เร่ืองความไม่แนน่ อน ทา่ นสอนไปใชเ้ ลอื กคบหากลั ยาณมติ ร คนไหน
ยกตัวอย่าง ผมจบปริญญาโท แต่เผอิญชีวิต ควรใกลช้ ดิ สัมผัส คนไหนควรถอยห่าง คนไหน
เจอกบั มรสุมรา้ ยตวั หน่ึง ถูกสง่ั พักราชการ เงิน ท่ไี มค่ วรแตะตอ้ ง หลังจากไดศ้ กึ ษาธรรมะ ผม
เดอื นทผี่ มเคยไดร้ ับเดือนละ ๓๗,๐๐๐ บาท มี สขุ ุมข้ึน กลา้ หาญขนึ้ เดด็ เดีย่ วในการเผชิญ
ค่าวชิ าชีพอีก ๓,๕๐๐ บาท อันตรธานหายไป กบั ปญั หาตา่ งๆ สมมตวิ า่ ถา้ ผมนอนหลบั ไปแลว้
เป็น ๐ ชวี ติ หันเหไป เครยี ดครับ แนน่ อนครบั พรุง่ นต้ี ่นื ขึน้ มาเปน็ ๐ อกี น่ี ชวี ติ รับได้ไหม รบั
เกดิ ทุกขอ์ ยใู่ นใจ แตถ่ า้ คณุ เอาทกุ ขน์ ัน้ ไว้ คณุ ก็ ไดค้ รับ
เอาตัวไมร่ อด ธรรมะชว่ ยใหย้ ับย้ังชัง่ ใจ ท�ำ ให้
เราเข้าใจได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือวิบากกรรม ผมคดิ วา่ ธรรมะคืออาวุธ แตใ่ นการตอ่ สู้ หรือ
ของเรา เมอ่ื เขา้ ใจกว็ างใจได้ นิ่งได้ แลว้ กล้า ใช้อาวธุ อย่างไร ขน้ึ อย่ทู ่ตี ัวเราด้วย ถ้าอ่าน
เผชญิ กับมนั ครบั ผมหางานท�ำ ครบั แต่อายุ อยา่ งเดยี ว ไมป่ ฏิบตั ิ ก็ไม่เกดิ ประโยชน์อะไร
มากแลว้ ๕๐ กว่าแล้ว ทำ�อะไรไม่ได้มาก เลย มีดาบดี ใช้ไม่เป็น ก็มีคา่ เท่ากนั
ไปเชา่ เสือ้ วนิ มาว่งิ รถมอเตอร์ไซค์

104 ตามรอยพุทธธรรม

กา้ วเดนิ ปบนญั วถิ ญแี หาง่

ไตรไตรย์ ทมั ม-์ ธมั ม์ : เจา้ ของกิจการ

ผมมองว่า พุทธธรรม คือวิถีแห่ง คนท่ีอา่ นงานหนังสอื ของทา่ นเจ้าคุณฯ บางคน

ปัญญา ให้แนวทางการเกิดปัญญาด้วยตัวเรา บอกว่า อา่ นแลว้ วกวน ถ้าเขาคอ่ ยๆ อา่ น เขา

เอง ไม่ใช่อ่านแล้วจะได้ปัญญาเลยนะ แต่เรา จะรูว้ า่ ความหมายในเน้ือตรงน้ัน ทา่ นเจ้าคณุ ฯ

กำ�ลังเดินบนทางนี้ เหมือนกับเวลาเราเดินป่า จะพดู ใหเ้ ต็มความเลย รูเ้ ท่าไหร่บอกหมดแบบ

ตอ้ งมเี ข็มทิศ ไม่อย่างนน้ั หลงแนน่ อน เราจึง อาจารย์ท่ีดีนะครับ ซ่ึงอธิบายความจริงๆ ๒

แนใ่ จไดอ้ ย่างหนึ่งวา่ พุทธธรรม พาเราไปถึง ย่อหน้าก็จบแล้ว ท�ำไมต้องตอ่ ย่อหนา้ ท่ี ๓ มี

ปญั ญาแน่ สรุปอีกทยี่ ่อหนา้ ท่ี ๔ ผมขอใช้ค�ำวา่ ท่านเจ้า

คุณฯ ก�ำลังหย่อนเมตตา เปรยี บเหมือนบอ่ น�้ำ

ผมอา่ น พุทธธรรม ด้วยการกำ�หนดประโยชน์ บาดาล เราว่าเราอยลู่ า่ งแลว้ นะ ไมแ่ นว่ ่ายังมี

ใช้วิธีเลือกอ่าน ไม่ได้อ่านหน้าแรกยันหน้า คนอยู่ล่างกว่าเราอีก (หัวเราะ) เพราะฉะนั้น

สุดท้ายนะ เพราะ พทุ ธธรรม ไม่ใช่หนังสืออา่ น ใครถึงตรงไหนก็สามารถจับเชือกได้ตรงนั้น

รวดเดียว ด้วยความเคารพเลยนะครับ ผม แล้วปีนข้ึนมา พัฒนาขึ้นมา ใครถึงปากบ่อได้

อ่านตั้งแต่สารบัญ ผมว่าท่านเจ้าคุณฯ เป็นกวี วดั กนั ตรงท่ีวา่ เรามชี วี ติ ที่เปล่ียนไปอย่างไร ดี

ตง้ั แตส่ ารบญั มนั งดงามตงั้ แต่ตรงนน้ั แลว้ นะ ไม่ดเี รารไู้ ดด้ ว้ ยตวั เองครับ

เหมือนผมอ่านพระไตรปิฎก หยิบมาเล่มหนึ่ง

ตง้ั ใจจะอา่ นสกั ครึ่งเลม่ ไปได้แคส่ ตู รสองสูตร ผมสามารถพูดอย่างสนิทใจว่า ผมได้อาศัยได้

ก็มนึ แล้ว อหู้ ู! ปญั ญาของพระพุทธเจา้ ทัง้ ต้นู ี้ เกาะความรู้ของท่านเจ้าคุณฯ ไป น่าจะเป็น

เหรอ! พุทธธรรม ก็เหมอื นกนั ปญั ญาเรามไี ม่ ท�ำ นองเดยี วกบั ที่บอกวา่ ได้เกาะจวี รข้ึนสวรรค์

พอ เรากเ็ ลือกอ่านแบบนี้ ครบั

ตามรอยพุทธธรรม 105

พพพรระระรลึกะธะถพึงสรคุณทุรงขมฆธอง์
ได้มากกวา่
พระพทุ ธรูปงดงาม

พุทธธรรม ทำ�ใหผ้ มระลึกถงึ คุณของ ฐติ พิ งษ์ เหลืองอรุณเลศิ : ดีไซเนอร์
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้มากกว่า
พระพุทธรูปงดงามที่ตั้งอยู่เสียอีก ผมโชคดีที่ เตมิ กน็ �ำ เลขอ้างอิงจาก พุทธธรรม ไปเปิด
รูจ้ กั พทุ ธธรรม กอ่ นได้มาบวชครบั หนังสือ อ่านเป็นเรื่องๆ ไป เป็นอีกแนวทางหนึ่งใน
เล่มนี้สำ�คัญมากในแง่หนึ่งคือ เป็นสิ่งที่ท่าน การต่อขยายฉนั ทะไปสู่การอ่านพระไตรปฎิ กได้
เจ้าคุณอาจารย์ได้เรียบเรียงจากคำ�สอนของ ด้วยครับ
พระพทุ ธเจา้ อยา่ งแทจ้ รงิ ท�ำ ใหเ้ รามคี วามเลอ่ื มใส
และมน่ั ใจวา่ เราไดเ้ รยี นรคู้ �ำ สอนจากพระโอษฐ์ ผมมองว่าการศึกษาพุทธศาสนาประกอบด้วย
เป็นเหมือนสิ่งอ้างอิงให้พุทธศาสนิกชนเชื่อม ปริยัติและปฏิบัติ ถ้าอ่านอย่างเดียวไม่ทำ�ให้
ตอ่ กบั ค�ำ สอนทไ่ี มม่ กี ารปรบั ปรงุ แกไ้ ขโดยความ เราเขา้ ใจ พทุ ธธรรม ไดส้ มบรู ณ์ อา่ นแลว้ ต้อง
คิดเห็นของคนรุ่นหลัง พุทธธรรม ถูกเขียน น�ำ ไปปฏบิ ัติด้วย ปฏบิ ตั ิแลว้ กลับมาอ่าน ท�ำ ซำ�้
ขนึ้ อย่างประณีต อ่านง่าย และเขา้ ใจง่ายมาก ไปซ้ำ�มาอย่างนี้จะได้ผลมากที่สุดครับ ส่วนวิธี
อา่ นเล่มนแี้ ล้ว เมอื่ มีความสนใจท่ีจะอ่านเพ่ิม อา่ น ผมคอ่ ยๆ อา่ น เริม่ อ่านตรงท่สี นใจมากๆ
แลว้ ปฏบิ ตั ไิ ปดว้ ยพรอ้ มกนั ใชเ้ วลาอา่ นประมาณ
๑ ปี กไ็ ม่ไดร้ ู้สึกวา่ ช้าหรอื เร็วเกินไปครับ

106 ตามรอยพุทธธรรม

เพรเาหะวีย่ ธงรนร้อยมละง

ชีวาลัย เตมยี สถิต : อาจารย์มหาวทิ ยาลัย

เพ่ือนใหห้ นังสือ พทุ ธธรรม มาในช่วง อารมณ์ เวลาหลดุ นอี่ ารมณจ์ ะมาก่อน แล้ว

ที่เริ่มสนใจธรรมะ เริ่มเปิดอ่านก็เริ่มยอมรับ บางทีรตู้ วั ก็บอกวา่ เอาอีกแลว้ หลดุ อีกแลว้

ว่า สิ่งที่เขียนในนั้นนี่ พอมองโลกอย่างเป็น หรอื อยา่ งในทีท่ ำ�งาน เราต้องเจอคนมากหนา้

จริง แล้วมันเป็นจริงนะ คิดตามตัวหนังสือที่ หลายตา จะเอฟเฟกตไ์ ปตามลักษณะนสิ ยั ของ

บรรยาย คดิ ตามแล้วใช่ แต่ในแงข่ องการปฏบิ ตั ิ คนทเี่ ราคอนแทคทด์ ้วย บางคนอยากเหวยี่ งใส่

ค่อนข้างยากที่จะทำ�ให้อารมณ์และความรู้สึก ตงั้ แต่ต้น บางคนดปี ระเสริฐอย่างกับพระเจา้

ให้ใช่ตลอด บางทีความรู้สกึ ค่อนขา้ งแปรปรวน สำ�หรับคนทไ่ี มด่ ี เรากป็ ลอ่ ยวางมากขนึ้ อยา่

ปนั่ ป่วน หรอื ถา้ วันไหนมีเวลาว่าง จะกันเวลา เกบ็ มาให้ตัวเองอารมณเ์ สียไปทั้งวนั ค่ะ

ใหต้ ัวเอง เช่นวนั นจ้ี ะถือศลี ๘ กห็ ยบิ หนังสอื

มาอา่ น ไวค้ อยใชเ้ ตอื นตวั เอง จากท่ไี มย่ อมรับ หลงั จากศกึ ษาธรรมะ เปล่ียนแปลงตวั เองเยอะ

อะไรเลย เรมิ่ มโี พรเกรสตรงน้ี ว่าเราท�ำ ไดแ้ ลว้ นะคะเช่นตอนนี้รู้ตัวว่าเราคิดตา่ งจากเมอ่ื กอ่ น

นะ อ่านตอ่ ไป เปน็ สเต็ปๆ ไป ทไ่ี มค่ อ่ ยยง้ั คดิ เทา่ ไหร่ แมว้ า่ จะยงั ไม่ ๑๐๐ เปอร-์

เซ็นต์ แต่เห็นวา่ ตัวเองเหว่ยี งน้อยลงแล้วค่ะ

ถ้าเอาธรรมะไปใช้เลย น่าจะเป็นเรื่องของ

อารมณ์ เพราะเป็นคนเร่ืองอารมณ์เยอะ ใช้

ตามรอยพุทธธรรม 107

จะอเไ่ากมนจิด่ตนอกอ้ วีกง่า

จิรญั ชัย วงษ์วดีสวุ ชั ร : พนักงานขาย

ผมเป็นพนักงานขาย ถ้าเกิดผมไม่มี สมปรารถนา ตอ้ งพึ่งตัวกลาง กท็ �ำ ให้ผมฉกุ คิด
ความรู้ มนั ท�ำ ให้จิตตกได้นะครับ การขายเนอ้ื ข้ึนมา เออจริงนะ
ไก่ได้มากนีเ่ ท่ากับมสี ัตว์ต้องตายเพราะเรามาก
แล้วอย่างนี้คุณเศร้าหมองหรือเปล่าล่ะ แต่ ผมโชคดีท่อี ายุยังนอ้ ยแลว้ เจอเลม่ นี้ ได้เปรยี บ
หนังสือเล่มนี้บอกเอาไว้ ศีลจะขาดได้ต้องมี ครบั เพราะรู้แล้วว่า อะไรของแท้ อะไรของ
ปจั จัย ๕ ข้อ กรรมตัวนีถ้ งึ จะเกดิ ขึน้ อย่างแรก ปลอม ความสุขแท้ ความสขุ ปลอม เหมอื นคน
สัตวน์ น้ั ตอ้ งมีชีวิต สอง เราต้องรวู้ ่ามนั มีชวี ติ พยายามทำ�บญุ แตถ่ า้ ไมร่ อู้ ะไรแท้ อะไรปลอม
สาม เรามีความพยายามในการฆ่ามนั สี่ สัตว์ การทำ�บุญทั้งหมดที่ทำ�ไปก็สูญเปล่า เล่มนี้
นั้นตายไปจากความพยายามของเรา ห้า ผม ทำ�ใหเ้ รารูเ้ อง เชื่อจรงิ ๆ เลยนะ ไม่ได้บอกให้
จำ�ไม่ได้... (ยมิ้ ) แล้วเรามเี จตนาใหเ้ ขาตายหรือ คุณเชอื่ แต่คณุ จะเช่อื เองเลย คอื มันใช่เลย!
เปลา่ เราบอกไม่คดิ แคข่ ายของ จติ แทนท่จี ะ
เศรา้ หมอง ก็ไมเ่ ป็นไร หรือเรอ่ื งความสุข ใน อ่าน พทุ ธธรรม ๓ รอบแลว้ ครับ แต่ค�ำ ตอบ
หนงั สอื พทุ ธธรรม แบง่ ความสุขเอาไว้หลาย ที่ได้ไม่เคยซ้ำ�เลย ปัญญาผมอาจจะด้อยก็ได้
ระดับ โดยเอาคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้ามา พอเราฉลาดขึ้น ก็ลึกซึ้งลงไปอีก เรียกว่า
ขยายความใหเ้ ข้าใจมากขึ้น ผมเคยคิดว่าการ แตกฉานไปเรอ่ื ยๆ... ถ้ายังตอ้ งมีเกดิ อีก ผมก็
ท่เี รามเี งิน มีโนน่ มนี ่ีแล้วมีความสขุ นีม่ นั เป็น ขออ่าน พุทธธรรม อกี อ่านจนกวา่ จะไม่ต้อง
ความสุขขัน้ แรกเทา่ น้ันเอง เป็นความสุขขัน้ เกดิ อีกครบั

108 ตามรอยพุทธธรรม

อถา่ ้านอยาพกรุทพู้ ธุทธเธถศรอาะสรคนม่ะา
รม่ รฐั วัชรคณุ : ดไี ซน์ เมอร์แชนไดส์

เริ่มสนใจศาสนาได้ ๓ – ๔ ปีแลว้ คะ่ ตามความเชื่อที่บอกว่า อันนี้ทำ�แล้วดี แต่
ศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วย มีโอกาสมาศึกษา จะเชื่อเพราะเหตุมันคืออะไร ผลมันคืออะไร
คอร์สธรรมะใตโ้ บสถ์ท่วี ดั ญาณเวศกวัน พระ หรือมองในแง่ปฏิบัตินะคะ เราเรียนธรรมะ
อาจารยท์ ่านแนะนำ�วา่ เวลาทา่ นสอน ท่านเอา กบั อาจารย์ท่านต่างๆ ซ่ึงอาจมคี �ำ บาลี เช่น
มาจาก พทุ ธธรรม เลยไปขอหนังสอื มาศกึ ษา สันโดษ อริยสัจ ๔ เรายงั ไมเ่ ขา้ ใจความหมาย
คะ่ ตอนน้นั ความรเู้ กยี่ วกบั ศาสนายังไม่มี พอ ท่ีแทจ้ รงิ พอมาอา่ น พุทธธรรม ก็ท�ำ ให้เข้าใจ
อ่านแล้วก็เขา้ ใจมากข้ึน เหมอื นถา้ เราสงสัยว่า เนื้อหาได้ดีมากขึ้น สำ�หรับคนที่ปฏิบัติธรรม
ศาสนาคืออะไร? พทุ ธธรรม สามารถตอบได้ อย่แู ลว้ เราไม่ไดอ้ ย่ใู กลก้ บั ครูบาอาจารยต์ ลอด
ด้วยเหตุด้วยผล พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เชื่อ เวลา ฉะนั้น พุทธธรรม เหมือนเป็นพื้นฐาน
แต่จริงๆ ทุกอย่างพิสูจน์ได้ด้วยการกระทำ� ความรู้ เปน็ แหลง่ ความรู้ค่ะ
เปน็ เหตุเปน็ ผลยง่ิ กวา่ วทิ ยาศาสตร์ พทุ ธธรรม
พูดเร่ืองความจรงิ นคี่ ือความจริงทต่ี ้องอยู่กบั หลงั จากศกึ ษาธรรมะเปลยี่ นแปลงมากคะ่ ปรับ
มนั แต่ตอนน้ีเราโดนหลอกด้วยคอนเทก๊ ซอ์ ยา่ ง มุมมองให้ยอมรับความจริงของชีวิตได้ง่ายขึ้น
อื่นก่อน เห็นการทำ�งานของมัน ซึ่งอาจดูว่าเรายังใช้

ชีวิตปกตเิ หมือนเดิม ยงั ทกุ ข์เหมอื นเดมิ แตไ่ ม่
ท่านเจา้ คุณฯ ท่านสรปุ ความร้จู ากพระไตรปฎิ ก ได้ยึดติดกบั ความทุกข์มาก คอื ไม่ไปเอาเรอื่ งกับ
เป็นสิ่งทพ่ี ระพุทธเจา้ ท่านฝากไว้ ความร้ทู ัง้ หมด ความทุกข์เหมือนเมอ่ื กอ่ น... หนังสอื เลม่ น้ีสอน
แปลเป็นภาษาปัจจุบัน สรุปเป็นหมวดหมู่ให้ ให้มั่นคงในหลักเหตุผล และเข้าใจพุทธศาสนา
อ่านเข้าใจง่าย เข้าใจถึงความเชื่อมโยงและ ไดด้ ยี งิ่ ขนึ้ พระพทุ ธเจา้ กย็ ังพูดเองวา่ อย่าเชื่อท่ี
ความหมาย พอเข้าใจด้วยเหตผุ ล เราจะตัดสนิ เราสอน ใหไ้ ปท�ำ ใหพ้ สิ จู น์ ถา้ อยากรพู้ ทุ ธศาสนา
อะไรด้วยเหตุผลของเราเอง จะไม่ตัดสินใจ อา่ น พทุ ธธรรม เถอะค่ะ

ตามรอยพุทธธรรม 109

คดิ เหน็
“หนังสอื พุทธธรรม ส�ำ หรับผมโดยสว่ นตัวนน้ั
ผมคงใชเ้ ป็นหนังสอื อา้ งองิ ส�ำ หรบั ตอบคำ�ถาม
ทอ่ี าจมขี ึน้ ในใจ ถา้ คุณเกดิ ค�ำ ถาม คณุ จะ
ศึกษาเพื่อแก้ปญั หาดว้ ยตนเอง หรอื จะอา่ น
หนงั สือเพอ่ื หาแนวทางกอ่ น แล้วคอ่ ยแก้ไข
กไ็ ดท้ งั้ สองทาง” (นายโจโจ้)

“ใครยงั ไมเ่ คยอา่ น ลองหาเวลาอ่านดู
ครับ พุทธธรรม เป็นหนงั สอื ทท่ี �ำ ใหผ้ ม
บอกตัวเองว่า เป็นโชคดีครง้ั ใหญใ่ นชีวิต
ของผม ท่ีได้อา่ นหนังสือเล่มน้จี บครบั ...
บางทคี ุณอาจมองข้ามโอกาสท่จี ะโชคดี
โดยไม่ตอ้ งสง่ ไปชิงรางวัล” (นิรนาม)

110 ตามรอยพุทธธรรม

“ผมเหน็ ดว้ ยว่า หนงั สอื พุทธธรรม คอ่ นข้างอ่านยาก
ส�ำ หรับคนไมค่ ้นุ เคย เพราะในหนังสือเตม็ ไปด้วยศัพทบ์ าลี
หากพบวา่ พุทธธรรม ยากไปส�ำ หรับคุณ ลองหาเล่มอนื่
ทีเ่ ขยี นวชิ าการน้อยกวา่ นี้ อา่ นไปก่อนครับ พอพ้ืนฐานเร่ิม
แนน่ แล้วกลับมาอ่าน พุทธธรรม อีกครงั้ จะอ่านง่ายกว่า
เดมิ แลว้ จะพบว่า พุทธธรรม ใหอ้ ะไรหลายๆ อยา่ ง
ทีเดียวครบั ” (Rising Sun)

“อ่านเทย่ี วแรก ผมสรุปว่า
พุทธธรรม ฉบับใหญ่ เป็นหนังสือ
ธรรมะทที่ ำ�ให้ผมเข้าใจพุทธศาสนา
แจม่ ชดั มากทสี่ ุด เทา่ ที่เคยอ่านมา”
(นิรนาม)

ความคดิ เหน็ ตอ่ พทุ ธธรรม ในเว็บไซต์ต่างๆ

ตามรอยพุทธธรรม 111

112 ตามรอยพุทธธรรม

พระพุทธองค์
ยังทรง
พระชนม์อยู่

ตามรอยพุทธธรรม 113

พระทา่ นวา่

114 ตามรอยพุทธธรรม

เพ่อื นจวบจนวันตาย*

ส�ำ หรับ พทุ ธธรรม จนกระทั่งทุกวันนกี้ ็อา่ นแลว้ อา่ นอกี
หนังสอื เล่มนี้ไมใ่ ชห่ นังสอื ท่ีอา่ นครงั้ เดยี วจบ เพราะว่ารับ
ไมไ่ หว ต้องคอ่ ยๆ ย่อย คอ่ ยๆ พิจารณา คิดว่าชีวิตนี้
คงจะมีหนงั สอื เลม่ นีเ้ ป็นเพอ่ื นตลอดจนกระท่งั วันตาย

พุทธธรรม อธบิ ายคำ�สอนของพระพุทธเจ้าอยา่ งละเอียด
ถี่ถ้วนและชัดเจนทุกเรื่อง ใครมีความสงสัยในเรื่องใด
ก็ตาม อยู่หา่ งจากครบู าอาจารย์ ไม่รจู้ ะถามใคร มาดูใน
ดัชนีใน พุทธธรรม กต็ ้องพบ ต้องมกี ารอธิบายเร่อื ง
นนั้ อย่างเปน็ ท่พี อใจอยเู่ สมอ ไมว่ ่าจะเป็นเรื่องปญั จขนั ธ์
ไตรลกั ษณ์ เรื่องกเิ ลสอาสวะ เร่ืองคณุ ธรรมตา่ งๆ เรือ่ ง
ศลี สมาธิ ปญั ญา สมบูรณบ์ รบิ ูรณ์ทเี ดยี ว

ชยสาโร ภกิ ขุ

* ตีพิมพใ์ น นติ ยสาร ฅ คน. ฉบบั เดอื นธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๕๑.

ตามรอยพุทธธรรม 115

หแทลร่ีนอะงั เบสปดอื น็ ้าธรนระรบมลบุ่มมลาึกกทสี่ ดุ *

หนังสือเล่มนี้นำ�เสนอคำ�สอนทางพุทธศาสนาได้อย่างรอบด้าน
ลุ่มลึก และเป็นระบบมากที่สุดเท่าที่เคยมีในภาษาไทย (และ
คงจะไม่มีเล่มใดมาเทียบเคียงได้ไปอีกนาน) ครอบคลุมทั้งหลัก
ความจรงิ ตามธรรมชาติ ทเี่ รยี กวา่ “สัจธรรม” และขอ้ ปฏบิ ัติ
เพ่อื ชีวิต ทเ่ี รียกวา่ “จริยธรรม” จงึ ไมเ่ พยี งชว่ ยใหเ้ ข้าใจแนวคิด
ทางพุทธศาสนาอยา่ งละเอียดลออเทา่ นนั้ หากยงั สามารถนำ�มา
ใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินชีวิตเพื่อความเจริญงอกงามทั้งใน
สว่ นตนและสว่ นรวมไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กลา่ วไดว้ ่าส่งิ ทเี่ ป็นประเด็น
สำ�คัญของชีวิตของคนยุคนี้ แทบไม่มีประเด็นใดเลย ที่ไม่ถูก
กลา่ วถงึ ในหนงั สอื เลม่ นอ้ี ยา่ งพนิ จิ พเิ คราะห์ โดยเฉพาะทเ่ี กย่ี วกบั
ความสุขและความทกุ ข์ ใครทไ่ี ดอ้ ่านหนังสอื เล่มนี้แล้ว ไม่เพยี ง
จะรจู้ ักพทุ ธศาสนาดีขน้ึ กวา่ เดมิ เทา่ นั้น แต่ยงั จะเข้าใจชีวติ จิตใจ
ของตนเองเพม่ิ ขน้ึ และอาจเหน็ ถงึ ความส�ำ คญั ของการพฒั นาตน
เพื่อเป็นอิสระจากความทกุ ข์

จดุ เด่นประการหนึ่งของ พุทธธรรม กค็ อื การใชภ้ าษารว่ มสมัย
ทคี่ นไกลวัดเขา้ ใจได้ แมส้ าระของหนังสอื เลม่ น้ีจะ “หนัก” (เช่น
เดียวกับน้ำ�หนักของหนังสือ) แต่คนที่ไม่มีพื้นทางพุทธศาสนา

116 ตามรอยพุทธธรรม

มากอ่ นเลย ก็สามารถอา่ นหนังสือเล่มนอ้ี ย่างเข้าใจได้ตลอดทั้ง
เลม่ (หากเร่มิ อ่านตั้งแตบ่ ทแรก) อันที่จรงิ ถ้าไดเ้ หน็ แค่สารบญั
ก็จะรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าอ่าน เพราะดำ�เนินเรื่องด้วยการตั้ง
คำ�ถามส�ำ คญั เกย่ี วกับชวี ิต ๕ ประการคอื ชีวิตคอื อะไร? ชีวิต
เป็นอย่างไร? ชีวติ เป็นไปอย่างไร? ชีวติ ควรให้เป็นไปอย่างไร?
และชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร? ใครที่จริงจังกับชีวิต แม้ไม่ได้
นับถือพุทธศาสนาก็ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่สำ�หรับคนที่ไม่
คิดว่าจะมีเวลาและความอดทนสำ�หรับหนังสือหนากว่า ๑,๐๐๐
หน้า กส็ ามารถอ่านเฉพาะตอนท่ีสนใจได้ เชน่ เร่ืองความสุข
ตณั หาและฉนั ทะ อทิ ธปิ าฏิหาริย์และเทวดา

หนังสืออย่างนี้น้อยครั้งนักที่จะเกิดขึ้นในภาษาไทย เป็นงานชั้น
เลิศทั้งในวงการพุทธศาสนาและวงวิชาการของไทย เปี่ยมด้วย
อรรถรส คือนอกจากเนอ้ื หาจะเข้มขน้ จรรโลงสตปิ ัญญาแลว้
ภาษาท่ใี ช้ก็กระชับและสละสลวย นับเปน็ แบบอย่างทดี่ ีของงาน
เขียนทางวิชาการ

พระไพศาล วสิ าโล

* ตพี ิมพ์ใน อ่านเถดิ ชาวไทย. แพรวสำ�นักพิมพ.์ พ.ศ. ๒๕๕๕.

ตามรอยพุทธธรรม 117

หพร้อลวยางรกมวชามลนดัยดิ อสกวไยมห้ รทู ่ี

หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย เป็นหนังสือที่ท้าทายกุศล
ธรรมฉันทะของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี เพราะมีความหนาถึงหนึ่ง
พนั สามรอ้ ยหกสบิ หน้า เม่อื ไดเ้ ปดิ อ่านกไ็ ดส้ มั ผัสถงึ ความเพียร
ความวิริยะอุตสาหะของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ผู้รวบรวมและ
เรียบเรียงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพุทธธรรมจากแหล่งที่มาต่างๆ
หลากหลาย เปรียบได้กับพวงมาลัยสวยหรูที่ร้อยรวมดอกไม้
หลากชนิดไว้ในที่เดียวกันอย่างกลมเกลียวและกลมกลืน การ
อ้างถึงคัมภีร์จากแหล่งต่างๆ นั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการ
ขวนขวาย แสวงหาความรู้เพม่ิ เติมโดยอาศยั พุทธธรรม เป็น
ประทีปนำ�ทาง นับเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับหลักกาลามสูตร
ของพระพุทธองค์ ท่ีไมท่ รงให้ด่วนเชือ่ ไปตามเพียงเพราะเหตใุ ด
เหตุหนึ่ง การเข้าไปสืบค้นถึงต้นเรื่องย่อมเป็นการสนับสนุน
เหตุปัจจยั ของสัมมาทฏิ ฐิ ได้แก่ ปรโตโฆสะ และโยนโิ สมนสิการ
อย่างแทจ้ รงิ

ทุกครงั้ ท่ีได้หยิบ พุทธธรรม ข้นึ มาอ่าน จึงมิใช่เพียงแคห่ ยิบ
หนงั สือขนึ้ มาอ่าน เพราะ พทุ ธธรรม มิใชเ่ พยี งแค่หนังสือเล่ม

118 ตามรอยพุทธธรรม

หนาและหนักเท่านั้น แต่เป็นการสังเคราะห์สังขารการทำ�งาน
เพือ่ พระพทุ ธศาสนาของนกั บวช ผูอ้ ุทิศร่างกายและจติ ใจให้กบั
พระพุทธศาสนาอย่างทุ่มกายถวายชีวิต ด้วยการแปรทุกข์เป็น
ธรรม ดว้ ยอาศยั รา่ งกายทต่ี อ้ งเผชญิ ทกุ ขเวทนาอยเู่ ปน็ เนอื งนติ ย์
สร้างผลงานทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่ โดยไม่นำ�พาต่อ
ขอ้ จ�ำ กัดทางกายขันธ์

พร้อมกันนี้ขอกราบถวายความเคารพ บูชา ศรัทธา นับถือ ต่อ
ท่านเจ้าคณุ ฯ ด้วยค�ำ ปวารณาวา่ ถา้ เป็นไปได้ด้วยการจดั สรร
องค์ประกอบทุกประการอย่างลงตัว ขอให้มีการอ่านประกอบ
การบันทึกเสียงหนังสือ พุทธธรรม ทุกตัวอักษร เผยแผ่ผ่าน
สื่อเสียงที่สามารถฟังได้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ กระผมขอ
ปวารณาตัวเป็นผู้อา่ นหนงั สอื พุทธธรรม ฉบับปรบั ขยาย ไมว่ ่า
จะเปน็ ตลอดทัง้ เลม่ หรือเพยี งส่วนใดส่วนหนึ่งก็ไดท้ ัง้ ส้ิน ท้ังนี้
ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณ
อาจารย์ เปน็ ประการสำ�คญั

สมณะจันทเสฏโฐ

ตามรอยพุทธธรรม 119

คขผอเวู้ ชงา้ือมพเงรชดะิญบงใารหมมม้ แศาหาชส่งมคดำ�าสอน

อาตมภาพไดอ้ า่ นหนังสือ พุทธธรรม เป็นครัง้ แรกเม่อื ปี ๒๕๔๗
ซึ่งกอ่ นหน้านั้นไดม้ ีขอ้ สงสยั กับตนเองมากมาย เชน่ เทวดามี
จริงไหม เร่ืองนรกสวรรคเ์ ป็นนทิ านหลอกเด็กหรือเปลา่ บาง
ครั้งก็เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าสอนผิด หรือสอนขัดแย้งกันเอง
เป็นเหตุให้ไม่เห็นคุณค่า ไม่ศรัทธา ไม่อยากศึกษาคำ�สอนนั้น
แต่พอไดอ้ ่านหนงั สือ พทุ ธธรรม แลว้ ข้อสงสัยเหล่านัน้ ไดห้ มด
ไป ทำ�ให้รู้ว่าที่แท้เราไม่เข้าใจหลักคำ�สอนของพระบรมศาสดา
อย่างแท้จริงต่างหาก จึงทำ�ให้อาตมภาพสนใจและอยากอ่าน
หนังสือ พุทธธรรม ตลอดทงั้ เล่มต่อไป

ตอนอา่ นใหม่ๆ มปี ัญหาเกยี่ วกบั การอ่านพระสตู รบางพระสตู ร
ที่ยกมาอา้ งในหนังสอื พทุ ธธรรม ไม่เข้าใจ แต่ใช้วิธีขา้ มไปอา่ น
คำ�อธิบายอืน่ ก่อน แล้วจึงกลบั มาอา่ นพระสตู รนน้ั ใหม่ บาง
ครั้งก็จะอา่ นโดยยังไมเ่ ปดิ คัมภรี ์ในเชิงอรรถ หรือบางทีอยากรู้
เรอ่ื งใด กไ็ ปดสู ารบัญ หรอื ดัชนีนัน้ เป็นการเฉพาะ แต่พออา่ น
หลายรอบเขา้ จึงค่อยไปเช่อื มโยงกบั คัมภรี อ์ ื่น กย็ ง่ิ ชัดเจนข้นึ
ไปอีก ยิ่งอ่านย่ิงซาบซง้ึ เห็นคุณคา่ และมน่ั ใจวา่ คำ�สอนของ
พระพุทธเจา้ สามารถแกป้ ัญหาของโลกและชีวติ ไดจ้ รงิ

120 ตามรอยพุทธธรรม

การอา่ นหนงั สือ พทุ ธธรรม นเ่ี องทำ�ใหอ้ า่ นพระไตรปฎิ กได้เขา้ ใจ
ง่ายข้นึ พุทธธรรม จึงเปน็ เหมอื นมคั คเุ ทศก์ หรือตวั ชว่ ยใหอ้ ่าน
พระไตรปฎิ กรวมถงึ คมั ภีร์อนื่ ๆ ไดเ้ ขา้ ใจงา่ ยขึน้ อาตมภาพจึงได้
ประโยชนจ์ าก พุทธธรรม อยา่ งมากมาย ทง้ั ตอ่ ตนเองและงาน
เผยแผ่ อย่างไรก็ตาม พทุ ธธรรม อาจเหมาะสมกับผมู้ ีพืน้ ฐาน
ทางศาสนามากอ่ นแล้ว หรือเหมาะกับนักวิชาการ แตน่ ั่นเป็นดุจ
เสียงร่�ำ รอ้ งให้แก่ผสู้ านงานต่อ ทจ่ี ะใหม้ หี นงั สือ พุทธธรรม ฉบบั
ชาวบ้าน ฉบับประยุกต์ ในโอกาสต่อไป ถา้ ถึงตอนน้นั ทกุ คนจะ
ไดร้ บั ประโยชนจ์ ากค�ำ สอนของพระบรมศาสดาอยา่ งแทจ้ ริง

พทุ ธธรรม จึงเปรียบเสมือนผ้เู ชอื้ เชญิ ใหม้ าชมความงดงามแห่ง
ค�ำ สอนของพระบรมศาสดา และเป็นผนู้ ำ�เข้าเฝ้าพระองคอ์ ยา่ ง
ที่ผู้นิพนธ์ได้มุ่งหมาย ขึ้นอยู่ว่าจะมีสักกี่คนที่ปรารถนาชมหรือ
เขา้ เฝ้า เม่อื ถงึ ตอนนั้น โลกและชีวิตคงงดงามเฉกเช่นคำ�สอน
ของพระบรมศาสดา นนั่ แล

พระมหาสุพล รตนปญฺโญ
วดั ม่วงสามสิบ อุบลราชธานี

ตามรอยพุทธธรรม 121

พทุ ธธรรม
ด่ังกัลยาณมติ ร

ผมไดม้ ีโอกาสศึกษาผลงานของทา่ นเจ้าคุณอาจารยค์ รง้ั แรกเมอื่ ๑๒ ปี
ที่แลว้ ซงึ่ เป็นช่วงเวลาที่ผมบวชเปน็ พระอยูท่ เ่ี ชยี งใหม่ ศึกษาพระพทุ ธ-
ศาสนาเถรวาทตามแนวหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ และชุดหนังสือ
เรยี นนกั ธรรมช้นั ตรี

ตอนนั้นมีพระฝรั่งรูปหนึ่งได้มอบหนังสือ พุทธธรรม ฉบับขยายความ
แก่ผม ทันทที ี่ผมไดเ้ ห็นหนงั สือเป็นคร้งั แรก ผมนึกในใจวา่ คงจะอา่ นไม่
ไหวเปน็ แน่แท้ นอกจากหนังสอื เล่มนจ้ี ะดหู นาเหลอื เกินแล้ว พอเปดิ ๆ
พลิกๆ ดู ก็เห็นว่าภาษาไทยดูจะยากเสียอีกด้วย เนื่องจากขณะนั้นผม
เพ่ิงเร่ิมเรยี นภาษาไทยอย่างเอาจรงิ เอาจัง แต่กย็ งั ไมถ่ งึ ๓ ปี ท�ำ ให้ผม
รสู้ ึกวา่ ความรคู้ วามเข้าใจเกยี่ วกับภาษาไทยยงั อ่อนแอมาก พอเรมิ่ อา่ น
พทุ ธธรรม แล้ว แม้จะเหน็ ว่าภาษาไทยยากจรงิ ๆ แตผ่ มก็ชอบมากทันที
ต้ังแต่เริม่ อ่านหน้าแรก เลม่ นีไ้ มเ่ พยี งแต่มีประโยชนม์ หาศาลสำ�หรบั การ
ศกึ ษาพระพทุ ธศาสนาในระดบั ลกึ เทา่ นน้ั หากยงั ชว่ ยท�ำ ใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจ
ในเรอ่ื งวธิ กี ารสรา้ งความสขุ ในชวี ติ ของตนไดอ้ กี ดว้ ย ทง้ั ยงั รสู้ กึ ประทบั ใจ
ในความเปน็ ระบบของหนงั สอื เลม่ น้ี และการใชภ้ าษาไทยอยา่ งสละสลวย
ของผู้เขียนด้วย ด้วยเหตุนี้ ผมจึงตั้งใจอ่าน พุทธธรรม เป็นอย่าง
มาก อยา่ งน้อยวนั ละ ๓ – ๔ ชว่ั โมง โดยชว่ งแรกๆ กวา่ จะจบแต่ละ
หน้าได้นั้น ต้องใช้เวลานานมากพอสมควร ในการค้นหาและศึกษา
ความหมายของคำ�ศัพท์และสำ�นวนไทยในพจนานุกรมต่างๆ นอกจากนี้
ยังต้องใช้เวลามากในการทำ�ความเข้าใจและย่อยชีวทัศน์และโลกทัศน์
ที่ผ้เู ขยี นบรรยายในหนงั สอื เล่มนี้

122 ตามรอยพุทธธรรม

สำ�หรับผม พุทธธรรม ท้าทายผู้อ่านมาก ในการที่จะชวนทบทวน

กระบวนการใหค้ ณุ คา่ และความหมายตอ่ สง่ิ ตา่ งๆ โดยผอู้ า่ นตอ้ งพจิ ารณา

ใหม่วา่ อะไรเป็นสงิ่ ที่ส�ำ คัญทส่ี ดุ ในชีวิตของตน อะไรเป็นความสขุ ที่แท้

จรงิ โลกของเรา/ของตนคอื อะไร ในขณะเดียวกันน้นั ผมกป็ ระทับใจ ดร.มารต์ นิ เซเกอร์
มากที่ พุทธธรรม ชี้ให้เห็นว่า พระธรรมไม่ได้เพียงมุ่งไปที่จิตใจของ ศาสตราจารย์อาวโุ ส
ภาควชิ าภาษาและ
บุคคลเทา่ นน้ั หากแต่ว่า “ท่าทีของพุทธธรรมตอ่ ชีวิตในทางสังคมยืนยัน วัฒนธรรมไทย
ว่า พุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่า เคยบรรพชาเปน็ ภกิ ษุ

ด้านนอก คือทางสังคมด้วย และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยง ในประเทศไทย ระหวา่ ง
พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๓
เนื่องถงึ กนั ไมแ่ ยกจากกนั และสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอนั เดยี วกัน” ๑ ต่อมาไดร้ ับปริญญาโท

และเอกในสาขาวชิ าไทย
อกี อยา่ งหนึ่ง การศึกษา พทุ ธธรรม พร้อมกับการใช้หนังสือ พจนานกุ รม ศึกษาจากมหาวิทยาลัย
ฮัมบูรก์ งานวิจัยสว่ นใหญ่
พุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และ พจนานกุ รมพทุ ธศาสตร์ ฉบับ ของเขาม่งุ เน้นไปทชี่ ีวติ

ประมวลศัพท์ ท�ำ ให้ผมท่งึ มาก เพราะว่าหนังสือทัง้ ๓ เล่มนีข้ องท่าน และผลงานของพระ
นกั ปราชญ์ของไทย
เจ้าคณุ อาจารย์ พระพรหมคณุ าภรณ์ ทำ�ให้ผมเหน็ ลักษณะมหัศจรรย์ อาทิเช่น พทุ ธทาสภิกขุ
ในคำ�สอนของพระพุทธศาสนาลักษณะหนึ่ง ที่ไม่เคยได้สังเกตมาก่อน พระพรหมคุณาภรณ์

หน้านีเ้ ลย ลักษณะมหศั จรรยท์ ีว่ า่ คอื ความเปน็ ระบบของพระธรรมของ อกี ทัง้ ยังท�ำ วจิ ัยเกยี่ วกับ
พระสงฆ์นกั พฒั นาใน
พระพทุ ธเจา้ หรอื ตามทที่ ่านเจ้าคุณอาจารยเ์ องเคยอธบิ ายไว้ว่า “ถา้ เรา ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื
จับจุดถูกแล้วมันอยู่ในระบบความสัมพันธ์ จึงโยงถึงกันหมดทุกอย่าง และภิกษณุ ใี นสังคมไทย

จบั ท่นี ่ีกถ็ งึ ทีอ่ ืน่ ทงั้ หมดดว้ ย ดังน้นั ถ้าจบั หลกั การนีไ้ ด้ ไมว่ ่าใครจะพดู เปน็ ต้น

ตามรอยพุทธธรรม 123

ธรรมข้อไหนมา ก็จับโยงได้หมดว่า ธรรมนี้อยู่ที่จุดนั้น อยู่ในระดับนี้
สัมพันธ์ส่งผลต่อไปยังข้อโน้น มองเห็นธรรมนั้นในภาพรวมของระบบ
ใหญ่ ความหมายในการปฏบิ ตั กิ ็ชัดเจนโลง่ ไป” ๒

อยา่ งไรก็ตาม การอา่ น พุทธธรรม ในรอบแรกน้นั ผมใช้เวลาทัง้ หมด
ประมาณ ๘ เดือน ทำ�ใหว้ ิธกี ารมองโลกและมองตวั เองในโลกของผม
เปลยี่ นไปค่อนขา้ งมาก ฉะนน้ั พทุ ธธรรม จึงกลายเปน็ กลั ยาณมิตรของ
ผมไป เป็นเพื่อนที่เตือนผมตลอดเวลาไม่ให้ขาดการทบทวนสิ่งสำ�คัญใน
ชีวิต เป็นเพื่อนที่ผมปรึกษาได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาความ
เขา้ ใจคำ�สอนของพระพุทธองค์ หรอื ปญั หาชวี ติ เปน็ เพอ่ื นที่วางใจได้

การอา่ น พทุ ธธรรม ไม่เพียงแต่สร้างความสขุ ให้แกผ่ มเทา่ นัน้ หากยงั
เปน็ แหล่งแรงจูงใจให้กับผม ตลอดระยะเวลา ๑๐ กวา่ ปีที่ผมไดศ้ ึกษา
พุทธธรรม ทั้งในการศึกษาพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติตามหลัก
คำ�สอน ผมเขา้ ใจวา่ ท่านเจ้าคุณอาจารยป์ ระสงค์ให้คนนำ� พุทธธรรม
มาใชเ้ ปน็ ปรโตโฆสะ (เสยี งจากผอู้ น่ื การกระตนุ้ หรอื ชกั จงู จากภายนอก)
หรอื เป็นกัลยาณมติ ร โดยใชโ้ ยนิโสมนสกิ ารของตน เพอื่ พฒั นาตัวเอง
และสังคมให้สร้างความสขุ ยิง่ ข้ึนไป ทง้ั นี้ ณ ตอนนี้ ผมกย็ งั ใช้หนังสือ
พุทธธรรม ในการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มหาวิทยาลัยลีดส์
ประเทศองั กฤษ เพราะฉะน้นั ผมถือว่าตัวเองโชคดีมากๆ จรงิ ๆ ทเี่ จอ
หนงั สอื เลม่ นี้

ดร.มารต์ ิน เซเกอร์
มหาวทิ ยาลัยลดี ส,์ สหราชอาณาจักร

๑ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโฺ ต). พทุ ธธรรม ฉบบั ปรับปรุงขยายความ. กรงุ เทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๓๘. หนา้ ๘๐๗-๘๐๘.
๒ พระธรรมปฎิ ก (ป. อ. ปยตุ ฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (Dictionary of Buddhism),
พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๘, กรุงเทพฯ: มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๘. หนา้ ๘๐.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยตุ ฺโต). จาริกบุญ – จารึกธรรม, กรุงเทพฯ: สหธรรมกิ , ๒๕๔๐. หน้า ๓๐๙.

124 ตามรอยพุทธธรรม



๑๐ คำ� ถามวเิ ศษ

๑ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ คาดหวังให้หนังสือ พุทธธรรม
ฉบบั ปรับขยาย ยงั ประโยชนต์ อ่ สาธารณชนไดอ้ ยา่ งไรมากทสี่ ดุ ?
๒ พุทธธรรม ท่ีเผยแผ่มาแล้วหลายขนาดหลายวาระ การอ่าน พุทธธรรม
ฉบับเล่มเล็ก หรือฉบับแรกๆ จะพลาดหลักธรรมข้อใดไปบ้างหรือไม่?
และสมควรขวนขวายหา พทุ ธธรรม ฉบบั ปรับขยาย ทีไ่ ดร้ ับการเพิม่ เติม
เน้ือหาลา่ สดุ นี้ มาศกึ ษาหรือไม่?
๓ ประชาชนท่ัวไปที่ไม่สามารถอ่านหนังสือ พุทธธรรม ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
จะเลือกใชป้ ระโยชน์จากหนงั สอื ธรรมเลม่ น้ใี นชีวิตประจ�ำวันอยา่ งไร?
๔ หากมคี นจำ� นวนมากทยี่ งั ไมม่ โี อกาสอา่ น พทุ ธธรรม เนอ่ื งเพราะกรง่ิ เกรง
กบั ความหนาของหนังสอื ทา่ นเจา้ คุณอาจารยม์ คี �ำแนะนำ� ให้คนเหล่านน้ั
อย่างไร?
๕ การศกึ ษา พทุ ธธรรม ผอู้ า่ นควรปฏบิ ตั ติ นอยา่ งไร เพอ่ื ใหไ้ ดค้ รบทง้ั ปรยิ ตั ิ
ปฏบิ ตั ิ ปฏิเวธ?
๖ มีหนังสือเล่มใดท่ีเป็นแรงบันดาลใจ หรือแรงดลใจในการพัฒนาหนังสือ
พทุ ธธรรม บ้าง?
๗ ในภายภาคหนา้ หนังสือ พุทธธรรม ควรได้รับการปรบั รปู แบบใหส้ มยคุ
สมสมยั จะดหี รอื ไม?่
๘ ปจั จบุ นั การน�ำเสนอหนงั สอื มหี ลากหลายรปู แบบ อาทิ อิเล็กทรอนิกสบ์ ุ้ค
(E-book) หนังสือเสยี ง หนงั สอื การ์ตนู ฯลฯ ในฐานะผู้นิพนธ์ ท่านเจ้า
คณุ อาจารยม์ คี วามประสงค์ ใหน้ ำ� พทุ ธธรรม ไปพฒั นาในรปู แบบใด?
๙ และมขี อ้ จำ� กดั หรือไม่ประสงค์ให้น�ำไปพัฒนาในรปู แบบใด?
๑๐ มีส่วนใดในหนังสือธรรมเล่มนี้ ท่ีท่านเจ้าคุณอาจารย์ต้ังใจว่า ควรน�ำไป
ขยายผล หากมคี ณะใดคณะหนึง่ ขอรับอาสางานธรรมน้ี?

126 ตามรอยพุทธธรรม

บทสมั ภาษณว์ ิเศษ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

“เล่าเร่อื งทเ่ี ปน็ มาใหฟ้ งั
โดยไม่ต้องเจาะจงว่าจะตอบ
คำ�ถามขอ้ ไหน เมอื่ ผู้ถามรู้
เข้าใจเรอื่ งตามท่เี ลา่ ใหฟ้ ัง
แลว้ ก็ตอบค�ำ ถามทัง้ หมด
หรือแทบทั้งหมดได้เอง ตลอด
จนมองเห็นเองว่า บางคำ�ถาม
ไม่อยใู่ นขอบเขต ซง่ึ อาตมา
นกึ คิดท่จี ะตอบ”

ตามรอยพุทธธรรม 127

บทสมั ภาษณว์ เิ ศษ

เลา่ ไปๆ ถ้าอ่านไหว
คงตอบคำ�ถามได้เอง

พระพทุ ฺธิวโร ได้รบั ค�ำ ถาม ๑๐ ขอ้ เกยี่ วกบั หนังสือ พทุ ธธรรม ฉบบั ปรบั ขยาย
น�ำ มาใหด้ ู พออ่านแล้วกเ็ หน็ วา่ ในสภาพชีวติ ขณะน้ี ตอบไม่ไหว ทางท่ีจะท�ำ ได้
คอื ตอบเพยี ง ๒-๓ ขอ้ ท่ีง่ายหนอ่ ย
ทจ่ี ริง ถึงแมต้ อบเพยี ง ๑ - ๒ ขอ้ แตอ่ าจพดู กว้างออกไปให้คลมุ ที่ถามทงั้ หมด
กพ็ อเป็นไปได้ แต่วธิ ีหน่ึงทง่ี า่ ยคือ เลา่ เรอ่ื งทีเ่ ปน็ มาใหฟ้ งั โดยไมต่ ้องเจาะจงวา่
จะตอบค�ำ ถามขอ้ ไหน เมอ่ื ผถู้ ามรู้เข้าใจเรอื่ งตามทีเ่ ลา่ ใหฟ้ ังแล้ว ก็ตอบค�ำ ถาม
ทง้ั หมด หรอื แทบทงั้ หมดไดเ้ อง ตลอดจนมองเห็นเองวา่ บางค�ำ ถามไมอ่ ยูใ่ น
ขอบเขต ซงึ่ อาตมานกึ คิดที่จะตอบ

งานนี้ คือตรวจจัดข้อมลู
แคจ่ ะพิมพห์ นังสือเก่าขน้ึ มาใหม่
ขอท�ำ ความเข้าใจก่อนว่า การท�ำ หนงั สือ พทุ ธธรรม ฉบับปรับขยาย ที่เพิง่ พมิ พ์
เสร็จใหม่ไมน่ านน้นี ั้น ได้บอกไวช้ ัดเจนแลว้ ใน “นทิ านพจน”์ (ถ้อยแถลงความ
เปน็ มา) ของหนังสอื พทุ ธธรรม นนั้ ว่าเปน็ งาน “ตรวจจัด” คือ ตรวจและจัด
ข้อมูลท่มี อี ยูแ่ ลว้ เพ่ือให้พร้อมที่จะพมิ พ์เป็นเล่มหนงั สือ
พูดงา่ ยๆ วา่ การท�ำ หนังสอื พุทธธรรม ครงั้ น้ี เปน็ งานเพอื่ วัตถุประสงคใ์ นการ
ตีพิมพเ์ ลม่ หนงั สอื ไมใ่ ชเ่ ป็นงานเขียนหรอื เรียบเรยี งหนงั สือ เพราะหนงั สอื มอี ยู่
ก่อนแล้ว แต่มีขอ้ ตดิ ขัดในการท่จี ะตพี มิ พใ์ หม่ เท่าน้นั เอง
แม้แตช่ อ่ื หนงั สอื ทมี่ สี ร้อยว่า …ฉบบั ปรบั ขยาย กไ็ มใ่ ชค่ ำ�เพ่มิ ขึ้นใหม่ แตเ่ ป็นคำ�
ท่มี อี ยกู่ ่อนแลว้ คอื หนงั สือนมี้ ีชอื่ มา ๓๐ ปีแล้วว่า พทุ ธธรรม ฉบับปรับปรุง
และขยายความ แตม่ าถงึ คราวน้ี ไดเ้ หน็ แลว้ วา่ ชอ่ื เกา่ นน้ั ยาวเกนิ ไป เรยี กยาก
จำ�ยาก จึงตัดให้สั้นลง จาก …ฉบับปรับปรุงและขยายความ เหลือเพียงว่า
…ฉบบั ปรบั ขยาย เร่ืองชอ่ื นจี้ งึ มิใช่แปลกใหม่ (ใหม่แคเ่ ปลี่ยนใหส้ ้นั )
เรอ่ื งทว่ี า่ งานนเ้ี ปน็ เพยี งการจดั เตรยี มขอ้ มลู เพอ่ื การตพี มิ พน์ น้ั ขอเลา่ ทวนความ
สน้ั ๆ วา่ พุทธธรรม ฉบบั เดิม ปี ๒๕๑๔ น้ัน หนาเพยี ง ๒๐๐ หน้าเศษ
ตอ่ มา อีก ๑๐ ปี เมือ่ เขียนเพ่ิมเตมิ ขยายความ พมิ พอ์ อกมาเป็น พุทธธรรม

128 ตามรอยพุทธธรรม

บทสัมภาษณว์ ิเศษ
ฉบับปรบั ปรุงและขยายความ หนา ๑ พนั หนา้ เศษ ในปี ๒๕๒๕ คือเมือ่
๓๐ ปกี ่อนโนน้ แลว้ ต่อจากน้นั กต็ ิดตันอยกู่ ับปญั หาการพมิ พ์
ทีว่ า่ นห้ี มายความวา่ ความคิดทีจ่ ะเพม่ิ เติมนนั้ มอี ย่ตู ลอดมาตงั้ แต่หนงั สอื เสร็จ
ออกมาจากโรงพมิ พ์ แตท่ ำ�อะไรไมไ่ ด้ เพราะในสมยั น้ัน หนงั สอื ทีเ่ คยพิมพแ์ ลว้
ถ้าจะพมิ พค์ รัง้ ใหม่ กต็ ้องเรยี งพิมพ์ข้อมลู ใหม่ และตรวจหรอื พสิ ูจน์ตวั หนงั สอื
ใหมท่ งั้ เลม่ ถา้ เป็นหนงั สอื เล็กๆ กพ็ อไหว แตพ่ อ พทุ ธธรรม หนาเป็นพนั หน้า ก็
ไมไ่ หว วิธที ท่ี ำ�ได้กค็ ือถา่ ยภาพเรียงทุกหน้าจากหนังสือเก่าเอามาพมิ พ์ซ�ำ้ นีค่ ือ
การพิมพ์หนังสือ พุทธธรรม ฉบบั ปรับปรุงและขยายความ ในเวลา ๓๐ ปีที่
ผ่านมา เปน็ อันวา่ การที่จะเขียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพม่ิ เติมอะไร ก็ท�ำ ไม่ได้
ระหว่างนั้น ในช่วงท้ายปี ๒๕๒๙ ต่อปี ๒๕๓๐ ระบบการพิมพ์ด้วย
คอมพวิ เตอรไ์ ด้เรม่ิ ข้ึน ซ่งึ เป็นความกา้ วหน้าครั้งใหญ่ ทำ�ใหส้ ามารถเกบ็ ข้อมลู
หนังสือไว้ได้ ไม่ต้องทำ�ใหม่แล้วๆ อีกๆ และข้อมูลนั้นสามารถแก้ไขเพิ่มเติม
ตลอดจนจดั รปู แบบไดต้ ามปรารถนา
สำ�หรับ พุทธธรรม ซึ่งเป็นหนังสือขนาดใหญ่ การที่จะมีข้อมูลคอมพิวเตอร์
อย่างทว่ี ่าน้นั มขี ั้นของงานหนักท่ีจะต้องผา่ น ๒ ข้ัน คอื
๑. ขั้นพิมพข์ อ้ มูลทมี่ ากมายลงในคอมพวิ เตอร์ และ
๒. ข้ันตรวจจัดข้อมูลท่ลี งไปอยูใ่ นคอมพิวเตอร์แล้วนนั้
เสร็จ ๒ ขั้นนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าสามารถตีพิมพ์หนังสือเก่าขึ้นมาใหม่ได้ ต่อ
จากนั้น พร้อมหรือสะดวกเมื่อไร ก็จะแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลนั้นได้
ตามปรารถนา ถอื เปน็ งานอกี ขัน้ หน่ึงในระยะยาว
สำ�หรับ พุทธธรรม เรื่องที่รอกันมา ๓๐ ปี ก็คือทำ�อย่างไรจะตีพิมพ์หนังสือ
เล่มเก่านั่นแหละขึ้นมาในครั้งใหม่ให้เรียบร้อยชัดเจน โดยไม่ต้องถ่ายแบบจาก
หนงั สือเกา่ ทเี่ ลือนรางลงไปเรอื่ ยๆ
ท่จี ริง งาน ๒ ขั้นตอนท่ีจะพิมพห์ นังสือเก่าขึน้ มาใหมน่ ้ี เมอื่ เข้ายคุ คอมพิวเตอร์
แล้ว ถ้าอาตมาพรอ้ ม ก็ทำ�เองไดต้ ลอดทัง้ หมด แตอ่ าตมาเองนแ้ี คพ่ ิมพด์ ดี ก็
ไม่เป็น และที่ไม่มีช่องเลย คืองานหนังสือเล่มเล็กเล่มน้อยทยอยเข้ามาชนิดทำ�
ไม่ทนั เวลากผ็ า่ นไปอยา่ งรวดเร็ว ท�ำ ไดแ้ ค่รอวา่ จะมขี อ้ มลู ท่มี ีผพู้ มิ พ์เอามาให้
แล้วหาเวลาจัดตรวจต่อไป

ตามรอยพุทธธรรม 129

เม่อื ก่อนเกินกว่า ๑๕ ปีแลว้ ผ้มู นี �้ำ ใจบางท่านไดท้ �ำ งานขั้นท่ี ๑ คอื พมิ พ์
ขอ้ มลู หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรบั ปรุงและขยายความ จากเลม่ ที่ตีพิมพ์แบบ
เก่า ลงในคอมพิวเตอร์ระบบ Apple Macintosh จนจบ หลังจากตรวจตัว
หนังสือ (พสิ ูจน์อักษร) กันอีกนาน กส็ ่งขอ้ มลู น้ันมาให้ แล้วผหู้ วังดีทา่ นโนน้
ท่านนีก้ ร็ ่วมมือกนั จดั การแปลงตลอดจนช�ำ ระขอ้ มลู แบบ MAC ที่ไดม้ านนั้ เปน็
ขอ้ มูลดบิ แบบ PC สามัญจนเสร็จ
นคี่ อื ถงึ ขัน้ ๒ ทอ่ี าตมาจะต้อง “ตรวจจัด” คอื ตรวจความถกู ต้องของข้อมูล
นนั้ และจดั ให้เปน็ รูปรา่ งเรยี บร้อยทจ่ี ะใชต้ ีพิมพเ์ ป็นเล่มหนังสอื ต่อไป แตอ่ ย่าง
ทวี่ า่ แลว้ งานพิมพ์และจดั ตวั หนังสือนัน้ อาตมาเปน็ แคผ่ ูเ้ ร่ิมหดั ในขณะทต่ี ้อง
เร่งทำ�งานหนังสือเล่มย่อยมากมายที่ทยอยมาไม่ขาดสาย ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ของหนงั สอื พทุ ธธรรม ฉบับปรบั ปรุงและขยายความ จงึ นอนรอค้างอย่เู ฉยๆ
หลายปี ท�ำ อะไรไม่ได้ และไมไ่ ดท้ �ำ อะไร
ส�ำ หรบั อาตมา ในแงห่ นง่ึ งานท�ำ หนงั สอื พทุ ธธรรม ทพ่ี มิ พเ์ สรจ็ ไปแลว้ เปน็ เรอ่ื ง
อดตี ทจี่ บไปแล้ว เมื่อยงั ไมส่ ามารถจดั การกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีม่ ารอนนั้ การ
พิมพใ์ หมก่ ท็ ำ�ได้ด้วยการถ่ายภาพจากหนังสือเลม่ เกา่ ซึ่งในเวลา ๓๐ ปนี ัน้ ก็
ใชว้ ิธีนกี้ ันมาเกือบ ๓๐ คร้งั แลว้ สว่ นเรอ่ื งทคี่ ดิ ไวเ้ มื่อ ๒๐ กว่าปีกอ่ นวา่
จะเพ่ิมเตมิ ก็ไปเขียนแทรกไวใ้ นหนงั สืออืน่ ตามโอกาสบา้ ง ปล่อยไปเลยตามเลย
บ้าง ไม่ได้เอาใจใสอ่ ะไรมากแลว้ กับการที่จะตรวจจดั ข้อมลู เกา่ และทจี่ ะเขียน
เพ่มิ เตมิ อะไรใหม่ (จะพดู ว่า ไม่ได้หวังอะไรในเร่ืองนี้แลว้ ก็ได)้
ได้ขอ้ มลู มา กวา่ จะตรวจจัดเสรจ็ สง่ โรงพมิ พ์ได้ก็เกอื บไม่รอด
อยู่มา ถงึ ปี ๒๕๔๘ มีเรอื่ งคบื หนา้ คือ คุณสรุ เดช พรทวีทัศน์ ได้ตัง้ คณะ
ทำ�งานหนึ่งขึ้นมาเพื่อจัดตั้ง Website ที่จะเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจใน
พระพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะวา่ จะรวมหนงั สอื และเสยี งของอาตมาไวแ้ ละเผยแพร่
ทเ่ี ว็บไซต์นัน้
คุณสรุ เดชบอกท�ำ นองว่า หนงั สือที่จะเผยแพรอ่ อกไปนั้น จะตอ้ งมี พุทธธรรม
เป็นหลัก หรือเปน็ เลม่ นำ� จึงจำ�เป็นตอ้ งมีขอ้ มลู หนังสอื พุทธธรรม นั้น ท่เี ปน็
ฉบบั คอมพวิ เตอร์ครบจบเรียบร้อย แตเ่ มื่อยังไม่มี จะทำ�อย่างไร

130 ตามรอยพุทธธรรม

ไดย้ ินขา่ วเปน็ ระยะๆ ซ่งึ แสดงว่า คณุ สรุ เดช พรทวที ัศน์ เอาจรงิ เอาจงั กับ
เรอื่ งนี้ ถึงกบั ไปพูดจากบั นกั พมิ พค์ อมพวิ เตอร์ของส�ำ นักพิมพ์มชี ่อื เสียง ทที่ �ำ
หนังสือธรรมเลม่ ใหญ่ๆ มาจนช�ำ นาญ เมอ่ื ตกลงขน้ั ต้นกันแลว้ บางทกี พ็ ามาพบ
เพ่อื ทำ�ความเข้าใจงาน ปรากฏวา่ เม่ือผูช้ ำ�นาญงานนั้นๆ มองเห็นความซับซอ้ น
และลักษณะเฉพาะของงานนี้ โดยเฉพาะงานทำ�ดัชนีความคิดแล้ว ก็บอก
เลิก ไมร่ ับงานน้ี ในทีส่ ุดเรอ่ื งก็เงยี บ เหมอื นวา่ คณุ สรุ เดชคงจ�ำ เป็นตอ้ งเลิกรา
กบั งานนี้
ทจ่ี รงิ คณุ สรุ เดชไมไ่ ดเ้ ลกิ แตห่ ลงั จากเรอ่ื งเงยี บงนั ไปชว่ งหนง่ึ โดยไมค่ าดหมาย
มาทราบอีกทีว่า งานไปเดินหน้าที่เมืองเชียงใหม่แล้ว คือ คุณหมอณรงค์
เลาหวิรภาพ เพื่อนของคุณสุรเดชที่เมืองเชียงใหม่นั้น มีฉันทะและวิริยะ
รบั ท�ำ งานน้ี โดยพมิ พข์ อ้ มลู หนงั สอื พทุ ธธรรม ทง้ั เลม่ นน้ั ใหม่ ลงในคอมพวิ เตอร์
แบบ PC โดยตรง
ขอเลา่ แทรกวา่ โดยไมร่ ู้กัน ตอนใกล้ พ.ศ. ๒๕๕๐ ส�ำ นักคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยมหิดล จะออกพระไตรปฎิ กคอมพิวเตอร์รุน่ ใหม่ เรยี กว่า BUDSIR
VI เมอ่ื ได้ทราบปญั หาความติดขัดของข้อมูลหนงั สือ พุทธธรรม ก็เลยช่วยพมิ พ์
ข้อมลู พทุ ธธรรม ลงไปรวมไว้ใน BUDSIR VI ดว้ ย และท�ำ เป็นเลม่ หนงั สือมา
ถวายไว้ ๑ เล่ม ขอ้ มลู ชุดน้ีกท็ �ำ ไว้ดที ีเดียว แต่เป็นงานทมี่ ุ่งทำ�สำ�หรับโปรแกรม
คน้ คว้าของคอมพวิ เตอร์
คณุ หมอณรงค์ ท่เี มืองเชียงใหม่ ทำ�งานเป็นอสิ ระชนดิ ทีล่ งทนุ ลงแรงมาก มใิ ช่
เพียงพิมพ์ข้อมูลหนังสือให้ครบเท่านั้น แต่ก้าวไปในงานตรวจจัดข้อมูลเท่าที่จะ
ท�ำ ได้ด้วย และทีพ่ ิเศษคือ ทำ�งานดัชนี ๑๘๒ หนา้ (ได้บบี ถ่แี คบลงเป็น ๑๔๐
หนา้ ) ที่รวมดชั นคี วามคิดใสล่ งไปได้ส�ำ เร็จด้วย
เมื่องานเตรียมข้อมูลเสร็จพร้อมแล้ว คุณหมอณรงค์ก็นัดกับคุณสุรเดชและ
คณุ นรศิ นำ�ข้อมูลพุทธธรรมเสรจ็ จบเลม่ มาถวายเมอ่ื วนั ท่ี ๑๒ พฤษภาคม
๒๕๕๓ ซ่ึงเป็นเวลาทถี่ ึงจดุ สุกงอมพอดี เพราะวา่ ด้านหน่งึ ขอ้ มูลหนังสอื
น้นั ก็ไดจ้ ัดท�ำ มาจ่อความเสร็จสน้ิ ถึงขนั้ ข้นึ เปน็ รูปเล่มหนังสือแล้ว เหมือนเร่ง
วา่ จะตอ้ งใหเ้ ลม่ หนงั สอื นน้ั เสรจ็ เปน็ จรงิ ออกมา จะมวั ชกั ชา้ อยไู่ มไ่ ด้ และอกี ดา้ น
หนง่ึ ตวั อาตมาเอง ปญั หาโรคาพาธ โดยเฉพาะโรคทางเดนิ หายใจ กไ็ ด้ทรุด
ลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงตอนนั้น ต้องหยุดงานพูดสอนอธิบายบรรยายธรรม

ตามรอยพุทธธรรม 131

ทั้งหมด แมแ้ ต่การพดู คยุ ธรรมะกับพระใหม่ และได้ออกจากวัดญาณเวศกวันไป
พกั จำ�พรรษาอยู่ในชนบทแลว้ งานหนังสอื เลม่ เล็กเลม่ น้อยก็พลอยลดลงไป นี่
คอื เกดิ โอกาสขึ้นแก่กิจจำ�เปน็ ท่มี าถงึ
หลงั จากท�ำ หนงั สอื เลม่ ยอ่ มๆ ทค่ี า้ งอยู่ ๒ - ๓ เลม่ เสรจ็ เวลาผา่ นมาครง่ึ ปเี ศษ
พอจะข้นึ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขณะไปพกั อาพาธอยทู่ ส่ี ถานพำ�นักสงฆส์ ายใจธรรม
เขาดงยาง ก็ถงึ วาระเรมิ่ งานตรวจจดั ขอ้ มูลหนงั สอื พทุ ธธรรม ฉบับปรับปรงุ
และขยายความ
งานตรวจจดั ขอ้ มูลนี้ พดู ได้วา่ ใชเ้ วลา ๑ ปพี อดี พอขึน้ พ.ศ. ๒๕๕๕ แล้ว
เกือบตลอดเดือนมกราคม ก็เป็นช่วงเวลาที่ต้นแบบหนังสือเข้าโรงพิมพ์ จน
เสรจ็ ออกมาเป็นหนังสอื เก่าทพ่ี มิ พ์ครัง้ ใหม่ ในรูปรา่ งที่เปล่ียนไปเลก็ นอ้ ย และ
มีชอ่ื ทีส่ ัน้ ลงว่า พุทธธรรม ฉบบั ปรับขยาย
ขอทวนความและย�ำ้ ใหม้ น่ั แมน่ อกี ทวี า่ งานท�ำ หนงั สอื พทุ ธธรรม ฉบบั ปรบั ขยาย
นี้ คือการตรวจจัดข้อมูลที่จะพิมพ์หนังสือเก่าขึ้นมาเป็นครั้งใหม่ ตัวงานแท้ๆ
คือแคน่ ้ี ซง่ึ นบั วา่ หนกั หนามากแลว้
ตลอดระยะเวลา ๑ ปีที่ทำ�งานน้ี ความมุ่งหวงั ของอาตมาจบั อยแู่ คค่ วามคดิ วา่
จะต้องให้การพิมพห์ นังสอื พุทธธรรม เลม่ เก่าขน้ึ มาใหม่จากข้อมูลคอมพิวเตอร์
เสร็จไปเสยี ที โดยเฉพาะทกี่ ระชั้นชดิ ตดิ ตวั กค็ ือ จะตอ้ งตรวจจัดข้อมลู เกา่ ของ
หนงั สอื พทุ ธธรรม ทค่ี ณุ หมอณรงคจ์ ดั เตรยี มมาถวายนน้ั ใหจ้ บ ใหพ้ มิ พเ์ ปน็ เลม่
ออกมาได้กอ่ น ความส�ำ เร็จเสรจ็ งานอยู่ตรงน้ี แค่น้ี ซ่งึ มิใชง่ ่าย เพราะตอ้ งแขง่
กับโรคที่ในช่วงเวลานั้น กโ็ ถมเข้ามาอยา่ งหนักโดยตลอด
จากนนั้ เม่ือมขี อ้ มูลตน้ ทุนพร้อมอยา่ งนีแ้ ลว้ หากมโี อกาสเม่ือใด (ถา้ ยังมชี วี ิต
อยู่) จะเพม่ิ จะเติมหรอื จะปรบั ปรงุ อย่างไร ก็เป็นเร่ืองขา้ งหน้าท่ีจะว่าหรอื ไมไ่ ด้
วา่ กนั ต่อไป
จะว่าไป ก็เหมือนได้จังหวะพอดี พอตรวจจัดข้อมูล พุทธธรรม เสร็จส่งเข้า
โรงพมิ พ์ การอาพาธทรดุ ลงไปอกี เขา้ นอนในโรงพยาบาลอกี แลว้ เปลย้ี รบิ หรล่ี งๆ
เป็นไปได้วา่ ถ้าตรวจจัดขอ้ มลู ช้าอกี นดิ เดยี ว กอ็ าจจะไม่ทนั เสร็จ และถึงบัดน้ี
การพมิ พ์ พทุ ธธรรม ก็จะยังเปน็ อนาคต

132 ตามรอยพุทธธรรม

รวมแล้ว ก็ตอ้ งอนุโมทนาคณุ สุรเดช และคณุ หมอณรงค์ ผา่ นคุณนรศิ ท่ไี ด้
ทำ�การอันเป็นการบีบบังคับด้วยกุศลเจตนาให้ต้องทำ�งานนี้จนเสร็จ (งานชิ้น
ใหญ่ช้นิ ย่อมก็เสร็จมาโดยท�ำ เพราะถกู บบี บงั คับด้วยกุศลเจตนาแทบท้งั น้นั รวม
ทั้งหนังสือ พุทธธรรม นี้ ตั้งแต่ฉบับเดิมเป็นต้นมา ต่างแต่ว่าครั้งนี้ มาเสร็จ
เมอื่ กาลใกล้มอด)
แล้วก็ต้องขออนุโมทนาทางมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ อันมี
คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช เป็นตัวจักรใหญ่ ที่มีน้ำ�ใจให้ความสำ�คัญมา
จัดการสื่อสารเพอื่ ขยายประโยชนอ์ อกไปในปีครบ ๒๖ ศตวรรษ แหง่ การบรรลุ
โพธญิ าณ และการประกาศพระธรรมจกั ร
มากข้ึน ๓๐๐ – ๔๐๐ หนา้
คือส่วนแทรก ส่วนแถม
ทีนี้ หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ทีพ่ มิ พเ์ สรจ็ ใหม่น้ี เมือ่ เทียบปรมิ าณ
เน้อื หนงั สือตามอัตราความจขุ อง พทุ ธธรรม ฉบบั ปรับปรุงและขยายความ เลม่
เดิม ปรากฏวา่ มปี ริมาณเน้ือหามากกว่าเกา่ ประมาณ ๓๐๐–๔๐๐ หนา้ จึง
ตอ้ งตอบค�ำ ถามว่า ถา้ ไมไ่ ด้เขยี นขยายเพิม่ เติมแลว้ เนื้อความทม่ี ากขนึ้ ไมน่ อ้ ย
น้ี คืออะไร มาจากไหน อยา่ งไร
ถ้าตอบส้นั ๆ ก็บอกว่า ข้อมลู เน้อื ความทม่ี ากขน้ึ เหลา่ นน้ั เปน็ เร่อื งแทรกและ
สว่ นแถมในระหว่าง หมายความว่า ระหว่างท่ีตรวจจัดข้อมลู ไปนัน้ พบเหน็ ตรง
ไหนควรทำ�ให้ชัดเจนมากขึ้น ควรแก้ไขถ้อยคำ�สำ�นวนให้เหมาะยิ่งขึ้น มีเรื่อง
ราวเสริมความที่ควรแทรกใส่ไว้เพื่อให้ได้สาระครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นต้น
ก็แทรก กแ็ ถมไว้ คือ ตรวจจัดไป ก็แทรกไปแถมไป จนจบขอ้ มูลทีไ่ ด้รับมา พอ
หมดข้อมลู ท่ีคณุ หมอณรงค์จัดท�ำ มาให้แลว้ กย็ ุติ เปน็ อันเสรจ็ ไมท่ �ำ ตอ่ ไปอกี
เรื่องแทรกและส่วนแถมนั้น หลายแห่งไม่ใช่แค่ข้อความสั้นๆ หรือเรื่องเล็กๆ
นอ้ ยๆ ท่เี ขยี นขนึ้ เฉพาะหน้า แต่มอี ยูใ่ นแหลง่ ขอ้ มลู เก่าท่เี คียงค่มู ากบั หนงั สอื
พทุ ธธรรม ในยคุ ทเ่ี ปน็ เลม่ นง่ิ ตายตวั นน่ั เอง หมายความวา่ เมอ่ื เขยี นปรบั ขยาย
เพม่ิ เตมิ ในเลม่ หนงั สอื นน้ั ไมไ่ ด้ กไ็ ปเขยี นขยายหรอื เพม่ิ แงไ่ วท้ อ่ี น่ื สดุ แตม่ โี อกาส
ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น เมื่อหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยาย-
ความ ออกมาไม่นาน คือในชว่ ง ๒๐ กว่าปีมาแล้ว กม็ ผี ศู้ รัทธาทขี่ อพิมพแ์ ยก

ตามรอยพุทธธรรม 133

เฉพาะบางบทบางตอนเป็นเลม่ ยอ่ ย ไม่พิมพ์ทง้ั เล่มใหญ่ จงึ ทำ�ให้ได้พิมพ์ข้อมลู
ใหมท่ ไ่ี ม่มากนัก ซึง่ พอทำ�ไหว
บททม่ี ผี ขู้ อพมิ พแ์ ยกเปน็ เลม่ ยอ่ ยในตา่ งโอกาสตา่ งวาระ มหี ลายบท เชน่ บทท่ี ๓
บทท่ี ๕ บทท่ี ๖ บทท่ี ๑๓ บทท่ี ๑๘ บทท่ี ๒๑ บทท่ี ๒๒ (ทแ่ี ยก
ออกมาพิมพ์เพียงบางสว่ น ไม่เตม็ บท กม็ ี เชน่ ทางสายกลาง สมั มาสติ)
เมื่อทำ�หนังสือที่แยกออกมาเป็นเล่มเล็กๆ อย่างนั้น ก็เลยเป็นโอกาสให้เขียน
แทรกเพิ่มขยายความได้ตามท่คี ดิ ไวแ้ ละรออยู่ แต่มใิ ช่จะเพิม่ ขยายไดท้ ุกเล่มทกุ
เรอ่ื ง บางบททข่ี อพมิ พเ์ รง่ ดว่ น หรอื ตรงกบั ระยะทม่ี งี านอน่ื ยงุ่ อยู่ กต็ อ้ งปลอ่ ยให้
พิมพแ์ ค่ตามเนื้อหาเดมิ ในเล่มใหญ่ บางบทมีโอกาสเพม่ิ ได้เฉพาะสว่ นหนา้ เพอ่ื
เปล่ยี นจากสภาพทเ่ี ปน็ บทหนง่ึ อนั ต่อจากบทกอ่ นในหนงั สือเล่มใหญอ่ นั เดียวกนั
กลายมาเป็นหนงั สือเล็กท่จี บครบในตวั เอง ซง่ึ ควรมคี วามนำ�เรือ่ งให้เปน็ อิสระ
บทที่แยกออกมาแล้ว ได้เขียนส่วนแทรกและเรื่องแถมเข้าไปมาก (เป็นหัวข้อ
ใหญๆ่ ทเี ดียว) มตี ัวอยา่ งคอื บทที่ ๕ เรอื่ งกรรม ซึ่งแยกออกมาพมิ พเ์ ปน็ เล่ม
ยอ่ ยเมอื่ ๒๔ ปีมาแลว้ (พ.ศ. ๒๕๓๑)
เมอ่ื ไดข้ อ้ มลู พทุ ธธรรม เลม่ เกา่ มาตรวจจดั เพอ่ื ตพี มิ พใ์ หมค่ ราวน้ี กท็ �ำ ใหไ้ ดโ้ อกาส
นำ�เอาข้อมูลจากหนังสือเล่มย่อยเฉพาะบทเหล่านี้ใส่รวมเข้าด้วย (หนังสือเก่า
เล่มยอ่ ยๆ เฉพาะบทเหลา่ นี้ ไมม่ ขี ้อมลู อยู่ในฉบบั ท่ีคณุ หมอณรงคจ์ ดั เตรยี มมา
จึงต้องหาจากทอ่ี น่ื บา้ ง พมิ พ์คดั ลอกใสเ่ ขา้ ไปบา้ ง)
ผอู้ า่ น พทุ ธธรรม ฉบบั ปรบั ขยาย ทพ่ี มิ พใ์ หมค่ ราวน้ี เมอ่ื เหน็ เนอ้ื ความบางตอน
ซง่ึ ไมม่ ใี นหนงั สอื พทุ ธธรรม ฉบบั ปรบั ปรงุ และขยายความ กอ็ าจจะเขา้ ใจผดิ วา่
เปน็ สว่ นทเ่ี ขียนเพ่ิมเตมิ ขึ้นใหม่ แต่ที่แท้นนั้ กเ็ ป็นขอ้ มูลเกา่ เมื่อ ๒๐ กว่าปี
กอ่ นโนน้ แต่เคียงคู่อยู่ข้างนอก เพง่ิ ได้โอกาสเขา้ มารวมกนั น่คี อื กเ็ ทา่ น้นั เอง

ทค่ี ดิ ไว้ ๒๐ กวา่ ปกี อ่ นโน้นวา่ จะเพิ่ม
แต่ยงั หรอก สว่ นใหญค่ งเดิม กต็ ้องค้างตอ่ ไป
อีกแหล่งใหญห่ นึง่ ซึ่งกวา้ งกวา่ ท่วี ่าเม่ือกี้ กเ็ ป็นเรื่องเก่าเมื่อ ๒๐ ปีมาแลว้
คอื อย่างทพ่ี ดู แลว้ เม่ือกว้ี า่ พอหนงั สือเขา้ โรงพิมพ์ ความคดิ ท่ีจะเพ่ิมตรงนัน้
ตรงน้กี ม็ ีทนั ที แต่การพิมพก์ ค็ ือปิดรายการ ท�ำ ใหเ้ พิ่มเตมิ อะไรไมไ่ ด้

134 ตามรอยพุทธธรรม

(น่ีหมายความวา่ พอเขียนอะไรเสร็จไป ประเดย๋ี วกม็ ีความคดิ จะเพม่ิ เร่ืองนน้ั
จะเตมิ แง่น้ี ตลอดเวลา เมอ่ื ต้นฉบบั ยังไม่ถกู การพมิ พป์ ิด กจ็ ะเพิ่มไปเรอ่ื ย)
เมอื่ พุทธธรรม เป็นเลม่ ออกมาใหม่ๆ ในระยะ ๒๐ กวา่ ปีมาแล้วน้ัน ได้พดู
บ่อยๆ วา่ อยากจะเขียนขยายและเพม่ิ อีก ๓ - ๔ บท แต่ก็ไมม่ ีโอกาสจะเขียน
(ถึงเขียนก็พิมพ์ใส่เข้าไปไม่ได้ จึงไม่มีจุดกำ�หนดหรือบังคับให้เขียน) พูดอยู่
สัก ๑๐ ปี เมอ่ื ไปวนุ่ กบั งานอ่ืน ตอนหลังๆ ก็เลยจางไป จนบดั น้ีไมแ่ นใ่ จวา่
นึกออกได้ครบหรือไม่ แต่ที่ระลึกแม่นอยู่ บทที่คิดเวลานั้นว่าจะเพิ่มขยายใน
พทุ ธธรรม คอื
๑. เรอื่ งโยนโิ สมนสกิ าร
๒. เรอ่ื งการศึกษา
๓. เร่ืองความสุข
โยนิโสมนสกิ ารเปน็ เร่อื งทีม่ ิใช่แคส่ �ำ คัญมาก แต่เป็นเร่อื งทีต่ ้องร้เู ขา้ ใจและใช้ให้
มากด้วย ในหนังสือพุทธธรรมเก่ามีอยู่แล้วเป็นบทที่ ๑๘ และได้แยกออก
มาพิมพ์เฉพาะบทเป็นเล่มย่อยต่างหากแล้วด้วย ตามความประสงค์ของ
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี อกี ทัง้ ในเล่มย่อยนั้น ก็ไดเ้ ขียนสว่ นน�ำ เร่ือง
เพมิ่ เข้าไปยาวพอสมควร
แตท่ อี่ ยากจะเขียนเพมิ่ เตมิ ขยายออกไปก็คือ ตวั วธิ ีคิด ๑๐ อย่าง ซ่งึ ที่เขียน
ไว้ ได้อธิบายเพียงแค่แสดงหลัก โดยใช้ตัวอย่างจากถ้อยคำ�และเนื้อความใน
คัมภรี ์ ส่งิ ท่คี ้างอยู่ อยากจะท�ำ คือ การอธบิ ายโดยใช้ข้อสาธกและตวั อยา่ งใน
ชีวติ ประจำ�วนั และสภาวการณ์ของยุคสมยั ท่ถี งึ กนั กับปจั จบุ ัน
ดังที่กล่าวแล้วว่า การทำ�หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ออกมานี้
มจี ดุ หมายในขอบเขตอนั ชดั เจนวา่ มงุ่ ทจ่ี ะพมิ พห์ นงั สอื เลม่ เกา่ ขน้ึ มาใหม่ใหส้ �ำ เรจ็
เทา่ น้ัน สว่ นทเ่ี พิ่มก็แค่แทรกแคแ่ ถมไปในระหว่างที่ตรวจจัดข้อมูล การเขยี น
อธบิ ายเรื่องโยนโิ สมนสกิ ารอย่างทีว่ า่ นน้ั เปน็ งานเต็มเรือ่ ง ไม่ใช่แค่แทรกหรอื
แถม จงึ เลยขอบเขตของงานตรวจจัดข้อมลู ครัง้ นี้ และจึงยังคงเปน็ งานทร่ี อค้าง
ต่อไป แตเ่ มอื่ เวลาผา่ นมาถึงขณะนี้ ก็คงเลกิ พดู ได้วา่ จะมีโอกาสเขยี นเพม่ิ ข้นึ อีก
อย่างไรก็ดี ไดม้ ีท่านอาจารยผ์ ูใ้ หญ่ท่ีเนน้ ความสำ�คัญของโยนโิ สมนสกิ าร ท่าน
ศาสตราจารย์สุมน อมรววิ ัฒน์ (ขออนญุ าตออกนาม ทา่ นคงไมว่ ่าอะไร) ได้

ตามรอยพุทธธรรม 135

เขยี นเรือ่ งนอี้ อกมาเปน็ หนังสือคงจะ ๒ เล่ม หรอื อยา่ งนอ้ ย ๒ เล่ม ทา่ นเร่ิม
เรื่องนม้ี านานแล้ว
อกี แหง่ หนง่ึ ทค่ี ณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ดร.อาภา จนั ทรสกลุ
กน็ ำ�ใหน้ ิสิตท�ำ งานวจิ ยั เร่ืองโยนิโสมนสกิ ารมาหลายรนุ่ จนกระท่ังท่านเกษยี ณ
อายรุ าชการ
เรือ่ งความสุข ทจ่ี รงิ ก็เป็นบทหนงึ่ ซ่งึ มอี ยูแ่ ลว้ ในพทุ ธธรรมเล่มเก่านั้นแหละ แต่
กอ็ ยากจะเขยี นเพิ่มอกี บทหนึ่ง
หนังสอื พทุ ธธรรม ใหค้ วามส�ำ คัญแกเ่ รอื่ งความสขุ เหมอื นยกขนึ้ มาเน้นหรือ
ทำ�ใหเ้ ดน่ ข้ึน ทเ่ี ป็นอยา่ งน้ี นึกยอ้ นหลังไป คงเปน็ เพราะได้เหน็ ว่า ในหมชู่ าว
พทุ ธมากทีเดยี ว พดู สอนกนั นกั ในเรื่องทกุ ข์ และทม่ี ากนัน้ ก็มักกลายเปน็ พรา่
แลว้ บางทกี ม็ องขา้ มเรอ่ื งความสขุ ดว้ ยทา่ ทที เ่ี หมอื นกบั จะใหเ้ หน็ วา่ สขุ เปน็ ของ
ไม่ดี ทั้งทีค่ วามสขุ เป็นเรอ่ื งใหญท่ พ่ี ระพทุ ธศาสนาใหท้ ีไ่ ว้มาก
ในหนงั สอื พทุ ธธรรม ยกเรอ่ื งความสขุ ขน้ึ มาพดู เปน็ บทใหญบ่ ทหนง่ึ อยา่ งนอ้ ย
กจ็ ะใหม้ อง ดู รู้ เข้าใจ ให้ครบท้งั ทกุ ข์ และสุข และทัง้ สขุ และทกุ ขน์ น้ั ก็มอง
ดู รูใ้ หค้ รบทุกแงด่ า้ น เฉพาะอย่างยิง่ ทา่ ที และการปฏิบัติท่ีถกู ต้องต่อทุกข์ ต่อ
สุขน้นั ใหต้ รงตามหลกั พทุ ธทวี่ า่ “ทกุ ฺขํ ปรญิ ฺเยฺย”ํ ทกุ ข์น้นั พงึ ปริญญา คือ
รเู้ ท่าทนั ทั่วรอบ อยา่ งทพ่ี ดู ใหง้ า่ ยวา่ “ทุกขส์ �ำ หรบั เห็น แต่สุขสำ�หรบั เป็น” คือ
ทุกขน์ ้นั ตอ้ งมองเห็นแง่มมุ จบั จดุ จับปมใหช้ ดั จะไดแ้ ก้ไขได้จรงิ และจบสิ้น สว่ น
สุขเป็นเรื่องที่จะต้องพัฒนาชีวิตของตนให้ก้าวหน้าในความสุขที่ประณีตซึ่งสูง
ข้ึนไปๆ
ทง้ั ที่เขยี นเรื่องความสุขนั้นไว้เป็นบทหนงึ่ แล้ว แต่พอหนงั สือเขา้ โรงพิมพ์ หรอื
พิมพอ์ อกมาไมน่ าน ก็คดิ วา่ บททเ่ี ขียนแลว้ นนั้ ยากไปหนอ่ ย ไปมุ่งไปเน้นท่ีตวั
บทและหลักฐาน น่าจะเขียนเพิ่มอีกบทหนึ่ง ที่พูดให้เข้าใจได้ง่ายแบบจับเอา
ความหมาย แต่กอ็ ย่างท่ีว่าแลว้ หนังสือตายตัวน่งิ แลว้ ก็ต้องรอไป จนในทส่ี ุด
กม็ องเห็นว่าจะไมม่ โี อกาสเขยี นใสด่ งั ท่หี วงั กจ็ ึงหาโอกาสพูดไว้ เอาแค่เปน็ งาน
พูด แล้วก็ไดม้ ีโอกาสพูดเน่อื งในวนั อายุครบ ๘๐ ปีของคณุ หมอสาคร ธนมติ ต์
เมื่อ ๒ ปีมานี้เอง (๒๔ ก.พ. ๒๕๕๓ - ท่จี รงิ เป็นระยะเวลาท่ีเลกิ งานพดู
แลว้ ) แล้วฝา่ ยญาตโิ ยมขอพมิ พ์ กจ็ ัดปรับทำ�เป็นเล่มหนงั สอื ไว้

136 ตามรอยพุทธธรรม

คราวนี้ ก็เหมอื นโอกาสมาบรรจบรบั กัน กเ็ ลยนำ�เร่อื งนีม้ าจัดปรับอีกนิดหนอ่ ย
แม้จะยังเป็นเชิงสำ�นวนพูด ก็ทำ�เป็นบทหนึ่งของ พุทธธรรม เป็นบทสุดท้าย
หนงั สือ พทุ ธธรรม ก็มาจบดว้ ยความสขุ และความสุขก็เลยมี ๒ บท
บทเก่าของเดิม เตมิ ชือ่ แยกออกไปเปน็ “บทท่ี ๒๒ … ความสุข ๑: ฉบบั
แบบแผน” ส่วนบทใหม่ (ไม่ใชเ่ ขยี นใหม่) ทนี่ ำ�มารวม เรียกว่า “บทที่ ๒๓ …
ความสขุ ๒: ฉบับประมวลความ”
ด้วยการศึกษา คนพฒั นาเปน็ ภาวิต
ศึกษาครบไตรสกิ ขา จาตภุ าวิตกม็ าครบเตม็ คน
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการศึกษา พูดตามคำ�พระ นี่ก็คือสิกขา ที่มาในชุดไตรสิกขา
นั่นเอง เป็นเรื่องใหญ่มาก คือเป็นทั้งหมดของพระพุทธศาสนาในภาคปฏิบัติ
ซ่ึงจะทำ�ให้คนมวี ถิ ชี วี ติ ทเ่ี ป็นมรรค คือ เราต้องการให้คนด�ำ เนนิ ชวี ติ ในวถิ ีของ
อารยชนที่เรียกว่า อริยมรรคา เขาก็ต้องมีการศึกษาที่ฝึกหัดพัฒนาตัวเขาให้
ร้จู ักดำ�เนินชวี ติ หรอื มวี ิถีชีวติ ไดอ้ ยา่ งนนั้
สง่ิ ทต่ี อ้ งการคอื วถิ ชี วี ติ อยา่ งอารยชน ทเ่ี รยี กวา่ อรยิ มรรค เมอ่ื พดู เปน็ เรอ่ื งราว
ในระบบ เรอ่ื งการศกึ ษาจนถงึ ไตรสกิ ขา จงึ อยใู่ นตอนของมรรค และในพทุ ธธรรม
เล่มใหญ่ของเก่านัน้ ก็ไดเ้ ขียนเร่ืองการศกึ ษา สิกขา ไตรสิกขาน้ีไว้เป็นหวั ขอ้
ยอ่ ยหน่ึงในบทน�ำ ของมชั ฌิมาปฏปิ ทา คือ บทนำ�ของมรรคนั่นเอง
แต่ดังที่ว่าแล้ว ไตรสิกขาเป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าไม่มีสิกขา คนก็ไม่เข้ามรรคา
ไม่รจู้ กั เดนิ ไปในมรรคา เมอ่ื พทุ ธธรรม พิมพ์ออกมาในปี ๒๕๒๕ แลว้ ก็จงึ
คิดว่า จะเขียนเรื่องการศึกษาแห่งไตรสิกขานี้ไว้เป็นบทใหญ่อีกบทหนึ่ง แต่ก็
อย่างท่วี า่ แลว้ เมือ่ เวลาผา่ นไป ก็เหน็ ได้วา่ โอกาสจะไมม่ ี
อย่างไรก็ดี เรื่องการศึกษานี้ ไม่ต้องรอไว้ต่อเมื่อมีโอกาสเขียนใส่เพิ่มใน
พทุ ธธรรม เพราะเป็นงานของชีวติ งานของสงั คมท่ีสนใจและดำ�เนนิ กนั อยตู่ ลอด
เวลา อย่างนอ้ ย หนว่ ยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ก็นิมนต์ไปพดู และมา
ฟังในเร่ืองท่ีเก่ียวกบั การศกึ ษาอยู่เรื่อยๆ และพูดแล้ว ก็มักพิมพ์เป็นเลม่ หนงั สือ
เรื่องการศึกษาและไตรสิกขาก็จึงมีอยู่ในหนังสือเล่มย่อยๆ มากหลายเล่มใน
ระยะเวลา ๓๐ ปที ผ่ี ่านมานัน้

ตามรอยพุทธธรรม 137

แมใ้ นดา้ นของหนงั สอื พทุ ธธรรม เอง กไ็ มถ่ งึ กบั หมดโอกาสเสยี ทเี ดยี ว ยอ้ นหลงั
ไป ๑๑ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ คณุ ณัฐพร พรหมสทุ ธิ ได้ขอพมิ พ์ พทุ ธธรรม
ฉบับเดมิ ซงึ่ เปน็ หนงั สือขนาดเลก็ หรอื ยอ่ มๆ ในมงคลวารอายุ ๗๖ ปี ของ
คณุ แม่ คือ คุณประยรู พรหมสทุ ธิ นับเป็นครง้ั ท่ี ๑๐
พุทธธรรม ฉบบั เดิม นน้ั กไ็ ม่มขี อ้ มูลในคอมพิวเตอร์ ทางส�ำ นกั พิมพ์ธรรมสภา
ท่รี ับพมิ พง์ านนี้ ก็พิมพ์ขอ้ มลู ขึ้นมา แล้วคุณณัฐพรน�ำ มาใหต้ รวจ น่ันกง็ าน
ตรวจจัดขอ้ มูลเชน่ เดยี วกัน แตเ่ ปน็ เล่มเล็ก และคราวนนั้ เมอ่ื ได้โอกาส ก็เลย
เขียนบทวา่ ดว้ ยการศกึ ษาข้ึนมา เป็น “บทเพ่มิ เติม” ทา้ ยเลม่ มี ๓๓ หนา้
ถา้ น�ำ มารวมในเล่มใหญน่ ี้ กค็ งไดส้ ัก ๑๒–๑๓ หนา้ (แตก่ ไ็ ม่ไดเ้ อามารวม
ไว้) เป็นการเช่ือมโยงหลกั มรรคมอี งค์ ๘ กบั สิกขา ๓ จนถึงภาวนา ๔ จบ
ลงดว้ ยภาวิต ๔
ขอเล่าเรื่องที่เป็นหลักใหญ่อย่างหนึ่งในทางการศึกษา แม้จะยังไม่ถึงหรือยัง
ไมไ่ ดโ้ อกาสทจ่ี ะเขยี นเรอ่ื งการศกึ ษาเปน็ บทหนง่ึ โดยเฉพาะในหนงั สอื พทุ ธธรรม
อย่างที่คิดไว้ ก็จะไดพ้ ดู ถึงสาระสำ�คญั บางอยา่ งไว้
ในช่วงวัยตอนท้ายของการเป็นสามเณร ใน พ.ศ. ๒๕๐๓– ๒๕๐๔ อาตมา
เรียนอยู่ทมี่ หาจุฬาฯ ก�ำ ลงั จะจบปริญญาตรี ซึ่งมวี ิชาการศกึ ษาอย่ใู นหลักสตู ร
พุทธศาสตร์ด้วย
เวลานั้น วงการการศึกษากำ�ลังชื่นชมนิยมการศึกษาแบบ progressive
education ซ่งึ มีจอห์น ดวิ อ้ี (John Dewey) เปน็ ตัวชู (ที่จรงิ เป็นชว่ ง
สุดท้ายที่การศึกษาแบบนี้โดดเด่น หลังจากรุ่งเรืองในอเมริกามาครึ่งศตวรรษ
เศษ) ท่านอาจารย์ที่มาบรรยายวิชานี้ อยู่ในสายของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
(ประสานมิตร) ซ่งึ ปจั จุบนั น้ี คอื มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ท่านก็บรรยาย
เรื่องนี้ ทำ�ใหไ้ ด้ยินชือ่ ของ John Dewey อยู่เสมอ (ในวงการศกึ ษาสายนี้
ได้ยนิ เรียกโดยออกเสยี งอยา่ งท่ีบางทเี อามาเอ่ยกันเชิงล้อว่า “จอหน์ ดุย”)

ในขบวนการ progressive education นัน้ เน้นแนวคิดการศึกษาแบบมีเด็ก
เป็นศูนย์กลาง (child-centered education) ให้การศึกษาเป็นการพัฒนา
คนแบบองค์รวม หรอื อยา่ งบูรณาการ ดังทีใ่ ช้ค�ำ วา่ total development of
the individual หรือ education of the “whole child” และตรงนี้แหละ

138 ตามรอยพุทธธรรม

ที่สำ�คญั คอื ในการพฒั นาอยา่ งบรู ณาการนน้ั กม็ แี นวคดิ ทเ่ี ดน่ ในเรอ่ื งพฒั นาการ
๔ ดา้ น ได้แก่
๑. Physical development พฒั นาการทางกาย
๒. Mental development พัฒนาการทางปญั ญา๑
๓. Emotional development พฒั นาการทางจิตใจ๒
๔. Social development พัฒนาการทางสงั คม
เวลาน้ัน (คือ ๕๐ กวา่ ปีแล้ว) คงชอบหลกั พฒั นาการ ๔ ด้านนไี้ ม่นอ้ ย ก็เลย
จ�ำ ติดมาเรื่อย ตอ่ มาอีกนานพอสมควร จึงพบเร่ือง “ภาวติ ๔” ในพระไตรปฎิ ก
(“ภาวิต” ใช้เปน็ คุณศพั ท์ ถ้าเปน็ ภาวนาม กเ็ ปน็ “ภาวนา”)
นา่ แปลกใจว่า หลักภาวิตนี้ ไม่ไดย้ ินพดู หรอื เขียนถงึ กันเลย ท�ำ ใหต้ อ้ งค้นหา
ศึกษาใหช้ ัดขึน้ ตวั เองกแ็ ปลกใจว่า ความคิดเรื่องนี้ของปราชญต์ ะวันตก มา
สอดคล้องหรือใกล้เคียง ดูเผินๆ เหมือนกันกับหลักในพระพุทธศาสนา
ภาวติ ๔ คือ (แปลโดยใช้ส�ำ นวนเดยี วกบั พฒั นาการ ๔ ด้าน)
๑. ภาวิตกาย พฒั นาแลว้ ทางกาย
๒. ภาวิตศีล พฒั นาแลว้ ทางศีล (ทางสงั คมน่นั เอง)
๓. ภาวิตจิต พฒั นาแลว้ ทางจติ ใจ
๔. ภาวติ ปญั ญา พัฒนาแล้วทางปัญญา
หลกั พฒั นา ๔ ด้านของปราชญต์ ะวันตก กับของพระไตรปฎิ กน้ี แม้ดเู หมือน
จะตรงกนั แตก่ ม็ ขี ้อแตกต่างกนั หลายอย่าง กอ่ นจะพดู ถงึ ความแตกต่าง ขอ
ยกตัวอย่างพุทธพจน์ที่ตรัสเรื่องภาวิต ๔ มาให้ดูสักแห่งหนึ่ง (องฺ.ปญฺจก.

๒๒/๗๙/๑๒๑)

๑ mental ในท่นี ี้ ตรงกบั intellectual (บางทกี ็ใช้ cognitive) มิใช่แปลว่าจิตใจ, พงึ เทียบกับค�ำ อื่นทำ�นองนี้
เช่น mental age หมายถงึ อายุสมอง (mind เมื่อมาคูก่ ับ heart หรือกบั emotion หมายถงึ ความคิด
สติปัญญา ส่วน emotional ก็คอื ด้าน heart คือทางจติ ใจ ไม่ตอ้ งแปลวา่ “อารมณ”์ ซึ่งเปน็ ค�ำ เพีย้ นใน
ภาษาไทย แม้จะใชก้ ันจนชิน ก็ควรหลีกเว้น เพอื่ จะไดช้ ่วยกนั แก้ไขความสบั สนทางภาษาทส่ี ะสมมา)
๒ ถ้าแปลตามสำ�นวนแบบของนักบาลี ก็ว่า “มีกายทพี่ ฒั นาแลว้ มศี ีลท่พี ฒั นาแล้ว มีจติ ใจที่พฒั นาแล้ว มี
ปัญญาท่พี ฒั นาแล้ว”; ภาวิต ๔ ถา้ ถอดออกมาเปน็ ภาวนาม กเ็ ป็นภาวนา ๔ คอื กายภาวนา ศีลภาวนา
จติ ตภาวนา ปัญญาภาวนา แต่ในพระไตรปฎิ ก มีเตม็ เฉพาะชดุ ภาวติ ๔ ไมจ่ ัดชดุ ภาวนา ๔ ในอรรถกถา
จงึ จัดออกมาใหเ้ หน็ ภาวนา ๔ น้ัน (ในเปฏโกปเทส ซ่งึ พม่าถือวา่ อยใู่ นพระไตรปฎิ ก ก็แสดงชดุ ภาวนา ๔)

ตามรอยพุทธธรรม 139

…อนาคตภัย ๕ ประการเป็นไฉน?

“กล่าวคอื ในกาลอนาคต จักมีภิกษทุ ง้ั หลาย ผูม้ ิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย)
มใิ ชภ่ าวิต- ศลี (มิไดพ้ ัฒนาศีล) มิใชภ่ าวติ จติ (มิไดพ้ ัฒนาจติ ) มใิ ช่ภาวิตปญั ญา
(มิได้พฒั นาปญั ญา).
“ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้
พัฒนาปัญญา ก็จัก (เป็นอุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถ
แนะนำ�ผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ)
ในอธิปัญญา (ปัญญา); แม้เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย
(มไิ ดพ้ ฒั นากาย) มิใชภ่ าวิตศลี (มไิ ด้พฒั นาศลี ) มใิ ชภ่ าวิตจิต (มไิ ดพ้ ัฒนาจติ )
มใิ ชภ่ าวติ ปัญญา (มิไดพ้ ฒั นาปัญญา).
“เหล่าผู้ได้รบั อุปสมบทนนั้ ท้ังท่ีตนมไิ ดพ้ ฒั นากาย มไิ ดพ้ ัฒนาศีล มไิ ดพ้ ัฒนาจติ มิได้
พัฒนาปัญญา ก็จัก (เป็นอุปัชฌาย์) ใหอ้ ปุ สมบทคนอนื่ ๆ แลจกั ไม่สามารถแนะน�ำ
เหล่าคนท่ไี ด้รบั อุปสมบทเหล่าน้นั ในอธศิ ีล (ศีล) ในอธจิ ิต (สมาธ)ิ ในอธปิ ญั ญา
(ปัญญา); แม้เหลา่ คนท่ีได้รบั อุปสมบทนน้ั ก็จักเปน็ ผมู้ ิใชภ่ าวิตกาย มิใช่ภาวติ ศลี
มใิ ชภ่ าวิตจิต มิใช่ภาวติ ปัญญา.
“ภิกษทุ งั้ หลาย ดว้ ยประการฉะนแ้ี ล เพราะธรรมเลอะเลอื น วินัยกเ็ ลอะเลอื น
เพราะวนิ ยั เลอะเลือน ธรรมกเ็ ลอะเลือน.

“ภกิ ษุท้งั หลาย อนาคตภัยขอ้ ที่ ๑ น้ี ยังมไิ ด้เกดิ ขึ้นในบัดนี้ แต่จักบงั เกิดในกาล

ตอ่ ไป ภัยข้อนัน้ อันเธอทงั้ หลายพึงตระหนกั ร้ไู ว้ คร้ันร้ตู ระหนกั แลว้ พึงพยายาม
เพอ่ื ป้องกันภัยน้นั เสีย…
พุทธพจน์ที่ตรัสภาวิต ๔ ข้างบนนี้ ได้แสดงไว้ในพุทธธรรมใหญ่เล่มเก่าเมื่อ
๓๐ ปีก่อนนนั้ ในบทวา่ ด้วยโยนิโสมนสกิ าร (บทที่ ๑๘) และในตอนอืน่ ก็มี
ภาวติ ๔ ในขอ้ ความอนื่ แตใ่ นเลม่ เก่านน้ั ไดแ้ ปลเป็นภาษาไทยโดยไม่ไดแ้ สดง
ค�ำ เดิมไว้ ยากท่จี ะสังเกตเหน็ ดงั นน้ั ในเล่มพิมพ์ใหม่ จึงแสดงค�ำ เดมิ ให้เห็น
รูปศพั ทไ์ วเ้ พ่ือสะดวกตอ่ การศึกษาดว้ ย งานทย่ี งั ต้องทำ�กค็ อื การเช่ือมโยงหลกั
เหล่านีใ้ ห้เหน็ ความสมั พันธ์เป็นระบบการศกึ ษา และอธบิ ายความหมายในระบบ
ความสัมพนั ธน์ นั้

140 ตามรอยพุทธธรรม

การพฒั นา ๔ ดา้ นของปราชญ์ตะวนั ตก กบั ของพระไตรปฎิ กนี้ ที่ว่าคล้ายจะ
ตรงกนั แตท่ ี่จริงมขี ้อแตกต่างท่สี �ำ คัญหลายอย่าง ขอให้สงั เกตไว้ ๔ อย่าง คือ
ก) การพฒั นาทั้ง ๔ นัน้ ทางตะวันตกจดั เปน็ เนือ้ ตวั ของการศึกษาเอง
แตใ่ นพทุ ธศาสนา แสดงไว้ในฐานะเปน็ คณุ สมบตั ขิ องบุคคล อนั เป็น
ผลของการศกึ ษา
ข) การพฒั นาทัง้ ๔ นัน้ ทางตะวันตกถอื เปน็ องคแ์ ห่งบรู ณาการของ
การศึกษา แตใ่ นพุทธศาสนา ภาวะของคนทพ่ี ัฒนาแลว้ ทัง้ ๔ ดา้ น
เป็นบูรณาการแหง่ คุณสมบัตขิ องบคุ คล ท่เี กิดข้นึ จากบรู ณาการของ
การศึกษา ๓ ดา้ น ที่เรยี กว่า ไตรสิกขา
ค) พฒั นาการ ๔ ข้อนน้ั แม้จะมชี อ่ื ทถี่ ือได้วา่ เหมือนกนั แตท่ จี่ รงิ ของ
ตะวนั ตก กบั ของพระไตรปิฎก แตล่ ะขอ้ มีความหมายตา่ งกัน ทั้งโดย
ขอบเขต เน้อื หาสาระ แง่ด้าน และความสัมพันธ์
ง) ปราชญ์ตะวนั ตกทต่ี ั้งแนวคดิ นี้ อยูใ่ นการศกึ ษาระบบโรงเรียน เวลา
นึกคิด จิตใจของทา่ นกป็ รารภการศึกษาของเดก็ นักเรียน ความหมาย
ของพฒั นาการเหลา่ นน้ั จงึ มงุ่ จงึ เนน้ ไปทเ่ี ดก็ ดงั เหน็ งา่ ยๆ พฒั นาการ
ทางกายกม็ งุ่ หมายทค่ี วามเจรญิ เตบิ โตและสขุ ภาพทางกาย เปน็ ส�ำ คญั
สว่ นในพระพทุ ธศาสนา การศกึ ษามคี วามหมายอยแู่ ลว้ วา่ เปน็ หนา้ ท่ี
ของมนุษย์ทกุ คนต่อชวี ติ ของตน ในฐานะเป็นสัตว์ท่ฝี กึ ไดแ้ ละต้องฝกึ
ความหมายของพัฒนาการเหลา่ นนั้ จึงขยายออกไปตามระบบความ
สมั พนั ธ์ของสรรพชพี สรรพสง่ิ
ในที่นี้ จะพูดไว้พอให้เห็นเพียงในข้อ ค) เฉพาะพัฒนาการข้อแรก คือ
พัฒนาการทางกาย และการบอกความแตกตา่ งน้ี มใิ ช่เปน็ การเทยี บว่าของใคร
ดีกว่า แตเ่ พยี งให้รเู้ รื่องราวท่มี ีอย่ตู ามทมี่ นั เป็นของมัน ซงึ่ เป็นสิง่ จำ�เปน็ ในทาง
ปัญญา
พัฒนาการทางกายของตะวันตก ก็อย่างที่รู้กัน หมายมุ่งที่ความเจริญเติบโต
และสุขภาพทสี่ มบูรณ์ของร่างกาย
ส่วนในพระพุทธศาสนา คำ�ว่า “พัฒนาการทางกาย” อาจจะสื่อความหมาย
ไม่ถูกตอ้ ง ควรพดู วา่ “พัฒนาการทางกายภาพ” เพราะความหมายมใิ ช่อย่ทู ี่
รา่ งกายของตน แตห่ มายถงึ การพฒั นาความสมั พนั ธก์ บั สง่ิ แวดลอ้ มทางกายภาพ

ตามรอยพุทธธรรม 141

ความหมายน้ีประสานหรือเข้าคกู่ บั พฒั นาการข้อท่ี ๒ คอื พัฒนาการดา้ นศลี
คอื พฒั นาการทางสังคม ซ่งึ หมายถงึ ความสมั พันธใ์ นการอย่รู ว่ มกนั ด้วยดกี ับ
เพ่อื นมนุษยแ์ ละสรรพสตั ว์ท่รี ว่ มโลก ไม่เบียดเบียน แตเ่ ก้ือกลู กนั
พัฒนาการข้อ ๑ และข้อ ๒ นี้ รวมแล้วก็คือความสัมพันธ์และปฏิบัติต่อ
สง่ิ แวดล้อมทงั้ หมด ท้ังทางสังคมและทางกายภาพ ให้อยู่ร่วมกันดว้ ยดีมีสภาพ
ท่ีเกื้อกลู ซึ่งนอกจากมคี วามส�ำ คญั ในตวั มนั เองแลว้ เม่อื พฒั นาโดยสมั พันธถ์ กู
ต้องแล้ว ก็เป็นฐานรองรับและเป็นปัจจัยที่เอื้อเกื้อหนุนการพัฒนาทางจิตใจ
และทางปัญญา คอื ข้อ ๓ และขอ้ ๔ ตอ่ ไป
คนที่มีความสัมพันธ์ดีงามเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพนั้น เรียกว่าเป็น
ภาวิตกาย ส่วนการปฏิบัติในการพฒั นาความสมั พันธ์นนั้ กม็ คี �ำ เรียก คือกาย
ภาวนา
“รมณยี ”์ คำ�นี้ดีนักหนา
พอรมณียม์ า กระบวนการพัฒนาก็ราบรนื่ และยงั่ ยนื ได้
การปฏิบตั ทิ ี่เปน็ สว่ นส�ำ คญั ของการพฒั นาทางกายภาพนี้ ซง่ึ ท่านเนน้ อยเู่ สมอ
ไดแ้ ก่ การรู้จักใชอ้ ินทรีย์๑ หรือทภี่ าษารนุ่ อรรถกถาบางทเี รยี กวา่ ผสั สทวาร
(ทางรับร,ู้ = ผสั สายตนะ) คือ การด-ู เหน็ การฟัง-ได้ยิน ดมกลิ่น ชมิ ลม้ิ รส จับ
ตอ้ งสัมผัส โดยมสี ตทิ ี่ไมป่ ล่อยให้อกุศล ต้ังแต่ความชอบหรือชงั ตลอดจนโลภะ
โทสะ โมหะเข้ามาครอบงำ� แตร่ ับรู้ ดู ฟงั เป็นต้น โดยรตู้ ามความเปน็ จริง ให้
ได้ปญั ญา เกิดคณุ ธรรม จับคณุ คา่ เอาประโยชนไ์ ด้ อย่างนอ้ ยใหไ้ ด้ความรทู้ ี่
บรสิ ทุ ธิ์ ไม่เอนเอยี งหรือบดิ เบือน ดว้ ยความรู้สกึ ท่ชี อบหรอื ชงั เป็นต้นนนั้
การใช้อนิ ทรีย์ เชน่ ตาดู หฟู ัง นั้น นอกจากเพื่อการรบั รู้ หรอื ให้ได้ความรแู้ ล้ว
อีกอยา่ งหนง่ึ ที่สำ�คัญย่ิง คอื เพื่อการเสพบริโภค จะเห็นชัดว่า การเสพบรโิ ภคนี้
เป็นเป้าหมายสำ�คัญมากในการใชอ้ นิ ทรยี ์ของมนุษย์ และปญั หาของมนษุ ย์ ทั้ง
ปญั หาของชีวติ และปญั หาของสังคมมากมาย ก็ตงั้ ตน้ ท่ีน่ี
พูดอย่างรวบรัดวา่ ถ้าคนไม่รจู้ ักใช้อนิ ทรียใ์ นการเสพบริโภค แทนที่จะเป็นการ
เสพบรโิ ภคเพอ่ื คณุ ภาพชวี ติ กจ็ ะกลายเปน็ การเสพบรโิ ภคเพอ่ื การบ�ำ เรออนิ ทรยี ์

๑ ค�ำ พระว่า “อนิ ทรยี สงั วร” แปลตามแบบว่าการส�ำ รวมอินทรีย์ แตค่ วามหมายตามประเพณนี ีช้ วนใหม้ อง
แคบลงเหลอื แค่เชิงรปู แบบ กลายเป็นเอาแค่กิริยามารยาททางกาย

142 ตามรอยพุทธธรรม

พอการบำ�เรออินทรีย์เขา้ มาครอบงำ�คนได้ ความพอดีก็เลอื นหาย ความสมดลุ ก็
ไมเ่ ห็น ปญั หากป็ ระดังมา ดงั ทวี่ า่ แลว้ ทัง้ ปัญหาชวี ติ เช่น โรคอว้ น โรคขาด
อาหาร เกบ็ เงินไมอ่ ยู่ ออมเงนิ ไม่ได้ ปญั หาสังคม เชน่ การทะเลาะวิวาทขัด
แย้ง แย่งชงิ เบียดเบียน ทุจรติ ปญั หาสิง่ แวดล้อม เช่น ขยะ และมลภาวะตา่ งๆ
ด้วยเหตุนี้ การรู้จักใช้อินทรีย์ (อินทรียสังวร) และการเสพแต่พอดีบริโภค
ด้วยปัญญา (ปัจจัยปฏิเสวนา) จึงเป็นศีลหมวดสำ�คัญที่ใช้ในการฝึกคนให้มี
พฒั นาการในความสมั พันธ์ทางกายภาพ
เมื่อจะพัฒนาความสัมพันธ์ทางกายภาพยิ่งขึ้นไป เพื่อให้เกื้อหนุนการพัฒนา
ด้านอื่นด้วย ท่านก็ให้พัฒนาอินทรีย์ และการพัฒนาอินทรีย์นั้น มีหลายขั้น
หลายระดับ
ขอพดู เชิงสรปุ อยา่ งรวบรัดว่า เมอ่ื รบั รู้ ดู-เหน็ ฟัง-ไดย้ ิน เปน็ ต้น จติ ใจไมถ่ ูก
จูง ไม่ถูกครอบงำ�ด้วยความรู้สึกชอบใจ หรอื ไม่ชอบใจ คงท่ี ด�ำ รงอยใู่ นภาวะที่
เป็นตัวของมนั เอง ถา้ มีสง่ิ รับรู้ทีล่ อ่ เรา้ ยวั่ ยุ กม็ ปี ญั ญารูเ้ ท่าทนั หย่งั ถึงสภาวะ
ตัดความรู้สึกทีเ่ ป็นโทษท้งิ ไป ตลอดจนถงึ ขั้นเป็นนายของอินทรยี ์ อย่างทว่ี ่า จะ
มองสง่ิ ที่คนเกลียดชังขัดตา ให้สบายตาโปร่งใจกไ็ ด้ มองส่ิงที่คนทงั้ หลายตดิ
ชอบ ใหเ้ หน็ เปน็ น่าสลัดละกไ็ ด้
สิง่ แวดล้อมทางกายภาพนน้ั กวา้ งใหญท่ ี่สุด แผ่คลมุ ทกุ ส่ิงทุกอยา่ ง เปน็ พ้นื ฐาน
เปน็ ทรี่ องรับ โอบลอ้ มไวห้ มดท้ังสงิ่ แวดลอ้ มทางสังคม จติ ใจ และเปน็ ทีอ่ าศัย
ของปัญญา แม้แต่ภิกษุหรือผู้แสวงวิเวกที่ปลีกตัวออกไปอยู่ในป่าเขา หรือที่
หา่ งไกลหมชู่ น แทบไมพ่ บกบั ใคร เกอื บพน้ จากสง่ิ แวดลอ้ มทางสงั คม กไ็ มพ่ น้ ไป
แตต่ ้องอาศัยสงิ่ แวดลอ้ มทางกายภาพนี้
ถา้ สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพดี ก็เก้อื กูลต่อการพัฒนาทางสังคม พฒั นาจิตใจ
และพฒั นาปญั ญา ถา้ สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพไม่เอือ้ กข็ นื หรือขัดขวางการ
พฒั นาทางสังคม จิตใจ และปัญญานั้น
ในระบบการพัฒนาคน คอื ภาวนานน้ั การพฒั นา ๔ ด้าน เปน็ พฒั นาการ ๔
ข้ันด้วย และท้ัง ๔ นั้นเป็นปัจจยั เกื้อกูลหนุนกัน
สภาพแวดล้อมทางกายภาพท่ีดี เออ้ื เกื้อหนนุ การพฒั นาทางสงั คม การพัฒนา
จิตใจ และการพัฒนาปัญญาดังว่าแล้ว ทีนี้ ถ้าสภาพแวดล้อมทางสังคมดี

ตามรอยพุทธธรรม 143

นอกจากเอ้ือตอ่ การพฒั นาจติ ใจ และพัฒนาปญั ญาแลว้ กย็ ้อนกลับมา คอื เมื่อ
คนมีการศกึ ษาพฒั นาดี กจ็ ะรกั จะช่ืนชมเห็นคณุ คา่ ตลอดจนมคี วามสขุ กบั
สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่รื่นรมย์ เขาจะมีการกระทำ�ทางกายและลักษณะ
นิสัยที่ประณีตเกื้อกูลมากขึ้น ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ เช่น ธรรมชาตทิ ีร่ น่ื รมยน์ น้ั
ตอ่ ข้นึ ไป จติ ใจทพี่ ฒั นาดแี ลว้ ก็มคี วามสขุ กับสภาพแวดลอ้ มที่ดี มีความรู้สึก
ซาบซึ้งเกื้อกูลและใฝ่ที่จะช่วยส่งเสริมความดีงามและความดำ�รงอยู่ด้วยดีมี
ความม่นั คงของสภาพแวดล้อมทด่ี ีทงั้ ทางสงั คมและทางกายภาพ
ส่วนปัญญานน้ั แนน่ อนวา่ เม่ือพฒั นามากข้ึน ก็มองเห็นระบบความสัมพันธท์ ี่
องิ อาศัยสง่ ผลแกก่ นั ของสง่ิ ท้งั หลาย รูเ้ ข้าใจคุณคา่ ของสภาพแวดลอ้ มที่ดงี าม
เกอื้ กูล แลว้ ก็บอกใจใหส้ นใจใส่ใจทจ่ี ะดูแลรกั ษา ตลอดจนบอกด้วยว่า ควรจะ
ท�ำ อะไรอย่างไร จงึ จะดแู ลรกั ษาให้ระบบการอยรู่ ว่ มกนั ด้วยดีมีความเกอ้ื กลู น้นั
สามารถดำ�รงคงอยดู่ ว้ ยดีมีความมนั่ คงย่ังยนื แลว้ ทำ�ไดส้ �ำ เร็จ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี มีความส�ำ คญั ท้ังในตวั มันเอง และตอ่ ระบบการ
พฒั นาคนสีด่ ้านส่ีขนั้ ทง้ั หมด ดังกล่าวมา ดังนน้ั ในพระพทุ ธศาสนาจึงให้ความ
สำ�คัญทั้งแก่สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี และแก่การพัฒนาคนด้านความ
สัมพันธ์ทางกายภาพนั้นเป็นอย่างมาก จนกระทั่งแม้แต่ชาวพุทธเองก็เลยมอง
ขา้ มไป ไมแ่ ลเหน็
พระพุทธเจ้า เมอ่ื จะทรงอนญุ าตใหพ้ ระมีท่ีอยู่ คือมีวดั กท็ รงอนุญาต “อาราม”
(สวน, “ทมี่ ายินดี”) และอารามสำ�คญั ก็มาจากอุทยานทงั้ นัน้ ไม่ว่าเวฬวุ นั หรือ
เชตวนั
คำ�สำ�คัญที่ใช้อยู่เสมอ สำ�หรับบอกสภาพของสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทาง
กายภาพทดี่ ี คอื ค�ำ วา่ “รมณีย”์ (ร่ืนรมย)์ หรือรามไณย (รามไณยก์ กใ็ ช้)
หรือในคาถาตอ้ งการคำ�ส้ัน กอ็ าจใช้ รมั มะ ซึง่ เปน็ ไวพจน์ มคี วามหมายอยา่ ง
เดยี วกัน
ทีร่ มณยี น์ ั้น พดู ด้วยภาษางา่ ยๆ ก็คือ ทีส่ ะอาด ปลอดภยั มธี รรมชาติงาม
ร่มร่ืน น่าชื่นชม เกอ้ื กลู แกช่ วี ติ จิตใจ อยา่ งท่วี า่ ท้องฟา้ แจ่มใสไรห้ มอกควนั
สายลมสดชน่ื มแี มน่ �ำ้ หรอื แหลง่ น�ำ้ ทใ่ี สสะอาดปราศมลพษิ เจอื ปน บนผนื แผน่ ดนิ

144 ตามรอยพุทธธรรม

ไมข่ าดไม่ไร้ต้นไม้และพืชพรรณ สถานทโี่ ดยรอบเรียบรอ้ ย สบายตาสบายใจ
ไม่พลกุ พลา่ นจอแจ ไมอ่ กึ ทึกเอด็ อึง คนในถิ่นในทก่ี ็อยูร่ ่วมกันดว้ ยดี มนี ำ้�ใจ
ยิ้มแย้มแจม่ ใส ร่วมมือชว่ ยเหลือเก้อื กูลกนั
ดูงา่ ยๆ จากพระพุทธจรยิ า พระพุทธเจ้า ตั้งแตเ่ สดจ็ ออกผนวชจนปรินิพพาน
ทรงแสดงใหเ้ ห็นโดยตลอดถึงความสำ�คญั ของสภาพแวดล้อมท่เี ปน็ รมณยี ์
ขอน�ำ มาเลา่ ซ�้ำ ใหฟ้ งั กนั บอ่ ยๆ วา่ ครัง้ ยังเปน็ โพธิสตั ว์ จะทรงเร่มิ บำ�เพญ็ เพยี ร
ทรงหาที่เหมาะ เมอื่ ไดพ้ บ มีพระดำ�รสั ตรสั เล่าเองวา่ “ตตฺถทฺทสํ รมณยี ํ ภมู ิ
ภาคํ” – ณ ที่นั้น เราได้พบภูมิภาคที่รื่นรมย์ (รมณีย์) และทรงบรรยายว่า

(ม.มู.๑๒/๓๑๙/๓๒๓)

ภาคพื้นภูมิสถานถิ่นนี้ เป็นที่รื่นรมย์จริงหนอ (รมณีโย วต) มี
ไพรสณฑ์ร่มรื่น น่าชื่นบาน ทั้งมีแม่น้ำ�ไหลผ่าน น้ำ�ใส เย็นชื่นใจ
ชายฝั่งท่าน้ำ�ก็ราบเรียบ ทั้งโคจรคามก็มีอยู่โดยรอบ เป็นสถานที่
เหมาะจริงหนอที่จะบำ�เพ็ญเพียร สำ�หรับกุลบุตรผู้ต้องการทำ�ความ
เพียร ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เรานัน้ แล ไดน้ ัง่ ลงแลว้ ณ ทน่ี ั้น โดยตกลงใจ
วา่ ‘ท่ีนีล่ ะ เหมาะทจ่ี ะบำ�เพญ็ เพยี ร
เมอ่ื ใกลจ้ ะปรินพิ พาน ในเหตุการณ์ตอนจะทรงปลงพระชนมายสุ ังขาร ได้ตรสั
ทวนความเก่ากับพระอานนท์ กต็ รสั ถงึ ถิน่ สถานทเี่ ปน็ รมณียจ์ �ำ นวนมาก นับได้
๑๖ แหง่ เช่นวา่ (ที.ม.๑๐/ ๑๐๔/๑๓๖)
นครราชคฤห์รื่นรมย์ เขาคิชฌกูฏก็รื่นรมย์ โคตมนิโครธก็รื่นรมย์
เหวทง้ิ โจรกร็ น่ื รมย์ ถ�ำ้ สตั ตบรรณคหู าขา้ งภเู ขาเวภารบรรพตกร็ น่ื รมย์
กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิก็รื่นรมย์ เงื้อมผาสัปปโสณฑิกสีตวันก็รื่นรมย์
ตโปทารามก็รื่นรมย์ เวฬุวันกลันทกวิวาปสถานก็รื่นรมย์ ชีวกัมพวัน
กร็ น่ื รมย์ มัททกจุ ฉิมฤคทายวันก็รื่นรมย์
ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าป่ามุ่งหน้าปฏิบัติกิจทางจิตปัญญา กล่าวคาถาตอนหนึ่งว่า

(ขุ.เถร.๒๖/๓๗๑/๓๔๙)

เราผเู้ ดยี ว ไมม่ ใี ครเปน็ เพอ่ื น ในปา่ มหาวนั อนั รน่ื รมย์ เมอ่ื ไรจะไดอ้ ยู่
อยา่ งผทู้ ำ�กิจสำ�เร็จ ซึ่งหมดสน้ิ อาสวะแลว้

ตามรอยพุทธธรรม 145

แตเ่ ม่อื พฒั นาจบ เปน็ ภาวติ ครบ ๔ ด้านแลว้ ตัวเองกลบั กลายเปน็ ผู้ทที่ ำ�ใหเ้ กดิ
สภาพรมณีย์ ไม่ว่าจะไปทไ่ี หน ก็สรา้ งบรรยากาศรมณยี ์ ท�ำ ใหท้ ่ีน้นั เปน็ สถานท่ี
ร่นื รมย์ ตัวท่านผู้นนั้ เองกม็ องเห็นความรน่ื รมย์ คนอืน่ ก็มองเหน็ ท่านผนู้ ั้นเปน็
สภาพรนื่ รมย์ ดงั คาถาทอ่ี ้างบ่อยๆ วา่ (ขุ.ธ.๒๕/๑๗/๒๘)
ไม่ว่าบา้ น ไม่วา่ ป่า ไม่วา่ ทล่ี ่มุ หรือทีด่ อน ทา่ นผู้ไกลกิเลสอย่ทู ี่ไหน
ทน่ี ้นั ไซร้ เปน็ ภูมิสถานอนั รืน่ รมย์
ถึงแม้ยังเป็นภิกษุบวชใหม่ เข้าไปอยู่ในป่า เพิ่งจะเริ่มฝึกหัด ยังไม่มีความรู้
เขา้ ใจ แมก้ ระทง่ั มไิ ดเ้ ห็นคุณคา่ ของภาวะรมณีย์ แตว่ ินยั ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ บัญญตั ิ
ไว้ ซง่ึ ภิกษนุ ้ันปฏิบัติ ก็ทำ�ให้วดั ปา่ นั้นเปน็ รมณีย์
เปน็ อันวา่ ในการพัฒนาดา้ นแรกทางกายภาพน้ี ท้งั หาอย่ใู นทีร่ มณีย์ ทำ�ทน่ี ้ัน
ให้เปน็ รมณีย์ และท�ำ ความเป็นรมณีย์ให้เกิดมใี นทีท่ ่ตี นอยู่ตนไป
ว่าโดยสรุป การปฏิบัติในการพัฒนาทางกายภาพ เกี่ยวกับรมณียภาวะ พึง
ปฏบิ ตั เิ ทา่ ทจี่ ะท�ำ ได้ ดงั นี้
๑. มคี วามสขุ กบั สภาพทเ่ี ปน็ รมณยี ์ และหาถน่ิ อยอู่ าศยั ปฏบิ ตั ทิ เ่ี ปน็ รมณยี ์
๒. ถา้ ตอ้ งอยใู่ นทไ่ี มเ่ ปน็ รมณยี ์ พงึ ฝกึ จติ ท�ำ ใจสรา้ งความรสู้ กึ ใหเ้ ปน็ รมณยี ์
๓. ทำ�และร่วมทำ�ถิน่ ทน่ี ัน้ ให้เปน็ รมณยี ์
๔. พัฒนาตนให้เป็นภาวิตยิ่งขึน้ ไป จนความมอี ยหู่ รอื ปรากฏตวั ของตน
เป็นภาวะรมณยี ท์ ่ีเกอื้ กลู ท่ัวไป
นีค่ ือการพัฒนาทางกายภาพ ที่เรยี กว่า กายภาวนา ซง่ึ ทำ�ใหค้ นเป็นภาวติ กาย
เป็นการศึกษาขนั้ พื้นฐาน ตามหลกั พฒั นาการ ๔ ดา้ นในพระพทุ ธศาสนา
ถ้าการพัฒนาขั้นนี้ดำ�เนินไปได้ ก็นับว่ามีฐานดีที่จะให้มั่นใจว่า การศึกษาเพื่อ
พฒั นาการอกี ๓ ดา้ น จะก้าวหน้าต่อไป
“พทุ ธธรรม” จบไป
“อรยิ วนิ ยั ” ไมเ่ ห็นมา
ท้ายเล่ม (จบบทสุดท้าย คือบทที่ ๒๒) ของ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและ
ขยายความ ทีพ่ ิมพ์เสรจ็ ในปี ๒๕๒๕ ไดเ้ ขียนไวว้ ่า

146 ตามรอยพุทธธรรม

หนังสือน้ี ได้กล่าวไวม้ ากในส่วนของธรรม สมชื่อว่า พทุ ธธรรม แต่
กล่าวถึงวนิ ยั เพียงเลก็ น้อย อาจตอ้ งมีหนังสือที่เรยี กชอ่ื ตามบาลเี ดิม
วา่ “อริยวนิ ยั ” ไวเ้ ข้าคู่กบั พทุ ธธรรม
ข้อความนี้เท่ากับบอกว่าอาจจะเขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่ชื่อว่า “อริยวินัย”
มาเขา้ คกู่ บั หนงั สอื พทุ ธธรรม และหนงั สอื เลม่ นน้ั คงมคี วามใหญค่ วามหนาเปน็ ตน้
ในระดบั เดยี วกับ พทุ ธธรรม ๑
ในเวลาทผ่ี า่ นมา มบี างทา่ นทวงถามอยา่ งคอ่ นขา้ งเอาจรงิ เอาจงั วา่ เมอ่ื ไรจะเขยี น
อริยวินัยออกมา ถา้ ตอบง่ายๆ กบ็ อกว่า จะเขยี นได้ไหวอย่างไร แค่จะพมิ พ์
พทุ ธธรรม ขนึ้ มาใหม่ เวลากผ็ ่านไป ๓๐ ปแี ล้ว และทจ่ี ริง ขอ้ ความทเ่ี ขียนไว้
น้ันกไ็ ม่ได้ผูกมดั ตวั คอื เขยี นแคว่ า่ “อาจตอ้ งมีหนงั สือ… ‘อริยวินยั ’” ไมไ่ ดบ้ อก
ว่าจะตอ้ งเขียน และก็ตอบไดเ้ ช่นเดยี วกันวา่ ถ้าได้มโี อกาส ก็คงได้เขียน คอื ถ้า
เขยี นได้ กด็ ี
ถงึ เวลาน้ี เมอ่ื พมิ พ์ พทุ ธธรรม ขน้ึ มาใหมไ่ ดแ้ ลว้ บางทา่ นกท็ วงอกี ท�ำ นองวา่
พทุ ธธรรม เสรจ็ เรอ่ื งแล้ว คราวนกี้ ม็ โี อกาสแลว้ ควรจะเร่มิ เขยี นอริยวินยั ได้
แต่ตอนน้ี จะเขยี นอรยิ วินยั ได้หรอื ไม่ ไมเ่ ก่ยี วกบั พุทธธรรม แลว้ ไมว่ ่าเสรจ็ หรือ
ไม่ เพราะตอนนเี้ ป็นเรอื่ งกาลเวลาของชีวติ และกไ็ ดต้ อบไปโดยไม่ตอ้ งมีเงอ่ื นไข
เลยว่า เม่อื เวลาผา่ นมา ๓๐ ปีอย่างนี้ กไ็ ม่มชี ีวิตพอทจ่ี ะเขียนหนงั สือเล่มที่
เรยี กวา่ “อริยวนิ ยั ” นั้นแลว้ นี่คอื จบ
อยา่ งไรกต็ าม ก่อนจะผ่านเลยไป ควรทำ�เรื่องใหช้ ดั เจนสกั หน่อย ทำ�ไมอรยิ วนิ ยั
จึงควรต้องมาเข้าคู่กบั พุทธธรรม
ที่จริง เหตุผลในเรื่องนก้ี ็ไดพ้ ดู ไว้สน้ั ๆ แลว้ ใน พุทธธรรม ตรงทเี่ อ่ยถึงอริยวินัย
นน่ั แหละ แตก่ ค็ วรทบทวนกนั นดิ กอ่ นจะปดิ เรอ่ื ง คอื เรอ่ื งนก้ี เ็ ปน็ ความคกู่ นั ของ
ธรรม กบั วินัย น่ันเอง
พุทธธรรม ก็คอื ธรรมท่พี ระพุทธเจ้า หรอื พระองคผ์ ้ตู รสั รู้แล้ว รู้แจง้ รจู้ รงิ ได้
ทรงสอนทรงแสดงไว้ สว่ น อรยิ วนิ ยั กค็ อื วนิ ยั ของอารยชน หรอื วนิ ยั อยา่ งอรยิ ะ

๑ “อรยิ วินัย” ไม่ใช่วนิ ัยของพระสงฆ์ อย่างท่ีทา่ นรวมไว้ในพระวนิ ยั ปฎิ ก พึงดคู วามหมายต่อไป ไม่พึงสับสน
ปนเปกนั

ตามรอยพุทธธรรม 147

เป็นอนั ว่า พทุ ธ กับ อริยะ เปน็ ค�ำ ย้�ำ ใหห้ นักแนน่ และแน่ลงไป สว่ นค�ำ ยืนกค็ ือ
ธรรม กบั วนิ ยั
ธรรม หมายถึงความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นสภาวะของธรรมชาติ เช่น
ความเปลย่ี นแปลงเปน็ ไปตามเหตปุ จั จยั ซง่ึ ไมเ่ ขา้ ใครออกใคร เปน็ เรอ่ื งทค่ี นจะตอ้ ง
รเู้ ขา้ ใจตามทม่ี นั เปน็ ของมนั แลว้ ท�ำ ใหต้ รงเหตปุ จั จยั อยา่ งทม่ี นั จะเปน็ ไปของมนั
ส่วน วินัย หมายถึง การจัดตั้งวางระบบชีวิตและกิจการของมนุษย์ โดยใช้
ความรู้ต่อความจริงของธรรมชาติ หรือใช้ความรู้เข้าใจเข้าถึงกฎธรรมชาตินั้น
มาจดั การตา่ งๆ ใหส้ อดคลอ้ งทจ่ี ะไดผ้ ลตามเหตปุ จั จยั ทต่ี นท�ำ ตรงตามกฎธรรมชาติ
ในทางทม่ี นั จะเปน็ ไปโดยสนองความตอ้ งการแห่งเจตจ�ำ นงของตน

ที่ว่านี้ เท่ากับบอกว่า มนุษย์ต้องมีปัญญารู้ ๒ ขั้น คือ รู้เข้าใจหยั่งถึง
ความจริงของธรรมชาติ และรู้จักจัดตั้งจัดการโดยเอาความรู้ถึงความจริงของ
ธรรมชาตนิ ้นั มาใชท้ �ำ การใหค้ วามเป็นไป หรือกระบวนการของธรรมชาตกิ อ่ เกดิ
ผลที่จะสนองความต้องการของตน หรือที่จะเกื้อกูลเป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิต
และสังคมของตน
ยกตัวอย่างงา่ ยๆ คนต้องการมีข้าวเพ่ือไวก้ ินไวข้ าย ดา้ นแรกก็ตอ้ งรู้ความจรงิ
ในเรอื่ งที่เป็นธรรมชาตขิ องข้าว เชน่ วา่ ขา้ วเกดิ จากเมลด็ ขา้ ว เกิดในท่ีอยา่ งไร
เจริญเตบิ โตอย่างไร ดินแบบไหน นำ้�เท่าใด ภูมอิ ากาศอยา่ งไร ฤดกู าลชว่ งไหน
จงึ จะเหมาะ ปลูกแลว้ นานเท่าใดจึงจะเกบ็ เกยี่ วได้ อะไรบ้างเปน็ ศัตรพู ืชของข้าว
มันจะมาอยา่ งไร จะหมดอย่างไร ฯลฯ นค่ี ือความรคู้ วามจริงของธรรมชาติ
หรอื รูธ้ รรมดาของมัน
แล้วด้วยความรู้นั้น อีกด้านหนึ่ง ก็มากำ�หนดการ มาจัดตั้งวางระบบ
กระบวนการทำ�งาน ให้ถกู จงั หวะถกู ลำ�ดบั ตรงตามท่มี นั จะเกดิ ผลของมนั โดย
เป็นไปตามความตอ้ งการของเรา
ใครมีปัญญารู้ทัว่ ตลอดแจ้งชดั ตอ่ ธรรมดาของขา้ ว และตอ่ ธรรมชาติท่เี กย่ี วขอ้ ง
ทั้งทางบวกและทางลบต่อข้าว กับทั้งมีความฉลาดสามารถจัดตั้งวางระบบ
กระบวนการกระบวนงานทุกอย่างที่จะให้ความเป็นไปตามธรรมดาของข้าว
สำ�แดงตัวออกผลสอดคล้องสนองตรงตามความต้องการของตน ต่อเข้าสู่

148 ตามรอยพุทธธรรม

กระบวนการจัดเก็บจัดจำ�หนา่ ย เป็นตน้ อยา่ งรืน่ คลอ่ งสมตามที่ปรารถนาของ
เขา กเ็ รียกวา่ ประสบความส�ำ เรจ็
ขน้ั ความจรงิ ตามธรรมดาของธรรมชาติ กค็ อื ธรรม ขน้ั วางระบบจดั การของคน
ก็คือ วนิ ยั
พุทธธรรม ก็คือขั้นของธรรม เป็นเรื่องของการรู้ความจริงแห่งธรรมดาของ
ธรรมชาติ ธรรมดาของโลก ของชีวติ ม่งุ ท่ีรูค้ วามจรงิ ส่วนการปฏบิ ัตติ อ่ ความ
จรงิ ตามความจรงิ น้นั พูดไว้บ้างในข้ันพื้นๆ อย่างเป็นของแถม เฉพาะอยา่ งยิ่ง
ในระดับของบุคคล ส่วนในวงกวา้ งออกไประดบั สังคมหรือโลกมนษุ ย์ กย็ กไป
เป็นงานอกี ขั้นหนึ่ง
อรยิ วนิ ยั กค็ อื งานอกี ขน้ั หนง่ึ นน้ั ทจ่ี ะน�ำ เอาความรขู้ อง พทุ ธธรรม ไปจดั ตง้ั วาง
ระบบจัดการทางสังคม ให้โลกมนุษย์ได้ประโยชน์จริงจังจาก พุทธธรรม ด้วย
ปัญญาที่หยั่งรู้เข้าถึงทั่วชัด และด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งดีเพื่อประโยชน์สุข
แก่มวลมนุษย์อย่างแทจ้ ริง ดงั ทีเ่ รยี กว่าอยา่ งอริยะ โดยจัดเป็นระบบเศรษฐกจิ
ระบบการเมืองการปกครอง และระบบกิจการตา่ งๆ ทางสงั คม
นี่คือที่ไดบ้ อกว่า เม่อื เขียนหนังสือ พุทธธรรม แลว้ อาจจะตอ้ ง (หรอื ควรจะ
ต้อง) มีหนงั สือ อริยวินยั มาตอ่ เป็นคู่ ความหมายก็มีดงั ท่ีกล่าวมาน้ี
ทนี ้ี อรยิ วินัยนั้น ถึงจะยังไมไ่ ด้เขยี น และจะไม่มีโอกาสเขยี น แต่ในเวลาคอ่ นข้าง
ยาวนานทผ่ี า่ นมา กไ็ ดม้ เี หตกุ ารณท์ อ่ี าจจะเรยี กวา่ บงั เอญิ เกดิ ขน้ึ เปน็ ครง้ั คราว
ท่ที �ำ ใหไ้ ด้พูดเรอ่ื งจำ�พวกน้ไี ว้ประปรายและกระจดั กระจาย แลว้ ก็ได้พิมพ์ออกมา
เป็นหนังสือเลม่ ย่อยๆ ยอ่ มๆ อย่างเช่น เศรษฐศาสตรแ์ นวพุทธ, นติ ิศาสตร์
แนวพุทธ, ประชาธิปไตยไม่ยาก ถา้ (ใจจริง) อยากได,้ ธรรมาธิปไตยไมม่ า จึง
หาประชาธปิ ไตยไมเ่ จอ หนงั สอื อย่างน้ีแหละท่มี ีลักษณะของเนื้อหาเชงิ อรยิ วินัย
เมื่อเอ่ยถึงคำ�ว่า ธรรมาธิปไตย และประชาธิปไตย ก็ขอถือโอกาสย้ำ�แทรกไว้
หน่อยว่า ยงั มกั มคี วามสับสนในเร่อื งถ้อยค�ำ บางทีเหมอื นจะเอาธรรมาธปิ ไตย
กับประชาธิปไตย มาเทียบกนั ว่าไหนดีกวา่ ท่จี ริง สองอย่างนี้ไมใ่ ชเ่ ร่อื งทจ่ี ะ
เอามาเทยี บกนั
เรามักสบั สนในเรือ่ งถอ้ ยค�ำ คือ เราไปเอาค�ำ ว่า “อธปิ ไตย” ทีม่ อี ยกู่ อ่ นแล้วของ
ทา่ นมาใช้ ในขณะท่อี ธิปไตยของทา่ นเป็นหลกั ธรรม เปน็ ข้อธรรมทคี่ นทกุ คนพงึ

ตามรอยพุทธธรรม 149

ยดึ ถอื ปฏบิ ตั ิ แต่เราเอาค�ำ น้ีมาใชเ้ ปน็ ช่ือเรียกระบบทางการเมอื งทางสงั คม โดย
ไม่ไดท้ �ำ ความเขา้ ใจกับคนพวกตวั ใหช้ ดั ไปๆ มาๆ นานเขา้ กส็ บั สนนวั เนีย
ตวั อยา่ งทช่ี ดั กค็ อื ธรรมาธปิ ไตยนแ่ี หละ ธรรมาธปิ ไตยเปน็ คณุ ธรรมส�ำ หรบั ทกุ คน
ยิ่งถา้ เป็นผ้นู ำ� หรือหัวหนา้ คน ก็จ�ำ เป็นอย่างย่ิง เปน็ หลกั การท่ที กุ คน เฉพาะ
อยา่ งยง่ิ หวั หนา้ หรอื ผเู้ ปน็ ใหญพ่ งึ ยดึ ถอื ปฏบิ ตั ิ อยา่ งทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงสอนให้
พระราชาเป็นธรรมาธิปไตย (พระราชามีธรรมเป็นเจ้าใหญ่) และตรัสแสดง
ความหมายไว้ชัดว่า พระราชาจะต้องยึดเอาธรรมเป็นราชาของตน คือให้เอา
ธรรมนแี่ หละเปน็ ราชาทส่ี ั่งพระราชาอกี ที ดังทตี่ รสั ว่า (องฺ.ติก.๒๐/๔๕๓/๑๓๘)
ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
อะไรเลา่ เปน็ ราชาของพระเจา้ จกั รพรรดิ ผทู้ รงธรรม ผเู้ ปน็ ธรรมราชา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า: ดูกรภิกษุ “ธรรม” (เป็นราชาของ
พระเจ้าจกั รพรรดิ ผู้ทรงธรรม ผู้เป็นธรรมราชา) แล้วตรสั ต่อไปวา่
ดูกรภิกษุ พระเจ้าจกั รพรรดิ ผ้ทู รงธรรม ผเู้ ป็นธรรมราชา ทรงอาศัย
ธรรมนัน่ เอง สักการะธรรม เคารพธรรม นับถอื ธรรม มีธรรมเป็นธง
มีธรรมเป็นตราชู เป็นธรรมาธิปไตย (มธี รรมเป็นเจ้าใหญข่ องพระองค์
เอง) ทรงจัดการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม…(แกป่ ระชาชน
หลากหลายหมู่เหลา่ ตลอดจนมิคปกั ษ)ี ทรงยงั จักรใหเ้ ปน็ ไป (ใช้
อำ�นาจ) โดยธรรมเทา่ นัน้ …
พระพุทธเจ้ากท็ รงเปน็ ธรรมาธปิ ไตย ดงั ท่ีตรสั ต่อไปวา่
“ตถาคตอรหันตสมั มาสมั พุทธเจ้า เป็นผู้ทรงธรรม เปน็ ธรรมราชา ก็
ฉันนน้ั ทรงอาศัยธรรมน่นั เอง สักการะ เคารพ นบั ถอื ธรรม มธี รรม
เปน็ ธงชยั มธี รรมเปน็ ตราชู เปน็ ธรรมาธปิ ไตย ทรงจดั การรกั ษาคมุ้ ครอง
ปอ้ งกันอนั ชอบธรรม ในกายกรรม... วจีกรรม... มโนกรรม...”
ประเทศเป็นประชาธิปไตย ประชาชนเป็นธรรมาธปิ ไตย
ระบบกเ็ ลวนอ้ ย บุคคลกเ็ ป็นประกนั ให้ดี
เมอ่ื คนอย่กู ันมากเปน็ หม่เู ป็นมวลใหญ่ ไม่วา่ ท่ีไหนเมื่อไร ถึงแมย้ งั ไมเ่ กิดไมม่ ี

150 ตามรอยพุทธธรรม


Click to View FlipBook Version